พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทวัตติงสาการ ในขุททกปาฐะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 พ.ย. 2564
หมายเลข  40014
อ่าน  987

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑

๓. ทวัตติงสาการ ในขุททกปาฐะ

ทวัตติงสาการ ในขุททกปาฐะ 3/47

พรรณนาทวัตติงสาการ 47

อสุภภาวนา 50

เกสาผม 54

โลมา ขน, นขา เล็บ 55

ทนฺตา ฟัน 56

ตโจ หนัง 57

มสํ เนื้อ 59

นหารุ เอ็น 61

อฏฺฐิ กระดูก 62

อฏฐิมิฺชํ เยื่อในกระดูก วกฺกํ ไต 67

หทยํ หัวใจ 68

ยกนํ ตับ 69

กิโลมกํ พังผืด, ปิหกํ ม้าม 70

ปปฺผาสํ ปอด 71

อนฺตํ ไส้ใหญ่ อนฺตคณํ ไส้น้อย 72

อุทริยํ อาหารใหม่ 73

กรีสํ อหารเก่า มตฺถลุงฺคํ มันในสมอง 75

ปิตฺตํ ดี 76

เสมฺหํ เสลด 77

ปุพฺโพ หนอง 78

โลหิตํ เลือด 79

เสโท เหงื่อ เมโท มันข้น 80

อสฺสุ น้ำตา 81

วสา มันเหลว 82

เขโฬ น้ำลาย 83

สิงฺฆานิกา น้ำมูก 84

ลสิกา ไขข้อ มุตฺตํ มูตร 85

ปกิณณกนัย นัยเบ็ดเตล็ด 95


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 39]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 47

๓. ทวัตติงสาการ ในขุททกปาฐะ

[๓] ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เยื่อมันสมองในสมอง.

จบทวัตติงสาการ

๓. พรรณานาทวัตติงสาการ

พรรณนาการสัมพันธ์แห่งบท

กรรมฐาน คือกายคตาสตินี้ใด ที่พวกเดียรถีย์ทั้งปวง ไม่เคยให้เป็นไปแล้ว นอกพุทธกาล เพื่อความบริสุทธิ์แห่งอาสยญาณ และเพื่อจิตตภาวนาของกุลบุตรผู้มีประโยคอันบริสุทธิ์ด้วยสิกขาบท ๑๐ อย่างนี้ ผู้ดำรงอยู่ในศีล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ โดยอาการเป็นอันมากในพระสูตรนั้นๆ อย่างนี้ว่า (๑)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสังเวคะ [ความสลดใจ] ใหญ่ เป็นไปเพื่ออรรถะ [ประโยชน์] ใหญ่ เป็นไปเพื่อโยคักเขมะ [ความเกษมจากโยคะ] ใหญ่ เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ [ความระลึกรู้ตัว] ใหญ่ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ


๑. อัง.เอก. ๒๑/ข้อ ๒๓๔ - ๒๓๘.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 48

[ความรู้เห็น] เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร [อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน] เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งวิชชาวิมุตติและผลธรรมอย่างหนึ่ง คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าไม่บริโภคอมตะ ภิกษุเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าบริโภคอมตะ ภิกษุที่ไม่บริโภคกายคตาสติ ชื่อว่า ไม่ได้บริโภคอมตะ ภิกษุที่บริโภคกายคตาสติ ชื่อว่าได้บริโภคอมตะ ภิกษุที่เสื่อมกายคตาสติ ชื่อว่าเสื่อมอมตะ ภิกษุที่ไม่เสื่อมกายคตาสติ ชื่อว่าไม่เสื่อมอมตะ ภิกษุที่พลาดกายคตาสติ ชื่อว่าพลาดอมตะ ภิกษุที่สำเร็จกายคตาสติ ชื่อว่าสำเร็จอมตะ.

ดังนี้แล้วทรงแสดงไว้เป็นปัพพะ ๑๔ ปัพพะ คืออานาปานปัพพะ อิริยาปถปัพพะ จตุสัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ธาตุมนาสิการปัพพะ สีวถิกาปัพพะ ๙ ปัพพะ โดยนัยว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปป่าก็ดี ดังนี้เป็นต้น.

บัดนี้ นิทเทสแห่งการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนั้น มาถึงตามลำดับแล้ว ในนิทเทสนั้น ข้าพเจ้ากล่าวเป็นวิปัสสนาไว้ ๓ ปัพพะ นี้คือ อิริยาปถปัพพะ จตุสัมปชัญญปัพพะ ธาตุมนสิการปัพพะ กล่าวสีวถิกาปัพพะทั้ง ๙ เป็นอาทีนวานุปัสสนาไว้ในวิปัสสนาญาณ ส่วนสมาธิภาวนาในอุทธุมาตกอสุภเป็นต้นในนิทเทสนั้นที่พึงปรารถนา ข้าพเจ้าก็ประกาศไว้พิศดารแล้วในอสุภภาวนานิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งนั้น. สองปัพพะนี้คืออานาปานปัพพะและปฏิกูลมนสิการปัพพะก็กล่าวเป็นสมาธิไว้แล้วในนิทเทสนั้น ใน ๒ ปัพพะนั้น อานาปานปัพพะ เป็นกรรมฐานแผนกหนึ่งโดยแท้ โดยเป็นอานาปานัสสติ ส่วน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 49

กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้นใด เป็นปริยายแห่งภาวนาส่วนหนึ่งของกายคตาสติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสงเคราะห์มันสมองไว้ด้วยเยื่อในกระดูกในบาลีประเทศนั้นๆ อย่างนี้ว่า (๑)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้นี่แลตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มี ผม ขน ฯลฯ มูตร ดังนี้ ข้าพเจ้าเริ่มไว้แล้ว กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้น จะพรรณนาความดังต่อไปนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า อิมสฺมึ ความว่า ที่กล่าวว่าตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ. บทว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ.จริงอยู่ สรีระ เรียกกันว่า กาย เพราะสะสมของไม่สะอาด หรือเพราะเป็นที่เจริญเติบโตของผมเป็นต้นที่น่าเกลียด และของโรคตั้งร้อยมี โรคตา เป็นต้น บทว่า เกสาฯ เปฯ มุตฺตํ คืออาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นเหล่านั้น ในทวัตติงสาการนี้ พึงทราบความสัมพันธ์เชื่อมความอย่างนี้ว่า ผมอยู่ในกายนี้ ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น. เป็นอันตรัสอะไรไว้ ด้วยทวัตติงสาการกรรมฐานนั้น เป็นอันตรัสไว้ว่า ใครๆ เมื่อพิจารณานั้นแม้โดยอาการทุกอย่างในกเฬวระเรือนร่างขนาดวาหนึ่งนี้ คือประมาณเท่านี้คือ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา หุ้มด้วยหนังโดยรอบ ย่อมจะไม่เห็นอะไร ไม่ว่าแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น การบูร หรือผงอบเป็นต้นแม้ขนาดเล็กว่าสะอาด โดยที่แท้ ย่อมจะเห็นกาย ต่างโดยผมขนเป็นต้น ที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไม่มีสิริที่น่าดูเลยมีประการต่างๆ ว่าไม่สะอาดอย่างเดียว.


๑. ม.อุปริ. ๑๔/ข้อ ๒๙๗

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 50

พรรณนา โดยความสัมพันธ์แห่งบทในทวัตติงสาการกรรมฐานนี้เท่านี้ก่อน.

อสุภภาวนา

พึงทราบการพรรณนาทวัตติงสาการกรรมฐานนั้น เป็นอสุภภาวนาดังต่อไปนี้.

ก่อนอื่น อันดับแรก กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน เป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล ต่างโดยปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบทเป็นต้นอย่างนี้แล้ว มีประโยคอันบริสุทธิ์ ประสงค์จะประกอบเนืองๆ ซึ่งอนุโยคะคือ การบำเพ็ญกรรมฐานส่วนทวัตติงสาการ เพื่อบรรลุความบริสุทธิ์แห่งอาสยญาณ กุลบุตรนั้น ย่อมมีกังวล ๑๐ ประการ คือ กังวลด้วยที่อยู่ ด้วยตระกูล ด้วยลาภ ด้วยคณะ ด้วยการงาน ด้วยการเดินทาง ด้วยญาติ ด้วยการเรียนคัมภีร์ ด้วยโรคและด้วยอิทธิฤทธิ์ หรือด้วยการกังวลด้วยเกียรติ เมื่อเป็นดังนั้น กุลบุตรผู้นี้ก็ต้องตัดกังวล ๑๐ เหล่านั้นเสีย ด้วยวิธีอย่างนี้ คือ ด้วยการละความเกี่ยวข้องในอาวาส ตระกูล ลาภ คณะ ญาติและเกียรติเสีย ด้วยการไม่ขวนขวายในการงาน, การเดินทางและการเรียนคัมภีร์เสีย ด้วยการเยียวยาโรค เมื่อเป็นดังนั้น กุลบุตรผู้นี้ตัดกังวลได้แล้ว ไม่ตัดความยินดียิ่งในเนกขัมมะ กำหนดความปฏิบัติขัดเกลาอันถึงบั้นปลาย ไม่ละเลยอาจาระทางวินัยแม้เล็กน้อย ก็พึงเข้าไปหาพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน ซึ่งเป็นผู้ประกอบด้วยอาคม [การปริยัติ] และอธิคม [ปฏิบัติปฏิเวธ] หรือประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งจากอาคมและอธิคมนั้น ด้วยวิธีที่เหมาะแก่พระวินัย และพึงแจ้งความประสงค์ของตนแก่พระอาจารย์นั้น ซึ่งตนทำให้ท่านมีจิตยินดีด้วยข้อวัตรสัมปทา พระ-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 51

อาจารย์นั้น พึงรู้ความแตกต่างแห่งนิมิตอัธยาศัยจริยา และอธิมุติของกุลบุตรผู้นั้น ผิว่า กรรมฐานนั้นเป็นของเหมาะ เมื่อเป็นดังนั้น กุลบุตรแม้ผู้นั้นประสงค์จะอยู่ในวิหารที่ตนอยู่ไซร้ แต่นั้น ก็พึงให้กรรมฐานโดยสังเขป ถ้ากุลบุตรนั้น ประสงค์อยู่ในวิหารอื่น ก็พึงบอกกรรมฐานพิสดาร พร้อมทั้งข้อที่ควรทำก่อน โดยบอกข้อที่ควรละและข้อที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น พร้อมทั้งประเภทจริตโดยบอกกรรมฐานที่เหมาะแก่ราคจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้นั้นครั้นเรียนกรรมฐานพร้อมข้อที่ควรทำก่อน ทั้งประเภทนั้นแล้วบอกลาอาจารย์ งดเว้น เสนาสนะ ๑๘ ประเภท ที่ท่านกล่าวว่าควรงดเว้น อย่างนี้ว่า

อาวาสใหญ่ อาวาสใหม่ อาวาสเก่า อาวาสใกล้ทาง อาวาสใกล้ตระพังหิน อาวาสมีใบไม้ อาวาสมีดอกไม้ อาวาสมีผลไม้ อาวาสที่คนปรารถนาอาวาสที่ใกล้นคร อาวาสที่ใกล้คนเข้าไปตัดไม้ อาวาสที่ใกล้ไร่นา อาวาสที่มีอารมณ์เป็นข้าศึก อาวาสใกล้ท่าเรืออาวาสใกล้ชายแดน อาวาสมีสีมา อาวาสที่เป็นอสัปปายะ อาวาสที่ไม่ได้กัลยาณมิตร บัณฑิตรู้จักสถานที่ ๑๘ ประเภทนี้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกลเหมือนคนเดินทาง เว้นทางมีภัยเฉพาะหน้าฉะนั้น.

แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเสนาสนะในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเสนาสนะที่ไม่ไกลนัก ที่ไม่ใกล้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 52

นัก พรั่งพร้อมด้วยคมนาคม กลางวันผู้คนไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบเสียง ไม่อึกกะทึก ไม่มีเหลือบยุง ลม แดด งู รบกวน เมื่อภิกษุอยู่ในเสนาสนะนั้น จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแห่งผู้เจ็บไข้ เกิดขึ้นไม่ยาก ในเสนาสนะนั้นแล มีภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ผู้จบอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาอยู่ ภิกษุเข้าไปหาภิกษุเถระเหล่านั้นตามสมควรแก่กาลสอบถามไล่เลียงว่า ท่านขอรับ ข้อนี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีความว่าอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมจะเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผยแก่ภิกษุนั้น ทำข้อที่ยากให้ง่ายเข้า บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งความสงสัยต่างๆ เสียได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล.

ดังนี้แล้วทำกิจทุกอย่างให้เสร็จแล้ว พิจารณาโทษในกามทั้งหลายและอานิสงส์ในเนกขัมมะ ทำจิตให้เลื่อมใส ด้วยการระลึกถึง [พระรัตนตรัย] โดยความที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีแล้ว โดยความที่พระธรรมเป็นธรรมอันดี และโดยความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ไม่ละอุคคหโกศล ความฉลาดในทางเรียนรู้ ๗ ทาง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

นักปราชญ์ฉลาดเรียนรู้ ๗ ทาง คือ โดยวาจา โดยใจ โดยวรรณะ โดยสัณฐาน โดยทิศ โดยโอกาสและโดยปริเฉท.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 53

และมนสิการโกศล ความฉลาดใส่ใจ ๑๐ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้คือ โดยลำดับ โดยไม่เร็วนัก โดยไม่ช้านัก โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน โดยล่วงเลยบัญญัติ โดยปล่อยลำดับ โดยอัปปนา และสูตร ๓ สูตร จึงควรเริ่มเจริญทวัตติงสาการจริงอยู่ การเจริญทวัตติงสาการโดยอาการทุกอย่าง ย่อมสำเร็จ แก่ผู้เริ่มดังกล่าวมานี้หาสำเร็จโดยประการอื่นไม่.

