ทุกมาติกา ๑๔๒ และ สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑
ทุกมาติกา ๑๔๒
เหตุโคจฉกะ หมวดที่ ๑ มี ๖ ทุกะ 2/170
จูฬันตรทุกะ หมวดที่ ๒ มี ๗ ทุกะ 3/171
อาสวโคจฉกะ หมวดที่ ๓ มี ๖ ทุกะ 4/172
สัญโญชนโคจฉกะหมวดที่ ๔ มี ๖ ทุกะ 5/174
คันถโคจฉกะ หมวดที่ ๕ มี ๖ ทุกะ 6/175
โอฆโคจฉกะ หมวดที่ ๖ มี ๖ ทุกะ 7/176
โยคโคจฉกะ หมวดที่ ๗ มี ๖ ทุกะ 178
นีวรณโคจฉกะ หมวดที่ ๘ มี ๖ ทุกะ 8/179
นีวรณโคจฉกะ หมวดที่ ๘ มี ๖ ทุกะ 9/179
ปรามาสโคจฉกะหมวดที่ ๙ มี ๕ ทุกะ 10/180
มหันตรทุกะ หมวดที่ ๑๐ มี ๑๔ ทุกะ 11/181
อุปาทานโคจฉกะ หมวดที่ ๑๑ มี ๖ ทุกะ 12/184
กิเลสโคจฉกะหมวดที่ ๑๒ มี ๘ ทุกะ 13/184
ปิฏฐิทุกะ หมวดที่ ๑๔ มี ๑๘ ทุกะ 14/187
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 75]
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 170
ทุกมาติกา ๑๔๒ ทุกะ
อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะ
เหตุโคจฉกะ
หมวดที่ ๑ มี ๖ ทุกะ คือ
[๒] ๑. เหตุทุกะ
เหตู ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุ
นเหตู ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุ
๒. สเหตุกทุกะ
สเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุ
อเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีเหตุ
๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ
เหตุสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ
เหตุวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากเหตุ
๔. เหตุสเหตุกทุกะ
เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ
สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
เหตู เจว ธมฺมา เหตุสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 171
เหตุสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา น จ เหตู ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๖. นเหตุสเหตุกทุกะ
น เหตู โข ปน ธมฺมา สเหตุกาปิ ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
น เหตู โข ปน ธมฺมา อเหตุกาปิ ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
จูฬันตรทุกะ
หมวดที่ ๒ มี ๗ ทุกะ คือ
[๓] ๗ - ๑. สัปปัจจยทุกะ
สปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมมีปัจจัย
อปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมไม่มีปัจจัย
๘ - ๒. สังขตทุกะ
สงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นสังขตะ
อสงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นอสังขตะ
๙ - ๓. สนิทัสสนทุกะ
สนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมที่เห็นได้
อนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 172
๑๐ - ๔. สัปปฏิฆทุกะ
สปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบได้
อปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบไม่ได้
๑๑ - ๕. รูปิทุกะ
รูปิโน ธมฺมา ธรรมเป็นรูป
อรูปิโน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูป
๑๒ - ๖. โลกิยทุกะ
โลกิยา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกิยะ
โลกุตฺตรา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกุตระ
๑๓ - ๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ
เกนจิ วิฺเยฺยา ธมฺมา ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้
เกนจิ น วิฺเยฺยา ธมฺมา อเหตุกาปิ ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้
อาสวโคจฉกะ
หมวดที่ ๓ มี ๖ ทุกะ คือ
[๔] ๑๔ - ๑. อาสวทุกะ
อาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอาสวะ
โน อาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอาสวะ
๑๕ - ๒. สาสวทุกะ
สาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ
อนาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 173
๑๖ - ๓. อาสวสัมปยุตตทุกะ
อาสวสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ
อาสววิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ
๑๗ - ๔. อาสวสาสวทุกะ
อาสวา เจว ธมฺมา สาสวา จ ธรรมเป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของอาสวะ
สาสวา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ
๑๘ - ๕. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ
อาสวา เจว ธมฺมา อาสวสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ
อาสวสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ
๑๙ - ๖. อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ
อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ
อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อนาสวาปิ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 174
สัญโญชนโคจฉกะ
หมวดที่ ๔ มี ๖ ทุกะ คือ
[๕] ๒๐ - ๑. สัญโญชนทุกะ
สฺโชนา ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์
โน สฺโชนา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์
๒๑ - ๒. สัญโญชนิยทุกะ
สฺโชนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
อสฺโชนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
๒๒ - ๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
สฺโชนสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
สฺโชนวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์
๒๓ - ๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
สฺโชนา เจว ธมฺมา สฺโชนิยา จ ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
สฺโชนิยา เจว ธมฺมา โน จ สฺโชนา ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์
๒๔ - ๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
สฺโชนา เจว ธมฺมา สฺโชนสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 175
สฺโชนสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ สฺโชนา ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็น สัญโญชน์
๒๕ - ๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
สฺโชนวิปฺปยุตตา โข ปน ธมฺมา สฺโชนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็น อารมณ์ของสัญโญชน์
สฺโชนวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อสฺโชนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
คันถโคจฉกะ
หมวดที่ ๕ มี ๖ ทุกะ คือ
[๖] ๒๖ - ๑. คันถทุกะ
คนฺถา ธมฺมา ธรรมเป็นคันถะ
โน คนฺถา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นคันถะ
๒๗ - ๒. คันถนิยทุกะ
คนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ
อคนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
๒๘ - ๓. คันถสัมปยุตตทุกะ
คนฺถสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ
คนฺถวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตตจากคันถะ
๒๙ - ๔. คันถคันถนิยทุกะ
คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถนิยาจ ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 176
คนฺถนิยา เจวธมฺมา โน จ คนฺถา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ
๓๐ - ๕. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ
คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถสมฺปยุตฺตาจ ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ
คนฺถสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ คนฺถา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็น คันถะ
๓๑ - ๖. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ
คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา คนฺถนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ
คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อคนฺถนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
โอฆโคจฉกะ
หมวดที่ ๖ มี ๖ ทุกะ คือ
[๗] ๓๒ - ๑. โอฆทุกะ
โอฆา ธมฺมา ธรรมเป็นโอฆะ
โน โอฆา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโอฆะ
๓๓ - ๒. โอฆนิยทุกะ
โอฆนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะ
อโนฆนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 177
๓๔ - ๓. โอฆสัมปยุตตทุกะ
โอฆสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ
โอฆวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ
๓๕ - ๔. โอฆโอฆนิยทุกะ
โอฆา เจว ธมฺมา โอฆนิยา จ ธรรมเป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะ
โอฆนิยา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะแต่ไม่เป็นโอฆะ
๓๖ - ๕. โอฆโอฆสัมปยุตตทุกะ
โอฆา เจว ธมฺมา โอฆสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นโอฆะ และสัมปยุตด้วยโอฆะ
โอฆสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ แต่ไม่เป็นโอฆะ
๓๗ - ๖. โอฆวิปปยุตตโอฆนิยทุกะ
โอฆวิปฺปยุตฺตา โน ปน ธมฺมา โอฆนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ แต่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อโนฆนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 178
โยคโคจฉกะ
หมวดที่ ๗ มี ๖ ทุกะ คือ
[๘] ๓๘ - ๑. โยคทุกะ
โยคา ธมฺมา ธรรมเป็นโยคะ
โน โยคา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโยคะ
๓๙ - ๒. โยคนิยทุกะ
โยคนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะ
อโยคนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ
๔๐ - ๓. โยคสัมปยุตตทุกะ
โยคสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะ
โยควิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโยคะ
๔๑ - ๔. โยคโยคนิยทุกะ
โยคา เจว ธมฺมา โยคนิยา จ ธรรมเป็นโยคะ และเป็นอารมณ์ของโยคะ
โยคนิยา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ
๔๒ - ๕. โยคโยคสัมปยุตตทุกะ
โยคา เจว ธมฺมา โยคสมฺปสยุตฺตา จ ธรรมเป็นโยคะและสัมปยุตด้วยโยคะ
โยคสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 179
๔๓ - ๖. โยควิปปยุตตโยคนิยทุกะ
โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา โยคนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากโยคะ แต่เป็นอารมณ์ของโยคะ
โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อโยคนิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากโยคะ และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ
นีวรณโคจฉกะ
หมวดที่ ๘ มี ๖ ทุกะ คือ
[๙] ๔๔ - ๑. นีวรณทุกะ
นีวรณา ธมฺมา ธรรมเป็นนิวรณ์
โน นีวรณา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นนิวรณ์
๔๕ - ๒. นีวรณิยทุกะ
นีวรณิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
อนีวรณิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
๔๖ - ๓. นีวรณสัมปยุตตทุกะ
นีวรณสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์
นีวรณวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์
๔๗ - ๔. นีวรณนีวรณิยทุกะ
นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณิยา จ ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 180
นีวรณิยา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
๔๘ - ๕. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ
นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์
นีวรณสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็น นิวรณ์
๔๙ - ๖. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ
นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา นีวรณิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อนีวรณิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
ปรามาสโคจฉกะ
[๑๐] หมวดที่ ๙ มี ๕ ทุกะ คือ
๕๐ - ๑. ปรามาสทุกะ
ปรามาสา ธมฺมา ธรรมเป็นปรามาสะ (ทิฏฐิ)
โน ปรามาสา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นปรามาสะ
๕๑ - ๒. ปรามัฏฐทุกะ
ปรามฏฺา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ
อปรามฏฺา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 181
๕๒ - ๓. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ
ปรามาสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ
ปรามาสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ
๕๓ - ๔. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ
ปรามาสา เจว ธมฺมา ปรามฏฺา จ ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ของปรามาสะ
ปรามฏฺา เจว ธมฺมา โน จ ปรามาสา ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ
๕๔ - ๕. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ
ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ปรามฏฺาปิ ธรรมวิปปยุสตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อปราฏฺาปิ ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
มหันตรทุกะ
[๑๑] หมวดที่ ๑๐ มี ๑๔ ทุกะ คือ
๕๕ - ๑. สารัมมณทุกะ
สารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์
อนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมไม่มีอารมณ์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 182
๕๖ - ๒. จิตตทุกะ
จิตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นจิต
โน จิตฺตา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นจิต
๕๗ - ๓. เจตสิกทุกกะ
เจตสิกา ธมฺมา ธรรมเป็นเจตสิก
อเจตสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเจตสิก
๕๘ - ๔. จิตตสัมปยุตตทุกะ
จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยจิต
จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากจิต
๕๙ - ๕. จิตตสังสัฏฐทุกะ
จิตฺตสํสฏฺา ธมฺมา ธรรมเจือกับจิต
จิตฺตวิสํสฏฺา ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิต
๖๐ - ๖. จิตตสมุฏฐานทุกะ
จิตฺตสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน
โน จิตฺตสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๖๑ - ๗. จิตตสหภูทุกะ
จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ธรรมเกิดร่วมกับจิต
โน จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต
๖๒ - ๘. จิตตานุปริวัตติทุกะ
จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมอันเกิดคล้อยตามจิต
โน จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 183
[๑๑] ๖๓ - ๙. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ
จิตฺตสํสฏฺสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมเจือกับจิต และมีจิตเป็นสมุฏฐาน
โน จิตฺตสํสฏฺสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิต และไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๖๔ - ๑๐. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ
จิตฺตสํสฏฺสมุฏฺานสหภุโน ธมฺมา ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต
โน จิตฺตสํสฏฺานสหภุโน ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต
๖๕ - ๑๑. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ
จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺานานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต
โน จิตฺตสํสฏฺสมุฏฺานานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต
๖๖ - ๑๒. อัชฌัตติกทุกะ
อชฺฌตฺติกา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน
พาหิรา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก
๖๗ - ๑๓. อุปาทาทุกะ
อุปาทา ธมฺมา ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด
โน อุปาทา ธมฺมา ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 184
๖๘ - ๑๔. อุปาทินนทุกะ
อุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง
อนุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง
อุปทานโคจฉกะ
หมวดที่ ๑๑ มี ๖ ทุกะ คือ
[๑๒] ๖๙ - ๑. อุปาทานทุกะ
อุปาทานา ธมฺมา ธรรมเป็นอุปาทาน
โน อุปาทานา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอุปาทาน
๗๐ - ๒. อุปาทานิยทุกะ
อุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปทาน
อนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๗๑ - ๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
อุปาทานสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน
อุปาทานวิปฺยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน
๗๒ - ๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
อุปาทานา เจว ธมฺมา อุปาทานิยา จ ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทานิยา เจว ธมฺมา โน จ อุปาทานา ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 185
๗๓ - ๕. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
อุปาทานา เจว ธมฺมา อุปาทานสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน
อุปาทานสมฺยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ อุปาทานา ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน
๗๔ - ๖. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยทุกะ
อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อุปาทานิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อนุปาทานิยาปิ ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
กิเลสโคจฉกะ
หมวดที่ ๑๒ มี ๘ ทุกะ คือ
[๑๓] ๗๕ - ๑. กิเลสทุกะ
กิเลสา ธมฺมา ธรรมเป็นกิเลส
โน กิเลสา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นกิเลส
๗๖ - ๒. สังกิเลสิกทุกะ
สงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส
อสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
๗๗ - ๓. สังกิลิฏฐทุกะ
สงฺกิลิฏฺา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมอง
อสงฺกิลิฏฺา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมอง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 186
๗๘ - ๔. กิเลสสัมปยุตตทุกะ
กิเลสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส
กิเลสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากกิเลส
๗๙ - ๕. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ
กิเลสา เจว ธมฺมา สงฺกิเลสิกา จ ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส
สงฺกิเลสิกา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส
๘๐ - ๖. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ
กิเลสา เจว ธมฺมา สงฺกิลิฏฺา จ ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง
สงฺกิลิฏฺา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส
๘๑ - ๗. กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ
กิเลสา เจว ธมฺมา กิเลสสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
กิเลสสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส
๘๒ - ๘. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ
กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา สงฺกิเลสิกาปิ ธรรมวิปปยุตจากกิเลส แต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อสงฺกิเลสิกาปิ ธรรมวิปปยุตจากกิเลส และไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 187
ปิฏฐิทุกะ
หมวดที่ ๑๓ มี ๑๘ ทุกะ คือ
[๑๔] ๘๓ - ๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ
ทสฺสเนน ปาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ
น ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ละ
๘๔ - ๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ
น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ
๘๕ - ๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ
น ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะละ
๘๖ - ๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ
น ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะละ
๘๗ - ๕. สวิตักกทุกะ
สวิตฺกกา ธมฺมา ธรรมมีวิตก
อวิตกฺกา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตก
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 188
๘๘ - ๖. สวิจารทุกะ
สวิจารา ธมฺมา ธรรมมีวิจาร
อวิจารา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิจาร
๘๙ - ๗. สัปปีติกทุกะ
สปฺปีติกา ธมฺมา ธรรมมีปีติ
อปฺปีติกา ธมฺมา ธรรมไม่มีปีติ
๙๐ - ๘. ปีติสหคตทุกะ
ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยปีติ
น ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ
๙๑ - ๙. สุขสหคตทุกะ
สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา
น สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา
๙๒ - ๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ
อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
น อุเปกฺขาสหคตาธมฺมา ธรรมไม่สหรตด้วยอุเบกขาเวทนา
๙๓ - ๑๑. กามาวจรทุกะ
กามาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นกามาวจร
น กามาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นกามาวจร
๙๔ - ๑๒. รูปาวจรทุกะ
รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นรูปาวจร
น รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูปาวจร
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 189
๙๕ - ๑๓. อรูปาวจรทุกะ
อรูปาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นอรูปาวจร
น รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูปาวจร
๙๖ - ๑๔. ปริยาปันนทุกะ
ปริยาปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปริยาปันนะ
อปริยาปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นอปริยาปันนะ
๙๗ - ๑๕. นิยยานิกทุกะ
นิยฺยานิกา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุนําออกจากสังสารวัฏฏ์
อนิยฺยานิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุนําออกจากสังสารวัฏฏ์
๙๘ - ๑๖. นิยตทุกะ
นิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลแน่นอน
อนิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลไม่แน่นอน
๙๙ - ๑๗. สอุตตรทุกะ
สอุตตฺรา ธมฺมา ธรรมมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
อนุตฺตรา ธมฺมา ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๑๐๐ - ๑๘. สรณทุกะ
สรณา ธมฺมา ธรรมเกิดกับกิเลส
อรณา ธมฺมา ธรรมไม่เกิดกับกิเลส
อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะจบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 190
สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ
[๑๕] ๑. วิชชาภาคีทุกะ
วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา
อวิชฺชภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา
๒. วิชชูปมทุกะ
วิชฺชูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าแลบ
วชิรูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าผ่า
๓. พาลทุกะ
พาลา ธมฺมา ธรรมทําให้เป็นพาล
ปณฺฑิตา ธมฺมา ธรรมทําให้เป็นบัณฑิต
๔. กัณหทุกะ
กณฺหา ธมฺมา ธรรมดํา
สุกฺกา ธมฺมา ธรรมขาว
๕. ตปนิยทุกะ
ตปนิยา ธมฺมา ธรรมทําให้เร่าร้อน
อตปนิยา ธมฺมา ธรรมไม่ทําให้เร่าร้อน
๖. อธิวจนทุกะ
อธิวจนา ธมฺมา ธรรมเป็นชื่อ
อธิวจนปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นชื่อ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 191
๗. นิรุตติทุกะ
นิรุตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นนิรุตติ
นิรุตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นนิรุตติ
๘. ปัญญัติติทุกะ
ปญฺญตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นบัญญัติ
ปญฺญตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นบัญญัติ
๙. นามรูปทุกะ
นามญฺจ นามธรรม
รูปญฺจ รูปธรรม
๑๐. อวิชชาทุกะ
อวิชฺชา จ ความไม่รู้แจ้ง
ภวตณฺหา จ ความปรารถนาภพ
๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ
ภวทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าเกิด
วิภวทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าไม่เกิด
๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ
สสฺสตทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าเที่ยง
อุจฺเฉททิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าสูญ
๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ
อนฺตวาทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่ามีที่สุด
อนนฺตวาทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 192
๑๔. ปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ
ปุพฺพนฺตานุทิฏฺิ จ ความเห็นปรารภส่วนอดีต
อปรนฺตานุทิฏฺิ จ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต
๑๕. อหิริกทุกะ
อหิริกฺจ ความไม่ละอาย
อโนตฺตปฺปฺจ ความไม่เกรงกลัว
๑๖. หิริทุกะ
หิริ จ ความละอาย
โอตฺตปฺปฺจ ความเกรงกลัว
๑๗. โทวจัสสตาทุกะ
โทวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่ายาก
ปาปมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
๑๘. โสวจัสสตาทุกะ
โสวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่าง่าย
กลฺยาณมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรดี
๑๙. อาปัตติกุสลตาทุกะ
อาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ
อาปตฺติวุฏฺานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ
๒๐. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
สมาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
สมาปตฺติวุฏฺานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 193
๒๑. ธาตุกุสลาทุกะ
ธาตุกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
มนสิการกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการพิจารณา
๒๒. อายตนกุสลตาทุกะ
อายตนกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ
ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ
านกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ
อฏฺานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ
๒๔. อาชชวทุกะ
อาชฺชโว จ ความซื่อตรง
มทฺทโว จ ความอ่อนโยน
๒๕. ขันติทุกะ
ขนฺติ จ ความอดทน
โสรจฺจฺจ ความสงบเสงี่ยม
๒๖. สาขัลยทุกะ
สาขลฺยฺจ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน
ปฏิสนฺถาโร จ การปฏิสันถาร
๒๗. อินทริยอคุตตทวารตาทุกะ
อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา ความเป็นผู้ไม่สํารวมในอินทรีย์
โภชเน อมตฺตฺุตา จ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 194
๒๘. อินทริยคุตตทวารตาทุกะ
อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตา จ ความเป็นผู้สํารวมในอินทรีย ์๖
โภชเน มตฺตฺุตา จ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
มุฏฺสจฺจฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสติ
อสมฺปชฺฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๓๐. สติทุกะ
สติ จ สติ
สมฺปชฺฺจ สัมปชัญญะ
๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
ปฏิสงฺขานพลฺจ กําลังคือการพิจารณา
ภาวนาพลฺ จ กําลังคือภาวนา
๓๒. สมถทุกะ
สมโถ จ สมถะ
วิปสฺสนา จ วิปัสสนา
๓๓. นิมิตตทุกะ
สมถนิมิตฺตฺจ นิมิตคือสมถะ
ปคฺคาหนิมิตฺตฺจ นิมิตคือความเพียร
๓๔. ปัคคาหทุกะ
ปคฺคาโห จ ความเพียร
อวิกฺเขโป จ ความไม่ฟุ้งซ่าน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 195
๓๕. วิปัตติทุกะ
สีลวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งศีล
ทิฏฺิวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ
๓๖. สัมปทาทุกะ
สีลสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งศีล
ทิฏฺิสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ
๓๗. วิสุทธิทุกะ
สีลวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งศีล
ทิฏฺิวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิทุกะ
ทิฏฺิวิสุทธิ โข ปน ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
ยถาทิฏฺิสฺส จ ปธานํ ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด
๓๙. สังเวคทุกะ
สํเวโค จ สํเวชนิเยสุ าเนสุ ความสลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ
สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ ความพยายามโดยแยบคายของบุคคลผู้มีความสลดใจ
๔๐. อสันตุฏฐตาทุกะ
อสนฺตุฏฺตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม
อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ ความไม่ท้อถอยในความพยายาม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 196
๔๑. วิชชาทุกะ
วิชฺชา จ ความรู้แจ้ง
วิมุตฺติ จ ความหลุดพ้น
๔๒. ขยญาณทุกะ
ขเย าณํ ญาณในอริยมรรค
อนุปฺปาเท าณํ ญาณในอริยผล
สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะจบ
มาติกาจบ
อรรถกถามาติกานุบุพบท
ก็ในบททุกมาติกา ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทซึ่งยังไม่มาในติกะทั้งหลายเท่านั้น จักพรรณาบทในเหตุโคจฉกะก่อน.
บทว่า เหตู ธมฺมาได้แก่ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือเหตุ ด้วยอรรถว่า เป็นรากเหง้า พระบาลีว่า เหตุธมฺมา ดังนี้ก็มี. บทว่า น เหตู เป็นคําปฏิเสธเหตุเหล่านั้นโดยแท้. ธรรมที่ชื่อว่า สเหตุกะ เพราะมีเหตุเป็นไปโดยสัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า อเหตุกะ เพราะเหตุที่เป็นไปของธรรมทั้งหลายเหมือนอย่างนั้นไม่มี. ธรรมที่ชื่อว่า เหตุสัมปยุตตะ เพราะสัมปยุตด้วยเหตุโดยมีเอกุปปาทะเป็นต้น. ธรรมที่ชื่อว่า เหตุวิปปยุตตะ เพราะไม่ประกอบด้วยเหตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 197
ก็ทุกะทั้ง ๒ (คือ เหตุทุกะ และสเหตุทุกะ) แม้เหล่านี้ โดยอรรถไม่มีความต่างกันก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสทุกะทั้ง ๒ ไว้ด้วยความไพเราะแห่งเทศนา หรือด้วยอัธยาศัยของบุคคลทั้งหลาย คือ สัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยธรรมอย่างนั้น ต่อจากนั้น ก็ทรงประกอบทุกะแรกด้วยสามารถเอกเทศทั้งสิ้นกับด้วยทุกะที่ ๒ และที่ ๓ และทุกะ ๓ ทุกะแม้อื่นอีก โดยความที่เหตุเหล่านั้นตามแต่เกิดได้ ด้วยสามารถแห่งบททั้งหลายมีคําว่า เหตุ เป็นต้น.
บรรดาทุกะเหล่านั้น คําว่า เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ (สภาวธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่าเหตุ และมีเหตุประกอบ) นี้ย่อมเกิดขึ้น ฉันใด แม้ทุกะนี้ว่า เหตู เจว ธมฺมา อเหตุกา จ (สภาวธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่าเหตุและไม่มีเหตุประกอบ) ก็ย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น.
อนึ่ง คําว่า สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู (สภาวธรรมทั้งหลายที่มีเหตุประกอบ และไม่ชื่อว่าเหตุมีอยู่) นี้ ย่อมเกิดฉันใด คําแม้นี้ว่า อเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู (สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่มีเหตุประกอบและไม่ชื่อว่าเหตุมีอยู่) ก็ย่อมเกิด ฉันนั้น. แม้ในการประกอบกับเหตุสัมปยุตทุกะก็นัยนี้แหละ.
พึงทราบอรรถที่เกินไปในนเหตุสเหตุกทุกะซึ่งท่านรวบรวมไว้ด้วยสามารถแห่งบทว่า เมื่ออรรถรูปเป็น น เหตู ธมฺมา สเหตุกาปิ อเหตุกาปิ (สภาวธรรมที่ไม่ใช่เหตุ มีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้างมีอยู่) บทที่ตรัสว่า โข ปน ในบทว่า น เหตู โข ปน ธมฺมา ดังนี้ ก็เปล่าประโยชน์อย่างยิ่ง มิใช่หรือ. อย่างไร คือ ธรรมทั้งหลายเป็นเหตุล้วนก็หาไม่ โดยที่แท้แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นอย่างอื่นบ้าง มีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง แต่ว่า ย่อมเป็นแม้โดยประการอย่างหนึ่งตามที่กล่าวแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 198
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่เหตุย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันใดนั่นแหละ ธรรมทั้งหลายที่เป็นเหตุ ก็ย่อมมีเหตุประกอบบ้างไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันนั้น. ก็เหตุธรรมเป็นสเหตุกะบ้าง เป็นอเหตุกะบ้าง ฉันใด ธรรมที่เป็นนเหตุธรรมก็เป็นเหตุสัมปยุตตะบ้าง เป็นเหตุวิปปยุตตะบ้าง ฉันนั้น.
ว่าด้วยจูฬันตรทุกะ
พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งจูฬันตรธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สัปปัจจยะ เพราะเป็นไปพร้อมกับปัจจัยอันให้สําเร็จแก่ตน. ธรรมชื่อว่า อปัจจยะ เพราะไม่มีปัจจัยในอุปปาท (การเกิด) หรือในฐิติ (การตั้งอยู่) ของธรรมเหล่านั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สังขตะ เพราะปัจจัยทั้งหลายประชุมกันปรุงแต่ง. ชื่อว่า อสังขตะ เพราะไม่ประชุมกันปรุงแต่ง. รูปของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ ด้วยอํานาจแห่งอวินิพโภคะ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน. ชื่อว่า อรูปิโน เพราะรูปของธรรมเหล่านั้นไม่มีเหมือนอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูปนั้นมีการเสื่อมไปเป็นลักษณะของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน. ธรรมทั้งหลายที่มิใช่รูป ชื่อว่า อรูปิโน.
วัฏฏะตรัสเรียกว่า โลก ในบทว่า โลกิยา ธมฺมา ดังนี้ เพราะอรรถว่า ชํารุดทรุดโทรม. ธรรมทั้งหลายประกอบแล้วในโลก โดยความนับเนื่องแล้วในโลกนั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า โลกิยะ. ธรรมทั้งหลายชื่อว่า อุตตระ เพราะข้ามขึ้นแล้วจากโลกนั้น. ธรรมใดข้ามพ้นแล้วจากโลก โดยความเป็นไปไม่นับเนื่องในโลก เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า โลกุตตระ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 199
บทว่า เกนจิวิฺเยฺยา ได้แก่พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญาณเป็นต้น บทว่า เกนจิ น วิฺเยฺยา ได้แก่ ไม่พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณนี้นั่นแหละ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ทุกะแห่งบทแม้ทั้ง ๒ ก็ต่างกันโดยอรรถ.
ว่าด้วยอาสวโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในอาสวโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหลไป อธิบายว่าอาสวะเหล่านั้น ย่อมไหลไป คือ ย่อมเป็นไปทางจักษุบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เมื่อว่าโดยธรรม ย่อมไหลไปถึงโคตรภู ว่าโดยภูมิ (โอกาส) ย่อมไหลไปถึงภวัคคพรหม อธิบายว่ากระทําธรรมเหล่านี้ และภูมิไว้ในภายในเป็นไป. เพราะว่า อาอักษร นี้มีอรรถว่ากระทําไว้ภายใน ที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นดุจเครื่องหมักดอง ด้วยอรรถว่าหมักไว้นานมีเครื่องมึนเมาเป็นต้น จริงอยู่ เครื่องหมักดองที่หมักไว้นานมีเครื่องมึนเมาเป็นต้น ท่านเรียกว่า อาสวะในโลก. ก็ถ้าว่า ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า หมักไว้นาน อาสวะเหล่านั้นก็สมควรเป็นอย่างนั้น. สมดังพระดํารัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นของอวิชชาไม่ปรากฏก่อน ก่อนแต่นี้อวิชชาก็มิได้มีเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหลย่อมไหลไปสู่สังสารทุกข์อันยาวนาน. นอกจากอาสวะนั้น ธรรมเหล่าอื่นไม่ชื่อว่าอาสวะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 200
ธรรมที่ชื่อว่า สาสวะ เพราะมีอาสวะพร้อมกับทําตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป. ชื่อว่า อนาสวะ เพราะอรรถว่า อาสวะของธรรมเหล่านั้นที่กําลังเป็นไปอยู่อย่างนี้มิได้มี. พึงทราบคําที่เหลือในเหตุโคจฉกะโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
ส่วนความที่แปลกกันมีดังต่อไปนี้
ในเหตุโคจฉกะนั้น ทุกะสุดท้ายว่า น เหตู โข ปน ธมฺมา สเหตุกาปิ อเหตุกาปิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวางบทที่สองแห่งทุกะแรกไว้ในเบื้องต้น ฉันใด ในอาสวโคจฉกะนี้ไม่ตรัสบทสุดท้ายว่า โน อาสวา โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ อนาสวาปิ ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบเนื้อความนี้และความแตกต่างกัน โดยนัยที่ตรัสไว้ในเหตุโคจฉกะนั้น.
ว่าด้วยสัญโญชนโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในสัญโญชนโคจฉกธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชน์ เพราะอรรถว่า ย่อมประกอบ คือ ผูกพันบุคคลผู้มีสัญโญชน์ไว้ในวัฏฏะ ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า สัญโญชน์. ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชนิยะ เพราะอรรถว่า เข้าถึงความเป็นอารมณ์เกื้อกูลแก่สัญโญชน์ทั้งหลายด้วยความเกี่ยวข้องกับสัญโญชน์ คําว่า สัญโญชนิยะนี้เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสัญโญชน์. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนิยะชื่อว่า อสัญโญชนิยธรรม. คําที่เหลือพึงประกอบความโดยนัยที่กล่าวแล้วในโคจฉกะนั้นแล.
ว่าด้วยคัณฐโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในคัณฐโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า คัณฐะ เพราะอรรถว่า ผูก คือ เชื่อมต่อบุคคลผู้มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 201
กิเลสไว้ในวัฏฏะ ด้วยอํานาจจุติและปฏิสนธิ. ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่าคัณฐะ ธรรมที่ชื่อว่า คัณฐนิยะ เพราะอรรถว่า ถูกคัณฐธรรมผูกไว้ด้วยสามารถกระทําให้เป็นอารมณ์ คําที่เหลือ พึงประกอบความโดยนัยที่กล่าวแล้วในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ แต่คําที่เหลือนอกจากที่ตรัสไว้ แม้ในทุกะอื่นจากทุกะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในทุกะนั้นๆ นั่นแหละเหมือนตรัสไว้ในทุกะนี้.
ว่าด้วยโอฆโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในโอฆโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมท่วมทับ คือยังสัตว์มีกิเลสให้จมลงในวัฏฏะ. ที่ชื่อว่า โอฆนิยะ เพราะถูกโอฆธรรมทั้งหลายให้ก้าวล่วงโดยทําให้เป็นอารมณ์ พึงก้าวล่วง พึงทราบโอฆนิยธรรมว่าเป็นอารมณ์ของโอฆะทั้งหลายนั่นเอง.
ว่าด้วยโยคโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในโยคโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ พึงทราบโยคนิยธรรม เหมือนโอฆนิยธรรม.
ว่าด้วยนีวรณโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในนีวรณโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะกั้น คือ หุ้มห่อจิตไว้ พึงทราบนีวรณิยธรรม ดุจสัญโญชนิยธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 202
ว่าด้วยปรามาสโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในปรามาสโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะอรรถว่า ย่อมยึดถือโดยความเป็นอย่างอื่น เพราะเป็นไปด้วยอํานาจที่ก้าวล่วงอาการแห่งธรรมทั้งหลายที่มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมเที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปรามัฏฐธรรม เพราะปรามาสธรรมทั้งหลายยึดถือไว้ด้วยการกระทําให้เป็นอารมณ์.
ว่าด้วยมหันตรทุกะ
พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งมหันตรธรรม ต่อไป
ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปพร้อมกับอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า สารัมมณะ เพราะไม่ยึดอารมณ์ก็เป็นไปไม่ได้. อารมณ์ของธรรมเหล่านั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนารัมมณะ.
ธรรมที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิด อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าวิจิตร. ธรรมที่ประกอบโดยไม่พรากจากกัน ชื่อว่า เจตสิก.ธรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตตั้งแต่เกิดจนแตกดับ โดยการเข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐะ ธรรมแม้เมื่อเป็นไปพร้อมกับจิต แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจิตเพราะการไม่เข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์ ชื่อว่า วิสังสัฏฐะ.
จิตเป็นสมุฏฐานของธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน. ธรรมที่เกิดพร้อมกัน ชื่อว่า สหภู. ธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ชื่อว่า จิตตสหภู. ธรรมที่คล้อยตามกันไป ชื่อว่า อนุปริวัตติ คล้อยตามอะไร คล้อยตามจิต การคล้อยไปตามจิต ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เพราะระคนด้วยจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน. ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เพราะระคนด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 203
จิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดพร้อมกับจิต. ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เพราะระคนด้วยจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และคล้อยตามจิต. บททั้งหมดที่เหลือพึงทราบโดยการปฏิเสธบทที่กล่าวแล้ว.
ธรรมที่เป็นภายในนั่นแหละ ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม ตามที่กล่าวไว้ในอัชฌัตตติกะ ในที่นี้หมายเอา อัชฌัตตัชฌัตตธรรม (คืออัชฌัตตายตนะ. ธรรมภายนอกจากนั้น ชื่อว่า พาหิระ. ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะอาศัยภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น แต่มิใช่เหมือนภูตผีที่สิงอาศัย. ธรรมที่ไม่อาศัยภูตรูปเกิดขึ้น ชื่อว่า อนุปาทา.
ว่าด้วยอุปทานโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทานโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดอย่างยิ่ง คือยึดมั่นคง ธรรมนอกจากอุปาทานนั้น ไม่ชื่อว่า อุปาทาน.
ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ
พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสโคจฉกะ ต่อไป
อรรถแห่งกิเลสโคจฉกะ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในสังกิลิฏฐติกะนั้นแล.
ว่าด้วยปิฏฐิทุกะ
พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งปิฏฐิธรรมต่อไป
ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไป (อาศัยอยู่) ในกาม เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า กามาวจร. ชื่อว่า รูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในรูป. ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในอรูป. ในทุกะนี้มีสังเขปเพียงนี้ ส่วนความพิสดารจักมีแจ้งข้างหน้า.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 204
ธรรมเหล่าใด นับเนื่องในสังสารหยั่งลงภายใน ในวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปริยาปันนะ ธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะอันเป็นภูมิ ๓ นั้น ชื่อว่า อปริยาปันนะ.
ธรรมเหล่าใด ตัดมูลแห่งวัฏฏะกระทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ ออกไปจากวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า นิยยานิกะ ธรรมที่ไม่นําออกไปโดยลักษณะนี้ ชื่อว่า อนิยยานิกะ.
ธรรมที่ชื่อว่า นิยตะ เพราะให้ผลแน่นอนในลําดับแห่งจุติ หรือความเป็นไปของตน. ธรรมที่ไม่ให้ผลแน่นอนเหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อนิยตะ.
ธรรมที่ชื่อว่า อุตตระ เพราะย่อมข้ามพ้น คือ ย่อมละธรรมเหล่าอื่นไป. ที่ชื่อว่า สอุตตระ เพราะมีอุตตรธรรมอันสามารถเพื่ออันข้ามพ้นตนขึ้นไป. ที่ชื่อว่า อนุตตรธรรม เพราะอุตตรธรรมของธรรมเหล่านั้นไม่มี.
ธรรมเหล่าใด ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้ร้องไห้ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า รณะ คําว่า รณธรรม นี้เป็นชื่อของกิเลสมีราคะเป็นต้นที่สัตว์ทั้งหลายถูกกิเลสครอบงําแล้ว ย่อมร้องไห้คร่ําครวญโดยประการต่างๆ ธรรมที่ชื่อว่า สรณะ เพราะมีรณธรรม ด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ และด้วยสามารถแห่งการตั้งอยู่ในฐานเดียวกันแห่งการละ ธรรมที่ชื่อว่า อสรณะ เพราะสรณธรรมของธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่โดยอาการนั้น.
ว่าด้วยสุตตันตติกทุกะ
พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งสุตตันตมาติกา ต่อไป.
ธรรมเหล่าใดย่อมเสพวิชชาด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า วิชชาภาคี. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดย่อมยังส่วนแห่งวิชชา ให้เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 205
วิชชาภาคี. ในวิชชาภาคีนั้น วิชชามี ๘ คือวิปัสสนาญาณ ๑ มโนมยิทธิ ๑ อภิญญา ๖. ว่าด้วยอรรถแรก ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาเหล่านั้น ชื่อว่า วิชชาภาคี. ว่าด้วยอรรถหลัง บรรดาวิชชา ๘ เหล่านั้น วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิชชา. วิชชาทั้งหลายที่เหลือเป็นวิชชาภาคี เพราะฉะนั้น วิชชาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่าเป็นวิชชาภาคีนั่นแหละ แต่ในสุตตันติกทุกะในที่นี้ท่านประสงค์เอาสัมปยุตตธรรม. ธรรมเหล่าใดย่อมเสพอวิชชา ด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อวิชชาภาคี. แม้ธรรมที่ยังส่วนแห่งอวิชชาให้เป็นไปในหมวดแห่งอวิชชา ก็ชื่อว่า อวิชชาภาคี. ในอวิชชาภาคีนั้น อวิชชามี ๔ คือ ความมืดอันปิดบังทุกข์ ความมืดที่ปิดบังสมุทัยเป็นต้น ๓. แม้ธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชาเหล่านั้น ชื่อว่า อวิชชาภาคี โดยนัยแรกนั่นแหละ บรรดาอวิชชาเหล่านั้น อวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา (โดยนัยหลัง) อวิชชาที่เหลือ ชื่อว่า อวิชชาภาคี เพราะฉะนั้นอวิชชาอย่างนี้ก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชาก็ดี พึงทราบว่า อวิชชาภาคีนั่นแหละ. ก็ในทุกะนี้ท่านประสงค์เอาธรรมที่สัมปยุตกัน
ธรรมที่ชื่อว่า วิชชูปมะ เพราะเปรียบด้วยสายฟ้า เหตุที่ไม่สามารถเพื่อกําจัดความมืดคือกิเลสได้ด้วยความครอบงําอีก. ที่ชื่อว่า วชิรูปมธรรม เพราะธรรมเหล่านั้นเปรียบด้วยเพชร เหตุที่สามารถกําจัดกิเลสโดยสิ้นเชิง. ที่ชื่อว่า พาลธรรม เพราะเป็นธรรมตั้งอยู่ในพาลทั้งหลายโดยอุปจารแห่งธรรมที่พาลตั้งอยู่. ที่ชื่อว่า ปัณฑิตธรรม เพราะเป็นธรรมตั้งอยู่ในบัณฑิตทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า พาลธรรม เพราะกระทําให้เป็นคนโง่. หรือชื่อว่า ปัณฑิตธรรม เพระกระทําให้เป็นคนฉลาด. ธรรมดํากระทําจิตไม่ให้มีความประภัสสรชื่อว่า กัณหธรรม. ธรรมขาวกระทําจิตให้มีความประภัสสร ชื่อว่า สุกกธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 206
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กัณหธรรม เพราะเหตุที่กําเนิดดํา หรือชื่อว่า สุกกธรรม เพราะเหตุที่กําเนิดขาว. ที่ชื่อว่า ตปนียธรรม เพราะย่อมเดือดร้อนในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมที่มิใช่ตปนียธรรม ชื่อว่า อตปนียธรรม.
ทุกะ ๓ มีอธิวจนทุกะเป็นต้น ว่าโดยอรรถไม่มีการกระทําที่ต่างกันในอธิวจนทุกะเป็นต้นนี้ ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น จริงอยู่ คําว่า สิริวฑฺฒโก ธนวฑฺฒโก เป็นต้นที่กระทําเพียงถ้อยคําเท่านั้น ให้เป็นใหญ่เป็นไป ชื่อว่าอธิวจนะธรรมที่เป็นคลองแห่งชื่อทั้งหลาย ชื่อว่า อธิวจนปถะ คําพูดที่ท่านกล่าวอยู่กระทําให้มีเหตุโดยพิสดารอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมใดย่อมปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงเรียกว่า สังขารดังนี้ ชื่อว่า นิรุตติ. คลองแห่งนิรุตติธรรมทั้งหลาย เรียกว่า นิรุตติปถธรรม. ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะการแจ้งให้ทราบโดยประการนั้นๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก (การตรึก) วิตกฺโก (วิตก) สํกปฺโป (ความดําริ) ทางแห่งบัญญัตติทั้งหลายเรียกว่า ปัญญัตติปถธรรม ในที่นี้แม้จะกล่าวทุกะหนึ่ง ก็พึงทราบประโยชน์ในถ้อยคําโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ.
ว่าด้วยนามรูปทุกะ
พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งนามรูปต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า การตั้งชื่อ หรือเพราะอรรถว่า น้อมไป หรือว่าเพราะอรรถว่า การให้น้อมไป. ธรรมที่ชื่อว่ารูป เพราะอรรถว่า แตกสลายไป ในสุตตันติกทุกะนี้ มีสังเขปเพียงนี้ ส่วนความพิสดาร นามธรรมจักแจ่มแจ้งในนิกเขปกัณฑ์.
ความไม่รู้ในสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา. ความปรารถนาในภาวะ ชื่อว่า ภวตัณหา. สัสสตะ (เที่ยง) ท่านเรียกว่า ภวะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 207
ในบทว่า ภวทิฏิ ดังนี้ คือทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความเห็นว่าเที่ยง. ความขาดสูญ ท่านเรียกว่า วิภวะ ในบทว่า วิภวทิฏิ ดังนี้ คือ ทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความขาดสูญ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกเที่ยงชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกมีที่สุดดังนี้ชื่อว่า อันตวาทิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้ ชื่อว่า อนันตวาทิฏฐิ. ทิฏฐิที่คล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ชื่อว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ. ทิฏฐิที่คล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ชื่อว่า อปรันตานุทิฏฐิ.
ความไม่ละอายท่านให้พิสดารอย่างนี้ว่า กรรมอันใดอันบุคคลควรละอาย ย่อมไม่ละอาย กรรมนั้นชื่อว่า อหิริกะ. อาการที่ไม่เกรงกลัวท่านให้พิสดารไว้อย่างนี้ว่า กรรมใด อันบุคคลควรเกรงกลัว ย่อมไม่เกรงกลัว กรรมนั้นชื่อว่า อโนตตัปปะ ความละอายชื่อว่า หิริ ความเกรงกลัว ชื่อว่า โอตตัปปะ.
พึงทราบวินิจฉัยในโทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) เป็นต้น บุคคลชื่อว่า ทุพพจะ (ว่ายาก) เพราะอรรถว่า การกล่าวสอนบุคคลผู้ถือเอาการขัดแย้งต่างๆ ผู้ชอบโต้แย้ง ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ การกล่าวสอนนั้นทําได้ยาก กรรมของผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจัสสะ ภาวะแห่งกรรมของผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจัสสตา. บุคคลผู้ลามกไม่มีศรัทธาเป็นต้น เป็นมิตรของบุคคลนั้นมีอยู่เพระเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ปาปมิตร ภาวะแห่งปาปมิตรนั้น ชื่อว่า ปาปมิตตตา. พึงทราบ โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) และกัลยาณมิตรโดยนัยตรงกันข้ามกับคําที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 208
ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติทั้งหลายที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า กองอาบัติ ๕ ก็มี กองอาบัติ ๗ ก็มี ดังนี้ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติเหล่านั้น ชื่อว่า อาปัตติวุฏฐานกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติกุสลตา. นี้เป็นชื่อของปัญญาที่กําหนดอัปปนาของสมาบัติทั้งหลาย. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑๘ อย่าง ชื่อว่า ธาตุกุสลตา. ความเป็นผู้ฉลาดในการมนสิการธาตุเหล่านั้นนั้นแหละ ชื่อว่า มนสิการกุสลตา. ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา.ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะนั้นๆ ชื่อว่า ฐานกุสลตา. เหตุ ตรัสเรียกว่า ฐานะ .จริงอยู่ ชื่อว่า ผล ย่อมตั้งอยู่ เพราะอาศัยฐานะนั้นเป็นไปแล้ว เพราะฉะนั้น ตรัสเรียกเหตุว่า ฐานะ. ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะทั้งหลายชื่อว่า อฐานกุสลตา. ความเป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่า อาชชวะ. ความเป็นผู้อ่อนโยน ชื่อว่า มัททวะ. ความเป็นผู้อดทนกล่าวคือความอดกลั้น ชื่อว่า ขันติ. ความเป็นผู้ยินดีร่าเริง ชื่อว่า โสรัจจะ. ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวานคือความบันเทิงใจและความอ่อนโยน ชื่อว่า สาขัลยะ. การปฏิสันถารด้วยธรรมและอามิสทั้งหลายโดยไม่ให้มีโทษของตนกับผู้อื่น ชื่อว่า ปฏิสันถาร. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ คือความเป็นผู้ทําลายอินทรีย์สังวร ชื่อว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะด้วยอํานาจแห่งการรับและการบริโภค ชื่อว่า โภชเน อมตฺตฺุตา. พึงทราบหมวด ๒ ในระหว่าง ด้วยสามารถการปฏิเสธคําที่กล่าวแล้ว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หลงลืมสติ คือการอยู่ปราศจากสติ ชื่อว่า มุฏฐสัจจะ. ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ชื่อว่า อสัมปชัญญะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 209
ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะระลึกได้ ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ทั่ว. พละกล่าวคือการพิจารณาสิ่งที่ยังไม่พิจารณา ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. พละที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ โดยวิริยะเป็นประธาน ชื่อว่า ภาวนาพละ. ธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้สงบ. ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นโดยอาการต่างๆ ด้วยอํานาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. สมถะนั่นแหละชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยสามารถแห่งนิมิตแห่งสมถะแรกที่พระโยคาวจรถือเอาอาการนั้นแล้วให้เป็นไปอีก. แม้ในปัคคาหนิมิต ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสัมปยุตตธรรมไว้. ชื่อว่า อวิกเขปะ เพราะไม่ซัดส่าย. ความวิบัติแห่งศีลคือความไม่สํารวมอันยังศีลให้พินาศ ชื่อว่า สีลวิบัติ. ความวิบัติแห่งทิฏฐิคือ มิจฉาทิฏฐิอันยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ ชื่อว่า ทิฏฐิวิบัติ การถึงพร้อมด้วยศีล ชื่อว่า สีลสัมปทา เพราะยังความยินดีร่าเริงให้ถึงพร้อมด้วยศีล คือให้บริบูรณ์ด้วยศีลนั่นแหละ. ญาณอันบริบูรณ์ด้วยทิฏฐิเป็นการถึงพร้อมด้วยทิฏฐิชื่อว่า ทิฏฐิสัมปทา. ความหมดจดแห่งศีล กล่าวคือศีลที่ถึงความเป็นวิสุทธิ ชื่อว่า สีลวิสุทธิ. ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะสามารถเพื่อบรรลุวิสุทธิคือพระนิพพาน เป็นการหมดจดแห่งทิฏฐิกล่าวคือการเห็น. ข้อว่า ทิฏิวิสุทฺธิโข ปน และ ยถา ทิฏิสฺส จ ปธานํ ได้แก่ ทิฏฐิวิสุทธิกล่าวคือ กัมมัสสกตาญาณเป็นต้นและความเพียรอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิวิสุทธินั้นนั่นแหละของบุคคลผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นอันเหมาะสม มีความเห็นอันดี.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 210
ความสังเวชกล่าวคือความกลัวอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยชาติเป็นต้นชื่อว่า สังเวคะ. เหตุมีชาติเป็นต้น อันยังความสลดใจให้เกิดขึ้น ชื่อว่า สังเวชนิยฐาน. ความเพียรอันเป็นอุบายของผู้มีใจสลดอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ชื่อว่า ความเพียร โดยแยบคายของบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว. ความเป็นผู้ไม่สันโดษในการบําเพ็ญกุศลธรรม ชื่อว่า ความไม่ยินดีในกุศลธรรม. ความไม่ถอยกลับ และไม่ท้อถอยในความเพียรที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ทําให้ท้อถอยในความเพียร. ชื่อว่า วิชชา เพราะรู้แจ้ง. ชื่อว่าวิมุตติ เพราะหลุดพ้น. ญาณในอริยมรรคอันกระทําความสิ้นกิเลส ชื่อว่า ขเย าณํ (ญาณในความสิ้นกิเลส) . ญาณในอริยผลอันเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสอันมรรคนั้นๆ พึงฆ่า เป็นญาณไม่เกิดขึ้นด้วยอํานาจปฏิสนธิชื่อว่า อนุปฺปาเท าณํ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น)
จบ อรรถกถา มาติกานุบุพบทเพียงนี้