พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40798
อ่าน  749

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 630

อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ปฐมวรรค

คาถาที่ ๑ หน้า 630

คาถาที่ ๒ หน้า 657

คาถาที่ ๓ หน้า 661

คาถาที่ ๔ หน้า 663

คาถาที่ ๕ หน้า 665

คาถาที่ ๖ หน้า 666

คาถาที่ ๗ หน้า 667

คาถาที่ ๘ หน้า 668

คาถาที่ ๙ หน้า 685

คาถาที่ ๑๐ หน้า 686

ทุติยวรรค

คาถาที่ ๑ หน้า 688

คาถาที่ ๒ หน้า 688

คาถาที่ ๓ หน้า 690

คาถาที่ ๔ หน้า 691

คาถาที่ ๕ หน้า 692

คาถาที่ ๖ หน้า 693

คาถาที่ ๗ หน้า 698

คาถาที่ ๘ หน้า 700

คาถาที่ ๙ หน้า 701

คาถาที่ ๑๐ หน้า 702

ตติยวรรค

คาถาที่ ๑ หน้า 704

คาถาที่ ๒ หน้า 706

คาถาที่ ๓ หน้า 708

คาถาที่ ๔ หน้า 709

คาถาที่ ๕ หน้า 711

คาถาที่ ๖ หน้า 712

คาถาที่ ๗ หน้า 713

คาถาที่ ๘ หน้า 715

คาถาที่ ๙ หน้า 716

คาถาที่ ๑๐ หน้า 721

จตุตถวรรค

คาถาที่ ๑ หน้า 722

คาถาที่ ๒ หน้า 723

คาถาที่ ๓ หน้า 724

คาถาที่ ๔ หน้า 726

คาถาที่ ๕ หน้า 728

คาถาที่ ๖ หน้า 729

คาถาที่ ๗ หน้า 731

คาถาที่ ๘ หน้า 733

คาถาที่ ๙ หน้า 734

คาถาที่ ๑๐ หน้า 735

คาถาที่ ๑๑ หน้า 736


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 630

อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ต่อนี้ไปถึงโอกาสแห่งการพรรณนา ขัคควิสาณสุตตนิทเทส แล้ว. พวกเราจักพรรณนาเพียงบทที่เกินต่อจากบทนี้เท่านั้น.

ปฐมวรรค

คาถาที่ ๑

๑) (๑) สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ อวิเหยํ อญฺตรมฺปิ เตสํ น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนบรรดาสัตว์เหล่านั้น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึงปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ.

บทว่า ภูเตสุ คือ ในสัตว์ทั้งหลาย.

ภูต ศัพท์ในบทว่า ภูเตสุ นี้เป็นไปในอรรถว่า สิ่งที่มี ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตสฺมิํ ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะ สิ่งที่มีอยู่.

เป็นไปในอรรถว่า ขันธ์ ๕ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ สารีปุตฺต สมนุปสฺสสิ ดูก่อนสารีบุตร เธอจงพิจารณา ขันธ์ นี้.

เป็นไปในอรรถว่า รูป ๔ อย่าง มีปฐวีธาตุเป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า รูป ๔ มีปฐวีธาตุเป็นต้น


(๑) เลขหน้าคาถาทุกคาถา ในขัคควิสาณสุตตนิทเทสนี้ ไม่ใช่เลขข้อในบาลี. เป็นเลขลำดับ คาถา มีทั้งหมด ๔๑ คาถา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 631

มีอาทิอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขเว มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ แลเป็นเหตุ.

เป็นไปในอรรถว่า พระขีณาสพ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส ภูโต พระขีณาสพ เป็นผู้กินกาลเวลา.

เป็นไปในอรรถว่า สรรพสัตว์ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ สัตว์ทั้งปวง จักทิ้งร่างกายไว้ในโลก.

เป็นไปในอรรถว่า ต้นไม้ เป็นต้น ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพราก ของเขียว ซึ่งเกิดอยู่กับที่ให้หลุดจากที่.

ย่อมเป็นไปหมายเอา หมู่สัตว์ ในชั้นต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราชิกาลงมา ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตํ ภูตโต ปชานาติ ย่อมรู้ หมู่สัตว์ ตามความเป็นจริง.

แต่ในที่นี้พึงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วบนแผ่นดินและภูเขาเป็นต้น โดยไม่ต่างกันว่า ภูตะ ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น.

บทว่า นิธาย คือ วางแล้ว.

บทว่า ทณฺฑํ คือ อาชญาทางกาย วาจาและใจ.

บทนี้เป็นชื่อของกายทุจริตเป็นต้น.

กายทุจริตชื่อว่า ทัณฑะ เพราะลงโทษ. ท่านกล่าวว่า เพราะเบียดเบียนให้ถึงความพินาศล่มจม.

วจีทุจริตและมโนทุจริตก็เหมือนกัน หรือการลงโทษด้วยการประหารนั่นแล ชื่อว่า ทัณฑะ. ท่านกล่าวว่า วางอาชญานั้น.

บทว่า อเหยํ คือ ไม่เบียดเบียน.

บทว่า อญฺตรมฺปิ คือ แม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง.

บทว่า เตสํ คือ สรรพสัตว์เหล่านั้น.

บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย คือ ไม่พึงปรารถนาบุตรไรๆ ในบุตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ อัตตชะ บุตรเกิดแต่ตน ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 632

เขตตชะ บุตรเกิดแต่ภริยา ๑ ทินนกะ บุตรที่เขายกให้ ๑ อันเตวาสิกะ ลูกศิษย์ ๑.

บทว่า กุโต สหายํ คือ พึงปรารถนาสหายได้แต่ไหน.

บทว่า เอโก ได้แก่ ผู้เดียว ด้วยการบวช.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาได้.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากกิเลสโดยแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว.

จริงอยู่ แม้ยังเป็นไปอยู่ในท่ามกลางสมณะตั้งพัน ก็ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตัดความคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยการบวช.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะยืนผู้เดียว ไปผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เคลื่อนไหวเป็นไปผู้เดียว ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่าผู้เดียว โดยไม่มีเพื่อน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุมีสติรู้โทษอย่างนี้ และตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น พึงเว้นรอบ.

ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว เพราะละตัณหาเสียได้.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากกิเลสได้แน่นอนอย่างนี้ คือ ละกิเลสทั้งหมดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เหมือนตาลยอดด้วน มีการไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะเป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ เป็นผู้ตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณด้วยตนเอง ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว.

บทว่า จเร พึงเที่ยวไป ได้แก่ จริยา (การเที่ยวไป) มี ๘ อย่างคือ อิริยาปถจริยา การเที่ยวไปในอิริยาบถ ๔ ของผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 633

ไว้ชอบ ๑. อายตนจริยา การเที่ยวไปในอายตนะภายใน ๖ ของผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ สติจริยา การเที่ยวไปในสติปัฏฐาน ๔ ของผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ๑ สมาธิจริยา การเที่ยวไปในฌาน ๔ ของผู้ขวนขวายในอธิจิต ๑ ญาณจริยา การเที่ยวไปในอริยสัจ ๔ ของผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑ มรรคจริยา การเที่ยวไปในอริยมรรค ๔ ของผู้ปฏิบัติโดยชอบ ๑ ปัตติจริยา การเที่ยวไปในสามัญผล ๔ ของผู้บรรลุผล ๑ โลกัตถจริยา ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ของท่านผู้เป็นพุทธะ ๓ จำพวก คือพระสัมมาสัมพุทธะ ๑ พระปัจเจกพุทธะ ๑ พระสาวกพุทธะ ๑.

ในพระพุทธะ ๓ จำพวกเหล่านั้น ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกของพระปัจเจกพุทธะ และพระสาวกพุทธะ ได้เฉพาะบางส่วน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า จริยา ๘ ในคำว่า จริยา นี้ ได้แก่ อิริยาปถจริยาเป็นต้น.

พึงทราบความพิสดารในเรื่องนั้น ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยาเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวจริยา ๘ แม้อย่างอื่นอีกอย่างนี้ว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อจริยาเหล่านี้ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองใจย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งมั่นย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ทั่วย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ บุคคลผู้มนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปทั่วแก่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา บุคคลผู้มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ย่อมประพฤติด้วยวิเศษจริยา ดังนี้. อธิบายว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยาแม้เหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 634

บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป เหมือนนอแรด คือ เขาของแรดชื่อว่า นอแรด.

กัปป ศัพท์นี้มีความหลายอย่างเป็นต้นว่า เชื่อ โวหาร กาล บัญญัติ เฉทนะ (ตัด) วิกัปปะ (ประมาณ) เลส สมันตภาวะ (โดยรอบ) สทิสะ (คล้าย).

จริงอย่างนั้น กัปป ศัพท์นั้นมีอรรถว่า เชื่อ ในประโยคมีอาทิอย่าง (๑) นี้ว่า ข้อนี้ควร เชื่อ ต่อพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

มีอรรถว่า โวหาร ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อฉันผลไม้ด้วยสมณ โวหาร ๕ อย่าง.

มีอรรถว่า กาล ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า นัยว่าเราจะอยู่ตลอด กาล เป็นนิจ.

มีอรรถว่า บัญญัติ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านกัปปะ ได้กล่าวไว้ดังนี้.

มีอรรถว่า เฉทนะ ตัด ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ปลง ผมและหนวดตกแต่งแล้ว.

มีอรรถว่า วิกัปปะ ประมาณ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า กว้างหรือยาว ประมาณ ๒ นิ้ว.

มีอรรถว่า เลส ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า หา เลส เพื่อจะนอน.

มีอรรถว่า สมันตภาวะโดยรอบ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ยังพระวิหารเวฬุวัน โดยรอบ ให้สว่างไสว.

มีอรรถว่า สทิสะ คล้าย ในประโยคมีอาทิอย่าง (๒) นี้ว่า ท่านผู้เจริญ


(๑) ม. มู. ๑๒/ข้อ ๔๓๐.

(๒) ม. มู. ๑๒/ข้อ ๓๐๐.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 635

ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวก ทรงคุณ คล้าย พระศาสดา มิได้ทราบเลย (ว่าท่านชื่อว่าสารีบุตร). อธิบายว่า มีส่วนเปรียบ.

อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบ ความว่า เช่นกับ เปรียบกับ พระศาสดา นั้น. ท่านกล่าวว่า เปรียบกับนอแรด.

พึงทราบการพรรณนาความในที่นี้ เพียงเท่านี้ก่อน.

แต่พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ได้ โดยสืบต่อจากการอธิบายต่อไป.

อาชญานี้มีประการดังได้กล่าวแล้ว ยังเป็นไปอยู่ในสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่ละวาง. บุคคลไม่ยังอาชญาให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงด้วยเมตตา อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาชญานั้น และด้วยนำประโยชน์เข้าไปให้ เพราะเป็นผู้วางอาชญาแล้วนั่นเอง สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่วางอาชญา ย่อมเบียดเบียนสัตว์ด้วยท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยฝ่ามือ หรือด้วยก้อนดิน ฉันใด เราไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น แม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง ฉันนั้น อาศัยเมตตากรรมฐานนี้เห็นแจ้งสังขตธรรม อันไปแล้วในเวทนา ไปแล้วในสัญญา สังขาร และวิญญาณ และอื่นจากนั้น โดยทํานองเดียวกัน แล้วจึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณนี้.

พึงทราบอธิบายดังนี้ก่อน.

พึงทราบอนุสนธิต่อไป.

เมื่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นแล้ว พวกอำมาตย์เหล่านั้นจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้พระคุณเจ้าจะไปไหน.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ารำพึงว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแต่ก่อนอยู่ ณ ที่ไหน ครั้นรู้แล้วจึงกล่าวว่า อาตมาจะไปภูเขาคันธมาทน์ พวกมนุษย์จึงกล่าวอีกว่า โอ บัดนี้พระคุณเจ้าจะทิ้งพวกกระผมไป อย่าไปเลยขอรับ.

ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย บุคคลไม่พึงปรารถนาบุตร ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 636

ในบทนั้นมีอธิบายดังนี้ บัดนี้เรามิได้พึงปรารถนาบุตรประเภทใดประเภทหนึ่ง บรรดาบุตรที่เกิดแต่ตนเป็นต้น จักปรารถนาสหายเช่นท่านแต่ไหน เพราะฉะนั้น บรรดาท่านทั้งหลาย ผู้ใดเป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม ประสงค์จะไปกับเรา ผู้นั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นกล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าจะละทิ้งพวกกระผมไป พระคุณเจ้าไม่ต้องการพวกกระผมเสียแล้วหรือ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า อาตมามิได้พึงปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน เห็นคุณของการเที่ยวไปผู้เดียว โดยความตามที่ตนกล่าวแล้ว ก็บันเทิงใจ เกิดปีติโสมนัส จึงเปล่งอุทานนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสิตา คือ ทำความอยาก.

บทว่า ภยเภรโร ความกลัวและความขลาด คือ มีจิตสะดุ้งเปล่งเสียงตกใจ.

บทว่า ถาวรา ผู้มั่นคง คือ พระขีณาสพ.

บทว่า นิธาย คือ ทิ้งแล้ว.

บทว่า นิทหิตฺวา คือ วางแล้ว.

บทว่า โอโรปยิตฺวา คือ ปลงแล้ว.

บทว่า สโมโรปยิตฺวา คือ ปล่อยลงข้างล่าง.

บทว่า นิกฺขิปิตฺวา ได้แก่ นำออกไปจากที่นั้น.

บทว่า ปฏิปสฺสมฺภิตฺวา ระงับแล้ว คือ สงบแล้ว.

บทว่า อาลปนํ คือ การเจรจากันแต่แรก.

บทว่า สลฺลปนํ คือ การเจรจากันโดยชอบ.

บทว่า อุลฺลปนํ คือ เจรจายกย่องกัน.

บทว่า สมุลฺลปนํ คือ การเจรจายกย่องกันบ่อยๆ.

บทว่า อิริยาปถจริยา คือ เที่ยวไปในอิริยาบถ.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

แต่ อายตนจริยา คือ เที่ยวไปในอายตนะ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 637

ด้วยสติและสัมปชัญญะ.

บทว่า ปตฺติ คือ ผลทั้งหลาย. เพราะผลเหล่านั้นท่านเรียกว่า ปตฺติ เพราะเป็นเหตุให้บรรลุ.

ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นไปในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพของสัตว์โลก ชื่อว่า โลกัตถะ นี่เป็นข้อแตกต่างกัน.

บัดนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อจะแสดงภูมิแห่งจริยาเหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตูสุ อิริยาปเถสุ ในอิริยาบถ ๔.

บทว่า สติปฏฺาเนสุ คือ แม้ในสติปัฏฐาน ซึ่งมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวอยู่ ก็กล่าวถึงธรรมที่ไม่เป็นอย่างอื่นจากสติ แต่ทำเหมือนเป็นอย่างอื่นด้วยโวหาร.

บทว่า อริยสจฺเจสุ ท่านกล่าวด้วยการกำหนดสัจจะไว้เป็นแผนกๆ ด้วยสัจญาณอันเป็นโลกิยะอันเป็นส่วนเบื้องต้น.

คำว่า อริยมคฺเคสุ และคำว่า สามญฺผเลสุ ท่านกล่าวด้วยอำนาจโวหารเท่านั้น.

บทว่า ปเทเส คือ ในส่วนหนึ่งของโลกัตถจริยา คือการประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงบำเพ็ญโลกัตถจริยาโดยไม่มีส่วนเหลือ.

พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงจริยาเหล่านั้นอีก ด้วยอำนาจแห่งการกบุคคล (บุคคลผู้กระทำ) จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปณิธิสมฺปนฺนานํ ของผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ.

ในบทเหล่านั้นพึงทราบความดังต่อไปนี้.

ผู้มีอิริยาบถไม่หวั่นไหว ถึงพร้อมด้วยความเป็นไปแห่งอิริยาบถ เพราะอิริยาบถสงบ ผู้ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถอันสงบสมควรแก่ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า ปณิธิสมฺปนฺนานํ ผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ.

บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารานํ ผู้มีทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ ชื่อว่า คุตฺตทฺวารา เพราะมี

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 638

ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ด้วยสามารถทวารหนึ่งๆ อันเป็นไปแล้วในวิสัยของตนๆ. แห่งทวารอันคุ้มครองแล้วนั้น.

อนึ่ง ในบทว่า ทฺวารํ นี้ ได้แก่ จักขุทวารเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งทวารที่เกิดขึ้นตามธรรมดา.

บทว่า อปฺปมาทวิหารีนํ ของบุคคลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท คือของบุคคลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทในคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น.

บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺตานํ ของบุคคลผู้ขวนขวายในอธิจิต คือ ของบุคคลผู้ขวนขวายด้วยสมาธิคืออธิจิต โดยความเป็นบาทแห่งวิปัสสนา.

บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺนานํ ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยญาณอันเป็นไป ตั้งต้นแต่การกำหนดนามรูปจนถึงโคตรภู.

บทว่า สมฺมาปฏิปนฺนานํ ของบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ คือ ในขณะของมรรค ๔.

บทว่า อธิคตผลานํ ของบุคคลผู้บรรลุผลแล้ว คือ ในขณะของผล ๔.

บทว่า ตถาคตานํ คือ ผู้มาแล้วเหมือนอย่างนั้น.

บทว่า อรหนฺตานํ คือ ผู้ไกลจากกิเลส.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธานํ คือ ผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยตนเอง.

ความของบททั้งหลายเหล่านี้ ประกาศไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า ปเทเส ปจฺเจกสมฺพุทฺธานํ คือ ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายบางส่วน.

บทว่า ปเทเส สาวกานํ คือ แม้ของสาวกทั้งหลายบางส่วน.

บทว่า อธิมุจฺจนฺโต คือ ทำการน้อมไป.

บทว่า สทฺธาย จรติ ประพฤติด้วยศรัทธา คือ เป็นไปด้วยอำนาจแห่งศรัทธา.

บทว่า ปคฺคณฺหนฺโต ผู้ประคองใจ คือ พยายามด้วยความเพียร คือสัมมัปปธาน ๔.

บทว่า อุปฏฺเปนฺโต ผู้เข้าไปตั้งไว้ คือ เข้าไปตั้งอารมณ์ไว้ด้วยสติ.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 639

อวิกฺเขปํ กโรนฺโต คือ ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสมาธิ.

บทว่า ปชานนฺโต ผู้รู้ทั่ว คือ รู้ชัดด้วยปัญญารู้อริยสัจ ๔.

บทว่า วิชานนฺโต ผู้รู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์ด้วยวิญญาณ คืออาวัชชนจิตอันถึงก่อน (เกิดก่อน) ชวนะที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์.

บทว่า วิญฺาณจริยาย ประพฤติด้วยวิญญาณ คือ ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณคืออาวัชชนจิต.

บทว่า เอวํ ปฏิปนฺนสฺส ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ปฏิบัติด้วยอินทรียจริยาพร้อมกับอาวัชชนะ.

บทว่า กุสลา ธมฺมา อายาเปนฺติ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไป ความว่า กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนา ยังความวิเศษให้เป็นไป.

บทว่า อายตนจริยาย ภูสะความมั่นคง ท่านกล่าวว่า ความมั่นคงของกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยอายตนจริยา คือ ด้วยความประพฤติเป็นไป.

บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ คือ ย่อมบรรลุคุณวิเศษด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนปหาน ตทังคปหาน สมุจเฉทปหาน และปฏิปัสสัทธิปหาน.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทสฺสนจริยา จ สมฺมาทิฏฺิยา การประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า ทัสสนจริยา ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นชอบ หรือเป็นเหตุเห็นชอบ หรือมีทิฏฐิงามน่าสรรเสริญ. แห่งสัมมาทิฏฐินั้น.

ชื่อว่า ทัสสนจริยา เพราะประพฤติด้วยการทำนิพพานให้ประจักษ์.

ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะดำริชอบ หรือเป็นเหตุดำริชอบ หรือดำริดีน่าสรรเสริญ.

ชื่อว่า อภินิโรปนจริยา เพราะประพฤติปลูกฝังจิตไว้ในอารมณ์นั้น.

ชื่อว่า สัมมาวาจา เพราะเจรจาชอบ หรือเป็นเหตุเจรจาชอบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 640

หรือเจรจาดีน่าสรรเสริญ. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นมิจฉาวาจา.

ชื่อว่า ปริคฺคหจริยา เพราะประพฤติยึดวจีสังวร ๔ อย่างของสัมมาวาจานั้น.

ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ เพราะทำชอบ หรือเป็นเหตุทำชอบ หรือการงานดีน่าสรรเสริญ. การงานชอบนั่นแล ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นจากมิจฉากัมมันตะ.

ชื่อว่า สมุฏฐานจริยา เพราะประพฤติตั้งอยู่ในกายสังวร ๓ อย่าง.

ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ เพราะเลี้ยงชีพชอบ หรือเป็นเหตุเลี้ยงชีพชอบ หรือมีอาชีพดีน่าสรรเสริญ. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นมิจฉาอาชีวะ.

สัมมาอาชีพนั้นชื่อว่า โวทานจริยา ประพฤติผ่องแผ้ว.

ชื่อว่า ปริสุทธจริยา ประพฤติบริสุทธิ์.

ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะพยายามชอบ หรือเป็นเหตุพยายามชอบ หรือพยายามดีน่าสรรเสริญ.

สัมมาวายามะนั้น ชื่อว่า ปัคคหจริยา ประพฤติประคองใจ.

ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะระลึกชอบ หรือเป็นเหตุระลึกชอบ หรือระลึกดีน่าสรรเสริญ.

สัมมาสตินั้นชื่อว่า อุปัฏฐานจริยา ประพฤติตั้งมั่น.

ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะตั้งมั่นชอบ หรือเป็นเหตุตั้งมั่นชอบ หรือตั้งใจดีน่าสรรเสริญ.

สัมมาสมาธินั้น ชื่อว่า อวิกเขปจริยา ประพฤติไม่ฟุ้งซ่าน.

บทว่า ตกฺกปฺโป คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นย่อมเป็นเหมือนนอแรด. อธิบายว่า เป็นอย่างนั้น.

บทว่า ตํสทิโส คือ เช่นกับนอแรด. ปาฐะว่า ตสฺสทิโส บ้าง.

บทว่า ตปฺปฏิภาโค คือ เปรียบเหมือน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 641

นอแรด. อธิบายว่า เป็นเช่นนั้น.

รสเค็มไม่มีรสหวาน ชื่อว่า อติโลณะ เค็มจัดกล่าวกันว่าเหมือนเกลือ เช่นกับเกลือ.

บทว่า อติติตฺติกํ คือ ของขมจัดมีสะเดาเป็นต้นกล่าวกันว่า เหมือนของขม เช่นกับรสขม.

บทว่า อติมธุรํ มีรสหวานจัด คือ มีข้าวปายาสเจือด้วยน้ำนมเป็นต้น.

บทว่า หิมกปฺโป เหมือนหิมะ คือ เช่นกับน้ำแข็ง.

บทว่า สตฺถุกปฺโป เหมือนพระศาสดา คือ เช่นกับพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา.

บทว่า เอวเมว เป็นนิบาตบอกความเปรียบเทียบ.

เราจักแสดงวิธีบอกวิปัสสนา โดยสังเขปของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แล้วจักไป ณ ที่นั้น.

พระปัจเจกโพธิสัตว์ประสงค์จะทำการกำหนดนามรูป จึงเข้าฌานใดฌานหนึ่งในฌานสมาบัติ ๘ ทั้งที่เป็นรูปฌานและอรูปฌาน ออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌานมีวิตกเป็นต้น และธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น อันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนั้น ด้วยอำนาจแห่งลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า น้อมไป โดยความน้อมไปมุ่งต่ออารมณ์.

แต่นั้น ก็แสวงหาปัจจัยแห่งนามนั้น ย่อมเห็นว่า นามย่อมเป็นไปเพราะอาศัยหทัยวัตถุ. ครั้นเห็นภูตรูปอันเป็นปัจจัยแห่งวัตถุและอุปาทายรูปแล้ว จึงกำหนดว่าทั้งหมดนี้ ชื่อว่า รูป เพราะมีลักษณะสลายไป.

กำหนดนามรูปทั้งสองนั้นอีกโดยสังเขปอย่างนี้ว่า นามมีลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลายไป. นี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง สมถยานิกะ (มีสมถะเป็นยาน).

ส่วน วิปัสสนายานิกะ (มีวิปัสสนาเป็นยาน) กำหนดภูตรูปและอุปาทายรูปด้วยหัวข้อการกำหนดธาตุ ๔ แล้วเห็นว่าธรรมทั้งหมดนี้ชื่อว่ารูปเพราะความสลายไป.