ในการเจริญทวัตติงสาการนั้น ภิกษุรับตจปัญจกกรรมฐานก่อนเป็นเบื้องต้น กล่าวโดยพระไตรปิฎก เมื่อตจปัญจกกรรมฐานคล่องแคล่วโดยอนุโลม ตามนัยว่า เกสา โลมา เป็นต้น คล่องแคล่วโดยปฏิโลม ตามนัยว่า ตโจ ทนฺตา เป็นต้น พึงเจริญเสียครึ่งเดือน ทางวาจาเพื่อตัดความวิตกที่ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอกโดยอนุโลมและปฏิโลม ตามนัยทั้งสองนั้นแหละเพื่อให้คล่องบาลี และทางใจเพื่อกำหนดสภาวะแห่งส่วนร่างกายเป็นอารมณ์ จริงอยู่การเจริญทางวาจา ซึ่งตจปัญจกกรรมฐานนั้น ตัดวิตกที่ฟุ้งไปข้างนอกได้แล้วย่อมเป็นปัจจัยแก่การเจริญทางวาจา เพราะคล่องบาลีแล้ว การเจริญทางใจย่อมเป็นปัจจัยแก่การกำหนดอสุภะวรรณะ และลักษณะ ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อเป็นดังนั้น โดยนัยนั้น ก็พึงเจริญวักกะปัญจกกรรมฐาน [หมวดที่มีวักกะเป็นที่ ๕] เสียครึ่งเดือน ต่อนั้น จึงเจริญตจะปัญจกกรรมฐานและวักกะปัญจกกรรมฐานทั้งสองนั้นเสียครึ่งเดือน ต่อนั้นจึงเจริญปับผาสะปัญจกะกรรมฐานเสียครึ่งเดือน ต่อนั้นก็เจริญทั้งสามปัญจกะนั้นเสียครึ่งเดือน เมื่อเป็นดังนั้นก็พึงเพิ่มมัตถลุงคัง ที่มิได้ตรัสในต้อนท้ายไว้ในสามหมวดนี้ เพื่อเจริญรวมกันไปกับอาการแห่งปฐวีธาตุทั้งหลาย แล้วเจริญมัตถลุงคังเสียครึ่งเดือน ต่อนั้นก็เจริญปัญจกะและจตุกกะเสียครึ่งเดือน เมทฉักกะครึ่งเดือน ต่อนั้นก็เจริญปัญจกะและจตุกกะร่วมกับเมทฉักกะครึ่งเดือน มุตตฉักกะครึ่งเดือน ต่อนั้น ก็เจริญทวัตติงสาการทั้งหมดเสียครั้งเดือน พึงเจริญกำหนดโดยวรรณะ สัณฐาน ทิศ โอกาสและปริเฉท ๖ เดือนดังกล่าวมาฉะนี้. ข้อนี้ท่านกล่าวหมายถึงบุคคลที่มี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 54

ปัญญาปานกลาง ส่วนคนปัญญาทึบพึงเจริญตลอดชีวิต ผู้มีปัญญาเฉียบแหลมการเจริญย่อมสำเร็จได้ไม่นานเลย.

เกสา ผม

ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ภิกษุผู้เริ่มกรรมฐานผู้นี้ กำหนดทวัตติงสาการนี้โดยวรรณะเป็นต้นอย่างไร ความจริงภิกษุผู้เริ่มกรรมฐานนี้ เมื่อเจริญทวัตติงสาการโดยจำแนกเป็นตจปัญจกะเป็นต้น โดยนัยว่า มีอยู่ในกายนี้ ผมดังนี้เป็นต้น ย่อมกำหนดผมเป็นของเช่นที่ภิกษุนี้เห็นแล้วก่อนโดยวรรณะว่ามีสีดำ กำหนดผมที่เป็นเกลียวยาวโดยสัณฐานว่าเหมือนคันตาชั่ง แต่เพราะเหตุที่ในกายนี้ เหนือท้องขึ้นไปเรียกว่าทิศเบื้องบน ต่ำกว่าท้องลงมา เรียกว่าทิศเบื้องต่ำ ฉะนั้นจึงกำหนดโดยทิศว่า เกิดในทิศเบื้องบนแห่งกายนี้ กำหนดโดยโอกาสว่า เกิดที่หนังศีรษะ. รอบกกหูและหลุมคอ กำหนดในเกสานั้นว่า ผมไม่รู้ว่าเราเกิดที่หนังศีรษะ แม้หนังศีรษะก็ไม่รู้ว่าผมเกิดที่เรา เปรียบเหมือนหญ้ากุณฐะ ที่เกิดบนยอดจอมปลวกไม่รู้ว่าเราเกิดบนยอดจอมปลวก แม้ยอดจอมปลวกก็ไม่รู้ว่า หญ้ากุณฐะเกิดบนเรา ฉะนั้น กำหนดว่าแท้จริงผมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรม ไม่มีเจตนา [ใจ] เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า ปฏิกูลด้วยกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เมื่อว่าโดยปริเฉทตัดตอน การตัดตอนมี ๒ อย่าง คือ ตัดตอนโดยสภาคส่วนถูกกัน ตัดตอนโดยวิสภาคส่วนผิดกัน ในการตัดตอน ๒ อย่างนั้น กำหนดโดยการตัดตอนโดยสภาคอย่างนี้ว่า ผมถูกตัดตอนเบื้องล่างด้วยพื้นหนังที่ตั้งอยู่ และด้วยพื้นโคนของตน ที่เข้าไปในพื้นหนังนั้นประมาณปลายเมล็ดข้าวเปลือกตั้งอยู่ เบื้องบนด้วยอากาศ เบื้องขวาด้วยผมกันและกัน และกำหนดโดยตัดตอนโดยวิสภาคอย่างนี้ว่า ผมไม่ใช่อาการ ๓๑ ที่เหลือ อาการ ๓๑ ที่เหลือก็ไม่ใช่ผม กำหนดผมโดยวรรณะเป็นต้นมีประการดังกล่าวมาอย่างนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 55

โลมา ขน

ในอาการ ๓๑ ที่เหลือ ก็กำหนดขน อย่างที่ภิกษุนี้เห็นแล้ว โดยวรรณะ ส่วนมากว่ามีสีเขียว โดยสัณฐาน ว่ามีสัณฐานเหมือนคันธนูโค้ง หรือมีสัณฐานเหมือนเสี้ยนตาลงอ กำหนดโดยทิศทั้ง ๒ กำหนดโดยโอกาสว่า เกิดที่หนังแห่งสรีระที่เหลือเว้นฝ่ามือฝ่าเท้า.

ในอาการ ๓๐ ที่เหลือนั้น กำหนดว่า ขนย่อมไม่รู้ว่าเราเกิดที่หนังแห่งสรีระ แม้หนังแห่งสรีระก็ไม่รู้ว่าขนเกิดที่เรา เปรียบเหมือนหญ้าทัพพะอันเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า ย่อมไม่รู้ว่าเราเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า แม้สถานที่บ้านเก่าก็ไม่รู้ว่า หญ้าทัพพะเกิดที่เรา ฉะนั้น ด้วยว่าขนเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรมหาเจตนามิได้ [ใจ] เป็นอัพยากฤตว่างเปล่า ปฏิกูลด้วยกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล กำหนดโดยปริเฉทตัดตอนว่า ขนเบื้องล่างตัดตอนด้วยพื้นหนังที่ตั้งอยู่ และด้วยโคนของตนที่เข้าไปในพื้นหนังนั้น ประมาณตัวเหาตั้งอยู่ ขนเบื้องบนตัดตอนด้วยอากาศ ขนเบื้องขวางตัดตอนด้วยขนด้วยกันเอง ที่เป็นการกำหนดขนเหล่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดขนโดยวรรณะเป็นต้นมีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

นขา เล็บ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ผู้มีเล็บครบก็มี ๒๐ เล็บ. เล็บเหล่านั้นทั้งหมด โดยวรรณะ มีสีขาวในโอกาสที่พ้นเนื้อ มีสีแดงในโอกาสที่ติดกับเนื้อ โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาสตามที่ตั้งอยู่ โดยมากมีสัณฐานเหมือนเมล็ดมะซาง หรือมีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา. โดยทิศ ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๒. โดยโอกาสตั้งอยู่ปลายนิ้ว.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 56

ในเล็บนั้น กำหนดว่า เล็บย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ปลายนิ้ว แม้นิ้วก็ไม่รู้ว่า เล็บตั้งอยู่ที่ปลายของเรา เปรียบเหมือนเมล็ดมะซาง ที่พวกเด็กชาวบ้านเสียบไว้ที่ปลายไม้ ไม่รู้ว่า เราถูกเสียบไว้ที่ปลายไม้ แม้ไม้ก็ไม่รู้ว่าเมล็ดมะซางถูกเสียบไว้ที่เรา ฉะนั้น. ด้วยว่าเล็บเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรมไม่มีเจตนา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล กำหนดโดยบริเฉทว่า เล็บล่างถูกตัดตอนด้วยเนื้อนิ้วที่โคน หรือด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ที่โคนนั้นและเล็บบนตัดตอนด้วยอากาศที่ปลาย ด้วยหนังปลายสองข้างของนิ้วทั้งสองข้างนี้เป็นการกำหนดเล็บเหล่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดเล็บโดยวรรณะเป็นต้น. มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ทนฺตา ฟัน

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ผู้มีฟันครบ ก็มีฟัน ๓๒ ซี่ ฟันเหล่านั้นทั้งหมด โดยวรรณะ ก็มีสีขาว โดยสัณฐาน ฟันของผู้มีฟันเรียบ จะปรากฏเหมือนพื้นสังข์ตัดที่แข็ง และเหมือนพวกดอกไม้ขาวตูมที่ร้อยไว้เรียบ ฟันของผู้มีฟันไม่เรียบ มีสัณฐานต่างๆ กัน เหมือนลำดับตั่งบนหออันเก่า. ก็ในปลายแถวฟันสองข้างของฟันเหล่านั้น ฟัน ๘ ซี่ ข้างล่าง ๒ ซี่ ข้างบน ๒ ซี่ มีปลาย ๔ มีโคน ๔ มีสันฐานเหมือน อาสันทิเก้าอี้ยาว. ฟัน ๘ ซี่ซึ่งตั้งอยู่ตามลำดับนั้น ข้างในฟันเหล่านั้น มีปลาย ๓ มีราก ๓ มีสัณฐานเหมือนกระจับ ฟัน ๔ ซี่ ข้างล่าง ๑ ซี่ ข้างบน ๑ ซี่ ตามลำดับนั้น ข้างในฟันเหล่านั้น มีปลาย ๒ มีราก ๒ มีสันฐานเหมือนไม้ค้ำยาน [เกวียน] ฟันที่เป็นเขี้ยว ๔ ซี่ ซึ่งตั้งอยู่ตามลำดับนั้น ข้างในของฟันเหล่านั้น ข้างล่าง ๑ ซี่ ข้างบน ๑ ซี่ มีปลายเดียว รากเดียว มีสัณฐานเหมือนมะลิตูม แต่นั้นฟัน ๘ ซี่ ข้างล่าง ๔ ซี่ ข้างบน ๔ ซี่ ตรงกลางแถวฟัน ๒ ข้าง มีปลาย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 57

เดียว รากเดียว มีสัณฐานเหมือนเมล็ดน้ำเต้า โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ฟันบนตั้งอยู่ในกระดูกคางบน ปลายลง ฟันล่างตั้งอยู่ในกระดูกคางล่าง มีปลายขึ้น.

ในฟันนั้น ก็กำหนดว่า ฟันไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระดูกคางล่าง ตั้งอยู่ในกระดูกคางบน แม้กระดูกคางล่างก็ไม่รู้ว่า ฟันตั้งอยู่ในเรา กระดูกคางบน ก็ไม่รู้ว่า ฟันตั้งอยู่ในเรา เปรียบเหมือนเสา ที่บุรุษช่างก่อสร้างตั้งเข้าไว้ในพื้นหินเบื้องล่าง สอดเข้าไว้ในหินเบื้องบน ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกเขาตั้งไว้ในพื้นหินเบื้องล่าง ถูกสอดเข้าไว้ในพื้นหินเบื้องบน พื้นหินเบื้องล่างก็ไม่รู้ว่า เสาถูกเขาตั้งไว้ในเรา พื้นหินเบื้องบนก็ไม่รู้ว่า เสาถูกเขาสอดเข้าไว้ในเรา ฉะนั้น. ด้วยว่าฟันเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณาเป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. กำหนดโดยปริเฉทว่า ฟันล่างตัดตอนด้วยหลุมกระดูกคาง สอดเข้ากระดูกคางตั้งอยู่ และด้วยพื้นรากของตน ฟันบนตัดตอนด้วยอากาศเบื้องขวาง กำหนดด้วยฟันซึ่งกันและกัน นี้เป็นการกำหนดฟันเหล่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดฟันโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ตโจ หนัง

ต่อแต่นั้นไป สิ่งซึ่งปกปิดกองซากศพต่างๆ ในภายในสรีระ ชื่อว่า ตโจ หนัง. กำหนดว่าหนังมีสีขาว ก็ถ้าหากว่าหนังนั้น ปรากฏเหมือนมีสีต่างๆ โดยเป็นสีดำสีขาวเป็นต้น ก็เพราะถูกย้อมด้วยเครื่องย้อมผิว ถึงเช่นนั้นก็ขาวอยู่นั่นแหละ โดยวรรณะที่เป็นสภาคกัน. ก็ความที่หนังนั้นมีสีขาวนั้น ย่อมปรากฏโดยผิวถูกเปลวไฟลวก และถูกประหารด้วยเครื่องประหารเป็นต้น.กำหนดโดยสัณฐานโดยสังเขปว่า มีสัณฐานดุจเสื้อ โดยพิศดารว่ามีสันฐานต่างๆ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 58

จริงอย่างนั้น หนังนิ้วเท้ามีสัณฐานเหมือนรังไหม หนังหลังเท้ามีสัณฐานเหมือนรองเท้าที่ห่อไว้ หนังแข้งมีสัณฐานเหมือนใบตาลห่อข้าว หนังขามีสัณฐานเหมือนถุงยาวมีข้าวสารเต็ม หนังตะโพกมีสัณฐานเหมือนผ้ากรองน้ำมีน้ำเต็ม หนังสันหลังมีสัณฐานเหมือนหนังหุ้มโล่ หนังท้องมีสัณฐานเหมือนหนังหุ้มรางพิณ หนังอกโดยมากมีสัณฐาน ๔ เหลี่ยม หนังแขนทั้งสองมีสัณฐานเหมือนหนังหุ้มแล่งธนู หนังหลังมือมีสัณฐานเหมือนฝักมีดโกน หรือมีสัณฐานเหมือนซองหวี หนังนิ้วมือมีสัณฐานเหมือนกล่องกุญแจ หนังคอมีสัณฐานเหมือนเสื้อมีคอ หนังหน้ามีสัณฐานเหมือนรังหนอน มีช่องเล็กช่องน้อย หนังศีรษะมีสัณฐานเหมือนถลกบาตร.

ก็พระโยคาวจร ผู้กำหนดหนังเป็นอารมณ์ ส่งจิตเข้าไประหว่างหนังและเนื้อ ตั้งแต่ริมฝีปากบน กำหนดหนังหน้าก่อนเป็นอันดับแรก ต่อนั้นก็หนังศีรษะ หนังคอด้านนอก แต่นั้น ก็พึงกำหนดหนังมือขวา ทั้งอนุโลมและปฏิโลม โดยลำดับต่อมา ก็พึงกำหนดหนังมือซ้าย หนังสันหลัง หนังตะโพก ต่อนั้นก็หนังหลังเท้าขวา ทั้งอนุโลมและปฏิโลม หนังหลังเท้าซ้ายหนังกระเพาะปัสสาวะ ท้องน้อย หัวใจ คอด้านใน ต่อนั้นก็หนังคางล่าง หนังริมฝีปากล่าง กำหนดอย่างนี้อีกจนถึงริมฝีปากบน. กำหนดโดยทิศว่าเกิดในทิศทั้งสอง. กำหนดโดยโอกาสว่า ห่อหุ้มทั่วสรีระตั้งอยู่.

