พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กถาว่าด้วยทิพยจักษุ

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 292

กถาว่าด้วยทิพยจักษุ

หลายบทว่า โส เอวํฯ เปฯ จุตูปปาตฺาณาย ความว่า (เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณ (ความรู้) ในจุติและอุปบัติ (ของสัตว์ทั้งหลาย). มีคําอธิบายว่า (เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณที่เป็นเครื่องรู้ความเคลื่อน และความบังเกิดของสัตว์ทั้งหลาย.

สองบทว่า จิตฺตํ อภินินฺนาเมสิํ ความว่า เราได้น้อมบริกรรมจิตไป.

ส่วนในคําว่า โส ทิพฺเพนฯ เปฯ ปสฺสามิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีบารมีเต็มเปียมแล้ว ย่อมไม่มีการทําบริกรรม, จริงอยู่ พระมหาสัตว์เหล่านั้น พอเมื่อน้อมจิตไปเท่านั้น ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์. กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมิกทั้งหลาย ต้องทําบริกรรมจึงเห็นด้วย. เพราะเหตุนั้น การบริกรรม ด้วยสามารถแห่งกุลบุตรเหล่านั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย. แต่เมื่อข้าพเจ้า จะกล่าวการบริกรรมนั้นด้วย จะทํานิทานแห่งพระวินัย ให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวการบริกรรมนั้นไว้. ส่วนนักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ ควรถือเอาการบริกรรมนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิเสสชื่อ วิสุทธิมรรค. (๑) แต่ในนิทานแห่งพระวินัยนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาไว้เฉพาะบาลีเท่านั้น.


(๑) วิสุทธิมรรค. ๒/๒๕๑ - ๒๕๓.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 293

[อรรถาธิบายคําว่า ทิพยจักษุ เป็นต้น]

บทว่า โส คือ โส อหํ แปลว่า เรานั้น. ในคําว่า ทิพฺเพน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- จักษุประสาท ชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับด้วยจักษุทิพย์. จริงอยู่ จักษุประสาทของเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดเพราะสุจริตกรรมอันน้ำดี เสลด และเลือด เป็นต้นมิได้พัวพัน ซึ่งสามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้ เพราะเป็นธรรมชาติที่พ้นจากอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ชื่อว่าเป็นทิพย์. ก็อีกอย่างหนึ่ง ญาณจักษุนี้ ที่เกิดเพราะกําลังแห่งวิริยภาวนา ก็เป็นเช่นจักษุประสาทนั้นเหมือนกัน, เพราะเหตุนั้น ญาณจักษุนั้น จึงชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นจักษุอันพระองค์ได้แล้วด้วยอํานาจทิพพวิหาร และเพราะแม้ตนก็อาศัยทิพพวิหาร. ชื่อว่าเป็นทิพย์ แม้เพราะมีความรุ่งเรืองมาก ด้วยการกําหนดแสงสว่าง. ชื่อว่าเป็นทิพย์ แม้เพราะมีคติ (ทางไป) มาก ด้วยการเห็นรูปที่อยู่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น. หมวด ๕ แห่งอรรถทั้งหมดนั้น บัณฑิตพึงทราบ ตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์.

ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น เป็นเหมือนจักษุ เพราะทํากิจแห่งจักษุ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าจักษุ. ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยการเห็นความจุติและความอุปบัติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย). จริงอยู่ ผู้ใดย่อมเห็นเพียงความจุติเท่านั้น ไม่เห็นความอุปบัติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย) ผู้นั้นย่อมยึดเอาอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ). ผู้ใดย่อมเห็นเพียงความอุปบัติเท่านั้น ไม่เห็นความจุติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย) ผู้นั้นย่อมยึดเอาทิฏฐิคือความปรากฏขึ้นแห่งสัตว์ใหม่ๆ. ส่วนผู้ใดย่อมเห็นทั้งสองอย่างนั้น ผู้นั้นย่อมล่วงเลยทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้นไป เพราะเหตุนั้น ทัสสนะนั้นของผู้นั้น จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 294

พระเนตรเห็นทั้งสองอย่างนั้นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวคํานี้ว่า ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยการเห็นความจุติและความอุปบัติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย) ดังนี้.

[ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากอุปกิเลส ๑๑ อย่าง]

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองจิต) ๑๑ อย่าง. จริงอยู่ ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแล้วจากอุปกิเลส ๑๑ อย่าง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละทั้งหลาย (๑) เรานั้นแล รู้แล้วว่า วิจิกิจฉา เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละวิจิกิจฉา เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า อมนสิการ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละอมนสิการ เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า ถีนมิทธะ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละถีนมิทธะ เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า ความหวาดเสียว เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความหวาดเสียว เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า ความตื่นเต้น เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความตื่นเต้น เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า ความชั่วหยาบ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความชั่วหยาบ เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความเพียรที่ปรารภเกินไป เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.


(๑) ในอุปกิเลสสูตร มีพระอนุรุทธะ พระนันทิยะ และพระกิมพิละ ๓ ท่านเข้าไปเฝ้า, แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสออกชื่อท่านอนุรุทธะรูปเดียวที่เป็นหัวหน้า ใช้พหุวจนะ เช่น สาริปุตฺตา เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 295

รู้แล้วว่า ความเพียรที่หย่อนเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละตัณหาที่คอยกระซิบอันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า นานัตตสัญญา (คือความสําคัญสภาวะเป็นต่างๆ กัน) เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละนานัตตสัญญาเครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

รู้แล้วว่า กิริยาที่เพ่งดูรูปเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละกิริยาที่เพ่งรูปเกินไปอันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.

ดูก่อน อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละทั้งหลาย เรานั้นแล เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวเทียวแล แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย เห็นแต่รูปอย่างเดียวเทียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง (๑) ดังนี้เป็นต้น

ญาณจักษุนั้น (ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น) ชื่อว่า บริสุทธ์ เพราะเว้นจากอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองจิต) ๑๑ อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้.

ชื่อว่า ล่วงจักษุของมนุษย์ เพราะเห็นรูปล่วงเลยอุปจารแห่งมนุษย์ไป.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่า อติกกันตมานุสกะ เพราะล่วงเลยมังสจักษุของมนุษย์ไป. ด้วยทิพยจักษุนั้นอันบริสุทธ์ล่วงเลยเสียซึ่งจักษุของมนุษย์.

สองบทว่า สตฺเต ปสฺสามิ ความว่า เราย่อมดู คือย่อมเห็น ได้แก่ตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย (ด้วยทิพยจักษุ) เหมือนมนุษย์ ดูด้วยมังสจักษุฉะนั้น.


(๑) ม. อุปริ. ๑๔/๓๐๖ - ๓๐๗.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 296

ในคําว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน เป็นต้นนี้ วินิจฉัยดังนี้ :-

ใครๆ ไม่สามรถเพื่อจะเห็นสัตว์ทั้งหลายได้ ด้วยทิพย์จักษุในขณะจุติหรือในขณะอุปบัติ แต่สัตว์เหล่าใด ผู้ใกล้ต่อจุติอยู่ว่า จักจุติเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้น ท่านประสงค์ว่า กําลังจุติ และสัตว์เหล่าใด ผู้ถือปฏิสนธิแล้วหรือผู้เกิดแล้วบัดเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้นท่านก็ประสงค์ว่า กําลังจะอุปบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราย่อมเล็งเห็นสัตว์เหล่านั้น คือเห็นปานนั้นผู้กําลังจุติและผู้กําลังอุปบัติ ดังนี้.

บทว่า หีเน ความว่า ผู้ถูกเขาติเตียน คือดูหมิ่น เหยียดหยามด้วยอํานาจชาติตระกูลและโภคะเป็นต้น ที่ชื่อว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโมหะ.

บทว่า ปณีเต ความว่า ผู้ตรงกันข้ามจากบุคคลเลวนั้น เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโมหะ.

บทว่า สุวณฺเณ ความว่า ผู้ประกอบด้วยผิวพรรณ ที่น่าปรารถนาน่าใคร่ และน่าชอบใจ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโทสะ.

บทว่า ทุพฺพณฺเณ ความว่า ผู้ประกอบด้วยผิวพรรณที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ และไม่น่าชอบใจ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโทสะ.อธิบายว่า ผู้มีรูปแปลกประหลาดจากผู้ที่มีรูปสวย ดังนี้บ้าง.

บทว่า สุคเต ได้แก่ ผู้ไปสู่สุคติ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้มั่งคั่งคือมีทรัพย์มาก เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโลภะ.

บทว่า ทุคฺคเต ได้แก่ ไปสู่สุคติ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ยากจนคือมีข้าวและน้ำน้อย เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโลภะ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 297

บทว่า ยถากมฺมูปเค ได้แก่ ผู้เข้าถึงตามกรรมที่คนเข้าไปสั่งสมไว้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกิจแห่งทิพยจักษุด้วยบทต้นๆ ว่า จวมาเน เป็นอาทิ. อนึ่ง กิจแห่งยถากัมมูปตฌาณ (ญาณเครื่องรู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม) ก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยบทนี้.

[ลําดับความเกิดขึ้นแห่งยถากัมมูปคญาณ]

ก็ลําดับความเกิดขึ้นแห่งญาณนั้น มีดังต่อไปนี้ :-

(ภิกษุในพระศาสนา๑นี้) เจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อนรกเบื้องต่ําแล้ว ย่อมเห็นสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ตามเสวยทุกข์อย่างใหญ่อยู่. การเห็นนั้นจัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ ทํากรรมอะไรหนอแล จึงได้ตามเสวยทุกข์อยู่อย่างนี้? ลําดับนั้น ญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า เพราะทํากรรมชื่อนี้. อนึ่ง เธอนั้นเจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อเทวโลกเบื้องบนแล้ว ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายในสวนนันทวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน เป็นต้น ผู้เสวยสมบัติอย่างใหญ่อยู่การเห็นแม้นั้นจัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า"สัตว์เหล่านี้ทํากรรมอะไรหนอแล จึงได้เสวยสมบัติอย่างนี้?" ลําดับนั้นญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า "เพราะทํากรรมชื่อนี้."นี้ชื่อว่า ยถากัมมูปคญาณ (ญาณเครื่องรู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม). ชื่อว่าการบริกรรมแผนกหนึ่งแม้แห่งยถากัมมูปคญาณนี้ก็ไม่มี. ยถากัมมูปคญาณนี้ ไม่มีการบริกรรมไว้แผนกหนึ่งแม้ฉันใด แม้อนาคตดังสญาณก็ไม่มีฉันนั้น. จริงอยู่ญาณเหล่านี้ (๒) ที่เป็นบาทแห่งทิพยจักษุนั่นแล ย่อมสําเร็จพร้อมกับทิพยจักษุนั่นเอง.


(๑) ฎีกาปรมัตถมัญชุสา ๒/๓๓๐ อิมานิ ศัพท์นี้เป็น อิมินา ในวิสุทธิมรรคก็เป็น อิมินา.

(๒) วิสุทธิมรรค ๒/๒๖๙ มีศัพท์ว่า อิธ ภิกฺขุ จึงได้แปลไว้ตามนั้น เพราะความชัดดี.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 298

ในคําว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ความประพฤติชั่ว หรือความประพฤติเสียหาย เพราะมีกิเลสเป็นความเสียหาย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ทุจริต. ความประพฤติชั่วทางกาย หรือความประพฤติชั่วที่เกิดจากกาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กายทุจริต. แม้วจีทุจริต และมโนทุจริต ก็ควรทราบดังอธิบายนี้.

บทว่า สมนฺนาคตา แปลว่า เป็นผู้พร้อมเพรียง.

[การด่าพระอริยเจ้าห้ามสวรรค์และห้ามมรรค]

สองบทว่า อริยานํ อุปวาทกา ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ กล่าวใส่ร้าย มีคําอธิบายว่าด่าทอ ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า โดยที่สุด แม้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบัน ด้วยอันติมวัตถุ หรือด้วยการกําจัดเสียซึ่งคุณ.

ในการกล่าวใส่ร้าย ๒ อย่างนั้น บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า สมณธรรมของท่านเหล่านั้น ไม่มี, ท่านเหล่านั้น ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้ายด้วยอันติมวัตถุ. บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ของท่านเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้ายด้วยการกําจัดเสียซึ่งคุณ. ก็ผู้นั้นพึงกล่าวใส่ร้ายทั่งที่รู้ตัวอยู่ หรือไม่รู้ก็ตามย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าแท้ แม้โดยประการทั้งสอง. กรรม (คือการกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า) เป็นกรรมหนัก เป็นทั้งสัคคาวรณ์ (ห้ามสวรรค์) ทั้งมัคคาวรณ์ (ห้ามมรรค)

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 299

[เรื่องภิกษุหนุ่มกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าชั้นสูง]

ก็เพื่อประกาศข้อที่การด่าเป็นกรรมที่หนักนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงนําเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่ง และภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง. ท่านทั้ง ๒ นั้น ได้ข้าวยาคูร้อนประมาณกระบวนหนึ่งในเรือนหลังแรกนั่นเอง. แต่พระเถระเกิดลมเสียดท้องขึ้น. ท่านคิดว่า ข้าวยาคูนี้ เป็นของสบายแก่เรา เราจะดื่มข้าวยาคูนั้นก่อนที่มันจะเย็นเสีย ท่านจึงได้นั่งดื่มข้าวยาคูนั้นบนขอนไม้ ซึ่งพวกมนุษย์เข็นมาไว้ เพื่อต้องการทําธรณีประตู. ภิกษุหนุ่มนอกนี้ ได้รังเกียจพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า พระเถระแก่รูปนี้หิวจัดหนอ กระทําให้เราได้รับความอับอาย. พระเถระเที่ยวไปในบ้านแล้วกลับไปยังวิหาร ได้พูดกะภิกษุหนุ่มว่า อาวุโส ที่พึ่งในพระศาสนานี้ของคุณมีอยู่หรือ?

ภิกษุหนุ่ม เรียนว่า มีอยู่ ขอรับ! กระผมเป็นพระโสดาบัน.พระเถระ พูดเตือนว่า อาวุโส! ถ้ากระนั้น คุณไม่ได้ทําความพยามยามเพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ? (๑) เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว. ภิกษุหนุ่มรูปนั้น ได้ให้พระเถระนั้นอดโทษแล้ว เพราะเหตุนั้นกรรมนั้นของภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็ได้กลับเป็นปกติเดิมแล้ว.


(๑) ในวิสุทธิมรรค ภาค ๒/๒๗๐- มีดังนี้คือ เตนหาวุโส อุปริมคฺคตฺถาย วายามํ มาอกาสีติ.กสฺมา ภนฺเตติ. ขีณาสโว ตยาอุปวทิโตติ. แปลว่า พระเถระ พูดเตือนว่าอาวุโส ถ้ากระนั้นคุณไม่ได้ทําความพยายาม เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ? ภิกษุนุ่นเรียนว่า เพราะเหตุไร ขอรับ? พระเถระพูดว่า เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว กสฺมา ภนฺเตติในสามนต์นี้ น่าจะตกไป.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 300

[วิธีขอขมาเพื่อให้อดโทษให้ในการด่าใส่ร้าย]

เพราะฉะนั้น ผู้ใดแม้อื่น กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า ผู้นั้นไปแล้วถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้, ก็พึงให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า กระผมได้กล่าวคํานี้และคํานี้กะพระคุณเจ้าแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้อดโทษนั้นให้กระผมด้วยเถิด ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ไหว้ท่านแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลีพึงขอให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! กระผมได้กล่าวคํานี้และคํานี้กะท่านแล้ว ขอท่านจงอดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ถ้าท่านไม่ยอมอดโทษให้ หรือท่านหลีกไปยังทิศ (อื่น) เสีย พึงไปยังสํานักของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารนั้น. ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้ พึงยืนขอขมาโทษทีเดียวถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ก็พึงนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ให้ท่านช่วยอดโทษให้ พึงกราบเรียนให้ท่านอดโทษอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! กระผมได้กล่าวคํานี้ และคํานี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้นแล้ว ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้น จงอดโทษให้แก่กระผมด้วยเถิด ถ้าพระอริยเจ้านั้นปรินิพพานแล้วไซร้, ควรไปยังสถานที่ตั้งเตียงที่ท่านปรินิพพาน แม้ไปจนถึงป่าช้าแล้ว พึงให้อดโทษให้เมื่อตนได้กระทําแล้วอย่างนี้ กรรมคือการใส่ร้ายนั้น ก็ไม่เป็นทั้งสัคคาวรณ์มัคคาวรณ์ (ไม่ห้ามทั้งสวรรค์ทั้งมรรค) ย่อมกลับเป็นปกติเดิมทีเดียว.

[การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม]

บทว่า มิจฺฉาทิฏิกา แปลว่า มีความเห็นวิปริต.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกมฺมสมาทานา ความว่า ก็คนเหล่าใด ให้ชนแม้เหล่าอื่นสมาทาน บรรดากรรมมีกายกรรมเป็นต้น ซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล.คนเหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมนานาชนิดอันตนสมาทานถือเอาแล้ว ด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ. ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 301

อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดงถึงข้อที่กรรมทั้ง ๒ นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์. จริงอยู่ อริยุปวาท มีโทษมากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตตผล ในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด, ดูก่อนสารีบุตร!เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก (เพราะอริยุปวาท) เหมือนถูกนายนิรยบาลนํามาโยนลงในนรกฉะนั้น. (๑) ก็กรรมอย่างอื่น ชื่อว่ามีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ซึ่งมีโทษมากกว่าเหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลาย! โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง (๒) ดังนี้.

สองบทว่า กายสฺส เภทา ความว่า เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย (ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).

บทว่า ปรมฺมรณา ความว่า แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลําดับแห่งการสละนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา คือ ต่อจากจุติจิต.

[อรรถาธิบายคําว่านรกได้ชื่อว่าอบายเป็นต้น]

คําทั้งหมดมีอาทิอย่างนี้ว่า อปายํ เป็นไวพจน์แห่งคําว่า นิรยะ,จริงอยู่ นิรยะ ชื่อว่า อบาย เพราะไปปราศจากความเจริญ ที่สมมติว่าเป็นบุญอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญขึ้นแห่งความสุข.


(๑) ม. มู. ๑๒/๑๔๕.

(๒) องฺ. ติก. ๒๐/๔.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 302

ที่ชื่อว่า ทุคติ เพราะอรรถว่า มีคติแห่งทุกข์เป็นที่พึ่ง. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ทุคติ เพราะอรรถว่า มีคติที่เกิดเพราะกรรมที่ชั่วร้ายเพราะมีโทษมาก.

ที่ชื่อว่า วินิบาต เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่พวกสัตว์ผู้ชอบทําชั่วตกไปไว้อํานาจ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินิบาต เพราอรรถว่า เป็นสถานที่ที่พวกสัตว์ผู้กําลังพินาศ มีอวัยวะใหญ่น้อยแตกกระจายตกไปอยู่.

ที่ชื่อว่า นิรยะ เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่ไม่มีความเจริญที่รู้กันว่าความยินดี อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานด้วยอบายศัพท์. จริงอยู่ กําเนิดสัตว์ดิรัจฉานจัดเป็นอบาย เพราะปราศจากสูตติ แต่ไม่จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นสถานที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายมีพญานาคเป็นต้น ผู้มีศักดามาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเปตวิสัย ด้วยทุคติศัพท์.จริงอยู่ เปตวิสัยนั้นจัดเป็นอบายด้วย เป็นทุคติด้วย เพราะปราศไปจากทุคติและเพราะเป็นคติแห่งทุกข์, แต่ไม่เป็นวินิบาต เพราะไม่มีความตกไป เช่นกับพวกอสูร. แท้จริง แม้วิมานทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเปรตผู้มีฤทธิ์มาก.พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอสุรกายด้วยวินิปาตศัพท์. ความจริงอสุรกายนั้น ท่านเรียกว่า เป็นอบายด้วย เป็นทุติด้วย เพราะอรรถตามที่กล่าวมาแล้วและว่าเป็นวินิบาต เพราะเป็นผู้มีความตกไปจากความเกิดขึ้นแห่งสมบัติทั้งปวง,พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงนิรยะนั่นแล ซึ่งมีออเนกประการมือวจีเป็นต้นด้วยนิรยศัพท์.

บทว่า อุปปนฺนา แปลว่า เข้าถึงแล้ว อธิบายว่า เกิดขึ้นแล้วในนรกนั้น. ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาว) พึงทราบโดยบรรยายที่แปลกกันจากที่กล่าวแล้ว. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :- แม้คติแห่งมนุษย์ ท่านก็สงเคราะห์เอาด้วนสุคติศัพท์ ในศุกลปักษ์นี้. เทวคติเท่านั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยสัคคศัพท์.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 303

ใน ๓ บทว่า สุคตึ สคฺคํ โลกํ นั้น มีใจความเฉพาะคําดังนี้คือ :-ชื่อว่า สุคติ เพราะอรรถว่า เป็นคติดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะอรรถว่าเลิศด้วยดี ด้วยอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. สุคติและสวรรค์ทั้งหมดนั้นชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า พินาศและแตกสลายไป.

วิชชาคือทิพยจักษุญาณ ชื่อว่า วิชชา. อวิชชา อันเป็นเครื่องปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อวิชชา. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

กถาว่าด้วยทิพยจักษุจบ