กามสุตตนิทเทสที่ ๑ ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 1
อัฏฐกวัคคิกะ
กามสุตตนิทเทสที่ ๑
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ หน้า 7
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง หน้า 18
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ หน้า 26
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 65]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๑
อัฏฐกวัคคิกะ (๑)
กามสุตตนิทเทสที่ ๑
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
[๒] คำว่า กาม ในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ โดยหัวข้อได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.
วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาสา แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้นชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่างใด
๑. อัฏฐกถาว่า อัฏฐกวัคคะ, น่าจะปริวรรตเป็น อัฏฐกวรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 2
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่เนรมิตเอง ที่ผู้อื่นเนรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม.
กิเลสกามเป็นไฉน? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด, ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ชื่อว่า กาม.
สมจริงดังคำว่า :-
ดูก่อนกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 3
กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม คำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ มี ความว่า เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจกามอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อปรารถนากามอยู่.
[๓] คำว่า ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น มีความว่า คำว่า สัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์. คำว่า กามนั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ซึ่งเรียกว่า วัตถุกาม. คำว่า ย่อมสำเร็จ สำเร็จโดยชอบ ได้ ได้เฉพาะ. ประสบ พบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น.
[๔] คำว่า ย่อมเห็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองแง่ เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองง่าม เป็นคำกล่าวที่ไม่มีคำประกอบเป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า แน่นอน นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่ คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความ ปราโมทย์ ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ ความเต็มใจ ที่ประกอบพร้อมเฉพาะด้วยกามคุณ ๕.
คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ผัสสะ เป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ.
ใจนี้ สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 4
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความ อิ่มนี้.
คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจ คือ เป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจเบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม เป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
[๕] คำว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว มีความว่า คำว่า ได้ คือได้ ได้แล้ว ได้เฉพาะ ประสบ พบ. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ตามปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะ. ตามปรารถนา ยินดี ประสงค์ มุ่งหมาย ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
[๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์นั้นมีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว.
[๗] คำว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ มีความว่า คำว่า เมื่อสัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์ คำว่า ปรารถนากามอยู่ คือ เมื่อใคร่ อยาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 5
ได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจ. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา เปรียบเหมือนมนุษย์ ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป ด้วยยานช้างบ้าง ยานม้าบ้าง ยานโคบ้าง ยานแกะบ้าง ยานแพะบ้าง ยานอูฐบ้าง ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่.
[๘] คำว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ความว่า คำว่า ฉันทะ ได้แก่ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความอยากในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบคือกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ความพอใจในกามนั้น เกิดแล้ว เกิดพร้อม เกิดขึ้น เกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วแก่สัตว์นั้น. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว.
[๙] คำว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไป มีความว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไปบ้าง สัตว์นั้นเสื่อมจากกามทั้งหลายบ้าง.
กามเหล่านั้นเสื่อมไป อย่างไร? เมื่อสัตว์นั้นดำรงอยู่นั่นแหละ โภคะเหล่านั้น ถูกพระราชาริบไปบ้าง ถูกโจรลักไปบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกน้ำพัดไปบ้าง ถูกพวกญาติผู้ไม่เป็นที่ชอบใจนำไปบ้าง สัตว์นั้นไม่พบโภคทรัพย์ที่เก็บฝังไว้บ้าง การงานที่ประกอบไม่ดีเสียไปบ้าง คนผลาญสกุล ผู้แจกจ่ายกระจัดกระจายทำลายโภคะเหล่านั้นเกิดในสกุลบ้าง ความเป็นของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 6
ไม่เที่ยงแห่งโภคะเป็นที่แปด กามเหล่านั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัด กระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปอย่างนี้.
สัตว์นั้นย่อมเสื่อมจากกามทั้งหลาย อย่างไร? โภคะเหล่านั้นยังตั้งอยู่ นั่นแหละ สัตว์นั้นเคลื่อน ตาย อันตรธาน สูญหายไปจากโภคะเหล่านั้น สัตว์นั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหาย ไปจากกามทั้งหลายอย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
โภคทรัพย์ทั้งหลาย ถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบไป ถูกไฟไหม้ เสียหาย อนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อมละทิ้งสรีระ กับทั้งข้าวของ เพราะความตาย นักปราชญ์ทราบเหตุนี้แล้ว พึงใช้สอยบ้าง พึงให้ทานบ้าง ครั้นให้ทานและใช้สอยตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถาน คือ สวรรค์.
เพราะฉะนั้น จึงว่า กามเหล่านั้นย่อมเสื่อมไป.
[๑๐] คำว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว มีความว่า สัตว์ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเหล็กแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยกระดูกแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยงาแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเขาแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยไม้แทงแล้วบ้าง ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บตัว เจ็บใจ ฉันใด ความโศก คร่ำครวญ เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะวัตถุกามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป สัตว์นั้นถูกลูกศรคือกามแทง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 7
แล้ว ย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย เจ็บใจ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-
เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว.
[๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้.
ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ
[๑๒] คำว่า ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ประกอบอย่างใด ผู้ตั้งไว้อย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์.
คำว่า กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย โดยหัวข้อ ได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.
วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านั้นเรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 8
กิเลสกาม.
คำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย คือ ย่อมเว้นขาดกามโดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประการ ๑.
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ อย่างไร? บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมีความยินดีน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า เป็นของตามเผา ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า เป็นของให้เร่าร้อนมาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า เป็นของปรากฏชั่วเวลาน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนด ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า เป็นของทำให้กิ่งหักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า เป็นของฟัน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอก หลาว เพราะอรรถว่า เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 9
ของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่า เป็นของน่าสะพึงกลัว ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า เป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
แม้ผู้เจริญธรรมานุสสติย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ..........
แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ.........
แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ.........
แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ..........
แม้ผู้เจริญอานาปานุสสติ.........
แม้ผู้เจริญมรณานุสสติ............
แม้ผู้เจริญกายคตาสติ............
แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ...........
แม้ผู้เจริญปฐมฌาน...........
แม้ผู้เจริญทุติยฌาน...........
แม้ผู้เจริญตติยฌาน...........
แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน...........
แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ...........
แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ...........
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 10
แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ............
แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้.
ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างไร? แม้บุคคลผู้เจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด. แม้ บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วนหยาบโดยการตัดขาด. แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดย การตัดขาด. แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการ ทั้งปวง โดยประการทั้งปวง หมดสิ้น มิให้มีส่วนเหลือโดยการตัดขาด ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างนี้เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.
[๑๓] คำว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า มีความว่า งูเรียกว่าสัปปะ เพราะอรรถว่าอะไร งูจึงเรียกว่าสัปปะ? เพราะอรรถว่า เสือกไป งูจึงเรียกว่าสัปปะ, เพราะอรรถว่า ขนดไป งูจึงเรียกว่า ภุชคะ, เพราะอรรถว่าไปด้วยอก งูจึงเรียกว่า อุรคะ, เพราะอรรถว่า มีหัวตกไป งูจึงเรียกว่า ปันนคะ, เพราะอรรถว่า นอนด้วยหัว งูจึงเรียกว่า สิริสปะ เพราะอรรถว่า นอนในรู งูจึงเรียกว่า วิลาสยะ, เพราะอรรถว่า นอนในถ้ำ งูจึงเรียกว่า คุหาสยะ, เพราะอรรถว่า มีเขี้ยวเป็นอาวุธ งูจึงเรียกว่า ทาฒาวุธ, เพราะอรรถว่า มีพิษร้ายแรง งูจึงเรียกว่า โฆรวิสะ, เพราะอรรถว่า มีลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่า ทุชิวหา, เพราะอรรถว่า ลิ้มรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 11
ด้วยลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่า ทิรสัญญู.
บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก หลบ อ้อมหนีหัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก หลบ อ้อมหนีกามทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า.
[๑๔] คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า คำว่า ผู้นั้น คือผู้เว้นขาดกามทั้งหลาย.
ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด, ความกำหนัดกล้า, ความพอใจ, ความชอบใจ, ความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดกล้าแห่งจิต, ความปรารถนา, ความ หลง, ความติดใจ, ความยินดี, ความยินดีทั่วไป, ความข้อง, ความ ติดพัน, ความแสวงหา, ความลวง, ความให้สัตว์เกิด, ความให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์, ความเย็บไว้, ความเป็นดังว่าข่าย, ความเป็นดังว่ากระแสน้ำ ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย, ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป, ความเป็นเพื่อน, ความตั้งมั่น, เครื่องนำไปสู่ภพ, ความติดอารมณ์, ความตั้งอยู่ในอารมณ์, ความสนิท, ความรัก ความเพ่งเล็ง, ความผูกพัน, ความหวัง, ความจำนง, ความประสงค์, ความหวังในรูป, ความหวังในเสียง, ความหวังในกลิ่น, ความหวังในรส, ความหวังในโผฏฐัพพะ, ความหวังในลาภ, ความหวังในทรัพย์, ความหวังในบุตร, ความหวังในชีวิต, ความปรารถนา, ความให้สัตว์ปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 12
ความที่จิตปรารถนา, ความเหนี่ยวรั้ง, ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง, ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง, ความหวั่นไหว, อาการแห่งความหวั่นไหว, ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว, ความกำเริบ, ความใคร่ดี, ความกำหนัดในที่ผิดธรรม, ความโลภไม่เสมอ, ความใคร่, อาการแห่งความใคร่, ความมุ่งหมาย, ความปอง, ความปรารถนาดี, กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา, ตัณหาในรูปภพ, ตัณหาในอรูปภพ, ตัณหาในนิโรธ, รูปตัณหา, สัททตัณหา, คันธตัณหา, รสตัณหา, โผฏฐัพพตัณหา, ธัมมตัณหา, โอฆะ, โยคะ, คันถะ, อุปาทาน, ความกั้น, ความปิด, ความบัง, ความผูก, ความเข้าไปเศร้าหมอง, ความนอนเนื่อง, ความกลุ้มรุมจิต, ความเป็นดังว่าเถาวัลย์, ความปรารถนาวัตถุต่างๆ , รากเง่าแห่งทุกข์, เหตุแห่งทุกข์, แดนเกิดแห่งทุกข์, บ่วงมาร, เบ็ดมาร, วิสัยมาร, แม่น้ำตัณหา, ข่ายตัณหา, โซ่ตัณหา, สมุทรตัณหา, อภิชฌา, โลภะ, อกุศลมูล, เรียกว่า วิสัตติกา.
คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา (ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ) เพราะอรรถว่า ซ่านไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า แผ่ไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า แล่นไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า ครอบงำ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า สะท้อนไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า มีมูลรากเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถ ว่า มีผลเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 13
บริโภคสิ่งเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ, สกุล คณะ ที่อยู่, ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร, กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ, ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน, แล่นไป ซ่านไป ในรูปที่เห็นแล้ว, ในเสียงที่ได้ยินแล้ว, กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว, และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง, ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า เป็นผู้มีสติ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติปัฎฐานในกาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ. เมื่อเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ.
เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดธรรมทั้งหลาย ที่เป็นข้าศึกต่อสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลาย ที่เป็นนิมิตแห่งสติ.
เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 14
เป็นผู้ประกอบด้วยสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยสติ, ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล้วด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ.
เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ระลึกได้, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้สงบ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ เป็นผู้ระงับ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะพุทธานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ ธรรมานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะสังฆานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะสีลานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะจาคานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเทวดานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะอานาปานัสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะมรณานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะกายคตาสติ, ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะอุปสมานุสสติ, ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึกคือสติ, ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ธรรมเหล่านี้เรียกว่าสติ, บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่ามิสติ.
คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกา นี้ในโลกเสียได้ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ย่อมข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 15
ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้
[๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
นรชนใดย่อมปรารถนา ไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
[๑๖] คำว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน มีความว่า คำว่า :-
ไร่ คือ ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา.
นา คือ นาข้าวสาลี นาข้าวจ้าว
ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่.
เงิน คือ กหาปณะ เรียกว่า เงิน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน.
ว่าด้วยทาส ๔ จำพวก
[๑๗] คำว่า โค ม้า ทาส คนภายใน มีความว่า :-
โคทั้งหลาย เรียกว่า โค.
ปสุสัตว์เป็นต้น เรียกว่า ม้า.
คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส ๔ จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายใน ๑ ทาส ที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ๑ ผู้ที่สมัครเข้าถึงความเป็นทาสเอง ๑ เชลยผู้ที่เข้าถึง ความเป็นทาส ๑ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 16
คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง คนบางพวกเป็นทาสที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์บ้าง คนบางพวกสมัครเข้าเป็นทาสเองบ้าง คนบางพวกเป็นทาสเพราะตกเป็นเชลยบ้าง.
คำว่า คนภายใน ได้แก่ บุรุษ ๓ จำพวก คือ คนรับจ้าง ๑ กรรมกร ๑ พวกอยู่อาศัย ๑.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โค ม้า ทาส คนภายใน.
[๑๘] คำว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก มีความว่า :-
สตรีที่มีเจ้าของ เรียกว่า สตรี.
คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ พวกพ้องโดยเป็นญาติ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียนศิลปะ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑.
คำว่า กามเป็นอันมาก คือ กามมาก, กามมากเหล่านี้ ได้แก่ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ โผฏฐัพพะที่ชอบใจ.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
[๑๙] คำว่า นรชนใดย่อมปรารถนา มีความว่า :-
คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบอย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการอย่างใด ถึงฐานะอย่างใด ประกอบด้วยธรรมอย่างใด คือ เป็น กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 17
คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ย่อมปรารถนา คือย่อมปรารถนา ย่อมตามปรารถนา ย่อมปรารถนาทั่วไป ย่อมติดพัน ในวัตถุกามทั้งหลาย ด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนใดย่อมปรารถนา.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
นรชนใดย่อมปรารถนาไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
[๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้วฉะนั้น.
[๒๑] คำว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น มีความว่า คำว่า ไม่มีกำลัง คือ กิเลสอันไม่มีกำลัง คือทุรพล มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก เป็นดัง ลูกนก เล็กน้อย. กิเลสเหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยี บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 18
ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลังทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก เป็นดังลูกนก เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลังย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
[๒๒] คำว่า เหล่าอันตราย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า :-
คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏอย่าง ๑ อันตรายที่ปกปิดอย่าง ๑.
อันตรายที่ปรากฏ เป็นไฉน? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว, และโรคทางจักษุ โรคทางโสตะ โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง. อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธรู้สึกเจ็บปวด อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม, ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 19
ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ, ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ.
อันตรายที่ปกปิดเป็นไฉน? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต. กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์. ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูก โกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มายา โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา ประมาท, กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุศลธรรมทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด.
คำว่า อันตราย ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร จึงชื่อว่าอันตราย? เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่าอันตราย.
เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างไร? อันตรายเหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย อย่าง ไร่? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 20
สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่นมีสติสัมปชัญญะ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอิทธิบาท ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญพละ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ ความประกอบเนืองๆ ในอัน เจริญมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย อย่างไร? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรู ย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้ ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 21
ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอัน ลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต.............เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ.............เพราะ ลิ้มรสด้วยชิวหา...........เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย..........เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการ ฉะนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 22
ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน, โทสะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. โมหะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า:-
โลภะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิตให้กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โลภแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโลภครอบงำนรชน เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.
โทสะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยัง จิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธ แล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโกรธครอบงำนรชน เมื่อนั้นนรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 23
โมหะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลงแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงแล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความหลงครอบงำนรชน เมื่อนั้นนรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก.
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก, โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก. โมหะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก. ดูก่อนมหาพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ ความอยู่ไม่ผาสุก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 24
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาป วิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้ ผูกจิตไว้เหมือนพวกเด็ก ผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตราย เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น.
[๒๓] คำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชน นั้นไป มีความว่า เพราะอันตรายนั้นๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไป ตามบุคคลนั้น คือชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ชราทุกข์....พยาธิทุกข์....มรณทุกข์.....ทุกข์คือความโศกคร่ำครวญ ลำบากกาย ทุกข์ใจ ความแค้นใจ.....ทุกข์คือความเกิดในนรก....ทุกข์คือความเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน........ทุกข์คือความเกิดในเปรตวิสัย....ทุกข์คือความเกิดในมนุษย์...... ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล.....ทุกข์มีความตั้งอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 25
ในครรภ์เป็นมูล...... ทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล.......ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ที่เกิดเเล้ว.....ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ที่เกิดแล้ว...... ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน.....ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น...... ทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา...... ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร...... ทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน......
โรคทางจักษุ โรคทางโสต โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง.
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่บริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากแห่งกรรม.
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ.
ทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 26
เพราะความตายแห่งบุตร ทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป.
[๒๔] คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น มีความว่าน้ำไหลซึมเข้าสู่เรือที่รั่วแล้ว คือ น้ำย่อมซึมเข้าไป ตามเข้าไป ไหลเข้าไป แต่ที่นั้นๆ คือ ย่อมซึมเข้าไป เซาะเข้าไป ไหลเข้าไป ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างท้องบ้าง แต่ข้างๆ บ้าง ฉันใด เพราะอันตรายนั้นๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ฯลฯ ทุกข์อันเกิดแต่ทิฏฐิพยสนะ ย่อมติด ตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นฉันนั้น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.
เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น.
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ
[๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 27
พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
[๒๖] คำว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ มีความว่า :-
คำว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะฉะนั้น เพราะกาลนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น.
คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา ได้แก่สัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ได้แก่ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดก็เป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลเป็นนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียวกัน ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบเนื่อง ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด.
ในกาลก่อนภัต ในกาลหลังภัต ในปฐมยาม ในมัชฌิมยาม ในปัจฉิมยาม ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนปฐมวัย ในตอนมัชฌิมวัย ในตอนปัจฉิมวัย.
คำว่า มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เจริญสติปัฏฐาน มีการตามเห็นกายในกายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เจริญสติปัฏฐาน มีการตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 28
เจริญสติปัฏฐานมีการตามเห็นจิตในจิตอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เจริญสติปัฏฐานมีการตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ฯลฯ บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ผู้เกิดมาพึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ.
[๒๗] คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า กามทั้งหลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑
วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม.
คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ได้แก่ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประการ ๑.
พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างไร? สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมีความยินดีน้อย พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้
เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า เป็นของตามเผา พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ฯลฯ แม้เจริญเนวสัญญานา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 29
สัญญายตนสมาบัติ พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้ ฯลฯ พึงเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย.
[๒๘] คำว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ มีความว่า คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้ วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์....พยาบาทนิวรณ์....ถีนมิทธนิวรณ์... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งวิจิกิจฉานิวรณ์ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.
[๒๙] คำว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น มีความว่า บุคคลวิด สาดออก ทิ้งออกซึ่งน้ำในเรืออันทำให้หนัก บรรทุกหนักแล้ว พึงไปถึงฝั่งด้วย เรือที่เบา โดยเร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันใด สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์....พยาบาทนิวรณ์... ถีนมิทธนิวรณ์....อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์....วิจิกิจฉานิวรณ์ พึงไปถึงฝั่งโดยเร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันนั้น.
อมตนิพพาน เรียกว่า ฝั่ง ได้แก่ธรรม เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 30
เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลสเครื่องร้อยรัด พึงถึง บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง.
คำว่า ถึงฝั่ง ได้แก่ ผู้ใดใคร่เพื่อจะถึงฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใดย่อมไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใดถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ยืนอยู่บนบก ชื่อว่าเป็นพราหมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้นถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละ ถึงฝั่งด้วยการเจริญ ถึงฝั่งด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งด้วยสมาบัติ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวงด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งแห่งกิเลสทั้งปวงด้วยการละ ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ ถึงฝั่งแห่งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวงด้วยการบรรลุ.
พระอรหันต์นั้น ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุตติ.
พระอรหันต์นั้น ไปสู่ฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดแล้ว ถึงส่วนสุดแล้ว ไปสู่ที่สุดแล้ว ถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกันแล้ว ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่งแล้ว ไปสู่ที่ไม่มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว ไปสู่ที่ไม่ตายแล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 31
พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะ มีทางไกลอันถึงแล้ว มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว ถึงทิฏฐิอันอุดมแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทงตลอด มิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว มีสมุทัยอันละแล้ว มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรรู้ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว มีธรรมที่ควรกำหนดรู้อันกำหนดรู้แล้ว มีธรรมที่ควรละอันละแล้ว มีธรรมที่ควรเจริญอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรทำให้แจ้งอันทำให้แจ้งแล้ว.
พระอรหันต์นั้นมีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเลียแล้ว มีกรรมเป็นคูอันกำจัดเสียแล้ว มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว ไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตกไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็นธรรมเครื่องรักษาอย่างเอก มี ธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๘ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันละเสียแล้ว มีการแสวงหาอันชอบไม่หย่อนประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตหลุดพ้นแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องหลุดพ้นด้วยดี เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุปรมัตถะ.
พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อมิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุกดับแล้วจึงตั้งอยู่ ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 32
สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจจะแล้วตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วตั้งอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่ด้วยไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่ด้วยเป็นผู้ซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิมานะอันบริสุทธิ์ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด ตั้งอยู่ในสรีระอันมีในที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด สมจริงดังคาถา ประพันธ์ว่า :-
พระขีณาสพนั้นมีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นที่หลัง มิได้มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น ดังนี้.
จบ กามสุตตนิทเทส ที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 33
สัทธัมมปัชโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส
ภาคที่ ๑
อารัมภกถา
พระชินเจ้าพระองค์ใดทรงกำจัดเสียซึ่งลิ่มคือ อวิชชา และความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความยินดี อย่างถอนราก ทรงเจริญอัฏฐังคิกมรรคถูกต้อง อมตบท. ทรงบรรลุพระโพธิญาณ เสด็จหยั่งลงสู่อิสิปตนมฤคทายวันประกาศธรรมจักรยังเวไนยสัตว์ ๑๘ โกฏิ มีพระโกณฑัญญเถระเป็นต้นให้บรรลุธรรมในวันนั้นในที่นั้น.
ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง และพระธรรมอันสูงสุด ทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า.
ก็ธรรมจักรใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อ พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากเกือบเท่าพระศาสดา ผู้เกิดแต่องค์พระชินเจ้า จำแนกธรรมจักรนั้นเป็นส่วนๆ กล่าวมหานิทเทสซึ่งชื่อว่าเป็นปาฐะประเสริฐ และวิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 34
อนึ่ง ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสารีบุตรพุทธชิโนรสองค์นั้น ผู้เป็นพระเถระที่มีเถรคุณมิใช่น้อยเป็นที่ยินดียิ่ง ผู้มีเกียรติคุณสูงสุดเพราะสภาพปัญญา และผู้มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอันดี ข้าพเจ้าอันพระเทวเถระผู้พหูสูต ผู้ประกอบด้วยคุณมีความอดทนเป็นต้น มีปกติกล่าวคำที่สมควรและพอดีเป็นต้น อาราธนาแล้วจักดำรงอยู่ในแนวสาธยายของพระเถระ ชาวมหาวิหาร ถือเอาข้อวินิจฉัยเก่าๆ ที่ควรถือเอา ไม่ทอดทิ้งลัทธิของตน และไม่ทำลัทธิผู้อื่นให้เสียหาย ทั้งรวบรวมนัยแห่งอรรถกถาทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายได้ตามสมควร พรรณนาตามเนื้อความที่ยังไม่เคยพรรณนาของนัยนั้น อันนำมาซึ่งประเภทแห่งญาณ ที่พระโยคาวจรทั้งหลายมิใช่น้อยเสพอาศัยแล้ว ไม่ทอดทิ้งพระสูตรและข้อยุติ จักเริ่มพรรณนามหานิทเทสโดยย่อ ด้วยความนับถือมากในพระสัทธรรม มิใช่ประสงค์จะยกตน ข้าพเจ้าจักกล่าวอรรถกถา เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชนและเพื่อความดำรงอยู่นานแห่งพระสัทธรรม ขอ ท่านสัตบุรุษทั้งหลายจงฟัง สัทธัมมปัชโชติกา โดยเคารพและจงทรงจำไว้ด้วยดีเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 35
เพราะได้กล่าวไว้แล้วในอารัมภกถานั้นว่า ซึ่งมหานิทเทสนั้นโดยชื่ออันวิเศษว่า ปาฐะวิสิฏฐนิทเทส, ปาฐะ มี ๒ อย่างคือ พยัญชนปาฐะ ๑ อรรถปาฐะ ๑.
ในปาฐะทั้ง ๒ นั้น พยัญชนปาฐะ มี ๖ อย่างคือ อักขระ ๑, บท ๑, พยัญชนะ ๑, อาการะ ๑, นิรุตติ ๑, นิทเทส ๑.
อรรถปาฐะ ก็มี ๖ อย่างคือ สังกาสนะ ๑, ปกาสนะ ๑, วิวรณะ ๑, วิภชนะ ๑, อุตตานีกรณะ ๑, บัญญัตติ ๑.
ว่าด้วยอักขระ
ในพยัญชนะปาฐะนั้น เทสนาที่เป็นไปด้วยจิตที่คิดถึงเหตุอันหมดจด ด้วยสามารถแห่งปโยคะอันบริสุทธิ์ในไตรทวาร บัณฑิตรู้ได้ว่า อักขระ เพราะมิได้แสดงคือไม่ได้เสวนาด้วยวาจา. อักขระนั้นพึงถือเอาว่า ชื่อว่า อักขระ ด้วยสามารถแห่งปัญหาที่บรรดาพราหมณ์ผู้มีจุดหมายปลายทางถามด้วยใจ และด้วยสามารถแห่งปัฏฐานมหาปกรณ์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาแล้วที่รตนฆรเจดีย์.
อีกอย่างหนึ่ง บทที่ไม่บริบูรณ์ก็พึงรับรู้ว่า อักขระ ดุจในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สฏฺีวสฺสสหสฺสานิ หกหมื่นปี ดังนี้. ในคำนี้อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ส - อักษร และ ทุ - อักษร ก็ชื่อว่า อักขระ, หรือบทที่มีอักขระเดียว ก็ชื่อว่า อักขระ.
ว่าด้วยบท
อักขรสันนิบาตอันส่องความที่จำแนกไว้ในคำเป็นต้นว่า ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา - ตัณหานี้ใดเป็นปัจจัยให้เกิดอีก ดังนี้ ชื่อว่า บท คำที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 36
ประกอบด้วยอักขระมากมายได้ในคำเป็นต้นว่า นามญฺจ รูปญฺจ - นาม ด้วยรูปด้วย ก็ชื่อว่า บท - อักขรสันนิบาต.
ว่าด้วยพยัญชนะ
ชื่อว่า พยัญชนะ เพราะอรรถว่า ยังเนื้อความอันเป็นประโยชน์ เกื้อกูลให้ชัดเจน คือทำให้รู้ ทำให้ปรากฏด้วยบท ( (๑) ว่า พึงทำบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้แจ่มแจ้งดังนี้ ได้แก่คำพูดนั่นเอง.
เนื้อความที่ตรัสโดยย่อว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา - อิทธิบาท ๔ ก็ ชื่อว่า พยัญชนะ - ทำเนื้อความให้ชัดเจน เพราะทำเนื้อความให้ปรากฏได้ในคำว่า กตเม จตฺตาโร - ๔ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทะ, สมาธิปธานสังขาร คือ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา, สมาธิประธานสังขาร.
ว่าด้วยอาการะ
การประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ ชื่อว่า อาการะ. การกระทำวิภาคหลายอย่างซึ่งพยัญชนะที่ตรัสไว้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทะเป็นไฉน? ฉันทะคือความพอใจ ความเป็นผู้พอใจ ความเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะทำ ดังนี้ ชื่อว่า อาการะ - ประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ.
ว่าด้วยนิรุตติ
คำขยายเนื้อความอันประกอบด้วยอาการ ชื่อว่า นิรุตติ. คำที่นำมากล่าวว่า ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์, ชื่อว่า เวทนา
(๑) ฉบับพม่าว่า สเรน - ด้วยสระ, หรือด้วยเสียง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 37
เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ซึ่งตรัสไว้แล้วโดยอาการ มาในคำเป็นต้นว่า ผสฺโส เวทนา ดังนี้ ก็ชื่อว่า นิรุตติ - แสดงสภาวะ.
ว่าด้วยนิทเทส
ความพิสดารแห่งคำขยาย ชื่อว่า นิทเทส เพราะอรรถว่าแสดงเนื้อความโดยไม่เหลือ. บทที่ได้คำขยายว่า เวทยตีติ เวทนา - ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ดังนี้. ก็ชื่อว่า นิทเทส - แสดงขยายความ เพราะท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถความพิสดารแห่งเนื้อความเป็นต้นว่า สุขะ ทุกขะ อทุกขมสุขะ, ชื่อว่า สุขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปสบาย. ชื่อว่า ทุกขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปลำบาก. ชื่อว่า อทุกขมสุขะ เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปลำบาก ไม่เป็นไปสบาย.
ว่าด้วยสังกาสนะ
การรู้บทแห่งพยัญชนปาฐะ ๖ อย่าง ด้วยประการฉะนี้แล้ว ประกาศแสดงในบทแห่ง อรรถปาฐะ ๖ อย่างโดยย่อ ชื่อว่า สังกาสนา - ประกาศให้รู้ชัด. การแสดงข้อความโดยสังเขปได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อสำคัญอยู่แล ย่อมถูกมารผูกมัด, เมื่อไม่สำคัญอยู่ ย่อมพ้นจากมารผู้มีบาป ดังนี้ ก็ชื่อว่า สังกาสนา - ให้รู้ชัด ก็พระเถระนี้เป็นผู้สามารถเพื่อจะกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า แทงตลอดแล้วซึ่งเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยสังเขปด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 38
ว่าด้วยปกาสนะ
การประกาศการแสดงแต่เบื้องต้น ซึ่งเนื้อความที่ควรกล่าวในเบื้องต้น ชื่อว่า ปกาสนะ. การแสดงการประกาศซึ่งเนื้อความที่ควรกล่าวในภายหลังด้วยคำแรกได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ - สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนดังนี้ ก็ชื่อว่า ปกาสนะ - ประกาศ. ด้วย การแสดงข้อความที่แสดงแล้วในครั้งแรกทำให้ปรากฏอีกอย่างนี้ เป็นอันตรัสบทแห่งอรรถทั้งสองในข้อความที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรคือสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน, รูปเป็นของร้อน, ดังนี้ เพื่ออุปการะแก่ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า เพราะตรัสไว้ว่า ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแทงตลอดเนื้อความที่ตรัสไว้โดยสังเขปได้ดังนี้.
ว่าด้วยวิวรณะ
การทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วโดยสังเขป และการทรงไว้ได้อีกซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วเพียงครั้งเดียว ชื่อว่า วิวรณะ. การขยายเนื้อความที่ตั้งไว้โดยสังเขปว่า กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลดังนี้ ให้พิสดารด้วยสามารถแห่งนิทเทสว่า สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นไฉน? สมัยใดกามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้นแล้วดังนี้ เป็นต้น ก็ชื่อว่า วิวรณะ - เปิดเผย.
ว่าด้วยวิภชนะ
การทำเนื้อความนั้นเป็นส่วนๆ ชื่อว่า วิภชนะ. การทำกุศลธรรมทั้งหลายที่เปิดเผยแล้วว่า ยสฺมึ สมเย ในสมัยใด ดังนี้ เป็นส่วนๆ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 39
ในสมัยนั้น ผัสสะ ก็เกิด เวทนา ก็เกิด ดังนี้ ก็ชื่อว่า วิภชนะ - จำแนก.
ว่าด้วยอุตตานีกรณะ
การทำเนื้อความให้ถึงพร้อม ด้วยการทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความที่จำแนกแล้ว และด้วยการตั้งไว้ซึ่งเนื้อความที่จำแนกแล้วด้วยอุปมา ชื่อว่า อุตตานีกรณะ. เนื้อความที่เปิดเผยแล้วโดยการเปิดเผย กล่าวคือ เปิดเผยอย่างยิ่งว่า ผัสสะมีในสมัยนั้นเป็นไฉน? คือ ในสมัยนั้น ผัสสะ กระทบอารมณ์. ผุสนา - ถูกต้องอารมณ์. สัมผุสนา - สัมผัสอารมณ์ ดังนี้, และเนื้อความที่จำแนกแล้ว โดยการจำเเนกกล่าวอุปมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ผัลสาหารพึงเห็นได้ ดุจดังแม่โคที่ปราศจากหนังฉะนั้น ดังนี้ ก็ชื่อว่า อุตตานีกรณะ - ทำให้ง่าย.
ว่าด้วยปัญญัตติ
การยังโสมนัสให้เกิดขึ้นแก่จิตด้วยอเนกวิธี คือ ด้วยการแสดงธรรมแก่สาธุชนผู้สดับธรรมอยู่. และการกระทำความคมกล้าของญาณด้วยอเนกวิธี ให้แก่สาธุชนที่ยังมีปัญญายังไม่คมกล้า ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมปรากฏแก่สาธุชนผู้สดับอยู่เหล่านั้น ด้วยความยินดีของจิตที่ประกอบด้วยโสมนัสนั้น และด้วยความใคร่ครวญของจิตที่ประกอบด้วยโสมนัสนั้น จึงชื่อว่า ปัญญัตติ.
ในปาฐะทั้ง ๒ นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้รู้ชัดด้วยอักขระ, ทรงประกาศด้วยบท, ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ, ทรงจำแนกด้วยอาการะ, ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ, ทรงทำให้ปรากฏด้วยนิทเทส. คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 40
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงกระทำเวไนยสัตว์บางพวกให้รู้ชัดเนื้อความด้วย อักขระ ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง ฯลฯ ทรงทำเนื้อความให้ปรากฏด้วย นิทเทส นี้เป็นอธิบายในปาฐะทั้ง ๒ นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เวไนยสัตว์รู้ชัดด้วยอักขระทั้งหลายแล้วทรงประกาศด้วยบททั้งหลาย ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วยนิทเทสทั้งหลาย มีอธิบายไว้อย่างไร?
มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำเวไนยสัตว์บางพวกในฐานะบางอย่าง ด้วยพระธรรมเทศนาเห็นปานนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงให้เหล่าเวไนยรู้ชัดด้วยอักขระ ทั้งหลายแล้วทรงประกาศด้วยบททั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวกอุคฆติตัญญู เมื่อทรงเปิดเผยด้วย พยัญชนะทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวก วิปจิตัญญู เมื่อทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วยนิทเทสทั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวกเนยยะ แม้ด้วยสามารถแห่งเวไนยสัตว์ก็พึงประกอบด้วยประการฉะนี้แล.
แต่โดยใจความในที่นี้ พระสุรเสียงที่เป็นไปกับด้วยวิญญัติซึ่งรู้เนื้อความ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงแสดงพระธรรมว่า พยัญชนปาฐะเป็นไฉน? อรรถปาฐะเป็นไฉน? ดังนี้นั้น ชื่อพยัญชนปาฐะ. พระธรรมที่ประกอบด้วยลักษณะและรสเป็นต้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงบรรลุ นั้นพึงทราบว่า อรรถปาฐะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 41
อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะมี ๖ อย่าง คือ สันธายภาสิตปาฐะ พยัญชนภาสิตปาฐะ สาวเสสปาฐะ อนวเสสปาฐะ นีตปาฐะ และเนยยปาฐะ.
ในปาฐะเหล่านั้น ปาฐะที่กล่าวข้อความไม่น้อยมีอาทิอย่างนี้ว่า ฆ่ามารดาบิดา และกษัตริยราชทั้งสอง ดังนี้ ชื่อ สันธายภาสิตปาฐะ.
ปาฐะที่กล่าวข้อความอย่างเดียวมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน ดังนี้ ชื่อ พยัญชนภาสิตปาฐะ.
ปาฐะมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ดังนี้ ชื่อ สาวเสสปาฐะ.
ปาฐะที่ตรงกันข้ามมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงย่อมมาสู่คลองในญาณมุขของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ดังนี้ ชื่อ อนวเสสปาฐะ.
ปาฐะที่พึงรู้อย่างที่กล่าวมีอาทิอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ ชื่อ นีตปาฐะ.
ปาฐะที่พึงระลึกถึงโดยความถูกต้องมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก ดังนี้ ชื่อเนยยปาฐะ.
อนึ่ง อรรถมีประการไม่น้อย มีอาทิ คือ ปาฐัตถะ, สภาวัตถะ, ญายัตถะ, ปาฐานุรูป, นปาฐานุรูป, สาวเสสัตถะ, นิรวเสสัตถะ, นีตัตถะ และ เนยยัตถะ ในอรรถเหล่านั้น :-
ปาฐะใดพ้นข้อความที่ให้รู้ซึ่งข้อความที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ปาฐะนั้นชื่อ ปาฐัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 42
ลักษณะและรสเป็นต้นของรูปธรรม และอรูปธรรมทั้งหลายชื่อ สภาวัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เจริญสัมมาทิฏฐิดังนี้.
อรรถใดอันบุคคลรู้อยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ย่อมควรเพื่อให้รู้พร้อมดังนี้ อรรถนั้นชื่อ ญายัตถะ ดุจในประโยกมีอาทิว่า ผู้มีปกติกล่าวอรรถ ผู้มีปกติกล่าวธรรม ดังนี้.
อรรถที่สมควรตามปาฐะชื่อ ปาฐานุรูป อรรถที่บุคคลผู้ปฏิเสธข้อความด้วยพยัญชนฉายาว่า เพราะฉะนั้น แม้จักษุก็เป็นกรรม ดังนี้.
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นกรรมเก่า ดังนี้ กล่าวแล้ว ชื่อ นปาฐานุรูป.
อรรถนั้นโดยปาฐะมิได้ทรงอนุญาตไว้ มิได้ทรงปฏิเสธ มิได้ทรงประกอบไว้. ก็อรรถนั้นแม้ที่ควรสงเคราะห์ก็มิได้ทรงสงเคราะห์ หรือแม้ที่ควรเว้น ก็มิได้ทรงเว้นอะไรๆ เลย มิได้ทรงปฏิเสธตรัสไว้ ชื่อ สาวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า อาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์ จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อมัจจุ ดังนี้.
อรรถที่ตรงกันข้าม ชื่อ นิรวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่าทั้งเราทั้งท่าน แล่นไปพร้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น นอกจากบทที่เห็นแล้ว ใครรู้ใครทรงจำไว้ได้ ดังนี้.
อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งเสียงนั้นแล ชื่อ นีตัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า รูป เสียง รส (๑) กลิ่น และโผฏฐัพพะ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ดังนี้.
(๑). น่าจะอยู่หลัง กลิ่น ตามลำดับในวิสยรูป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 43
อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งสมมติ ชื่อ เนยยัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยพลาหก ๔ เหล่านั้น ดังนี้. บุคคลรู้แจ้งทั้งปาฐะ และอรรถะดำรงอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ง่อนแง่นจากพวกกล่าวตรงกันข้ามทั้งหลาย ด้วยดำรงอยู่สิ้นกาลนาน.