ในหนังนั้น พระโยคาวจรกำหนดว่า หนังย่อมไม่รู้ว่า เราห่อหุ้มสรีระที่ประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ แม้สรีระที่ประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ ก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังห่อหุ้มไว้เปรียบเหมือนหีบหุ้มด้วยหนังสด หนังสดย่อมไม่รู้ว่า เราหุ้มหีบไว้ แม้หีบก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังสดหุ้มไว้ ฉะนั้น.ด้วยว่าหนังเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. ท่านกล่าวไว้สิ้นเชิงว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 59

อลฺลจมฺมปฏิจฺฉนฺโน นวทฺวาโร มหาวโณ สมนฺตโต ปคฺฆรติ อสุจิปูติคนฺธิโย

ร่างกายนี้ หุ้มด้วยหนังสด มีทวาร ๙ มีแผลมาก ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ย่อมไหลออกโดยรอบ.

กำหนดโดยปริเฉทตัดตอนว่า หนังเบื้องล่าง ตัดตอนด้วยเนื้อ หรือพื้นที่ตั้งอยู่ที่เนื้อนั้น หนังเบื้องบน ตัดตอนด้วยผิว นี้เป็นการกำหนดหนังนั้นโดยสภาค. การกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดหนังโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

มํสํ เนื้อ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดเนื้อ ที่ต่างโดยเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น ในสรีระโดยวรรณะว่ามีสีแดงคล้ายดอกทองกวาว. โดยสัณฐานว่ามีสัณฐานต่างๆ กัน จริงอย่างนั้น เนื้อปลีแข้งของสรีระนั้น มีสัณฐานเหมือนข้าวสวยห่อใบตาล อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนดอกลำเจียกตูมยังไม่บานดังนี้ก็มี เนื้อขามีสัณฐานเหมือนลูกหินบดปูนขาว เนื้อตะโพกมีสัณฐานเหมือนปลายก้อนเส้า เนื้อสันหลังมีสัณฐานเหมือนแผ่นก้อนน้ำตาลจากตาล เนื้อซี่โครงทั้งสองข้างมีสัณฐานเหมือนดินฉาบบางๆ ในที่พื้นท้องยุ้งซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ เนื้อนมมีสัณฐานเหมือนก้อนดินชุ่มที่ทำให้กลมแล้วโยนไป เนื้อแขนสองข้างมีสัณฐานเหมือนหนูใหญ่ที่เขาตัดหางหัวและเท้าไม่มีหนังตั้งไว้. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่ามีสัณฐานเหมือนพวงเนื้อดังนี้ก็มี เนื้อแก้มมีสัณฐานเหมือนเมล็ดกุ่มที่เขาวางไว้ที่แก้ม. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนกบ ดังนี้ก็มี. เนื้อลิ้นมีสัณฐานเหมือนกลีบบัว เนื้อจมูกมีสัณฐานเหมือนตู้หนังสือวางคว่ำหน้า เนื้อเบ้าตามีสัณฐานเหมือนผลมะเดื่อสุกครึ่งหนึ่ง เนื้อศีรษะมีสัณฐานเหมือนน้ำมัน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 60

ฉาบกะทะบางๆ ระบมบาตร ก็พระโยคาวจร ผู้กำหนดเนื้อเป็นอารมณ์ พึงกำหนดเนื้อส่วนหยาบๆ เหล่านี้นี่แล. โดยสัณฐาน ด้วยว่าพระโยคาวจรกำหนดอยู่อย่างนี้ เนื้อส่วนละเอียดก็จะปรากฏแก่ญาณ. กำหนดโดยทิศ เนื้อเกิดในทิศทั้งสอง. กำหนดโดยโอกาส เนื้อฉาบตามกระดูก ๓๐๐ ชิ้น ที่เป็นโครงตั้งอยู่.

ในเนื้อนั้น ก็กำหนดว่าเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น ย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบกระดูก ๓๐๐ ชิ้นไว้ แม้กระดูก ๓๐๐ ชิ้นก็ไม่รู้ว่า เราถูกเนื้อ ๙๐๐ ชิ้นฉาบไว้ เปรียบเหมือนฝาเรือนที่ถูกฉาบด้วยดินหยาบ ดินหยาบย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบฝาเรือนไว้ แม้ฝาเรือนก็ไม่รู้ว่า เราถูกดินหยาบฉาบไว้. ด้วยว่าเนื้อเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและพิจารณา เป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล ท่านกล่าวไว้สิ้นเชิงว่า

นวเปสิสตา มํสา อนุลิตฺตา กเฬวรํ นานากิมิกุลากิณฺณํ มิฬฺหฏฺานํว ปูติกํ

เนื้อ ๙๐๐ ชิ้นฉาบกเฬวระเรือนร่าง อันคลาคล่ำด้วยหมู่หนอนชนิดต่างๆ เน่าเหม็นเหมือนคูถ.

กำหนดโดยปริเฉทว่า เนื้อเบื้องล่าง ตัดตอนด้วยร่างกระดูก หรือพื้นที่ตั้งอยู่ที่ร่างกระดูกนั้น เนื้อเบื้องบน ตัดตอนด้วยหนัง เนื้อเบื้องขวางตัดตอนด้วยเนื้อด้วยกันเอง นี้เป็นการกำหนดเนื้อนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดเนื้อโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 61

นหารุ เอ็น

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า เอ็น ๙๐๐ ในสรีระ โดยวรรณะมีสีขาว.อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสีเหมือนน้ำผึ้ง โดยสัณฐาน มีสัณฐานต่างๆ จริงอย่างนั้น บรรดาเอ็น ๙๐๐ นั้น เอ็นใหญ่ๆ มีสัณฐานเหมือนดอกกันทละตูมที่ละเอียดกว่านั้น ก็มีสัณฐานเหมือนเชือกบ่วงคล้องหมู ที่เล็กยิ่งกว่านั้น ก็มีสัณฐานเหมือนเถาวัลย์เน่า ที่เล็กยิ่งกว่านั้นไปอีก ก็มีสัณฐานเหมือนสายพิณใหญ่ของชาวสิงหล ที่เล็กยิ่งกว่านั้นไปอีก ก็มีสัณฐานเหมือนด้ายหยาบ เอ็นที่หลังมือหลังเท้ามีสัณฐานเหมือนตีนนก เอ็นที่ศีรษะมีสัณฐานเหมือนผ้าบางๆ ที่วางไว้บนศีรษะของเด็กชาวบ้าน เอ็นหลังมีสัณฐานเหมือนแหจับปลาที่เปียกน้ำแล้วคลี่ตากแดดไว้ เอ็นที่ไปตามอวัยวะใหญ่น้อยนั้นๆ ในสรีระนี้ มีสัณฐานเหมือนเสื้อตาข่ายอันสวมไว้ที่สรีระ โดยทิศ เอ็นเกิดในทิศทั้งสอง. บรรดาเอ็นเหล่านั้น เอ็นใหญ่ มีชื่อว่ากัณฑระ มี ๕ ผูกตั้งแต่กกหูข้างขวามาข้างหน้า และข้างหลังถึงข้างซ้าย ผูกตั้งแต่กกหูข้างซ้ายมาข้างหน้าและข้างหลังถึงข้างขวา ผูกตั้งแต่หลุมคอข้างขวามาข้างหน้าและข้างหลังถึงข้างซ้าย ผูกตั้งแต่หลุมคอข้างซ้ายมาข้างหน้าและข้างหลังถึงข้างขวา ผูกมือข้างขวามาข้างหน้า ๕ ข้างหลัง ๕ รวมเอ็นใหญ่ ที่ชื่อว่ากัณฑระเป็น ๑๐ ล่ามไปทั่ว. มือข้างซ้าย เท้าข้างขวาและเท้าข้างซ้าย ก็เหมือนอย่างนั้น. รวมความว่า เอ็นใหญ่ ๖๐ ดังกล่าวมาเหล่านี้ ก็กำหนดว่าเป็นเครื่องช่วยทรงสรีระไว้ ช่วยกำหนดสรีระก็มี กำหนดโดยโอกาส เอ็นผูกล่ามกระดูกข้างในกระดูกกับหนัง และกระดูกกับเนื้อตั้งอยู่ทั่วสรีระ.

ในเอ็นนั้น กำหนดว่า เอ็นย่อมไม่รู้ว่า กระดูก ๓๐๐ ชิ้นถูกเราผูกไว้ แม้กระดูก ๓๐๐ ชิ้น ก็ไม่รู้ว่า เราถูกเอ็นผูกไว้ เปรียบเหมือนไม้คดๆ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 62

ที่ถูกเถาวัลย์พันล่ามไว้ เถาวัลย์ย่อมไม่รู้ว่า ไม้คดถูกเราผูกไว้ แม้ไม้คดก็ไม่รู้ว่าเราถูกเถาวัลย์พันล่ามไว้ ฉะนั้น. ด้วยว่าเอ็นเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. ท่านกล่าวสรุปไว้ว่า

นวนหารุสตา โหนฺติ พฺยามมตฺเต กเฬวเร พนฺธนฺติ อฏฺสงฺฆาฏํ อคารมิว วลฺลิโย.

เอ็น ๙๐๐ ย่อมผูกร่างกระดูก ในเรือนร่างประมาณวาหนึ่งไว้ เหมือนเถาวัลย์ผูกเรือน ฉะนั้น.

กำหนดโดยปริเฉทว่า เอ็นเบื้องล่าง ตัดตอนด้วยกระดูก ๓๐๐ ชิ้นหรือพื้นที่ตั้งอยู่ที่กระดูกนั้น เอ็นเบื้องบน ตัดตอนด้วยหนังและเนื้อ เบื้องขวางตัดตอนเอ็นของกันและกันเอง นี้เป็นการกำหนดเอ็นเหล่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดเอ็นโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

อฏฺิ กระดูก

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดโดยวรรณะว่า กระดูกมีประเภทที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เพราะท่านถือเอากระดูกฟัน ๓๒ ซี่ แยกไว้ต่างหาก กระดูกที่เหลือในสรีระ คือกระดูกมือ ๖๔ กระดูกเท้า ๖๔ กระดูกอ่อนที่ติดเนื้อ ๖๔ กระดูกส้นเท้า ๒ กระดูกข้อเท้าเท้าหนึ่งๆ เท้าละ ๒ กระดูกแข้ง ๒ กระดูกเข่า ๑ กระดูกขา ๑ กระดูกสะเอว ๒ กระดูกสันหลัง ๑๘ กระดูกซี่โครง ๒๔ กระดูกอก ๑๔ กระดูกใกล้หัวใจ ๑ กระดูกไหปลาร้า ๒ กระดูกหลังแขน ๒ กระดูกแขน ๒ กระดูกปลายแขน ๒ กระดูกคอ ๗ กระดูกคาง๒ กระดูกจมูก ๑ [กระดูกตา ๒ กระดูกหู ๒] กระดูกหน้าผาก ๑ [กระดูกหัว ๑] กระดูกกระโหลกศีรษะ ๙ กระดูกทั้งหมดนั่นแหละ มีสีขาว.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 63

กำหนดโดย สัณฐาน ว่ากระดูกมีสัณฐานต่างๆ กัน. จริงอย่างนั้นบรรดากระดูกเหล่านั้น กระดูกปลายนิ้วเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดตุมกา ต่อจากนั้น กระดูกข้อกลางของนิ้วเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดขนุนที่ไม่เต็มกระดูกข้อต้น มีสัณฐานเหมือนบัณเฑาะว์ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนเกล็ดหางนกยูงดังนี้ก็มี กระดูกหลังเท้า มีสัณฐานเหมือนกองรากต้นกันทละตำ กระดูกส้นเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดผลตาลซึ่งมีเมล็ดเดียวกระดูกข้อเท้า มีสัณฐานเหมือนลูกกลมของเล่นที่ผูกรวมกัน กระดูกชิ้นเล็กในกระดูกแข้ง มีสัณฐานเหมือนคันธนู กระดูกชิ้นใหญ่มีสัณฐานเหมือนเส้นเอ็นแห้งเพราะหิวระหาย ที่กระดูกแข้งตั้งอยู่ในกระดูกข้อเท้า มีสัณฐานเหมือนหน่อต้นเป้งลอกเปลือก ที่กระดูกแข้งตั้งอยู่ในกระดูกเข่า มีสัณฐานเหมือนยอดตะโพน กระดูกเข่า มีสัณฐานเหมือนฟองน้ำตัดข้างหนึ่ง กระดูกขาสัณฐานเหมือนด้ามมีดและขวานที่ถูกถากเคร่าๆ ที่กระดูกขาตั้งอยู่ในกระดูกสะเอว มีสัณฐานเหมือนคันหลอดเป่าไฟของช่างทอง โอกาสที่กระดูกขาตั้งอยู่ในกระดูกสะเอวนั้น มีสัณฐานเหมือนผลบุนนาคตัดปลาย. กระดูกสะเอวแม้มี ๒ ก็ติดเป็นอันเดียวกัน มีสัณฐานเหมือนเตาไฟที่ช่างหม้อสร้างไว้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนหมอนข้างของดาบสดังนี้ก็มี. กระดูกตะโพก มีสัณฐานเหมือนคราบงูที่เขาวางคว่ำหน้า กระดูกสันหลัง ๑๘ ชิ้นมีช่องเล็กน้อยในที่ ๗- ๘ แห่ง ภายในมีสัณฐานเหมือนผืนผ้าโพกศีรษะที่วางซ้อนๆ กัน ภายนอก มีสัณฐานเหมือนแล่งกลม กระดูกสันหลังเหล่านั้นมีหนาม ๒ - ๓ อัน เสมือนฟันเลื่อย. บรรดากระดูกซี่โครง ๒๔ ชิ้น ส่วนที่บริบูรณ์ มีสัณฐานเหมือนเคียวชาวสิงหลที่บริบูรณ์ ส่วนที่ไม่บริบูรณ์ มีสัณฐานเหมือนเคียวชาวสิงหลที่ไม่บริบรูณ์ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทั้งหมด

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 64

นั่นแล มีสัณฐานเหมือนปีกสองข้างของไก่ขาวที่คลี่ออก ดังนี้ก็มี กระดูกอก ๑๔ ชิ้น มีสัณฐานเหมือนแถวแผ่นไม้คานหามเก่าๆ กระดูกหัวใจ มีสัณฐานเหมือนแผ่นทัพพี กระดูกไหปลาร้า มีสัณฐานเหมือนด้ามมีดโลหะเล็กๆ บรรดากระดูกไหปลาร้าเหล่านั้น กระดูกส่วนล่าง มีสัณฐานเหมือนอัฒจันท์ [พระจันทร์ครึ่งซีก] กระดูกหลังแขน มีสัณฐานเหมือนใบขวาน อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนจอบชาวสิงหลตัดครึ่ง ดังนี้ก็มี กระดูกแขนมีสัณฐานเหมือนด้ามกระจกเงา อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนด้ามมีดใหญ่ ดังนี้ก็มี กระดูกปลายแขน มีสัณฐานเหมือนเง่าตาลคู่ กระดูกข้อมือมีสัณฐานเหมือนผืนผ้าโพกศีรษะ. ที่เขาวางติดรวมกัน กระดูกหลังมือ มีสัณฐานเหมือนกองเง่าต้นกันทละตำ กระดูกข้อต้นของนิ้วมือ มีสัณฐานเหมือนบัณเฑาะว์ กระดูกข้อกลาง มีสัณฐานเหมือนเมล็ดขนุนที่ไม่บริบูรณ์ กระดูกข้อปลาย. มีสัณฐานเหมือนเมล็ดตุมกา กระดูกคอ ๗ มีสัณฐานเหมือนชิ้นหน่อไม้ไผ่ที่เขาเจาะ วางเรียงไว้ กระดูกคางล่าง มีสัณฐานเหมือนเชือกผูกค้อนเหล็กของช่างทอง กระดูกคางบน มีสัณฐานเหมือนไม้ชำระ ๗ อันกระดูกเบ้าตาและโพรงจมูก มีสัณฐานเหมือนลูกตาลอ่อนที่ยังไม่ลอกเยื่อ กระดูกหน้าผาก มีสัณฐานเหมือนกระโหลกสังข์แตกที่เขาวางคว่ำหน้า กระดูกกกหูมีสัณฐานเหมือนกล่องมีดโกนของช่างแต่งผม บรรดากระดูกหน้าผากและกกหูกระดูกในโอกาสที่ติดกันเป็นแผ่นตอนบน มีสัณฐานเหมือนชิ้นผ้าเก่าปิดหม้อเต็มน้ำหนาๆ กระดูกหัว มีสัณฐานเหมือนมะพร้าวคดตัดปาก กระดูกศีรษะมีสัณฐานเหมือนกะโหลกน้ำเต้าเก่าแก่ที่เสียบวางไว้. โดยทิศ กระดูกทั้งหลายเกิดในทิศทั้งสอง.