แต่นั้น อรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปอยู่เพราะอาศัยวัตถุมีจักขุวัตถุเป็นต้นแห่ง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 642

รูปที่กำหนดไว้อย่างนี้ ย่อมมาสู่คลอง.

แต่นั้นรวมอรูปธรรมเหล่านั้น แม้ทั้งหมดเป็นอันเดียวกัน โดยลักษณะน้อมไป ย่อมเห็นว่านี้เป็นนาม.

พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น ย่อมกำหนดโดยส่วนสองว่า นี้นาม นี้รูป.

ครั้นกำหนดอย่างนั้นแล้ว ย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล เทวดา หรือพรหมอื่น นอกเหนือไปจากนามรูปไม่มี.

เหมือนอย่างว่า เสียงว่ารถย่อมมีได้ เพราะการประชุมองค์ประกอบ (ของรถ) ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติกันว่าสัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น.

ท่านกำหนดนามรูปด้วยญาณอันเป็นทิฏฐิวิสุทธิ กล่าวคือการเห็นตามความเป็นจริงของนามรูปโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ มีอยู่ การสมมติเรียกกันว่าสัตว์บุคคลย่อมมีได้ฉันนั้นนั่นแหละดังนี้ เมื่อกำหนดแม้ปัจจัยของนามรูปนั้นอีก ก็กำหนดนามรูปโดยนัยดังกล่าวแล้ว กำหนดอยู่ว่าอะไรหนอเป็นเหตุแห่งนามรูปนี้ ครั้นเห็นโทษในอเหตุวาทะและเหตุวาทะอันแตกต่างกัน จึงแสวงหาเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้น ดุจแพทย์ครั้นเห็นโรคแล้วจึงตรวจดูสมุฏฐานของโรคนั้น จึงเห็นธรรม ๔ เหล่านี้ คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุให้เกิดนามรูป และว่าเป็นปัจจัยเพราะมีอาหารเป็นปัจจัยอุปถัมภ์.

กำหนดปัจจัยแห่งรูปกายอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย ๓ มีอวิชชาเป็นต้นเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่กายนี้ เหมือนมารดาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ทารก มีกรรมทำให้เกิดเหมือนบิดาทำบุตรให้เกิด มีอาหารเลี้ยงดูเหมือนแม่นมเลี้ยงดูทารก แล้วกำหนดปัจจัยแห่งนามกายโดยนัยมีอาทิว่า อาศัยจักษุและรูป จักขุ-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 643

วิญญาณย่อมเกิด.

เมื่อกำหนดอยู่อย่างนี้ย่อมตกลงใจได้ว่า ธรรมแม้ที่เป็นอดีตและอนาคตย่อมเป็นไปอย่างนี้เท่านั้นเหมือนกัน.

ท่านกล่าววิจิกิจฉาที่ปรารภอดีต (ปุพฺพนฺตํ) ของบุคคลนั้นไว้ ๕ อย่างคือ

๑. ในอดีตอันยาวนานเราได้เป็นแล้วหรือหนอ.

๒. หรือว่าเราไม่ได้เป็นแล้ว

๓. เราได้เป็นอะไรมาแล้วหรือหนอ

๔. เราได้เป็นอย่างไรแล้วหนอ

๕. เราเป็นอะไรแล้วได้เป็นอะไรตลอดกาลในอดีตหรือหนอ

ท่านกล่าววิจิกิจฉาที่ปรารภอนาคต (อปรนฺตํ) ของบุคคลนั้นไว้ ๕ อย่างคือ

๑. ในอนาคตอันยาวนานเราจักเป็นหรือหนอ

๒. เราจักไม่เป็นหรือหนอ

๓. เราจักเป็นอะไรหนอ

๔. เราจักเป็นอย่างไรหนอ

๕. เราเป็นอะไรแล้วจักเป็นอะไร (ต่อไป) ตลอดกาลในอนาคตหรือหนอ.

ก็หรือว่าท่านได้กล่าววิจิกิจฉาที่ปรารภปัจจุบันของบุคคลนั้นไว้ ๖ อย่างคือ

๑. เราเป็นอยู่หรือหนอ

๒. เราไม่เป็นอยู่หรือหนอ

๓. เราเป็นอะไรหนอ

๔. เราเป็นอย่างไรหนอ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 644

๕. สัตว์นี้มาจากที่ไหนหนอ

๖. สัตว์นั้นจักไปที่ไหนหนอ

ท่านละความสงสัยแม้ทั้งหมดนั้นได้. ด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างนี้ ท่านกล่าวถึงญาณอันข้ามความสงสัยในกาล ๓ ตั้งอยู่ ว่าเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) บ้าง เป็น ธรรมฐิติญาณ (ญาณกำหนดรู้ความตั้งอยู่ตามธรรมดา) บ้าง ยถาภูตญาณ (ญาณกำหนดรู้ตามความเป็นจริง) บ้าง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ) บ้าง.

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ต่อไป.

จริงอยู่ โลกิยปริญญามี ๓ คือ ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ๑. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ๑. ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ) ๑.

ในโลกิยปริญญา ๓ เหล่านั้น ปัญญาเป็นไปด้วยอำนาจการกำหนดลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ) ของธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า รูปมีลักษณะสลาย เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้ ชื่อว่า ญาตปริญญา.

วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์อันเป็นไปแล้ว เพราะยกธรรมเหล่านั้นขึ้นสู่สามัญลักษณะ โดยนัยมีอาทิว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งการละนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) เป็นต้น ในธรรมเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ปหานปริญญา.

ในปริญญาเหล่านั้น ภูมิแห่งญาตปริญญาเริ่มตั้งแต่กำหนดสังขาร

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 645

จนถึงกำหนดปัจจัย. ในระหว่างนี้การแทงตลอดลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ) ของธรรมทั้งหลายย่อมเป็นใหญ่.

ภูมิแห่งตีรณปริญญาเริ่มตั้งแต่การพิจารณากองสังขาร จนถึงอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ). ในระหว่างนี้ การแทงตลอดสามัญลักษณะย่อมเป็นใหญ่.

ภูมิแห่งปหานปริญญาเบื้องบนตั้งต้นแต่ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ). ต่อแต่นั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาเสียได้ พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) เสียได้ พิจารณาเห็นโดยความไม่เป็นตัวตน ย่อมละอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) เสียได้ เบื่อหน่าย ความเพลิดเพลิน สำรอกราคะ ดับตัณหา สละ ละความยึดถือเสียได้ ด้วยประการฉะนี้ อนุปัสสนา (การพิจารณาความ) ๗ อย่าง อันสำเร็จด้วยการละนิจจสัญญาเป็นต้นย่อมเป็นใหญ่.

ในปริญญา ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นอันพระโยคาวจรนี้บรรลุญาตปริญญาแล้ว เพราะให้สำเร็จการกำหนดสังขารและการกำหนดปัจจัย.

พระโยคาวจรย่อมทำการพิจารณาเป็นกลาป โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปภายในก็ดี รูปภายนอกก็ดี ฯลฯ รูปไกลก็ดี รูปใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มี เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดและความดับ เป็นอนัตตาเพราะไม่เป็นไปในอำนาจ.

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน อันเป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ก็ดี ไกลก็ดี ใกล้ก็ดี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดไม่เที่ยงเพราะมีแล้ว

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 646

ไม่มี เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดและความเสื่อม เป็นอนัตตาเพราะไม่เป็นไปในอำนาจ.

ท่านยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์กล่าวหมายถึงการพิจารณาเป็นกลาปนี้.

พระโยคาวจรทำการพิจารณากลาป ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในสังขารอย่างนี้แล้ว ย่อมเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขารทั้งหลายอีก.

เห็นอย่างไร เห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ ด้วยการเห็นความที่รูปขันธ์เนื่องด้วยปัจจัยอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด เพราะตัณหา กรรม อาหาร เกิด จึงเกิดรูป ดังนี้.

แม้เมื่อเห็นนิพพัตติลักษณะ คือ ลักษณะของความเกิด ก็ย่อมเห็นความเกิดของรูปขันธ์ด้วย ชื่อว่า ย่อมเห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ด้วยการดับแห่งปัจจัยว่า เพราะตัณหา กรรม อาหาร ดับ รูปจึงดับ.

แม้เมื่อเห็นวิปริณามลักษณะ คือ ลักษณะความแปรปรวน ก็ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์.

ชื่อว่า เห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ ด้วยการเห็นเนื่องด้วยปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะตัณหา กรรม ผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด.

แม้เมื่อเห็นนิพพัตติลักษณะ คือ ลักษณะของการเกิด ก็ย่อมเห็นการเกิดแห่งเวทนาขันธ์ด้วย. เห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ ด้วยการเห็นความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ เพราะตัณหา กรรม ผัสสะ ดับ เวทนาจึงดับ.

แม้เมื่อเห็นวิปริฌามลักษณะ คือ ลักษณะความปรวนแปร ก็ชื่อว่า ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ด้วย.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 647

แม้ในสัญญาขันธ์เป็นต้นก็อย่างนี้. แต่ก็มีความต่างกันดังนี้ พึงประกอบคำว่า เพราะนามรูปเกิด (วิญญาณจึงเกิด) และเพราะนามรูปดับ (วิญญาณจึงดับ) ดังนี้.

ในที่แห่งผัสสะ (เมื่อพิจารณาความเกิดและความเสื่อม) ของวิญญาณขันธ์. ท่านกล่าวถึงลักษณะ ๕๐ แบ่งเป็นอย่างละ ๑๐ๆ ในการเห็นความเกิดและความดับในขันธ์หนึ่งๆ ด้วยการเกิดแห่งปัจจัย ด้วยนิพพัตติลักษณะ คือลักษณะแห่งการเกิด ด้วยการดับแห่งปัจจัย ด้วยวิปริณามลักษณะ คือลักษณะแห่งความปรวนแปร.

ด้วยอำนาจแห่งลักษณะเหล่านั้น พระโยคาวจรกระทำมนสิการโดยพิสดารทั้งโดยปัจจัยและทั้งโดยขณะว่า ความเกิดแห่งรูปย่อมเป็นแม้อย่างนี้ ความเสื่อมแห่งรูปย่อมเป็นแม้อย่างนี้.

เมื่อพระโยคาวจรกระทำอย่างนี้ ญาณย่อมเป็นญาณบริสุทธิ์ว่า นัยว่าธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้ว มีแล้วเสื่อม ด้วยประการฉะนี้.

สังขารทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิจว่า นัยว่าธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ด้วยประการฉะนี้.

สังขารทั้งหลายมิใช่เป็นของใหม่อยู่เป็นนิจแต่เพียงอย่างเดียว ยังปรากฏไม่มีสาระ หาสาระมิได้ ดุจหยาดน้ำค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ ดุจรอยขีดในน้ำด้วยไม้ ดุจเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ดุจสายฟ้าแลบ และดุจภาพลวง พยับแดด ความฝัน ลูกไฟ วงล้อ นักร้อง ยาพิษ ฟองน้ำ และต้นกล้วยเป็นต้น อันตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย.

ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าพระโยคาวจรได้บรรลุตรุณวิปัสสนาญาณเป็นครั้งแรก ชื่อว่า อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เพราะแทงตลอดลักษณะ ๕๐ ถ้วนโดยอาการอย่างนี้ว่า สิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดานั่นแลย่อมเกิดขึ้น และ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 648

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเสื่อมไป ดังนี้ เพราะพระโยคาวจรบรรลุตรุณวิปัสสนาญาณ จึงนับว่าเป็น อารทฺธวิปสฺสโก เป็นผู้ปรารภวิปัสสนาแล้ว.

ครั้นกุลบุตรนั้นเริ่มวิปัสสนาแล้ว วิปัสสนูปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา) ๑๐ อย่างย่อมเกิดขึ้น คือ โอภาส (แสงสว่าง) ๑ ญาณ ๑ ปีติ ๑ ปัสสัทธิ ๑ สุข ๑ อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ๑ ปัคคหะ (การประคองไว้) ๑ อุปัฏฐานะ (การเข้าไปตั้งไว้) ๑ อุเบกขา ๑ นิกันติ (ความใคร่) ๑.

ในวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ เพราะญาณมีกำลังในขณะแห่งวิปัสสนา โลหิตย่อมผ่องใส ชื่อว่า โอภาส. เพราะโลหิตผ่องใสนั้น ความสว่างแห่งจิตย่อมเกิด.

พระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ครั้นเห็นดังนั้นแล้วพอใจแสงสว่างนั้น ด้วยคิดว่า เราบรรลุมรรคแล้ว.

แม้ญาณก็เป็นวิปัสสนาญาณเท่านั้น. ญาณนั้นบริสุทธิ์ผ่องใส ย่อมเป็นไปแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลาย พระโยคาวจรเห็นดังนั้นย่อมพอใจว่า เราได้บรรลุมรรคแล้วดุจในครั้งก่อน.

ปีติ ก็เป็นวิปัสสนาปีติเท่านั้น. ในขณะนั้น ปีติ ๕ อย่างย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้น.

ปัสสัทธิ ได้แก่ ปัสสัทธิในวิปัสสนา. ในสมัยนั้น กายและจิตไม่กระวนกระวาย ไม่มีความกระด้าง ไม่มีความไม่ควรแก่การงาน ไม่มีความไข้ ไม่มีความงอ.

แม้สุขก็เป็นสุขในวิปัสสนาเท่านั้น. นัยว่าในสมัยนั้น ร่างกายทุกส่วนชุ่มชื่น ประณีตยิ่ง เป็นสุขย่อมเกิดขึ้น.

ศรัทธาเป็นไปในขณะแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า อธิโมกข์.

จริงอยู่ ในขณะนั้นศรัทธาที่มีกำลัง ซึ่งยังจิตและเจตสิกให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ตั้งอยู่ด้วยดีย่อมเกิดขึ้น.

ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 649

ปัคคหะ.

จริงอยู่ ในขณะนั้น ความเพียรที่ประคองไว้ดีแล้วไม่ย่อหย่อน อันตนปรารภยิ่งแล้วย่อมเกิดขึ้น.

สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ชื่อว่า อุปัฏฐาน.

จริงอยู่ ในสมัยนั้น สติที่ตั้งมั่นดีแล้วย่อมเกิดขึ้น.

อุเบกขามี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและอาวัชชนะ (การพิจารณา).

จริงอยู่ ในขณะนั้นญาณกล่าวคือวิปัสสนูเปกขา อันมีความเป็นกลางในการยึดถือสังขารทั้งปวง เป็นสภาพมีกำลังย่อมเกิดขึ้น.

แม้อุเบกขาในมโนทวาราวัชชนะก็ย่อมเกิดขึ้น.

อนึ่ง อุเบกขานั้นกล้าเฉียบแหลมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาถึงฐานะนั้นๆ.

ความใคร่ในวิปัสสนา ชื่อว่า นิกนฺติ.

จริงอยู่ ในวิปัสสนูปกิเลสมีโอภาสเป็นต้น ความใคร่มีอาการสงบ สุขุม กระทำความอาลัยย่อมเกิดขึ้น.

โอภาสเป็นต้นในวิปัสสนูปกิเลสนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นอุปกิเลส เพราะเป็นวัตถุแห่งกิเลสมิใช่เพราะเป็นอกุศล.

แต่นิกันติความใคร่ เป็นทั้งอุปกิเลส เป็นทั้งเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส.

ก็ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมกำหนดมรรคและมิใช่มรรคว่า ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น มิใช่มรรค แต่วิปัสสนาญาณอันไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสเป็นมรรค.

ญาณกำหนดรู้ว่า นี้เป็นมรรค นี้มิใช่มรรคของผู้ปฏิบัตินั้น ท่านเรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง).

ตั้งแต่นี้ไปวิปัสสนาญาณอันมีสัจจานุโลมิกญาณ (ญาณที่คล้อยตามสัจจะ) ที่ ๙ ถึงความเป็นยอดของวิปัสสนาญาณ ๘ นี้ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ).

ชื่อว่าญาณ ๘ เหล่านี้ คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นทั้งความเกิดและความดับ ๑ ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 650

ความดับ ๑ ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณคำนึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ๑ อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย ๑ มุญจิตุกามยตาญาณ ญาณคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสีย ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง ๑ สังขารุเปกขาญาณ ญาณคำนึงด้วยความวางเฉยในสังขาร ๑.

คำว่า สัจจานุโลมิกญาณที่ ๙ นี้เป็นชื่อของ อนุโลมญาณ เพราะฉะนั้น ผู้ประสงค์จะให้วิปัสสนาญาณนั้นสมบูรณ์ ควรทำความเพียรในญาณเหล่านั้น ตั้งแต่อุทยัพพยญาณ อันพ้นจากอุปกิเลสแล้วเป็นต้นไป.

เพราะเมื่อเห็นความเกิดความดับ อนิจจลักษณะย่อมปรากฏตามความเป็นจริง. เมื่อเห็นความบีบคั้นของความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ทุกขลักษณะย่อมปรากฏตามความเป็นจริง และเมื่อเห็นอยู่ว่า ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นดับไป อนัตตลักษณะย่อมปรากฏตามความเป็นจริง.

อนึ่ง ในข้อนี้พึงทราบการจำแนกนี้ว่า นิจฺจํ อนิจฺจลกฺขณํ ทุกขํ ทุกฺขลกฺขณํ อนตฺตา อนตฺตลกฺขณํ.

ในวิภาคทั้ง ๖ เหล่านั้น บทว่า อนิจฺจํ คือ ขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร เพราะขันธ์ ๕ นั้นมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป และมีความเป็นอย่างอื่น หรือเพราะมีแล้วไม่มี. ชราชื่อว่าความเป็นอย่างอื่น. ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และความเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ. หรือความวิการแห่งอาการ กล่าวคือความมีแล้วไม่มี ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.

ขันธ์ ๕ นั้นแลเป็นทุกข์ เพราะพระพุทธดำรัสว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์" เพราะเหตุไร. เพราะบีบคั้นอยู่เนืองๆ. อาการบีบคั้น

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 651

เนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ.

ขันธ์ ๕ นั่นแลเป็นอนัตตา เพราะพระพุทธดำรัสว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา. เพราะเหตุไร. เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. อาการไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ.

แม้ลักษณะ ๓ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นอารมณ์ของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อมนั่นเอง. ผู้นั้นย่อมเห็นรูปธรรมและอรูปธรรมแม้อีก โดยนัยมีอาทิว่า "อย่างนี้ ไม่เที่ยง." สังขารทั้งหลายของผู้นั้นย่อมมาสู่คลองเร็วพลัน.

แต่นั้นเมื่อมีความสิ้นความเสื่อมและความดับของสังขารเหล่านั้น พระโยคาวจรไม่กระทำความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเป็นไปหรือนิมิต ให้เป็นอารมณ์ดำรงอยู่. นี้ชื่อว่า ภังคญาณ.

จำเดิมแต่ภังคญาณนี้เกิด พระโยคาวจรนี้เห็นความดับเท่านั้นว่า สังขารทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมแตกดับไป ฉันใด แม้ในอดีต สังขารก็แตกแล้ว แม้ในอนาคต ก็จักแตก ฉันนั้น.

เมื่อพระโยคาวจรนั้นเสพภังคานุปัสสนาญาณบ่อยๆ กระทำให้มาก สังขารทั้งหลายอันแตกต่างกันในภพ กำเนิด คติ ฐิติ และสัตตาวาส ย่อมปรากฏเป็นภัยใหญ่หลวง ดุจหลุมถ่านเพลิงอันลุกโพลงฉะนั้น นี้ชื่อว่า ภยตูปัฏฐานญาณ.

เมื่อพระโยคาวจรนั้นเสพภยตูปัฏฐานญาณนั้น ภพเป็นต้นทั้งหมดไม่เป็นที่พึ่งได้ มีโทษ ย่อมปรากฏดุจเรือนถูกไฟไหม้ ดุจข้าศึกเงื้อดาบ ฉะนั้น. นี้ชื่อว่า อาทีนวานุปัสสนาญาณ.

เมื่อพระโยคาวจรนั้นเห็นสังขารโดยความมีโทษอย่างนี้ ความเบื่อหน่าย ความไม่ยินดีย่อมเกิดขึ้นในสังขารทั้งปวง เพราะสังขารทั้งหลายในภพเป็นต้นมีโทษ นี้ชื่อว่า นิพพิทานุปัสสนาญาณ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 652

เมื่อเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ความเป็นผู้ใคร่จะพ้นออกไปจากสังขารนั้นย่อมมีขึ้น. นี้ชื่อว่า มุญจิตุกามยตาญาณ.

การยกสังขารเหล่านั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เพื่อจะพ้นจากสังขารนั้น ชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ.

พระโยคาวจรนั้น ยกสังขารทั้งหลายขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้ แล้วกำหนดอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย ไม่ยึดถือว่าเป็นตนหรือเนื่องด้วยตน เพราะเห็นชัดซึ่งความเป็นอนัตตลักษณะในสังขารเหล่านั้น ละความกลัวและความเพลิดเพลินในสังขารทั้งหลาย เป็นผู้วางเฉยเป็นกลางในสังขารทั้งหลาย ไม่ยึดถือว่า เรา หรือ ของเรา เป็นผู้วางเฉยในภพทั้ง ๓. นี้ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ.

ก็สังขารุเปกขาญาณนั้น หากว่าพระโยคาวจรเห็นนิพพานเป็นทางสงบโดยความสงบ สละความเป็นไปแห่งสังขารทั้งปวงแล้วแล่นไป น้อมไปในนิพพาน หากไม่เห็นนิพพานโดยความเป็นธรรมชาติสงบ เป็นญาณมีสังขารเป็นอารมณ์เท่านั้น ย่อมเป็นไปบ่อยๆ ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา หรืออนัตตานุปัสสนา.

อนึ่ง สังขารุเปกขาญาณนั้น เมื่อตั้งอยู่อย่างนี้ก็ถึงความเป็นไปแห่งวิโมกข์ ๓ อย่างตั้งอยู่.

อนุปัสสนา ๓ อย่าง ท่านเรียกว่า วิโมกขมุข คือ ทางแห่งวิโมกข์ ๓.

ในวิโมกข์ ๓ อย่างนี้ พระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นของ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 653

ไม่เที่ยง เป็นผู้มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้เฉพาะ อนิมิตตวิโมกข์.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากไปด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้เฉพาะ อัปปณิหิตวิโมกข์.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากไปด้วยความรู้ ย่อมได้เฉพาะ สุญญตวิโมกข์.

พึงทราบความในวิโมกข์นี้ต่อไป อริยมรรคทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เป็นไปแล้วโดยอาการหานิมิตมิได้ ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์.

จริงอยู่ อริยมรรคนั้นชื่อว่าหานิมิตไม่ได้ เพราะเกิดขึ้นด้วยธาตุอันไม่มีนิมิต และชื่อว่าวิโมกข์ เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย.

โดยนัยนี้เหมือนกัน อริยมรรคนั้นทำนิพพานให้เป็นอารมณ์เป็นไปแล้วโดยอาการหาที่ตั้งมิได้ ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์.

พึงทราบว่า อริยมรรคทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เป็นไปแล้วโดยอาการเป็นของสูญ ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์.

วิปัสสนาของกุลบุตรผู้บรรลุสังขารุเปกขาญาณ ย่อมถึงความสุดยอด.

วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ การวางเฉยในสังขารอย่างแรงกล้า ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้เสพสังขารุเปกขาญาณนั้น.

มรรคจักเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรวางเฉยในสังขาร พิจารณาสังขารทั้งหลายว่า ไม่เที่ยงก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอนัตตาก็ดี ย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์ มโนทวาราวัชชนะย่อมเกิดขึ้นในลำดับต่อจากภวังค์ เพราะมนสิการโดยอาการไม่เที่ยงเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในสังขารุเปกขาญาณ.

เมื่อพระโยคาวจรมนสิการอยู่อย่างนั้น ปฐมชวนจิตย่อมเกิดขึ้น ปฐม-

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 654

ชวนจิตนั้นเรียกว่า บริกรรม.

ต่อจากบริกรรมนั้น ทุติยชวนจิตย่อมเกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น ทุติยชวนจิตนั้นเรียกว่า อุปจาร.

แม้ต่อจากอุปจารนั้น ตติยชวนจิตย่อมเกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น ตติยชวนจิตนั้นเรียกว่า อนุโลม.

นี้เป็นชื่อเรียกแยกกันของจิตเหล่านั้น แต่โดยไม่ต่างกัน ชวนจิต ๓ ดวงนี้ท่านเรียก อาเสวนะบ้าง บริกรรมบ้าง อุปจารบ้าง อนุโลมบ้าง ก็อนุโลมญาณนี้เป็นญาณสุดท้ายของวิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินี มีสังขารเป็นอารมณ์.

แต่โดยตรงโคตรภูญาณเท่านั้น ท่านเรียกว่าเป็นที่สุดของวิปัสสนา. ต่อจากนั้น โคตรภูญาณเมื่อกระทำนิโรธ คือนิพพานให้เป็นอารมณ์ ก้าวล่วงโคตรปุถุชน หยั่งลงสู่อริยโคตร เป็นธรรมชาติน้อมไปในนิพพานอารมณ์เป็นครั้งแรก อันไม่เป็นไปในภพอีก ย่อมบังเกิดขึ้น.

แต่ญาณนี้ไม่จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และญาณทัสสนวิสุทธิเป็นอัพโภหาริกในระหว่างญาณทั้งสองเท่านั้น. เพราะญาณนี้ตกไปในกระแสแห่งวิปัสสนา จึงถึงการนับว่าเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือวิปัสสนา.

เมื่อโคตรภูญาณกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ดับไปแล้ว โสดาปัตตผลซึ่งทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยสัญญาที่โคตรภูญาณนั้นให้แล้ว กำจัดสังโยชน์คือทิฏฐิสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น.

ในลำดับต่อจากนั้น ผลจิตสองหรือสามขณะอันเป็นผลแห่งโสดาปัตติมรรคนั้นนั่นแหละย่อมเกิดขึ้น เพราะผลจิตเป็นวิบากในลำดับต่อจากโลกุตรกุศล.

ในที่สุดแห่งผลจิต มโนทวาราวัชชนจิตของพระโยคีนั้น เพราะตัดภวังค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นเพื่อพิจารณา.

พระโยคีนั้นย่อมพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้หนอ.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 655

แต่นั้นพิจารณาผลว่า เราได้อานิสงส์นี้แล้ว.

แต่นั้นพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วว่า กิเลสเหล่านั้นเราละได้แล้ว.

แต่นั้นพิจารณากิเลสที่จะพึงฆ่าด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ว่า กิเลสเหล่านี้ยังเหลืออยู่.

ในที่สุดพิจารณาอมตนิพพานว่า ธรรมนี้อันเราแทงตลอดแล้ว.

การพิจารณา ๕ อย่างย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นด้วยประการฉะนี้.

ในที่สุดแห่งสกทาคามิผลและอนาคามิผลก็เหมือนกัน.

แต่ในที่สุดแห่งอรหัตผลไม่มีการพิจารณากิเลสที่เหลือ.

การพิจารณาทั้งหมดมี ๑๙ อย่าง ดังนี้.

พระโยคาวจรนั้น ครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ก็นั่งบนอาสนะนั้นนั่นเอง เห็นแจ้งโดยนัยที่กล่าวแล้ว กระทำกามราคะและพยาบาทให้เบาบาง ย่อมบรรลุ ทุติยมรรค.

ในลำดับต่อจากทุติยมรรคนั้นก็บรรลุผล โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

แต่นั้น พระโยคาวจรทำการละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีส่วนเหลือโดยนัยที่กล่าวแล้ว ย่อมบรรลุ ตติยมรรค และบรรลุตติยผลตามนัยดังกล่าวแล้ว.

แต่นั้น ณ อาสนะนั้นเอง พระโยคาวจรเห็นแจ้งโดยนัยที่กล่าวแล้ว ทำการละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีส่วนเหลือ ย่อมบรรลุ จตุตถมรรค และบรรลุจตุตถผลโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

โดยเหตุเพียงเท่านี้ พระโยคาวจรนั้นก็เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้อรหันต มหาขีณาสพ.

ญาณในมรรค ๔ เหล่านี้ ชื่อว่าญาณทัสสนวิสุทธิ ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ด้วยสองบาทคาถานี้ว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ อเหยํ อญฺตฺรมฺปิ เตสํ บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาใน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 656

สัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นอันพระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวถึง ศีลวิสุทธิ เพราะกล่าวถึงศีลมีปาติโมกขสังวร เป็นต้น.

ด้วยบาทคาถานี้ว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ ไม่พึงปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน เป็นอันท่านกล่าวถึง จิตตวิสุทธิ เพราะกล่าวถึงเมตตาเป็นต้น ด้วยการเว้นจากความกระทบกระทั่งและความยินดี.

ด้วยบทนี้ว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น เป็นอันท่านกล่าวถึง ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะกล่าวถึงการกำหนดนามรูปเป็นต้น.

วิสุทธิ ๓ ข้างต้นที่กล่าวแล้ว วิสุทธิ ๔ ประการ คือ กังขาวิตรณวิสุทธิ ๑ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ ญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว (ครบ ๗ ประการ) นี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นเพียงหัวข้อในวิสุทธิ ๗ นี้.

แต่ผู้ปรารถนาความพิสดาร พึงดูวิสุทธิมรรคแล้วถือเอาเถิด.

ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นี้

มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดสะดุ้ง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงถึงความเป็นที่รักของสกุลทั้งหลายเป็นต้น เข้าไปสำราญอยู่ยังภูเขาคันธมาทน์ ในบททั้งปวงก็มีความอย่างนี้.

จบอรรถกถานิทเทสแห่งคาถาที่ ๑

ในอรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 657

คาถาที่ ๒

๒) สํสคฺคชาตสฺส ภวนฺติ เสฺนหา เสฺนหนฺวยํ ทุกฺขมิทํ ปโหติ อาทีนวํ เสฺนหชํ เปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ทุกข์นี้ย่อมเกิดตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สํสคฺคชาตสฺส คือ บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง.

ในบทว่า สํสคฺคชาตสฺส นั้น พึงทราบว่าความเกี่ยวข้องมีอยู่ ๕ อย่าง คือ ทัสสนสังสัคคะ ๑ สวนสังสัคคะ ๑ กายสังสัคคะ ๑ สมุลลปนสังสัคคะ ๑ สัมโภคสังสัคคะ ๑.

ในสังสัคคะเหล่านั้น ความกำหนัดเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งจักษุวิญญาณ เพราะเห็นกันและกัน ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการเห็น) ตัวอย่างในทัสสนสังสัคคะ มีดังนี้.

ลูกสาวกุฎุมพีเห็นภิกษุหนุ่มผู้อยู่ ณ กัลยาณีวิหาร เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านกาฬทีฆวาปี ในสีหลทวีป มีจิตปฏิพัทธ์ เมื่อไม่ได้สมความปรารถนาด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาย.

อีกตัวอย่างหนึ่ง ภิกษุหนุ่มรูปนั่นแหละ เห็นท่อนผ้าที่หญิงนั้นนุ่งห่ม คิดว่าเราคงไม่ได้อยู่ร่วมกับนางผู้นุ่งห่มผ้าอย่างนี้ แล้วหัวใจแตกถึงแก่มรณภาพ.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 658

ก็ความกำหนัดเกิดด้วยอำนาจแห่งโสตวิญญาณ เพราะฟังสมบัติมีรูปเป็นต้นที่คนอื่นพูดถึง หรือฟังเสียงหัวเราะรำพันและเพลงขับด้วยตนเอง ชื่อว่า สวนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการฟัง).

แม้ในสวนสังสัคคะนั้นก็มีตัวอย่างดังนี้ ภิกษุหนุ่มชื่อว่า พระติสสะ อยู่ในถ้ำปัญจัคคฬะ เหาะไปทางอากาศได้ยินเสียงลูกสาวช่างทอง ชาวบ้านคิริคาม กับหญิงสาว ๕ คนไปอาบน้ำยังสระปทุม เก็บดอกบัวเสียบไว้บนศีรษะแล้วร้องเพลงด้วยเสียงดัง จึงเสื่อมจากฌานเพราะกามราคะ ถึงความพินาศ.

ความกำหนัดเกิดเพราะลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่า กายสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยกาย). ในกายสังสัคคะนี้ มีตัวอย่าง ภิกษุหนุ่มสวดพระธรรม.

มีเรื่องว่า ในมหาวิหาร ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกล่าวธรรม ณ มหาวิหารนั้น เมื่อมหาชนกลับไปหมดแล้ว พระราชาได้เสด็จไปพร้อมด้วยฝ่ายใน. ลำดับนั้น ความกำหนัดอย่างแรงเกิดขึ้นแก่ราชธิดา เพราะอาศัยรูปและเสียงภิกษุหนุ่มนั้น แม้ภิกษุหนุ่มนั้นก็เกิดความกำหนัดด้วย. พระราชา ครั้นทรงเห็นดังนั้น จึงทรงตั้งข้อสังเกต รับสั่งให้กั้นม่าน. ภิกษุหนุ่มและราชธิดาลูบคลำกันและกันแล้วกอดกันจนตายไปด้วยกัน. พวกราชบุรุษเอาม่านออกได้เห็นคนทั้งสองตายเสียแล้ว.

ก็ความกำหนัดเกิดขึ้นในเพราะสนทนาปราศรัยกันและกัน ชื่อว่า สมุลลปนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องกันในเพราะสนทนากัน).

ความกำหนัดเกิดในเพราะบริโภคร่วมกันกับภิกษุและภิกษุณี ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 659

สัมโภคสังสัคคะ (เกี่ยวข้องเพราะบริโภคร่วมกัน). ในสังสัคคะทั้งสองนี้ มีตัวอย่าง เรื่องภิกษุภิกษุณีในมริจวัฏฏิวิหาร.

มีเรื่องเล่าว่า ในงานฉลองมริจวัฏฏิมหาวิหาร พระเจ้าทุฏฐคามณิอภัยมหาราช ทรงตระเตรียมมหาทาน อังคาสสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ณ ที่นั้น เมื่อทรงถวายข้าวยาคูร้อน สังฆนวกสามเณรี (สามเณรีบวชใหม่) ถวายถาดแก่สังฆนวกสามเณร (สามเณรบวชใหม่) มีอายุ ๗ ขวบไม่ค่อยจะเรียบร้อยนัก ได้สนทนากัน. ทั้งสองนั้นบวชจนมีอายุได้ ๖๐ ปี ไปสู่ฝั่งอื่น ได้บุพสัญญาด้วยการสนทนากันและกัน ทันใดนั้นเอง เกิดเสน่หากันขึ้น ล่วงสิกขาบท ได้ต้องอาบัติปาราชิก.

ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้อง ด้วยความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งในความเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง อย่างนี้ ความกำหนัดอย่างแรงย่อมเกิดขึ้นเพราะมีราคะในครั้งก่อนเป็นปัจจัย. แต่นั้นความทุกข์อันเนื่องด้วยเสน่หาย่อมปรากฏ ความทุกข์อันมีความเสน่หาติดตามมีประการต่างๆ เป็นต้นว่า ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ในปัจจุบันและสัมปรายภพเป็นต้น ย่อมปรากฏ ย่อมบังเกิด ย่อมมี ย่อมเกิด. แต่อาจารย์อื่นๆ กล่าวว่า การปล่อยจิตไปในอารมณ์ ชื่อว่า สังสัคคะ ความเกี่ยวข้อง.

ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ครั้นกล่าวคาถากึ่งหนึ่งนี้มีความอย่างนี้ว่า ความเสน่หาเพราะความเกี่ยวข้องนั้น เป็นทุกข์ดังนี้ จึงกล่าวว่า เรานั้นขุดรากของทุกข์นั้น มีทุกข์อันเกิดแต่ความเศร้าโศกเป็นต้น อันไปตามความเยื่อใย ย่อมปรากฏ จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ.

เมื่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายเหล่านั้นพากันกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 660

พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ พวกกระผมจะพึงทำอย่างไรเล่า. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า พวกท่านก็ดี ผู้อื่นก็ดี ผู้ใดประสงค์จะพ้นจากทุกข์นี้ ผู้นั้นทั้งหมดเพ่งถึงโทษอันเกิดแต่ความเสน่หา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ในบทนี้พึงทราบว่า ที่ท่านกล่าวบทนี้ว่า เพ่งโทษอันเกิดแต่เสน่หา หมายถึงบทที่ท่านกล่าวว่าทุกข์นี้เนื่องด้วยเสน่หาย่อมปรากฏ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง ด้วยความเกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้เนื่องด้วยเสน่หาย่อมปรากฏ เราเพ่งถึงโทษตามความเป็นจริงนี้ว่า เกิดแต่ความเสน่หา จึงบรรลุ ดังนี้แล้วพึงทราบว่า บทที่ ๔ ท่านกล่าวด้วยคำอุทานตามนัยที่กล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.

บททั้งปวงต่อจากนั้นเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาก่อนนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุปาเทนฺติ ย่อมติดใจ คือ ครั้นเห็นอนุพยัญชนะ (ส่วนต่างๆ) ในรูปย่อมติดใจ.

บทว่า อนุพนฺธติ ย่อมผูกพัน คือ ผูกพันด้วยความเสน่หาในรูป.

บทว่า ภวนฺติ คือ ย่อมมี.

บทว่า ชายนฺติ คือ ย่อมเกิด.

บทว่า นิพฺพนฺตนฺติ ย่อมบังเกิด คือ ย่อมเป็นไป.

บทว่า ปาตุภวนฺติ คือ ย่อมปรากฏ.

สามบทว่า สมฺภวนฺติ สญฺชายนฺติ อภินิพฺพตฺตนฺติ เพิ่มอุปสัคลงไป แปลว่า มีพร้อม เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ.

ต่อจากนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอัฏฐกวรรคนั่นแล.

จบคาถาที่ ๒

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 661

คาถาที่ ๓

๓) มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน หาเปติ อตฺถํ ปฏิพทฺธจิตฺโต เอตํ ภยํ สนฺถวเปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหายผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่า ย่อมยังประโยชน์ให้เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือ การยังประโยชน์ให้เสื่อม ในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า มิตฺตา ด้วยอำนาจแห่งความรัก.

ชื่อว่า สุหชฺชา ด้วยความเป็นผู้มีใจดี.

จริงอยู่ คนบางคนเป็นมิตรเพราะหวังประโยชน์โดยส่วนเดียว มิใช่เป็นผู้มีใจดี. บางคนเป็นผู้มีใจดี ด้วยให้ความสุขในใจ ในการเดิน ยืน นั่ง และสนทนาเป็นต้น มิใช่เป็นมิตร. บางคนเป็นทั้งผู้มีใจดี เป็นทั้งมิตร ด้วยอำนาจทั้งสองนั้น. ชนเหล่านั้นมี ๒ คือ อาคาริยมิตร มิตรคฤหัสถ์ และ อนาคาริยมิตร มิตรบรรพชิต.

ในมิตรสองจำพวกนั้น อาคาริยมิตรมี ๓ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑. อนาคาริยมิตร คือ มิตรแนะประโยชน์ โดยต่างออกไปจาก ๓ ประเภทนั้น มิตรเหล่านั้นประกอบด้วยองค์ ๔ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่สิงคาลมาณพว่า

ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดีด้วยฐานะทั้งหลาย ๔ คือ ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ ป้องกันทรัพย์

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 662

สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก ๑.

ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดีด้วยฐานะ ๔ คือ บอกความลับของตนแก่เพื่อน ๑ ปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ แม้ชีวิตก็สละแทนเพื่อนได้ ๑.

ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดีด้วยฐานะ ๔ คือ ทุกข์ทุกข์ด้วย ๑ สุขสุขด้วย ๑ โต้เถียงคนที่ติเตียนเพื่อน ๑ รับรองคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑.

ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรแนะประโยชน์ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดีด้วยฐานะ ๔ คือ ห้ามทำความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑.

ในมิตรทั้งสองนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอา อาคาริยมิตร. แต่โดยความหมายย่อมควรแม้มิตรทั้งหมด คือมิตรผู้มีใจดีเหล่านั้น.

บทว่า อนุกมฺปมาโน เมื่ออนุเคราะห์ คือ เอ็นดู ประสงค์จะนำความสุขเข้าไปให้เเก่มิตรเหล่านั้น ประสงค์จะนำความทุกข์ออกไป.

บทว่า หาเปติ อตฺถํ ย่อมให้ประโยชน์เสื่อมไป คือ ยังประโยชน์ ๓ อย่าง ประโยชน์ปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ภายหน้า ๑ ประโยชน์สูงสุด ๑ อนึ่ง ประโยชน์ตน ๑ ประโยชน์ผู้อื่น ๑ ประโยชน์ทั้งสอง ๑ ให้เสื่อมไป ให้พินาศไป ด้วยเหตุทั้งสอง คือด้วยให้สิ่งที่ได้แล้วพินาศไป ๑ ด้วยให้สิ่งที่ยังไม่ได้มิให้เกิดขึ้น ๑.

บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺโต เป็นผู้มีจิตผูกพัน คือ แม้ตั้งตนไว้ในฐานะที่ต่ำอย่างนี้ว่า เราเว้นผู้นี้เสียแล้วจะไม่มีชีวิตอยู่ได้ ผู้นี้เป็นแบบอย่างของเรา ผู้นี้ช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่เรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 663

มีจิตผูกพัน. แม้ตั้งตนไว้ในฐานะที่สูงอย่างนี้ว่า ผู้นี้เว้นเราเสียแล้วก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้ เราเป็นแบบอย่างของพวกเขา เราจะช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่พวกเขา ดังนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน. ก็ในที่นี้ประสงค์เอาความเป็นผู้มีจิตผูกพันอย่างนี้.

บทว่า เอตํ ภยํ คือ ภัยยังประโยชน์ให้เสื่อมนั้น พระปัจเจกสัมพุทธะกล่าวหมายถึงการเสื่อมจากสมาบัติของตน.

บทว่า สนฺถเว ในความสนิทสนม ความสนิทสนมมี ๓ อย่าง คือ สนิทสนมด้วยตัณหา ๑ ด้วยทิฏฐิ ๑ ด้วยความเป็นมิตร ๑. ในความสนิทสนม ๓ อย่างนั้น ตัณหาแม้มีประเภทตั้ง ๑๐๘ ก็เป็น ตัณหาสันถวะ. ทิฏฐิแม้มีประเภท ๖๒ ก็เป็นทิฏฐิสันถวะ. การช่วยเหลือมิตรเพราะมีจิตผูกพันกัน เป็น มิตรสันถวะ. มิตรสันถวะนั้นประสงค์เอาในที่นี้. สมาบัติของบุคคลนั้นเสื่อมไปด้วยมิตรสันถวะนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า เราเห็นภัยนั้นในความสนิทสนมจึงได้บรรลุ.

บทที่เหลือเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล ไม่มีอะไรที่ควรกล่าวในนิเทศ.

จบคาถาที่ ๓

คาถาที่ ๔

๔) วํโส วิสาโลว ยถา วิสตฺโต ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา วํสากฬีโร ว อสชฺชมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 664

บุคคลข้องอยู่แล้วด้วยความเยื่อใยในบุตรและภรรยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวเกาะกันฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า วํโส คือ ไม้ไผ่.

บทว่า วิสาโล คือ หนาแน่น.

อักษร เป็นอวธารณะ. หรือ เอว อักษร ในบทนี้ เอ อักษรหายไปด้วยบทสนธิ. พึงเชื่อมบทนั้นในบทอื่น. เราจักประกอบบทนั้นในภายหลัง.

บทว่า ยถา คือ ในความเปรียบเทียบ.

บทว่า วิสตฺโต คือ เกี่ยวข้อง พัวพัน ร้อยรัด.

บทว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ คือ ในบุตรธิดาและภรรยา.

บทว่า ยา อเปกฺขา คือ ตัณหาใด ความเสน่หาใด.

บทว่า วํสกฬีโรว (๑) อสชฺชมาโน คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไม้ไผ่.

ท่านอธิบายไว้อย่างไร.

อธิบายไว้ว่า พุ่มไม้ไผ่ใหญ่เกี่ยวพันกันฉันใด ตัณหาในบุตรและภรรยาทั้งหลาย กว้างขวางเกี่ยวพันกันฉันนั้น แม้ตัณหานั้นชื่อว่าเกี่ยวข้องกัน เพราะร้อยรัดวัตถุเหล่านั้นนั่นเอง เรานั้นมีตัณหาเพราะความเพ่งนั้น เห็นโทษของความเพ่งอย่างนี้ว่า เหมือนพุ่มไม้ไผ่ใหญ่เกี่ยวพันกัน แล้วจึงตัดความเพ่งนั้นเสียด้วยมรรคญาณ ไม่ขัดข้องด้วยอำนาจแห่งตัณหา มานะและทิฏฐิในรูปเป็นต้นก็ดี ในลาภเป็นต้นก็ดี ในกามราคะเป็นต้นก็ดี จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ ดังนี้.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยมีในก่อนนั่นแล ในนิเทศแห่งคาถานี้ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากนี้.

จบคาถาที่ ๔


(๑) บาลีเป็น วํสากฬีโรว.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 665

คาถาที่ ๕

๕) มิโค อรญฺญมฺหิ ยถา อพนฺโธ เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย วิญฺู นโร เสริตํ เปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตามปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้าที่อยู่ในป่าทุกชนิด. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อฟาน (อีเก้ง).

บทว่า อรญฺมฺหิ คือ ป่าที่เหลือ เว้นบ้านและที่ใกล้เคียงบ้าน. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสวน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุยฺยานมฺหิ คือ ในสวน.

บทว่า ยถา คือ ในความเปรียบเทียบ.

บทว่า อพนฺโธ คือ อันเครื่องผูกอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาเชือกและเครื่องผูกเป็นต้น มิได้ผูกพันไว้. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงความประพฤติที่คุ้นเคยกัน.

บทว่า เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย ไปเพื่อหาอาหารตามความต้องการ คือ ไปเพื่อหาอาหารตามทิศที่ต้องการไป. เพราะฉะนั้น ในบทนั้นท่านจึงแสดงว่า ไปยังทิศที่ต้องการจะไป เคี้ยวกินอาหารที่ต้องการเคี้ยวกิน.

บทว่า วิญฺญู นโร คือ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.

บทว่า เสริตํ ธรรมอันให้ถึงความเสรี คือ ความประพฤติด้วยความพอใจ ความไม่อาศัยผู้อื่น.

บทว่า เปกฺขมาโน คือ ดูด้วยปัญญา

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 666

จักษุ.

อีกอย่างหนึ่ง ความเสรีในธรรมและความเสรีในบุคคล. จริงอยู่ โลกุตรธรรมทั้งหลายชื่อว่าเสรี เพราะไม่ไปสู่อำนาจของกิเลส และบุคคลชื่อว่าเสรี เพราะประกอบด้วยโลกุตรธรรมเหล่านั้น.

นิเทศแห่งความเป็นเสรีเหล่านั้น เพ่งถึงธรรมอันให้ถึงความเป็นเสรี. ท่านอธิบายไว้อย่างไร.

อธิบายไว้ว่า มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไรๆ มิได้ผูกไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความประสงค์ฉันใด เมื่อเราคิดว่า เมื่อไรหนอ เราพึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา แล้วไปอย่างนั้นได้ ดังนี้ แล้วถูกพวกท่านยืนล้อมอยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลัง ผูกพันอยู่ไม่ได้ไปตามความปรารถนา เราเห็นโทษในความไม่ได้ไปตามความปรารถนา เห็นอานิสงส์ในการไปได้ตามความปรารถนาแล้ว ได้ถึงความบริบูรณ์ด้วยสมถะและวิปัสสนาตามลำดับ แต่นั้นก็ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น นรชนผู้เป็นวิญญู เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

จบคาถาที่ ๕

คาถาที่ ๖

๖) อามนฺตา โหติ สหายมชฺเฌ วาเส าเน คมเน จาริกาย อนภิชฺฌิตํ เสริตํ เปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยว ย่อมมีในท่ามกลางสหาย บุคคลเพ่งความประพฤติตาม

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 667

ความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

นิเทศนี้เป็นปิณฑัตถะ คือ บวกความท่อนหลังๆ เข้ากับความท่อนต้นๆ. หรือมีอรรถว่า ประมวลความ. เมื่อตั้งอยู่ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษากันอย่างนั้นๆ โดยนัยมีอาทิว่า ท่านจงฟังเรื่องนี้ของเรา จงให้สิ่งนี้แก่เรา ทั้งในที่อยู่ คือที่พักกลางวัน ในที่ยืน คือที่โรงฉันใหญ่ ในที่เดิน คือในการไปสวน ในที่เที่ยวไป คือในที่เที่ยวไปในชนบท เพราะฉะนั้น เราเมื่อเบื่อหน่ายในที่นั้นๆ เห็นบรรพชาที่อริยชนเสพมีอานิสงส์มาก เป็นความสุขโดยส่วนเดียว เมื่อเป็นอย่างนั้น บุรุษชั่วทั้งหมดถูกลาภครอบงำ ไม่เพ่งไม่ปรารถนา เห็นความไม่เพ่งนั้น และเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรีด้วยอำนาจแห่งธรรมและบุคคล โดยไม่ตกอยู่ในอำนาจของผู้อื่น จึงปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๖

คาถาที่ ๗

๗) ขิฑฺฑา รตี โหติ สหายมชฺเฌ ปุตฺเตสุ จ วิปูลํ โหติ เปมํ ปิยวิปฺปโยคํ วิชิคุจฺฉมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 668

การเล่น การยินดี ย่อมมีในท่ามกลางสหาย อนึ่ง ความรักที่ยิ่งใหญ่ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อเกลียดชังความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขารอันเป็นที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ขิฑฺฑา คือ การเล่น. การเล่นมี ๒ อย่าง คือ ทางกายและทางวาจา. การเล่นมีอาทิอย่างนี้ คือ เล่นด้วยช้างบ้าง ด้วยม้าบ้าง ด้วยธนูบ้าง ด้วยดาบบ้าง ชื่อว่า การเล่นทางกาย. การเล่นมีอาทิอย่างนี้ว่า ขับร้อง กล่าวคำโศลก ทำเสียงกลองด้วยปาก ชื่อว่า การเล่นทางวาจา.

บทว่า รตี คือ ความยินดีในกามคุณ ๕.

บทว่า วิปูลํ ไพบูลย์ คือ ซึมแทรกเข้าไปยังอัตภาพทั้งสิ้น จนจรดเยื่อในกระดูก.

บทที่เหลือชัดดีแล้ว. แม้การประกอบไปตามลำดับสืบเนื่องในนิเทศนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั่นแล.

จบคาถาที่ ๗

คาถาที่ ๘

๘) จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 669

บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่ และไม่เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายเสีย ไม่หวาดเสียว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า จาตุทฺทิโส คือ อยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่. แผ่พรหมวิหารภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่. ชื่อว่า จาตุทฺทิโส เพราะมี ๔ ทิศ. ชื่อว่า อปฺปฏิโฆ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์หรือสังขาร ด้วยความกลัวในทิศไหนๆ ใน ๔ ทิศเหล่านั้น.

บทว่า สนฺตุสฺสมาโน คือ ยินดีด้วยอำนาจแห่งสันโดษ ๑๒ อย่าง.

บทว่า อีตรีตเรน คือ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้.

ในบทว่า ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี นี้ ชื่อว่า ปริสฺสยา เพราะครอบงำกายและจิต ทำลายสมบัติของคนเหล่านั้น หรือนอนเฉย.

บทนี้เป็นชื่อของอันตรายทางกายและใจในภายนอก มีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ในภายในมีกามฉันทะเป็นต้น. ชื่อว่าครอบงำอันตรายทั้งหลาย เพราะครอบงำอันตรายเหล่านั้นด้วยความอดกลั้น และด้วยธรรมมีวิริยะเป็นต้น.

ชื่อว่า อจฺฉมฺภี เพราะไม่มีความกลัวอันทำความกระด้าง. ท่านอธิบายไว้อย่างไร อธิบายไว้ว่า สมณะ ๔ จำพวกฉันใด เราก็ฉันนั้น เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้อย่างนั้น ตั้งอยู่ในสันโดษอันเป็นทางแห่งการปฏิบัตินี้ มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่ ไม่มีความขัดเคือง เพราะไม่มีภัยอันทำให้กระทบกระทั่งในสัตว์และสังขารทั้งหลาย ครอบนำอันตรายทั้งหลายดังได้กล่าวแล้ว เพราะมีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่ ไม่มีความหวาดเสียว เพราะ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 670

ไม่มีความกระทบกระทั่ง เพราะเหตุนั้น เราเห็นคุณของการปฏิบัตินี้ จึงปฏิบัติโดยแยบคายแล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ.

อีกอย่างหนึ่ง เรารู้ว่า ผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้เหมือนสมณะเหล่านั้น มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่. ตามนัยที่กล่าวแล้ว จึงปรารถนาความเป็นผู้มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่อย่างนี้ ได้ปฏิบัติโดยแยบคายจึงบรรลุ เพราะฉะนั้น แม้ผู้อื่นปรารถนาฐานะเช่นนั้นบ้าง เป็นผู้ครอบงำอันตรายทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่ และเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะไม่มีความกระทบกระทั่ง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เมตฺตา พึงทราบโดยอรรถก่อน ชื่อว่า เมตฺตา เพราะมีความเยื่อใย. อธิบายว่า ความรัก. ชื่อว่าเมตตา เพราะมีความรัก หรือความเป็นไปแห่งความรัก.

บทว่า เมตฺตาสหคเตน คือ มีใจประกอบด้วยเมตตา.

บทว่า เจตสา คือ มีใจ.

บทว่า เอกํ ทิสํ คือ ในทิศหนึ่ง. ท่านกล่าวประสงค์เอาสัตว์ที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่ง ด้วยการแผ่ไปถึงสัตว์อันเนื่องในทิศหนึ่ง.

บทว่า ผริตฺวา แผ่ไปแล้ว คือ ถูกต้อง กระทำให้เป็นอารมณ์.

บทว่า วิหรติ คือ ยังการอยู่ในอิริยาบถที่ตั้งไว้ในพรหมวิหารให้เป็นไป.

บทว่า ตถา ทุติยํ ทิศที่ ๒ ก็เหมือนกัน คือ ในลำดับทิศนั้นเหมือนอย่างที่แผ่ไปในทิศหนึ่ง ในทิศบูรพาเป็นต้น ทิศใดทิศหนึ่ง. อธิบายว่า ทิศที่ ๒ ที่ ๓ และทิศที่ ๔.

บทว่า อิติ อุทฺธํ ท่านกล่าวว่าทิศเบื้องบนโดยนัยนั้นเหมือนกัน.

บทว่า อโธ ติริยํ คือ แม้ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวางก็เหมือนกัน.

อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 671

อโธ คือ เบื้องล่าง.

บทว่า ติริยํ คือ ทิศน้อย.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ยังจิตสหรคตด้วยเมตตาให้แล่นไปบ้าง แล่นกลับบ้าง ในทิศทั้งปวงอยู่อย่างนี้ เหมือนคนฝึกม้า ยังม้าให้วิ่งไปบ้าง วิ่งกลับบ้างในสนามฝึกม้า. ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ กำหนดทิศหนึ่งๆ แล้ว แสดงถึงการแผ่เมตตาโดยจำกัด.

บทว่า สพฺพธิ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงโดยไม่จำกัด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธิ คือ ในทิศทั้งปวง.

บทว่า สพฺพตฺตตาย ทั่วสัตว์ทุกเหล่า คือ ทั่วสัตว์ทั้งปวงมีประเภทเป็นต้นว่า สัตว์เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มิตร ศัตรู และเป็นกลาง ท่านกล่าวว่า ไม่ทำการแยกว่าสัตว์นี้ สัตว์อื่น เพราะสัตว์ทุกชนิดเสมอกับตน.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพตฺตตาย ท่านกล่าว่า ไม่ซัดออกไปภายนอกแม้แต่น้อย โดยความเป็นจิตทั้งหมด.

บทว่า สพฺพาวนฺตํ สัตว์ทุกเหล่า คือ ประกอบด้วยสัตว์ทั้งปวง.

บทว่า โลกํ คือ สัตวโลก. ท่านกล่าวว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตาในที่นี้อีก เพราะแสดงโดยปริยายมีอย่างนี้ว่า วิปุเลน เป็นจิตกว้างขวาง ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะ ตถา ศัพท์ก็ดี อิติ ศัพท์ก็ดี ท่านมิได้กล่าวอีก ดุจในการแผ่ไปโดยจำกัดนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีจิตสหรตด้วยเมตตาอีก.

อีกอย่างหนึ่ง สูตรนี้ท่านกล่าวโดยสรุป.

อนึ่ง ในบทว่า วิปุเลน นี้ พึงเห็นความเป็นผู้มีจิตกว้างขวางด้วยการแผ่ไป. จิตนั้นถึงความเป็นใหญ่ด้วยสามารถแห่งภูมิ. จิตหาประมาณมิได้ด้วยสามารถแห่งความคล่องแคล่ว และด้วยสามารถแห่งสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์. จิตไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือพยาบาทเสียได้. จิตไม่มีความเบียดเบียน เพราะละความโทมนัสเสียได้. ท่านกล่าวว่า หมดทุกข์. กรุณา มีความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

ชื่อว่า มุทิตา เพราะเป็นเหตุ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 672

ยินดีแห่งจิต มีความพร้อมเพรียงแห่งจิตนั้น หรือยินดีด้วยตนเอง หรือเพียงความยินดีเท่านั้น.

ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะเข้าไปเพ่ง โดยการละพยาบาทมีอาทิว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงอย่ามีเวรกันเลย และด้วยการเข้าถึงความเป็นกลาง.

อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้โดยลักษณะเป็นต้น ต่อไป.

เมตตา มีความเป็นไปแห่งอาการ คือ เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็น ลักษณะ การนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็น รส (คือกิจ) มีการกำจัดความอาฆาตเป็น ปัจจุปัฏฐาน (คือเครื่องปรากฏ) มีการเห็นสัตว์มีความอิ่มเอิบใจเป็น ปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ให้เกิด) การสงบความพยาบาทเป็น สมบัติ ของเมตตา การเกิดความเสน่หาเป็น วิบัติ ของเมตตานี้.

กรุณา มีการช่วยให้เขาพ้นทุกข์เป็น ลักษณะ มีการอดทนไม่ได้ในทุกข์ของผู้อื่น เป็นรส มีการไม่เบียดเบียนเป็น ปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นความที่สัตว์ทั้งหลายถูกทุกข์ครอบงำไม่มีที่พึ่งเป็น ปทัฏฐาน ความสงบจากการเบียดเบียนเป็น สมบัติ ของกรุณานั้น ความเกิดเศร้าโศกเป็น วิบัติ ของกรุณา.

มุทิตา มีความยินดีเป็น ลักษณะ มีความไม่ริษยาเป็น รส มีการกำจัดความไม่ยินดีเป็น ปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นสมบัติของสัตว์ทั้งหลายเป็น ปทัฏฐาน. ความสงบการริษยาเป็น สมบัติ ของมุทิตานั้น การเกิดความดีใจเป็น วิบัติ ของมุทิตา.

อุเบกขา มีความเป็นไปแห่งอาการ คือ การวางตนเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายเป็น ลักษณะ มีการเห็นความเสมอกันในสัตว์ทั้งหลายเป็น รส

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 673

มีการเข้าไปสงบความขัดเคืองและความยินดีเป็น ปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนอันเป็นไปอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน สัตว์เหล่านั้นจักมีสุข จักพ้นจากทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจากสมบัติที่มีอยู่ตามความชอบใจของใคร ดังนี้เป็น ปทัฏฐาน. การสงบจากความขัดเคืองและความยินดีเป็น สมบัติ ของอุเบกขานั้น ความเกิดแห่งอุเบกขาในอญาณ อันอาศัยเรือน (คือกามคุณ ๕) เป็น วิบัติ ของอุเบกขา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตุฏฺโ โหติ คือ เป็นผู้ยินดีด้วยความยินดีในปัจจัย.

บทว่า อิตรีตเรน จีวเรน ด้วยจีวรตามมีตามได้ คือ ยินดีด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาจีวรเนื้อหยาบ ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต มั่นคง และเก่าเป็นต้น. อธิบายว่า ที่แท้แล้วเป็นผู้ยินดีด้วยจีวรตามมีตามได้.

จริงอยู่ ในจีวรมีสันโดษ ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ ๑ ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสนควร ๑. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ยินดีด้วยจีวรตามมีตามได้ คือเป็นผู้ยินดีจีวรผืนใดผืนหนึ่งในบรรดาจีวรตามที่ได้แล้ว หมายถึงสันโดษ ๓ เหล่านี้.

อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบ จีวร เขตของจีวร ผ้าบังสุกุล ความยินดีในจีวร และธุดงค์อันปฏิสังยุตด้วยจีวร.

บทว่า จีวรํ ชานิตพฺพํ พึงรู้จีวร คือ พึงรู้จีวร ๖ ชนิด มีผ้าทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น และจีวรอนุโลม ๖ ชนิด มีจีวรทำด้วยผ้าเนื้อดีเป็นต้น. จีวร ๑๒ ชนิดเหล่านี้เป็น กัปปิยจีวร.

จีวรที่มีอาทิอย่างนี้ว่า จีวรที่ทำด้วยหญ้าคา ป่าน เปลือกไม้ ผมคน ขนสัตว์ ใบลาน หนัง ปีกนกเค้า ต้นไม้ เถาวัลย์ ตะไคร้น้ำ กล้วย ไม้ไผ่ เป็น อกัปปิยจีวร.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 674

บทว่า จีวรเขตฺตํ เขตของจีวร คือ เขตมี ๖ เพราะเกิดขึ้นอย่างนี้ คือจากสงฆ์ ๑ จากคณะ ๑ จากญาติ ๑ จากมิตร ๑ จากทรัพย์ของตน ๑ เป็นผ้าบังสกุล ๑ พึงทราบเขต ๘ ด้วยสามารถแห่งมาติกา ๘.

บทว่า ปํสุกูลํ ผ้าบังสุกุล พึงทราบผ้าบังสุกุล ๒๓ ชนิด คือผ้าได้จากป่าช้า ๑ ผ้าเขาทิ้งไว้ตามตลาด ๑ ผ้าตามถนน ๑ ผ้าตามกองหยากเยื่อ ๑ ผ้าเช็ดครรภ์ ๑ ผ้าที่ตกอยู่ในที่อาบน้ำ ๑ ผ้าที่ตกอยู่ที่ท่าน้ำ ๑ ผ้าห่อศพ ๑ ผ้าถูกไฟไหม้ ๑ ผ้าที่โคเคี้ยวกิน ๑ ผ้าปลวกกัด ๑ ผ้าที่หนูกัด ๑ ผ้าที่ขาดข้างใน ๑ ผ้าขาดชาย ๑ ผ้าธง ๑ ผ้าบูชาสถูป ๑ ผ้าสมณจีวร ๑ ผ้าที่สมุทรซัดขึ้นบก ๑ ผ้าอภิเษก (ผ้าที่เขาทิ้งในพิธีราชาภิเษก) ๑ ผ้าเดินทาง ๑ ผ้าถูกลมพัดมา ๑ ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ๑ ผ้าเทวดาให้ ๑.

ในบทเหล่านี้ บทว่า โสตฺถิยํ คือ ผ้าเช็ดมลทินครรภ์ (ผ้าใช้ในการคลอดบุตร).

บทว่า คตปจฺจาคตํ ผ้าคลุมศพ คือ ผ้าที่เขาคลุมศพนำไปป่าช้าแล้วเอามาใช้เป็นจีวร.

บทว่า ธชาหฏํ คือ ผ้าที่เขายกขึ้นเป็นธงแล้วนำมา.

บทว่า ถูปํ คือ ผ้าที่เขาบูชาที่จอมปลวก.

บทว่า สามุทฺทิยํ คือ ผ้าที่ถูกคลื่นในทะเลชัดขึ้นบก.

บทว่า ปฏฺิกํ คือ ผ้าที่คนเดินทางเอาหินทุบเพราะกลัวโจรแล้วนำมาห่ม.

บทว่า อิทฺธิมยํ คือ ผ้าของเอหิภิกขุ.

บทที่เหลือ ชัดดีแล้ว.

บทว่า จีวรสนฺโตโส คือ สันโดษด้วยจีวร ๒๐ ชนิด คือ วิตักกสันโดษ สันโดษในการตรึก ๑ คมนสันโดษ สันโดษในการไป ๑ ปริเยสนสันโดษ สันโดษในการแสวงหา ๑ ปฏิลาภสันโดษ สันโดษในการได้ ๑

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 675

มัตตปฏิคคหณสันโดษ สันโดษในการรับพอประมาณ ๑ โลลุปปวิวัชชนสันโดษ สันโดษในการเว้นจากความโลเล ๑ ยถาลาภสันโดษ สันโดษตามที่ได้ ๑ ยถาพลสันโดษ สันโดษตามกำลัง ๑ ยถาสารุปปสันโดษ สันโดษตามสมควร ๑ อุทกสันโดษ สันโดษด้วยน้ำ ๑ โธวนสันโดษ สันโดษในการซัก ๑ กรณสันโดษ สันโดษในการทำ ๑ ปริมาณสันโดษ สันโดษในปริมาณ ๑ สุตตสันโดษ สันโดษในเส้นด้าย ๑ สิพพนสันโดษ สันโดษในการเย็บ ๑ รชนสันโดษ สันโดษในการย้อม ๑ กัปปสันโดษ สันโดษในการกัปปะ (๑) ๑ ปริโภคสันโดษ สันโดษในการใช้สอย ๑ สันนิธิปริวัชชนสันโดษ สันโดษในการเว้นจากการสะสม ๑ วิสัชชนสันโดษ สันโดษในการสละ ๑.

ในสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยินดีอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน แล้วตรึกเพียงเดือนเดียวควร. เพราะว่า ภิกษุนั้นครั้นออกพรรษาแล้ว กระทำจีวรในเดือนที่ทำจีวร ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ย่อมทำโดยกึ่งเดือนเท่านั้น. การตรึกเพียงกึ่งเดือนและหนึ่งเดือนด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า วิตักกสันโดษ.

อนึ่ง เมื่อภิกษุไปหาจีวร ไม่ได้คิดว่าเราจักได้จีวร ณ ที่ไหน แล้วไปโดยยึดเพียงกรรมฐานที่เป็นประธานเท่านั้น ชื่อว่า คมนสันโดษ.

อนึ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาจีวร มิได้แสวงหากับผู้ใดผู้หนึ่ง ยึดถือภิกษุผู้ละอาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก แล้วจึงแสวงหา ชื่อว่า ปริเยสนสันโดษ.

เมื่อภิกษุแสวงหาอยู่อย่างนี้ เห็นจีวรที่เขานำมาแต่ไกล มิได้ตรึกอย่างนี้ว่า จีวรนี้จักเป็นที่ชอบใจ จีวรนี้จักไม่เป็นที่ชอบใจ ดังนี้ แล้ว


(๑) การทำพินทุกัปปะ คือจุดเครื่องหมายในไตรจีวร.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 676

ยินดีด้วยจีวรตามที่ได้ ในจีวรที่มีเนื้อหยาบและเนื้อละเอียดเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิลาภสันโดษ.

แม้เมื่อภิกษุถือเอาจีวรที่ได้อย่างนี้แล้ว ยินดีโดยเพียงพอแก่ตนว่า จีวรประมาณเท่านี้จักเป็นสองชั้น ประมาณเท่านี้จักเป็นชั้นเดียว ดังนี้ ชื่อว่า มัตตปฏิคคหณสันโดษ.

อนึ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาจีวร มิได้คิดว่า เราจักได้จีวรที่ชอบใจที่ประตูเรือนของคนโน้น แล้วเที่ยวไปตามลำดับประตูบ้าน ชื่อว่า โลลุปปวิวัชชนสันโดษ.

เมื่อภิกษุสามารถจะยังตนให้เป็นไปอยู่ได้ด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาจีวรเนื้อเศร้าหมองและเนื้อประณีต ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปอยู่ด้วยจีวรตามที่ตนได้เท่านั้น ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ.

ภิกษุรู้กำลังของตนแล้ว เป็นอยู่ได้ด้วยจีวรที่สามารถยังตนให้เป็นอยู่ได้ ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ.

ภิกษุให้จีวรที่ชอบใจแก่ภิกษุรูปอื่นแล้ว ยังตนให้เป็นไปอยู่ได้ด้วยจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ.

ภิกษุมิได้ไตร่ตรองว่า น้ำที่ไหนสะอาด ที่ไหนไม่สะอาด แล้วซักจีวรด้วยน้ำที่พอจะซักได้ ชื่อว่า อุทกสันโดษ. แต่ควรเว้นน้ำที่มีดินสีเหลีองมีเปลือกไม้ ดินสอพอง ใบไม้เน่าและมีสีเศร้าหมอง.

อนึ่ง เมื่อภิกษุซักจีวรไม่เอาไม้ค้อนเป็นต้นทุบ เอามือขยำซัก ชื่อว่า โธวนสันโดษ.

อนึ่ง ควรใส่ใบไม้แล้วซักจีวรที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยน้ำร้อน. เมื่อภิกษุซักอย่างนี้แล้วไม่ขัดเคืองใจว่า นี้หยาบ นี้ละเอียด แล้วกระทำโดยวิธีทำให้สะอาคตามความเพียงพอนั่นแหละ ชื่อว่า กรณสันโดษ.

กระทำเพียงปกปิด

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 677

ทั้ง ๓ ปริมณฑลเท่านั้น ชื่อว่า ปริมาณสันโดษ.

ภิกษุไม่เที่ยวไปด้วยคิดว่าเราจักแสวงหาด้ายที่พอใจเพื่อเย็บจีวร แล้วถือเอาด้ายที่เขานำมาวางไว้ที่ถนนเป็นต้น หรือที่เทวสถาน หรือที่ใกล้เท้า แล้วเย็บจีวร ชื่อว่า สุตตสันโดษ.

อนึ่ง ในเวลาทำกระทงจีวรไม่ควรเย็บ ๗ ครั้งที่ผ้าประมาณหนึ่งองคุลี. เพราะเมื่อทำอย่างนี้ แม้ความแตกแห่งวัตรก็ไม่มีแก่ภิกษุผู้ไม่มีสหาย. แต่ควรแทง ๗ ครั้งที่ผ้าประมาณ ๓ องคุลี. เมื่อทำอย่างนี้ ก็ควรมีเพื่อนเดินทางไปด้วย. ความแตกแห่งวัตรย่อมมีแก่ภิกษุที่ไม่มีเพื่อน นี้ชื่อว่า สิพพนสันโดษ.

อนึ่ง ภิกษุผู้ย้อมจีวรไม่ควรเที่ยวแสวงหามะเดื่อดำเป็นต้น พึงย้อมด้วยของที่ได้ในบรรดาเปลือกไม้สีคล้ำเป็นต้น. เมื่อไม่ได้ควรถือเอาเครื่องย้อมที่พวกมนุษย์ถือเอามาในป่าทิ้งไว้ หรือกากที่พวกภิกษุต้มทิ้งไว้แล้วย้อม นี้ชื่อว่า รชนสันโดษ.

เมื่อภิกษุถือเอาจีวรสีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาสีเขียว เปือกตม ดำคล้ำ แล้วนั่งบนหลังช้างกระทำจุดดำให้ปรากฏ ชื่อว่า กัปปสันโดษ.

การใช้สอยเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันยังหิริให้กำเริบ ชื่อว่า ปริโภคสันโดษ.

อนึ่ง ครั้นได้ผ้าแล้ว แต่ยังไม่ได้ด้าย เข็ม หรือผู้กระทำควรเก็บไว้. เมื่อได้ ไม่ควรเก็บ. แม้ทำแล้วหากว่าประสงค์จะให้แก่อันเตวาสิกเป็นต้น และอันเตวาสิกเป็นต้นเหล่านั้นยังไม่อยู่ ควรเก็บไว้จนกว่าจะมา. พอเมื่ออันเตวาสิกเป็นต้นมาแล้วควรให้ เมื่อไม่อาจให้ได้ ควรอธิษฐาน. เมื่อมีจีวรผืนอื่น ควรอธิษฐานทำเป็นเครื่องลาด. ท่านมหาสิวเถระกล่าวว่า ก็เมื่อยังไม่อธิษฐาน เป็นอาบัติสันนิธิ (คือสะสม) อธิษฐานแล้วไม่เป็นอาบัติ. นี้ชื่อว่า สันนิธิปริวัชชนสันโดษ.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 678

อนึ่ง เมื่อสละไม่ควรให้เพราะเห็นแก่หน้า. ควรตั้งอยู่ในสาราณิยธรรมแล้วสละให้. นี้ชื่อว่า วิสัชชนสันโดษ.

ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) และติจีวริกังคธุดงค์ (ถือไตรจีวรเป็นวัตร) ชื่อว่า ธุดงค์ปฏิสังยุตด้วยจีวร. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญมหาอริยวงศ์คือความสันโดษด้วยจีวร ย่อมรักษาธุดงค์สองเหล่านี้. เมื่อรักษาอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษด้วยอำนาจแห่งมหาอริยวงศ์คือความสันโดษด้วยจีวร.

บทว่า วณฺณวาที กล่าวสรรเสริญ คือ ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้สันโดษ แต่ไม่กล่าวถึงคุณของสันโดษ รูปหนึ่งไม่สันโดษ แต่กล่าวถึงคุณของสันโดษ รูปหนึ่งทั้งไม่สันโดษทั้งไม่กล่าวถึงคุณของสันโดษ รูปหนึ่งทั้งเป็นผู้สันโดษทั้งกล่าวถึงคุณของสันโดษ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้น เพื่อแสดงถึงพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้.

บทว่า อเนสนํ ไม่แสวงหาผิด คือ ไม่แสวงหาผิดมีประการต่างๆ อันมีประเภทคือเป็นทูต เป็นคนส่งสาสน์ เดินส่งข่าว.

บทว่า อปฺปฏิรูปํ คือ ไม่สมควร.

