พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิเขปกัณฑ์ ติกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.พ. 2565
หมายเลข  42014
อ่าน  1,993

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒

นิเขปกัณฑ์ ติกะ

นิเขปกัณฑ์ ติกะ 663/336

อธิบายนิกเขปกัณฑ์ 352

ว่าด้วยนิทเทสกุศลติกะที่ ๑ 353

ว่าด้วยนิทเทสอัพยากตะ 356

ว่าด้วยนิทเทสเวทนาติกะที่ ๒ 357

ว่าด้วยนิทเทสวิปากติกะที่ ๓ 357

ว่าด้วยนิทเทสอุปาทินนติกะที่ ๔ 358

ว่าด้วยนิทเทสวิตักกะที่ ๖ เป็นต้น 359

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนติกะที่ ๘ 359

เรื่องการไม่เห็นพระอริยะ 363

ว่าด้วยวินัย ๒ อย่าง 364

แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง 365

ว่าด้วยความสงสัย 369

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนเหตุติกะที่ ๙ 375

ว่าด้วยนิทเทสปริตตารัมมณติกะที่ ๑๓ 376

ว่าด้วยนิทเทสมิจฉัตตติกะที่ ๑๕ 376

ว่าด้วยนิทเทสมัคคารัมมณติกะที่ ๑๖ 377

ว่าด้วยนิทเทสอุปปันนติกะที่ ๑๗ 378

ว่าด้วยนิทเทสอตีตติกะที่ ๑๘ 381

ว่าด้วยนิทเทสอัชฌัตตติกะที่ ๒๐ 381

เหตุโคจฉกะ 389/383

จูฬันตรทุกะ 701/391

อรรถกถา นิกเขปกัณฑ์ 395

ว่าด้วยเหตุโคจฉกะ 395

ว่าด้วยนิทเทสแห่งอโทสะ 395

ว่าด้วยนิทเทสแห่งอโมหะ 395

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโลภะ (มีชื่อต่างๆ) 396

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโทสะ 405

ว่าด้วยจูฬันตรทุกะ 407

ว่าด้วยนิทเทสสังขตทุกะ 407

ว่าด้วยนิทเทสวิญเญยยทุกะ 407

อาสวโคจฉกะ 708/409

ว่าด้วยนิทเทสอาสวทุกะ 413

สัญโญชนโคจฉกะ 719/417

อธิบายสัญโญชนโคจฉกะ 425

ว่าด้วยมานนิทเทส 425

ว่าด้วยอิสสานิทเทส 426

ว่าด้วยลักษณะการริษยา ๒ อย่าง 427

ว่าด้วยมัจฉริยนิทเทส 428

คันถโคจฉกะ 736/433

โอฆ-โยคโคจฉกะ 747/439

ว่าด้วยนิทเทสคัณฐโคจฉกะ 439

นีวรณโคจฉกะ 748/440

ปรามาสโคจฉกะ 761/446

มหันตรทุกะ 766/449

อธิบายนีวรณโคจฉกะ 454

ว่าด้วยถีนมิทธนิทเทส 454

ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล 456

ว่าด้วยกุกกุจจนิทเทส 463

ว่าด้วยธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตตธรรม 465

อุปาทานโคจฉกะ 780/467

อรรถกถา นิกเขปกัณฑ์ 471

ว่าด้วยอุปาทานโคจฉกะ 471

ว่าด้วยนิทเทสกามุปาทาน 472

ว่าด้วยทิฏุปาทาน 472

กิเลสโคจฉกะ 791/474

อรรถกถา นิกเขปกัณฑ์ 484

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ 484

ปิฏฐิทุกะ 810/486

อรรถกถา นิกเขปกัณฑ์ 495

ว่าด้วยนิทเทสกามาวจรในปิฏฐิทุกะ 495

ว่าด้วยนิทเทสแห่งรูปาวจรธรรม 497

ว่าด้วยนิทเทสสรณทุกะ (ที่ ๑๘) 497

สุตตันติกทุกะ 836/498

อรรถกถา นิกเขปกัณฑ์ 513

ว่าด้วยนิทเทสวิชชูปมทุกะ 513

ว่าด้วยนิทเทสพาลทุกะ 515

ว่าด้วยนิทเทสตปนิยทุกะ 515

ว่าด้วยนิทเทสอธิวจนทุกะ 516

ว่าด้วยนาม ๔ อย่าง 517

ว่าด้วยนิทเทสแห่งนามรูปทุกะ 519

ว่าด้วยนิทเทสฐานาฐานทุกะ 525

ว่าด้วยนิทเทสอาชวะและมัททวะ 525

ว่าด้วยนิทเทสขันติทุกะ 526

ว่าด้วยนิทเทสโสรัจจทุกะ 526

ว่าด้วยนิทเทสสาขัลยทุกะ 527

ว่าด้วยนิทเทสปฏิสันถารทุกะ 529

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุ อคุตตทวารตาทุกะ 532

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุ คุตตทวารตาทุกะ 535

พราหมณ์ตะกละ ๕ คน 539

องค์ ๑๒ ของภิกษุผู้ฉันอาหาร 540

พระมหาสิวเถระจัดองค์ไว้ ๘ 541

ว่าด้วยมุฏฐสัจจทุกะ 541

ว่าด้วยภาวนาพลทุกะ 542

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิทุกะ 543

ว่าด้วยนิทเทสสังเวคทุกะ 544

ว่าด้วยนิทเทสอสันตุฏฐตากุศลธรรมทุกะ 545

ว่าด้วยนิทเทสวิชชาทุกะ 546


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 76]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 336

นิกเขปกัณฑ์

ติกะ

    [๖๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

    กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

    ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น. กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

    ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจรอรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๖๖๔] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

    สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เว้นสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 337

    ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน?

    สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เว้นทุกขเวทนานั้น ในกามาวจรจิตอันเป็นที่เกิดแห่งทุกขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา.

    ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน?

    สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เว้นอทุกขมสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งอทุกขมสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

    [๖๖๕] ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน?

    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจรอรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก.

    ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก.

    ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน?

    ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมดและอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 338

    [๖๖๖] ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรม ที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

    ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมเป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

    ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

    [๖๖๗] ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลสเป็นไฉน?

    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น,กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 339

    ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    [๖๖๘] ธรรมมีวิตกมีวิจาร เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิตกและวิจาร เว้นวิตกและวิจารนั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมมิวิตกมีวิจาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตกมีวิจาร.

    ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิจาร เว้นวิจารนั้นในรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร.

    ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร,รูปทั้งหมดและอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร.

    [๖๖๙] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 340

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ เว้นปีตินั้นในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งปีติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

    ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

    สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เว้นสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

    ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน?

    สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนา เว้นอุเบกขาเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิตอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขาเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.

    [๖๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

    [๖๗๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นต้นหรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 341

ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

    [๖๗๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน?

    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานาความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

    [๖๗๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส อันมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 342

    [๖๗๔] สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น,กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ.

    ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

    โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ.

    ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ.

    [๖๗๕] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

    บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ.

    วิจิกิจฉา เป็นไฉน? ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

    สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน? ฯลฯ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 343

    สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรมวจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ.

    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ, โลภะ โทสะ โมหะที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ.

    ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

    โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องบน ๓ ละ, กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ.

    ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง๓ จะละ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 344

    เว้นธรรมที่ละนั้น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะละ.

    [๖๗๖] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ.

    ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.

    ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน?

    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมเป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.

    [๖๗๗] ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน?

    มรรคที่เป็นโลกุตระทั้ง ๔ และสามัญผลเบื้องต่ำ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของเสกขบุคคล.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 345

    ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน?

    อรหัตตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล.

    ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคลเป็นไฉน?

    เว้นธรรมคือมรรค ๔ ผล ๔ เหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคล.

    [๖๗๘] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมดคือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริตตะ.

    ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นมหัคคตะ.

    ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ.

    [๖๗๙] ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 346

    ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.

    ธรรมทราม เป็นไฉน?

    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมทราม.

    ธรรมปานกลาง เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมปานกลาง.

    ธรรมประณีต เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมประณีต.

    [๖๘๑] ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?

    อนันตริยกรรม ๕ และนิยตมิจฉาทิฏฐิ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน.

    ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 347

มรรคที่เป็นโลกุตระทั้ง ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมาสภาวะ และให้ผลแน่นอน.

    ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน?

    เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมให้ผลไม่แน่นอน.

    [๖๘๒] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์.

    ธรรมมีเหตุคือมรรค เป็นไฉน?

    เว้นองค์แห่งมรรคเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยองค์แห่งมรรคนั้น ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค

    สัมมาทิฏฐิของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย, เว้นสัมมาทิฏฐิเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค

    อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เหตุคือมรรค, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค.

    ธรรมเป็นมรรคเป็นอธิบดี เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 348

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคที่กำลังเจริญมรรค มีวิมังสาเป็นอธิบดี อันสัมปยุตด้วยวิมังสานั้น เว้นวิมังสาเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี.

    [๖๘๓] ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดขึ้นแล้ว.

    ธรรมยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้ว ยังไม่บังเกิดแล้ว ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่เกิดขึ้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังไม่เกิดขึ้น.

    ธรรมจักเกิดขึ้น เป็นไฉน?

    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่ยังไม่ให้ผล เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปซึ่งจักเกิดขึ้นเพราะกรรมแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมจักเกิดขึ้น.

    [๖๘๔] ธรรมเป็นอดีต เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 349

    ธรรมเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว ถึงความดับสูญแล้ว เกิดขึ้นแล้วปราศไป ล่วงไป สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอดีต.

    ธรรมเป็นอนาคต เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดแล้ว ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้ว ยังไม่บังเกิดแล้ว ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่มาถึง สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอนาคต.

    ธรรมเป็นปัจจุบัน เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด ซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นเฉพาะแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะแล้วคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปัจจุบัน.

    [๖๘๕] ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอดีตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอนาคตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 350

    ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปัจจุบันธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.

    [๖๘๖] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นภายใน เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล เป็นอุปาทินนะของสัตว์นั้นๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน.

    ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นภายนอก เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล เป็นอุปาทินนะของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ คือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายนอก.

    ธรรมเป็นภายในและเป็นภายนอก เป็นไฉน?

    ธรรมทั้ง ๒ ประเภทนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายในและเป็นภายนอก.

    [๖๘๗] ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายในเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน?

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายนอกเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและภายนอก เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 351

    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายใน ธรรมเป็นภายนอกเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก.

    [๖๘๘] ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน?

    รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้.

    ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน?

    จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้.

    ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้.

    ติกะจบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 352

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

อธิบายนิกเขปกัณฑ์

    โดยลำดับแห่งคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้ เพียงเท่านี้ กุศลติกะย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พิสดาร ด้วยนัยกล่าวคือการจำแนกบทธรรมมีกุศลเป็นต้นทั้งหมด ก็นัยกล่าวคือการจำแนกบทแม้แห่งกุศลติกะนี้ใดที่ตรัสไว้แล้ว ก็นัยนี้นั้นแหละเป็นนัยแห่งการจำแนกต่างๆ ของติกะและทุกะที่เหลือ อันบัณฑิตทั้งหลาย อาจเพื่อกำหนดนัยกล่าวคือการจำแนกต่างๆ ในติกะและทุกะทั้งหมดตามลำดับมีอาทิว่า " ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นไฉน? ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ก็หรือว่าเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารัมณ์ ฯลฯ ก็หรือว่า ในสมัยนั้น นามธรรมแม้อื่นใดที่อิงอาศัยเกิดขึ้น เว้นเวทนาขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา" ดังนี้ เหมือนในการจำแนกกุศลติกะนี้ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เพื่อทรงสรุปความเทศนาอันพิสดารนั้น แล้วทรงแสดงจำแนกธรรมหมวดติกะ และทุกะทั้งหมดด้วยนัยที่ไม่ย่อเกินไปและไม่พิสดารเกินไปอีกอย่างหนึ่ง จึงทรงเริ่มนิกเขปกัณฑ์ว่า กตเม ธมฺมากุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?) ดังนี้.

    จริงอยู่ จิตตุปปาทกัณฑ์ (ที่กล่าวแล้ว) เป็นเทศนาพิสดาร แต่อรรถกถากัณฑ์เป็นเทศนาย่อ ก็นิกเขปกัณฑ์นี้ เทียบกับจิตตุปปาทกัณฑ์ นับว่าเป็นเทศนาย่อ เทียบกับอรรถกถากัณฑ์ ก็เป็นเทศนาพิสดาร เพราะฉะนั้น นิกเขปกัณฑ์นี้จึงเป็นเทศนาที่ไม่ย่อเกินไปและไม่พิสดารเกินไป กัณฑ์นี้นั้น บัณฑิตพึง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 353

ทราบว่า ชื่อ นิกเขปกัณฑ์ เพราะทรงสรุปเทศนาพิสดารแสดงไว้บ้าง ด้วยอำนาจแห่งเหตุที่กล่าวไว้ในหนหลังบ้าง

    จริงอยู่ คำนี้ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า

    มูลโต ขนฺธโต จาปิ ทฺวารโต จาปิ ภูมิโต

    อตฺถโต ธมฺมโต จาปิ นามโต จาปิ ลิงฺคโต

    นิกฺขิปิตฺวา เทสิตตฺตา นิกฺเขโปติ ปวุจฺจติ

    ท่านเรียกว่า นิกเขปะ เพราะแสดงสรุปไว้โดยมูลบ้าง โดยขันธ์บ้าง โดยทวารบ้าง โดยภูมิบ้าง โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง โดยลิงค์บ้าง ดังนี้.

    ก็นิกเขปกัณฑ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรุปโดยมูล ด้วยนัยมีอาทิว่า กุศลมูล ๓ ทรงแสดงสรุปโดยขันธ์ด้วยนัยมีอาทิว่า เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น ทรงแสดงสรุปโดยทวารด้วยนัยมีอาทิว่า กายกรรมมีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เพราะกรรมเป็นไปทางกายทวารเรียกว่ากายกรรม ทรงแสดงสรุปโดยภูมิด้วยนัยโดยอาทิว่า ในภูมิอันเป็นสุข คือกามาวจร พึงทราบชื่อว่า นิกเขปกัณฑ์ ที่พระองค์ทรงแสดงสรุปเนื้อความเป็นต้น เพราะแสดงด้วยสามารถแห่งอรรถ ธรรม ลิงค์ และนามในที่นั้นๆ.

ว่าด้วยนิทเทสกุศลติกะที่ ๑

    ในพระบาลีนั้นพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งกุศลบทก่อน.

    คำว่า ๓ เป็นคำกำหนดจำนวน. สภาวธรรมที่ชื่อว่า กุศลมูล ด้วยอรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลด้วย เป็นมูลด้วย หรือว่า เป็นมูล ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นแดนเกิด เป็นชนก เป็นสมุฏฐาน และเป็นตัวให้เกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 354

    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ด้วยสามารถแห่งอรรถอย่างนี้แล้วบัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงด้วยสามารถแห่งนาม จึงตรัสว่า อโลภะ อโทสะ อโมหะ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ พระธรรมราชา ชื่อว่าทรงแสดงถือเอากุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ด้วยมูลทั้ง ๓ เพราะธรรมดากุศลพ้นจากมูลย่อมไม่มี.

    บทว่า ตํสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น) ได้แก่ สัมปยุตด้วยมูลเหล่านั้นมีอโลภะเป็นต้น. ในข้อนั้น แม้อโทสะ และอโมหะ ในสังขารขันธ์อันสัมปยุตด้วยอโลภะ ก็สัมปยุตด้วยอโลภะถึงการนับว่า เป็นสังขารขันธ์เหมือนกัน. แม้ในสัมปโยคะด้วยสามารถแห่งกุศลมูล ๒ ที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ. พระธรรมราชา ชื่อว่า ทรงแสดงกำหนดถือเอากุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นอีก ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า ตํสมุฏฺานํ (มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน) ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยกุศลมูลเหล่านั้นมีอโลภะเป็นต้น. โดยนัยแม้นี้ พระธรรมราชาชื่อว่าทรงแสดงกำหนัดกุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งกรรมทวารทั้ง ๓. กุศลในฐานะทั้ง ๓ เป็นอันพระองค์ทรงแสดงกำหนดเอาก่อนด้วยประการฉะนี้. แม้ในอกุศล ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    จริงอยู่ บรรดาอกุศลจิต ๒ แม้อกุศลหนึ่งชื่อว่า พ้นไปจากมูลย่อมไม่มี พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดอกุศลเหล่านั้นแสดงไว้ด้วยมูลทั้ง ๓ ขึ้นชื่อว่า อกุศลที่นอกไปจากนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้นมิได้มี เพราะฉะนั้น พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดเอาอกุศลจิต ๑๒ เหล่านั้นนั่นเองแสดงไว้ด้วยสามารถแห่งนามขันธ์ ๔.

    อนึ่ง เพราะอกุศลจิต ๑๒ เหล่านี้มีสภาวะเป็นไปด้วยสามารถแห่งกายกรรม เป็นต้น พระองค์จึงทรงกำหนดแสดงไว้ด้วยอำนาจกรรมทวาร แต่

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 355

พระบาลีใดที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทสนี้มีอาทิว่า ตเทกฏฺา จ กิเลสา (และกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น) ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัยในพระบาลีนั้นว่า กิเลสที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกัน หรือในบุคคลเดียวกัน. ในบรรดาอกุศลที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันทั้ง ๒ นัยนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ร่วมกัน อกุศลที่ตั้งอยู่ในบุคคลเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการละ. อกุศลที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ที่เดียวกับอกุศลมูลนั้น เพราะอรรถว่าตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับอกุศลมูลมีโลภะเป็นต้นนั้น หรือตั้งอยู่ในฐานอื่นที่ทรงแสดงไว้ในที่นั้นๆ.

ในการละกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยเกิดพร้อมกันมาในฐานเท่าที่กล่าวมานี้ คือ ในสังกิลิฏฐิติกะว่า (๑) ธรรมที่เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือโลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ในหีนติกะตรัสว่า ธรรมทราม เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในอกุศลติกะนี้ตรัสว่า ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในกิเลสโคจฉกะตรัสว่า ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในสรณทุกะ (๒) ตรัสว่า ธรรมเกิดกับกิเลส เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้.


(๑) ธรรมสังคณี ข้อ ๖๖๗.

(๒) ธรรมสังคณี ข้อ ๘๓๕.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 356

    แต่ในทัสสเนนปหาตัพพติกะตรัสว่า สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้น ดังนี้. แม้ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะก็ตรัสว่า สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้น ดังนี้ ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะนั้นนั่นแหละตรัสอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อันพระโสดาปัตติมรรคพึงละ และธรรมเหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้นเป็นสัมปยุตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงละ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านั้นเป็นสัมปยุตตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงละ ดังนี้.

    ก็ในสัมมัปปธานวิภังค์ตรัสไว้ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมอันลามก เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ แม้กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการละมาแล้วในฐานะเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้.

ว่าด้วยนิทเทสอัพยากตธรรม

    นิทเทสแห่งอัพยากตบท มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ลักษณะ ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น บัญญัติ ๓ กสิณุคฆาฏิมากาส อัชชฏากาส อารมณ์ของอากิญจัญญายตนสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่ได้ในติกะนี้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 357

ว่าด้วยนิทเทสเวทนาติกะที่ ๒

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเวทนาติกะต่อไป.

    ในคำว่า สุขภูมิยํ (ที่เกิดแห่งสุขเวทนา) นี้ อธิบายว่า เขาเรียกพื้นดินว่า ตัมพภูมิ (แผ่นดินสีแดง) กัณหภูมิ (แผ่นดินสีดำ) ฉันใด สุขเวทนา ก็ชื่อว่า สุขภูมิ ฉันนั้น. ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอ้อยและข้าวสาลีเขากล่าวว่า อุจฉุภูมิ (ที่เป็นที่เกิดแห่งอ้อย) สาลิภูมิ (ที่เป็นที่เกิดแห่งข้าวสาลี) ฉันใด แม้จิตอันเป็นที่เกิดแห่งความสุข ก็ชื่อว่า สุขภูมิ ฉันนั้น จิตนั้นทรงประสงค์เอาในคำว่า สุขภูมิ นี้ ก็เพราะสุขภูมินั้นมีอยู่ในกามาวจรบ้าง ในรูปาวจรเป็นต้นบ้าง ฉะนั้นเพื่อทรงแสดงประเภทแห่งสุขภูมินั้นจึงตรัสคำมีอาทิว่า กามาวจร ดังนี้.