บุคคลผู้สามารถเข้าใจด้วยเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น ทั้งโดยสังเขปนัย และวิตถารนัย ย่อมอาจที่จะกล่าวจนถึงความถึงพร้อมแห่งอาคมและอธิคมอย่างไม่ง่อนแง่น ด้วยประการฉะนี้ ครั้นรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้สะอาด เพราะเว้นจากมลทินคือศีลและทิฏฐิชั่ว ด้วยความเป็นผู้สามารถที่จะชำระตนและผู้อื่นให้บริสุทธิ์ได้. ด้วยว่าคนทุศีลย่อมเบียดเบียนตน เป็นผู้มีวาจาไม่น่าเชื่อถือ เพราะความทุศีลนั้นไม่สามารถจะนำอาหารมาได้ เดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ในโลกนี้ดุจลูกโค คนมีทิฏฐิชั่วย่อมเบียดเบียนผู้อื่นและเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ เพียงดังกอบัวที่อากูลอยู่ในถ้ำของสัตว์ร้าย ก็ผู้วิบัติทั้งสองอย่าง เป็นผู้ไม่ควรนั่งใกล้ เหมือนหีบศพที่อยู่ในคูถ และเหมือนงูเห่าที่อยู่ในคูถ. ส่วนผู้สมบูรณ์ทั้งสองอย่าง เป็นผู้สะอาดควรนั่งใกล้และควรคบหาแม้ด้วยประการทั้งปวง เหมือนบ่อรัตนะปราศจากอันตรายจากวิญญูชนทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นอย่างนี้ ไม่ตระหนี่อย่างนี้ ไม่ ลืมอาจารย์ ไม่สละ ๔ อย่าง คือ สุตตะ, สุตตานุโลม, อาจริยวาท, และ อัตตโนมติ กล่าวข้อความได้ต่างๆ ด้วยสามารถแห่งสิ่งสำคัญ ๔ อย่างนั้น อีกอย่างหนึ่งเป็นผู้ไม่สละสิ่งสำคัญ ๔ อย่างเหล่านี้คือ :-
การกล่าวโดยส่วนเดียวเป็นสุตตะที่ ๑ การกล่าวจำแนกเป็นบทสุตตานุโลมเป็นที่ ๒ ไต่ถามเป็นอาจริยวาทที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 44
ดำรงไว้ เป็นอัตตโนมติที่ ๔.
เพราะประกอบผู้ฟังเข้าไว้ในประโยชน์เกื้อกูล แต่สิ่งสำคัญ ๔ อย่างนั้นแหละ ความเข้าใจสิ่งสำคัญ ๔ อย่างเหล่านั้น ย่อมกลับเป็นไม่เกียจคร้าน ดังนี้แล. ในข้อนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า :-
บุคคลผู้กล่าว ผู้ไม่ง่อนแง่นเพราะรู้อรรถแห่งปาฐะ เป็นผู้สะอาด ไม่ตระหนี่ ไม่สละสิ่งสำคัญ ๔ อย่าง เป็นผู้แสดงไปตามประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า เทสกสฺส ในคาถานี้ ความว่า พึงเป็นผู้แสดง. บทว่า หิตนฺวิโต ความว่า ผู้ไปตามด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือผู้มีจิตประกอบด้วยประโยชน์เกื้อกูล.
ก็บุคคลนี้นั้น เป็นที่รักเพราะเป็นผู้สะอาด เป็นที่เคารพเพราะเป็นผู้ไม่สละสิ่งสำคัญ ๔ อย่าง น่าสรรเสริญเพราะเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำเพราะเป็นผู้ไปตามประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้กล่าวชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้งได้ เพราะเป็นผู้รู้อรรถแห่งปาฐะ เป็นผู้ชักจูงในฐานะอันควร เพราะเป็นผู้ไม่ตระหนี่ ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสัตตกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า :-
เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ น่าสรรเสริญ รู้จักกล่าวชี้แจงให้เข้าใจ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำกล่าวชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้งได้ ไม่ชักจูงในเรื่องเหลวไหลไร้สาระดังนี้.
ผู้แสดงเป็นผู้เกื้อกูลยิ่ง ผู้แสดงนั้น จะตั้งไว้เฉพาะในบัดนี้ก่อน ผู้แสดงย่อมไม่ดูหมิ่นถ้อยคำเพราะเคารพธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่ดูหมิ่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 45
ถ้อยคำที่กล่าวแล้ว เพราะเคารพอาจารย์ ย่อมไม่ดูหมิ่นตน เพราะเป็นผู้ประดับด้วยคุณมีศรัทธาและปัญญาเป็นต้น เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะเป็นผู้ไม่โอ้อวดและไม่มีมายา และเพราะเป็นผู้มุ่งพระนิพพาน ย่อมมนสิการโดยแยบคาย เพราะเป็นผู้มีปัญญาดี. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังพระสัทธรรม เป็นผู้ควรที่จะก้าวลงสู่ความแน่นอนอันเป็นความชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ไม่ดูหมิ่นถ้อยคำ ๑ ไม่ดูหมิ่นถ้อยคำที่กล่าวแล้ว ๑ ไม่ดูหมิ่นตน ๑ มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยแยบคาย ๑ ภาชนะย่อมมีเพราะถึงลักษณะนั้นแล ก็ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ผู้เคารพธรรมาจารย์ ผู้ประดับด้วยคุณมีศรัทธาและปัญญาเป็นต้น ผู้ไม่โอ้อวดและไม่มีมายา มีปัญญาดี มุ่งพระนิพพาน เป็นผู้กล่าวและเป็นผู้ฟัง ด้วยประการฉะนี้. (๑)
ครั้นแสดงพยัญชนะและอรรถะซึ่งมีประการดังกล่าวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าจักพรรณนามหานิทเทสนั้น ซึ่งท่านเรียกว่า มหานิทเทส เพราะอรรถว่า เป็นนิทเทสใหญ่ราวกะมหาสมุทรและมหาปฐพี เพราะท่านกล่าวทำให้ยอดเยี่ยม ท่านพระอานนท์สดับมหานิทเทสเช่นนั้น อันสมบูรณ์ด้วยอรรถะ สมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ ลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง ประกาศโลกุตตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตา ให้สำเร็จการปฏิบัติและคุณวิเสสคือมรรคผล ปฏิเสธ
(๑). คาถานี้ไม่เต็มคงขาดหายไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 46
ธรรมที่เป็นข้าศึก เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะคือญาณของพระโยคาวจรทั้งหลาย เป็นเหตุพิเศษที่ให้เกิดความงามแห่งธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ของผู้ที่ขลาดกลัวสังสารวัฏ มีข้อความให้เกิดความโปร่งใจ ด้วยการแสดงอุบายแห่งการออกไปจากทุกข์นั้น มีข้อความกำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการออกไปจากทุกข์นั้น และมีข้อความให้เกิด ความยินดีแห่งหทัยของสาธุชน ด้วยการเปิดเผยอรรถแห่งสุตตบททั้งหลาย มิใช่น้อยที่มีอรรถลึกซึ้ง อันท่านพระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีของพระธรรมราชา ผู้มีสิเนหะคือมหากรุณาแผ่ไปในชนทั้งสิ้น ด้วยแสงสว่างแห่งมหาประทีป คือ พระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอันอะไรๆ กำจัดไม่ได้ในที่ทั้งปวง ผู้ปรารถนาให้มหาประทีปคือ พระสัทธรรมที่รุ่งเรืองอยู่แล้วเพื่อกำจัดความมืด คือกิเลสที่ฝังอยู่ในหทัยของเวไนยชน ได้รุ่งเรืองอยู่นานยิ่งตลอด ๕,๐๐๐ ปี ด้วยการหลั่งสิเนหะขยายคำอธิบายพระสัทธรรมนั้น ผู้อนุเคราะห์โลกเกือบเท่าพระศาสดาภาษิตไว้ ได้ยกขึ้นสู่สังคีติตามที่ได้สดับมานั่นแหละ ในคราวปฐมมหาสัง คายนา.
ก็บรรดาปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก มหานิทเทสนี้นั้นนับเนื่องในสุตตันตปิฎก.
บรรดามหานิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย มหานิทเทสนับเนื่องในขุททกมหานิกาย.
บรรดาองค์แห่งคำสอน ๕ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ท่านสงเคราะห์มหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 47
นิทเทสด้วยองค์ ๒ คือ คาถาและ เวยยากรณะ.
พระธรรมที่รู้กันว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอานนทเถระ ผู้ธรรมภัณฑาคาริก ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ๕ ตำแหน่ง เรียนแต่ ภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังเถรภาษิตว่า :-
ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปเหล่านี้มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ข้าพเจ้าเรียนแต่พระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียนแก่ภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.
ท่านสงเคราะห์มหานิทเทสนี้หลายร้อยพระธรรมขันธ์ มหานิทเทสมี ๒ วรรค คือ อัฏฐกวรรค ปารายนิกวรรคกับทั้งขัคควิสาณสูตร มหานิทเทส มี ๓๓ สูตร มีกามสูตรเป็นต้น มีขัคควิสาณสูตรเป็นปริโยสาน แบ่งวรรคละ ๑๖ สูตร และขัคควิสาณสูตร ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความตามลำดับบท ของมหานิทเทสนี้ที่ท่านกำหนดไว้หลายประการอย่างนี้ ก็มหานิทเทสนี้ผู้ อุทเทสและผู้นิทเทส ทั้งโดยปาฐะและโดยอรรถะ พึงอุทเทสและพึงนิทเทส โดยเคารพ แม้เพราะเหตุนั้น จึงควรเรียนและทรงจำไว้โดยเคารพ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะมหานิทเทสนี้เป็นคัมภีร์ลึกซึ้ง เพื่อให้คัมภีร์มหานิทเทสนี้ดำรงอยู่ในโลกสิ้นกาลนานี้เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก ในมหานิทเทส นั้น กามสูตรเป็นสูตรแรก. แม้ในกามสูตรนั้น คาถาว่า กามํ กามยนานสฺส ดังนี้ เป็นคาถาแรก. การพรรณนานั้นตั้งไว้ตามส่วน คือ อุทเทส นิทเทส ปฏินิทเทส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 48
มหานิทเทส
อรรถกถาอัฏฐกวรรค กามสุตตนิทเทส
บทมีอาทิอย่างนี้ว่า กามํ กามยมานสฺส ดังนี้ ชื่อว่า อุทเทส. บทว่า กาม โดยหัวข้อได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ดังนี้ ชื่อว่า นิทเทส. บทมีอาทิอย่างนี้ว่า วัตถุกามเป็นไฉน? รูป อันเป็นที่ชอบใจ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏินิทเทส.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามํ ได้แก่วัตถุกามกล่าวคือธรรมอันเป็น ไปในภูมิ ๓ มีรูปอันเป็นที่ชอบใจเป็นต้น.
บทว่า กามยนานสฺส แปลว่าปรารถนาอยู่.
บทว่า ตสฺส เจ ตํ สมิชฺฌติ ความว่า ถ้าวัตถุกล่าวคือกามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่นั้น ท่านอธิบายไว้ว่า ถ้าสัตว์นั้นได้วัตถุ กามนั้น.
บทว่า อทฺธา ปีติมโน โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้มีจิตยินดีโดย ส่วนเดียว. บทว่า ลทฺธา แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า มจฺโจ ได้แก่สัตว์.
บทว่า ยทิจฺฉติ ความว่า ปรารถนากามใด แต่บทนี้เป็นเพียงเชื่อม เนื้อความของบทโดยสังเขปเท่านั้น ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่ มาในบาลีข้างบนนั่นแล. แม้ในบททั้งปวงต่อแต่นี้ ก็เหมือนในบทนี้แล.
บทว่า กามา เป็นอุททิสิตัพพบท คือบทที่ยกขึ้นตั้งเพื่อจะแสดง.
บทว่า อุทฺทานโต ก็เป็นนิททิสิตัพพบท.
บทว่า อุทฺทานโต ท่านกล่าวเป็นหมู่ ดุจในประโยคมีอาทิว่า พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 49
ซื้อเครื่องผูกปลา ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุททานะ เพราะให้สูงๆ ขึ้น ไป คือเพราะชำระให้สะอาดเบื้องบนดุจชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า ขาวเป็นพิเศษ. อีกอย่างหนึ่ง :-
บทว่า กามา พึงกล่าวทำเป็นปาฐเสสะด้วยการกระทำให้พิสดาร.
บทว่า เทฺว เป็นการกำหนดจำนวน ๑ ก็ไม่ใช่ ๓ ก็ไม่ใช่.
บทว่า วตฺถุกามา จ ได้แก่ วัตถุกามมีรูปอันเป็นที่ชอบใจ เป็นต้น และกิเลสกาม ด้วยอรรถว่าให้เร่าร้อน และด้วยอรรถว่าเบียดเบียน.
ในกาม ๒ นั้นวัตถุกามควรกำหนดรู้ กิเลสกามควรละ. ในกามทั้ง ๒ นั้น บุคคลปรารถนาวัตถุกาม. เพราะกิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะ อรรถว่าอันบุคคลใคร่. กิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ให้บุคคลใคร่ด้วยความเป็นเหตุให้หวังวัตถุกาม. ในกาม ๒ นั้น วัตถุกาม ท่านสงเคราะห์เข้าในขันธ์มีรูปเป็นต้น กิเลสกามท่านสงเคราะห์เข้าในสังขาร ขันธ์. วัตถุกามรู้แจ้งได้ด้วยวิญญาณทั้ง ๖. กิเลสกามรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ. ชื่อว่าวัตถุกาม เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลาย เพราะอรรถว่า เป็นเหตุแห่งกิเลสทั้งหลาย และเพราะอรรถว่าเป็นอารมณ์ แห่งกิเลส ทั้งหลาย.
สิ่งสวยงามทั้งหลายในโลกเหล่านั้น มิใช่เป็นกามไป ทั้งหมด ความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความดำริ เป็น กามของบุรุษ สิ่งสวยงามทั้งหลายย่อมดำรงอยู่ในโลก อย่างนั้นแล เมื่อเป็นเช่นนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 50
กำจัด ความพอใจในสิ่งสวยงามเหล่านี้เสีย.
ในข้อนี้มีเรื่องนันทมาณพและบุตรของโสเรยยเศรษฐี เป็นต้นเป็นตัว อย่าง.
กิเลสกามชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า ให้ใคร่เอง ด้วยอรรถคือให้เร่า ร้อน ด้วยอรรถคือเบียดเบียน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัดแล้วแล ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะครอบงำ ย่อม จงใจเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมจงใจเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมจงใจเบียด เบียนทั้งคนและคนอื่นบ้าง ดังนี้, และว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด แล้วแล ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมถึงทาระของผู้อื่นบ้าง ย่อมกล่าวมุสาบ้าง ดังนี้ ตัวอย่างมีอย่างนี้เป็นต้น. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวมหานิทเทสนั้น แลให้พิสดารด้วย ปฏินิทเทส จึงกล่าวคำมี อาทิว่า กตเม วตฺถุกามา วัตถุกามเป็นไฉน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตเม เป็น กเถตุกัมยตาปุจฉา. ความ จริง ปุจฉามี ๕ อย่าง วิภาคแห่งปุจฉาเหล่านั้น จักมีแจ้งในบาลีข้างหน้า นั้นแล. บรรดาปุจฉา ๕ อย่างนั้น นี้เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนาปิกา ความว่า ชื่อว่า มนาปา เพราะอรรถว่า ยังใจให้เอิบอาบ คือให้เจริญ มนาปา นั่นแหละ เป็น มนาปิกา.
บทว่า รูปา ได้แก่ รูปารมณ์ ซึ่งมีสมุฏฐาน ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร, ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่าแตกดับไป อธิบายว่า เมื่อ สีเปลี่ยนไป ย่อมประกาศภาวะที่ถึงหทัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 51
บรรดาวัตถุกามเหล่านั้น ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่าอะไร? เพราะ อรรถว่า แตกดับไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อะไรเล่าที่พวกเธอเรียกว่า รูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ อรรถว่าย่อมแตกดับไปแล ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูป, รูปนั้นย่อมแตกดับไป ด้วยอะไร ย่อมแตกดับไปด้วยหนาวบ้าง ร้อนบ้าง หิวบ้าง ระหายบ้าง ย่อมแตกดับไปด้วยสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ย่อมแตกดับแล ฉะนั้น จึงเรียกว่ารูป ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุปฺปติ ความว่าย่อมกำเริบ คือ สั่นรัว ถูกบีบคั้น แตก ความแตกดับด้วยความหนาว ปรากฏในโลกันตนรก ความหนาวปรากฏในประเทศที่หนาวจนหิมะตก มีมหิสรัฐเป็นต้น ก็ใน มหิสรัฐเป็นต้นนั้น สัตว์ทั้งหลายมีสรีระแตก เพราะความหนาว ถึงตายก็มี.
ความสลายด้วยความร้อน ปรากฏในอวีจิมหานรก. ก็ในอวีจิมหานรกนั้นสัตว์ทั้งหลายเสวยทุกข์ใหญ่ ในเวลาที่ถูกให้นอนบนปฐพีที่ร้อนแรง ถูกจองจำ ๕ ประการเป็นต้น.
ความแตกดับด้วยความหิว ปรากฏในภูมิแห่งเปรต และในคราว เกิดทุพภิกขภัย ก็เหล่าสัตว์ในภูมิแห่งเปรตจะใช้มือหยิบอามิสอะไรๆ ใส่ ปากไม่ได้ ตลอด ๒ - ๓ พุทธันดร ภายในท้องเป็นเหมือนโพรงต้นไม้ อันไฟติดทั่วอยู่ ในคราวเกิดทุพภิกขภัย เหล่าสัตว์ที่ไม่ได้แม้เพียงน้ำข้าว ถึงความตายประมาณไม่ได้ ความแตกดับด้วยความกระหายปรากฏใน แดนกาลกัญชิกาสูรเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 52
ก็ในแดงนั้นเหล่าสัตว์ไม่อาจที่จะได้หยาดน้ำเพียงชุ่มหทัยหรือเพียง ชุ่มลิ้น, ตลอด ๒ - ๓ พุทธันดร เมื่อเหล่าสัตว์ไปแม่น้ำด้วยคิดว่าจักดื่มน้ำ น้ำก็กลายเป็นหาดทราย แม้เมื่อแล่นไปมหาสมุทร สมุทรก็เป็นแผ่นหินดาด สัตว์เหล่านั้นซูบซีดถูกความทุกข์หนักบีบคั้น ร้องครวญครางอยู่.
ความสลายด้วยเหลือบ เป็นต้น ปรากฏในประเทศที่มากไปด้วย เหลือบและแมลงวันเป็นต้น. ก็รูปนั้นให้พิสดารไว้แล้วในอภิธรรม โดย นัยมีอาทิว่า รูปนั้นเป็นไฉน คือสนิทัสสนรูป๑ สัปปฏิฆรูป๒ ดังนี้.
ชื่อว่า สัทท เพราะอรรถว่า ทำเสียง อธิบายว่า เปล่งออก. เสียงมี สมุฏฐาน ๒ คือ อุตุและจิต.
ชื่อว่า กลิ่น เพราะอรรถว่า ฟุ้งไป ความว่า ประกาศที่อยู่ของตน.
ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เหล่าสัตว์เยื่อใย ความว่า ยินดี.
ชื่อว่า โผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง. กลิ่นเป็นต้น เหล่านั้น มีสมุฏฐาน ๔ วิภาคแห่งเสียงเป็นต้นเหล่านั้น ให้พิสดารไว้แล้วในอภิธรรม นั้นแล. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความนั้นนั่นแลโดยพิสดาร จึงกล่าว คำมีอาทิว่า อตฺถรณา ปาปุรณา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ที่ชื่อว่า อตฺถรณา เครื่องลาด เพราะอรรถว่า ลาดแล้วนอน. ชื่อว่า ปารุปณา เครื่องนุ่งห่ม เพราะอรรถว่า ห่มพัน สรีระ. ทาสีด้วย ทาสด้วย ชื่อว่า ทาสีและทาส ๔ มีทาสในเรือนเบี้ย เป็นต้น.
๑. สนิทัสสนรูป - รูปที่เห็นได้ ได้แก่รูปารมณ์. ๒. สัปปฏิฆรูป - รูปที่กระทบได้ ได้แก่ปสาทรูป ๕ กับวิสยรูป ๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 53
ที่เป็นที่งอกขึ้นแห่งปุพพัณชาติ ชื่อว่า นา, ที่เป็นที่งอกขึ้นแห่ง อปรัณชาติ ชื่อว่า ที่ดิน. อีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นที่งอกขึ้นแห่งปุพพัณชาติ และอปรัณชาติ แม้ทั้งสอง ชื่อว่า นา. พื้นที่ที่ไม่ได้ทำประโยชน์อย่างนั้น ชื่อว่า ที่ดิน. อนึ่งในที่นี้ แม้บึงและสระน้ำเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์ ด้วยหัวข้อ คือ เขตตะ และวัตถุ.
บทว่า หิรญฺํ ได้แก่ กหาปณะ. บทว่า สุวณฺณํ ได้แก่ ทอง มาสกแม้ทุกอย่าง คือ มาสกโลหะ มาสกครั่ง มาสกไม้ ก็สงเคราะห์เข้า ด้วยศัพท์ หิรญฺ และ สุวณฺณ เหล่านั้น.
บทว่า คามนิคมราชธานิโย ความว่า กระท่อมหลังเดียวเป็นต้น ชื่อว่า คาม. คามที่มีตลาด ชื่อว่า นิคม. สถานที่อันเป็นอาณาเขตของพระ ราชาพระองค์หนึ่ง ชื่อว่า ราชธานี. ชนบทเอกเทศหนึ่ง ชื่อว่า รัฐ. ชนบทกาสีและชนบทโกศลเป็นต้น ชื่อว่า ชนบท.
บทว่า โกโส ได้แก่ กองพลรบ ๔ เหล่า คือเหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ เหล่าราบ. บทว่า โกฏฺาคารํ ได้แก่ เรือนคลัง ๓ อย่าง คือ เรือนคลังทรัพย์ เรือนคลังข้าวเปลือก เรือนคลังผ้า. บทว่า ยงฺกิญฺจิ เป็นคำกำหนดว่าไม่มีอะไรเหลือ. บทว่า รชนียํ ได้แก่ ด้วยอรรถว่าควร ยินดี.
ต่อแต่นี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะแสดงเป็นติกะ จึงได้กล่าวติกะ ๖ คือ อตีตติกะ อัชฌัตตติกะ หีนติกะ โอกาสติกะ ปโยคติกะ และ กามาวจรติกะ.
บรรดาติกะเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในอตีตติกะก่อน ชื่อว่า อดีต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 54
เพราะอรรถว่าก้าวล่วงซึ่งสภาวะของตน หรือถึงแล้วซึ่งขณะมีอุปปาทะ เป็นต้น. ชื่อว่า อนาคต เพราะอรรถว่ายังไม่มาถึงทั้งสองอย่างนั้น. ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะอรรถว่าอาศัยเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น. บทนี้ท่านกำหนด ด้วยภพ ด้วยว่า จำเดิมปฏิสนธิ เหล่าสัตว์ที่บังเกิดในภพอดีตก็ตาม ในภพติดต่อกันก็ตาม หรือในที่สุดแสนโกฏิกัปป์ก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า อดีต ทั้งนั้น. จำเดิมแต่จุติ กามที่เกิดขึ้นภพอนาคต กำลังเกิดอยู่ในภพติดต่อ กันก็ตาม ในที่สุดแสนโกฏิกัปป์ก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า อนาคต ทั้งนั้น. กามที่เป็นไปต่อจากจุติปฏิสนธิ ชื่อว่า ปัจจุบัน.
ในอัชฌัตตติกะมีวินิจฉัยว่า กามเฉพาะบุคคลที่เป็นไปอย่างนี้ คือ เป็นไปกระทำตนเป็นใหญ่ ได้แก่เป็นไปในสันดานของตน ด้วยความ ประสงค์เหมือนประสงค์ว่า พวกเราจักยึดถือว่า ตน ดังนี้ ชื่อว่า อัชฌัตตติกะ. ส่วนที่เป็นภายนอกจากนั้นเนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ไม่ เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ชื่อว่า ภายนอก. ตติยบท ท่านกล่าวด้วยสามารถ แห่งบททั้งสองนั้น.
ในหีนติกะมีวินิจฉัยว่า บทว่า หีนา ได้แก่ ลามก.
บทว่า มชฺฌิมา ความว่า ชื่อว่ามัชฌิมา ปานกลาง เพราะอรรถว่า เป็นระหว่างกลางของกามชนิดเลวและกามชนิดประณีต ที่เหลือลงชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด.
อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่าเป็นชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต โดยเปรียบเทียบกัน จริงอยู่ กามของเหล่าสัตว์นรก ชื่อว่าเลวที่สุด เมื่อ เปรียบเทียบสัตว์นรกเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 55
บรรดาดิรัจฉานทั้งหลาย กามของนาคและครุฑทั้งหลาย ชื่อว่า ประณีต กามของเหล่าสัตว์ดิรัจฉานที่เหลือ ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ ของดิรัจฉานเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบดิรัจฉานเหล่านั้น.
กามของเหล่าเปรตผู้มเหศักดิ์ ชื่อว่า ประณีต กามของเหล่าเปรต ที่เหลือลง ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของเปรตเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบเปรตเหล่านั้น.
กามของชาวชนบท ชื่อว่า ประณีต กามของชาวชายแดน ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของเขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเลว เมื่อเปรียบเทียบ พวกเขาเหล่านั้น.
กามของพวกนายบ้าน ชื่อว่า ประณีต กามของพวกคนรับใช้ของ นายบ้านเหล่านั้น ชื่อว่าปานกลาง กามของพวกเขาเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบพวกเขาเหล่านั้น.
กามของพวกปกครองชนบท ชื่อว่า ประณีต กามของพวกคนรับใช้ ของผู้ปกครองชนบทเหล่านั้น ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของพวกเขา เหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบพวกเขาเหล่านั้น.
กามของพวกเจ้าประเทศราช ชื่อว่า ประณีต กามของพวกอำมาตย์ ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของพวกเขาเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบ พวกเขาเหล่านั้น.
กามของพระเจ้าจักรพรรดิ ชื่อว่า ประณีต กามของพวกอำมาตย์ ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบ เทียบพวกเขาเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 56
กามของเหล่าภุมมเทวดา ชื่อว่า ประณีต กามของเหล่าเทวดารับใช้ ของภุมมเทวดาเหล่านั้น ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของภุมมเทวดาเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบภุมมเทวดาเหล่านั้น.
กามของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ชื่อว่า ประณีต จนถึงกามของ เหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐ์ ชื่อว่า ประณีตที่สุด โดยนัยมีอาทิดังนี้ พึงทราบ กามชนิดเลว ชนิดปานกลาง และชนิดประณีต โดยเปรียบเทียบด้วย ประการฉะนี้.
ในโอกาสติกะมีวินิจฉัยว่า บทว่า อาปายิกา กามา ความว่า กาม ของสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ ที่ปราศจากความเจริญ กล่าวคือไม่เจริญ ชื่อว่า กามของสัตว์ผู้เกิดในอบาย. กามของสัตว์ผู้เกิดในหมู่มนุษย์ ชื่อว่าเป็นของ มนุษย์ กามของสัตว์ผู้เกิดในหมู่เทวดา ชื่อว่า เป็นทิพย์.
ในปโยคติกะมีวินิจฉัยว่า กามของเหล่าสัตว์ในอบายที่เหลือ นอก จากพวกสัตว์นรก ของเหล่ามนุษย์และของเหล่าเทวดาตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกาจนถึงเหล่าเทวดาชั้นดุสิต ชื่อว่า กามที่ปรากฏเฉพาะหน้า เพราะ บริโภคกามทั้งหลายที่ปรากฏเฉพาะหน้า.
เทวดาทั้งหลายในเวลาที่ต้องการจะรื่นรมย์ด้วยอารมณ์ที่เกินกว่า อารมณ์ที่ตกแต่งไว้ตามปกติ ย่อมเนรมิตอารมณ์ตามที่ชอบใจรื่นรมย์ ดังนั้น กามของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดีจึงชื่อว่า กามที่เนรมิตเอง.
เทวดาทั้งหลายย่อมเสพอารมณ์ที่เทวดาเหล่าอื่นรู้อัธยาศัยของตน เนรมิตให้ ดังนั้นกามของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี จึงชื่อว่า กาม ที่ผู้อื่นเนรมิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 57
บทว่า ปริคฺคหิตา ได้แก่ กามที่หวงแหนว่านั่นของเรา.
บทว่า อปริคฺคหิตา ได้แก่กามของชาวอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมิได้ หวงแหนอย่างนั้น.
บทว่า มมายิตา ได้แก่ ที่ยึดถือว่านั่นของเรา ด้วยอำนาจตัณหา.
บทว่า อมมายิตา ได้แก่ ที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
บทว่า สพฺเพปิ กามาวจรา ธมฺมา ความว่า ธรรมที่นับเนื่องใน กามาวจรธรรม ที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า โดยเบื้องต่ำทำนรกอเวจีให้เป็น ที่สุดรอบ ในข้อนั้นมีเนื้อความแห่งคำดังนี้ กามโดยหัวข้อมี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น กิเลสกาม โดยอรรถ ได้แก่ฉันทราคะความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความพอใจ วัตถุกาม ได้แก่วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ อนึ่ง กิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า เป็นที่ใคร่. วัตถุกาม นอกนี้ ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า อันสัตว์ย่อมใคร่. เป็นภูมิที่ท่องเที่ยว เป็นไป แห่งกามทั้ง ๒ นั้น มี ๑ ภูมิ คืออบายภูมิ ๔ มนุษย์ภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖.
ชื่อว่า กามาวจร เพราะอรรถว่า เป็นที่ท่องเที่ยวไปแห่งกาม. ท่านกล่าวว่า สพฺเพปิ กามาวจรา ธมฺมา ในที่นั้น หมายเอาธรรมที่ นับเนื่องกัน. ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน.
บทว่า รูปาวจรา ธมฺมา ความว่า ธรรมทั้งหมด เป็น รูปาวจรธรรม ด้วยสามารถแห่งรูปาวจรธรรมที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า แต่เบื้องต่ำขึ้นไปจนถึงพรหมโลกเป็นที่สุด.
บทว่า อรูปวจรา ธมฺมา ความว่า ธรรมทั้งหมดที่กล่าวไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 58
โดยนัยมีอาทิว่า เบื้องต่ำเริ่มแต่เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะดังนี้ เป็น อรูปาวจรธรรม.
บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า รูปาวจรธรรม เพราะอรรถว่า ท่องเที่ยวไปใน รูปภพ. ชื่อว่า อรูปาวจรธรรม เพราะอรรถว่า ท่องเที่ยวไปใน อรูปภพ.
บทว่า ตณฺหาวตฺถุกา ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เพราะ อรรถว่าเป็นที่ตั้ง และเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ.
บทว่า ตณฺหารมฺมณา ความว่า เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ด้วย สามารถความเป็นไปแห่งตัณหายึดหน่วงธรรมเหล่านั้นทีเดียว.
บทว่า กามนียฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่าพึงหวังเฉพาะ.
บทว่า รชนียฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่าควรยินดี.
บทว่า มทนียฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่าเป็นที่เกิดขึ้นแห่งความ มัวเมามีความมัวเมาตระกูลเป็นต้น.
ในนิทเทสนั้น พระสารีบุตรเถระกล่าวคำเบื้องต้นว่า กตเม วตฺถุกามา มนาปิกา รูปา แล้วกล่าวคำสุดท้ายว่า ยํกิญฺจิ รชนียํ วตฺถุ ดังนี้ กล่าวถึงทั้งสิ่งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ คำที่เหลือพึง ทราบว่า ติกะ ๖ ที่เกินเป็นเอกะและจตุกกะ.
พระสารีบุตรเถระแสดงวัตถุกามอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงกิเลสกาม จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตเม กิเลสกามา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความกำหนัดอย่างอ่อนๆ. บทว่า ราโค ได้แก่ความกำหนัดที่มีกำลังแรงกว่าความพอใจนั้น. ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 59
กำหนัดทั้งสามเบื้องบน มีกำลังแรงกว่าความกำหนัดเหล่านี้. บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ในกามคุณ ๕.
บทว่า กามจฺฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจ กล่าวคือความใคร่ ไม่ใช่ ใคร่เพื่อจะทำงาน ไม่ใช่ใคร่ในธรรม. ความกำหนัดคือความใคร่ ด้วย อรรถว่าใคร่ และด้วยอรรถว่ายินดี ชื่อว่า กามราคะ ความกำหนัดคือ ความใคร่.
ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ด้วยสามารถแห่งความใคร่ และ ด้วยสามารถแห่งความเพลิดเพลิน ฉะนั้นจึงชื่อว่า กามนนฺทิ ความ เพลิดเพลินคือความใคร่. ในบททั้งปวงพึงทราบอย่างนี้.
ชื่อว่า กามตัณหา เพราะอรรถว่ารู้ประโยชน์ของกาม แล้วจึง ปรารถนา.
ชื่อว่า กามสิเนหะ เพราะอรรถว่าเสน่หา.
ชื่อว่า กามปริฬาหะ เพราะอรรถว่าเร่าร้อน.
ชื่อว่า กามุจฉา เพราะอรรถว่าหลง.
ชื่อว่า กามัชโฌสานะ เพราะอรรถว่ากลืนกินสำเร็จ.
ชื่อว่า กาโมฆะ เพราะอรรถว่าท่วมทับ คือให้จมลงในวัฏฏะ.
ชื่อว่า กามโยคะ เพราะอรรถว่าประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. ความยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิอย่างมั่น ชื่อว่า อุปาทาน.
ชื่อว่า นีวรณะ เพราะอรรถว่ากั้นจิต คือหุ้มห่อจิตไว้.
บทว่า อทฺทสํ ได้แก่ ได้เห็นแล้ว.
บทว่า กาม เป็นอาลปนะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 60
บทว่า เต แปลว่า ของท่าน.
บทว่า มูลํ ได้แก่ที่ตั้ง.
บทว่า สงฺกปฺปา ได้แก่ เพราะความดำริ.
บทว่า น ตํ กปฺปยิสฺสามิ ความว่า จักไม่ทำความดำริถึงท่าน.
บทว่า น เหหิสิ แปลว่า จักไม่มี.
บทว่า อิจฺฉนานสฺส ได้แก่ หวังเฉพาะอยู่.
บทว่า สาทิยมานสฺส ได้แก่ ยินดีอยู่.
บทว่า ปฏฺยมานสฺส ได้แก่ ยังความปรารถนาให้เกิดขึ้น.
บทว่า ปิหยมานสฺส ได้แก่ ยังความอยากเพื่อจะถึงให้เกิดขึ้น.
บทว่า อภิชปฺปมานสฺส ได้แก่ไม่ให้เกิดความอิ่มด้วยอำนาจตัณหา.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตรเถระกล่าว ท่านกล่าวบทว่า ขตฺติ- ยสฺส วา เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งชาติ ๔. กล่าวบทว่า คหฏฺสฺส วา ปพฺพชิตสฺส วา ด้วยสามารถแห่งเพศ.
กล่าวบทว่า เทวสฺส วา มนุสฺสสฺส วา ด้วยสามารถแห่งการ เกิด.
บทว่า อิชฺฌติ ได้แก่ ย่อมสำเร็จ. บทว่า สมิชฺฌติ ได้แก่ ย่อม สำเร็จโดยชอบ คือย่อมสำเร็จด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ. ซึ่งรูปวิเศษ ย่อมได้ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งรูปที่น่าดู ย่อมได้เฉพาะด้วย สามารถแห่งการได้เฉพาะซึ่งรูปที่น่าเลื่อมใส ย่อมบรรลุด้วยสามารถแห่ง การได้เฉพาะซึ่งรูปมีสัณฐานดี ย่อมประสบด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งรูปที่มีผิวพรรณน่าเลื่อมใส อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จด้วยความเป็นผู้ยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 61
ใหญ่ด้วยความงามเลิศ ย่อมได้ด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยชาติ ย่อมได้ เฉพาะด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยความเป็นใหญ่ ย่อมบรรลุด้วยความเป็นผู้ ยิ่งใหญ่ด้วยความสุข ย่อมประสบด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยสมบัติ ดังนี้แล.
บทว่า เอกํสวจนํ ได้แก่ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว ห้าม การถือเอาหลายส่วน ดุจในประโยคเป็นต้นว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่า พยากรณ์ ปัญหาอย่างแน่ชัด ดังนี้.
บทว่า นิสฺสํสยวจนํ ได้แก่ เป็นคำเว้นจากความสงสัย อธิบายว่า เป็นคำห้ามความสนเท่ห์
บทว่า นิกฺกงฺขวจนํ ได้แก่ เป็นคำห้ามความเคลือบแคลงว่า นี้อย่างไร นี้อย่างไร.
บทว่า อเทฺวชฺฌวจนํ ได้แก่ เป็นคำกล่าวไม่เป็นของส่วนเพราะ ไม่มีความเป็นสองส่วนนั้น คือเว้นจากความเป็นส่วนของ ห้ามความสงสัย ดุจในประโยคเป็นต้นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวาจาไม่เป็นสอง ดังนี้.
บทว่า อเทฺวฬฺหกวจนํ ได้แก่ เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เพราะไม่มีหทัยสอง เป็นคำกล่าวห้ามความเป็นของอย่างว่าร่าเริงด้วย ประการฉะนี้.
บทว่า นิโยควจนํ ความว่า ชื่อว่าเป็นคำกล่าวไม่รวมกันเพราะอรรถ ว่า ไม่ประกอบสองเรื่องไว้ในข้อความเดียวกันห้ามคำสองแง่ ก็เพราะไม่ ประกอบในเรื่องอื่น จึงเป็นคำที่มาว่าไม่มีอารมณ์อนาคต.
บทว่า อปณฺณกวจนํ ได้แก่ เป็นคำกล่าวที่มีสาระเว้นจากการ พูดพร่ำ เป็นคำกล่าวที่มีเหตุการณ์ไม่ผิด จึงชื่อว่า ไม่ผิด ดุจในประโยค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 62
เป็นต้นว่า านเมเก ดังนี้ เป็นคำกล่าวที่มีหลักฐาน ดุจเหตุแห่งการ กระทำที่ไม่ผิด.
บทว่า อวฏฺาปนวจนเมตํ ความว่า คำนี้เป็นคำหยั่งลงตั้งไว้ คือเป็นคำกำหนดแน่ตั้งไว้.
บทเหล่าใดอันพระสารีบุตรเถระยกขึ้นจำแนกไว้ในมหานิทเทสนี้ บท เหล่านั้น เมื่อถึงการจำแนกย่อมถึงการจำแนกด้วยเหตุ ๓ ประการ. เมื่อเป็น ต่างๆ กัน ย่อมเป็นต่างๆ กันด้วยเหตุ ๔ ประการ. ก็การแสดงอีกอย่าง หนึ่งในมหานิทเทสนี้ ย่อมถึงฐานะ ๒ ประการ. คือ บทเหล่านั้นย่อมถึง การจำแนกด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้ คือ พยัญชนะ ๑ อุปสัค ๑ อรรถ ๑. ในเหตุ ๓ ประการนั้น พึงทราบการถึงการจำแนกด้วยพยัญชนะอย่าง นี้ว่า ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้าย ความเป็นผู้ประทุษร้าย ก็ในมหานิทเทสนี้ ความโกรธ อย่างเดียวเท่านั้น ถึงการจำแนกเป็นอย่างเดียว ด้วยพยัญชนะ อนึ่ง พึง ทราบการถึงก็จำแนกด้วยอุปสัคอย่างนี้ว่า อิชฺฌติ สำเร็จ สมิชฺฌติ สำเร็จโดยชอบ ลภติ ได้ ปฏิลภติ ได้เฉพาะ อธิคจฺฉติ ประสบ พึง ทราบการถึงการจำแนกด้วยอรรถอย่างนี้ว่า ความเป็นบัณฑิต ความเป็น ผู้ฉลาดความไร้ปัญญา ความปลอดภัย ความคิดการสอบสวน.
บรรดาบทเหล่านั้น ในนิทเทสแห่งปีติบท ย่อมได้การจำแนก ๓ อย่างเหล่านี้ก่อน ก็บทว่า ความอิ่ม ความปราโมทย์ เป็นบทถึงการ จำแนกด้วยพยัญชนะ. บทว่า ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริงเป็นบทถึงการจำแนกด้วยอุปสัค. บทว่า ความปลื้มใจ ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 63
ยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ เป็นบทถึงการจำแนกด้วยอรรถ. พึง ทราบการถึงการจำแนกในนิทเทสแห่งบททั้งหมดโดยนัยนี้ บททั้งหลาย แม้เมื่อเป็นต่างๆ กัน ก็เป็นต่างๆ กันด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ คือ ด้วย ความต่างกัน โดยชื่อ ด้วยความต่างกันโดยลักษณะ. ด้วยความต่างกันโดย กิจ ด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธ.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า พยาบาทเป็นไฉน? คือในสมัยนั้น มีความประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้ายนี้ พึงทราบความต่างกัน ด้วยความ ต่างกัน โดยชื่ออย่างนี้ว่า ก็ความโกรธอย่างเดียวนั่นแหละ ถึงความต่างกัน โดยชื่อเป็นสองอย่าง คือ ความพยาบาท หรือความประทุษร้าย แม้ขันธ์ ๕ ก็เป็นขันธ์เดียวนั่นแล.