โดยโอกาส กระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่ทั่วสรีระไม่มีส่วนเหลือ แต่ว่าโดยพิเศษ กระดูกศีรษะตั้งอยู่บนกระดูกคอ กระดูกคอก็ตั้งอยู่บนกระดูกสัน-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 65

หลัง กระดูกสันหลัง ก็ตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว กระดูกสะเอว ก็ตั้งอยู่บนกระดูกขา กระดูกขาก็ตั้งบนกระดูกเข่า กระดูกเข่าก็ตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง กระดูกแข้งก็ตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า กระดูกข้อเท้าก็ตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า กระดูกหลังเท้า ก็ยกกระดูกข้อเท้าขึ้นตั้ง กระดูกข้อเท้าก็ยกกระดูกแข้งขึ้นตั้ง ฯลฯ กระดูกคอก็ยกกระดูกศีรษะขึ้นตั้ง. พึงทราบกระดูกส่วนที่เหลือโดยทำนองดังกล่าวมาฉะนี้.

ในกระดูกนั้น กำหนดว่า กระดูกศีรษะ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนกระดูกคอ ฯลฯ กระดูกข้อเท้า ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า แม้กระดูกหลังเท้าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกข้อเท้าขึ้นตั้ง เปรียบเหมือนบรรดาทัพพสัมภาระ มีอิฐและไม้กลอน อิฐเป็นต้นตอนบนย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนอิฐเป็นต้นตอนล่าง อิฐเป็นต้นตอนล่าง ก็ไม่รู้ว่าเรายกอิฐเป็นต้นตอนบนตั้งขึ้น ฉะนั้น ด้วยว่า กระดูกเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณาเป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. ก็กระดูก ๓๐๐ ชิ้นที่เป็นโครงสร้างเหล่านี้ อันเอ็น ๙๐๐ และเนื้อ ๙๐๐ ชิ้นผูกและฉาบไว้ หนังหุ้มเป็นก้อนเดียวกัน ฉาบทาด้วยยางเหนียวไปตามประสาทรับรส ๗,๐๐๐ มีหยดเหงื่อกรองด้วยขุมขน ๙๙,๐๐๐ มีตระกูลหนอน ๘๐ ตระกูล นับได้ว่า กาย อย่างเดียว ซึ่งพระโยคาวจรเมื่อพิจารณาโดยสภาวะเป็นจริง ย่อมจะไม่เห็นสิ่งไรๆ ที่ควรเข้าไปยึดถือ แต่จะเห็นร่างกระดูกอย่างเดียว ที่รัดรึงด้วยเอ็น คลาคล่ำด้วยซากศพต่างๆ ซึ่งครั้นเห็นแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นโอรสของพระทศพล เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ปฏิปาฏิยฏฺีนิ ิตานิ โกฏิยา อเนกสนฺธิยมิโต น เกหิจิ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 66

พทฺโธ นหารูหิ ชราย โจทิโต อเจตโน กฏฺกลิงฺครูปโม

กระดูกทั้งหลายตั้งหลายเรียงกัน ในที่ต่อเป็นอันมากจากกายนี้ อันสิ่งไรๆ มิได้ผูกไว้ กายนี้หากเอ็นทั้งหลายผูกรัดไว้ อันชราเตือนแล้ว ไม่มีเจตนา [ใจ] อุปมาดังท่อนไม้.

กฺณปํ กุณเป ชาตํ อสุจิมฺหิ จ ปูตินิ ทุคฺคนฺเธ จาปิ ทุคฺคนฺธํ เภทนมฺหิ จ วยธมฺมํ อฏฺิปุเฏ อฏฺิปุโฏ นิพฺพตฺโต ปูตินิ ปูติกายมฺหิ ตมฺหิ จ วิเนถ ฉนฺทํ เหสฺสถ ปุตฺตา ทสพลสฺส.

ซากศพเกิดในซากศพ ของเน่าเกิดในของไม่สะอาด ของเหม็นเกิดในของเหม็น ของต้องเสื่อมสภาพเกิดในของต้องสลายไป กองกระดูกเกิดในกองกระดูก ของเน่าเกิดในกายเน่า เธอทั้งหลาย จงกำจัดความพอใจในกายอันเน่านั้นเสีย ก็จักเป็นบุตรของตถาคตทศพล.

โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า ภายในกระดูก ตัดตอนด้วยเยื่อในกระดูกภายนอก ตัดตอนด้วยเนื้อ ปลายและโคนตัดตอนด้วยกระดูกของกันและกันเอง นี้เป็นการกำหนดกระดูกเหล่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกับผมนั้นแล. กำหนดกระดูกโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 67

อฏฺิมิญฺชํ เยื่อในกระดูก

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า เยื่อในกระดูก ซึ่งอยู่ภายในกระดูกทั้งหลาย มีประเภทตามที่กล่าวแล้วในสรีระโดยวรรณะ มีสีขาว. โดยสัณฐานเหมือนโอกาสของตน คือ เยื่อกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกทั้งหลายขนาดใหญ่ๆ มีสัณฐานเหมือนหน่อหวายขนาดใหญ่ซึ่งเขาสอดหมุนใส่ในข้อไม้ไผ่และอ้อขนาดใหญ่ เยื่อกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกเล็กๆ มีสัณฐานเหมือนหน่อหวายขนาดเล็ก ซึ่งเขาสอดหมุนใส่ในข้อไม้ไผ่และอ้อขนาดเล็ก โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในภายในกระดูกทั้งหลาย.

ในเยื่อกระดูกนั้นก็กำหนดว่า เยื่อกระดูกย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ภายในกระดูก แม้กระดูกก็ไม่รู้ว่า เยื่อกระดูกอยู่ภายในเรา เปรียบเหมือนนมส้มและน้ำอ้อย อยู่ภายในไม้ไผ่และอ้อเป็นต้น ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ภายในไม้ไผ่และอ้อเป็นต้น แม้ไม้ไผ่และอ้อเป็นต้น ก็ไม่รู้ว่านมส้ม และน้ำอ้อยอยู่ภายในเราฉะนั้น จริงอยู่ ธรรมเหล่านี้เว้นความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท เยื่อในกระดูก ตัดตอนด้วยพื้นภายในกระดูกทั้งหลาย และด้วยส่วนแห่งเยื่อในกระดูก. นี้เป็นการกำหนดเยื่อในกระดูกนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดเยื่อกระดูกโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

วกฺกํ ไต

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า วักกะ ไต ต่างโดยเป็นดังลูกกลม ๒ ลูกภายในสรีระ. โดยวรรณะมีสีแดงอ่อนมีสีเหมือนเมล็ดทองหลาง. โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนลูกกลมเล่นร้อยด้ายของเด็กชาวบ้าน อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนมะม่วง ๒ ผลขั้วเดียวกันดังนี้ก็มี. โดยโอกาส ไตนั้น

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 68

ถูกเอ็นหยาบ ซึ่งออกมาจากหลุมคอมีโคนเดียวกัน ไปหน่อยหนึ่งแล้วแตกออกเป็นสองส่วนรัดรึงไว้แล้วล้อมเนื้อหัวใจตั้งอยู่.

ในไตนั้น ก็กำหนดว่า ไตย่อมไม่รู้ว่า เราถูกเอ็นหยาบรัดไว้ แม้เอ็นหยาบก็ไม่รู้ว่า เรารัดไตไว้ เปรียบเหมือนมะม่วง ๒ ผลติดขั้วเดียวกันย่อมไม่รู้ว่า เขาถูกขั้วรัดไว้ แม้ขั้วก็ไม่รู้ว่าเรารัดมะม่วง ๒ ผลไว้ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล โดยปริเฉทว่า ไต ตัดตอนด้วยส่วนแห่งไต นี้เป็นการกำหนดไตนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดไตโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

หทยํ หัวใจ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า หทัยหัวใจ ภายในสรีระโดยวรรณะสีแดงมีสีเหมือนสีหลังกลีบปทุมแดง. โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนดอกปทุมตูม ลอกกลีบนอกออกแล้ววางคว่ำหน้าลง. ก็หัวใจนั้น ข้างหนึ่งเหมือนผลบุนนาคตัดยอดข้างนอกเกลี้ยง ข้างในก็เหมือนข้างในผลบวบขม. ของคนปัญญามาก แย้มนิดหน่อย ของคนปัญญาอ่อน ตูมอย่างเดียว มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป ถอดรูปนั้นออกไปแล้ว เลือดขังอยู่ประมาณครึ่งฟายมือภายในหัวใจกล่าวคือชิ้นเนื้อส่วนที่เหลือ เลือดนั้นของคนราคจริตสีแดง ของคนโทสจริตสีดำ ของคนโมหจิตสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ ของคนวิตกจริตสีเหมือนน้ำเยื่อถั่วพู ของคนสัทธาจริตสีเหมือนดอกกรรณิการ์ ของตนปัญญาจริตผ่องใสไม่ขุ่นมัว ปรากฏว่าโชติช่วงเหมือนแก้วมณีโดยกำเนิดที่ชำระแล้ว โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาสตั้งอยู่ตรงกลางราวนมทั้งสอง ภายในสรีระ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 69

ในหัวใจนั้น ก็กำหนดว่า หัวใจย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ตรงกลางราวนมทั้งสอง แม้ราวนมก็ไม่รู้ว่าหัวใจตั้งอยู่ตรงกลางเรา เปรียบเหมือนกลอนสลักตั้งอยู่กลางบานหน้าต่างและประตูทั้งสอง ย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ตรงกลางบานหน้าต่างและประตูทั้งสอง แม้บานหน้าต่างและประตูก็ไม่รู้ว่ากลอนสลักตั้งอยู่กลางเรา ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า หัวใจตัดตอนด้วยส่วนแห่งหัวใจนี้เป็นการกำหนดหัวใจนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดหัวใจโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ยกนํ ตับ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ชิ้นเนื้อคู่ ที่เรียกกันว่ายกนะ ตับ ภายในสรีระ โดยวรรณะสีแดง มีสีเหมือนสีหลังกลีบนอกดอกกุมุทแดง โดยสัณฐานมีโคนเดียวกัน ปลายคู่มีสัณฐานเหมือนดอกทองหลาง ก็ตับนั้นของคนปัญญาอ่อนมีแฉกเดียวแต่ใหญ่ ของคนมีปัญญามีแฉก ๒ - ๓ แฉก แต่เล็ก โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาสอาศัยสีข้างด้านขวาตั้งอยู่ภายในราวนมทั้งสอง.

ในตับนั้น ก็กำหนดว่า ตับย่อมไม่รู้ว่า เราอาศัยสีข้างด้านขวาตั้งอยู่ภายในราวนมทั้งของ แม้สีข้างด้านขวาภายในราวนมทั้งสองก็ไม่รู้ว่าตับอาศัยเราตั้งอยู่ เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อซึ่งแขวนอยู่ที่ข้างกระเบื้องหม้อ ย่อมไม่รู้ว่าเราแขวนอยู่ที่ข้างกระเบื้องหม้อ แม้ข้างกระเบื้องหม้อก็ไม้รู้ว่า ชิ้นเนื้อแขวนอยู่ที่เรา ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. แต่โดยปริเฉท กำหนดว่า ตับตัดตอนด้วยส่วนแห่งตับ นี้เป็นการกำหนดตับนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกันกับผมนั่นแล.กำหนดตับโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 70

กิโลมกํ พังผืด

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะพังผืดมี ๒ อย่าง คือ ชนิดปิดและชนิดไม่ปิด [เปิด] มีสีขาวสีเหมือนผ้าเก่า. โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนโอกาสของตน. โดยทิศเกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาสพังผืดชนิดปิดล้อมหัวใจและไตตั้งอยู่ พังผืดชนิดไม่ปิด [เปิด] หุ้มเนื้อใต้หนังทั่วสรีระตั้งอยู่.

ในพังผืดนั้น กำหนดว่า พังผืดย่อมไม่รู้ว่าเราล้อมหัวใจและไต และหุ้มเนื้อใต้หนังทั่วสรีระ แม้หัวใจและไต และเนื้อทั่วสรีระก็ไม่รู้ว่าเราถูกพังผืดหุ้ม เปรียบเหมือนที่เนื้ออันถูกผ้าเก่าหุ้ม ผ้าเก่าก็ไม่รู้ว่าเราหุ้มเนื้อ แม้เนื้อก็ไม่รู้ว่าเราถูกผ้าเก่าหุ้ม ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า พังผืดเบื้องล่างตัดตอนด้วยเนื้อ เบื้องบนตัดตอนด้วยหนัง เบื้องขวางตัดตอนด้วยส่วนแห่งพังผืด นี้เป็นการกำหนดพังผืดนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดพังผืดโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้

ปิหกํ ม้าม

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ม้าม ภายในสรีระมีสีเขียวมีสีเหมือนดอกคนทิสอแห้ง. โดยสัณฐานโดยมากมีสัณฐานเหมือนลิ้นลูกโคดำไม่พันกัน ประมาณ ๗ นิ้ว. โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาสตั้งอยู่ข้างซ้ายหัวใจ อาศัยข้างบนพื้นท้อง ซึ่งเมื่อออกมาข้างนอก เพราะถูกประหารด้วยเครื่องประหาร สัตว์ก็จะสิ้นชีวิต.

