พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยอุทธัจจสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39469
อ่าน  433

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 839

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ติกวรรคที่ ๑

๑๐. ทุติยอุทธัจจสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละ และควรเจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 839

๑๐. ทุติยอุทธัจจสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละ และควรเจริญ

[๓๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ อุทธัจจะ ๑ อสังวร ๑ ความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สมถะ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละอุทธัจจะ ๑ สังวร อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละสังวร ๑ ความไม่ประมาท อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 840

ประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบทุติยอุทธัจจสูตรที่ ๑๐

จบติกวรรคที่ ๑

๑๐. อรรถกถาทุติยอุทธัจจสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอุทธัจจสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อสํวโร ได้แก่ ความเป็นผู้มีอินทรีย์ อันยับยั้งไว้ไม่ได้. คำที่เหลือ ในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ทุติยอุทธัจจสูตรที่ ๑๐

จบติกวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ราคสูตร ๒. ทุจริตสูตร ๓. วิตักกสูตร ๔. สัญญาสูตร ๕. ธาตุสูตร ๖. อัสสาทสูตร ๗. อรติสูตร ๘. ตุฏฐิสูตร ๙. ปฐมอุทธัจจสูตร ๑๐. ทุติยอุทธัจจสูตร และอรรถกถา.