พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาโมคคัลลานสีหนาทกถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41773
อ่าน  588
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 335

มหาโมคคัลลานสีหนาทกถา

ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า อถโข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน

มีวินิจฉัยดังนี้ :-

บทว่า อายสฺมา นี้ เป็นคํากล่าวด้วยความรัก, บทนี้เป็นเรื่องแห่งความเคารพ และความยําเกรงโดยฐานครู.

บทว่า มหาโมคฺคลฺลาโน ความว่า พระเถระนั้นชื่อว่า มหาโดยความเป็นผู้มีคุณใหญ่ และชื่อว่า โมคคัลลานะ โดยโคตร เพราะเหตุนั้นพระเถระนั้น จึงชื่อว่า มหาโมคคัลลานะ.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลคํานี้ (กะพระผู้มีพระภาคเจ้า) คือแสดงคําเป็นต้น ที่ตนควรกราบทูลในบัดนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! บัดนี้ (เมืองเวรัญชามีภิกษาหาได้ยาก) ดังนี้.

[ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลขออนุญาตพลิกแผ่นดิน]

ถามว่า ท่านมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูล (คํานี้) เพราะเหตุไร?

แก้ว่า เพราะได้ยินว่า พระเถระบวชแล้ว ในวันที่ ๗ จึงได้ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ ทั้งพระศาสดา ก็ทรงตั้งท่านไว้ในตําแหน่งเอตทัคคะเพราะความที่ท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก. พระเถระนั้นอาศัยความที่ตนเป็นผู้มีฤทธิ์มากนั้น จึงดําริว่า เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก และภิกษุทั้งหลายก็ย่อมลําบาก, ถ้าไฉนหนอ เราจะพลิกแผ่นดิน แล้วให้ภิกษุทั้งหลายฉันง้วนดิน. คราวนั้นท่านได้มีความรําพึงดังนี้ว่า ก็ถ้าว่า เมื่อเราอยู่ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่ทูลขอกะพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพึงทําอย่างนั้นไซร้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 336

ข้อนั้นจะไม่พึงเหมาะแก่เรา จะพึงเป็นเหมือนการแข่งดี ที่เราทํากับพระผู้มี-พระภาคเจ้า : เพราะฉะนั้น พระเถระมีความประสงค์จะทูลขอ จึงมากราบทูลกล่าวคํานั้นกระพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[ภายใต้แผ่นดิน มีง้วนดินที่มีรสโอชา]

สองบทว่า เหฏฺิมตถํ สมฺปนฺนํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระกล่าวหมายเอาฟองดิน โอชาดิน ง้วนดิน ซึ่งมีอยู่ในพื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดิน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนํ แปลว่า มีรสหวาน อธิบายว่ามีรสดี, เหมือนอย่างในประโยคนี้ว่า ต้นไม้มีผลสมบูรณ์ และมีผลเกิดแล้วพึงมีในสถานที่นั้น ดังนี้ พึงทราบความหมายว่า มีผลอร่อยฉันใดแล แม้ในอธิการนี้ ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบความหมายแห่งบทว่า สมฺปนฺนํ นี้ว่ามีรสหวาน คือรสดี.

ส่วนคําว่า เสยฺยถาปิ ขุทฺทกมธุ อนีลกํ นี้ พระเถระกล่าวแล้วก็เพื่อแสดงข้ออุปมา เพราะพื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินนั้น เป็นธรรมชาติมีรสหวาน.

น้ำหวาน ที่ตัวแมลงผึ้งเล็กๆ ทําไว้แล้ว ชื่อว่า ขุทฺทกมธุ (น้ำผึ้งหวี่).

บทว่า อนีลกํ แปลว่าไม่มีตัว คือไม่มีตัวอ่อน ได้แก่น้ำผึ้งที่บริสุทธิ์.ได้ยินว่า น้ำผึ้งนั่นเป็นของเลิศ ประเสริฐ มีรสดี และมีโอชากว่าน้ำหวานทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงได้กล่าวว่า เสยฺยถาปิ ขุทฺทกมธุอนีลกํ เอวมสฺสาทํ แปลว่า (เป็นที่ชอบใจ เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีตัวฉะนั้น) ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 337

ประชุมหลายบทว่า สาธาหํ ภนฺเต ตัดบทว่า สาธุ อหํ ภนฺเตแปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้า (จะพึงพลิกแผ่นดิน) .

ก็บทว่า สาธุ นั่น ซึ่งมีอยู่ในบทว่า สาธาหํ นี้ เป็นคํากราบทูลขอ.จริงอยู่ พระเถระ เมื่อจะกราบทูลขออนุญาตการพลิกแผ่นดิน จึงได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้น.

บทว่า ปริวตฺเตยฺยํ ความว่า พึงหงายขึ้น คือพึงทําพื้นข้างล่างให้กลับขึ้นข้างบน.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงต้องทําอย่างนั้น?

แก้ว่า เพราะว่า เมื่อพระเถระทําอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน คือฟองดิน โดยสะดวก.

คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มีพระประสงค์จะไม่ทรงอนุญาตก็ตาม แต่เพื่อให้พระเถระบังลือสีหนาท จึงตรัสถามว่า โมคคัลลานะ ! ก็เธอจัดทําเหล่าสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินไว้อย่างไรเล่า? ตรัสอธิบายไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายในบ้านและนิคมเป็นต้นเหล่าใดผู้อาศัยแผ่นดินอยู่ เมื่อเธอพลิกแผ่นดิน เธอจักทําสัตว์เหล่านั้นผู้ไม่สามารถจะดํารงอยู่ในอากาศได้อย่างไร? คือจักพักไว้ในสถานที่ไหนเล่า.

คราวนั้น พระเถระ เมื่อจะประกาศอิทธานุภาพของตนอันสมควรแก่ความที่ตน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในตําแหน่งเอตทัตตะ จึงได้กราบทูลว่า เอกาหํ ภนฺเต เป็นต้น

ในความแห่งคําว่า เอกาหํ ภนฺเต เป็นต้นนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า จักนิรมิตมือข้าหนึ่ง เหมือนแผ่นดินใหญ่นี้ คือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 338

จักทําให้เป็นเช่นกับแผ่นดิน ครั้นข้าพระพุทธเจ้าทําอย่างนั้นแล้ว จักทําเหล่าสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินให้ก้าวไปบนมือนั้น เหมือนทําให้สัตว์ผู้ดํารงอยู่แล้วบนพื้นฝ่ามือข้าหนึ่งนั้น ก้าวไปบนพื้นฝ่ามือข้าที่สองฉะนั้น.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พลิกแผ่นดิน]

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงคัดค้านการทูลขอของพระเถระนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ!

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลํ เป็นพระดํารัสที่ตรัสคัดค้าน.

หลายบทว่า วิปลฺลาสมฺปิ สตตา ปฏิลเภยฺยํ ความว่า สัตว์ทั้งหลายพึงเข้าถึงแม้การถือคลาดเคลื่อนไป.

ถามว่า พึงถึงการถือคลาดเคลื่อนอย่างไร?

แก้ว่า อย่างนี้คือ นี้เป็นแผ่นดิน หรือนี้มิใช่แผ่นดินหนอ. อีกอย่างหนึ่ง พึงถึงการถือคลาดเคลื่อนที่ตรงกันข้ามอย่างนี้คือ นี้เป็นบ้านของพวกเราหรือเป็นบ้านของคนเหล่าอื่นหนอ. ในนิคม ชนบท นาและสวนเป็นต้นก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง นั้นมิใช่วิปัลลาส. เพราะว่าอิทธิวิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์เป็นอจินไตย. ส่วนมนุษย์ทั้งหลาย พึงได้รับความเข้าใจผิด อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าทุพภิกขภัยนี้ หาใช่จะมีในบัดนี้เท่านั้นไม่. แม้ในอนาคต ก็จักมี, ในกาลนั้นภิกษุทั้งหลาย จักได้เพื่อนพรหมจารีผู้มีฤทธิ์เช่นนั้นแม่ที่ไหนเล่า? ท่านเหล่านั้นเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระสุขวิปัสสก ท่านผู้ได้ฌาน และผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แม้เป็นพระขีณาสพก็มี จักเข้าไปบิณฑบาตยังตระกูลอื่น เพราะไม่มีอิทธิพล ความวิตกอย่างนี้ ของมนุษย์ทั้งหลายจักมีขึ้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 339

ในภิกษุเหล่านั้นว่า ในครั้งพุทธกาล ภิกษุทั้งหลายได้เป็นผู้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งหลายแล้ว, ท่านเหล่านั้นได้ให้คุณทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ทั้งในคราวมีทุพภิกขภัย ก็ได้พลิกแผ่นดิน แล้วฉันง้วนดิน, แต่บัดนี้ ท่านผู้บําเพ็ญให้บริบูรณ์ในสิขาย่อมไม่มี, ถ้าจะพึงมีไซร้ก็พึงจะทําเหมือนอย่างนั้นทีเดียวด้วยคิดว่า มนุษย์ทั้งหลาย ไม่พึงถวายบิณฑบาตที่สุกหรือดิบอย่างใดยอย่างหนึ่งแก่พวกเรา เพื่อขบฉัน ดังนี้, เพราะความวิตกอย่างว่ามานี้ มนุษย์เหล่านั้นพึงได้วิปัลลาส (ความเข้าใจเคลื่อนคลาด) นี้ ในพระอริยบุคคลทั้งหลายซึ่งมีตัวอยู่นั่นแหละว่า พระอริยบุคคลทั้งหลาย ไม่มี :- ก็แลมนุษย์ทั้งหลายผู้ติเตียนว่าร้ายอยู่ซึ่งพระอริยบุคคลด้วยอํานาจวิปัลลาส (ความเข้าใจผิด) จะพึงเป็นผู้เข้าถึงอบาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า การพลิกแผ่นดิน เธออย่าชอบใจเลย ดังนี้.

ลําดับนั้น พระเถระเมื่อทูลขอเรื่องนี้ไม่ได้ จะทูลขอเรื่องอื่น (ต่อไป) จึงได้กราบทูลคํามีอาทิว่า ดีละ พระเจ้าข้า !

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงคัดค้านคําทูลขอแม้นั้น ของพระเถระนั้น จึงตรัสพระดํารัส มีอาทิว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ ! .

คําว่า สัตว์ทั้งหลาย พึงได้รับแม้ซึ่งวิปัลลาส ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ในคําว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ ! ดังนี้ เป็นต้น แม้ก็จริง.ถึงกระนั้น บัณฑิตก็ควรถือเอา โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั่นแหละ,อนึ่ง แม้ใจความแห่งคํานั้น ก็ควรทราบเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.

ถามว่า ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตไซร้ พระเถระจะพึงทําอย่างไร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 340

แก้ว่า พระเถระพึงอธิษฐานมหาสมุทรให้ขนาดเท่าเหมืองที่จะพึงข้ามด้วยอย่างเท้าก้าวเดียว แล้วซักหนทางจากต้นสะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงอยู่มุ่งหน้าตรงไปยังอุตรกุรุทวีป แล้วแสดงอุดรกุรุทวีปไว้ในที่อันสมบูรณ์ด้วยการไปและการมา ให้ภิกษุทั้งหลายไปบิณฑบาตแล้วออกไปได้ตามสบาย เหมือนเข้าไปสู่โคจรตามฉะนั้น.

สีหนาทกถา ของพระมหาโมคคัลลานะ จบ