ด้วยอรรถว่า กอง แต่ในที่นี้ ขันธ์ ๕ ย่อมต่างกัน โดยลักษณะนี้ คือ รูปมีความสลายไปเป็นลักษณะ เวทนามีความเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ สัญญามีความจำได้เป็นลักษณะ เจตนามีความจงใจเป็นลักษณะ วิญญาณมี ความรู้แจ้งเป็นลักษณะ พึงทราบความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดย ลักษณะอย่างนี้.
ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้น มาในฐานะ ๔ อย่างด้วยความต่างกัน โดยกิจว่า สัมมัปปธาน ๔ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมประคอง ย่อมเริ่ม ตั้งจิต เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น พึง ทราบความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดยกิจอย่างนี้. พึงทราบความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่าอสัทธรรม ๔ ประการ คือความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 64
หนักในการลบหลู่ ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัทธรรม ดังนี้.
ก็ความต่างกัน ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมไม่ได้ด้วยปีติเลย ย่อมได้ตามแต่ จะได้แม้ในบททั้งปวง. ก็คำว่า ปีติ เป็นชื่อของปีติ. คำว่า จิตตํ เป็นชื่อ ของจิต. ก็ปีติมีความแผ่ไปเป็นลักษณะ. เวทนา มีความเสวยอารมณ์เป็น ลักษณะ. สัญญา มีความจำได้เป็นลักษณะ. เจตนา มีความตั้งใจในอารมณ์ เป็นลักษณะ. วิญญาณ มีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ. อนึ่ง ปีติ มีความแผ่ไป เป็นกิจ. เวทนา มีความเสวยอารมณ์เป็นกิจ. สัญญา มีความจำได้เป็นกิจ เจตนา มีความจงใจเป็นกิจ. วิญญาณ มีความรู้แจ้งเป็นกิจ. พึงทราบ ความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดยกิจอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
ความต่างกัน โดยการปฏิเสธ ไม่มีในบทปีติ แต่พึงทราบความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธอย่างนี้ว่า ในนิทเทสแห่งอโลภะเป็นต้น ย่อมได้โดยนัยมีอาทิว่า ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความเป็นผู้มีโลภ ดังนี้ พึงทราบความต่างกันทั้ง ๔ อย่าง ด้วยบทที่ได้ในนิทเทสแห่งบท ทั้งปวงด้วยอาการอย่างนี้.
การแสดงอีกอย่างหนึ่งย่อมถึงฐานะ ๒ อย่างนี้ คือ ยกย่องบท หรือ ทำให้มั่น ด้วยว่าเมื่อกล่าวบทว่า ปีติ ครั้งเดียวเท่านั้น ดุจเขี่ยด้วยปลาย ไม้เท้า บทนั้นย่อมไม่ชื่อว่าบานขยายแล้ว ประดับแล้ว ตกแต่งแล้วด้วย อาการอย่างนี้ เมื่อกล่าวว่า ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ดังนี้ ด้วยพยัญชนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 65
ด้วยอุปสรรค ด้วยอรรถ บ่อยๆ บทนั้นย่อมชื่อว่าบานขยายแล้ว ประดับ แล้ว ตกแต่งแล้ว เหมือนอย่างว่า ให้เด็กเล็กอาบน้ำ ให้นุ่งห่มผ้าที่ชอบใจ ให้ประดับดอกไม้ทั้งหลาย หยอดตาให้ ต่อจากนั้นก็ทำจุดมโนศิลาบน หน้าผากของเขารอยเดียวเท่านั้น เขายังไม่ชื่อว่ามีรอยเจิมอันงดงามด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ แต่เมื่อทำจุดหลายๆ จุดล้อมด้วยสีต่างๆ ย่อมชื่อว่ามีรอยเจิม งดงาม ฉันใด อุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม ก็พึงทราบ ฉันนั้น นี้ ชื่อว่า ยกย่องบท.
การกล่าวบ่อยๆ นั่นแลด้วยพยัญชนะ ด้วยอุปสัค และด้วยบทอีก ชื่อว่า ทำให้มั่น เหมือนอย่างว่า เมื่อกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ตาม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ตาม ว่า ยักษ์ ก็ตาม ว่า งู ก็ตาม ย่อมไม่ชื่อว่าทำให้ มั่น แต่เมื่อกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ. ข้าแต่ท่านผู้ เจริญ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ. ยักษ์ยักษ์, งูงู, ย่อมชื่อว่าท่าให้มั่น ฉันใดเมื่อ เพียงกล่าวว่า ปีติ ครั้งเดียวเท่านั้น ดุจเขี่ยด้วยปลายไม้เท้า ย่อมไม่ชื่อว่า ทำให้มั่น เมื่อกล่าวว่าความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกนาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ดังนี้ ด้วยพยัญชนะ ด้วยอุปสัค ด้วยอรรถ บ่อยๆ นั่นแล จึงชื่อว่าทำให้มั่นแล การแสดง อีกอย่างหนึ่งย่อมถึงฐานะ ๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบเนื้อความ ในบททั้งปวง ในนิทเทสแห่งบทที่ได้ด้วยสามารถแห่งการแสดงอีกอย่าง หนึ่งแม้นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่าอิ่ม. ปีตินั้นมีการ แสดงความรักเป็นลักษณะ มีความอิ่มกายอิ่มใจเป็นรสก็ตาม มีการแผ่ซ่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 66
เป็นรสก็ตาม พึงมีความชื่นใจเป็นปัจจุปัฏฐาน พึงประกอบด้วยกามคุณ ๕ เป็นปีติที่ประกอบด้วยส่วนแห่งกาม ๕ มีรูปเป็นต้น. บทว่า ปีติ นั้น ชื่อว่าปีติ เพราะอรรถว่า อิ่ม นี้เป็นบทแสดงสภาวะ. ความเป็นผู้เบิก บานชื่อว่าความปราโมทย์. อาการที่เบิกบานชื่อว่า ความเบิกบาน. อาการ ที่บันเทิงชื่อว่าความบันเทิง.
อีกอย่างหนึ่ง การเอาเภสัชหรือน้ำมันหรือน้ำร้อนน้ำเย็นรวมกัน เรียกว่า ระคนกัน ฉันใด แม้ข้อนี้ก็ฉันนั้น เรียกว่า ระคนกัน เพราะรวม ธรรมทั้งหลายไว้ด้วยกัน.
ก็ที่กล่าวว่า อาโมทนา ปโมทนา ความเบิกบาน ความบันเทิง เพราะประดับด้วยอุปสัค.
ชื่อว่า ทาสะ เพราะอรรถว่า ร่าเริง. ชื่อว่า ปหาสะ เพราะ อรรถว่า รื่นเริง. สองบทนี้เป็นชื่อของอาการที่ร่าเริงแล้ว. รื่นเริงแล้ว.
ชื่อว่า วิตตะ เพราะอรรถว่า ปลื้มใจบทนี้เป็นชื่อของทรัพย์. ก็ ทรัพย์ชื่อว่า วิตฺติ เพราะเป็นปัจจัยแห่งโสมนัสเพราะความเป็นของอัน บุคคลเห็นเสมอด้วยความปลื้มใจ เหมือนอย่างว่าความโสมนัสย่อมเกิดขึ้น แก่คนมีทรัพย์ เพราะอาศัยทรัพย์ ฉันใด ความโสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่คน มีปีติ เพราะอาศัยปีติ ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความ ปลื้มใจ. บทนี้เป็นชื่อของปีติ ที่ตั้งอยู่โดยสภาวะแห่งความยินดี. ก็บุคคล ผู้มีปีติ ท่านเรียกว่า มีความชื่นใจ เพราะมีกายและจิตเป็นที่ชื่นใจ.
ภาวะแห่งความชื่นใจ ชื่อ โอทัคยะ. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า ความชอบใจ. ก็ใจของผู้ไม่ชอบใจ ย่อมไม่ชื่อว่ามีใจเป็นของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 67
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ดังนั้น ความเป็นผู้มีใจเป็นของตนจึงชื่อว่า. ความชอบใจ อธิบายว่า ภาวะแห่งใจของตน ก็เพราะความชอบใจนั้น มิใช่เป็นความชอบใจของใครๆ อื่น แต่เป็นเจตสิกธรรมที่เป็นความงามแห่ง จิตเท่านั้น ฉะนั้นพระสารีบุตรเถระจงกล่าวว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส ดังนี้.
ชื่อว่า จิต เพราะมีจิตวิจิตร. ชื่อว่า มโน เพราะรู้อารมณ์ มโน นั่นแหละ. ชื่อว่า มานัส. ก็ธรรมที่สัมปยุตกับมโน ท่านกล่าวว่า มานัส. ในที่นี้ว่า มานัสซึ่งเป็นบ่วงที่เที่ยวไปในอากาศนี้นั้น ย่อมเที่ยวไป.
พระอรหัตต์ ท่านกล่าวว่า มานัส ในคาถานี้ว่า :-
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงขวนขวาย เพื่อ ประชาชน อย่างไรเล่า สาวกของพระองค์ ยินดี แล้วในพระศาสนา ยังไม่บรรลุพระอรหัตต์ เป็น เสขะอยู่ จึงทำกาลกิริยา.
แต่ในที่นี้ มานัสก็คือใจนั่นแหละ เพราะท่านขยายบทนี้ด้วยพยัญชนะ.
บทว่า หทยํ ความว่า อุระ ท่านกล่าว หทัย ในประโยคนี้ว่า เราจักขยี้จิตของท่าน หรือจักผ่าอุระของท่านเสีย ดังนี้. จิตท่านกล่าวว่า หทัย ในประโยคนี้ว่า จิตไปจากจิต คนอื่นไปจากคนอื่น ดังนี้. หทัย วัตถุ ท่านกล่าวว่า หทัย ในประโยคนี้ว่า ม้าม หัวใจ ดังนี้. แต่ใน ที่นี้ จิต นั่นแลท่านกล่าวว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน. จิตนั้น แล ชื่อว่า บัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์. จิตนั้น ท่านกล่าวหมาย เอาภวังคจิต. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 68
ทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง ก็จิตนั้นแลอันอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาทำให้เศร้า หมองแล้ว ดังนี้. ก็แม้กุศลจิตท่านก็กล่าวว่า บัณฑระเหมือนกัน เพราะ ออกจากจิตนั้น ดุจน้ำคงคา ไหลจากแม่น้ำคงคา และดุจน้ำโคธาวรี ไหลจากแม่น้ำโคธาวรี ฉะนั้น.
แต่ศัพท์ว่า มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตนํ ดังนี้ ท่านกล่าวเพื่อ แสดงความเป็นอายตนะแห่งใจเท่านั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงความนี้ว่า จิตนี้มิใช่มนายตนะเพราะเป็น อายตนะแห่งใจเหมือนเทวายตนะ ที่แท้อายตนะคือใจนั้นเอง เป็นมนายตนะ ดังนี้.
ในบทนี้พึงทราบอายตนะ โดยอรรถว่าเป็นที่อยู่อาศัย โดยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด. โดยอรรถว่าเป็นที่ประชุม. โดยอรรถว่าเป็นแดนเกิด และ โดยอรรถว่าเป็นเหตุ.
ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคนี้มีอาทิว่า ที่อยู่อาศัยของผู้เป็นใหญ่ในโลก ชื่อ เทวายตนะ ดังนี้.
บ่อเกิดท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า สุวรรณายตนะ บ่อทอง รชตายตนะ บ่อเงิน ดังนี้.
ที่ประชาชนกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า ก็นกทั้งหลาย ย่อมเสพต้นไม้ในป่าอันเป็นที่ประชุมที่น่ารื่นรมณ์ใจ ดังนี้.
แดนเกิดท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า ทักษิณาบถ เป็นแดนเกิดของโคทั้งหลาย ดังนี้.
เหตุท่านก็กล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่าย่อมถึงความเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 69
พึงศึกษาในเรื่องนั้นๆ แล ในเมื่อเหตุมีอยู่ ดังนี้.
ก็ในที่นี้ควรด้วยอรรถทั้ง ๓ คือด้วยอรรถว่าเป็นแดนเกิด ด้วย อรรถว่าเป็นที่ประชุม ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ.
จิตนี้เป็นอายตนะ แม้ด้วยอรรถว่าเป็นแดนเกิด ในประโยคว่า ก็ ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดในจิตนี้ ดังนี้. เป็นอายตนะ แม้ด้วย อรรถว่า เป็นที่ประชุมลง ได้ในประโยคว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ภายนอก ย่อมประชุมลงในจิตนี้ โดยความเป็นอารมณ์. ก็จิตบัณฑิตพึง ทราบว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะความที่เจตสิกธรรม ทั้งหลายมี ผัสสะ เป็นต้นเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย มีสหชาตปัจจัยเป็นต้น.
จิตนั้นแล ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าสร้างความเป็นใหญ่ใน ลักษณะแห่งการรู้ อินทรีย์ คือ มโน ชื่อว่า มนินทรีย์.
ชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์ต่างๆ. ขันธ์คือ วิญญาณ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์. พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น ว่าเป็นกองเป็นต้น.
จริงอยู่ ขันธ์ ท่านกล่าวแล้ว ด้วยอรรถว่าเป็นกองได้ในประโยค นี้ว่า ย่อมถึงการนับว่า มหาอุทกขันธ์ - ลำน้ำใหญ่ดังนี้. ท่านกล่าวว่า ขันธ์ ด้วยอรรถว่า คุณ ได้ในคำว่า สีลขันธ์ - คุณคือศีล สมาธิขันธ์- คุณคือสมาธิ เป็นต้น. ท่านกล่าวว่าขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ เท่านั้น ได้ในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นกอง ไม้ใหญ่แล้วแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 70
แต่ในที่นี้ท่านกล่าวขันธ์อันเจตสิกธรรมมีผัสสะเป็นต้นให้เกิดขึ้น แล้ว. ก็เอกเทสแห่งวิญญาณขันธ์ ชื่อว่าวิญญาณอันหนึ่ง เพราะอรรถว่า เป็นกอง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าววิญญาณแม้อันหนึ่งอันเป็นเอกเทส แห่งวิญญาณขันธ์ ว่า วิญญาณขันธ์ อันเจตสิกธรรมมีผัสสะเป็นต้นให้เกิด ขึ้นแล้ว ดุจคนตัดเอกเทสแห่งต้นไม้ ก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ฉะนั้น.
บทว่า ตชฺชา มโนวิญฺาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุอัน สมควรแก่ธรรมเหล่านั้นมีผัสสะเป็นต้นต้น. ในบทนี้ จิต อย่างเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวโดยชื่อแห่ง มโน ไว้ ๓ คำคือ ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่า รู้ ๑, ชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์ต่างๆ ๑, ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นเพียงสภาวะ หรือเพราะอรรถว่า มิใช่สัตว์ ๑.
ไม่ละแล้ว ชื่อว่า สหคโต. เข้าไปกับ ชื่อว่า สหชาโต. ระคน กันสถิตอยู่ ชื่อว่า สํสฏฺโ. ประกอบพร้อมแล้วด้วยประการทั้งหลาย ชื่อว่า สมฺปยุตฺโต. ประกอบด้วยประการทั้งหลายเป็นไฉน. ประกอบ ด้วยประการทั้งหลายมี เอกุปฺปาทตา - การเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น.
ธรรมบางเหล่า ประกอบกับธรรมบางเหล่า ไม่มีมิใช่หรือ? ใช่.
ด้วยการปฏิเสธปัญหานี้ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงกล่าวอรรถว่า สัมปโยคะ-การประกอบด้วย สามารถแห่งลักขณะมี เอกุปปาทตา-การ เกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นต้นไว้อย่างนี้ว่า ธรรมบางเหล่าเป็น สหคตะ-เกิด ร่วมกัน, เป็นสหชาตะ-เกิดพร้อมกัน, เป็นสังสัฏฐะ-ระคนกัน, เป็น เอกุปฺปาทะ-เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน. เป็นเอกนิโรธะ-ดับในขณะเดียว กัน. เป็นเอกวัตถุกะ-มีที่อาศัยเดียวกัน, เป็นเอการัมมณะ-มีอารมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 71
เดียวกันกับด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่มิใช่หรือ. ธรรมที่ประกอบพร้อม ด้วยประการทั้งหลายมี เอกุปปาทตา เป็นต้น เหล่านี้ ชื่อว่า สัมปยุตตะ ประกอบพร้อมแล้วด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เอกุปฺปาโท ได้แก่ เกิดขึ้นโดยความเป็นอันเดียวกัน อธิบายว่าไม่พรากจากกัน.
บทว่า เอกนิโรธ ได้แก่ ดับพร้อมกัน.
บทว่า เอกวตฺถุโก ได้แก่ มีวัตถุที่อาศัยเดียวกัน ด้วยสามารถ แห่งหทยวัตถุ.
บทว่า เอการมฺมโณ ได้แก่ มีอารมณ์เดียวกัน ด้วยสามารถแห่ง รูปารมณ์ เป็นต้น.
ในที่นี้ สหคตศัพท์ ปรากฏในอรรถ ๕ ประการคือ ตพฺภาเว- ในอรรถเดิมนั้น, โวกิณฺเณ-ในอรรถว่าเจือแล้ว, อารมฺมเณ-ในอรรถ ว่าอารมณ์, นิสฺสเย - ในอรรถว่าอาศัย, สํสฏฺเ-ในอรรถว่าระคนแล้ว.
ความใน ตัพภาวะ-อรรถเดิมนั้น พึงทราบในคำนี้อันเป็นพุทธวจนะว่า ตัณหานี้ใด นำเกิดในภพใหม่อีก, ตัณหานี้นั้น ชื่อว่า นันทิ- ราคสหคตา อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลิน.
อรรถว่า โวกิณณะ-เจือแล้ว พึงทราบในคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ความไตร่ตรองอันใด เจือด้วยโกสัชชะ, ความไตร่ตรองอันนั้น ชื่อว่า ประกอบด้วยโกสัชชะ. อธิบายว่า เจือแล้วด้วยโกสัชชะอันเกิดใน ระหว่าง.
อรรถว่า อารัมมณะ-อารมณ์ พึงทราบในคำนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 72
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือสมาบัติมีอรูปเป็นอารมณ์. อธิบายว่า สมาบัติมีรูป เป็นอารมณ์-รูปฌานสมาบัติ, มีอรูปเป็นอารมณ์-อรูปฌานสมาบัติ.
อรรถว่า นิสสยะ-อาศัย พึงทราบในคำนี้ว่า พระโยคาวจรเจริญ สติสัมโพชฌงค์มีอัฏฐิกสัญญาเป็นที่อาศัย อธิบายว่า สติสัมโพชฌงค์ อัน พระโยคาวจรเจริญแล้ว ได้ อัฏฐิกสัญญา เพราะอาศัยความสำคัญใน อสุภนิมิตที่มีอัฏฐิเป็นอารมณ์.
อรรถว่า สังสัฏฐะ-ระคนแล้ว พึงทราบในคำนี้ว่า สุขนี้สหรคต คือเกิดร่วม ได้แก่สัมปยุตด้วยปีตินี้. อธิบายว่า เจือปน. ถึงในที่นี้ สังสัฏฐะศัพท์ก็มา ในอรรถว่า เจือปน.
สหชาตศัพท์ ในอรรถว่า เกิดร่วม ดุจในคำนี้ว่า สหชาตํ- เกิดร่วม, ปุเรชาตํ-เกิดก่อน, ปจฺฉาชาตํ-เกิดหลัง.
สังสัฏฐะศัพท์ ในอรรถว่า เกี่ยวข้อง พึงทราบดุจในคำเหล่านี้ มีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเกี่ยวข้องอย่างนี้ ชื่อว่าความ เกี่ยวข้องของคฤหัสถ์.
ในอรรถว่า สทิสะ-เหมือนกัน ได้ในคำว่า เว้นม้าผอมม้าอ้วน เสียแล้ว ก็เทียมด้วยม้าเหมือนกัน.
ในความเกี่ยวพัน ได้ในคาถานี้ว่า.
ดูก่อนท่านทธิวาหนะ ต้นมะม่วงของท่าน มี ต้นสะเดาล้อมรอบ รากกับรากเกี่ยวพันกัน กิ่งกับ กิ่งก็ติดต่อกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 73
ในธรรมอันสัมปยุตกับจิต ได้ในคำนี้ว่า เจตสิกธรรมทั้งหลาย ประกอบกับจิต. แต่ในที่นี้ ธรรมใดเป็นธรรมมีเอกุปปาทลักขณะเป็นต้น เพราะไม่แยกจากกัน ธรรมนั้นท่านเรียกว่า สัมปยุตตะ-ประกอบพร้อม แล้ว ดุจธรรมที่เป็นเหตุไม่แยกในการให้ผล.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า สหคตะ-เกิดร่วม แล้วกล่าวคำว่า สหชาตะ-เกิดกับ ในภายหลัง ก็เพื่อจะแสดงว่า มโน นั้นไม่มี ดุจกล่าว ด้วยอาคตศัพท์.
ท่านกล่าวคำว่า สังสัฏฐะ-เกี่ยวข้อง ก็เพื่อแสดงว่า มโนนั้นไม่ มี ดุจรูปและนามที่เกิดขึ้นพร้อมกัน.
ท่านกล่าวคำว่า สัมปยุตตะ-ประกอบพร้อมแล้ว เพื่อแสดงว่า มโน แม้นั้นก็ไม่มี ดุจน้ำมันกับน้ำ.
ก็ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน แม้เป็นธรรมที่ประกอบกัน พร้อมแล้ว มีอยู่ เพราะอรรถว่า ไม่อาจทำให้แยกจากกันได้ ดุจน้ำมันกับน้ำมัน แม้ ธรรมที่เป็น วิปปยุตตะ-ไม่ประกอบกัน ก็อย่างนั้น ดุจเนยข้นที่ออก จากน้ำมัน ธรรมที่ถึงลักษณะอย่างนี้ คือมีการเกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ นั่นเอง ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า เอกุปปาทะ-เกิดขึ้นพร้อมกันก็เพื่อ แสดงดังนี้.
ในนิทเทสนี้ ธรรมที่เกิดพร้อมกันและที่เกิดร่วมกัน มีความต่างกัน อย่างไร?
ธรรมที่เว้นจากระหว่างในอุปปาทขณะเสียแล้ว ชื่อว่า เอกุปปาทะ -เกิดพร้อมกัน. ธรรมที่เป็นอุปปาทะนั้น ย่อมไม่เป็นเหมือนเนยข้นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 74
ปรากฏ ในเมื่อนมส้มที่พ้นจากกาลเป็นน้ำนมไหลไปๆ ย่อมไม่เป็นเหมือน เกิดในวันเดียวกันนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งเวลาก่อนอาหารและเวลาหลัง อาหาร.
ชื่อว่า สหชาโต เพราะอรรถว่าเกิดในขณะเดียวกัน.
บทว่า เอกวตฺถุโก-มีที่อาศัยเดียวกัน ความว่า มีวัตถุเดียวกัน เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง โดยกำหนดที่ตั้งอันเดียวกัน เป็นที่ตั้งเว้นระหว่าง ที่ตั้ง ดุจภิกษุ ๒ รูปมีที่อาศัยแห่งเดียวกัน.
บทว่า เอการมฺมโณ ความว่า มีอารมณ์เดียวกันโดยไม่แน่นอน ไม่เหมือนจักขุวิญญาณ อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วยประการ ฉะนี้.
บทว่า มจฺโจ เป็นมูลบท คือบทเดิม. ชื่อว่า สัตว์ เพราะ อรรถว่า ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องแล้วในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ นั้น ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแลจึงเรียกว่า สัตว์ พระเจ้าข้า. ดูก่อน ราธะ ฉันทะอันใด ราคะอันใด ในรูปแล, ผู้ข้องในฉันทะนั้น ข้องวิเศษแล้วในราคะนั้น ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า สัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสัตว์เพราะประกอบด้วยความข้อง.
ชื่อว่า นระ เพราะอรรถว่า นำไปสู่สุคติแลทุคคติ.
ชื่อว่า มาณพ เพราะอรรถว่า เป็นลูก คือเป็นบุตรของพระมนู.
ชื่อว่า โปส เพราะอรรถว่า อันบุคคลอื่นเลี้ยงดูด้วยเครื่องใช้. นรก ท่านเรียกว่า ปุํ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 75
ชื่อว่า ปุคคล เพราะอรรถว่า กลืนกินนรกนั้น.
ชื่อว่า ชีว เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งชีวิตินทรีย์.
ชื่อว่า ชาตุ-ผู้เกิด เพราะอรรถว่า ไปสู่การเกิดจากจุติ.
ชื่อว่า ชนฺตุ เพราะอรรถว่า ย่อมเสื่อมโทรม.
ชื่อว่า อินฺทคู เพราะอรรถว่า ถึงโดยความเป็นใหญ่. อีกอย่าง หนึ่ง ชื่อว่า อินฺทคู เพราะอรรถว่า ไปด้วยกรรมเป็นใหญ่. บาลีว่า หินฺทคู ก็มี.
บทว่า หินฺทํ ได้แก่ ความตาย. ชื่อว่า หินฺทคู เพราะอรรถ ว่า ไปสู่ความตายนั้น.
ชื่อว่า มนุชะ เพราะอรรถว่า เกิดแต่พระมนู.
บทว่า ยํ สาทิยติ ความว่า ยินดีอารมณ์มีรูปเป็นต้นใด บทที่ เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ต่อแต่นี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรุปความที่ตรัสแล้วให้ เข้าใจง่าย จึงตรัสว่า กามํ กามยมานสฺส ฯลฯ ยทิจฺฉติ ดังนี้. ต่อแต่นี้ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวถึงเพียงนี้ จักกล่าวแต่ที่แปลกเท่านั้น.
บทว่า ตสฺส เจ กามยมานสฺส ความว่า เมื่อบุคคลนั้น ปรารถนากามอยู่ หรือไปอยู่ด้วยกาม.
บทว่า ฉนฺทชาตสฺส ได้แก่ มีตัณหาเกิดแล้ว.
บทว่า ชนฺตุโน ได้แก่ สัตว์.
บทว่า เต กามา ปริหายนฺติ ความว่า ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป.
บทว่า สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 76
นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรอันทำด้วยเหล็กเป็นต้น แทงแล้ว. ต่อแต่นี้ข้าพเจ้าจักเว้นบทที่กล่าวไว้แล้ว จักกล่าวแต่บทที่ยากๆ ในบรรดาบทที่ยังไม่ได้กล่าวไว้เท่านั้น.
สัตว์ย่อมไป คือย่อมถึง ด้วยสามารถถึงอารมณ์อันเป็นความอิ่มใจ เพราะจักษุ.
ชื่อว่า ออกไป เพราะอรรถว่า ยังจิตให้ถึงพร้อมด้วยสามารถแห่ง อารมณ์ แม้ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่น่าทัศนา.
ชื่อว่า ลอยไป เพราะอรรถว่า กำหนดความอิ่มใจเพราะได้ยิน ด้วยหู ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่น่าเสพ.
ชื่อว่า แล่นไป เพราะอรรถว่า เข้าไปยึดความอิ่มจิตแล่นไปด้วย สามารถแห่งอารมณ์ที่น่าเที่ยวไป.
บทว่า ยถา เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอุปมา.
ชื่อว่า ด้วยยานช้างบ้าง เพราะอรรถว่าไปคือถึงด้วยช้าง. วาศัพท์ ลงในอรรถวิกัป.
ชื่อว่า ด้วยยานม้าบ้าง เพราะอรรถว่าไปคือถึงด้วยม้า. ยานมียาน เทียมด้วยโคเป็นต้น ชื่อว่า ยานโค คือถึงด้วยยานโคนั้น แม้ในยานแกะ เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
ความพอใจในกามที่เกิดด้วยสาหารถอารมณ์ที่ปรารถนา ชื่อว่า เกิด พร้อม, ที่เกิดด้วยความเป็นอารมณ์ที่รัก ชื่อว่า เกิดขึ้น เกิดเฉพาะ. ที่ เกิดด้วยความเป็นอารมณ์ที่ชอบใจ ชื่อ ปรากฏ.
อีกอย่างหนึ่ง ความพอใจในกามที่เกิดด้วยกามราคะ ชื่อว่า เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 77
พร้อม. ที่เกิดด้วยกามนันทิ ชื่อว่า เกิดขึ้น เกิดเฉพาะ, ที่เกิดด้วย กามตัณหา ด้วยกายมสิเนหา ด้วยกามฉันทะ และด้วยกามปริฬาหะ พึง ทราบว่า ปรากฏ.
บทว่า เต วา กามา ปริหายนฺติ ความว่า กามเหล่านั้น คือวัตถุกามเป็นต้น เสื่อมไป คือจากไป.
บทว่า โส วา กาเมหิ ปริหายติ ความว่า สัตว์นั้น คือ บุคคลมีกษัตริย์ เป็นต้น ย่อมเสื่อม คือจากไป จากกามทั้งหลาย มี วัตถุกามเป็นต้น ดุจในคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า :-
โภคทั้งหลายย่อมละสัตว์ไปในก่อนแล สัตว์ ย่อมสละทรัพย์ทั้งหลายก่อนกว่าดังนี้.
บทว่า กถํ ได้แก่ ด้วยประการไร.
บทว่า ติฏฺนฺตสฺเสว ได้แก่ ดำรงอยู่นั่นแหละ.
บทว่า เต โภเค ได้แก่ โภคะทั้งหลายเหล่านั้น มีวัตถุกาม เป็นต้น.
บทว่า ราชาโน วา ได้แก่ พวกพระราชาในแผ่นดินเป็นต้น. บทว่า หรนฺติ ได้แก่ ยึดเอาไป หรือริบเอาไป.
บทว่า โจรา วา ได้แก่ พวกตัดช่องย่องเบาเป็นต้น.
บทว่า อคฺคิ วา ได้แก่ ไฟป่าเป็นต้น.
บทว่า ฑหติ ได้แก่ ให้ย่อยยับ คือทำให้เป็นเถ้า.
บทว่า อุทกํ วา ได้แก่ น้ำ มีน้ำหลากเป็นต้น.
บทว่า วหติ ได้แก่ พัดเอาไปลงทะเล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 78
บทว่า อปฺปิยา วา ได้แก่ ผู้ไม่รักใคร่ ไม่ชอบใจ.
บทว่า ทายาทา หรนฺติ ความว่า ผู้มีใช่เจ้าของ เว้นจากความ เป็นทายาท นำไป.
บทว่า นิหิตํ วา ได้แก่ ที่เก็บฝังไว้.
บทว่า นาธิคจฺฉติ ได้แก่ ไม่ประสบ คือไม่ได้คืน อธิบายว่า ไม่ได้เห็น.
บทว่า ทุปฺปยุตฺตา ได้แก่ การงานมีกสิกรรมและพาณิชยกรรม เป็นต้น ที่ประกอบดำเนินการไม่เรียบร้อย.
บทว่า ภิชฺชนฺติ ได้แก่ ถึงความทำลาย อธิบายว่า ดำเนินการ ไปไม่ได้. พึงทราบความเกิดในคาถามีอาทิว่า ผู้ไม่รู้ย่อมทำลายการงาน นั้น ดังนี้.
บทว่า กุเล วา กุลชฺฌาปโก อุปฺปชฺชติ ความว่า คน ผลาญสกุลคือคนสุดท้ายในสกุล เกิดในสกุลกษัตริย์เป็นต้น.
บาลีว่า กุเล วา กุลงฺคาโร ดังนี้ก็มี.
บทว่า โย เต โภเค วิกิรติ ความว่า ผู้เป็นคนสุดท้ายใน สกุลนี้ ยังโภคะมีเงินเป็นต้นเหล่านั้นให้สิ้นไป.
บทว่า วิธเมติ ได้แก่แยกเป็นส่วนๆ ขว้างทิ้งไปไกล.
บทว่า วิทฺธํเสติ ได้แก่ ให้พินาศ คือให้ดูไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง เป็นนักเลงหญิงเรี่ยราย, เป็นนักเลงสุรากระจัดกระจาย, เป็นนักเลงการ พนันทำลาย. อีกอย่างหนึ่ง ผู้นี้เรี่ยรายโภคะที่เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้, กระจัดกระจายโภคะที่เกิดขึ้นเพราะไม่รู้หลักการใช้จ่าย, ทำลายโภคะที่เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 79
ขึ้น เพราะปราศจากวิธีอารักขาในสถานที่เก็บไว้.
บทว่า อนิจฺจตาเยว อฏฺฐมี ความว่า ความพินาศนั่นแลเป็น ที่แปด.
บทว่า หายนฺติ ได้แก่ ถึงการดูไม่ได้.
บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ไม่ปรากฏอีก.
บทว่า ปริทฺธํเสนฺติ ได้แก่ เคลื่อนจากที่.
บทว่า ปริจฺจชนฺติ ได้แก่ รั่วไหล.
บทว่า อนฺตรธายนฺติ ได้แก่ ถึงความอันตรธาน คือดูไม่เห็น.
บทว่า วิปฺปลุชฺชนฺติ ได้แก่ แหลกละเอียดหมดไป.
บทว่า ติฏฺนฺเตว เต โภคา ความว่า ในเวลาที่โภคะเหล่านั้นตั้งอยู่ เหมือนในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ดำรงอยู่ก็ตาม. บังเกิดแล้ว ก็ตามดังนี้.
บทว่า โส ได้แก่ บุคคลนั้นคือผู้เป็นเจ้าของโภคะ จุติจาก เทวโลก, ตายจากมนุษยโลก, สูญหายจากโลกแห่งนาคและครุฑเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เสื่อมด้วยสามารถแห่งเรือนคลังข้าวเปลือก, เสียหายด้วย สามารถแห่งเรือนคลังทรัพย์, กระจัดกระจายด้วยสามารถแห่งโคงานและ ช้างม้าเป็นต้น. รั่วไหลด้วยสามารถแห่งทาสีและทาส, อันตรธานด้วย สามารถแห่งทาระและอาภรณ์, สูญหายด้วยสามารถแห่งน้ำเป็นต้น. อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้ดังนี้.
บทว่า อโยมเยน ได้แก่ ที่เกิดแต่โลหะดำเป็นต้น.
บทว่า สลฺเลน ได้แก่ ด้วยลูกธนู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 80
บทว่า อฏฺิมเยน ได้แก่ ด้วยกระดูกที่เหลือเว้นกระดูกมนุษย์.
บทว่า ทนฺตมเยน ได้แก่ ด้วยงาช้างเป็นต้น.
บทว่า วิสาณมเยน ได้แก่ ด้วยเขาโคเป็นต้น.
บทว่า กฏฺมเยน ได้แก่ ด้วยไม้ไผ่เป็นต้น.
บทว่า วิทฺโธ ได้แก่ แทงด้วยลูกศรมีประการดังกล่าวแล้วอย่าง ใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า รุปฺปติ ได้แก่ กระสับกระส่าย คือถึงวิการ.
บทว่า กุปฺปติ ได้แก่ หวั่นไหว คือยังความโกรธให้เกิดขึ้น.
บทว่า ฆฏิยติ ได้แก่ เป็นผู้ดิ้นรน.
บทว่า ปีฬิยติ ได้แก่ เป็นผู้จุกเสียด ผู้ถูกประหารย่อมหวั่นไหว ย่อมดิ้นรนในเวลาใส่เส้นหญ้าเข้าไปล้างแผลในวันที่สาม ย่อมจุกเสียดเมื่อ ให้น้ำด่าง หรือย่อมกระสับกระส่ายเมื่อล้างแผลที่ถูกแทง ย่อมหวั่นไหว เพราะเกิดทุกข์นั้น ย่อมจุกเสียดเพราะใส่เส้นหญ้าเข้าไป ย่อมดิ้นรนเมื่อ ให้น้ำด่าง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า พฺยาธิโต ได้แก่ เป็นผู้ถูกประหารแล้วเจ็บตัว.
บทว่า โทมนสฺสิโต ได้แก่ ถึงความโทมนัส.
บทว่า วิปริณามญฺถาภาเวน ได้แก่ เพราะละความเป็นปกติ เข้าถึงความเป็นอย่างอื่น. ความเหี่ยวแห้งภายในใจ ชื่อว่า โศก, ความ บ่นเพ้อด้วยวาจา ชื่อว่า ปริเทวะ, ความบีบคั้นทางกายเป็นต้น ชื่อว่า ทุกข์, ความบีบคั้นทางใจ ชื่อว่า โทมนัส, และความคับแค้นใจอย่าง แรง ชื่อว่า อุปายาส. ความโศกเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 81
ย่อมเกิดขึ้น คือย่อมถึงความปรากฏ.
ในคาถาที่ ๓ มีความย่อดังต่อไปนี้ :- ก็ผู้ใดเว้น ขาดกามเหล่านี้ โดยการข่มฉันทราคะในกามนั้น, หรือโดยการตัดขาด เหมือนบุคคลเว้น ขาดหัวงูด้วยเท้าของตน. ผู้นั้นเป็นผู้เห็นภัย, เป็นผู้มีสติย่อมล่วงพ้น ตัณหา กล่าวคือวิสัตติกาซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก, เพราะซ่านไป ทั่วโลกตั้งอยู่.
บทว่า โย เป็นบทที่พึงจำแนก. บทว่า โย ยาทิโส เป็นต้น เป็นบทจำแนกบทนั้น. ก็ในคาถานี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง บทที่มีเนื้อความว่า โย และบุคคลนั้นโดยไม่กำหนด. ฉะนั้น เมื่อจะ ทรงแสดงเนื้อความของบทนั้น พระองค์จึงตรัสศัพท์ว่า โย เท่านั้น ซึ่งแสดงบุคคลโดยไม่กำหนด. เพราะฉะนั้น ในคาถานี้พึงทราบเนื้อความ อย่างนี้ว่า บทว่า โย ได้แก่ คนใดคนหนึ่ง. เพราะบุคคลนั้น คือ บุคคลผู้ชื่อว่าคนใดคนหนึ่งนั้น ย่อมปรากฏโดยอาการนั้น ด้วยสามารถ แห่งเพศ การประกอบ มีชนิดอย่างไร. มีประการอย่างไร. ถึงฐานะใด, ประกอบด้วยธรรมใด เป็นแน่. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะประ กาศประเภทนั้น เพื่อให้รู้บุคคลนั้น ในที่นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยาทิโส ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิโส ความว่า เป็นผู้เช่นใดหรือ เช่นนั้นก็ตาม ด้วยสามารถแห่งเพศ คือ สูง, ต่ำ, ดำ, ขาว, ผิวตกกระ, ผอมหรืออ้วนก็ตาม.
บทว่า ยถายุตฺโต ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยการใดหรือการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 82
นั้นก็ตาม ด้วยสามารถแห่งการประกอบ คือ ประกอบงานก่อสร้างก็ ตาม ประกอบการเรียนการสอนก็ตาม, ประกอบธุระเครื่องนุ่งห่มก็ตาม.
บทว่า ยถาวิหิโต ความว่า เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งอย่างใด ด้วย สามารถเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างเป็นต้น.
บทว่า ยถาปกาโร ความว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ด้วยประการใด ด้วย สามารถเป็นผู้นำบริษัทเป็นต้น.
บทว่า ยํ านปฺปตฺโต ความว่า เป็นผู้ถึงตำแหน่งใด ด้วย สามารถตำแหน่งเสนาบดีและตำแหน่งเศรษฐีเป็นต้น.
บทว่า ยํ ธมฺมสมนฺนาคโต ความว่า เป็นผู้เข้าถึงด้วยธรรมใด ด้วยสามารถธุดงค์เป็นต้น.
บทว่า วิกฺขมฺภนโต วา ความว่า โดยกระทำให้ไกลจากกิเลส ทั้งหลาย ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ดุจใช้หม้อน้ำแหวกสาหร่าย.
บทว่า สมุจฺเฉทโต วา ความว่า หรือโดยการตัดขาด ด้วย สามารถแห่งการละโดยถอนรากกิเลสทั้งหลายอย่างเด็ดขาด ทำให้เป็นไป ไม่ได้อีก ด้วยมรรค.
บท ๑๑ บท มีบทว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา.
บทว่า แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ เป็นต้น. และบทว่า แม้ผู้เจริญ มรณานุสสติ แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน.
บทว่า แม้ผู้เจริญอานาปานสติ แม้ผู้เจริญกายคตาสติ แม้ผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 83
ปฐมฌาน เป็นต้น. แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นที่ สุด ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอัปปนาฌาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺิกงฺกลูปมา กามา ความว่า กามทั้งหลาย ชื่อว่า เปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า กามเหล่า นั้นมีโครงกระดูกซึ่งไม่น่ายินดี ไม่มีเนื้อและเลือดติดเป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า อปฺปสาทฏฺเน ความว่า เพราะอรรถว่า เห็นว่าในกาม นี้มีความยินดีความสุขน้อย คือนิดหน่อย มีโทษมากมาย.
บทว่า ปสฺสนฺโต ความว่า เห็นอยู่ด้วยจักษุคือญาณว่า ก็และ สุนัขนั้นยังคงมีส่วนแห่งความลำบากความคับแค้นอยู่อย่างนั้นนั่นเอง.
บทว่า ปริวชฺเชติ ได้แก่ ไปไกล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดีเหมือนอย่างว่า สุนัขที่ถูกความทุรพลเพราะความ หิวครอบงำเข้าไปร้องขอต่อนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนาย โคฆาตผู้ขยันพึงเอาโครงกระดูกซึ่งไม่น่ายินดี ไม่มีเนื้อและเลือดติดเลี้ยงดู สุนัขนั้น สุนัขนั้นแทะโครงกระดูกนั้นซึ่งไม่น่ายินดี ไม่มีเนื้อและเลือดติด พึงบรรเทาความทุรพลเพราะความหิวได้บ้างหรือหนอ นั้นเป็นไปไม่ได้ เลยพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะโครงกระดูกนั้นไม่น่ายินดี ไม่ มีเนื้อและเลือดติด พระเจ้าข้า ก็และสุนัขนั้นยังคงมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้น อยู่อย่างนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉัน นั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วยประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบ ด้วยโครงกระดูก มีทุกข์มาก, มีความคับแค้นมาก, ในกามนี้มีโทษมากมาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 84
ดังนี้แล้ววางอุเบกขาที่มีความต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญ อุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับ ความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือโดยประการทั้งปวง นั้นนั่นเทียว.
กามทั้งหลายชื่อว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า มีชิ้นเนื้อ ซึ่งเป็นของสาธารณ์แก่แร้งเป็นต้น เป็นเครื่องเปรียบ. ชื่อว่า สาธารณ์ แก่ชนหมู่มาก เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณ์แก่ชนทั้งหลายเป็นอันมาก. ชื่อว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า มีคบเพลิงหญ้าซึ่งไฟติด ทั่วแล้ว เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า อนุทหนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า เผามือเป็นต้น. ชื่อว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า มีหลุมถ่านเพลิงลึกกว่า ชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน เป็นเครื่อง เปรียบ.
บทว่า มหาปริฬาหฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ทำให้เร่าร้อน มาก ชื่อว่า เปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า มีความฝันว่าอารามที่ น่ารื่นรมย์เป็นต้น เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า อิตฺตร ปจฺจุปฏฺานฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า เข้าไป ตั้งไว้ไม่ถึง. ชื่อว่า เปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า มีภัณฑะมียาน เป็นต้นที่ได้มาด้วยการขอยืม เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า ตาวกาลิกฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ไม่เนืองนิจ. ชื่อว่า เปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า มีต้นไม้มีผลสมบูรณ์ เป็นเครื่องเปรียบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 85
บทว่า สมฺภญฺขนปริภญฺชนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ทำให้ กิ่งหัก และเพราะอรรถว่า ทำให้หักโดยรอบแล้วให้ต้นล้ม. ชื่อว่า เปรียบ ด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า มีดาบและมีด เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า อธิกุฏฺฏนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ตัด. ชื่อว่า เปรียบด้วย หอกหลาว เพราะอรรถว่า มีหอกหลาว เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า วินิวิชฺฌนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ให้ล้มลงไป. เพราะอรรถว่า ให้เกิดภัต. ชื่อว่า เปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่า มี หัวงู เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า สปฺปฎิภยฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า มีภัยเฉพาะหน้า. ชื่อว่า เปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า มีกองไฟที่ไห้เกิดทุกข์เป็น เครื่องเปรียบ.
บทว่า มหคฺคิตาปนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความ เร่าร้อน เพราะความเป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ดังนั้นจึงเว้นขาดกาม แล. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดีเหมือนอย่างว่า แร้ง, นกกระสา, หรือเหยี่ยวก็ตาม กัดคาบเอาชิ้นเนื้อนั้น แม้แร้งทั้งหลาย แม้นกกระสาทั้งหลาย แม้เหยี่ยวทั้งหลาย ก็พากันบินติดตามยื้อแย่งเอา ชิ้นเนื้อนั่นนั้น.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ถ้าแร้ง นกกระสา หรือเหยี่ยวนั้น ไม่สละชิ้นเนื้อนั้นทันทีทีเดียว มันต้องตาย หรือต้องถึง ทุกข์ปางตาย เพราะเหตุที่ไม่สละชิ้นเนื้อนั้น? อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 86
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มีพระ ภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้น นั้นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่ว แล้วเดินทวนลม. ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ถ้า บุรุษนั้นไม่สละคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้วนั้นทันทีทีเดียว คบเพลิงหญ้า อันไฟติดทั่วแล้วนั้นพึงไหม้มือไหม้แขน หรือพึงไหม้อวัยวะอื่นๆ ของเขา เขาต้องตาย หรือต้องถึงทุกข์ปางตาย เพราะเหตุที่ไม่สละคบเพลิงหญ้านั้น อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้นนั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็ม ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้น บุรุษอยากมีชีวิต อยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเดินมา บุรุษผู้มีกำลังสองคน จับแขนทั้งสองของบุรุษนั้น ลากไปสู่หลุมถ่านเพลิง.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? บุรุษนั้นจะพึงยัง กายนั้นนั่นแลให้เร่าร้อนแม้ด้วยประการฉะนี้บ้างหรือหนอ? อย่างนั้น พระเจ้าข้าข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า ถ้าเราจักตกหลุมถ่านเพลิง เราย่อมตาย หรือย่อมถึงทุกข์ปางตาย เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 87
เหตุที่ตกหลุมถ่านเพลิงนั้น.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เจริญ อุเบกขานั้นนั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่า ที่น่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เขาตื่น ขึ้นไม่เห็นอะไรๆ เลย.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้น นั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษขอยืมกุณฑลแก้วมณีอัน ประเสริฐซึ่งเป็นของขอยืม ยกขึ้นสู่ยาน เขาเอากุณฑลแก้วมณีอันประเสริฐ วางไว้ข้างหน้า แวดล้อมด้วยของขอยืมทั้งหลายเดินทางไปร้านตลาด ชน เห็นเขานั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ คนมีโภคะหนอ ได้ยินว่าคนมี โภคะทั้งหลายย่อมบริโภคโภคะทั้งหลายอย่างนี้ พวกเจ้าของเห็นของของตน ตรงที่ใดๆ พึงนำของของตนไปจากบุรุษนั้นตรงที่นั้นๆ เอง.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? บุรุษนั้นจะไม่ เป็นอย่างอื่นไปหรือหนอ ไม่อย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะเจ้าของทั้งหลายนำของของเขาไปเสีย พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 88
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม ฯลฯ เจริญอุเบกขา นั้นนั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า ไพรสณฑ์ใหญ่ใกล้บ้านหรือนิคม. ในไพรสณฑ์นั้นมีต้นไม้มีผลดกและกำลังออกผล และไม่มีผลไรๆ ของ ต้นไม้นั้นหล่นลงบนพื้นดิน ครั้งนั้น บุรุษผู้มีความต้องการผลไม้ แสวงหา ผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อยู่พึงมา เขาหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์นั้น พึงเห็น ต้นไม้นั้นมีผลดกและกำลังออกผล เขาติดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้ใหญ่และมี ผลดกและกำลังออกผล ไม่มีผลไรๆ หล่นลงบนพื้นดิน ก็เราขึ้นต้นไม้เป็น อย่ากระนั้นเลย เราพึงบนต้นไม้นี้ เคี้ยวกินให้อิ่ม และใส่ให้เต็มพก ดังนี้เขาขึ้นต้นไม้นั้น เคี้ยวกินจนอิ่ม และใส่เต็มพก ครั้งนั้น บุรุษคน ที่สองผู้มีความต้องการผลไม้ แสวงหาผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อยู่ พึง ถือเอาจอบอันคมมา บุรุษนั้นหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์นั้น พึงเห็นต้นไม้นั้นมี ผลดกและกำลังออกผล เขาคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้แลมีผลดกและกำลังออก ผล และไม่มีผลไรๆ หล่นลงบนพื้นดิน ก็เราขึ้นต้นไม้ไม่เป็น แต่ตัด ต้นไม้เป็น อย่ากระนั้นเลย เราพึงตัดโคนต้นไม้นี้ เคี้ยวกินให้อิ่ม และ ใส่ให้เต็มพกดังนี้ เขาตัดโคนต้นไม้นั้น.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? บุรุษคนที่ขึ้น ต้นไม้นั้นก่อน ถ้าเขาไม่รีบลงทันที ต้นไม้นั้นพึงล้มลงทำลายมือเท้าหรือ อวัยวะอื่นๆ ของเขาเสีย เขาต้องตาย หรือต้องทุกข์ปางตาย เพราะเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 89
พี่ถูกต้นไม้ทำลายนั้น. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า พระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก มีทุกข์มาก มี ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษมากมา ดังนี้แล้ว วางอุเบกขาที่มีความ ต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือ โดย ประการทั้งปวงนั้นนั่นเที่ยว. พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนา โดยเปรียบ ด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า อนุสสติ เพราะเกิดขึ้น บ่อยๆ. อนึ่ง ชื่อว่า อนุสสติ เพราะอรรถว่า สติที่สมควรแก่กุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี. อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. คำว่า พุทธานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ. มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้น เป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธานุสสตินั้น บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่ คือเพิ่มพูนอยู่.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสสติ, คำว่า ธรรมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 90
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสสติ. คำว่า สังฆานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น เป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อ ว่า สีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันละแล้วของตน เป็นต้น เป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่า เทวดานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดา ทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่า อานาปานัสสติ. คำว่า อานาปานัสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็น อารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่า มรณานุสสติ. คำว่า มรณานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิตินทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญคือเป็น บ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะ ไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็น กายคตาสติ เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 91
คำว่ากายคตาสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผม เป็นต้นเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ คำว่า อุปสมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้ง ปวงเป็นอารมณ์.
ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข และจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปีติ สุข และจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุข และจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌาน อันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา. ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานา สัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย. พระสารีบุตรเถระแสดงการ ละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงการละกามทั้งหลาย โดยการตัดขาด จึงกล่าวคำว่า โสตาปตฺติมคฺคํ ภาเวนฺโตปิ ดังนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น การถึงซึ่งกระแสแห่งมรรค ชื่อว่า โสดาปัตติ. มรรคแห่งการถึงกระแสพระนิพพาน ชื่อว่า โสดาปัตติมรรค.
บทว่า อปายคมนีเย กาเม ความว่า เมื่อเจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมเว้นขาดจากกามอันให้ไปสู่อบาย ซึ่งเป็นเครื่องให้เหล่าสัตว์ไปสู่อบาย เหล่านั้นโดยการตัดขาด.
ชื่อว่า สกทาคามี เพราะอรรถว่า มาปฏิสนธิยังโลกนี้คราวเดียว เท่านั้น มรรคแห่งพระสกทาคามีนั้น ชื่อว่า สกทาคามิมรรค เมื่อเจริญ มรรคนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 92
บทว่า โอฬาริเก ได้แก่ ถึงความเร่าร้อน. ชื่อว่า อนาคามี เพราะอรรถว่า ไม่มาปฏิสนธิยังกามภพเลย. มรรคแห่งพระอนาคามีนั้น ชื่อว่าอนาคามิมรรค เมื่อเจริญมรรคนั้น.
บทว่า อณุสหคเต ได้แก่ ถึงความละเอียด. ชื่อว่า พระอรหันต์ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส. เพราะหักซี่ล้อ แห่งสังสารวัฏฏ์, เพราะไม่มีความลับในการทำบาป, และเพราะเป็นผู้ควร แก่ปัจจัยเป็นต้น. ความเป็นแห่งพระอรหันต์ ชื่อว่า อรหัตต์. อรหัตต์ นั้นคืออะไร, คืออรหัตตผล. มรรคแห่งอรหัตต์ ชื่อ อรหัตตมรรค เมื่อ เจริญอรหัตตมรรคนั้น.
บทว่า สพฺเพน สพฺพํ ได้แก่ ทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง.
บทว่า สพฺพถา สพฺพํ ได้แก่ ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง.
บทว่า อเสสํ นิสฺเสสํ ได้แก่ มิได้มีส่วนเหลือ คือไม่เหลือแม้ เพียงขันธ์.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺเพน สพฺพํ กล่าวถึงมูลราก. บทว่า สพฺพถา สพฺพํ กล่าวชี้ถึงอาการ. บทว่า อเสสํ นิสฺเสสํ กล่าวชี้ ถึงการบำเพ็ญ.
อนึ่ง ด้วยบทแรกกล่าวเพราะไม่มีทุจริต. ด้วยบทที่สองกล่าวเพราะ ไม่มีการครอบงำ. ด้วยบทที่สามกล่าวเพราะไม่มีอนุสัย อาจารย์พวกหนึ่ง พรรณนาไว้อย่างนี้.
บทว่า สปฺโป วุจฺจติ อหิ ความว่า งูตัวใดตัวหนึ่งเลื้อยไป.
บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ เพราะอรรถว่าอะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 93
บทว่า สํสปฺปนฺโต คจฺฉติ ความว่า เพราะเสือกไป ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัปปะ.
บทว่า ภุชนฺโต ความว่า ขนดไป.
บทว่า ปนฺนสิโร ได้แก่ เป็นสัตว์มีหัวตก.
บทว่า สิเรน สุปติ ความว่า ชื่อว่า สิริสปะ เพราะอรรถว่า นอนด้วยหัวโดยความเป็นโพรง เอาหัวไว้ภายในขนด. ชื่อว่า วิลาสยะ เพราะอรรถว่า นอนในรู บาลีว่า พิลสโย ก็มี. พึงเว้นหัวงูนั้นให้ดี. ชื่อว่าคุหาสยะ เพราะอรรถว่า นอนในถ้ำ.
บทว่า ทาฒา ตสฺส อาวุโส ความว่า เขี้ยวทั้งสองเป็นอาวุธ กล่าวคือศัสตราเครื่องประหารของงูนั้น.
บทว่า วิสํ ตสฺส โฆรํ ความว่า พิษกล่าวคือน้ำที่เป็นพิษของ งูนั้นร้ายแรง.
บทว่า ชิวฺหา ตสฺส ทุวิธา ความว่า งูนั้นมีลิ้นสองแฉก.
บทว่า ทฺวีหิ ชิวฺหาหิ รสํ สายติ ความว่า ย่อมรู้รส คือ ย่อมประสบความยินดี คือย่อมยินดีด้วยลิ้นสองแฉก.
ชื่อว่า ผู้ใครต่อชีวิต เพราะอรรถว่า ใคร่เพื่อจะเป็นอยู่.
ชื่อว่า ไม่อยากตาย เพราะอรรถว่า ยังไม่อยากตาย.
ชื่อว่า อยากได้สุข เพราะอรรถว่า ใคร่ซึ่งความสุข.
บทว่า ทุกฺขปฏิกูโล ได้แก่ ไม่ปรารถนาความทุกข์.
บทว่า ปาเทน ได้แก่ ด้วยเท้าของตน.
บทว่า สปฺปสิรํ ได้แก่ หัวของงู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 94
บทว่า วชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นข้างหน้า.
บทว่า วิวุชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นโดยประมาณของงูนั้น.
บทว่า ปริวชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นโดยรอบ.
บทว่า อภินิวชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นประมาณ ๔ ศอก.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทแรก พึงเว้นแต่หัว. ด้วยบทที่ ๒ และที่ ๓ พึงเว้นข้างทั้งสอง. ด้วยบทที่ ๔ พึงเว้นข้างหลัง.
อนึ่ง พึงเว้น เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์ ซึ่งมีการแสวงหาเป็น มูลของผู้ที่ยังไม่ถึงกามทั้งหลาย. พึงหลีก เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์ ซึ่งมีการรักษาเป็นมูลของผู้ที่ถึงกามแล้ว. พึงเลี่ยง เพราะความเป็นวัตถุ แห่งทุกข์ที่เร่าร้อนเพราะความไม่รู้. พึงอ้อมหนี เพราะความเป็น วัตถุแห่งทุกข์ที่เกิดจากความพลัดพรากจากของรักในปากแห่งความพินาศ อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่า ความกำหนัด ด้วยสามารถความยินดี.
ชื่อว่า ความพอใจ เพราะความเป็นเพื่อนของเหล่าสัตว์ในอารมณ์ ทั้งหลาย.
ชื่อว่า ความชอบใจ เพราะอรรถว่า ยินดี.
อธิบายว่า ปรารถนา ชื่อว่า ความเพลิดเพลิน เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเพลิดเพลิน ในภพใดภพหนึ่งของเหล่าสัตว์ หรือเพลิดเพลิน เอง.
ตัณหาชื่อว่า นันทิราคะ เพราะเป็นความเพลิดเพลินด้วย เป็น ความกำหนัดด้วย อรรถว่ายินดีด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 95
ในบทว่า นนฺทิราโค นั้น ตัณหาที่เกิดขึ้นคราวเดียวในอารมณ์ เดียวเรียกว่านันทิ. ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า นันทิราคะ.
บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค ความว่า ความกำหนัดโค ท่านเรียก ว่าความกำหนัดกล้า เพราะอรรถว่า ความยินดีมีกำลังเบื้องต่ำ ความกำหนัด นั้น มิใช่ของสัตว์ เป็นความกำหนัดกล้าแห่งจิตเท่านั้น.
ชื่อว่า ความปรารถนา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปรารถนา อารมณ์ทั้งหลาย.
ชื่อว่า ความหลง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องหลงของเหล่าสัตว์ เพราะความเป็นกิเลสหนา.
ชื่อว่า ความติดใจ เพราะกลืนให้สำเร็วแล้วยึดไว้.
ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องต้องการ คือถึงความ ยินดีของเหล่าสัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า หนาแน่น. ก็ความยินดีนั่นแล ท่านกล่าวว่า ชัฎแห่งป่าใหญ่ เพราะอรรถว่า หนาแน่นเหมือนกัน ขยายบทที่ติดกันด้วยอุปสัค.
ชื่อว่า ความยินดีทั่วไป เพราะอรรถว่า ยินดีทุกอย่างหรือตามส่วน.
ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ของเหล่าสัตว์ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้อง.
ชื่อว่า ความติดพัน เพราะอรรถว่า จมลง.
ชื่อว่า ความแสวงหา เพราะฉุดคร่า. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ตัณหาชื่อว่าเอชาย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ เพื่อบังเกิดในภพนั้นๆ นั่นแล.
ชื่อว่า มายา เพราะอรรถว่า ลวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 96
ชื่อว่า ชนิกา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้เกิดในวัฏฏะ. สมจริง ดังที่กล่าวไว้ว่า ตัณหาย่อมยังบุรุษให้เกิด ย่อมวิ่งเข้าสู่จิตของบุรุษนั้น.
ชื่อว่า สัญชนนี เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เกิดประกอบไว้ด้วย ทุกข์.
ชื่อว่า สิพฺพินี เพราะอรรถว่า ติดแน่น. เพราะตัณหานี้เย็บ คือติดแน่นเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งจุติและปฏิสนธิ ดุจช่าง เย็บ เย็บผ้าเก่าด้วยผ้าเก่า ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า ความเย็บไว้ เพราะอรรถว่า ติดแน่น.
ชื่อว่า ชาลินี เพราะอรรถว่า มีข่ายคืออารมณ์มีประการไม่น้อย. หรือข่ายกล่าวคือความยึดมั่นด้วยการดิ้นรนแห่งตัณหา.
ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า เป็นดังกระแสน้ำที่ไหลเร็ว เพราะ อรรถว่า ฉุดคร่า. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า เปียกชุ่ม. สมจริงดังคำที่กล่าวไว้ว่า โสมนัสทั้งหลายที่ชุ่มชื่นและประกอบ ด้วยความรักย่อมมีแก่สัตว์เกิด. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ทั้งชุ่มชื่น ทั้งน่ารัก.
ชื่อว่า สุตตะ เพราะอรรถว่า เป็นดังเส้นด้ายผูกเต่า เพราะอรรถ ว่า ให้ถึงความฉิบหายมิใช่ความเจริญ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สุตฺตํ นี้แล เป็นชื่อของนันทิราคะ.
ชื่อว่า วิสฏา เพราะอรรถว่า แผ่ไปในรูปเป็นนี้.
ชื่อว่า อายุหนี เพราะอรรถว่า สัตว์ย่อมยังอายุให้เสื่อมไปเพื่อต้อง การได้เฉพาะอารมณ์นั้นๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 97
ชื่อว่า ทุติยา เพราะอรรถว่า เป็นสหาย เพราะไม่ให้กระวน กระวาย. ก็ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายกระวนกระวายในวัฏฏะ, ย่อม ให้รื่นรมย์ยิ่ง. ดังสหายรัก ในที่ที่ไปแล้วๆ เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึง กล่าวว่า :-
บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาว นาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏฏ์อันเป็นอย่างนี้ไม่มีอย่างอื่น.
ชื่อว่า ปณิธิ ด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น.
บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่ เชือกเครื่องนำไปสู่ภพ. จริงอยู่สัตว์ทั้ง หลายอันตัณหานี้นำไป เหมือนโคทั้งหลายถูกเชือกผูกคอนำไปยังที่ที่ ปรารถนาแล้วๆ ฉะนั้น
ชื่อว่า วนะ เพราะอรรถว่า ติด คือคบ คือชุ่มอารมณ์นั้นๆ ขยายบทด้วยพยัญชนะเป็น วนถะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ เพราะ อรรถว่า เป็นราวกะป่า, ด้วยอรรถว่า ยังทุกข์อันหาประโยชน์มิได้ให้ตั้ง ขึ้น. และด้วยอรรถว่า รกชัฏ คำนี้เป็นชื้อของตัณหาที่มีกำลัง. แต่ตัณหา ที่มีกำลังเท่านั้นชื่อว่า วนถะ ด้วยอรรถว่า รกชัฏกว่า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสไว้ว่า :-
เธอทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิด แต่ป่า พวกเธอตัดป่าน้อยและป่าใหญ่แล้ว จงเป็นผู้หมด ป่าเถิด ภิกษุทั้งหลาย.
ชื่อว่า สันถวะ ด้วยความสามารถแห่งความเชยชิด. อธิบายว่า เกี่ยวข้อง สันถวะนั้นมี ๒ อย่าง คือ ตัณหาสันถวะ ความเชยชิดด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 98
ตัณหาหนึ่ง. มิตตสันถวะ ความเชยชิดด้วยไมตรีหนึ่ง. ใน ๒ อย่างนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาตัณหาสันถวะ.
ชื่อว่า เสน่หา ด้วยสามารถแห่งความรัก.
ชื่อว่า อเปกขา ความเพ่งเล็ง เพราะอรรถว่า เพ่งเล็งด้วยสามารถ กระทำความอาลัย. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระนครแปดหมื่นสี่พันของพระองค์เหล่านี้. มีกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข ขอพระองค์จงยังความพอพระราชหฤทัยให้เกิดในพระนครนี้เถิด พระเจ้า ข้า. ขอพระองค์โปรดการทำความเพ่งเล็งในชีวิตเถิด. ก็ในข้อนี้มีเนื้อ ความดังนี้ว่า จงกระทำความอาลัย.
ชื่อว่า ปฏิพันธา เพราะอรรถว่า ผูกพันในอารมณ์เฉพาะอย่างๆ หรือผู้มีอารมณ์เฉพาะอย่างผูกพัน ด้วยอรรถว่าเป็นญาติ. ชื่อว่าพวกพ้อง ที่เสมอด้วยตัณหาของสัตว์ทั้งหลาย แม้ด้วยอรรถว่า อาศัยเป็นนิจ ย่อม ไม่มี.
ชื่อว่า อาสา เพราะเป็นอาหารของอารมณ์ทั้งหลาย. อธิบายว่า เพราะท่วมทับด้วย. เพราะความพอใจไปบริโภคด้วย.
ชื่อว่า อาสิงสนา ด้วยสามารถแห่งความจำนง. ภาวะความจำนง ชื่ออาสิงสิตัตตะ. บัดนี้ เพื่อจะแสดงฐานะที่เป็นไปของตัณหานั้น พระ สารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า รูปาสา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น พึงถือเอาเนื้อความของอาสาว่า ความหวัง. แล้ว ทราบบททั้ง ๙ อย่างนี้ว่า ความหวังในรูป ชื่อว่า รูปาสา. ละในบทนี้ ๕ บทแรกท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามคุณ ๕. ที่ ๖ กล่าวด้วยสามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 99
แห่งความโลภในบริขาร. บทที่ ๖ นั้นกล่าวสำหรับบรรพชิตเป็นพิเศษ. ๓ บทนอกนั้นกล่าวสำหรับคฤหัสถ์ ด้วยสามารถวัตถุอันไม่เป็นที่พอใจ เพราะคฤหัสถ์ทั้งหลาย สิ่งซึ่งเป็นที่รักกว่าทรัพย์ บุตร ละชีวิตย่อมไม่มี
ชื่อว่า ชัปปา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้ปรารถนาอย่าง นี้ว่า นี้ของเราๆ หรือว่าคนโน้นให้สิ่งนี้ๆ แก่เรา. ๒ บทต่อไปท่านขยาย ด้วยอุปสรรค. ข้อนั้นท่านกล่าวบท ชปฺปา อีกเพราะปรารภจะจำแนก ความโดยอาการอย่างอื่น. อาการที่ปรารถนา ความเป็นไปแห่งความ ปรารถนา. ภาวะที่จิตปรารถนา ชื่อว่า ชัปปิตัตตะ.
ชื่อว่า โลลุปปะ เพราะอรรถว่า หวั่นไหว คือฉุดคร่าไว้ในอารมณ์ บ่อยๆ. ความเป็นแห่งความหวั่นไหว ชื่อว่า โลลุปปิตัตตะ.
อาการที่หวั่นไหว ความเป็นไปแห่งความหวั่นไหว ความเป็นแห่ง ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความหวั่นไหวชื่อว่า โลลุปปายิตัตตะ.
บทว่า ปุจฺฉญฺจิกตา ได้แก่ ตัณหา ที่เป็นเครื่องให้สัตว์ทั้งหลาย หวั่นไหว คือหวั่นไหวเที่ยวไปในที่มีลาภ ดุจสุนัข. บทนี้เป็นชื่อแห่งตัณหา เครื่องหวั่นไหวนั้น.
บทว่า สาธุกมฺยตา ได้แก่ ความใคร่ดี เพราะอรรถว่า ยัง เหล่าสัตว์ให้ใคร่ในอารมณ์ที่น่าชอบใจๆ ดี. ควรเป็นแห่งความใคร่ ดีนั้น ชื่อว่า สาธุกัมยตา.
ชื่อว่า อธรรมราคะ เพราะอรรถว่า ความกำหนัดในฐานะไม่ สมควร มีมารดาและป้าน้าเป็นต้น. ความโลภที่เกิดขึ้นมีกำลังแม้ในฐานะ ที่สมควร ชื่อว่า วิสมโลภ. ฉันทราคะที่เกิดขึ้นในฐานะที่สมควรก็ตาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 100
ในฐานะที่ไม่สมควรก็ตาม พึงทราบว่า อธรรมราคะ เพราะอรรถว่า ผิดธรรม และว่า วิสมโลภะ เพราะอรรถว่า ไม่สม่ำเสมอ.
ชื่อว่า ความใคร่ ด้วยสามารถแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย. อาการแห่งความใคร่ ชื่อว่า นิกามนา. ชื่อว่า ความมุ่งหมาย ด้วย สามารถแห่งความมุ่งหมายวัตถุ. ชื่อว่า ความปอง ด้วยสามารถแห่ง ความต้องการ. ความปรารถนาด้วยดี ชื่อว่า ความปรารถนาดี. ตัณหา ในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามตัณหา. ตัณหาในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า ภวตัณหา. ตัณหาในความไม่มี กล่าวคือขาดสูญ ชื่อว่า วิภวตัณหา. ตัณหาในรูปภพที่บริสุทธิ์นั่นแลชื่อว่า รูปตัณหา. ตัณหาในอรูปภพ ชื่อว่า อรูปตัณหา ได้แก่ความกำหนัดที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ. ตัณหา ในนิโรธ ชื่อว่า นิโรธตัณหา. ตัณหาในเสียง ชื่อว่า สัททตัณหา. แม้ในคันธตัณหาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. โอฆะเป็นต้น มีเนื้อความได้ กล่าวไว้แล้วแล.
ชื่อว่า อาวรณะ เพราะอรรถว่า กั้นกุศลธรรมทั้งหลาย.
ชื่อว่า ฉทนะ ด้วยสามารถเป็นเครื่องปิด.
ชื่อว่า พันธนะ เพราะอรรถว่า ผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในวัฏฏะ.
ชื่อว่า อุปกิเลส เพราะอรรถว่า เบียดเบียนจิต เศร้าหมอง คือ ทำให้เศร้าหมอง.
ชื่อว่า อนุสยะ เพราะอรรถว่า นอนเนื่อง ด้วยอรรถว่ามีกำลัง.
ชื่อว่า ปริยุฏฐานะ เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นครอบงำจิต. ความว่า ยึดอาจาระที่เป็นกุศลไม่ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า ยึดมรรคา ในข้อความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 101
เป็นต้นว่า พวกโจรครอบงำในบรรดา พวกนักเลงครอบงำในมรรคา. แม้ในที่นี้ก็พึงทราบการครอบงำ ด้วยอรรถว่า ยึดด้วยอาการอย่างนี้.
ชื่อว่า ลตา เพราะอรรถว่า เป็นดังเถาวัลย์ ด้วยอรรถว่า พัวพัน แม้ในอาคตสถานว่า ตัณหาก่อความยุ่งยากตั้งอยู่ดังนี้ ตัณหานี้ท่านก็ กล่าวว่า ลตา เหมือนกัน.
ชื่อว่า เววิจฉะ เพราะอรรถว่า ปรารถนาวัตถุต่างๆ.
ชื่อว่า ทุกขมูล เพราะอรรถว่า เป็นมูลแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. ชื่อว่า ทุกขนิทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้นแล.
ชื่อว่า ทุกขปภวะ แดนเกิดแห่งทุกข์ เพราะอรรถว่า ทุกข์นั้นเกิด แต่ตัณหานี้.
ชื่อว่า ปาสะ เพราะอรรถว่า เป็นดุจบ่วง ด้วยอรรถว่า ผูกไว้, บ่วงแห่งมาร ชื่อว่า มารปาสะ. ชื่อว่า พฬิสะ เพราะอรรถว่า เหมือนเบ็ด ด้วยอรรถว่า กลืนยาก, เบ็ดแห่งมาร ชื่อว่า มารพฬิสะ.
ชื่อว่า มารวิสัย เพราะอรรถว่า เป็นวิสัยแห่งมาร โดยปริยาย นี้ว่า สัตว์ทั้งหลายที่ถูกตัณหาครอบงำแล้ว ย่อมไม่ล่วงพ้นวิสัยของมาร ไปได้ มารย่อมใช้อำนาจเหนือสัตว์เหล่านั้น.
แม่น้ำคือตัณหา ชื่อว่า ตัณหานที ด้วยอรรถว่า ไหลไป. ข่าย คือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาชาละ ด้วยอรรถว่า ท่วมทับ. สุนัขทั้งหลาย ที่ผูกไว้แน่น คนนำไปตามปรารถนาได้ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ตัณหาผูกไว้ ก็ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 102
ชื่อว่า คัททละ เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนโซ่ผูกสุนัข ด้วยอรรถ ว่า ผูกไว้แน่น. โซ่ผูกสุนัข คือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาคัททละ.
ทะเลคือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาสมุทร ด้วยอรรถว่า ให้เต็มได้ยาก. ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่า เพ่งเล็ง. ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องได้ หรือได้เอง หรือสักว่าได้เท่านั้น. ชื่อว่า มูละ ด้วย อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งอกุศลทั้งหลายที่ประกอบกัน.
บทว่า วิสตฺติกา ได้แก่ ชื่อว่าซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ.
บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ ด้วยสภาวะอะไร.
บทว่า วิสตา ได้แก่ แผ่ไปแล้ว.
ชื่อว่า วิสาล เพราะอรรถว่า แผ่ไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น.
ชื่อว่า วิสฏา เพราะอรรถว่า แล่นไป ด้วยสามารถซ่านไปทุก แห่งในภูมิ ๓ ก็คำแรกนี้ ท่านกล่าวจำแนกพยัญชนะ แปลง ต อักษร เป็น ฏ อักษร.
บทว่า วิสกฺกติ ได้แก่ ปกครอง คือ อดทน ก็คนที่กำหนัด แม้ถูกกระทบด้วยเท้าอันเป็นวัตถุแห่งราคะ ย่อมอดทนได้ ท่านกล่าว ความซักช้า หรือความดิ้นรน ว่า วิสกฺกนํ ก็มี อาจารย์บางพวกพรรณนา ว่า เป็นใหญ่ของกุศลและอกุศลทั้งหลาย.
บทว่า วิสํหรติ ความว่าเห็นอานิสงส์ในกามทั้งหลายอย่างนั้นๆ รวบรวม คือ เปลี่ยนจิตจากที่เป็นไปมุ่งเนกขัมมะ ด้วยอาการหลายอย่าง อีกอย่างหนึ่ง ความว่า นำความทุกข์ที่มีพิษไปเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 103
บทว่า วิสํวาทิกา ความว่า เป็นเหตุให้พูดผิดว่าท่านจงยึดถือของ ที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง.
ชื่อว่า วิสมูลา มีมูลรากเป็นพิษ เพราะความเป็นเหตุแห่งกรรม ที่ให้เกิดทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิสมูลา เพราะอรรถว่า มีทุกข์ที่มีพิษ คือ เวทนาที่เป็นทุกข์เป็นต้น เป็นมูลราก.
ชื่อว่า วิสผลา มีผลเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษเพราะ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ การบริโภคสิ่งที่เป็นทุกข์มีรูปเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่ อมตะ. ย่อมมีด้วยตัณหาใด เหตุนั้น ตัณหานั้นท่านจึงกล่าวว่า วิสปริ- โภคา บทที่สำเร็จรูปในที่ทั้งปวง พึงทราบตามหลักภาษา.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงวิสัยแห่งตัณหานั้น จึงกล่าวคำ. เป็นต้นว่า อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสาลา วา ปน ได้แก่ ชื่อว่า ตัณหา ด้วยอรรถว่า เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่นั่นเอง. รูปเป็นต้นท่าน กล่าวด้วยสามารถแห่งความกำหนัด ที่เป็นไปในกามคุณ ๕ บท. ๑๑ บท มี บทว่า กุเล คเณ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่ง ความโลภ.
ติกะแห่งกามธาตุ ท่านจำแนกด้วยสามารถแห่งกรรมวัฏฏ์.
ติกะแห่งกามภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งวิปากวัฏฏ์.
ติกะแห่งสัญญาภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งสัญญา
ติกะแห่งเอกโวการภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งขันธ์.
ติกะแห่งอดีต จำแนกด้วยสามารถแห่งกาล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 104
จตุกกะแห่งทิฏฐธรรม จำแนกด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
ติกะแห่งอบาย จำแนกด้วยสามารถแห่งโอกาส.
ติกะแห่งขันธ์ จำแนกด้วยสามารถแห่งนิสสัตตะนิชชีวะ พึงทราบ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น. มีการแสดงเนื้อความ และการขยายเนื้อความโดย สังเขป ดังต่อไปนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน? การที่ท่องเที่ยวไปใน ระหว่างนี้คือเบื้องต่ำมีนรกอเวจีเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่นับเนื่องในกามาวจรนี้ นี้เรียกว่า กามธาตุ.
บรรดาบทเหล่านั้น รูปธาตุเป็นไฉน? รูปธาตุที่ท่องเที่ยวไปใน ระหว่างนี้ คือเบื้องต่ำมีพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรค์ชั้นอกนิษฐ์ เป็นที่สุด ธรรมคือจิตและเจตสิกของผู้เข้าฌานก็ดี ของผู้สำเร็จแล้วก็ดี ของผู้มีสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี ที่นับเนื่องในรูปาพจรนี้ นี้เรียกว่า รูปธาตุ.
บรรดาบทเหล่านั้น อรูปธาตุเป็นไฉน? อรูปธาตุที่ท่องเที่ยวไปใน ระหว่างนี้คือเบื้องต่ำมีสวรรค์ชั้นอากาสานัญจายตนะเป็นที่สุด เบื้องบนมี สวรรค์ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นที่สุด ธรรมคือจิตและเจตสิกของผู้ เข้าฌาณก็ดี ของผู้สำเร็จแล้วก็ดี ของผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบันก็ดี ที่นับ เนื่องในอรูปาพจรนี้ นี้เรียกว่า อรูปธาตุ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 105
แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า บทว่า กามธาตุ ได้แก่ขันธ์ ๕ ใน กามภพ. บทว่า รูปธาตุ ได้แก่ขันธ์ ๕ ในรูปภพ. บทว่า อรูปธาตุ ได้แก่ขันธ์ ในอรูปภพ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธาตุที่ประกอบด้วยกามกล่าวคือกามภพ ชื่อว่ากาม ธาตุ. หรือธาตุกล่าวคือกาม ชื่อว่า กามธาตุ. ธาตุที่ละกามประกอบด้วย รูป ชื่อว่า รูปธาตุ, หรือธาตุกล่าวคือรูป ชื่อว่ารูปธาตุ. ธาตุที่ละทั้ง กามและรูปประกอบด้วยอรูปชื่อว่า อรูปธาตุ. หรือธาตุกล่าวคืออรูป ชื่อว่า อรูปธาตุ.
ธาตุเหล่านั้นแหละ ท่านกล่าวไว้โดยปริยายแห่งภพอีก ก็ท่านเรียก ว่าภพ เพราะอรรถว่า เป็นอยู่. ภพที่ประกอบด้วยสัญญา ชื่อว่า สัญญา ภพ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัญญาภพ เพราะอรรถว่า ภพของผู้มีสัญญา หรือสัญญามีอยู่ในภพนี้. สัญญาภพนั้น เป็นกามภพด้วย เป็นรูปภพที่พ้น จากอสัญญาภพด้วย เป็นอรูปภพที่พ้นจากเนวสัญญานาสัญญาภพด้วย.
ภพที่ไม่ใช่สัญญาภพ ชื่อว่า อสัญญาภพ อสัญญาภพนั้น เป็น เอกเทศแห่งรูปภพ.
ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา เพราะอรรถว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะ ไม่มีความเป็นแห่งโอฬาร. ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะมีสภาวะเป็นของ ละเอียด. ภพที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญานั้น ชื่อว่า เนวสัญญา นาสัญญาภพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เนวสัญญาสัญญาภพ เพราะ อรรถว่าในภพนี้มีเนวสัญญานาสัญญา เพราะไม่มีสัญญาอันโอฬาร และ เพราะมีสัญญาอันละเอียด เนวสัญญานาสัญญาภพนั้น เป็นเอกเทศแห่ง อรูปภพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 106
ชื่อว่า เอกโวการภพ เพราะอรรถว่า ภพที่เกลื่อนไปด้วยรูปขันธ์ หนึ่ง หรือภพนั้นมีโวการหนึ่ง. เอกโวการภพนั้น ก็คืออสัญญาภพนั่นเอง.
ชื่อว่า จตุโวการภพ เพราะอรรถว่า ภพที่เกลื่อนไปด้วยอรูปขันธ์ ๔ หรือภพนั้นมีโวการ ๔, จตุโวการภพนั้น ก็คืออรูปภพนั้นเอง.
ชื่อว่า ปัญจโวการภพ เพราะอรรถว่า ภพที่เกลื่อนไปด้วยขันธ์ ๕ หรือภพนั้นมีโวการ ๕, ปัญจโวการภพนั้น เป็นกามภพด้วย เป็นเอกเทศ แห่งรูปภพด้วย. ติกะแห่งอดีตมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า ทิฏฺํ ได้แก่ รูปารมณ์ที่มีสมุฏฐาน ๔.
บทว่า สุตํ ได้แก่ สัททารมณ์ที่มีสมุฏฐาน ๒.
บทว่า มุตํ ได้แก่ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ที่มี สมุฏฐาน ๔ ซึ่งบุคคลรู้แล้วพึงถือเอา.
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้ด้วยใจ ชื่อว่า วิญญาตัพพะ. ในธรรม ทั้งหลายที่เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว และพึงรู้แจ้งเหล่านั้น.
บทว่า วิสฏา วิตฺถตา ความว่า แผ่ไปมาก.
บทว่า อปายโลเก ได้แก่ ชื่อว่า อบาย เพราะไม่มีความ รุ่งเรือง กล่าวคือความเจริญ. ในอบายโลกนั้น.
บทว่า ขนฺธโลเก ได้แก่ ขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า โลก ด้วยอรรถว่าเป็นกอง.
บทว่า ธาตุโลเก ได้แก่ ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้นนั่นแล ชื่อ ว่า โลก ด้วยอรรถว่า ว่างเปล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 107
บทว่า อายตนโลเก ได้แก่ อายตนะ ๑๒ นั้นแล ชื่อว่า โลก ด้วยเหตุมีอายตนะเป็นต้น. ทั้งหมดชื่อว่าโลก ด้วยอรรถว่า สลาย. ตัณหา ชื่อว่า วิสัตติกา เพราะอรรถว่า แล่นไป ซ่านไป ในโลกมีประการ ดังกล่าวแล้ว.
บทว่า สโต ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะอรรถว่า ระลึก ได้. ท่านกล่าวสติโดยเป็นบุคคล สติในบทนั้น มีความระลึกได้เป็น ลักษณะ. ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องระลึกได้ของเหล่าสัตว์. หรือระลึกได้เอง. หรือเพียงระลึกเท่านั้น. ก็สตินี้นั้น มีการทำซ้ำๆ เป็น ลักษณะ, มีความไม่ลืมเป็นรส, มีการรักษาเป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีภาวะ มุ่งอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน, มีความจำมั่นเป็นปทัฏฐาน, หรือมีสติ ปัฏฐาน มีกายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่าเหมือนเสาระเนียด เพราะ ตั้งมั่นในอารมณ์. และเหมือนนายประตู เพราะรักษาจักขุทวารเป็นต้น.
พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงฐานะความเป็นไปของสตินั้น กล่าวสติ- ปัฏฐาน ๔ อย่าง โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานใน กาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเย ได้แก่ ในรูปกาย. จริงอยู่ รูป กายท่านประสงค์เอาว่า กาย ด้วยอรรถว่า หมู่แห่งอวัยวะน้อยใหญ่ มี ผมเป็นต้น, และแห่งธรรมทั้งหลาย ดุจหมู่ช้างหมู่รถเป็นต้น. ด้วยอรรถ ว่าหมู่ฉันใด. ด้วยอรรถว่าประชุมแห่งสิ่งน่าเกลียด ก็ฉันนั้น. ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมแห่งสิ่งน่าเกลียด ซึ่งน่ารังเกียจอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 108
ประเทศเป็นที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อายะ. ในบทนั้นมีเนื้อความของคำ ดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า อายะ เพราะอรรถว่า ประชุมกันในที่นั้น, อะไร ประชุมกัน? สิ่งน่าเกลียดมีผมเป็นต้นประชุมกัน. ชื่อว่า กาย เพราะอรรถ ว่า เป็นที่ประชุมแห่งสิ่งน่าเกลียด ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า กายานุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณากาย. พึงทราบว่า แม้ ท่านกล่าวว่า กาเย ได้แล้ว ก็ยังกระทำศัพท์ว่า กาย ที่สอง ในบทว่า กายานุปสฺสนา ไว้อีก เพื่อแสดงการแยกฆนสัญญาด้วยการกำหนด โดยไม่ระคนกัน. เหตุนั้น ท่านจึงไม่แสดงว่า กาเย เวทนานุปสฺสนา การพิจารณาเวทนาในกาย, หรือว่า กาเย จิตฺตธมฺมานุปสฺสนา การพิจารณาจิตและธรรมในกาย. ที่แท้ท่านแสดงการกำหนดโดยไม่ระคน กันด้วยการแสดงอาการพิจารณากาย ในวัตถุกล่าวคือกายว่า กายานุปัสสนา เท่านั้น. อนึ่ง ไม่ใช่เป็นการพิจารณาธรรมอย่างหนึ่งที่พ้นจากอวัยวะน้อย ใหญ่ในกาย. ทั่งไม่ใช่เป็นการพิจารณาสตรีและบุรุษที่พ้นจากอวัยวะที่ผม และขนเป็นต้น.
ก็กายแม้ใดกล่าวคือหมู่แห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูป มีผมและขน เป็นต้นในที่นี้ ในกายแม้นั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงโดยประการต่างๆ ของวัตถุกล่าวคือกาย, เป็นอันท่านแสดงการแยกฆนสัญญาด้วยสามารถแห่ง หมู่นั่นแลว่า ไม่ใช่เป็นการพิจารณาธรรมอย่างหนึ่ง ที่พ้นจากมหาภูตรูป และอุปาทายรูป ที่แท้เป็นการพิจารณาหมู่อวัยวะน้อยใหญ่, ดุจการพิจารณา ของผู้พิจารณาเครื่องรถ เป็นการพิจารณาหมู่แห่งผมและขนเป็นต้น ดุจการพิจารณาของผู้พิจารณาเครื่องปรุงแต่งพระนคร เป็นการพิจารณาหมู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 109
แห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูปทีเดียว ดุจการพิจารณาของผู้แยกลำต้น ใบ และกาบของต้นกล้วย และดุจของผู้แทงตลอดกำมือที่ว่างเปล่า. ก็ธรรม อะไรๆ เป็นกายก็ตาม สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม หรืออย่างอื่นก็ตามที่พ้น จากหมู่ตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในที่นี้. แต่สัตว์ทั้งหลายย่อมกระทำ ซึ่งการยึดผิดอย่างนั้นๆ ในสิ่งสักว่าหมู่แห่งธรรมตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-
บุคคลย่อมเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นชื่อว่าเห็นแล้วก็ หาไม่ สิ่งใดอันเขาเห็นแล้ว บุคคลชื่อว่าย่อมไม่เห็นสิ่ง นั้น เมื่อไม่เห็นอยู่ ย่อมติด เมื่อติดก็หลงอยู่ ย่อมพ้นไป ไม่ได้.
ก็เนื้อความแม้นี้ในที่นี้ พึงทราบด้วยอาทิศัพท์ที่กล่าวไว้ว่า เพื่อ แสดงการแยกหมู่เป็นอาทิดังนี้ และการพิจารณากายในกายนี้นั่นแล ไม่ ใช่การพิจารณาธรรมอื่น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร? ท่านอธิบายไว้ว่า :- การพิจารณาน้ำในพยับแดดแม้ไม่มีน้ำ ฉันใด การพิจารณาว่าเป็นของ เที่ยงเป็นสุข เป็นอัตตาและงาม ในกายนี้ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่งามนั้นแล ฉันนั้นหามิได้. ที่แท้การพิจารณากาย ก็คือการ พิจารณาหมู่แห่งอาการที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่งามนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่ง กายนี้ใดเกิดแต่สิ่งละเอียด มีลมหายใจออกลมหายใจ เข้าเป็นต้น มีกระดูกเป็นที่สุดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ตาม ฯลฯ เธอเป็นผู้มีสติหายใจออกอยู่ ดังนี้. และกายใดที่พระสารีบุตรเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 110
กล่าวไว้ในสติปัฏฐานกถา ในปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย ว่าบุคคล บางคนในโลกนี้พิจารณากายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิว กายคือหนัง กายคือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่ เที่ยงดังนี้. พึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมดแม้อย่างนี้ว่า เป็นการ พิจารณากาย โดยการพิจารณาในกายนี้เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า การพิจารณากายกล่าว คือหมู่แห่งผมเป็นต้นในกาย โดยการพิจารณาหมู่แห่งธรรมต่างๆ มีผม และขนเป็นต้นนั้นๆ แหละ ไม่พิจารณาอะไรๆ ที่จะพึงยึดถือในกายอย่าง นี้ว่าเรา หรือว่าของเรา. อนึ่งพึงทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า การ พิจารณากายในกาย แม้โดยการพิจารณากายกล่าวคือหมู่แห่งอาการมี อนิจจลักษณะเป็นต้นทั้งหมดทีเดียว ซึ่งมีนัยอันมาแล้วในปฏิสัมภิทามรรค ตามลำดับเป็นต้นว่า ย่อมพิจารณาในกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ พิจารณาโดยความเป็นของเที่ยง ดังนี้ ก็เนื้อความนี้ ทั่วไปแก่สติปัฏฐาน ทั้ง ๔.
บทว่า สติปฏฺานํ ได้แก่สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือสติโคจร ๑ ความที่พระศาสดาเป็นผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้ ปฏิบัติ ๓ อย่าง ๑ ตัวสติ ๑. ก็อารมณ์ของสติ เรียก สติปัฏฐาน. ในข้อ ความเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ แห่งสติปัฏฐาน ๔ พวกเธอจงฟังข้อนั้น จงใส่ใจให้ดี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย กายเกิดอย่างไร, กายเกิดเพราะอาหารเกิด ดังนี้. แม้ในข้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 111
ความเป็นต้นว่า การตั้งขึ้น คือกาย ไม่ใช่สติ, สติเป็นทั้งการตั้งขึ้น เป็นทั้งสติ ดังนี้ก็เหมือนกัน ข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้ง. อะไรตั้ง? สติตั้ง ที่ตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ตั้งคือเริ่มตั้ง. ที่ตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน ดุจที่ตั้งแห่งช้างที่ตั้งแห่งม้าเป็นต้น. เพราะความที่แห่งพระศาสดาเป็นผู้ ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง ท่านจึง กล่าวว่าสติปัฏฐาน ในที่นี้ว่าพระศาสดาผู้อริยะเสพธรรมใด ธรรมนั้น คือสติปัฏฐาน ๓ ก็เมื่อเสพธรรมนั้นอยู่จึงควรเพื่อจะตามสอนหมู่ศิษย์ดังนี้.
ข้อนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะพึงให้ตั้ง ความว่า พึงให้เป็นไป อะไรตั้ง? สติตั้ง, ที่ตั้งแห่งสติชื่อว่า สติปัฏฐาน. ก็และสตินั่นแลท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน. ในข้อความเป็นต้นว่า สติ- ปัฏฐาน ๔ ที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ดังนี้.
ข้อนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่. ความว่า ตั้งมั่น คือ แล่นติดต่อกันเป็นไป. สตินั่นแหละชื่อว่า สติปัฏฐาน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสติ ด้วยอรรถว่าระลึกได้. ชื่อว่า ปัฏฐาน ด้วยอรรถว่า ตั้งไว้มั่น. สตินั้นด้วย ตั้งไว้มั่นด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน ด้วยประการฉะนี้. ในที่นี้ท่านประสงค์ความข้อนี้ คือสติปัฏฐานนั้น.
บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่. ก็ในที่นี้คำใดอันท่านกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 112
แล้วว่า สติปัฏฐาน เพราะความที่พระศาสดาประพฤติล่วงความยินดี ยินร้ายในเหล่าสาวกผู้ปฏิบัติโดยส่วนสาม, คำนั้นพึงถือเอาตามสูตรนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระศาสดาผู้อริยะเสพธรรมใด ธรรมนั้นคือสติปัฏฐาน ๓ ก็เมื่อเสพธรรมนั้นอยู่จึงควรเพื่อจะตามสอนหมู่ ศิษย์ดังนี้ ก็คำนี้ท่านได้กล่าวไว้แล้วด้วยประการฉะนั้นและก็ท่านกล่าวคำนี้ เพราะอาศัยอะไร? เพราะอาศัยคำนี้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาในศาสนานี้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์แสวงประโยชน์เกื้อกูล. อาศัยความอนุเคราะห์แสดง ธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลของพวกเธอ, นี้เพื่อ ความสุขของพวกเธอดังนี้. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ไม่ปรารถนาฟัง, ไม่เงี่ยโสตสดับ, ไม่ตั้งใจจะรู้ และหลีกไปเสียจากคำสอนของศาสดา. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายในเรื่องนั้น ตถาคตจะยินร้ายก็หามิได้. จะเสวยความยินร้าย ก็หามิได้. ไม่ซูบซีดมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสติ ปัฏฐานข้อที่ ๑.
ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา ฯลฯ นี้ เพื่อความสุขของพวกเธอดังนี้. สาวกบางพวกของศาสดานั้น ไม่ปรารถนา ฟัง ฯลฯ สาวกบางพวกปรารถนาฟัง ฯลฯ และไม่หลีกไปเสียจากคำ สอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ตถาคตจะยินร้ายก็หา มิได้, จะเสวยความยินร้ายก็หามิได้, จะยินดีก็หามิได้, จะเสวยความยินดี ก็หามิได้, สละวางเสียซึ่งความยินร้ายและความยินดีทั้งสองอย่าง, เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 113
วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสติปัฏฐานข้อ ที่ ๒.
ฯลฯ ข้ออื่นยังมีอีก ฯลฯ นี้เพื่อความสุขของพวกเธอดังนี้. สาวก ทั้งหลายของศาสดานั้น ปรารถนาจะฟัง ฯลฯ ไม่หลีกไปเสียจากคำสอน ของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ตถาคตย่อมยินดี, และ เสวยความยินดี ทั้งไม่ซูบซีดมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เป็น สติปัฏฐานข้อที่ ๓.
ความไม่ซูบซีดเพราะความยินร้ายและความยินดีทั้งหลาย และความ ล่วงพ้นความยินร้ายและความยินดีทั้งสองนั้นเพราะมีสติตั้งมั่นเป็นนิจอย่าง นี้ท่านกล่าวว่าสติปัฏฐาน ด้วยประการฉะนี้.
ได้ยินว่า ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นเป็นนิจ มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เท่านั้น มิได้มีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น แล.
ก็ในการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลายเป็นต้น. พึงทราบว่าต้องประกอบคำว่าเวทนาเป็นต้น เข้ากับคำว่า อนุปัสสนา ตามที่ควรประกอบโดยนัยที่ กล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล. เนื้อความ แม้นี้ก็เป็นเนื้อความทั่วๆ ไป, คือ การพิจารณาเวทนาอย่างหนึ่งๆ ใน เวทนาหลายประเภท มีสุขเวทนาเป็นต้น. โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็น ต้นเป็นอย่างๆ.
การพิจารณาจิตอย่างหนึ่งๆ ในจิต ๑๖ ประเภท มีสราคจิตเป็นต้น. โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นอย่างๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 114
การพิจารณาธรรมอย่างหนึ่งๆ ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามที่เหลือ นอกจากกายเวทนาและจิต. โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นอย่างๆ การพิจารณาธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในสติปัฏฐานสูตร. และในที่นี้.
เอกวจนะในบทว่า กาเย เพราะสรีระเป็นหนึ่ง.
เอกวจนะในบทว่า จิตเต เพราะจิตเป็นหนึ่ง.
พึงทราบว่าท่านทำด้วยชาติศัพท์ เพราะมีสภาวะไม่แตกต่างกัน.
อนึ่ง พึงทราบการพิจารณาเหมือนอย่างเวทนาเป็นต้นที่พึงพิจารณา ว่า การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย, การพิจารณาจิตในจิต, การ พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็เวทนาพึงพิจารณาอย่างไร?
พึงพิจารณาสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ก่อน.
พึงพิจารณาทุกขเวทนาโดยความเป็นดังลูกศร.
พึงพิจารณาอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เหมือน อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นทุกข์ โดยความเป็นดังลูกศร. ได้เห็นอทุกขมสุขซึ่งมีอยู่นั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง. ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นชอบ. ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้.
อนึ่ง เวทนาเหล่านั้นทั้งหมดนั่นเทียว พึงพิจารณาแม้โดยความเป็น ทุกข์. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- เรากล่าวเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นว่าเป็นทุกข์ พึงพิจารณาสุขเวทนา แม้โดยความเป็นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 115
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สุขเวทนา เป็นสุขเพราะดำรงอยู่. เป็นทุกข์ เพราะแปรปรวนไป. ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะดำรงอยู่. เป็นสุข เพราะแปรปรวนไป. อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้. เป็นทุกข์ เพราะไม่รู้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงพิจารณาด้วยสามารถแห่งการพิจารณาสัตว์โดย ความเป็นอนิจจังเป็นต้น แม้ในจิตและธรรมทั้งหลาย. พึงพิจารณาจิต ก่อน ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาสัตว์โดยความเป็นอนิจจังเป็นต้น ซึ่ง มีความแตกต่างกันโดยอารมณ์, อธิบดี, สหชาตะ, ภูมิ, กรรม, และ กิริยาเป็นต้นแห่งจิต ๑๖ ประเภท มีสราคจิตเป็นต้น. พึงพิจารณาธรรม ทั้งหลายด้วยสามารถแห่งสุญญตธรรมของผู้ที่เป็นไปกับด้วยลักษณะและมี สามัญญลักษณะ และแห่งการพิจารณาสัตว์โดยความเป็นอนิจจังเป็นต้น ที่มีอยู่และไม่มีอยู่เป็นต้น.
สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ย่อมได้ในจิตต่างๆ ในส่วนเบื้องต้น. ด้วยว่า บุคคลย่อมกำหนดกายด้วยจิตดวงหนึ่ง, กำหนดเวทนาทั้งหลายด้วยจิตอีก ดวงหนึ่ง. กำหนดจิตด้วยจิตอีกดวงหนึ่ง, กำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิต อีกดวงหนึ่ง. แต่ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น.
ดังนั้น สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาของผู้ที่กำหนดกายมาแต่ต้น จึง ชื่อว่ากายานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่ากายานุปัสสี.
สติ ที่สัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของผู้ที่ขวนขวายเจริญ วิปัสสนาบรรลุอริยมรรคแล้ว ชื่อว่า กายานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ ด้วย สติ นั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 116
สติ ที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ของผู้ที่กำหนดเวทนา กำหนดจิต กำหนดธรรมทั้งหลายมาแล้ว ชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ ด้วย สติ นั้น ชื่อว่า ธรรมานุปัสสี.
สติ ที่สัมปยุตด้วยมรรคในมรรคขณะ ของผู้ที่ขวนขวายเจริญ วิปัสสนาบรรลุอริยมรรคแล้ว ชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ ด้วย สติ นั้น ชื่อว่า ธรรมานุปัสสี. เทศนาเป็นบุคคลาธิษฐานเท่านี้ ก่อน.
สติ กำหนดกาย ละสุภสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค ดังนั้นจึงชื่อว่า กายานุปัสสนา.
สติ กำหนดเวทนา ละสุขสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค ดังนั้น จึงชื่อว่า เวทนานุปัสสนา.
สติ กำหนดจิต ละนิจจสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค ดังนั้น จึงชื่อว่า จิตตานุปัสสนา.
สติ กำหนดธรรม ละอัตตสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค ดังนั้น จึงชื่อว่า ธรรมมานุปัสสนา.
สติที่สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวนั่นแล ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วย อรรถว่ายังกิจ ๔ ให้สำเร็จ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ในขณะแห่ง โลกุตตรมรรค สติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้ในจิตดวงเดียวนั่นเอง. ท่านกล่าว จตุกกะ ๓ อื่นๆ ด้วยสามารถอุปการะ. ไม่เสื่อม และคุณ อีก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสติปริวชฺชนาย ความว่า ไม่มี สติ ชื่อว่า อสติ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อสติ เพราะอรรถว่า สติไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 117
มีในผู้นี้. คำว่า อสติ นี้ เป็นชื่อของสติที่ลืมแล้ว. บทว่า ปริวชฺชนาย ได้แก่ เพราะการเว้นโดยรอบ. สติย่อมเกิดขึ้นเพราะการเว้นบุคคลผู้มีสติ อันลืมแล้วเช่นกาวางก้อนข้าว, เพราะคบบุคคลผู่มีสติตั้งมั่น, และเพราะ ความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป เงื้อมไป เพื่อให้สติตั้งขึ้นพร้อมในการ ยืนและการนั่งเป็นต้น.
บทว่า สติกรณียานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่ควรทำ ด้วยสติ.
บทว่า กตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้กระทำ อธิบายว่า เพราะ ความเป็นผู้กระทำ คือเจริญมรรค ๔.
บทว่า สติปฏิปกฺขานํ ธมฺมานํ หตตฺตา ได้แก่ เพราะความ เป็นผู้ทำให้กามฉันทะเป็นต้นพินาศ.
บทว่า สตินิมิตฺตานํ ธมฺมานํ อปมุฏฺตฺตา ได้แก่ เพราะ ความเป็นผู้ไม่เสียอารมณ์ทางกายเป็นต้น ที่เป็นเหตุแห่งสติ.
บทว่า สติยา สมนฺนาคตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้มา คือ ไม่เสื่อมจากธรรมทั้งหลายด้วยสติ.
บทว่า วสิตตฺตา ได้แก่ ถึงความชำนาญ.
บทว่า ปาคุญฺตาย ได้แก่ เพราะความคล่องแคล่ว.
บทว่า อปจฺโจโรหณตาย ได้แก่ เพราะความไม่หวนกลับ คือ เพราะความไม่ถอยหลังกลับ.
บทว่า สตตฺตา ได้แก่ เพราะมีอยู่โดยสภาวะ.
บทว่า สนฺตตฺตา ได้แก่ เพราะมีสภาวะดับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 118
บทว่า สมิตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ระงับกิเลสทั้งหลายได้.
บทว่า สนฺตธมฺมสมนฺนาคตตฺตา ได้แก่ เพราะเป็นผู้ไม่เสื่อม จากธรรมของสัตบุรุษ. พุทธานุสสติเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง นั้นแล.
ชื่อว่า สติ ด้วยสามารถระลึกได้, นี้เป็นบทแสดงสภาวะของสติ.
ชื่อว่า อนุสสติ ด้วยสามารถระลึกถึง โดยระลึกบ่อยๆ.
ชื่อว่า ปฏิสฺสติ ด้วยสามารถระลึกเฉพาะ. โดยระลึกราวกะมุ่ง หน้าไป. หรือบทนี้เป็นเพียงท่านขยายด้วยอุปสรรค. อาการที่ระลึก ชื่อว่า สรณตา.
ก็เพราะบทว่า สรณตา เป็นชื่อของแม้สรณะ ๓ ฉะนั้น ท่านจึง ใช้ศัพท์สติอีก เพื่อกันสรณะ ๓ นั้น. ก็เนื้อความในบทนี้มีดังนี้ว่า ความ ระลึกได้ กล่าวคือสติ.
ชื่อว่า ธารณตา เพราะความทรงจำการเล่าเรียนพระสูตร.
ความไม่เลื่อนลอยชื่อว่า อปิลาปนตา โดยอรรถว่าหยั่งลง กล่าว คือ เข้าไปโดยลำดับ. เหมือนอย่างว่า กระโหลกน้ำเต้าเป็นต้นย่อมลอยไป ไม่เข้าไปโดยลำดับ ฉันใด, สตินี้ไม่เหมือนฉันนั้น เมื่ออารมณ์มีอยู่ ย่อม เข้าสู่อารมณ์โดยลำดับ, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความไม่เลื่อนลอย.
ชื่อว่า อปมุสฺสนตา เพราะความไม่ลืมเรื่องที่ทำไว้นานและคำที่ พูดไว้นาน.
ชื่อว่า อินทริยะ เพราะอรรถว่า ให้กระทำอรรถว่าเป็นใหญ่ ใน ลักษณะที่บำรุง. อินทรีย์ กล่าวคือสติ ชื่อว่า สตินทรีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 119
ชื่อว่า สติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในความประมาท.
ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะอรรถว่า สติแน่นอน, สตินำให้พ้นทุกข์ สติเป็นกุศล.
ชื่อว่า โพชฌังคะ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งการตรัสรู้. โพชฌงค์ที่เขาสรรเสริญและดี ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์.
บทว่า เอกายนมคฺโค ได้แก่ ทางเอก. พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ ว่า ทางนี้ไม่ใช่ทางสองแพร่ง.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถว่า พึงไปคนเดียว.
บทว่า เอเกน ความว่า พึงละความคลุกคลีด้วยหมู่ ไปคือดำเนิน ไปด้วยความสงัดซึ่งมีอรรถว่าวิเวก.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องไปของ เหล่าสัตว์. อธิบายว่า เหล่าสัตว์จากสังสารวัฏฏ์ไปสู่พระนิพพาน.
ทางไปของบุคคลเอก ชื่อว่า เอกายนะ.
บทว่า เอกสฺส ของบุคคลเอก ได้แก่ คนประเสริฐที่สุด. ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดของสัตว์ทั้งปวง. ฉะนั้นท่านจึง กล่าวว่า ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ความจริง แม้สัตว์อื่นๆ ก็ไปโดยทางนั้น โดยแท้, ถึงอย่างนั้น ทางนั้นก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั่นเอง เพราะพระองค์ทรงให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะอรรถว่า ไป. อธิบายว่า ไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 120
คือเป็นไป. ทางไปในที่เดียว ชื่อว่า เอกายนะ ท่านอธิบายไว้ว่า เป็น ไปในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มิใช่ที่อื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน สุภัททะ ทางที่ประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ย่อมได้ในธรรมวินัย นี้แล ดังนี้. นี้เป็นความต่างกันแห่งเทศนาเท่านั้น แต่เนื้อความก็อย่าง เดียวกัน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถว่า ไปสู่ที่เดียว. ท่านอธิบายไว้ว่า ในเบื้องแรกแม้เป็นไปโดยนัยภาวนาหัวข้อต่างๆ ใน ภายหลังก็ไปสู่พระนิพพานแห่งเดียวทั้งนั้น ดังนี้. เหมือนอย่างที่ท่านท้าว สหัมบดีพรหมได้กราบทูลแด่พระพุทธเจ้าไว้ว่า :-
พระพุทธเจ้า พระผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ที่สุด แห่งความเกิดและความดับจึงตรัสรู้ (สติปัฏฐาน) มรรค คือทางดำเนินทางเดียว ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อ กูล. พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ดี และพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ในกาลก่อนทุกพระองค์ ท่านได้ปฏิบัติทางสติปัฏฐานนี้. แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์และ บรรลุพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง. ใน กาลอนาคตเช่นกัน มหาบุรุษทั้งหลายทุกท่าน จักดำเนิน ตามทางสติปัฏฐานนี้ แล้วจักข้ามโอฆสงสารบรรลุพระนิพพานในโลกปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน. พระโคดมพุทธเจ้าและ พระสาวกทั้งหลายของพระองค์ ทำตนเองให้บริสุทธิ์จาก กิเลสทั้งหลาย และข้ามโอฆสงสารบรรลุพระนิพพานโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 121
ดำเนินทางสติปัฏฐานนี้.
บทว่า มคฺโค ได้แก่ ชื่อว่า มรรคด้วยอรรถว่าอย่างไร? ด้วย อรรถว่า ไปสู่พระนิพพาน. และด้วยอรรถว่า อันผู้ต้องการพระนิพพาน พึงแสวงหา.
บทว่า อุเปโต ความว่า ไปใกล้. บทว่า สมุเปโต ความว่า ไปใกล้กว่านั้น, อธิบายว่า ไม่เสื่อมจากสติ ทั้งสองบท.
บทว่า อุปคโต ความว่า เข้าไปตั้งอยู่ บทว่า สมุปคโต ความ ว่า ประกอบพร้อมตั้งอยู่ บาลีว่า อุปาคโต สมุปาคโต ดังนี้ก็มี ความว่า มาใกล้สติ ทั้งสองบท.
บทว่า อุปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บทว่า สมุปปนฺโน ได้ แก่ สมบูรณ์แล้ว. บทว่า สมนฺนาคโต ได้แก่ ไม่ขาดตกบกพร่อง.
ท่านกล่าวถึงความเป็นไปด้วยบท ๒ บทว่า อุเปโต สมุเปโต. กล่าวถึงปฏิเวธด้วยบท ๒ บทว่า อุปคโต สมุปคโต. กล่าวถึงการได้ เฉพาะ ด้วยบท ๓ บทว่า อุปปนฺโน สมุปปนฺโน สมนฺนาคโต อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า โลเก เวสา วิสตฺติกา ความว่า ตัณหานี้ใดที่ได้กล่าว แล้วโดยประการไม่น้อย ตัณหานั้นชื่อว่าวิสัตติกา. ย่อมเป็นไปในขันธโลก นั้นแล ไม่เว้นจากขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า โลเก เวตํ วิสตฺติกํ ความ ว่า ตัณหากล่าวคือที่ชื่อว่าวิสัตติกานั่น ซึ่งเป็นไปในขันธโลกนั่นแล.
ผู้มีสติ เว้นขาดกามทั้งหลายได้ ชื่อว่า ข้าม. ละกิเลสทั้งหลายได้ ตัดเหตุที่ตั้งของกิเลสเหล่านั้นได้ ชื่อว่า ข้ามพ้น. ก้าวล่วงสังสารวัฏฏ์ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 122
ชื่อว่า ก้าวล่วง. ทำปฏิสนธิให้ไม่สมควรจะเกิดขึ้น ชื่อว่า ล่วงเลย. อีกอย่างหนึ่ง ข้าม ข้ามขึ้น ด้วยกายานุปัสสนา. ข้ามพ้น ด้วย เวทนานุปัสสนา. ก้าวล่วง ด้วยจิตตานุปัสสนา. ล่วงเลยจากทุกอย่าง ด้วยธัมมานุปัสสนา.
อีกอย่างหนึ่ง ข้าม ด้วยศีล. ข้ามขึ้นด้วยสมาธิ. ข้ามพ้น ด้วย วิปัสสนา. ก้าวล่วงด้วยมรรค. ล่วงเลยด้วยผล. พึงประกอบความโดยนัย มีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
คาถาที่ ๔ มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ :- ผู้ใดย่อมปรารถนาไร่นาข้าว สาลีเป็นต้นก็ตาม, ที่ดินที่มีเรือนเป็นต้นก็ตาม, เงินกล่าวคือกหาปณะ ก็ตาม, โคและม้าชนิดต่างๆ ก็ตาม ทาสที่เกิดภายในเป็นต้นก็ตาม, กรรมกรรับจ้างเป็นต้นก็ตาม, เหล่าหญิงที่ร้องเรียกกันว่าหญิงก็ตาม, พวก พ้องโดยเป็นญาติเป็นต้นก็ตาม, หรือกามอื่นๆ เป็นอันมากมีรูปที่น่าชอบ ใจเป็นต้น.
บทว่า สาลิเขตฺตํ ได้แก่ ที่เป็นที่งอกงามแห่งข้าวสาลี. แม้ใน นาข้าวจ้าวเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
บทว่า วีหิ ได้แก่ ข้าวจ้าวที่เหลือลง.
ชื่อว่า มุคคะ- ถั่วราชมาส เพราะอรรถว่า ระคนกัน.
บทว่า ฆรวตฺถุํ ได้แก่ภูมิภาคที่จัดทำไว้สำหรับสร้างเรือน. แม้ ในที่ฉางเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
บทว่า โกฏฺโก ได้แก่ ซุ้มประตูเป็นต้น. บทว่า ปุเร ได้แก่ หน้าเรือน. บทว่า ปจฺฉา ได้แก่ หลังเรือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 123
ชื่อว่า อาราม เพราะอรรถว่า เป็นที่มายินดี. คือทำใจให้ยินดีได้, ความว่า ยินดีด้วยดอกบ้าง, ด้วยผลบ้าง, ด้วยร่มเงาบ้าง, ด้วยทัศนะบ้าง.
บทว่า ปสุกาทโย ได้แก่ แกะเป็นต้น. บทว่า อนฺโตชาตโก ได้แก่เกิดในท้องของทาสีภายในเรือน. บทว่า ธนกฺกีโต ได้แก่ ซื้อ ด้วยทรัพย์เปลี่ยนเจ้าของยึดถือไว้. บทว่า สามํ วา ได้แก่ เอง ก็ตาม
บทว่า ทาสวิยํ ได้แก่ ความเป็นแห่งทาส ชื่อว่าทาสัพยะความเป็นแห่งทาสนั้น. บทว่า อุเปติ ได้แก่ เข้าถึง. บทว่า อกามโก วา ได้แก่ ผู้ถูกนำมาเป็นเชลยด้วยความไม่ชอบใจของตนเพื่อจะแสดงทาส ทั้ง ๔ เหล่านั้นอีก. ท่านจึงกล่าวว่า อามาย ทาสาปิ ภวนฺติ เหเก คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง ดังนี้.
บทว่า อามาย ทาสา ได้แก่ ทาสที่เกิดภายใน. ทาสเหล่านั้น แหละท่านกล่าวไว้แม้ในที่นี้ว่า ทาสในที่อื่นเกิดแต่หญิงรับใช้ย่างเนื้ออ้วน ทั้งหลาย ดังนี้. บทว่า ธเนน กีตา ได้แก่ ทาสที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์ บทว่า สามญฺจ เอเก ได้แก่ เป็นทาสเอง. บทว่า ภยาปนุณฺณา ได้แก่ ทอดตัวยอมเป็นทาสเพราะกลัว.
บทว่า ภตกา ได้แก่ พวกเลี้ยงชีพด้วยรับจ้าง. ชื่อว่า กรรมกร เพราะอรรถว่า ทำงานมีกสิกรรมเป็นต้น. บทว่า อุปชีวิโน ได้ แก่ ชื่อว่าพวกอยู่อาศัย เพราะอรรถว่า เข้าไปหาด้วยกิจมีการปรึกษา หารือเป็นต้นแล้วขออยู่อาศัย.
บทว่า อิตฺถี ได้แก่ ชื่อว่าหญิง. เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งครรภ์ บทว่า ปริคฺคโห ได้แก่ มีสามี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 124
พวกพ้องทางมารดาบิดา ชื่อว่า พวกพ้องโดยเป็นญาติ. พวกพ้อง ร่วมโคตร ชื่อว่า พวกพ้องโดยโคตร. ผู้เริ่มมนต์ในสำนักอาจารย์ เดียวกัน หรือมนต์อย่างเดียวกัน ชื่อว่า พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ผู้เรียนศิลปะธนูเป็นต้นร่วมกัน ชื่อว่า พวกพ้องโดยการเรียนศิลปะ. ปาฐะในบางคัมภีร์ปรากฏว่า แม้พวกพ้องโดยความเป็นมิตร ก็ชื่อว่า พวกพ้อง.
บทว่า คิชฺฌติ ได้แก่ ปรารถนาด้วยกิเลสกาม. บทว่า อนุคิชฺฌติ ได้แก่ ปรารถนาเนืองๆ. คือปรารถนาบ่อยๆ บทว่า ปลิคิชฺฌติ ได้แก่ ปรารถนาโดยรอบ. บทว่า ปลิพชฺฌติ ได้แก่ ปรารถนาโดยพิเศษ.
อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ปรารถนา, ตามปรารถนา, ด้วยสามารถการถือโดยนิมิต. ด้วยความเป็นของโอฬาร. ปรารถนาทั่วไป. ติดพัน, ด้วยสามารถการถือโดยอนุพยัญชนะ.
คาถาที่ ๕ มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ :- กิเลสทั้งหลายย่อมครอบงำ, บังคับ, ย่ำยีซึ่งบุคคลนั้น เพราะไม่มีกำลัง, หรือกิเลสที่ไม่มีกำลังย่อม ครอบงำบุคคลนั้นผู้ไม่มีกำลัง เพราะเว้นจากกำลังคือศรัทธาเป็นต้น. อธิบายว่า ย่อมครอบงำได้ เพราะไม่มีกำลัง. ครั้งนั้นอันตรายที่ปรากฏมี ราชสีห์เป็นต้น, และอันตรายที่ไม่ปรากฏมีกายทุจริตเป็นต้น ย่อมครอบ งำบุคคลนั้น ผู้ปรารถนากาม, รักษากาม, และแสวงหากาม, แต่นั้น ทุกข์มีความเกิดเป็นต้นย่อมไปตามบุคคลนั้นผู้ที่อันตรายไม่ปรากฏครอบงำ แล้ว, ดุจน้ำไหลเข้าเรือรั่วฉะนั้น.
บทว่า อพลา ความว่า กำลังของกิเลสเหล่านั้นไม่มี เหตุนั้น กิเลสเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่มีกำลัง. คือเว้นจากกำลัง. บทว่า ทุพฺพลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 125
ได้แก่ประกอบความเฉื่อยชา คือเว้นกิจที่จะพึงทำด้วยกำลัง. บทว่า อปฺปพลา ความว่ากำลังของกิเลสเหล่านั้นน้อย คือนิดหน่อย เหตุนั้น กิเลสเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีกำลังน้อย คือไม่สามารถจะประกอบกรรมได้.
บทว่า อปฺปถามกา ความว่า เรี่ยวแรง, ความพยายาม, ความ อุตสาหะของกิเลสเหล่านั้นน้อย คือนิดหน่อย เหตุนั้น กิเลสเหล่านั้นจึง ชื่อว่ามีเรี่ยวแรงน้อย.
กิเลสเหล่านั้น ชื่อว่า เลว, ทราม, เสื่อม เพราะมีความเพียรเลว. ชื่อว่า ตกต่ำ เพราะมีเรี่ยวแรงเลว. ชื่อว่า ลามก เพราะมีปัจจัยเลว. ชื่อว่าเป็นดังค้างคาว เพราะมีอัธยาศัยเลว. ชื่อว่า เล็กน้อยเพราะมีสติเลว.
บทว่า สหนฺติ ได้แก่ ย่ำยี คือยังการกระทบให้เกิดขึ้น. บทว่า ปริสหนฺติ ได้แก่ ย่ำยีโดยประการทั้งปวง.
บทว่า อภิภวนฺติ ได้แก่ด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นไปๆ มาๆ.
บทว่า อชฺโฌตฺถรนฺติ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นบ่อยๆ.
บทว่า ปริยาทิยนฺติ ได้แก่ ด้วยการให้ซูบซีดตั้งอยู่. บทว่า มทฺทนฺติ ได้แก่ ด้วยการห้ามไม่ให้กุศลเกิดขึ้น.
บทว่า สทฺธาพลํ ความว่า ชื่อว่าศรัทธา เพราะอรรถว่า เป็น เหตุเชื่อของเหล่าสัตว์ หรือเชื่อเอง, หรือเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น.
ศรัทธานั้นมีความเชื่อเป็นลักษณะ. หรือมีความไว้ใจเป็นลักษณะ.
มีความผ่องใสเป็น รส, เหมือนแก้วมณีมีน้ำใส, หรือมีความแล่นไปเป็นรส เหมือนเรือแล่นข้ามห้วงน้ำ. มีความลุกขึ้นใช่กาลเป็น ปัจจุปัฏฐาน หรือมีความพอใจเป็น ปัจจุปัฏฐาน มีวัตถุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 126
เครื่องให้ด้วยศรัทธาเป็นปทัฏฐาน. หรือมีองค์แห่งการแรกถึง กระแสธรรมเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นเหมือนพืชที่ปลื้มใจในมือ. ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในความไม่เชื่อ.
