พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปัจเจกพุทธาปทาน ว่าด้วยเหตุให้สําเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40986
อ่าน  765

เล่มที่ 70 [เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑

พุทธวรรคที่ ๑

๒. ปัจเจกพุทธาปทาน

ว่าด้วยเหตุให้สําเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

พรรณนา ปัจเจกพุทธาปทาน หน้า 246

พรรณนา สังสัคคถาถา ปัจเจกพุทธาปทาน หน้า 293

พรรณนา มิตตสุหัชชคาถา หน้า 300

พรรณนา วังสกฬิรคาถา หน้า 304

พรรณนา มิโคอรัญญคาถา หน้า 307

พรรณนา อามันตนาคาถา หน้า 316

พรรณนา ขิฑฑารติคาถา หน้า 318

พรรณนา จาตุททิสคาถา หน้า 319

พรรณนา ทุสสังคหคาถา หน้า 324

พรรณนา โกวิฬารคาถา หน้า 326

พรรณนา สหายคาถา หน้า 328

พรรณนา อัทธาปสังสาคาถา หน้า 331

พรรณนา สุวัณณวลยคาถา หน้า 334

พรรณนา อายติภยคาถา หน้า 335

พรรณนา กามคาถา หน้า 339

พรรณนา อีติคาถา หน้า 341

พรรณนา สีตาลุกคาถา หน้า 342

พรรณนา นาคคาถา หน้า 344

พรรณนา อัฏฐานคาถา หน้า 346

พรรณนา ทิฏฐิวิสูกคาถา หน้า 350

พรรณนา นิลโลลุปคาถา หน้า 352

พรรณนา ปาปสหายคาถา หน้า 355

พรรณนา พหุสสุตคาถา หน้า 356

พรรณนา วิภูสัฏฐานคาถา หน้า 359

พรรณนา ปุตตทารคาถา หน้า 361

พรรณนา สังคคาถา หน้า 362

พรรณนา สันทาลคาถา หน้า 364

พรรณนา โอกขิตตจักขุคาถา หน้า 366

พรรณนา ปาริฉัตตกคาถา หน้า 367

พรรณนา รสเคธคาถา หน้า 369

พรรณนา อาวรณคาถา หน้า 371

พรรณนา วิปิฏฐิคาถา หน้า 372

พรรณนา อารัทธวีริยคาถา หน้า 373

พรรณนา ปฏิสัลลานคาถา หน้า 377

พรรณนา ตัณหักขยคาถา หน้า 379

พรรณนา สีหาทิคาถา หน้า 381

พรรณนา ทาฐพลีคาถา หน้า 384

พรรณนา อัปปมัญญาคาถา หน้า 386

พรรณนา ชีวิตสังขยคาถา หน้า 388


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 237

๒. ปัจเจกพุทธาปทาน

ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

[๒] ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟัง ปัจเจกสัมพุทธาปทาน. พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันว่า ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู ผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชินเจ้า.

ด้วยมุขคือความสังเวชนั้นนั่นแล ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้ แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย. ในโลกทั้งปวง เว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอกับพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี.

ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นโอสถวิเศษ จงมีใจผ่องใส ฟังถ้อยคำอันดีอ่อนหวานไพเราะ ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้ด้วยตนเองเถิด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 238

คำพยากรณ์โดยสืบๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุปราศจากราคะ และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุพระโพธิญาณ ด้วย ประการใด.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะ ว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัด ในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่องเนิ่นช้า ชนะทิฏฐิอันดิ้นรน แล้วได้บรรลุ พระโพธิสัตว์ ณ สถานที่นั้นเอง.

ท่านวางอาญาในสัตว์ทั้งปวงเสียแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์ แม้ตนเดียว ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรด ฉะนั้น.

ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งใน บรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนา สหาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

ความมีเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความ เสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเสน่หา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

บุคคลผู้อนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตใจผูกพัน ย่อมทำ ประโยชน์ให้เสื่อมไป ท่านเล็งเห็นภัยในความสนิทสนมข้อนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 239

ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่ กอไผ่เกี่ยวพันกันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภรรยา ดัง หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

เนื้อในป่าไม้ถูกมัด เที่ยวหาเหยื่อด้วยความปรารถนา ฉันใด ท่านเป็นวิญญูชนมุ่งความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เช่นกับนอแรด ฉันนั้น.

ในท่ามกลางหมู่สหาย ย่อมจะมีการปรึกษาหารือกัน ทั้ง ในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่หากิน ท่านเล็งเห็นความไม่ ละโมบ ความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นเดียวกับนอแรดฉะนั้น.

การเล่นในท่ามกลางหมู่สหาย เป็นความยินดีและความ รักในบุตรภรรยา เป็นสิ่งที่กว้างใหญ่ไพศาล ท่านเกลียด ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เสมือนนอแรดฉะนั้น.

ท่านแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่มีความโกรธเคือง ยินดี ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลายได้ ไม่ หวาดเสียว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

แม้คนผู้บวชแล้วบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน สงเคราะห์ได้ยาก ท่านจึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตร ของคนอื่น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ท่านปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เป็นผู้กล้าหาญ ตัด เครื่องผูกของคฤหัสถ์ เสมือนต้นทองหลางมีใบขาดมาก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 240

ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียว กัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย ทั้งปวง มีใจดี มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้อยู่ด้วยกรรมดี เป็น นักปราชญ์ ไว้เป็นเพื่อนเที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว ไป เหมือนพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยว ไปพระองค์เดียว ดังช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงอยู่ในป่าฉะนั้น.

ความจริง เราย่อมสรรเสริญความถึงพร้อมด้วยสหาย พึง คบหาสหายผู้ประเสริฐกว่า หรือผู้ที่เสมอกัน เมื่อไม่ได้สหาย เหล่านั้น ก็พึงคบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่อง ที่นายช่างทองทำ เสร็จแล้ว กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง (เกิดความเบื่อหน่าย) พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับ เพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 241

ภัยนี้ของเรา ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียว เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์ เลื้อยคลาน แล้วพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ท่านพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือน ช้างมีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว สีกายดังดดอกปทุมใหญ่โต ละโขลง อยู่ในป่าตามชอบใจฉะนั้น.

ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันเกิดเอง นี้มิใช่ฐานะ ของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ นอแรดฉะนั้น.

ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มี มรรคอันได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันคนอื่นไม่ต้อง แนะนำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่ระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก ทั่งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

กุลบุตรพึงละเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความฉิบหาย ตั้งอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหายผู้ขวนขวาย ผู้ ประมาทด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 242

กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี ปฏิภาณ รู้ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่ห่วงใย งดเว้นจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามที่มีอยู่มากมาย พึงเป็นผู้เดียว เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

นี้เป็นความเกี่ยวข้อง ในความเกี่ยวข้องนี้ มีสุขนิดหน่อย มีความพอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ดุจลูกธนู พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ นอแรดฉะนั้น.

กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลา ทำลายข่ายแล้วไม่กลับมา ดังไฟไม้เชื้อลามไปแล้วไม่กับ มา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษาใจไว้ได้ อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึง เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลาง มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 243

ท่านไม่กระทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยง ผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวใน สกุล ฟังเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ บรรเทาอุปกิเลส เสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านทำสุข ทุกข์ โทมนัส และโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้อง หลัง ได้อุเบกขา สมถะ และความหมดจดแล้ว พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านปรารภความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความเพียรมั่น ประกอบด้วยกำลัง เรี่ยวแรง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็นผู้สดับตรับฟัง มีสติ มีธรรมอันพิจารณา แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่น กับนอแรดฉะนั้น.

ท่านไม่สะดุ้งเพราะเสียง ดุจสีหะ ไม่ข้องอยู่ในตัณหา และทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอก ปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 244

ท่านเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็น กำลัง เป็นราชาของหมู่เนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านเจริญเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และ อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งปวง พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ นอแรดฉะนั้น.

ชนทั้งหลาย มีเหตุเป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากในวันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมี ปัญญามองประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด ฟังเป็นผู้เดียว เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

นักปราชญ์เหล่าใดมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิต ตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม พิเศษ รู้แจ้งธรรมอันประกอบด้วยองค์มรรค และโพชฌงค์.

เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกชินเจ้า.

มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วง ทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 245

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอันทรีย์สงบ มีใจสงบ มีใจตั้งมั่น มีปกติประพฤติกรุณาในสัตว์ ในปัจจันตชนบท เกื้อกูลแก่เหล่าสัตว์ รุ่งเรืองอยู่ในโลกนี้และโลกหน้า เช่น กับดวงประทีปฉะนั้น.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวง หมดแล้ว เป็นจอมชน เห็นประทีปส่องโลกให้สว่าง มีรัศมี เช่นรัศมีแห่งทองคำแท่ง เป็นพระทักขิไณยบุคคลชั้นดีของ ชาวโลก โดยไม่ต้องสงสัย เป็นผู้เต็มเปี่ยมอยู่เสมอ.

คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไป ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้วไม่ กระทำเหมือนอย่างนั้น ชนเหล่านั้นท่องเที่ยวไปในสังสารทุกข์บ่อยๆ.

คำสุภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำ ไพเราะ. ดังน้ำผึ้งรวงอันไหลออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบการปฏิบัติเช่นนั้น ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ.

คาถาอันโอฬารที่พระปัจเจกสัมพุทธชินเจ้า ออกบวช กล่าวไว้แล้ว คาถาเหล่านั้นอันพระศากยสีหะผู้สูงสุดกว่า นรชนทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม.

คำที่เป็นคาถาเหล่านี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น รจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก อันพระสยัมภู

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 246

ผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อเพิ่มพูนความสังเวช ความไม่ คลุกคลี และปัญญา ฉะนี้แล.

ปัจเจกพุทธาปทาน จบบริบูรณ์

จบอปทานที่ ๒

พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน

พระอานนทเถระเมื่อจะสังคายนาอปทาน ต่อจากพุทธาปทานนั้น ต่อไป อันท่านพระมหากัสสปเถระถามว่า นี่แน่ะท่านอาวุโสอานนท์ ปัจเจกพุทธาปทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน จึงกล่าวว่า ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัจเจกพุทธาปทาน ดังนี้. อรรถแห่ง อปทานของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง นั้นแล.

พระเถระเมื่อจะประกาศบทที่กล่าวว่า สุณาถ ด้วยอำนาจการ บังเกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตถาคตํ เชตวเน วสนฺตํ พระตถาคตประทับอยู่ในพระเชตวัน ดังนี้. ในคำว่า ตถาคตํ เชตวเน วสนฺตํ นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ผู้ประทับอยู่ในวิหารอันมีชื่ออย่างนั้น เนื่องด้วยพระนามของ เชตกุมาร โดยอิริยาบถวิหารทั้ง ๔ หรือโดยทิพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่มีในกาลก่อน มีพระวิปัสสีเป็นต้น ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ แล้วเสด็จมาโดยประการใด พระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 247

ภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระตถาคต. เชื่อมความหมายว่า พระตถาคตพระองค์นั้น ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร.

บทว่า เวเทหมุนี ความว่า พระเทวีผู้เกิดแคว้นเวเทหะ จึงชื่อว่า เวเทหี, โอรสของพระนางเวเทหี จึงชื่อว่า เวเทหิบุตร.

ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ท่านผู้ไป คือดำเนินไป ได้แก่ เป็น ไปด้วยโมนะนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มุนี. มุนีนั้นด้วย โอรสของ พระนางเวเทหีด้วย เพราะเหตุนั้น ควรจะกล่าวว่า เวเทหิปุตตมุนี กลับ กล่าวว่า เวเทหมุนี เพราะแปลง อิ เป็น และลบ ปุตฺต ศัพท์เสีย โดยนิรุกตินัย มีอาทิว่า วณฺณาคโม ลงตัวอักษรใหม่. เชื่อมความว่า ท่านพระอานนท์ผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกของเรา ผู้มีสติ มีธิติ มีคติ เป็นพหูสูต เป็นผู้อุปัฏฐาก ดังนี้ น้อมองค์ลง คือน้อมองค์ คือกาย กระทำอัญชลี ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร พระเจ้าข้า? พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมมี คือย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร คือการณ์อะไร. พระเถระทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า วีระ.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงอาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ดังนี้. ชื่อว่า สัพพัญญู เพราะทรงรู้สิ่งทั้งปวงต่างด้วยสิ่งที่เป็นอดีตเป็นต้น ประดุจ ผลมะขามป้อมในมือ. ชื่อว่า พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ เพราะพระสัพ-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 248

พัญญูองค์นั้น ประเสริฐคือสูงสุด. ชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ เพราะ ทรงหา คือแสวงหาคุณคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะอันใหญ่. เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือ ในกาลที่ถูกถามนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส คือตรัสบอกพระอานนท์ผู้เถระ ด้วยพระสุรเสียง อันไพเราะ. อธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ผู้เจริญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เหล่าใด กระทำบุญญาธิการไว้ คือกระทำบุญสมภารไว้ ในพระพุทธเจ้า ปางก่อนทั้งหลาย คือในอดีตพุทธเจ้าทั่งหลายปางก่อน ยังไม่ได้ความ หลุดพ้นในศาสนาของพระชินเจ้า คือยังไม่บรรลุพระนิพพาน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด เป็นนักปราชญ์ กระทำบุคคลผู้หนึ่ง ให้เป็นประธาน โดยมุขคือความสังเวช จึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ในโลกนี้. ผู้มีปัญญากล้าแข็งดี คือมีปัญญากล้าแข็งด้วยดี. แม้เว้นจาก พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ แม้เว้นจากโอวาทานุสาสนีของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ย่อมบรรลุคือย่อมรู้แจ้งปัจเจกสัมโพธิ คือโพธิเฉพาะผู้เดียว ได้แก่ โพธิอันต่อเนื่อง (รอง) จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วย อารมณ์แม้นิดหน่อย คือแม้มีประมาณน้อย.

ในโลกทั้งปวงคือในไตรโลกทั้งสิ้น เว้นเรา (คือพระพุทธเจ้า) คือละเว้นเราเสีย บุคคลผู้เสมอ คือแม้นเหมือนพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทั้งหลาย ย่อมไม่มี. เราจักกล่าว อธิบายว่า จักบอกคุณนี้ ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนีเหล่านั้น เพียงบางส่วน คือเพียงสังเขป ให้ สำเร็จประโยชน์ คือให้ดีแก่ท่านทั้งหลาย.

ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนา คืออยากได้พระนิพพาน คือเภสัช ได้แก่ โอสถอันยอดเยี่ยม คือเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า มีจิตผ่องใส คือมีใจใสสะอาด

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 249

จงฟัง อธิบายว่า จงใส่ใจ ถ้อยคำ คือคำอุทานอันอร่อย คืออันหวาน เหมือนน้ำผึ้งเล็ก คือเหมือนรวงน้ำผึ้งเล็ก ของพระฤาษีใหญ่ในระหว่าง ฤาษีทั้งหลาย ผู้ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง คือรู้แจ้งด้วยตนเอง.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สมาคตานํ ได้แก่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว. อธิบายว่า คำพยากรณ์สืบๆ กันมา คือเฉพาะองค์หนึ่งๆ เหล่าใดอันเป็นอปทานของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์ มีอาทิ คือ พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระตครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ พระปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวะ พระภาวิตัตตะ พระสุมภะ พระสุภะ พระเมถุละ พระอัฏมะ พระสุเมธะ พระอนีฆะ พระสุทาฐะ พระหิงคุ พระหิงคะ พระทเวชาลินะ พระอัฏฐกะ พระโกสละ พระสุพาหุ พระอุปเนมิสะ พระเนมิสะ พระสันจิตตะ พระสัจจะ พระตถะ พระวิรชะ พระปัณฑิตะ พระกาละ พระอุปกาละ พระวิชิตะ พระชิตะ พระอังคะ พระปังคะ พระคุตติชชิตะ พระปัสสี พระชหี พระอุปธิ พระทุกขมูละ พระอปราชิตะ พระสรภังคะ พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ พระอสิตะ พระอนาสวะ พระมโนมยะ พระมานัจฉิทะ พระพันธุมะ พระตทาธิมุตตะ พระวิมละ พระเกตุมะ พระโกตุมพรังคะ พระมาตังคะ พระอริยะ พระอัจจุตะ พระอัจจุตคามี พระพยามกะ พระสุมังคละ และพระทิพพิละ อาทีนพโทษใด วิราควัตถุ คือเหตุเป็นเครื่องไม่ยึดติดใด และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายบรรลุ ตามโพธิ คือกระทำจตุมรรคญาณให้ประจักษ์ได้ด้วยเหตุใด, พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้คลายสัญญาในวัตถุที่มีราคะ คือในวัตถุที่พึงยึดติด

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 250

แน่น ได้แก่ ในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย มีจิตปราศจากกำหนัดใน โลกอันกำหนัดแล้ว คือในโลกอันมีสภาวะเป็นเครื่องยึดติด ละกิเลสเครื่อง เนิ่นช้าทั้งหลายได้แล้ว คือละกิเลส กล่าวคือ เครื่องเนิ่นช้า คือเครื่อง เนิ่นช้าคือราคะ เครื่องเนิ่นช้าคือโทสะ เครื่องเนิ่นช้าคือโมหะ เครื่องเนิ่นช้า คือกิเลสทั้งปวง ชนะความดิ้นรน คือชนะทิฏฐิ ๖๒ อันดิ้นรน บรรลุตาม โพธิอย่างนั้น คือกระทำปัจเจกโพธิญาณให้ประจักษ์แล้วด้วยเหตุนั้น.

บทว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฑํ ความว่า วาง คือเว้นการ ขู่ การทำลาย การฆ่า และการจองจำ ไม่เบียดเบียนสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง คือสัตว์ไรๆ แม้ตัวเดียวในระหว่างสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น คือไม่ทำให้ ลำบาก มีจิตเมตตา คือมีจิตสหรคตด้วยเมตตาว่า สัตว์ทั้งปวงจงมีความ สุข เป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือมีความอนุเคราะห์ด้วย ประโยชน์เกื้อกูลเป็นสภาพ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺเพสุ นี้ ในคำว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฑํ เป็นบทบอกการถือเอาหมดโดยประการ ทั้งปวง คือหมดสิ้นไม่มีเศษ. ในบทว่า ภูเตสุ นี้ สัตว์ที่สะดุ้งและมั่นคง เรียกว่า ภูตะ สัตว์เหล่าใดละความอยากคือตัณหาไม่ได้ ทั้งละภัยและ ความกลัวไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ผู้สะดุ้ง. เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า ผู้สะดุ้ง? สัตว์เหล่าใดย่อมสะดุ้ง คือสะดุ้งขึ้น สะดุ้งรอบ ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งพร้อม เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า ผู้สะดุ้ง. สัตว์เหล่าใดละความอยากคือตัณหา ทั้งภัยและความกลัวได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ผู้มั่นคง. เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าผู้มั่นคง? สัตว์เหล่าใด ย่อมมั่นคง คือไม่สะดุ้ง ไม่สะดุ้งขึ้น ไม่สะดุ้งรอบ ไม่กลัว ไม่ถึง ความสะดุ้งพร้อม เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่าผู้มั่นคง.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 251

อาชญา ๓ คืออาชญาทางกาย อาชญาทางวาจา อาชญาทางใจ. กายทุจริต ๓ ชื่อว่า อาชญาทางกาย, วจีทุจริต ๔ ชื่อว่า อาชญาทาง วาจา, มโนทุจริต ๓ ชื่อว่า อาชญาทางใจ. วาง คือตั้งลง ยกลง ยกลงพร้อม วางไว้ คือระงับอาชญา ๓ อย่างนั้นในภูตคือสัตว์ทั้งปวง คือ ทั้งสิ้น ได้แก่ ไม่ถือเอาอาชญา เพื่อจะเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง. บทว่า อวิเหยํ อญฺตรมฺปิ เตสํ ความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งๆ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา ขื่อคา หรือเชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ทุกชนิดด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน ท่อนไม้ ศาสตรา ชื่อคา หรือเชือก คือไม่เบียดเบียนสัตว์ เหล่านั้นแม้ตัวใดตัวหนึ่ง.

ศัพท์ว่า ในคำว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ เป็นศัพท์ ปฏิเสธ. บทว่า ปุตฺตํ ความว่า บุตร ๔ ประเภท คือ บุตรที่เกิดในตน ๑ บุตรที่เกิดในภริยา ๑ บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรคืออันเตวาสิก ๑.

บทว่า สหายํ ความว่า การมา การไป การยืน การนั่ง การ ร้องเรียก การเจรจา การสนทนากับผู้ใด เป็นความผาสุก ผู้นั้นท่าน เรียกว่า สหาย.

บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ ความว่า ไม่อยากได้ คือ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ทะเยอทะยาน ไม่รำพันถึงแม้แต่บุตร จะ อยากได้ยินดี ปรารถนา ทะเยอทะยาน รำพันถึงมิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบ หรือสหาย มาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ไม่อยากได้แม้แต่บุตร จะอยากได้สหายมาแต่ไหน.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 252

บทว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะการบรรพชา.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโทสะแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโมหะแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะหมดกิเลสแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ดำเนินไปผู้เดียว.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมผู้เดียว.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชาอย่างไร?

คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดปลิโพธกังวลในการครองเรือน เสียทั้งหมด ตัดปลิโพธกังวลในลูกเมีย ตัดปลิโพธกังวลในญาติมิตร อำมาตย์ และการสั่งสม ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ออกจาก เรือนบวชไม่มีเรือน เข้าถึงความไม่มีกังวล ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไป คือ อยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้ไป เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน อย่างไร? คือท่านเป็นผู้บวชอย่างนั้นอยู่ผู้เดียว เสพอาศัยเสนาสนะอัน สงัด อันเป็นอรัญ ป่า และไหล่เขา ไม่มีเสียงอึกทึก ปราศจากลมอัน เกิดจากชน อยู่โดดเดี่ยวไกลจากพวกมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 253

ท่านยืนคนเดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว นอนคนเดียว ผู้เดียวเข้าไป บิณฑบาตยังบ้าน ผู้เดียวกลับมา ผู้เดียวนั่งในที่ลับ ผู้เดียวเดินจงกรม ผู้เดียวเที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้เป็นไป ท่าน ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาเป็น อย่างไร?

คือท่านผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา กิเลสให้เร่าร้อน มีใจสงบอยู่ เริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ กำจัด มารพร้อมทั้งเสนามารแล้วละบรรเทา ทำให้พินาศไป ทำให้ถึงการไม่ เกิดอีกต่อไป ซึ่งตัณหาอันมีข่าย คือตัณหาอันฟุ้งไปในอารมณ์ต่างๆ.

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารซึ่งมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็น โดยประการอื่น.

ภิกษุรู้โทษข้อนี้ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่นมีสติ พึงเว้นโดยสิ้นเชิง ซึ่งตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา ด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดย ส่วนเดียว เป็นอย่างไร?

คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะละราคะได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ปราศจาก โทสะโดยส่วนเดียว เพราะละโทสะได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียว.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 254

ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะละโมหะได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งหลาย ได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว ด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ไป สำหรับคนผู้เดียว เป็นอย่างไร?

สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านเรียกว่า เอกายนมรรค ทางเป็นที่ ไปสำหรับคนผู้เดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่ง ชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงรู้ชัดทางเป็น ที่ไปสำหรับคนผู้เดียว ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้ามโอฆะไป แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคตจักข้ามด้วยทางนี้ และปัจจุบันนี้ ก็กำลังข้ามโอฆะด้วยทางนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ ไปสำหรับคนผู้เดียว ด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะ พระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว เป็นอย่างไร?

ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตรัสรู้ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เทียง ตรัสรู้

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 255

ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. ตรัสรู้ ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า วิญญาณมีเพราะ สังขารเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ผัสสะมีเพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตรัสรู้ว่า ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชาติมีเพราะภพเป็น ปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย. ตรัสรู้ว่า สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ ตรัสรู้ว่า วิญญาณดับ เพราะสังขารดับ ฯลฯ ตรัสรู้ว่า ชาติดับ เพราะภพดับ ตรัสรู้ว่า ชรามรณะดับ เพราะชาติดับ. ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้อาสวสมุทัย ฯลฯ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ตรัสรู้การเกิดการดับไป ความเพลิดเพลิน โทษ และการสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้การเกิด ฯลฯ การสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตรัสรู้การเกิด การดับไป ความเพลิดเพลินโทษ และการสลัดออกแห่ง มหาภูตรูป ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา.

อีกอย่างหนึ่ง ตรัสรู้ ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม บรรลุ ถูกต้อง กระทำให้แจ้ง ซึ่งสิ่งที่ควรรู้ ควรรู้ตาม ควรรู้เฉพาะ ควรรู้

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 256

พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้ พร้อมเฉพาะซึ่งพระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว อย่างนี้ด้วย ประการฉะนี้.

บทว่า จเร ความว่า จริยา ๘ คือ อิริยาบถจริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ ปัตติ- จริยา ๑ และโลกัตถจริยา ๑.

จริยาในอิริยาบถทั้ง ๔ ชื่อว่า อิริยาปถจริยา.

จริยาในอายตนะภายใน ๖ และภายนอก ๖ ชื่อว่า อายตนจริยา.

จริยาในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ชื่อว่า สติจริยา.

จริยาในฌาน ๔ ชื่อว่า สมาธิจริยา.

จริยาในอริยสัจ ๔ ชื่อว่า ญาณจริยา.

จริยาในอริยมรรค ๔ ชื่อว่า มรรคจริยา.

จริยาในสามัญญผล ๔ ชื่อว่า ปัตติจริยา.

จริยาในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกทั้งหลายบางส่วน ชื่อว่า โลกัตถอริยา.

อิริยาบถจริยาย่อมมีแก่ผู้เพียบพร้อมด้วยปณิธิการดำรงตน, อาตนจริยาย่อมมีแก่ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สติจริยาย่อมมีแก่ผู้ปกติ อยู่ด้วยความไม่ประมาท. สมาธิจริยาย่อมมีแก่ผู้ประกอบเนืองๆ ในอธิจิต, ญาณจริยาย่อมมีแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยพุทธิปัญญา, มรรคจริยาย่อมมีแก่ผู้ปฏิบัติ โดยชอบ, ปัตติจริยาย่อมมีแก่ผู้บรรลุผล และโลกัตถจริยาย่อมมีแก่

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 257

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน แก่พระสาวกทั้งหลายบางส่วน นี้จริยา ๘ ประการ.

จริยา ๘ อีกอย่างหนึ่ง ท่านเมื่อน้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วย ศรัทธา, เมื่อประคองอยู่ย่อมประพฤติด้วยความเพียร. เมื่อเข้าไปตั้งมั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ. เมื่อกระทำความไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ, เมื่อรู้ชัดย่อมประพฤติไปด้วยปัญญา. เมื่อรู้แจ้งย่อมประพฤติด้วยวิญญาณจริยา, ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา เพราะมนสิการว่า กุศลธรรม ทั้งหลายย่อมมาถึงแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา เพราะ มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ. นี้จริยา ๘ ประการ.

จริยา ๘ อีกอย่างหนึ่ง จริยาในทัสสนะ สำหรับสัมมาทิฏฐิ จริยา ในการยกจิต สำหรับสัมมาสังกัปปะ จริยาในการกำหนด สำหรับสัมมาวาจา จริยาในความหมั่น สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยาในความบริสุทธิ์ สำหรับสัมมาอาชีวะ จริยาในการประคองไว้ สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยา ในการปรากฏ สำหรับสัมมาสติ และจริยาในความไม่ฟุ้งซ่าน สำหรับ สัมมาสมาธิ นี้จริยา ๘ ประการ.

บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียวเท่านั้น ไม่มีนอที่สอง ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เหมือนกับนอแรดนั้น เช่นเดียวกับนอแรดนั้น มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด นั้น, ของเค็มจัด เรียกว่าเหมือนเกลือ ของขมจัด เ รียกว่าเหมือนของขม ของหวานจัด เรียกว่าเหมือนน้ำหวาน ของร้อนจัด เรียกว่าเหมือนไฟ ของเย็นจัด เรียกว่าเหมือนหิมะ ลำน้ำใหญ่ เรียกว่าเหมือนทะเล พระสาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาพละ เรียกว่าเหมือนพระศาสดา ฉันใด พระ-

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 258

ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านเหมือนนอแรด เช่นกับ นอแรด มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน หลุดพ้นกิเลส เครื่องผูกพัน เที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไปอยู่ คุ้มครองอยู่ ไปอยู่ ให้ไปอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

บุคคลวางอาชญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น แม้ตัวหนึ่ง ไม่ปรารถนาบุตร จะปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคลผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่ อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย. บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดจาก ความเสน่หา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ผู้ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตพัวพันอยู่ ย่อมทำ ประโยชน์ให้เสื่อมไป บุคคลมองเห็นภัยในความสนิทสนมนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความอาลัยในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่ใหญ่ เกี่ยวเกาะกันอยู่ บุคคลไม่ข้องอยู่ในบุตรและภรรยาเหมือน หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

วิญญูชนหวังความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน นอแรดดังเนื้อในป่าไม่ถูกผูก ย่อมเที่ยวไปหาเหยื่อได้ตาม ความปรารถนาฉะนั้น.

ในท่ามกลางสหาย ย่อมจะต้องมีการปรึกษาหารือกัน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 259

บุคคลเล็งเห็นความเสรี อันไม่เพ่งเล็งไปในการอยู่ การยืน การเดิน และการเที่ยวไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน นอแรดฉะนั้น.

การเล่นในท่ามกลางสหายเป็นความยินดี และความรัก ในบุตรภรรยาเป็นเรื่องกว้างใหญ่ไพศาล บุคคลเกลียดความ พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน นอแรดฉะนั้น.

พึงแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วย ปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ที่ครองเรือนก็ สงเคราะห์ได้ยาก พึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในบุตรของคนอื่น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย เป็นผู้กล้าหาญ ตัดเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางขาดใบ พึง เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน พึงเที่ยวไป กับสหายผู้เป็นนักปราชญ์มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พึง ครอบงำอันตรายทั้งมวล พึงดีใจ มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เป็นนักปราชญ์ มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้เที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้ เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่พระองค์ ชนะแล้ว และเหมือนช้างชื่อมาตังคะในป่าฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 260

อันที่แท้ พวกเราสรรเสริญสหายสมบัติ พึงคบหาสหาย ผู้ประเสริฐกว่าหรือผู้เสมอกัน บุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึง คบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลเห็นกำไลมือทองคำอันสุกปลั่ง อันช่างทองทำสำเร็จ อย่างดี กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนนอแรดฉะนั้น.

การกล่าวด้วยวาจา หรือการติดข้องของเรา จะพึงมีกับ เพื่อนอย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ ต่อไปภายหน้า พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ก็กามทั้งหลายงดงาม หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตใจด้วยรูปแปลกๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณ ทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความจัญไร หัวฝี อันตราย โรค บาดแผล และภัย นี้ จะพึงมีแก่เรา บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเที่ยว ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงครอบงำอันตรายนี้ทั้งหมด คือความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์ เลื้อยคลาน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด หรือเหมือน ช้างเกิดร่างกายใหญ่โต มีสีดังดอกปทุม ละโขลงอยู่ในป่า ตามชอบใจฉะนั้น.

ท่านใคร่ครวญคำของพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจพันธุ์

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 261

ว่า ข้อที่บุคคลผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ จะพึงบรรลุวิมุตติอัน เกิดขึ้นในสมัยนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนนอแรดฉะนั้น.

เราเป็นไปล่วงข้าศึกคือทิฏฐิ ถึงความแน่นอน มีมรรค อันได้แล้ว มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีคนอื่นแนะนำ พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ คุณท่าน มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเป็นที่มา นอน ครอบงำโลกทั้งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน นอแรดฉะนั้น.

บุคคลพึงเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความพินาศ ตั้งมั่น อยู่ในฐานะลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ซ่องเสพผู้ขวนขวาย ผู้ประมาท ด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ รู้ทั่วถึงประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยได้ พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัยคลายความยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวแต่ คำสัตย์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 262

นี้เป็นกิเลสเครื่องข้อง ในกิเลสเครื่องข้องนี้ มีความสุข นิดหน่อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มากยิ่ง ผู้มีความคิดรู้ว่า เครื่องข้องนี้เป็นดุจขอ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เหมือนปลาทำลายข่าย ไม่หวนกลับมาอีก เหมือนไฟไม่หวนกลับมายังที่ที่ไหม้แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า คุ้มครองอินทรีย์ รักษา มนัส อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเป็นผู้ เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงละเครื่องหมายคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองกวาวมีใบขาด แล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชแล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนนอแรดฉะนั้น

ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั่น.

พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ บรรเทาอุปกิเลสเสีย ทั้งหมด ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา ได้แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

กระทำสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสในก่อนไว้เบื้อง หลัง ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนนอแรดฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 263

พึงปรารภความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่ หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ประกอบ ด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้า น้ำลาย มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณาแล้ว เป็นผู้เที่ยงมี ปธานความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดุจสีหะ มีข้องอยู่ เหมือนลม ไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ เหมือนปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียว เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนสีหะผู้เป็นราชาของ พวกเนื้อ มีเขี้ยวเป็นกำลัง ประพฤติข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย ฉะนั้น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงเจริญเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุติ และ อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งมวล พึงเป็นผู้ เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 264

ชนทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบหาสมาคมกัน บุคคลผู้ไม่มีเหตุ จะมาเป็นมิตรกันในทุกวันนี้หาได้ยาก พวก มนุษย์ผู้ไม่สะอาดมักเห็นแก่ประโยชน์ตน พึงเป็นผู้เดียว เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คำว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ ในคาถานั้น คือพระสูตรว่าด้วยขัคควิสาณปัจเจกสัมพุทธาปทาน.

พระสูตรนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระสูตรทั้งปวง มีเหตูเกิดขึ้น ๔ อย่าง คือเกิดโดยอัธยาศัย ของตนเอง ๑ เกิดโดยอัธยาศัยของผู้อื่น เกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น ๑ และเกิดโดยอำนาจการถาม ๑

ในเหตุเกิด ๔ อย่างนั้น ขัคควิสาณสูตรเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม โดยไม่พิเศษ. แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ เพราะเหตุที่คาถาบางคาถาในสูตรนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้นๆ ถูกเขาถามจึงกล่าวไว้ บางคาถาไม่ถูก ถาม แต่เมื่อจะเปล่งเฉพาะอุทานอันเหมาะสมแก่นัยแห่งมรรคที่คนบรรลุ จึงได้กล่าวไว้ เพราะฉะนั้น บางคาถาจึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม บาง คาถาเกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยของตน. ในเหตุเกิด ๔ อย่างนั้น เหตุเกิดด้วย อำนาจการถามโดยไม่พิเศษนี้นั้น พึงทราบอย่างนี้จำเดิมแต่ต้นไป.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ อยู่ในที่ลับเร้นอยู่ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า ความปรารถนาและอภินีหารของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปรากฏ ของ พระสาวกทั้งหลายก็ปรากฏเหมือนอย่างนั้น แต่ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายยังไม่ปรากฏ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 265

ทูลถาม. ท่านพระอานนท์นั้นจึงออกจากที่เร้น ทูลถามถึงเรื่องราวนั้น โดยลำดับ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตร แก่ท่านพระอานนท์นั้นว่า

ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ คือย่อมทำ ผู้หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน ให้พลันบรรลุพระอรหัตตผลในปัจจุบัน ๑ ถ้ายังไม่ให้บรรลุพระอรหัตตผลในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมให้บรรลุพระอรหัตตผลในเวลาจะตาย ๑ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะเป็นเทวบุตรบรรลุพระอรหัตตผล ๑ ถ้า ไม่อย่างนั้น จะเป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้ได้เร็ว ในเมื่ออยู่ ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะ เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าในกาลสุดท้ายภายหลัง ๑

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปอีกว่า

ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาว่าพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย อภินีหาร หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน เพราะฉะนั้น ความปรารถนาและอภินิหารของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งมวล จึงจำปรารถนา.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปนานเพียงไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความปรารถนาของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยกำหนดอย่างต่ำ ย่อมเป็นไป ๔ อสงไขย แสนกัป โดยกำหนดอย่างกลาง ย่อมเป็นไป ๘ อสงไขยแสนกัป โดย กำหนดอย่างสูง ย่อมเป็นไป ๑๖ อสงไขยแสนกัป.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 266

ก็ความแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบโดยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นปัญญาธิกะยิ่งด้วยปัญญา สัทธาธิกะยิ่งด้วยศรัทธา และวิริยาธิกะ ยิ่งด้วยความเพียร.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้เป็นปัญญาธิกะ มีศรัทธาอ่อน มีปัญญา กล้าแข็ง.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นสัทธาธิกะ มีปัญญาปานกลาง มีศรัทธา กล้าแข็ง.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นวิริยาธิกะ มีศรัทธาและปัญญาอ่อน มีความ เพียรกล้าแข็ง.

ก็ฐานะนี้ที่ว่ายังไม่ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป เมื่อให้ทานทุกวันๆ เช่น การให้ทานของพระเวสสันดร และการสั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้นอัน สมควรแก่ทานนั้น ก็จะเป็นพระพุทธเจ้าในระหว่างได้ ดังนี้ ย่อมจะมี ไม่ได้. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่กล้า. ฐานะนี้ที่ว่า ข้าวกล้าที่จะ เผล็ดผลต่อเมื่อล่วงไป ๓ เดือน ๔เดือน และ ๕ เดือน ยังไม่ถึงเวลานั้นๆ จะอยากได้ก็ดี จะเอาน้ำรดก็ดี สักร้อยครั้งพันครั้งทุกวันๆ จัก ให้เผล็ด ผลโดยปักษ์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งในระหว่าง ดังนี้ ย่อมไม่มี. ถามว่า เพราะ เหตุไร? ตอบว่า เพราะข้าวกล้ายังไม่ท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยัง ไม่แก่ ดังนี้ชื่อฉันใด ฐานะนี้ว่า ยังไม่ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป จักได้ เป็นพระพุทธเจ้าดังนี้ ย่อมไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พึง กระทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ เพื่อต้อง การให้ญาณแก่กล้า.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 267

อนึ่ง ผู้ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าโดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ ก็จำต้องปรารถนาสมบัติ ๘ ประการในการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่

อภินีหารนี้ย่อมสำเร็จเพราะประชุมธรรม ๘ ประการไว้ได้ คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศชาย ๑ เหตุ ๑ การได้พบพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความถึงพร้อมด้วย คุณ ๑ การกระทำอันยิ่ง ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑.

คำว่า อภินีหาร นี้ เป็นชื่อของความปรารถนาเดิมเริ่มแรก. ใน ธรรม ๘ ประการนั้น การเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่าความเป็นมนุษย์. จริงอยู่ เว้นจากกำเนิดมนุษย์ ความปรารถนาย่อมไม่สำเร็จแก่ผู้ดำรงอยู่ ในกำเนิดที่เหลือ แม้แต่กำเนิดเทวดา อันผู้ดำรงอยู่ในกำเนิดอื่นนั้น เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ต้องกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น แล้วปรารถนาเฉพาะความเป็นมนุษย์ (ให้ได้ก่อน) ครั้นดำรงอยู่ในความ เป็นมนุษย์แล้วจึงค่อยกระทำความปรารถนา (ความเป็นพระพุทธเจ้า). เมื่อกระทำอย่างนี้แหละ ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ.

ความเป็นบุรุษ ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยเพศ. จริงอยู่ มาตุคาม กะเทย และคนสองเพศ แม้จะดำรงอยู่ในกำเนิดมนุษย์ ก็ปรารถนาไม่ สำเร็จ. อันผู้ดำรงอยู่ในเพศมาตุคามเป็นต้น นั้น เมื่อปรารถนาความเป็น พระพุทธเจ้า พึงกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น แล้วจึงปรารถนาเฉพาะ ความเป็นบุรุษ ครั้นได้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษแล้ว จึงพึงปรารถนา ความเป็นพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จ.

ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตชื่อว่าเหตุ. ก็บุคคลใด เพียรพยายามอยู่. ในอัตภาพนั้นสามารถบรรลุพระอรหัต ความปรารถนา

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 268

ของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของบุคคลนอกนี้ย่อมไม่สำเร็จ เหมือนดังสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้น ได้พบพระทีปังกรพุทธเจ้าในที่พร้อมพระพักตร์แล้วจึงการทำความปรารถนา.

ความเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน ชื่อว่าการบรรพชา. ก็ความเป็นผู้ไม่มี เหย้าเรือนนั้น ย่อมควรในพระศาสนา หรือในนิกายของดาบสและ ปริพาชกผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นดาบส นามว่าสุเมธ ได้กระทำความปรารถนา แล้ว.

การได้เฉพาะคุณมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยคุณ. จริงอยู่ แต่เมื่อบวชแล้วก็เฉพาะสมบูรณ์ด้วยคุณเท่านั้น ความปรารถนา จึงจะสำเร็จ ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีอภิญญา ๕ และเป็นผู้ได้สมาบัติ ๘ ได้ปรารถนาแล้ว.

การกระทำอันยิ่ง อธิบายว่า การบริจาคชื่อว่า อธิการ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลบริจาคชีวิตเป็นต้นแล้วปรารถนานั้นแหละ ความปรารถนาย่อม สำเร็จ ไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่าน สุเมธบัณฑิตนั้นกระทำการบริจาคตน แล้วตั้งความปรารถนาไว้อย่างนี้ว่า

พระพุทธเจ้าพร้อมกับศิษย์ทั้งหลายจงเหยียบเราไป อย่า ทรงเหยียบเปือกตมเลย ข้อนี้จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่เรา ดังนี้.

แล้วจึงได้ปรารถนา.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 269

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่าความเป็นผู้มีฉันทะ. ความเป็น ผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ย่อมมีกำลังแก่ผู้ใด ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ ผู้นั้น. อธิบายว่า ก็ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ถ้าใครๆ มากล่าวว่า ใครอยู่ในนรก ๔ อสงไขยแสนกัป แล้วปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจกล่าวว่า เรา ดังนี้ พึงทราบว่ามีกำลังแก่ผู้นั้น. อนึ่ง ถ้าใครๆ มากล่าวว่า ใครเหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเต็มด้วยถ่าน เพลิงปราศจากเปลว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใคร เหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเกลื่อนกลาดด้วยหอกและหลาวพ้นไปได้ ย่อม ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครข้ามจักรวาลทั้งสิ้นอันมีน้ำเต็ม เปี่ยมไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครเดินย่ำจักรวาล ทั้งสิ้นที่ปกคลุมด้วยกอไผ่ไม่มีช่องว่างพ้นไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็น พระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจสามารถพูดว่า เรา ดังนี้ พึงทราบ ว่าผู้นั้นมีความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำมีกำลัง. ก็สุเมธบัณฑิตประกอบด้วย ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่ที่จะทำเห็นปานดังกล่าวมา จึงปรารถนาแล้ว.

ก็พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินีหารอันสำเร็จแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่เข้าถึง อภัพพฐานะ คือฐานะอันไม่ควร ๑๘ ประการเหล่านี้.

อธิบายว่า จำเดิมแต่สำเร็จอภินีหารแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นไม่เป็น คนบอดไม่เป็นคนหนวกมาแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้๑. ไม่เป็นง่อยเปลี้ย ไม่เกิดขึ้นในหมู่คนมิลักขะ คือคนป่าเถื่อน ๑ ไม่เกิด ในท้องนางทาสี ๑ ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิคือคนมีมิจฉาทิฏฐิอันดิ่ง ๑ ท่าน จะไม่กลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรมห้า ๑ ไม่เป็นคนมีโรคเรื้อน ๑ ในกำเนิดดิรัจฉานจะไม่มีร่างกายเล็กกว่านกกระจาบ จะไม่ใหญ่โตกว่า

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 270

ช้าง ๑ จะไม่เกิดขึ้นในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑ จะ ไม่เกิดขึ้นในพวกกาลกัญชิกาสูร ๑ ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑ ไม่เกิดใน โลกันตนรก ๑ อนึ่ง จะไม่เป็นมาร ๑ ในชั้นกามาวจรทั้งหลาย ใน ชั้นรูปาวจรทั้งหลาย จะไม่เกิดในอสัญญีภพ ๑ ไม่เกิดในชั้นสุทธาวาส ๑ ไม่เกิดในอรูปภพ ไม่ก้าวล้ำไปยังจักรวาลอื่น ๑.

พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยพุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ คือ อุสสาหะ ความอุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ปัญญา ๑ อวัตถานะ ความตั้งใจมั่น ๑ หิตจริยา การประพฤติประโยชน์เกื้อกูล ๑ ในพุทธภูมิ ๔ ประการนั้น พึงทราบว่า

ความเพียร เรียกว่าอุสสาหะ ปัญญา เรียกว่าอุมมัคคะ อธิษฐานความตั้งมั่น เรียกว่าอวัตถานะ การประพฤติประโยชน์เกื้อกูลที่เรียกว่าหิตจริยา เรียกว่า เมตตาภาวนา.

อนึ่ง อัชฌาสัย ๖ ประการนี้ใด คืออัชฌาสัยในเนกขัมมะ ๑ อัชฌาสัยในปวิเวก ๑ อัชฌาสัยในอโลภะ ๑ อัชฌาสัยในอโทสะ ๑ อัชฌาสัยในอโมหะ ๑ และอัชฌาสัยในนิสสรณะ การสลัดออกจากภพ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อบ่มพระโพธิญาณ. และเพราะประกอบด้วยอัชฌาสัยเหล่า ใด ท่านจึงเรียกพระโพธิสัตว์ทั้งหลายว่า ผู้มีเนกขัมมะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในกามทั้งหลาย, ว่าผู้มีปวิเวกเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในการ คลุกคลี, ว่าผู้มีอโลภะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในความโลภ, ว่าผู้มีอโทสะ เป็นอัธยาศัย เห็นโทษในโทสะ, ว่าผู้มีอโมหะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษใน โมหะ, ว่าผู้มีการสลัดออกจากภพเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในภพทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 271

พระโพธิสัตว์ผู้สำเร็จอภินิหาร ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยเหล่านั้น ด้วย.

ถามว่า ก็ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไป นานเพียงไร? ตอบว่า ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไป ๒ อสงไขยแสนกัป ไม่อาจต่ำกว่านั้น พึงทราบเหตุในความ ปรารถนานั้น โดยนัยดังกล่าวไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละ ก็ว่าโดยกาลแม้มี ประมาณเท่านี้ ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จำต้อง ปรารถนาสมบัติ ๕ ประการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น

มีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้ คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความ ถึงพร้อมด้วยเพศชาย ๑ การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑ การกระทำอันยิ่งใหญ่ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ได้แก่ การได้เห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า และพระสาวก ของพระพุทธเจ้า ท่านใดท่านหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอถามว่า ความปรารถนาของพระสาวกทั้งหลาย เป็นไปตลอดกาลมีประมาณเท่าไร?

ตอบว่า ความปรารถนาของพระอัครสาวกเป็นไป ๑ อสงไขย แสนกัป ของพระอสีติมหาสาวกเป็นไปแสนกัปเท่านั้น. ความปรารถนา ของพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธอุปัฏฐาก และพระพุทธบุตร ก็แสนกัปเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงไม่อาจต่ำกว่านั้น เหตุในความปรารถนานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 272

แต่พระสาวกเหล่านี้ ทุกองค์มีอภินิหารเฉพาะสองข้อเท่านั้น คือ อธิการ การกระทำอันยิ่ง และ ฉันทตา ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำ.

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมีทั้งหลายตลอดกาลซึ่งมีประ เภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินิหารนี้ อย่างนี้ แล้ว เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์หรือสกุล พราหมณ์.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์ สกุล พราหมณ์หรือสกุลคหบดี สกุลใดสกุลหนึ่ง.

ส่วนพระอัครสาวกย่อมเกิดขึ้นเฉพาะ ในสกุลกษัตริย์ และ สกุล พราหมณ์ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า.

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เกิดขึ้นในสังวัฏฏกัปคือกัปเสื่อม ย่อม เกิดขึ้นในวิวัฏฏกัปคือกัปเจริญ. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน.

อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นในกาลที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายบังเกิดขึ้น. พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และยัง ให้ผู้อื่นรู้ได้ด้วย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เฉพาะตนเอง แต่ไม่ ยังให้ผู้อื่นรู้. พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ไม่แทง ตลอดธรรมรส. เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่อาจยกโลกุตรธรรม ขึ้นสู่บัญญัติแล้วแสดง. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีการตรัสรู้ธรรม เหมือนคนใบ้เห็นความฝัน และเหมือนพรานป่าลิ้มรสกับข้าวในเมือง ฉะนั้น. ท่านบรรลุประเภทแห่งความแตกฉานในอิทธิฤทธิ์และสมาบัติ ทั้งปวง เป็นผู้ต่ำกว่าพระพุทธเจ้า สูงกว่าพระสาวก โดยคุณวิเศษ. ให้คนอื่นบวชไม่ได้ แต่ให้ศึกษาอภิสมาจาริกวัตรได้ กระทำอุโบสถด้วย

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 273

อุเทศนี้ว่า พึงทำการขัดเกลาจิต ไม่พึงถึงอวสานคือจบ หรือกระทำ อุโบสถโดยเพียงกล่าวว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถ ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาฬกะโรงแก้ว ณ ควงต้นไม้สวรรค์ บนภูเขา คันธมาทน์แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความปรารถนา และอภินิหารอัน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระอานนท์ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสบอกพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นๆ ผู้เป็นไปพร้อมด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินีหารนี้ จึงได้ตรัสขัคคิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ดังนี้ นี้เป็นเหตุเกิดแห่งขัคควิสาณสูตรด้วยอำนาจการถาม โดยไม่พิเศษ ก่อน.

บัดนี้ จะได้กล่าวการเกิดขึ้นแห่งขัคควิสาณสูตร โดยพิเศษ. ใน ข้อนั้น พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งคาถานี้อย่างนี้ก่อน :-

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ หยั่งลงสู่ภูมิปัจเจกโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีอยู่สองอสงไขยแสนกัป บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรให้ บริบูรณ์ ได้กระทำสมณธรรมแล้ว. เขาว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ไม่บำเพ็ญวัตรให้ บริบูรณ์อย่างนี้แล้วบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ย่อมไม่มี. ก็วัตรอะไรที่ ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร. อธิบายว่า การนำไปและนำกลับมา. เรา ทั้งหลายจักกล่าวโดยประการที่วัตรจะแจ่มแจ้ง.

ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้นำไปแต่ไม่นำกลับมา บางรูปนำกลับ มา แต่ไม่นำไป บางรูปทั้งไม่นำไป ไม่นำกลับมา บางรูปทั้งนำไปและ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 274

นำกลับมา. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้ามืด กระทำวัตร ที่ลานพระเจดีย์ และลานโพธิ์ รดน้ำที่ต้นโพธิ์ ทำหม้อน้ำดื่มให้เต็มแล้ว ตั้งไว้ในโรงน้ำดื่ม กระทำอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตร สมาทานขันธกวัตร ๘๒ และมหาวัตร ๑๔ ประพฤติอยู่. ภิกษุนั้นกระทำบริกรรม ร่างกายแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ยับยั้งอยู่ในที่นั่งอันสงัดจนถึงเวลาภิกขาจาร รู้เวลาแล้ว นุ่งสบง ผูกรัดประคด ห่มจีวรเฉวียงบ่า เอาสังฆาฏิพาดไหล่ คล้องบาตรที่บ่า ใส่ใจถึงกรรมฐาน เดินไปลานพระเจดีย์ ไหว้พระเจดีย์ และต้นโพธิ์ แล้วห่มจีวรในที่ใกล้บ้าน แล้วถือบาตรเข้าบ้านไปบิณฑบาต ก็ภิกษุผู้เข้าไปแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มีลาภ มีบุญ อันพวกอุบาสกอุบาสิกา สักการะเคารพ กลับมาที่ตระกูลของอุปัฏฐากหรือโรงเป็นที่กลับ ถูกพวก อุบาสกและอุบาสิกาถามปัญหานั้นๆ อยู่ ย่อมละทิ้งมนสิการนั้นแล้วออก ไป เพราะตอบปัญหาของอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น และเพราะความฟุ้งซ่าน อันเกิดจากการแสดงธรรม แม้มายังวิหาร ถูกพวกภิกษุถามปัญหา ก็จะ ต้องตอบปัญหา กล่าวธรรมะ และถึงการขวนขวายนั้นๆ จะชักช้าอยู่ กับภิกษุเหล่านั้นด้วยประการอย่างนี้ ตลอดทั้งเวลาหลังภัต ทั้งปฐมยาม และมัชฌิมยาม ถูกความชั่วหยาบทางกายครอบงำ แม้ในตอนปัจฉิมยาม ก็จะนอนเสีย, ไม่ใส่ใจถึงกรรมฐาน. ภิกษุนี้เรียกว่า นำไป แต่ไม่นำ กลับมา.

ส่วนภิกษุใดเป็นผู้มีความป่วยไข้มากมาย ฉันภัตตาหารแล้ว ในเวลา ใกล้รุ่งก็ยังย่อยไม่เรียบร้อย ในเวลาเช้ามืด ไม่อาจลุกขึ้นกระทำวัตรตาม ที่กล่าวได้ หรือไม่อาจมนสิการกรรมฐานได้ โดยที่แท้ ต้องการยาคู ของเคี้ยว เภสัชหรือภัต พอได้เวลาเท่านั้น ก็ถือบาตรและจีวรเข้าบ้าน

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 275

ได้ยาคูของเคี้ยว เภสัชหรือภัตในบ้านนั้นแล้ว นำบาตรออกมา ทำภัตกิจ ให้เสร็จแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ กระทำไว้ในใจซึ่งพระกรรมฐาน จะบรรลุคุณวิเศษหรือไม่ก็ตาม กลับมายังวิหารแล้วอยู่ด้วยมนสิการนั้นนั่น แหละ ภิกษุนี้เรียกว่า นำกลับมาแต่ไม่ได้นำไป. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ผู้เช่นนี้ ดื่มยาคูแล้วเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา ล่วงพ้นคลองแห่งการนับ. ในโรงฉันในบ้านนั้นๆ ในเกาะสิงหล อาสนะ ที่ภิกษุทั้งหลายนั่งดื่มข้าวยาคูแล้วไม่บรรลุพระอรหัต ย่อมไม่มี.

ส่วนภิกษุใด เป็นผู้มักอยู่ด้วยความประมาท ทอดธุระ ทำลาย วัตรทั้งปวงเสีย มีจิตถูกผูกด้วยเครื่องผูกดุจตะปูตรึงใจ ๕ อย่างอยู่ ไม่ หมั่นประกอบมนสิการกรรมฐาน เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ก็เนิ่นช้าด้วย การกล่าวกับพวกคฤหัสถ์ เป็นคนเปล่าๆ ออกมา ภิกษุนี้เรียกว่า ไม่นำ ไปทั้งไม่นำกลับมา.

ส่วนภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้ามืด ทำวัตรทุกอย่างให้ครบบริบูรณ์โดย นัยอันมีในก่อนนั่นแหละ ขัดสมาธิ มนสิการถึงกรรมฐานจนถึงเวลา ภิกขาจาร. ธรรมดากรรมฐานมี ๒ อย่าง คือสัพพัตถกรรมฐาน คือ กรรมฐานที่ใช้ทั่วทุกที่ และปาริหาริยกรรมฐาน กรรมฐานที่จะต้อง บริหาร. ในกรรมฐาน ๒ อย่างนั้น เมตตา และมรณานุสสติ ชื่อว่า สัพพัตถกรรมฐาน เพราะกรรมฐานดังกล่าวนั้น จำต้องการ จำต้อง ปรารถนาในที่ทุกแห่ง เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า สัพพัตถกกรรมฐาน. ธรรมดาเมตตาจำปรารถนาในที่ทั้งปวงมีอาวาสเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุผู้มี ปกติอยู่ด้วยเมตตาในอาวาสทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น ย่อมอยู่เป็นผาสุก ไม่กระทบกระทั่ง

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 276

กัน. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในเทวดาทั้งหลาย จะเป็นผู้อันเหล่าเทวดา รักษาคุ้มครองอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในพระราชาและมหา อำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น จะเป็นผู้อันพระราชาและมหาอำมาตย์ เหล่านั้นรักใคร่หวงแหนอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในคาม และนิคมเป็นต้น จะเป็นผู้อันคนทั้งหลายในที่เที่ยวภิกขาจารเป็นต้นในที่ ทุกแห่ง สักการะ เคารพ ย่อมอยู่เป็นสุข. ภิกษุละความชอบใจในชีวิต เสียด้วยการเจริญมรณานุสสติ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่.

ส่วนกรรมฐานที่จะต้องบริหารทุกเมื่อ อันพระโยคีเรียนเอาแล้ว ตามสมควรแก่จริตนั้น เป็นกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอสุภ ๑๐ กสิณ ๑๐ และอนุสสติ ๑๐ หรือเป็นเฉพาะจตุธาตุววัตถานการกำหนด ธาตุ ๔ เท่านั้น กรรมฐานนั้นเรียกว่าปาริหาริยกรรมฐาน เพราะจำต้อง บริหาร จำต้องรักษา และจำต้องเจริญอยู่ทุกเมื่อ ปาริหาริยกรรมฐาน นั้นนั่นแล เรียกว่ามูลกรรมฐานก็ได้. อันกุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์บวชใน พระศาสนาอยู่ร่วมกัน ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง กระทำกติกวัตรอยู่ว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายมิได้บวชเพราะเป็นหนี้ ไม่ได้บวชเพราะมีภัย ไม่ได้บวชเพราะ จะทำการเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชในพระศาสนานี้ เพราะฉะนั้น กิเลสที่เกิดในตอนเดิน ท่านทั้งหลายจงข่มเสียเฉพาะใน ตอนเดิน กิเลสที่เกิดในตอนยืน จงข่มเสียเฉพาะในตอนยืน กิเลสที่เกิด ในตอนนั่ง จงข่มเสียในตอนนั่ง กิเลสที่เกิดในตอนนอน จงข่มเสีย เฉพาะในตอนนอน.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 277

กุลบุตรเหล่านั้นครั้นกระทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว เมื่อจะไปภิกขาจาร ในระหว่างทางกึ่งอุสภะ หนึ่งอุสภะ กึ่งคาวุต และหนึ่งคาวุต มีหินอยู่ ก็ กระทำไว้ในใจถึงกรรมฐานด้วยสัญญานั้นเดินไปอยู่. ถ้าในตอนเดินไป กิเลสเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมข่มกิเลสนั้นเสียในตอนเดินนั่นแหละ เมื่อไม่อาจอย่างนั้นจึงยืนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้ นั้นก็จะต้องหยุดยืนอยู่. ผู้นั้นจะโจทท้วงตนขึ้นว่า ภิกษุนี้ย่อมรู้ความ ดำริที่เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน ข้อนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ดังนี้แล้วเจริญวิปัสสนา ย่อมก้าวลงสู่อริยภูมิในตอนยืนนั้นนั่นเอง เมื่อไม่อาจอย่างนั้น จึงนั่งอยู่ นัยนั้นเหมือนกันว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้นั้นก็จะ ต้องนั่ง ดังนี้. เมื่อไม่อาจก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้นแล้วใส่ใจถึงกรรมฐานเท่านั้นเดินไป (ถ้า) มีจิตเคลื่อนจากกรรมฐานอย่ายกเท้าไป ถ้าจะยก เท้าไป ต้องกลับมายืน ณ ที่เดิมให้ได้. เหมือนพระมหาผุสสเทวเถระ ผู้อยู่ในอาลินทกะ.

ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรเท่านั้นอยู่ถึง ๑๙ ปี ฝ่ายคนทั้งหลาย ไถนา หว่านข้าว นวดข้าว และทำการงานอยู่ในระหว่าง ทาง เห็นพระเถระเดินไปอย่างนั้น จึงเจรจากันว่า พระเถระเดินกลับ มาบ่อยๆ ท่านหลงทางหรือว่าลืมอะไร. พระเถระไม่สนใจข้อนั้น มีจิต ประกอบด้วยกรรมฐานอย่างเดียว การทำสมณธรรมอยู่ ภายใน ๒๐ ปีก็ ได้บรรลุพระอรหัต. ในวันที่พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตนั่นแล เทวดา ผู้สิงอยู่ท้ายที่จงกรม ได้ยืนเอานิ้วทั้งหลายทำแสงสว่างให้โพลงขึ้น ท้าว มหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหมต่างมายังที่ บำรุง และพระมหาติสสเถระผู้อยู่ในป่า ได้เห็นแสงสว่างนั้น ในวันที่

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 278

สองจึงถามท่านว่า ในตอนกลางคืน ได้มีแสงสว่างในสำนักของท่านผู้มี อายุ แสงสว่างนั้น คือแสงอะไร? พระเถระเมื่อจะทำความสับสนคือ พรางเรื่อง จึงกล่าวคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดาแสงสว่าง เป็นแสงของ ประทีปก็มี เป็นแสงของแก้วมณีก็มี ท่านถูกแค่นไค้ว่า พระคุณเจ้า ปกปิดหรือ จึงรับว่าครับ แล้วจึงได้บอก.

และเหมือนพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาฬวิลลิมัณฑปะ. ได้ยินว่า พระเถระแม้นั้น เมื่อจะบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร จึงคิดว่า เบื้องต้น เรา จักบูชาพระมหาปธานความเพียรใหญ่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน แล้ว จึงอธิษฐานการยืนและการจงกรมเท่านั้นถึง ๗ ปี ได้บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอีก ๑๖ ปีจึงบรรลุพระอรหัต. พระเถระมีจิตประกอบตามกรรมฐาน อยู่อย่างนี้ทีเดียว จึงยกเท้าไป เมื่อมีจิตพรากจากกรรมฐาน ยกเท้าจะ หวนกลับมา ท่านไปจนใกล้บ้านแล้วยืนอยู่ในสถานที่อันน่าสงสัยว่า จะเป็น แม่โคหรือบรรพชิตหนอ จึงห่มสังฆาฏิถือบาตรไปถึงประตูบ้าน แล้วเอา น้ำจากคนโทน้ำที่หนีบรักแร้มาอม แล้วจึงเข้าบ้านด้วยคิดว่า ความ สับสนแห่งกรรมฐานของเราอย่าได้มี แม้ด้วยเหตุสักว่าการกล่าวกะพวกคน ผู้เข้าไปหาเพื่อถวายภิกษาหรือเพื่อจะไหว้ว่า จงมีอายุยืนเถิด. ก็ถ้าพวกเขา ถามท่านถึงวันว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ ๗ ค่ำ หรือ ๘ ค่ำ ท่านจะกลืนน้ำแล้ว จึงบอก ถ้าผู้ถามถึงวันไม่มี ในเวลาออกไป ท่านจะบ้วนทั้งที่ประตูบ้าน แล้วจึงไป.

และเหมือนภิกษุ ๕๐ รูป จำพรรษาอยู่ในกลัมพติตถวิหาร ใน เกาะสิงหล. ได้ยินว่า ในวันอุโบสถใกล้เข้าพรรษา ภิกษุเหล่านั้นได้ กระทำกติกวัตรกันว่า เราทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่พูดกะกัน

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 279

และกัน. และเมื่อจะเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต อมน้ำที่ประตูบ้านแล้วจึงเข้า ไป. เมื่อเขาถามถึงวัน ก็กลืนน้ำแล้วจึงบอก เมื่อไม่มีผู้ถาม ก็บ้วนที่ ประตูบ้านแล้วกลับมายังวิหาร. คนทั้งหลายในที่นั้นเห็นที่ที่บ้วนน้ำก็รู้ได้ ว่า วันนี้ มารูปเดียว วันนี้มาสองรูป. และพากันคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุ เหล่านั้นไม่พูดกับพวกเราหรือว่าไม่พูดแม้กะกันและกัน. ถ้าไม่พูดแม้กะกัน และกัน จักเกิดวิวาทกันแน่แท้ เอาเถอะ พวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้น ขอโทษกะกันและกัน. คนทั้งปวงได้พากันไปยังวิหาร. เมื่อภิกษุ ๕๐ รูป ในวิหารนั้นเข้าพรรษาแล้ว จึงไม่ได้เห็นภิกษุ ๒ รูปในที่เดียวกัน. ลำดับ นั้น บรรดาคนเหล่านั้น บุรุษผู้มีดวงตากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย โอกาสของตนผู้ทำการทะเลาะกัน ย่อมไม่เป็นเช่นนี้ ลาน พระเจดีย์ ลานโพธิ์ เกลี้ยงเกลา ไม้กวาดก็เก็บไว้เรียบร้อย น้ำดื่มน่าใช้ ก็ตั้งไว้ดี แต่นั้นคนเหล่านั้นจึงพากันกลับ. ภิกษุแม้เหล่านั้นเจริญวิปัสสนา ภายในพรรษาเท่านั้น ได้บรรลุพระอรหัต ในวันมหาปวารณา จึง ปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณา.

ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น เหมือนพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ในกาฬวัลลิมัณฑปะ และเหมือนภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในกลัมพติตถวิหาร ด้วยประการอย่างนี้ ย่างเท้าไปใกล้บ้านจึงอมน้ำ กำหนดถนน ในถนนใดไม่มีคนก่อการทะเลาะมีนักเลงสุราเป็นต้น หรือช้างดุม้าดุเป็น ต้น จึงดำเนินไปตามถนนนั้น. และเมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปในถนนนั้น ก็รีบร้อนไปโดยรวดเร็ว. ชื่อว่าธุดงค์ของภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตโดย รวดเร็วเป็นวัตรย่อมไม่มี. อนึ่ง ไปถึงภูมิภาคอันไม่สม่ำเสมอ ก็เป็นผู้ นิ่งเดินไป เหมือนเกวียนเต็มน้ำ และเข้าไปตามลำดับบ้าน เพื่อที่จะ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 280

กำหนดผู้ใคร่จะให้หรือไม่ให้ จึงรอเวลาอันเหมาะสมแก่กิจนั้น รับภิกษา ได้แล้วนั่งอยู่ในโอกาสอันสมควร เมื่อมนสิการกรรมฐาน จึงเข้าไปยัง ความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร พิจารณาโดยเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลา ทายาแผล และเนื้อของบุตร บริโภคอาหารอันประกอบด้วยองค์ ๘ ว่า มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ และบริโภคแล้วทำกิจด้วยน้ำ บรรเทา ความลำบากเพราะภัตครู่หนึ่ง แล้วกระทำไว้ในใจถึงกรรมฐาน ตลอด กาลภายหลังภัต ตลอดยามแรกและยามสุดท้าย เหมือนกาลก่อนภัต. ภิกษุ นี้เรียกว่า นำไปและนำกลับมาด้วย. การนำไปและนำกลับมานี้ด้วย ประการอย่างนี้ เรียกว่าคตปัจจาคตวัตร.

ภิกษุผู้บำเพ็ญวัตรนี้อยู่ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ย่อมบรรลุ พระอรหัตในปฐมวัยทีเดียว ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัย ก็จะบรรลุในมัชฌิมวัย ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัย ก็จะบรรลุในเวลาใกล้จะตาย ถ้าไม่บรรลุใน เวลาใกล้จะตาย ก็จะเป็นเทวบุตรแล้วบรรลุ ถ้าเป็นเทวบุตรไม่บรรลุ ก็จะ ได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน. ถ้าไม่ได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน ก็จะได้เป็นผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน ในความเป็นผู้พร้อม หน้าต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนพระพาหิยเถระ หรือจะเป็นผู้มีปัญญา มากเหมือนพระสารีบุตรเถระ.

พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนี้อยู่สองหมื่นปี กระทำ กาละแล้วบังเกิดขึ้นในกามาวจรเทวโลก. จุติจากนั้นแล้วได้ถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี. สตรีทั้งหลายผู้ฉลาด ย่อมรู้การตั้งครรภ์ได้ในวันนั้นเอง. ก็พระอัครมเหสีนั้นเป็นสตรีคนหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 281

บรรดาสตรีเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสีแม้นี้ก็กราบทูลการตั้ง ครรภ์นั้นแด่พระราชา. ข้อที่เมื่อสัตว์ผู้มีบุญเกิดขึ้นในครรภ์ มาตุคาม ย่อมได้การบริหารครรภ์นั้น เป็นของธรรมดา. เพราฉะนั้น พระราชา จึงได้ประทานการบริหารครรภ์แก่พระอัครมเหสีนั้น. จำเดิมแต่นั้น พระนางไม่ได้กลืนกินอะไรๆ ที่ร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ด จัด และขมจัด. เพราะเมื่อมารดากลืนกินของที่ร้อนจัด สัตว์ที่เกิดใน ครรภ์ย่อมเป็นเหมือนอยู่ในโลหกุมภี เมื่อกลืนกินของเย็นจัด ย่อมเป็น เหมือนอยู่ในโลกันตนรก เมื่อบริโภคของเปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ขม จัด อวัยวะของทารกย่อมมีเวทนากล้า เหมือนถูกผ่าด้วยมีดแล้วราดด้วย ของเปรี้ยวเป็นต้น. ผู้บริหารครรภ์ทั้งหลายย่อมห้ามพระนางจากการเดิน มาก ยืนมาก นั่งมาก และนอนมาก ด้วยหวังใจว่า ทารกที่อยู่ในครรภ์ อย่าได้มีความลำบากเพราะการเคลื่อนไหว. พระนางได้การเดินเป็นต้น บนภาคพื้นที่ลาดด้วยเครื่องอันนุ่มโดยพอประมาณ ย่อมได้เสวยข้าวน้ำที่ เป็นสัปปายะ อร่อย สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น ผู้บริหารครรภ์ กำหนดให้พระนางเดิน ให้ประทับนั่งและให้ออกไป.

พระนางอันเขาบริหารอยู่อย่างนี้ ในเวลาพระครรภ์แก่ เสด็จเข้า เรือนประสูติ ในเวลาใกล้รุ่ง ประสูติพระโอรสผู้เช่นกับก้อนมโนศิลาที่ เคล้าด้วยน้ำมันที่หุงแล้ว ประกอบด้วยธัญญลักษณะ และบุญลักษณะ. ในวันที่ ๕ จากวันนั้น พระญาติทั้งหลายจึงแสดงพระโอรสนั้น ผู้ตกแต่ง ประดับประดาแล้วแด่พระราชา. พระราชาทรงดีพระทัย ให้บำรุงด้วย แม่นม ๖๖ นาง. พระราชโอรสนั้นเจริญด้วยสมบัติทั้งปวง ไม่นานนัก ก็ทรงบรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสา. พระราชาทรงอภิเษกพระโอรสนั้นผู้มี

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 282

พระชนม์ ๑๖ พรรษาด้วยราชสมบัติ และให้บำรุงบำเรอด้วยนางฟ้อน ต่างๆ พระราชโอรสผู้อภิเษกแล้ว ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต โดยพระนาม ครองราชสมบัติในสองหมื่นนครในสกลชมพูทวีป. ได้ยินว่า ในชมพูทวีป เมื่อก่อน ได้มีนครอยู่แปดหมื่นสี่พันนคร นครเหล่านั้น เสื่อมไปเหลืออยู่หกหมื่นนคร แต่นั้น เสื่อมไปเหลืออยู่สี่หมื่นนคร ก็ใน เวลาเสื่อมหมดมีเหลืออยู่สองหมื่นนคร. ก็พระเจ้าพรหมทัตนี้อุบัติขึ้นใน เวลาเสื่อมหมด เพราะเหตุนั้น พระเจ้าพรหมทัตจึงได้มีสองหมื่นนคร มีปราสาทสองหมื่นองค์ มีพลช้างสองหมื่นเชือก มีพลม้าสองหมื่นตัว มีพลรถสองหมื่นคัน มีพลเดินเท้าสองหมื่นคน มีสตรีสองหมื่นนาง คือ นางในและหญิงฟ้อน มีอำมาตย์สองหมื่นคน.

พระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงครองมหาราชสมบัติอยู่นั่นแล ทรง การทำกสิณบริกรรม ทรงทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้ว ก็เพราะเหตุว่าพระราชาผู้อภิเษกแล้ว ต้องประทับนั่งในศาลเป็นประจำ ฉะนั้น วันหนึ่งเวลาเช้าตรู่ เสวยพระกระยาหารเข้าแล้ว ประทับนั่งใน ที่วินิจฉัย. พวกคนได้กระทำเสียงดังลั่นเอ็ดอึงในที่นั้น. พระองค์ทรง ดำริว่า เสียงนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมาบัติ จึงเสด็จขึ้นสู่พื้นปราสาทประทับ นั่งด้วยหวังว่าจะเข้าสมาบัติ ก็ไม่อาจเข้าได้ สมาบัติเสื่อมไปเพราะความ สับสนในตอนเป็นพระราชา. ลำดับนั้น จึงทรงดำริว่า ราชสมบัติประเสริฐ หรือสมณธรรมประเสริฐ. แต่นั้น ทรงทราบว่า ความสุขในราชสมบัติ นิดหน่อย มีโทษมาก แต่ความสุขในสมณธรรมไพบูลย์ มีอานิสงส์ มิใช่น้อย และบุรุษชั้นสูงเสพแล้ว จึงทรงสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เธอจง ปกครองราชสมบัตินี้โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ อย่าครอบครองโดยไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 283

ธรรม ดังนี้แล้ว ทรงมอบสมบัติทั้งปวงให้แก่อำมาตย์นั้น แล้วเสด็จขึ้น ปราสาท ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในสมาบัติ ใครๆ จะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ ยกเว้น แต่ผู้จะถวายน้ำสรงพระพักตร์และไม้ชำระฟัน กับคนผู้จะนำพระกระยาหารไปถวายเป็นต้น.

ลำดับนั้น เมื่อเวลาล่วงไปประมาณกึ่งเดือน พระมเหสีตรัสถามว่า พระราชาไม่ปรากฏในที่ไหนๆ ในการเสด็จไปอุทาน การทอดพระเนตร กำลังพล และการฟ้อนเป็นต้น พระราชาเสด็จไปไหน. อำมาตย์ทั้งหลาย จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระมเหสี. พระนางทรงให้ส่งข่าวแก่อำมาตย์ (ผู้รับมอบราชสมบัติ) ว่า เมื่อท่านรับมอบราชสมบัติ แม้เราก็เป็นอัน ท่านรับมอบด้วย ท่านจงมาสำเร็จการอยู่ร่วมกับเรา. อำมาตย์นั้นปิดหู. ทั้งสองข้างเสีย แล้วห้ามว่า คำนี้ไม่น่าฟัง. พระนางจึงให้ส่งข่าวไปอีก ๒ - ๓ ครั้ง ให้คุกคามเขาผู้ไม่ปรารถนาว่า ถ้าท่านไม่ทำ เราจะปลดท่าน แม้จากตำแหน่ง จะให้ปลงแม้ชีวิตท่าน. อำมาตย์นั้นกลัวคิดว่า ธรรมดา มาตุคามเป็นผู้ตัดสินใจได้เด็ดเดี่ยว บางครั้งจะให้กระทำแม้อย่างที่ตรัสนั้น. วันหนึ่งไปที่ลับสำเร็จการอยู่ร่วมกันบนพระที่สิริไสยากับพระนาง. พระนางเป็นหญิงมีบุญ มีสัมผัสสบาย อำมาตย์นั้นกำหนัดแล้วด้วยความกำหนัด ในสัมผัสของพระนาง ทั้งระแวงทั้งสงสัยนั่นแหละก็ได้ไปในที่นั้นเนืองๆ ต่อมาหมดความระแวงสงสัย เริ่มเข้าไปโดยลำดับดุจเจ้าของเรือนของตน.

ลำดับนั้น คนของพระราชาได้กราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา. พระราชาไม่ทรงเชื่อ. จึงพากันกราบทูลแม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม. ลำดับนั้น พระราชาทรงแอบไป ได้ทรงเห็นด้วยพระองค์เอง จึงรับสั่ง ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหมดแล้วแจ้งให้ทราบ. อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 284

อำมาตย์ผู้นี้ผิดต่อพระราชา ควรตัดมือ ควรตัดเท้า ดังนี้แล้ว ชี้กรรมกรณ์ การลงโทษทางกายทั้งหมดจนกระทั่งถึงการเสียบหลาว. พระราชาตรัสว่า ในการฆ่า การจองจำ และการทุบตีผู้นี้ การเบียดเบียนก็จะพึงเกิดขึ้น แก่เรา ในการปลงชีวิต ปาณาติบาตก็จะพึงเกิด ในการริบทรัพย์ อทินนาทานก็จะพึงเกิดขึ้น ไม่ควรทำกรรมเห็นปานนี้ พวกท่านจงขับไล่อำมาตย์ ผู้นี้ออกไปเสียจากอาณาจักรของเรา. อำมาตย์ทั้งหลายได้กระทำเขาให้เป็น คนไม่มีเขตแดน. เขาจึงพาเอาทรัพย์และบุตรของตนที่พอจะนำเอาไปได้ ไปยังเขตแดงของพระราชาอื่น. พระราชาในเขตแดนนั้นได้ทรงทราบ เข้าจึงตรัสถามว่า ท่านมาทำไม? อำมาตย์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่ สมมติเทพ ข้าพระองค์ปรารถนาจะคอยรับใช้พระองค์. พระราชานั้นจึง รับเอาไว้. พอล่วงไป ๒ - ๓ วัน อำมาตย์ได้ความคุ้นเคยแล้วได้กราบ ทูลคำนี้กะพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เห็นน้ำผึ้งไม่มี ตัวอ่อน คนผู้จะเคี้ยวกินน้ำผึ้งนั้นก็ไม่มี. พระราชาทรงดำริว่า อะไรนี่ คนที่จะประสงค์จะเย้ยจึงจะกล่าว จึงไม่ทรงเชื่อฟัง. อำมาตย์นั้นได้ช่อง จึงได้กราบทูลพรรณนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก พระราชาตรัสถามว่า นี่อะไร? อำมาตย์นั้น กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ท่านประสงค์จะนำเราไปฆ่าให้ตายหรือ. อำมาตย์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อ ขอพระองค์จงส่งคนไป. พระราชาจึงทรงส่งคน ทั้งหลายไป คนเหล่านั้นไปถึงแล้ว จึงขุดซุ้มประตูแล้วโผล่ขึ้นในตำหนัก ที่บรรทมของพระราชา.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 285

พระราชาทรงเห็นแล้วตรัสถามว่า พวกท่านพากันมาเพื่ออะไร? คนเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระองค์เป็นโจร พระเจ้าข้า พระราชา ได้ให้ทรัพย์แก่คนเหล่านั้นแล้วตรัสสอนว่า พวกท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ อีกแล้วปล่อยตัวไป คนเหล่านั้นจึงมากราบทูลให้พระราชานั้นทรงทราบ. พระราชานั้นทรงทดลองอย่างนั้นแหละครั้งที่สองอีก ทรงทราบว่า พระราชาทรงมีศีล จึงคุมกองทัพมีองค์ ๔ เช้าประชิดนครหนึ่งในระหว่าง แดน แล้วให้ส่งข่าวแก่อำมาตย์ในนครนั้นว่า ท่านจะให้นครแก่เราหรือว่า จะรบ. อำมาตย์นั้นจึงให้คนกราบทูลเนื้อความนั้นแก่พระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระองค์ผู้สมมติเทพจงสั่งมาว่า จะรบหรือจะให้นคร. พระราชาทรง ส่งข่าวไปว่า ไม่จำต้องรบ ท่านจงให้นครแล้วจงมาในนครพาราณสีนี้. อำมาตย์นั้นได้กระทำตามรับสั่งอย่างนั้น ฝ่ายพระราชาที่เป็นข้าศึกยึดนคร นั้นได้แล้ว ทรงส่งทูตทั้งหลายไปแม้ในนครที่เหลือเหมือนอย่างนั้นแหละ อำมาตย์แม้เหล่านั้นก็กราบทูลแก่พระเจ้าพรหมทัตอย่างนั้นเหมือนกัน อัน พระเจ้าพรหมทัตนั้นตรัสว่า ไม่จำต้องรบ พึงมา ณ ที่นี่ จึงพากันมายัง เมืองพาราณสี.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า ข้าแต่ มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์จักรบกับพระราชานั้น. พระราชาทรงห้ามว่า ปาณาติบาตจักมีแก่เรา. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์จักจับเป็นพระราชานั้น แล้วนำมาในที่นี้ทีเดียว ทำให้ พระราชาทรงยินยอมด้วยอุบายต่างๆ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมา ดังนี้แล้วเริ่มจะไป พระราชาตรัสว่า ถ้าท่านทั้งหลาย จะไม่กระทำสัตว์ให้ตาย ด้วยการประหารและปล้น เราก็จะไป. อำมาตย์

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 286

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกข้าพระองค์จะไม่ทำ พวก ข้าพระองค์จะแสดงภัยแล้วให้หนีไป ดังนี้แล้วจึงคุมจตุรงคินีเสนา ใส่ ดวงประทีปในหม้อแล้วไปในตอนกลางคืน. วันนั้น พระราชาที่เป็น ข้าศึกยึดนครในที่ใกล้เมืองพาราณสีได้แล้ว ทรงดำริว่า บัดนี้จะมีอะไร จึงให้ปลดเครื่องผูกสอดในตอนกลางคืน เป็นผู้ประมาท จึงก้าวลงสู่ความ หลับพร้อมกับหมู่พล.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายได้พาพระเจ้าพรหมทัตไปถึงค่ายของ พระราชาผู้เป็นข้าศึก จึงให้นำดวงประทีปออกจากหม้อทุกหม้อ ทำให้ โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน แล้วกระทำการโห่ร้อง อำมาตย์ของพระราชาที่ เป็นข้าศึก เห็นหมู่พลมากมายก็กลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาของตนแล้ว ได้กล่าวเสียงดังลั่นว่า ขอพระองค์จงลุกขึ้นเคี้ยวกินน้ำผึ้งที่ไม่มีตัวอ่อนเถิด. แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม ก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. พระราชาผู้เป็น ข้าศึกทรงตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ถึงความกลัวหวาดสะดุ้ง. เสียงโห่ร้อง ตั้งร้อยลั่นไปแล้ว. พระราชานั้นทรงดำริว่า เราเชื่อคำของคนอื่น จึงตก ไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ทรงบ่นถึงเรื่องนั้นๆ ไปตลอดทั้งคืน ในวัน รุ่งขึ้น ทรงดำริว่า พระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม คงไม่ทำการขัดขวาง เราจะไปให้พระองค์อดโทษ จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา คุกเข่าลงแล้วกราบ ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงอดโทษผิดของหม่อมฉัน. พระราชาทรงโอวาทพระราชาที่เป็นข้าศึกนั้น ตรัสว่า จงลุกขึ้นเถิด หม่อมฉัน อดโทษแก่พระองค์. พระราชาข้าศึกนั้น เมื่อพระราชาสักว่า ตรัสอย่างนั้น เท่านั้น ก็ได้ถึงความโล่งพระทัยอย่างยิ่ง ได้ราชสมบัติในชนบท

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 287

ใกล้เคียงพระเจ้าพาราณสีนั่นเอง พระราชาทั้งสองนั้นได้เป็นพระสหายกัน และกัน.

ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเสนาทั้งสองฝ่ายรื่นเริง บันเทิงยืนร่วมกันได้ จึงทรงดำริว่า เพราะเราผู้เดียวเท่านั้นตามรักษาจิต หยาดโลหิตสักเท่าแมลงวันตัวเล็กๆ ดื่มได้ จึงไม่เกิดขึ้นในหมู่มหาชนนี้ โอ สาธุ โอ ดีแล้ว! สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข อย่าได้มีเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน แล้วทรงทำเมตตาฌานให้เกิดขึ้น ทรงทำเมตตาฌาน นั้นนั่นแหละให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย กระทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ บรรลุความเป็นพระสยัมภูแล้ว. อำมาตย์ทั้งหลายหมอบกราบ ลงแล้ว กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตผู้มีความสุขด้วยสุขในมรรคและผล ผู้ ประทับนั่งอยู่บนคอช้างว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า การที่จะเสด็จไป พึงทำ สักการะแก่หมู่พลผู้ชนะ พึงให้เสบียงคือภัตแก่หมู่พลผู้แพ้. พระเจ้า พรหมทัตนั้นตรัสว่า นี่แน่ะพนา เราไม่ได้เป็นพระราชา เราชื่อว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระองค์ผู้ประเสริฐ ตรัสอะไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นผู้เช่นนี้. พระราชาตรัสว่า พนายทั้งหลาย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมดาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้มีผม และหนวดยาวสองนิ้ว ประกอบด้วยบริขาร ๘. พระราชาจึงเอาพระหัตถ์ ขวาลูบพระเศียร. ทันใดนั้นเพศคฤหัสถ์อันตรธานหายไป เพศบรรพชิต ปรากฏขึ้น. พระองค์มีพระเกสาและพระมัสสุประมาณสองนิ้ว ประกอบ ด้วยบริขาร ๘ เป็นเช่นกับพระเถระมีพรรษาหนึ่งร้อย. พระราชาทรง เข้าจตุตถฌานเหาะจากคอช้างขึ้นสู่เวหาส ประทับนั่งบนดอกปทุม. อำมาตย์

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 288

ทั้งหลายถวายบังคมแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็น กรรมฐาน พระองค์บรรลุได้อย่างไร? พระราชานั้น เพราะเหตุที่ พระองค์มีกรรมฐานมีเมตตาฌานเป็นอารมณ์ และทรงเห็นแจ้งวิปัสสนา นั้น จึงได้บรรลุ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสคาถา นี้แหละอันเป็นอุทานคาถา และพยากรณ์คาถาว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ แปลว่า ไม่เหลือ. บทว่า ภูเตสุ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย. ในที่นี้มีความสังเขปเท่านี้ ส่วนความ พิสดาร ข้าพเจ้าจักกล่าวในอรรถกถารัตนสูตร. บทว่า นิธาย แปลว่า วางแล้ว. บทว่า ทณฺฑํ ได้แก่ อาชญาทางกาย วาจา และใจ. คำนี้ เป็นชื่อของกายทุจริตเป็นต้น. จริงอยู่ กายทุจริตชื่อว่าทัณฑ์ เพราะย่อม ลงโทษ อธิบายว่า เบียดเบียน คือทำให้ถึงความพินาศฉิบหาย. วจีทุจริต และมโนทุจริต ก็เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ทัณฑ์ได้แก่ทัณฑ์คือการ ประหาร อธิบายว่า วางทัณฑ์คือการประหารนั้น ดังนี้ก็มี. บทว่า อวิเหยํ แปลว่า ไม่เบียดเบียน. บทว่า อญฺตรมฺปิ ได้แก่ คนใด คนหนึ่ง คือแม้คนหนึ่ง. บทว่า เตสํ โยคว่า สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น. บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปรารถนาบุตรชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาบุตร ๔ จำพวกนี้ คือบุตรที่เกิดแต่ตน บุตรเกิดแต่ภริยา บุตร ที่เขาให้ และอันเตวาสิก คือลูกศิษย์. บทว่า กุโต สหายํ ความว่า แต่สหายควรปรารถนา เพราะเหตุนั้น จะปรารถนาสหายนั้นแต่ไหนเล่า.

บทว่า เอโก ความว่า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชา, ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อน, ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหา

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 289

ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าปราศจากกิเลสโดยส่วนเดียว, ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว. จริงอยู่ ท่านเป็น ไปอยู่ในท่ามกลางสมณะตั้งพันองค์ ก็ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตัดความเกี่ยว ข้องกับคฤหัสถ์เสีย. ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชาอย่างนี้. ยืนผู้เดียว เดินผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว ไปอยู่คือเป็นไปผู้เดียว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนด้วยประการอย่างนี้.

บุคคลมีตัณหาเป็นเพื่อน จึงท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอัน ยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีภาวะเป็นอย่างนี้ และมี ภาวะเป็นอย่างอื่น. ภิกษุรู้โทษนี้แล้วปราศจากตัณหา ไม่ล้อ มั่น มีสติ พึงงดเว้นตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์เสีย.

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหาได้ด้วย ประการอย่างนี้. กิเลสทั้งปวงเป็นอันท่านละได้แล้ว มีมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจวัตถุคือที่ตั้งของต้นตาล ทำให้ถึงความไม่มีต่อไป มีอัน ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ปราศจากกิเลสโดยส่วนเดียว ด้วยประการอย่างนี้. ท่านไม่มีอาจารย์ เป็น สยัมภู. ตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณด้วยตนเอง เพราะ. เหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณ ผู้เดียว ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า จเร ความว่า จริยา ๘ เหล่านี้ใด คืออิริยาบถจริยาใน อิริยาบถ ๔ ของผู้ที่สมบูรณ์ด้วยปณิธิ. อายตนจริยาในอายตนะภายใน และภายนอก ๖ ของผู้ที่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. สติจริยาใน สติปัฏฐาน ๔ ของผู้ที่มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. สมาธิจริยาในฌาน ๔

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 290

ของผู้ที่ประกอบเนืองๆ ในอธิจิต. ญาณจริยาในอริยสัจ ๔ ของผู้ที่สมบูรณ์ ด้วยพุทธิปัญญา. มรรคจริยาในอริยสัจ ๔ ของผู้ที่ปฏิบัติชอบ. ปัตติ- จริยาในสามัญญผล ๔ ของผู้ที่บรรลุผล. และโลกัตถจริยาในสรรพสัตว์ ของพระพุทธเจ้า ๓ จำพวก. บรรดาจริยาเหล่านั้น จริยาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าโดยบางส่วน. เหมือนดังท่านกล่าว ไว้ว่า บทว่า จริยา ได้แก่ จริยา ๘ คืออิริยบถจริยา. ความพิสดาร แล้ว. พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยาเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า จริยา ๘ แม้อื่นอีกท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วย ศรัทธา ผู้ประคองไว้ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งมั่นย่อม ประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้อยู่ย่อมประพฤติ ด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งอยู่ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ย่อมประพฤติอายตนจริยาโดยมนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้. ย่อมประพฤติวิเสสจริยาโดยมนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยา ๘ แม้เหล่านั้น. ในคำว่า ขคฺควิสาณกปฺโป นี้ เขาของแรดชื่อว่านอแรด. ความหมายของกัปปศัพท์ ข้าพเจ้าจัก ประกาศในอรรถกถามงคลสูตร. แต่ในที่นี้กัปปศัพท์นี้ พึงทราบว่า ให้พิสดาร เช่น ดังในประโยคว่า ผู้เจริญทั้งหลาย นัยว่า พวกเราปรึกษา หารืออยู่กับพระสาวกผู้เช่นกับพระศาสดา. บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ท่าน จึงอธิบายว่า เช่นกันนอแรด. พรรณนาความโดยบทในที่นี้ เพียง เท่านี้ก่อน.

แต่เมื่อว่าด้วยความเกี่ยวเนื่องกันโดยอธิบาย พึงทราบอย่างนี้. อาชญามีประการดังกล่าวนี้ใด อันบุคคลให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลาย ย่อม

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 291

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เราปล่อยวางอาชญานั้นให้สัตว์ทั้งมวล โดยไม่ ให้อาชญาเป็นไปในสัตว์เหล่านั้น และโดยนำเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์อื่น ด้วยเมตตาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาชญานั้น และเพราะเป็น ผู้ปล่อยวางอาชญาเสียแล้ว จึงไม่เบียดเบียนโดยประการที่พวกสัตว์ผู้ที่ ยังไม่วางอาชญาเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยท่อนไม้ ศัสตรา ฝ่ามือ หรือก้อนดิน อาศัยเมตตากรรมฐานนี้แม้ข้อหนึ่ง บรรดาพรหมวิหาร ๔ เหล่านั้น เห็นแจ้งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในกรรมฐานนั้น และสังขารอื่นจากนั้น ตามแนวของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้นนั่นแล จึงได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณนี้ อธิบายว่า ดังกล่าวมานี้ เพียงเท่านี้ก่อน.

ส่วนเรื่องอันเกี่ยวเนื่องกันมีดังต่อไปนี้. เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้ แล้ว อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระองค์ จะเสด็จไปไหน. ลำดับนั้น เมื่อพระองค์ทรงรำพึงว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อยู่ ณ ที่ไหน ทรงรู้แล้วจึงตรัสว่า เราจะ อยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะละพวกข้าพระองค์ จึงไม่พึงประสงค์พวก ข้าพระองค์. ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงตรัสคำทั้งปวงว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้นมีอธิบายว่า บัดนี้ เราไม่ปรารถนา แม้บุตรชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดาบุตรที่เกิดในตนเป็นต้น จะปรารถนา สหายผู้เช่นท่าน แต่ที่ไหนเล่า. เพราะฉะนั้น บรรดาพวกท่าน ผู้ใด ปรารถนาจะไปกับเรา หรือจะเป็นเช่นกับเรา ผู้นั้นพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนนอแรด. อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 292

พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะละพวกข้าพระองค์ จะไม่ต้องการ พวกข้าพระองค์. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงตรัสว่า บุคคลไม่ปรารถนา บุตร จะปรารถนาสหายมาแต่ไหนเล่า ได้เห็นคุณของการเที่ยวไปผู้เดียว โดยเนื้อความตามที่กล่าวแล้ว จึงร่าเริง เกิดปีติโสมนัส เปล่งอุทานนี้ว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น ดังนี้. ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อ มหาชนเห็นอยู่นั่นแล ได้เหาะขึ้นในอากาสไปยังภูเขาคันธมาทน์.

ชื่อว่าภูเขาคันธมาทน์นี้ได้มีอยู่เลยภูเขา ๗ ลูกไป คือจูฬกาฬบรรพต มหากาฬบรรพต นาคปลิเวฐนบรรพต จันทคัพภบรรพต สุริยคัพภบรรพต สุวัณณปัสสบรรพต และหินวันตบรรพต ในป่าหิมพานต์. ณ ภูเขาคันธมาทน์ มีเงื้อมเขาชื่อว่านันทมูลกะ เป็นสถานที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลาย และมีคูหา ๓ คูหา คือสุวรรณคูหา ๑ มณิคูหา ๑ รัชตคูหา ๑ บรรดาคูหาทั้ง ๓ นั้น ที่ประตูมณิคูหา มีต้นไม้ชื่อว่ามัญชูสกะ ต้นไม้ สวรรค์ สูงหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์. ต้นไม้นั้นย่อมเผล็ดดอกในน้ำ หรือบนบกทั่วไป โดยพิเศษ ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมา. เบื้อง บนต้นไม้นั้น มีโรงรัตนะทุกชนิด ในโรงรตนะนั้น ลมที่กวาดก็ปัดกวาด หยากเยื่อทิ้ง ลมที่กระทำที่ให้เรียบ ก็กระทำทรายอันล้วนแล้วด้วยรัตนะ ทั้งปวงให้เรียบ ลมที่รดน้ำก็นำน้ำจากสระอโนดาตมารดน้ำ ลมที่ทำให้มี กลิ่นหอม ก็นำกลิ่นหอมของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมมาจากป่าหิมพานต์ ลมที่ โปรยก็โปรยดอกไม้ทั้งหลายให้ตกลงมา ลมที่ลาดก็ลาดที่ทั้งปวง และใน โรงนั้นปูลาดอาสนะไว้เรียบร้อยเป็นประจำ สำหรับเป็นที่ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงนั่งประชุม ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และในวัน อุโบสถ. นี้เป็นปกติในที่นั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ไปในที่นั้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 293

นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว. ลำดับนั้น ถ้าในเวลานั้นมีพระปัจเจกพุทธเจ้า อื่นๆ อยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จะประชุมกันในทันทีนั้น แล้วต่างก็นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว ก็แลครั้นนั่งแล้ว จะพากันเข้า สมาบัติบางสมาบัติแล้วจึงออกจากสมาบัติ แต่นั้น เพื่อที่จะให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงอนุโมทนา พระสังฆเถระจะถามกรรมฐานกะพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มาไม่นานอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอย่างไร. แม้ในกาลนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มายังไม่นานนั้น ก็จะกล่าวอุทานคาถาและพยากรณ์คาถา ของตนนั้นนั่นแหละ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกท่านพระอานนท์ถาม ก็ตรัสคาถานั้นนั่นแหละซ้ำอีก แม้พระอานนท์ก็กล่าวคาถานั้นนั่นแหละใน คราวสังคายนา รวมความว่า คาถาหนึ่งๆ ย่อมเป็นอันกล่าว ๔ ครั้ง คือในที่ที่ตรัสรู้พระปัจเจกสัมโพธิญาณ ๑ ในโรงบนต้นไม้สวรรค์ ๑ ในเวลาที่พระอานนท์ทูลถาม ๑ ในคราวสังคายนา ๑ ด้วยประการ อย่างนี้แล.

จบพรรณนาคาถาที่ ๑

พรรณนาสังสัคคคาถา

คาถาว่า สํสคฺคชาตสฺส ดังนี้เป็นต้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระปัจเจกโพธิสัตว์แม้นี้ ก็กระทำสมณธรรมโดยนัยเรื่องก่อนนั้น แล ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป สองหมื่นปี กระทำกสิณบริกรรมยังปฐมฌานให้บังเกิดแล้ว กำหนดนามและรูป พิจารณาลักษณะ

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 294

ยังไม่บรรลุอริมรรค จึงบังเกิดในพรหมโลก. พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น จุติจากพรหมโลกนั้นแล้ว อุบัติในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้า. พาราณสี เจริญวัยขึ้นโดยนัยก่อนนั่นแล อาศัยกาลจำเดิมแต่ที่ได้รู้ความ แปลกกันว่า ผู้นี้เป็นหญิง ผู้นี้เป็นชายแล้ว ไม่ชอบอยู่ในมือของพวก ผู้หญิง ไม่ยินดีแม้มาตรว่าการอบ การอาบน้ำ และการประดับเป็นต้น บุรุษเท่านั้นเลี้ยงดูพระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น ในเวลาจะให้ดื่มนม แม่นม ทั้งหลายสวมเสื้อปลอมเพศเป็นชายให้ดื่มนม. พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้นได้ สูดกลิ่นหรือได้ยินเสียงของหญิงทั้งหลายเข้าก็ร้องไห้ แม้รู้เดียงสาแล้วก็ไม่ ปรารถนาจะพบเห็นผู้หญิงทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงให้สมญานามพระโพธิสัตว์นั้นว่า อนิตถิคันธกุมาร.

เมื่ออนิตถิคันธกุมารนั้นมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา พระราชาทรงดำริ ว่า จักให้ดำรงวงศ์สกุล จึงให้นำสาวน้อยผู้เหมาะสมแก่พระกุมารนั้นมา แล้วทรงสั่งอำมาตย์ผู้หนึ่งว่า ท่านจงทำให้พระกุมารยินดี. อำมาตย์มีความ ประสงค์จะให้พระกุมารนั้นยินดีด้วยอุบาย จึงให้แวดวงปราการม่านในที่ ไม่ไกลพระกุมารนั้น แล้วให้พวกหญิงฟ้อนรำประกอบการแสดง. พระกุมารได้ฟังเสียงขับร้องและเสียงประโคมดนตรี จึงตรัสถามว่า นี้เสียงของ ของใคร. อำมาตย์กราบทูลว่า นี้เป็นเสียงของพวกหญิงฟ้อนรำของ พระองค์ ผู้มีบุญทั้งหลายจึงจะมีการฟ้อนรำเช่นนี้ ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์ จงอภิรมย์เถิด พระองค์เป็นผู้มีบุญมาก. พระกุมารให้เฆี่ยนอำมาตย์ ด้วยไม้แล้วให้ลากตัวออกไป. อำมาตย์นั้นจึงกราบทูลแก่พระราชา พระราชาเสด็จไปพร้อมกับพระชนนีของพระกุมาร ให้พระกุมารขอโทษ แล้วทรงสั่งอำมาตย์อีก. พระกุมารถูกพระบิดาเป็นต้นเหล่านั้นบีบคั้น

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 295

หนักเข้า จึงให้ทองคำเนื้อดีเยี่ยมแล้วสั่งพวกช่างทองว่า พวกท่านจงทำ รูปหญิงให้งดงาม. ช่างทองเหล่านั้นกระทำรูปหญิงประดับด้วยเครื่อง อลังการทุกอย่าง ประดุจพระวิสสุกรรมเทวบุตรเนรมิตแล้วให้ทอดพระเนตร. พระกุมารทรงเห็นแล้ว ทรงสั่นพระเศียรด้วยความประหลาด พระทัย แล้วให้ส่งไปถวายพระชนกและพระชนนีด้วยคำทูลว่า ถ้าหม่อมฉัน ได้สตรีผู้เช่นนี้ จักรับเอา. พระชนกและชนนีตรัสกันว่า บุตรของเรามีบุญ มาก ทาริกาบางนางผู้ได้ทำบุญร่วมกับบุตรของเรานั้น จักเกิดขึ้นในโลก แล้วอย่างแน่นอน จึงให้ยกรูปทองนั้นขึ้นรถได้สั่งไปแก่พวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงไปเที่ยวแสวงหาทาริกาผู้เช่นรูปทองนี้. อำมาตย์เหล่านั้น พารูปทองนั้นเที่ยวไปในชนบทใหญ่ๆ ๑๖ ชนบท ไปถึงบ้านนั้นๆ เห็นหมู่ชนในที่ใดๆ มีท่าน้ำเป็นต้น จึงตั้งรูปทองเหมือนหนึ่งเทวดาไว้ ในที่นั้นๆ ทำการบูชาด้วยดอกไม้ ผ้า และเครื่องประดับต่างๆ ดาด เพดานแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งด้วยหวังใจว่า ถ้าใครๆ จักเคยเห็น ทาริกาเห็นปานนี้ เขาจักสั่งสนทนาขึ้น. อำมาตย์ทั้งหลายท่องเที่ยวไปทั่ว ทุกชนบทโดยอุบายนั้น ยกเว้นแคว้นมัททราฐ ดูหมิ่นแคว้นมัททราฐนั้น ว่าเป็นแคว้นเล็ก ครั้งแรกจึงไม่ไปในแคว้นนั้น พากันกลับเสีย

ลำดับนั้น อำมาตย์เหล่านั้นได้ความคิดดังนี้ว่า ก่อนอื่น แม้ มัททราฐ พวกเราก็จะไป เราทั้งหลายแม้เข้าไปยังเมืองพาราณสีแล้ว พระราชาจะได้ไม่ส่งไปอีก ครั้นคิดกันดังนี้ แล้ว อำมาตย์เหล่านั้นจึงได้ ไปยังสาคลนครในแคว้นมัททราฐ. ก็ในสาคลนครมีพระราชาพระนามว่า มัททวะ. ธิดาของพระองค์ พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา มีพระรูปโฉม งดงาม. พวกนางวัณณทาสีของพระราชธิดานั้น พากันไปท่าน้ำเพื่อต้อง

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 296

การจะอาบน้ำ เห็นรูปทองนั้นที่พวกอำมาตย์ตั้งไว้ที่ท่าน้ำนั้นแต่ไกล พา กันกล่าวว่า พระราชบุตรีส่งพวกเรามาเพื่อต้องการน้ำ แล้วยังเสด็จมา ด้วยพระองค์เอง จึงไปใกล้ๆ แล้วกล่าวว่า นี้ไม่ใช่เจ้านายหญิง เจ้า นายหญิงของพวกเรามีรูปโฉมงดงามกว่านี้. อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลขอทาริกา โดยนัยอันเหมาะสม แม้พระราชา ก็ได้ประทานให้. อำมาตย์เหล่านั้นจึงส่งข่าวแก่พระเจ้าพาราณสีว่า ข้าแต่ สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้นางกุมาริกาแล้ว พระองค์จะเสด็จมาเอง หรือจะให้ข้าพระองค์ทั้งหลายนำมา พระราชาทรงส่งพระราชสาสน์ไปว่า เมื่อเรามาความลำบากในเพราะชนบทจักเกิดมี พวกท่านนั่นแหละจงนำมา.

ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายพานางทาริกาออกจากนคร แล้วส่งข่าวแก่ พระกุมารว่า ได้นางกุมาริกาผู้เช่นกับรูปทองแล้ว. พระกุมารพอได้ฟัง เท่านั้นถูกราคะครอบงำก็เสื่อมจากปฐมฌาน. พระกุมารนั้นจึงส่งข่าวไป โดยทูตสืบๆ กัน (คือทยอยส่งทูตไปเรื่อยๆ) ว่าพวกท่านจงรีบนำมา พวกท่านจงรีบนำมา โดยการพักแรมอยู่ในที่ทุกแห่งคืนเดียว อำมาตย์ เหล่านั้นก็ถึงเมืองพาราณสี จึงตั้งอยู่ภายนอกพระนคร ส่งข่าวถวายพระราชาว่า ควรจะเข้าไปวันนี้หรือไม่. พระราชาตรัสว่า กุมาริกานำมาจาก สกุลอันประเสริฐ พวกเรากระทำมงคลกิริยาแล้วจักให้เข้าไปด้วยสักการะ ยิ่งใหญ่ ท่านทั้งหลายจงนำนางไปยังอุทยานก่อน. อำมาตย์เหล่านั้นได้ กระทำตามรับสั่งอย่างนั้น. กุมาริกานั้นเป็นหญิงละเอียดอ่อนเกินไปบอบช้ำเพราะยานกระแทก เกิดโรคลมเพราะความลำบากในหนทางไกล เป็น ประหนึ่งดอกไม้เหี่ยว จึงได้ตายไปในเวลาตอนกลางคืน. อำมาตย์ทั้งหลาย พากันปริเทวนาการว่า พวกเราเป็นผู้พลาดจากสักการะเสียแล้ว. พระ-

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 297

ราชาและชาวพระนครต่างร่ำไรว่า สกุลวงศ์พินาศเสียแล้ว. พระนครทั้งสิ้น ได้เป็นโกลาหลวุ่นวาย ในเพราะเพียงแต่ได้ฟังข่าวเท่านั้น ความโศก อย่างมหันต์ก็เกิดขึ้นแก่พระกุมารแล้ว.

ลำดับนั้น พระกุมารเริ่มขุดรากของความโศก พระองค์ทรงดำริ อย่างนี้ว่า ชื่อว่าความโศกนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด แต่สำหรับผู้เกิดแล้ว ย่อมมีความโศก เพราะฉะนั้น ความโศกมี เพราะอาศัยชาติ ก็ชาติมี เพราะอาศัยอะไร ทรงรู้ว่า ชาติมีเพราะอาศัยภพ. เมื่อทรงมนสิการโดย แยบคาย ด้วยอานุภาพของการอบรมภาวนาในกาลก่อนด้วยประการอย่าง นี้ จึงได้เห็นปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม และเมื่อกลับพิจารณา สังขารทั้งหลายเป็นอนุโลมอีก ประทับนั่งอยู่ในที่นั้นแหละ ได้กระทำให้ แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. อำมาตย์ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้น มีความ สุขด้วยสุขในมรรคและผล มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบประทับนั่งอยู่ จึง กระทำการหมอบกราบแล้วทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ทรง เศร้าโศกเลย ชมพูทวีปใหญ่โตข้าพระองค์ทั้งหลายจักนำนางกัญญาอื่นซึ่ง งามกว่านั้นมาถวาย. พระกุมารนั้นตรัสว่า เรามิได้เศร้าโศก เราหมดโศก เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว. เบื้องหน้าแต่นี้ไปเรื่องทั้งปวงเป็นเช่นกับ คาถาแรกที่กล่าวมาแล้วนั่นแล ยกเว้นการพรรณนาคาถา.

ก็การพรรณนาคาถาพึงทราบอย่างนี้.

บทว่า สํสคฺคชาตสฺส แปลว่า ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง. ในบทว่า เกิดความเกี่ยวข้อง นั้น ความเกี่ยวข้องมี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจการเกี่ยวข้องด้วยการเห็น เกี่ยวข้องด้วยการฟัง เกี่ยวข้องด้วยกาย เกี่ยวข้องด้วย การเจรจา และเกี่ยวข้องด้วยการกินร่วมกัน. ในการเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 298

นั้น ราคะเกิดทางจักขุวิญญาณวิถี เพราะเห็นกันและกัน ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเห็น. ในข้อนั้น มีธิดาของกุฎุมพีชาวกาฬ- ทีฆวาปี ในเกาะสิงหล เห็นภิกษุหนุ่มผู้กล่าวทีฆนิกายผู้อยู่ในกัลยาณวิหาร ซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาตมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ ไม่ได้ภิกษุหนุ่มนั้นด้วยอุบาย อะไรๆ จึงตายไป และภิกษุหนุ่มรูปนั้นแหละ เห็นท่อนผ้านุ่งห่มของนาง คิดว่า เราไม่ได้อยู่ร่วมกับนางผู้นุ่งห่มผ้าเห็นปานนี้ มีหทัยแตกตายเป็น ตัวอย่าง.

ราคะเกิดทางโสตวิญญาณวิถี เพราะได้ฟังรูปสมบัติเป็นต้นที่คน อื่นกล่าว หรือได้ฟังเสียงหัวเราะ เสียงเจรจา และเสียงขับร้องด้วยตนเอง ชื่อว่า สวนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการฟัง. แม้ในข้อนั้น ก็มีพระภิกษุหนุ่ม ชื่อติสสะผู้อยู่ในปัญจัคคฬเลนะ ได้ยินเสียงของธิดาช่างทองผู้อยู่ในคิริคาม ไปสระปทุมพร้อมกับนางกุมาริกา ๕๐๐ นาง อาบน้ำ เก็บดอกไม้แล้ว ขับร้องด้วยเสียงสูง (ท่าน) กำลังไปทางอากาศ เสื่อมจากคุณวิเศษเพราะ กามราคะ จึงถึงความพินาศ เป็นตัวอย่าง.

ราคะที่เกิดขึ้นเพราะการลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่ากายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย. ก็ภิกษุหนุ่มผู้กล่าวธรรมะและราชธิดา เป็นตัวอย่างในข้ออื่น. ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มในมหาวิหารกล่าวธรรมะ มหาชน พากันมาในวิหารนั้น แม้พระราชากับพระอัครมเหสีและราชธิดาก็ได้เสด็จ มา. แต่นั้น เพราะอาศัยรูปและเสียงของภิกษุหนุ่มนั้น. ราคะกล้าจึงเกิด ขึ้นแก่ราชธิดา ทั้งเกิดแก่ภิกษุหนุ่มนั้นด้วย. พระราชาทอดพระเนตรเห็น ดังนั้น ทรงกำหนดรู้ได้ จึงให้วงปราการคือม่าน. คนทั้งสองนั้นจับต้อง

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 299

สวมกอดกันและกัน. คนทั้งหลายจึงเอาปราการคือม่านออกแล้วมองดูอีก ก็ได้เห็นคนทั้งสองตายเสียแล้ว.

ก็ราคะเกิดขึ้น เพราะอำนาจการเรียกหาและการเจรจากันและกัน ชื่อว่าสมุลลปนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเจรจากัน. ราคะที่เกิดขึ้น เพราะกระทำการบริโภคร่วมกับนางภิกษุณีทั้งหลาย ชื่อว่าสัมโภคสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการกินร่วมกัน. ในสังสัคคะการเกี่ยวข้องกันทั้งสองนี้ มีภิกษุ และภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิกเป็นตัวอย่าง. ได้ยินว่า ในคราวฉลอง มหาวิหารชื่อว่ามริจวัฏฏิ พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยทรงตระเตรียมมหาทาน แล้วอังคาสพระสงฆ์สองฝ่าย. เมื่อเขาถวายยาคูร้อนในมหาทานนั้น สามเณรีผู้ใหม่ในสงฆ์ ได้ถวายกำไลงาแก่สามเณรผู้ใหม่ในสงฆ์ซึ่งไม่มีเชิงรอง แล้วกระทำการเจรจาปราศรัยกัน. คนทั้งสองนั้นได้อุปสมบทแล้ว มีพรรษา ๖๐ ไปยังฝั่งอื่น กลับได้สัญญาเก่าก่อน เพราะการเจรจาปราศรัยกันและกัน ทันใดนั้นจึงเกิดความสิเนหา ได้ล่วงละเมิดสิกขาบท เป็นปาราชิก.

ความเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกิดการเยวข้อง ด้วยการเกี่ยวข้องอย่างใด อย่างหนึ่งในบรรดาการเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. ราคะกล้า อันมีราคะเดิมเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น. แต่นั้น ความทุกข์นี้อันเป็นไปตาม ความเสน่หาย่อมมีมา คือความทุกข์นี้มีประการต่างๆ มีโสกะ และปริเทวะ เป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบันและเป็นไปในสัมปรายภพ ซึ่งติดตามความ เสน่หานั้นนั่นแหละ ย่อมมีมา คือย่อมมีทั่ว ได้แก่ย่อมเกิดขึ้น.

อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การปล่อยจิตในอารมณ์ ชื่อว่าสังสัคคะ. แต่นั้นเป็นเสน่หา และทุกข์อันเกิดจากความเสน่หานี้ ฉะนี้แล. พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นกล่าวถึงคาถานี้ ซึ่งมีประเภทแห่งเนื้อความอย่างนี้แล้ว

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 300

จึงกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้นั้น ขุดรากเหง้าของทุกข์ซึ่งมีโศกทุกข์ แล้วเป็นต้น อันไปตามความเสน่หานั้นนั่นแหละ ได้บรรลุปัจเจกโพธิ- ญาณแล้วแล.

เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะควรกระทำอย่างไร. ลำดับ นั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายหรือคนใดคนหนึ่ง มีความประสงค์ จะพ้นจากทุกข์นี้ คนแม้ทั้งหมดนั้น เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. ก็ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านหมาย เอาคำที่กล่าวว่า ทุกข์นี้อันไปตามความเสน่หาย่อมมีมาก ดังนี้นั้นนั่นแหละ จึงกล่าวคำนี้ว่า เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หาดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกิดความเกี่ยวข้องด้วยความ เกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้เป็นไปตามความเสน่หา. ย่อมมีมาก เราเห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา ตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงได้บรรลุ ดังนี้ แล้วพึงทราบว่า ท่านกล่าวบาทที่ ๔ ด้วยอำนาจความเสน่หา โดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น. เบื้องหน้าแต่นั้นไป บททั้งปวงเป็นเช่น กับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก ฉะนี้แล.

จบพรรณนาสังสัคคคาถา

พรรณนามิตตสุหัชชคาถา

คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร? มีเรื่อง เกิดขึ้นว่า พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์นี้อุบัติขึ้นแล้วโดยนัยดังกล่าวในคาถา

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 301

แรกนั้นแล ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี ทำปฐมฌานให้ บังเกิดแล้ว ทรงพิจารณาว่า สมณธรรมประเสริฐ หรือราชสมบัติ ประเสริฐ จึงมอบราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลายแล้วได้กระทำสมณธรรม. อำมาตย์ทั้งหลายแม้อันพระปัจเจกโพธิสัตว์ตรัสว่า พวกท่านจงกระทำโดย ธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็รับสินบนกระทำโดยไม่เป็นธรรม. อำมาตย์ เหล่านั้นรับสินบนแล้ว ทำเจ้าของทรัพย์ให้แพ้ คราวหนึ่งทำราชวัลลภ คนหนึ่งให้แพ้. ราชวัลลภนั้นจึงเข้าไปพร้อมกับพวกปรุงพระกระยาหาร ของพระราชา แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ. ในวันที่สอง พระราชาจึงได้เสด็จไปยังสถานที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง. ลำดับนั้น พวกมหาชนส่งเสียงอื้ออึงขึ้นว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกอำมาตย์กระทำ เจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ พระเจ้าข้า แล้วได้กระทำเหมือนจะรบเป็นการ ใหญ่. ลำดับนั้น พระราชาจึงเสด็จลุกขึ้นจากที่วินิจฉัยแล้วเสด็จขึ้นยัง ปราสาท ประทับนั่งเข้าสมาบัติ มีจิตฟุ้งซ่านเพราะเสียงนั้น ไม่อาจเข้า สมาบัติได้. พระราชานั้นทรงดำริว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติ สมณธรรมประเสริฐ จึงทรงสละราชสมบัติ ทำสมาบัติให้บังเกิดขึ้นอีก แล้วเจริญวิปัสสนาโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว และถูกพระสังฆเถระถามกรรมฐานแล้วจึงได้กล่าว คาถานี้.

บรรดามิตรและสหายนั้น ชื่อว่า มิตร เพราะอำนาจของไมตรีจิต. ชื่อว่า สหาย เพราะความเป็นผู้มีใจดี. คนบางพวกเป็นเพียงมิตร เพราะ เป็นผู้หวังเกื้อกูลอย่างเดียว ไม่เป็นสหาย. บางพวกเป็นเพียงสหาย โดย ทำความสุขใจให้เกิดในการไป การมา การยืน การนั่ง และการโอภา-

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 302

ปราศรัย แต่ไม่ได้เป็นมิตร. บางพวกเป็นทั้งสหายและเป็นทั้งมิตร ด้วย อำนาจการกระทำทั้งสองอย่างนั้น.

มิตรนั้นมี ๒ พวก คือ อคาริยมิตร และ อนคาริยมิตร.

บรรดามิตร ๒ พวกนั้น อคาริยมิตรมี ๓ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขและร่วมทุกข์ ๑ มิตรผู้มีความเอ็นดู ๑. อนคาริยมิตร โดย พิเศษเป็นแต่ผู้บอกประโยชน์ให้เท่านั้น. มิตรเหล่านั้นเป็นผู้ประกอบด้วย องค์ ๔ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า:-

ดูก่อนคฤหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี มีอุปการะโดย สถาน ๔ คือ ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ ป้องกันทรัพย์ สมาบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อเพื่อนมีภัย เป็นที่พึ่ง พำนักได้ ๑ เมื่อกิจจำต้องทำเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเพิ่มโภคทรัพย์ ให้สองเท่าของจำนวนนั้น ๑

อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี เป็นผู้ร่วมสุข และร่วมทุกข์โดยสถาน ๔ คือบอกความลับของตนแก่เพื่อน ปกปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ แม้ ชีวิตก็ย่อมสละให้เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑

อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้มีความรักใคร่ โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีเพราะความเสื่อมเสียของเพื่อน ๑

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 303

ยินดีเพราะความเจริญของเพื่อน ๑ ห้ามคนผู้กล่าวโทษของ เพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน ๑

อนึ่ง เหมือนอย่างทีตรัสไว้ว่า:-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้แนะประโยชน์ ให้โดยสถาน ๔ คือห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความ ดีงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ ให้ ๑.

บรรดามิตร ๒ พวกนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาอคาริยมิตร แต่โดย ความ ย่อมรวมเอามิตรแม้ทั้งหมด. บทว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน ได้แก่ เอ็นดูมิตรสหายเหล่านั้น คือต้องการนำสุขเข้าไปให้มิตรเหล่านั้น และต้องการบำบัดทุกข์ออกไป.

บทว่า หาเปติ อตฺคถํ ความว่า ย่อมทำประโยชน์ ๓ คือ ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ อนึ่ง ทำประโยชน์ ๓ คือประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ ทั้งของตนและของคนอื่น ให้เสื่อม คือให้พินาศไปโดยส่วนทั้งสอง คือ โดยทำสิ่งที่ได้แล้วให้พินาศไป ๑ โดยทำสิ่งที่ยังไม่ได้มิให้เกิดขึ้น ๑. ผู้มีจิตพัวพัน คือแม้จะตั้งตนไว้ในฐานะที่ต่ำอย่างนี้ว่า เว้นผู้นี้เสียเรา เป็นอยู่ไม่ได้ ผู้นี้เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของเรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตพัวพันแล้ว. แม้จะตั้งตนไว้ในฐานะที่สูงอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้ ปราศจากเราเสียเป็นอยู่ไม่ได้ เราเป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของคน เหล่านั้น ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพัวพันแล้ว. ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์ เอาผู้มีจิตพัวพันอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 304

บทว่า เอตฺ ภยํ ได้แก่ ภัยคือการทำประโยชน์ให้เสื่อมไปนี้ คำนี้ พระราชาตรัสหมายเอาความเสื่อมสมาบัติของพระองค์.

บทว่า สนฺถเว ความว่า สันถวะมี ๓ อย่าง คือตัณหาสันถวะ ทิฏฐิสันถวะ และมิตตสันถวะ ในสันถวะ ๓ อย่างนั้น ตัณหาทั้ง ๑๐๘ ประเภท ชื่อว่า ตัณหาสันถวะ ทิฏฐิทั้ง ๖๒ ชนิด ชื่อว่า ทิฏฐิสันถวะ การอนุเคราะห์มิตรด้วยความเป็นผู้มีจิตผูกพัน ชื่อว่า มิตตสันถวะ. บรรดา สันถวะ ๓ เหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอามิตตสันถวะนั้น. จริงอยู่ สมาบัติ ของพระราชานั้นเสื่อม เพราะมิตตสันถวะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราเห็นภัยนี้ในความสนิทสนม จึงได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเช่นกับที่ กล่าวแล้วแล.

จบพรรณนามิตตสุหัชชคาถา

พรรณนาวังสกฬีรคาถา

คาถาว่า วํโส วิสาโล ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๓ องค์ บวชใน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรสิ้นสองหมื่น ปี แล้วเกิดขึ้นในเทวโลก. จุติจากเทวโลกนั้น บรรดาปัจเจกโพธิสัตว์ เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์ใหญ่ บังเกิดในราชสกุลของพระเจ้า พาราณสี พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๒ องค์นี้ บังเกิดในราชสกุลชายแดน. พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งสองนั้น เรียนกรรมฐานแล้ว สละราชสมบัติออก

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 305

บวช ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าโดยลำดับ อยู่ที่เงื้อมนันทมูลกะ วันหนึ่ง ออกจากสมาบัติแล้วรำพึงว่า เราทั้งหลายทำกรรมอะไรไว้ จึงได้บรรลุ โลกุตรสุขนี้โดยลำดับ พิจารณาอยู่ก็ได้เห็นจริยาของตนๆ ในกาลแห่ง พระกัสสปพุทธเจ้า. แต่นั้น จึงรำพึงว่า องค์ที่ ๓ อยู่ที่ไหน ก็ได้เห็น ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี ระลึกถึงคุณทั้งหลายของพระปัจเจกโพธิสัตว์องค์นั้น คิดว่า พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น เป็นผู้ประกอบ ด้วยคุณมีความมักน้อยเป็นต้นตามปกติทีเดียว เป็นผู้โอวาทกล่าวสอน เฉพาะพวกเรา อดทนต่อถ้อยคำ มีปกติติเตียนบาป เอาเถอะ เราจะ แสดงอารมณ์นั้นแล้วจึงจะบอก จึงหาโอกาสอยู่ วันหนึ่ง เห็นพระราชา นั้นทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสด็จไปยังอุทยาน จึงมาทาง อากาศแล้วได้ยืนอยู่ที่ควงพุ่มไม้ไผ่ใกล้ประตูอุทยาน. มหาชนไม่อิ่ม แหงน ดูพระราชา โดยการมองดูพระราชา. ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า มีไหมหนอ ใครๆ ไม่กระทำความขวนขวายในการดูเรา จึงตรวจดูอยู่ ก็ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งสอง ก็ความเสน่หาในพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งสองนั้น เกิดขึ้นแก่พระองค์ พร้อมกับการเห็นทีเดียว. พระองค์จึง เสด็จลงจากคอช้าง เสด็จเข้าไปหาด้วยมารยาทอันเรียบร้อย แล้วตรัส ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายชื่ออะไร? พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งสอง ทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพทั้งสองชื่ออสัชชมานะ. พระราชาตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่า อสัชชมานะ นี้ มีความหมายอย่างไร? พระปัจเจกพุทธเจ้าทูลว่า มีความหมายว่า ไม่ข้อง ถวายพระพร.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงชี้ที่กอไม้ไผ่แล้วทูลว่า มหาบพิตร กอไม้ไผ่นี้เอารากลำต้น กิ่งใหญ่ และกิ่งน้อยเกี่ยวก่ายกันอยู่โดยประการ

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 306

ทั้งปวง บุรุษผู้มีดาบในมือเมื่อตัดรากแล้วดึงออกอยู่ ก็ไม่อาจถอนออก มาได้ แม้ฉันใด พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกชัฏภายในและภายนอก ทำให้พันกันนุง พัวพันติดข้องอยู่ในอารมณ์นั้น ก็หรือว่า หน่อไม้ไผ่นี้ แม้จะอยู่ท่ามกลางกอไผ่นั้น ตั้งอยู่อันอะไรๆ ไม่รัดติด เพราะยังไม่เกิดกิ่ง ก็แต่ว่า ใครๆ ไม่อาจจะตัดยอดหรือโคนต้นแล้วดึงออกมา แม้ฉันใด อาตมภาพทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ข้องอยู่ในอะไรๆ ไปได้ทั่วทุก ทิศ ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ทันใดนั้นจึงเข้าจตุตถฌาน เมื่อพระราชา ทอดพระเนตรดูอยู่นั่นแล ได้ไปยังเงื้อมเขาชื่อว่า นันทมูลกะ ทางอากาศ.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็จะเป็นผู้ไม่ ข้องอย่างนี้ ทั้งที่ประทับยืนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้ กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ท่านถูกถามกรรมฐานโดยนัยอัน มีในก่อนนั่นแหละ จึงได้กล่าวคาถานี้.

ไม้ไผ่ ชื่อว่า วังสะ ในคาถานั้น. บทว่า วิสาโล ได้แก่ แผ่ ออกไป. ว อักษร มีอรรถว่าห้ามเนื้อความอื่น อีกอย่างหนึ่ง อักษร นี้ คือ เอว อักษร. ในที่นี้ เอ อักษรหายไป ด้วยอำนาจสนธิการต่อ เอ อักษรนั้น เชื่อมเข้ากับบทเบื้องปลาย. เราจักกล่าวข้อนั้นภายหลัง. บทว่า ยถา ใช้ในการเปรียบ. บทว่า วิสตฺโต ได้แก่ ติด นุงนัง เกี่ยวพัน. บทว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ได้แก่ ในบุตร ธิดา และภรรยา. บทว่า ยา เปกฺขา ได้แก่ ความอยากใด คือ ความเสน่หาอันใด. บทว่า วํสกฺกฬีโรว อสชฺชมาโน ความว่า ไม่ติดอยู่ ดังหน่อไม้ไผ่. ท่าน อธิบายไว้อย่างไร? (ท่านอธิบายไว้ว่า) ไม้ไผ่แผ่กว้างย่อมเป็นของเกี่ยวพัน กันแท้ ฉันใด ความห่วงใยในบุตรธิดาและภรรยาแม้นั้น ก็ฉันนั้น ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 307

ติดข้องวัตถุเหล่านั้น เพราะเป็นสิ่งรึงรัดไว้. เรานั้นมีความห่วงใย ด้วย ความห่วงใยนั้น จึงติดข้องอยู่ เหมือนไม้ไผ่ซึ่งแผ่กว้างไปฉะนั้น เพราะ เหตุนั้น เราเห็นโทษในความห่วงใยอย่างนี้ จึงตัดความห่วงใยนั้นด้วย มรรคญาณ ไม่ข้องอยู่ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ในอิฐผลมีลาภเป็นต้น หรือในภพมีกามภพเป็นต้น เหมือนหน่อไม้ไผ่นี้ จึงได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ.

จบพรรณนาวังสกฬีรคาถา

พรรณนามิโคอรัญญคาถา

คาถาว่า มิโค อรญฺมฺหิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระโยคาวจรในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า กัสสป กระทำกาละแล้ว เกิดขึ้นในสกุลเศรษฐีในเมือง พาราณสี ซึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาได้เป็นผู้ถึงความงาม แต่นั้นได้เป็นผู้ผิดภรรยาของคนอื่น กระทำกาละแล้วบังเกิดในนรก ไหม้ อยู่ในนรกนั้น ด้วยวิบากของกรรมที่เหลือ จึงถือปฏิสนธิเป็นหญิงในท้อง ของภรรยาเศรษฐี. สัตว์ทั้งหลายที่มาจากนรก ย่อมมีความร้อนอยู่ด้วย. ด้วยเหตุนั้น ภรรยาของเศรษฐี มีครรภ์ร้อน ทรงครรภ์นั้นโดยยาก ลำบาก คลอดทาริกาตามเวลา. ทาริกานั้นจำเดิมแต่วันที่เกิดมาแล้ว เป็น ที่เกลียดชังของบิดามารดา และของพวกพ้องกับปริชนที่เหลือ และพอ เจริญวัยแล้ว บิดามารดายกให้ในตระกูลใด ได้เป็นที่เกลียดชังของสามี

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 308

พ่อสามี และแม่สามีในตระกูลแม้นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจเลย. ครั้งเมื่อเขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ บุตรของเศรษฐีไม่ปรารถนาจะเล่น กับทาริกานั้น จึงนำหญิงแพศยามาเล่นด้วย. นางทาริกานั้นได้ฟังข่าวนั้น จากสำนักของพวกทาสี จึงเข้าไปหาบุตรของเศรษฐี และแนะนำด้วย ประการต่างๆ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ธรรมดาหญิง ถ้าแม้เป็น พระกนิษฐาของพระราชา ๑๐ พระองค์ หรือเป็นพระธิดาของพระเจ้า จักรพรรดิก็ตาม แม้ถึงอย่างนั้น จะต้องทำการรับใช้สามี เมื่อสามีไม่เรียก หา ก็ย่อมจะได้เสวยความทุกข์ เหมือนถูกเสียบไว้บนหลาว ถ้าดิฉันควร แก่การอนุเคราะห์ ก็ควรจะอนุเคราะห์ ถ้าไม่ควรอนุเคราะห์ ก็ควร ปล่อยไป. ดิฉันจักได้ไปยังสกุลแห่งญาติของตน. บุตรของเศรษฐีกล่าวว่า ช่างเถอะ นางผู้เจริญ เธออย่าเสียใจจงตระเตรียมการเล่นเถิด พวกเรา จักเล่นงานนักขัตฤกษ์. ธิดาของเศรษฐีเกิดความอุตสาหะด้วยเหตุสักว่า การเจรจามีประมาณเท่านั้น คิดว่า จักเล่นงานนักขัตฤกษ์พรุ่งนี้ จึง จัดแจงของเคี้ยวและของบริโภคมากมาย. ในวันที่สอง บุตรของเศรษฐี ไม่ได้บอกเลย ได้ไปยังสถานที่เล่น. นางนั่งมองดูหนทางด้วยหวังใจว่า ประเดี๋ยวเขาจักส่งคนมา เห็นพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว จึงส่งคนทั้งหลายไป. คนเหล่านั้นกลับมาแล้วบอกว่า บุตรของเศรษฐีไปแล้ว. ธิดาของเศรษฐี นั้นจึงถือเอาสิ่งของทั้งหมดนั้น ซึ่งจัดเตรียมไว้หมดแล้วยกขึ้นบรรทุกยาน เริ่มไปยังอุทยาน.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เงื้อมนันทมูลกะ ในวันที่ ๗ ออก จากนิโรธสมาบัติ เคี้ยวไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา ล้างหน้าที่สระอโนดาต

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 309

แล้วรำพึงว่า วันนี้ เราจักเที่ยวภิกขาจารที่ไหน ได้เห็นธิดาของเศรษฐี นั้นรู้ว่า กรรมนั้นของธิดาเศรษฐีนี้จักถึงความสิ้นไป เพราะได้ทำสักการะ ด้วยศรัทธาในเรา จึงยืนที่พื้นมโนศิลาประมาณ ๖๐ โยชน์ในที่ใกล้เงื้อม แล้วถือบาตรจีวรเข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท แล้วมาทางอากาศลงที่หน ทาง นางเดินสวนทางมา ได้บ่ายหน้าไปยังนครพาราณสี. พวกทาสีเห็น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้า จึงบอกแก่ธิดาเศรษฐี นางจึงลงจากยาน ไหว้โดยเคารพ บรรจุบาตรให้เต็มด้วยของควรเคี้ยวของควรบริโภค อัน สมบูรณ์ด้วยรสต่างๆ แล้วเอาดอกปทุมปิด เอามือถือกำดอกปทุม โดย ให้ดอกปทุมอยู่เบื้องล่าง ถวายบาตรในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ไหว้ มือถือกำดอกปทุมอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันอุบัติในภพใดๆ พึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจของมหาชนในภพนั้นๆ เหมือนดอกปทุมนี้. ครั้นปรารถนาอย่างนี้แล้ว จึงปรารถนาครั้งที่สองว่า ท่านผู้เจริญ การอยู่ในครรภ์ลำบาก พึงปฏิสนธิในดอกปทุมเท่านั้น โดย ไม่ต้องเข้าถึงการอยู่ในครรภ์ ปรารถนาแม้ครั้งที่สามว่า มาตุคามน่า รังเกียจ แม้ธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ยังจะต้องไปสู่อำนาจของผู้อื่น เพราะฉะนั้น ดิฉันอย่าได้เข้าถึงความเป็นหญิง พึงเป็นบุรุษ. แม้ครั้งที่สี่ ก็ปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันพึงล่วงพ้นสังสารทุกข์นี้ ในที่สุด พึง บรรลุอมตธรรมที่ท่านได้บรรลุแล้วนี้. นางกระทำความปรารถนา ๔ ประการอย่างนี้แล้ว บูชาดอกปทุมกำหนึ่งนั้นแล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้ทำความปรารถนาครั้งที่หนึ่งนี้ว่า กลิ่นและผิวพรรณ ของดิฉันจงเป็นเหมือนดอกไม้เท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 310

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ารับบาตรและกำดอกไม้แล้วยืนใน อากาศ กระทำอนุโมทนาแก่ธิดาของเศรษฐี ด้วยคาถานี้ว่า

สิ่งที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดยเร็ว พลัน ความดำริทั้งปวงจงเต็ม เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ฉะนั้น.

แล้วอธิษฐานว่า ธิดาเศรษฐีจงเห็นเราไปอยู่ แล้วได้ไปยังเงื้อมเขา นันทมูลกะทางอากาศ. เมื่อธิดาของเศรษฐีเห็นดังนั้น เกิดความปีติมาก มาย. อกุศลกรรมที่นางกระทำไว้ในระหว่างภพ หมดสิ้นไป เพราะไม่มี โอกาส นางเป็นผู้บริสุทธิ์ ดุจภาชนะทองแดงอันเขาขัดด้วยความเปรี้ยว ของมะขามฉะนั้น. ทันใดนั้นเอง ชนทั้งปวงในตระกูลสามีและตระกูล ญาติของนางยินดีแล้ว. ส่งคำอันน่ารักและบรรณาการไปว่า พวกเราจะ ทำอะไร (จะให้พวกเราทำอะไรบ้าง). แม้สามีก็ส่งคนไปว่า ท่านทั้งหลาย จงรีบนำเศรษฐีธิดามา เราลืมแล้วมาอุทยาน. ก็จำเดิมแต่นั้นมา มหาชน รักใคร่คอยบริหารดูแลนาง ดุจจันทน์อันไล้ทาที่น่าอก ดุจแก้วมุกดาหาร ที่สวมใส่ และดุจระเบียบดอกไม้ฉะนั้น. นางเสวยสุขอันประกอบด้วย ความเป็นใหญ่และโภคทรัพย์ ตลอดชั่วอายุ ตายแล้วเกิดในดอกปทุมใน เทวโลก โดยภาวะเป็นบุรุษ. เทวบุตรนั้น แม้เมื่อเดินก็เดินไปในห้อง ดอกปทุมเท่านั้น จะยืนก็ดี จะนั่งก็ดี จะนอนก็ดี ก็ยืน นั่ง นอน เฉพาะในห้องแห่งดอกปทุมเท่านั้น. และเทวดาทั้งหลายพากันเรียกเทวบุตรนั้นว่า มหาปทุมเทวบุตร. มหาปทุมเทวบุตรนั้นท่องเที่ยวไปใน เทวบุตรทั้ง ๖ ชั้นเท่านั้น เป็นอนุโลมและปฏิโลม ด้วยอิทธานุภาพนั้น ด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 311

ก็สมัยนั้น พระเจ้าพาราณสีมีสตรีสองหมื่นนาง บรรดาสตรีเหล่านั้น แม้สตรีนางหนึ่งก็ไม่ได้บุตรชาย. อำมาตย์ทั้งหลายจึงทำพระราชาให้แจ้ง พระทัยว่า ข้าแต่สมมติเทพ ควรปรารถนาพระโอรสผู้รักษาสกุลวงศ์ เมื่อพระโอรสผู้เกิดในพระองค์ไม่มี แม้พระโอรสที่เกิดในเขต ก็เป็นผู้ ธำรงสกุลวงศ์ได้. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า หญิงที่เหลือ ยกเว้น พระมเหสี จงกระทำการฟ้อนรำโดยธรรมตลอด ๗ วัน ดังนี้แล้วรับสั่ง ให้เที่ยวไปภายนอกได้ตามความปรารถนา. แม้ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้พระโอรส. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดา พระมเหสี เป็นผู้เลิศกว่าหญิงทั้งปวง ด้วยบุญและปัญญา ชื่อแม้ไฉน เทพพึงได้พระโอรสในพระครรภ์ของพระมเหสี. พระราชาจึงแจ้งเนื้อ ความนี้แก่พระมเหสี. พระมเหสีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า สตรีผู้มี ศีลมีปกติกล่าวคำสัจ พึงได้บุตร สตรีผู้ปราศจากหิริโอตตัปปะ จะมีบุตร มาแต่ไหน จึงเสด็จขึ้นสู่ปราสาท สมาทานศีลห้า แล้วรำพึงถึงบ่อยๆ. เมื่อพระราชธิดาผู้มีศีลรำพึงถึงศีลห้าอยู่ พระทัยปรารถนาบุตรสักว่าเกิด ขึ้นแล้ว อาสนะของท้าวสักกะจึงสั่นไหว.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงรำพึงไป ได้ทรงรู้แจ้งเรื่องราวนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราจะให้บุตรผู้ประเสริฐแก่พระราชธิดาผู้มีศีล จึงเสด็จมา ทางอากาศ ประทับยืนอยู่ตรงหน้าพระเทวีแล้วตรัสว่า นี่แน่ะเทวี เธอ จะปรารถนาอะไร. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันปรารถนา พระโอรส. ท้าวสักกะตรัสว่า นี่แน่ะเทวี เราจะให้โอรสแก่เธอ อย่าคิด ไปเลย แล้วเสด็จไปเทวโลก ทรงรำพึงว่า เทวบุตรผู้จะหมดอายุใน เทวโลกนี้ มีหรือไม่หนอ ทรงทราบว่า มหาปทุมเทวบุตรนี้ จักเป็นผู้ใคร่

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 312

จะไปยังเทวโลกเบื้องบนด้วย จึงไปยังวิมานของมหาปทุมเทวบุตรนั้นแล้ว อ้อนวอนว่า พ่อมหาปทุม เธอจงไปยังมนุษยโลกเถิด. มหาปทุมเทวบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าตรัสอย่างนี้ ข้าพระองค์ เกลียดมนุษยโลก. ท้าวสักกะตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ เธอกระทำบุญไว้ใน มนุษยโลก จึงได้อุบัติในเทวโลกนี้ เธอตั้งอยู่ในมนุษยโลกนั้นนั่นแหละ จะพึงบำเพ็ญบารมีได้ ไปเถอะพ่อ. มหาปทุมเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในครรภ์นั้น. ผู้อันท้าวสักกะตรัสอยู่แล้วๆ เล่าๆ ว่า นี่แน่ะพ่อ การอยู่ในครรภ์จะ ไม่มีแก่เธอ เพราะเธอได้กระทำกรรมไว้ โดยประการที่จักบังเกิดเฉพาะ ในห้องแห่งดอกปทุมเท่านั้น จงไปเถอะพ่อ ดังนี้ จึงรับคำเชิญ.

มหาปทุมเทวบุตรนั้นจุติจากเทวโลก. แล้วบังเกิดในห้องแห่งดอก ปทุม ในสระโบกขรณีอันดาดด้วยแผ่นศิลา ในอุทยานของพระเจ้า พาราณสี. และคืนนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระมเหสีทรงพระสุบินไปว่า พระองค์แวดล้อมด้วยสตรีสองหมื่นนาง เสด็จไปอุทยาน ได้พระโอรสในห้อง ปทุมในสระโบกขรณีอันดาดด้วยศิลา. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระนาง ทรงศีลอยู่ ได้เสด็จไปในพระอุทยานนั้นทรงเห็นดอกปทุมดอกหนึ่ง. ดอกปทุมนั้นไม่ได้อยู่ริมตลิ่งทั้งไม่ได้อยู่ในที่ลึก. ก็พร้อมกับที่พระนาง ทรงเห็นเท่านั้น ความรักประดุจดังบุตรเกิดขึ้นในดอกปทุมนั้น. พระนางเสด็จลงด้วยพระองค์เอง ได้เด็ดเอาดอกปทุมนั้นมา. เมื่อดอกปทุม พอสักว่าพระนางทรงจับเท่านั้น กลีบทั้งหลายก็แย้มบาน. พระนางได้ทรง เห็นทารกดุจรูปปฏิมาทองคำในดอกปทุมนั้น. ครั้นทรงเห็นเท่านั้นก็ทรง เปล่งพระสุรเสียงว่า เราได้ลูกชายแล้ว. มหาชนได้เปล่งเสียงสาธุการถึง

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 313

พันครั้ง ทั้งได้ส่งข่าวแด่พระราชาด้วย. พระราชาทรงสดับแล้วตรัส ถามว่า ได้ที่ไหน ได้ทรงสดับถึงสถานที่ได้ จึงตรัสว่า อุทยานและดอก ปทุมเป็นของเรา เพราะฉะนั้น บุตรนี้ชื่อว่าบุตรผู้เกิดในเขต เพราะเกิด ในเขตของเรา จึงให้เข้ามายังนคร ให้สตรีสองหมื่นนางกระทำหน้าที่เป็น แม่นม. สตรีใดๆ รู้ว่าพระกุมารชอบ ก็ให้เสวยของเคี้ยวที่ทรงปรารถนา แล้วๆ สตรีนั้นๆ ย่อมได้ทรัพย์หนึ่งพัน. เมืองพาราณสีทั้งสิ้นร่ำลือกัน ชนทั้งปวงได้ส่งบรรณาการตั้งพันไปถวายพระกุมาร. พระกุมารไม่ทรง สนพระทัยถึงบรรณาการนั้นๆ อันพวกนางนมทูลว่า จงเคี้ยวกินสิ่งนี้ จง เสวยสิ่งนี้ ทรงเบื่อระอาการเสวย จึงเสด็จไปยังซุ้มประตู ทรงเล่นลูก กลมอันทำด้วยครั้ง.

ในครั้งนั้น มีพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อาศัยเมืองพาราณสี อยู่ในป่าอิสิปตนะ ท่านลุกขึ้นแต่เช้ามืด กระทำกิจทั้งปวงมีเสนาสนวัตร บริกรรมร่างกาย และมนสิการกรรมฐานเป็นต้น แล้วออกจากที่เร้น รำพึงอยู่ว่า วันนี้เราจักรับภิกษาที่ไหน ได้เห็นคุณสมบัติของพระกุมาร จึงใคร่ครวญว่า พระกุมารนี้เมื่อชาติก่อน ได้ทำกรรมอะไรไว้ ได้ทราบ ว่า พระกุมารนี้ได้ถวายบิณฑบาตแก่คนเช่นกับเรา แล้วปรารถนาความ ปรารถนา ๔ ประการ ในความปรารถนา ๔ ประการนั้น ๓ ประการ สำเร็จแล้ว ความปรารถนาอีกข้อหนึ่งยังไม่สำเร็จ เราจักให้อารมณ์แก่ พระกุมารนั้นด้วยอุบาย ครั้นคิดแล้วจึงได้ไปยังสำนักของพระกุมารนั้น ด้วยการภิกขาจาร พระกุมารเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้วตรัสว่า ข้าแต่ พระสมณะ ท่านอย่ามาที่นี้ เพราะคนเหล่านี้จะกล่าวแม้กะท่านว่า จง เคี้ยวกินสิ่งนี้ จงบริโภคสิ่งนี้. โดยการกล่าวคำเดียวเท่านั้น พระปัจเจก-

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 314

พุทธเจ้าก็กลับจากที่นั้น ได้ไปยังเสนาสนะของตน พระกุมารจึงกล่าว กะบริวารนั้นว่า พระสมณะนี้เพียงแต่เรากล่าวเท่านั้นก็กลับไป ท่านโกรธ เรากระมังหนอ. พระกุมารนั้นอันพวกบริวารชนเหล่านั้นทูลว่า ธรรมดา บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่มุ่งหน้าที่จะโกรธ คนอื่นมีใจเลื่อมใสถวายสิ่งใด ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น จึงทรงดำริว่า สมณะชื่อเห็นปานนี้ โกรธแล้ว เราจักให้ท่านอดโทษ จึงกราบทูลแก่พระชนกชนนี แล้ว เสด็จขึ้นทรงช้างไปยังป่าอิสิปตนะ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ ทอดพระเนตรเห็นฝูงเนื้อจึงตรัสถามว่า พวกเหล่านี้ ชื่ออะไร? บริวารชนทูลว่า ข้าแต่เจ้านาย สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าเนื้อ. พระกุมารตรัสว่า พวกคนผู้กล่าวแก่ เนื้อเหล่านี้ว่า จงกินสิ่งนี้ จงบริโภคสิ่งนี้ จงลิ้มสิ่งนี้ ดังนี้แล้วปรนนิบัติ อยู่ มีอยู่หรือ. บริวารชนทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า เนื้อเหล่านี้มันอยู่ในที่ ที่มีหญ้าและน้ำอันหาได้ง่าย. พระกุมารดำริว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็ควร จะอยู่เหมือนพวกเนื้อเหล่านั้น ไม่มีใครรักษาเลยอยู่ในที่ที่ปรารถนา แล้ว ถือเอาเรื่องนี้ให้เป็นอารมณ์. ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้ารู้ว่า พระกุมาร เสด็จมา จึงกวาดทางไปเสนาสนะและที่จงกรมทำให้เกลี้ยง แล้วเดิน จงกรม ๑ - ๒ - ๓ ครั้ง แสดงรอยเท้าไว้ แล้วกวาดสถานที่พักกลางวัน และบรรณศาลา กระทำให้เกลี้ยงแสดงรอยเท้าเข้าไป ไม่แสดงรอยเท้า ที่ออกแล้วได้ไปเสียที่อื่น. พระกุมารเสด็จไปที่นั้น ทรงเห็นสถานที่นั้น เขากวาดไว้เกลี้ยง ได้ทรงสดับบริวารชนกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า นั้น เห็นจะอยู่ที่นี่ จึงตรัสว่า สมณะนั้นแม้เช้าก็โกรธ ยิ่งมาเห็นสถานที่ ของตนถูกช้างและม้าเป็นต้นเหยียบย่ำ จะโกรธมากขึ้น พวกท่านจงยืน อยู่ที่นี้แหละ แล้วเสด็จลงจากคอช้าง พระองค์เดียวเสด็จเข้าไปยังเสนาสนะ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 315

ทรงเห็นรอยเท้าในสถานที่ที่กวาดไว้อย่างดี โดยถูกต้องตามระเบียบ จึง ทรงดำริว่า บัดนี้ สมณะนี้นั้นจงกรมอยู่ในที่นี้ ไม่คิดเรื่องการค้าขาย เป็นต้น สมณะนี้เห็นจะคิดประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนถ่ายเดียวเป็นแน่ มี พระมนัสเลื่อมใส เสด็จขึ้นที่จงกรม ทรงทำวิตกอันแน่นหนาให้ออก ห่างไกล เสด็จไปประทับนั่งบนแผ่นหิน ทรงเกิดอารมณ์แน่วแน่เสด็จ เข้าไปยังบรรณศาลา ทรงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ถูกปุโรหิตถามกรรมฐาน โดยนัยก่อนนั่นแหละ จึงประทับนั่งบนพื้นท้องฟ้า ได้ตรัสพระคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิโค ได้แก่ เนื้อ ๒ ชนิด คือ เนื้อ ทราย ๑ เนื้อเก้ง ๑. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้า ที่อยู่ในป่าทั้งหมด. แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาเนื้อเก้ง เกจิอาจารย์ท่านกล่าว ไว้ดังนี้. บทว่า อรญฺมฺหิ ความว่า เว้นบ้านและอุปจารของบ้าน ที่ เหลือจัดเป็นป่า แต่ในที่นี้ประสงค์เอาอุทยาน เพราะฉะนั้น ท่านจึง กล่าวอธิบายว่าในอุทยาน ศัพท์ ยถา ใช้ในอรรถว่า เปรียบเทียบ. บทว่า อพทฺโธ แปลว่า ไม่ถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือเชื่อกเป็นต้น. ด้วย คำนี้ ท่านแสดงถึงจริยาอันปราศจากความน่ารังเกียจ. บทว่า เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย ความว่า ไปหาเหยื่อโดยทิสาภาคที่คนปรารถนาจะไป สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในอรัญเที่ยวไปในอรัญป่าใหญ่ เดินอย่างวางใจ ยืนอย่างวางใจ นั่งอย่างวางใจ นอนอย่าง วางใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ อยู่ในสายตาของนายพราน แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 316

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึง ปฐมฌานอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า กระทำ มารให้ตามหาร่องรอยไม่ได้ เธอกำจัดดวงตาของมารได้แล้ว ไปยังที่ที่มารผู้มีจักษุมองไม่เห็น.

เนื้อความพิสดารแล้ว. บทว่า เสริตํ ได้แก่ ความเป็นไปที่มีความ พอใจหรือความเป็นผู้เกี่ยวเนื่องกับคนอื่น. ท่านกล่าวอธิบายว่า เนื้อ ไม่ถูกผูกในป่าย่อมไปหาเหยื่อตามความปรารถนา ฉันใด เมื่อไรหนอ แม้เราก็พึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา เที่ยวไปอย่างนั้น ฉันนั้น. วิญญูชน คือคนผู้เป็นบัณฑิตหวังความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียว ฉะนั้นแล.

จบพรรณนามิโคอรัญญคาถา

พรรณนาอามันตนาคาถา

คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า อำมาตย์ทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ของ พระเจ้าพาราณสี. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่งกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มีสิ่งที่ควรจะทรงสดับ จึงทูลขอให้เสด็จไป ณ ส่วนข้าง หนึ่ง. พระราชาได้เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะแล้วเสด็จไป. อีกคนหนึ่งทูล ขอให้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก. อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบน คอช้าง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบนหลังม้า. อำมาตย์คนหนึ่ง ทูลขอให้ประทับนั่งในรถทอง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งวอเสด็จ

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 317

ไปอุทาน. พระราชาได้เสด็จลงจากวอนั้นเสด็จไป. อำมาตย์อื่นอีกทูลขอ ให้เสด็จจาริกในชนบท. พระราชาทรงสดับคำของอำมาตย์แม้นั้น จึง เสด็จลงจากคอช้าง แล้วได้เสด็จไป ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ทรงระอาพวกอำมาตย์เหล่านั้น จงทรงผนวช. อำมาตย์ทั้งหลาย จึงเจริญ ด้วยความเป็นใหญ่. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง ไปกราบทูลพระราชาว่าข้าแต่มหาราช ขอพระองค์โปรดประทานชนบท ชื่อโน้นแก่ข้าพระบาท. พระราชาตรัสกะอำมาตย์นั้นว่า คนชื่อโน้นกินอยู่. อำมาตย์นั้นไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระราชากราบทูลว่า ข้าพระบาทจะ ไปยึดเอาชนบทนั้นกิน ดังนี้แล้ว ไปในชนบทนั้นก่อการทะเลาะกัน คน ทั้งสองพากันมายังสำนักของพระราชาอีก แล้วกราบทูลโทษของกันและกัน. พระราชาทรงดำริว่า เราไม่อาจให้พวกอำมาตย์เหล่านั้นยินดีได้ ทรงเห็น โทษในความโลภของอำมาตย์เหล่านั้น เห็นแจ้งอยู่กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ. พระองค์ได้กล่าวอุทานนี้ โดยนัยอันมีในก่อน.

ความหมายของอุทานนั้นว่า. บุคคลผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสหาย ย่อม จะมีการเรียกร้องโดยประการนั้นโดยนัยมีอาทิว่า จะฟังเรื่องนี้ จงให้ สิ่งนี้แก่เรา ทั้งในการอยู่กล่าวคือการนอนกลางวัน ในการยืนกล่าวคือ ที่บำรุงให้ ในการไปกล่าวคือการไปอุทาน และในการจาริกกล่าว คือการจาริกไปในชนบท เพราะฉะนั้น เราจึงระอาในข้อนั้น การคบ หาอริยชนนี้ มีอานิสงส์มิใช่น้อยเป็นสุขโดยส่วนเดียว แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น คนเลวทุกคนผู้ถูกความโลภครอบงำ ก็ไม่ปรารถนาการบรรพชา เราเห็น ความไม่โลภนั้น และความประพฤติตามความพอใจตน ด้วยอำนาจ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 318

ภัพพบุคคล โดยไม่ตกอยู่ในอำนาจของคนอื่น เริ่มวิปัสสนาแล้ว จึง บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณโดยลำดับ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

จบพรรณนาอมันตนาคาถา

พรรณนาขิฑฑารติคาถา

คาถาว่า ขิฑฺฑา รติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า เอกปุตตกพรหมทัต พระราชานั้นมีพระโอรสน้อยผู้เดียวเป็นที่โปรดปรานเสมอด้วย ชีวิต. พระราชาจะทรงพาเอาแต่พระโอรสน้อยเสด็จไปในทุกพระอิริยาบถ วันหนึ่งเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ทรงเว้นพระโอรสนั้นเสีย เสด็จไป แล้ว. ฝ่ายพระกุมารสิ้นพระชนม์ด้วยพยาธิอันเกิดขึ้นแล้วในวันนั้นเอง. อำมาตย์ทั้งหลายปรึกษากันว่า แม้พระทัยของพระราชาก็จะแตกเพราะ ความเสน่หาในพระโอรส จึงไม่กราบทูลให้ทรงทราบ พากันเผาพระกุมารนั้น. พระราชาทรงเมาน้ำจัณฑ์อยู่ในพระราชอุทยาน ไม่ได้ระลึก ถึงพระโอรส แม้ในวันที่ ๒ ก็เหมือนกัน ในเวลาสรงสนานและเวลา เสวยก็มิได้ทรงระลึกถึง. ลำดับนั้น พระราชาเสวยแล้วประทับนั่งอยู่ ทรง ระลึกชนได้จึงรับสั่งว่า พวกท่านจงนำลูกชายของเรามา. อำมาตย์ ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา โดยวิธีอันเหมาะสม. ลำดับ นั้น พระองค์ถูกความโศกครอบงำประทับนั่ง ทรงทำไว้ในพระทัยโดย อุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 319

จึงเกิด พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมโดย ลำดับอยู่อย่างนี้ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. คำที่เหลือ เช่นกับที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งสังสัคคคาถานั่นแหละ. เว้นพรรณนา ความในคาถา.

ก็พรรณนาความมีว่า. การเล่นชื่อว่า ขิฑฺฑา. การเล่นนั้นมี ๒ อย่าง คือเล่นหางกาย ๑ เล่นทางวาจา ๑. บรรดาการเล่น ๒ อย่างนั้น การเล่น มีอาทิอย่างนี้ คือเล่นช้างบ้าง เล่นม้าบ้าง เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง เล่นคาบบ้าง ชื่อว่าเล่นทางกา. การเล่นมีอาทิอย่างนี้คือ การขับร้อง การกล่าวโศลก เอาปากทำกลอง และเปิงมาง ชื่อว่าการเล่นทางวาจา ความยินดีในกามคุณ ๕ ชื่อว่า รติ. บทว่า วิปุลํ ได้แก่ เอิบอาบไป ทั่วอัตภาพ โดยการตั้งอยู่จนกระทั่งจรดเยื่อในกระดูก. คำที่เหลือปรากฏ ชัดแล้ว. ก็แม้วาจาประกอบความอนุสนธิในคาถานี้ ก็พึงทราบโดยนัย ที่กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั่นแล. และเบื้องหน้าแต่นั้นไป เรื่องราว ทั้งปวงก็เหมือนกัน.

จบพรรณนาขิฑฑารติคาถา

พรรณนาจาตุททิสคาถา

คาถาว่า จาตุทฺทิโส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๔ องค์ บวชใน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่สองหมื่นปี

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 320

แล้วบังเกิดในเทวโลก. จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดาพระปัจเจกโพธิสัตว์เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์ใหญ่ ได้เป็นพระเจ้าพาราณสี. พระปัจเจกโพธิสัตว์ที่เหลือได้เป็นพรราชาตามปกติ. ฝ่ายพระราชาทั้ง ๕ องค์นั้น เรียนกรรมฐานแล้วทรงสละราชสมบัติออกบวช ได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าโดยลำดับ แล้วอยู่ที่เงื้อมนันทมูลกะ วันหนึ่ง ออกจาก สมาบัติแล้วรำพึงถึงกรรมและสหายของตน โดยนัยดังกล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถา ครั้นรู้แล้วจึงหาโอกาสเพื่อจะแสดงอารมณ์แก่พระเจ้าพาราณสี ด้วยอุบาย. ก็พระราชานั้นตกพระทัยในเวลากลางคืนถึง ๓ ครั้ง ทรง กลัวจึงทรงร้องด้วยความระทมพระทัย เสด็จวิ่งไปที่พื้นใหญ่. แม้ถูก ปุโรหิตผู้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ทูลถามถึงการบรรทมเป็นสุขสบายก็ตรัสว่า ท่าน อาจารย์ เราจะมีความสุขมาแต่ไหน แล้วทรงบอกเรื่องราวทั้งหมดนั้น ฝ่ายปุโรหิตคิดว่า โรคนี้ใครๆ ไม่อาจแนะนำด้วยเภสัชกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง มีการถ่ายยาเบื้องสูงเป็นต้น แต่อุบายสำหรับจะกินเกิดขึ้น แก่เราแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นี้เป็นบุพนิมิตแห่งความ เสื่อมราชสมบัติและอันตรายแห่งพระชนม์ชีพเป็นต้น ทำให้พระราชา ตกพระทัยมากขึ้น แล้วกราบทูลว่า เพื่อจะให้บุพนิมิตนั้นสงบ พระองค์ พึงประทานช้าง ม้า และรถเป็นต้นมีประมาณเท่านี้ๆ กับทั้งเงินและ ทองไห้เป็นทักษิณาบูชายัญ ดังนี้แล้วให้จัดแจงการบูชายัญ.

ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เห็นสัตว์มีปราณหลายพันที่เขาประมวลมาเพื่อประโยชน์แก่ยัญ จึงคิดว่า เมื่อพระราชา ทรงกระทำกรรมนี้ พระองค์จักเป็นผู้อันใครๆ ให้ตรัสรู้ได้ยาก เอาเถอะ

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 321

เราทั้งหลายจะล่วงหน้าไปคอยดูพระราชานั้น จึงมาเที่ยวบิณฑบาต ได้ ไปที่พระลานหลวงตามลำดับ โดยนัยดังกล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถา. พระราชาประทับยืนที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรพระลานหลวง ได้เห็น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น และพร้อมกับการเห็นนั่นแหละ ความ เสน่หาได้เกิดขึ้นแก่พระองค์. ลำดับนั้น จึงรับสั่งให้นิมนต์พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นมา นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ณ พื้นกลางแจ้ง ให้ฉันโดยเคารพ แล้วตรัสถามพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้กระทำภัตกิจเสร็จ แล้วว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร? พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตอบว่า มหาบพิตร พวกอาตมาชื่อว่า จาตุทิศ. พระราชาถามว่า ท่านผู้เจริ้ญ ความหมายของคำ ว่าจาตุทิศนี้เป็นอย่างไร? พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตอบว่า มหาบพิตร พวก อาตมาไม่มีความกลัว หรือความสะดุ้งใจในที่ไหนๆ จากที่ไหนๆ ในทิศ ทั้ง ๔. พระราชาถามว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ความกลัวนี้จึงไม่มี แก่ท่านทั้งหลาย. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมา ทั้งหลายเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ด้วยเหตุนั้น ความกลัวนั้นจึง ไม่มีแก่พวกอาตมา ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะได้ไปยังสถานที่อยู่ของตน.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า สมณะเหล่านี้พากันกล่าวว่า ไม่ มีความกลัว เพราะเจริญเมตตาเป็นต้น แต่พวกพราหมณ์พากันพรรณนา การฆ่าสัตว์หลายพันตัว คำของพวกไหนหนอเป็นคำจริง. ลำดับนั้นพระองค์ได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะทั้งหลายล้างของไม่สะอาดด้วยของสะอาด แต่พวกพราหมณ์ล้างของไม่สะอาด ด้วยของไม่สะอาด ก็ใครๆ ไม่อาจ ล้างของไม่สะอาดด้วยของไม่สะอาด คำของบรรพชิตเท่านั้นเป็นคำสัจจริง. พระองค์จึงเจริญพรหมวิหารทั้ง ๔ มีเมตตาเป็นต้นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ขอ

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 322

สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุขๆ เถิด ทรงมีพระทัยแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ทรงสั่ง อำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงปล่อยสัตว์ทั้งหมด สัตว์ทั้งหมดจงดื่มน้ำ เย็น กินหญ้าเขียวสด และลมเย็นจงรำเพยพัดสัตว์เหล่านั้น. อำมาตย์ เหล่านั้นได้กระทำตามรับสั่งทุกประการ.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราพ้นจากกรรมชั่ว เพราะคำ ของกัลยาณมิตร จึงประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง เจริญวิปัสสนา ได้ ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ ก็ในเวลาเสวย เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงเสวย ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า พระองค์ ได้ตรัสคำทั้งปวงโดยนัยก่อนนั่นแลว่า เรามิใช่พระราชา ดังนี้เป็นต้น แล้วได้ตรัสอุทานคาถาและพยากรณ์คาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาตุทฺทิโส ความว่า มีปกติอยู่ตาม สบายในทิศทั้ง ๔ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จาตุทิศ เพราะมีทิศทั้ง ๔ อัน แผ่ไปด้วยพรหมวิหารภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. ชื่อว่า ผู้ไม่มีปฏิฆะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์หรือสังขารในที่ไหนๆ ในทิศทั้ง ๔ นั้น เพราะความกลัว. บทว่า สนฺตุสฺสมาโน ได้แก่ ผู้สันโดษด้วย อำนาจสันโดษ ๑๒ อย่าง. บทว่า อิตรีตเรน ได้แก่ ด้วยปัจจัยสูงๆ ต่ำๆ ในคำว่า ปริสฺสยานํ สหิตา อฉมฺภี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า ปริสสยะ เพราะเบียดเบียนรอบกายและจิต หรือยังสมบัติแห่งกายและจิตให้เสื่อมไป รอบ หรืออาศัยกายและจิตนั้นนอนอยู่. คำว่า ปริสสยะ นี้ เป็นชื่อของ อุปัทวันตรายทางกายและจิต ที่เป็นภายนอก มีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้น ที่เป็นภายใน มีกามฉันทะเป็นต้น. ชื่อว่าอดกลั้นอันตรายอันเบียดเบียน

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 323

เหล่านั้น ด้วยอธิวาสนขันติ และด้วยธรรมทั้งหลายมีวิริยะเป็นต้น. ชื่อว่า ผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะไม่มีความกลัวอันทำให้ตัวแข็ง. ท่านกล่าว อธิบายไว้อย่างไร. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตาม ได้ เหมือนสมณะ ๔ จำพวกเหล่านั้น ดำรงอยู่ในสันโดษอันเป็นปทัฏ- ฐานของการปฏิบัตินี้ ชื่อว่าอยู่ตามผาสุกในทิศ ๔ เพราะเจริญเมตตา เป็นต้นในทิศทั้ง ๔ และชื่อว่าเป็นผู้ไม่ขัดเคือง เพราะไม่มีความกลัวแต่ การเบียดเบียนในสัตว์และสังขารทั้งหลาย. ผู้นั้นชื่อว่าผู้อดกลั้นอันตราย อันเบียดเบียน เพราะเป็นผู้อยู่ตามความสบายในทิศทั้ง ๔ และชื่อว่าเป็น ผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะความเป็นผู้ไม่ขัดเคือง เราเห็นคุณของการปฏิบัติ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ แล้วปฏิบัติโดยแยบคาย ได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า เรารู้ว่า บุคคลผู้สันโดษ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เป็นผู้อยู่ตามความสบายใน ๔ ทิศ โดยนัย ดังกล่าวแล้ว เหมือนพระสมณะเหล่านั้น จึงปรารถนาความเป็นผู้อยู่ตาม สบายในทิศ ๔ อย่างนั้น ปฏิบัติโดยแยบคายจึงได้บรรลุ เพราะฉะนั้น แม้ผู้อื่นเมื่อปรารถนาฐานะเช่นนี้ พึงเป็นผู้อดทนอันตรายอันเบียดเบียน โดยความเป็นผู้อยู่ตามสบายในทิศ ๔ และเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง โดยความ เป็นผู้ไม่ขัดเคือง เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว แล้วนั่นแล.

จบพรรณนาจาตุททิสคาถา

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 324

พรรณนาทุสสังคหคาถา

คาถาว่า ทุสฺสงฺคหา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสีสวรรคตแล้ว แต่นั้น เมื่อวันโศกเศร้าล่วงเลยไปแล้ว วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า ธรรมดาพระราชาทั้งหลายจำต้องปรารถนาพระอัครมเหสีในราชกิจนั้นๆ อย่างแน่นอน ดังพวกข้าพระบาทขอโอกาส ขอสมมติเทพทรงนำพระเทวี องค์อื่นมา. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงรู้ กันเองเถิด. อำมาตย์เหล่านั้นพากันแสวงหาอยู่ พระราชาในราชอาณาจักร ใกล้เคียงสวรรคต พระเทวีของพระราชานั้นปกครองราชสมบัติ และ พระเทวีนั้นได้มีพระครรภ์. อำมาตย์ทั้งหลายระว่าพระเทวีนี้เหมาะสมแก่ พระราชา จึงทูลอ้อนวอนพระนาง. พระนางตรัสว่า ธรรมดาหญิงมี ครรภ์ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย ถ้าพวกท่านจะรอจนกว่าเราจะ คลอด เมื่อเป็นอย่างนั้น ย่อมเป็นการดี ถ้าไม่รอ พวกท่านก็จงหาหญิง อื่นเถิด. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลความนั้นแม้แก่พระราชา. พระราชา ตรัสว่า พระนางแม้จะมีครรภ์ก็ช่างเถอะ พวกท่านจงนำมาเถิด. อำมาตย์ เหล่านั้นจึงนำมา. พระราชาทรงอภิเษกพระเทวีนั้นแล้ว ได้ประทาน เครื่องใช้สอยสำหรับพระมเหสีทุกอย่าง. ทรงสงเคราะห์พระนางและ บริวารชน ด้วยเครื่องบรรณาการมีอย่างต่างๆ. พระมเหสีนั้นประสูติ พระโอรสตามกาลเวลา. พระราชาทรงกระทำโอรสของพระนางนั้นไว้ที่ พระเพลา และพระอุระในพระอิริยาบถทั้งปวง ดุจพระโอรสของพระองค์. ครั้งนั้น บริวารชนของพระเทวีนั้นพากันคิดว่า พระราชาทรงสงเคราะห์

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 325

อย่างยิ่ง ทรงกระทำความคุ้นเคยเป็นล้นพ้นในพระกุมาร เอาเถอะพวก เราจักยุยงพระกุมารนั้นให้แตกกัน.

แต่นั้น จึงพากันทูลพระกุมารว่า ข้าแต่พ่อ พระองค์เป็นโอรส แห่งพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย ไม่ได้เป็นพระโอรสของพระราชา องค์นี้ พระองค์อย่าทรงไว้วางพระทัยพระราชาองค์นี้. ทีนั้น พระกุมาร อันพระราชาตรัสว่า มาซิลูก ดังนี้ก็ดี เอาพระหัตถ์ดึงมาก็ดี ก็ไม่ติด พระราชาเหมือนแต่ก่อน. พระราชาทรงพิจารณาอยู่ว่า เหตุอะไรกัน ทรงทราบเรื่องราวนั้น ทรงเบื่อหน่ายว่า คนเหล่านั้นแม้เราจะสงเคราะห์ อยู่ ก็ยังมีความประพฤติวิปริตอยู่นั่นเอง จึงทรงละราชสมบัติออกทรง ผนวช. ฝ่ายอำมาตย์และบริวารชนทั้งหลายทราบว่า พระราชาทรงผนวช ก็พากันบวชเป็นอันมาก. พระราชาพร้อมด้วยบริวารชน แม้บวชแล้ว คนทั้งหลายก็ยังน้อมนำปัจจัยอันประณีตเข้าไปถวาย. พระราชาทรงให้ ปัจจัยอันประณีต ตามลำดับคนผู้แก่กว่า. บรรดาคนเหล่านั้น คนที่ได้ ของดีก็พากันยินดี คนที่ได้ของไม่ดีก็พากันยกโทษว่า พวกเรากวาด บริเวณเป็นต้น กระทำกิจการทั้งปวงอยู่ ก็ได้ภัตตาหารเศร้าหมองและ ผ้าเก่า. พระราชานั้นทรงทราบแม้ดังนั้น จึงทรงดำริว่า พวกเหล่านี้แม้ เราให้อยู่ตามลำดับผู้แก่กว่า ก็ยังยกโทษอยู่ โอ! บริษัทสงเคราะห์ยาก จึงทรงถือบาตรและจีวร พระองค์เดียวเสด็จเข้าป่า ปรารภวิปัสสนา ได้ ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ. และถูกชนผู้มาในที่นั้นถามถึงกรรมฐาน จึงได้ตรัสคาถานี้. คาถานั้นปรากฏชัดแล้วโดยอรรถ แต่มีวาจา ประกอบความดังนี้ แม้บรรพชิตบางพวก ผู้ถูกความไม่สันโดษครอบงำ ก็สงเคราะห์ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อย่างนั้นเหมือนกัน. เรา

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 326

เกลียดความเป็นผู้สงเคราะห์ยากนี้ จึงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำ ที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

จบพรรณนาทุสสังคหคาถา

พรรณนาโกวิฬารคาถา

คาถาว่า โอโรปยิตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาในนครพาราณสี พระนามว่า จาตุมาสิกพรหมทัต เสด็จไปพระราชอุทยานในเดือนแรกของฤดูคิมหันต์ ทรง เห็นต้นทองหลางเต็มไปด้วยใบเขียวและแน่นทึบ ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ในพระราชอุทยานนั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงปูลาดที่นอนของเราที่ โคนต้นทองหลาง แล้วทรงเล่นในพระราชอุทยาน เวลาเย็น ทรงสำเร็จ การบรรทมอยู่ ณ ที่โคนต้นทองหลางนั้น. ในเดือนกลางฤดูคิมหันต์ ได้ เสด็จไปยังพระราชอุทยานอีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางกำลังออกดอก แม้ในคราวนั้น ก็ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นแหละ. ในเดือนท้ายฤดู คิมหันต์ ได้เสด็จไปแม้อีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางสลัดใบ เป็น เหมือนต้นไม้แห้ง. แม้ในคราวนั้น พระราชาก็ไม่ทันดูต้นไม้นั้น ด้วย ความคุ้นเคยในกาลก่อน จึงรับสั่งให้ปูลาดที่บรรทม ณ ที่โคนต้นทองหลาง นั้นนั่นเอง. อำมาตย์ทั้งหลายแม้จะรู้อยู่ ก็ให้ปูลาดที่บรรทมที่โคนต้น ทองหลางนั้น ตามคำสั่งของพระราชา. พระองค์ทรงเล่นในพระราชอุทยาน พอเวลาเย็น เมื่อจบรรทม ณ ที่นั้น ทรงเห็นต้นไม้นั้นเข้า

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 327

จึงทรงดำริว่า ร้ายจริง ต้นไม้นี้ เมื่อก่อนมีใบเต็ม ได้เป็นต้นไม้งาม น่าดู ประดุจสำเร็จด้วยแก้วมณี จากนั้น ได้มีสง่าน่าดูด้วยดอกทั้งหลาย เช่นกับหน่อแก้วประพาฬอันวางอยู่ระหว่างกิ่งมีสีแดงแก้วมณี และภูมิภาค ภายใต้ต้นไม้นี้ ก็เกลี่ยด้วยทราย เช่นกับข่ายแก้วมุกดา ดาดาษด้วยดอก อันหล่นจากขั้ว ได้เป็นดุจลาดไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง วันนี้ ต้นไม้ชื่อนั้น เหมือนต้นไม้แห้ง เหลือสักว่ากิ่งยืนต้นอยู่ โอ! ต้นทองหลางก็ยิ่งถูกชรา ทำร้ายแล้ว ทรงได้เฉพาะอนิจจสัญญาว่า แม้สิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง ก็ ยังถูกชรานั้นเบียดเบียน จะป่วยกล่าวไปไยถึงสิ่งที่มีวิญญาณเล่า พระองค์ ทรงเห็นแจ้งสังขารทั้งปวงตามแนวนั้นนั่นแล โดยความเป็นทุกข์ และ โดยความเป็นอนัตตา ทรงปรารถนาอยู่ว่า โอหนอ! แม้เราก็พึงเป็น ผู้ปราศจากเครื่องหมายคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น ทรง บรรทมอยู่โดยข้างเบื้องขวา ณ พื้นที่บรรทมนั้น โดยลำดับ เจริญวิปัสสนา ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ในเวลาเสด็จไปจากที่นั้น เมื่อ พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ได้เวลาเสด็จไปแล้วพระเจ้าข้า จึงตรัสคำมีอาทิว่า เราไม่ใช่พระราชา แล้วได้ตรัสคาถานี้ โดยนัยก่อน นั่นแหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอโรปยิตฺวา แปลว่า นำออกไป. บทว่า คิหิพฺยญฺชนานิ ได้แก่ ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ บุตร ภรรยา ทาสี และทาสเป็นต้น. สิ่งเหล่านี้ ทำความเป็นคฤหัสถ์ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า คิหิพฺยญฺชนานิ. บทว่า สนฺฉินฺนปตฺโต แปลว่า มีใบร่วงไปแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน ได้แก่ ตัดด้วยมรรคญาณ. บทว่า วีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเพียรใน

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 328

มรรค. บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม. จริงอยู่ กาม ทั้งหลายเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เนื้อความของบทเพียงเท่านี้ก่อน. ส่วนอธิบายมีดังนี้ พระราชาทรงดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ! แม้เราก็พึง ปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย พึงเป็นเหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น ทรงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั้นแล.

จบพรรณนาโกวิฬารคาถา

พรรณนาสหายคาถา

คาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๒ องค์ บวชใน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่สองหมื่น ปีแล้วบังเกิดขึ้นในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดาปัจเจกโพธิ- สัตว์เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์พี่ใหญ่ได้เป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสี องค์น้องชายได้เป็นบุตรของปุโรหิต. พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งสอง นั้นถือปฏิสนธิวันเดียวกัน ออกจากท้องมารดาวันเดียวกัน ได้เป็นสหาย เล่นฝุ่นด้วยกัน. บุตรปุโรหิตได้เป็นผู้มีปัญญา เขากราบทูลพระราชบุตรว่า ข้าแต่พระสหาย เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไปแล้ว พระองค์จักได้ราชสมบัติ ข้าพระองค์จักได้ตำแหน่งปุโรหิต อันคนผู้ศึกษาดีแล้ว อาจปกครอง ราชสมบัติได้ พระองค์จงมา พวกเราจักเรียนศิลปศาสตร์ แต่นั้น คน ทั้งสองได้เป็นผู้สร้างสมยัญ๑ เที่ยวภิกขาไปในคามและนิคมเป็นต้น ไป


๑. คล้องสายยัญ.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 329

ถึงบ้านปัจจันตชนบท. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ เข้าไปยังบ้านนั้น ในเวลาภิกขาจาร. คนทั้งหลายในบ้านนั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้ว เกิดความอุตสาหะ พากันปูลาดอาสนะ น้อมของเคี้ยวและของ บริโภคอันประณีตเข้าไปบูชาอยู่. คนทั้งสองนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ชื่อว่า คนผู้มีตระกูลสูงเช่นกับพวกเรา ย่อมไม่มี ก็อีกอย่างหนึ่ง คนเหล่านี้ ถ้าต้องการ ก็จะให้ภิกษาแก่พวกเรา ถ้าไม่ต้องการ ก็จะไม่ให้ จะ กระทำสักการะเห็นปานนี้แก่บรรพชิตเหล่านี้ บรรพชิตเหล่านี้ย่อมรู้ศิลปศาสตร์ไรๆ เป็นแน่ เอาเถอะ พวกเราจักเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักของ บรรพชิตเหล่านี้. เมื่อพวกคนกลับไปแล้ว คนทั้งสองนั้นได้โอกาส จึง พูดอ้อนวอนว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงให้พวกกระผมศึกษา ศิลปะที่ท่านทั้งหลายทราบเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า พวก เราไม่อาจให้คนที่มิใช่บรรพชิตศึกษา. คนทั้งสองนั้นจึงขอบรรพชาแล้ว บวช. ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงบอกอภิสมาจาริกวัตร แก่คนทั้งสองนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่าทั้งหลายพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่ม อย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ความยินดีในความเป็นผู้เดียว เป็นความสำเร็จ แห่งศิลปะนี้ เพราะฉะนั้น พึงนั่งผู้เดียว พึงจงกรมผู้เดียว พึงยืนผู้เดียว พึงนอนผู้เดียว ดังนี้ แล้วได้ให้บรรณศาลาแยกกัน. แต่นั้น บรรพชิต ทั้งสองนั้น จึงเข้าไปยังบรรณศาลาของตนๆ แล้วนั่งอยู่. จำเดิมแต่กาล ที่นั่งแล้ว บุตรปุโรหิตได้ความตั้งมั่นแห่งจิต ได้ฌานแล้ว. พอชั่วครู่เดียว พระราชบุตรรำคาญ จึงมายังสำนักของบุตรปุโรหิต. บุตรปุโรหิตนั้นเห็น ดังนั้นจึงถามว่า อะไรกันสหาย? ราชบุตรกล่าวว่า เรารำคาญเสียแล้ว. บุตรปุโรหิตกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งที่นี้. ราชบุตรนั้นนั่งในที่

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 330

นั้นได้ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า นี่แนะสหาย ได้ยินว่า ความยินดีในความเป็น ผู้เดียว เป็นความสำเร็จแห่งศิลปะนี้. บุตรปุโรหิตกล่าวว่า อย่างนั้น สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปยังโอกาสที่ตนนั่งเท่านั้น เราจักเรียนเอา ความสำเร็จของศิลปะนี้. ราชบุตรนั้นจึงไป พอครู่เดียวเท่านั้นก็รำคาญ อีก จึงกลับมาโดยนัยก่อนนั่นแหละถึง ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น บุตรปุโรหิตจึงส่งราชบุตรนั้นไปเหมือนอย่างเดิม เมื่อ ราชบุตรนั้นไปแล้ว จึงคิดว่า ราชบุตรนี้ทำกรรมของตนและกรรมของ เราให้เสื่อมเสีย มาในที่นี้เนืองๆ. บุตรปุโรหิตนั้นจึงออกจากบรรณศาลา เข้าป่า. ฝ่ายราชบุตรนั่งอยู่ในบรรณศาลานั่นแหละ พอชั่วครู่เดียวก็รำคาญ ขึ้นอีก จึงมายังสำนักของบุตรปุโรหิตนั้น แม้หาไปรอบๆ ก็ไม่เห็นบุตร ปุโรหิตนั้น จึงคิดว่าผู้ใดแม้พาเอาเครื่องบรรณาการในคราวเป็นคฤหัสถ์ มา ก็ไม่ได้เห็นเรา บัดนี้ ผู้นั้น เมื่อเรามาแล้วประสงค์จะไม่ให้แม้แต่ การเห็น จึงได้หลีกไป โอ เจ้าจิตร้าย เจ้าไม่ละอาย เราถูกเจ้านำมาที่นี้ ถึง ๔ ครั้ง บัดนี้ เราจักไม่เป็นไปในอำนาจของเจ้า โดยที่แท้ เราจักให้ เจ้านั่นแหละเป็นไปในอำนาจิตของเรา ดังนี้ แล้วเข้าไปยังเสนาสนะของตน เริ่มวิปัสสนาทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะ ทางอากาศ. ฝ่ายบุตรปุโรหิตนอกนี้เข้าป่าแล้ว เริ่มวิปัสสนา ทำให้แจ้ง ปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ไปที่นั้นเหมือนกัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งสอง นั้นนั่งอยู่ที่พื้นมโนศิลา ได้กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้โดยแยกกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปกํ ได้แก่ ผู้มีปัญญารักษาตนตาม ปกติ คือเป็นบัณฑิต ได้แก่ ผู้ฉลาดในการบริกรรมกสิณเป็นต้น. บทว่า สาธุวิหารํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องอยู่อันแนบแน่น หรือด้วย

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 331

ธรรมเครื่องอยู่อย่างเฉียดๆ. บทว่า ธีรํ คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่อง ทรงจำ. ในข้อนั้น ท่านกล่าวธิติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่อง ทรงจำ ด้วยความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน. แต่ในที่นี้ หมายความว่า ผู้ สมบูรณ์ด้วยธิติเท่านั้น. ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ชื่อว่า ธิติ. คำนี้เป็น ชื่อของความเพียรซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือ แต่หนังและเอ็นก็ตาม ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ เพราะเกลียดชัง บาป ดังนี้ก็มี บทว่า ราชาว รฏฺํ วิชิตฺ ปหาย ความว่า พึงละสหาย ผู้เป็นพาลเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาตามปกติรู้ว่า แว่นแคว้นที่เรา ชนะแล้ว นำอนัตถพินาศมาให้ จึงละราชสมบัติเที่ยวไปพระองค์เดียว ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺํ นั้น มีความแม้ดังนี้ว่า ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระเจ้าสุตโสม ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว เที่ยวไปพระองค์เดียว และเหมือนพระเจ้ามหาชนกฉะนั้น. คำที่เหลือ อาจรู้ได้ตามแนวที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้องกล่าวให้พิสดาร ฉะนี้แล.

จบพรรณนาสหายคาถา

พรรณนาอัทธาปสังสาคาถา

เหตุเกิดคาถาว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้เป็นต้น เหมือนกับเหตุเกิดขึ้น แห่งจาตุททิสคาถา คราบเท่าที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ ลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 332

พระราชานี้ไม่ตกพระทัย เหมือนพระราชานั้นตกพระทัยถึง ๓ ครั้ง ในตอนกลางคืน. พระราชานี้มิได้ทรงเข้าไปตั้งยัญ พระองค์นิมนต์ ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง แล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร? พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทูลว่า มหาบพิตร พวกอาตมาชื่อว่าอนวัชชโภชี. พระราชาตรัสถาม ว่า ท่านผู้เจริญ คำว่า อนวัชชโภชี นี้ มีความหมายว่าอย่างไร? พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า มหาบพิตร พวกอาตมาได้ของดีหรือ ไม่ดี ไม่มีอาการผิดแผกบริโภคได้. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงได้ มีพระดำริดังนี้ว่า ถ้ากระไร เราควรจะได้พิสูจน์ดูท่านเหล่านี้ว่า เป็นผู้ เช่นนี้หรือไม่. วันนั้น พระองค์จึงทรงอังคาสด้วยข้าวปลายเกรียน มีน้ำ ผักดองเป็นที่สอง. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีอาการผิดแผก ฉัน ข้าวปลายเกรียนนั้นดุจเป็นของอมฤต. พระราชาทรงพระดำริว่า ท่านเหล่า นี้เป็นผู้ไม่มีอาการผิดแผกในวันเดียว เพราะปฏิญญาไว้ พรุ่งนี้ เราจักรู้อีก จึงนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้. แม้ในวันที่สอง ก็ได้ทรงกระทำเหมือน อย่างนั้น. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ฉันเหมือนอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราจักถวายของดีทดลองดู จึง นิมนต์อีก ทรงทำมหาสักการะถึง ๒ วัน วันอังคาสด้วยของเคี้ยวของ ฉันอันประณีตวิจิตรยิ่ง. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ไม่มีอาการผิด แผก ฉันเหมือนอย่างนั้นแหละ กล่าวมงคลแก่พระราชาแล้วหลีกไป. เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นหลีกไปไม่นาน พระราชาทรงดำริว่า ท่าน เหล่านี้เป็นอนวัชชโภชีมีปกติฉันหาโทษมิได้ โอหนอ! แม้เราก็ควรเป็น

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 333

อนวัชชโภชีบ้าง จึงสละราชสมบัติใหญ่ สมาทานการบรรพชา เริ่ม วิปัสสนาแล้ว ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะชี้แจงอารมณ์ของตน ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ ควงต้นไม้สวรรค์ ได้กล่าว คาถานี้. คาถานั้นโดยใจความของบทง่ายมาก แต่ในบทว่า สหายสมฺปทํ นี้ สหายผู้เพียบพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้นอันเป็นอเสขะ พึงทราบว่าสหายสัมปทาทั้งสิ้น.

ส่วนวาจาประกอบความในคำว่า สหายสมฺปทํ นี้ มีดังต่อไปนี้:- เราสรรเสริญสหายสัมปทาที่กล่าวแล้วนั้นโดยแท้ อธิบายว่า เราชมเชยโดย ส่วนเดียวเท่านั้น. สรรเสริญอย่างไร? สรรเสริญว่า ควรคบหาสหายผู้ ประเสริฐกว่า หรือผู้เสมอกัน. เพราะเหตุไร? เพราะเมื่อบุคคลคบหาผู้ ที่ประเสริฐกว่าด้วยคุณ มีศีลเป็นต้นของตน ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์. เมื่อคบหาคนผู้เสมอกัน ธรรมที่ได้แล้วก็ไม่เสื่อม เพราะเสมอเท่ากัน และกัน ทั้งเพราะบรรเทาความรำคาญใจเสียได้. ก็กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ ไม่ได้สหายเหล่านั้นผู้ประเสริฐกว่าและเสมอกัน แล้วละมิจฉาชีพมีการ หลอกลวงเป็นต้น บริโภคโภชนะที่เกิดขึ้นโดยธรรม โดยเสมอ และไม่ ทำความยินดียินร้ายให้เกิดขึ้นในโภชนะนั้น เป็นผู้มีปกติบริโภคโดยหา โทษมิได้ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. แม้เราก็ประพฤติอยู่อย่าง นี้ จึงได้บรรลุสมบัตินี้แล.

จบพรรณนาอัทธาปสังสาคาถา

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 334

พรรณนาสุวัณณวลยคาถา

คาถาว่า ทิสฺวา สุวณฺถเสฺส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาในนครพาราณสีองค์หนึ่ง ได้เสด็จเข้าบรรทม กลางวันในฤดูร้อน และนางวัณณทาสีในสำนักของพระราชานั้น กำลัง บดจันทน์แดงอยู่ ที่แขนข้างหนึ่งของนางวัณณทาสีนั้น มีกำไลมือทองคำ อันหนึ่ง ที่แขนอีกข้างหนึ่งมีสองอัน. กำไลทอง ๒ อันนั้นกระทบกัน กำไลทองอันเดียวนอกนั้น ไม่กระทบ (อะไร). พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงดำริว่า ในเพราะการอยู่เป็นคณะอย่างนี้แหละ จึงมีการกระทบกัน ในเพราะการอยู่โดดเดี่ยว จึงไม่มีการกระทบกัน แล้วทอดพระเนตรดู นางทาสีบ่อยๆ. ก็สมัยนั้น พระเทวีประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุก ชนิด ยืนถวายการพัดอยู่ พระเทวีนั้นทรงดำริว่า พระราชาเห็นจะมี พระทัยปฏิพัทธ์นางวัณณทาสี จึงรับสั่งให้นางทาสีนั้นลุกขึ้น แล้วเริ่มบด ด้วยพระองค์เอง. ก็ครั้งนั้น ที่พระพาหาทั้งสองของพระนางมีกำไลทองคำ มิใช่น้อย กำไลทองเหล่านั้นกระทบกัน ทำให้เกิดเสียงดังลั่น. พระราชา ทรงเบื่อระอายิ่งนัก จึงทรงบรรทมโดยพระปรัศว์เบื้องขวาเท่านั้น ทรง เริ่มวิปัสสนาแล้วกระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ. พระเทวีถือจันทน์ เข้าไปหาพระราชานั้นผู้บรรทมสบายด้วยสุขอันยอดเยี่ยม แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์จงทรงลูบไล้. พระราชานั้นตรัสว่า จงหลีกไป อย่าลูบไล้. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันจะลูบไล้ให้แก่ ใคร. พระราชาตรัสว่า เราไม่ใช่พระราชา. อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟัง ถ้อยคำปราศรัยของพระราชาและพระเทวีนั้นอย่างนั้น จึงพากันเข้าไปเฝ้า. พระองค์ แม้อำมาตย์เหล่านั้นร้องทูลด้วยวาทะว่าพระราชา ก็ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 335

เราไม่ใช่พระราชาดอกพนาย. คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก นั่นแหละ.

ส่วนการพรรณนาคาถามีดังต่อไปนี้ :- บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา แปลว่า ทรงแลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส แปลว่า ทองคำ. บาลีที่เหลือว่า วลยานิ. ก็อรรถะพร้อมทั้งอรรถะของบทที่เหลือมีเพียง เท่านี้. บทว่า ปภสฺสรานิ แปลว่า มีแสงสุกปลั่งเป็นปกติ มีอธิบายว่า โชติช่วงอยู่ คำที่เหลือมีอรรถะของบทง่ายทั้งนั้น. ส่วนวาจาประกอบ ความมีดังต่อไปนี้ :- เราเห็นกำไลทองที่แขนจึงคิดอย่างนี้ว่า เมื่อมีการ อยู่เป็นคณะ การกระทบกันย่อมมี เมื่ออยู่ผู้เดียว ก็ไม่มีการกระทบกัน จึงเริ่มวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาสุวัณณวลยคาถา

พรรณนาอายติภยคาถา

คาถาว่า เอวํ ทุติเยน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง ยังเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี พระประสงค์จะทรงผนวช จึงสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงพา พระเทวีมาแล้วให้ทรงบริหารราชสมบัติ เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลาย ทูลให้ทรงทราบว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่อาจรักษา ราชสมบัติที่หาพระราชามิได้ พระราชาใกล้เคียงทั้งหลายจักพากันมาปล้น ชิงเอา ขอพระองค์จงทรงรอจนตราบเท่าพระโอรสสักองค์หนึ่งเสด็จอุบัติ ขึ้น. พระราชาทรงมีพระทัยอ่อนจึงทรงรับคำ. ลำดับนั้น พระเทวีทรง

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 336

ตั้งครรภ์. พระราชาทรงสั่งอำมาตย์เหล่านั้นอีกว่า พระเทวีทรงมีพระครรภ์ ท่านทั้งหลายจงอภิเษกพระโอรสผู้ประสูติแล้วในราชสมบัติ แล้วจงบริหาร ราชสมบัติ เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลายทูลพระราชาให้ทรงทราบแม้อีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้อที่พระเทวีจักประสูติพระโอรสหรือพระธิดานั้นรู้ได้ ยาก เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์จงทรงรอเวลาประสูติก่อน. ทีนั้นพระเทวี ได้ประสูติพระโอรส. แม้คราวนั้น พระราชาก็ทรงสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. อำมาตย์ทั้งหลายพากันทูลพระราชาให้ทรง ทราบด้วยเหตุมากมายแม้อีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองจงทรงรอ จนกว่าพระโอรสจะเป็นผู้สามารถ. ลำดับนั้น เมื่อพระกุมารเป็นผู้สามารถ แล้วพระราชารับสั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายประชุมกันแล้วตรัสว่า บัดนี้ พระกุมารนี้เป็นผู้สามารถแล้ว ท่านทั้งหลายจงอภิเษกพระกุมารนั้นในราชสมบัติ แล้วปรนนิบัติ ครั้นตรัสแล้ว ไม่ให้โอกาสแก่พวกอำมาตย์ ให้นำบริขาร ทั้งปวงมีผ้ากาสายะเป็นต้นมาจากตลาด ทรงผนวชในภายในบุรีนั่นเอง แล้วเสด็จออกไปเหมือนพระมหาชนก. ปริชนทั้งปวงพากันร่ำไรมีประการ ต่างๆ ติดตามพระราชาไป. พระราชาเสด็จไปตราบเท่ารัชสีมาของ พระองค์ แล้วเอาไม้เท้าขีดรอยพลางตรัสว่า ไม่ควรก้าวล่วงรอยขีดนี้ มหาชนนอนลงบนแผ่นดินทำศีรษะไว้ที่รอยขีดร่ำไรอยู่ กล่าวว่า นี่แน่ะพ่อ บัดนี้ อาชญาของพระราชาจะทำอะไรแก่พระองค์ได้ จึงให้พระกุมาร ก้าวล่วงรอยขีดไป. พระกุมารทูลว่า พระเจ้าพ่อ พระเจ้าพ่อ แล้ววิ่ง ไปทันพระราชา. พระราชาทรงเห็นพระกุมารแล้วทรงดำริว่า เราบริหาร มหาชนนครองราชสมบัติ บัดนี้ เราไม่อาจบริหารทารกคนเดียวได้หรือ จึงพาพระกุมารเข้าป่า ทรงเห็นบรรณศาลาที่พระปัจเจกพุทธเจ้าในปาง

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 337

ก่อนทั้งหลายอยู่มาแล้วในป่านั้น จึงสำเร็จการอยู้พร้อมกับพระโอรส.

ลำดับนั้น พระกุมารทรงทำความคุ้นเคยในที่นอนอย่างดีเป็นต้น เมื่อมานอนบนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า หรือบนเตียงเชือก จึงทรงกันแสง. เป็นผู้อันความหนาวและลมเป็นต้นถูกต้องเข้าก็ทูลว่า หนาวเสด็จพ่อ ร้อน เสด็จพ่อ ยุงกัดเสด็จพ่อ หิวเสด็จพ่อ กระหายเสด็จพ่อ. พระราชามัวแต่ทรง ปลอบโยนพระกุมารอยู่นั่นแล ทำให้เวลาล่วงไปตลอดราตรี แม้ เวลากลางวันทรงเที่ยวบิณฑบาตแล้วนำภัตตาหารเข้าไปให้พระกุมารนั้น. ภัตตาหารสำรวม มากไปด้วยข้าวฟ่าง ลูกเดือย และถั่วเขียวเป็นต้น แม้ ไม่ชอบใจก็เสวยภัตตาหารนั้นด้วยอำนาจของความหิว พอล่วงไป ๒ - ๓ วัน ก็ทรงซูบซีดเหมือนปทุมที่วางไว้ในที่ร้อน ส่วนพระราชาไม่ทรงมีประการ อันแปลก เสวยได้ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา. ลำดับนั้น พระราชา เมื่อจะทรงให้พระกุมารยินยอมจึงตรัสว่า นี่แนะพ่อ ในนคร ย่อมจะหา อาหารประณีตได้ พวกเราจงพากันไปในนครนั้นเถิด. พระกุมารรับว่า ดีละเสด็จพ่อ. แต่นั้น พระราชาทรงให้พระกุมารอยู่ข้างหน้า แล้วพา กันกลับมาตามทางที่มาแล้วนั่นแหละ. ฝ่ายพระเทวีชนนีของพระกุมาร ทรงดำริว่า บัดนี้ พระราชาจักไม่ทรงพาพระกุมารไปอยู่ป่านาน พอล่วง ไป ๒ - ๓ วันเท่านั้นก็จักเสด็จกลับ จึงให้กระทำรั้วไว้ในที่ที่พระราชา เอาไม้เท้าขีดไว้นั่นแหละ แล้วสำเร็จการอยู่. พระราชาประทับยืนอยู่ในที่ ไม่ไกลจากรั้วของพระเทวีนั้น แล้วทรงส่งพระกุมารไปว่า ดูก่อนพ่อ มารดาของเจ้านั่งอยู่ที่นี้ เจ้าจงไป. พระองค์ได้ประทับยืนดูด้วยหวังพระทัย ว่าใครๆ อย่าได้เบียดเบียนเขาเลย จนกระทั่งพระกุมารนั้นถึงที่นั้น พระกุมารได้วิ่งไปยังสำนักของพระมารดา.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 338

พวกบุรุษผู้ทำการอารักขาเห็นพระกุมารนั้นเสด็จมา จึงกราบทูล พระเทวี. พระเทวีห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนางต้อนรับเอาไว้แล้ว และตรัสถามถึงความเป็นไปของพระราชา ได้ทรงสดับว่า เสด็จมาข้างหลัง จึงทรงสั่งคนไปคอยรับ ฝ่ายพระราชาได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์ใน ทันใดนั้นเอง. คนทั้งหลายไม่พบพระราชจึงพากันกลับมา. ลำดับนั้น พระเทวีทรงหมดหวัง จึงพาพระโอรสไปยังพระนครอภิเษกไว้ในราชสมบัติ. ฝ่ายพระราชาประทับนั่งอยู่ในที่อยู่ของพระองค์ ทรงเห็นแจ้งบรรลุ พระโพธิญาณแล้ว ได้กล่าวอุทานคาถานี้ ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลาย ณ ควงต้นไม้สวรรค์. อุทานคาถานั้น โดยใจความง่ายทั้งนั้น.

ก็ในอุทานคาถานี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้. การเปล่งวาจาสนทนาหรือ วาจาเครื่องเกี่ยวข้องด้วยอำนาจความเสน่หาในกุมารนั้นนี้ใด เกิดแล้วแก่ เราผู้ยังกุมารนั้นให้ยินยอมอยู่ โดยการอยู่ร่วมกับกุมารคนหนึ่งผู้เป็นเพื่อน. ผู้ประกาศให้ทราบความหนาวและความร้อนเป็นต้น. ถ้าเราไม่สละกุมาร นั้นไซร้ แม้กาลต่อจากนั้นไป การเปล่งวาจาสนทนาหรือวาจาเครื่อง เกี่ยวข้องนั้น ก็จักมีอยู่เหมือนอย่างนั้น. การเปล่งวาจาสนทนาหรือวาจา เครื่องเกี่ยวข้องกับเพื่อนจะพึงมีแก่เราจนถึงในบัดนี้. เราเล็งเห็นภัยนี้ต่อ ไปข้างหน้าว่า การเปล่งวาจาสนทนาและวาจาเครื่องเกี่ยวข้องทั้งสองนี้ จะกระทำอันตรายแก่การบรรลุคุณวิเศษ จึงทิ้งกุมารนั้นแล้วปฏิบัติโดย แยบคาย จึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาอายติภยคาถา

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 339

พรรณนากามคาถา

คาถาว่า กามา หิ จิตฺรา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า บุตรของเศรษฐีในนครพาราณสี ยังหนุ่มแน่นทีเดียว ได้ตำแหน่งเศรษฐี. เขามีปราสาท ๓ หลังอันเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓. เขาให้ บำเรอด้วยสมบัติทั้งปวงดุจเทพกุมาร. ครั้งนั้น เขายังเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว คิดว่าจักบวช จึงลาบิดามารดา. บิดามารดาห้ามเขาไว้ เขาก็ยังรบเร้าอยู่ เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บิดามารดาจึงห้ามเขาแม้อีกโดยประการต่างๆ ว่า พ่อเอย เจ้าเป็นคนละเอียดอ่อน การบรรพชาทำได้ยาก เช่นกับการ การเดินไปๆ มาๆ บนคมมีดโกน. เขาก็ยังรบเร้าอยู่เหมือนเดิมนั่นแหละ บิดามารดาจึงคิดว่า ถ้าลูกคนนี้บวช ความโทมนัสย่อมเกิดมีแก่พวกเรา ห้ามเขาได้ ความโทมนัสย่อมจะเกิดมีแก่เขา. เออก็ความโทมนัสจงมีแก่ พวกเราเถิด จงอย่ามีแก่เขาเลย จึงอนุญาตให้บวช. แต่นั้น บุตรของ เศรษฐีนั้นไม่สนใจปริชนทั้งปวงผู้ปริเทวนาการอยู่ ไปยังป่าอิสิปตนะ บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. เสนาสนะอันประเสริฐยัง ไม่ถึงเขา เขาจึงลาดเสื่อลำแพนบนเตียงน้อยแล้วนอน. เขาเคยชินที่นอน อย่างดีมาแล้ว จึงได้มีความลำบากยิ่งตลอดคืนยังรุ่ง. เมื่อราตรีสว่างแล้ว เขาทำบริกรรมสรีระแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตพร้อมกับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แก่กว่า ได้เสนาสนะเลิศและโภชนะเลิศ. พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นนวกะ ได้อาสนะและโภชนะอันเศร้าหมอง อย่างใดอย่าง หนึ่งเท่านั้น. เขาได้เป็นผู้มีความทุกข์อย่างยิ่ง แม้เพราะโภชนะอันเศร้าหมองนั้น. พอล่วงไป ๒ - ๓ วันเท่านั้น เขาก็ซูบผอมมีผิวพรรณหมอง-

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 340

คล้ำเบื่อหน่าย ในเพราะสมณธรรมยังไม่ถึงความแก่กล้านั้น. แต่นั้น จึง สั่งทูตให้บอกแก่บิดามารดาแล้วสึก. พอ ๒ - ๓ วัน เขาได้กำลังแล้ว ประสงค์จะบวชแม้อีก. แต่นั้น เขาจึงบวชเป็นครั้งที่สอง แล้วก็สึกไปอีก ในครั้งที่สามเขาบวชอีก ปฏิบัติโดยชอบเห็นแจ้งแล้ว กระทำให้แจ้ง ปัจเจกโพธิญาณแล้วกล่าวอุทานคาถานี้ ได้กล่าวแม้พยากรณ์คาถานี้แหละ ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายซ้ำอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามา ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. ใน ๒ อย่างนั้น ธรรมคืออารมณ์มีปิยรูป เป็นต้น ชื่อว่าวัตถุกาม ประเภทของราคะทั้งหมด ชื่อว่ากิเลสกาม. ก็ ในที่นี้ ประสงค์เอาวัตถุกาม. กามทั้งหลายวิจิตรงดงามโดยอเนกประการ มีรูปเป็นต้น. ชื่อว่าอร่อย เพราะเป็นที่ชอบใจของชาวโลก. ชื่อว่าเป็น ที่รื่นรมย์ใจ เพราะทำใจของพาลปุถุชนให้ยินดี. บทว่า วิรูปรูเปน ได้แก่ ด้วยรูปต่างๆ. ท่านกล่าวอธิบายว่า ด้วยสภาวะหลายอย่าง. จริงอยู่ กาม เหล่านั้นวิจิตรงดงามด้วยอำนาจรูปเป็นต้น มีรูปต่างๆ ชนิด ด้วยอำนาจ สีเขียวเป็นต้นในรูปเป็นต้น. อธิบายว่า กามทั่งหลายแสดงความชอบใจ โดยประการนั้นๆ ด้วยรูปต่างๆ นั้นๆ อย่างนี้ ย่ำยีจิตอยู่คือไม่ให้ยินดี ในการบวช. คำที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัดแล้ว แม้บทสรุป ก็พึง ประกอบด้วยบท ๒ บท หรือ ๓ บท แล้วพึงทราบโดยนัยดังกล่าวใน คาถาแรกนั้นแล.

จบพรรณนากามคาถา

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 341

พรรณนาอีติคาถา

คาถาว่า อีติ จ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า หัวฝีเกิดขึ้นแก่พระเจ้าพาราณสี เวทนากล้าได้เพิ่มมาก ขึ้น หมอทั้งหลายทูลว่า เว้นสัตถกรรมการผ่าตัด จะไม่มีความผาสุก พระราชาทรงให้อภัยหมอเหล่านั้น แล้วให้กระทำการผ่าตัด. หมอเหล่านั้นผ่าหัวฝีนั้นแล้ว นำหนองและเลือดออกมา กระทำให้ไม่มีเวทนาแล้ว เอาผ้าพันแผล. และถวายคำแนะนำพระราชาใน (การเสวย) เนื้อและ พระกระยาหารอันเศร้าหมอง. พระราชาทรงมีพระสรีระซูบผอม เพราะ โภชนะเศร้าหมอง. และหัวฝีของพระราชานั้นก็แห้งไป. พระราชาทรงมี สัญญาว่าทรงผาสุก จึงเสวยพระกระยาหารอันสนิท. ด้วยเหตุนั้น จึงทรง เกิดพละกำลัง ทรงเสพเฉพาะในการเสพเท่านั้น. หัวฝีของพระราชานั้น ก็ถึงสภาวะอันมีในก่อนนั่นแหละ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์จึงให้ทำการ ผ่าตัดจนถึง ๓ ครั้ง อันหมอทั้งหลายละเว้นแล้ว (จากการรักษา) จึงทรง เบื่อหน่าย ละราชสมบัติใหญ่ออกบวชเข้าป่า เริ่มวิปัสสนา ๖ พรรษาก็ ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ ได้กล่าวอุทานคาถานี้แล้วไปยังเงื้อม เขานันทมูลกะ.

ที่ชื่อว่า อีติ จัญไรในคาถานั้น เพราะอรรถว่า มา. คำว่า อีติ นี้ เป็นชื่อของเหตุแห่งความฉิบหายอันเป็นส่วนแห่งอกุศลที่จรมา. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านี้ก็ชื่อว่าจัญไร เพราะอรรถว่า นำมาซึ่งความ ฉิบหายมิใช่น้อย และเพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมอนัตถพินาศ. แม้หัวฝี ก็หลั่งของไม่สะอาดออกมา เป็นของบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่าดุจหัวฝี เพราะหลั่งของไม่สะอาด

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 342

คือกิเลสออกมา และเพราะมีภาวะบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก โดย การเกิดขึ้น การคร่ำคร่า และแตกพังไป. ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะอรรถว่า รบกวน. อธิบายว่า ทำอนัตถพินาศให้เกิดครอบงำ ท่วมทับไว้. คำว่า อุปัทวะนี้เป็นชื่อของหัวฝีคือราคะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณ เหล่านี้ ก็ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะนำมาซึ่งความพินาศคือการไม่รู้แจ้งพระนิพพานเป็นเหตุ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งโดยรอบแห่งอุปัทวกรรมทุกชนิด. ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านี้ ทำความกระสับกระส่ายเพราะกิเลสให้เกิด ทำความไม่มีโรคกล่าวคือศีล หรือความโลภให้เกิดขึ้น ปล้นเอาความไม่ มีโรคซึ่งเป็นไปตามปกติ ฉะนั้น กามคุณเหล่านั้นจึงชื่อว่าดุจโรค เพราะ อรรถว่า ปล้นความไม่มีโรคนี้. อนึ่ง ชื่อว่าดุจลูกศร เพราะอรรถว่า เข้าไปเรื่อยๆ ในภายใน เพราะอรรถว่า เสียบเข้าในภายใน และเพราะ อรรถว่า ถอนออกยาก. ชื่อว่าเป็นภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในปัจจุบันและ ภัยในภายหน้า. ชื่อว่า เมตํ เพราะตัดบทออกเป็น เม เอตํ. คำที่เหลือใน คาถานี้ปรากฏชัดแล้ว. แม้คำสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาอีติคาถา

พรรณนาสีตาลุกคาถา

คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่าสีตาลุกพรหมทัต พระราชานั้นทรงผนวชแล้วอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยหญ้าในป่า ก็ในสถานที่นั้น ในฤดูหนาวก็หนาวจัด ในฤดูร้อนก็ร้อนจัด เพราะเป็น

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 343

สถานที่โล่งแจ้ง. ในโคจรคาม ก็ไม่ได้ภิกษาเพียงพอแก่ความต้องการ แม้น้ำดื่มก็หาได้ยาก. ทั้งลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานก็เบียดเบียน พระราชานั้นได้มีพระดำริดังนี้ว่า ในที่ประมาณกึ่งโยชน์จากที่นี้ไป มีถิ่น ที่สมบูรณ์ อันตรายอันเบียดเบียนเหล่านั้นแม้ทุกชนิดก็ไม่มี ในถิ่นที่นั้น ถ้ากระไรเราพึงไปในถิ่นที่นั้น เราอยู่ผาสุกอาจได้บรรลุความสุข. พระองค์ได้ทรงดำริต่อไปอีกว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นผู้มักมาก ในปัจจัย และย่อมทำจิตเห็นปานนี้ ให้อยู่ในอำนาจของตนได้ ย่อมไม่ ตกอยู่ในอำนาจของจิต เราจักไม่ไปละ ครั้นทรงพิจารณาอย่างนี้แล้ว จึงไม่เสด็จไป. พระองค์ทรงพิจารณาจิตที่เกิดขึ้นอย่างนี้จนถึงครั้งที่สาม ทำจิตให้กลับแล้ว แต่นั้นพระองค์ก็ประทับอยู่ในที่เดิมนั่นแหละ ถึง ๗ พรรษา ปฏิบัติชอบอยู่ กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ ตรัสอุทานคาถานี้ แล้วได้เสด็จไปยังเงื้อมเขานนัทมูลกะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีตญฺจ ความว่า ความหนาวมี ๒ อย่าง คือความหนาวมีธาตุภายในกำเริบเป็นปัจจัย และความหนาวมีธาตุภายนอก กำเริบเป็นปัจจัย. แม้ความร้อนก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน. แมลงวันสีน้ำตาล ชื่อว่าเหลือบ. บทว่า สิรึสปา ความว่า ทีฆชาติชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่ง เลื้อยคลานไป. คำที่เหลือปรากฏชัดแล้ว. แม้บทสรุปพึงทราบโดยนัย ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณาสีตาลุกคาถา

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 344

พรรณนานาคคาถา

คาถาว่า นาโคว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี มีพระราชาองค์หนึ่งครองสมบัติอยู่ ๒๐ ปี สวรรคตแล้วไหม้อยู่ในนรก ๒๐ ปีเหมือนกัน แล้วเกิดในกำเนิด ช้างในหิมวันตประเทศ มิสกนธ์กายเกิดพร้อมแล้ว มีร่างกายทั้งสิ้นดุจสี ปทุม ได้เป็นช้างใหญ่จ่าโขลงตัวประเสริฐ. เฉพาะลูกช้างทั้งหลายย่อม กินกิ่งไม้หักที่ช้างนั้นหักลงแล้วๆ แม้ในการหยั่งลงน้ำ พวกช้างพังก็เอา เปือกตมมาไล้ทาช้างนั้น. เรื่องทั้งหมดได้เป็นเหมือนเรื่องของช้างปาลิ- ไลยกะ. ช้างนั้นเบื่อหน่ายจึงหลีกออกไปจากโขลง. แต่นั้น โขลงช้างก็ ติดตามช้างนั้นไปตามแนวของรอยเท้า. ช้างนั้นแม้หลีกไปอย่างนั้นถึงครั้ง ที่ ๓ โขลงช้างก็ยังติดตามอยู่นั่นแหละ. ลำดับนั้น ช้างนั้นจึงคิดว่า บัดนี้ หลานของเราครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ถ้ากระไรเราพึง ไปยังอุทยาน ตามชาติกำเนิดอันมีในก่อนของตน หลานนั้นจักรักษาเรา ไว้ในอุทยานนั้น. ลำดับนั้น เมื่อโขลงช้างพากันหลับในตอนกลางคืน ช้างนั้นจึงละโขลงเข้าไปยังอุทยานนั้นนั่นแหละ. พนักงานรักษาอุทยาน เห็นเข้า จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงแวดล้อมด้วยเสนา โดย หวังพระทัยว่าจักจับช้าง. ช้างบ่ายหน้าไปเฉพาะพระราชา. พระราชา ทรงดำริว่า ช้างมาตรงหน้าเรา จึงผูกสอดลูกศรประทับยืนอยู่. ลำดับนั้น ช้างคิดว่า พระราชานี้คงจะยิงเรา จึงกล่าวด้วยถ้อยคำมนุษย์ว่า ข้าแต่ ท่านพรหมทัต พระองค์อย่ายิงข้าพระองค์เลย ข้าพระองค์เป็นพระอัยกา ของพระองค์. พระราชาตรัสว่า ท่านพูดอะไร แล้วตรัสถามเรื่องราว ทั้งปวง. ฝ่ายช้างก็กราบทูลเรื่องทั้งปวงในราชสมบัติ ในนรก และใน

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 345

กำเนิดช้าง. ให้ทรงทราบ. พระราชาตรัสว่า ดีละ ท่านอย่ากลัว และอย่าให้ ใครๆ กลัว แล้วให้เข้าไปตั้งเสบียง คนอารักขา และสิ่งของสำหรับช้าง แก่ช้าง.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จบนคอช้างตัวประเสริฐทรงดำริว่า พระอัยกานี้ครองราชสมบัติอยู่ ๒๐ ปี แล้วไหม้ในนรก แล้วเกิดใน กำเนิดดิรัจฉานด้วยเศษแห่งวิบากที่เหลือ แม้ในกำเนิดนั้นก็อดกลั้นการ กระทบกระทั่งในการอยู่เป็นหมู่คณะไม่ได้ จึงมาที่นี้. โอ! การอยู่เป็นหมู่ คณะลำบากหนอ. แต่ความเป็นผู้เดียวอยู่เป็นสุขแล. จึงทรงเริมวิปัสสนา บนคอช้างนั้นนั่นเอง ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว.พระราชา นั้นทรงมีความสุขด้วยโลกุตรสุข พวกอำมาตย์เข้าไปหมอบกราบแล้ว ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้เวลาเสด็จไปแล้ว พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า เราไม่ได้เป็นพระราชา แล้วได้ตรัสคาถานี้ โดยนัยอัน มีในก่อนนั่นแล. คาถานั้น ว่าโดยอรรถแห่งบท ปรากฏชัดแล้ว.

ก็ในที่นี้ ประกอบคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้. ก็คาถานั้นท่านกล่าว โดยความถูกต้อง มิใช่กล่าวตามที่ได้ฟังกันมา. ช้างนี้ชื่อว่านาคะ เพราะ ไม่มาสู่ภูมิที่ตนยังมิได้ฝึก เพราะเป็นผู้ฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยะ ใคร่หรือเพราะเป็นผู้มีร่างกายใหญ่โต ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหนๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ชื่อว่านาค เพราะไม่มาสู่ภูมิที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะ เป็นผู้ฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยเจ้าใคร่ เพราะไม่กระทำบาป และ เพราะไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก หรือเพราะเป็นผู้มีสรีระคุณใหญ่. อนึ่ง ช้างนี้ละโขลง อยู่ในป่าตามความชอบใจ ด้วยความสุขในความเป็นผู้เดียว เที่ยวไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหนๆ

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 346

แม้เราก็ฉันนั้น พึงเว้นหมู่คณะเสีย อยู่ในป่าตามความชอบใจด้วยความ สุขในการอยู่ผู้เดียว คืออาศัยในป่าตลอดกาลที่ปรารถนา โดยประการที่ จะมีความสุขแก่ตน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด อธิบายว่า พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็น ผู้มีขันธ์ซึ่งตั้งอยู่ถูกที่ใหญ่โต ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหนๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น เป็นผู้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็นผู้มีขันธ์คือกองแห่งศีลอันเป็น ของพระอเสขะอันยิ่งใหญ่. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่าปทุมี มีสีเหมือนปทุม เพราะ มีตัวเช่นกับปทุม หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างปทุม ฉันใด ชื่อว่าใน กาลไหนๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ชื่อว่าปทุมี เพราะเป็นผู้ซื่อตรง เช่นกับปทุม หรือเพราะเป็นผู้เกิดในปทุมคืออริยชาติ. อนึ่ง ช้างนี้เป็น ผู้โอฬารยิ่งด้วยเรี่ยวแรงและกำลังเป็นต้น ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหนๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์ เป็นต้น หรือด้วยศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลสเป็นต้น. เราคิดอยู่อย่างนี้ จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วได้บรรลุพระปัจเจกสัมโพธิญาณ ฉะนี้แล.

จบพรรณนานาคคาถา

พรรณนาอัฏฐานคาถา

คาถาว่า อฏฺาน ตํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า โอรสของพระเจ้าพาราณสียังทรงเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี พระประสงค์จะผนวช จึงทูลอ้อนวอนพระชนกชนนี. พระชนกชนนีทรง

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 347

ห้ามพระโอรสนั้น. พระโอรสนั้นแม้จะถูกห้ามก็ยังทรงรบเร้าอยู่นั่นแหละว่า จักบวช. แต่นั้น พระชนกชนนีได้ตรัสคำทั้งปวงแล้วทรงอนุญาต เหมือน บุตรเศรษฐีที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น. และทรงให้พระโอรสปฏิญาณว่า บวช แล้วต้องอยู่ในพระอุทยานเท่านั้น. พระโอรสได้ทรงการทำอย่างนั้นแล้ว. พระมารดาของพระองค์ทรงห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนาง เสด็จไป พระอุทยานแต่เช้าตรู่ ให้พระโอรสดื่มยาคู และในระหว่างก็ทรงให้เคี้ยว ของควรเคี้ยวเป็นต้น ทรงสนทนาอยู่กับพระโอรสนั้นจนกระทั่งเที่ยง จึง เสด็จเข้าพระนคร. ฝ่ายพระบิดาก็เสด็จมาในเวลาเที่ยง ให้พระโอรสนั้น เสวย แม้พระองค์ก็เสวยด้วย ทรงสนทนากับพระโอรสนั้นตลอดวัน ใน เวลาเย็น ทรงวางคนผู้ปรนนิบัติไว้ แล้วเสด็จเข้าพระนคร. พระโอรส นั้นไม่เงียบสงัดอยู่ตลอดทั้งวันและคืนด้วยประการอย่างนี้.

ก็สมัยนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอาทิจจพันธุ์ อยู่ใน เงื้อมเขานันทมูลกะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงรำพึงอยู่ได้เห็น พระกุมารนั้นว่า กุมารนี้อาจบวชได้ แต่ไม่อาจตัดชัฏได้. เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงรำพึงต่อไปว่า พระกุมารจักเบื่อหน่ายโดยธรรมดาของตนได้หรือ ไม่หนอ. ลำดับนั้น ทราบว่า พระกุมารเมื่อทรงเบื่อหน่ายเองโดยธรรมดา จักเป็นเวลานานมาก จึงดำริว่า เราจักให้อารมณ์แก่พระกุมารนั้นดังนี้ แล้วมาจากพื้นมโนศิลาโดยนัยก่อน แล้วได้ยืนอยู่ในอุทยาน. บริษัท ของพระราชาเห็นเข้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เสด็จมา. พระราชาทรงมีพระทัยปราโมทย์ว่า บัดนี้โอรสของเราจะไม่ รำคาญ จักอยู่กับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงทรงอุปัฏฐากพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าโดยเคารพ แล้วขอให้อยู่ในอุทยานั้น รับสั่งให้กระทำทุกสิ่ง

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 348

มีบรรณศาลา ที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้น เสร็จแล้วนิมนต์ให้อยู่. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ในที่นั้น วันหนึ่งได้โอกาสจึงถามพระกุมาร ว่าพระองค์เป็นอะไร? พระกุมารตรัสว่า ข้าพเจ้าเป็นบรรพชิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นผู้เช่นนี้.

ลำดับนั้น เมื่อพระกุมารตรัสว่า ท่านผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลาย เป็นผู้เช่นไร อะไรไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ท่านไม่เพ่งดูการกระทำอันไม่สมควรแก่ท่าน พระมารดาของท่านเสด็จ มาในเวลาเช้า พร้อมกับพวกสตรีสองหมื่นนาง กระทำอุทยานให้ ไม่เงียบสงัด อนึ่ง พระบิดาของท่านก็เสด็จมาพร้อมกับหมู่พลใหญ่ ทำ ให้ไม่เงียบสงัดในตอนเย็น บริษัทผู้ปรนนิบัติทำให้ไม่เงียบสงัดตลอด ราตรีทั้งสิ้น มิใช่หรือ ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นเช่นกับท่าน แต่ท่านเป็นผู้เป็นเช่นนี้ ดังนี้แล้วแสดงธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในหิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์แก่พระกุมาร ผู้ยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละ. พระกุมารเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในหิมวันตประเทศนั้น ผู้ยืน พิงแผ่นกระดานสำหรับยึด ผู้กำลังจงกรม และผู้กำลังทำการย้อม และการเย็บเป็นต้น จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่ได้มาในที่นี้ แต่ การบรรพชาท่านทั้งหลายอนุญาตแล้ว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า เจริญพร ท่านอนุญาตการบรรพชาจำเดิมแต่กาลที่บวชแล้ว ชื่อว่าสมณะ ทั้งหลายย่อมได้เพื่อจะกระทำการออกไปจากทุกข์แก่ตน และเพื่อจะไปยัง ถิ่นที่ต้องการที่ปรารถนา กรรมมีประมาณเท่านี้แหละย่อมควร ครั้นกล่าว แล้วจึงยืนอยู่ในอากาศ กล่าวกึ่งคาถานี้ว่า ข้อที่จะได้สัมผัสวิมุตติอันเกิด

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 349

ขึ้นในสมัยนั้น มิใช่ฐานะของผู้ยินดีในการคลุกคลีดังนี้ เป็นผู้ที่ใครๆ ยังเห็นอยู่นั้นแล ได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะทางอากาศ.

เมื่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสด็จไปอย่างนั้นแล้ว พระกุมารนั้นเสด็จ เข้าไปยังบรรณศาลาของตนแล้วก็นอน. ฝ่ายบุรุษผู้อารักขาประมาทเสียว่า พระกุมารนอนแล้ว บัดนี้จักไปไหนได้ จึงก้าวลงสู่ความหลับ. พระกุมารรู้ว่าบุรุษนั้นประมาทแล้ว จึงถือบาตรจีวรเข้าไปป่า. ก็พระกุมารนั้น ยืนอยู่ในที่นั้นเริ่มวิปัสสนา กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้วไป ยังสถานที่ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. และในที่นั้น ถูกถามว่า บรรลุ ได้อย่างไร จึงกล่าวกึ่งคาถาที่พระอาทิจจพันธุปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวไว้ ให้ครบบริบูรณ์.

ความของคาถานั้นว่า บทว่า อฏฺาน ตํ ตัดเป็น อฏฺานํ ตํ ท่านอธิบายว่า อการณํ ตํ แปลว่า ข้อนั้นมิใช่เหตุ. ท่านลบนิคคหิต. เหมือนในคำมีอาทิว่า อริยสจฺจาน ทสฺสนํ ดังนี้. บทว่า สงฺคณิการตสฺส แปลว่า ผู้ยินดีในหมู่คณะ. บทว่า ยํ เป็นคำกล่าวเหตุ ดุจใน คำมีอาทิว่า ยํ หิรียติ หิรียิตพฺเพน แปลว่า เพราะละอายด้วยสิ่งที่ควร ละอาย. บทว่า ผสฺเส ได้แก่ พึงบรรลุ. บทว่า สามยิกํ วิมุตฺตึ ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ สมาบัติอันเป็นฝ่ายโลกิยะนั้น ท่านเรียกว่า สามยิกา วิมุตฺติ เพราะหลุดพ้นจากข้าศึกทั้งหลายในสมัยที่แน่วแน่ๆ เท่านั้น. ซึ่ง สามยิกวิมุตติ นั้น. พระกุมารตรัสว่า เราใคร่ครวญคำ ของพระอาทิจจพันธุปัจเจกสัมพุทธเจ้าดังนี้ว่า บุคคลพึงบรรลุวิมุตติด้วย เหตุใด เหตุนั้นมิใช่ฐานะ คือเหตุนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ยินดีในการคลุกคลี

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 350

ดังนี้ จึงละความยินดีในการคลุกคลี ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาอัฏฐานคาถา

จบวรรคที่ ๒

พรรณนาทิฏฐิวิสูกคาถา

คำว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งไปในที่ลับแล้วทรงดำริว่า ความ ร้อนเป็นต้นอันกำจัดความหนาวเป็นต้น มีอยู่ฉันใด วิวัฏฏะอันกำจัดวัฏฏะ มีอยู่ฉันนั้นหรือไม่หนอ. พระองค์จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวก ท่านรู้จักวิวัฏฏะไหม? อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า รู้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า วิวัฏฏะนั้นคืออะไร? แต่นั้นอำมาตย์ ทั้งหลายจึงกล่าวถึงความเที่ยงและความขาดสูญ โดยนัยมีอาทิว่า โลกมี ที่สุด. พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์พวกนี้ไม่รู้ อำมาตย์พวกนี้ทั้งหมด เป็นไปในคติของทิฏฐิ ทรงเห็นความที่พระองค์เองทรงเป็นที่ขัดกัน และไม่เหมาะสมกันแก่อำมาตย์เหล่านั้น แล้วทรงดำริว่า วิวัฏฏะอันกำจัด วัฏฏะย่อมมี ควรแสวงหาวิวัฏฏะนั้น จึงทรงละราชสมบัติออกผนวชเจริญ วิปัสสนาอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว. ได้ตรัสอุทาน คาถานี้ และพยากรณ์คาถา ในท่ามกลางพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ความของคาถานั้นว่า บทว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒. จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึก เพราะ

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 351

อรรถว่า เป็นเครื่องแทง และเพราะอรรถว่า ทวนต่อมรรคสัมมาทิฏฐิ เมื่อ เป็นอย่างนั้น ข้าศึกของทิฏฐิ หรือข้าศึกคือทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐีวิสูกะ. บทว่า อุปาติวตฺโต แปลว่า ก้าวล่วงแล้วด้วยมรรคคือทัสสนะ. บทว่า ปตฺโต นิยามํ ความว่า บรรลุถึงนิยตภาวะความเป็นผู้แน่นอน โดยความเป็น ผู้ไม่ตกไปเป็นธรรมดา และโดยความเป็นผู้มีสัมโพธิญาณเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า อีกอย่างหนึ่ง บรรลุปฐมมรรคกล่าวคือสัมมัตตนิยาม. ท่าน กล่าวความสำเร็จกิจในปฐมมรรค และการได้เฉพาะปฐมมรรคนั้น ด้วย ลำดับคำมีประมาณเท่านี้. บัดนี้ ท่านแสดงการได้เฉพาะมรรคที่เหลือ ด้วย คำว่า ปฏิลทฺธมคฺโค นี้. บทว่า อุปฺปนฺนาโณมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้ มีพระปัจเจกสัมโพธิญาณเกิดขึ้นแล้ว. ท่านแสดงผล ด้วยบทว่า อุปฺปนฺนาโณมฺหิ นี้. บทว่า อนญฺเนยฺโย ความว่า อันคนเหล่าอื่นไม่ต้อง แนะนำว่า นี้จริง. ท่านแสดงความเป็นพระสยัมภู ด้วยบทว่า อนญฺ- เนยฺโย นี้. อีกอย่างหนึ่ง แสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญเอง เพราะไม่ มีความเป็นผู้อันคนอื่นจะพึงแนะนำในพระปัจเจกสัมโพธิญาณที่ได้บรรลุ แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เป็นไปล่วงข้าศึกคือทิฏฐิ ด้วยสมถะและ วิปัสสนา บรรลุถึงความแน่นอน ด้วยมรรคเบื้องต้น มีมรรคอันได้แล้ว ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ด้วยผลญาณ ชื่อว่าอันคน อื่นไม่ได้แนะนำ เพราะได้บรรลุธรรมทั้งหมดนั้นด้วยตนเอง. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

จบพรรณนาทิฏกฐีวิสูกคาถา

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 352

พรรณนานิลโลลุปคาถา

คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พ่อครัวของพระเจ้าพาราณสีหุงพระกระยาหารในระหว่าง (เสวย) เห็นเป็นที่พอใจมีรสอร่อย แล้วน้อมเข้าไปถวายด้วยหวังใจว่า ชื่อแม้ไฉน พระราชาคงจะประทานทรัพย์ให้แก่เรา. พระกระยาหารนั้น โดยเฉพาะกลิ่นเท่านั้น ก็ทำความเป็นผู้ใคร่เสวยให้เกิดแก่พระราชา ทำ พระเขฬะในพระโอฐให้เกิดขึ้น ก็เมื่อคำข้าวคำแรกสักว่าใส่เข้าในพระโอฐ เอ็นหมื่นเจ็ดพันเอ็นได้เป็นประหนึ่งน่าอมฤตถูกต้องแล้ว. พ่อครัวคิดว่า จักประทานเราเดี๋ยวนี้ จักประทานเราเดี๋ยวนี้. ฝ่ายพระราชาทรงดำริว่า พ่อครัวสมควรแก่การสักการะ. แล้วทรงดำริต่อไปว่า ก็เราได้ลิ้มรสแล้ว สักการะ เกียรติศัพท์อันเลวก็จะแพร่ไปว่า พระราชาองค์นี้เป็นคนโลภ หนักในรส ดังนี้ จึงมิได้ตรัสคำอะไรๆ. เมื่อเป็นอย่างนั้น พ่อครัว ก็ยังคงคิดอยู่ว่า ประเดี๋ยวจักประทาน ประเดี๋ยวจักประทาน จนกระทั่ง เสวยเสร็จ. ฝ่ายพระราชาก็มิได้ตรัสอะไรๆ เพราะกลัวต่อการติเตียน. ลำดับนั้น พ่อครัวคิดว่า ชิวหาวิญญาณของพระราชานี้ เห็นจะไม่มี ในวันที่สอง จึงน้อมพระกระยาหารอันมีรสไม่อร่อยเข้าไปถวาย. พระราชาพอได้เสวยแม้ทรงทราบอยู่ว่า แน่ะผู้เจริญ วันนั้นพ่อครัวควรแก่ การตำหนิหนอ แต่ก็ทรงพิจารณาเหมือนในครั้งก่อน จึงมิได้ตรัสอะไรๆ เพราะกลัวการติเตียน. ลำดับนั้นพ่อครัวคิดว่า พระราชา ดีก็ไม่ทรงทราบ ไม่ดีก็ไม่ทรงทราบ จึงถือเอาเครื่องเสบียงทุกชนิดด้วยตัวเอง แล้วหุง ต้มเฉพาะบางอย่างถวายพระราชา. พระราชาทรงพระดำริว่า โอหนอ ความโลภ ชื่อว่าเราผู้กินบ้านเมืองถึงสองหมื่นเมือง ยังไม่ได้แม้สักว่า

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 353

ข้าวสวย เพราะความโลภของพ่อครัวนี้ ทรงเบื่อหน่ายละราชสมบัติออก ผนวชเห็นแจ้งอยู่ ได้ทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ ได้ตรัสคาถานี้ โดยนัยก่อนนั่นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิลฺโลลุโป แปลว่า ไม่มีความโลภ. จริงอยู่ บุคคลใด ถูกความอยากในรสครอบงำ บุคคลนั้นย่อมโลภจัด โลภแล้วๆ เล่าๆ.เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โลลุปะ ผู้โลภ. เพราะฉะนั้น พระราชานี้เมื่อจะทรงห้ามความเป็นผู้ถูกเรียกว่าเป็นคนโลภ จึง ตรัสว่า นิลโลลุปะ ผู้ไม่มีความโลภ. ในบทว่า นิกฺกุโห นี้ มีอธิบาย ดังต่อไปนี้. เรื่องสำหรับหลอกลวง ๓ อย่าง ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านเรียกว่า ผู้ไม่หลอกลวง ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในคาถานี้ ชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง เพราะไม่ถึงความประหลาดใจในโภชนะอันเป็นที่พอใจเป็นต้น. ในบทว่า นิปฺปิปาโส นี้ ความอยากจะดื่ม ชื่อว่าความกระหาย, ชื่อว่าผู้ไม่ กระหาย เพราะไม่มีความอยากจะดื่มนั้น อธิบายว่า ผู้เว้นจากความ ประสงค์จะบริโภคเพราะความโลภในรสอร่อย. ในบทว่า นิมฺมกโข นี้ มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน มีลักษณะทำคุณความดีของคนอื่นให้ฉิบหาย. ชื่อว่าผู้ไม่มีความลบหลู่คูณท่าน เพราะไม่มีมักขะนั้น. ท่านกล่าวหมายเอา ความไม่มีการลบหลู่คุณของพ่อครัว ในคราวที่พระองค์ทรงเป็นคฤหัสถ์. ในบทว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห นี้ ธรรม ๖ ประการ คือกิเลส ๓ มีราคะ เป็นต้น และทุจริต ๓ มีกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่า กสาวะ น้ำฝาด เพราะอรรถว่า ไม่ผ่องใสตามที่เกิดมี เพราะอรรถว่า ให้ละภาวะของตน แล้ว ให้ถือภาวะของผู้อื่น และเพราะอรรถว่า ดุจตะกอน. เหมือนดังท่าน กล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 354

บรรดาธรรมเหล่านั้น กิเลสดุจน้ำฝาด ๓ เป็นไฉน? กิเลส ดุจน้ำฝาก ๓ เหล่านี้ คือกิเลสดุจน้ำฝาดคือราคะ โทสะ และโมหะ บรรดาธรรมเหล่านั้น กิเลสดุจน้ำฝาด ๓ แม้อื่น อีกเป็นไฉน? คือกิเลสดุจน้ำฝาดทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ ดังนี้.

บรรดากิเลสดุจน้ำฝาดเหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีโมหะดุจน้ำฝาดอันขจัด แล้ว เพราะเป็นผู้ขจัดกิเลสดุจน้ำฝาด ๓ เว้นโมหะ และเพราะเป็นผู้ ขจัดโมหะอันเป็นมูลรากของกิเลสดุจน้ำฝาดทั้งหมดนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้มีโมหะดุจน้ำฝาดอันขจัดแล้ว เพราะเป็นผู้ขจัดกิเลสดุจน้ำฝาด ทางกาน วาจา ใจ ๓ นั่นแหละ และชื่อว่าเป็นผู้มีโมหะ. อันขจัดแล้ว เพราะเป็นผู้ขจัดโมหะแล้ว. บรรดากิเลสดุจน้ำฝาดนอกนี้ ความ ที่กิเลสดุจน้ำฝาดคือราคะถูกขจัด สำเร็จแล้วด้วยความเป็นผู้ไม่มีความโลภ เป็นต้น ความที่กิเลสดุจน้ำฝาดคือโทสะถูกขจัด สำเร็จแล้วด้วยความเป็น ผู้ไม่มีการลบหลู่คุณท่าน. บทว่า นิราสโย แปลว่า ผู้ไม่มีตัณหา. บทว่า สพฺพโลเก ภวิตฺวา ความว่า เป็นผู้เว้นจากภวตัณหาและวิภวตัณหาใน โลกทั้งสิ้น คือในภพทั้ง ๓ หรือในอายตนะ ๑๒. คำที่เกลือพึงทราบ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง กล่าวบาททั้ง ๓ แล้วพึงทำการ เชื่อมความในบทว่า เอโก จเร นี้ แม้อย่างนี้ว่า พึงอาจเป็นผู้เดียว เที่ยวไป ดังนี้.

จบพรรณนานิลโลลุปคาถา

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 355

พรรณนาปาปสหายคาถา

คาถาว่า ปาปํ สหายํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในพระนครพาราณสี ทรงทำประทักษิณ พระนครด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง ทรงเห็นคนทั้งหลายนำข้าวเปลือก เก่าเป็นต้นออกจากฉางไปภายนอก จึงตรัสถามอำมาตย์ว่า พนาย นี้ อะไรกัน? เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัดนี้ข้าว เปลือกใหม่เป็นต้นจักเกิดขึ้น คนเหล่านี้จึงทิ้งข้าวเปลือกเก่าเป็นต้นเสีย เพื่อจะทำที่ว่างแก่ข้าวเปลือกใหม่เป็นต้นเหล่านั้น. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย เสบียงของพวกหมู่พลในตำหนักในฝ่ายหญิงเป็นต้น ยังเต็ม บริบูรณ์อยู่หรือ. เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ยังเต็ม บริบูรณ์อยู่พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่าน ทั้งหลายจงก่อสร้างโรงทาน เราจักให้ทาน ข้าวเปลือกเหล่านี้จงอย่าได้ เสียหายไปโดยไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลเลย. ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้มีคติใน ความเห็นผิดคนหนึ่งปรารภว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทานที่ให้แล้วไม่มี ผลดังนี้ แล้วจึงกราบทูลพระราชาต่อไปว่า คนทั้งที่เป็นพาลและเป็น บัณฑิต แล่นไป ท่องเที่ยวไป จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง ดังนี้แล้ว ทูลห้ามเสีย. พระราชาทรงเห็นคนทั้งหลายแย่งฉางข้าวกันแม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม ก็ตรัสสั่งเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ครั้งที่สาม อำมาตย์ ผู้มีคติในความเห็นผิดแม้นั้น ก็กล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทานนี้คนโง่บัญญัติ แล้วทูลห้ามพระราชานั้น. พระองค์ตรัสว่า แน่ะเจ้า แม้ของของเราก็ไม่ได้เพื่อจะให้หรือ เราจะได้ประโยชน์อะไรจากพวก สหายลามกเหล่านี้ ทรงเบื่อหน่าย จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 356

ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. และเมื่อจะทรงติเตียนสหายลามก ผู้นั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้.

เนื้อความย่อแห่งอุทานคาถานั้น มีดังต่อไปนี้. สหายนี้ใดชื่อว่า ผู้ลามก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิลามกอันมีวัตถุ ๑๐ ประการ, ชื่อว่า ผู้มักเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ แม้ของคนเหล่าอื่น และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันไม่สม่ำเสมอมีกาย ทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงงดเว้นสหายผู้ลามกนั้น ผู้มัก เห็นแต่ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันสม่ำเสมอ. บทว่า สยํ น เสเว ได้แก่ ไม่พึงซ่องเสพสหายนั้น ด้วยอำนาจ ของตน. ท่านอธิบายว่า ก็ถ้าคนอื่นมีอำนาจจะอาจทำอะไรได้. บทว่า ปสุตํ ได้แก่ ผู้ขวนขวาย อธิบายว่า ผู้คิดอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ด้วยอำนาจ ทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผู้เว้นจากการทำกุศลให้เจริญ. ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงคบหา ไม่ พึงเข้าไปนั่งใกล้สหายนั้น คือผู้เห็นปานนั้น โดยที่แท้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว ไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.

จบพรรณนาปาปสหายคาถา

พรรณนาพหุสสุตคาถา

คาถาว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

คำทั้งปวงมีอาทิว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อนพระปัจเจกโพธิสัตว์ ๘ องค์ บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรแล้ว

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 357

อุบัติขึ้นในเทวโลกดังนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในอนวัชชโภชีคาถา นั่นแหละ, ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.

พระราชานิมนต์ให้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว จึงตรัส ถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทูลว่า มหาราชเจ้า อาตมาทั้งหลายชื่อว่าพหุสุตะ. พระราชาทรงดำริว่า เรา ชื่อว่าสุตพรหมทัต ย่อมไม่อิ่มการฟัง, เอาเถอะ เราจักฟังธรรมเทศนา ซึ่งมีนัยอันวิจิตรในสำนักของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นดำริ แล้ว ทรงดีพระทัย ถวายน้ำทักษิโณทกแล้วทรงอังคาส ในเวลาเสร็จ ภัตกิจ จึงประทับนั่งในที่ใกล้พระสังฆเถระแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอ ท่านได้โปรดกล่าวธรรมกถาเถิด. ท่านกล่าวว่า ขอมหาราชเจ้า จงทรงมี พระเกษมสำราญ จงมีความสิ้นไปแห่งราคะเถิด แล้วลุกขึ้น. พระราชา ทรงดำริว่า ท่านผู้นี้มิได้เป็นพหูสูต ท่านองค์ที่สองคงจักเป็นพหูสูต, พรุ่งนี้เราจักได้ฟังธรรมเทศนาอันวิจิตรในสำนักของท่าน จึงนิมนต์ฉัน ในวันพรุ่งนี้. พระองค์ทรงนิมนต์จนถึงลำดับแห่งพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทุกองค์ ด้วยประการอย่างนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแม้ทั้งหมดนั้น ก็กล่าวบทที่เหลือให้เป็นเช่นกับองค์ที่ ๑ ทำบทหนึ่งๆ ให้แปลกกัน อย่างนี้ว่า จงสิ้นโทสะเถิด จงสิ้นโมหะเถิด จงสิ้นคติเถิด จงสิ้นภพเถิด จงสิ้นวัฏฏะเถิด จงสิ้นอุปธิเถิด แล้วก็ลุกขึ้น.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า ท่านเหล่านี้กล่าวว่า พวกเราเป็น พหูสูต แต่ท่านเหล่านั้นไม่มีกถาอันวิจิตร ท่านเหล่านั้นกล่าวอะไร จึง ทรงเริ่มพิจารณาอรรถแห่งคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. ครั้น เมื่อทรงพิจารณาอรรถของคำว่า จงสิ้นราคะเถิด จึงได้ทรงทราบว่า

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 358

เมื่อราคะสิ้นไป โทสะก็ดี โมหะก็ดี กิเลสอื่นๆ ก็ดี ย่อมเป็นอันสิ้นไป ได้ ทรงดีพระทัยว่า สมณะเหล่านี้เป็นพหูสูตโดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้เอานิ้วมือชี้มหาปฐพีหรืออากาศ ย่อมเป็นอันชี้เอาพื้นที่ประมาณ เท่าองคุลีเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ ย่อมเป็นอันชี้เอามหาปฐพีทั้งสิ้น อากาศก็เหมือนกัน แม้ฉันใด พระสมณะเหล่านี้ ก็ฉันนั้น เมื่อชี้แจงอรรถ หนึ่งๆ ย่อมเป็นอันชี้แจงอรรถทั้งหลายอันหาปริมาณมิได้. จากนั้น พระองค์ทรงดำริว่า ชื่อว่าในกาลบางคราว แม้เราก็จักเป็นพหูสูตอย่างนั้น เมื่อทรงปรารถนาความเป็นพหูสูตเห็นปานนั้น จึงทรงสละราชสมบัติออก ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ แล้ว ได้ตรัสอุทานคาถานี้.

เนื้อความย่อในอุทานคาถานี้มีดังต่อไปนี้.

บทว่า พหุสฺสุตํ ความว่า พหูสูตมี ๒ อย่าง คือปริยัติพหูสูต ทั้งมวล โดยใจความในพระไตรปิฎก และปฏิเวธพหูสูต โดยแทงตลอด มรรค ผล วิชชา และอภิญญา. ผู้มีอาคมอันมาแล้ว ชื่อว่า ธมฺมธโร ผู้ทรงธรรม, อนึ่ง ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันยิ่งใหญ่ ชื่อว่า อุฬาโร ผู้ยิ่งใหญ่. ผู้มียุตตปฏิภาณ มีมุตตปฏิภาณ และมียุตตมุตตปฏิภาณ ชื่อว่า ปฏิภาณวา ผู้มีปฏิภาณ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓ อย่าง โดยปริยัติ ปริปุจฉาและอธิคม. จริงอยู่ ปริยัติย่อมแจ่มแจ้งแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้มีปริยัติปฏิภาณ แจ่มแจ้งในปริยัติ. การสอบถามย่อมแจ่มแจ้งแก่ผู้ใดซึ่งสอบถามถึงอรรถ ญาณ ลักษณะ ฐานะ และอฐานะ ผู้นั้นเป็นผู้มีปริปุจฉาปฏิภาณ แจ่มแจ้งในการถาม. มรรค

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 359

เป็นต้นอันผู้ใดแทงตลอดแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้มีอธิคมปฏิภาณ แจ่มแจ้งใน การบรรลุ. บุคคลคบมิตรนั้นคือเห็นปานนั้น ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ. แต่นั้นพึงรู้ทั่วถึงประโยชน์มีประการมิใช่น้อย โดย ชนิดประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้งสอง หรือโดยชนิด ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยอานุภาพ ของมิตรนั้น แต่นั้นบรรเทาความกังขา คือบรรเทา ได้แก่ทำให้พินาศไป ซึ่งความลังเลสงสัยในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอาทิว่า ในอดีตกาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ เป็นผู้ทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้ว อย่างนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.

จบพรรณนาพหุสสุตคาถา

พรรณนาวิภูสัฏฐานคาถา

คาถาว่า ขิฑฑํ รตึ ดังนี้เป้นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาพระนามว่า วิภูสกพรหมทัต ในนครพาราณสี เสวยยาคูหรือพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วให้ช่างประดับพระองค์ด้วย เครื่องประดับนานาชนิด แล้วทรงดูพระสรีระทั้งสิ้นในพระฉายใหญ่ ไม่โปรดสิ่งใด ก็เอาสิ่งนั้นออก แล้วให้ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างอื่น. วันหนึ่งเมื่อพระองค์ทรงกระทำอย่างนั้น เวลาเสวยพระกระยาหารเป็น เวลาเที่ยงพอดี. พระองค์ทรงประดับค้างอยู่ จึงทรงเอาแผ่นผ้าพันพระเศียรเสวยแล้ว เสด็จเข้าบรรทมกลางวัน. เมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 360

ทรงกระทำอยู่อย่างนั้นนั่นแลซ้ำอีก พระอาทิตย์ก็ตก. แม้วันที่สอง แม้วันที่สามก็อย่างนั้น. ครั้นเมื่อพระองค์ทรงขวนขวายแต่การประดับ ประดาอยู่อย่างนั้น โรคที่พระปฤษฎางค์ได้เกิดขึ้น พระองค์ได้มีพระดำริ ดังนี้ว่า พุทโธ่เอ๋ย เราแม้เอาเรี่ยวแรงทั้งหมดมาประดับประดาก็ยังไม่พอใจ ในการประดับที่สำเร็จแล้วนี้ ทำความดิ้นรนให้เกิดขึ้น ก็ขึ้นชื่อว่าความ ดิ้นรนเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการไปอบาย เอาเถอะ เราจักข่มความดิ้นรน เสีย จึงทรงสละราชสมบัติออกผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้ง พระปัจเจกสัมโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.

การเล่นและความยินดีในอุทานคาถานั้นได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น. บทว่า กามสุขํ ได้แก่ ความสุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ แม้วัตถุกาม ทั้งหลายท่านก็เรียกว่าสุข เพราะเป็นอารมณ์เป็นต้นของความสุข. เหมือน ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูปเป็นสุข ตกไปตามความสุข มีอยู่ดังนี้. เมื่อเป็น อย่างนั้น ไม่ทำให้พอใจ คือไม่ทำว่าพอละ. ซึ่งการเล่น ความยินดี และความสุขนี้ในโลกพิภพนี้ ได้แก่ ไม่ถือเอาการเล่นเป็นต้นนี้อย่างนี้ว่า เป็นที่อิ่มใจ หรือว่าเป็นสาระ. บทว่า อนเปกฺขมาโน ได้แก่ ผู้มีปกติ ไม่เพ่งเล็งคือไม่มักมาก ไม่มีความอยาก เพราะการไม่ทำให้พอใจนั้น. ในคำว่า วิภูสฏานา วิรโต สจฺจวาที นั้น การประดับมี ๒ อย่าง คือการประดับของคฤหัสถ์ และการประดับของบรรพชิต. การประดับ ด้วยผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้ และของหอมเป็นต้น ชื่อว่าการประดับ ของคฤหัสถ์ การประดับด้วยเครื่องประดับคือบาตรเป็นต้น ชื่อว่าการ ประดับของบรรพชิต. ฐานะที่ประดับก็คือการประดับนั่นเอง. ผู้คลาย

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 361

ความยินดีจากฐานะที่ประดับนั้นด้วยวิรัติ ๓ อย่าง. พึงเห็นเนื้อความ อย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์ เพราะกล่าวคำจริงแท้.

จบพรรณนาวิภูสัฏฐานคาถา

พรรณนาปุตตทารคาถา

คาถาว่า ปุตฺตญฺจ ทารํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า โอรสของพระเจ้าพาราณสี ทรงอภิเษกครองราชสมบัติ ในเวลายังทรงเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว. พระองค์เสวยสิริราชสมบัติ ดุจพระปัจเจกโพธิสัตว์ที่กล่าวแล้วในคาถาที่หนึ่ง วันหนึ่งทรงดำริว่า เราครอง ราชสมบัติอยู่ ย่อมกระทำความทุกข์ให้แก่คนเป็นอันมาก เราจะประโยชน์อะไรด้วยบาปนี้ เพื่อต้องการภัตมื้อเดียว เอาเถอะ เราจะทำความ สุขให้เกิดขึ้น จึงทรงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรง ทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะทั้งหลายมีแก้ว มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินและทอง เป็นต้น. บทว่า ธญฺานิ ได้แก่ บุพพัณชาติ ๗ ชนิด มีข้าวสาลี ข้าว เปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้ เป็นต้น และอปรัณชาติที่เหลือ (มีถั่ว งา เป็นต้น). บทว่า พนฺธวานิ ได้แก่ เผ่าพันธุ์ ๔ อย่าง มีเผ่าพันธุ์คือญาติ เผ่าพันธุ์คือโคตร เผ่าพันธุ์

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 362

คือมิตรและเผ่าพันธุ์คือศิลป. บทว่า ยโถธิกานิ ได้แก่ ซึ่งตั้งอยู่ตามเขต ของตนๆ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาปุตตทารคาถา

พรรณนาสังคคาถา

คาถาว่า สงฺโค เอโส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า ปาทโลลพรหมทัต พระองค์เสวยยาคูและพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วทอด พระเนตรละคร ๓ อย่าง ในปราสาททั้ง ๓. การฟ้อนชื่อว่ามี ๓ อย่าง คือการฟ้อนอันมาจากพระราชาองค์ก่อน ๑ การฟ้อนอันมาจากพระราชา ต่อมา ๑ การฟ้อนอันตั้งขึ้นในกาลของตน ๑. วันหนึ่ง พระองค์เสด็จ ไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนสาวแต่เช้าตรู่. หญิงฟ้อนเหล่านั้นคิดว่า จักทำ พระราชาให้ยินดี จึงพากันประกอบการฟ้อน การขับ และการประโคม เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง ประดุจนางอัปสรประกอบถวายแก่ท้าวสักกะผู้ เป็นจอมเทวดาฉะนั้น. พระราชาไม่ทรงยินดีด้วย ดำริว่า นี้ไม่น่าอัศจรรย์ สำหรับคนสาว จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนปูนกลาง. หญิงฟ้อน แม้เหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. พระองค์ก็ไม่ทรงยินดี เหมือนอย่างนั้น แม้ในหญิงฟ้อนปูนกลางนั้น จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มี หญิงฟ้อนเป็นคนแก่. แม้หญิงฟ้อนเหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. พระราชาทรงเห็นการฟ้อนเสมือนกระดูกเล่นแสดง และได้ทรงฟังการขับ

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 363

ไม่ไพเราะ เพราะหญิงฟ้อนเหล่านั้นเป็นไปล่วง ๒ - ๓ ชั่วพระราชาแล้ว จึงเป็นคนแก่ จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มีหญิงฟ้อนสาวๆ ซ้ำอีก แล้ว เสด็จไปยังปราสาทที่มีหญิงปูนกลางช้ำอีก พระองค์ทรงเที่ยวไปแม้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่ทรงยินดีในปราสาทไหนๆ จึงทรงดำริว่า หญิง ฟ้อนเหล่านี้ ประสงค์จะยังเราให้ยินดี จึงเอาเรี่ยวแรงทั้งหมดประกอบ การฟ้อน การขับ และการประโคม ประดุจนางอัปสรทั้งหลาย ประสงค์ จะให้ท้าวสักกะจอมเทวดาทรงยินดี จึงประกอบถวายฉะนั้น. เรานั้นไม่ ยินดีในที่ไหนๆ ทำให้รกโลก. ก็ขึ้นชื่อว่าความโลภนี้ เป็นธรรมที่ตั้ง แห่งการไปสู่อบาย เอาเถอะ เราจักข่มความโลภเสีย จึงสละราชสมบัติ แล้วทรงผนวช เจริญวิปัสสนาแล้วได้ทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้ ตรัสอุทานคาถานี้.

เนื้อความแห่งอุทานคาถานั้นว่า :- พระราชาทรงชี้แจงเครื่องใช้ สอยของพระองค์ด้วยบทว่า สงฺโค เอโส นี้. เพราะเครื่องใช้สอยนั้น ชื่อว่า สังคะ เพราะเป็นที่ข้องอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ดุจช้างเข้าไป (ติด) อยู่ในเปือกตมฉะนั้น. ในบทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ นี้ ความสุขชื่อว่า นิดหน่อย เพราะอรรถว่า ต่ำช้า โดยจะต้องให้เกิดขึ้นด้วยสัญญาวิปริต ในเวลาใช้สอยกามคุณ ๕ หรือโดยนับเนื่องในธรรมอันเป็นกามาวจร คือเป็นของชั่วครู่เหมือนความสุขในการเห็นการฟ้อนด้วยแสงสว่างแห่งแสง ฟ้าแลบ อธิบายว่า เป็นไปชั่วคราว. ก็ในบทว่า อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมเวตฺถ ภิยฺโย นี้ ความยินดีใดที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นใด นี้เป็นความยินดีในกามทั้งหลาย ความยินดีนั้น คือทุกข์ ในความเกี่ยวข้องนี้ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 364

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษของกามทั้งหลายเป็นอย่างไร? ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในพระศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยฐานะแห่งศิลปะ ใด คือด้วยการตีตรา หรือด้วยการคำนวณดังนี้ ว่าด้วยการเทียบเคียงกัน ทุกข์นั้นมีน้อย ประมาณเท่าหยาดน้ำ โดยที่แท้ ทุกข์เท่านั้นมีมากยิ่ง เช่นกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในความ เกี่ยวข้องนี้ มีความยินดีน้อย ทุกข์เท่านั้นมากยิ่ง. บทว่า คโฬ เอโส ความว่า ความเกียวข้องคือกามคุณ ๕ นี้ เปรียบดังเบ็ด โดยแสดงความ ยินดีแล้วฉุดลากมา. บทว่า อิติ ตฺวา มติมา ความว่า บุรุษผู้มีความรู้ คือ เป็นบัณฑิต รู้อย่างนี้แล้ว พึงละความเกี่ยวข้องทั้งหมดนั้นแล้วเที่ยว ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.

จบพรรณนาสังคคาถา

พรรณนาสันทาลคาถา

คาถาว่า สนฺทาลยิตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า อนิวัตตพรหมทัต พระราชานั้นเข้าสู่สงความไม่ชนะ หรือทรงปรารภกิจอื่นไม่ สำเร็จจะไม่กลับมา. เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้จักพระองค์อย่างนั้น. วันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปพระราชอุทยาน.

ก็สมัยนั้น ไฟป่าเกิดขึ้น ไฟนั้นไหม้ไม้แห้งและหญ้าสดเป็นต้น ลามไปไม่กลับเลย. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงทรงทำนิมิตอันมีไฟป่าน

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 365

นั้นเป็นเครื่องเปรียบให้เกิดขึ้นว่า ไฟป่านี้ฉันใด ไฟ ๑๑ กองก็ฉันนั้น เหมือนกัน ไหม้สัตว์ทั้งปวงลามไปไม่กลับมา ทำมหันตทุกข์ให้เกิดขึ้น. ชื่อว่าเมื่อไร เพื่อให้ทุกข์นี้หมดสิ้น แม้เราก็จะเผากิเลสทั้งหลายไม่ให้กลับมา ด้วยไฟคืออริมรรคญาณ เหมือนไฟนี้ ไหม้ลามไปไม่พึงหวนกลับมา ฉะนั้น.

แต่นั้น พระองค์เสด็จไปครู่หนึ่ง ได้ทรงเห็นชาวประมงกำลังจับ ปลาในน้ำ ปลาใหญ่ตัวหนึ่งเข้าไปถวายในแหของชาวประมงเหล่านั้น ได้ ทำลายแหหนีไป. ชาวประมงเหล่านี้จึงพากันส่งเสียงว่า ปลาทำลายแห หนีไปแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับคำแม้นั้น จึงทรงทำนิมิตอันมีปลานั้น เป็นข้อเปรียบเทียบว่า ชื่อว่าเมื่อไร แม้เราก็จะทำลายข่ายคือตัณหาและ ทิฏฐิ ด้วยอริมรรคญาณ พึงไปไม่ติดข้องอยู่. พระองค์จึงทรงสละ ราชสมบัติผนวช ปรารภวิปัสสนา ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ และได้ตรัสอุทานคาถานี้.

ในบทที่สองของคาถานั้น สิ่งที่ทำด้วยด้ายเรียกว่า ชาละ. น้ำ เรียกว่า อัมพุ. ชื่อว่าอัมพุจารี เพราะเที่ยวไปในน้ำนั้น. คำว่า อัมพุจารี นั้นเป็นชื่อของปลา. ปลาในน้ำ ชื่อว่า สลิลัมพุจารี. อธิบายว่า เหมือน ปลาทำลายแหไปในแม่น้ำนั้น. ในบาทที่สาม สถานที่ที่ถูกไฟไหม้เรียกว่า ทัฑฒะ อธิบายว่า ไฟย่อมไม่หวนกลับมายังที่ที่ไหม้แล้ว คือจะมาเกิดที่ นั้นไม่ได้ ฉันใด เราก็จะไม่หวนกลับมายังสถานที่ คือกามคุณที่ถูกเผา ไหม้ด้วยไฟคือมรรคญาณ คือจะไม่มาในกามคุณนั้นต่อไปฉันนั้น. คำที่ เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาสันทาลคาถา

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 366

พรรณนาโอกขิตตจักขุคาถา

คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลลพรหมทัต เป็นผู้ทรงขวนขวายการดูละคร เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.

พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตนั้น เป็นผู้ไม่สันโดษเสด็จไปในที่นั้นๆ ส่วนพระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตพระองค์นี้ ทอดพระเนตรการละครนั้นๆ ทรงเพลิดเพลินอย่างยิ่ง เสด็จเที่ยวเพิ่มความอยาก โดยผลัดเปลี่ยนหมุน เวียนทอดพระเนตรการแสดงละคร. ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นภรรยา ของกุฎุมพีนางหนึ่งซึ่งมาดูการแสดง ได้ยังความกำหนัดรักใคร่ให้เกิดขึ้น. แต่นั้นทรงถึงความสลดพระทัยขึ้นมา จึงทรงดำริว่า เฮ้อ! เราทำความ อยากนี้ให้เจริญอยู่ จักเป็นผู้เต็มอยู่ในอบาย เอาละ เราจักข่มความอยาก นั้น จึงออกผนวชแล้วได้เห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงติเตียนการปฏิบัติแรกๆ ของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้ อันแสดงคุณซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัตินั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ แปลว่า ผู้มีจักษุทอด ลงเบื้องล่าง. ท่านอธิบายไว้ว่า วางกระดูกคอ ๗ ข้อไว้โดยลำดับแล้ว เพ่งดูชั่วแอก เพื่อจะดูสิ่งที่ควรเว้นและสิ่งที่ควรจะถือเอา. แต่ไม่ใช่เอา กระดูกคางจรดกระดูกหทัย เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้น ความเป็นผู้มีจักษุ ทอดลงก็ย่อมจะไม่เป็นสมณสารูป.

บทว่า น จ ปาทโลโล ความว่า ไม่เป็นเหมือนคนเท้าคัน โดย ความเป็นผู้ใคร่จะเข้าไปท่ามกลางคณะ ด้วยอาการอย่างนี้ คือเป็นคนที่ ๒

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 367

ของคนคนเดียว เป็นคนที่ ๓ ของคน ๒ คน คือเป็นผู้งดเว้นจากการ เที่ยวจาริกไปนานและเที่ยวจาริกไปไม่กลับ.

บทว่า คุตฺตินฺทฺริโย ความว่า เป็นผู้มีอินทรีย์อันคุ้มครองด้วย อำนาจอินทรีย์ที่เหลือดังกล่าวแล้ว เพราะบรรดาอินทรีย์ทั้ง ๖ ในที่นี้ ท่านกล่าวมนินทรีย์ไว้เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก.

บทว่า รกฺขิตมานสาโน ความว่า มานสานํ ก็คือ มานสํ นั่นเอง. ชื่อว่า ผู้รักษาใจ เพราะรักษาใจนั้นไว้ได้. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้รักษา จิตไว้ได้โดยประการที่ไม่ถูกกิเลสปล้น. บทว่า อนวสฺสุโต ความว่า ผู้ เว้นจากการถูกกิเลสรั่วรดในอารมณ์นั้นๆ ด้วยกายปฏิบัตินี้.

บทว่า อปริฑยฺหมาโน ได้แก่ ไม่ถูกไฟกิเลสเผา. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ไม่ถูกกิเลสรั่วรดภายนอก ไม่ถูกไฟกิเลสเผาในภายใน. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาโอกขิตตจักขุคาถา

พรรณนาปาริจฉัตตกคาถา

คาถาว่า โอหารยิตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี มีพระราชาอีกองค์พระนามว่า จาตุ- มาสิกพรหมทัต เสด็จไปเล่นอุทยานทุกๆ ๔ เดือน วันหนึ่ง พระองค์ เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในเดือนกลางของฤดูคิมหันต์ ทรงเห็นต้นทองหลาง ดารดาษด้วยใบ มีกิ่งและค่าคบประดับด้วยดอก ที่ประตูอุทยาน ทรงถือ เอาหนึ่งดอกแล้วเสด็จเข้าไปยังอุทยาน.

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 368

ลำดับนั้น อำมาตย์คนหนึ่งผู้อยู่บนคอช้าง คิดว่า พระราชาทรง ถือเอาดอกชั้นเลิศไปแล้ว จึงได้ถือเอาหนึ่งดอกเหมือนกัน. หมู่พล ทั้งหมดต่างได้ถือเอาโดยอุบายเดียวกัน. พวกที่ไม่ชอบดอก แม้ใบก็ถือ เอาไป.

ต้นไม้นั้นไม่มีใบและดอก ได้มีอยู่สักว่าลำต้นเท่านั้น. เวลาเย็น พระราชาเสด็จออกจากอุทยาน ทรงเห็นดังนั้น จึงทรงดำริว่า ทำไมคน จึงทำกับต้นไม้นี้ ตอนเวลาที่เรามา ต้นไม้นี้ยังประดับด้วยดอก เช่นกับ แก้วประพาฬที่ระหว่างกิ่งอันมีสีดุจแก้วมณี มาบัดนี้ กลับไม่มีใบและดอก เมื่อกำลังทรงดำริอยู่ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ไม่มีดอก มีใบสะพรั่ง ในที่ไม่ไกลต้นทองหลางนั้นเอง และพระองค์ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้มี พระดำริดังนี้ว่า ต้นไม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ของชนเป็นอันมาก เพราะมีกิ่งเต็มด้วยดอก ด้วยเหตุนั้น จึงถึงความพินาศไปโดยครู่เดียว เท่านั้น ส่วนต้นไม้อื่นต้นนี้ คงตั้งอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความอยากได้ ก็ราชสมบัตินี้เล่า ก็เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ เหมือน ต้นไม้มีดอกฉะนั้น ส่วนภิกขุภาวะไม่เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ เหมือน ต้นไม้ที่ไม่มีดอก. เพราะฉะนั้น ตราบใด ที่ราชสมบัติแม้นี้ยังไม่ถูกชิง เหมือนต้นไม้นี้ ตราบนั้น เราจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะบวช เหมือนต้นทองหลางต้นอื่นนี้ที่ไม่มีใบดารดาษอยู่ฉะนั้น. พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติ ผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัส อุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เสด็จออกจากตำหนักเป็นผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะ.

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 369

คำที่เหลืออาจรู้แจ้งได้โดยนัยดังกล่าวแล้วแล เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้อง กล่าวให้พิสดาร.

จบพรรณนาปาริจฉัตตกคาถา

จบวรรคที่ ๓

พรรณนารสเคธคาถา

คาถาว่า รเสสุ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง อันบุตรอำมาตย์ทั้งหลายห้อม ล้อมอยู่ในอุทยาน ทรงเล่นอยู่ในสระโบกขรณีอันมีแผ่นศิลา. พ่อครัว ของพระองค์เอารสของเนื้อทุกชนิดมาหุงอันตรภัต (อาหารว่าง) อันปรุง อย่างดีเยี่ยม ประดุจอมฤตรสแล้วน้อมเข้าไปถวาย. พระองค์ทรงคิดใน รสนั้น ไม่ทรงประทานอะไรๆ แก่ใครๆ เสวยเฉพาะพระองค์เท่านั้น. ทรงเล่นน้ำอยู่ จึงเสด็จออกไปในเวลาพลบค่ำเกินไป แล้วรีบๆ เสวย. บรรดาคนที่พระองค์เคยเสวยร่วมด้วยในกาลก่อนนั้น พระองค์มิได้ทรง ระลึกถึงใครๆ. ครั้นภายหลัง ทรงยังการพิจารณาให้เกิดขึ้น ทรงทราบ ว่า โอ! เราถูกความอยากในรสครอบงำ ลืมชนทั้งปวงเสีย บริโภค เฉพาะคนเดียวนั้น ได้กระทำกรรมอันลามกแล้ว เอาเถอะ เราจักข่ม ความอยากในรสนั้น ครั้นทรงดำริแล้วจึงสละราชสมบัติผนวช เจริญ วิปัสสนากระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงติเตียนการปฏิบัติ อันมีในก่อนของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้ อันแสดงคุณตรงกัน ข้ามกับการปฏิบัตินั้น.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 370

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รเสสุ ได้แก่ ในของควรลิ้มอันต่าง ตัวรสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสแสบ และรสฝาด เป็นต้น. บทว่า เคธํ อกรํ แปลว่า ไม่กระทำความอยากได้ อธิบายว่า ไม่ยังตัณหาให้เกิดขึ้น.

บทว่า อโลโล ไม่หมกมุ่นในความวิเศษของรสทั่งหลายอย่างนี้ว่า เราจักลิ้มสิ่งนี้ เราจักลิ้มสิ่งนี้.

บทว่า อนญฺโปสี ได้แก่ ผู้เว้นจากสัทธิวิหาริกที่จะต้องเลี้ยงดู เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้สันโดษด้วยเหตุสักว่าทรงร่างกายไว้. อีกอย่าง หนึ่ง อธิบายว่า ชื่อว่าผู้ไม่เลี้ยงดูคนอื่น เพราะไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน ที่เรามีปกติกระทำความอยากในรสทั้งหลายในอุทยาน เลี้ยงคนอื่น ละ ตัณหาอันเป็นเหตุให้โลภกระทำความอยากในรสทั้งหลายนั้นเสีย แล้วไม่ ทำอัตภาพอื่นซึ่งมีตัณหาเป็นมูลรากให้บังเกิดต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง ใน บทนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า กิเลสทั้งหลายเรียกว่าอัญญะ เพราะอรรถว่า ยัง อัตภาพให้เกิด, ชื่อว่า อันญญโปสี เพราะไม่เลี้ยงดูกิเลสเหล่านั้น.

บทว่า สปทานจารี ได้แก่ มีปกติเที่ยวไปไม่แวะออก (นอกทาง) คือมีปกติเที่ยวไปโดยลำดับ อธิบายว่า ไม่ละลำดับเรือน เข้าไปบิณฑบาต ติดต่อกันไป ทั้งตระกูลมั่งคั่งและตระกูลเข็ญใจ.

บทว่า กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตโต ได้แก่ มีจิตไม่ข้องอยู่ใน ตระกูลกษัตริย์เป็นต้นตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ด้วยอำนาจกิเลส, อธิบายว่า เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ อุปมาดังพระจันทร์. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล.

จบพรรณนารสเคธคาถา

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 371

พรรณนาอาวรณคาถา

คาถาว่า ปหาย ปญฺจาวรณานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี เป็นผู้ได้ปฐมฌาน. เพื่อจะทรงอนุรักษ์ฌานนั้น พระองค์จึงทรงละราชสมบัติออกผนวช เห็น แจ้งอยู่ จึงทรงบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงปฏิปัตติสัมปทา ของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจาวรณานิ ได้แก่ นิวรณ์ ๕ นั่นเอง. นิวรณ์ ๕ นั้น โดยใจความ ได้กล่าวไว้แล้วใน อุรคสูตร. ก็เพราะเหตุ ที่นิวรณ์เหล่านั้นกั้นจิตไว้ เหมือนหมอกเป็นต้นกั้นดวงจันทร์และดวง อาทิตย์ฉะนั้น จึงเรียกว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. อธิบายว่า พึงละ คือละขาด ซึ่งนิวรณ์เหล่านั้น ด้วยอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ.

บทว่า อุปกฺกิเลเส ได้แก่ อกุศลธรรมซึ่งเข้าไปเบียดเบียนจิต. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ อภิชฌาเป็นต้นซึ่งกล่าวไว้ในวัตโถปมสูตรเป็นต้น.

บทว่า พฺยปนุชฺช แปลว่า บรรเทา อธิบายว่า ละขาดด้วย วิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือ. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย สมถวิปัสสนาอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละ ทิฏฐินิสัยได้แล้วด้วยปฐมมรรค, ตัดโทษคือความเสน่หา อธิบายว่า ตัณหาและราคะอันเป็นไปในไตรธาตุ ด้วยมรรคที่เหลือ. จริงอยู่ ความ เสน่หาเท่านั้นท่านเรียกว่า สิเนหโทษ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณ. คำที่ เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาอาวรณคาถาน

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 372

พรรณนาวิปิฏฐิคาถา

คาถาว่า วิปิฏฺิกตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ได้เป็นผู้ได้จตุตถฌาน. แม้พระราชานั้น เพื่อจะอนุรักษ์ฌาน ก็ทรงสละราชสมบัติออก ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดง ปฏิปัตติทิสัมปทาของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺิกตฺวาน แปลว่า กระทำไว้ข้าง หลัง อธิบายว่า ทิ้ง คือละ. บทว่า สุขญฺจ ทุกฺขํ ได้แก่ ความยินดี และความไม่ยินดีทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ ได้แก่ ความยินดี และความไม่ยินดีทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน. บทว่า สมถํ ได้แก่ สมาธิในจตุตถฌานเท่านั้น. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า ชื่อว่า บริสุทธิ์ยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก ๙ ประการ คือ นิวรณ์ ๕ และวิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจ ทองคำอันขัดแล้ว.

ส่วนวาจารวบรวมความมีดังต่อไปนี้. กระทำสุขและทุกข์ในกาล ก่อนเท่านี้ไว้ข้างหลัง อธิบายว่า กระทำทุกข์ไว้ข้างหลังในอุปจารแห่ง ปฐมฌาน กระทำสุขไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ อักษรที่ กล่าวไว้เบื้องต้นกลับไปไว้เบื้องปลาย สำเร็จรูปว่า โสมนสฺสํ โทมนสฺสญฺจ วิปิฏฺิกตฺวาน ปุพฺเพว ทำโสมนัส และโทมนัสก่อนๆ ไว้ข้างหลัง ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า ทำโสมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งจตุตถฌาน และทำโทมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌาน เหล่านั้นเป็นฐานสำหรับละโสมนัสและโทมนัสโดยอ้อม. แต่เมื่อว่าโดยตรง

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 373

ปฐมฌานเป็นฐานสำหรับละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานสำหรับละสุข จตุตถฌานเป็นฐานสำหรับละโสมนัส. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำทั้งปวง มีอาทิว่า พระโยคีเข้าถึงฌานที่หนึ่งอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วในฌาน ที่หนึ่งนี้ ย่อมดับสิ้นเชิง. กระทำทุกข์โทมนัสและสุขไว้ข้างหลังในฌาน ๓ มีปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ในกาลก่อน ฉันใด ในที่นี้ก็ฉันนั้น กระทำ โสมนัสไว้ข้างหลังในจตุตถฌาน ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ด้วย ปฏิปทานี้ แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล

จบพรรณนาวิปัฏฐิคาถา

พรรณนาอารัทธวีริยคาถา

คาถาว่า อารทฺธวีริโย ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาปัจจันตประเทศองค์หนึ่ง มีทหารหนึ่งพันเป็น กำลัง เป็นผู้มีราชสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่เป็นผู้มีพระปัญญามาก. วันหนึ่ง พระองค์ทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีราชสมบัติน้อยก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรามีปัญญาอาจสามารถเพื่อยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ จึงทรงส่งทูตไปยัง พระราชาใกล้เคียงว่า ภายใน ๗ วันพระเจ้าสามันตราชจงมอบราชสมบัติให้แก่เรา หรือว่าจะทำการรบกับเรา.

จากนั้น พระองค์ก็ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ของพระองค์แล้วตรัสว่า เรายังมิได้บอกกล่าวท่านทั้งหลายเลย กระทำกรรมไปโดยพลการ เรา ส่งสารอย่างนี้ไปให้แก่พระราชาโน้นแล้ว เราควรกระทำอย่างไร. เหล่า อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองก์อาจให้ทูตนั้นกลับได้หรือ

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 374

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ไม่อาจ ทูตจักไปแล้ว. อำมาตย์กราบทูล ว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงทำพวกข้าพระบาทให้พินาศเสีย แล้ว เพราะการตายด้วยศัสตราของคนอื่นลำบาก เอาเถิดพวกข้าพระบาท จะฆ่ากันและกันตาย จะฆ่าตัวตาย จะแขวน (คอตาย) จะกินยาพิษ (ตาย). บรรดาอำมาตย์เหล่านั้นคนหนึ่งๆ พรรณนาเฉพาะความตายเท่านั้น ด้วย ประการอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยอำมาตย์ เหล่านี้ นี่แน่ะพนาย ทหารทั้งหลายของเรามีอยู่. ลำดับนั้น ทหารพันคน ก็ลุกขึ้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาทเป็นทหาร ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาทเป็นทหาร. พระราชาทรงดำริว่า เราจักทดลองทหารเหล่านี้ จึงรับสั่งให้จัดแจงเชิงตะกอนใหญ่แล้วตรัสว่า นี่แนะพนาย เรื่องนี้เรา กระทำลงไปด้วยความผลุนผลัน อำมาตย์ทั้งหลายคัดค้านเราเรื่องนั้น เรา นั้นจักเข้าสู่เชิงตะกอน ใครจักเข้าไปกับเรา ใครจะเสียสละชีวิตเพื่อเรา. เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ทหาร ๕๐๐ คนก็ลุกขึ้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พวกข้าพระบาทจักเข้าไปพระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสกะทหารอีก ๕๐๐ คนนอกนี้ว่า พ่อ ทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายจักทำอะไร. ทหารเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่ มหาราช นี้มิใช่การกระทำเยี่ยงลูกผู้ชาย อันนี้เป็นจริยาของผู้หญิง อีกอย่างหนึ่ง มหาราชก็ได้ส่งทูตไปแก่พระราชาฝ่ายข้าศึกแล้ว พวก ข้าพระบาทนั้นจักรบกับพระราชานั้นจนตาย. แต่นั้นพระราชาจึงตรัสว่า พวกท่านบริจาคชีวิตเพื่อเรา จึงจัดกองทัพอันประกอบด้วยองค์ ๕ อัน ทหารพันคนนั้นห้อมล้อม เสด็จไปประทับนั่งในเขตแดนแห่งราชอาณาจักร.

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 375

พระราชาฝ่ายข้าศึกนั้น ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้น ทรงพระพิโรธ ว่า ชะช้า! พระราชาน้อยๆ นั้น ไม่เพียงพอแม้แก่ทาสของเรา จึงพา หมู่พลทั้งปวงออกไปเพื่อจะสู้รบ.

พระราชาน้อยนั้นทรงเห็นพระราชาฝ่ายข้าศึกยกออกมา จึงตรัส กะหมู่พลว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านมีไม่มาก ท่านทั้งหมดจงรวมกัน ถือดาบและโล่ รีบไปตรงหน้าพระราชานี้. ทหารเหล่านั้นได้กระทำ เหมือนอย่างนั้น.

ที่นั้น กองทัพของพระราชานั้น ได้แยกออกเป็นสองฝ่ายให้ระหว่าง ทหารเหล่านั้น จึงจับเป็นพระราชานั้นได้ แล้วถวายแก่พระราชาของตน ผู้เสด็จมาด้วยหวังพระทัยว่า จักฆ่าพระรานั้น. พระราชาฝ่ายข้าศึก ทูลขออภัยพระราชาน้อยนั้น. พระราชาทรงให้อภัยแก่พระราชาฝ่ายข้าศึก แล้วให้ทรงกระทำการสบถ ทรงทำไว้ในอำนาจของพระองค์แล้วทรงมุ่ง เข้าหาพระราชาอื่นพร้อมกับพระราชาฝ่ายข้าศึกนั้น ทรงตั้งอยู่ในเขตแดนแห่งราชอาณาจักรของพระราชานั้นแล้วทรงส่งสารไปว่า จะให้ ราชสมบัติแก่เราหรือว่าจะรบ. พระราชานั้นทรงส่งสารมาว่า หม่อมฉัน ย่อมทนไม่ได้แม้แต่การรบครั้งเดียว แล้วมอบถวายราชสมบัติ. พระราชา น้อยทรงจับพระราชาทั้งปวงได้โดยอุบายนี้ แล้วได้ทรงจับเอาแม้พระเจ้าพาราณสีไว้ในภายใน.

พระราชาน้อยนั้น อันพระราชา ๑๐๑ องค์ห้อมล้อม ทรง ครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น จึงทรงดำริว่า เมื่อก่อนเราเป็น พระราชาน้อย แต่บัดนี้ เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งมณฑลใน ชมพูทวีปทั้งสิ้น เพราะญาณสมบัติของตน ก็ญาณของเรานั้นแลประกอบ

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 376

ด้วยความเพียรอันเป็นโลกิยะ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด ไฉนหนอ เราพึงแสวงหาโลกุตรธรรมด้วยญาณนี้.

ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงมอบราชสมบัติแก่พระเจ้าพาราณสี และ ตั้งบุตรและทาระไว้ในชนบทของพระองค์ ทรงละสิ่งทั้งปวง เสด็จออก ผนวช ปรารภวิปัสสนาแล้วทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรง แสดงวิริยสมบัติของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.

ในอุทานคาถานั้น พึงทำวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่าผู้ปรารภ ความเพียรเพราะมีความเพียรอันปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้ทรงแสดงถึงความ ทีพระองค์เป็นผู้มีความเพียรใหญ่. พระนิพพานท่านเรียกว่า ปรมัตถะ การบรรลุพระนิพพานนั้น ชื่อว่าปรมัตถปัตติ. เพื่อบรรลุพระนิพพาน อันชื่อว่าปรมัตถะนั้น. ด้วยบทนี้ ทรงแสดงถึงผลที่พึงบรรลุด้วยการ ปรารภความเพียรนั้น.

ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต นี้ ทรงแสดงถึงความไม่หดหู่ของจิตและ เจตสิกซึ่งมีความเพียรเป็นผู้อุปถัมภ์. ด้วยบทว่า อกุสีตวุตฺติ นี้ ทรงแสดง ถึงการไม่จมลงแห่งกาย ในการยืนและการจงกรมเป็นต้น.

ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้ ทรงแสดงถึงความเพียรที่เริ่มตั้งไว้ ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือแต่หนังและเอ็นก็ ตามดังนี้. ซึ่งบุคคลเริ่มตั้งไว้ในอนุบุพสิกขาเป็นต้น ท่านเรียกว่า กระทำ ให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้ ทรงแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วยมรรค. ก็ความเพียรนั้น ชื่อว่ามัน เพราะถึงความบริบูรณ์แห่งการอบรม ชื่อว่าเป็นเครื่องก้าวออก เพราะ ออกจากปฏิปักษ์โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้บุคคลผู้พร้อมพรั่ง

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 377

ด้วยความเพียรนั้น ท่านเรียกว่า ทัฬหนิกมะ เพราะมีความเพียรเครื่อง ก้าวออกอันมั่น.

บทว่า ถามพลูปปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกำลังแรงกายและ กำลังญาณในขณะมรรค. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพละกำลังอัน เป็นเรี่ยวแรง ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังญาณอันมั่นคง.

ด้วยบทว่า ถามพลูปปนฺโน นี้ ท่านแสดงถึงความประกอบพร้อม ด้วยวิปัสสนาญาณแห่งความเพียรนั้น จึงทำปธานคือความเพียรเครื่อง ประกอบให้สำเร็จ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาททั้ง ๓ ด้วยความเพียร อันเป็นชั้นต้น ชั้นกลางและชั้นสูง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาอารัทธวีริยคาถา

พรรณนาปฏิสัลลานคาถา

คาถาว่า ปฏิสลฺลานํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

การเกิดขึ้นแห่งคาถานี้ เหมือนดังอาวรณคาถาไม่มีความพิเศษไรๆ. ส่วนพรรณนาอรรถแห่งคาถานี้มีความว่า การกลับเฉพาะจากหมู่สัตว์และ สังขารนั้นๆ หลีกเร้นอยู่ ชื่อว่า ปฏิสัลลานะ ได้แก่ ความเป็นผู้มีปกติ เสพ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง คือความเป็นผู้เดียว ได้แก่ กายวิเวก สงัดกาย.

จิตตวิเวก สงัดจิต ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกและ เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ.

ในคำว่า ฌาน นั้น สมาบัติ ๘ เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึก

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 378

มีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์มีกสิณเป็นต้น. วิปัสสนา มรรค ผล ก็ เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกมีสัตตสัญญาความสำคัญ ว่าสัตว์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์ เอาอารัมมณูปนิชฌานการเข้าไปเพ่งอารมณ์เท่านั้น. ไม่ละ คือไม่ทิ้ง ได้แก่ ไม่สละ การหลีกเร้นและฌานนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมคือเบญจขันธ์เป็นต้นอันเข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ แปลว่า ติดต่อ คือไปเสมอๆ ได้แก่ ไม่เกลื่อนกล่นแล้ว. บทว่า อนุธมฺมจารี ได้แก่ ประพฤติวิปัสสนาธรรมอันไปแล้ว เนืองๆ โดยปรารภธรรมนั้นๆ เป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ธมฺเมสุ นี้ โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ธรรม. ชื่อว่า อนุธรรม เพราะธรรมอัน อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น. คำว่า อนุธรรม นี้ เป็นชื่อของวิปัสสนา. ในคาถานั้น ควรจะกล่าวว่า ธมฺมานํ นิจฺจํ อนุธมฺมจารี มีปกติ ประพฤติธรรมอนุโลมแก่ธรรมเป็นนิจ แต่เพื่อสะดวกในการประพันธ์ คาถา จึงเป็นอันกล่าวว่า ธมฺเมสุ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิภัตติ.

ในบทว่า อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ นี้ พึงทราบวาจาประกอบ ความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นโทษมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นในภพทั้ง ๓ ด้วย วิปัสสนากล่าวคือความเป็นผู้มีปกติประพฤติอันเป็นอนุโลมนั้น พึงกล่าว ว่า เป็นผู้บรรลุด้วยปฏิปทา คือวิปัสสนาอันถึงยอดแห่งกายวิเวกและ จิตตวิเวกนี้ด้วยอาการอย่างนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป.

จบพรรณนาปฏิสัลลานคาถา

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 379

พรรณนาตัณหักขยคาถา

คาถาว่า ตณฺหกฺขยํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งกระทำประทักษิณพระนคร ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง. คนทั้งหลายผู้มีหทัยรำพึงถึงความงามแห่ง พระสรีระของพระราชานั้น แม้ไปข้างหน้า ก็ยังกลับมาแหงนดูพระองค์ แม้ไปข้างหลังก็ดี ไปทางข้างทั้งสองก็ดี ก็ยังหันกลับมาแหงนดูพระองค์. ก็ตามปกติทีเดียวชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดู พระจันทร์เพ็ญ มหาสมุทรและพระราชา.

ครั้งนั้น ฝ่ายภรรยาของกุฎุมพีนางหนึ่ง อยู่ในปราสาทชั้นบนได้เปิด หน้าต่างยืนแลดูอยู่. พระราชาทรงเห็นนางนั้น มีพระทัยปฏิพัทธ์รักใคร่ จึงสั่งอำมาตย์ว่า แน่ะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนี้มีสามีหรือไม่มีสามีเท่านั้น. อำมาตย์นั้นรู้แล้ว จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ หญิงนี้มีสามีพระเจ้าข้า.

ที่นั้น พระราชาจึงทรงดำริว่า หญิงฟ้อนรำสองหมื่นนางเหล่านี้ เปรียบปานดังนางเทพอัปสร ยังเราคนเดียวเท่านั้นให้อภิรมย์ บัดนี้ เรา นั้นไม่ยินดีหญิงแม้เหล่านี้ มาทำตัณหาให้เกิดขึ้นในหญิงของชายอื่น ตัณหานั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมคร่าไปสู่อบายถ่ายเดียว ดังนี้ ทรงเห็นโทษ ของตัณหาแล้ว ทรงดำริว่า จักข่มตัณหานั้น จึงละทิ้งราชสมบัติผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ จึงได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัส อุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหกฺขยํ ได้แก่ พระนิพพาน อีก อย่างหนึ่ง ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งตัณหาซึ่งมีโทษอันเห็นแล้วอย่างนั้น. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ มีปกติกระทำโดยติดต่อ คือมีปกติ กระทำโดยเคารพ.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 380

บทว่า อเนลมูโค ได้แก่ ผู้ไม่มีน้ำลายที่ปาก. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ไม่เป็นคนบ้าและคนใบ้ ท่านอธิบายว่า เป็นบัณฑิตเป็นผู้เฉียบ แหลม.

ชื่อว่า ผู้มีสุตะ เพราะมีสุตะอันยังหิตสุขให้ถึงพร้อม ท่านอธิบายว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปริยัติ.

บทว่า สติมา ได้แก่ เป็นผู้ระลึกถึงสิ่งที่ได้กระทำไว้นานเป็นต้นได้.

บทว่า สงฺขาตธมฺโม ได้แก่ ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้วด้วยการ เข้าไปพิจารณาธรรม.

บทว่า นิยโต ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้เที่ยงด้วยอริยมรรค

บทว่า ปธานวา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นเครื่องตั้ง ไว้โดยชอบ. พึงประกอบปาฐะนี้โดยนอกลำดับ.

ผู้ประกอบด้วยธรรมมีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านั้น ด้วย ประการอย่างนี้นั่นแล เป็นผู้มีปธานความเพียรด้วยปธานความเพียรอัน ให้ถึงความแน่นอน เป็นผู้เที่ยงแท้แล้วโดยความแน่นอนที่ถึงพร้อมด้วย ปธานความเพียรนั้น แต่นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมอันพิจารณาเสร็จแล้ว เพราะได้บรรลุพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายท่านเรียกว่า ผู้มีธรรมอันพิจารณาเสร็จแล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะต้องพิจารณาอีก. เหมือนดังที่ท่านกล่าวว่า ผู้ใดเป็นผู้มีธรรมอันพิจารณาแล้ว ผู้ใดยังเป็น พระเสขะ และผู้ใดยังเป็นปุถุชน ในพระศาสนานี้ดังนี้. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวแล้วเช่นเดียวกันแล.

จบพรรณนาตัณหักขยคาถา

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 381

พรรณนาสีหทิคาถา

คาถาว่า สีโหว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า อุทยานของพระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง มีอยู่ในที่ไกล พระองค์ทรงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่เสด็จไปอุทยาน ในระหว่างทางเสด็จลงจาก พระยานเสด็จเข้าไปยังที่ที่มีน้ำด้วยหวังพระทัยว่า จักชำระล้างพระพักตร์. ก็ในถิ่นนั้น มีนางสีหะคลอดลูกสีหะแล้วตนก็ไปหาเหยื่อ. ราชบุรุษเห็น ลูกสีหะนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ลูกสีหะ พระเจ้าข้า พระราชาทรงดำริว่า เขาว่าสีหะไม่กลัวใคร เพื่อจะทดลองลูกสีหะนั้น จึงให้ตีกลองเป็นต้นขึ้น ลูกสีหะแม้ได้ยินเสียงนั้น ก็ยังนอนอยู่อย่างนั้น แหละ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระราชาจึงทรงตีกลองจนถึงครั้งที่สาม ในครั้ง ที่สาม ลูกสีหะนั้นยกศีรษะขึ้นแลดูบริษัททั้งหมด แล้วก็นอนอยู่เหมือน อย่างนั้นนั่นแหละ.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า พวกเราจงไปตราบเท่าที่แม่ของมัน ยังไม่มา เมื่อกำลังเสด็จไปก็ทรงดำริว่า ลูกสีหะแม้เกิดในวันนั้น ก็ไม่ สะดุ้ง ไม่กลัว ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงทิ้งความสะดุ้ง คือตัณหาและ ทิฏฐิ แล้วไม่สะดุ้ง ไม่กลัว.

พระองค์ทรงถือเอาเรื่องนั้นให้เป็นอารมณ์เสด็จไป ทรงเห็นชาวประมงจับปลาแล้วผูกไว้ที่กิ่งไม้ แล้วไป เหมือนลมไม่ติดตาข่ายที่ขึงไว้ ได้ทรงถือเอานิมิตในเรื่องนั้นอีกว่า ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงฉีกข่าย คือตัณหา ทิฏฐิและโมหะ แล้วไม่ข้องอยู่อย่างนั้นไปเสีย.

ครั้งนั้น พระราชาเสด็จไปยังอุทยานประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีมี แผ่นศิลา ทรงเห็นดอกปทุมที่ถูกลมกระทบจึงน้อมลงแตะน้ำ แล้วกลับ

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 382

ตั้งอยู่ในที่เดิมในเมื่อปราศจากลม อันน้ำไม่ฉาบทา ได้ทรงถือเอานิมิตใน ข้อนั้นว่า ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็เกิดแล้วในโลก อันโลกฉาบทาไม่ได้ ตั้งอยู่ เหมือนปทุมเหล่านี้เกิดแล้วในน้ำ อันน้ำฉาบทาไม่ได้ตั้งอยู่ฉะนั้น.

พระองค์ทรงดำริบ่อยๆ ว่า เราพึงเป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่ข้องอยู่ ไม่ถูก ฉาบทา เหมือนสีหะ ลม และปทุมฉะนั้น จึงทรงละราชสมบัติผนวช เห็นแจ้งอยู่ ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถา นี้.

ชื่อว่า สีหะ ในคาถานั้น สีหะมี ๔ จำพวก คือติณสีหะ ปัณฑุสีหะ กาฬสีหะและไกรสรสีหะ. บรรดาสีหะเหล่านั้น ไกรสรสีหะ ท่านกล่าวว่า เป็นเลิศ ไกรสรสีหะนั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้.

ลม มีหลายอย่างเช่นลมทิศตะวันออกเป็นต้น.

ปทุม ก็มีหลายอย่างเช่นสีแดงและสีขาวเป็นต้น. บรรดาลมและ ปทุมเหล่านั้น ลมชนิดใดชนิดหนึ่ง และปทุมชนิดใดชนิดหนึ่งย่อมควร ทั้งนั้น.

เพราะเหตุว่า บรรดาความสะดุ้งกลัวเป็นต้นนั้น ชื่อว่าความสะดุ้ง กลัวย่อมมีเพราะรักตน อันธรรมดาความรักตนเป็นการฉาบทาด้วยตัณหา แม้ความรักตนนั้นก็ย่อมมีเพราะความโลภ อันประกอบด้วยทิฏฐิหรือ ปราศจากทิฏฐิก็ตาม และความรักตนแม้นั้นก็คือตัณหานั่นเอง.

อนึ่ง ความข้องย่อมมีแก่บุคคลผู้เว้น จากการเข้าไปพิจารณาเป็นต้น ในอารมณ์นั้น เพราะโมหะ. และโมหะ ก็คืออวิชชา. ในตัณหาและ อวิชชานั้น ละตัณหาด้วยสมถะ ละอวิชชาด้วยวิปัสสนา.

เพราะฉะนั้น พึงละความรักตนด้วยสมถะ ไม่สะดุ้งในลักษณะ

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 383

ทั้งหลายมีลักษณะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น เหมือนสีหะไม่สะดุ้งกลัวใน เสียงทั้งหลาย ละโมหะด้วยวิปัสสนา ไม่ข้องอยู่ในขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ละโลภะและทิฏฐิอันประกอบด้วยโลภะ ด้วยสมถะ เหมือนกัน ไม่ติดเปื้อนด้วยความโลภในภวสมบัติทั้งปวง เหมือนปทุม ไม่ติดน้ำฉะนั้น.

ก็บรรดาธรรมเหล่านี้ ศีลเป็นปทัฏฐานของสมถะ สมถะเป็น ปทัฏฐานของสมาธิ สมาธิเป็นปทัฏฐานของวิปัสสนา รวมความว่า เมื่อ ธรรม ๒ ประการสำเร็จแล้ว ขันธ์คือคุณทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันสำเร็จได้แท้ บรรดาขันธ์คือคุณเหล่านั้น บุคคลย่อมเป็นผู้กล้าหาญด้วยศีลขันธ์ คุณคือ ศีล.

บุคคลนั้นย่อมไม่สะดุ้งกลัว เหมือนสีหะไม่สะดุ้งกลัวในเสียงทั้งหลาย เพราะความที่มันเป็นสัตว์ที่ต้องโกรธ ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ, บุคคลผู้มีสภาวะอันแทงตลอดแล้วด้วยปัญญาขันธ์ คุณคือปัญญา ย่อมไม่ ข้องอยู่ในประเภทแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น เหมือนลมไม่ขังอยู่ในตาข่าย เป็นผู้มีราคะไปปราศแล้วด้วยสมาธิขันธ์ คุณคือสมาธิ ย่อมไม่แปดเปื้อน ด้วยราคะ เหมือนปทุมไม่ติดน้ำฉะนั้น.

เมื่อเป็นอย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบบุคคลผู้ไม่สะดุ้ง ไม่ข้อง และ ไม่แปดเปื้อน ด้วยอำนาจการละตัณหา อวิชชา และอกุศลมูล ๓ ตามที่มี ด้วยสมถะกับวิปัสสนา และด้วยคุณคือศีล สมาธิและปัญญา. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาสีหาทิคาถา

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 384

พรรณนาทาฐพลีคาถา

คาถาว่า สีโห ยถา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง เพื่อที่จะยังชนบทชายแดนที่ กำเริบให้สงบ จึงทรงละหนทางเป็นที่ไปตามลำดับแห่งหมู่บ้านเสีย ถือ เอาทางลัดในดง อันเป็นทางตรง เสด็จไปด้วยกองทัพใหญ่.

ก็สมัยนั้น ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง มีราชสีห์นอนผิงความร้อนของ พระอาทิตย์อ่อนๆ อยู่. ราชบุรุษทั้งหลายเห็นราชสีห์นั้น จึงกราบทูลแด่ พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า นัยว่าราชสีห์ไม่สะดุ้งกลัว จึงให้กระทำ เสียงกลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม แม้ ครั้งที่สองก็ทรงให้กระทำ ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม ทรงให้ กระทำแม้ครั้งที่สาม. ในกาลนั้น ราชสีห์คิดว่า สีหะผู้เป็นศัตรูเฉพาะต่อเรา คงจะมี จึงยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง ๔ แล้วบันลือสีหนาท. ควาญช้างเป็นต้น ได้ฟังเสียงสีหนาทนั้น จึงลงจากช้างเป็นต้นแล้วเข้าไปยังพงหญ้า. หมู่ ช้างและม้าต่างๆ หนีไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย แม้ช้างของพระราชาก็พาพระราชาไปกระทบหมู่ไม้หนีไป.

พระราชาไม่อาจทรงช้างนั้นได้จึงทรงโหนกิ่งไม้ไว้ แล้วจึงปล่อยให้ ตกลงยังพื้นดิน แล้วเสด็จไปตามทางที่เดินได้คนเดียว ถึงสถานที่เป็นที่ อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ในที่นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายได้ยินเสียงบ้างไหม? พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า ขอถวายพระพร ได้ยิน มหาบพิตร.

พระราชา. เสียงของใคร ท่านผู้เจริญ.

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 385

พระปัจเจกพุทธเจ้า. ครั้งแรก เสียงของกลองและสังข์เป็นต้น ภายหลังเสียงของราชสีห์.

พระราชา. ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายไม่กลัวหรือ.

พระปัจเจกพุทธเจ้า. มหาบพิตร พวกอาตมาไม่กลัวต่อเสียงไรๆ.

พระราชา. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านอาจทำแม้ข้าพเจ้าให้เป็นเช่นนี้ได้ ไหม.

พระปัจเจกพุทธเจ้า. อาจ มหาบพิตร ถ้าพระองค์จักผนวช.

พระราชา. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะบวช.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั่งหลายให้พระราชานั้นผนวชแล้ว ให้ศึกษาอาภิสมาจาริกวัตร โดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องหน้านั่นแหละ. แม้ พระราชานั้นก็ทรงเห็นแจ้งอยู่โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนเหมือนกัน จึง ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.

ทีชื่อว่า สีหะ ในคาถานั้น เพราะอดทน เพราะการฆ่า และ เพราะแล่นไปรวดเร็ว. ในที่นี้ ประสงค์เอาไกรสรราชสีห์เท่านั้น. ชื่อว่า ทาฐพลี เพราะราชสีห์นั้นมีเขี้ยวเป็นกำลัง.

บททั้งสองว่า ปสยฺห อภิภุยฺย พึงประกอบกับศัพท์ จารี ว่า ปสยฺหจารี อภิภุยฺยจารี. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่า ปสัยหจารี เพราะ ประพฤติข่ม คือข่มขี่ ชื่อว่า อภิภุยยจารี เพราะประพฤติครอบงำ คือ ทำให้สะดุ้งกลัว ได้แก่ ทำให้อยู่ในอำนาจ. ราชสีห์นี้นั้นมีปกติประพฤติ ข่มขี่ด้วยกำลังกาย และมีปกติประพฤติครอบงำด้วยเดช.

ในข้อนั้น หากใครๆ จะกล่าวว่า ราชสีห์มีปกติประพฤติข่มขี่

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 386

ครอบงำอะไร. แต่นั้นพึงทำอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติว่า มิคานํ ลงในอรรถ แห่งทุติยาวิภัตติ แล้วพึงกล่าวเฉพาะว่า มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำมฤค ทั้งหลาย.

บทว่า ปนฺตานิ แปลว่า ไกล. บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่ สถาน ที่อยู่. คำที่เหลือออาจรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล เพราะเหตุนั้น จึง ไม่ต้องให้พิสดารแล.

จบพรรณนาทาฐพลีคาถา

พรรณนาอัปปมัญญาคาถา

คาถาว่า เมตฺตํ อุเปกฺขํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่ง ทรงได้เมตตาฌานเป็นต้น. พระองค์ ทรงดำริว่า ราชสมบัติเป็นอันตรายต่อความสุขในฌาน เพื่อจะทรง อนุรักษ์ฌาน จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้ง พระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาเมตตาเป็นต้นนั้น ความเป็นผู้ใคร่จะนำเข้าไปซึ่งหิตสุข โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเถิด ดังนี้ ชื่อว่า เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะบำบัดสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูลและทุกข์ โดย นัยมีอาทิว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายพึงพ้นจากทุกข์นี้ ดังนี้ ชื่อว่า กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะไม่ให้พลัดพรากจากหิตสุข โดยนัยมีอาทิว่า

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 387

สัตว์ทั้งหลายผู้เจริญ จงยินดีหนอ จงยินดีด้วยดี ดังนี้ ชื่อว่า มุทิตา ความพลอยยินดี.

ความวางเฉยในสุขและทุกข์ โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายจัก ปรากฏตามกรรมของตน ดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา ความวางเฉย

ก็เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านกล่าวเมตตา แล้วจึง กล่าวอุเบกขา และมุทิตาทีหลัง โดยสับลำดับกัน.

บทว่า วิมุตฺตึ ความว่า อัปปมัญญา แม้ทั้ง ๔ นี้ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกของตน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า พึงเจริญเมตตาวิมุตติ อุเบกขาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ และมุทิตาวิมุตติ ในลำดับกาล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเสวมาโน ความว่า เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา ทั้ง ๓ ด้วยอำนาจติกฌานและจตุกฌาน เจริญอุเบกขา ด้วยอำนาจจตุกฌาน.

บทว่า กาเล ความว่า เจริญเมตตา ออกจากเมตตานั้นแล้วเจริญ กรุณา ออกจากกรุณาแล้วเจริญมุทิตา ออกจากกรุณา หรือจากฌานที่ ไม่มีปีตินอกนี้ แล้วเจริญอุเบกขานั่นแล ท่านเรียกว่าเจริญในลำดับกาล อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ เจริญในเวลามีความผาสุก.

บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน ความว่า ไม่พิโรธสัตว์โลก ทั้งปวงใน ๑๐ ทิศ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายไม่วุ่นวาย เพราะเจริญเมตตา เป็นต้น และปฏิฆะอันเป็นตัวข้าศึกในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับ. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่พิโรธด้วยสัตว์โลกทั้งปวง.

ความสังเขปในที่นี้เพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวกถาว่า

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 388

ด้วยเมตตาเป็นต้นไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่อว่า อัฏฐสาลินี. คำที่ เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาอัปปมัญญาคาถา

พรรณนาชีวิตสังขยคาถา

คาถาว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ดังนี้ป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า มาตังคะ อาศัยนครราชคฤห์ อยู่ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หลังสุดแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาทั้งหลาย มาเพื่อจะบูชาพระโพธิสัตว์ เห็นพระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้า จึงพากัน กล่าวว่า นี่แนะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น กำลังออกจากนิโรธ ได้ฟังดังนั้น เห็นตนจะสิ้นชีวิต จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อมหาปปาตะในหิมวันตประเทศ อันเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโยนร่างกระดูก ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว แล้วตนเอง ก็นั่งบนพื้นศิลา ได้กล่าวอุทานคาถานี้.

ราคะ โทสะ โมหะ ในคาถานั้นได้กล่าวไว้แล้วในอุรคสูตร.

บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. ทำลายสังโยชน์ทั้ง ๑๐ นั้น ด้วยมรรคนั้นๆ.

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 389

บทว่า อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ ความว่า ความแตกหมดแห่ง จุติจิต เรียกว่าความสิ้นชีวิต. ก็ชื่อว่าผู้ไม่สะดุ้งกลัวในความสิ้นชีวิตนั้น เพราะละความใคร่ในชีวิตได้แล้ว.

โดยลำดับคำเพียงเท่านี้ ท่านแสดงสอุปาทิเสสนิพพานของตน ใน เวลาจบคาถา จึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฉะนี้แล.

จบพรรณนาชีวิตสังขยคาถา

คาถา (๑) มีอาทิว่า

คนทั้งหลายมุ่งประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน, ในทุกวันนี้ มิตรทั้งหลายผู้ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก ดังนี้.

คาถาว่า ภชนฺติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ทรงปกครองราชอาณาจักรอันรุ่งเรือง มีประการดังกล่าวแล้วในคาถาต้นนั่นแหละ อาพาธ กล้าเกิดขึ้นแก่พระองค์ ทุกขเวทนาทั้งหลายย่อมเป็นไป. สตรีสองหมื่น นางห้อมล้อมพระองค์ กระทำการนวดฟั้นพระหัตถ์และพระบาทเป็นต้น.

พวกอำมาตย์คิดกันว่า พระราชาจักสวรรคตในบัดนี้ ช่างเถอะ พวกเราจะแสวงหาที่พึ่งของตน จึงไปยังสำนักของพระราชาองค์หนึ่ง ทูล ขออยู่รับใช้. อำมาตย์เหล่านั้นรับใช้อยู่ในที่นั้น ไม่ได้อะไรๆ. พระราชา ทรงหายจากประชวรแล้วตรัสถามว่า อำมาตย์ชื่อนี้ๆ ไปไหน? จากนั้น ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้น ได้ทรงสั่นพระเศียรนิ่งอยู่.

ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า พระราชาทรงหายประชวรแล้ว


๑. พรรณนาคาถาที่เหลือ ที่ไม่มีชื่อ รวม ๑๐ คาถา.

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 390

ทั้งไม่ได้อะไรในที่นั้น ถูกความเสื่อมอย่างยิ่งบีบคั้น จึงกลับมาอีก ถวาย บังคมพระราชาแล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. และถูกพระราชานั้น ตรัสถามว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านไปไหน จึงพากันกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นสมมติเทพทรงทุรพล จึงพากันไปยังชนบทชื่อโน้น เพราะความกลัวอันเกิดจากการเลี้ยงชีพ. พระราชาทรงสั่นพระเศียรแล้ว ดำริว่า ถ้ากระไร เราจักแสดงอาพาธนั้นอีก พวกอำมาตย์จักกระทำอย่าง นั้นอีกครั้งหรือไม่. พระราชาเมื่อจะทรงแสดงเวทนากล้า เหมือนโรคถูก ต้องแล้วในกาลก่อน จึงได้ทรงกระทำการลวงว่าเป็นไข้. เหล่าสตรีพากัน ห้อมล้อม ได้กระทำกิจทั้งปวงเช่นกับครั้งก่อนนั่นแล.

ฝ่ายพวกอำมาตย์ก็พาชนมากกว่าก่อน หลีกไปอีกเหมือนอย่างนั้น นั่นแหละ. พระราชาทรงกระทำกรรมทุกอย่างเช่นกับครั้งก่อน จนถึงครั้งที่ สาม ด้วยอาการอย่างนี้ ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นก็พากันหลีกไปเหมือนอย่าง นั้นนั่นแล. แม้ครั้งที่สี่จากนั้น พระราชาทรงเห็นอำมาตย์เหล่านั้นมา ทรงดำริว่า พุทโธ่เอ๋ย พวกอำมาตย์ผู้ละทิ้งเราผู้ป่วยไข้ไม่ห่วงใยหลีกไป จำพวกนี้ ได้กระทำกรรมที่ทำได้ยาก จึงทรงเบื่อหน่าย ได้ละราชสมบัติ ผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ จึงได้ ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภชนฺติ ความว่า เข้าไปนั่งชิดร่างกาย.

บทว่า เสวนฺติ ความว่า บำเรออัญชลีกรรมเป็นต้น โดยคอยฟัง ว่าจะให้ทำอะไร ชื่อว่าผู้มุ่งประโยชน์ เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ. ท่าน อธิบายว่า การคบหาสมาคมไม่มีเหตุอื่น ประโยชน์เท่านั้นเป็นเหตุของคน เหล่านั้น คนทั้งหลายคบหากันเพราะประโยชน์เป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 391

บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา ความว่า ชื่อว่า ไม่มุ่ง ประโยชน์ เพราะประโยชน์ที่ได้เฉพาะแก่ตนอย่างนี้ว่า พวกเราจักได้ อะไรๆ จากคนนี้. มิตรทุกวันนี้ผู้ประกอบด้วยความเป็นมิตรอันประเสริฐ ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยสิ้นเชิงอย่างนี้ว่า

มิตรมีอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรผู้แนะประโยชน์ มิตรมีความเอ็นดู ดังนี้.

บทว่า อตฺตฏฺปญฺา ความว่า ปัญญาของชนเหล่านี้ตั้งอยู่ในตน อธิบายว่า เห็นแก่ตน ไม่เห็นแก่คนอื่น. บาลีว่า อตฺตตฺถปญฺา ดังนี้ ก็มี บาลีนั้นมีความว่า เห็นแก่ประโยชน์ของตนเท่านั้น ไม่เห็นประโยชน์ ของคนอื่น. ได้ยินว่า บาลีว่า ทิฏฺตฺถปญฺา แม้นี้ เป็นบาลีเก่า. บาลี นั้นมีใจความว่า ชนเหล่านั้นมีปัญญาในประโยชน์เดี๋ยวนี้ คือในปัจจุบัน ไม่มีปัญญาในอนาคต ท่านอธิบายว่า เห็นแก่ประโยชน์ปัจจุบัน ไม่เห็น แก่ประโยชน์ภายหน้า.

บทว่า อสุจินา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรมอันไม่สะอาด คือไม่ประเสริฐ.

บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ชื่อว่ามีเขาดังมีด เพราะเที่ยว ทำภูเขาเป็นต้นให้เป็นจุณวิจุณ ด้วยเขาของตน เหมือนคนเอามีดดาบ ตัดต้นไม้ฉะนั้น. ชื่อว่าวิสาณะ เพราะมีอำนาจเช่นกับยาพิษ. ชื่อว่าขัคคะ เพราะดุจมีดดาบ. มฤคใดมีเขาดุจมีดดาบ มฤคนี้นั้น ชื่อว่าขัคควิสาณะ มีเขาดุจมีด. นอของมฤคที่มีเขาดุจมีดนั้น ชื่อว่าขัคควิสาณกัปปะ คือ นอแรด.

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 392

อธิบายว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเปรียบเสมือนนอแรดฉะนั้น องค์เดียว ไม่มีเพื่อน ไม่มีสหาย เที่ยวไป คืออยู่ เป็นไป ดำเนินไป ให้ดำเนินไป.

บทว่า วิสุทฺธสึลา แปลว่า ผู้มีศีลหมดจดโดยพิเศษ คือผู้มีศีล หมดจดด้วยความบริสุทธิ์ ๔ ประการ.

บทว่า วิสุทฺธปญฺา แปลว่า ผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ด้วยดี คือ ชื่อว่ามีปัญญา คือความแตกฉานในมรรคและผลอันบริสุทธิ์ เพราะเว้น จากราคะเป็นต้น. บทว่า สมาหิตา แปลว่า ตั้งมั่นดี คือด้วยดี ได้แก่ มีจิตั้งอยู่ ในที่ใกล้.

บทว่า ชาคริยานุยุตฺตา ความว่า ความตื่น ชื่อว่าชาคระ, อธิบายว่า ก้าวล่วงความหลับ. ความเป็นแห่งความตื่นอยู่ ชื่อว่าชาคริยะ, ผู้หมั่น ประกอบในความตื่นอยู่ ชื่อว่าผู้ประกอบตามในความตื่นอยู่.

บทว่า วิปสฺสกา ได้แก่ ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อธิบายว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอยู่.

บทว่า ธมฺมวิเสสทสฺสี แปลว่า ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษซึ่งกุศล ธรรม ๑๐ ซึ่งสัจธรรม ๔ หรือโลกุตรธรรม ๙.

บทว่า มคฺคงฺคโพชฺฌงฺคคเต ได้แก่ อริยธรรมอันถึง คือประกอบ ด้วยองค์แห่งมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และด้วยโพชฌงค์มีสติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.

บทว่า วิชญฺา แปลว่า รู้ อธิบายว่า รู้โดยพิเศษ.

บทว่า สุญฺตาปฺปณิหิตญฺจานิมิตฺตํ ได้แก่ ซึ่งสุญญตวิโมกข์ด้วย

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 393

อนัตตานุปัสสนา ซึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ด้วยทุกขานุปัสสนา และซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ด้วยอนิจจานุปัสสนา.

บทว่า อาเสวยิตฺวา ได้แก่ เจริญแล้ว. ธีรชนเหล่าใดกระทำบุญสมภารไว้ ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาแห่ง พระชินเจ้า ธีรชนเหล่านั้นได้กระทำบุญสมภารไว้ ย่อมเป็นพระปัจเจกชินเจ้า คือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สยัมภู คือผู้เป็นเอง.

ถามว่า ท่านเป็นอย่างไร? ตอบว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมยิ่งใหญ่ คือมีบุญสมภารใหญ่อันได้บำเพ็ญมาแล้ว มีธรรมกายมาก คือมีสภาวธรรม มิใช่น้อยเป็นร่างกาย. ถามว่า ท่านเป็นอย่างไรอีก? ตอบว่า ท่านมีจิต เป็นอิสระ คือเป็นไปในคติของจิต อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยฌาน.

ผู้ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวล คือข้าม ได้แก่ ก้าวล่วงโอฆะ คือสงสาร ทั้งมวล มีจิตเบิกบาน คือมีจิตโสมนัส อธิบายว่า มีใจสงบ เพราะเว้น จากกิเลสมีโกธะ และมานะเป็นต้น.

ผู้มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือมีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ประโยชน์สูงสุด เช่นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ อาการ ๓๒ สัจจะ ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท. เปรียบด้วยราชสีห์ฉะนั้น อธิบายว่า ประดุจราชสีห์ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวและไม่กลัว. ผู้เช่นกับนอแรด อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้เช่นกับนอของแรด เพราะไม่มีการคลุกคลีด้วยหมู่.

บทว่า สนฺตินฺทฺริยา ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีสภาวะอันสงบแล้ว เพราะจักขุนทรีย์เป็นต้น ไม่ดำเนินไปในอารมณ์ของตนๆ.

บทว่า สนฺตมนา แปลว่า มีจิตสงบ, อธิบายว่า มีความดำริ แห่งจิตมีสภาวะสงบแล้ว เพราะความเป็นผู้หมดกิเลส.

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 394

บทว่า สมาธี ได้แก่ ผู้มีจิตเป็นเอกัคคตาด้วยดี

บทว่า ปจฺจนฺตสตฺเตสุ ปติปฺปจารา ความว่า มีปกติประพฤติ ด้วยความเอ็นดู และความกรุณาเป็นต้นในเหล่าสัตว์ในปัจจันตชนบท

บทว่า ทีปา ปรตฺถ อิธ วิชฺชลนฺตา ความว่า เป็นดวงประทีป คือเป็นเช่นกับดวงประทีป อันโพลงอยู่ในโลกหน้าและโลกนี้ ด้วยการ กระทำความอนุเคราะห์แก่ชาวโลกทั้งสิ้น.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตตํ หิตาเม ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านี้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล ติดต่อกัน คือตลอดกาล.

บทว่า ปหีนสพฺพาวรณา ชนินฺทา ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นใหญ่ คือเป็นผู้สูงสุดแห่งมวลชน ชื่อว่าผู้ละเครื่อง กั้นทั้งปวงได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละเครื่องกั้น ๕ ประการทั้งหมด มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น.

บทว่า ฑนกญฺจนาภา ความว่า ผู้มีรัศมีเช่นกับความสุกสกาวแห่ง ทองสีแดงและทองชมพูนุท.

บทว่า นิสฺสํสยํ โลกสุทกฺขิเณยฺยา ได้แก่ เป็นผู้ควร คือสมควร เพื่อรับทักษิณาชั้นดี คือทานชั้นเลิศของชาวโลกโดยส่วนเดียว อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ควรรับสุนทรทาน เพราะเป็นผู้ไม่มีกิเลส.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตตปฺปิตาเม ความว่า พระพุทธะผู้บรรลุ ปัจเจกญาณเหล่านี้เป็นผู้แนบแน่น คืออิ่มหนำบริบูรณ์เป็นนิตย์ คือเป็น นิตยกาล อธิบายว่า แม้จะไม่มีอาหารตลอด ๗ วัน ก็บริบูรณ์อยู่ได้ด้วย อำนาจนิโรธสมาบัติและผลสมาบัติ.

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 395

อสาธารณพุทธะทั้งหลายเป็นใหญ่เป็นเอก คือเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่ ไม่เหมือน เป็นอย่างอื่น จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า อีกอย่างหนึ่ง เพราะ ปติ ศัพท์เป็นอุปสรรคในความว่าเป็นเอก ท่าน กล่าวไว้ว่า

ศัพท์ทั้ง ๓ นี้ คืออุปสรรค นิบาตและปัจจัย นักนิรุตติ- ศาสตร์ทั้งหลายกล่าวว่า มีวิสัยแห่งอรรถมิใช่น้อย.

ท่านจึงเป็นใหญ่ คือเป็นประธานเป็นเจ้าของ เพราะรับอาหาร มีประมาณน้อยของเหล่าทายกมากมาย แล้วให้ได้บรรลุถึงสวรรค์ และ นิพพาน. จริงอย่างนั้น ท่านเป็นใหญ่เป็นประธานโดยรับส่วนแห่งภัตของ คนหาบหญ้า ชื่อว่าอันนภาระ เมื่อเขามองเห็นอยู่ ก็ฉันให้ดู ยังเหล่าเทวดา ให้ให้สาธุการ แล้วทำนายอันนภาระผู้เข็ญใจให้ได้รับตำแหน่งเศรษฐี แล้ว ยังทรัพย์นับด้วยโกฏิให้เกิดขึ้น และโดยรับบิณฑบาตที่พระโพธิสัตว์เหยียบ ฝักปทุมอันผุดขึ้นในหลุมถ่านเพลิง ไม้ตะเคียนที่มารนิรมิตขึ้นถวาย เมื่อ พระโพธิสัตว์นั้นมองเห็นอยู่นั่นแหละ ได้ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นด้วย การเหาะไป (ดังกล่าวไว้) ในขทิรังคารชาดกและโดยที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นโอรสของพระอัครมเหสีอรุณวตี ยังความโสมนัสให้เกิด ขึ้นแก่มหาชนกโพธิสัตว์และเทวี ด้วยการเหาะมาจากเขาคันธมาทน์ ด้วย การอาราธนาของพระเทวีแห่งพระเจ้ามหาชนกแล้วรับการถวายทาน.

อนึ่ง ในกาลที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น เมื่อฉาตกภัยเกิดขึ้น ในชมพูทวีปทั้งสิ้น พาราณสีเศรษฐีทำข้าวเปลือกในฉางหกหมื่นฉางซึ่ง บรรจุไว้เต็มรักษาไว้ให้หมดไป เพราะอาศัยฉาตกภัย ทำข้าวเปลือกที่ฝั่งไว้ ในแผ่นดินและข้าวเปลือกที่บรรจุไว้ในตุ่มหกพันตุ่มให้หมดไป และทำ

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 396

ข้าวเปลือกที่ขยำกับดินเหนียวแล้วทาไว้ที่ฝาปราสาททั้งสิ้นให้หมดไป ใน คราวนั้นเหลือข้าวเพียงทะนานเดียวเท่านั้น จึงนอนทำความคิดให้เกิด ขึ้นว่า เราจักกินข้าวนี้แล้วตายวันนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มาจากเขาคันธมาทน์ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. เศรษฐีเห็นท่านเข้าจึงเกิด ความเลื่อมใส เมื่อจะบริจาคชีวิตถวาย จึงเกลี่ยภัตตาหารลงในบาตร ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังที่อยู่ เมื่อเศรษฐีมองเห็นอยู่นั่นแล ได้ฉันพร้อมกับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ด้วยอานุภาพของตน. ในคราวนั้นท่านเศรษฐีและภรรยาได้ ปิดหม้อข้าวที่หุงภัตแล้วตั้งไว้.

เมื่อความหิวเกิดขึ้นแก่เศรษฐีผู้กำลังหลับ เขาจึงลุกขึ้นกล่าวกะ ภรรยาว่า นางผู้เจริญ เธอจงดูสักว่าภัตอันเป็นข้าวตังในภัต. นางผู้มีการ ศึกษาดีไม่กล่าวว่า ให้หมดแล้วมิใช่หรือ (นาง) เปิดฝาหม้อข้าว (ดู). ทันใดนั้นหม้อข้าวนั้นได้เต็มด้วยภัตแห่งข้าวสาลี มีกลิ่นหอม เช่นกับดอก มะลิตูม. นางกับเศรษฐีดีใจ ตนเอง คนที่อยู่ในเรือนทั้งสิ้น และชาวเมือง ทั้งสิ้นพากันบริโภค. ที่ที่คนตักเอาๆ ด้วยทัพพีกลับเต็มอยู่. ข้าวสาลี มีกลิ่นหอม เต็มในฉางทั้งหกหมื่นฉาง. ชนชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นถือเอา พืชข้าวเปลือกจากเรือนของเศรษฐีนั่นแหละ จึงพากันมีความสุข พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ คือเป็นเจ้าของในการก้าวลงสู่ความสุข การบริบาล รักษาและการให้บรรลุสวรรค์และนิพพานในสัตตนิกายมิใช่น้อย มีอาทิ อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สุภาสิตานิ ได้แก่ คำที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ภาษิตคือกล่าวไว้ดีแล้ว ด้วยอำนาจโอวาทและอนุสาสนี.

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 397

บทว่า จรนฺติ โลกมฺหิ สเทวโลกมฺหิ ความว่า ย่อมเที่ยวไป คือ เป็นไปในสัตว์โลก อันเป็นไปกับเทวโลก.

บทว่า สุตฺวา ตถา เย น กโรนฺติ พาลา ความว่า พาลชน เหล่าใดไม่กระทำ คือไม่ใส่ใจถึงคำภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเห็นปานนั้น พาลชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวไปคือเป็นไป อธิบายว่า แล่นไปในกองทุกข์ คือในสงสารทุกข์ ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นบ่อยๆ.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สุภาสิตานิ ความว่า คำที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว คือกล่าวเพื่อต้องการความหลุดพ้นจากอบายทั้ง ๔. ถ้อยคำเป็นอย่างไร? เป็นดุจรวงน้ำผึ้งอันหลั่งออก คือกำลังไหลออก อธิบายว่า เป็นคำหวานเหมือนน้ำผึ้ง. ความว่า แม้บัณฑิตชนเหล่าใด ผู้ประกอบด้วยการปฏิบัติ ปฏิบัติอยู่ในข้อปฏิบัติทั้งหลายตามแนวที่กล่าว แล้ว ได้ฟังคำอันไพเราะเห็นปานนั้นแล้วกระทำตามถ้อยคำ บัณฑิตชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้เห็นสัจจะ คือมีปกติเห็นสัจจะทั้ง ๔ เป็นผู้มีปัญญา คือเป็นไปกับด้วยปัญญา.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺเธหิ ชิเนหิ ภาสิตา ความว่า ชื่อว่าชินะ เพราะ ชนะ คือได้ชนะกิเลส กถาที่พระชินปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นกล่าว คือภาษิตไว้ กล่าวไว้ เป็นคำโอฬาร คือมีโอชะปรากฏอยู่ คือเป็นไปอยู่. เชื่อมความว่า กถาเหล่านั้น คือกถาอันพระศากยสีหะ ได้แก่พระตถาคต ผู้เป็นสีหะในวงศ์แห่งศากยราช ผู้ออกบวชแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็น นระชั้นสูง คือเป็นผู้สูงสุดประเสริฐกว่านรชนทั้งหลาย ทรงประกาศไว้ คือทรงทำให้ปรากฏ ได้แก่ตรัสเทศนาไว้แล้ว. เพื่อจะเฉลยคำถามว่า

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 398

ทรงประกาศไว้เพื่ออะไร จึงตรัสว่า เพื่อให้รู้แจ้งธรรม. อธิบายว่า เพื่อให้รู้โลกุตรธรรม ๙ โดยพิเศษ.

บทว่า โลกานุกมฺปาย อิมานิ เตสํ ความว่า เพราะความเป็นผู้ อนุเคราะห์โลก คือเพราะอาศัยความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงกล่าวคำเหล่านี้ คือคาถาเหล่านี้ให้วิเศษ คือแต่งไว้ กล่าวไว้โดยพิเศษ.

บทว่า สํเวคสงฺคมติวฑฺฒนตฺถํ ความว่า เพื่อเพิ่มพูนความ สังเวช เพื่อเพิ่มพูนความไม่คลุกคลี คือเพื่อเพิ่มพูนความเป็นผู้เดียว และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ คือเพื่อเพิ่มพูนปัญญา พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นสยัมภูสีหะ คือเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ เป็นแล้ว เกิดแล้ว แทงตลอดแล้ว เฉพาะพระองค์เอง เป็นดุจสีหะไม่กลัว ได้ประกาศคำเหล่านี้ อธิบายว่า ประกาศ เปิดเผย ทำให้คนซึ่งความเหล่านี้. ศัพท์ว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถจบข้อความ.

พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน

ในวิสุทธชนวิลบาสินี อรรถกถาอปทาน

จบบริบูรณ์เท่านี้