บทว่า อลทฺธา จ คือ ไม่ได้แล้ว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เมื่อไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง เหมือนอย่างภิกษุบางรูปคิดว่าเราจักได้จีวรอย่างไรหนอ จึงร่วมกับพวกภิกษุผู้มีบุญกระทำการหลอกลวง ย่อมหวาดเสียว สะดุ้ง.

บทว่า ลทฺธา จ คือ ได้เเล้วโดยธรรม โดยเสมอ.

บทว่า อคธิโต ไม่ติดใจ คือ ปราศจากความโลภ.

บทว่า อมุจฺฉิโต ไม่หลงใหล คือ ถึงความซบเซาด้วยความอยากอย่างยิ่ง.

บทว่า อนชฺฌาปนฺโน ไม่พัวพัน

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 679

คือ ไม่ถูกความอยากท่วมทับพัวพัน.

บทว่า อาทีนวทสฺสาวี มีปกติเห็นโทษ คือ เห็นโทษในการแสวงหาอันไม่สมควร และในการบริโภคด้วยความอยาก.

บทว่า นิสฺสรณปญฺโ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก คือ รู้การสลัดออกดังกล่าวแล้วว่า เพียงเพื่อกำจัดความหนาว.

บทว่า อิตรีตรจีวรสนฺตุฏฺิยา คือ ความสันโดษด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า เนวตฺตานุกฺกํเสติ ไม่ยกตน คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่ยกตน เหมือนภิกษุบางรูปในศาสนานี้ยกตนว่า เราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เราถือบังสุกูลิกังคธุดงค์ ในโรงอุปสมบทนั่นแลใครจะเหมือนเราบ้าง.

บทว่า น ปรํ วมฺเภติ ไม่ข่มผู้อื่น คือ ไม่ข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปอื่นเหล่านั้นไม่เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร หรือไม่มีแม้เพียงบังสุกูลิกังคธุดงค์.

บทว่า โย หิ ตตฺถ ทกฺโข ก็พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยันในจีวรสันโดษนั้น คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด เป็นผู้ขยันฉลาดเฉียบแหลมในจีวรสันโดษนั้น หรือในความเป็นผู้กล่าวสรรเสริญสันโดษเป็นต้น.

บทว่า อนลโส ไม่เกียจคร้าน คือ ปราศจากความเกียจคร้านด้วยทำความเพียรติดต่อ.

บทว่า สมฺปชาโน ปฏิสฺสโต คือ ประกอบด้วยความรู้สึกตัวและมีสติ.

บทว่า อริยวํเส ิโต คือ ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ.

บทว่า อิตรีตเรน ปิณฺฑปาเตน คือ ด้วยบิณฑบาตอย่างใดอย่างหนึ่ง.

แม้ในบทนี้ก็พึงทราบความดังต่อไปนี้ พึงทราบบิณฑบาต พึงทราบเขตของบิณฑบาต พึงทราบความสันโดษด้วยบิณฑบาต พึงทราบธุดงค์ที่ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาต.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 680

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑปาโต ได้แก่ บิณฑบาต ๑๖ ชนิด คือ ข้าวสุก ๑ ขนมถั่ว ๑ ข้าวตู ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ นมสด ๑ นมส้ม ๑ เนยใส ๑ เนยข้น ๑ น้ำมัน ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำอ้อย ๑ ยาคู ๑ ของเคี้ยว ๑ ของลิ้ม ๑ ของเลีย ๑.

บทว่า ปิณฺฑปาตกฺเขตฺตํ คือ เขตของบิณฑบาต ๑๕ ชนิด คือ สังฆภัต ๑ อุเทศภัต ๑ นิมันตนะ ๑ สลากภัต ๑ ปักขิกะ ๑ อุโปสถิกะ ๑ ปาฏิปทิกะ ๑ อาคันตุกภัต ๑ คมิกภัต ๑ คิลานภัต ๑ คิลานุปัฏฐากภัต ๑ ธุรภัต (๑) ๑ กุฏิภัต ๑ วาริกภัต ๑ วิหารภัต ๑.

บทว่า ปิณฺฑปาตสนฺโตโส คือ สันโดษ ๑๕ อย่าง คือ วิตักกสันโดษ ๑ คมนสันโดษ ๑ ปริเยสนสันโดษ ๑ ปฏิลาภสันโดษ ๑ ปฏิคคหณสันโดษ ๑ มัตตปฏิคคหณสันโดษ ๑ โลลุปปวิวัชชนสันโดษ ๑ ยถาลาภสันโดษ ๑ ยถาพลสันโดษ ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ๑ อุปการสันโดษ ๑ ปริมาณสันโดษ ๑ ปริโภคสันโดษ ๑ สันนิธิปริวัชชนสันโดษ ๑ วิสัชชนสันโดษ ๑.

ในสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยินดีล้างหน้าแล้วจึงตรึก. อันภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเที่ยวไปพร้อมกับคณะ ครั้นถึงเวลาอุปัฏฐากพระเถระในตอนเย็น คิดว่าพรุ่งนี้เราจักไปบิณฑบาต ณ ที่ไหน มีผู้ตอบว่า บ้านโน้นขอรับ ไม่พึงตรึกตั้งแต่ตอนนั้น. ภิกษุผู้เที่ยวไปรูปเดียวพึงยืนตรึกที่โรงสำหรับตรึก. เมื่อตรึกต่อจากนั้น เป็นผู้เคลื่อนจากวงศ์ของพระอริยะ เป็นบุคคลภายนอกไป. นี้ชื่อว่า วิตักกสันโดษ.

อนึ่ง ภิกษุเข้าไปบิณฑบาต ไม่พึงคิดว่าเราจักได้ที่ไหน ควรไปโดยยึดกรรมฐานเป็นหลัก. นี้ชื่อว่า คมนสันโดษ.


(๑) เหมือนกับ ธุวภัต.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 681

เมื่อแสวงหาไม่ควรยึดถือใครๆ ควรยึดถือภิกษุผู้ละอายผู้มีศีลเป็นที่รักเท่านั้นแสวงหา. นี้ชื่อว่า ปริเยสนสันโดษ.

ภิกษุเห็นคนนำอาหารมาแต่ไกล ไม่ควรคิดว่า นั้นดี นั้นไม่ดี. นี้ชื่อว่า ปฏิลาภสันโดษ.

ภิกษุไม่ควรคิดว่าเราจักถือเอาของที่ชอบนี้ จักไม่ถือเอาของที่ไม่ชอบนี้ แล้วพึงถือเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงให้ชีวิตเป็นไปได้เท่านั้น. นี้ชื่อว่า ปฏิคคหณสันโดษ.

อนึ่ง ในปฏิคคหณสันโดษนี้ ไทยธรรมมาก ผู้ให้ประสงค์จะให้น้อย พึงถือเอาแต่น้อย. ไทยธรรมมาก แม้ผู้ให้ก็ประสงค์จะให้มาก ควรถือเอาพอประมาณเท่านั้น. แม้ไทยธรรมก็ไม่มาก แม้ผู้ให้ก็ประสงค์จะให้แต่น้อย พึงถือเอาแต่น้อย. ไทยธรรมไม่มาก แต่ผู้ให้ประสงค์จะให้มาก ควรถือเอาพอประมาณ.

จริงอยู่ ในการรับ เมื่อไม่รู้จักประมาณ ย่อมลบหลู่ความเลื่อมใสของมนุษย์ ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป ไม่ทำตามคำสอน ไม่สามารถกำหนดจิตแม้ของมารดาบังเกิดเกล้าได้. ครั้นรู้จักประมาณด้วยประการฉะนี้แล้วจึงควรรับ. นี้ชื่อว่า มัตตปฏิคคหณสันโดษ.

ภิกษุไม่ควรไปสู่ตระกูลที่มั่งคั่งเท่านั้น ควรไปตามลำดับประตูบ้าน. นี้ชื่อว่า โลลุปปวิวัชชนสันโดษ.

ยถาลาภสันโดษเป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วในจีวรนั่นแล ภิกษุรู้อุปการะอย่างนี้ว่า เราฉันอาหารบิณฑบาตแล้วจักรักษาสมณธรรมแล้วจึงฉัน ชื่อว่า อุปการสันโดษ.

แม้อาหารเต็มบาตรแล้วยังมีผู้นำมาก็ไม่ควรรับ. เมื่อมีอนุปสัมบันไปด้วยควรให้อนุปสัมบันนั้นรับ. เมื่อไม่มี ควรถือเอาเพียงพอที่จะรับได้ นี้ชื่อว่า ปริมาณสันโดษ.

การฉันอย่างนี้ถือเป็นเครื่อง

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 682

บรรเทาความหิว เป็นเครื่องนำทุกข์ออกไป ชื่อว่า บริโภคสันโดษ.

ไม่ควรเก็บไว้ฉันแล้วๆ เล่าๆ. นี้ชื่อว่า สันนิธิปริวัชชนสันโดษ.

ไม่ควรเห็นแก่หน้า ควรตั้งอยู่ในสาราณิยธรรม สละให้. นี้ชื่อว่า วิสัชชนสันโดษ.

อนึ่ง ธุดงค์ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาตมี ๕ อย่าง คือ ปิณฑปาติกังคะ คือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๑ สปทานจาริกังคะ คือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร ๑ เอกาสนิกังคะ คือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ๑ ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ คือห้ามภัตที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร ๑.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า บำเพ็ญมหาอริยวงศ์ คือ ความสันโดษด้วยบิณฑบาต ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่ารักษาธุดงค์ ๕ เหล่านี้. เมื่อรักษาธุดงค์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษด้วยอำนาจแห่งมหาอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยบิณฑบาต.

บทว่า วณฺณวาที เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พึงทราบความในบทว่า เสนาสเนน นี้ต่อไป พึงทราบเสนาสนะ พึงทราบเขตของเสนาสนะ พึงทราบความสันโดษด้วยเสนาสนะ พึงทราบธุดงค์ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เสนาสนํ ได้แก่ เสนาสนะ ๑๕ อย่างเหล่านี้ คือ เตียง ๑ ตั่ง ๑ ฟูก ๑ หมอน ๑ วิหาร ๑ เพิง ๑ ปราสาท ๑ ปราสาทโล้น ๑ ถ้ำ ๑ ที่เร้น ๑ ป้อม ๑ เรือนยอดเดียว ๑ ไม้ไผ่ ๑ พุ่มไม้ ๑ โคนไม้ ๑ หรือว่าภิกษุทั้งหลายเข้าไปพักผ่อนในที่ใด ที่นั่นก็ชื่อว่าเสนาสนะ.

บทว่า เสนาสนกฺเขตฺตํ ได้แก่เขต ๖ อย่าง คือเสนาสนะจาก

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 683

สงฆ์ ๑ จากคณะ ๑ จากญาติ ๑ จากมิตร ๑ จากทรัพย์ของตน ๑ ที่เป็นที่บังสุกุล ๑.

บทว่า เสนาสนสนฺโตโส ได้แก่ สันโดษ ๑๕ มีสันโดษด้วยการตรึกในเสนาสนะเป็นต้น.

พึงทราบสันโดษเหล่านั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วในบิณฑบาตนั่นแล.

อนึ่ง ธุดงค์ ๕ ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ คือ อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๑ รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ๑ อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๑ โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๑ ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดให้ ๑.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญมหาอริยวงศ์ คือ การสันโดษด้วยเสนาสนะด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าย่อมรักษาธุดงค์ ๕ เหล่านี้. เมื่อรักษาอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษด้วยอำนาจแห่งมหาอริยวงศ์ คือการสันโดษด้วยเสนาสนะ.

ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวอริยวงศ์คือความสันโดษด้วยจีวรเป็นข้อที่ ๑ ดุจท่านผู้มีฤทธิ์ขยายแผ่นดินให้กว้าง ดุจยังท้องมหาสมุทรให้เต็ม และดุจยังอากาศให้แผ่ขยายออกไปฉะนั้น. กล่าวอริยวงศ์คือความสันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นข้อที่ ๒. ดุจผู้มีฤทธิ์ทำพระจันทร์ให้ขึ้นและทำพระอาทิตย์ให้ลอยเด่นอยู่ฉะนั้น. กล่าวอริยวงศ์คือความสันโดษด้วยเสนาสนะเป็นข้อที่ ๓ ดุจยกภูเขาสิเนรุขึ้นฉะนั้น.

บัดนี้เพื่อจะกล่าวถึงอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยคิลานปัจจัย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้. บทนั้นเป็นไปอย่างเดียวกับบิณฑบาตนั่นเอง.

ในบทนั้นพึงสันโดษด้วยยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ และยถาสารุปปสันโดษเหมือนกัน. แต่อริยวงศ์คือมีภาวนา

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 684

เป็นที่มายินดี มิได้มาในบทนี้ ย่อมจัดอริยวงศ์คือมีภาวนาเป็นที่มายินดีไว้ในเนสัชชิกังคธุดงค์ การถือการนั่งเป็นวัตร. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ในเสนาสนะท่านกล่าวธุดงค์ไว้ ๕ ธุดงค์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมี ๕ ที่เกี่ยวข้องกับด้วยความเพียรมี ๑ ที่เกี่ยวข้องกับจีวรมี ๒.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า โปราเณ อคฺคญฺเ อริยวํเส ิโต พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าดำรงอยู่ในอริยวงศ์ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์อันเลิศมีมาแต่โบราณ ดังต่อไปนี้.

บทว่า โปราเณ คือ มิใช่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้.

บทว่า อคฺคญฺเ คือ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์อันเลิศ.

บทว่า อริยวํเส คือ ในวงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย. เหมือนอย่างว่า วงศ์กษัตริย์ วงศ์พราหมณ์ วงศ์แพศย์ วงศ์ศูทร วงศ์สมณะ วงศ์สกุล ราชวงศ์ ฉันใด วงศ์อริยะนี้ก็เป็นวงศ์ที่ ๘ ฉันนั้น ชื่อว่า อริยประเพณี เป็นแบบประเพณีของอริยะ.

ก็วงศ์นี้นั้นท่านกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าวงศ์เหล่านี้ ดุจกลิ่นกระลำพัก เลิศกว่ากลิ่นรากไม้ทั้งหลายเป็นต้น. วงศ์ของพระอริยะทั้งหลายคือใครบ้าง. คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระตถาคต เรียกว่า พระอริยะ. วงศ์ของพระอริยะทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่า อริยวงศ์.

จริงอยู่ ก่อนแต่นี้ไป พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร ทรงอุบัติในที่สุดสี่แสนอสงไขยกัป. ท่านเหล่านั้นก็เป็นอริยะ. วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นก็ชื่อว่า อริยวงศ์.

ภายหลังแต่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเสด็จปรินิพพาน ล่วงไปตลอดอสงไขย พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ทรงอุบัติ ฯลฯ ในกัปนี้

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 685

พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมของพวกเราทรงอุบัติ. วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นก็ชื่อว่า อริยวงศ์.

อีกอย่างหนึ่ง วงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายทุกพระองค์ ซึ่งมีในอดีต อนาคตและปัจจุบันก็ชื่อว่า อริยวงศ์. ในพระอริยวงศ์นั้น.

บทว่า ิโต คือ ตั้งอยู่แล้ว.

บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

จบคาถาที่ ๘

คาถาที่ ๙

๙) ทุสฺสงฺคหา ปพฺพชิตาปิ เอเก อโถ คหฏฺา ฆรมาวสนฺตา อปฺโปสฺสุโก ปรปุตฺเตสุ หุตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ก็สงเคราะห์ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ใน คาถาที่ ๙ พึงทราบโยชนาดังต่อไปนี้.

แม้บรรพชิตบางพวก ถูกความไม่สันโดษครอบงำ ก็เป็นคนที่

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 686

สงเคราะห์ได้ยาก และคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ครองเรือนก็เป็นอย่างนั้น เป็นผู้อันผู้อื่นสงเคราะห์ยาก. เรารังเกียจความเป็นผู้อันผู้อื่นสงเคราะห์ยากนั้น จึงปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุ.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.

บทว่า อนสฺสวา คือ เป็นผู้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำ.

บทว่า อวจนกรา ไม่ทำตามคำ คือ ว่ายาก.

บทว่า ปฏิโลมวุตฺติโน เป็นผู้ประพฤติหยาบ คือ มีปกติพูดคำหยาบ. อธิบายว่า มุ่งต่อสู้ท่าเดียว.

บทว่า อญฺเเนว มุขํ กโรนฺติ เบือนหน้าไปโดยอาการอื่น คือ เห็นผู้ให้โอวาทแล้วเบือนหน้ามองดูไปทางทิศอื่น.

บทว่า อพฺยาวโฏ หุตฺวา คือ พึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจ.

บทว่า อนเปกฺโข หุตฺวา คือ พึงนั้นผู้ไม่ห่วงใย.

จบคาถาที่ ๙

คาถาที่ ๑๐

๑๐) โอโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา โกวิฬาโร เฉตฺวาน ธีโร คิหิพนฺธนานิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

นักปราชญ์ปลงเสียแล้วซึ่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางที่ขาดใบแล้ว ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 687

บทว่า โอโรปยิตฺวา ปลงเสียแล้ว คือ นำออกไปแล้ว.

บทว่า คิหิพฺยญฺชนานิ เครื่องหมายเเห่งคฤหัสถ์ คือ เครื่องหมายแห่งความเป็นคฤหัสถ์มีอาทิ ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ หญิง บุตร ทาสหญิง ทาสชาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์.

บทว่า สญฺฉินฺนปตฺโต ขาดใบ คือ มีใบร่วงหล่นแล้ว.

บทว่า เฉตฺวาน คือ ตัดแล้วด้วยมรรคญาณ.

บทว่า วีโร ผู้เป็นวีรชน คือ ประกอบแล้วด้วยความเพียรในมรรค.

บทว่า คิหิพนฺธนานิ เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เรื่องผูกคือกาม เพราะว่ากามเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์.

พึงทราบความแห่งบทเพียงเท่านี้ก่อน. ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าดำริอยู่อย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงปลงซึ่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางที่ขาดใบแล้วฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงเริ่มวิปัสสนาได้บรรลุปัจเจกภูมิ.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.

บทว่า สาราสนญฺจ คือ อาสนะอันเป็นสาระ.

บทว่า สินานิ คือ พลัด.

บทว่า สญฺฉินฺนานิ คือ ขาดใบ.

บทว่า ปติตานิ คือ พ้นจากก้าน.

บทว่า ปริปติตานิ ร่วงหล่นแล้ว คือ ตกลงไปบนพื้นดิน.

จบคาถาที่ ๑๐

จบอรรถกถาปฐมวรรค

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 688

อรรถกถาทุติยวรรค

คาถาที่ ๑ - ๒

คาถาที่ ๑

๑๑) สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ สทฺธิํจรํ สาธุวิหาริธีรํ อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.

ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

คาถาที่ ๒

๑๒) โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ สทฺธิํจรํ สาธุวิหาริธีรํ ราชาว รฏฺํ วิชิตํ ปหาย เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค.

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น อันพระองค์ทรงชนะแล้ว เสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงเที่ยวไปอยู่ในป่าแต่ตัวเดียวฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 689

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑ และ ที่ ๒ แห่ง ทุติยวรรค ดังต่อไปนี้.

บทว่า นิปกํ ผู้มีปัญญา คือ บัณฑิตผู้มีปัญญาตามปกติ ผู้ฉลาดในบริกรรมมีกสิณบริกรรมเป็นต้น.

บทว่า สาธุวิหาริํ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี คือ ประกอบด้วยอัปปนา หรืออุปจาร.

บทว่า ธีรํ คือ ผู้พร้อมด้วยปัญญา.

ในบทนั้นท่านกล่าวว่า ถึงพร้อมด้วยปัญญา เพราะอรรถว่า เป็นผู้ฉลาด. แต่ในที่นี้มีความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

ความเป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนชื่อว่า ธิติ.

บทนี้เป็นชื่อของความเพียร อันเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ นหารุ จ หนังและเอ็นจะแห้งเหือดไปก็ตาม ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีโร เพราะเป็นผู้เกลียดบาปดังนี้บ้าง.

บทว่า ราชาว รฏฺํ วิชิตํ ปหาย ดังพระราชาผู้สละแว่นแคว้นที่พระองค์ทรงชนะแล้ว คือ เหมือนพระราชาผู้เป็นศัตรูทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่พระองค์ชนะจะนำความพินาศมาให้ จึงทรงละแว่นแคว้นนั้นเสีย.

บทว่า เอโก จเร คือ ละสหายผู้เป็นพาลอย่างนี้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว.

อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า ราชาว รฏฺํ มีอธิบายว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระเจ้าสุตโสมทรงละแว่นแคว้นที่พระองค์ชนะแล้ว เสด็จไปพระองค์เดียว และมหาชนกก็เสด็จไปพระองค์เดียวฉะนั้น.

บทที่เหลือสามารถรู้ได้โดยทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่กล่าวให้พิสดาร. ไม่มีอะไรที่จะพึงกล่าวในนิเทศ.

จบคาถาที่ ๑ - ๒

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 690

คาถาที่ ๓

๑๓) อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ เสฏฺา สมา เสวิตพฺพา สหายา เอเต อลทฺธา อนวชฺชโภชี เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุด และผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภคโภชนะอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คาถาที่ ๓ ง่ายโดยความของบท.

พึงทราบ สหายสมฺปทา สหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมในบทนี้ว่า สหายสมฺปทํ อย่างเดียว คือ สหายผู้ถึงพร้อมด้วยขันธ์มีศีลขันธ์เป็นต้น แม้เป็นอเสกขะ.

แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า เราสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ท่านกล่าวแล้วแน่นอน. ท่านกล่าวว่า เราชมเชยโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

ชมเชยอย่างไร ควรคบสหายที่ประเสริฐกว่า หรือเสมอกัน.

เพราะเหตุไร เพราะเมื่อคบผู้ประเสริฐกว่าตนด้วยศีลเป็นต้น ธรรมมีศีลเป็นต้น ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์. เมื่อคบผู้เสมอกัน ธรรมทั้งหลายที่ได้ด้วยการทรงไว้เสมอกันและกันด้วยการบรรเทาความรำคาญแล้วย่อมไม่เสื่อม.

เมื่อไม่ได้สหายผู้ประเสริฐกว่าและเสมอกัน ควรเว้นมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น แล้วบริโภคโภชนะอันเกิดโดยธรรม โดยเสมอ และไม่ยังความคับแค้นให้เกิดขึ้น บริโภคปัจจัยอัน ไม่มีโทษ กุลบุตรผู้ใคร่ในตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 691

นอแรดฉะนั้น.

จริงอยู่ แม้เราเมื่อเที่ยวไปอย่างนี้ ก็บรรลุถึงสมบัตินี้ ด้วยประการฉะนี้.

นิเทศมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๓

คาถาที่ ๔ (๑)

๑๔) ทิสฺวา สุวณฺณสฺส ปภสฺสรานิ กมฺมารปุตฺเตน สุนิฏฺิตานิ สงฺฆฏฺฏมานานิ ทุเว ภชสฺมิํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลแลดูกำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทิสฺวา คือ แลดูแล้ว.

บทว่า สุวณฺณสฺส คือ แห่งทองคำ.

บทว่า วลยานิ กำไลทอง เป็นปาฐะที่เหลือ. เพราะยังมีความเหลืออยู่.

บทว่า ปภสฺสรานิ คือ สุกปลั่ง. ท่านอธิบายว่า รุ่งเรือง.

บทที่เหลือมีความของบทง่ายทั้งนั้น.

แต่โยชนาแก้ไว้ว่า เราเห็นกำไลทองที่มือจึงคิดว่า เมื่ออยู่รวมกันเป็นคณะ การเสียดสี การกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันย่อมมี แต่เมื่ออยู่คนเดียว ความกระทบกระทั่งกันย่อมไม่มี จึงเริ่มวิปัสสนาแล้วบรรลุ.

บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า นปูรานิ คือ กำไล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นิยุรานิ กำไลมือ.

บทว่า ฆฏฺเฏนฺติ เสียดสีกัน คือ กระทบกัน.

จบคาถาที่ ๔


(๑) คาถาลำดับที่ ๑๔.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 692

คาถาที่ ๕

๑๕) เอวํ ทุติเยน สหามมสฺส วาจาภิลาโป อภิสชฺชนา วา เอตํ ภยํ อายติํ เปกฺขมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คาถาที่ ๕ ง่ายโดยความของบทนั่นเอง.

