พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เถรคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40878
อ่าน  771
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๓

ตอนที่ ๑

เถรคาถา

[๑๓๗] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคาถาอันน้อมเข้าไปสู่ประโยชน์ ของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรมแล้วบันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งทลาย ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐ ว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำภูเขา ฉะนั้น ก็พระเถระเหล่านั้น มีชื่อ มีโคตรมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีจิตน้อมไปแล้วในธรรมตามที่ปรากฏแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน อยู่ในเสนาสนะอันสงัด มีป่า คนไม้ และภูเขาเป็นต้นนั้นๆ ได้เห็นธรรมแจ่มแจ้ง และได้บรรลุนิพพาน อันเป็นธรรมไม่แปรผัน เมื่อพิจารณาเห็นผล อันเป็นที่สุดกิจซึ่งตนทำเสร็จแล้ว จึงได้ภาษิตเนื้อความนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 2

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา

คันถารัมภกถา

    ข้าพเจ้าขอไหว้พระโลกนาถเจ้า ผู้มีพระทัยเปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาคุณ เสด็จถึงฝั่งแห่งสาครคือไญยธรรมได้แล้ว ทรงแสดงธรรมอันละเอียดลึกล้ำ มีนัยอันวิจิตร.

ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันสูงสุด ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องนำผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะออกไปจากโลก. ข้าพเจ้าขอไหว้พระอริยสงฆ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น สถิตมั่นอยู่ในมรรคและผล เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม.

ด้วยเดชานุภาพแห่งบุญ ที่เกิดจากการไหว้พระรัตนตรัย ดังได้พรรณนามานี้ ขอข้าพเจ้าจงปลอดจากอันตรายในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ. คาถาเหล่านั้นใด ที่ปราศจากอามิส อันพระเถระทั้งหลายผู้เสร็จกิจแล้ว ผู้คงที่ มีพระสุภูติเถระเป็นต้น และพระเถรีทั้งหลายภาษิตแล้ว และคาถาเหล่าใด ที่ลึกล้ำละเอียดอ่อน สดับแล้วโดยวิธี มีอุทานเป็นต้น ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ประกาศธรรมของพระอริยเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 3

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ผู้คงที่ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวบรวมคาถาเหล่านั้นไว้ ในคัมภีร์ขุททกนิกาย โดยเรียกชื่อว่า เถรคาถา และ เถรคาถา. อันที่จริงการแต่งอรรถกถา พรรณนาความลำดับบทที่มีอรรถอันลึกซึ้ง ที่ข้าพเจ้าทำ มิใช่ของที่ทำได้ง่ายเลย เพราะเป็นอรรถที่จะพึงหยั่งถึงได้ ก็ด้วยคัมภีรญาณ แต่เพราะอรรถกถาจะช่วยทรงศาสนาของพระศาสดาไว้ได้ ทั้งวินิจฉัยของบรรดาบุรพาจารย์ ผู้เปรียบปานด้วยราชสีห์ ก็จะยังคงดำรงอยู่ด้วย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงจักขอแต่งอรรถกถา "เถรคาถา" และ "เถรีคาถา" เต็มกำลังความสามารถ โดยจะยึดวินิจฉัยของบรรดาบุรพาจารย์นั้นเป็นหลัก ถือนิกาย ๕ เป็นเกณฑ์ อิงอาศัยนัยจากโบราณอรรถกถา แม้จะเป็นเพียงคำบอกกล่าว ที่ได้อาศัยอ้างอิงกันมา แต่บริสุทธิ์ก็ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยที่ละเอียด ของบรรดาบุรพาจารย์คณะมหาวิหาร และข้อความของคาถาเหล่าใด เว้นอนุปุพพิกถาเสียแล้วรู้ได้ยาก ข้าพเจ้าจะนำอนุปุพพิกถานั้น ของคาถาเหล่านั้น มาแสดงให้แจ่มแจ้ง ทั้งจะแสดงข้อวินิจฉัยอีกด้วย.

สาธุชนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายได้โปรดตั้งใจสดับ การพรรณนาความแห่งอรรถกถา เถรคาถา และเถรีคาถานั้น ซึ่งจะจำแนกต่อไป ของข้าพเจ้าผู้หวังให้พระสัทธรรมดำรงมั่นอยู่ได้นาน ต่อไปเทอญ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 4

อารัมภกถาวรรณนา

    ก็เถรคาถา และเถรีคาถา แต่ละคาถาเป็นอย่างไร? และมีประวัติเป็นมาอย่างไร? ถึงความข้อนี้ ท่านจะกล่าวไว้ในคาถาทั้งหลายแล้วก็จริง แต่เถรคาถาที่พระสุภูติเถระเป็นต้น กล่าวแล้วในคาถานั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวซ้ำอีก เพื่อทำข้อความให้ปรากฏ. ก็พระเถระเหล่านั้นพิจารณาเห็นสุขอันเกิดแต่มรรคผล ตามที่ตนบรรลุแล้ว ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ ด้วยสามารถแห่งอุทาน ได้กล่าวคาถาบางอย่างด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือสมาบัติของตน ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถแห่งคำถาม ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถ (ชี้ให้เห็น) ข้อที่คำสอนเป็นนิยยานิกธรรม. ในเวลาทำสังคายนา พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ร้อยกรองคาถาทั้งหมดเหล่านั้นไว้ เป็นหมวดเดียวกัน (โดยให้ชื่อ) ว่า "เถรคาถา" ส่วนเถรีคาถา ท่านแสดงไว้เฉพาะพระเถรีทั้งหลาย.

    ก็ในบรรดาปิฎกทั้ง ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก คาถาเหล่านั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก. ในบรรดานิกายทั้ง ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย คาถาเหล่านั้น นับเนื่องในขุททกนิกาย. ในบรรดาสัตถุศาสน์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ สงเคราะห์เข้าเป็น" คาถา ". ก็ในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก ปฏิญาณไว้อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 5

    ธรรมเหล่าใด ที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้าเรือนเอาจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ จากภิกษุรูปอื่น ๒,๐๐๐ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ดังนี้ ก็สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย.

ในบรรดาเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านั้น เถรคาถาจะว่าโดยนิบาตก่อน เอกนิบาตจนถึงจุททสนิบาต โดยนับเกิน ๑ คาถาขึ้นไป รวมเป็นจุททสนิบาต และนิบาต ๗ เหล่านี้ คือ โสฬสนิบาต วีสตินิบาต ติงสนิบาต จัตตาฬีสนิบาต ปัญญาสนิบาต สัฏฐินิบาต (และ) สัตตตินิบาต รวมเป็น ๒๑ นิบาต. ชื่อว่า นิบาต เพราะอรรถว่า ตั้งไว้ วางไว้. ชื่อว่า เอกนิบาต เพราะเป็นที่ตั้งไว้วางไว้ ซึ่งคาถานิบาตละหนึ่งคาถา. แม้ในนิบาตที่เหลือก็พึงทราบความโดยนัยนี้.

ในบรรดานิบาตเหล่านั้น เอกนิบาตมี ๑๒ วรรค. ในวรรคหนึ่งๆ แบ่งออกเป็นวรรคละ ๑๐ จึงมีพระเถระ ๑๒๐ รูป คาถาก็มีเท่านั้นเหมือนกัน สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

    ในแต่ละนิบาต พระเถระ ๑๒๐ รูป ผู้เสร็จกิจแล้ว หาอาสวะมิได้พร้อมด้วยพระธรรมสังคาหกาจารย์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ร้อยกรองไว้ดีแล้ว ดังนี้.

ในทุกนิบาต มีพระเถระ ๔๙ รูป มีคาถา ๙๘ คาถา.

ในติกนิบาต มีพระเถระ ๑๖ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.

ในจตุกนิบาต มีพระเถระ ๑๓ รูป มีคาถา ๕๒ คาถา.

ในปัญจกนิบาต มีพระเถระ ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.

ในฉักกนิบาต มีพระเถระ ๑๔ รูป มีคาถา ๘๔ คาถา.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 6

    ในสัตตกนิบาต มีพระเถระ ๕ รูป มีคาถา ๓๕ คาถา.

ในอัฏฐกนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.

ในนวกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๙ คาถา.

ในทสกนิบาต มีพระเถระ ๗ รูป มีคาถา ๗๐ คาถา.

ในเอกาทสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๑ คาถา.

ในทวาทสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.

ในเตรสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๓ คาถา.

ในจุททสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๘ คาถา.

ปัณณรสกนิบาต ไม่มี.

ในโสฬสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๓๒ คาถา.

ในวีสตินิบาต มีพระเถระ ๑๐ รูป มีคาถา ๒๔๕ คาถา.

ในติงสนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๑๐๕ คาถา.

ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๔๒ คาถา.

ในปัญญาสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๕๕ คาถา.

ในสัฏฐิกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๖๘ คาถา.

แม้ในสัตตตินิบาต * มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๗๑ คาถา.

ก็เมื่อประมวลแล้ว มีพระเถระ ๒๖๔ รูป มีคาถา ๑,๓๖๐ คาถา ฉะนี้แล และแม้ข้อนี้ ก็มีวจนะประพันธ์คาถา ที่ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า

    พระธรรมสังคาหกาจารย์ ประกาศไว้ว่า มีคาถา ๑,๓๖๐ คาถา มีพระเถระ ๒๖๔ รูป ดังนี้.

ส่วนเถรีคาถา สงเคราะห์เข้าในโสฬสนิบาต คือ นิบาต ๙ นิบาต ได้แก่ เอกนิบาตจนถึงนวกนิบาต โดยเพิ่มขึ้นนิบาตละ ๑ คาถา และเอกาทสก-


* มหานิบาต

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 7

นิบาต ทวาทสกนิบาต โสฬสกนิบาต วีสตินิบาต ติงสตินิบาต จัตตาลีสนิบาตมหานิบาต.

ในเอกนิบาต มีพระเถรี ๑๘ รูป มีคาถา ๑๘ คาถาเท่ากัน.

ในทุกนิบาต มีพระเถรี ๑๐ รูป มีคาถา ๒๐ คาถา.

ในติกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.

ในจตุกนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔ คาถา.

ในปัญจกนิบาต มีพระเถรี ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.

ในฉักกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.

ในสัตตกนิบาต มีพระเถรี ๓ รูป มีคาถา ๒๑ คาถา.

ตั้งแต่อัฏฐกนิบาตไป จนถึงโสฬสกนิบาต มีพระเถรีนิบาตละ ๑ รูป คาถาก็มีจำนวนเท่ากับนิบาตนั้นๆ.

ในวีสตินิบาต มีพระเถรี ๕ รูป มีคาถา ๑๑๘ คาถา.

ในติงสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๓๔ คาถา.

ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา

แม้ในมหานิบาต ก็มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๗๕ คาถา.

ในเถรคาถา และเถรีคาถานี้ พึงทราบจำนวนแห่งนิบาต คาถาวรรคและคาถาทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้.

จบอารัมภกถาวรรณนา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 8

นิทานกถาวรรณนา

    ในเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนตามที่กำหนดไว้แล้วอย่างนี้ เถรคาถาเป็นคาถาต้น. แม้ในบรรดาเถรคาถาเหล่านั้น คาถาที่ท่านพระอานนท์ กล่าวไว้เพื่อชมเชยพระเถระเหล่านั้น ในคราวทำปฐมสังคายนานี้ว่า

    ขอท่านทั้งหลายจงฟังคาถา อันน้อมเข้าไปสู่ประโยชน์ ของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรมแล้ว บันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำภูเขา ฉะนั้น ดังนี้ เป็นคาถาแรก.

ศัพท์ว่า สีหะ ในบทว่า สีหานํ ในคาถานั้นมาแล้ว ในความหมายว่า พญาเนื้อ ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์เป็น พญาเนื้อ. มาในความหมายว่า บัญญัติ ดังในประโยคว่า ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับอยู่. มาในความหมายว่า ตถาคต ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นี้ เป็นชื่อของเราผู้ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ในความหมาย ๓ อย่างนั้น ในความหมายว่าตถาคต สีหศัพท์มาแล้วในความหมายว่าคล้ายกัน ฉันใด แม้ในคาถานี้ ก็ฉันนั้น สีหศัพท์พึงทราบว่า มาแล้วด้วยสามารถแห่งความหมายว่าคล้ายกัน. เพราะฉะนั้น บทว่า สีหานํ ว จึงตัดบทเป็น สีหานํ อิว (แปลว่า ดุจราชสี) ลบสระเสียด้วยอำนาจสนธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า เอวํ ส เต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิว เป็นบทนิบาต.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 9

    บทว่า สุณาถ เป็นบทอาขยาต. นอกนี้เป็นบทนาม. และบทว่า สีหานํว ในเวลาเชื่อมความใช้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ก็และการเชื่อมความในบทว่า สีหานํว นี้ ถึงท่านจะไม่ได้กล่าวไว้โดยสรุปก็จริง แต่โดยอรรถ ย่อมชื่อว่า เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้วทีเดียว. เพราะเหมือนอย่าง เมื่อพูดว่า โอฏฺสฺเสว มุขํ เอตสฺส ดังนี้ ก็เท่ากับพูดความนี้ว่า หน้าของเขาเหมือนหน้าอูฐ ฉันใด แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพูดว่า สีหานํว ก็เท่ากับพูดความนี้ว่า เหมือนการบันลือของสีหะ ฉะนั้น. ถ้าจะต่อศัพท์ว่า มุขะ เข้าในบทว่า โอฏฺสฺเสว ได้ไซร้ แม้ในบทว่า สีหานํว นี้ ก็ต่อบทว่า นทนฺตานํ เข้าได้ (เหมือนกัน) เพราะฉะนั้น บทว่า สีหานํ ว จึงเป็นบทตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น.

บทว่า นทนฺตำนํ แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกัน ของบทว่า สีหานํว นั้น โดยเป็นตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น.

บทว่า ทาีนํ เป็นวิเสสนะของบทว่า สีหานํ. บทว่า คิริคพฺภเร แสดงถึงที่ซึ่งราชสีห์นั้นเที่ยวไป. บทว่า สุณาถ เป็นคำเชิญชวนในการฟัง. บทว่า ภาวิตตฺตานํ แสดงถึงมูลเค้าของสิ่งที่ควรฟัง. บทว่า คาถา ได้แก่ คำที่แสดงถึงเรื่องที่น่าฟัง. บทว่า อตฺถูปนายิกา เป็นวิเสสนะของบทว่า คาถา. แท้จริงคำว่า สีหานํ นทนฺตานํ ทาีนํ ในคาถานี้มาแล้ว โดยเป็นปุงลิงค์โดยแท้ แต่เปลี่ยนลิงค์เสียแล้ว พึงทราบความ แม้โดยเป็นอิตถีลิงค์ว่า สีหีนํ เป็นต้น. อีกอย่าง โดยรูปเอกเสสสมาส ทั้งราชสีห์ และนางราชสีห์ ชื่อว่าสีหะ. ก็บรรดาบทเหล่านั้น โดยบทมีอาทิว่า สีหานํนิทานคาถาทั้ง ๓ คาถาเหล่านี้ ใช้ได้ทั่วไปทั้งเถรคาถา และเถรีคาถา.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สีหานํว นั้นต่อไป ชื่อว่า สีหะ เพราะอดทน และเพราะฆ่า. อธิบายว่า เปรียบเหมือนราชสีห์ ที่เป็นพญามฤคย่อมไม่มีอันตรายแม้จากสรภมฤค และช้างที่ตกมันแล้วเป็นต้น เพราะประกอบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 10

ไปด้วยพลังพิเศษ แม้อันตรายจากลมและแดดเป็นต้น ราชสีห์ก็อดทนได้ทั้งนั้น แม้เมื่อออกหากิน พบช้างตระกูลคันธะตกมัน และกระบือป่าเป็นต้น ก็ไม่หวาดหวั่น ไม่พรั่นพรึงผจญได้ เพราะผยองในเดช และเมื่อผจญก็จะฆ่าสัตว์เหล่านั้นได้โดยแท้ แล้วกัดกินเนื้ออ่อน ในที่นั้นๆ อยู่ได้อย่างสบายทีเดียว ฉันใด พระมหาเถระทั้งหลาย แม้เหล่านี้ก็ฉันนั้น ไม่หวาดหวั่น ไม่พรั่นพรึง แม้แต่ที่ไหนๆ เพราะมีความผยองในเดช โดยละอันตรายแม้ทั้งปวงเสียได้ เพราะประกอบไปด้วยคุณพิเศษอันเป็นกำลังของพระอริยะ เพราะครอบงำพลังแห่งสังกิเลสมีราคะเป็นต้น แล้วฆ่าเสียคือละได้ ย่อมอยู่โดยสุขมีสุขในฌาน เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สีหะ เพราะเป็นประดุจราชสีห์ โดยอดทน และโดยการฆ่า. แต่โดยอรรถแห่งศัพท์ พึงทราบว่า ชื่อว่า สีหะ ด้วยอรรถว่า เบียดเบียน เหมือนอย่างสิ่งที่ชาวโลก เรียกกันว่าเปรียง ด้วยอรรถว่าเป็นที่ชอบใจ โดยย้ายอักษรข้างต้นมาไว้ข้างหลัง. แม้ที่ชื่อว่าราชสีห์ ด้วยอรรถว่า อดกลั้น ก็พึงทราบอย่างนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ไกรสรราชสีห์พญามฤค ตัวเดียวเทียวไปอยู่ เพราะความผยองในเดชของตน ไม่หวังเอาสัตว์ไรๆ เป็นสหาย ฉันใด แม้พระเถระเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ชื่อว่าสีหะ เพราะเป็นดุจสีหะ เพราะความเป็นผู้ยินดียิ่งในวิเวก และแม้เพราะอรรถว่าเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เพราะเที่ยวไปแต่ผู้เดียว โดยความเป็นผู้สูงด้วยเดช. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สีหํเวกจรํ นาคํ (เป็นเหมือนราชสีห์ และช้างใหญ่ เที่ยวไปโดดเดี่ยว) ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระมหาเถระเหล่านี้ ชื่อว่าสีหะ เพราะอรรถว่าเป็นดุจสีหะ. เพราะประกอบไปด้วยคุณพิเศษ มีความไม่สะดุ้ง ว่องไว และความพยายามเป็นต้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 11

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าฝ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวก เป็นไฉน? คือ ภิกษุผู้ขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ดังนี้ แม้ความว่องไวของราชสีห์ ก็ไม่สาธารณะทั่วไปกับสัตว์เหล่าอื่น แม้ความแกล้วกล้าก็เหมือนกัน (คือไม่เหมือนสัตว์อื่น). จริงอย่างนั้น ราชสีห์กระโดดไปได้ไกล ถึง ๑๐๐ อุสภะ ตกลงในหมู่กระบือป่าเป็นต้น ถึงแม้จะเป็นลูกราชสีห์ ก็ยังต่อสู้ช้างที่ตกมัน ซึ่งทำลายปลอกออกได้ เคี้ยวกินเนื้ออ่อนที่ติดโคนงาได้. ส่วนกำลังแห่งอริยมรรค และกำลังแห่งฤทธิ์ของพระมหาเถระเหล่านั้น ก็ไม่สาธารณะทั่วไปกับภิกษุเหล่าอื่น เป็นทั้งความเพียรในสัมมัปปธาน ๔ เป็นทั้งบุญอันประเสริฐยิ่ง. เพราะฉะนั้น บทว่า สีหานํว จึงได้ความว่า ดุจเหมือนราชสีห์. ก็ในข้อนี้ พึงทราบว่า ท่านอุปมาราชสีห์ไว้ต่ำๆ เพราะประโยชน์มีความอดกลั้น เป็นต้น อันเป็นคุณพิเศษล่วงส่วน ได้ในพระเถระทั้งหลายเท่านั้น.

บทว่า นทนฺตานํ ความว่า คำรามอยู่. อธิบายว่า ในเวลามุ่งหาอาหาร และเวลายินดีเป็นต้น ราชสีห์ทั้งหลายออกจากถ้ำของตนแล้ว บิดกายบันลือสีหนาทน่าเกรงขาม ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ ก็ฉันนั้น จะบันลือลั่น น่าเกรงขาม ในเวลาพิจารณาอารมณ์อันเป็นไปในภายใน และเวลาอุทาน เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดุจการบันลือของราชสีห์ทั้งหลาย ดังนี้. บทว่า ทาีนํ แปลว่า มีเขี้ยว. อธิบายว่า มีเขี้ยวประเสริฐ มีเขี้ยวงามยิ่ง. อธิบายว่า ราชสีห์ทั้งหลายข่มขวัญปรปักษ์ ด้วยกำลังของเขี้ยวทั้ง ๔ ที่มั่นคง และกล้าแข็งอย่างยิ่ง แล้วยังมโนรถของตนให้ถึงที่สุดได้ ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ก็ฉันนั้น ข่มกิเลสอันเป็นปรปักษ์ ที่ตนยังครอบงำไม่ได้ในสงสาร ที่หาเบื้องต้นมิได้ ด้วยกำลังแห่งเขี้ยวคืออริยมรรคทั้ง ๔ ยังมโนรถ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 12

ของตนให้ถึงที่สุดได้. แม้ในอธิการนี้ พระอริยมรรคชื่อว่าเขี้ยว เพราะเป็นดุจเขี้ยว เพราะฉะนั้น พึงทราบความโดยความหมายที่คล้ายกันเท่านั้น.

บทว่า คิริคพฺภเร แปลว่า ใกล้ถ้ำภูเขา. (บทว่า คิริคพฺภเร) เป็นสัตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คิริควฺหเร. ความว่า ที่ชัฎแห่งป่าคือไพรสณฑ์ ใกล้ภูเขา. ก็คำว่า คิริคพฺภเร นี้ เป็นคำแสดงถึงสถานที่อันรุ่งโรจน์ และแสดงถึงภาคพื้นที่ควรบันลือสีหนาทของราชสีห์เหล่านั้น. ประกอบความว่า ของราชสีห์ทั้งหลายซึ่งบันลืออยู่ ที่ใกล้ถ้ำภูเขา ดังนี้. ก็ราชสีห์ทั้งหลาย เมื่ออยู่ที่ใกล้ถ้ำภูเขา คือในที่ซึ่งสงัดจากผู้คน เพราะราชสีห์เป็นสัตว์ที่คนและสัตว์อื่นเข้าใกล้ได้ยาก จะบันลือสีหนาทในเวลาไปหากิน เพื่อป้องกันความสะดุ้งกลัวของหมู่มฤคเล็กๆ ที่จะบังเกิดขึ้นเพราะเห็นตน ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ เมื่ออยู่ในสุญญาคาร เช่นเดียวกับถ้ำภูเขา ที่คนเหล่าอื่นเข้าใกล้ได้ยากทีเดียว ก็บันลือ (สีหนาท) อย่างไม่เกรงใคร กล่าวคือคาถาที่กล่าวไว้ เพื่อหลีกเว้นความสะดุ้งหวาดเสียวเล็กๆ น้อยๆ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ ของปุถุชนผู้ด้อยคุณธรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สีทานํว นทนฺตานํ ทาีนํ คิริคพฺภเร (แปลว่า ดุจการบันลือของสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำภูเขา) ดังนี้.

บทว่า สุณาถ เป็นคำกล่าวบังคับให้ฟัง. พระอานนทเถระ ประสงค์จะให้เกิดความเป็นผู้ใคร่จะฟัง ให้เกิดความสนใจในการฟัง ปลุกให้เกิดความอุตสาหะ. ให้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความเคารพและความนับถืออย่างมาก แก่บริษัทที่มาประชุมกัน (เพื่อฟัง) คาถาทั้งหลายที่พระเถระนั้นกล่าวอยู่. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความแห่งบทว่า สีหานํ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความสูงสุด

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 13

อย่างเดียว โดยเว้นจากการกำหนดสัตว์ที่เสมอกัน. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงพึงคาถาที่คล้ายกับการบันลือสีหนาทอย่างไม่หวั่นกลัว ของพระเถระเหล่านั้น เหมือนการบันลือสีหนาทของราชสีห์ ที่เป็นราชาของมฤคบันลืออยู่ คือ คำรามอยู่ แบบราชสีห์คำรามที่ใกล้ถ้ำภูเขา ของสัตว์ชื่อว่า มีเขี้ยวทั้งหลาย เพราะมีเขี้ยวประเสริฐ งดงาม โดยความเป็นเขี้ยวที่มั่นคงแหลมคม. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงพึงคาถา อันกระทำความสะดุ้งหวาดเสียวแก่ชนผู้ประมาทแล้ว ชื่อว่าเป็นการบันลืออย่างไม่หวั่นเกรง เพราะเหตุแห่งภัยทั้งหลาย ท่านละได้แล้วด้วยดี โดยประการทั้งป่วง เช่นเดียวกับการบันลือสีหนาทของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรมแล้ว ผู้ไม่ประมาทแล้ว เหมือนการบันลืออย่างไม่หวั่นเกรงนั้น การทำความหวาดเสียวแก่มฤคอื่นจากราชสีห์นั้น เพราะไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหนๆ ของราชสีห์ ที่เป็นราชาแห่งหมู่มฤค บันลือสีหนาทอยู่ ฉะนั้น.

บทว่า ภาวิตตฺตานํ ได้แก่ ผู้มีจิตอันอบรมแล้ว. อธิบายว่า จิต ท่านเรียกว่าตน ดังในประโยคมีอาทิว่า ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก ผู้ใดแลมีจิตตั้งมั่นแล้ว จะเป็นผู้ซื่อตรงดุจกระสวยทอผ้าฉะนั้น และดุจในประโยคมีอาทิว่า ตั้งใจไว้ชอบดังนี้. เพราะฉะนั้น จึงได้ความว่า ของพระอริยบุคคลผู้ยังจิตให้เจริญยิ่งแล้วด้วยสมถะและวิปัสสนา โดยการประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต คือ ท่านผู้ยังจิตให้ถึงที่สุด แห่งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา แล้วดำรงอยู่. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภาวิตตฺตานํ ความว่า มีตนอันอบรมแล้วเป็นสภาพ. อธิบายว่า มีตนอันอบรมแล้วด้วยคุณมีศีลเป็นต้น อันเป็นแล้วตามสภาพ. ที่ชื่อว่า คาถา เพราะเป็นถ้อยคำอันท่านร้อยกรองไว้ ได้แก่ ถ้อยคำ ๔ บท หรือ ๖ บท ที่ฤษีทั้งหลายประพันธ์ไว้โดยเป็นฉันท์ มีอนุฏฐุภฉันท์เป็นต้น. เพราะเหตุที่ ฉันท์แม้อื่น มีลักษณะคล้ายกับอนุฏฐภฉันท์ ท่านจึงเรียกว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 14

คาถา (เหมือนกัน). คาถา ชื่อว่า อัตถูปนายิกา เพราะอรรถว่า น้อมเข้าไปซึ่งประโยชน์ทั้งหลาย มีประโยชน์ตนเป็นต้น หรือเพราะน้อมตนเข้าไปในประโยชน์เหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภาวิตตฺตานํ แปลว่า มีอัตภาพอันเจริญแล้ว. อธิบายว่า อัตภาพท่านเรียกว่า อัตตา เพราะเป็นที่ตั้งแห่งมานะว่าเป็น "เรา" ก็และอัตตานั้น อันอัตภาพเหล่านั้น อบรมแล้ว ด้วยอัปปมาทภาวนา (และ) อนวัชชภาวนา คือให้ถือเอากลิ่น แห่งคุณธรรมได้โดยชอบทีเดียว. พระอานนทเถระเจ้า แสดงความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้ทั้ง ๔ คือ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา เหล่านั้น ไว้ด้วยบทว่า ภาวิตตฺตานํ นั้น และทางดำเนินไปสู่พระสัมโพธิญาณ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาว่าภาวนา ก็การตรัสรู้ สัจจะนี้มี ๒ อย่าง คือ โดยการตรัสรู้ ๑ และโดยอรรถแห่งสัจจะนั้น ๑. ส่วนสัมโพธินั้น มี ๓ อย่าง คือ สัมมาสัมโพธิญาณ ๑ ปัจเจกสัมโพธิญาณ ๑ สาวกสัมโพธิญาณ ๑.

ในบรรดาสัมโพธิ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่า สัมมาสัมโพธิ เพราะรู้ คือ ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบด้วยพระองค์เอง. มรรคญาณที่เป็นปทัฏฐานของสัพพัญญุตญาณ และสัพพัญญุตญาณที่เป็นปทัฏฐานของมรรคญาณ ท่าน เรียกว่า สัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนทเถระจึงกล่าวว่า พระนามว่า พุทฺโธ แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระสัพพัญญู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ในธรรมเหล่านั้น และถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.

แท้จริง ความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย มีการตรัสรู้ธรรมที่ควรตรัสรู้เป็นอรรถ. ชื่อว่า ปัจเจกสัมโพธิ เพราะตรัสรู้ด้วยตนเองทีเดียว

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 15

เป็นส่วนตัว. อธิบายว่า ไม่ได้ตรัสรู้ตามใคร ได้แก่ ตรัสรู้สัจจธรรมด้วยสยัมภูญาณ.

ความจริง การตรัสรู้สัจจธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้เป็นไปอยู่ด้วยพระองค์เองทีเดียว โดยเป็นสยัมภูญาณ ชื่อว่า มีผู้ตรัสรู้ตาม เพราะเป็นเหตุแห่งการตรัสรู้สัจจธรรมของสัตว์ทั้งหลาย หาประมาณไม่ได้. ก็การบรรลุสัจจะนั้น ของเหล่าสัตว์ผู้หาประมาณมิได้ เหล่านี้ ย่อมไม่เป็นเหตุแห่งการตรัสรู้สัจจธรรมของสัตว์ แม้คนเดียว. ชื่อว่า สาวก เพราะเกิดในที่สุดแห่งการฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา. การตรัสรู้สัจจธรรมของพระสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า สาวกสัมโพธิ.

ก็การตรัสรู้ ๓ อย่างแม้นี้ ของพระโพธิสัตว์ ๓ จำพวก พึงทราบว่า ยังการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐานเป็นต้น ให้บริบูรณ์ เพื่อถึงที่สุดแห่งปฏิปทาที่จะมาถึงตามลำดับของตน (รอความบริบูรณ์แห่งบารมีของตน) เพราะเว้นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น การตรัสรู้นอกนี้จะมีไม่ได้. อธิบายว่า เว้นการตรัสรู้ด้วยสัจฉิกิริยากิจเสียแล้ว การตรัสรู้ด้วยภาวนากิจ จะเกิดไม่ได้เลย. และเมื่อมีการตรัสรู้ภาวนากิจ การตรัสรู้ด้วยปหานกิจ และการตรัสรู้ด้วยปริญญากิจ ย่อมชื่อว่า เป็นอันสำเร็จแล้วทีเดียว.

ก็ในเวลาที่พระมหาโพธิสัตว์เจ้า บำเพ็ญโพธิสมภารเสร็จบริบูรณ์แล้วในภพสุดท้าย บำเพ็ญบุพกิจเสร็จสิ้นแล้ว เสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ทรงตั้งปฏิญญาว่า เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ จนกว่าจิตของเราจักหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น (ถือมั่น) ดังนี้แล้ว ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ (บัลลังก์ที่พญามารมิอาจผจญได้) ยังไม่ทันถึงเวลาเย็น ก็ทรงกำจัดมารและ พลแห่งมารเสียได้ ทรงระลึกถึงขันธ์ที่พระองค์เคยอยู่อาศัยมาแล้วในก่อน ในโวการภพที่มีอาการมิใช่น้อย ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ในปุริมยาม (ยามต้น)

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 16

ทรงบรรลุ จตูปปาตญาณและอนาคตังสญาณด้วยการชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ในมัชฌิมยาม (ยามกลาง) ทรงตั้งมั่นซึ่งวิปัสสนา โดยมุขคือปฏิจจสมุปบาท จำเดิมแต่ชราและมรณะ โดยนัยมีอาทิว่า สัตวโลกนี้ ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ ก็และถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่รู้จัก (พระนิพพาน) อันเป็นเครื่องสลัดทุกข์นี้ คือ ชราและมรณะ เป็นพระโลกนาถลับขวาน คือ พระญาณ เพื่อจะตัดเสียซึ่งชัฎคือกิเลส ดุจลับขวานที่หินสำหรับลับ เพื่อจะตัดชัฏใหญ่ (ถางป่าใหญ่) ฉะนั้น ทรงยังวิปัสสนาให้ตั้งท้อง โดยการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เพราะเหตุสมบัติ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า ถึงความแก่กล้า ทรงเข้าสมาบัติต่างๆ ในระหว่างๆ ทรงยกนามรูปตามที่ทรงกำหนด แล้วขึ้นสู่ไตรลักษณ์ พิจารณาสังขารในโวการภพมีอาการมิใช่น้อยด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมตามลำดับบท ยังสัมมสนวารให้พิสดารแล้ว โดยมุขแห่งธรรม ๓๖ แสนโกฏิ. เมื่อวิปัสสนาญาณกล่าวคือมหาวชิรญาณ ในสัมมสนญาณนั้นแก่กล้า ผ่องใส เป็นไปโดยความเป็นวุฏฐานคามินี ทรงสืบต่อสัมมสนญาณนั้นด้วยมรรคได้ ในเวลาใด ในเวลานั้น ทรงยังกิเลส ๑,๕๐๐ ให้สิ้นไป โดยลำดับแห่งมรรค ชื่อว่า ย่อมตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณ ในขณะแห่งมรรคอันเลิศ (อรหัตตมรรค) จำเดิมแต่ขณะแห่งผลอันเลิศ (อรหัตตผล) ชื่อว่า ทรงบรรลุแล้วในปัจฉิมยาม (ยามสุดท้าย).

ก็แม้ทศพลญาณ และเวสารัชชญาณเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ในเวลานั้น เพราะความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ข้อนี้ จึงจัดเป็นปฏิปทาแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ โดยการตรัสรู้ก่อน ส่วนโดยใจความแห่งสัมมาสัมโพธิปฏิปทานั้น ได้แก่ การเพิ่มพูนโพธิสมภารอันเป็นแล้วในระหว่างที่ทรงบังเกิดในดุสิตพิภพ จนถึงแสดงมหาภินิหาร. คำที่ควรกล่าวถึงในการเพิ่มพูนพระโพธิสมภารนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว สมบูรณ์

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 17

ด้วยอาการทั้งปวง ในอรรถกถาจริยาปิฎก เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงถือเอาโดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาแห่งจริยาปิฎกนั้นเทอญ.

ฝ่ายพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อเป็นพระปัจเจกโพธิ มีปัจเจกโพธิสมภาร อันสร้างสมมาแล้วโดยลำดับ ดำรงอยู่ในอัตภาพสุดท้ายในเวลาเช่นนั้น ถือเอาสังเวคนิมิต อันปรากฏแล้วโดยความที่ญาณถึงความแก่กล้า เห็นโทษในภพเป็นต้น โดยไม่แปลกกัน กำหนดปวัตติกาลและเหตุแห่งปวัตติกาล นิวัตติกาลและเหตุแห่งนิวัตติกาลด้วยสยัมภูญาณ เพิ่มพูนจตุสัจจกัมมัฏฐานมีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ โดยนัยอันมาแล้ว มีอาทิว่า ท่านมนสิการอยู่โดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. พิจารณาทบทวนสังขารทั้งหลายตามสมควรแก่อภินิหารของตน ขวนขวายวิปัสสนาโดยลำดับ บรรลุมรรคอันเลิศตามลำดับมรรค ชื่อว่า ย่อมตรัสรู้ ปัจเจกสัมโพธิญาณ จำเดิมแต่ขณะแห่งผลอันเลิศ (อรหัตตผล) ไป ชื่อว่า เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะ ย่อมเป็นพระอรรคทักขิไณยบุคคลของโลก พร้อมทั้งเทวโลก. ส่วนสาวก หรือเพื่อนสพรหมจารีของพระศาสดา ฟังกัมมัฏฐานอันมีสัจจธรรมทั้ง ๔. เป็นอารมณ์ดำรงตาม คือ เพียรพยายามปฏิบัติ ข้อปฏิบัติเกิดแต่กัมมัฏฐานนั้น ขวนขวายวิปัสสนาหรือเมื่อปฏิปทา เจริญขึ้น แทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมบรรลุสาวกสัมโพธิญาณ ในภูมิแห่งอรรคสาวกที่สำเร็จตามสมควรแก่อภินิหารของตน หรือในขณะแห่งมรรคอันเลิศอย่างเดียว. ต่อแต่นั้นย่อมชื่อว่า เป็นการตรัสรู้ของสาวก เป็นอรรคทักขิไณยบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ปัจเจกสัมโพธิ และสาวกสัมโพธิ พึงทราบโดยการตรัสรู้ ดังพรรณนามานี้ก่อน.

แต่โดยความหมายแห่งสัมมาสัมโพธิญาณ ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้น โดยกำหนดอย่างต่ำ ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภารตลอดเวลา ๔ อสงไขย (กำไร) แสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างกลาง ต้องปรารถนาการเพิ่มพูน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 18

โพธิสมภาร ตลอดเวลา ๘ อสงไขย (กำไร) แสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างสูง ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภารตลอดเวลาถึง ๑๖ อสงไขย (กำไร) แสนมหากัป. และข้อแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ที่เป็นปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ.

อธิบายว่า ผู้ที่เป็นปัญญาธิกะ ย่อมมีศรัทธาอ่อน แต่มีปัญญากล้าแข็ง และต่อจากนั้นไปไม่นาน บารมีก็จะถึงความบริบูรณ์ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย เป็นภาวะผ่องใส และละเอียดอ่อน.

ผู้ที่เป็นสัทธาธิกะ ย่อมมีปัญญาปานกลาง เพราะฉะนั้น บารมีของพระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัทธาธิกะเหล่านั้น จึงถึงความบริบูรณ์ไม่เร็วเกินไป และไม่ช้าเกินไป.

ส่วนผู้ที่เป็นวิริยาธิกะ ย่อมมีปัญญาน้อย เพราะฉะนั้น บารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้วิริยาธิกะเหล่านั้น จึงถึงความบริบูรณ์ โดยการเนิ่นนานทีเดียว.

สำหรับพระปัจเจกโพธิสัตว์ไม่อย่างนั้น อธิบายว่า ท่านเหล่านั้น แม้ถึงจะมีบารมีเป็นปัญญาธิกะ ก็ยังต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภารตลอดเวลา ๒ อสงไขย (กำไร) แสนกัป (แต่) ไม่ต่ำกว่านั้น. แม้ท่านผู้เป็นสัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ ล่วงเลยกัปอื่นจากกำหนดที่กล่าวแล้ว ไปเล็กน้อยเท่านั้น ก็ย่อมบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ แต่ไม่ถึงอสงไขยที่ ๓. สำหรับพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นสาวก บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อความเป็นอรรคสาวก ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภาร สิ้นเวลา ๑ อสงไขย (กำไร) แสนกัป.

สำหรับผู้ที่เป็นมหาสาวก (บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อความเป็นมหาสาวก) ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสัมภาร สิ้นเวลาแสนกัปเท่านั้น. ถึงพระพุทธ-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 19

มารดา พระพุทธบิดา พุทธอุปัฏฐากและพระพุทธชิโนรส ก็เหมือนกัน (คือ ใช้เวลาเพิ่มพูนโพธิสมภารแสนกัป). ในอธิการนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ตั้งปณิธานโดยรวบรวมธรรม ๘ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

    เพราะประชุมแต่งธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การพบพระศาสดา ๑ บรรพชา ๑ คุณสมบัติ ๑ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ อภินิหารจึงสำเร็จได้ ดังนี้.

จำเดิมแต่บำเพ็ญมหาภินิหาร ขวนขวายแล้วๆ เล่าๆ ในทานเป็นต้นเป็น พิเศษถวายมหาทานเช่นกับทานของพระเวสสันดร ทุกๆ วัน แม้สั่งสมอยู่ซึ่งบารมีธรรมทุกอย่าง มีศีลอันสมควรแก่มหาทานนั้นเป็นต้น ขึ้นชื่อว่าการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีในระหว่างได้เลย เพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลาตามที่กล่าวแล้ว. เพราะเหตุไร? เพราะพระญาณยังไม่สุกเต็มที่. อธิบายว่า พระญาณของพระพุทธเจ้า ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ตั้งท้อง ย่อมถึงความสุกงอม ดุจข้าวกล้าที่ให้สำเร็จแล้วในเวลาที่กำหนด ฉันใด ดังนั้น การบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณและสาวกสัมโพธิญาณ ในระหว่างนั้น แหละโดยยังไม่ถึงกำหนดเวลาตามที่กล่าวแล้วในที่นั้นๆ ย่อมไม่มีแก่พระปัจเจกโพธิสัตว์ ผู้กระทำอภินิหาร ประมวลธรรม ๕ ประการเหล่านั้น คือ

    ความเป็นมนุษย์ ๑ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ ๑ การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ เหล่านี้ รวมเป็นเหตุแต่งอภินิหาร.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 20

และแก่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวก ผู้ตั้งปณิธานไว้ด้วยสามารถแห่งความปรารถนา อันประกอบแล้วด้วยองค์ ๒ คือ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ ก็ฉันนั้น. เพราะเหตุใด? เพราะญาณยังไม่สุกเต็มที่. อธิบายว่า ปัญญาบารมี ที่ส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายแม้เหล่านี้ ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระพุทธญาณให้บริบูรณ์โดยลำดับ ฉันใด ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติม ด้วยบารมีทั้งหลาย มีทานบารมีเป็นต้น (ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระปัจเจกโพธิญาณ และสาวกโพธิญาณให้บริบูรณ์ตามสมควรโดยลำดับ.

แท้จริง โดยการสั่งสมทานไว้ ท่านเหล่านี้ จึงเป็นผู้มีใจไม่ข้องอยู่ในกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีจิตไม่เพ่งเล็ง เพราะมีอัธยาศัยไม่ละโมบในภพนั้นๆ โดยการสั่งสมศีลไว้ จึงเป็นผู้มีกายวาจาและการงานบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะมีกาย วาจาสำรวมดีแล้ว มีอาชีพบริสุทธิ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ย่อมตั้งจิตมั่นด้วยชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรของท่านเหล่านั้น นี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งปัจจาคติกวัตรที่ทำไว้แล้ว.

ก็สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ และบุพภาควิปัสสนาอันเป็นอธิษฐานธรรม ย่อมอยู่ในเงื้อมมือ ของท่านผู้ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ ได้โดยไม่ยากทีเดียว ส่วนคุณธรรมมีความเพียรเป็นต้น ก็หยั่งลงสู่ภายในแห่งบุพภาควิปัสสนานั้นทีเดียว.

ก็ความอดทนอย่างยิ่ง ในการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เพื่อปัจเจกโพธิญาณ หรือสาวกโพธิญาณ นี้ ชื่อว่า วิริยะ. ความอดทนต่อความโกรธ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 21

นั้นใด นี้ชื่อว่า ขันติ. การให้ทาน การสมาทานศีลเป็นต้น และการไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อน (จากความเป็นจริง) อันใด นี้ ชื่อว่าสัจจะ. การอธิฎฐานใจที่ไม่หวั่นไหวแน่วแน่ อันให้สำเร็จประโยชน์ในที่ทั่วไปนั่นแหละ ชื่อว่า อธิษฐาน. การมุ่งประโยชน์ในหมู่สัตว์ อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่งทานและศีลเป็นต้น นี้ ชื่อว่า เมตตา. การวางเฉยในประการที่ไม่เหมาะสมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว ชื่อว่า อุเบกขา. ดังนั้น เมื่อทาน ศีล ภาวนาและศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ บารมีทั้งหลาย มีวิริยบารมีเป็นต้น ย่อมชื่อว่า สำเร็จแล้วทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้.

ปฏิปทามีทานเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ปัจเจกโพธิญาณก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สาวกโพธิญาณก็ดี นั้นแหละ ชื่อว่า ภาวนา เพราะอบรม คือ บ่มสันดาน ของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.

ปฏิปทาอันเนื่องด้วยสมถะและวิปัสสนา ที่เป็นไปแล้วในสันดาน อันทานและศีลปรุงแต่งดีแล้ว โดยพิเศษ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้นสมบูรณ์ด้วยธรรมเป็นที่ประชุมแห่งการบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

    ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมมีในการบำเพ็ญเพียรเบื้องต้น ๕ ประการคืออะไรบ้าง? ดูก่อนอานนท์ คือ ผู้บำเพียรเบื้องต้นในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมชื่นชมพระอรหัตตผล ในปัจจุบันนี้แหละ พลันทีเดียว ๑ ถ้ายังไม่ได้ชื่นชมอรหัตตผล

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 22

ในทิฏฐธรรม โดยพลัน ต่อมาในมรณสมัย จะได้ชื่นชมพระอรหัตตผล ๑ ต่อไปเป็นเทพบุตร จะได้ชื่นชมพระอรหัตตผล ๑ ต่อไป จะได้เป็นผู้ตรัสรู้โดยฉับพลันในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ในกาลภายหลัง จะได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ดังนี้.

ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีอัตภาพอันอบรมแล้ว ด้วยการอบรมธรรมเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา และด้วยมรรคภาวนากล่าวคือการตรัสรู้ อันเป็นนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมได้ชื่อว่ามีตนอันอบรมแล้ว. ในวิเศษบุคคลเหล่านั้น สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

ก็ด้วยบทว่า สีหานํ ว นี้ ในคาถานี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ แสดงถึงความที่พระเถระทั้งหลาย อันปรปักษ์ของตนครอบงำไม่ได้ และพฤติกรรมที่ข่มขี่ข้าศึกเหล่านั้น โดยการแสดงพฤติกรรมที่เสมอด้วยสีหะ. ด้วยบาทคาถาว่า สีหานํว นทนฺ ตานํ ฯเปฯ คาถา นี้ ท่านแสดงถึงความที่พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น อันข้าศึกทั้งหลาย ย่ำยีไม่ได้ โดยปรวาท และพฤติกรรมที่ข่มขี่ข้าศึกเหล่านั้น โดยการแสดงว่าเถรคาถาทั้งหลาย เป็นเช่นเดียวกับสีหนาท. ด้วยบทว่า ภาวิตตฺตานํ นี้ ท่านแสดงถึงเหตุแห่งการบันลือสีหนาท ของพระเถระทั้งหลายเหล่านั้น. ในคาถานี้ พระเถระทั้งหลาย ท่านเรียกว่า เป็นเช่นกับ สีหะ เพราะมีอัตภาพอันอบรมแล้ว และคาถาของพระเถระเหล่านั้น ท่านเรียกว่าเป็นเช่นกับด้วยสีหนาท.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 23

    ด้วยบทว่า อติถูปนายิกา นี้ ท่านแสดงถึงประโยชน์ในการข่มขี่. ในบรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น สังกิเลสธรรม ชื่อว่า เป็นปรปักษ์ของพระเถระทั้งหลาย. สมุจเฉทปหาน กับตทังควิกขัมภนปหาน ชื่อว่า การข่มขี่สังกิเลสธรรมนั้น.

พระเถระเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ผู้มีตนอันอบรมแล้ว เพราะเมื่อสมุจเฉทปหาน พร้อมด้วยตทังควิกขัมภนปหานมีอยู่ ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน ย่อมชื่อว่า สำเร็จแล้วโดยแท้.

ท่านกล่าวอธิบายความไว้ดังนี้ ก็ในมรรคขณะ พระอริยะทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมเจริญอัปปมาทภาวนา จำเดิมแต่ผลอันเลิศ (อรหัตตผล) ไป ชื่อว่า ผู้มีตนอันอบรมแล้ว.

ในบรรดาปหาตัพพธรรมเหล่านั้น ท่านแสดงความสมบูรณ์ด้วยศีลของพระเถระเหล่านั้น ด้วยตทังคปหาน แสดงความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ด้วยวิกขัมภนปหาน แสดงความสมบูรณ์ด้วยปัญญา ด้วยสมุจเฉทปหาน แสดงผลของสัมปทาเหล่านั้น ด้วยบทนอกนี้.

ก็ท่านแสดง ความที่ข้อปฏิบัติของพระเถระเหล่านั้น งามในเบื้องต้นด้วยศีล. และศีลชื่อว่า งามในเบื้องต้น ด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า โก จาทิ กุสลานํ ธมฺมานํ สีลญฺจ สุวิสุทฺธํ (ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ศีลที่บริสุทธิ์ดีแล้ว) บ้าง สีเล ปติฏฺาย (นระตั้งอยู่แล้วในศีล) บ้าง สพฺพปาปสฺส อกรณํ (การไม่ทำบาปทั้งปวง) บ้าง เพราะความเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณธรรม มีความไม่ต้องเดือดร้อนเป็นต้น.

ท่านแสดงความงามในท่ามกลางด้วยสมาธิ สมาธิชื่อว่า งามในท่ามกลางด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า จิตฺตํ ภาวยํ (ยังจิตให้เจริญอยู่) บ้าง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 24

กุสลสฺส อุปสมฺปทา (ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม) บ้าง เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณมีอิทธิวิธะเป็นต้น.

ท่านแสดงความงามในที่สุดด้วยปัญญา ปัญญาชื่อว่าเป็นที่สุดของข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า สจิตฺตปริโยทปนํ (การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว) บ้าง ปญฺญํ ภาวยํ (ยังปัญญาให้เจริญ) บ้าง ปัญญานั่นแหละ ชื่อว่างาม โดยเหตุที่ปัญญาเหนือกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลาย สมดังที่ตรัสไว้ว่า

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญทั้งหลาย เหมือนเขาหิน เป็นแท่งทึบ ไม่สะท้านสะเทือน ด้วยลมฉะนั้น ดังนี้.

อนึ่ง ท่านแสดงความเป็นผู้มีวิชชา ๓ ด้วยสีลสัมปทา เพราะจะบรรลุวิชชา ๓ ได้ ต้องอาศัยสีลสมบัติ.

แสดงความเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ด้วยสมาธิสัมปทา เพราะจะบรรลุอภิญญา ๖ ได้ ต้องอาศัยสมาธิสมบัติ.

แสดงความเป็นผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉาน ด้วยปัญญาสัมปทา เพราะจะบรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ได้ ต้องอาศัยปัญญาสมบัติ.

ด้วยบทว่า อตฺถูปนายิกา นี้ พึงทราบว่า ท่านแสดงความนี้ไว้ว่า บรรดาพระเถระเหล่านั้น บางท่านได้วิชชา ๓ บางท่านได้อภิญญา ๖ บางท่านถึงปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.

อนึ่ง ท่านแสดงการงดเว้น ส่วนสุดกล่าวคือกามสุขัลลิกานุโยค ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยสีลสัมปทา. แสดงการงดเว้น ส่วนสุด กล่าวคืออัตกิลมถานุโยค ด้วยสมาธิสัมปทา. แสดงการเสพมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยปัญญา

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 25

    อนึ่ง พึงทราบว่า ท่านแสดงการละ โดยการก้าวล่วงกิเลสทั้งหลายของพระเถระเหล่านั้น ด้วยสีลสัมปทา.

แสดงการละความกลุ้มรุมของกิเลสทั้งหลาย ด้วยสมาธิสัมปทา.

แสดงการละอนุสัยของกิเลสทั้งหลาย ด้วยปัญญาสัมปทา.

อีกอย่างหนึ่ง แสดงการชำระสังกิเลสคือทุจริต ด้วยสีลสัมปทา.

แสดงการชำระสังกิเลสคือตัณหา ด้วยสมาธิสัมปทา.

แสดงการชำระสังกิเลสคือทิฏฐิ ด้วยปัญญาสัมปทา.

อีกอย่างหนึ่ง แสดงการก้าวล่วงอบาย ของพระเถระเหล่านั้นด้วยตทังคปหาน.

แสดงการก้าวล่วงกามธาตุ ด้วยวิกขัมภนปหาน.

แสดงการก้าวล่วงภพทั้งปวง ด้วยสมุจเฉทปหาน.

อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภาวิตตฺตานํ นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ภาวนา ๓ คือ สีลภาวนา จิตตภาวนา ปัญญาภาวนา เพราะกายภาวนา หยั่งลงสู่ภายในแห่งภาวนา ๓ นั้น.

คำที่ว่า สีลภาวนา จ ปฏิปตฺติยา อาทิดังนี้ทั้งหมด เช่นกับคำที่กล่าวแล้วในก่อน. ก็หมู่มฤคเหล่าอื่น ย่อมอดทนการบันลือของสีหะไม่ได้ที่ไหนจะอดทนการข่มขู่คุกคามได้ การบันลือของสีหะนั่นแหละ จะข่มขู่คุกคามหมู่มฤคเหล่านั้น โดยแท้ฉันใด วาทะของอัญญเดียรถีย์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะทนวาทะของพระเถระทั้งหลายไม่ได้ ที่ไหนจะทนการครอบงำได้ ที่แท้วาทะของพระเถระนั่นแหละ จะครอบงำวาทะของเดียรถีย์เหล่านั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะเถรวาท เป็นไปตามพระไตรลักษณ์ และหลักธรรมว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาบ้าง ว่านิพพานธาตุบ้าง เพราะโดยธรรมดาแล้ว ใครๆ ไม่สามารถ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 26

จะคัดค้านให้เป็นอย่างอื่นไปได้. ก็คำใดที่จะพึงกล่าวในข้อนี้ คำนั้นจักแจ่มแจ้งข้างหน้า (คือในคัมภีร์ทั้งหลายเป็นอันมาก) ในอธิการนี้ พึงทราบการขยายความของคาถาแรก โดยสังเขปเท่านี้ก่อน.

ส่วนในคาถาที่ ๒ พึงทราบการขยายความ โดยมุขคือการแสดงการสัมพันธ์ดังต่อไปนี้ ผู้ประสงค์จะสวดคาถาของพระเถระเหล่าใด ในบรรดาพระเถระเหล่านั้น เพื่อจะระบุพระเถระเหล่านั้น โดยชื่อ โดยโคตร และโดยคุณธรรม ด้วยสามารถแห่งสาธารณนาม ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถานามา ดังนี้. แต่ว่าโดยอสาธารณนามแล้ว เนื้อความจักแจ่มแจ้งในคาถานั้นๆ ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถานามา ความว่า มีชื่ออย่างไร. อธิบายว่า ปรากฏโดยชื่อ โดยนัยมีอาทิว่า สุภูติ มหาโกฏฐิกะ ดังนี้.

บทว่า ยถาโคตฺตา ความว่า มีโคตรอย่างไร อธิบายว่า ปรากฏแล้วโดยกำเนิดใดๆ โดยส่วนแห่งตระกูล โดยนัยมีอาทิว่า โคตมโคตร กัสสปโคตร ดังนี้.

บทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน ความว่า มีปกติอยู่ด้วยธรรมเช่นใด อธิบายว่า ไม่ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ยิ่งด้วยประยัติ (ไม่สนใจคันถธุระ) แต่มีปกติอยู่ด้วยสมาบัติตามสมควรอยู่. (สนใจวิปัสสนาธุระ).

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน ความว่า ผู้มีปกติอยู่ตามธรรม และในบรรดาทิพวิหารธรรมเป็นต้น อยู่เนืองๆ กับธรรมมีศีลเป็นต้น เช่นใด คืออยู่กับธรรมประเภทใด.

บทว่า ยถาธิมุตฺตา ความว่า มีอธิมุตติเช่นใด คือในบรรดาสัทธาธิมุตติ และปัญญาธิมุตติทั้งหลาย มีอธิมุตติอย่างใด อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ยถาธีมุตฺตา เพราะน้อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยประการใดๆ ในมุขทั้งหลาย มีสุญญตมุขเป็นต้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อาสวะของท่าน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 27

ผู้มีจิตน้อมไปสู่พระนิพพาน ย่อมถึงความดับสูญ. ก็คำทั้งสองนี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นบุพภาค. เพราะว่า การน้อมไปตามที่กล่าวแล้ว จะมีได้ในขณะก่อนได้บรรลุพระอรหัตเท่านั้น ต่อไปก็ไม่มี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า นระใดไม่มีศรัทธา เป็นคนอกตัญญูและตัดที่ต่อเป็นต้น ดังนี้. ปาฐะว่า ยถาวิมุตฺตา ดังนี้บ้าง. ความก็ว่า พ้นแล้วด้วยประการใดๆ ในบรรดาปัญญาวิมุตติ และอุภโตภาควิมุตติทั้งหลาย.

บทว่า สปฺปญฺา ความว่า มีปัญญา ด้วยปัญญาแม้ ๓ อย่างคือ ติเหตุกปฏิสนธิปัญญา (ปัญญาที่ประกอบด้วยไตรเหตุ) ๑ ปาริหาริกปัญญา (ปัญญาสำหรับบริหารตน) ๑ ภาวนาปัญญา (ปัญญาที่สำเร็จด้วยการภาวนา) ๑. บทว่า วิ หรึสุ ความว่า อยู่แล้วด้วยผาสุวิหาร ตามที่ได้แล้วนั่นแหละ เพราะความเป็นผู้มีปัญญานั้นเอง.

บทว่า อตนฺทิตา แปลว่า ผู้ไม่เกียจคร้าน. อธิบายว่า มีความหมั่นขยัน ในข้อปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ตน และในข้อปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ผู้อื่นตามกำลัง. ก็ในพระคาถานี้ ท่านแสดงความที่พระเถระเหล่านั้น ปรากฏแล้วโดยการประกาศ ด้วยศัพท์ว่า นาม และโคตร. แสดงสีลสัมปทา และสมาธิสัมปทา ด้วยศัพท์ว่า พรหมวิหาร. แสดงปัญญาสัมปทา ด้วยบทว่า ยถาธิมุตฺตา สปฺปญฺา นี้. แสดงวิริยสัมปทา อันเป็นเหตุแห่งสีลสัมปทา เป็นต้น ด้วยบทว่า อตนฺทิตา นี้. แสดงความที่พระเถระเหล่านั้น มีชื่อ โดยการประกาศ ด้วยบทว่า ยถานามา นี้. แสดงถึงการประชุมแห่งสมบัติคือเหล่ากอพระอริยบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี และธัมมานุสารี ด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นี้. แสดงการประกอบด้วยสมบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาวิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยบทมีอาทิว่า ยถาธมฺมวิหาริโน. แสดงถึง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ของผู้ที่ดำรงอยู่ในอัตหิตสมบัติแล้ว ด้วยบทว่า อตนฺทิตา นี้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 28

    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยถานามา นี้ แสดงถึงชื่ออันมารดาบิดาทั้งหลายตั้งแล้ว แก่พระเถระเหล่านั้น เพราะระบุเพียงชื่อ. บทว่า ยถาโคตฺตา นี้แสดงถึงความเป็นกุลบุตร เพราะระบุส่วนของตระกูล. แสดงถึงความที่พระเถระเหล่านั้น บวชด้วยศรัทธา ด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นั้น. บทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้ แสดงถึงจรณสมบัติ เพราะแสดงถึงความพร้อมเพรียงด้วยคุณมีศีลสังวรเป็นต้น. บทว่า ยถาธิมุตฺตา สปฺปญฺา นี้ แสดงถึงวิชชาสมบัติของพระเถระเหล่านั้น เพราะแสดงชัดถึงการบรรลุ ด้วยญาณสมบัติอันเป็นที่สุดของการสิ้นไปแห่งอาสวะ. บทว่า อตนฺทิตา นี้ แสดงถึงอุบายเป็นเครื่องบรรลุวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติ.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงเหตุเพียงการประกาศชื่อของพระเถระเหล่านั้นด้วยบทว่า ยถานามา นี้. ส่วนด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ ท่านแสดงถึงสมบัติ คือจักร ๒ ข้างท้าย. เพราะการประชุมแห่งโคตรสมบัติ ของพระอริยบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี และธัมมานุสารี ผู้ไม่ได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้กระทำบุญไว้ในปางก่อน จะมีไม่ได้เลย.

แสดงถึงสมบัติ คือจักร ๒ ข้างต้น ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยบทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้. เพราะเมื่ออยู่ในประเทศที่ไม่สมควรก็ดี เว้นจากการคบหากับสัตบุรุษก็ดี คุณพิเศษเหล่านั้นจะมีไม่ได้เลย. แสดงถึงการประกอบด้วยสมบัติ คือการฟังพระสัทธรรม ด้วยบทว่า ยถาธิมุตฺตา นี้. เพราะเว้นจากการประกาศของผู้อื่น (การฟังพระสัทธรรม) เสียแล้ว การแทงตลอดซึ่งสัจจธรรมของพระสาวกทั้งหลาย จะมีไม่ได้เลย. แสดงถึงเหตุแห่งการประพฤติโดยขมีขมัน เพื่อคุณพิเศษตามที่กล่าวแล้ว ด้วยบทว่า สปฺปญฺา อตนฺทิตา นี้ เพราะแสดงถึงการเริ่มต้น ของญายธรรม.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 29

    อีกนัยหนึ่ง ในบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยการระบุถึงโคตร เพราะผู้ที่สมบูรณ์ด้วยโคตรตามที่กล่าวแล้ว จึงจะเกิดโยนิโสมนสิการ.

ด้วยศัพท์ว่า ธัมมวิหาระ ในบทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้ ท่านแสดงถึงการถึงพร้อมด้วยการฟังพระสัทธรรม เพราะเว้นจากการฟังธรรมเสียแล้ว จะไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้นได้เลย. แสดงถึงการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมถึงที่สุด ด้วยบทว่า ยถาธิมุตฺตา นี้ แสดงถึงความเป็นผู้มีสัมปชัญญะในที่ทั้งปวง ด้วยบทว่า สปฺปญฺญา นี้ แสดงถึงผู้ที่บำเพ็ญอัตหิตสมบัติให้บริบูรณ์ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ดำรงอยู่ จะเป็นผู้ไม่ลำบากในการปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยบทว่า อตนฺทิตา นี้.

อนึ่ง แสดงถึงความสมบูรณ์ด้วยสรณคมน์ ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ เพราะระบุถึงเหล่าพระอริยเจ้า ผู้สัทธานุสารี. แสดงสมาธิขันธ์ อันเป็นประธานของสีลขันธ์ ด้วยบทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้.

ก็คุณของพระสาวกทั้งหลาย มีสรณคมน์ เป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็นท่ามกลาง มีปัญญาเป็นปริโยสาน เพราะฉะนั้น คุณของพระสาวกแม้ทั้งหมด จึงเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยการแสดงคุณในเบื้องต้น ท่ามกลางและปริโยสาน.

ก็สมบัติแห่งคุณ เช่นนี้ อันพระเถระเหล่านั้นบรรลุแล้วด้วยสัมมาปฏิบัติใด เพื่อจะแสดงสัมมาปฏิบัตินั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตตฺถ ตตฺถวิปสฺสิตฺวา ดังนี้.

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในเสนาสนะอันสงัดแล้วมีป่า โคนไม้ และภูเขาเป็นต้นนั้นๆ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในเวลาแห่งอุทาน เป็นต้นนั้นๆ.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 30

    บทว่า วิปสฺสิตฺวา แปลว่า เห็นแจ้งแล้ว. คือ ยังทิฏฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิ อันกำหนดนามรูป และกำหนดปัจจัยให้ถึงพร้อมบรรลุวิสุทธิที่ ๕ ตามลำดับแห่งการพิจารณากลาปะเป็นต้น ยังวิปัสสนาให้เขยิบสูงขึ้น ด้วยสามารถแห่งการบรรลุถึงยอด แห่งปฏิปทาญาณ และทัสสนวิสุทธิ.

    บทว่า ผุสิตฺวา แปลว่า ถึงแล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว.

    บทว่า อจฺจุตํ ปทํ ได้แก่ พระนิพพาน อธิบายว่า พระนิพพานนั้นท่านเรียกว่า อัจจุตะ เพราะเป็นที่ๆ ไม่มีจุติ โดยที่พระนิพพานนั้นมีการไม่ต้องจุติเองเป็นธรรมดา และโดยที่ผู้บรรลุพระนิพพานแล้ว ไม่มีเหตุอันทำให้ต้องจุติ. และเรียกว่า ปทะ เพราะความที่พระนิพพานนั้นไม่เจือด้วยสังขตธรรมทั้งหลาย และเพราะเป็นแดนอันผู้มุ่งพระนิพพานนั้น พึงดำเนินไป.

    บทว่า กตนฺตํ ได้แก่ ที่สุดแห่งกิจที่ตนทำเสร็จแล้ว อธิบายว่า อริยมรรคที่พระโยคาวจรเหล่านั้น บรรลุแล้ว ชื่อว่า พระโยคาวจรการทำแล้ว เพราะมรรคอันปัจจัยของตนให้เกิดแล้ว ส่วนผลอันเป็นที่สุดของพระอริยมรรคนั้น ท่านประสงค์เอาว่า กตันตะ (ที่สุดแห่งกิจอันตนทำแล้ว) อีกอย่างหนึ่ง สังขตธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า กระทำแล้ว เพราะอันปัจจัยทั้งหลายกระทำแล้ว คือ ให้สำเร็จแล้ว. ที่สุดแห่งสังขตธรรมอันปัจจัยกระทำแล้ว ชื่อว่า พระนิพพาน เพราะเป็นแดนสลัดออกซึ่งสังขตธรรมนั้น. ซึ่งที่สุดแห่งกิจอันตนทำสำเร็จเสร็จแล้วนั้น.

    บทว่า ปจฺจเวกฺขนฺตา ความว่า พิจารณาข้อปฏิบัติเฉพาะอริยผล และนิพพาน ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะว่า อริยผลนี้ อันเราบรรลุแล้วหนอ ด้วยการบรรลุอริยมรรค อสังขตธาตุ อันเราบรรลุแล้ว ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง กิจ ๑๖ อย่าง มีปริญญากิจเป็นต้นอันใด ที่พระอริยเจ้าควรการทำ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 31

อันท่านทำแล้ว เพราะอันพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลอันเลิศ ให้สำเร็จแล้ว คือ ให้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดสัจจธรรม พิจารณาอยู่ซึ่งโสฬสกิจนั้น อันท่านทำแล้วอย่างนี้. ด้วยบทว่า ปจฺจเวกฺขนฺตา นี้ ท่านแสดงถึงการพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว. ส่วนการพิจารณา ๑๙ อย่าง มีอิตรปัจจเวกขณะเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นอันท่านแสดงแล้ว โดยนัยก่อน.

คำว่า อิมํ ในบทว่า อิมมตฺถํ นี้ ท่านกล่าวไว้โดยประสงค์ว่า เนื้อความแห่งเถรคาถา และเถรีคาถาทั้งสิ้น ใกล้เคียง และปรากฏชัดเจน ทั้งแก่ตน และแก่พระมหาเถระผู้เป็นธรรมสังคาหกาจารย์ ที่มาประชุมกันแล้วในที่นั้น เหล่าอื่น. บทว่า อตฺถํ ได้แก่ เนื้อความอันปฏิสังยุตด้วยโลกิยะ และโลกุตระ ทั้งที่น้อมเข้าไปสู่ตน น้อมเข้าไปสู่ผู้อื่น อันข้าพเจ้าจะกล่าวด้วยคาถาทั้งหลาย มีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้.

บทว่า อภาสึสุ ความว่า กล่าวแล้วโดยผูกเป็นคาถา. ประกอบความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังคาถาทั้งหลาย อันน้อมเข้าไปในตนของพระเถระเหล่านั้น ผู้มีตนอันอบรมแล้ว อันข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป ณ บัดนี้. ท่านพระอานนท์ ผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก แสดงความนี้ไว้ว่า ก็พระมหาเถระเหล่านั้น เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า น้อมเข้าไปโดยส่วนเดียว ซึ่งศาสนธรรม (คำสอน) ด้วยคาถาทั้งหลาย อันประกาศความปฏิบัติชอบของตน (และ) ชักชวนผู้อื่น ในการปฏิบัติชอบนั้น ด้วยการทำให้เป็นแจ้ง (แสดงธรรม) และพึงทราบว่า เมื่อแสดงอย่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงการยกย่องเชิดชูพระเถระเหล่านั้น ด้วยคาถาเหล่านั้น และยกถ้อยคำของพระเถรีและพระเถระเหล่านั้น ขึ้นตั้งโดยเป็นนิทาน ให้เป็นหลักฐานสืบไป.

จบนิทานกถาวรรณนา