ในม้ามนั้น ก็กำหนดว่า ม้ามย่อมไม่รู้ว่าเราอาศัยส่วนข้างบนของพื้นท้อง แม้ส่วนข้างบนของพื้นท้องไม่รู้ว่า ม้ามอาศัยเราตั้งอยู่ เปรียบเหมือน

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 71

ก้อนโคมัย [มูลโค] อาศัยส่วนข้างบนของท้องตั้งอยู่ ย่อมไม่รู้ว่า เราอาศัยส่วนข้างบนของท้องตั้งอยู่ แม้ส่วนข้างบนของท้องก็ไม่รู้ว่า ก้อนโคมัยอาศัยเราตั้งอยู่ ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า ม้ามตัดตอนด้วยส่วนแห่งม้าม นี่เป็นการกำหนดม้ามนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดม้ามโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ปปฺผาสํ ปอด

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ปอดเป็นประเภทชิ้นเนื้อ ๓๒ ชิ้น ภายในสรีระ สีแดงเหมือนผลมะเดื่อสุกยังไม่จัด โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนขนมที่ตัดไม่เรียบ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่ามีสัณฐานเหมือนกองชิ้นอิฐก่อกำแพงดังนี้ก็มี ปอดนั้นไม่มีรส ไม่มีโอชะ เหมือนชิ้นฟางที่สัตว์เคี้ยวแล้ว เพราะถูกกระทบด้วยไออุ่นไฟที่เกิดแต่กรรม ซึ่งพลุ่งขึ้น เพราะไม่มีอาหารที่เคี้ยวที่ดื่ม. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ตั้งข้างบนห้อยคลุมหัวใจและตับระหว่างราวนมทั้งสอง.

ในปอดนั้น ก็กำหนดว่า ปอดย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งห้อยอยู่ระหว่างราวนมทั้งสองภายในสรีระ แม้ระหว่างราวนมทั้งสองภายในสรีระ ก็ไม่รู้ว่า ปอดตั้งห้อยอยู่ในเรา เปรียบเหมือนรังนกห้อยอยู่ภายในยุ้งเก่า ย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งห้อยอยู่ภายในยุ้งเก่า แม้ภายในยุ้งเก่าก็ไม่รู้ว่า รังนกตั้งห้อยอยู่ในเรา ฉะนั้นด้วยว่าธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล นี้เป็นการกำหนดปอดนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดปอดโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 72

อนฺตํ ไส้ใหญ่

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ไส้ใหญ่ขดอยู่ในที่ ๒๑ ขดของบุรุษขนาด ๓๒ ศอก ของสตรีขนาด ๒๘ ศอก สีขาว เหมือนสีน้ำตาลกรวดและปูนขาว. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนงูเรือนที่เขาตัดหัววางขดไว้ในรางเลือด. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในสรีระ ซึ่งมีหลุมคอและทางเดินกรีส [อุจจาระ] เป็นที่สุด เพราะโยงกับเบื้องบนที่หลุมคอ และเบื้องล่างที่ทางเดินกรีส.

ในไส้ใหญ่นั้น ก็กำหนดว่า ไส้ใหญ่ย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ภายในสรีระ แม้ภายในสรีระก็ไม่รู้ว่าไส้ใหญ่ตั้งอยู่ในเรา เปรียบเหมือนเรือนร่างงูเรือนศีรษะขาด ที่ถูกวางไว้ในรางเลือด ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในรางเลือด แม้รางเลือดก็ไม่รู้ว่า เรือนร่างงูศีรษะขาดตั้งอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดว่าไส้ใหญ่ตัดตอนด้วยส่วนแห่งไส้ใหญ่. นี้เป็นการกำหนดไส้ใหญ่โดยสภาค ส่วนกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล.

อนฺตคุณํ ไส้น้อย

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ไส้น้อยในระหว่างไส้ใหญ่ภายในสรีระ สีขาวเหมือนสีรากจงกลนี. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนรากจงกลนีนั่นแหละ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนเยี่ยวโค ดังนี้ก็มี โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาสพันปลายปากขนดไส้ใหญ่รวมกันเหมือนแผ่นกระดานยนต์ พันเชือกเวลาที่คนทำ จอบและขวานเป็นต้นชักยนต์ตั้งอยู่ระหว่างขนดไส้ใหญ่ ๒๑ ขด เหมือนเชือกที่ร้อยขดเชือกเช็ดเท้า ตั้งอยู่ในระหว่างเชือกเช็ดเท้านั้น.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 73

ในไส้น้อยนั้น ก็กำหนดว่า ไส้น้อยย่อมไม่รู้ว่า เราพันไส้ใหญ่ภายในไส้ใหญ่ ๒๑ ขนดไว้ แม้ไส้ใหญ่ก็ไม่รู้ว่า ไส้น้อยพันเราไว้ เปรียบเหมือนเชือก [เล็ก] ร้อยขดเชือกเช็ดเท้า [เชือกใหญ่] ย่อมไม่รู้ว่า เราร้อยขดเชือกเช็ดเท้าไว้ แม้ขดเชือกเท้าก็ไม่รู้ว่า เชือก [เล็ก] ร้อยเราไว้ ฉะนั้น.ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล.โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า ไส้น้อย ตัดตอนด้วยส่วนแห่งไส้น้อย. นี้เป็นการกำหนดไส้น้อยนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกับผลนั่นแล.การกำหนดไส้น้อยโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

อุทริยํ อาหารใหม่

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ อาหารใหม่มีสีเหมือนอาหารที่กลืนเข้าไป โดยสัณฐานที่สัณฐานเหมือนข้าวสารที่ผูกหย่อนๆ ในผ้ากรองน้ำ โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในท้อง ธรรมดาว่าท้อง เป็นพื้นของใส้ใหญ่ เสมือนโป่งลมที่เกิดเองตรงกลางผ้าเบียก ซึ่งถูกบีบทั้งสองข้าง ภายนอกเกลี้ยงเกลา ภายในพัวพันด้วยกองขยะเนื้อ เสมือนผ้าซับระดูเขรอะคล่ำคล่า อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่าเสมือนข้างในของผลขนุนต้ม ดังนี้ก็มี.ในท้องนั้น มีหนอนต่างด้วยหนอน ๓๒ ตระกูลอย่างนี้ คือ ตระกูลตักโกลกะ [ขนาดผลกระวาน] กัณฑุปปาทกะ [ขนาดไส้เดือน] ตาลหิรกะ [ขนาดเสี้ยนตาล] เป็นต้น คลาคล่ำ ไต่กันยั้วเยี้ย อาศัยอยู่ประจำ ซึ่งเมื่อไม่มีอาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้น ก็โลดแล่นร้องระงมชอนไชเนื้อหัวใจ และเวลาคนกลืนกินอาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้นลงไป ก็เงยหน้าตาลีตาลานแย่งอาหาร ๒ - ๓ คำที่คนกลืนลงไปครั้งแรก [ท้อง] จึงกลายเป็นบ้านเกิด เป็นส้วมเป็นโรงพยาบาล และเป็นป่าช้าของหนอนเหล่านั้น เป็นที่เปรียบเหมือนในฤดูสารท ฝนเม็ดหยาบๆ ตกลงมาในบ่อโสโครกใกล้ประตูหมู่บ้านคนจันฑาล ซาก

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 74

ต่างๆ ตั้งแต่ปัสสาวะ อุจจาระ ชิ้นหนัง กระดูก เอ็น น้ำลาย น้ำมูก และเลือดเป็นต้น ถูกน้ำพัดพา รวมคลุกเคล้ากับตมและน้ำ ก็มีหนอนตระกูลน้อยใหญ่เกิดเอง ล่วงไป ๒ - ๓ วัน ก็เดือดด้วยแรงแสงแดดและความร้อนพ่นฟองฟอดปุดขึ้นข้างบน มีสีเขียวจัด ไม่สมควรที่จะเข้าใกล้หรือมองดู ไม่ต้องกล่าวถึงว่าจะสูดดมหรือลิ้มรส ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้น มีประการต่างๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันสากคือฟันบดละเอียดแล้ว อันมือคือลิ้นตวัดกลับไปมาแล้ว คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ปราศจากความพร้อมด้วยสีกลิ่นรสเป็นต้นไปทันใด เสมือนรากสุนัขในรางสุนัข รวมกันคลุกเคล้าด้วยดีเสลด เดือดด้วยแรงไฟในท้องและความร้อน มีหนอนตระกูลใหญ่น้อยปล่อยฟองฟอดขึ้นเบื้องบน จะกลายเป็นกองขยะมีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียดอย่างยิ่ง ซึ่งฟังมาแล้วทำให้ไม่อยากดื่มน้ำกินข้าวเป็นต้น อย่าว่าถึงจะตรวจดูด้วยจักษุคือปัญญาเลยซึ่งเป็นที่ๆ น้ำและข้าวเป็นต้นตกลงไปแล้ว จะแบ่งเฉลี่ยเป็น ๕ ส่วน คือส่วนหนึ่ง สัตว์ [ในท้อง] จะกินส่วนหนึ่ง ไฟในท้องจะเผาไหม้ ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นปัสสาวะ ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นอุจจาระ ส่วนหนึ่งจะกลายเป็น รส [โอชะ] บำรุงเพิ่มเลือดและเนื้อ.

ในอาหารใหม่นั้น ก็กำหนดว่า อาหารใหม่ ย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในท้องที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่งนี้ แม้ท้องก็ไม่รู้ว่า อาหารใหม่อยู่ในเราเปรียบเหมือนรากสุนัข ที่อยู่ในรางสุนัข แม้รางสุนัขก็ไม่รู้ว่ารากสุนัขอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดรู้ว่าอาหารใหม่ตัดตอนด้วยส่วนแห่งอาหารใหม่ นี้เป็นการกำหนดอาหารใหม่นั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั้นแล. กำหนดอาหารใหม่ โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75

กรีสํ อาหารเก่า [อุจจาระ]

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ อาหารเก่า ภายในสรีระโดยมาก ก็มีสีเหมือนอาหารที่กลืนกินเข้าไป โดยสัณฐาน ก็มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องล่าง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในที่อาหารอันย่อยแล้วอยู่อาศัย ธรรมดาประเทศที่อาหารอันย่อยแล้วอยู่อาศัย ก็เป็นประเทศเสมือนภายในปล้องไม้ไผ่และอ้อ สูงประมาณ ๘ นิ้ว อยู่ปลายลำไส้ใหญ่ระหว่างโคนท้องน้อยและสันหลังเบื้องล่าง เปรียบเหมือนน้ำฝนตกในที่เบื้องบน [สูง] ก็ไหลลงทำที่เบื้องล่าง [ต่ำ] ให้เต็มขังอยู่ ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ตกลงในที่อยู่ของอาหารสด [ใหม่] อันไฟในท้องเผาให้สุกเดือดปุดเป็นฟอง กลายเป็นของละเอียดไปเหมือนแป้ง เพราะไฟธาตุทำให้ละเอียดแล้วก็ไหลไปตามช่องลำไส้ใหญ่ บีบรัดสะสมขังอยู่เหมือนดินเหลืองที่เขาใส่ในปล้องไม้ไผ่และต้นอ้อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในอาหารเก่านั้น ก็กำหนดว่า อาหารเก่าย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในที่อยู่ของอาหารที่ย่อยแล้ว แม้ที่อยู่ของอาหารที่ย่อยแล้ว ก็ไม่รู้ว่า อาหารเก่าอยู่ในเราเปรียบเหมือนดินเหลืองที่เขาขยำใส่ลงในปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อ ย่อมไม่รู้ว่าดินเหลืองอยู่ในเรา แม้ปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อก็ไม่รู้ว่า ดินเหลืองอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า อาหารเก่าตัดตอนด้วยส่วนแห่งอาหารเก่า นี้เป็นการกำหนดอาหารเก่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดอาหารเก่าโดยวรรณะเป็นต้นมีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

มตฺถลุงคํ มันในสมอง

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ มันในสมองภายในกระโหลกศีรษะ ในสรีระ มีสีขาวเหมือนสีเห็ด. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสี

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 76

เหมือนสีน้ำนมเดือด ดังนี้ก็มี. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส เป็นประเภทก้อนมันสมอง ๔ ก้อน ที่อาศัยร้อยเอ็น ๔ รอย ภายในกระโหลกศีรษะในสรีระ รวมกันตั้งอยู่เหมือนก้อนแป้ง ๔ ก้อนที่เขารวมกันตั้งไว้.

ในมันสมองนั้น ก็กำหนดว่า มันในสมองย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในกระโหลกศีรษะ แม้กระโหลกศีรษะก็ไม่รู้ว่ามันในสมองอยู่ในเรา เปรียบเหมือนก้อนแป้งที่เขาใส่ไว้ในกระโหลกน้ำเต้าเก่า หรือน้ำนมเดือด ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ในกระโหลกน้ำเต้าเก่า แม้กระโหลกน้ำเต้าเก่า ก็ไม่รู้ว่าก้อนแป้ง หรือน้ำนั้นเดือด อยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า มันในสมองตัดตอนด้วยส่วนแห่งมันในสมอง นี้เป็นการกำหนดมันในสมองนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดมันในสมอง โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ปิตฺตํ ดี

ต่อแต่นี้ไป กำหนดว่า ดี แม้สองชนิด คือดีนอกถุงและดีในถุง มีสีเหมือนน้ำมันมะซางข้น อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ดีนอกถุงมีสีเหมือนดอกพิกุลแห้งดังนี้ก็มี โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาส ดีนอกถุง เว้นที่ของผมขนเล็บและฟันอันพ้นจากเนื้อ และหนังที่แข็งและแห้ง เอิบอาบสรีระส่วนที่เหลืออยู่เหมือนหยาดน้ำมัน เอิบอาบน้ำ ซึ่งเมื่อกำเริบแล้ว ดวงตาจะเหลือง เวียนศีรษะ ตัวสั่นและคัน ดีในถุงตั้งอยู่ในถุงน้ำดี ซึ่งเสมือนรังบวบขมใหญ่ อาศัยเนื้อหัวใจตั้งอยู่ในระหว่างหัวใจและปอด ซึ่งเมื่อกำเริบแล้ว สัตว์ทั้งหลายจะเป็นบ้ามีจิตวิปลาส ทิ้งหิริโอตตัปปะ ทำการที่ไม่ควรทำ พูดคำที่ไม่ควรพูด คิดข้อที่ไม่ควรคิด.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 77

ในดีนั้น ก็กำหนดว่า ดีนอกถุง ย่อมไม่รู้ว่า เราเอิบอาบตลอดสรีระอยู่ แม้สรีระก็ไม่รู้ว่า ดีนอกถุงเอิบอาบเราอยู่. เปรียบเหมือนน้ำมันเอิบอาบน้ำอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าเราเอิบอาบน้ำอยู่ แม้น้ำก็ไม่รู้ว่า น้ำมันเอิบอาบเราอยู่ฉะนั้น ดีในถุงย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในถุงน้ำดี แม้ถุงน้ำดีก็ไม่รู้ว่า ดีในถุงอยู่ในเรา เปรียบเหมือนน้ำฝน ที่อยู่ในรังบวบขม ย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในรังบวบขม แม้รังบวบขมก็ไม่รู้ว่าน้ำฝนอยู่ในเรา ฉะนั้น. ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดว่าดีตัดตอนด้วยส่วนแห่งดี นี้เป็นการกำหนดดีนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดดีโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เสมหํ เสลด

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่าโดยวรรณะ เสมหะมีประมาณบาตรหนึ่งภายในสรีระ มีสีขาว เหมือนสีน้ำในมะเดื่อ โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในท้อง ซึ่งในเวลากลืนกินอาหารมีน้ำและโภชนะเป็นต้น เมื่อน้ำและโภชนะเป็นต้นตกลง ก็จะแตกออกเป็นสองส่วนแล้วจะกลับมาคลุมอีก ซึ่งเมื่อมีน้อย พื้นท้องจะมีกลิ่นเหมือนซากศพน่าเกลียดอย่างยิ่ง. เหมือนหัวฝีสุก เหมือนไข่ไก่เน่า เปรียบเหมือนสาหร่ายในน้ำ เมื่อชิ้นไม้หรือกระเบื้องตกก็จะขาดเป็นสองส่วนแล้วก็กลับมาคลุมอีก ฉะนั้น การเรอก็ดี ปากก็ดี จะมีกลิ่นเหม็นเสมือนซากศพเน่าด้วยกลิ่นที่พุ่งขึ้นจากท้องนั้น และคนผู้นั้น ก็จะถูกเขาพูดไล่ตะเพิดว่า ออกไปเจ้าส่งกลิ่นเหม็น และเสมหะพอกพูนหนาแน่นขึ้น ก็ช่วยระงับกลิ่นเหม็นตั้งอยู่ภายในพื้นท้องนั่นแหละ เหมือนแผ่นกระดานปิดส้วม.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 78

ในเสมหะนั้น ก็กำหนดว่า เสมหะย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ที่พื้นท้อง แม้พื้นท้องก็ไม่รู้ว่าเสมหะอยู่ในเรา เปรียบเหมือนแผ่นฟองบนบ่อโสโครก ย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในบ่อโสโครก แม้บ่อโสโครกก็ไม่รู้ว่า แผ่นฟองอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า เสมหะตัดตอนด้วยส่วนแห่งเสมหะ. นี้เป็นการกำหนดเสมหะนั้น โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดเสมหะโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ปุพฺโพ หนอง

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ หนองมีสีเหมือนใบไม้เหลือง โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้งสอง โดยโอกาสธรรมดาโอกาสของน้ำเหลือง ตั้งอยู่ประจำไม่มี จะตั้งอยู่ในตำแหน่งสรีระที่น้ำเหลืองสะสมตั้งอยู่ ที่เมื่อถูกตอหนามเครื่องประหารและเปลวไฟเป็นต้นกระทบแล้วห้อเลือด หรือเกิดฝีและต่อมเป็นต้น.

ในหนองนั้น ก็กำหนดว่า หนองย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกตอและหนามเป็นต้นกระทบ หรือในตำแหน่งที่เกิดฝีและต่อมเป็นต้น ณ ที่นั้นๆ แห่งสรีระ แม้ตำแหน่งสรีระก็ไม่รู้ว่า น้ำเหลืองอยู่ในเรา เปรียบเหมือนยางไม้ที่ไหลออกตั้งอยู่ในที่ๆ ถูกคมขวานเป็นต้นเฉพาะในที่นั้นๆ ของต้นไม้ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในที่ๆ ถูกเฉพาะของต้นไม้ แม้ที่ๆ ถูกเฉพาะของต้นไม้ก็ไม่รู้ว่า ยางไม้ตั้งอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า หนองตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำเหลือง นี้เป็นการกำหนดหนองนั้น โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดหนองโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 79

โลหิตํ เลือด

ต่อแต่นั้นไป ในเลือด ๒ อย่าง คือ เลือดขังและเลือดเดิน ก็กำหนดเลือดขังก่อน โดยวรรณะมีสีเหมือนน้ำครั่งเดือดข้น เลือดเดินมีสีเหมือนน้ำครั่งใส. โดยสัณฐาน เลือดทุกอย่าง มีสัณฐานเหมือนโอกาสของตน. โดยทิศเลือดขังเกิดในทิศเบื้องบน เลือดเดินเกิดในทิศทั้งสอง โดยโอกาส เลือดเดินจะกระจายไปตลอดสรีระทุกส่วนของสัตว์เป็นๆ เว้นที่ๆ ผมขนเล็บและฟันที่พ้นจากเนื้อ และหนังที่กระด้างและแห้ง เลือดขังทำส่วนล่างของตับให้เต็มแล้วทำหยดเลือดให้ตกลงทีละน้อยๆ บนม้ามหัวใจตับและปอดประมาณเต็มฟายมือหนึ่ง ทำม้ามหัวใจตับและปอดให้ชุ่มอยู่ ซึ่งเมื่อไม่ทำม้ามและหัวใจเป็นต้นให้ชุ่มอยู่ สัตว์ทั้งหลายก็จะกระหายน้ำ.

ในเลือด ก็กำหนดว่า เลือดย่อมไม่รู้ว่า เราทำม้ามและหัวใจเป็นต้นให้ชุ่ม ตั้งอยู่ส่วนล่างของตับ แม้ที่ส่วนล่างของตับหรือม้ามและหัวใจเป็นต้น ก็ไม่รู้ว่า เลือดตั้งอยู่ในเรา หรือทำเราให้ชุ่มตั้งอยู่ เปรียบเหมือนน้ำที่อยู่ในภาชนะเก่าๆ ทำก้อนดินเป็นต้นข้างล่างให้ชุ่มอยู่ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในภาชนะเก่าๆ ทำก้อนดินเป็นต้นข้างล่างให้ชุ่มอยู่ แม้ภาชนะเก่าๆ หรือก้อนดินเป็นต้นข้างล่าง ก็ไม่รู้ว่า น้ำตั้งอยู่ในเรา หรือทำเราให้ชุ่มตั้งอยู่ ฉะนั้นด้วยว่า ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล.โดยปริเฉท กำหนดว่า เลือดตัดตอนด้วยส่วนแห่งเลือด. นี้เป็นการกำหนดเลือดนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล.กำหนดเลือดโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80

เสโท เหงื่อ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ เหงื่อ ในสรีระมีสีเหมือนน้ำมันงาใส. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้งสอง.โดยโอกาส ธรรมดาเหงื่อจะออกอยู่เป็นนิจ หามีไม่ หากแต่เหงื่อมีอยู่ทุกเมื่อหรือเพราะเหตุที่เวลาใด สรีระ เร่าร้อน เพราะร้อนไฟแสงแดดและฤดูวิปริตเป็นต้น เวลานั้น เหงื่อจะไหลออกจากทุกรูผมและขุมขน เหมือนน้ำในกำเง่าบัวและก้านบัวที่ตัดไม่เรียบพอยกขึ้นพ้นน้ำ ฉะนั้น พระโยคาวจรจึงกำหนดเหงื่อนั้น โดยสัณฐาน ด้วยรูผมและขุมขนเหล่านั้น ท่านบุรพาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า อันพระโยคาวจร ผู้กำหนดเอาเหงื่อเป็นอารมณ์ พึงมนสิการใส่ใจเหงื่อ โดยที่เหงื่อทำรูผมและขุมขนให้เต็มแล้วตั้งอยู่.

ในเหงื่อนั้น กำหนดว่า เหงื่อย่อมไม่รู้ว่า เราไหลออกจากรูผมและขุมขน แม้รูผมและขุมขนก็ไม่รู้ว่า เหงื่อไหลออกจากเรา เปรียบเหมือนน้ำที่ไหลออกจากช่องกำเหง้าบัวและก้านบัว ย่อมไม่รู้ว่า เราไหลออกจากช่องเหง้าบัวและก้านบัว แม้ช่องเหง้าบัวและก้านบัว ก็ไม่รู้ว่าน้ำไหลออกจากเราฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล.โดยปริเฉทกำหนดว่า เหงื่อตัดตอนด้วยส่วนแห่งเหงื่อ นี้เป็นกำหนดเหงื่อนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดเหงื่อโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เมโท มันข้น

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะนั้น มันข้นระหว่างหนังและเนื้อในสรีระ มีสีเหมือนขมิ้นผ่า โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส จริงอย่างนั้น สำหรับคนตัวอ้วนมีสุข มันข้นที่แผ่ไประหว่างหนังและเนื้อ มีสัณฐาน

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 81

เหมือนผ้าเปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้น สำหรับคนตัวผอม มันข้นอาศัยเนื้อแข้ง เนื้อขา เนื้ออาศัยสันหลังและเนื้อหลังและเนื้อพื้นท้องรวมไว้ มีสัณฐานเหมือนผ้าเปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้นที่เขารวบวางไว้. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง โดยโอกาสมันข้นสำหรับคนอ้วนแผ่ไปทั่วสรีระ สำหรับคนผอม อาศัยเนื้อแข็งเป็นต้นอยู่ซึ่งก็คือมันเหนียว มิใช่รวมไว้เพื่อเป็นน้ำมันในสมอง มิใช่เพื่อเป็นน้ำมันในคำข้าว มิใช่เพื่อตามประทีป [จุดตะเกียง] เพราะเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่ง.

ในมันข้นนั้น กำหนดว่า มันข้นย่อมไม่รู้ว่า เราอาศัยทั่วสรีระหรือเนื้อที่แข้งเป็นต้นตั้งอยู่ แม้ทั่วสรีระหรือเนื้อที่แข้งเป็นต้น ก็ไม่รู้ว่า มันข้นอาศัยเราตั้งอยู่ เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้น ที่วางพิงกองเนื้อ ย่อมไม่รู้ว่า เราวางพิงกองเนื้อ แม้กองเนื้อก็ไม่รู้ว่า ผ้าเปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้นวางพิงเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉทกำหนดว่า มันข้น เบื้องล่างตัดตอนด้วยเนื้อเบื้องบนตัดตอนด้วยหนัง โดยรอบ ตัดตอนด้วยส่วนแห่งมันขัน. นี้เป็นการกำหนดมันข้นนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดมันข้น โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

อสฺสุ น้ำตา

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ น้ำตา มีสีเหมือนน้ำมันงาใส. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ตั้งอยู่ในเบ้าตา ก็น้ำตานั้น หาขังตั้งอยู่ในเบ้าตาทุกเมื่อเหมือนน้ำดีในถุงน้ำดีไม่. มีได้อย่างไรเล่า. เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเกิดโสมนัสดีใจ ก็หัวเราะดังลั่น เกิดโทมนัสเสียใจ ก็ร้องไห้คว่ำครวญหรือกลืนกินอาหารเผ็ดก็เหมือนกัน และเมื่อใด ตาทั้งสองข้างของสัตว์เหล่านั้น ถูกควันละอองและ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 82

ฝุ่นเป็นต้นกระทบ เมื่อนั้น น้ำตาเกิดขึ้นเพราะโสมนัส โทมนัสและอาหารเผ็ดเป็นต้น ก็จะขัง เอ่อออกเต็มเบ้าตา ท่านบุรพาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าอันพระโยคาวจร ผู้กำหนดเอาน้ำตาเป็นอารมณ์ พึงมนสิการใส่ใจน้ำตานั้นโดยที่น้ำตาขังเต็มเบ้าตานั่นแล.

ในน้ำตานั้น กำหนดว่า น้ำตาย่อมไม่รู้ว่าเราขังอยู่ในเบ้าตา แม้เบ้าตาก็ไม่รู้ว่า น้ำตาขังอยู่ในเรา เปรียบเหมือนน้ำที่ขังอยู่ในเมล็ดลูกตาลรุ่นที่ตัดปลายย่อมไม่รู้ว่าเราขังอยู่ในเบ้าเมล็ดลูกตาลรุ่นที่ตัดปลาย แม้เบ้าเมล็ดลูกตาลรุ่นตัดปลาย ก็ไม่รู้ว่า น้ำขังอยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากควานคิดคำนึงและพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่าน้ำตา ตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำตา นี้เป็นการกำหนดน้ำตานั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. ก็กำหนดน้ำตา โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

วสา มันเหลว

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ มันเหลว คือมันที่ละลายอยู่ในสรีระ มีสีเหมือนน้ำมันที่ราดในข้าวตัง. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ที่ฝ่ามือหลังมือฝ่าเท้าหลังเท้า ดั้งจมูก หน้าผากและจงอยบ่า แต่มันเหลวนั้น หาละลายตั้งอยู่ในโอกาสเหล่านั้นทุกเมื่อไม่. อย่างไรเล่า. เมื่อใด ประเทศที่เหล่านั้นเกิดไออุ่นเพราะไม่ถูกกันกับความร้อนของไฟ แสงแดด ฤดูและธาตุที่ไม่ถูกกัน เมื่อนั้นมันเหลว ก็จะละลายซ่านไปในประเทศที่เหล่านั้น เหมือนน้ำค้างในบ่อน้ำที่มีน้ำใส.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 83

ในมันเหลว กำหนดว่า มันเหลวย่อมไม่รู้ว่าเราท่วมอยู่ตลอดฝ่ามือเป็นต้น แม้ฝ่ามือเป็นต้นก็ไม่รู้ว่ามันเหลวท่วมเราอยู่ เปรียบเหมือนน้ำค้างที่ท่วมบ่อน้ำอยู่ ย่อมไม่รู้ว่า เราท่วมบ่อน้ำ แม้บ่อน้ำก็ไม่รู้ว่า น้ำค้างท่วมเราอยู่ ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า มันเหลวตัดตอนด้วยส่วนแห่งมันเหลว นี้เป็นการกำหนดมันเหลวนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดมันเหลว โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เขโฬ น้ำลาย

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ น้ำลายภายในปากในสรีระสีขาวสีเหมือนฟองน้ำ. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนฟองน้ำทะเลดังนี้ก็มี โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ไหลลงจากแก้มสองข้าง ตั้งอยู่ที่ลิ้น แต่น้ำลายนั้น หาสะสมตั้งอยู่ที่แก้มนั้นทุกเมื่อไปไม่ เป็นอย่างไรเล่า. เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเห็นหรือ ระลึกถึงอาหารเช่นนั้น หรือวางของร้อนของรสขมเผ็ดเค็มและเปรี้ยวบางอย่างลงในปาก และเมื่อใด หัวใจของสัตว์เหล่านั้น ไม่สบาย หรือเกิดหิวขึ้นในบางครั้ง เมื่อนั้นน้ำลายจะเกิดไหลลงจากแก้มทั้งสองข้างตั้งอยู่ที่ลิ้น แต่ที่ปลายลิ้นน้ำลายนั้นจะบาง ที่โคนลิ้นจะหนา ก็ข้าวเม่า ข้าวสาร หรือของเคี้ยวอื่นๆ บางอย่างที่เขาใส่ลงในปาก จะยังไม่ละลายไปเหมือนน้ำในบ่อที่ขุดบนทรายริมแม่น้ำ เมื่อนั้น น้ำลาย จะสามารถทำของเคี้ยวให้เปียกชุ่ม.

