รูปกัณฑ์ มาติกา
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒
รูปกัณฑ์ มาติกา
ว่าด้วยอัพยากฤต คือรูป หน้า 179
ว่าด้วยจักรวาลหนึ่งยาวและกว้าง ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ หน้า 180
ว่าด้วยแผ่นดินวัดโดยส่วนหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ หน้า 180
ว่าด้วยน้ำรองแผ่นดินหนา ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ หน้า 181
ว่าด้วยลมสูงขึ้นสู่ท้องนภา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ หน้า 181
ว่าด้วยขุนเขาสิเนรุราชหยั่งลึกในมหาสมุทร ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ หน้า 181
ว่าด้วยภูเขาชื่อหิมพานต์สูง ๕๐๐ โยชน์ หน้า 182
ว่าด้วยต้นไม้ประจํา ๗ ชนิด หน้า 182
ว่าด้วยมหาภูต คือนักเล่นกลเป็นต้น หน้า 183
อรรถกถาแสดงมาติการูปกัณฑ์ หน้า 186
ว่าด้วยทุกรูปคือรูปหมวด ๒ หน้า 187
ว่าด้วยติกรูปคือรูปหมวด ๓ หน้า 188
ว่าด้วยรูปหมวด ๔ เป็นต้น หน้า 189
ทุกนิเทศ อุปาทาภาชนีย์ หน้า 192
อรรถกถาแสดงรูปวิภัตติ หน้า 210
ว่าด้วยเหตุมี ๔ อย่าง หน้า 211
ว่าด้วยจําแนกบทอุปาทา หน้า 214
ว่าด้วยปัญญาจักษุ ๕ อย่าง หน้า 215
ว่าด้วยมังสจักษุ ๒ อย่าง หน้า 216
ว่าด้วยนิทเทสแห่งจักขายตนะ หน้า 220
ว่าด้วยคําว่าโสตเป็นต้น หน้า 222
ว่าด้วยวาทะของอาจารย์บางพวก หน้า 226
ลิ้นเปรียบด้วยสุนัขบ้าน หน้า 230
กายเปรียบด้วยสุนัขจิ้งจอก หน้า 230
อรรถกถา รูปายตนนิทเทส หน้า 233
ว่าด้วยลักขณาทิจตุกกะของรูป หน้า 236
อรรถกถา สัททายตนนิทเทส หน้า 236
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะของเสียง หน้า 237
อรรถกถา คันธายตนนิทเทส หน้า 238
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะของกลิ่น หน้า 238
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะของรส หน้า 240
อรรถกถา อิตถินทรียนิทเทส หน้า 240
อรรถกถา ปุริสินทริยนิทเทส หน้า 242
ว่าด้วยลักขณาทิจตุกกะ หน้า 242
อรรถกถา ชีวิตินทริยนิทเทส หน้า 244
อรรถกถา กายวิญญัตตินิทเทส หน้า 245
อรรถกถา วจีวิญญัตตินิทเทส หน้า 247
อรรถกถา อากาศธาตุนิทเทส หน้า 249
อรรถกถา รูปลหุตานิทเทสเป็นต้น หน้า 250
อรรถกถา อุปจยะและสันตตินิทเทส หน้า 251
ว่าด้วย ชาติชรา มรณะดุจปัจจามิตร ๓ คน หน้า 257
อรรถกถา กพฬิงการาหารนิทเทศ หน้า 258
ว่าด้วยอาหารหยาบและละเอียด หน้า 260
ว่าด้วยลักขณาทิจตุกกะ หน้า 261
อรรถกถาโนอุปาทานิทเทส หน้า 297
อรรถกถาโผฏฐัพพายตนนิทเทส หน้า 297
อรรถกถาอาโปธาตุนิทเทส หน้า 301
อรรถกถาอุปาทินนาทินิทเทส หน้า 304
อรรถกถาจิตตสมุฏฐานนิทเทส หน้า 305
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 76]
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 163
รูปกัณฑ์
[๕๐๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นโลกุตระ ได้แก่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๕๐๒] บรรดาธรรมเป็นอัพยากฤต รูปทั้งหมด เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น นี้เรียกว่า รูปทั้งหมด.
มาติกา
เอกกมาติกา
[๕๐๓] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ เป็นไปกับด้วยปัจจัย เป็นสังขตธรรม เป็นรูปธรรม เป็นโลกิยธรรม เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นอัพยากตธรรมไม่มีอารมณ์ ไม่ใช่เจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่ใช่วิบากและไม่ใช่ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก ไม่เศร้าหมอง แต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตกทั้งวิจาร ไม่ใช่ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร ไม่มีทั้งวิตกวิจาร ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยปีติ ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยสุข ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 164
อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่ละ ไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ละ ไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคล เป็นปริตตธรรม เป็นกามาวจรธรรม ไม่ใช่รูปาวจรธรรม ไม่ใช่อรูปาวจรธรรม เป็นปริยาปันนธรรม ไม่ใช่อปริยาปันนธรรม เป็นอนิยตธรรม เป็นอนิยยานิกธรรม เป็นปัจจุบันนธรรมอันวิญญาณ ๖ พึงรู้ ไม่เที่ยง อันชราครอบงำแล้ว
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑ อย่างนี้.
เอกกมาติกา จบ
ทุกมาติกา
[๕๐๔] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒
รูปเป็นอุปาทา [อุปาทายรูป] ก็มี รูปเป็นอนุปาทาก็มี
รูปเป็นอุปาทินนะ (๑) ก็มี รูปเป็นอนุปาทินนะก็มี
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ (๒) ก็มี รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี
รูปเป็นสนิทัสสนะ (๓) ก็มี รูปเป็นอนิทัสสนะก็มี
รูปเป็นสัปปฏิฆะ (๔) ก็มี รูปเป็นอัปปฏิฆะก็มี
รูปเป็นอินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นอินทรีย์ก็มี
รูปเป็นมหาภูตก็มี รูปไม่เป็นมหาภูตก็มี
รูปเป็นวิญญัติก็มี รูปไม่เป็นวิญญัติก็มี
(๑) ดูคำแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๑๒
(๒) ดูคำแปล ... ข้อ ๑
(๓) ดูคำแปล ... ข้อ ๓
(๔) ดูคำแปล ... ข้อ ๓
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 165
รูปเป็นจิตตสมุฏฐานก็มี รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐานก็มี
รูปเป็นจิตตสหภู (๑) ก็มี รูปไม่เป็นจิตตสหภูก็มี
รูปเป็นจิตตานุปริวัติก็มี รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติก็มี
รูปเป็นภายในก็มี รูปเป็นภายนอกก็มี
รูปหยาบก็มี รูปละเอียดก็มี
รูปไกลก็มี รูปใกล้ก็มี
รูปที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณก็มี
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณก็มี
รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี
รูปเป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณก็มี
รูปเป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี
(๑) คำแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๑๑
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 166
รูปเป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณก็มี
รูปเป็นจักขายตนะก็มี รูปไม่เป็นจักขายตนะก็มี
รูปเป็นโสตายตนะก็มี รูปไม่เป็นโสตายตนะก็มี
รูปเป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะก็มี รูปไม่เป็นกายายตนะก็มี
รูปเป็นรูปายตนะก็มี รูปไม่เป็นรูปายตนะก็มี
รูปเป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็นคันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี รูปไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี
รูปเป็นจักขุธาตุก็มี รูปไม่เป็นจักขุธาตุก็มี
รูปเป็นโสตธาตุ ฯลฯ เป็นฆานธาตุ ฯลฯ เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ เป็นกายธาตุก็มี รูปไม่เป็นกายธาตุก็มี
รูปเป็นรูปธาตุก็มี รูปไม่เป็นรูปธาตุก็มี
รูปเป็นสัททาธาตุ ฯลฯ เป็นคันธธาตุ ฯลฯ เป็นรสธาตุ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี รูปไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี
รูปเป็นจักขุนทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี
รูปเป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นกายินทรีย์ก็มี
รูปเป็นอิตถินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี
รูปเป็นปุริสินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี
รูปเป็นชีวิตินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 167
รูปเป็นกายวิญญัติก็มี รูปไม่เป็นกายวิญญัติก็มี
รูปเป็นวจีวิญญัติก็มี รูปไม่เป็นวจีวิญญัติก็มี
รูปเป็นอากาสธาตุก็มี รูปไม่เป็นอากาสธาตุก็มี
รูปเป็นอาโปธาตุก็มี รูปไม่เป็นอาโปธาตุก็มี
รูปเป็นรูปลหุตาก็มี รูปไม่เป็นรูปลหุตาก็มี
รูปเป็นรูปมุทุตาก็มี รูปไม่เป็นรูปมุทุตาก็มี
รูปเป็นรูปกัมมัญญตาก็มี รูปไม่เป็นรูปกัมมัญญตาก็มี
รูปเป็นรูปอุปจยะก็มี รูปไม่เป็นรูปอุปจยะก็มี
รูปเป็นรูปสันตติก็มี รูปไม่เป็นรูปสันตติก็มี
รูปเป็นรูปชรตาก็มี รูปไม่เป็นรูปชรตาก็มี
รูปเป็นรูปอนิจจตาก็มี รูปไม่เป็นรูปอนิจจตาก็มี
รูปเป็นกพฬิงการาหารก็มี รูปไม่เป็นกพฬิงการาหารก็มี
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒ อย่างนี้.
ทุกมาติกา จบ
ติกมาติกา
[๕๐๕] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๓
รูปภายในเป็นอุปาทา, รูปภายนอกที่เป็นอุปาทาก็มี, ที่เป็นอนุปาทาก็มี
รูปภายในเป็นอุปาทินนะ, รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนะก็มี, ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 168
รูปภายในเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ, รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี
รูปภายในเป็นอนิทัสสนะ, รูปภายนอกที่เป็นสนิทัสสหะก็มี ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี
รูปภายในเป็นสัปปฏิฆะ, รูปภายนอกที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี
รูปภายในเป็นอินทรีย์, รูปภายนอกที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี
รูปภายในไม่เป็นมหาภูต, รูปภายนอกที่เป็นมหาภูตก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี
รูปภายในไม่เป็นวิญญัติ, รูปภายนอกที่เป็นวิญญัติก็มี ที่ไม่เป็นวิญญัติก็มี
รูปภายในไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน, รูปภายนอกที่เป็นจิตตสมุฏฐานก็มี ที่ไม่เป็นจิตตสมุฏฐานก็มี
รูปภายในไม่เป็นจิตตสหภู, รูปภายนอกที่เป็นจิตตสหภูก็มี ที่ไม่เป็นจิตตสหภูก็มี
รูปภายในไม่เป็นจิตตานุปริวัติ, รูปภายนอกที่เป็นจิตตานุปริวัติก็มี ที่ไม่เป็นจิตตานุปริวัติก็มี
รูปภายในหยาบ, รูปภายนอกที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปภายในอยู่ใกล้, รูปภายนอกที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี
รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส, รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 169
รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ, รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณก็มี
รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี
รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ, รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณก็มี
รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส, รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี
รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ, รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณก็มี
รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส, รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี
รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ, รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 170
รูปภายนอกไม่เป็นจักขายตะ, รูปภายในที่เป็นจักขายตนะก็มี ที่ไม่เป็นจักขายตนะก็มี
รูปภายนอกไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ, รูปภายในที่เป็นกายายตนะก็มี ที่ไม่เป็นกายายตนะก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปายตนะ, รูปภายนอกที่เป็นรูปายตนะก็มี, ที่ไม่เป็นรูปายตนะก็มี
รูปภายในไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นรสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี ที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี
รูปภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ, รูปภายในที่เป็นจักขุธาตุก็มี ที่ไม่เป็นจักขุธาตุก็มี
รูปภายนอกไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ, รูปภายในที่เป็นกายธาตุก็มี ที่ไม่เป็นกายธาตุก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปธาตุ, รูปภายนอกที่เป็นรูปธาตุก็มี ที่ไม่เป็นรูปธาตุก็มี
รูปภายในไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นรสธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ, รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี ที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี
รูปภายนอกไม่เป็นจักขุนทรีย์, รูปภายในที่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 171
รูปภายนอกไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์, รูปภายในที่เป็นกายินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นกายินทรีย์ก็มี
รูปภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์, รูปภายนอกที่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี
รูปภายในไม่เป็นปุริสินทริย์, รูปภายนอกที่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี
รูปภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์, รูปภายนอกที่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี
รูปภายในไม่เป็นกายวิญญัติ, รูปภายนอกที่เป็นกายวิญญัติก็มี ที่ไม่เป็นกายวิญญัติก็มี
รูปภายในไม่เป็นวจีวิญญัติ, รูปภายนอกที่เป็นวจีวิญญัติก็มี ที่ไม่เป็นวจีวิญญัติก็มี
รูปภายในไม่เป็นอากาสธาตุ, รูปภายนอกที่เป็นอากาสธาตุก็มี ที่ไม่เป็นอากาสธาตุก็มี
รูปภายในไม่เป็นอาโปธาตุ, รูปภายนอกที่เป็นอาโปธาตุก็มี ที่ไม่เป็นอาโปธาตุก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปลหุตา, รูปภายนอกที่เป็นรูปลหุตาก็มี ที่ไม่เป็นรูปลหุตาก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปมุทุตา, รูปภายนอกที่เป็นมุทุตาก็มี ที่ไม่เป็นรูปมุทุตาก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปกัมมัญญตา, รูปภายนอกที่เป็นรูปกัมมัญญตาก็มี ที่ไม่เป็นรูปกัมมัญญตาก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 172
รูปภายในไม่เป็นรูปอุปจยะ, รูปภายนอกที่เป็นรูปอุปจยะก็มี ที่ไม่เป็นรูปอุปจยะก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปสันตติ, รูปภายนอกที่เป็นรูปสันตติก็มี ที่ไม่เป็นรูปสันตติก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปชรตา, รูปภายนอกที่เป็นรูปชรตาก็มี ที่ไม่เป็นรูปชรตาก็มี
รูปภายในไม่เป็นรูปอนิจจตา รูปภายนอกที่เป็นรูปอนิจจตาก็มี ที่ไม่เป็นรูปอนิจจตาก็มี
รูปภายในไม่เป็นกพฬิงการาหาร, รูปภายนอกที่เป็นกพฬิงการาหารก็มี ที่ไม่เป็นกพฬิงการาหารก็มี
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๓ อย่างนี้.
ติกมาติกา จบ
จตุกกมาติกา
[๕๐๖] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๔
รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี, รูปเป็นอนุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี
รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี, รูปเป็นอนุปาทา ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี
รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี, รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 173
รูปเป็นอุปาทา ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี, รูปเป็นอนุปาทา ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปเป็นอุปาทา ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปเป็นอนุปาทา ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี
รูปเป็นอุปาทินนะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี
รูปเป็นอุปาทินนะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี
รูปเป็นอุปาทินนะ ที่เป็นมหาภูตก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนะ ที่เป็นมหาภูตก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี
รูปเป็นอุปาทินนะ ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนะ ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปเป็นอุปาทินนะ ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนะ ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นมหาภูตก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นมหาภูตก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 174
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี
รูปกระทบได้ ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี, รูปกระทบไม่ได้ ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี
รูปกระทบได้ ที่เป็นมหาภูตก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี, รูปกระทบไม่ได้ ที่เป็นมหาภูตก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี
รูปเป็นอินทรีย์ ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี, รูปไม่เป็นอินทรีย์ ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปเป็นอินทรีย์ ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปไม่เป็นอินทรีย์ ที่อยู่ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี
รูปเป็นมหาภูต ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี, รูปไม่เป็นมหาภูต ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปเป็นมหาภูต ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปไม่เป็นมหาภูต ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี
รูปที่เห็นได้, รูปที่ฟังได้, รูปที่รู้ได้, รูปที่รู้แจ้งได้
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๔ อย่างนี้
จตุกกมาติกา จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 175
ปัญจกมาติกา
[๕๐๗] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๕
ปฐวีธาตุ, อาโปธาตุ, เตโชธาตุ, วาโยธาตุ และรูปที่เป็นอุปาทาสงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๕ อย่างนี้.
ปัญจกมาติการ จบ
ฉักกมาติกา
[๕๐๘] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๖
รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้, รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้, รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้, รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้, รูปอันกายวิญญาณพึงรู้, รูปอันมโนวิญญาณพึงรู้
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๖ อย่างนี้.
ฉักกมาติกา จบ
สัตตกมาติกา
[๕๐๙] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๗
รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้, รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้, รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้, รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้, รูปอันกายวิญญาณพึงรู้, รูปอันมโนธาตุพึงรู้, รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๗ อย่างนี้.
สัตตกมาติกา จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 176
อัฏฐกมาติกา
[๕๑๐] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๘
รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้, รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้, รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้, รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้, รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ ที่มีสัมผัสเป็นสุขก็มี ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี. รูปอันมโนธาตุพึงรู้, รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๘ อย่างนี้.
อัฏฐกมาติกา จบ
นวกมาติกา
[๕๑๑] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๙
จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์, อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๙ อย่างนี้.
นวกมาติการ จบ
ทสกมาติกา
[๕๑๒] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๐
จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์, อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๐ อย่างนี้.
ทสกมาติกา จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 177
เอกาทสกมาติกา
[๕๑๓] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๑
จักขายตนะ, โสตายตนะ, ฆานายตนะ, ชิวิหายตนะ, กายายตนะ, รูปายตนะ, สัททายตนะ, คันธายตนะ, รสายตนะ, โผฏฐัพพายตนะ, และรูปที่เป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๑ อย่างนี้.
เอกาทสกมาติกา จบ
มาติกา จบ
อรรถกถารูปกัณฑ์
ว่าด้วยเอกกอุทเทส
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกรูปกัณฑ์ (หมวดรูป) จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน) ดังนี้อีก.
พึงทราบวินิจฉัยคำว่า อัพยากฤต เป็นต้นนั้นต่อไป
พระบาลีในจิตตุปปาทกัณฑ์ พระองค์ทรงจำแนกวิปากอัพยากตะ (อัพยากฤตคือวิบากจิต) และกิริยาอัพยากตะ (อัพยากฤตคือกิริยา) ไว้หมดสิ้นแล้วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังมิได้ตรัสอัพยากฤต คือ รูป และอัพยากฤต คือนิพพาน เมื่อจะทรงประมวลอัพยากฤตแม้ทั้ง ๔ มาแสดง เพื่อตรัสอัพยากฤตทั้งสองที่ยังเหลือนั้น จึงตรัสว่า กุสลากุสลานํ ธมฺมานํ วิปากา (วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม) ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 178
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลากุสลานํ ได้แก่ กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ และอกุศลทั้งหลาย. พระองค์ทรงถือเอาบททั้งสอง คือ กุศลวิบากและอกุศลวิบาก แสดงอัพยากฤตวิบากจิตไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. แต่เพราะอัพยากฤตทั้งหมดนั้นเป็นกามาวจรก็มี เป็นธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปาวจรเป็นต้นก็มี ฉะนั้นจึงทรงแสดงอัพยากฤตคือวิบากนั้นนั่นเอง ถือเอาความแตกต่างกันแห่งภูมิโดยนัยมีคำว่า กามาวจรา (เป็นกามาวจร) เป็นต้น อนึ่งเพราะอัพยากฤตนั้นเป็นเวทนาขันธก็มี ฯลฯ เป็นวิญญาณขันธ์ก็มี ฉะนั้นจึงทรงถือเอาอัพยากฤตนั้นแสดงด้วยอำนาจขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตกัน ครั้นทรงแสดงอัพยากฤตคือวิบากจิตอย่างนี้ โดยถือเอานัยทั้ง ๓ คือ ด้วยอำนาจกุศลและอกุศล ด้วยอำนาจความแตกต่างกันแห่งภูมิ และด้วยอำนาจขันธ์ที่สัมปุยตกัน เมื่อจะทรงแสดงอัพยากฤต คือ กิริยาจิตอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า เย จ ธมฺมา กิริยา (อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา) ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น กิริยาจิตนั้นบุคคลพึงกล่าวว่า เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์. ก็พระองค์ทรงแสดงนัย (ว่า วิบากจิตและกิริยาจิตนั้นเคยเอามาตรัสไว้แล้ว) ที่บุคคลถือเอาแล้วในหนหลังนั่นแหละ จึงทรงละเว้นเสีย.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงธรรมที่ยังมิได้จำแนกไว้ จึงตรัสว่า สพฺพญฺจ รูปํ อสํขตา จ ธาตุ (รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ).
ในพระบาลีนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอารูป ๒๕ (๑) โกฏฐาสแห่งรูป ๙๖ (๒) แสดงไว้โดยสิ้นเชิง ด้วยบทว่า สพฺพญฺจ รูปํ ดังนี้. ด้วยบทว่า อสํขตา จ ธาตุ นี้ทรงยกนิพพานขึ้นแสดงโดยสิ้นเชิง. บทว่า อพฺยากตา ธมฺมา (ธรรมเป็นอัพยากฤต) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
(๑) ฏีกาว่า อายตนะ ๑๐ และสุขุมรูป ๑๕ ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในบาลี หรือว่า และหทยวัตถุที่รวมอุปจยสันตติเข้าด้วยกัน
(๒) ฏีกาว่า หมวด ๑๐ มีจักขุเป็นต้น ๗ หมวด (=๗๐) หมวด ๘ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นต้น ๓ หมวด (=๒๔) เสียง ๒ ที่เกิดจากอุตุและจิต (=๒)
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 179
ว่าด้วยอัพยากฤต คือ รูป
บรรดาธรรมเป็นอัพยากฤตนั้น คำว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน? นี้พระองค์ทรงถือเอาแล้ว เพราะเหตุไร ภายหลังจึงตรัสอัพยากฤตคือรูปไว้โดยย่อ บัดนี้ ทรงประสงค์จะจำแนกรูปนั้นโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งรูปหมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ ฯลฯ หมวด ๑๑ จึงทรงถือเอารูปนี้เล่า.
เนื้อความนั้นมีอธิบายว่า รูปใดที่ตรัสไว้ใน ๒ บทนั้นว่า สพฺพญฺจ รูปํ อสํขตา จ ธาตุ นั้น ที่ชื่อว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน? บัดนี้ เมื่อจะแสดงรูปนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา (มหาภูตรูป ๔) ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร (๔) เป็นคำกำหนดจำนวน. ด้วยบทว่า ๔ นั้น ทรงปฏิเสธความหย่อนและยิ่งของรูปเหล่านั้น จ ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ (คือใช้ในอรรถว่าประมวลมา) ด้วย จ ศัพท์นั้น จึงประมวลมาซึ่งอุปาทายรูป (รูปอาศัย) ว่า ใช่แต่มหาภูตรูป ๔ เท่านั้นก็หาไม่ รูปแม้อย่างอื่นก็มีอยู่ ดังนี้.
ว่าด้วยมหาภูตรูป
ในคำว่า มหาภูตะ นี้ พึงทราบว่า สภาวะที่ชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเหตุทั้งหลายโดยความปรากฏว่าเป็นของใหญ่เป็นต้น เพราะรูปเหล่านั้นตรัสเรียกว่า มหาภูตะ ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ
ปรากฏเป็นของใหญ่ ๑
เหมือนมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น ๑
เพราะต้องบำรุงรักษามาก ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 180
เพราะวิการ (เปลี่ยนแปลง) ใหญ่ ๑
เพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่ ๑.
บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อว่า มหาภูตรูปปรากฏเป็นของใหญ่ มีอธิบายว่ารูปเหล่านั้น ปรากฏเป็นของใหญ่ในอนุปาทินนกสันดานบ้าง (๑) ในอุปาทินนกสันดานบ้าง (๒) บรรดาสันดานทั้ง ๒ นั้น พึงทราบในอนุปาทินนกสันดานโดยความเป็นของใหญ่อย่างนี้
จริงอยู่ จักรวาลหนึ่งยาวและกว้างถึง ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (หนึ่งล้านสองแสนสามพันสี่ร้อยห้าสิบโยชน์) วัดโดยรอบ ตามคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
สพฺพํ สตสหสฺสานิ ฉตฺตึส ปริมณฺฑลํ
ทสญฺเจว สหสฺสานิ อฑฺฒุฑฺฒานิ สตานิ จ
จักรวาลทั้งหมดมีสัณฐานกลม วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ (สามล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์)
ในจักรวาลนั้น มีคาถาว่า
ทุเว สตสหสฺสานิ จตฺตาริ นหุตานิ จ
เอตฺตกํ พหลตฺเตน สํขาตายํ พสุนฺธรา
แผ่นดินนี้ วัดโดยส่วนหนาได้เท่านี้คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ (สองแสนสี่หมื่นโยชน์).
แผ่นดินนั้นนั่นแหละมีน้ำรองแผ่นดิน (ดังคาถาว่า)
จตฺตาริ สตสหสฺสานิ อฏฺเว นหุตานิ จ
เอตฺตกํ พหลตฺเตน ชลํ วาเต ปติฏฺิตํ
(๑) หมายถึงรูปที่สืบต่อกันที่ไม่มีใจครอง
(๒) หมายถึงรูปที่สืบต่อกันที่มีใจครอง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 181
น้ำรองแผ่นดินหนาถึง ๔๘๐,๐๐๐โยชน์ (สี่แสนแปดหมื่นโยชน์) ตั้งอยู่บนลม. แม้น้ำนั้นแหละก็มีลมรองอยู่ (ดังคาถาว่า)
นว สตสหสฺสานิ มาลุโต นภมุคฺคโต
สฏฺิญฺเจว สหสฺสานิ เอสา โลกสฺส สณฺิติ
ลมสูงขึ้นสู่ท้องนภาถึง ๙๖๐,๐๐๐โยชน์ (เก้าแสนหกหมื่นโยชน์) นี้เป็นการตั้งอยู่ของโลก.
ก็เมื่อโลกตั้งอยู่อย่างนี้
มีขุนเขาสิเนรุราช หยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรถึง ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ (แปดหมื่นสี่พันโยชน์) สูงขึ้นจากมหาสมุทรได้ ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ เหมือนกัน.
มีภูเขาใหญ่ล้วนด้วยศีลาเป็นแท่งทึบ ๗ เทือก เหล่านี้ คือ ภูเขาชื่อวายุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตกะ ภูเขาอสัสกรรณ ล้วนวิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ อันเป็นทิพย์ หยั่งลงในมหาสมุทร และสูงขึ้นจากมหาสมุทรประมาณกึ่งหนึ่งๆ โดยประมาณที่กล่าวไว้ทั้งข้างบนข้างล่าง โดยรอบขุนเขา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 182
สิเนรุราชนั้น ตามลำดับ (๑) เป็นที่สิ่งสถิตของมหาราชทั้งหลาย เป็นถิ่นประจำของหมู่เทพและพวกยักษ์.
ยังมีภูเขาชื่อหิมพานต์สูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ งดงามด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด ชมพูทวีปรุ่งเรืองแล้วด้วยอานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพู (ต้นหว้า) นั้นวัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ มีกิ่งลำต้นยาว ๕๐ โยชน์รอบด้าน ว่างได้ร้อยโยชน์สูงขึ้นร้อยโยชน์เหมือนกัน.
อนึ่ง ประมาณแห่งต้นชมพูนี้อันใด ต้นจิตตปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูรก็ดี ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑก็ดี ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม) ในทวีปอมรโคยานก็ดี ต้นกัลปพฤษ์ ในทวีปอุตตรกุรุก็ดี ต้นสิรีสะ ในทวีปปุพพวิเทหะก็ดี ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ทั้งหลายก็ดี ก็มีประมาณนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ต้นปาฏลี (แคฝอย) ๑ ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ๑ ต้นชมพู (ไม้หว้า) ๑ ต้นปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ของพวกเทพ ๑ ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม) ๑ ต้นกัลปพฤกษ์ ๑ ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก) เป็นที่ ๗
(๑) โยชนา เอเต สตฺต ปพฺพตา อนุปฏิปาฏิยา สมุคฺคตา โสปานสทิสา หุตฺวา ฐิตา ภูเขา ๗ เทือกเหล่านี้สูงขึ้นโดยลำดับเป็นเหมือนกับบันไดตั้งอยู่.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 183
ภูเขาจักรวาลหยั่งลึกลงในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์ สูงพ้นมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐โยชน์เหมือนกัน ทั้งหมดได้ตั้งแวดล้อมโลกธาตุไว้แล. (นี้ชื่อว่าสันดานของรูปที่ไม่มีใจครอง)
แม้ในสันดานของรูปที่มีใจครอง (อุปาทินนกสันดาน) ก็ปรากฏเป็นของใหญ่นั่นแหละด้วยอำนาจแห่งสรีระมีปลา เต่า เทพ และทานพ (อสูรหรือยักษ์) เป็นต้น ข้อนี้สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทร สัตว์ใหญ่ แม้ยาวตั้งร้อยโยชน์ก็มีเป็นต้น.
ว่าด้วยมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น
ข้อว่า มหาภูตคือนักเล่นกลเป็นต้น มีอธิบายว่า มหาภูตรูปเหล่านี้เปรียบด้วยนักเล่นกล ย่อมทำน้ำอันมิใช่แก้วมณีเลยให้เป็นแก้วมณี ย่อมแสดงก้อนดินอันมิใช่ทองคำเลยให้เป็นทองคำได้ ฉันใด อนึ่ง ตัวเอง (มหาภูตรูป) มิใช่เป็นยักษ์ มิใช่เป็นปักษี (นก) ย่อมแสดงความเป็นยักษ์บ้าง เป็นปักษีบ้างฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือตัวเอง (มหาภูตรูป) มิใช่เป็นสีเขียวก็แสดงอุปาทารูป (รูปอาศัย) ให้เป็นสีเขียว ตัวเองมิใช่เป็นสีเหลืองก็แสดงอุปาทารูปให้เป็นสีเหลือง มิใช่เป็นสีแดง ... มิใช่สีขาวก็แสดงอุปาทารูปให้เป็นสีขาวได้ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเป็นเหมือนมหาภูต คือนักเล่นกล.
