พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรูปาวจรกุศล อรูปฌาน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41842
อ่าน  631
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 546

อรูปาวจรกุศล

อรูปฌาน ๔

[๑๙๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 547

อากิญจัญญาตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อรูปฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖

อรูปาวจรกุศล จบ

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

ว่าด้วยอรูปาวจรกุศล ๔

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอรูปาวจรกุศล จึงทรงเริ่มคําเป็นต้นว่า กตเมธมฺมากุสลา ดังนี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรูปูปปตฺติยา ความว่า อรูปภพเรียกว่า อรูป ความเกิดขึ้นในอรูปเห็นปานนี้ เรียกว่า อรูปูปปัตติ. พระโยคาวจรเจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงอรูปภพนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 548

    บทว่า มคฺคํ ภาเวติ ความว่าย่อมยังอุบายคือเหตุ คือการณะให้เกิดขึ้น คือ ให้เจริญขึ้น. บทว่า สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวงอีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทั้งหมดไม่มีเหลือ. บทว่า รูปสฺานํ ได้แก่รูปาวจรฌานที่ตรัสไว้โดยมีสัญญาเป็นประธานและเป็นอารมณ์ของฌานนั้น. จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานก็ตรัสเรียกว่า รูป เหมือนในประโยคมีคําเป็นต้นว่า ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ดังนี้ แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น ก็ตรัสว่ารูป เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ย่อมเห็นรูปภายนอกซึ่งมีผิวพรรณดีและไม่ดี เพราะฉะนั้น ในที่นี้ คําว่า รูปสฺานํ นี้ จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌานตามที่กล่าวไว้โดยมีสัญญาเป็นประธาน อย่างนี้ว่า สัญญาในรูป ชื่อว่า รูปสัญญา ดังนี้ รูปาวจรฌานที่ชื่อว่า รูปสัญญา เพราะอรรถว่า มีรูปเป็นเครื่องหมาย อธิบายว่า รูปเป็นชื่อของฌานนั้น. อนึ่ง คําว่า รูป นี้ก็พึงทราบว่าเป็นชื่อของอารมณ์ของฌานนั้น อันต่างด้วยรูปมีปฐมวีกสิณเป็นต้น.

    บทว่า สมติกฺกมา (เพราะก้าวล่วง) ได้แก่ เพราะสํารอก และดับสนิท. คํานี้มีอธิบายไว้อย่างไร? ท่านอธิบายว่า พระโยคาวจรเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ เพราะสํารอก และดับสนิท คือเหตุที่สํารอกและเหตุที่ดับสนิทซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายคือฌาน ๑๕ โดยกุศล วิบาก และกิริยาเหล่านั้น และรูปสัญญาทั้งหลายคืออารมณ์ ๘ อย่าง ด้วยสามารถปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้นโดยอาการทั้งปวง หรือว่าโดยไม่มีส่วนเหลือ. จริงอยู่พระโยคาวจรไม่สามารถเข้าอากาสานัญจายตนะนั้น โดยยังมิได้ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงในรูปสัญญาเหล่านั้น เพราะผู้ยังไม่คลายความยินดีในอารมณ์ ก็ก้าวล่วงสัญญาไปไม่ได้ และเมื่อก้าวสัญญาทั้งหลายได้แล้ว อารมณ์ก็ย่อมเป็นอันก้าวล่วงไปได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสถึงการก้าวล่วงอารมณ์ ตรัสแต่การก้าวล่วงสัญญาทั้งหลายเท่านั้นไว้ในวิภังค์ อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 549

    คําว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง มีอธิบายว่า รูปสัญญาเป็นไฉน? การจํา กิริยาที่จํา ความจําของพระโยคาวจรผู้เข้ารูปสมาบัติ หรือของผู้อุบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมเหล่านี้ เรียกว่า รูปสัญญา ภิกษุก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้วซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ดังนี้. ก็เพราะสมาบัติเหล่านี้ พึงกล่าวด้วยการก้าวล่วงอารมณ์ มิใช่กล่าวในอารมณ์หนึ่งเท่านั้น เหมือนปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้นพึงทราบว่าการพรรณนาเนื้อความนี้ ทรงทําไว้ด้วยอํานาจการก้าวล่วงอารมณ์.

    คําว่า ปฏิฆสฺานํ อตฺถงฺคมา (เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา) ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นเพราะการกระทบวัตถุมีจักษุเป็นต้น และอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า ปฏิฆสัญญา คําว่า ปฏิฆสัญญา นี้ เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสในวิภังค์ว่า คําว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา ดังนี้ มีอธิบายว่า ปฏิสัญญาเป็นไฉน? รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา เหล่านี้ เรียกว่า ปฏิฆสัญญา ดังนี้. มีอธิบายว่า เพราะดับ คือเพราะละ คือเพราะความไม่เกิดขึ้น ได้แก่กระทําไม่ให้เป็นไป โดยประการทั้งปวงแห่งปฏิฆสัญญาแม้ทั้ง ๑๐ คือ กุศลวิบาก ๕ อกุศลวิบาก ๕ แห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น. ก็ปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีแม้แก่ผู้เข้าฌานมีปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะในสมัยนั้น จิตย่อมไม่เป็นทางปัญจทวาร. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบคําที่ตรัสถึงปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ในอภิธรรมนี้ ด้วยสามารถแห่งการยกย่องฌานนี้เพื่อการยังฌานนี้ให้เกิดขึ้น เหมือนการกล่าวถึงสุขและทุกข์อันละได้แล้ว ใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 550

ฌานอื่นไว้ในฌานที่ ๔ และเหมือนการกล่าวถึงสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันละได้แล้วในมรรคอื่นไว้ในมรรคที่๓ ฉะนั้น.

    อีกอย่างหนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ไม่มีอยู่แก่ผู้เข้ารูปาวจรฌานก็จริงแต่ย่อมไม่มีเพราะละได้แล้วก็หาไม่ เพราะว่า การเจริญรูปาวจรมิใช่เป็นไปพร้อมเพื่อความคลายความยินดีในรูป. อนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ย่อมเป็นไปพร้อมเพราะอาศัยรูป แต่ภาวนานี้ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อคลายความยินดีในรูป เพราะฉะนั้น สมควรจะกล่าวได้ว่า ปฏิฆสัญญาเหล่านั้น พระโยคาวจรละได้แล้วในฌานนี้. อนึ่ง ไม่ใช่เพียงการกล่าวเท่านั้น แม้การทรงจําไว้อย่างนี้ โดยส่วนเดียวนั่นแหละก็สมควร จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสียงเป็นหนาม (ข้าศึก) ของผู้เข้าปฐมฌาน ดังนี้ เพราะยังละไม่ได้ในกาลก่อนแต่กาลนี้ แต่ในที่นี้พระองค์ตรัสความที่อรูปสมาบัติทั้งหลายเป็นอเนญชา และความที่อรูปสมาบัติทั้งหลายเป็นสันติวิโมกข์ เพราะละ (ปฏิฆสัญญา) ได้แล้วโดยแท้ ก็อาฬารดาบสกาลามโคตรเข้าอรูปฌาน ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียงเกวียนประมาณห้าร้อยเล่มซึ่งผ่านไปใกล้ที่อาศัย.

    บทว่า นานตฺตสฺานํ อมนสิการา (เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา) ความว่า สัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในอารมณ์ต่างกัน หรือสัญญาทั้งหลายต่างกัน ก็ในที่นี้ประสงค์เอาสัญญาเหล่านี้ ที่ตรัสจําแนกไว้ในวิภังค์อย่างนี้ว่า ในสัญญาเหล่านั้น นานัตตสัญญาเป็นไฉน? สัญญา กิริยาที่จําได้ความเป็นผู้จําได้ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ หรือว่าผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ หรือว่าผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านั้นเรียกว่า นานัตตสัญญาทั้งหลาย และ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 551

สัญญาที่พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุของผู้ไม่เข้าสมาบัติย่อมเป็นไปในอารมณ์อันมีความแตกต่างกัน และสภาวะที่ต่างกันซึ่งต่างกันด้วยรูปและเสียงเป็นต้น.

อนึ่ง สัญญาเหล่านี้แม้ทั้ง ๔๔ อย่างนี้ คือ

กามาวจรกุศลสัญญา ๘

อกุศลสัญญา ๑๒

กามาวจรกุศลวิปากสัญญา ๑๑

อกุศลวิปากสัญญา ๒

กามาวจรกิริยสัญญา ๑๑

มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นานัตตสัญญา เพราะไม่มนสิการ เพราะไม่ใคร่ครวญ เพราะไม่คํานึง เพราะไม่นํามา เพราะไม่พิจารณานานัตตสัญญาเหล่านั้น โดยประการทั้งปวง ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะไม่ใคร่ครวญ ไม่มนสิการ ไม่พิจารณาสัญญาเหล่านั้น ก็เพราะในอากาสานัญจยตนะนั้น รูปสัญญา ปฏิฆสัญญาข้างต้น ย่อมไม่มีแม้ในภพที่เกิดขึ้นด้วยฌานนี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงในกาลที่เข้าฌานนี้ในภพนั้นอยู่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสความไม่มีสัญญาแม้ทั้ง ๒ นั้นด้วยคําว่า เพราะความก้าวล่วง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้นดังนี้. แต่ในนานัตตสัญญาทั้งหลาย สัญญา ๒๗ อย่างนี้คือ กามาวจรกุศลสัญญา ๘ กิริยาสัญญา (มหากิริยา ๗ มโนทวาราวัชชน ๑) ๙ อกุศลสัญญา (เว้นโทสะ ๒) ๑๐ไม่มีในภพที่เกิดแล้วด้วยฌานนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าคํานี้ตรัสไว้ว่า เพราะไม่มนสิการสัญญาเหล่านั้น เพราะว่า แม้ในการเกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 552

เมื่อพระโยคาวจรเข้าฌานนี้อยู่ ก็เข้าฌานเพราะไม่มนสิการสัญญาเหล่านั้นเลย แต่เมื่อมนสิการสัญญาเหล่านั้น ก็ย่อมไม่เป็นอันเข้า ดังนี้ ก็เมื่อว่าโดยย่อในสัญญาเหล่านั้น ตรัสการละรูปาวจรธรรมทั้งปวง ด้วยคํานี้ว่า รูปสฺานํ สมติกฺกมา (เพราะการก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย) ดังนี้ และพึงทราบว่า ตรัสการละและการไม่มนสิการจิตและเจตสิกที่เป็นกามาวจรทั้งปวง ด้วยคํานี้ว่า ปฏิฆสฺานํ อตฺถงฺคมา นานตฺตสฺานํ อมนสิการา เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสชี้แจงอากาสานัญจายตนสมาบัติไว้ด้วยบททั้ง ๓ คือด้วยการก้าวล่วงรูปสัญญา ๑๕ อย่าง ด้วยการดับไปแห่งปฏิฆสัญญา ๑๐ อย่างด้วยการไม่มนสิการมานัตตสัญญา ๔๔ อย่าง.

    หากมีคําถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชี้แจงอย่างนั้นตอบว่า เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ และเพื่อประโลมใจ (ทําให้เบิกบานใจ) แก่ผู้ฟังทั้งหลาย ก็ถ้าหากอาจารย์บางพวกซึ่งมิใช่บัณฑิตจะพึงกล่าวว่า พระศาสดาย่อมตรัสว่า พวกท่านจงทําอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิด ดังนี้ ก็อะไรหนอเป็นประโยชน์ อะไรหนอเป็นอานิสงส์ของอากาสานัญจายตนสมาบัติที่เกิดขึ้นนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงชี้แจงสมาบัติด้วยเหตุเหล่านี้ โดยพระดําริว่า ขอชนเหล่านั้นอย่าได้เพื่อกล่าวอย่างนี้เลย ดังนี้. จริงอยู่ ชนเหล่านั้นได้ฟังพระดํารัสนั้นแล้ว ก็จักคิดว่า ได้ยินว่า สมาบัตินี้จักเป็นเช่นนี้จักสงบอย่างนี้ จักประณีตอย่างนี้ พวกเราจักยังสมาบัตินั้นให้เกิด ทีนั้นพวกเขาจักพากันทําอุตสาหะเพื่อให้สมาบัตินั้นให้เกิดขึ้น ดังนี้.

    ก็อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสยกย่องอากาสานัญจายตนสมาบัตินี้ แก่พระโยคาวจรเหล่านั้นเพื่อประโลมใจ เหมือนพ่อค้างบน้ำอ้อย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 553

ชื่อ วิสกัณฐกะ ท่านเรียกวิสกัณฐกพาณิชว่า ผู้ค้างบน้ำอ้อย ได้ยินว่า พ่อค้างบน้ำอ้อยนั้น ใช้เกวียนบรรทุกน้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวดเป็นต้นไปปัจจันตคามแล้วโฆษณาว่า พวกท่านจงมารับน้ำอ้อยงบวิสกัณฐกะ พวกท่านจงมารับน้ำอ้อยงบ วิสกัณฐกะ ดังนี้. พวกชาวบ้านฟังโฆษณานั้นแล้วก็คิดว่า สิ่งนี้ร้ายนัก ชื่อว่า มีพิษ บุคคลใดเคี้ยวกินมัน บุคคลนั้นต้องตายแม้หนามแทงแล้วก็ให้ตายได้ สิ่งทั้ง ๒ นี้ร้ายนัก มันจะมีประโยชน์อะไร ดังนี้จึงพากันปิดประตูบ้าน และให้พวกเด็กหนีไป. พ่อค้าเห็นการกระทํานั้นแล้วจึงคิดว่า ชาวบ้านเหล่านั้นไม่ฉลาดในโวหาร เอาเถอะเราจักใช้เขาซื้อไปด้วยอุบาย จึงโฆษณาว่า พวกท่านจงมารับน้ำผึ้งหวาน พวกท่านจงมารับน้ำตาลอร่อย พวกท่านจะได้น้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวดราคาพอสมควร จะเอามาสกปลอม และกหาปณะปลอมเป็นต้นมาซื้อก็ได้ดังนี้. พวกชาวบ้านฟังคํานั้นแล้ว ต่างก็พากันร่าเริงดีใจไปให้ราคาแม้มากถือเอาแล้ว.

    ในคําเหล่านั้น พึงเทียบเคียงอุปมาพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงยังอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดดังนี้ เปรียบเหมือนการโฆษณาของพ่อค้าว่า พวกท่านจงรับงบน้ำอ้อยวิสกัณฐกะ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอพึงทําอากาสานัญจายตนะให้เกิดดังนี้ เปรียบเหมือนพวกชาวบ้านพากันคิดว่า สิ่งทั้ง ๒ นี้ร้ายกาจนัก อะไรเล่า เป็นประโยชน์ในที่นี้. คนที่ฟังก็จะคิดว่า อะไรหนอเป็นอานิสงส์ในที่นี้ พวกเราย่อมไม่ทราบคุณของสิ่งนี้ ทีนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศอานิสงส์ มีการก้าวล่วงรูปสัญญาเป็นต้น เหมือนเมื่อพ่อค้านั้นโฆษณาคําเป็นต้นว่า พวกท่านจงมารับเอาน้ำผึ้งหวานไปเถิด ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญคุณ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 554

อากาสานัญจายตนสมาบัติ ก็เพื่อให้เกิดความอุตสาหะ และเพื่อประโลมใจด้วยทรงพระดําริว่า ชนเหล่านี้อันพระองค์ให้รื่นเริงพอใจแล้ว ด้วยอานิสงส์นี้จักทําอุตสาหะใหญ่แล้วจักยังสมาบัติให้เกิด ดังนี้ เหมือนชาวบ้านทั้งหลายเหล่านั้นฟังคําโฆษณาพ่อค้า แล้วให้ราคาแม้มาก ถือเอางบน้ำอ้อย ฉะนั้น

วินิจฉัยคําว่าอากาสานัญจายตนะ

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อากาสานฺจายตนสฺาสหคตํ ดังต่อไปนี้. อากาศที่ชื่อว่า อนันตะ เพราะอรรถว่า ไม่มีที่สุด. อากาศนั่นแหละไม่มีที่สุด ชื่อว่า อากาสานันตะ อากาสานันตะนั่นแหละ ชื่อว่า อากาสานัญจะ อากาศอันไม่มีที่สุดนั้น ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นของฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมนี้ ดุจที่ตั้งอยู่ของเทพทั้งหลายชื่อว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ ด้วยประการฉะนี้ อากาสานัญจะนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ คําว่า อากาสานัญจายตนะนี้เป็นชื่อของกสิณุคฆาฏิมากาส (อากาศที่เพิกกสิณ). ฌานที่สหรคตกับสัญญาที่ถึงอัปปนาในอากาสานัญจายตนะนั้น ชื่อว่า อากาสานัญจายตนสัญญาสหคตะ ก็ในที่อื่นตรัสว่า อากาศเป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด) ฉันใด ในที่นี้มิได้ทรงถือเอาอากาศอันไม่มีที่สุด หรือว่า เล็กน้อยฉันนั้น เพราะเมื่อทรงถือเอาอากาศอันไม่มีที่สุด ก็ไม่ถือเอาอากาศเล็กน้อย เมื่อถือเอาอากาศเล็กน้อยก็ไม่ถือเอาอากาศอันไม่มีที่สุด ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น อารมณ์ ๔ หมวดก็ไม่สมบูรณ์เทศนาก็ไม่ได้ ๑๖ ครั้ง แต่พระอัธยาศัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทําเทศนาในที่นี้ ๑๖ ครั้ง เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสคําว่า ไม่มีที่สุด หรือว่าเล็กน้อยแต่

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 555

ตรัสว่า อากาสานัญจายตนสัญญาสหคตะ (สหคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา) ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คําแม้ทั้ง ๒ ก็ย่อมเป็นคําที่ทรงถือเอาเหมือนกันอารมณ์ ๔ หมวดก็สมบูรณ์ เทศนาก็ถึง ๑๖ ครั้ง เนื้อความพระบาลีที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังแล.

    อนึ่ง ในอากาสานัญจายตนะนี้ ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา เพราะความลําบากในการสิ้นไปแห่งนิกันติในรูปาวจรจตุตถฌาน ชื่อว่าเป็น ทันธาภิญญา เพราะความชักช้าในการอบรมอัปปนาของผู้มีความยินดีในนิกันติอันสิ้นไปแล้ว. และพึงทราบ สุขาปฏิปทาและขิปปาภิญญาโดยปริยายตรงกันข้าม. ก็ฌานที่เป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณเล็กน้อย พึงทราบว่าเป็นปริตตารมณ์ ฌานที่เป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณกว้างขวาง พึงทราบว่าเป็นอัปปมาณารมณ์. แม้ในฌานนี้ มีธรรมหมวดละ ๒๕ ด้วยอํานาจจตุตถฌาน เหมือนในอุเบกขาพรหมวิหารก็ในอากาสานัญจายตนะนี้ ฉันใด แม้ในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้น นอกจากนี้ก็มีธรรมหมวดละ ๒๕ ฉันนั้น แต่ข้าพเจ้าจักพรรณนาเหตุสักว่าการต่างกันในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้นเหล่านั้นเท่านั้น.

    พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อากาสานฺจายตนํ สมติกฺกมา (เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ) นี้ต่อไป. ก็อากาสานัญจะ ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นของฌานนั้นโดยนัยที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น แม้ฌานนี้ก็ชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ. แม้อารมณ์ของอากาสานัญจายตนะนั้น ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว พระโยคาวจรพึงก้าวล่วงธรรมแม้ทั้ง ๒ คือ ฌานนี้และอารมณ์นี้ ด้วยการไม่ทําให้เป็นไปและไม่มนสิการแล้วพึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะนี้อยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงรวมสิ่งทั้ง ๒ นี้ แล้วตรัสคํานี้ว่า เพราะการก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 556

    พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า วิฺาณฺจายตนสฺาสหคตํ นี้ต่อไป ที่สุดแห่งวิญญาณนั้นไม่มี ด้วยสามารถที่พึงทําไว้ในใจว่า อนันตัง เพราะเหตุนั้น วิญญาณนั้นจึงชื่อว่า อนันตะ อนันตะนั่นแหละ ชื่อว่า อานัญจัง พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสว่าวิญญาณอันไม่มีที่สุด ชื่อว่า วิญญาณานัญจะ แต่ตรัสว่า วิญญาณัญจะ ดังนี้เพราะว่า ในคําว่า วิญญาณัญจะนี้เป็นรุฬหีศัพท์ (ศัพท์ที่นิยมใช้กัน) . วิญญาณัญจะนั้นแหละ ชื่อว่าอายตนะเพราะอรรถว่าตั้งมั่นด้วยสัญญานี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณัญจายตนะ ฌานที่สหรคตด้วยสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาสหคตะ คําว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาสหคตะ นี้เป็นชื่อของฌานซึ่งมีวิญญาณที่เป็นไปในอากาศเป็นอารมณ์. ในวิญญาณัญจายตนะนี้เป็นทุกขาปฏิปทา เพราะลําบากในความสิ้นไปแห่งนิกันติในอากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นทันธาภิญญา เพราะความชักช้าในการอบรมอัปปนาของผู้มีนิกันติให้สิ้นไป เป็นสุขาปฏิปทาและเป็นขิปปาภิญญาโดยปริยายตรงกันข้าม พึงทราบฌานนี้ว่าเป็นปริตตารมณ์ เพราะปรารภสมาบัติที่มีการเพิกกสิณเล็กน้อยเป็นอารมณ์เป็นไป พึงทราบว่า เป็นอัปปมาณารมณ์โดยปริยายตรงกันข้าม คําที่เหลือเช่นเดียวกับคําก่อนนั่นแหละ.

    พึงทราบวินิจฉัยในคําแม้นี้ว่า วิฺาณฺจายตนํ สมติกฺกมา (เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ) ต่อไป.

    วิญญาณัญจะ ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นของฌานนั้นโดยนัยที่กล่าวไว้ในก่อนนั่นแหละ เพราะฉะนั้น แม้ฌานก็ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนะ แม้อารมณ์ของฌานนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ก็เรียกว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 557

วิญญาณัญจายตนะ พระโยคาวจรก้าวล่วงสิ่งทั้ง ๒ คือ ฌานนี้ และอารมณ์นี้ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการไม่ให้เป็นไป และด้วยไม่มนสิการ แล้วจึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะนี้อยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงรวมสิ่งทั้ง ๒ นี้เข้าด้วยกันแล้วตรัสคํานี้ว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณณัญจายตนะ ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อากิฺจฺายตนสฺาสหคตํ นี้ต่อไป

    ก็ฌานนี้ ชื่อว่า อากิญจนะ เพราะอรรถว่า ไม่มีอะไรแม้หน่อยหนึ่งมีอธิบายว่า โดยที่สุดแม้เพียงภังคขณะก็ไม่พึงเหลือ คือ มิได้มีอยู่ ดังนี้. ความเป็นแห่งความไม่มีอะไรหน่อยหนึ่ง ชื่อว่า อากิญจัญญะ. คําว่าอากิญจัญญะนี้ เป็นชื่อของฌานที่ปราศจากอากาสานัญจายตนะและวิญญาณเป็นอารมณ์. อากิญจัญญะนั้น เป็นอายตนะด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้งมั่นด้วยสัญญานี้ เพราะฉะนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า อากิญจัญญายตนะ ฌานที่สหรคตด้วยสัญญาเป็นไปในอากิญจัญญายตนะนั้น ชื่อว่า อากิญจัญญายตนสหคตะ คําว่า อากิญจัญญายตนสหคตะนี้ เป็นชื่อของฌานที่มีอารมณ์ปราศจากวิญญาณที่เป็นไปในอากาศ. ในอากิญจัญญายตนะนี้ เป็นทุกขาปฏิปทา เพราะลําบากในการสิ้นแห่งนิกันติ แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็นทันธาภิญญา เพราะความช้าในการอบรมอัปปนาของผู้ใคร่ในการสิ้นไป เป็นสุขาปฏิปทา และขิปปาภิญญาโดยปริยายตรงกันข้าม พึงทราบชื่อว่า ความเป็นปริตตารมณ์ เพราะความมีอารมณ์ปราศจากวิญญาณที่เป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณเล็กน้อย ชื่อว่า ความเป็นอัปปมาณารมณ์ โดยปริยายตรงกันข้ามกับปริตตารมณ์. คําที่เหลือเช่นกับนัยก่อนทั้งนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 558

    พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคําว่า อากิฺจฺายตนํ สมติกฺกมา นี้ต่อไป. อากิญจัญญะ โดยนัยก่อนนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นของฌานนั้น เพราะฉะนั้น แม้ฌานก็ชื่อว่า อากิญจัญญายตนะ แม้อารมณ์ชื่อว่า อากิญจัญญายตนะ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ คําที่เหลือเช่นกับนัยก่อนทั้งนั้น พึงทราบการก้าวล่วงสิ่งแม้ทั้ง ๒ คือ ฌานนั้นด้วย อารมณ์นั้นด้วย โดยการกระทําไม่ให้เป็นไป และโดยไม่มนสิการ และพึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญานี้อยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมสิ่งทั้ง ๒ นี้แล้วตรัสว่า เพราะการก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า เนวสฺานาสฺายตนสหคตํ นี้ต่อไป.

    ก็ฌานนั้น ตรัสเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะสภาวะแห่งสัญญาใด สัญญานั้นย่อมมีแก่ผู้ปฏิบัติอย่างไรเพื่อแสดงสัญญานนั้นก่อน จึงทรงยกบทว่า เนวสัญญีนาสัญญี ขึ้นในวิภังค์ แล้วตรัสว่า พระโยคาวจรย่อมมนสิการอากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแหละโดยสงบ ย่อมเจริญสมาบัติอันมีสังขารเหลืออยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เนวสัญญีนาสัญญี ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตโต มนสิกโรติ (ย่อมมนสิการโดยความสงบ) ได้แก่ ย่อมมนสิการว่า สมาบัตินี้สงบหนอ เพราะทําแม้ความไม่มีให้เป็นอารมณ์ตั้งอยู่ได้ แล้วมนสิการสมาบัตินั้น ว่าเป็นความสงบเพราะอารมณ์สงบ.

    ถามว่า ถ้ามนสิการโดยความสงบแล้ว การก้าวล่วงจะมีอย่างไรตอบว่า เพราะความเป็นผู้ต้องการจะไม่นึกถึง. จริงอยู่ พระโยคาวจรนั้นย่อม

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 559

มนสิการฌานนั้นโดยความสงบแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น การคํานึงการประมวลมามนสิการนั้นย่อมไม่มีแก่พระโยคีนั้นว่า เราจักนึกถึง เราจักเข้า เราจักอธิฐาน เราจักออก เราจักพิจารณาฌานนั้น ดังนี้.

    ถามว่า เพราะเหตุไร?

    ตอบว่า เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นธรรมสงบกว่า ประณีตกว่าอากิญจัญญายตนะ.

    เหมือนอย่างว่า พระราชาเสด็จขึ้นทรงบนคอช้างตัวประเสริฐ เสด็จเที่ยวไปในทางพระนคร โดยอานุภาพแห่งพระราชาผู้เป็นใหญ่ ทรงทอดพระเนตรคนมีศิลปะมีช่างแกะสลักงาเป็นต้นนุ่งผ้าผืนหนึ่ง โผกผ้าผืนหนึ่งที่ศีรษะทะมัดทะแมงมีตัวเกลื่อนกล่นด้วยผงงาเป็นต้นกําลังทําศิลปะแกะสลักงาเป็นต้นมิใช่น้อย ก็ทรงพอพระทัยในความฉลาดของช่างเหล่านั้น อย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์หนอ อาจารย์ผู้ฉลาดสามารถกระทําศิลปะทั้งหลายชื่อแม้เช่นนี้ได้ดังนี้ แต่มิได้มีพระดําริอย่างนี้ว่า โอหนอ ตัวเราก็พึงสละราชสมบัติแล้วเป็นนักศิลปะเช่นนี้ดังนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะความที่ราชสมบัติมีค่ามากพระองค์ก็ทรงเสด็จผ่านนักศิลปะทั้งหลายไป ฉันใด พระโยคาวจร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมนสิการสมาบัตินั้นโดยสงบแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ไม่คํานึง ไม่ประมวลมา ไม่มนสิการว่า เราจักนึกถึง จักเข้าสมาบัติ จักอธิษฐาน จักออก จักพิจารณาสมาบัตินี้ ดังนี้ เมื่อมนสิการสมาบัตินั้นโดยสงบอยู่ย่อมบรรลุสัญญาถึงอัปปนาอันละเอียดอย่างยิ่งนั้นโดยนัยที่กล่าวไว้ในกาลก่อนนั่นแหละ ชื่อว่า เนวสัญญีนาสัญญี ย่อมมีด้วยสมาบัติใด ตรัสเรียกสมาบัตินั้นว่า พระโยคีย่อมเจริญสมาบัติมีสังขารที่เหลือเป็นอารมณ์ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 560

    คําว่า สมาบัติมีสังขารที่เหลือเป็นอารมณ์ คืออรูปสมาบัติที่ ๔ มีสังขารถึงความละเอียดที่สุด.

    บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระดํารัส ที่ตรัสว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยสามารถแห่งสัญญาที่พระโยคาวจรบรรลุอย่างนี้โดยเนื้อความ จึงตรัสว่าบทว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้แก่ธรรมทั้งหลายคือ จิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้บังเกิดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ หรือพระขีณาสพผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. บรรดาท่านทั้ง ๓ เหล่านั้น ในที่นี้ทรงประสงค์เอาธรรม คือ จิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ.

    ส่วนวจนัตถะในฌานนั้นพึงทราบดังนี้. ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา (มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) เพราะอรรถว่า สัญญาของฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือ ไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาละเอียด ฌานนั้นเป็นสภาวะที่มีสัญญา ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเป็นอายตนะเพราะนับเนื่องด้วยมนายตนะและธรรมายตนะด้วย เพราะเหตุนั้นฌานนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

    อีกอย่างหนึ่ง สัญญาในฌานนี้ ชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่ใช่สัญญา) เพราะไม่สามารถทํากิจของสัญญาได้โดยเฉพาะ และชื่อว่า นาสัญญา (ไม่มีสัญญา) เพราะเป็นธรรมมีอยู่โดยละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ เพราะฉะนั้นฌานนั้นจึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา. ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญานั้นด้วย ชื่อว่า เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรมที่เหลือด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 561

    อนึ่ง ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ สัญญาเป็นเช่นนี้อย่างเดียวก็หาไม่ โดยที่แท้ แม้เวทนาก็ชื่อว่า เนวเวทนานาเวทนา (มีเวทนาก็มิใช่ไม่มีเวทนาก็มิใช่) แม้จิต ก็ชื่อว่า เนวจิตตนาจิตตะ (มีจิตก็มิใช่ ไม่มีจิตก็มิใช่) แม้ผัสสะ ก็ชื่อว่า เนวผัสสนาผัสสะ (มีผัสสะก็มิใช่ ไม่มีผัสสะก็มิใช่) ในสัมปยุตตธรรมที่เหลือก็นัยนี้. แต่เทศนานี้พึงทราบว่า ทรงกระทําสัญญาให้เป็นประธาน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความนี้ด้วยอุปมาทั้งหลายตั้งแต่เรื่องน้ำมันทาบาตรเป็นต้น.

    ได้ยินว่า สามเณรเอาน้ำมันทาบาตรวางไว้ ในเวลาดื่มข้าวยาคู พระเถระกล่าวกะสามเณรว่า สามเณรจงนําบาตรมา สามเณรเรียนท่านว่า ในบาตรมีน้ำมันขอรับ ทีนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า สามเณรจงนํามา เราจักใส่ให้เต็มทะนานตวงน้ำมัน สามเณรจึงเรียนว่า ท่านขอรับน้ำมันไม่มี.

    ในการอุปมานั้น น้ำมัน ชื่อว่า มีอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นของไม่ควรกับข้าวยาคู เพราะความมีอยู่ในภายใน น้ำมันนั้น ชื่อว่า ไม่มี เพราะความไม่มีใส่วัตถุทั้งหลายมีทะนานเป็นต้น ฉันใด สัญญาแม้นั้นก็ฉันนั้น ชื่อว่าสัญญาก็มิใช่ เพราะไม่สามารถเพื่อทํากิจของสัญญาโดยเฉพาะ และชื่อว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะความมีอยู่โดยความเป็นของละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ.

    ถามว่า ก็ในฌานนี้ กิจของสัญญาเป็นอย่างไร?

    ตอบว่า กิจของสัญญาคือการจําได้หมายรู้อารมณ์ และการเข้าถึงความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วเกิดความเบื่อหน่าย.

    จริงอยู่ สัญญานั้นไม่อาจทํากิจคือการจําได้หมายรู้โดยฉับพลัน ดุจเตโชธาตุในน้ำ (เดือดจน) แห้ง ไม่สามารถทํากิจคือการเผาไหม้. สัญญานี้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 562

ไม่อาจเพื่อทําแม้เข้าถึงความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วให้เกิดความเบื่อหน่ายเหมือนสัญญาในสมาบัติอื่นที่เหลือ (เว้นสัญญาในฌานนี้) เพราะว่า ภิกษุไม่ได้อาศัยขันธ์เหล่าอื่นทําไว้ จึงชื่อว่า ไม่สามารถเพื่อพิจารณาขันธ์คือเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วบรรลุนิพพิทา. ถึงท่านพระสารีบุตรเถระผู้เห็นแจ้งโดยปกติ และท่านที่มีปัญญามากพึงสามารถเช่นกับพระสารีบุตร แม้ท่านนั้นก็พึงเห็นได้ด้วยสามารถการพิจารณาเป็นกลาปะ (กองๆ) เท่านั้นอย่างนี้ว่านัยว่า ธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้ว ก็มีครั้นมีแล้วก็ปรวนแปรไป มิใช่เห็นด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาธรรมตามบท สมาบัตินี้ ถึงความละเอียดอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความนี้ด้วยการอุปมาเหมือนน้ำในหนทาง เหมือนอุปมาด้วยน้ำมันทาบาตรต่อไป.

    ได้ยินว่า สามเณรเดินไปข้างหน้าพระเถระผู้เดินทางเห็นน้ำหน่อยหนึ่งแล้วเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ มีน้ำโปรดถอดรองเท้าเถอะครับ ลําดับนั้นพระเถระกล่าวว่า ถ้ามีน้ำ เธอจงนําผ้าอาบน้ำมา ฉันจักสรงน้ำ สามเณรเรียนว่า น้ำไม่มีขอรับ ดังนี้.

    ในคําอุปมานั้นพึงทราบว่า ชื่อว่า น้ำมีอยู่ ด้วยอรรถว่าเพียงเปียกรองเท้า ที่ชื่อว่า ไม่มี ด้วยอรรถว่าไม่พอที่จะอาบ ฉันใด สมาบัตินั้นก็ฉันนั้นชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่มีสัญญา) เพราะไม่สามารถทํากิจของสัญญาโดยฉับพลันได้ ชื่อว่า ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะสัญญามีอยู่ โดยความเป็นของละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ และมิใช่จะเปรียบด้วยข้ออุปนาเหล่านี้เท่านั้น พึงยังเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาที่สมควรแม้อื่นอีก.

    โดยนัยที่กล่าวมา ฌานชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาสหคตะ เพราะอรรถว่า สหรคตด้วยสัญญาที่เป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 563

นี้ หรือสหรคตด้วยสัญญาที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ คํานี้เป็นชื่อของฌานที่มีอารมณ์ (ก้าวล่วง) อากิญจัญญายตนสมาบัติ. ในฌานนี้ ชื่อว่า เป็นทุกขาปฏิปทา เพราะเป็นทุกข์ในการสิ้นไปแห่งนิกันติในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ที่ชื่อว่า ทันธาภิญญา เพราะความชักช้าในการอบรมอัปปนาของผู้มีนิกันติที่สิ้นไป ชื่อว่า เป็นสุขาปฏิปทาและขิปปาภิญญา โดยปริยายตรงกันข้าม. พึงทราบความเป็นปริตตารมณ์ เพราะปรารภสมาบัติมีอารมณ์ปราศจากวิญญาณที่เป็นไปในอากาศซึ่งเพิกกสิณขึ้นเล็กน้อยเป็นไป พึงทราบความเป็นอัปปมาณารมณ์โดยปริยายตรงกันข้าม คําที่เหลือเช่นกับนัยก่อนนั่นแหละ.

    พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นนาถะ มีพระรูปไม่มีใครเสมอเหมือน ตรัสอรูปฌาน ๔ อย่างอันใดไว้ พระโยคีครั้นทราบอรูปฌาน ๔ นั้นแล้ว พึงรู้แม้กถาปกิณณกะในอรูปฌานนั้น ต่อไป.

    เพราะอรูปสมาบัติ

    แม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมมีเพราะการก้าวล่วงอารมณ์ นักปราชญ์ผู้มีปัญญาไม่ปรารถนา จะละเลยอธิบายขององค์แห่งสมาบัติเหล่านั้น.

    จริงอยู่ บรรดาสมาบัติเหล่านั้น พึงทราบ อรูปสมาบัติทั้ง ๔ ซึ่งเกิดขึ้นโดยการก้าวล่วงอารมณ์โดยประการทั้งปวง คือ อรูปสมาบัติที่หนึ่งก้าวล่วงฌานที่มีรูปนิมิต อรูปสมาบัติที่ ๒ ก้าวล่วงอากาศ อรูปสมาบัติที่ ๓ ก้าวล่วงวิญญาณที่เป็นไปในอากาศอรูปสมาบัติที่ ๔ ก้าวล่วงโดยการปราศจากวิญญาณที่เป็นไปในอากาศ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 564

    แต่บัณฑิตทั้งหลายไม่ปรารถนาการก้าวล่วงองค์ในสมาบัติเหล่านั้นซึ่งไม่มีเหมือนรูปาวจรสมาบัติ ด้วยว่าในรูปาวจรสมาบัติทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีองค์ของฌาน ๒ เท่านั้น คืออุเบกขา และเอกัคคตาจิต. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น

    สมาบัติที่เกิดหลังๆ ในที่นี้ ก็เป็นสภาพประณีตดีกว่าสมาบัติก่อนๆ พึงทราบอุปมาในสมาบัติเหล่านั้น ดุจพื้นปราสาทและผ้าสาฎก ต่อไป.

    เหมือนอย่างว่า ปราสาท ๔ ชั้น ปราสาทชั้นล่างสุดมีกามคุณ ๕ อันประณีตด้วยอํานาจแห่งการฟ้อนรําขับร้อง ประโคมดนตรี กลิ่นหอมดอกไม้อันน่าพอใจ เครื่องดื่มโภชนะมีรสอันดี มีที่นั่งที่นอน และเสื้อผ้าอันเป็นทิพย์เป็นต้นปรากฏแล้ว ปราสาทชั้นที่ ๒ มีกามคุณเหล่านั้นประณีตกว่าชั้นที่หนึ่งปราสาทชั้นที่๓ มีกามคุณเหล่านั้นประณีตกว่าชั้นที่สอง ปราสาทชั้นที่ ๔ มีกามคุณเหล่านั้นประณีตกว่าทุกชั้น. ในปราสาทเหล่านั้น พื้นของปราสาทแม้ทั้ง ๔ เหล่านั้น ไม่มีความต่างกันแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ปราสาทชั้นบนๆ ก็ประณีตกว่าปราสาทชั้นล่างๆ เพราะวิเศษกว่าด้วยสัมฤทธิ์แห่งกามคุณ ๕ และเปรียบเหมือนผ้าสาฎก ๔ ชั้น ๓ ชั้น ๒ ชั้น และ ๑ ชั้นของด้ายอย่างหยาบ อย่างละเอียด อย่างละเอียดกว่า อย่างละเอียดที่สุดซึ่งหญิงคนหนึ่งกรอไว้โดยกว้างและยาวเท่ากัน บรรดาผ้าสาฎกเหล่านั้น แม้ทั้ง ๔ มีกว้างยาวเท่ากันไม่แปลกกัน แต่ว่า ผ้าที่ทอครั้งหลังๆ ประณีตกว่าที่ทอครั้งก่อนๆ โดยมีสัมผัสสบาย มีเนื้อละเอียด และมีค่ามาก ฉันใด ในอรูปฌานสมาบัติแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน องค์ฌานเหล่านี้มีเพียง ๒ อย่าง คือ อุเบกขา

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 565

และเอกัคคตาจิตเท่านั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในที่นี้พึงทราบว่า องค์ฌานหลังๆ ประณีตดีกว่า โดยความประณีตและประณีตกว่าองค์ฌานเหล่านั้น เพราะการเจริญวิเศษโดยแท้ ก็ฌานเหล่านั้นประณีตและประณีตโดยลําดับ ด้วยประการฉะนี้. (พึงทราบอุปมาต่อไป)

    บุรุษคนหนึ่งยืนเกาะมณฑปในที่ไม่สะอาด อีกคนหนึ่งยืนอาศัยบุรุษผู้นั้น อีกคนหนึ่งไม่อาศัยยืนอยู่ภายนอก อีกคนหนึ่งอาศัยคนที่อยู่ภายนอกยืนอยู่ บัณฑิตผู้มีปรีชา พึงทราบอรูปแม้ทั้ง ๔ โดยความเป็นสภาวะเสมอกัน ดุจบุรุษ ๔ คนเหล่านี้ โดยลําดับ.

    ในคาถานั้น พึงทราบการประกอบเนื้อความ ดังต่อไปนี้.

    ได้ยินว่า มณฑปหลังหนึ่งตั้งอยู่ในที่ไม่สะอาด ภายหลังบุรุษคนหนึ่งเดินมาจากบุรุษ ๔ คนเหล่านั้น โดยลําดับ รังเกียจอยู่ซึ่งที่อันไม่สะอาดนั้นจึงเอามือยึดมณฑปนั้นยืนอยู่ ดุจยึดติดที่มณฑปนั้น ภายหลังอีกคนหนึ่งมายืนพิงบุรุษซึ่งติดที่มณฑปนั้น ต่อมาคนอื่นอีกมาแล้วคิดว่า บุคคลคนที่ยืนเกาะมณฑป และบุรุษที่ยืนพิงทั้ง ๒ คนนี้ยืนไม่ดี และเขาทั้ง ๒ นั้นจะตกไปในบ่อที่ไม่สะอาดของมณฑป เอาเถอะเราจักยืนในภายนอกมณฑป ด้วยเหตุนั้นเขาจึงไม่ยืนอาศัยคนที่ยืนพิงนั้น แล้วไปยืนอยู่ภายนอกมณฑปทีเดียว ต่อมามีบุรุษอีกคนหนึ่งมาแล้วคิดเห็นว่า บุรุษคนที่ยืนเกาะมณฑป และบุรุษคนที่

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 566

ยืนพิงบุรุษนั้นไม่มีความเกษม รู้ว่าคนที่ยืนอยู่ภายนอกมณฑปยืนดีแล้ว จึงได้ยืนพิงบุรุษคนนั้น.

    ในคําเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นอากาศที่เพิกกสิณขึ้น พึงเห็นเหมือนมณฑปในประเทศที่ไม่สะอาด. อากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีอากาศเป็นอารมณ์เพราะรังเกียจรูปนิมิต พึงเห็นเหมือนบุรุษยืนเกาะมณฑป เพราะรังเกียจของไม่สะอาด. วิญญาณัญจายตนฌานที่ปรารภอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีอากาศเป็นอารมณ์เป็นไปแล้ว พึงเห็นเหมือนบุรุษคนยืนพิงคนที่ยืนเกาะมณฑป. อากิญจัญญายตนฌาน ไม่ทําอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นอารมณ์ ทําความไม่มีแห่งอากาสานัญจายตนะนั้นให้เป็นอารมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษคิดถึงความไม่เกษมของบุรุษแม้ทั้งสองนั้น จึงไม่อาศัยบุรุษนั้นแล้วไปยืนภายนอก. เนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่ปรารภอากิญจัญญายตนะซึ่งตั้งอยู่ในประเทศภายนอก กล่าวคือความไม่มีวิญญาณเป็นไปแล้ว พึงเห็นเหมือนบุรุษคิดว่าบุรุษผู้ยืนเกาะมณฑปและบุรุษผู้ยืนพิง ทั้งสองนั้นไม่มีความเกษม รู้ว่าบุรุษผู้ยืนอยู่ภายนอกเป็นผู้ยืนดีแล้ว จึงยืนพิงบุรุษนั้นอยู่ ฉะนั้น. ก็เนวสัญญานาสัญญายตนะเมื่อจะเป็นไปได้อย่างนี้

    ย่อมกระทําอรูปฌาน ๓ นี้ ให้เป็นอารมณ์ เพราะความไม่มีอารมณ์อื่นเหมือนประชาชนยกพระราชาครองราชย์ แม้ที่ตนเห็นว่าไม่ดี เพราะเหตุแห่งการเป็นอยู่.

    จริงอยู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ ย่อมทําอากิญจัญญายตนะนั้นแม้อันเห็นแล้วไม่ดีอย่างนี้ว่า อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ มีวิญญาณัญจายตนะ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 567

เป็นข้าศึกใกล้ให้เป็นอารมณ์ เพราะความไม่มีอารมณ์อื่น. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนประชาชนยกพระราชาที่ตนเห็นว่าไม่ดีขึ้นครองราชย์ เพราะเหตุแห่งการเป็นอยู่เป็นเหตุ. เหมือนอย่างว่า พระราชาผู้เป็นใหญ่ในทวีปทั้งหมด องค์หนึ่ง ไม่สํารวม มีความประพฤติทางกาย วาจา และทางใจหยาบคาย ประชาชนเห็นโทษอย่างนี้ว่า พระราชาองค์นี้มีวาจาหยาบคาย แต่เมื่อไม่ได้ความเป็นอยู่ในที่อื่น จึงต้องอาศัยพระราชาพระองค์นั้น เพราะเหตุแห่งการเป็นอยู่ ฉันใด เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์อื่น ก็กระทําอากิญจัญญายตนะ แม้ที่ตนเห็นแล้วว่าไม่ดีนั้นให้เป็นอารมณ์ ฉันนั้นนั่นแหละ อนึ่ง ฌานคือเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ เมื่อทําอยู่ด้วยอาการอย่างนี้

    ย่อมอาศัยอรูปฌานที่ ๓ นี้ จึงเป็นไปได้แล เหมือนบุคคลขึ้นบันไดยาวพึงเกาะแม่บันไดไว้ และเหมือนบุคคลขึ้นสู่ยอดภูเขาพึงเกาะยอดภูเขา หรือเหมือนบุคคลขึ้นสู่ภูเขาศิลา ก็ต้องอาศัยเข่าของตนเท่านั้นฉะนั้น.

อรูปาวจรกุศล จบ