พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กถาว่าด้วยตติยฌาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41766
อ่าน  509
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 264

กถาว่าด้วยตติยฌาน

ปีติในคําว่า ปีติยา จ วิราคา นี้ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล. ความเกลียดชัง หรือความก้าวล่วงปีตินั้น ชื่อว่า วิราคะ (ความสํารอก). จ ศัพท์ ในระหว่างบททั้ง ๒ มีการประมวลมาเป็นอรรถ. จ ศัพท์ ประมวลมาซึ่งความสงบ หรือความเข้าไปสงบวิตกวิจาร. พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ในการประมวลทั้งสองอย่างนั้น ในกาลใดประมวลความสงบมาอย่างเดียว ในเวลานั้น เพราะสํารอกปีติ และเพราะสงบได้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย. ก็ในโยชนานี้ วิราคะ ศัพท์ มีความเกลียดชังเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้ว่า เพราะเกลียดชัง และเพราะระงับปีติ.

พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ก็ในเวลาใด ประมวลความสงบระงับวิตกวิจารมา ในเวลานั้น เพราะสํารอกปีติ และเพราะเข้าไปสงบวิตกวิจารเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย. และในโยชนานี้ วิราคะ ศัพท์ มีความก้าวล่วงเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะสงบระงับวิตกวิจาร.

อนึ่ง วิตกวิจารเหล่านี้ สงบแล้วในทุติยฌานทีเดียวก็จริง ถึงกระนั้น, คําว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ก็เพื่อจะทรงแสดงอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้).

ถามว่า จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า และเพราะความสงบระงับวิตกวิจาร คํานี้ ย่อมปรากฏว่า ความสงบระงับวิตกวิจารก็เป็นอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้ มิใช่หรือ?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 265

แก้ว่า เหมือนอย่างว่าในอริยมรรคที่ ๓ ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นการกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ ๓) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะแก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย เพื่อบรรลุอริยมรรคที่ ๓ นั้น ฉันใด, ในตติยฌานนี้ ท่านกล่าวความสงบระงับวิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบราบคาบไว้เป็นการกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้) ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวใจความนี้ไว้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบระงับวิตกวิจารดังนี้.

ในคําว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสิํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

ธรรมชาติที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุปบัติ. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอคือย่อมเห็นไม่ตกไปเป็นฝักเป็นฝ่าย. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่านเรียกว่า ผู้มีอุเบกขา. เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันสละสลวยไพบูลย์ มีกําลัง.

[อุเบกขา ๑๐ อย่าง]

ก็อุเบกขามีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ

๑. ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ (คืออารมณ์) ๖.

๒. พรหมวิหารุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร.

๓. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์.

๔. วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะ.

๕. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.

๖. เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 266

๗. วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา.

๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางในธรรมนั้นๆ.

๙. ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน.

๑๐. ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์.

อุเบกขาแม้ทั้ง ๑๐ อย่าง ดังกล่าวมานี้ พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ในวรรณนาแห่งภยเภรสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี หรือในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัฏฐสาลินี โดยนัยอันมาแล้วในที่นั้นๆ และด้วยความสามารถแห่งสังเขปคือ ภูมิ บุคคล จิต อารมณ์ ขันธสังคหะ เอกขณจิต และกุสลติกะ. ก็อุเบกขา เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ย่อมทํานิทานแห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว.

[อรรถาธิบายลักษณะแห่งอุเบกขา]

ส่วนอุเบกขาที่ประสงค์เอาในอธิการนี้ โดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบว่า มีความมัธยัสถ์ (ความเป็นกลาง) เป็นลักษณะ มีความไม่คํานึงเป็นรส มีความไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสํารอกปีติเป็นปทัฏฐาน.

ในอธิการว่าด้วยตติยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็ฌานุเบกขานี้ โดยอรรถก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั่นเอง และฌานุเบกขานั้น ก็มีอยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน เพราะฉะนั้น ฌานุเบกขานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ควรจะตรัสไว้แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสิํ ดังนี้ มิใช่หรือ? เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสฌานุเบกขานั้นไว้เล่า?

เฉลยว่า เพราะมีกิจยังไม่ปรากฏชัด. จริงอยู่ กิจแห่งฌานุเบกขานั้น ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น ชื่อว่ายังไม่ปรากฏชัด เพราะถูกปฏิปักขธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 267

มีวิตกเป็นต้นครอบงํา. ส่วนในตติยฌานนี้ ฌานุเบกขานี้ เกิดมีกิจปรากฏชัดเป็นดุจยกศีรษะขึ้นได้แล้ว เพราะวิตกวิจารและปีติครอบงําไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสฌานุเบกขานั้นไว้แล.

การพรรณนาอรรถ โดยประการทั้งปวงแห่งบทว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสิํ นี้ จบแล้ว.

[อธิบายลักษณะแห่งสติและสัมปชัญญะ]

บัดนี้จะวินิจฉัยในบาลีนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน. ชื่อว่า สโต เพราะอรรถว่า ระลึกได้, ชื่อว่า สัมปชาโน เพราะอรรถว่า รู้ชัดโดยชอบ สติและสัมปชัญญะตรัสโดยบุคคล. ในสติและสัมปชัญญะนั้น สติมีความระลึกได้เป็นเครื่องกําหนด มีความไม่หลงลืมเป็นกิจ มีการควบคุมเป็นเหตุเครื่องปรากฏ. สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นเครื่องกําหนด มีความพิจารณาเป็นกิจ มีความสอดส่องเป็นเครื่องปรากฏ. ก็สติและสัมปชัญญะนี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวรรณนาแห่งสติปัฏฐานสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกายนั่นแล.

บรรดาธรรมในตติยฌานนั้น สติและสัมปชัญญะนี้มีอยู่แม้ในฌานก่อนๆ โดยแท้ เพราะว่า แม้คุณชาติเพียงอุปจาร ย่อมไม่สําเร็จแก่พระโยคาวจรผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ, จะกล่าวไปไยถึงอัปปนา. ถึงกระนั้น เพราะความที่ฌานเหล่านั้นหยาบ การดําเนินไปของจิตจึงมีความสะดวก เหมือนการดําเนินไปบนภาคพื้นของบุรุษฉะนั้น กิจแห่งสติและสัมปชัญญะในฌานเหล่านั้นจึงยังไม่ปรากฏชัด. ก็เพราะความที่ฌานนี้ละเอียด เพราะละองค์ที่หยาบได้ การดําเนินไปของจิต อันกิจแห่งสติและสัมปชัญญะกํากับแล้วทีเดียวจําปรารถนา เหมือนการเดินใกล้คมมีดโกนของบุรุษฉะนั้น เพราะเหตุนี้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 268

จึงตรัสไว้ในตติยฌานนี้ทีเดียว. ยังมีข้อที่จะพึงกล่าวเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อย. นักปราชญ์พึงทราบสันนิษฐานว่า คํานี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในตติยฌานนี้เท่านั้น ก็เพื่อแสดงเนื้อความพิเศษแม้นี้ว่า ลูกโคที่ยังติดแม่โค ถูกพรากจากแม่โค เมื่อไม่คอยควบคุมไว้ ย่อมเข้าหาแม่โคอีกนั่นเองฉันใด ความสุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูกพรากจากปีติแล้ว ความสุขนั้นเมื่อไม่คอยควบคุมด้วยเครื่องควบคุมคือสติและสัมปชัญญะ พึงเข้าหาปีติอีกทีเดียว พึงเป็นสุขที่สัมปยุตต์ด้วยปีตินั้นเอง. ถึงแม้ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมกําหนัดนักในความสุข และความสุขนี้ก็เป็นสุขหวานยิ่งนัก เพราะไม่มีสุขยิ่งไปกว่านั้น แต่ความไม่กําหนัดนักในความสุข ย่อมมีในตติยฌานนี้ ด้วยอานุภาพแห่งสติและสัมปชัญญะ มิใช่มีด้วยประการอื่นดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สุขฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทสิํ นี้ต่อไป :-

พระโยคีผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน ไม่มีความรําพึงในการเสวยความสุข แม้ก็จริง ถึงเมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคีนั้น แม้ออกจากฌานแล้ว ก็พึงเสวยสุขได้ เพราะเหตุที่รูปกายของท่าน อันรูปที่ประณีตยิ่ง ซึ่งมีความสุขที่สัมปยุตต์ด้วยนามกายของท่าน หรือความสุขที่ประกอบนามกายนั้นเป็นสมุฏฐานถูกต้อง ซึมซาบแล้ว.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า สุขฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทสิํ ดังนี้.

บัดนี้ จะวินิจฉัยในคําว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี นี้ต่อไป :-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 269

พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก คือย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนก ย่อมกระทําให้ตื้น, อธิบายว่า ย่อมประกาศ คือย่อมสรรเสริญ ซึ่งบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้น เพราะเหตุแห่งฌานใด คือเพราะฌานใดเป็นเหตุ. ย่อมสรรเสริญว่าอย่างไร? ย่อมสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขดังนี้. เราเข้าถึงตติยฌานนั้นอยู่แล้ว, โยชนาในคําว่า ยนฺตํ อริยา เป็นต้นนี้ พึงทราบดังพรรณนามาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุใด พระอริยเจ้าเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้นไว้อย่างนั้น?

แก้ว่า เพราะเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ.

จริงอยู่ เพราะพระโยคีนี้ เป็นผู้มีความวางเฉยในตติยฌาน ซึ่งมีความสุขอันหวานยิ่งนัก ที่ถึงฝังแห่งความสุขแล้วก็ตาม หาถูกความใคร่ในสุขคร่าไปในตติยฌานนั้นได้ไม่ และชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้มีสติตั้งมั่นโดยอาการที่ปีติจะเกิดขึ้นไม่ได้. และเพราะท่านได้เสวยความสุขอันไม่เศร้าหมอง ที่เป็นอริยกันต์ และอันอริยชนซ่องเสพแล้วนั่นเอง ด้วยนามกาย ฉะนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ.

พึงทราบสันนิษฐานว่า เพราะเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ พระอริยเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะประกาศคุณที่เป็นเหตุอันควรสรรเสริญเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้นอย่างนี้ว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังพรรณนามาฉะนี้.

บทว่า ตติยํ คือเป็นที่ ๓ ตามลําดับแห่งการคํานวณ. ฌานนี้ชื่อว่าที่ ๓ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุครั้งที่ ๓ ดังนี้บ้าง.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 270

[ทุติยฌานมีองค์ ๔ ตติยฌานมีองค์ ๕]

ในคําว่า ฌานํ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ทุติยฌานมีองค์ ๔ ด้วยองค์ทั้งหลายมีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันใด, ตติยฌานนี้ก็มีองค์ ๕ ด้วยองค์ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้น ฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อุเบกขา (ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ชื่อว่าฌาน (๑) ดังนี้. อันนั่น เป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง ตติยฌานนั้น เว้นองค์ คือ อุเบกขา สติ และสัมปชัญญะเสีย ย่อมประกอบด้วยองค์ ๒ เท่านั้น. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ ๒ คือสุข และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน? คําที่เหลือ มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแล.

กถาว่าด้วยตติยฌาน จบ.


(๑) อภิ. วิ. ๓๕/๓๕๑