อนึ่ง มหาภูตคือยักษ์ผู้ชายเป็นต้นย่อมสิงวัตถุใด หรือสัตว์ใด ที่อันเป็นภายใน หรือภายนอกของวัตถุนั้น หรือของสัตว์นั้น ก็หามัน (คือมหาภูตตัวยักษ์ผู้ชายเป็นต้นนั้น) ไม่ได้ และมิใช่มันจะไม่แอบอิงวัตถุนั้นหรือสัตว์นั้นอยู่ก็หาไม่ ข้อนี้ ฉันใด มหาภูตรูปแม้เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะค้นหา
(๑) อํ. อฏฺกนิปาต เล่ม ๒๓. ๑๐๙/๒๐๒
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 184
ภายในหรือภายนอกของกันและกันก็หาไม่ได้ และมิใช่มหาภูตรูปเหล่านั้นจะไม่อาศัยซึ่งกันและกันอยู่ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อมหาภูตะเพราะเป็นเช่นกับมหาภูต (๑) มียักษ์ผู้ชายเป็นต้น เพราะความเป็นฐานะที่ใครๆ ไม่พึงคิด.
อนึ่งมหาภูตคือนางยักษิณีปกปิดความที่มันเป็นปีศาจน่ากลัว จึงล่อลวงสัตว์ทั้งหลายโดยให้สีสรรค์ทรวดทรงและการเยื้องกรายอันน่าชื่นใจ ฉันใด มหาภูตะแม้เหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปกปิดลักษณะอันเป็นสภาวะของตนอันต่างโดยความเป็นของแข็งเป็นต้น ของตนไว้โดยผิวพรรณอันน่าชื่นใจ ด้วยทรวดทรงแห่งอวัยวะน้อยใหญ่อันน่าชื่นใจ ด้วยการกรีดกรายมือ เท้า นิ้วมือและยักคิ้วอันน่าชื่นใจในร่างกายหญิงชายเป็นต้น ย่อมล่อลวงคนเขลา ย่อมไม่ให้เห็นสภาวะของตน เพราะฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะมันเหมือนมหาภูต (มหาปีศาจ) คือ นางยักษิณี เพราะทำความล่อลวง ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เพราะต้องบำรุงรักษามาก คือ เพราะต้องบริหารด้วยปัจจัยเป็นอันมาก จริงอยู่ รูปเหล่านี้ ชื่อว่า มหาภูตะ ด้วยอรรถว่าต้องให้เป็นไปโดยการกินการอยู่และเครื่องนุ่งห่มเป็นอันมาก เพราะต้องน้อมเข้าไปทุกๆ วัน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า มหาภูตะ เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งต้องบำรุงรักษามาก ดังนี้ก็มี.
คำว่า เพราะวิการใหญ่ ได้แก่ เพราะมหาภูตะทั้งหลายเปลี่ยนแปลงใหญ่ จริงอยู่ รูปเหล่านี้ เป็นรูปที่มีใจครองก็ดี เป็นรูปที่ไม่มีใจครองก็ดี ย่อมเป็นของเปลี่ยนแปลงใหญ่ บรรดารูปทั้ง ๒ นั้น รูปที่ไม่มีใจครองย่อมปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในคราวกัปพินาศ ส่วนรูปที่มีใจครองย่อมปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงมากในเวลาธาตุกำเริบ.
จริงอย่างนั้น ตามที่ท่านกล่าวว่า
(๑) มหาภูต หมายถึงภูตผีปีศาจที่ตัวใหญ่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 185
ในคราวใด โลกจะพินาศด้วยไฟเผาผลาญ ในคราวนั้น ไฟย่อมโพลงขึ้นตั้งแต่พื้นดินไปถึงพรหมโลก.
ในคราวใด โลกจะฉิบหายด้วยน้ำกำเริบ ในคราวนั้น แสนโกฏิจักรวาลย่อมละลายไปเป็นอันเดียวกันด้วยน้ำกรด.
ในคราวใด โลกจะฉิบหายด้วยลมกำเริบ ในคราวนั้น ลมย่อมยังแสนโกฏิจักรวาลให้กระจัดกระจายไปเป็นอันเดียวกัน.
กายใดที่ถูกงูชื่อกัฏฐมุขะ (งูปากไม้) ขบเอาแล้ว ย่อมแข็งกระด้าง ฉันใด กายนั้นย่อมเป็นดุจอยู่ในปากงูกัฏฐมุขะขบเอา เพราะความที่ปฐวีธาตุเสียไปฉันนั้น กายใดที่ถูกงูชื่อปูติมุขะ (งูปากเน่า) ขบเอาแล้ว ย่อมเน่าฉันใด กายนั้นย่อมดุจอยู่ในปากงูปูติมุขะขบเอา เพราะความที่อาโปธาตุเสียไปฉันนั้น กายใดที่ถูกงู ชื่ออัคคิมุขะ (งูปากไฟ) ขบเอาแล้วย่อมเร่าร้อน ฉันใด กายนั้นย่อมเป็นดุจอยู่ในปากงูอัคคิมุขะขบเอา เพราะความที่เตโชธาตุเสียไปฉันนั้น กายใดที่ถูกงูชื่อสัตถมุขะ (งูปากศาสตรา) ขบเอาแล้วย่อมขาดเป็นชิ้น ฉันใด กายนั้นย่อม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 186
เป็นดุจอยู่ในปากงูสัตถมุขะขบเอา เพราะความที่วาโยธาตุเสียไป ฉันนั้น.
รูปที่ชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเป็นของวิการคือเปลี่ยนแปลงใหญ่ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า เพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่ จริงอยู่ รูปเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นของใหญ่ เพราะเป็นของที่ต้องประดับประคองด้วยความเพียรใหญ่ และที่ชื่อว่า มีอยู่ เพราะเป็นของที่ปรากฏมีอยู่ เพราะฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า มหาภูตะเพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่. มหาภูตรูปเป็นรูปใหญ่ ด้วยเหตุเป็นของใหญ่เป็นต้นด้วยประการฉะนี้.
คำว่า จตุนฺนํ จ มหาภูตานํ อุปาทาย รูปํ (และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔) นี้เป็นสามีวิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ (ให้แปลว่าอาศัยซึ่งมหาภูตรูป ๔) อธิบายว่า รูปอาศัยอิงอาศัยไม่ปล่อยมหาภูตทั้ง ๔ เป็นไป.
บทว่า อิทํ วุจฺจติ สพฺพํ รูปํ (นี้เรียกว่ารูปทั้งหมด) ความว่ารูปนี้มีประเภท ๒๗ คือ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๓ ตามที่ยกขึ้นแสดงโดยลำดับแห่งบทนี้ ชื่อว่า รูปทั้งหมด.
อรรถกถาแสดงมาติการูปกัณฑ์
ว่าด้วยเอกมาติกา
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงรูปนั้นโดยพิสดาร เมื่อจะทรงตั้งมาติกาด้วยการสงเคราะห์รูป ๑๑ หมวด มีรูปหมวดหนึ่งเป็นต้นจึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุ (รูปทั้งหมดมิใช่เหตุ) เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 187
ในพระบาลีเหล่านั้น ก็บทว่า สพฺพํ รูปํ นี้ บัณฑิตพึงประกอบกับบททั้งปวงอย่างนี้ว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุ สพฺพํ รูปํ อเหตุกํ (รูปทั้งหมดไม่ใช่เหตุ รูปทั้งหมดไม่มีเหตุ) ดังนี้. บททั้งหมดที่ทรงตั้งไว้ ๔๓ บทมีคำว่า น เหตุ (มิใช่เหตุ) เป็นต้น ทรงยกขึ้นแสดงแล้ว.
บรรดาบท ๔๓ เหล่านั้น บท ๔๐ โดยลำดับ ทรงถือเอาแต่มาติกาตั้งไว้ ๓ บทสุดท้ายนอกจากมาติกา เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบพระบาลีในสังคหะ (สงเคราะห์) ที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน ในสังคหะที่ ๒ เป็นต้นก็เหมือนอย่างนั้น.
ว่าด้วยทุกรูป คือ รูปหมวด ๒
บรรดาสังคหะเหล่านั้น มีนัยดังต่อไปนี้.
สังคหะที่ ๒ ก่อน รูปหมวด ๒ มี ๑๐๔ ทุกะ ในทุกะ ๑๐๔ เหล่านั้นทุกะ ๑๔ จนเบื้องต้น มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ อุปาทา อตฺถิ รูปํ โน อุปาทา (รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปไม่เป็นอุปาทาก็มีอยู่) ชื่อว่า ปกิณกทุกะ เพราะไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.
ทุกะต่อจากนั้น ๒๕ ทุกะ มีคำอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุสมฺผสฺสสฺส วตฺถุ (รูปเป็นที่อาศัยของจักขุสัมผัสก็มี) ชื่อว่า วัตถุทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาวัตถุและอวัตถุ. ต่อจากนั้น ทุกะ ๒๕ มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุสมฺผสฺสสฺส อารมฺมณํ (รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี) ชื่อว่า อารัมมณทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาถึงอารมณ์และอนารมณ์. ต่อจากนั้นทุกะ ๑๐ มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขายตนํ (รูปเป็นจักขายตนะก็มี) ชื่อว่า อายตนทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความพิจารณาอายตนะและอนายตนะ ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๐
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 188
มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุธาตุ (รูปเป็นจักขุธาตุมีอยู่) ชื่อว่า ธาตุทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจความพิจารณาธาตุ และอธาตุ. ต่อจากนั้น ทุกะ ๘ มีคำอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุนฺทฺริยํ (รูปเป็นจักขุนทรีย์ก็มี) ชื่อว่าอินทริยทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจความพิจารณาอินทรีย์และอนินทรีย์. ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๒ มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ กายวิญฺตฺติ (รูปเป็นกายวิญญัติมีอยู่) ชื่อว่า สุขุมรูปทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณาสุขุมรูป และไม่ใช่สุขุมรูป ดังนี้
นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในทุติยสังคหะ.
ว่าด้วยติกรูป คือ รูปหมวด ๓
ในสังคหะที่ ๓ มีจำนวน ๑๐๓ ติกะ ในบรรดาติกะเหล่านั้น ติกะ ๑๓ ที่ประกอบอัชฌัตติกทุกะ ๑ ในปกิณกทุกะ ๑๔ ตามที่กล่าวในทุติยสังคหะด้วยติกะ ๑๓ ที่เหลือแล้วตั้งไว้โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ อชฺฌตฺติกํ ตํ อุปาทายนฺตํ รูปํ พาหิรํ ตํ อตฺถิ อุปาทา อตฺถิ โน อุปาทา รูปภายในเป็นอุปาทา รูปภายนอกที่เป็นอุปาทาก็มี ที่เป็นอนุปาทาก็มี ดังนี้ ชื่อว่า ปกิณกติกะ จากนั้นก็ทรงประกอบทุกะนั้นนั่นแหละกับทุกะที่เหลือ แล้วทรงตั้งติกะที่เหลือโดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ พาหิรํ ตํ จกฺขุสมฺผสฺส น วตฺถุ ยนฺตํ รูปํ อชฺฌตฺติกํ ตํ อตฺถิ จกฺขุสมฺผสฺส วตฺถุ อตฺถิ จกฺขุสมฺผสฺสสฺส น วตฺถุ (รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี) ดังนี้. พึงทราบชื่อและการนับแห่งติกะเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งวัตถุทุกะเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ
นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในสังคหะที่ ๓.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 189
ว่าด้วยรูปหมวด ๔ เป็นต้น
ในสังคหะที่ ๔ มี ๒๒ จตุกกะ บรรดาจตุกกะ ๒๒ เหล่านั้น จตุกกะสุดท้ายมิได้ทรงถือเอามาติกาตามที่กล่าวไว้ในทุกะนี้ อย่างนี้ว่า " รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปไม่เป็นอุปาทาก็มี" ดังนี้ แล้วทรงตั้งไว้ แต่ทรงถือจตุกกะนอกนี้ ทรงตั้งไว้เป็นอย่างไร?
คือ ทุกะ ๓ ข้างต้นในปกิณกะทั้งหลายที่สงเคราะห์รูป ๒ อย่างเหล่าใด ในทุกะ ๓ เหล่านั้น ทรงถือเอาทีละทุกะประกอบกับทุกะละ ๕ ทุกะโดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ อุปาทา ตํ อตฺถิ อุปาทินฺนํ อตฺถิ อนุปาทินฺนํ (รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี) ดังนี้แล้วทรงตั้งจตุกกะ ๑๕ ข้างต้นซึ่งมี ๓ ทุกะเป็นมูล.
บัดนี้ พึงทราบสนิทัสสนทุกะที่ ๔ นี้ใด เพราะสนิทัสสนทุกะนั้นไม่ถึงการประกอบกับทุกะอื่นๆ โดยนัยมีอาทิว่า " รูปเป็นสนิทัสสนะ (เห็นได้) กระทบได้ก็มี กระทบไม่ได้ก็มี" ดังนี้ หรือว่ากับทุกะข้างต้นโดยนัยว่า " รูปเป็นอุปาทาก็มี ไม่เป็นอุปาทาก็มี " เป็นต้น เพราะไม่มีอรรถะ เพราะไม่มีลำดับเป็นไป และเพราะไม่มีความแตกต่างกัน จริงอยู่ รูปที่เป็น สนิทัสสนะ (เห็นได้) ชื่อว่า กระทบไม่ได้ หรือว่า ไม่เป็นอุปาทา ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นรูปนั้นจึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีอรรถะ แต่รูปที่เป็นอุปาทินนะ และอนุปาทินนะมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีลำดับเป็นไปด้วยว่า ทุกะทั้งหมดพระองค์ทรงประกอบกับทุกะหลังๆ เท่านั้น นี้เป็นลำดับที่เป็นไปในอธิการนี้ แต่กับบทต้นๆ ไม่มีลำดับเป็นไปดังนี้ หากมีผู้ท้วงว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่มีลำดับเป็นไป ก็ไม่ใช่เหตุสำคัญ ฉะนั้น ควรประกอบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 190
กับบทที่เป็นอุปาทินนะเป็นต้น. ตอบว่า จะประกอบกับรูปนี้ไม่ได้ เพราะไม่มีความต่างกันกับรูปที่เป็นบทอุปาทินนรูปเป็นต้น ในอธิการแห่งบทมีอุปาทินนะเป็นต้น ประกอบเข้ากับบทสนิทัสสนทุกะนั้นแล้ว เมื่อกล่าวว่ารูปเป็นอุปาทินนะ เป็นสนิทัสสนะ หรือรูปที่เป็นสนิทัสสนะเป็นอุปาทินนะ ดังนี้ความแตกต่างกันก็ไม่มี จึงไม่ถึงการประกอบกัน เพราะไม่มีความแตกต่างกันฉะนี้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งจตุกกะไว้ ๖ จตุกกะประกอบครั้งละ ๒ ทุกะซึ่งประกอบโดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ สปฺปฏิฆํ ตํ อตฺถิ อินฺทฺริยํ อตฺถิ น อินฺทฺริยํ ยนฺตํ รูปํ อปฺปฏิฆํ ตํ อตฺถิ อินฺทริยํ อตฺถิ น อินฺทฺริยํ (รูปกระทบได้ ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี รูปที่กระทบไม่ได้ ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี) ดังนี้ กับ ๓ ทุกะข้างปลายต่อจากทุกะที่ ๔ (สนิทัสสนทุกะ) นั้น มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ สปฺปฏิฆํ (รูปกระทบได้ก็มี) ดังนี้ แล้วทรงตั้งจตุกกะไว้ ๖ จตุกกะ
ก็ทุกะที่ ๔ นี้ ไม่ถึงการประกอบ ฉันใด แม้ทุกะต้นก็ไม่ถึงการประกอบกับทุกะที่ ๔ นั้น ฉันนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะความที่อนุปาทารูป (คือรูปที่ไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) เป็นอนิทัสสนรูป (เห็นไม่ได้) โดยส่วนเดียว. จริงอยู่ ทุกะข้างต้น (อุปาทาทุกะ) เมื่อประกอบกับทุกะที่ ๔ อย่างนี้ว่า " รูปเป็นอนุปาทา ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี" ดังนี้ ย่อมไม่ถึงการประกอบได้. เพราะฉะนั้น จึงต้องข้ามทุกะนั้นไปประกอบกับทุกะที่ ๕. พึงทราบ ทุกะต้น (อุปาทาทุกะ) นั้นว่า ถึงการประกอบได้ ประกอบไม่ได้ กับด้วยบทที่นำมาประกอบ ด้วยประการฉะนี้แล. นี้เป็นการกำหนดตามพระบาลีในสังคหะที่ ๔.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 191
ว่าด้วยสงเคราะห์รูปหมวด ๕
ก็เบื้องหน้าแต่นี้ สังคหะ (คือสงเคราะห์) ๗ อย่างมีการสงเคราะห์รูปหมวดละ ๕ เป็นต้น เป็นการสงเคราะห์ไม่ปะปนกันกับด้วยบทอื่นทั้งหมด. พึงทราบการกำหนดพระบาลีในมาติกาแม้ทั้งสิ้น ด้วยประการฉะนี้.
อุทเทสแห่งรูป จบ
รูปวิภัตติ
เอกกนิเทศ
[๕๑๔] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น ไม่มีเหตุทั้งนั้น วิปปยุตจากเหตุทั้งนั้น เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น เป็นสังขตธรรมทั้งนั้น เป็นรูปธรรมทั้งนั้น เป็นโลกิยธรรมทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของคันถะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโอฆะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโยคะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของปรามาสทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอุปาทานทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น เป็นอัพยากตธรรมทั้งนั้น ไม่มีอารมณ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เจตสิกทั้งนั้น วิปปยุตจากจิตทั้งนั้น ไม่ใช่วิบาก และไม่ใช่เหตุแห่งวิบากทั้งนั้น ไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจารทั้งนั้น ไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยปีติทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยสุขทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาทั้งนั้น อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่ละทั้งนั้น ไม่มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 192
สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ละทั้งนั้น ไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานทั้งนั้น ไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคลทั้งนั้น เป็นปริตตธรรมทั้งนั้น เป็นกามาวจรธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่รูปาวจรธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อรูปาวจรธรรมทั้งนั้น เป็นปริยาปันนธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อปริยาปันนธรรมทั้งนั้น เป็นอนิยตธรรมทั้งนั้น เป็นนิยยานิกธรรมทั้งนั้น เป็นปัจจุบันธรรมอันวิญญาณ ๖ พึงรู้ทั้งนั้น ไม่เที่ยงทั้งนั้น อันชราครอบงำแล้วทั้งนั้น
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑ อย่างนี้.
เอกกนิเทศ จบ
ทุกนิเทศ
อุปาทาภาชนีย์
[๕๑๕] รูปเป็นอุปาทา นั้นไฉน?
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะรูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร.
[๕๑๖] รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ด้วยจักขุใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 193
จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้. รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่จักขุใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่าจักขายตนะ
รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ซึ่งรูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่าจักขายตนะ.
รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัสปรารภรูปเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 194
เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณปรารภรูปเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัส มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจะเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
[๕๑๗] รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, สัตว์นี้ฟังแล้ว หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยโสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 195
โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบที่เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้. นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัสปรารภเสียงเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณปรารภเสียงเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัส มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใดเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณมีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้นนี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 196
[๕๑๘] รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, สัตว์นี้ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดมหรือพึงดมซึ่งกลิ่น อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.
รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระกระทบได้, กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ฆานะใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้างฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.
รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ. รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 197
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยฆานะใด ฆานะสัมผัสปรารภกลิ่นเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณปรารภกลิ่นเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสมีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้างรูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.
[๕๑๙] รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูบ ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้ม ซึ่งรสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.
รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระ-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 198
ทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.
รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, ชิวหาใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.
รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสปรารภรสเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ปรารภรสเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัส มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหา-วิญญาณ มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 199
ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้างวัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.
[๕๒๐] รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้องอยู่ หรือจักถูกต้อง หรือพึงถูกต้องซึ่งโผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.
รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, โผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กายใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, กายใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว. หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 200
รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.
[๕๒๑] รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปใด อันเป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 201
สิ่งที่เห็นได้แล้วกระทบได้ด้วยจักขุ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
รูปที่เรียก รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยมแปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆหมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่,จักขุอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้,นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยมแปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆหมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่,รูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 202
จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่จักขุ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แลงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้มีอยู่, เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัสอาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด เวทนาอันเกิดแก่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักขุเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักขุเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักขุเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, รูปนี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
[๕๒๒] รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 203
ประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เพียงกระทบกันของธาตุ
เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดที่อาศัย
มหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ฟังแล้ว หรือ
ฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
ด้วยโสตอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะ
บ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่
เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียง
ประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ
เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัย
มหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, โสตอันเป็นสิ่งที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึง
กระทบที่เสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง
สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่
เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียง
ประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ
เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัย
มหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, เสียงใด อันเป็น
สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 204
หรือพึงกระทบ ที่โสตอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภเสียงใดโสตสัมผัส อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ โสตสัมผัส มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
[๕๒๓] รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ดมแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 205
หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, มีอยู่, ฆานะอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบที่กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้นเป็นไฉน?
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ กระทบได้ มีอยู่, กลิ่นใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบที่ฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้นเป็นไฉน?
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 206
ฆานสัมผัส อาศัยฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญาฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ อาศัยฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณมีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
[๕๒๔] รูปนี้เรียกว่า รสายตนะ นั้นเป็นไฉน?
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยวหวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้ ลิ้มแล้วหรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้มซึ่งรสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้นเป็นไฉน?
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยวหวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 207
หรือพึงกระทบ ที่รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยวหวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รสใด อาศัยมหาภูตรูป เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยวหวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัส อาศัยชิวหาเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหาเกิดขึ้นแล้วหรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาสัมผัส มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาใดเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนา อันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
[๕๒๕] รูปที่เรียกว่า อิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 208
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง ของหญิง ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อิตถินทรีย์.
[๕๒๖] รูปที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์.
[๕๒๗] รูปที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.
[๕๒๘] รูปที่เรียกว่า กายวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
ความเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความเคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤตก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กายวิญญัติ.
[๕๒๙] รูปที่เรียกว่า วจีวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา. การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย ด้วยวาจานั้น อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า วจีวิญญัติ.
[๕๓๐] รูปที่เรียกว่า อากาสธาตุ นั้น เป็นไฉน?
อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อากาสาธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 209
[๕๓๑] รูปที่เรียกว่า รูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูปอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปลหุตา.
[๕๓๒] รูปที่เรียกว่า รูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูปอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปมุทุตา.
[๕๓๓] รูปที่เรียกว่า รูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูปอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปกัมมัญญตา.
[๕๓๔] รูปที่เรียกว่า รูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอุปจยะ.
[๕๓๕] รูปที่เรียกว่า รูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้น เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปสันตติ.
[๕๓๖] รูปที่เรียกว่า รูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ควานเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปชรตา.
[๕๓๗] รูปที่เรียกว่า รูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยงความอันตรธาน แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนิจจตา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 210
[๕๓๘] รูปที่เรียกว่า กพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้นๆ ในชนบทใดๆ สัตว์ทั้งหลายเลี้ยงชีวิตด้วยโอชาอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กพฬิงการาหาร.
รูปทั้งนี้ เรียกว่า รูปเป็นอุปาทา.
อุปาทาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวาร ในรูปกัณฑ์ จบ
อรรถกถาแสดงรูปวิภัตติ
ว่าด้วยเอกกนิทเทส
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกเนื้อความแห่งรูปวิภัตติ (มาติกา) นั้น จึงเริ่มตรัสคำมีอาทิว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุเมว (รูปทั้งหมดไม่ใช่เหตุทั้งนั้น) ดังนี้.
ถามว่า ก็ในเอกกนิทเทสนี้ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้กระทำคำถามว่า รูปทั้งหมดนั้นมิใช่เหตุเป็นไฉน ดังนี้เล่า.
ตอบว่า เพราะไม่มีความแตกต่างกัน.
จริงอยู่ ในเอกกนิทเทสนี้ ไม่มีข้อที่แตกต่างกันว่า รูปทั้งหมด เป็นเหตุ (เหตุ) ไม่เป็นเหตุ (น เหตุ) ดังนี้บ้าง ว่า รูปทั้งหมด เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ ดังนี้บ้าง เหมือนในรูปทุกะเป็นต้น ซึ่งเป็นอุปาทารูปบ้างก็มี ไม่เป็นอุปาทารูปบ้างก็มี เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมิได้ทรงจำแนกคำถามไว้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 211
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สพฺพํ (ทั้งหมด) ได้แก่ ทั้งสิ้น คือไม่มีเหลือ.
คำว่า รูปํ (รูป) ทรงขยายความถึงสามัญลักษณะอันแสดงถึงความที่รูปต้องแปรผันไปด้วยวิโรธิปัจจัย (ปัจจัยที่เป็นข้าศึกกัน) มีความเย็นเป็นต้น.
คำว่า น เหตุเมว (ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น) นี้ ทรงขยายความถึงการปฏิเสธเหตุทั่วไป. ในข้อว่ารูปไม่ใช่เหตุนั้น
เหตุมี ๔ อย่าง คือ
เหตุเหตุ คือเหตุที่เป็นมูล
ปัจจยเหตุ คือเหตุที่เป็นปัจจัย
อุตตมเหตุ คือเหตุที่เป็นประธาน
สาธารณเหตุ คือเหตุทั่วไปแก่สรรพสัตว์.
บรรดาเหตุทั้ง ๔ เหล่านั้น เหตุนี้คือ กุศลเหตุ ๓ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากฤตเหตุ ๓ ชื่อว่า เหตุเหตุ. เหตุที่ตรัสไว้ในบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูปเหล่านี้เป็นเหตุ มหาภูตรูป เหล่านี้เป็นปัจจัยเพื่อการบัญญัติรูปขันธ์นี้ ชื่อว่า ปัจจยเหตุ. เหตุที่ตรัสไว้ว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมเป็นเหตุสูงสุด ในฐานะแห่งการให้ผลของตน อิฏฐารมณ์เป็นเหตุสูงสุดในฐานะแห่งกุศลวิบาก อนิฏฐารมณ์เป็นเหตุสูงสุดในฐานะแห่งอกุศลวิบาก ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า ตถาคตย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ดังนี้ ชื่อว่า อุตตมเหตุ. เหตุที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่อวิชชานี้เท่านั้นเป็นเหตุ อวิชชานี้เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย อวิชชาเป็นเหตุทั่วไปแม้แก่สังขารทั้งหลาย ย่อมแผ่ไปสู่ความเป็นปัจจัย ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง แก่อมธุรสบ้าง ฉันใด อวิชชาก็เป็นสาธารณปัจจัยแก่สังขารที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง ฉันนั้น ชื่อว่าสาธารณเหตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 212
ก็ ในที่นี้ทรงประสงค์เอาเหตุเหตุ (คือเหตุที่เป็นมูล) พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงกำหนดปฏิเสธถึงความที่รูปเป็นเหตุอันมาแล้วในมาติกาว่า เหตูธมฺมา น เหตู ธมฺมา ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสว่า รูปทั้งหมดมิใช่เหตุ ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบการขยายความถึงการปฏิเสธ และการไม่ปฏิเสธในบททั้งหมดโดยนัยนี้ ส่วนวจนัตถะคือคำจำกัดความแห่งบททั้งปวง ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการพรรณนาบทมาติกาแล้วนั่นแหละ.
ก็ในคำว่า สปฺปจฺจยเมว (เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น) นี้ ได้แก่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มีกรรมเป็นปัจจัยเหมือนกัน พึงทราบเนื้อความแห่งรูปนั่นแหละ ด้วยอำนาจปัจจัย ๔ ตามที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเป็นต้น มีอาหารเป็นต้นเป็นปัจจัยทั้งนั้น.
คำว่า รูปเมว (เป็นรูปธรรมทั้งนั้น) ได้แก่ ทรงปฏิเสธรูปธรรมว่าเป็นอรูปตามที่ตรัสไว้ในมาติกาว่า รูปิโน ธมฺมา อรูปิโน ธมฺมา (ธรรมที่เป็นรูป ธรรมที่ไม่ใช่รูป) ดังนี้.
ในคำว่า อุปฺปนฺนํ ฉหิ วิญฺาเณหิ (เป็นปัจจุบันธรรมอันวิญญาณ ๖ พึงรู้) คือ รูปนั้นแหละเกิดขึ้นเฉพาะหน้าอันวิญญาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น พึงรู้ได้ แต่การกำหนดท่านสงเคราะห์หมายเอาจักขุวิญญาณเป็นต้น จริงอยู่ จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้น ย่อมไม่รู้อดีตและอนาคต ส่วนมโนวิญญาณย่อมรู้อดีตบ้าง อนาคตบ้าง. มโนวิญญาณนั้นเป็นไปแล้ว ก็ชื่อว่าตกไปแล้วในกระแสเหมือนกัน เพราะตกไปในกระแสแห่งวิญญาณ ๕.
อนึ่ง รูปธรรมทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ไม่เที่ยง ทั้งนั้น ด้วยอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า อันชราครอบงำแล้วทั้งนั้น เพราะเป็นธรรมอันชราพึงครอบงำได้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะชราย่อมปรากฏในรูปกาย ฉะนั้นจึงตรัสว่า เป็นธรรมชาติอันชราต้องครอบงำโดยแท้ ดังนี้บ้าง.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 213
ว่าด้วยวิธศัพท์
วิธศัพท์ในพระบาลีว่า เอวํ เอกวิเธน รูปสงฺคโห (สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละหนึ่งอย่างนี้) นี้ใช้ในความหมายถึง มานะ สัณฐาน และโกฏฐาส.
จริงอยู่ มานะ ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า เสยฺโยหมสฺมีติ วิธา สทิโสหมสฺมีติ วิธา มานะว่า เราดีกว่าเขา มานะว่า เราเสมอเขา ดังนี้. สัณฐาน ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า กถํ วิธํ สีลวนฺตํ วทนฺติ กถํ วิธํ ปญฺวนฺตํ วทนฺติ (บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนมีสัณฐานอย่างไรว่า มีศีล เรียกคนมีสัณฐานอย่างไรว่า มีปัญญา) เพราะบทว่า กถํวิธํ มีเนื้อความเหมือนบทว่า กถํ สณฺิตํ. โกฏาส ชื่อว่า วิธา ดุจในประโยคมีอาทิว่า เอกวิเธน าณวตฺถุ ทุวิเธน าณวตฺถุ ญาณวัตถุหมวด ๑ ญาณวัตถุหมวด ๒. แม้ในอธิการนี้ก็ทรงประสงค์เอาโกฏฐาส.