บทว่า วิริยพลํ ได้แก่ ภาวะของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะ. หรือ กรรมของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถ ว่า พึงให้เคลื่อน, คือให้เป็นไป ด้วยวิธี. ด้วยนัย, ด้วยอุบาย.
วิริยะนั่นนั้น มีความค้ำจุนเป็นลักษณะ หรือมีความประคองเป็น ลักษณะ มีความค้ำจุนสหชาตธรรมเป็นรส. มีการไม่จมเป็น ปัจจุปัฏฐาน. มีความสังเวชหรือเรื่องปรารภความเพียรเป็นปทัฏฐาน. โดยพระบาลีว่า ผู้สังเวชย่อมเริ่มตั้งโดยแยบคาย. พึงเห็นว่า ความเพียร ที่เริ่มแล้วเป็นมูลแห่งสมบัติทุกอย่าง ชื่อว่า วีริยพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน.
ลักษณะเป็นต้นของสติ ได้กล่าวไว้แล้วเทียว. ชื่อว่า สติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในความลืมสติ.
ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่า ให้ยึดมั่น คือตั้งไว้ซึ่งสหชาต ปัจจัยทั้งหลาย โดยชอบ. สมาธินั้น มีความเป็นหัวหน้าเป็นลักษณะ, หรือมี ความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะ, หรือความไม่ฟุ้งซ่านไปเป็นลักษณะ. มี การประมวลสหชาตธรรมทั้งหลายไว้ในอารมณ์เป็นรส, ดุจน้ำประมวล จุรณสำหรับอาบไว้. มีความสงบหรือญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน สมจริงดังที่ ตรัสไว้ว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามเป็นจริง. โดยพิเศษมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 127
ความสุขเป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่า ความตั้งมั่นแห่งใจเหมือนความหยุด นิ่งของเปลวประทีปในที่สงัดลม ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่ หวั่นไหวในความฟุ้งซ่าน.
ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด, รู้ชัดอะไร? รู้ชัดอริยสัจ ทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. ปัญญานั้นมีการแทงตลอดตาม สภาวะเป็นลักษณะ, หรือมีการแทงตลอดไม่พลาดเป็นลักษณะ, เหมือน การแทงตลอดของลูกธนูที่ยิงไปด้วยธนูของผู้มีฝีมือ. มีการส่องสว่างซึ่ง อารมณ์เป็นรส. เหมือนดวงประทีป. มีความไม่ลุ่มหลงเป็นปัจจุปัฏฐาน เหมือนผู้ชี้แจงอย่างดีแก่ผู้ไปป่า. ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในอวิชชา.
บทว่า หิริพลํ โอตฺตปฺปพลํ ความว่า ชื่อว่า หิริพละ เพราะ อรรถว่า ไม่หวั่นไหวในคนไม่มีหิริ ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะ อรรถว่า ไม่หวั่นไหวในคนไม่มีโอตตัปปะ.
พรรณนาเนื้อความของบททั้งสองมีดังต่อไปนี้. ชื่อว่า หิริ เพราะ อรรถว่า ละอายต่อกายทุจริตเป็นต้น. คำว่า หิริ นี้เป็นชื้อของความ ละอาย. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวต่อกายทุจริตเป็น ต้นเหล่านั้นแล. คำว่า โอตตัปปะ นี้เป็นชื่อของความหวาดสะดุ้งต่อ บาป.
เพื่อแสดงการกระทำต่างๆ ของหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น ท่านเว้น มาติกานี้ สมุฏฐานที่สำคัญมีความละอายเป็นต้นเป็นลักษณะ ดังนี้เสีย, กล่าวกถาพิสดารต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 128
ชื่อว่า หิริ มีสมุฏฐานภายใน, ชื่อว่า โอตตัปปะ มีสมุฏฐาน ภายนอก.
ชื่อว่า หิริ มีตนเป็นใหญ่. ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นใหญ่.
ชื่อว่า หิริ ตั้งอยู่ด้วยสภาวะละอาย, ชื่อว่า โอตตัปปะ ตั้งอยู่ ด้วยสภาวะกลัว.
ชื่อว่า หิริ มีความตกลงเป็นลักษณะ ชื่อว่า โอตตัปปะ มี ความเป็นผู้เห็นภัยของผู้กลัวความผิดเป็นลักษณะ.
บรรดาหิริและโอตตัปปะ ๒ นั้น บุคคลยังหิริมีสมุฏฐานภายในให้ ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ อย่างคือ :- พิจารณาชาติ, พิจารณาวัย, พิจารณาความ เป็นผู้กล้า, พิจารณาความเป็นพหูสูต. อย่างไร?
บุคคล พิจารณาชาติ อย่างนี้ก่อนว่า ชื่อว่า การกระทำบาป ไม่ใช่การกระทำของผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ. การการทำบาปนี้ เป็นการกระทำ ของพวกมีชาติต่ำ มีพวกประมงเป็นต้น. การกระทำกรรมนี้ไม่สมควรแก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นท่าน ดังนี้. กระทำบาปมีปาณาติบาต เป็นต้น ยังหิริให้ตั้งขึ้น.
บุคคล พิจารณาวัย อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปอย่างนั้นๆ เป็นกรรมที่พวกคนหนุ่มพึงกระทำ. การกระทำกรรมนี้ ไม่สมควรแก่ผู้ที่ ตั้งอยู่ในวัยเช่นท่าน ดังนี้. ไม่กระทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ยังหิริ ให้ตั้งขึ้น.
บุคคล พิจารณาความเป็นผู้กล้า อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำ บาปอย่างนั้นๆ เป็นการกระทำของพวกมีชาติทุรพล. การกระทำกรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 129
นี้ ไม่สมควรแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้กล้าเช่นท่าน ดังนี้. ไม่การทำ บาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ยังหิริให้ตั้งขึ้น.
บุคคล พิจารณาความเป็นพหูสูต อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำ บาปอย่างนอนๆ เป็นการกระทำของพวกอันธพาล. ไม่ใช่ของพวก บัณฑิต. การกระทำกรรมนี้ ไม่สมควรแก่บัณฑิตผู้เป็นพหูสูตเช่นท่าน ดังนี้. ไม่กระทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ยังหิริให้ตั้งขึ้น บุคคลยังหิริให้ ตั้งขึ้น. ด้วยเหตุ ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. ก็และครั้นให้หิริตั้งขึ้นแล้ว ยังหิริให้ เข้าไปในจิตของตน จึงไม่กระทำบาป. ขอว่าหิริมีสมุฏฐาน ภายใน ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่าโอตตัปปะมีสมุฏฐานภายนอก อย่างไร?
บุคคลพิจารณาอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักการทำกรรมลามก ท่านก็จัก ถูกติเตียนในบริษัท ๔ :-
วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนท่าน. เหมือนชาววังติเตียน คนไม่สะอาด. ท่านถูกผู้มีศีลทั้งหลายสละแล้ว. ท่านเป็นภิกษุ จักกระทำอย่างไร ดังนี้.
ย่อมไม่กระทำกรรมลามก เพราะโอตตัปปะอันมีสมุฏฐานนอก ชื่อว่า โอตตัปปะมีสมุฏฐานภายนอก อย่างนี้.
ชื่อว่า หิริมีตนเป็นใหญ่ อย่างไร?
กุลบุตรบางคนในโลกนี้ กระทำตนให้เป็นใหญ่ คือ เจริญที่สุด ย่อมไม่กระทำบาปด้วยพิจารณาว่า การกระทำกรรมลามก ไม่สมควรแก่ผู้ บวชด้วยศรัทธาเช่นท่าน. ผู้เป็นพหูสูต, ทรงธุดงค์ ชื่อว่า หิริมีตนเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 130
ใหญ่ อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุลบุตรครั้น กระทำตนนั่นแลให้เป็นใหญ่. ละอกุศลเจริญกุศล. ละกรรมมีโทษเจริญ กรรมไม่มีโทษ. บริหารตนให้บริสุทธิ์.
ชื่อว่า โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่ อย่างไร?
กุลบุตรบางตนในโลกนี้ กระทำโลกให้เป็นใหญ่ คือเจริญที่สุด ย่อมไม่กระทำกรรมลามกเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า :- ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่ แล. ในโลกสันนิวาสนี้ มีสมณพราหมณ์เป็นผู้มีฤทธิ์, มีทิพยจักษุ รู้แจ้งจิตของผู้อื่น. มีพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเห็นแม้แต่ที่ไกล คนทั้ง หลายไม่เห็นท่านแม้ในที่ใกล้ ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต. สมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้นจักรู้ซึ่งเราอย่างนี้ว่า :- ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงดูกุลบุตรนี้เขามีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน. ยังเต็มด้วย บาปอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่. มีเทวดาเป็นผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้แจ้งจิต ของผู้อื่น. เทวดาเหล่านั้นย่อมเห็นแม้แต่ที่ไกล คนทั้งหลายไม่เห็นท่าน แม้ในที่ใกล้ ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต. เทวดาแม้เหล่านั้น จักรู้ซึ่งเรา ว่า :- ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน. ยังเต็มด้วยบาปอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่. กุลบุตรนั้นกระทำโลกนั่นแลให้เป็นใหญ่, ละอกุศลเจริญกุศล, ละกรรม โทษเจริญกรรมไม่มีโทษ, บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้. ชื่อว่าโอตตัปปะ มีโลกเป็นใหญ่อย่างนี้.
ก็ในสองบทว่า หิริ ตั้งอยู่ด้วยสภาวะละอาย โอตตัปปะ ตั้งอยู่ ด้วยสภาวะกลัว นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 131
บทว่า ลชฺชา ได้แก่ อาการที่ละอาย หิริตั้งอยู่ด้วยสภาวะนั้น.
บทว่า ภยํ ได้แก่ ภัยในอนาคต โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาวะนั้น
หิริและโอตตัปปะทั้งสองนั้น ย่อมปรากฏในการเว้น ขาดจากบาป, เหมือนอย่างบุคคลบางคนก้าวลงสู่ลัชชีธรรมแล้ว ย่อมไม่ทำบาปเหมือน บุรุษคนหนึ่งกำลังถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่, เห็นคนคนหนึ่งซึ่งควรจะละอาย, พึงถึงอาการละอายเป็นผู้กระดากอาย ฉะนั้น บุคคลบางคนเป็นผู้กลัวแต่ ภัยในอบาย ย่อมไม่ทำบาป. ในข้อนั้นมีอุปมาดังนี้ :-
เหมือนอย่างว่า มีก้อนเหล็กสองก้อน ก้อนหนึ่งเย็น เปื้อนคูถ. ก้อนหนึ่งร้อน ไฟลุกแดง. ในก่อนเหล็กสองก้อนนั้น คนฉลาดย่อม รังเกียจไม่จับก้อนเย็นเพราะเปื้อนคูถ. ไม่จับก้อนร้อนเพราะกลัวร้อน. ในข้อนั้นพึงทราบว่า การก้าวลงสู่ลัชชีธรรมภายในไม่ทำบาปเหมือนการ ไม่จับเหล็กก้อนเย็นเพราะรังเกียจที่เปื้อนคูถ. การไม่ทำบาปเพราะกลัวภัย ในอบายเหมือนการไม่จับเหล็กก้อนร้อนเพราะกลัวร้อน.
หิริมีความตกลงเป็นลักษณะ. โอตตัปปะ มีความเป็นผู้ เห็นภัยของผู้กลัวความผิดเป็นลักษณะ แม้ทั้งสองนี้ ย่อมปรากฏในการ เว้นขาดจากบาปนั่นแล.
ก็บุคคลบางคนยังหิริซึ่งมีความตกลงเป็นลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำ บาปด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ พิจารณาความยิ่งใหญ่ของชาติ, พิจารณา ความยิ่งใหญ่ของศาสดา, พิจารณาความยิ่งใหญ่ของมรดก, พิจารณา ความยิ่งใหญ่ของเพื่อนพรหมจารี.
บุคคลบางคนยังโอตตัปปะซึ่งมีความเป็นผู้เห็นภัยของผู้กลัวความผิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 132
เป็นลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยอาการ ๔ อย่าง คือกลัวติเตียน ตนเอง, กลัวผู้อื่นติเตียน, กลัวอาชญา, กลัวทุคติ.
การพิจารณาความยิ่งใหญ่ของชาติเป็นต้น และความกลัวติเตียน ตนเองเป็นต้น พึงกล่าวให้พิศดารในเรื่องนั้น.
พละ ๗ อย่างที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสทั้งหลาย เหล่านั้น ย่อมครอบงำ ฯลฯ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้นแล.
บทว่า เทฺว ปริสฺสยา ความว่า อันตรายมี ๒ อย่าง คือที่ปรากฏ และไม่ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ ๑ ไม่ใช่ ๓. เพื่อจะแสดงอันตรายเหล่า นั้นเป็นส่วนๆ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตเม ปากฏ- ปริสฺสยา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกกา ได้แก่ สุนัขป่ามีเสียงเหมือน เสียงร้องของนกยูง, อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้แหละ.
บทว่า มาณวา ได้แก่ ผู้ประกอบการงานผลุนผลัน.
บทว่า กตกมฺมา ได้แก่ ผู้ทำโจรกรรมมีตัดที่ต่อเป็นต้น.
บทว่า อกตกมฺมา ได้แก่ ผู้ออกเพื่อจะทำโจรกรรม.
บทว่า อสฺส ในที่นี้ แปลว่า พึงเป็น.
บทว่า จกฺขุโรโค ได้แก่ โรคที่เกิดในจักษุ. ชื่อว่า โรค ด้วย อรรถว่า เสียดแทง.
บทว่า จกฺขุโรโค เป็นต้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งวัตถุ ก็ ธรรมดาโรคย่อมไม่มีแก่คนประสาทดี.
บทว่า กณฺณโรโค ได้แก่ โรคหูข้างนอก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 133
บทว่า มุขโรโค ได้แก่ โรคที่เกิดในปาก.
บทว่า ทนฺตโรโค ได้แก่ โรคปวดฟัน.
บทว่า กาโส ได้แก่ โรคไอ.
บทว่า สาโส ได้แก่ โรคอาเจียนที่เป็นมาก.
บทว่า ปินาโส ได้แก่ โรคนาสิกข้างนอก.
บทว่า ฑโห ได้แก่ ความร้อนที่เกิดภายใน.
บทว่า มุจฺฉา ได้แก่ โรคขาดสติ.
บทว่า ปกฺขนฺทิกา ได้แก่ โรคท้องร่วงเป็นโลหิต, โรคลงแดง.
บทว่า สุลา ได้แก่ โรคเสียดท้อง.
บทว่า วิสูจิกา ได้แก่ โรคท้องร่วงอย่างแรง.
บทว่า กิลาโส ได้แก่ โรคกลาก.
บทว่า โสโส ได้แก่ โรคมองคร่อ ทำให้ผอมแห้ง.
บทว่า อปมาโร ได้แก่ โรคผีสิง เป็นโรคที่เกิดแต่ผู้มีเวร หรือ ยักษ์เบียดเบียน.
บทว่า ททฺทุ ได้แก่ โรคหิดเปื่อย.
บทว่า กณฺฑุ ได้แก่ โรคหิดด้าน.
บทว่า กจฺฉุ ได้แก่ โรคคุดทะราด, หูด.
บทว่า รขสา ได้แก่ โรคเป็นตรงที่เล็บข่วน. บาลีว่า นขสา ก็มี.
บทว่า วิตจฺฉิกา ได้แก่ โรคที่เกิดขึ้นที่ฝ่ามือฝ่าเท้าแตกเป็นริ้วๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 134
บทว่า โลหิตปิตฺตํ ได้แก่ โรคดีกำเริบ. ท่านอธิบายว่า โรค ดีแดง.
บทว่า มธุเมโห ได้แก่ โรคร้ายภายในร่างกาย. สมจริงดังที่ท่าน กล่าวไว้ว่า อีกอย่างหนึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคร้ายแรง.
บทว่า อํสา ได้แก่ โรคริดสีดวงงอก.
บทว่า ปิฬกา ได้แก่ โรคพุพอง.
บทว่า ภคนฺทลา ได้แก่ โรคริดสีดวงทวาร เพราะอรรถว่า ทำลายอวัยวะ, อธิบายว่า ผ่าวัจจมรรค.
บทว่า ปิตฺตสมุฏฺานา ความว่า มีดีเป็นสมุฏฐาน. คือเป็นที่ เกิดขึ้นของอาพาธเหล่านั้น, ได้ยินว่า อาพาธเหล่านั้นมี ๓๒ ชนิด. แม้ ในอาพาธที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐานเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า สนฺนิปาติกา ได้แก่อาพาธที่เกิดขึ้นด้วยลม ดี และ เสมหะประชุมกัน คือรวมกัน. ชื่อว่า อาพาธ ด้วยอรรถว่า เบียด เบียน.
บทว่า อุตุปริณามชา ได้แก่ โรคที่เกิดขึ้นเพราะฤดูแปรปรวน คือร้อนเกินไปหนาวเกินไป.
บทว่า วิสมปริหารชา ได้แก่ เกิดการบริหารไม่สม่ำเสมอ มียืนและนั่งเกินไปเป็นต้น.
บทว่า โอปกฺกมิกา ได้แก่ ที่เกิดด้วยความพยายามมีการฆ่าและ จองจำเป็นต้น.
บทว่า กมฺมวิปากชา ได้แก่ เกิดแต่วิบากแห่งกรรมที่มีกำลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 135
อาพาธในบทว่า สีตํ อุณฺหํฯ เปฯ สมฺผสฺสา เหล่านี้ ปรากฏ แล้วทั้งนั้น.
บทว่า กตเม ปฏิจฺฉนฺนปริสฺสยา ความว่า พระสารีบุตรเถระ ถามว่า อันตรายปกปิดที่ไม่ปรากฏ เป็นไฉน?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุจฺจริตํ พึงทราบว่า เจตนาใน ปาณาติบาต, อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร.
บทว่า วจีทุจฺจริตํ พึงทราบว่า เจตนาในการพูดเท็จ, พูดส่อ เสียด, พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ.
บทว่า มโนทุจฺจริตํ พึงทราบว่า อภิชฌา, พยาบาท และมิจฉา ทิฏฐิ.
ชื่อว่า กายทุจริตเพราะอรรถว่า ความประพฤติชั่วที่เป็นไปทางกาย หรือความประพฤติชั่วเพราะความเป็นผู้ประทุษร้ายด้วยกิเลส แม้ในวจี ทุจริตเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลใคร่, ได้แก่ กามคุณ ๕. ความพอใจในกามทั้งหลาย ชื่อว่า กามฉันทะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า ใคร่. ความพอใจคือความใคร่ ชื่อว่า กามฉันทะ. ความว่า ไม่ใช่ความพอใจใคร่จะทำงาน, กามตัณหานั่นแหละมีชื่ออย่าง นี้. ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะอรรถว่า กั้นกุศลธรรมทั้งหลาย. นิวรณ์คือ กามฉันทะ ชื่อว่า กามฉันทนิวรณ์. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็มีนัย อย่างนี้.
ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องถึงความพินาศ. คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 136
จิตเข้าถึงความเสีย หรือให้ถึงความพินาศ คือยังสมบัติคือวินัยและอาจาร หรือประโยชน์เกื้อกูลและความสุขเป็นต้น ให้พินาศ.
ความหดหู่ ชื่อว่า ถีนะ. ความเคลิบเคลิ้ม ชื่อว่า มิทธะ. อธิบายว่า ความไม่ขะมักเขม้น และความทำลายสมบัติ. ถีนะด้วย มิทธะ ด้วย ชื่อว่า ถีนมิทธะ. ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ มีความไม่ขะมักเขม้น เป็นลักษณะ. มีการบรรเทาความเพียรเป็นรส, มีความจมลงเป็นปัจจุ- ปัฏฐาน. มิทธะ มีความไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะ, มีความตก ต่ำเป็นรส, มีความเหี่ยวแห้งหรือความเคลิ้มหลับเป็นปัจจุปัฏฐาน. ทั้ง ถีนะและมิทธะ มีอโยนิโสมนสิการในความริษยา ความเฉื่อยชาและ หาวนอนเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน.
ความเป็นแห่งคนฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ อุทธัจจะนั้นมีความ ไม่สงบเป็นลักษณะ, มีความไม่ตั้งมั่นเหมือนน้ำกระเพื่อมเพราะถูกลมพัด เป็นรส, มีจิตกวัดแกว่งเหมือนธงปฏากสะบัดเพราะถูกลมพัดเป็นปัจจุ- ปัฏฐาน, มีอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจเหมือนเถ้าฟุ้งขึ้นเพราะถูก แผ่นหินทุ่มเป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่าความฟุ้งซ่านแห่งจิตนั้นเอง.
ความน่าเกลียดที่บุคคลกระทำแล้ว ชื่อว่า กุกกตะ. ความเป็นแห่ง กุกกตะนั้น ชื่อว่า กุกกุจจะ ความรำคาญ. กุกกุจจะนั้นมีความตาม เดือดร้อนภายหลังเป็นลักษณะ, มีความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ทำแล้วยังไม่ได้ทำ เป็นรส, มีความร้อนใจเป็นปัจจุปัฏฐาน, มีสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ เป็นปทัฏฐาน, พึงเห็นอุทธัจจะและกุกกุจจะเหมือนความเป็นทาส.
ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า ปราศจากการเยียวยา, อีกอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 137
หนึ่ง ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องค้นคว้าสภาวะฝืดเคือง ลำบาก. วิจิกิจฉานั้น มีความสงสัยเป็นลักษณะ, มีการเสือกสนเป็นรส, มีความไม่ตกลงหรือความยึดถือหลายส่วนเป็นปัจจุปัฏฐาน. วิจิกิจฉามี อโยนิโสมนสิการเป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่ากระทำอันตรายแก่การปฏิบัติ.
ราคะ มีความกำหนัดเป็นลักษณะ. โทสะ มีความประทุษร้าย เป็นลักษณะ. โมหะ มีความหลงเป็นลักษณะ.
โกธะ มีความโกรธหรือความดุร้ายเป็นลักษณะ, มีการกระทำ ความอาฆาตเป็นรส, มีความประทุษร้ายเป็นปัจจุปัฏฐาน.
อุปนาหะ มีความผูกใจเจ็บเป็นลักษณะ, มีความจองเวรเป็น รส, มีความเข้าไปผูกโกรธเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่าความ โกรธมีก่อน ความผูกโกรธมีภายหลัง เป็นต้น.
มักขะ มีความลบหลู่คุณท่านเป็นลักษณะ, มีการทำให้ท่านเหล่า นั้นเสียหายเป็นรส, มีการปกปิดคุณความดีของท่านเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ปลาสะ มีการเทียบคู่เป็นลักษณะ, มีการกระทำคุณของตนให้ เสมอกับคุณของผู้อื่นเป็นรส, มีการยกขึ้นเทียบคุณของผู้อื่นเป็นปัจจุปัฏ- ฐาน.
อิสสา มีการทำสมบัติของผู้อื่นให้สิ้นไป หรือทนไม่ได้ต่อสมบัติ นั้นเป็นลักษณะ, มีความไม่ยินดียิ่งในสมบัตินั้นเป็นรส, มีความเบือน หน้าจากสมบัตินั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน.
มัจเฉระ มีการซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะ, มีความทนไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 138
ที่สมบัติของตนจะสาธารณ์ไปถึงผู้อื่นเป็นรส, มีความสยิ้วหน้าเป็น ปัจจุปัฏฐาน.
มายา มีการปกปิดความชั่วที่ตัวทำเป็นลักษณะ, มีการอำพราง ความชั่วที่ตัวทำนั้นเป็นรส, มีการกำบังความชั่วที่ตัวทำนั้นเป็นปัจจุ- ปัฏฐาน.
สาไถย มีการประกาศคุณของตนซึ่งไม่มีเป็นลักษณะ, มีการ เปล่งถึงคุณเหล่านั้นเป็นรส, มีการทำคุณเหล่านั้นปรากฏด้วยกิริยาท่าทาง เป็นปัจจุปัฏฐาน.
ถัมภะ มีความลำพองแห่งจิตเป็นลักษณะ, มีความประพฤติไม่ เชื่อฟังเป็นรส, มีความไม่อ่อนโยนเป็นปัจจุปัฏฐาน.
สารัมภะ มีกระทำยิ่งๆ ขึ้นไปเป็นลักษณะ, มีความเป็นข้าศึก เป็นรส, มีความไม่เคารพเป็นปัจจุปัฏฐาน.
มานะ มีความหยิ่งเป็นลักษณะ, มีความทะนงตัวเป็นรส, มีความ ลำพองเป็นปัจจุปัฏฐาน.
อติมานะ มีความหยิ่งอย่างยิ่งเป็นลักษณะ, มีความทะนงตัวเหลือ เกินเป็นรส, มีความลำพองยิ่งเป็นปัจจุปัฏฐาน.
มทะ มีความเมาเป็นลักษณะ, มีการนำไปซึ่งความมัวเมาเป็นรส, มีความมัวเมาเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ปมาทะ มีความปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕ เป็นลักษณะ, มีการ เพิ่มความปล่อยจิตเป็นรส, มีความขาดสติเป็นปัจจุปัฏฐาน. ลักษณะ๑
๑. ลักขณาทิจตุกกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 139
เป็นต้นของธรรมเหล่านี้ พึงทราบด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นความย่อใน เรื่องนี้.
ส่วนความพิสดาร พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์. มีอาทิ ว่า บรรดาบทเหล่านั้น ความโกรธ เป็นไฉน ดังนี้. แต่ในที่นี้ พึง ทราบเป็นพิเศษดังต่อไปนี้ :-
คนปรารถนาอามิส เมื่อตนเองไม่ได้ ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้. ความ โกรธของเขาที่เกิดครั้งเดียว เป็นความโกรธนั่นเอง. ที่เกิดยิ่งขึ้นไปกว่า นั้น เป็นความผูกโกรธไว้. ผู้นั้นโกรธอย่างนี้ และผูกโกรธไว้ ย่อมลบ หลู่คุณแม้ที่มีอยู่ของผู้อื่นที่ได้ลาภ. และตีเสมอว่าแม้เราก็เป็นเช่นนั้น. นี้ เป็นความลบหลู่คุณท่านและตีเสมอของเขา. คนที่มีความลบหลู่คุณท่าน มีความตีเสมอนั้น ย่อมริษยา, ย่อมประทุษร้ายในลาภสักการะเป็นต้นของ คนอื่นว่า สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ผู้นี้. นี้เป็นความริษยาของเขา. ก็ ถ้าเขามีสมบัติอะไรๆ เขาไม่อาจจะใช้จ่ายสมบัติของเขาเป็นสาธารณะได้. นี้เป็นความตระหนี่ของเขา. เขาปกปิดโทษทั้งหลายแม้ที่มีอยู่ของตน, เพราะเหตุแห่งลาภ. นี้เป็นมายาของเขา. เขาประกาศคุณทั้งหลายซึ่งไม่มี อยู่เลย นี้เป็นสาไถยของเขา. เขาปฏิบัติอย่างนี้. ถ้าได้ลาภตามประสงค์ เป็นผู้กระด้าง, มีจิตไม่อ่อนโยน. ด้วยเหตุนั้นไม่อาจที่จะกล่าวสอนว่า เรื่องนี้ไม่ควรทำอย่างนี้. นี้เป็นความหัวดื้อของเขา. ก็ถ้าใครๆ พูดอะไรๆ ว่า เรื่องนี้ ท่านไม่ควรทำอย่างนี้. ย่อมมีใจปั่นป่วนเพราะเหตุนั้น จึงมี หน้าสยิ้วกล่าวข่มขู่ว่า แกเป็นอะไรของข้า นี้เป็นความแข่งดีของเขา. แต่ นั้นเขามีความหัวดื้อสำคัญตนว่า เราเท่านั้นประเสริฐกว่า เป็นผู้มีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 140
ถือตัว ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความแข่งดีว่า คนเหล่านี้เป็นอะไร. เป็นผู้ดูหมิ่น ท่าน นี้เป็นความถือตัวและดูหมิ่นท่านของเขา. เขายังความมัวเมาหลาย อย่างมีความมัวเมาชาติเป็นต้น ให้เกิดด้วยความถือตัวและดูหมิ่นท่านเหล่า นั้น. เป็นผู้มัวเมาย่อมประมาทในวัตถุทั้งหลายต่างโดยกามคุณเป็นต้น. นี้ เป็นความมัวเมาและความประมาทของเขา ดังนี้.
บทว่า สพฺเพ กิเลสา ความว่า อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง ชื่อว่า กิเลส ด้วยอรรถว่า แผดเผา. และด้วยอรรถว่า เบียดเบียน. ชื่อว่า ทุจริต เพราะถูกกิเลสประทุษร้าย. ชื่อว่า ความกระวนกระวาย ด้วย อรรถว่า ทำความกระวนกระวาย. ชื่อว่า ความเร่าร้อน ด้วยอรรถว่า ทำการเผาภายในเป็นต้น. ชื่อว่า ความเดือดร้อน ด้วยอรรถว่า เผาไหม้ ทุกเมื่อ. ชื่อว่า อกุศลธรรมทั้งปวง ด้วยอรรถว่า เกิดแต่ภาวะแห่งอกุศล. และด้วยอรรถว่า ปรุงแต่ง.
บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ ด้วยอรรถอะไร? เพื่อจะแสดงเนื้อ ความตามอย่าง มีครอบงำเป็นต้น. พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้น ว่า ปริสหนฺตีติ ปริสฺสยา ดังนี้.
บทว่า ปริสหนฺติ ความว่า ย่อมยังทุกข์ให้เกิดขึ้น, ย่อมครอบงำ.
บทว่า ปริหานาย สํวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อสละกุศล ธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ตตฺราสยา ความว่า อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอาศัย คือ ย่อมอยู่ในสรีระนั้น. อธิบายว่า ย่อมเกิดขึ้น.
บทว่า เต ปริสฺสยา ได้แก่ อันตรายมีกายทุจริตเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 141
บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ อนฺตรายาย ความว่า ย่อมเป็นไป เพื่ออันตรธานไปคือเห็นไม่ได้ แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดแต่ภาวะที่เป็นกุศล มีสัมมาปฏิปทาเป็นต้น ที่พึงกล่าวในเบื้องบน.
บทว่า สมฺมาปฏิปทาย ได้แก่ ปฏิปทาที่ดีงามอันบัณฑิตสรรเสริญ ไม่ใช่มิจฉาปฏิปทา.
บทว่า อนุโลมปฏิปทาย ได้แก่ ปฏิปทาที่ไม่ขัดขวาง, ไม่ใช่ ปฏิทาที่ทวนกลับ.
บทว่า อปจฺจนิกปฏิปทาย ได้แก่ ไม่ใช่ปฏิปทาเป็นข้าศึก. คือ ไม่ใช่ปฏิปทาที่ขัดแย้ง.
บทว่า อนฺวตฺถปฏิปทาย ได้แก่ ปฏิปทาที่คล้อยตามประโยชน์, คือปฏิปทาที่ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น. ท่านอธิบายไว้ว่า ปฏิปทาที่พึงปฏิบัติอย่าง ที่จะเกิดประโยชน์. บาลีว่า อตฺตตฺถปฏิปทาย ดังนี้ก็มี. ข้อนั้นไม่ดี.
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปทาย ความว่า โลกุตตรธรรม ๙ ชื่อว่า ธรรม. วิปัสสนาเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมอันสมควร. ปฏิปทาอันสมควรแก่ ธรรมนั้น ชื่อว่า อนุธรรมปฏิปทา แห่งความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั้น.
บทว่า สีเลลุ ปริปูริการิตาย ได้แก่ ความเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล คือพระปาฏิโมกข์ กระทำให้บริบูรณ์.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตาย ได้แก่ ความเป็นผู้มีทวาร อันคุ้มครองดีแล้วในอินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖. ที่ตรัสไว้โดยนัยว่า เห็นรูป ด้วยจักษุ เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 142
บทว่า โภชเน มตฺตญฺญุตาย ได้แก่ ความเป็นผู้มีโภชนะอัน นับแล้วด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยประมาณในการรับเป็นต้น ละผ้าสาฎก ที่ประดับเป็นต้นเสีย.
บทว่า ชาคริยานุโยคสฺส ได้แก่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็น เครื่องตื่น ๕ ประการ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น ทั้งหลาย ดังนี้. ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน.
บทว่า สติสมฺปชญฺสฺส ได้แก่ สติและสัมปชัญญะซึ่งเป็น อุปการะทุกเมื่อ แก่พระโยคาวจรทุกท่าน ผู้ประกอบการเจริญ กรรมฐาน ทั้งปวง.
บทว่า สติปฏฺานานํ ความว่า ชื่อว่า การตั้ง เพราะคร่ำครวญ เรียกร้องเข้าไปตั้งไว้ในอารมณ์ทั่งหลาย. การตั้งสตินั้นแล ชื่อว่า สติ- ปัฏฐาน. ก็สติปัฏฐานนั้นมี ๔ ประเภท คือ กาย, เวทนา, จิต, ธรรม. ให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งการละโดยเป็นอาการที่ไม่งาม, เป็น ทุกข์, ไม่เที่ยง, ไม่ใช่ตัวตน, และด้วยสามารถแห่งการให้สำเร็จ กิจการละความสำคัญว่า งาม, เป็นสุข, เที่ยง, เป็นตัวตน. สติ ปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น.
บทว่า จตุนฺนํ สมฺมปฺปธานานํ ความว่า ชื่อว่า ปธาน เพราะ อรรถว่า เป็นเครื่องเริ่มตั้ง. ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะอรรถว่า ความ เริ่มตั้งงาม, หรือเป็นเครื่องเริ่มตั้งโดยชอบ, อีกอย่างหนึ่ง ความเริ่มตั้ง นั้นชื่อว่างาม, เพราะเว้นจากกิเลสชนิดต่างๆ และชื่อว่า ปธาน เพราะ นำมาซึ่งภาวะประเสริฐที่สุด ด้วยความเป็นคุณธรรมให้สำเร็จประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 143
เกื้อกลและความสุข และเพราะการกระทำความเป็นปธาน ดังนั้นจึงชื่อว่า สัมมัปปธาน. คำว่า สมฺมปฺปธานํ นี้เป็นชื่อของความเพียร. การแบ่ง สัมมัปปธานเป็น ๔ ย่อมเป็นไปโดยให้สำเร็จกิจคือ ละ, ไม่เกิด, เกิดขึ้น และตั้งอยู่แห่งอกุศลและกุศลทั้งหลายที่เกิดและไม่เกิดด้วย, ที่ไม่เกิดและ เกิดด้วยสัมมัปปธาน ๔ เหล่านั้น.
ในบทว่า จตุนฺนํ อิทฺธิปาทานํ นี้ มีวินิจฉัยว่า บรรดา ฉันทะ วิริยะ จิตตะและวิมังสาทั้งหลาย แต่ละอย่างชื่อว่า อิทธิ เพราะ อรรถว่า สำเร็จ. อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรือง คือ ย่อมผลิต. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องสำเร็จ. คือ มั่งคั่ง, เจริญ, ถึง ความดีเลิศของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอรรถที่หนึ่ง เครื่องบรรลุคือความสำเร็จ ชื่ออิทธิบาท อธิบายว่า ส่วนคือความสำเร็จ. ด้วยอรรถที่สอง ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะเป็นเครื่องถึงซึ่งความสำเร็จ.
บทว่า ปาโท ได้แก่ ที่ตั้ง อธิบายว่า อุบายเป็นเครื่องบรรลุ. ด้วยว่าธรรมทั้งหลายย่อมยังความสำเร็จกล่าวคือความวิเศษยิ่งๆ ขึ้นไปให้ เกิดขึ้น. คือย่อมบรรลุ ด้วยอิทธิบาทนั้น. ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็น เครื่องบรรลุอิทธิบาท ๔ เหล่านั้น.
บทว่า สตฺตนฺนํ โพชฺฌงฺคานํ ความว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้. หรือแห่งความตรัสรู้. ท่าน อธิบายไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำวิเคราะห์ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ ธรรมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา ซึ่งเกิดขึ้นในขณะแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 144
โลกุตตรมรรค. เป็นปฎิปักษ์ต่ออันตรายิกธรรมทั้งหลายมิใช่น้อย. มีความ หดหู่, ความฟุ้งซ่าน การแต่งตั้ง การประมวลมา, กามสุขอัตตกิลมถานุโยค, อุจเฉททิฏฐิ, สัสสตทิฏฐิและความยึดมั่นเป็นต้น.
บทว่า พุชฺฌติ ความว่า ลุกขึ้นจากความหลับอันสืบต่อกิเลส. คือแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานทีเดียว. ชื่อว่า โพชฌงค์ แม้เพราะเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้, กล่าวคือ ธรรม สามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น. เพราะอริยสาวกแม้นี้ใด ท่านเรียกว่า ตรัสรู้ เพราะทำวิเคราะห์ว่า ตรัสรู้ด้วยธรรม สามัคคีนั่นซึ่งมีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า โพชฌงค์. แม้เพราะเป็น องค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้น เหมือนองค์แห่งเสนาเป็นต้น. เพราะ เหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ดังนี้, โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น.
บทว่า อริยสฺส อฏงฺคิกสฺส มคฺคสฺส ความว่า เรียกว่า อริยะ ในบทว่า อริโย นั้น เพราะไกลจากกิเลสที่พึงฆ่าด้วยมรรคนั้นๆ. เพราะ การทำความเป็นอริยะ, และเพราะเป็นผู้ได้เฉพาะซึ่งอริยผล. ทางชื่อว่า อัฏฐังคิกะ เพราะอรรถว่า มีองค์ ๘. ทางนี้นั้นชื่อว่า มรรค เพราะ อรรถว่า แสวงหา คือ ฆ่ากิเลสทั้งหมดไปสู่พระนิพพาน. เหมือนเสนา มีองค์ ๔, ดนตรีมีองค์ ๕ ซึ่งเป็นเพียงองค์เท่านั้น ผู้ปลดเปลื้ององค์ไม่มี. ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘.
บทว่า อิเมสํ กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ กุศลธรรมอันเป็น โลกุตตระ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า อนฺตรายาย ได้แก่ เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 145
เป็นอันตรายคือเพื่ออันตรธานแห่งโลกุตตรธรรมทั้งหลาย. คือเพื่อสละ กุศลธรรมที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระในกุศลธรรมเหล่านั้น. ชื่อว่าเป็น อันตราย เพราะอรรถว่า ไม่ให้โลกุตตรธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น. อันตราย เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่นำความเสียหายมาให้.
บทว่า ตตฺเถเต ได้แก่ อกุศลธรรมเหล่านั้นในอัตภาพนั้น.
บทว่า ปาปกา แปลว่า ลามก.
บทว่า อตฺตภาวสนฺนิสฺสยา ความว่า อกุศลธรรมอันลามก เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรมอยู่อาศัยในอันตราย เพราะอรรถว่าเข้าไปอาศัย อัตภาพเกิดขึ้นเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าอันตราย.
บทว่า ทเก แปลว่า ในน้ำ.
บทว่า วุตฺตญฺเหตํ ความว่า สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.
บทว่า สานฺเตวาสิโก ความว่า ชื่อว่า สานเตวาสิกะ เพราะ อรรถว่า อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน. ชื่อว่า สาจริยกะ เพราะ อรรถว่า อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา ได้แก่ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ แม้ในบทว่า โสเตน สทฺทํ สุตฺวา เป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ได้แก่ ย่อมปรากฏขึ้น.
บทว่า สรสงฺกปฺปา ได้แก่ มีความดำริเกิดขึ้นซ่านไปในอารมณ์ ต่างๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 146
บทว่า สญฺโชนียา ได้แก่ เกื้อกูลแก่สัญโญชน์ทั้งหลาย ด้วย ความเจริญ แห่งสัญโญชน์เข้าถึงความเป็นอารมณ์
บทว่า ตยสฺส ความว่า อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ... ... แห่ง ภิกษุนั้น.
บทว่า อนฺโต วสนฺติ ความว่า ย่อมอยู่อาศัยในภายในคือในจิต.
บทว่า อนฺวาสฺสวนฺติ ความว่า ย่อมซ่านคือติดตามไปตกแต่ง ไปตามความสืบเนื่องของกิเลส.
บทว่า เต นํ ความว่า อกุศลธรรมเหล่านั้น ... บุคคลนั้น.
บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อคือย่อมเป็นไป โดยชอบ.
ชื่อว่าเป็น มลทิน เพราะอรรถว่า เศร้าหมอง.
ชื่อว่าเป็น อมิตร เพราะอรรถว่า เป็นศัตรู.
ชื่อว่าเป็น ข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นผู้จองเวร.
ชื่อว่าเป็น เพชฌฆาต เพราะอรรถว่า ฆ่า.
ชื่อว่าเป็น ศัตรู เพราะอรรถว่า เป็นปัจจามิตร.
อีกอย่างหนึ่ง เป็นมลทิน เหมือนพลาหกเป็นเครื่องเศร้าหมองของ ดวงอาทิตย์. เป็นอมิตร เหมือนควันของดวงอาทิตย์. เป็นข้าศึกเหมือน หิมะของดวงอาทิตย์. เป็นเพชฌฆาต เหมือนธุลีของดวงอาทิตย์. เป็น ศัตรู เหมือนราหูของดวงอาทิตย์.
เป็นมลทิน เหมือนมลทินของทองคำ ทำรัศมีอันวิจิตรให้พินาศ. เป็นอมิตร เหมือนมลทินของโลหะดำ ทำความน่ารักในความวิจิตรให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 147
พินาศ. เป็นข้าศึก เหมือนข้าศึกรบกันเป็นคู่ กำจัดธรรมที่ตั้งอยู่ในใจ. เป็นเพชฌฆาต เหมือนคนฆ่ามนุษย์ ย่อมฆ่าธรรมเสีย. เป็นศัตรู เหมือนความพินาศของผู้ที่พระราชาประหารห้ามทางพระนิพพาน. อาจารย์ พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อนตฺถชนโน ความว่า ชื่อว่ายังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้ เกิด เพราะอรรถว่า ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์นั้นให้เกิดขึ้น. ธรรมที่ยัง สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นนั้น คืออะไร? คือโลภะ.
บทว่า จิตฺตปฺปโกปโน ความว่า ทำจิตให้กำเริบ คือกำจัด. อธิบายว่า กั้นจิตไว้ไม่ให้บรรลุความดี.
บทว่า ภยมนฺตรโต ชาตํ ความว่า ภัยหลายอย่างเกิดในภายใน คือในจิตของตนนั่นเอง คือเป็นเหตุแห่งภัยมีการยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ให้เกิดเป็นต้น.
บทว่า ตํ ชโน นาวพุชฺฌติ ความว่า มหาชนที่เป็นพาล ย่อม ไม่หยั่งรู้ซึ้งถึงภัยนั้น.
บทว่า อตฺถํ ความว่า บุคคลผู้โลภย่อมไม่รู้ประโยชน์ที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ เหตุแห่งประโยชน์นั้น.
บทว่า อนฺธตมํ ได้แก่ ความมืดตื้อ.
บทว่า ยํ แปลว่า เพราะเหตุใด หรือคนใด.
บทว่า สหเต แปลว่า ย่อมครอบงำ.
บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ในสันดานของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 148
บทว่า อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า พอเกิดขึ้นทีแรก ก็เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์. ด้วยบททั้งสองนั้น หมายถึง เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก.
บทว่า อหิตาย ได้แก่ ทุกข์ทางใจ.
บทว่า ทุกฺขาย ได้แก่ ทุกข์ทางกาย.
บทว่า อผาสุวิหาราย ความว่า ด้วยบททั้งสองนั้นไม่ใช่เพื่อ ความอยู่เป็นสุข.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุปฺปชฺมานา อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า ตั้งแต่ภวังคจลนจิต๑ จนถึงโวฏฐัพพนจิต ชื่อว่า เมื่อเกิดขึ้น. เมื่อถึง โวฏฐัพพนจิตแล้วไม่กลับ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนา อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ตจสารํว สมฺผลํ ความว่า เหมือนไม้ไผ่ซึ่งเป็นไม้มีเปลือก แข็งต้องพินาศไปด้วยขุยของตนฉะนั้น.
บทว่า อรตี ได้แก่ ไม่พอใจในกุศลธรรมทั้งหลาย.
บทว่า รติ ได้แก่ ความยินดียิ่งในกามคุณ ๕.
บทว่า โลมหํโส ได้แก่ มีขนมีปลายชูขึ้นเช่นกับหนาม.
บทว่า อิโตนิทานา ความว่า ชื่อว่า มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เพราะ อรรถว่า มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ คือเป็นปัจจัย.
๑. ภวังคจลนะ, ภวังคุปัจเฉทะ, ปัญจทวาราวัชชนะ ปัญจวิญญาณ, สัมปฏิจฉันนะ, สันตีรณะ, โวฏฐัพพนะ ... (ในปัญจทวารวิถี)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 149
บทว่า อิโต ชาตา ความว่า เกิดแต่อัตภาพนี้.
บทว่า อิโต สมุฏฺาย มโนวิตกฺกา ความว่า อกุศลวิตกตั้ง ขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้ว ย่อมปล่อยจิตเหมือนพวกเด็กเอาด้ายยาวผูกตีนกา เอาปลาด้ายนั้นพันนิ้วมือไว้แล้วปล่อยกาไป กานั้นแม้บินไปไกล ก็กลับ มาตกแทบเท้าของพวกเด็กเหล่านั้น ฉะนั้น.
พระสูตรแรกที่นำมาอ้างว่า สานฺเตวาสิโก ท่านกล่าวหมายเอา การอยู่ร่วมด้วยกิเลส.
พระสูตรที่ ๒ ที่นำมาอ้างว่า ตโยเม ภิกฺขเว อนฺตรามลา ท่าน กล่าวด้วยสามารถการทำกุศลธรรมให้เศร้าหมอง และด้วยสามารถแห่งการ ไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์.
พระสูตรที่ ๓ ที่นำมาอ้างว่า ตโย โข มหาราช ปุริสสฺส ธมฺมา อชฺฌตฺตํ อุปฺปชฺชมานา ท่านกล่าวด้วยสามารถกำจัดนิสัยของตน
พระสูตรที่ ๔ ที่นำมาอ้างว่า ราโค จ โทโส จ อิโตนิทานา ท่านกล่าวด้วยสามารถแสดงที่ตั้งของกิเลสทั้งหลาย พึงทราบดังนี้
บทว่า ตโต ตโต ปริสฺสยโต ได้แก่ แต่อันตรายนั้นๆ.
บทว่า ตํ ปุคฺคลํ ได้แก่ บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกิเลส มีประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ทุกฺขํ อนฺเวติ ความว่า ทุกข์ย่อมติดตามเหมือนลูกโคที่ ยังไม่หย่านม ตามหลังแม่โคไป ฉะนั้น.
บทว่า อนุคจฺฉติ ความว่า ย่อมไปใกล้ๆ เหมือนคนฆ่าโจรตาม โจรที่ถูกสั่งประหารไปฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 150
บทว่า อนฺวายิกํ โหติ ความว่า ย่อมถึงพร้อม เหมือนการ กำหนดข้อธรรมชี้แจงเนื้อความเป็นอันมากของ ชาติศัพท์ ในบทว่า ชาติทุกฺขํ ก่อนเหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า :-
เนื้อความของชาติศัพท์ ท่านประกาศไว้ว่า ภพ สกุล นิกาย ศีล บัญญัติ ลักษณะ ประสูตร และปฏิสนธิ. จริงอย่างนั้น ศัพท์ว่า ชาติ มีเนื้อความว่า ภพ ในข้อความเป็นต้น ว่า เอกมฺปิ ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย ภพหนึ่งบ้าง สองภพบ้าง.
มีเนื้อความว่า สกุล ในข้อความนี้ว่า อกฺขิตฺโต อนูปกฏโ ชาติวาเทน ซัดไป ไม่เข้าไปใกล้ ด้วยวาทะว่าสกุล. มีเนื้อความว่า นิกาย ในข้อความนี้ว่า อตฺถิ วิสาเข นิคฺคณาฺา นาม สมณชาติ ดูก่อนวิสาขา ชื่อว่านิครนถ์ทั้งหลายเป็นนิกายสมณะ มีอยู่.
มีเนื้อความว่า อริยศีล ในข้อความนี้ว่า ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้ว โดย อริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้.๑
มีเนื้อความว่า บัญญัติ ในข้อความนี้ว่า ติริยา นาม ติณชาติ นาภิยา อุคฺคนฺตวา นภํ อาหจฺจ ิตา อโหสิ บัญญัติว่าหญ้า ถึง มีศูนย์กลางสูงขึ้นไปตั้งอยู่จดต้องฟ้า ก็ชื่อว่า ต่ำต้อย.
มีเนื้อความว่า สังขตลักษณะ ในข้อความนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิตา สังขตลักษณะ สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒.
๑. ม.ม. ๑๓/๕๓๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 151
มีเนื้อความว่า ประสูติ ในข้อความนี้ว่า สมฺปติชาโต อานนฺท โพธิสตฺโต ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ประสูติบัดเดี๋ยวนี้.
เนื้อความว่า ปฏิสนธิขณะ โดยอ้อม ในข้อความนี้ว่า ภวปจฺจยา ชาติ ปฏิสนธิขณะมีเพราะภพเป็นปัจจัย. และว่า ชาติปิ ทุกฺขา แม้ ปฏิสนธิขณะก็เป็นทุกข์. แต่โดยตรงมีเนื้อความว่า ความปรากฏครั้ง แรกแห่งขันธ์นั้นๆ ที่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้บังเกิดอยู่ในภพนั้นๆ.
หากจะถามว่า ก็เพราะเหตุไร ชาตินี้จึงเป็นทุกข์? พึงตอบว่า เพราะเป็นที่ตั้งของทุกข์มิใช่น้อย. ก็ทุกข์มิใช่น้อย ได้แก่ ทุกขทุกข์ วิปริณามทุกข์, สังขารทุกข์, ปฏิจฉันนทุกข์, อัปปฏิจฉันนทุกข์, ปริยายทุกข์, นิปปริยายทุกข์,
บรรดาทุกข์เหล่านี้ ทุกขเวทนาทางกาย ทางใจ ท่านเรียกว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์โดยสภาวะด้วย โดยชื่อด้วย.
สุขเวทนา ท่านเรียกว่า วิปริณามทุกข์, เพราะเป็นเหตุให้เกิด ทุกข์ในเมื่อแปรปรวนไป.
อุเบกขาเวทนาด้วย, สังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือลงด้วย, ท่าน เรียกว่า สังขารทุกข์, เพราะถูกความเจริญและความเสื่อมบีบคั้น.
อาพาธทางกายทางใจ คือ ปวดหู, ปวดฟัน, ความเร่าร้อนเกิด เพราะโทสะโมหะ, ท่านเรียกว่า ปฏิจฉันนทุกข์, เพราะถามจึงรู้ และ เพราะมีความพยายามไม่ปรากฏ.
อาพาธที่มีการลงโทษ ๓๒ อย่างเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ท่านเรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 152
ว่า อัปปฏิจฉันนทุกข์, เพราะไม่ต้องถามก็รู้ และเพราะมีความพยายาม ปรากฏ.
ทุกข์ที่เหลือ นอกจากทุกขทุกข์ มาแล้วในคัมภีร์สัจจวิภังค์.
ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น ท่านเรียกว่า ปริยายทุกข์ เพราะ เป็นที่ตั้งของทุกข์นั้นๆ. ส่วนทุกขทุกข์ ท่านเรียกว่า ทุกข์โดยตรง.
บรรดาทุกข์เหล่านั้น ชาติทุกข์นี้ ได้แก่ ทุกข์ที่เป็นไปในอบาย แม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นอุปมาไว้ในพาลปัณฑิตสูตรเป็นต้น. และ ทุกข์ประเภทที่มีความเกิดในครรภ์เป็นมูลเป็นต้น ที่เกิดในมนุษยโลก แม้ ในสุคติ. ชาติเป็นทุกข์เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์นั้น. ในทุกข์เหล่านั้น ทุกข์ประเภทที่มีความเกิดในครรภ์เป็นมูลเป็นต้น ดังต่อไปนี้.
ความจริง สัตว์นี้เมื่อบังเกิดในครรภ์ของมารดา มิใช่บังเกิดใน ดอกอุบล ดอกปทุมและดอกบุณฑริกเป็นต้น ที่แท้บังเกิดในส่วนของ ร่างกายที่เป็นท้อง ตรงกลางระหว่างแผ่นท้องและกระดูกสันหลัง อยู่ใต้ กระเพาะอาหารใหม่. เหนือกระเพาะอาหารเก่า เป็นที่คับแคบอย่างยิ่ง มืดตื้อ อบไปด้วยกลิ่นซากศพต่างๆ และมีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งอัดแน่น น่า รังเกียจอย่างยิ่ง เหมือนหนอนในปลาเน่า ขนมสดบูดเน่าและส้วมซึม เป็นต้น สัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้นต้องอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๑๐ เดือน จึง ร้อนเหมือนอาหารที่สุกแต่ความร้อน. จมอยู่เหมือนก้อนแป้ง เว้นจากการ คู้เข้าและการเหยียดออกเป็นต้น ย่อมเสวยทุกข์มีประมาณยิ่งแล ทุกข์มี ความเกิดในครรภ์เป็นมูล เท่านี้ก่อน.
สัตว์นั้น เวลาที่มารดาลื่นพลาด เดินนั่งลุกและพลิกตัวโดยพลัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 153
เป็นต้น เป็นเหมือนแกะอยู่ในมือของนักเลงสุรา และเหมือนลูกงูอยู่ ในมือของคนเล่นงู ย่อมเสวยทุกข์มีประมาณยิ่ง ด้วยความพยายามมีฉุด กระชากลากถูเป็นต้น. สัตว์นั้น เวลาที่มารดาดื่มน้ำเย็น ก็เป็นเหมือนตก สีตนรก เวลามารดากลืนกินข้าวยาคูและภัตตาหารที่ร้อน ก็เหมือนถูกโปรย ด้วยเม็ดฝนถ่านเพลิง, เวลาที่มารดากลืนกินของเค็มของเปรี้ยวเป็นต้น ก็ เหมือนถูกลงโทษ มีราดด้วยน้ำด่างเป็นต้น ย่อมเสวยทุกข์หนัก. นี้เป็น ทุกข์ซึ่งมีการบริหารครรภ์เป็นมูล.
อนึ่ง ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น ด้วยการตัดและการผ่าเป็นต้น ในที่เกิดทุกข์ ซึ่งแม้มิตรอำมาตย์และเพื่อนเป็นต้นของมารดาผู้หลงครรภ์ ก็ไม่ควรเห็น นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีความวิบัติแห่งครรภ์เป็นมูล.
เมื่อมารดาคลอด ทุกข์ย่อมเกิดแก่สัตว์นั้น ผู้ถูกลมกัมมชวาตพัดให้ ตกลงตรงทางกำเนิดซึ่งน่ากลัวยิ่ง เหมือนตกนรก ถูกคร่าออกทางปาก ช่องกำเนิดที่คับแคบอย่างยิ่งเหมือนช่องกุญแจ เหมือนสัตว์นรกมหานาค ที่ถูกภูเขาบดแหลกละเอียด นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีการคลอดเป็นมูล.
อนึ่ง ในเวลาที่เขาจับมือให้อาบน้ำทำความสะอาดและเช็ดคูถด้วยผ้า ซึ่งสรีระของเด็กอ่อนอันเช่นกับแผลอ่อนเป็นต้น ทุกข์เช่นกับการเจาะและ การผ่าด้วยคมมีดโกนซึ่งคมเหมือนปากยุง ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีการออกภายนอกครรภ์มารดาเป็นมูล.
ในความเป็นไปต่อแต่นั้น ทุกข์ย่อมมีแก่สัตว์ผู้ฆ่าตนด้วยตนนั่น แหละ ผู้ประกอบความเพียรด้วยการทรมานตนและการเผากิเลสด้วยการ ประพฤติวัตรของอเจลกเป็นต้น ผู้ไม่บริโภคอาหารและหงุดหงิดเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 154
โกรธ นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีความขวนขวายของตนเป็นมูล.
อนึ่ง ทุกข์ย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้เสวยกรรมมีการฆ่าและการจองจำเป็น ต้นแต่ผู้อื่น นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีความขวนขวายของผู้อื่นเป็นมูล. ทุกข์ แม้ทั้งหมดนี้ ล้วนมีชาติเป็นที่ตั้งทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้. ชาติทุกข์นี้ ย่อมติดตามไป.
บทว่า ชราทุกฺขํ ได้แก่ ชรา ๒ อย่าง คือ ลักษณะที่ปรุงแต่ง ๑ ความเก่าแห่งขันธ์ที่เนื่องด้วยเอกภพในสันตติ ที่รู้กันว่าฟันหักเป็นต้น ๑. ชรานั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้, ก็ชรานี้นั้น เป็นทุกข์เพราะความเป็นทุกข์ ในสังสารวัฏฏ์ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ทุกข์ทางกายและทางใจ ซึ่ง มีปัจจัยไม่น้อย เป็นต้นว่าความหย่อนยานแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ ความมีรูป เปลี่ยนไปเพราะความวิการแห่งอินทรีย์ ความเป็นหนุ่มสาวสิ้นไป ความ เพียรอ่อนลง ความปราศจากสติและมติ และความดูแคลนแค่ผู้อื่นนี้ย่อม เกิดขึ้น.
ชราเป็นที่ดังแห่งทุกข์นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-
สัตว์ย่อมถึงทุกข์ ทางกายทุกข์ทางใจ เพราะอวัยวะ หย่อนยาน, อินทรีย์ทั้งหลายพิการ, ความเป็นหนุ่มสาว สิ้นไป, ความบั่นทอนกำลัง, ปราศจากสติเป็นต้น บุตร และทาระของตนไม่เสื่อมใส, ถึงความอ่อนยิ่งๆ ขึ้น, เพราะทุกข์ทั้งหมดนั้นมีชราเป็นเหตุ ฉะนั้น ชราจึงเป็น ทุกข์.
เชื่อมความว่า ชราทุกข์นี้ย่อมติดตาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 155
บทว่า พฺยาธิ ความว่า ชื่อว่า พยาธิ เพราะนำทุกข์ ๒ อย่าง มา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พยาธิ เพราะอรรถว่า ให้ลำบาก ให้เดือด ร้อน ให้หวั่นไหว.
แม้ในบทว่า มรณทุกฺขํ นี้ก็มีความตาย ๒ อย่าง คือลักษณะที่ ปรุงแต่ง ๑. ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาว่า ชราและมรณะ สงเคราะห์ด้วย ขันธ์ ๒ ดังนี้ และความตัดขาดแห่งการเกี่ยวเนื่องกัน ของชีวิตินทรีย์ที่ เนื่องด้วยเอกภพ ๑ ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาว่า ความกลัวแต่ความตายเป็น นิจ ดังนี้. ในที่นี้ ประสงค์เอามรณะนั้น แม้คำว่า มรณะเพราะชาติเป็น ปัจจัย คือมรณะเพราะความขวนขวายของผู้อื่น มรณะเพราะสิ้นอายุ มรณะเพราะสิ้นบุญ ก็เป็นชื่อของมรณะนั้นแหละ. พึงทราบประเภทแม้นี้ อีกว่า ขณิกมรณะ สมมติมรณะ สมุจเฉทมรณะ.
เมื่อชีวิตยังเป็นไป ความแตกแห่งรูปธรรมและนามธรรม ชื่อว่า ขณิกมรณะ, คำนี้ว่า ติสสะตาย ปุสสะตาย ดังนี้ ชื่อว่าสมมติมรณะ, โดยปรมัตถ์ เพราะไม่มีสัตว์ แม้คำนี้ว่า ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตาย ดังนี้ ก็ชื่อว่าสมมติมรณะ เพราะไม่มีชีวิตินทรีย์, กาลกิริยาอันไม่มีปฏิสนธิ ของพระขีณาสพ ชื่อว่าสมุจเฉทมรณะ.
สมมติมรณะนอกนี้ เว้นสมมติมรณะภายนอกเสีย ท่านสงเคราะห์ ในที่นี้ด้วยความตัดขาดแห่งการเกี่ยวเนื่องกันตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าเป็น ทุกข์ก็เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-
คนชั่วพิจารณานิมิต มีกรรมชั่วเป็นต้น. คนดี อดกลั้นความวิโยคซึ่งมีของรักเป็นที่ตั้ง. ทั้งคนชั่วคนดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 156
เมื่อตาย ย่อมมีทุกข์ใจไม่ต่างกัน. อีกอย่างหนึ่ง คนทั้ง หมดเมื่อถูกแทงจุดสำคัญของร่างกาย ย่อมมีทุกข์เกิดแต่ ร่างกาย มีการตัดที่ต่อที่ผูกพันเป็นต้นซึ่งเป็นที่รัก เพราะ การไม่แก้ไขทุกข์นี้ เป็นเรื่องทนไม่ได้ ฉะนั้นมรณะซึ่ง เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์นี้ ท่านจึงกล่าวว่าเป็นทุกข์เหมือนกัน.
ในบทว่า โลกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสทุกฺขํ นี้มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ บรรดาความโศกเป็นต้น ความเดือดร้อนใจของผู้ที่ถูกความ ฉิบหายแห่งญาติเป็นต้น ถูกต้อง โดยลักษณะเพ่งภายใน ชื่อว่าความ โศก. ก็ความโศกมีความทุกข์เป็นอรรถ เพราะความโศกนั้นเป็นทุกข ทุกข์ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-
ความโศกย่อมแทงหทัยของสัตว์ทั้งหลาย ดุจลูกศรอาบยาพิษ ย่อมเผาสัตว์อีก เหมือนกรงเหล็กที่ไฟติด แดงเผาแกลบ ฉะนั้น ความโลกย่อมนำมาซึ่งความทำลาย กล่าวคือพยาธิ ชรา และ มรณะ และนำมาซึ่งทุกข์มี อย่างต่างๆ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าทุกข์.
การพร่ำรำพันของผู้ที่ถูกความฉิบหายแห่งญาติเป็นต้นถูกต้อง ชื่อ ว่า ปริเทวะ. ก็ปริเทวะนั้นมีความทุกข์เป็นอรรถ เพราะเป็นทุกข์ใน สังสารวัฏฏ์ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-
เพราะบุคคลถูกลูกศรคือความโศกแทงแล้วคร่ำ ครวญอยู่ย่อมถึงทุกข์ เกิดแต่โรคคอ ริมฝีปาก เพดาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 157
ลำคอและโรคผอมแห้ง ประมาณอย่างยิ่งจนทนไม่ได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสปริเทวะว่า เป็นทุกข์.
ความทุกข์ทางกายมีลักษณะบีบคั้นกาย ชื่อว่าทุกข์. ก็ทุกข์นั้น ความทุกข์เป็นอรรถ เพราะทุกข์นั้นเป็นทุกขทุกข์๑ คือเพราะนำมา ซึ่งทุกข์ทางกายด้วย เพราะนำมาซึ่งทุกข์ทางใจด้วย. เพราะเหตุนั้นท่าน จึงกล่าวว่า :-
เพราะทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจนี้ ย่อมบีบคั้น ยิ่ง ทั้งให้เกิดทุกข์ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์เป็น พิเศษ.
ความทุกข์ทางใจมีลักษณะบีบคั้นใจ ชื่อว่าโทมนัส ก็โทมนัสนั้นมี ความทุกข์เป็นอรรถ เพราะโทมนัสนั้นเป็นทุกขทุกข์ และเพราะนำมา ซึ่งทุกข์ทางกาย จริงอยู่ ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยทุกข์ทางใจ ย่อมสยายผม ทุบอก หมุนไปหมุนมาตกหลุมที่เขาขุดไว้ นำศัสตรามา ดื่มยาพิษ ผูกคอ ตาย เข้ากองไฟ ย่อมเสวยทุกข์มีประการต่างๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า
เพราะโทมนัสย่อมบีบคั้นใจ และนำมาซึ่งความ บีบคั้นกาย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์.
ความคับแค้น ที่เกิดแต่ความทุกข์ทางใจ ซึ่งมีประมาณยิ่ง ของผู้ที่ ถูกความฉิบหายแห่งญาติเป็นต้นถูกต้องนั่นแล ชื่อว่าอุปายาส. อาจารย์ พวกหนึ่งกล่าวว่า เป็นธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเนื่องด้วยสังขารขันธ์. อุปายาส
๑. ทุกขทุกข์ หมายเอา ทุกขเวทนา ในที่ทุกแห่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 158
นั้นมีความทุกข์เป็นอรรถ เพราะอุปายาสนั้นเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขารธรรม คือเพราะเผาใจ และเพราะทำกายให้ตกต่ำ เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า :-
เพราะอุปายาสให้เกิดทุกข์ มีประมาณยิ่ง คือเผาใจ และทำกายให้ตกต่ำ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์.
อนึ่ง ในบทนี้ ความโศก พึงเห็นเหมือนการหุงต้มภายในภาชนะ ด้วยไฟอ่อนๆ. ปริเทวะ พึงเห็นเหมือนการล้นออกนอกภาชนะของ อาหารที่หุงต้มด้วยไฟแรง. อุปายาส พึงเห็นเหมือนการเคี้ยวอาหารที่ เหลือจากล้นออกภายนอก ล้นออกไม่ได้อีก เคี่ยวภายในภาชนะนั่นแหละ จนกว่าจะหมด.
บทว่า เนรยิกทุกฺขํ ความว่า ทุกข์มีการจองจำ ๕ ประการเป็น ต้น ในนรก ย่อมติดตาม ทุกข์นั้นพึงแสดงด้วยเทวทูตสูตร เพราะเหตุ นั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-
ถ้าสัตว์ไม่พึงเกิดในนรกทั้งหลาย พึงได้ทุกข์มีถูก ไฟไหม้เป็นต้น ซึ่งทนไม่ได้ในที่นั้นๆ อันจะเป็นเครื่อง ค้ำจุน ที่ไหนได้ ฉะนั้น พระมหามุนีจึงตรัสการเกิดในโลก นี้ว่า ทุกข์ดังนี้.
บทว่า ติรจฺฉานโยนิกทุกฺขํ ความว่า ทุกข์หลายอย่างมีหวดด้วย แส้ และแทงด้วยประตักเป็นต้น ในหมู่เดรัจฉาน ย่อมติดตาม. ทุกข์นั้น พึงถือเอาแต่พาลปัณฑิตสูตร. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 159
ทุกข์ในเดรัจฉานทั้งหลาย เกิดแต่ถูกพิฆาตด้วยแส้ ประตักและท่อนไม้เป็นต้น ไม่น้อยนั้น พึงมีในชาตินั้น อย่างไร นอกจากการเกิดในเดรัจฉาน การเกิดในที่นั้นๆ เป็นทุกข์ แม้เพราะเหตุนั้น.
บทว่า ปิตฺติวิสยิกทุกฺขํ ความว่า ทุกข์ที่บังเกิดแต่ความหิว กระหายและลมแดดเป็นต้น ในเปรตทั้งหลายด้วย ทุกข์ที่เกิดแต่หนาวจน ทนไม่ได้เป็นต้น ในโลกันต์ซึ่งมืดตื้อด้วย ย่อมติดตาม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-
ก็ทุกข์ในเปรตทั้งหลาย เกิดแต่ความหิวกระหาย และลมแดดเป็นต้น วิจิตร เพราะไม่มีแก่ผู้ที่ไม่เกิดใน เปรตนั้น ฉะนั้นพระมหามุนีจึงตรัสว่า ชาติเป็นทุกข์. ทุกข์ในอสูรทั้งหลายในโลกันต์ ซึ่งมืดตื้อและหนาวจนทน ไม่ได้นั้น ไม่พึงมีแก่ผู้ไม่เกิดในที่นั้น ฉะนั้น ชาติการ เกิดนี้จึงเป็นทุกข์.
บทว่า มานุสกทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น ในมนุษย์ทั้งหลาย.
บทว่า คพฺโภกฺกนฺติมูลกทุกฺขํ ได้แก่ ชาติทุกข์ที่กล่าวไว้โดย นัยเป็นต้นว่า ความจริง สัตว์นี้เมื่อบังเกิดในครรภ์ของมารดา มิใช่บังเกิด ในดอกอุบล ดอกปทุม และดอกบุณฑริกเป็นต้น ดังนี้. ในเบื้องแรก ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูลนี้ก็ย่อมติดตามไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 160
บทว่า คพฺเภ ิติมูลกทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์กล้าที่กล่าวไว้โดยนัย เป็นต้นว่า สัตว์นั้น เวลาที่มารดาลื่นพลาด เดิน นั่ง ลุก และพลิกตัว โดยพลันเป็นต้น. นี้คือ ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ย่อมติดตามไป.
บทว่า คพฺภวุฏฺานมูลกทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ที่กล่าวไว้โดยนัย เป็นต้นว่า ในที่เป็นที่เกิดแห่งทุกข์ ซึ่งแม้มิตรอำมาตย์และเพื่อนของ มารดาผู้หลงครรภ์เป็นต้น ก็ไม่ควรเห็น. นี้คือ ทุกข์มีการออกนอกครรภ์ มารดาเป็นมูล ย่อมติดตามไป. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-
อนึ่ง สัตว์อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งเหมือนนรกคูถ ครบกำหนดก็ตลอดออกภายนอก ซึ่งทุกข์ที่น่ากลัวขึงแม้นี้ เว้นชาติการเกิดเสีย ย่อมไม่มี พูดไปมากก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไร ในที่ไหนๆ มิใช่หรือ แม้ทุกข์อะไรๆ นี้จะมีอยู่ใน โลกนี้ในบางคราว เมื่อเว้นชาติเสียได้ ก็จะไม่มีเลย. ฉะนั้น พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่จึงตรัสชาตินี้ว่า ทุกข์ ก่อนอะไรทั้งหมด.
บทว่า ชาตสฺสุปนิพนฺธิกทุกฺนํ ความว่า ทุกข์คือการบำรุงเลี้ยง มีการอาบ ไล้ ทา กิน ดื่มเป็นต้น ซึ่งติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ย่อม ติดตามไป.
บทว่า ชาตสฺส ปราเธยฺยกทุกฺขํ ความว่า ทุกข์ที่ไม่มีอิสระ ต้องอาศัยผู้อื่น คือบุคคลอื่น ย่อมติดตามไป มีอธิบายว่า ตกอยู่ใน อำนาจของผู้อื่นทุกอย่าง เป็นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 161
บทว่า อตฺตูปกฺกมทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ที่มีแก่สัตว์ผู้ฆ่าตนด้วยตน นั่นแหละ ผู้ประกอบความเพียรด้วยการทรมานตนและการเผากิเลส ด้วย การประพฤติวัตรของอเจลกเป็นต้น ผู้ไม่บริโภคอาหารและหงุดหงิดเพราะ ความโกรธ. นี้คือทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ย่อมติดตามไป.
บทว่า ปรูปกฺกมทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้เสวยกรรม มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้นแต่ผู้อื่น. นี้คือทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวาย ของผู้อื่น ย่อมติดตามไป.
บทว่า ทุกฺขทุกฺขํ ความว่า ทุกขเวทนาทางกายและทางใจ ท่าน เรียกว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์โดยสภาวะและโดยชื่อ ทุกขทุกข์นี้ ย่อมติดตามไป.
บทว่า สงฺขารทุกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาเวทนา และสังขารธรรม ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือ ชื่อว่า สังขารทุกข์ เพราะถูกความเจริญและ ความเสื่อมบีบคั้น. สังขารทุกข์นี้ ย่อมติดตามไป.
บทว่า วิปริณามทุกฺขํ ได้แก่ สุขเวทนา ชื่อว่าวิปริณามทุกข์ เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์ในเมื่อแปรปรวน ก็วิปริณามทุกข์นี้ ย่อมติดตาม
บทว่า มาตุมรณํ ได้แก่ ความตายของมารดา. บทว่า ปิตุมรณํ ได้แก่ ความตายของบิดา. บทว่า ภาตุมรณํ ได้แก่ ความตายของพี่ชาย น้องชาย. บทว่า ภคินีมรณํ ได้แก่ ความตายของพี่สาวน้องสาว. บทว่า ปุตฺตมรณํ ได้แก่ ความตายของบุตรทั้งหลาย. บทว่า ธีตุมรณํ ได้แก่ความตายของธิดาทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 162
บทว่า าติพฺยสนทุกฺขํ ความว่า ความฉิบหายแห่งญาติทั้งหลาย ชื่อว่า ญาติพยสนะ อธิบายว่า ความสิ้นไปแห่งญาติ ด้วยโจรภัย และโรคภัยเป็นต้น เป็นความฉิบหายแห่งญาติ. ทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ ผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาตินั้นถูกต้อง คือท่วมทับ ครอบงำ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์คือความฉิบหายแห่งญาตินั้น ย่อม ติดตามไป แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ ส่วนความต่างกันมีดังนี้:-
ความฉิบหายแห่งโภคะทั้งหลาย ชื่อว่าโภคพยสนะ อธิบายว่า ความสิ้นไปแห่งโภคะเพราะราชภัยและโจรภัยเป็นต้น เป็นความฉิบหาย แห่งโภคะ. ทุกข์คือความฉิบหายแห่งโภคะนั้น ย่อมติดตามไปโดยนัยที่ กล่าวแล้ว.
บทว่า โรคพฺยสนํ ความว่า ความฉิบหายคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ ก็โรคชื่อว่าความฉิบหายเพราะอรรถว่า ยังความไม่มีโรคให้ ฉิบหายคือให้พินาศ ทุกข์คือความฉิบหายเพราะโรคนั้น ย่อมติดตามไป โดยนัยที่กล่าวแล้ว.
บทว่า สีลพฺยสนทุกฺขํ ความว่า ความฉิบหายแห่งศีล ชื่อว่า สีลพยสนะ บทนี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ทุศีล ทุกข์คือความฉิบหายแห่ง ศีลนั้น ย่อมติดตามไปโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
ความฉิบหายคือทิฏฐิที่เกิดขึ้นยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ ชื่อว่า ทิฏฐิพยสนะ ทุกข์คือความฉิบหายแห่งทิฏฐินั้น ย่อมติดตามไปโดยนัยที่กล่าว แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 163
และบรรดาบทเหล่านี้ ๒ บทแรกไม่สำเร็จประโยชน์ ๓ บทหลัง สำเร็จประโยชน์ กำจัดลักษณะ ๓ อนึ่ง ๓ บทแรก เป็นกุศลก็ไม่ใช่ เป็นอกุศลก็ไม่ใช่ ความฉิบหายแห่งศีลและทิฏฐิทั้งสอง เป็นอกุศล.
บทว่า ยถา ลงในอรรถแห่งอุปมา.
บทว่า ภินฺนํ นาวํ ได้แก่เรือที่มีเครื่องผูกหย่อน เป็นเรือคร่ำ คร่าหรือมีแผ่นกระดานหลุดถอน.
บทว่า ทีเปสึ ได้แก่ น้ำไหล คือน้ำเข้าไป.
บทว่า ตโต ตโต อุทกํ อนฺเวติ ความว่า น้ำย่อมเข้า ไปตรงที่แตกนั้นๆ.
บทว่า ปุรโตปิ ได้แก่ ทางส่วนข้างหน้าของเรือบ้าง.
บทว่า ปจฺฉโตปิ ได้แก่ ทางส่วนข้างหลังของเรือนั้นบ้าง.
บทว่า เหฏโตปิ ได้แก่ ทางส่วนท้องเรือบ้าง.
บทว่า ปสฺสโตปิ ได้แก่ ทางข้างทั้งสองบ้าง. บทใดที่มิได้ กล่าวไว้ในระหว่างๆ บทนั้นพึงทราบโดยแนวแห่งพระบาลี.
เพราะฉะนั้น สัตว์เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ด้วยการเจริญกายคตาสติ เป็นต้น เมื่อเว้นกิเลสกามแม้มีประการทั้งปวง ในวัตถุกามทั้งหลายมีรูป เป็นต้น พึงเว้นกามทั้งหลายด้วยข่มไว้และตัดขาด. ละกามทั้งหลายเหล่า นั้นด้วยอาการอย่างนี้แล้ว พึงข้าม พึงอาจเพื่อจะข้ามโอฆะแม้ทั้ง ๔ อย่าง ด้วยมรรคเครื่องการทำการละกามนั้นนั่นแล. ต่อนั้น พึงวิดเรือคืออัตภาพ ซึ่งหนักด้วยน้ำคือกิเลส พึงเป็นผู้ถึงฝั่งด้วยอัตภาพเบาเหมือนบุรุษวิดเรือ หนัก. พึงเป็นผู้ถึงฝั่ง พึงถึงซึ่งฝั่งด้วยเรือเบา โดยลำบากน้อยนั่นเทียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 164
ฉะนั้น. เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งพระสัทธรรม คือพระนิพพาน พึงถึงด้วยการ บรรลุพระอรหัตต์ คือด้วยการปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระสารีบุตรเถระจบเทศนาด้วยอดคือพระอรหัตต์ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะทุกข์มีชาติเป็นต้น ย่อมติดตาม บุคคลนั้นฉะนั้น คือเหตุนั้น. แม้ในบทว่า ตํเหตุ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ เพราะทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วย่อมติดตามบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะทุกข์ย่อมติดตาม เพราะปัจจัยนั้น เพราะทุกข์ย่อมติดตาม เพราะ นิทานนั้น พึงประกอบบทอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เหตุ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า การณะ. ก็การณะ ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า มีผลเกิดขึ้น คือเป็นไปด้วยเหตุนั้น.
ชื่อว่า ปัจจัย เพราะอรรถว่าผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิดและเป็นไป.
ชื่อว่า นิทาน เพราะอรรถว่า ย่อมมอบให้ซึ่งผลของตน ดุจ แสดงว่า เชิญท่านทั้งหลายถือเอาสิ่งนั้นเถิด.
บทว่า ตํการณา ห้ามธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ.
บทว่า ตํเหตุ ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ใช่เหตุและเหตุแห่งมหาภูต.
บทว่า ตปฺปจฺจยา ปฏิเสธปัจจัยที่ไม่ทั่วไปกับธรรมที่ไม่ใช่ปัจจัย.
บทว่า ตํนิทานา หมายเหตุในอาคมและนิคมกับทั้งธรรมที่ไม่ใช่ เหตุ อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เอตํ อาทีนวํ สมฺปสฺสมาโน ความว่า ดูอยู่ คือเห็น อยู่โดยชอบซึ่งอันตรายนั้นคือมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยวิปัสสนาญาณ.
บทว่า สทา เป็นบทตั้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 165
บทว่า ปุน สทา เป็นบทขยายความ.
บทว่า สทา ได้แก่ ทุกวัน.
บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุกเวลา.
บทว่า สพฺพกาลํ ได้แก่ ตลอดกาลทั้งปวงมีเวลาเช้าเป็นต้น
บทว่า นิจฺจกาลํ ได้แก่ ทุกวันๆ.
บทว่า ธุวกาลํ ได้แก่ ตลอดกาลไม่ขาด.
บทว่า สตตํ ได้แก่ ไม่มีระหว่าง.
บทว่า สมิตํ ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน.
บทว่า อพฺโพกิณฺณํ ได้แก่ ไม่เจือปนอย่างอื่น.
บทว่า โปกฺขานุโปกฺขํ๑ ความว่าสืบต่อโดยลำดับ ดุจในประโยค เป็นต้นว่า ย่อมปรากฏติดตามกันไปไม่ผิดพลาด.
บทว่า อุทกุมฺมิกชาตํ ได้แก่ เหมือนลูกคลื่นในน้ำที่บังเกิด ขึ้น.
บทว่า อวีจิ ได้แก่ ไม่เบาบาง.
บทว่า สนฺตติ ได้แก่ ไม่ขาดระยะ.
