พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เตภูมิกกุศลธรรม ๓ ประเภท

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 568

เตภูมิกกุศลธรรม ๓ ประเภท

กามาวจรกุศล

[๑๙๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นเป็นอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยฌาน เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากฌาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 569

เป็นอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

กามาวจรกุศล จบ

รูปาวจรกุศล

[๑๙๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกามสงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ เป็นอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาอธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 570

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ เป็นอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

รูปาวจรกุศลจบ

อรูปาวจรกุศล

[๑๙๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญาไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาเป็นอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 571

เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ํา เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 572

อากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตจาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ํา ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยนั้นผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อรูปาวจรกุศล จบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 573

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓

บัดนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเป็นไปโดยประเภท ๓ มีประเภทต่ําเป็นต้น ก็เพื่อแสดงประเภทนั้นแห่งธรรมเหล่านั้น จึงทรงเริ่มคําเป็นต้น ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หีนํ (ต่ํา) ได้แก่ ลามก คือ หยาบพึงทราบกุศลต่ําด้วยสามารถแห่งการประมวลมา กุศลที่มีในท่ามกลางแห่งหีนะและอุตตมะ ชื่อว่า มัชฌิมะ (อย่างกลาง) กุศลที่นําไปสู่ความเพียร ชื่อว่า ประณีต ได้แก่ กุศลที่สูงสุด บัณฑิตพึงทราบกุศลแม้เหล่านั้น ด้วยอํานาจการประมวลมานั่นแหละ.

จริงอยู่ ในขณะที่ประมวลมาซึ่งกุศลใด จะเป็นฉันทะ หรือวิริยะ หรือจิตตะ หรือวิมังสาเป็นหีนะ (อย่างต่ํา) มีอยู่ กุศลนั้น ชื่อว่า ต่ํา. ธรรมเหล่านั้นเป็นมัชฌิมะเป็นประณีตแห่งกุศลใดกุศลนั้น ชื่อว่า มัชฌิมะและปณีตะ. ก็กุศลใดประมวลมาซึ่งฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทํา ทําฉันทะให้เป็นธุระให้เป็นใหญ่ให้เป็นประธาน กุศลนั้นชื่อว่า ฉันทาธิปไตย เพราะความที่กุศลมาแล้วโดยฉันทาธิบดี และในวิริยาธิปไตยเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

แต่ในที่นี้ พึงถือเอานัยทั้งหลายที่ตั้งไว้แล้ว คือ นัยที่จําแนกไว้ก่อนเป็นนัย ๑ คําว่า หีนะ เป็นนัย ๑ คําว่า มัชฌิมะ เป็นนัย ๑ คําว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 574

ปณีตะ เป็นนัย ๑ และคําว่า ฉันทาธิปไตย เป็นนัย ๑ นัยทั้ง ๕ เหล่านี้ในฉันทาธิปไตยเท่านี้ก่อน. แม้ในวิริยาธิปไตยเป็นต้นก็อย่างนี้ เพราะฉะนั้นปัญจกนัยทั้ง ๔ จึงเป็น ๒๐ นัย. อีกอย่างหนึ่ง เป็น ๒๐ นัย แม้อย่างนี้ คือนัยแรกเป็นสุทธิกนัย ๑ นัย ๓ นัย มีคําว่า หีนะ เป็นต้น (มัชฌิมะ และปณีตะ) นัย ๔ นัย มีคําว่า ฉันทาธิปไตยเป็นต้น (วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และนัย ๑๒ นัย มีคําว่า ฉนฺทาธิปเตยฺเย หีนํ (ฉันทะเป็นต้น กับหีนะเป็นต้น) นัยเหล่านี้เป็นมหานัย ๒๐ ก่อน.

    ถามว่า ทรงจําแนกนัยเหล่านั้นไว้ในที่ไหน?

    ตอบว่า ในหีนติกะ ในมหาปกรณ์.

    แต่ในฐานะนี้ พึงถือเอากองธรรมมัชฌิมะจากหีนติกะแล้วแบ่งเป็น ๓ ส่วน ด้วยอํานาจหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ พึงเว้นกองธรรมมัชฌิมะแม้จากหีนติกะนั้นแล้วถือเอาหีนะและปณีตะ แล้วแบ่งออกอย่างละ ๙ ส่วน เพราะว่าในหีนะนั่นแหละ กุศลธรรมที่ต่ําก็มี กุศลธรรมที่ปานกลางก็มี กุศลธรรมที่ประณีตก็มี ถึงแม้ในปณีตะเล่า กุศลธรรมที่ต่ําก็มี กุศลธรรมที่ปานกลางก็มี กุศลธรรมที่ประณีตก็มี. อนึ่ง ในธรรมที่เป็นหีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะ (ต่ํา) ก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะกุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและปณีตะ กุศล

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 575

ธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี นี้เรียกว่า นวกะหนึ่ง.

    แม้ในธรรมที่เป็นปณีตะและหีนะ ชื่อว่า กุศลธรรมที่ต่ําก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี. อนึ่ง ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่ต่ําก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะ (ต่ํา) ก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี นี้เป็นนวกะที่ ๒ รวมนวกะทั้งสองเป็นธรรม ๑๘. ธรรม ๑๘ เหล่านี้ ชื่อว่า กรรมทวาร. ว่าด้วยกรรมทวารเหล่านี้ พึงทราบว่ากษัตริย์ ๑๘ พราหมณ์ ๑๘ แพทย์ ๘ ศูทร ๑๘ โคตรจรณะ ๔๘ เพราะความเป็นผู้อบรมแล้วด้วยกรรมทวาร ๑๘ เหล่านี้.

    บรรดากุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เหล่านี้ กามาวจรกุศล เป็นทุเหตุกะโดยการไม่ประกอบญาณสัมปยุตบ้าง แต่รูปาวจรและอรูปาวจร เป็นติเหตุกะอย่างเดียว คือเป็นญาณสัมปยุตเท่านั้น. ก็ในกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ เหล่านั้น กามาวจรกุศลย่อมเกิดร่วมกับอธิบดีบ้าง เว้นจากอธิบดีบ้าง แต่รูปาวจรและอรูปาวจรกุศลย่อมสัมปยุตด้วยอธิบดีโดยแท้. และในกุศลประกอบด้วยภูมิ ๓ นี้ ในกามาวจรกุศลย่อมได้อธิบดี เพียง ๒ เท่านั้น คืออารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ในรูปาวจรและอรูปาวจรกุศลย่อมไม่ได้อารัมมณาธิปติ ย่อมได้เฉพาะสหชาตาธิปติเท่านั้น ในสหชาตาธิปติเหล่านั้น ตรัสความเป็น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 576

จิตตาธิปไตยของจิตไว้ด้วยอํานาจสัมปยุตธรรมทั้งหลาย. แต่เพราะจิต ๒ ดวงไม่มีพร้อมกัน ชื่อว่า จิตตาธิปติ ของสัมปยุตตจิตก็ไม่มี. อนึ่ง ฉันทาธิปติเป็นต้นแห่งธรรมมีฉันทะเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน แต่อาจารย์บางพวกย่อมปรารถนาชื่ออธิบดี ด้วยสามารถแห่งการมาอย่างนี้ว่า กุศลจิตดวงอื่นอีกกระทําจิตใดให้เป็นธุระให้เป็นใหญ่ ประมวลมาแล้วอย่างนี้ว่า ถ้ากุศลธรรมมีอยู่แก่บุคคลผู้มีจิตไซร้ กุศลธรรมก็จักมีแก่เรา ดังนี้ จิตดวงเดิมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นจิตตาธิปติ จิตนี้ชื่อว่า จิตตาธิปไตย เพราะมาจากจิตดวงนั้น ดังนี้. ก็นัยนี้ไม่ปรากฏในพระบาลีและอรรถกถา เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นอธิบดีโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

    ก็ในมหานัย ๑๙ เหล่านี้มีจิตทั้งหลายประมาณตามที่กล่าวในสุทธิกนัยต้น และมีนวกะทั้งหลาย และวาระแห่งพระบาลีทั้งหลาย เพราะฉะนั้นพึงทราบประเภท จิตตะ นวกะ และวาระ ซึ่งคูณด้วย ๒๐ โดยประมาณที่กล่าวในญาณสัมปยุต และคูณด้วย ๑๖ ในญาณวิปปยุต ๔ ดังนี้ นี้ชื่อว่าปกิณณกถา ในกุศลเป็นไปในภูมิ ๓ ดังนี้แล.

    กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ จบ