พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

บาลีสุญญตวาร

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 413

บาลีสุญญตวาร

จิตดวงที่ ๑

[๙๘] ก็ธรรม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร อินทรีย์ฌาน มรรค พละ เหตุ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์มนายตนะ มนินทรีย์ มโนวิญญาณธาตุ ธรรมายตนะธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๙๙] ธรรม มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรม มีในสมัยนั้น.

[๑๐๐] ขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ขันธ์ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 414

[๑๐๑] อายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

มนายตนะ ธรรมายตนะ เหล่านี้ชื่อว่า อายตนะ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๒] ธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ ธรรมธาตุ เหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๓] อาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านั้นชื่อว่า อาหารมีในสมัยนั้น.

[๑๐๔] อินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ เหล่านั้นชื่อว่า อินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๕] ฌาน มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา นี้ชื่อว่า ฌาน มีในสมัยนั้น.

[๑๐๖] มรรค มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้ชื่อว่า มรรค มีในสมัยนั้น.

[๑๐๗] พละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ เหล่านั้นชื่อว่า พละ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๘] เหตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ เหล่านี้ชื่อว่า เหตุ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๙] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 415

    [๑๑๐] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

    [๑๑๑] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

    [๑๑๒] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

    [๑๑๓] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่าจิต มีในสมัยนั้น.

    [๑๑๔] เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น.

    [๑๑๕] สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่าสัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น.

    [๑๑๖] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น.

    [๑๑๗] วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น.

    [๑๑๘] มนายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่ามนายตนะ มีในสมัยนั้น.

    [๑๐๙] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

    [๑๒๐] มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 416

[๑๒๑] ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์นี้ชื่อว่า ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น.

[๑๒๒] ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น.

[๑๒๓] หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุญญตวาร จบ

จิตดวงที่ ๑ จบ

จิตดวงที่ ๒

[๑๒๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีกายชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๒ จบ

จิตดวงที่ ๓

[๑๒๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 417

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๒๖] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๒๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตกวิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละอโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิคตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 418

สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๓ จบ

จิตดวงที่ ๔

[๑๒๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๔ จบ

จิตดวงที่ ๕

[๑๒๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 419

มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ จิตตปัสสัทธิ กายปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๓๐] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น.

เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าอุเบกขา มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุเบกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 420

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๑๓๑] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๓๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๓๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะวิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์วิญญาณขันธ์นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 421

จิตดวงที่ ๖

[๑๓๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๖ จบ

จิตดวงที่ ๗

[๑๓๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใดผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 422

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๓๖] ก็ขันธ ์๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๓๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิจิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติสมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 423

จิตดวงที่ ๘

[๑๓๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือว่า ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะฯสฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๘ จบ

กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จบ

ทุติยภาณวาร จบ

อธิบายสุญญตวาร

จิตดวงที่ ๑

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มสุญญตวาร มีคําว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย ธมฺมา โหนฺติ ดังนี้ สุญญตวารนั้นกําหนดไว ้๒ อย่างด้วยสามารถแห่งอุทเทส และนิทเทส. บรรดาอุทเทสและนิทเทสเหล่านั้น วาระว่าด้วยอุทเทสจิตไว้เป็น ๒ ส่วน รวมทั้งบทว่า ธมฺมา โหนฺติ. ก็ในส่วนทั้งปวงท่านมิได้กล่าวกําหนดนับว่า เป็น ๔ เป็น ๒ และเป็น ๓ ดังนี้. ถามว่าเพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะกําหนดไว้ในสังคหวารแล้ว ด้วยว่า ธรรมทั้งหลายที่กําหนดไว้ในสังคหวารนั้นนั่นแหละท่านก็กล่าวไว้ แม้ใน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 424

สุญญตวารนี้ จริงอยู่ ในสุญญตวารนี้ ย่อมไม่ได้สัตว์ หรือภาวะ หรืออัตตาก็ธรรมทั้งหลาย ตรัสไว้เพื่อแสดงสุญญตา (ความว่าง) นี้ว่า ธรรมเหล่านี้สักว่าเป็นธรรม ไม่มีสาระ ไม่เป็นปริณายก เพราะฉะนั้น ในวาระแห่งอุทเทสนี้ พึงทราบเนื้อความ อย่างนี้ว่า

    ในสมัยใด กามาวจรมหากุศลจิต ดวงที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น ธรรมเกิน ๕๐ ที่เกิดขึ้นด้วยองค์ประกอบของจิต ในสมัยนั้น ธรรมนั่นแหละ ย่อมมีด้วยอรรถว่าเป็นสภาวะ ไม่ใช่อะไรๆ อื่น คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ภาวะไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่โปสะ ไม่ใช่บุคคล. อนึ่ง ธรรมนั้น ย่อมชื่อว่า ขันธ์เพราะอรรถว่าเป็นกอง. ในบททั้งปวงพึงทราบการประกอบเนื้อความโดยนัยก่อนนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็เพราะองค์ฌานอื่นจากฌาน หรือว่าองค์มรรคอื่นจากมรรคไม่มีฉะนั้น ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ฌานย่อมมี มรรคย่อมมี ดังนี้. จริงอยู่ ที่ชื่อว่า ฌาน ก็เพราะอรรถว่าการเข้าไปเพ่งโดยแท้ ที่ชื่อว่า มรรคก็เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนั่นแหละ สัตว์หรือว่าภาวะ อย่างใดอย่างหนึ่งอื่นไม่มี พึงทราบการประกอบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. นิทเทสวาร มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

    จบสุญญตวาร และ

    จบการพรรณนาอรรถแห่ง

    ปฐมจิตซึ่งอธิบายแล้วประดับ

    ด้วยมหาวารทั้ง ๓

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 425

อธิบายจิตดวงที่ ๒

บัดนี้ เพื่อแสดงมหากุศลจิตมีจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น จึงเริ่มคําเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา ดังนี้อีก. แม้ในจิตเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบมหาวาระดวงละ ๓ วาระโดยนัยที่กล่าวแล้วในปฐมจิต และไม่ใช่มหาวาระอย่างเดียวเท่านั้น แม้อรรถแห่งบททั้งปวงเช่นกับคําที่กล่าวในปฐมจิต ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน. เพราะว่า เบื้องหน้านี้ไปข้าพเจ้าจักกระทําการพรรณนาตามลําดับบท เบื้องต้นพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งจิตดวงที่ ๒ ก่อน.

คําว่า สสํขาเรน นี้เท่านั้นเป็นคํายังไม่เคยพรรณนา พึงทราบเนื้อความแห่งคําว่า สสํ ขาเรน นั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สสังขาร (การชักชวน) เพราะเป็นไปกับด้วยสังขารอธิบายว่า มีสังขารนั้น คือ มีการประกอบ มีอุบายมีปัจจัยเป็นหมู่ จริงอยู่ ปฐมจิต (มหากุศลจิตดวงที่ ๑) ย่อมเกิดขึ้นด้วยหมู่แห่งปัจจัยมีอารมณ์เป็นต้น อันใด จิตดวงที่ ๒ นี้ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยหมู่แห่งปัจจัยโดยมีปโยคะ มีอุบายนั้นเหมือนกัน.

พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ ๒ นั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่ในที่สุดแห่งวิหาร เมื่อถึงเวลากวาดลานพระเจดีย์หรือถึงเวลาบํารุงพระเถระ หรือถึงวันฟังธรรม ก็คิดว่า เมื่อเราไปแล้วกลับมาจักไกลยิ่ง เราจักไม่ไป ดังนี้ แล้วคิดอีกว่า ชื่อว่า การปัดกวาดลานพระเจดีย์ หรือการบํารุงพระเถระ หรือการไม่ไปฟังธรรมไม่สมควรแก่ภิกษุ เราจักไป ดังนี้ จึงไป. กุศลจิตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้กระทําปโยคะของตนหรือถูกผู้อื่นแสดงโทษในการไม่ทําวัตรเป็นต้น และอานิสงส์ในการกระทําแล้วกล่าวสอนอยู่ หรือแก่ภิกษุที่ถูกสั่งให้กระทําว่า เจ้าจงมาจงกระทําสิ่งนี้ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นโดยมีสังขาร มีหมู่แห่งปัจจัย ดังนี้.

จบจิตดวงที่ ๒

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 426

อธิบายจิตดวงที่ ๓

ในจิตดวงที่ ๓ บทว่า าณวิปฺปยุตตํ ความว่า จิตไม่ประกอบด้วยญาณ ชื่อว่า ญาณวิปปยุต ถึงจิตญาณวิปปยุตนี้จะร่าเริงยินดีแล้วในอารมณ์ แต่ว่าในจิตดวงที่ ๓ นี้ไม่มีญาณเป็นเครื่องกําหนด เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นญาณวิปปยุตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นในกาลที่พวกเด็กเล็กๆ เห็นภิกษุแล้วไหว้ด้วยคิดว่า พระเถระนี้ของพวกเราดังนี้ และในกาลต่างๆ มีการไหว้พระเจดีย์และการฟังธรรมเป็นต้น โดยนัยนั้นนั่นแหละ ก็ในพระบาลีจิตดวงที่ ๓ นี้ไม่มีปัญญาในที่ ๗ แห่งคําที่เหลือเป็นไปตามปกติ คือเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.

จบจิตดวงที่ ๓

อธิบายจิตดวงที่ ๔

แม้ในจิตดวงที่ ๔ ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่จิตดวงที่ ๔ นี้ เพราะพระบาลีว่า สสํขาเรน (การชักชวน) พึงทราบว่า ย่อมมีในกาลที่มารดาบิดาจับศีรษะเด็กเล็กๆ ให้ก้มไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะไหว้ก็ร่าเริงยินดี.

จบจิตดวงที่ ๔

อธิบายจิตดวงที่ ๕ เป็นต้น

ในจิตดวงที่ ๕ บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ ได้แก่ สัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนา เพราะว่า อุเบกขาสหคตะนี้ ย่อมเป็นกลางในอารมณ์ในจิตดวงที่ ๕ นี้ มีญาณเป็นเครื่องกําหนดโดยแท้. ก็ในจิตดวงที่ ๕ นี้ในบาลี

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 427

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุเบกขาย่อมมีในหมวด ๔ แห่งฌาน อุเบกขินทรีย์ย่อมมีในหมวด ๘ แห่งอินทรีย์ ดังนี้ แล้วทรงทําเทศหาโดยการปฏิเสธสิ่งที่น่ายินดีไม่น่ายินดี สุข ทุกข์ในนิทเทสแห่งบทว่า เวทนา เป็นต้น แม้ทั้งปวงแล้วตรัสอทุกขมสุขเวทนา พึงทราบความที่อทุกขสุขเวทนานั้นเป็นอุเบกขินทรีย์ด้วยสามารถแห่งการครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งมัชฌัตตา. อนึ่ง เมื่อว่าโดยลําดับแห่งบทไม่มีปีติในฐานะหนึ่งเลย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕๕ ท่านจึงยกขึ้นสู่พระบาลีด้วยสามารถแห่งองค์ประกอบของจิต พึงทราบวินิจฉัยในโกฏฐาสทั้งปวง และในวาระทั้งปวงด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น.

    พึงทราบจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ โดยนัยที่กล่าวแล้วในจิตดวงที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั่นแหละ. ในจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ เหล่านี้ การเปลี่ยนไปแห่งเวทนาและการลดปีติอย่างเดียว. คําที่เหลือ กับนัยแห่งการเกิดขึ้นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. แม้ในการบริกรรมของกรุณาและมุทิตา ความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ เหล่านี้ ได้รับรองแล้วในมหาอรรถกถาทีเดียว. จิตเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง.

    กามาวจรกุศลจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดบัณฑิตพึงแสดงด้วยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ถามว่าแสดงอย่างไร? ตอบว่า พึงแสดง ชื่อบุญกิริยาวัตถุ๑๐ เหล่านี้ คือ

    ๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสําเร็จ ด้วยทาน

    ๒. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุสําเร็จ ด้วยศีล

    ๓. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุสําเร็จ ด้วยภาวนา

    ๔. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคต ด้วยนอบน้อม

    ๕. เวยยาวัจจสหคตะ บุญที่สหรคต ด้วยการขวนขวาย

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 428

    ๖. ปัตตานุปทานมัย บุญสําเร็จ ด้วยการแผ่ส่วนบุญ

    ๗. อัพภานุโมทนมัย บุญสําเร็จ ด้วยการอนุโมทนา

    ๘. เทศนามัย บุญสําเร็จ ด้วยการแสดงธรรม

    ๙. สวนมัย บุญสําเร็จ ด้วยการฟังธรรม

    ๑๐. ทิฏุชุกรรม.

    บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น ทานนั่นแหละชื่อว่า ทานมัย เป็นการทําบุญ (ปุฺกิริยา) การทําบุญนั้นด้วยเป็นวัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งอานิสงส์ทั้งหลายนั้นๆ ด้วยเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ. ในบุญกิริยาวัตถุแม้ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.

    บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น เมื่อบุคคลให้ปัจจัยเป็นต้น ในบรรดาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือในบรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น หรือทานวัตถุ ๑๐ มีการให้ข้าวเป็นต้นนั้น เจตนาที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ คือในกาลเบื้องต้น ๑ ในกาลบริจาค ๑ ในการตามระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในกาลภายหลัง ๑ จําเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยเป็นต้นนั้นๆ ชื่อว่าเป็นบุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยการให้ (ทานมยํ)

    เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้สมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ หรือศีล ๑๐หรือของผู้ไปสู่วิหารด้วยคิดว่า เราจักบวชก็ดี ผู้บวชอยู่ก็ดี ผู้ยังมโนรถให้ถึงที่สุดแล้วรําพึงว่า เราบวชแล้วเป็นการดียิ่งหนอดังนี้ก็ดี ผู้สํารวมพระปาฏิโมกข์ก็ดี ผู้พิจารณาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นก็ดี ผู้สํารวมทวารมีจักขุทวารเป็นต้นในรูปเป็นต้นที่มาสู่คลองก็ดี ผู้ชําระอาชีวะให้บริสุทธิ์ก็ดี ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยศีล (สีลมยํ) .

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 429

    เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้พิจารณาจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้พิจารณาโสต ฯลฯ ผู้พิจารณามนะ ฯสฯ ผู้พิจารณารูปทั้งหลาย ฯลฯ ผู้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ผู้พิจารณาจักขุวิญญาณ ฯลฯ ผู้พิจารณามโนวิญญาณ. ผู้พิจารณาจักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณามโนสัมผัส ผู้พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส ผู้พิจารณารูปสัญญา ฯลฯ ผู้พิจารณาชรามรณะโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยอุบายแห่งวิปัสสนา (วิปสฺสนามคฺเคน) ที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค หรือว่าเจตนาแม้ทั้งหมดที่ไม่ถึงอัปปนาในอารมณ์ ๓๘ อย่าง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยภาวนา (ภาวนามยํ) .

    พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต โดยเห็นผู้ใหญ่แล้วทําการต้อนรับการรับบาตรจีวร การอภิวาท และการหลีกทางให้เป็นต้น.

    พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต ด้วยการขวนขวายในกาลขวนขวายทางกาย ด้วยสามารถทําวัตรและทําวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุผู้เจริญกว่าก็ดี โดยเห็นภิกษุผู้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วรับบาตรชักชวนให้เข้าไปรับภิกษาในบ้านก็ดี โดยได้ยินคําว่า ท่านจงไป จงนําบาตรมาให้ภิกษุทั้งหลายแล้วรีบไปนําบาตรมาให้เป็นต้นก็ดี.

    เมื่อบุคคลให้ทาน กระทําการบูชาด้วยของหอมเป็นต้น แล้วให้ส่วนบุญว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่บุคคลชื่อโน้น หรือว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นบุญกิริยาวัตถุอันเกิดแต่การให้ส่วนบุญ. ถามว่า ก็เมื่อบุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญนี้ บุญย่อมไม่หมดไปหรือ ตอบว่าย่อมไม่หมดไป เหมือนอย่างว่า บุคคลตามประทีปให้โพลงอยู่หนึ่งดวง แล้ว

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 430

ก็ยังประทีปหนึ่งพันดวงให้สว่างโพลงได้เพราะประทีปหนึ่งดวงนั้น ใครๆ ไม่พึงพูดได้ว่า ประทีปดวงแรกสิ้นไปแล้ว แต่ว่า แสงสว่างแห่งประทีปดวงหลังๆ กับประทีปดวงแรกรวมกัน แล้วก็เป็นแสงสว่างมากยิ่ง ฉันใด เมื่อบุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าบุญทั้งหลายที่จะลดลงไปย่อมไม่มี พึงทราบว่า ย่อมมีแต่เจริญขึ้นเท่านั้น.

    พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่เกิดจากการอนุโมทนา ด้วยสามารถแห่งการอนุโมทนาส่วนบุญที่บุคคลอื่นให้แล้ว หรือว่าด้วยบุญกิริยาอื่นๆ ด้วยการเปล่งว่า สาธุ (ดี) สุฏุ (ดี) ดังนี้.

    ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความอยากโดยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้จักเราว่าเป็นพระธรรมกถึก ดังนี้ แล้วเป็นผู้หนัก (มาก) ด้วยลาภแสดงธรรม การแสดงธรรมนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ไม่หวังผลตอบแทนแสดงธรรมที่ตนชํานาญแก่ชนเหล่าอื่น โดยอุบายที่จะให้บรรลุวิมุตติ การแสดงนี้ ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ สําเร็จด้วยการแสดง (เทสนามยํ) .

    ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อฟังธรรม ย่อมฟังด้วยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้เราว่าเป็นผู้มีศรัทธา การฟังนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมฟังธรรมด้วยจิตอ่อนโยน ด้วยการแผ่ไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลว่า ผลมากจักมีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้ การฟังธรรมนั้น ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยการฟัง (สวนมยํ)

    เมื่อบุคคลทําความเห็นให้ตรง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ ที่เกิดจากการทําความเห็นให้ตรง. แต่ท่านทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่า ทิฏุชุกรรมเป็นลักษณะนิยม (คือเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์) ของบุญกิริยาทั้งหมด เพราะว่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 431

เมื่อบุคคลจะทําบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นบุญมีผลมาก เพราะความเห็นอันตรงนั่นเอง ดังนี้.

    ก็บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักให้ทานก่อน เมื่อบุคคลกําลังให้ทาน บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ทานอันเราให้แล้วดังนี้บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยจะมีได้ก็เพราะทําเจตนาทั้ง ๓ คือ บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนาให้เป็นอันเดียวกัน. แม้ศีลมัย ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักบําเพ็ญศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ในเวลาที่กําลังบําเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ศีลมัยก็เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาว่า เราได้บําเพ็ญศีลแล้ว ศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยาวัตถุที่เป็นศีลมัยจะมีได้ก็เพราะเจตนาแม้ทั้งปวงนั้นเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ แม้บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏุชุกรรม เมื่อเกิดก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดว่า เราจักทําความเห็นให้ตรง ดังนี้ เมื่อบุคคลกําลังทําความเห็นให้ตรง ทิฏุชุกรรมก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ความเห็นอันเราทําให้ตรงแล้ว ดังนี้ทิฏุชุกรรมก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาบุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏุชุกรรมจะมีได้ก็เพราะทําเจตนาแม้ทั้งหมดเหล่านั้นให้เป็นอันเดียวกัน ก็บุญกิริยาวัตถุในพระสูตรมีมาเพียง ๓ เท่านั้น.

    พึงทราบการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุแม้นอกนี้ ลงในบุญกิริยาวัตถุ ๓ เหล่านั้น จริงอยู่ ความประพฤติอ่อนน้อมและการขวนขวาย ย่อมสงเคราะห์เป็นศีลมัยเท่านั้น. การให้ส่วนบุญและการอนุโมทนาส่วนบุญสงเคราะห์เข้าในทานมัย. การแสดงธรรม การฟังธรรม และทิฏุชุกรรมสงเคราะห์เข้าในภาวนามัย. ส่วนชนเหล่าใดกล่าวว่า ทิฏุชุกรรมเป็นลักษณะแห่งความสมบูรณ์กว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 432

บุญกิริยาทั้งปวง ทิฏุชุกรรมของชนเหล่านั้น ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในบุญกิริยาวัตถุแม้ทั้ง ๓. บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี ๓ โดยพิสดารมี ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น เมื่อบุคคลคิดอยู่ว่า เราจักให้ทาน ดังนี้ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงดวงใดดวงหนึ่งโดยแท้. แม้เมื่อให้ (ทาน) ก็ย่อมให้ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อพิจารณาว่า ทานอันเราถวายแล้วดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน แม้เมื่อคิดว่า เราจักบําเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ดังนี้ ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้กําลังบําเพ็ญศีลอยู่ ก็บําเพ็ญด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละแม้พิจารณาว่า ศีลเราบําเพ็ญแล้ว ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน แม้เมื่อคิดว่า เราจักเจริญภาวนาดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อเจริญภาวนา ก็ย่อมเจริญด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อพิจารณาว่า ภาวนาเราเจริญแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน.

    แม้เมื่อคิดว่า เราจักทําความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อจะกระทําก็ย่อมกระทําด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง เหล่านั้นดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อพิจารณาว่าความอ่อนน้อมเรากระทําแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักทํากรรมคือการขวนขวายทางกาย แม้เมื่อจะการทํา แม้เมื่อพิจารณาว่า เราทําการขวนขวายแล้ว ก็ย่อม

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 433

พิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักให้ส่วนบุญ ดังนี้ แม้เมื่อกําลังให้ แม้เมื่อพิจารณา ส่วนบุญอันเราให้แล้วแม้คิดว่าเราจักอนุโมทนาส่วนบุญ หรือกุศลที่เหลือดังนี้ ก็คิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่ออนุโมทนา ก็ย่อมอนุโมทนาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อจะพิจารณาว่า คําอนุโมทนาเราอนุโมทนาแล้ว ดังนี้ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้นดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักแสดงธรรม ก็คิดด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อแสดง ก็ย่อมแสดงด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อพิจารณาว่า เราแสดงเทศนาแล้ว ดังนี้ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่าเราจักฟังธรรม ดังนี้ ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อฟังก็ย่อมฟังด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อพิจารณาว่า เราฟังธรรมแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักกระทําทิฏฐิให้ตรง ดังนี้ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง ก็เมื่อจะกระทําความเห็นให้ตรง ก็ย่อมกระทําโดยญาณสัมปยุต ๔ ดวงใดดวงหนึ่ง ก็เมื่อจะกระทําพิจารณาว่า ทิฏฐิอันตรงเรากระทําแล้ว ดังนี้ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง.

ว่าด้วยอนันตะ (สิ่งไม่มีที่สุด) ๔ อย่าง

ในฐานะ (แห่งกามาวจรกุศลจิต ๘) นี้ ท่านถือเอาอนันตะ ๔ อย่าง จริงอยู่ อนันตะ มี ๔ อย่าง คือ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 434

อากาโส อนนฺโต (อากาศไม่มีที่สุด)

จกฺกวาฬานิ อนนฺตานิ (จักรวาลไม่มีที่สุด)

สตฺตนิกาโย อนนฺโต (หมู่สัตว์ไม่มีที่สุด)

พุทฺธาณํ อนนฺตํ (พุทธญาณไม่มีที่สุด).

จริงอยู่ การกําหนดอากาศว่า ในทิศบูรพา หรือในทิศปัจฉิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ว่ามีเท่านี้ร้อยโยชน์ หรือเท่านี้เป็นโยชน์ ย่อมไม่ได้ ถ้าว่าเอาค้อนเหล็กเท่าขุนเขาสิเนรุ ทําแผ่นดินให้แยกเป็นส่วนแล้วโยนไป ค้อนเหล็กก็พึงตกไปข้างล่างโดยแท้ หามีที่รองรับไว้ได้ไม่ ชื่อว่า อากาศ เป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

การกําหนดแม้จักรวาลทั้งหลายว่ามีหลายร้อย หรือว่าหลายพัน หรือว่าหลายแสนจักรวาล หาได้ไม่. จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ท้าวมหาพรหมทั้ง ๔ ผู้เกิดในอกนิฏฐภพ ผู้ประกอบด้วยความเร็ว ผู้สามารถผ่านแสนจักรวาลไปด้วยเวลาเพียงเท่าที่ลูกศรที่เร็วมากของนายขมังธนูผู้มีกําลังแข็งแรงผ่านเงาต้นตาลด้านขวาง พึงวิ่งไปโดยเร็วนั้น ด้วยคิดว่า เราจักดูที่สุดจักรวาลดังนี้ ท้าวมหาพรหมเหล่านั้น ไม่ทันเห็นที่สุดแห่งจักรวาล ก็จะพึงปรินิพพานเสียโดยแท้ชื่อว่า จักรวาล ทั้งหลายเป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

ก็ประมาณแห่งสัตว์ที่อยู่ในน้ำ และที่อยู่บนบกทั้งหลายในจักรวาลทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี หมู่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

พุทธญาณ ชื่อว่า เป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) แม้กว่าอนันตะทั้ง ๓ นั้นโดยแท้. กุศลจิตที่เป็นกามาวจร สหรคตด้วยโสมนัส เป็นญาณสัมปยุต เป็นอสังขาริก ย่อมเกิดขึ้นมากมายแก่สัตว์หนึ่งของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีประมาณ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 435

ในจักรวาลที่หาประมาณมิได้ โดยประการฉะนี้ กุศลจิตมากดวงย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์แม้มาก. กุศลจิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมถึงความเป็นอันเดียวกัน ด้วยอรรถว่าเป็นกามาวจร ด้วยอรรถว่าสหรคตด้วยโสมนัส ด้วยอรรถว่าเป็นญาณสัมปยุต ด้วยอรรถว่าเป็นอสังขาริก. มหาจิตที่สหรตด้วยโสมนัส เป็นติกเหตุกะ เป็นอสังขาริก มีดวงเดียวเท่านั้น มหาจิตเป็นอสังขาริกก็เหมือนกัน ฯลฯ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาญาณวิปยุตเป็นทุเหตุกะ เป็นสสังขาริก ก็เหมือนกันแล.

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกําหนดกามาวจรกุศลจิตแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในจักรวาลที่ไม่มีประมาณอย่างนี้ ด้วยพระสัพพัญุตญาณ เป็นดุจทรงชั่งอยู่ด้วยตราชั่งใหญ่ ดุจใส่ในทะนานนับอยู่ฉะนั้น ทรงกระทําให้เป็นส่วน ๘ ส่วนเท่านั้นแล้วทรงแสดงจิตเหล่านั้นว่า ๘ เท่านั้นโดยสภาวะเป็นเช่นเดียวกัน.

    ในฐานะนี้ ชื่อว่า การประมวลมาซึ่งบุญ ๖อย่าง ที่ทรงถือเอาอีก จริงอยู่บุญที่กระทําเอง (สยงฺการํ) ก็มีบุญที่ผู้อื่นกระทํา (ปรงฺการํ) ก็มีบุญที่ทําด้วยมือของตนก็มี บุญที่สั่งให้คนอื่นกระทําก็มี บุญที่เกิดด้วยความไม่รู้ก็มี บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุญที่ทําตามธรรมดาของตน ชื่อว่า สยังการ. บุญที่เห็นคนอื่นกระทําก็กระทํา ชื่อว่า ปรังการ. บุญที่ทําด้วยมือของตนเอง ชื่อว่า สาหัตถิกะ. บุญที่ใช้ให้บุคคลกระทํา ชื่อว่า อาณัตติกะ. บุญที่เชื่อกรรมและผลแล้วกระทํา ชื่อว่า สัมปชานกตะ. บุญที่ไม่รู้กรรมก็ดีผลก็ดีกระทําแล้ว ชื่อว่า อสัมปชานกตะ.

    บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุคคลแม้เมื่อกระทําเองก็ย่อมกระทําด้วยกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ เมื่อจะทําอาศัยผู้อื่นก็ดี

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 436

เมื่อกระทําด้วยมือของตนก็ดี เมื่อใช้ให้ผู้อื่นกระทําก็ดีก็ย่อมการทําด้วยกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน. แต่การกระทําด้วยความรู้ ย่อมประกอบด้วยญาณ ๔ ดวง. การกระทําด้วยความไม่รู้ ย่อมไม่ประกอบด้วยญาณ ๔ ดวง

    ในฐานะนี้แม้อื่นอีก พระผู้พระภาคเจ้าทรงถือเอา ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง คือ ความที่ปัจจัยทั้งหลายเกิดขึ้นโดยธรรม (ธัมมิกะ) ๑ ความที่เจตนามีกําลังมาก (เจตนามหัตตะ) ๑ วัตถุสมบัติ ๑ ความเป็นผู้มากยิ่งด้วยคุณ (คุณาติเรกตา) ๑.

    บรรดาทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่างเหล่านั้น ปัจจัยทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม ชื่อว่า ธัมมิกะ. ก็เมือบุคคลเชื่อมั่นแน่วแน่แล้วให้อยู่ ชื่อว่า เจตนามหัตตะ. ความเป็นแห่งพระขีณาเสพ ชื่อว่า วัตถุสมบัติ. ความที่พระขีณาสพนั่นแหละออกจากนิโรธสมาบัติ ชื่อว่า คุณาติเรกตา. เมื่อบุคคลสามารถประมวลทักขิณาวิสุทธิ ๔ เหล่านั้นมาแล้วถวายอยู่ กามาวจรกุศลย่อมให้วิบากในอัตภาพนี้โดยแท้ ดุจกามาวจรกุศลที่ให้วิบากแก่ปุณณกเศรษฐี นายกาลวลิยะ และนายสุมนมาลาการเป็นต้น.

    ก็เมื่อว่าโดยย่อกามาวจรกุศลจิตนั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เป็นอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอรรถว่าจิตเป็นสภาพวิจิตร เพราะทําให้วิจิตร. ว่าด้วยอํานาจแห่งเวทนาเป็น ๒ อย่าง คือ สหรคตด้วยโสมนัส และสหรคตด้วยอุเบกขา.อสังขาริกมหาจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัส เป็นญาณสัมปยุต และอสังขาริกมหาจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นญาณสัมปยุต เป็น ๔ อย่าง ด้วยสามารแห่งการแสดงจําแนกญาณ ชื่อว่า เป็นอย่างเดียวเท่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นญาณสัมปยุต และเพราะอรรถว่าเป็นอสังขาริก. สสังขาริกที่เป็นญาณสัมปยุต

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 437

อสังขาริกที่เป็นญาณวิปปยุต และสสังขาริกที่เป็นญาณวิปปยุตก็เหมือนกันอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ในกามาวจรกุศลจิตนี้จึงมี ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งการแสดงการจําแนกญาณ ว่าโดยการจําแนกอสังขารและสสังขารแล้วก็ได้กุศลจิต ๘ ดวงเท่านั้น คือ อสังขาริก ๔ ดวง สสังขาริก ๔ ดวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเป็นพระสัพพัญู ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าคณะทั้งหลาย ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐสุด ทรงทราบกามาวจรกุศลจิตเหล่านั้นตามความเป็นจริงแล้วจึงทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจําแนกทรงทําให้ง่าย ดังนี้แล.

    นิทเทสว่าด้วยกามาวจรกุศลจิต

    ในอรรถกถาธรรมสังคหะชื่ออัฏฐสาลินีจบบริบูรณ์