ในน้ำลายนั้น กำหนดว่า น้ำลายย่อมไม่รู้ว่าเราไหลลงจากแก้มทั้งสองข้างตั้งอยู่ที่พื้นลิ้น แม้พื้นลิ้นก็ไม่รู้ว่าน้ำลายไหลลงจากแก้มทั้งสองข้างตั้งอยู่

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 84

ในเรา เปรียบเหมือนน้ำที่ตั้งอยู่ที่พื้นบ่อซึ่งเขาขุดบนทรายริมแม่น้ำ ย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ที่พื้นบ่อ แม้พื้นบ่อก็ไม่รู้ว่าน้ำตั้งอยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่าน้ำลายตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำลาย. นี้เป็นการกำหนดน้ำลายนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดน้ำลายโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

สิงฆาณิกา น้ำมูก

ตั้งแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ น้ำมูก สีขาวเหมือนสีเยื่อตาลรุ่น. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนหน่อหวายที่เขาใส่ติดต่อกัน คืบๆ เข้าไปในโพรงจมูก ดังนี้ก็มี โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ขังอยู่เต็มจมูก แต่ว่าน้ำมูกนั้น หาสะสมขังอยู่ในโพรงจมูกนั้นทุกเมื่อไปไม่. เป็นอย่างไรเล่า บุรุษห่อนมส้มไว้ในใบบัวเอาหนามเจาะใบบัวตอนล่าง ทีนั้น ก้อนนมส้มก็จะไหลออกจากช่องนั้นตกลงไปภายนอก ฉันใด เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายร้องไห้หรือเกิดธาตุกำเริบ โดยอาหารและฤดูที่ไม่ถูกกัน เมื่อนั้นมันในสมอง ที่กลายเป็นเสมหะเสีย ไหลออกจากภายในศีรษะ ลงทางช่องบนเพดานปาก ขังอยู่เต็มจมูกฉันนั้น เหมือนกัน

ในน้ำมูกนั้น กำหนดว่า น้ำมูกย่อมไม่รู้ว่าเราขังอยู่ในโพรงจมูก แม้โพรงจมูกก็ไม่รู้ว่า น้ำมูกขังอยู่ในเราเปรียบเหมือนนมส้มเสียที่เขาใส่ไว้ในหอยโข่ง ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ในหอยโข่ง แม้หอยโข่งก็ไม่รู้ว่า นมส้มเสียอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า น้ำมูก ตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำมูก นี้เป็นการกำหนดน้ำมูกนั้น. โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดน้ำมูกโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 85

ลสิกา ไขข้อ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ซากศพที่ลื่นเป็นมันในภายในที่ต่อแห่งสรีระ ภายในสรีระ ชื่อไขข้อ. โดยวรรณะ ไขข้อนั้น มีสีเหมือนยางต้นกรรณิการ์. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง.โดยโอกาส ให้สำเร็จกิจคือหน้าที่หยอดน้ำมันที่ต่อแห่งกระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่ภายในที่ต่อ ๑๘๐ แห่ง ไขข้อนั้นของผู้ใดมีน้อย ผู้นั้น ลุกขึ้น นั่งลงก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง งอแขนเหยียดแขน กระดูกทั้งหลายก็จะลั่นกุบกับเดินไปก็เหมือนทำเสียงดีดนิ้ว เดินทางไกลไปได้แม้เพียงโยชน์หนึ่งสองโยชน์วาโยธาตุก็กำเริบ [เป็นลม] ตัวก็ลำบาก. ส่วนไขข้อของผู้ใดมีมาก ผู้นั้นกระดูกทั้งหลายก็ไม่ลั่นกุบกับ ในขณะลุกขึ้นและนั่งลงเป็นต้น แม้เดินทางนานๆ วาโยธาตุก็ไม่กำเริบ ตัวก็ไม่ลำบาก.

ในไขข้อนั้น กำหนดว่า ไขข้อย่อมไม่รู้ว่าเราหยอดน้ำมันที่ต่อ ๑๘๐ แห่งอยู่ แม้ที่ต่อ ๑๘๐ แห่งก็ไม่รู้ว่าไขข้อหยอดน้ำมันเราอยู่ เปรียบเหมือนน้ำมันหยอดเพลารถย่อมไม่รู้ว่า เราหยอดน้ำมันเพลารถอยู่ แม้เพลารถก็ไม่รู้ว่า น้ำมันหยอดน้ำมันเราอยู่ ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า ไขข้อตัดตอนด้วยส่วนแห่งไขข้อ นี้เป็นการกำหนดไขข้อนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดไขข้อโดยวรรณะเป็นต้นมีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

มุตฺตํ มูตร [ปัสสาวะ]

ต่อแต่นั้นไป กำหนดว่า โดยวรรณะ มูตรภายในสรีระมีสีเหมือนน้ำด่างถั่วทอง โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนน้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำที่เต็มน้ำ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86

ซึ่งเขาวางคว่ำปาก. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องล่าง โดยโอกาสตั้งอยู่ในกะเพาะปัสสาวะ. ถุงปัสสวะ ท่านเรียกชื่อว่ากะเพาะปัสสาวะ ซึ่งเปรียบเหมือนรสน้ำโสโครก ย่อมเข้าไปในหม้อซึ้งที่ไม่มีปาก ซึ่งเขาวางไว้ในบ่อโสโครก ทางเข้าไปของรสน้ำโสโครกนั้นไม่ปรากฏ ฉันใด มูตรเข้าไปทางสรีระ แต่ทางเข้าไปของมูตรนั้นไม่ปรากฏ ส่วนทางออกเท่านั้นปรากฏอยู่.

ในมูตรนั้น กำหนดว่า มูตรย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกะเพาะปัสสาวะ แม้กะเพาะปัสสาวะก็ไม่รู้ว่ามูตรตั้งอยู่ในเรา เปรียบเหมือนรสน้ำโสโครก ในหม้อซึ้ง ที่ไม่มีปากซึ่งเขาวางไว้ในบ่อน้ำโสโครก ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ในหม้อซึ้งที่ไม่มีปาก แม้หม้อซึ้งก็ไม่รู้ว่ารสน้ำโสโครกตั้งอยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉทกำหนดว่า มูตรตัดตอนด้วยภายในกะเพาะปัสสาวะ และด้วยส่วนแห่งมูตร นี้เป็นการกำหนดมูตรนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดมูตร โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้. พระโยคาวจรกำหนดทวัตติงสาการนี้ โดยวรรณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

เพราะอาศัยการประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนาการเจริญทวัตติงสาการนั้นๆ ทวัตติงสาการมีผมเป็นต้น ก็ย่อมจะคล่องแคล่ว ปรากฏชัดโกฏฐาสเป็นส่วนๆ แก่พระโยคาวจรนั้น ผู้กำหนดทวัตติงสาการนี้ โดยวรรณะเป็นต้นด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นไปเมื่อบุรุษมีดวงตา ตรวจดูพวงมาลัยแห่งดอกไม้ทั้งหลาย ซึ่งมี ๓๒ สี อันร้อยไว้ด้วยด้ายเส้นเดียวกัน ดอกไม้ทุกดอก ก็ย่อมเป็นอันปรากฏไม่ก่อนไม่หลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจร สำรวจกายนี้ด้วยสติว่า ในกายนี้มีเกสาผมเป็นต้น ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันปรากฏไม่ก่อนไม่หลัง ฉันนั้นเหมือนกัน สติที่ตั้งขึ้นในผมทั้งหลายที่นึกถึง ย่อมจะเป็นไปจน

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 87

ถึงมูตร ตั้งแต่นั้นไป มนุษย์และเดียรฉานเป็นต้น ที่เดินไปมา จะละอาการว่าสัตว์ ปรากฏชัดแต่กองแห่งโกฏฐาสเป็นส่วนๆ เท่านั้น แก่พระโยคาวจรนั้น และน้ำและโภชนะเป็นต้น ที่สัตว์เหล่านั้นกลืนกิน ก็จะปรากฏชัดเหมือนใส่ลงไปในกองโกฏฐาส.

ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคาวจรผู้นี้จะพึงทำอะไร ต่อแต่นั้นไป. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ นิมิตนั้นนั่นแล อันพระโยคาวจรพึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก พึงกำหนด ให้เป็นอันกำหนดด้วยดี ถามว่าก็พระโยคาวจรนี้ เสพ เจริญนิมิตนั้น ทำให้มาก กำหนดให้เป็นอันกำหนดด้วยดีอย่างไร. ตอบว่า ความจริง พระโยคาวจรนี้เสพนิมิตที่ทวัตติงสาการมีผมเป็นต้นปรากฏ เป็นโกฏฐาสส่วนๆ นั้น ย่อมผูก คบ เข้าไปใกล้ด้วยสติให้ใจยึดห้องคือสติ หรือทำสติที่ได้ในนิมิตนั้นให้งอกงาม ท่านเรียกว่าเจริญนิมิตนั้น. ข้อว่าทำให้มาก ได้แก่ทำนิมิตนั้นบ่อยๆ ให้ประกอบด้วยสติ อันวิตกและวิจารเข้ากระทบแล้ว. ข้อว่ากำหนดให้เป็นอันกำหนดด้วยดี ได้แก่นิมิตเป็นอันกำหนดด้วยดี ไม่หายไปอีก โดยประการใด พระโยคาวจรย่อมกำหนดเข้าไปรองรับเข้าไปผูกนิมิตนั้นไว้ด้วยสติ โดยประการนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง มนสิการโกศล ความฉลาดในมนสิการอันใด ที่กล่าวไว้แต่ก่อน ๑๐ ข้ออย่างนี้คือ โดย ๑. โดยลำดับ ๒. โดยไม่เร่งนัก ๓. โดยไม่ช้านัก ๔. โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน ๕. โดยล่วงบัญญัติเสีย ๖. โดยปล่อยลำดับ ๗. โดยลักษณะ ๘. ๙. ๑๐. สูตรทั้ง ๓. ในมนสิการโกศลนั้น พึงทราบว่า พระโยคาวจรมนสิการใส่ใจโดยลำดับ ชื่อว่า เสพ. มนสิการโดยไม่เร่งนัก และโดยไม่ช้านัก ชื่อว่า เจริญ มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่านชื่อว่าทำให้มาก มนสิการโดยล่วงบัญญัติเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดให้เป็นอันกำหนดด้วยดี.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 88

ในข้อนี้ผู้ทักท้วงกล่าวว่า พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านี้ โดยมนสิการโกศลมีโดยลำดับเป็นต้นอย่างไร. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ ความจริงพระโยคาวจรนี้ ครั้นมนสิการผมแล้ว ลำดับจากนั้น ก็มนสิการขน ไม่มนสิการเล็บ. ในอาการทุกอย่างก็นัยนี้ เพราะเหตุไร. เพราะว่าพระโยคาวจรเมื่อมนสิการผิดลำดับ ก็มีจิตลำบาก ตกไปจากทวัตติงสาการภาวนา เจริญภาวนาไม่สำเร็จ เพราะไม่ได้อัสสาทะความสดชื่นที่ควรได้โดยภาวนาสมบัติเปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่ฉลาดขึ้นบันใด ๓๒ ขั้น ลำดับ ก็ลำบากกายย่อมตกบันไดนั้น ขึ้นบันไดไม่สำเร็จ ฉะนั้น.

อนึ่ง พระโยคาวจรแม้มนสิการโดยลำดับ ก็มนสิการไม่เร็วเกินไปว่าเกสา โลมา. เพราะว่า พระโยคาวจรเมื่อมนสิการเร็วเกินไป ก็ไม่อาจกำหนดสีและสัณฐานเป็นต้น ที่พ้นจากทวัตติงสาการ แต่นั้น ก็จะไม่ฉลาดในทวัตติงสาการ และกรรมฐานก็จะเสื่อมเสียไป เปรียบเหมือนบุรุษ กำลังเดินทางไกลไม่อาจกำหนด ทางเรียบ ทางขรุขระ ต้นไม้ ที่ดอนที่ลุ่ม ทางสองแพร่งเป็นต้นที่พ้นไปจากหนทาง แต่นั้น ก็จะไม่ฉลาดในหนทาง การเดินทางไกล ก็จะสิ้นไป ฉะนั้น.

อนึ่ง พระโยคาวจร มนสิการโดยไม่เร่งนัก ฉันใด ก็มนสิการ แม้โดยไม่ชักช้านัก ฉันนั้น เพราะว่า พระโยคาวจรเมื่อมนสิการชักช้านัก ก็จะไม่ถึงความสำเร็จทวัตติงสาการภาวนา แต่จะถึงความย่อยยับด้วยกามวิตกเป็นต้น ในระหว่าง เพราะขาดภาวนา เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ถูกหน่วงเหนี่ยวอยู่ที่ต้นไม้ ภูเขา และหนองน้ำเป็นต้นในระหว่างทาง ก็ไม่ถึงถิ่นที่ประสงค์ แต่จะถึงความย่อยยับ ด้วยสิงห์โตและเสือเป็นต้น ในระหว่างทางนั่นเอง ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 89

อนึ่ง พระโยคาวจรแม้มนสิการโดยไม่ชักช้านัก ก็มนสิการแม้โดยป้องกันความฟุ้งซ่านเสีย พระโยคาวจรย่อมมนสิการ โดยประการที่จะไม่ฟุ้งซ่าน เพราะงานอื่นๆ มีงานนวกรรม การก่อสร้างเป็นต้น พระโยคาวจร ผู้มีจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก มีความตรึกแห่งจิตไม่ตั้งมั่นในทวัตติงสาการมีผมเป็นต้น ก็ไม่ถึงความสำเร็จแห่งภาวนา จะถึงความย่อยยับเสียในระหว่างนั้นเองเหมือนสหายของพระโพธิสัตว์ ย่อยยับเสียในการเดินทางไปกรุงตักกสิลาส่วนพระโยคาวจรผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีความตรึกแห่งจิตตั้งมั่นในทวัตติงสาการมีผมเป็นต้น ก็ถึงความสำเร็จแห่งภาวนา เหมือนพระโพธิสัตว์ถึงความสำเร็จแห่งราชสมบัติในกรุงตักกสิลา ธรรมเหล่านั้นย่อมปรากฏโดยอสุภะ โดยสีหรือโดยความว่างเปล่า ด้วยอำนาจบารมี จริยาและความน้อมใจเชื่อแก่พระโยคาวจรนั้น ผู้มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระโยคาวจรมนสิการธรรมเหล่านั้น โดยล่วงบัญญัติ. ข้อว่าโดยล่วงบัญญัติ ได้แก่มนสิการล่วงเลยสละเสียซึ่งโวหารเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกสา โลมา โดยเป็นอสุภเป็นต้น ตามที่ปรากฏแล้ว. มนสิการอย่างไร. เปรียบเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย ที่เข้าไปอาศัยอยู่ในป่า ทำเครื่องหมายหักกิ่งไม้เป็นต้นเพื่อจำสถานที่มีน้ำไว้เพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่คุ้นเคย ไปตามแนวเครื่องหมายนั้นย่อมบริโภคน้ำได้ แต่เมื่อใด คุ้นเคยภูมิภาคแล้ว ก็ปล่อยไม่สนใจเครื่องหมายนั้นเข้าไปยังสถานที่มีน้ำ บริโภคน้ำได้ ฉันใด พระโยคาวจรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มนสิการธรรมเหล่านั้น โดยโวหารนั้นๆ มีเกสา โลมาเป็นต้นไปก่อน เมื่อธรรมเหล่านั้น ปรากฏชัดโดยอารมณ์มีอสุภเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ล่วงเลยปล่อยโวหารนั้น มนสิการโดยอารมณ์มีอสุภเป็นต้นแล.

ในข้อนั้น ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ธรรมเหล่านั้นปรากฏโดยความเป็นอสุภะเป็นต้นแก่พระโยคาวจรนั้นอย่างไร โดยวรรณะอย่างไร หรือโดยความเป็น

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 90

ของว่างเปล่าอย่างไร. อนึ่ง พระโยคาวจร มนสิการธรรมเหล่านี้โดยอสุภะอย่างไร โดยวรรณะอย่างไร หรือโดยความว่างเปล่าอย่างไร. ก่อนอื่น ผมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นโดยอสุภะ เป็น ๕ ส่วน คือ วรรณะ สีสัณฐาน ทรวดทรง คันธะกลิ่น อาสยะ ที่อยู่และโอกาสที่เกิด พระโยคาวจรนี้ก็มนสิการธรรมเหล่านี้ เป็น ๕ ส่วนนั่นแล โดยอสุภะ อย่างไรเล่า. ธรรมดาผมเหล่านี้โดยวรรณะ ไม่งาม เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดอย่างยิ่ง. จริงอย่างนั้นมนุษย์ทั้งหลาย เห็นเปลือกไม้หรือเส้นด้าย มีสีเหมือนผม ซึ่งตกลงไปในน้ำและข้าวเวลากลางวัน ย่อมทิ้งหรือเกลียดน้ำและข้าว แม้เป็นของชอบใจ ด้วยสำคัญว่าผม. แม้โดยสัณฐาน ก็ไม่งาม จริงอย่างนั้นมนุษย์ทั้งหลาย กระทบเปลือกไม้หรือเส้นด้าย ซึ่งมีสัณฐานเหมือนผม ซึ่งตกลงไปในน้ำข้าว เวลากลางคืน ย่อมทิ้งหรือเกลียดน้ำข้าวแม้เป็นของชอบใจ ด้วยสำคัญว่าผม. แม้โดยกลิ่นก็ไม่งาม. จริงอย่างนั้น ผมทั้งหลายที่เว้นการตกแต่งมีทาน้ำมัน ติดดอกไม้ รมควันเป็นต้น กลิ่นน่ารังเกียจอย่างยิ่ง คนสูดกลิ่น ผมที่โยนใส่ในไฟ ต้องปิดจมูก เบือนหน้าหนี. แม้โดยที่อยู่ก็ไม่งาม. จริงอย่างนั้น ผมเหล่านั้น สะสมแล้ว ก็เพิ่มพูนไพบูลย์ด้วยการไหลมาคั่งกันของดี เสมหะ น้ำเหลืองและเลือด เหมือนต้นกะเพราเป็นต้นในกองขยะ ด้วยการไหลมาคั่งกันของสิ่งไม่สะอาดของมนุษย์นานาชนิด. แม้โดยโอกาส ก็ไม่งาม. จริงอย่างนั้น ผมเหล่านั้น เกิดในหนังอ่อน ที่คลุมศีรษะของมนุษย์ทั้งหลาย เหนือยอดกองซากศพ ๓๑ มีขนเป็นต้น ซึ่งน่าเกลียดอย่างยิ่งเหมือนต้นกระเพราเป็นต้นในกองขยะ. ในซากศพ ๓๑ มีขนเป็นต้น ก็นัยนี้. พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านี้ที่ปรากฏโดยอสุภะ โดยความเป็นของไม่งาม ด้วยประการอย่างนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 91

ถ้าหากว่า ธรรมเหล่านี้ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยวรรณะเมื่อเป็นดังนั้น ผมทั้งหลายก็ปรากฏ โดยเป็นนีลกสิณ. ขน ฟัน ก็อย่างนั้น ย่อมปรากฏ โดยเป็นโอทาตกสิณ. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. พระโยคาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านี้ โดยเป็นกสิณนั้นๆ นั่นแล. ธรรมที่ปรากฏโดยวรรณะอย่างนี้ พระโยคาวจรก็มนสิการโดยวรรณะ ก็ถ้าหากว่าธรรมเหล่านั้นปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยความเป็นของว่างเปล่า เมื่อเป็นดังนั้น ผมทั้งหลายย่อมปรากฏ โดยเป็นการประชุมวินิพโภครูปที่มีโอชะครบ ๘ ด้วยการกำหนดแยกออกจากกลุ่มก้อน. ขนเป็นต้น ก็ปรากฏเหมือนอย่างที่ผมปรากฏ. พระโยคาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านี้ อย่างนั้นเหมือนกัน.ธรรมที่ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนี้ ก็มนสิการโดยความเป็นของว่างเปล่า.

พระโยคาวจรนี้ มนสิการอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มนสิการธรรมเหล่านั้นโดยลำดับ. ข้อว่าโดยปล่อยลำดับ อธิบายว่า พระโยคาวจร ปล่อยผมที่ปรากฏโดยเป็นอสุภะเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง และมนสิการขน เป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ในผมทั้งหลายแล้วมนสิการขนทั้งหลาย เมื่อตั้งมนสิการในขนทั้งหลาย ก็ชื่อว่าปล่อยผม เปรียบเหมือนปลิง เพ่งเฉยอยู่ที่ประเทศอันจับไว้ด้วยหาง ปล่อยประเทศอื่นทางจะงอยปาก เมื่อจับประเทศนั้นไว้ ก็ชื่อว่าปล่อยประเทศนอกนี้ฉะนั้น. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. ก็ธรรมเหล่านั้น เมื่อปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น ผู้มนสิการ โดยปล่อยลำดับอย่างนี้ ย่อมปรากฏไม่เหลือเลยทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า.

เมื่อเป็นดังนั้น ธรรมเหล่าใด ปรากฏโดยความเป็นของไม่งามแก่พระโยคาวจรใด ทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า เปรียบเหมือนลิงถูกพรานไล่ตะเพิดไปในดงตาล ๓๒ ต้น ไม่หยุดอยู่แม้แต่ต้นเดียว โลดโผไป เมื่อใด

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 92

กลับก็ล้า เมื่อนั้น จึงหยุดอิงตาลอ่อนอันสะอาด ที่หุ้มห่อด้วยใบตาลทึบต้นหนึ่งเท่านั้น ฉันใด ลิงคือจิตของพระโยคาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันพระโยคาวจรนั้นนั่นแหละไล่ตะเพิดไปอยู่ในกายนี้ ที่มี ๓๒ โกฏฐาสคือส่วนไม่หยุดอยู่แม้แต่ส่วนหนึ่ง โลดไป เมื่อใดกลับเพราะไม่มีความปรารถนาในอันแล่นไปสู่อารมณ์เป็นอันมาก ก็เหน็ดเหนื่อย [ล้า] เมื่อนั้น ธรรมใดของพระโยคาวจรนั้น คล่องแคล่วหรือเหมาะแก่จริตกว่าในส่วน ๓๒ มีผมเป็นต้น หรือเป็นผู้บำเพ็ญบารมีไว้ก่อนในธรรมใด ก็อิงธรรมนั้นหยุดอยู่โดยอุปจารสมาธิเมื่อเป็นดังนั้น พระโยคาวจรทำนิมิตนั้นนั่นแล ให้เป็นอันถูกความตรึก จรดถูกวิตกจรดบ่อยๆ ก็จะทำปฐมฌานให้เกิดขึ้นตามลำดับ ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้นแล้ว เริ่มวิปัสสนา ย่อมบรรลุอริยภูมิได้.

อนึ่ง ธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏโดยวรรณะแก่พระโยคาวจรใด เปรียบเหมือนลิงถูกพรานไล่ตะเพิดไปในดงตาล ๓๒ ต้น ไม่หยุดอยู่แม้แต่ต้นเดียว เมื่อใดกลับก็เหนื่อยล้า เมื่อนั้น จึงหยุดอิงตาลอ่อนอันสะอาด ที่หุ้มห่อด้วยใบตาลทึบต้นหนึ่งเท่านั้น ฉันใดลิงคือจิตของพระโยคาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกันอันพระโยคาวจรนั้นนั่นแหละ ไล่ตะเพิดไปอยู่ในกายนี้ที่มี ๓๒ ส่วนไม่หยุดอยู่แม้แต่ส่วนหนึ่ง โลดไป เมื่อใดกลับ เพราะไม่มีความปรารถนาแล่นไปในอารมณ์เป็นอันมาก ก็เหนื่อยล้า เมื่อนั้น ธรรมใดของพระโยคาวจรนั้น คล่องแคล่วหรือเหมาะแก่จริตกว่า ใน ๓๒ ส่วนมีผมเป็นต้น หรือเป็นผู้บำเพ็ญบารมีมาแต่ก่อนในธรรมใด ก็อิงธรรมนั้น หยุดอยู่โดยอุปจารสมาธิเมื่อเป็นดังนั้น พระโยคาวจรทำนิมิตนั้นนั่นแล ให้เป็นอันถูกความตรึกจรดถูกวิตกจรดบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดรูปาวจรฌานแม้ทั้ง ๕ โดยนีลกสิน หรือโดยปีตกสิณ ตามลำดับ และตั้งอยู่ในรูปาวจรฌานนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เริ่มเจริญวิปัสสนา ก็จะบรรลุอริยภูมิได้.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 93

อนึ่ง ธรรมเหล่านั้น ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า แก่พระโยคาวจรใด พระโยคาวจรนั้น ย่อมมนสิการโดยลักษณะ เมื่อมนสิการโดยลักษณะ ย่อมบรรลุอุปจารฌาน โดยกำหนดธาตุ ๔ ในธรรมเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น เมื่อมนสิการ ก็มนสิการธรรมเหล่านั้น โดยสูตรทั้ง ๓ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. นี้เป็นวิปัสสนานัยของพระโยคาวจรนั้น. พระโยคาวจรเริ่มเจริญวิปัสสนานี้และปฏิบัติไปตามลำดับ ก็ย่อมบรรลุอริยภูมิแล.

ก็คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ก็พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านี้อย่างไร คำนั้นก็เป็นอันข้าพเจ้าพยากรณ์แล้วด้วยกถามีประมาณเพียงเท่านี้.อนึ่งเล่า คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า พึงทราบการพรรณนาปาฐะนั้นอย่างนี้ โดยภาวนา. ความของคำนั้น ก็เป็นอันข้าพเจ้าประกาศแล้วแล.

ปกิณณกนัย

นัยเบ็ดเตล็ด

บัดนี้ พึงทราบปกิณณกนัยนี้ เพื่อความชำนาญและความฉลาด ในทวัตติงสาการนี้ว่า

นิมิตฺตโต ลกฺขณโต ธาตุโต สุญฺโตปิ จ ขนฺธาทิโต จ วิญฺเยฺโย ทฺวตฺตึสาการนิจฺฉโย.

พึงทราบการวินิจฉัยทวัตติงสาการ โดยนิมิต โดยลักษณะ โดยธาตุ โดยความว่างเปล่า และโดยขันธ์เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 94

บรรดาข้อปกิณณกะนั้น ข้อว่าโดยนิมิต ความว่า ในทวัตติงสาการนี้ มีประการดังกล่าวมาแล้วนี้ มีนิมิต ๑๖๐ ซึ่งพระโยคาวจร สามารถกำหนดทวัตติงสาการได้โดยโกฏฐาสคือเป็นส่วนๆ คือ ผมมีนิมิต ๕ คือ วรรณะ สีสัณฐาน ทรวดทรง ทิสา ทิศ โอกาส ที่เกิด ปริเฉท ตัดตอนในขนเป็นต้นก็อย่างนี้.

ข้อว่า โดยลักษณะ ความว่า ในทวัตติงสาการมีลักษณะ ๑๒๘ ซึ่งพระโยคาวจร สามารถทำมนสิการทวัตติงสาการได้โดยลักษณะ คือ ผมมี ๔ ลักษณะ คือ ลักษณะแข้น ลักษณะเอิบอาบ ลักษณะร้อน ลักษณะพัด ในขนเป็นต้น ก็อย่างนี้.

ข้อว่า โดยธาตุ ความว่า ในทวัตติงสาการ ในธาตุทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลนี้ มีธาตุ ๖ ดังนี้ ธาตุมี ๑๒๘ ซึ่งพระโยคาวจร สามารถกำหนดทวัตติงสาการได้โดยธาตุคือ ในผมมีธาตุ ๔ คือ ส่วนที่แข็งเป็นปฐวีธาตุ ส่วนที่เอิบอาบเป็นอาโปธาตุ ส่วนที่ร้อนเป็นเตโชธาตุ ส่วนที่พัดเป็นวาโยธาตุ. ในขนเป็นต้นก็อย่างนี้

ข้อว่า โดยความว่างเปล่า ความว่า ในทวัตติงสาการมีสุญญตา ๑๒๘ ซึ่งพระโยคาวจร สามารถพิจารณาเห็นทวัตติงสาการ โดยความว่างเปล่าคือในผมก่อน มีสุญญตา ๔ คือ ปฐวีธาตุว่างจากอาโปธาตุเป็นต้น อาโปธาตุเป็นต้น ก็อย่างนั้น ว่างจากปฐวีธาตุเป็นต้น. ในขนเป็นต้นก็อย่างนี้.

ข้อว่า โดยขันธ์เป็นต้น ความว่า ในทวัตติงสาการเมื่อผมเป็นต้นท่านสงเคราะห์โดยขันธ์เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ผมทั้งหลายมีขันธ์เท่าไร มีอาตนะเท่าไร มีธาตุเท่าไร มีสัจจะเท่าไร มีสติปัฏฐานเท่าไร. กายย่อมปรากฏประหนึ่งกองหญ้าไม้แก่พระโยคาวจรนั้น ผู้พิจารณาเห็นอย่างนี้ เหมือนอย่างท่านกล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 95

นตฺถิ สตฺโต นโร โปโส ปุคฺคโล นูปลพฺภติ สุญฺภูโต อยํ กาโย ติณกฏฺสมูปโม.

ไม่มี สัตว์ นระ บุรุษ ไม่ได้บุคคล กายนี้มีสภาพว่างเปล่า เปรียบเสมอด้วยหญ้าและไม้.

อนึ่งเล่า ความยินดีนั้นใด อันมิใช่ของมนุษย์ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

สุญฺาคารํ ปวิฏฺสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ตาทิโน อมานุสี รติ โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต.

ท่านผู้เข้าไปยังเรือนว่าง มีจิตสงบ คงที่ พิจารณา เห็นธรรมโดยชอบ ย่อมมีความยินดี ที่ไม่ใช่ของมนุษย์.

ความยินดีนั้น อยู่ไม่ไกลเลย. ต่อแต่นั้น อมตะคือ ปีติและปราโมชนั้นใด ที่สำเร็จมาแต่วิปัสสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ ลภตี ปีติปาโมชฺชํ อมตํ ตํ วิชานตํ.

พิจารณาเห็นความเกิดและดับแห่งขันธ์ทั้งหลายโดยประการใดๆ ปีติและปราโมชอันเป็นอมตะย่อมได้แก่ผู้พิจารณาเห็นความเกิดดับนั้น โดยประการนั้นๆ.

พระโยคาวจร เมื่อเสวยปีติและปราโมชอันเป็นอมตะนั้น ไม่นานเลยก็จะทำให้แจ้งอมตะคือพระนิพพานที่ไม่แก่ไม่ตาย อันอริยชนเสพแล้วแล.

จบกถาพรรณนาทวัตติงสาการ

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา