พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. พุทธาปทาน ว่าด้วยเหตุให้สําเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40985
อ่าน  877
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 1

๑. พุทธาปทาน

ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

[๑] พระอานนท์ เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารว่า ได้ทราบว่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีอยู่หรือ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ได้เพราะเหตุอะไร.

ในกาลนั้น พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ได้ตรัสตอบพระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า ชนเหล่าใดได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ยังไม่ได้ความหลุดพ้นกิเลสในศาสนาของพระชินเจ้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 2

โดยที่มีพระสัมโพธิญาณนั้นนั่นแลเป็นประธาน มีพระอัธยาศัยอันเข้มแข็ง มีพระปัญญาแก่กล้า จึงบรรลุความ เป็นพระสัพพัญญูได้ ด้วยเดชแห่งพระปัญญา.

แม้เราก็ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ครบถ้วน ทรงเป็นพระธรรมราชา นับไม่ถ้วน.

เราประนมนิ้วทั้ง ๑๐ นมัสการพระโลกนายก พร้อมทั้ง พระสงฆ์ กราบไหว้พระสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐด้วยเศียรเกล้า.

ในพุทธเขตทั้งหลาย มีรัตนะทั้งที่อยู่ในอากาศและอยู่ บนภาคพื้นแผ่นดินมีประมาณเท่าใด ที่ใจจะนึกนำรัตนะเท่านั้นมาได้ ทั้งหมด.

ณ ภาคพื้นอันมีรูปิยะมีประมาณเท่านั้น เราได้สร้างปราสาทอันล้วนแล้วด้วยแก้วหลายชั้นสูงจรดฟ้า ตลอด ภาคพื้นมิใช่น้อย

ซึ่งมีเสาอันวิจิตรงดงาม สร้างจัดจำแนกไว้อย่างดีมีค่า มาก ซึ่งมีคันทวยหาด้วยทองคำ ประดับด้วยนกกะเรียน และฉัตร.

พื้นชั้นแรกเป็นแก้วไพฑูรย์งดงามปราศจากไฝฝ้าคือมลทิน เกลื่อนกลาดด้วยกอบัวหลวง มีพื้นทองคำอย่างดี.

พื้นบางชั้นมีสีดังแก้วประพาฬเป็นกิ่งก้านน่ายินดี สีแดง งดงาม เปล่งรัศมีดังสีแมลงค่อมทองสว่างไสวไปทั่วทิศ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 3

มีหน้ามุข ประตู หน้าต่าง จัดไว้อย่างดี มีไพที ๔ ชั้น มีชวาลา มีพวงอุบะหอมเป็นที่รื่นรมย์ใจ.

บางชั้น มีสีเขียว เหลือง แดง ขาว และดำล้วน ประกอบด้วยเรือนยอดประดับด้วยรัตนะ ๗.

มีปทุมบานสะพรั่ง งดงามด้วยเนื้อและนก ดารดาษด้วย ดาวนักษัตร ประดับด้วยรูปดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.

ปกคลุมด้วยตาข่ายทองคำ ห้อยย้อยด้วยกระดิ่งทองคำ ตาข่ายทองคำน่ารื่นรมย์ใจ เปล่งเสียงได้ด้วยแรงลม.

มีหน้าต่างงดงามด้วยสีต่างๆ คือสีชมพู สีแดง สีเหลือง และสีทอง มีธงปักไว้เป็นทิวแถว

แผ่นกระดานต่างๆ มากมายหลายร้อย ทำด้วยเงิน ทำ ด้วยแก้วมณี ทับทิม และทำด้วยแก้วลาย วิจิตรด้วยที่นอน ต่างๆ ปูด้วยผ้าจากแคว้นกาสีเนื้อละเอียด.

มีผ้าห่มสีเหลืองทำด้วยผ้ากัมพล ผ้าทุกุลพัสตร์ ผ้าเมือง จีน ผ้าเมืองปัตตุณณะ เราปูเครื่องลาดทุกชนิดด้วยใจ. ใน ชั้นนั้นๆ ประดับยอดด้วยรัตนะ มีคนยืนถือประทีปแก้วสว่าง ไสว.

มีเสาระเนียด เสาซุ้มประตู ทำด้วยทองชมพูนุท ทำด้วย ไม้แก่น และทำด้วยเงิน.

มีที่ต่อหลายแห่งจัดไว้เรียบดี วิจิตรด้วยบานประตูและ กลอน ทำปราสาทให้งดงามอยู่.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 4

สองข้างปราสาทมีกระถางน้ำเต็มเปี่ยมหลายกระถาง ปลูก ปทุมและอุบลไว้.

เรานิรมิตพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้เป็นนายกของโลกทุก พระองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก ด้วยวรรณะและรูปตามปกติ.

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์พร้อมทั้งพระสาวกเสด็จเข้า และ เข้าไปทางประตูนั้น. หมู่พระอริยเจ้านั่งบนตั่งอันล้วนแล้วด้วย ทองคำล้วนๆ.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ยอดเยี่ยมในโลก มีอยู่ในบัดนี้ก็ดี ที่ล่วงไปแล้วก็ดี ที่จะมีมาก็ดี ทุกพระองค์ได้ขึ้นปราสาทของ เรา.

พระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ผู้ไม่พ่ายแพ้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันทั้งหมด ได้ขึ้นปราสาทของเรา.

มีต้นกัลปพฤกษ์มากมายทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของ มนุษย์ เรานำเอาผ้าทุกอย่างจากต้นกัลปพฤกษ์นั้นนาทำจีวร ให้ท่านเหล่านั้นครอง.

ของเคี้ยว ของฉัน ของลิ้ม น้ำและข้าวมีสมบูรณ์ เรา รสอาหารเต็มบาตรงาม อันล้วนแล้วด้วยแก้วมณีแล้วถวาย.

พระอริยเจ้าทั้งหลายครองผ้าทิพย์ ครองจีวรเนื้อเกลี้ยง อิ่มหนำสำราญ ด้วยน้ำตาลกรวด น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มีรสหวานฉ่ำ และด้วยข้าวปายาส.

หมู่พระอริยเจ้าผู้อิ่มหนำด้วยข้าวปายาสแล้วเข้าห้องแก้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 5

สำเร็จสีหไสยาบนที่นอนอันควรค่ามาก ดังไกรสรราชสีห์ นอนในถ้ำที่อยู่ฉะนั้น.

มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวอยู่ สำเร็จสีหไสยาบนที่นอนแล้ว ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิบนที่นอน.

เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดีในฌาน อันเป็นโคจรของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บางพระองค์แสดงธรรม บางพระองค์ แผลงฤทธิ์ บางพระองค์เข้าอัปปนาฌาน และบางพระองค์ เจริญอภิญญาวสี.

ฝ่ายพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แผลงฤทธิ์เป็นหลายร้อยหลาย พันองค์ ถามอารมณ์คือพระสัพพัญญุตญาณกะพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น ตรัสรู้ฐานะอันละเอียดลึกซึ้งด้วย ปัญญา.

พระสาวกทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสาวก. ท่านเหล่านั้นคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้เป็นศิษย์ ต่างถามกันและกัน ต่างพยากรณ์ กันและกัน. ท่านเหล่านั้นยินดีอยู่ด้วยความยินดีอันนี้ อภิรมย์ อยู่ในปราสาทของเรา มีฉัตรซ้อนๆ กันซึ่งมีสีเปล่งปลั่งดัง แก้วไพฑูรย์ตั้งอยู่.

ทุกๆ องค์ทรงฉัตรอันห้อยย้อยด้วยข่ายทอง ขจิตด้วย ข่ายเงิน แสดงด้วยข่ายมุกดา บนพระเศียร. มีเพดานผ้า แวววาวด้วยดาวทอง ห้อยพวงมาลัยไว้ทั้งงดงามตระการตา ทุกๆ พระองค์ทรงไว้เหนือพระเศียร.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 6

มีพวงมาลัยเต็มไปหมด งดงามด้วยพวงของหอม เกลื่อนกลาดด้วยพวงผ้า ประดับประดาด้วยพวงแก้ว.

เกลื่อนด้วยดอกไม้ งดงามยิ่งนัก อบด้วยของหอมที่น่า ยินดี เจิมด้วยของหอม มุงด้วยเครื่องมุงอันเป็นทอง.

ในทิศทั้ง ๔ มีสระโบกขรณี เต็มด้วยปทุมและอุบล หอม ตลบด้วยเกสรดอกปทุม ปรากฏดังสีทองคำ. ต้นไม้ทุกต้น รอๆ ปราสาทออกดอก และดอกมันเองก็หล่นลงโปรยปรายปราสาทของเรา.

ในปราสาทนั้น มีนกยูงรำแพนหาง หงส์ทิพย์ส่งเสียง ร่ำร้อง และหมู่นกการวิกก็ขับขานอยู่โดยรอย.

กลองทุกอย่างดังขึ้นเอง พิณทุกชนิดก็ดีดขึ้นเอง เครื่อง สังคีตทุกชนิดก็ขับขานไปรอบปราสาท.

บัลลังก์ทองใหญ่สมบูรณ์ด้วยรัศมี ไม่มีช่อง ล้วนแล้ว ด้วยแก้ว จงตั้งอยู่ในกำหนดพุทธเจ้าและในหมื่นจักรวาล ต้นไม้ประจำทวีปก็ส่องแสงสว่าง เป็นต้นไม้สว่างไสวเป็น อย่างเดียวกันสืบต่อกันไปตั้งหมื่นต้น.

หญิงเต้นรำ หญิงขับร้อง ก็เต้นรำขับร้องไป หมู่นาง อัปสรผู้มีสีต่างๆ กัน ปรากฏอยู่รอบปราสาท.

เราให้ชักธงทุกชนิดมี ๕ สี งามวิจิตรไว้บนยอดไม้ ยอด ภูเขา และบนยอดเขาสิเนรุ.

หมู่คน นาค คนธรรพ์ และเทวดาทุกองค์เข้ามา ท่านเหล่านั้นประนมมือไหว้แวดล้อมปราสาทอยู่.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 7

กุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นกิริยาที่เราจะพึงกระทำ ด้วยกาย วาจา และใจ กุศลกรรมนั้นเรากระทำแล้ว ได้ ไปในไตรทศ.

สัตว์เหล่าใดผู้มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม สัตว์ เหล่านั้นทั้งหมดจงเป็นผู้มีส่วนแห่งผลบุญที่เราได้กระทำแล้ว. สัตว์เหล่าใดทราบบุญที่เรากระทำแล้ว เราให้ผลบุญแก่

สัตว์เหล่านั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอ ทวยเทพจงไปบอกแก่สัตว์เหล่านั้นให้รู้.

ปวงสัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเป็นอยู่ทุกจำพวก ของได้ อาหารอันพึงใจ ด้วยใจของเรา.

เราให้ทานด้วยใจ เรายึดถือเอาความเลื่อมใสด้วยใจ เราบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ แล้วบูชาแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย.

เพราะกรรมที่เรากระทำดีแล้วนั้น และเพราะการตั้งเจตนา ไว้ เราละร่างกายมนุษย์แล้วได้ไปยังดาวดึงส์พิภพ.

เราย่อมรู้จักภพทั้งสอง คือความเป็นเทวดาและมนุษย์ ไม่รู้จักคติอื่นเลย นี้เป็นผลแห่งความปรารถนาด้วยใจ.

เราเป็นใหญ่กว่าเทวดา เป็นใหญ่ในมนุษย์ เป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยรูปลักษณะไม่มีผู้เสมอด้วยปัญญา.

โภชนะต่างๆ อย่างประเสริฐ รัตนะมากมาย และผ้า ชนิดต่างๆ ย่อมจากฟากฟ้าเข้ามาหาเราพลัน. เราชี้มือไปใน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 8

ที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า อาหารทิพย์ย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา ในน้ำ และ ในป่า รัตนะทุกอย่างย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า ของหอมทุกอย่างย่อมมาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า. ยวดยานทุกชนิดย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ใน น้ำ และในป่า ดอกไม้ทุกชนิดย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ใน น้ำ และในป่า เครื่องประดับย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า ปวงนางกัญญาย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรดย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า ของเคี้ยวทุกอย่างย่อมเข้ามาหาเรา.

เราให้ทานอันประเสริฐนั้นในคนไม่มีทรัพย์ คนเดินทาง ไกล ยาจกและคนเดินทางเปลี่ยว เพื่อต้องการบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ.

เรายังภูเขาหินให้บันลืออยู่ ขังเขาอันหนาแน่นให้กระหึ่ม

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 9

อยู่ ยังมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริงอยู่ จะเป็น พระพุทธเจ้าในโลก. ทิศทั้ง ๑๐ มีอยู่ในโลก ที่สุด ย่อมไม่มี แก่ผู้ไปอยู่ ก็ในทิศาภาคนั้น มีพุทธเขตนับไม่ถ้วน.

รัศมีของเราปรากฏเปล่งออกเป็นคู่ๆ ข่ายรัศมีมีอยู่ใน ระหว่างนี้ เราเป็นผู้มีแสงสว่างมากมาย.

ปวงชนโลกธาตุมีประมาณเท่านี้จงเห็นเรา ปวงชน ทั้งหมดจงมีใจดี จงอนุวัตรตามเราทั้งหมด.

เราตีกลองอมฤตมีเสียงบันลือไพเราะ สละสลวย ปวงชน ในระหว่างนี้ จงได้ยินเสียงอันไพเราะของเรา.

เมื่อเมฆฝนคือธรรมตกลง ปวงชนจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ บรรดาชนเหล่านั้น สัตว์ผู้เกิดสุดท้ายภายหลัง จงได้เป็น พระโสดาบัน.

เราให้ทานที่ควรให้ บำเพ็ญศีลโดยไม่เหลือ ถึงเนกขัมมบารมีแล้วบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม เราสอบถาม บัณฑิตทั้งหลาย ทำความเพียรอย่างสูงสุด ถึงขันติบารมีแล้ว บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.

เรากระทำอธิษฐานมั่นคง บำเพ็ญสัจจบารมี ถึงเมตตาบารมีแล้วบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม เราเป็นผู้สม่ำเสมอ ในอารมณ์ทั้งปวง คือในลาภ ความไม่มีลาภ สุข ทุกข์ สรรเสริญ และการดูหมิ่น บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านโดยเป็นภัย และ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 10

เห็นความเพียรโดยเป็นความเกษม จงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นอนุสาสนีของพระพุทธเจ้า.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นความเกษม จงสมัครสมานกัน กล่าววาจาอ่อนหวานแก่กัน นี้เป็นอนุสาสนีของพระพุทธเจ้า.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยเป็นภัย และเห็น ความไม่ประมาทโดยเป็นความเกษมแล้ว จงเจริญอัฏฐังคิกมรรค นี้เป็นอนุสาสนีของพระพุทธเจ้า.

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์มากมาย มาประชุมกันโดยประการทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงกราบไหว้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเถิด.

ด้วยประการอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย พระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย เมื่อบุคคล เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และพระธรรมอันเป็นอจินไตย ย่อม มีวิบากเป็นอจินไตยแล.

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะให้พระอานนท์รู้พุทธจิตของ พระองค์ จึงได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อว่า พุทธาปทานิยะ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

พุทธาปาทานจบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 11

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิสุทธชนวิลาสินี

อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน

พุทธวรรคที่ ๑

คาถาเริ่มต้นพระคัมภีร์

ข้าพเจ้าขอไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หาบุคคล เปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นสู่สาครคือไญยธรรม ผู้ข้ามสาคร คือสงสารได้แล้ว ด้วยเศียรเกล้า.

ขอไหว้พระธรรมอันยอดเยี่ยม สงบ ละเอียดลึกซึ้ง เห็นได้แสนยาก อันกระทำภพน้อย และภพใหญ่ให้บริสุทธิ์ ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าบูชาแล้ว ด้วยเศียรเกล้า.

ขอไหว้พระสงฆ์ผู้ปราศจากทุกข์ ไม่มีเครื่องข้อง คือกิเลส ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลผู้สูงสุด มีอินทรีย์สงบ ผู้ปราศจากอาสวะ ด้วยเศียรเกล้า.

ด้วยการนอบน้อมพระรัตนตรัยอันวิเศษซึ่งข้าพเจ้าได้ตั้งใจกระทำโดยพิเศษนั้น ข้าพเจ้าอันพระเถระทั้งหลายผู้เป็นปราชญ์ยิ่งกว่าปราชญ์ ผู้รู้อาคมคือพระปริยัติ ผู้เป็นวิญญูชนขอร้องว่า ท่านขอรับ ท่านควรแต่ง อรรถกถาอปทาน ว่าด้วยเรื่องราวที่เคยประพฤติมาในกาล ก่อน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 12

ข้าพเจ้าถูกพระเถระผู้มียศใหญ่ ขอร้องด้วยความใส่ใจแล้วๆ เล่าๆ เป็นพิเศษเช่นนั้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักแสดงการบรรยายความ อันงดงาม แห่งอปทาน ว่าด้วยเรื่องราวที่เคยประพฤติมา ในกาลก่อน ซึ่งแสดงข้อแนะนำอันพิเศษในพระไตรปิฎก ที่ยังเหลืออยู่ตามนัยแห่งพระบาลีทีเดียว โดยกล่าวถึงด้วยวิธี นี้ว่า เรื่องราวอันดีเยี่ยมนี้ใครกล่าว กล่าวไว้ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร. เพราะฉะนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทาน ผเหตุเริ่มต้น) ทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะกล่าววิธีนั้นๆ ชี้ให้เห็นตามที่เกิดก่อนหลัง จะเป็นเครื่องทำให้การเล่าเรียนและทรงจำได้ ง่ายขึ้น.

ในชั้นเดิม เรื่องราวนั้นท่านรจนาไว้ในภาษาสิงหล และ ในอรรถกถาของเก่า ย่อมไม่ให้สำเร็จประโยชน์ตามที่สาธุชนต้องการ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจักอาศัยนัยตามอรรถกถาของ เก่านั้น เว้นข้อความที่คลาดเคลื่อนเสีย ประกาศแต่เนื้อความ ที่พิเศษออกไป จักกระทำการพรรณนาเนื้อความที่แปลกและ ดีที่สุดแล.

นิทานกถา

ก็เพราะเหตุที่ได้ปฏิญาณไว้ว่า "เรื่องราวอันดีเยี่ยม ใครกล่าว กล่าวไว้ที่ไหน และกล่าวไว้เมื่อไร" และว่า "ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนา เนื้อความ" ดังนี้ การพรรณนาเนื้อความแห่งอปทานนี้นั้น เมื่อข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 13

แสดงนิทานทั้งสามนี้ คือ ทูเรนิทาน (นิทานในกาลไกล) อวิทูเรนิทาน (นิทานในกาลไม่ไกล) สันติเกนิทาน (นิทานในกาลใกล้) พรรณนาอยู่ จักทำให้เข้าใจได้แจ่มเเจ้งดี เพราะผู้ฟังอปทานั้น เข้าใจแจ่มแจ้งมาแต่ เริ่มต้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงจักแสดงนิทานเหล่านั้น แล้วจึงจะ พรรณนาอปทานนั้นต่อไป.

บรรดานิทานนั้น เบื้องต้นพึงทราบปริเฉทคือการกำหนดขั้นตอน ของนิทานเหล่านั้นเสียก่อน. ก็กถามรรคที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระมหาสัตว์ กระทำอภินิหาร ณ เบื้องบาทมูลแห่งพระพุทธทีปังกรจนถึงจุติจากอัตภาพ พระเวสสันดรบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็น ทูเรนิทาน. กถามรรคที่ เล่าเรื่องตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่ ควงไม้โพธิ์จัดเป็น อวิทูเรนิทาน. ส่วน สันติเกนิทาน จะหาได้ในที่นั้นๆ แห่งพระองค์เมื่อประทับอยู่ในที่นั้นๆ แล.

ทูเรหิทานกถา

ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อว่าทูเรนิทานมีดังต่อไปนี้

เล่ากันมาว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรแสนกัปนับแต่ภัทรกัป นี้ไป ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้น มีพราหมณ์ชื่อ สุเมธ อาศัยอยู่ เขามีกำเนิดมาดีทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์อันบริสุทธิ์นับได้เจ็ดชั่วตระกูล ใครๆ จะคัดค้านดูถูกเกี่ยวกับ เรื่องชาติมิได้ มีรูปสวยน่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขาไม่กระทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์เท่านั้น. มารดาบิดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขายังรุ่นหนุ่ม ต่อมาอำมาตย์

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 14

ผู้จัดการผลประโยชน์ของเขานำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องอันเต็มด้วยทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น แล้วบอกให้ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้ เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวด แล้วเรียนว่า ขอท่านจงครอบครองทรัพย์สินมีประมาณเท่านี้เถิด. สุเมธบัณฑิตคิดว่า บิดาและปู่ เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้ไว้แล้ว เมื่อไปสู่ปรโลกจะถือเอาแม้ทรัพย์ กหาปณะหนึ่งไปด้วยก็หามิได้ แต่เราควรจะทำเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไปให้ได้ ครั้นคิดแล้วเขาจึงกราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนคร ให้ทานแก่มหาชนแล้วบวชเป็นดาบส. ก็เพื่อที่จะให้เนื้อความนี้แจ่มแจ้ง ควรจะกล่าวสุเมธกถาไว้ ณ ที่นี้ด้วย. แต่สุเมธกถานี้นั้นมีมาแล้วในพุทธวงศ์โดยสิ้นเชิงก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่ค่อยจะปรากฏชัดแจ้งนัก เพราะมีมาโดยเป็นคาถาประพันธ์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวสุเมธกถา นั้น พร้อมทั้งคำที่แสดงคาถาประพันธ์ไว้ในระหว่างๆ ด้วย.

สุเมธกถา

ก็ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัป ได้มีพระนครได้ นามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ ประการ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ว่า

ในสื่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ใจ สมบูรณ์ด้วยข้าว และน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ ประการ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 15

ได้เป็นเมืองอึกทึกด้วยเสียงทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงสัมมตาล (ดนตรีชนิดหนึ่งทำด้วยไม้) และเสียงที่ ๑. ว่า เชิญกิน เชิญดื่ม เชิญขบเคี้ยว. ก็ท่านถือเอาเพียงเอา เทศของเสียง ๑๐ ประการ นั้นเท่านั้น แล้วกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า

กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ และเสียงเชิญด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญกิน เชิญดื่ม. แล้วจึงกล่าวต่อไปว่า

พระนครอันสมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทุกประการ เพียบ พร้อมด้วยกิจการทั้งปวง สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗ ขวักไขว่ ไปด้วยเหล่าชนนานาชาติ มั่งคั่งประหนึ่งเทพนคร เป็นที่อยู่ อาศัยของคนมีบุญ.

ในนครอมรวดี พราหมณ์นามว่า สุเมธ มีสมบัติสะสม ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากหลาย เป็นผู้คงแก่ เรียน ทรงจำมนต์ได้ เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จใน ลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และธรรมเนียมพราหมณ์ ของตน.

อยู่มาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้นอยู่ในที่ลับ ณ พื้นปราสาทชั้นบน อันประเสริฐ นั่งขัดสมาธิคิดอยู่อย่างนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต ธรรมดาว่าการถือ ปฏิสนธิในภพใหม่เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้วๆ ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน อันตัวเราย่อมมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตายเป็นธรรมดา เราผู้เป็นอย่างนี้ ควรแสวงหาอมตมหานิพพาน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 16

อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่มีทุกข์ มีความสุข เยือกเย็น เป็นทางสายเดียวที่พ้นจากภพ มีปกตินำไปสู่พระนิพพาน จะพึงมีแน่นอน. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ตอนนั้น เราอยู่ในที่สงบนั่งคิดอย่างนี้ว่า การเกิดในภพใหม่ และการแตกทำลายของสรีระเป็นทุกข์. เรานั้นมีความ เกิด ความแก่ ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จักแสวงหาพระนิพพาน อันไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม.

ไฉนหนอ เราพึงไม่เยื่อใย ไร้ความต้องการ ละทิ้งร่างกายเน่า ซึ่งเต็มด้วยซากศพนานาชนิดนี้เสีย แล้วไปเสีย ทางนั้นมาอยู่ และจักมี ทางนั้น ไม่อาจเป็นเหตุหามิได้ เราจักแสวงหาทางนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพให้ได้.

ต่อแต่นั้น ก็คิดให้ยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุข เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์ ย่อมมีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สิ่งที่ปราศจากภพอันเป็นปฏิปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นอันเป็นเครื่องสงบควานร้อนนั้น ก็ย่อมมีอยู่ ฉันใด แม้พระนิพพานอันเป็นเครื่องสงบระงับไฟคือราคะเป็นต้น ก็พึงมี ฉันนั้น แม้ธรรมอันงดงาม ไม่มีโทษ เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปลามก ก็ย่อมมีอยู่ ฉันใด เมื่อความเกิดอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือ การไม่เกิด เพราะความเกิดทั้งปวงหมดสิ้นไป ก็พึงมี ฉันนั้น. *สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้สุขก็ย่อมมี ฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้ความไม่มีมีภพ ก็พึงปรารถนาได้ ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 17

เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่าง ก็ต้องมี ฉันใด เมื่อไฟสามกองมีอยู่ แม้ความดับเย็น ก็พึงปรารถนาได้ ฉันนั้น.

เมื่อความชั่วมีอยู่ ความดีงาม ก็ต้องมี ฉันใด เมื่อความ เกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็พึงปรารถนาได้ ฉันนั้น.

ท่านคิดข้ออื่นต่อไปอีกว่า บุรุษผู้ตกลงไปในหลุมคูถ. เห็นสระใหญ่ ดารดาษด้วยดอกปทุม ๕ สีแต่ไกล ควรแสวงหา (ทางไป) สระนั้นว่า เราจะไปยังสระใหญ่นั้นทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็น โทษผิดของสระไม่ เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระน้ำ คือพระอมตมหานิพพานอันเป็นเครื่องชำระมลทิน คือกิเลส มีอยู่ การไม่แสวงหาสระน้ำ คืออมมหานิพพานนั้น หาได้เป็นโทษผิดของสระน้ำ คืออมตมหานิพพานไม่ เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง บุรุษถูกพวกโจรล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้าเขาไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่ แต่เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด บุรุษผู้ถูกกิเลสทั้งหลายห่อหุ้มยึดไว้ เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่ ไปสู่พระนิพพานมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทาง หาเป็นโทษผิดของทางไม่ แต่เป็นโทษผิดของบุรุษเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง บุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้เยียวยาพยาธิมีอยู่ ถ้าไม่หาหมอให้เยียวยาพยาธินั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของหมอไม่ แต่เป็นโทษผิดของบุรุษเท่านั้น ฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในทางเป็นที่เขาไปสงบกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็นโทษผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 18

โทษผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลสให้พินาศไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรุษผู้ตกอยู่ในหลุมคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระไม่ ฉันใด เมื่อสระคือ อมตะสำหรับเป็นเครื่องชำระมลทินคือกิเลสมีอยู่ เขาไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระคืออมตะไม่ ฉันนั้น

คนเมื่อถูกศัตรูรุมล้อม เมื่อทางหนีไปมีอยู่ ก็ไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่ ฉันใด คนที่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้น.

คนผู้เจ็บป่วย เมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้หมอรักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของหมอนั้นไม่ ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วย คือกิเลสเบียดเบียน แล้วไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ท่านยังคิดข้ออื่นต่อไปอีกว่า คนผู้ชอบแต่งตัว พึงทิ้งซากศพที่คล้องคออยู่แล้วไปสบาย ฉันใด แม้เราก็พึงทิ้งร่างกายเปื่อยเน่านี้เสีย ไม่มีอาลัยห่วงใยเข้าไปยังนครคือนิพพาน ฉันนั้น.

อนึ่ง ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงบนพื้นอันสกปรก ย่อมไม่เก็บอุจจาระหรือปัสสาวะนั้นใส่พก หรือเอาชายผ้าห่อไป ต่างรังเกียจ ไม่มีความอาลัยเลย กลับทิ้งไปเสีย ฉันใด แม้เราก็ควรเป็นผู้ไม่มี

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 19

ความอาลัย ควรละทิ้งร่างกายอันเปื่อยเน่า เข้าไปยังนครคือพระอมตนิพพาน ฉันนั้น.

อนึ่ง ธรรมดานายเรือไม่มีความอาลัย ทิ้งเรือลำเก่าคร่ำคร่าไป ฉันใด แม้เราก็จะทิ้งร่างกายนี้อันมีของไม่สะอาดไหลออกทางปากแผลทั้ง ๙ แห่ง ไม่มีความเยื่อใย เข้าไปยังนิพพานบุรี ฉันนั้น.

อนึ่ง บุคคลพกพาเอารัตนะต่างๆ เดินทางไปกับพวกโจร เพราะกลัวรัตนะของตนจะสูญหาย จึงทิ้งพวกโจรนั้นเสีย แล้วเดินทางไปที่ปลอดภัย ฉันใด กายอันเกิดจากของโสโครกนี้ ก็เป็นเสมือนโจรปล้นรัตนะ ฉันนั้น.

ถ้าเราจักก่อความอยากขึ้นในกายนี้ ธรรมรัตนะที่เป็นกุศลคืออริยมรรค ของเราจักพินาศไป เพราะฉะนั้น เราควรละทิ้งกายนี้อันเสมือนกับโจร แล้วเข้าไปยังนคร คือพระอมตมหานิพพาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอออกเสีย แล้วไป มีความสุขอยู่อย่างเสรีโดยลำพังตนเองได้ฉันใด คน ก็ควรละทิ้งร่างกายเน่าที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิด ไม่มี เยื่อใย ไม่มีความต้องการไปเสีย ฉันนั้น.

ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระ เป็นผู้ไม่อาลัย ไม่ต้องการ หนีไปเสีย ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะละทิ้งร่างกายนี้ อันเต็มด้วยซากศพนานาชนิด แล้วไปเสีย เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไป ฉันนั้น.

เจ้าของละทิ้งเรือเก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มี ความอาลัย ไม่มีความต้องการไปเสีย ฉันใด เราก็ฉันนั้น

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 20

เหมือนกัน จักละทิ้งร่างกายนี้ ซึ่งมีช่องเก้าช่องหลั่งไหลออก เป็นนิจไปเสีย เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไปฉะนั้น.

บุรุษเดินไปกับพวกโจร ถือห่อของไปด้วย เห็นภัยที่จะ เกิดจาการตัดห่อของ จึงทิ้งพวกโจรไป แม้ฉันใด กายนี้ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน เสมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเสีย เพราะกลัวแต่การตัดกุศลให้ขาด.

สุเมธบัณฑิต คิดเนื้อความอันประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมา ชนิดต่างๆ อย่างนี้แล้ว สละกองโภคทรัพย์นัยไม่ถ้วนในเรือนของตน แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว ในหนหลัง ให้มหาทาน ละวัตถุกาม และกิเลสกามทั้งหลาย แล้ว ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาและที่จงกรมใกล้อาศรมนั้น เพื่อจะละโทษ คือนิวรณ์ ๕ และเพื่อจะนำมาซึ่งพละกล่าวคืออภิญญาอันประกอบด้วยคุณ อันเป็นเหตุ ๘ ประการ ซึ่งท่านกล่าวได้โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตตั้งมั่น แล้วอย่างนี้ ดังนี้ จึงละทิ้งผ้าสาฏกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ ไว้ใน อาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ บวชเป็นฤๅษี. ท่านบวชอย่างนี้แล้ว ละทิ้งบรรณศาลานั้นอันเกลื่อนกล่น ด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปยังโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เลิกละธัญญวิกัติ ข้าวชนิดต่างๆ ทุกชนิด หันมาบริโภคผลไม้ป่า เริ่ม ดังความเพียรด้วยอำนาจการนั่ง การยืน และการจงกรม ภายใน ๗ วัน นั่นเอง ก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ท่านได้บรรลุอภิญญาพละ ตามที่ปรารถนา ด้วยประการอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 21

เราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิแก่คนยาก จนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์. ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ สร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้ ทั้งยังสร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕ ประการ ไว้ใกล้อาศรมนั้น เราได้อภิญญาพละอันประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ.

เราเลิกใช้ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ หัน มานุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ. เราละทิ้งบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๑๐ ประการ เข้า ไปสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราเลิกละข้าว ที่หว่านที่ปลูกโดยสิ้นเชิง หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่ สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความเพียรในที่ นั่งที่ยืนและที่จงกรม ในอาศรมบทนั้น ภายใน ๗ วัน เรา ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.

ก็ด้วยบาลีว่า อสฺสโม สุกโค มยฺหํ ปณฺณสาลา สุมาปิตา นี้ ใน คาถานั้นท่านกล่าวถึงอาศรม บรรณศาลา และที่จงกรม ไว้ราวกะว่า สุเมธบัณฑิตสร้างด้วยมือของตนเอง แต่ในคาถานี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ท้าวสักกะทรงเห็นพระมหาสัตว์ว่า เข้าป่าหิมพานต์แล้ว วันนี้จัก เข้าไปถึงธรรมิกบรรพต จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า นี่แน่ะ พ่อ สุเมธบัณฑิตออกไปด้วยคิดว่า จักบวช เธอจงเนรมิตที่อยู่ให้แก่ สุเมธบัณฑิตนั้น. วิสสุกรรมเทพบุตรนั้นรับพระดำรัสของท้าวสักกะนั้น

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 22

แล้ว จึงเนรมิตอาศรมอันน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาอันสนิทดี และที่จงกรม อันรื่นรมย์ใจ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอาศรมบทนั้นอัน สำเร็จด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ในครั้งนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ที่ภูเขาธรรมิกบรรพตนั้น.

อาศรมเราได้สร้างได้ดีแล้ว บรรณศาลาเราได้สร้างไว้ อย่างดี เราได้สร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ใกล้ อาศรมนั้นด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกโต มยฺหํ แปลว่า เราสร้างอาศรม ไว้ดีแล้ว. บทว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า แม้ศาลามุงด้วยใบไม้ เราก็ได้สร้างไว้อย่างดี.

บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ความว่า ชื่อว่า โทษของที่จงกรมมี ๕ อย่าง เหล่านี้ คือ แข็งและขรุขระ ๑ มีต้นไม้ภายใน ๑ ปกคลุมด้วย รกชัฏ ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑.

จริงอยู่ เมื่อพระโยคีจงกรมบนที่จงกรม มีพื้นดินแข็งและขรุขระ เท้าทั้งสองจะเจ็บปวดเกิดการพองขึ้น จิตไม่ได้ความแน่วแน่ กัมมัฏฐาน จะวิบัติ แต่กัมมัฏฐานจะถึงพร้อม ก็เพราะได้อาศัยการอยู่ผาสุกในพื้นที่ อ่อนนุ่มและเรียบ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พื้นที่แข็งและขรุขระเป็น โทษประการที่ ๑.

เมื่อมีต้นไม้อยู่ภายใน หรือท่ามกลาง หรือที่สุดของที่จงกรม เมื่อ อาศัยความประมาทเดินจงกรม หน้าผากหรือศีรษะย่อมกระทบ เพราะฉะนั้น ที่จงกรมมีต้นไม้อยู่ภายใน จึงเป็นโทษประการที่ ๒

พระโยคีเมื่อจงกรมอยู่ในที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏหญ้าและเถาวัลย์

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 23

เป็นต้น ในเวลามืดค่ำก็จะเหยียบงูเป็นต้นตาย หรือถูกงูเป็นต้นนั้นกัดได้ รับทุกขเวทนา เพราะฉะนั้น ที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏ (รกรุงรัง) จึง เป็นโทษประการที่ ๓

เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมแคบเกินไป โดยความกว้าง ประมาณศอกหนึ่งหรือครึ่งศอก เล็บบ้าง นิ่วบ้าง จะสะดุดขอบจงกรม เข้าแล้วจะแตก เพราะฉะนั้น ที่จงกรมแคบเกินไป จึงเป็นโทษประการ ที่ ๔

เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ไม่ ได้ความแน่วแน่ เพราะฉะนั้น ความที่จงกรมกว้างเกินไป จึงเป็นโทษ ประการที่ ๕.

ก็ที่อนุจงกรม ส่วนกว้างประมาณศอกหนึ่งในด้านทั้งสอง ประมาณ ด้านละหนึ่งศอก. ที่จงกรมส่วนยาว ประมาณ ๖๐ ศอก พื้นอ่อนนุ่ม เกลี่ยทรายไว้เรียบ ย่อมควร เหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้ ทำชาวเกาะให้เลื่อมใสในเจติยคีรีวิหาร ที่จงกรมของท่านได้เป็นเช่นนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้สร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕ ประการ ไว้ใกล้อาศรมนั้น.

บทว่า อฏฺคุณสมุเปตํ ได้แก่ ประกอบด้วยสมณสุข ๘ ประการ ชื่อว่าสมณสุข ๘ ประการ เหล่านี้ คือ ไม่มีการหวงแหนทรัพย์และข้าวเปลือก ๑ แสวงหาบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ ๑ บริโภคบิณฑบาตที่เย็น ๑ ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุบีบคั้นชาวรัฐ ในเมื่อราชสกุลบีบคั้นชาวรัฐถือเอา ทรัพย์ที่มีค่า หรือดีบุกและกหาปณะเป็นต้น ๑ ปราศจากความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ๑ ไม่กลัวโจรปล้น ๑

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 24

ไม่ต้องคลุกคลีกับพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา ๑ ไม่ถูกขัด ขวางในทิศทั้งสี่ ๑. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ผู้อยู่ในอาศรมนั้นสามารถ ได้รับความสุขทั้ง ๘ ประการนี้ เราจึงสร้างอาศรมนั้นอันประกอบด้วย คุณ ๘ ประการนี้.

บทว่า อภิญฺาพลมาหรึ ความว่า ภายหลังเมื่อเราอยู่ในอาศรม นั้นกระทำกสิณบริกรรม แล้วเริ่มวิปัสสนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง และโดยความเป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้น แล้ว จึงได้วิปัสสนาพละอันทรงเรี่ยวแรง อธิบายว่า เราอยู่ในอาศรมนั้น สามารถนำเอาพละนั้นมาได้ ด้วยประการใด เราได้สร้างอาศรมนั้นให้ สมควรแก่วิปัสสนาพละ เพื่อต้องการอภิญญา ด้วยประการนั้น.

ในคำว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคตํ นี้ มีคำที่จะกล่าวไป โดยลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตอาศรมที่ประกอบ ด้วยกระท่อมที่เร้น และที่จงกรมเป็นต้น ดารดาษด้วยไม้ดอกและได้ผล น่ารื่นรมย์ มีบ่อน้ำมีรสอร่อย ปราศจากเนื้อร้ายและนกที่มีเสียงร้องน่า สะพรึงกลัว ควรแก่ความสงบสงัด จัดพนักพิงไว้ในที่สุดทั้งสองด้านแห่งที่ จงกรมอันตกแต่งแล้ว เนรมิตศิลามีสีดังถั่วเขียว มีพื้นเรียบ ไว้ในท่าม กลางที่จงกรม เพื่อจะได้นั่ง สำหรับภายในของบรรณศาลา ได้เนรมิต สิ่งของทุกอย่างที่จะเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่บรรพชิตอย่างนี้ คือบริขารดาบส มีชฎาทรงกลม ผ้าเปลือกไม้ ไม้สามง่าม และคนโทน้ำเป็นต้น ที่ ปะรำมีหม้อน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม และขันตักน้ำดื่ม ที่โรงไฟมีกระเบื้อง รองถ่านและฟืนเป็นต้น ที่ฝาบรรณศาลาได้เขียนอักษรไว้ว่า ใครๆ มี

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 25

ประสงค์จะบวช จงถือเอาบริขารเหล่านี้แล้วบวชเถิด เสร็จแล้วกลับไป ยังเทวโลก สุเมธบัณฑิตตรวจที่อันผาสุกอันสมควรแก่การอยู่อาศัยของตน ตามแนวซอกเขา ณ เชิงเขาหิมพานต์ ได้เห็นอาศรมอันน่ารื่นรมย์ซึ่งท้าว สักกะประทาน อันวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ ณ ที่แม่น้ำไหลกลับ จึง ไปยังท้าวที่จงกรม มิได้เห็นรอยเท้า จึงคิดว่าบรรพชิตทั้งหลายแสวงหา ภิกษาหารในหมู่บ้านใกล้ เหน็ดเหนื่อยมาแล้ว จักเข้าไปบรรณศาลาแล้ว นั่งอยู่เป็นแน่แท้ จึงรออยู่หน่อยหนึ่งแล้วคิดว่า ชักช้าเหลือเกิน เรา อยากจะรู้นัก จึงเปิดประตูบรรณศาลาเข้าไปข้างในแล้วมองดูรอบๆ ได้ อ่านอักษรที่ฝาผนังแผ่นใหญ่ แล้วคิดว่า กัปปิยบริขารเหล่านี้เป็นของเรา เราจักถือเอากัปปิยบริขารเหล่านี้บวช จึงเปลื้องคูผ้าสาฎกที่ตนนุ่งห่มทิ้ง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราละทิ้งผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปอย่างนี้แล้วเปลื้อง ผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น.

ด้วยบทว่า นวโทหสมุปาคตํ นี้ ท่านแสดงว่า เราเมื่อจะละทิ้งผ้า สาฎก เพราะได้เห็น โทษ ๙ ประการ จึงได้ละทิ้งไปเสีย. จริงอยู่ สำหรับ ผู้บวชเป็นดาบส โทษ ๙ ประการย่อมปรากฏในผ้าสาฎก คือความเป็น ของมีค่ามาก เป็นโทษอันหนึ่ง. เกิดขึ้นเพราะเกี่ยวเนื่องกับคนอื่น เป็น โทษอันหนึ่ง, เศร้าหมองเร็วเพราะการใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะ ว่าผ้าสาฎกเศร้าหมองแล้ว จะต้องซักต้องย้อม. การที่เก่าไปเพราะการ ใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, จริงอยู่ สำหรับผ้าที่เก่าแล้ว จะต้องทำการ ชุนหรือทำการปะผ้า. แสวงหาใหม่กว่าจะได้ก็แสนยาก เป็นโทษอันหนึ่ง, ไม่เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นโทษอันหนึ่ง, เป็นของทั่วไปแก่

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 26

ศัตรู เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะว่า จะต้องคุ้มครองไว้โดยประการที่ศัตรู จะถือเอาไปไม่ได้. การอยู่ในฐานะเป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย เป็น โทษอันหนึ่ง เป็นความมักมากในของใช้ประจำตัวสำหรับผู้ถือเที่ยวไป เป็นโทษอันหนึ่ง.

บทว่า วากจีรํ นิวาเสสึ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ในครั้งนั้น เราเห็นโทษ ๙ ประการเหล่านี้ จึงละทิ้งผ้าสาฎกแล้ว นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ คือถือเอาผ้าเปลือกไม้ซึ่งเอาหญ้ามุงกระต่ายมาทำให้เป็นชิ้นๆ แล้วถักทำ ขึ้น เพื่อต้องการใช้เป็นผ้านุ่งและผ้าห่ม.

บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ แปลว่า ประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒ ประการ. จริงอยู่ ผ้าเปลือกไม้ มีอานิสงส์ ๑๒ ประการ คือ

ข้อว่า มีราคาถูก็ ดี สมควร นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ก่อน

ข้อว่า สามารถทำด้วยมือของตนเองได้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ข้อที่ว่า จะค่อยๆ สกปรกเพราะการใช้สอย แม้เมื่อจะซักก็ไม่ เนิ่นช้าเสียเวลา นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓

เมื่อเมื่อเก่าก็ไม่มีการจะต้องเย็บ เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔

เมื่อแสวงหาใหม่ก็การทำได้ง่าย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕

เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖

พวกศัตรูไม่ต้องการใช้สอย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๗

ไม่อยู่ในฐานะเป็นเครื่องประคบสำหรับผู้ใช้สอย เป็นอานิสงส์ ข้อที่ ๘

ในเวลาครองเป็นของเบา เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๙

ความเป็นผู้มักน้อยในปัจจัยคือจีวร เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 27

การเกิดขึ้นแห่งผ้าเปลือกไม้เป็นของชอบธรรมและไม่มีโทษ เป็น อานิสงส์ข้อที่ ๑

เมื่อผ้าเปลือกไม้หายไปก็ไม่เสียดาย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๒.

ในบทว่า อฏฺโทสสมากิณฺณํ ปชหึ ปณฺณสาลกํ นี้มีคำถาม สอดเข้ามาว่า เราละทิ้งอย่างไร? ตอบว่า ได้ยินว่า สุเมธบัณฑิตนั้น เปลื้องคู่ผ้าสาฎกอย่างดีออก แล้วถือเอาผ้าเปลือกไม้สีแดง เช่นกับ พวงดอกอโนชา ซึ่งคล้องอยู่ที่ราวจีวรเอามานุ่ง แล้วห่มผ้าเปลือกไม้ อีกผืนหนึ่ง ซึ่งมีสีดุจสีทอง ทับลงบนผ้าเปลือกไม้ที่นุ่งนั้น แล้ว กระทำหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เช่นกับสัณฐานดอกบุนนาคให้เป็นผ้าเฉวียง บ่า สวมชฎากลมแล้วสอดปิ่นไม้แก่นเข้ากับมวยผม เพื่อกระทำให้ แน่น วางคนโทน้ำซึ่งมีสีดังแก้วประพาฬไว้ในสาแหรก เช่นกับข่าย แก้วมุกดา ถือหาบซึ่งโค้งในที่สามแห่ง แล้วคล้องคนโทน้ำไว้ที่ปลายหาบ ข้างหนึ่ง คล้องขอ กระเช้าและไม้สามง่ามเป็นต้นที่ปลายหาบข้างหนึ่ง แล้วเอาหาบซึ่งบรรจุบริขารดาบสวางลงบนบ่า มือขวาถือไม้เท้าออกจาก บรรณศาลา เดินจงกรมกลับไปกลับมาในที่จงกรมใหญ่ประมาณ ๖๐ ศอก แลดูเพศของตนแล้วคิดว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว การบรรพชาของ เรางดงามหนอ ชื่อว่าการบรรพชานี้อันท่านผู้เป็นวีรบุรุษทั้งหลายทั้งปวง มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญชมเชยแล้ว เครื่องผูกมัดของคฤหัสถ์เราละได้แล้ว เราเป็นผู้ออกเนกขัมมะแล้ว การ บรรพชาอันยอดเยี่ยม เราได้แล้ว เราจักกระทำสมณธรรม เราจักได้สุข ในมรรคและผล ดังนี้แล้วเกิดความอุตสาหะ วางหาบดาบสบริขารลง แล้วนั่งบนแผ่นศิลามีสีดังถั่วเขียวในท่ามกลางที่จงกรม ประหนึ่งดังรูปปั้น

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 28

ทองคำฉะนั้น. ได้ยับยั้งอยู่ตลอดส่วนของวัน ในเวลาเย็นจึงเข้าบรรณศาลา นอนบนเสื่อที่ถักด้วยแขนงไม้ข้างเตียงหวาย ให้ตัวได้รับอากาศอันสดชื่น แล้วตื่นขึ้นตอนใกล้รุ่ง คำนึงถึงการมาของตนว่า เราเห็นโทษในการ ครองเรือน จึงสละโภคทรัพย์นับไม่ถ้วน และยศอันหาที่สุดมิได้ เข้า ป่าบวชแสวงหาเนกขัมนะ จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะประพฤติด้วยความ ประมาทย่อมไม่ควร ด้วยว่าแมลงวันคือมิจฉาวิตกย่อมกัดกินผู้ที่ละความ สงัดเที่ยวไป เราพอกพูนความสงัดในบัดนี้ จึงจะควร เพราะเราเห็น การครองเรือนโดยความเป็นของมีแต่กังวล จึงออกบวช ก็บรรณศาลานี้ น่าพอใจ พื้นที่ก็ทำการปรับไว้ดี มีสีดังผลมะตูมสุก ฝาผนังขาวมีสีดังเงิน หลังคามุงด้วยใบไม้มีสีดังเท้านกพิราบ เตียงหวายมีสีดังเครื่องปูลาดอัน ตระการตา สถานที่อยู่เป็นที่อยู่ได้อย่างผาสุก ความพร้อมมูลแห่งเรือน ของเรา เสมือนว่าจะยิ่งไปกว่าบรรณศาลานี้ ไม่ปรากฏให้เห็น จึงเมื่อ จะค้นหาโทษของบรรณศาลา ก็ได้เห็นโทษ ๘ ประการ.

จริงอยู่ ในการใช้สอยบรรณศาลา มีโทษ ๘ ประการ คือการ แสวงหาด้วยการรวบรวมทัพพสัมภาระกระทำด้วยการเริ่มอย่างใหญ่หลวง เป็นโทษข้อที่ ๑.

การจะต้องซ่อมแซมอยู่เป็นนิตย์ เพราะเมื่อหญ้า ใบไม้ และ ดินเหนียวร่วงหล่นลงจะต้องเอาสิ่งเหล่านั้นมาวางไว้ ณ ที่เดิมแล้วๆ เล่าๆ เป็นโทษข้อที่ ๒.

ธรรมดาเสนาสนะจะต้องถึงแก่ท่านผู้แก่กว่า เมื่อเราถูกปลุกให้ลุกขึ้น ในคราวที่มิใช่เวลา ความแน่วแน่ของจิตก็จะมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น การที่ถูกปลุกให้ลุกขึ้นจึงเป็นโทษข้อที่ ๓.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 29

การกระทำร่างกายให้อ่อนแอ โดยกำจัดความหนาวและความร้อน เป็นต้น เป็นโทษข้อที่ ๔.

ผู้เข้าไปสู่เรือนอาจทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะเหตุนั้น การปกปิดข้อครหาได้ เป็นโทษข้อที่ ๕.

การทำความหวงแหนว่า "เป็นของเรา" เป็นโทษข้อที่ ๖.

ธรรมดามีเรือนแสดงว่าต้องมีคู่ เป็นโทษข้อที่ ๗.

การเป็นของสาธารณ์ทั่วไปแก่คนมาก เพราะเป็นของสาธารณ์ สำหรับสัตว์มีเล็น เรือด และตุ๊กแกเป็นต้น เป็นโทษข้อที่ ๘.

พระมหาสัตว์เห็นโทษ ๘ ประการนี้ จึงละทิ้งบรรณศาลาเสีย ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า เราละทิ้ง บรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๔ ประการ ดังนี้.

บทว่า อุปาคมึ รุกฺขมูลํ คุเณ ทสหุปาคตํ ความว่า พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ.

ในการอยู่โคนไม้นั้น มีคุณ ๑๐ ประการนี้ คือ

มีความริเริ่มน้อย เป็นคุณข้อที่ ๑ เพราะเพียงแต่เข้าไปเท่านั้น ก็อยู่ที่นั้นได้.

การปฏิบัติรักษาน้อย เป็นคุณข้อที่ ๒ เพราะโคนไม้นั้น จะ กวาดหรือไม่กวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้สบายเหมือนกัน.

การที่ไม่ต้องถูกปลุกให้ลุกขึ้น เป็นคุณข้อที่ ๓. ไม่ปกปิดข้อครหา เมื่อจะทำชั่วที่โคนไม้นั้นย่อมละอายใจ เพราะ

เหตุนั้น การปกปิดข้อครหาไม่ได้ เป็นคุณข้อที่ ๔.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 30

ไม่ทำร่างกายให้อึดอัด เหมือนกับอยู่กลางแจ้ง เพราะเหตุนั้น การที่ร่างกายไม่อึดอัด เป็นคุณข้อที่ ๕.

ไม่มีการต้องทำความหวงแหนไว้ เป็นคุณข้อที่ ๖.

ห้ามความอาลัยว่าเป็นบ้านเรือนเสียได้ เป็นคุณข้อที่ ๗.

ไม่มีการไล่ไปด้วยคำว่า เราจักปัดกวาดเช็ดถูที่นั้น พวกท่านจง ออกไป เหมือนดังในบ้านเรือนอันทั่วไปแก่คนจำนวนมาก เป็นคุณ ข้อที่ ๘.

ผู้อยู่ก็มีความปีติอิ่มเอิบใจ เป็นคุณข้อที่ ๙.

การไม่มีความห่วงใย เพราะเสนาสนะคือโคนไม้หาได้ง่ายในที่ ที่ผ่านไป เป็นคุณข้อที่ ๑๐.

พระมหาสัตว์เห็นคุณ ๑๐ ประการเหล่านี้ จึงกล่าวว่า เราเข้าหา โคนไม้ ดังนี้. พระมหาสัตว์กำหนดเหตุมีประมาณเท่านี้ เหล่านี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น จึงเข้าไปภิกขาจารยังหมู่บ้าน. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในหมู่บ้านที่ท่านไปถึง ได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. ท่านทำภัตกิจเสร็จแล้วมายังอาศรม นั่งลงแล้วคิดว่า เรามิได้บวชด้วยหวังใจว่าจะได้อาหาร ธรรมดาอาหาร อันละเอียดนี้ ย่อมเพิ่มพูนความเมาเพราะมานะ และความเมาในความเป็น บุรุษ และที่สุดทุกข์อันมีอาหารเป็นมูล ย่อมมีไม่ได้ ถ้ากระไร เราพึง เลิกละอาหารที่เกิดจากข้าวที่เขาหว่านและปลูก บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง. จำเดิมแต่นั้น พระมหาสัตว์ก็ได้กระทำตามนั้น พากเพียรพยายามอยู่ ใน ภายในสัปดาห์เดียวเท่านั้น ก็ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้บังเกิดได้. เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 31

เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มาบริโภคผลไม้ ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก เราเริ่มตั้งความเพียร ในการนั่ง การยืน และการเดินจงกรมอย่างนั้น ในภายใน สัปดาห์หนึ่ง ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.

เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาขาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วย ความสุขอันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาพระนามว่าทีปังกร ได้เสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก. ในการถือปฏิสนธิ การประสูติ การตรัสรู้ และการประกาศ พระธรรมจักรของพระศาสดาพระองค์นั้น หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นสะเทือน เลื่อนลั่นหวั่นไหวร้องลั่น บุพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธดาบสยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในสมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้น และไม่ได้เห็น บุพนิมิตเหล่านั้นด้วย. เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

เมื่อเราบรรลุถึงความสำเร็จเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระศาสนา อย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายก ทรงพระนามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์เสด็จอุบัติ ประสูติ ตรัสรู้และ แสดงพระธรรมเทศนา เราเอิบอิ่มอยู่ด้วยความยินในฌาน มิได้เห็นนิมิตทั้ง ๔ ประการแล.

ในกาลนั้น พระทศพลพระนามว่า ทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสน ห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปถึงรัมมนคร๑ เสด็จประทับอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร. ชนชาวรัมมนครได้ทราบข่าวว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้า พระนานว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ อันยิ่งยอด ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ


๑. บางแห่งเป็นรัมมกนคร.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 32

เสด็จถึงรัมมนครของพวกเราแล้ว เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยขึ้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ก็พากันหลั่งไหลไปจนถึงที่พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ประทับ เข้าเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชา ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง สดับพระธรรม เทศนา ทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น แล้วพากันลุกจากอาสนะหลีกไป.

ในวันรุ่งขึ้น ชนเหล่านั้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับ พระนครตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาแห่งพระทศพล ในที่มีน้ำขังก็เอาดินถม ทำพื้นที่ดินให้ราบเรียบ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรดข้าวตอกและ ดอกไม้ เอาผ้าย้อมสีต่างๆ ยกเป็นธงชายและธงแผ่นผ้า ตั้งต้นกล้วย และแถวหม้อน้ำเต็ม. ในกาลนั้น สุเมธดาบสเหาะจากอาศรมของตนขึ้นสู่ อากาศ แล้วเหาะไปทางส่วนเบื้องบนของคนเหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริง ยินดีกัน จึงคิดว่ามีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง ถามคนทั้งหลายว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาหนทาง อันไม่สม่ำเสมอในที่นี้ เพื่อใครกัน. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า

ในเขตแดนอันเป็นปัจจันตประเทศ พวกมนุษย์มีใจยินดี นิมนต์พระตถาคต แล้วชำระแผ้วถางหนทางสำหรับเสด็จ ดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้น เราออกไปจากอาศรมของ ตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ (ให้เรียบร้อย) แล้ว ที่นั้น เหาะไปในอัมพร เราได้เห็นตนเกิดความยินดี ต่างร่าเริง ดีใจปราโมทย์ จึงลงจากท้องฟ้า ไต่ถามคนทั้งหลายทันทีว่า

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 33

มหาชนเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริงปราโมทย์ พวกเขาชำระ แผ้วถางถนนหนหางเพื่อใครกัน.

มนุษย์ทั้งหลายจึงเรียนว่า ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบหรือ พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร บรรลุพระสัมโพธิญาณ แล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเรา เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร พวกเราทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมา จึงพากันตกแต่งทางเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า แม้เพียงคำประกาศว่า พุทโธ ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับคนเหล่านี้ตกแต่งทาง เพื่อพระทศพลด้วย. ท่านจึงกล่าวกะคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านทั้งหลายตกแต่งทางนี้ เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านจงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เรา ก็จักตกแต่งทางพร้อมกับพวกท่าน. คนเหล่านั้นรับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้ กันอยู่ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดเอาโอกาสที่น้ำขังให้ไปด้วยคำว่า ท่านจงตกแต่งที่นี้. สุเมธดาบสถือเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้ว คิดว่า เราสามารถจะตกแต่งโอกาสนี้ด้วยฤทธิ์ได้ โอกาสคือที่ว่างซึ่งเรา ตกแต่งด้วยฤทธิ์อย่างนี้ จะไม่ทำเราให้ดีใจนัก วันนี้ เราควรกระทำการ ขวนขวายด้วยกาย จึงขนดินมาถมลงในสถานที่นั้น.

เมื่อสถานที่นั้น ของสุเมธดาบสยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทีปังกร ทศพลห้อมล้อมด้วยพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมากสี่แสน เมื่อเหล่าเทวดาบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์เป็นต้น บรรเลงดนตรี ทิพย์ ขับสังคีตทิพย์ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็น

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 34

ต้น และดนตรีอันเป็นของมนุษย์ พระองค์ได้เสด็จดำเนินตามทางที่ตกแต่ง ประดับประดานั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาอุปมามิได้ ประดุจราชสีห์เยื้อง กรายบนมโนศิลาฉะนั้น. สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของ พระทศพล ผู้เสด็จดำเนินมาตารมทางที่ตกแต่งไว้ ซึ่งถึงความงามด้วย พระรูปโฉม อันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วย พระอนุยัญชนะ ๘๐ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา เปล่งพระพุทธรัศมี อันหนาทึบมีพรรณ ๖ ประการ เป็นวงๆ และเป็นคู่ๆ เหมือนสาย ฟ้าแลบมีประการต่างๆ ในพื้นท้องฟ้าซึ่งมีสีดังแก้วมณีฉะนั้น จึง คิดว่า วันนี้ เราควรบริจาคชีวิตเพื่อพระทศพล พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่าทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงเหยียบบนหลังเราเสด็จไปพร้อมกับ พระขีณาสพสี่แสนองค์ เหมือนกับเหยียบสะพานแผ่นแก้วมณีฉะนั้น ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลและสุขแก่เราตลอดกาลนาน ครั้นคิดแล้ว จึงสยายผม แล้วเอาหนึ่งเสือ ชฎามณฑลและผ้าเปลือกไม้ปูลาดลง เปือกตมอันมีสีดำ แล้วนอนลงบนหลังเปือกตม ประหนึ่งว่าสะพานแผ่น แก้วมณีฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์เหล่านั้นถูกเราถามแล้ว ต่างยืนยันว่า พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะ โลกนายก พระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก คนทั้งหลายชำระแผ้วถาง ถนนหนทาง เพื่อพระพุทธเจ้านั้น.

ทันใดนั้น ปีติเกิดขึ้นแก่เราเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เรากล่าวว่า พุทโธ พุทโธ อยู่ ก็ได้เสวยโสมนัส. เรายืนอยู่ ในที่นั้นยินดีแล้ว กลับสลดใจคิดว่าเราจักปลูกพืชลงไว้ในที่นี้

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 35

ขณะอย่าได้ล่วงเลยไปเสียเปล่า (แล้วกล่าวว่า) ถ้าท่านทั้งหลายชำระแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จงให้โอกาสที่ว่าง แห่งหนึ่งแก่เรา แม้เราก็จะชำระแผ้วถางถนนหนทาง ทีนั้น คนเหล่านั้นได้ให้ที่ว่างแก่เรา เพื่อชำระแผ้วถางหนทาง.

เวลานั้นเราคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ พลางแผ้วถางหนทาง. เมื่อที่ว่างของเรายังแผ้วถางไม่เสร็จ พระชินเจ้ามหามุนีทีปังกรพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน ผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน ได้เสด็จดำเนินทางมา การต้อนรับก็มีขึ้น กลองมากมายก็บรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาต่างร่าเริง พากันประกาศสาธุการ เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์ แม้พวก มนุษย์ก็เห็นเหล่าเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประคอง อัญชลีเดินตามพระตถาคต.

แม้ทั้งสองพวกนั้น คือพวกเทวดาบรรเลงดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์บรรเลงดนตรีของมนุษย์ เดินตามพระตถาคต. เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศ ก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม และดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ. เหล่า เทวดาที่เหาะมาทางอากาศ โปรยผงจันทน์ และของหอม อย่างดีล้วนเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ.

เหล่าคนผู้อยู่บนพื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอกช้างน้าว ดอกกระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว ทุกทิศ.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 36

เราสยายผมออก แล้วลาดผ้าเปลือกไม้คากรองและ หนังเสือบนเปือกตมนั้นแล้ว นอนคว่ำลงด้วยความปรารถนา ว่า

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย จงทรงเหยียบ เราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบที่เปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองขึ้นอีก เห็นพระพุทธสิริของพระทีปังกรทศพล จึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็ พึงเผากิเลสทั้งปวงเป็นสังฆนวกะเข้าไปสู่รัมมนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วย การเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุพระนิพพาน ถ้ากระไรเรา พึงเป็นดังพระทศพลทีปังกร บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวาให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้ว จึงปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา. ต่อจากนั้น จึงประมวลธรรม ๘ ประการ การทำ ความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วจึงนอนลง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเรานอนบนแผ่นดิน ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ เราเมื่อปรารถนาอยู่ ก็จะพึงเผากิเลสของเราได้.

จะมีประโยชน์อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมใน ที่นี้ ด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรง

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 37

ข้ามฝั่งไปผู้เดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จักให้ มนุษย์พร้อมทั้งเทวดา ข้ามฝั่งไปด้วย.

ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้ ที่เรากระทำแล้วด้วยความ เป็นลูกผู้ชายผู้ยอดเยี่ยม เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จักให้เหล่าชนมากมายข้ามฝั่งไปด้วย.

เราตัดกระแสคือสงสาร ทำลายภพทั้งสามแล้วขึ้นสู่ ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามไปด้วย ดังนี้.

ก็เพราะเหตุที่เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า

ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่จะสำเร็จได้ เพราะประชุมธรรม ๔ ประการไว้ได้ คือความเป็นมนุษย์. ความถึงพร้อมด้วย เพศ เหตุ การได้เห็นพระศาสดา การได้บรรพชา ๑ ความสมบูรณ์ด้วยคุณ ๑ การกระทำอันยิ่งใหญ่ ๑ ความเป็นผู้ มีฉันทะ ๑.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในอัตภาพมนุษย์เท่านั้น แล้วประกาศ ความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของ นาค ครุฑ เทวดา หรือท้าวสักกะ หาสำเร็จไม่.

แม้ในอัตภาพมนุษย์ เมื่อเขาดำรงอยู่ในเพศบุรุษเท่านั้น ความ ปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาของหญิง หรือของบัณเฑาะก์ กะเทยและอุภโตพยัญชนก หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับบุรุษ เมื่อเขาสมบูรณ์ด้วยเหตุ ที่จะบรรลุพระอรหัตใน อัตภาพนั้นเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ นอกนี้หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุ เมื่อปรารถนาในสำนักของพระ-

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 38

พุทธเจ้าผู้ยังดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ เมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อเขาปรารถนาในที่ใกล้พระเจดีย์หรือที่ โคนต้นโพธิ์ ก็หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้ปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ดำรงอยู่ใน เพศพรรพชาเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับผู้ดำรงอยู่ใน เพศคฤหัสถ์ หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้บวชแล้ว เมื่อได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับผู้เว้นจากคุณสมบัตินี้ หาสำเร็จไม่.

แม้ผู้ที่สมบูรณ์แล้วด้วยคุณก็ตาม ผู้ใดได้บริจาคชีวิตของตนแก่ พระพุทธเจ้า สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้นั้นเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับคนนอกนี้ หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยการการทำอันยิ่งใหญ่ ความปรารถนา ย่อมจะสำเร็จแก่ผู้มีฉันทะ อุตสาหะ ความพยายาม และการแสวงหาอัน ยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คนนอกนี้หาสำเร็จไม่.

ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้อความอุปมาดังต่อไปนี้ :-

ก็ถ้าจะพึงเป็นอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนข้าม ห้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเป็นน้ำผืนเดียวกันหมด จนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อม บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้, ก็หรือว่าผู้ใดจะสามารถกวาดห้องจักรวาล ทั้งสิ้น ซึ่งปกคลุมด้วยกอไผ่แล้วเหยียบย่ำไปด้วยเท้าจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้น ย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้. หรือว่าผู้ใดสามารถเอาหอกปักห้อง จักรวาลทั้งสิ้น แล้วเอาเท้าเหยียบห้องจักรวาลซึ่งเต็มด้วยใบหอกติดๆ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 39

กันจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้, ก็หรือว่า ผู้ใด สามารถเอาเท้าทั้งสองเหยียบท้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงอัน ปราศจากเปลวจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้. ผู้ ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้สักเหตุเดียวว่าเป็นของที่ตนทำได้ยาก แต่เป็น ผู้ที่ประกอบด้วยฉันทะ อุตสาหะ วายามะ และการแสวงหาอันยิ่งใหญ่ อย่างนี้ว่า เราจักข้ามแม้สิ่งนี้หรือไปจนถึงฝั่งให้ได้ ความปรารถนาของ ผู้นั้นเท่านั้น ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่. เพราะฉะนั้น สุเมธดาบสได้ประชุมธรรม ๘ ประการนี้ไว้ได้หมด จึงกระทำความปรารถนา อันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงนอนลง.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จมาแล้ว ทรงยืนที่เบื้องศีรษะ ของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาท มี วรรณะ ๕ ประการ ประหนึ่งว่าเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ทรงเห็นสุเมธดาบสนอนอยู่เหนือหลังเปือกตม จึงทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความ ปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความ ปรารถนาของดาบสนี้จะสำเร็จหรือไม่หนอ จึงทรงส่งอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ทั้งที่ทรงประทับยืนอยู่ นั่นแหละ ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายเห็นดาบส ผู้มีตบะสูงผู้นี้ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตมหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดาบสนี้กระทำความปรารถนา อันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของ ดาบสนี้จักสำเร็จ ด้วยว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 40

ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม, ก็ในอัตภาพนั้น พระนครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัยของเขา พระเทวีพระนามว่ามายา จักเป็นพระมารดา พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระบิดา พระเถระนามว่าอุปติสสะจักเป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่าโกลิตะจัก เป็นทุติยสาวก พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก พระเถรี นามว่าเขมาจักเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาจักเป็นทุติยสาวิกา ดาบสนี้มีญาณแก่กล้าแล้วจักออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียร ใหญ่ รับข้าวปายาสที่ควงไม้นิโครธแล้ว บริโภคที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ จักตรัสรู้พร้อมเฉพาะที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร รับเครื่องบูชา ทรงยืน ณ เบื้องศีรษะ ได้ตรัสคำนี้กะเรา ว่า

พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฎิลผู้นี้ ซึ่งมีตบะสูง เขาจัก ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ในกัปที่นับไม่ถ้วนแต่กัปนี้ไป.

เขาจักเป็นพระตถาคต จักออกจากนครชื่อกบิลพัสดุ์ อัน น่ารื่นรมย์ เริ่มตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคตจะนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ประคองข้าวปายาสไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญราช ณ ที่นั้น.

พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวปายาสที่ฝั่งแม่น้ำเนรัณชรา แล้ว เสด็จไปยังควงไม้โพธิ์ ตามทางที่เขาตกแต่งไว้ดีแล้ว

ลำดับนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่มิมีใครยิ่งกว่า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 41

ทรงกระทำประทักษิณโพธิมัณฑ์แล้ว จักตรัสรู้ที่ควงไม้ อัสสัตถพฤกษ์.

พระมารดาผู้เป็นชนนีของท่านผู้นี้ จักมีนามว่ามายา พระบิดาจักมีนามว่าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมีนามว่าโคดม.

พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ จักเป็นพระอัครสาวกผู้หา อาสวะมิได้ปราศจากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น พระอุปัฏฐาก นามว่าอานนท์ จักอุปัฏฐากพระชินเจ้านั้น.

พระเขมาและพระอุบลวรรณา จักเป็นอัครสาวิกาผู้หา อาสวะมิได้ ปราศจากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น. ต้นไม้ ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกกันว่าต้นอัสสัตถพฤกษ์ ดังนี้.

สุเมธดาบสได้ฟังดังนั้น ได้มีความโสมนัสว่า นัยว่า ความปรารถนา ของเราจักสำเร็จ. มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว ต่างพากันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็น หน่อแห่งพระพุทธเจ้า และพวกเขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า มนุษย์เมื่อจะข้ามแม่น้ำ เมื่อไม่อาจข้ามตามท่าตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่า ข้างใต้ ฉันใด แม้เราทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผล ในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ก็พึงสามารถทำให้แจ้งมรรคและผล ต่อหน้าท่าน ในกาลที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังนี้แล้ว พากันดังความปรารถนาไว้.

ฝ่ายพระทศพลทีปังกรสรรเสริญพระโพธิสัตว์แล้ว บูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำมือ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. พระขีณาสพนับได้

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 42

สี่แสนแม้เหล่านั้น ก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและดอกไม้ กระทำ ประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็บูชาอย่างนั้น เหมือนกัน ไหว้แล้วพากันหลีกไป.

ในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงลุกขึ้นจากที่นอน แล้วคิดว่า เราจักเลือกเฟ้นหาบารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิบนยอด กองดอกไม้. เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งอย่างนี้แล้ว เทวดาทั้งหลายในหมื่น จักรวาลทั้งสิ้นให้สาธุการแล้วกล่าวกันว่า ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า ใน กาลที่พระโพธิสัตว์ครั้งเก่าก่อนนั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า จักเฟ้นหาบารมี ทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตอันใดย่อมปรากฏ แม้บุรพนิมิตเหล่านั้นทั้งหมด ก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวก เราก็รู้ข้อนั้นว่า นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดย แน่แท้ ท่านจงประคองความเพียรของตนไว้ให้มั่นคงเถิด แล้วกล่าว สรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยคำสรรเสริญนานัปการ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า

คนและเทวดาได้ฟังพระดำรัสนี้ของพระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีผู้ เสมอ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ต่างยินดีว่า นัยว่าดาบสนี้ เป็นพืชของพระพุทธเจ้า.

เสียงโห่ร้องดังลั่นไป มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ต่างปรบมือหัวเราะเริงร่า ประคองอัญชลีนมัสการอยู่.

ถ้าพวกเราจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ ในอนาคตกาลอันยาวนาน.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 43

มนุษย์ทั้งหลายเมื่อข้ามน้ำ พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้า จะยึดท่าข้างใต้ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.

พวกเราแม้ทั้งหมด ก็ฉันนั้น ถ้าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ ก็จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ ในอนาคตกาลอันยาวนาน.

พระทีปังกรผู้รู้แจ้งโลกผู้ควรรับเครื่องบูชา ทรงระบุกรรม ของเราแล้ว จึงทรงยกพระบาทเบื้องขวาเสด็จไป.

พระชินบุตรทั้งหมดที่มีอยู่ในที่นั้น ได้กระทำประทักษิณ เรา คน นาค คนธรรพ์ต่างก็กราบไหว้แล้วหลีกไป.

เมื่อพระโลกนายกพร้อมทั้งพระสงฆ์เสด็จล่วงทัศนวิสัย ของเราแล้ว เรามีจิตร่าเริงยินดี ลุกขึ้นจากอาสนะในขณะ นั้น.

ครั้งนั้น เรามีความสุขด้วยความสุข มีความปราโมทย์ ด้วยความปราโมย์ ท่วมท้นด้วยความปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่.

ครั้งนั้น เรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ ชำนาญในฌาน บรรลุถึงอภิญญาบารมีแล้ว.

ในหมื่นโลกธาตุ พระฤาษีผู้จะเสมอเหมือนเราย่อมไม่มี เราเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนในธรรมคือฤทธิ์ จึงได้ความสุข เช่นนี้.

ในการนั่งขัดสมาธิของเรา เทวดาและมนุษย์ผู้อยู่ในหมื่น โลกธาตุ เปล่งเสียงบันลือลั่นว่า ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แน่แท้.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 44

นิมิตใด จักปรากฏในการนั่งขัดสมาธิของพระโพธิสัตว์ ทั้งหลายในกาลก่อน นิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้วในวันนี้.

ความหนาวก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับ นิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

หมื่นโลกธาตุปราศจากเสียง ไม่มีความยุ่งเหยิง นิมิต เหล่านั้นปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แน่แท้.

พายุใหญ่ก็ไม่พัด น้ำก็ไม่ไหล นิมิตเหล่านั้นปรากฏแล้ว ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ดอกไม้ที่เกิดบนบกและที่เกิดในน้ำ ทั้งหมดต่างบานใน ทันใดนั้น ดอกไม้ทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็บานแล้วในวันนี้ ท่าน จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

เครือเถาหรือต้นไม้ที่ทรงผลในขณะนั้น เครือเถาและ ต้นไม้ทั้งหมดแม้เหล่านั้น ก็ออกผลในวันนี้ ท่านจักได้เป็น พระพุทธเจ้าแน่แท้.

รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ในภาคพื้นดินต่าง ส่องแสงโชติช่วงอยู่ในทันใดนั้น รัตนะแม้เหล่านั้นต่างส่อง แสงอยู่ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ดนตรีทั้งของมนุษย์ และของทิพย์บรรเลงอยู่ในขณะนั้น ดนตรีทั้งสองชนิดแม้นั้นก็ขับขานขึ้นในวันนี้ ท่านจักได้เป็น พระพุทธเจ้าแน่แท้.

ท้องฟ้ามีดอกไม้งดงาม ย่อมตกเป็นฝนในทันใด ท้องฟ้า

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 45

แม้เหล่านั้นก็ตกลงเป็นฝนในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แน่แท้.

มหาสมุทรก็ม้วนตัว หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว ทั้งสองอย่าง แม้นั้นก็มีเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ไฟแม้ในนรก ในหมื่นโลกธาตุก็ดับในขณะนั้น ไฟแม้ นั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

พระอาทิตย์ปราศจากมลทิน สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏใน ขณะนั้น แม้สิ่งเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็น พระพุทธเจ้าแน่แท้.

น้ำพุ่งขึ้นจากแผ่นดินในทันทีทันใด โดยที่ฝนมิได้ตกเลย แม้น้ำก็พุ่งขึ้นแล้วจากแผ่นดินในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

หมู่ดาวนักขัตฤกษ์ก็สว่างไสวในมณฑลท้องฟ้า พระจันทร์ ก็ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง ที่อาศัยอยู่ในซอกเขา ก็ออก จากที่อยู่ของตนๆ สัตว์แม้เหล่านั้นก็ทั้งที่อยู่อาศัยในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ความไม่ยินดีย่อมไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ต่างมีความยินดีด้วยกันในขณะนั้น สัตว์แม้เหล่านั้นต่างก็ยินดี ด้วยกันในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

โรคทั้งหลายสงบลงในขณะนั้น และความหิวก็พินาศไป

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 46

แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

คราวนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะ โมหะ ก็พินาศไป ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็ปราศจากไปแล้ว ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้

ในกาลนั้น ภัยก็ไม่มี แม้ในวันนี้ความไม่มีภัยนั้นก็ ปรากฏแล้ว พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้นว่า ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ธุลีย่อมไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้ในวันนี้ ข้อนั้นก็ปรากฏ แล้ว พวกเรารู้ด้วยนิมิตนั้นว่า ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แน่แท้.

กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็ถอยห่างไป กลิ่นทิพย์ก็ฟุ้งตลบอยู่ กลิ่นแม้นั้นก็ฟุ้งตลบอยู่ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แน่แท้.

เทวดาทั้งปวง ยกเว้นพวกอรูปพรหมย่อมปรากฏ เทวดา ทั้งปวงแม้เหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ชื่อว่านรกมีเพียงใด นรกทั้งหมดย่อมปรากฏในขณะนั้น นรกทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็น พระพุทธเจ้าแน่แท้.

ในคราวนั้น ฝาผนัง บานประตู และแผ่นหิน ไม่มี

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 47

เครื่องกีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นที่ว่างไปในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ในขณะนั้น ไม่มีการจุติและอุปบัติ แม้ข้อนั้นก็ปรากฏ แล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่น อย่าหวนกลับ จง ก้าวหน้าไป แม้เราทั้งหลายก็ย่อมรู้แจ้งข้อนี้ว่า ท่านจักได้ เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทีปังกรทศพล และเทวดา ในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะยิ่งกว่าประมาณ จึงคิดว่า ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าไม่ เป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตกแน่ นอน สัตว์เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์ก็คลอดขึ้น ราชสีห์ออกจากที่อยู่ก็จะต้องบันลือสีหนาท หญิงมีครรภ์แก่ก็จะต้องคลอด เป็นของมีแน่นอน ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็นั้นเหมือนกัน เป็นของแน่นอนไม่เปล่า. เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แน่แท้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของเทวดาในหมื่น จักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริงยินดีปราโมทย์ จึงคิด อย่างนี้ในเวลานั้นว่า

พระชินพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เป็นสอง มีพระดำรัสไม่เปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสเป็นสอง เราจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 48

ก้อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้า ย่อมตกลงในแผ่นดินแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เหมืนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีพระดำรัสอันไม่เป็นจริง เราจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ แท้.

ความตายของสัตว์ทั้งมวลเป็นของแน่นอนและเที่ยงตรง แม้ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย เป็นของแน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

เมื่อถึงเวลาสิ้นราตรี พระอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป็นของ แน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

ราชสีห์ลุกขึ้นจากที่นอน จะต้องบันลือสีหนาทแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป็น ของแน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

หญิงทั้งหลายผู้มีครรภ์จะต้องคลอดแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป้นของแน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงอย่างนี้ว่า เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า ธรรมอันกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ อยู่เบื้องบน หรือเบื้องล่าง หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้น ไปโดยลำดับ ก็ได้เห็นทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อน

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 49

ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำ จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า หม้อน้ำที่คว่ำไว้ย่อมคายน้ำออกหมด ไม่นำกลับเข้าไป ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตรและภรรยา หรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึง กระทำมิให้มีส่วนเหลือ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า ครั้น กล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรก กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ทั้งทางโน้นและทางนี้ ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ทั้ง สิบทิศตลอดถึงธรรมธาตุ.

ครั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่อย่างนั้น จึงได้เห็นทานบารมี ข้อที่ ๑ เป็นเส้นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ประพฤติตามคลองธรรมสืบกันมาแล้ว.

ท่านจงสมาทานบารมีข้อที่ ๑ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึง ความเป็นทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.

หม้อน้ำเต็มเปี่ยม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำปากลง น้ำย่อม ไหลออกหมด น้ำย่อมไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น แม้ฉันใด

ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่ง และปานกลาง จงให้ทานให้หมด เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำ ปากลงไว้ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 50

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็น พระพุทธเจ้า จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒ จึงได้มีความคิดอันนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จําเดิมแต่นี้ไป แม้ศีลบารมี ท่านก็ต้องบําเพ็ญให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อทรายจามรี ไม่เห็นแก่ชีวิต รักษาเฉพาะขนหางของตน เท่านั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น จำเดิมแต่นี้ไป อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้อธิษฐานศีลบารมี ข้อที่ ๒ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีประมาณเท่านี้ เรา จักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ.

จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ปลดขนหางออก ไม่ได้ ก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้ง ๔ จงรักษาศีลไว้ ทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้นเถิด.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็น เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิม

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 51

แต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้เนกขัมมบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อยู่ในเรือนจำมาเป็นเวลานาน มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้รำคาญอย่างเดียว ไม่อยากอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพ ทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ คือการออกจากกามเท่านั้น ท่านจักได้ เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอาการอย่างนี้ แล้วได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจัก เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ในก่อนถือปฏิบัติเป็นประจำแล้ว.

ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่น ก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุ พระโพธิญาณ.

บุรุษอยู่มานานในเรือนจำ ลำบากเพราะความทุกข์ มิได้ ทำความยินดีให้เกิดในเรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นออกไป อย่างเดียว ฉันใด

ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ เป็นผู้มุ่งหน้าออก บวช เพื่อพ้นจากภพนั้นเถิด.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะ ไม่พึงมีเพียงเท่านี้ จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นปัญญาบารมี ข้อที่ ๔ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 52

พึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลย ไม่ว่า จะเป็นคนชั้นต่ำชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตแม้ทั้งหมด ไต่ถามปัญหา. เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ ละเว้นตระกูลไรๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาต ตามลำดับ ได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น เข้า ไปหาบัณฑิตทั้งปวง ได้ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้ว จึงอธิษฐานปัญหาบารมีข้อที่ ๔ กระทำให้มั่นแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจักเฟ้นหาธรรม แม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

เราเมื่อค้นหาอยู่ในคราวนั้น ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นปัญญาบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.

ภิกษุเมื่อขออยู่ ไม่เว้นตระกูลต่ำ สูง และปานกลาง ย่อม ได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด

ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ถึงความเป็น ปัญญาบารมี จักได้บรรลุพระสัมโพธิญาณฉะนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่ พึงมีเพียงเท่านั้น จึงใคร่ควรให้ยิ่งขึ้นไปอีก ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 53

จึงได้มีความคิคฃดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง บำเพ็ญแม้วิริยบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า พญาราชสีห์มฤคราช เป็นผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวง ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น เป็น ผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวง ในภพทุกภพ เป็นผู้มีความเพียร ไม่ย่อหย่อน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานวิริยบารมี ข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลาย จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเฟ้น หาธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น วิริยบารมีข้อที่ ๕ ที่ ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จง ถึงความเป็นวิริยบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.

พญาราชสีห์มฤคราช เป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนใน การนั่ง การยืน และการเดิน ประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อ แม้ฉันใด

ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงประคองความเพียรไว้ให้มั่น ตลอดทุกภพ ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะ ไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นขันติบารมี ข้อที่ ๖ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ขันติบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้อดทนทั้งในการ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 54

ยกย่องนับถือและในการดูถูกดูหมิ่น. เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของ สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็มิได้กระทำความรัก และความขัดเคืองเพราะการกระทำอันนั้น ย่อมอด ย่อมทน ย่อมกลั้น ไว้ได้ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนได้ทั้งในการ นับถือ ทั้งในการดูหมิ่น จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐาน ขันติบารมีข้อ ที่ ๖ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ในคราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ชั้นก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีใจไม่ลังเลในขันติบารมีนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.

ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขาทิ้งลงสะอาด บ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่กระทำการขัดเคือง เพราะการกระทำ นั้น แม้ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนต่อการนับถือ และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จัก บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่พึง มีเพียงนี้เท่านั้น แล้วใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ ๗ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง บำเพ็ญแม้สัจจบารมีให้บริบูรณ์ แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อม

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 55

ก็ตาม ท่านอย่าได้กล่าวมุสาวาททั้งรู้อยู่ ด้วยอำนาจฉันทะเป็นต้น เพื่อ ต้องการทรัพย์เป็นต้น. เหมือนอย่างว่าธรรมดาคาวประกายพรึก ในฤดู ทั้งปวง หาได้ละวิถีโคจรของตนโคจรไปในวิถีอื่นไม่ ย่อมจะโคจรไปใน วิถีของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ละสัจจะ กล่าวมุสาวาทเลย จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานสัจจ- บารมีข้อที่ ๗ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลาย จะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจัก เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ ๗ ที่ ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานสัจจบารมีข้อที่ ๗ นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ธรรมดาดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง คือเที่ยงตรงใน โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในสมัย ฤดู หรือปีก็ตาม ย่อม ไม่โคจรและเวียนออกนอกวิถีโคจร แม้ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ออกไปนอกทางสัจจะ ทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิ- ญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่พึง มีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมี ข้อที่ ๘ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน จงบำเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวใน

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 56

อธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดใน ทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตน ฉันใด แม้ ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐาน คือการตั้งใจมั่น ของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ในคราวนั้นเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ กระทำให้มั่น ก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุ พระสัมโพธิญาณได้.

ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะ ลมแรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด

แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษ- ฐาน ในกาลทั้งปวง ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุ พระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่ พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นเมตตาบารมี ข้อที่ ๙ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้เมตตาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียว กัน ทั้งในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างว่า

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 57

ธรรมดาน้ำย่อมไหลแผ่ความเย็นเป็นเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดี ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียวด้วยเมตตาจิต ในสัตว์ทั้งปวงอยู่ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ ที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ ๙ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ. ท่านจงสมาทานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยเมตตา ถ้าท่านปรารถนา เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ.

ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดย เสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ แม้ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอ ในชนที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมี แล้วจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่ พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงพิจารณาให้ยิ่งขึ้นไป ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อ ที่ ๑๐ แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงบำเพ็ญแม้อุเบกขาบารมีให้บริบูรณ์ พึงวางใจเป็นกลางทั้งในสุข และทั้งในทุกข์. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดินเมื่อคนทิ้งของสะอาด บ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมทำใจเป็นกลางอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 58

เหมือนกัน วางใจเป็นกลางอยู่ในสุขและทุกข์ ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้ว จึงอธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้นเรา เลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ นี้ กระทำให้มั่น ก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.

ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉย ในของไม่สะอาดและของ สะอาดที่คนทิ้งลง เว้นจากความโกรธและความยินดีทั้งสอง นั้น ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นประดุจตราชั่งในสุข และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จัก บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ต่อแต่นั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายอันเป็น เครื่องบ่มพระโพธิญาณ ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงปฏิบัติในโลกนี้ มี เพียงนี้เท่านั้น เว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นย่อมไม่มี บารมีทั้ง ๑๐ นี้ แม้ในอากาศเบื้องบนก็ไม่มี แม้ในแผ่นดินเบื้องล่างก็ไม่มี แม้ในทิศ ทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ไม่มี แต่จะตั้งอยู่เฉพาะในภายในหทัย ของเราเท่านั้น. ครั้นได้เห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่เฉพาะในหทัยอย่างนั้น จึงอธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้วๆ เล่าๆ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 59

พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้น ทวนให้ถึงตอนปลาย ยึดเอาตอนกลางให้จบลงตอนสุดข้างทั้งสอง ยึดเอา ที่สุดจากข้างทั้งสองให้จบลงตอนกลาง.

การบริจาคสิ่งของภายนอก จัดเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะ น้อยใหญ่ จัดเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี เพราะเหตุนั้น ท่านสุเมธดาบส จึงพิจารณาสมติงสบารมี คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ประดุจคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันไป มา และเหมือนเอาเขามหาเมรุให้เป็นโม่กวนมหาสมุทรในจักรวารฉะนั้น. เมื่อสุเมธดาบสนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่อย่างนั้น ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีนี้ หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ร้องลั่น สะท้านเลื่อนลั่นหวั่นไหว เหมือนมัดไม้อ้อที่ถูกช้างเหยียบ และเหมือนเครื่องยนต์หีบอ้อยที่กำลังหีบ อ้อยอยู่ หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อ และวงล้อเครื่อง ยนต์หีบน้ำมัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณในโลก มีเพียงเท่านี้ นั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี นอกไปจากนี้ก็ไม่มี ท่านจงตั้งมั่น อยู่ในธรรมนั้น.

เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งสภาวะ รส และ ลักษณะ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว.

แผ่นดินไหว ร้องลั่น ดังเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่ เมทนีดลเลื่อนลั่น เหมือนวงล้อเครื่องยนต์หีบน้ำมันฉะนั้น.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครไม่สามารถจะทรง ตัวอยู่ได้ ต่างสลบล้มลง ประหนึ่งว่าศาลาใหญ่ถูกลมยุคันตวาตโหมพัด

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 60

ฉะนั้น. ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น กลิ้งกระทบกันและกันแตกละเอียด มหาชนสะดุ้งกลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบข้อนี้เลยว่า แผ่นดินนี้นาคทำให้หมุน หรือว่าบรรดาภูต ยักษ์ และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง ทำให้หมุน อีก ประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ ถูกทำให้เดือดร้อน ความชั่วหรือ ความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด. ลำดับนั้น พระศาสดาครั้นได้ทรงสดับถ้อยคำของชน เหล่านั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยอันมี ต้นเหตุมาจากเหตุนี้ ไม่มีแก่พวกท่าน ผู้ที่เราพยากรณ์ให้ไว้ในวันนี้ว่า สุเมธบัณฑิตจักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคตนั้น บัดนี้ พิจารณาบารมี ๑๐ เมื่อเขาพิจารณาไตร่ตรองอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม โลกธาตุตลอดทั้งหมื่นหนึ่ง จึงไหวและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียว. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด บริษัท มีประมาณเท่านั้น ในที่นั้น ต่างตัวสั่นเป็นลมล้มลงบน แผ่นดิน.

หม้อนำหลายพัน และหม้อข้าวหลายร้อย ในที่นั้น กระทบกันและกันแตกละเอียด.

มหาชนหวาดเสียวสะดุ้งกลัวหัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึง ประชุมกัน แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธทีปังกร.

กราบทูลว่า อะไรจักมีแก่โลก ดีหรือชั่ว หรือชาวโลก

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 61

ทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อนวุ่นวาย ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ขอจงทรงบรรเทาเหตุนั้น.

คราวนั้น พระมหามุนีทีปังกรทรงให้พวกเขาเข้าใจด้วย พระดำรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้กลัวเลย ใน การไหวของแผ่นดินนี้.

วันนี้ เราได้พยากรณ์บุคคลใดว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า บุคคลนั้นพิจารณาธรรมเก่าก่อนที่พระชินเจ้าเคยถือปฏิบัติมา. เมื่อเขาพิจารณาถึงธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลืออยู่. ด้วยเหตุนั้น โลกธาตุหนึ่งหมื่นนี้ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จึง ได้ไหว.

มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้ว ต่างร่าเริงยินดี พากัน ถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไหว้แล้วกระทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังรัมมนครตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์พิจารณาบารมี ๑๐ อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วลุกจากอาสนะไป. ด้วยเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ทันใดนั้น ใจของพวกเขาก็เย็น เพราะได้ฟังพระดำรัส ของพระพุทธเจ้า ทุกคนจึงพากันเข้าไปหาเรากราบไหว้อีก.

เรายึดมั่นพระพุทธคุณ กระทำใจให้มั่น แล้วนมัสการ พระพุทธเจ้าทีปังกร ลุกขึ้นจากอาสนะไปในคราวนั้น.

ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ประชุมกันบูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ไหว้แล้ว

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 62

ป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคลมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้ เป็นเจ้า วันนี้ท่านตั้งความปรารถนายิ่งใหญ่ไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระทีปังกรทศพล ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน โดยหาอันตรายมิได้ ความกลัวหรือความหวาดเสียว อย่าได้มีแก่ท่าน โรคแม้มีประมาณน้อย จงอย่าเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านจงรีบเร่งบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์แล้วรู้แจ้ง พระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลย่อมเผล็ดดอกและออกผล ตามฤดูกาล ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ล่วงเลยฤดูกาลนั้น จงได้สัมผัสพระสัมโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน ก็แหละครั้นป่าวประกาศ อย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตนๆ ตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ผู้อันเทวดาทั้งหลายสรรเสริญแล้ว จึงคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ บริบูรณ์เป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสื่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดังนี้แล้ว อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ทันที. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้ ทิพย์และดอกไม้อันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ.

เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประกาศความ สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่ง นั้น ตามความปรารถนา.

ขอสรรพเสนียดจัญไรจงบำราศไป ขอความโศกและโรค จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่าได้มีแก่ท่าน ท่านจงได้ สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยเร็วพลัน.

เมื่อถึงฤดูกาล ต้นไม้ทั้งหลายที่มีดอก ย่อมผลิดอก

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 63

แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์ ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์ ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่ต้นโพธิมณฑล ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่ต้นโพธิของพระชินเจ้า ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.

พระจันทร์บริสุทธิ์ไพโรจน์ในวันเพ็ญ ฉันใด ขอท่านจง มีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ ฉันนั้นเถิด.

พระอาทิตย์พ้นจากราหู ย่อมสว่างจ้าด้วยความร้อน ฉันใด ขอท่านจงพ้นจากโลก ไพโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้นเถิด.

แม่น้ำสายใดสายหนึ่ง ย่อมไหลลงยังทะเลใหญ่ ฉันใด ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก จงประชุมกันในสำนักของท่าน ฉันนั้นเถิด.

ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้นอันเทวดาและมนุษย์ชมเชย และสรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ เมื่อจะ บำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่แล้ว.

จบสุเมธกถา

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 64

สุรุจิพราหมณกถา

ฝ่ายชนชาวรัมมนคร ครั้นเข้าไปยังนครแล้ว ก็ได้ถวายมหาทานแก่ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่ พวกเขา ให้มหาชนดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้น แล้วเสด็จออกจากรัมมนคร

ต่อจากนั้น พระองค์ทรงดำรงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ ทรงกระทำ พุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดย ลำดับ. คำทั้งหมดที่ควรจะกล่าวในเรื่องนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย ที่กล่าวไว้ในพุทธวงศ์แล. จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์นั้นว่า

ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นอังคาสพระโลกนายกพร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว ได้ถึงพระศาสดาที่ปังกรพระองค์นั้นเป็นสรณะ.

พระตถาคตทรงยังบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางคน ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ อีกพวกให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐.

ทรงประทานสามัญผลอันสูงสุดทั้ง ๔ แก่บางคน ทรง ประทานธรรมที่ไม่มีสิ่งใดเสมอคือปฏิสัมภิทาแก่บางคน.

บางคน พระนราสภก็ทรงประทานสมาบัติ ๘ อันประเสริฐ บางคนก็ทรงมอบให้วิชชา ๓ และอภิญญา ๖.

พระมหามุนีทรงสั่งสอนหมู่ชน ด้วยความพยายามนั้น เพราะเหตุนั้น ศาสนาของพระโลกนาถจึงได้แผ่ไพศาลไป.

พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าทีปังกร ผู้มีพระหนุใหญ่ มี ต้นพระศอดังคอของโคผู้ ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น ทรงปลดเปลื้องทุคติให้.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 65

พระมหามุนีทรงเห็นชนที่พอจะแนะนำให้ตรัสรู้ได้ แม้ ในที่แสนโยชน์ ก็เสด็จเข้าไปหาโดยครู่เดียว ให้เขาตรัสรู้ได้.

ในการตรัสรู้มรรคผลครั้งแรก พระพุทธเจ้าให้สัตว์ร้อยโกฏิได้ตรัสรู้ ในการตรัสรู้มรรคผลครั้งที่สอง พระนาถะให้ สัตว์เก้าโกฏิได้ตรัสรู้.

ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมในเทวพิภพ ในกาลนั้น การตรัสรู้มรรคผลครั้งที่สาม ได้มีแก่สัตว์เก้า หมื่นโกฏิ.

การประชุมของพระศาสดาทีปังกรได้มี ๓ ครั้ง การประชุมครั้งแรกมีชนแสนโกฏิ.

อีกครั้ง เมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่วิเวกที่ยอดเขานารทะ พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิประชุมกัน.

ในกาลใด พระมหาวีระประทับอยู่บนยอดเขาสุทัสสนะ ในกาลนั้น พระมหามุนีทรงห้อมล้อมด้วยพระขีณาสพเก้าหมื่นโกฏิ.

สมัยนั้นเราเป็นชฎิลมีตบะกล้า สำเร็จอภิญญา ๕ เหาะ ไปกลางอากาศ.

การตรัสรู้ธรรม โดยการนับว่า ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่น สอง หมื่น การตรัสรู้ธรรมมิได้นับว่า ได้มีแก่หนึ่งคนหรือสองคน

ในกาลนั้น ศาสนานี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร แผ่ไป กว้างขวาง ชนรู้กันมากมาย แพร่หลายบริสุทธิ์ผุดผ่อง.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 66

พระขีณาสพสี่แสนได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ห้อมล้อม พระทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกอยู่ทุกเมื่อ.

สมัยนั้น ใครๆ ก็ตาม จะละภพมนุษย์ไป เขาเหล่านั้น มิได้บรรลุพระอรหัต ยังเป็นเสขบุคคล จะต้องถูกเขาตำหนิ ติเตียน.

พระพุทธศาสนาก็เบิกบานไปด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ เป็น พระขีณาสพ ปราศจากมลทิน งดงามอยู่ในกาลทุกเมื่อ.

พระศาสดาทีปังกร มีนครนามว่ารัมมวดี มีกษัตริย์นามว่า สุเทวะเป็นพระชนก มีพระเทวีนามว่าสุเมธาเป็นพระชนนี.

พระองค์ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี มีปราสาทอย่างดีที่สุด สามหลัง ชื่อว่าหังสา โกญจา และมยุรา.

มีเหล่านารีแต่งตัวสวยงามจำนวนสามแสน มีจอมนารี นามว่า ปทุมา มีพระโอรสนามว่า อุสภักขันธะ.

พระองค์หรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกบวชด้วยยาน คือช้าง พระชินเจ้าทรงตั้งปธานความเพียรอยู่ ๑๐ เดือนถ้วน.

พระมุนีทรงบำเพ็ญเพียรทางใจได้ตรัสรู้แล้ว พระมหามุนี ทีปังกรผู้สงบ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว.

พระมหาวีระ ทรงประกาศพระธรรมจักร ในตำหนักอัน ประกอบด้วยสิริในนันทาราม ประทับนั่งที่โคนต้นซึก ได้ทรง กระทำการย่ำยีพวกเดียรถีย์.

มีพระอัครสาวก คือพระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดาทีปังกรมีพระอุปัฏฐากนามว่าสาคตะ.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 67

มีพระอัครสาวิกา คือพระนางนันทาและพระนางสุนันทา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกกันว่าต้นปิปผลิ.

มีอัครอุปัฏฐากนามว่าตปุสสะ และภัลลิกะ นางสิริมา และนางโกณาเป็นอุปัฏฐากยิกาของพระศาสดาที่ปังกร. พระมหามุนีทีปังกรมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ทรงงดงาม ประดุจต้นไม้ประจำทวีป และดุจต้นพญาไม้สาละมีดอกบาน สะพรั่ง.

รัศมีของพระองค์วิ่งวนไปรอบๆ ๑๒ โยชน์ พระมเหสีเจ้า พระองค์นั้นมีพระชนมายุได้แสนปี พระองค์ดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงยังชุมชนเป็นอันมากให้ข้ามได้แล้ว.

พระองค์พร้อมทั้งสาวกทรงยังพระสัทธรรมให้สว่างไสว ยังมหาชนให้ข้ามได้แล้ว ทรงรุ่งโรจน์ดุจกองไฟแล้วนิพพาน ไป.

พระฤทธิ์ พระยศ และพระจักรรัตนะที่พระบาททั้งสอง ทั้งหมดนั้นอันตรธานหายไปแล้ว สังขารทั้งปวงเป็นของ ว่างเปล่าแน่แท้ ดังนี้.

พระชินเจ้าผู้ศาสดา พระนามว่าทีปังกร เสด็จนิพพานที่ นันทาราม ณ ที่นั้นมีพระชินสถูปของพระองค์สูง ๓๖ โยชน์ แล.

ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไข พระศาสดาพระนามว่า โกณฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้น. แม้พระศาสดา

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 68

พระองค์นั้น ก็ได้มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง. สันนิบาตครั้งแรก มีพระสาวกแสนโกฏิ สันนิบาตครั้งที่ ๒ มีพระสาวกพันโกฏิ สันนิบาตครั้ง ที่ ๓ มีพระสาวกเก้าสิบโกฏิ.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรติพระนามว่า วิชิตาวี ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนโกฏิมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วทรง แสดงธรรม. พระโพธิสัตว์นั้น ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว สละราชสมบัติออกบวช เรียนพระไตรปิฎก ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้น มีฌานไม่เสื่อม ไปเกิดในพรหมโลก.

ก็พระโกณฑัญญพุทธเจ้า มีนครชื่อว่า รัมมวดี กษัตริย์พระนามว่า สุนันทะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็นพระชนนี พระเถระทั้งสอง คือ พระภัททะ และ พระสุภัททะ เป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่า อนุรุทธะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสอง คือ พระติสสา และ พระอุปติสสา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นขานาง เป็นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีรกายสูง ๘๘ ศอก ประมาณพระชนมายุได้ แสนปี.

ต่อจากพระทีปังกร ก็มีพระนายกพระนามว่าโกณฑัญญะ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศนับไม่ได้ มีพระคุณหา ประมาณมิได้ เข้าถึงได้แสนยาก.

ในกาลต่อจากพระโกณฑัญญะพุทธเจ้านั้น ล่วงไปหนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวกันนั่งเอง มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ บังเกิดขึ้นแล้ว คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 69

พระนามว่า มังคละ ได้มีการประชุมสาวก ๓ครั้ง ในการประชุมครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ แสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ เก้าสิบโกฏิ.

ได้ยินว่า พระภาคาต่างพระมารดาของพระองค์ พระนามว่า อานันทกุมาร ได้เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา เพื่อต้องการฟังธรรม พร้อมกับบริษัทนับได้เก้าสิบโกฏิ พระศาสดาตรัสอนุบุพพิกถาแก่พระองค์ พระองค์พร้อมกับบริษัทได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. พระศาสดาทรงตรวจดูบุพจริยาของกุลบุตรเหล่านั้น ทรงเห็นอุปนิสัยแห่ง บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นเอง เขาทั้งหมดก็ทรงบาตรและ จีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาประดุจพระเถระมีพรรษา ได้ ๖๐ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ห้อมล้อมอยู่. นี้ได้เป็นการประชุม พระสาวกครั้งที่ ๓ ของพระองค์. ก็พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ได้มีพระรัศมีจากพระสรีระโดยรอบประมาณ ๘๐ ศอกเท่านั้น ฉันใด แต่ของ พระมังคละนั้น หาเป็นเหมือนฉันนั้นไม่ ก็พระรัศมีจากพระสรีระของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุตั้งอยู่เป็นนิตยกาล. ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขา และทะเล เป็นต้น โดยที่สุดจนชั้นหม้อข้าว เป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มด้วยแผ่นทองคำ.

อนึ่ง ประมาณพระชนมายุของพระองค์ได้เก้าหมื่นปี. ตลอดเวลา ประมาณเท่านี้ พระจันทร์และพระอาทิตย์เป็นต้น ไม่สามารถจะส่องแสง ด้วยรัศมีของตน การกำหนดกลางคืนและกลางวันไม่ปรากฏมี ตอน กลางวัน เหล่าสัตว์ท่องเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้านั่นแหละ เหมือนกับ แสงสว่างของพระอาทิตย์ ชาวโลกกำหนดขั้นตอนของกลางคืน

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 70

และกลางวัน ด้วยอำนาจแห่งดอกไม้ที่บานในตอนเย็น และนกร้อง เป็นต้นในตอนเช้า.

ถามว่า ก็พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ไม่มีอานุภาพนี้หรือ?

ตอบว่า ไม่มีหามิได้.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงมุ่งหวัง จะพึงแผ่พระรัศมีไปตลอดหมื่นโลกธาตุหรือยิ่งกว่านั้น ก็พระรัศมีจากพระสรีระของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ามังคละ ได้แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุตั้งอยู่ เป็นนิตย์ทีเดียว เหมือนพระรัศมีด้านละวาของพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ด้วยอำนาจความปรารถนาในกาลก่อน.

ได้ยินว่า ในคราวยังประพฤติจริยาของพระโพธิสัตว์ พระองค์ ดำรงอยู่ในอัตภาพ เช่นกับพระเวสสันดร พร้อมทั้งบุตรและภรรยา อยู่ ที่ภูเขาเช่นกับเขาวังกบรรพต. ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ขรทาฐิกะ ได้ทราบว่าพระมหาบุรุษมีอัธยาศัยในการให้ทาน จึงเข้าไปหาด้วยเพศของ พราหมณ์ ขอทารกทั้งสองกะพระมหาสัตว์. พระมหาสัตว์ตรัสว่า พราหมณ์ เราให้บุตรน้อยทั้งสอง ดังนี้แล้วร่าเริงบันเทิงใจ ได้ให้ทารก ทั้งสอง ทำให้แผ่นดินมีน้ำเป็นขอบเขตหวั่นไหว. ยักษ์ยืนพิงพนักพิงใน ที่สุดของที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์กำลังเห็นอยู่นั่นแหละ ได้กินทารก ทั้งสองเหมือนกำรากไม้ แม้เพราะมองดูยักษ์ ได้เห็นปากของมันกำลัง หลั่งสายเลือดออกมาประดุจเปลวไฟ ในปากที่พออ้าขึ้น ความโทมนัส แม้เท่าปลายผมมิได้เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ ก็เมื่อพระมหาสัตว์นั้นคิดอยู่ ว่า ทานอันเราให้ดีแล้วหนอ ปีติและโสมนัสอย่างใหญ่หลวงก็เกิดขึ้นใน สรีระ เขาปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอให้

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 71

รัศมีจงฉายออกจากสรีระโดยทำนองนี้ทีเดียว เพราะอาศัยความปรารถนา รัศมีทั้งหลายจึงฉายออกจากพระสรีระของพระองค์ตอนเป็นพระพุทธเจ้า แผ่ซ่านไปตลอดที่ประมาณเท่านี้.

บุรพจริตของพระองค์แม้อื่นอีกก็ยังมี. ได้ยินว่า พระองค์ในกาล เป็นพระโพธิสัตว์ ได้เห็นพระเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง คิดว่า เราควรบริจาคชีวิตแก่พระพุทธองค์นี้ จึงพันสรีระทั้งสิ้น โดยทำนอง อย่างพันประทีปด้าม เอาเนยใสใส่เต็มถาดทองคำมีค่าหนึ่งแสน สูง ประมาณศอกกำ จุดไส้พันไส้ในถาดทองนั้น เอาถาดทองนั้นทูนศีรษะ แล้วให้จุดไฟทั่วตัว กระทำประทักษิณพระเจดีย์ให้เวลาล่วงไปตลอดทั้ง คืน เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นแม้จะพยายามอยู่อย่างนั้นจนอรุณขึ้น ความ ร้อนก็มิได้ระคายเคืองแม้สักว่าขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปยังห้อง ดอกปทุม. จริงอยู่ ชื่อว่า ธรรมนี้ย่อมรักษาคนผู้รักษาตน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติ ดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ดังนี้.

เพราะผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างจากสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น จึงได้แผ่ไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เป็นพราหมณ์นามว่า สุรุจิ คิดว่าจักนิมนต์พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของ ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้. พระศาสดาตรัสถามว่า พราหมณ์ ท่านต้องการ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 72

ภิกษุเท่าไร? พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็น บริวารของพระองค์มีประมาณเท่าไร. ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการ ประชุมเป็นครั้งแรกพอดี เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มีภิกษุแสนโกฏิ. พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พร้อมกับภิกษุ ทั้งหมด จงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาทรงรับนิมนต์ แล้ว.

พราหมณ์ทูลนิมนต์เพื่อให้เสวยในวันพรุ่งนี้แล้ว จึงไปเรือนคิดว่า เราอาจถวายยาคู. ภัต และผ้าเป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายประมาณเท่านี้ได้ แค่ที่สำหรับนั่งจักมีได้อย่างไร.

ความคิดนั้นของเขา ทำให้เกิดความร้อนแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวเทวราชผู้ประทับอยู่ในที่สุดแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรง ดำริว่า ใครหนอมีความประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่นี้ จึงทรงตรวจดู ด้วยทิพยจักษุ ก็ได้เห็นพระมหาบุรุษ จึงทรงดำริว่า พราหมณ์นามว่าสุรุจิ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วคิดเพื่อต้องการที่นั่ง แม้ เราก็ควรไปในที่นั้นแล้วถือเอาส่วนบุญ จึงทรงนิรมิตร่างเป็นช่างไม้ ถือ มีดและขวานไปปรากฏเบื้องหน้าของมหาบุรุษกล่าวว่า ใครๆ มีกิจที่จะ ต้องทำด้วยการจ้างบ้าง.

พระมหาบุรุษเห็นช่างไม้นั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านจักทำงานอะไร. ท้าวสักกะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราจะไม่รู้ ย่อมไม่มี ผู้ใดจะให้ทำงาน ใด จะเป็นบ้านหรือมณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะให้งานนั้นแก่ผู้นั้น. พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เรามีงาน. ท้าวสักกะตรัสถามว่า งาน

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 73

อะไรนาย พระมหาบุรุษกล่าวว่า เรานิมนต์ภิกษุแสนโกฏิมาฉันพรุ่งนี้ เราจักกระทำมณฑปสำหรับนั่งของภิกษุเหล่านั้น. ท้าวสักกะตรัสว่า ธรรมดาเรากระทำได้ ถ้าท่านสามารถให้ค่าจ้างเรา. พระมหาบุรุษกล่าวว่า เราสามารถ พ่อ. ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทำ แล้วไปแลดู สถานที่แห่งหนึ่ง. สถานที่ประมาณสิบสองสิบสามโยชน์ได้มีพื้นที่ราบเรียบ เสมือนมณฑลกสิณ. ท้าวสักกะนั้นทรงแลดูแล้วคิดว่า ในที่มีประมาณ เท่านี้ มณฑปอันล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ จงผุดขึ้น. ทันใดนั้น มณฑป ก็ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา.

มณฑปนั้น ที่เสาอันล้วนด้วยทองคำ มีปุ่มแล้วด้วยเงิน ที่เสาอัน ล้วนด้วยเงิน มีปุ่มล้วนด้วยทองคำ ที่เสาอันล้วนด้วยแก้วมณี มีปุ่มล้วน ด้วยแก้วประพาฬ ที่เสาล้วนด้วยแก้วประพาฬ มีปุ่มล้วนด้วยแก้วมณี ที่ เสาอันล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีปุ่มล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗. ต่อจากนั้น จึง ทรงแลดูด้วยพระดำริว่า ตาข่ายกระดึงจงห้อยย้อยในระหว่างๆ ของ มณฑป. พร้อมกับทรงมองดูเท่านั้น ตาข่ายก็ห้อยย้อยลง เสียงอันไพเราะ ของตาข่ายกระดึงซึ่งถูกลมอ่อนรำเพยพัดก็เปล่งเสียงออกมา ดุจเสียงดนตรี อันประกอบด้วยองค์ ๕ ดูราวกับเวลาที่สังคีตทิพย์บรรเลงอยู่ฉะนั้น.

เมื่อท้าวสักกะทรงพระดำริว่า ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้ จงห้อยย้อยลงในระหว่างๆ พวงดอกไม้ทั้งหลายก็ห้อยย้อยลง. พระองค์ ทรงพระดำริว่า ขออาสนะและแท่นรองนั่งของภิกษุนับได้แสนโกฏิ จง ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา ในทันใดนั้น สิ่งเหล่านั้นก็ผุดขึ้นมา. ทรง พระดำริว่า ที่ทุกๆ มุม ขอให้ตุ่มน้ำผุดขึ้นมามุมละใบ ตุ่มน้ำทั้งหลาย ก็ผุดขึ้นมา.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 74

ท้าวสักกะทรงนิรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้เสร็จแล้ว จึงไปยัง สำนักของพราหมณ์กล่าวว่า มาเถิด เจ้า ท่านจงตรวจดูมณฑปของท่าน แล้วจงให้ค่าจ้างเรา. พระมหาบุรุษจึงไปตรวจดูมณฑป และเมื่อกำลัง ตรวจดูอยู่นั้นแล สรีระทั้งสิ้นได้สัมผัสกับปีติมีวรรณะ ๕ ชนิดตลอดเวลา

ลำดับนั้น เขามองดูมณฑปแล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า มณฑปนี้ ผู้ ที่เป็นมนุษย์กระทำไม่ได้ แต่เพราะอัธยาศัยของเรา คุณของเรา ภพ ของท้าวสักกะจักร้อนขึ้นเป็นแน่ แต่นั้น ท้าวสักกะเทวราชจักสร้าง มณฑปนี้ขึ้น. เขาคิดว่า การถวายทานเพียงวันเดียวเท่านั้น ในมณฑป เห็นปานนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักถวายสัก ๗ วัน. จริงอยู่ ทาน ภายนอกแม้มีประมาณเท่านั้น ย่อมไม่สามารถทำความยินดีให้แก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความยินดีจะมีได้ เพราะอาศัยการบริจาคของ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในคราวตัดศีรษะที่ประดับแล้ว ควักนัยน์ตาทั้งสอง ข้างที่หยอดแล้ว หรือเพิกเนื้อหทัยให้ไป.

จริงอยู่ เมื่อพระโพธิสัตว์แม้ของพวกเราสละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะ ทุกวัน ให้ทานที่ประตูทั้ง ๔ ประตู และที่ท่ามกลางนคร ในเรื่อง สีวิราชชาดก ทานนั้นไม่สามารถทำความยินดีในการบริจาคให้เกิดขึ้นได้ แต่ในกาลใด ท้าวสักกเทวราชแปลงตัวมาในรูปของพราหมณ์ ขอนัยน์ตา ทั้งสองข้าง ในกาลนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ควักนัยน์ตาเหล่านั้น ให้ไป นั่นแหละ ความร่าเริงจึงจะเกิดขึ้น จิตมิได้มีความเป็นอย่างอื่น แม้ สักเท่าปลายผม ขึ้นชื่อว่าความอิ่มใจเพราะอาศัยทานที่ให้แล้วอย่างนี้ มิได้มีแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเลย. เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษแม้นั้น

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 75

ก็คิดว่า เราควรถวายทานแก่ภิกษุนับได้แสนโกฏิ ตลอด ๗ วัน จึงนิมนต์ ให้นั่งในมณฑปนั้น แล้วได้ถวายทานชื่อว่าควปานะ ตลอด ๗ วัน.

ที่เรียกว่าควปานะนั้น ได้แก่โภชนะที่เขาใส่นมสดจนเต็มหม้อ ใหญ่ๆ แล้วตั้งบนเตา ใส่ข้าวสารนิดหน่อยลงในนมสดที่เคี่ยวจนงวด แล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาลป่น และเนยใสที่เคี่ยวแล้ว. แต่เฉพาะมนุษย์ เท่านั้นไม่อาจอังคาสได้ แม้เทวดา ทั้งต้องสลับกันจึงจะอังคาสได้. แม้ ที่ประมาณ ๑๒ - ๑๓ โยชน์ก็ไม่อาจจุภิกษุทั้งหลายได้เพียงพอ แต่ภิกษุ เหล่านั้นนั่งได้ด้วยอานุภาพของตน.

ก็ในวันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้ล้างบาตรของภิกษุทุกรูป แล้ว บรรจุเต็มด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เพื่อต้องการ ให้เป็นเภสัช แล้วได้ถวายพร้อมกับไตรจีวร ผ้าสาฎกที่เป็นจีวรที่ภิกษุ ผู้เป็นสังฆนวกะได้รับ มีราคาถึงหนึ่งแสน.

พระศาสดา เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า บุรุษนี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ เขาจักได้เป็นอะไรหนอ ได้ทรงเห็น ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เขาจักได้ เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จึงตรัสเรียกพระมหาบุรุษมาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลชื่อมีประมาณเท่านี้ตัวท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้ามีนามว่า โคตมะ พระมหาบุรุษได้ฟังพยากรณ์นั้นแล้ว คิดว่า นัยว่า เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เราจะต้องการอะไรด้วยการอยู่ครองเรือน เรา จักบวช จึงละทิ้งสมบัติเห็นปานนั้น ประหนึ่งก้อนเขฬะ แล้วบวชใน สำนักของพระศาสดา เรียนเอาพุทธพจน์ได้แล้ว ทำอภิญญาและสมาบัติ ให้บังเกิด ในเวลาสิ้นอายุได้บังเกิดในพรหมโลก.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 76

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ามังคละได้มีนครชื่อว่า อุตตระ แม้บิดาก็ เป็นกษัตริย์พระนามว่าอุตตระ แม้พระมารดาก็เป็นพระเทวีพระนามว่า อุตตรา พระเถระทั้งสองคือ พระสุเทวะ และพระธรรมเสนะ ได้เป็น พระอัครสาวก พระเถระนามว่า ปาลิตะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรี ทั้งสอง คือ พระนางสีวลี และพระนางอโสกา ได้เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกากะทิงเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก. เมื่อพระองค์ ดำรงพระชนมายุอยู่เก้าหมื่นปีแล้วปรินิพพาน จักรวาลทั้งหมื่นหนึ่งได้มืด หมด โดยพร้อมกันทีเดียว. มนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลทั้งสิ้น ได้ร้องไห้ ปริเทวนาการอย่างใหญ่หลวง.

กาลภายหลังของพระโกณฑัญญะ พระนายกพระนามว่า มังคละ ทรงถือดวงประทีปคือพระธรรม กำจัดความมืด ในโลก ฉะนี้แล.

ในกาลหลังแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสด็จปรินิพพาน กระทำหมื่นโลกธาตุให้มืดด้วยประการอย่างนี้แล้ว พระศาสดาพระนามว่า สุมนะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก แม้พระองค์ก็มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง. ในการประชุมครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่กาญจนบรรพต มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

คราวนั้นพระมหาสัตว์ได้เป็นพญานาคนามว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. พระมหาสัตว์นั้นได้สดับว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น แล้ว อันหมู่ญาติห้อมล้อมออกจากนาคพิภพ ให้กระทำการบรรเลงด้วย ดนตรีทิพย์ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งมีภิกษุแสนโกฏิ

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 77

เป็นบริวาร ยังมหาทานให้เป็นไป ถวายผ้าองค์ละคู่แล้วตั้งอยู่ในสรณคมน์ทั้งสาม.

พระศาสดาแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าใน อนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้มีนครชื่อว่า เมขละ พระราชาพระนามว่า สุทัตตะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สิริมา เป็นพระมารดา พระเถระทั้งสอง คือ พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ เป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่า อุเทนะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสอง คือ พระนางโสณา และพระนางอุปโสณา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกากะทิงเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๙๐ ศอก ประมาณพระชนมายุ ได้เก้าหมื่นปีพอดี.

กาลภายหลังของพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ มีพระนายกพระนามว่าสุมนะ หาผู้เสมอมิได้โดยธรรมทั้งปวง ทรงสูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระสุมนะพระองค์นั้น พระศาสดาพระนามว่า เรวตะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น. สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ได้มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก นับไม่ได้ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ ก็ เช่นกัน.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า อติเทวะ ฟัง พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะทั้งสาม ประคอง อัญชลีไว้เหนือศีรษะ ได้ฟังพระคุณในการละกิเลสของพระศาสดาพระองค์นั้น จึงได้บูชาด้วยผ้าอุตราสงค์คือผ้าห่ม. แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์ เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 78

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีพระนครชื่อว่า สุธัญญวดี กษัตริย์ พระนามว่า วิปุละ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า วิปุลา เป็น พระมารดา พระเถระทั้งสอง คือ พระวรุณะ และพระพรหมเทวะ เป็น พระอัครสาวก พระเถระนามว่า สัมภวะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสอง คือ พระนางภัททา และพระนางสุภัททา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกากะทิง เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุหกหมื่นปีแล.

กาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ มีพระนายกพระนามว่าเรวตะ หาผู้เปรียบปานมิได้ หาผู้เสมอ เหมือนมิได้ ไม่มีผู้เทียมทัน เป็นพระชินเจ้าผู้สูงสุด ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระเรวตะนั้น พระศาสดาพระนามว่า โสภิตะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง. สันนิบาต ครั้งแรก มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์นามว่า อชิตะ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วตั้งอยู่ในสรณะสาม ได้ถวายมหาทานแก่ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีพระนครชื่อว่า สุธรรม พระราชา พระนามว่า สุธรรม เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุธรรมา เป็น พระมารดา พระเถระทั้งสองคือ พระอสมะ และพระสุเนตตะ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า อโนมะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสองคือ พระนางนกุลา และพระนางสุชาดา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกากะทิง

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 79

เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีประมาณพระชนมายุ เก้าหมื่นปีแล.

กาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้าเรวตะ ก็มีพระนายกพระนามว่าโสภิตะ มีพระทัยตั้งมั่น มีพระทัยสงบ ไม่มีผู้เสมอ หาคนเปรียบมิได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระโสภิตะนั้น ล่วงไปได้อสงไขยหนึ่ง ใน กัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ พระองค์ คือ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ และ พระนารทะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุแปดแสน ครั้งที่ ๒ เจ็ดแสน ครั้งที่ ๓ หกแสน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นเสนาบดีของยักษ์ตนหนึ่ง มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. เป็นอธิบดีของยักษ์หลายแสนโกฏิ พระโพธิสัตว์นั้นได้ สดับว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงได้มาถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ได้มีพระนครชื่อว่า จันทวดี พระราชาพระนามว่า ยสวา เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ยโสธรา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระนิสภะ และพระอโนมะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า วรุณะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางสุนทรี และพระนางสุมนา ต้นรกฟ้าเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุประมาณได้แสนปีแล.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 80

ในกาลภายหลังพระโสภิตพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าอโนมทัสสี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า มีพระยศ นับไม่ได้ มีพระเดชยากที่ใครๆ จะก้าวล่วงได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า มีพระศาสดาพระนามว่า ปทุมะ เสด็จอุบัติขึ้น แม้พระองค์ก็มีสาวกสันตนิบาต ๓ ครั้ง. สันนิบาต ครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุสามแสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ สองแสน ผู้อยู่ในชัฏป่ามหาวัน ในป่าไม่มีบ้าน.

ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในไพรสณฑ์นั้นนั่นเอง พระโพธิสัตว์เป็นราชสีห์ เห็นพระศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติ มีจิตเลื่อมใส จึงไหว้แล้วทำประทักษิณ เกิดปีติโสมนัสบันลือสีหนาทขึ้น ๓ ครั้ง ตลอด ๗ วันมิได้ละปีติอันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะสุขอันเกิดจากปีติ นั่นเอง จึงไม่ออกไปหากิน กระทำการบริจาคชีวิต ได้เข้าไปยืนเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. เมื่อล่วงไปได้ ๗ วัน พระศาสดาทรงออกจาก นิโรธ ทอดพระเนตรเห็นราชสีห์ ได้ทรงดำริว่า เขายังจิตให้เลื่อมใส แม้ในภิกษุสงฆ์ ก็จักไหว้พระสงฆ์ แล้วทรงดำริว่า ขอภิกษุสงฆ์จงมา. ทันใดนั่งเอง ภิกษุทั้งหลายก็มา ฝ่ายราชสีห์ก็ทำจิตให้เลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์. พระศาสดาทรงตรวจดูใจของราชสีห์นั้นแล้วทรงพยากรณ์ ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมะ ได้มีนครชื่อว่า จัมปกะ พระราชาพระนามว่า อสมะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า อสมา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระสาละ และพระอุปสาละ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า วรุณะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางรามา และพระนางสุรามา

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 81

ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อว่าโสณพฤกษ์ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุ แสนปีแล.

กาลภายหลังแห่งพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมะโดยพระนาม ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบปานได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะนั้น มีพระศาสดา พระนามว่า นารทะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดหมื่นโกฏิ

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤๅษี เป็นผู้ปฏิบัติชำนาญใน อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประธาน ได้กระทำการบูชาด้วยจันทน์แดง. พระศาสดาแม้พระองค์ นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่าธัญญวดี มี กษัตริย์พระนามว่า สุเทวะ เป็นพระบิดา มีพระเทวีพระนามว่า อโนมา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระภัททสาละ และ พระชิตมิตตะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า วาเสฏฐะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางอุตตรา และพระนางผัคคุนี ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นหาโสณพฤกษ์ มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ พระสัมพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 82

พระนามว่านารทะโดยพระนาม เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบปานได้ ฉะนี้แล.

ก็ในกาลต่อจากพระนารทะพุทธเจ้า ในที่สุดแสนกัปแต่กัปนี้ไป ในกัปเดียวมีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่เวภารบรรพต มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นผู้ครองแคว้นใหญ่ชื่อว่า ชฏิละ ได้ถวาย ทานพร้อมทั้งจีวรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดา แม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตกาล. ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์ มิได้มีในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ. เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ได้ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นสรณะ

พระองค์ได้มีนครชื่อว่า หังสวดี กษัตริย์พระนามว่า อานันทะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระเทวละ และพระสุชาตะ มีพระอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมนะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางอมิตา และ พระนางอสมา มีต้นสาละเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก รัศมีจากพระสรีระแผ่ไปจดที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบ มีพระชนมายุแสนปีแล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ พระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ผู้ไม่กระเพื่อม ไหว มีอุปมาดังสาคร ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 83

กาลต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระนั้น ล่วงไปได้ สามหมื่นกัป ในกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระสุเมธะ และพระสุชาตะ ได้บังเกิดขึ้นแล้ว. แม้พระสุเมธพุทธเจ้าก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรกในสุทัสสนนคร มีพระขีณาสพ ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อว่า อุตตระ สละทรัพย์แปดสิบโกฏิที่ฝังเก็บไว้ นั่นแล ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ฟังธรรม แล้วตั้งอยู่ในสรณะสาม แล้วออกบวช. พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรง พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้มีนครชื่อว่า สุทัสสนะ พระราชาพระนามว่า สุทัตตะ เป็นพระบิดา แม้พระมารดาก็ได้เป็นพระเทวี พระนามว่า สุทัตตา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระสรณะ และ พระสัพพกามะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางรามา และพระนางสุรามา ต้นสะเดาเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ มีพระนายกพระนามว่าสุเมธะ ผู้ที่ใครๆ จะเข้าถึงได้ยาก มีพระเดชกล้า เป็นพระมุนีผู้สูงสุดในโลกทั้งปวง ฉะนี้แล.

กาลต่อจากพระสุเมธพุทธเจ้า มีพระศาสดาพระนามว่า สุชาตะ อุบัติขึ้น. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุ หกล้าน ครั้งที่ ๒ ห้าล้าน ครั้งที่ ๓ สี่ล้าน. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ได้สดับว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 84

ฟังธรรม จึงถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมกับรัตนะทั้ง ๗ แก่ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา. ชาวรัฐทั้งสิ้นต่างถือเอาเงินที่เกิดขึ้นในรัฐ จัดการกิจของตนผู้ทะนุบำรุง วัดให้สำเร็จ แล้วได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ตลอดกาลเป็นนิจ. พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิ- สัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ได้มีนครชื่อว่าสุมังคละ พระราชาพระนามว่า อุคคตะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ปภาวดี เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ มีพระอุปัฏฐาก ชื่อว่า นารทะ มีพระอัครสาวิกา ๒ พระองค์ คือพระนางนาคา และ พระนางนาคสมานา มีต้นไผ่ใหญ่ เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้. ได้ยินว่า ต้นไผ่ ใหญ่นั้นมีช่องกลวงน้อย มีลำต้นทึบ มีกิ่งใหญ่ๆ พุ่งขึ้นข้างบนแลดูเจิดจ้า ประดุจกำหางนกยูง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระสรีระสูง ๕๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล มีพระนายกพระนามว่า สุชาตะ มี พระหนุดังคางราชสีห์ มีลำพระศอดังคอโคผู้ หาผู้ประมาณ มิได้ อันใครๆ เข้าถึงได้ยาก ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า ในที่สุดหนึ่งพันแปดร้อยกัป แต่กัปนี้ไป ในกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ พระองค์ คือพระปิยทัสสี พระอรรถทัสสี และพระธรรมทัสสี. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ปิยทัสสี ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดสิบโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 85

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อว่า กัสสป เป็นผู้เรียนจบ ไตรเพท ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว จึงให้สร้างสังฆาราม โดยบริจาคทรัพย์แสนโกฏิ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล. ลำดับนั้นพระศาสดา ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ต่อล่วงไปหนึ่งพันแปดร้อยกัป จักได้ เป็นพระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนครชื่อว่าอโนมะ. พระราชา พระนามว่า สุทินนะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า จันทา เป็น พระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระปาลิตะ และพระสรรพทัสสี มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า โสภิตะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พรนางสุชาตา และพระนางธรรมทินนา มีต้นกุ่มเป็นไม้ตรัสรู้ มี พระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระสยัมภูพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้นำโลก อันใครๆ เข้าถึงได้ยาก ผู้เสมอกับ พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระยศใหญ่ ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระปิยทัสสีพุทธเจ้านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อรรถทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุเก้าล้านแปดแสน ครั้งที่ ๒ มีภิกษุแปดล้าน แปดแสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุเท่านั้นเหมือนกัน. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นดาบสมีฤทธิ์มากชื่อว่า สุสีมะ นำเอาฉัตรที่ทำด้วยดอกมณฑารพมา จากเทวโลก แล้วบูชาพระศาสดา. แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิ- สัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น มีนครชื่อว่า โสภณะ พระราชาพระนามว่า สาคระ เป็นพระบิดา

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 86

พระเทวีพระนามว่า สุทัสสนา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระสันตะ และพระอุปสันตะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า อภยะ มี พระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางธรรมา และพระนางสุธรรมา ต้น จำปาเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก รัศมีจากพระสรีระ ได้ แผ่ไปตั้งอยู่ประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ มีพระชนมายุแสนปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระอรรถทัสสีผู้องอาจในหมู่ชน ขจัดความมืดอย่างใหญ่แล้ว ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระอรรถทัสสีพุทธเจ้านั้น พระศาสดาพระนามว่า ธรรมทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ แปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช ได้ กระทำการบูชาด้วยดอกไม้หอมอันเป็นทิพย์ และดนตรีทิพย์. พระศาสดา แม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนครชื่อว่า สรณะ พระราชาพระนามว่า สรณะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุนันทา เป็นพระมารดา พระเถระ ๒ องค์ คือ พระปทุมะ และพระผุสสเทวะ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า สุเนตตะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรี ๒ องค์ คือ พระนางเขมา และพระนางสัพพกามา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นรัตตังกุรพฤกษ์เป็นไม้ที่ตรัสรู้ ต้นมะกล่ำเครือก็เรียก ก็พระสรีระของพระองค์สูงได้ ๘๐ ศอก พระชนมายุได้แสนปีแล.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 87

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระธรรมทัสสีผู้มีพระยศใหญ่ ทรงกำจัดความมืดมนอนธการแล้วรุ่งโรจน์อยู่ในโลก พร้อม ทั้งเทวโลก ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระธรรมทัสสีพุทธเจ้านั้น ในที่สุดเก้าสิบสี่กัปแต่นี้ ไป ในกัปเดียวมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ พระองค์ เดียวเท่านั้น เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบ โกฏิ. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสชื่อว่า มังคละ มีเดชกล้า สมบูรณ์ด้วยอภิญญาพละ นำเอาผลหว้าใหญ่มาถวายพระคถาคต. พระศาสดาเสวยผลหว้านั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดเก้าสิบสี่กัป จักได้ เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนครชื่อว่า เวภาระ พระราชา พระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุผัสสา เป็น พระมารดา พระเถระ ๒ องค์ คือ พระสัมพละ และพระสุมิตตะ เป็น พระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า เรวตะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรี ๒ องค์ คือ พระนางสีวลา และพระนางสุรามา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกรรณิการ์ เป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุได้แสนปีแล.

หลังจากพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า พระโลกนายกพระนาม ว่าสิทธิธัตถะ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง เหมือนพระอาทิตย์ โผล่ขึ้นแล้ว ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระสิทธัตถพุทธเจ้านั้น ในที่สุดเก้าสิบสองกัปแต่นี้ ไป มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์บังเกิดในกัปเดียวกัน คือ พระติสสะ และพระผุสสะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะ มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 88

สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์พระนามว่า สุชาตะ มีโภคสมบัติมาก มียศยิ่งใหญ่ บวชเป็นฤๅษี ได้ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก สดับว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงถือเอาดอกมณฑารพ ดอกปทุม และดอกปาริฉัตร อันเป็นทิพย์ ไปบูชาพระตถาคตผู้เสด็จดำเนินไปใน ท่ามกลางบริษัท ๔ ได้กระทำเพดานดอกไม้ในอากาศ. พระศาสดาแม้ พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในที่สุด ๙๒ กัปแต่นี้ไป จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า เขมะ กษัตริย์พระนามว่า ชนสันธะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ปทุมา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระพรหมเทวะ และพระอุทยะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า สุมนะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางผุสสา และพระนางสุทัตตา ต้นประดู่ลายเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุแสนปีแล.

กาลต่อจากพระสิทธัตถพุทธเจ้า ก็มีพระติสสพุทธเจ้าซึ่ง ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบปาน มีเดชหาที่สุดมิได้ มี พระยศนับมิได้ เป็นนายกผู้เลิศในโลกแล.

กาลต่อจากพระติสสพุทธเจ้านั้นไป พระศาสดาพระนามว่า ผุส๑สะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาต ครั้งแรก มีภิกษุหกล้าน ครั้งที่ ๒ ห้าล้าน ครั้งที่ ๓ สามล้านสองแสน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า วิชิตาวี ทรงละ


๑. บางแห่งเป็นปุสสะ.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 89

ราชสมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนพระไตรปิฎกแล้ว แสดงธรรมกถาแก่มหาชน และบำเพ็ญศีลบารมี. พระศาสดาแม้พระองค์ นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า กาสี พระราชาพระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สิริมา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระสุรักขิตะ และ พระธรรมเสนะ มีพระอุปัฏฐาก ชื่อว่า สภิยะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางจาลา และพระนาง อุปจาลา มีต้นมะขามป้อมเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มี พระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล ได้มีพระศาสดาพระนามว่า ผุสสะ เป็นผู้ยอดเยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้ เป็นผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าซึ่งหาผู้เสมอมิได้ ทรงเป็นนายกผู้เลิศในโลก ฉะนี้แล.

กาลต่อจากพระผุสสะพระองค์นั้น ในกัปที่ ๙๑ แต่นี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวก สันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหกล้านแปดแสน ครั้งที่ ๒ หนึ่งแสน ครั้งที่ ๓ แปดหมื่น. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นนาคราช ชื่อว่า อตุละ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ได้ถวายตั่งใหญ่ทำด้วยทอง ขจิต ด้วยแก้ว ๗ ประการ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์ เขาว่า ในกัปที่ ๙๑ แต่นี้ไป จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น มีนครชื่อว่า พันธุมดี พระราชาพระนามว่า พันธุมะ เป็น พระบิดา พระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระขัณฑะ และพระติสสะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 90

พระอโสกะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางจันทา และพระนาง จันทมิตตา มีต้นแคฝอยเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระรัศมีจากพระสรีระได้แผ่ไปตั้งอยู่ ๗ โยชน์ ในกาลทุกเมื่อ มีพระชนมายุ แปดหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระผุสสพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าพระนาม ว่าริปัสสีโดยพระนาม ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ผู้มีจักษุญาณ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระวิปัสสีพระองค์นั้น ในกัปที่ ๓๑ แต่นี้ไป ได้มี พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระสิขี และ พระเวสสภู. แม้พระสิขี ผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุ หนึ่งแสน ครั้งที่ ๒ แปดหมื่น ครั้งที่ ๓ เจ็ดหมื่น

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาพระนามว่า อรินทมะ ได้ ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้ว ถวายช้างแก้ว ซึ่งประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วได้ถวายกัปปิยภัณฑ์ ให้มีขนาดเท่าตัวช้าง พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิ- สัตว์นั้นว่า ในกัปที่ ๓๑ แต่นี้ไป จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีนครชื่อว่า อรุณวดี กษัตริย์พระนามว่า อรุณ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ปภาวดี เป็นพระมารดา มี พระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระอภิภู และพระสัมภวะ มีพระอุปัฏฐาก ชื่อว่า เขมังกร มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางขสิลา และ พระนางปทุมา มีต้นบุณฑริก (ต้นมะม่วง) เป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระ

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 91

สูง ๗๐ ศอก พระรัศมีจากพระสรีระได้แผ่ไปตั้งอยู่ ๓ โยชน์ มีพระชนมายุเจ็ดหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระวิปัสสี ได้มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า เป็นพระชินเจ้าซึ่งไม่มีผู้เสมอ หาบุคคลเปรียบปานมิได้ ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระสิขีพระองค์นั้น พระศาสดาพระนามว่า เวสสภู เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้ง แรก มีภิกษุแปดหมื่น ครั้งที่ ๒ เจ็ดหมื่น ครั้งที่ ๓ หกหมื่น.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาพระนามว่า สุทัสสนะ ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วบวชในสำนักของพระเวสสภูนั้น สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ มากไปด้วย ความยำเกรงและความปีติในพระพุทธรัตนะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในกัปที่ ๓๑ แต่นี้ไป จักได้ เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า อโนมะ พระราชาพระนามว่า สุปปตีตะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ยสวดี เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์คือ พระโสณะ และ พระอุตตระ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า อุปสันตะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนาง รามา และพระนาง สุรามา มีตันสาละเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหกหมื่นปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระชินเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่า เวสสภู โดยพระนาม ไม่มีผู้เสมอ หาบุคคลเปรียบปานมิได้ เสด็จอุบัติแล้วในโลก ฉะนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 92

ในกาลต่อจากพระเวสสภูนั้น ในกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะมีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น ในสันนิบาตนั้น มีภิกษุสี่หมื่น.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชานามว่าเขมะ ถวาย มหาทานพร้อมทั้งจีวร และเภสัชมียาหยอดตาเป็นต้น แก่ภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน พึงพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วบวช พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็น พระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะมีนครชื่อว่า เขมะ พราหมณ์นามว่า อัคคิทัตตะ เป็นพระบิดา พราหมณีนามว่า วิสาขา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์คือ พระวิธุระ และพระสัญชีวะ มีพระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พุทธิชะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระนางสามา และพระนางจัมปา มีต้นซึกใหญ่เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๔๐ ศอก มี พระชนมายุสี่หมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระเวสสภู มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ โดยพระนาม ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ประมาณ ไม่ได้ เข้าถึงได้โดยยาก ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระกกุสันธะนั้น พระศาสดาพระนามว่า โกนาคมนะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น ในสาวกสันนิบาตนั้น มีภิกษุสามหมื่น.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 93

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาพระนามว่า ปัพพตะ อันหมู่ อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนา แล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ยังมหาทานให้เป็นไป แล้ว ถวายผ้าปัตตุณณะ (ผ้าไหมที่ซักแล้ว) ผ้าจีนปฏะ (ผ้าขาวในเมือง จีน) ผ้าโกไสย (ผ้าทอด้วยไหม) ผ้ากัมพล (ผ้าทำด้วยขนสัตว์) ผ้าทุกูละ (ผ้าทำด้วยเปลือกไม้) และเครื่องลาดขนสัตว์ทำด้วยทอง แล้วบวชใน สำนักของพระศาสดา. พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า โสภวดี พราหมณ์ นามว่า ยัญญทัตตะ เป็นพระบิดา พราหมณีนามว่า อุตตรา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์คือ พระภิยยสะ และพระอุตตระ มี พระอุปัฏฐากชื่อว่า โสตถิชะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระนาง สมุททา และพระนางอุตตรา มีต้นมะเดื่อเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระ สูง ๓๐ ศอก มีพระชนมายุสามหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระกกุสันธะ มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ. ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า เป็นพระชินเจ้าผู้โลกเชษฐ์องอาจในหมู่คน ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระโกนาคมนะนั้น พระศาสดาพระนามว่า กัสสปะ อุบัติขึ้นแล้ว แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น, ในสาวก สันนิบาตนั้น มีภิกษุสองหมื่น. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นมาณพ ชื่อว่า โชติปาละ สำเร็จไตรเพท เป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งบนแผ่นดินและ กลางหาว ได้เป็นมิตรของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ พระโพธิสัตว์นั้นไป

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 94

เฝ้าพระศาสดาพร้อมกับช่างหม้อนั้น ได้ฟังธรรมกถาแล้วบวช ลงมือทำ ความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎกทำพระพุทธศาสนาให้งดงาม เพราะถึง พร้อมด้วยวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

นครที่ประสูติของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีนามว่า พาราณสี พราหมณ์นามว่า พรหมทัตตะ เป็นพระบิดา พราหมณีนามว่า ธนวดี เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระติสสะ และพระภารทวาชะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า สรรพมิตตะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระนาง อนุฬา และพระนาง อุรุเวฬา มีต้นนิโครธเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระ สูง ๒๐ ศอก มีพระชนมายุสองหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระโกนาคมนะ พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะโดยพระโคตร ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า เป็นพระธรรมราชา ผู้ทรงทำแสงสว่าง ฉะนี้แล.

ก็ในกัปที่พระทีปังกรทศพลเสด็จอุบัติขึ้นนั้น แม้จะมีพระพุทธเจ้า องค์อื่นๆ ถึง ๓ พระองค์ แต่พระโพธิสัตว์มิได้รับการพยากรณ์ในสำนัก ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่แสดงพระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นไว้ในที่นี้ แต่ในอรรถกถา เพื่อที่จะแสดงพระพุทธเจ้าแม้ ทั้งหมด ตั้งแต่พระทีปังกรไป จึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

พระสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ คือพระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า พระโกณฑัญญะผู้ สูงสุดกว่านระ

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 95

พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตมุนี พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ พทุมมุตตระ

พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ พระอัตถทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถะผู้โลกนายก

พระติสสะ พระผุสสสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ ผู้นายก

ล้วนปราศจากราคะ มีพระหทัยตั้งมั่น ทรงบรรเทาความ มืดอย่างใหญ่ได้ เหมือนพระอาทิตย์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นพร้อมทั้งพระสาวก ลุกโพลงแล้วประดุจ กองไฟ เสด็จปรินิพพานแล้ว.

บรรดาพระพุทธเจ้าเหล่านั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย ได้ กระทำอธิการไว้ในสำนักของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกร เป็นต้น มาตลอดสื่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. ก็กาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้แล้ว ไม่มี พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น. ก็พระโพธิสัตว์ได้รับคำพยากรณ์ในสำนักของ พระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้น ดังพรรณนา มาฉะนี้แล้ว จึงทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรมมีความเป็นผู้มีทานบารมีเป็นต้น ที่พระโพธิสัตว์นี้ประมวลธรรม ๘ ประการนี้ที่ว่า

อภินีหารคือความปรารถนาอย่างจริงจัง ย่อมสำเร็จเพราะ ประมวลธรรม ๘ ประการเข้าไว้คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความ สมบูรณ์ด้วยเพศ (ชาย) ๑ เหตุ (ที่จะได้บรรลุพระอรหัต) ๑

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 96

ได้พบเห็นพระศาสดา ๑ ได้บรรพชา ๑ สมบูรณ์ด้วยคุณ (คือได้อภิญญาและสมาบัติ) การกระทำอันยิ่ง (สละชีวิต ถวายพระพุทธเจ้า) ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ (อุตสาหะพากเพียร มาก) ๑.

แล้วกระทำอภินีหารไว้ที่บาทมูลของพระทีปังกร แล้วกระทำความ อุตสาหะว่า เอาเถอะ เราจะค้นหาธรรม อันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า ทั่วทุกด้าน ซึ่งได้เห็นแล้วว่า ครั้งนั้น เราค้นหาอยู่ ก็ได้พบเห็นทานบารมีข้อแรก บำเพ็ญมาจนกระทั่งอัตภาพเป็นพระเวสสันดร และเมื่อ ดำเนินมา ก็ดำเนินมาเพราะได้ประสบอานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ผู้ที่ได้ กระทำอภินิหารไว้ ซึ่งท่านพรรณนาไว้ว่า

นรชนผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทุกประการ ผู้เที่ยงต่อพระโพธิญาณอย่างนี้ ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานแท้ด้วยร้อย โกฏิกัปป์

จะไม่เกิดในอเวจีมหานรก และในโลกันตรนรกก็เช่นกัน แม้เมื่อเกิดในทุคติ จะไม่เกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปปิ- ปาสาเปรต และกาลกัญชิกาสูร

ไม่เป็นสัตว์ตัวเล็กๆ เมื่อเกิดในมนุษย์ก็จะไม่เป็นคน ตาบอดแต่กำเนิด

ไม่เป็นคนหูหนวก ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เกิดเป็นสตรี ไม่ เป็นอุภโตพยัญชนกะและกะเทย.

นรชนผู้เที่ยงต่อพระโพธิญาณ จะไม่ติดพันในสิ่งใด พ้นจากอนันตริยกรรม เป็นผู้มีโคจรสะอาดในที่ทุกสถาน

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 97

ไม่ซ่องเสพมิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นกรรมและผลของการ กระทำ แม้จะไปเกิดในสวรรค์ก็จะไม่เกิดเป็นอสัญญีสัตว์

ในเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส ก็ไม่มีเหตุที่จะไปเกิด. เป็น สัตบุรุษ น้อมใจไปในเนกขัมมะ พรากจากภพน้อยใหญ่ ประพฤติแต่ประโยชน์แก่โลก บำเพ็ญบารมีทั้งปวง ดังนี้.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายอยู่ ไม่มีปริมาณของ อัตภาพที่บำเพ็ญเพื่อความเป็นผู้มีทานบารมี คือกาลเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อกิตติ กาลเป็นพราหมณ์ชื่อ สังขะ กาลเป็นพระเจ้าธนัญชัย กาลเป็น พระเจ้ามหาสุทัสสนะ กาลเป็นมหาโควินทะ กาลเป็นพระเจ้านิมิมหาราช การเป็นพระจันทกุมาร กาลเป็นวิสัยหเศรษฐี กาลเป็นพระเจ้า สีวิราช กาลเป็นพระเวสสันดรราชา ก็โดยแท้จริง ในสสบัณฑิตชาดก ความเป็นทานบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำการบริจาคคนอย่างนี้ว่า

เราเห็นเขาเข้ามาเพื่อภิกษา จึงบริจาคตนของตน ผู้เสมอ ด้วยทานของเราไม่มี นี้เป็นทานบารมีของเรา ดังนี้. จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญความเป็นผู้มีศีลบารมี คือใน กาลเป็นสีลวนาคราช กาลเป็นจัมเปยยนาคราช กาลเป็นภูริทัตตนาคราช กาลเป็นพญาช้างฉัตทันต์ กาลเป็นชัยทิสราชบุตร กาลเป็นอลีนสัตตุกุมาร ก็เหลือที่จะนับได้. ก็โดยที่แท้ ในสังขปาลชาดก ความ เป็นผู้มีศีลบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำการบริจาคคนอยู่อย่างนี้ว่า

เราถูกแทงด้วยหลาวก็ดี ถูกแทงด้วยหอกก็ดี มิได้โกรธ พวกลูกของนายบ้านเลย นี้เป็นศีลบารมีของเรา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 98

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์สละราชสมบัติใหญ่ บำเพ็ญความเป็น ผู้มีเนกขัมมบารมี คือในกาลเป็นโสมนัสสกุมาร กาลเป็นหัตถิปาลกุมาร กาลเป็นอโยฆรบัณฑิต จะนับประมาณมิได้. ก็โดยที่แท้ ในจูฬสุตโสมชาดก ความเป็นเนกขัมมบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้สละราชสมบัติออก บวช เพราะความเป็นผู้ไม่มีความติดข้องอย่างนี้ว่า

เราสละราะสมบัติใหญ่ที่อยู่ในเงื้อมมือ ประดุจก้อนเขฬะ เมื่อละทิ้ง ไม่มีความข้องเลย นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญความเป็นผู้มีปัญญาบารมี คือ ในกาลเป็นวิธุรบัณฑิต กาลเป็นมหาโควินทบัณฑิต กาลเป็นกุททาลบัณฑิต กาลเป็นอรกบัณฑิต กาลเป็นโพธิปริพาชก กาลเป็นมโหสถบัณฑิต จะนับประมาณมิได้. ก็โดยที่แท้ ในสัตตุภัสตชาดก ความเป็น ปัญญาบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้แสดงงูที่อยู่ในกระสอบ ในคราวเป็น เสนกบัณฑิตว่า

เราใช้ปัญญาใคร่ครวญอยู่ ได้ช่วยปลดเปลื้องพราหมณ์ ให้พ้นจากทุกข์ ผู้เสมอด้วยปัญญาของเราไม่มี นี้เป็นปัญญา บารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญความเป็นวิริยบารมีเป็นต้น ก็

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 99

เหลือที่ประมาณได้. ก็โดยที่แท้ ในมหาชนกชาดก ความเป็นวิริยบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้ว่ายข้ามมหาสมุทรอยู่อย่างนี้ว่า

ในท่ามกลางน้ำ เราไม่เห็นฝั่งเลย พวกมนุษย์ถูกฆ่าตาย หมด เราไม่มีจิตเป็นอย่างอื่นเลย นี้เป็นวิริยบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในขันติวาทีชาดก ความเป็นขันติบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้อดกลั้น มหันตทุกข์ได้ เหมือนไม่มีจิตใจอย่างนี้ว่า

เมื่อพระเจ้ากาสีฟาดฟันเราผู้เหมือนไม่มีจิตรใจ ด้วยขวาน อันคมกริบ เราไม่โกรธเลย นี้เป็นขันติบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในมหาสุตโสมชาดก ความเป็นสัจจบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้สละ ชีวิตตามรักษาสัจจะอยู่อย่างนี้ว่า

เราเมื่อจะตามรักษาสัจวาจา ได้สละชีวิตของเราปลดเปลื้องกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ได้แล้ว นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในมูคปักขชาดก ความเป็นอธิษฐานบารมี ของพระโพธิสัตว์ ผู้ สละแม้ชีวิตอธิษฐานวัตรอยู่อย่างนี้ว่า

มารดาบิดาได้เป็นที่เกลียดชังของเรา ทั้งยศใหญ่ก็มิได้ เป็นที่เกลียดชัง แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงอธิษฐานวัตร ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 100

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในสุวรรณสามชาดก ความเป็นเมตตาบารมี ของพระโพธิสัตว์ ผู้ไม่เหลียวแลแม้แต่ชีวิต มีความเมตตาอยู่อย่างนี้ว่า

ใครๆ ก็ทำให้เราสะดุ้งไม่ได้ ทั้งเราก็มิได้หวาดกลัวต่อ ใครๆ เราอันกำลังเมตตาค้ำชู จึงยินดีอยู่ในป่าได้ทุกเมื่อ ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในโลมหังสชาดก ความเป็นอุเบกขาบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้เมื่อ พวกเด็กชาวบ้านยังความสุขและความทุกข์ให้เกิดขึ้น ด้วยการถ่มน้ำลายใส่ เป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้และของหอมเข้ามาบูชาเป็นต้น ก็ไม่ ประพฤติล่วงเลยอุเบกขาอย่างนี้ว่า

เราหนุนซากศพเหลือแต่กระดูก สำเร็จการนอนในป่าช้า พวกเด็กชาวบ้านพากันเข้ามาแสดงรูป (อาการ) นานัปการ ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

นี้เป็นความสังเขปในที่นี้ ส่วนข้อความพิสดารนั้น พึงถือเอาจาก จริยาปิฎก. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร กระทำบุญใหญ่ อันเป็นเหตุให้แผ่นดิน ใหญ่ไหวเป็นต้น อย่างนี้ว่า

แผ่นดินนี้หาจิตใจมิได้ ไม่รู้สึกสุขและทุกข์ แม้แผ่นดิน นั้นก็ได้ไหวแล้วถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังทานของเรา ดังนี้.

ในเวลาสิ้นสุดแห่งอายุ จุติจากอัตภาพนั้นได้ไปเกิดในดุสิตพิภพ.

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 101

ฐานะมีประมาณเท่านี้ จำเดิมแต่บาทมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกร จนถึง พระโพธิสัตว์นี้บังเกิดในดุสิตบุรี พึงทราบว่า ชื่อทูเรนิทาน ด้วยประการ ฉะนี้.

จบทูเรนิทานกถา

อวิทูเรนิทานกถา

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในดุสิตบุรีนั้นแล ชื่อว่าความโกลาหล คือ ความแตกตื่นเรื่องพระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นแล้ว. จริงอยู่ ในโลกย่อมมี ความโกลาหล ๓ ประการเกิดขึ้น คือ โกลาหลเรื่องกัป ๑ โกลาหลเรื่อง พระพุทธเจ้า ๑ โกลาหลเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ ๑.

บรรดาโกลาหลทั้งสามนั้น เทพชั้นกามาวจรชื่อว่าโลกพยูหะทราบว่า ล่วงไปแสนปี เหตุเกิดตอนสิ้นกัปจักมี จึงปล่อยศีรษะสยายผม มีหน้า ร้องไห้เอามือทั้งสองเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง ทรงเพศผิดรูปร่างเหลือเกิน เที่ยวบอกกล่าวไปในถิ่นมนุษย์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงแสนปีจากนี้ไป เหตุเกิดตอนสิ้นกัปจักมี โลกนี้จักพินาศ แม้มหาสมุทรจะเหือดแห้ง มหาปฐพีนี้กับขุนเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้ จักพินาศ โลกาวินาศ จักมีจนกระทั่งพรหมโลก ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอพวก ท่านจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จงบำรุงมารดาบิดา จง ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เป็นใหญ่ในตระกูล นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องกัป.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 102

เหล่าโลกบาลเทวดาทราบว่า ก็เมื่อล่วงไปพันปี พระสัพพัญญู- พุทธเจ้าจักอุบัติขึ้นในโลก จึงเที่ยวป่าวร้องว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ทั้งหลาย เมื่อล่วงพันปีแต่นี้ไป พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจักเสด็จอุบัติขึ้นใน โลก นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้า.

เทวดาทั้งหลายทราบว่า ล่วงไปร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักอุบัติ ขึ้น จึงเที่ยวป่าวร้องว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โดยล่วงร้อยปีแต่ นี้ไป พระเจ้าจักรพรรดิจักอุบัติขึ้นในโลก นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ.

โกลาหลทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นเรื่องใหญ่.

บรรดาโกลาหลทั้งสามนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ได้ฟัง เสียงโกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้าแล้วจึงร่วมประชุมกัน ได้ทราบว่า สัตว์ ชื่อโน้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปหาเขาแล้วพากันอ้อนวอน และ เมื่ออ้อนวอนอยู่ ก็จะอ้อนวอนในเพราะบุรพนิมิตทั้งหลาย.

ก็ในครั้งนั้น เทวดาแม้ทั้งปวงนั้น พร้อมกับท้าวจาตุมหาราช ท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวสุนิมมิต ท้าววสวัตดี และ ท้าวมหาพรหม พากันประชุมในจักรวาลเดียวกัน แล้วไปยังสำนักของ พระโพธิสัตว์ในดุสิตพิภพ ต่างอ้อนวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่าน บำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ มา หาได้ปรารถนาสักกสมบัติ มารสมบัติ พรหมสมบัติ และจักรพรรดิสมบัติบำเพ็ญไม่ แต่ท่านปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณบำเพ็ญ เพื่อต้องการจะรื้อขนสัตว์ออกจากโลก ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บัดนี้นั้นเป็นกาลที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นสมัยที่ท่านจะเป็น พระพุทธเจ้าแล้ว.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 103

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์มิได้ให้ปฏิญญาแก่เทวดาทั้งหลายทันที จะ ตรวจดู ปัญจมหาวิโลกนะ คือสิ่งที่จะต้องเลือกใหญ่ ๕ ประการ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และกำหนดอายุของมารดา.

ใน ๕ ประการนั้น พระโพธิสัตว์จะตรวจดูกาลข้อแรกว่า เป็น กาลสมควรหรือกาลไม่สมควร. ในเรื่องกาลนั้น กาลแห่งอายุที่เจริญเกิน กว่าแสนปี ชื่อว่าเป็นกาลไม่สมควร. เพราะเหตุไร? เพราะว่า ในกาล นั้น ชาติ ชรา และมรณะของสัตว์ทั้งหลายไม่ปรากฏ และพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ย่อมไม่มี เมื่อ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พวกเขาจะคิดว่า พระองค์ตรัสข้อนี้ชื่ออะไร จึงย่อมไม่เห็นสำคัญว่า จะควรฟัง และควร เชื่อ แต่นั้น การตรัสรู้มรรคผลก็จะมีไม่ได้ เมื่อไม่มีการตรัสรู้มรรคผล ศาสนาคือคำสอนจะไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. เพราะฉะนั้น กาลนั้น จึงเป็นกาลไม่สมควร. แม้กาลแห่งอายุหย่อนกว่าร้อยปี ก็ชื่อว่าเป็นกาล ไม่สมควร เพราะเหตุไร? เพราะว่าในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนา และโอวาทที่ให้แก่สัตว์ผู้มีกิเลสหนา ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฐานเป็นโอวาท จะ ปราศจากไปเร็วพลัน เหมือนรอยไม้ขีดในน้ำ เพราะฉะนั้น แม้กาลนั้น ก็เป็นกาลไม่สมควร. กาลแห่งอายุตั้งแต่แสนปีลงมา และตั้งแต่ร้อยปีขึ้น ไป ชื่อว่าเป็นกาลสมควร และกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งอายุร้อยปี ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ก็มองเห็นกาลว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด.

จากนั้น เมื่อจะตรวจดูทวีป ได้ตรวจดูทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีป บริวาร จึงเห็นทวีปหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บังเกิดในทวีปทั้งสาม บังเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 104

จากนั้น ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณ หมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศไหนหนอ จึงตรวจดู โอกาสก็ได้เห็นมัชฌิมประเทศ. ชื่อว่ามัชฌิมประเทศ คือประเทศที่ท่าน กล่าวไว้ในวินัยอย่างนี้ว่า ในทิศตะวันออกมีนิคมชื่อกชังคละ ถัดจากนั้น ไป เป็นมหาสาลประเทศ ถัดจากมหาสาลประเทศนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ มี แม่น้ำชื่อว่าสัลลวดี ถัดจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วม ในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศใต้ มีนิคมชื่อว่าเสตกัณณิกะ ถัด จากเสตกัณณิกนิคมนั้นไป เป็นปัจจัย ชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศตะวันตก มีพราหมณคามชื่อว่าถูนะ ถัดจากนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศเหนือ มี ภูเขาชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้า มา เป็นมัชฌิมประเทศ. มัชฌิมประเทศนั้นยาวสามร้อยโยชน์ กว้าง สองร้อยห้าสิบโยชน์ วัดโดยรอบได้เก้าร้อยโยชน์ ดังนี้ ในประเทศนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ และขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล และคหบดี มหาศาล ผู้มเหสักข์เหล่าอื่นย่อมเกิดขึ้น และนครชื่อว่ากบิลพัสดุ์นี้ก็ตั้ง อยู่ในมัชฌิมประเทศนี้ พระโพธิสัตว์จึงได้ถึงความตกลงใจว่า เราควร บังเกิดในนครนั้น.

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะเลือกดูตระกูล จึงเห็นตระกูลว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่บังเกิดในตระกูลแพศย์หรือตระกูลศูทร แต่จะบังเกิดในตระกูลทั้งสองเท่านั้น คือตระกูลกษัตริย์หรือตระกูล

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 105

พราหมณ์ที่โลกยกย่องแล้ว ก็บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลก ยกย่องแล้ว เราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่า สุทโธทนะ จักเป็นพระบิดาของเรา.

ต่อจากนั้น จึงเลือกดูมารดาได้เห็นว่า ธรรมดามารดาของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่เป็นหญิงเหลาะแหละ ไม่เป็นนักเลงสุรา แต่จะเป็นผู้ได้ บำเพ็ญบารมีมาแสนกัป เป็นผู้มีศีลห้าไม่ขาดเลย จำเดิมแต่เกิดมา. ก็ พระเทวีพระนามว่ามหามายานี้ ทรงเป็นเช่นนี้ พระนางมหามายานี้ จัก เป็นพระมารดาของเรา เมื่อตรวจดูว่า พระนางจะมีพระชนมายุเท่าไร ก็เห็นว่า หลังจาก ๑๐ เดือนไปแล้ว จะมีพระชนมายุได้ ๗ วัน.

พระโพธิสัตว์ตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ ด้วยประการดังนี้ แล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถึงกาลที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อจะกระทำการสงเคราะห์เทวดาทั้งหลาย จึงได้ให้ปฏิญญา แล้วส่งเทวดาเหล่านั้นไปด้วยคำว่า ขอพวกท่านไปได้ อันเทวดาชั้นดุสิต ห้อมล้อมแล้วเข้าไปสู่นันทนวัน ในดุสิตบุรี จริงอยู่ ในเทวโลกทุกชั้น มีนันทนวันทั้งนั้น ในนันทนวันนั้น เทวดาทั้งหลายจะเที่ยวคอยเตือน ให้พระโพธิสัตว์นั้นระลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน ว่า ท่านจุติจากนี้แล้วจงไปสู่สุคติเถิด ท่านจุติจากนี้แล้วจงไปสู่สุคติเถิด. พระโพธิสัตว์นั้นอันเทวดาทั้งหลาย ผู้เตือนให้ระลึกถึงกุศลอย่างนี้ ห้อม ล้อมเที่ยวไปอยู่ในนันทนวันนั่นแล ได้จุติแล้วถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางมหามายาเทวี. เพื่อที่จะให้เรื่องการถือปฏิสนธินั้นชัดแจ้ง จึงมี ถ้อยคำบรรยายโดยลำดับ ดังต่อไปนี้:-

ได้ยินว่า ครั้งนั้น ในนครกบิลพัสดุ์ได้มีการนักขัตฤกษ์เดือน ๘

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 106

อย่างเอิกเกริก มหาชนเล่นงานนักขัตฤกษ์กัน. ฝ่ายพระนางมหามายาเทวี ตั้งแต่วันที่ ๗ ก่อนวันเพ็ญ ทรงร่วมเล่นงานนักขัตฤกษ์ที่เพียบพร้อมด้วย ดอกไม้และของหอมอันสง่าผ่าเผย ไม่มีการดื่มสุรา ในวันที่ ๗ ตั้งแต่เช้า ตรู่ สรงสนานด้วยน้ำเจือน้ำหอม ทรงสละพระราชทรัพย์สี่แสน ถวายมหาทานแล้ว ทรงประดับด้วยเครื่องราชอลังการทั้งปวง เสวยพระกระยาหาร อย่างดี ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถ เสด็จเข้าห้องอันมีสิริที่ประดับตกแต่ง แล้ว บรรทมเหนือพระสิริไสยาสน์ ก้าวลงสู่ความหลับ ได้ทรงพระสุบิน ดังนี้ว่า

นัยว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ยกพระนางขึ้นไปพร้อมกับ พระที่ไสยาสน์ แล้วนำไปยังป่าหิมพานต์วางลงบนพื้นมโนศิลามีประมาณ ๖๐ โยชน์ ภายใต้ต้นสาละใหญ่มีขนาด ๗ โยชน์ แล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วน สุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น เหล่าพระเทวีของท้าวมหาราชเหล่านั้น พากัน มานำพระเทวีไปยังสระอโนดาต ให้สรงสนาน เพื่อที่จะชำระล้างมลทิน ของมนุษย์ออก แล้วให้ทรงนุ่งห่มผ้าทิพย์ ให้ทรงลูบไล้ด้วยของหอม ให้ทรงประดับดอกไม้ทิพย์ ในที่ไม่ไกลจากที่นั้น มีภูเขาเงินลูกหนึ่ง ภายในภูเขาเงินนั้นมีวิมานทอง พวกเขาให้ตั้งพระที่ไสยาสน์อันเป็น ทิพย์ มีเบื้องพระเศียรอยู่ทางทิศตะวันออก ในวิมานทองนั้น แล้วให้ บรรทม. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เป็นช้างตัวประเสริฐสีขาว ท่องเที่ยว ไปในภูเขาทองลูกหนึ่งซึ่งมีอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่นั้น ได้ลงจากภูเขาทอง นั้นแล้วขึ้นไปยังภูเขาเงิน เดินมาทางทิศเหนือ ได้เอาวงซึ่งมีสีดังพวง เงินจับดอกปทุมสีขาว เปล่งเสียงโกญจนาทเข้าไปยังวิมานทอง กระทำ

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 107

ประทักษิณพระที่ไสยาสน์ของพระมารดา ๓ ครั้ง ได้เป็นเสมือนผ่าพระปรัศว์เบื้องขวาเข้าสู่พระครรภ์. พระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิสนธิด้วยนักขัตฤกษ์ เดือน ๘ หลัง ด้วยประการฉะนี้.

วันรุ่งขึ้น พระเทวีทรงตื่นบรรทมแล้วกราบทูลพระสุบินนั้นแด่ พระราชา พระราชารับสั่งให้เชิญพราหมณ์ชั้นหัวหน้าประมาณ ๖๔ คน เข้าเฝ้า ให้ปูลาดอาสนะอันควรค่ามากบนพื้นที่ฉาบทาด้วยโคมัยสด มี เครื่องสักการะอันเป็นมงคลที่กระทำด้วยข้าวตอกเป็นต้น ให้ใส่ข้าวปายาส ชั้นเลิศที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเต็มถาดทองและเงิน เอาถาดทองและเงินนั่นแหละ ครอบแล้วได้ประทานแก่เหล่าพราหมณ์ผู้นั่ง อยู่บนอาสนะนั้น และทรงให้พราหมณ์เหล่านั้นอิ่มหนำด้วยสิ่งของอื่นๆ มีการประทานผ้าใหม่ และแม่โคแดงเป็นต้น ทีนั้น จึงรับสั่งให้บอก พระสุบินแก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้อิ่มหนำด้วยสิ่งที่ต้องการทุกอย่าง แล้ว ตรัสถามว่า จักมีเหตุการณ์อะไร. พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงพระปริวิตกเลย พระเทวีทรงตั้งพระครรภ์แล้ว และพระครรภ์ที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นครรภ์บุรุษ มิใช่ครรภ์สตรี พระองค์จักมีพระโอรส ถ้าพระโอรสนั้นทรงครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกจากเรือนทรงผนวช จักได้เป็นพระพุทธเจ้ามี กิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก.

ก็ในขณะที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา นั่นแหละ เหมือนโลกธาตุทั้งสิ้นได้สะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหวขึ้นพร้อมกัน ทันที. ปุพพนิมิต ๓๒ ประการ ได้ปรากฏขึ้นแล้วในหมื่นจักรวาล ได้

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 108

แสงสว่างหาประมาณมิได้แผ่ซ่านไป, พวกคนตาบอดกลับได้ดวงตา ประหนึ่งว่ามีความประสงค์จะดูพระสิรินั้นของพระโพธิสัตว์นั้น. พวกคน หูหนวกได้ยินเสียง, พวกคนใบ้พูดจาได้, พวกคนค่อมก็มีตัวตรง, พวก คนง่อยก็กลับเดินได้ด้วยเท้า, สัตว์ทั้งปวงที่ถูกจองจำก็หลุดพ้นจากเครื่อง จองจำมีขื่อคาเป็นต้น ไฟในนรกทั้งปวงก็ดับ, ในเปรตวิสัย ความหิว กระหายก็ระงับ. เหล่าสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่มีความกลัว. โรคของสัตว์ทั้งปวง ก็สงบ. สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็พูดจาด้วยถ้อยคำอันน่ารัก, ม้าทั้งหลาย ต่างหัวเราะด้วยอาการอันไพเราะ, ช้างทั้งหลายต่างก็ร้อง. ดนตรีทุกชนิด ต่างก็เปล่งเสียงกึกก้องของตนๆ , เครื่องอาภรณ์ที่สวมอยู่ในมือเป็นต้น ของพวกมนุษย์ ไม่กระทบกันเลย ก็เปล่งเสียงได้, ทั่วทุกทิศแจ่มใส, สายลมอ่อนเย็น ทำความสุขให้เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายก็รำเพยพัด, เมฆ ฝนที่มิใช่กาลก็ตกลงมา, น้ำก็พุแม้จากแผ่นดินไหลไป. พวกนกก็งด การบินไปในอากาศ, แม่น้ำทั้งหลายก็หยุดนิ่งไม่ไหล. มหาสมุทรมีน้ำ มีรสหวาน, พื้นน้ำก็ดาดาษด้วยปทุม ๕ สี มีทั่วทุกแห่ง, ดอกไม้ทุกชนิด ทั้งที่เกิดบนบกและเกิดในน้ำก็เบ่งบาน, ดอกปทุมชนิดลำต้นก็บานที่ลำต้น, ดอกปทุมชนิดกิ่งก็บานที่กิ่ง. ดอกปทุมชนิดเครือเถาก็บานที่เครือเถา, ดอกปทุมชนิดก้านก็ชำแรกพื้นศิลาทึบ เป็นดอกบัวซ้อนๆ กัน ออกมา, ดอกปทุมชนิดห้อยในอากาศก็บังเกิดขึ้น. ฝนดอกไม้ก็ตกลงมารอบด้าน, ดนตรีทิพย์ต่างก็บรรเลงในอากาศ, โลกธาตุทั่วทั้งหมื่น ได้เป็นประหนึ่ง พวงมาลัยที่เขาหมุนแล้วขว้างไป เป็นประหนึ่งกำดอกไม้ที่เขาบีบแล้วผูก มัดไว้ เป็นเสมือนอาสนะดอกไม้ที่เขาตกแต่งประดับประดาไว้ และเป็น

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 109

เสมือนพัดวาลวิชนีที่กำลังโบก ซึ่งมีระเบียบดอกเป็นอันเดียวกัน จึงได้ อบอวลไปด้วยความหอมของดอกไม้และธูป ถึงความโสภาคย์ยิ่งนัก.

จำเดิมแต่การถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ผู้ถือปฏิสนธิแล้ว อย่างนี้ เพื่อที่จะป้องกันอันตรายแก่พระโพธิสัตว์ และมารดาของพระโพธิสัตว์ เทวบุตร ๔ องค์ถือพระขรรค์คอยให้การอารักขา. ความคิดเกี่ยวกับราคะ ในบุรุษทั้งหลาย มิได้เกิดขึ้นแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ พระนางมี แต่ถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยศ มีความสุข มีพระวรกายไม่ ลำบาก และทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ผู้อยู่ในภายในพระครรภ์ เหมือนเส้นด้ายสีเหลืองที่ร้อยไว้ในแก้วมณีใสฉะนั้น. ก็เพราะเหตุที่ครรภ์ที่ พระโพธิสัตว์อยู่ เป็นเสมือนห้องพระเจดีย์ สัตว์อื่นไม่อาจอยู่หรือใช้สอย ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้๗ วัน พระมารดาของ พระโพธิสัตว์จึงสวรรคตแล้วไปอุบัติในดุสิตบุรี. เหมือนอย่างว่า หญิง อื่นๆ ไม่ถึง ๑๐ เดือนบ้าง เลยไปบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง ตลอดบุตร ฉันใด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเหมือนอย่างนั้นไม่. ก็พระมารดา ของพระโพธิสัตว์นั้น บริหารพระโพธิสัตว์ไว้ด้วยพระครรภ์ตลอด ๑๐ เดือน แล้วประทับยืนประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระมารดาแห่ง พระโพธิสัตว์.

ฝ่ายพระมหามายาเทวีทรงบริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ ตลอด ๑๐ เดือน ประดุจบริหารน้ำมันด้วยบาตรฉะนั้น มีพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปยังเรือนแห่งพระญาติ จึงกราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันปรารถนาจะไปยัง เทวทหนครอันเป็นของตระกูล. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงรับว่าได้

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 110

แล้วรับสั่งให้ทำหนทางจากนครกบิลพัสดุ์ จนถึงนครเทวทหะให้ราบเรียบ ให้ประดับด้วยเครื่องประดับมีต้นกล้วย หม้อน้ำเต็ม ธงชาย และธง แผ่นผ้าเป็นต้น ให้พระเทวีประทับนั่งในสีวิกาทอง ให้อำมาตย์พันคน หาม ทรงส่งไปด้วยบริวารมากมาย. ก็ป่าสาลวันอันเป็นมงคลชื่อว่า ลุมพินีวัน แม้ของชนชาวพระนครทั้งสอง ได้มีอยู่ในระหว่างนครทั้งสอง. สมัยนั้น ป่าสาลวันทั้งสิ้น มีดอกบานเป็นถ่องแถวเดียวกัน ตั้งแต่โคน จนถึงปลายกิ่ง. ตามระหว่างกิ่งและระหว่างดอก มีหมู่ภมร ๕ สี และ หมู่นกนานัปการ เที่ยวร้องอยู่ด้วยเสียงอันไพเราะ ลุมพินีวันทั้งสิ้นได้ เป็นเสมือนจิตรลดาวัน เป็นประหนึ่งสถานที่มาดื่ม ซึ่งเขาจัดไว้อย่างดี สำหรับพระราชาผู้มีอานุภาพมาก. พระเทวีทอดพระเนตรเห็นดังนั้น เกิด มีพระประสงค์จะทรงเล่นในสาลวัน. อำมาตย์ทั้งหลายจึงพาพระเทวีเข้า ไปยังสาลวัน. พระนางเสด็จเข้าถึงโคนต้นสาละอันเป็นมงคลแล้ว ได้มี พระประสงค์จะจับกิ่งสาละ กิ่งสาละได้น้อมลงเข้าไปใกล้พระหัตถ์ของพระเทวี ประหนึ่งยอดหวายที่ทอดลงอย่างอ่อนช้อยฉะนั้น. พระนางทรง เหยียดพระหัตถ์จับกิ่ง. ก็ในขณะนั้นเอง ลมกัมมัชวาตของพระเทวีเกิด ปั่นป่วน ลำดับนั้น มหาชนจึงวงม่านเพื่อพระนางแล้วถอยออกไป ก็ เมื่อพระนางทรงยืนจับกิ่งสาละอยู่นั่นแล ได้ประสูติแล้ว

ในขณะนั้นนั่นเอง ท้าวมหาพรหมผู้มี้จิตบริสุทธิ์ ๔ พระองค์ ก็ถือข่ายทองคำมาถึง ท้าวมหาพรหมเหล่านั้นเอาข่ายทองคำนั้นรับพระโพธิสัตว์วางไว้เบื้องพระพักตร์ของพระมารดาพลางทะลว่า ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์ทรงดีพระทัยเถิด พระราชบุตรของพระองค์มีศักดาใหญ่อุบัติ ขึ้นแล้ว.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 111

เหมือนอย่างว่า สัตว์เหล่าอื่นออกจากท้องมารดาแล้ว เปื้อนด้วยสิ่ง ปฏิกูลไม่สะอาดคลอดออกมาฉันใด พระโพธิสัตว์หาเป็นเหมือนฉันนั้นไม่. ก็พระโพธิสัตว์นั้นเหยียดมือทั้งสองและเท้าทั้งสองยืนอยู่ ดุจพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได ไม่แปดเปื้อนด้วย ของไม่สะอาดใดๆ ซึ่งมีอยู่ในครรภ์ของมารดา เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ โชติช่วงอยู่ประดุจแก้วมณีที่เขาวางไว้บนผ้ากาสิกพัสตร์ฉะนั้น ตลอดออก จากครรภ์พระมารดา. เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ตาม เพื่อจะสักการะพระโพธิสัตว์ และพระมารดาของพระโพธิสัตว์ สายธารน้ำสองสายจึงพลุ่งจากอากาศ ทำให้ได้รับ ความสดชื่นในร่างกายของพระโพธิสัตว์ และพระมารดา ของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้รับพระโพธิสัตว์นั้น จากหัตถ์ ของท้าวมหาพรหมผู้ยืนเอาข่ายทองคำรับอยู่ ด้วยเครื่องลาดทำด้วยหนัง เสือดาวอันมีสัมผัสสบาย ซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคล พวกมนุษย์เอา พระยี่ภู่ทำด้วยผ้าทุกูลพัสตร์รับจากหัตถ์ของท้าวมหาราชเหล่านั้น พอพ้น จากมือของพวกมนุษย์ พระโพธิสัตว์ก็ประทับยืนบนแผ่นดินทอดพระเนตรดูทิศตะวันออก จักรวาลหลายพันได้เป็นลานอันเดียวกัน เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น พากันบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น กล่าวกันว่า ข้าแต่มหาบุรุษ คนอื่นผู้จะเสมอเหมือนท่าน ไม่มีในโลกนี้ ในโลกนี้ จักมีผู้ยิ่งกว่ามาแต่ไหน พระโพธิสัตว์มองตรวจไปโดยลำดับ ตลอดทั้ง ๑๐ ทิศ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศ ทิศน้อย ๔ ทิศ เบื้องล่างและ เบื้องบน ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงเห็นใครๆ ผู้แม้นเหมือน กับตน ทรงดำริว่านี้ทิศเหนือ จึงเสด็จโดยย่างพระบาทไป ๗ ก้าว มีท้าว

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 112

มหาพรหมคอยกั้นเศวตฉัตร ท้าวสุยามะถือพัดวาลวิชนี และเทวดาอื่นๆ ถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่เหลือ เดินตามเสด็จ. จากนั้นประทับยืน ณ พระบาทที่ ๗ ทรงบันลือสีหนาทเปล่งอาสภิวาจาเป็นต้นว่า เราเป็นผู้เลิศ ของโลก ดังนี้.

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์พอคลอดออกมาจากครรภ์ของพระมารดา เท่านั้น เปล่งวาจาได้ใน ๓ อัตภาพ คือ อัตภาพเป็นมโหสถ อัตภาพ เป็นพระเวสสันดร และอัตภาพนี้.

ได้ยินว่า ในอัตภาพเป็นมโหสถ เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น จะ ตลอดออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาวางแก่นจันทน์ ลงในมือแล้วเสด็จไป พระโพธิสัตว์นั้นกำแก่นจันทน์นั้นไว้แล้วจึงคลอด ออกมา. ลำดับนั้น มารดาถามพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าถือ อะไรมาด้วย? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า โอสถจ้ะแม่ ดังนั้น บิดามารดาจึง ดังชื่อเขาว่า โอสถกุมาร เพราะถือโอสถมา. บิดามารดาเอาโอสถนั้น ใส่ไว้ในตุ่ม โอสถนั้นนั่นแหละได้เป็นยาระงับสารพัดโรค แก่คนตาบอด หูหนวกเป็นต้นที่ผ่านมาๆ. ต่อมา เพราะอาศัยคำพูดที่เกิดขึ้นว่า โอสถนี้ โอสถนี้มีคุณมหันต์ จึงได้เกิดมีชื่อว่า มโหสถ.

ส่วนในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์เมื่อจะประสูติจาก พระครรภ์มารดา ทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาประสูติแล้วตรัสว่า พระมารดา อะไรๆ ในเรือนมีไหม ลูกจักให้ทาน. ลำดับนั้น พระมารดาของพระองค์ตรัสว่า พ่อ ลูกบังเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์ แล้วให้วางถุงทรัพย์หนึ่ง พันไว้ จึงวางมือของพระโอรสไว้เหนือผ้าพระหัตถ์ของพระนาง.

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 113

ส่วนในอัตภาพนี้ พระโพธิสัตว์บันลือสีหนาทนี้ พระโพธิสัตว์ พอประสูติจากพระครรภ์มารดาเท่านั้น ก็ทรงเปล่งพระวาจาได้ ในอัตภาพ ทั้ง ๓ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็แม้ในขณะที่พระโพธิสัตว์นั้นประสูติ ได้มีบุรพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้น เหมือนในขณะถือปฏิสนธิ ก็สมัยใด พระโพธิสัตว์ของ เราทั้งหลายประสูติในลุมพินีวัน สมัยนั้นนั่นแหละ พระเทวีมารดาพระราหุล พระอานันทเถระ ฉันนอำมาตย์ กาฬุทายีอำมาตย์ กัณฐกะ อัศวราช มหาโพธิพฤกษ์ และหม้อขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ขุม ก็เกิดขึ้น พร้อมกัน ในหม้อขุมทรัพย์ทั้ง ๔ นั้น ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาดคาวุต หนึ่ง ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาดกึ่งโยชน์ ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาด ๓ คาวุต ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาดหนึ่งโยชน์ โดยส่วนลึก ไปจดที่สุด ของแผ่นดินทีเดียว เพราะเหตุนั้น ทั้ง ๗ เหล่านี้จึงจัดเป็นสหชาต.

ชนชาวเมืองทั้งสองนครได้พาพระโพธิสัตว์ไปยังนครกบิลพัสดุ์เลย ทีเดียว ก็วันนั้นเอง หมู่เทพในภพดาวดึงส์ต่างร่าเริงยินดีว่า พระราชบุตร ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชในนครกบิลพัสดุ์ ประสูติแล้ว พระราชกุมาร นี้จักนั่งที่ควงไม้โพธิ์ แล้วจักได้เป็นพระพุทธเจ้า จึงพากันโบกสะบัดผ้า เป็นต้นเล่นสนุกกัน.

สมัยนั้น ดาบสชื่อว่ากาฬเทวิล ผู้คุ้นเคยกับราชสกุลของพระเจ้า สุทโธทนมหาราช เป็นผู้ได้สมาบัติ ๘ การทำภัตกิจแล้วไปยังดาวดึงส์ พิภพ เพื่อต้องการพักผ่อนกลางวัน นั่งพักผ่อนกลางวันอยู่ในดาวดึงส์ พิภพนั้น เห็นเทวดาเหล่านั้นเล่นสนุกกันอยู่อย่างนั้น จึงถามว่า เพราะ เหตุไร ท่านทั้งหลายจึงมีใจร่าเริงเล่นสนุกกันอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจง

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 114

บอกเหตุนั้นแก่เราบ้าง. เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชประสูติแล้ว พระราชบุตรนั้น จักประทับที่โพธิมัณฑ์เป็นพระพุทธเจ้า ประกาศพระธรรมจักร พวกเรา จักได้เห็นพระพุทธลีลาอันหาประมาณมิได้ของพระองค์ และจักได้ฟัง ธรรม เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงได้เป็นผู้ยินดีด้วยเหตุนี้. พระดาบส ได้ฟังคำของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงรีบลงมาจากเทวโลก เข้าไปยัง พระราชนิเวศน์ นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้วทูลว่า มหาบพิตร ได้ยิน ว่าพระราชบุตรของพระองค์ประสูตรแล้ว อาตมภาพอยากจะเห็นพระราชบุตรนั้น. พระราชาทรงให้นำพระกุมารผู้แต่งตัวแล้วมา เริ่มที่จะให้ไหว้ พระดาบส พระบาททั้งสองของพระโพธิสัตว์ กลับไปประดิษฐานบน ชฎาของพระดาบส จริงอยู่ บุคคลอื่นชื่อว่าผู้สมควรที่พระโพธิสัตว์จะพึง ไหว้โดยอัตภาพนั้น ย่อมไม่มี ก็ถ้าผู้ไม่รู้ จะพึงวางศีรษะของพระโพธิสัตว์ลงแทบบาทมูลของพระดาบส ศีรษะของพระดาบสนั้นจะแตก ออก ๗ เสี่ยง. พระดาบสคิดว่า เราไม่ควรจะทำตนของเราให้พินาศ จึง ลุกขึ้นจากอาสนะ ประคองอัญชลีแก่พระโพธิสัตว์. พระราชาทรงเห็น ความอัศจรรย์ข้อนั้น จึงทรงไหว้พระราชบุตรของพระองค์.

พระดาบสระลึกได้ ๘๐ กัป คือในอดีต ๔๐ กัป ในอนาคต ๔๐ กัป เห็นลักษณะสมบัติของพระโพธิสัตว์แล้วรำพึงว่า เธอจักได้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ จึงใคร่ครวญดูรู้ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้อง สงสัย จึงได้กระทำการยิ้มแย้มอันเป็นเหตุให้รู้ว่า พระราชบุตรนี้เป็น อัจฉริยบุรุษ แต่นั้นจึงใคร่ครวญดูว่า เราจักได้เห็นอัจฉริยบุรุษผู้นี้เป็น พระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ได้เห็นว่าเราจักไม่ได้ทันเห็น จักตายเสียใน

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 115

ระหว่างนั้นแหละ จักบังเกิดในอรูปภพที่พระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์ ก็ดี ไม่อาจเสด็จไปให้ตรัสรู้ได้ แล้วคิดว่า เราจักไม่ได้ทันเห็นอัจฉริยบุรุษชื่อผู้เห็นปานนี้เป็นพระพุทธเจ้า เราจักมีความเสื่อมอย่างมหันต์หนอ จึงได้ร้องไห้แล้ว.

คนทั้งหลายเห็นแล้วจึงเรียนถามท่านว่า พระคุณเจ้าของพวกเรา หัวเราะอยู่เมื่อกี้ กลับร้องไห้อีกเล่า ท่านผู้เจริญ อันตรายไรๆ จักมีแด่ พระลูกเจ้าของพวกเราหรือหนอ? พระดาบสบอกว่า พระราชบุตรนี้ไม่ มีอันตราย จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย. คนทั้งหลายจึง เรียนถามว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ เล่า พระดาบสบอกว่า เราโศกเศร้าถึงตนว่า จักไม่ได้ทันเห็นบุรุษ ผู้เห็นปานนี้เป็นพระพุทธเจ้า เราจักมีความเสื่อมอย่างมหันต์หนอ จึงได้ ร้องไห้.

ลำดับนั้น ท่านจึงใคร่ครวญดูว่า บรรดาพวกญาติของเรา ญาติ ไรๆ จักได้ทันเห็นบุรุษนี้เป็นพระพุทธเจ้าบ้างไหม ก็ได้เห็นนาลกทารก ผู้เป็นหลานของตน. ท่านจึงไปยังเรือนของน้องสาวแล้วถามว่า นาลกะ บุตรของเจ้าอยู่ไหน. น้องสาวตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เขาอยู่ในเรือน เจ้าค่ะ. พระดาบสกล่าวว่า จงไปเรียกเขามา ครั้นให้เรียกมาแล้ว จึงพูด กะกุมารผู้มายังสำนักของตนว่า นี่แน่ะพ่อหลานชาย พระราชบุตรประสูติ ในราชสกุลของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระราชบุตรนั่นเป็นหน่อเนื้อ พุทธางกูร ล่วงไป ๓๕ ปีจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เจ้าจักได้ทันเห็น พระองค์ เจ้าจงบวชเสียในวันนี้ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 116

ฝ่ายทารกผู้เกิดในตระกูลมีทรัพย์ ๘๗ โกฏิคิดว่า หลวงลุงจักไม่ ชักชวนเราในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ทันใดนั้นเองจึงให้คนไปซื้อผ้ากาสายะ และบาตรดินมาจากตลาด แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ประคองอัญชลีมุ่งหน้าไปทางพระโพธิสัตว์ โดยคิดว่า เราบวชอุทิศท่าน ผู้อุดมบุคคลในโลก ดังนี้แล้วกราบไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอาบาตร ใส่ถุงคล้องจะงอยบ่า เข้าป่าหิมพานต์ กระทำสมณธรรม.

ท่านนาลกะนั้น เข้าไปเฝ้าพระตถาคตผู้ได้บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิ- ญาณแล้ว ขอให้ตรัสนาลกปฏิปทา แล้วกลับเข้าป่าหิมพานต์อีก บรรลุ พระอรหัตแล้วปฏิบัติปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ รักษาอายุอยู่ได้ ๗ เดือนเท่านั้น ยืนพิงภูเขาทองลูกหนึ่ง อยู่ท่าเดียว ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์แล พระประยูรญาติทั่งหลายให้สนานพระเศียร ในวันที่ ๕ แล้วคิดกันว่า จักเฉลิมพระนาม จึงให้ฉาบทาพระราชมณเฑียรด้วยคันธชาติ ๔ ชนิด โปรยดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ให้จัด ข้าวปายาสล้วนๆ แล้วเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน ผู้เรียนจบไตรเพท ให้นั่ง ในพระราชมณเฑียร ให้ฉันโภชนะอย่างดี กระทำสักการะอย่างมากมายแล้ว ให้ทายพระลักษณะว่า อะไรจักเกิดมีหนอแล. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น

ครั้งนั้น พราหมณ์ ๘ คนนั้น คือรามพราหมณ์ ธชพราหณ์ ลักขณพราหมณ์ มันตีพราหมณ์ ยัญญพราหมณ์ สุโภชพราหมณ์ สุยามพราหมณ์ และสุทัตตพราหมณ์ เป็นผู้ จบเวทางคศาสตร์มีองค์ ๖ กระทำให้แจ้งซึ่งมนต์แล้ว ด้วย ประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 117

พราหมณ์เฉพาะ ๘ คนนี้นี่แล ได้เป็นผู้ทำนายพระลักษณะ. แม้ พระสุบินในวันที่ถือปฏิสนธิ พราหมณ์ทั้ง ๘ คนนี้นั่นแหละ ก็ได้ทำนาย แล้ว. บรรดาพราหมณ์ทั้ง ๘ คนนั้น ๗ คนชูขึ้น ๒ นิ้ว ทำนายพระโพธิสัตว์นั้นเป็น ๒ สถานว่า ผู้ประกอบด้วยพระลักษณะเหล่านี้ ถ้า อยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าบวชจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วบอกสิริสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหมด. แต่มาณพชื่อ โกณฑัญญะ โดยโคตร เป็นหนุ่มกว่าพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ตรวจดู ลักษณสมบัติอันประเสริฐของพระโพธิสัตว์แล้ว ชูขึ้นนิ้วเดียว พยากรณ์ โดยสถานเดียวเท่านั้นว่า พระกุมารนี้ไม่มีเหตุที่จะดำรงอยู่ท่ามกลางเรือน พระกุมารนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้ว โดย ส่วนเดียว. อันโกณฑัญญมาณพนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้ เป็นสัตว์ผู้จะ เกิดในภพสุดท้าย มีปัญญาเหนือคนทั้ง ๗ นอกนี้ ได้เห็นคติเดียวเท่านั้น กล่าวคือ พระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้จะเป็นพระพุทธเจ้า โดยแน่นอน เพราะเหตุนั้น จึงชูขึ้นนิ้วเดียวแล้วพยากรณ์อย่างนั้น. ลำดับนั้น พราหมณ์ทั้งหลายเมื่อจะเฉลิมพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น จึง ขนานพระนามว่า สิทธัตถะ เพราะกระทำให้สำเร็จความต้องการแก่โลก ทั้งปวง.

ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงไปยังเรือนของตนๆ เรียกลูกๆ มาบอกว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกเราเป็นคนแก่ จะอยู่ถึงพระราชบุตร ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชบรรลุพระสัพพัญญุตญาณหรือไม่ (ก็ไม่รู้) เมื่อพระราชกุมารนั้นบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พวกเจ้าพึงบวชใน

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 118

สำนักของพระองค์. พราหมณ์ทั้ง ๗ คนนั้นดำรงอยู่ตราบชั่วอายุแล้วได้ ไปตามกรรม ส่วนโกณฑัญญมาณพเท่านั้นยังมีชีวิตอยู่.

โกณฑัญญมานพนั้น เมื่อพระมหาสัตว์อาศัยความเจริญแล้วออก มหาภิเนษกรมณ์บวชแล้ว เสด็จถึงอุรุเวลาประเทศโดยลำดับ ทรงพระดำริว่า ภูนิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ ที่นี้สมควรที่จะบำเพ็ญเพียรของ กุลบุตรผู้มีความต้องการจะบำเพ็ญเพียร จึงเสด็จเข้าไปอยู่ ณ ที่นั้น เขา ได้ฟังข่าวว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรของ พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินข่าวว่า พระสิทธัตถกุมารทรง ผนวชแล้ว พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ถ้าบิดาของ ท่านทั้งหลายยังมีชีวิตอยู่ ก็จะพึงออกบวชวันนี้ ถ้าแม้ท่านทั้งหลายจะต้อง การจงมาซิ พวกเราจักบวชตามพระมหาบุรุษนั้น. พวกเขาทั้งหมดไม่ สามารถจะมีฉันทะเป็นอันเดียวกันได้ บรรดาชนทั้ง ๗ นั้น ๓ คนไม่บวช ๔ คนนอกนี้บวช โดยตั้งให้โกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า พราหมณ์ทั้ง ๕ คนนั้น จึงมีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ.

ก็ในครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนะตรัสถามว่า บุตรของเราเห็นอะไร จึงจักบวช พวกอำมาตย์กราบทูลว่า เห็นบุพนิมิตทั้ง ๔. ตรัสถามว่า บุพนิมิตอะไรบ้าง. กราบทูลว่า คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต. พระราชาตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกท่านอย่าได้เห็นปานนี้เข้าไป ยังสำนักแห่งบุตรของเรา เราไม่มีกิจกรรมที่จะให้บุตรของเราเป็นพระพุทธเจ้า เรามีความประสงค์จะเห็นบุตรของเราครอบครองราชสมบัติจักรพรรดิ อันมีความเป็นอิสริยาธิบดีในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็น บริวาร ห้อมล้อมด้วยบริษัทอันมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์ ท่องเที่ยวไปในพื้น

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 119

ท้องฟ้า ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อที่จะห้ามมิให้บุพนิมิตทั้ง ๔ ประการนี้ มาสู่คลองจักษุพระกุมาร จึงทรงตั้งการอารักขาไว้ในที่ทุกๆ คาวุตในทิศทาง ๔.

ก็วันนั้น เมื่อตระกูลพระญาติแปดหมื่นตระกูลประชุมกันในมงคล สถานแล้ว พระญาติองค์หนึ่งๆ ได้อนุญาตบุตรคนหนึ่งๆ ว่า พระราชกุมารนี้ จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระราชาก็ตาม พวกเราจักให้บุตร คนละคน ถ้าแม้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า จักเป็นผู้อันหมู่ขัตติยสมณะห้อม ล้อมเที่ยวไป ถ้าแม้จักเป็นพระราชา จักเป็นผู้อันขัตติยกุมารห้อมล้อม กระทำไว้ในเบื้องหน้าเที่ยวไป. ฝ่ายพระราชาก็ทรงตั้งนางนมผู้ปราศจาก สรรพโรค สมบูรณ์ด้วยรูปอันอุดมแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เจริญ ด้วยบริวารใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์อันยิ่งใหญ่.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงมีงานพระราชพิธีชื่อว่า วัปปมงคล. วันนั้น ประชาชนต่างประดับประดาพระนครทั้งสิ้น ประดุจเทพนคร คนทั้งหมดมีทาสและกรรมกรเป็นต้น นุ่งห่มผ้าใหม่ ประดับด้วยของ หอมและดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันในราชสกุล เทียมไถถึงพันคันใน งานพระราชพิธี. ก็ในวันนั้น ไถ ๑๐๘ คัน หย่อนไว้คันหนึ่ง (คือ ๑๐๗ คัน) พร้อมทั้งโคผู้ผูกเชือกสายตะพาย หุ้มด้วยเงิน. ส่วนไถที่พระราชาทรงถือ หุ้มด้วยทองคำสุกปลั่ง. แม้เขา เชือกสายตะพา และ ปฏักของโคผู้ทั้งหลาย หุ้มด้วยทองคำทั้งนั้น. พระราชาเสด็จออกด้วยบริวารใหญ่ ได้ทรงพาพระราชบุตรไปด้วย. ในสถานที่ประกอบพระราชพิธี มีต้นหว้าต้นหนึ่ง มีใบหนาแน่น มีร่มเงา

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 120

ชิดสนิท. พระราชาทรงให้ปูลาดพระที่บรรทมของพระกุมาร ณ ภายใต้ ต้นหว้านั้น ให้ผูกเพดานขจิตด้วยดาวทองไว้เบื้องบน ให้แวดวงด้วย ปราการคือพระวิสูตร วางการอารักขาเสร็จแล้ว พระองค์ทรงประดับ เครื่องราชอลังการทั้งปวง ห้อมล้อมด้วยหมู่อำมาตย์เสด็จไปยังสถานที่ จรดพระนังคัล ณ ที่นั้นพระราชาทรงถือพระนังคัลทองคำ อำมาตย์ ทั้งหลายถือไถเงิน ๑๐๗ คัน พวกชาวนาถือไถที่เหลือ. พวกเขาถือไถ เหล่านั้นไถไปรอบๆ ส่วนพระราชาทรงไถจากด้านในไปสู่ด้านนอก ไถ จากด้านนอกไปสู่ด้านใน. ในที่แห่งหนึ่ง มีมหาสมบัติ. พวกนางนมที่ นั่งห้อมล้อมพระโพธิสัตว์ คิดว่าจักไปดูสมบัติของพระราชา จึงออกจาก พระวิสูตรไปข้างนอก.

พระโพธิสัตว์ทรงแลดูไปรอบๆ ไม่เห็นมีใครเลย จึงเสด็จลุกขึ้น โดยเร็ว ทรงนั่งขัดสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออก ทำปฐมฌานให้เกิดขึ้น แล้ว. พวกนางนมเที่ยวไปในระหว่างเวลากินอาหาร จึงชักช้าไปหน่อย หนึ่ง. เงาของต้นไม้ที่เหลือคล้อยไป แต่เงาของต้นหว้านั้นคงตั้งอยู่เป็น ปริมณฑล. พวกนางนมคิดได้ว่า พระลูกเจ้าประทับอยู่พระองค์เดียว จึงรีบยกพระวิสูตรขึ้นเข้าไปภายใน เห็นพระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิบน พระที่บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้น จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระกุมารประทับนั่งอย่างนี้ เงาของต้นไม้อื่นๆ คล้อย ไปแล้ว แต่เงาของต้นหว้าคงตั้งเป็นปริมณฑลอยู่. พระราชารีบเสด็จมา ทรงเห็นปาฏิหาริย์ จึงทรงไหว้พระโอรสโดยตรัสว่า นี่แนะพ่อ นี้เป็นการ ไหว้เจ้าครั้งที่สอง.

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 121

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์มีพระชนมายุ ๑๖ พรรษาโดยลำดับ. พระราชาให้สร้างปราสาทสามหลัง อันเหมาะสมแต่ฤดูทั้งสาม เพื่อพระโพธิ- สัตว์ คือหลังหนึ่งมี ๙ ชั้น หลังหนึ่งมี ๗ ชั้น หลังหนึ่ง ๕ ชั้น และ ให้หญิงฟ้อนรำสี่หมื่นนางคอยบำเรอรับใช้. พระโพธิสัตว์อันหญิงฟ้อนรำ ผู้ประดับกายงดงามห้อมล้อม เหมือนเทพบุตรอันหมู่นางอัปสรห้อมล้อมอยู่ ฉะนั้น ถูกบำเรออยู่ด้วยดนตรีไม่มีบุรุษเจือปน เสวยมหาสมบัติอยู่ใน ปราสาททั้งสามตามคราวแห่งฤดู. ส่วนพระเทวีมารดาพระราหุลเป็นพระอัครมเหสีของพระองค์.

เมื่อพระองค์เสวยสมบัติอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง ได้มีการพูดกันขึ้น ในระหว่างหมู่พระญาติดังนี้ว่า พระสิทธัตถะทรงเที่ยวขวนขวายอยู่แต่การ เล่นเท่านั้น ไม่ทรงศึกษาศิลปศาสตร์อะไรๆ เมื่อมีสงครามมาประชิด เข้า จักกระทำอย่างไร. พระราชารับสั่งให้เรียกพระโพธิสัตว์มาแล้ว ตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ พวกญาติๆ ของลูกพากันพูดว่า สิทธัตถะไม่ศึกษา ศิลปศาสตร์อะไรๆ ขวนขวายแต่การเล่นเท่านั้นเที่ยวไป ในเรื่องนี้ ลูก จะเข้าใจอย่างไร ในเวลาประจวบกับพวกศัตรู พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่มีกิจที่จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ ขอพระองค์ ได้โปรดให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องไปในพระนคร เพื่อให้มาดูศิลปะของข้า พระองค์ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป ข้าพระองค์จักแสดงศิลปศาสตร์แก่หมู่ พระญาติ. พระราชาได้ทรงกระทำตามนั้น พระโพธิสัตว์ให้ประชุมนัก แม่นธนูผู้สามารถยิงอย่างสายฟ้าแลบ และผู้สามารถยิงขนหางสัตว์ แล้ว ทรงแสดงศิลปะทั้ง ๑๒ ชนิดแก่พระญาติ ซึ่งไม่ทั่วไปกับพวกนักแม่นธนู

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 122

อื่นๆ ในท่ามกลางมหาชน. เรื่องนั้นพึงทราบตามนัยที่มีมาในสรภังคชาดกนั่นแล. ครั้งนั้น หมู่พระญาติของพระองค์ได้หมดข้อสงสัย

อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะเสด็จไปยังอุทยานภูมิ จึงตรัสเรียกนายสารถีมาแล้วตรัสว่า จงเทียมรถ. นายสารถีนั้นรับพระบัญชาแล้ว ประดับรถชั้นสูงสุดอันควรค่ามาก ด้วยเครื่องประดับทั้งปวง แล้วเทียมม้าสินธพที่เป็นมงคล ๔ ตัว มีสีดังกลีบดอกโกมุท เสร็จแล้ว จึงทูลบอกแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นรถอันเป็นเช่นกับเทพวิมาน ได้เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปทางอุทยาน. เทวดาทั้งหลายคิดว่า กาล ที่จะตรัสรู้พร้อมเฉพาะของพระสิทธัตถกุมาร ใกล้เข้ามาแล้ว พวกเราจัก แสดงบุพนิมิต จึงแสดงเทวบุตรองค์หนึ่ง ให้เป็นคนแก่ชรา มีฟันหัก ผมหงอก หลังโกง มีร่างกายค้อมลง ถือไม้เท้า สั่นงกๆ เงินๆ พระโพธิสัตว์และนายสารถีก็ได้ทอดพระเนตรเห็น และแลเห็นคนแก่ชรา นั้น. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ตรัสถามนายสารถี โดยนัยอันมาใน มหาปทานสูตรว่า นี่แน่ะสหาย บุรุษนั่นชื่อไร แม้ผมของเขาก็ไม่เหมือน คนอื่นๆ ดังนี้ ได้ทรงสดับคำของนายสารถีนั้นแล้วทรงดำริว่า แน่ะผู้ เจริญความเกิดนี้ น่าติเตียนจริงหนอ เพราะชื่อว่าความแก่จักปรากฏแก่ สัตว์ผู้เกิดแล้วดังนี้ มีพระทัยสลด เสด็จกลับจากที่นั้นขึ้นสู่ปราสาททันที พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร บุตรของเราจึงกลับเร็ว? นายสารถี กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เพราะเห็นคนแก่ พระเจ้าข้า. พระราชา ตรัสว่า พวกเขาพูดกันว่า เพราะเห็นคนแก่จักบวช เพราะเหตุไร พวก เจ้าจึงจะทำเราให้ฉิบหายเสียเล่า จงรีบจัดนางฟ้อนรำให้ลูกเราดู เธอเสวย

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 123

สมบัติอยู่ จักไม่ระลึกถึงการบวช แล้วทรงเพิ่มการอารักขาให้มากขึ้น วางการอารักขาไว้ในที่ทุกๆ กึ่งโยชน์ ในทิศทั้งปวง.

วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังอุทยานเหมือนอย่างเดิม ทอด พระเนตรเห็นคนเจ็บที่เทวดานิมิตขึ้น จึงตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแหละ มีพระทัยสลด เสด็จกลับขึ้นสู่ปราสาท. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสถามแล้วทรง จัดแจงโดยนัยดังกล่าวในหนหลังนั่นแหละ แต่เพิ่มการอารักขาขึ้นอีก ทรงวางการอารักขาไว้ในที่มีประมาณ ๓ คาวุตโดยรอบ.

ต่อมาอีกวัน พระโพธิสัตว์เสด็จไปอุทยานเหมือนเดิม ทอดพระเนตรเห็นคนตายที่เทวดานิมิตขึ้น ตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแหละ มีพระทัยสลด หวนกลับขึ้นสู่ปราสาท. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสถามแล้วทรงจัดแจง โดยนัยดังกล่าวในหนหลังนั่นแหละ จึงทรงเพิ่มการอารักขาขึ้นอีก ทรง วางการอารักขาไว้ในที่ประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ.

วันรุ่งขึ้นต่อมา พระโพธิสัตว์เสด็จไปอุทยาน ทอดพระเนตรเห็น บรรพชิตนุ่งห่มเรียบร้อยที่เทวดานิมิตไว้อย่างนั้นเหมือนกัน จึงตรัสถาม นายสารถีว่า สหาย ผู้นี้ชื่อไร? สารถีไม่รู้จักบรรพชิตหรือคุณธรรม ของบรรพชิต เพราะยังไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็จริง ถึงกระนั้น เพราะ อานุภาพของเทวดา เขากล่าวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ผู้นี้ชื่อว่าบรรพชิต แล้วพรรณนาคุณของการบวช. พระโพธิสัตว์ยังความพอพระทัยให้เกิดขึ้น ในการบวช ได้เสด็จไปยังอุทยานตลอดวันนั้น. ฝ่ายพระทีฆภาณกาจารย์ ทั้งหลายกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้เสด็จไปเห็นนิมิตทั้ง ๔ โดยวันเดียว เท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 124

พระโพธิสัตว์นั้นทรงเล่นอยู่ในอุทยานนั้นตลอดทั้งวัน แล้วสรง สนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ประทับ นั่งบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล มีพระประสงค์จะให้เขาแต่งพระองค์. ทีนั้น พวกบริจาริกาของพระองค์ถือเอาผ้าสีต่างๆ เครื่องอาภรณ์หลายชนิดนานัปการ และดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ มายืนห้อมล้อมอยู่โดยรอบ. ขณะนั้น อาสนะที่ท้าวสักกะประทับนั่ง ได้มีความร้อนขึ้น ท้าวสักกะนั้น ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า ใครหนอ มีความต้องการจะให้เราเคลื่อนจากที่นี้ ทรงทราบว่าพระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะให้ตกแต่งพระองค์ จึงตรัส เรียกพระวิสสุกรรมมาตรัสว่า นี่แน่ะวิสสุกรรมผู้สหาย วันนี้ สิทธัตถกุมาร จักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในเวลาเที่ยงคืน การประดับนี้เป็นการ ประดับครั้งสุดท้ายของพระองค์ ท่านจงไปยังอุทยานประดับตกแต่งพระมหาบุรุษ ด้วยเครื่องประดับอันเป็นทิพย์. พระวิสสุกรรมนั้นรับเทวบัญชาแล้ว เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ทันที ด้วยเทวานุภาพเป็นเหมือนกับช่าง กัลบกของพระองค์ทีเดียว เอาผ้าทิพย์พันพระเศียรของพระโพธิสัตว์. โดยการสัมผัสมือเท่านั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทราบว่า ผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ ผู้นี้ เป็นเทวบุตร. เมื่อพอเขาเอาผ้าพันผืนพันพระเศียรเข้า ผ้าพันผืนก็นูนขึ้น โดยอาการคล้ายแก้วมณีบนพระโมลี เมื่อเขาพันอีก ผ้าพันผืนก็นูนขึ้น เพราะเหตุนั้น เมื่อเขาพัน ๑๐ ครั้ง ผ้าหมื่นผืนก็นูนสูงขึ้น. ใครๆ ไม่ควรคิดว่า พระเศียรเล็ก ผ้ามาก พอนูนขึ้นได้อย่างไร. เพราะ บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าที่ใหญ่กว่าทุกผืน มีขนาดเท่าดอกมะขามป้อม ผ้าที่เหลือมีขนาดเท่าดอกกระทุ่ม พระเศียรของพระโพธิสัตว์ได้เป็น เหมือนดอกสารภีที่หนาแน่นด้วยเกสรฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 125

ลำดับนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงแล้ว เมื่อพวกนักดนตรีทั้งปวงแสดงปฏิภาณของตนๆ เมื่อพวกพราหมณ์สรรเสริญด้วยคำมีอาทิว่า ขอพระองค์จงทรงยินดีในชัยชนะ เพราะพวกคนที่ ถือการได้ยินได้ฟังว่าเป็นมงคลเป็นต้น สรรเสริญด้วยการประกาศสดุดี ด้วยคำอันเป็นมงคลนานัปการ พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นรถอันประเสริฐซึ่ง ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า มารดาราหุลประสูติพระโอรส จึงส่งสาสน์ไปว่า ท่านทั้งหลาย จงบอกความดีใจของเราแก่ลูกของเราด้วย. พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับข่าว สาสน์นั้นแล้วตรัสว่า ราหุ (ห่วง) เกิดแล้ว เครื่องจองจำเกิดแล้ว. พระราชาตรัสถามว่า บุตรของเราได้พูดอะไรบ้าง ครั้นได้สดับคำนั้นแล้วจึง ตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป หลานของเราจงมีชื่อว่า ราหุลกุมาร.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เสด็จขึ้นทรงรถอันประเสริฐ เสด็จเข้าสู่พระนคร ด้วยพระยศอันยิ่งใหญ่ ด้วยพระสิริโสภาคย์อันรื่นรมย์ใจยิ่งนัก. สมัยนั้น นางขัตติยกัญญาพระนามว่า กีสาโคตมี เสด็จอยู่ ณ พื้นปราสาทชั้นบน อันประเสริฐ เห็นความสง่าแห่งพระรูปโฉมของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำ ประทักษิณพระนคร ทรงเกิดปีติโสมนัส จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

บุรุษเช่นนี้ เป็นบุตรของมารดาใด มารดานั้นก็ดับ๑ได้แน่ เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้นก็ดับได้แน่ เป็นสามีของนารีใด นารีนั้นก็ดับได้แน่.

พระโพธิสัตว์สดับคำอันเป็นคาถานั้น ทรงดำริว่า พระนางกีสาโคตมี นี้ตรัสอย่างนี้ว่า หทัยของมารดา หทัยของบิดา หทัยของภริยา ผู้เห็นอัตภาพ เห็นปานนี้ ย่อมดับทุกข์ได้ เมื่ออะไรหนอดับ หทัยจึงชื่อว่าดับทุกข์ได้.


๑. หมายถึงสมายใจ, เย็นใจ.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 126

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ผู้มีหทัยคลายความกำหนัดในกิเลสทั้งหลาย ได้มีพระดำริดังนี้ว่า เมื่อไฟคือราคะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี เมื่อไฟคือ โทสะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี เมื่อไฟคือโมหะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี เมื่อความเร่าร้อนเพราะกิเลสทั้งปวงมีมานะทิฏฐิเป็นต้นดับ หทัยชื่อว่า ดับก็มี พระนางให้เราฟังคำที่ดี ความจริง เรากำลังเที่ยวแสวงหาความ ดับอยู่ วันนี้แล เราควรทิ้งการครองเรือนออกไปบวชแสวงหาความดับ. นี้จงเป็นส่วนแห่งอาจารย์สำหรับพระนางเถิด แล้วปลดแก้วมุกดาหารมีค่า หนึ่งแสนจากพระศอ ส่งไปประทานแก่พระนางกีสาโคตมี. พระนางเกิด ความโสมนัสว่า สิทธัตถกุมารมีจิตปฏิพัทธ์เราจึงส่งเครื่องบรรณาการมาให้.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของพระองค์ ด้วยพระสิริโสภาคย์ อันยิ่งใหญ่ เสด็จบรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ ในทันใดนั้นเอง เหล่าสตรี นักฟ้อนผู้ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ผู้ศึกษามาดีแล้วใน การฟ้อนและการขับเป็นต้น ทั้งงามเลิศด้วยรูปโฉม ประดุจนางเทพ. กัญญา ถือดนตรีนานาชนิดมาแวดล้อมทำพระโพธิสัตว์ให้อภิรมย์ยินดี ต่างพากันประกอบการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง. พระโพธิสัตว์ไม่ ทรงอภิรมย์ยินดีในการฟ้อนรำเป็นต้น เพราะทรงมีพระหฤทัยเบื่อหน่ายใน กิเลสทั้งหลาย ครู่เดียวก็เสด็จเข้าสู่นิทรา. ฝ่ายสตรีเหล่านั้นคิดกันว่า พวกเราประกอบการฟ้อนรำเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชกุมารใด พระราชกุมารนั้นเสด็จเข้าสู่นิทราแล้ว บัดนี้พวกเราจะลำบากไปเพื่ออะไร ต่างพากันวางเครื่องดนตรีที่ถือไว้ๆ แล้วก็นอนหลับไป ดวงประทีป น้ำมันหอมยังคงลุกสว่างอยู่.

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 127

พระโพธิสัตว์ทรงตื่นบรรทม ทรงนั่งขัดสมาธิบนหลังพระที่บรรทม ได้ทอดพระเนตรเห็นสตรีเหล่านั้นนอนหลับทับเครื่องดนตรีอยู่ บางพวก มีน้ำลายไหล มีตัวเปรอะเปื้อนน้ำลาย บางพวกกัดฟัน บางพวกนอนกรน บางพวกละเมอ บางพวกอ้าปาก บางพวกผ้าหลุดลุ่ยปรากฏอวัยวะเพศอัน น่าเกลียด. พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นอาการผิดแผกของสตรีเหล่านั้น ได้ทรงมีพระหฤทัยเบื่อหน่ายในกามทั้งหลายยิ่งกว่าประมาณ พื้น ใหญ่นั้นตกแต่งประดับประดาไว้แม้จะเป็นเช่นกับภพของท้าวสักกะ ก็ ปรากฏแก่พระองค์ประหนึ่งว่า ป่าช้าผีดิบซึ่งเต็มด้วยซากศพนานาชนิด ภพทั้ง ๓ ปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้ จึงเปล่งอุทานว่า วุ่นวายจริง หนอ ขัดข้องจริงหนอ. พระทัยของพระองค์ทรงน้อมไปเพื่อบรรพชา ยิ่งขึ้น.

พระโพธิสัตว์นั้นทรงดำริว่า เราออกมหาภิเนษกรมณ์เสียในวันนี้ ทีเดียว จึงเสด็จลุกขึ้นจากพระที่บรรทม เสด็จไปใกล้ประตูตรัสว่า ใคร อยู่ที่นั่น. นายฉันนะนอนเอาศีรษะหนุนธรณีประตูอยู่กราบทูลว่า ข้าแต่ พระลูกเจ้า ข้าพระองค์ ฉันนะ. ตรัสว่า วันนี้เรามีประสงค์จะออกมหาภิเนษกรมณ์ จงจัดหาม้าให้เราตัวหนึ่ง. เขาทูลรับว่า ได้ พระเจ้าข้า แล้ว ถือเอาเครื่องม้าไปยังโรงม้า เมื่อดวงประทีปน้ำมันหอมยังลุกโพลงอยู่ เห็นหญ้าม้ากัณฐกะยืนอยู่บนภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ภายใต้เพดานแผ่น ดอกมะลิ คิดว่า วันนี้ เราควรจัดม้าตัวนี้แหละถวาย จึงได้จัดม้ากัณฐกะ. มากัณฐกะนั้นเมื่อนายฉันนะจัดเตรียมอยู่ ได้รู้ว่าการจัดเตรียมคราวนี้ กระชับแน่นจริง ไม่เหมือนการจัดเตรียมในคราวเสด็จประพาสเล่นในสวน เป็นต้น ในวันอื่นๆ วันนี้พระลูกเจ้าของเรา จักมีพระประสงค์เสด็จ

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 128

ออกมหาภิเนษกรมณ์. ทีนั้นก็มีใจยินดีจึงร้องดังลั่น เสียงนั้นจะพึงกลบ ไปทั่วทั้งพระนคร แต่เทวดาทั้งหลายกั้นเสียงนั้นไว้มิให้ใครๆ ได้ยิน.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงใช้นายฉันนะไปแล้วทรงดำริว่า เราจักเยี่ยม ดูลูกเสียก่อน จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์ที่ประทับ เสด็จไปยังที่อยู่ของ พระมารดาพระราหุล ทรงเปิดประตูห้อง ขณะนั้นดวงประทีปน้ำมันหอม ยังลุกไหม้อยู่ในภายในห้อง พระมารดาพระราหุลทรงบรรทมวางพระหัตถ์ เหนือเศียรพระโอรส บนที่บรรทมอันเกลื่อนกล่นด้วยดอกมะลิซ้อนและ ดอกมะลิลาเป็นต้น. พระโพธิสัตว์ประทับยืนวางพระบาทบนธรณีประตู ทอดพระเนตรดูแล้วทรงดำริว่า ถ้าเราจักเอามือพระเทวีออกแล้วจับลูก ของเราไซร้ พระเทวีก็จักตื่นบรรทม เมื่อเป็นอย่างนั้น อันตรายจักมี แก่เรา เราจักเป็นพระพุทธเจ้าเสียก่อนจึงจักมาเยี่ยมดูลูก ครั้นทรงดำริ แล้วจึงเสด็จลงจากพื้นปราสาทไป. ก็คำที่กล่าวไว้ในอรรถกถาชาดกว่า ตอนนั้น พระราหุลกุมารประสูติได้ ๗ วัน ดังนี้ ไม่มีอยู่ในอรรถกถา ที่เหลืออยู่ เพราะฉะนั้น พึงถือเอาคำนี้แหละ.

พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากพื้นปราสาทอย่างนี้แล้ว เสด็จเข้าไปใกล้ ม้าตรัสอย่างนี้ว่า นี่แน่ะพ่อกัณฐกะ วันนี้ เจ้าจงให้เราข้ามฝั่งสักคืน หนึ่งเถิด เราอาศัยเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จักยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามฝั่งด้วย. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ก็กระโดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะ. ม้ากัณฐกะโดยความยาวเริ่มแต่คอวัดได้ ๑๘ ศอก ประกอบด้วยส่วนสูง อันเหมาะสมกับความยาวนั้น สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเร็ว ตัวขาว ปลอดประดุจสังข์ที่ขัดแล้ว. ถ้าม้ากัณฐกะนั้นพึงร้องหรือกระทำเสี่ยงที่เท้า เสียงก็จะพึงกลบไปทั่วทั้งพระนคร เพราะฉะนั้น เทวดาทั้งหลายจึงปิด

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 129

เสียงร้องของม้านั้น โดยประการที่ใครๆ จะไม่ได้ยิน ด้วยอานุภาพของ คน แล้วเอาฝ่ามือเข้าไปรองรับในวาระที่ม้าก้าวเท้าเหยียบไปๆ. พระโพธิสัตว์เสด็จอยู่ท่ามกลางหลังม้าตัวประเสริฐ ให้นายฉันนะจับหางม้า เสด็จถึงยังที่ใกล้ประตูใหญ่ตอนเที่ยงคืน.

ก็ในกาลนั้น พระราชาทรงให้การทำบานประตูสองบาน แต่ละบาน จะต้องใช้บุรุษหนึ่งพันคนเปิด ด้วยทรงพระดำริว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ บุตรของเราจักไม่อาจเปิดประตูเมืองออกไปได้ ไม่ว่าเวลาไหนๆ. แต่ พระโพธิสัตว์ทรงสมบูรณ์ด้วยพละกำลัง เมื่อเทียบกับช้าง ทรงกำลังเท่า ช้างถึงพันโกฏิเชือก เมื่อเทียบกับบุรุษ ทรงกำลังเท่าบุรุษถึงหมื่นโกฏิ พระองค์จึงทรงดำริว่า ถ้าใครไม่เปิดประตู วันนี้เรานั่งอยู่บนหลังม้า กัณฐกะนี่แหละ จักเอาขาอ่อนหนีบม้ากัณฐกะพร้อมทั้งนายฉันนะผู้ยืนจับ หางอยู่ โดดข้ามกำแพงสูง ๑๘ ศอกไป. ฝ่ายนายฉันนะก็คิดว่า ถ้าประตู ไม่เปิด เราจักให้พระลูกเจ้าผู้เป็นนายของตนประทับนั่งบนคอ เอาแขนขวาโอบรอบท้องม้ากัณฐกะกระทำให้อยู่ในระหว่างรักแร้ โดดข้ามกำแพง ออกไป. ฝ่ายม้ากัณฐกะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด เราจักยกนายของตน ทั้งที่นั่งอยู่บนหลัง พร้อมทั้งนายฉันนะผู้ยืนจับหางอยู่ โดดข้ามกำแพง ออกไป. ถ้าประตูไม่เปิด ชนทั้งสามนั้นคนใดคนหนึ่งพึงทำให้สำเร็จตาม ที่คิดไว้ได้แน่ แต่เทวดาผู้สิงอยู่ที่ประตูเปิดประตูให้.

ในขณะนั้นนั่นเอง มารผู้มีบาปคิดว่า จักให้พระโพธิสัตว์กลับ จึง มายืนอยู่ในอากาศแล้วทูลว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าออกเลย ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป จักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน ท่านจักครอบครองราชสมบัติ ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร จงกลับเถิด ท่านผู้

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 130

นิรทุกข์. พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร? มารตอบว่า เรา เป็นวสวัตดีมาร. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนมาร เรารู้ว่าจักรรัตนะจะ ปรากฏแก่เรา เราไม่มีความต้องการราชสมบัติ เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ทำหมื่นโลกธาตุให้บันลือ. มารกล่าวว่า จำเดิมแต่บัดนี้ไป ในเวลาที่ ท่านคิดถึงกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกก็ตาม เราจักรู้ ดังนี้ คอยหาช่องติดตามไปเหมือนเงาฉะนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไม่ทรงห่วงใยละทิ้งจักรพรรดิราชสมบัติอันอยู่ใน เงื้อมพระหัตถ์ ประหนึ่งทิ้งก้อนเขฬะ เสด็จออกจากพระนครด้วยสักการะ ยิ่งใหญ่ ก็ในวันเพ็ญเดือน ๘ เมื่อนักขัตฤกษ์ในเดือน ๘ หลังกำลัง ดำเนินไปอยู่ พระโพธิสัตว์เสด็จออกไปแล้ว มีพระประสงค์จะแลดูพระนครอีกครั้ง ก็แหละเมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมีความคิดพอเกิดขึ้นอย่างนี้เท่า นั้น มหาปฐพีเหมือนจะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบุรุษ พระองค์ไม่ต้องหัน กลับมาทำการทอดพระเนตรดอก ได้แยกขาออกหมุนกลับให้ ประดุจ วงล้อของนายช่างหม้อ. พระโพธิสัตว์ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปทาง พระนคร ทอดพระเนตรดูพระนครแล้วทรง แสดงเจดีย์สถานที่กลับม้ากัณฐกะ ณ ปฐพีประเทศนั้น แล้วทรงกระทำม้ากัณฐกะให้บ่ายหน้าไปใน ทางที่จะเสด็จ ได้เสด็จไปแล้วด้วยสักการะอันยิ่งใหญ่ ด้วยความงามสง่า อันโอฬาร.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นเทวดาทั้งหลายชูคบเพลิงไปข้างหน้าพระโพธิ- สัตว์นั้นหกหมื่นดวง ข้างหลังหกหมื่นดวง ข้างขวาหกหมื่นดวง และ ข้างซ้ายหกหมื่นดวง. เทวดาอีกพวกหนึ่งชูคบเพลิงหาประมาณมิได้ที่ขอบ ปากจักรวาล. เทวดากับนาคและครุฑเป็นต้นอีกพวกหนึ่ง เดินบูชาด้วย

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 131

ของหอม ดอกไม้ จุณและธูปอันเป็นทิพย์. ท้องฟ้านภาดลได้เนืองแน่น ไปด้วยดอกปาริฉัตรและดอกมณฑารพ เหมือนเนืองแน่นด้วยสายธารน้ำ ในเวลามีเมฆฝนอันหนาทึบ. ทิพยสังคีตทั้งหลายได้บรรเลงแล้ว ดนตรี หกล้านแปดแสนชนิดได้บรรเลงโดยรอบๆ คือด้านหน้าแปดแสนด้านข้าง และด้านหลังด้านละสองล้าน เสียงดนตรีเหล่านั้นย่อมเป็นไป เหมือนเวลา ที่เมฆคำรามในท้องมหาสมุทร และเหมือนเวลาที่สาครมีเสียงกึกก้องใน ท้องภูเขายุคนธร.

