พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โลกุตรวิบาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.พ. 2565
หมายเลข  42012
อ่าน  881

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒

โลกุตรวิบาก

วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑

มหานัย ๒๐ สุทธิกปฏิปทา หน้า 112

สุทธิกสุญญตะ หน้า 115

สุญญตปฏิปทา หน้า 117

สุทธิกอัปปณิหิตะ หน้า 119

อัปปณิหิตปฏิปทา หน้า 121

อธิบดี หน้า 125

วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ ที่ ๓ และ ที่ ๔ หน้า 139

อรรถกถาแสดงโลกุตรวิบาก หน้า 140

ว่าด้วยอัญญาตาวินทรีย์ในโลกุตรวิบากดวงที่ ๔ หน้า 143

อกุศลวิบากอัพยากฤต หน้า 145

อรรถกถาแสดงอกุศลวิบาก หน้า 149

กามาวจรกิริยา หน้า 150

อรรถกถาแสดงกิริยาอัพยากฤต หน้า 154

ว่าด้วยมโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต หน้า 154

ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยอุเบกขา หน้า 157

ว่าด้วยมหากิริยาจิต ๘ ดวง หน้า 158

ว่าด้วยหสนจิต ๑๓ ดวง หน้า 158

รูปาวจรกิริยา หน้า 159

อรูปาวจรกิริยา หน้า 160

อรรถกถาแสดงรูปาวจรอรูปาวจรกิริยา หน้า 161


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 76]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 112

โลกุตตวิบาก

วิบากแห่งมรรคจิต ดวงที่ ๑

มหานัย ๒๐

สุทธิกปฏิปทา

    [๔๒๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 113

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ ภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 114

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใดดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบากฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    สุทธิกปฏิปทา จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 115

สุทธิกสุญญตะ

    [๔๒๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 116

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๓๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    สุทธิกสุญญตะ จบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 117

สุญญตปฏิปทา

    [๔๓๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๓๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 118

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๓๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้นฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๓๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใดดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 119

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๓๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานชนิดสุญญตะ เป็นสุขปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะเป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญาดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    สุญญตปฏิปทา จบ

สุทธิกอัปปณิหิตะ

    [๔๓๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ใน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 120

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานอันเป็นโลกุตระอันทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

    [๔๓๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 121

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระกุศลได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๓๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    สุทธิกอัปปณิหิตะ จบ

อัปปณิหิตปฏิปทา

    [๔๔๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 122

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๔๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๔๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 123

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๔๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯบรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญาดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้นฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๔๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้นสงัดจากกาม สงัดจาก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 124

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    อัปปณิหิตปฏิปทา จบ

    [๔๔๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระฯลฯ เจริญสมถะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระฯลฯ เจริญอาหารเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 125

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    มหานัย ๒๐ จบ

อธิบดี

    [๔๔๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้นฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 126

    [๔๔๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๔๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้ แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 127

    [๔๔๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญาเป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญาเป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 128

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 129

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั่นแล อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศลฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็น

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 130

ฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบากฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศลโยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยใด ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

    [๔๕๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 131

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดีอันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯบรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 132

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๕๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ บรรลุททุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 133

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 134

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศลฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯสฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 135

    [๔๖๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 136

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 137

ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบากผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๖๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็น

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 138

โลกุตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญพละเป็นโลกุตระฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระ ฯลฯเจริญสมถะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระฯลฯ เจริญอาหารเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯเจริญเวทนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้นฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี อันเป็นวิบาก เพราะกุศลจิตเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 139

วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ ดวงที่ ๓ และดวงที่ ๔

    [๔๗๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ฯลฯ เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ ฯลฯ เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบากเพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๗๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึงแล้วนั้นๆ ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 140

ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรมสัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    โลกุตตรวิบาก จบ

อรรถกถาแสดงโลกุตตรวิบาก

    แม้โลกุตรวิบาก พระองค์ก็ทรงจำแนกกระทำให้คล้อยตามกุศลนั่นแหละ เพราะเป็นเช่นเดียวกับโลกุตรกุศล. แต่เพราะกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ ย่อมสั่งสม ย่อมยังวัฏฏะให้เจริญด้วยอำนาจแห่งจุติและปฏิสนธิ ฉะนั้น ในวิบากแห่งกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ นั้น จึงตรัสไว้ว่า เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ดังนี้ ส่วนโลกุตระแม้ถูกกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ นั้นสั่งสมไว้ ก็ย่อมคลายความสั่งสม แม้ตนเองก็ไม่สั่งสมไว้ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้น ในโลกุตรวิบากนี้ จึงไม่ตรัสไว้ (ในข้อที่ ๔๒๒ เป็นต้น) ว่า เพราะได้กระทำ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 141

ไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว (กตตฺตา อุปจิตตฺตา) แต่ตรัสว่า เพราะได้กระทำไว้แล้ว เพราะได้เจริญไว้แล้ว (กตตฺตา ภาวิตตฺตา) ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในพระบาลี (ข้อ ๔๒๗) มีคำว่า สุญญตะ (สุญฺตํ) เป็นต้น ว่า มรรคย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ ๓ คือ เพราะการบรรลุ ๑ เพราะคุณของตน ๑ เพราะอารมณ์ ๑ ก่อน. สุญญตะนี้ข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ในอธิการแห่งกุศลในหนหลังแล้ว. ในอธิการนั้น โดยปริยายแห่งพระสูตร มรรคย่อมได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง โดยอารมณ์บ้าง ก็ปริยายนี้เป็นปริยายเทศนา ส่วนอภิธรรมกถาเป็นนิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ในนิปปริยายเทศนานี้ จึงไม่ได้ชื่อโดยคุณของตน หรือโดยอารมณ์ แต่ย่อมได้ชื่อโดยการบรรลุอย่างเดียว เพราะการบรรลุเท่านั้นเป็นธุระ การบรรลุนั้นมี ๒ อย่าง คือ บรรลุวิปัสสนาและบรรลุมรรค.

    ในการบรรลุสองอย่างนั้น การบรรลุวิปัสสนาเป็นธุระในฐานะที่มรรคปรากฏแล้ว การบรรลุมรรคเป็นธุระในฐานะที่ผลปรากฏแล้ว แม้คำทั้งสองนี้ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้ในหนหลังเหมือนกัน. ในบรรดาฐานะทั้งสองนั้น ฐานะนี้เป็นฐานะที่ผลปรากฏแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า การบรรลุโดยมรรคเป็นธุระในฐานะนี้.

    ก็มรรคนี้นั้นชื่อว่า สุญญตะ เพราะการบรรลุแล้วยังเรียกได้แม้ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ เพราะคุณของตน และเพราะอารมณ์ เพราะฉะนั้นตนเองตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้แล้ว จึงให้ชื่อ ๓ อย่างแก่ผลของตน. ให้ชื่ออย่างไร? คือว่า มรรคนี้เป็นสุญญตมรรค มีชื่ออันได้มาด้วยอำนาจแห่งการบรรลุอย่างเดียวเท่านั้น เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่ควรบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อแก่ผลของตน จึงได้ทำชื่อว่า สุญญตะ. ก็มรรคสุญญตะและอนิมิตตะ เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อ จึงได้ทำชื่อว่า อนิมิตตะ. มรรค-



 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 142

สุญญตะและอัปปณิหิตะ เพราะตั้งอยู่ในฐานะพึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผลของตน จึงได้ทำชื่อว่า อัปปณิหิตะ ก็ชื่อ ๓ อย่าง เหล่านั้นย่อมได้โดยนัยนี้ ในผลจิตอันเป็นลำดับแห่งมรรคเท่านั้น หาใช่ได้ในเวลาใช้ผลสมาบัติในเวลาอื่นไม่. แต่ว่าในเวลาภายหลัง ย่อมอาจเพื่อเห็นแจ้งได้ด้วยวิปัสสนา ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. อนึ่ง ผลทั้ง ๓ กล่าวคือ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ สุญญตะย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนาของพระโยคาวจรที่ออกแล้วๆ ญาณเหล่านั้นนั่นแหละของผลทั้ง ๓ นั้น มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น มีสังขารเป็นอารมณ์ชื่อว่า อนุโลมญาณ.

