พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ขัคควิสาณสูตรที่ ๓ ว่าด้วยผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 พ.ย. 2564
หมายเลข  40147
อ่าน  964

[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 94

อุรควรรคที่ ๑

ขัคควิสาณสูตรที่ ๓

ว่าด้วยผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด 296/94

อรรถกถา ขัคควิสาณสูตรวรรคที่ ๑ 104

คาถาที่ ๑ 104

จริยา ๘ 131

คาถาที่ ๒ 135

ความเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง 139

คาถาที่ ๓ 142

มิตรสหายมีอุปการะ พึงทราบด้วยฐานะ ๔ 143

มิตรสหายผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์พึงทราบด้วยฐานะ ๔ 143

มิตรสหายผู้อนุเคราะห์พึงทราบด้วยฐานะ ๔ 144

มิตรสหายผู้บอกประโยชน์พึงทราบด้วยฐานะ ๔ 144

คาถาที่ ๔ 145

คาถาที่ ๕ 148

คาถาที่ ๖ 158

คาถาที่ ๗ 160

คาถาที่ ๘ 161

คาถาที่ ๙ 165

คาถาที่ ๑๐ 168

วรรคที่ ๒ 170

คาถาที่ ๑๑ - ๑๒ 170

คาถาที่ ๑๓ 174

คาถาที่ ๑๔ 177

คาถาที่ ๑๕ 179

คาถาที่ ๑๖ 183

คาถาที่ ๑๗ 186

คาถาที่ ๑๘ 188

คาถาที่ ๑๙ 189

คาถาที่ ๒๐ 192

วรรคที่ ๓ 196

คาถาที่ ๒๑ 196

คาถาที่ ๒๒ 198

คาถาที่ ๒๓ 201

คาถาที่ ๒๔ 203

คาถาที่ ๒๕ 207

คาถาที่ ๒๖ 209

คาถาที่ ๒๗ 210

คาถาที่ ๒๘ 213

คาถาที่ ๒๙ 214

คาถาที่ ๓๐ 216

วรรคที่ ๔ 218

คาถาที่ ๓๑ 218

คาถาที่ ๓๒ 220

คาถาที่ ๓๓ 222

คาถาที่ ๓๔ 224

คาถาที่ ๓๕ 228

คาถาที่ ๓๖ 230

คาถาที่ ๓๗ 232

คาถาที่ ๓๘ 235

คาถาที่ ๓๙ 238

คาถาที่ ๔๐ 240

คาถาที่ ๔๑ 242


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 46]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 94

ขัคควิสาณสูตรที่ ๓

ว่าด้วยผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด

[๒๙๖] บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้ง ปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนบรรดาสัตว์เหล่านั้น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึงปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไป ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยว ข้องกัน ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใย พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหาย เป็นผู้มี จิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้ เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือ การยังประโยชน์ ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใย ในบุตรและภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว ก่ายกัน ฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่ เหมือน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 95

หน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อม ไปหากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชน ผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตามความพอใจ ของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยว ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย บุคคลเพ่งความประพฤติตามความพอใจ ที่ พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

การเล่น การยินดี ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย อนึ่ง ความรักที่ยิ่งใหญ่ ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อเกลียดชัง ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็น ที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย ในทิศ ทั้งสี่และไม่เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 96

ตามได้ ครอบงำเสียซึ่งอันตราย ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้ ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์ ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ในบุตรของผู้อื่น พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น.

นักปราชญ์ละเหตุ อันเป็นเครื่อง ปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญา เครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้มีปรกติ อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึง ครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มี ปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปรกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 97

พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละ แว่นแคว้นอันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไป แต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะละโขลงเที่ยว อยู่ในป่าแต่ตัวเดียว ฉะนั้น.

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็น ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลแลดูกำไลทองทั้งสองอันงาม ผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จ ด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยว ไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่ สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความ เยื่อใย พึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 98

ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ฝี อุปัทวะ โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน หิว ระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลานแล้ว พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ที่เกิดใน ตระกูลปทุม มีขันธ์เกิดขึ้นแล้ว ละโขลง อยู่ในป่าตามอภิรมย์ ฉะนั้น.

บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วย คณะจะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัย นั้นไม่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 99

เป็นฐานะที่จะมีได้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด ฉะนั้น.

เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มี ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มี ความกระหาย ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด ฉะนั้น.

กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึง เสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความ ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอัน ไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตทรง ธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ รู้จัก ประโยชน์ ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 100

บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลกแล้ว ไม่เพ่งเล็งอยู่ เว้น จากฐานะแห่งการประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่ง ตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด ฉะนั้น.

บัณฑิตทราบว่าความเกี่ยวข้องใน เวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้มีสุขน้อย มีความ ยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟไม่หวน กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนอง เท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษา แล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และอันไฟ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 101

คือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้น ทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้วนุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปกติเที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มีจิตไม่ผูกพัน ในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อัน ทิฏฐิไม่อาศัย ตัดโทษคือความเยื่อใยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัสและ โทมนัสในกาลก่อนได้ ได้อุเบกขาและสมถะ อันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น.

บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 102

ประพฤติไม่เกียจคร้านมีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลังกาย และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มี ปกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ใน ธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษในภพ ทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่ เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่ ในธรรมมีขันธ์และอายตนะ เป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย ไม่ติด อยู่ด้วยความยินดี และความโลภ เหมือน ดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 103

บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็น ผู้เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือน ราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำหมู่เนื้อ เที่ยวไป ฉะนั้น.

บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขาวิมุตติ ในกาลอันควร ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งใน เวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น.

มนุษย์ทั้งหลายผู้ไม่สะอาด มีปัญญา มุ่งประโยชน์ตน ผู้ไม่มีเหตุ ย่อมคบหาสมาคบมิตรผู้หาได้ยากในทุกวันนี้ เพราะมีเหตุ เป็นประโยชน์ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

จบขัคควิสาณสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 104

อรรถกถาขัคควิสาณสูตร

วรรรคที่ ๑

คาถาที่ ๑

ขัคควิสาณสูตร เริ่มต้นว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร.

พระสูตรทั้งปวงมีอุบัติ ๔ อย่าง คือ เพราะอัธยาศัยของตน ๑ เพราะ อัธยาศัยของผู้อื่น ๑ เพราะการเกิดขึ้นแห่งเรื่อง ๑ เพราะอำนาจแห่งคำถาม ๑. จริงอยู่ สูตรทั้งหลายมีทวยตานุปัสสนาสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะอัธยาศัยของ ตน. สูตรทั้งหลายมีเมตตาสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น สูตร ทั้งหลายมีอุรคสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะการเกิดขึ้นแห่งเรื่อง สูตรทั้งหลายมี วัมมิกสูตรเป็นต้นมีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถาม.

ในสูตรเหล่านั้น ขัคควิสาณสูตรมีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถามโดย ไม่แปลกกัน แต่โดยแปลกกัน เพราะในขัคควิสาณสูตรนี้บางคาถาพระปัจเจกสัมพุทธะนั้นๆ ถูกถามจึงกล่าว บางคาถาไม่ถูกถาม จึงเปล่งอุทานอันสมควร แก่นัยที่ตนสักว่าบรรลุแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น บางคาถามีอุบัติเพราะอำนาจ แห่งคำถาม บางคาถามีอุบัติเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น บางคาถามีอุบัติเพราะ อัธยาศัยของตน. ในอุบัติเหล่านั้น อุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถามโดยไม่แปลก กันนี้นั้น พึงทราบอย่างนี้จำเดิมแต่ต้น.

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระอานนท์ผู้มีอายุไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ได้เกิดปริวิตกในใจอย่างนี้ว่า ความ ปรารถนาและอภินิหารย่อมปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาปรากฏแก่พระ-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 105

สาวกทั้งหลาย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนั้นไม่ ไฉนหนอ เราพึง เข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเรื่องนี้ตามลำดับ. ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตรแก่ท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ คือ บุคคลย่อมบรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรมในเพราะ ปุพพโยคาวจรก่อนทีเดียว ถ้าไม่บรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรมก่อนทีเดียว ต่อมา ก็บรรลุอรหัตตผลในเวลาตาย ฯลฯ ต่อมาเป็นเทวบุตรก็บรรลุอรหัตตผล ต่อมา ก็เป็นขิปปาภิญญบุคคล ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อมาก็ย่อมเป็นพระปัจเจกสัมพุทธะในกาลภายหลัง ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึง ตรัสอีกว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยอภินิหาร มีปุพพโยคาวจรธรรม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ และสาวกทั้งหลาย พึงประสงค์ความปรารถนาและอภินิหาร.

ท่านพระอานนท์นั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนาเป็น พระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร. พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานโดยการกำหนดอย่างต่ำที่สุดถึง สี่อสงไขยและแสนกัป โดยกำหนดปานกลาง แปดอสงไขยและแสนกัป โดย การกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยและแสนกัป ประเภททั้ง ๓ นั้น พึงรู้ด้วย อำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ปัญญาธิกะ ผู้สัทธาธิกะ และผู้วิริยาธิกะ จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้ปัญญาธิกะ มีศรัทธาน้อยแต่มีปัญญามาก ผู้สัทธาธิกะมีปัญญา ปานกลางแต่มีศรัทธามาก ผู้วิริยาธิกะมีศรัทธาและปัญญาน้อย แต่มีความเพียร มาก.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 106

ก็ข้อที่ บุคคลให้ทานเช่นกับด้วยทานของพระเวสสันดรทุกๆ วันก็ดี สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อันสมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขย แสนกัปแล้ว ก็เป็นพระพุทธเจ้าในระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะ เหตุไร เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ เปรียบเหมือนข้อที่ข้าวกล้าจะออกรวงได้ โดยล่วงไป ๓ เดือน ๔ เดือน หรือ ๕ เดือน ไม่ถึงกาลนั้นๆ แล้ว บุคคลจะปรารถนาวันละแสนครั้งทุกๆ วันก็ดี รดน้ำวันละแสนครั้งทุกๆ วันก็ดี จะให้ออกรวงได้โดยภายใน ๑ ปักษ์ หรือ ๑ เดือน นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะข้าวกล้ายังไม่ตั้งท้อง ยัง ไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ ชื่อฉันใด ข้อที่บุคคลให้ทานเช่นกับ ด้วยทานของพระเวสสันดรทุกๆ วันก็ดี สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อัน สมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขยแสนกัปแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้าใน ระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยัง ไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวนั่นเทียว เพื่อประโยชน์แก่ความ แก่รอบแห่งญาณ ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า โดยกาลแม้ ประมาณเท่านี้ ก็พึงปรารถนาสมบัติ ๘ ประการ ในการสร้างอภินิหาร จริงอยู่

อภินิหารนี้ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะ การประชุมธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็น มนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความ ถึงพร้อมแห่งคุณ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 107

คำว่า อภินิหาร นั่นเป็นชื่อแห่งมูลปณิธาน. ในการประชุมธรรม ๘ ประการนั้น คำว่า ความเป็นมนุษย์ ได้แก่ มนุษยชาติ. ด้วยว่านอกจาก มนุษยชาติแล้ว ปณิธานของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในชาติที่เหลือทั้งหลาย แม้ใน ชาติเทวดาก็ตาม ก็ย่อมสำเร็จไม่ได้ เพราะบุคคลที่ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว พึงปรารถนาความเป็นมนุษย์เท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น พึงตั้งปณิธาน ด้วยว่า อภินิหารย่อมสำเร็จอย่างนี้.

คำว่า ความถึงพร้อมด้วยเพศ ได้แก่ ความเป็นบุรุษ. ก็ปณิธาน ของสตรี กะเทย และอุภโตพยัญชนก แม้ดำรงอยู่ในมนุษยชาติ ก็ย่อมสำเร็จ ไม่ได้ ด้วยว่าบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว พึงปรารถนาความเป็นบุรุษ เท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษนั้น พึงตั้งปณิธาน อภินิหารย่อมสำเร็จได้ ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า เหตุ ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่ง อุปนิสัย แห่งพระอรหัต. ก็บุคคลใดพยายามอยู่ในอัตภาพนั้น สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตได้ อภินิหาร ย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่ เหมือนสำเร็จแกสุเมธบัณฑิต ฉะนั้น ด้วยว่าสุเมธบัณฑิตนั้น บรรพชาที่บาทมูลของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ทีปังกร ได้เป็นผู้สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตโดยอัตภาพนั้นได้.

คำว่า การเห็นพระศาสดา ได้แก่ การเห็นเฉพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยว่าอภินิหารย่อมสำเร็จด้วยประการนี้ หาสำเร็จโดย

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 108

ประการอื่นไม่ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น เพราะสุเมธบัณฑิตนั้น เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร เฉพาะพระพักตร์แล้ว ได้ตั้งความ ปรารถนา.

คำว่า การบรรพชา ได้แก่ ความเป็นอนาคาริก. ก็ความเป็น อนาคาริกนั้นแล ย่อมควรในศาสนา หรือในนิกายของดาบสและปริพาชก ผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนควรแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่า สุเมธบัณฑิตนั้น เป็นดาบส ชื่อสุเมธ จึงตั้งปณิธาน.

คำว่า ความถึงพร้อมแห่งคุณ ได้แก่ การได้คุณธรรมมีฌาน เป็นต้น. ก็อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลแม้บวชแล้ว ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณเท่านั้น ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่า สุเมธบัณฑิตนั้นได้อภิญญา ๕ และได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงตั้งปณิธาน.

คำว่า อธิการ ได้แก่ การการทำที่ยิ่ง อธิบายว่า การบริจาค. จริงอยู่ อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้ทำการบริจาควัตถุมีชีวิตเป็นต้น แล้ว ตั้งปณิธานไว้เท่านั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิต ฉะนั้น ก็สุเมธบัณฑิตนั้นทำการบริจาคชีวิตแล้วตั้งปณิธานอย่างนี้ว่า

ขอพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยศิษย์ ทั้งหลาย จงทรงเหยียบข้าพเจ้าไป อย่าได้ ทรงเหยียบเปือกตมเลย ขอการกระทำยิ่งนี้ จักเป็นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.

คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทํา ความ เป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้นของบุคคลใดมีกำลัง อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคล

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 109

นั้น ก็ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึงกล่าวว่า ใครเล่าไหม้ในนรกตลอดสี่อสงไขยและแสนกัปแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็น พระพุทธเจ้าดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้ว ย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่า เรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้นชื่อว่ามีกำลัง.

อนึ่ง ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึง กล่าวว่า ใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว แล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอัน เกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ใครเล่าลุยข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยน้ำปริ่มฝั่งแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็น พระพุทธเจ้า ใครเล่าย่ำยีก้าวล่วงสกลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดร์ แล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้ว ย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่า เรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้น ชื่อว่ามีกำลัง. สุเมธบัณฑิตประกอบพร้อมด้วยฉันทะ คือ ความเป็นผู้ปรารถนา เพื่อจะทำเห็นปานนี้ ได้ตั้งปณิธานแล้วแล.

พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารสำเร็จแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่ถึงอภัพฐานะ ๑๘ ประการ. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้น ย่อมไม่เป็นคนบอด แต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้ ๑ ไม่เป็นคนแคระ ๑ ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ ๑ ไม่เกิดในท้องของนางทาสี ๑ ไม่เป็นคนนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ไม่เป็นคนกลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรม ห้าอย่าง ๑ ไม่เป็นคนโรคเรื้อน ๑ อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิด

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 110

ดิรัจฉาน ๑ ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง ๑ ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌาม ตัณหิกเปรต ๑ ไม่เกิดในจำพวกกาลกัญชิกาสูรทั้งหลาย ๑ ไม่เกิดในอเวจี นรก ๑ ไม่เกิดในโลกันตริกนรก ๑ ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่ เกิดในอสัญญีภพในรูปาวจรภูมิ ไม่เกิดในภพสุทธาวาส ไม่เกิดในอันติมภพ ไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น ๑.

ก็พุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ใด คือ อุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ๑ อวัฏฐานะ ๑ หิตจริยา ๑ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธภูมิเหล่านั้น. ในพุทธภูมิ ๔ ประการนั้น ความเพียรเรียกว่า อุตสาหะ ปัญญาเรียกว่า อุมมัคคะ อธิษฐานเรียกว่า อวัฏฐานะ เมตตาภาวนาเรียกว่า หิตจริยา.

ก็อัธยาศัย ๖ ประการ แม้เหล่านี้ใด คือ อัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ อัธยาศัยเพื่อปวิเวก อัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ อัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ อัธยาศัยเพื่อความไม่หลง อัธยาศัยเพื่อความสลัดออก ย่อมเป็นไปเพื่อบ่ม โพธิญาณ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ประกอบพร้อมด้วยอัธยาศัยเหล่าใด พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในกาม ผู้มีอัธยาศัยเพื่อปวิเวก เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในการคลุกคลี ผู้มีอัธยาศัย เพื่อความไม่โลภ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโลภะ ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความ ไม่โกรธ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโทสะ ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่หลง เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโมหะ และผู้มีอัธยาศัยเพื่อความสลัดออก เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในภพทั้งปวง สุเมธบัณฑิตผู้โพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัย เหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 111

ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานถึงสองอสงไขย และแสนกัป ต่ำกว่านั้นไม่ควร พึงทราบเหตุในการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อนนั่นแล. ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้า โดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ พึงปรารถนาสมบัติ ๕ ประการ ในการสร้างอภินิหาร จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีเหตุแห่งอภินิหาร เหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ การเห็นท่าน ผู้ปราศจากอาสวะ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ได้แก่ การเห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวก องค์ใดองค์หนึ่ง. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าว แล้วนั้นแล.

ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระสาวกทั้งหลายควรนานเท่าไร. ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง ควรนานหนึ่งอสงไขยและแสนกัป การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกควรนานแสนกัป ความปรารถนาเป็นพระมารดาพระบิดา อุปัฏฐาก และพระโอรสของพระพุทธเจ้า ควรนานแสนกัป เหมือนกัน ต่ำกว่านั้นไม่ควร เหตุในการปรารถนานั้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั้น เทียว ก็พระสาวกเหล่านั้นทั้งหมดมีอภินิหารสมบูรณ์ด้วยองค์ ๒ อย่าง คือ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑ เท่านั้น.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลาย ตลอดกาลมี ประเภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยการปรารถนานี้ ด้วยอภินิหารนี้นั้นแลอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 112

เมื่อจะทรงอุบัติขึ้นโลก ก็ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ หรือตระกูลคหบดี ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ส่วนพระอัครสาวกทั้งหลาย ย่อม เกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์เท่านั้น เหมือนพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งปวง ย่อมไม่ทรงอุบัติในกัปกำลังเสื่อม ย่อมทรงอุบัติ ในกัปกำลังเจริญ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม อุบัติในกาลอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ เองด้วย ทรงสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ด้วย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง แต่ไม่อาจสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ ย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ย่อมไม่แทงตลอด ธรรมรส เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถเพื่อจะยกโลกุตรธรรมเป็นบัญญัติขึ้นแสดงได้ การบรรลุธรรมย่อมมีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้น เหมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน และเหมือนกับรสแห่งกับข้าวที่พรานป่า ได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบรรลุธรรมทั้งหมดอัน ต่างโดยอิทธิ สมาบัติ และปฏิสัมปทา แต่เพราะมีคุณพิเศษจึงต่ำกว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่เหนือพระสาวกทั้งหลาย ย่อมยังบุคคลเหล่าอื่นบรรพชา ให้ศึกษาอภิสมาจาร ด้วยอุเทศนี้ว่า พึงทำความขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย หรือย่อมทำอุโบสถด้วยเหตุเพียงพูดว่า วันนี้ อุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถ ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชุสะ ในภูเขาคันธมาทน์แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสการปรารถนาและอภินิหาร อันบริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระอานนท์แล้ว

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 113

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นๆ แล ผู้ถึงพร้อมด้วยการ ปรารถนานี้ และอภินิหารนี้ จึงตรัสขัคควิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ. นี้อุบัติแห่งขัคควิสาณสูตร เพราะอำนาจแห่งคำถาม โดยไม่แปลกกันก่อน บัดนี้ พึงทราบอุบัติโดยแปลกกัน ในขัคควิสาณสูตรนั้น พึงทราบอุบัติแห่งคาถานี้อย่างนี้ก่อน.

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ หยั่งลงสู่ปัจเจกโพธิสัตวภูมิ บำเพ็ญ บารมีทั้งหลายตลอดสองอสงไขยแสนกัป บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ได้ทำสมณธรรม. ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บำเพ็ญวัตรนั่นแล้ว ชื่อว่า บรรลุปัจเจกโพธิ ไม่มี. ก็วัตรนั้นเป็นอย่างไร. การนำกรรมฐานไปและ การนำกรรมฐานกลับมา ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร. ข้าพเจ้าพึงกล่าวคตปัจจาคตวัตรนั้นโดยประการแจ่มแจ้ง.

ภิกษุในศาสนานี้บางรูปนำไปแต่ไม่นำกลับ บางรูปนํากลับแต่ไม่ นำไป บางรูปทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับ บางรูปนำไปด้วย นํากลับด้วย ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดตื่นแต่เช้าตรู่ ทำเจติยังคณวัตรและโพธิยังคณวัตร รดน้ำที่ต้นโพธิ ตักน้ำเต็มหม้อน้ำดื่ม ยืนที่โรงน้ำดื่ม ทำอาจาริยวัตร อุปัชฌายวัตร สมาทานประพฤติวัตรเล็ก ๘๒ วัตรใหญ่ ๑๔ ภิกษุนั้นทำ บริกรรมร่างกายเข้าไปสู่เสนาสนะ ยังเวลาให้ล่วงไปในอาสนะสงัดจนถึงเวลา ภิกขาจาร รู้เวลา นุ่ง คาดประคดเอว ห่มอุตราสงค์ พาดสังฆาฏิ สะพายบาตร ใส่ใจกรรมฐาน ถึงลานเจดีย์แล้ว ไหว้เจดีย์และต้นโพธิ์ ห่มในที่ใกล้บ้าน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 114

อุ้มบาตรเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ และภิกษุเข้าไปอย่างนี้แล้ว ได้ลาภ มีบุญ อันอุบาสกอุบาสิกาสักการะ เคารพแล้ว กลับในตระกูลอุปัฏฐาก หรือในศาลา พัก ถูกอุบาสกอุบาสิกาถามปัญหานั้นๆ อยู่ ทิ้งมนสิการนั้น ด้วยการแก้ ปัญหา และด้วยฟุ้งซ่านในการแสดงธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นแล้วออก ไป แม้กลับมาสู่วิหารแล้ว ถูกภิกษุทั้งหลายถามปัญหาแล้วกล่าวแก้ แสดงธรรม ถึงความขวนขวายนั้นๆ ต้องเนิ่นช้ากับภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ตลอดปัจฉาภัตร บ้าง ปุริมยามบ้าง มัชฌิมยามบ้าง ถูกความประพฤติชั่วหยาบทางกายครอบงำ ย่อมนอนแม้ในปัจฉิมยาม ย่อมไม่มนสิการซึ่งกรรมฐานเลย ภิกษุนี้เรียกว่า นำไปแต่ไม่นำกลับ.

ส่วนภิกษุใดมากด้วยพยาธิ ฉันอาหารแล้ว ย่อมไม่ย่อยไปโดยชอบ ในสมัยใกล้รุ่ง ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ไม่อาจเพื่อทำวัตรตามที่กล่าวแล้ว หรือเพื่อ มนสิการกรรมฐาน ปรารถนายาคู หรือเภสัชเท่านั้น ถือบาตรและจีวรเข้าบ้าน ตามกาลนั้นเทียว ได้ยาคูหรือเภสัช หรือภัตรในบ้านนั้นแล้ว ล้างบาตรนั่งใน อาสนะที่ปูแล้ว มนสิการกรรมฐาน บรรลุคุณวิเศษหรือไม่บรรลุ กลับวัดอยู่ ด้วยมนสิการนั้นเท่านั้น ภิกษุนี้เรียกว่า นำกลับแต่ไม่นำไป.

ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนี้ ดื่มยาคู ปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ในพระพุทธศาสนา นับไม่ถ้วน. ภิกษุดื่มยาคูแล้วบรรลุพระอรหัตไม่มีใน อาสนะใด อาสนะนั้นไม่มีในอาสนศาลา ในบ้านนั้นๆ ในเกาะลังกา

ส่วนภิกษุใด เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตร ทุกอย่าง มีจิตพัวพันด้วยธรรมดุจตะปูตรึงจิต ๕ อย่าง ไม่ตามประกอบ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 115

กรรมฐานมนสิการ เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตแล้ว ถูกความเนิ่นช้าเพราะคฤหัสถ์ ให้เนิ่นช้าแล้ว เป็นผู้เปล่ากลับออกมา ภิกษุนี้เรียกว่า ทั้งไม่นำไป ทั้งไม่ นำกลับ.

ส่วนภิกษุใด ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้ว บำเพ็ญวัตรทุกอย่างโดยนัยก่อน นั่นเทียว นั่งขัดสมาธิ มนสิการกรรมฐานอยู่จนถึงเวลาภิกขาจาร.

ชื่อว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกรรมฐาน ๑ ปาริ- หาริยกรรมฐาน ๑ เมตตาและมรณสติ ชื่อว่า สัพพัตถกกรรมฐาน กรรมฐานนั้นเรียกว่า สัพพัตถกะ เพราะเป็นกรรมฐานอันพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง ชื่อว่า เมตตา พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง มีอาวาสเป็นต้น จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ ด้วยเมตตาในอาวาส ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของสพรหมจารีทั้งหลาย อันเพื่อน พรหมจารีนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงผาสุกอยู่ ผู้อยู่ด้วยเมตตาในเทวดาทั้งหลาย อันเหล่าเทวดารักษาคุ้มครองแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ผู้อยู่ด้วยเมตตาในพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น อันท่านเหล่านั้นนับถือแล้ว ย่อมอยู่ เป็นสุข ผู้อยู่ด้วยเมตตาในบ้านนิคมเป็นต้น อันมนุษย์ทั้งหลายในที่ทั้งปวงมี ที่เป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกขาเป็นต้นสักการะเคารพแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ผู้ละ ความใคร่ในชีวิต ด้วยการเจริญมรณานุสติ ไม่ประมาทอยู่.

ก็กรรมฐานใด อันภิกษุพึงบริหารทุกเมื่อ ยึดถือแล้วโดยสมควร แก่จริตหรือจตุธาตุววัฏฐานกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอสุภะ ๑๐ กสิณ ๑๐ และอนุสสติ ๑๐ เป็นต้น กรรมฐานนั้น เรียกว่า ปาริหาริยะ เพราะเป็นกรรมฐานอันภิกษุพึงบริหาร พึงรักษา และพึงเจริญทุกเมื่อ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 116

ปาริหาริยกรรมฐานนั้นนั่นแล เรียกว่า มูลกรรมฐาน ดังนี้บ้าง ในกรรมฐาน ทั้ง ๒ อย่างนั้น ภิกษุมนสิการสัพพัตถกกรรมฐานก่อนแล้ว มนสิการปาริหาริยกรรมฐานใดในภายหลัง ข้าพเจ้าจักแสดงปาริหาริยกรรมฐานนั้น โดย จตุธาตุววัฏฐานเป็นประธาน.

ด้วยว่า ภิกษุนี้พิจารณากาย ตามที่ดำรงอยู่ ตามที่ตั้งอยู่ โดยความ เป็นธาตุ มนสิการกรรมฐาน โดยเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดอย่างนี้ว่า ธาตุใด แข้นแข็งใน ๒๐ ส่วน ซึ่งมีอยู่ในกายนี้ ธาตุนั้น ชื่อว่า ปวีธาตุ ธาตุใด ทำหน้าที่เอิบอาบถึงความเป็นของเหลว ใน ๑๒ ส่วน ธาตุนั้น ชื่อว่า อาโปธาตุ ธาตุใดทำความอบอุ่น ถึงความเป็นไออุ่นใน ๔ ส่วน ธาตุนั้น ชื่อว่า เตโชธาตุ ส่วนธาตุใดทำการค้ำจุน มีลักษณะพัดไปมาใน ๖ ส่วน ธาตุนั้น ชื่อว่า วาโยธาตุ ก็ในกายนี้ ธาตุใดอันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นช่องว่าง ธาตุนั้น ชื่อว่า อากาสธาตุ จิตซึ่งเป็นตัวรู้นั้น ชื่อว่า วิญญาณธาตุ สัตว์หรือบุคคลอื่นที่นอกเหนือไปจากธาตุทั้ง ๖ นั้น หามีไม่ สัตว์หรือบุคคลนี้ ก็คือกองแห่งสังขารล้วนๆ เท่านั้น ดังนี้ รู้กาล ลุกขึ้นจากอาสนะ นุ่งแล้ว ไปบ้านเพื่อบิณฑบาต โดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล ก็เมื่อจะไปไม่หลง งมงาย เหมือนปุถุชนคนบอดทั้งหลาย หลงงมงายอยู่ว่า ในการก้าวไปเป็นต้น ตนย่อมก้าวไป การก้าวไปของตนเกิดแล้ว ดังนี้ หรือว่า เราย่อมก้าวไป การก้าวไปอันเราให้เกิดแล้ว ดังนี้ ย่อมไปมนสิการอยู่ซึ่งกรรมฐานอันบริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า ธาตุทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละประการ บรรดา ประการทั้งหลายมีการยกเท้าขึ้นแต่ละข้างเป็นต้นอย่างนี้ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 117

เราย่อมก้าวไป วาโยธาตุพร้อมทั้งสัมภาระ ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้น พร้อมกับจิตนั้น วาโยธาตุนั้น ย่อมแผ่ทั่วร่างกระดูก ซึ่งสมมติกันว่า ภาย อันเป็นธาตุซึ่งสั่งสมมาจากปฐวีธาตุเป็นต้นนี้ ต่อจากนั้น ร่างกระดูกซึ่งสมมติ ว่า กายนี้ ก็ก้าวไปด้วยการแผ่ไปแห่งจิตกิริยาวาโยธาตุ เมื่อร่างกระดูกนั้น ก้าวไปอยู่อย่างนี้ ในการยกเท้าแต่ละข้างขึ้น ในบรรดาธาตุสี่ เตโชธาตุซึ่งร้อน ไปตามวาโยธาตุ ก็มีพลังยิ่งขึ้น ธาตุนอกนี้อ่อน แต่ในการนำไป การนำมา และการนำออกทั้งหลาย วาโยธาตุซึ่งพัดไปตามเตโชธาตุ ก็มีกำลังยิ่งเกิดขึ้น ธาตุนอกนี้ก็มีกำลังอ่อน แต่ในการลง อาโปธาตุซึมซาบไปตามปฐวีธาตุ มี กำลังยิ่งเกิดขึ้น ส่วนธาตุนอกนี้อ่อน ในการคู้เข้าและการเหยียดออก ปฐวีธาตุ ซึ่งได้รับการอุดหนุนจากอาโปธาตุ มีกำลังยิ่งเกิดขึ้น ธาตุนอกนี้มีกำลังอ่อน ธาตุเหล่านั้นย่อมแตกไปในที่นั้นๆ นั่นแล พร้อมกับจิตที่ทำตนให้เกิดขึ้นนั้นๆ ด้วยประการฉะนี้ ในธาตุทั้งสี่นั้น ใครคนหนึ่งย่อมก้าวไป หรือการก้าวไป ของใคร ดังนี้ และรูปธรรมที่เหลือ ซึ่งถูกธาตุทั้งสี่นั้นครอบงำ จิตซึ่งยัง รูปธรรมนั้นให้บังเกิดขึ้น และอรูปธรรมที่เหลือ ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตนั้น รวม ความว่า รูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงประการอื่นในอาการ ทั้งหลายมีการนำไปและการนำมาเป็นต้น ซึ่งนอกเหนือไปจากรูปธรรมและ อรูปธรรมนั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้นๆ นั่นเทียว เพราะฉะนั้น ธาตุ ทั้งหลายจึงไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็น อนัตตา ดังนี้.

ก็กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์บวชในศาสนาแล้ว อยู่รวมกันตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 118

๑๐๐ ปีบ้าง กระทำกติกวัตรอยู่ว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่มี หนี้สิน ไม่มีภัย ไม่ได้บวชเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต บวชเพื่อประสงค์จะพ้น จากทุกข์ เพราะฉะนั้น กิเลสเกิดแล้วในการไป ก็จงข่มในการไปนั้นเทียว กิเลสเกิดแล้วในการยืน ในการนั่ง ก็จงข่มในการยืนการนั่งนั่นแล กิเลสเกิด แล้วในการนอน ก็จงข่มในการนอนนั่นแหละ.

กุลบุตรเหล่านั้น การทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว ไปภิกขาจาร ในระหว่าง ที่ห่างกันกึ่งอุสุภะ กึ่งคาวุต และคาวุตหนึ่ง มีพลานหิน ก็มนสิการกรรมฐาน ตามสัญญานั้นแลไปอยู่ ถ้าในการไปกิเลสเกิดขึ้นแก่ใคร ผู้นั้นย่อมข่มกิเลส นั้นในการไปนั้น เมื่อไม่อาจอย่างนั้น ก็ยืนอยู่ ลำดับนั้นผู้แม้มาภายหลังเขา ก็ยืนอยู่ เธอก็เตือนตนว่า ภิกษุนี้รู้วิตกอันเกิดขึ้นแก่เจ้าแล้ว เจ้าทำกรรมอัน ไม่สมควร ดังนี้ จึงเจริญวิปัสสนาหยั่งลงสู่อริยภูมิในที่นั้นแหละ เมื่อไม่อาจ อย่างนั้นก็นั่ง. ลำดับนั้น แม้ผู้มาภายหลังเขาก็นั่งลง มีนัยนั้นเหมือนกัน. แม้เมื่อไม่อาจเพื่อหยั่งลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้น มนสิการกรรมฐานไปอยู่ ย่อมไม่ยกเท้าขึ้น ด้วยจิตปราศจากกรรมฐาน ถ้ายกขึ้น ก็ต้องกลับมาสู่ประเทศ ก่อนนั่นแล เหมือนพระมหาปุสสเทวเถระ ผู้อยู่ที่อาลินทกะในเกาะลังกา ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่อย่างนี้ ถึง ๑๙ ปี ข่าวว่า แม้พวกมนุษย์เมื่อหว่านและนวดข้าวทำการงานอยู่ในระหว่างทาง เห็น พระเถระไปอย่างนั้น ก็พูดกันว่า พระเถระนี้กลับไปบ่อยๆ คงจะหลงทาง หรือลืมอะไรหนอแล. ท่านไม่สนใจเรื่องนั้น กระทำสมณธรรมด้วยจิตที่ ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตในภายใน ๒๐ พรรษา ก็ใน

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 119

วันที่บรรลุพระอรหัต เทวดาผู้สิงสถิตที่สุดท้ายที่จงกรมของพระเถระนั้น ยืน ส่องประทีปด้วยนิ้วมือทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทวินท์ และ สหัมบดีพรหมก็ได้ไปสู่ที่บำรุง และพระติสสเถระผู้อยู่ในป่าเห็นแสงสว่างนั้น จึงถามพระเถระนั้นในวันที่สองว่า ในส่วนราตรีได้มีแสงสว่างในสำนักของท่าน ผู้มีอายุ นั้นแสงสว่างอะไร. เถระทำไม่สนใจ กล่าวคำมีอาทิว่า ธรรมดา แสงสว่างอาจเป็นแสงประทีปก็ได้ แสงแก้วมณีก็ได้ พระติสสเถระนั้น เรียนว่า ท่านปกปิดหรือ พระมหาปุสสเทวเถระปฏิญาณว่า ไม่ปกปิดครับ แล้วได้บอก.

และเหมือนพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ในกาลวัลลิมณฑป ได้ยินว่า พระเถระนั้น บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร คิดว่า เราจะบูชามหาปธานของพระผู้มี พระภาคเจ้าเป็นครั้งแรกก่อนแล้ว อธิษฐานการเดินจงกรมตลอด ๗ ปี บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรตลอด ๑๖ ปีอีก ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อยกเท้าขึ้น ด้วยจิตประกอบด้วยกรรมฐานอย่างนี้แล เมื่อยกเท้าขึ้นด้วยจิตปราศจาก กรรมฐาน ก็จะกลับไปที่ใกล้บ้าน ยืนอยู่ในประเทศที่พึงรังเกียจว่า แม่โค หรือหนอ บรรพชิตหรือหนอ ห่มสังฆาฏิอุ้มบาตร ถึงประตูบ้านแล้ว ตักน้ำ จากหนองน้ำ อมน้ำเข้าบ้านด้วยตั้งใจว่า ขอความฟุ้งซ่านในกรรมฐาน อย่าได้ มีแก่เรา แม้ด้วยเหตุสักว่าพูดกะมนุษย์ทั้งหลายผู้เข้ามาเพื่อถวายภิกษา หรือ ไหว้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงมีอายุยืน ดังนี้. ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายถามถึงวันว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวัน ๗ ค่ำ หรือวัน ๘ ค่ำ ท่านก็จะบ้วนน้ำแล้ว บอก ถ้าไม่มีผู้ถามถึงวัน ในเวลาออกไปก็จะบ้วนที่ประตูบ้านไป.

เหมือนภิกษุ ๕๐ รูป ผู้เข้าจำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ในเกาะ ลังกานั้นแหละ ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้ทำกติกวัตรในวันวัสสูปนายิกาอุโบสถ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 120

ว่า พวกเรายังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว จักไม่พูดกัน เมื่อเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ก็จะอมน้ำที่ประตูบ้านแล้วเข้าไป เมื่อเขาถามถึงวัน ก็จะกลืนน้ำบอก เมื่อไม่มี ใครถามถึงวัน ก็จะบ้วนที่ประตูบ้านแล้วมาวัด มนุษย์ทั้งหลายในที่เหล่านั้น เห็นสถานที่บ้วนน้ำ ก็รู้ว่า วันนี้พระมาหนึ่งรูป วันนี้พระมาสองรูป ดังนี้ และคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่พูดกับพวกเราเท่านั้น หรือว่า ไม่พูดแม้ กะกันและกัน ผิว่า ไม่พูดแม้กะกันและกันไซร้ จักเป็นผู้ทะเลาะกันแน่ เอาเถิด พวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้นขอขมากะกันและกัน ดังนี้ ทั้งหมดพากันไปวัด ครั้นภิกษุ ๕๐ รูป จำพรรษาในวัดนั้นแล้ว ภิกษุ ๒ รูปไม่อยู่ร่วมในโอกาส เดียวกัน แต่นั้น บรรดามนุษย์เหล่านั้น บุรุษผู้มีปัญญาจึงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสสำหรับผู้ทะเลาะกัน ย่อมไม่เป็นเช่นนี้ ลานเจดีย์ ลานโพธิ์ก็สะอาดดี ไม้กวาดทั้งหลายก็เก็บไว้ดี น้ำดื่มน้ำใช้ก็ตั้งไว้ดี ดังนี้ มนุษย์เหล่านั้น จึงพากันกลับจากวัดนั้น ภิกษุเหล่านั้นปรารภวิปัสสนาใน ภายในพรรษานั้นแหละ ก็บรรลุพระอรหัต ปวารณาวิสุทธิปวารณาในวันมหา ปวารณา.

ภิกษุพึงเป็นดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาลวัลลิมณฑป และดุจพวก ภิกษุผู้จำพรรษาในกลัมพติตถวิหารอย่างนี้ ย่างเท้าด้วยจิตอันประกอบด้วย กรรมฐานเท่านั้น ไปถึงที่ใกล้บ้าน อมน้ำ สังเกตถนน ดำเนินไปสู่ถนนที่ ไม่มีพวกทะเลาะเบาะแว้งกัน มีพวกนักเลงสุราเป็นต้น หรือไม่มีพวกสัตว์ มีช้างและม้าที่ดุร้ายเป็นต้น และเมื่อไปบิณฑบาตที่ถนนนั้น ก็ไม่ไปโดย รีบด่วนเหมือนคนรีบร้อน ชื่อว่า ปิณฑปาติกธุดงค์ โดยรีบด่วนหามีไม่ แต่ย่อมเดินไปไม่หวั่นไหว เหมือนกับเกวียนที่บรรทุกน้ำเต็ม ถึงสถานที่ซึ่ง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 121

ขรุขระ ฉะนั้น ภิกษุนั้นเข้าไปตามลำดับเรือนแล้ว รอเวลาที่สมควรแก่เรือน นั้น เพื่อสังเกตผู้ประสงค์จะถวาย หรือไม่ประสงค์จะถวาย รับภิกษาแล้วนั่ง ในโอกาสอันสมควร มนสิการกรรมฐาน เข้าไปตั้งปฏิกูลสัญญาในอาหาร พิจารณาด้วยอำนาจแห่งอุปมาด้วยน้ำมันหยอดเพลา ผ้าพันแผลและเนื้อบุตร ฉันอาหารอันประกอบด้วยองค์แปด ไม่ฉันอาหารเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา ฯลฯ และฉันแล้ว ก็ทำกิจด้วยน้ำ บรรเทาความกระวนกระวายด้วยภัตสักครู่หนึ่ง มนสิการกรรมฐานในภายหลังภัตตลอดปฐมยามและมัชฌิมยามเหมือนในเวลา ก่อนภัต ภิกษุนี้เรียกว่า นำไปและนำกลับ การนำกรรมฐานไปและการนำ กรรมฐานกลับนั่น เรียกว่า คตปัจจาคตวัตร ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุเมื่อบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอย่างนี้ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ก็จะบรรลุพระอรหัตในปฐมวัยนั้นแล ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัยไซร้ ก็จะบรรลุ ในมัชฌิมวัย ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัยไซร้ ก็จะบรรลุในมรณสมัย ถ้าไม่บรรลุ ในมรณะสมัยไซร้ ก็จะเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ ถ้าไม่เป็นเทพบุตรบรรลุไซร้ ก็จะเป็นพระปัจเจกสัมพุทธะแล้วจะปรินิพพาน ถ้าไม่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะ แล้วจะปรินิพพานไซร้ ก็จะเป็นผู้มีขิปปาภิญญา เหมือนพระพาหิยเถระบ้าง หรือเป็นผู้มีปัญญามาก เหมือนพระสารีบุตรเถระบ้าง ในสำนักของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย.

ก็พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนั่น ตลอดสองหมื่นปีทำกาละแล้ว อุบัติในเทวโลกชั้นกามาวจร จุติจากเทวโลก นั้นแล้ว ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี หญิง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 122

ทั้งหลายผู้ฉลาดย่อมรู้ฐานะที่ตนมีครรภ์ในวันนั้นนั่นเอง และพระอัครมเหสีนั้น ก็เป็นหญิงพระองค์หนึ่ง บรรดาหญิงเหล่านั้นแล เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสี แม้นั่น ครั้นทราบแล้ว ก็ทรงทูลการตั้งพระครรภ์นั้นแด่พระราชา. การที่ มาตุคามเมื่อสัตว์ผู้มีปัญญาเกิดในครรภ์แล้ว ย่อมได้การบริหารครรภ์นั่นเป็น ธรรมดา เพราะฉะนั้น พระราชาจึงทรงพระราชทานการบริหารพระครรภ์แก่ พระนาง จำเดิมแต่นั้น พระนางย่อมไม่ได้เพื่อจะทรงกลืนพระกระยาหารบาง อย่างซึ่งร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ขมจัด เพราะเมื่อมารดา กลืนอาหารอันร้อนจัด สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ ก็เป็นดุจอยู่ในโลหกุมภี เมื่อกลืน อาหารเย็นจัด ก็เป็นดุจอยู่ในโลกันตนรก เมื่อบริโภคอาหารที่เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด และขมจัด อวัยวะทั้งหลายของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ ก็มีเวทนากล้า เหมือนถูกศัสตราผ่าแล้วราดด้วยน้ำเปรี้ยวเป็นต้น ฉะนั้น ราชบุรุษทั้งหลาย จึงห้ามพระนางจากแม้การจงกรม การยืน การนั่ง และการนอนเกินไปว่า ขอสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์อย่ามีทุกข์ เพราะการเคลื่อนไหว พระนางย่อมได้เพื่อ ทรงกระทำการจงกรมเป็นต้นบนพื้นดินพอประมาณ เพื่อประโยชน์แก่การทํา ให้อ่อน ย่อมทรงได้ข้าวและน้ำที่ดี สบายสมบูรณ์ด้วยสีกลิ่นเป็นต้น ราชบุรุษ ครั้นกำหนดแล้ว จึงให้พระนางจงกรมให้ลุกขึ้น พระนางได้รับบริหารพระครรภ์ อย่างนี้ ในกาลมีพระครรภ์แก่ ก็เสด็จสู่เรือนประสูติ ประสูติพระโอรสในสมัย ใกล้รุ่ง ซึ่งถึงพร้อมด้วยธัญลักษณะ บุญลักษณะ เช่นกับก้อนมโนศิลาที่ทา ด้วยน้ำมันสุก ต่อจากนั้น ในวันที่ห้าราชบุรุษทั้งหลายก็นำพระโอรสนั้น ซึ่ง ประดับประดาตกแต่งแล้วถวายแด่พระราชา.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 123

พระราชาทรงยินดี ทรงให้พระพี่เลี้ยง ๖๖ คนเลี้ยงดู พระกุมาร ทรงเจริญด้วยสมบัติทั้งปวง ต่อกาลไม่นานนัก ก็ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา พระราชาทรงอภิเษกพระกุมารนั้น ซึ่งมีพระชันษา ๑๖ ปีเท่านั้นไว้ในราชสมบัติ และทรงให้นักฟ้อน ๓ ประเภท บำรุงเลี้ยงดูพระกุมารนั้น พระราชโอรสได้ อภิเษกแล้ว ทรงครองราชสมบัติ โดยพระนามว่า พรหมทัต ในพระนคร สองหมื่นนคร ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็ในกาลก่อน ชมพูทวีปมีพระนครถึง แปดหมื่นสี่พันนคร พระนครเหล่านั้น เมื่อเสื่อมก็เหลือสี่หมื่นนคร แต่ใน กาลที่มีความเสื่อมทุกอย่าง ก็เหลือสองหมื่นนคร พระเจ้าพรหมทัตนี้ทรงอุบัติ ในกาลที่มีความเสื่อมทุกอย่าง เพราะฉะนั้น พระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงมีพระนคร สองหมื่นนคร ปราสาทสองหมื่นองค์ ช้างสองหมื่นเชือก ม้าสองหมื่นตัว รถสองหมื่นคัน ทหารเดินเท้าสองหมื่นคน นางสนมและหญิงนักฟ้อนสองหมื่น นาง และอำมาตย์สองหมื่นคน พระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงเสวยมหาราชสมบัติอยู่ ทรงทำกสิณบริกรรมอย่างนี้ ทรงยังอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้น ก็เพราะธรรมดาพระราชาที่ได้อภิเษกแล้ว พึงประทับนั่งในที่ทำการวินิจฉัยคดี แน่แท้ เพราะฉะนั้น ในวันหนึ่ง ทรงเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ประทับนั่งใน โรงวินิจฉัย ในที่นั้น มหาชนได้ทำเสียงดังกึกก้อง พระองค์ทรงพระราชดำริว่า เสียงนี้เป็นอุปกิเลสแก่สมาบัติ ดังนี้ เสด็จขึ้นสู่พื้นปราสาท ประทับนั่งด้วย พระราชดำริว่า เราจะเข้าสมาบัติ ก็ไม่อาจเพื่อจะเข้าได้ สมาบัติเสื่อมแล้ว เพราะความฟุ้งซ่านในราชสมบัติ แต่นั้น ทรงพระราชดำริว่า ราชสมบัติ ประเสริฐ หรือว่า สมณธรรมประเสริฐ ต่อจากนั้น ทรงทราบว่า ความสุข

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 124

ในราชสมบัติมีนิดหน่อย มีโทษมาก ส่วนความสุขในสมณธรรม มีอานิสงส์ มากไพบูลย์ และอันอุดมบุรุษซ่องเสพ แล้วตรัสสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เจ้าจง ปกครองราชสมบัตินี้ โดยราชธรรมโดยสม่ำเสมอ อย่าได้ทำการอันไม่เป็นธรรม ทรงมอบราชสมบัติทั้งหมด เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ประทับอยู่ด้วยความสุขใน สมาบัติ ใครๆ ไม่ได้เพื่อเข้าเฝ้า นอกจากมหาดเล็กผู้ถวายน้ำล้างพระพักตร์ ไม้ชำระพระทนต์ และผู้นำพระกระยาหารเป็นต้น.

ต่อมา พอประมาณกึ่งเดือนผ่านไป พระมเหสีตรัสถามว่า พระราชา ไม่ทรงปรากฏในที่ใดเลย บรรดาการเสด็จไปอุทยาน การตรวจพล และการดู การฟ้อนรำเป็นต้น พระองค์เสด็จไป ณ ที่ไหน ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระนาง พระนางส่งข่าวสารถึงอำมาตย์ว่า เมื่อเจ้ารับราชสมบัติ แล้ว แม้ตัวฉันเองก็เป็นอันเจ้ารับด้วย เพราะฉะนั้น เจ้าจงมา จงสำเร็จการ อยู่ร่วมกับฉัน อำมาตย์นั้นปิดหูทั้งสองข้างแล้ว ทูลปฏิเสธว่า ขออย่าได้ยินเรื่อง นั่น พระนางก็ส่งข่าวสารไปอีกถึง ๒ - ๓ ครั้ง ทรงคุกคามอำมาตย์ผู้ไม่ ปรารถนาว่า ถ้าท่านไม่ยอมกระทำ เราจะถอดท่านจากตำแหน่งเสีย หรือจะ ฆ่าท่านเสีย อำมาตย์นั้นกลัวคิดว่า ธรรมดามาตุคามมีความปรารถนารุนแรง พึงให้กระทำแม้อย่างนี้ ในกาลบางคราวก็ได้ ดังนี้ ในวันหนึ่งได้ไปในที่ลับ สำเร็จการอยู่ร่วมกับพระนางบนที่บรรทมอันทรงสิริ พระนางทรงมีบุญ มี สัมผัสอันเป็นสุข อำมาตย์นั้น ถูกราคะอันเกิดจากสัมผัสของพระเมหสีนั้น ย้อมแล้ว ก็ได้แอบไปบ่อยๆ ที่พระตำหนักของพระนางนั้น เขาหมดความ ระแวงเริ่มเข้าไป ดุจเป็นเจ้าของเรือนของตนโดยลำดับ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 125

ต่อแต่นั้นมา พวกราชบุรุษก็กราบทูลเรื่องเป็นไปนั้นแด่พระราซา พระราชาไม่ทรงเชื่อ ก็กราบทูลครั้งที่ ๒ บ้าง ครั้งที่ ๓ บ้าง ลำดับนั้น พระองค์ประทับนั่งทรงเห็นด้วยพระองค์เอง ได้ตรัสสั่งให้ประชุมอำมาตย์ทุกคน แล้วตรัสบอกเรื่องเป็นไปนั้น อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า อำมาตย์นี้มีความ ผิดต่อพระราชา สมควรตัดมือ สมควรตัดเท้า ดังนี้ ได้แสดงกรรมกรณ์ ทั้งหมด ตั้งแต่ให้นอนหงายบนหลาว พระราชาตรัสว่า เราพึงเกิดความเบียดเบียนในเพราะฆ่า จองจำ และเฆี่ยนตีอำมาตย์นั้น จะพึงมีปาณาติบาตใน เพราะปลงชีวิต จะพึงมีอทินนาทานในเพราะริบทรัพย์ พอละด้วยกรรมเห็น ปานนี้ ที่อำมาตย์นี้ทำแล้ว เราจะปลดอำมาตย์นี้จากราชสมบัติของเราเสีย อำมาตย์ทั้งหลายได้เนรเทศอำมาตย์นั้นแล้ว อำมาตย์นั้นถือเอาทรัพย์สมบัติ และบุตรภรรยาของตนไปสู่ต่างประเทศ พระราชาในประเทศนั้น ทรงสดับ แล้วตรัสถามว่า เจ้ามาทำไม.

อ. ขอเดชะ. ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะบำรุงพระองค์พระเจ้าข้า.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงรับอำมาตย์นั้น อำมาตย์ได้รับความไว้ วางพระหฤทัยโดยกาลล่วงไปเล็กน้อย ได้ทูลเรื่องนั้น กะพระราชนั้นว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าเห็นน้ำผึ้งซึ่งไม่มีตัว ผู้กินน้ำผึ้งนั้นก็ไม่มี. พระราชาทรงพระราชดำริว่า อำมาตย์ประสงค์จะล้อเล่น จึงกล่าวเรื่องนั้น ทำไมเล่า แล้วไม่ทรงฟัง อำมาตย์นั้นได้โอกาสพรรณนาให้ดีกว่าเดิม แล้ว ทูลบอกอีก พระราชาตรัสถามว่า นั่นอะไร. นั่นคือราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เธอประสงค์จะนำฉันไปตายหรือ อำมาตย์นั้นทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น ถ้าไม่ทรง

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 126

เชื่อ ก็จงทรงส่งคนทั้งหลายไป พระราชาพระองค์นั้น ทรงส่งคนทั้งหลายไป แล้ว คนเหล่านั้นไปแล้ว ขุดซุ้มประตู ขึ้นทางพระตำหนักบรรทมของ พระราชา พระราชาทรงเห็นแล้ว ตรัสถามว่า พวกเจ้ามาเพื่ออะไร พวกคน เหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์เป็นโจร พระราชาจึงตรัสสั่ง ให้ประทานทรัพย์แก่พวกโจรเหล่านั้น แล้วโอวาทว่า พวกเจ้าอย่าได้ทำอย่างนี้ อีก แล้วก็ทรงปล่อยไป พวกคนเหล่านั้นมาทูลแด่พระราชาของตนนั้น พระราชานั้นทรงทดลองเหมือนอย่างนั้นแหละ ๒ - ๓ ครั้ง ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าพรหมทัตทรงมีศีล แล้วก็ทรงตระเตรียมจตุรงคเสนา เสด็จเข้าสู่นคร หนึ่งในระหว่างเขตแดน ทรงส่งพระราชสาส์นให้แก่อำมาตย์ในนครนั้นว่า ท่านจะให้นครแก่เรา หรือว่า จะรบ.

อำมาตย์นั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระองค์ จงสั่งว่า ข้าพเจ้าจะรบหรือจะให้นคร พระราชาทรงส่งไปว่า เราไม่พึงรบ เจ้าให้นครแล้ว จงมาในที่นี้ อำมาตย์นั้นได้กระทำอย่างนั้น ฝ่ายพระราชาผู้ ปฏิปักษ์ทรงยืดนครนั้นแล้ว ก็ส่งทูตไปสู่นครอื่น แม้ในนครที่เหลือทั้งหลาย ก็เหมือนอย่างนั้น อำมาตย์แม้เหล่านั้นทูลบอกแด่พระเจ้าพรหมทัตเหมือนอย่างนั้น ถูกท้าวเธอตรัสว่า ไม่พึงรบ พึงมาในที่นี้ แล้วมาสู่พระนครพาราณสี แต่นั้น อำมาตย์ทั้งหลายทูลแด่พระเจ้าพรหมทัตว่า ข้าแต่มหาราช พวกข้า พระองค์จะรบกับพระราชาผู้ปฏิปักษ์นั้น พระราชาตรัสห้ามว่า ปาณาติบาต จักมีแก่เรา อำมาตย์ทั้งหลายทูลให้พระราชาทรงยินยอมด้วยอุบายต่างๆ ว่า ข้า แต่มหาราช พวกข้าพระองค์จักจับพระราชานั้นทั้งเป็นแล้ว นำมาในที่นี้ แล้ว ทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมา ดังนี้ ก็เริ่มเพื่อจะไป พระราชา

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 127

ตรัสว่า ถ้าพวกเจ้าจะไม่ทำการนำศัสตราไป การประหารด้วยศัสตราและการปล้น สดมภ์ เราจะไป อำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่พระสนมติเทพ พวกข้าพระองค์ จะไม่ทำ จะแสดงภัยแล้วให้หลบหนีไปดังนี้แล้ว จึงเตรียมจตุรงคเสนา ตาม ประทีปทั้งหลายไว้ในหม้อทั้งหลายแล้ว ไปในราตรี พระราชาผู้ปฏิปักษ์ทรง ยึดพระนครพาราณสีได้ในวันนั้น ทรงพระราชดำริว่า บัดนี้ เราจะเตรียมพร้อมเพื่ออะไร ดังนี้แล้ว จึงให้เลิกการเตรียมพร้อมเสียในราตรี ทรงประมาท หลับสนิทพร้อมด้วยพลนิกาย.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายนำพระเจ้าพาราณสีไปสู่ค่ายของพระราชา ผู้ปฏิปักษ์ แล้วก็ให้ดับประทีปจากหม้อทุกใบเสีย แล้วได้ทำเสียงแห่งกองทัพ ซึ่งโชติช่วงพร้อมกัน อำมาตย์ของพระราชาผู้ปฏิปักษ์เห็นพลมีกำลังมาก ตกใจกลัว เข้าไปเฝ้าพระราชาของตน แล้วทำเลียงดังว่า ขอพระองค์จงลุก ขึ้น จงเสวยน้ำผึ้งที่ไม่มีตัวผึ้ง อำมาตย์คนที่ ๒ - ที่ ๓ ก็ได้ทำอย่างนั้น เหมือนกัน พระราชาผู้ปฏิปักษ์ทรงตื่นขึ้นด้วยเสียงนั้น ทรงถึงความกลัว ความสะดุ้ง เสียงกึกก้องดังขึ้นตั้งร้อย พระราชาผู้ปฏิปักษ์นั้นทรงพระราชดำริ ว่า เราเชื่อคำพูดของคนอื่น จึงถึงเงื้อมมือของศัตรู ทรงบ่นเพ้อถึงคำนั้นๆ ตลอดทั้งคืน ในวันที่ ๒ จึงทรงคิดได้ว่า พระเจ้าพรหมทัตทรงเป็นพระราชา ทรงธรรม ไม่พึงลงโทษ เราจะไปขอโทษพระองค์ดังนี้แล้ว จึงเสด็จเข้าไป เฝ้าพระราชา ทรงคุกพระชานุทั้งสองลงแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงอดโทษต่อความผิดของข้าพระองค์เถิด พระราชาทรงโอวาท พระราชาผู้ปฏิปักษ์นั้นแล้วตรัสว่า ท่านจงลุกขึ้น ข้าพเจ้ายกโทษให้แก่ท่าน

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 128

พระราชาผู้ปฎิปักษ์นั้น พอพระราชาตรัสเท่านั้น ก็ทรงถึงความโล่งพระทัย อย่างยิ่ง ทรงได้ราชสมบัติในชนบทซึ่งใกล้เคียงพรหมแดนของพระเจ้ากรุง พาราณสี ทั้งสองพระองค์นั้น ได้เป็นพระสหายกันและกัน.

ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นเสนาทั้งสองฝ่าย ต่างชื่นชมยืน ร่วมกันอยู่ จึงทรงพระราชดำริว่า หยดโลหิตแม้เพียงแมลงวันตัวเล็กๆ ดื่ม ได้ ก็ไม่บังเกิดในหมู่มหาชนนี้ เพราะโยชน์แก่การตามรักษาจิตของเราคนเดียว โอ! ดีจริงหนอ โอ! ดีนักแล ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุขเถิด จงอย่ามีเวร จงอย่าเบียดเบียนกัน ดังนี้แล้ว ทรงยังเมตตาฌานให้เกิดขึ้น ทรงทำเมตตาฌานนั้นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย กระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ทรงบรรลุความเป็นสยัมภู อำมาตย์ทั้งหลายได้ประชุมกัน กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตนั้น ผู้มีความสุขด้วยมรรคสุข ผลสุข ประทับนั่ง บนคอช้างว่า ข้าแต่มหาราช กาลนี้เป็นการเสด็จขึ้นสู่พระยาน ขอพระองค์ พึงกระทำสักการะแก่หมู่พลผู้ชนะ พึงพระราชทานอาหารและเสบียงแก่หมู่พล ผู้แพ้ พระเจ้าพรหมทัตนั้นตรัสว่า ดูก่อนพนาย เราไม่ใช่พระราชา เราชื่อว่า พระปัจเจกสัมพุทธะ อำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า พระองค์ตรัสอะไร พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นเช่นนี้ พระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพนาย พระปัจ- เจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมดา พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผมและหนวดประมาณ ๒ องคุลี ทรงบริขาร ๘ พระองค์ทรงลูบพระเศียรด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา ทันใดนั้น เพศคฤหัสถ์ ก็ อันตรธานไป เพศบรรพชิตเข้ามาแทนที่ พระองค์ทรงมีพระเกศาและพระมัสสุ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 129

ประมาณ ๒ องคุลี ประกอบพร้อมด้วยบริขาร ๘ เป็นเช่นกับพระเถระมี พรรษา ๑๐๐ พรรษา พระองค์ทรงเข้าจตุตถฌาน ทรงเหาะขึ้นจากคอช้างไป สู่เวหาส ประทับนั่งบนดอกปทุม อำมาตย์ทั้งหลายไหว้แล้ว ทูลถามว่า ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบำเพ็ญกรรมฐานอะไร ทรงบรรลุอย่างไร พระองค์ทรงเห็นแจ้งวิปัสสนา ซึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ทรงได้เมตตาณานกรรมฐานบรรลุ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสอุทานกถา พยากรณกถา และคาถานี้ว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ แปลว่า บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ ได้แก่ ที่เหลือลง. บทว่า ภูเตสุ ได้แก่ ในสัตว์ทั้งหลาย. ความสังเขปในคาถานี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนความ พิสดารข้าพเจ้าจักกล่าวในรัตนสุตตวัณณนา. บทว่า นิธาย ได้แก่ วางแล้ว. บทว่า ทณฺฑํ ได้แก่ อาชญาทางกาย วาจา และใจ. คำว่า ทณฺฑํ นั่น เป็นชื่อของทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น. จริงอยู่ กายทุจริต ชื่อว่า ทัณฑ์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้ลงโทษ อธิบายว่า เบียดเบียน คือให้ถึงความ พินาศ. วจีทุจริต และมโนทุจริตก็เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง การลงโทษ ด้วยการประหารนั่นเทียว ชื่อ ทัณฑ์. อธิบายว่า วางทัณฑ์นั้นแล้วดังนี้บ้าง.

บทว่า อวิเหยํ คือ ไม่เบียดเบียน. บทว่า อญฺตรมฺปิ ได้แก่ แม้ผู้ใดผู้หนึ่ง. บทว่า เตสํ ได้แก่ บรรดาสัตว์ทั้งเหล่านี้น. บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปราถนาบุตรคนใดเลย ในบุตร ๔ จำพวก เหล่านี้คือ บุตรเกิดจากตน ๑ บุตรเกิดในเขต ๑ บุตรบุญธรรม ๑ บุตรคือลูก ศิษย์ ๑. บทว่า กุโต สหายํ ความว่า จะพึงปรารถนาสหายนั้น แต่ที่ไหน ด้วยหวังว่า พึงปรารถนาสหาย.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 130

บทว่า เอโก ความว่า ผู้เดียวด้วยเพศ กล่าวคือบรรพชา ผู้เดียว ด้วยอรรถว่า ไม่มีเพื่อน ผู้เดียวด้วยการละตัณหา ผู้เดียวด้วยอรรถว่า มี กิเลสปราศไปแล้วโดยส่วนเดียว ผู้เดียวด้วยอรรถว่า ตรัสรู้ชอบโดยเฉพาะ ซึ่งปัจเจกโพธิญานแต่ผู้เดียว. จริงอยู่ บุคคลเป็นไปในท่ามกลางสมณะ ตั้งพัน ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตัดความเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์เสียได้ ผู้เดียวด้วยเพศกล่าว คือบรรพชาอย่างนี้. ชื่อว่า ผู้เดียวด้วยอรรถว่า ยืนคนเดียว นั่งคนเดียว นอนคนเดียว เปลี่ยนอิริยาบถคนเดียว เป็นไปคนเดียว ผู้เดียวด้วยอรรถว่า ไม่มีเพื่อนอย่างนี้. ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยอรรถว่า ละตัณหาอย่างนี้ว่า

คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ สิ้นกาลนาน ไม่ก้าวล่วงสังสาร ซึ่งมีความ เป็นอย่างนี้ ไม่มีความเป็นอย่างอื่น ภิกษุมี สติ ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น รู้โทษ นั้นแล้ว พึงละเว้นตัณหา อันเป็นแดนเกิด ของทุกข์เสีย ดังนี้. *

ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยอรรถว่า มีกิเลสปราศไปแล้วโดยส่วนเดียว อย่างนี้ว่า กิเลสทั้งปวงอันภิกษุนั้นละแล้ว มีรากเหง้าถูกตัดขาดแล้ว เป็นดุจ ต้นตาล ฯลฯ มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยอรรถ อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่มีอาจารย์ รู้เอง ตรัสรู้ชอบเฉพาะซึ่งปัจเจกโพธิญานได้ด้วย ตนเองนั้นแล ผู้เดียว ด้วยอรรถว่า ตรัสรู้ชอบเฉพาะซึ่งปัจเจกโพธิญานอย่างนี้.


* อํ. จตุกฺก ๑๒.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 131

บทว่า จเร ได้แก่ จริยา ๘ เหล่านี้ คือ

๑. อิริยาปถจริยา ในอิริยาบถ ๔ สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยปณิธิ

๒. อายตนจริยา ในอายตนะภายใน สำหรับผู้มีทวารอัน คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย

๓. สติจริยา ในสติปัฏฐาน ๔ สาหรับผู้อยู่ด้วยความไม่- ประมาท

๔. สมาธิจริยา ในฌาน ๔ สำหรับผู้ตามประกอบซึ่งอธิจิต

๕. ญาณจริยา ในอริยสัจ ๔ สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธิ

๖. มรรคจริยา ในอริยมรรค ๔ สำหรับผู้ปฏิบัติชอบ

๗. ปกติจริยา ในสามัญผล ๔ สำหรับผู้บรรลุผล

๘. โลกัตถจริยา ในสัตว์ทั้งหลาย สำหรับพระพุทธเจ้าทั้ง ๓.

ในพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ นั้น พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกมีโลกัตถจริยาเพียงบางส่วน สมดังที่ท่านกล่าวว่า คำว่า จริยา ได้แก่ จริยา ๘ ความพิสดารก็คือ อิริยาปถจริยา. อธิบายว่า พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจริยา เหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า จริยา ๘ แม้อื่นเหล่านี้ใด คือ บุคคล เมื่อน้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติตัวศรัทธา เมื่อประคอง ย่อมประพฤติด้วยวิริยะ เมื่อเข้าไปตั้งมั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ เมื่อรู้ชัด ย่อมประพฤติด้วยสัญญา เมื่อรู้แจ้ง ย่อมประพฤติวิญญาณ กุศลธรรม ทั้งหลายย่อมสืบต่อสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าประพฤติ อายตนจริยา บุคคลปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุถึงคุณวิเศษ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าประพฤติด้วยจริยาพิเศษ พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจริยาเหล่านั้น. นอ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 132

ของแรด ชื่อว่า ขัคควิสาณ ในบทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป นี้. ข้าพเจ้า จักประกาศเนื้อความแห่งกัปปศัพท์โดยพิสดาร ในมงคลสุตตวัณณนา แต่ใน ขัคควิสาณสุตตวัณณนานี้ บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบ ดุจในประโยคมี อาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลนี้ ปรึกษาอยู่กับสาวกผู้ สมควรแก่พระศาสดาหนอ อธิบายว่า ผู้เป็นเช่นกันนอแรด.

การพรรณนาเนื้อความตามบทในคาถานี้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บัณฑิต พึงทราบโดยอนุสนธิแห่งการอธิบายอย่างนี้ อาชญามีประการดังกล่าวนี้ใด อันบุคคลให้เป็นไป คือ ไม่วางในสัตว์ทั้งหลาย ครั้นเมื่ออาชญานั้นอันเรา ไม่ให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เราชื่อว่าวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ด้วยเมตตาอันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาชญานั้น และด้วยการนำเข้ามาซึ่งประโยชน์ เกื้อกูลแก่คนอื่น และเพราะวางอาชญาได้แล้วนั้นแล ชื่อว่า ไม่เบียดเบียน บรรดาสัตว์เหล่านั้นแม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก เหมือนสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่วาง อาชญาย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยท่อนไม้บ้าง ศาสตราบ้าง ฝ่ามือบ้าง ก้อนดินบ้างฉะนั้น อาศัยเมตตากรรมฐานนี้แล้ว พิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณในสัตว์เหล่านั้น และสังขตธรรมอื่นจากนั้น ตามกระแส แห่งเมตตากรรมฐานนั้นแล จึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณนี้ คำอธิบายเพียงเท่า นี้ก่อน.

ส่วนอนุสนธิดังนี้ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสดังนี้แล้ว อำมาตย์ เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะเสด็จไป ณ ที่ไหน ลำดับนั้น ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงระลึกว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า องค์ก่อนๆ อยู่ที่ไหน ครั้นทรงรู้แล้ว จึงตรัสว่า ที่ภูเขาคันธมาทน์ จึง

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 133

กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โอ! บัดนี้ พระองค์ทรงทอดทิ้ง ไม่ทรงปรารถนาพวกข้าพระองค์ดังนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ตรัสว่า บุคคล ไม่พึงปรารถนาบุตร. อธิบายในคาถานั้นดังนี้ บัดนี้ เราไม่พึงปรารถนาบุตร แม้คนใดเลย ในบรรดาบุตรที่เกิดจากตนเป็นต้น แต่จะพึงปรารถนาสหาย ผู้เช่นท่านแต่ที่ไหน เพราะฉะนั้น แม้ในพวกท่านทั้งหลาย ผู้ใดต้องการเพื่อ จะไปพร้อมกับเรา หรือเพื่อเป็นเช่นเรา ผู้นั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรดฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น ผู้อันอำมาตย์เหล่านั้น ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์ทรงทอดทิ้ง ไม่ทรงปรารถนา พวกข้าพระองค์เลย จึงตรัสว่า เราไม่พึงปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหาย แต่ที่ไหน ทรงเห็นคุณแห่งการเที่ยวไปแต่ผู้เดียวของพระองค์ โดยเนื้อความ ตามที่กล่าวแล้ว ทรงพระปราโมทย์ ทรงเกิดปีติโสมนัส จึงตรัสอุทานคาถา นี้ว่า

พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อมหาชนเพ่งดูอยู่นั่นเอง ก็ได้เหาะขึ้นทางอากาศ เสด็จไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ ชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์ อยู่เลยภูเขา ๗ ลูก (ในหิมวันตประเทศ) คือ จูฬกาลบรรพต มหากาฬ บรรพต นาคปลิเวฏฐนาบรรพต จันทสัมภรบรรพต สุริยสัมภรบรรพต สุวัณณปัสสบรรพต และหิมวันตบรรพต. ที่ภูเขาคันธมาทน์นั้น มี เงื้อมผา ชื่อว่า นันทมูลกะ เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และ มีคูหา ๓ คูหา คือ สุวรรณคูหา มณิคูหา รชตคูหา. ที่ภูเขาคันธมาทน์นั้น มีต้นไม้ ชื่อ มัญชุสกะ ที่ประตูมณิคูหา สูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ ต้นไม้นั้นบานสะพรั่งทั่วไปในน้ำ หรือบนบก โดยพิเศษในวันที่พระปัจเจก-

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 134

พุทธเจ้าเสด็จมาถึง ข้างหน้าต้นไม้นั้น มีโรงรัตนะทุกอย่าง ในโรงรัตนะนั้น ลมสําหรับกวาด ย่อมพัดหยากเยื่อ ลมสําหรับเกลี่ยพื้น ย่อมพัดทรายที่แล้ว ด้วยแก้วทุกอย่างให้ราบเรียบ ลมสำหรับรดย่อมพัดเอาน้ำจากสระอโนดาต มารด ลมสำหรับทำกลิ่นหอม ย่อมพัดเอากลิ่นหอมของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม ทั้งหมดมาจากภูเขาหิมวันต์ ลมสำหรับโปรย ย่อมพัดเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโปรย ลง ลมสำหรับปูลาดย่อมปูลาดในที่ทั้งปวง ในวันที่พระปัจเจกพุทธะเกิดขึ้น และในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง นั่งประชุมในที่เหล่าใด อาสนะ ทั้งหลายเป็นอันปูแล้วในที่เหล่านั้นทุกเมื่อ นี้เป็นปกติในภูเขาคันธมาทน์นั้น พระปัจเจกพุทธะผู้ตรัสรู้ชอบเอง โดยเฉพาะได้เสด็จไปในภูเขาคันธมาทน์นั้น ประทับนั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดแล้ว.