    บทว่า สุขเวทนํ เปตฺวา (เว้นสุขเวทนา) ได้แก่ เว้นสุขเวทนาในสุขภูมินั้น.

    บทว่า ตํสมฺปยุตฺโต ได้แก่ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาที่ตั้งอยู่แล้วนั้น. แม้สองบทที่เหลือก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ ในติกะนี้ ย่อมไม่ได้สภาวธรรมนี้ คือ เวทนา ๓ รูปทั้งหมด และนิพพาน เพราะติกะนี้ชื่อว่า พ้นแล้วจากส่วนทั้ง ๓ เหล่านี้ ที่ไม่ได้ในกุศลติกะ ก็คำใดที่ควรจะกล่าวโดยพระบาลีและอรรถกถาในติกะและทุกะอื่นจากนี้ คำทั้งหมดนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในมาติกากถาโดยลำดับและนิทเทสแห่งกุศลเป็นต้นนั่นแล.

ว่าด้วยนิทเทสวิปากติกะที่ ๓

    ก็คำใดในที่มีความต่างกัน ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นนั่นแหละ ในติกทุกะนั้น พึงทราบวินิจฉัยในวิปากติกะก่อน. แม้ว่ารูปธรรมทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานยังมีอยู่เหมือนอรูปธรรมแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปธรรมเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 358

ก็ไม่เหมือนกับกรรม เพราะความที่รูปธรรมเหล่านั้นไม่มีอารมณ์ เพราะฉะนั้นอรูปธรรมที่มีอารมณ์เท่านั้น ตรัสเรียกว่า วิบาก เพราะเป็นเหมือนกับกรรม เหมือนผลของพืชก็คล้ายพืชฉะนั้น จริงอยู่ เมื่อเขาหว่านพืชข้าวสาลีแล้ว แม้ในเวลาที่ออกหน่อและใบเป็นต้นแล้ว เขาก็ยังไม่เรียกว่า ผลของข้าวสาลี แต่เมื่อใดรวงข้าวสาลีสุกแล้วน้อมลงแล้ว เมื่อนั้นข้าวสาลีเช่นเดียวกับพืชนั่นแหละ เขาจึงเรียกว่าผลแห่งข้าวสาลี ส่วนหน่อและใบเป็นต้น ที่เกิดจากพืช เขาเรียกว่าเป็นสิ่งที่เกิดแต่พืช ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ควรเพื่อจะเรียกว่าเกิดแต่กรรม (กัมมชะ) หรือเรียกว่า อุปาทินนรูป ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสอุปาทินนติกะที่ ๔

    พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทินนติกะต่อไป.

    ขันธ์ทั้งหลายของพระขีณาสพ แม้จะเป็นปัจจัยแก่อุปาทานแก่ชนเหล่าอื่นผู้พูดอยู่ว่า พระเถระผู้เป็นลุงของพวกเรา พระเถระผู้เป็นอาของพวกเรา ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น มรรค ผล และนิพพาน อันตัณหามานทิฏฐิมิได้ยึดไว้ มิได้ถือไว้ มิได้มีความยึดถือไว้เลย ด้วยว่า มรรค ผล นิพพานเหล่านั้นย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่การถือเอาด้วยอำนาจตัณหามานทิฏฐิ เพราะอุดมด้วยเดชเหมือนก้อนเหล็กแดงที่ลุกโชนตลอดวันไม่เป็นปัจจัยแก่การเกาะของพวกแมลงวัน ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อิเม ธมฺมา อนุปาทินฺนอนุปาทานิยา (สภาวธรรมเหล่านั้น อันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหามานทิฏฐิไม่ยึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) ดังนี้.

    แม้ในอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 359

ว่าด้วยนิทเทสวิตักกะที่ ๖ เป็นต้น

    ในวิตักกติกะ สภาวธรรมย่อมไม่ได้อยู่ในกุศลติกะกับวิจารที่เกิดพร้อมกับวิตก. ในปีติสหคตติกะ ธรรมมีปีติเป็นต้นให้ภาวะแห่งธรรมที่เกิดร่วมกับตนเป็นธรรมสหรคตกับปีติเป็นต้นแล้ว ตนเองก็เป็นธรรมหมุนไปข้างหลัง ในติกะนี้ ไม่ได้สภาวธรรมแม้นี้คือ โทมนัสสสหคตจิตตุปบาท ๒ ทุกขสหคตกายวิญญาณ อุเปกขาเวทนา รูป และนิพพาน เพราะติกะนี้ เมื่อไม่ได้กุศลติกะนั่นแหละก็ชื่อว่า พ้นไปจากส่วนทั้ง ๕ แม้นี้.

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนติกะที่ ๘

    ในทัสสเนนปหาตัพพติกะ บทว่า สญฺโชนานิ (สังโยชน์) ได้แก่ เครื่องผูก บทว่า สกฺกายทิฏฺิ ความว่า เมื่อกายกล่าวคือเบญจขันธ์มีอยู่ ด้วยอรรถว่า ปรากฏอยู่ หรือตนเองมีความเห็นผิดในกายที่มีอยู่นั้น เพราะเหตุนั้น ความเห็นผิดนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฏฐิ. ส่วนความยึดมั่นที่ยึดถือว่า สัตว์อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีล อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยวัตร อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีลพรตดังนี้ ชื่อ สีลัพพตปรามาส.

    แม้คำว่า อิธ เป็นนิบาตใช้ในอรรถอ้างถึงประเทศ อิธศัพท์นี้นั้นในที่บางแห่งตรัสหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า พระตถาคตเจ้าย่อมทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดังนี้ ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา เหมือนที่ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ดังนี้ในที่บางแห่งหมายถึงโอกาสเหมือนที่ตรัสไว้ว่า

    อิเธว ติฏฺมานสฺส เทวภูตสฺส เม สโต

    ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 360

    เมื่อเรา (ท้าวสักกกะ) ผู้เป็นเทพดำรงอยู่ในโอกาส (ถ้ำอินทสาล) นี้แหละ เราก็ได้มีอายุต่อไป ดูก่อนผู้นิรทุกข์ ท่านจงทราบอย่างนี้ ดังนี้.

    ในที่บางแห่ง ตรัสหมายเพียงทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนที่ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเสวยแล้ว ดังนี้. แต่ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบว่าพระองค์ตรัสหมายถึงโลก.

    ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้มิได้สดับ) นี้มีวินิจฉัยว่า บุคคลผู้อันบัณฑิตควรทราบว่าที่ชื่อว่า ผู้มิได้สดับ เพราะไม่มีการศึกษาและการบรรลุมรรคผล จริงอยู่ บุคคลใดไม่มีการศึกษาเพราะเว้นการศึกษา การสอบถาม การวินิจฉัยธรรม มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยการ และสติปัฏฐานเป็นต้น ไม่มีมรรคผล เพราะไม่ได้บรรลุมรรคผลที่ตนพึงบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ เป็นผู้ปฏิเสธอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ผู้ไร้การศึกษา เพราะไม่มีการศึกษาและการบรรลุมรรคผล ด้วยประการฉะนี้

    บุคคลนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสเป็นอันมากให้เกิดขึ้นเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้ ชื่อว่าปุถุ (ผู้หนาแน่น) เพราะความเป็นผู้อยู่ภายในแห่งปุถุชน ดังนี้.

    จริงอยู่ ชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังกิเลสเป็นต้นมากมายมีประการต่างๆ ให้เกิดขึ้นก็มี เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะอรรถว่า ย่อมยังกิเลสมากให้เกิด. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 361

อรรถว่า เป็นพวกที่ยังมิได้ฆ่าสักกายทิฏฐิ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่าเป็นพวกที่คอยมองดูหน้าศาสดาต่างๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกที่ออกไปจากคติทั้งปวงไม่ได้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกสร้างอภิสังขารต่างๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกห้วงโอฆะต่างๆ พัดไปอยู่ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกเร่าร้อนอยู่ด้วยความเร่าร้อนต่างๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกเผาอยู่ด้วยความร้อนต่างๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกกำหนัด ยินดี รักใคร่ สยบหมกมุ่น ติดข้องพัวพันในกามคุณ ๕ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกนิวรณ์ ๕ กางกั้นแล้ว หุ้มห่อแล้ว ปกคลุมแล้ว ปิดบังแล้ว ซ่อนเร้นไว้แล้ว ให้ถอยกลับแล้ว.

    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน แม้เพราะความที่พวกชนเป็นอันมากเป็นผู้อยู่ภายในแห่งชนทั้งหลายเหลือคณนา ล้วนแต่เบือนหน้าหนีธรรมของพระอริยะ และมีการประพฤติธรรมต่ำทรามเสมอ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ชนนี้เป็นพวกถึงการนับแยกไว้ต่างหากบ้าง ชนนี้เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับพระอริยะทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล และสุตะเป็นต้นบ้าง.

    ด้วยบททั้งสองว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้มิได้สดับ) ตามที่กล่าวแล้วนี้

    ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา

    อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน

    อันพระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ตรัสปุถุชนเหล่าใดเป็น ๒ พวกคือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 362

ปุถุชน ๒ พวกเหล่านั้น เป็นอันตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ บรรดาปุถุชน ๒ พวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ในที่นี้ตรัสอันธปุถุชน.

    พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อริยานํ อทสฺสาวี (ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า) ต่อไป. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พุทธสาวกทั้งหลายเรียกว่า พระอริยเจ้า เพราะไกลจากกิเลส เพราะไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม เพราะดำเนินไปในทางเจริญ และเพราะอันโลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงบูชา. แต่ในที่นี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า พระอริยเจ้า เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ฯลฯ บัณฑิตเรียกว่า อริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้.

    ส่วนในคำว่า สัตบุรุษ นี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย สาวกของพระตถาคตทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อสัตบุรุษทั้งหลาย จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธะเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สัตบุรุษ เพราะอรรถว่า เป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบด้วยโลกุตรคุณ. อีกอย่างหนึ่ง พระอริยเจ้าทั้งหมดก็ตรัสชื่อไว้ ๒ อย่าง จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นพระอริยเจ้าและเป็นสัตบุรุษ พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกของพระตถาคตเจ้าชื่อว่า พระอริยเจ้าและสัตบุรุษ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

    บุคคลใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้ภักดีมั่นคง ย่อมทำกิจโดยเคารพแก่บุคคลผู้มีทุกข์ บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า สัตบุรุษ.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 363

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า เป็นกัลยาณมิตร เป็นผู้ภักดีมั่นคง ดังนี้ตรัสถึงสาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยคำว่า เป็นคนกตัญญูเป็นต้น ตรัสถึงพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนี้.

    บัดนี้ พึงทราบว่า บุคคลใดมีปรกติไม่เห็นพระอริยเจ้าเหล่านั้น และไม่มีสาธุการในการเห็น บุคคลนั้น ชื่อว่า ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า. ก็บุคคลผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้านั้นมี ๒ อย่าง คือ ไม่เห็นด้วยจักขุ และไม่เห็นด้วยญาณ ในการไม่เห็นทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ พระองค์ทรงประสงค์เอาผู้ไม่เห็นด้วยญาณจริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย แม้บุคคลเห็นด้วยมังสจักษุหรือทิพยจักษุก็ไม่ชื่อว่าเห็นได้เลย เพราะความที่จักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี (วรรณะ) เป็นอารมณ์ มิใช่คุณธรรมมีความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ แม้สัตว์ทั้งหลายมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็ย่อมเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยจักษุ แต่สัตว์เหล่านั้นไม่ชื่อว่าเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในข้อนั้น มีเรื่องต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์.

เรื่องการไม่เห็นพระอริยะ

    ได้ยินว่า พระอุปัฏฐากของพระขีณาสพเถระผู้อยู่ในวิหารจิตตลบรรพตเป็นพระบวชเมื่อแก่ วันหนึ่ง เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระ รับบาตรจีวรของพระเถระแล้วก็เดินตามหลังไป ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ ชื่อว่าพระอริยะทั้งหลายเป็นเช่นไร? พระเถระตอบว่า คนแก่บางคนในโลกนี้รับบาตรจีวรของพระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติแล้ว แม้เที่ยวไปด้วยกันก็ไม่รู้พระอริยะทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโส พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. แม้พระเถระพูดอย่างนี้ พระขรัวตานั้นก็หาเข้าใจไม่.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 364

    เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้นจึงชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ มีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยการเห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ บุคคลใดแลเห็นธรรม บุคคลนั้นชื่อว่า เห็นเรา (ตถาคต) ดังนี้ ฉะนั้น บุคคลแม้เห็นพระอริยะด้วยจักษุแต่ไม่เห็นอยู่ซึ่งลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยญาณ ยังไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว ก็พึงทราบว่า บุคคลนั้นไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะและความเป็นพระอริยะ ดังนี้.

    บทว่า อริยธมฺนสฺส อโกวิโท (ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า) ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันต่างด้วยธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น.

    ก็ในพระบาลีว่า อริยธมฺเม อวินีโต (ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า) นี้ มีวินิจฉัยว่า

    ชื่อว่าวินัยมี ๒ อย่าง ในวินัย ๒ อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งออกเป็น ๕ บุคคล นี้ท่านเรียกว่า ผู้ไม่ได้ฝึกฝน เพราะความไม่มีวินัยนั้น ดังนี้.

ว่าด้วยวินัย ๒ อย่าง

    จริงอยู่ วินัยมี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย และ ปหานวินัย ก็บรรดาวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ วินัยแต่ละอย่างยังแยกออกเป็น ๕ อย่าง แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ

    ศีลสังวร (ความสำรวมด้วยศีล) ๑

    สติสังวร (ความสำรวมด้วยสติ) ๑

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 365

    ญาณสังวร (ความสำรวมด้วยญาณ) ๑

    ขันติสังวร (ความสำรวมด้วยขันติ) ๑

    วิริยสังวร (ความสำรวมด้วยความเพียร) ๑.

แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ

    ตทังคปหาน (การละด้วยองค์ญาณนั้น) ๑

    วิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้) ๑

    สมุทเฉทปหาน (การละด้วยอริยมรรค) ๑

    ปฏิปัสสัทธิปหาน (การละด้วยอริยผล) ๑

    นิสสรณปหาน (การละด้วยนิพพาน) ๑.

    บรรดาสังวร ๕ เหล่านั้น ภิกษุผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงดีแล้วด้วยสังวรคือปาฏิโมกข์นี้ นี้ชื่อว่า ศีลสังวร ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร.

    ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ

    โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เราย่อมกล่าวการกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านี้ บุคคลย่อมปิดด้วยปัญญา นี้ชื่อว่า ญาณสังวร.

    บุคคลผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน นี้ชื่อว่า ขันติสังวร บุคคลผู้ยังกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วมิให้ท้วมทับตน นี้ชื่อว่า วิริยสังวร.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 366

    สังวรนี้แม้ทั้งหมด ตรัสเรียกว่า สังวร เพราะการป้องกัน และตรัสเรียกว่า วินัย เพราะการนำออกซึ่งกายทุจริตเป็นต้น อันควรแก่การป้องกันและควรแก่การนำออกอันสมควรแก่ศีลสังวรเป็นต้นของตน บัณฑิตพึงทราบว่าสังวรวินัยย่อมจำแนกออก ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้ ก่อน.

    อนึ่ง บรรดาวิปัสสนาญาณทั้งหลายมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น การละธรรมอันหาประโยชน์มิได้นั้นด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์กัน ดุจละเสียซึ่งความมืดด้วยแสงสว่างแห่งดวงประทีปฉะนั้น อย่างไร? คือ

    การละสักกายทิฏฐิด้วยกำหนดแยกนามรูป (นามรูปปริจเฉทญาณ) ละทิฏฐิที่เห็นว่านามรูปไม่มีเหตุ และมีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดรู้ปัจจัย (ปัจจยปริคคหญาณ) ละความสงสัยด้วยกังขาวิตรณญาณในกาลอื่นอีกของปัจจยปริคคหญาณนั้นนั่นแหละ ละความยึดถือว่า เรา ของเรา ด้วยกลาปสัมมสนญาณ ละความสำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ทาง ว่าเป็นทาง ด้วยการกำหนดทางและไม่ใช่ทาง ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นความเกิด ละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อมละความเห็นในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัยด้วยความเห็นว่ามีภัย ละความสำคัญในสิ่งที่ชอบใจด้วยการเห็นอาทีนพ ละความสำคัญอันชอบใจยิ่งด้วยนิพพิทานุปัสสนา ละความเป็นผู้ไม่ปรารถนาจะหลุดพ้นด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ ละความไม่วางเฉยในสังขารด้วยอุเบกขาญาณ ละธรรมฐิติ (ปฏิจจสมุปบาท) ด้วยอนุโลมญาณ ละความเป็นปฏิโลมด้วยนิพพาน ละความยึดถือนิมิตคือสังขารด้วยโคตรภูญาณอันใด นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน (การละด้วยองค์ของวิปัสสนาญาณนั้นๆ).

    การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้นๆ โดยห้ามความเป็นไปแห่งธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้นด้วยสมาธิอุปจาระและอัปปนา ดุจการละสาหร่ายบนหลังน้ำมิให้สืบต่อ อันใด นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 367

    การละหมู่กิเลสอันเป็นฝ่ายสมุทัยโดยให้เป็นไปโดยสิ้นเชิงดังที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า เพื่ออันละเสียซึ่งทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตนโดยมีมรรคนั้นๆ เพราะความที่อริยมรรค ๔ อันตนอบรมแล้ว อันใด นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.

    ก็ความที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับในขณะแห่งผล อันใด นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหาน.

    พระนิพพานมีสังขตธรรมทั้งปวงอันละได้แล้ว เพราะเป็นธรรมสลัดสังขตธรรมทั้งปวงออกไป อันใด นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.

    ก็เพราะการละแม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า ปหานะ ด้วยอรรถว่า สละชื่อว่า วินัย ด้วยอรรถว่า กำจัด เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ปหานวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ปหานะนี้ เรียกว่า ปหานวินัย เพราะความเกิดขึ้นแห่งการละด้วยตทังคปหานเป็นต้นนั้นๆ บ้าง เพราะความเกิดขึ้นแห่งการกำจัดนั้นๆ บ้าง. บัณฑิตพึงทราบว่า แม้ปหานวินัยก็ย่อมจำแนกได้ ๕ อย่างด้วยประการฉะนี้.

    วินัยนี้โดยย่อมี ๒ ประเภท โดยการจำแนกมี ๑๐ ประเภท เพราะย่อมไม่มีแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับนี้ เพราะมีสังวรอันทำลายแล้ว และเพราะละธรรมที่ควรละยังไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าผู้มิได้ฝึกฝนนี้ เพราะความไม่มีวินัยนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    แม้ในคำว่า บุคคลผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ผู้ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ นี้ก็นัยนั้นเหมือนกัน เพราะว่าโดยอรรถ คำว่า สัตบุรุษกับพระอริยเจ้านี้ ไม่มีเหตุที่แตกต่างกัน เหมือนที่กล่าวว่า บุคคลเหล่าใดเป็นพระอริยเจ้า บุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 368

สัตบุรุษ บุคคลเหล่าใดเป็นสัตบุรุษ บุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า พระอริยเจ้า ธรรมใดเป็นของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ธรรมนั้นๆ นั่นแหละ ชื่อว่า เป็นของสัตบุรุษ ธรรมใดเป็นของสัตบุรุษ ธรรมนั้นๆ นั่นแหละ ชื่อว่า เป็นธรรมของพระอริยเจ้า วินัยของพระอริยะ ก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัยของสัตบุรุษก็คือวินัยของพระอริยะ คำว่า อริยะ หรือคำว่า สัตบุรุษ ก็ได้แก่อริยธรรมหรือสัปปุริสธรรม คำว่า อริยวินัย หรือสัปปุริสวินัยนี้นั้น เป็นอันเดียวกัน ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเสมอกัน หรือมีความเป็นอันเดียวกันนั่นแหละ.

    คำว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ (ย่อมเห็นรูปเป็นตน) ความว่าบุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นรูปเป็นตน ย่อมเห็นรูปและตนไม่ใช่เป็นภาวะ ๒ อย่าง คือเห็นว่า รูปอันใดเราก็อันนั้น เราอันใดรูปก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกขึ้นไหม้อยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและสีไฟนั้นไม่ใช่เป็น ๒ อย่างว่า เปลวไฟอันใดสีก็อันนั้น สีไฟอันใดเปลวก็อันนั้นดังนี้ ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นรูปเป็นตนฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลย่อมเห็นรูปเป็นตนด้วยการเห็นอันเป็นทิฏฐิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    คำว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ (หรือเห็นตนมีรูป) ความว่า บุคคลถือว่า อรูป (นาม) เป็นตน จึงเห็นตนนั้นมีรูป เหมือนเห็นต้นไม้มีเงาฉะนั้น.

    คำ อตฺตนิ วา รูปํ (เห็นรูปในตน) ความว่า บุคคลถืออรูป (นาม) นั่นแหละว่าเป็นตน ย่อมเห็นรูปในตน เหมือนกลิ่นมีในดอกไม้ฉะนั้น.

    คำว่า รูปสฺมึ วา อตฺตานํ (เห็นตนในรูป) ความว่า บุคคลถืออรูปนั่นแหละเป็นตน ย่อมเห็นตนในรูป เหมือนเห็นแก้วมณีในขวดฉะนั้น.

    แม้ในขันธ์มีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 369

    ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ย่อมเห็นรูปเป็นตน พระองค์ตรัสว่าสุทธรูป คือรูปล้วนๆ เท่านั้นว่าเป็นตน. ตรัสว่า อรูปเป็นตนไว้ในฐานะทั้ง ๗ เหล่านั้น รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ อตฺตนิ วา รูปํ รูปสฺมึ วา อตฺตานํ เวทนํ อตฺตโต ฯเปฯ สญฺญํ สํขาเร วิญฺาณํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ คือ หรือเห็นตนมีรูป ๑ หรือเห็นรูปในตน ๑ หรือเห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาเป็นตน ๑ ฯลฯ เห็นสัญญาเป็นตน ๑ เห็นสังขารเป็นตน ๑ เห็นวิญญาณเป็นตน ๑ ตรัสว่า ตนระคนด้วยรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ละ ๓ อย่าง ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า หรือเห็นตนมีเวทนา ๑ หรือเห็นเวทนาในตน ๑ หรือเห็นตนในเวทนา ๑.

    บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ตรัสอุจเฉททิฏฐิในฐานะทั้ง ๕ คือ ย่อมเห็นรูปเป็นตน ๑ ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ๑ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ๑ ย่อมเห็นสังขารเป็นตน ๑ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน ๑ ในฐานะที่เหลือตรัสสัสสตทิฏฐิในที่นี้จึงเป็นภวทิฏฐิ ๑๕ วิภวทิฏฐิ ๕ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบทิฏฐิเหล่านั้น แม้ทั้งหมดห้ามมรรคแต่ไม่ห้ามสวรรค์ อันมรรคที่หนึ่งพึงละดังนี้.

ว่าด้วยความสงสัย

    บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า สตฺถริ กงฺขติ (เคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา) ความว่า ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงในพระสรีระหรือในคุณของพระศาสดาหรือทั้ง ๒ อย่าง. เมื่อเคลือบแคลงในพระสรีระย่อมเคลือบแคลงว่า พระสรีระชื่อว่า ประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้. เมื่อเคลือบแคลงในพระคุณย่อมเคลือบแคลงว่า พระสัพพัญญุตญาณอันสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้. เมื่อเคลือบแคลงในสิ่งทั้ง ๒ นั้น ย่อมเคลือบแคลงว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 370

ผู้ประกอบด้วยความสำเร็จแห่งพระสรีระ อันรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ หรือพระรัศมีซ่านไปวาหนึ่ง ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณสามารถรู้ไญยธรรมทั้งปวงดำรงอยู่ ทรงเป็นผู้นำของโลก มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ จริงอยู่ปุถุชนนี้เมื่อยังเคลือบแคลงในพระอัตภาพ หรือในพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธะนั้น ชื่อว่า เคลือบแคลงในสิ่งทั้งสองนี้.

    บทว่า วิจิกิจฺฉติ (สงสัย) ความว่า ปุถุชนเมื่อไม่สามารถตัดสินอารมณ์ได้ ย่อมยาก ย่อมลำบาก ย่อมไม่น้อมใจเชื่อ ในอธิการนี้เท่านั้นย่อมไม่ได้อธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ). บทว่า น สํปสีทติ (ย่อมไม่ผ่องใส) ได้แก่ ไม่สามารถจะทำจิตที่ขุ่นมัวให้เลื่อมใส คือย่อมไม่เลื่อมใสในคุณทั้งหลาย.

    ส่วนในข้อว่า ธมฺเม กงฺขติ (เคลือบแคลงในพระธรรม) เป็นต้น ก็เมื่อเคลือบแคลงอยู่ว่า ชื่อว่า อริยมรรค ๔ ที่ละกิเลส สามัญผล ๔ สงบระงับจากกิเลสทั้งหลาย อมตมหานิพพานเป็นอารัมมณปัจจัยแก่มรรคและผลมีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้บ้าง เมื่อเคลือบแคลงว่า ธรรมนี้เป็นนิยยานิกธรรม เป็นธรรมนำออก หรือเป็นอนิยยานิกธรรม เป็นธรรมไม่นำออกหรือหนอ ดังนี้ ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระธรรม. เมื่อเคลือบแคลงว่า สังฆรัตนะนี้ คือบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผู้ตั้งอยู่ในผลว่ามีอยู่หรือไม่หนอดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า พระสงฆ์นี้เป็นผู้ปฏิบัติดีหรือปฏิบัติชั่วหนอ ดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า วิบากผลแห่งทานที่ถวายในสังฆรัตนะนี้ มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระสงฆ์. เมื่อเคลือบแคลงว่า ก็สิกขา ๓ มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า สิกขา ๓ มีอานิสงส์เพราะการศึกษาเป็นเหตุหรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า เคลือบแคลงในสิกขา.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 371

    ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่ล่วงไปแล้ว เรียกว่า ปุพพันตะ (ส่วนอดีต) ที่ยังไม่มาถึงเรียกว่า อปรันตะ (ส่วนอนาคต) ในบรรดาส่วนทั้ง ๒ นั้นเมื่อเคลือบแคลงว่า ขันธ์ในส่วนอดีตในธรรมทั้งหลาย มีขันธ์ที่เป็นส่วนอดีตเป็นต้น มีอยู่หรือไม่มี? ชื่อว่า เคลือบแคลงในขันธ์เป็นต้นในส่วนอดีต. เมื่อเคลือบแคลงว่า ขันธ์เป็นต้นที่เป็นส่วนแห่งอนาคตในอนาคต มีอยู่หรือไม่หนอ ชื่อว่า เคลือบแคลงในขันธ์ เป็นต้นในส่วนอนาคต. เมื่อเคลือบแคลงในส่วนทั้ง ๒ ชื่อว่า เคลือบแคลงในปุพพันตะและอปรันตะ (ส่วนอดีตและอนาคต). เมื่อเคลือบแคลงว่า วัฏฏปัจจาการ ๑๒ บท มีอยู่หรือไม่หนอ ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระธรรม อันเป็นอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปันนะ ในธรรมที่เป็นอิทัปปัจจยตาเป็นต้นนั้น พึงทราบวจนัตถะต่อไปนี้ปัจจัยทั้งหลายของชราและมรณะเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า อิทัปปัจจยา ความเป็นแห่งอิทปปัจจยาทั้งหลาย ชื่อว่า อิทัปปัจจยตา อีกอย่างหนึ่ง อิทัปปัจจยานั่นเองชื่อว่า อิทัปปัจจยตา คำว่า อิทัปปัจจยตา นี้เป็นชื่อของธรรมมีชาติเป็นต้น. ธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยธรรมนั้นๆ ในบรรดาธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้น เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม ข้อนี้มีอธิบายว่า ย่อมเคลือบแคลงในอิทัปปัจจยตา และในปฏิจจสมุปปันนธรรม.

    บทว่า สีเลน ได้แก่ โคศีลเป็นต้น (ประพฤติเหมือนโค).

    บทว่า วเตน (ด้วยพรต) ได้แก่ ด้วยโคพรตเป็นต้น.

    บทว่า สีลพฺพเตน (ด้วยศีลพรต) ได้แก่ ด้วยบททั้ง ๒ นั้น.

    บทว่า สุทฺธิ ได้แก่ บริสุทธิ์จากกิเลส อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานเท่านั้น เป็นความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยม.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 372

    ก็ในบทว่า ตเทกฏฺา (ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน) นี้ ได้แก่ เป็นธุระตั้งอยู่ในที่เดียวกันแห่งการละ ก็ในพระบาลีนี้ตรัสกิเลส ๒ อย่างเท่านั้นคือ ทิฏฐิกิเลส และวิจิกิจฉากิเลส ส่วนกิเลส ๘ ที่ไม่ตรัสไว้ในที่นี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เหล่านี้ บัณฑิตก็พึงนำมาแสดง. ด้วยว่า บรรดากิเลส ๘ เหล่านี้ เมื่อทิฏฐิ และวิจิกิจฉาถูกละอยู่ กิเลสเหล่านั้นแม้ทั้งหมด คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ถีนะอุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะที่นำไปสู่อบาย เป็นกิเลสตั้งอยู่ในฐานเดียวกันแห่งการละ ย่อมถูกละ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยเกิดพร้อมกัน ก็ควรนำมาแสดง เพราะจิต ๕ อย่างเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ และจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ๑ ย่อมถูกละด้วยโสดาปัตติมรรค บรรดาจิตที่สหรคตด้วยกิเลสทั้ง ๕ เหล่านั้น เมื่อจิตที่สหรคตด้วยทิฏฐิเป็นอสังขาริก ๒ ถูกละอยู่ กิเลสเหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะที่เกิดพร้อมกับอสังขาริกทิฏฐิจิต ๒ เหล่านั้น ก็ย่อมถูกละด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกัน. ทิฏฐิกิเลสที่เหลือและวิจิกิจฉากิเลส ก็ย่อมถูกละไปด้วยอำนาจกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวแห่งการละ.