    ก็แม้ในอัปปณิหิตมรรค ที่ท่านกล่าวไว้ในสุญญตมรรค ก็มีนัยนี้เหมือนกัน จริงอยู่ อัปปณิหิตมรรคนั้นมีชื่ออันได้แล้วด้วยอำนาจแห่งการบรรลุอย่างเดียวเท่านั้น เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผลของตนจึงได้ทำชื่อว่า อัปปณิหิตะ มรรคที่เป็นอัปปณิหิตะและอนิมิตตะ เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผลของตนจึงได้ทำชื่อว่า อนิมิตตะ มรรคที่เป็นอัปปณิหิตะและสุญญตะ เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผลของตน จึงได้กระทำชื่อว่า สุญญตะ ชื่อทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ย่อมได้โดยนัยนี้ในผลจิตอันเป็นลำดับแห่งมรรคเท่านั้น ไม่ใช่ได้ในกาลอื่น คือในเวลาใช้ผลสมาบัติ.

    ในนิทเทสแห่งวิบากจิตนี้ พึงทราบวิบากจิตทั้งหลายมีคุณ ๓ อย่างด้วยกุศลจิต อย่างนี้. เหมือนอย่างว่า กุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ ๓ ย่อมไม่อาจยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี ฉันใด โลกุตรกุศลทั้งหลายย่อมเป็นฉันนั้นหามิได้ เพราะเหตุไร? เพราะกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓ มีกาลที่ประกอบกรรมเป็นอย่างหนึ่ง มีกาลให้ผลวิบากก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะเหตุนั้น กุศลอันเป็นไปใน

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 143

ภูมิ ๓ นั้น จึงไม่ยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี. ส่วนโลกุตระทั้งหลาย เมื่อศรัทธานั้น เมื่อวิริยะนั้น เมื่อสตินั้น เมื่อสมาธินั้น เมื่อปัญญานั้น ยังไม่เข้าไปสงบ (คือยังเป็นไป) ก็ย่อมได้วิบากในลำดับแห่งมรรคนั้นนั่นแหละไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนั้น โลกุตรกุศลนั้นจึงอาจยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี. เหมือนอย่างว่า ในที่ที่เขาก่อไฟไว้กองน้อย เมื่อไฟดับแล้วเท่านั้นอาการร้อนก็ดับไม่มีอะไรๆ แต่เมื่อเอาโคมัยโปรยไปรอบๆ ดับกองไฟใหญ่ที่โพลงขึ้นแล้ว อาการคือความร้อน ย่อมไม่สงบลงทันที ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ขณะแห่งกรรม (การทำ) ในกุศลเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นอย่างหนึ่ง ขณะแห่งวิบากเป็นอย่างหนึ่ง เหมือนเวลาที่อาการคือความร้อนดับไปแห่งไฟกองน้อย เพราะฉะนั้น กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓ นั้นจึงไม่อาจเพื่อยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี ส่วนโลกุตรกุศล เมื่อศรัทธานั้น ฯลฯ เมื่อปัญญานั้นยังไม่เข้าไปสงบ ผลก็เกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคทันที เพราะฉะนั้นโลกุตรกุศลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี ดังนี้ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อธิบดีไม่มีในวิบากจิตเว้นแต่โลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยอัญญาตาวินทรีย์ในโลกุตรวิบากดวงที่ ๔

    พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งผลซึ่งเกิดแต่มรรคที่ ๔ ต่อไป

    คำว่า อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือผู้มีญาณกิจสำเร็จในสัจจะ ๔ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะให้สำเร็จอรรถแห่งความเป็นใหญ่ในภายในธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึง คือมีกิจอันสำเร็จในสัจจะ ๔ อันรู้แล้ว แทงตลอดสัจจะ ๔ แล้วดำรงอยู่.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 144

    แม้ในนิทเทสวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น คำว่า รู้ทั่วถึงแล้ว (อญฺาตาวีนํ) ได้แก่รู้แล้วดำรงอยู่. คำว่า ธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในภายในแห่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย. บทว่า ความรู้ทั่ว (อญฺา) ได้แก่ ความรู้ทั่วถึง. คำว่า ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด (ปญฺา ปชานนา) เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. บทว่า องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค (มคฺคงฺคํ มคฺคปริยาปนฺนํ) อธิบายว่า เป็นองค์แห่งมรรคและผล และนับเนื่องในมรรคและผล.

    อีกอย่างหนึ่ง ในโลกุตรวิบากนี้ มีปกิณกะดังนี้

    อินทรีย์ถึงฐานะเดียวมีอย่างหนึ่ง อินทรีย์ถึงฐานะหกมีอย่างหนึ่ง และอินทรีย์ถึงฐานะเดียวมีอีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่า ก็อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์อย่างเดียวถึงฐานะหนึ่ง คือ โสดาปัตติมรรค. อัญญินทรีย์หนึ่งถึงฐานะ ๖ คือ ผลเบื้องต่ำ ๓ มรรคเบื้องบน ๓. อัญญาตาวินทรีย์หนึ่งถึงฐานะหนึ่งคือ อรหัตตผล.

    ว่าโดยอรรถในมรรคและผลทั้งหมด ได้ตรัสอินทรีย์อันเป็นโลกุตระไว้ ๖๔ คือ มรรคและผลอย่างละ ๘ อินทรีย์ แต่ในพระบาลีเป็นอินทรีย์ ๗๒ เพราะทำมรรคและผลอย่างละ ๙ อินทรีย์. ในมรรคก็ตรัสว่า มัคคังคะ (องค์แห่งมรรค) แม้ในผลก็ตรัสว่า มัคคังคะ (องค์แห่งมรรค) . ในมรรคตรัสว่า โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) แม้ในผลก็ตรัสว่า โพชฌงค์. แม้ในขณะแห่งมรรคก็ตรัสว่า อารติ วิรติ (ความงด ความเว้น) . แม้ในขณะแห่งผลก็ตรัสว่า อารติ วิรติ.

    บรรดามรรคและผลเหล่านั้น มรรค ชื่อว่า มรรค โดยความเป็นมรรคนั่นเอง. ส่วนผล ชื่อว่า มรรค เพราะอาศัยมรรค. แม้จะกล่าวว่า องค์แห่งผลนับเนื่องในผล ดังนี้ก็ควร.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 145

    ในมรรค ตรัสเรียกว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. ในผล ตรัสเรียกว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้แล้ว. ในมรรค ตรัสว่า อารติ วิรติ ด้วยอำนาจความงดเว้นอารมณ์นั่นเอง. ในผล ตรัสว่า อารติ วิรติ ด้วยอำนาจความงดเว้นนั่นแหละ.

    กถาว่าด้วยโลกุตรวิบาก จบ

อกุศลวิบากอัพยากฤต

    [๔๗๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

    โสตวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

    ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

    ชิวหาวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา ที่รสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

    กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะเวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 146

    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

    [๔๗๓] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น

    เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น ฯลฯ

    ทุกข์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ทุกข์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    ทุกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ทุกขินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๗๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 147

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    [๔๗๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้นนี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๗๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๗๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

    [๔๗๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 148

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๗๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนาจิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    [๔๘๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๘๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    อกุศลวิบากอัพยากฤต จบ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 149

อรรถกถาแสดงอกุศลวิบาก

เบื้องหน้าแต่โลกุตรวิบากนี้ต่อไป เป็นอกุศลวิบากจิต ๗ ดวง เหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ รวม ๕ ดวง มโนธาตุ ๑ ดวง และมโนวิญญาณธาตุ ๑ ดวง โดยพระบาลีและอรรถกถาเหมือนกับกุศลวิบากจิตตามที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.

จริงอยู่ กุศลวิบากเหล่านั้นมีกรรมเป็นปัจจัยอย่างเดียว อกุศลวิบากเหล่านี้ ก็มีกรรมเป็นปัจจัย.

อนึ่ง กุศลวิบากเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์และอิฏฐมัชฌัตตารมณ์. อกุศลวิบากเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในอนิฏฐารมณ์และอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์.

อนึ่ง ในกุศลวิบากเหล่านั้น กายวิญญาณจิตสหรคตด้วยสุข. แต่ในอกุศลวิบากเหล่านี้ กายวิญญาณจิตสหรคตด้วยทุกข์.

อนึ่ง ในกุศลวิบากเหล่านั้น มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขาย่อมให้ผลในฐานทั้ง ๕ เริ่มต้นแต่ปฏิสนธิของคนตาบอดแต่กำเนิดเป็นต้นในพวกมนุษย์. แต่ในอกุศลวิบากเท่านี้ เมื่ออกุศลจิต ๑๑ อย่าง (๑) ประกอบกรรมไว้แล้ว ก็ทำกรรมนิมิต และคตินิมิตทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นอารมณ์แล้ว ย่อมให้ผลในฐานะทั้ง ๕ อย่างนี้ คือ

๑. ให้ผลปฏิสนธิในอบาย ๔

๒. ให้ผลเป็นภวังค์ตลอดอายุตั้งแต่วาระที่สอง (๒)


(๑) เว้นโมหมูลจิตสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ

(๒) วาระแรก ได้แก่ ปฏิสนธิกาล

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 150

    ๓. ให้ผลเป็นสันติรณะในปัญจวิญญาณวิถีในอนิฏฐารมณ์ และอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์

    ๔. ให้ผลเป็นตทารัมมณะในทวาร ๖ ในอารมณ์มีกำลัง

    ๕. ให้ผลเป็นจุติจิตในมรณกาล.

    จบกถาว่าด้วยอกุศลวิบาก

กามาวจรกิริยา

    [๔๘๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๘๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 151

    [๔๘๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๘๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๘๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น ฯลฯ

    วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 152

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์มีในสมัยนั้น

สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๘๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    [๔๘๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    [๔๘๙] สังขารเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 153

วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๙๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    [๔๙๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัสวิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 154

อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๙๓] อัพยากฤตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

กามาวจรกิริยา จบ

อรรถกถาแสดงกิริยาอัพยากฤต

ว่าด้วยมโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงจำแนกกิริยาอัพยากฤต (มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต) จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน) ต่อไป.

บรรดาบทอัพยากฤตเหล่านั้น บทว่า กิริยา ได้แก่ สักว่ากระทำ. จริงอยู่ ในกิริยาจิตทุกดวงทีเดียว กิริยาจิตใดไม่ถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้นย่อมไม่มีผล เหมือนดอกไม้ลม (๑) กิริยาจิตใดถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้นก็ไม่มีผล เหมือนดอกไม้ที่ต้นไม้ที่มีรากขาดแล้ว ย่อมเป็นเพียงการกระทำเท่านั้นเพราะเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจนั้นๆ ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กิริยา (การกระทำ).


(๑) บาลีว่า วาตปุปฺผํ วิย คงหมายถึงดอกไม้ไร้ประโยชน์ ไม่ผสมเกสร ย่อมไม่เป็นผล

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 155

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เนว กุสลานากุสลา (ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นต้นต่อไป.

    สภาวธรรมที่ชื่อว่า ไม่ใช่กุศล เพราะความไม่มีกุศลเหตุกล่าวคือกุศลมูล. ที่ชื่อว่า ไม่ใช่อกุศล เพราะความไม่มีอกุศลเหตุกล่าวคืออกุศลมูล ที่ชื่อว่า ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล (เนว กุสลานากุสลา) เพราะความไม่มีกุศลและอกุศลเป็นปัจจัย ไม่มีแม้โยนิโสมนสิการ และอโยนิโสมนสิการ. ที่ชื่อว่า ไม่ใช่กรรมวิบาก เพราะไม่มีเหตุให้เกิดขึ้นกล่าวคือกุศลและอกุศล.

    ในนิทเทสแห่งเอกัคคตาแห่งจิตที่เป็นกิริยามโนธาตุแม้นี้ ย่อมได้เพียงการตั้งอยู่ในปวัตติกาลเท่านั้น จริงอยู่จิต ๑๗ ดวงเหล่านี้ คือ

    ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง

    มโนธาตุ ๓ ดวง

    มโนวิญญาณธาตุ ๓ ดวง

    วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ ดวง

เพราะความที่จิตเหล่านี้เป็นสภาพทุรพล จึงไม่ได้ในพระบาลีว่า สณฺิติ อวฏฺิติ (ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต) เป็นต้น. คำที่เหลือทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในนิทเทสแห่งวิบากมโนธาตุ เว้นแต่ฐานแห่งการเกิดขึ้น. เพราะจิตนั้น (มโนธาตุที่เป็นวิบาก) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับปัญจวิญญาณ. แต่มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิตนี้ ย่อมเกิดก่อนทุกดวงในปวัตติกาลในวิถีแห่งปัญจทวาร.

    ข้อนี้เป็นอย่างไร? คือว่า ในจักขุทวารก่อน เมื่อรูปารมณ์ทั้งหลายอันเป็นอิฏฐารมณ์ อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ อนิฏฐารมณ์ และอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์ อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งกระทบประสาท มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิตก็รับอารมณ์นั้น

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 156

ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปเกิดขึ้น เป็นไปก่อนด้วยอำนาจแห่งอาวัชชนะ แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

    มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต จบ

ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส

    จิตนี้ในพระบาลีว่า มโนวิญฺาณธาตุ อุปฺปนฺนา โหติ ฯเปฯ โสมนสฺสสหคตา (มโนวิญญาณเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส) ดังนี้ เป็นจิตเฉพาะบุคคลไม่ทั่วไปแก่สัตว์เหล่าอื่นนอกจากพระขีณาสพเท่านั้น ย่อมได้ในทวาร ๖.

    จริงอยู่ ในจักขุทวาร พระขีณาสพเห็นที่อันสมควรแก่การทำความเพียรย่อมถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในโสตทวาร ท่านถึงที่ซึ่งควรแก่การจำแนกแจกภัณฑะ เมื่อบุคคลผู้ละโมบทำเสียงดังถือเอาอยู่ ท่านก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า ตัณหาเป็นเหตุให้หวั่นไหวชื่อเห็นปานนี้เราละได้แล้วดังนี้. ในฆานทวาร เมื่อพระขีณาสพบูชาพระเจดีย์ด้วยของหอม หรือดอกไม้ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในชิวหาทวาร พระขีณาสพแบ่งบิณฑบาตที่ถึงพร้อมด้วยรสที่ได้มา ฉันอยู่ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า สาราณียธรรม (ธรรมที่ควรระลึกถึง) เราบำเพ็ญแล้วหนอ ดังนี้. ในกายทวาร พระขีณาสพบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรอยู่ ก็ถึงโสมนัสด้วยนี้ว่า ก็วัตรของเราเต็มรอบแล้ว ดังนี้ พระขีณาสพย่อมได้ในปัญจทวารอย่างนี้ก่อน.

    แต่ในมโนทวารจิตของพระขีณาสพย่อมเกิดขึ้นปรารภอดีตและอนาคต จริงอยู่ พระตถาคตทรงระลึกถึงเหตุที่ทรงกระทำแล้วในครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นโชติปาละ เป็นท้าวมฆเทวราช และเป็นกัณหดาบสเป็นต้น จึงทรง

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 157

กระทำการแย้มให้ปรากฏ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจ (หน้าที่) ของบุพเพนิวาสญาณและสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตดวงนี้ย่อมเกิดร่าเริง. ในอนาคต พระองค์ก็ได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏว่า จักมีพระปัจเจกพุทธะ มีเสียงดังเสียงพิณ มีเสียงดังตะโพน ดังนี้ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจของอนาคตังสญาณ และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตนี้ย่อมเกิดร่าเริง.

    ก็ในนิทเทสวารแห่งหสิตุปบาทจิตนี้ ทรงตั้งเอกัคคตาแห่งจิตไว้ถึงสมาธิพละ เพราะมีกำลังกว่าอเหตุกจิตที่เหลือ ถึงวิริยะก็ทรงตั้งไว้ถึงวิริยพละ แต่เพราะในอุทเทสมิได้ตรัสไว้ว่า สมาธิพละย่อมมี วิริยพละย่อมมี ดังนี้ชื่อว่า พละ (สติพละ วิริยพละ) ทั้งสองนี้จึงไม่มีด้วยอรรถว่าเป็นกำลังก็เพราะจิตดวงนี้ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต ฉะนั้นจึงไม่ตรัสตั้งไว้ว่าเป็นพละ ดังนี้ และเพราะจิตดวงนี้ไม่ใช่พละโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ฉะนั้นแม้ในสังคหวารก็มิได้ตรัสว่า ทั้ง ๒ (สติพละ วิริยพละ) เป็นพละดังนี้ คำที่เหลือทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในนิทเทสอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสนั่นแหละ.

ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยอุเบกขา

    บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ (มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขา) อธิบายว่า จิตดวงนี้ทั่วไปแก่สัตว์ผู้มีจิตทุกจำพวกในภพทั้ง ๓ ชื่อว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีจิตบางพวกหามีไม่ แต่ว่า เมื่อเกิดในปัญจทวารย่อมทำโวฏฐัพพนกิจ เกิดในมโนทวารย่อมทำอาวัชชนกิจ แม้อสาธารณญาณ (ญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สัตว์อื่น) ๖ ย่อมรับอารมณ์อันจิตนี้รับแล้วเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 158

จิตนี้ ชื่อว่า มหาคช (๑) (ช้างใหญ่) ขึ้นชื่อว่า สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของจิตนี้มิได้มี เมื่อคำถามว่า จิตที่มิใช่สัพพัญญุตญาณ แต่ชื่อว่ามีคติอย่างสัพพัญญุตญาณเป็นจิตดวงไหน? พึงตอบว่า จิตดวงนี้ (มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยอุเบกขา) คำที่เหลือในจิตนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตดวงก่อน (มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส) นั่นแหละ ก็ในหสนจิต (มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส) นั้น ทรงจำแนกสังขารขันธ์มีองค์ ๙ เพราะมีปีติ แต่ในจิตดวงนี้ ทรงจำแนกสังขารขันธ์มีองค์ ๘ เพราะไม่มีปีติ.

ว่าด้วยมหากิริยาจิต ๘ ดวง

บัดนี้ มหากิริยาจิต ๘ ดวง นั่นแหละของกุศลเหล่าใด กิริยาจิตเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งพระขีณาสพ เพราะฉะนั้น มหากิริยาจิตเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยตามที่กล่าวในกุศลนิทเทสนั่นแหละ

ว่าด้วยหสนจิต ๑๓ ดวง

บัณฑิต พึงยังหสนจิตให้ตั้งประชุมลงในที่นี้.

ถามว่า ก็หสนจิตเหล่านี้ มีเท่าไร?

ตอบว่า มี ๑๓ ดวง.

จริงอยู่ ปุถุชน ย่อมหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ กุศลจิตสหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง อกุศลสหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง

พระเสกขะ ย่อมหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง คือ กุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง อกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัสไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ๒ ดวง


(๑) ฉบับนี้ว่า มหาราช นาเมตํ จิตฺตํ แต่ของพม่าเป็น มหาคชํ นาเมตํ จิตฺตํ แปลตามฉบับไทย จิตนี้ชื่อว่า มหาราช ฉบับพม่าแปลว่า จิตนี้ ชื่อว่า ช้างใหญ่

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 159

พระขีณาสพ ย่อมหัวเราะด้วยจิต ๕ ดวง คือ

    หสิตุปบาทจิตสหรคตด้วยโสมนัส ๑ ดวง

    มหากิริยาจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง

    กิริยามโนวิญญาณธาตุจิต จบ

    กามาวจรกิริยาจิต จบ

รูปาวจรกิริยา

    [๔๙๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    [๔๙๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    รูปาวจรกิริยา จบ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 160

อรูปาวจรกิริยา

    [๔๙๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความอัสดงแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๙๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 161

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๙๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๕๐๐] อัพยากฤตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    อรูปาวจรกิริยา จบ

    จิตตุปปาทกัณฑ์ จบ

อรรถกถาแสดงรูปาวจรอรูปาวจรกิริยา

    พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งรูปาวจรและอรูปาวจรกิริยาต่อไป

    บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารํ (เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร) ได้แก่เพียงอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม คือ ในอัตภาพนี้เท่านั้น. ในสมาบัติเหล่านั้น สมาบัติที่พระขีณาสพให้เกิดขึ้นในเวลายังเป็นปุถุชนมีอยู่ ตราบใดที่พระขีณาสพยังไม่เข้าสมาบัติอันนั้น สมาบัตินั้นก็เป็นกุศลนั้นแหละ เมื่อท่านเข้าสมาบัตินั้นแล้ว สมาบัตินั้นก็เป็นกิริยา แต่สมาบัติที่พระขีณาสพนั้นให้บังเกิดขึ้นใน

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 162

เวลาที่ท่านเป็นพระขีณาสพแล้ว สมาบัตินั้นย่อมเป็นกิริยาเท่านั้น. คำที่เหลือทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในกุศลนิทเทส เพราะเป็นเหมือนกับกุศลนั้น ฉะนี้แล.

    กถาว่าด้วยจิตตุปปาทกัณฑ์

    ในอัฏฐสาลินี ธัมมสังคหกถา จบ

    แต่บทอัพยากฤต (รูปและนิพพาน) ยังไม่จบก่อน

    อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์ จบ