แต่นั้น ถ้าในเวลานั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่าอื่นมีอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็ประชุมในขณะนั้น ย่อมนั่งบนอาสนะที่ปูแล้ว และครั้นนั่งแล้ว ก็เข้าสมาบัติบางอย่างแล้วก็ออก ต่อจากนั้น สังฆเถระก็ถาม กรรมฐานกะพระปัจเจกพุทธเจ้าที่มาใหม่ว่า บรรลุได้อย่างไร เพื่อประโยชน์ แก่อนุโมทนาของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง แม้ในกาลนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระองค์นั้น ก็ตรัสอุทานคาถาและพยากรณคาถาของพระองค์นั้นแล แม้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอันท่านพระอานนท์ทูลถาม ก็ตรัสคาถานั้นอีกเหมือนกัน และพระอานนท์ก็ได้กล่าวในคราวทำสังคายนา คาถาแต่ละคาถาได้กล่าวถึง ๔ ครั้ง คือ ในฐานะที่พระเจ้าพรหมทัตตรัสรู้โดยชอบเฉพาะซึ่งปัจเจกสัมโพธิ- ญาณ ๑ ที่มัญชุสกมาลา ๑ ในกาลที่พระอานนท์ทูลถาม ๑ ในสังคีติกาล ๑ ด้วย ประการฉะนี้แล.

ปฐมคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 135

คาถาที่ ๒

คาถาว่า สํสคฺคชาตสฺส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

พระปัจเจกโพธิสัตว์แม้นี้ กระทำสมณธรรมโดยนัยก่อนนั่นแล ใน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี ในที่สุด ทำกสิณบริกรรม ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นและกำหนดนามและรูป ทำการพิจารณา ลักษณะ ยังไม่บรรลุอริยมรรค เกิดในพรหมโลก. เขาจุติจากพรหมโลกนั้น แล้ว เกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสี เมื่อให้เจริญ เติบโตโดยนัยก่อนนั่นเทียว จำเดิมแต่นั้น ก็ไม่ทรงรู้ความแปลกกันว่า นี้สตรี นี้บุรุษ เพราะอาศัยเหตุนั้น จึงไม่ทรงยินดีในมือของสตรีทั้งหลาย ย่อมไม่อดทน แม้เหตุสักว่า การอบ การอาบ และการประดับเป็นต้น บุรุษทั้งหลายเท่านั้น เลี้ยงดูพระราชกุมารนั้น ในเวลาให้เสวยน้ำนม พวกนางนมทั้งหลาย ก็สวม เสื้อแปลงเพศเป็นบุรุษให้เสวยน้ำนม พระกุมารนั้น สูดกลิ่นของสตรีทั้งหลาย ทรงลุกขึ้นกันแสง แม้ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ทรงปรารถนาเพื่อแตะต้อง สตรีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระญาติทั้งหลายจึงขนานพระนามของพระกุมาร นั้นว่า อนิตฺถิคนฺโธ.

ครั้นพระกุมารนั้นมีพระชันษาได้ ๑๖ พระชันษา พระราชาทรง พระราชดำริว่า เราจักให้กุมารดำรงวงศ์ตระกูล ทรงนำราชกัญญาอัน สมควรแก่พระกุมารนั้น แต่ตระกูลต่างๆ แล้วตรัสสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เจ้าจงให้พระกุมารยินดี อำมาตย์มีความประสงค์เพื่อให้พระกุมารนั้น ให้นักฟ้อน ทั้งหลายประเล้าประโลม พระกุมารทรงสดับเสียงที่ขับร้องและประโคม จึง

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 136

ตรัสว่า นั่นเสียงของใคร อำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ นั่นเป็นเสียง ของนักฟ้อนทั้งหลายของพระองค์ ผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมมีนักฟ้อนทั้งหลาย เช่นนี้ ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์ทรงมีบุญมาก ขอพระองค์จงทรงอภิรมย์. พระกุมารทรงตีอำมาตย์ด้วยท่อนไม้ให้ไล่ออกไป อำมาตย์นั้นกราบทูลแด่ พระราชา พระราชาได้ตรัสสั่งอำมาตย์อีกว่า เจ้าจงไปพร้อมกับพระมารดาของ พระกุมาร แล้วให้พระกุมารยินดี.

พระกุมารนั้น ถูกคนเหล่านั้นบีบคั้นอย่างยิ่งอยู่ จึงได้ประทานทองคำ อันประเสริฐ แล้วตรัสสั่งพวกช่างทองว่า ท่านทั้งหลายจงทำรูปสตรีให้งาม พวกช่างทองเหล่านั้น ก็ได้ทำรูปสตรี ซึ่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ ทั้งปวงเช่นกับพระวิษณุกรรมเนรมิต แล้วแสดงแก่พระกุมาร พระกุมาร ทอดพระเนตรแล้วสั่นพระเศียร ด้วยความอัศจรรย์ส่ง ไปแก่พระมารดาและ พระบิดา ด้วยพระดำรัสว่า ถ้าหม่อมฉันได้สตรีเช่นนี้ก็จะยอมรับ พระมารดา และพระบิดาก็ทรงดำริว่า บุตรของพวกเรามีบุญมาก นางทาริกาบางคนที่ได้ เคยทำบุญร่วมกับบุตรนั้น จักเกิดแล้วในโลกแน่แท้. ดังนี้แล้ว จึงให้ยกรูป ทองคำนั้นขึ้นสู่รถ ตรัสสั่งแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า เชิญเถิด ท่านปรารถนา พึงแสวงหาทาริกาเช่นนี้.

อำมาตย์เหล่านั้นนำไปสู่มหาชนบท ๑๖ แห่ง ไปสู่บ้านนั้นๆ เห็น ประชุมชนในที่ใดๆ ที่ท่าน้ำเป็นต้น จึงตั้งรูปทองคำดุจเทวดา ไว้ในที่ นั้นๆ ทำการบูชาด้วยดอกไม้และเครื่องอลังการนานาชนิด ผูกเพดานยืน อยู่ในที่สุดข้างหนึ่ง ด้วยคิดว่า ถ้าจักมีใครๆ เคยเห็นเคยได้ยินสตรี ซึ่ง มีรูปงามเห็นปานนี้ไซร้ เขาจักพูดขึ้น ดังนี้ แล้วเที่ยวไปสู่ชนบททั้งปวง

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 137

ด้วยอุบายนั่น เว้นมัททรัฐแต่รัฐเดียว. ดูแคลนว่า มัททรัฐนั้น เป็นรัฐเล็ก ไม่ไปในมัททรัฐนั้นก่อน แล้วกลับ. ลำดับนั้น อํามาตย์เหล่านั้นมีความคิดว่า พวกเราจะต้องไปสู่แม้มัททรัฐก่อน ขอพระราชาอย่าได้ส่งพวกเราผู้เข้าสู่กรุงพาราณสีไปอีก ดังนี้ จึงได้ไปสู่สาคลนครในมัททรัฐ.

ก็ในสาคลนคร มีพระราชาพระนามว่า มัททวะ พระธิดาของพระเจ้า มัททวะนั้น มีพระชันษาได้ ๑๖ ปี มีพระรูปโฉมสวยงามยิ่งนัก และนางวรรณ ทาสีของพระธิดานั้น ก็ไปสู่ท่าน้ำ เพื่อประโยชน์แก่การตักน้ำอาบ เห็นรูป ทองคำนั้น ซึ่งอำมาตย์ทั้งหลายตั้งไว้ในที่นั้นแต่ไกลเทียว ก็พูดว่า พระราชบุตรี ทรงส่งพวกเรา เพื่อประโยชน์แก่น้ำ ก็เสด็จมาเสียเอง แล้วเข้าไปใกล้พูดว่า สตรีนี้ไม่ใช่เจ้านายของพวกเรา เจ้านายของพวกเราสวยงามยิ่งกว่าสตรีนี้ พวก อำมาตย์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชา ทูลขอทาริกา โดยนัยอันสมควร พระราชาแม้นั้น ก็ทรงพระราชทาน ต่อแต่นั้น พวกอำมาตย์ได้ส่งข่าวทูล พระเจ้ากรุงพาราณสีว่า ทาริกาได้แล้ว พระองค์จักเสด็จมาเอง หรือพวก ข้าพระองค์เท่านั้น จะนำมา ดังนี้ พระองค์ส่งข่าวไปว่า เมื่อเราไปจักเป็นการ เบียดเบียนชนบท พวกท่านเท่านั้น จงนำทาริกานั้นมา อำมาตย์ทั้งหลายพา ทาริกาออกจากพระนคร ส่งข่าวไปถวายพระกุมารว่า ทาริกาเช่นกับรูปทองคำ ได้แล้ว พระกุมารแม้ทรงสดับข่าวนั้น ก็ถูกราคะครอบงำ เสื่อมจากปฐมฌาน พระองค์ทรงส่งทูตคนอื่นๆ ว่า พวกท่านจงนำมาเร็ว พวกท่านจงนำมาเร็ว.

พวกอำมาตย์นั้น ถึงกรุงพาราณสี โดยพักคืนเดียวเท่านั้นในที่ทั้งปวง ยืนอยู่ในภายนอกพระนคร ส่งข่าวถวายพระราชาว่า พึงเข้าไปในวันนี้หรือไม่ พระราชาตรัสสั่งว่า เรานำนางทาริกาจากตระกูลประเสริฐที่สุด ทำมงคลกิริยา

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 138

แล้วจักให้เข้ามา ด้วยสักการะอันใหญ่ พวกท่านจงนำนางทาริกานั้นไปสู่ อุทยานก่อน อำมาตย์เหล่านั้นได้ทำตามพระราชโองการแล้ว นางทาริกานั้น เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง บอบช้ำแล้วเพราะการกระทบกระแทกแห่งยาน มี โรคลมเกิดขึ้น เพราะความเมื่อยล้าจากเดินทางไกล จึงได้ทำกาละเสียในคืน นั้นเอง ดุจดอกไม้ที่เหี่ยวไปฉะนั้น.

พวกอำมาตย์คร่ำครวญว่า พวกเราฉิบหายแล้วจากสักการะ พระราชา ก็ดี ชาวนครก็ดี ต่างก็คร่ำครวญว่า ตระกูลวงศ์พินาศแล้ว ความวุ่นวายใหญ่ ได้มีแล้วในพระนคร พระกุมารพอได้สดับเท่านั้น ก็ทรงเกิดความเศร้าโศก อันยิ่งใหญ่ ต่อแต่นั้น พระกุมารก็ทรงปรารภเพื่อขุดรากเหง้าแห่งความเศร้าโศก พระองค์ทรงดำริว่า ธรรมดาความโศกนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด แต่ย่อมมีแก่ ผู้เกิดแล้ว เพราะฉะนั้น ความโศกมีเพราะอาศัยชาติ ก็ชาติมีเพราะอาศัย อะไรเล่า แต่นั้น ทรงมนสิการโดยแยบคาย ด้วยอานุภาพแห่งภาวนาในกาลก่อน อย่างนี้ว่า ชาติมีเพราะอาศัยภพ ทรงเห็นปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมและปฏิโลม ทรงพิจารณาสังขารทั้งหลาย ประทับนั่ง ณ ที่นั้นนั่นแล ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ อำมาตย์ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้น ทรงมีความสุขด้วย ความสุขอันเกิดจากมรรคผล มีพระอินทรีย์สงบ พระมานัสสงบ ประทับอยู่ จึงประนมมือกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ ขอพระองค์อย่าทรงเศร้าโศก เลย ชมพูทวีปใหญ่ ข้าพระองค์จักนำมาซึ่งทาริกาอื่นที่งามกว่า พระกุมารนั้น ตรัสว่า เราไม่เศร้าโศก แต่หมดความเศร้าโศกแล้ว เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า. คำนั้นทั้งหมด เบื้องหน้าแต่นี้ เป็นเช่นกับคาถาแรก เว้นการพรรณนาคาถา.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 139

ก็ในการพรรณนาคาถา บทว่า สํสคฺคชาตสฺส ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้อง เกิดแล้ว ในคาถานั้น

ความเกี่ยวข้องมี ๕ อย่าง คือ

๑. ทัสสนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น

๒. สวนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการฟัง

๓. กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องทางกาย

๔. สมุลลาปนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการสนทนา

๕. สัมโภคสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะกินร่วมกัน.

ในความเกี่ยวข้อง ๕ อย่างนั้น ราคะเกิดด้วยอำนาจแห่งจักขุวิญญาณ วิถี เพราะเห็นซึ่งกันและกัน ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ. ธิดาของกุฎุมพีผู้มี จิตรักใคร่ เพราะเห็นภิกษุหนุ่มชื่อ ทีฆภาณกะ ผู้อยู่ในกัลยาณวิหาร ซึ่งกำลัง ไปสู่กาลทีฆวาปิคาม เพื่อบิณฑบาต ในสีหลทวีป ไม่ได้ภิกษุหนุ่มนั้น ด้วย อุบายบางอย่าง ก็ทำกาลกิริยา และภิกษุหนุ่มรูปนั้นเอง เห็นผ้านุ่งของธิดานั้น ก็คิดว่า เราไม่ได้อยู่ร่วมกับนางผู้นุ่งผ้าเห็นปานนี้ แล้วหัวใจแตกตาย เป็น ตัวอย่างในทัสสนสังสัคคะนั้น.

ก็ราคะเกิดด้วยอำนาจแห่งโสตวิญญาณวิถี เพราะฟังสมบัติมีรูปเป็นต้น ที่คนอื่นทั้งหลายพูดถึง หรือเพราะตนได้ฟังเสียงหัวเราะ เสียงพูดจา และเสียง เพลงขับ ชื่อว่า สวนสังสัคคะ. แม้ในสวนสังสัคคะนั้น ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ ผู้อยู่ในถ้ำปัญจัคคฬะ กำลังเหาะทางอากาศ ได้ฟังเสียงของธิดาช่างมีดผู้อยู่ใน คิริคาม ไปสระปทุมพร้อมกับกุมารี ๕ นาง อาบน้ำแล้ว ยกดอกไม้ร้องเพลง ด้วยเสียงดัง ก็เสื่อมจากคุณวิเศษ เพราะกามราคะ ถึงความพินาศเป็นตัวอย่าง.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 140

ราคะเกิดเพราะลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่า กายสังสัคคะ. ก็ในกายสังสัคคะนี้ มีภิกษุหนุ่มชื่อ ธรรมภาสกะ เป็นตัวอย่าง ได้ยินว่า ภิกษุ หนุ่มกล่าวธรรมในมหาวิหาร เมื่อมหาชนมาในมหาวิหารนั้น แม้พระราชาก็ เสด็จไปพร้อมกับชาววัง แต่นั้น ราคะกล้าได้เกิดแก่พระราชธิดา เพราะอาศัย รูปและเสียงของภิกษุหนุ่มนั้น และเกิดแม้แก่ภิกษุหนุ่มรูปนั้น พระราชาทรง เห็นเหตุนั้น ทรงกำหนดแล้ว ให้ล้อมด้วยกำแพงคือม่าน เธอทั้งสองนั้น ก็ เคล้าคลึงโอบกอดซึ่งกันและกัน ชนทั้งหลายเลิกผ้าม่านแลดูอีก ก็เห็นเธอ ทั้งสองถึงแก่ความตายแล้ว.

ก็ราคะเกิดเพราะการสนทนาปราศรัยกะกันและกัน ชื่อว่า สมุลลาปนสังสัคคะ. ราคะเกิดในเพราะทำการบริโภคร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย ชื่อว่า สัมโภคสังสัคคะ ในสังสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ภิกษุและภิกษุณีถึงอาบัติ ปาราชิก. เป็นตัวอย่าง. ได้ยินว่า ในการฉลองมหาวิหาร ชื่อ มิรจิวัฏฏกะ พระเจ้าทุฏฐคามณีอภยมหาราช ทรงจัดแจงมหาทานอังคาสพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ในการฉลองมหาวิหารนั้น เมื่อถวายข้าวยาคูร้อน สามเณรีผู้ยังใหม่กว่าสงฆ์ ได้ถวายวลัยงาแก่สามเณรผู้ใหม่กว่าสงฆ์ ซึ่งไม่มีเชิงรองบาตร ได้ทำการเจรจา ปราศรัยกัน เธอแม้ทั้งสองนั้นอุปสมบทแล้ว ได้ ๖๐ พรรษา ไปสู่ฝั่งโน้น ได้รับบุพสัญญา เพราะการเจรจาปราศรัยกะกันและกัน ก็เกิดสิเนหาในทันที ทันใดนั้นเอง ล่วงละเมิดสิกขาบท ต้องอาบัติปาราชิก.

ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ด้วยความเกี่ยวข้องอย่างใด อย่างหนึ่ง ในความเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง ราคะอันมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เพราะ ราคะในกาลก่อนเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้. แต่นั้น ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตาม

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 141

ความเยื่อใย คือ ทุกข์นี้มีประการต่างๆ มีความโศกและความคร่ำครวญเป็นต้น ทั้งที่เป็นทิฏฐธรรมและสัมปรายิกภพย่อมเกิดขึ้น คือ ย่อมบังเกิด ย่อมมี ย่อมเกิด ติดตามความเยื่อใยนั้นนั่นเอง. ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ได้แก่ การปล่อยใจในอารมณ์ แต่นั้น ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเยื่อใย ดังนี้แล.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ครั้นตรัสอรรถกถานี้ มีประเภทแห่ง เนื้อความอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ทุกข์มีความโศกเป็นต้นนี้ใด ย่อมเกิดขึ้นตาม ความเยื่อใย เรานั้นได้ขุดรากเหง้าของทุกข์นั้น จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์เหล่านั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พวกข้าพระองค์พึงทำอย่างไร ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสว่า พวกท่านหรือ พวกอื่น ผู้ใดต้องการพ้นจากทุกข์นี้ ผู้นั้นแม้ทั้งหมดเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น.

ก็คำว่า เล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใยนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว หมายเอาคำที่พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย. อีกอย่างหนึ่ง พึงเชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความ เกี่ยวข้องเกิดขึ้นแล้ว ด้วยความเกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตาม ความเยื่อใย เราเล็งเห็นทุกข์นั้นอันเกิดแต่ความเยื่อใย ทำความเสียดแทงตาม ที่มาแล้ว จึงบรรลุดังนี้ พึงทราบว่า บาทที่ ๔ พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอุทาน โดยนัยที่กล่าวแล้วในก่อนนั่นเทียว. บททั้งปวงนอกจาก นั้น เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาต้นนั้นแล.

สังสัคคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 142

คาถาที่ ๓

คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ อุบัติโดยนัยที่กล่าวแล้วในคาถาแรกนั้นเทียว เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ยังปฐมฌานให้เกิดแล้ว ทรงพิจารณาว่า สมณธรรมประเสริฐ หรือว่า ราชสมบัติประเสริฐ ทรงมอบราชสมบัติในมือ ของอำมาตย์ ๔ คน แล้วทรงกระทำสมณธรรม อำมาตย์ทั้งหลายแม้พระราชา ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงทำโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ก็รับสินบนทำโดยอธรรม อำมาตย์เหล่านั้น ไม่รับสินบนก็ทำโดยอธรรม รับสินบนแล้ว ทำเจ้าของ ทั้งหลายให้แพ้ ในกาลครั้งหนึ่ง ให้ราชวัลลภคนหนึ่งให้แพ้ ราชวัลลภนั้น เข้าไปเฝ้าพร้อมกับพวกพนักงานห้องเครื่องของพระราชา ทูลบอกเรื่องทั้งหมด ในวันที่ ๒ พระราชาเสด็จไปสู่สถานที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง แต่นั้น หมู่ มหาชนได้ร้องเสียงดังว่า พวกอำมาตย์ทำเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ ได้กระทำ เสียงดังเหมือนการรบใหญ่.

ลำดับนั้น พระราชาเสด็จลุกจากสถานที่วินิจฉัย เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ประทับนั่งเพื่อทรงเข้าสมาบัติ แต่ไม่อาจเพื่อทรงเข้าได้ เพราะทรงฟุ้งซ่าน ด้วยเสียงนั้น พระองค์ทรงพิจารณาว่า เราจะมีประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติ สมณธรรมประเสริฐกว่า ดังนี้แล้ว ทรงสละความสุขในราชสมบัติ ทรงยัง สมาบัติให้เกิดขึ้นอีก ทรงพิจารณาเห็นโดยนัยที่กล่าวในกาลก่อนนั่นแล ทรง กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ และถูกทูลถามถึงกรรมฐาน จึงได้ตรัส คาถานี้.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 143

ในคาถานั้น คนทั้งหลาย ชื่อว่า มิตร ด้วยอำนาจแห่งความรักใคร่ ชื่อว่า สหาย เพราะความเป็นผู้มีใจดี ก็คนบางพวกเป็นมิตรเท่านั้นไม่เป็น สหาย เพราะความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์เกื้อกูลอย่างเดียว บางพวกเป็นสหาย เท่านั้น ไม่เป็นมิตร เพราะให้เกิดสุขทางใจ ในการทั้งหลายมีการมา การยืน การนั่ง และการพูดเจรจาเป็นต้น บางพวกเป็นทั้งสหายเป็นทั้งมิตร ด้วย อำนาจแห่งธรรมทั้งสองนั้น มิตรสหายเหล่านั้นมี ๒ พวก คือ ฆราวาส ๑ บรรพชิต ๑. ใน ๒ พวกนั้น ฆราวาสมี ๓ พวก คือ ผู้มีอุปการะ ๑ ผู้ ร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ ผู้อนุเคราะห์ ๑ บรรพชิตโดยพิเศษคือ ผู้บอกประโยชน์ มิตรสหายเหล่านั้นประกอบด้วยองค์ ๔ อย่างนี้ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้มีอุปการะพึงทราบด้วยฐานะ ๔ อย่างคือ

๑. รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว

๒. รักษาทรัพย์สมบัติของมิตรผู้ประมาทแล้ว

๓. เป็นที่พึ่งพำนักของมิตรผู้กลัว

๔. เมื่อกรณียกิจเกิดขึ้น ก็เพิ่มโภคทรัพย์ให้มากกว่าที่ออก ปากขอ.

อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบด้วย ฐานะ ๔ อย่าง คือ

๑. บอกความลับแก่มิตร

๒. ปกปิดความลับของมิตร

๓. ไม่ทอดทิ้งมิตรในคราวมีอันตราย

๔. ชีวิตก็สละได้เพื่อประโยชน์แก่มิตร.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 144

อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้อนุเคราะห์ พึงทราบด้วยฐานะ ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ดีใจเพราะมิตรยากจน

๒. ดีใจเพราะมิตรมั่งมี

๓. ป้องกันคนติเตียนมิตร

๔. สรรเสริญคนยกย่องมิตร.

อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้บอกประโยชน์ พึงทราบด้วย ฐานะ ๔ อย่าง คือ

๑. ห้ามจากการทำบาป

๒. ให้ตั้งอยู่ในคุณความดี

๓. ให้ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง

๔. บอกทางสวรรค์ให้.

เพราะฉะนั้น ฆราวาสท่านประสงค์เอาในที่นี้ แต่โดยอรรถ ฆราวาส และบรรพชิตแม้ทั้งหมด ก็ควร. บทว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน ความว่า เอ็นดู คือ ประสงค์เพื่อนำเข้ามาซึ่งสุขแก่มิตรสหายเหล่านั้น. บทว่า หาเปติ อตฺถํ ความว่า ยังประโยชน์ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ให้เสื่อม คือ ให้พินาศ อีกอย่างหนึ่ง ยังประโยชน์ ๓ อย่าง แม้ด้วยอำนาจแห่งประโยชน์ตน ประโยชน์คนอื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ อย่างนั้น ให้เสื่อม คือ ให้พินาศ ย่อม ยังประโยชน์ให้เสื่อม คือ ย่อมให้พินาศ ด้วยการยังวัตถุที่ได้แล้วให้พินาศ และด้วยการไม่ให้เกิดสิ่งที่ยังไม่ได้บ้าง ด้วยวิธีทั้งสองบ้าง. บทว่า ปฏิพทฺธ-

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 145

จิตฺโต ความว่า บุคคลแม้ตั้งตนไว้ในฐานะต่ำต้อยกว่า เราเว้นจากคนนี้จักไม่ เป็นอยู่ คนนั่นเป็นคติของเรา คนนั่นเป็นผู้นำของเรา ดังนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว แม้ตั้งตนไว้ในฐานะสูงส่งว่า คนเหล่านี้เว้นเราเสียแล้วย่อม ไม่เป็นอยู่ เราเป็นคติของคนเหล่านั้น เป็นผู้นำของคนเหล่านั้น ชื่อว่า เป็น ผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว. ก็ผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้วอย่างนี้ ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.

บทว่า เอตํ ภยํ ท่านกล่าวหมายถึงภัยที่ยังประโยชน์ให้เสื่อมนั่น คือ ความเสื่อมจากสมบัติของตน. บทว่า สนฺถเว ความว่า การเชยชมมี ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งการเชยชม คือ ตัณหา ทิฏฐิ และมิตร. ในการ เชยชม ๓ อย่างนั้น ตัณหาแม้ ๑๐๘ ประเภท ชื่อว่า ตัณหาสันถวะ ทิฏฐิ แม้ ๖๒ ประเภท ชื่อว่า ทิฏฐิสันถวะ การอนุเคราะห์มิตร ด้วยความเป็นผู้ มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่า มิตรสันถวะ มิตรสันถวะนั้น ท่านประสงค์เอาใน พระสูตรนี้ ด้วยว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เสื่อมจากสมาบัติก็เพราะมิตร สันถวะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เราเล็งเห็นภัยนั่นใน ที่กล่าวแล้วนั้นแล.

มิตตสุหัชชคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๔

คาถาว่า วํโส วิสาโล ดังนี้ มีอุบัติเหตุอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๓ องค์ บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 146

สิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี อุบัติในเทวโลก เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว ผู้เป็นหัวหน้า เกิดในราชตระกูลในกรุงพาราณสี นอกนี้ เกิดในราชตระกูล ในปัจจันตประเทศ ทั้งสองนั้น เรียนกรรมฐาน สละราชสมบัติ บวชเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า โดยลำดับ อยู่ที่เงื้อมนันทมูลกะ ในวันหนึ่งออกจากสมาบัติ ระลึก ว่า พวกเราทำกรรมอะไร จึงบรรลุถึงโลกุตรสุขนี้ พิจารณาอยู่ ได้เห็นจริยา ของตน ในกัสสปพุทธกาล ลำดับนั้น ระลึกอีกว่า คนที่ ๓ อยู่ทีไหน เห็นคนที่ ๓ เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ระลึกถึงคุณของหัวหน้านั้น คิดว่า โดยปกติเทียว พระราชาพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยคุณมีความเป็นผู้ ปรารถนาน้อยเป็นต้น ทรงโอวาทพวกเรา ผู้ประพฤติ อดทนต่อคำพูด ทรงติเตียนบาป เอาเถิด พวกเราแสดงอารมณ์แล้ว จะเปลื้องพระองค์ ดังนี้ แสวงหาโอกาสอยู่ ในวันหนึ่ง เห็นพระราชาพระองค์นั้น ทรงประดับประดา ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง กำลังเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน แล้วเหาะไปทางอากาศยืนอยู่ที่โคนกอไม้ไผ่ ที่ประตูพระราชอุทยาน มหาชนกำลังแลดูพระราชา ด้วยการดูพระราชาของตน.

ต่อจากนั้น พระราชาทรงแลดูว่า มีใครหนอแลขวนขวายในการดูเรา ทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และพร้อมกับทรงเห็นนั่นเทียว พระองค์ ทรงเกิดความเสน่หาในพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พระองค์จึงเสด็จลงจากคอ ช้าง เสด็จเข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ด้วยอากัปกิริยาอันสงบ แล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมีชื่ออย่างไร พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ทูลตอบว่า มหาบพิตร พวกอาตมา ชื่อว่า ผู้ไม่เกี่ยวข้อง.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 147

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่ว่า ผู้ไม่เกี่ยวข้อง มีประโยชน์ อย่างไร.

ป. มหาบพิตร ประโยชน์ คือ ความไม่เกี่ยวข้อง ต่อแต่นั้น เมื่อ จะแสดงกอไผ่นั้น จึงทูลว่า มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษมีดาบในมือ ตัดรากกอไผ่นั้น ซึ่งเกี่ยวพันราก ลำต้นและกิ่ง โดยประการทั้งปวงอยู่ ดึงมา ก็ไม่อาจยกขึ้นแม้ฉันใด พระองค์ถูกตัณหาพายุ่งเกี่ยวให้นุงทั้งข้างในและข้างนอก เป็นผู้เกี่ยวข้องซ่านไป ติดอยู่ในตัณหาพายุ่งนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน หน่อไม้ไผ่นี้ แม้จะอยู่ในท่ามกลางกอไผ่นั้น แต่เพราะกิ่งยังไม่เกิด จึงไม่ติด กับอะไรอยู่ และใครก็อาจเพื่อจะตัดยอดหรือรากยกไปได้แม้ฉันใด พวกอาตมา ไม่เกี่ยวข้องในที่ไหนๆ ย่อมเที่ยวไปทั่วทิศฉันนั้นเหมือนกัน แล้วเข้าฌาน ที่ ๔ ในทันใดนั้นแล เมื่อพระราชาทรงดูอยู่นั่นเทียว ก็เหาะไปสู่เงื้อมภูเขา นันทมูล.

แต่นั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า แม้เราพึงเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง อย่างนี้ในกาลไหนหนอแล แล้วประทับนั่งในที่นั้นแล พระองค์ทรงเห็นแจ้ง ได้กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ถูกถามถึงกรรมฐานโดยนัยก่อนเทียว จึงตรัสพระคาถานี้.

ในคาถานั้น บทว่า วํโส ได้แก่ ไม้ไผ่. บทว่า วิสาโล ได้แก่ กว้างขวาง. อักษรลงในอรรถอวธารณะ หรือ เอว อักษร เอว อักษร ในที่นี้ พึงเห็นด้วยการสนธิ. เอว อักษรเชื่อมกับบทปลายของบทว่า วิสาโล ข้าพเจ้าจะประกอบเอวอักษรนั้นในภายหลัง. บทว่า ยถา ได้แก่ การเปรียบเทียบ. บทว่า วิสตฺโต ได้แก่ ติดแล้ว คือ พาให้นุง เย็บให้ติดกัน. บทว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ คือ ในบุตร ธิดา และภริยา. บทว่า ยา

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 148

อเปกฺขา ได้แก่ ตัณหาอันใด คือ ความเยื่อใยอันใด. บทว่า วํสกฬีโรว อสชฺชมาโน คือ ไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้. มีอธิบายอย่างไร ไม้ไผ่กอใหญ่ เกี่ยวก่ายกันฉันใด ความเยื่อใยในบุตรและภรรยา แม้นั้น ชื่อว่า ข้องอยู่แล้ว เพราะความเป็นธรรมเย็บวัตถุเหล่านั้นตั้งอยู่ ฉันนั้น เรานั้นเห็นโทษในความ เยื่อใยอย่างนี้ว่า ข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใยนั้น ดุจไม้ไผ่กอใหญ่ฉะนั้น แล้วตัดเยื่อใยนั้น ด้วยมรรคญาณไม่เกี่ยวข้อง ด้วยอำนาจแห่งตัณหา มานะ และทิฏฐิ ในรูปเป็นต้น หรือในทิฏฐิเป็นต้น หรือในโลภะเป็นต้น หรือใน กามภพเป็นต้น หรือในกามราคะเป็นต้น ดุจหน่อไม้ไผ่นี้ จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ดังนี้. บทที่เหลือพึงทราบ โดยนัยก่อนนั่นแล.

วังสกฬีรคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๕

คาถาว่า มิโค อรญฺมฺหิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระโยคาวจร ในพระศาสนาของพระผู้มี พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป ทำกาลกิริยาแล้ว เกิดในตระกูลเศรษฐี อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ในกรุงพาราณสี เขาเป็นคนมีราคะ เพราะ เหตุนั้น จึงประพฤติล่วงภรรยาคนอื่น ได้ถึงแก่กรรมในชาตินั้นแล้ว เกิดใน นรก หมกไหม้ในนรกนั้นแล้ว ได้ถือปฏิสนธิเป็นหญิง ในท้องของภรรยา เศรษฐี ด้วยเศษวิบากที่เหลือ. ร่างกายทั้งหลาย ของสัตว์ทั้งหลายที่มาจาก นรก ย่อมเป็นของร้อน เพราะเหตุนั้น ภรรยาเศรษฐีทรงครรภ์นั้น ด้วย ท้องที่ร้อน โดยลำบากยากเข็ญ ได้คลอดเด็กหญิงโดยกาล.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 149

นางจำเดิมแต่วันเกิดแล้ว เป็นที่เกลียดชังของมารดาบิดา และพวกพ้องบริชนที่เหลือ และเจริญวัยแล้ว บิดามารดาให้ในตระกูลใด ก็เป็นที่ เกลียดชังของสามี พ่อผัวแม่ผัว ในตระกูลแม้นั้น ครั้นเขาประกาศนักษัตร บุตรเศรษฐี เมื่อไม่ปรารถนา เพื่อจะเล่นกับธิดาของเศรษฐีนั้น นำนาง แพศยา เล่นกีฬา. นางได้ฟังจากสำนักของทาสีทั้งหลาย จึงเข้าไปหาบุตร เศรษฐี ค่อนว่าด้วยประการต่างๆ ว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ธรรมดาสตรี แม้ถ้าเป็น น้องสาวของพระราชาทั้ง ๑๐ พระองค์ก็ดี เป็นธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ดี แม้ถึงอย่างนั้น ก็เป็นผู้ทำงานรับใช้สามี เมื่อสามีไม่พูดเจรจาด้วย ก็เสวยทุกข์ ดุจถูกยกขึ้นสู่หลาว จึงพูดว่า ถ้าดิฉันควรแก่การอนุเคราะห์ ก็พึงอนุเคราะห์ ถ้าไม่ควรอนุเคราะห์ ก็พึงทิ้งเสีย ดิฉันจักไปสู่ตระกูลญาติของตน บุตรเศรษฐี กล่าวว่า ช่างเถิด นางคนสวย เจ้าอย่าเศร้าโศก จงเตรียมการเล่น พวกเรา จักเล่นนักษัตร.

ธิดาเศรษฐีเกิดอุตสาหะด้วยเหตุสักว่าการปราศัยแม้มีประการเพียงนั้น จึงคิดว่า พรุ่งนี้เราจักเล่นนักษัตร แล้วจัดแจงของเคี้ยวและของบริโภคจำนวน มาก ในวันที่สอง บุตรเศรษฐีไม่บอก เลยไปในสนามกีฬา นางคิดว่า จักส่ง ไปในบัดนี้ นั่งแลดูทางอยู่ เห็นตะวันสายแล้ว จึงส่งคนทั้งหลาย คนเหล่านั้น กลับมาบอกว่า บุตรเศรษฐีไปแล้ว นางจึงถือของเคี้ยวและของบริโภคที่ ตระเตรียมนั้นทั้งหมดขึ้นสู่ยาน ปรารภเพื่อจะไปสู่อุทยาน. ลำดับนั้น พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้าที่เงื้อมนันทมูลกะออกจากนิโรธในวันที่ ๗ ล้างหน้าที่สระ อโนดาต เคี้ยวไม้สีฟันนาคลดา นึกอยู่ว่า วันนี้จักเที่ยวไปภิกษา ณ ที่ไหน เห็นธิดาเศรษฐีนั้น ก็รู้ว่า ธิดาเศรษฐีนี้ ทำสักการะในเราแล้ว กรรมนั้นจักถึง

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 150

ความหมดสิ้นไป ยืนที่พื้นมโนศิลากว้าง ๖๐ โยชน์ ที่ใกล้เงื้อมนั้น นุ่งแล้ว ถือบาตร จีวร เข้าฌานซึ่งมีอภิญญาเป็นบาท เหาะมาลงที่สวนทางของธิดา เศรษฐีนั้น มุ่งหน้าไปสู่กรุงพาราณสี ทาสีทั้งหลายเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นั้นแล้ว บอกแก่ธิดาเศรษฐี.

นางเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นแล้ว ลงจากยาน ไหว้โดยเคารพ รับบาตรให้เต็มด้วยขาทนียะและโภชนียะที่ถึงพร้อมด้วยรสทั้งปวง และปิดด้วย ดอกปทุม ทำดอกปทุมไว้ใต้บาตร ถือกำดอกไม้ เข้าไปหาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ถวายบาตรที่มือของท่าน ไหว้แล้ว มือถือกำดอกไม้ ตั้งปรารถนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดในชาติใดๆ ก็ขอให้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ มหาชนในชาตินั้นๆ เหมือนดอกไม้นี้เถิด ครั้นตั้งปรารถนาอย่างนี้แล้ว จึง ตั้งปรารถนาแม้ครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ขอ ปฏิสนธิพึงมีในดอกปทุมเท่านั้น โดยไม่ต้องอาศัยครรภ์นั้นเถิด แล้วตั้ง ปรารถนาแม้ครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มาตุคามอันมหาชนพึงรังเกียจ แม้พระธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ยังไปสู่อำนาจบุรุษ เพราะฉะนั้น ขอดิฉัน อย่าถึงความเป็นสตรี พึงเป็นบุรุษเถิด ตั้งปรารถนาแม้ครั้งที่ ๔ ว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ขอดิฉันพึงก้าวล่วงสังสารทุกข์นี้ บรรลุพระอรหัตอันเป็นอมตะที่ ท่านได้บรรลุแล้วในที่สุดเถิด ครั้นทำความปรารถนา ๔ อย่างนี้แล้ว เอากำ ดอกปทุมนั้น บูชาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้ว ทำความปรารถนาที่ ๕ นี้ว่า ขอดิฉันจงมีกลิ่นและวรรณะเป็นเช่นกับดอกปทุม นั่นเถิด.

ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ารับบาตรและกำดอกไม้แล้ว ยืน ในอากาศ ทำอนุโมทนาแก่ธิดาเศรษฐี ด้วยคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 151

ขอสิ่งที่ต้องการ ที่ปรารถนาจงสำเร็จ แก่ท่านโดยเร็วพลันเถิด ขอความดำริทั้งปวง จงเต็ม เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ดังนี้

แล้วอธิษฐานว่า ขอธิดาเศรษฐีจงเห็นเราผู้กำลังไปเถิด แล้วไปสู่ เงื้อมนันทมูลกะ. ปีติใหญ่เกิดแล้วแก่ธิดาเศรษฐี เพราะเห็นพระปัจเจก สัมพุทธเจ้านั้น อกุศลกรรมที่ทำไว้ในระหว่างภพ ก็สิ้นไปเพราะไม่มีโอกาส นางเป็นผู้บริสุทธิ์ ดุจภาชนะทองแดงที่ขัดด้วยมะขามเปรี้ยว ทันใดนั้น ชน ทั้งหมดในตระกูลผัว และตระกูลญาติทั้งปวง ก็ยินดีต่อนาง ต่างก็คิดว่า พวกเราจะทำอะไร แล้วส่งคำที่น่ารักและเครื่องบรรณาการไปให้ บุตรเศรษฐี ก็ส่งคนทั้งหลายไปว่า พวกท่านจงนำธิดาเศรษฐีมาเร็วๆ เราระลึกได้ มาสู่อุทยานแล้ว และจำเดิมแต่นั้น ก็รักนางปกครองดุจจันทน์ที่ลูบไล้ที่อก ดุจ มุกดาหารที่ห้อยไว้ และดุจระเบียบดอกไม้. นางดำรงอยู่ในชาตินั้น เสวย อิสริยสุขและโภคสุข ตลอดอายุแล้ว ตายไปเกิดในดอกปทุมในเทวโลก โดย ความเป็นบุรุษ เทพบุตรนั้น แม้เมื่อจะไป ก็ไปบนกลีบปทุมเท่านั้น เมื่อ จะยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ก็ย่อม ยืน นั่ง นอน แม้บนกลีบปทุมเท่านั้น และ เทพทั้งหลายจึงได้ขนานนามเทวบุตรนั้นว่า มหาปทุมเทวบุตร เทวบุตรนั้น ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลก ๖ ชั้นเท่านั้น ด้วยอานุภาพนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็โดยสมัยนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงมีสตรี ๒๐,๐๐๐ นาง แม้ พระราชาก็ไม่ทรงได้พระโอรสในท้องของสตรีแม้นางหนึ่งเลย อำมาตย์ทั้งหลาย กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระราชโอรสที่จะสืบ ตระกูลวงศ์ พระองค์พึงทรงปรารถนา และเมื่อไม่มีพระราชโอรสที่เกิดจาก

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 152

พระองค์ แม้พระราชโอรสเกิดในเขต ก็จะทรงดำรงตระกูลวงศ์ได้ พระเจ้าข้า พระราชาทรงให้สตรีนักฟ้อนที่เหลือเว้นพระมเหสีประพฤติตามลำพังว่า พวก เจ้าจงทำการฟ้อนรำโดยธรรม ตลอดเจ็ดวัน แม้อย่างนั้น ก็ไม่ได้พระโอรส อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระมเหสีทรงมีบุญ และมีปัญญา เลิศกว่าสตรีทั้งปวง ชื่อไฉนพระองค์พึงทรงได้พระราชโอรส ใน พระครรภ์แม้ของพระมเหสี พระราชาตรัสบอกเนื้อความนั่นแก่พระมเหสี พระนางทูลว่า จริง มหาราช สตรีใดกล่าวคำสัจ รักษาศีล สตรีนั้นพึงได้บุตร เพราะสตรีเว้นจากหิริและโอตตัปปะแล้ว บุตรจะมีได้แต่ที่ไหน พระนางเสด็จ ขึ้นสู่ปราสาท ทรงสมาทานศีล ๕ ทรงนึกถึงบ่อยๆ เมื่อพระราชธิดาผู้มีศีล ทรงนึกถึงศีล ๕ พอมีพระทัยปรารถนาพระราชโอรสเกิดขึ้น อาสน์ของท้าว สักกะก็หวั่นไหว.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงนึกอยู่ ทรงรู้ความนั้น ทรงดำริว่า เราจัก ให้พรคือบุตรแก่ราชธิดาผู้มีศีล ดังนี้แล้ว เหาะมาประทับยืนตรงพระพักตร์ของ พระเทวีแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี พระองค์ทรงปรารถนาอะไร. พระราช โอรส มหาราช. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี เราจะให้พระโอรสแก่ พระองค์ ขอพระองค์อย่าทรงคิด ดังนี้แล้ว เสด็จสู่เทวโลก ทรงนึกอยู่ว่า ในเทวโลกนี้ เทวบุตรผู้สิ้นอายุมีอยู่หรือหนอ ทรงทราบว่า มหาปทุมเทวบุตร นี้ จะเคลื่อนจากเทวโลกนี้ เพื่อบังเกิดในเทวโลกชั้นสูง ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่ วิมานของมหาปทุมเทวบุตรนั้น ตรัสขอว่า ดูก่อนพ่อมหาปทุม เจ้าจงไปสู่ มนุษยโลก เทวบุตรนั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าตรัสอย่างนั้นเลย มนุษยโลกน่าเกลียด.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 153

ส. ดูก่อนพ่อ คนทำบุญในมนุษยโลกแล้วเกิดในเทวโลกนี้ เจ้าจงไป เพื่อดำรงอยู่ในมนุษยโลกนั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายเถิด พ่อ!

ม. ข้าแต่มหาราช การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ไม่อาจเพื่ออยู่ ในครรภ์นั้น.

ส. ดูก่อนพ่อ เจ้าจะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ในครรภ์เล่า ด้วยว่า เจ้าได้ทำกรรมโดยประการที่ตนจักเกิดในกลีบปทุมเท่านั้น ไปเถิด พ่อ!

เทวบุตรนั้น เมื่อถูกท้าวสักกะตรัสบ่อยๆ จึงยอมรับคำเชิญ.

ต่อแต่นั้น มหาปทุมเทวบุตรเคลื่อนจากเทวโลก เกิดในกลีบปทุม ในสระโบกขรณี ใกล้พระแท่นศิลา ในพระราชอุทยานของพระเจ้ากรุงพาราณสี ก็ในคืนนั้น พระมเหสีทรงพระสุบินในสมัยใกล้รุ่ง เป็นเหมือนมีสตรี ๒๐,๐๐๐ นางแวดล้อม เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ได้พระโอรสในกลีบปทุม ในสระ โบกขรณี ใกล้พระแท่นศิลา พระนางทรงรักษาศีลในราตรีจวนสว่าง เสด็จ ไปที่พระแท่นศิลาอย่างนั้นเทียว ทรงเห็นดอกปทุมดอกหนึ่ง ดอกปทุมนั้น ไม่อยู่ใกล้ฝั่ง ไม่อยู่ลึก และพร้อมกับทรงเห็นนั้นแล พระนางก็ทรงเกิดความ เยื่อใยในพระโอรสในดอกปทุมนั้น พระนางเสด็จเข้าไปตามลำพังพระองค์ ทรงจับดอกนั้น พอพระนางทรงจับดอกเท่านั้น. กลีบทั้งหลายก็แย้มออก. พระนางทรงเห็นทารกดุจรูปทองคำที่ติดอยู่ในกลีบนั้น ครั้นทรงเห็นแล้วเทียว ก็ทรงเปล่งพระสุรเสียงว่า เราได้บุตรแล้ว มหาชนก็เปล่งเสียงสาธุการตั้งพัน และพระนางก็ทรงส่งข่าวถวายพระราชา พระราชาทรงสดับแล้ว จึงตรัสถามว่า ได้บุตรที่ไหน และทรงสดับโอกาสที่ได้แล้ว จึงตรัสว่า อุทยานและปทุมใน สระโบกขรณี เป็นเขตของเราเท่านั้น เพราะฉะนั้น บุตรคนนี้ชื่อว่า บุตร

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 154

เกิดในเขต เพราะเกิดในเขตของเรา ตรัสให้เสด็จเข้าสู่พระนคร ทรงให้สตรี ๒๐,๐๐๐ นาง ทำหน้าที่พระพี่เลี้ยง สตรีใดๆ ให้พระกุมารทรงรู้ ทรงเคี้ยว พระขาทนียะที่ทรงปรารถนาแล้วๆ สตรีนั้นๆ ย่อมได้ทรัพย์พันหนึ่ง ชาว พระนครพาราณสีทั้งสิ้นเคลื่อนไหว ชนทั้งปวงส่งบรรณาการตั้งพันถวายพระกุมาร พระกุมารถูกมหาชนนำสิ่งนั้นๆ ทูลว่า จงทรงเคี้ยวสิ่งนี้ จงเสวยสิ่งนี้ ก็ทรงเบื่อระอาด้วยโภชนะ ก็เสด็จไปสู่ซุ้มพระทวาร ทรงเล่นกับก้อนครั่ง.

ในกาลครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อาศัยกรุงพาราณสีอยู่ที่ อิสิปตนะ ท่านลุกขึ้นตามกาล ทำกิจทั้งปวงมีเสนาสนวัตร บริกรรมร่างกาย และมนสิการเป็นต้น ออกจากที่หลีกเร้น นึกอยู่ว่า วันนี้ จักรับภิกษาที่ไหน เห็นสมบัติของพระกุมารแล้ว พิจารณาว่า ในกาลก่อน พระกุมารนี้ทรงทำ กรรมอะไร ดังนี้ รู้ว่า พระกุมารนี้ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เช่นเรา แล้วตั้งปรารถนา ๔ อย่าง ในปรารถนา ๔ อย่างนั้น ๓ อย่างสำเร็จ แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้อารมณ์โดยอุบายแก่พระกุมาร นั้น ดังนี้แล้ว ได้ไปสู่สำนักของพระกุมาร ด้วยอำนาจแห่งภิกขาจริยา พระ กุมารทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่พระสมณะ ท่าน อย่ามาในที่นี้ ด้วยว่า คนเหล่านั้นพึงกล่าวแม้กะท่านว่า จงเคี้ยวสิ่งนี้ จงกิน สิ่งนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น กลับจากที่นั้น ด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้น เข้า ไปสู่เสนาสนะของตน.

ฝ่ายพระกุมารตรัสกะชนว่า สมณะนี้พอถูกเราพูดแล้ว ก็กลับ โกรธ แก่เราหรือหนอ แต่นั้น แม้อันซนเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 155

ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายเป็นผู้โกรธเป็นเบื้องหน้าหามิได้ ย่อมเป็นอยู่ด้วย ปัจจัยที่คนอื่นถวายด้วยใจเลื่อมใส ดังนี้ ทรงดำริว่า สมณะนั่นคงเป็นอย่างนั้น จึงทูลแด่พระมารดาและพระบิดาว่า จักยังพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นให้อดโทษ ดังนี้แล้ว เสด็จทรงช้าง เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนะ ด้วยอานุภาพพระราชาอัน ยิ่งใหญ่ ทรงเห็นฝูงเนื้อจึงตรัสถามว่า เหล่านั้นชื่ออะไร.

บ. เหล่านั้นชื่อว่า เนื้อ พระเจ้าข้า.

ก. เนื้อเหล่านั้น กล่าวว่า จงเคี้ยวสิ่งนี้ จงกินสิ่งนี้ จงลิ้มสิ่งนี้ ดังนี้แล้ว ปฏิบัติอยู่ มี หรือ ไม่มี.

บ. ไม่มีพระเจ้าข้า ที่ใดมีหญ้าและน้ำหาง่าย เนื้อทั้งหลายก็อยู่ในที่นั้น.

พระกุมารทรงคิดว่า เนื้อเหล่านี้ ถึงไม่มีใครรักษา ก็ย่อมอยู่ในที่ที่ ปรารถนา ฉันใด ในกาลใดหนอแล แม้เราก็พึงอยู่ ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ทรง ยึดถือข้อนั้นเป็นอารมณ์.

ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้ารู้การเสด็จมาของพระกุมารนั้นแล้ว กวาดทาง แห่งเสนาสนะ และที่จงกรม ทำให้เกลี้ยง แล้วแสดงรอยเท้าเดินจงกรม ๑ - ๒ - ๓ รอย กวาดโอกาสแห่งที่เป็นที่อยู่ในกลางวันและบรรณศาลา ทำให้เกลี้ยง แล้ว แสดงรอยเท้าเข้าไป แต่ไม่แสดงรอยเท้าออกมา แล้วไปในที่อื่น พระกุมารเสด็จไปในที่นั้น ทรงเห็นประเทศนั้น ซึ่งกวาดทำให้เกลี้ยงแล้ว ทรง คิดว่า ชะรอยพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ในที่นั่น ทรงสดับคำที่บริชนทูล แล้ว ตรัสว่า ก็พระสมณะนั่นโกรธแม้แต่เช้า บัดนี้เห็นช้างและม้าเป็นต้น เหยียบโอกาสของตน ก็จะพึงโกรธยิ่งขึ้น พวกท่านจงนั่งในที่นี้เท่านั้น ดังนี้

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 156

แล้ว เสด็จลงจากคอช้าง พระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าสู่เสนาสนะ ทรง เห็นรอยเท้าในโอกาสที่กวาดดีแล้วตามข้อวัตร มีพระทัยเลื่อมใสว่า พระสมณะ นี้ จงกรมอยู่ในที่นี้ คงไม่คิดถึงการค้าขายเป็นต้น ชะรอยจะคิดถึงประโยชน์ เกื้อกูลของตนเท่านั้น แน่แท้ เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม ทรงกระทำให้ห่างไกลจาก วิตกอันหนาแน่น ประทับนั่งบนแผ่นศิลา ทรงมีอารมณ์เดียวเกิดพร้อมแล้ว เสด็จเข้าสู่บรรณศาลา ทรงเห็นแจ้งอยู่ ทรงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ครั้น ปุโรหิตทูลถามถึงกรรมฐาน โดยนัยก่อนนั่นแล ประทับนั่งบนนภากาศ ตรัส พระคาถานี้ว่า

มิโค อรญฺมฺหิ ยถา อพนฺโธ เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย วิญฺญู นโร เสริตํ เปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ย่อม ไปหากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชน ผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตามความพอใจ ของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

บทว่า มิโค ได้แก่ เนื้อ ๒ ชนิด คือ เนื้อกินหญ้า ๑ เนื้อกิน รากเหง้า ๑. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มิโค นั่น เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้า ที่อยู่ในป่า ทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านประสงค์เอาเนื้อกิน

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 157

รากเหง้า. บทว่า อรญฺมฺหิ ได้แก่ ในป่าที่เหลือ เว้นบ้านและอุปจารของ บ้าน. ก็ในคาถานี้ท่านประสงค์เอาป่า. อธิบายว่า ในอุทยาน. คำว่า ยถา เป็นคำเปรียบเทียบ.

บทว่า อพนฺโธ ความว่า ที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ด้วยวัตถุทั้งหลาย มีเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น. บทว่า เยนิจฺฉกํ ความว่า เนื้อย่อมปรารถนา เพื่อไป โดยทิศาภาคใดๆ ย่อมไปหากิน โดยทิศาภาคนั้นๆ. สมดังพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนื้อในป่า เที่ยวในป่า ในป่าใหญ่ ไม่ระแวงไป ไม่ระแวงยืน ไม่ระแวงหมอบ ไม่ระแวงนอน นั้นเพราะเหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเนื้อไม่ไปสู่ทางของนายพราน แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ทั้งหลาย ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ กระทำมารให้มืด ให้ไม่มีเท้า ครั้นฆ่าแล้วก็ไปสู่ที่ที่มารผู้บาปไม่เห็นได้.

บทว่า วิญฺญู นโร ได้แก่ คนเป็นบัณฑิต. บทว่า เสริตํ ได้แก่ ความประพฤติตามความพอใจของตน คือ ความประพฤติที่ไม่เนื่องกับบุคคล อื่น. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ย่อมไปหากิน ตามความปรารถนาฉันใด แม้เราก็ตัดเครื่องผูกคือตัณหาได้อย่างนั้นแล้ว ก็พึง ไปฉันนั้น นรชนผู้รู้แจ้ง คือ บัณฑิต เพ่งความประพฤติตามความพอใจของ ตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแล.

มิคอรัญญคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 158

คาถาที่ ๖

คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

อำมาตย์ทั้งหลายได้เข้าไปเฝ้า ในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ ของพระเจ้ากรุงพาราณสี ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง ทูลขอการไปในที่สุดส่วน หนึ่งว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ สิ่งที่พึงฟังมีอยู่ดังนี้ เขาก็ลุกไป. คนหนึ่งทูล ขอกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก คนหนึ่งทูลขอช้างกะพระองค์ผู้ ประทับนั่งบนคอช้าง คนหนึ่งทูลขอม้ากะพระองค์ผู้ประทับนั่งบนหลังม้า คน คนหนึ่งทูลขอรถทองกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในรถทอง คนหนึ่งทูลขอวอกะ พระองค์ผู้ประทับนั่งในวอแล้วไปสู่อุทยาน พระราชาเสด็จลงจากวอประทาน ให้ คนอื่นทูลขอกะพระองค์ผู้กำลังเสด็จไปสู่จาริกในชนบท พระราชาทรงสดับ คำของตนแม้นั่น เสด็จสงจากคอช้าง เสด็จไปสถานที่แห่งหนึ่ง.

พระองค์ทรงเอือมระอาด้วยอำมาตย์เหล่านั้น อย่างนี้แล้ว ทรงผนวช อำมาตย์ทั้งหลายเจริญด้วยอิสริยยศ ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง ไปทูลกะพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงพระราชทานชนบท ชื่อโน้น ให้แก่ข้าพระองค์ พระราชาตรัสว่า คนชื่อนี้ปกครองชนบทนั้นอยู่ เขาไม่ เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระราชาแล้วทูลว่า ข้าพระองค์จะไป จะยึดชนบทนั้น ครอบครองดังนี้แล้ว ไปในชนบทนั้นทำการทะเลาะ แม้ทั้งสองมาสู่พระราช สำนักอีก ทูลบอกโทษของกันและกัน พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราไม่อาจ ให้คนทั้งสองนี้ให้ยินดีได้ ทรงเห็นความโลภของอำมาตย์เหล่านั้น ทรงเห็น แจ้ง ทรงทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และพระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ โดยนัย ก่อนนั้นแลว่า

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 159

อามนฺตนา โหติ สหายมชฺเฌ วาเส าเน คมเน จาริกาย อนภิชฺฌิตํ เสริตํ เปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยว ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย บุคคลเพ่งความประพฤติ ตามความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยวไป แต่ผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า การปรึกษาโดยประการนั้นๆ โดยนัยว่า ท่านจงฟังสิ่งนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงให้สิ่งนี้แก่ข้าพเจ้าเป็นต้น. ในที่อยู่กล่าวคือ ที่พักกลางวัน ในการยืนกล่าวคือการบำรุงใหญ่ ในการไปกล่าวคือการไปสู่ อุทยาน ในการเที่ยว กล่าวคือการเที่ยวในชนบท ย่อมมีแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ แล้ว ในท่ามกลางแห่งสหาย เพราะฉะนั้น เราเบื่อหน่ายในการปรึกษาใน ท่ามกลางแห่งสหายนั้น เมื่อเล็งเห็นการบรรพชาที่มีอานิสงส์มาก มีสุขโดย ส่วนเดียว อันอริยชนเสพแล้ว แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เป็นบรรพชาที่พวกคน ชั่วทั้งปวง ซึ่งถูกความโลภครอบงำแล้ว ไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา และ เพ่งความประพฤติตามความพอใจ ด้วยการไม่ตกอยู่ในอำนาจของบุคคลอื่น และด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยธรรมที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว ปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ โดยลำดับ. บทที่เหลือมีนัย ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อามันตคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 160

คาถาที่ ๗

คาถาว่า ขิฑฺฑา รติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ในกรุงพาราณสี มีพระราชา พระนามว่า เอกปุตติกพรหมทัต ก็ พระราชโอรสพระองค์เดียวนั้น เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัย เป็นผู้เสมอด้วย ชีวิตของพระองค์ พระองค์ได้พาพระราชโอรสเป็นไปในพระอิริยาบถทั้งปวง ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ไม่ทรงพาพระราชโอรสนั้น เสด็จไป. พระกุมารสิ้นพระชนม์ ด้วยพยาธิซึ่งเกิดขึ้นในวันนั้นเท่านั้น อำมาตย์ ทั้งหลายคิดว่า แม้พระหทัยของพระราชาพึงแตก เพราะความเสน่หาในพระราชโอรส จึงไม่ทูลบอก พากันถวายพระเพลิงพระราชโอรสนั้นเสีย พระราชา ทรงเมา ด้วยความเมาในน้ำจัณฑ์ในพระราชอุทยาน จึงไม่ทรงระลึกถึงพระ ราชโอรส ในเวลาทรงสนานและเสวยเป็นต้น แม้ในวันที่สอง ก็ทรงระลึกไม่ ได้เหมือนกัน. ลำดับนั้น ทรงเสวยพระกระยาหาร ประทับนั่งแล้ว ทรงระลึกได้ จึงตรัสว่า จงนำบุตรให้แก่เรา พวกอำมาตย์ทูลบอกเรื่องนั้น โดยวิธีอันสมควร แด่พระองค์.

ตั้งแต่นั้น พระราชาถูกความโศกครอบงำ ประทับนั่งเท่านั้น ทรง กระทำให้พระทัยโดยแยบคายว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด ดังนี้ พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งอนุโลมและปฏิโลม โดยลำดับ อย่างนี้ ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ. บทที่เหลือเป็นเช่นกับที่ กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั้นแล เว้นอรรถวัณณนาแห่งคาถา.

ก็ในอรรถวัณณนา บทว่า ขิฑฺฑา ได้แก่ การเล่น. การเล่นนั้น มี ๒ อย่าง คือ การเล่นทางกาย ๑ การเล่นทางวาจา ๑. การเล่นมีอาทิ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 161

อย่างนี้ว่า ย่อมเล่นด้วยช้างทั้งหลายบ้าง ด้วยม้าทั้งหลายบ้าง ด้วยรถทั้งหลาย บ้าง ชื่อว่า การเล่นทางกาย การเล่นมีอาทิอย่างนี้ว่า การขับร้อง การกล่าว สรรเสริญ มุขเภรี ชื่อว่า การเล่นทางวาจา. บทว่า รติ ได้แก่ การยินดี ในเบญจกามคุณ. บทว่า วิปุลํ ความว่า ซึมซาบไปทั่วอัตภาพทั้งสิ้นโดยฐานะ จนถึงจรดเยื่อกระดูก. คำที่เหลือชัดแล้วทั้งนั้น ก็พึงทราบแม้การประกอบ อนุสนธิในคาถานี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในสังสัคคคาถาและบททั้งปวงอื่นจากนั้น.

ขิฑฑารติคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๘

คาถาว่า จาตุทฺทิโส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๕ องค์ บวชแล้วใน พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ตลอด ๒๐,๐๐๐ ปีแล้ว อุบัติในเทวโลก เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดา ท่านทั้ง ๕ นั้น ผู้หัวหน้าเป็นพระราชาในกรุงพาราณสี ที่เหลือ ๔ ท่านเป็น พระราชาธรรมดา พระราชาแม้ทั้ง ๔ นั้น ทรงเรียนกรรมฐาน ทรงสละ ราชสมบัติแล้วผนวช เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าโดยลำดับ อยู่ในเงื้อมนันทมูลกะ ในวันหนึ่ง ออกจากสมาบัติแล้ว นึกถึงกรรมของตนและสหาย โดยนัย ที่กล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถานั้นแล ครั้นรู้แล้ว ก็แสวงหาโอกาส เพื่อแสดง อารมณ์โดยอุบาย แก่พระเจ้ากรุงพาราณสี.

ก็พระราชาพระองค์นั้น ทรงสะดุ้งตื่นในราตรีถึง ๓ ครั้ง ทรงกลัว ร้องพระสุรเสียงผิดแปลก ทรงวิ่งสู่พื้นใหญ่ แม้ถูกปุโรหิตลุกขึ้นตามกาลทูล

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 162

ถามถึงการบรรทมเป็นสุข ก็ตรัสบอกเรื่องนั้น ทั้งหมดว่า อาจารย์ เราจะมี ความสุขแต่ที่ไหน ฝ่ายปุโรหิตคิดว่า โรคนี้ไม่อาจจะกำจัดให้หายขาดได้ด้วย การประกอบยา มีการถ่ายท้องเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เกิดอุบายที่จะ ให้ทรงเสวยยา จึงทูลพระราชาให้สะดุ้งกลัวยิ่งขึ้นว่า ข้าแต่มหาราช นั่นเป็น บุพนิมิต แห่งการเสื่อมจากราชสมบัติและอันตรายแก่พระชนมชีพเป็นต้น จึง ทูลชวนพระราชานั้นประกอบการบูชายัญว่า ขอพระองค์พึงจัดช้าง ม้า รถ เป็นต้น และเงินทอง มีประมาณเท่านี้ๆ เป็นทักขิณาบูชายัญ เพื่อให้ อันตรายนั้นสงบ ดังนี้.

แต่นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเห็นสัตว์หลายพันถูกนำมารวมไว้ เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ จึงคิดว่า พระราชาเมื่อทรงกระทำกรรมนี้แล้ว จะเป็นผู้แนะนำให้ตรัสรู้ได้ยาก เอาเถิด พวกเราจะรีบไปเปลื้องพระองค์ก่อน เทียว แล้วมาโดยนัยที่กล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถานั่นแล เที่ยวบิณฑบาตไปที่ ลานฆ่าสัตว์ ในพระลานหลวง พระราชาประทับยืนที่สีหบัญชร ทรงแลดู พระลานหลวงอยู่ ทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น และพระองค์ก็ทรง เกิดพระสิเน่หาพร้อมกันการเห็นนั้นแล แต่นั้นทรงให้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้นมา ทรงให้นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ที่พื้นสำหรับตากอากาศ (ระเบียง) ทรงให้ฉันโดยเคารพแล้ว ตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทำภัตกิจเสร็จ แล้วว่า พวกท่านชื่ออะไร.

ป. มหาบพิตร พวกอาตมาชื่อว่า มาจากทิศทั้ง ๔

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำว่าทิศทั้ง ๔ นี้ มีประโยชน์อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 163

ป. มหาบพิตร ในทิศทั้ง ๔ พวกอาตมาไม่มีภัย หรือความสะดุ้งแห่ง จิตอะไรๆ ณ ที่ไหนเลย

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภัยนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะเหตุอะไร?

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า มหาบพิตร เพราะพวกอาตมา เจริญเมตตา เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะเหตุนั้น ภัยนั้นจึงไม่มีแก่ พวกอาตมา ดังนี้แล้ว ลุกจากอาสนะไปสู่ที่อยู่ของตน.

แต่นั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า สมณะเหล่านี้กล่าวว่า ภัยย่อมไม่ มี เพราะการเจริญเมตตาเป็นต้น แต่พวกพราหมณ์กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ หลายพัน คำของพวกไหนหนอแลเป็นคำจริง ลำดับนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำรินี้ว่า สมณะทั้งหลายย่อมกล่าวสิ่งที่บริสุทธิ์ ด้วยสิ่งที่บริสุทธิ์เท่านั้น ส่วนพวกพราหมณ์กล่าวสิ่งที่บริสุทธิ์ ด้วยสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ และใครๆ ไม่อาจ ล้างสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ ด้วยสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ คำของพวกบรรพชิตเท่านั้นเป็นคำจริง ดังนี้ พระราชานั้นทรงเจริญพรหมวิหารแม้ทั้ง ๔ มีเมตตาเป็นต้น โดยนัยมี อาทิว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุขเถิด ตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย ด้วย พระทัยแผ่ไปด้วยประโยชน์เกื้อกูลว่า ท่านทั้งหลายจงปล่อยสัตว์ทั้งหมด ขอ ให้สัตว์ทั้งหลายได้ดื่มน้ำที่เย็น กินหญ้าที่เขียว และลมเย็นจงรำเพยพัดสัตว์ เหล่านั้น อำมาตย์เหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น.

แต่นั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราพ้นแล้วจากบาปกรรม ด้วย คำของกัลยาณมิตรทั้งหลาย ประทับนั่ง ณ ที่นั้นเอง ทรงเห็นแจ้ง ทรงทำ ให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และครั้นอำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถึงเวลาเสวยพระกระยาหารแล้ว ขอพระองค์จงเสวย จึงตรัสพระดำรัสทั้งปวงว่า เราไม่ใช่พระราชา โดยนัยก่อนนั้นแล แล้วตรัสอุทานพยากรณคาถานี้.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 164

ในคาถานั้น บทว่า จาตุทฺทิโส ได้แก่ ผู้อยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่. ที่ชื่อว่า จาตุทฺทิโส แม้เพราะอรรถว่า บุคคลนั้นมีทิศทั้งสี่แผ่พรหมวิหาร ภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า แผ่ตลอดทิศหนึ่งอยู่. ชื่อว่า ไม่เดือดร้อน เพราะ อรรถว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย หรือสังขารทั้งหลาย ด้วยภัยในทิศเหล่านั้น ทิศใดทิศหนึ่ง.

บทว่า สนฺตุสฺสมาโน ความว่า ยินดีด้วยสามารถความยินดี ๑๒ อย่าง. บทว่า อิตริตเรน ได้แก่ ด้วยปัจจัยสูงต่ำ. ในบาทพระคาถาว่า ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี นั้นชื่อว่า ปริสฺสยา ด้วยอรรถว่า ครอบงำ หรือยังกายและจิตให้เสื่อม ย่อมครอบงำกายและจิตเหล่านั้น ทำสมบัติของกาย และจิตเหล่านั้นให้เสื่อมเสีย. คำว่า ปริสฺสยา นั้นเป็นชื่อของอันตรายทางกาย และทางจิต ที่เป็นภายนอกมีสีหะและเสือโคร่งเป็นต้น และที่เป็นภายในมีกาม ฉันทะเป็นต้น.

ชื่อว่า สหิตา เพราะอรรถว่า ครอบงำอันตรายเหล่านั้น ด้วย อธิวาสนขันติ และด้วยธรรมมีวิริยะเป็นต้น อธิบายว่า ไม่หวาดเสียว เพราะ ไม่มีภัยที่จะทำความแข็งกระด้าง. เราเห็นคุณในการปฏิบัติอย่างนี้ว่า บุคคล ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เหมือนสมณะ ๔ รูปเหล่านั้น ดำรงอยู่ในสันโดษ อันเป็นปทัฏฐานแห่งการปฏิบัตินี้ อยู่ในทิศทั้งสี่ด้วยการเจริญเมตตาเป็นต้น ในทิศทั้งสี่ และเป็นผู้ไม่เดือดร้อน เพราะไม่มีการกระทำความเบียดเบียนใน สัตว์และสังขารทั้งหลาย บุคคลนั้นชื่อว่า ครอบงำเสียซึ่งอันตรายมีประการที่ กล่าวแล้ว เพราะความเป็นผู้อยู่ในทิศทั้งสี่ และชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวาดเสียว

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 165

เพราะความเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ดังนี้แล้ว ปฏิบัติโดยแยบคาย เป็นผู้บรรลุ ปัจเจกโพธิญาณ.

อีกอย่างหนึ่ง เรารู้ว่า บุคคลยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เหมือน สมณะเหล่านั้นเป็นผู้อยู่ในทิศทั้งสี่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล ปรารถนาอยู่ซึ่ง ความเป็นผู้อยู่ในทิศทั้งสี่อย่างนี้แล้ว ปฏิบัติโดยแยบคายบรรลุแล้ว เพราะฉะนั้น แม้คนอื่นเมื่อปรารถนาฐานะเช่นนี้ เป็นผู้ครอบงำเสียซึ่งอันตราย เพราะเป็น ผู้อยู่ในทิศทั้งสี่ และไม่หวาดเสียว เพราะความเป็นผู้ไม่เดือดร้อน พึงเที่ยว ไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จาตุททิสคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๙

คาถาว่า ทุสฺสงฺคหา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงสิ้นพระชนม์ ต่อ จากนั้น เมื่อวันเป็นที่เศร้าโศกผ่านไปแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย ทรงปรารถนาพระมเหสี ในกิจนั้นๆ แน่แท้ ดัง ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระองค์ทรงโปรดนำพระเทวีองค์อื่นมาเถิด. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พนายจงรู้. อำมาตย์เหล่านั้นแสวงหาอยู่ รู้ว่า พระราชาในประเทศใกล้เคียง สวรรคตแล้ว พระเทวีของพระองค์ทรงครอบ ครองราชสมบัติ และพระนางทรงมีพระครรภ์ พระนางนี้ทรงเหมาะสมแก่ พระราชา ดังนี้แล้ว ทูลขอพระนาง. พระนางตรัสว่า ธรรมดาหญิงมีครรภ์ ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าท่านรอจนกว่าข้าพเจ้าคลอด ก็

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 166

ตกลงตามนั้น ถ้ารอไม่ได้ ก็จงแสวงหาหญิงอื่นเถิด. อำมาตย์เหล่านั้น ทูล บอกเนื้อความนั้นแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า แม้พระนางทรงมีครรภ์ก็ ช่างเถิด จงนำมา อำมาตย์เหล่านั้น นำมาแล้ว พระราชาทรงอภิเษกพระนาง นั้นแล้ว ทรงพระราชทานโภคทรัพย์ทั้งหมดแก่พระมเหสี และทรงสงเคราะห์ ด้วยการสงเคราะห์นานาชนิดแก่บริชนทั้งหลายของพระนาง พระนางประสูติ พระโอรสตามกาลอันสมควร พระราชาทรงกระทำพระโอรสแม้นั้นในพระเพลา และในพระอุระ ทุกพระอิริยาบถเหมือนพระโอรสของพระองค์อยู่.

แต่นั้นบริชนของพระเทวีคิดว่า พระราชาทรงสงเคราะห์พระกุมาร เหลือเกิน พระราชหฤทัยทรงโปรดปรานอย่างยิ่ง เอาเถิด พวกเราจะยุยง พระกุมารนั้นให้แตกกัน ลำดับนั้น จึงทูลพระกุมารว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า พระองค์เป็นพระโอรสของพระราชาของพวกข้าพระองค์ ไม่ใช่เป็นพระโอรส ของพระราชาพระองค์นี้ ขอพระองค์อย่าถึงความคุ้นเคยในพระราชาพระองค์นี้. ลำดับนั้น พระกุมารอันพระราชาตรัสว่า มาซิ ลูก! ก็ดี ทรงจับแม้ที่พระหัตถ์ดึงมาก็ดี ก็ไม่ทรงสนิทกับพระราชาเหมือนในกาลก่อน พระราชาทรง พิจารณาว่า นั่นอะไรๆ ทรงทราบประพฤติการณ์นั้นแล้ว ทรงพระราชาดำริว่า เออ! ชนเหล่านั้น เราแม้สงเคราะห์แล้วอย่างนี้ ยังประพฤติปฏิปักษ์ต่อตระกูล เทียว ทรงเอือมระอา จึงทรงสละราชสมบัติทรงผนวช. แม้อำมาตย์และ บริชนมากรู้ว่า พระราชาทรงผนวชแล้ว ก็ออกบวช.