บทว่า สหิตํ ได้แก่ สืบต่อ เป็นอันเดียวกัน ดุจในประโยค เป็นต้นว่าของข้าพเจ้าสืบต่อกัน ของท่านไม่สืบต่อกัน.
บทว่า ผุสิตํ ได้แก่ ถูกต้องในที่ลมผ่านไม่ได้ ดุจในประโยค เป็นต้นว่า ขัดกลอน ดังนี้.
สองบทว่า ปุเรภตฺตํ ปจฺฉาภตฺตํ กล่าวแบ่งเวลาในกลางวัน
๑. ฉบับเทวนาครี เป็น โปงฺขานุโปงฺขํ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 166
สามบทว่า ปุริมยามํ มชฺฌิมยามํ ปจฺฉิมยามํ กล่าวแบ่งเวลา ในกลางคืน.
สองบทว่า กาเฬ ชุณฺเห กล่าวถึงกึ่งเดือน.
สามบทว่า วสฺเส เหมนฺเต คิมฺเห กล่าวถึงฤดู.
สามบทว่า ปุริเม วโยขนฺเธ มชฺฌิเม วโยขนฺเธ ปจฺฉิเม วโยขนฺเธ กล่าวแบ่งวัย พึงทราบดังนี้.
บทเริ่มต้นว่า สโตติ กาเย กายานุปสฺสนาสติปฏฺานํ ภาเวนฺโต สโต จนถึงบทสุดท้ายว่า เอวํ สมุจฺเฉทโต กาเม ปริวชฺเชยฺย ดังนี้ มีเนื้อความตามที่ได้กล่าวแล้วนั่นแล.
อนึ่ง บทว่า สตตฺตา สโต ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะ ความเป็นผู้มีสติ ด้วยความเป็นผู้ข้องอยู่ในวัตถุ ๓ หรือด้วยความเป็นผู้ สามารถเพื่อจะก้าวล่วงกิเลส ๓.
บทว่า สนฺตตฺตา ความว่าชื่อว่า เป็นผู้มีสติด้วยการยังกิเลสและ อุปกิเลสให้หนีไปดำรงอยู่ และเพราะเปลื้องจากอารมณ์แล้วสงบ.
บทว่า สมิตตฺตา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มี สติ เพราะเป็นผู้สงบ ด้วยบุญที่ให้ผลอันน่าปรารถนา และจากบาปที่ให้ผลอันไม่น่าปรารถนา.
บทว่า สนฺตธมฺมสมนฺนาคตตฺตา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ โดยเสพสัปปุริสธรรม และเสวนากับพระอริยบุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บทว่า วตฺถุกาเม ปริชานิตฺวา ความว่า รู้วัตถุกามที่เป็นไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 167
ในภูมิ ๓ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น ด้วยตีรณปริญญา.
บทว่า ปหาย ได้แก่ ละขาดกิเลสกามด้วย ปหานปริญญา.
บทว่า ปชหิตฺวา ได้แก่ทิ้งแล้ว. ท่านอธิบายไว้ว่าบรรเทา กิเลสกาม เหมือนทิ้งหยากเยื่อด้วยตะกร้าหรือ หามิได้เลย ที่แท้บรรเทา กิเลสกามนั้น คือข้าม นำออก ทำกิเลสกามให้สูญสิ้นเหมือนแทงโคงาน ที่โกงด้วยประตักหรือ? หามิได้เลย ที่แท้ทำให้สูญสิ้นซึ่งกิเลสกามนั้น คือกระทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว คือกระทำกิเลสกามนั้นโดยประการที่ แม้ที่สุดก็จักไม่เหลือ แม้เพียงการทำลายโดยกำหนดมีในที่สุด ให้ถึงความ ไม่มีว่า อย่างไรจึงจะทำกิเลสกามนั้นด้วยประการนั้น คือกระทำโดย ประการที่ตัดขาดกิเลสกามด้วยสมุจเฉทปหานดังนี้ แม้ในกามฉันทนิวรณ์ เป็นต้นก็นัยนี้.
ในบทว่า กาโมฆํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ความกำหนัดที่ เป็นไปในกามคุณ ๕ ท่านเรียกว่า กาโมฆะ เพราะอรรถว่า จมลง.
บทว่า ภโวโฆ ได้แก่ ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ และ ความยินดีในฌาน.
บทว่า ทิฏโโฆ ได้แก่ ความปรารถนาในภพที่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิเป็นต้นนั่นแล. ทิฏโฐฆะย่อมถึงการรวมลงในภโวฆะนั่นเอง. อวิชโชฆะได้แก่ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔.
ในโอฆะเหล่านั้น เมื่อบุคคลยินดีใส่ใจกามคุณทั้งหลาย กาโมฆะ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น.
เมื่อบุคคลยินดีใส่ใจมหัคคตธรรมทั้งหลาย ภโวฆะที่ยังไม่เกิดก็เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 168
ขึ้น และที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น. อวิชโชฆะ (อาศัยกามโอฆะ๑) ที่ยัง ไม่เกิดก็เกิดขึ้น และที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น ด้วยความเป็นปทัฏฐานแห่ง วิปัลลาส ๔ ในธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ พึงทราบดังนี้ ธรรมฝ่ายขาว พึงให้พิสดารโดยตรงกันข้ามกับนัยที่กล่าวแล้ว.
ผู้ปฏิบัติอัปปณิหิตวิโมกข์ พึงข้ามกาโมฆะได้. ผู้ปฏิบัติอนิมิตตวิโมกข์ พึงข้ามภโวฆะได้. ผู้ปฏิบัติสุญญตวิโมกข์ พึงข้ามอวิชโชฆะได้. พึงข้ามด้วยปฐมมรรค พึงข้ามขึ้นด้วยทุติยมรรค พึงข้ามพ้นด้วยตติยมรรค พึงก้าวล่วงด้วยจตุตถมรรค พึงเป็นไปล่วงด้วยผล ดังนี้แล. อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า พึงข้ามด้วยกามโอฆะ พึงข้ามด้วย ภโวฆะ พึงข้ามขึ้นด้วยภโวฆะ พึงข้ามพ้นด้วยทิฏโฐฆะ พึงกล่าวล่วงด้วย อวิชโชฆะพึงเป็นไปล่วงด้วยโอฆะทั้งปวง.
บทว่า ครุกํ ได้แก่ ไม่เบา.
บทว่า ภาริกํ ความว่า ชื่อว่า ภาริกะบรรทุกหนัก เพราะอรรถ ว่า มีภัณฑะที่หนักในเรือนี้.
บทว่า อุทกํ สิญฺจิตฺวา ได้แก่วิดน้ำ.
บทว่า อุสฺสิญฺจิตฺวา ได้แก่ วิดยิ่งเกิน.
บทว่า ฉฑฺเฑตฺวา ได้แก่ ให้ตกไป.
บทว่า ลหุกาย ได้แก่ เบาพร้อม.
บทว่า ขิปฺปํ แปลว่า พลัน.
บทว่า ลหุํ ได้แก่ ขณะนั้น.
๑. ฉะบับ สิงหฬและพม่าไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 169
บทว่า อปฺปกสิเรเนว ได้แก่ โดยไม่ลำบากเลย. อมตนิพพาน ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ดังนั้น นิพพาน ซึ่งออกจากเครื่องร้อยรัดคือตัณหา ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ซึ่งเป็นฝั่งนอกจากฝั่งในแห่งสักกายทิฏฐิ.
บทว่า โยโส ได้แก่ นี้ใด. บททั้งปวงมีบทว่า สพฺพสงฺขาร สมโถ เป็นต้น หมายความถึงพระนิพพานทั้งนั้น ก็เพราะความสะเทือน แห่งสังขารทั้งปวง ความหวั่นไหวแห่งสังขารทั้งปวง ความดิ้นรนแห่ง สังขารทั้งปวง ย่อมสงบ ย่อมระงับ เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่าน จงกล่าวนิพพานว่า เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง.
อนึ่ง เพราะอุปธิทั้งปวงย่อมเป็นอันสละคืนได้ ตัณหาทั้งปวงย่อม สิ้นไป ความกำหนัดคือกิเลสทั้งปวงย่อมคลายไป ทุกข์ทั้งปวงย่อมดับไป เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า เป็นที่สละคืน อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ ก็ตัณหานี้ ท่านเรียกว่า วานะ เพราะวิเคราะห์ว่า ย่อมร้อยรัด ย่อมเย็บภพกับภพ กรรมกับผล. ชื่อว่า นิพพานเพราะออกจากวานะนั้น พึงถึงฝั่ง คือพึง ถึง พึงบรรลุฝั่งคือนิพพาน ด้วยโคตรภูญาณที่ออกโดยส่วนเดียว ด้วย สามารถแห่งนิมิต พึงถึงฝั่งคือนิพพาน ด้วยมรรคญาณที่ออกโดยส่วน ๒ เป็นพิเศษ ด้วยความเป็นไปแห่งนิมิต พึงถูกต้อง คือพึงสัมผัส ฝั่งคือนิพพาน ด้วยผลจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า สจฺฉิกเรยฺย ความว่า พืชถูกต้องด้วยสามารถแห่งคุณแล้ว กระทำฝั่งคือนิพพานให้ประจักษ์ ด้วยปัจจเวกขณญาณ อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาว่า พึงถึงฝั่งด้วยโสดาปัตติมรรค พึงบรรลุด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 170
สกทาคามิมรรค พึงถูกต้องด้วยอนาคามิมรรค พึงทำให้แจ้งด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
บทว่า โยปิ ปารํ คนฺตุกาโม ความว่า บุคคลคนใดคนหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในวิปัสสนาญาณ เป็นผู้ใคร่จะถึงฝั่งคือนิพพาน บุคคลแม้นั้นจัก ไปในนิพพานนั้นแน่แท้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปารคู ผู้ถึงฝั่ง สมจริงดังที่ ตรัสไว้ เป็นต้นว่า เราเป็นผู้ข้ามพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ดังนี้ บุคคลแม้นั้นชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง ด้วยสามารถ แห่งอัธยาศัยในส่วนเบื้องต้น และด้วยประกอบวิปัสสนา.
บทว่า โยปิ ปารํ คจฺฉติ ความว่า บุคคลแม้ใด มีความพร้อม เพรียงด้วยมรรค ย่อมถึงฝั่งคือนิพพาน บุคคลแม้นั้นก็ชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง.
บทว่า โยปิ ปารํ คโต ความว่า บุคคลใดให้สำเร็จกิจด้วยมรรค ตั้งอยู่ในผล ถึงแล้วซึ่งฝั่งคือนิพพาน บุคคลแม้นั้นก็ชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง เพื่อ จะแสดงความข้อนั้นด้วยพระดำรัสของพระชินเจ้า พระสารีบุตรเถระจึง กล่าวคำเป็นต้นว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลผู้ข้ามพ้น แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ดำรงอยู่บนบก ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้.
บทว่า อภิญฺาปารคู ความว่า ชื่อว่าถึงฝั่ง เพราะอรรถว่า ใคร่จะถึงฝั่งคือนิพพานด้วยญาตปริญญา ถึงด้วยญาณที่บรรลุแล้ว คือ ถึงแล้ว.
บทว่า ปริญฺาปารคู ความว่า ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งโดยนัยที่กล่าวแล้ว เพราะก้าวล่วงธรรมทั้งปวงด้วยตีรณปริญญา.
บทว่า ปหานปารคู ความว่า ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง โดยนัยที่กล่าวแล้ว เพราะก้าวล่วงกิเลสทั้งหลายที่เป็นฝ่ายสมุทัยด้วย ปหานปริญญา จริงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 171
บุคคลใดกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
บรรดาปริญญา ๓ เหล่านั้น ญาตปริญญา เป็นไฉน? บุคคลรู้ ธรรมทั้งปวงว่า ธรรมเหล่านี้มีในภายใน เหล่านี้มีภายนอก นี้เป็นลักษณะ ของธรรมนี้ เหล่านี้เป็นรส เป็นปัจจุปัฏฐาน เป็นปทัฏฐาน ดังนี้ นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญา เป็นไฉน? บุคคลพิจารณาธรรมทั้งปวงด้วยสามารถ ได้เพราะรู้อย่างนี้โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญา เป็นไฉน? บุคคลพิจารณาอย่างนี้แล้ว ละฉันทราคะในธรรมทั้งปวง ด้วยมรรคอันเลิศ นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา แล. พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า พระอรหันต์นั้น ถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วย การกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละดังนี้ หมายเอาปริญญาเหล่านี้.
บทว่า ภาวนาปารคู ความว่า ภาวนาถึงที่สุดแล้ว ถึงฝั่งคือ นิพพานด้วยมรรค.
บทว่า สจฺฉิกิริยาปารคู ความว่า ถึงฝั่งคือผลและนิพานที่ทำให้ แจ้ง ด้วยสามารถแห่งผลและนิพพาน.
บทว่า สมาปตฺติปารคู ความว่า ถึงฝั่งแห่งสมาบัติ ๘.
บทว่า สพฺพธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งปวงมีขันธ์ ๕ เป็นต้น.
บทว่า สพฺพทุกฺขานํ ได้แก่ ทุกข์ทั้งปวงมีชาติทุกข์เป็นต้น.
บทว่า สพฺพกิเลสานํ ได้แก่ กิเลสทั้งปวงมีกายทุจริตเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 172
บทว่า อริยมคฺคานํ ได้แก่ อริยมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
บทว่า นิโรธสฺส ได้แก่ นิพพาน.
บทว่า สพฺพสมาปตฺตีนํ ได้แก่ รูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ ๘ ทั้งหมด.
บทว่า โส ได้แก่ พระอริยะนั้น.
บทว่า วสิปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถึงความเป็นผู้มีอิสระ คือความเป็นผู้สำเร็จ.
บทว่า ปารมิปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงที่สุด คือความสำเร็จ คือความ สูงสุด ที่เรียกว่าบารมี. เพื่อจะแก้คำถามว่า ถึงในอะไร? พระสารีบุตรเถระ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ในอริยศีล ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยสฺมึ สีลสฺมึ ได้แก่ ในศีลที่ ปราศจากโทษ.
บทว่า อริยาย สมาธิสฺมึ ได้แก่ ในสมาธิที่ปราศจากโทษ.
บทว่า อริยาย ปญฺาย ได้แก่ ในปัญญาที่ปราศจากโทษ.
บทว่า อริยาย วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุติที่ปราศจากโทษ. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ท่านถือเอาด้วยบทแรก.
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ท่านถือเอาด้วยบทที่ ๒.
สัมมาสังกัปปะและสัมมาทิฏฐิ ท่านถือเอาด้วยบทที่ ๓.
ธรรมอันเหลือที่สัมปยุตด้วยอริยมรรคนั้น ท่านถือเอาด้วยบทที่ ๔. พึงทราบดังนี้.
บทว่า อนฺตคโต ความว่า ไปสู่ส่วนสุดแห่งสังขารโลก ด้วยมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 173
บทว่า อนฺตปฺปตฺโต ความว่า ถึงส่วนสุดแห่งโลกนั้นแหละ ด้วย ผล.
บทว่า โกฏิคโต ความว่า ไปสู่ที่สุดแห่งสังขารโลก ด้วยมรรค.
บทว่า โกฏิปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่สุดนั้นแหละ ด้วยผล.
บทว่า ปริยนฺตคโต ความว่า ไปสู่การกำหนดที่สุดของโลก มี ขันธโลกและอายตนโลกเป็นต้น ทำให้เป็นทางได้ด้วยมรรค.
บทว่า ปริยนฺตปฺปตฺโต ความว่า ถึงโลกนั้นแหละ ทำให้เป็นที่ สุดรอบได้ ด้วยผล.
บทว่า โวสานคโต ความว่า ไปสู่ที่สุดด้วยมรรค.
บทว่า โวสานปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่สุดด้วยผล.
บทว่า ตาณคโต ความว่า ไปสู่ที่ต้านทานได้ด้วยมรรค.
บทว่า ตาณปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่ต้านทานได้ด้วยผล.
บทว่า เลณคโต ความว่า ไปสู่ที่เร้นลับได้ด้วยมรรค.
บทว่า เลณปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่เร้นลับได้ด้วยผล.
บทว่า สรณคโต ความว่า ไปสู่ที่พึ่งได้ด้วยมรรค.
บทว่า สรณปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่พึ่งได้ด้วยผล.
บทว่า อภยคโต ความว่า ไปสู่ที่ไม่มีภัยได้ด้วยมรรค.
บทว่า อภยปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่ไม่มีภัยคือนิพพานได้ด้วยผล.
บทว่า อจฺจุติคโต ความว่า ไปสู่ที่ไม่ตาย คือนิพพานได้ด้วย มรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 174
บทว่า อจฺจุติปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่ไม่ตายนั้นได้ด้วยผล.
บทว่า อมตคโต ความว่า ไปสู่แดนอมตะ คือนิพพานได้ด้วย มรรค.
บทว่า อมตปฺปตฺโต ความว่า ถึงแดนอมตะนั้น ได้ด้วยผล.
บทว่า นิพฺพานคโต ความว่า ไปสู่นิพพานซึ่งออกจากเครื่องร้อย รัดคือตัณหาได้ด้วยมรรค.
บทว่า นิพฺพานปฺปตฺโต ความว่า ถึงนิพพานนั้นแหละได้ด้วยผล.
บทว่า โส วุฏฺวาโส ความว่า พระอรหันต์นั้น ชื่อว่า อยู่จบ แล้ว เพราะอรรถว่า อยู่แล้ว อยู่รอบแล้ว อยู่จบแล้ว ในอริยวาสธรรม ๑๐.
บทว่า จิณฺณจรโณ ความว่า ชื่อว่า ประพฤติจรณะแล้ว เพราะ อรรถว่า มีความชำนาญประพฤติแล้วในสมาบัติ ๘ กับศีล.
บทว่า คตทฺโธ ความว่า ก้าวล่วงทางไกลคือสังสารวัฏฏ์.
บทว่า คตทิโส ความว่า ถึงทิศคือนิพพาน ซึ่งไม่เคยไปแม้ใน ความฝัน.
บทว่า คตโกฏิโก ความว่า เป็นผู้ถึงที่สุดคืออนุปาทิเสสนิพพาน ดำรงอยู่.
บทว่า ปาลิตพฺรหฺมจริโย ความว่า มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว.
บทว่า อุตฺตมทิฏฺิปฺปตฺโต ความว่า ถึงสัมมาทิฏฐิอันอุดม.
บทว่า ปฏิวิทฺธากุปฺโป ความว่า แทงตลอดอรหัตตผล ไม่กำเริบ คือไม่หวั่นไหวดำรงอยู่แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 175
บทว่า สจฺฉิกตนิโรโธ ความว่า กระทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ คือ นิพพานดำรงอยู่แล้ว.
บทว่า ทุกฺขํ ตสฺส ปริญฺาตํ ความว่า ทุกข์ ๓ อย่างอันพระ อรหันต์นั้นก้าวล่วงตัดขาดเสียแล้ว.
บทว่า อภิญฺเยฺยํ ความว่า พึงรู้ด้วยอาการอันงาม ด้วยสามารถ แห่งการหยั่งรู้สภาวลักษณะ.
บทว่า อภิญฺาตํ ความว่า รู้แล้วด้วยญาณอันยิ่ง.
บทว่า ปริญฺเยฺยํ ความว่า พึงกำหนดรู้ทราบซึ่ง ด้วยสามารถ แห่งการหยั่งรู้สามัญลักษณะ และด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีกิจถึงพร้อม
บทว่า ปริฺาตํ ความว่า รู้แล้วโดยรอบ.
บทว่า ภาเวตพฺพํ ได้แก่ พึงให้เจริญ.
บทว่า สจฺฉิกาตพฺพํ ได้แก่ พึงกระทำให้ประจักษ์ ก็การกระทำ ให้แจ้งมี ๒ อย่างคือ การกระทำให้แจ้งการได้เฉพาะ และการกระทำให้ แจ้งอารมณ์.
ในบทว่า อุกฺขิตฺตปลิโฆ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปลิโฆ ได้แก่ อวิชชาซึ่งเป็นรากเง่าแห่งวัฏฏะ ก็อวิชชานี้ ท่านเรียกว่า ลิ่ม ด้วยอรรถว่า ถอนได้ยาก ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็น ผู้มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว เพราะอวิชชานั้น อันพระอรหันต์ นั้นถอนได้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 176
ที่เรียกว่า คู ในบทว่า สงฺกิณฺณปริโข ได้แก่ อภิสังขารคือ กรรมที่ให้ภพใหม่ คือเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลายในภพใหม่ ซึ่งได้นาม ว่า ชาติสงสาร ด้วยสามารถให้เกิดในภพทั้งหลาย และด้วยสามารถแห่ง การท่องเที่ยวไป ก็อภิสังขารคือกรรมนั้น ท่านเรียกว่า คู เพราะตั้งแวด ล้อมด้วยสามารถกระทำความเกิดขึ้นบ่อยๆ ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็นผู้มี กรรมเป็นคูอันกำจัดเสียแล้ว เพราะกรรมอันเป็นคูนั้นอันพระอรหันต์กำจัด เสียแล้ว คือถมเสียแล้ว.
บทว่า เอสิกา ในบทว่า อพฺพุฬฺเหสิโก ได้แก่ ตัณหาซึ่งเป็น มูลแห่งวัฏฏะ ก็ตัณหานี้ลึกซึ้ง ท่านเรียกว่า เสาระเนียด เพราะอรรถว่า ข้ามไปได้ยาก ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอัน ถอนเสียแล้ว เพราะตัณหานั้นอันพระอรหันต์นั้นถอนได้แล้ว คือถอนทิ้ง ไปแล้ว.
ที่เรียกว่า อัคคฬะ ในบทว่า นิรคฺคโฬ ได้แก่ สังโยชน์ที่ใช้ เกิดกิเลสอย่างหยาบ คือโอรัมภาคิยสังโยชน์ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดในกามภพ ก็สังโยชน์เหล่านั้นท่านเรียกว่าอัคคฬะ เพราะตั้งปิดกั้นจิตไว้ เหมือนบาน ประตูใหญ่ที่ใช้เป็นประตูพระนครฉะนั้น ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็นผู้ไม่ มีสังโยชน์เป็นบานประตู เพราะไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตู คือสังโยชน์ เหล่านั้นอันพระอรหันต์ทำลายได้แล้ว.
บทว่า อริโย ได้แก่ ไม่มีกิเลส คือบริสุทธิ์.
บทว่า ปนฺนทฺธโช ได้แก่ มีธง คือมานะให้ตกไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 177
บทว่า ปนฺนภาโร ได้แก่ ชื่อว่า มีภาระอันปลงเสียแล้ว เพราะ ภาระคือขันธ์ ภาระคือกิเลส ภาระคืออภิสังขาร ภาระคือกามคุณ ๕ อันพระอรหันต์นั้นปลงแล้ว คือวางลงแล้ว. อีกอย่างหนึ่งในที่นี้ท่าน ประสงค์ว่า มีมานะอันปลงแล้ว เพราะภาระคือมานะนั่นแหละ พระอรหันต์ วางลงแล้ว.
บทว่า วิสํยุตฺโต ความว่า ไม่เกี่ยวข้องด้วยโยคะ ๔ และกิเลส ทั้งปวง แต่ในที่นี้ท่านประสงค์ว่า ชื่อว่าไม่เกี่ยวข้อง เพราะไม่เกี่ยวข้อง ด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องคือมานะนั่นเอง.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระสารีบุตรเถระแสดงกาลที่ให้กิเลสทั้ง หลายสิ้นไปด้วยมรรคแล้วบรรลุผลสมาบัติซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ ของ พระขีณาสพผู้บรรลุนิโรธซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่อันประเสริฐ. เหมือนอย่าง ว่ามีนคร ๒ นคร คือโจรนคร ๑ เขมนคร ๑ ครั้งนั้น นายทหารใหญ่ คนหนึ่งเกิดความปรารถนาขึ้นว่า โจรนครนี้ยังตั้งอยู่ตราบใด เขมนคร ย่อมไม่พ้นภยันตรายนั้น เราจักทำโจรนครให้ไม่เป็นนคร เขาสวมเกราะ ถือพระขรรค์เข้าไปยังโจรนคร เอาพระขรรค์ฟันเสาระเนียดซึ่งเขายกขึ้นไว้ ที่ประตูนคร ทำลายที่ต่อบานประตูและหน้าต่าง ถอนลิ่มสลัก ทำลาย กำแพง ถมคู เอาธงที่ยกขึ้นเพื่อความสง่างามของนครลง เอาไฟเผานคร แล้วเข้าเขมนคร ขึ้นบนปราสาท แวดล้อมไปด้วยหมู่ญาติ บริโภค โภชนาหารที่มีรสอร่อย ฉันใด ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น สักกายทิฏฐิดุจโจรนคร นิพพานดุจเขมนคร พระโยคาวจรดุจนายทหารใหญ่ พระโยคาวจรนั้นมี ความคิดอย่างนี้ว่า เครื่องผูกคือสักกายทิฏฐิยังผูกพันอยู่ตราบใด ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 178
หลุดพ้นจากกรรมกรณ์ ๓๒ จากโรค ๙๘ และจากภัยใหญ่ ๒๕ ย่อมไม่มี พระโยคาวจรนั้นเป็นดุจนายทหารใหญ่ สวมเกราะคือศีล ถือพระขรรค์ คือปัญญา ฟันเสาระเนียดคือตัณหาด้วยอรหัตตมรรคดุจฟันเสาระเนียดด้วย พระขรรค์ ฉุดลูกตาลคือสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการดุจ นายทหารนั้นทำลายหน้าต่างนครพร้อมทั้งบานประตูถอนลิ่มสลักคืออวิชชา ดุจนายทหารนั้นถอนลิ่มสลักทำลายกรรมาภิสังขารถมคูคือชาติสงสาร ดุจ นายทหารทำลายกำแพงถมคู เอาธงคือมานะลงแล้วเผานคร คือสักกายทิฏฐิ ดุจนายทหารนั้นเอาธงที่ยกขึ้นเพื่อความสง่างามของนครลง เข้าสู่นคร นิพพาน เสวยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ซึ่งมีนิโรธ๑ อันเป็นอมตะเป็น อารมณ์ ยังกาลให้ล่วงไป ดุจนายทหารนั้นเข้าสู่เขมนคร บริโภคโภชนา หารมีรสอร่อยบนปราสาท ฉะนั้น.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอวิชชาแล้ว ถอนรากแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีอวิชชา เป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว อย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นคูอันกำจัดเสียแล้ว อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละชาติสงสารอันให้เกิด ในภพใหม่แล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีกรรมเป็นคูอัน กำจัดเสียแล้วอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีตัณหาเป็น
๑. นิโรธ หมายถึง นิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 179
เสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ละตัณหาแล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีตัณหาเป็นเสา ระเนียดอันถอนเสียแล้วอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่มี สังโยชน์เป็นบานประตู อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ละสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการแล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตูอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตก ไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง อย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะแล้วถอนรากแล้ว ทำให้ เป็นดังตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอัน ให้ตกไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้องอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย พร้อมด้วยพระอินทร์ พระพรหม พระประชาบดี ติดตามภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แลย่อมไม่พบ นิมิต นี้เป็นวิญญาณของตถาคต ดังนี้.
บทว่า ปญฺจงฺควิปฺปหีโน ความว่า ละองค์ ๕ มีกามฉันท์เป็นต้น ด้วยอุบายมีอย่างต่างๆ ตั้งอยู่ สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ละขาดองค์ ๕ อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ ละพยาบาท ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละขาดองค์ ๕ อย่างนี้แล ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 180
บทว่า ฉฬงฺคสมนฺนาคโต ความว่า ละอนุสัยคือปฏิฆะในอารมณ์ มีรูปเป็นต้นในทวาร ๖ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งอุเบกขา ท่านกล่าวว่า ประกอบด้วยองค์ ๖ เพราะยังองค์ ๖ ให้เต็มตั้งอยู่แล้วด้วย สามารถแห่งการอยู่ สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ เป็นผู้ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ ไม่ดีใจ เป็นผู้ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้แล ดังนี้.
บทว่า เอการกฺโข ความว่า ชื่อว่า เอการักขะ เพราะอรรถว่า มีการรักษาอย่างเอก คือ อุดม ด้วยธรรมเครื่องรักษาคือสติ สมจริงดัง พระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติเป็นธรรม เครื่องรักษาอย่างเอก อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจมีสติเป็นธรรมเครื่องรักษาอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นธรรมเครื่องรักษาอย่างเอกนี้แล ดังนี้.
บทว่า จตุราปสฺเสโน ความว่า เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๔ ด้วยสามารถแห่งธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๔ อย่าง คือ การเสพเฉพาะ, การเว้น, การบรรเทา และการละ ด้วยปัญญา ที่ไม่เป็นไปข้างโน้น ข้างนี้คือบรรลุธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ :- พึงให้ พิสดารโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 181
อาศัย ๔ อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่อง อาศัย ๔ อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา แล้วเสพเฉพาะอย่าง ๑ พิจารณาแล้วเว้นอย่าง ๑ พิจารณาแล้วบรรเทา อย่าง ๑ พิจารณาแล้วละอย่าง ๑ ดังนี้.
บทว่า ปนุณฺณปจฺเจกสจฺโจ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีทิฏฐิสัจจะ เฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว เพราะอรรถว่า ทิฏฐิสัจจะกล่าวคือเฉพาะ อย่าง เพราะถือเอาเฉพาะอย่างเดียวอย่างนี้ว่า ทัศนะนี้เท่านั้นจริง ทัศนะ นี้เท่านั้นจริง ดังนี้ อันพระอรหันต์นั้นบรรเทาแล้ว คือนำออกแล้ว ละแล้ว.
บทว่า อวย ในบทว่า สมวยสฏฺเสโน ได้แก่ ไม่หย่อน.
บทว่า สฏ ได้แก่ ประเสริฐ ชื่อว่า สมวยสัฏเฐสนะ เพราะ อรรถว่า มีการแสวงหาอันชอบ ไม่หย่อน ประเสริฐ อธิบายว่า มีการ แสวงหาทั้งปวงประเสริฐโดยชอบ.
บทว่า เกวลี ได้แก่ เป็นผู้บริบูรณ์.
บทว่า วุสิตวา ได้แก่ เป็นผู้มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว คือเป็นผู้ อยู่จบในอริยมรรคซึ่งเป็นเครื่องอยู่อันสมควรแก่โยคะบ้าง ในอริยวาส ธรรม ๑๐ บ้าง.
บทว่า อตฺตมปุริโส ได้แก่ เป็นบุรุษวิเศษ คือเป็นบุรุษอาชาไนย เพราะกิเลสสิ้นแล้ว.
บทว่า ปรมปุริโส ได้แก่เป็นบุรุษสูงสุด คือเป็นผู้ถึงความบรรลุ ปรมัตถะ เพราะถึงการได้เฉพาะซึ่งประโยชน์อย่างยิ่ง คือถึงการได้เฉพาะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 182
ซึ่งพระอรหัตต์อันอุดมที่พึงถึง เป็นบุญเขตที่ยอดเยี่ยม จึงชื่อว่าเป็นบุรุษ สูงสุด เป็นบรมบุรุษด้วยอรรถนั้นแหละ คือเป็นผู้ถึงความบรรลุปรมัตถะ เพราะเป็นผู้ถึงการได้เฉพาะซึ่งอมตะ เพื่อเข้าสมาบัติอันยอดเยี่ยม.
อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า เป็นอุดมบุรุษ ด้วยสามารถรู้ดีถึงโทษในการครองเรือนแล้วจึงเข้าศาสนา เป็นบรมบุรุษ ด้วยสามารถรู้ดีถึงโทษในอัตภาพแล้วจึงเข้าวิปัสสนา คือ รู้ดีถึงโทษใน กิเลสจึงเข้าสู่อริยภูมิ เป็นผู้ถึงความบรรลุปรมัตถะ. บทว่า เนว อาจินาติ ความว่า ไม่เพิ่มวิบากแห่งกุศลและ อกุศลเหล่านั้น เพราะละกุศลและอกุศลได้แล้ว.
บทว่า น อปจินาติ ความว่า มิได้กำจัด เพราะตั้งอยู่ในผลแล้ว.
บทว่า อปจินิตฺวา ิโต ความว่า ยังหยาดแห่งกิเลสทั้งหลายให้ แห้งตั้งอยู่แล้ว เพราะตั้งอยู่ในการละด้วยสงบระงับ.
บทว่า เนว ปชหติ ความว่า มิได้ละกิเลสทั้งหลาย เพราะไม่มี กิเลสที่จะต้องละ.
บทว่า น อุปาทิยติ ความว่า มิได้ถือเอาด้วยตัณหามานะทิฏฐิ เหล่านั้น เพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงถือเอาด้วยตัณหามานะทิฏฐิ.
บทว่า ปชหิตฺวา ิโต ความว่า ละแล้วจึงตั้งอยู่.
บทว่า เนว วิสิเนติ ความว่า มิได้เย็บด้วยสามารถแห่งตัณหา.
บทว่า น อุสฺสิเนติ ความว่า มิได้ยกขึ้นด้วยสามารถแห่งมานะ.
บทว่า วิสิเนตฺวา ิโต ความว่า มิได้กระทำการเย็บด้วยตัณหา ตั้งอยู่ อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 183
บทว่า เนว วิธุเปติ ความว่า มิได้ให้ไฟคือกิเลสดับ.
บทว่า น สนฺธุเปติ ความว่า มิได้ให้ไฟคือกิเลสลุก.
บทว่า วิธุเปตฺวา ิโต ความว่า ให้ดับแล้วตั้งอยู่.
บทว่า อเสกฺเขน สีลกฺขนฺเธน ความว่า ดำรงอยู่ คือดำรงอยู่ โดยความเป็นผู้ไม่เสื่อม เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือด้วยกองแห่งศีล ซึ่งเป็นอเสขะ เพราะ ไม่มีข้อที่จะต้องศึกษา.
บทว่า สมาธิกฺขนฺเธน ได้แก่ ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยสัมมา วายามะและสัมมาสติ.
บทว่า วิมุตติกฺขนฺเธน ได้แก่ ด้วยขันธ์อันสัมปยุตด้วยผลวิมุตติ.
บทว่า วิมุตฺติาณทสฺสนกฺขนฺเธน ได้แก่ ด้วยปัจจเวกขณญาณ.
บทว่า สจฺจํ ปฏิปาทยิตฺวา ความว่า ยังอริยสัจ ๔ ให้ถึงพร้อม ในสันดานของตนด้วยสามารถแห่งสภาวะ คือแทงตลอดแล้วตั้งอยู่.
บทว่า เอวํ สมติกฺกมิตฺวา ได้แก่ ก้าวล่วงตัณหาเครื่องหวั่นไหว.
บทว่า กิเลสคฺคึ ได้แก่ ไฟคือกิเลสมีราคะเป็นต้น.
บทว่า ปริยาทยิตฺวา ได้แก่ ให้สิ้นแล้ว คือให้ดับแล้ว.
บทว่า อปริคมนตาย ได้แก่ ด้วยการไม่ไปในสังสารวัฏฏ์ ความว่า ไม่มีการกลับมาอีก.
บทว่า กูฏํ สมาทาย ได้แก่ ถือเอาความชนะ.
บทว่า มุตฺติปฏิเสวนตาย ได้แก่ ด้วยภาวะพ้นจากกิเลสทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 184
เสพอารมณ์มีรูปเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ด้วยสามารถเสพผลสมาบัติ ซึ่งพ้น จากกิเลสทั้งปวง.
บทว่า เมตฺตาย ปาริสุทฺธิยา ได้แก่ ดำรงอยู่ด้วยเมตตาที่ตั้งอยู่ ในความบริสุทธิ์ เพราะพ้นจากอุปกิเลส แม้ในกรุณาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
บทว่า อจฺจนฺตปาริสุทฺธิยา ได้แก่ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ ก้าวล่วงถึงที่สุดของความบริสุทธิ์.
บทว่า อกมฺมยตา ความว่าตัณหาทิฏฐิมานะ ท่านเรียกว่า กมฺมยา ความแข็งกระด้าง ความไม่มีแห่งตัณหาทิฏฐิมานะเหล่านั้น ชื่อว่า อกมฺมยตา ความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้าง ดำรงอยู่ในความเป็นผู้เว้นจาก ตัณหามานะทิฏฐินั้น สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
คนเช่นท่านนั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีปัญญาดี เป็นมุนีที่ไม่แข็งกระด้างในธรรมทั้งปวง. ดังนี้. แม้ในที่นี้ ความก็ว่า เป็นผู้เว้นจากตัณหามานะทิฏฐิ นั่นเอง.
บทว่า วิมุตฺตตฺตา ได้แก่ ด้วยความเป็นผู้พ้นจากกิเลสทั้งปวง.
บทว่า สนฺตุสิตตฺตา ความว่า ตั้งอยู่เพราะความเป็นผู้สันโดษ ด้วยยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ.
บทว่า ขนฺธปรยนฺเต ความว่า เผาขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕ ด้วยไฟคือปริญญา ๓ แล้วตั้งอยู่ในส่วนสุด คือที่สุด แม้ในส่วนสุดรอบ แห่งธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า ธาตุปริยนฺเต ได้แก่ในส่วนสุดรอบแห่งธาตุ ๑๘.
บทว่า อายตนปริยนฺเต ได้แก่ อายตนะ ๑๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 185
บทว่า คติปริยนฺเต ได้แก่ คติ ๕ มีนรกเป็นต้น.
บทว่า อุปปตฺติปริยนฺเต ได้แก่ในการบังเกิดในสุคติและทุคติ.
บทว่า ปฏิสนฺธิปริยนฺเต ได้แก่ในปฏิสนธิในกามภพ ที่รูปภพ และอรูปภพ.
บทว่า ภวปริยนฺเต ได้แก่ เอกโวการภพ. จตุโวการภพ, ปัญจ โวการภพ, สัญญาภพ, เนวสัญญานาสัญญาภพ, กามภพ, รูปภพ, และ อรูปภพ.
บทว่า สํสารปริยนฺเต ได้แก่ ในความเป็นไปไม่ขาดแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ.
บทว่า วฏฺฏปริยนฺเต ได้แก่ในส่วนสุดรอบแห่งกรรมวัฏฏ์ วิปาก วัฏ และกิเลสวัฏฏ์.
บทว่า อนติมภเว ได้แก่ ในอุปบัติภพอันเป็นที่สุด.
บทว่า อนฺติมสมุสฺสเย ิโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในร่างกาย คือใน สรีระอันเป็นที่สุด.
บทว่า อนฺติมเทหธโร ความว่า ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งร่างกายที่สุด เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งร่างกายคือสรีระ อันมีในที่สุดคือเป็นที่สุด.
บทว่า อรหา ความว่า ชื่อว่า พระอรหันต์ เพราะไกลข้าศึก เพราะกำจัดข้าศึก เพราะควรแก่ปัจจัยเป็นต้นและเพราะไม่มีที่ลับในการ ทำชั่ว.
บทว่า ตสฺสายํ ปจฺฉิมโก ความว่า ร่างกายคืออัตภาพนี้ เป็น ที่สุดของพระขีณาสพนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 186
บทว่า จริโม ได้แก่ น้อย เฉื่อยชา ดุจคำข้าวน้อย พระสารีบุตรเถระกล่าวว่าพระขีณาสพนั้นมิได้มีชาติมรณะสังสาระ และภพใหม่ดังนี้ หมายเอาความที่ปฏิสนธิไม่มีอีก.
ความเกิดชื่อว่าชาติ. ชื่อว่ามรณะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องตาย ของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อทรงสรุปภาวะที่ตรัสไว้ว่า ความเป็นไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่ขาดแห่งขันธ์เป็นต้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้นอีกดังนี้ พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้นสัตว์ ฯลฯ วิดเรือแล้วเป็นผู้ถึงฝั่ง ดังนี้.
ในพระสูตรนี้ บทใดมิได้กล่าวไว้ในระหว่างๆ บทนั้นพึงถือตาม แนวพระบาลี.
สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส
อรรถกถากามสุตตนิทเทส
จบ สูตรที่ ๑