พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปฐมปาราชิกภัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41775
อ่าน  637

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 374

ปฐมปาราชิกกัณฑ์

เรื่องพระสุทินน์ หน้า 374

ขออนุญาตออกบวช หน้า 375

มารดาบิดาไม่อนุญาต หน้า 377

พวกสหายช่วยเจรจา หน้า 378

สุทินน์กลันทบุตรออกบวช หน้า 380

พระสุทินน์เยี่ยมสกุล หน้า 381

บิดาวิงวอนให้สึก หน้า 383

เสพเมถุนธรรม หน้า 387

เทพเจ้ากระจายเสียง หน้า 388

พระสุทินน์เกิดวิปฏิสาร หน้า 389

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท หน้า 391

พระปฐมบัญญัติ

เรื่องลิงตัวเมีย หน้า 394

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญญัติ หน้า 396

พระอนุบัญญัติ ๑

เรื่องภิกษุวัชชีบุตร หน้า 399

ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ หน้า 400

พระอนุบัญญัติ ๒

สิกขาบทวิภังค์ หน้า 400

ลักษณะสิกขาบทที่ไม่เป็นอันบอกคืน หน้า 401

กล่าวบอกคืนด้วยคำรำพึง ฯ หน้า 402

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ฯ หน้า 405

อ้างวัตถุที่รำลึก ๑๗ บท หน้า 412

แสดงความห่วงใย ๙ บท หน้า 413

อ้างที่อยู่ที่อาศัย ๑๖ บท หน้า 414

อ้างว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก ๘ บท หน้า 415

ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท หน้า 416

กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบัน ๑๔ บท หน้า 416

กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าไม่ต้องการ หน้า 420

กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าพ้นดีแล้ว หน้า 422

ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น หน้า 423

ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน หน้า 423

สิกขาบทวิภังค์ หน้า 425

บทภาชนีย์ มรรคภาณวาร หน้า 426

หญิง ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙ หน้า 426

อุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙ หน้า 427

ชาย ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๒ เป็น ๖ หน้า 427

อาบัติปาราชิก ๓๐ หน้า 428


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 1]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 374

เรื่องพระสุทินน์

[๑๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ณ สถานที่ไม่ห่างจากพระนครเวสาลี มีบ้านตําบลหนึ่ง ชื่อ กลันทะ ในบ้านนั้นมีบุตรชาวบ้านกลันทะผู้หนึ่ง ชื่อ สุทินน์เป็นเศรษฐีบุตร ครั้งนั้น สุทินน์ กลันทบุตรได้เดินธุระบางอย่างในพระนครเวสาลีกับสหายหลายคน ขณะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ เพราะได้เห็น ความตรึกนี้ ได้มีแก่เขาว่าไฉนหนอเราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง แล้วเขาเดินผ่านเข้าไปทางบริษัทนั้น ครั้นถึงแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ความรําพึงนี้ได้มีแก่เขาผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งฉะนี้ว่า ด้วยวิธีอย่างไรๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทําไม่ได้ง่ายไฉนหนอ เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ครั้นบริษัทนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ให้เห็นแจ้งให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทําประทักษิณหลีกไปแล้ว หลังจากบริษัทลุกไปแล้วไม่นานนัก เขาได้เดินเข้าไปใกล้ที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

สุทินน์กลันทบุตรนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคํานี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไรๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 375

พรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทําไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูก่อนสุทินน์ ก็มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ.

สุทินน์กลันทบุตรกราบทูลว่า ยังไม่ได้อนุญาติ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนสุทินน์ พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่บวชบุตรที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต.

สุ. ข้าพรุพุทธเจ้าจักกระทําโดยวิธีที่มารดาจักอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า.

ขออนุญาตออกบวช

[๑๑] หลังจากนั้นแล สุทินน์กลันทบุตรเสร็จการเดินธุระในพระนครเวสาลีนั้นแล้ว กลับสู่กลันทคามเข้าหามารดาบิดา แล้วได้กล่าวคํานี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่มารดาบิดา ด้วยวิธีอย่างไรๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี-พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทําไม่ได้ง่าย ลูกปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 376

เมื่อสุทินน์กลันทบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาบิดาของเขาได้กล่าวคํานี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจากเหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพขิตได้เล่า.

แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคํานี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่มารดาบิดา ด้วยวิธีอย่างไรๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียวให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทําไม่ได้ง่าย ลูกปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิดแม้ครั้งที่สอง มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคํานี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุขอันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า.

แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคํานี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่มารดาบิดา ด้วยวิธีอย่างไรๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทําไม่ได้ง่าย ลูกปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 377

แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคํานี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม่เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า.

ทันใดนั้นแล สุทินน์กลันบุตรแน่ใจว่า มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จึงนอนลงบนฟื้นอันปราศจากเครื่องลาดณ สถานที่นั้นเอง ด้วยตัดสินใจว่า การตายหรือการบวชจักมีแก่เราในสถานที่นี้แหละ และแล้วเขาไม่บริโภคอาหารแม้หนึ่งมื้อไม่บริโภคอาหารแม้สองมื้อไม่บริโภคอาหารแม้สามมื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้สี่มื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้ห้ามื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้หกมื้อไม่บริโภคอาหารแม้เจ็ดมื้อ.

มารดาบิดาไม่อนุญาต

[๑๒] จะอย่างไรก็ตาม มารดาบิดาของเขาได้กล่าวคํานี้ว่า ลูกสุทินน์เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิดลูกสุทินน์ จงกิน คงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกามทําบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

เมื่อมารดาบิดากล่าวอย่างนี้แล้ว สุทินน์กลันทบุตรได้นึ่ง.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 378

แม้ครั้งที่สอง มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคํานี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิดลูกสุทินน์ จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริงบริโภคกามทําบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากกเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.

แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคํานี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียวเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นพรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิดลูกสิทินน์ จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริงบริโภคกามทําบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.

พวกสหายช่วยเจรจา

[๑๓] ยิ่งกว่านั้น พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร ก็ได้เข้าไปหาสุทินน์กลันทบุตร ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคํานี้ว่า สุทินน์เพื่อนรักเธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของมารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 379

ทุกข์นักน้อย แม้เธอจะตายมารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน ท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่าลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่มรื่นเริง บริโภคกามทําบุญอยู่เถิด มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้ว สุทินน์กลันทบุตรได้นิ่ง.

แม้ครั้งที่สอง พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคํานี้กะเขาว่าสุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของมารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เธอตจะตายมารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน ท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกามทําบุญอยู่เถิด มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.

แม้ครั้งที่สาม พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคํานี้กะเขาว่า สุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของมารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เธอจะตายมารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน ท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 380

จงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกามทําบุญอยู่เถิด มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.

เมื่อไม่สําเร็จ พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร จึงเข้าไปหามารดาบิดาของสุทินน์กลันทบุตร ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคํานี้ว่า ข้าแต่มารดาบิดาสุทินน์นั่นนอนลงบนพื้นอันปราศจากเครื่องลาด ด้วยตัดสินใจว่าการตายหรือการบวชจักมีแก่เรา ณ ที่นี้แหละ ถ้ามารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ความตายจักมาถึง ณ ที่นั้นเอง ถ้าอนุญาตให้สุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็จักได้เห็นเขาแม้ผู้บวชแล้ว ถ้าสุทินน์จักไม่ยินดีในการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาจักมีทางดําเนินอื่นอะไรเล่าเขาจักกลับมา ณ ที่นี้แหละ ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้สุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

อนุญาตจ้ะ ให้ลูกสุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มารดาบิดากล่าวยินยอม.

สุทินน์กลันทบุตรออกบวช

[๑๔] ทันใดนั้น พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร เข้าไปหาสุทินน์กลันทบุตร แล้วได้บอกเขาว่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว พอสุทินน์กลันทบุตรได้ทราบว่ามารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ก็ร่าเริงดีใจ ลุกขึ้นลูบเนื้อตัวด้วยฝ่ามือ ครั้นเยียวยากําลังอยู่สองสามวันแล้ว จึงเข้าไปสู่พุทธสํานักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขานั่งเฝ้าอยู่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 381

อย่างนั้นแล ได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้าอันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ได้โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิดพระพุทธเจ้าข้า.

สุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในพุทธสํานัก ดังนี้ ก็แลท่านพระสุทินน์อุปสมบทแล้วไม่นาน ประพฤติสมาทานธุดงคคุณเห็นปานนี้คือเป็นผู้ถืออรัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์ สปทานจาริกธุดงค์พํานักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตําบลหนึ่ง.

พระสุทินน์เยี่ยมสกุล

[๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล วัชชีชนบทอัตคัตอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทําไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น ท่านพระสุทินน์ได้มีความคิดเห็นว่า เวลานี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทําไม่ได้ง่าย ก็แลญาติของเราในพระนครเวสาลีมีมาก ล้วนเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากมีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปพํานักอยู่ใกล้หมู่ญาติ แม้หมู่ญาติก็จักได้อาศัยเราให้ทานทําบุญ และภิกษุทั้งหลายก็จักได้ลาภ ทั้งเราก็จักไม่ลําบากด้วยบิณฑบาต ดังนั้น ท่านพระสุทินน์จึงเก็บงําเสนาสนะถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกไปโดยลําดับ ถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า เธอพํานักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 382

บรรดาญาติของท่านพระสุทินน์ ได้ทราบข่าวว่า พระสุทินน์กลันทบุตรกลับมาสู่พระนครเวสาลีแล้ว จึงนําภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อไปถวายท่านพระสุทินน์ๆ สละภัตตาหารประมาณ ๖๐ หม้อนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วเช้าวันนั้นครองอันตรวาสกถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกลันทคาม เที่ยวบิณฑบาตไปตามลําดับตรอกในกลันทคาม ใกล้จะถึงเรือนบิดาของตน ก็พอดีทาสีของญาติท่านพระสุทินน์กําลังมีความมุ่งหมายจะเทขนมสดที่ค้างคืน จึงท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคํานี้กะนางว่า น้องหญิง ถ้าของนั้นมีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ของท่านจงเกลี่ยลงในบาตรของเรานี้เถิด ขณะที่นางกําลังเกลี่ยขนมสดที่ค้างคืนนั้นลงในบาตร นางจําเค้ามือเท้าและเสียงของท่านพระสุทินน์ได้ จึงรีบเข้าไปหามารดาของท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคํานี้กะมารดาของท่านว่า คุณนายเจ้าขา โปรดทราบ พระสุทินน์บุตรคุณนายกลับมาแล้วเจ้าค่ะ.

แม่ทาสี ถ้าเจ้าพูดจริง เราจะปลดเจ้ามิให้เป็นทาสี มารดาท่านพระสุทินน์กล่าว.

ขณะที่ท่านพระสุทินน์กําลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้น พอดีบิดาของท่านพระสุทินน์เดินกลับมาจากที่ทํางาน ได้แลเห็นท่านพระสุทินน์กําลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้นอยู่ จึงเดินเข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคํานี้กะท่านว่า มีอยู่หรือพ่อสุทินน์ที่พ่อจักฉันขนมสดที่ค้างคืน พ่อสุทินน์พ่อควรไปเรือนของตนมิใช่หรือ.

คุณโยม รูปได้ไปสู่เรือนของคุณโยมแล้วขนมสดที่ค้างคืนนี้รูปได้มาแต่เรือนของคุณโยม พระสุทินน์ตอบ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 383

ทันใดนั้น บิดาของท่านพระสุทินน์จับแขนท่าน แล้วได้กล่าวคํานี้กะท่านว่า มาเถิด พ่อสุทินน์ เราจักไปเรือนกัน.

ลําดับนั้น ท่านพระสุทินน์ได้เดินตามเข้าไปสู่เรือนบิดาของตน ครั้นถึงแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย จึงบิดาของท่านได้กล่าวคํานี้กะท่าน จงฉันเถิดพ่อสุทินน์.

อย่าเลยคุณโยม ภัตกิจในวันนี้ รูปทําเสร็จแล้ว พระสุทินน์กล่าวตอบ.

บิดาอาราธนาว่า พ่อสุทินน์ขอพ่อจงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้เถิด.

ท่านพระสุทินน์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ และแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

บิดาวิงงอนให้สึก

[๑๖] ครั้งนั้นแล มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งให้ไล้ทาฟื้นแผ่นดินด้วยโคมัยสด ให้จัดทํากองทรัพย์ไว้สองกอง คือเงินกอง ๑ ทองกอง ๑ เป็นกองใหญ่ กระทั่งบุรุษยืนอยู่ข้างนี้ไม่แลเห็นบุรุษยื่นอยู่ข้างโน้น บุรุษยืนอยู่ข้างโน้นก็ไม่แลเห็นบุรุษอยู่ข้างนี้ ให้ปิดกองทรัพย์เหล่านั้นด้วยลําแพนให้จัดอาสนะไว้ในท่านกลาง ให้แวดวงด้วยม่านเสร็จโดยล่วงราตรีนั้น แล้วเรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์มาสั่งว่า ลูกหญิง เพราะลูกสุทินน์จะมาเจ้าจงแต่งกายด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ

อย่างนั้นเจ้าข้า นางรับคํามารดาของท่านพระสุทินน์.

ณ เวลาเช้าวันนั้นแล ท่านพระสุทินน์ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่เรือนบิดาของตน แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 384

ลําดับนั้นแล บิดาของท่านพระสุทินน์เข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นแล้วให้คนเปิดกองทรัพย์เหล่านั้นออก ได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดาส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญเถิด.

คุณโยม รูปไม่อาจไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่พระสุทินน์ตอบ.

แม้ครั้งที่สอง บิดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญเถิด.

คุณโยม รูปไม่อาจไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่พระสุทินน์ตอบ.

แม้ครั้งที่สาม บิดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคํานี่กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ นี้ทรัพย์ของพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอบโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญเถิด.

ท่านพระสุทินน์ตอบว่า คุณโยม รูปขอพูดกะคุณโยมบ้าง ถ้าคุณโยมไม่ตัดรอน.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 385

บ. พูดเถิด พ่อสุทินน์

สุ. คุณโยม ถ้าเช่นนั้น คุณโยมจงสั่งให้เขาทํากระสอบป่านใหญ่ๆ บรรจุเงินและทองให้เต็มบรรทุกเกวียนไป แล้วให้จมลงในกระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดีความขนพองสยองเกล้าก็ดี การเฝ้ารักษาก็ดี อันมีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ ที่จักเกิดแก่คุณโยมนั้น จักไม่มีแก่คุณโยมเลย.

เมื่อท่านพระสุทินน์กล่าวอย่างนี้แล้ว บิดาของท่านได้มีความไม่พอใจว่า ไฉนลูกสุทินน์จึงได้พูดอย่างนี้ และแล้วได้เรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์มาบอกว่า ลูกหญิง เพราะเจ้าเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ บางทีลูกสุทินน์จะพึงทําตามคําของเจ้าบ้าง.

ทันใดนั้น นางได้จับเท้าท่านพระสุทินน์ถามว่า ข้าแต่ลูกนาย นางอัปสรผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้น ชื่อเช่นไร.

น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสรเลยพระสุทินน์ตอบ.

บัดดล นางน้อยใจว่า สุทินน์ลูกนาย เรียกเราด้วยถ้อยคําว่า น้องหญิงในวันนี้ เป็นครั้งแรก แล้วสลบล้มลงในที่นั้นเอง.

ท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคํานี้กะบิดาว่าคุณโยม ถ้าโภชนะที่จะพึงให้มีก็จงให้เถิด อย่ารบกวนรูปเลย.

ฉันเถิด พ่อสุทินน์ มารดาบิดาของท่านพระสุทินน์กล่าวดังนี้แล้วได้อังคาสท่านพระสุทินน์ด้วยขาทนียโภขนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัต และแล้วมารดาของท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสุทินน์ผู้ฉันเสร็จ ลดมือจากบาตรแล้วว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 386

มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญเถิด

คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีปาระพฤติพรหมจรรย์อยู่พระสุทินน์ตอบ.

แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญเถิด.

คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่พระสุทินน์ตอบ.

แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพรุสทินน์ก็ได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อสุทินน์ ดังนั้น พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเรา อันหาบุตรผู้สิบสกุลมิได้ไปเสีย.

สุ. คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทําได้

ม. พ่อสุทินน์ ก็เวลานี้พ่อพํานักอยู่ที่ไหน.ที่ป่ามหาวันจ้ะ ท่านพระสุทินน์ตอบ และแล้วได้ลุกจากอาสนะหลีกไป

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 387

เสพเมถุนธรรม

[๑๗] หลังจากนั้น มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งกําชับปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ว่าลูกหญิง ถ้ากระนั้นเมื่อใดเจ้ามีระดู ต่อมโลหิตเกิดมีแก่เจ้า เมื่อนั้นเจ้าพึงบอกแก่แม่.

นางรับคํามารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว ต่อมาไม่ช้านัก นางได้มีระดูต่อมโลหิตได้เกิดขึ้นแก่นางๆ จึงได้แจ้งแก่มารดาของท่านพระสุทินน์ว่า ดิฉันมีระดูเจ้าค่ะ ต่อมโลหิตเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว.

มารดาของท่านพระสุทินน์กล่าวว่า ลูกหญิง ถ้ากระนั้น เจ้าจงแต่งตัวด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ.

จ้ะ คุณแม่ นางรับคํามารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว จึงมารดาพานางเข้าไปหาท่านพระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน แล้วรําพันว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมากมีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญเถิด.

คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่พระสุทินน์ตอบ.

แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รําพันว่า พ่อสุทินน์สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบําเพ็ญบุญเถิด.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 388

คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถรูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่พระสุทินน์ตอบ.

แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รําพันว่า พ่อสุทินน์สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อสุทินน์ ดังนั้นพ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเราอันหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้ไปเสียเลย.

คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทําได้ ท่านพระสุทินน์ตอบแล้วจูงแขนปุราณทุติยิกาพาเข้าป่ามหาวัน เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ เพราะสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติ จึงให้มรรยาทของคนคู่เป็นไปในปุราณทุติยิกา ๓ ครั้งนางได้ตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารนั้น.

เทพเจ้ากระจายเสียง

[๑๘] เหล่าภุมเทพกระจายเสียงว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียดไม่มีโทษ พระสุทินน์กลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้วเทพชั้นจาตุมหาราช ได้สดับเสียงเหล่าภุมเทพแล้วกระจายเสียงต่อไป เทพชั้นดาวดึงส์ เทพชั้นยามา เทพชั้นดุสิต เทพชั้นนิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตวสวดี เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้สดับเสียงแล้วกระจายเสียงกันต่อๆ ไปว่าท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ พระสุทินน์กลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว โดยทันใดนั้น ครู่หนึ่งนั้น เสียงได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้แล.

สมัยต่อมา ปุราณาทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น คลอดบุตรแล้ว จึงพวกสหายของท่านพระสุทินน์ได้ตั้งชื่อทารกนั้น

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 389

ว่า พีชกะ ตั้งชื่อปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ว่า พีชกมาตา ตั้งชื่อท่านพระสุทินน์ว่า พีชกปิตา ภายหลังเขาทั้งสองได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ทําให้แจ้งซึ่งอระอรหัตแล้ว.

พระสุทินน์เกิดวิปฏิสาร

[๑๙] ครั้งนั้น ความรําคาญ ความเดือดร้อน ได้เกิดแก่ท่านพระสุทินน์ว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอเราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต เพราะความรําคาญนั้นแหละเพราะความเดือดร้อนนั้นแหละท่านได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสารซบเซาแล้ว.

จึงบรรดาภิกษุที่เป็นสหายของท่านพระสุทินน์ ได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสุทินน์ว่า อาวุโส สุทินน์ เมื่อก่อนคุณเป็นผู้มีผิวพรรณ มีอินทรีย์สมบูรณ์มีสีหน้าสดใส มีฉวีวรรณผุดผ่อง มีน้ำมีนวล บัดนี้ ดูคุณซูบผอม เศร้าหมองมีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจมีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสารซบเซาอยู่ คุณจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์กระมังหนอ.

อาวุโสทั้งหลาย ความจริง มิใช่ว่าผมจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์พระสุทินน์ค้านแล้วแถลงความจริงว่า เพราะบาปกรรมที่ผมทําไว้มีอยู่ ผมได้เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา ผมจึงได้มีความรําคาญ ความเดือดร้อนว่ามิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดี

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 390

แล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต ดังนี้.

อาวุโส สุทินน์ จริง การที่คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้น พอที่คุณจะรําคาญ พอที่คุณจะเดือดร้อน.

อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อคลายความกําหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกําหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความกําหนัดคุณยังจะคิดเพื่อมีความกําหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิดเพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.

อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อเป็นที่สํารอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะเพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อหลายความกําหนัด เพื่อความดับทุกข์ เพื่อนิพพานมิใช่หรือ.

อาวุโส การละกาม การกําหนดรู้ความหมายในกาม การกําจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ.

อาวุโส การกระทําของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เสื่อมใส หรือเพื่อความเสื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เสื่อมใสแล้ว โดยที่แท้

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 391

การกระทําของคุณนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสและเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบทบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ภิกษุสหายเหล่านั้น ติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้วได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

[๒๐] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระสุทินน์ว่า ดูก่อนสุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกาจริงหรือ.

ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรษ การกระทําของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทําเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า

ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกําหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกําหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกําหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกําหนัดเราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น

ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สํารอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 392

ระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สํารอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหาเพื่อออกไปจากตัณหาชื่อ วานะ มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกําหนดรู้ความหมายในกาม การกําจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กําเนิด อันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้ายยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์กําเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า ยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของมาตุตาม ไม่ดีเลย องค์กําเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโซนยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย

ข้อที่เราว่านั้น เพราะเหตุไร

เพราะบุคคลผู้สอดองค์กําเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทํานั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทํานั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทําการสอดองค์กําเนิดเข้าในองค์กําเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ซึ่งมีการกระทํานี้เป็นเหตุ

ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทํานั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ํา อันชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็น

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 393

คนแรกที่กระทําอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทําของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทําของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบํารุงยากความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบํารุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกําจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรงกระทําธรรมกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้นที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอํานาจประโยชน์๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑เพื่อความสําราญแห่งสงฆ์๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สําราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกําจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 394

พระปฐมบัญญัติ

๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมเป็นปาราชิกหา สังวาสมิได้ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.

สุทินนภาณวาร จบ

เรื่องลิงตัวเมีย

[๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อตัวเมียในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี แล้วเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครเวสาลี

ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ เดินผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุนั้น ลิงตัวเมียนั้นแลเห็นภิกษุเหล่านั่นกําลังเดินมาแต่ไกลเที่ยวครั้นแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้างทํานิมิตบ้าง เบื้องหน้าภิกษุเหล่านั้น จึงภิกษุเหล่านั้นสันนิษฐานว่า ภิกษุเจ้าของถิ่นเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้แน่ไม่ต้องสงสัย แล้วแฝงอยู่ ณ ที่กําบังแห่งหนึ่ง

เมื่อภิกษุเจ้าของถิ่นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครเวสาลี ถือบิณฑบาตกลับมาแล้ว ลิงตัวเมียนั้นได้เข้าไปหา ครั้นภิกษุเจ้าของถิ่นฉันบิณฑบาตนั้น

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 395

ส่วนหนึ่งแล้ว ได้ให้แก่มันส่วนหนึ่ง เมื่อมันกินอาหารส่วนนั้นแล้วได้แอ่นตะโพกให้ จึงภิกษุนั้นเสพเมถุนธรรมในมัน.

ทันใด ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไร คุณจึงได้เสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้เล่า.

จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว ภิกษุนั้นสารภาพแล้วค้านว่า แต่พระบัญญัตินั้นเฉพาะหญิงมนุษย์ไม่เกี่ยวถึงสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.

อาวุโส พระบัญญัตินั้น ย่อมเป็นเหมือนกั้นทั้งนั้นมิใช่หรือการกระทําของคุณนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ไม่ควรทํา คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้วไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.

อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อคลายความกําหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกําหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือเมื่อธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความกําหนัดคุณยังจักคิดเพื่อมีความกําหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยักจักคิดเพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น

อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อเป็นที่สํารอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 396

แห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะเพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สํารอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหาเพื่อออกไปจากตัณหาชื่อ วาระ มิใช่หรือ.

อาวุโส การละกาม การกําหนดรู้ความหมายในกาม การกําจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ.

อาวุโส การกระทําของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้วโดยที่แท้การกระทําของคุณนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสและเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมในแล้ว.

ภิกษุเหล่านั้น ติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญญัติ ๑

[๒๒] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียจริงหรือ.

จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุนั้นทูลสารภาพ.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทําของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทํา เธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 397

ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกําหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกําหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือเมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกําหนัดเธอยังจักคิดเพื่อมีความกําหนัดเราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.

ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อเป็นที่สํารอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สํารอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหาเพื่อออกไปจากตัณหา ชื่อ วานะ มิใช่หรือ.

ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกําหนดรู้ความหมายในกาม การกําจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ.

ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กําเนิดอันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้ายยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลยองค์กําเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงเห่า ยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กําเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชน ยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของลิงตัวเมียไม่ดีเลย.

ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 398

เพราะบุคคลผู้สอดองค์กําเนิดเข้าไปในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทํานั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทํานั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทําการสอดองค์กําเนิดเข้าในองค์กําเนิดของลิงตัวเมียนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกซึ่งมีการกระทํานี้เป็นเหตุ.

ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทํานั้นมีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ํา อันชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป การกระทําของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมในยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... (๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องลิงตัวเมีย (๒) จบ


(๑) ต้องการพิสดารพึงดูหน้า ๓๙๓ บรรทัดที่ ๒๐.

(๒) โดยมากปรากฏว่า มักกฏิสิกขาบท

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 399

เรื่องภิกษุวัชชีบุตร

[๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีหลายรูปฉันอาหารพอแก่ความต้องการ จําวัดพอแก่ความต้องการ สรงน้ำพอแก่ความต้องการ ครั้นแล้วทําในใจโดยไม่แยบคายไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ได้เสพเมถุนธรรม สมัยอื่น วัชชีบุตรพวกนั้น ถูกความพินาศแห่งญาติกระทบแล้วบ้าง ถูกความวอดวายแห่งโภคะกระทบแล้วบ้าง ถูกความเสื่อมคือโรคเบียดเบียนแล้วบ้าง จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระพุทธเจ้าไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระธรรม ไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระสงฆ์ พวกกระผมเป็นคนติเตียนตน ไม่ใช่เป็นคนติเตียนคนอื่น พวกกระผมซึ่งบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้นแหละ เป็นคนไม่มีวาสนา เป็นคนมีบุญน้อย ท่านอานนท์เจ้าข้า แม้บัดนี้ถ้าพวกกระผมพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบท ในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้บัดนี้ พวกกระผมจะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรม หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรมอยู่ตลอดเบื้องต้นแห่งราตรีและเบื้องปลายแห่งราตรี ท่านพระอานนท์เจ้าข้าพวกกระผมขอโอกาส ขอท่านได้โปรดกรุณากราบทูลความข้อนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ได้ จ้ะ ท่านพระอานนท์?รับคําของพวกวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกาขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 400

ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ ๒

[๒๔] ครั้งนั้นพระองค์ทรงกระทําธรรมกถา ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งเสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้ ส่วนผู้ใดแล เป็นภิกษุบอกคืนสิกขา ทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้วสงฆ์พึงอุปสมบทให้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

สิกขาบทวิภังค์

[๒๕] บทว่า อนึ่ง ... .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

[๒๖] บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุเพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทําลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 401

โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติ-จตุตถกรรม อันไม่กําเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กําเริบ ควรแก่ฐานะนี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

[๒๗] บทว่า สิกขา ได้แก่สิกขา ๓ ประการคือ อธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการเหล่านั้น อธิสีลสิกขานี้ชื่อว่า สิกขา ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

[๒๘] ชื่อว่า สาชีพ อธิบายว่า สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั้น ชื่อว่า สาชีพ ภิกษุศึกษาในสาชีพนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ถึงพร้อมซึ่งสาชีพ.

[๒๙] คําว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งทรงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกษุทั้งหลาย การทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งและสิกขาเป็นอันบอกคืนก็มี.

ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคือ [๑๖๐ บท]

[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน เป็นอย่างไร

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 402

กล่าวบอกคืนด้วยคํารําพึงว่าไฉนหนอ [๑๔ บท]

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดีใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๓ ... .ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 403

๘ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระลัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน

กล่าวกําหนดภาวะด้วยคํารําพึงว่า ไฉนหนอ [๘ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 404

๕ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘ ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันขอคืน

กล่าวบอกคืนด้วยคําปริกัปปว่า ก็ถ้าว่า [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าข้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 405

๘ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระลัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกําหนดภาวะด้วยคําปริกัปปว่า ก็ถ้าว่า [๘ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดีใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 406

๕ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘ ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาบทไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคําปริกัปปว่า หากว่า [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 407

๘ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระลัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกําหนดภาวะด้วยคําปริกัปปว่า หากว่า [๘ บท]

๑. ก็อีประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึกอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างอื่น ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 408

๕ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘ ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคําปริกัปปว่า ผิว่า [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดีใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่าข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งและสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน

๒ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

๘ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 409

๙ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกําหนดภาวะด้วยคําปริกัปปว่า ผิว่า [๘ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึกอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งและสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

๕ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 410

๖ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘ ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคําปริกัปปว่า มีความดําริ [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดําริว่าข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน

๒ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

๘ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 411

๙ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... มีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารีดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกําหนดภาวะด้วยคําปริกัปปว่า มีความดําริ [๘ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามาเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดําริว่าข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓ ... ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔ ... ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ... .

๕ ... ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 412

๖ ... ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗ ... ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘ ... ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

อ้างวัตถุที่รําลึก [๑๗ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา ...

๓ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้องชาย ...

๔ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่หญิงน้องหญิง ...

๕ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบุตร ...

๖ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา ...

๗ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงภริยา ...

๘ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ ...

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 413

๙ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร ...

๑๐ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน ...

๑๑ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม ...

๑๒ ... ข้าเจ้าระลึกถึงนา ...

๑๓ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน ...

๑๔ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน ...

๑๕ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง ...

๑๖ ... ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ ...

๑๗ ... ข้าพเจ้าหวนรําลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในครั้งก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งและสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

แสดงความห่วงใย [๙ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามาเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามีข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 414

๒ ... บิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ...

๓ ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๔ ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๕ ... บุตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๖ ... ธิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๗ ... ภริยาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๘ ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามีข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๙ ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน

อ้างที่อยู่ที่อาศัย [๑๖ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามีท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... บิดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๓ ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๔ ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 415

๕ ... บุตรของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๖ ... .ธิดาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๗ ... .ภริยาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๘ ... .หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๙ ... .หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๑๐ ... บ้านของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยบ้านนั้น ...

๑๑ ... .นิคมของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนิคมนั้น ...

๑๒ ... .นาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนานั้น ...

๑๓ ... .สวนของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยสวนนั้น ...

๑๔ ... .เงินของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยเงินนั้น ...

๑๕ ... .ทองของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยทองนั้น ...

๑๖ ... .ศิลปของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้ด้วยศิลปนั้น ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

อ้างว่าพรหมจรรย์ทําได้ยาก [๘ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่าพรหมจรรย์ทําได้ยาก

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 416

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒ ... พรหมจรรย์ทําไม่ได้ง่าย ...

๓ ... พรหมจรรย์ประพฤติได้ยาก ...

๔ ... พรหมจรรย์ประพฤติไม่ได้ง่าย ...

๕ ... ข้าพเจ้าไม่อาจ ...

๖ ... ข้าพเจ้าไม่สามารถ ...

๗ ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ...

๘ ... ข้าพเจ้าไม่ยินดียิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า

การทําความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. รวมลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน ๑๖๐ บท

ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]

กล่าวบอกคืนด้วยคําเป็นปัจจุบัน [๑๔ บท]

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การทําความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาที่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดีใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามาเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระ-

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 417

พุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งและสิกขาเป็นอันบอกคืน.

๒ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม ...

๓ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔ ... ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา ...

๕ ... ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย ...

๖ ... ข้าพเจ้าบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗ ... ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ ...

๘ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... .

๙ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกําหนดภาวะด้วยคําเป็นปัจจุบัน [๘ บท]

๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 418

ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ...

๓ ... ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอารามิก ...

๔ ... ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสามเณร ...

๕ ... ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นเดียรถีย์ ...

๖ ... ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗ ... ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘ ... ขอท่านจงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน

กล่าวบอกคืนด้วยคําเป็นปัจจุบันว่าไม่เกี่ยวข้อง [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 419

๒ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระธรรม ...

๓ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสงฆ์ ...

๔ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยสิกขา ...

๕ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยวินัย ...

๖ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยปาติโมกข์ ...

๗ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยอุเทศ ...

๘ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอุปัชฌายะ ...

๙ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอาจารย์ ...

๑๐ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคําว่าจะต้องการอะไร [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดีใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 420

ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระธรรม ...

๓ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสงฆ์ ...

๔ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยสิกขา ...

๕ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยวินัย ...

๖ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยปาติโมกข์ ...

๗ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยอุเทศ ...

๘ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอุปัชฌายะ ...

๙ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอาจารย์ ...

๑๐ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔ ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคําว่าไม่ต้องการ [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 421

อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระธรรม ...

๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสงฆ์ ...

๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยสิกขา ...

๕. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยวินัย ...

๖. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยปาติโมกข์ ...

๗. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุเทศ ...

๘. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 422

กล่าวบอกคืนด้วยคําว่าพ้นดีแล้ว [๑๔ บท]

๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระธรรม ...

๓ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสงฆ์ ...

๔ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากสิกขา ...

๕ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากวินัย ...

๖ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากปาติโมกข์ ...

๗ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากอุเทศ ...

๘ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอุปัชฌายะ ...

๙ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอาจารย์ ...

๑๐ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอันเตวาสิก ...

๑๒ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 423

๑๔ ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาที่เป็นอันบอกคืน.

รวมลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท

ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ก็อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไวพจน์แห่งพระธรรมก็ดี ไวพจน์แห่งพระสงฆ์ก็ดี ไวพจน์แห่งสิกขาก็ดี ไวพจน์แห่งวินัยก็ดีไวพจน์แห่งปาติโมกข์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุเทศก็ดี ไวพจน์แห่งพระอุปัชฌายะก็ดีไวพจน์แห่งพระอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสัทธิวิหาริกก็ดี ไวพจน์แห่งพระอันเตวาสิกก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจารีก็ดี ไวพจน์แห่งคฤหัสถ์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุบาสกก็ดี ไวพจน์แห่งอารามิกก็ดี ไวพจน์แห่งสามเณรก็ดี ไวพจน์แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งสาวกเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่สมณะก็ดีไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรก็ดี แม้อย่างอื่นใด มีอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะเป็นนิมิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทําความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งและสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาไม่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมเป็นอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกคืนด้วยไวพจน์เหล่าใด อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต ภิกษุวิกลจริต บอกคืนสิกขา ด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 424

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสํานักภิกษุวิกลจริต สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน บอกคืนสิกขา สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสํานักภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา บอกคืนสิกขา สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสํานักภิกษุ ผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนาสิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสํานักเทวดา สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสํานักสัตว์ดิรัจฉาน สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสํานักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสํานักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสํานักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสํานักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 425

ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุประสงค์ประกาศ แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.

สิกขาบทวิภังค์

[๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ํา ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคนเป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกันนี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.

[๓๔] ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิตสอดองค์กําเนิดเข้าไปทางองค์กําเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่าเสพ

[๓๕] คําว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่าภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร จะกล่าวไยในหญิงมนุษย์ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 426

[๓๖] คําว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่าเป็นปาราชิก.

[๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทําร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกันนี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่าหาสังวาสมิได้.

บทภาชนีย์ มรรคภาณวาร

[๓๘] หญิง ๓ จําพวก คือ มนุษย์ผู้หญิง ๑ อมนุษย์ผู้หญิง ๑สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ๑

อุภโตพยัญชนก ๓ จําพวกคือ มนุษย์อุภโตพยัญชนก ๑ อมนุษย์อุภโตพยัญชนก ๑ สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ๑

บัณเฑาะก ์๓ จําพวก คือ มนุษย์บัณเฑาะก์ ๑ อมนุษย์บัณเฑาะก์ ๑สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์๑

ชาย ๓ จําพวก คือ มนุษย์ผู้ชาย ๑ อมนุษย์ผู้ชาย ๑ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ๑

หญิง ๓ จําพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙

๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจวรรค ปัสสาวมรรคมุขมรรค ของมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 427

๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือวัจจมรรค ปัสสาวมรรคมุขมรรค ของอมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.

๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรคมุขมรรคของสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.

อุภโตพยัญชนก ๓ จําพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙

๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรคมุขมรรค ของมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรคมุขมรรค ของอมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรคมุขมรรค ของสัตว์เดรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก

บัณเฑาะก์ ๓ จําพวก มีมรรคพวกละ ๒ เป็น ๖

๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือวัจจมรรค มุขมรรค ของมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรคของอมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

ชาย ๓ จําพวก มีมรรคพวกละ ๒ เป็น ๖

๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 428

๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของอมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.

๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องอาบัติปาราชิก.

[๓๙] อาบัติปาราชิก ๓๐

๑. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.

๒. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของมนุษย์หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.

๓. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.

๔. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของอมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.

๕. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของอมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.

๖. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของอมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.

๗. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.

๘. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 429

๙. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๐. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๑. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๒. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๓. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของอมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๔. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าไปปัสสาวมรรคของอมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๕. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของอมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๖. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๗. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๘. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.

๑๙. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 430

๒๐. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๑. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของอมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๒. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุกมรรคของอมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก

๒๓. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๔. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๕. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๖. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๗. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของอมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๘. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของอมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.

๒๙. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในวัจจมรรคของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องอาบัติปาราชิก.

๓๐. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กําเนิดเข้าในมุขมรรคของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องอาบัติปาราชิก