โลกธรรม 8 ในชีวิตประจำวัน
จะมีวิธีเผชิญกับโลกธรรม ๘ อย่างไร เพราะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา โดยเฉพาะเราซึ่งเป็นเพียงผู้น้อยซึ่งต้องใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจ แต่อำนาจนั้นใกล้จะหมดไปเพราะการเกษียณอายุราชการ ในฐานะผู้ใกล้ชิดก็ทุกข์และต้องอดทนจนแทบจะทนไม่ไหว เพราะจะต้องรองรับอารมณ์อกุศลเป็นประจำ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงไว้ว่าอย่างไรบ้างคะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ควรเข้าใจความจริงของธรรมว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้น ย่อมมีเหตุ แม้การได้ยินเสียงก็ต้องมีเหตุ การได้ยิน (ผลของกรรมหรือวิบาก) มีทั้งที่เป็นกุศลวิบาก (ผลของกรรมที่ดี) ทำให้ได้ยินเสียงที่ดี และอกุศลวิบาก (ผลของกรรมที่ไม่ดี) ทำให้ได้ยินเสียงไม่ดี ซึ่งผลของกรรมที่กล่าวมาเกิดจากเหตุคือ การทำกุศลหรืออกุศลที่ได้ทำไว้ ดังนั้น เมื่อได้ยินเสียงที่ไม่ดี เป็นธรรมดาของปุถุชนย่อมหวั่นไหวไปในเสียงที่ได้ยิน เพราะปัญญาน้อย ดังนั้น การจะอดทนได้หรือไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของปัญญาของแต่ละคนที่ได้สะสมมา ซึ่งก็ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม จึงจะทำให้ปัญญาเจริญได้ ขอแนะนำสหายธรรมว่า ลองฟังแผ่นเรื่อง บารมีในชีวิตประจำวันนะครับ ฟังดีมาก เมื่อเข้าใจธรรมนั่นแหละจะเปลี่ยนนิสัยเราได้จริงๆ ลองฟังดูนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 83
ข้อความบางตอนจาก ...
เรื่องพระโกณฑธานเถระ
"เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ เพราะการกล่าวแข่งขันกันให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกกำจัดแล้วไซร้ เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน การกล่าวแข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ"
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงความ ซึ่งเอาชนะได้ยาก
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ต้องทำใจ ถือว่าเป็นวิบากกรรมที่ทำร่วมกันมา ต้องชดใช้ และต้องปล่อยวาง ถือว่าเป็นบททดสอบความหวั่นไหวของใจเราเองด้วย ถ้าสิ่งที่มากระทบแล้วทำให้ใจไม่หวั่นไหว ก็ยังเป็นกิเลส อกุศล เพราะจิตใจเราเศร้าหมอง และเป็นทุกข์กับการกระทำนั้นๆ ถ้าเมื่อไรใจเราสงบนิ่งไม่หวั่นไหว ถือว่าเราผ่านบททดสอบแล้ว ข้อสำคัญคือ ธรรมะ มองโลกและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความป็นจริง แต่ก็คงทำได้ยาก ต้องเพียรพยายาม