กถาว่าด้วยจตุตถฌาน
[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 271
เวรัญชกัณฑวรรณนา
กถาว่าด้วยจตุตถฌาน หน้า 271
อรรถาธิบายอุเบกขาในจตุตถฌาน หน้า 275
ตติยฌานมีองค์ ๕ จตุตถฌานมีองค์ ๓ หน้า 277
อรรถาธิบายฌาน ๔ ของบุคคล ๕ ประเภท หน้า 277
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 1]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 271
กถาว่าด้วยจตุตถฌาน
(๑) คําว่า เพราะละสุขและเพราะละทุกข์เสียได้ ดังนี้ คือ เพราะละสุขทางกายและทุกข์ทางกาย. คําว่า ในก่อนเทียว ความว่า ก็การละสุขและทุกข์นั้นแล ได้มีแล้วในก่อนแท้ มิใช่มีในขณะจตุตถฌาน. คําว่า เพราะถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสมนัสและโทมนัส ดังนี้นั้น ความว่า เพราะถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ มีคําอธิบายว่า เพราะละได้นั่นแล ซึ่งธรรม ๒ ประการเหล่านี้ คือสุขทางใจและทุกข์ทางใจ ในก่อนเทียว.
ถามว่า ก็จะละสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัสเหล่านั้นได้ เมื่อไร?
แก้ว่า ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานทั้ง ๔.
จริงอยู่ โสมนัสอันพระโยคาวจรละได้ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานที่ ๔ นั้นแล. ทุกข์โทมนัสและสุขละได้ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พึงทราบการละสุขทุกข์โสมนัสและโทมนัสเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้โดยลําดับแห่งการละทีเดียว, แต่ก็ได้ตรัสไว้แม้ในที่นี้โดยลําดับอุเทศแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในอินทรีย์วิภังค์นั่นแล.
มีคําถามว่า ก็ถ้าสุขทุกข์เป็นต้นเหล่านี้ พระโยคาวจรละได้ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานนั้นๆ ไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงตรัสการดับ (สุขทุกข์เป็นต้น) ไว้ในฌานทั้งหลายนั่นแลอย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้วดับหาเศษมิได้ในฌานไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่, ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว
(๑) องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 272
ดับหาเศษมิได้ฌานนี้, ก็โทมนัสสินทรีย์... สุขินทรีย์... โสมนัสสินทรีย์... เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้ในฌานไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขเสียได้ ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่ โสมนัสสินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้ในฌานนี้ (๑) ดังนี้เล่า.
มีคําแก้ว่า เพราะเป็นความดับอย่างประเสริฐ. จริงอยู่ ความดับทุกข์เป็นต้นเหล่านั้น ในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นความดับอย่างประเสริฐ. แต่ความดับในขณะแห่งอุปจารเท่านั้น หาเป็นความดับอย่างประเสริฐไม่. จริงอย่างนั้น ทุกขินทรีย์ แม้ดับแล้วในอุปจารแห่งปฐมฌานซึ่งมีอาวัชชนะต่างๆ กัน แต่พึงเกิดขึ้นได้อีก เพราะสัมผัสมีเหลือบและยุงเป็นต้น หรือเพราะความเดือดร้อนอันเกิดจากการนั่งไม่สม่ําเสมอ, แต่จะเกิดในภายในอัปปนาไม่ได้เลย. อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินทรีย์นั่น แม้ดับแล้วในอุปจาร ยังดับไม่สนิทดี เพราะธรรมที่เป็นข้าศึกยังกําจัดไม่ได้. ส่วนภายในอัปปนา กายทั้งสิ้นหยั่งลงสู่ความสุข เพราะมีปีติซาบซ่าน และทุกขินทรีย์ของพระโยคาวจรผู้มีกายหยั่งลงสู่ความสุข จัดว่าดับไปแล้วด้วยดี เพราะธรรมที่เป็นข้าศึกถูกกําจัดเสียได้.
ก็โทมนัสสินทรีย์ที่พระโยคาวจรละได้แล้ว ในอุปจารแห่งทุติยฌานซึ่งมีอาวัชชนะต่างๆ กันนั่นแล แต่พึงเกิดขึ้นได้อีก เพราะโทมนัสสินทรีย์นั่น เมื่อมีความลําบากกายและความคับแค้นใจแม้ที่มีวิตกวิจารเป็นปัจจัยอยู่ ย่อมบังเกิดขึ้นได้ แต่จะเกิดไม่ได้เลยในเพราะไม่มีวิตกวิจาร, แต่โทมนัสสินทรีย์จะเกิดในจิตตุปบาทใด เพราะมีวิตกวิจารจึงเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนั้น, วิตกวิจารในอุปจารแห่งทุติยฌานท่านยังละไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น โทมนัสสินทรีย์
(๑) อภิ. วิ. ๓๕/๓๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 273
นั้น พึงเกิดได้ในอุปจารแห่งทุติยฌานนั้น เพราะมีปัจจัยที่ยังละไม่ได้ แต่ในทุติยฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะมีปัจจัยอันละได้แล้ว.
อนึ่ง สุขินทรีย์ แม้ที่ละได้แล้วในอุปจารแห่งตติยฌาน ก็พึงบังเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้มีกายอันรูปที่ประณีต ซึ่งมีปีติเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว แต่ในตติยฌานเกิดขึ้นไม่ได้เลย. จริงอยู่ ปีติอันเป็นปัจจัยแห่งความสุขในตติยฌาน ดับไปแล้วโดยประการทั้งปวงแล. อนึ่ง โสมนัสสินทรีย์ แม้ที่ละได้แล้วในอุปจารแห่งจตุตถฌาน ก็พึงเกิดขึ้นอีกได้ เพราะใกล้ต่อปีติ และเพราะยังไม่ผ่านไปด้วยดี เพราะยังไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา, แต่ในจตุตถฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย. เพราะเหตุดังที่กล่าวมานี้นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทําอปริเสสศัพท์ไว้ในที่นั้นๆ ว่า ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้ในฌานนี้ ดังนี้แล.
ในอธิการแห่งจตุตถฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนาเหล่านั้น แม้ที่ละได้แล้วในอุปจารแห่งฌานนั้นๆ เพราะเหตุไรในจตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประมวลมาไว้อีกเล่า?
แก้ว่า เพื่อให้ถือเอาสะดวก (เพื่อเข้าใจง่าย).
จริงอยู่ อทุกขมสุขเวทนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในองค์ฌานนี้ว่า อทุกฺขมสุขํ (ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข) นี้ เป็นของละเอียด รู้ได้โดยยาก ไม่สามารถจะถือเอาได้โดยสะดวก, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประมวลเวทนาเหล่านั้นมาไว้ทั้งหมด เพื่อให้ถือเอาสะดวก เปรียบเหมือนเพื่อจะจับโคดุ ซึ่งใครๆ ไม่สามารถจะเข้าไปจับใกล้ๆ ได้โดยประการใดประการหนึ่ง คนเลี้ยงโคจึงต้อนโคทุกตัวมาไว้ในคอกเดียวกัน ภายหลังจึงปล่อยออกมาทีละตัวๆ ให้จับเอาโคแม้ตัวนั้น ซึ่งผ่านออกมาตามลําดับ โดย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 274
สั่งว่า นี่คือโคตัวนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉะนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่พระองค์ประมวลมาแล้วอย่างนั้น ย่อมทรงสามารถ เพื่ออันให้ถือเอาเวทนานี้ว่า ธรรมชาติที่มิใช่สุข มิใช่ทุกข์ มิใช่โสมนัส มิใช่โทมนัส นี้ คือ อทุกขมสุขเวทนา, อนึ่ง เวทนาเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ ก็เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเจโตวิมุตติ. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีการละสุขเป็นต้น (๑) เป็นปัจจัยแห่งเจโตวิมุตตินั้น. เหมือนดังที่พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นอทุกขมสุขเจโตวิมุตติมี ๔ อย่างแล, ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงจตุตถฌาน อันเป็นอทุกขมสุข มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนเทียว, ดูก่อนผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติ อันเป็นอทุกขมสุขมี ๔ อย่างเหล่านี้แล (๒)
อีกอย่างหนึ่ง สังโยชน์ทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ละได้แล้วในมรรคอื่นมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น พระองค์ตรัสว่า ละได้แล้วในมรรคที่ ๓ นั้น เพื่อตรัสสรรเสริญมรรคที่ ๓ ฉันใด เวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น ควรทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ในจตุตถฌานนี้ แม้เพื่อตรัสสรรเสริญฌานนั่น ฉันนั้น.
อีกนัยหนึ่ง เวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ในจตุตถฌานนี้ แม้เพื่อจะทรงแสดงข้อที่ราคะและโทสะ เป็นธรรมชาติที่อยู่ไกลยิ่ง เพราะสังหารปัจจัยเสียได้. จริงอยู่ บรรดาเวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น
(๑) วิสุทธิมรรค. ๑/๒๑๓ เป็น ทุกขปฺปหานาทโย. ฎีกาสารัตถทีปนี ๑/๕๙๐ ก็เหมือนกัน.
(๒) ม. มู. ๑๒/๕๔๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 275
สุข เป็นปัจจัยแห่งโสมนัส, โสมนัส เป็นปัจจัยแห่งราคะ, ทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งโทมนัส, โทมนัส เป็นปัจจัยแห่งโทสะ, และราคะโทสะพร้อมทั้งปัจจัยเป็นอันจตุตถฌานนั้นกําจัดแล้ว เพราะสังหารความสุขเป็นต้นเสียได้ เพราะเหตุนั้น ราคะและโทสะ จึงมีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ฉะนี้แล.
[อรรถาธิบายอุเบกขาในจตุตถฌาน]
บทว่า อทุกฺขมสุขํ ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์ ชื่อว่า อสุข เพราะไม่มีสุข. ในคําว่า อทุกฺขมสุขํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวทนาที่ ๓ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขด้วยพระดํารัสนี้ หาทรงแสดงเพียงสักว่าความไม่มีแห่งทุกข์และสุขไม่. อทุกข์และอสุข ชื่อว่าเวทนาที่ ๓ ท่านเรียกว่า อุเบกขา บ้าง. อุเบกขานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีการเสวยอารมณ์ที่ผิดแปลกจากอารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ มีความเป็นกลางเป็นรส มีอารมณ์ไม่แจ่มแจ้งเป็นเครื่องปรากฏ มีความดับสุขเป็นปทัฏฐาน.
บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธิํ ความว่า มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว. จริงอยู่ ในฌานนี้ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยดี และความบริสุทธิ์แห่งสตินั้นอันอุเบกขาทําแล้ว หาใช่ธรรมอย่างอื่นทําไม่, เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว ดังนี้. แม้ในคัมภีร์วิภังค์ พระองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่า สตินี้ย่อมเป็นธรรมชาติเปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เพราะอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา (๑) ก็ความบริสุทธิ์แห่งสติในจตุตถฌานนี้ย่อมมีเพราะอุเบกขาใด, อุเบกขานั้น โดยอรรถพึงทราบว่า มีความเป็นกลาง
(๑) อภิ. วิ. ๓๕/๓๕๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 276
ในธรรมนั้นๆ อนึ่ง ในจตุตถฌานนี้ สติเท่านั้น เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขานั้นอย่างเดียวก็หามิได้. อีกอย่างหนึ่งแล แม้สัมปยุตตธรรมทั้งหมด ก็บริสุทธิ์เพราะอุเบกขานั้น (เหมือนกัน). แต่เทศนา พระองค์ตรัสไว้โดยยกสติขึ้นเป็นประธาน.
บรรดาธรรมในจตุตถฌานนั้น อุเบกขานี้ มีอยู่ในฌานทั้ง ๓ แม้ในหนหลัง ก็จริง ถึงกระนั้น จันทเลขา กล่าวคือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขาแม้นี้ ถึงแม้มีอยู่ในความต่างแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติไม่บริสุทธิ์ เพราะถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงําไว้ และเพราะไม่ได้ราตรีกล่าวคืออุเบกขาเวทนา ที่เป็นสภาคกัน เปรียบเหมือนจันทเลขา (ดวงจันทร์) ถึงแม้มีอยู่ในกลางวัน ก็ชื่อว่าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ไม่ผ่องใส เพราะถูกรัศมีพระอาทิตย์ครอบงําในกลางวัน หรือเพราะไม่ได้กลางคืนที่เป็นสภาคกัน โดยความเป็นของที่มีอุปการะแก่ตน โดยความเป็นของสวยงามฉะนั้น. ก็เมื่อตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นไม่บริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้นแม้ที่เกิดร่วมกัน ก็เป็นธรรมชาติไม่บริสุทธิ์แท้ เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์ที่ไม่บริสุทธิ์ในกลางวันฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ฌานแม้อย่างหนึ่งในบรรดาปฐมฌานเป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ส่วนในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์กล่าวคือตัตรมัชฌัตตุเปกขานี้ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะไม่ถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงํา และเพราะได้กลางคืน คืออุเบกขาเวทนาที่เป็นสภาคกัน. เพราะความที่ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้นแม้ที่เกิดร่วมกันก็เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ดุจรัศมีแห่งดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น จตุตถฌานนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 277
บทว่า จตุตฺถํ คือเป็นที่ ๔ ตามลําดับแห่งการคํานวณ. ฌานนี้ชื่อว่าที่ ๔ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ ๔.
[ตติยฌานมีองค์ ๕ จตุตถฌานมีองค์ ๓]
ในคําว่า ฌานํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้คือ :- ตติยฌานมีองค์ ๕ ด้วยองค์ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้นฉันใด จตุตถฌานนี้ ก็มีองค์ ๓ ด้วยองค์ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้นฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อุเบกขา (ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ชื่อว่า ฌาน (๑) ดังนี้. อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง จตุตถฌานนี้ เว้นองค์คือสติเสีย เพราะถือเอาองค์คืออุเบกขาเวทนานั่นแล จึงประกอบด้วยองค์ ๒ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ฌานประด้วยองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้นเป็นไฉน? (๒) คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
กถาว่าด้วยจตุตถฌาน จบ.
[อรรถาธิบายฌาน ๔ ของบุคคล ๕ ประเภท]
ฌาน ๔ อย่างเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้ ของบุคคลบางพวก มีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์ ของคนบางพวกเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งอภิญญา ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งนิโรธ ของคนบางพวก มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
บรรดาบุคคล ๕ ประเภทเหล่านั้น ฌานทั้ง ๔ ของพระขีณาสพทั้งหลายมีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์. จริงอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้น
(๑) อภิ. วิ. ๓๕/๓๕๓.
(๒) อภิ. วิ. ๓๕/๓๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 278
ตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า เราเข้าฌานแล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง จักอยู่เป็นสุขตลอดวัน ดังนี้ แล้วทําบริกรรมในกสิณให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น.
ฌานทั้งหลายของเหล่าพระเสขะและปุถุชนผู้ออกจากสมาบัติแล้วตั้งใจไว้ว่า เรามีจิตตั้งมั่นแล้ว จักเห็นแจ้ง แล้วให้เกิดขึ้น จัดว่าเป็นบาทแห่งวิปัสสนา.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว จึงเข้าฌานที่มีอภิญญาเป็นบาท แล้วออกจากสมาบัติ ปรารถนาอภิญญา มีนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า แม้เป็นคนๆ เดียว กลับเป็นมากคนก็ได้ (๑) ดังนี้ จึงให้เกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นบาทแห่งอภิญญา.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น จึงเข้านิโรธสมาบัติแล้วตั้งใจไว้ว่า เราจักเป็นผู้ไม่มีจิตบรรลุนิโรธนิพพาน อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมเทียว ตลอดเจ็ดวัน แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้นย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธ.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว ตั้งใจไว้ว่า เราเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม จักเกิดขึ้นในพรหมโลก แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
ก็จตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดขึ้นแล้ว ณ โคนต้นโพธิพฤกษ์ จตุตถฌานนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้เป็นบาทแห่งวิปัสสนาด้วย เป็นบาทแห่งอภิญญาด้วย เป็นบาทแห่งนิโรธด้วย บันดาลกิจทั้งปวงให้สําเร็จด้วย บัณฑิตพึงทราบว่า อํานวยให้คุณทั้งที่เป็นโลกิยะ ทั้งที่เป็นโลกุตตระทุกอย่าง.
(๑) องฺ. ติก. ๒๐/๒๑๗.