พระโพธิสัตว์เสด็จไปด้วยสิริโสภาคย์นี้ ล่วงเลยราชอาณาจักรทั้ง ๓ โดยราตรีเดียวเท่านั้น บรรลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ในที่สุด ๓๐ โยชน์. ถามว่า ก็สามารถไปเกินกว่านั้นได้หรือไม่? ตอบว่า ไม่สามารถ หามิได้ เพราะม้านั้นเที่ยวไปทางชายๆ ขอบท้องจักรวาลหนึ่ง เหมือนเหยียบ ขอบกงของวงล้อที่อยู่ในดุม สามารถจะกลับมาก่อนอาหารเช้าตรู่ แล้ว บริโภคอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน. ก็ในกาลนั้น ม้าต้องดึงร่างที่ทับถม ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ที่เทวดา นาค และครุฑเป็นต้น ยืน โปรยอยู่ในอากาศจนกระทั่งอุรุประเทศขาอ่อน แล้วตะลุยชัฏแห่งของหอม และดอกไม้ไป จึงได้มีความล่าช้ามาก เพราะฉะนั้น จึงไปได้เพียง ๓๐ โยชน์เท่านั้น. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำตรัสถามนาย ฉันนะว่า แม่น้ำนี้ชื่ออะไร? นายฉันนะทูลว่า ชื่ออโนมานที พระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า การบรรพชาของเราจักไม่ทราม จึงเอาส้นพระบาทกระตุ้นให้สัญญาณม้า และม้าก็ได้กระโดดไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นของ แม่น้ำอันกว้าง ๘ อุสภะ.

พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนบนเนินทรายอันเป็น

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 132

เสมือนแผ่นเงิน แล้วตรัสเรียกนายฉันนะมาตรัสว่า นี่แน่ะฉันนะผู้สหาย เธอจงพาเอาอาภรณ์และม้ากัณฐกะของฉันไป ฉันจักบวช. นายฉันนะทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ แม้ข้าพระองค์ก็จักบวช. พระโพธิสัตว์ตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง ว่า เธอยังบวชไม่ได้ เธอจะต้องไป จึงทรงมอบอาภรณ์และม้าให้แล้ว ทรงดำริว่า ผมทั้งหลายของเรานี้ไม่สมควรแก่สมณะ ผู้อื่นที่สมควรจะตัด ผมของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่มี. ลำดับนั้น จึงทรงดำริว่า เราจักเอา พระขรรค์ตัดด้วยตนเองทีเดียวจึงเอาพระหัตถ์ขวาจับพระขรรค์ เอาพระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา (จุก) พร้อมกับพระเมาลี (มวยผม) แล้วจึงตัด พระเกสาเหลือประมาณ ๒ องคุลี เวียนขวาแนบติดพระเศียร. พระเกสา เหล่านั้น ได้มีอยู่ประมาณนั้นเท่านั้น จนตลอดพระชนม์ชีพ. และพระมัสสุ ก็ได้มีพอเหมาะกับพระเกสานั้น. ชื่อว่ากิจในการปลงพระเกศาและพระมัสสุ ไม่มีอีกต่อไป. พระโพธิสัตว์ถือพระจุฬากับพระเมาลีแล้วทรง อธิษฐานว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระสัมพุทธเจ้า จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าจักไม่ ได้เป็น จงตกลงบนแผ่นดิน แล้วทรงโยนขึ้นไปในอากาศ พระจุฬานั้น ลอยขึ้นไปถึงที่มีประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วได้ตั้งอยู่ในอากาศ. ท้าวสักกะ เทวราชทรงตรวจดูด้วยทิพยจักษุ แล้วทรงเอาผอบแก้วมีประมาณโยชน์ หนึ่งรับไว้ ให้ประดิษฐานไว้ในเจดีย์ชื่อว่า จุฬามณีเจดีย์ ในดาวดึงส์ พิภพ.

พระศากยะผู้ประเสริฐ ได้ตัดพระเมาลีอันอบด้วยกลิ่นหอมอันประเสริฐ แล้วโยนขึ้นไปยังเวหาส ท้าววาสวะผู้มี พระเนตรตั้งพัน เอาผอบแก้วอันประเสริฐทูนพระเศียรรับไว้ แล.

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 133

พระโพธิสัตว์ทรงดำริสืบไปว่า ผ้ากาสิกพัสตร์เหล่านี้ไม่สมควรแก่ สมณะสำหรับเรา. ครั้งนั้น ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นสหายเก่าของพระโพธิ- สัตว์ ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า มีความเป็นมิตรยังไม่เสื่อมคลายตลอด พุทธันดรหนึ่ง คิดว่า วันนี้ สหายเราออกมหาภิเนษกรมณ์ เราจักถือเอา สมณบริขารของสหายเรานั้นไป จึงนำเอาบริขาร ๘ เหล่านี้มาถวายคือ

บริขารเหล่านี้ คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคด เป็น ๘ กับผ้ากรองน้ำ ย่อมสมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความ เพียร.

พระโพธิสัตว์นุ่งห่มธงชัยของพระอรหันต์ ทรงถือเพศบรรพชิตอัน อุดม แล้วตรัสว่า ฉันนะ เธอจงกราบทูลถึงความสบายไม่ป่วยไข้แก่พระชนกและพระชนนีตามคำของเรา ดังนี้แล้วทรงส่งไป. นายฉันนะถวาย บังคมพระโพธิสัตว์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนม้ากัณฐกะได้ยิน พระดำรัสของพระโพธิสัตว์ผู้ตรัสอยู่กับนายฉันนะ คิดว่า บัดนี้เราจะไม่ ได้เห็นนายของเราอีกต่อไป เมื่อละคลองจักษุไป ไม่อาจอดกลั้นความโศก ไว้ได้ มีหทัยแตกตายไป บังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกัณฐกะ ในภพดาวดึงส์. ครั้งแรก นายฉันนะได้มีความโศกเพียงอย่างเดียว แต่เพราะม้ากัณฐกะ ตายไปถูกความโศกครั้งทีสองบีบคั้น จึงได้ร้องไห้ร่ำไรไปยังพระนคร.

พระโพธิสัตว์ครั้นบวชแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ในอนุปิยอัมพวันซึ่งมีอยู่ ในประเทศนั้น ๗ วัน ด้วยความสุขอันเกิดจากบรรพชา แล้วเสด็จดำเนิน ด้วยพระบาทสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ โดยวันเดียวเท่านั้น ได้เสด็จเข้าไปยัง กรุงราชคฤห์. ก็ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ก็เสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ ตรอก. พระนครทั้งสิ้นได้ถึงความตื่นเต้น เพราะได้เห็นพระรูปโฉมของ

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 134

พระโพธิสัตว์เท่านั้น เหมือนกรุงราชคฤห์ ตื่นเต้นในเมื่อช้างธนปาลกะ เข้าไป และเหมือนเทพนครตื่นเต้นในเมื่ออสุรินทราหูเข้าไป. ราชบุรุษ ทั้งหลายไปกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุคคลชื่อเห็นปานนี้ เที่ยว บิณฑบาตในพระนคร ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบเกล้าว่า ผู้นี้ชื่ออะไร จะเป็นเทพหรือมนุษย์ นาคหรือครุฑ. พระราชาประทับยืนที่พื้นปราสาท ได้ทรงเห็นพระมหาบุรุษ อัศจรรย์พระหฤทัยไม่เคยเป็น ทรงสั่งพวก ราชบุรุษว่า นี่แน่ะพนาย พวกท่านจงไปพิจารณาดู ถ้าจักไม่ใช่มนุษย์ เขาจักออกจากพระนครหายไป ถ้าจักเป็นเทวดา เขาจักไปทางอากาศ ถ้าจักเป็นนาค เขาจักดำดินไป ถ้าจักเป็นมนุษย์เขาจักบริโภคภิกษาหาร ตามที่ได้.

ฝ่ายพระมหาบุรุษรวบรวมภัตอันสำรวมกัน รู้ว่า ภัตมีประมาณ เท่านี้ เพียงพอแก่เรา เพื่อที่จะยังอัตภาพให้เป็นไป จึงเสด็จออกจาก พระนครทางประตูที่เสด็จเข้ามานั้นแหละ บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ประทับนั่งใต้ร่มเงาแห่งภูเขา ปัณฑวะ เริ่มเสวยพระกระยาหาร. ลำดับนั้น พระอันตะไส้ใหญ่ของพระมหาบุรุษนั้น ได้ถึงอาการจะกลับ ออกทางพระโอษฐ์ ลำดับนั้นพระองค์แม้จะทรงอึดอัดด้วยอาหารอันปฏิกูล นั้น เพราะด้วยทั้งพระอัตภาพนั้น ไม่ทรงเคยเห็นอาหารนั้นแม้ด้วยพระจักษุ จึงทรงโอวาทคนด้วยพระองค์เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสิทธัตถะ เธอ แม้เกิดในสถานที่ที่บริโภคโภชนะแห่งข้าวสาลีหอมเก็บไว้ ๓ ปี มีรสเลิศ ต่างๆ ในตระกูลที่หาข้าวและน้ำได้ง่าย ได้เห็นท่านผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็น วัตรรูปหนึ่งจึงคิดว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็จะเป็นผู้เห็นปานนี้ เที่ยว บิณฑบาตบริโภค กาลนั้นจักมีแก่เราไหมหนอ ดังนี้จึงออกบวช บัดนี้

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 135

เธอจะกระทำข้อที่คิดไว้นั่นอย่างไร ครั้นทรงโอวาทพระองค์อย่างนี้แล้ว ไม่มีพระอาการอันผิดแผกเสวยพระกระยาหาร.

ราชบุรุษทั้งหลายเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงสดับคำของทูตแล้ว จึงรีบเสด็จออกจากพระนคร เสด็จไป ยังสำนักของพระโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใสเฉพาะในพระอิริยาบถ จึงทรงยก ความเป็นใหญ่ทั้งปวงให้แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยวัตถุกามหรือกิเลสกาม อาตมภาพ ปรารถนาพระอภิสัมโพธิญาณอันยอดยิ่ง จึงออกบวช. พระราชาแม้จะ ทรงอ้อนวอนเป็นอเนกประการ ก็ไม่ทรงได้น้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์ จึงถือเอาปฏิญญาว่า พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว ก็พระองค์ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พึงเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อน. นี้เป็น ความสังเขปในที่นี้ ส่วนความพิสดารพึงตรวจดูปัพพัชชาสูตร๑นี้ว่า เรา จักสรรเสริญการบวช เหมือนท่านผู้มีจักษุบวชแล้ว ดังนี้ พร้อมทั้ง อรรถกถาแล้วพึงทราบเถิด.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงให้ปฏิญญาแก่พระราชาแล้ว เสด็จเที่ยวจาริกไป โดยลำดับ เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ทำสมาบัติให้เกิดแล้ว คิดว่า นี้ไม่ใช่ทางเพื่อการตรัสรู้ จึงยังไม่พอ พระทัยสมาบัติภาวนาแม้นั้น เพื่อจะทรงแสดงเรี่ยวแรงและความเพียร ของพระองค์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก จึงมีพระประสงค์จะเริ่มตั้งความ เพียรใหญ่ จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ทรงพระดำริว่า ภูมิภาคนี้น่า รื่นรมย์จริงหนอ จึงเสด็จเข้าอย่ในอุรุเวลาประเทศนั้น เริ่มตั้งมหาปธาน


๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๕๔.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 136

ความเพียรใหญ่ พระปัญจวัคคีย์มีพระโกณฑัญญะเป็นประธานแม้เหล่านั้น เที่ยวไปเพื่อภิกษาหารในคามนิคมและราชธานีทั้งหลาย ได้ไปประจวบ กับพระโพธิสัตว์ ณ ตำบลอุรุเวลาประเทศนั้น. ลำดับนั้น พระปัญจ- วัคคีย์เหล่านั้นได้อยู่ในสำนักคอยดูอุปัฏฐากพระโพธิสัตว์ ผู้เริ่มตั้งมหาปธานความเพียรตลอด ๖ พรรษา ด้วยวัตรปฏิบัติมีการกวาดบริเวณ เป็นต้น ด้วยหวังใจว่า เดี๋ยวจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เดี๋ยวจักได้เป็น พระพุทธเจ้า. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจักทำทุกรกิริยาให้ถึงที่สุด จึงทรงยับยั้งอยู่ด้วยข้าวสารเมล็ดงาหนึ่งเป็นต้น ได้ทรงกระทำการตัด อาหารแม้โดยประการทั้งปวง. ฝ่ายเทวดาทั้งหลายก็นำเอาโอชะทั้งหลาย เข้าไปแทรกทางขุมขน.

ลำดับนั้น พระวรกายของพระโพธิสัตว์นั้น แม้จะมีวรรณะดังสีทอง ก็ได้มีวรรณะคำคล้ำไป เพราะไม่มีพระกระยาหาร และเพราะได้รับความ กะปลกกะเปลี้ยอย่างยิ่ง พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการก็มิได้ปรากฏ ออกมา. บางคราวเมื่อทรงเพ่งอานาปานกฌาน คือลมหายใจเข้าออก ถูกเวทนาใหญ่ครอบงำ ถึงกับสลบล้มลงในที่สุดที่จงกรม. ลำดับนั้น เทวดาบางพวกกล่าวถึงพระโพธิสัตว์นั้นว่า พระสมณโคดมทำกาลกิริยา แล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวว่า นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอรหันต์ เท่านั้น. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาผู้มีความสำคัญว่า พระสมณโคดม ทำกาลกิริยาแล้ว ได้ไปกราบทูลแก่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า พระราชโอรสของพระองค์สวรรคตแล้ว. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชตรัสว่า บุตร ของเรายังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า จะยังไม่ตาย. เทวดาเหล่านั้นกราบทูล ว่า พระโอรสของพระองค์ไม่อาจเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงล้มที่พื้น

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 137

บำเพ็ญเพียรอยู่สวรรคตแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสห้ามว่า เราไม่เชื่อ บุตรของเรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณ จะไม่ทำกาลกิริยา. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระราชาจึงไม่ทรงเชื่อ ตอบว่า เพราะได้ทรง เห็นปาฏิหาริย์ในวันที่ให้ไหว้พระกาลเทวิลดาบส และที่โคนต้นหว้า.

เมื่อพระโพธิสัตว์กลับได้สัญญาเสด็จลุกขึ้น เทวดาเหล่านั้นได้ไป กราบทูลแก่พระราชาอีกว่า ข้าแต่มหาราช โอรสของพระองค์ไม่มีพระโรคแล้ว. พระราชาตรัสว่า เรารู้ว่าบุตรของเราไม่ตาย. เมื่อพระมหาสัตว์ ทรงทำทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา กาลเวลาได้เป็นเหมือนขอดปมไว้ใน อากาศ. พระมหาสัตว์นั้นทรงดำริว่า ชื่อว่าการทำทุกรกิริยานี้ ย่อมไม่ เป็นทางเพื่อที่จะตรัสรู้ จึงเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาทในคามและนิคม เพื่อ จะนำอาหารหยาบมาแล้วเสวยพระกระยาหาร. ครั้งนั้น มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของพระมหาสัตว์ก็ได้กลับเป็นปกติ. แม้พระกายก็มีวรรณดุจ ทองคำ. ภิกษุปัญจวัคคีย์พากันคิดว่า พระมหาบุรุษนี้แม้ทรงทำทุกรกิริยา อยู่ถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ บัดนี้เที่ยวบิณฑบาตใน คามนิคมเป็นต้น นำอาหารหยาบมา จักอาจตรัสรู้ได้อย่างไร พระมหาบุรุษนี้คลายความเพียร เวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว การที่พวกเราคิด คาดคะเนเอาคุณวิเศษจากสำนักของพระมหาบุรุษนี้ เหมือนคนผู้ประสงค์ จะสนานศีรษะคิดคะเนเอาหยาดน้ำค้างฉะนั้น พวกเราจะประโยชน์อะไร ด้วยพระมหาบุรุษนี้ จึงพากันละพระมหาบุรุษ ถือบาตรและจีวรของตนๆ เดินทางไป ๑๘ โยชน์ เข้าไปยังป่าอิสิปตนะ.

ก็สมัยนั้นแล ทาริกาชื่อว่า สุชาดา ผู้เกิดในเรือนของเสนานิกุฎุมพี ในตำบล อุรุเวลาเสนานิคม เจริญวัยแล้วได้การทำความปรารถนาที่ต้น

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 138

ไทรต้นหนึ่งว่า ถ้าข้าพเจ้าไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกัน ได้บุตรชายใน ครรภ์แรกไซร้ ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่าน ทุกปีๆ. ความปรารถนานั้นของนางสำเร็จแล้ว นางมีความประสงค์จะ ทำพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน ๖ เมื่อครบปีที่ ๖ แห่งพระมหาสัตว์ผู้ทรง ทำทุกรกิริยามา และก่อนหน้านั้นแหละ ได้ปล่อยแม่โคนมพันตัวให้เที่ยว ไปในป่าชะเอม ให้แม่โคนม ๕๐๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑,๐๐๐ ตัว นั้น แล้วให้แม่โคนม ๒๕๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๕๐๐ ตัวนั้น รวมความว่า นางต้องการความข้นความหวาน และความมีโอชะของน้ำนม จึงได้กระทำการหมุนเวียนไป จนกระทั่งแม่โคนม ๘ ตัวดื่มน้ำนมของแม่ โคนม ๑๖ ตัว ด้วยประการฉะนี้. ในวันเพ็ญเดือน ๖ นางคิดว่า จักทำ พลีกรรมตั้งแต่เช้าตรู่ จึงลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งของราตรี แล้วให้รีดนม แม่โคนม ๘ ตัวนั้น ลูกโคทั้งหลายยังไม่ทันมาใกล้เต้านมของแม่โคนม แต่เมื่อพอนำภาชนะใหม่เข้าไปที่ใกล้เต้านม ธารน้ำนมก็ไหลออกโดย ธรรมดาของคน. นางสุชาดาเห็นความอัศจรรย์ดังนั้น จึงตักน้ำนมด้วย มือของตนเองใส่ลงในภาชนะใหม่ แล้วรีบก่อไฟด้วยมือของตนเอง

เมื่อนางกำลังหุงข้าวปายาสนั้นอยู่ ฟองใหญ่ๆ ผุดขึ้นไหลวนเป็น ทักษิณาวัฏ น้ำมันแม้จะแตกออกสักหยาดเดียว ก็ไม่กระเด็นออกไปข้าง นอก ควันไฟแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ตั้งขึ้นจากเตาไฟ. สมัยนั้น ท้าวจตุโลกบาลมาถือการอารักขาที่เตาไฟ ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกะ ทรงนำดุ้นฟืนมาใส่ไฟให้ลุกโพลงอยู่ เทวดาทั้งหลายรวบรวมเอาโอชะที่ สำเร็จแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพัน เป็นบริวารมาใส่ลงในข้าวปายาสนั้น ด้วยเทวานุภาพของตนๆ เสมือน

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 139

คั้นรวงผึ้งซึ่งคิดอยู่ที่ท่อนไม้ถือเอาแต่น้ำหวานฉะนั้น. จริงอยู่ ในเวลา อื่นๆ เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในทุกๆ คำข้าว แต่ในวันบรรลุพระสัมโพธิญาณ และวันปรินิพพาน ใส่ลงในหม้อเลยทีเดียว. นางสุชาดา ได้เห็นความอัศจรรย์มิใช่น้อย ซึ่งปรากฏแก่ตน ณ ที่นั้น ในวันเดียว เท่านั้น จึงเรียกนางปุณณาทาสีมาพูดว่า นี่แน่ะแม่ปุณณา วันนี้เทวดา ของพวกเราน่าเลื่อมใสยิ่งนัก เพราะว่าเราไม่เคยเห็นความอัศจรรย์เห็น ปานนี้ ในเวลามีประมาณเท่านี้ เธอจงรีบไปปัดกวาดเทวสถานโดยเร็ว. นางปุณณาทาสีรับคำของนางแล้วรีบด่วนไปยังโคนไม้.

ในตอนกลางคืนวันนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเห็นมหาสุบิน ๕ ประการ เมื่อทรงใคร่ครวญดู จึงทรงกระทำสันนิษฐานว่า วันนี้ เราจัก ได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป จึงทรง กระทำการปฏิบัติพระสรีระ ทรงคอยเวลาภิกขาจาร พอเช้าตรู่ จึงเสด็จ มาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ยังโคนไม้ทั้งสิ้นให้สว่างไสวด้วยพระรัศมีของ พระองค์. ลำดับนั้น นางปุณณาทาสีนั้นนาได้เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่ง ที่โคนไม้ มองดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออกอยู่. และต้นไม้ทั้งสิ้นมีวรรณ ดุจทองคำ เพราะพระรัศมีอันซ่านออกจากพระสรีระของพระองค์. นางปุณณาทาสีนั้นได้เห็นแล้วจึงมีความคิดดังนี้ว่า วันนี้ เทวดาของเราเห็นจะ ลงจากต้นไม้มานั่งเพื่อคอยรับพลีกรรมด้วยมือของตนเอง จึงเป็นผู้มีความ ตื่นเต้น รีบมาบอกเนื้อความนั้นแก่นางสุชาดา.

นางสุชาดาได้ฟังคำของนางปุณณาทาสีนั้นแล้วมีใจยินดีพูดว่า ตั้งแต่ วันนี้ไป เจ้าจงตั้งอยู่ในฐานะเป็นธิดาคนโตของเรา แล้วได้ให้เครื่อง อลังการทั้งปวงอันสมควรแก่ธิดา. ก็เพราะเหตุที่ในวันจะได้บรรลุความ

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 140

เป็นพระพุทธเจ้า ควรจะได้ถาดทองใบหนึ่งซึ่งมีราคาหนึ่งแสน ฉะนั้น นางสุชาดานั้นจึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักใส่ข้าวปายาสในถาดทอง นางมีความประสงค์จะให้นำถาดทองราคาหนึ่งแสนมาเพื่อใส่ข้าวปายาสใน ถาดทองนั้น จึงรำพึงถึงโภชนะที่สุกแล้ว ข้าวปายาสทั้งหมดได้กลิ้งมาตั้ง อยู่เฉพาะในถาด เหมือนน้ำกลิ้งมาจากใบปทุมฉะนั้น ข้าวปายาสนั้นได้มี ปริมาณเต็มถาดหนึ่งพอดี นางจึงเอาถาดใบอื่นครอบถาดใบนั้นแล้วเอา ผ้าขาวพันห่อไว้ ส่วนตนประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง เสร็จแล้ว ทูนถาดนั้นบนศีรษะของคนไปยังโคนต้นไทรด้วยอานุภาพใหญ่ เห็นพระโพธิสัตว์แล้วเกิดความโสมนัสเป็นกำลัง สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา จึงโน้มตัวเดินไปตั้งแต่ที่ที่ได้เห็น ปลงถาดลงจากศีรษะแล้วเปิด (ผ้าคลุม) ออก เอาสุวรรณภิงคาร คนโทน้ำทองคำ ตักน้ำที่อบด้วยดอกไม้หอม แล้วได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ยืนอยู่. บาตรดินที่ฆฏิการมหาพรหมถวาย ไม่ได้ห่างพระโพธิสัตว์มาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ขณะนั้นได้หายไป พระโพธิสัตว์ไม่ทรงเห็นบาตร จึงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกรับน้ำ นางสุชาดาจึงวางข้าวปายาสพร้อมทั้งถาดลงบนพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษๆ ทรงแลดูนางสุชาดาๆ กำหนดพระอาการได้ทูลว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันบริจาคแก่ท่านแล้ว ท่านจงถือเอาถาดนั้นไปกระทำตามความชอบใจ เถิด ถวายบังคมแล้วทูลว่า มโนรถของดิฉันสำเร็จแล้ว ฉันใด แม้ มโนรถของท่านก็จงสำเร็จ ฉันนั้น นางบริจาคถาดทองซึ่งมีราคาตั้งหนึ่ง แสน เหมือนบริจาคใบไม้เก่าไม่เสียดายเลย แล้วหลีกไป

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับนั่ง ทรงทำประทักษิณ ต้นไม้ แล้วทรงถือถาดเสด็จไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในวันที่พระโพธิ-

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 141

สัตว์หลายแสนพระองค์จะตรัสรู้ มีท่าเป็นที่เสด็จลงสรงสนานชื่อว่า สุปติฏ- ฐิตะ จึงทรงวางถาดที่ฝั่งแห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น แล้วเสด็จลงสรงสนาน ที่ท่าชื่อว่าสุปติฏฐิตะ แล้วทรงนุ่งห่มธงชัยของพระอรหันต์อันเป็นเครื่อง นุ่งห่มของพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ประทับนั่งบ่ายพระพักตร์ไป ทางทิศตะวันออก เสวยข้าวมธุปายาสน้ำน้อยทั้งหมด ที่ทรงกระทำให้เป็น ปั้น ๔๙ ปั้น ปั้นหนึ่งมีประมาณเท่าจาวตาลสุก ข้าวมธุปายาสนั้นแล ได้เป็นพระกระยาหารอยู่ได้ ๔๙ วัน สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วประทับอยู่ที่โพธิมัณฑ์ตลอด ๗ สัปดาห์. ตลอดกาลมีประมาณ เท่านี้ ไม่มีพระกระยาหารอย่างอื่น ไม่มีการสรงสนาน ไม่มีการชำระ พระโอษฐ์ ไม่มีการถ่ายพระบังคนหนัก ทรงยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน และความสุขในผลสมาบัติ. ก็ครั้นเสวยข้าวมธุปายาสนั้นแล้ว ทรงถือถาด ทองตรัสว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ ถาดนี้จงทวนกระแส น้ำไป ถ้าจักไม่ได้เป็น จงลอยไปตามกระแสน้ำ ครั้นตรัสแล้วทรงลอย ไปในกระแสแม่น้ำ.

ถาดนั้นกระแสน้ำไปถึงกลางแม่น้ำ ตรงสถานที่กลางแม่น้ำ นั่นแหละ ได้ทวนกระแสน้ำไปสิ้นที่ประมาณ ๘๐ ศอก เสมือนม้าตัวที่ สมบูรณ์ด้วยความเร็วฉะนั้น แล้วจมลง ณ ที่นำวนแห่งหนึ่งไปถึงภพของ พญากาฬนาคราช กระทบถาดเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ ส่งเสียงดังกริ๊กๆ แล้วได้รองอยู่ใต้ถาดเหล่านั้น. พญากาฬ- นาคราชได้ยินเสียงนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า เมื่อวาน พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น องค์หนึ่ง วันนี้ บังเกิดขึ้นอีกหนึ่งองค์ แล้วลุกขึ้นกล่าวสรรเสริญด้วย บทหลายร้อยบท. ได้ยินว่า เวลาที่แผ่นดินใหญ่งอกขึ้นเต็มท้องฟ้า

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 142

ประมาณ ๑ โยชน์ ๓ คาวุต ได้เป็นเสมือนวันนี้หรือวันพรุ่งนี้ สำหรับ พญากาฬนาคราชนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงพักผ่อนกลางวันอยู่ในสาลวันอันมีดอกบาน สะพรั่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ครั้นเวลาเย็น ในเวลาดอกไม้ทั้งหลายหล่นจาก ขั้ว จึงเสด็จบ่ายพระพักตร์ไปทางต้นโพธิ์ ตามหนทางกว้าง ๘ อุสภะ ที่เทวดาทั้งหลายประดับประดาไว้ เหมือนราชสีห์เยื้องกรายฉะนั้น. พวก นาค ยักษ์ และครุฑ เป็นต้น บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น อันเป็นทิพย์ บรรเลงสังคีตทิพย์เป็นต้น หมื่นโลกธาตุได้มีกลิ่นหอมเป็น อันเดียวกัน มีดอกไม้เป็นอันเดียวกัน และมีเสียงสาธุการเป็นอย่าง เดียวกัน.

สมัยนั้น คนหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ หาบหญ้าเดินสวนทางมา รู้ อาการของพระมหาบุรุษ จึงได้ถวายหญ้า ๘ กำมือ. พระโพธิสัตว์ทรงถือ หญ้าเสด็จขึ้นยังโพธิมัณฑ์ ประทับยืนอยู่ ณ ด้านทิศใต้ บ่ายพระพักตร์ไป ทางทิศเหนือ ขณะนั้น จักรวาลด้านทิศใต้ได้จมลงเป็นเสมือนจรดถึง อเวจีเบื้องล่าง จักรวาลด้านทิศเหนือได้ลอยขึ้นเสมือนจรดถึงภวัคคพรหม เบื้องบน. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า สถานที่นี้เห็นจักไม่เป็นสถานที่ที่จะ ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงทรงทำประทักษิณ แล้วเสด็จไปยังด้านทิศ ตะวันตก ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปยังทิศตะวันออก ลำดับนั้น จักรวาลด้านตะวันตกจมลงเป็นเสมือนจรดถึงอเวจีเบื้องล่าง จักรวาลด้าน ตะวันออกได้ลอยขึ้นเป็นเสมือนจรดถึงภวัคคพรหมเบื้องบน. ได้ยินว่า ใน ที่ที่พระโพธิสัตว์นั้นประทับยืนแล้วๆ มหาปฐพีได้ยุบลงและนูนขึ้น เหมือนวงล้อของเกวียนใหญ่ซึ่งสอดใส่อยู่ในดุม ถูกเหยียบที่ชายขอบของกง

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 143

ฉะนั้น. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า แม้สถานที่นี้ ก็เห็นจักไม่เป็นสถานที่ ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงทรงทำประทักษิณ แล้วเสด็จไปยังด้านทิศ. เหนือ ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศใต้. ลำดับนั้น จักรวาลด้าน ทิศเหนือได้ทรุดลงเป็นประหนึ่งจรดถึงอเวจีเบื้องล่าง จักรวาลด้านทิศใต้ได้ ลอยขึ้นเป็นเสมือนจรดถึงภวัคคพรหมเบื้องบน. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า แม้สถานที่นี้ ก็เห็นจักไม่เป็นสถานที่ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงทรง กระทำประทักษิณ เสด็จไปยังด้านทิศตะวันออกประทับยืนบ่ายพระพักตร์ ไปด้านทิศตะวันตก. ก็ในด้านทิศตะวันออก ได้มีสถานที่ตั้งบัลลังก์ของ พระพุทธเจ้าทั้งปวง สถานที่นั้นจึงไม่หวั่นไหวไม่สั่นสะเทือน. พระโพธิ- สัตว์ทรงทราบว่า สถานทีนี้อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่ทรงละ เป็นสถานที่ ไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่กำจัดกรงคือกิเลส จึงทรงจับปลายหญ้าเหล่านั้น เขย่า. ทันใดนั้นเอง ได้มีบัลลังก์สูง ๑๔ ศอก หญ้าแม้เหล่านั้นก็ตั้งอยู่ โดยสัณฐาน เห็นปานที่ช่างเขียนหรือช่างโบกฉาบผู้ฉลาดยิ่งก็ไม่สามารถจะ เขียนหรือโบกฉาบได้. พระโพธิสัตว์ทรงกระทำลำต้นโพธิ์ไว้เบื้องปฤษ- ฎางค์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงมีพระมนัสมั่นคง ทรง นั่งคู้อปราชิตบัลลังก์ ซึ่งแม้ฟ้าจะผ่าลงมาถึงร้อยครั้งก็ไม่แตกทำลาย โดย ทรงอธิษฐานว่า

เนื้อและเลือดในสรีระจะแห้งเหือดไปหมดสิ้น จะเหลือ แต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามที เรายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้.

สมัยนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า สิทธัตถกุมารต้องการจะล่วงพ้นอำนาจ ของเรา บัดนี้ เราจักไม่ให้สิทธัตถกุมารนั้นล่วงพ้นไปได้ จึงไปยังสำนัก

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 144

ของพลมาร บอกเนื้อความนั้นแล้ว ให้ทำการประกาศชื่อมารโฆษณา แล้วพาพลมารออกไป. เสนามารนั้นได้มีอยู่ข้างหน้าของมาร ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและข้างซ้ายข้างละ ๑๒ โยชน์ ข้างหลังตั้งอยู่จรดชายขอบเขต จักรวาลสูงขึ้นเบื้องบน ๙ โยชน์ซึ่งเมื่อโห่ร้อง เสียงโห่ร้องจะได้ยินเหมือน เสียงแผ่นดินทรุดตั้งแต่พันโยชน์ไป. ครั้งนั้น เทวบุตรมารขี่ช้างคิริเมขล์ สูงร้อยห้าสิบโยชน์ นิรมิตแขนหนึ่งพันถืออาวุธนานาชนิด บริษัทมาร แม้ที่เหลือ ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะเป็นเหมือนคนเดียวกันถืออาวุธอย่าง เดียวกันหามีไม่ ต่างมีรูปร่างต่างๆ กัน มีหน้าคนละอย่างกัน ถืออาวุธ ต่างชนิดกัน พากันมาจู่โจมพระโพธิสัตว์.

ส่วนเทวดาในหมื่นจักรวาลกำลังยืนกล่าวสดุดีพระมหาสัตว์อยู่. ท้าว สักกเทวราชยืนเป่าสังข์วิชยุตร ได้ยินว่าสังข์นั้นมีขนาดประมาณ ๑๒๐ ศอก เมื่อเป่าให้กินลมไว้คราวเดียว จะมีเสียงอยู่ตลอด ๔ เดือน ไม่หมดเสียง พญามหากาฬนาค ยืนพรรณนาพระคุณเท่านั้นเกินกว่าร้อยบาท ท้าวมหาพรหมยืนกั้นเศวตฉัตร. ก็เมื่อพลมารเข้าไปใกล้โพธิมัณฑ์ บรรดา เทพเหล่านั้นแม้องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ต่างพากันหนีหน้าไป จากที่ที่อยู่ตรงหน้าๆ แม้พญากาฬนาคราชก็ดำดินไปมัญเชริกนาคพิภพ ซึ่งมีขนาด ๕๐๐ โยชน์ นอนเอามือทั้งสองปิดหน้า แม้ท้าวสักกเทวราช ก็ลากสังข์วิชยุตรไปยืนที่ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหมจับยอดเศวตฉัตรเสด็จไปยังพรหมโลกทันที. แม้เทวดาองค์หนึ่งชื่อว่าผู้สามารถยืนอยู่ มิได้มีเลย แต่พระมหาบุรุษพระองค์เดียวเท่านั้นประทับอยู่.

ฝ่ายมารกล่าวกะบริษัทของตนว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย ชื่อว่าบุรุษ

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 145

อื่นผู้จะเสมอเหมือนพระสิทธัตถะโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ย่อมไม่มี พวกเราจักไม่อาจทำการรบต่อหน้า พวกเราจักทำการรบทางด้านหลัง.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงมองทั้งสามด้านได้เห็นแต่ความว่างเปล่า เพราะ เทวดาทั้งปวงพากันหนีไปหมด. พระองค์ทรงเห็นพลมารจู่โจมเข้ามาทาง ด้านเหนืออีก จึงทรงดำริว่า ชนมีประมาณเท่านี้กระทำความพากเพียร ใหญ่โต เพราะมุ่งหมายเอาเราผู้เดียว ในที่นี้เราไม่มีบิดา มารดา พี่น้อง หรือญาติไรๆ อื่น แต่บารมี ๑๐ นี้เท่านั้น เป็นเสมือนบริวารชนที่เรา ชุบเลี้ยงไว้ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น เราควรทำบารมีเท่านั้นให้เป็น ยอดของหมู่พล เอาศาสตราคือบารมีนั่นแหละประหาร กำจัดหมู่พลนี้ เสีย ดังนี้แล้ว จึงทรงนั่งรำพึงถึงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ.

ลำดับนั้น เทวบุตรมารคิดว่า จักบันดาลให้พระสิทธัตถกุมารหนีไป เฉพาะด้วยลม จึงบันดาลมณฑลของลมให้ตั้งขึ้น. ขณะนั้นเอง ลมทั้งหลาย อันต่างด้วยลมด้านทิศตะวันออกเป็นต้นก็ตั้งขึ้นมา แม้สามารถจะทำลาย ยอดภูเขาซึ่งมีประมาณกึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์ สองโยชน์ สามโยชน์ กระทำป่า กอไม้ และต้นไม้เป็นต้นให้มีรากขึ้นข้างบน แล้วทำคามนิคม รอบๆ ให้ละเอียดเป็นจุณวิจุณ แต่มีอานุภาพถูกเดชแห่งบุญของพระมหาบุรุษกำจัดเสียแล้ว พอมาถึงพระโพธิสัตว์ก็ไม่สามารถที่จะทำแม้มาตร ว่าชายจีวรของพระโพธิสัตว์ให้ไหวได้.

ลำดับนั้น เทวบุตรมารจึงคิดว่า จักเอาน้ำมาท่วมทำพระสิทธัตถะ ให้ตาย จึงบันดาลฝนห่าใหญ่ให้ตั้งขึ้น, ด้วยอานุภาพของเทวบุตรมารนั้น เมฆฝนอันมีร้อยหลืบพันหลืบเป็นต้นเป็นประเภทตั้งขึ้นซ้อนๆ กัน แล้ว ตกลงมา. ด้วยกำลังแห่งสายธารของน้ำฝน แผ่นดินได้เป็นช่องน้อยช่อง

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 146

ใหญ่. มหาเมฆที่ลอยมาทางส่วนเบื้องบนของป่าและต้นไม้เป็นต้น ไม่ อาจให้น้ำแม้เท่าก้อนหยาดน้ำค้างเปียกที่จีวรของพระมหาสัตว์. ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนหินให้ตั้งขึ้น ยอดภูเขายอดใหญ่ๆ คุ กรุ่นเป็นควันไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ก็กลาย เป็นกลุ่มดอกไม้ทิพย์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนเครื่องประหารให้ตั้งขึ้น เครื่องประหาร มีดาบ หอก และลูกศร เป็นต้น มีคมข้างเดียว มีคมสองข้าง คุเป็น ควันไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ก็กลายเป็น ดอกไม้ทิพย์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนถ่านเพลิงให้ตั้งขึ้น ถ่านเพลิงทั้งหลาย มีสีดังดอกทองกวาว ลอยมาทางอากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ก็กลายเป็น ดอกไม้ทิพย์ โปรยปรายลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนเถ้ารึงให้ตั้งขึ้น เถ้ารึงมีสีดังไฟร้อน อย่างยิ่ง ลอยมาทางอากาศก็กลายเป็นจุณของจันทน์ตกลงแทบบาทมูล ของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนทรายให้ตั้งขึ้น ทรายทั้งหลายละเอียด ยิบ คุเป็นควัน ไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ ตกลงแทบบาทมูลของพระมหาสัตว์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนเปือกตมให้ตั้งขึ้น เปือกตมนั้นคุเป็น ควันไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ ก็กลายเป็นเครื่องลูบไล้อันเป็นทิพย์ ตกลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น เทวบุตรมารได้บันดาลความมืดให้ตั้งขึ้น ด้วยคิดว่า

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 147

เราจักทำให้พระสิทธัตถะกลัวด้วยความมืดนี้แล้วหนีไป. ความมืดนั้นเป็น ความมืดตื้อ เหมือนความมืดอันประกอบด้วยองค์ ๔ (คือแรม ๑๔ ค่ำ ป่าชัฏ เมฆทึบ และเที่ยงคืน) พอถึงพระโพธิสัตว์ก็อันตรธานหายไป เหมือนความมืดที่ถูกกำจัดด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์ฉะนั้น.

มารนั้นเมื่อไม่สามารถทำให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยลม ฝน ห่าฝนหิน ห่าฝนเครื่องประหาร ห่าฝนถ่านเพลิง ห่าฝนเถ้ารึง ห่าฝนทราย ห่าฝนเปือกตม และห่าฝนคือความมืด ทั้ง ๙ ประการนี้ ด้วยประการ อย่างนี้ได้ จึงสั่งบริษัทของตนว่า พนาย พวกท่านจะหยุดอยู่ทำไม จง จับพระสิทธัตถะกุมารนี้ จงฆ่า จงให้หนีไป แม้ตนเองก็นั่งอยู่บนคอช้าง คิริเมขล์ ถือจักราวุธเข้าไปใกล้พระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า สิทธัตถะ ท่าน จงลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ บัลลังก์นี้ไม่ถึงแก่ท่าน บัลลังก์นี้ถึงแก่เรา. พระมหาสัตว์ได้ฟังคำของมารนั้นแล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนมาร ท่านไม่ได้บำเพ็ญ บารมี ๑๐ ทัศ ไม่ได้บำเพ็ญอุปบารมี ๑๐ ไม่ได้บำเพ็ญปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ ก็ไม่ได้บำเพ็ญ ท่านไม่ได้บำเพ็ญญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา พุทธัตถจริยา ทั้งหมดนั้น เราเท่านั้นบำเพ็ญมาแล้ว เพราะฉะนั้น บัลลังก์นี้จึงไม่ถึงแก่ท่าน บัลลังก์นี้ถึงแก่เราเท่านั้น.

มารโกรธ อดกลั้นกำลังของความโกรธไว้ไม่ได้ จึงขว้างจักราวุธ ใส่พระมหาบุรุษ จักราวุธนั้น เมื่อพระมหาบุรุษรำพึงถึงบารมี ๑๐ ทัศ อยู่นั้นแล ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ตั้งอยู่ ณ ส่วนเบื้องบน. ได้ยินว่า จักราวุธนั้นคมกล้านัก มารโกรธแล้วขว้างไปในที่อื่น จะตัดเสาหินอัน เป็นแท่งเดียวทึบขาดไป เหมือนตัดหน่อไม้ไผ่. แต่บัดนี้ เมื่อจักราวุธ นั้นกลายเป็นเพดานดอกไม้ตั้งอยู่ บริษัทมารที่เหลือจึงพากันปล่อยยอดเขา

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 148

หินใหญ่ ให้กลิ้งมา ด้วยคิดว่า พระสิทธัตถะจักลุกจากบัลลังก์หนีไปใน บัดนี้. ยอดเขาหินแม้เหล่านั้น เมื่อพระมหาบุรุษรำพึงถึงบารมี ๑๐ ทัศอยู่ ก็กลายเป็นกลุ่มดอกไม้ตกลงบนภาคพื้น เทวดาทั้งหลายที่อยู่ ณ ขอบปาก จักรวาลก็ยืดคอเงยศีรษะขึ้นแลดูด้วยคิคว่า โอ! อัตภาพอันถึงความเลิศ ด้วยพระรูปโฉมของพระสิทธัตถกุมร ฉิบหายเสียแล้วหนอ พระสิทธัตถกุมารนั้น จักทรงกระทำอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า บัลลังก์ที่ถึงในวันนี้เป็นที่ตรัสรู้ของ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ย่อมถึงแก่เรา จึงตรัส กะมารผู้ยืนอยู่ว่า ดูก่อนมาร ในภาวะที่ท่านได้ให้ทาน ใครเป็นสักขี พยาน มารเหยียดมือไปตรงหน้าพลมารโดยพูดว่า คนเหล่านี้มีประมาณ เท่านี้แล เป็นสักขีพยาน. ขณะนั้น เสียงของบริษัทมารได้ดังขึ้นว่า เรา เป็นสักขีพยาน เราเป็นสักขีพยาน ได้เป็นเหมือนเสียงแผ่นดินทรุด.

ลำดับนั้น มารกล่าวกะพระมหาบุรุษว่า สิทธัตถะ ในภาวะที่ท่าน ให้ทานไว้แล้ว ใครเป็นสักขีพยาน. พระมหาบุรุษตรัสว่า ในภาวะที่เรา ให้ทาน ตนผู้มีจิตใจเป็นพยานก่อน แต่ในที่นี้ เราไม่มีใครๆ ที่มีจิตใจ เป็นสักขีพยานให้ได้ ทานที่เราให้ในอัตภาพอื่นๆ จงยกไว้ก่อน เอาแค่ ในภาวะที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้วได้ให้สัตตสดกมหาทานก่อน ปฐพีอันหนาใหญ่นี้แม้จะไม่มีจิตใจก็เป็นสักขีพยานได้ จึงทรง นำออกเฉพาะพระหัตถ์เบื้องขวา จากภายในกลีบจีวร แล้วทรงชี้ไปตรง หน้ามหาปฐพี โดยตรัสว่า ในภาวะที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้วให้สัตตสดกมหาทาน ท่านเป็นสักขีพยานหรือไม่ได้เป็น. มหาปฐพีได้บันลือขึ้นเหมือนจะท่วมทับพลมาร ด้วยร้อยเสียง พันเสียง แสน เสียงว่า ในกาลนั้น เราเป็นสักขีพยานท่าน.

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 149

แต่นั้น เมื่อพระมหาบุรุษทรงพิจารณาถึงทานที่ให้ในอัตภาพเป็น พระเวสสันดรอยู่ว่า สิทธัตถะ มหาทาน อุดมทาน ท่านได้ให้แล้ว ดังนี้ ช้างคิริเมขล์สูง ๑๕๐ โยชน์ คุกเข่าลงบนแผ่นดิน บริษัทมารพากันหนีไป ยังทิศานุทิศ มาร ๒ ตนชื่อว่าหนีไปทางเดียวกัน ย่อมไม่มี พากันทิ้ง อาภรณ์ที่ศีรษะ และผ้าที่นุ่งห่ม แล้วหนีไปทางทิศที่ตรงหน้าๆ นั่งเอง. แต่นั้น หมู่เทพได้เห็นพลมารหนีไป พวกเทวดา จึงประกาศแก่พวก เทวดา พวกนาคจึงประกาศแก่พวกนาค พวกครุฑจึงประกาศแก่พวก ครุฑ พวกพรหมจึงประกาศแก่พวกพรหมว่า ความปราชัยเกิดแก่มาร แล้ว ชัยชนะเกิดแก่สิทธัตถกุมารแล้ว พวกเราจักทำการบูชาชัยชนะ ดังนี้ ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมายังโพธิบัลลังก์อันเป็นสำนัก ของพระมหาบุรุษ.

ก็เมื่อพลมารเหล่านั้นหนีไปอย่างนี้แล้ว

ในกาลนั้น หมู่เทพมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมี ชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.

ในกาลนั้น หมู่นาคมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมีชัย ชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.

ในกาลนั้น หมู่ครุฑมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมี ชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.

ในกาลนั้น หมู่พรหมมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะ

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 150

ของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ ทรง มีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว ฉะนั้นแล.

เทวดาในหมื่นจักรวาลที่เหลือ ได้บูชาด้วยดอกไม้ของหอมและ เครื่องลูบไล้ กับได้กล่าวสดุดีนานัปการอยู่. เมื่อพระอาทิตย์ยัง ทอแสงอยู่อย่างนี้นั้นแล พระมหาบุรุษทรงกำจัดมารและพลมารได้ อันกาบ ใบมหาโพธิพฤษ์ซึ่งตกลงเบื้องบนจีวร ประหนึ่งกลีบแก้วประพาฬแดง บูชาอยู่ ทรงระลึกบุพเพนิวาสญาณได้ในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุได้ ในมัชฌิมยาม ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจสมุปบาทได้ในปัจฉิมยาม. ครั้งเมื่อพระมหาบุรุษนั้นทรงพิจารณาปัจจยาการ อันประกอบด้วยบท ๑๒ บท โดยอนุโลมและปฏิโลม ด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะ หมื่นโลกธาตุ ได้ไหวถึง ๑๒ ครั้ง จนจรดน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด.

ก็เมื่อพระมหาบุรุษทรงยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ทรงรู้แจ้ง แทงตลอดพระสัพพญัญญุญาณในเวลาอรุณขึ้น หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้นก็ได้มี การตกแต่งประดับประดาแผ่นผ้าของธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบปากจักรวาลทิศตะวันออก กระทบขอบปากจักรวาลทิศตะวันตก. อนึ่ง แผ่นผ้าของ ธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบปากจักรวาลทิศตะวันตก กระทบขอบปากจักรวาลทิศตะวันออก. แผ่นผ้าของธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบปากจักรวาลทิศใต้ กระทบขอบปากจักรวาลทิศเหนือ แผ่นผ้าของธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบ ปากจักรวาลทิศเหนือ กระทบขอบปากจักรวาลทิศใต้. แผ่นผ้าของธง ทั้งหลายที่ยกขึ้นที่พื้นแผ่นดิน ได้ตั้งจรดถึงพรหมโลก แผ่นผ้าของธง ทั้งหลายที่ยกขึ้นที่พรหมโลก ก็ตั้งอยู่จรดถึงบนพื้นแผ่นดิน. ต้นไม้ดอกไม้ ในหมื่นจักรวาลก็ออกดอก ต้นไม้ผลก็เต็มไปด้วยพวงผล. ปทุมชนิด

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 151

ลำต้นก็ออกดอกที่ลำต้น ปทุมชนิดกิ่งก็ออกดอกที่กิ่ง ปทุมชนิดเครือเถา ออกดอกที่เครือเถา ปทุมชนิดที่ห้อยในอากาศก็ออกดอกในอากาศ ปทุมชนิดเป็นก้านก็ทำลายพื้นศิลาทึบเป็นดอกบัวตั้งขึ้นซ้อนๆ กัน. หมื่น โลกธาตุได้เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้ เหมือนกลุ่มดอกไม้ที่เขาวนๆ แล้ว โยนไป และเหมือนเครื่องลาดดอกไม้ที่เขาลาดไว้อย่างดี. โลกันตริกนรก กว้าง ๘ พันโยชน์ในระหว่างจักรวาลทั้งหลาย ไม่เคยสว่างแม้ด้วย แสง อาทิตย์ ๗ ดวง ในกาลนั้นได้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. มหาสมุทรลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ได้กลายเป็นน้ำหวาน. แม่น้ำทั้งหลายไม่ไหล คนบอด แต่กำเนิดแลเห็นรูป คนหนวกแต่กำเนิดได้ยินเสียง. คนง่อยเปลี้ยแต่ กำเนิดก็เดินได้ เครื่องจองจำคือขื่อคาเป็นต้นก็ขาดตกไปเอง.

พระมหาบุรุษอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาอยู่ด้วยสิริสมบัติ หาประมาณมิได้ ด้วยประการอย่างนี้ เมื่ออัจฉริยธรรมทั้งหลายมีประการ มิใช่น้อยปรากฏแล้ว ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จึงทรง เปล่งอุทานที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงมิได้ทรงละว่า

เราเมื่อแสวงหานายช่างผู้การทำเรือน เมื่อไม่ประสบได้ ท่องเที่ยวไปยังสงสารมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์. นี่แน่ะนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักรไม่ได้ กระทำเรือนอีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็กำจัดแล้ว จิตของเราถึงวิสังขารคือพระนิพพาน แล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้. ฐานะมีประมาณเท่านี้ โดยเริ่มตั้งแต่พิภพดุสิตจนกระทั่งบรรลุ

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 152

พระสัพพัญญุตญาณที่โพธิมัณฑ์นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน ด้วย ประการฉะนี้.

จบอวิทูเรนิทานกถา

สันติเกนิทานกถา

ก็สันติเกนิทาน ท่านกล่าวว่า ย่อมได้เฉพาะในที่นั้นๆ อย่างนี้ว่า "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันอันเป็นอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี" ดังนี้ และว่า " ประทับอยู่ ในกูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี" ดังนี้, ท่านกล่าวไว้อย่างนี้. ก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น สันติเกนิทานแม้นั้น พึงทราบตั้งแต่ต้นอย่างนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งบนชยบัลลังก์ ทรงเปล่งอุทาน แล้วได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า เราแล่นไปถึงสื่อสงไขยแสนกัป ก็เพราะเหตุ บัลลังก์นี้ เพราะเหตุบัลลังก์นี้แหละ เราได้ตัดศีรษะอันประดับแล้วที่คอ ให้ไปแล้ว ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เราควักนัยน์ตาที่หยอดดีแล้ว และ เชือดหทัยให้ไปแล้ว ให้บุตรเช่นกับชาลีกุมาร ให้ธิดาเช่นกับกัณหาชินา กุมารีและให้ภริยาเช่นกับพระมัทรีเทวี เพื่อเป็นทาสของคนอื่นๆ บัลลังก์ ของเรานี้ เป็นบัลลังก์ชัย เป็นบัลลังก์มั่นคง เมื่อเรานั่งบนบัลลังก์นี้แล้ว ความดำริเต็มบริบูรณ์ เราจักไม่ออกจากบัลลังก์นี้ก่อน ดังนี้ พระองค์จึง ประทับนั่งเข้าสมาบัติหลายแสนโกฏิ ณ บัลลังก์นั้นนั่นแหละตลอด ๗ วัน

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 153

ซึ่งท่านหมายกล่าวได้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวย วิมุตติสุข โดยบัลลังก์เดียวตลอดสัปดาห์.

ครั้งนั้น เทวดาบางพวก เกิดความปริวิตกขึ้นว่า แม้วันนี้ พระสิทธัตถะก็ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่ เพราะยังไม่ละความอาลัยใน บัลลังก์ พระศาสดาทรงทราบความปริวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะทรง ระงับความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงเหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงแสดง ยมกปาฏิหาริย์. จริงอยู่ ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำที่มหาโพธิมัณฑ์ก็ดี ปาฏิ- หาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคมพระญาติก็ดี ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคม ชาวปาตลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเช่นกับยมกปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำที่ควง ไม้คัณฑามพพฤกษ์.

พระศาสดาครั้นทรงระงับความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิ- หาริย์นี้อย่างนี้แล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศเหนือติดกับทิศตะวันออก เยื้องจากบัลลังก์ไปเล็กน้อย ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ที่บัลลังก์นี้หนอ จึงทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และต้นโพธิ์ อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่งบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาสี่อสงไขยแสนกัป ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์. สถานที่นั้นจึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนิรมิตที่จงกรมในระหว่างบัลลังก์กับ สถานที่ที่ประทับยืน ทรงจงกรมอยู่บนรัตนจงกรมอันยาวจากทิศตะวันออก จรดทิศตะวันตก ยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ สถานที่นั้นจึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.

ก็ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วทางด้านทิศพายัพ

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 154

จากต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วนั้น ทรง พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก และพระสมันตปัฏฐานอนันตนัยในพระอภิธรรมปิฎกนั่นโดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์. ส่วนนักอภิธรรม ทั้งหลายกล่าวว่า ที่ชื่อว่าเรือนแก้ว ไม่ใช่เรือนที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่สถานที่ที่ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ เรียกว่าเรือนแก้ว. แต่เพราะเหตุที่ ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองนั้นเข้าไว้ในที่นี้โดยปริยาย เพราะฉะนั้น ควร ถือเอาทั้งสองเรื่องนั้นนั่นแหละ. ก็จำเดิมแต่นั้นมา สถานที่นั้นจึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.

พระศาสดาทรงยับยั้งอยู่ ๔ สัปดาห์เฉพาะบริเวณใกล้ต้นโพธิ์เท่านั้น ด้วยประการอย่างนี้ ในสัปดาห์ที่ ๕ เสด็จจากควงไม้โพธิ์ไปยังไม้ อชปาลนิโครธ ประทับนั่งพิจารณาพระธรรมและเสวยวิมุตติสุข ณ ต้น อชปาลนิโครธแม้นั้น.

สมัยนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า เราติดตามอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แม้จะเพ่งมองหาช่องอยู่ ก็ไม่ได้เห็นความพลั้งพลาดอะไรๆ ของสิทธัตถะ นี้ บัดนี้ สิทธัตถะนี้ก้าวล่วงพ้นอำนาจของเราเสียแล้ว จึงถึงความโทมนัส นั่งอยู่ในหนทางใหญ่ เมื่อคิดถึงเหตุ ๑๖ ประการ จึงขีดเส้น ๑๖ เส้น ลงบนแผ่นดิน คือคิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญทานบารมีเหมือนสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือนสิทธัตถะนี้ ดังนี้ แล้วขีดลงไปเส้น หนึ่ง. อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญศีลบารมี ฯลฯ เนกขัมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เหมือนสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือน สิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้วขีดเส้น (ที่ ๒ ถึงเส้น) ที่ ๑๐. อนึ่ง คิดว่า เราไม่

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 155

ได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอดอินทริยปโรปริยัตติ- ญาณอันไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เหมือนสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ ได้เป็นเช่นกับสิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้วขีดเส้น ที่ ๑๑. อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้ บำเพ็ญบารมี ๑๐ อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอดอาสยานุสยญาณ ฯลฯ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณอนาวรณญาณและสัพพัญญุตญานอันไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เหมือนดังสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึง ไม่เป็นเช่นกับสิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้ว ขีดเส้นที่ ๑๒ ถึงเส้นที่ ๑๖. มารนั่ง ขีดเส้น ๑๖ เส้นอยู่ที่หนทางใหญ่ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็สมัยนั้นธิดาของมาร ๓ นาง คือ นางตัณหา นางราคา และ นางอรดี คิดว่า บิดาของพวกเราไม่ปรากฏ บัดนี้ อยู่ที่ไหนหนอ จึงพา กันมองหา ได้เห็นบิดาผู้มีความโทมนัสนั่งขีดแผ่นดินอยู่ จึงพากันไปยัง สำนักของบิดาแล้วถามว่า ท่านพ่อ เพราะเหตุไร ท่านพ่อจึงเป็นทุกข์ หม่นหมองใจ. มารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย มหาสมณะนี้ ล่วงพ้นอำนาจของ เราเสียแล้ว พ่อคอยดูอยู่ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ ไม่อาจได้เห็นช่องคือ โทษของมหาสมณะนี้ เพราะเหตุนั้น พ่อจึงเป็นทุกข์หม่นหมองใจ. ธิดา มารกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านพ่ออย่าเสียใจเลย ลูกๆ จักทำ มหาสมณะนั้นไว้ในอำนาจของตนๆ แล้วพามา. มารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย มหาสมณะนี้ ใครๆ ไม่อาจทำไว้ในอำนาจได้ บุรุษผู้นี้ตั้งอยู่ในศรัทธา อันไม่หวั่นไหว. ธิดามารกล่าวว่า ท่านพ่อ พวกลูกชื่อว่าเป็นสตรี ลูกๆ จักเอาบ่วงคือราคะเป็นต้น ผูกมหาสมณะนั้น นำมาเดี๋ยวนี้แหละ. ท่านพ่ออย่าคิดไปเลย ครั้นกล่าวแล้วจึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกข้าพระบาทจะบำเรอบาทของพระองค์. พระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 156

พระภาคเจ้ามิได้ทรงใส่ใจถึงคำของพวกนาง ทรงไม่ทรงลืมพระเนตรแลดู ทรงนั่งเสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกอย่างเดียว เพราะทรงน้อมพระทัยไปใน ธรรมเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยียม.

ธิดามารคิดกันอีกว่า ความประสงค์ของพวกผู้ชายเอาแน่ไม่ได้ บาง พวกมีความรักหญิงเด็กๆ บางพวกรักหญิงผู้อยู่ในปฐมวัย บางพวกรัก หญิงผู้อยู่ในมัชฌิมวัย บางพวกรักหญิงผู้อยู่ในปัจฉิมวัย ถ้ากระไร พวก เราควรเอารูปต่างอย่างเข้าไปล่อแล้วยึดเอา จึงนางหนึ่งๆ นิรมิตอัตภาพ ของตนๆ โดยเป็นรูปหญิงวัยรุ่นเป็นต้น คือเป็นหญิงวัยรุ่นเป็นหญิงยังไม่ คลอด เป็นหญิงคลอดคราวเดียว เป็นหญิงคลอดสองคราว เป็นหญิง กลางคน และเป็นหญิงผู้ใหญ่ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ๖ ครั้ง แล้วทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระบาททั้งหลาย จะบำเรอบาทของ พระองค์ แม้ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงใส่พระทัย โดยปะการที่ทรงน้อมพระทัยไปในธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยี่ยม

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธิดามาร เหล่านั้นเข้าไปหา โดยเป็นหญิงผู้ใหญ่ จึงทรงอธิษฐานว่า หญิงเหล่านี้ จงเป็นคนฟันหักมีผมหงอก. คำของเกจิอาจารย์นั้น ไม่ควรเชื่อถือ. เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงกระทำอธิษฐานเห็นปานนั้นก็หามิได้ แต่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงหลีกไป พวกเธอเห็นอะไรจึงพยายาม อย่างนี้ ควรทำกรรมชื่อเห็นปานนี้ เบื้องหน้าของคนผู้ยังไม่ปราศจาก ราคะเป็นต้น ก็ตถาคตละราคะ โทสะ โมหะแล้ว จึงทรงปรารภถึงการ ละกิเลสของพระองค์ ทรงแสดงธรรมตรัสคาถา ๒ คาถา ในพุทธวรรค ธรรมบท ดังนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 157

ความชนะอันผู้ใดชนะแล้วไม่กลับแพ้ ใครๆ จะนำความ ชนะของผู้นั้นไปไม่ได้ในโลก ท่านทั้งหลายจักนำพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วย ร่องรอยอะไร.

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่มีตัณหาดุจข่าย ส่ายไปใน อารมณ์ต่างๆ เพื่อจะนำไปในที่ไหน ท่านทั้งหลายจักนำ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไร ดังนี้.

ธิดามารเหล่านั้นพากันกล่าวคำนั้นอาทิว่า นัยว่า เป็นความจริง บิดา ของพวกเราได้กล่าวไว้ว่า พระอรหันต์สุคตเจ้าในโลก ใครๆ จะนำไป ง่ายๆ ด้วยราคะ. หาได้ไม่ ดังนี้แล้วพากันกลับมายังสำนักของบิดา.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่อชปาลนิโครธนั้นนั่นแหละ ตลอดสัปดาห์ แต่นั้นได้เสด็จไปยังโคนไม้มุจลินท์. ณ ที่นั้น เกิดฝน พรำอยู่ตลอด ๗ วัน เพื่อจะป้องกันความหนาวเป็นต้น พญานาค ชื่อ มุจลินท์ เอาขนดวง ๗ รอบ ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่เหมือนประทับอยู่ใน พระคันธกุฎีอันไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ แล้วเสด็จเข้าไป ยังต้นราชายตนะ แม้ ณ ที่นั้นก็ทรงยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ตลอดสัปดาห์.

โดยลำดับกาลเพียงเท่านี้ก็ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์.

ในระหว่างนี้ไม่มีการสรงพระพักตร์ ไม่มีการปฏิบัติพระสรีระ ไม่มี กิจด้วยพระกระยาหาร แต่ทรงยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุขและผลสุขเท่านั้น.

ครั้นในวัน ที่ ๔๙ อัน เป็นที่สุดของ ๗ สัปดาห์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ที่ต้นราชายตนะนั้น เกิดพระดำริขึ้นว่าจักสรงพระพักตร์.

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 158

ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงนำผลสมออันเป็นยาสมุนไพรมาถวาย. พระศาสดาเสวยผลสมอนั้น ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้มีการถ่ายพระบังคน หนัก. ลำดับนั้น ท้าวสักกะนั้นแลได้ถวายไม้ชำระพระทนต์ ชื่อนาคลดา และน้ำบ้วนพระโอษฐ์ น้ำสรงพระพักตร์แก่พระองค์ พระศาสดาทรง เคี้ยวไม้ชำระพระทนต์นั้น แล้วบ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์ด้วย น่าจากสระอโนดาต เสร็จแล้วยังคงประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้ราชายตนะนั้น นั่นแหละ.

สมัยนั้น พาณิช ๒ คนชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ เดินทางจาก อุกกลชนบท จะไปยังมัชฌิมประเทศ ด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ผู้อันเทวดา ผู้เป็นญาติสายโลหิตของตนในชาติก่อน กั้นเกวียนไว้ ให้มีความอุตสาหะ ในการจัดพระกระยาหารถวายแด่พระศาสดา จึงถือเอาข้าวตูก้อนและขนม น้ำผึ้ง (ขนมหวาน) แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับพระกระยาหารของ ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้แล้วน้อมถวายพระศาสดาแล้วยืนอยู่ เพราะ บาตรได้อันตรธานหายไปในวันรับข้าวปายาส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง ดำริว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมไม่รับที่มือ เราจะรับที่อะไรหนอ. ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์จากทิศทั้ง ๔ รู้พระดำริของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงน้อมถวายบาตรทั้งหลายอันแล้วด้วยแก้วอินทนิล พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรับบาตรเหล่านั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงน้อมถวาย บาตร ๔ ใบ อันแล้วด้วยศิลามีสีดังถั่วเขียว เพื่อจะทรงอนุรักษ์ศรัทธา ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงทรงรับบาตรแม้ทั้ง ๔ ใบ ทรงวางซ้อนๆ กัน แล้วทรงอธิษฐานว่า จงเป็นบาตรใบเดียว บาตรทั้ง ๔ ใบจึงมีรอย

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 159

ปรากฏอยู่ที่ขอบปาก รวมเข้าเป็นใบเดียวกัน โดยประมาณบาตรขนาด กลาง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระกระยาหารที่บาตรอันล้วนด้วยศิลา มีค่ามากนั้น เสวยแล้วได้ทรงกระทำอนุโมทนา. พาณิชพี่น้องสองคนนั้น ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ ได้เป็น ทเววาจิกอุบาสก คืออุบาสกผู้กล่าวถึงสรณะสอง. ลำดับนั้น พาณิชทั้งสองคนนั้นกราบ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานฐานะ อันควร ที่จะพึงปรนนิบัติแก่ข้าพระองค์ทั้งสองด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า จงเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระเศียรของพระองค์ แล้วได้ประทานพระเกศธาตุ ทั้งหลายให้ไป. พาณิชทั้งสองนั้นบรรจุพระเกศธาตุเหล่านั้นไว้ภายใน ผอบทองคำ ประดิษฐานพระเจดีย์ไว้ในนครของตน.

ก็จำเดิมแต่นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังต้นอชปาลนิโครธอีก แล้วประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นนิโครธ. ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นพอประทับนั่งที่ควงต้นนิโครธนั้นเท่านั้น ทรงพิจารณาถึง ความที่ธรรมอันพระองค์ทรงบรรลุแล้วเป็นธรรมลึกซึ้ง ความตรึกอัน พระพุทธเจ้าทั้งปวงเคยประพฤติกันมา ถึงอาการคือความไม่ประสงค์จะ ทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น บังเกิดขึ้นว่า ธรรมนี้เราบรรลุได้โดยยาก แล.

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า ท่านผู้เจริญ โลกจัก พินาศหนอ ท่านผู้เจริญ โลกจักพินาศหนอ จึงทรงพาท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมานรดี ท้าววสวัตดี และท้าวมหาพรหม ทั้งหลาย จากหมื่นจักรวาล เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา ทูลอาราธนา

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 160

ให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม.

พระศาสดาทรงให้ปฏิญญาแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น แล้วทรงดำริ อยู่ว่า เราควรแสดงธรรมกัณฑ์แรก แก่ใครหนอ ทรงยังพระดำริให้เกิด ขึ้นว่า อาฬารดาบส เป็นบัณฑิต เธอจักรู้ธรรมนี้ได้เร็วพลัน จึงทรง ตรวจดูอีก ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้นกระทำกาละได้ ๗ วันแล้ว จึง ทรงรำพึงถึง อุทกดาบส ได้ทรงทราบว่า แม้อุทกดาบสนั้นก็ได้กระทำ กาละเสียเมื่อพลบคำวานนี้ จึงทรงมนสิการปรารภถึง พระปัญจวัคคีย์ ว่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะมากมายแก่เรา จึงทรงรำพึงว่า บัดนี้ ภิกษุ ปัญจวัคคีย์เหล่านั้น อยู่ที่ไหนหนอ ได้ทรงทราบว่า อยู่ในป่าอิสิปตนมิคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปรอบๆ โพธิ- มัณฑ์ประทับอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วทรงดำริว่า ในวันเพ็ญเดือน ๘ เราจัก ไปเมืองพาราณสี ประกาศพระธรรมจักร จึงในคิถีที่ ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ เวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง เมื่อราตรีสว่างตั้งขึ้นแล้ว พอเช้าตรู่ ทรงถือบาตร และจีวรเสด็จดำเนินสิ้นหนทาง ๑๘ โยชน์ ในระหว่างทาง ทรงพบ อุปกอาชีวก จึงตรัสบอกถึงความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแก่อุปกอาชีวกนั้น แล้วเสด็จถึงป่าอิสิปตนะในเวลาเย็นวันนั้นเอง.

พระปัญจวัคคีย์เห็นพระตถาคตเสด็จมาแค่ไกล ได้กระทำกติกากัน ว่า นี่แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระสมณโคดมนี้เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ในปัจจัย มีร่างกายสมบูรณ์ มีอินทรีย์ผ่องใส มีวรรณดุจทอง กำลัง เสด็จมา พวกเราจักไม่ทำสามีจิกรรม มีการไหว้เป็นต้นแก่พระสมณโคดม

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 161

นี้ แต่เธอประสูติในตระกูลใหญ่ ย่อมควรจัดอาสนะไว้ ด้วยเหตุนั้น พวกเราปูลาดเพียงอาสนะไว้เพื่อเธอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรำพึงว่า ภิกษุปัจวัคคีย์เหล่านี้ คิดกัน อย่างไรหนอ.ก็ได้ทราบวาระจิตด้วยพระญาณ อันสามารถทรงทราบอาจาระ แห่งจิตของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงประมวล เมตตาจิต อันสามารถแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปโดยไม่เจาะจง ในเทวดา และมนุษย์ทั้งมวล แล้วทรงแผ่เมตตาจิตไปในพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจการแผ่โดยเจาะจง. พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สัมผัสด้วยเมตตาจิตแล้ว เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จเข้าไปใกล้ ไม่อาจดำรงอยู่ตามกติกาของตน ได้พากันลุกขึ้นทำกิจทั้งปวงมีการอภิวาท เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงร้อง เรียกพระองค์โดยพระนามและโดยวาทะว่า "อาวุโส" ทั้งสิ้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นรู้ว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า โดยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่า เรียกตถาคตโดยชื่อและโดยวาทะว่า "อาวุโส" เลย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคต เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ดังนี้ แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ อันประเสริฐที่ปูลาดไว้ เมื่อประจวบกับดาวนักษัตรแห่งเดือน ๘ หลัง กำลังดำเนินไป อันพรหม ๑๘ โกฏิห้อมล้อมแล้ว จึงตรัสเรียกพระเถระ ปัญจวัคคีย์มา ทรงแสดง พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันยอดเยี่ยม เพริศแพร้วด้วยญาณ ๖ มีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒. บรรดาพระเถระ ปัญจวัคคีย์เหล่านั้น พระโกณฑัญญเถระ ส่งญาณไปตามกระแสแห่ง

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 162

เทศนา ในเวลาจบพระสูตร ก็ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับ พรหม ๑๘ โกฏิ.

พระศาสดา ทรงเข้าจำพรรษาอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น นั่นเอง ในวันรุ่งขึ้น ประทับนั่งทรงโอวาทพระวัปปเถระ อยู่ในวิหาร นั่นแล พระเถระที่เหลือทั้ง ๔ รูปเที่ยวบิณฑบาต. ในเวลาเช้านั่นเอง พระวัปปเถระ ก็บรรลุพระโสดาปัตติผล โดยวิธีนี้นั่นแล ทรงให้พระเถระ ทั้งหมดดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล คือวันรุ่งขึ้น ให้พระภัตทิยเถระ บรรลุ วันรุ่งขึ้น ให้พระมหานามเถระบรรลุ วันรุ่งขึ้น ให้พระอัสสชิ- เถระบรรลุ ครั้นในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ให้พระเถระทั้ง ๕ ประชุมกัน แล้วทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ในเวลาจบเทศนา พระเถระทั้ง ๕ ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ ยสกุลบุตร ตรัสเรียก เขาผู้เบื่อหน่ายละเรือนออกไปในตอนกลางคืนว่า มานี่เถิด ยสะ ทรง ให้เขาดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นแหละ แล้วให้ดำรง อยู่ในพระอรหัตในวันรุ่งขึ้น แล้วทรงให้ชน ๕๔ คนแม้อื่นอีก ผู้เป็น สหายของพระยสะนั้นบรรพชา ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา แล้วทรงให้บรรลุ พระอรหัต.

ก็เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์เกิดขึ้นในโลก ด้วยประการอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ทรงส่งภิกษุ ๖๐ รูปไปในทิศ ทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป ดังนี้เป็นต้น ส่วนพระองค์เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ในระหว่างทาง ทรงแนะนำ ภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐ คนในชัฏป่าฝ้าย บรรดาภัททวัคคีย์กุมาร

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 163

เหล่านั้น คนสุดท้ายเขาทั้งหมดได้เป็นพระโสดาบัน คนเหนือกว่าเขา ทั้งหมดได้เป็นพระอนาคามี พระองค์ทรงให้ภัททวัคคีย์กุมารทั้งหมด แม้นั้นบรรพชา ด้วยความเป็นเอหิภิกขุเหมือนกัน แล้วทรงส่งไปในทิศ ทั้งหลาย แล้วพระองค์เสด็จถึงอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ ปาฏิหาริย์ ทรงแนะนำชฎิลสามพี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น มีชฎิลหนึ่งพันเป็นบริวาร ทรงให้บรรพชาด้วยความเป็นเอหิภิกขุแล้ว ให้ นั่งที่คยาสีสประเทศ ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัตด้วย อาทิตตปริยายเทศนา อันพระอรหันต์หนึ่งพันองค์ห้อมล้อม แล้วได้เสด็จไปยังอุทยานลัฏฐิวัน ณ ชานพระนครราชคฤห์โดยพระประสงค์ว่า จักทรงเปลื้องปฏิญญาที่ให้ไว้ กับพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาทรงสดับข่าวจากสำนักของนายอุยยานบาลว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงทรงห้อมล้อมด้วยพราหมณ์และคหบดี ๑๒ นหุต (คือ ๑๒ หมื่น) เสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทรงซบพระเศียรลงที่พระบาท ของพระตถาคต อันมีฝ่าพระบาทวิจิตด้วยลายจักร กำลังเปล่งรัศมีสุก สกาวขึ้น ประดุจเพดานอันดาดด้วยแผ่นทองคำ แล้วประทับนั่ง ณ ส่วน ข้างหนึ่ง พร้อมทั้งบริษัท.

ลำดับนั้น พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระมหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในพระอุรุเวลกัสสปะ หรือว่าพระอุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ทราบความปริวิตกแห่งใจของพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ด้วยพระหทัย จึงตรัสกะพระอุรุเวลกัสสปะ ด้วยพระคาถาว่า

ดูก่อนกัสสปะ เธออยู่ในตำบลอุรุเวลามานาน ซูบผอม เพราะกำลังพรต เป็นผู้กล่าวสอนประชาชน เห็นโทษอะไร

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 164

หรือจึงละไปเสีย เราถามเนื้อความนี้กะเธอ อย่างไรเธอจึง ละการบูชาไฟเสียเล่า.

ฝ่ายพระเถระก็ทราบความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าว คาถานี้ว่า

ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น รส ที่น่าใคร่ และหญิงทั้งหลาย ข้าพระองค์รู้ว่า นี้เป็นมลทิน ในอุปธิทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการ เซ่นสรวงและการบูชา ดังนี้.

เพื่อจะประกาศความที่ตนเป็นสาวก จึงซบศีรษะลงที่หลังพระบาท ของพระตถาคตแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้แล้วเหาะขึ้นสู่ เวหาส ๗ ครั้ง คือ ๑ ชั่วลำตาล ๒ ชั่วลำตาล ๓ ชั่วลำตาล จนกระทั่ง ประมาณ ๗ ชั่วลำตาล แล้วลงมาถวายบังคมพระตถาคต แล้วนั่ง ณ ที่ ควรข้างหนึ่ง.

มหาชนได้เห็นปาฏิหาริย์ดังนั้น จึงกล่าวเฉพาะกถาสรรเสริญพระคุณของพระศาสดาเท่านั้นว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทรงมีอานุภาพมาก เพราะแม้พระอุรุเวลกัสสปะ ชื่อว่า ผู้มีทิฏฐิจัดอย่างนี้ สำคัญตนว่าเป็น พระอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทรมาน ทำลายข่ายคือทิฏฐิเสียแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่ได้ทรมานอุรุเวลกัสสปะแต่ใน บัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาล อุรุเวลกัสสปะนี้เราก็ได้ทรมานแล้ว เพราะ เหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น จึงตรัส มหานารทกัสสปชาดก แล้วทรงประกาศ สัจจะ ๔. พระราชาพร้อมกับบริวาร ๑๑ นหุต ดำรงอยู่ในพระโสดา-

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 165

ปัตติผล บริวาร ๑ นหุตประกาศความเป็นอุบาสก. พระราชาประทับ นั่งอยู่ในสำนักของพระศาสดานั่นเอง ทรงประกาศความสบายพระทัย ๕ ประการแล้วทรงถึงสรณะ ทรงนิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ แล้วเสด็จ ลุกขึ้นจากอาสน์ กระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเสด็จหลีกไป.

วันรุ่งขึ้น พวกชนชาวเมืองราชคฤห์ทั้งสิ้นนับได้ ๑๘ โกฏิ ทั้งที่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเมื่อวันวาน กับทั้งที่ไม่ได้เห็น ต่างมีความ ประสงค์จะเห็นพระตถาคต จึงพากันจากเมืองราชคฤห์ไปยังลัฏฐิวันอุทยาน แต่เช้าตรู่. หนทาง ๓ คาวุตไม่พอจะเดิน. ลัฏฐิวันอุทานทั้งสิ้นแน่น ขนัด. มหาชนแม้เห็นพระอัตภาพอันถึงความงามเลิศแห่งพระรูปโฉมของ พระทศพล ก็ไม่อาจกระทำให้อิ่ม. นี้ชื่อว่า ภูมิของการพรรณนา. จริงอยู่ ในฐานะเห็นปานนี้ พึงพรรณนาความสง่าแห่งพระรูปกายแม้ทั้งหมด อัน มีประเภทแห่งพระลักษณะ และพระอนุพยัญชนะเป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่ออุทยานและทางเดินแน่นขนัด ด้วยมหาชนผู้จะดูพระสรีระของพระทศพล อันถึงความงามเลิศด้วยพระรูปโฉมอย่างนี้ แม้ภิกษุ รูปเดียวก็ไม่มีโอกาสออกไปได้. นัยว่า วันนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้อง ขาดพระกระยาหาร เพราะฉะนั้น อาสนะที่ท้าวสักกะประทับนั่ง จึงแสดง อาการร้อน อันมีเหตุให้รู้ว่า ข้อนั้นอย่าได้มีเลย. ท้าวสักกะทรงรำพึงดู รู้เหตุนั้นแล้ว จึงนิรมิตเพศเป็นมาณพน้อย กล่าวคำสดุดีอันประกอบด้วย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เสด็จลงเบื้องพระพักตร์ของพระทศพล กระทำที่ว่างด้วยเทวานุภาพ เสด็จไปเบื้องหน้ากล่าวคุณของ พระศาสดา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 166

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้ทรงฝึก แล้ว ทรงหลุดพ้นแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ พระปุราณชฎิลผู้ฝึกตนได้แล้ว ผู้หลุดพ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้หลุดพ้น แล้ว ทรงข้ามได้แล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ พระปุราณชฎิลผู้พ้นแล้ว ผู้ข้ามได้แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้สงบ แล้ว ทรงสงบแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ พระปุราณชฎิล ผู้สงบแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีธรรมเครื่องอยู่ ๑๐ มีพระกำลัง ๑๐ ทรงรู้แจ้งธรรม ๑๐ และประกอบด้วยพระคุณ ๑๐ มีบริวารหนึ่งพัน เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์แล้ว ดังนี้.

ในกาลนั้น มหาชนเห็นความสง่าแห่งรูปของมาณพน้อยแล้วคิดว่า มาณพน้อยผู้นี้ มีรูปงามยิ่งหนอ ก็พวกเราไม่เคยเห็นเลย จึงกล่าวว่า มาณพน้อยผู้นี้มาจากไหน หรือว่ามาณพน้อยผู้นี้เป็นของใคร. มาณพ ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า

พระสุคตเจ้าพระองค์ใด ทรงเป็นปราชญ์ ทรงฝึกพระองค์ได้ในที่ทั้งปวง บริสุทธิ์ ไม่มีบุคคลเปรียบปาน เป็น พระอรหันต์ในโลก เราเป็นคนรับใช้ของพระสุคตเจ้าพระองค์ นั้น ดังนี้.

พระศาสดาเสด็จดำเนินตามทาง ซึ่งมีช่องว่างที่ท้าวสักกะกระทำไว้ อันภิกษุหนึ่งพันแวดล้อมเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์. พระราชาถวายมหาทาน

 
  ข้อความที่ 167  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 167

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ หม่อมฉันจักไม่อาจอยู่ โดยเว้นพระรัตนตรัย หม่อมฉันจักมา ยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาบ้าง ไม่ใช่เวลาบ้าง ก็อุทยาน ชื่อว่าลัฏฐิวันไกลเกินไป แต่อุทยานชื่อว่าเวฬุวันของหม่อมฉันแห่งนี้ ไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไป สมบูรณ์ด้วยการไปและการมา เป็น เสนาสนะสมควรแก่พระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงรับอุทยานเวฬุวันของหม่อมฉันนี้เถิด แล้วทรงเอาพระสุวรรณภิงคารตักน้ำอันมีสีดังแก้วมณีอบด้วยดอกไม้หอม เมื่อจะทรง บริจาคพระเวฬุวันอุทยาน จึงทรงหลั่งน้ำให้ตกลงบนพระหัตถ์ของพระทศพล. เมื่อทรงรับพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล มหาปฐพีได้หวั่นไหว ซึ่งมีอันให้รู้ว่า มูลรากของพระพุทธศาสนาได้หยั่งลงแล้ว. จริงอยู่ ในพื้นชมพูทวีป ยกเว้นพระเวฬุวันเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่ทรงรับแล้ว มหาปฐพีไหว ไม่มีเลย. แม้ในตามพปัณณิทวีป คือเกาะลังกา ยกเว้น มหาวิหารเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่รับแล้วแผ่นดินไหว ก็ย่อมไม่มี. พระศาสดาครั้นทรงรับพระเวฬุวนารามแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ พระราชาแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จไป ยังพระเวฬุวัน.

ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกสองคน คือ สารีบุตร และ โมคคัลลานะ อาศัยกรุงราชคฤห์แสวงหาอมตธรรมอยู่. ในปริพาชกสองคนนั้น สารีบุตร ปริพาชกเห็นพระอัสสชิเถระเข้าไปบิณฑบาตมีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปนั่ง ใกล้ฟังคาถามีอาทิว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ดังนี้ ได้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล แล้วได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละ แก่โมคคัลลานปริพาชก

 
  ข้อความที่ 168  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 168

ผู้เป็นสหายของตน แม้โมคคัลลานปริพาชกนั้น ก็ได้ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล. ปริพาชกทั้งสองนั้นจึงอำลาสัญชัยปริพาชกไปบวชใน สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริษัทของตน. บรรดาท่าน ทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานะบรรลุพระอรหัตโดย ๗ วัน พระสารีบุตร บรรลุพระอรหัตโดยกึ่งเดือน พระศาสดาทรงตั้งพระเถระทั้งสองนั้นไว้ใน ตำแหน่งอัครสาวก และในวันที่พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหัตนั่น แหละ ได้ทรงกระทำสันนิบาตคือประชุมพระสาวก

ก็เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล พระเจ้าสุทโธทนมหาราชได้ทรงสดับว่า ข่าวว่าบุตรของเราประพฤติทุกรกิริยา อยู่ ๖ ปี จึงบรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้วประกาศพระธรรมจักร อันบวร เข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในพระเวฬุวันดังนี้ จึงตรัส เรียกอำมาตย์คนหนึ่งมาตรัสว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านมีบุรุษพันหนึ่งเป็น บริวารเดินทางไปกรุงราชคฤห์ กล่าวตามคำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทนมหาราชพระราชบิดาของพระองค์ มีพระประสงค์จะพบ ดังนี้แล้วจงพา บุตรของเรามา.

อำมาตย์ผู้นั้นรับพระราชดำรัสของพระราชาใส่เศียรเกล้าว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วมีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร รีบเดินทางไปสิ้นหนทาง ๖๐ โยชน์ แล้วเข้าไปยังพระวิหาร ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่ง แสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔. อำมาตย์นั้นคิดว่า พระราชสาสน์ ของพระราชาที่ส่งมาจงงดไว้ก่อน จึงยืนอยู่ท้ายบริษัทฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดา ทั้งที่ยืนอยู่นั่นแล ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษ พันหนึ่ง จึงทูลขอบรรพชา. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 169  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 169

ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ทันใดนั้นเอง คนทั้งหมดได้เป็นผู้ ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นดุจพระเถระมีพรรษา ๖๐ พรรษา.

ก็ตามธรรมดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกลายเป็นผู้มัธยัสถ์ไปตั้ง แต่เวลาที่ได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น พระผู้เป็นอำมาตย์นั้นจึง มิได้กราบทูลข่าวที่พระราชาส่งมาแด่พระทศพล. พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์ผู้ที่ไปยังไม่กลับมา ข่าวสาสน์ก็ไม่ได้ฟัง จึงส่งอำมาตย์คนอื่น ไปโดยทำนองนั้นนั่นแลว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านจงไป. อำมาตย์แม้ คนนั้นไปแล้วได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งบริษัทก็ได้เป็นผู้นิ่งเสีย โดยนัย อันมีในก่อนนั่นแหละ. พระราชาทรงสั่งอำมาตย์อื่นไปอีก ๗ คน โดย ทำนองนี้แหละว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านจงไป. อำมาตย์ที่พระราชาทรง ส่งไปนั้นทั้งหมด เป็นบุรุษบริวาร ๙ พันคน เป็นอำมาตย์ ๙ คน ทำ กิจของตนเสร็จแล้ว เป็นผู้นิ่งเสีย อยู่แต่ในกรุงราชคฤห์นั้นเท่านั้น.

พระราชาไม่ทรงได้อำมาตย์ผู้จะนำ แม้แต่ข่าวสาสน์มาบอก จึง ทรงพระดำริว่า ชนแม้มีประมาณเท่านี้ ไม่นำกลับมาแม้แต่ข่าวสาสน์ เพราะ ไม่มีความรักในเรา ใครหนอจักกระทำตามคำสั่งของเรา เมื่อทรงตรวจดู พลของหลวงทั้งหมดก็ได้ทรงเห็นกาฬุทายีอำมาตย์. ได้ยินว่า กาฬุทายี อำมาตย์นั้นเป็นผู้จัดราชกิจทั้งปวง เป็นคนภายใน เป็นอำมาตย์ผู้มีความ คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง เกิดวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ เป็นสหายเล่นหัว กันมา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกกาฬุทายีอำมาตย์นั้นมาว่า นี่แน่ะ พ่อกาฬุทายี ฉันอยากจะเห็นบุตรของฉัน จึงส่งอำมาตย์ ๙ คนกับบุรุษ ผู้เป็นบริวาร ๙ พันไป บรรดาคนเหล่านั้นแม้คนเดียวชื่อว่าผู้จะมาบอก

 
  ข้อความที่ 170  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 170

เพียงแต่ข่าวสาสน์ก็ไม่มี ก็อันตรายแห่งชีวิตของเรารู้ได้ยาก เรายังมีชีวิต อยู่ปรารถนาจะเห็นบุตร เธอจักอาจแสดงบุตรแก่เราหรือหนอ กาฬุทายี อำมาตย์กราบทูลว่า จักอาจพระเจ้าข้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจักได้บวช. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ เธอจะบวชหรือไม่บวชก็ตาม จงแสดงบุตร แก่เรา. กาฬุทายีอำมาตย์ทูลรับพระบัญชาว่า ได้พระเจ้าข้า แล้วถือ พระราชสาสน์ไปยังกรุงราชคฤห์ ยืนอยู่ท้ายบริษัทในเวลาที่พระศาสดา ทรงแสดงธรรม ฟังธรรมแล้ว พร้อมทั้งบริวารบรรลุพระอรหัตแล้ว บวชด้วยความเป็นเอหิภิกขุอยู่.

พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตลอดภายในพรรษาแรก ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ออกพรรษาปวารณาแล้วเสด็จไปยัง ตำบลอุรุเวลา ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลานั้นตลอด ๓ เดือน ทรงแนะ นำชฎิลสามพี่น้องแล้ว มีภิกษุหนึ่งพันเป็นบริวาร ในวันเพ็ญเดือนยี่ เสด็จไปกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ๒ เดือน. โดยลำดับกาลมีประมาณเท่านี้ เมื่อพระองค์เสด็จออกจากเมืองพาราณสีเป็นเวลา ๕ เดือน. ฤดูเหมันต์ ทั้งสิ้นได้ล่วงไปแล้ว. ตั้งแต่วันที่พระกาฬุทายีเถระมาถึง เวลาได้ล่วงไป แล้ว ๗ - ๘ วัน ในวันเพ็ญเดือน ๔ พระเถระคิดว่า บัดนี้ฤดูเหมันต์ ล่วงไปแล้ว วสันตฤดูกำลังย่างเข้ามา พวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าเป็นต้น เสร็จแล้ว ให้หนทางตามที่ตรงหน้าๆ (หมายความว่าบ่ายหน้าไปทางไหน มีทางไปได้ทั้งนั้น) แผ่นดินก็ปกคลุมด้วยหญ้าเขียวขจี ราวป่ามีดอกไม้ บานสะพรั่ง หนทางเหมาะแก่การที่จะเดินทาง เป็นกาลที่พระทศพลจะ กระทำการสงเคราะห์พระญาติ. ลำดับนั้น ท่านพระกาฬุทายีจึงเข้าไปเฝ้า

 
  ข้อความที่ 171  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 171

พระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนาการเสด็จดำเนินไปยังนครแห่งราชสกุลของ พระทศพล ด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ต้นไม้ทั้งหลายมีสีแดง กำลัง ทรงผลสลัดใบแล้ว ต้นไม้เหล่านั้น สว่างโพลงดุจมีเปลวไฟ ข้าแต่มหาวีระ ถึงสมัยที่เหมาะสมแก่การที่พระองค์จะรื่น รมย์ ฯลฯ

สถานที่ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด ไม่อัตคัดและอดอยากนัก ฟื้นภูมิภาคมีหญ้าแพรกเขียวสด ข้าแต่พระมหามุนี กาลนี้ เป็นกาลสมควรที่จะเสด็จไป ดังนี้.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระกาฬุทายีเถระว่า ดูก่อนอุทายี เพราะ เหตุไรหนอ เธอจึงพรรณนาการไป ด้วยเสียงอันไพเราะ พระกาฬุทายี เถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระบิดาของพระองค์ ทรงมีพระประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์ จงทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติทั้งหลายเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดีละอุทายี เราจักกระทำการสังเคราะห์พระญาติทั้งหลาย เธอจงบอก แก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักได้ทำคมิกวัตร คือระเบียบของผู้จะไปให้ บริบูรณ์. พระเถระรับพระดำรัสว่า ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้ว บอกแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้อมล้อมด้วยพระภิกษุขีณาสพสองหมื่นองค์ คือ ภิกษุกุลบุตรชาวเมืองอังคะและมคธะหมื่นองค์ ภิกษุกุลบุตร ชาวเมืองกบิลพัสดุ์หมื่นองค์ เสด็จออกจากเมืองราชคฤห์เสด็จดำเนินวัน ละโยชน์หนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า จากเมืองราชคฤห์

 
  ข้อความที่ 172  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 172

ถึงเมืองกบิลพัสดุ์ประมาณ ๖๐ โยชน์ เราจักถึงได้โดย ๒ เดือน จึง เสด็จออกหลีกจาริกไปโดยไม่รีบด่วน. ฝ่ายพระเถระคิดว่า เราจักกราบทูล ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมาแล้ว แก่พระราชา จึงเหาะขึ้นสู่ เวหาสไปปรากฏในพระราชนิเวศน์.

พระราชาทรงเห็นพระเถระแล้วมีพระทัยยินดี จึงนิมนต์ให้นั่งบน บัลลังก์อันควรค่ามาก บรรจุบาตรให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ที่ เขาจัดเพื่อพระองค์แล้วได้ถวาย. พระเถระแสดงอาการจะลุกขึ้นไป. พระราชาตรัสว่า จงนั่งฉันเถิดพ่อ พระเถระทูลว่า ข้าแต่มหาราชบพิตร อาตภาพ จักไปยังสำนักของพระศาสดาแล้ว จักฉัน. พระราชาตรัสถามว่า ก็พระศาสดาอยู่ที่ไหนล่ะพ่อ. พระเถระทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระศาสดา มีภิกษุสองหมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกมาแล้ว เพื่อต้องการจะเฝ้า พระองค์. พระราชาทรงมีพระมนัสยินดีตรัสว่า ท่านจงฉันบิณฑบาตนี้ แล้วนำบิณฑบาตจากที่นี้ไปถวายพระโอรสนั้น จนกว่าพระโอรสของโยม จะถึงนครนี้. พระเถระรับพระดำรัสแล้ว.

พระราชาทรงอังคาสพระเถระ แล้วให้ขัดถูบาตด้วยผงเครื่องหอม บรรจุให้เต็มด้วยโภชนะชั้นดี แล้วให้ตั้งไว้ในมือของพระเถระโดยตรัสว่า ขอท่านจงถวายแด่พระตถาคต. พระเถระเมื่อคนทั้งหลายเห็นอยู่ทีเดียว ได้โยนบาตรไปในอากาศ ฝ่ายตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหา นำบิณฑบาต มาวางถวายที่พระหัตถ์ของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยบิณฑบาตนั้น. พระเถระนำบิณฑบาตมาทุกวันๆ โดยอุบายนั้นแหละ.

ฝ่ายพระศาสดาก็เสวยบิณฑบาตของพระราชาเท่านั้น ในระหว่าง ทาง. ในเวลาเสร็จภัตกิจทุกวันๆ แม้พระเถระก็กล่าวว่า วันนี้ พระ-

 
  ข้อความที่ 173  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 173

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสิ้นระยะทางมีประมาณเท่านี้ วันนี้มีประมาณเท่านี้ และได้กระทำราชสกุลทั้งสิ้น ให้เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา โดยเว้น การได้เห็นพระศาสดา ด้วยกถาอันประกอบด้วยพระพุทธคุณ. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสถาปนาพระเถระให้เป็นเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาฬุทายีนี้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ สาวกของเรา ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส.

ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจวนถึง ต่าง คิดกันว่า จักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา จึงประชุมกันพิจารณา สถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า กำหนดเอาว่า อารามของ เจ้าศากยนิโครธ น่ารื่นรมย์ จึงให้กระทำวิธีการซ่อมแซมทุกอย่างใน อารามนั้น มีมือถือของหอมและดอกไม้ เมื่อจะทำการต้อนรับ จึงส่งเด็ก ชายและเด็กหญิงชาวเมืองผู้ยังเด็กๆ แต่งตัวด้วยเครื่องประดับทุกอย่างไป ก่อน ต่อจากนั้น ส่งราชกุมารและราชกุมารีไป ตนเองบูชาอยู่ด้วยของ หอมและดอกไม้เป็นต้น ในระหว่างราชกุมารและราชกุมารีเหล่านั้น ได้ พาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังนิโครธารามทีเดียว. ณ นิโครธารามนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระขีณาสพสองหมื่นแวดล้อม ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้.

ธรรมดาว่าเจ้าศากยะทั้งหลายมีมานะในเรื่องชาติ ถือตัวจัด เจ้า ศากยะเหล่านั้นคิดกันว่า สิทธัตถกุมารเป็นเด็กกว่าพวกเรา เป็นพระกนิษฐา เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระนัดดาของพวกเรา จึงได้ตรัสกะราชกุมารทั้งหลายที่หนุ่มๆ ว่า พวกเธอจงพากันถวายบังคม เราทั้งหลายจักนั่งข้างหลังของพวกเธอ. เมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 174  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 174

ไม่ถวายบังคมนั่งอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของ เจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงพระดำริว่า พระญาติทั้งหลายไม่ไหว้เรา เอา เถอะ เราจะให้พวกเขาไหว้ในบัดนี้ จึงทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาท แห่งอภิญญา แล้วออกจากจตุตถฌานนั้นเหาะขึ้นสู่อากาศ ทำทีโปรยธุลี พระบาทลงบนพระเศียรของเจ้าศากยะเหล่านั้น ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์ เช่นเดียวกับยมกปาฏิหาริย์ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์. พระราชาทรงเห็น ความอัศจรรย์นั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวันที่พระองค์ ประสูติ หม่อมฉันได้เห็นพระบาทของพระองค์ ผู้ซึ่งเขานำเข้าไปเพื่อให้ ไหว้กาฬเทวิลดาบส กลับไปตั้งอยู่บนกระหม่อมของพราหมณ์ จึงได้ไหว้ พระบาทของพระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งแรก ของหม่อมฉัน. ในวัน วัปปมงคลแรกนาขวัญ หม่อมฉันก็ได้เห็นร่มเงาไม้หว้าของพระองค์ผู้ บรรทมอยู่บนพระที่สิริไสยาสน์ในร่มเงาไม้หว้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ไปตามตะวัน) ก็ได้ไหว้พระบาท นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สอง ของหม่อมฉัน. ก็บัดนี้ หม่อมฉันได้เห็นปาฏิหาริย์ที่ไม่เคยเห็นนี้ จึงไหว้พระบาท ของพระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สาม ของหม่อมฉัน.

ก็เมื่อพระราชาถวายบังคมแล้ว เจ้าศากยะแม้องค์เดียว ชื่อว่าเป็น ผู้สามารถทรงยืนอยู่โดยไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้มีเลย เจ้าศากยะทั้งปวงพากันถวายบังคมทั้งสิ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคมด้วยประการ ฉะนี้แล้ว เสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว ได้มีการประชุมพระญาติอันถึงจุด

 
  ข้อความที่ 175  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 175

สุดยอด เจ้าศากยะทั้งปวงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ประทับนั่งแล้ว. ลำดับนั้น มหาเมฆได้ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมา น้ำสีแดงไหลไปข้างล่าง ผู้ ต้องการให้เปียกเท่านั้น จึงจะเปียก สำหรับผู้ไม่ประสงค์จะให้เปียก น้ำ แม้แต่หยาดเดียวก็ไม่ตกลงบนร่างกาย. เจ้าศากยะทั้งปวงเห็นดังนั้น เป็น ผู้มีจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี จึงสั่งสนทนากันขึ้นว่า โอ! น่าอัศจรรย์ โอ! ไม่เคยมี.

พระศาสดาตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมแห่งพระญาติ ของเราแต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในอดีตกาลก็ได้ตกแล้ว จึงตรัส เวสสันดรชาดก เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น. เจ้าศากยะทั้งปวงได้ฟังพระธรรมกถาแล้ว เสด็จลุกขึ้นถวายบังคมแล้วเสด็จหลีกไป. พระราชาหรือ มหาอำมาตย์ของพระราชาแม้แต่ผู้เดียว ชื่อว่ากราบทูลว่า พระองค์ทั้งหมด ขอจงรับภิกษาของข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ แล้วจึงไป ย่อมไม่มี.

วันรุ่งขึ้น พระศาสดาอันภิกษุสองหมื่นแวดล้อม เสด็จเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ ใครๆ ไม่ไปนิมนต์พระองค์ หรือไม่รับบาตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ธรณีประตูนั้นแล ทรงพระรำพึงว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองของสกุลอย่างไร หนอ คือเสด็จไปยังเรือนของพวกอิสรชนโดยข้ามลำดับ หรือว่าเสด็จ เที่ยวไปตามลำดับตรอก ลำดับนั้น ไม่ได้ทรงเห็นแม้พระพุทธเจ้าสักองค์ หนึ่งเสด็จไปโดยข้ามลำดับ จึงทรงดำริว่า บัดนี้ แม้เราก็ควรประคับ ประคองวงศ์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เฉพาะบัดนี้เท่านั้น และต่อไป สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อสำเหนียกตามเราอยู่นั่นแล จักได้บำเพ็ญ

 
  ข้อความที่ 176  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 176

ปิณฑจาริกวัตร คือถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ดังนี้แล้วจึงเสด็จ เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก เริ่มตั้งแต่เรือนที่ตั้งอยู่ในที่สุดไป. มหาชนโจษขานกันว่า ได้ข่าวว่า สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้านายเที่ยวไปเพื่อก้อน ข้าว จึงเปิดหน้าต่างในปราสาทชั้น ๒ และชั้น ๓ เป็นต้น ได้เป็นผู้ ขวนขวายเพื่อจะดู.

ฝ่ายพระเทวีพระมารดาของพระราหุล ทรงดำริว่า นัยว่า พระลูกเจ้า เสด็จเที่ยวไปในพระนครนี้แหละด้วยวอทองเป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่ง ใหญ่ มาบัดนี้ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ. ถือกระเบื้องเสด็จ เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะงามหรือหนอ จึงทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตร ดู ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังถนนในพระนครให้สว่าง ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระอันเรื่องรองด้วยแสงสีต่างๆ ไพโรจน์งดงามด้วยพุทธสิริอันหาอุปมามิได้ ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สดใส ด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ตามประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้าน ละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิส (ได้แก่ส่วนที่เลยหน้าผากไป) จน ถึงพื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหคาถา ๑๐ คาถามีอาทิอย่างนี้ว่า

พระผู้นรสีหะ มีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท มีพื้น พระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระนาสิกโค้ง อ่อนยาวพอเหมาะ มีข่ายพระรัศมีแผ่ซ่านไป ดังนี้.

แล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไป เพื่อก้อนข้าว. พระราชาสลดพระทัย เอาพระหัตถ์จัดผ้าสาฎกให้เรียบร้อย พลางรีบด่วนเสด็จออก รีบเสด็จดำเนินไปประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของ

 
  ข้อความที่ 177  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 177

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงกระทำหม่อมฉันให้ได้อาย เพื่ออะไรจึงเสด็จเที่ยวไปเพื่อ ก้อนข้าว ทำไมพระองค์จึงทรงกระทำความสำคัญว่า ภิกษุมีประมาณ เท่านี้ไม่อาจได้ภัตตาหาร.

พระศาสดาตรัสว่า. มหาบพิตร นี้เป็นการประพฤติตามวงศ์ของ อาตมภาพ

พระราชาตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่าวงศ์ของเราทั้งหลาย เป็นวงศ์กษัตริย์มหาสมมตราช ก็วงศ์กษัตริย์มหาสมมตราชนี้ ย่อมไม่มี กษัตริย์สักพระองค์เดียว ชื่อว่าผู้เที่ยวไปเพื่อภิกษา.

พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ชื่อว่าวงศ์กษัตริย์นี้ เป็นวงศ์ของ พระองค์ ส่วนชื่อว่าพุทธวงศ์นี้ คือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ ฯลฯ พระกัสสปเป็นวงศ์ของอาตมภาพ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้และอื่นๆ นับได้หลายพัน ได้สำเร็จการเลี้ยงพระชนมชีพด้วยการเที่ยวภิกขาจาร เท่านั้น ทั้งที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลไม่ควรประมาทในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้นยืนรับ พึง ประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อม อยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้.

ในเวลาจบพระคาถา พระราชาทรงดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ได้ทรง สดับคาถานี้ว่า

บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมนั้น ให้ทุจริตผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 178  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 178

ได้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามิผล ทรงสดับมหาธัมมปาลชาดก ได้ดำรง อยู่ในพระอนาคามิผล ในสมัยใกล้จะสวรรคต ทรงบรรทมบนพระที่ สิริไสยาสน์ภายใต้เศวตฉัตรนั้นแล ได้บรรลุพระอรหัต. กิจในการตาม ประกอบปธานความเพียรด้วยการอยู่ป่า มิได้มีแก่พระราชา.

ก็พระราชานั้น ครั้นทรงกระทำให้แจ้งพระโสดาปัตติผลแล้วแล ทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้ง บริษัทขึ้นสู่มหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต. ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมทั้งปวงพากันมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ยกเว้นพระมารดาพระราหุล. ก็พระมารดาพระราหุลนั้น แม้ปริวารชนจะกราบทูลว่า ขอพระองค์จงเสด็จไปถวายบังคมพระลูกเจ้า ก็ตรัสว่า ถ้าคุณความดีของเรามีอยู่ พระลูกเจ้าจักเสด็จมายังสำนักของเราด้วย พระองค์เอง พระองค์เสด็จมานั้นแหละ เราจึงจะถวายบังคม ครั้นตรัส ดังนี้แล้วก็มิได้เสด็จไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้พระราชารับบาตรแล้ว ได้เสด็จไป ยังห้องอันมีสิริ ของพระราชธิดา พร้อมกับพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว ตรัสว่า พระราชธิดาเมื่อไหว้ตามชอบใจอยู่ ไม่ควรกล่าวอะไร แล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย. พระราชธิดารีบเสด็จมาแล้วจับข้อ พระบาท กลิ้งเกลือกพระเศียรที่หลังพระบาทแล้ว ถวายบังคมตามพระอัธยาศัย. พระราชาตรัสคุณสมบัติมีความรักและความนับถือมากเป็นต้น ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ของพระราชธิดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธิดา ของหม่อมฉันได้สดับว่า พระองค์ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ตั้งแต่นั้นก็เป็น ผู้นุ่งห่มผ้าสายะ ได้สดับว่า พระองค์เสวยพระกระยาหารหนเดียว ก็เป็น

 
  ข้อความที่ 179  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 179

ผู้เสวยภัตหนเดียวบ้าง ได้สดับว่า พระองค์ละเลิกที่นอนใหญ่ ก็บรรทม บนเตียงน้อยอันขึงด้วยแผ่นผ้า ทราบว่า พระองค์ทรงเว้นจากดอกไม้และ ของหอมเป็นต้น ก็งดเว้นดอกไม้และของหอมบ้าง เมื่อพระญาติทั้งหลาย ส่งข่าวมาว่า เราทั้งหลายจักปรนนิบัติ ก็มิได้เหลียวแลพระญาติเหล่านั้น แม้พระองค์เดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธิดาของหม่อมฉันเพียบพร้อม ด้วยคุณสมบัติอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ข้อที่พระราชธิดา ที่พระองค์รักษาอยู่ในบัดนี้ รักษาตนได้ในเมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ไม่น่า อัศจรรย์ เมื่อก่อน พระราชธิดานี้ไม่มีการอารักขา เที่ยวอยู่ที่เชิงเขาก็ ยังรักษาตนได้ ในเมื่อญาณทั้งที่ยังไม่แก่กล้า ดังนี้แล้วตรัส จันทกินรีชาดก แล้วทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป.

ก็ในวันรุ่งขึ้น เมื่องานวิวาหมงคลเนื่องในการเสด็จเข้าพระตำหนัก อภิเษกของนันทราชกุมารกำลังเป็นไปอยู่ พระศาสดาเสด็จไปยังตำหนัก ของนันทราชกุมารนั้น ทรงให้พระกุมารถือบาตร มีพระประสงค์จะให้ บวช ตรัสเรื่องมงคลแล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. นางชนบทกัลยาณี เห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอ พระองค์จงกลับมาโดยด่วน แล้วชะเง้อแลดู. นันทกุมารนั้นไม่อาจทูลกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับบาตร จึงได้เสด็จไปยังพระวิหารเหมือนกัน. นันทกุมารไม่ปรารถนาเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง ให้บวชแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ ทรงให้นันทะ บวชในวันที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้.

ในวันที่ ๗ แม้พระมารดาของพระราหุล ก็ทรงแต่งองค์พระกุมาร แล้วส่งไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าจงดูพระสมณะ

 
  ข้อความที่ 180  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 180

นั้น ซึ่งมีวรรณแห่งรูปดังรูปพรหม มีวรรณดังทองคำ ห้อมล้อมด้วย สมณะสองหมื่นรูป พระสมณะนี้เป็นบิดาของเจ้า พระสมณะนั่นมีขุมทรัพย์ ใหญ่ จำเดิมแต่พระสมณะนั้น ออกบวชแล้ว แม่ไม่เห็นขุมทรัพย์เหล่านั้น เจ้าจงไปขอมรดกกะพระสมณะนั้นว่า ข้าแต่พระบิดา ข้าพระองค์เป็น กุมาร ได้รับอภิเษกแล้วจักได้เป็นจักรพรรดิ ข้าพระองค์ต้องการทรัพย์ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์แก่ข้าพระองค์ เพราะบุตรย่อมเป็นเจ้าของ ทรัพย์มรดกของบิดา และพระกุมารก็ได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่นแล ได้ความรักในฐานเป็นบิดา มีจิตใจร่าเริง กราบทูลว่า ข้าแต่ พระสมณะ ร่มเงาของพระองค์เป็นสุข แล้วได้ยืนตรัสถ้อยคำอื่นๆ และ ถ้อยคำอันสมควรแก่ตนเป็นอันมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัสอนุโมทนาเสร็จแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. ฝ่ายพระกุมาร กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์มรดกแก่ ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์มรดกแก่ ข้าพระองค์ แล้วติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ให้ พระกุมารกลับ แม้ปริวารชนก็ไม่อาจยังพระกุมารผู้เสด็จไปกับพระผู้มีพระภาคเจ้าให้กลับได้. พระกุมารนั้นได้ไปยังพระอารามนั้นแล พร้อม กับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า กุมารนี้ปรารถนา ทรัพย์อันเป็นของบิดา ซึ่งเป็นไปตามวัฏฏะ มีแต่ความคับแค้น เอาเถอะ เราจะให้อริยทรัพย์ ๗ ประการ ซึ่งเราได้เฉพาะที่โพธิมัณฑ์แก่กุมารนี้ เราจะทำกุมารนั้นให้เป็นเจ้าของทรัพย์มรดกอันเป็นโลกุตระ จึงตรัสเรียก ท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงให้ราหุลกุมารบวช.

 
  ข้อความที่ 181  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 181

พระเถระให้ราหุลกุมารนั้นบวชแล้ว ก็แหละเมื่อพระกุมารบวชแล้ว ความ ทุกข์มีประมาณยิ่งเกิดขึ้นแก่พระราชา. พระองค์เมื่อไม่อาจทรงอดกลั้น ความทุกข์นั้นได้ จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสขอพรว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังหม่อมฉันขอโอกาส พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่พึง บวชบุตรที่บิดามารดายังไม่อนุญาต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พรแก่ท้าว เธอ ในวันรุ่งขึ้นทรงกระทำภัตกิจในพระราชนิเวศน์ เมื่อพระราชา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในคราวที่ พระองค์ทรงทำทุกรกิริยา เทวดาตนหนึ่งเข้ามาหาหม่อมฉัน กล่าวว่า พระโอรสของพระองค์สวรรคตแล้ว หม่อมฉันไม่เชื่อคำของเทวดานั้น ได้ห้ามเทวดานั้นว่า บุตรของเรา ยังไม่บรรลุพระสัมโพธิญาณจะยังไม่ ตาย ดังนี้ จึงตรัสว่า บัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในกาล ก่อน คนเอากระดูกมาแสดงแล้วกล่าวว่า บุตรของท่านตายแล้ว พระองค์ ก็ยังไม่ทรงเชื่อ ดังนี้แล้วตรัส มหาธรรมปาลชาดก เพราะเหตุเกิด เรื่องนี้ขึ้น ในเวลาจบพระกถา พระราชาทรงดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระบิดาดำรงอยู่ในผลทั้ง ๓ ด้วยประการ ดังนี้แล้ว อันหมู่ภิกษุห้อมล้อมแล้วเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรง ประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน. สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้าไปยังกรุงราชคฤห์ ได้ไปยังเรือนของเศรษฐีผู้เป็น สหายรักของคน ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในกรุงราชคฤห์นั้น ในเวลาใกล้รุ่งจัด จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทางประตูที่เปิด ด้วยเทวานุภาพ ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันที่สองได้ถวาย

 
  ข้อความที่ 182  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 182

มหาทานแก่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้กราบทูลขอให้ พระศาสดาทรงรับปฏิญญา เพื่อต้องการเสด็จมายังนครสาวัตถี ในระหว่าง ทางในที่ ๔๕ โยชน์ ได้ให้ทรัพย์หนึ่งแสนสร้างวิหารในที่ทุกๆ หนึ่ง โยชน์ แล้วซื้อสวนของเจ้าเชตด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ โดยเอาเงินโกฏิปูจน เต็มเนื้อที่ แล้วเริ่มการก่อสร้าง. ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนั้นให้สร้าง วิหารอันเป็นที่รื่นรมย์ใจในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ด้วยการบริจาคเงิน ๑๘ โกฏิ คือให้สร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระทศพลในท่ามกลาง ให้สร้างเสนาสนะที่เหลือ เช่นกุฎีเดี่ยว กุฎีคู่ กุฎีทรงกลม ศาลาหลังยาว ศาลาสั้น และปะรำเป็นต้น และสระโบกขรณี ที่จงกรม ที่พักกลางคืน และที่พัก กลางวัน ในอาวาสอันเป็นที่อยู่แห่งหนึ่ง โดยแยกเป็นส่วนบุคคลสำหรับ พระมหาเถระ ๘๐ รายล้อมพระคันธกุฎีนั้น เสร็จแล้วส่งทูตไปนิมนต์ พระทศพลให้เสด็จมา. พระศาสดาทรงสดับคำของทูตนั้นแล้ว มีภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จถึงนครสาวัตถีโดย ลำดับ.