แต่ในที่นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องด้วยความรักในสหายนั้นก็ดี กับกุมารผู้เป็นสหายนั้น ผู้บอกความหนาวและร้อนเป็นต้นพึงมีแก่เรา ผู้สัญญาว่าจะร่วมกัน หากเราไม่สละกุมารผู้เป็นสหายนี้ แม้ต่อไปการพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องกันก็ดี กับสหายพึงมีแก่เราเหมือนในบัดนี้ ทั้งสองนั้นจะทำอันตรายแก่การบรรลุคุณวิเศษ เพราะเหตุนั้น เมื่อเราเห็นภัยนี้ ต่อไปจึงทิ้งสหายนั้นเสีย ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ด้วยประการฉะนี้.

บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๕

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 693

คาถาที่ ๖

๑๖) กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีด้วยรูปแปลกๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมืนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กามา กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกามและกิเลสกาม.

ในกาม ๒ อย่างนั้น ธรรมมีรูปเป็นต้นอันน่าพอใจ ชื่อว่า วัตถุกาม. กิเลสประเภทราคะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กิเลสกาม.

แต่ในที่นี้ประสงค์เอาวัตถุกาม. วัตถุกามทั้งหลายที่ชื่อว่าวิจิตร ก็ด้วยสามารถที่มีเป็นอเนกประการมีรูปเป็นต้น ชื่อว่า อร่อย ด้วยสามารถทำความชื่นใจให้แก่ชาวโลก ชื่อว่า มโนรนา เพราะทำใจของปุถุชนผู้โง่เขลาให้รื่นรมย์.

บทว่า วิรูปรูเปน คือ ด้วยรูปแปลกๆ. ท่านอธิบายว่า ด้วยสภาพหลายๆ อย่าง.

จริงอยู่ วัตถุกามเหล่านั้นชื่อว่าวิจิตร ก็ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. มีรูปเป็นต้น ชื่อว่ามีรูปชนิดต่างๆ ด้วยรูปที่มีสีเขียวเป็นต้น แม้ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ย่อมแสดงความชื่นใจโดยประการนั้นๆ ด้วยอารมณ์ที่แปลกๆ นั้นอย่างนั้น ย่อมย่ำยีจิต คือว่า ย่อมไม่ให้จิต (ของบุคคล) ยินดีในการบรรพชา.

บทที่เหลือในนิเทศนี้ชัดดีแล้ว แม้บทสรุปก็พึงประกอบด้วย ๒ - ๓ บท แล้วพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในคาถาต้นๆ.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 694

บทว่า กามคุณา มีอรรถวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงใคร่ ชื่อว่า คุณ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องผูก.

คุณ ศัพท์มีอรรถว่า ชั้น มาแล้วในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้น แห่งผ้าใหม่ ดังนี้.

คุณ ศัพท์มีอรรถว่า กอง มาแล้วในบทนี้ว่า

กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป กองแห่งวัยย่อมละไปโดยลำดับ ดังนี้.

มีอรรถว่า อานิสงส์ มาแล้วในบทนี้ว่า ทักษิณาพึงหวัง อานิสงส์ ๑๐๐.

มีอรรถว่า เป็น เครื่องผูก มาแล้วในบทนี้ว่า ไส้ใหญ่ ไส้น้อย พึงกระทำการผูกพวงดอกไม้ให้มาก แม้ในนิเทศนี้ก็ประสงค์เอาอรรถว่าผูกนี้แล.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า คุณ ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องผูก.

บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺย คือ พึงเห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ.

แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น ก็พึงทราบความโดยอุบายนี้.

บทว่า อิฏฺา น่าปรารถนา คือ ความปรารถนาจงมีก็ตาม จงอย่ามีก็ตาม อธิบายว่า ได้แก่ อารมณ์ที่น่าปรารถนา.

บทว่า กนฺตา คือ น่าใคร่.

บทว่า มนาปา คือ น่าเจริญใจ.

บทว่า ปิยรูปา คือ น่ารัก.

กามูปสญฺหิตา ประกอบด้วยกาม คือ ประกอบด้วยกาม อันกระทำกามให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

บทว่า รชนียา คือ ชวนให้กำหนัด. อธิบายว่า เป็นเหตุให้เกิดความกำหนัด.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ยทิ มุทฺธาย ดังต่อไปนี้.

บทว่า มุทฺธา คือ การนับด้วยหัวแม่มือ กำหนดความจำในข้อนิ้วมือทั้งหลาย.

บทว่า คณนา คือ การนับติดต่อกัน.

บทว่า สงฺขานํ การประมาณ

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 695

คือ การนับโดยประมาณเอา ได้แก่ การมองดูนาแล้วประมาณเอาว่า ในนานี้จักมีข้าวเปลือกประมาณเท่านี้ มองดูต้นไม้แล้วประมาณเอาว่า บนต้นไม้ต้นนี้จักมีผลประมาณเท่านี้ มองดูอากาศแล้วประมาณเอาว่า ในอากาศนี้ จักมีนกประมาณเท่านี้ดังนี้.

บทว่า กสิ คือ กสิกรรม.

บทว่า วณิชฺชา การค้าขาย คือ ทางที่จะไปค้ามีการเดินเร่ขาย และการค้าขายทางบกเป็นต้น.

บทว่า โครกฺขํ คือ การเลี้ยงโคของตนหรือของผู้อื่นแล้วดำรงชีวิตด้วยการขายโครส ๕.

การถืออาวุธแล้วเฝ้าดูแล ท่านเรียกว่า อิสฺสตฺถ คือ เป็นนักรบ.

บทว่า ราชโปริสํ รับราชการ คือ ทำราชการโดยไม่มีอาวุธ.

บทว่า สิปฺปญฺตรํ กิจอื่นเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ศิลปที่เหลือจากที่เรียนไว้ มีศิลปในการเลี้ยงช้างและม้าเป็นต้น.

บทว่า สีตสฺส ปุรกฺขโต คือ ทนต่อความหนาวดุจเป้าทนต่อลูกศรฉะนั้น อธิบายว่า ถูกความหนาวเบียดเบียน. แม้ในความร้อน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ฑํส ต่อไป.

บทว่า ฑํสา ได้แก่ เหลือบ.

บทว่า สิริํสปา ได้แก่ สัตว์เสือกคลาน.

บทว่า ปีฬิยมาโน เบียดเบียน คือ ทำลายเสียดสี.

บทว่า มิยฺยมาโน คือ ให้ตาย.

บทว่า อยํ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาพาธนี้มีความหนาวเป็นต้นเป็นปัจจัย อาศัยการเลี้ยงชีพด้วยศิลปะมีการนับนิ้วมือเป็นต้น.

บทว่า กามานํ อาทีนโว โทษแห่งกามทั้งหลาย ความว่า อันตราย อุปสรรคในกามทั้งหลาย.

บทว่า สนฺทิฏฺิโก คือ เห็นกันได้เอง.

บทว่า ทุกฺขกฺขนฺโธ คือ กองทุกข์.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 696

พึงทราบความในบทว่า กามเหตุ เป็นต้นต่อไป ชื่อว่า กามเหตุ เพราะมีกามเป็นเหตุ ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย.

ชื่อว่า กามนิทาโน เพราะมีกามเป็นนิทาน ด้วยอรรถว่า เป็นรากเหง้า. แต่ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า กามนิทานํ เพราะลิงค์คลาดเคลื่อนไป.

ชื่อว่า กามาธิกรโณ เพราะมีกามเป็นอธิกรณ์ ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุ. ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า กามาธิกรณํ เพราะลิงค์คลาดเคลื่อนไปเหมือนกัน.

บทว่า กามานเมว เหตุ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนี้ เป็นนิยมวจนะ คำกำหนดแน่นอน. อธิบายว่า เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย.

บทว่า อุฏฺหโต หมั่นอยู่ คือ หมั่นด้วยความเพียรในการประกอบอาชีพ.

บทว่า ฆฏโต คือ ทำความเพียรติดต่อกันไปตั้งแต่ต้นจนถึงเบื้องปลาย.

บทว่า วายมโต คือ ทำความเพียรพยายามให้ก้าวหน้าต่อไป.

บทว่า นาภินิปฺผชฺชนฺติ คือ โภคสมบัติเหล่านั้นไม่เจริญ ไม่งอกงาม ในที่นั้น.

บทว่า โสจติ คือ ย่อมเศร้าโศก ด้วยความโศกมีกำลังเกิดขึ้นในใจ.

บทว่า กิลมติ คือ ย่อมลำบากด้วยทุกข์เกิดขึ้นในกาย.

บทว่า ปริเทวติ คือ ย่อมคร่ำครวญด้วยวาจา.

บทว่า อุรตฺตาฬิํ คือ ทุบอก.

บทว่า กนฺทติ คร่ำครวญ คือ ร้องไห้.

บทว่า สมฺโมหํ อาปชฺชติ ถึงความหลงใหล คือ มีความหลงใหลเช่นสลบ.

บทว่า โมฆํ คือ เปล่า.

บทว่า อผโล คือ ไม่มีผล.

บทว่า อารกฺขาธิกรณํ คือ เพราะเหตุรักษา.

บทว่า กินฺติ คือ ด้วยอุบายไรหนอ.

บทว่า ยมฺปิ เม คือ ทรัพย์ที่เรารวบรวมไว้ อันเกิดเพราะทำกสิกรรมเป็นต้น.

บทว่า ตมฺปิ โน นตฺถิ คือ บัดนี้ทรัพย์ของเราหมดไป.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 697

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุด้วยพระดำรัสมีอาทิว่า ปุน จ ปรํ ภิกฺขเว กามเหตุ ดังนี้ แล้วจึงทรงแสดงถึงโทษทั้งหลายต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กามเหตุ ความว่า แม้พระราชาทั้งหลายวิวาทกับพระราชา ก็เพราะกามเป็นเหตุ.

บทว่า กามนิทานํ เป็นภาวนปุงสกลิงค์. ความว่า วิวาทกันเพราะกามเป็นนิทาน (เหตุ).

แม้บทว่า กามาธิกรณํ ก็เป็นภาวนปุงสกลิงค์เหมือนกัน. ความว่า วิวาทกันเพราะกามเป็นอธิกรณ์ (เหตุ).

บทว่า กามานเมว เหตุ ความว่า วิวาทกันเพราะกามทั้งหลาย มีบ้าน นิคม ตำแหน่งเสนาบดี และตำแหน่งปุโรหิตเป็นต้น.

บทว่า อุปกฺกมนฺติ คือ ประหารกัน.

บทว่า อสิจมฺมํ คือ ดาบและโล่เป็นต้น.

บทว่า ธนุกลาปํ สนฺนยฺหิตฺวา คือ จับธนูสอดใส่แล่ง.

บทว่า อุภโตพยุฬฺหํ คือ ประชิดกันทั้งสองฝ่าย.

บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ คือ เข้าไป.

บทว่า อุสูสุ คือ ลูกศร. บทว่า วิชฺโชตลนฺเตสุ คือ ควงดาบ.

บทว่า เต ตตฺถ คือ ชนเหล่านั้น... ในสงครามนั้น.

อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ว่า อทฺธาวเลปนา อุปการิโย ป้อมอันมีปูนฉาบทาข้างบน ดังนี้ ต่อไป มนุษย์ทั้งหลายเอาอิฐก่อป้อมโดยสัณฐานดุจกีบม้า แล้วเอาปูนฉาบข้างบนป้อม ที่ทำอย่างนี้ท่านเรียกว่า อุปการิโย (ป้อมเชิงเทิน).

ป้อมเหล่านั้นเอายางไม้และเปือกตมฉาบทาข้างบน จึงชื่อว่า อทฺธาวเลปน ฉาบทาข้างบน.

บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ วิ่งไป ชนทั้งหลายถูกแทงด้วยหลาวเหล็กและหลาวไม้ที่เขาฝังไว้ข้างใต้ป้อมเหล่านั้น ไม่อาจขึ้นไปได้เพราะกำแพงลื่นจึงวิ่งเข้าไป.

บทว่า ฉกณาฏิยา คือ โคมัยที่น่าเกลียด.

บทว่า อภิวคฺเคน ด้วยฟ้าทับเหว คือ ฟ้าทับเหว มีงา ๗ อัน. คนทั้งหลายทำประตูด้วยงา อัน ยืนอยู่ข้างบนประตูตัดเชือกที่ผูกไว้กับ

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 698

ประตูนั้นแล้วทับคนที่มา ด้วยคิดว่า เราจักทำลายประตูเมืองเข้าไปด้วยฟ้าทับเหวนั้น.

บทว่า สนฺธิมฺปิ ฉินฺทนฺติ คือ โจรทั้งหลายย่อมตัดที่ต่อของเรือนบ้าง.

บทว่า นิลฺโลปํ ปล้น คือ ประหารชาวบ้านแล้วทำการปล้น.

บทว่า เอกาคาริกํ เรือนหลังเดียว คือ โจร ๕๐ คนบ้าง ๖๐ คนบ้าง ล้อมจับเป็นแล้วปล้นเอาทรัพย์ไป.

บทว่า ปริปนฺเถปิ ติฏฺนฺติ ยืนดักที่ทางเปลี่ยวบ้าง คือ ปล้นคนเดินทาง.

บทว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ ด้วยพลอง คือ ด้วยค้อน.

บทที่เหลือมีเนื้อความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๖

คาถาที่ ๗

๑๗) อีตี จ คณฺโฑ จ อุปทฺทโว จ โรโค จ สลฺลญฺจ ภยญฺจ เมตํ เอตํ ภยํ กามคุเณสุ ทิสฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลเห็นภัย เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นลูกศร และเป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

กามชื่อว่า อีติ เพราะเป็นเสนียด. บทนี้เป็นชื่อของเหตุแห่งความพินาศทั้งหลาย อันเป็นส่วนแห่งอกุศลที่จรมา. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านี้ ก็ชื่อว่า อีติ เสนียด เพราะนำมาซึ่งความพินาศไม่น้อย และ

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 699

เพราะตกจมไปอย่างหนัก. แม้ฝีที่บวมสุกกลัดหนองก็แตก มีของไม่สะอาดไหลออก. เพราะฉะนั้น กามเหล่านั้นชื่อว่า เป็นดังหัวฝี เพราะเป็นที่ไหลออกแห่งกิเลสซึ่งไม่สะอาด และเพราะกามทั้งหลายบวมพองขึ้น สุกแล้วแตกไปด้วยความเกิด ความแก่ และความดับ.

ชื่อว่า อุปทฺทโว เพราะอุบาทว์. อธิบายว่า อุบาทว์ยังความพินาศให้เกิดขึ้น ครอบงำ ท่วมทับซึ่งบุคคลผู้ติดอยู่ในกามนั้น. คำนี้เป็นชื่อของโทษทั้งหลายมีอาชญาแผ่นดินเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่า อุบาทว์ เพราะเป็นเหตุไม่ให้บุคคลถึงซึ่งพระนิพพานอันตนยังไม่ทราบแล้ว และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งอันตรายทั้งปวง.

ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านั้นยังความเดือดร้อนเพราะกิเลสให้เกิด หรือยังความปรารถนาในความไม่มีโรค กล่าวคือความเป็นปกติให้เกิดขึ้น ย่อมทำลายความไม่มีโรคคือความเป็นปกตินั่นเอง ฉะนั้น กามจึงชื่อว่าโรค เพราะอรรถว่า ทำลายความไม่มีโรค.

อนึ่ง ชื่อว่าเป็นดังลูกศร เพราะอรรถว่า เสียบเข้าไปภายใน เพราะอรรถว่า เจาะในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกไปได้ยาก.

ชื่อว่า ภยํ เพราะนำภัยในปัจจุบันและภพหน้ามา.

บทว่า เมตํ ตัดบทเป็น เม เอตํ.

บทที่เหลือชัดดีแล้ว. แม้บทสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า กามราคตฺตายํ คือ สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ.

บทว่า ฉนฺทราควินิพนฺโธ คือ อันฉันทราคะผูกพันด้วยความเสน่หา.

บทว่า ทิฏฺธมฺมิกาปิ คพฺภา จากครรภ์อันมีในปัจจุบัน คือ จากครรภ์ ได้แก่ สฬายตนะอันเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน.

บทว่า สมฺปรายิกาปิ ภยา คือ จากครรภ์ ได้แก่ สฬายตนะในโลกหน้า.

บทว่า น ปริมุจฺจติ คือ ไม่สามารถ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 700

พ้นไปได้.

บทว่า โอติณฺโณ สาตรูเปน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี คือ ก้าวลง หยั่งลงด้วยราคะ อันมีสภาพอร่อย.

บทว่า ปลิปถํ คือ สู่ทางมีเปือกตมคือกาม.

บทว่า ทุคฺคํ คือ ข้ามได้ยาก.

จบคาถาที่ ๗

คาถาที่ ๘

๑๘) สีตญฺจ อุณหญฺจ ขุทํ ปิปาสํ วาตาตเป ฑํสสิริํสเป จ สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงครอบงำภัยเหล่านี้แม้ทั้งปวง คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ลม แดด เหลือบ และสัตว์เสือกคลานแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

ความหนาวมี ๒ อย่าง คือ ธาตุภายในกำเริบเป็นปัจจัย ๑ ธาตุ ภายนอกกำเริบเป็นปัจจัย ๑.

ความร้อนก็เหมือนกัน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ฑํส คือ เหลือบ.

บทว่า สิริํสเป คือ สัตว์เลื้อยคลานจำพวกใดจำพวกหนึ่งซึ่งเลื้อยคลานไป.

บทที่เหลือชัดดีแล้ว. แม้บทสรุปก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๘

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 701

คาถาที่ ๙

๑๙) นาโคว ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา สญฺชาตกฺขนฺโธ ปทุมี อุฬาโร ยถาภิรนฺตํ วิหเร อรญฺเ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า ตามอภิรมย์ เหมือนนาค ละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คาถาที่ ๙ ปรากฏแล้วโดยความของบทนั่นแล.

ในคาถานี้โยชนาอธิบายไว้ดังนี้.

คาถานั้นปรากฏโดยข้อยุติ ไม่ใช่ปรากฏโดยฟังตามกันมา.

ช้างนี้ชื่อว่า นาค เพราะไม่มาสู่สถานที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะฝึกในศีลที่พวกมนุษย์พอใจ หรือเพราะเป็นสัตว์มีกายใหญ่ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ชื่อว่า นาค เพราะไม่มาสู่สถานที่ยังมิได้ฝึก เพราะมีสรีระใหญ่ เพราะฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยะพอใจ เพราะไม่กระทำบาป และไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก หรือเพราะเหตุที่ตนมีสรีระคือคุณใหญ่.

ช้างนี้ละโขลงแล้ว อยู่ในป่าตามความพอใจ ด้วยความสุขอันเกิดจากการเที่ยวไปผู้เดียว พึงเที่ยวไปผู้เดียวในป่าเหมือนนอแรดฉะนั้น ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ละหมู่คณะแล้ว อยู่ในป่าตามความพอใจ ด้วยความสุขเกิดแต่ฌาน อันเป็นความสุขที่มีแต่ความยินดียิ่งส่วนเดียว ปรารถนาความสุขตามแต่ตนจะพึงจะหาได้ อยู่ในป่านั้น พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 702

อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะมีร่างกายตั้งอยู่ได้เป็นอย่างดีฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ใหญ่ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ.

อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีตัวดังดอกบัว เพราะมีร่างกายเช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างปทุมฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่ามีธรรมดังดอกบัว เพราะมีธรรมคือโพชฌงค์เช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในปทุม คือชาติของพระอริยะ.

อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีเรี่ยวแรงและกำลังเร็วเป็นต้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีความประพฤติชอบทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือเพราะมีศีลสมาธิและปัญญาหลักแหลมเป็นต้น. เราเมื่อคิคอยู่อย่างนี้จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ ด้วยประการฉะนี้.

จบคาถาที่ ๙

คาถาที่ ๑๐

๒๐) อฏฺาน ตํ สงฺคณิการตสฺส ยํ ผุสฺสเย สามยิกํ วิมุตฺติํ อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าได้กล่าว ๓ บาทแห่งคาถาว่า)

บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 703

คลุกคลีด้วยคณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (พระกุมารได้กล่าวหนึ่งบาทที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า อาทิจจพันธุ์ กล่าวแล้วให้บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อฏฺาน ตํ คือ อฏฺานํ ตํ ได้แก่ เหตุนั้น ไม่เป็นฐานะ อธิบายว่า นั้นไม่ใช่เหตุ. ลบนิคคหิตเสียเป็น อฏฺาน ดุจในบทมีอาทิว่า อริยสจฺจาน ทสฺสนํ.

บทว่า สงฺคณิการตสฺส คือ ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่.

บทว่า ยํ นี้ เป็นคำแสดงถึงเหตุ ดุจในบทว่า ยํ หิริยติ หิริตพฺเพน ย่อมละอายด้วยเหตุใด พึงละอายด้วยเหตุนั้น.

บทว่า ผุสฺสเย พึงถูกต้อง คือ พึงบรรลุ.

บทว่า สามยิกํ วิมุตฺติํ วิมุตติอันมีในสมัย ได้แก่ โลกิยสมาบัติ.

จริงอยู่ โลกิยสมาบัตินั้นท่านเรียกว่า สามายิกา วิมุตฺติ วิมุตติอันมีในสมัย เพราะพ้นแล้วจากข้าศึกในสมัยที่จิตแนบแน่นอิ่มเอิบนั่นเอง. ซึ่งวิมุตติอันมีในสมัยนั้น.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตตินั้น อันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุนั้นไม่ใช่ฐานะของบุคคลผู้ยินดีด้วยความคลุกคลีด้วยหมู่ เราใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว ละความยินดีด้วยความคลุกคลีด้วยหมู่ ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุดังนี้.

บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.

บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ ได้แก่ ความสุขในการบรรพชา.

บทว่า ปวิเวกสุขํ ได้แก่ ความสุขในกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก.

บทว่า อุปสมสุขํ ได้แก่ ความ

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 704

สุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติอันสงบจากกิเลส.

บทว่า สมฺโพธิสุขํ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ คือ มรรคสุข.

บทว่า นิกามลาภี คือ ผู้มีปกติได้ตามความประสงค์ด้วยอำนาจความชอบใจของตน.

บทว่า อกิจฺฉลาภี คือ ผู้มีปกติได้ไม่ยาก.

บทว่า อกสิรลาภี ได้โดยไม่ลำบาก คือ ได้ไพบูลย์.

บทว่า อสามายิกํ อันไม่มีในสมัย คือ โลกุตระ.

บทว่า อกุปฺปํ อันไม่กำเริบ คือ โลกุตรมรรคอันไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบ.

จบคาถาที่ ๑๐

จบอรรถกถาวรรคที่ ๒

อรรถกถาตติยวรรค

คาถาที่ ๑

๒๑) ทิฏฺีวิสูกานิ อุปาติวตฺโต ปตฺโต นิยามํ ปฏิลทฺธมคฺโค อุปฺปนฺนาโณมฺหิ อนญฺเนยฺโย เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามได้แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒.

ก็ทิฏฐิ

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 705

เหล่านั้นชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่า ทำร้ายเสียบแทง เป็นข้าศึกแห่งมรรคสัมมาทิฏฐิ.

เสี้ยนหนามแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ชื่อว่า ทิฏฺิวิสูกานิ. หรือว่าทิฏฐินั่นแลเป็นเสี้ยนหนาม ชื่อว่า ทิฏฺิวิสูกานิ.

บทว่า อุปาติวตฺโต คือ ล่วงแล้วด้วยมรรคทัสสนะ.

บทว่า ปตฺโต นิยามํ ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม คือ บรรลุแล้วซึ่งความเป็นของเที่ยงแห่งความเป็นธรรม ไม่ตกต่ำ และความตรัสรู้ในเบื้องหน้า. หรือบรรลุปฐมมรรคอันได้แก่ สัมมัตตนิยาม (นิยามอันชอบ).

ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงความสำเร็จแห่งกิจในปฐมมรรค และการได้ปฐมมรรคนั้น.

บัดนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงการได้มรรคที่เหลือ ด้วยบทนี้ว่า ปฏิลทฺธมคฺโค มีมรรคอันได้แล้ว ดังนี้.

บทว่า อุปฺปนฺนาโณมฺหิ เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว คือ เราเป็นผู้มีปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้นแล้ว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงผลด้วยญาณนี้.

บทว่า อนญฺเนยฺโย อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ คือ อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำว่า นี้เป็นสัจจะ ดังนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงความเป็นพระสยัมภูด้วยบทนี้. หรือแสดงความเป็นผู้ชำนาญด้วยตนเอง ไม่มีผู้อื่นแนะนำในปัจเจกโพธิญาณ. หรือล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลายด้วยวิปัสสนา ถึงมรรคนิยามด้วยมรรคเบื้องต้น เป็นผู้มีมรรคอันได้แล้วด้วยมรรคที่เหลือ เป็นผู้มีญาณอันเกิดแล้วด้วยผลญาณ.

ชื่อว่า อนญฺเนยฺโย เพราะบรรลุมรรคทั้งหมดนั้นด้วยตนเอง.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า น ปรเนยฺโย คือ ผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ.

บทว่า น ปรปตฺติโย ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น คือ เพราะเป็นธรรมประจักษ์อยู่แล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น.

บทว่า น ปรปจฺจโย ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย คือ ไม่พึงมีผู้อื่นเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 706

ไม่เป็นไปด้วยศรัทธาของผู้อื่น.

บทว่า น ปรปฏิพทฺธคู คือ ไม่ไปด้วยญาณอันเนื่องด้วยผู้อื่น.

จบคาถาที่ ๑

คาถาที่ ๒

๒๒) นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห นิราสโย สพฺพโลเก ภวิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำโลกทั้งโลกได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า นิลฺโลลุโป คือ เป็นผู้ไม่โลภ.

จริงอยู่ ผู้ใดถูกตัณหาในรสครอบงำ ผู้นั้นย่อมโลภจัดคือโลภบ่อยๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โลลุปฺโป เป็นผู้โลภจัด. เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เมื่อห้ามความโลภจัดนั้น จึงกล่าวว่า นิลฺโลลุโป เป็นผู้ไม่โลภจัด.

พึงทราบความในบทว่า นิกฺกุโห ไม่โกหก ดังต่อไปนี้ วัตถุสำหรับโกหก ๓ อย่างไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านเรียกว่า นิกฺกุโห เป็นผู้ไม่โกหก.

คาถานี้มีอธิบายว่า ชื่อว่า นิกฺกุโห เพราะไม่ถึงความประหลาดใจในชน

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 707

เป็นต้น โดยความพอใจ.

ในบทว่า นิปฺปิปาโส นี้ความว่า ความปรารถนาที่ปรากฏ ชื่อว่า ปิปาสา. เพราะความไม่มีปิปาสานั้น ชื่อว่า นิปฺปิปาโส. อธิบายว่า เป็นผู้พ้นจากความใคร่บริโภคด้วยความโลภในรสอร่อย.

ในบทว่า นิมฺมกฺโข นี้ ความว่า ชื่อว่า มักโข อันมีลักษณะทำคุณผู้อื่นให้พินาศ เพราะไม่มีมักขะนั้น ชื่อว่า นิมมักขะ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวหมายถึงความไม่ลบหลู่คุณของผู้อื่น เมื่อครั้งตนยังเป็นคฤหัสถ์.

พึงทราบความในบทนี้ว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห ความว่า มีโมหะดังรสฝาด อันกำจัดแล้วต่อไป.

ธรรม ๖ อย่าง คือ อกุศล ๓ มีราคะเป็นต้น และทุจริต ๓ มีกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่าเป็น กสาว รสฝาด เพราะอรรถว่า ไม่ผ่องใสตามกำเนิด เพราะอรรถว่า ละภาวะของตนแล้วถือเอาภาวะอื่น และเพราะอรรถว่า เป็นกาก เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า รสฝาด ๓ อย่าง คืออะไร กสาวะรสฝาด ๓ อย่าง เหล่านี้คือ ราคกสาวะ รสฝาด คือราคะ ๑ โทสกสาวะ รสฝาดคือโทสะ๑. โมหกสาวะ รสฝาดคือโมหะ ๑.

อีกนัยหนึ่ง กสาวะรสฝาด ๓ คือ กายกสาวะ รสฝาดกาย ๑ วจีกสาวะ รสฝาดทางวาจา ๑ มโนกสาวะ รสฝาดทางใจ ๑.

ในรสฝาดเหล่านั้น ชื่อว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห เพราะกำจัดกิเลสดังรสฝาด ๕ เว้นโมหะ และกำจัดโมหะอันเป็นรากเหง้าแห่งกิเลสดังรสฝาดทั้งหมดเหล่านั้น หรือชื่อว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห เพราะกำจัดกิเลสดังรสฝาดทางกายวาจาและใจ ๓ อย่าง และโมหะ.

ในบทนอกนี้เป็นอันได้ความสำเร็จว่า กำจัดรสฝาดคือราคะ ด้วย

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 708

ความไม่โลภเป็นต้น กำจัดรสฝาดคือโทสะ ความเป็นผู้ไม่ลบหลู่.

บทว่า นิราสโย ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความอยาก.

บทว่า สพฺพโลเก คือ สากลโลก. อธิบายว่า เป็นผู้ปราศจากภวตัณหาและวิภวตัณหาในภพ ๓ และในอายตนะ ๑๒.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อีกอย่างหนึ่ง พึงกล่าวแม้ ๓ วาระแล้วทำความเชื่อมในบทนี้ อย่างนี้ว่า เอโก จเร พึงเที่ยวไปผู้เดียวบ้าง หรืออย่างนี้ว่า เอโก จริตุํ สกฺกุเณยฺย พึงสามารถเพื่อเที่ยวไปผู้เดียวบ้าง.

จบคาถาที่ ๒

คาถาที่ ๓

๒๓) ปาปํ สหายํ ปริวชฺชเยถ อนตฺถทสฺสิํ วิสเม วิวิฏํ สยํ น เสเว ปสุตํ ปมตฺตํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึงเสพด้วยตนเองซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ใน คาถาที่ ๓ มีความย่อดังต่อไปนี้.

สหายชื่อว่า ลามก เพราะประกอบด้วยทิฏฐิลามก ๑๐ อย่าง.

ชื่อว่า ผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะแสดงความพินาศแก่คนอื่น

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 709

และเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ มีกายทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้รักตนพึงเว้นสหายลามกนั้น ผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ดังอยู่ในธรรมไม่เสมอ ไม่ควรเสพด้วยตนเอ ง คือด้วยอำนาจของตน ด้วยประการฉะนี้.

ท่านกล่าวว่า ก็ผิว่าเป็นอำนาจของผู้อื่น สามารถจะทำอย่างไร.

บทว่า ปสุตํ ขวนขวาย อธิบายว่า ติดอยู่ในบาปธรรมนั้นๆ ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.

บทว่า ปมตฺตํ คนประมาท คือ ผู้ปล่อยจิตไปแล้วในกามคุณ หรือเว้นจากกุศลภาวนา. บุคคลไม่พึงเสพ คือไม่พึงคบ ได้แก่ไม่พึงเข้าใกล้บุคคลเห็นปานนั้น โดยที่แท้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สยํ น เสเวยฺย คือ ไม่พึงเข้าไปหาด้วยตนเอง.

บทว่า สามํ น เสเวยฺย คือ ไม่พึงเข้าไปใกล้แม้ด้วยใจ.

บทว่า น เสเวยฺย คือ ไม่พึงคบ.

บทว่า น นิเสเวยฺย ไม่ควรอาศัยเสพ คือ ไม่เข้าไปแม้ในที่ใกล้.

บทว่า น สํเสเวยฺย ไม่ควรร่วมเสพ คือ พึงอยู่ให้ไกล.

น ปฏิเสเวยฺย ไม่ควรซ่องเสพ คือ หลีกไปเสีย.

จบคาภาที่ ๓

คาถาที่ ๔

๒๔) พหุสฺสุตํ ธมฺมธรํ ภเชถ มิตฺตํ อุฬารํ ปฏิภาณวนฺตํ อญฺาย อตฺถานิ วิเนยฺย กงฺขํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 710

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ ผู้รู้จักประโยชน์ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ใน คาถาที่ ๔ มีความย่อดังนี้.

บทว่า พหุสฺสุตํ คือ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ พวก คือ ผู้เป็นพหูสูตในปริยัติ ในพระไตรปิฎกโดยเนื้อความทั้งสิ้น ๑ และผู้เป็นพหูสูตในปฏิเวธ เพราะแทงตลอดมรรค ผล วิชชาและอภิญญา ๑.

ผู้มีอาคมอันมาแล้ว โดยการทรงจำไว้ได้ ชื่อว่า ผู้ทรงธรรม. ส่วนท่านผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันโอฬาร ชื่อว่า ผู้มีคุณยิ่ง.

ท่านผู้มีปฏิภาณอันประกอบแล้ว ผู้มีปฏิภาณอันพ้นแล้ว และผู้มีปฏิภาณทั้งประกอบแล้วทั้งพ้นแล้ว ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓ พวก คือ ปริยัตติปฏิภาณ ๑ ปริปุจฉาปฏิภาณ ๑ อธิคมปฏิภาณ ๑.

ผู้แจ่มแจ้งในปริยัติ ชื่อว่า ปริยัตติปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ.

ผู้แจ่มแจ้งคำสอบถาม เมื่อเขาถามถึงอรรถ ไญยธรรม ลักษณะ ฐานะ อฐานะ ชื่อว่า ปริปุจฉาปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในการสอบถาม.

ผู้แทงตลอดคุณวิเศษทั้งหลายมีมรรคเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิเวธปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในปฏิเวธ.

บุคคลควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณเห็นปานนั้น แต่นั้นด้วยอานุภาพของมิตรนั้นได้รู้ประโยชน์มากมาย โดย

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 711

แยกเป็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือโดยแยกเป็นประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภพหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง แต่นั้น กำจัดความสงสัยทำความเคลือบแคลงให้หมดไป ในฐานะแห่งความสงสัยมีอาทิว่า เราได้เป็นแล้วตลอดกาลในอดีตหรือหนอ เป็นผู้กระทำกิจทุกอย่างสำเร็จแล้วอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

จบคาถาที่ ๔

คาถาที่ ๕

๒๕) ขิฑฺฑํ รติํ กามสุขญฺจ โลเก อนลงฺกริตฺวา อนเปกฺขมาโน วิภูสนฏฺานา วิรโต สจฺจวาที เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลกแล้ว ไม่อาลัยอยู่ เว้นจากฐานะแห่งการประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

การเล่นและความยินดีได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน.

บทว่า กามสุขํ คือ สุขในวัตถุกาม.

จริงอยู่ แม้วัตถุกามท่านก็กล่าวว่าเป็นความสุข โดยความเป็นวิสัยเป็นต้นของความสุข. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูป

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 712

เป็นสุข ตกถึงความสุขมีอยู่ดังนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโอกาสโลกนี้ ไม่คำนึงอย่างนี้ว่า มีประการดังนี้ หรือเป็นสาระ.

บทว่า อนเปกฺขมาโน ไม่อาลัย คือ มีปกติไม่เพ่งเล็งด้วยไม่ทำความพอใจ ไม่มักได้ ไม่อยาก เว้นจากฐานะแห่งการประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว.

ในบทเหล่านั้น เครื่องประดับมี ๒ อย่าง คือ เครื่องประดับสำหรับผู้ครองเรือน มีผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้และของหอมเป็นต้น ๑. เครื่องประดับสำหรับบรรพชิต มีเครื่องแต่งร่มเป็นต้น ๑.

เครื่องประดับนั่นแล ชื่อว่าฐานะแห่งการประดับ. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความอย่างนี้ว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเว้นจากฐานะแห่งการประดับ ด้วยวิรัติแม้ ๓ อย่าง เป็นผู้พูดจริง เพราะพูดไม่เหลวไหล ดังนี้.

จบคาถาที่ ๕

คาถาที่ ๖

๒๖) ปุตฺตญฺจ ทารํ ปิตรญฺจ มาตรํ ธนานิ ธญฺานิ จ พนฺธวานิ หิตฺวาน กามานิ ยโถธิกานิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่งตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 713

บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะ มีแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน และทองเป็นต้น.

บทว่า ธญฺานิ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ๑ ข้าวเปลือก ๑ ข้าวเหนียว ๑ ข้าวละมาน ๑ ข้าวฟ่าง ๑ ลูกเดือย ๑ หญ้ากับแก้ ๑ และอปรัณณชาติที่เหลือ.

บทว่า พนฺธวานิ ได้แก่ พวกพ้อง ๔ ประเภท คือ พวกพ้องที่เป็นญาติ ๑ พวกพ้องทางโคตร ๑ พวกพ้องทางมิตร ๑ พวกพ้องทางศิลปะ ๑.

บทว่า ยโถธิกานิ กามทั้งหลายตามส่วน คือ กามทั้งหลายตั้งอยู่ตามส่วนของตนๆ.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๖

คาถาที่ ๗

๒๗) สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย คณฺโฑ เอโส อิติ ตฺวา มติมา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สงฺโค เอโส กามนี้เป็นเครื่องข้อง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงเครื่องอุปโภคของตน. ก็กามนั้น ชื่อว่า สงฺโค เพราะสัตว์

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 714

ทั้งหลายย่อมข้องอยู่ในกามนั้น ดุจช้างติดอยู่ในเปือกตมฉะนั้น.

บทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ มีความสุขน้อย คือ ในเบญจกามคุณนี้มีความสุขน้อย เพราะเป็นของต่ำทราม โดยให้เกิดความสำคัญผิดในการบริโภคกามคุณ ๕ หรือเพราะนับเนื่องในธรรมอันเป็นกามาวจร. ท่านอธิบายว่า เป็นไปชั่วกาลนิดหน่อย ดุจความสุขในการเห็นการฟ้อนที่สว่างแวบขึ้นจากแสงฟ้าแลบฉะนั้น.

บทว่า อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ความว่า ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขโสมนัสใดแลเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ ความสุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่าเป็นความยินดีของกามทั้งหลาย, พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงทุกข์โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการแสดงศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยการนับนิ้วมือบ้าง ด้วยการคำนวณบ้าง เพราะเปรียบกับทุกข์นั้น ความสุขในกามคุณจึงชื่อว่าน้อย คือเท่าประมาณหยาดน้ำ ที่แท้ความทุกข์เท่านั้นมากยิ่ง เปรียบได้กับน้ำในสมุทรทั้งสี่ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดังนี้.

บทว่า คโฬ เอโส กามนี้เป็นดังเบ็ด ความว่า กามนี้เป็นดังเบ็ด คือ กามคุณ ๕ ด้วยสามารถการแสดงความยินดีแล้วดึงมา.

บทว่า อิติ ตฺวา มติมา ผู้มีปัญญารู้แล้ว คือ บุรุษผู้มีปัญญาเป็นบัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว ละกามนั้นทั้งหมด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

จบคาถาที่ ๗

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 715

คาถาที่ ๘

๒๘) สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ ชาลํ ว เฉตฺวา สลิลมฺพุจารี อคฺคีว ทฑฺฒํ อนิวตฺตมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟไม่หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ ๒ แห่ง คาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

สิ่งที่ทำด้วยด้ายท่านเรียกว่า ชาลํ ข่าย.

บทว่า อมฺพุ คือ น้ำ.

ชื่อว่า อมฺพุจารี เพราะเที่ยวไปในน้ำนั้น.

บทนี้เป็นชื่อของปลา. ปลาย่อมเที่ยวไปในน้ำ จึงชื่อว่า สลิลมฺพุจารี. ท่านอธิบายว่า เหมือนปลาทำลายข่ายในน้ำฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ ๓ ดังนี้.

บทว่า ทฑฺฒํ ท่านกล่าวถึงที่ที่ถูกไฟไหม้. อธิบายว่า ไฟที่ไหม้มิได้กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว คือว่าไม่กลับมาไหม้ลามในที่นั้นอีก ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ไม่กลับมาสู่ที่แห่งกามคุณ ที่ไฟคือมรรคญาณไหม้แล้ว คือว่าไม่หวนกลับมาในกามคุณนั้นอีก ฉันนั้น.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล

คำว่า สญฺโชนานิ มีวิเคราะห์ว่า กิเลสเหล่าใดมีอยู่แก่บุคคลใดก็ย่อมผูกพัน คือว่าย่อมร้อยรัดบุคคลนั้นไว้ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น กิเลสเหล่านั้นจึงชื่อว่า สังโยชน์.

อนึ่ง ควรนำสังโยชน์เหล่านี้มาตามลำดับของกิเลสบ้าง ตามลำดับของมรรคบ้าง คือ

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 716

กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.

มานสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.

ทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.

ภวราคสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.

อิสสาและมัจฉริยะ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.

กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.

มานสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ และอวิชชาสังโยชน์ ละไว้ด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า ภินฺทิตฺวา คือ ทำลาย.

บทว่า สมฺภินฺทิตฺวา ฉีก คือ ทำให้เป็นช่อง.

บทว่า ทาลยิตฺวา คือ แหวกไป.

บทว่า ปทาลยิตฺวา คือ ลอดไป.

บทว่า สมฺปทาลยิตฺวา คือ ลอดออกไป.

จบคาถาที่ ๘

คาถาที่ ๙

๒๙) โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาทโลโล คุตฺตินฺทฺริโย รกฺขิตมานสาโน อนวสฺสุโต อปริฑยฺหมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่เหลวไหลเพราะเท้า มีอินทรีย์คุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 717

ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และอันไฟคือกิเลสไม่เผาอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง คือ มีจักษุทอดลงเบื้องต่ำ.

ท่านอธิบายว่า ภิกษุตั้งกระดูกคอทั้ง ๗ ท่อนไว้ตามลำดับ แล้วเพ่งดูชั่วแอกเพื่อดูสิ่งที่ควรเว้นและควรถือเอา อธิบายว่า ภิกษุยืนไม่ให้กระดูกหัวใจกระทบกับกระดูกคาง. ก็การที่ภิกษุเป็นผู้มีตาทอดลงอย่างนี้ไม่เป็นสมณสารูป คือไม่ควรแก่สมณะ.

บทว่า น จ ปาทโลโล ไม่เหลวไหลเพราะเท้า คือ ไม่ทำเป็นเหมือนคนที่คันเท้า ปรารถนาจะเข้าไปสู่ท่ามกลางคณะอย่างนี้ คือเป็นคนที่สองของคนคนเดียว เป็นคนที่ ๓ ของคนสองคน เป็นผู้เว้นจากการเที่ยวไปนาน คือเที่ยวไปไม่หยุด.

บทว่า คุตฺตินฺทฺริโย มีอินทรีย์คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้ง ๖ ด้วยบทที่เหลือ ซึ่งกล่าวแยกไว้ต่างหากในที่นี้.

บทว่า มานสา ในคำว่า รกฺขิตมานสาโน ได้แก่ มานัส ใจนั่นเอง ใจนั้นอันบุคคลนั้นรักษาแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า รกฺขิตมานสาโน ผู้มีใจอันตนรักษาแล้ว.

บทว่า อนวสฺสุโต ได้แก่ ผู้เว้นแล้วจากการตามรั่วรดของกิเลสในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ ด้วยการปฏิบัตินี้.

บทว่า อปริฑยฺหมาโน ไฟกิเลสมิได้เผา คือ กิเลสมิได้เผาเพราะเว้นจากการรั่วรดของกิเลสอย่างนี้.

อนึ่ง ผู้อันกิเลสในภายนอกไม่รั่วรด กิเลสในภายในไม่เผาอยู่.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูปได้ ที่เรียกตามโวหารว่าจักษุ ด้วยอำนาจแห่งเหตุ.

ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จักษุย่อมไม่เห็นรูป เพราะ

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 718

ไม่มีจิต จิตก็ย่อมไม่เห็นรูปเพราะไม่มีจักษุ (แต่) บุคคลย่อมเห็นด้วยจิตอันมีประสาทรูปเป็นวัตถุ เพราะกระทบกันระหว่างทวารกับอารมณ์.

ก็คำพูดเช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา (พูดรวมๆ ไป) เหมือนในประโยคว่า ก็สิ่งเช่นนี้ๆ ย่อมถูกยิงด้วยธนูฉะนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงมีความอย่างนี้ว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณดังนี้.

บทว่า นิมิตฺตคฺคหี ถือนิมิต คือ ถือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีนิมิตหญิงและชาย หรือนิมิตว่างามเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งฉันทราคะ ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพียงเห็น.

บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือ ย่อมถือด้วยอาการแห่งมือ เท้า การหัวเราะ การเจรจา การเหลียวดูเป็นต้น ที่เรียกตามโวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะทำกิเลสทั้งหลายให้ปรากฏโดยอนุพยัญชนะ.

ในบทว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ เป็นต้น มีความดังต่อไปนี้. ซึ่งบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยหน้าต่างคือสติ ผู้มีจักษุทวารไม่ปิดแล้ว เพราะเหตุแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นเหตุให้ธรรมมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ครอบงำคือตามผูกพัน.

บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ ปฏิบัติเพื่อไม่สำรวมจักขุนทรีย์นั้น คือไม่ปฏิบัติเพื่อปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยหน้าต่างคือสติ.

ท่านกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่าไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์.

การสำรวมหรือไม่สำรวมย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์นั้น ด้วยว่าสติหรือความหลงลืมสติหาได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทไม่ ถึงอย่างนั้น เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองแห่งจักษุในกาลใด ในกาลนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นสองครั้งแล้วดับไป กิริยามโนธาตุเกิดขึ้น ยัง อาวัชชนกิจ ให้สำเร็จ แล้วดับไป.

แต่นั้นจักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นทำ สันตีรณกิจ คือทำหน้าที่

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 719

เห็นแล้วดับไป, จากนั้นวิปากมโนธาตุเกิดขึ้นให้สำเร็จ สัมปฏิจฉนกิจ คือทำหน้าที่รับแล้วดับไป. จากนั้นวิบากมโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกะเกิดขึ้นให้สำเร็จ สันตีรณกิจ คือทำหน้าที่พิจารณาแล้วดับไป. จากนั้นกิริยามโนวิญาณธาตุอันเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น ยัง โวฏฐัพพนกิจ คือการตัดสินอารมณ์ให้สำเร็จแล้วดับไป, ในลำดับนั้น ชวนจิต ย่อมแล่นไป.

แม้ในข้อนั้นความสำรวมหรือไม่สำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่ง ภวังคจิต ย่อมไม่มีในสมัยแห่งจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ในสมัยใดสมัยหนึ่ง.

แต่ในขณะแห่งชวนจิต หากว่าความเป็นผู้ทุศีลก็ดี ความเป็นผู้หลงลืมสติก็ดี ความไม่รู้ก็ดี ความไม่อดทนก็ดี ความเกียจคร้านก็ดี ย่อมเกิดขึ้น ความสำรวมย่อมมีไม่ได้.

ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้นั้นท่านกล่าวว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์.

เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันไม่สำรวมแล้ว.

เปรียบเหมือนอะไร. เปรียบเหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในพระนครไม่ปิด ถึงจะปิดเรือนประตูซุ้มและห้องภายในเป็นต้นก็ดี ฉันใด ถึงอย่างนั้นสิ่งของทั้งหมดภายในพระนครก็เป็นอันเขาไม่รักษา ไม่คุ้มครองเหมือนกัน เพราะโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูพระนคร ย่อมฉกฉวยเอาสิ่งที่ต้องการไปได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในชวนจิต เมื่อความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันบุคคลนั้นไม่สำรวมแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ ดังต่อไปนี้.

บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ ไม่ถือนิมิต คือ ไม่ถือนิมิตดังกล่าว

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 720

แล้วด้วยอำนาจแห่งฉันทราคะ.

พึงทราบแม้บทที่เหลือ โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

เหมือนอย่างว่า คำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังว่า เมื่อความทุศีลเกิดขึ้นแล้วในชวนะ เมื่อความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันตนไม่ได้สำรวมแล้ว ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นบังเกิดขึ้นแล้ว ในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตอันมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันตนคุ้มครองแล้วเหมือนกัน.

เปรียบเหมือนอะไร. เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครรักษา (ปิด) แล้ว ถึงแม้เรือนภายในเป็นต้นไม่รักษา (ไม่ปิด) ก็จริง ถึงกระนั้นสิ่งของทั้งหมดในภายในพระนคร ก็ย่อมเป็นอันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วทีเดียว เพราะเมื่อประตูพระนครปิด พวกโจรก็เข้าไปไม่ได้ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นบังเกิดขึ้นแล้วในชวนะ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันตนคุ้มครองแล้วฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความสำรวมแม้เกิดขึ้นในขณะชวนจิต ก็ชื่อว่าความสำรวมในจักขุนทรีย์.

บทว่า อวสฺสุตปริยายญฺจ คือ อวัสสุตปริยายสูตรว่าด้วยเหตุแห่งการชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า อนวสฺสุตปริยายญฺจ คือ อนวัสสุตปริยายสูตรว่าด้วยเหตุแห่งการไม่ชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า ปิยรูเป รูเป ย่อมยินดีในรูปอันเป็นรูปที่น่ารัก คือ ในรูปารมณ์อันน่าปรารถนา.

บทว่า อปฺปิยรูเป รูเป ย่อมยินร้ายในรูปอันเป็นในรูปที่ไม่น่ารัก คือ ในรูปารมณ์อันมีสภาวะที่ไม่น่าปรารถนา.

บทว่า พฺยาปชฺชติ ย่อมยินร้าย คือ ถึงความเน่าด้วยอำนาจโทสะ.

