พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙ ว่าด้วยเมถุนธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40770
อ่าน  495
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 801

มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙

ว่าด้วยเมถุนธรรม

[๓๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้นี้ เพราะเห็น นางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจใน เมถุนธรรม ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตร และกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วย เท้า.

[๓๒๒] คำว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะ เห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย มีความว่า ความพอใจก็ ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในเมถุนธรรม มิได้มีเพราะเห็น คือ ประสบ มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะเห็นนาง ตัณหา นางอรดีและนางราคาเลย.

[๓๒๓] คำว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมีเพราะเห็น สรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้อง สรีระนั้นแม้ด้วยเท้า มีความว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมี เพราะเห็นสรีระนี้ อันเต็มด้วยมูตร เต็มด้วยกรีส เต็มด้วยเสมหะ เต็มด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 802

เลือด มีกระดูกเป็นโครง มีเส้นเอ็นเป็นเครื่องผูกพันไว้ มีเลือดและเนื้อ เป็นเครื่องฉาบทา อันหนังหุ้มห่อไว้ อันผิวหนังปิดบังไว้ มีช่องน้อยและ ช่องใหญ่ ไหลเข้าไหลออกเป็นปกติ อันหมู่หนอนอยู่อาศัย บริบูรณ์ด้วย มลทินโทษต่างๆ เราไม่ปรารถนาจะเหยียบด้วยเท้า การสังวาสหรือ สมาคมจักมีแต่ไหน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความพอใจในเมถุนธรรม ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ ปรารถนาจะแตะต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มีเพราะเห็นนาง ตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้ เล่า เราไม่ปรารถนาจะแตะต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า.

[๓๒๔] มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า :-

ถ้าท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตน์เช่นนี้ ที่ พระราชาเป็นอันมาก ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนปรารถนากัน แล้วไซร้ ท่านย่อมกล่าวทิฏฐิ ศีล พรต ชีวิต และอุบัติ ภพว่าเป็นเช่นไร.

[๓๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ

การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น และเราเห็นโทษใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 803

ทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่ง ความสงบภายใน.

[๓๒๖] คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น มี ความว่า คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ความว่า เราย่อมกล่าวสิ่งนี้ คือ ย่อม กล่าวสิ่งนั้น กล่าวเท่านั้น กล่าวโดยเหตุเท่านั้น กล่าวทิฏฐิว่า โลก เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้.

คำว่า ย่อมไม่มีแต่เรานั้น ความว่า มิได้มีแก่เรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า มาคันทิยะ.

คำว่า ภควา เป็นชื่อที่กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ

คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า:- ดูก่อนมาคันทิยะ

ว่าด้วยทิฏฐิ ๖๒

[๓๒๗] คำว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือ มั่น มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในทิฏฐิ ๖๒ คำว่า ถึงความตกลง ความว่า ตัดสินแล้ว คือ ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา เทียบ เคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่นอน เป็นตามสภาพ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 804

มิได้วิปริต ดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอัน พระตถาคตละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสีย แล้วติดไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า การถึงความตกลงในธรรม ทั้งหลายแล้วถือมั่น.

[๓๒๘] คำว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยืดถือ มี ความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ถือ คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ มั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิ ทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม เป็นทิฏฐิข้าศึก เป็นทิฏฐิดิ้นรน เป็นทิฏฐิเครื่องประกอบไว้ มีทุกข์ มี ความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ หน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็น ไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โดยไม่ เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 805

สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อม ไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่ เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม เป็นทิฏฐิข้าศึก เป็นทิฏฐิดิ้นรน เป็นทิฏฐิเครื่อง ประกอบไว้ มีทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไป เพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็น ไปเพื่อความตรัสรู้. ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิ ทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถืออย่างนี้ ลูบคลำอย่างนี้ ย่อมมีคติอย่างนี้ มีภพหน้าอย่างนี้ จึง ไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้ง หลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ เป็นไป เพื่อให้เกิดในนรก เป็นไปเพื่อให้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อ ให้เกิดในเปรตวิสัย จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 806

ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความ เสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเรา ไม่พึงถือ ไม่พึงลูบคลำ ไม่พึงยึดมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

[๓๒๙] คำว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้ว ซึ่งความสงบ ภายใน มีความว่า ซึ่งความสงบ ความเข้าไปสงบ ความดับ ความระงับ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ ลวง โอ้อวด หัวดื้อ แข็งดี ถือตัว ดูหมิ่น มัวเมา ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง คำว่า เมื่อเลือก เฟ้นอยู่ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ คือ ค้นหา แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้ง ปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา คำว่า ได้เห็นแล้ว ความว่า ได้เห็นแล้ว คือ ได้ประสบ พบเห็น แทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงซึ่งว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่งความสงบภายใน เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 807

การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้ว ถือมั่นว่า เรากล่าวสงนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น และเราเห็นโทษ ในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยืดถือ เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้ว ซึ่งความสงบภายใน.

[๓๓๐] มาคันทิยะพราหมณ์ทูลถามว่า :- ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว ท่านมุนีไม่ถือมั่น ทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความสงบภายในอรรถนั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ?

[๓๓๑] คำว่า ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ.

คำว่า ดำริแล้ว ได้แก่ กำหนดแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ตั้งไว้ด้วยดี แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดำริแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มี ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา มีความเปรปรวนเป็นธรรมดา แม้เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ดำริ แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว.

ศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติ มาคนฺทิโย เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ ว่าอิติ นี้เป็นลำดับบท.

บทว่า มาคนฺทิโย เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นที่หมายรู้เป็น เครื่องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อิติ มาคนฺทิโย.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 808

[๓๓๒] คำว่า ท่านเป็นมุนีไม่ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าว อรรถใดว่า ความสงบภายใน มีความว่า คำว่า ทิฏฐิเหล่านั้น ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒.

คำว่า มุนี ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความ รู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหาเพียงดังข่าย บุคคล นั้นชื่อว่า มุนี

คำว่า ไม่ถือมั่น ความว่า ท่านรับรองว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิ ทั้งหลาย จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย และกล่าวว่า ความสงบภายใน.

คำว่า อรรถนั้นใด ได้แก่อรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านเป็นมุนีไม่ถือมั่นในทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความ สงบภายใน.

[๓๓๓] คำว่า อรรถนั้น ธีรชนทั้งหลาย ประกาศไว้อย่าง ไรหนอ มีความว่า คำว่า อย่างไรหนอ เป็นคำถามโดยสงสัย เป็น คำถามโดยแคลงใจ เป็นคำถาม ๒ ทาง เป็นคำถามโดยส่วนเป็นอเนก ว่าอย่างนั้น หรือหนอ ว่ามิใช่หรือหนอ ว่าเป็นอย่างไรหรือหนอ ว่าอย่าง ไรเล่าหนอ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อย่างไรหนอ.

คำว่า ธีรชนทั้งหลาย ได้แก่ บัณฑิต บุคคลผู้มีปัญญา ผู้มี ความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ.

คำว่า ประกาศไว้ ได้แก่ กล่าว ประกาศ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 809

ว่าอรรถนั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ เพราะเหตุนั้น พระ ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า :-

ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว ท่านเป็นมุนีไม่ถือ มั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความสงบภายในอรรถ นั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ?

[๓๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยพราหมณ์

บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิไม่กล่าว ความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย ญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคล ย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มี สุตะด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มี พรตก็หามิได้ บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ.

[๓๓๕] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย ญาณมีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่ แถลงซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความ พ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยทิฏฐิ ... .แม้ด้วยสุตะ ... .แม้ด้วย ทิฏฐิและสุตะ ... .แม้ด้วยญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าว ความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 810

ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก พราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า มาคันทิยะ.

คำว่า ภควา เป็นชื่อที่กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้เป็น สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ... .พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อน มาคันทิยะ.

[๓๓๖] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจด แม้ด้วยศีล และพรต มีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยศีล ... .แม้ด้วยพรต ... ..แม้ด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าวความ หมดจดแม้ด้วยศีลและพรต.

[๓๓๗] คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความ ไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่ มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ แม้ทิฏฐิพึง ประสงค์เอาสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ทานที่ให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อม มีผล การเช่นสรวงย่อมมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและกรรมที่ทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ เหล่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ มีอยู่ สมณพราหมณ์ที่ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และ โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศมีอยู่ในโลก. แม้สุตะพึงประสงค์ เอาเสียงแต่บุคคลอื่น คือ สุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวลัลละ แม้ญาณพึงประสงค์เอากัมมัสส-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 811

กตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ อภิญญาญาณ สมาปัตติญาณ แม้ศีลพึงประสงค์ เอาปาติโมกขสังวรศีล แม้วัตรพึงประสงค์เอาธุดงค์ ๘ คือ อารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริ- กังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังคธุดงค์.

คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วย ความไม่มีพรต ก็หามิได้ ความว่า บุคคลเป็นผู้บรรลุถึงความสงบ ภายใน ด้วยธรรมสักว่าสัมมาทิฏฐิ ก็หามิได้. ด้วยธรรมสักว่าการฟัง ก็ หามิได้. ด้วยธรรมสักว่าญาณ ก็หามิได้. ด้วยธรรมสักว่าศีล ก็หามิได้ ด้วยธรรมสักว่าพรต ก็หามิได้. ย่อมบรรลุถึงความสงบภายใน เว้นจาก ธรรมเหล่านี้ ก็หามิได้. ก็เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องอุดหนุน เพื่อถึง บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งความสงบภายใน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่ มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มี พรต ก็หามิได้.

[๓๓๘] คำว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น มี ความว่า การละโดยความกำจัดธรรมฝ่ายดำ ด้วยธรรมเหล่านี้ จำต้อง ปรารถนา ความหมดตัณหาในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศลอันมีในไตรธาตุ จำ ต้องปรารถนา ธรรมฝ่ายดำเป็นธรรมอันบุคคลละได้แล้ว ด้วยการละโดย ความจำกัด มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง ความไม่มีภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา และความหมด

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 812

ตัณหาในธรรมทั้งหลาย ฝ่ายกุศลอันมีในไตรธาตุ ย่อมมีได้โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ธรรมฝ่ายคำเหล่านั้น บุคคลไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นแม้ด้วย เหตุอย่างนี้จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น.

ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ เป็นกิเลสชาติอันบุคคลละได้แล้ว มีราก อันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึด มั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น.

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพอัน บุคคลละได้แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น.

[๓๓๙] คำว่า เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ มี ความว่า คำว่า เป็นผู้สงบ ได้แก่ ชื่อว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ ดับระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความ โอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 813

ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง สงบ ถึงความสงบ เข้าไปสงบ ไหม้แล้ว ระงับแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้สงบ.

นิสัย ในคำว่า ไม่อาศัยแล้ว มี ๒ อย่างคือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่า ตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย บุคคล ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัยเสียแล้ว ไม่อาศัย คือไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อันธาตุ ปัจจุบัน ธรรมที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ทราบ ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้สงบไม่อาศัย แล้ว. คำว่า ไม่พึงหวังภพ ความว่า ไม่พึงหวัง ไม่พึงประสงค์ไม่ พึงปรารถนา ซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค เจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยพราหมณ์

บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าว ความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย ญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคล ย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 814

มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ ไม่ อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ.

[๓๔๐] มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า :-

ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย ทิฏฐิไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมด จดแม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วย ความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณด้วยความไม่มีศีล ด้วย ความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของ ท่านว่า เป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้ เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ.

[๓๔๑] คำว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมด จดแม้ด้วยญาณ มีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยทิฏฐิ ... .แม้ด้วยสุตะ ... แม้ด้วยทิฏฐิและสุตะ ... .แม้ด้วยญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ยินว่า ถ้า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจด แม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 815

ศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติ มาคนฺทิโย เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า อิติ นี้เป็นลำดับบท.

บทว่า มาคนฺทิโย เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อิติ มาคนฺทิโย.

[๓๔๒] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและ พรต มีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ แม้ด้วยศีล ซึ่ง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ แม้ด้วยวัตร ซึ่ง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้น วิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิต ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต.

[๓๔๓] คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่ มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มี ศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ มีความว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า แม้ทิฏฐิก็พึงประสงค์ แม้สุตะก็พึงประสงค์ แม้ญาณก็พึงประสงค์ แม้ศีลก็ พึงประสงค์ แม้พรตก็พึงประสงค์ ท่านไม่อาจอนุญาตโดยส่วนเดียว ท่าน ไม่อาจห้ามโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลย่อมถึงความสงบ ภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มี ญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้.

[๓๔๔] คำว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของท่านว่าเป็นธรรม ของคนโง่เขลาโดยแท้ มีความว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญ คือ ย่อมรู้ทั่ว

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 816

ย่อมแทงตลอดอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านนี้เป็นธรรมของตนโง่เขลา คือ เป็นธรรมของคนพาล เป็นธรรมของคนหลง เป็นธรรมของตนไม่มีความรู้ เป็นธรรมกวัดแกว่งไม่ตายตัว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญ ธรรมของท่านว่าเป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้.

[๓๔๕] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความ หมดจดด้วยทิฏฐิ มีความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมด จด คือความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิ คือสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจด คือความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจด คือความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึง ชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วย ทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น มาคันทิยพราหมณ์นั้นจึงทูลว่า :-

ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย ทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความ หมดจดแม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและ พรต บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 817

ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรม ของท่านว่า เป็นธรรมของตนโง่เขลาโดยแท้ เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ.

[๓๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนื่องๆ ได้ถึงความ หลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึดถือแล้ว และท่านไม่ได้ เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงประสบ แต่ความหลง.

[๓๔๗] คำว่า ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนืองๆ มี ความว่า มาคันทิยพราหมณ์อาศัยทิฏฐิถามทิฏฐิ อาศัยความเกี่ยวข้องถาม ความเกี่ยวข้อง อาศัยความผูกพันถามความผูกพัน อาศัยความกังวลถาม ความกังวล.

คำว่า ถามอยู่เนืองๆ ได้แก่ ถามอยู่บ่อยๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนืองๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์ นั้นโดยชื่อว่า มาคันทิยะ.

คำว่า ภควา เป็นชื่อที่กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยพราหมณ์

[๓๔๘] คำว่า ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่าน ยึดถือแล้ว มีความว่า ทิฏฐิใดอันท่านถือ คือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ น้อมใจ เชื่อแล้ว ท่านเป็นผู้หลง หลงใหล ลุ่มหลง ถึงความหลง ถึง ความหลงใหล ถึงความลุ่มหลง เป็นผู้แล่นไปสู่ที่มืดด้วยทิฏฐินั้นนั่นแหละ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 818

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึด ถือแล้ว.

[๓๔๙] คำว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้ มีความว่า ท่านย่อมไม่ได้พบสัญญาอันควร สัญญาอันถึงแล้ว สัญญาใน ลักษณะ สัญญาในการณะ หรือสัญญาในฐานะ จากธรรมนี้ คือจากความ สงบภายใน จากความปฏิบัติ หรือจากธรรมเทศนา ท่านจักได้ญาณแต่ที่ ไหน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้จึงชื่อว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้ น้อยจากธรรมนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านไม่ได้พบเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงบ้าง ญาณอัน อนุโลมแก่อนิจจสัญญาบ้าง เบญจขันธ์อันเป็นทุกข์บ้าง ญาณอันอนุโลม แก่ทุกขสัญญาบ้าง เบญจขันธ์อันเป็นอนัตตาบ้าง ญาณอันอนุโลมแก่ อนัตตสัญญาบ้าง ธรรมสักว่าความเกิดขึ้นแห่งสัญญาบ้าง ธรรมเป็นนิมิต แห่งสัญญาบ้าง ท่านจักได้ญาณแต่ที่ไหน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้.

[๓๕๐] คำว่า เพราะฉะนั้นท่านจึงประสบแต่ความหลง มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะ การณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ท่าน จึงประสบคือ พบ เห็น แลเห็น เพ่งเห็น พิจารณาเห็นแต่ธรรม ของคนหลงคือ ธรรมของคนพาล ธรรมของคนหลงใหล ธรรม ของคนไม่มีความรู้ ธรรมอันกวัดแกว่งไม่ตายตัว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 819

เพราะฉะนั้นท่านจึงประสบแต่ความหลง เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ

ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนืองๆ ได้ถึงความ หลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึดถือแล้ว และท่านไม่ได้ เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบ แต่ความหลง.

[๓๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือ ว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น บุคคล ไม่หวั่นไหวในความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เรา เสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น.

[๓๕๒] คำว่า ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้น พึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น มีความ ว่าผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเป็นผู้เสมอเขาก็ดี เราเป็นผู้ดีกว่าเขาก็ดี เราเป็น ผู้เลวกว่าเขาก็ดี ผู้นั้นพึงทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่ง แย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกัน ด้วยความถือตัวนั้นบ้าง ด้วยทิฏฐิ นั้นบ้าง ด้วยบุคคลนั้นบ้างว่าท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่าน จักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติชอบ คำของเรามี ประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวที หลัง คำที่ควรกล่าวทีหลัง ท่านกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 820

ขัดข้องไป เราใส่โทษท่านแล้ว ท่านถูกเราปรามแล้ว ท่านจงเที่ยวไป หรือแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ใดย่อม สำคัญว่า เราเสนอเขาเราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้น พึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น.

[๓๕๓] คำว่า บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่างความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลว ว่าเขาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น มีความว่า ความถือตัว ๓ อย่างนั้น บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไปใน เพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเป็นผู้เสมอเขาก็ดี เราเป็น ผู้ดีกว่าเขาก็ดี เราเป็นผู้เลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า ย่อมไม่มีแต่บุคคลนั้น ความว่า ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความ สำคัญว่า เราเสนอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลว ว่าเขา ย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือ ว่าเราเลวกว่าเขาผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น บุคคล ไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ย่อมไม่ มีแก่บุคคลนั้น.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 821

[๓๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง เล่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่า สิ่งนั้น เท็จ ด้วยความถือตัวอะไรเล่า. ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด พระอรหันตขีณาสพนั้นจะพึงโต้ตอบวาทะด้วย ความถือตัวอะไรเล่า.

[๓๕๕] คำว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไร ว่าจริงเล่า มีความว่า คำว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ ความว่า ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ บุคคลนั้นอัน ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง เล่า. คำว่า พึงกล่าวสิ่งอะไร ความว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์พึงกล่าว คือพึงบอก พูด แสดง สิ่งอะไรเล่า ว่าโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่ง อื่นเปล่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์พึงกล่าว คือ พึงบอก พูด แสดง แถลง สิ่งอะไรเล่าว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง เล่า.

[๓๕๖] คำว่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่า สิ่งนั้นเท็จ ด้วยความถือตัวอะไรเล่า มีความว่า พราหมณ์พึงทำความ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 822

ทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความ มุ่งร้าย ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ด้วยทิฏฐิอะไรเล่า หรือด้วยบุคคลอะไร เล่า ว่าคำของเราเท่านั้นจริง คำของท่านเท็จ ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือปลดเปลื้องวาทะถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า หรือบุคคลผู้ เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่า สิ่งนั้นเท็จด้วยความถือตัวอะไร เล่า.

[๓๕๗] คำว่า ความสำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดี กว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด มีความว่า ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอเขา ความถือตัวจัด ว่าเราเป็นผู้ดีกว่าเขา ความถือตัวต่ำว่าเราเป็นผู้เลวกว่าเขา ย่อมไม่มี คือ ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมไม่เข้าไปได้ ในพระอรหันตขีณาสพใดคือ ย่อมเป็น กิเลส อันพระอรหันตขีณาสพละแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ ไม่ควรเกิดขึ้นเผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความ สำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่า เลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด.

[๓๕๘] คำว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น จะพึงโต้ตอบวาทะ ด้วยความถือตัวอะไรเล่า มีความว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น พึงโต้ตอบ คือพึงโต้เถียงวาทะ ทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกัน ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ด้วยทิฏฐิ อะไรเล่า หรือด้วยบุคคลไรเล่า ว่าท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ เพื่อปลด เปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณา-

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 823

สพนั้นจะพึงโต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง เล่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ พึงโต้เถียงว่า สิ่งนั้นเท็จ ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ความสำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความ สำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลวว่าเขาก็ดี ย่อมไม่ มีในพระอรหันตขีณาสพใด พระอรหันตขีณาสพนั้นจะพึง โต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า.

[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำ ความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย อัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน.

[๓๖๐] ครั้งนั้นแล คหบดีชื่อหาลินทกานิ เข้าไปหาท่านพระมหา กัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าว กะท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ข้าแต่พระมหากัจจานะผู้เจริญ พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสพระพุทธภาษิตนี้ไว้ในมาคันทิยปัญหา อันมีมาในอัฏฐกวรรคว่า :-

บุคคลที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำ ความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย อัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 824

ข้าแต่พระมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธภาษิตที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไร?

ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า ดูก่อนคหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่ง วิญญาณ ก็แหละวิญญาณที่ผูกพันไว้ด้วยราคะในรูปธาตุ เรียกว่า ท่อง เที่ยวไปสู่ที่อยู่ ดูก่อนคหบดี เวทนาธาตุ ... .สัญญาธาตุ ... .สังขารธาตุเป็นที่ อาศัยแห่งวิญญาณ ก็แหละวิญญาณที่ผูกพันไว้ด้วยราคะในสังขารธาตุเรียกว่า ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ ดูก่อนคหบดี บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่อย่างนี้แล. ดูก่อนคหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความปรารถนา อุบายและอุปาทานอันเป็นเหตุยึดมั่นถือมั่น และนอนเนื่องแห่งจิตใดในรูป ธาตุ ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีราก อันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่. ดูก่อนคหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความปรารถนา อุบายและอุปาทานอันเป็นเหตุยึดมั่นถือมั่น และนอนเนื่องแห่งจิตใดในเวทนาธาตุ ... .ในสัญญาธาตุ ... ..ในสังขารธาตุ ... ในวิญญาณธาตุความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีใน ภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียก พระตถาคตว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่. ดูก่อนคหบดีบุคคล เป็นผู้ไม่ท่อง เที่ยวไปสู่ที่อยู่ อย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 825

ดูก่อนคหบดี ก็บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่อย่างไร? ดูก่อนคหบดี ความท่องเที่ยวไปและความผูกพันในที่อยู่คือรูปนิมิต สัททนิมิต คันธนิมิต รสนิมิต โผฏฐัพพนิมิต ธรรมนิมิต เรียกว่า ความท่องเที่ยวไปในที่อยู่. ดูก่อนคหบดี บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปในที่อยู่อย่างนี้แล ดูก่อนคหบดี ก็ บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปในที่อยู่อย่างไร? ดูก่อนคหบดี ความท่องเที่ยว ไปและความผูกพันในที่อยู่คือรูปนิมิต อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มี รากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภาย หลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรม เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ ตถาคตว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ ดูก่อนคหบดี ความท่องเที่ยวไปและ ความผูกพันในที่อยู่คือสัททนิมิต คันธนิมิต รสนิมิต โผฏฐัพพนิมิต และ ธรรมนิมิต อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อ ไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระถตาคตว่า ไม่ท่องเที่ยว ไปสู่ที่อยู่. ดูก่อนคหบดี บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็บุคคลเป็นผู้เกิดความเยื่อใยในกาม อย่างไร? ดูก่อน คหบดี ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ทั้งหลาย เพลินร่วมกัน โศกร่วมกัน เมื่อพวกคฤหัสถ์ถึงความสุข ก็สุขด้วย ถึง ความทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ช่วยเหลือ ด้วยตนเอง. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้เกิดความเยื่อใยในกาม อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็บุคคลเป็นผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในกาม อย่างไร? ดูก่อน ก่อนคหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับพวกคฤหัสถ์ ไม่

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 826

เพลินร่วมกัน ไม่โศกร่วมกัน เมื่อพวกคฤหัสถ์ถึงความสุข ก็ไม่สุขด้วย ถึงความทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ ช่วยเหลือด้วยตนเอง. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในกาม อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่เปล่าจากกามทั้งหลายอย่างไร? ดูก่อน คหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความ พอใจ ความรักใคร่ ความหวัง ความเร่าร้อน ความปรารถนาในกาม ทั้งหลาย. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่เปล่าจากกามทั้งหลาย อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้เปล่าจากกามทั้งหลายอย่างไร? ดูก่อน คหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ ความหวัง ความเร่าร้อน ความปรารถนา ในกามทั้งหลาย ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้เปล่าจากกามทั้งหลาย อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้มุ่งหมายอัตภาพต่อไป อย่างไร? ดูก่อน คหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคต กาลขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ถึงความเพลินในรูปนั้น มีความปรารถนาอย่าง นี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ถึงความเพลินใน วิญญาณนั้น. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้มุ่งหมายอัตภาพต่อไป อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป อย่างไร? ดู ก่อนคหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคต กาล ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ไม่ถึงความเพลินในรูปนั้น ไม่มีความปรารถนา

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 827

อย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสัญญา อย่างนี้ ... ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ไม่ถึงความ เพลินในวิญญาณนั้น. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างไร? ดูก่อนคหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่าน สามารถ ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างนี้ แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างไร ดูก่อนคหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่าน ไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ ดูก่อนคหบดี ภิกษุไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธภาษิตใด ในมาคันทิยปัญหาอันมีมาในอัฏฐกวรรคว่า :-

บุคคลที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำ ความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย อัตภาพต่อไปไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน ดังนี้.

ดูก่อนคหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วโดยย่อนี้แล พึ่งเห็นโดยพิสดารอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 828

บุคคลละที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ ทำความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย อัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน.

[๓๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลชื่อว่านาค สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึง เที่ยวไปในโลก บุคคลถือว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่า นั้นกล่าว ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำ และเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น.

[๓๖๒] คำว่า สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไป ในโลก มีความว่า คำว่า เหล่าใด ได้แก่ ทิฏฐิทั้งหลาย. คำว่า สงัด แล้ว ความว่า สงัด ว่าง เปล่า จากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า พึงเที่ยวไป ความว่า พึง เที่ยวไปอยู่ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง ยังชีวิตให้เป็น ไป. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก.

[๓๖๓] คำว่า บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น กล่าว มีความว่า คำว่า นาค ความว่า ชื่อว่า นาค เพราะอรรถ ว่า ไม่ทำความชั่ว. ชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า ไม่ถึง. ชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า ไม่มา.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 829

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ทำความชั่ว อย่างไร? ธรรม ทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศล ทำความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มี ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และ มรณะต่อไป เรียกว่า ความชั่ว สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนสภิยะ

บุคคลไม่ทำความชั่วใดๆ ในโลก สลัดกิเลสเป็น เครื่องผูกในความประกอบทั้งปวง ไม่เกี่ยวข้องในธรรม ทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เป็นผู้คงที่ บัณฑิตกล่าวว่า นาค เพราะเป็นผู้เที่ยงตรง.

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ทำความชั่ว อย่างนี้.

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ถึง อย่างไร? บุคคลชื่อว่า นาคย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ ถึงด้วยสามารถแห่งราคะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งโทสะ ไม่ถึงด้วยสามารถ แห่งโมหะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งมานะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ไม่ ถึงด้วยสามารถแห่งอุทธัจจะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งวิจิกิจฉา ไม่ถึงด้วย สามารถแห่งอนุสัย ย่อมไม่ไป ดำเนินไป แล่นไป เพราะธรรมทั้งหลาย อันทำความเป็นพวกบุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ถึง อย่างนี้.

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่มา อย่างไร? กิเลสเหล่าใด อันบุคคลนั้นละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค บุคคลนั้นย่อมไม่มา ไม่ย้อน มาไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใดอันบุคคลนั้นละได้แล้วด้วย สกทาคามิมรรค ... .ด้วยอนาคามิมรรค ... .ด้วยอรหัตตมรรค บุคคลนั้นย่อม

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 830

ไม่มา ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก บุคคลชื่อว่านาค เพราะ อรรถว่า ไม่มา อย่างนี้.

คำว่า บุคคลถือว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว ความว่า บุคคลชื่อว่านาค ไม่ถือ คือ ไม่พึงจับถือเอา ไม่ยึดมั่น ไม่ ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวคือ บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อม ไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้ เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว.

[๓๖๔] คำว่า ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มีความว่า น่าเรียกว่าเอละ น้ำเรียกว่าอัมพุ ดอกบัวเรียกว่าอัมพุชะ ก้านขรุขระเรียกว่าก้านมีหนาม น้ำเรียกว่าวารี ดอกบัวที่เกิดแต่น้ำเป็นอยู่ในน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือเป็นของอันน้ำและเปือกตมไม่ติด ไม่ติด พร้อมไม่เข้าไปติด ฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด.

[๓๖๕] คำว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด ในกามและในโลก ฉันนั้น มีความว่า ศัพท์ว่า เอวํ เป็นอุปไมย เครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า มุนี ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี คำว่า ผู้กล่าวความสงบ ความว่า มุนี ผู้กล่าวธรรมสงบ กล่าว

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 831

ธรรมต้านทาน กล่าวธรรมที่หลีกเร้น กล่าวธรรมเป็นที่พึ่ง กล่าวธรรม ที่ไม่มีภัย กล่าวธรรมที่ไม่เคลื่อน กล่าวธรรมที่ไม่ตาย กล่าวนิพพาน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ... .ฉันนั้น. คำว่า ไม่ติดพัน ความว่าตัณหาเรียกว่า ความติดพัน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัด กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดพันนั้น อันมุนีใดละ ตัด ขาดสงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ มุนี นั้นเรียกว่า ผู้ไม่ติดพัน มุนีนั้น ไม่ติดพัน ไม่พัวพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ในธรรมที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ ทราบ ที่รู้แจ้ง คือ เป็นผู้มีความติดพันอันปราศจาก สละ คาย พ้น ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้มีความกำหนัดอันปราศจาก สละ คาย พ้น ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้ไม่หิว เป็นผู้ดับ เป็นผู้เย็น เป็นผู้มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน ... ... ฉันนั้น.

คำว่า ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ความว่า กาม โดยหัว ข้อมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษย์ โลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า ความติด ได้แก่

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 832

ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ มุนีละความ ติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว ย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไป ติด ในกามและในโลก เป็นผู้ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลชื่อว่านาค สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึง เที่ยวไปในโลก บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น กล่าว ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและ เปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลกฉันนั้น.

[๓๖๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความ ถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา อัน ธรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ เป็นผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย.

[๓๖๗] คำว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึง ความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ มีความว่า ศัพท์ว่า เป็นปฏิเสธ. คำว่า ผู้ถึงเวท ความว่า ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญา

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 833

พละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมา ทิฏฐิ เรียกว่า เวท. มุนีนั้นเป็นผู้ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงที่สุดรอบ บรรลุที่สุดรอบ ถึงที่สิ้นสุด บรรลุที่สิ้นสุด ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่เคลื่อน บรรลุที่ไม่เคลื่อน ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน แห่งชาติ ชรา และมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ชื่อว่าเวท เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดด้วยเวท ทั้งหลายบ้าง หรือเพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือ รู้แจ้งสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ เป็นผู้รู้ แจ้งซึ่งอกุศลธรรมอันลามก อันทำความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และ มรณะต่อไป สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนสภิยะ

บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสิ้นของสมณพราหมณ์ทั้ง หลายที่มีอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ล่วง เวททั้งปวงแล้วชื่อว่า เวทคู.

คำว่า ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันมุนีนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้น ย่อมไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ย้อน ไม่กลับมาสู่ทิฏฐินั้นโดยความเป็นสาระ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 834

คำว่า ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ ความว่า มุนีนั้น ไม่ถึง ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความถือ ตัว ด้วยรูปที่ทราบก็ดี ด้วยเสียงแห่งผู้อื่นก็ดี ด้วยสมบัติแห่งมหาชนก็ดี เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึง ความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ.

คำว่า มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา ความว่า มุนี ย่อมเป็นผู้ไม่มี ตัณหา คือ ไม่เป็นผู้มีตัณหาเป็นอย่างยิ่ง ไม่เป็นผู้มีตัณหาเป็นเบื้องหน้า ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ตัณหา ทิฏฐิและมานะ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุ เท่าใด มุนีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีตัณหาเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีตัณหา เป็นเบื้องหน้า ด้วยเหตุเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มี ตัณหา.

[๓๖๘] คำว่า เป็นผู้อันธรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไป ได้ มีความว่า คำว่า อันธรรม ... .ไม่ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยปุญญาภิสังขารบ้าง อปุญญา ภิสังขารบ้าง อาเนญชาภิสังขารบ้าง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันกรรม ... .ไม่, คำว่า เป็นผู้อันเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ ความว่า มุนีย่อมไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยความหมดจดแห่งเสียงที่ได้ ยินก็ดี ด้วยเสียงแห่งผู้อื่นก็ดี ด้วยสมบัติแห่งมหาชนก็ดี เพราะฉะนั้นจึง ชื่อว่า เป็นผู้อันกรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 835

[๓๖๙] คำว่า เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่ อาศัยทั้งหลาย มีความว่า คำว่า ความนำเข้าไป ได้แก่ ความนำเข้า ไป ๒ อย่าง คือ ความนำเข้าไปด้วยตัณหา ๑ ความนำเข้าไปด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความนำเข้าไปด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความนำเข้าไปด้วย ทิฏฐิ มุนีนั้นละความนำเข้าไปด้วยตัณหา สละคืนความนำเข้าไปด้วยทิฏฐิ แล้ว เพราะเป็นผู้ละความนำเข้าไปด้วยตัณหา สละคืนความนำเข้าไปด้วย ทิฏฐิ มุนีนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไป ไม่เข้าไปติด ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจ ออกไป สละแล้ว พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง แล้ว มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

มุนีผู้ถึงเวรนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความ ถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา อัน ธรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ เป็นผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย.

[๓๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้ว จากสัญญา โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบ กระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 836

[๓๗๑] คำว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้น แล้วจากสัญญา มีความว่า มุนีใดเจริญอริยมรรคมีสมถะเป็นเบื้องต้น กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้ว ตั้งแต่กาลเบื้อง ต้นเมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด โมหะ นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา เป็น สภาพอันพระอรหันต์ละเสียแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง ความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้วจาก สัญญา.

[๓๗๒] คำว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา มีความว่า มุนีใดเจริญอริยมรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น โมหะเป็นสภาพ อันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระ อรหันต์แล้ว โมหะ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เป็นสภาพอันพระอรหันต์ละเสีย แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจึง ชื่อว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา.

[๓๗๓] คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่า นั้นกระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก มีความว่า ชนเหล่า ใดยังถือสัญญา คือกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหญิงสาสัญญา ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือเบียดเบียนกัน ด้วยสามารถแห่งสัญญา แม้เป็น

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 837

พระราชา ก็ย่อมวิวาทกับพวกพระราชา แม้เป็นกษัตริย์ ก็ย่อมวิวาทกับ พวกกษัตริย์ แม้เป็นพราหมณ์ ก็ย่อมวิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้เป็น คหบดี ก็ย่อมวิวาทกับพวกคหบดี แม้มารดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตร ก็ย่อมวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับ บิดา แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็ ย่อมวิวาทกับ พี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ย่อมวิวาทกับ สหาย ชนเหล่านั้นถึงความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน ย่อมทำร้ายกันและ กันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ใน เพราะวิวาทกันนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตาย บ้าง ในเพราะการทำร้ายกันนั้น ชนเหล่าใดยังถึงทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หา มิได้ ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือเบียดเบียนกันด้วยสามารถ แห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา ย่อมกระทบ กระทั่งการบอกธรรมแก่การบอกธรรม ย่อมกระทบกระทั่งคณะแต่คณะ ย่อมกระทบกระทั่งทิฏฐิแต่ทิฏฐิ ย่อมกระทบกระทั่งปฏิปทาแต่ปฏิปทา ย่อมกระทบกระทั่งมรรคแต่มรรค.

อีกอย่างหนึ่ง ชนเหล่านั้นย่อมวิวาทกัน คือทำความทะเลาะกัน ทำความหมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความวิวาทกัน ทำความ มุ่งร้ายกัน ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้อง วาทะ ถ้าท่านสามารถ ชนเหล่านั้นยังละอภิสังขารไม่ได้ เพราะยังละ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 838

อภิสังขารไม่ได้ จึงกระทบกระทั่งกันในคติ คือย่อมกระทบกระทั่งกันใน นรกย่อมกระทบกระทั่งกันในกำเนิดดิรัจฉาน ย่อมกระทบกระทั่งกันใน เปรตวิสัย ย่อมกระทบกระทั่งกันในมนุษยโลก ย่อมกระทบกระทั่งกันใน เทวโลกย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนคติด้วยคติ ย่อมกระทบกระทั่งเบียด เบียนอุปบัติด้วยอุปบัติ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนภพด้วยภพ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียน สงสารด้วยสงสาร ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนวัฏฏะด้วยวัฏฏะ กระทบ กระทั่งกันอยู่ย่อมเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษาบำรุง ยังชีวิตให้เป็นไป. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชน เหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้ว จากสัญญา โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบ กระทั่งกันอยู่ย่อมเที่ยวไปในโลก.

จบ มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 839

อรรถกถามาคันทิยสุตตนิทเทส

ในมาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พึงทราบความใน คาถาแรกก่อนว่า แม้เพียงความพอใจในเมถุนก็มิได้มี เพราะเห็นธิดามาร คือนางตัณหา นางอรดี และนางราคา ผู้เนรมิตรูปต่างๆ มาอย่างใคร่จัด ที่โคนไม้อชปาลนิโครธ แล้วเหตุไรความพอใจในเมถุนจักมีเพราะเห็นรูปนี้ที่เต็มไปด้วยมูตรและกรีสของทาริกานี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องรูป นั้นด้วยประการทั้งปวงแม้ด้วยเท้า การอยู่ร่วมกับรูปนั้นจักมีแต่ไหน.

บทว่า มุตฺตปุณฺณํ ความว่า เต็มด้วยมูตรที่ตั้งอยู่เต็มภายใน กระเพาะปัสสาวะ ด้วยสามารถแห่งอาหารและฤดู.

บทว่า กรีสปุณฺณํ ความว่า เต็มด้วยวัจจะที่ตั้งอยู่ปลายไส้ใหญ่ สูงขึ้นไปประมา ๘ องคุลี ระหว่างนาภีกับ กระดูกสันหลังส่วนล่าง กล่าว คือกระเพาะอาหารเก่า.

บทว่า เสมฺหปุณฺณํ ความว่า เต็มด้วยเสมหะประมาณแล่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่พื้นห้อง.

บทว่า รุหิรปุณฺณํ ความว่า เต็มด้วยเลือด ๒ อย่าง กล่าวคือ เลือดที่สั่งสมไว้ประมาณเต็มบาตรใบ ๑ เต็มส่วนล่างของตับแล้วค่อยๆ ไหลไปในหัวใจม้ามและปอด ทำม้ามหัวใจตับและปอดให้ชุ่มตั้งอยู่อย่าง หนึ่งกล่าวคือเลือดเครื่องแล่นไป ซึ่งแผ่ไปทั่วร่างที่มีใจครอง โดยแล่น

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 840

ไปตามเส้นเลือด เว้นที่ผม ขน เล็บ ฟันพ้นจากเนื้อ และหนังด้าน หนังแห้ง ตั้งอยู่อย่างหนึ่ง

บทว่า อฏฺิสงฺฆาตํ ความว่าเบื้องต่ำในสรีระทั้งสิ้นมีกระดูกกว่า สามร้อยท่อนอยู่เบื้องบนกระดูกทั้งหลาย กระดูกเหล่านั้นติดต่อกัน.

บทว่า นหารุสมฺพนฺธํ ความว่า ในสรีระทั้งสิ้นมีเส้นเอ็น ๙๐๐ ผูกพันกระดูกทั้งหลายไว้ ผูกพัน คือผูกรัดด้วยเส้นเอ็นเหล่านั้น.

บทว่า รุหิรมํสเลปนํ ความว่า สรีระที่ฉาบด้วยเลือดเครื่องแล่น ไป และด้วยชิ้นเนื้อเก้าร้อยชิ้นซึ่งตั้งฉานทาบกระดูกกว่า ๓๐๐ ท่อนไว้.

บทว่า จมฺมวินทฺธํ ความว่า หนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใต้ผิว บนพังผืดที่ ป่า ปกปิดสรีระทั้งสิ้น อันหนังนั้นหุ้มห่อไว้คือปกปิดไว้ บาลี จมฺมาวนทธํ ก็มี.

บทว่า ฉวิยา ปฏิจฺฉนฺนํ ความว่า อันผิวหนังที่ละเอียดยิ่งปิดบัง คือปกปิดไว้.

บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺทํ ความว่า มีช่องไม่น้อย.

บทว่า อุคฺฆรึ ความว่า ไหลเข้าทางตาและปากเป็นต้น.

บทว่า ปคฺฆรึ ความว่า ไหลออกทางส่วนเบื้องต่ำ.

บทว่า กิมิสํฆนิเสวิตํ ความว่า อันหมู่สัตว์ที่มีชาติเดียวกันต่างๆ มีพวกปากเข็มเป็นต้นอาศัยแล้ว.

บทว่า นานากลิมลปริปูรํ ความว่า เต็มไปด้วยส่วนที่ไม่สะอาด หลายอย่าง.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 841

ลำดับนั้น มาคันทิยพราหมณ์กล่าวคาถาที่ ๒ เพื่อจะทูลถามว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายละกามที่เป็นของมนุษย์แล้ว ย่อมบวชเพื่อต้อง การ กามอันเป็นทิพย์ ก็สมณะนี้ไม่ปรารถนากามแม้เป็นทิพย์ แม้นี้ก็เป็น อิตถีรัตน์ สมณะนี้มีทิฏฐิอย่างไรหนอ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิสญฺจ รตนํ พราหมณ์มาคันทิยะ กล่าวหมายเอาอิตถีรัตน์ที่เป็นทิพย์.

บทว่า นารึ หมายเอาธิดาของตน.

บทว่า ทิฏฺิคตํ สีลพฺพตํ นุชีวิตํ ความว่าทิฏฐิ ศีล วัตร และชีวิต.

บทว่า ภวูปปตฺติญฺจ วเทสิ กีทิสํ ความว่า หรือท่านกล่าว อุบัติภพของตนว่าเป็นเช่นไร?

คาถา ๒ คาถาต่อจากนี้ มีความเกี่ยวเนื่องปรากฏแล้วทีเดียว เพราะ เป็นไปโดยนัยแห่งการวิสัชนาและปุจฉา บรรดาคาถา ๒ คาถาเหล่านั้น คาถาแรกมีเนื้อความย่อว่า ดูก่อนมาคันทิยะการตกลงในธรรมคือทิฏฐิ ๖๒ แล้วถือมั่นว่า เรากล่าวสิ่งนี้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ มีอยู่หามิได้ คือ ย่อมไม่มี ไม่ประสบแก่เรานั้น เพราะเหตุไร เพราะเมื่อเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ถือมั่นทิฏฐิอะไรๆ เมื่อเลือก เฟ้นสัจจะทั้งหลายอยู่ ได้เห็นนิพพานกล่าวคือความสงบภายใน เพราะ ความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นในภายในสงบแล้ว.

บทว่า อาทีนวํ ได้แก่ อันตราย.

บทว่า สทุกฺขํ ความว่า มีทุกข์ ด้วยทุกข์ทางกาย.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 842

บทว่า สิวฆาตํ ความว่า มีทุกข์ด้วยทุกข์ทางใจ.

บทว่า สอุปายสํ ความว่า ประกอบด้วยความคับแค้น.

บทว่า สปริฬาหํ ความว่า เป็นไปด้วยความกระวนกระวาย.

บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อต้องการความเบื่อ หน่ายในวัฏฏะ.

บทว่า น วิราคาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อต้องการความคลาย กำหนัดในวัฏฏะ.

บทว่า น นิโรธาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อดับวัฏฏะ.

บทว่า น อุปสมาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อเข้าไปสงบวัฏฏะ.

บทว่า น อภิญฺาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่งพระนิพพาน.

บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อรู้แจ้งวัฏฏะด้วย. บรรลุถึงความดับกิเลส.

บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์คือ อมตนิพพาน ก็บทว่า นิพฺพิทาย ในที่นี้ได้แก่ วิปัสสนา.

บทว่า วิราคาย ได้แก่มรรค.

บทว่า นิโรธาย อุปสมาย ได้แก่นิพพาน.

บทว่า อภิญฺาย สมฺโพธาย ได้แก่ มรรค.

บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่นิพพานนั่นเอง. วิปัสสนาท่านกล่าวใน ฐานะเดียว มรรคท่านกล่าวในฐานะ ๓ นิพพานท่านกล่าวในฐานะ ๓ ด้วยประการอย่างนี้แล. พึงทราบกถาว่าด้วยการกำหนดด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 843

ก็โดยปริยาย บทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมเป็นไวพจน์ของมรรคบ้าง เป็น ไวพจน์ของนิพพานบ้างนั่นแล.

บทว่า อชฺฌตฺตํ ราคสฺส สนฺตึ ความว่า ได้เห็นนิพพานกล่าว คือความสงบภายในเพราะความที่ราคะภายในสงบแล้วดับแล้ว แม้ในบทว่า โทสสฺส สนฺตึ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า ปจินํ เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.

บทว่า วิจินนฺโต ความว่า ยังสัจจะทั้งหลายให้เจริญคือให้เป็น แจ้ง.

บทว่า ปวิจินนฺโต ความว่ายังสัจจะเหล่านั้นนั่นแลให้เป็นแจ้ง เฉพาะอย่าง อาจารย์บางพวกพรรณนาว่า แสวงหาอยู่.

บทว่า อทฺทสํ ความว่า แลดูแล้ว.

บทว่า อทฺทกฺขึ ความว่า แทงตลอดแล้ว.

บทว่า อผุสึ ความว่า ถูกต้องด้วยปัญญา.

บทว่า ปฏิวิชฺฌึ ความว่า ได้กระทำให้ประจักษ์ด้วยญาณ.

คาถาที่ ๒ มีเนื้อความย่อว่า ทิฏฐิเหล่านั้นใดที่มาคันทิยพราหมณ์ กล่าวว่า วินิจฺฉยา เพราะเหล่าสัตว์นั้นๆ ตกลงใจถือเอาแล้ว. และว่า ปกปฺปิตานิ โดยนัยมีภาวะอันปัจจัยทั้งหลายของตนปรุงแต่งเป็นต้น ท่าน เป็นมุนีไม่ถือธรรมคือทิฏฐิเหล่านั้นเลย กล่าวคือบอกอรรถนั้นใดว่า ความ สงบภายใน มาคันทิยพราหมณ์กล่าวแก่เราว่า ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้ อย่างไรหนอ คืออรรถนั้นธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไร นิทเทสแห่ง

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 844

คาถานี้มีเนื้อความง่าย นอกจากบทที่เป็นปรมัตถ์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ปรมตฺถํ ได้แก่ นิพพานอันสูงสุดใด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงอุบายที่ธีรชนทั้งหลาย ใช้เป็นเครื่องประกาศอรรถนั้นพร้อมทั้งธรรมที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม แก่ พราหมณ์นั้น จึงตรัสพระคาถาว่า น ทิฏฺิยา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธศีลและพรตภาย นอกจากญาณที่ได้แต่สมาบัติ ด้วยพระดำรัสว่า น ทิฏฺิยา เป็นต้น บัณฑิตพึงนำ ๓ บทแรกไปประกอบ อาห ศัพท์ ที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า สุทฺธิมาห กับ อักษร ในที่ทุกแห่งแล้วพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ไม่กล่าว คือไม่บอกความหมดจดด้วยทิฏฐิ ก็ในบทนี้ฉันใด แม้ในบท ต่อๆ ไปก็ฉันนั้น.

และในบทเหล่านั้น.

บทว่า อทิฏฺิยา นาห ความว่า ไม่กล่าวเว้นสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.

บทว่า อสฺสุติยา ก็เหมือนกัน ความว่า ไม่กล่าวเว้นการฟัง.

บทว่า อาณา ความว่า เว้นกัมมัสสกตาญาณและสัจจานุโลมิกญาณ.

บทว่า อสีลตา ความว่า เว้นปาติโมกขสังวร.

บทว่า อพฺพตา ความว่า เว้นธุดงควัตร.

บทว่า โน ปิ เตน พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เราไม่กล่าว แม้ด้วยธรรมสักว่าทิฏฐิเป็นต้นแต่ละอย่างในบรรดาธรรมเหล่านั้น.

บทว่า เอเต จ นิสฺสชฺช อนุคฺคหาย ความว่า สละธรรมฝ่าย ดำชนิดเป็นทิฏฐิเก่าเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยกระทำการถอนขึ้น และไม่ถือมั่น

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 845

แม้ธรรมฝ่ายขาวชนิดทิฏฐิเป็นต้นที่มีภายหลัง ด้วยการถึงความไม่ต้องถอน ขึ้น.

บทว่า สนฺโต อนิสฺสาย ภวํ น ชปฺเป ความว่า เป็นผู้สงบ ด้วยความเข้าไปสงบราคะเป็นต้น ด้วยการปฏิบัตินี้ ไม่อาศัยธรรมอะไรๆ ในจักษุเป็นต้น ไม่พึงหวังแม้ภพเดียว คือพึงเป็นผู้ไม่เริ่มตั้งใกล้เหตุ อธิบายว่า นี้เป็นความสงบภายในของเขา.

บทว่า สวนมฺปิ อิจฺฉิตพฺพํ ความว่า แม้การฟังด้วยสามารถแห่ง สุตตะเป็นต้นก็พึงหวัง.

บทว่า สมฺภารา อิเม ธมฺมา ความว่า ธรรมเหล่านี้มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น เป็นสัมภาระ ด้วยอรรถว่าเป็นอุปการะ.

บทว่า กณฺหปกฺขิกานํ ความว่า ไปในฝ่ายอกุศล.

บทว่า สมุคฺฆาตโต ปหานํ อิจฺฉิตพฺพํ ความว่า พึงหวังการ ละโดยการกำจัดคือการถอนขึ้นโดยชอบ.

บทว่า เตธาตุเกสุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า ที่เกิดแต่ความ ฉลาด เป็นไปในภูมิ ๓ กล่าวคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ.

บทว่า อตมฺมยตา ได้แก่ ความปราศจากตัณหา.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาคันทิยพราหมณ์มิได้ กำหนดเนื้อความของพระดำรัสจึงกล่าวคาถาว่า โน เจ กิร เป็นต้น อนึ่งพึงประกอบ อาห ศัพท์ กับ โน เจ กิร ศัพท์. เห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าว คือ ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่พูด ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 846

บทว่า โมมุหํ ได้แก่ ความหลงยิ่ง หรือความหลง.

บทว่า ปจฺเจนฺติ ความว่า ย่อมรู้. นิทเทสของคาถาแม้นี้ง่าย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงอาศัยทิฏฐินั้น ปฏิเสธคำถาม ของพราหมณ์นั้น จึงตรัสคาถาว่า ทิฏฺึ สุนิสฺสาย เป็นต้น คาถานั้น มีเนื้อความว่า ดูก่อนมาคันทิยะ ท่านอาศัยทิฏฐิถามอยู่บ่อยๆ ทิฏฐิเหล่าใด ที่ท่านถอนขึ้นแล้ว ท่านมาสู่ความลุ่มหลงในทิฏฐิที่ท่านถอนขึ้นเหล่านั้น นั่นแหละ ท่านไม่เห็นสัญญาที่ควรแม้น้อย แต่ธรรมนี้คือแต่ความสงบภาย ในที่เรากล่าวแล้ว หรือแต่การปฏิบัติ หรือแต่ธรรมเทศนา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเห็นธรรมนี้แต่ความหลง.

บทว่า ลคฺคนํ นิสฺสาย ลคฺคนํ ความว่า ติดแน่นความเกี่ยว ข้องทิฏฐิ.

บทว่า พนฺธนํ ได้แก่ ความผูกพันทิฏฐิ.

บทว่า ปลิโพธํ ได้แก่ ความกังวลทิฏฐิ.

บทว่า อนุธการํ ปกฺขนฺโตสิ ความว่า ท่านเป็นผู้เข้าไปแล้วสู่ ความมืดตื้อ.

บทว่า ยุตฺตสญฺํ ความว่า สัญญาอันควรในสมณธรรม.

บทว่า ปตฺตสญฺํ ความว่า สัญญาที่ได้เฉพาะแล้วในสมณธรรม.

บทว่า ลกฺขณสญฺํ ความว่า สัญญาที่ให้รู้จัก.

บทว่า การณสญฺํ ความว่า สัญญาในเหตุ.

บทว่า านสญฺํ ความว่า สัญญาในการณ์.

บทว่า น ปฏิลภสิ ความว่า ย่อมไม่ประสบ.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 847

บทว่า กุโต าณํ ความว่า ก็ท่านจักได้มรรคญาณด้วยเหตุอะไร.

บทว่า อนิจฺจํ วา ความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะ อรรถว่า มีแล้วไม่มี.

บทว่า อนิจฺจสญฺานุโลมํ วา ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นว่า เบญจขันธ์ทั้งหลายไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิจจสัญญา ญาณที่อนุโลม คือไม่ ปฏิกูลแก่สัญญานั้น ชื่อว่า ญาณอันอนุโลมแก่อนิจจสัญญา ญาณนั้น คือ อะไร? คือ วิปัสสนาญาณ. แม้ญาณที่อนุโลมแก่ทุกขสัญญาและอนัตตสัญญา ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็และครั้นทรงแสดงการถึงความวิวาทด้วยความหลงใหลในทิฏฐิที่ ยึดถือไว้ แก่มาคันทิยพราหมณ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์ผู้ปราศจากความลุ่มหลงในธรรมเหล่านั้น และเหล่าอื่น เป็นผู้ไม่มีความวิวาท จึงตรัสคาถาว่า สโม วิเสสี เป็นต้น คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยความถือตัวก็ตาม ด้วยทิฏฐิก็ ตามด้วยบุคคลก็ตาม โดยส่วน ๓ อย่างนั้น ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัว นั้นด้วยทิฏฐินั้น หรือด้วยบุคคลนั้น แต่ผู้ใด อย่างตถาคต ไม่หวั่นไหว ในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ย่อมไม่มีแก่ผู้นั้น ปาฐะที่เหลือว่า น จ หีโน นิทเทส ของคาถาแม้นี้ ก็ง่ายเหมือนกัน จะมีอะไรยิ่งขึ้นไป.

คาถาว่า สจฺจนฺติ โส เป็นต้นนั้น มีเนื้อความว่า บุคคลผู้เป็น พราหมณ์โดยนัยมีความเป็นผู้ลอยบาปแล้วเป็นต้น นั้น คือ เห็นปานนั้น คือ ละมานะและทิฏฐิได้แล้ว เช่น ตถาคต จะพึงกล่าวสิ่งอะไร คือ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 848

จะพึงพูดเรื่องอะไร หรือจะพึงพูดด้วยเหตุอะไร ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง หรือจะพึงวิวาท ด้วยมานะ ด้วยทิฏฐิ หรือด้วยบุคคลอะไร ว่า ของเรา จริง ของท่านเท็จ ความสำคัญว่าเสมอเขา โดยเป็นไปว่า เราเสมอเขา หรือความสำคัญว่าไม่เสมอเขา โดยเป็นไปด้วยความเป็น ๒ อย่างคือดีกว่า เขาและเลวกว่าเขา นอกนี้ย่อมไม่มีในพระขีณาสพใด คือเช่นตถาคต พระขีณาสพนั้นจะพึงโต้ตอบวาทะด้วยเหตุมีความเป็นผู้ถือตัวเป็นต้น อะไรเล่า นิทเทสของคาถาแม้นี้ก็ง่าย.

บุคคลเห็นปานนี้ พึงทราบอย่างแน่ชัดทีเดียวมิใช่หรือ คาถาว่า โอกมฺปหาย เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกมฺปหาย ความว่า รูปธาตุเป็นต้น เป็นที่อยู่ของวิญญาณ ละทิ้งด้วยการละฉันทราคะในรูปธาตุเป็นต้นนั้น.

บทว่า อนิเกตสารี ความว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่คือรูปนิมิต เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา.

บทว่า กาเม อกุพฺพํ มุนิ สนฺถวานี ความว่า ไม่กระทำความ เชยชิดอย่างคฤหัสถ์ในกาม.

บทว่า กาเมหิ ริตฺโต ความว่า เป็นผู้ว่างจากกามทั้งปวง เพราะ ไม่มีฉันทราคะในกามทั้งหลาย.

บทว่า อปุเรกฺขราโน ความว่า ไม่ยังอัตภาพให้บังเกิดยิ่งต่อไป.

บทว่า กถนฺนุ วิคฺคยฺห ชเนน กยิรา ความว่า พึงกล่าวคำ แก่งแย่งกับด้วยชน.

บทว่า หลิทฺทกานิ ความว่า คหบดีผู้มีชื่ออย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 849

บทว่า เยน ในประโยคว่า เยนายสฺมา มหากจฺจาโน เตนู- ปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า พระมหากัจจานะอยู่ในที่ใด คหบดีเข้าไป หาในที่นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายเข้าไปหาพระมหากัจจานะด้วยเหตุใด คหบดีก็เข้าไปหาด้วยเหตุนั้น

อีกอย่างหนึ่ง คหบดีเข้าไปหาพระมหากิจจานะด้วยเหตุอะไร ด้วย ความประสงค์บรรลุคุณวิเศษมีประการต่างๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ผลิตดอก ผลเป็นนิจ อันฝูงนกทั้งหลายเข้าไปหาด้วยความประสงค์กินผลที่ดี.

บทว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่า เข้าไปใกล้.

บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นบทแสดงความสิ้นสุดแห่งการเข้าไปหา อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ไปอย่างนั้น จากนั้นไปสู่ที่ระหว่างอาสนะ กล่าวคือที่ใกล้พระมหากัจจานะ.

บทว่า อภิวาเทตฺวา ความว่า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ บัดนี้ คหบดีประสงค์จะถามถึงประโยชน์ที่เป็นเหตุให้ตนมาสู่ที่บำรุงพระมหากัจจานะ จึงนั่งประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยประชุมสิบนิ้วไว้เหนือศีรษะ อยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง.

บทว่า เอกมนฺตํ เป็นภาวนปุงสกนิทเทส เหมือนในประโยคว่า พระจันทร์พระอาทิตย์เวียนไปไม่พร้อมกัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงเห็น เนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า นั่งอย่างไร? นั่งที่แห่งหนึ่ง คือนั่งอย่างนี้ อีก

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 850

อย่างหนึ่ง บทว่า เอกมนฺตํ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมี วิภัตติ.

บทว่า นิสีทิ ความว่า สำเร็จการนั่ง จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต เข้าไปหาผู้ที่เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ ย่อมนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอาสนะและคหบดีนี้ก็เป็นคนหนึ่ง ในบรรดาผู้ที่เป็นบัณฑิตเหล่านั้น ฉะนั้นจึงนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ก็นั่ง อย่างไร ชื่อว่า นั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง เว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง คือ ไกลเกินไป ๑ ใกล้เกินไป ๑ เหนือลม ๑ ที่สูง ๑ ตรงหน้าเกินไป ๑ ข้างหลังเกินไป ๑. นั่งไกลเกินไป ถ้าต้องการจะถาม จะต้องถามด้วยเสียง ดัง, นั่งใกล้เกินไป จะทำการเสียดสี, นั่งเหนือลม จะเบียดเบียนหรือ กลิ่นตัว, นั่งที่สูง ประกาศความไม่เคารพ นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าต้อง การจะดู ก็จะต้องสวนตากัน, นั่งหลังเกินไป ถ้าต้องการจะดูก็จะต้องยื่น คอดู, เพราะฉะนั้น คหบดีแม้นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง เพราะ เหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เอกมนฺตํ นิสีทิ นั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้กล่าวคำนี้ว่า วุตฺตมิทํ ภนฺเต กจฺจาน ภควตา อฏฺกวคฺคิเย มาคนฺทิยปญฺเห ดังนี้ มาคันทิยปัญหา มีอยู่ในปัญหานั้น อันมีมาในอัฏฐกวรรค.

บทว่า รูปธาตุ ประสงค์เอารูปขันธ์.

บทว่า รูปธาตุราควินิพนฺธํ ความว่า ผูกพันไว้ด้วยราคะในรูป ธาตุ.

บทว่า วิญฺาณํ ได้แก่ กัมมวิญญาณ.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 851

บทว่า โอกสารี ความว่า ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่มีเรือนเป็นต้น. ถาม ว่า ก็เหตุไรพระมหากัจจานะจึงไม่กล่าวในที่นี้ว่า วิญฺาณธาตุ โข คหปติ ตอบว่า เพื่อกำจัดความหลงใหล.

ก็บทว่า โอโก โดยอรรถท่านกล่าวถึงปัจจัย กัมมวิญญาณที่เกิด ก่อน ย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่กรรมวิญญาณ ทั้งแก่วิปากวิญญาณ ที่เกิดที่ หลัง และวิปากวิญญาณที่เกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่วิปากวิญญาณ ทั้งแก่กัมมวิญญาณที่เกิดทีหลัง ฉะนั้น พึงมีความหลงใหลว่า วิญญาณใน ที่นี้ ดวงไหนหนอ เพื่อกำจัดความหลงใหลนั้น พระมหากัจจานะจึงไม่ ถือเอาวิญญาณนั้นกระทำการแสดงไม่ให้ปนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าว อภิสังขารและวิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถเป็นอารมณ์ของวิบาก แม้เพื่อ แสดงอภิสังขารและวิญญาณฐิติเหล่านั้น จึงไม่เอาวิญญาณในที่นี้.

บทว่า อุปายุปาทานา ความว่า อุบาย ๒ ด้วยสามารถแห่งตัณหา อุบายและทิฏฐิอุบาย อุปาทาน ๔ มีกามุปาทานเป็นต้น.

บทว่า เจตโส อธิฏานาภินิเวสานุสยา ความว่า เป็นเหตุยึด มั่น เป็นเหตุถือมั่น และเป็นเหตุนอนเนื่อง แห่งอกุศลจิต.

บทว่า ตถาคตสฺส ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงอยู่ ความ พอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระขีณาสพทั้งหลายแม้ทั้งปวงละได้แล้วทีเดียว แต่ความเป็นขีณาสพของพระศาสดาปรากฏยิ่งในโลก ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว คำว่า ตถาคต นี้โดยที่สุดเบื้องบน.

เพราะเหตุไร? ท่านจึงถือเอาวิญญาณ ในบทว่า วิญฺาณธาตุยา นี้

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 852

เพื่อแสดงการละกิเลส เพราะในขันธ์ หรือขันธ์ ๕ ยังละกิเลสไม่ได้หมดที่ เดียว ฉะนั้น ท่านจึงถือเอาเพื่อแสดงการละกิเลส.

บทว่า เอวํ โข คหปติ อโนกสารี โหติ ความว่า พระตถาคต ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ด้วยกัมมวิญญาณ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า รูปนิมิตฺตนิเกตสารวินิพนฺธา ความว่า รูปนั้นแลชื่อว่า นิมิต ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยของกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าที่อยู่ ด้วยอรรถ ว่า เป็นที่อยู่ กล่าวคือเป็นกิริยาแห่งอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ที่อยู่คือรูป นิมิต ความท่องเที่ยวไปด้วย ความผูกพันด้วย ชื่อว่าความท่องเที่ยวไป และความผูกพัน ท่านกล่าวความที่กิเลสทั้งหลายแผ่ไป และความผูกพัน ของกิเลสทั้งหลาย แม้ด้วยบททั้งหลาย ความท่องเที่ยวไปและความผูกพัน ในที่อยู่คือรูปนิมิต ชื่อว่า ความท่องเที่ยวไปและความผูกพันในที่อยู่คือ รูปนิมิต เพราะฉะนั้น จึงเป็นความท่องเที่ยวไปและความผูกพันในที่อยู่ คือรูปนิมิต อธิบายว่า ด้วยความท่องเที่ยวไปของกิเลส และด้วยความ ผูกพันของกิเลสที่เกิดขึ้นในที่อยู่คือรูปนิมิต.

บทว่า นิเกตสารีติ วุจฺจติ ความว่า เรียกว่า ความท่องเที่ยวไป ในที่อยู่ ด้วยอรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัย ด้วยสามารถแห่งการการทำอารมณ์.

บทว่า ปหีนา ความว่า ความท่องเที่ยวไปและผูกพันของกิเลส ในที่อยู่คือรูปนิมิตเหล่านั้น พระตถาคตละได้แล้ว.

ก็เหตุไรในที่นี้ ท่านจึงเรียก เบญจขันธ์ ว่า โอก เรียกอารมณ์ ๖ ว่า นิเกต.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 853

ก็ในเพราะความวิเสสด้วยอรรถว่าอาลัย ของเบญจขันธ์และอารมณ์ เหล่านั้นแม้ที่มีอยู่เพราะฉันทราคะมีกำลังและมีกำลังน้อย ท่านจึงเรียกเรือน ล้วนๆ นั่นแหละว่า โอก โดยตรง.

บทว่า นิเกตํ ได้แก่ อุทยานเป็นที่อยู่อาศัยเป็นต้น ของผู้ที่ กำหนดหมายกันไว้ว่า วันนี้พวกเราจักเล่นในที่โน้น ในข้อนั้นฉันทราคะ ในเรือนที่ประกอบ ด้วย บุตร ภรรยา และข้าวเปลือก ย่อมมีกำลัง ฉันใด ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปในภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนอย่างว่า ฉันทราคะในที่อุทยานเป็นต้นมีกำลังน้อยกว่าฉันทราคะในเรือนนั้น ฉันใด ในอารมณ์ ๖ ภายนอก ก็ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านแสดง เทศนาอย่างนี้เพราะความที่ฉันทราคะมีกำลังและมีกำลังน้อย.

บทว่า สุขิเตสุ สุขิโต ความว่า เมื่อพวกอุปัฏฐากมีความสุข ด้วยสามารถแห่งทรัพย์ ข้าวเปลือก และลาภเป็นต้น ย่อมเป็นผู้มีความ สุขด้วยความสุขอาศัยเรือนว่า บัดนี้ เราจักได้จีวรที่ชอบใจ โภชนะที่ ชอบใจเที่ยวเสวยสมบัติที่ถึงแล้วด้วยตนกับด้วยอุปัฏฐากเหล่านั้น.

บทว่า ทุกฺขิเตสุ ทุกฺขิโต ความว่า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแก่ อุปัฏฐากเหล่านั้นด้วยเหตุอะไรๆ ก็ตาม ตนเองย่อมมีความทุกข์ถึง ๒ เท่า

บทว่า กิจฺจกรณีเยสุ ได้แก่ กรณียะกล่าวคือหน้าที่การงาน.

บทว่า โวโยคํ อาปชฺชติ ความว่า ตนเองย่อมถึงการบำเพ็ญ ประโยชน์ คือความที่กิจเหล่านั้นอันตนพึงทำ,

บทว่า กาเมสุ ได้แก่ วัตถุกาม.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 854

บทว่า เอวํ โข คหปติ กาเมหิ อริตฺโต โหติ ความว่า เป็นผู้ไม่เปล่าจากกิเลสกามทั้งหลาย คือไม่ว่าง เพราะมีกิเลสภายใน อย่างนี้. ในฝ่ายขาว พึงทราบว่า เป็นผู้เปล่า คือว่าง เพราะไม่มีกิเลส เหล่านั้น.

บทว่า ปุเรกฺขราโน ความว่า กระทำวัฏฏะไว้เบื้องหน้า.

บทว่า เอวรูโป สยํ เป็นต้น ความว่า ย่อมปรารถนาในรูปทั้ง หลายมีรูป สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นต้น ว่าขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ย่อม ปรารถนาในเวทนาทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ว่า ขอเราพึงมีเวทนา อย่างนี้ ย่อมปรารถนาในสัญญาทั้งหลาย มีนีลสัญญาเป็นต้น ว่า ขอเรา พึงมีสัญญาอย่างนี้ ย่อมปรารถนาในสังขารทั้งหลายมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ว่า ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ ย่อมปรารถนาในวิญญาณทั้งหลายมีจักษุ วิญญาณเป็นต้นว่า ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้.

บทว่า อปุเรกฺขราโน ความว่า ไม่การทำวัฏฏะไว้เบื้องหน้า.

บทว่า สหิตมฺเม อสหิตนฺเต ความว่า คำของท่านไม่มีประโยชน์ ไม่สละสลวย คำของข้าพเจ้ามีประโยชน์ สละสลวย หวานเหมือนน้ำผึ้ง.

บทว่า อธิจิณฺณนฺเต วิปราวตฺตํ ความว่า คำใดที่ท่านสะสม ฝึกฝนเป็นเวลานานคล่องแคล่วดี คำนั้นทั้งหมดเปลี่ยนแปลงกลับไปชั่วขณะ เพราะอาศัยวาทะของเรา.

บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ความว่า เรายกโทษของท่านขึ้น แล้ว.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 855

บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า ท่านจงเข้าไปหาอาจารย์ นั้นๆ แสวงหาที่เก่งๆ เดินทางเที่ยวไปเพื่อเปลื้องวาทะนี้.

บทว่า นิพฺเพเธหิ วา สเจ ปโหสิ ความว่า ถ้าท่านสามารถ เองทีเดียว ก็จงแก้ไขเสียในที่นี้นั่นแหละ คนแบบนี้นั้นน่าศึกษา.

คาถาว่า เยหิ วิวิตฺโต เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ บรรดาบท เหล่านั้น.

บทว่า เยหิ ความว่า จากทิฏฐิเป็นต้นเหล่าใด.

บทว่า วิวิตฺโต วิจเรยฺย ความว่า ว่างแล้วพึงเที่ยวไป.