มนุษย์ทั้งหลายรู้ว่า พระราชาพร้อมกับบริชนบวชแล้วก็นำปัจจัยอัน ประณีตน้อมถวาย พระราชาให้ถวายปัจจัยอันประณีตตามลำดับผู้แก่ ใน บรรพชิตเหล่านั้น บรรพชิตเหล่าใดได้ปัจจัยดี บรรพชิตเหล่านั้นก็ดีใจ พวก

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 167

บรรพชิตนอกนี้ ก็เพ่งโทษว่า พวกเราทำกิจทั้งปวง มีการกวาดบริเวณเป็นต้น แต่ได้ภัตเลว และผ้าเก่า ท้าวเธอทรงทราบเรื่องแม้นั้นแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เออ! เมื่อถวายปัจจัยตามลำดับผู้แก่ บรรพชิตทั้งหลายก็เพ่งโทษ โอ! บริษัทนี้สงเคราะห์ได้ยาก ดังนี้แล้ว ทรงถือบาตรและจีวรแต่พระองค์ เดียวเสด็จเข้าป่า ปรารภวิปัสสนา ได้กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และ ชนทั้งหลายผู้มาในที่นั้นทูลถามกรรมฐานได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

ทุสฺสงฺคหา ปพฺพชิตาปิ เอเก อโถ คหฏฺา ฆรมาวสนฺตา อปฺโปสฺสุโก ปรปุตฺเตสุ หุตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้ ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์อยู่ครองเรือนสงเคราะห์ ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ในบุตรของผู้อื่น พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้น โดยเนื้อความชัดแล้วเทียว แต่โยชนามีดังนี้ บรรพชิตพวก หนึ่งเหล่าใด ถูกความไม่ยินดีครอบงำแล้ว แม้บรรพชิตเหล่านั้นก็สงเคราะห์ ได้ยาก และอนึ่ง คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็สงเคราะห์ได้ยากเหมือนกัน เราเกลียด ความเป็นผู้สงเคราะห์ได้ยากนั้น ปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุแล้วดังนี้. บทที่ เหลือ พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

ทุสสังคหคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 168

คาถาที่ ๑๐

คาถาว่า โอโรปยิตฺวา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระนามว่า จาตุมาสิกพรหมทัต ในกรุงพาราณสี เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ในเดือนต้นแห่งฤดูร้อน ทรงเห็นต้นทองหลางซึ่ง สล้างด้วยใบหนาสีเขียว ในภูมิภาคอันเป็นที่รื่นรมย์ในพระราชอุทยานนั้น ตรัสว่า จงจัดที่นอนให้เราที่โคนต้นทองหลาง ทรงเล่นในพระราชอุทยาน แล้ว ทรงบรรทมที่โคนต้นทองหลางนั้น จนถึงเวลาเย็น เสด็จไปสู่พระราชอุทยานในเดือนท่ามกลางแห่งฤดูร้อนอีก ในกาลนั้น ต้นทองหลางผลิดอกแล้ว แม้ในกาลนั้น ก็ทรงกระทำอย่างนั้น เสด็จไปสู่พระราชอุทยานในเดือนท้าย แห่งฤดูร้อนอีก ในกาลนั้น ต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว เป็นเหมือน ต้นไม้แห้ง แม้ในกาลนั้น พระองค์ยังไม่ทรงเห็นต้นไม้นั้นเลย ตรัสสั่งให้จัด ที่บรรทม ที่โคนต้นทองหลางนั้นแหละ ตามที่ทรงประพฤติมาในกาลก่อน. อำมาตย์ทั้งหลายแม้รู้อยู่ ก็จัดที่บรรทมในโคนต้นทองหลางนั้น เพราะกลัวว่า พระราชาตรัสสั่งแล้ว.

พระองค์ทรงเล่นในพระราชอุทยาน ในสมัยเย็น ทรงบรรทมที่โคน ต้นทองหลางนั้น ทรงเห็นต้นไม้นั้นแล้ว ทรงพระราชดำริว่า ในกาลก่อนต้นไม้ นี้ สล้างด้วยใบ น่าดูยิ่งนักเหมือนสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี ต่อแต่นั้น ก็เป็น ต้นไม้ มีดอกบานสะพรั่งเช่นกับหน่อแก้วประพาฬที่วางไว้ในระหว่างกิ่งซึ่งมี สีเขียว น่าดูดุจทองคำมีสิริ และภายใต้ภูมิภาคแห่งต้นทองหลางนั้นเล่า ก็ เกลื่อนกล่นด้วยทรายเช่นกับแล้วมุกดาหาร ดารดาษไปด้วยดอกซึ่งหลุดออกจาก ขั้ว เป็นดุจปูลาดด้วยผ้ากัมพลแดง วันนี้ต้นไม้ชื่อนั้น ยืนต้นอยู่เหลือแต่กิ่ง

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 169

เหมือนต้นไม้แห้ง โอ! ต้นไม้นี้ถูกชราเข้ากระทบแล้ว ย่อมร่วงโรยไป ดังนี้ แล้ว ทรงได้อนิจจสัญญาว่า แม้อนุปาทินนสังขาร ยังถูกชรากระทบได้ ก็จะ ป่วยกล่าวไปไยถึงอุปาทินนสังขารเล่า และพระองค์เมื่อทรงเห็นแจ้ง ซึ่งสังขาร ทั้งปวงตามทำนองแห่งอนิจจสัญญานั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง แสะโดย ความเป็นอนัตตา ทรงปรารถนาว่า โอหนอ! แม้เราพึงปราศจากเพศคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น ทรงบรรทมโดยปรัศว์เบื้องขวาบนพื้นพระ ที่บรรทมนั้นนั่นแล ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณโดยลำดับ ในกาล เสด็จไปจากพระราชอุทยานนั้น ครั้นอำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราช ได้ เวลาเสด็จกลับแล้วพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า เราไม่ใช่พระราชาเป็นต้น จึงตรัส พระคาถาโดยนัยก่อนนั่นแลว่า

โอโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา โกวิฬาโร เฉตฺวาน ธีโร คิหิพนฺธนานิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป นักปราชญ์ละเหตุอันเป็นเครื่อง

ปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น บทว่า โอโรปยิตฺวา ความว่าทิ้งแล้ว นำออกแล้ว. บทว่า คิหิพฺยญฺชนานิ ความว่า ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ระเบียบ ของหอม ของลูบไล้ สตรี บุตร ทาสี ทาส เป็นต้นเหล่านั้นย่อมแสดงความเป็น คฤหัสถ์ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า คิหิพฺยฺชนานิ แปลว่า เครื่อง ปรากฏแห่งคฤหัสถ์.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 170

บทว่า สญฺฉินฺนปตฺโต ความว่า มีใบหล่นแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน คือ ตัดแล้วด้วยมรรคญาณ. บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยมรรค วิริยะ. บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม. เพราะกามทั้งหลาย เป็นเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ทั้งหลาย.

เนื้อความตามบทมีเท่านี้ก่อน ส่วนอธิบายมีดังนี้ ก็พระราชาทรง ดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ แม้เราละเหตุอันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์แล้ว พึงเป็นเหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นฉะนั้น ทรงปรารภวิปัสสนา บรรลุ แล้วดังนี้. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

โกวิฬารคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๑ จบ

วรรคที่ ๒ คาถาที่ ๑๑ - ๑๒

คาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๒ องค์ บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี แล้วบังเกิดในเทวโลก เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว คนพี่ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี คนน้องเป็นบุตรของปุโรหิต. ทั้ง สองนั้นถือปฏิสนธิในวันเดียวกัน ออกจากครรภ์มารดาในวันเดียวกัน เป็น สหายเล่นฝุ่นด้วยกัน. บุตรปุโรหิตเป็นคนมีปัญญา เขาได้ทูลพระราชบุตรว่า ข้าแต่พระสหาย พระองค์จักได้ราชสมบัติ โดยล่วงไปแห่งพระบิดา ข้าพระองค์จักได้ตำแหน่งปุโรหิต พระองค์ได้รับการศึกษาดีแล้ว ควรเพื่อครอบครองราชสมบัติให้เป็นสุข มาเถิด พวกเราจักเรียนศิลป์ด้วยกัน แต่นั้น ท่าน

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 171

แม้ทั้งสองเป็นผู้มีกรรมได้สั่งสมแล้วในชาติก่อนเที่ยวหาภิกษาในคามและนิคม เป็นต้น ไปสู่บ้านในชนบทชายแดน.

ก็พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าไปสู่บ้านนั้น ในเวลาภิกขาจาร ลำดับ นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว เกิดความอุตสาหะย่อมปู อาสนะ น้อมขาทนียะ โภชนียะอันประณีตถวาย นับถือบูชา สหายทั้งสอง นั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ผู้มีตระกูลสูงเช่นพวกเรา ไม่มี เออก็มนุษย์ เหล่านี้ผิปรารถนา ก็ให้ภิกษาแก่พวกเรา ถ้าไม่ปรารถนา ก็ไม่ให้ แต่ย่อม กระทำสักการะเห็นปานนี้แก่บรรพชิตเหล่านี้ บรรพชิตเหล่านี้คงรู้ศิลป์บาง อย่างแน่นอน เอาเถิด พวกเราจะเรียนศิลปะในสำนักของบรรพชิตเหล่านั้น ดังนี้. สหายทั้งสองนั้น ครั้นมนุษย์ทั้งหลายกลับแล้ว ได้โอกาสจึงอ้อนวอน ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายย่อมรู้ศิลปะใด โปรดให้พวกกระผมศึกษา ศิลปะนั้นด้วย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า ผู้ยังไม่ได้บวชไม่อาจศึกษา ได้. สหายทั้งสองนั้นจึงขอบรรพชาแล้วบวช.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายได้บอกอภิสมาจาริกวัตรแก่ บรรพชิตทั้งสองนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้ แล้ว มอบบรรณศาลาให้รูปละหลังว่า ความยินดียิ่งในความเป็นผู้อยู่คนเดียว เป็น ความสำเร็จแห่งศิลปะนี้ เพราะฉะนั้น พึงนั่งคนเดียวเท่านั้น พึงจงกรม พึง ยืน พึงนอนคนเดียว. แต่นั้นบรรพชิตทั้งสองนั้นเข้าสู่บรรณศาลาของตนๆ แล้วนั่ง. บุตรปุโรหิตได้ความตั้งมั่นแห่งจิต จำเดิมแต่เวลานั่งแล้ว ได้ฌาน ราชบุตรกระสันโดยครู่เดียวเท่านั้น ก็มาสู่สำนักของบุตรปุโรหิตนั้น บุตร ปุโรหิตนั้นเห็นราชบุตรนั้น จึงถามว่า อะไร เพื่อน. ร. ผมกระสัน

ปุ. ถ้าเช่นนั้น จงนั่ง

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 172

ราชบุตรนั้น นั่งในที่นั้นชั่วครู่แล้ว กล่าวว่า สหาย! ได้ยินว่า ความ ยินดียิ่งในความเป็นผู้อยู่คนเดียว เป็นการสำเร็จแห่งศิลปะนี้. บุตรปุโรหิต กล่าวว่า อย่างนั้น เพื่อน! ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปสู่โอกาสที่ตนนั่งนั้นแล เราจักเรียนความสำเร็จแห่งศิลปะนี้ ราชบุตรนั้นไปแล้ว โดยครู่เดียวเท่านั้น ก็กระสันอีก จึงมาถึง ๓ ครั้ง โดยนัยก่อนนั่นแล แต่นั้น บุตรปุโรหิตก็ส่ง ราชบุตรกลับเหมือนอย่างนั้น ครั้นราชบุตรไปแล้ว คิดว่า ราชบุตรนี้ประกาศ กรรมของตนและของเรา จึงมาในที่นี้เนืองๆ ท่านจึงออกจากบรรณศาลาเข้า สู่ป่า.

ฝ่ายราชบุตรนั่งในบรรณศาลาของตน เป็นผู้กระสันแม้อีกโดยครู่เดียว เท่านั้น จึงมาสู่บรรณศาลาของบุตรปุโรหิตนั้น แม้ค้นหาทางนี้และทางโน้น ก็ไม่พบบุตรปุโรหิตนั้น จึงคิดว่า ผู้ใดแม้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์นำบรรณาการ มา ก็ไม่ได้เพื่อเห็นเรา ผู้ชื่อนั้น เมื่อเรามาแล้ว ก็ไม่ประสงค์เพื่อจะให้เห็น เลย ก็หลีกไปเสีย โอ! แน่ะจิต เจ้าช่างไม่ละอาย เจ้านำเราใดมาในที่นี้ถึง สี่ครั้ง บัดนี้ เรานั้น จักไม่เป็นไปในอำนาจของเจ้า แต่จักให้เจ้าเท่านั้นเป็น ไปในอำนาจของเราแน่นอน ดังนี้แล้วเข้าไปสู่เสนาสนะของตน ปรารภ วิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว เหาะไปสู่เงื้อมเขานันทมูลกะ ฝ่ายบุตรปุโรหิตนอกจากศาลานี้เข้าป่าแล้ว ปรารภวิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่ง ปัจเจกโพธิญาณ ได้ไปเหมือนอย่างนั่นเทียว.

พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้ทั้งสองนั้น นั่งบนพื้นมโนศิลาแล้ว ได้กล่าว อุทานคาถาเหล่านี้รูปละ ๑ คาถาว่า

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 173

สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ สทฺธึจรํ สาธุวิหาร ธีรํ อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ จเรยฺย เตนตฺตมโน สตีมา

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา เครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึง ครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ ธีรํ ราชาว รฏฺํ วิชิตํ ปหาย เอโก จเร มาตงฺครญฺเว นาโค

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงเที่ยว ไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น อันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจพญาช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงเที่ยวอยู่ใน ป่าแต่ตัวเดียว ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น บทว่า นิปกํ ได้แก่ บัณฑิตผู้รอบคอบโดยปกติ คือ ฉลาดในกสิณบริกรรมเป็นต้น. บทว่า สาธุวิหารึ ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อม ด้วยอัปปนาวิหาร หรืออุปจาร. บทว่า ธีรํ ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยธิติ. ในคาถา

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 174

นั้น ท่านกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วย ธิติ ด้วยอรรถว่า นิปกะ แต่ในอรรถกถา นี้ อธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยธิตินั่นเอง. ความบากบั่นไม่ท้อถอยชื่อว่า ธิติ. คำว่า ธิติ นั่น เป็นชื่อแห่งความเพียรอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นหารู จ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ แม้เพราะอรรถว่า มีบาปอันลอยแล้ว.

บาทคาถาว่า ราชาว รฏฺํ วิชิตํ ปหาย ความว่าพระราชาผู้ปรปักษ์ ทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่ชนะแล้วนำความฉิบหายมาให้ ทรงสละราชสมบัติ ทรงเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด บุคคลละสหายที่เป็นพาลแล้ว พึงเที่ยวไป แต่ผู้เดียวฉันนั้น.

อีกประการหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺํ ความว่า พระเจ้าสุตตโสม ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด และ พระมหาชนกทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียว ฉันใด บุคคลพึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวฉันนั้น. เนื้อความแห่งคาถานั้น มีเท่านี้.

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญาเครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มี ปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มี ใจชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น. บทที่เหลือ อาจเพื่อรู้ได้ ด้วยทำนองที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่ ได้อธิบายให้พิสดาร.

สหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๓

คาถานี้ว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้ มีอุบัติตั้งแต่พระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ในพื้นระเบียง เป็นเช่นกับอุบัติในจาตุททิสคาถานั่นแล. ส่วนความแปลกกันมีดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 175

พระราชาพระองค์นั้นทรงสะดุ้งในราตรีถึง ๓ ครั้ง ฉันใด พระราชา นี้ หาเป็นฉันนั้นไม่ ทั้งยัญก็ไม่ปรากฏแก่พระองค์ ท้าวเธอทรงนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่ง บนอาสนะที่ปูไว้ที่พื้นระเบียงแล้ว ตรัสถามว่า พวกท่านชื่ออะไร?

ป. มหาบพิตร พวกอาตมา ชื่อว่า ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำว่า ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษนี้ มีประโยชน์ อย่างไร?

ป. พวกอาตมาได้สิ่งที่ดีหรือไม่ดี ก็ไม่มีอาการผิดแปลกบริโภค มหาบพิตร

พระราชาทรงสดับเช่นนั้นแล้ว ทรงพระราชดำรินี้ว่า เอาเถิด เรา จะพิจารณาสมณะเหล่านี้ว่า เป็นเช่นนี้ หรือไม่ ในวันนั้น ทรงอังคาส ด้วยข้าวปลายเกรียนกับส้มผักดอง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็บริโภคไม่ แสดงอาการผิดแปลกเหมือนบริโภคอมตะ พระราชาทรงพระราชดำริว่า สมณะ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่แสดงอาการผิดแปลกเพราะได้ปฏิญญาแล้วในวันที่หนึ่ง เรา จักรู้ในพรุ่งนี้ จึงทรงนิมนต์เพื่อบริโภคในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันที่ ๒ จากนั้น ก็ ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็บริโภคเหมือน เดิม ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า บัดนี้ เราจักถวายสิ่งที่ดีกว่า ทดลองดู ดังนี้แล้ว ทรงนิมนต์อีก ทรงกระทำสักการะใหญ่ตลอดสองวัน ทรงอังคาสด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็บริโภคไม่แสดงอาการผิดแปลกเหมือนเดิม กล่าวมงคลถวายพระราชาแล้ว หลีกไป.

พระราชาครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นหลีกไปไม่นาน จึงทรงพระราชดำริว่า พระสมณะเหล่านั้น บริโภคโภชนะไม่มีโทษ โอหนอ! แม้เราก็พึง

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 176

บริโภคโภชนะไม่มีโทษ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติมาก สมาทานบรรพชา ปรารภวิปัสสนา เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงยังอารมณ์ของพระองค์ให้ แจ่มแจ้ง ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่โคนต้นไม้รกฟ้าตรัสพระคาถานี้ว่า

อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ เสฏฺา สมา เสวิตพฺพา สหายา เอเต อลทฺธา อนวชฺชโภชี เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและเสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็น ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้น ว่าโดยอรรถแห่งบทตื้นทั้งนั้น. ก็สหายทั้งหลายผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น ที่เป็นอเสขะ ในบทว่า สหายสมฺปทํ นี้อย่างเดียว เท่านั้น พึงทราบว่า สหายผู้ถึงพร้อม. ส่วนโยชนาในบทนี้ มีดังนี้ สหายผู้ ถึงพร้อมนี้ใดที่กล่าวแล้ว เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมนั้นแน่แท้ อธิบาย ว่า เราชื่นชมโดยส่วนเดียวเท่านั้น. อย่างไร. คือ พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด ผู้เสมอกัน. เพราะเหตุอะไร. เพราะเมื่อกุลบุตรคบสหายผู้ประเสริฐสุด ด้วย

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 177

คุณธรรมมีศีลเป็นต้นของตน ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ที่ยังไม่เกิด ย่อม เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ เมื่อคบสหายผู้เสมอกัน ธรรมทั้งหลายที่ได้แล้ว ย่อมไม่เสื่อม เพราะทรงความเสมอกันและกัน และ เพราะกำจัดความรังเกียจ แต่กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ ไม่ได้คบสหายผู้ประเสริฐสุด และผู้เสมอกันเหล่านั้น เว้นมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น บริโภคโภชนะที่เกิดขึ้นโดยธรรมและโดยเสมอ และไม่ให้ปฏิฆานุสัยในโภชนะ นั้นเกิดขึ้น เป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น เพราะแม้เราเที่ยวไปอย่างนี้ จึงบรรลุสมบัตินี้แล.

อนวัชชโภชิคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๔

คาถาว่า ทิสฺวา สุวณฺณสฺส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

พระเจ้ากรุงพาราณสี พระองค์หนึ่ง เสร็จเข้าที่บรรทมในกลางวัน ในคิมหสมัย และในพระราชสำนักของพระองค์ นางวรรณทาสีกำลังบด จันทร์เหลืองอยู่ ในแขนข้างหนึ่งของนาง มีกำไลทองหนึ่งวง ในแขนอีกข้าง หนึ่ง มีกำไลทองสองวง กระทบกัน กำไลทองหนึ่งวงนอกนี้ไม่กระทบ พระราชาทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงทรงแลดูนางทาสีบ่อยๆ พลางทรงพระราชดำริว่า ในการอยู่เป็นหมู่ย่อมมีการกระทบกัน ในการอยู่คนเดียว ย่อมไม่มี การกระทบ เหมือนอย่างนั้นแล.

โดยสมัยนั้น พระเทวีผู้ทรงประดับประดาด้วยเครื่องอลังการพร้อม สรรพ์ ประทับยืนถวายงานพัดอยู่ พระนางทรงดำริว่า พระราชาชะรอยจะมี

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 178

พระหทัยปฏิพัทธ์ในนางวรรณทาสี ทรงให้นางทาสีนั้นลุกออกไป ทรงปรารภ เพื่อจะทรงบดด้วยพระองค์เอง ในพระพาหาทั้งสองข้างของพระนางมีกำไลทอง หลายวงกระทบกันเกิดเสียงดังมาก พระราชาทรงเอือมระอายิ่งขึ้น ทั้งที่บรรทม ด้วยปรัศว์เบื้องขวา ทรงปรารภวิปัสสนา ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระปัจเจกโพธิญาณ.

พระเทวีทรงถือจันทน์ เสด็จเข้าเฝ้าพระราชาพระองค์นั้น ซึ่งบรรทม เป็นสุข ด้วยความสุขอันยอดเยี่ยม ทูลว่า มหาราช หม่อมฉันจะไล้ทา พระราชตรัสว่า ออกไป อย่าไล้ทา พระนางทูลว่า อะไร มหาราช! พระราชา ตรัสว่า เราไม่ใช่ราชา. อำมาตย์ทั้งหลายฟังการสนทนานั้น ของพระราชา และพระเทวีนั้น อย่างนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระราชาผู้อันอำมาตย์เหล่านั้น ทูลเรียกด้วยวาทะว่า มหาราช จึงตรัสว่า แน่ะพนาย เราไม่ใช่ราชา. บทที่ เหลือเป็นเช่นกับ คำที่กล่าวแล้ว ในคาถาต้นนั้นแล. ส่วนคาถาวัณณนามี ดังนี้ว่า

ทิสฺวา สุวณฺณสฺส ปภสฺสรานิ กมฺมารปุตฺเตน สุนิฏฺิตานิ สงฺฆฏฺฏมานานิ ทุเว ภุชสฺมึ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลแลดูกำไลทองสองอันงามผุดผ่องที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จด้วยดี แล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 179

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ได้แก่แลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส ได้แก่ ทองคำ. บาลีที่เหลือว่า วลฺยานิ เป็นคำที่นำมาเพิ่มเข้า เพราะอรรถ ของคำที่เหลือ มีเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ปภสฺสรานิ ได้แก่ อันแพรวพราวเป็นปกติ อธิบายว่า มีแสงรุ่งเรือง. บทที่เหลือเป็นบทมีอรรถ ตื้นทั้งนั้น.

ส่วนโยชนาดังนี้ว่า เราแลดูกำไรทองกระทบกันอยู่ในข้อมือ จึงคิดว่า เมื่อมีการอยู่เป็นหมู่ ย่อมมีการกระทบกัน เมื่อมีการอยู่คนเดียว หากระทบ กันไม่ จึงปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

สุวัณณนาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๕

คาถาว่า เอวํ ทุติเยน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ยังทรงพระเยาว์ มีพระประสงค์ จะทรงผนวช จึงตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงรับพระเทวีปกครอง ราชสมบัติเถิด เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ก็ ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชา อันพวกข้าพระองค์ไม่สามารถเพื่อจะรักษาได้ พระราชาในประเทศใกล้เคียงทั้งหลายจะมาแย่งชิงราชสมบัติไป ขอพระองค์ จงทรงรอ จนกว่าพระโอรสองค์หนึ่งทรงเกิดก่อน ดังนี้แล้ว ทูลให้พระราชา ทรงยินยอม. พระราชาทรงมีพระทัยอ่อน จึงทรงรับ. ต่อมา พระเทวีทรง พระครรภ์. พระราชาตรัสสั่งอำมาตย์เหล่านั้นแม้อีกว่า พระเทวีทรงครรภ์แล้ว

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 180

พวกท่านจงอภิเษกบุตรที่เกิดแล้วไว้ในราชสมบัติ ปกครองราชสมบัติเถิด เรา จักบวช. พวกอำมาตย์ทูลให้พระราชทรงยินยอมแม้อีกว่า ข้าแต่มหาราช ข้อ นั่นเป็นการรู้ได้ยากว่า พระเทวีจักประสูติพระโอรส หรือพระธิดา ขอพระองค์จงทรงรอประสูติกาลก่อนเถิด. ต่อมา พระนางก็ประสูติพระโอรส. แม้ ในกาลนั้น พระราชาก็ตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายเหมือนอย่างนั้น. พวกอำมาตย์ ก็ทูลให้พระราชาทรงยินยอมแม้อีก ด้วยเหตุเป็นอันมากว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงรอจนกว่าพระโอรสทรงมีพระกำลังแข็งแรงก่อนเถิด.

แต่นั้น เมื่อพระกุมารทรงมีพละกำลังแข็งแรงแล้ว พระราชาจึงตรัส ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า กุมารนี้มีกำลังแข็งแรงแล้ว พวกท่าน จงอภิเษกกุมารนั้นในราชสมบัติ ปฏิบัติเถิด ดังนี้ ไม่ทรงประทานพระวโรกาส ให้แก่พวกอำมาตย์ ตรัสสั่งให้นำบริขารทั้งปวง มีผ้ากาสวพัสตร์เป็นต้น มา จากภายในตลาด ทรงผนวชในภายในเมืองนั่นเองแล้วเสด็จออกไป เหมือน พระเจ้ามหาชนก. บริชนทั้งปวง คร่ำครวญนานัปการ ติดตามพระราชา พระราชาเสด็จไปจนถึงปลายเขตแดนของพระองค์ ทรงทำรอยขีด ด้วยไม้ ธารพระกร ตรัสว่า อย่าพึงข้ามรอยขีดนี้. มหาชนนอนบนพื้นเอาศีรษะจรด ที่รอยขีดคร่ำครวญอยู่ ทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า บัดนี้พระราชาทรงวางอาชญา แก่พระองค์ พระราชาจักทรงทำอย่างไร แล้วให้พระกุมารนั้นเสด็จข้ามรอยขีด ไป. พระกุมารทรงร้องว่า เสด็จพ่อ! เสด็จพ่อ! แล้วทรงวิ่งไปทันพระราชา. พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราปกครองมหาชนนั่น เสวยราชสมบัติ บัดนี้ เราไม่อาจเพื่อจะปกครองเด็กคนเดียวหรือไร ทรงพาพระกุมารเสด็จเข้าป่า ทรง

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 181

เห็นบรรณศาลาที่พระปัจเจกพุทธเจ้าในปางก่อนอยู่ในป่านั้น จึงประทับอยู่ พร้อมกับพระราชโอรส.

ลำดับนั้น พระกุมารทรงเคยชินแต่ในที่บรรทมอันประเสริฐเป็นต้น แต่เมื่อบรรทมในที่ลาดด้วยหญ้า หรือ บนพระแท่นที่ถักด้วยเชือก ถูกหนาว และลมเป็นต้นกระทบ ก็ทรงกันแสงทูลว่า หนาวเสด็จพ่อ ร้อนเสด็จพ่อ แมลงวันตอมเสด็จพ่อ หม่อมฉันหิวเสด็จพ่อ กระหายเสด็จพ่อ ดังนี้. พระราชาต้องทรงปลอบโยนพระกุมารนั้น ยังราตรีให้ผ่านไป แม้ในกลางวัน ก็ต้องเสด็จเที่ยวบิณฑบาตนำภัตไปมอบให้พระกุมารนั้น ภัตนั้นเป็นภัตปนคละ กัน มากด้วยข้าวฟ่าง ลูกเดือยและแกงถั่วเป็นต้น พระกุมารทรงหิว ก็เสวย ภัตแม้นั้น ด้วยอำนาจความหิว ต่อกาลไม่นานนัก ก็ทรงผ่ายผอม เหมือน ดอกประทุมที่วางไว้ในที่ร้อนฉะนั้น.

ส่วนพระปัจเจกโพธิสัตว์ ไม่ทรงแสดงอาการผิดแปลกเลย ทรงเสวย ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา แต่นั้น พระองค์ก็ทรงให้พระกุมารยินยอมตรัสว่า แน่ะพ่อ! อาหารอันประณีตย่อมได้ในพระนคร พวกเราจะไปในพระนครนั้น. พระกุมารทูลว่า ตกลง เสด็จพ่อ. แต่นั้น ก็ทรงนำพระกุมารนั้น เสด็จกลับ ตามทางที่เสด็จกลับมานั่นเทียว.

ฝ่ายพระเทวี พระมารดาของพระกุมาร ทรงดำริว่า บัดนี้ พระราชา ทรงพาพระกุมารไปประทับอยู่ในป่าคงไม่นานนัก คงจักเสด็จกลับโดยกาล ๒ - ๓ วันเท่านั้น จึงทรงให้ล้อมรั้วในสถานที่ทรงขีด ด้วยไม้ธารพระกรนั่นแล แล้ว ประทับอยู่ ลำดับนั้น พระราชาประทับยืนในที่ไม่ไกลจากรั้วนั้น ทรงส่งไป

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 182

ว่า แน่ะพ่อ มารดาของเจ้านั่งอยู่ในที่นั่น เจ้าจงไป ดังนี้ และประทับยืน ดูอยู่จนกว่าพระกุมารนั้นเสด็จถึงที่นั้น ด้วยพระดำริว่า ใครๆ ไม่พึงเบียด เบียนกุมารนั้น พระกุมารได้เสด็จไปสู่สำนักของพระมารดา ก็บุรุษผู้อารักขา ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้นแล้ว ทูลบอกแด่พระเทวี พระเทวีทรงมีสตรีนัก ฟ้อนรำ ๒๐,๐๐๐ นาง แวดล้อมแล้ว เสด็จไปรับ และตรัสถามเรื่องราวของ พระราชา ครั้นทรงสดับว่า จักเสด็จมาภายหลัง จึงทรงส่งมนุษย์ทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาก็เสด็จไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ในทันทีทันใดนั่นเอง มนุษย์ทั้งหลาย ไม่เห็นพระราชาก็กลับมา แต่นั้น พระเทวีทรงปราศจากความหวัง ทรงพา พระราชโอรสกลับถึงพระนคร ทรงอภิเษกพระกุมารนั้นไว้ในพระราชสมบัติ.

ฝ่ายพระราชาเสด็จถึงที่อยู่ของพระองค์แล้ว ประทับนั่งในที่อยู่นั้น ทรงเห็นแจ้ง ทรงทำให้แจ้งซึ่งพระปัจเจกโพธิญาณ ตรัสอุทานคาถานี้ ใน ท่ามกลางแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่โคนต้นไม้รกฟ้าว่า

เอวํ ทุติเยน สหา มมสฺส วาจาภิลาโป อภิสชฺชน วา เอตํ ภยํ อายตึ เปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่ สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความ เยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ใน อนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 183

คาถานั้น โดยอรรถแห่งบท ตื้นทั้งนั้น ส่วนอธิบายในคาถานั่น ดังนี้ การพูดจาของเราให้พระกุมารนั้นยินยอมอยู่ กับพระกุมารที่สองนั่น ผู้เสวยหนาวและร้อนเป็นต้นนี้ใด การข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใย พึง มีได้ในการพูดจานั้น ถ้าเราไม่สละการพูดจาและการข้องอยู่นี้เสีย ต่อแต่นั้น การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือ การข้องอยู่ในอนาคตก็จะเป็น เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเมื่อเล็งเห็นภัยในอนาคตนี้ว่า การพูดจา และการข้องอยู่ทั้งสองนั้น เป็นเหตุทำอันตรายแก่การบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้ จึงทิ้งกาพูดจาและการข้องอยู่นั้นเสีย ปฏิบัติโดยแยบคายแล้ว ก็ได้บรรลุ ปัจเจกโพธิญาณ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อายติภยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๖

คาถาว่า กามาหิ จิตฺรา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี เศรษฐีบุตรยังหนุ่ม ได้ตำแหน่งเศรษฐี เศรษฐีบุตรนั้น มีปราสาท ๓ หลัง สำหรับ ๓ ฤดู เศรษฐีบุตรนั้น บำรุง บำเรอด้วยสมบัติทั้งปวง เหมือนเทพกุมารทั้งที่ยังหนุ่มอยู่ ได้ปรึกษากับมารดา และบิดาว่า ลูกจักบวช มารดาบิดาเหล่านั้น ก็ห้ามเขา เศรษฐีบุตรนั้น ก็ยืนยัน เหมือนเดิมนั้นแล มารดาและบิดา ก็ห้ามเขาอีกว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าเป็นผู้ ละเอียดอ่อน การบรรพชาทำได้ยาก เป็นเช่นกับเดินไปมาบนคมมีดโกน เขาก็ยืนยันเช่นเดิมนั้นแล มารดาบิดาเหล่านั้นคิดว่า ถ้าบุตรนี้บวช พวกเรา

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 184

ก็เสียใจ ถ้าห้ามเขา เขานั่นก็จะเสียใจ ช่างเถิด ความเสียใจจงมีแก่พวกเรา และอย่ามีแก่บุตรนั่น ดังนี้แล้ว ก็อนุญาต.

แต่นั้น เศรษฐีบุตรนั้น ไม่คำนึงถึงบริชนทั้งหมด ที่คร่ำครวญอยู่ ไปสู่ป่าอิสิปตนะ บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสนาสนะอัน โอฬารย่อมไม่ถึงแก่เขา เขาต้องปูเสื่อลำแพนบนเตียงแล้วนอน เขาเคยชิน แต่ในที่นอนอันประเสริฐ เป็นทุกข์อย่างยิ่งตลอดคืน ทำบริกรรมสรีระแม้แต่ เช้าแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตพร้อมกับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ในพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ท่านผู้แก่ย่อมได้อาสนะที่เลิศและบิณฑะที่เลิศ ผู้ใหม่ย่อมได้อาสนะตามมีตามเกิด และโภชนะอันเลว เศรษฐีบุตรนั้น เป็น ทุกข์อย่างยิ่ง แม้ด้วยโภชนะอันเลวนั้น โดยล่วงไป ๒ - ๓ วันเท่านั้น ก็ผ่ายผอม มีวรรณะเศร้าหมอง เบื่อหน่ายในสมณธรรม ซึ่งยังไม่ถึงความแก่รอบตามที่ควร ต่อแต่นั้น ก็ส่งทูตไปบอกแก่มารดาบิดาแล้วสึก.

เศรษฐีบุตรนั้น ได้กำลังต่อกาลเล็กน้อยเท่านั้น ก็ใคร่เพื่อจะบวชอีก ต่อแต่นั้น ก็บวชแล้วสึก แม้โดยทำนองนั้นเทียว ในวาระที่ ๓ บวชแล้ว ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว กล่าวอุทานคาถานี้ กล่าวแม้ พยากรณ์คาถานี้แล ในท่ามกลางของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้อีกว่า

กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ อาทีนวํ กามคุเณส ทิสฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 185

ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น บทว่า กามา ได้แก่ กาม ๒ อย่างคือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. ในกาม ๒ อย่างนั้น ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นที่รักของใจเป็นต้น ชื่อว่า วัตถุกาม ธรรมทั้งหลายอันเป็นประเภทแห่งราคะแม้ทั้งหมด เรียกว่า กิเลสกาม. ก็ในคาถานี้ ท่านประสงค์เอาวัตถุกาม. กามทั้งหลาย ชื่อว่า งามวิจิตร ด้วยอำนาจแห่งประการหลายอย่างมีรูปเป็นต้น ชื่อว่า มีรสอร่อย ด้วยอำนาจแห่งความยินดีของชาวโลก ชื่อว่า เป็นที่รื่นรมย์ใจ เพราะอรรถว่า ยังใจของปุถุชนคนโง่ให้รื่นรมย์.