ว่าด้วยสังคหศัพท์
แม้ใน สังคหศัพท์ (สงเคราะห์) ก็มี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่ง ชาติสงเคราะห์ สัญชาติสงเคราะห์ กิริยาสงเคราะห์ และคณนสงเคราะห์.
ในสังคหะทั้ง ๔ เหล่านั้น สังคหะ คือการสงเคราะห์ นี้ว่า ขอกษัตริย์ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้งปวงจงมา ขอแพทย์ทั้งปวงจงมา ขอศูทรทั้งปวงจงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สงเคราะห์ลงในศีลขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสงเคราะห์.
สังคหะ คือการสงเคราะห์นี้ว่า จริงอยู่ ในการสงเคราะห์นี้ ทั้งหมดถึงการสงเคราะห์เป็นพวกเดียวกัน ดุจในคำที่กล่าวว่า ผู้มีชาติเดียวกันจงมา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 214
พวกชาวโกศลทั้งหมดจงมา พวกชาวมคธทั้งหมดจงมา พวกช่างไม้ทั้งหมดจงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สงเคราะห์ลงในสมาธิขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสงเคราะห์.
สังคหะ คือการสงเคราะห์ว่า จริงอยู่ ในการสงเคราะห์นี้ สิ่งทั้งหมดถึงการสงเคราะห์เป็นอันเดียวกัน โดยฐานะแห่งสัญชาติ โดยที่อยู่อาศัย เหมือนในที่กล่าวว่า ผู้เกิดในที่เดียวกัน เกี่ยวข้องกันโดยชาติในที่ทั้งปวงจงมา นายหัตถาจารย์ทั้งปวงจงมา นายอัสสาจารย์ทั้งปวงจงมา นายรถทั้งปวงจงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สงเคราะห์ลงในปัญญาขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า กิริยาสงเคราะห์. เพราะสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ถึงการสงเคราะห์เป็นพวกเดียวกันด้วยเหตุ คือการกระทำของตน.
สังคหะคือการนับสงเคราะห์ที่กล่าวไว้ว่า จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน? จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ถ้าว่าจักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์ในรูปขันธ์ไซร้ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงต้องกล่าวว่า จักขายตนะนับสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า คณนสงเคราะห์. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาคณนสงเคราะห์ เพราะการนับสงเคราะห์นี้ ท่านอธิบายว่า ได้แก่ การนับรูปโดยส่วนเดียว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
อรรถกถาแสดงทุกนิทเทส
ว่าด้วยจำแนกบทอุปาทา
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงจำแนกบทคำถามที่วางไว้เป็นประธานบทแรกเพราะสภาพแตกต่างกันในการสงเคราะห์รูปหมวดละ ๒ เป็นต้น อย่างนี้ว่า อตฺถิ รูปํ อุปาทา อตฺถิ รูปํ โน อุปาทา (รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปที่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 215
ไม่เป็นอุปาทาก็มี) ดังนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตมนฺตํ รูปํ อุปาทา (รูปเป็นอุปาทานั้น เป็นไฉน) ดังนี้. ในพระบาลีนั้น รูปที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะอรรถว่า อาศัย อธิบายว่า อุปาทารูปนั้นถือเอามหาภูตรูปมั่นไม่ปล่อยวางคือย่อมอาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไป.
ว่าด้วยจักขายตนะ
บัดนี้ เมื่อจะแสดงรูปนั้นโดยประเภทต่างๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า จกฺขายตนํ (จักขายตนะ) ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยกอุปาทารูป ๒๓ อย่างขึ้นแสดงโดยสังเขปแล้ว เมื่อจะแสดงอุปาทารูปนั้นนั่นแหละโดยพิสดารอีก จึงตรัสว่า กตมนฺตํ รูปํ จกฺขายตนํ (รูปที่เรียกว่า จักขายตนะนั้นเป็นไฉน) เป็นต้น.
ในคำว่า จักขายตนะ นั้น จักษุมี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ และปัญญาจักษุ ในมังสจักษุและปัญญาจักษุนั้น
ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ
พุทธจักษุ จักษุของพระพุทธเจ้า
สมันตจักษุ ได้แก่สัพพัญญุตญาณ
ญาณจักษุ ดวงตาเห็นธรรม
ทิพยจักษุ ตาทิพย์
ธรรมจักษุ มรรคเบื้องต่ำ ๓.
บรรดาปัญญาจักษุ ๕ เหล่านั้น จักษุที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ฯลฯ ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี นี้ชื่อว่า พุทธจักษุ. จักษุที่ตรัสไว้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ นี้ชื่อว่า สมันตจักษุ (๒) จักษุที่ตรัสไว้ว่า
(๑) ม. มู. เล่ม ๑๒. ๓๒๓/๓๒๕.
(๒) ขุ. จฬนิทฺเทส. เล่ม ๓๐. ๔๙๒/๒๔๒
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 216
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว นี้ชื่อว่า ญาณจักษุ (๑) จักษุที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ นี้ชื่อว่า ทิพยจักษุ (๒) ญาณคือ มรรค ๓ เบื้องต่ำที่ตรัสไว้ว่า ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทินย่อมเกิดขึ้น ณ อาสนะที่นั่งนั้นนั่นแหละ นี้ชื่อว่า ธรรมจักษุ (๓)
แม้มังสจักษุก็มี ๒ อย่าง คือ
สสัมภารจักษุ (ลูกตาที่มีส่วนประกอบ)
ปสาทจักษุ (ประสาทตา).
บรรดามังสจักษุทั้ง ๒ นั้น ก้อนเนื้อนี้ตั้งอยู่เฉพาะในเบ้าตา ข้างล่างกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ที่ข้างทั้งสองกำหนดด้วยเบ้าตา ในภายในกำหนดด้วยมันสมอง ภายนอกกำหนดด้วยขนตา. ว่าโดยสังเขป จักษุนี้มีส่วนประกอบ (สสัมภาร) ๑๔ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ สัมภวะ (ความเกิด) สัณฐาน ชีวิตะ ภาวะ กายประสาท จักษุประสาท. ว่าโดยพิสดารมีสสัมภาระคือส่วนประกอบถึง ๔๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งรูป ๔๔ เหล่านี้คือ รูป ๑๐ เหล่านี้คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา สัณฐาน และสัมภวะ ซึ่งอาศัยธาตุ ๔ เกิดขึ้น เกิดแต่สมุฏฐาน ๔ จึงรวมเป็น ๔๐ รูป รูปเกิดโดยมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว คือ ชีวตะ ภาวะ กายปสาทะ จักขุปสาทะ.
ชาวโลก (พาลปุถุชน) จำก้อนเนื้อได้ว่าเป็นตาสีขาว ตาใหญ่ ตาบริสุทธิ์ ตากว้าง ย่อมไม่จำว่าเป็นจักขุ ย่อมจำซึ่งวัตถุโดยความเป็นจักษุตานั้นเป็นก้อนเนื้อตั้งอยู่เฉพาะในเบ้าตา อันสายเอ็นรัดไว้กับมันสมองในภายใน เป็นสีขาวก็มี เป็นสีดำก็มี เป็นสีแดงก็มี เป็นปฐวีก็มี เป็นอาโปก็มี
(๑) ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต.
(๒) ม. มู. เล่ม ๑๒. ๓๒๔/๓๒๘.
(๓) ม.ม. เล่ม ๑๓. ๕๙๙/๕๔๕.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 217
เป็นเตโชก็มี เป็นวาโยก็มี. ตาใดมีสีขาว เพราะมากด้วยเสมหะ มีสีดำเพราะมากด้วยน้ำดี มีสีแดง เพราะมากด้วยโลหิต มีความกระด้างเพราะมากด้วยปฐวี มีน้ำตาไหลออก เพราะมากด้วยอาโป มีความแห้งเกรียม เพราะมากด้วยเตโช มีความเคลื่อนไหวได้เพราะมากด้วยวาโย นี้ชื่อว่า สสัมภารจักษุ.
ส่วนปสาทรูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เหล่านี้ อยู่ในสสัมภารจักษุนี้เนื่องเฉพาะในสสัมภารจักษุนี้ รูปนี้ชื่อว่า ปสาทจักขุ จักขุประสาทนี้ตั้งอยู่ซึมซาบตลอดเยื้อตา ๗ ชั้น เหมือนน้ำมันที่ลาดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น ในแววตา (มณฑล) ที่เห็นรูปเป็นเช่นกับถีนที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐานของบุคคลทั้งหลายผู้ยืนอยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแห่งแววตาสีดำ แวดล้อมด้วยแววตา (มณฑล) สีขาวแห่งสสัมภารจักษุนั้น มีอุปการะอันธาตุทั้ง ๔ อุปการะด้วยกิจมีการให้ทรงไว้ ให้ชุ่มอยู่ ให้อบอุ่น ให้เคลื่อนไหวไปมาได้ เปรียบเหมือนแม่นม ๔ คน ทำหน้าที่เลี้ยงดูอุ้มชู ให้ทรงสนาน ให้การประดับตกแต่งพระองค์ และให้อยู่งานคอยพัดวีฉะนั้น อันอุตุ จิต และอาหารอุปถัมภ์อยู่ อันอายุคือชีวิตินทรีย์คอยเฝ้าอนุบาล แวดล้อมด้วยโคจรรูปมี วรรณะ คันธะ และรสะเป็นต้น เมื่อว่าโดยประมาณ จักขุประสาทนี้มีประมาณเท่าหัวเล็น ให้สำเร็จความเป็นไปแห่งวัตถุและทวาร (๑) ของจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น (๒) ตั้งอยู่ตามควร (๓) สมดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า
เยน จกฺขุปฺปสาเทน รูปานิ สมนุปสฺสติ
ปริตฺตํ สุขุมํ เอตํ โอกาสิรสมูปมํ
(๑) วัตถุ หมายถึงที่เป็นที่อาศัยของจักขุวิญญาณ.
(๒) คือมีจักขุวิญญาณและสัมปฏิจฉันนจิต เป็นต้น มีตทารัมมณะเป็นที่สุด.
(๓) โยชนาว่า ตามควรแก่วัตถุและทวาร.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 218
สัตว์ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ด้วยจักขุประสาทรูปใด จักขุประสาทรูปนี้ เล็กละเอียด มีประมาณเท่าศีรษะเล็น ดังนี้.
จักษุนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขายตนะ แม้ในข้อว่า ยํ จกฺขุ จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย ปสาโท (จักษุใดเป็นประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔) นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถการประกอบ (ทุติยาวิภัตติ) อธิบายว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นไป. ด้วยบทนี้ท่านถือเอาจักขุประสาทเท่านั้น ปฏิเสธจักษุที่เหลือ.
ส่วนคำใดที่ตรัสไว้ในอินทริยโคจรสูตรว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูปหนึ่งคือปฐวีธาตุ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยภูตรูป ๓ คือ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เป็นต้น ในจตุปริวัตตสูตร กล่าวไว้ว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๒ คือ ปฐวีธาตุ และอาโปธาตุ ไม่สงเคราะห์ด้วยมหาภูตรูป ๒ คือ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ คำนั้นตรัสไว้โดยปริยาย จริงอยู่ สุตตันติกกถานี้เป็นปริยายเทศนา ก็เทศนาในสุตตันติกกถานี้ ตรัสไว้โดยปริยายนี้ว่า ประสาทรูปใดอาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔ ประสาทรูปนั้นก็เป็นประสาทรูปในมหาภูตรูปเหล่านั้นแต่ละอย่างๆ บ้าง แต่ละ ๒ อย่างบ้างนั่นแหละ ดังนี้.
แต่พระอภิธรรม ชื่อว่า นิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ในอภิธรรมนี้ จึงตรัสว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดังนี้.
สรีระก็ดี ขันธปัญจกะก็ดี ตรัสเรียกว่า อัตภาพ เพราะความที่สภาวะนี้คนพาลกำหนดยึดถือว่า นี้เป็นอัตภาพของเรา ธรรมที่นับเนื่องในอัตภาพธรรมที่อาศัยอัตภาพ เรียกว่า นับเนื่องในอัตภาพ (อตฺตภาวปริยาปนฺโน) ที่ชื่อว่า เป็นสภาพที่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 219
เห็นไม่ได้ (อนิทสฺสโน) เพราะอรรถว่า ไม่อาจเพื่อจะเห็นได้ด้วยจักขุวิญญาณ. ที่ชื่อว่า กระทบได้ (สปฺปฏิโฆ) เพราะอรรถว่า การกระทบ การเสียดสี ย่อมเกิดในประสาทนี้.
ในคำทั้งหลายมีคำว่า ด้วยจักษุใด เป็นต้น มีเนื้อความโดยย่อดังต่อไปนี้ สัตว์นี้เห็นรูปมีประการดังกล่าวแล้วนี้ในอดีต หรือว่ากำลังเห็นในปัจจุบัน หรือว่าจักเห็นในอนาคต ด้วยจักษุใดอันเป็นเหตุ ถ้าจักษุของสัตว์นั้นยังไม่พึงแตกทำลายไป ทีนั้นเขาก็พึงเห็นรูปที่มาสู่คลองได้ด้วยจักษุนั้น หรือเห็นแล้วซึ่งรูปอดีตด้วยจักษุอดีต ย่อมเห็นรูปปัจจุบันด้วยจักษุปัจจุบัน หรือจักเห็นรูปอนาคตด้วยจักษุที่เป็นอนาคต. ในอธิการนี้มีพระบาลีกำหนดไว้ว่า ถ้ารูปนั้นพึงมาสู่คลองแห่งจักษุไซร้ สัตว์นั้นก็พึงเห็นรูปนั้นได้ด้วยจักษุ ดังนี้.
รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นผู้นำในการเห็น. นี้เรียกว่า จักขายตนะบ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นถิ่นเกิดและเป็นที่ประชุมแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น. นี้เรียกว่า จักขุธาตุบ้าง ด้วยอรรถว่าความเป็นของว่างเปล่า และมิใช่สัตว์. นี้เรียกว่า จักขุนทรีย์บ้าง เพราะอรรถว่า ย่อมครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการเห็น. นี้เรียกว่า โลกบ้าง ด้วยอรรถว่า ต้องชำรุดทรุดโทรม. นี้เรียกว่า ทวารบ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นทางเข้าไป. นี้เรียกว่า สมุทรบ้าง ด้วยอรรถว่า ให้เต็มได้ยาก. นี้เรียกว่า ปัณฑระบ้าง ด้วยอรรถว่า บริสุทธิ์. นี้เรียกว่า เขตบ้าง (เกษตร) ด้วยอรรถว่า เป็นที่เกิดเฉพาะแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น. นี้เรียกว่า วัตถุบ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นที่อาศัยแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ. นี้เรียกว่า เนตรบ้าง เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงทางที่เสมอไม่เสมอนำอัตภาพไป. นี้เรียกว่า นัยนาบ้าง ด้วยอรรถแสดงทางที่เสมอไม่เสมอนำอัตภาพไปนั้นเหมือนกัน. นี้เรียกว่า ฝั่งนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 220
บ้าง ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยกายของตน. และรูป นี้เรียกว่า สุญญคามบ้าง (บ้านว่าง) ด้วยอรรถว่า เป็นที่สาธารณะแก่สัตว์เป็นอันมาก และด้วยอรรถว่า หาเจ้าของมิได้ ดังนี้.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัณฑิตพึงประกอบชื่อ ๑๔ อย่าง มีคำว่า จกฺขุเปตํ (นี้เรียกว่า จักษุบ้าง) เป็นต้น ด้วยบท ๔ (๑) บท มีคำว่า ปสฺสิ วา (เห็นแล้ว) เป็นต้น แล้วพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนัยเป็นเครื่องกำหนดจักขายตนะไว้ ๔ บท ดังนี้. พึงทราบอย่างไร? พึงทราบว่า ก็ในพระบาลีนี้ มีนัยหนึ่งนี้ว่า
สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็นซึ่งรูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้ และกระทบได้ ด้วยจักษุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ฯลฯ นี้เรียกว่า สุญญคามบ้าง (บ้านว่าง) รูปนี้นั้นเรียกว่า จักขายตนะ ดังนี้. นัยแม้ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.
ว่าด้วยนิทเทสแห่งจักขายตนะ
บัดนี้ เพราะในเวลาที่ฟ้าแลบเป็นต้น แม้บุคคลผู้ไม่ต้องการดู รูปก็ย่อมกระทบจักษุประสาทได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงประสงค์จะทรงประกาศอาการนั้น จึงเริ่มนิทเทสวาร (วาระว่าด้วยการขยายความ) ที่สองต่อไป.
ในพระบาลีนั้น บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ที่จักษุใดอันเป็นเหตุ. คำว่า รูปํ นั่นเป็นปฐมาวิภัตติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหญฺิ วา (กระทบแล้ว) เป็นเนื้อความอดีต. บทว่า ปฏิหญฺติ วา (ย่อมกระทบ) เป็นเนื้อความปัจจุบัน. บทว่า ปฏิหญฺิสฺสติ วา (จักกระทบ) เป็นเนื้อความอนาคต. บทว่า ปฏิหญฺเ วา (พึงกระทบ) เป็นเนื้อความกำหนด.
(๑) ๔ บทคือ ปสฺสิ วา ปสฺสติ วา ปสฺสิสติ วา ปสฺเส วา แปลว่า เห็นแล้ว หรือกำลังเห็น หรือจักเห็น หรือพึงเห็น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 221
จริงอยู่ รูปอดีต ชื่อว่า กระทบแล้ว แม้ในจักษุที่เป็นอดีต. รูปที่เป็นปัจจุบันก็ชื่อว่า ย่อมกระทบ ในจักษุที่เป็นปัจจุบัน. รูปที่เป็นอนาคต ก็ชื่อว่า จักกระทบ ในจักษุที่เป็นอนาคต. ในพระบาลีนี้มีเนื้อความกำหนดไว้ว่า ถ้ารูปนั้นพึงมาสู่คลองจักษุไซร้ รูปนั้นก็พึงกระทบในจักษุ ดังนี้. แต่เมื่อว่าโดยใจความแล้ว รูปเมื่อกำลังกระทบซึ่งประสาทเท่านั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทบ.แม้ในอธิการนี้ พึงทราบนัยทั้ง ๔ โดยนัยที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงประกาศอาการที่บุคคลประสงค์จะแลดูด้วยความปรารถนาของตน จึงหันจักษุไปทางรูป จักษุจึงกระทบรูปนั้นจึงเริ่มตรัสนิทเทสวารที่ ๓ ต่อไป. ว่าโดยใจความนิเทสวารที่ ๓ นั้น แจ่มแจ้งแล้วโดยแท้ แต่ในอธิการนี้ จักษุรับอารมณ์แล้วเท่านั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทบที่รูป. บัณฑิตพึงทราบนัยแห่งการกำหนด ๔ อย่าง แม้ในนิทเทสที่ ๓ นี้ โดยนัยก่อนนั่นแหละ.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป ทรงแสดง ๑๐ วาระ คือ ๕ วาระด้วยสามารถแห่งการแสดงความเกิดขึ้นแห่งธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น และ ๕ วาระด้วยสามารถแห่งการแสดงความเกิดขึ้นโดยมีอารมณ์เกี่ยวเนื่องกันแห่งธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ นิสฺสาย (อาศัยจักษุ) ได้แก่อาศัยจักษุ คือกระทำจักษุให้เป็นปัจจัย. บทว่า รูปํ อารพฺภ (ปรารภรูป) ได้แก่ มาถึง คือมุ่งหมายอาศัยรูปารมณ์. ด้วยพระบาลีนี้ทรงแสดงความที่รูปเป็นปัจจัย โดยความเป็นปุเรชาตปัจจัยแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่อาศัยจักขุประสาท และโดยเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัยซึ่งนับเนื่องในชวนวิถีทางจักขุทวาร. ใน ๕ วาระนอกนี้ ทรงแสดงความที่รูปเป็นปัจจัยโดยเป็นเพียงอารัมมณปัจจัยอย่างนี้ว่า รูปเป็นอารมณ์ของธรรมนี้มีอยู่ เพราะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 222
เหตุนั้น ธรรม (จักขุวิญญาณ) นี้ จึงชื่อว่า มีรูปเป็นอารมณ์. พึงทราบนัยที่ทรงกำหนดนัยละ ๔ วาระ ในวาระทั้ง ๑๐ แม้เหล่านั้น เหมือนใน ๓ วาระแรก.
จักษุที่ทรงยกขึ้นแสดงเพื่อถามว่า รูปที่ชื่อว่า จักขายตนะ เป็นไฉน? ดังนี้ เพื่อแสดงคำว่า อิทนฺตํ (รูปนี้นั้น) โดยประการต่างๆ จึงแสดงนิทเทสวาร ๑๓ คือ นัยก่อน ๓ วาระ นัยนี้ ๑๐ วาระ. ก็ในวาระ ๑๓ เหล่านี้ แต่ละวาระพึงทราบว่า ทรงแสดงประดับนัยไว้ ๕๒ นัย เพราะการกำหนดวาระละ ๔ นัย ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งโสตายตนะเป็นต้น ข้างหน้าแต่จักขุนิทเทสนี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในโสตายตนนิทเทสเป็นต้นนี้ พึงทราบคำที่ต่างกันอย่างนี้.
ว่าด้วยคำว่าโสตเป็นต้น
ธรรมที่ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน. โสตนั้นตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังวงแหวน มีขนแดงละเอียดงอกขึ้นภายในช่องแห่งสสัมภารโสต (หูพร้อมด้วยเครื่องประกอบ) อันธาตุทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วอุปการะ อันอุตุจิตและอาหารคอยอุปถัมภ์ อันอายุคือ ชีวิตรูป คอยอนุบาล อันโคจรรูปมีวรรณะเป็นต้น แวดล้อมแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุ และทวารแก่โสตวิญญาณเป็นต้นตามสมควร.
ธรรมที่ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า ย่อมสูดกลิ่น. ฆานะที่เป็นประสาทรูปนั้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังกีบเท้าแพะภายในช่องสสัมภารฆานะ (ช่องจมูกพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้รับอุปการะอุปถัมภ์อนุบาลและการแวดล้อมตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร แก่ฆานวิญญาณเป็นต้น ตามสมควร.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 223
ธรรมที่ชื่อว่า ชิวหา ด้วยอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหาที่เป็นปสาทรูปนั้นตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบอุบล เบื้องบนท่ามกลางสสัมภารชิวหา (ลิ้นพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้อุปการะ อุปถัมภ์ อนุบาล และการแวดล้อมตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จเป็นวัตถุและทวารแห่งชิวหาวิญญาณเป็นต้น ตามควร.
แต่ในกายนี้ ชื่อว่า อุปาทินนกรูป มีประการเพียงใด กายายตนะก็ตั้งอยู่ในกายทั้งสิ้น เหมือนยางใยในฝ้ายได้อุปการะ อุปถัมภ์ อนุบาล และการแวดล้อมตามประการที่กล่าวแล้ว ก็ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารแก่กายวิญญาณเป็นต้น ตามควร. นี้เป็นความต่างกันในอุปาทารูปเหล่านี้. ความแตกต่างกันแห่งพระบาลีและอรรถกถาที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขุนิทเทสนั่นแหละ. ก็ในที่นี้ บทว่า โสตเป็นต้น มาในที่แห่งบทจักษุ บทว่าเสียงเป็นต้น มาในที่บทแห่งรูป บทได้ยินเป็นต้น มาในที่แห่งบททั้งหลายมีเห็นแล้วอย่างเดียว อนึ่ง ๒ บทนี้คือ รูปนี้ชื่อว่า เนตรบ้าง นี้ชื่อว่า นัยนาบ้างไม่มี เพราะฉะนั้น จึงมีวัตถุและทวารอย่างละ ๑๒ ชื่อ. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำที่กล่าวไว้ในบททั้งปวงนั้นแหละ.
ในอธิการแห่งกายายตนะนั้น ผิว่ามีผู้ท้วงว่า ชื่อว่า อุปาทินนกรูป นี้ มีอยู่ในกายนี้เพียงใด กายายตนะก็มีอยู่ในกายทั้งสิ้น ดุจยางใยในปุยฝ้าย ผิว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมถึงการปะปนกันด้วยลักษณะ (ในกลาปอื่น) . ตอบว่าไม่ปรากฏปะปนกัน (ในกลาปอื่น) . เพราะเหตุไร? เพราะความไม่มีในกลาปอื่นของกันและกัน. ถามว่า ถ้าอย่างนั้นกายายตนะก็ไม่มีในกายทั้งปวง. ตอบว่าโดยปรมัตถ์ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดท่านไม่ได้แยกกายไว้ต่างหาก แต่เหตุแห่งการต่างกันของอุปาทินนกรูปนั้นใครๆ ไม่อาจเพื่อบัญญัติได้ เพราะฉะนั้นจึงได้กล่าวไว้อย่างนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 224
เหมือนอย่างว่า รูปและรสเป็นต้น ที่กล่าวว่าเป็นของซึมซาบอยู่ในกันและกัน เพราะความที่รูปและรสนั้นใครๆ ไม่อาจแยกจากกันได้ดุจผงทรายละเอียด แต่โดยปรมัตถ์ รสก็หามีในรูปไม่ ถ้าจะพึงมีไซร้ รสก็พึงปรากฏด้วยศัพท์ว่ารูปเหมือนกัน ฉันใด แม้กายายตนะก็ฉันนั้นเหมือนกันว่าโดยปรมัตถ์ไม่มีอยู่ในกาย (อุปาทินนกรูป) ทั้งหมด และไม่มีในกายทั้งหมดก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีใครอาจเพื่อจะแบ่งออกได้ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าความปะปนกันด้วยลักษณะในที่นี้ จึงไม่ปรากฏด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความไม่ปะปนกันของประสาทรูปเหล่านี้ โดยกำหนดด้วยลักษณะเป็นต้น. จริงอยู่ บรรดาประสาทรูปเหล่านี้ รูปาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณํ ทฏฺฐุกามตานิทานกมฺมสมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขณํ วา จกฺขุ จักษุมีความใสของภูตรูปอันควรแก่การกระทบรูปเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน อันเป็นเหตุของบุคคลผู้ต้องการจะดูเป็นลักษณะ รูเปสุ อาวิญฺจนรสํ มีการคร่ารูปทั้งหลายมาเป็นกิจ จกฺขุวิญฺาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺานํ มีการทรงอยู่ของจักขุวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน ทฏฺฐุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺานํ มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดูเป็นปทัฏฐาน.
สทฺทาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณํ โสตุกามตานิทานกมฺมสมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขณํ วา โสตํ โสตมีความใสแห่งภูตรูปอันควรแก่การกระทบเสียงเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปอันมีกรรมเป็นสมุฏฐานอันเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะฟังเป็นลักษณะ สทฺเทสุ อาวิญฺจนรสํ มีการคร่าเสียงทั้งหลายมาเป็นกิจ โสตวิญฺาณสฺส อาธารภาวปจฺจุ-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 225
ปฏฺานํ มีการทรงอยู่ของโสตวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน โสตุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺานํ มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะฟังเป็นปทัฏฐาน.
คนฺธาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณํ ฆายิตุกามตานิทานกมฺมสมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขณํ วา ฆานํ ฆานะมีความใสของภูตรูปอันควรแก่การกระทบของกลิ่นเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐานเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดมเป็นลักษณะ คนฺเธสุ อาวิญฺจนรสํ มีการคร่ากลิ่นทั้งหลายมาเป็นกิจ ฆานวิญฺาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺานํ มีการทรงอยู่ของฆานวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน ฆายิตุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺานํ มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดมเป็นปทัฏฐาน.
รสาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณา สายิตุกามตานิทานกมฺมสมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขณา ชิวฺหา ลิ้นมีความใสของภูตรูปอันควรแก่การกระทบรสเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐานเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะลิ้มรสเป็นลักษณะ รเสสุ อาวิญฺจนรสา มีการคร่ารสทั้งหลายมาเป็นกิจ ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺานา มีการทรงอยู่ของชิวหาวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน สายิตุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺานา มีภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะลิ้มรสเป็นปทัฏฐาน.
โผฏฺพฺพาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขโณ ผุสิตุกามตานิทานกมฺมสมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขโน วา กาโย กายมีความใสของภูตรูปอันควรแก่การกระทบโผฏฐัพพะเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐานเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะถูกต้องเป็นลักษณะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 226
โผฏฺพฺเพสุ อาวิญฺจนรโส มีการคร่าโผฏฐัพพะทั้งหลายมาเป็นกิจ กายวิญฺาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺาโน มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน ผุสิตุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺาโน มีภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะกระทบเป็นปทัฏฐาน.
ว่าด้วยวาทะของอาจารย์บางพวก
ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปทั้งหลายที่มีเตโชธาตุมากเป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปทั้งหลายที่มีวาโยมาก ปฐวีมาก และอาโปมาก เป็นโสต เป็นฆานะ และเป็นชิวหา ประสาทของภูตรูปทั้งหมด (ทั้ง ๔) เป็นกาย.
ปรวาทีอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปยิ่งด้วยเตโชธาตุเป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปยิ่งด้วยวาโยธาตุในช่องหู ยิ่งด้วยอาโปธาตุยิ่งด้วยปฐวีธาตุ ก็เป็นโสต เป็นฆานะ เป็นชิวหา เป็นกาย. อาจารย์ทั้งหลายพึงกล่าวท้วงอาจารย์ปรวาทีเหล่านั้นว่า ขอจงนำพระสูตรมาอ้าง. เป็นการแน่นอน ท่านปรวาทีอาจารย์เหล่านั้นจักไม่เห็นพระสูตรเลย. แต่อาจารย์บางพวกก็ยังกล่าวถึงเหตุในประสาทรูปเหล่านี้ว่า เพราะความที่ภูตรูปมีเตโชธาตุเป็นต้น พึงอุปการะด้วยรูปทั้งหลายที่มีคุณ. พึงท้วงเกจิอาจารย์เหล่านั้นว่าก็ใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นต้นเป็นคุณของภูตรูปมีเตโชธาตุเป็นต้น เพราะในอวินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้ ๘ อย่าง) ทั้งหลาย ใครๆ ย่อมไม่ได้เพื่อจะกล่าวว่า ในภูตรูปเหล่านั้น รูปนี้เป็นคุณของรูปนี้ รูปนี้เป็นคุณของรูปนี้ ดังนี้.
ถ้าปรวาทีนั้นจะพึงโต้กะสกวาทีว่า พวกท่านย่อมปรารถนากิจทั้งหลายมีการทรงไว้เป็นต้น แห่งปฐวีธาตุเป็นต้น เพราะความที่ภูตรูปนั้นๆ ในสัมภาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 227
นั้นๆ เป็นของยิ่ง ฉันใด ข้อที่พวกที่พึงปรารถนาว่า รูปทั้งหลายเป็นคุณของภูตรูปเหล่านั้น เพราะแสดงความที่รูปเป็นต้นในสัมภาระอันยิ่งด้วยเตโชธาตุเป็นต้นเป็นของมีมาก ก็ฉันนั้น.
สกวาทีพึงท้วงปรวาทีนั้นว่า พวกเราปรารถนา ถ้าว่า กลิ่นในฝ้ายอันมีปฐวีธาตุมากพึงมีมากกว่ากลิ่นของน้ำผักดองอันมีอาโปธาตุมาก และสีของน้ำเย็นก็พึงมีสีน้อยกว่าแม้ของน้ำร้อนอันมีเตโชธาตุมาก แต่คำที่กล่าวแล้วทั้ง ๒ นี้หามีไม่ เพราะฉะนั้น ขอพวกท่านพึงละการกำหนดความต่างกันแห่งภูตรูปอันเป็นที่อาศัยแห่งปสาทรูปเหล่านั้นเถิด ควรถือเอาดังนี้ว่า รูปและรสเป็นต้นของภูตรูปในรูปกลาปอันเดียวกันแม้ไม่แปลกกัน ก็ยังไม่เหมือนกันและกัน ฉันใด เมื่อเหตุแปลกกันอื่นๆ แม้ไม่มีอยู่ ประสาทมีจักษุเป็นต้นก็ยังไม่เหมือนกัน ฉันนั้น.
ถามว่า ก็เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่กันและกันนั้นได้แก่อะไร.
ตอบว่า ได้แก่ กรรมเท่านั้นเป็นเหตุต่างกันของประสาทรูปเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ความต่างกันแห่งประสาทรูปเหล่านี้ เพราะความต่างกันแห่งกรรม หาใช่ความต่างกันของภูตรูปไม่. เพราะว่า เมื่อความต่างกันแห่งภูตรูปมีอยู่ประสาทรูปนั่นแหละจะไม่เกิดขึ้น โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ก็ประสาทรูปของมหาภูตรูปทั้งหลายที่เหมือนกัน หาใช่ของมหาภูตรูปที่ไม่เหมือนกันไม่.
ก็บรรดาประสาทรูปเหล่านี้ ที่มีความต่างกันเพราะความต่างกันแห่งกรรม จักษุและโสตเป็นอสัมปัตตวิสยคาหกะ (คือรับอารมณ์ที่มาไม่ถึง) เพราะอุปปัตติเหตุของวิญญาณในอารมณ์ อันมีที่อาศัยไม่ติดกับมหาภูตรูปอันเป็นที่อาศัยของตน ฆานะ ชิวหา และกายเป็นสัมปัตตวิสยคาหกะ (รับ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 228
อารมณ์ที่มาถึงตน) เพราะความที่อุปปัตติเหตุของวิญญาณในอารมณ์ ซึ่งติดกับมหาภูตรูปอันเป็นที่อาศัยของตน โดยอำนาจแห่งวัตถุที่อาศัย และโดยตนเองนั่นแหละ.
แต่ในอรรถกถากล่าวว่า อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ ที่มาถึงตนเพราะความที่อารมณ์มาสู่คลองแห่งจักษุและโสตทีเดียว. จริงอยู่ สี (วรรณะ) ของมณฑลแห่งพระจันทร์และอาทิตย์ตั้งอยู่ไกลถึง ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ก็ยังกระทบจักขุประสาท สีนั้นแม้ปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลก็ชื่อว่า สัมปัตตะ เหมือนกัน. จักษุชื่อว่ามีอารมณ์ที่มาถึง (สัมปัตตะ) เพราะความที่สีนั้นเป็นอารมณ์ทีเดียว. กายวิการของบุคคลทั้งหลายที่ติดต้นไม้อยู่ในที่ไกลก็ดี ของช่างย้อมผู้ซักผ้าอยู่ก็ดี ย่อมปรากฏแม้แต่ที่ไกล. แต่เสียงมาโดยการสืบต่อๆ กันมาแห่งธาตุกระทบโสตแล้วก็ค่อยๆ สลายไป ดังนี้.
ในอรรถกถานั้น อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ (ที่มาถึงตน) เพราะความที่อารมณ์นั้นมาสู่คลองก็จริง ถึงอย่างนั้น สีของมณฑลพระจันทร์เป็นต้นก็ไม่มาถึงจักษุ ย่อมปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลนั่นแหละ แม้เสียงพึงค่อยๆ มาไซร้ เกิดในที่ไกลก็พึงได้ยินช้า เพราะมาโดยกระทบต่อๆ กันมา เมื่อกระทบโสต ก็ไม่ปรากฏว่า เสียงนั้นชื่อว่าอยู่ในทิศชื่อโน้น เพราะฉะนั้น จักษุและโสตจึงมีอารมณ์เป็นอสัมปัตตะ (มาไม่ถึง) นั้นแหละ.
ตาเปรียบด้วยงู
ประสาทรูปเหล่านี้ เปรียบเหมือนสัตว์มีงูเป็นต้น เหมือนอย่างว่าขึ้นชื่อว่างู ย่อมไม่ชอบใจในที่ชื้นแฉะและราบเรียบในภายนอก จึงเข้าไปที่ต้นไม้ใบหญ้าชัฏและจอมปลวกนั่นแหละย่อมชอบใจในเวลานอน ย่อมถึงความเป็นสัตว์มีจิตสงบ ฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในสิ่งไม่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 229
ราบเรียบ ย่อมไม่พอใจไม่ปรารถนาแม้จะแลดูในที่มีฝาทองคำเป็นต้นที่เรียบร้อย แต่ย่อมชอบในที่มีลวดลายหลากสีด้วยรูป ดอกไม้ และเครือเถาเป็นต้นทีเดียว เพราะในที่เช่นนั้น เมื่อตายังไม่เพียงพอ คนทั้งหลายก็ยังอ้าปากอยากมอง.
หูเปรียบด้วยจระเข้
แม้จระเข้เล่า เมื่อออกไปภายนอกไม่เห็นสิ่งที่ตนจะพึงงับเอาก็หลับตาไป แต่ในกาลใด หยั่งลงสู่น้ำประมาณร้อยวาเข้าไปยังโพรงนอนแล้ว ในกาลนั้น จิตของมันก็ถึงความสงบ หลับสบาย ฉันใด แม้โสตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชอบในที่มีโพรง อาศัยอากาศ ชอบใจในโพรงช่องหูเท่านั้น อากาศช่องหูเท่านั้นเป็นปัจจัยในการได้ยินเสียงนั้น แม้อัชฎากาศก็สมควรเหมือนกัน ด้วยว่าเมื่อทำการสาธยายภายในถ้ำ เสียงหาเจาะถ้ำออกไปภายนอกไม่ แต่ก็ออกไปตามช่องประตู หน้าต่าง กระทบสืบต่อๆ กันไปแห่งธาตุแล้ว กระทบโสตประสาท. ในลำดับแห่งการกระทบ ชนผู้นั่งอยู่บทหลังถ้ำย่อมรู้ว่า บุคคลชื่อโน้นย่อมสาธยาย ดังนี้. ครั้นเมื่อคำที่กล่าวอย่างนี้มีอยู่ ชื่อว่า อารมณ์ของโสตก็เป็นสัมปัตตะ (คือมาถึงตนได้) .
ถามว่า ก็โสตนี้มีอารมณ์เป็นสัมปัตตะหรือ?
ตอบว่า ใช่แล้ว มีอารมณ์เป็นสัมปัตตะ.
ถามว่า ถ้าเช่นนั้น กลองเป็นต้นดังในที่ไกล ก็จะไม่รู้เสียงในที่ไกลใช่ไหม.
ตอบว่า ไม่พึงรู้ก็ไม่ใช่ เพราะเมื่อเสียงกระทบโสตประสาท ย่อมมีการรู้โดยประการนั้นๆ ว่า เสียงไกล เสียงใกล้ เสียงฝั่งโน้น เสียงฝั่งนี้ ดังนี้ข้อนี้เป็นธรรมดา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 230
ก็ธรรมดานี้เป็นเช่นไร ก็ธรรมดาช่องหูมีอยู่ในที่ใดๆ การฟังก็มีแต่ที่นั้นๆ เหมือนการเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นต้น เพราะฉะนั้น โสตประสาทนี้ จึงมีอารมณ์เป็นอสัมปัตตะโดยแท้.
จมูกเปรียบด้วยนก
แม้นกก็ไม่ยินดีบนต้นไม้หรือพื้นดิน แต่ในเวลาใดมันโผบินเลยล่วงการขว้างก้อนดินหนึ่งระยะหรือสองระยะบินขึ้นไปสู่อากาศว่างเปล่า ในเวลานั้นมันก็จะมีจิตสงบ ฉันใด แม้ฆานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในอากาศ มีกลิ่นโดยอาศัยลมเป็นอารมณ์ เหมือนอย่างโค เมื่อฝนตกใหม่ๆ ก็สูดดมแผ่นดินแล้วก็เบิ่งหน้าหาอากาศสูดลม และเวลาที่บุคคลแม้เอานิ้วมือจับก้อนที่มีกลิ่นแล้วสูดดมไม่หันหน้ามาทางลมก็ไม่รู้กลิ่นนั้น.
ลิ้นเปรียบด้วยสุนัขบ้าน
แม้สุนัขบ้านเมื่อเที่ยวไปภายนอก ย่อมไม่เห็นที่ปลอดภัย ย่อมถูกประทุษร้ายโดยการถูกขว้างด้วยก้อนดินเป็นต้น เข้าไปสู่ภายในบ้านแล้วก็คุ้ยขี้เถ้าที่เตาไฟก็นอนเป็นสุข ฉันใด แม้ชิวหาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอัชฌาสัยในบ้าน มีรสอาศัยอาโปธาตุเป็นอารมณ์ จริงอย่างนั้น ภิกษุแม้กระทำสมณธรรมตลอดสามยามแห่งราตรีแล้ว ถือบาตรและจีวรแต่เช้าตรู่เข้าไปสู่บ้าน เพราะว่าเมื่อของเคี้ยวแห้งไม่เปียกด้วยน้ำลาย ใครๆ ก็ไม่อาจเพื่อรู้รสได้.
กายเปรียบด้วยสุนัขจิ้งจอก
แม้สุนัขจิ้งจอกเมื่อเที่ยวไปภายนอกก็ไม่ประสบความยินดี แต่เมื่อมันเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ในป่าช้าผีดิบแล้วนอนนั่นแหละ มันจึงมีความสุขฉันใด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 231
แม้กายก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอัชฌาสัยในอุปาทินนกรูป (มีใจครอง) มีโผฏฐัพพะอาศัยปฐวีธาตุเป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายเมื่อไม่ได้อุปาทินนกรูปอื่น ก็เอาฝ่ามือของตนนั่นแหละรองศีรษะนอน ปฐวีธาตุของกายบุคคลนั้น แม้อยู่ภายในและภายนอกก็เป็นปัจจัยในการรับอารมณ์. จริงอยู่ที่นอนแม้ปูไว้อย่างดียังไม่ทันนั่งหรือนอนก็ไม่รู้ความแข็งและอ่อนได้ หรือผลไม้ที่เขาวางไว้บนฝ่ามือยังไม่ทันบีบดูก็ไม่อาจรู้ถึงความแข็งและอ่อนได้. ปฐวีธาตุที่อยู่ภายในหรือภายนอกจึงเป็นปัจจัยโดยการรู้การกระทบของประสาทนี้. พึงทราบความไม่ปะปนกันแห่งประสาทรูปเหล่านั้น โดยการกำหนดธรรมมีลักษณะเป็นอย่างนี้.
จริงอยู่ ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน อารมณ์ อัชฌาสัยและวัตถุที่อาศัยของจักษุประสาทเป็นอย่างหนึ่ง ของโสตประสาทเป็นต้นก็อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จักขายตนะเป็นต้น จึงไม่ปะปนกันโดยแท้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบแม้อุปมาในความที่ประสาทรูปเหล่านั้นไม่ปะปนกัน ดังต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า เงาแห่งธงทั้งหลาย ๕ สี ที่เขายกขึ้นแล้ว เนื่องเป็นอันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้น เงาของธงก็ไม่ปะปนกันและกันฉันใด อนึ่งเมื่อเขาเอาฝ้าย ๕ สี ควั่นทำเป็นไส้ประทีป (ตะเกียง) จุดให้ลุกโพลงแล้วเปลวไฟดูเหมือนเป็นอันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้นเปลวไฟแห่งรัศมีของฝ้ายนั้นๆ ก็เป็นคนละอย่าง ไม่ปะปนกันและกันฉันใด อายตนะ ๕ เหล่านี้แม้รวมกันอยู่ในอัตภาพเดียวกัน แต่ก็ไม่ปะปนกันและกันฉันนั้นเหมือนกัน ใช่แต่อายตนะ ๕ เหล่านี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้รูปที่เหลือก็ไม่ปะปนกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 232
จริงอยู่
ในสรีระนี้ มีกาย ๓ ส่วน คือ
กายท่อนล่าง ๑
กายท่อนกลาง ๑
กายท่อนบน ๑.
บรรดา ๓ ส่วนเหล่านั้น กายในเบื้องต่ำแต่สะดือลงไป ชื่อว่า กายท่อนล่าง ในกายท่อนล่างนั้นมีรูป ๔ รูป คือ กายทสกะ (๑) ๑๐ ภาวทสกะ ๑๐ มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ๘ (๒) มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ๘ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ๘. กายเบื้องบนตั้งแต่สะดือขึ้นไปถึงหลุมคอ ชื่อว่า กายท่อนกลาง ในกายท่อนกลางนั้น มีรูป ๕๔ รูปคือ กายทสกะ ๑๐ ภาวทสกะ ๑๐ วัตถุทสกะ ๑๐ รูปทั้ง ๓ มีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเป็นต้นอย่างละ ๘. กายเบื้องบนแต่หลุมคอขึ้นไป ชื่อว่า กายท่อนบน. ในกายท่อนบนนั้นมีรูป ๘๔ คือ จักขุทสกะ ๑๐ โสตทสกะ ๑๐ ฆานทสกะ ๑๐ ชิวหาทสกะ ๑๐ กายทสกะ ๑๐ ภาวทสกะ ๑๐ รูป ๓ รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเป็นต้นอย่างละ ๘.
บรรดารูปเหล่านั้น รูปที่ชื่อว่า จักขุทสกะ ด้วยสามารถแห่งนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่แยกจากกันแต่ละส่วนไม่ได้ นี้คือ มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่จักขุประสาท วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ชีวิตินทรีย์ และจักขุประสาท. รูปแม้ที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยนี้.
บรรดากาย ๓ ส่วนนั้น รูปในกายท่อนล่างไม่ปะปนกับรูปกายท่อนกลางและรูปกายท่อนบน รูปแม้ในกายที่เหลืออีก ๒ ก็ไม่ปะปนกับรูปกายนอกนี้. เหมือนอย่างว่า เงาภูเขา และเงาต้นไม้ในเวลาเย็น ดุจเนื่องเป็น
(๑) กายทสกะ ๑๐ คือ มหาภูตรูป ๔ วรรณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑ โอชา ๑ ชีวิตรูป ๑ กายประสาท ๑.
(๒) อาหารสมุฏฐาน เป็นต้น อย่างละ ๘ ได้แก่ อวินิโภครูป ๘ มีปฐวีเป็นต้น มีโอชาเป็นที่สุด.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 233
อันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มิได้ปะปนกันฉันใด ในกายแม้เหล่านั้น รูป ๔๔ ก็ดี รูป ๕๔ ก็ดี รูป ๘๔ ก็ดี ก็ฉันนั้น เป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่ก็ไม่ปะปนซึ่งกันและกันเลย ฉะนี้แล.
อรรถกถารูปายตนนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรูปายตนะต่อไป.
สี (วรรณะ) นั่นแหละ เรียกว่า วัณณนิภา อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า นิภา เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งแสง อธิบายว่า ย่อมปรากฏแก่จักขุวิญญาณ แสงคือสี ชื่อว่า วัณณนิภา. รูปที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ (คือเป็นสิ่งที่เห็นได้) โดยเป็นไปพร้อมกับการเห็น อธิบายว่า พึงเห็นด้วยจักขุวิญญาณ. รูปที่ชื่อว่าสัปปฏิฆะ (กระทบได้) โดยความเป็นไปพร้อมกับสิ่งที่กระทบถูกเข้า การยังความเสียดสีให้เกิด.
บรรดาสีมีสีเขียวครามเป็นต้น สีเขียวเหมือนดอกสามหาว สีเหลืองเหมือนดอกกรรณิการ์ สีแดงเหมือนดอกชบา สีขาวเหมือนดาวประกายพรึก สีดำเหมือนถ่านเผา สีหงสบาท แดงเรื่อเหมือนย่างทรายและดอกยี่โถ. ก็ทองตรัสเรียกว่า หริ ดุจในคำนี้ว่า หริตจ สามวณฺณ กามํ สุมุข ปกฺกม (ดูก่อนสุมุขะผู้มีผิวพรรณงามดังทอง ท่านจงหนีไปตามปรารถนาเถิด) ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ทองนั้นทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ชาตรูปะ ข้างหน้า แต่ในนิทเทสนี้ ชื่อว่า หริ ได้แก่สีคล้ำ เพราะมิได้ทรงถือวัตถุทั้ง ๗ เหล่านี้แสดงโดยสภาวะนั่นเอง.
บทว่า หริวณฺณํ (สีเขียวใบไม้) คือสีเหมือนหญ้าแพรกสด. บทว่า อมฺพงฺกุรวณฺณํ (สีม่วง) คือสีเหมือนหน่อมะม่วง. วัตถุทั้ง ๒ เหล่านี้ทรงถือเอาแสดงไว้โดยสภาวะ วัตถุ ๑๒ มียาวและสั้นเป็นต้น ทรงถือเอาแสดง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 234
โดยโวหาร และโวหารนั้นแห่งบทยาวและสั้นเป็นต้นเหล่านั้น สำเร็จแล้วโดยอุปนิธาบัญญัติ (บัญญัติโดยเทียบเคียง) และสำเร็จแล้วโดยการตั้งไว้. จริงอยู่คำว่า ยาว เป็นต้น เป็นบทสำเร็จด้วยการบัญญัติเทียบเคียงซึ่งกันและกัน. คำว่า กลม เป็นต้น สำเร็จโดยตั้งลง. ในสองอย่างนั้น เพราะเทียบเคียงรูปที่สั้น ยาวกว่านั้นจึงชื่อว่า ยาว, เพราะเทียบกับรูปที่ยาว สั้นกว่านั้นจึงชื่อว่า สั้น, เพราะเทียบเคียงกับรูปที่หยาบ ละเอียดกว่านั้นจึงชื่อว่า อณู, เพราะเทียบกับรูปที่ละเอียด หยาบกว่านั้นจึงชื่อว่า หยาบ, รูปที่มีสัณฐานเหมือนล้อเกวียน ชื่อว่า กลม รูปมีสัณฐานเหมือนไข่ไก่ชื่อว่า ปริมณฑล รูปประกอบด้วยเหลี่ยมทั้ง ๔ ชื่อว่า จตุรัส (สี่เหลี่ยม) . แม้รูป ๖ เหลี่ยมเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. บทว่า นินฺนํ (ลุ่ม) ได้แก่รูปที่ต่ำ. บทว่า ถลํ (ดอน) ได้แก่รูปที่นูนขึ้น.
บรรดารูปยาวเป็นต้นเหล่านั้น เพราะบุคคลแม้ถูกต้องรูปยาวเป็นต้นอาจเพื่อรู้ได้ แต่รูปสีเขียวเป็นต้นบุคคลถูกต้องแล้วไม่สามารถทราบได้ ฉะนั้นรูปายตนะที่ยาว จึงมิได้ตรัสไว้โดยตรง รูปที่สั้นเป็นต้นก็ไม่ตรัสเหมือนกัน แต่ในที่นี้ตรัสว่า ยาว สั้น อาศัยรูปนั้นๆ โดยประการนั้นตั้งอยู่แล้ว พึงทราบว่า รูปายตนะในรูปายตนนิทเทสนี้ ตรัสไว้โดยโวหารนั้นๆ ดังนี้.
บทว่า ฉายา อาตโป (เงา แดด) นี้ ทรงกำหนดโดยอาศัยซึ่งกันและกัน (อาโลโก อนฺธกาโร) แสงสว่างและมืด ก็กำหนดไว้โดยอาศัยซึ่งกันและกันเหมือนกัน. บท ๔ บทว่า เมฆ เป็นต้นแสดงไว้ด้วยวัตถุเท่านั้น. ในบรรดาบททั้งสี่เหล่านั้น คำว่า อพฺภา (เมฆ) ได้แก่ เมฆฝน. บทว่า มหิกา (หมอก) ได้แก่ น้ำค้าง. สีแห่งเมฆเป็นต้นทรงแสดงไว้ด้วยบททั้ง ๔ เหล่านี้. ด้วยบทว่า จนฺทมณฺฑลสฺส วณฺณนิภา เป็นต้นทรงแสดงสีคือรัศมีแห่งวัตถุเหล่านั้น. ในวัตถุมีดวงจันทร์เป็นต้นนั้น พึงทราบความต่างกันแห่งวัตถุทั้งหลายมีดวงจันทร์เป็นต้นอย่างนี้. วิมานของจันทเทพบุตร ยาวและกว้าง ๔๙
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 235
โยชน์สำเร็จด้วยแก้วมณี มุงบังไว้ด้วยเงิน ชื่อว่า ดวงจันทร์. วิมานของสุริยเทพบุตร ยาวและกว้าง ๕๐ โยชน์ สำเร็จด้วยทอง มุงบังไว้ด้วยแก้วผลึกชื่อว่า ดวงอาทิตย์. วิมานของเทพบุตรนั้นๆ ยาวและกว้าง ๗ โยชน์๘ โยชน์ ๑๐ โยชน์ ๑๒ โยชน์ สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ชื่อว่า ดวงดาว.
ในบรรดาเทพบุตรเหล่านั้น พระจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่ข้างบน ระหว่างพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้ง ๒ มีระยะหนึ่งโยชน์ โดยส่วนสุดข้างล่างของพระจันทร์ และโดยส่วนสุดข้างบนของพระอาทิตย์ มีระยะร้อยโยชน์ ดาวนักขัตฤกษ์ทั้งหลายย่อมโคจรไปที่ข้างทั้ง ๒. ก็บรรดาวัตถุทั้ง ๓ เหล่านั้น พระจันทร์โคจรไปช้า พระอาทิตย์โคจรเร็ว ดวงดาวทั้งหลายไปเร็วกว่าเขาทั้งหมด บางคราวโคจรไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ บางคราวก็โคจรไปข้างหลัง.
บทว่า อาทาสมณฺฑลํ (กระจก) ได้แก่ สำเร็จด้วยสำริด. คำว่า แก้วมณี คือเว้นแก้วไพฑูรย์ ที่เหลือมีประเภทมิใช่น้อยมีแก้วมณีโชติรสเป็นต้น. คำว่า สังข์ ได้แก่สังข์เกิดขึ้นเอง (ธรรมชาติ) แก้วมุกดา ก็เกิดขึ้นเอง แม้แก้วไพฑูรย์ที่เหลือ. บทว่า เวฬุริโย (แก้วไพฑูรย์) คือแก้วมณีมีสีเหมือนไม้ไผ่.
วรรณะของพระศาสดา เรียกว่า ชาตรูปะ (ทอง) จริงอยู่ พระศาสดามีวรรณะเหมือนทองคำ แม้วรรณะของทองคำก็เหมือนวรรณะพระศาสดา. คำที่ตรัสว่า กหาปณะ โลหมาสก (มาสกทำด้วยโลหะ) ทารุมาสก (มาสกทำด้วยไม้) ชตุมาสก (มาสกทำด้วยยาง) หรือสิ่งที่ใช้เป็นมาตราแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ เรียกว่า รชตะ (เงิน) . โวหารแม้ทั้งหมดนั้นท่านถือเอาในบทว่า รชตํ นี้.
ด้วยบทว่า ยํ วา ปนญฺมฺปิ (หรือรูปแม้อื่นใด) นี้ เว้นรูปที่ตรัสไว้ในบาลี ทรงถือเอารูปที่เหลืออันต่างด้วยสีเสื่อลำแพน สีผ้าท่อน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 236
เก่า และสีช่อฟ้าเป็นต้น เพราะสีทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในรูปที่เป็นเยวาปนกธรรมทั้งหลาย. รูปนี้แหละ แม้ต่างกันโดยประเภทมีสีเขียวเป็นต้น แต่รูปทั้งหมดนั้นก็มิได้แตกต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น.
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะของรูป
จริงอยู่ รูปนี้แม้ทั้งหมดมีการกระทบจักขุเป็นลักษณะ (จกฺขุปฏิหนนลกฺขณํ) มีความเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นรส (จกฺขุวิญฺาณสฺส วิสยภาวรสํ) มีความเป็นโคจรของจักขุวิญญาณนั้นนั่นเองเป็นปัจจุปัฏฐาน (ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺานํ) มีมหาภูตรูป ๔ เป็นปทัฏฐาน (จตุมหาภูตปทฏฺฐานํ) . ก็อุปาทารูปทั้งหมดเหมือนกับรูปนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวรูปที่แตกต่างกัน รูปที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ.
จริงอยู่ ในจักขายตนนิทเทสนั้น นิทเทสมีจักขุเป็นประธานอย่างเดียว แต่ในรูปายตนนิทเทสนี้มีรูปเป็นประธาน. ในจักขายตนนิทเทสนั้นมีชื่อ ๑๐ อย่างมีคำว่า จกฺขุเปตํ (รูปนี้เป็นจักษุบ้าง) เป็นต้น. ในรูปายตนนิทเทสแม้นี้มีชื่อ ๓ อย่าง มีคำว่า รูปํเปตํ เป็นต้น (นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง) . รูปที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ในรูปายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัสวาระทั้งหลายไว้เหมือนตรัสวาระ ๑๓ วาระ เพื่อกำหนดจักษุประดับด้วยนัยวาระ ๔ วาระเหมือนกัน ฉะนี้แล.
อรรถกถาสัททายตนนิเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งสัททายตนะต่อไป.
บทว่า เภรีสทฺโท (เสียงกลอง) ได้แก่ เสียงกลองใหญ่และกลองที่เขาตี. แม้เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ ก็เป็นเสียงมีเสียงตะโพน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 237
เป็นต้น เป็นปัจจัย. เสียงที่เรียกว่าเพลงขับ ชื่อว่า เสียงขับร้อง. เสียงดนตรีเนื่องด้วยพิณเป็นต้น เหลือจากที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า เสียงประโคม (วาทิตสทฺโท) .
บทว่า สุมฺมสทฺโท (เสียงกรับ) ได้แก่ เสียงฉาบสำริดและกรับไม้ตาล. บทว่า ปาณสทฺโท (เสียงปรบมือ) ได้แก่เสียงปรบด้วยฝ่ามือ. บทว่า สตฺตานํ นิคฺโฆสสทฺโท (เสียงร้องของสัตว์) ได้แก่ เสียงที่เปล่งโดยมีบทและพยัญชนะไม่ปรากฏของสัตว์มากที่ประชุมกัน. บทว่า ธาตูนํ สนฺนิปาตสทฺโท (เสียงกระทบกันของธาตุทั้งหลาย) ได้แก่ เสียงเสียดสีกันและกันของต้นไม้ทั้งหลาย และเสียงตีระฆังเป็นต้น. เสียงของลมพัด ชื่อว่า เสียงลม. เสียงของน้ำกำลังไหล หรือน้ำกระทบกัน ชื่อว่า เสียงน้ำ. เสียงสนทนาเป็นต้นของพวกมนุษย์ ชื่อว่า เสียงมนุษย์. เว้นเสียงมนุษย์นั้นแล้ว เสียงที่เหลือทั้งหมด ชื่อว่า เสียงอมนุษย์. ด้วยบททั้ง ๒ คือ เสียงมนุษย์และเสียงอมนุษย์นี้ เสียงทั้งหมดเป็นอันถือเอาแล้ว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เสียงที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีที่เป็นไปในเวลาผ่าไม้ไผ่ และเสียงฉีกผ้าเก่าเป็นต้น พึงทราบว่ารวมเข้าในข้อว่า เยวาปนกสัททะ เสียงแม้ต่างกันโดยประเภทมีเสียงกลองเป็นต้นอย่างนี้ แต่มิได้ต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น.
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะของเสียง
สพฺโพ เจโส โสตปฏิหนนลกฺขโณ สทฺโท ก็เสียงทั้งหมดมีการกระทบกับโสตเป็นลักษณะ โสตวิญฺาณสฺส วิสยภาวรโส มีความเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺาโน มีความเป็นโคจรของโสตวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในสัททายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 238
วาระ ๑๓ วาระประดับด้วยนัยวาระละ ๔ เนื้อความแห่งบทเหล่านั้นสามารถจะรู้ได้โดยนัยที่กล่าวไว้นั่นแหละ ฉะนั้น จึงมิได้ให้พิสดาร.
อรรถกถาคันธายตนนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคันธายตนะต่อไป.
บทว่า มูลคนฺโธ (กลิ่นรากไม้) ได้แก่ กลิ่นที่เกิดขึ้นอาศัยรากไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในกลิ่นที่แก่นเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. กลิ่นผักดองเป็นต้นที่ยังไม่สำเร็จแล้วหรือสำเร็จแล้วไม่ดี ชื่อว่า อามคันโธ (กลิ่นบูด) . กลิ่นเกล็ดปลา กลิ่นเนื้อเน่า กลิ่นเนยใสเสียเป็นต้น ชื่อว่า วิสคันโธ (กลิ่นเน่า) .
บทว่า สุคนฺโธ (กลิ่นหอม) ได้แก่ กลิ่นที่น่าปรารถนา. บทว่า ทุคฺคนฺโธ (กลิ่นเหม็น) ได้แก่ กลิ่นไม่น่าปรารถนา. ด้วยบททั้ง ๒ คือกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นนี้ ย่อมเป็นอันว่ากลิ่นแม้ทั้งหมดทรงถือเอาแล้ว. เมื่อเป็นเช่นนั้น กลิ่นแม้ทั้งหมดที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีมีกลิ่นช่อฟ้าและกลิ่นผ้าเก่าเป็นต้น. พึงทราบว่า รวมอยู่ที่เยวาปนกคันธะ. กลิ่นนี้แม้จะต่างกันโดยเป็นกลิ่นที่รากเป็นต้นอย่างนี้ ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย.
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะของกลิ่น
สพฺโพปิ เจโส ฆานปฏิหนนลกฺขโณ คนฺโธ ก็กลิ่นแม้ทั้งหมดมีการกระทบฆานะเป็นลักษณะ ฆานวิญฺาณสฺส วิสยภาวรโส มีความเป็นอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺาโน มีความเป็นโคจรของฆานวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในคันธายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 239
วาระ ๑๓ วาระประดับด้วยนัย ๕๒ เหมือนกันนั่นแหละ ว่าโดยอรรถวาระเหล่านั้นแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น.
อรรถกถารสายตนนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรสายตนะ ต่อไป.
บทว่า มูลรโส (รสรากไม้) ได้แก่รสที่อาศัยรากไม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น. แม้ในรสลำต้นเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. บทว่า อมฺพิลํ (เปรี้ยว) ได้แก่ เปรียงเป็นต้น. บทว่า มธุรํ (หวาน) ได้แก่ รสมีเนยใสแห่งโคเป็นต้นอย่างเดียว. ส่วนน้ำผึ้งผสมกับรสฝาดเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสฝาด. น้ำอ้อยผสมกับรสขื่นเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสขื่น แต่สัปปิ (เนยใส) เก็บไว้นานแม้ละสีและกลิ่นก็ไม่ละรส เพราะฉะนั้น เนยใสนั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า หวานโดยส่วนเดียว.
บทว่า ติตฺตกํ (ขม) ได้แก่ ใบสะเดาเป็นต้น. บทว่า กฏุกํ (เผ็ด) ได้แก่ รสขิงและพริกไทยเป็นต้น. บทว่า โลณิกํ (เค็ม) ได้แก่ เกลือธรรมชาติเป็นต้น. บทว่า ขาริกํ (ขื่น) ได้แก่ รสมะเขือและหน่อไม้เป็นต้น. บทว่า ลมฺพิลํ (เฝื่อน) ได้แก่ พุทรา มะขามป้อม และมะขวิดเป็นต้น. บทว่า กสาวํ. (ฝาด) ได้แก่ มะขามป้อมเป็นต้น. รสแม้ทั้งหมดเหล่านี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจวัตถุ แต่ในนิทเทสนี้ พึงทราบว่ารสตรัสไว้โดยชื่อมีเปรี้ยวเป็นต้นแต่วัตถุนั้นๆ .
บทว่า สาทุ (อร่อย) ได้แก่ รสที่น่าปรารถนา. บทว่า อสาทุ (ไม่อร่อย) ได้แก่ รสที่ไม่น่าปรารถนา. ด้วยบททั้ง ๒ คือ รสที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนานี้ รสแม้ทั้งหมดเป็นอันทรงกำหนดถือเอาแล้ว ครั้นเมื่อ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 240
ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ รสทั้งหมดที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีมีรสก้อนดิน รสฝาเรือน และรสผ้าเก่าเป็นต้น พึงทราบว่า รวมที่เยวาปนกรส. รสนี้แม้ต่างกันโดยเป็นรสรากไม้เป็นต้นอย่างนี้ แต่ว่าโดยลักษณะเป็นต้นก็มิได้แตกต่างกันเลย.
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะของรส
สพฺโพ เอโส ชิวฺหาปฏิหนนลกฺขโณ รโส รสมีการกระทบลิ้นเป็นลักษณะ ชิวฺหาวิญฺาณสฺส วิสยภาวรโส มีความเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺาโน มีความเป็นโคจรของชิวหาวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในนิทเทสนี้ ก็ตรัสวาระ ๑๓ ประดับด้วยนัย ๕๒ เหมือนกันนั่นแหละ.
อรรถกถาอิตถินทริยนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอิตถินทรีย์.
บทว่า ยํ เป็นตติยาวิภัตติ ในข้อนี้อธิบายว่า ทรวดทรงหญิงเป็นต้นแห่งหญิง ย่อมมีด้วยเหตุใด. บรรดาคำเหล่านั้น บทว่า ลิงฺคํ ได้แก่ ทรวดทรงจริงอยู่ ทรวดทรงแห่งอวัยวะมีมือ เท้า คอ และอุทรเป็นต้น ของหญิงไม่เหมือนของชาย เพราะกายท่อนล่างของหญิงทั้งหลายล่ำ กายท่อนบนไม่ล่ำ มือเท้าเล็ก ปากเล็ก.
บทว่า นิมิตฺตํ (เครื่องหมาย) ได้แก่ เป็นเหตุรู้ได้ จริงอยู่ เนื้อขาของหญิงทั้งหลายล่ำ ปากไม่มีหนวดเครา แม้ผูกผ้ารัดผมก็ไม่เหมือนของพวกชาย. บทว่า กุตฺตํ ได้แก่ กิริยา คือการกระทำ ด้วยว่า พวกหญิงทั้งหลาย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 241
ในเวลาเป็นเด็ก ย่อมเล่นกระด้งและสากเล็กๆ ย่อมเล่นตุ๊กตา เอาดินเหนียวและปอมากรอเป็นด้าย.
บทว่า อากปฺโป (อาการ) ได้แก่ อาการคือการเดินเป็นต้น ด้วยว่าหญิงทั้งหลายเมื่อเดินก็เดินไม่เร็ว เมื่อยืน เมื่อนอน เมื่อนั่ง เมื่อเคี้ยวกินก็ยืน นอน นั่ง เคี้ยวกินไม่เร็ว เมื่อบริโภคก็บริโภคอย่างช้า จริงอยู่ ชนทั้งหลายเห็นคนแม้เป็นชายเชื่องช้าก็พูดว่า ชายคนนี้เดิน ยืน นอน นั่งเคี้ยวกิน บริโภคเหมือนผู้หญิง ดังนี้.
คำว่า อิตฺถิตฺตํ อิตฺถีภาโว (สภาพหญิง ภาวะของหญิง) แม้ทั้ง ๒ นี้มีความหมายอย่างเดียวกัน คือเป็นสภาวะของหญิง ก็สภาวะของหญิงนี้เกิดแต่กรรม ตั้งขึ้นพร้อมกับจิตในปฏิสนธิกาล ส่วนทรวดทรงหญิงเป็นต้น ไม่ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาลดุจอิตถินทรีย์ แต่ก็อาศัยอิตถินทรีย์ตั้งขึ้นในปวัตติกาล. เหมือนอย่างว่า เมื่อพืช (เมล็ดพืช) มีอยู่ ต้นไม้อาศัยพืชเพราะพืชเป็นปัจจัยจึงเจริญเติบโตสมบูรณ์ด้วยกิ่งและคาคบตั้งอยู่เต็มช่องว่าง ฉันใด ครั้นเมื่ออิตถินทรีย์คือความเป็นหญิงมีอยู่ อวัยวะมีทรวดทรงแห่งหญิงเป็นต้น ก็มีฉันนั้นเหมือนกัน. ก็อิตถินทรีย์เปรียบเหมือนพืช ทรวดทรงหญิงเป็นต้นอาศัยอิตถินทรีย์ ย่อมตั้งขึ้นในปวัตติกาล เปรียบเหมือนต้นไม้อาศัยพืชเจริญเติบโตแล้วตั้งอยู่เต็มช่องว่าง ฉะนั้น.
บรรดาอินทรีย์ทั้งหลายเหล่านั้น อิตถินทรีย์ไม่พึงรู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณพึงรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณเท่านั้น. ทรวดทรงของหญิงเป็นต้นรู้ได้ทางจักษุวิญญาณบ้าง ทางมโนวิญญาณบ้าง.
บทว่า อิทนฺตํ รูปํ อิตฺถินฺทฺริยํ (รูปนี้นั้น เรียกว่าอิตถินทรีย์) ความว่า รูปนี้นั้น ไม่เหมือนกับจักขุนทรีย์เป็นต้นแม้เป็นของบุรุษ แต่เมื่อว่าโดยนิยม อินทรีย์เฉพาะของหญิง ชื่อว่า อิตถินทรีย์.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 242
อรรถกถาปุริสินทริยนิทเทส
แม้ในปุริสินทรีย์ ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ทรวดทรงของชายเป็นต้นพึงทราบโดยความตรงกันข้ามกับทรวดทรงของหญิงเป็นต้น เพราะสัณฐานแห่งอวัยวะมีมือ เท้า คอ และอุทรเป็นต้นของชาย ไม่เหมือนของหญิงด้วยว่า กายท่อนบนของชายล่ำสัน กายท่อนล่างไม่ล่ำสัน มือเท้าก็ใหญ่ปากใหญ่ เนื้อขาไม่ใหญ่ หนวดเคราเกิดขึ้น การใช้ผ้าผูกผมก็ไม่เหมือนของหญิงทั้งหลาย ในเวลาเป็นเด็กย่อมเล่นรถและไถเป็นต้น ย่อมทำขอบคันด้วยทราย ย่อมขุดชื่อซึ่งหลุม แม้การเดินเป็นต้นก็องอาจ ชนทั้งหลายเห็นแม้หญิงผู้ทำการเดินเป็นต้นให้องอาจ ย่อมพูดคำเป็นต้นว่า แม้คนนี้ย่อมเดินเหมือนชาย ดังนี้ คำที่เหลือเหมือนกับที่กล่าวไว้ในอิตถินทรีย์นั่นแหละ.
ว่าด้วยลักขณาทิจตุกกะ
บรรดาอินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น อิตฺถีภาวลกฺขณํ อิตฺถินฺทฺริยํ อิตถินทรีย์มีอิตถีภาวะ (มีความเป็นหญิง) เป็นลักษณะ อิตฺถีติ ปกาสนรสํ มีการประกาศว่าเป็นหญิงเป็นรส อิตฺถีลิงฺคนิมิตฺตกุตฺตากปฺปานํ กรณภาวปจฺจุปฏฺานํ มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่นและกิริยาอาการของหญิงเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ปุริสภาวลกฺขณํ ปุริสินฺทฺริยํ ปุริสินทรีย์ มีปุริสภาวะเป็นลักษณะ ปุริโสติ ปกาสนรสํ มีการประกาศว่าเป็นชายเป็นรส ปุริสลิงฺคนิมิตฺตกุตฺตากปฺปานํ กรณภาวปจฺจุปฏฺานํ มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่นและกิริยาอาการของชายเป็นปัจจุปัฏฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 243
ภาวรูปแม้ทั้ง ๒ (หญิงชาย) นี้ ของบุคคลผู้เกิดในปฐมกัป ย่อมตั้งขึ้นในปวัตติกาล ในภายหลังต่อมา ภาวรูปทั้ง ๒ นี้ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล แม้ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล ก็ย่อมหวั่นไหว ย่อมเปลี่ยนได้ในปวัตติกาล.
เหมือนอย่างพระดำรัสที่ตรัสไว้ในพระบาลีวินีตวัตถุแห่งปฐมปาราชิกว่า ก็สมัยนั้นแล เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพศชายปรากฏแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง (๑) ดังนี้.
ก็บรรดาเพศทั้ง ๒ นั้น เพศชายเป็นอุดมเพศ เพศหญิงเป็นหีนเพศฉะนั้น เพศชายย่อมอันตรธานไปเพราะอกุศลมีกำลัง เพศหญิงย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศลที่เป็นทุรพล แต่เพศหญิงเมื่ออันตรธาน ย่อมอันตรธานไปด้วยอกุศลที่เป็นทุรพล เพศชายย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศลที่มีกำลัง. พึงทราบว่า ภาวรูปแม้ทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมอันตรธานไปด้วยอกุศล ย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศล ด้วยประการฉะนี้.
ว่าโดยอุภโตพยัญชนกะ
ถามว่า บุคคลผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะ มีอินทรีย์เดียวหรือมีสองอินทรีย์
ตอบว่า มีอินทรีย์เดียว ก็อินทรีย์ของหญิงผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะนั้นแลเป็นอิตถินทรีย์ ของชายผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะเป็นปุริสินทรีย์.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พยัญชนะ (เครื่องหมาย) ที่ ๒ ก็ไม่ปรากฏเพราะตรัสไว้ว่า อินทรีย์แสดงเครื่องหมายเพศ และอินทรีย์ของบุคคลผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะนั้นก็ไม่มี.
ตอบว่า อินทรีย์ของบุคคลนั้น เป็นเครื่องแสดงเพศหามิได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะไม่มีอยู่ทุกเมื่อ.
(๑) วินย อา. เล่ม ๑/๖๔
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 244
ด้วยว่า เมื่อใดจิตกำหนัดของอิตถีอุภโตพยัญชนกะเกิดในหญิง ก็ในกาลนั้น เครื่องหมายเพศชายย่อมปรากฏ. เครื่องหมายเพศหญิงย่อมปิดบังซ่อนเร้น ปุริสอุภโตพยัญชนกะนอกนี้ ก็มีเครื่องหมายเพศหญิงนอกนี้เหมือนกันผิว่า อินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะทั้งสองเหล่านั้น พึงมีเครื่องหมายที่ ๒ ไซร้เครื่องหมายเพศทั้ง ๒ ก็พึงตั้งอยู่แม้ในกาลทุกเมื่อ แต่ว่าหาได้ตั้งอยู่ไม่ เพราะฉะนั้น อินทรีย์นั้นพึงทราบ คำนี้ว่า อินทรีย์นั้นของอุภโตพยัญชนกะนั้นเป็นเหตุแห่งเครื่องหมายเพศหามิได้ แต่ในที่นี้ เหตุคือจิตสัมปยุตด้วยราคะมีกรรมเป็นสหาย ก็เพราะอินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะนั้นมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นอิตถีอุภโตพยัญชนกะ แม้ตนเองก็ตั้งครรภ์ได้ ย่อมทำให้บุคคลอื่นตั้งครรภ์ก็ได้ส่วนปุริสอุภโตพยัญชนกะ ย่อมทำบุคคลอื่นให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ตนเองย่อมตั้งครรภ์ไม่ได้ ฉะนี้แล.
อรรถกถาชีวิตินทริยนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์ คำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าวในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรูปชีวิตินทรีย์ ในหนหลังแล้วทั้งนั้น ก็ในอรูปชีวิตินทรีย์นั้นตรัสไว้ว่า อรูปธรรมใด ของอรูปธรรมเหล่านั้น แต่ในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ตรัสว่า รูปธรรมใด ของรูปธรรมเหล่านั้นเพราะความเป็นรูปชีวิตินทรีย์ นี้เป็นเนื้อความต่างกัน แต่ลักษณะเป็นต้นของรูปชีวีตินทรีย์นั้น พึงทราบอย่างนี้.
สหชาตรูปานุปาลนลกฺขณํ ชีวิตินฺทริยํ ชีวิตินทรีย์มีการตามรักษารูปที่เกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความเป็นไปของรูปธรรมเหล่านั้นเป็นรส เตสฺเยว ปนปจฺจุปฏฺานํ มีความดำรงอยู่ซึ่ง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 245
รูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺานํ มีภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้แล.
อรรถกถากายวิญญัตตินิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในกายวิญญัตินิทเทสต่อไป.
ในข้อว่า กายวิญญัตติ นี้ก่อน. สภาวะที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่าความที่คนทั้งหลายก็ดี หรือสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ดี ให้รู้ภาวะของตนด้วยกาย แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ความหมายของคนได้ แม้คนก็รู้ความหมายของสัตว์ได้ด้วยสภาวธรรมที่ถือเอานี้โดยทำนองแห่งการถือเอากาย.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ตนเองย่อมให้ผู้อื่นรู้ได้โดยทำนองแห่งการกำหนดกาย. วิญญัตติคือกาย กล่าวคือการไหวกาย ที่ตรัสไว้ในคำมีอาทิว่า กาเยน สํวโร สาธุ (การสำรวมกายเป็นการดี) ดังนี้ชื่อว่า กายวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กายวิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงให้รู้ด้วยกาย เพราะเป็นเหตุให้รู้ความประสงค์ด้วยการไหวกายต่างๆ และเพราะตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
ในคำมีอาทิว่า กุสลจิตฺตสฺส วา (ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล) อธิบายว่า จิตของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศลด้วยจิต ๙ คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง อภิญญาจิต ๑ ดวง หรือผู้มีจิตเป็นอกุศลด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง หรือมีจิตที่เป็นอัพยากฤต ด้วยกิริยาจิต ๑๑ ดวง คือ มหากิริยาจิต ๘ ดวง ปริตตกิริยาจิต ๒ ดวง อภิญญาที่เป็นรูปาวจรกิริยาจิต ๑ ดวง อื่นๆ จากนี้ย่อมไม่ยังวิญญัตติให้เกิดได้. ก็พระเสกขะ พระอเสกขะ และปุถุชนก็มีวิญญัตติ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 246
ด้วยจิตมีประมาณเท่านี้แหละ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงวิญญัตติโดยเป็นเหตุด้วยบททั้ง ๓ ด้วยสามารถแห่งธรรมมีกุศลเป็นต้นเหล่านี้ (คือกุศล อกุศล กิริยา).
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงวิญญัตติโดยผลด้วยบททั้ง ๖ (๑) จึงตรัสว่า อภิกฺกมนฺตสฺส วา (ก้าวไปอยู่) เป็นต้น. จริงอยู่ การก้าวไปเป็นต้น ชื่อว่า ผลของวิญญัตติ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจวิญญัตติ. บรรดาบททั้งหลายมีการก้าวไปเป็นต้นเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกมนฺตสฺส (ก้าวไปอยู่) ได้แก่ นำกายไปข้างหน้า. บทว่า ปฏิกฺกมนฺตสฺส (ถอยกลับอยู่) ได้แก่ นำกายกลับมาข้างหลัง. บทว่า อาโลเกนฺตสฺส (แลดูอยู่) ได้แก่ แลดูตรงๆ. บทว่าวิโลเกนฺตสฺส ได้แก่ แลดูทางโน้นแลดูทางนี้. บทว่า สมฺมิญฺชนฺตสฺส (คู้เข้าอยู่) ได้แก่ งอข้อต่อทั้งหลาย. บทว่า ปสาเรนฺตสฺส (เหยียดออกอยู่) ได้แก่ เหยียบข้อต่อทั้งหลาย.
บัดนี้ เพื่อแสดงวิญญัตติโดยสภาวะด้วยบททั้ง ๖ จึงตรัสว่า กายสฺส ถมฺภนา (ความเคร่งตึงของกาย) เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายสฺส (ของกาย) ได้แก่ ของสรีระ. สภาวะที่ชื่อว่า ความเคร่งตึง (ถมฺภนา) เพราะอรรถว่า ทำกายให้แข็งแล้วให้กระด้าง. สภาวะที่เคร่งตึงนั้นนั่นแหละตรัสเรียกว่า กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี (สนฺถมฺภนา) เพราะเพิ่มด้วยอุปสรรคอีกอย่างหนึ่ง ความเคร่งตึงมีกำลังมาก ชื่อว่า สันถัมภนา. ความเคร่งตึงด้วยดี ชื่อว่า สันถัมภิตัตตัง. ชื่อว่า วิญญัตติ (การแสดงให้รู้ความหมาย) ด้วยสามารถแห่งการให้รู้ให้เข้าใจ. กิริยาที่ให้เข้าใจความหมาย ชื่อว่า วิญญาปนา. ความแสดงให้รู้ความหมาย ชื่อว่า วิญญาปิตัตตัง. คำที่เหลือใดที่พึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในทวารกถาในหนหลังแล้วแล.
(๑) ๑ ก้าวไปอยู่ ๒ ถอยกลับอยู่ ๓ แลดูอยู่ ๔ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ ๕ คู้เข้าอยู่ ๖ เหยียดออกอยู่.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 247
อรรถกถาวจีวิญญัตตินิทเทส
ในวจีวิญญัตติก็เหมือนกัน แต่ว่าเนื้อความของบทว่า วจีวิญญัตติ ดังนี้ และบทนิทเทสทั้งหลายที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวไว้ในทวารกถานั้น พึงทราบอย่างนี้ว่า
ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า คนก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งจะให้รู้ภาวะของตนด้วยวาจา แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ภาวะของคนได้ หรือคนก็รู้ภาวะของสัตว์ได้ ด้วยสภาวะนี้ โดยกำหนดเอาตามทำนองแห่งการกำหนดคำพูด. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ความหมายโดยทำนองแห่งการกำหนดคำพูดได้โดยตนเอง. วิญญัตติคือ วจี กล่าวคือการเคลื่อนไหวที่ตรัสไว้ในพระบาลีมีอาทิว่า สาธุ วาจาย สํวโร (ความสำรวมทางวาจาเป็นการดี) ดังนี้ ชื่อว่า วจีวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วจีวิญญัตติ เพราะอรรถว่า การแสดงความหมายให้รู้ทางวาจา เพราะเป็นเหตุให้เข้าใจความประสงค์ได้ด้วยเสียงของวาจาและเพราะตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า วาจา คิรา (การพูดเปล่งวาจา) ต่อไป.
ที่ชื่อว่า วาจา (การพูด) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพอันเขากล่าว. ที่ชื่อว่า คิรา (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า อันบุคคลเปล่ง. ที่ชื่อว่า วากฺยเภโท (การกล่าว) เพราะอรรถว่าการเจรจา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า พฺยปฺปโถ (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า คำพูดนั้นด้วย เป็นทางของบุคคลผู้ประสงค์จะรู้เนื้อความและยังผู้อื่นให้รู้ด้วย. ที่ชื่อว่า อุทีรณํ (การกล่าว) เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งออก. ที่ชื่อว่า โฆสะ (การป่าวร้อง) เพราะอรรถอันเขาย่อมโฆษณา. ที่ชื่อว่า กรรม เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมกระทำ. กรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 248
คือการโฆษณา ชื่อว่า โฆสกรรม อธิบายว่า เขาทำโฆษณาโดยประการต่างๆ . เพื่อให้รู้ว่า การเปล่งวาจา ชื่อว่า วจีเภท แต่วจีเภท (คือการเปล่งวาจา) นั้นมิใช่การทำลาย เป็นวาจาที่แตกต่างกันเท่านั้น จึงตรัสว่า วาจา วจีเภโท (วาจา การแสดงความหมายให้รู้ทางวาจา) ดังนี้. สัททวาจานั่นเองพระองค์ทรงแสดงด้วยบทแม้ทั้งปวงเหล่านี้.
บัดนี้ ทรงประสงค์จะแสดงวจีวิญญัตตินั้นโดยสภาวะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งบททั้งหลายมีวิญญัตติเป็นต้น แห่งเนื้อความที่กล่าวในหนหลังที่ประกอบวาจานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา ตาย วาจาย วิญฺตฺติ (แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น อันใด ดังนี้.) คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้นเพราะมีนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
บัดนี้ เพื่อมิให้หลงใหลในจิตอันยังวิญญัตติให้ตั้งขึ้น พึงทราบปกิณกธรรมนี้คือ จิต ๓๒ ดวง จิต ๒๖ ดวง จิต ๑๙ ดวง จิต ๑๖ ดวงสุดท้าย. จริงอยู่ จิต ๓๒ ดวง ย่อมยังพหิรูป (รูปภายนอก) ให้ตั้งขึ้น ย่อมอุปถัมภ์อิริยาบถ ย่อมยังวิญญัตติแม้ทั้ง ๒ ให้เกิดขึ้น. จิต ๒๖ ดวง ย่อมไม่ยังวิญัตตินั่นแหละให้เกิดขึ้น ย่อมกระทำทั้ง ๒ นอกนี้ด้วย. จิต ๑๙ ดวง ย่อมยังรูปนั่นแหละให้ตั้งขึ้น แต่ไม่กระทำ ๒ อย่างนอกนี้. จิต ๑๖ ดวง ไม่กระทำหน้าที่แม้สักอย่างหนึ่งในบรรดา ๓ อย่างนั้น (ให้เกิดอุปถัมภ์ ให้เกิดวิญญัติ) .
ในปกิณกธรรมเหล่านั้น คำว่า จิต ๓๒ ดวง คือจิตที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละคือ กามาวจรกุศล ๘ อกุศลจิต ๑๒ กิริยาจิต ๑๐ อภิญญาจิตของพระเสกขะปุถุชน ๑ อภิญญาจิตของพระขีณาสพทั้งหลาย ๑.
คำว่า จิต ๒๖ ดวง คือรูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรกิริยา ๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 249
คำว่า จิต ๑๙ ดวง คือกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ อกุศลวิบาก ๒ กิริยามโนธาตุ ๑ รูปาวจรวิบากจิต ๕.
คำว่า จิต ๑๖ ดวง คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหมด ๑ จุติจิตของพระขีณาสพ ๑ อรูปวิบากจิต ๔. จิต ๑๖ เหล่านี้ย่อมไม่กระทำให้รูปเกิด อุปถัมภ์ และวิญญัตติแม้สักอย่างหนึ่งเลย. จิตที่เกิดขึ้นในอรูปแม้อื่นอีกมากก็ไม่ทำรูปให้เกิดขึ้นเพราะไม่มีโอกาส ก็จิตเหล่าใดย่อมยังกายวิญญัตติให้ตั้งขึ้น จิตเหล่านั้นเทียวย่อมยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้นด้วย.
อรรถกถาอากาศธาตุนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอากาศธาตุต่อไป.
สภาวะที่ชื่อว่า อากาศ เพราะอรรถว่า อันใครๆ ย่อมไถไม่ได้ ทำให้เป็นรอยไม่ได้ คือว่า ไม่อาจเพื่อจะไถ หรือเพื่อจะตัด หรือเพื่อทำให้แตก. อากาศนั่นแหละ เรียกว่า อากาสคตํ (ถึงการนับว่าเป็นอากาศ) เหมือนคำว่า เขลคตํ (ถึงการนับว่าเป็นน้ำลาย) เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อากาศชื่อว่า อากาสคตํ เพราะสัตว์ถึงแล้ว. ที่ชื่อ อฆํ (ความว่างเปล่า) เพราะอันอะไรๆ ย่อมไม่กระทบ คือไม่มีอะไรถูกต้องได้. อฆะนี้นั่นแหละ เรียกว่า อฆคตํ. ที่ชื่อว่า วิวโร (ช่องว่าง) เพราะอรรถว่า เป็นช่อง.
คำว่า อสมฺผุฏฺิ จตูหิ มหาภูเตหิ (อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอากาศอันโล่งที่มหาภูตรูปเหล่านี้ไม่ถูกต้องแล้ว. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น รูปปริจฺเฉทลกฺขณา อากาศธาตุมีการคั่นไว้ซึ่งรูปเป็นลักษณะ รูปปริยนฺตปฺปกาสนรสา มีการประกาศที่สุดของรูปเป็นรส รูปมริยาทปจจุปฏฺานา มีขอบเขตของรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน อสมฺผุฏฺภาวฉิทฺทวิวรภาวปจฺจุปฏฺา-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 250
นา วา หรือมีภาวะอันมหาภูตรูปถูกต้องไม่ได้ และมีภาวะที่เป็นช่องว่างโล่งเป็นปัจจุปัฏฐาน ปริจฺฉินฺนรูปปทฏฺานา มีรูปที่คั่นไว้เป็นปทัฏฐาน. เมื่อรูปทั้งหลายอันอากาศธาตุใดคั่นไว้แล้ว รูปนี้ก็มีเบื้อง บนเบื้องต่ำ และเบื้องขวางโดยอากาศธาตุนั้น.
อรรถกถารูปลหุตานิทเทศเป็นต้น
เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบนิทเทสแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปลหุตาเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในธรรมทั้งหลายมีจิตลหุตาเป็นต้นนั่นแหละ แต่ในที่นี้ว่าโดยลักษณะเป็นต้น อทนฺธตาลกฺขณา รูปสฺส ลหุตา ลหุตารูป มีอันไม่เชื่องช้าเป็นลักษณะ รูปานํ ครุภาววิโนทนรสา มีความบรรเทาความหนักแห่งรูปทั้งหลายเป็นรส ลหุปริวตฺติตาปจฺจุปฏฺานา มีการเปลี่ยนได้เร็วเป็นปัจจุปัฏฐาน ลหุรูปปทฏฺานา มีรูปเบาเป็นปทัฏฐาน.
อถทฺธตาลกฺขณา รูปสฺส มุทุตา มุทุตารูป มีอันไม่แข็งเป็นลักษณะ รูปานํ ถทฺธภาววิโนทนรสา มีการบรรเทาความแข็งของรูปทั้งหลายเป็นรส สพฺพกิริยาสุ อวิโรธิตาปจฺจุปฏฺานา มีความไม่เป็นข้าศึกกันในการกระทำทั้งปวงเป็นปัจจุปัฏฐาน มุทุรูปปทฏฺานา มีรูปที่อ่อนเป็นปทัฏฐาน.
สรีรกิริยานุกุลกมฺมญฺภาวลกฺขณา รูปสฺส กมฺมญฺตา กัมมัญญตารูป มีการควรแก่การงานโดยสมควรแก่การกระทำสรีระเป็นลักษณะ อกมฺมญฺภาววิโนทนรสา มีความบรรเทาความไม่ควรแก่การงานเป็นรส อทุพฺพลภาวปจฺจุปฏฺานา มีความไม่ทุรพลเป็นปัจจุปัฏฐาน กมฺมฺรูปปทฏฺานา มีรูปที่ควรแก่การงานเป็นปทัฏฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 251
ก็วิการรูปทั้ง ๓ เหล่านี้ไม่ละซึ่งกันและกัน เมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งรูปทั้ง ๓ เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ภาวะที่เบา คือความไม่เชื่องช้าแห่งรูปทั้งหลาย มีอาการเป็นไปได้เร็วเหมือนคนไม่มีโรค มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบซึ่งทำให้รูปเชื่องช้าอันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า ลหุตารูป. ความที่รูปทั้งหลายมีความอ่อนดุจหนังที่ขยำไว้ดีแล้ว มีอาการทำให้อ่อนเป็นไปตามอำนาจในการกระทำทั้งปวงได้ต่างๆ กัน มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบอันทำให้รูปแข็ง อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า มุทุตารูป. แต่ความที่รูปทั้งหลายควรแก่การงานเหมือนทองคำที่หลอมไว้ดีแล้ว มีอาการคล้อยตามในการกระทำของสรีระ มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบ อันทำให้รูปไม่คล้อยตามของการกระทำในสรีระ อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า กัมมัญญตารูป.
อนึ่ง วิการรูปแม้ทั้ง ๓ นั่นย่อมอาจเพื่อทำการงานได้ ก็หาไม่ รูปที่เกิดจากอาหารเป็นต้น (คือเกิดแต่จิตและอุตุด้วย) เท่านั้นย่อมทำการงานได้. จริงอย่างนั้น พวกพระโยคีจึงพูดกันว่า วันนี้พวกเราได้อาหารเป็นสัปปายะกายของเราจึงเบาอ่อนควรแก่การงาน วันนี้พวกเราได้อุตุสัปปายะ วันนี้จิตของพวกเราจึงสงบ กายของพวกเราเบาอ่อนควรแก่การงาน ดังนี้.
อรรถกถาอุปจยะและสัตตตินิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปจยะและสันตติต่อไป. บทว่า อายตนานํ (อายตนะทั้งหลาย) ได้แก่ รูปายตนะ ๑๐ ทั้งกึ่ง (คือ ๑๐ กับ ครึ่งหนึ่ง) . บทว่า อาจโย (ความสั่งสม) ได้แก่ ความบังเกิดขึ้น. บทว่า โส รูปสฺส อุปจโย (นั้นเป็นความเกิดแห่งรูป) ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 252
ความเกิดสั่งสมแห่งอายตนะอันเกิดขึ้นบ่อยๆ อันใด อันนั้นแหละ ชื่อว่าความเกิดสั่งสมแห่งรูป อธิบายว่า ย่อมเติบโตขึ้น. ความเกิดสั่งสมแห่งรูปอันใด อันนั้นเป็นสันตติ (ความสืบต่อ) ของรูป เพราะฉะนั้น ความเจริญของรูปทั้งหลายอันสั่งสมแล้วด้วยอาการอย่างนี้ อันใด ในเวลาที่รูปเป็นไปยิ่งกว่านั้น ความเจริญนั้น ชื่อว่า สันตติของรูปคือความเป็นไปของรูป. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลขุดหลุมใกล้ฝั่งแม่น้ำ ความสั่งสมเกิดขึ้นเหมือนเวลาที่น้ำไหลไปยังหลุม. อนึ่งพึงทราบว่า ความเกิดขึ้นเจริญแล้ว เหมือนเวลาที่น้ำเต็มหลุม สันตติเป็นไปดุจเวลาที่น้ำล้นแล้วไหลไปฉะนั้น.
ถามว่า ด้วยนิทเทสคำว่า โย อายตนานํ อาจโย เป็นต้นอย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร? ตอบว่า พระองค์ตรัสความเริ่มเกิดด้วยอายตนะ ตรัสอายตนะด้วยความเริ่มเกิด เป็นอันตรัสความเริ่มเกิดและตรัสอายตนะนั่นแหละไว้แล้ว.
ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ตรัสไว้อย่างไร?
ตอบว่า พระองค์ตรัสถึงความเริ่มเกิด ความสั่งสม ความเกิด ความเจริญของสันตติรูปทั้ง ๔.
จริงอยู่ เมื่อว่าโดยอรรถ รูปทั้ง ๒ แม้นี้ (อุปจยะ สันตติ) เป็นชื่อของรูปที่เกิดเท่านั้น แต่ว่าโดยความต่างกันแห่งอาการ และด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำอุทเทสและนิทเทสด้วยคำว่า อุปจโย สนฺตติ แต่เพราะในอุทเทสนี้ ไม่มีความแตกต่างกันโดยอรรถ ฉะนั้น จึงตรัสไว้ในนิทเทสว่า โย อายตนานํ อาจโย โส รูปสฺส อุปจโย โย รูปสฺส อุปจโย โส รูปสฺส สนฺตติ (ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป ความเกิดแห่งรูปอันใด อันนั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป) ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 253
อนึ่ง เพราะรูปนี้แม้ทั้ง ๒ (อุปจยะและสันตติ) เป็นชื่อของรูปที่เกิดอย่างเดียวกัน ฉะนั้นในนิทเทสนี้ บัณฑิตพึงทราบ (ลักขณาทิจตุกกะของรูปทั้ง ๒ นั้น) ว่า
อาจยลกฺขโณ รูปสฺส อุปจโย อุปจยรูปมีความเริ่มเกิดเป็นลักษณะ ปุพฺพนฺตโต รูปานํ อุมฺมุชฺชาปนรโส มีการยังรูปทั้งหลายให้เกิดขึ้นจากขันธ์อันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นรส นิยาตนปจฺจุปฏฺาโน ปริปุณฺณภาวปจฺจุปฏฺาโน วา มีการมอบให้เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความบริบูรณ์เป็นปทัฏฐาน อุปจิตรูปปทฏฺาโน มีรูปที่เกิดแล้ว (คือรูปที่ถึงอุปาทขณะ) เป็นปทัฏฐาน.
ปวตฺติลกฺขณา รูปสฺส สนฺตติ สันตติรูปมีความเป็นไป (คือเป็นไปด้วยอำนาจความสืบต่อ) เป็นลักษณะ อนุปฺปพนฺธนรสา มีการสืบต่อกันโดยลำดับ (คือการสืบต่อด้วยอำนาจรูปเบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นรส อนุปฺปจฺเฉทปจฺจุปฏฺานา มีความไม่ขาดจากกัน (มีความไม่ขาดจากรูปเบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นปัจจุปัฏฐาน อนุปฺปพนฺธรูปปทฏฺานา มีรูปที่สืบต่อกันเป็นปทัฏฐาน.
อรรถกถาชรตานิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชรตา ต่อไป.
ที่ชื่อว่า ชรา ด้วยอำนาจแห่งรูปที่แก่. ในนิทเทสแห่งชรานี้ มีความขยายสภาวะว่า อาการแห่งการคร่ำคร่า ชื่อว่า ความคร่ำคร่า. อาการทั้ง ๓ มีคำว่า ฟันหัก เป็นต้น มีการขยายกิจคือล่วงกาลผ่านวัยไปทีเดียว อาการ ๒ ข้างปลาย เป็นการขยายความตามปกติ (คือเป็นไปตามธรรมชาติ) .
จริงอยู่ ด้วยบทว่า ชรานี้ พระองค์ทรงแสดงชรานี้โดยสภาวะ เพราะเหตุนั้น คำว่า ชรานี้ จึงเป็นการอธิบายสภาวะของชรานั้น. ด้วยบทว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 254
ชิรณตา นี้ ทรงแสดงโดยอาการ. เพราะฉะนั้น คำว่า ชิรณตา นี้ จึงเป็นอธิบายอาการของรูปชิรณตานั้น. ด้วยบทว่า ความมีฟันหลุด นี้ ทรงแสดงโดยกิจคือการทำภาวะที่ฟันและเล็บหลุดโดยกาลผ่านวัย. ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ ความมีผมหงอกนี้ ทรงแสดงโดยกิจ คือ ความที่ผมและขนทั้งหลายหงอก. ด้วยบทว่า มีหนังเป็นเกลียว นี้ทรงแสดงโดยกิจ คือกระทำเนื้อให้เหี่ยว แล้วทำหนังให้ย่นเป็นเกลียว. เพราะฉะนั้น บททั้ง ๓ มีฟันหลุดเป็นต้นนี้ เป็นการขยายความถึงกิจที่ล่วงกาลผ่านวัยแห่งรูปนั้น. ด้วยบททั้ง ๓ เหล่านั้น พระองค์ทรงแสดง ปากฏชรา คือ ความแก่ที่ปรากฏโดยอำนาจแห่งการเห็นวิการรูปเหล่านี้. เหมือนอย่างว่า ทางที่น้ำบ่าไป หรือลมพัดไปย่อมปรากฏโดยการพังทะลายหญ้าและต้นไม้เป็นต้น หรือว่า ทางที่ไฟไหม้เตียนโล่งไปย่อมปรากฏ ทางมีน้ำเป็นต้นผ่านไปแล้วนั้นยังปรากฏ แต่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นมิได้ปรากฏให้เห็นอยู่ ข้อนี้ฉันใด ทางที่ชราผ่านไปแล้ว โดยอำนาจแห่งความแตกหักในอวัยวะ มีฟันหลุดเป็นต้น ย่อมปรากฏ เพราะบุคคลลืมตาดูก็รู้ได้ แต่สภาวะมีฟันหลุดเป็นต้น ลืมตาดูรู้ไม่ได้ ชราก็รู้ไม่ได้ เพราะชราจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้.
ก็ด้วยประเภทบทเหล่านี้ว่า ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความแก่โดยปกติอันสิ้นไปแห่งอายุ ด้วยสำคัญแห่งการแก่รอบแห่งอินทริย์มีจักษุเป็นต้น แจ่มแจ้งแล้วโดยล่วงกาลผ่านวัยทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พึงทราบสองประการหลังนี้ว่าเป็นนิทเทสโดยปกติแห่งชรตานั้น. ในอาการทั้งสองเหล่านั้น เพราะอายุของบุคคลผู้ถึงความแก่แล้ว ย่อมเสื่อมลง ฉะนั้น จึงตรัสชราโดยมุ่งถึงผลว่า ชรา อายุโน สํหานิ (ชราคือความเสื่อมแห่งอายุ) ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เพราะเวลาที่คนยัง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 255
เป็นหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลาย มีจักขุเป็นต้นผ่องใสสามารถรับอารมณ์แม้ละเอียดของตนได้โดยง่ายนั่นแหละ แต่เมื่อถึงความชราแล้วอินทรีย์ทั้งหลายก็จะหง่อมงกเงิ่น ไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถจะรับอารมณ์แม้อันหยาบของตนได้ฉะนั้นจึงตรัสชราโดยผลูปจารนัยว่า ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ดังนี้.
ว่าโดยชรา ๒ อย่าง
ก็ ชรานี้นั้นทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้ว่า ชราแม้ทั้งหมดมี ๒ อย่างคือ ปากฏชรา (ชราปรากฏ) ปฏิจฉันนชรา (ชราปกปิด). บรรดาชรา ๒ เหล่านั้น ชราในรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความแตกหักเป็นต้น ในอวัยวะมีฟันเป็นต้น แต่ชราในอรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงพิการเช่นนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ยังมีชราอีก ๒ อย่าง คือ
อวีจิชรา (ชราไม่มีคลื่น)
สวีจิชรา (ชรามีคลื่น).
ในชรา ๒ อย่างเหล่านั้น พึงทราบว่า ชราที่ชื่อว่า อวีจิชรา เพราะความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายในระหว่างๆ เป็นชราที่รู้ได้ยาก ดุจชราของแก้วมณี ทองคำ เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เป็นต้น ดุจชราของสัตว์มีชีวิตทั้งหลายในเวลาที่เป็นมันททสกะ (๑) เป็นต้น และดุจชราของสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลายมีในเวลาที่มีดอก มีผล และหน่อเป็นต้น ได้แก่ นิรันตชรา (ชราต่อเนื่อง). ส่วนชราที่ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายในระหว่างๆ ในสิ่งเหล่าอื่นตามที่กล่าวแล้ว นอกจากนั้นเป็นของรู้ได้โดยง่ายดังนี้.
(๑) ช่วงอายุ ๑ - ๑๐ ปี มาในวิสุทธิมรรคเรื่อง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 256
ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะวของชรตารูป พึงทราบว่า
รูปปริปากลกฺขณา รูปสฺส ชรตา ชรตารูป มีความหง่อมแห่งรูปเป็นลักษณะ อุปนยรสา มีการน้อมเข้าไปใกล้ความตายเป็นรส สภาวานปคเมปิ นวภาวาปคทปจฺจุปฏฺานา มีความปราศจากของใหม่แม้ยังไม่ปราศจากภาวะของตนเป็นปัจจุปัฏฐาน วีหิปุราณภาโว วิย ปริปจฺจมานรูปปทฏฺานา มีรูปที่หง่อมอยู่ดุจข้าวเปลือกเก่าเป็นปทัฏฐาน.
อรรถกถาอนิจจตานิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอนิจจตารูปต่อไป.
รูปที่ชื่อว่า ขโย (ความสิ้นไป) ด้วยอำนาจแห่งการถึงความสิ้นไป ที่ชื่อว่า วโย (ความเสื่อมไป) ด้วยอำนาจแห่งการเข้าถึงความเสื่อม ที่ชื่อว่าเภโท (ความแตกไป) ด้วยอำนาจแห่งความแตก.
อีกอย่างหนึ่ง รูปที่ชื่อว่า ขโย เพราะอรรถว่า เป็นที่สิ้นไป ที่ชื่อว่า วโย เพราะอรรถว่า เป็นที่เสื่อมไป ที่ชื่อว่า เภโท เพราะอรรถว่า เป็นที่แตกดับไป เพราะรูปถึงอาการนั้นแล้วย่อมสิ้นไป ย่อมเสื่อมไป และย่อมแตกไป ความแตกไปนั่นเอง เรียกว่าปริเภท (ความทำลายไป) เพราะทรงเพิ่มบทด้วยอุปสรรค.
สภาวะที่ชื่อว่า อนิจจัง เพราะอรรถว่า ไม่เที่ยงคือมีแล้วหามีไม่. ภาวะแห่งอนิจจังนั้น ชื่อว่า อนิจจตา (ความไม่เที่ยง) ชื่อว่า อันตรธาน เพราะอรรถว่า เป็นที่อันตรธาน จริงอยู่ รูปถึงมรณะแล้วย่อมอันตรธาน คือย่อมถึงความไม่เห็น รูปเท่านั้น ถึงความไม่เห็นอย่างเดียวก็หาไม่ เบญจขันธ์แม้ทั้งหมดก็อันตรธานไป เพราะฉะนั้น รูปนี้แหละ พึงทราบว่าเป็นลักษณะความไม่เที่ยงแห่งขันธ์แม้ทั้ง ๕ ก็เมื่อว่าโดยลักขณะเป็นต้น พึงทราบว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 257
ปริเภทลกฺขณา รูปสฺส อนิจฺจตา อนิจจตารูปมีความทำลายเป็นลักษณะ สํสีทนรสา มีการจมลงเป็นรส ขยวยปจฺจุปฏฺานา มีความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน ปริภิชฺชมานรูปปทฏฺานา มีรูปที่กำลังทำลายไปเป็นปทัฏฐาน.
ว่าด้วย ชาติ ชรา มรณะดุจปัจจามิตร ๓ คน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) แสดงไว้ในหนหลังแล้ว แต่ในที่นี้ทรงถือเอามรณะ (ความตาย) ธรรมทั้ง ๓เหล่านี้ เป็นเช่นกับปัจจามิตร ผู้เงื้อดาบขึ้นประหารสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้. เหมือนอย่างว่า ปัจจามิตร ๓ คน เที่ยวแสวงหาช่องประทุษร้ายบุรุษ บรรดาปัจจามิตร ๓ คนนั้น คนหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า การพาบุรุษนี้ออกเข้าไปสู่ดงเป็นหน้าที่ของเรา คนที่ ๒ พูดว่า ในเวลาที่บุรุษนั้นถึงดงแล้ว การโบยตีให้ล้มลงบนแผ่นดินเป็นหน้าที่เรา คนที่ ๓ พูดว่า จำเดิมแต่เวลาที่บุรุษนั้นล้มลงที่ดงแล้ว การเอาดาบตัดศีรษะเป็นหน้าที่ของเรา ดังนี้ฉันใด ธรรมเหล่านี้มีชาติเป็นต้น เห็นปานนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชาติ เป็นเช่นกับปัจจามิตรผู้นำบุรุษออกให้เข้าไปสู่ดง เพราะให้สัตว์บังเกิดในที่นั้นๆ . ชรา เป็นเช่นกับปัจจามิตรผู้โบยตีบุรุษผู้ถึงดงแล้วให้ล้มลงยังแผ่นดิน เพราะกระทำขันธ์ที่เกิดขึ้นแล้วให้ทุรพล ให้อาศัยคนอื่น ให้มุ่งไปสู่เตียงนอน. มรณะ เป็นเช่นกับปัจจามิตรผู้เอาดาบตัดศีรษะของบุรุษผู้ล้มลงที่ดง เพราะยังขันธ์ทั้งหลายซึ่งถึงชราแล้วให้ถึงความสิ้นชีวิต ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 258
อรรถกถากพฬิงการาหารนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งกพฬิงการาหาร ต่อไป
อาหารที่ชื่อว่า กพฬิงการ เพราะถูกการทำให้เป็นก้อน (เป็นคำข้าว) ชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่าย่อมถูกกลืนกิน. อธิบายว่า บุคคลทำคำข้าวแล้วย่อมกลืนกิน. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่า ย่อมนำมาซึ่งรูป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยกชื่อขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งวัตถุอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงอาหารนั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งวัตถุอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า โอทโน กุมฺมาโส (ข้าวสุก ขนมสด) ดังนี้ จริงอยู่ อาหาร๑๒ อย่าง มีข้าวสุกเป็นต้น มีน้ำอ้อยเป็นที่สุด เป็นวัตถุแห่งอาหารที่ทรงประสงค์เอาในที่นี้. อาหารมีรากไม้และผลไม้เป็นต้นที่ไม่ได้ตรัสไว้ในพระบาลีก็รวมเข้าในเยวาปนกธรรม.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาหารเหล่านั้นมีรากไม้ผลไม้เป็นต้นโดยควรแก่สัตว์ทั้งหลายพึงกระทำ จึงตรัสคำว่า ยมฺหิ ยมฺหิ ชนปเท (ในชนบทใดๆ) เป็นต้น. ในพระบาลีนั้น อาหารที่ชื่อว่า มุขาสิยํ (อันเป็นของใส่ปาก) เพราะอรรถว่า พึงกลืนกิน คือ พึงบริโภคทางปาก. ที่ชื่อว่า ทนฺตวิขาทนํ (ของขบเคี้ยว) เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงขบเคี้ยวด้วยฟัน. ที่ชื่อว่า คลชฺโฌหรณียํ (ของกลืนกิน) เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงกลืนกินทางลำคอ.
บัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงอาหารนั้นด้วยสามารถแห่งกิจ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า กุจฺฉิวิตฺถมฺภนํ (เป็นของอิ่มท้อง) . จริงอยู่ อาหารนั้นมีรากไม้และผลไม้เป็นต้น หรือมีข้าวสุกและขนมสดเป็นต้น อันสัตว์กลืนกินแล้วย่อมอิ่มท้อง นี้เป็นกิจของอาหารนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 259
บทว่า ยาย โอชาย สตฺตา ยาเปนฺติ (สัตว์ทั้งหลายเลี้ยงชีวิตด้วยโอชาใด) มีคำอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอาหารอันเป็นวัตถุด้วยบททั้งปวงในหนหลังแล้ว บัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงโอชาเท่านั้นอันสำเร็จแล้ว (อันเกิดขึ้นแล้ว) จึงตรัสคำว่า ยาย โอชาย สตฺตา ยาเปนฺติ นี้ไว้.
ถามว่า ก็บรรดาอาหารที่เป็นวัตถุและโอชาเหล่านี้ กิจของวัตถุเป็นอย่างไร กิจของโอชาเป็นอย่างไร? ตอบว่า วัตถุและโอชาเหล่านั้น มีการบำบัดอันตราย และการรักษาร่างกายเป็นกิจ จริงอยู่ อาหารที่เป็นวัตถุย่อมนำอันตรายออกแต่ไม่อาจเพื่อรักษาร่างกาย อาหารที่เป็นโอชาย่อมรักษาร่างกาย แต่ไม่อาจเพื่อนำอันตรายออกไป. อาหารแม้ทั้ง ๒ รวมกันแล้วย่อมอาจแม้เพื่อรักษา ย่อมอาจแม้เพื่อนำอันตรายออกไป.
ถามว่า ก็อะไรเล่า ชื่อว่า เป็นอันตราย.
ตอบว่า เตโชธาตุ อันเกิดแต่กรรม.
จริงอยู่ เมื่อวัตถุมีข้าวสุกเป็นต้นไม่มีภายในท้อง เตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมตั้งขึ้นจับเยื่อกระเพาะอาหาร ย่อมยังบุคคลให้พูดว่า ข้าพเจ้าหิวแล้ว จงให้อาหารเถิด ในเวลาที่กินอาหารแล้ว เตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมนั้นก็ละเยื่อกระเพาะอาหารไปจับวัตถุ (ที่เป็นอาหาร) . ทีนั้นสัตว์ก็มีจิตสงบ.
เหมือนอย่างว่า ฉายารากษส (รากษสผู้จับสัตว์เข้าไปสู่เงา) จับสัตว์ผู้เข้าไปสู่เงา เอาตรวนทิพย์ล่ามไว้ เบิกบานใจอยู่ในที่อยู่ของตน ในเวลาหิวก็มากัดกินที่ศีรษะ สัตว์นั้นย่อมร้องเพราะถูกกัดกินนั้น พวกมนุษย์ฟังเสียงร้องนั้นก็พากันมาจากที่นั้นๆ ด้วยสำคัญว่า ในที่นี้มีสัตว์ผู้ได้รับทุกข์ ฉายารากษสนั้นก็จับมนุษย์ที่มาแล้วๆ เคี้ยวกินแล้วสบายใจในที่อยู่ของตนฉันใด คำอุปไมยเป็นเครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงทราบฉันนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 260
ก็เตโชธาตุอันเกิดแต่กรรม เปรียบเหมือนฉายารากษส. เยื่อกระเพาะอาหารเปรียบเหมือนสัตว์ที่ถูกฉายารากษสเอาตรวนทิพย์ล่ามไว้, วัตถุมีข้าวสุกเป็นต้น เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้มาอีก, ความที่เตโชธาตุเกิดแต่กรรมละวัตถุไปแล้วถือเอาเยื่อกระเพาะอาหารเปรียบเหมือนฉายารากษสลงมากัดที่ศีรษะ, เวลาที่บอกว่า ขอท่านจงให้อาหาร เปรียบเหมือนเวลาที่ร้องของสัตว์ซึ่งถูกกัดศีรษะ, เมื่อเตโชธาตุเกิดแต่กรรมละเยื่อกระเพาะอาหารไปจับเอาวัตถุสัตว์ทั้งหลายก็มีจิตสงบ เปรียบเหมือนเวลาที่ฉายารากษสจับพวกมนุษย์ที่มาแล้วๆ ด้วยสัญญานั้นเคี้ยวกินสบายใจในที่อยู่ของตน.
ว่าด้วยอาหารหยาบและละเอียด
บรรดาอาหารเหล่านั้น ในวัตถุหยาบมีโอชาน้อย ในวัตถุละเอียดมีโอชาแรง จริงอยู่ คนกินอาหารมีหญ้ากับแก้ (๑) เป็นต้นครู่เดียวเท่านั้นก็หิว คนดื่มเนยใสเป็นต้น แม้ดำรงอยู่ตลอดวันก็ไม่อยากข้าว อนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบความหยาบและละเอียดโดยการอาศัยเทียบเคียงกัน.
จริงอยู่ เมื่อเทียบเคียงอาหารของพวกจระเข้แล้ว อาหารของพวกนกยูงก็ละเอียด. ได้ยินว่า พวกจระเข้กลืนหินเข้าไป และหินเหล่านี้ถึงท้องของพวกมัน แล้วย่อมย่อยไป พวกนกยูงย่อมกินสัตว์มีงูและแมลงป่องเป็นต้น แต่เทียบอาหารของพวกนกยูงแล้ว อาหารของหมาป่าก็ละเอียดกว่า ได้ยินว่า พวกหมาป่าเหล่านั้นกินเขาและกระดูกสัตว์ที่ทิ้งไว้ถึง ๓ ปีได้ ก็เขาและกระดูกสัตว์เหล่านั้นพอเปียกน้ำลายของหมาป่าเหล่านั้นก็อ่อนเหมือนเหง้ามัน เทียบอาหารแม้ของหมาป่าเหล่านั้นแล้ว อาหารของพวกช้างก็ละเอียดกว่า เพราะพวกช้างเหล่านั้นย่อมกินกิ่งไม้ต่างๆ อาหารของพวกโคป่ากวาง และเนื้อเป็นต้นละเอียด
(๑) หญ้ากับแก้ เป็นภาษาท้องถิ่นมณฑลพายับ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 261
กว่าอาหารของพวกช้าง. ได้ยินว่า พวกโคป่ากวาง และเนื้อเหล่านั้นเคี้ยวกินใบไม้ต่างๆ เป็นต้นที่ไม่แข็ง อาหารพวกโคบ้านละเอียดกว่าอาหารของสัตว์มีโคป่าเป็นต้นแม้เหล่านั้น พวกโคบ้านย่อมเคี้ยวกินหญ้าสดและหญ้าแห้งอาหารของพวกกระต่ายละเอียดกว่าอาหารของพวกโคเหล่านั้น อาหารของพวกนกละเอียดกว่าอาหารของพวกกระต่าย อาหารของพวกชนผู้อยู่ปัจจันตประเทศละเอียดกว่าอาหารของพวกนก อาหารของพวกผู้กินบ้าน (ผู้ใหญ่ในบ้าน) ละเอียดกว่าอาหารของพวกประจันตประเทศ อาหารของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ละเอียดกว่าอาหารของพวกผู้กินบ้าน อาหารของพระเจ้าจักรพรรดิละเอียดกว่าอาหารของพระราชาและมหาอำมาตย์แม้เหล่านั้น อาหารของพวกภุมเทวดาละเอียดกว่าอาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ อาหารของพวกจาตุมมหาราชิกาละเอียดกว่าอาหารของพวกภุมเทวดา. ด้วยอาการอย่างนี้ พึงให้พิสดารไปจนถึงอาหารของพวกเทพปรนิมมิตวสวัตดี ก็อาหารของเทพปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้นถึงการสิ้นสุดแล้วว่า ละเอียดที่สุด.
ว่าด้วยลักขณาทิจตุกกะ
โอชากฺขโณ กพฬึกาโร อาหาโร กพฬิงการาหารอันบัณฑิตพึงทราบว่า มีโอชาเป็นลักษณะ รูปาหรณรโส มีการนำมาซึ่งรูปเป็นรส อุปตฺถมฺภนปจฺจุปฏฺาโน มีการอุปถัมภ์เป็นปัจจุปัฏฐาน กพฬํ กตฺวา อาหริตพฺพวตฺถุปทฏฺาโน มีวัตถุที่บุคคลทำเป็นคำข้าวแล้วกลืนกินเป็นปทัฏฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 262
ทุกนิเทศ
[๕๓๙] รูปไม่เป็นอุปาทา (โน อุปาทา) นั้น เป็นไฉน?
คือโผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ
[๕๔๐] รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้องอยู่ หรือจักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง ซึ่งโผฏฐัพพะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, กายอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, โผฏฐัพพะใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 263
ที่กาย อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด กายสัมผัสอาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ กายสัมผัสมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะใด เป็นอารมณ์อาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้นหรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
[๕๔๑] รูปที่เรียกว่า อาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อาโปธาตุ.
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอุปาทา (โน อุปาทา) .
[๕๔๒] รูปเป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน.?
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 264
รูปเป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะ.
[๕๔๓] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.
[๕๔๔] รูปเป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสนิทัสสนะ.
รูปเป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนิทัสสนะ.
[๕๔๕] รูปเป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 265
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะ.
[๕๔๖] รูปเป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์.
รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์.
[๕๔๗] รูปเป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูต.
รูปไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูต.
[๕๔๘] รูปเป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นวิญญัตติ.
รูปไม่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นวิญญัตติ.
[๕๔๙] รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รุปลหุตา รูปมุทุตา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 266
รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน.
รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปชรา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ที่ไม่เกิดแต่จิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน.
[๕๕๐] รูปเป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจิตตสหภู.
รูปไม่เป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิตตสหภู.
[๕๕๑] รูปเป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจิตตานุปริวัติ.
รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติ.
[๕๕๒] รูปเป็นภายใน นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นภายใน.
รูปเป็นภายนอก นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นภายนอก.
[๕๕๓] รูปหยาบ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ โผฆฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปหยาบ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 267
รูปละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปละเอียด.
[๕๕๔] รูปไกล นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไกล.
รูปใกล้ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปใกล้.
[๕๕๕] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักษุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.
รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.
[๕๕๖] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน?
จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักษุวิญญาณ.
รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.
[๕๕๗] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.
รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 268
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.
[๕๕๘] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน?
กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.
รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.
[๕๕๙] รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.
รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.
[๕๖๐] รูปเป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.
รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.
[๕๖๑] รูปเป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 269
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.
รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.
[๕๖๒] รูปเป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.
รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.
[๕๖๓] รูปเป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขายตนะ.
รูปไม่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขายตนะ.
[๕๖๔] รูปเป็นโสตายตนะ ฯลฯ เป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า กายบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายายตนะ.
รูปไม่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายายตนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 270
[๕๖๕] รูปเป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปายตนะ.
รูปไม่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปายตนะ.
[๕๖๖] รูปเป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็นคันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นโผฏฐัพพายตนะ.
รูปไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ.
[๕๖๗] รูปเป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขุธาตุ.
รูปไม่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขุธาตุ.
[๕๖๘] รูปเป็นโสตธาตุ ฯลฯ เป็นเป็นฆานธาตุ ฯลฯ เป็น ชิวหาธาตุ ฯลฯ เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน?
กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายธาตุ.
รูปไม่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายธาตุ.
[๕๖๙] รูปเป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 271
รูปไม่เป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปธาตุ.
[๕๗๐] รูปเป็นสัททธาตุ ฯลฯ เป็นคันธธาตุ ฯลฯ เป็น รสธาตุ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นโผฏฐัพพธาตุ.
รูปไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ.
[๕๗๑] รูปเป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขุนทรีย์.
รูปไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขุนทรีย์.
[๕๗๒] รูปเป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็น ชิวหินทรีย์ ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่ากายบ้างฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายินทรีย์.
รูปไม่มีกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายินทรีย์.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 272
[๕๗๓] รูปเป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง ของหญิง ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่ารูปเป็นอิตถินทรีย์.
รูปไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอิตถินทรีย์.
[๕๗๔] รูปเป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายให้รู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นปุริสินทรีย์.
รูปไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นปุริสินทรีย์.
[๕๗๕] รูปเป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นชีวิตินทรีย์.
รูปไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นชีวิตินทรีย์.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 273
[๕๗๖] รูปเป็นกายวิญญัตติ เป็นไฉน?
การเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความที่เคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤตก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายวิญญัตติ.
รูปไม่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายวิญญัตติ.
[๕๗๗] รูปเป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา, การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ด้วยวาจานั้น อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่ารูปเป็นวจีวิญญัตติ.
รูปไม่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นวจีวิญญัตติ.
[๕๗๘] รูปเป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน?
อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอากาศธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 274
รูปไม่เป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอากาศธาตุ.
[๕๗๙] รูปเป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอาโปธาตุ.
รูปไม่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอาโปธาตุ.
[๕๘๐] รูปเป็นในรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูปอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปลหุตา.
รูปไม่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปลหุตา.
[๕๘๑] รูปเป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูปอันใดรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปมุทุตา.
รูปไม่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปมุทุตา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 275
[๕๘๒] รูปเป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปกัมมัญญตา.
รูปไม่เป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปกัมมัญญตา.
[๕๘๓] รูปเป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปอุปจยะ.
รูปไม่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปอุปจยะ.
[๕๘๔] รูปเป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปสันตติ.
รูปไม่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นสันตติ.
[๕๘๕] รูปเป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปชรตา.
รูปไม่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปชรตา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 276
[๕๘๖] รูปเป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยงความอันตรธานแห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปอนิจจตา.
รูปไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปอนิจจตา.
[๕๘๗] รูปเป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
ข้าวสุก ขนมสด นมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแท้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้นๆ ในชนบทใดๆ สัตว์ทั้งหลายเลี้ยงชีวิตโดยโอซาอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกพฬิงการาหาร.
รูปไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ รูปอนิจจตา รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกพฬิงการาหาร.
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒ อย่างนี้.
ทุกนิเทส จบ
ติกนิเทศ
[๕๘๘] รูปภายในเป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอุปาทา.
รูปภายนอกที่เป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอุปาทา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 277
รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทา นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทา.
[๖๘๙] รูปภายในเป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอุปาทินนะ.
รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนะ.
รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายนตะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทินนะ.
[๕๙๐] รูปภายในเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็น อุปา-ทินนุปาทานิยะ.
รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 278
รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ.
รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.
[๕๙๑] รูปภายในที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอนิทัสสนะ.
รูปภายนอกที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นสนิทัสสนะ.
รูปภายนอกที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอนิทัสสนะ.
[๕๙๒] รูปภายในเป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นสัปปฏิฆะ.
รูปภายนอกที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นสัปปฏิฆะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 279
รูปภายนอกที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กฬฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอัปปฏิฆะ.
[๕๙๓] รูปภายในเป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย ์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอินทรีย์
รูปภายนอกที่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอินทรีย์.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นอินทรีย์.
[๕๙๔] รูปภายในไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นมหาภูต.
รูปภายนอกที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นมหาภูต.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นมหาภูต.
[๕๙๕] รูปภายในไม่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นวิญญัตติ.
รูปภายนอกที่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 280
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นวิญญัตติ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นวิญญัตติ.
[๕๙๖] รูปภายในไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน.
รูปภายนอกที่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือแม้รูปอื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหารที่เกิดจากจิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นจิตตสมุฏฐาน.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่ไม่ได้เกิดจากจิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน?
[๕๙๗] รูปภายในไม่เป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นจิตตสหภู.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 281
รูปภายนอกที่เป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นจิตตสหภู.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตสหภู นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตสหภู.
[๕๙๘] รูปภายในไม่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นจิตตานุปริวัติ.
รูปภายนอกที่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นจิตตานุปริวัติ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตานุปริวัติ.
[๕๙๙] รูปภายในที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่หยาบ.
รูปภายนอกที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่หยาบ.
รูปภายนอกที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ละเอียด.
[๖๐๐] รูปภายในที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่อยู่ใกล้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 282
รูปภายนอกที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่อยู่ไกล.
รูปภายนอกที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่อยู่ใกล้.
[๖๐๑] รูปภายนอกที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.
รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของจักษุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.
รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.
[๖๐๒] รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักษุวิญญาณนั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.
รูปภายในที่เป็นที่อาศัยของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 283
รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.
[๖๐๓] รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายาสัมผัส นั้นเป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.
รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.
รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.
[๖๐๔] รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณนั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.
รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.
รูปภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 284
[๖๐๕] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.
รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.
[๖๐๖] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.
รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.
[๖๐๗] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 285
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.
รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.
[๖๐๘] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.
รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.
[๖๐๙] รูปภายนอกที่ไม่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นจักขายตนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 286
รูปภายในที่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นจักขายตนะ.
รูปภายในที่ไม่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นจักขายตนะ.
[๖๑๐] รูปภายนอกไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นกายายตนะ.
รูปภายในที่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่ากายบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นกายายตนะ.
รูปภายในที่ไม่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นกายายตนะ.
[๖๑๑] รูปภายในที่ไม่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปายตนะ.
รูปภายนอกที่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปายตนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 287
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปายตนะ.
[๖๑๒] รูปภายในไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นรสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ.
รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผกฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ.
[๖๑๓] รูปภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ.
รูปภายในที่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นจักขุธาตุ.
รูปภายในที่ไม่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นจักขุธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 288
[๖๑๔] รูปภายนอกที่ไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุฯลฯ ไม่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นกายธาตุ.
รูปภายในที่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน?
กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นกายธาตุ.
รูปภายในที่ไม่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นกายธาตุ.
[๖๑๕] รูปกายในที่ไม่เป็นในรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นรูปธาตุ.
รูปภายนอกที่เป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปธาตุ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปธาตุ.
[๖๑๖] รูปภายในไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯไม่เป็นรสธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ.
รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 289
รูปภายนอกที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ.
[๖๑๗] รูปภายนอกไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นจักขุทรีย์.
รูปภายในที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นจักขุนทรีย์.
รูปภายในที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์.
[๖๑๘] รูปภายนอกไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์ฯลฯ ไม่เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นกายินทรีย์.
รูปภายในที่เป็นกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ฯลฯ นี้เรียกว่า กายบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นกายินทรีย์.
รูปภายในที่ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นกายินทรีย์.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 290
[๖๑๙] รูปภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์.
รูปภายนอกที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง ของหญิง ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอิตถินทรีย์.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์.
[๖๒๐] รูปภายในไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นปุริสินทรีย์.
รูปภายนอกที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายให้รู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นปุริสินทรีย์.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์.
[๖๒๑] รูปภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 291
รูปภายนอกที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกเป็นชีวิตินทรีย์.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์.
[๖๒๒] รูปภายในไม่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นกายวิญญัตติ.
รูปภายนอกที่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
การเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความเคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย แห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นกายวิญญัตติ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นกายวิญญัตติ.
[๖๒๓] รูปภายในไม่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายใน ไม่เป็นวจีวิญญัตติ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 292
รูปภายนอกที่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นวจีวิญญัตติ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นวจีวิญญัตติ.
[๖๒๔] รูปภายในเป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นอากาศธาตุ.
รูปภายนอกที่เป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน?
อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอากาศธาตุ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นอากาศธาตุ.
[๖๒๕] รูปภายในไม่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นอาโปธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 293
รูปภายนอกที่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
สภาวะที่เอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ สภาวะที่เหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเครื่องเกาะกุม รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอาโปธาตุ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นอาโปธาตุ.
[๖๒๖] รูปภายในไม่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปลหุตา.
รูปภายนอกที่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูปอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปลหุตา.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปลหุตา.
[๖๒๗] รูปภายในไม่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปมุทุตา.
รูปภายนอกที่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูปอันใดรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปมุทุตา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 294
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอก ที่ไม่เป็นรูปมุทุตา.
[๖๒๘] รูปภายในไม่เป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปกัมมัญญตา.
รูปภายนอกที่เป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแห่งการงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปกัมมัญญตา.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็นรูปกัมมัญญตา.
[๖๒๙] รูปภายในไม่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปอุปจยะ.
รูปภายนอกที่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปอุปจยะ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปอุปจยะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 295
[๖๓๐] รูปภายในไม่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปสันตติ.
รูปภายนอกที่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
ความเกิดแห่งรูปอันใด อันเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่ารูปภายนอกที่เป็นรูปสันตติ.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปสันตติ.
[๖๓๑] รูปภายในไม่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปชรตา.
รูปภายนอกที่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปชรตา.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปชรตา.
[๖๓๒] รูปภายในไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูปอนิจจตา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 296
รูปภายนอกที่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยงความอันตรธาน แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอก ที่เป็นรูปอนิจจตา.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปอนิจจตา.
[๖๓๓] รูปภายในไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นกพฬิงการาหาร.
รูปภายนอกที่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือว่ารูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้นๆ ในชนบทใดๆ สัตว์ทั้งหลายเลี้ยงชีวิตด้วยโอชา อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นกพฬิงการาหาร.
รูปภายนอกที่ไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ รูปอนิจจตา รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นกพฬิงการาหาร.
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๓ อย่างนี้.
ติกนิเทศ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 297
อรรถกถารูปกัณฑ์
อรรถกถาโนอุปาทานิสเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง โน อุปาทา ต่อไป
รูปที่ชื่อว่า โน อุปาทา เพราะอรรถว่า โนอุปาทารูปนี้ย่อมไม่อาศัย เหมือนอุปาทารูปย่อมอาศัยมหาภูตรูปเท่านั้นไม่อาศัยรูปอื่น.
ที่ชื่อว่าโผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า อันกายพึงถูกต้อง. อธิบายว่า ถูกต้องแล้วจึงรู้. รูปนั้นเป็นโผฏฐัพพะด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โผฏฐัพพายตนะ
ก็รูปนั้นเป็นอาโปด้วย เป็นธาตุด้วย ด้วยอรรถว่ามิใช่สัตว์และเป็นสภาวะที่ว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาโปธาตุ.
อรรถกถาโผฏฐัพพายตนนิทเทส
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกรูปทั้ง ๓ ที่กายถูกต้องแล้วพึงรู้ได้เหล่านั้น จึงตรัสว่า รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะนั้น เป็นไฉน? ปฐวีธาตุ เป็นต้น.
บรรดาธาตุเหล่านั้น ปฐวีธาตุ กกฺขฬตฺตลกฺขณา มีความแข่นแข็งเป็นลักษณะ ปติฏฺานรสา มีการตั้งมั่นเป็นรส สมฺปฏิจฺฉนฺนปจฺจุปฏฺานา มีการรองรับเป็นปัจจุปัฏฐาน. เตโชธาตุ อุณฺหตฺตลกฺขณา มีความร้อนเป็นลักษณะ ปริปาจนรสา มีการทำให้สุก (การย่อย) เป็นรส มทฺทวานุปฺปาทนปจฺจุปฏฺานา มีการทำให้อ่อนเป็นปัจจุปัฏฐาน. วาโยธาตุ วิตฺถมฺภนลกฺขณา มีการเคร่งตึงเป็นลักษณะ สมุทีรณรสา มีการไหวเป็นรส อภินีหารปจฺจุปฏฺานา มีการน้อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน. ส่วนอาโปธาตุ ข้างต้น ปคฺฆรณลกฺขณา มีการไหลไปเป็นลักษณะ (๑) อุปพฺรูหณรสา มีความพอกพูน
(๑) อาโปธาตุ บางแห่งแสดงถึงการเกาะกุมสหชาตรูปเป็นลักษณะด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 298
เป็นรส สงฺคหปจฺจุปฏฺานา มีการควบคุมไว้เป็นปัจจุปัฏฐาน ก็ในธาตุทั้ง ๔ เหล่านั้น แต่ละธาตุพึงทราบว่ามีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือเป็นปทัฏฐาน (เสสตฺยปทฏฺานา) .
บทว่า กกฺขฬํ แปลว่า แข็ง. บทว่า มุทุกํ (อ่อน) คือไม่แข็ง. บทว่า สณฺหํ (ละเอียด) คือเกลี้ยง. บทว่า ผรุสํ (หยาบ) คือ ขรุขระ. บทว่า สุขสมฺผสฺสํ (มีสัมผัสสบาย) ได้แก่ มีสุขเวทนาเป็นปัจจัย คือ มีโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา. บทว่า ทุกฺขสมฺผสฺสํ (มีสัมผัสไม่สบาย) ได้แก่มีทุกขเวทนาเป็นปัจจัย คือโผฏฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ครุกํ (หนัก) คือเต็มไปด้วยภาระ. บทว่า ลหุกํ (เบา) คือเบาพร้อมไม่มีภาระหนัก.
ก็ในบรรดาธาตุเหล่านี้ ปฐวีธาตุเท่านั้นทรงจำแนกด้วยบทว่า แข็งอ่อน ละเอียด หยาบ หนัก เบา. แม้ในพระสูตรว่า เมื่อใด กายนี้ยังประกอบด้วยอายุ ยังประกอบด้วยไออุ่น ยังประกอบด้วยวิญญาณ เมื่อนั้น กายนี้ก็เบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า ตรัสหมายถึงปฐวีธาตุที่เบาและอ่อนเท่านั้น.
แต่ด้วยสองบทว่า มีสัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย ตรัสจำแนกมหาภูตรูป ๓ เพราะปฐวีธาตุมีสัมผัสสบายบ้าง มีสัมผัสเป็นทุกข์บ้าง เตโชธาตุและวาโยธาตุก็ตรัสเหมือนปฐวีธาตุ. บรรดาธาตุ ๓ เหล่านั้น ปฐวีธาตุ มีสัมผัสสบาย คือว่า เมื่อเด็กหนุ่มผู้มีฝามืออ่อนบีบนวดเท้าอยู่ บุคคลนั้นย่อมสบายใจ ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า นวดเข้าเถิดพ่อ ดังนี้. เตโชธาตุ มีสัมผัสสบาย เมื่อฤดูหนาว เมื่อนำเอากระเบื้องถ่านเพลิงมาให้อบอุ่นร่างกายเขาก็สบายใจ ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า อบเข้าเถิดพ่อ ดังนี้. วาโยธาตุ มีสัมผัสสบาย เมื่อฤดูร้อน ภิกษุหนุ่มถึงพร้อมด้วยวัตรพัดวีอยู่ ย่อมให้สบายใจย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า พัดเข้าเถิดพ่อ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 299
แต่เมื่อเด็กหนุ่มมีมือแข็ง นวดเท้าทั้งสองอยู่ ย่อมเป็นเหมือนเวลาที่กระดูกทั้งหลายจะแตกไป แม้เขาก็จะต้องถูกกล่าวสิ่งที่ควรจะพูดว่า เจ้าจงออกไปดังนี้ เมื่อฤดูร้อนมีคนนำเอากระเบื้องถ่านเพลิงมาให้ ก็จะถูกกล่าวว่า เจ้าจงนำมันออกไปเสีย ดังนี้ เมื่อฤดูหนาวมีคนนำเอาพัดมาพัดโบกอยู่ ก็จะถูกกล่าวว่า จงออกไปอย่ามาพัด ดังนี้. พึงทราบความที่ธาตุทั้ง ๓ เหล่านั้นมีสัมผัสสบาย และไม่สบาย ด้วยประการฉะนี้.
ก็วาระ ๑๓ ประดับด้วยนัยอย่างละ ๔ นัยตามที่ตรัสไว้ โดยนัยว่าโผฏฐัพพะใด เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในรูปายตนะเป็นต้นในหนหลังนั่นแหละ
ถามว่า ก็มหาภูตรูป ๓ เหล่านั้น มาสู่คลองพร้อมกันหรือไม่
ตอบว่า มาพร้อมกัน
ถามว่า มหาภูตรูป ๓ มาแล้วอย่างนี้ กระทบกายประสาทหรือไม่
ตอบว่า ย่อมกระทบ
ถามว่า กายวิญญาณกระทำมหาภูตรูป ๓ เหล่านี้ ให้เป็นอารมณ์พร้อมกันเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น
ตอบว่า กายวิญญาณ ไม่เกิดขึ้น
ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะการที่กายวิญญาณกระทำมหาภูตรูป ๓ ให้เป็นอารมณ์ย่อมมีด้วยอำนาจการคำนึงถึง หรือด้วยสามารถธาตุที่มีมาก
ในบรรดาทั้ง ๒ ข้อนั้น ว่าด้วยการคำนึงถึงก่อน จริงอยู่ เมื่อคนเอาข้าวสุกบรรจุบาตรจนเต็มนำมาแล้วก็หยิบเมล็ดข้าวเมล็ดหนึ่งมาทดลองดูว่าแข็งหรืออ่อน ในข้าวเมล็ดหนึ่งนั้น ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ มีทั้งวาโยธาตุ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 300
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นเขาก็ย่อมคำนึงถึงปฐวีธาตุเท่านั้น เมื่อหย่อนมือลงในน้ำร้อนทดลองดู ในน้ำร้อนนั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งวาโยธาตุแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็ย่อมคำนึงถึงเตโชธาตุเท่านั้น. ในฤดูร้อน เขาเปิดหน้าต่างให้ลมโชยสรีระยืนอยู่ เมื่อลมอ่อนๆ โชยมาอยู่ ในลมอ่อนๆ ที่โชยมานั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นเขาก็คำนึงถึงวาโยธาตุเท่านั้น กายวิญญาณธาตุชื่อว่าย่อมกระทำมหาภูตรูป ๓ ให้เป็นอารมณ์ด้วยสามารถแห่งการคำนึงถึง ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนบุคคลใดพลาดล้มลงก็ดี เอาศีรษะชนกับต้นไม้ก็ดี กำลังบริโภคอาหารกัดก้อนกรวดก็ดี ในการพลาดล้มลงเป็นต้นนั้น ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ ย่อมมีทั้งวาโยธาตุ แต่บุคคลนั้นย่อมกระทำเฉพาะปฐวีธาตุเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ด้วยอำนาจธาตุที่มีมาก เมื่อเหยียบไฟก็ดี ในไฟนั้น ก็ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุย่อมมีทั้งวาโยธาตุ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็ทำเฉพาะเตโชธาตุเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก เมื่อลมแรงพัดแก้วหูราวกะทำให้หูหนวก ในลมแรงนั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ แม้ก็จริงถึงอย่างนั้น เขาก็กระทำเฉพาะธาตุลมเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก
บุคคลกระทำอยู่ซึ่งธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์ แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อบุคคลถูกเข็มทั้งกลุ่มแทงแล้ว กายถูกเข็มทั้งนั้นกระทบพร้อมกัน แต่ในที่ใดๆ กายประสาทมีมาก ในที่นั้นๆ กายวิญญาณย่อมเกิดขึ้น แม้ในที่ใดๆ มีการกระทบเสียดสีแรง ในที่นั้นๆ กายวิญญาณย่อมเกิดขึ้นก่อน. เมื่อเอาขนไก่มาชะแผล เส้นขนไก่แต่ละเส้นย่อมกระทบกายประสาท ก็ในที่ใดๆ กายประสาทมีมาก ในที่นั้นๆ นั่นแหละ กายวิญญาณ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 301
ย่อมเกิดขึ้น บุคคลย่อมทำธาตุทั้ง ๓ ให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมากอย่างนี้ กายวิญญาณ ชื่อว่า ย่อมเกิด ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมากนั่นแหละ.
ถามว่า ก็จิตเล่า ก้าวไปจากอารมณ์ได้อย่างไร?
ตอบว่า ก้าวไปด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอัชฌาศัย (ความปรารถนา) หรือโดยอารมณ์มีกำลังแรง.
จริงอยู่ ในเวลาที่มีงานฉลองพระวิหารเป็นต้น คนผู้ไปด้วยความตั้งใจว่า เราจักไหว้พระเจดีย์ และจักไหว้พระปฏิมานั้นๆ เราจักดูโปตถกรรม (การทำหนังสือ) และจิตรกรรม (การวาดภาพ) ดังนี้ ไหว้หรือเห็นสิ่งหนึ่งแล้วก็ตั้งใจเพื่อต้องการไหว้ เพื่อต้องการชมสิ่งนอกนี้แล้ว ก็ไปเพื่อไหว้บ้างเพื่อดูบ้างทีเดียว อย่างนี้ จิตชื่อว่าก้าวไปจากอารมณ์ โดยอัชฌาศัย คือความปรารถนา. แต่เมื่อยืนแลดูพระมหาเจดีย์ อันมีส่วนเปรียบด้วยยอดเขาไกรลาส ครั้นเวลาต่อมา เมื่อบรรเลงดนตรีทั้งปวงขึ้น จึงละรูปารมณ์ ก้าวขึ้นสู่สัททารมณ์ ครั้นเมื่อบุคคลนำดอกไม้มีกลิ่นที่ชอบใจ หรือของหอมมา ก็ละสัททารมณ์ ก้าวขึ้นสู่คันธารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่า ก้าวไปโดยอารมณ์มีกำลังแรง.
อรรถกถาอาโปธาตุนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอาโปธาตุ ต่อไป
บทว่า อาโป (ความเอิบอาบ) เป็นการแสดงสภาวะ อาโปนั่นแหละเรียกว่า อาโปคตํ (ธรรมชาติที่เอิบอาบ) สิเนโห (ความเหนียว) ด้วยอำนาจแห่งความเหนียวนั่นแหละ เรียกว่า สิเนหคตํ (ธรรมชาติที่เหนียว) .
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 302
บทว่า พนฺธนตฺตํ รูปสฺส (ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป) ได้แก่ธรรมชาติเป็นเครื่องประกอบภูตรูปมีปฐวีเป็นต้น. จริงอยู่ อาโปธาตุควบคุมวัตถุทั้งหลายมีแท่งเหล็กเป็นต้น ไว้แล้วย่อมทำให้ติดกัน ธรรมชาติทั้งหลายมีก้อนเหล็กเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า ติดกันอยู่ เพราะความที่อาโปธาตุนั้นเป็นเครื่องเกาะกุมไว้ แม้ในแผ่นหิน ภูเขา ต้นตาล หน่อไม้ งาช้าง และเขาโคเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็อาโปธาตุเท่านั้นเกาะกุมวัตถุเหล่านั้นทั้งหมดกระทำให้ติดกัน ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่า เป็นธรรมชาติติดกัน ก็เพราะถูกอาโปธาตุควบคุมไว้.
ถามว่า ก็ปฐมวีธาตุถูกต้องธาตุที่เหลือ (มีอาโปเป็นต้น) แล้วก็เป็นที่ตั้งอาศัย หรือไม่ถูกต้องก็เป็นที่อาศัย อีกนัยหนึ่ง อาโปธาตุเมื่อเกาะกุมธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ ถูกต้องแล้วย่อมเกาะกุม หรือว่าไม่ถูกต้องแล้วก็เกาะกุมได้.
ตอบว่า เบื้องต้น ปฐวีธาตุไม่ถูกต้องกับอาโปธาตุ ก็เป็นที่อาศัยให้ได้ แต่สำหรับ เตโชธาตุ และวาโยธาตุแล้ว ปฐวีธาตุต้องถูกต้องจึงเป็นที่อาศัยให้ได้ ส่วนอาโปธาตุไม่ถูกต้องแม้ปฐวีธาตุ แม้เตโชธาตุและวาโยธาตุเลยก็ย่อมเกาะกุมได้ ถ้าว่าอาโปธาตุถูกต้องแล้วพึงเกาะกุมไซร้ อาโปธาตุนั้นก็พึงชื่อว่าโผฏฐัพพายตนะ.
แม้ในการที่เตโชธาตุและวาโยธาตุทำกิจของตนๆ ในธาตุที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ เตโชธาตุ ถูกต้องปฐวีธาตุแล้ว ก็ยังปฐวีให้ใหม้ ส่วนปฐวีธาตุนั้นมิใช่เป็นของร้อนย่อมถูกไหม้ ถ้าว่า ปฐวีธาตุพึงเป็นของร้อนแผดเผาไซร้ ปฐวีธาตุก็พึงมีความร้อนเป็นลักษณะ อนึ่ง เตโชธาตุนั้นมิได้ถูกต้องอาโปธาตุเลยก็ทำให้อาโปธาตุนั้นร้อนได้ แม้อาโปธาตุนั้น เมื่อร้อนอยู่ก็หา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 303
เป็นสภาวะร้อนเผาไม่ ถ้าว่าอาโปธาตุนั้นเป็นตัวสภาวะความร้อนพึงเผาไซร้อาโปธาตุนั้น ก็พึงชื่อว่ามีความร้อนเป็นลักษณะ อนึ่ง เตโชธาตุนั้นถูกต้องวาโยธาตุนั้นแหละจึงแผดเผา แม้วาโยธาตุนั้น เมื่อถูกแผดเผาอยู่ก็มิใช่เป็นตัวความร้อนแผดเผา ถ้าวาโยธาตุเป็นตัวสภาวะความร้อนแผดเผาอยู่ไซร้ วาโยธาตุนั้นก็พึงชื่อว่า มีความร้อนเป็นลักษณะ.
วาโยธาตุถูกต้องปฐวีธาตุแล้วย่อมเคร่งตึง (คือขยายตัวออก) ถูกต้องเตโชธาตุก็ทำให้เคร่งตึงเหมือนกัน แต่ว่าวาโยธาตุนั้นแม้ไม่ถูกต้องอาโปธาตุเลย ก็ย่อมทำให้อาโปธาตุเคร่งตึงได้.
ถามว่า เมื่อบุคคลเคี่ยวน้ำอ้อยทำเป็นงบ อาโปธาตุจะเป็นของแข็งหรือไม่.
ตอบว่า ไม่เป็น เพราะอาโปธาตุนั้นมีการไหลออก (หรือไหลซึม) เป็นลักษณะ ปฐวีธาตุมีความแข็งเป็นลักษณะ แต่ว่าอาโปธาตุมีปริมาณต่ำ (น้อย) ก็จะเป็นไปตามปฐวีธาตุที่มากยิ่ง จริงอยู่ อาโปธาตุนั้นย่อมละภาวะที่ตั้งอยู่โดยอาการเป็นรส (น้ำ) ได้ แต่ไม่ละลักษณะ แม้เมื่อละลายงบน้ำอ้อยอยู่ ปฐวีธาตุย่อมไม่ละลาย เพราะปฐวีมีความแข็งเป็นลักษณะ อาโปธาตุมีการไหลออกเป็นลักษณะ.
แต่ว่า ปฐวีธาตุมีปริมาณต่ำก็จะเกิดเป็นไปตามอาโปธาตุที่มีปริมาณมาก. ปฐวีธาตุนั้นย่อมละภาวะที่ทั้งอยู่โดยอาการเป็นก้อนได้ แต่ไม่ละลักษณะตน เพราะว่ามหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมถึงความแปรปรวนเป็นไปเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าความแปรปรวนของลักษณะมิได้มี ความไม่มีแห่งความแปรปรวนโดยลักษณะนั้นทรงแสดงไว้โดยอัฏฐานปริกัปปสูตร.
ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนอานนท์ ก็มหาภูตรูป ๔ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ จะพึงแปรเป็นอื่นไปได้ แต่พระอริย-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 304
สาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจะแปรเป็นอื่นไป ข้อนี้ไม่พึงมีได้เลย" ดังนี้ ก็ในอัฏฐานปริกัปปสูตรนี้มีอธิบายดังนี้ว่า"ดูก่อนอานนท์ ปฐวีธาตุอันมีความแข็งเป็นลักษณะจะพึงเปลี่ยนไปเป็นอาโปธาตุซึ่งมีความไหลออกเป็นลักษณะได้ แต่พระอริยสาวกชื่อว่าเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นมิได้มี ดังนี้ การกำหนดอฐานะ (เหตุอันเป็นไปไม่ได้) มาแล้วในพระบาลีนี้ด้วยประการฉะนี้.
อรรถกถาอุปาทินนาทินิทเทส
เบื้องหน้าแต่นี้พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปาทินนรูปเป็นต้นต่อไป เนื้อความแห่งอุปาทินนรูปเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในมาติกานั่นแหละ เนื้อความจักขายตนะเป็นต้น ข้าพเจ้าก็ให้พิสดารแล้วในหนหลังเหมือนกันแต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเฉพาะเนื้อความที่ต่างกันในที่นั้นๆ เท่านั้น.
ในนิทเทสแห่งอุปาทินนรูปก่อน รูปทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าจักขายตนะเป็นต้น เพราะเป็นรูปมีใจครองอย่างเดียว แต่เพราะรูปายตนะเป็นต้นมีใจครองก็มี ไม่มีใจครองก็มี ฉะนั้น รูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้นพระองค์จึงแสดงโดยสังเขปว่า ยํ ยํ วา ปน (หรือว่ารูปแม้อื่นใดๆ) แล้วพึงให้พิสดารโดยนัยมีอาทิว่า กมฺมสฺสกตตฺตา รูปายตนํ (รูปายตนะที่กรรมแต่งขึ้น) ดังนี้อีก เนื้อความในเยวาปนกธรรมทั้งหมดพึงทราบโดยอุบายนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในนิทเทสแม้ทั้ง ๒ คือ กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมแต่งขึ้น) และ น กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น) พระองค์มิได้ทรงถือเอาชรตารูป และอนิจจตารูปเล่า? ทรงถือเอาเฉพาะในนิทเทสทั้งหลายแห่งอนุปาทินนรูปเป็นต้นเท่านั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 305
ตอบว่า ในบทว่า น กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น) นี้ พระองค์ทรงรวมรูปที่มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยอื่นนอกจากกรรมก่อน แต่ในบทว่า กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมแต่งขึ้น) นี้ ทรงรวบรวมรูปที่มีสมุฏฐานเกิดแต่กรรมอย่างเดียว รูปทั้ง ๒ คือชรตารูปและอนิจจตารูปเหล่านั้นมิได้เกิดแต่กรรม มิได้เกิดแต่ปัจจัยอย่างอื่น ที่ยังรูปให้เกิด เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมิทรงถือเอา. ก็ความไม่เกิดขึ้นแห่งชรตารูปและอนิจจตารูปด้วยกรรมปัจจัยเป็นต้นนั้นจักแจ่มแจ้งข้างหน้า. อนึ่ง ในคำเป็นต้นว่า อนุปาทินฺนํ (รูปที่ไม่มีใจครอง) ทรงปฏิเสธความที่รูปมีสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็นต้น ไม่ทรงอนุญาตความที่รูปนั้นมีปัจจัยอื่นเป็นสมุฏฐาน ด้วยศัพท์ว่า อนุปาทินนะเป็นต้นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ในนิทเทสแห่งอนุปาทินนรูปเป็นต้นนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า รูปทั้ง ๒ พระองค์ทรงถือเอาแล้วดังนี้.
อรรถกถาจิตตสมุฏฐานนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งจิตตสมุฏฐาน ต่อไป
รูปทั้ง ๒ นี้คือ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ย่อมปรากฏเพราะอาศัยภูตรูป มีจิตป็นสมุฏฐานอย่างเดียว แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว รูปทั้ง ๒ ที่อาศัยภูตรูปนั้นไม่ใช่ภูตรูป แต่เป็นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานซึ่งมีภูตรูปนั่นแหละ. เพราะความที่รูปเหล่านั้นอาศัยจิตตั้งขึ้น แม้รูปทั้ง ๒ นี้ ก็มีชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนชราและมรณะของรูปที่ไม่เที่ยงก็ชื่อว่า ไม่เที่ยง.
แม้ในนิทเทสแห่ง จิตตสหภู ก็นัยนี้เหมือนกัน รูปทั้ง ๒ (กายวิญญัตติและวจีวิญญัตติ ที่เป็นสหภู) นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 306
รูปทั้ง ๒ นั้นปรากฏอยู่ได้ตลอดเวลาที่จิตยังปรากฏอยู่. แต่รูปทั้ง ๒ นี้มิได้เกิดพร้อมกับจิต เหมือนภูตรูปและเหมือนสัมปยุตธรรมมีเจตนาเป็นต้น.
แม้ในนิทเทสแห่ง จิตตานุปริวัติ ก็นัยนี้แหละ ก็รูปทั้ง ๒ (กายวิญญัตติและวจีวิญญัตติ) นี้ ตรัสเรียกว่า จิตตานุปริวัติ เพราะรูปทั้ง ๒ นี้ปรากฏอยู่ได้ตลอดเวลาที่จิตยังปรากฏอยู่ ฉะนั้น.
บทว่า โอฬาริกํ (รูปหยาบ) ได้แก่ ที่ชื่อว่า หยาบ โดยเป็นวัตถุที่พึงถือเอาด้วยสามารถแห่งการกระทบ เพราะเป็นทั้งวัตถุและอารมณ์พึงทราบรูปละเอียดโดยสภาพตรงกันข้ามกับรูปหยาบที่กล่าวแล้ว.
บทว่า ทูเร (รูปไกล) ได้แก่ รูปแม้ตั้งอยู่ในที่ใกล้ ก็ชื่อว่า รูปไกล โดยภาวะที่รู้ได้ยาก เพราะถือเอาไม่ได้ด้วยสามารถแห่งการกระทบ ส่วนรูปนอกนี้แม้ตั้งอยู่ไกลก็ชื่อว่าอยู่ใกล้ โดยเป็นภาวะที่รู้ได้ง่าย เพราะพึงถือเอาได้ด้วยสามารถแห่งการกระทบ.
นิทเทสแห่งจักขายตนะเป็นต้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ในการสงเคราะห์รูปหมวด ๒ มีข้อแตกต่างกันเพียงเท่านี้ การสงเคราะห์รูปหมวด ๓ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 307
จตุกกนิเทศ
[๖๓๔] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ.
รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหารที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ.
[๖๓๕] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 308
รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ.
รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหารที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่ารูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.
[๖๓๖] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอัปปฏิฆะ.
[๖๓๗] รูปเป็นอุปาทาที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 309
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่หยาบ.
รูปเป็นอุปาทาที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่ละเอียด.
รูปเป็นอนุปาทาที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่หยาบ.
รูปเป็นอนุปาทาที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่ละเอียด.
[๖๓๘] รูปเป็นอุปาทาที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่อยู่ไกล.
รูปเป็นอุปาทาที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่อยู่ใกล้.
รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ไกล.
รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ใกล้.
[๖๓๙] รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นสนิทัสสนะ.
รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 310
อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้นรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นสนิทัสสนะ.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหารที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ.
[๖๔๐] รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอัปปฏฆะ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้นรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 311
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นอัปปฏิฆะ.
[๖๔๑] รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน.
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์หรือรูปแม้อันใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต.
[๖๔๒] รูปเป็นอุปาทินนะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่หยาบ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 312
รูปเป็นอุปาทินนะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้นรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่ละเอียด.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่หยาบ.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตารูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนุปาทินนะที่ละเอียด.
[๖๔๓] รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้นรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ไกล.
รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ใกล้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 313
รูปเป็นอนุปาทินนะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตารูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่อยู่ไกล.
รูปเป็นอนุปาทินนะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่อยู่ใกล้.
[๖๔๔] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้นเป็นไฉน?
รูปายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสนิทัสสนะ.
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้นรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอนิทัสสนะ.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสนิทัสสนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 314
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอนิทัสสนะ.
[๖๔๕] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้นเป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้นรูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 315
รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ.
[๖๔๖] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่ารูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอันปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต.
[๖๔๗] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 316
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่ารูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด.
[๖๔๘] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล.
รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่ารูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 317
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล.
รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้.
[๖๔๙] รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็นอินทรีย์.
รูปเป็นสัปปฏิฆะที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะที่ไม่เป็นอินทรีย์.
รูปเป็นอัปปฏิฆะที่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะที่เป็นอินทรีย์.
รูปเป็นอัปปฏิฆะที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะที่ไม่เป็นอินทรีย์.
[๖๕๐] รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 318
รูปเป็นสัปปฏิฆะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะที่ไม่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต.
รูปเป็นอัปปฏิฆะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะที่ไม่เป็นมหาภูต.
[๖๕๑] รูปเป็นอินทรีย์ที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์ที่หยาบ.
รูปเป็นอินทรีย์ที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์ที่ละเอียด.
รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่หยาบ.
รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่ละเอียด.
[๖๕๒] รูปเป็นอินทรีย์ที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์ที่อยู่ไกล.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 319
รูปเป็นอินทรีย์ที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์ที่อยู่ใกล้.
รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่อยู่ไกล.
รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่อยู่ใกล้.
[๖๕๓] รูปเป็นมหาภูตที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่หยาบ.
รูปเป็นมหาภูตที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่ละเอียด.
รูปไม่เป็นมหาภูตที่หยาบ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูตที่หยาบ.
รูปไม่เป็นมหาภูตที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูตที่ละเอียด.
[๖๕๔] รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ไกล.
รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ใกล้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 320
รูปไม่เป็นมหาภูติที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูตที่อยู่ไกล.
รูปไม่เป็นมหาภูตที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูตที่อยู่ใกล้.
[๖๕๕] รูปที่เห็นได้ คือ รูปายตนะ
รูปที่ฟังได้ คือ สัททายตนะ
รูปที่รู้ได้ คือ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
รูปที่รู้แจ้งได้ด้วยใจ คือ รูปทั้งหมด
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๔ อย่างนี้.
จตุกกนิทเทศ จบ
ปัญจกนิเทศ
[๖๕๖] รูปที่เรียกว่า ปฐวีธาตุ นั้น เป็นไฉน?
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม รูปทั้งนี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ.
รูปที่เรียกว่า อาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อาโปธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 321
รูปที่เรียกว่า เตโชธาตุ นั้น เป็นไฉน?
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า เตโชธาตุ.
รูปที่เรียกว่า วาโยธาตุ นั้น เป็นไฉน?
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า วาโยธาตุ.
รูปที่เป็น อุปาทา นั้น เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่เป็นอุปาทา.
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๕ อย่างนี้.
ปัญจนิเทศ จบ
ฉักกนิเทศ
[๖๕๗] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ คือ รูปายตนะ
รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้ คือ สัททายตนะ
รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้ คือ คันธายตนะ
รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ คือ รสายตนะ
รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ คือ โผฏฐัพพายตนะ
รูปอันมโนวิญญาณพึงรู้ คือ รูปทั้งหมด
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๖ อย่างนี้.
ฉักกนิเทศ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 322
สัตตกนิเทศ
[๖๕๘] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ คือ รูปายตนะ
รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้ คือ สัททายตนะ
รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้ คือ คันธายตนะ
รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ คือ รสายตนะ
รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ คือ โผฏฐัพพายตนะ
รูปอันมโนธาตุพึงรู้ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้ คือ รูปทั้งหมด
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๗ อย่างนี้.
สัตตกนิเทศ จบ
อัฏฐกนิเทศ
[๖๕๙] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ คือ รูปายตนะ
รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้ คือ สัททายตนะ
รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้ คือ คันธายตนะ
รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ คือ รสายตนะ
รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ที่มีสัมผัสเป็นสุข คือ โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ
รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ คือ โผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่ชอบใจ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 323
รูปอันมโนธาตุพึงรู้ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้ คือ รูปทั้งหมด
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๘ อย่างนี้.
อัฏฐกนิเทศ จบ
นวกนิเทศ
[๖๖๐] รูปที่เรียกว่า จักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขุนทรีย์.
รูปที่เรียกว่า โสตินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ฆานินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า กายินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า อิตถินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์นั้น เป็นไฉน?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต แห่งรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.
รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์.
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๙ อย่างนี้.
นวกนิเทศ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 324
ทสกนิเทศ
[๖๖๑] รูปที่เรียกว่า จักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขุนทรีย์.
รูปที่เรียกว่า โสตินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ฆานินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า กายินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่าอิตถินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์นั้น เป็นไฉน?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต แห่งรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.
รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นสัปปฏิฆะ.
รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นอัปปฏิฆะ
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๐ อย่างนี้.
ทสกนิเทศ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 325
เอกาทสกนิเทศ
[๖๖๒] รูปเรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า ฆานายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า ชิวหายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า กายายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่ารูปายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า สัททายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า คันธายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า รสายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
ปฐวีธาตุ ฯลฯ เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
รูปเป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะนั้น เป็นไฉน?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนิทัสสนะเป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ.
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๑ อย่างนี้.
เอกาทสกนิเทศ จบ
รูปวิภัตติ จบ
ภาณวารที่ ๘ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 326
อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี
อรรถกถาจตุกนิทเทส
ในบทสุดท้ายแห่ง (ข้อ ๖๕๕) การสงเคราะห์รูป ๔ หมวด พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทำคำถามไว้ตั้งแต่ต้น เพราะไม่มีความแตกต่างกันแห่งบทสุดท้ายซึ่งมีคำว่า รูปที่เห็นได้เป็นต้น แต่ได้ตรัสคำมีอาทิว่า รูปที่เห็นได้คือ รูปายตนะ รูปที่ฟังได้ คือ สัททายตนะ ดังนี้.
ในบรรดารูปมีรูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้น รูปายตนะ ชื่อว่า ทิฏฺํ (รูปที่เห็นได้) เพราะอรรถว่า อันจักษุอาจมองดูเห็นได้. สัททายตนะ ชื่อว่า สุตํ (รูปที่ฟังได้) เพราะอรรถว่า อันโสตอาจฟังเสียงรู้ได้. หมวดสามแห่งอายตนะมีคันธายตนะเป็นต้น ชื่อว่า มุตํ (รูปที่รู้ได้) ด้วยอรรถว่า อันฆานะ ชิวหา และกาย พึงรู้โดยการรับอารมณ์ที่ถึงแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูปที่ชื่อ มุตํ เพราะเหตุที่ถูกต้องแล้วจึงเกิดวิญญาณดังนี้ก็มี. ส่วนรูปทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า วิฺาตํ (รูปที่รู้แจ้ง) ทางใจ เพราะอรรถว่าอันมโนวิญญาณพึงรู้.
อรรถกถาปัญจนิทเทส
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด ๕ ต่อไป
บทว่า กกฺขฬํ (ธรรมชาติที่แข็ง) คือ กระด้าง. ความกระด้างนั่นแหละเรียกว่า ธรรมชาติที่กระด้าง อธิบายว่า ธรรมชาติที่หยาบ. ความแข็งภาวะที่แข็งแม้ทั้ง ๒ นอกนี้ก็เป็นการอธิบายสภาวะนั่นเอง.
บทว่า อชฺฌตฺตํ (เป็นภายใน) ได้แก่ เป็นภายในอันเกิดในตน. บทว่า พหิทฺธา วา (หรือภายนอกก็ตามที) ได้แก่ เป็นภายนอก. บทว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 327
อุปาทินฺนํ (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น (๑) คำว่าอุปาทินฺนํ นี้ ทรงถือรูปที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยไม่แปลกกัน จริงอยู่ รูปอันตั้งอยู่ในสรีระจะเป็นอุปาทินนะก็ตาม จะเป็นอนุปาทินนะก็ตาม ชื่อว่า เป็นอุปาทินนะเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งรูปอันตัณหายึดถือและอันทิฏฐิยึดมั่นแล้ว.
บทว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน) ได้แก่สภาวะที่ไปในเตโชธาตุทั้งหมด อันมีความร้อนเป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง เตโชธาตุนั่นเองที่ไปสู่ภาวะที่ร้อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน). บทว่า อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่อาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมาคตํ (ธรรมชาติที่อุ่น) ได้แก่ ธรรมชาติที่ถึงภาวะความอุ่น คำนี้เป็นชื่อของอาการที่อุ่น. บทว่า อุสุมํ (ความอบอุ่น) ได้แก่ ความอบอุ่นที่มีกำลัง ความอบอุ่นนั่นเองถึงภาวะที่อบอุ่นเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุสุมคตํ (ธรรมชาติที่อบอุ่น).
รูปที่ชื่อว่า วาโย (ความพัดไปมา) ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติที่พัดไปมา วาโยนั่นเอง ชื่อว่า วาโยคตํ (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงภาวะที่พัดไปมา. บทว่า ถมฺภิตตฺตํ (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ความที่ลมค้ำจุนรูปไว้ ดุจความที่ลมค้ำจุนก้านและเปลือกอุบลเป็นต้นไว้.
อรรถกถาฉักกนิทเทส
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงทำปุจฉาไว้ตั้งแต่เบื้องต้นเลย เพราะไม่มีความแตกต่างกันแห่งบทสุดท้าย (คือรูปที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) แห่งการสงเคราะห์รูป ๓ หมวด ซึ่งมีการสงเคราะห์รูปมีหมวด ๖ เป็นต้น แต่ทรงทำคำอธิบายไว้.
(๑) ฉบับพม่าว่า มิใช่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 328
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด ๖ เป็นต้นนั้นรูปที่ชื่อว่า อันจักขุวิญญาณพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันจักขุวิญญาณอาจเพื่อจะรู้ ฯลฯ รูปที่ชื่อว่า อันมโนวิญญาณพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันมโนวิญญาณอาจเพื่อจะรู้ได้. รูปที่ชื่อว่า อันมโนธาตุพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันมโนธาตุ ๓ อย่าง อาจเพื่อจะรู้ได้.
ในบทว่า สพฺพํ รูปํ (รูปทั้งหมด) นี้ เพราะแม้เพียงรูปเดียวที่มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้มิได้มี ฉะนั้น จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ ดังนี้. จริงอยู่นัยในฐานะที่ควรเพื่อทรงอธิบายถึงพระอภิธรรมแล้ว อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้กระทำไว้ชื่อว่าย่อมไม่มี. และนัยนี้ก็ชื่อว่าฐานะที่ควรเพื่อแนะนำ เพราะความไม่มี แม้แต่รูปเดียวที่มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงทำนัย (ข้อแนะนำ) ไว้ จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ ดังนี้.
บทว่า สุขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นสุข ข้อ ๖๕๙) คือได้สุขเวทนาเป็นปัจจัย. บทว่า ทุกฺขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นทุกข์) คือ ได้ทุกขเวทนาเป็นปัจจัย. แม้ในคำว่ามีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นนี้ พระองค์ทรงประทานนัยไว้นี้เพราะความที่โผฏฐัพพารมณ์มีสภาวะเป็นทุกข์และเป็นสุข.
แต่ว่าในนิทเทสรูปหมวด ๙ ไม่ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์มีอยู่ ในรูปหมวด ๑๐ ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูปนั้นนั่นแหละเป็นสัปปฏิฆะ (กระทบได้) และอัปปฏิฆะ (กระทบไม่ได้) ในรูปหมวด ๑๑ ทรงจำแนกอายตนะไว้ ๑๐ กับอีกครึ่งหนึ่ง. บัณฑิตพึงทราบนิทเทสวารแห่งอายตนะเหล่านั้นๆ โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 329
ว่าด้วยปกิณณกกถา
ก็เพื่อความไม่หลงลืมในรูปเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบปกิณกะนี้ คือ
สโมธาน คือ การประมวลมา
สมุฏฐาน คือ เหตุให้เกิดขึ้น
ปรินิปผันนะ คือ รูป.
บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ข้อว่า สโมธาน ความว่า รูปทั้งหมดทีเดียว ว่าโดยสโมธานคือการประมวลมา นับได้ ๒๕ รูป คือ จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ อากาศธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รวมกับรูปคือหทยวัตถุ พึงทราบว่ามี ๒๖ ชื่อว่า รูปอื่นจากนี้มิได้มี. แต่อาจารย์บางพวกผู้มีวาทะว่ามิทธะเป็นรูปจึงกล่าวว่า ชื่อว่า มิทธรูปมีอยู่ อาจารย์เหล่านั้นพึงถูกสกวาทยาจารย์กล่าวว่า ท่านจะเป็นมุนีสัมพุทธะแน่นอน นิวรณ์ของท่านไม่มีดังนี้เป็นต้น พึงปฏิเสธว่า รูปที่ชื่อว่า มิทธรูปไม่มี. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า รูป ๒๖ เหล่านั้นกับพลรูปก็เป็นรูป ๒๗ รวมกับสัมภวรูปก็เป็นรูป ๒๘ รวมกับชาติรูปก็เป็น ๒๙ รวมกับโรครูป ก็เป็น ๓๐ รูป แม้อาจารย์นั้นก็พึงถูกให้แสดงความไม่มีแห่งรูปเหล่านั้นไว้แผนกหนึ่ง แล้วปฏิเสธ.
จริงอยู่ พระองค์ทรงถือเอาพลรูปนั่นแหละด้วยวาโยธาตุที่ทรงถือเอาแล้วชื่อว่า พลรูปอื่นย่อมไม่มี. ทรงถือเอาสัมภวรูปด้วยอาโปธาตุ ทรงถือเอาชาติรูปด้วยอุปจยะและสันตติ ทรงถือโรครูปด้วยชรตารูปและอนิจจตารูปขึ้นชื่อว่าโรครูปอื่นย่อมไม่มี แม้อาพาธมีโรคหูเป็นต้นใด อาพาธนั้นก็เป็นเพียง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 330
ธาตุตั้งขึ้นด้วยปัจจัยอันไม่สมกันเท่านั้น ชื่อว่า โรครูปอื่นจากนั้นหามีอยู่ไม่เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยประมวลมารวมกันแล้วก็มีรูปเพียง ๒๖ เท่านั้น.
ว่าโดยสมุฏฐานของรูป
ข้อว่า สมุฏฐาน ความว่า รูปเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร? รูปสิบ มีสมุฏฐาน ๑ รูปหนึ่งมีสมุฏฐาน ๒ รูปสามมีสมุฏฐาน ๓ รูปเก้ามีสมุฏฐาน ๔ รูปสองไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรเลย
บรรดารูปเหล่านั้นรูปสิบ ชื่อว่า มีสมุฏฐาน ๑ คือ รูป ๘ เหล่านี้ คือ จักขุประสาท ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ตั้งขึ้นแต่กรรมอย่างเดียว รูป ๒ คือ กายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติตั้งขึ้นแต่จิตอย่างเดียว รูปหนึ่งชื่อว่า มีสมุฏาน ๒ คือ สัททรูปตั้งขึ้นแต่อุตุและจิต. ในสัททรูปนั้น เสียงอันเกิดแต่สิ่งไม่มีวิญญาณตั้งขึ้นแต่อุตุ เสียงอันเกิดแต่สิ่งที่มีวิญญาณตั้งขึ้นแต่จิต. ส่วนวิการรูป ๓ มีลหุตาเป็นต้น ชื่อว่ามีสมุฏาน ๓ คือ ย่อมตั้งขึ้นแต่อุตุ จิต และอาหาร. รูป ๙ ที่เหลือย่อมตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน ๔ คือ แต่อุตุ จิต อาหาร และกรรม ฉะนั้นจึงชื่อว่ารูป ๙ มีสมุฏาน ๔.
ส่วน ชรตารูปและอนิจจตารูป ย่อมไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน ๔ เหล่านั้น แม้สมุฏฐานเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูป ๒ ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรเลย.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะรูปทั้ง ๒ นี้ ไม่เกิด.
ถามว่า เพราะเหตุไร รูปทั้ง ๒ นี้ จึงไม่เกิด.
ตอบว่า เพราะรูปที่เกิดแล้วก็ต้องแก่และแตกดับ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 331
จริงอยู่ รูปหรืออรูปก็ตามเกิดขึ้นแล้วก็ต้องแตกดับ เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงยอมรับคำดังกล่าวนี้แน่นอน เพราะว่ารูปหรืออรูปเกิดขึ้นแล้วชื่อว่าไม่สิ้นไป ปรากฏอยู่ หามีไม่ แต่ตราบใด รูปยังไม่แตกดับ ความแก่หง่อมของรูปนั้นก็ยังปรากฏอยู่ตราบนั้น เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงสำเร็จว่า รูปเกิดขึ้นแล้วต้องแก่และแตกดับไป. ก็ถ้าว่ารูปทั้ง ๒ นี้ พึงเกิดไซร้ รูปทั้ง ๒ แม้นี้ก็พึงแก่และแตกดับไป และความแก่ของรูปก็ย่อมไม่แก่ หรือความแตกของรูปก็ย่อมไม่แตกดับไป เพราะฉะนั้น รูปทั้ง ๒ นี้จึงชื่อว่าไม่เกิด เพราะรูปเกิดแล้วๆ ก็ต้องแก่และแตกดับ.
ในข้อนั้น หากมีผู้ท้วงขึ้นด้วยคำว่า อุปจยรูป สันตติรูป ในนิทเทสทั้งหลายว่า " รูปที่กรรมแต่งขึ้น" เป็นต้น ย่อมเป็นคำรับรองว่า " ชาติรูปย่อมเกิด" ดังนี้ ฉันใด รูปแม้แก่แล้วก็จงแก่ไปเถิด แม้รูปที่แตกก็จงแตกไปเถิด ฉันนั้น ดังนี้.
ในข้อนั้น ท่านมิได้ยอมรับว่า ชาติรูปย่อมเกิด แต่ธรรมเหล่าใดย่อมเกิดขึ้นด้วยกรรมเป็นต้น ท่านยอมรับโวหารของความเกิดขึ้นของธรรมนั้นโดยมีชาติเป็นปัจจัย โดยความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น. แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ชาติรูปย่อมไม่เกิด เพราะชาติรูปเมื่อเกิดก็เป็นเพียงการเกิดเท่านั้นย่อมเกิด.
ในข้อนั้น ถ้าพึงมีผู้ท้วงว่า ชาติรูปเป็นความเกิดของธรรมเหล่าใดย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และโวหารว่าความเกิดของธรรมเหล่านั้นฉันใดนั่นแหละ อนึ่ง ความแก่และความแตกดับของธรรมเหล่าใดมีอยู่ แม้ความแก่และความแตกดับจงได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นและความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ฉันใด แม้รูปทั้ง ๒ นี้ ก็จะพึงกล่าวได้ว่ามีกรรมเป็นต้น เป็นสมุฏฐานฉันนั้นนั่นแหละดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 332
ข้อนี้ตอบว่า ความแก่และความแตกดับ จะได้โวหารนั้นหามิได้
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะความไม่มีในขณะแห่งอานุภาพของชนกปัจจัย
จริงอยู่ อานุภาพแห่งชนกปัจจัยทั้งหลายมีอยู่ในอุปาทขณะแห่งธรรมอันตนพึงให้เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่เกินจากนั้นไป และในขณะแห่งธรรมอันชนกปัจจัยเหล่านั้น ให้เกิดขึ้น ชาติเมื่อปรากฏ ย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และโวหารว่าเป็นความเกิดของธรรมเหล่านั้น เพราะความมีอยู่พร้อมในขณะนั้น รูป (อุปจยะ และสันตติ) ทั้ง ๒ นอกนี้ หามีในขณะนั้นไม่ และจะพึงกล่าวว่า เกิดอยู่ในขณะนั้นก็ไม่ได้เลย.
หากจะท้วงต่อไปอีกว่า รูปแม้ทั้ง ๒ นี้ก็ยังชื่อว่าเกิดอยู่ เพราะพระบาลีมีมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว) เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น " ดังนี้ ตอบว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพราะพระบาลีนั้นแสดงไว้โดยปริยาย จริงอยู่ ในพระบาลีนั้นพระองค์ตรัสว่า ชราและมรณะนั้นว่า เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น ดังนี้ โดยปริยาย เพราะธรรมทั้งหลายที่อาศัยเหตุเกิดขึ้นเป็นชราและมรณะ.
หากจะมีคำท้วงอีกว่า รูปทั้ง ๓ แม้นั้น ก็ย่อมไม่มีเหมือนเขากระต่ายเพราะไม่เกิดขึ้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นของเที่ยงเหมือนพระนิพพานแน่. ตอบว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพราะยังมีความเป็นไปเนื่องด้วยนิสสยปัจจัยอยู่ จริงอยู่ เมื่อนิสสยปัจจัยมีปฐวีเป็นต้น ธรรมชาติทั้ง ๓ มีความเกิดเป็นต้น ก็ย่อมปรากฏฉะนั้น จะว่าไม่มีอยู่ ก็ไม่ได้ อนึ่งเล่า เมื่อไม่มีนิสสยปัจจัยเหล่านั้น ก็จะไม่ปรากฏ จะว่าเที่ยงก็ไม่ได้ เพื่อจะทรงปฏิเสธความยึดมั่นแม้นี้ จึงตรัสว่า" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 333
เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น " ดังนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่ารูปทั้ง ๒ (อุปจยรูป และสันตติรูป) ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรๆ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า สมุฏฺหนติ นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างอื่นต่อไป มาติกานี้ของเนื้อความนั้นว่า กมฺมชํ (รูปเกิดแต่กรรม) กมฺมปจฺจยํ (มีกรรมเป็นปัจจัย) กมฺมปจฺจยอุตุสมุฏฺานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็นปัจจัย)
อาหารสมุฏานํ (รูปมีอาหารเป็นสมุฏฐาน) อาหารปจฺจยํ (มีอาหารเป็นปัจจัย) อาหารปจฺจยอุตุสมุฏฺานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อาหารเป็นปัจจัย).
อุตุสมุฏฺานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐาน) อุตุปจฺจยํ (มีอุตุเป็นปัจจัย) อุตุปจฺจยอุตุสมุฏฺานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย).
จิตฺตสมุฏฺานํ (รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน) จิตฺตปจฺจยํ (มีจิตเป็นปัจจัย) จิตฺตปจฺจยอุตุสมุฏฺานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่จิตเป็นปัจจัย).
บรรดาสมุฏฐานแห่งรูปทั้ง ๔ เหล่านั้น รูป ๘ อย่าง มีจักขุประสาทเป็นต้น รวมกับหทยวัตถุ ชื่อว่า กัมมชะ (เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้คือ ผม หนวด งาช้าง ขนหางม้า ขนหางจามรี ชื่อว่า กรรมปัจจัย (เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้ว่า จักรรัตนะ อุทยานและวิมานของพวกเทวดาชื่อว่า กัมมปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็นปัจจัย).
สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อาหาร ชื่อว่า อาหารสมุฏฐาน (มีอาหารเป็นสมุฏฐาน) กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่รูปสันตติแม้ทั้ง ๒ คือ อาหารสมุฏฐาน และอุปาทินนรูป เป็นปัจจัยให้เกิดอาหารสมุฏฐาน และอนุบาล
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 334
กรรมชรูป เพราะฉะนั้น กรรมชรูปอันอาหารหล่อเลี้ยงไว้นี้ ชื่อว่า อาหารปัจจัย (มีอาหารเป็นปัจจัย) บุคคลเสพวิสภาคาหาร เดินอยู่กลางแดดย่อมเกิดโรคเกลื้อนดำเป็นต้น (ตกกระ) นี้ชื่อว่า อาหารปัจจยอุตุสมุฏาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อาหารเป็นปัจจัย).
สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อุตุ ชื่อว่า อุตุสมุฏฐาน (มีอุตุเป็นสมุฏฐาน) อุตุแม้ในสุทธัฏฐกะนั้น ก็ยังรูป ๘ อย่างอื่นให้ตั้งขึ้น นี้ ชื่อว่า อุตุปัจจัย (มีอุตุเป็นปัจจัย) อุตุแม้ในรูป ๘ อย่างอื่นนั้น ย่อมยังรูป ๘ อย่างอื่นให้ตั้งขึ้นนี้ชื่อว่า อุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานมีอุตุเป็นปัจจัย) ด้วยประการฉะนี้ อุตุย่อมอาจเพื่อสืบสันตติรูป ๓ เท่านั้น เลยจากนี้ไป อุตุไม่อาจเพื่อสืบต่อ ข้อความนี้สมควรแสดง แม้โดยอนุปาทินนรูปเช่น พลาหโก (เมฆ) ชื่อว่า มีอุตุสมุฏฐาน เพราะมีอุตุ สายฝนชื่อว่า มีอุตุเป็นปัจจัย เมื่อฝนตกแล้ว พืชทั้งหลายย่อมงอกขึ้น แผ่นดินย่อมส่งกลิ่น ภูเขาย่อมปรากฏเป็นสีเขียว น้ำทะเลย่อมมากขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า อุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย).
สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่จิต ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน (รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน) คำว่า " ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย" นี้ ชื่อว่า จิตตปัจจัย (รูปมีจิตเป็นปัจจัย). คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า " ย่อมแสดงรูปช้างบ้าง แสดงรูปม้าบ้าง แสดงรูปรถบ้าง แสดงรูปกระบวนทัพต่างๆ บ้างในอากาศ คือกลางหาว" นี้ ชื่อว่า จิตตปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่จิตเป็นปัจจัย).
ข้อว่า ปรินิปฺผนฺนํ ได้แก่ รูป (เกิดแต่กรรม) ๑๕ รูป ชื่อว่า ปรินิปผันนะ รูป (ไม่ได้เกิดแต่กรรม) ๑๐ รูป ชื่อว่า อปรินิปผันนะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 335
อธิบายว่า ถ้ารูปธรรมที่เป็นอปรินิปผันนะ (รูปที่ไม่เกิดแต่กรรม) รูปเหล่านั้นก็ชื่อว่า อสังขตรูป (รูปที่กรรมไม่แต่งขึ้น) แต่กายวิการของรูปเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า กายวิญญัตติ. วจีวิการของรูปเหล่านั้นแหละชื่อว่า วจีวิญญัตติ ช่องว่าง ชื่อว่า อากาศธาตุ ความเบาแห่งรูป ชื่อว่า ลหุตา ความอ่อนแห่งรูป ชื่อว่า มุทุตา ความควรแก่การงานของรูป ชื่อว่า กัมมัญญตา ความเกิดขึ้นแห่งรูป ชื่อว่า อุปจยะ ความเป็นไปแห่งรูป ชื่อว่า สันตติ. อาการคือความแก่ของรูป ชื่อว่า ชรตา อาการที่รูปมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่าอนิจจตา. รูปทั้งหมดดังกล่าวมานี้เป็นอปรินิปผันนะ (ไม่ได้เกิดแต่กรรม) เป็นสังขตะ (มีปัจจัยแต่งขึ้น) ทั้งนั้นแล.
พรรณนารูปกัณฑ์
ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาธรรมสังคหะ
จบเท่านี้