บทว่า น ตานิ อคฺคยฺห วเทยฺย นาโค ความว่า บุคคลชื่อ ว่านาคไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าวโดยนัยว่า ไม่กระทำความชั่ว เป็นต้น.

บทว่า เอลมฺพุชํ ความว่า เกิดในน้ำกล่าวคือเอละ.

บทว่า กณฺฏกวาริชํ ความว่า ดอกบัวมีก้านเป็นหนาม มีอธิบาย ว่า ปทุม.

บทว่า ยถา ชเลน ปงฺเกน จ นูปลิตฺตํ ความว่า ดอกบัวนั้น อันน้ำเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด.

บทว่า เอวํ มุนิ สนฺติวโท อคิทฺโธ ความว่า มุนีผู้กล่าวความ สงบภายใน ไม่ติดพัน เพราะไม่มีความติดพัน.

บทว่า กาเม จ โลเก จ อนูปลิตฺโต ความว่า เป็นผู้ไม่เข้า ไปติดในกามแม้ ๒ อย่าง และในโลกมีอบายเป็นต้น ด้วยกิเลสทั้งหลาย ๒.

บทว่า อาคุํ น กโรติ ความว่า ไม่การทำโทษมีอกุศลเป็นต้น.

บทว่า น คจฺฉติ ความว่า ย่อมไม่ถึงโทษด้วยอำนาจอคติ.

บทว่า นาคจฺฉติ ความว่า ไม่เข้าถึงกิเลสที่ละแล้ว.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 856

บทว่า ปาปกา แปลด่า ลามก.

บทว่า อกุสลา ความว่า เกิดแต่ความเป็นผู้ไม่ฉลาด.

บทว่า เต กิเลเส น ปุเนติ ความว่า กิเลสเหล่าใด อันบุคคล นั้นละได้แล้ว บุคคลนั้นย่อมไม่มาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก.

บทว่า น ปจฺเจติ ความว่า ไม่กลับเข้าถึง.

บทว่า น ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ไม่กลับมาอีก.

บทว่า ขรทณฺโฑ ความว่า ก้านของใบขรุขระ คือก้านหยาบ.

บทว่า จตฺตเคโธ ความว่า สละความติดพัน.

บทว่า วนฺตเคโธ ความว่า คายความติดพัน.

บทว่า มุตฺตเคโธ ความว่า ตัดความติดพันที่เป็นเครื่องผูกพัน.

บทว่า ปหีนเคโธ ความว่า ละความติดพัน.

บทว่า ปฏินิสฺสฏเคโธ ความว่า สละคืนความติดพันด้วยประการที่ไม่งอกขึ้นสู่จิตอีก แม้ในบทว่าเป็นผู้มีความกำหนัดอันสละคืนแล้ว เป็นต้น ต่อไปก็นัยนี้เหมือนกัน บทเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแล เป็นไวพจน์ แสดงภาวะที่คุ้นเคยแห่ง คหิต ศัพท์ จะมีอะไรยิ่งขึ้นไป.

คาถาว่า น เวทคู เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เวทคู ทิฏฺิยา ความว่า มุนีผู้ถึง เวทคือมรรค ๔ เช่นเราย่อมเป็นผู้ไม่ไปด้วยทิฏฐิ คือย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ หรือไม่ย้อมมาสู่ทิฏฐินั้นโดยสาระ ในคำเหล่านั้นมีเนื้อความของคำ ดัง ต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า ทิฏฺิยายก เพราะอรรถว่า ด้วยทิฏฐิ เป็นตติยาวิภัตติ.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 857

ชื่อว่า ทิฏฺิยายก เพราะอรรถว่า ไปสู่ทิฏฐิ เป็นทุติยาวิภัตติ.

แม้ที่เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เป็น ทิฏฺิยา เพราะอรรถว่า การไปของ ทิฏฐิ ก็มี.

บทว่า น มุติยา ส มานเมติ ความว่า มุนีนั้นย่อมไม่ถึงความ ถือตัวแม้ด้วยอารมณ์ที่ทราบ ชนิดมีรูปที่เขาทราบเป็นต้น.

บทว่า น หิ ตมฺมโย โส ความว่า เป็นผู้ไม่มีตัณหา คือเป็นผู้ ไม่มีตัณหานั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยสามารถแห่งตัณหาและทิฏฐิ แต่ ผู้นี้ไม่เป็นเช่นนั้น.

บทว่า น กมฺมุนา นาปิ สุเตน เนยฺโย ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่เป็นผู้อันกรรมมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น หรือเสียงที่ได้ยินมีความ หมดจดที่ได้ยินเป็นต้น นำไปได้.

บทว่า อนูปนีโต ส นิเวสเนสุ ความว่า มุนีนั้นเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไปแล้วในที่อาศัย คือตัณหาและทิฏฐิทั้งปวง เพราะ ละความนำเข้าไปทั้งสองได้แล้ว.

กลิ่น รส และโผฏฐัพพะชื่อว่ารูปที่เขาทราบแล้ว ในบทว่า มุตรูเปน วา นี้.

บทว่า มานํ เนติ ความว่า ย่อมไม่ถึงอัสมิมานะการถือเราถือเขา.

บทว่า น อุเปติ ความว่า ย่อมไม่มาสู่ที่ใกล้.

บทว่า น อุปคจฺฉติ ความว่า ย่อมไม่เข้าไปตั้งอยู่.

บทว่า ตมฺมโย ได้แก่ การทำความอิ่มใจ และแก่มุนีนั้นผู้เป็น อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 858

คาถาว่า สญฺาวิรตฺตสฺส เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ บรรดา บทเหล่านั้น.

บทว่า สญฺาวิรตฺตสฺส ความว่า แก่มุนีผู้ละกามสัญญาเป็นต้น ด้วยภาวนาซึ่งมีเนกขัมมสัญญาเป็นสภาพถึงก่อน ด้วยบทนี้ ท่านประสงค์ เอาผู้มีสมถะเป็นยานซึ่งเป็นอุภโตภาควิมุต.

บทว่า ปฺาวิมุตฺตสฺส ความว่า แก่มุนีผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ด้วยภาวนาซึ่งมีวิปัสสนาเป็นสภาพถึงก่อน ด้วยบทนี้ ท่านประสงค์เอา ผู้เป็นสุกขวิปัสสก.

บทว่า สญฺญฺจ ทิฏฺิญฺจ เย อคฺคเหสุํ เต ฆฏฺฏมานา วิวทนฺติ โลเก ความว่า ก็ชนเหล่าใดยังถือสัญญามีกามสัญญาเป็นต้น ชนเหล่านั้น โดยเฉพาะพวกคฤหัสถ์ยังถือทิฏฐิซึ่งมีกามเป็นเหตุนั่นแหละ ชนเหล่านั้นโดยเฉพาะพวกบรรพชิต ย่อมกระทบกระทั่งวิวาทกันและกัน มีธรรมเป็นเหตุ.

บทว่า โย สมถปุพฺพงฺคมํ อริยมคฺคํ ภาเวติ ความว่า บุคคล ใดกระทำสมถะให้เป็นสภาพถึงก่อน คือให้เป็นปุเรจาริก เจริญอริยมรรค พร้อมวิปัสสนา ยังสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน ยังอริยมรรคพร้อมวิปัสสนาให้เกิด ขึ้นภายหลัง.

บทว่า ตสฺส อาทิโต ความว่า อันบุคคลนั้นข่มเสียแล้วแต่ปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า อุปาทาย ความว่า อิงแล้ว อาศัยแล้ว.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 859

บทว่า คนฺถา วิกฺขมฺภิตา โหนฺติ ความว่า กิเลสเป็นเครื่อง ร้อยรัด ย่อมเป็นของอันบุคคลนั้นกระทำให้ไกลแล้ว.

บทว่า อรหตฺตปฺปตฺเต บรรลุอรหัตตผล.

บทว่า อรหโต ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล กิเลสทั้งปวงมี กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดและโมหะเป็นต้น ย่อมเป็นสภาพอันพระอรหันต์ ละเสียแล้ว.

บทว่า โย วิปสฺสนาปุพพงฺคมํ อริยมคฺคํ ภาเวติ ความว่า บุคคลใดกระทำวิปัสสนาให้เป็นสภาพถึงก่อน คือให้เป็นปุเรจาริก เจริญ อริยมรรค ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้นก่อน เจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค ภายหลัง.

บทว่า ตสฺส อาทิโต อุปาทาย ความว่า อันบุคคลนั้นอาศัย วิปัสสนาจำเดิมแต่เห็นแจ้ง.

บทว่า ภิกฺขมฺภิตา ในบทว่า โมหา วิกฺขมฺภิตา โหนฺติ นี้ ความว่า ให้ถึงที่ไกล.

บทว่า สญฺาวเสน ฆฏฺเฏนฺติ ความว่า ชนเหล่าใดยังถือกาม สัญญาเป็นต้น ชนเหล่านั้นย่อมเบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งสัญญา.

บทว่า สงฺฆฏฺเฏนฺติ ความว่า ย่อมเบียดเบียนกันกว่านั้นๆ.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหล่าชนที่เบียดเบียนกัน ท่านจึงกล่าวความ พิสดาร โดยนัยว่า ราชาโนปิ ราชูหิ วิวทนฺติ เป็นต้น.

ในบทว่า อญฺมญฺํ ปาณีหิปิ อุปกฺกมนฺติ ความว่า ย่อม ประหารกันและกันด้วยมือทั้งสอง.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 860

บทว่า เลฑฺฑูหิ ได้แก่ ด้วยก้อนดิน.

บทว่า ทณฺเฑหิ ได้แก่ ด้วยไม้พอง.

บทว่า สตฺเถหิ ได้แก่ ด้วยศัสตราสองคม.

บทว่า อภิสงฺขารานํ อปฺปหีนตฺตา ความว่า เพราะความที่ยัง ละปุญญาภิสังขารเป็นต้นไม่ได้.

บทว่า คติยา ฆฏฺเฏนฺติ ความว่า ย่อมเบียดเบียนกัน คือ ย่อม ถึงความกระทบกระทั่งกัน ในคติอันเป็นที่พึ่งซึ่งจะต้องไป แม้ในนรก เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน คำที่เหลือในที่นี้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าว แล้ว.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส

อรรถกถา มาคันทิยสุตตนิทเทส

จบ สูตรที่ ๙