ฝ่ายท่านมหาเศรษฐี ก็ตระเตรียมการฉลองพระวิหาร ในวันที่ พระตถาคตเสด็จเข้าพระเชตวัน ได้แต่งตัวบุตรด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วส่งไปพร้อมกับกุมาร ๕๐๐ คน ผู้ตกแต่งประดับประดาแล้วเหมือนกัน บุตรของเศรษฐีนั้นพร้อมด้วยบริวาร ถือธง ๕๐๐ คันอันเรืองรองด้วยผ้า ๕ สี อยู่ข้างหน้าของพระทศพล ธิดาของเศรษฐี ๒ คน คือนางมหา สุภัททา และนางจูฬสุภัททา พร้อมกับกุมาริกา ๕๐๐ นาง ถือหม้อเต็ม น้ำ ออกเดินไปข้างหลังของกุมารเหล่านั้น ภริยาของเศรษฐีประดับด้วย เครื่องอลังการทั้งปวง พร้อมกับมาตุคาม ๕๐๐ นาง ถือถาดมีของเต็ม

 
  ข้อความที่ 183  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 183

ออกเดินไปข้างหลังของกุมาริกาเหล่านั้น. ท่านมหาเศรษฐีนุ่งห่มผ้าใหม่ พร้อมกับเศรษฐี ๕๐๐ คน ผู้นุ่งห่มด้วยผ้าใหม่เหมือนกัน มุ่งไปเฉพาะ พระผู้มีพระภาคเจ้า เบื้องหลังของคนทั้งหมด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง กระทำอุบาสกบริษัทนี้ไว้เบื้องหน้า อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรง กระทำระหว่างป่าให้เป็นดุจราดรดด้วยการราดด้วยน้ำทอง ด้วยพระรัศมี จากพระสรีระของพระองค์ จึงเสด็จเข้าพระเชตวันวิหาร ด้วยพุทธลีลา อันหาที่สุดมิได้ ด้วยพุทธสิริอันหาประมาณมิได้.

ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะปฏิบัติในวิหารนี้อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงให้ประดิษฐานวิหาร นี้ เพื่อภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในทิศทั้ง ๔ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ท่านมหาเศรษฐีรับพระพุทธฎีกาว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วถือเต้าน้ำทองคำหลั่งน้ำ ให้ตกลงเหนือพระหัตถ์ของพระทศพล แล้วได้ถวายด้วยคำว่า ข้าพระองค์ ขอถวายพระเชตวันวิหารนี้แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานซึ่งอยู่ ในทิศทั้ง ๔ ผู้มาแล้วและที่ยังไม่ได้มา. พระศาสดาทรงรับพระวิหารแล้ว เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา ได้ตรัสอานิสงส์การถวายวิหารว่า

เสนาสนะย่อมป้องกันความหนาวและความร้อน แต่นั้น ย่อมป้องกันเนื้อร้าย งู ยุง น้ำค้าง และฝน แต่นั้นย่อมป้องกัน ลม และแดดอันกล้า ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมบรรเทาไป. การถวาย วิหารแก่สงฆ์เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และ เพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ.

 
  ข้อความที่ 184  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 184

เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ ของตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ถวายให้เป็นที่อยู่ในภิกษุผู้ เป็นพหูสูตเถิด.

อนึ่ง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะแก่ท่านเหล่า นั้น ด้วยใจอันเลื่อมใสในท่านผู้ปฏิบัติตรง. เขาผู้ถวายวิหาร รู้ธรรมใดในโลกนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ท่าน เหล่านั้นย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง แก่เขา.

จำเดิมแต่วันที่สองไป ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เริ่มการฉลอง วิหาร. การฉลองวิหารของนางวิสาขา ๔ เดือนเสร็จ ส่วนการฉลองวิหาร ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๙ เดือนเสร็จ. แม้ในการฉลองวิหาร ก็สิ้น ทรัพย์ไปถึง ๑๘ โกฏิทีเดียว. เฉพาะวิหารอย่างเดียวเท่านั้น ท่านได้ บริจาคทรัพย์นับได้ ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในอดีตกาล ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เศรษฐีชื่อว่า ปุนัพพสุมิตตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ สร้างสังฆารามประมาณหนึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี เศรษฐีชื่อ สิริ- วัฑฒะ ซื้อที่โดยการปูลาดผาลทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามมีประมาณ ๓ คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู เศรษฐีชื่อว่า โสตถิยะ ซื้อที่โดยปูลาดรอยเท้าช้างทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมี ประมาณกึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 185  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 185

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ เศรษฐีชื่อว่า อัจจุตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณหนึ่ง คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ เศรษฐี ชื่อว่า อุคคะ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ กึ่งคาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เศรษฐีชื่อว่า สุมังคละ ซื้อที่โดยการปูลาดไม้เท้าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ ๖ กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

แต่ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เศรษฐีชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ ซื้อที่โดยการปูลาดทรัพย์โกฏิกหาปณะ แล้วสร้างสังฆาราม มีประมาณ ๘ กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ. ได้ยินว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มิได้ทรงละเลยทีเดียว.

ตั้งแต่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่มหาโพธิมัณฑ์ จนกระทั่งถึงเตียง มหาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สถานที่ใดๆ สถานที่ นี้นั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สันติเกนิทาน ด้วยประการฉะนี้.

จบนิทานกถา

 
  ข้อความที่ 186  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 186

พรรณนาอัพภันตรนิทาน

ศัพท์ว่า อถ ในคาถานี้ว่า

ลำดับนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์ จงสดับพุทธาปทาน ว่า เราเป็นพระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน ซึ่ง ใครๆ นับไม่ได้ ดังนี้.

เป็นบทนิบาตใช้ในอรรถว่า แสดงลำดับแห่งอธิการ คือ เป็นบทนิบาต ที่ประกอบด้วยวิภัตติ ในบรรดานิบาตทั้งสอง ที่ประกอบด้วยวิภัตติ และ ไม่ประกอบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง

อถ ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า อธิการ, มงคล, อรรถว่า สำเร็จ, อวธารณะ, อรรถว่า ต่อเนื่องกันไป, และอรรถว่า ปราศจากไป.

จริงอย่างนั้น เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

อธิการย่อมบ่งบอกถึงกิจอันยิ่ง ฐานะอันยิ่ง และอรรถ อันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญที่สุด ดังนี้.

(เชื่อมความว่า) ท่านทั้งหลายจงฟังอปทาน (คือเหตุ) อันประกอบ ด้วย อถ ศัพท์อันมีอธิการเป็นอรรถ โดยเป็นกิจอันยิ่งแห่งบารมีธรรม ๓๐ ถ้วนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญ ที่สุด. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ ศัพท์ซึ่งมีมงคลเป็นอรรถ โดยพระบาลีว่า การบูชาผู้ควรบูชา นั่น

 
  ข้อความที่ 187  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 187

เป็นมงคลอันสูงสุด เพราะการบูชาพระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเป็นมงคลโดย สภาพ. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานที่ประกอบด้วย อถ ศัพท์อันมีความสำเร็จเป็นอรรถ เพราะกิจแห่งสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น สำเร็จแล้วด้วยพระอรหัตตมรรค. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลาย จงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ ศัพท์อันมีอวธารณะเป็นอรรถ คือมี การห้ามเป็นอรรถ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่มีกุศลอื่นจากกุศลมี อรหัตตมรรคเป็นต้น. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบ ด้วย อถ ศัพท์อันมี อนันตระ ความต่อเนื่องกันเป็นอรรถ เพราะท่าน ร้อยกรองไว้ติดต่อกับการร้อยกรองขุททกปาฐะ. เชื่อมความว่า ท่าน ทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ ศัพท์ ซึ่งมีการจากไปเป็นอรรถ เพราะเริ่มจากขุททกปาฐะนี้ไป.

ในบทว่า พุทฺโธ พระพุทธเจ้า นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงหยั่งเห็นสิ่งทั้งปวง.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ไม่มีตนอื่นแนะนำ.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะสิ้นอาสวะแล้ว.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะปราศจากอุปกิเลส.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะการถือบวช.

 
  ข้อความที่ 188  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 188

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าไม่เป็นที่สอง.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าละตัณหาได้.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะเสด็จดำเนินทางเป็นที่ไปอันเอก.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เดียวตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิ- ญาณอันยอดเยี่ยม.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงได้เฉพาะความรู้ เป็นเหตุกำจัด ความไม่รู้เสียได้.

บททั้งสามคือ พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ นี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. ผ้า เราเรียกว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น ฉันใด.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ญาณในมรรคทั้ง ๔ เรียกว่า โพธิ, ญาณที่เรียกว่า โพธิ เพราะทำหมู่กิเลส ๑,๕๐๐ ทั้งสิ้นให้สิ้นไป ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ แล้วบรรลุพระนิพพาน. สมังคีบุคคลผู้ประกอบพร้อมด้วยญาณนั้น ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วย ญาณนั้นเหมือนกัน แล้วจึงบรรลุพระนิพพาน. ก็ญาณนั้นเท่านั้นเป็น อปทาน คือเป็นเหตุของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยเป็นญาณอันยิ่งเฉพาะ. ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่า พุทธาปทาน เพราะพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขยแสนกัป จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ และเพราะทรงบรรลุอสาธารณญาณ มีอินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณาสมาบัติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อาสยานุสยญาณเป็นต้น และเพราะทรงให้หมู่สัตว์นับไม่ถ้วนดื่มอมตธรรม

 
  ข้อความที่ 189  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 189

ด้วยพระธรรมเทศนา แม้กัณฑ์เดียวแล้วให้บรรลุพระนิพพาน.

ก็พุทธาปทานนั้นมี ๒ อย่าง โดยเป็นกุศลและอกุศล แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้ แม้เมื่อจะทำการสงเคราะห์ ทายกผู้ถวายปัจจัย มีข้าวเป็นต้น ก็แสดงธรรมด้วยคาถา ๒ คาถานี้ เท่านั้นแหละว่า

ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดย เร็วพลัน ความดำริไว้ในใจจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์ ในวันเพ็ญฉะนั้น.

ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดย เร็วพลัน ความดำริในใจจงเต็มที่ เหมือนแก้วมณี ชื่อโชติรส ฉะนั้น ดังนี้.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้จะแสดงธรรม ก็ไม่อาจทำหมู่สัตว์ นับไม่ถ้วนให้ตรัสรู้ได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นเหมือนพระสัพพัญญู- พุทธเจ้า ตรัสรู้ได้เฉพาะโดยโดดเดี่ยว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า. อปทาน คือเหตุแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า ปัจเจกพุทธาปทาน.

ชื่อว่า เถระ เพราะดำรงอยู่นาน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ มีศีล อาจาระ และมัทวะความอ่อนโยนเป็นต้น อันมั่นคงกว่า.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ คือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ อันมั่นคงและประเสริฐ.

 
  ข้อความที่ 190  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 190

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะบรรลุพระนิพพาน คือสันติ ที่นับว่ามั่นคงกว่า ประณีต และยอดเยี่ยม.

อปทานของพระเถระทั้งหลาย ชื่อว่า เถราปทาน.

ชื่อว่า เถรี เพราะประกอบด้วยตาทิคุณทั้งหลายเหมือนพระเถระ. อปทานของพระเถรีทั้งหลาย ชื่อว่า เถรีปทาน.

ในอปทานเหล่านั้น พุทธาปทานมี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๑ ซึ่งมี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร นี้ชื่อว่า พุทธาปทาน โดยอนุโลม.

แม้ปัจเจกพุทธาปทานก็มี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร. ด้วยเหตุ นั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๒ ซึ่งมี ๕ อปทาน และ๕ พระสูตร นี้ชื่อว่า ปัจเจกพุทธาปทาน โดยอนุโลม.

เถราปทานมี ๕๑๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๕๑ วรรค. ด้วยเหตุ นั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๓ ซึ่งมี ๕๐๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๕๑ วรรค นี้ชื่อว่า เถราปทาน โดยอนุโลม.

เถรีอปทานมี ๔๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๔ วรรค. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๔ ซึ่งมี ๔๐ อปทาน และมีวรรค ๔ วรรค นี้ ชื่อว่า เถรีปทาน โดยอนุโลม.

 
  ข้อความที่ 191  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 191

อปทาน ศัพท์ ในบทว่า อปทานํ นี้ ปรากฏว่าใช้ในความหมาย มีอาทิว่า การณะ คหณะ อปคมนะ ปฏิปาฏิ และอักโกสนะ.

จริงอย่างนั้น อปทาน ศัพท์นี้ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า การณะ คือเหตุ ได้ในประโยคมีอาทิว่า ขตฺติยานํ อปทานํ, พฺราหฺมณานํ อปทานํ อธิบายว่า เหตุแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย เหตุแห่งพราหมณ์ทั้งหลาย.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า คหณะ คือการถือ ได้ในประโยคมี อาทิว่า อุปาสกานํ อปทานํ อธิบายว่า อุบาสกทั้งหลายถือเอาด้วยดี.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า อปคมนะ คือการจากไป ได้ใน ประโยคมีอาทิว่า วาณิชานํ อปทานํ สุทฺทานํ อปทานํ อธิบายว่า พวก พ่อค้าและพวกศูทรเหล่านั้น พากันจากไปแต่ที่นั้นๆ.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า ปฏิปาฏิ คือตามลำดับ ได้ในประโยค มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อมเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว โดย เที่ยวไปตามลำดับ อธิบายว่า เที่ยวไปตามลำดับเรือน.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า อักโกสนะ คือ การด่า ได้ใน ประโยคมีอาทิว่า ย่อมด่าว่า ชนเหล่านี้ไปปราศ จากความเป็นสมณะ ชน เหล่านั้นไปปราศ จากความเป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ย่อมด่า ย่อมบริภาษ.

แต่ในที่นี้ ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า การณะ คือเหตุ เพราะฉะนั้น อปทานของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า พุทธาปทาน อธิบายว่า เหตุแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พึงเห็นว่า บารมี ๓๐ ถ้วนมีทานบารมี เป็นต้น เป็นเหตุของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่น้อย อุปมาดังเมล็ดทราย ในแม่น้ำคงคา. มีการเชื่อมความว่า บัดนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 192  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 192

จงสดับอปทานที่ประกอบในความหมายมีความหมายว่า อธิการคือคุณที่ กระทำไว้ยิ่งใหญ่เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทฺธมานสา ความว่า ท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ ชื่อว่าสุทธมานสา คือมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีหฤทัยสะอาด เพราะทำกิเลส ๑,๕๐๐ ให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรคญาณ แล้วดำรงอยู่ จงนั่งประชุมกันฟังอปทานในโรงธรรมนี้ อธิบายว่า ท่าน ทั้งหลายจงเงี่ยโสดลงฟังกระทำไว้ในใจ.

ก็ในข้อนี้พึงเห็นว่า แม้เมื่อปัจเจกพุทธาปทาน เถราปทาน และ เถรีอปทานจะมีอยู่ ท่านก็ไม่กล่าวว่า อปทานานิ กลับกล่าวคำว่า อถ พุทธาปทานานิ เหมือนเมื่อขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก สังขารยมก และอนุสยยมก แม้จะมีอยู่ก็กล่าวว่า มูลยมก ด้วยอำนาจที่เป็น ประธาน และด้วยอำนาจที่เป็นเบื้องต้น และเหมือนเมื่อสังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ และนิสสัคคิยะ ๓๐ แม้จะมีอยู่ ก็กล่าวว่า ปาราชิกกัณฑ์ ด้วย อำนาจที่เป็นประธาน และด้วยอำนาจทีเป็นเบื้องต้น แม้ในที่นี้ ท่านก็ กล่าวไว้โดยที่เป็นประธานและเป็นเบื้องต้น.

เมื่อควรจะกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธาปทานานิ แต่ท่านทำการลบ บทนิบาตว่า สมฺมา ซึ่งบ่งบอกอรรถที่เป็นตติยาวิภัตติ และบทอุปสรรค ว่า สํ ซึ่งบ่งบอกอรรถของศัพท์ว่า สยํ โดยนิรุตตินัยว่า วณฺณาคโม ฯ เปฯ ปญฺจวิธํ นิรุตฺตํ=นิรุตต์มี ๕ ชนิด คือ ลงตัวอักษร ฯลฯ หรือโดยสูตรว่า เตสุ วุทฺธิโลปาคมวิการวิปรีตาเทสา จ=ก็ในสนธิ- กิริโยปกรณ์เหล่านั้น มีพฤทธิ์ ลบ ลงตัวอักษร ทำให้ผิดจากของเดิม และแปลงให้ผิดตรงกันข้าม ดังนี้ แล้วถือเอาเฉพาะศัพท์ว่า พุทฺธ อัน

 
  ข้อความที่ 193  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 193

บ่งว่าเป็นกิตก์ แล้วกล่าวว่า พุทฺธาปทานานิ เพื่อสะดวกในการประพันธ์ คาถา. เพราะฉะนั้น บทว่า พุทฺธาปทานานิ มีความหมายว่า อปทาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้.

พรรณนาอัพภันตรนิทาน

ในวิสุทธขนวิลาสินี อรรถกถาอทาน

จบเพียงเท่านี้

๑. พรรณนาพุทธาปทาน

บัดนี้ พระเถระมีความประสงค์จะกล่าวอรรถกถาอปทาน ในลำดับ อัพภันตรนิทาน จึงกล่าวไว้ว่า

อปทาน คืออปทานใด แสดงนัยอันวิจิตร พระอรหันตเจ้า ทั้งหลาย สังคายนาไว้ในขุททกนิกาย บัดนี้ ถึงลำดับแห่ง การสังวรรณนา เนื้อความแห่งอปทานั้น ดังนี้.

ก่อนอื่น อปทานใดในคาถานั้น ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในรส อันเดียวกัน เพราะท่านกล่าวไว้ว่า พระพุทธพจน์ทั้งสิ้นมีรสคือวิมุตติ เป็นอันเดียวกัน, ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในธรรมที่ท่านสงเคราะห์ไว้ ๒ ส่วน ด้วยอำนาจธรรมและวินัย, ในบรรดาปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ และปัจฉิมพุทธพจน์ ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในมัชฌิมพุทธพจน์, ในบรรดาพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในพระสุตตันตปิฎก, ในบรรดานิกาย ๕

 
  ข้อความที่ 194  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 194

คือ ทีฆนิกา มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย, ในบรรดานวังคสัตถุศาสน์ คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ท่านสงเคราะห์ลงในคาถา. ในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งท่านพระอานนท์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ธรรมเหล่าใดที่คล่องปากขึ้นใจของข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือที่ข้าพเจ้าเรียกจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ เรียนจากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้. เป็นอันสงเคราะห์ลงใน ๒ - ๓ พระธรรมขันธ์.

บัดนี้ ท่านเมื่อจะแสดงอปทานนั้น จึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็น พระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน มีจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนี้. ในคำเหล่านั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บารมี ๑๐ ถ้วนนั่นเอง จัดเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน ด้วยอำนาจบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ โดยเป็นอย่างต่ำ อย่างกลาง และอย่างสูง. ผู้บริบูรณ์ดี คือผู้สมบูรณ์ ประกอบ พร้อมพรั่ง บรรลุ ประกอบพร้อมด้วยบารมี ๑๐ ถ้วนนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สมบูรณ์ ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน. ชื่อว่า ราชา เพราะยังหมู่สัตว์ผู้อยู่ในสกลโลกทั้ง ๓ และกายของตนให้ยินดี คือไห้ยึดติดด้วยพรหมวิหารสมาบัติ ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือด้วยความเป็นผู้มีจิตเป็นอันเดียว ด้วยธรรมเครื่องอยู่แห่งผลสมาบัติ, พระราชาโดยธรรม ชื่อว่า พระธรรมราชา, พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างนี้. อธิบายว่า พระพุทธ-

 
  ข้อความที่ 195  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 195

เจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาที่ล่วงไปแล้ว คือ จากไปแล้ว ดับแล้ว ถึงการ ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว มีจำนวนนับไม่ได้ คือเว้นจากการนับ ด้วยอำนาจจำนวน สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ปโกฏิ โกฏิปโกฏิ นหุต นินนหุต อักโขภินี พินทุ อัพพุทะ นิรัพพุทะ อหหะ อพพะ อฏฏะ โสคันธิกะ อุปปละ กุมุทะ ปุณฑริกะ ปทุมะ กถามะ มหากถานะ และอสังเขยยะ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระอานนทเถระทูลถามถึงอธิการที่พระองค์ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ทรงทำไว้ ในอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้น และสมภาร ที่พระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงทำไว้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สมฺโพธึ พุทฺธเสฏฺานํ ดังนี้. อธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ผู้เจริญ เธอจงฟังอปทาน ของเรา. เชื่อมความว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลก่อน คือในกาลบำเพ็ญ โพธิสมภาร เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อภิวาทด้วยเศียรเกล้าซึ่งพระสัมโพธิญาณ คือจตุสัจมรรคญาณ หรือพระสัพพัญญุตญาณ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประเสริฐ คือผู้แทงตลอดสัจจะ ๔. อธิบายว่า เราเอา นิ้ว ๑๐ นิ้ว คือฝ่ามือทั้งสองนมัสการ คือไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็น นายกของโลก คือผู้เป็นใหญ่ในโลก พร้อมทั้งพระสงฆ์ คือเป็นไปกับ สงฆ์สาวก แล้วอภิวาทด้วยเศียร คือด้วยศีรษะ คือกระทำการสรรเสริญ ด้วยความเต็มใจ แล้วกระทำการนอบน้อมอยู่.

บทว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺเตสุ ความว่า รัตนะทั้ง ๗ มีแก้วไพฑูรย์ เป็นต้นที่ตั้งอยู่ในอากาศ คือที่อยู่ในอากาศ ที่ตั้งอยู่บนภาคพื้น คือที่อยู่ บนพื้นของแผ่นดิน นับไม่ถ้วน คือนับไม่ได้ มีอยู่เพียงใด คือมีประมาณ


๑. เป็นวิธีนับในคัมภีร์ทางศาสนา โปรดดูคำอธิบายในหนังสือภิธานัปปทีปิกา หน้า ๑๓๔.

 
  ข้อความที่ 196  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 196

เท่าใด ในพุทธเขตในหมื่นจักรวาล เราเอาใจคือจิตประมวลมาซึ่งรัตนะ ทั้งหมดนั้น คือจักอธิษฐานจิตนำมาด้วยดี อธิบายว่า เราจะกระทำให้ เป็นกองรอบๆ ปราสาทของเรา.

บทว่า ตตฺถ รูปิยภูมิยํ ความว่า นิรมิตพื้นอันสำเร็จด้วยรูปิยะ คือ สำเร็จด้วยเงิน ในปราสาทหลายชั้นนั้น, อธิบายว่า เรานิรมิตปราสาท หลายร้อยชั้นอันล้วนแล้วด้วยรัตนะ คือสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ สูงคือพุ่งขึ้น เด่นอยู่ในท้องฟ้า คือโชติช่วงอยู่ในอากาศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะพรรณนาปราสาทนั้นเท่านั้น จึงตรัสว่า วิจิตฺตถมฺภํ ดังนี้ เป็นต้น. เชื่อมความว่า ปราสาทให้ยกเสามีสีดังแก้วลาย เป็นต้นมิใช่น้อย วิจิตรงดงาม ทำไว้อย่างดี คือสร้างไว้ดีถูกลักษณะ จัดแบ่งไว้เรียบร้อยโดยเป็นส่วนสูงและส่วนกว้าง ชื่อว่า ควรมีค่ามาก เพราะนิรมิตเสาค่ายอันมีค่าหลายร้อยโกฏิไว้. ปราสาทวิเศษอย่างไรอีก บ้าง? คือปราสาทมีขื่ออันสำเร็จด้วยทอง ได้แก่ ประกอบด้วยขื่อและ คันทวยอันทำด้วยทอง ประดับแล้ว คืองดงามด้วยนกกะเรียนและฉัตร ที่ยกขึ้นในปราสาทนั้น.

เมื่อจะทรงพรรณนาความงามของปราสาทโดยเฉพาะซ้ำอีก จึงตรัส ว่า ปมา เวฬุริยา ภูมิ ดังนี้ เป็นต้น. ความว่า ปราสาทซึ่งมีพื้นหลาย ร้อยชั้นนั้นงดงาม คือน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เสมอเหมือนหมอก คือ เช่นกับหลืบเมฆฝน ปราศจากมลทิน คือไม่มีมลทิน มีสีเขียว สำเร็จ ด้วยแก้วไพฑูรย์ อธิบายว่า พื้นชั้นแรกดารดาษ คือสะพรั่งด้วยกอบัว และดอกปทุมที่เกิดในน้ำ งดงามด้วยกาญจนภูมิ คือพื้นทองอันประเสริฐ คือสูงสุด.

 
  ข้อความที่ 197  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 197

อธิบายว่า พื้นปราสาทนั้นนั่นแล บางชั้นเป็นส่วนของแก้ว ประพาฬ คือเป็นโกฏฐาสของแก้วประพาฬ มีสีดังแก้วประพาฬ พื้นบาง ชั้นแดง คือมีสีแดง พื้นบางชั้นงาม คือเป็นที่ดื่มด่ำใจ มีแสงสว่างดังสี แมลงค่อมทอง คือเปล่งรัศมีอยู่ พื้นบางชั้นส่องแสงไปทั้ง ๑๐ ทิศ.

ในปราสาทนั้น มีป้อมและศิลาติดหน้ามุขที่จัดไว้ดีแล้ว คือจัดไว้ เรียบร้อย มีสีหบัญชรและสีหทวารที่ทำไว้เป็นแผนกๆ ตามส่วน. บทว่า จตุโร เวทิกา ความว่า ที่วลัยของชุกชีและหน้าต่างมีตาข่าย ๔ แห่ง มีพวง ของหอมและช่อของหอมอันเป็นที่รื่นรมย์ใจ คือเป็นที่จับใจ ห้อยย้อยอยู่.

ในปราสาทนั้นแหละ มีเรือนยอดประดับด้วยรัตนะ ๗ คืองดงาม ด้วยรัตนะ ๗. มีสีเป็นอย่างไร? คือเป็นสีเขียว คือมีสีเขียว เป็นสีเหลือง คือมีสีเหลือง ได้แก่ มีสีเหลืองทอง เป็นสีแดง คือมีสีเหมือนโลหิต ได้แก่ มีสีแดง เป็นสีขาว คือมีสีขาว ได้แก่ เป็นสีเศวต มีสีดำล้วน คือมีสีดำไม่มีสีอื่นเจือ อธิบายว่า ปราสาทนั้นประกอบด้วยเรือนยอด คือประกอบด้วยเรือนยอดอย่างดี และด้วยเรือนยอดมีช่อฟ้าอย่างดี.

ในปราสาทนั้นแหละ มีดอกปทุมชูดอก คือมีดอกตั้งบาน ได้แก่ ดอกปทุมบานสะพรั่งงดงาม อธิบายว่า ปราสาทนั้นงดงามด้วยหมู่เนื้อร้าย มีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้น และงดงามด้วยหมู่ปักษี มีหงส์ นกกะเรียน และนกยูงเป็นต้น. หมายความว่า ปราสาทนั้นสูงลิ่ว เพราะสูงจรดท้องฟ้า จึงเกลื่อนกล่นด้วยนักษัตรและดวงดาว ประดับด้วยพระจันทร์ พระอาทิตย์ และรูปพระจันทร์พระอาทิตย์.

อธิบายว่า ปราสาทของพระเจ้าจักรพรรดิหลังนั้นนั่นแหละ ดาดาษ ด้วยข่ายเหม คือข่ายทอง ประกอบด้วยกระดิ่งทอง คือประกอบด้วยข่าย

 
  ข้อความที่ 198  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 198

กระดิ่งทอง. หมายความว่า ระเบียบดอกไม้ทอง คือถ่องแถวของดอกไม้ ดอกเป็นที่รื่นรมย์ใจ คือเป็นที่จับใจ ย่อมเปล่งเสียง คือย่อมส่งเสียง เพราะแรงลม คือเพราะลมกระทบ.

ปักธงซึ่งย้อมสี คือระบายด้วยสีต่างๆ คือมีสีมิใช่น้อย คือธงสี หงสบาท ได้แก่ สีฝาง สีแดง คือสีโลหิต เป็นสีเหลือง คือมีสีเหลือง และธงสีทองและสีเหลืองแก่ ได้แก่ มีสีดังทองชมพูนุท และมีสีเหลืองแก่ คือปักธงสีต่างๆ ไว้ในปราสาทนั้น. คำว่า ธชมาลินี นี้ ท่านกล่าว โดยเป็นลิงควิปลาส อธิบายว่า ปราสาทนั้นประกอบด้วยระเบียบธง.

พระองค์เมื่อจะทรงพรรณนาเครื่องลาดเป็นต้นในปราสาทนั้น จึง ตรัสว่า น นํ พหู ดังนี้ เป็นต้น. อธิบายว่า ปราสาทนั้นชื่อว่าจะไม่มี สิ่งของโดยมาก ย่อมไม่มีในปราสาทนั้น. ที่นอนมีเตียงและตั่งเป็นต้น วิจิตด้วยที่นอนต่างๆ คือวิจิตรงดงามด้วยเครื่องลาดมิใช่น้อย มีจำนวน หลายร้อย คือนับได้หลายร้อย. มีเป็นอย่างไร. คือที่นอนเป็นแก้วผลึก ได้แก่ ทำด้วยแก้วผลึก ที่สำเร็จด้วยเงิน คือทำด้วยเงิน สำเร็จด้วยแก้ว มณี คือทำด้วยแก้วมณีเขียว ทำด้วยทับทิม คือทำด้วยแก้วมณีรัตนชาติ สีแดงโดยกำเนิด สำเร็จด้วยแก้วลาย คือทำด้วยแก้วมณีด่าง คือเพชร ตาแมว ลาดด้วยผ้ากาสีเนื้อดี คือลาดด้วยผ้ากาสีเนื้อละเอียดอ่อน.

ผ้าห่มชื่อว่า ปาวุรา. ผ้าห่มเป็นเช่นไร? คือผ้ากัมพล ได้แก่ ผ้าที่ทอด้วยผม ผ้าทุกุละ ได้แก่ ผ้าที่ทอด้วยผ้าทุกุละ ผ้าจีนะ ได้แก่ ผ้า ที่ทอด้วยฝ้ายจีน ผ้าปัตตุณณะ ได้แก่ ผ้าที่ทอด้วยฝ้ายอันเกิดมีในประเทศ ปัตตุณณะ เป็นผ้าสีเหลือง คือมีสีเหลือง. อธิบายว่า เราให้ปูลาดเครื่อง

 
  ข้อความที่ 199  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 199

ลาดอันวิจิตร คือที่นอนทั้งหมดอันวิจิตด้วยเครื่องลาด และผ้าห่มมิใช่ น้อยด้วยใจ คือด้วยจิต.

เมื่อจะทรงพรรณนาปราสาทนั้นโดยเฉพาะ จึงตรัสว่า ตาสุ ตาเสฺวว ภูมีสุ ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตนกูฏลงฺกตํ ความว่า ประดับ คือ งามด้วยยอดอันล้วนด้วยแก้ว คือ ช่อฟ้าแก้ว. บทว่า มณิเวโรจนา อุกฺกา ความว่า คบเพลิง คือประทีปมีด้ามอันกระทำด้วย แก้วมณีอันรุ่งเรือง คือแก้วมณีแดง. บทว่า ธารยนฺตา สุติฏฺเร ความว่า คนหลายร้อยยืนทรงไว้ คือถือชูไว้ในอากาศอย่างเรียบร้อย.

เมื่อจะทรงพรรณนาปราสาทนั้นนั่นแหละซ้ำอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า โสภนฺติ เอสิกาถมฺภา ดังนี้. เสาที่เขาปักไว้ที่ประตูเมือง เพื่อต้องการ ความงาม ชื่อว่า เสาระเนียด ในคำว่า โสภนฺติ เอสิกาถมฺภา นั้น. ซุ้ม ประตูงาม คือน่าพึงใจ เป็นซุ้มประตูทอง คือสำเร็จด้วยทอง เป็นทอง ชมพูนุท คือล้วนแล้วด้วยทองชมพูนุท สำเร็จด้วยไม้แก่น คือทำด้วย แก่นไม้ตะเคียน และทำด้วยเงิน. อธิบายว่า เสาระเนียดและซุ้มประตู ทำปราสาทนั้นให้งดงาม.

อธิบายว่า ในปราสาทนั้น มีที่ต่อหลายแห่งจัดไว้เรียบร้อย วิจิตร คืองามด้วยบานประตูและกลอน เป็นวงรอบของที่ต่องดงามอยู่. บทว่า อุภโต ได้แก่ สองข้างปราสาทนั้น มีหม้อเต็มน้ำ ประกอบคือเต็มวัย ปทุมมิใช่น้อย และอุบลมิใช่น้อย ทำปราสาทนั้นให้งดงาม.

ครั้นทรงพรรณนาความงามของปราสาทอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรง ประกาศปราสาทที่ทำด้วยรัตนะ และสักการะสัมมานะ การนับถือยกย่อง จึงตรัสคำมีอาทิว่า อตีเต สพฺพพุทฺเธ จ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 200  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 200

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีเต ความว่า ในกาลอันล่วงไปแล้ว คือผ่านไปแล้ว เรานิรมิตพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกทุกองค์ พร้อม ทั้งพระสงฆ์ คือเป็นไปกับหมู่สาวกที่เกิดมีมาแล้ว และพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งสาวก คือมีพระสาวก โดยมีวรรณ รูปโฉมและทรวดทรงตาม ปกติโดยสภาวะ พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกทุกพระองค์ เสด็จเข้าไป ยังปราสาททางประตูที่จะต้องเสด็จเข้าไป ประทับนั่งบนตั่งอันทำด้วยทอง ล้วนๆ คือล้วนแล้วด้วยทองทั้งหมด เป็นอริยมณฑล คือเป็นหมู่พระอริยะ.

อธิบายว่า ในบัดนี้ คือในปัจจุบัน เราได้ให้พระพุทธเจ้าผู้ยอด เยี่ยม คือไม่มีผู้ยิ่งกว่าซึ่งมีอยู่ และพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยองค์ผู้ เป็นสยัมภู คือผู้เป็นเองไม่มีคนอื่นเป็นอาจารย์ ผู้ไม่พ่ายแพ้ คือผู้อัน ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมารทำให้ แพ้ไม่ได้ ผู้บรรลุชัยชนะ ให้อิ่มหนำแล้ว. พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน อดีตกาลและปัจจุบันกาล พากันเสด็จขึ้น อธิบายว่า พากันเสด็จขึ้นสู่ ภพ คือปราสาทของเราอย่างดี.

เชื่อมความว่า ต้นกัลปพฤกษ์เหล่าใดที่เป็นทิพย์ คือเกิดในเทวโลก มีอยู่มาก และต้นกัลปพฤกษ์เหล่าใดที่เป็นของมนุษย์ คือเกิดในมนุษย์ มีอยู่เป็นอันมาก เรานำเอาผ้าทั้งหมดจากต้นกัลปพฤกษ์เหล่านั้น แล้ว ให้ทำเป็นไตรจีวร แล้วให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นครองไตรจีวร.

ครั้นให้นุ่งห่มไตรจีวรอย่างนี้แล้ว เอาของเคี้ยวคือของอย่างใด อย่างหนึ่งมีขนมเป็นต้นที่ควรเคี้ยว อันถึงพร้อมแล้วคือมีรสอร่อย ของควร บริโภคคืออาหารที่ควรบริโภคอันอร่อย ของควรลิ้มคือของที่ควรเลียกิน

 
  ข้อความที่ 201  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 201

อันอร่อย ของควรดื่มคือน้ำปานะ ๘ อย่างที่สมบูรณ์คืออร่อย และโภชนะ คืออาหารที่ควรกิน บรรจุให้เต็มที่ในบาตรมณีมัย คือทำด้วยศิลาอันงาม คือดี แล้วถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้นั่งลงแล้ว อธิบายว่า นิมนต์ให้รับเอาแล้ว.

อริยมณฑลทั้งหมดนั้น คือหมู่พระอริยเจ้าทั้งหมดนั้น เป็นผู้มี ทิพยจักษุเสมอกัน เป็นผู้เกลี้ยงเกลา อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย ทิพยจักษุ เป็นผู้เกลี้ยงเกลา คือเป็นผู้สละสลวย คืองดงาม เพราะเว้น จากกิเลสทั้งปวง ครองจีวร คือเป็นผู้พรั่งพร้อมกันด้วยไตรจีวร เป็น ผู้อันเราให้อิ่มหนำสำราญบริบูรณ์ด้วยของหวาน น้ำตาลกรวด น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และข้าวชั้นดี.

หมู่พระอริยเจ้าเหล่านั้นอันเราให้อิ่มหนำอย่างนี้แล้ว เข้าสู่ห้องแก้ว คือเรือนมีห้องอันนิรมิตด้วยรัตนะทั้ง ๗ แล้วสำเร็จสีหไสยาบนที่นอนอัน มีค่ามาก คือบนเตียงอันหาค่ามิได้ ดุจไกรสรราชสีห์มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย คือนอนอยู่ในถ้ำฉะนั้น อธิบายว่า สีหมฤคราชนอนตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า เอาเท้าขวาทำเป็นที่หนุนศีรษะ วางเท้าซ้ายทอดไป ตรงๆ เอาหางซุกไว้ในระหว่างหัวไส้ แล้วนิ่งๆ ฉันใด หมู่พระอริยเจ้าทั้งหลายก็สำเร็จ คือกระทำการนอน ฉันนั้น.

อธิบายความว่า หมู่พระอริยเจ้าเหล่านั้น ครั้นสำเร็จสีหไสยาอย่าง นี้แล้ว รู้ตัวอยู่คือสมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ลุกขึ้นแล้วคือลุกขึ้นอย่าง เรียบร้อย แล้วคู้บัลลังก์บนที่นอน คือทำการนั่งทำขาอ่อนให้แนบ ติดกันไป.

 
  ข้อความที่ 202  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 202

บทว่า โคจรํ สพฺพพุทฺธานํ ความว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย ความยินดีในฌาน คือเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความยินดีในฌาน อันเป็น โคจร คืออารมณ์ของพระพุทธเจ้าทั้งปวงทั้งที่ล่วงไปแล้วและที่ยังไม่มา. บทว่า อญฺเ ธมฺมานิ เทเสนฺติ ความว่า บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าพวกหนึ่ง คือบางพวกแสดงธรรม อีก พวกหนึ่งเล่นคือรื่นรมย์ด้วยฤทธิ์ คือด้วยการเล่นฌานมีปฐมฌานเป็นต้น.

ความอธิบายต่อไปว่า บางพวกอบรมอภิญญา คืออภิญญา ๕ ให้เชี่ยวชาญ คือทำให้ชำนาญ คือบรรดาอภิญญา ๕ ย่อมถึง คือเข้า อภิญญาอันไปคือถึง บรรลุความชำนาญ ด้วยความชำนาญ ๕ ประการ กล่าวคือการนึก การเข้า การออก การหยุดยืน และการพิจารณา. บางพวกแผลงฤทธิ์ คือทำการแผลงฤทธิ์ให้เป็นหลายพันคน ได้แก่ แผลงฤทธิ์มีอาทิอย่างนี้ คือแม้คนเดียวทำให้เป็นหลายคน แม้หลายคน ทำให้เป็นคนเดียวก็ได้.

บทว่า พุทฺธาปิ พุทฺเธ ความว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ประชุมกันอย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถึงปัญหาอันเป็นวิสัย คือเป็นอารมณ์ของพระสัพพัญพัญญุตญาณ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นย่อมตรัสรู้แจ้งจริง คือตรัสรู้โดยพิเศษไม่มีส่วนเหลือ ซึ่ง ฐานะคือเหตุ ที่ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะลึกซึ่งโดยอรรถ อันละเอียดคือสุขุมด้วย พระปัญญา.

ในกาลนั้น แม้พระสาวกทั้งหลายผู้ประชุมกันอยู่ในปราสาทของเรา ย่อมถามปัญหากะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ถาม

 
  ข้อความที่ 203  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 203

ปัญหากะสาวกดือศิษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าและพระสาวกเหล่านั้น ต่าง ถามปัญหากันและกัน ต่างพยากรณ์คือแก้ปัญหากันและกัน.

เมื่อจะทรงแสดงพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น โดยมีภาวะเป็นอย่างเดียว กันอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า พุทฺธา ปจฺเจกพุทฺธา จ ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกคือศิษย์ และผู้ปรนนิบัติคือนิสิต ทั้งหมดนี้ยินดีอยู่ด้วยความ ยินดีของตนๆ เร้นอยู่ ย่อมอภิรมย์อยู่ในปราสาทของเรา.

พระเจ้าติโลกวิชัยจักรพรรดิราชนั้น ครั้นทรงแสดงอาจารสมบัติ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ในเวชยันตปราสาทของพระองค์อย่างนี้ แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอานุภาพของพระองค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ฉตฺตา ติฏฺนฺติ รตนา ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า ฉัตรแก้ว อัน ล้วนแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพวงมาลัยทองเป็นทิวแถว คือห้อย ตาข่ายทองอยู่ประจำ. ฉัตรทั่งหลายวงด้วยข่ายแก้วมุกดา คือล้อมด้วย ข่ายแก้วมุกดา เพียงแต่คิดว่า ฉัตรทุกชนิดจงกั้นอยู่เหนือกระหม่อมคือ ศีรษะเรา ก็ย่อมปรากฏขึ้น.

เพดานผ้าวิจิตด้วยดาวทอง คือแวววาวด้วยดาวทองจงมี คือจง บังเกิดขึ้น. อธิบายว่า เพดานมิใช่น้อยทุกชนิด วิจิตรคือมีสีหลายอย่าง ดาษด้วยมาลัย คือแผ่ไปด้วยดอกไม้ จงกั้นอยู่เหนือกระหม่อม คือส่วน เบื้องบนแห่งที่เป็นที่นั่ง.

เชื่อมความว่า สระโบกขรณีดาดาษ คือกลาดเกลื่อนด้วยพวงดอกไม้ คือพวงของหอมและดอกไม้หลายอย่าง งดงามด้วยพวงของหอม คือ พวงสุคนธชาติมีจันทน์ หญ้าฝรั่นและกฤษณาเป็นต้น. อธิบายว่า สระ-

 
  ข้อความที่ 204  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 204

โบกขรณีเกลื่อนกล่นด้วยพวงผ้า คือพวงผ้าอันหาด่ามิได้ มีผ้าปัตตุณณะ และผ้าจีนะเป็นต้น ประดับตกแต่งด้วยพวงรัตนะทั้ง ๗. ดาดาษด้วย ดอกไม้ คือดาดาษด้วยดอกไม้หอมมีจำปา สฬละ และจงกลนีเป็นต้น วิจิตรงดงามด้วยดี. สระโบกขรณีมีอะไรอีกบ้าง? คือสระโบกขรณีอบ อวลด้วยสุคนธชาติอันมีกลิ่นหอมน่าพอใจยิ่ง. เจิมด้วยของหอมไว้โดยรอบ คือประดับด้วยของหอมที่เอานิ้วทั้ง ๕ ไล้ทาไว้ สระโบกขรณีอันมีอยู่ใน ทิศทั้ง ๔ ของปราสาท มุ่งด้วยเครื่องมุงเหมคือมุงด้วยเครื่องมุงอันเป็น ทอง และเพดานทอง ดาดาษแผ่เต็มไปด้วยปทุมและอุบล ปรากฏเป็น สีทองในรูปทอง สระโบกขรณีฟุ้งไปด้วยละอองเรณูของดอกปทุม คือ ขจรขจายไปด้วยละอองธุลีของดอกปทุม งดงามอยู่.

รอบๆ เวชยันตปราสาทของเรา มีต้นไม้มีต้นจำปาเป็นต้นออก ดอกทุกต้น นี้เป็นต้นไม้ดอก. ดอกไม้ทั้งหลายหล่นมาเองแล้วลอยไป โปรยปราสาท อธิบายว่า โปรยลงเบื้องบนปราสาท.

มีอธิบายว่า ในเวชยันตปราสาทของเรานั้น มีนกยูงฟ้อน มีหมู่ หงส์ทิพย์ คือหงส์เทวดาส่งเสียงร้อง หมู่นกการวิก คือโกกิลาที่มีเสียง เพราะขับขาน คือทำการขับร้อง และหมู่นกอื่นๆ ที่ไม่สำคัญ ก็ร่ำร้อง ด้วยเสียงอัน ไพเราะอยู่โดยรอบปราสาท.

รอบๆ ปราสาท มีกลองขึงหนังหน้าเดียวและกลองขึงหนังสองหน้าเป็นต้นทั้งหมดได้ดังขึ้น คือได้ตีขึ้น พิณนั้นทั้งหมดซึ่งมีสายมิใช่น้อย ได้ดีดขึ้น คือส่งเสียง. สังคีตทุกชนิด คือเป็นอเนกประการ จงเป็นไป คือจงบรรเลง อธิบายว่า จงขับขานขึ้น.

 
  ข้อความที่ 205  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 205

ในพุทธเขตมีกำหนดเพียงใด คือในที่มีประมาณเท่าใด ได้แก่ ในหมื่นจักรวาล และในจักรวาลอื่นจากหมื่นจักรวาลนั้น บัลลังก์ทอง สมบูรณ์ด้วยความโชติช่วง คือสมบูรณ์ด้วยรัศมี ไม่มีช่องว่าง ใหญ่โต สำเร็จด้วยรัตนะทั่วทุกด้าน คือเขาทำขจิตด้วยรัตนะทั้ง ๗ จงตั้งอยู่ ต้นไม้ ประดับประทีป คือต้นไม้มีน้ำมันตามประทีปจงลุกเป็นไฟโพลงอยู่ คือ สว่างด้วยประทีปรอบๆ ปราสาท. เป็นไม้ประทีปติดต่อกันไปเป็นหมื่นดวง คือเป็นหมื่นดวงติดต่อกันกับหมื่นดวง จงเป็นประทีปรุ่งเรืองเป็นอัน เดียวกัน คือเป็นประดุจประทีปดวงเดียวกัน อธิบายว่า จงลุกโพลง.

หญิงคณิกาคือหญิงฟ้อนผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับ หญิงขับร้อง คือผู้ทำเสียงด้วยปาก จงฟ้อนไปรอบๆ ปราสาท. หมู่นางอัปสรคือหมู่ หญิงเทวดา จงฟ้อนรำ. สนามเต้นรำต่างๆ คือมณฑลสนามเต้นรำ ต่างๆ มีสีเป็นอเนกประการ จงฟ้อนรำรอบๆ ปราสาท ชื่อว่าเขา เห็นกันทั่วไป อธิบายว่า จงปรากฏ.

อธิบายว่า ในครั้งนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่าติโลกวิชัย ให้ยกธงทั้งปวงมี ๕ สี คือมีสี ๕ สี มีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น วิจิตร คืองดงามด้วยสีหลายหลาก บนยอดไม้ บนยอดเขา คือยอดเขาหิมพานต์ และเขาจักรวาลเป็นต้น บนยอดเขาสิเนรุ และในที่ทั้งปวง ในจักรวาล ทั้งสิ้น.

อธิบายว่า พวกคนคือคนจากโลกอื่น พวกนาคจากโลกนาค พวกคนธรรพ์และเทวดาจากเทวโลก ทั้งหมดจงมาคือจงเข้ามา. พวก คนเป็นต้นเหล่านั้นนมัสการ คือทำการนอบน้อมเรา กระทำอัญชลี คือ ทำกระพุ่มมือ แวดล้อมเวชยันตปราสาทของเรา.

 
  ข้อความที่ 206  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 206

พระเจ้าจักรพรรดิติโลกวิชัยนั้น ครั้นพรรณนาอานุภาพปราสาท และอานุภาพของตนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะให้ถือเอาผลบุญที่คนทำไว้ ด้วยสมบัติ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยํ กิญฺจิ กุสลํ กมฺมํ ดังนี้. อธิบายว่า กิริยากล่าวคือกุศลกรรมอย่างไดอย่างหนึ่งที่จะพึงการทำมีอยู่ กุศลกรรม ที่จะพึงทำทั้งหมดนั้น เราทำแล้วด้วยกาย วาจา และใจ คือด้วยไตรทวาร ให้เป็นอันทำดีแล้ว คือให้เป็นอันทำด้วยดีแล้วในไตรทศ อธิบายว่า กระทำให้ควรแก่การเกิดขึ้นในภพดาวดึงส์.

เมื่อจะให้ถือเอาอีกจึงกล่าวว่า เย สตฺตา สญฺณิโน ดังนี้เป็นต้น ในคำนั้นมีอธิบายว่า สัตว์เหล่าใด จะเป็นมนุษย์ เทวดาหรือพรหมก็ตาม ที่มีสัญญา คือประกอบด้วยสัญญามีอยู่ และสัตว์เหล่าใดที่ไม่มีสัญญา คือ เว้นจากสัญญา ได้แก่สัตว์ผู้ไม่มีสัญญาย่อมมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจง เป็นผู้มีส่วนบุญที่เรากระทำแล้ว คือจงเป็นผู้มีบุญ

พระโพธิสัตว์เมื่อจะให้ถือเอาแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เยสํ กตํ ดังนี้. อธิบายว่า บุญที่เราทำแล้วอันชน นาค คนธรรพ์และเทพเหล่าใด รู้ดีแล้วคือทราบแล้ว เราให้ผลบุญแก่นรชนเป็นต้นเหล่านั้น นรชน เป็นต้นเหล่าใด ไม่รู้ว่าเราให้บุญที่เราทำแล้วนั้น เทพทั้งหลายจงไปแจ้ง ให้รู้ อธิบายว่า จงบอกผลบุญนั้นแก่นรชนเป็นต้นเหล่านั้น.

สัตว์เหล่าใดในโลกทั้งปวงผู้อาศัยอาหารเลี้ยงชีวิต สัตว์เหล่านั้น ทั้งหมดจงได้โภชนะอันพึงใจทุกอย่างด้วยใจของเรา คือด้วยจิตของเรา อธิบายว่า จงได้ด้วยบุญฤทธิ์ของเรา.

ทานใดเราได้ให้แล้ว ด้วยจิตใจอันเลื่อมใส เรานำมาแล้ว คือยัง ความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นแล้ว ในทานนั้นด้วยจิตใจ. พระสัมพุทธเจ้าทุก

 
  ข้อความที่ 207  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 207

พระองค์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า และพระสาวกของพระชินเจ้า เราผู้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้บูชาแล้ว.

ด้วยกรรมที่เราทำดีแล้วนั้น คือด้วยกุศลกรรมที่เราเชื่อแล้วกระทำ ไว้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ คือด้วยความปรารถนาที่ทำไว้ด้วยใจ เรา ละคือทิ้งร่างกายมนุษย์ ได้แก่สรีระของมนุษย์ แล้วได้ไปสู่ดาวดึงสเทวโลก อธิบายว่า เราได้เกิดขึ้นในดาวดึงสเทวโลกนั้น เหมือนหลับ แล้วตื่นขึ้นฉะนั้น.

แต่นั้น พระเจ้าจักรพรรดิติโลกวิชัยได้สวรรคตแล้ว จำเดิมแต่นั้น เรารู้จักภพ ๒ ภพ คือชาติ ๒ ชาติที่มาถึง คือความเป็นเทวดา ได้แก่ อัตภาพของเทวดา และความเป็นมนุษย์ คืออัตภาพของมนุษย์. นอกจาก ๒ ชาติ เราไม่รู้จัก คือไม่เห็นคติอื่น คือความอุปบัติอื่น อันเป็นผลแห่ง ความปรารถนาด้วยใจคือด้วยจิต อธิบายว่า เป็นผลแห่งความปรารถนา ที่เราปรารถนาแล้ว.

บทว่า เทวานํ อธิโก โหมิ ความว่า ถ้าเกิดในเทวดา เราได้ เป็นผู้ยิ่งคือเป็นใหญ่ ได้แก่เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาทั้งหลาย ด้วย อายุ วรรณะ พละ และเดช. ถ้าเกิดในมนุษย์ เราย่อมเป็นใหญ่ใน มนุษย์ คือเป็นอธิบดี เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง เราเป็นพระราชาผู้เพียบพร้อม คือสมบูรณ์ด้วยรูปอันยิ่ง คือด้วยรูปสมบัติ และด้วย ลักษณะ คือลักษณะส่วนสูงและส่วนใหญ่ ไม่มีผู้เสมอ คือเว้นคนผู้เสมอ ด้วยปัญญา ได้แก่ปัญญาเครื่องรู้ปรมัตถ์ในภพที่เกิดแล้วๆ อธิบายว่า ไม่มีใครๆ เสมอเหมือนเรา.

 
  ข้อความที่ 208  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 208

เพราะผลบุญอันเป็นบุญสมภารที่เรากระทำไว้แล้ว โภชนะอัน ประเสริฐอร่อยมีหลายอย่างคือมีประการต่างๆ รัตนะทั้ง ๗ มากมายมี ประมาณไม่น้อย และผ้าปัตตุณณะและผ้าโกเสยยะเป็นต้นหลายชนิด คือ เป็นอเนกประการ จากฟากฟ้าคือนภากาศมา คือเข้ามาหาเรา ได้แก่สำนัก เราโดยเร็วพลัน ในภพที่เกิดแล้วๆ.

เราเหยียดคือชี้มือไปยังที่ใดๆ จะเป็นที่แผ่นดิน บนภูเขา บน อากาศ ในน้ำ และในป่า ภักษาทิพย์คืออาหารทิพย์ย่อมเข้ามา คือ เข้ามาหาเรา ได้แก่สำนักเราจากที่นั้นๆ อธิบายว่า ย่อมปรากฏขึ้น. อนึ่ง รัตนะทั้งปวง ของหอมมีจันทน์เป็นต้นทุกอย่าง ยานคือพาหนะ ทุกชนิด มาลาคือดอกไม้ทั้งหมดมีจำปา กากะทิงและบุนนาคเป็นต้น เครื่องอลังการคือเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด นางทิพกัญญาทุกนาง น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดทุกอย่าง ของเคี้ยวคือของควรเคี้ยวมีขนมเป็นต้นทุกชนิด ย่อมเข้ามา คือย่อมเข้ามาหาเราคือสำนักเราโดยลำดับ.

บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา แปลว่า เพื่อต้องการบรรลุมรรคญาณ ทั้ง ๔ อันสูงสุด. อธิบายว่า เราได้กระทำ คือบำเพ็ญอุดมทานใด เพราะ อุดมทานนั้น เรากระทำภูเขาหินให้บันลือเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น ให้ กระหึ่มเสียงดัง คือเสียงกึกก้องมากมาย ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ได้แก่ มนุษยโลกและเทวโลกทั้งสิ้นให้ร่าเริง คือทำให้ถึงความโสมนัส จะได้ เป็นพระพุทธเจ้าผู้มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก คือในสกลโลก ทั้ง ๓.

บทว่า ทิสา ทสวิธา โลเก ความว่า ในจักรวาลโลก มีทิศ อยู่ ๑๐ อย่าง คือ ๑๐ ส่วน ที่สุดย่อมไม่มีแก่ผู้ไป คือผู้ดำเนินไปอยู่

 
  ข้อความที่ 209  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 209

ในส่วนนั้น. ครั้งเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในที่ที่เราไปแล้วๆ หรือใน ทิศาภาคนั้น มีพุทธเขตคือพุทธวิสัยนับไม่ถ้วน คือยกเว้นการนับ.

บทว่า ปภา ปกิตฺติตา ความว่า ในกาลเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ครั้งนั้น รัศมีของเรา รัศมีคือแสงสว่างของจักรแก้ว และแก้วมณีเป็นต้น นำรัศมีมา คือเปล่งรัศมีเป็นคู่ๆ ปรากฏแล้ว ในระหว่างนี้ คือใน ระหว่างหมื่นจักรวาล มีข่ายคือหมู่รัศมีได้มีแสงสว่างกว้างขวาง คือ มากมาย.

บทว่า เอตฺตเก โลกธาตุมฺหิ ความว่า ในหมื่นจักรวาล ชนทั้งปวง ย่อมดู คือเห็นเรา. เทวดาทั้งปวงจนกระทั่งเทวโลกจงอนุวรรตน์ตาม คือ เกื้อกูลเรา.

บทว่า วิสิฏฺมธุนาเทน แปลว่า ด้วยเสียงบันลืออันไพเราะสละ สลวย. บทว่า อมตเภริมาหนึ แปลว่า เราตีกลองอมตเภรี ได้แก่ กลองอันประเสริฐ. ชนทั้งปวงในระหว่างนี้ คือระหว่างหมื่นจักรวาลนี้ จงฟัง คือจงใส่ใจวาจาที่เปล่งคือเสียงอันไพเราะของเรา.

เมื่อฝนคือธรรมตกลง คือเมื่อฝนมีอรรถอันเป็นปรมัตถ์ ลึกซึ้ง ไพเราะ สุขุม อันเป็นโวหารของพระธรรมเทศนานั้น ตกลงมาด้วยการ บันลืออันล้วนแล้วด้วยพระธรรนเทศนา ภิกษุและภิกษุณีเป็นต้นทั้งหมด จงเป็นผู้ไม่มีอาสวะคือไม่มีกิเลส ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า เยตฺถ ปจฺฉิมกา สตฺตา มีอธิบายว่า บรรดาสัตว์คือบริษัท ๔ อันเป็นหมวดหมู่นี้ สัตว์เหล่าใดเป็นปัจฉิมกสัตว์ คือเป็นผู้ต่ำสุดด้วย อำนาจคุณความดี สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด จงเป็นพระโสดาบัน.

 
  ข้อความที่ 210  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 210

ในคราวเป็นพระเจ้าจักรพรรดิโลกวิชัยนั้น เราได้ให้ทานที่ควร ให้ บำเพ็ญศีลบารมีโดยไม่เหลือ บรรลุถึงบารมี คือที่สุดในเนกขัม คือเนกขัมมบารมี พึงเป็นผู้บรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด คือมรรคญาณ ทั้ง ๔.

เราสอบถามบัณฑิต คือนักปราชญ์ผู้มีปัญญา คือถามว่า ท่านผู้ เจริญ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล คนทำอะไรจึงจะเป็นผู้มีส่วนแห่งสวรรค์และนิพพานทั้งสอง อธิบายว่า บำเพ็ญปัญญาบารมี ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า กตฺวา วีริยมุตฺตมํ ได้แก่ การทำความเพียรอันสูงสุด คือ ประเสริฐสุด ได้แก่ ไม่ขาดตอน ในการยืนและการนั่งเป็นต้น อธิบายว่า บำเพ็ญวิริยบารมี. เราถึงบารมี คือที่สุดแห่งอธิวาสนขันติที่คนร้ายทั้งสิ้นไม่ทำความเอื้อเฟื้อ คือได้บำเพ็ญ ขันติบารมีแล้ว พึงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด คือความเป็นพระพุทธเจ้าอันอุดม.

บทว่า กตฺวา ทฬฺหมธิฏฺานํ ความว่า เรากระทำอธิษฐานบารมี มั่นโดยไม่หวั่นไหวว่า แม้เมื่อสรีระและชีวิตของเราจะพินาศไป เราจัก ไม่งดเว้นบุญกรรม บำเพ็ญที่สุดแห่งสัจจบารมีว่า แม้เมื่อศีรษะจะขาด เรา จักไม่กล่าวมุสาวาท ถึงที่สุดแห่งเมตตาบารมี โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุข ไม่มีโรคป่วยไข้ แล้วบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

เราเป็นผู้เสมอ คือมีใจเสมอในอารมณ์ทั้งปวง คือในการได้สิ่งมี ชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ในการไม่ได้สิ่งเหล่านั้น ในสุขทางกายและทางใจ ในทุกข์เช่นนั้นคือที่เป็นไปทางกายและทางใจ ในการยกย่องที่ชนผู้มี

 
  ข้อความที่ 211  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 211

ความเอื้อเฟื้อกระทำ และในการดูหมิ่น บำเพ็ญอุเบกขาบารมี บรรลุแล้ว อธิบายว่า พึงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

ท่านทั้งหลายจงเห็นคือรู้ความเกียจคร้าน คือความเป็นผู้เกียจคร้าน โดยความเป็นภัย คือโดยอำนาจว่าเป็นภัยว่า มีส่วนแห่งอบายทุกข์ เห็น คือรู้ความไม่เกียจคร้าน คือความเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ความประพฤติอัน ไม่หดหู่ ชื่อว่าความเพียรโดยความเกษม คือโดยอำนาจความเกษมว่า มี ปกติให้ไปสู่นิพพาน แล้วจงเป็นผู้ปรารภความเพียร. นี้เป็นพุทธานุสาสนี คือนี้เป็นความพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า.

บทว่า วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา ความว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาท คือการทะเลาะโดยความเป็นภัย เห็นคือรู้ว่า ความวิวาทมีส่วนแห่งอบาย และเห็นคือรู้ความไม่วิวาท คือความงดเว้นจากการวิวาทว่าเป็นเหตุให้ บรรลุพระนิพพาน แล้วจงเป็นผู้สมัครสมานกัน คือมีจิตมีอารมณ์เลิศ เป็นอันเดียว เป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน คือสละสลวย งดงามด้วยเมตตา อันดำเนินไปในธุระหน้าที่. กถาคือการเจรจา การกล่าวนี้เป็นอนุสาสนี คือเป็นการให้โอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ท่านทั้งหลายจงเห็น คือจงรู้ความประมาท คือการอยู่โดยปราศจาก สติ ในการยืนและการนั่งเป็นต้น โดยความเป็นภัยว่า เป็นเหตุให้เป็นไป เพื่อความทุกข์ ความเป็นผู้มีรูปชั่วและความเป็นผู้มีข้าวน้ำน้อยเป็นต้น และเป็นเหตุให้ไปสู่อบายเป็นต้น ในสถานที่เกิดแล้วๆ แล้วจงเห็นคือ จงรู้อย่างชัดแจ้งถึงความไม่ประมาท คือการอยู่ด้วยสติในอิริยาบถทั้งปวง โดยเป็นความเกษม คือโดยความเจริญว่า เป็นเหตุเครื่องบรรลุพระนิพพาน แล้วจงอบรม คือจงเจริญ จงใส่ใจถึงมรรคมีองค์ ๘ คือมรรค

 
  ข้อความที่ 212  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 212

ได้แก่อุบายเครื่องบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันมีองค์ประกอบ ๘ อย่าง คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ. กถาคือการกล่าว ได้แก่การ เจรจา การเปล่งวาจา นี้เป็นพุทธานุสาสนี อธิบายว่า เป็นความพร่ำสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า สมาคตา พหู พุทฺธา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นับได้หลายแสนมาพร้อมกันแล้ว คือเป็นผู้ประชุมกันแล้ว และพระอรหันตขีณาสพทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว คือเป็นผู้ประชุมกันแล้วโดย ประการทั้งปวง ได้แก่โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงนอบน้อม คือจงนมัสการกราบไหว้ ด้วยการกระทำความนอบน้อม ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายนั้นผู้ควร แก่การกราบไหว้.

ด้วยประการฉะนี้ คือด้วยประการดังเรากล่าวมาแล้วนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย คือใครๆ ไม่พึงอาจเพื่อจะคิด. ธรรมทั้งหลาย มีอาทิ คือสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ มรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่า พุทธธรรม. อีกอย่างหนึ่ง สภาวะแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย คือใครๆ ไม่อาจเพื่อจะคิด วิบากกล่าวคือ เทวสมบัติ มนุษย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เป็นอจินไตย คือในสิ่งที่พ้นจากวิสัยของการคิด ย่อมเป็นอันใครๆ ไม่อาจคิด คือล่วงพ้นจากการที่จะนับจำนวน.

ก็ด้วยลำดับคำมีประมาณเท่านี้ อุปมาเหมือนคนเดินทาง เมื่อใครๆ ถูกเขาถามว่า ขอจงบอกทางแก่เรา ก็บอกว่า จงละทางซ้ายถือเอาทาง

 
  ข้อความที่ 213  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 213

ขวา ดังนี้แล้วก็ทำกิจที่ควรทำในคามนิคม และราชธานีให้สำเร็จโดยทาง นั้น แม้จะไปใหม่อีกตามทางซ้ายมือสายอื่นที่เขาไม่ได้เดินกัน ก็ย่อม ทำกิจที่ควรทำในคามและนิคมเป็นต้นให้สำเร็จได้ ฉันใด พุทธาปทาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นให้สำเร็จได้ด้วยอปทานที่เป็นฝ่ายกุศลแล้ว เพื่อ ที่จะให้พุทธาปทานนั้นนั่นแลพิสดารออกไป ด้วยอำนาจอปทานที่เป็น ฝ่ายอกุศลบ้าง จึงตั้งหัวข้อปัญหาไว้ดังนี้ว่า

การทำทุกรกิริยา ๑ การกล่าวโทษ ๑ การด่าว่า ๑ การ กล่าวหา ๑ การถูกศิลากระทบ ๑ การเสวยเวทนาจากสะเก็ด หิน ๑

การปล่อยช้างนาฬาคิรี ๑ การถูกผ่าตัดด้วยศัสตรา ๑ การ ปวดศีรษะ ๑ การกินข้าวแดง ๑ ความเจ็บปวดสาหัสที่ กลางหลัง ๑ การลงโลหิต ๑ เหล่านี้เป็นเหตุฝ่ายอกุศล.

บรรดาข้อปัญหาเหล่านั้น ปัญหาข้อที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

การทำทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา ชื่อว่า ทำทุกรกิริยา. ในกาล แห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพราหมณ์ มาณพชื่อว่า โชติปาละ โดยที่เป็นชาติพราหมณ์จึงไม่เลื่อมใสในพระศาสนา เพราะวิบากของกรรมเก่าแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เขาได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ. จึงได้กล่าวว่า การตรัสรู้ของ สมณะโล้นจักมีมาแต่ที่ไหน การตรัสรู้เป็นของที่ได้โดยยากยิ่ง เพราะ วิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงได้เสวยทุกข์มีนรกเป็นต้นหลาย ร้อยชาติ ถัดมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นแหละ เขาทำ ชาติสงสารให้สิ้นไปด้วยกรรมที่ได้พยากรณ์ไว้นั้นนั่นแล ในตอนสุดท้าย

 
  ข้อความที่ 214  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 214

ได้อัตภาพเป็นพระเวสสันดร จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในภพดุสิต. จุติจากภพดุสิตนั้นด้วยการอาราธนาของเหล่าเทวดา บังเกิดในสักยตระกูล เพราะญาณแก่กล้าจึงละทิ้งราชสมบัติในสกลชมพูทวีปเสีย แล้วตัดกำ พระเกศาให้มีปลายเสมอกัน ด้วยดาบที่ลับไว้อย่างดี ที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที รับบริขาร ๘ อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ซึ่งเกิดขึ้นกลีบปทุม ในเวลาที่กัปยังตั้ง อยู่ซึ่งพระพรหมนำมาให้แล้วบรรพชา เพราะญาณทัสสนะคือพระโพธิ- ญาณยังไม่แก่กล้าก่อน จึงไม่รู้จักทางและมิใช่ทางแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสรีระเช่นกับเปรตผู้ไม่มีเนื้อและเลือด เหลือแต่กระดูก หนังและเอ็น ด้วยอำนาจที่บริโภคอาหามื้อเดียว คำเดียว เป็นผู้เดียว ทางเดียว และนั่งผู้เดียว บำเพ็ญทุกรกิริยามหาปธานความเพียรใหญ่ โดยนัยดังกล่าวไว้ในปธานสูตรนั่นแล ณ อุรุเวลาชนบทถึง ๖ พรรษา. พระโพธิสัตว์นั้นนึกถึงทุกรกิริยานี้ว่า ไม่เป็นทางแห่งการตรัสรู้ จึงกลับ เสวยอาหารประณีตในคาม นิคม และราชธานี มีอินทรีย์ผ่องใส มี มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ครบบริบูรณ์ เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑ์โดยลำดับ ชนะมารทั้ง ๕ ได้เป็นพระพุทธเจ้า.

ก็ในกาลนั้น เราได้เป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ได้กล่าว กะพระกัสสปสุคตเจ้าว่า การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีนาแต่ ไหน การตรัสรู้เป็นของได้ยากยิ่ง.

เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจึงต้องทำทุกรกิริยามากมาย อยู่ที่ตำบลอุรุเวลาถึง ๖ ปี จากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ.

เราไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยหนทางนั้น เรา ถูกกรรมเก่าห้ามไว้ จึงได้แสวงหาโดยทางผิด.

 
  ข้อความที่ 215  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 215

เรามีบุญและบาปสิ้นไปหมดแล้ว เว้นจากความเร่าร้อน ทั้งปวง ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพานแล.

ในปัญหาข้อที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การกล่าวยิ่ง คือการคำว่า ชื่อว่า อัพภักขานะ. ได้ยินว่า ใน อดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลศูทร เป็นนักเลงชื่อ มุนาฬิ ผู้ไม่ มีชื่อเสียง ไม่มีความชำนาญอะไรอาศัยอยู่. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า สุรภิ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากไปถึงที่ใกล้ของเขาด้วยกิจ บางอย่าง. เขาพอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ได้ด่าว่าด้วยคำ เป็นต้นว่า สมณะนี้ทุศีล มีธรรมลามก. เพราะวิบากของอกุศลนั้น เขา จึงได้เสวยทุกข์ในนรกเป็นต้น หลายพันปี ในอัตภาพครั้งสุดท้ายนี้ ใน ตอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในภพดุสิต พวกเดียรถีย์ปรากฏขึ้น ก่อน เที่ยวแสดงทิฏฐิ ๖๒ หลอกลวงประชาชนอยู่นั้น จึงได้จุติจาก ดุสิตบุรี บังเกิดในสกุลสักยราช แล้วได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ. พวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ เสมือนหิ่งห้อยในตอนพระอาทิตย์ขึ้น จึง ผูกความอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าเที่ยวไปอยู่. สมัยนั้น เศรษฐีใน กรุงราชคฤห์ผูกตาข่ายในแม่น้ำคงคาแล้วเล่นอยู่ เห็นปุ่มไม้จันทร์แดง จึงคิดว่า ในเรือนของเรามีไม้จันทร์มากมาย จะให้เอาปุ่มไม้จันทร์แดง นี้เข้าเครื่องกลึง แล้วให้ช่างกลึงกลึงบาตรด้วยปุ่มไม้จันทร์แดงนั้น แล้ว แขวนที่ไม้ไผ่ต่อๆ ลำกัน ให้ตีกลองป่าวร้องว่า ผู้ใดมาถือเอาบาตรใบนี้ ได้ด้วยฤทธิ์ เราจักเป็นผู้จงรักภักดีต่อผู้นั้น.

 
  ข้อความที่ 216  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 216

ในกาลนั้น พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวกะบริษัทของตนอย่างนี้ เราจะไปใกล้ๆ ไม้ไผ่ ทำอาการดังว่าจะเหาะขึ้นในอากาศ พวกท่านจง จับบ่าเราแล้วห้ามว่า ท่านอย่ากระทำฤทธิ์เพราะอาศัยบาตรที่ทำด้วยไม้ เผาผีเลย เดียรถีย์เหล่านั้นพากันไปอย่างนั้น แล้วได้กระทำเหมือน อย่างนั้น.

ครั้งนั้น พระปิณโฑลภารทวาชะ และพระโมคคัลลานะ ยืนอยู่บน ยอดภูเขาหินประมาณ ๓ คาวุต กำลังห่มจีวรเพื่อต้องการจะรับบิณฑบาต ได้ยินเสียงโกลาหลนั้น. บรรดาพระเถระทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะพระปิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านจงเหาะไปเอาบาตรนั้น. พระปิณโฑลภารทวาชะนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเท่านั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเลิศของท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย ท่านนั่นแหละ จงถือเอา. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านถูกพระโมคคัลลานะบังคับว่า ท่าน นั่นแหละผมสั่งแล้ว จงถือเอาเถิด จึงทำภูเขาหินประมาณ ๓ คาวุต ที่ ตนยืนอยู่ ให้ติดที่พื้นเท้าแล้วให้ปกคลุมนครราชคฤห์เสียทั้งสิ้น เหมือน ฝาปิดหม้อข้าวฉะนั้น. ครั้งนั้น ชนชาวพระนครแลเห็นพระเถระนั้น ดุจ ด้ายแดงที่ร้อยในภูเขาแก้วผลึก พากันตะโกนว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ขอท่านจงคุ้มครองพวกกระผมด้วย ต่างก็กลัว จึงได้เอากระด้งเป็นต้น กั้นไว้เหนือศีรษะ. ทีนั้น พระเถระได้ปล่อยภูเขานั้นลงไว้ในที่ที่ตั้งอยู่ แล้วไปด้วยฤทธิ์ถือเอาบาตรนั้นมา. ครั้งนั้น ชนชาวพระนครได้กระทำ ความโกลาหลดังขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระเวฬุวนาราม ได้ทรงสดับ

 
  ข้อความที่ 217  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 217

เสียงนั้น จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า นั้นเสียงอะไร? พระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระภารทวาชะถือเอาบาตรมา ได้ ชนชาวพระนครจึงยินดีได้กระทำเสียงโห่ร้อง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อที่จะทรงปลดเปลื้องการกล่าวร้ายผู้อื่นต่อไป จึงทรงให้ นำบาตรนั้นมาทุบให้แตก แล้วทำการบดให้ละเอียดสำหรับเป็นยาหยอดตา แล้วทรงให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แหละครั้นทรงให้แล้ว จึงทรงบัญญัติ สิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรทำการแสดงฤทธิ์ ภิกษุใด ทำ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.

ลำดับนั้น เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า ข่าวว่าพระสมณโคดม บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย สาวกเหล่านั้นย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท ที่บัญญัติไว้นั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต พวกเราจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ จึง พากันเป็นหมวดหมู่ทำความโกลาหลอยู่ในที่นั้นๆ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับดังนั้น จึงเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงไหว้ แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเดียรถีย์บ่าวร้องว่า จักทำอิทธิปาฏิหาริย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร แม้อาตมภาพก็จักทำ.

พระราชาตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติสิกขาบท แก่สาวกทั้งหลายไว้แล้วมิใช่หรือ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักถามเฉพาะ พระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงตั้งสินไหมสำหรับผู้กินผลมะม่วงเป็นต้น ในอุทยานของพระองค์ว่า สินไหมมีประมาณเท่านี้ แม้สำหรับพระองค์ก็ ทรงตั้งรวมเข้าด้วยหรือ.

 
  ข้อความที่ 218  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 218

พระราชาทูลว่า ไม่มีสินไหมสำหรับข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น มหาบพิตร สิกขาบทที่ บัญญัติไว้แล้ว ย่อมไม่มีสำหรับอาตมภาพ.

พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาฏิหาริย์จักมีที่ไหน พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ที่โคนต้นคัณฑามพพฤกษ์ ใกล้เมือง สาวัตถี มหาบพิตร.

พระราชาตรัสว่า ดีละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักคอยดูปาฏิหาริย์นั้น.

ลำดับนั้น พวกเดียรถีย์ได้ฟังว่า นัยว่าปาฏิหาริย์จักมีที่โคนต้น คัณฑามพพฤกษ์ จึงให้ตัดต้นมะม่วงรอบๆ พระนคร. ชาวพระนคร ทั้งหลาย จึงพากันผูกมัดเตียงซ้อนๆ กัน และหอคอยเป็นต้น ในสถาน ที่อันเป็นลานใหญ่ ชาวชมพูทวีปเป็นกลุ่มๆ ได้ยืนแผ่ขยายไปตลอด ๑๒ โยชน์ เฉพาะในทิศตะวันออก แม้ในทิศที่เหลือ ก็ประชุมกันอยู่ โดยอาการอันสมควรแก่สถานที่นั้น.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกาลเวลาถึงเข้าแล้ว ในวันเพ็ญเดือน ๘ ทรงทำกิจที่ควรทำให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วเสด็จไปยังที่นั้นประทับนั่งอยู่ แล้ว. ขณะนั้น นายคนเฝ้าอุทยานชื่อว่าคัณฑะ เห็นมะม่วงสุกดีในรัง มดแดง จึงคิดว่า ถ้าเราจะถวายมะม่วงนี้แก่พระราชา ก็จะได้ทรัพย์อัน เป็นสาระมีกหาปณะเป็นต้น แต่เมื่อน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สมบัติในโลกนี้และโลกหน้าก็จักเกิดมี ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงน้อมถวายแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับมะม่วงนั้นแล้ว ดำรัสสั่ง

 
  ข้อความที่ 219  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 219

พระอานนทเถระว่า เธอจงคั้นผลมะม่วงนี้ทำให้เป็นน้ำปานะ. พระเถระ ได้กระทำตามพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่ม (น้ำ) ผลมะม่วง แล้ว ประทานเมล็ดมะม่วงแก่นายคนเฝ้าอุทยานแล้วตรัสว่า จงเพาะเมล็ด มะม่วงนี้. นายอุยยานบาลนั้นจึงคุ้ยทรายแล้วเพาะเมล็ดมะม่วงนั้น พระอานนทเถระเอาคนโทตักน้ำรด. ขณะนั้น หน่อมะม่วงก็งอกขึ้นมา เมื่อ มหาชนเห็นอยู่นั่นแหละ ก็ปรากฏเต็มไปด้วยกิ่ง ค่าคบ ดอก ผล และ ใบอ่อน. ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นเคี้ยวกินผลมะม่วงที่หล่นลงมา ไม่อาจให้ หมดสิ้นได้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตรัตนจงกรมบนยอดเขา มหาเมรุในจักรวาลนี้ จากจักรวาลทิศตะวันออกจนกระทั่งถึงจักรวาลทิศ ตะวันตก เมื่อจะทรงยังบริษัทมิใช่น้อยให้บันลือสีหนาท จึงทรงกระทำ มหาอิทธิปาฏิหาริย์ โดยนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถาธรรมบท ทรงย่ำยี พวกเดียรถีย์ทำให้พวกเขาถึงประการอันผิดแผกไปต่างๆ ในเวลาเสร็จ ปาฏิหาริย์ ได้เสด็จไปยังภพดาวดึงส์ โดยพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าใน ปางก่อนทรงประพฤติมาแล้ว ทรงจำพรรษาอยู่ในภพดาวดึงส์นั้น ทรง แสดงพระอภิธรรมติดต่อกันตลอดไตรมาส ทรงทำเทวดามิใช่น้อยมีพระมารดาเป็นประธาน ให้บรรลุพระโสดาปัตติมรรค ออกพระพรรษาแล้ว เสด็จลงจากเทวโลก อันหมู่เทวดาและพรหมมิใช่น้อยห้อมล้อม เสด็จลง ยังประตูเมืองสังกัสสะ ได้ทรงกระทำการอนุเคราะห์ชาวโลกแล้ว. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีลาภสักการะท่วมท้นท่ามกลางชมพูทวีป ประดุจ แม่น้ำใหญ่ ๕ สาย (คือ คงคา อจิรวดี ยมุนา สรภู มหี) ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 220  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 220

ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ เป็นทุกข์ เสียใจ คอตก นั่งก้มหน้าอยู่. ในกาลนั้น อุบาสิกาของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ชื่อนาง จิญจมาณวิกา ถึงความเป็นผู้เลอเลิศด้วยรูปโฉม เห็นพวกเดียรถีย์ เหล่านั้นนั่งอยู่อย่างนั้น จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลาย จึงนั่งเป็นทุกข์ เสียใจอยู่อย่างนี้? พวกเดียรถีย์กล่าวว่า น้องหญิง ก็เพราะ เหตุไรเล่า เธอจึงได้เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย. นางจิญจมาณวิกาถามว่า มีเหตุอะไร ท่านผูเจริญ. เดียรถีย์กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง จำเดิมแต่กาลที่ พระสมณโคดมเกิดขึ้นมา พวกเราเสื่อมลาภสักการะหมด ชาวพระนคร ไม่สำคัญอะไรๆ พวกเรา. นางจิญจมาณวิกาถามว่า ในเรื่องนี้ ดิฉันควร จะทำอะไร. เดียรถีย์ตอบว่า เธอควรจะยังโทษมิใช่คุณให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม. นางจิญจมาณวิกานั้นกล่าวว่า ข้อนั้น ไม่เป็นการหนักใจสำหรับ ดิฉันดังนี้แล้ว เมื่อจะทำความอุตสาหะในการนั้น จึงไปยังพระเชตวันวิหาร ในเวลาวิกาล แล้วอยู่ในสำนักของพวกเดียรถีย์ ครั้นตอนเช้า ในเวลาที่ ชนชาวพระนครถือของหอมเป็นต้นไปเพื่อจะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงออกมา ทำทีเหมือนออกจากพระเชตวันวิหาร ถูกถามว่า นอน ที่ไหน จึงกล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยที่ที่เรานอนแก่พวกท่าน ดังนี้ แล้วก็หลีกไปเสีย. เมื่อกาลเวลาดำเนินไปโดยลำดับ นางถูกถามแล้ว กล่าวว่า เรานอนในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมแล้วออกมา พวกปุถุชนผู้เขลาเชื่อดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่เชื่อ. วันหนึ่ง นางผูกท่อนไม้กลมไว้ที่ท้องแล้วนุ่งผ้าแดงทับไว้ แล้วไปกล่าว กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งเพื่อทรงแสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมทั้ง

 
  ข้อความที่ 221  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 221

พระราชาอย่างนี้ว่า พระสมณะผู้เจริญ ท่าน (มัวแต่) แสดงธรรม ไม่ จัดแจงกระเทียมและพริกเป็นต้น เพื่อเราผู้มีครรภ์ทารกที่เกิดเพราะอาศัย ท่าน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนน้องหญิง ท่านกับเราเท่านั้น ย่อมรู้ภาวะอันจริงแท้. นางจิญจมาณวิกากล่าวว่า อย่างนั้นทีเดียว เรา กับท่าน ๒ คนเท่านั้น ย่อมรู้คราวที่เกี่ยวข้องกันด้วยเมถุน คนอื่นย่อม ไม่รู้.

ขณะนั้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดงอาการเร่าร้อน. ท้าวสักกะทรงรำพึงอยู่ ทรงรู้เหตุนั้น จึงตรัสสั่งเทวบุตร ๒ องค์ว่า บรรดาท่านทั้งสอง องค์หนึ่งนิรมิตเพศเป็นหนู กัดเครื่องผูกท่อนไม้กลม ของนางให้ขาด องค์หนึ่งทำมณฑลของลมให้ตั้งขึ้น พัดผ้าที่นางห่มให้ เวิกขึ้นเบื้องบน. เทวบุตรทั้งสองนั้นได้ไปกระทำอย่างนั้นแล้ว. ท่อนไม้ กลมตกลง ทำลายหลังเท้าของนางแตก. ปุถุชนทั้งหลายผู้ประชุมกันอยู่ ในโรงธรรมสภา ทั้งหมดพากันกล่าวว่า เฮ้ย! นางโจรร้าย เจ้าได้ทำการ กล่าวหาความเห็นปานนี้ แก่พระผู้เป็นเจ้าของโลกทั้ง ๓ ผู้เห็นปานนี้ แล้วต่างลุกขึ้นเอากำปั้นประหารคนละที นำออกไปจากที่ประชุม เมื่อ นางล่วงพ้นไปจากทัสสนะคือการเห็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า แผ่นดินได้ ให้ช่อง. ขณะนั้น เปลวไฟจากอเวจีนรกตั้งขึ้น หุ้มห่อนางเหมือนหุ้มด้วย ผ้ากัมพลแดงที่ตระกูลให้ แล้วซัดลงไปในอเวจีนรก. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มีลาภสักการะอย่างล้นเหลือ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระพุทธเจ้าผู้ทรงครอบงำสิ่งทั้งปวง มีสาวกชื่อว่านันทะ เรากล่าวตู่พระสาวกชื่อว่านันทะนั้น จึงได้ท่องเที่ยวไปใน นรก สิ้นกาลนาน.

 
  ข้อความที่ 222  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 222

เราท่องเที่ยวไปในนรกตลอดกาลนานถึงหมื่นปี ได้ความ เป็นมนุษย์แล้ว ได้รับการกล่าวตู่มากมาย.

เพราะกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกาได้กล่าวตู่เรา ด้วยคำอันไม่เป็นจริงต่อหน้าหมู่ชน.

ในปัญหาข้อที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การกล่าวยิ่ง คือ การด่า ชื่อว่า อัพภักขานะ. ได้ยินว่า ในอดีต กาล พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดที่ไม่ปรากฏชื่อเสียง เป็นนักเลงชื่อว่า มุนาฬิ เพราะกำลังแรงที่คลุกคลีกับคนชั่ว จึงได้ด่าพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า สุรภิ ว่า ภิกษุนี้ทุศีล มีธรรมอันลามก. เพราะวจีกรรมอันเป็น อกุศลนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้อยู่ในนรกหลายพันปี ในอัตภาพครั้ง สุดท้ายนี้ เกิดเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยกำลังแห่งความสำเร็จบารมี ๑๐ ได้ เป็นผู้ถึงลาภอันเลิศและยศอันเลิศ. พวกเดียรถีย์กลับเกิดความอุตสาหะขึ้น อีก คิดกันว่า พวกเราจักยังโทษมิใช่ยศ ให้เกิดแก่พระสมณโคดมได้ อย่างไรหนอ พากันนั่งเป็นทุกข์เสียใจ.

ครั้งนั้น ปริพาชิกาผู้หนึ่งชื่อว่า สุนทรี เข้าไปหาเดียรถีย์เหล่านั้น ไหว้แล้วยืนอยู่ เห็นเดียรถีย์ทั้งหลายพากันนิ่งไม่พูดอะไร จึงถามว่า ดิฉัน มีโทษอะไรหรือ? พวกเดียรถีย์กล่าวว่า พวกเราถูกพระสมณโคดม เบียดเบียนอยู่ ท่านกลับมีความขวนขวายน้อยอยู่ ข้อนี้เป็นโทษของท่าน นางสุนทรีกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ดิฉันจักกระทำอย่างไรในข้อนั้น เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจักอาจหรือที่จะทำโทษมิใช่คุณให้เกิดขึ้น แก่พระสมณโคดม. นางสุนทรีกล่าวว่า จักอาจซิ พระผู้เป็นเจ้า ครั้น กล่าวแล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ก็กล่าวแก่พวกคนที่ได้พบเห็นว่า ตนนอน

 
  ข้อความที่ 223  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 223

ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมแล้วจึงออกมา ดังนี้ โดยนัย ดังกล่าวมาแล้วด่าบริภาษอยู่ ฝ่ายพวกเดียรถีย์ก็ด่าบริภาษอยู่ว่า ผู้เจริญ ทั้งหลาย จงเห็นกรรมของพระสมณโคดม. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ในชาติอื่นๆ ในครั้งก่อน เราเป็นนักเลงชื่อว่ามุนาฬิ ได้ กล่าวตู่พระสุรภิปัจเจกพุทธเจ้าผู้ไม่ประทุษร้าย.

เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจงท่องเที่ยวไปในนรกสิ้น กาลนาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี.

ด้วยเศษกรรมที่เหลือนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับ การกล่าวตู่ เพราะเหตุแห่งนางสุนทรี.

ในปัญหาข้อที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การด่า การบริภาษโดยยิ่ง คือโดยพิเศษ ชื่อว่า อัพภักขานะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นผู้ศึกษา เล่าเรียนมาก คนเป็นอันมากสักการบูชา ได้บวชเป็นดาบส มีรากเหง้า และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร สอนมนต์พวกมาณพจำนวนมาก สำเร็จการ อยู่ในป่าหิมพานต์. ดาบสรูปหนึ่งได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ได้มา ยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์นั้นพอเห็นพระดาบสนั้น เท่านั้น ถูกความริษยาครอบงำ ได้คำว่าพระฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายนั้นว่า ฤๅษีนี้หลอกลวง บริโภคกาม และบอกกะพวกศิษย์ของตนว่า ฤๅษีนี้ เป็นผู้ไม่มีอาจาระเห็นปานนี้. ฝ่ายศิษย์เหล่านั้นก็พากันด่า บริภาษอย่าง นั้นเหมือนกัน. ด้วยวิบากของอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงได้ เสวยทุกข์ในนรกอยู่พันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้เป็นพระพุทธเจ้า ถึง

 
  ข้อความที่ 224  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 224

ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ ปรากฏดุจพระจันทร์เพ็ญในอากาศ ฉะนั้น.

แม้ด้วยการด่าว่าถึงอย่างนั้น พวกเดียรถีย์ก็ยังไม่พอใจ ให้นาง สุนทรีทำการด่าว่าอีก ให้เรียกพวกนักเลงสุรามาให้ค่าจ้างแล้วสั่งว่า พวก ท่านจงฆ่านางสุนทรีแล้วปิดด้วยขยะดอกไม้ในที่ใกล้ประตูพระเชตวัน พวก นักเลงสุราเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น แต่นั้น พวกเดียรถีย์จึงกราบทูล แก่พระราชาว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่พบเห็นนางสุนทรี. พระราชา รับสั่งว่า พวกท่านจงค้นดู เดียรถีย์เหล่านั้นจึงเอามาจากที่ที่ตนให้โยน ไว้แล้วยกขึ้นสู่เตียงน้อยแสดงแก่พระราชา แล้วเที่ยวโฆษณาโทษของ พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ในพระนครทั้งสิ้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน ทั้งหลายจงเห็นการกระทำของพระสมณโคดมและของพวกสาวก. แล้ว วางนางสุนทรีไว้บนแคร่ในป่าช้าผีดิบ. พระราชารับสั่งว่า ท่านทั้งหลาย จงค้นหาคนฆ่านางสุนทรี.

ครั้งนั้น พวกนักเลงดื่มสุราแล้วทำการทะเลาะกันว่า เจ้าฆ่านางสุนทรี เจ้าฆ่า. ราชบุรุษทั้งหลาย จึงจับพวกนักเลงเหล่านั้นแสดงแก่ พระราชา พระราชาตรัสถามว่า แน่ะพนาย พวกเจ้าฆ่านางสุนทรีหรือ? นักเลงเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัส ถามว่า พวกใครสั่ง? นักเลงทูลว่า พวกเดียรถีย์สั่ง พระเจ้าข้า. พระราชาจึงให้นำพวกเดียรถีย์มาแล้วให้จองจำพันธนาการแล้วรับสั่งว่า แน่ะพนาย พวกเจ้าจงไปป่าวร้องว่า เราทั่งหลายให้ฆ่านางสุนทรีเองแหละ โดยความ จะให้เป็นโทษแก่พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าและสาวกทั้งหลายของ พระองค์ไม่ได้เป็นผู้กระทำ. พวกเดียรถีย์ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. ชาว

 
  ข้อความที่ 225  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 225

พระนครทั้งสิ้นต่างเป็นผู้หมดความสงสัย. พระราชาทรงให้ฆ่าพวกเดียรถีย์ และพวกนักเลงแล้วให้ทิ้งไป. แต่นั้น ลาภสักการะเจริญพอกพูนแก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยยิ่งกว่าประมาณ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสว่า

เราเป็นพราหมณ์เรียนจบแล้ว เป็นผู้อันมหาชนสักการะ บูชา ได้สอนมนต์กะมาณพ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่.

พระฤๅษีผู้กล้า สำเร็จอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในที่นี้ นั้น และเราได้เห็นพระฤๅษีนั้นมาแล้ว ได้กล่าวตู่ว่าท่านผู้ไม่ ประทุษร้าย.

แต่นั้น เราได้บอกกะศิษย์ทั้งหลายว่า ฤๅษีนี้เป็นผู้บริโภค กาม แม้เมื่อเราบอกอยู่ มาณพทั้งหลายก็พลอยยินดีตาม.

แต่นั้น มาณพทุกคนเที่ยวภิกขาไปทุกๆ ตระกูล ก็บอก กล่าวแก่มหาชนว่า ฤๅษีนี้บริโภคกาม.

เพราะวิบากของกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้จึงได้รับการ กล่าวตู่ด้วยกันทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทรี.

ปัญหาข้อที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สิลาเวโธ ได้แก่ ผู้มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว กลิ้งศิลาทับ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์และน้องชายเป็นลูกพ่อเดียวกัน เมื่อ บิดาล่วงลับไปแล้ว พี่น้องทั้งสองนั้น ทำการทะเลาะกัน เพราะอาศัย พวกทาส จึงได้คิดร้ายกันและกัน พระโพธิสัตว์กดทับน้องชายไว้ด้วย ความที่ตนเป็นผู้มีกำลัง แล้วกลิ้งหินทับลงเบื้องบนน้องชายนั้น. เพราะ

 
  ข้อความที่ 226  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 226

วิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้เสวยทุกข์ในนรกเป็นต้นหลาย พันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า.

พระเทวทัตผู้เป็นพระมาตุลาของพระราหุลกุมาร ในชาติก่อนได้ เป็นพ่อค้ากับพระโพธิสัตว์ ในครั้งเป็นพ่อค้าชื่อว่า เสริพาณิช พ่อค้า ทั้งสองนั้นไปถึงปัฏฏนคาม บ้านอันตั้งอยู่ใกล้ท่าแห่งหนึ่ง จึงตกลงกันว่า ท่านจงถือเอาถนนสายหนึ่ง แม้เราก็จะถือเอาถนนสายหนึ่ง แล้วทั้งสอง คนก็เข้าไป. บรรดาคนทั้งสองนั้น ในถนนสายที่พระเทวทัตเข้าไป ได้มีคน ๒ คนเท่านั้น คือภรรยาของเศรษฐีเก่าคนหนึ่ง หลานสาวคนหนึ่ง ถาดทองใบใหญ่ของคนทั้งสองนั้น ถูกสนิมจับ เป็นของที่เขาวางปนไว้ ในระหว่างภาชนะ. ภรรยาของเศรษฐีเก่านั้นไม่รู้ว่าภาชนะทอง จึงกล่าว กะท่านเทวทัตนั้นว่า ท่านจงเอาถาดใบนี้ไปแล้วจงให้เครื่องประดับมา. เทวทัตนั้นจับถาดใบนั้นแล้วเอาเข็มขีดดู รู้ว่าเป็นถาดทอง แล้วคิดว่า เราจักให้นิดหน่อยแล้วถือเอา จึงไปเสีย.

ลำดับนั้น หลานสาวเห็นพระโพธิสัตว์มายังที่ใกล้ประตู จึงกล่าวว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้เครื่องประดับ กัจฉปุฏะ แก่ดิฉัน. ภรรยา เศรษฐีเท่านั้นจึงให้เรียกพระโพธิสัตว์นั้นมา ให้นั่งลงแล้วจึงให้ภาชนะ นั้นแล้วจึงกล่าวว่า ท่านจงถือเอาภาชนะนี้แล้วจงให้เครื่องประดับกัจฉปุฏะ แก่หลานสาวของข้าพเจ้า. พระโพธิสัตว์จับภาชนะนั้น รู้ว่าเป็นภาชนะ ทอง และรู้ว่า นางถูกเทวทัตนั้นลวง จึงเก็บ ๘ กหาปณะไว้ในถุง เพื่อตน และให้สินค้าที่เหลือ ให้ประดับเครื่องประดับ กัจฉปุฏะ ที่มือ ของนางกุมาริกาแล้วก็ไป. พ่อค้านั้นหวนกลับมาถามอีก. ภรรยาเศรษฐี นั้นกล่าวว่า นี่แน่ะพ่อ ท่านไม่เอา บุตรของเราให้สิ่งนี้ๆ แล้วถือเอา

 
  ข้อความที่ 227  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 227

ถาดใบนั้นไปเสียแล้ว. พ่อค้านั้นพอได้ฟังดังนั้น มีหทัยเหมือนจะแตก ออก จึงวิ่งติดตามไป. พระโพธิสัตว์ขึ้นเรือแล่นไปแล้ว. พ่อค้านั้น กล่าวว่า หยุด! อย่าหนี อย่าหนี แล้วได้ทำความปรารถนาว่า เราพึง สามารถทำให้มันฉิบหายในภพที่เกิดแล้วๆ.

ด้วยอำนาจความปรารถนา พ่อค้านั้นเบียดเบียนกันและกันหลาย แสนชาติ ในอัตภาพนี้ บังเกิดในสักยตระกูล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ได้ ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น แล้ว บวช เป็นผู้ได้ฌานปรากฏแล้ว ทูลขอพรพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ทั้งปวง จงสมาทานธุดงค์ ๑๓ มีเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรเป็นต้น ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นจงเป็นภาระของข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระเทวทัตผูกเวร จึงเสื่อมจากฌาน ต้องการจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า วันหนึ่ง ยืนอยู่เบื้องบน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอยู่ที่เชิงเขาเวภาระ๑ กลิ้งยอดเขาลงมา ด้วย อานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยอดเขายอดอื่นรับเอายอดเขานั้นที่กำลัง ตกลงมา. สะเก็ดหินที่ตั้งขึ้นเพราะยอดเขาเหล่านั้นกระทบกัน ปลิวมา กระทบหลังพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เมื่อชาติก่อน เราฆ่าน้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่ง ทรัพย์ เราใส่ลงในซอกหิน และบดขยี้ด้วยหิน

เพราะวิบากของกรรมนั้น พระเทวทัตจึงกลิ้งหิน ก้อนหิน บดขยี้นิ้วหัวแม่เท้าของเรา.


๑. ที่อื่นเป็น เขาคิชฌกูฏ.

 
  ข้อความที่ 228  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 228

ปัญหาข้อที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

สะเก็ดหินกระทบ ชื่อว่า สกลิกาเวธะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่ง ในเวลาเป็นเด็ก กำลังเล่นอยู่ที่ถนน ใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในถนนคิดว่า สมณะโล้น นี้จะไปไหน จึงถือเอาสะเก็ดหินขว้างไปที่หลังเท้าของท่าน. หนังหลังเท้า ขาด โลหิตไหลออก. เพราะกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้ เสวยทุกข์อย่างมหันต์ในนรกหลายพันปี แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เกิด การห้อพระโลหิตขึ้น เพราะสะเก็ดหินกระทบที่หลังพระบาท ด้วยอำนาจ กรรมเก่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในหนทาง จึงขว้างสะเก็ดหินใส่.

เพราะวิบากของกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัต จึงประกอบนายขมังธนูเพื่อฆ่าเรา.

ปัญหาข้อที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ช้างธนปาลกะที่เขาส่งไปเพื่อต้องการให้ฆ่า ชื่อว่า ช้างนาฬาคิรี. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นคนเลี้ยงช้าง ขึ้นช้าง เที่ยวไปอยู่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในหนทางใหญ่ คิดว่า คนหัวโล้น มาจากไหน เป็นผู้มีจิตถูกโทสะกระทบแล้ว เกิดเป็นดุจตะปูตรึงใจ ได้ ทำช้างให้ขัดเคือง. ด้วยกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงได้เสวยทุกข์ในอบาย หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า. พระเทวทัต กระทำพระเจ้าอชาตศัตรูให้เป็นสหายแล้วให้สัญญากันว่า มหาบพิตร พระองค์ปลงพระชนม์พระบิดาแล้วจงเป็นพระราชา อาตมภาพฆ่าพระ-

 
  ข้อความที่ 229  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 229

พุทธเจ้าแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อยู่มาวันหนึ่ง ไปยังโรงช้างตาม ที่พระราชาทรงอนุญาต แล้วสั่งคนเลี้ยงช้างว่า พรุ่งนี้ ท่านจงให้ช้าง นาฬาคิรีดื่มเหล้า ๑๖ หม้อ แล้วจงปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต. พระนครทั้งสิ้นได้มีเสียงเอิกเกริกมากมาย. ชน ทั้งหลายกล่าวกันว่า เราจักดูการต่อยุทธ์ของนาคคือช้าง กับนาคคือ พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพากันผูกเตียงและเตียงซ้อน ในถนนหลวง จาก ด้านทั้งสอง แล้วประชุมกันแต่เช้าตรู่.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแล้ว อัน หมู่ภิกษุห้อมล้อมเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ขณะนั้น พวก คนเลี้ยงช้างปล่อยช้างนาฬาคิรี โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ช้าง นาฬาคิรีทำลายถนนและทางสี่แพร่งเป็นต้นเดินมา ครั้งนั้น หญิงผู้หนึ่งพา เด็กเดินข้ามถนน ช้างเห็นหญิงนั้นจึงไล่ติดตาม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี่แน่ะนาฬาคิรี เธอถูกเขาส่งมาเพื่อจะฆ่าหญิงนั้นก็หามิได้ เธอจงมาทางนี้. ช้างนั้นได้ฟังเสียงนั้นแล้ว ก็วิ่งบ่ายหน้ามุ่งไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาอันควรแก่การแผ่ในจักรวาล อันหา ประมาณมิได้ ในสัตว์อันหาที่สุดมิได้ ไปในช้างนาฬาคิรีตัวเดียวเท่านั้น. ช้างนาฬาคิรีนั้นอันพระเมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว กลาย เป็นช้างที่ไม่มีภัย หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางพระหัตถ์ลงบนกระหม่อมของช้างนาฬาคิรีนั้น. ครั้งนั้น เทวดาและพรหมเป็นต้นเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยเป็น จึงพากันบูชาด้วย ดอกไม้และเกสรดอกไม้เป็นต้น. ในพระนครทั้งสิ้น ได้มีกองทรัพย์

 
  ข้อความที่ 230  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 230

ประมาณถึงเข่า. พระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้อง ทรัพย์ที่ประตู ด้านทิศตะวันตกจงเป็นของชาวพระนคร ทรัพย์ที่ประตูด้านทิศตะวันออก จงนำเข้าท้องพระคลังหลวง. คนทั้งปวงกระทำอย่างนั้นแล้ว. ในครั้งนั้น ช้างนาฬาคิรีได้มีชื่อว่า ธนบาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังพระเวฬุวนาราม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.

ในกาลก่อน เราได้เป็นนายควาญช้าง ได้ทำช้างให้โกรธ พระปัจเจกมุนีผู้สูงสุด ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตรอยู่นั้น.

เพราะวิบากของกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้ายหมุนเข้า มาประจัญในบุรีอันประเสริฐ ชื่อว่า คิริพพชะ คือกรุง ราชคฤห์.

ปัญหาข้อที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การผ่าฝีด้วยศัสตรา คือ ตัดด้วยผึ่ง ด้วยศาสตรา ชื่อว่า สัตถัจ- เฉทะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาในปัจจันตประเทศ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นนักเลง ด้วยอำนาจการคลุกคลีกับคนชั่ว และด้วยอำนาจการอยู่ในปัจจัยตประเทศ เป็นคนหยาบช้า อยู่มาวันหนึ่ง ถือมีดเดินเท้าเปล่า เที่ยวไปในเนือง ได้เอามีดฆ่าฟันคนผู้ไม่มีความผิด ได้ไปแล้ว. ด้วยวิบากของกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้ใน นรกหลายพันปี เสวยทุกข์ในทุคติ มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ด้วยวิบาก ที่เหลือ ในอัตภาพหลังสุดแม้ได้เป็นพระพุทธเจ้า หนึ่งก็ได้เกิดห้อพระโลหิตขึ้น เพราะก้อนหินที่พระเทวทัตกลิ้งใส่กระทบเอา โดยนัยดังกล่าว ในหนหลัง. หมอชีวกผ่าหนังที่บวมขึ้นนั้นด้วยจิตเมตตา. การทำพระ-

 
  ข้อความที่ 231  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 231

โลหิตให้ห้อขึ้นของพระเทวทัตผู้มีจิตเป็นข้าศึก ได้เป็นอนันตริยกรรม. การผ่าหนังที่บวมขึ้นของหมอชีวกผู้มีจิตเมตตา ได้เป็นบุญอย่างเดียว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราเป็นคนเดินเท้า ฆ่าคนทั้งหลายด้วยหอก ด้วยวิบาก ของกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อยู่ในนรกอย่างรุนแรง.

ด้วยเศษของกรรมนั้น มาบัดนี้เขาจึงตัดหนังที่เท้าของเรา เสียสิ้น เพราะยังไม่หมดกรรม.

ปัญหาข้อที่ ๙ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.

อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้าน ชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยัง ที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้น เหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้น แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความ เจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมด ในสงความของเจ้าวิฑูฑภะ โดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลา ทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 232  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 232

เพราะวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะได้มีแก่เรา แล้ว ในคราวที่เจ้าวิฑูฑภะฆ่าสัตว์ทั้งหมด (คือเจ้าศากยะ) แล้ว.

ปัญหาข้อที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การกินข้าวสารแห่งข้าวแดงในเมืองเวสาลี ชื่อว่า ยวขาทนะ การ กินข้าวแดง. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เพราะอำนาจชาติและเพราะความเป็นอันธพาล เห็นสาวกทั้งหลายของ พระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ ฉันข้าวน้ำอันอร่อย และโภชนะแห่งข้าวสาลี เป็นต้น จึงด่าว่า เฮ้ย! พวกสมณะโล้น พวกท่านจงกินข้าวแดงเถอะ อย่ากินโภชนะแห่งข้าวสาลีเลย. เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงเสวยทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ เมื่อทรงกระทำความอนุเคราะห์ชาว โลก เสด็จเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานีทั้งหลาย. สมัยหนึ่ง เสด็จ ถึงโคนไม้สะเดาอันสมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ ณ ที่ใกล้เวรัญชพราหมณคาม. เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่อาจเอาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้โดยเหตุหลายประการ ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเสด็จเข้าจำพรรษาในที่นี้แหละ ย่อมควร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ.

ครั้นจำเดิมแต่วันรุ่งขึ้นไป มารผู้มีบาปได้กระทำการดลใจชาวบ้าน เวรัญชพราหมณคามทั้งสิ้น ไม่ได้มีแม้แต่คนเดียวผู้จะถวายภิกษาสักทัพพี หนึ่ง แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าไปบิณฑบาต เพราะเนื่องด้วยมาร ดลใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีบาตรเปล่า อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมเสด็จ

 
  ข้อความที่ 233  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 233

กลับมา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จกลับมาอย่างนั้น พวกพ่อค้าม้า ที่อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ได้ถวายทานในวันนั้น จำเดิมแต่วันนั้นไป ได้ นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร แล้วทำการแบ่งจาก ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาในพันจักรวาลแห่งจักรวาลทั้งสิ้น พากันใส่ทิพโอชะ เหมือนในวันที่นางสุชาดาหุงข้าวปายาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว พระองค์เสวยข้าวแดงตลอดไตรมาส ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อล่วงไป ๓ เดือน การดลใจของมารก็หายไปในวันปวารณา เวรัญชพราหมณ์ระลึก ขึ้นได้ถึงความสลดใจอย่างใหญ่หลวง จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายบังคมแล้วขอให้ทรงอดโทษ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ว่า พวกท่านจงเคี้ยว จงกินแต่ ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย

ด้วยวิบากของกรรมนั้น เราจึงได้เคี้ยวกินข้าวแดงตลอด ไตรมาส เพราะว่า ในคราวนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว จึงได้อยู่ในบ้านเวรัญชา.

ปัญหาข้อที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อาพาธที่หลัง ชื่อว่า ปิฏิทุกขะ ทุกข์ที่หลัง. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี สมบูรณ์ด้วยกำลัง ได้เป็นคน ค่อนข้างเตี้ย. สมัยนั้น นักต่อสู้ด้วยการต่อสู้ด้วยมวยปล้ำคนหนึ่ง เมื่อ การต่อสู้ด้วยมวยปล้ำกำลังดำเนินไปอยู่ในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 234  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 234

ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ทำพวกบุรุษล้มลง ได้รับชัยชนะ มาถึงเมืองอัน เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์เข้าโดยลำดับ ได้ทำพวกคนในเมืองแม้นั้นให้ ล้มลงแล้ว เริ่มจะไป. คราวนั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า ผู้นี้ได้รับชัยชนะ ในที่เป็นที่อยู่ของเราแล้วก็จะไป จึงมายังบริเวณพระนครในที่นั้น ปรบ มือแล้วกล่าวว่า ท่านจงมา จงต่อสู้กับเราแล้วค่อยไป นักมวยปล้ำนั้น หัวเราะแล้วคิดว่า พวกบุรุษใหญ่โตเรายังทำให้ล้มได้ บุรุษผู้นี้เป็นคนเตี้ย มีธาตุเป็นคนเตี้ย ย่อมไม่เพียงพอแม้แก่มือข้างเดียว จึงปรบมือบันลือ แล้วเดินมา. คนทั้งสองนั้นจับมือกันและกัน พระโพธิสัตว์ยกนักมวยปล้ำ คนนั้นขึ้นแล้วหมุนในอากาศ เมื่อจะให้ตกลงบนภาคพื้น ได้ทำลาย กระดูกไหล่แล้วให้ล้มลง. ชาวพระนครทั้งสิ้นทำการโห่ร้อง ปรบมือ บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยผ้าและอาภรณ์เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ให้นักต่อสู้ ด้วยมวยปล้ำนั้นตรงๆ กระทำกระดูกไหล่ให้ตรงแล้วกล่าวว่า ท่านจงไป ตั้งแต่นี้ไปท่านจงอย่ากระทำกรรมเห็นปานนี้ แล้วส่งไป ด้วยวิบากของ กรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ที่ร่างกายและศีรษะเป็นต้น ในภพ ที่เกิดแล้วๆ ในอัตภาพหลังสุด แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เสวยทุกข์ มีการเสียดแทงที่หลังเป็นต้น. เพราะฉะนั้น เมื่อความทุกข์ที่เบื้องพระปฤษฎางค์เกิดขึ้นในกาลบางคราว พระองค์จึงตรัสกะพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกเธอจงแสดงธรรม แล้วพระองค์ ทรงลาดสุคตจีวรแล้วบรรทม. ขึ้นชื่อว่ากรรมเก่า แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่พ้น ไปได้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เมื่อการปล้ำกันดำเนินไปอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวยปล้ำ (ให้ลำบาก)

 
  ข้อความที่ 235  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 235

ด้วยวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง) จึงได้มีแก่เรา.

ปัญหาข้อที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ชื่อว่า อติสาระ โรคบิด. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำ จึงปรุงยาแล้วเยียวยา อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตร เศรษฐีนั้น จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอก ออก เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้วๆ ใน อัตภาพหลังสุดแม้นี้ ในปรินิพพานสมัย จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย พร้อม กับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้. กำลัง ช้างแสนโกฏิเชือก ได้ถึงความสิ้นไป. ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา ประทับนั่งในที่หลายแห่ง ระหายน้ำ ทรงดื่มน้ำ ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วย ความลำบากอย่างมหันต์ แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง. แม้พระผู้เป็นเจ้าของไตรโลกเห็นปานนี้ กรรมเก่าก็ไม่ละเว้น. ด้วยเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี ด้วย วิบากของกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.

 
  ข้อความที่ 236  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 236

พระชินเจ้าทรงบรรลุอภิญญาพละทั่งปวง ทรงพยากรณ์ ต่อหน้าภิกษุสงฆ์ ณ อโนดาตสระใหญ่ ด้วยประการฉะนี้แล.

อปทานฝ่ายอกุศล ชื่อว่าเป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยการตั้งหัวข้อ ปัญหาที่ท่านให้ปฏิญญาไว้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า อิตฺถํ สุทํ อธิบายว่า ด้วยประการฉะนี้ คือ ด้วยนัยที่กล่าวไว้ ในหนหลัง โดยประการนี้. ศัพท์ว่า สุทํ เป็นนิบาต มาในอรรถว่า ทำบทให้เต็ม. พระผู้มีพระภาคเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหากรุณาพระองค์นั้น ทรงเพียบพร้อมด้วยภาคยธรรม เป็นพระมหาสัตว์ ผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ทรงประกอบด้วยคุณ มีอาทิอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาคบุญ คือโชค ผู้หักราน กิเลส ผู้ประกอบด้วยภาคธรรมทั้งหลาย ผู้ทรงด้วยภาคธรรม ทั้งหลาย ผู้ทรงจำแนกธรรม ผู้คบแล้ว ผู้คายการไปในภพ ทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ ทรงเป็น พรหมยิ่งกว่าพรหม ทรงเป็นพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าพระพุทธเจ้า เมื่อจะทรง ยกย่อง คือทำให้ปรากฏซึ่งพุทธจริยา คือเหตุแห่งพระพุทธเจ้าของ พระองค์ จึงได้ภาษิตคือตรัสธรรมบรรยาย คือพระสูตรธรรมเทศนา ชื่อว่า พุทธาปทานิยะ คือ ชื่อว่า ประกาศเหตุแห่งพระพุทธเจ้าแล.

พรรณนาพุทธาปทาน

ในวิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน

จบบริบูรณ์เท่านี้