บทว่า วิรูปรูเปน ความว่า ด้วยรูปแปลกๆ มีอธิบายว่า ด้วยสภาพ หลายอย่าง. จริงอยู่ กามเหล่านั้น ชื่อว่า งามวิจิตร ด้วยอำนาจแห่งรูป เป็นต้น ชื่อว่า มีรูปแปลกๆ ด้วยอำนาจแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น แม้ในรูป เป็นต้น แสดงความพอใจด้วยรูปแปลกๆ นั้น หรือโดยประการนั้นๆ ย่อม ย่ำยีจิต คือ ไม่ให้เพื่ออภิรมย์ในบรรพชา ด้วยประการอย่างนั้น.

บทที่เหลือในคาถานั้น ปรากฏชัดแล้ว. แม้คำนิคม อันบัณฑิต ประกอบด้วยบท ๒ บท หรือ ๓ บทก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนคาถาต้นๆ นั่นแล.

กามคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 186

คาถาที่ ๑๗

คาถาว่า อีตี จ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ฝีได้บังเกิดแก่พระราชาในกรุงพาราณสี เวทนากล้าเป็นไป อยู่ แพทย์ทั้งหลายกราบทูลว่า เว้นจากการผ่าตัดแล้ว ไม่มีความผาสุก พระราชาทรงให้อภัยแก่แพทย์เหล่านั้นแล้ว ตรัสสั่งให้ทำการผ่าตัด แพทย์เหล่านั้น ผ่าตัดแล้ว นำพระปุพโพและพระโลหิตออก กระทำให้หมดเวทนาแล้วพันผ้า พันแผล ทูลตักเตือนโดยชอบในเนื้อและอาหารเศร้าหมอง. พระราชาทรงมี พระสรีระผอม เพราะโภชนะเศร้าหมอง และฝีของพระองค์ก็แห้ง พระองค์ ทรงสำคัญว่า หายแล้วจึงเสวยพระกระยาหารที่รสเลิศ และแผลซึ่งเกิดจากพระกระยาหารนั้น ก็กำเริบเช่นนั้นอีก ฝีของพระองค์ก็ถึงซึ่งสภาพเช่นเดิมอีกนั้น เทียว พระองค์ทรงให้ทำการผ่าตัดอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ถูกแพทย์ทั้งหลายทูลบอก เลิกแล้ว ทรงเบื่อหน่าย สละราชสมบัติอันใหญ่ ทรงเห็นแจ้งในป่า ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ โดย ๗ ปี ได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

อีตี จ คณฺโฑ จ อุปททฺโว จ โรโค จ สลฺลญฺจ เมตํ เอตํ ภยํ กามคุเณสุ ทิสฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลเห็นภัยคือ จัญไร อุปัทวะ โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 187

ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังเงื้อมภูเขานันทมูลกะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอติ ได้แก่ ความจัญไร. คำว่า อีติ นี้ เป็นชื่อแห่งเหตุของความพินาศ อันเป็นส่วนของอกุศลที่จรมา. เพราะ ฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านั้น ก็ชื่อว่า จัญไร เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำมาซึ่ง ความพินาศหลายอย่าง และเพราะเป็นเหตุให้ตกต่ำอย่างหนัก แม้ฝีย่อม หลั่งออกซึ่งของไม่สะอาด คือ บวมขึ้นและแก่จัดก็แตกออก เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านั้น ชื่อว่า ฝี เพราะเป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดคือกิเลส และเพราะความเป็นของแตกออก เพราะความเป็นของบวมขึ้นแล้ว แก่จัด ด้วยความเกิด ความแก่และความแตกสลาย ชื่อว่า อุปัทวะ เพราะอรรถว่า ประทุษร้าย อธิบายว่า ยังความฉิบหายให้เกิด ย่อมย่ำยี คือ ครอบงำ.

คำว่า อุปทฺทโว นั่นเป็นชื่อแห่งอาชญากรรมทั้งหลายมีราชทัณฑ์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านั้น ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะเป็นเหตุไม่ ให้ก้าวลงสู่พระนิพพานที่ตนยังไม่รู้ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะทั้งปวง ก็ เพราะกามคุณเหล่านั้น ยังความเดือดร้อนคือกิเลสให้เกิดขึ้น ยังความไม่มีโรค กล่าวคือศีลให้ถึงความเหลาะแหละ ย่อมปล้นความไม่มีโรคตามปกตินั้นเสีย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โรค เพราะอรรถว่า ปล้นความไม่มีโรคนี้ แต่ชื่อว่า ลูกศร เพราะอรรถว่าตามเข้าไปในภายใน เพราะอรรถว่า กระทำความ เดือดร้อนในภายใน และเพราะอรรถว่า เป็นของที่นำออกได้แสนยาก ชื่อว่า ภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในทิฏฐธรรมและในสัมปรายิกภพ. สองบทว่า เม เอตํ สนธิเป็น เมตํ แปลว่า ของเรานี้. บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัดแล้ว แม้คำนิคม ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแล.

อีติคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 188

คาถาที่ ๑๘

คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า สีตาลุกพรหมทัต ท้าวเธอทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในกุฏิป่า ก็ครั้นประเทศนั้นหนาว ก็มี ความหนาว เมื่อร้อน ก็มีความร้อนเท่านั้น เพราะเป็นประเทศตั้งอยู่ในที่โล่ง ภิกษาในโคจรคามก็ไม่ได้ตามความต้องการ แม้น้ำดื่มสำหรับผู้ดื่ม ก็หาได้ยาก แม้ลม เหลือบ สัตว์เลื้อยคลานก็เบียดเบียน พระองค์ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า ในที่ประมาณกึ่งโยชน์จากนี้ มีประเทศที่สมบูรณ์ อันตรายทางสรีระเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ย่อมไม่มีในประเทศนั้น อย่าเลย เราพึงไปในประเทศนั้น เมื่อ อยู่เป็นผาสุก ก็อาจบรรลุสุขได้.

พระองค์ทรงมีพระราชดำริอีกว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ไม่ควร ตกอยู่ในอำนาจปัจจัย และย่อมยังจิตเห็นปานนั้นให้เป็นไปในอำนาจ จะไม่เป็น ไปในอำนาจของจิต เราจักไม่ไปละ ครั้นทรงพิจารณาแล้ว ไม่เสด็จไป ทรงพิจารณาจิตที่เกิดแล้วอย่างนี้ถึงสามครั้งแล้ว เสด็จกลับ ตั้งแต่นั้นก็ประทับ อยู่ในป่านั้นเที่ยวตลอด ๗ ปี ทรงปฏิบัติชอบอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่ง พระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุทํ ปิปาสํ วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 189

บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน หิว ระหาย ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่เงื้อมแห่งภูเขานันทมูลกะ.

ในคาถานั้น บทว่า สีตญฺจ ได้แก่ หนาว ๒ ชนิด คือ ธาตุใน ภายในกำเริบเป็นปัจจัย ๑ ธาตุในภายนอกกำเริบเป็นปัจจัย ๑. ร้อนก็เหมือนกัน. บทว่า ฑํสา ได้แก่ แมลงสีเหลือง. บทว่า สิรึสปา ความว่า ทีฆชาติ เหล่าใดเหล่าหนึ่งเสือกคลานไป. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว. แม้คำนิคม ก็พึง ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

สีตาลุกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๙

คาถาว่า นาโค ว ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติ เป็นเวลา ๒๐ ปี สวรรคตแล้ว ไหม้อยู่ในนรกตลอด ๒๐ ปีเหมือนกัน เกิดใน กำเนิดช้าง ในหิมวันตประเทศ มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีร่างกายทั้งสิ้นมีสีเหมือน ดอกปทุม โอฬารเป็นจ่าโขลง เป็นช้างใหญ่. ลูกช้างทั้งหลายแล ย่อมเคี้ยว กินกิ่งไม้ที่พญาช้างนั้นหักแล้ว แม้ในเวลาก้าวลงสู่น้ำ ช้างพังทั้งหลายก็ลูบไล้ พญาช้างด้วยเปือกตม เรื่องทั้งหมดเป็นเหมือนเรื่องของพญาช้างปาลิไลยกะ พญาช้างนั้น เบื่อหน่ายหลีกออกจากโขลง แต่นั้นโขลงช้างก็ติดตามพญาช้าง

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 190

นั้นอีก ตามรอยเท้า พญาช้างหลีกไปอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ถูกติดตามอีก จึง คิดต่อไปว่า บัดนี้ พระนัดดาของเราเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี เอาเถิด เราพึงไปสู่อุทยานแห่งชาติก่อนของตน พระนัดดานั้น จักรักษาเราในอุทยาน นั้น ครั้นโขลงช้างหลับในกลางคืนแล้ว จึงละโขลงไปสู่อุทยานนั้นนั่นแล.

คนรักษาพระราชอุทยานเห็นแล้ว ทูลบอกแด่พระราชา พระราชา ทรงดำริว่า เราจักจับช้าง ดังนี้แล้ว ทรงแวดล้อมด้วยเสนาเสด็จไป ช้างก็ เดินมุ่งหน้าต่อพระราชานั่นเทียว พระราชาทรงพระราชดำริว่า ช้างนี้เดินมา มุ่งหน้าเรา จึงผูกสอดลูกธนู ประทับยืนอยู่ แต่นั้น ช้างคิดว่า พระราชานั่น พึงยิงเราแน่ จึงพูดด้วยวาจามนุษย์ว่า พรหมทัต! อย่ายิงเรา เราเป็นปู่ ของท่าน พระราชาตรัสว่า ท่านพูดอะไร จึงตรัสถามเรื่องราวทั้งหมด แม้ พญาช้างก็บอกเรื่องราวเกี่ยวกับราชสมบัติ ความเป็นไปในนรกและในกำเนิด ช้างทั้งหมด ส่วนพระราชาทรงประเล้าประโลมว่า อย่ากลัว อย่าให้ใครๆ สะดุ้ง ดังนี้แล้ว ทรงให้บำรุงอาหาร เครื่องลาด และเครื่องช้างแก่พญาช้าง.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปประทับบนคอช้าง ทรงพระราชดำริว่า ช้างนี้เคยเสวยราชสมบัติเป็นเวลา ๒๐ ปี ตกนรกแล้ว เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ด้วยวิบากที่ยังเหลือนั่นแล เมื่อไม่อดกลั้น ซึ่งการกระทบกระทั่งกันในเพราะ อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ จึงมาในที่นี้ โอ! การอยู่เป็นหมู่เป็นทุกข์ ส่วนการอยู่ คนเดียวเท่านั้น เป็นสุข ดังนี้ จึงทรงปรารภวิปัสสนาในที่นั้นแหละ ทรง กระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ, อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นสุขด้วยโลกุตรสุข ประนมมือกราบทูลว่า ได้เวลาเสด็จสู่พระยาน แล้ว มหาราช ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสว่า เราไม่ใช่ราชา แล้วตรัส พระคาถานี้ โดยนัยก่อนนั่นแลว่า

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 191

นาโคว ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา สญฺชาตกฺขนฺโธ ปทุมี อุฬาโร ยถาภิรนฺตํ วิหรํ อรญฺเ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ที่เกิดใน ตระกูลปทุม มีขันธ์เกิดดีแล้ว ละโขลงอยู่ใน ป่าตามอภิรมย์ ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้น โดยอรรถแห่งบทปรากฏชัดแล้ว แต่การประกอบอธิบาย ในคาถานั่นมีดังนี้ ก็คาถานั้นแล ปรากฏแล้วด้วยอำนาจแห่งยุติ แต่ไม่ปรากฏ ชัดด้วยอำนาจแห่งการตามสดับ อธิบายว่า ช้างนี้ชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า ไม่มาสู่พื้นที่ที่ไม่ได้ฝึก เพราะความที่ตนฝึกดีแล้ว ในศีลทั้งหลายที่มนุษย์พอใจ หรือเพราะความที่ตนมีร่างกายใหญ่ ฉันใด แม้เราก็พึงเป็นนาค เพราะไม่มา สู่พื้นที่ที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะความที่ตนฝึกดีแล้ว ในศีลทั้งหลายที่พระอริยเจ้า พอใจ เพราะไม่ทำบาป และเพราะไม่กลับมาสู่ความเป็นเช่นนี้อีก หรือเพราะ ความที่ตนมีสรีระคือคุณใหญ่ ชื่อในกาลไรหนอ ฉันนั้น.

อนึ่ง ช้างนั้นละโขลงแล้วอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ด้วยความสุขที่เที่ยวไป โดดเดี่ยว พึงเที่ยวไปตัวเดียว เหมือนนอแรดฉันใด ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราก็ฉันนั้น อยู่ในป่าตามอภิรมย์ ด้วยวิหารสุขโดยส่วนเดียว ได้แก่ ด้วย ความสุขที่เกิดจากฌาน คืออยู่ในป่าโดยประการที่ตนจะมีความสุข หรือเท่าที่ เราปรารถนา พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ พึงประพฤติเหมือนนอแรด.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 192

อนึ่ง ช้างนั่นชื่อว่ามีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะมีขันธ์ตั้งดีแล้ว ฉันใด ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราพึงชื่อว่ามีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ใหญ่ ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ ฉันนั้น. อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่า ปทุมี เพราะมีร่างกาย เช่นกับดอกปทุม หรือเพราะเกิดแล้วในตระกูลช้างปทุม ฉันใด ชื่อกาลไหนหนอ แม้เราก็พึงชื่อว่าปทุม เพราะความเป็นผู้มีกายตรงเหมือนดอกปทุม หรือเพราะ เกิดแล้วในดอกปทุม คือ อริยชาติ ฉันนั้น อนึ่ง ช้างนั้นโอฬาร ด้วยเรี่ยวแรง กำลังและเชาว์เป็นต้น ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราก็พึงโอฬารด้วยคุณธรรม มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือด้วยศีล สมาธิ และปัญญาเป็น เครื่องแทงตลอดเป็นต้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อคิดอย่างนี้ จึงปรารภ วิปัสสนา ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล.

นาคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๐

คาถาว่า อฏฺาน ตํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชบุตรของพระเจ้าพาราณสี ยังทรงพระเยาว์ มี พระประสงค์จะทรงผนวช จึงทรงปรึกษาพระมารดาและพระบิดา พระมารดา และพระบิดาทรงห้ามพระองค์. พระราชบุตรนั้นแม้ถูกห้ามอยู่ ก็ทรงยืนยันว่า หม่อมฉันจักบวช แต่นั้นพระมารดาและพระบิดาตรัสเรื่องทั้งหมด เหมือนเรื่อง เศรษฐีบุตรที่กล่าวแล้วในกาลก่อน ทรงอนุญาตแล้ว แต่ทรงให้ปฏิญญาว่า ก็ครั้นบวชแล้ว พึงอยู่ในอุทยานเท่านั้น พระองค์ทรงกระทำตามปฏิญญา พระมารดาของพระองค์ มีหญิงนักฟ้อนรำ ๒๐,๐๐๐ นางแวดล้อมแล้ว เสด็จไป สู่พระราชอุทยาน ทรงให้พระราชบุตรดื่มยาคู ทรงให้เคี้ยวของขบเคี้ยวเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 193

ทรงสนทนากับพระราชบุตรนั้น จนถึงสมัยเที่ยงวัน ทรงจัดพวกบุรุษคอย ปฏิบัติแล้ว เสด็จสู่พระนคร ส่วนพระบิดาเสด็จมาในเวลาเที่ยงวัน ทรงให้ พระราชบุตรเสวยแล้ว แม้พระองค์ก็ทรงเสวย สนทนากับพระราชบุตรนั้น ตลอดวัน ในเวลาเย็น ทรงจัดพวกบุรุษคอยปฏิบัติแล้ว เสด็จเข้าพระนคร พระราชบุตรนั้น ไม่สงัดตลอดคืนและวันอย่างนี้อยู่.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า อาทิจจพันธุ์ อยู่ที่ เงื้อมภูเขานันทมูลกะ ท่านระลึกถึงอยู่ได้เห็นพระราชบุตรนั้นว่า พระกุมารนี้ ทรงอาจเพื่อจะผนวช แต่ไม่อาจเพื่อจะตัดความเกี่ยวข้องได้ ต่อนั้นก็นึกว่า พระกุมารนี้จักเบื่อหน่ายด้วยธรรมดาของตนหรือไม่ ในลำดับนั้นก็รู้ว่า เมื่อ ทรงเบื่อหน่ายด้วยธรรมดา จักมีช้านานอย่างยิ่ง คิดว่า เราจักแสดงอารมณ์ แก่พระกุมารนั้น จึงมาจากพื้นมโนศิลา โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั่นเทียว อยู่ที่พระราชอุทยาน ราชบุรุษเห็นแล้ว ทูลพระราชาว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเจ้าข้า. พระราชาทรงมีพระทัยยินดีแล้วว่า บัดนี้ บุตรของเราไม่กระสัน แล้ว จักอยู่พร้อมด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าโดย เคารพ ทรงร้องขอให้อยู่ในพระราชอุทยานนั้นแล ทรงให้ทำสิ่งทั้งปวง มีบรรณศาลา ที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้น ทรงนิมนต์ให้อยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น ในวันหนึ่ง ได้โอกาสแล้ว ทูลถาม พระกุมารว่า พระองค์เป็นอะไร?

ก. เราเป็นบรรพชิต

ป. ชื่อว่า บรรพชิตทั้งหลายไม่เป็นเช่นนี้

เมื่อพระกุมารทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้นบรรพชิต ทั้งหลายเป็นเช่นไร อะไรไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าทูลว่า

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 194

พระองค์ไม่เพ่งดูสิ่งที่ไม่สมควรแก่พระองค์ พระมารดาของพระองค์เสด็จมาใน เวลาเช้า พร้อมกับสตรี ๒๐,๐๐๐ นาง ทรงทำให้พระราชอุทยานไม่สงัด พระบิดาเสด็จมาในเวลาเย็น พร้อมกับพลกายมาก บุรุษผู้ปรนนิบัติทั้งหลายมา ตลอดคืนทั้งสิ้น ทำพระราชอุทยานไม่สงัดมิใช่หรือ ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ไม่เป็นเช่นกับพระองค์ แต่เป็นเช่นนี้ แล้วแสดงวิหารแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์ แก่พระกุมารที่ประทับยืนอยู่ในที่นั้นนั่นแล.

พระกุมารนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายในวิหารนั้น ยืนห้อย แขน กำลังเดินจงกรม และกำลังทำการย้อมและการเย็บเป็นต้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่ามาในที่นี้ และบรรพชาท่านทั้งหลายก็อนุญาตแล้ว. พระ อาทิจจพันธุ์ปัจเจกพุทธเจ้านั้นทูลว่า ถูกแล้ว การบรรพชาอนุญาตแล้ว ชื่อว่า สมณะทั้งหลาย จำเดิมแต่กาลที่ตนบวชแล้ว ย่อมได้เพื่อทำการสลัดออกจาก ทุกข์เพื่อตน และเพื่อไปสู่ประเทศที่ตนต้องการและปรารถนา เหตุมีประมาณ เท่านี้ ย่อมควร ดังนี้แล้ว ยืนในอากาศได้กล่าวกึ่งคาถานี้ว่า

อฏฺาน ตํ สงฺคณิการตสฺส ยํ ผุสฺสเย สามยิกํ วิมุตฺตึ

การที่บุคคลผู้ยินดีแล้ว ด้วยการ คลุกคลีด้วยคณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีใน สมัยนั้น ไม่เป็นฐานที่จะมีได้ ดังนี้แล้ว

เมื่อโอกาสปรากฏอยู่ จึงไปยังเงื้อมแห่งภูเขานันทมูลกะ.

เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไปแล้วอย่างนี้ พระกุมารนั้นเสด็จเข้าบรรณศาลาของพระองค์แล้ว ทรงบรรทม. ฝ่ายบุรุษผู้อารักขาประมาทว่า บัดนี้

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 195

พระกุมารทรงบรรทมแล้ว จักเสด็จไปไหน จึงก้าวสู่ความหลับ พระกุมาร ทรงทราบว่า บุรุษผู้อารักขานั้นประมาทแล้ว ก็ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้า สู่ป่า และทรงสงัดในป่านั้น ทรงปรารภวิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจก โพธิญาณแล้ว เสด็จไปสู่สถานของพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า ในที่นั้น ทูลถามว่า พระองค์ทรงบรรลุได้อย่างไร ก็ได้ตรัสกึ่งคาถาที่พระ อาทิจจพันธุ์กล่าวแล้ว ทำให้บริบูรณ์.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า อฏฺาน ตํ ความว่า นั้นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ อธิบายว่า มิใช่เหตุ. ท่านทำการลบนิคหิตเสีย ดุจในประโยคว่า อริยสจฺจานทสฺสนํ แปลว่า การเห็นอริยสัจทั้งหลายเป็นต้น. บทว่า สงฺคณิ- การตสฺส ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งแล้วด้วยคณะ. บทว่า ยํ นั่นเป็นตติยาวิภัตติ ดุจในประโยคว่า ยํ หิริยติ หิริยิตพฺเพน เป็นต้น. บทว่า ผุสฺสเย ความว่า พึงบรรลุ. บทว่า สามยิกํ วิมุตฺตึ ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ โลกิยสมาบัติ นั้น เรียกว่า วิมุตติอันมีในสมัย เพราะพ้นจากอกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็น ข้าศึก ในสมัยที่ได้สมาธิยังไม่แนบแน่นและแนบแน่นนั่นเอง.

พระกุมารตรัสว่า เราใคร่ครวญคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า อาทิจจพันธุ์อย่างนี้ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้ว ด้วยการคลุกคลีด้วยคณะ จะพึง บรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ นั้นไม่เป็นเหตุที่ จะมีได้ ดังนี้แล้ว ละความยินดีด้วยการคลุกคลีด้วยคณะ ปฏิบัติโดยแยบคาย อยู่ จึงได้บรรลุดังนี้ บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อัฏฐานคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 196

วรรคที่ ๓

คาถาที่ ๒๑

คาถาว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในกรุงพาราณสี เสด็จไปในที่ลับ ทรงพระราชดำริว่า ร้อนเป็นต้นซึ่งกำจัดหนาวเป็นต้นมีอยู่ฉันใด วิวัฏฏะซึ่ง กำจัดวัฏฏะฉันนั้น มีอยู่หรือว่าไม่มี ดังนี้ พระองค์จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลาย ว่า พวกท่านรู้วิวัฏฏะหรือ อำมาตย์เหล่านั้นทูลว่า รู้พระมหาราช. พระราชา ตรัสถามว่า นั้นเป็นอย่างไร. แต่นั้น อำมาตย์ทั้งหลายทูลบอกสัสสตทิฏฐิและ อุจเฉททิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า โลกมีที่สุด.

ลำดับนั้น พระราชาทรงทราบว่า อำมาตย์เหล่านี้ ย่อมไม่รู้ อำมาตย์ เหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นคนเจ้าทิฏฐิ ทรงเห็นความที่อำมาตย์เหล่านั้นเป็นผู้แย้ง และไม่ควรด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงพระราชดำริว่า วิวัฏฏะซึ่งกำจัดวัฏฏะมีอยู่ เราพึงแสวงหาวิวัฏฏะนั้น แล้วทรงสละราชสมบัติผนวช ทรงเห็นแจ้ง ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ตรัสอุทานคาถานี้ และพยากรณคาถา ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า

ทิฏฺีวิสูกานิ อุปาติวตฺโต ปตฺโต นิยามํ ปฏิลทฺธมคฺโค อุปฺปนฺนาโณมหิ อนญฺเนยฺโย เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 197

เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มี ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง. จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ในมรรค เพราะอรรถว่าขัดแย้ง และเพราะอรรถว่า ทิ่มแทง. ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกะ เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึกต่อทิฏฐิอย่างนี้. หรือ ทิฏฐินั้นนั่นเองเป็นข้าศึกจึง ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกะ.

บทว่า อุปาติวตฺโต คือ ก้าวล่วงแล้ว ด้วยทัสสนมรรค.

บทว่า ปตฺโต นิยามํ ความว่า บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นผู้เที่ยง เพราะไม่มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา และเพราะมีการตรัสรู้ชอบเป็นเบื้องหน้า หรือบรรลุปฐมมรรค กล่าวคือ ความเที่ยงที่สมบูรณ์แล้ว. พระปัจเจก พุทธเจ้ากล่าวความสำเร็จในปฐมมรรค และการได้เฉพาะซึ่งปฐมมรรค ด้วย คำมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงแสดงการได้เฉพาะซึ่งมรรคที่เหลือ ด้วยบทนี้ว่า ปฏิลทฺธมคฺโค ดังนี้.

บทว่า อุปฺปนฺนาโณมฺหิ ความว่า เป็นผู้มีปัจเจกพุทธญาณเกิด ขึ้นแล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงผล ด้วยบทนี้.

บทว่า อนญฺเนยฺโย ความว่า อันบุคคลเหล่าอื่นไม่พึงแนะนำว่า สิ่งนี้จริง สิ่งนี้ไม่จริง. พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความเป็นผู้รู้เอง ด้วยบทนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดล่วงพ้นความไม่มีแห่งความเป็นผู้อันผู้อื่นไม่พึง แนะนำ ในปัจเจกโพธิญาณที่บรรลุแล้ว หรือล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 198

ด้วยสมถวิปัสสนาด้วยตนเอง ถึงความเป็นผู้เที่ยง ด้วยมรรคต้น มีมรรคอัน ได้เฉพาะแล้ว ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย หรือมีญาณเกิดแล้ว ด้วยผลญาณ ได้บรรลุแล้ว ซึ่งญาณทั้งปวง ด้วยตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า อนญฺเนยฺโย อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว นั่นแล.

ทิฏฐิวิสูกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๒

คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า วิเสท (พ่อครัว) ของพระเจ้าพาราณสี ปรุงพระกระยาหาร ในระหว่างน้อมเข้าถวาย ด้วยความปรารถนาว่า การเห็นโภชนะที่ฟูใจ เป็นรส ที่ประเสริฐ ทำอย่างไรหนอ พระราชาพึงพระราชทานทรัพย์แก่เรา. พระกระยาหารนั้นยังความประสงค์ที่จะเสวยให้เกิดขึ้นแก่พระราชาด้วยกลิ่นเท่านั้น จึงทำให้พระเขฬะเกิดขึ้นในพระโอษฐ์ แต่พอพระองค์ทรงใส่พระกระยาหาร คำแรกลงในพระโอษฐ์ ประสาทสำหรับรับรส ๗ พัน ก็ซาบซ่านดุจถูกน้ำ อมฤตฉะนั้น วิเสทคิดว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงพระราชทานแก่เรา ฝ้าย พระราชาทรงพระราชดำริว่า พ่อครัวสมควรแก่สักการะ แต่ครั้นทรงลิ้มรส แล้ว ทรงพระราชดำริว่า เกียรติศัพท์ที่ชั่ว พึงระบือถึงเราผู้สักการะว่า พระราชานี้เป็นผู้โลภติดในรส จึงไม่ตรัสอะไร ฝ่ายวิเสทก็คิดว่า พระราชา จักพระราชทานรางวัลในบัดนี้ จนกระทั่งเสวยพระกระยาหารเสร็จอย่างนี้ แม้ พระราชาก็ไม่ตรัสอะไร เพราะทรงกลัวการติเตียน.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 199

ลำดับนั้น วิเสทคิดว่า พระราชานี้ไม่มีชิวหาวิญญาณ ในวันที่ ๒ จึงนำพระกระยาหารไม่ดีเข้าทูลถวาย พระราชาเมื่อเสวยอยู่ แม้ทรงรู้ว่า วันนี้ พ่อครัวควรแก่การตะคอก ควรแก่การข่ม ทรงพิจารณาดุจในก่อน ก็ไม่ตรัส อะไร เพราะทรงกลัวการติเตียน แต่นั้น วิเสทคิดว่า พระราชาไม่ทรงรู้ พระกระยาหารที่ดีที่ไม่ดี ดังนี้แล้ว ถือเอาสิ่งของที่ตนสั่งสมไว้ทั้งหมด ปรุง พระกระยาหารอย่างใดอย่างหนึ่งถวายแด่พระราชา พระราชาทรงเบื่อหน่ายว่า โอหนอ! ความโลภ เราบริโภคตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี ก็ไม่ได้แม้มาตรว่าภัต เพราะความโลภของพ่อครัวนี้ ดังนี้แล้ว ทรงสละพระราชสมบัติ ทรงผนวช เห็นแจ้งอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ตรัสพระคาถานี้ โดยนัย ก่อนนั่นแลว่า

นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห นิราสโย สพฺพโลเก ภวิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มี ความกระหาย ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิลฺโลลุโป ได้แก่ ผู้ไม่มีความโลภ. เพราะ บุคคลใดถูกความอยากในรสครอบงำแล้ว บุคคลนั้นย่อมโลภจัด และโลภ

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 200

บ่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า โลลุโป ผู้มีความโลภ. เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อจะปฏิเสธความโลภนั้น จึงกล่าวว่า นิลฺโลลุโป ผู้ไม่โลภ.

ในบทนี้ว่า นิกฺกุโห นี้ บุคคลใดไม่มีเรื่องหลอกลวง ๓ อย่าง บุคคลนั้นเรียกว่า นิกฺกุโห ผู้ไม่หลอกลวง แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในคาถานี้ มีอธิบายอย่างนี้ว่า ไม่หลอกลวง เพราะไม่ถึงความกระหยิ่ม ในโภชนะอันฟูใจ เป็นต้น.

ในบทว่า นิปฺปิปาโส นี้ ความอยากดื่ม ชื่อว่า ความกระหาย ชื่อว่า ไม่มีความกระหาย เพราะไม่มีความกระหายนั้น. อธิบายว่า เว้นแล้ว จากความเป็นผู้ใคร่จะบริโภค ด้วยความโลภในรสดี.

ในบทว่า นิมฺมกฺโข นี้ การลบหลู่ มีการยังคุณของคนอื่นให้ เสื่อมเสียเป็นลักษณะ ชื่อว่า ไม่ลบหลู่ เพราะไม่มีการลบหลู่นั้น. พระปัจเจก พุทธเจ้า กล่าวหมายถึงความไม่มีการลบหลู่คุณ ของพ่อครัว ในกาลที่ตน ยังเป็นคฤหัสถ์.

ในบทว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห นี้ ธรรม ๖ อย่าง คือ ๓ อย่าง มีราคะเป็นต้น และ ๓ อย่าง มีกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่า กสาวะ น้ำฝาด ด้วยอรรถว่าไม่เลื่อมใสตามความเป็นจริง และด้วยอรรถว่าให้ละภาวะตน ให้ ถือภาวะอื่น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ในธรรม ๖ อย่างนั้น กสาวะ ๓ เป็น ไฉน กสาวะ ๓ เหล่านี้ คือราคกสาวะ โทสกสาวะ โมหกสาวะ กสาวะ ๓ แม้อื่นอีก คือ กายกสาวะ วจีกสาวะ มโนกสาวะ. ชื่อว่า มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว เพราะกำจัดโมหะอันเป็นมูลรากแห่งกสาวะ ๕ เว้นโมหะ ในบรรดากสาวะ ๖ นั้น และกำจัดกสาวะ ๖ อย่างเหล่านั้นทั้งหมดเสียแล้ว

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 201

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดเสียแล้ว เพราะกำจัดกายกสาวะ วจีกสาวะ และมโนกสาวะ ทั้ง ๓ อย่างนั้น และโมหะเสียแล้ว. ในบรรดากสาวะ นอกนี้ ความที่บุคคลกำจัดราคกสาวะได้แล้ว ก็เป็นอันกำจัดโทสกสาวะได้ด้วย เพราะไม่ลบหลู่สำเร็จแล้ว ด้วยความเป็นผู้ไม่โลภเป็นต้นนั่นเทียว.

บทว่า นิราสโย คือ ไม่มีตัณหา. บทว่า สพฺพโลเก ได้แก่ ในโลกทั้งสิ้น. อธิบายว่า ในภพทั้ง ๓ หรือในอายตนะ ๑ ๒ คืองดเว้นภวตัณหา และวิภวตัณหาแล้ว. บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. อีกอย่าง หนึ่ง นักศึกษาครั้นกล่าวบาททั้ง ๓ แล้ว พึงทำการเชื่อมในบาทนี้ แม้อย่างนี้ ว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียว หรือ แม้อย่างนี้ว่า พึงอาจเพื่อเที่ยวไปผู้เดียว ดังนี้.

นิลโลลุปคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๓

คาถาว่า ปาปํ สหายํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในกรุงพาราณสี ทรงกระทำ ประทักษิณพระนครอยู่ ด้วยอานุภาพแห่งพระราชาอันยิ่งใหญ่ ทรงเห็นมนุษย์ ทั้งหลายขนข้าวเปลือกเก่าเป็นต้นออกจากยุ้งฉางไว้ในภายนอก จึงตรัสถาม อำมาตย์ทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย นี้อะไร? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช บัดนี้ ข้าวเปลือกใหม่จักเกิดขึ้น มนุษย์เหล่านี้ จึงทิ้งข้าวเปลือก เก่า เพื่อทำที่ว่างสำหรับข้าวเปลือกใหม่เหล่านั้น. พระราชาตรัสว่า ดูก่อน พนาย วัตถุสำหรับนางสนมและพลกายเป็นต้น บริบูรณ์แล้วหรือ?

อ. อย่างนั้น พระมหาราช บริบูรณ์แล้ว.

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 202

ร. ดูก่อนพนาย ถ้าอย่างนั้น จงให้สร้างโรงทาน เราจักให้ทาน อย่าให้ข้าวเปลือกเหล่านี้ เสียไปเปล่าๆ.

ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง ทูลว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล พวกพาลและพวกบัณฑิต แล่นไป ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้ แล้ว ทูลห้ามพระราชานั้น. แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวเธอก็ทรงเห็น คนทั้งหลายยื้อแย่งยุ้งฉาง จึงตรัสสั่งอย่างนั้นเหมือนกัน แม้ครั้งที่ ๓ อำมาตย์ เจ้าทิฏฐินั้น ก็ทูลห้ามพระราชาพระองค์นั้นว่า ข้าแต่มหาราช ทานนี้ คนโง่ บัญญัติไว้ ดังนี้เป็นต้น.

พระองค์ทรงเบื่อหน่ายว่า เราไม่ได้เพื่อให้แม้ของตนเอง เราจะมี ประโยชน์อะไรกับสหายผู้ลามกเหล่านี้ ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชแล้ว ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และทรงติเตียนสหาย ผู้ลามกนั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ปาปํ สหายํ ปรวชฺชเยถ อนตฺถทสฺสึ วิสเม นิวิฏฺํ สยํ น เสเว ปสุตํ ปมตฺตํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึง เสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้บอกความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 203

คาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ สหายนี้ใด ชื่อว่า ลามก เพราะ เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ ๑๐ อย่าง ชื่อว่า อนัตถทัสสี เพราะอรรถว่าชี้บอก ความฉิบหาย แม้แก่คนเหล่าอื่น และตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีกายทุจริต เป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงเว้นสหายผู้ลามกนั้น ไม่พึงเสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหาย ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ อธิบายว่า ไม่พึง คบ ด้วยอำนาจของตนด้วยประการนี้ ก็ถ้าตกอยู่ในอำนาจของคนอื่นไซร้ ตนเองจะอาจทำอะไรได้เล่า.

บทว่า ปสุตํ ได้แก่ ผู้ซ่านไป อธิบายผู้ข้องแล้วในอารมณ์นั้นๆ ด้วยอำนาจทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตในกามคุณทั้งหลาย หรือ ผู้เว้นจากกุศลภาวนา. กุลบุตรไม่พึงเสพ คือ ไม่พึงคบ ไม่พึงเข้าไปใกล้ สหายนั้น คือ ผู้เป็นเช่นนั้น โดยที่แท้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้แล.

ปาปสหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๔

คาถาว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกาลก่อน ปัจเจกโพธิสัตว์ ๘ องค์ บวชแล้วใน พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรแล้วเกิดในเทวโลก เรื่องทั้งหมดเป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วใน อนวัชชโภชิคาถา นั่นแล. ส่วนความแปลกกัน ดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 204

พระราชาทรงให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว จึงตรัสว่า พวก ท่านชื่อว่าอะไร. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร พวก อาตมาชื่อว่า พหูสูต. พระราชาทรงมีพระราชหฤทัยยินดีว่า เราชื่อว่า สุตพรหมทัต ย่อมไม่ถึงความอิ่มด้วยสุตะ เอาเถิด เราจักฟังสัทธรรมเทศนา อันมีนัยวิจิตร ในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ดังนี้แล้ว ถวายน้ำ ทักขิโณทก ทรงอังคาสแล้ว ในที่สุดแห่งภัตกิจ ทรงรับบาตรของพระสังฆเถระ ทรงไหว้ ประทับนั่งข้างหน้า ด้วยพระดำรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่าน จงแสดงธรรมกถาเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทูลว่า มหาบพิตร ขอมหาราช จงมีความสุข จงสิ้นราคะเถิด แล้วลุกไป. พระราชาทรงพระราชดำริว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ ไม่ใช่พหูสูต องค์ที่ ๒ จักเป็นพหูสูต จึงทรง นิมนต์เพื่อฉันในพรุ่งนี้ ด้วยพระราชดำริว่า เราจักฟังพระธรรมเทศนาอัน วิจิตรในวันพรุ่งนี้ พระองค์ทรงนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดจนถึงลำดับ องค์สุดท้าย ด้วยประการอย่างนี้. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแม้ทั้งหมด แสดงบทหนึ่งให้แปลกกันแล้วกล่าวบทที่เหลือเป็นเช่นกันบทต้นว่า ขอพระมหาราชจงสิ้นโทสะ จงสิ้นโมหะ จงสิ้นคติ จงสิ้นวัฏฏะ จงสิ้นอุปธิ จงสิ้น ตัณหา ดังนี้แล้ว จึงลุกไป.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ กล่าวว่า พวกอาตมาเป็นพหูสูต แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่มีกถา อันวิจิตรเลย คำที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกล่าวแล้วจะมีประโยชน์อะไร ทรงปรารภแล้ว เพื่อทรงพิจารณาอรรถแห่งถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้น ครั้นทรงพิจารณาอยู่ว่า จงสิ้นราคะ ดังนี้ ก็ทรงทราบว่า เมื่อราคะ

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 205

สิ้นแล้ว โทสะก็ดี โมหะก็ดี กิเลสทั้งหลายอื่นก็ดี ย่อมเป็นอันสิ้นแล้วด้วย จึงทรงพอพระราชหฤทัยว่า พระสมณะเหล่านี้เป็นพหูสูตโดยตรง เปรียบ เหมือนบุรุษชี้แสดงแผ่นดินใหญ่ หรืออากาศ ด้วยนิ้วมือ ก็ไม่เป็นอันชี้แสดง ประเทศสักนิ้วมือเลย แต่ความจริงแล เป็นอันชี้แสดงแผ่นดินและอากาศ เหมือนกัน ฉันใด พระสมณะเหล่านี้ เมื่อชี้แสดงอรรถองค์ละข้อก็เป็นอัน ชี้แสดงอรรถอันหาปริมาณไม่ได้ ฉันนั้น. แต่นั้นท้าวเธอทรงปรารถนาอยู่ ซึ่งความเป็นพหูสูต เห็นปานนั้นว่า ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราจักเป็น พหูสูตอย่างนี้ ทรงสละราชสมบัติ ผนวชแล้วเห็นแจ้งอยู่ ได้ทำให้แจ้งซึ่ง ปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

พหุสฺสุตํ ธมฺมธรํ ภเชถ มิตฺตํ อุฬารํ ปฏิภาณวนฺตํ อญฺาย อตฺถานิ วิเนยฺย กงฺขํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ รู้จัก ประโยชน์ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ บทว่า พหุสฺสุตํ ความว่า มิตรผู้พหูสูตมี ๒ อย่างคือ ผู้พหูสูตทางปริยัติ เชี่ยวชาญโดยเนื้อความ

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 206

ในไตรปิฎก ๑ ผู้พหูสูตทางปฏิเวธ เพราะความที่มรรค ผล วิชชา และ อภิญญาอันตนแทงตลอดแล้ว ๑. ผู้มีอาคมมาแล้ว ชื่อว่า ผู้ทรงธรรม ก็ผู้ ประกอบพร้อมด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันยิ่ง ชื่อว่า ผู้ยิ่ง ด้วยคุณธรรม ผู้มียุตตปฏิภาณ ๑ ผู้มีมุตตปฏิภาณ ๑ ผู้มียุตตมุตตปฏิภาณ ๑ ชื่อว่า มีปฏิภาณ พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปริยัติปฏิภาณ ปริปุจฉาปฏิภาณ และอธิคมนปฏิภาณ.

จริงอยู่ ปริยัติย่อมแจ่มแจ้งแก่มิตรใด มิตรนั้นชื่อว่า ปริยัติปฏิภาณ การสอบถามย่อมแจ่มแจ้งแก่มิตรใด ผู้สอบถามอรรถ ญาณ ลักษณะ และ ฐานาฐานะ มิตรนั้นชื่อว่า ปริปุจฉาปฏิภาณ ธรรมมีมรรคเป็นต้นอันมิตรใด แทงตลอดแล้ว มิตรนั้นชื่อว่า ปฏิเวธปฏิภาณ บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณนั้นคือมีรูปเห็นปานนั้น แต่นั้นรู้จัก ประโยชน์ทั้งหลายมีอเนกประการ โดยต่างด้วยประโยชน์ตน ประโยชน์คนอื่น และประโยชน์ทั้งสอง หรือโดยต่างด้วยทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ ด้วยอานุภาพแห่งมิตรนั้น แต่นั้น กำจัดความ สงสัยได้แล้ว ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยทั้งหลาย มีอาทิว่า ในอดีตกาล เราได้มีแล้วหรือหนอ ดังนี้แล้ว นำออกไปซึ่งความเคลือบแคลง ให้หมดไป มีกิจทั้งปวงอันทำแล้วอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้นแล.

พหุสุตคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 207

คาถาที่ ๒๕

คาถาว่า ขิฑฺฑํ รตึ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า วิภูสกพรหมทัต เสวยยาคู หรือพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ ทรงให้ตกแต่งพระองค์ ด้วยเครื่องประดับ นานาชนิด ทรงส่องพระวรกายทั้งสิ้น ในพระฉายใหญ่ ทรงเอาเครื่องประดับ ที่ไม่ต้องการออกเสีย ให้พนักงานตกแต่ง ด้วยเครื่องประดับอย่างอื่น ใน วันหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงกระทำอย่างนี้ ก็ถึงเวลาเสวยพระกระยาหารตอนเที่ยง ครั้งนั้นพระองค์ยังตกแต่งไม่เสร็จเลย ก็ทรงโพกพระเศียร ด้วยผืนผ้า แล้ว เสด็จเข้าที่บรรทมในกลางวัน เมื่อพระองค์เสด็จลุกขึ้น ทรงกระทำอย่างนั้น แม้อีก พระอาทิตย์ก็อัสดง. ในวันที่ ๒ ก็ดี ในวันที่ ๓ ก็ดี ก็ทรงกระทำ อย่างนั้น เมื่อพระองค์ทรงขวนขวายในการตกแต่งอย่างนั้น ก็เกิดพระโรคปวด ในพระปฤษฏางค์.

พระองค์ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า โอ! โธเอ๋ย เราแม้ตกแต่งอยู่ด้วย เรี่ยวแรงทั้งหมด ก็ไม่พอใจในเครื่องประดับที่สมควรนี้ ยังความโลภให้เกิด ขึ้นได้ ก็ขึ้นชื่อว่า ความโลภนั้น ทำให้คนถึงอบาย เอาเถอะ เราจะข่ม ความโลภนั้น ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ขิฑฺฑํ รตึ กามสุขญฺจ โลเก อนลงฺกริตฺวาน อนเปกฺขมาโน วิภูสนฏฺานา วิรโต สจฺจวาที เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 208

บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลกแล้วไม่เพ่งเล็งอยู่เว้นจาก ฐานะแห่งการประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

การเล่น ความยินดีในคาถานั้น ได้กล่าวแล้วในกาลก่อนเทียว. บทว่า กามสุขํ ได้แก่ ความสุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ วัตถุกามทั้งหลาย เรียกว่า สุข เพราะเป็นอารมณ์เป็นต้นของความสุข. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า รูปมีอยู่ ความสุข ติดตามสุข ดังนี้. บุคคลไม่พอใจ คือไม่กระทำว่า พอละ ซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขนั่น ในโอกาสโลกนี้ อย่างนี้แล้ว ไม่ถือสิ่งนั้นว่า ก่อความเดือดร้อน หรือไม่ถือสิ่งนั้นว่าเป็นสาระ.

บทว่า อนเปกฺขมาโน ความว่า มีปกติไม่เพ่งเล็ง คือ ไม่มี ความอยาก ไม่มีความทะยานอยาก. ในคำว่า วิภูสนฏฺานา วิรโต สจฺจวาที เอโก จเร นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า เครื่องประดับมี ๒ อย่าง คือ เครื่องประดับสำหรับฆราวาส ๑ เครื่องประดับสำหรับบรรพชิต ๑ ก็เครื่องประดับสำหรับฆราวาสมีผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้ และของหอม เป็นต้น ส่วนเครื่องประดับสำหรับบรรพชิตมีเครื่องตกแต่ง คือ บาตรเป็นต้น เครื่องประดับนั่นเอง ชื่อว่า วิภูสนัฏฐานะ เว้นจากฐานะแห่งการประดับนั้น ด้วยวิรัติแม้ ๓ อย่าง ชื่อว่า มีปกติกล่าวคำสัตย์ เพราะพูดไม่ผิด ดังนี้แล.

วิภูสนัฏฐานคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 209

คาถาที่ ๒๖

คาถาว่า ปุตฺตญฺจ ทารํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ทรงอภิเษกแล้วในกาล ยังทรงพระเยาว์นั้นเทียว เสวยราชสมบัติ. พระองค์ทรงเสวยพระสิริราชสมบัติ ดุจพระปัจเจกโพธิสัตว์ที่กล่าวแล้ว ในปฐมคาถา ในวันหนึ่ง ทรงพระราช ดำริว่า เราสวยราชสมบัติ ย่อมทำทุกข์แก่ชนมาก เราจะมีประโยชน์อะไร ด้วยบาปนี้ เพื่อประโยชน์แก่การเสวยคนเดียวเล่า เราจะยังสุขใหญ่ให้เกิดขึ้น ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้ แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ปุตฺตญฺจ ทารํ ปิตรญฺจ มาตรํ ธนานิ ธญฺานิ พนฺธวานิ หิตฺวาน กามานิ ยโถธิกานิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่ง ตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะทั้งหลายมีแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทองเป็นต้น. บทว่า ธญฺานิ ได้แก่ อปรธัญชาติ ๗ อย่าง อันต่างด้วย ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 210

บทว่า พนฺธวานิ ได้แก่ พวกพ้อง ๔ ประเภท คือ ญาติ โคตร มิตร และเพื่อนเรียนศิลปะ. บทว่า ยโถธิกานิ คือ ซึ่งตั้งอยู่ตามส่วนของ ตนๆ นั่นเทียว. บทที่เหลือ มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ปุตตทารคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๗

คาถาว่า สงฺโค เอโส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี มีพระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า ปาทโลลพรหมทัต ท้าวเธอเสวยยาคู หรือพระกระยาหาร แต่เช้าตรู่ ทรงชมนักฟ้อน ๓ ประเภทในปราสาททั้ง ๓ คำว่า นักฟ้อน ๓ ประเภท ได้แก่ นักฟ้อนที่มาจากพระราชาในอดีต ๑ นักฟ้อนที่มาจากพระราชาถัดมา ๑ นักฟ้อนที่ตั้งขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ๑.

ในวันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปสู่ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นสาวแต่เช้าตรู่ สตรีนักฟ้อนทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักให้พระราชาทรงรื่นเริง จึงประกอบ การฟ้อนรำ ขับร้อง และการประโคม อันน่าจับใจยิ่ง ดุจพวกนางอัปสร ของท้าวสักกะจอมทวยเทพฉะนั้น พระราชาไม่ทรงพอพระราชหฤทัยว่า การ ฟ้อนรำของนักฟ้อนรุ่นสาวทั้งหลายนั่น ไม่อัศจรรย์ จึงเสด็จไปสู่ปราสาทของ นักฟ้อนรุ่นกลาง สตรีนักฟ้อนแม้เหล่านั้น ก็ได้กระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. พระองค์ไม่พอพระราชหฤทัยในสตรีนักฟ้อนรุ่นกลางแม้นั้นเหมือนกัน จึงเสด็จ ไปสู่ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นใหญ่ สตรีนักฟ้อนแม้เหล่านั้น ก็ทำอย่างนั้น เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 211

พระราชาทรงเห็นการฟ้อนรำเป็นเช่นกับการเล่นกระดูก เพราะสตรี นักฟ้อนเหล่านั้นเป็นคนแก่เฒ่าล่วง ๒ - ๓ รัชกาลมาแล้ว และทรงฟังเสียง ขับร้องอันไม่ไพเราะ จึงเสด็จสู่ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นสาว ปราสาทของนัก ฟ้อนรุ่นกลางไปๆ มาๆ อย่างนี้ ก็ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยในที่แห่งไหนเลย ทรงพระราชดำริว่า สตรีนักฟ้อนเหล่านี้ ประสงค์จะให้เรารื่นเริง ดุจเหล่า นางอัปสรของท้าวสักกะ จอมทวยเทพฉะนั้น จึงประกอบการฟ้อนรำ การ ขับร้อง และการประโคม เต็มความสามารถทุกอย่าง เรานั้นไม่พอใจในที่ แห่งไหนเลย ทำให้โลภะเจริญขึ้นเท่านั้น ก็ขึ้นชื่อว่า โลภะนั้นเป็นธรรมพึง ให้ไปสู่อบาย เอาเถิด เราจะข่มโลภะ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรง ผนวชแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้ ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย คณฺโฑ เอโส อิติ ตฺวา มติมา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องใน เวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้ มีสุขน้อย มี ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้ แล้ว มีความรู้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 212

คาถานั้นมีอรรถว่า บทว่า สงฺโค เอโส ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงการอุปโภคของตน ด้วยว่า ความเกี่ยวข้องนั้น ชื่อว่า สังคะ เพราะอรรถว่าสัตว์ทั้งหลายข้องอยู่ในเบญจกามคุณนั้น ดุจช้างตกอยู่ในเปือกตม ฉะนั้น.

บทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ ความว่า ในกาลแห่งบริโภคเบญจ- กามคุณนี้ ชื่อว่ามีสุขน้อย เพราะอรรถว่า ลามก โดยให้เกิดความสำคัญผิด หรือโดยเนื่องด้วยกามาวจรธรรม มีอธิบายว่า มีนิดหน่อย คือมีชั่วคราว ดุจสุขในการชมดูการฟ้อนรำที่แสงฟ้าแลบให้สว่างขึ้น ฉะนั้น. โทษของกาม ทั้งหลาย พึงทราบว่า มีความยินดีน้อย เป็นเพียงหยดน้ำ เมื่อเทียบกับทุกข์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตร ในโลกนี้ ย่อมสำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยการประกอบศิลปะใด คือ การคิด การนับ ดังนี้เป็นต้น โดยที่แท้ มีทุกข์ยิ่ง คือ มาก เป็นเช่นกับน้ำในสมุทร ทั้งสี่ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์ มาก ดังนี้.

บทว่า คณฺโฑ เอโส ความว่า เบญจกามคุณนี้ เปรียบเหมือน เบ็ด ด้วยสามารถแสดงความยินดีแล้ว คร่ามา. บทว่า อิติ ตฺวา มติมา ความว่า บุรุษผู้บัณฑิตที่มีความรู้ รู้อย่างนี้แล้ว ก็พึงละกามทั้งหมดเสีย เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้นแล.

สังคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 213

คาถาที่ ๒๘

คาถาว่า สนฺทาลยิตฺวาน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในพระนครพาราณสี มีพระราชาพระนามว่า อนิวัตตพรหมทัต ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่สงคราม ทรงปราชัยแล้วไม่เสด็จกลับ หรือ ทรงปรารภพระราชกิจอย่างอื่นยังไม่สำเร็จ ก็ไม่เสด็จกลับ เพราะฉะนั้น ชน ทั้งหลายจึงเรียกพระองค์อย่างนั้น ในวันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ก็โดยสมัยนั้น ไฟป่าได้ลุกไหม้ ไฟนั้นไหม้ไม้แห้ง และวัตถุมีหญ้าเป็นต้น ที่ตกหล่น ลามไปไม่หวนกลับ พระราชาทรงเห็นไฟนั้นแล้ว ทรงยังนิมิตอัน เปรียบด้วยไฟนั้นให้เกิดขึ้นว่า ไฟป่านี้ฉันใด ไฟ ๑๑ อย่าง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไหม้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงไปไม่หวนกลับ ก่อทุกข์ใหญ่ให้เกิดขึ้น ชื่อในกาลไหน หนอ แม้เราเพื่อไม่ให้ทุกข์นี้หวนกลับ พึงเผาไหม้กิเลสทั้งหลาย ด้วยไฟ คือ อริยมรรคญาณ เหมือนไฟนี้ ไปไม่หวนกลับ.

แต่นั้น พระองค์เสด็จไปสักครู่ ทรงเห็นชาวประมงทั้งหลายกำลังจับ ปลาในแม่น้ำ ปลาใหญ่ตัวหนึ่งติดข่ายของชาวประมงเหล่านั้น ได้ทำลายข่าย หนีไป ชาวประมงเหล่านั้นร้องว่า ปลาทำลายข่ายหนีไปแล้ว พระราชาทรง ฟังคำแม้นั้น จึงยังนิมิตอันเปรียบเทียบด้วยปลานั้นให้เกิดขึ้นว่า ชื่อในกาล ไหนหนอ แม้เราพึงทำลายข่าย คือ ตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอริยมรรคญาณไป ไม่ติดขัด ดังนี้ พระราชานั้นทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชแล้ว ปรารภ วิปัสสนา ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และตรัสอุทานคาถานี้ว่า

สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ ชาลํ ว เฉตฺวา สลิลมฺพุจารี อคฺคี ว ทฑฺฒํ อนิวตฺตมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 214

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เหมือนปลาทำลายข่ายหนีไป เหมือนไฟไม่ หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทที่ ๒ แห่งคาถานั้น วัตถุที่สำเร็จด้วยด้ายเรียกว่า ชาลํ ข่าย. น้ำ เรียกว่า อัมพุ. ซึ่งว่า อัมพุจารี ปลา เพราะอรรถว่า ว่ายไปในน้ำนั้น. คำว่า อัมพุจารี นั้นเป็นชื่อของปลา ปลาที่ว่ายไปในน้ำ ชื่อว่า สลิลัมพุจารี. มีอธิบายว่า ดุจปลาทำลายข่ายในน้ำแห่งนทีนั้น. ในบาทที่ ๓ สถานที่ถูกไฟไหม้ เรียกว่า ทฑฺฒํ แปลว่าที่ไหม้แล้ว. มีอธิบายว่า ไฟย่อมไม่หวนกลับไปสู่สถานที่ไหม้แล้ว คือ ไม่มาในที่ไหม้แล้ว นั้นโดยแท้ฉันใด บุคคลไม่กลับสู่ที่แห่งกามคุณที่ไฟ คือ มรรคญาณไหม้แล้ว คือไม่มาในที่แห่งกามคุณนั้นโดยแท้ ฉันนั้น. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั้น แล.

สันทาลนคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๙

คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้ อุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในพระนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลลพรหมทัต ทรงโปรดการดูนักฟ้อน เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต. ส่วน ความแปลกกัน ดังนี้ :-

พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตทรงไม่พอพระราชหฤทัยแล้ว เสด็จไป ณ ที่นั้นๆ พระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตนี้ ทรงเห็นนักฟ้อนนั้นๆ แล้ว ทรง

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 215

เพลิดเพลินยิ่งนัก เสด็จเที่ยวทำตัณหาให้เจริญอยู่ ด้วยการทอดพระเนตรดู นักฟ้อนที่เยื้องกราย ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นภริยาของกุฎุมพีคนหนึ่ง ที่ มาดูนักฟ้อน ทรงยังราคะให้เกิดขึ้น แต่นั้น ทรงสลดพระราชหฤทัยว่า เรา ยังตัณหานี้เจริญอยู่อีก จักเป็นผู้เต็มในอบาย เอาเถิด เราจักข่มราคะนั้น ดังนี้แล้ว ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงติเตียนความประพฤติในครั้งก่อนของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ เพื่อทรงแสดงคุณอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการประพฤตินั้นว่า

โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาทโลโล คุตฺตินฺทริโย รกฺขิตมานสาโน อนวสฺสุโต อปริฑยฺหมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่ คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจ อันรักษาแล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และ ไฟคือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ได้แก่ ผู้มีจักษุทอดลงต่ำ. มีอธิบายว่า ผู้วางที่ต่อทั้ง ๗ ตามลำดับแล้ว เพ่งดูชั่วแอก เพื่องดเว้นและ ดูสิ่งที่ควรละ แต่ไม่ใช่เอากระดูกคางกระทบกับกระดูกอก เพราะผู้มีจักษุทอด ลงอย่างนี้ ไม่สมควรแก่สมณะ.

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 216

บทว่า น ปาทโลโล ความว่า ไม่เดินส่ายไป ดุจสากเท้าจ้ำไป เพราะรีบจะเข้าไปในท่ามกลางหมู่อย่างนี้ว่า ที่ ๒ สำหรับคนหนึ่ง ที่ ๓ สำหรับ คน ๒ คน หรือเว้นจากการเที่ยวไปนานและการเที่ยวไปไม่กลับ.

บทว่า คุตฺตินฺทริโย ได้แก่ มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ ทั้ง ๖ ด้วยอำนาจที่กล่าวไว้แผนกหนึ่งในคาถานี้.

บทว่า รกฺขิตมานสาโน ความว่า มานัสนั่นเอง ชื่อว่า มานสานะ มานสานะนั้น อันบุคคลนั้นรักษาแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า รกฺขิตมานสาโน แปลว่า มีใจอันตนรักษาแล้ว มีอธิบายว่า มีจิตอันตน รักษาแล้ว โดยประการที่จิตไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า อนวสฺสโต ความว่า ผู้เว้นจากการรั่วรดของกิเลส ใน อารมณ์นั้นๆ ด้วยการปฏิบัตินี้.

บทว่า อปริฑยฺหมาโน ความว่า เพราะเว้นจากการรั่วรดอย่างนี้เอง อันไฟคือกิเลสทั้งหลายไม่แผดเผาอยู่ หรืออันไฟคือกิเลสทั้งหลายไม่รั่วรดแล้ว ในภายนอก ไม่แผดเผาอยู่ในภายใน. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

โอกขิตตจักขุวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๐

คาถาว่า โอหารยิตฺวา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า จาตุมาสิกพรหมทัต พระองค์อื่นนี้ เสด็จไปทรงกีฬาในพระราชอุทยาน ทุก ๔ เดือน ในวันหนึ่ง ท้าวเธอเมื่อเสด็จเข้าพระราชอุทยาน ในเดือนท่ามกลางแห่งฤดูร้อน ทรงเห็น

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 217

ต้นทองหลางดุจต้นปาริฉัตรในสวรรค์ ซึ่งมีคาคบสะพรั่งด้วยดอก สล้างด้วย ใบ ใกล้พระทวารแห่งพระราชอุทาน จึงทรงเด็ดเอาดอกหนึ่งแล้ว เสด็จ เข้าสู่พระราชอุทยาน แต่นั้น อำมาตย์แม้คนหนึ่ง คิดว่า พระราชา ทรงเด็ดเอาดอกงาม จึงยืนขึ้นบนคอช้างนั่นแล เด็ดเอาดอกหนึ่ง. โดยอุบาย นั่นเทียว พลกายทั้งหมด จึงเด็ดเอาบ้าง ผู้ไม่ได้ดอก ก็เด็ดเอาแม้ซึ่งใบ ต้นไม้นั้นจึงปราศจากใบและดอก เหลือแต่ลำต้นเท่านั้น.

ในสมัยเย็น พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ทรงเห็นต้นไม้ นั้น ทรงพระราชดำริอยู่ว่า ต้นไม้นี้ใครกระทำหรือ ในเวลาเรามา ก็สะพรั่ง ด้วยดอกสวยงามเป็นเช่นกับแก้วประพาฬ ในระหว่างกิ่งซึ่งมีสีดุจแก้วมณี บัดนี้ กลายเป็นต้นไม้ปราศจากใบและดอกเสียแล้ว ทรงเห็นต้นไม้ไม่ผลิดอกมีใบ เหลืองหล่นเกลื่อนกล่น ในที่ใกล้ต้นไม้นั้นแล ก็ครั้นทรงเห็นแล้ว พระองค์ ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า ต้นไม้นี้ เป็นที่ตั้งแห่งความโลภของชนมาก เพราะมี กิ่งสะพรั่งด้วยดอก เพราะเหตุนั้น จึงถึงความย่อยยับเพียงชั่วครู่เท่านั้น ส่วน ต้นไม้อื่นนี้ คงดำรงอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ราชสมบัติ แม้นี้ พึงเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เหมือนต้นไม้ที่มีดอก ส่วนความเป็นภิกษุ ไม่พึงเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เพราะฉะนั้น ราชสมบัติแม้นี้ ยังไม่ถูกแย่งชิง เหมือนต้นไม้นี้ตราบใด เราพึงเป็นผู้ปกปิดด้วยผ้ากาสาวะ ดุจต้นทองหลาง อื่นนี้ เกลื่อนกล่นด้วยใบเหลืองแล้ว บวชตราบนั้น พระราชานั้นทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงการทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ แล้วตรัสอุทานคาถานี้ว่า

โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา ปาริฉตฺโต กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 218

บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้น ทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทนี้ว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ. บทที่เหลืออาจเพื่อรู้ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กล่าว ให้พิสดาร.

ปาริจฉัตตกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๓ จบ

วรรคที่ ๔

คาถาที่ ๓๑

คาถาว่า รเสสุ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงแวดล้อมด้วยบุตรอำมาตย์ ทั้งหลายในพระราชอุทยาน ทรงเล่นกีฬา ในสระโบกขรณีที่มีแผ่นศิลา วิเสท ถือเอารสแห่งเนื้อทั้งปวง ปรุงพระกระยาหารในระหว่าง ซึ่งปรุงดีอย่างยิ่ง ดุจ อมฤตแล้ว น้อมถวายแด่พระองค์ พระราชานั้นทรงถึงความติดในพระกระยาหารนั้น ไม่ทรงประทานอะไรให้แก่ใครเลย เสวยแต่พระองค์เดียว เมื่อ ทรงเล่นในน้ำ และเสด็จออกในเวลามืด ก็รีบเสวย ไม่ได้นึกถึงบริชนซึ่ง พระองค์เคยเสวยด้วยกันมาแต่กาลก่อน.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 219

ต่อมาภายหลัง พระองค์ทรงนึกได้ว่า โอ! เราทำบาป ที่เราถูก ความอยากในรสครอบงำ ลืมนึกถึงปวงชน กินแต่ผู้เดียว เอาเถิด เราจะข่ม ความอยากในรส ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนา อยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ทรงติเตียนการปฏิบัติในครั้ง ก่อนของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ อันแสดงถึงข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปักษ์ ต่อการปฏิบัติครั้งก่อนนั้นว่า

รเสสุ เคธํ อกรํ อโลโล อนญฺโปสี สปทานจารี กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปกติเที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มีจิตไม่ผูกพัน ในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รเสสุ ความว่า ไม่กระทำความยินดี คือ ไม่กระทำความติดในรสอันควรลิ้มทั้งหลาย อันต่างโดยรสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม เฝื่อน และรสฝาดเป็นต้น มีอธิบายว่า ไม่ยังความอยากให้เกิดขึ้น.

บทว่า อโลโล ความว่า ไม่วุ่นวายในรสพิเศษทั้งหลายว่า เราจัก ลิ้มรสนี้.

บทว่า อนญฺโปสี ความว่า เว้นจากคนมีสัทธิวิหาริก อันตนจะ พึงเลี้ยงดูเป็นต้น มีอธิบายว่า ยินดีแล้ว ด้วยเหตุสักว่าการสำรวมทางกาย. อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงว่า ในกาลก่อนเราเป็นผู้วุ่นวายใน

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 220

การกระทำความติดในรสทั้งหลาย ที่อุทยานแล้ว เป็นผู้เลี้ยงคนอื่น ฉันใด เราไม่เป็นฉันนั้น เป็นผู้วุ่นวายด้วยตัณหาใดแล้ว ทำความยินดีในรสทั้งหลาย ภิกษุละตัณหานั้น ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะอัตภาพอื่นอันมีตัณหาเป็นมูลไม่เกิด ต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง กิเลส เรียกว่า อญฺโ (อื่น) เพราะอรรถว่าหักราน ประโยชน์. ในข้อนี้มีอธิบายอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อว่า ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะไม่ เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น.

บทว่า สปทานจารี ความว่า มีปกติเที่ยวไปด้วยการไม่ข้ามลำดับ คือ มีปกติเที่ยวไปตามลำดับ ไม่ละลำดับแห่งเรือน เข้าไปสู่ตระกูลของคน มั่งคั่งและตระกูลของคนยากจน เพื่อบิณฑบาตเนืองๆ.

บทว่า กุเล กุเล ลปฺปฏิพทฺธจิตฺโต ความว่า ผู้มีจิตไม่เกี่ยวข้อง ด้วยอำนาจแห่งกิเลส ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในบรรดาตระกูลทั้งหลายมี ตระกูลกษัตริย์เป็นต้น เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ดุจพระจันทร์. บทที่เหลือมีนัยที่ กล่าวแล้วนั่นแล.

รสเคธคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๒

คาถาว่า ปหาย ปญฺจาวรณานิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในพระนครพาราณสี ทรงได้ ปฐมฌาน ท้าวเธอทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงตามรักษาฌาน ทรงผนวชแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เพื่อจะทรงแสดง สัมปทาแห่งการปฏิบัติของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 221

ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส อุปกฺกิเลส พฺยปนุชฺช สพฺเพ อนิสฺสิโต เฉตฺวา สิเนหโทสํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฏฐิ ไม่อาศัย ตัดโทษคือความเยื่อใยได้แล้ว พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาวรณานิ ได้แก่ นิวรณ์ทั้งหลายนั้นแล. นิวรณ์เหล่านั้น โดยอรรถได้กล่าวแล้ว ในอุรคสูตร ก็นิวรณ์เหล่านั้น เพราะ กั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้น ปิดบังดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า ธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ละนิวรณ์เหล่านั้น ด้วยอุปจาร หรือ ด้วย อัปปนา.

บทว่า อุปกิเลส ได้แก่ อกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งเข้ามาเบียดเบียน จิต หรือ ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น ที่กล่าวแล้ว ในสูตรทั้งหลายมีวัตโถปมสูตรเป็นต้น.

บทว่า พฺยปนุชฺช ความว่า บรรเทาแล้ว คือให้พินาศแล้ว อธิบาย ว่า ละแล้ว ด้วยวิปัสสนามรรค.

บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ที่เหลือลง. บุคคลถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนาอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย เพราะความที่ทิฏฐินิสสัยอันท่านละแล้ว ด้วยปฐมมรรค ตัดโทษคือความเยื่อใย อันติดตามไตรธาตุได้แล้วด้วยมรรค

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 222

ที่เหลือทั้งหลาย มีอธิบายว่า ตัดตัณหาราคะได้แล้ว ก็ความเยื่อใยนั่นแล เรียกว่า โทษ คือ ความเยื่อใย. บทที่เหลือ มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อาวรณคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๓

คาถาว่า วิปิฏฺิกตฺวาน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งในกรุงพาราณสี ทรงได้จตุตถฌาน ท้าวเธอทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงตามรักษาฌาน ทรงผนวช เจริญวิปัสสนา อยู่ ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงสัมปทาแห่งการ ปฏิบัติของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

วิปัฏฺิกตฺวาน สุขํ ทุกฺขญฺจ ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺสํ ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทฺธํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัส และ โทมนัสในก่อนได้ ได้อุเบกขา และสมถะ อันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺิกตฺวาร ความว่า ทำไว้ข้างหลัง คือ ทิ้งแล้ว สละแล้ว. บทว่า สุขํ ทุกฺขญฺจ ได้แก่ ความสำราญทางกาย และความไม่สำราญทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ ได้แก่ ความ สำราญทางใจและความไม่สำราญทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาใน

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 223

จตุตถฌาน. บทว่า สมถํ ได้แก่ สมถะในจตุตถฌานนั่นเทียว. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า ชื่อว่า อันบริสุทธิ์แล้ว เพราะพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย กล่าวคือ นิวรณ์ ๕ วิตก วิจาร ปีติและสุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส แล้ว ดุจทองคำที่ไล้ดีแล้ว.

ก็โยชนามีดังนี้ ละสุขและทุกข์ อธิบายว่า ทุกข์ในอุปจารภูมิแห่ง ปฐมฌานนั่นเทียว สุขในอุปจารภูมิแห่งตติยฌาน. มีอธิการว่า ละโสมนัส และโทมนัสในก่อนได้ เพราะนำ อักษรที่กล่าวไว้ข้างต้นไปไว้ข้างหน้าอีก ด้วย อักษรนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงว่า ละโสมนัสในอุปจารแห่ง จตุตถฌาน และโทมนัสในอุปจารแห่งทุติยฌานนั่นเอง. จริงอยู่ อุปจารแห่ง จตุตถฌาน และอุปจารแห่งทุติยฌานเหล่านั้น เป็นฐานะในการละโสมนัส และโทมนัสเหล่านั้น โดยทางอ้อม. แต่โดยทางตรง ปฐมฌานเป็นฐานะในการ ละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานะในการละโทมนัส ตติยฌาน เป็นฐานะในการละสุข จตุตถฌานเป็นฐานะในการละโสมนัส. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุเข้าปฐมฌานอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดแล้วในปฐมฌานนั้น ย่อมดับไม่มีส่วน เหลือ ดังนี้เป็นต้น. *

ข้อความนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัฏฐสาลินี. เพราะบุคคลละทุกข์ โทมนัส และสุขในก่อนได้ คือ ในฌาน ทั้ง ๓ มีปฐมฌานเป็นต้น แล้วจึงละโสมนัสในจตุตถฌานนั้นเอง ได้อุเบกขา อันสงบบริสุทธิ์ ด้วยปฏิปทานี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏชัดแล้วแล.

วิปิฏฐิกัตวาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์


* สํ มหาวาร ๒๒๓.

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 224

คาถาที่ ๓๔

คาถาว่า อารทฺธวิริโย ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าปัจจันตราชาพระองค์หนึ่ง (พระเจ้าขุททกราช) ทรง มีพลกายเป็นทหารประมาณหนึ่งพัน ทรงมีพระราชสมบัติน้อย แต่มีพระปัญญา มาก ในวันหนึ่ง ท้าวเธอทรงพระราชดำริว่า เราเป็นผู้ขัดสนแม้ก็จริง แต่เรามี ปัญญาอาจเพื่อจะยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ ดังนี้แล้ว ก็ทรงส่งทูตแก่พระเจ้า สามันตรราชว่า ในภายในเจ็ดวัน จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจงให้การรบ ต่อ จากนั้น พระองค์ทรงประชุมเหล่าอำมาตย์ของพระองค์แล้ว ตรัสว่า ข้าพเจ้า ยังไม่ได้ปรึกษาพวกท่านเลย ได้ทำการผลุนผลัน ได้ส่งทูตอย่างนี้แก่พระราชา ชื่อโน้น จะพึงทำอย่างไร อำมาตย์เหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ อาจที่จะทรงเรียกทูตนั้นกลับหรือ?

ร. ไม่อาจ ทูตนั้นไปแล้ว

อ. ถ้าอย่างนั้น พวกข้าพระองค์ก็ถูกพระองค์ให้พินาศแล้ว เพราะ เหตุนั้น การตายด้วยมือของคนอื่นเป็นทุกข์ เอาเถิด พวกข้าพระองค์จะฆ่า กันตาย จะฆ่าตัวตาย จะผูกคอตาย จะดื่มยาพิษตาย.

ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์แต่ละคนได้พรรณนาถึงความตายอย่างนี้ เท่านั้น แต่นั้น พระราชาตรัสว่า มีประโยชน์ด้วยอำมาตย์เหล่านี้ ดูก่อนพนาย ฉันมีทหารอยู่ดังนี้. ขณะนั้น ทหารหนึ่งพันนั้น ลุกขึ้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เป็นทหาร พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราจักทดลองทหารเหล่านั้น ดังนี้แล้ว ทรงให้เตรียมเชิงตะกอนไว้ ตรัสว่า ดูก่อนพนาย ฉันได้ทำการ

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 225

ผลุนผลันชื่อนี้ พวกอำมาตย์คัดค้านการกระทำของฉันนั้น ฉันนั้นจะกระโดด เข้าสู่เชิงตะกอน ใครบ้างจะกระโดดเข้าพร้อมกับฉัน ใครยอมสละชีวิตเพื่อฉัน ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พวกทหาร ๕๐๐ คน พากันลุกขึ้นทูลว่า ข้าพระองค์จะ กระโดดเข้าไป มหาราช.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะทหาร ๕๐๐ อีกพวกว่า ดูก่อนพ่อ บัดนี้ พวกเธอจักทำอย่างไร? ทหาร ๕๐๐ เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช นี้ไม่ใช่การกระทำของลูกผู้ชาย นั่นเป็นการประพฤติของผู้หญิง ความจริง พระมหาราชทรงส่งทูตแก่อริราชแล้ว พวกข้าพระองค์จักรบกับพระราชานั้น จนสิ้นชีวิต. แต่นั้น พระราชาตรัสว่า พวกท่านยอมสละชีวิตเพื่อเราดังนี้แล้ว ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ทรงแวดล้อมด้วยทหารพันหนึ่งนั้น เสด็จไป ประทับนั่ง ณ ชายแดนรัชสีมา.

ฝ่ายพระเจ้าปฏิราชนั้นทรงสดับประพฤติการณ์นั้นแล้ว ทรงดีพระทัย ว่า เอ้อเฮอ! เจ้าขุททกราชแม้นั้นไม่พอแม้แก่ทาสของเรา ดังนี้แล้ว ทรงยก กองทัพทั้งหมดเสด็จออก เพื่อรบ พระเจ้าขุททกราชาทรงเห็นพระเจ้าปฏิราช นั้นผู้ยกทัพออกมาประเชิญหน้า จึงตรัสกะพลกายว่า ดูก่อนพ่อ พวกท่านไม่มาก ทั้งหมดจงรวมกัน ถือดาบและโล่ วิ่งไปตรงข้างหน้าพระราชานี้โดยเร็ว ทหาร เหล่านั้นได้กระทำตามพระดำรัส ขณะนั้น กองทัพนั้นแตกออกเป็น ๒ ฝ่าย ช่องว่างให้ พวกทหารเหล่านั้น จึงได้จับพระราชานั้นทั้งเป็น พวกทหาร เหล่าอื่นก็หลบหนีไป พระเจ้าขุททกราชทรงวิ่งไปข้างหน้า ด้วยพระดำริว่า จักฆ่าพระราชานั้น พระเจ้าปฏิราชทรงทูลขออภัยพระเจ้าขุททกราชนั้น.

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 226

ต่อแต่นั้น พระเจ้าขุททกราชทรงประทานอภัยแก่พระเจ้าปฏิราชนั้น ทรงให้พระเจ้าปฏิราชนั้นทำการสาบาน ทำให้เป็นพวกของพระองค์แล้ว ทรง เริ่มเพื่อจะจับพระราชาองค์อื่นทั้งเป็นอีก จึงเสด็จไปพร้อมกับพระเจ้าปฏิราช นั้น ประทับยืน ณ ชายแดนรัชสีมาของพระเจ้าปฏิราชนั้น ทรงส่งข่าวไปว่า จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจงให้การรบ พระราชานั้นทรงพระราชดำริว่า เรา ไม่กล้ารบคนเดียวได้ จึงทรงมอบราชสมบัติ. โดยอุบายนั่นแล พระราชา ทั้งหลายรบอยู่ พระราชาเหล่านั้นก็จักทรงพ่ายแพ้. พระราชาเหล่านั้น จึงไม่ ทรงรบ ยอมมอบราชสมบัติให้ พระเจ้าขุททกราชจึงทรงพาพระราชาทั้งหมด จับพระเจ้ากรุงพาราณสีในที่สุด. พระราชาพระองค์นั้น ทรงมีพระราชา ๑๐๑ พระองค์แวดล้อม ทรงครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น เสวยสิริราช สมบัติ.

ในกาลต่อมา พระองค์ทรงพระราชดำริว่า ในกาลก่อน เราเป็นผู้ ขัดสน ได้เป็นใหญ่แห่งชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยญาณสมบัติของตน ญาณของเรา ใดประกอบด้วยโลกิยวิริยะ ญาณนั้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา ย่อมไม่เป็นไป เพื่อปราศจากราคะ ดีทีเดียว ถ้าเราพึงแสวงหาโลกุตรธรรมด้วยญาณนี้ ลำดับนั้น จึงทรงพระราชทานราชสมบัติแก่พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงส่งพระราชบุตร และพระมเหสีกลับชนบทของตนเรียบร้อยแล้ว ทรงสมาทานบรรพชา ปรารภ วิปัสสนา ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงวิริยสมบัติ ของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 227

อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา อลีนจิตฺโต อกุสีตวุตฺตี ทฬฺหนิกฺขโม ถามพลูปปนฺโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความ ประพฤติไม่เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกายและกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ชื่อว่า ปรารภความเพียร เพราะอรรถว่า บุคคลนั้น ปรารภความเพียรแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความเพียรมีวิริยารัมภะเป็นต้น ของตน ด้วยบทนี้ นิพพานเรียกว่า ปรมัตถะ เพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์ ด้วยการบรรลุนิพพานนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงผลอันพึงบรรลุด้วยวิริยารัมภะ ด้วยบทนี้.

พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความที่จิตและเจตสิกอันพลวิริยะสนับสนุน แล้ว เป็นธรรมชาติไม่หดหู่ ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต นี้ แสดงความไม่เฉื่อยชา แห่งกาย ในการยืน การนั่ง และการจงกรมเป็นต้น ด้วยบทว่า อกุสีตวุตฺติ นี้ แสดงความเพียรที่ตั้งมั่น ซึ่งเป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นฺหารุ จ ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้ บุคคลตั้งความเพียรนั้น ในกิจทั้งหลายมีการ ศึกษาตามลำดับเป็นต้น เรียกว่า ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยกาย

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 228

อีกอย่างหนึ่ง แสดงความเพียรมีสัมปยุตด้วยมรรค ด้วยบทนี้. จริงอยู่ ความ เพียรนั้น ชื่อว่า นิกขมะ เพราะเป็นความเพียรที่ได้แล้ว ด้วยการภาวนามั่นคง และเพราะเป็นความเพียรที่ออกจากธรรมที่เป็นปฏิปักษ์โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้บุคคลผู้สมังคีด้วยความเพียรนั้น จึงชื่อว่า ทัฬหนิกกมะ เพราะอรรถว่า บุคคลนั้นมีความบากบั่นมั่นคง.

บทว่า ถามพลุปปนฺโน ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย และ กำลังญาณ ในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดถึงพร้อมแล้ว ด้วย กำลังอันเป็นเรี่ยวแรง เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลัง เรี่ยวแรง มีอธิบายว่า ไม่ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลังญาณ. พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะแสดงการประกอบวิปัสสนาญาณ จึงยังความที่ความเพียรนั้นเป็นประธาน ให้สำเร็จโดยแยบคาย ด้วยบทนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาทแม้ทั้งสาม ด้วยอำนาจแห่งความเพียรที่เป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่อุกฤษฏ์. บทที่เหลือ มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อารัทธวิริยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๕

คาถาว่า ปฏิสลฺลานํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

คาถานี้มีอุบัติเช่นเดียวกับอาวรณคาถานั่นเทียว จึงไม่มีความแปลกกัน อย่างใดเลย แต่พึงทราบวินิจฉัยในอัตถวัณณนา.

บทว่า ปฏิสลฺลานํ ได้แก่ การหมุนกลับจากสัตว์สังขารเหล่านั้นๆ แล้วหลีกเร้น อธิบายว่า ความคบคนผู้เดียว ความเป็นผู้มีคนเดียว กายวิเวก.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 229

จิตวิเวกเรียกว่า ฌาน เพราะแผดเผาธรรมที่เป็นข้าศึก และเพราะ เข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติแปดเรียกว่า ฌาน เพราะ แผดเผาธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์. ใน คาถานี้ วิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่า ฌาน เพราะแผดเผาธรรมอันเป็น ข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งลักษณะนั่นเอง. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้น ไม่ละ คือ ไม่สละ ไม่ปล่อยซึ่ง การหลีกเร้นและฌานนั่น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมมีเบญจขันธ์เป็นต้น ที่เข้าถึง วิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ ได้แก่ เนืองนิตย์ สม่ำเสมอ บ่อยๆ.

บทว่า อนุธมฺมจารี ความว่า ประพฤติวิปัสสนาธรรมอันไปตาม เพราะปรารภธรรมเหล่านั้นเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ธรรม. ธรรมอันอนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนุธรรม คำว่า อนุธรรม นั่นเป็นชื่อของวิปัสสนา. ในคาถานั้น เมื่อควรจะกล่าว ธมฺมานํ นิจฺจํ อนุธมฺมจารี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็กล่าวว่า ธมฺเมสุ ด้วยการเปลี่ยนวิภัตติ เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.

บทว่า อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโทษ มีอาการไม่เที่ยงเป็นต้น ในภพทั้งสาม ด้วยวิปัสสนา กล่าวคือความเป็นผู้ ประพฤติตามธรรมนั้น พึงทราบว่า บรรลุแล้วซึ่งกายวิเวกและจิตวิเวกนี้ ด้วยปฏิปทา กล่าวคือวิปัสสนาอันถึงยอดอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว พึงทราบ การประกอบ ดังนี้แล.

ปฏิสัลลานคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 230

คาถาที่ ๓๖

คาถาว่า ตณฺหกฺขยํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงกระทำประทักษิณ พระนคร ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ สัตว์ทั้งหลายมีหัวใจหมุนไปแล้ว เพราะ ความงามแห่งพระวรกายของท้าวเธอ จึงไปข้างหน้าบ้าง ไปข้างหลังบ้าง ไป โดยข้างทั้งสองบ้าง ก็ยังกลับมาแหงนดูพระราชาพระองค์นั้นแล ก็ตามปกติ แล้ว ชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดูพระจันทร์เพ็ญ สมุทร และพระราชา.

ในขณะนั้น แม้ภรรยาของกุฎุมพีคนหนึ่ง ขึ้นปราสาทชั้นบน เปิด หน้าต่าง ยืนแลดูอยู่ พระราชาพอทรงเห็นนางเท่านั้น ก็มีพระราชหฤทัย ปฏิพัทธ์ จึงตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ดูก่อนพนาย เจ้าจงรู้ก่อนว่า สตรีนี้มีสามีแล้ว หรือยังไม่มีสามี. อำมาตย์นั้นไปแล้ว กลับมาทูลว่า มีสามีแล้ว พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า ก็สตรีนักฟ้อน ๒๐,๐๐๐ นาง เหล่านี้ อภิรมย์เราคนเดียวเท่านั้น ดุจเหล่านางอัปสร บัดนี้ เรานั้นไม่ยินดี ด้วยนางเหล่านั้น เกิดตัณหาในสตรีของบุรุษอื่น แม้ตัณหานั้นเกิดขึ้นก่อน ก็ จะฉุดไปสู่อบายเท่านั้น ดังนี้แล้ว ทรงเห็นโทษของตัณหาแล้ว ทรงพระราช ดำริว่า เอาเถิด เราจะข่มตัณหานั้น ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญ วิปัสสนาอยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว จึงตรัสอุทานคาถา นี้ว่า

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 231

ตณฺหกฺขยํ ปฏฺยํ อปฺปมตฺโต อเนลมูโค สุตฺวา สติมา สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกลปฺโป

บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึง เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้ มี การสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหกฺขยํ ได้แก่ พระนิพพาน หรือ ความไม่เป็นไป แห่งตัณหาที่มีโทษอันตนเห็นแล้วอย่างนี้นั่นเอง. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ผู้มีปกติกระทำติดต่อ.

บทว่า อเนลมูโค ได้แก่ ไม่เป็นคนบ้าน้ำลาย. อีกอย่างหนึ่ง คน ไม่บ้าและคนไม่ใบ้ เป็นบัณฑิต มีอธิบายว่า คนเฉลียวฉลาด.

สุตะอันให้ถึงหิตสุข ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า สุตวา มีการสดับ มีอธิบาย ผู้ถึงพร้อมด้วยอาคม. บทว่า สติมา ได้แก่ ผู้ระลึกถึงกิจทั้งหลายที่ทำไว้นานเป็นต้นได้. บทว่า สงฺขาตธมฺโม ได้แก่ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว ด้วยการพิจารณาธรรม. บทว่า นิยโต ได้แก่ ถึงความเที่ยง ด้วยอริยมรรค. บทว่า ปธานวา ได้แก่ถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิริยคือ สัมมัปปธาน.

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 232

บาลีนั้น พึงประกอบสับเปลี่ยนลำดับว่า บุคคลผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลาย มีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านั้น มีเพียร ด้วยความเพียร อันให้ถึงความเที่ยง เป็นผู้เที่ยง โดยถึงความเที่ยง ด้วยความเพียรนั้น แต่นั้น มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว ด้วยการบรรลุพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้ ก็พระอรหันต์ เรียกว่า ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะพึงกำหนด รู้อีก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีธรรม อันตนกำหนดแล้วแล และพระเสขะและปุถุชนเหล่าใด มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ตัณหักขยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๗

คาถาว่า สีโห ว ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง มีพระราชอุทยานอยู่ ในที่ไกล พระองค์ต้องเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เสด็จ ลงจากพระยานในระหว่างมรรคา ด้วยพระราชดำริว่า เราไปสู่ท่าน้ำแล้วจัก ล้างหน้า ก็ในประเทศนั้น นางราชสีห์ตกลูกราชสีห์แล้วไปหากิน ราชบุรุษ เห็นลูกราชสีห์นั้นแล้ว ทูลว่า ลูกราชสีห์ พระเจ้าข้า พระราชาทรงพระราช ดำริว่า ได้ยินว่า ราชสีห์ไม่กลัวใคร จึงตรัสสั่งให้ตีวัตถุมีกลองเป็นต้น เพื่อ ทดลองลูกราชสีห์นั้น ลูกราชสีห์ฟังเสียงนั้น ก็นอนตามเดิม พระราชาตรัสสั่ง ให้ตีวัตถุถึงสามครั้ง ในครั้งที่ ๓ ลูกราชสีห์ก็ชูศีรษะขึ้น แลดูบริษัททั้งหมด แล้วนอนเหมือนเดิม.

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 233

ขณะนั้น พระราชาตรัสว่า แม่ของลูกราชสีห์นั้น ยังไม่กลับมาตราบ ใด พวกเราจะไปตราบนั้น เมื่อจะเสด็จไป ทรงพระราชดำริว่า ลูกราชสีห์ แม้เกิดในวันนั้น ก็ไม่สะดุ้ง ไม่กลัว ชื่อในกาลไหนหนอ เราพึงตัดความ สะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิแล้ว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงกลัว พระองค์ทรงยึด อารมณ์นั้น เสด็จไปอยู่ ทรงเห็นลมพัดไม่ติดตาข่ายทั้งหลาย ที่พวกชาวประมง จับปลาแล้ว คลี่ตากไว้บนกิ่งไม้ทั้งหลาย ทรงยึดนิมิตแม้นั้นอีกว่า ชื่อในกาล ไหนหนอ แม้เราพึงทำลายข่ายคือตัณหาทิฏฐิ และข่ายคือโมหะไป ไม่ติดขัด เช่นนั้น.

ต่อมา พระองค์เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณี ที่มีแผ่นศิลา ทรงเห็นปทุมทั้งหลายที่ต้องลมแล้ว โอนเอนไปถูกน้ำ เมื่อ ปราศจากลม ก็ตั้งอยู่ตามที่เดิมอีก ไม่เปียกน้ำ จึงทรงถือนิมิตแม้นั้น ว่า เมื่อไรหนอ แม้เราเกิดแล้วในโลก ไม่พึงติดในโลกดำรงอยู่ เหมือนปทุม เหล่านี้ เกิดในน้ำ ไม่เปียกน้ำดำรงอยู่ ฉะนั้น.

พระราชานั้น ทรงพระราชดำริบ่อยๆ ว่า เราไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงติด ไม่พึงเปียก เหมือนราชสีห์ ลม และปทุม ฉะนั้น แล้วทรงสละราชสมบัติ ผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัส อุทานคาถานี้ว่า

สีโหว สทฺเทสุ อสนฺตสนฺโต วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน ปทุมํ ว โตเยน อลิมฺปมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป


* สํ. นิทาวคฺค ๔๔.

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 234

บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยง เป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์ และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วย ความยินดีและความโลภ เหมือนดอกปทุม ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีโห ได้แก่ สีหะ ๔ ประเภท คือ ติณสีหะ นรสีหะ กาฬสีหะ เกสรสีหะ. เกสรสีหะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าสีหะ ๓ ประเภท นั้น เกสรสีหะนั้นเทียว ท่านประสงค์เอาในคาถานี้.

บทว่า วาโต ได้แก่ ลมหลายชนิด ด้วยอำนาจแห่งลมที่พัดมาทาง ทิศตะวันออกเป็นต้น. บทว่า ปทุมํ ว ได้แก่ ปทุมหลายชนิด ด้วยอำนาจ แห่งปทุมแดงและปทุมขาวเป็นต้น. ในลมและปทุมเหล่านั้น ลมอย่างใดอย่าง หนึ่ง ปทุมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ควรทั้งนั้น.

ในคาถานั้น เพราะความสะดุ้งย่อมมีได้ เพราะความรักตน และ ความรักตน ก็คือ ความติดด้วยอำนาจตัณหา แม้ความติดด้วยอำนาจตัณหา นั้น ย่อมมีได้ เพราะความโลภที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ หรือที่ปราศจากทิฏฐิ ก็ ความโลภนั้น คือ ตัณหานั่นเอง ก็ในคาถานั้น ความข้องย่อมมีด้วยโมหะสำหรับ บุคคลผู้เว้นจากการพิจารณา และโมหะ ก็คือ อวิชชา ในการนั้น การละตัณหา ย่อมมีได้ด้วยสมถะ การละอวิชชามีได้ด้วยวิปัสสนา เพราะฉะนั้น บุคคล ละความรักตนด้วยสมถะแล้ว ไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือน

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 235

ราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียงฉะนั้น ละโมหะด้วยวิปัสสนาปัญญาแล้ว ไม่ข้องอยู่ใน ธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่ายฉะนั้น ละโลภะ และทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยโลภนั่นเอง ด้วยสมถะนั้นแล ไม่ติดอยู่ด้วยความโลภ คือความยินดีในภพทั้งปวง เหมือนปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉะนั้น

ก็ในที่นี้ ศีลเป็นปทัฏฐานของสมถะ สมถะ คือ สมาธิ วิปัสสนา คือ ปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อธรรมทั้งสองนั้น สำเร็จอย่างนี้แล้ว ขันธ์ทั้ง ๓ ก็เป็นอันสำเร็จแล้ว. ในขันธ์ ๓ อย่างนั้น บุคคลเป็นผู้กล้าหาญด้วยศีลขันธ์ เขาย่อมไม่สะดุ้ง เพราะความที่ตนประสงค์เพื่อจะโกรธในอาฆาตวัตถุทั้งหลาย เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียงฉะนั้น ผู้มีสภาพอันแทงตลอดแล้ว ด้วยปัญญา ขันธ์ ย่อมไม่ต้องอยู่ในธรรมอันต่างด้วยขันธ์เป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ใน ข่าย ฉะนั้น ผู้มีราคะไปปราศแล้ว ด้วยสมาธิขันธ์ ย่อมไม่ติดอยู่ด้วยราคะ เหมือนปทุมไม่ติดด้วยน้ำ ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้ง ไม่ต้องอยู่ ไม่ติด ด้วย อำนาจแห่งการละอวิชชาตัณหา และอกุศลมูล ๓ ตามความเป็นจริง ด้วย สมถวิปัสสนา และด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ บัณฑิตพึงทราบ ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อสันตสันตคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๘

คาถาว่า สีโห ยถา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงทิ้งทางบ้านใหญ่และ บ้านน้อย เพื่อทรงปราบปัจจันตชนบทที่กำเริบให้สงบ ทรงถือทางดงดิบ ซึ่ง เป็นทางตรง เสด็จไปด้วยเสนาหมู่ใหญ่.

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 236

ก็โดยสมัยนั้น ราชสีห์กำลังนอนตากแดดอ่อนอยู่ที่เชิงเขาลูกหนึ่ง ราชบุรุษเห็นราชสีห์นั้นแล้ว ทูลแด่พระราชา พระราชาทรงพระราชดำริว่า ได้ยินว่า ราชสีห์ไม่สะดุ้งด้วยเสียง จึงตรัสสั่งให้ทำเสียง ด้วยเสียงกลอง สังข์ และบัณเฑาะว์เป็นต้น ราชสีห์ก็นอนอย่างนั้นเทียว ทรงให้ทำเสียงแม้ในครั้ง ที่สอง ก็นอนอย่างนั้น ทรงให้ทำเสียงแม้ครั้งที่สาม ราชสีห์จึงคิดว่า ศัตรู ของเรามีอยู่ ก็ลุกขึ้นยืนผงาดด้วยเท้าทั้งสี่ บันลือสีหนาท พลกายทั้งหลายมี ควาญช้างเป็นต้น ได้ฟังเสียงบันลือนั้นเทียว ก็ลงจากพาหนะมีช้างเป็นต้น วิ่งเข้าพงหญ้า หมู่ช้างและหมู่ม้าก็วิ่งเตลิดไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ แม้ช้างพระที่นั่ง ของพระราชาก็พาพระราชาบุกป่าทึบเป็นต้นหนีไป พระองค์เมื่อไม่สามารถ เพื่อให้ช้างพระที่นั่งหยุดได้ จึงทรงเหนี่ยวโหนกิ่งไม้ตกลงพื้นดินแล้ว เสด็จ ไปโดยทางแคบที่เดินได้คนเดียว เสด็จถึงสถานเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลาย จึงตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ ที่นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าได้ฟังเสียงบ้างไหม?

ป. ได้ฟัง พระมหาบพิตร

ร. เสียงอะไร พระผู้เป็นเจ้า

ป. ทีแรก เสียงกลอง เสียงสังข์ เป็นต้น ภายหลัง เสียงราชสีห์.

ร. พระผู้เป็นเจ้ากลัวไหม? ขอรับ

ป. ไม่กลัวเสียงอะไรเลย พระมหาบพิตร

ร. ก็พระผู้เป็นเจ้าอาจเพื่อกระทำข้าพเจ้ามิให้กลัวเช่นนี้ไหม?

ป. อาจ พระมหาบพิตร ถ้าพระองค์ทรงผนวช

ร. ข้าพเจ้าจะผนวช พระเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 237

แต่นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้พระราชาพระองค์นั้นทรง ผนวชแล้ว ให้ทรงศึกษาอภิสมาจาริกวัตร โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั้นแล. พระราชาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงเจริญวิปัสสนา โดยนัยตามที่กล่าวแล้วในกาล ก่อนนั่นเทียว ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้ตรัสอุทานคาถา นี้ว่า

สีโห ยถา ทาพลี ปสยฺห ราชา มิคานํ อภิภุยฺยจารี เสเวถ ปนฺตานิ เสนาสนานิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็น ผู้เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือน ราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ ครอบงำหมู่ เนื้อเที่ยวไป ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ราชสีห์เป็นสัตว์มีความอดทน มีการฆ่าสัตว์ และมี เชาว์เร็ว เกสรราชสีห์เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในคาถานี้ พลังแห่งเขี้ยวของ ราชสีห์นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ราชสีห์นั้น จึงชื่อว่า ทาพลี มีเขี้ยวเป็น กำลัง.

สองบทว่า ปสยฺห อภิภุยฺย พึงประกอบพร้อมด้วย จารี ศัพท์ว่า ปสยฺหจารี อภิภุยฺยจารี. ในสองศัพท์นั้น ราชสีห์ชื่อว่า ปสยฺยหจารี เพราะเที่ยวข่มขี่เบียดเบียน ข่มไว้จับยึดไว้ ชื่อว่า อภิภุยฺยจารี เพราะเที่ยว

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 238

ครอบงำให้สะดุ้งทำไว้ในอำนาจ ราชสีห์นี้นั้น เที่ยวข่มขี่ด้วยกำลังกาย เที่ยว ครอบงำด้วยเดช.

ในสองศัพท์นั้น ถ้าใครพึงกล่าวว่า ราชสีห์เที่ยวข่มขี่ครอบงำ ซึ่ง อะไรดังนี้ไซร้ แต่นั้น พึงทำสัตตมีวจนะว่า มิคานํ ให้เป็นทุติยาวจนะ เปลี่ยนเป็น มิเค ปสยฺห อภิภุยฺยจารี แปลว่าเที่ยวข่มขี่ครอบงำ ซึ่งเนื้อ ทั้งหลาย.

บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ที่ไกล. บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่สถานที่อยู่ อาศัย. บทที่เหลืออาจเพื่อรู้ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั่นแล เพราะ ฉะนั้น จึงไม่ได้กล่าวไว้ให้พิสดาร

ทาฐพลิคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๕

คาถาว่า เมตฺตํ อุเปกฺขํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งทรงได้เมตตาฌาน ท้าวเธอทรงพระราชดำริว่า ราชสมบัติกระทำอันตรายต่อความสุขในฌาน จึงทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงรักษาฌานไว้ ทรงผนวชแล้ว ทรงเห็นแจ้งอยู่ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่ง ปัจเจกโพธิญาณ ได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า.

เมตฺตํ อุเปกฺขํ กรุณํ วิมุตฺตึ อาเสวมาโน มุทิตญฺจ กาเล สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 239

บุคคลเสพอยู่ ซึ่งเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขา วิมุตติ ในกาลอันสมควรไม่ยินร้ายด้วยโลก ทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ความเป็นผู้ใคร่เพื่อนำเข้ามาซึ่งหิตสุข โดยนัยว่า ขอ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุขเถิด ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า เมตตา ความเป็น ผู้ใคร่เพื่อนำออกไปซึ่งอหิตทุกข์ โดยนัยว่า โอหนอ! ขอเราพึงพันจากทุกข์ นี้ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า กรุณา ความเป็นผู้ใคร่เพื่อไม่ให้พลัดพรากจากหิตสุข โดยนัยว่า สัตว์ผู้เจริญทั้งหลายเพลิดเพลินหนอ เพลิดเพลินดีแท้ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า มุทิตา ความเป็นผู้วางเฉย ในสุขและทุกข์ทั้งหลายว่า จักปรากฏด้วย กรรมของตนดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา. แต่ท่านกล่าวเมตตาแล้วกล่าวอุเบกขา แล้ว กล่าวมุทิตาในภายุหลัง โดยสับเปลี่ยนลำดับ ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.

บทว่า วิมุตฺตึ ความว่า ก็ธรรมแม้ ๔ เหล่านั้น ชื่อว่า วิมุตติ เพราะ เป็นธรรมพ้นแล้ว จากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหลายของตน. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า

บุคคลเสพอยู่ ซึ่งเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขา วิมุตติ ในกาลอันสมควร.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 240

ในคาถานั้น บทว่า อาเสวมาโน ความว่า อบรมอยู่ซึ่งธรรมทั้งสาม ด้วยอำนาจแห่งฌานหมวดสามและหมวดสี่ ซึ่งอุเบกขาด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน.

บทว่า กาเล ความว่า บุคคลเจริญเมตตาแล้ว ออกจากเมตตานั้น แล้วเสพกรุณา ออกจากกรุณานั้นแล้ว เสพมุทิตา ออกจากมุทิตานั้น หรือ จากฌานอันไม่มีปีตินอกนี้แล้ว เสพอุเบกขา เรียกว่า เสพอยู่ในกาล. หรือ เรียกว่าเสพอยู่ในกาลอันผาสุก เพื่อจะเสพ.

บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน ความว่า ไม่ยินร้ายด้วย โลกทั้งปวงในทิศทั้งสิบ. จริงอยู่ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตาเป็นต้น อันตนเจริญแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ไม่น่าเกลียด และปฏิฆะอันก่อความ โกรธในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับ. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึง กล่าวว่าไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวงดังนี้. ความสังเขปในคาถานี้มีเท่านี้. ส่วน เมตตาทิกถา ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัฏฐลาลินี. บทที่เหลือ เป็นเช่นกับนัยก่อนนั่นแล.

อัปปมัญญาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๔๐

คาถาว่า ราคญฺจ โทสํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อ มาตังคะ องค์สุดท้ายของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่อาศัยพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ของพวกเราอุบัติแล้ว เทวดาทั้งหลายพากันมา เพื่อประโยชน์ในการ

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 241

บูชาพระโพธิสัตว์ เห็นมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์! ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย! พระพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก.

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ออกจากนิโรธได้ฟังเสียงนั้นแล้วเห็นความ สิ้นไปแห่งชีวิตของตนเทียว จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อว่า มหาปปาต ในหิมวันตประเทศซึ่งเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ใส่โครงกระ ดูกของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว นั่งที่พื้นศิลา ได้กล่าวคาถานี้ว่า

ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะ แล้วทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้ง ในเวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ราคะ โทสะ และโมหะ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในอุรคสูตร.

บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. ทำลายสังโยชน์เหล่านั้น แล้ว ด้วยมรรคนั้นๆ.

บทว่า อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ ความว่า การจุติ คือ การแตก ดับแห่งจิต เรียกว่าความสิ้นชีวิต. ชื่อว่า ไม่สะดุ้ง เพราะละความใคร่ในการ สิ้นชีวิตนั้นแล้ว.

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 242

พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น แสดงอุปาทิเสสนิพพานธาตุแก่ตนแล้ว ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลาจบคาถา ด้วยประการฉะนี้ แล.

ชีวิตสังขยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๔๑

คาถาว่า ภชนฺติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในพระนครพาราณสี ทรงครอบครองราชสมบัติกว้างขวาง มีประการที่กล่าวแล้วในคาถาต้นนั้นแล ท้าวเธอทรง พระประชวรหนัก ทุกขเวทนาเป็นไปอยู่ สตรี ๒๐,๐๐๐ นาง ต่างก็ทำการนวด พระหัตถ์และพระบาทเป็นต้น อำมาตย์ทั้งหลายคิดว่า บัดนี้พระราชาพระองค์นี้ จักไม่รอดชีวิต เอาเถิด พวกเราจักแสวงหาที่พึ่งแห่งตน ดังนี้แล้ว ไปสู่พระราชสำนักของพระราชาพระองค์อื่น ก็ทูลขอการบำรุง อำมาตย์เหล่านั้น บำรุง อยู่ในพระราชสำนักนั้นนั่นแล ก็ไม่ได้อะไรเลย.

ฝ่ายพระราชาทรงหายพระประชวรแล้ว ตรัสถามว่า อำมาตย์ชื่อนี้และ ชื่อนี้ ไปไหน? แต่นั้น ทรงสดับประพฤติการณ์นั้นแล้ว สั่นพระเศียรทรง นิ่งแล้ว อำมาตย์แม้เหล่านั้นสดับว่า พระราชาหายประชวรแล้ว เมื่อไม่ได้ อะไรๆ ในพระราชสำนักของพระราชาพระองค์อื่นนั้น ประสบความเสื่อม อย่างยิ่ง จึงกลับมาอีก ถวายบังคมพระราชาแล้ว ยืนอยู่ในที่สุดส่วนหนึ่ง อำมาตย์เหล่านั้น ถูกพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ พวกท่านไปไหนมา จึง กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พวกข้าพระองค์เห็นพระองค์ทรงทุรพลภาพ

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 243

แล้ว จึงไปสู่ชนบทชื่อโน้น เพราะกลัวต่อการเลี้ยงชีวิต พระราชาทรงสั่น พระเศียรแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เอาเถอะ เราพึงทดลองอำมาตย์เหล่านี้ว่า จะพึงทำอย่างนี้แม้อีกหรือไม่.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงแสดงพระองค์ประสบเวทนาหนัก ดุจถูก พระโรคให้ทรงพระประชวรในกาลก่อนกำเริบ ทรงกระทำความห่วงใยในการ ประชวร สตรีทั้งหลายก็แวดล้อมทำกิจทุกอย่าง เช่นก่อนนั้นแล อำมาตย์แม้ เหล่านั้น ก็พาชนนั้นมากกว่าเดิม หลีกไปอย่างนั้นอีก พระราชาทรงการทำ เช่นกับที่กล่าวแล้วทั้งหมด ถึงครั้งที่ ๓ อย่างนี้ แม้อำมาตย์เหล่านั้นก็หลีกไป เหมือนเดิม.

แต่นั้น พระราชาทรงเห็นอำมาตย์เหล่านั้น มาแล้วแม้ในครั้งที่ ๔ ทรงเบื่อหน่ายว่า โอ! อำมาตย์เหล่านี้ทิ้งเราผู้ป่วยไม่เยื่อใยหนีไป กระทำชั่ว หนอ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ภชนฺติ เสวนฺติ จ การณฺตถา นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา อตฺตฏฺปญฺา อสุจี มนุสฺสา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ไม่สะอาด มีปัญญา มุ่งประโยชน์ตนผู้ไม่มีเหตุ ย่อมคบหาสมาคม มิตรผู้หาได้ยากในทุกวันนี้ เพราะมีเหตุเป็น

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 244

ประโยชน์ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภชนฺติ ความว่า แอบเข้าไปนั่งใกล้ด้วยร่างกาย. บทว่า เสวนฺติ ความว่า ย่อมบำเรอด้วยอัญชลีกรรมเป็นต้นและด้วยความเป็น ผู้รับใช้. เหตุเป็นประโยชน์ของมนุษย์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น มนุษย์เหล่า นั้น จึงมีเหตุเป็นประโยชน์ อธิบายว่า เหตุอื่นในการคบและการเสพไม่มี. เหตุของมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ มีอธิบายว่า ย่อมเสพเพราะเหตุแห่งตน.

บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา ความว่า ชื่อว่า ผู้ ไม่มีเหตุเพราะเหตุแห่งการได้ประโยชน์อย่างนี้ว่า พวกเราจักได้ประโยชน์บาง อย่างจากคนนี้มาเป็นมิตรผู้ประกอบพร้อมด้วยความเป็นมิตรอันประเสริฐ ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า

มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรบอกประโยชน์ ๑ มิตรอนุเคราะห์ ๑ (๑)

ดังนี้อย่างเดียว ซึ่งหาได้ยากในทุกวันนี้.

ปัญญาของมนุษย์เหล่านั้น ตั้งอยู่แล้วในตน มนุษย์เหล่านั้นเห็นแก่ ตนเท่านั้น ไม่เห็นแก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้น มนุษย์เหล่านั้น จึงชื่อว่า มีปัญญามุ่ง ประโยชน์ตน ได้ยินว่า ศัพท์ อตฺตตฺถปญฺา (๒) แม้นี้ เป็นบาลีเก่า มีอธิบาย ว่า ปัญญาของมนุษย์เหล่านั้น ย่อมเพ่งถึงประโยชน์ทั้งหลายที่เห็นในปัจจุบัน เท่านั้น ย่อมไม่เพ่งถึงประโยชน์ในอนาคต.


๑. ที. ปา. สิงฺคาลกสุตฺต ๑๙๕. ๒. ยุ. ทิฎฺฎฺปญญา.

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 245

บทว่า อสุจี ความว่า ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันไม่สะอาดคืออันไม่ประเสริฐ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่ กล่าวแล้วในกาลก่อนนั่นแล.

การณัตถคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๔ ประกอบด้วยคาถา ๑๑ คาถา จบ

ขัคควิสาณสูตรนั้น มีคาถาจำนวน ๔๑ คาถา ผู้ศึกษาพึงประกอบตาม สมควรในคาถาทั้งปวง โดยนัยแห่งโยชนาที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคาถาบาง แห่งนั่นแล แล้วพึงทราบทั้งโดยอนุสนธิทั้งโดยอรรถดังพรรณนามาฉะนี้ แต่ เราไม่ได้ประกอบในคาถาทั้งปวง เพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไป ดังนี้แล.

จบอรรถกถาขัคควิสาณสูตร แห่งอรรถกถาขททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา