พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โลกุตตรกุศลจิตมรรคจิตดวงที่ ๑

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 577

โลกุตตรกุศลจิต

มรรคจิตดวงที่ ๑

[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะเวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ชีวิตินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตัตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือว่านามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๙๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง มีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่าผัสสะ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 578

[๑๙๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๑๙๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การจํา กิริยาที่จํา ความจํา อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญานธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น.

[๒๐๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.

[๒๐๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิต มีในสมัยนั้น.

[๒๐๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดําริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.

[๒๐๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 579

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่าวิจาร มีในสมัยนั้น.

[๒๐๔] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าปีติ มีในสมัยนั้น.

[๒๐๕] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสุข มีในสมัยนั้น.

[๒๐๖] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าเอกัคคตา มีในสมัยนั้น.

[๒๐๗] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธาอินทรีย์ คือศรัทธา สัทธาพละ อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๐๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 580

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๐๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึกความทรงจําความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบอินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๑] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 581

แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๒] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๓] โสมนัสสินทรีย์ ในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๔] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อายุ ความดํารงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๕] อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญาญินทรีย์ ปัญญาพละ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 582

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง. ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็นเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทําให้แจ้งนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๖] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงความวิจัย สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๗] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดําริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดําริชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 583

[๒๑๘] สัมมาวาจา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทํา การไม่ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกําจัดต้นเหตุวจีทุจริต ๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาวาจา มีในสมัยนั้น.

[๒๑๙] สัมมากัมมันตะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทํา การไม่ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกําจัดต้นเหตุกายทุจริต ๓การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๐] สัมมาอาชีวะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทํา การไม่ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกําจัดต้นเหตุมิจฉาชีพ การเลี้ยงชีพชอบอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๑] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามชอบวิริยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 584

[๒๒๒] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สัมมาสติ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๓] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.

[๒๒๔] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธาสัทธินทรีย์ กําลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละมีในสมัยนั้น. [๒๒๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียงทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กําลังคือความเพียร สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 585

[๒๒๖] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อยลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กําลังคือสติ ความระลึกชอบสติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๗] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ กําลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละมีในสมัยนั้น.

[๒๒๘] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กําลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค มีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละมีในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 586

[๒๒๙] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย วิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าหิริพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๐] โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลายในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๑] อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความที่ไม่โลภ การไม่กําหนัด กิริยาที่ไม่กําหนัด ความไม่กําหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า อโลภะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๒] อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่คิดทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า อโทสะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๓] อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 587

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๔] อนภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กําหนัด กิริยาที่ไม่กําหนัด ความไม่กําหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า อนภิชฌา มีในสมัยนั้น.

[๒๓๕] อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๖] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ควรญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 588

[๒๓๗] หิริ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าหิริ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๘] โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลายในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโอตตัปปะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๙] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

[๒๔๐] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

[๒๔๑] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายลหุตามีในสมัยนั้น.

[๒๔๒] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 589

[๒๔๓] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายมุทุตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๔] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๕] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควแก่การงานแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ากายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๖] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งวิญญาณขันธ์ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๗] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๘] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่คลองแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๙] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ากายุชุกตามีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 590

[๒๕๐] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น.

[๒๕๑] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบสติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สติ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๒] สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 591

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.

[๒๕๕] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียร ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่นความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๖] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 592

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๗] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๕๘] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๙ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๘ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑ มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๕๙] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะวิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดเว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 593

มหานัย ๒๐

สุทธิกปฏิปทา

[๒๖๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากการ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๖๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 594

[๒๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุทธิกปฏิปทาจบ

สุญญตะ

[๒๖๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 595

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจุตตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุญญตะ จบ

สุญญตมูลกปฏิปทา

[๒๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 596

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุญญตมูลกปฏิปทา จบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 597

อัปปณิหิตะ

[๒๖๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฎฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อัปปณิหิตะ จบ

อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา

[๒๖๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 598

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฎฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 599

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อัปปณิหิตมูลกปฏิปทาจบ

[๒๖๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญพละเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสมถะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เป็นเจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอาหารเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตระอันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

มหานัย ๒๐ จบ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 600

อธิบดี

[๒๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญพละเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสมถะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์เป็นโลกุตระ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 601

เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอาหารเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตระ ฯลฯ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นําไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิเพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

อธิบดี จบ

มรรคจิตดวงที่ ๑ จบ

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายโลกุตรกุศล

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกุศลที่ยังสมบัติในสามภพให้เกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงโลกุตรกุศลเพื่อก้าวล่วงภพทั้งหมดจึงเริ่มพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) อีก.

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า กตเม ธมฺมา เป็นต้นต่อไป.

บทว่า โลกุตฺตรํ ถามว่า ธรรมที่ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่ากระไร? ตอบว่า ที่ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่า ย่อมข้ามโลก ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 602

โลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลกไป ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่าก้าวล่วง ครอบงําโลกทั้งสามตั้งอยู่.

    บทว่า ฌานํ ภาเวติ (เจริญฌานโลกุตระ) ได้แก่ พระโยคาวจรยังอัปปนาฌานอันประกอบด้วยขณะจิตดวงหนึ่งให้เกิด คือให้เจริญ. อธิบายว่าโลกุตรฌาน ชื่อว่า นิยยานิกะ เพราะอรรถว่า ออกไปจากโลก ออกไปจากวัฏฏะ อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่า นิยยานิกะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องออกไปจากโลกและจากวัฏฏะนั้น จริงอยู่ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโลกุตรฌานนั้น เมื่อกําหนดรู้ทุกข์ ชื่อว่า ย่อมออกไป เมื่อละสมุทัยชื่อว่า ย่อมออกไป เมื่อกระทําให้แจ้งซึ่งนิโรธชื่อว่า ย่อมออกไป เมื่อเจริญมรรคก็ชื่อว่า ย่อมออกไป เพราะฉะนั้น โลกุตรฌานนั้น จึงชื่อว่า นิยยานิกะ.

    ก็กุศลอันเป็นไปในภูมิสามย่อมก่อจุติและปฏิสนธิทําให้เจริญในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น กุศลนั้นจึงชื่อว่า อาจยคามี ฉันใด โลกุตรกุศลนี้เป็นเช่นนั้นหามิได้ ก็โลกุตรกุศลนี้ รื้ออยู่ทําลายอยู่ซึ่งจุติและปฏิสนธิ อันกุศลในภูมิสามสร้างไว้ โดยกระทําให้ขาดแคลนซึ่งปัจจัยไป เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษคนหนึ่งสร้างกําแพงสูง ๑๘ ศอก แต่อีกคนหนึ่งเอาค้อนใหญ่รื้ออยู่ ทําให้กระจัดกระจายอยู่ซึ่งที่อันบุรุษนั้นก่อแล้วๆ พึงไป ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นโลกุตรฌานนั้น จึงชื่อว่า อปจยคามี (นําไปสู่พระนิพพาน) .

    ในบทว่า ทิฏิคตานํ ปหานาย (เพื่อละทิฏฐิ) นี้ ทิฏฐิทั้งหลายนั่นเอง ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เหมือนคําเป็นต้นว่า คูถคตํ (คูถ) มุตฺตคตํ (มูตร) . อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ แม้เพราะอรรถว่า ไปแล้วในทิฏฐิทั้งหลายเพราะหยั่งลงในภายในแห่งทิฏฐิ ๖๒. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ แม้เพราะอรรถว่า มีทิฏฐิเป็นไป อธิบายว่า สภาวะที่มี

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 603

การไปเช่นเดียวกับทิฏฐิ คือ สภาที่เป็นไปทั่วเช่นกับทิฏฐิ. ถามว่า ก็สภาวะที่เป็นไปทั่วเช่นกับทิฏฐินั้น เป็นอย่างไร? ตอบว่า ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และอกุศลมีราคะ โทสะ โมหะ พร้อมสัมปยุตตธรรมของทิฏฐินั้นซึ่งยังสัตว์ให้ไปสู่อบาย เพราะสภาวธรรมเหล่านั้น ท่านเรียกว่า สภาวะที่มีการไปเช่นกับทิฏฐิ เพราะมีสภาพเป็นไปจนถึงมรรคที่หนึ่งเกิดเพราะฉะนั้น ทิฏฐิทั้งหลายด้วย สภาวะที่มีการไปของทิฏฐิทั้งหลายด้วย จึงชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. บทว่า ปหานาย (เพื่อละ) ได้แก่ เพื่อละทิฏฐิคตะเหล่านั้นด้วยอํานาจสมุจเฉทละ.

    บทว่า ปมาย (เบื้องต้น) ได้แก่ชื่อว่าเบื้องต้นด้วยอํานาจแห่งการนับบ้าง ด้วยอํานาจแห่งการเกิดขึ้นครั้งแรกบ้าง. บทว่า ภูมิยา (ภูมิ) ความว่ามหาปฐพีนี้ ท่านเรียกว่า ภูมิ ก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า อนนฺตรหิตาย ภูมิยา (บนพื้นอันปราศจากเครื่องปูลาด) . จิตตุปบาท (ความเกิดขึ้นแห่งจิต) ก็เรียกว่า ภูมิ ดุจในประโยคมีอาทิว่า สุขภูมิยํ กามาวจเร (ในกามาวจรเป็นภูมิแห่งความสุข) . แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาสามัญผล ด้วยว่าสัมปยุตตธรรมเหล่านั้น ต่อเกิดในสามัญผลนี้ เพราะฉะนั้น สามัญผลนี้จึงชื่อว่า ภูมิ เพราะความเป็นที่อาศัยของสัมปยุตตธรรมเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่งเมื่อความเป็นโลกุตระแม้มีอยู่ สามัญผลย่อมเกิดขึ้นปรากฏได้เอง มิใช่ไม่ปรากฏเหมือนนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ภูมิ.

    ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสคําว่า ภูมินี้ ตอบว่า เพื่อแสดงการบรรลุภูมิเบื้องต้น ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เพื่อบรรลุ คือเพื่อประโยชน์การได้เฉพาะสามัญผลที่หนึ่ง กล่าวคือ โสดาปัตติผล. บทว่า วิวิจฺจ (สงัด) คือสงัดแล้ว เว้นแล้วด้วยอํานาจสมุจเฉทวิเวก.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 604

    บัดนี้ เพราะความเป็นผู้ใคร่จะแสดงถึงโลกิยฌานเว้นปฏิปทาย่อมไม่สําเร็จโดยแท้ ครั้นความไม่สําเร็จแม้มีอยู่ในโลกุตรกุศลนี้ จึงทรงละสุทธิกนัยเสียแล้วกระทําโลกุตรฌานให้หนักพร้อมกับปฏิปทานั่นแหละ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ทุกฺขาปฏิปทํ ทนฺธาภิฺํ ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในคําเป็นต้นว่า ทุกขาปฏิปทา นั้นต่อไป.

    โยคาจรบุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายตั้งแต่เริ่มต้น ลําบากอยู่ด้วยการขวนขวายพร้อมกับสังขารอันยากเข็ญ จึงข่มไว้ได้ ปฏิปทาของท่านนั้นเป็นทุกขาปฏิปทา ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีกิเลสข่มไว้แล้ว เมื่ออบรมวิปัสสนาอยู่โดยกาลนานจึงถึงความปรากฏแห่งมรรค การตรัสรู้ของท่านนั้นเป็นทันธาภิญญา. ด้วยประการตามที่กล่าวแล้ว วาระอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้เป็นต้น ท่านอธิบายไว้แล้ว.

    ถามว่า ก็วาระไหน ท่านพระอรรถกถาจารย์ชอบใจ.

    ตอบว่า ในวาระใด กิเลสทั้งหลายที่โยคาวจรข่มไว้ครั้งเดียวแล้วก็ฟุ้งขึ้นอีก ข่มแล้วครั้งที่สองก็ย่อมฟุ้งขึ้นอีก แต่เมื่อข่มครั้งที่สามจึงทําการข่มไว้ได้เหมือนอย่างนั้นทีเดียว แล้วจึงให้ถึงการถอนขึ้นด้วยมรรค ก็วาระนี้ ท่านพระอรรถกถาจารย์ชอบใจ ท่านตั้งชื่อวาระนี้ว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

    ก็ด้วยคําเพียงเท่านี้ วาระนี้ก็ยังไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้พึงทราบการอธิบายตั้งแต่ต้นอย่างนี้ว่า ก็โยคาวจรบุคคลใดกําหนดมหาภูตรูป ๔ แล้วจึงกําหนดอุปาทารูป กําหนดอรูปได้ แต่เมื่อกําหนดรูปและอรูปก็ลําบากอยู่ด้วยความทุกข์ ด้วยความลําบาก ย่อมสามารถเพื่อกําหนดได้ ปฏิปทาของท่านจึงชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีรูปและอรูปกําหนด

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 605

ได้แล้ว ในการเจริญวิปัสสนา เพราะความชักช้าแห่งความปรากฏของมรรคอภิญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น จึงชื่อว่า ทันธาภิญญา.

    แม้โยคาวจรบุคคลใดกําหนดรูป และอรูปได้แล้ว เมื่อกําหนดแยกนามรูป ลําบากอยู่ด้วยความทุกข์ ด้วยความลําบาก จึงกําหนดแยกได้ และเมื่อกําหนดแยกนามรูปได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงสามารถให้มรรคเกิดขึ้นได้ ปฏิปทาของท่านแม้นั้น จึงเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

    อีกรูปหนึ่ง กําหนดนามรูปได้แล้ว กําหนดแม้ปัจจัยทั้งหลาย แทงตลอดลักษณะทั้งหลายลําบากอยู่ด้วยความทุกข์ ความยากจึงกําหนดได้ครั้นกําหนดปัจจัยแทงตลอดลักษณะได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงยังมรรคให้เกิดขึ้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

    รูปอื่นอีกกําหนดแม้ปัจจัยทั้งหลายแล้ว แทงตลอดลักษณะทั้งหลายลําบากอยู่ด้วยความทุกข์ ความยาก จึงแทงตลอดได้ และท่านที่มีลักษณะอันแทงตลอดแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงยังมรรคให้เกิด แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

    รูปอื่นอีกแทงตลอดลักษณะทั้งหลายนําวิปัสสนาญาณอันคมกล้าและผ่องใสมา เมื่อครอบงํานิกันติแห่งวิปัสสนาที่เกิดขึ้น ลําบากอยู่ด้วยความทุกข์ความยาก จึงครอบงําได้ ครั้นครอบงํานิกันติได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงยังมรรคให้เกิด แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. วาระนี้ พระอรรถกถาจารย์พอใจ และตั้งชื่อวาระนี้ไว้แล้ว. พึงทราบปฏิปทา ๓ ข้างหน้า (ที่เหลือ) โดยอุบายนี้.

    ในบรรดาบททั้งหลายมีคําเป็นต้นว่า ผสฺโส โหติ (ผัสสะย่อมมี) มีอธิกบท ๔ คือ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 606

สัมมาอาชีวะ ๑ และบทมีคําเป็นต้นว่า มคฺคงฺคํ ในนิทเทสมีวิตักกะเป็นต้นในนิทเทสวารเป็นอธิกบท. คําที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วนั่นแหละแต่ในอธิการนี้ มีความแปลกกันด้วยสามารถความต่างกันแห่งภูมิ เพราะเป็น.โลกุตระ.

    บรรดาอธิกบททั้ง ๔ เหล่านั้น บทว่า อนัญญตัญญัสสามีตินฺทฺริยํ ได้แก่ อินทรีย์อันเกิดขึ้นโดยส่วนเบื้องต้นนี้ ของโยคีผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่าเราจักรู้ทั่วซึ่งอมตบท คือ สัจจธรรม ๔ นั่นแหละ ที่ยังไม่เคยรู้แล้วในสังสารวัฏฏ์ซึ่งมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้แล้ว. ส่วนคํามีลักษณะเป็นต้นของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปัญญินทรีย์ในหนหลังนั่นแหละ.

    วาจาดี หรือวาจาที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมาวาจา คําว่าสัมมาวาจานี้ เป็นชื่อของการงดเว้นมิจฉาวาจา เพราะเป็นวาจาถอนขึ้นซึ่งวจีทุจริต. สัมมาวาจานั้นมีการกําหนดเป็นลักษณะ มีการงดเว้นเป็นกิจ มีการละมิจฉาวาจาเป็นปัจจุปัฏฐาน.

    การงานที่ดีหรือที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ คําว่าสัมมากัมมันตะนี้เป็นชื่อของการงดเว้นปาณาติบาตเป็นต้น เพราะเป็นการงานที่ถอนขึ้นซึ่งมิจฉากัมมันตะ สัมมากัมมันตะนั้นมีการตั้งขึ้นดีเป็นลักษณะ มีการงดเว้นเป็นกิจ มีการละมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจุปัฏฐาน.

    อาชีวะดีหรือที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ คําว่าสัมมาอาชีวะนี้เป็นชื่อของการงดเว้นมิจฉาอาชีวะ สัมมาอาชีวะนั้นมีความผ่องแผ้วเป็นลักษณะ มีการเป็นไปแห่งอาชีวะชอบธรรมเป็นกิจ มีการละมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจุปัฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 607

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบข้อธรรมมีลักษณะเป็นต้น ในสัมมาวาจาเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งคําที่กล่าวแล้วในวิรติ ๓ ในหนหลัง. พึงทราบมรรค ๕ ที่กล่าวไว้ในหนหลังด้วยสามารถแห่งธรรม (วีรตี) ๓ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ ในที่นี้พึงทราบมรรค และในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ไม่มีสัมมาวาจาเป็นต้นเหล่านั้น กรุณาและมุทิตาก็ไม่มีเหมือนกัน ด้วยว่า ธรรมทั้ง ๓ (มีสัมมาวาจาเป็นต้น) เหล่านี้ เพราะความที่กล่าวไว้ในบาลีนี้จึงไม่ถือเอาในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ส่วนกรุณาและมุทิตามีสัตว์เป็นอารมณ์ ก็ธรรม (กรุณา มุทิตา) เหล่านี้เป็นอดีต อารมณ์ที่เย็นสงบ ท่านไม่ถือเอาในโลกุตระนี้เนื้อความที่ต่างกันในอุทเทสวารเพียงเท่านี้.

    ก็พึงทราบวินิจฉัยในคํานี้ว่า มคฺคงฺคํ (เป็นองค์แห่งมรรค) มคฺคปริยาปนฺนํ (นับเนื่องในมรรค) ในนิทเทสวารก่อน.

    ธรรมที่ชื่อว่า มัคคังคะ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งมรรคอธิบายว่าเป็นส่วนแห่งมรรค เหมือนอย่างว่า สิ่งที่นับเนื่องในป่า ชื่อว่า อรัญญปริยาปันนะ ฉันใดธรรมที่นับเนื่องในมรรค ชื่อว่า มัคคปริยาปันนะ ฉันนั้น อธิบายว่า อาศัยมรรค.

    ในข้อว่า ปีติสัมโพชฌงค์ นี้ สัมโพชฌงค์คือปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์. อีกอย่างหนึ่ง ในคําว่าปีติสัมโพชฌงค์เหล่านั้น ธรรมที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้หรือของบุคคลผู้ตรัสรู้ คํานี้มีอธิบายว่า ธรรมสามัคคีนี้ ตรัสเรียกว่า โพธิ เพราะทํานายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีกล่าวคือ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะมิใช่น้อยมีความหดหู่ ถีนะ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 608

อุทธัจจะ ปติฏฐานคือกิเลสเป็นเครื่องยึดไว้ อายูหนะ คือ กิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค และอภินิเวสะ คือ ยึดมั่นในสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเป็นต้น. คําว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ย่อมลุกขึ้นจากความหลับ คือความสืบต่อแห่งกิเลส หรือย่อมตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือกระทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั่นแหละ องค์แห่งโพธิกล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น มีอยู่เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์ฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น. พระอริยสาวกแม้นี้ ก็เรียกว่า โพธิ เพราะทําอธิบายว่า ย่อมตรัสรู้ ด้วยธรรมสามัคคีมีประการตามที่กล่าวแล้วนั้น. แม้องค์แห่งโพธิ คือพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้น ท่านก็เรียกว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์แห่งเสนาและองค์แห่งรถเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่าชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์แม้โดยนัยปฏิสัมภิทามรรคนี้ว่า คําว่า โพชฌงค์ ถามว่า ธรรมที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร? ตอบว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อการตรัสรู้. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าย่อมตรัสรู้. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้ตาม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้พร้อม ดังนี้. โพชฌงค์อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วด้วย เป็นโพชฌงค์อันดีด้วย ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. ด้วยประการฉะนี้ สัมโพชฌงค์คือปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งเอกัคคตาแห่งจิตเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้แล.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 609

    บทว่า เตสํ ธมฺมานํ (ธรรมเหล่านั้น) ได้แก่ธรรมคือสัจจะ ๔ ย่อมถึงการแทงตลอดในสมัยนั้น ชื่อว่า ธรรมเหล่านั้น. บทว่า อฺตานํ (ที่ยังไม่เคยรู้) ความว่า ธรรมเหล่านั้นอันโยคาวจรชื่อว่า รู้แล้วด้วยปฐมมรรคแม้ก็จริง ท่านก็กล่าวอุปมาไว้ว่า บุคคลมาสู่วิหารที่ไม่เคยตามปรกติแม้ยืนอยู่ในท่ามกลางวิหารก็ย่อมพูดว่า ข้าพเจ้ามาสู่ที่ไม่เคยมา เพราะอาศัยความเป็นผู้ไม่มาตามปกติฉันใด และเหมือนบุคคลประดับดอกไม้ที่ไม่เคยประดับตามปกติ นุ่งผ้าที่ยังไม่เคยนุ่ง (ผ้าใหม่) บริโภคอาหารที่ไม่เคยบริโภคเพราะอาศัยความเป็นผู้ไม่เคยบริโภคตามปกติ จึงพูดว่า ข้าพเจ้าบริโภคอาหารที่ยังไม่เคยบริโภค ฉันใดแม้ในข้อนี้ ก็ฉันนั้น เพราะธรรมเหล่านี้อันบุคคลนี้ไม่รู้ตามปกติ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ที่ยังไม่เคยรู้ ดังนี้.

    แม้ในคําว่า ที่ยังไม่เคยเห็น เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทิฏานํ (ที่ยังไม่เคยเห็น) ได้แก่ไม่เคยเห็นด้วยปัญญาจักษุในกาลก่อนแต่กาลนี้. บทว่า อปฺปตฺตานํ (ที่ยังไม่เคยบรรลุ) คือที่ยังไม่เคยบรรลุด้วยสามารถแห่งความรู้. บทว่า อวิทิตานํ (ที่ยังไม่เคยทราบ) คือที่ยังไม่ปรากฏด้วยญาณ. บทว่า อสจฺฉิกตานํ (ที่ยังไม่เคยทําให้แจ้ง) คือที่ยังไม่เคยทําให้ประจักษ์. บทว่า สจฺฉิกิริยาย (เพื่อทําให้แจ้ง) คือทําให้ประจักษ์. พึงประกอบเนื้อความแม้กับบทที่เหลือกับบทนี้อย่างนี้ว่า เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ ดังนี้.

    ในบททั้งหลายมีอาทิว่า จตูหิ วจีทุจฺจริเตหิ (วจีทุจริต ๔) บทว่า วจี พึงทราบว่าเป็นเครื่องหมายให้รู้ทางวาจา (วจีวิญญัติ) . ธรรมที่ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 610

ทุจริต เพราะอรรถว่าความประพฤติอันโทษสามอย่างใดอย่างหนึ่งประทุษร้ายแล้ว. ทุจริตที่เป็นไปทางวาจา ชื่อว่า วจีทุจริต อีกอย่างหนึ่ง ทุจริตที่สําเร็จด้วยคําพูดเรียกว่า วจีทุจริต. เจตนาที่ชื่อว่า อารตี เพราะย่อมงดห่างไกลจากวจีทุจริตเหล่านั้น. ชื่อว่า วิรติ เพราะย่อมเว้นห่างไกลจากวจีทุจริตเหล่านั้นชื่อว่า ปฏิวิรติ (การเลิกละ) เพราะเป็นผู้ถอยจากวจีทุจริตนั้นๆ และงดเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บททั้งสามนี้ท่านเพิ่มคําอุปสรรค บททั้งสามนี้เป็นชื่อของการงดเว้นทั้งหมด. ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะอรรถว่าการย่ํายี คือทําให้พินาศ. แม้คําว่า เวรมณี นี้ก็เป็นชื่อของการงดเว้นนั่นแหละก็บุคคลเมื่อกล่าวมุสาวาทเป็นต้น. ชื่อว่า ย่อมทําด้วยเจตนาใด วิรติในโลกุตรมรรคนี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ไห้เพื่อกระทํากิริยานั้น ย่อมตัดขาดทางแห่งการทํา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกิริยา (การไม่ทํา) . อนึ่ง การไม่ให้เพื่อการกระทํานั้น ย่อมตัดขาดทางเป็นเครื่องกระทํา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกรณะ (การไม่ประกอบ) . อนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าววจีทุจริต ๔ อย่างด้วยเจตนาใด ชื่อว่า ย่อมล่วงละเมิด วิรติในโลกุตรมรรคนี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่อล่วงละเมิดเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนัชฌาปัตติ (การไม่ล่วงละเมิด)

    ในบทนี้ว่า เวลาอนติกฺกโม (การไม่ล้ำเขต) อธิบายว่า กาลตรัสเรียกว่า เวลา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ตาย เวลาย (ในกาลนั้น) ดังนี้ก่อน. ราสิ (กอง) ตรัสเรียกว่า เวลา ในคํานี้ว่า อุรุเวลายํ วิหรติประทับอยู่ที่ตําบลอุรุเวลา (กองทราย) สีมา (เขตแดน) ตรัสว่าเวลาในคํานี้ว่า ิติธมฺโม เวลํ นาติวตฺตติ (ผู้มีธรรมดํารงอยู่ย่อมไม่ประพฤติล้ำเขต)

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 611

แม้ในอธิการนี้ทรงประสงค์เอาเวลาคือเขตเท่านั้น จริงอยู่ วจีสุจริต ๔ ทรงประสงค์เอาเวลา (คือเขต) เพราะอรรถว่า ไม่ควรก้าวล่วง ด้วยประการฉะนี้บุคคลเมื่อก้าวล่วงวจีทุจริต ๔ ด้วยเจตนาใด ชื่อว่า ย่อมก้าวล้ำเขต วิรติในโลกุตรมรรคนี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อก้าวล่วงเขตนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า การไม่ล่วงล้ำเขต ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เวลา เพราะอรรถว่าย่อมให้ย่อยยับไป อธิบายว่า ทําให้พินาศ ให้กระจัดกระจายไป. ถามว่าทําอะไรให้ย่อยยับไป. ตอบว่า ทําวจีทุจริต ๔ ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่าเวลา เพราะทําให้ย่อยยับไป. ที่ชื่อว่า อนติกกมะ (การไม่ก้าวล้ำ) เพราะอรรถว่า ไม่ก้าวล่วงประโยชน์สุขของบุคคลให้เป็นไป. พึงทราบอรรถแม้ด้วยอํานาจบททั้ง ๒ ในคําว่า เวลาอนติกฺกโม นี้ ด้วยประการฉะนี้.

    ธรรมที่ชื่อว่า เสตุฆาต เพราะอรรถว่า ย่อมฆ่าซึ่งเหตุ (เสตุ) คือฆ่าทางแห่งวจีทุจริต ๔ อธิบายว่า ฆ่าปัจจัย. ปัจจัยตรัสเรียกว่า เสตุ ในที่นี้. ในคําว่า เสตุฆาต นั้น มีความหมายถ้อยคําดังต่อไปนี้. ปัจจัยแห่งวจีทุจริต ๔ มีราคะเป็นต้น ย่อมเชื่อม คือ ย่อมผูกพันบุคคลไว้ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้นปัจจัยนั้น จึงชื่อว่า เสตุ. การฆ่าซึ่งปัจจัยที่ชื่อว่าเสตุนั้น ชื่อว่า เสตุฆาตคําว่า เสตุฆาต นี้เป็นชื่อของวิรติ เพราะถอนขึ้นซึ่งปัจจัยแห่งวจีทุจริต. แต่วิรตินี้ คือ สัมมาวาจา ย่อมได้ในจิตต่างๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะย่อมงดเว้นมุสาวาทด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นจากเปสุญญวาทเป็นต้นด้วยจิตดวงอื่น แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะวิรติคือสัมมาวาจาดวงเดียวเกิดขึ้นทําการตัดทางของเจตนาในวจีทุจริต ๔ ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 612

    บทว่า กายทุจฺจริเตหิ ได้แก่ ทุจริตที่เป็นไปทางกาย หรือทุจริตมีปาณาติบาตเป็นต้นอันให้สําเร็จด้วยกาย. คําที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล. วิรติแม้นี้ กล่าวคือสัมมากัมมันตะย่อมได้ในจิตต่างๆ ในกาลเบื้องต้น เพราะปาณาติบาตย่อมงดเว้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ในอทินนาทานและมิจฉาจารก็ได้ในจิตดวงอื่น แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้จิตดวงเดียวเท่านั้น ด้วยว่า วิรติดวงเดียวเกิดทําการตัดทางแห่งเจตนาในกายทุจริต ๓ อย่าง ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์.

    พึงทราบวินิจฉัยในบทเป็นต้นว่า อกิริยา (การไม่ทํา) ในนิทเทสแห่งสัมมาอาชีวะ ต่อไป.

    บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า บุคคลเลี้ยงชีพอยู่ชื่อว่าย่อมกระทํากิริยามิจฉาชีพด้วยเจตนาใด โลกุตรเจตนานี้เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อทํากิริยานั้น เพราะเหตุนั้น เจตนานั้นจึงชื่อว่า อกิริยา (การไม่ทํา) . อนึ่งชื่อว่า อาชีวะ นี้ เป็นเฉพาะส่วนหนึ่งมิได้มีเมื่อสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะโยคาวจรถือเอาแล้ว สัมมาอาชีวะก็เป็นอันถือเอาแล้วเหมือนกัน เพราะความที่สัมมาอาชีวะนั้นเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งวาจาและกายนั้น แต่อาชีวะนั้นพระองค์ทรงนําออกจากวาจาและกายนั้น แสดงไว้ด้วยอํานาจแห่งการเสพอาศัยอยู่เป็นนิตย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น สัมมาอาชีวะก็ไม่มีหน้าที่ของตน มรรค ๘ ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น สัมมาอาชีวะพึงมีหน้าที่ของตน องค์มรรค ๘ ก็พึงบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้ พึงทราบนัยดังต่อไปนี้.

    ขึ้นชื่อว่า อาชีวะ แม้เมื่อแตกก็ย่อมแตกในกายทวารและวจีทวารนั่นแหละ ชื่อว่าการแตกแห่งอาชีวะในมโนทวารหามีไม่ แม้เมื่อบริบูรณ์ก็ย่อมบริบูรณ์ในสองทวารนั้นนั่นเอง ชื่อว่าความบริบูรณ์แห่งอาชีวะมิได้มี

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 613

ทางมโนทวาร เพราะฉะนั้น สัมมาอาชีวะก็พึงทํากิจของตน องค์แห่งมรรค ๘ ก็พึงบริบูรณ์ นี้เป็นนัยในอาชีวะนั้น ก็การก้าวล่วงในกายทวารมีอาชีวะเป็นเหตุบ้าง ไม่มีอาชีวะเป็นเหตุบ้าง ในวจีทวารก็เหมือนกัน.

    บรรดาทวารทั้งสองนั้น พระราชาและมหาอํามาตย์ของพระราชาเป็นผู้ขวนขวายในการเล่น เมื่อจะแสดงความเป็นผู้กล้าหาญ ย่อมทําการล่าเนื้อบ้าง ปล้นคนเดินทางบ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง ใดๆ นี้ชื่อว่า กายกรรมเป็นอกุศล. แม้เจตนางดเว้นจากอกุศลกายกรรมแล้ว ก็ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ อนึ่ง พระราชาและมหาอํามาตย์ของพระราชาย่อมกล่าววจีทุจริต ๔ มิใช่มีอาชีวะเป็นเหตุ นี้ชื่อว่า วจีกรรมอันเป็นอกุศล แม้งดเว้นจากวจีกรรมอันเป็นอกุศลนั้น ก็ชื่อว่า สัมมาวาจา.

    แต่ว่า นายพรานและชาวประมงเป็นต้น เพราะอาชีพเป็นเหตุ ย่อมฆ่าสัตว์ ย่อมถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ ย่อมประพฤติมิจฉาจารใด นี้ชื่อว่ามิจฉาอาชีวะ การงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะนั้น ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ พวกชนที่รับค่าจ้างแม้ใดย่อมกล่าวมุสา ย่อมยังเปสุญญวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปะให้เป็นไป กรรมแม้นี้ ก็ชื่อว่า มิจฉาอาชีวะ แม้การงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะนั้น ก็ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

    ก็พระมหาสิวเถระกล่าวไว้ว่า การก้าวล่วงกายทวารและวจีทวาร มีอาชีวะเป็นเหตุ หรือไม่มีอาชีวะเป็นเหตุก็ตาม ย่อมนับว่าเป็นกายกรรมและวจีกรรมฝ่ายอกุศลโดยแท้ แม้การงดเว้นจากกายกรรมและวจีกรรมฝ่ายอกุศลจึงเรียกว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาได้ ก็ถ้ามีคนถามว่า อาชีวะไปไหนเสียเล่า? ก็จะพูดว่า บุคคลอาศัยกุหนวัตถุ (เรื่องโกหก) ๓ อย่าง ยังปัจจัย

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 614

๔ ให้เกิดขึ้นแล้วบริโภคปัจจัยนั้น ก็อันนี้เป็นมิจฉาอาชีวะถึงที่สุด การงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะนั้น ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

สัมมาอาชีวะแม้นี้ ในส่วนเบื้องต้นย่อมได้ในจิตต่างๆ เพราะการงดเว้นจากการก้าวล่วงทางกายทวารก็จิตอย่างหนึ่ง จากวจีทวารก็ได้จิตอย่างหนึ่ง แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้จิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะวิรติดวงเดียวเกิดขึ้นกระทําการตัดทางของเจตนาความเป็นผู้ทุศีล คือมิจฉาอาชีวะอัน เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งกรรมบถ ๗ คือกายกรรมและวจีกรรมในกายทวารและวจีทวารยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ความนี้จึงแปลกกันในนิทเทสวาร.

แต่ในอินทรีย์ทั้งหลายทรงเพิ่มอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ และในองค์แห่งมรรคทรงเพิ่มสัมมาวาจาเป็นต้นนั้น ตรัสว่าอินทรีย์ ๙ (๑) มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้ ในสังคหวารด้วยสามารถแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ และสัมมาวาจาเป็นต้นเหล่านั้น. สุญญตวาระเป็นไปตามปรกตินั่นแหละ ก็ความเบื้องต้นนี้แปลกกันในสุทธิกปฏิปทา.

สุทธิปฏิปทา จบ

กถาว่าด้วยสุญญตาเป็นต้น

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นประเภทแห่งเทศนา คือ

สุทธิกสุญญตา ๑

สุญญตปฏิปทา ๑

สุทธิกอัปปณิหิตะ ๑

อัปปณิหิตปฏิปทา ๑


(๑) ข้ออันอรรถกถาฉบับไทยเป็น สงฺคหวาเรน วิริยินทฺริยานิ อฏฺงฺคิโก มคฺโค ฉบับพม่าเป็น สงฺคหวาเร นวินฺทฺริยานิ อฏฺงฺคิโก มคฺโค

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 615

    บรรดาประเภทแห่งเทศนา ๔ เหล่านั้น คําว่า สุญญตา นี้เป็นชื่อของโลกุตรมรรคจริงอยู่ โลกุตรมรรคนั้น ย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ๓ อย่างคือเพราะการบรรลุ ๑ เพราะคุณของตน ๑ เพราะอารมณ์ ๑.

    ถามว่า ข้อนี้ เป็นอย่างไร?

    ตอบว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่โดยความเป็นอนัตตาย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นอนัตตา แต่ธรรมดาว่า การออกจากสังขตธรรมด้วยมรรค (มรรควุฏฐานะ) ย่อมไม่มีโดยเพียงเห็นโดยความเป็นอนัตตาเท่านั้น การเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง จึงสมควร เพราะฉะนั้น เธอจึงยกขึ้นสู่อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา แล้วพิจารณาอยู่ท่องเที่ยวไป ก็วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้น ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายแม้อันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยความเป็นของสูญ (ว่างเปล่า) ทีเดียว วิปัสสนานี้ชื่อว่า สุญญตา วิปัสสนานั้นดํารงอยู่ในฐานะที่ควรบรรลุจึงให้ชื่อมรรคของตนว่า สุญญตะ มรรคย่อมได้ชื่อว่า สุญญตะ เพราะการบรรลุด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะมรรคนั้นสูญจากราคะเป็นต้นฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า สุญญตะ ด้วยคุณของตน. แม้พระนิพพาน ท่านก็เรียกชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาวะสูญจากราคะเป็นต้น. มรรคย่อมได้ชื่อ สุญญตะ โดยอารมณ์เพราะความที่มรรคนั้นทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

    บรรดาเหตุทั้ง ๓ เหล่านั้น โลกุตรมรรคย่อมได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง โดยอารมณ์บ้าง โดยปริยายอันมีในพระสุตตันตะ เพราะปริยายนี้เป็นปริยายเทศนา ส่วนอภิธรรมกถาเป็นนิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ในอภิธรรมกถานี้ โลกุตรมรรคย่อมไม่ได้ชื่อโดยคุณของตน หรือโดยอารมณ์ ย่อมได้โดยการ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 616

บรรลุเท่านั้น เพราะว่าการบรรลุนั้นเป็นธุระ (กิจ) การบรรลุนั้น มี ๒ อย่างคือ การบรรลุด้วยวิปัสสนา การบรรลุด้วยมรรค ในการบรรลุทั้ง ๒ นั้นการบรรลุด้วยวิปัสสนาเป็นธุระในฐานแห่งมรรคถึงแล้ว การบรรลุด้วยมรรคเป็นธุระในฐานแห่งผลมาแล้ว ในอภิธรรมนี้เพราะความที่มรรคมาแล้ว การบรรลุด้วยวิปัสสนาเท่านั้น จึงเป็นธุระเกิดขึ้น.

    พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคํานี้ว่า อัปปณิหิตะ ต่อไป.

    คําว่า อปฺปณิหิตํ นี้เป็นชื่อของมรรค มรรคย่อมได้ชื่อแม้นี้ด้วยเหตุ ๓ เหมือนกัน. ได้อย่างไร? คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่โดยความเป็นทุกข์แต่ต้นเทียว ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์เท่านั้น ก็เพราะธรรมดามัคควุฏฐาน (การออกจากสังขตธรรมด้วยมรรค) ย่อมไม่มีเพียงการเห็นทุกข์เท่านั้น การเห็นโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยอนัตตาบ้าง จึงสมควรฉะนั้น เธอจึงยกขึ้นสู่อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาอยู่ ย่อมเที่ยวไป ก็วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้นยังปณิธิ (ความปรารถนา) ในสังขารทั้งหลายในภูมิ ๓ ให้เหือดแห้ง ให้สิ้นไปจึงปล่อยวาง วิปัสสนานี้ ชื่อว่า อัปปณิหิตะ วิปัสสนานั้นดํารงอยู่ในฐานควรบรรลุ จึงให้ชื่อมรรคของตนว่า อัปปณิหิตะ มรรคย่อมได้ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะการบรรลุอย่างนี้ ก็การดํารงไว้ซึ่งราคะโทสะแสะโมหะในมรรคนั้นมิได้มี ฉะนั้น มรรคนั้นจึงได้ชื่อด้วยคุณของตนนั่นแหละว่า อัปปณิหิตะ ดังนี้. แม้พระนิพพาน ก็ตรัสเรียกว่า อัปปณิหิตะ เพราะความไม่มีที่ตั้งอยู่แห่งราคะเป็นต้นเหล่านั้น. มรรคย่อมได้ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะทําพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. บรรดาเหตุทั้ง ๓เหล่านั้น มรรคย่อมได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง โดยอารมณ์บ้าง โดยปริยาย

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 617

แห่งพระสุตตันตะ เพราะเทศนานี้เป็นปริยายเทศนา แต่อภิธรรมกถาเป็นนิปปริยายเทศนา ฉะนั้น ในอภิธรรมกถานี้ โลกุตรมรรคจึงไม่ได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง โดยอารมณ์บ้าง ย่อมได้ชื่อโดยการบรรลุเท่านั้น. ก็การบรรลุเท่านั้นเป็นธุระ การบรรลุนั้น มี ๒ อย่างคือการบรรลุด้วยวิปัสสนา การบรรลุด้วยมรรค ในการบรรลุ ๒ อย่างนั้น การบรรลุด้วยวิปัสสนาเป็นธุระในฐานแห่งมรรคมาแล้ว การบรรลุด้วยมรรคเป็นธุระในฐานแห่งผลมาแล้ว ในอภิธรรมกถานี้ เพราะความที่มรรคมาแล้ว การบรรลุด้วยวิปัสสนาเท่านั้นจึงเป็นธุระเกิดขึ้น.

    ถามว่า ก็มรรคมีชื่อ ๓ อย่างคือ สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ มิใช่หรือ? เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์เหล่านี้มี ๓ อย่างคือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ในบรรดามรรคที่มีชื่อ ๓ เหล่านั้น ในอภิธรรมนี้ ถือเอามรรค ๒ เพราะเหตุไร จึงไม่ถือเอาอนิมิตตวิโมกข์เล่า?

    ตอบว่า เพราะไม่มีการบรรลุ.

    จริงอยู่ อนิมิตตวิปัสสนาดํารงอยู่ในฐานที่ควรบรรลุเองไม่อาจให้ชื่อมรรคของตน. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสอนิมิตตวิปัสสนาแก่พระราหุลเถระผู้เป็นโอรสของพระองค์ว่า

    อนิมิตฺตฺจ ภาเวหิ มานานุสยมุชฺชห

    ตโต มานาภิสมยา อุปสนฺโต จริสฺสสิ

    เธอจงเจริญอนิมิตตวิปัสสนา (พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง) จงละมานานุสัยเสีย แต่นั้น เธอจักเป็นผู้เข้าไปสงบเที่ยวไปเพราะละมานะเสียได้ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 618

    จริงอยู่วิปัสสนาย่อมถอนขึ้นซึ่งนิมิตว่าเที่ยง ซึ่งนิมิตว่ายั่งยืน ซึ่งนิมิตว่าอัตตา ซึ่งนิมิตว่าเป็นสุข ฉะนั้น จึงตรัสว่า อนิมิต (ไม่มีนิมิต) วิปัสสนาแม้นั้นย่อมถอนขึ้น ซึ่งนิมิตนั้นแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นวิปัสสนานั้นจึงมีชื่อว่านิมิตนั่นเอง เพราะย่อมเที่ยวไปในนิมิตธรรมทั้งหลายเอง เพราะฉะนั้น ตนเองดํารงอยู่ในฐานที่พึงบรรลุ จึงไม่อาจเพื่อให้ชื่อมรรคของตน.

    อีกนัยหนึ่ง ธรรมดาพระอภิธรรมเป็นปรมัตถเทศนา และอนิมิตของมรรคเป็นการบกพร่องแห่งเหตุโดยปรมัตถ์ทีเดียว. มีการบกพร่องอย่างไร?คือ อนิมิตตวิโมกข์ ตรัสไว้ด้วยอํานาจแห่งอนิจจานุปัสสนา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยวิโมกข์นั้น สัทธินทรีย์นั้นไม่เป็นแม้องค์หนึ่งในอริยมรรค เพราะมิใช่องค์มรรค จึงไม่อาจให้ชื่อมรรคของตนโดยปรมัตถ์ได้ ส่วนวิโมกข์ ๒ นอกนี้ สุญญตวิโมกข์ ตรัสไว้ด้วยอํานาจแห่งอนัตตานุปัสสนา อัปปณิหิติวิโมกข์ตรัสไว้ด้วยอํานาจแห่งทุกขานุปัสสนา. บรรดาวิโมกข์เหล่านั้น ปัญญินทรีย์มีกําลังยิ่งด้วยสุญญตวิโมกข์ สมาธินทรีย์มีกําลังยิ่งด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ปัญญินทรีย์ และสมาธินทรีย์เหล่านั้น เพราะความเป็นองค์แห่งอริยมรรค จึงสามารถให้ชื่อมรรคของตนโดยปรมัตถ์ได้.

    จริงอยู่ ในเวลาที่ฉันทะและจิตตะเป็นอธิบดีในการจําแนกธรรมแห่งมัคคาธิปติ แม้ในมัคคารัมมณติกะ พระองค์มิได้ตรัสความเป็นมัคคาธิปติไว้เพราะความที่ธรรม คือ ฉันทะและจิตตะเหล่านั้นมิใช่เป็นองค์มรรค พึงทราบถ้อยคําที่ถึงพร้อมแล้วอย่างนั้นเถิด เนื้อความนี้เป็นวินิจฉัยเฉพาะ ของอาจารย์รูปหนึ่งนอกจากอรรถกถาในเรื่องนี้. อนิมิตตวิปัสสนาแม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ ตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง จึงไม่สามารถให้ชื่อมรรคของตนได้ เพราะฉะนั้น พระองค์มิได้ทรงถือเอามรรคที่เป็นอนิมิตตะ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 619

    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มรรคที่เกิดด้วยอนิมิตตะ แม้ไม่ได้ชื่อโดยการบรรลุ แต่ก็ได้ชื่อโดยคุณของตน และโดยอารมณ์ โดยปริยายแห่งพระสูตร ครั้นอาจารย์พวกนั้นกล่าวแล้วก็ถูกสกวาทีอาจารย์คัดค้านว่า เมื่อมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอนิมิตตะได้ชื่อโดยคุณของตนและโดยอารมณ์ แม้มรรคที่เกิดแต่สุญญตะและอัปปณิหิตะก็พึงได้ชื่อนี้ตามคุณของตนและโดยอารมณ์ แต่ก็ไม่ได้ เพราะเหตุไร? เพราะว่าธรรมดามรรคนี้ย่อมได้ชื่อด้วยเหตุ ๒ อย่างคือ โดยหน้าที่ของตน และ โดยเป็นปัจจนิก คือว่า โดยสภาวะและโดยการปฏิเสธ. ในเหตุทั้ง ๒ นั้น มรรคที่เกิดขึ้นด้วยสุญญตะและอัปปณิหิตย่อมได้ชื่อโดยกิจของตนบ้าง โดยเป็นปัจจนิกบ้าง จริงอยู่ มรรคที่เกิดด้วยสุญญตะและอัปปณิหิตะ ย่อมได้ชื่อโดยกิจของตนอย่างนี้คือ ชื่อว่า ว่าง เพราะว่างจากราคะเป็นต้น และเพราะไม่มีที่ตั้งโดยไม่มีที่ตั้งแห่งราคะเป็นต้น และย่อมได้ชื่อโดยเป็นปัจจนิกอย่างนี้ คือ มรรคที่เกิดขึ้นเป็นสุญญตะเป็นปฏิปักษ์ต่อการยึดถืออัตตา มรรคที่เกิดเป็นอัปปณิหิตะเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมเป็นที่ตั้ง ส่วนมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอนิมิตตะ ย่อมได้ชื่อโดยกิจของตนเท่านั้น เพราะไม่มีนิมิตแห่งราคะเป็นต้น และนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้น มิใช่ได้ชื่อโดยความเป็นข้าศึก ด้วยว่ามรรคอนิมิตตะนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่ออนิจจานุปัสสนา ซึ่งมีสังขารนิมิตเป็นอารมณ์หามิได้ ก็อนิจจานุปัสสนาตั้งอยู่ในความเป็นอนุโลมแก่มรรคนั้น เพราะฉะนั้นมรรคที่เกิดด้วยอนิมิตตะนั้น จึงไม่มีโดยปริยายแห่งพระอภิธรรมแม้โดยประการทั้งปวง ฉะนี้แล.

    แต่ว่า โดยปริยายแห่งพระสูตร มรรคที่เกิดขึ้นด้วยอนิมิตนั้น พระองค์นํามาแสดงไว้อย่างนี้ ก็ในวาระใด มีการออกจากกิเลสด้วยมรรค ลักษณะทั้ง ๓ ย่อมมาสู่คลองดุจอาวัชชนะเดียวกัน ก็ขึ้นชื่อว่า การมาสู่คลองแห่ง

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 620

ลักษณะทั้ง ๓ พร้อมกันมิได้มี แต่เพื่อแสดงความแจ่มแจ้งแห่งกรรมฐานพระองค์จึงตรัสไว้อย่างนี้ ก็ความยึดถือในที่ใดที่หนึ่งตั้งแต่ต้นจงยกไว้ แต่ว่าวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีพิจารณาธรรมใดๆ แล้วย่อมออกจากกิเลสตั้งอยู่ในฐานที่ควรบรรลุด้วยสามารถแห่งธรรมนั้นๆ นั่นแหละย่อมให้ชื่อมรรคของตนข้อนี้ เป็นอย่างไร?

    ก็พระโยคาวจรอาศัยธรรมใดธรรมหนึ่ง ในบรรดาลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ก็สมควรเห็นลักษณะทั้ง ๒ นอกนี้อีกทีเดียว ธรรมดาการออกจากกิเลสด้วยมรรคโดยเพียงการเห็นลักษณะเดียวนั้นย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นภิกษุตั้งมั่นแล้วโดยความไม่เที่ยง ย่อมออกไปแม้จาก (กิเลส) โดยความเป็นของไม่เที่ยง แม้โดยความเป็นทุกข์อย่างเดียวหามิได้ ย่อมออกไปจาก (กิเลส) โดยความเป็นอนัตตาด้วยนั่นแหละ แม้ในความตั้งมั่นอยู่โดยความเป็นทุกข์ก็นัยนี้แหละ. ด้วยประการฉะนี้ การยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์ตั้งแต่ต้นจงยกไว้ ก็วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีพิจารณาธรรมใดๆ ย่อมออกไปดํารงอยู่ในฐานที่ควรบรรลุด้วยสามารถแห่งธรรมนั้นๆ แล้วให้ชื่อมรรคของตน. ในบรรดาลักษณะเหล่านั้น เมื่อพระโยคาวจรออกจากอนิจจลักษณะมรรคก็เป็นอนิมิตตะ เมื่อออกจากทุกขลักษณะ มรรคก็เป็นอัปปณิหิตะ เมื่อออกจากอนัตตลักษณะ มรรคก็เป็นสุญญตะ ดังนี้ ทรงนํานิมิตตมรรคมาแสดงโดยปริยายแห่งพระสูตรด้วยประการฉะนี้.

    ถามว่า ก็วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินี มีอะไรเป็นอารมณ์?

    ตอบว่า มีลักษณะเป็นอารมณ์.

    ขึ้นชื่อว่าลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นธรรม ที่ไม่ควรกล่าวถึงแต่ว่าภิกษุใดกําหนดลักษณะ ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ๕ ของภิกษุนั้นย่อมเป็นดุจซากศพผูกที่คอ ญาณมีสังขารเป็นอารมณ์นั่นแหละย่อมออกไป

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 621

จากสังขาร. เหมือนอย่างภิกษุรูปหนึ่ง ต้องการจะซื้อบาตร เห็นบาตรที่พ่อค้าบาตรนํามาแล้วก็มีความยินดีร่าเริงคิดว่า เราจักถือเอาบาตรดังนี้เมื่อทดลองดูจึงเห็นรูทะลุ ๓ แห่ง ภิกษุนั้นหมดความอาลัยในรูทะลุทั้งหลายก็หาไม่ ที่แท้หมดความอาลัยในบาตร ฉันใด ภิกษุกําหนดลักษณะทั้ง ๓ แล้วจึงเป็นผู้หมดความอาลัยในสังขารทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน พึงทราบว่า วิปัสสนานั้นย่อมออกไปจากสังขารด้วยญาณมีสังขารเป็นอารมณ์นั่นแหละดังนี้. แม้อุปามาด้วยผ้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงจําแนกฌานโลกุตระจึงทรงนํานัยแม้ทั้ง ๒ คือจตุกนัย และปัญจกนัย จากสุทธิกปฏิปทามาด้วยประการฉะนี้. ในสุทธิกสุญญตา ในสุญญตปฏิปทา ในสุทธิกอัปปณิหิต ในอัปปณิหิตปฏิปทา ก็ทรงนํานัยทั้ง ๒ คือจตุกนัย และปัญจกนัย มาแสดงไว้เหมือนกัน.

    ถามว่า เพราะเหตุไร จึงทรงนํามาอย่างนี้?

    ตอบว่า เพราะอัชฌาสัยของบุคคล และเพราะความงามแห่งเทศนาพึงทราบแม้ทั้ง ๒ นัยนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังแล.

    ในคําว่า เจริญโลกุตรฌานนี้ อย่างนี้ พระองค์ทรงจําแนกนัยทั้ง ๒ ด้วยอํานาจจตุกนัยและปัญจกนัยจากสุทธิกปฏิปทา ในที่เหลือก็เหมือนกันเพราฉะนั้น จึงจําแนกนัยทั้ง ๑๐ ในส่วนทั้ง ๕ ส่วนทั้งหมด.

    ในโลกุตรฌานนั้น พึงทราบข้อธรรมปกิณณกะดังนี้

    ธรรมภายใน (อชฺฌตฺตฺจ) ธรรมภายนอก (พหิทฺธา) ในรูปและอรูปทั้ง ๕ การเปลี่ยนองค์มรรค ๗ และ ๘ นิมิต ปฏิปทา และอธิบดี.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 622

    จริงอยู่ ในโลกุตรมรรค ภิกษุอาศัยธรรมภายในย่อมออกจากธรรมภายใน อาศัยธรรมภายในแล้วย่อมออกจากธรรมภายนอก อาศัยธรรมภายนอกแล้วย่อมออกจากธรรมภายนอก อาศัยธรรมภายนอกแล้วย่อมออกจากธรรมภายใน ภิกษุอาศัยรูปแล้วย่อมออกจากรูป อาศัยรูปแล้วย่อมออกจากอรูป อาศัยอรูปแล้วออกจากอรูป อาศัยอรูปแล้วย่อมออกจากรูป ย่อมออกจากขันธ์ ๕ พร้อมกัน.

    คําว่า เปลี่ยนองค์มรรค ๗ และ ๘ อธิบายว่า ก็มรรคนั้นนี้มีองค์ ๘ บ้าง มีองค์ ๗ บ้าง แม้โพชฌงค์เป็น ๗ ก็มี เป็น ๖ ก็มี ถึงฌานมีองค์ ๕ ก็มี มีองค์ ๔ ก็มี มีองค์ ๓ ก็มี มีองค์ ๒ ก็มี พึงทราบการเปลี่ยนองค์มี ๗ และ ๘ เป็นต้นอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

    คําว่า นิมิต ปฏิปทา และอธิบดี อธิบายว่า คําว่า นิมิต ได้แก่แดนเป็นที่ออก. คําว่า ปฏิปทาและอธิบดี ได้แก่พึงทราบความหวั่นไหวและไม่หวั่นไหวแห่งปฏิปทาและอธิบดีเท่านั้น.

    ในบรรดาคําเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในคําเป็นต้นว่า อาศัยธรรมภายในแล้วออกจากธรรมภายในนั้นก่อน. ก็ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ย่อมอาศัยขันธ์ ๕ อันเป็นภายในจําเดิมแต่ต้น ครั้นอาศัยแล้วย่อมเห็นขันธ์ ๕ เหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น โดยมนสิการว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เบื้องต้นย่อมออกจากธรรมภายในดังนี้ แต่เพราะการออกด้วยมรรค ย่อมมีเพียงการเห็นธรรมภายในล้วนๆ เท่านั้นหามิได้ พึงเห็นแม้ธรรมภายนอกทีเดียว ฉะนั้น จึงพิจารณาขันธ์ของคนอื่นบ้าง สังขารขันธ์อันไม่มีใจครองบ้างว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมภายในโดยกาลอันควร ย่อมพิจารณาเห็นธรรมภายนอกตามกาลอันควร

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 623

ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ในกาลที่พิจารณาธรรมภายใน ย่อมเชื่อมต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนา ด้วยอาการฉะนี้ ชื่อว่า อาศัยธรรมภายในออกจากธรรมภายใน ก็ถ้าในเวลาพิจารณาธรรมภายนอกของเธอ ย่อมเชื่อมต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนา ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อาศัยธรรมภายในย่อมออกจากธรรมภายนอก. แม้ในการออกเพราะอาศัยธรรมภายนอกแล้วย่อมออกจากธรรมภายนอก และธรรมภายใน ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ก็ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ย่อมอาศัยรูปตั้งแต่ต้น ครั้นอาศัยแล้วก็กําหนดภูตรูป และอุปาทารูป ย่อมเห็นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น แต่เพราะการออกด้วยมรรค ย่อมมีเพียงการเห็นรูปล้วนๆ ก็หาไม่ พึงเห็นแม้อรูปโดยแท้ฉะนั้น ภิกษุนั้นทํารูปนั้นให้เป็นอารมณ์ แล้วกําหนดเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณซึ่งเกิดขึ้นแล้วว่า นี้เป็นอรูปดังนี้ ย่อมเห็นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยกาลอันควร เห็นอรูปโดยกาลอันควร เมื่อเธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ในการพิจารณารูป ย่อมเชื่อมต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนาด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อาศัยรูปแล้วย่อมออกจากรูป. ก็ถ้าในการพิจารณาอรูปของเธอ ย่อมเชื่อมต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนา ด้วยอาการอย่างนี้ชื่อว่า อาศัยรูปแล้วย่อมออกจากอรูป. แม้ในการออกจากอรูป และรูปเพราะอาศัยอรูป ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในกาลที่ภิกษุอาศัยธรรมอย่างนี้ ว่าธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ธรรมนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดังนี้ แล้วออกไปจาก (สังขตะ) ธรรม อย่างนี้นั่นแหละชื่อว่า ย่อมออกจากขันธ์ ๕ พร้อมกันทีเดียว. นี้เป็นวิปัสสนาของภิกษุผู้มีปัญญามาก ผู้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันคมกล้า.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 624

    เหมือนอย่างว่า บุคคลวางก้อนคูถในท่ามกลางโภชนะแล้วน้อมถาดอันเต็มด้วยโภชนะมีรสอันเลิศต่างๆ ไปเพื่อบุรุษผู้มีความอดอยาก บุรุษผู้อดอยากนั้นเอามือเขี่ยกับข้าวออก เห็นก้อนคูถแล้วพูดว่า นี่อะไร เมื่อเขากล่าวว่าก้อนคูถ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ถุยๆ จงเอาออกไป เป็นผู้หมดความอาลัยทั้งในอาหารทั้งในถาด ฉันใด คําอุปมาที่นํามาเปรียบนี้ พึงทราบฉันนั้น.

    จริงอยู่ กาลที่ภิกษุนี้ถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นเรา ของเราในกาลที่ยังเป็นพาลปุถุชน พึงทราบเหมือนกาลที่บุรุษอดอยากนั้นมีใจยินดีในการเห็นถาดโภชนะ กาลที่กําหนดลักษณะ ๓ พึงทราบเหมือนบุรุษนั้นเห็นก้อนคูถ. กาลที่ภิกษุผู้มีปัญญามาก ผู้มีความเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันคมกล้าเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้วออกจากขันธ์ ๕ พร้อมกันนั่นแหละ พึงทราบเหมือนกาลที่บุรุษอดอยากนั้น หมดความอาลัยทั้งโภชนะทั้งถาด ฉะนั้น.

    ในคําว่าการเปลี่ยนองค์มรรค ๗ และ ๘ นี้พึงทราบการเปลี่ยนองค์ธรรมมีประเภทตามที่กล่าวนี้โดยประการที่มีอยู่. จริงอยู่ สังขารุเบกขาญาณเท่านั้น ย่อมกําหนดความต่างกันแห่งโพชฌงค์ (องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้) องค์มรรค (มัคคังคะ) และองค์ฌาน (ฌานังคะ) แต่พระเถระบางพวกกล่าวว่า ฌานที่เป็นบาทย่อมกําหนดความต่างกันแห่งโพชฌงค์ องค์มรรคและองค์ฌาน ดังนี้. พระเถระบางพวกกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาย่อมกําหนดดังนี้. พระเถระบางพวกกล่าวว่า อัธยาศัยของบุคคลย่อมกําหนด ดังนี้.

    ในวาทะทั้งหลายของพระเถระแม้เหล่านั้นพึงทราบว่า วิปัสสนาที่เป็นบุรพภาคกล่าวคือสังขารุเบกขาญาณ และวิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีนี้ ย่อมกําหนด ในข้อนี้ มีถ้อยคําตามลําดับ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 625

    จริงอยู่ ว่าโดยการกําหนดแห่งวิปัสสนา มรรคที่เกิดขึ้นแก่พระสุกขวิปัสสกก็ดี มรรคที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ได้สมาบัติที่ไม่ทําฌานให้เป็นบาทก็ดีมรรคที่เกิดขึ้นเพราะทําปฐมฌานให้เป็นบาทแต่พิจารณาปกิณณกสังขารก็ดี ย่อมเป็นมรรคประกอบด้วยปฐมฌานทั้งนั้น. ในมรรคจิตทั้งหมดย่อมมีโพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ และองค์ฌาน ๕ ด้วยว่า วิปัสสนาที่เป็นบุรพภาคแห่งมรรคแม้เหล่านั้น เป็นสภาพสหรคตด้วยโสมนัสบ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง แต่ในกาลเป็นที่ออกไป (วุฏฐานคามินีวิปัสสนา) ถึงความเป็นสังขารุเบกขาญาณย่อมสหรคตด้วยโสมนัสอย่างเดียว.

    ในปัญจกนัย ฌานในมรรคที่เกิดขึ้นเพราะทําทุติยฌาน ตติยฌานจตุตถฌานให้เป็นบาท มีองค์ ๔ องค์ ๓ และองค์ ๒ โดยลําดับนั่นแหละ ก็ในมรรคแม้ทั้งหมด ย่อมมีองค์มรรค ๗ ในฌานที่ ๔ มีโพชฌงค์ ๖ นี้เป็นความแตกต่างกันโดยกําหนดทําฌานให้เป็นบาท และโดยการกําหนดแห่งวิปัสสนา. เพราะวิปัสสนาที่เป็นบุรพภาคแห่งมรรคเหล่านั้น สหรคตด้วยโสมนัสบ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง แต่วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีเป็นธรรมสหรคตด้วยโสมนัสอย่างเดียว.

    ส่วนในมรรคที่พระโยคาวจรทําปัญจมฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้นองค์ฌานมี ๒ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและเอกัคคตาจิต ได้โพชฌงค์ ๖ มรรคมีองค์ ๗ เท่านั้น ความแปลกกันแม้นี้ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งการกําหนดทั้ง ๒ อย่างเพราะในนัยนี้ วิปัสสนาที่เป็นบุรพภาค ย่อมสหรคตด้วยโสมนัส หรือสหรคตด้วยอุเบกขา. ส่วนวิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีสหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น แม้ในมรรคที่พระโยคาวจรทําอรูปฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น ก็นัยนี้แหละสมาบัติที่พระโยคาวจรออกในส่วนที่ใกล้ชิดแห่งมรรคที่ท่านออกจากฌานที่เป็น

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 626

บาทด้วยอาการอย่างนี้ แล้วพิจารณาสังขารอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดแล้ว ย่อมทําภาวะเช่นเดียวแก่ตน ดุจสีพื้นดินกระทําเหี้ย ให้มีสีเช่นเดียวกันฉะนั้น.

    แต่ในวาทะของพระเถระองค์ที่ ๒ มีอธิบายว่า มรรคที่พระโยคาวจรออกจากสมาบัติใดๆ แล้วพิจารณาธรรมในสมาบัติใดๆ เกิดขึ้น มรรคก็เป็นเช่นสมาบัตินั้นๆ นั่นแหละ คือเช่นเดียวกับสมาบัติที่ท่านพิจารณาแล้ว ก็ถ้าท่านพิจารณาธรรมอันเป็นกามาวจรทั้งหลาย มรรคก็เป็นอันประกอบปฐมฌาน. พึงทราบการกําหนดวิปัสสนาแม้นี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในวาทะนั้นนั่นแหละ

    ในวาทะของพระเถระองค์ที่ ๓ มีอธิบายว่า มรรคที่พระโยคาวจรกระทําฌานใดๆ ให้เป็นบาท หรือพิจารณาธรรมใดๆ ในฌาน สมควรแก่อัธยาศัยแก่ตนว่า โอหนอ เราพึงบรรลุมรรคประกอบด้วยองค์ ๗ หรือองค์ ๘ ดังนี้ให้เกิดขึ้น มรรคก็เป็นเช่นเดียวกับฌานนั้นๆ แหละ ก็แต่ว่ามรรคนั้นเว้นฌานที่เป็นบาท หรือฌานที่พิจารณาแล้ว ย่อมไม่สําเร็จ เพียงอัธยาศัยอย่างเดียว. เนื้อความนี้นั้น บัณฑิตพึงแสดงด้วยนันทโกวาทสูตร (ในมัชฌิมนิกาย สฬายตนวรรค) .

    จริงอยู่ พระดํารัสนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํานั้น ชนเป็นอันมากย่อมไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่า ดวงจันทร์พร่องหรือเต็มหนอ แต่ที่แท้ดวงจันทร์ก็เต็มแล้วทีเดียวฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของนันทกะและมีความดําริอันบริบูรณ์แล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูปเหล่านั้น รูปที่ทรงคุณต่ํายังเป็นถึงพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าดังนี้.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 627

    ก็บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีรูปใดมีอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล ภิกษุณีรูปนั้น ก็ได้มีความดําริ (สังกัปปะ) บริบูรณ์แล้วด้วยโสดาปัตติผลเท่านั้น ฯลฯ รูปใดมีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต รูปนั้นก็มีความดําริบริบูรณ์แล้วด้วยพระอรหัตเท่านั้น.

    มรรคที่พระโยคาวจรกระทําฌานใดๆ ให้เป็นบาท หรือพิจารณาธรรมในฌานใดๆ โดยสมควรแก่อัธยาศัยของตนเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นเช่นเดียวกับฌานนั้น เหมือนกันนั่นแหละ ก็มรรคที่เป็นเช่นเดียวกับฌานนั้นๆ เว้นฌานที่เป็นบาท หรือเว้นฌานที่พิจารณาแล้ว ย่อมไม่สําเร็จโดยเพียงเป็นอัธยาศัยเท่านั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบการกําหนดวิปัสสนาโดยนัยที่กล่าวแล้วในวาทะนี้แล.

    บรรดาวาทะของพระเถระเหล่านั้น พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกมีวาทะอย่างนี้ว่า ฌานที่เป็นบาทเท่านั้นย่อมกําหนดดังนี้ ได้ถูกอันเตวาสิกถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในที่ใดมีฌานที่เป็นบาทอยู่ก่อน ในที่นั้น ฌานที่เป็นบาทนั้นก็กําหนดได้ แต่ในที่ใด (อรูปภพ) ฌานที่เป็นบาทไม่มีในที่อรูปภพนั้นอะไรย่อมกําหนด พระเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโส แม้ในที่นั้น ฌานที่เป็นบาทเท่านั้นก็ย่อมกําหนด ด้วยว่า ภิกษุใดได้สมาบัติ ๘ ทําปฐมฌานให้เป็นบาทยังโสดาปัตติมรรคและผลให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม ทํากาละเกิดในอรูปภพ ออกจากสมาบัติแห่งโสดาปัตติผลอันประกอบด้วยปฐมฌานเริ่มตั้งวิปัสสนายังมรรคและผล ๓ ในเบื้องบนให้เกิดขึ้น มรรคและผลเหล่านั้นของท่านก็ประกอบปฐมฌานเท่านั้น แม้ในมรรคผลที่ประกอบกับทุติยฌานเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ฌานที่เป็นหมวด ๓ หมวด ๔ ในอรูปย่อมเกิดขึ้นก็ฌานหมวด ๓ หมวด ๔ นั้นแลเป็นโลกุตระ มิใช่โลกิยะ ดูก่อนอาวุโส

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 628

แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็เหมือนกัน ฌานที่เป็นบาทเท่านั้นย่อมกําหนด. พวกอันเตวาสิกเรียนว่า ท่านขอรับ ปัญหาท่านกล่าวดีแล้ว ดังนี้.

    แม้พระมหาทันธเถระผู้อยู่ที่โมรวาปีวิหารผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาย่อมกําหนด ด้วยว่าพิจารณาธรรมใดๆ แล้วออก มรรคย่อมเป็นเช่นกับธรรมนั้นๆ นั่นแหละดังนี้ ถูกพวกอันเตวาสิกถามว่า ท่านขอรับ ในวาทะของท่านข้อควรตําหนิย่อมปรากฏ ด้วยว่า ภิกษุผู้พิจารณารูปแล้วออก (จากสังขตอารมณ์) ได้แล้ว มรรคก็พึงเป็นอัพยากตะเหมือนรูป พระโยคาวจรกําหนดเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยนัยแล้วออกไปก็พึงเป็นมรรคถึงความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเช่นเดียวกันกับเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ดังนี้ พระเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นเช่นนั้นหามิได้ เพราะโลกุตรมรรค ชื่อว่า ไม่ถึงอัปปนา มิได้มี เพราะฉะนั้น ภิกษุพิจารณารูปแล้วออกไปได้มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมสหรคตด้วยโสมนัส เมื่อพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว แม้ออกไปได้ ย่อมเป็นเช่นนั้นโดยอาการทั้งปวงหามิได้ ส่วนมรรคที่สหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมเป็นมรรคมีองค์ ๗ ดังนี้.

    แม้พระจูฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งมีวาทะว่า อัชฌาสัยแห่งบุคคลย่อมกําหนด ดังนี้ ได้ถูกพวกอันเตวาสิกนําวาทะของท่านไปถามพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก พระจูฬนาคเถระจึงกล่าวว่า ฌานที่เป็นบาทมีอยู่แก่บุคคลใดอัชฌาสัยแห่งบุคคลย่อมกําหนดแก่บุคคลนั้น ฌานที่เป็นบาทนั้นไม่มีแก่ภิกษุใด อัชฌาสัยอะไรเล่าจักกําหนดแก่ภิกษุนั้น เพราะฉะนั้นสภาวะนั้น ย่อมเป็นดุจเวลาที่แสวงหากําไรของบุคคลไร้ทรัพย์ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 629

    พวกอันเตวาสิกได้นําเรื่องนั้น มาเรียนแก่พระจูฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก. พระเถระนั้นกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้อยคํานี้ท่านกล่าวสําหรับบุคคลผู้มีฌานเป็นบาท เหมือนอย่างว่า อัชฌาสัยของบุคคลแม้ผู้มีฌานเป็นบาท ฉันใด แม้บุคคลผู้มีฌานอันพิจารณาแล้ว ก็พึงทราบฉันนั้นเหมือนกัน เพราะมรรคที่พระโยคาวจรออกจากปัญจมฌานเกิดขึ้น โดยพิจารณาปฐมฌานเป็นต้น ประกอบด้วยปัญจมฌาน ก็ย่อมประสบตามวาทะของพระเถระรูปแรก และมรรคที่ประกอบด้วยปฐมฌานเป็นต้น ก็ย่อมประสบตามวาทะของพระเถระรูปที่สอง เพราะเหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง ๒ ย่อมผิด แต่ในฌานเหล่านั้น ในวาทะของพระเถระที่๓ ว่า พระโยคาวจรย่อมปรารถนาฌานใด มรรคก็ประกอบด้วยฌานนั้น ดังนั้น วาทะเหล่านั้นของท่านจึงไม่ผิด และภิกษุนั้นก็เป็นผู้มีอัชฌาสัยเป็นไปกันด้วยประโยชน์ ดังนี้ พระเถระแม้ทั้ง ๓ รูปเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมอันเจริญ ด้วยเหตุนั้น อันเตวาสิกเหล่านั้น จึงทําวาทะของพระเถระทั้ง ๓ เหล่านั้น ให้เป็นแบบแผนก็ในอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงยกอรรถนั้นแหละขึ้นแสดงว่า ก็วิปัสสนาย่อมกําหนดวาทะทั้ง ๓ นี้ ดังนี้.

    บัดนี้พึงทราบวินิจฉัยในคํานี้ว่า นิมิตฺตปฏิปทาปติ (นิมิต ปฏิปทา และอธิบดี) ต่อไป. ถามว่ากาลเกิดขึ้นแห่งมรรคซึ่งเปลี่ยนองค์อย่างนี้ โคตรภูย่อมออกไปจากที่ไหน มรรคย่อมออกไปจากที่ไหน? ตอบว่า โคตรภูย่อมออกจากนิมิตก่อน แต่ไม่อาจตัด (กิเลส) ที่เป็นไปได้ เพราะโคตรภูนั้นมีการออกไปอย่างเดียว มรรคย่อมออกจากนิมิต ย่อมตัด (กิเลส) ที่เป็นไปได้ เพราะมรรคนี้มีการออกไปทั้ง ๒ อย่าง. บรรดาการออกไปแห่งโคตรภูและมรรคนั้น พึงทราบนัยที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 630

    ก็ในวาระ (คือในมรรควิถี) ใด มีการออกไปด้วยมรรค ในวาระนั้นไม่มีอนุโลมดวงเดียว ไม่มีอนุโลมดวงที่ ๕ เพราะอนุโลมมีครั้งเดียวย่อมไม่ได้อาเสวนปัจจัย อนุโลมดวงที่ ๕ ย่อมหวั่นไหว เพราะใกล้ตกภวังค์ เพราะว่าในคราว (ขณะ) จิตใกล้ภวังค์ดวงที่ ๕ นั้นชื่อว่าจิตตกไปแล้ว เพราะฉะนั้นอนุโลมจึงไม่มีดวงเดียว ไม่มีในดวงที่ ๕.

    ก็บุคคลผู้มีปัญญามากมีอนุโลม ๒ ดวง ดวงที่ ๓ เป็นโคตรภู ดวงที่ ๔ เป็นมรรคจิต มีผลจิต ๓ ดวง จากนั้นจิตก็ลงสู่ภวังค์.

    ส่วนบุคคลผู้มีปัญญาปานกลาง อนุโลมมี ๓ ดวง ดวงที่ ๔ เป็นโคตรภู ดวงที่ ๕ เป็นมรรคจิต มีผลจิต ๒ ดวง จากนั้นก็ลงสู่ภวังค์.

    สําหรับคนมีปัญญาน้อย (มันทปัญญา) อนุโลมมี ๔ ดวง ดวงที่ ๕ เป็นโคตรภู ดวงที่ ๖ เป็นมรรคจิต ดวงที่ ๗ เป็นผลจิต จากนั้นจิตก็ลงสู่ภวังค์.

    บรรดาพระโยคาวจร ๓ ประเภทนั้น ข้าพเจ้าไม่กล่าวด้วยสามารถแห่งท่าน ผู้มีปัญญามากและมีปัญญาน้อย แต่พึงกล่าวด้วยสามารถแห่งท่านผู้มีปัญญาปานกลาง เพราะในวาระคือ (วิถีแห่งมรรค) ใด มีการออกไปด้วยมรรคมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกกิริยา เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา เป็นมโนทวาราวัชชนจิตให้ภวังค์เคลื่อนไปกระทําขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาให้เป็นอารมณ์ ถัดจากนั้นไป ชวนะดวงแรก ชื่ออนุโลมญาณก็เกิดขึ้น ถือเอาขันธ์ที่มโนทวาราวัชชนจิตนั้นถือเป็นอารมณ์ อนุโลมญาณนั้นก็เป็นไปในขันธ์เหล่านั้นว่า ไม่เที่ยงบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง บรรเทาความมืดที่หยาบๆ ซึ่งปกปิดสัจจะกระทําลักษณะทั้ง ๓ ให้แจ่มแจ้งยิ่งๆ ขึ้นก็ดับไป ถัดจากนั้นอนุโลมญาณดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้น ในบรรดาอนุโลมญาณ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 631

๒ ดวงนั้น ดวงแรกไม่มีอาเสวนปัจจัย ดวงที่ ๒ มีดวงแรกเป็นอาเสวนปัจจัย ดวงที่ ๒ นั้นมีอาเสวนปัจจัยได้แล้วจึงเป็นญาณ คมกล้า ผ่องใสเป็นไปในอารมณ์นั้นนั่นแหละ โดยอาการนั้นเหมือนกัน บรรเทาความมืดปานกลางซึ่งปกปิดสัจจะไว้ การทําลักษณะ ๓ ให้แจ่มแจ้งยิ่งๆ ขึ้นแล้วดับไป ในลําดับนั้น อนุโลมญาณดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้นมีอนุโลมญาณดวงที่๒ เป็นอาเสวนปัจจัย แม้อนุโลมญาณดวงที่ ๓ นั้น เพราะมีอาเสวนปัจจัยได้แล้วจึงคมกล้าผ่องใสเป็นไปในอารมณ์นั้นนั่นแหละ โดยอาการนั้นเหมือนกัน บรรเทาความมืดอันละเอียดที่เหลือซึ่งปกปิดสัจจะนั้น กระทําให้หมดไป กระทําลักษณะ ๓ แจ่มแจ้งยิ่งๆ ขึ้นแล้วดับไป เมื่ออนุโลมญาณ ๓ บรรเทาความมืดปกปิดสัจจะอย่างนี้แล้วลําดับนั้น โคตรภูญาณก็เกิดขึ้นการทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์.

    ในข้อนั้น มีอุปมา ดังนี้

    ได้ยินว่า บุรุษมีจักษุดีคนหนึ่งคิดว่า เราจักประกอบดาวฤกษ์ (ดูดวงชะตา) จึงออกไปในเวลาราตรี แหงนดูดวงจันทร์ ดวงจันทร์ไม่ปรากฏแก่เขาเพราะวลาหก (เมฆ) ทั้งหลายปิดบังไว้ ขณะนั้นลมหนึ่งตั้งขึ้นแล้ว พัดวลาหกหนาๆ (หยาบ) ทั้งหลายให้กระจัดกระจายไป ลมอื่นอีกตั้งขึ้นพัดวลาหกอย่างกลาง ลมอีกอย่างหนึ่งก็ตั้งขึ้นพัดวลาหกแม้ที่ละเอียดให้กระจัดกระจายไป. ลําดับนั้น บุรุษนั้นจึงเห็นดวงจันทร์นั้นบนท้องฟ้าที่ปราศจากวลาหกทั้งหลายได้รู้แล้วซึ่งการประกอบดาวฤกษ์.

    ในคําอุปมาเหล่านั้น ความมืดคือกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดอันปกปิดซึ่งสัจจะ เปรียบเหมือนวลาหก (เมฆ) ๓ กลุ่ม. อนุโลมจิต ๓ ดวงเปรียบเหมือนลม ๓ ชนิด. โคตรภูญาณเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีตาดี. พระนิพพานเปรียบเหมือนพระจันทร์. การบรรเทาความมืดอันปกปิดซึ่งสัจจะของ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 632

อนุโลมจิตแต่ละดวง เปรียบเหมือนลมแต่ละชนิดทําลายเมฆ ๓ ชนิดโดยลําดับ. เมื่อความมืดอันปกปิดซึ่งสัจจะปราศจากไปแล้ว โคตรภูญาณก็ทําพระนิพพานอันบริสุทธิ์ให้เป็นอารมณ์ เปรียบเหมือนการที่บุรุษนั้นเห็นพระจันทร์บริสุทธิ์บนท้องฟ้าที่ปราศจากวลาหก ฉะนั้น.

    เหมือนอย่างว่า ลม ๓ ชนิดย่อมสามารถเพื่อกําจัดวลาหก อันปกปิดดวงจันทร์นั่นแหละ ฉันใด อนุโลมญาณทั้งหลายก็สามารถเพื่อกําจัดความมืดอันปกปิดสัจจะ ฉันนั้นเหมือนกัน แต่ไม่อาจกระทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์บุรุษย่อมอาจเพื่อเห็นดวงจันทร์นั่นแหละ แต่ไม่อาจกําจัดวลาหกทั้งหลายได้ฉันใด โคตรภูญาณก็ย่อมอาจเพื่อทําพระนิพพานนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่อาจกําจัดความมืดคือกิเลสได้ ฉันนั้น. อนุโลมญาณมีสังขารเป็นอารมณ์ โคตรภูญาณมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้. ก็ผิว่า โคตรภูญาณพึงรับอารมณ์ที่อนุโลมญาณรับไว้แล้ว อนุโลมญาณอีกดวงหนึ่งก็พึงผูกพันโคตรภูญาณ (คําว่าผูกพันคือมีอารมณ์เดียวกัน) นั้น เพราะฉะนั้น การออกด้วยมรรคนั่นแหละก็ไม่พึงมี แต่ว่า โคตรภูญาณไม่รับอารมณ์ของอนุโลมญาณ กระทําอนุโลมญาณอารมณ์ ให้เป็นไปข้างหลัง โคตรภูญาณเองแม้มิใช่อาวัชชนะ แต่ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะ เป็นดุจให้สัญญาแก่มรรคนั้นด้วยคําว่า ท่านจงเกิดขึ้นอย่างนี้แล้วก็ดับไป. แม้มรรคก็มิได้ละสัญญาที่โคตรภูนั้นให้แล้วผูกพันอยู่ซึ่งญาณนั้น ด้วยอํานาจแห่งความสืบต่อ ดุจกระแสคลื่น (ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะ) ย่อมบังเกิดขึ้นเจาะแทงอยู่ บดทําลายอยู่ซึ่งกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะ ซึ้งไม่เคยเจาะแทง ไม่เคยทําลาย.

    ในข้อนั้น มีอุปมาดังนี้ ต่อไปนี้

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 633

    ได้ยินว่า นายขมังธนูคนหนึ่งให้ตั้งโล่ไว้ ร้อยโล่ในที่ไกลสุดชั่วร้อยธนู เอาผ้าผูกหน้าแล้วเหน็บลูกศร ได้ยืนอยู่ในที่บนล้อยนต์ บุรุษคนอื่นหมุนล้อยนต์เมื่อใด แผ่นโล่ตรงหน้านายขมังธนูในกาลนั้นก็จะให้สัญญาด้วยท่อนไม้เล็กๆ ในที่นั้น นายขมังธนูไม่ละสัญญาท่อนไม้เล็กๆ เลย ปล่อยลูกศรออกไปเจาะแผ่นโล่ตั้งร้อยได้.

    ในข้ออุปมานั้น โคตรภูญาณเปรียบเหมือนท่อนไม้เล็กๆ . มรรคญาณเปรียบเหมือนนายขมังธนู. การที่มรรคญาณไม่ละสัญญาที่โคตรภูญาณให้แล้วนั่นแหละ ทําพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ทีเดียวและเจาะบดทําลายกองโลภะเป็นต้น ที่ไม่เคยเจาะแล้ว ไม่เคยบดทําลายแล้ว เปรียบเหมือนการที่นายขมังธนูไม่ละสัญญาท่อนไม้เล็กๆ แล้วยิงเจาะแผ่นโล่ตั้งร้อยได้ ฉะนั้น.

    แม้การเจาะบดทําลายกองโลภะเป็นต้นนี้ ท่านก็กล่าวว่า การถอนขึ้นซึ่งกิเลสที่ได้ภูมิแล้ว คือ กิเลสที่เป็นเหตุแห่งวัฏฏะ ดังนี้เหมือนกัน เพราะกิจของมรรคมีอย่างเดียวเท่านั้น คือการละอนุสัย. มรรคนั้นเมื่อละอนุสัยทั้งหลายชื่อว่า ย่อมออกจากนิมิต ชื่อว่า ย่อมตัดความเป็นไป. คําว่า นิมิต คือนิมิตแห่งรูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณ. คําว่า ปวตฺตํ (ความเป็นไป) ต่อความเป็นไปของรูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณนั่นแหละ ปวัตตะคือความเป็นไปนั้นมี ๒ อย่าง ได้แก่ อุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ ในสองอย่างนั้นอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฉายาแห่งการออกไปจากอนุปาทินนกะ ย่อมปรากฏแก่มรรค ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ย่อมออกจากอนุปาทินนกขันธ์ ดังนี้.

    จริงอยู่ อกุศลจิต ๕ ดวงคือ ที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง และที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวง ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. อกุศลจิต ๕ ดวงเหล่านั้นย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น รูปนั้นเป็นอนุปาทินนกะ เป็นรูปขันธ์ จิต ๕ ดวง

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 634

เหล่านั้น คือ วิญญาณขันธ์ อรูปขันธ์ ๓ คือเวทนาสัญญาและสังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์นั้น. บรรดามรรคเหล่านั้น ถ้าพระโสดาบันจักไม่ให้โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นไซร้ อกุศลจิตทั้ง ๕ เหล่านี้ก็พึงถึงการกลุ้มรุมในอารมณ์ทั้ง ๖. ก็โสดาปัตติมรรค เมื่อจะห้ามการเกิดกลุ้มรุมของอกุศลเหล่านั้น จึงทําการถอนขึ้นซึ่งเสตุคือเหตุให้ไม่มีภาวะที่ควรจะเกิดขึ้น จึงชื่อว่า ย่อมออกจากอนุปาทินนกขันธ์.

สกทาคามิมรรค ย่อมละอกุศลจิต ๖ ดวง ที่เป็นกามราคะและพยาบาทอย่างหยาบ คือ จิต ๔ ดวงที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต และจิต ๒ ดวงที่เป็นโทมนัสสสหคตะ. อนาคามิมรรค ย่อมละจิต ๖ ดวงเหล่านั้นนั่นแหละที่เป็นกามราคะและพยาบาทอย่างละเอียด. อรหัตตมรรค ย่อมละอกุศลจิต ๕ คือ อกุศลจิต ๔ ดวงที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต และจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ. บรรดาอกุศลจิตเหล่านั้น ถ้าพระอริยะเหล่านั้นไม่พึงเจริญมรรคให้เกิดขึ้นไซร้ อกุศลจิตเหล่านั้นก็พึงถึงการกลุ้มรุมในอารมณ์ ๖ แต่มรรคเหล่านั้น เมื่อห้ามการเกิดขึ้นกลุ้มรุมแห่งจิตเหล่านั้น จึงทําการถอนขึ้นซึ่งเสตุคือเหตุให้มีภาวะที่ไม่ควรเกิดขึ้นได้ จึงชื่อว่า ย่อมออกจากอนุปาทินนกขันธ์

    อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ฉายาแห่งการออกไปจากอุปาทินนกขันธ์ ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ดังนี้. ก็ถ้าพระโสดาบันจักไม่เจริญให้โสดาปัตติมรรคเกิดแล้ว ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ก็พึงเป็นไปในสังสารวัฏฏ์อันมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เว้นไว้ ๗ ภพ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุแห่งความเป็นไปของอุปาทินนกขันธ์นั้นยังมีอยู่ ก็โสดาปัตติมรรคเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๕ เหล่านี้คือ สัญโญชน์ ๓ อย่าง ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย บัดนี้ ความเป็นไป

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 635

แห่งอุปาทินนกะ จักเป็นในสังสารวัฏฏ์ที่มีเบื้องต้นและที่สุดซึ่งบุคคลรู้ไม่ได้แล้วของพระโสดาบันเว้น ๗ ภพแต่ที่ไหน. โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทําความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

    ถ้าพระสกทาคามีจักไม่เจริญสกทาคามิมรรคให้เกิดขึ้นไซร้ ความเป็นไปของอุปาทินนกะก็พึงเป็นไปในภพทั้ง ๕ เว้น ๒ ภพ เพราะเหตุไร เพราะเหตุแห่งความเป็นไปของอุปาทินนกขันธ์นั้นยังมีอยู่. ก็สกทาคามิมรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละ ย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลสทั้ง ๔ คือ กามราคะ ปฏิฆสัญโญชน์อย่างหยาบ กามราคานุสัยอย่างหยาบ ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ. บัดนี้ ความเป็นไปแห่งอุปทินนกขันธ์ของพระสกทาคามีจักเป็นไปในภพทั้ง ๕ เว้น ๒ ภพแต่ที่ไหน. สกทาคามิมรรคเมื่อทําความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

    ถ้าพระอนาคามีจักไม่เจริญอนาคามิมรรคให้เกิดไซร้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกะก็พึงเป็นไปในภพที่ ๒ เว้น ๑ ภพ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุแห่งความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ยังมีอยู่ ก็อนาคามิมรรคนั้น เมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๔ เหล่านี้ คือ กามราคสังโยชน์อย่างละเอียด ๑ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด ๑ กามราคานุสัยอย่างละเอียด ๑ ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด ๑. บัดนี้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ของพระอนาคามีจักเป็นไปในภพที่ ๒ เว้นภพเดียว แต่ที่ไหน. อนาคามิมรรคเมื่อกระทําปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 636

    ถ้าพระอรหันต์จักไม่อบรมอรหัตตมรรคให้เกิดไซร้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ ก็พึงเป็นไปในรูปภพและอรูปภพ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุทั้งหลายแห่งความเป็นไปในอุปาทินนกขันธ์ยังมีอยู่. ก็อรหัตตมรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละ ย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๘ เหล่านี้ คือรูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ มานานุสัย ๑ ภวราคานุสัย ๑ อวิชชานุสัย ๑. บัดนี้ ปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ของพระขีณาสพจักเป็นไปในภพใหม่ได้แต่ที่ไหน. อรหัตตมรรคเมื่อกระทําปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไปนั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็บรรดามรรคทั้ง ๔ เหล่านั้น โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ สกทาคามิมรรคย่อมออกจากเอกเทศแห่งสุคติกามภพ อนาคามิมรรคย่อมออกจากกามภพ อรหัตตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อรหัตตมรรคย่อมออกแม้จากภพทั้งปวง ดังนี้ทีเดียว.

    ก็เพื่อความแจ่มแจ้งเนื้อความนี้ พึงทราบบาลีต่อไปนี้. ธรรม คือนามและรูปเหล่าใด พึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏฏ์ซึ่งมีเบื้องต้นและที่สุด อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้วเว้น ๗ ภพ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ. ธรรม คือ นามและรูปเหล่าใดนั่นแหละ พึงเกิดขึ้นใน ๕ ภพเว้น ๒ ภพ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ย่อมระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยสกทาคามิมรรคญาณ. ธรรม คือ นามและรูปเหล่าใดพึงเกิดขึ้นใน ๒ ภพ เว้นภพหนึ่ง ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการยังอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยอนาคามิมรรค-

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 637

ญาณ. ธรรม คือ นามและรูปเหล่าใดพึงเกิดขึ้นในรูปธาตุบ้าง อรูปธาตุบ้างธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไปในที่นั้นแหละ เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยอรหัตตมรรคญาณ เมื่อพระอรหันต์กําลังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ธรรมเหล่านี้คือปัญญา สติ นาม และรูป ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการยังอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งวิญญาณดวงสุดท้าย (คือ จุติจิต) ดังนี้ วินิจฉัยในนิมิต (คือความเป็นไปแห่งขันธ์ ๕) เท่านี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ปฏิปทา และอธิปติ นี้ต่อไป.

ถามว่า ปฏิปทาย่อมหวั่นไหว หรือไม่หวั่นไหว?

ตอบว่า ย่อมหวั่นไหว.

ก็มรรคแม้ทั้ง ๔ ของพระตถาคต และพระสารีบุตรเถระได้เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มรรคแรกของพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา แต่มรรค ๓ เบื้องบนของท่านเป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เพราะเหตุไร? เพราะท่านถูกความหลับครอบงํา.

ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเฝ้าดูพระเถระดุจเป็นเด็กน้อยตลอด ๗ วัน. แม้พระเถระก็นั่งหลับอยู่ตลอดวัน ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอโงกง่วงหรือ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอโงกง่วงหรือหนอเป็นต้น (๒) ปฏิปทาของพระสาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาแม้เห็นปานนี้ยังหวั่นไหว ปฏิปทาของพระสาวกที่เหลือจักไม่หวั่นได้อย่างไร.

จริงอยู่ มรรค ๔ ของภิกษุบางรูปเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา บางรูปเป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา บางรูปเป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา


(๑) ขุ. จูนิทเทส เล่ม ๓๐. ๘๙/๒๒

(๒) อํ. สตฺตก เล่ม ๒๓. ๕๘/๘๗

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 638

บางรูปเป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา. มรรคที่ ๑ ของภิกษุบางรูปเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มรรคที่ ๒ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญามรรคที่ ๓ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มรรคที่ ๔ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา.

    อนึ่ง อธิบดีก็ย่อมหวั่นไหวเหมือนปฏิปทานั่นแหละ จริงอยู่ มรรคแม้ทั้ง ๔ ของภิกษุบางรูปย่อมเป็นฉันทาธิปไตย ของบางรูปเป็นวิริยาธิปไตยของบางรูปเป็นจิตตาธิปไตย ของบางรูปเป็นวิมังสาธิปไตย อนึ่ง มรรคที่ ๑ ของบางรูปเป็นฉันทาธิปไตย มรรคที่ ๒ เป็นวิริยาธิปไตย มรรคที่ ๓ เป็นจิตตาธิปไตย มรรคที่ ๔ เป็นวิมังสาธิปไตย ดังนี้แล.

    ปกิณณกกถาจบ

    บัดนี้พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่าเข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นําออก ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่าการตั้งมั่น ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่าการทําความเพียร ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่าการสําเร็จ ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่าความเป็นใหญ่ ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่าการตรัสรู้ ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่าความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่าความเป็นสุญญตะ ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่าเป็นบ่อเกิด ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่าเป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 639

ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่ากระทบ ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่าเสวยอารมณ์ ย่อมเสวยแม้สัญญาด้วยอรรถว่าควรจําได้ ย่อมเจริญแม้เจตนาด้วยอรรถว่าความจงใจ ย่อมเจริญแม้ด้วยอรรถว่าการรู้ เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงนัย ๑๙ แห่งธรรมเหล่านั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

    พระองค์ทรงแสดงนัย ๒๐ โดยอัชฌาสัยของบุคคลและโดยเทศนาวิลาสด้วยพระดํารัส ว่า บุคคลย่อมเจริญธรรมแม้นี้ ย่อมเจริญธรรมแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.

    จริงอยู่ ในเทพบริษัทผู้นั่งฟังธรรม เทพเหล่าใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า ชื่อว่า โลกุตรฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งดังนี้ ย่อมตรัสรู้ได้ พระองค์ก็ตรัสคําว่า ฌาน ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทพเหล่านั้น ฯลฯ เทพเหล่าใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า แม้จิต เพราะอรรถว่าการรู้ ดังนี้ ย่อมตรัสรู้ได้พระองค์ก็ตรัสคําว่า จิต ด้วยสามารถสัปปายะแก่ชนเหล่านั้น. นี้เป็นอัชฌาสัยแห่งบุคคลในอธิการนี้.

    ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะความที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว และมีโพธิญาณอันดี และเพราะประกอบทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ ปฏิสัมภิทา ๔ และอสาธารณญาณ ๖ จึงทรงกําหนดเทศนาแสดงธรรมตามความพอพระหฤทัยได้ เมื่อพระองค์ทรงปรารถนาก็ย่อมแสดงว่า โลกุตรฌาน ด้วยอรรถว่าเข้าไปเพ่งดังนี้ เมื่อปรารถนาก็ทรงแสดงคําว่า มรรค ด้วยอรรถว่านําออกดังนี้ ฯลฯ เมื่อทรงปรารถนาก็ทรงแสดงคําว่า โลกุตตรจิต ด้วยอรรถว่าการรู้อารมณ์ดังนี้นี้ชื่อว่า เทศนาวิลาส ในเทศนาวิลาสนั้นทรงจําแนกนัยไว้ ๑๐ ในที่ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 640

โลกุตรฌาน ฉันใด พึงทราบนัยเหล่านั้นแม้มีคําว่า มรรคเป็นต้น ฉันนั้นนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้ ย่อมเป็นอันทรงจําแนกนัย ๒๐๐ นัย การทําในฐานะ ๒๐ นัยไว้เป็นฐานะละ ๑๐ นัย.

    บัดนี้ เพื่อทรงแสดงประเภทแห่งอธิบดี จึงเริ่มคําว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก. บรรดาคํามีฌานเป็นต้นเหล่านั้น โลกุตรฌานที่พระโยคาวจรทําฉันทะให้เป็นธุระให้เป็นใหญ่ให้เป็นประธานเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ฉันทาธิปไตย. แม้ในคําที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน พระธรรมราชาทรงแสดงปฐมมรรคจําแนกโดยพันนัย คือใน (โลกุตรฌาน) เบื้องต้นล้วนๆ ๒๐๐ นัย และธรรมมีฉันทาธิปไตยเป็นต้น อย่างละ ๒๐๐ นัย (๒๐๐ X ๔) ด้วยประการฉะนี้.

    มรรคจิตดวงที่ ๑ จบ