บทว่า โอตารํ ได้แก่ ช่อง คือ ระหว่าง.

บทว่า อารมฺมณํ คือ ปัจจัย.

บทว่า อภิภวิํสุ

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 721

ครอบงำ คือ ย่ำยี.

บทว่า น อภิภวิ คือ ไม่ย่ำยี.

บทว่า พหลมตฺติกา มีดินหนา คือ มีดินหนาพูนขึ้นด้วยการฉาบทาบ่อยๆ.

บทว่า อลฺลาวเลปนา มีเครื่องฉาบทาอันเปียก คือ ฉาบทาด้วยดินที่ไม่แห้ง.

บทที่เหลือในนิเทศนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบคาถาที่ ๙

คาถาที่ ๑๐

๓๐) โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา ปาริฉตฺโต กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละเพศแห่งคฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวช ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตวา ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช พึงทราบความของบทนี้อย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้วครองผ้ากาสายะ.

บทที่เหลือสามารถรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๑๐

จบอรรถกถาตติยวรรค

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 722

อรรถกถาจตุตถวรรค

คาถาที่ ๑

๓๑) รเสสุ เคธํ อกรํ อโลโล อนญฺโปสี สปทานจารี กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่กระทำความติดใจในรสทั้งหลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ไม่เลี้ยงผู้อื่น มีปกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑ แห่ง จตุตถวรรค ดังต่อไปนี้.

บทว่า รเสสุ ในรสทั้งหลาย คือ ในของควรลิ้มมีรสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม เฝื่อน ฝาด เป็นต้น.

บทว่า เคธํ อกรํ ไม่ทำความติดใจ คือ ไม่ทำความติดใจ คือความพอใจ. ท่านอธิบายว่า ไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้น.

บทว่า อโลโล ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล คือ ไม่วุ่นวายในรสวิเศษอย่างนี้ว่า เราจักลิ้มรสนี้ ดังนี้.

บทว่า อนญฺโปสี ไม่เลี้ยงผู้อื่น คือ ไม่มีสัทธิวิหาริกที่จะต้องเลี้ยงเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า ยินดีเพียงทรงกายอยู่ได้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงว่า แมลงผึ้งซึ่งติดในรสทั้งหลาย (ของดอกไม้) ในอุทยานในกาลก่อน เป็นผู้มีตัณหา เลี้ยงดูผู้อื่น (คือลูกอ่อนในรัง) ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่เป็นเช่นนั้น ละตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ทำความ

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 723

ติดในรสทั้งหลายเสียได้ เป็นผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่ให้เกิดอัตภาพอื่น อันมีตัณหาเป็นมูลต่อไป.

อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลายท่านเรียกว่า ผู้อื่น เพราะอรรถว่า หักรานประโยชน์ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าไม่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น.

บทว่า สปทานจารี เที่ยวไปตามลำดับตรอก คือ ไม่เที่ยวแวะเวียน คือเที่ยวไปตามลำดับ. อธิบายว่า ไม่ทิ้งลำดับเรือน เข้าไปบิณฑบาตตามลำดับทั้งตระกูลมั่งคั่งและตระกูลยากจน.

บทว่า กุเส กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล ความว่า มีจิตไม่เกี่ยวข้องด้วยอำนาจกิเลสในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บรรดาตระกูลกษัตริย์ เป็นต้น. เปรียบเหมือนพระจันทร์ใหม่อยู่เป็นนิจ.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๑

คาถาที่ ๒

๓๒) ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส อุปกฺกิเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ อนิสฺสิโต เฉตา เสฺนหโทสํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวง ผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย ตัดความรักและควานชังได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 724

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อาวรณานิ เครื่องกั้นจิต คือ นิวรณ์นั่นเอง. นิวรณ์เหล่านั้นท่านกล่าวไว้แล้วในอุรคสูตรโดยอรรถ. แต่เพราะนิวรณ์เหล่านั้นกั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้นบังดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ฉะนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละนิวรณ์เหล่านั้นได้ด้วยอุปจาระหรือด้วยอัปปนา.

บทว่า อุปกฺกิเลเส กิเลสเครื่องเศร้าหมองจิต คือ อกุศลธรรมอันเข้าไปเบียดเบียนจิต หรืออภิชฌาเป็นต้นดังได้ตรัสไว้แล้วในวัตโถปมสูตรเป็นต้น.

บทว่า พฺยปนุชฺช สลัดเสียแล้ว คือ บรรเทา บรรเทาวิเศษ ละด้วยวิปัสสนาและมรรค.

บทว่า สพฺเพ คือ กิเลสไม่มีส่วนเหลือ.

ท่านอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละทิฏฐินิสัยด้วยปฐมมรรค ตัดโทษคือความเยื่อใย คือตัณหาราคะอันไปแล้วในโลกธาตุทั้งสาม ด้วยมรรคที่เหลือ ด้วยว่าความเยื่อใยเท่านั้น ท่านเรียกว่า เสฺนหโทโส เพราะเป็นปฏิปักษ์กับคุณธรรม.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๒

คาถาที่ ๓

๓๓) วิปิฏฺิกตฺวาน สุขํ ทุกฺขญฺจ ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺสํ ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทฺธํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 725

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนแล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า วิปิฏฺิกตฺวาน ละแล้ว คือ ละทิ้งไว้ข้างหลัง.

บทว่า สุขญฺจ ทุกฺขํ คือ ความยินดียินร้ายทางกาย.

บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ คือ ความยินดียินร้ายทางใจ.

บทว่า อุเปกฺขํ คือ อุเบกขาในจตุตถฌาน.

บทว่า สมถํ คือ สมถะในจุตตถฌานนั่นเอง.

บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า ชื่อว่าหมดจดอย่างยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก ๙ ประการ คือ นิวรณ์ ๕ วิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจทองคำที่หลอมดีแล้วนั่นเอง.

ส่วนโยชนาแก้ไว้ดังนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุขและทุกข์ก่อนๆ แล้ว อธิบายว่า ละทุกข์ในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งปฐมฌาน และสุขในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งตติยฌาน.

นำ อักษร ที่กล่าวไว้ข้างต้นไปไว้ข้างหลัง ได้รูปเป็นดังนี้ โสมนสฺสํ โทมนสฺสญฺจ วิปิฏฺิกตฺวาน ปุพฺเพว ละโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ แล้ว.

ด้วยบทนั้น ท่านแสดงว่า โสมนัสในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งจตุตถฌาน โทมนัสในภูมิเป็นอุปจารแห่งทุติยฌาน.

จริงอยู่ ฌานเหล่านี้เป็นฐานะแห่งการละทุกข์ สุขโทมนัสโสมนัสเหล่านั้นโดยปริยาย แต่โดยตรง ปฐมฌานเป็นฐานละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานละโทมนัส ตติยฌานเป็นฐานละสุข จตุตถฌานเป็นฐานละโสมนัส.

เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ภิกษุเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดในปฐมฌานนี้ย่อมดับไปโดยไม่มีเหลือ.

พึงถือเอาบททั้งหมดนั้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังต่อไป.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 726

บทว่า ปุพฺเพว ก่อนๆ คือละทุกข์โทมนัสและสุขได้ในฌานทั้งสามมีปฐมฌานเป็นต้น แล้วละโสมนัสในจตุตถฌานนี้ ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจดด้วยปฏิปทานี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.

จบคาถาที่ ๓

คาถาที่ ๔

๓๔) อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา อลีนจิตฺโต อกุสีตวุตฺตี ทฬฺหนิกฺกโม ถามพลูปปนฺโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธจ้าปรารภความเพียร เพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมด้วยกำลังกายและกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า อารทฺธวิริโย เพราะมีความเพียรอันปรารภแล้ว.

ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรเบื้องต้น เริ่มด้วยวิริยะของตน. นิพพานท่านกล่าวว่าปรมัตถ์ เพื่อถึงนิพพานนั้น ชื่อว่าเพื่อถึงปรมัตถ์. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงผลที่ควรบรรลุ ด้วยการเริ่มความเพียรนั้น.

ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต มีจิตมิได้ย่อหย่อน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดง

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 727

ถึงความที่จิตและเจตสิกทั้งหลายอันเกื้อหนุนวิริยะไม่ย่อหย่อน.

ด้วยบทว่า อกุสีตวุตฺติ มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความที่กายไม่จมอยู่ในที่ยืนที่นั่งและที่จงกรมเป็นต้น.

ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม มีความพยายามมั่นคงนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงการตั้งความเพียรอันเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ นหารุ จ แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที ดังนี้เป็นต้น. ท่านกล่าวว่า เริ่มในอนุปุพพสิกขาเป็นต้น กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจทางกาย.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วยมรรค.

ชื่อว่ามีความเพียร เพราะถึงความบริบูรณ์ในการเจริญภาวนาอย่างมั่นคง และเพราะออกจากฝ่ายตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฬฺหปรกฺกโม เพราะเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรมนั้น มีความเพียรมั่นคง.

บทว่า ถามพลูปปนฺโน เข้าถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง คือ เกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทางกาย และด้วยกำลังญาณในขณะแห่งมรรค.

อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นด้วยกำลังอันเป็นเรี่ยวแรง ชื่อว่า ถามพลูปปนฺโน. ท่านอธิบายว่า เกิดด้วยกำลังคือญาณอันมั่นคง.

ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงถึงการประกอบพร้อมด้วยญาณแห่งวิริยะนั้น จึงยังความเพียรโดยแยบคายให้สำเร็จ. พึงประกอบบททั้งหลายแม้ ๓ บทด้วยอำนาจแห่งความเพียร อันเป็นส่วนเบื้องต้น ท่ามกลางและอุกฤษฏ์.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๔

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 728

คาถาที่ ๕

๓๕) ปฏิสลฺลานํ ฌานมริญฺจมาโน ธมฺเมสุ นิจฺจํ อนุธมฺมจารี อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิสลฺลานํ คือ การไม่กลับเข้าไปหาสัตว์และสังขารเหล่านั้นๆ หลีกเร้นอยู่.

อธิบายว่า ความเป็นผู้เดียวเพราะเสพเฉพาะตนผู้เดียว ชื่อว่า กายวิเวก.

บทว่า ฌานํ ท่านเรียกว่า จิตตวิเวก เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกและเพราะเพ่งอารมณ์และลักษณะ.

ในบทนั้น สมาบัติ ๘ ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเพ่งถึงอารมณ์ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเพ่งถึงลักษณะ. แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาการเพ่งอารมณ์เท่านั้น.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีกเร้นและฌานนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อริญฺจมาโน คือ ไม่ละไม่สละ.

บทว่า ธมฺเมสุ คือ ในธรรมมีขันธ์ ๕ เป็นต้นอันเป็นเครื่องให้เข้าถึงวิปัสสนา.

บทว่า นิจฺจํ

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 729

คือ สงบ ไม่วุ่นวาย เนืองๆ.

บทว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติธรรมสมควร คือ ปรารภธรรมเหล่านั้นแล้วประพฤติวิปัสสนาธรรมไปตามสมควร.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙.

ชื่อว่า อนุธมฺโม คือ เพราะเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรมเหล่านั้น.

บทนี้เป็นชื่อของวิปัสสนา.

ในบทนั้นเมื่อควรจะกล่าวว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมทั้งหลายเป็นนิจ ก็กล่าวเสียว่า ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย ด้วยการแปลงวิภัตติเพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. คือควรจะเป็น ธมฺมานํ แต่ในคาถาเป็น ธมฺเมสุ.

บทว่า อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ พิจารณา เห็นโทษในภพทั้งหลาย คือ พิจารณาเห็นโทษมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นในภพ ๓ ด้วยวิปัสสนา อันได้แก่ความเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น ควรกล่าวว่าท่านได้บรรลุแล้วด้วยปฏิปทา กล่าวคือ กายวิเวก จิตตวิเวกและวิปัสสนาอันถึงความเป็นยอดนี้อย่างนี้.

พึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า เอโก จเร พึงเที่ยวไปผู้เดียว.

จบคาถาที่ ๕

คาถาที่ ๖

๓๖) ตณฺหกฺขยํ ปตฺถยํ อปฺปมตฺโต อเนลมูโค สุตฺวา สติมา สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 730

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าและคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตณฺหกฺขยํ ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน. หรือความไม่เป็นไปแห่งตัณหา อันมีโทษอันตนเห็นแล้วอย่างนี้นั่นเอง.

บทว่า อปฺปมตฺโต ไม่ประมาท คือ เป็นผู้มีปกติทำติดต่อ.

บทว่า อเนลมูโค ไม่โง่เขลา คือ ไม่ใบ้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่บ้าไม่ใบ้. ท่านกล่าวว่า เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด. ชื่อว่า มีสุตะ เพราะมีสุตะอันให้ถึงประโยชน์สุข. ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศึกษา.

บทว่า สติมา คือ ระลึกถึงสิ่งที่ทำไว้แล้วแม้นานเป็นต้นได้.

บทว่า สงฺขาตธมฺโม มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว คือ มีธรรมอันกำหนดแล้วด้วยการพิจารณาธรรม.

บทว่า นิยโต มีธรรมอันแน่นอน คือ ถึงความแน่นอนด้วยอริยมรรค.

บทว่า ปธานวา มีความเพียร คือ ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน (คือความเพียร).

พึงประกอบบาทนี้โดยผิดลำดับ. ด้วยว่าผู้ประกอบธรรม มีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้แล้ว มีความเพียรด้วยการตั้งใจให้ถึงความแน่นอน ชื่อว่า นิยโต เป็นผู้เที่ยง เพราะมีธรรมอันแน่นอน คืออริยมรรคอันตนถึงแล้วด้วยความเพียรนั้น ต่อแต่นั้นจึงชื่อว่า มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะการบรรลุพระอรหัต.

จริงอยู่ พระอรหันต์ท่านเรียกว่า เป็นผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะพึงกำหนดรู้อีก.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 731

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เป็นเสกขะมีอยู่มากในโลกนี้.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบคาถาที่ ๖

คาถาที่ ๗

๓๗) สีโหว สทฺเทสุ อสนฺตสนฺโต วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน ปทุมํว โตเยน อลิมฺปมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ ไม่ติดข้อง เหมือนลมไม่ติดข้องที่ตาข่าย เหมือนดอกบัวไม่ติดข้องด้วยน้ำฉะนั้น พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สีโห ได้แก่ สีหะ ๔ จำพวก คือ ติณสีหะ ๑ ปัณฑุสีหะ ๑ กาฬสีหะ ๑ ไกรสรสีหะ ๑. ไกรสรสีหะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสีหะเหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาไกรสรสีหะนั้น.

ลมมีหลายชนิด มีลมพัดมาทางทิศตะวันออกเป็นต้น. ดอกบัวมีหลายชนิด มีดอกบัวสีแดงและดอกบัวสีขาวเป็นต้น. บรรดาลมและดอกบัวเหล่านั้น ลมชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกบัวชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรทั้งนั้น. เพราะความสะดุ้งย่อมมีด้วยความรักตน.

อนึ่ง ความรักตนฉาบด้วยตัณหา.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 732

แม้ความรักตนนั้นก็ย่อมมีด้วยความโลภ อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ. หรือวิปปยุตด้วยทิฏฐิ. ความรักตนนั้นก็คือตัณหานั้นเอง.

ความข้องของผู้ปราศจากความสอบสวนย่อมมีด้วยโมหะ อนึ่ง โมหะก็คืออวิชชา. การละตัณหาย่อมมีด้วยสมถะ. การละอวิชชาย่อมมีด้วยวิปัสสนา.

เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละความรักในตนด้วยสมถะ ไม่สะดุ้งในความไม่เที่ยงและความเป็นทุกข์เป็นต้น เหมือนสีหะไม่สะดุ้งในเพราะเสียงทั้งหลาย ละโมหะด้วยวิปัสสนา ไม่ติดในขันธ์และอายตนะเป็นต้น ดุจลมไม่ติดในข่าย ละโลภะและทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยสมถะ ไม่ติดด้วยโลภะอันมีความยินดีในภพทั้งปวง เหมือนดอกบัวไม่ติดด้วยน้ำฉะนั้น.

ในบทนี้ ศีลเป็นปทัฏฐานแห่งสมถะ สมถะเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ วิปัสสนา และปัญญา ด้วยประการฉะนี้. เมื่อธรรมสองเหล่านั้นสำเร็จ เป็นอันขันธ์แม้ ๓ ก็สำเร็จด้วย. ในขันธ์เหล่านั้น ความเป็นผู้กล้าย่อมสำเร็จด้วยศีลขันธ์. ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความเป็นผู้ใคร่จะโกรธในอาฆาตวัตถุทั้งหลาย เหมือนสีหะไม่สะดุ้งในเพราะเสียงทั้งหลาย. เป็นผู้มีสภาวะแทงตลอดด้วยปัญญาขันธ์ ไม่ติดอยู่ในประเภทแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น ดุจลมไม่ติดในข่าย. เป็นผู้ปราศจากราคะด้วยสมาธิขันธ์ ไม่ติดอยู่ด้วยราคะเหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ.

พึงทราบว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้ง ไม่ข้อง ไม่ติดด้วยการละอวิชชาตัณหาและอกุศลมูล ๓ ตามที่เกิดด้วยสมถะและวิปัสสนา และด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบคาถาที่ ๗

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 733

คาถาที่ ๘

๓๘) สีโห ยถา ทาพลี ปสยฺห ราชา มิคานํ อภิภุยฺยจารี เสเวถ ปนฺตานิ เสนาสนานิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไปฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า สีหะ เพราะอดทน เพราะฆ่าและวิ่งเร็ว. ในที่นี้ประสงค์เอาไกรสรสีหะ.

ชื่อว่า ทาพลี เพราะสีหะมีเขี้ยวเป็นกำลัง.

บททั้งสอง คือ ปสยฺห อภิภุยฺห พึงประกอบ จารี ศัพท์เข้าไป เป็น ปสยฺหจารี เที่ยวข่มขี่ อภิภุยฺยจารี เที่ยวครอบงำ.

ในสองบทนั้น ชื่อว่า ปสยฺหจารี เพราะเที่ยวข่มขี่. ชื่อว่า อภิภุยฺยจารี เพราะเที่ยวครอบงำทำให้หวาดสะดุ้ง ทำให้อยู่ในอำนาจ.

สีหะนั้นเที่ยวข่มขี่ด้วยกำลังกาย เที่ยวครอบงำด้วยเดช. หากใครๆ พึงกล่าวว่าเที่ยวข่มขี่ครอบงำอะไร.

แต่นั้นพึงทำฉัฏฐีวิภัตติแห่งบทว่า มิคานํ เป็นทุติยาวิภัตติ เปลี่ยนเป็น มิเค ปสยฺห อภิภุยฺหจารี เที่ยวข่มขี่ครอบงำซึ่งเนื้อทั้งหลาย.

บทว่า ปนฺตานิ อันสงัด คือ ไกล.

บทว่า เสนาสนานิ คือ ที่อยู่.

บทที่เหลือสามารถจะรู้ได้โดยนัยดังกล่าวในก่อน เพราะเหตุนั้นจึงไม่กล่าวให้พิสดาร.

จบคาถาที่ ๘

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 734

คาถาที่ ๙

๓๙) เมตฺตํ อุเปกฺขํ กรุณํ วิมุตฺติํ อาเสวมาโน มุทิตญฺจ กาเล สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสพอยู่ซึ่งเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตลอดกาล อันสัตว์โลกทั้งปวงไม่เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อนำประโยชน์และความสุขเข้าไปให้โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สตฺตา สุขิตา ภวนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเถิด ดังนี้ ชื่อว่า เมตตา.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อปลดเปลื้องสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และความทุกข์ออกไปโดยนัยมีอาทิว่า อโห วต อิมมฺหา ทุกฺขา วิมุจฺเจยฺยุํ โอหนอ ขอสัตว์ทั้งปวงพึงพ้นจากทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า กรุณา.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อไม่พรากจากประโยชน์สุขโดยนัยมีอาทิว่า ท่านผู้เจริญ สัตว์ทั้งปวงย่อมบันเทิงหนอ ดีละ ขอสัตว์ทั้งปวงจงบันเทิงด้วยดีเถิด ชื่อว่า มุทิตา.

ความเป็นผู้เข้าไปเพ่งในสุขและทุกข์ว่า สัตว์ทั้งหลายจักปรากฏด้วยกรรมของตน ดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา.

ท่านกล่าว เมตตา แล้วกล่าวอุเบกขา มุทิตา ในภายหลังสับลำดับกัน เพื่อสะดวกในการแต่งคาถา.

บทว่า วิมุตฺติํ อันเป็นวิมุตติ จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 735

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจากธรรมเป็นข้าศึกของตน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสพเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตลอดกาล ดังนี้

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาเสวมาโน เสพอยู่ คือ เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา ๓ อย่างด้วยอำนาจแห่งฌานในจตุกกนัย ๓ ฌาน เจริญอุเบกขาด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน.

บทว่า กาเล คือ เสพเมตตา ออกจากเมตตาเสพกรุณา ออกจากกรุณาเสพมุทิตา ออกจากมุทิตาหรือจากฌานอันไม่มีปีติเสพอุเบกขา ท่านกล่าวว่าเสพอยู่ตลอดกาล. หรือเสพในเวลาสบาย.

บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง คือ อันเป็นสัตว์โลกทั้งหมดในสิบทิศไม่เกลียดชัง. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้ไม่น่าเกลียด เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาเป็นต้น. ความขัดเคืองอันเป็นความพิโรธในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบ. ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลไม่เกลียดชังดังนี้.

บทที่เหลือเช่นกับที่ได้กล่าวแล้วนั้นแล.

จบคาถาที่ ๙

คาถาที่ ๑๐

๔๐) ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 736

อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว ทําลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สฺโชนานิ ได้แก่สังโยชน์ ๑๐. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทําลายสังโยชน์ ๑๐ เหล่านั้นด้วยมรรคนั้นๆ.

บทว่า อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต คือ ความแตกแห่งจุติจิต ท่านเรียกว่า ความสิ้นชีวิต.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิตนั้น เพราะละความเยื่อใยในชีวิตได้แล้ว.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าครั้นแสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุของตนแล้ว เมื่อจบคาถาก็ได้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุด้วยประการฉะนี้.

จบคาถาที่ ๑๐

คาถาที่ ๑๑

๔๑) ภชนฺติ เสวนฺติ จ การณตฺถา นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา อตฺตตฺถปญฺา อสุจี มนุสฺสา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 737

บุรุษทั้งหลายผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ย่อมคบหาสมาคมเพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุ มาเป็นมิตร หาได้ยากในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ภชนฺติ ย่อมคบ คือ เข้าไปนั่งชิดกัน.

บทว่า เสเวนฺติ ย่อมเสพ คือ ย่อมบำเรอด้วยอัญชลีกรรมเป็นต้น และด้วยยอมรับทำการงานให้.

ชื่อว่า การณตฺถา เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ. อธิบายว่า ไม่มีเหตุอื่นเพื่อจะคบและเพื่อจะเสพ. ท่านกล่าวว่า ย่อมเสพเพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ.

บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺชมิตฺตา มิตรในวันนี้ ไม่มีเหตุหาได้ยาก คือ มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ เพราะเหตุแห่งการได้ประโยชน์อย่างนี้ว่า เราจักได้อะไรจากมิตรนี้ประกอบด้วยความเป็นมิตร อันพระอริยะกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

มิตรใดมีอุปการะ ๑ มิตรใดร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรใดแนะนำประโยชน์ ๑ มิตรใดมีความรักใคร่ ๑ ดังนี้.

อย่างเดียว หาได้ยาก ชื่อว่า มิตรในวันนี้.

ชื่อว่า อตฺตทตฺถปญฺา เพราะมีปัญญาอันสำเร็จประโยชน์ด้วยมุ่งตนเท่านั้น ไม่มุ่งถึงคนอื่น (เห็นแก่ตัว).

นัยว่าคัมภีร์เก่าใช้ว่า ทิฏฺตฺถปญฺา มีปัญญามุ่งประโยชน์ปัจจุบัน. ท่านอธิบายว่า มีปัญญาเพ่งถึงประโยชน์ที่ตนเห็นเดี๋ยวนั้น.

บทว่า อสุจี สกปรก คือ ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันไม่สะอาด คือไม่ประเสริฐ.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 738

ในก่อนนั่นแล.

บทใดที่ยังมิได้กล่าวเพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไปในระหว่างๆ บทนั้นทั้งหมด พึงทราบตามทำนองแห่งปาฐะนั่นแล.

จบคาถาที่ ๑๑

จบอรรถกถาจตุตถวรรค

จบอรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส

แห่ง

อรรถกถาขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา