บาลีโกฏฐาสวาร
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑
อรรถกถา จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายสังคหวาร 409
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 75]
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 396
โกฏฐาสวาร
[๗๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑ มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุมีในสมัยนั้น หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๗๔] ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ทีสบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น
สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การจํา กิริยาที่จําความจํา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์มีในสมัยนั้น
สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 397
อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น
วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิญญาณขันธ์มีในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น.
[๗๕] อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
มนายตนะ ธรรมายตนะ
มนายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณวิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะมีในสมัยนั้น
ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 398
[๗๖] ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ ธรรมธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น.
ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น.
[๗๗] อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร.
ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความถูกต้อง อาการที่ถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น.
มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น.
วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 399
[๗๘] อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์.
สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธาอินทรีย์ คือศรัทธา สัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์มีในสมัยนั้น.
วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ. วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละสัมมาวายามะในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 400
ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรมสัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
อายุ ความดํารงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 401
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น.
[๗๙] ฌานมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา.
วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรึกค วามตรึกอย่างแรง ความดําริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.
วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิจาร มีในสมัยนั้น.
ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปีติมีในสมัยนั้น.
สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุข มีในสมัยนั้น.
เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 402
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.
สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ฌานมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น.
[๘๐] มรรคมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิมีในสมัยนั้น.
สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดําริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดําริชอบในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.
สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 403
ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.
สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความความระลึก ความหวนระลึก สติกิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติ ในสมัยนั้น.
สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบแห่งจิต สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งจิตไว้ชอบ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.
สภาวธรรมนี้ชื่อว่า มรรคมีองค์๕ มีในสมัยนั้น.
[๘๑] พละ ๗ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละโอตตัปปพละ.
สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธาสัทธินทรีย์ กําลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น.
วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็งความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 404
ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กําลังคือวิริยะสัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.
สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจําความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กําลังคือสติ สัมมาสติมีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น.
สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ กําลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละมีในสมัยนั้น.
ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ควรเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์กําลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละมีในสมัยนั้น.
หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าหิริพละมีในสมัยนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 405
โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลายในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า พละ ๗ มีในสมัยนั้น.
[๘๒] เหตุ ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ
อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กําหนัด กิริยาที่ไม่กําหนัด ความไม่กําหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคือความไม่โลภ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะมีในสมัยนั้น.
อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคือความไม่คิดประทุษร้าย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะมีในสมัยนั้น.
อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ควานรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 406
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าอโมหะมีในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า เหตุ๓ มีในสมัยนั้น.
[๘๓] ผัสสะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ อาการที่ถูกต้องความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๘๔] เวทนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา๑ มีในสมัยนั้น.
[๘๕] สัญญา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การจํา กิริยาที่จํา ความจํา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา ๑มีในสมัยนั้น.
[๘๖] เจตนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา ๑มีในสมัยนั้น.
[๘๗] จิต ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายจนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิต ๑ มีในสมัยนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 407
[๘๘] เวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๘๙] สัญญาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การจํา กิริยาที่จํา ความจํา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ๑มีในสมัยนั้น.
[๙๐] สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตาจิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะวิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดเว้นเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๙๑] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 408
[๙๒] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๙๓] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๙๔] มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๙๕] ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๙๖] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.
[๙๗] หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นสภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
โกฏฐาสวาร จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 409
อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์
อธิบายสังคหวาร (๑)
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มสังคหวารโดยคําเป็นต้นว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย จตฺตาโร ขนฺธา โหนฺติ (ก็ในสมัยนั้นแล ขันธ์ ๔ ย่อมมี) ก็สังคหวารนั้นมี ๓ อย่างคือ อุทเทส นิทเทส และปฏินิทเทส.
บรรดาสังคหวารทั้ง ๓ เหล่านั้น วาระที่มีคําเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย จตฺตาโร ขนฺธา (ก็ในสมัยนั้นแลขันธ์๔ ย่อมมี) ดังนี้พึงทราบว่าเป็นอุทเทส. วาระที่มีคําเป็นต้น ว่า กตเม ตสฺมึ สมเย จตฺตาโร ขนฺธา (ขันธ์๔ มีใสมัยนั้นเป็นไฉน) ดังนี้พึงทราบว่าเป็นนิทเทส. วาระที่มีคําเป็นต้นว่า กตโม ตสฺมึ สมเย เวทนากฺขนฺโธ (เวทนาขันธ์มีในสมัยนั้นเป็นไฉน) ดังนี้ พึงทราบว่าเป็นปฏินิทเทส.
บรรดาวาระเหล่านั้น วาระว่าด้วยอุทเทสมีคําว่า จตฺตาโร ขนฺธา เป็นต้น มีโกฏฐาส ๒๓ พึงทราบเนื้อความโกฏฐาสเหล่านั้น ดังต่อไปนี้
กามาวจรมหากุศลจิตดวงที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้นธรรมทั้งหลายเกิน ๕๐ ซึ่งมาในพระบาลีที่เกิดขึ้นเป็นส่วนประกอบของจิตเว้น เยวาปนกธรรม เมื่อประมวลเข้าด้วยกันแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ขันธ์ ๔ ด้วยอรรถว่าเป็นกอง ชื่อว่า เป็นอายตนะ ๒ เท่านั้น ด้วยอรรถว่าเป็นที่ต่อตามที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่า เป็นธาตุ ๒ เหมือนกันนั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวะด้วยอรรถว่าเป็นสุญญตะ ด้วยอรรถว่าเป็นนิสสัตตะ. ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่า เป็นอาหารมี ๓ เท่านั้น ด้วยอรรถว่านํามากล่าวคือเป็นปัจจัยธรรมที่เหลือไม่ใช่เป็นอาหาร.
(๑) บาลีเรียกว่า โกฏฐาสวาร
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 410
ถามว่า ธรรมที่เหลือเหล่านั้นไม่เป็นปัจจัยของกันและกันหรือ หรือว่าไม่เป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานหรือ?
ตอบว่า ไม่เป็นปัจจัยหามิได้ แต่ว่าธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นปัจจัยอย่างนั้นก็ได้ ย่อมเป็นโดยประการอื่นก็ได้ เพราะฉะนั้น ครั้นเมื่อความเป็นปัจจัยแม้มีอยู่ ก็ย่อมเป็นปัจจัยเกินไปดังนั้น จึงตรัสว่า ธรรมเหล่านั้นว่าเป็นอาหาร.
ถามว่า ตรัสว่าอย่างไร?
ตอบว่า บรรดาอาหารเหล่านั้น ผัสสาหารเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่จิตและเจตสิกเป็นปัจจัยเหล่านั้น และย่อมนํามาซึ่งเวทนา ๓. มโนสัญเจตนาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และย่อมนํามาซึ่งภพ ๓. วิญญาณาหาร ย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และย่อมนํามาซึ่งปฏิสนธิ นามและรูป.
ถามว่า วิญญาณาหารนั้นเป็นวิบากอย่างเดียว ส่วนวิญญาณนี้เป็นกุศลวิญญาณ มิใช่หรือ. ตอบว่า เป็นกุศลวิญญาณแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นกุศลวิญญาณนั้น ท่านก็เรียกว่า วิญญาณาหารเหมือนกัน เพราะเป็นสภาพเหมือนกับวิปากวิญญาณาหารนั้น. อีกย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๓ เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า อาหาร เพราะอรรถว่าเป็นธรรมอุปถัมภ์. จริงอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยโดยเป็นอุปถัมภกปัจจัย แก่สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย เหมือนกพฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่รูปกาย เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ พระองค์จึงตรัสว่า อรูปอาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตธรรม และแก่รูปทั้งหลายที่มีอาหารนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอาหารปัจจัย.
อีกนัยหนึ่ง ก็ธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่าอาหารดุจกพฬิงการาหารเป็นปัจจัยพิเศษแห่งสันตติ (ความสืบต่อ) ในภายใน จริงอยู่ กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยพิเศษแก่รูปกายของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกพฬิงกา-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 411
ราหารเป็นอาหาร ในนามกายผัสสะเป็นปัจจัยพิเศษแก่เวทนา มโนสัญเจตนาเป็นปัจจัยพิเศษแก่วิญญาณ. วิญญาณเป็นปัจจัยพิเศษแก่นามรูป. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดํารงอยู่ได้เพราะอาหาร อาศัยอาหารจึงดํารงอยู่ ไม่อาศัยอาหารก็ดํารงอยู่ไม่ได้ เช่นกับที่ตรัสว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ฉะนั้น.
ก็ธรรม ๘ เท่านั้น (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มนะ โสมนัส ชีวิตะ) ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดี ธรรมที่เหลือไม่ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น. ธรรม ๕ เท่านั้น ชื่อว่า เป็นองค์ฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่ง เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ฌานมีองค์ ๕ ดังนี้. ธรรม ๕ เท่านั้น ชื่อว่าเป็นองค์มรรค เพราะอรรถว่านําออก และเพราะอรรถเป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่ามรรคมีองค ์๕ ดังนี้. จริงอยู่ อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้ก็จริง แต่ว่าองค์มรรคในโลกิยจิต ไม่ได้วิรติ ๓ พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มรรคมีองค์ ๕.
ถามว่า แม้มรรคที่เป็นบุรพภาควิปัสสนาก็มีองค์ ๘ เหมือนโลกุตรมรรค ดังในสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คําว่า ยถาคตมคฺโคติ โข มคฺโค โหติ นี้ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะความที่เนื้อความนี้ เป็นการแสดงตามยถาคตศัพท์ แม้โลกิยมรรคก็พึงประกอบด้วยองค์ ๘ มิใช่หรือ. ตอบว่าโลกิยมรรคไม่พึงประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะชื่อว่า สุตตันติกเทศนานี้ เป็นปริยายเทศนา ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเธอบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นเทียว ดังนี้. ส่วนเทศนานี้เป็นนิปปริยายเทศนา เพราะในโลกิยจิตไม่ได้วิรติ ๓ พร้อมกันเพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ในโลกิยมรรคได้มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้น ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 412
ก็ธรรม ๗ เท่านั้น (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ) ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. ธรรม ๓ เท่านั้น (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) ชื่อว่า เป็นเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นมูล. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่าถูกต้อง. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า สัญญาเพราะอรรถจําได้. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่าการตั้งใจ.
ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิดและทําให้วิจิตร. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกองและเพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า สัญญาขันธ์เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่าจําได้. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่าสังขารขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่าปรุงแต่ง. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่าคิดและกระทําให้วิจิตร. ธรรมนั่นแหละ ชื่อว่า มนายตนะ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง และเพราะอรรถว่าเป็นอายตนะตามที่กล่าวแล้ว. ธรรมหนึ่งเท่านั้นชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง และเพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ. เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง และเพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ เป็นสุญญตะ เป็นนิสสัตตะ ธรรมที่เหลือไม่ใช่ธรรม (ตามที่กล่าวมา) ธรรมแม้ทั้งหมดที่เหลือเว้นจิต ชื่อว่า เป็นธรรมายตนะหนึ่ง และเป็นธรรมธาตุหนึ่งนั่นแหละ เพราะอรรถว่าเป็นอายตนะตามที่กล่าวแล้ว ดังนี้.
ก็ว่าโดยอัปปนาวารนี้ว่า เย วา ปน ตสฺมึ สมเย ดังนี้ แม้ในที่นี้ท่านก็สงเคราะห์ คือ รวมเอาเยวาปนกธรรมตามที่กล่าวแล้วในหนหลังด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 413
คือว่า เยวาปนกธรรม ในที่นี้ฉันใด ในที่ทั้งปวงก็ฉันนั้น เพราะว่า ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่วิจารเท่านี้ บัณฑิตพึงทราบวาระในนิทเทสและปฏินิทเทสทั้งหลายโดยนัยตามที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแหละ แม้คําว่าโกฏฐาสวารก็เป็นชื่อของสังคหวารนั่นแหละ.
จบสังคหวาร