    เมื่อแม้จิตที่เป็นสสังขาริกสัมปยุตด้วยทิฏฐิทั้งหลาย อันบุคคลละอยู่ กิเลสเหล่านี้คือ โสภะ โทสะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะซึ่งเกิดพร้อมกันกับจิตที่เป็นสสังขาริกสัมปยุตด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมถูกละด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกัน. ทิฏฐิกิเลสที่เหลือ และวิจิกิจฉากิเลสก็ย่อมถูกละไปด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการละ บุคคลย่อมได้กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียว

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 373

กันโดยความเกิดพร้อมกันในกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันด้วยการประมาณ เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกันนี้มาแสดงไว้ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า ตํสมฺปยุตฺโต (อันสัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น) ได้แก่สัมปยุตด้วยกิเลส ๘ ซึ่งตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้นเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง พึงทำการแยกแสดงความเป็นขันธ์สัมปยุตแต่ละขันธ์อย่างนี้ คือสัมปยุตด้วยโลภะนั้น และสัมปยุตด้วยโทสะนั้น. บรรดากิเลสเหล่านั้น เมื่อถือโลภะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโลภะ เมื่อถือเอาโทสะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้คือ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโทสะ เมื่อถือเอาโมหะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ โทสะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโมทะ เมื่อท่านถือเอามานะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ซึ่งเกิดพร้อมกับมานะนั้น ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยมานะ.

    โดยอุบายนี้ บัณฑิตพึงทำการประกอบว่า ขันธ์สัมปยุตด้วยถีนะนั้น สัมปยุตด้วยอุทธัจจะนั้น สัมปยุตด้วยอหิริกะนั้น สัมปยุตด้วยอโนตตัปปะนั้น ดังนี้.

    บทว่า ตํสมุฏฺานํ ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยโลภะนั้น ฯลฯ ตั้งขึ้นด้วยอโนตตัปปะ. ในบทว่า อิเม ธมฺมา ทสฺสเนน ปหาตพฺพา (สภาวธรรมเหล่านี้ อันโสดาปัตติมรรคพึงละ) นี้ อธิบายว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าทัสสนะ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคนั้นพึงละ.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 374

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ.

ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานก่อน.

ถามว่า โคตรภู เห็นพระนิพพานก่อนกว่ามิใช่หรือ.

ตอบว่า ไม่เห็นก็ไม่ใช่ แต่เห็นแล้วมิได้ทำกิจที่ควรทำ เพราะมิได้ละสังโยชน์ทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่ควรจะกล่าวว่า โคตรภูญาณย่อมเห็นดังนี้. ในข้อนี้ มีชาวชนบทเป็นตัวอย่าง (๑) ก็ชาวชนบทนั้นแม้เห็นพระราชาในที่ใดที่หนึ่งแล้ว ถึงกระนั้นก็กล่าวอยู่ว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้าพระราชา เพราะยังมิได้ทำหน้าที่ถวายเครื่องบรรณาการให้สำเร็จ ดังนี้.

บทว่า อวเสโส โลโภ (โลภะที่เหลือ) ได้แก่ โลภะที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคละแล้ว. แม้ในโทสะและโมหะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะว่าโสดาปัตติมรรคละกิเลสที่นำไปสู่อบายเท่านั้น เพื่อทรงแสดงกิเลสอื่นจากกิเลสที่นำไปสู่อบายเหล่านั้น จึงตรัสคำนี้ว่า ตเทกฏฺา (กิเลสที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น). จริงอยู่ กิเลส ๕ อย่างเหล่านั้นตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยสัมปโยคะบ้าง โดยการละบ้างจากกิเลสทั้ง ๓ นั้นที่มาในพระบาลี.

บทว่า เนวทสฺสเนน น ภาวนาย (๒) (ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่พึงละ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภาวธรรมอันมรรคเหล่านั้นพึงละ ดุจการละสังโยชน์เป็นต้น. ส่วนการละธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านอนุญาตไว้โดยนัยมีอาทิว่า ธรรม


(๑) อรรถกถาว่า ยตฺถ กตฺถจิ ราชานํ ทิสฺวาปิ ปณฺณาการํ ทตฺวา กิจฺจนิปฺผตฺติยา อนิฏฺตฺตาปิราชานํ น ปสฺสามีติ วทนฺโต ในโยชนาบอกสัมพันธ์การแปลว่า บทว่า ทิสวาปิ เป็นบุพพกาลกิริยาของ วทนฺโต บทว่า ทตฺวา วีเสสนะของ กิจฺจนิปฺผตฺติยา และมีศัพท์หลังเป็น สัมภาวนัตถะ.

(๒) ธรรมที่ไม่พึงละ คือ กุศลจิต ๒๑ วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ รูปทั้งหมดและนิพพาน.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 375

เหล่าใด คือ นามและรูปพึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏฏ์อันมีเบื้องต้นและที่สุดอันไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วเว้น ๗ ภพ เพราะโสดาปัตติมรรคญาณดับอภิสังขารวิญญาณธรรมคือนามและรูปเหล่านั้น ย่อมดับในภพนี้ ดังนี้ อันใด พึงทราบว่า การละนั้น ท่านกล่าวหมายเอาปริยายนี้ว่า ธรรมเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะความที่มรรคเหล่านั้นยังมิได้เกิด ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ละได้แล้ว เพราะการละกิเลสทั้งหลายอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้าเป็นปัจจัย (อุปนิสฺสยปจฺจยานํ) ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนเหตุติกะที่ ๙

    ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลงด้วยพระดำรัสว่า ธรรมเหล่านี้ สภาวธรรมเหล่านี้มีเหตุพึงละโดยโสดาปัตติมรรคมีอยู่ ดังนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมที่ควรละดีแล้ว แสดงเหตุธรรมและสเหตุกธรรม โดยความเป็นฐานอันเดียวกันกับสังโยชน์เหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตีณิ สญฺโชนานิ (สังโยชน์ ๓) ดังนี้อีก.

    บรรดาเหตุธรรมและสเหตุกธรรมเหล่านั้น ในเหตุธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงละ มีโมหะสหรคตด้วยโลภะก็เป็นธรรมมีโลภะเป็นเหตุประกอบ โมหะสหรคตด้วยโทสะเป็นธรรมมีโทสะเป็นเหตุประกอบ อนึ่ง โลภะและโทสะก็เป็นเหตุประกอบกับโมหะ เพราะฉะนั้น โมหะที่สหรคตด้วยโลภะเป็นต้นเหล่านั้นย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในเหตุธรรมและสเหตุกธรรมอันจะพึงละแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่า เป็นเหตุธรรมอย่างเดียว ไม่มีเหตุประกอบ เพราะไม่มีเหตุที่สัมปยุตแห่งกันและกัน เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงการละโมหะที่ไม่มีเหตุประกอบนั้น จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ทสฺสเนนปหาตพฺพเหตุ สภาวธรรมเหล่านี้ มีเหตุพึงละโดยโสดาปัตติมรรค ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 376

    ในทุติยบท พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะแสดงการละโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุ (สภาวธรรมเหล่านั้นมีเหตุพึงละด้วยภาวนาคือมรรคเบื้องบน ๓ มีอยู่) ดังนี้. ด้วยว่า โมหะอันสหรคตด้วยอุทธัจจะนั้น กระทำสัมปยุตตธรรมกับตนให้เป็นสเหตุกะและหมุนไปข้างหลัง จะจัดเป็นปหาตัพพเหตุบทก็ไม่ได้ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุแห่งกันและกัน เหมือนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ฉะนั้น.

    ในตติยบท บทว่า อวเสสา กุสลากุสลา (กุศลและอกุศลที่เหลือ) ความว่า การถืออกุศลอีกทรงกระทำไว้เพื่ออันรวมโมหะทั้งหลายอันสหรคตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เพราะโมหะเหล่านั้นไม่ชื่อว่า มีเหตุที่จะพึงละ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุ.

ว่าด้วยนิทเทสปริตตารัมมณติกะที่ ๑๓

    พึงทราบวินิจฉัยใน ปริตตารัมมณติกะ ต่อไป

    บทว่า อารพฺภ (ปรารภ) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์ จริงอยู่ตัวเองจะเป็นปริตตธรรม หรือเป็นมหัคคตธรรมก็ตาม ธรรมใดทำปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปริตฺตารมฺมณา (มีอารมณ์เป็นปริตตะ) ธรรมใดทำมหัคคตะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า มหัคคตารมฺมณา (มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ) ธรรมเหล่าใดทำอัปปมาณธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อัปปมาณารมฺมณา (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ) อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง เป็นอัปปมาณะบ้าง.

ว่าด้วยนิทเทสมิจฉัตตติกะที่ ๑๕

    พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตติกะ ต่อไป

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 377

    บทว่า อานนฺตริกานิ (อนันตริยกรรม) นี้ เป็นชื่อของการทำมาตุฆาตเป็นต้น เป็นธรรมให้ผลโดยไม่มีอะไรขัดขวางทีเดียว ด้วยว่าในบรรดาอนันตริยกรรมเหล่านั้น เมื่อบุคคลทำกรรมแม้อย่างหนึ่ง กรรมอื่นจะห้ามอนันตริยกรรมนั้นแล้วก็ไม่สามารถเพื่อทำโอกาสให้วิบากของตน. เพราะว่าเมื่อสร้างพระสถูปทองแม้เท่าเขาสิเนรุ หรือสร้างวิหารมีปราการสำเร็จด้วยแก้ว เท่าเขาจักรวาล แล้วถวายปัจจัย ๔ แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่งเต็มวิหารนั้นตลอดชีวิตก็ดี กุศลกรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามวิบากของอนันตริยกรรมเหล่านั้นได้.

    บทว่า ยา จ มิจฺฉาทิฏฺิ นิยตา (และนิยตมิจฉาทิฏฐิ) ได้แก่ บรรดาอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยว่าพระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อยังบุคคลผู้ถือมิจฉาทิฏฐิดำรงอยู่นั้นให้ตรัสรู้ได้.

ว่าด้วยนิทเทสมัคคารัมมณติกะที่ ๑๖

    พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป

    บทว่า อริยมคฺคํ อารพฺภ (ปรารภอริยมรรค) ได้แก่ กระทำโลกุตรมรรคให้เป็นอารมณ์ ก็ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์เหล่านั้น เป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง.

    ในนิทเทสมัคคเหตุกธรรม (ทุติยบท) พึงทราบว่า ความที่ขันธ์ทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรคเป็นสเหตุกะทรงแสดงไว้ด้วยเหตุ ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัย โดยนัยแรก พึงทราบความที่องค์แห่งมรรคที่เหลือเป็นสเหตุกะ ทรงแสดงด้วยเหตุกล่าวคือสัมมาทิฏฐิที่เป็นมรรค โดยนัยที่ ๒.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 378

ทรงแสดงความที่สัมมาทิฏฐิเป็นสเหตุกะ ด้วยเหตุอันเกิดขึ้นด้วยมรรค (มคฺเคน อุปฺปนฺนเหตูหิ) (๑) ดังนี้ โดยนัยที่ ๓

บทว่า อธิปตึ กริตฺวา (กระทำมรรคให้เป็นอธิบดี) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี ธรรมที่มีอารมณ์เหล่านั้นแล เป็นปริตตธรรม. เพราะว่า ในเวลาพระอริยสาวกทั้งหลายกระทำมรรคของตนให้หนักแล้วพิจารณาย่อมได้กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี แต่พระอริยสาวกเมื่อพิจารณามรรคของผู้อื่นด้วยเจโตปริยญาณ แม้กระทำให้หนักก็กระทำให้หนักเหมือนมรรคอันตนแทงตลอดแล้วไม่ได้. ถามว่า พระอริยสาวกเห็นพระตถาคตทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์อยู่ ย่อมกระทำมรรคของพระตถาคตให้หนักหรือไม่. ตอบว่า ย่อมกระทำ แต่กระทำให้หนักเหมือนมรรคของตนไม่ได้. ในถ้อยคำของอรรถกถาแม้นี้ว่า พระอรหันต์ไม่ทำธรรมอะไรๆ ให้หนัก เว้นแต่มรรค ผล และนิพพานดังนี้ เป็นการอธิบายความนี้ทีเดียว.

บทว่า วิมํสาธิปเตยฺเยน (เจริญมรรคมีวิมังสาเป็นอธิบดี) นี้ ตรัสเพื่อแสดงสหชาตาธิปติ. เพราะว่า เมื่อบุคคลเจริญมรรคทำฉันทะให้เป็นใหญ่ ฉันทะก็ชื่อว่าอธิบดี มิใช่มรรคเป็นอธิบดี แม้ธรรมที่เหลือก็ชื่อว่า มีฉันทะเป็นอธิบดี มิใช่มีมรรคเป็นอธิบดี. แม้ในจิตตะก็นัยนี้แหละ แต่เมื่อบุคคลเจริญมรรคกระทำวิมังสาให้เป็นใหญ่อยู่ วิมังสาธิบดีนั่นแหละย่อมเกิด มรรคก็เกิด เพราะฉะนั้น แม้ธรรมที่เหลือก็ย่อมชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี. แม้ในวิริยะก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสอุปปันนติกะที่ ๑๗

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปปันนติกะ ต่อไป.

บทว่า ชาตา (เกิดแล้ว) ได้แก่ บังเกิดแล้ว คือมีภาวะของตนอันได้เฉพาะแล้ว. บทว่า ภูตา (เป็นแล้ว) เป็นต้นเป็นไวพจน์ของคำว่า


(๑) แปลตามพม่า คือ มคฺเค อุปฺปนฺนเหตูหิ (ด้วยเหตุอันเกิดขึ้นในมรรค)

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 379

เกิดแล้วเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ จริงอยู่ การเกิดนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นแล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งภาวะของตน ชื่อว่า สัญชาต (เกิดพร้อมแล้ว) เพราะเกิดขึ้นด้วยการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า นิพพัตตา (บังเกิดแล้ว) เพราะถึงลักษณะแห่งการเกิดขึ้น ส่วนคำที่ตรัสว่า อภินิพฺพตฺตา (บังเกิดเฉพาะแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค. ที่ชื่อว่า ปาตุภูตา (ปรากฏแล้ว) เพราะเป็นสภาวะปรากฏแล้วมีแล้ว. ที่ชื่อว่า อุปปันนา (เกิดขึ้นแล้ว) เพราะพ้นไปจากอดีต คำว่า สมุปฺปนฺนา (เกิดขึ้นพร้อมแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค ที่ชื่อว่า อุฏฺิตา (ตั้งขึ้นแล้ว) เพราะตั้งเบื้องบนด้วยความหมายว่าเกิดขึ้นแล้ว ที่ชื่อว่า สมุฏิตา (ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว) เพราะตั้งขึ้นแล้วด้วยการประกอบแห่งปัจจัย พึงทราบเหตุกระทำถ้อยคำว่า อุปฺปนฺนา อีกโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ.

    บทว่า อุปฺปนฺนํเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว) ได้แก่ ถึงการนับโดยส่วนที่เกิดขึ้น. คำว่า รูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณ นี้ เป็นคำแสดงสภาวะของธรรมเหล่านั้น.

    ในนิทเทสแห่งบทที่ ๒ พึงทราบโดยนัยปฏิเสธธรรมที่กล่าวแล้ว

    นิทเทสแห่งบทที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

    ก็ติกะนี้พระองค์ทรงแสดงเต็มอัทธา (กาล) ทั้ง ๒ จริงอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีโอกาสอันได้แล้วมี ๒ อย่าง คือ วิบากที่ถึงขณะแล้ว และที่ยังไม่ถึงแล้ว. บรรดาวิบากกรรม ๒ เหล่านั้น วิบากที่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วชื่อว่า อุปปันนะ (เกิดขึ้นแล้ว). วิบากที่ยังไม่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) จะเกิดขึ้นในลำดับแห่งจิต หรือในกาลก้าวล่วงไปอีกแสนกัปจะชื่อว่าไม่มี ย่อมไม่เป็นได้ ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวะปัจจัยที่แน่นอน จึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น. เหมือนอย่างใน

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 380

พระบาลีนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ อัตตาที่ไม่มีรูปนี้สำเร็จด้วยสัญญาตั้งอยู่ ทีนั้นเพราะละสัญญานั้นแล้ว สัญญาอื่นทีเดียวย่อมเกิดแก่บุรุษนี้ สัญญาอื่นนั้นแหละก็ย่อมดับไป ดังนี้ มูลภวังคสัญญา (สัญญาสัมปยุตด้วยมูลภวังค์) ย่อมดับไปในกาลเป็นไปแห่งกามาวจรสัญญา ในอรูปภูมิแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในกาลแห่งกามาวจรสัญญาดับแล้ว สัญญาสัมปยุตด้วยมูลภวังค์นั้นจักเกิดขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้น อัตตากล่าวคืออรูปจึงไม่ถึงการนับว่าย่อมไม่มี เกิดแล้วว่าชื่อว่ายังดำรงอยู่ทีเดียว ข้อนี้ ฉันใด วิบากแห่งกรรมมีโอกาสอันได้แล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี ๒ อย่าง ฯลฯ ชื่อว่า ย่อมไม่มี ย่อมไม่เป็นไปด้วยอรรถกถาเป็นสภาวะแห่งปัจจัยที่แน่นอน จึงชื่อว่าธรรมทั้งหลายที่จะต้องเกิดแน่นอน.

    ก็ผิว่า กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่สัตว์ทำไว้แล้ว พึงให้วิบากทั้งหมดไซร้ โอกาสแห่งกรรมอื่นก็ไม่พึงมี. แต่กรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ ให้วิบากแน่นอน และให้วิบากไม่แน่นอน.

    บรรดากรรมที่ให้วิบากแน่นอนและไม่แน่นอนเหล่านั้น อนันตริยกรรม ๕ สมาบัติ ๘ อริยมรรค ๔ ชื่อว่า กรรมมีวิบากที่แน่นอน ก็กรรมที่ให้วิบากที่แน่นอนนั้นถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วก็มี ที่ยังไม่ถึงขณะก็มี. ในกรรมทั้ง ๒ นั้น กรรมที่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วชื่อว่า อุปฺปนฺนํ (เกิดขึ้นแล้ว) ที่ยังไม่ถึงขณะ ชื่อว่า อนุปฺปนฺนํ (ยังไม่เกิดขึ้น) วิบากของกรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้น จงเกิดขึ้นในลำดับแห่งจิต หรือในกาลก้าวล่วงไปอีกแสนกัปก็ตามชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่าเป็นภาวะแห่งปัจจัยที่แน่นอนธรรมเหล่านี้แหละชื่อว่าจะเกิดขึ้น เหมือนอย่างมรรคของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ชื่อว่า อนุปปันนะ (ยังไม่เกิดขึ้น) และผลจึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิดแน่นอน.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 381

ว่าด้วยนิทเทสอดีตติกะที่ ๑๘

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอดีตติกะ ต่อไป

    บทว่า อตีตา (ล่วงไปแล้ว) ได้แก่ ก้าวล่วงไป ๓ ขณะ (อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ). บทว่า นิรุทฺธา (ดับแล้ว) ได้แก่ ถึงความดับแล้ว. บทว่า วิคตา (ปราศไปแล้ว) ได้แก่ ถึงความไม่มีแล้ว หรือจากไปแล้ว. บทว่า วิปริณตา (แปรไปแล้ว) ได้แก่ ถึงการแปรปรวนโดยละปกติไป. ที่ชื่อว่า อตฺถงฺคตา (อัสดงคตแล้ว) เพราะอรรถว่า ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้กล่าวคือความดับ. บทว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ถึงความดับสูญแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค. บทว่า อุปฺปชฺชิตฺวา วิคตา (เกิดขึ้นแล้วปราศไป) ได้แก่เกิดขึ้นแล้วก็จากไป เหตุโดยการตรัสอดีตอีกข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น. แม้ในธรรมมีอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ.

    บทว่า อตีตํเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์โดยส่วนที่ล่วงไปแล้ว) ได้แก่ถึงการนับโดยส่วนธรรมที่เป็นอดีต. ก็ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้นเป็นไฉน? ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. แม้ในธรรมที่เป็นอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ในนิทเทสอตีตารัมมณติกะ (ที่ ๑๙) ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อตีเต ธมฺเม อารพฺภ (ปรารภอดีตธรรม) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเฉพาะปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น เพราะว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นปรารภธรรมเป็นอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น.

ว่าด้วยนิทเทสอัชฌัตตติกะที่ ๒๐

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอัชฌัตตติกะ ต่อไป

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 382

    ด้วยบททั้งสองว่า เตสํ เตสํ (เหล่านั้นๆ) ได้แก่ ทรงกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด. บททั้งสองว่า อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ (เป็นภายในเป็นเฉพาะตน) เป็นชื่อของธรรมที่เป็นภายในเกิดในตน. บทว่า นิยตา ได้แก่ เกิดแก่ตน. บทว่า ปาฏิปุคฺคลิกา ได้แก่ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล. บทว่า อุปาทินฺนา (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ จริงอยู่ธรรมเหล่านั้นเกิดด้วยกรรมหรือไม่ก็ตาม แต่ในอัชฌัตตติกนิทเทสนี้ ตรัสว่า อุปาทินนะ ด้วยอำนาจตัณหายึดถือไว้และทิฏฐิลูบคลำแล้ว. บทว่า ปรสตฺตานํ (ของสัตว์อื่น) ได้แก่ สัตว์ที่เหลือเว้นตนเอง. คำว่า ปรปุคฺคลานํ (บุคคลอื่น) เป็นไวพจน์ของคำว่า ปรสตฺตานํ นั่นเอง. คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ. บทว่า ตทุภยํ ตัดบทเป็น ตํ อุภยํ แปลว่า ธรรมทั้ง ๒ นั้น.

    ในปฐมบท แห่งอัชฌัตตารัมมณติกะ (ที่ ๒๑) พึงทราบว่า ได้แก่ธรรมที่เป็นปริตตะ และมหัคคตะ ในทุติยบท พึงทราบว่า ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย (ปริตตธรรมและมหัคคตธรรม) แม้ที่เป็นอัปปมาณธรรม. ในตติยบท พึงทราบว่า ได้แก่ ปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น. แต่ว่าอัปปมาณธรรม (ในทุติยบท) ไม่กระทำอารมณ์ในภายนอกและในภายในตามกาล (นิพพานเป็นกาลวิมุตติ).

    นิทเทสแห่งสนิทัสสนติกะ (ที่ ๒๒) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 383

เหตุโคจฉกะ

    [๖๘๙] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน?

    กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ กามาวจรเหตุ ๙ รูปาวจรเหตุ ๖ อรูปาวจรเหตุ ๖ โลกุตรเหตุ ๖.

    [๖๙๐] บรรดาเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?

    อโลภะ อโทสะ อโมหะ.

    บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน?

    การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยาที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คืออโลภะนี้เรียกว่า อโลภะ.

    อโทสะ เป็นไฉน?

    ไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ไมตรี กิริยาที่สนิทสนม ความสนิทสนม การเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ.

    อโมหะ เป็นไฉน?

    ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 384

ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้วความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า อโมหะ.

    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓.

    [๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?

    โลภะ โทสะ โมหะ.

    บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน?

    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดีความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 385

ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนา วัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.

    โทสะ เป็นไฉน?

    อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 386

จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตนี้เรียกว่า โทสะ.

    โมหะ เป็นไฉน?

    ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะ.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อกุศลเหตุ ๓.

    [๖๙๒] อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน?

    อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากของกุศลธรรม หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในพวกกิริยาอัพยากตธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากตเหตุ ๓.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 387

    [๖๙๓] กามาวจรเหตุ ๙ เป็นไฉน?

    กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรเหตุ ๙.

    รูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน?

    กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรเหตุ ๖.

    อรูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน?

    กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖.

    [๖๙๔] โลกุตรเหตุ ๖ เป็นไฉน?

    กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกุตรเหตุ ๖.

    บรรดาโลกุตรเหตุ ๖ นั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?

    อโลภะ อโทสะ อโมหะ.

    บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน?

    การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คือ อโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ.

    อโทสะ เป็นไฉน?

    การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ฯลฯ ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียด กุศลมูล คือ อโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ.

    อโมหะ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 388

    ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความรู้ในอิทัปปัจจยตาธรรมและปฏิจจสมุปบาทธรรม ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่า อโมหะ.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓.

    อัพายตเหตุ ๓ เป็นไฉน?

    อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากตเหตุ ๓.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกุตรเหตุ ๖.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ.

    [๖๙๕] ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน?

    เว้นธรรมเป็นเหตุเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 389

    [๖๙๖] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ.

    ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด ไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีเหตุ.

    [๖๙๗] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ.

    ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมวิปปยุตจากเหตุ.

    [๖๙๘] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน?

    โลภะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโลภะ

    โทสะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโทสะ

    อโลภะ อะโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และมีเหตุโดยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และมีเหตุ.

    ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 390

    ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

    [๖๙๙] ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน?

    โลภะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโลภะ.

    โทสะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโทสะ.

    อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยกันและกัน.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ.

    ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

    [๗๐๐] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใดไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ.

    ธรรมไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใดไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นคือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ.

    เหตุโคจฉกะ จบ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 391

จูฬันตรทุกะ

    [๗๐๑] ธรรมมีปัจจัย เป็นไฉน?

    ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปัจจัย.

    ธรรมไม่มีปัจจัย เป็นไฉน?

    อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย.

    [๗๐๒] ธรรมเป็นสังขตะ เป็นไฉน?

    ธรรมที่มีปัจจัยเหล่านั้นอันใดเล่า ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นสังขตะ.

    ธรรมเป็นอสังขตะ นั้นเป็นไฉน?

    ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใดเล่า ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นอสังขตะ.

    [๗๐๓] ธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน?

    รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้.

    ธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน?

    จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์,รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้.

    [๗๐๔] ธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน?

    จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่กระทบได้.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 392

    ธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่กระทบไม่ได้.

    [๗๐๕] ธรรมเป็นรูป เป็นไฉน?

    มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูป.

    ธรรมไม่เป็นรูป เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูป.

    [๗๐๖] ธรรมเป็นโลกิยะ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกิยะ.

    ธรรมเป็นโลกุตระ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกุตระ.

    [๗๐๗] ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรม

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 393

เหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้.

    ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้.

    ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้,ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 394

ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้.

    ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณไม่รู้ได้, ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้.

    จูฬันตรทุกะ จบ

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

บพระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 395

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยเหตุโคจฉกะ

ว่าด้วยนิทเทสแห่งอโทสะ

พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งอโทสะในเหตุโคจฉกทุกะ ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า ไมตรี ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่สนิทสนม. อาการแห่งไมตรี ชื่อว่า กิริยาที่สนิทสนม. ความเป็นมิตรที่พรั่งพร้อมด้วยเมตตาอันไมตรีให้เป็นไป ชื่อว่า เมตฺตายิตตฺตํ คือ ความสนิทสนม. ที่ชื่อว่า อนุทฺทา คือการเอ็นดู เพราะอรรถว่า ย่อมเอื้อเฟื้อ คือย่อมคุ้มครอง. อาการที่เอ็นดูชื่อว่า อนุทฺทยนา คือกิริยาที่เอ็นดู. ความเป็นแห่งกิริยาที่เอ็นดู ชื่อว่า อนุทฺทายิตตฺตํ คือความเอ็นดู. การแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิเตสิตา คือความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. ชื่อว่า อนุกมฺปา คือความสงสาร ด้วยอำนาจการอนุเคราะห์.

พระองค์ตรัสถึงเมตตาที่บรรลุอุปจารและอัปปนา ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ตรัสถึงอโทสะเป็นโลกิยะและโลกุตระด้วยบทที่เหลือ.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งอโมหะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอโมหะ ต่อไป.

บทว่า ทุกฺเข าณํ (ความรู้ในทุกข์) ได้แก่ ปัญญาในทุกขสัจจะ. แม้ในบทมีอาทิว่า ทุกฺขสมุทเย าณํ เป็นต้นก็นัยนี้. ก็บรรดาความรู้ในทุกข์เป็นต้นนั้น ความรู้ในทุกข์ (ทุกเข าณํ) ย่อมเป็นไปในเพราะ การฟัง การจับต้อง การแทงตลอด และการพิจารณาใคร่ครวญ (สวนสมฺมสนปฏิเวธปจฺจเวกฺขณาสุ) ความรู้ทุกขสมุทัยก็เป็นไปอย่างนั้น. แต่ความรู้ในนิโรธ ย่อมเป็นไปในเพราะ การฟัง การแทงตลอด และการพิจารณาใคร่ครวญเท่านั้น (สวนปฏิเวธปจฺจเวกฺขณาสุ เอว) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาก็เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 396

บทว่า ปุพฺพนฺเต (ในส่วนอดีต) ได้แก่ ในส่วนที่ล่วงไปแล้ว. บทว่า อปรนฺเต (ในส่วนอนาคต) ได้แก่ ในส่วนที่ยังไม่มาถึง. บทว่า ปุพฺพนฺตาปรนฺเต ได้แก่ ในส่วนทั้ง ๒ นั้น. คำว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ าณํ (ความรู้ในอิทัปปัจจยตาธรรมและปฏิจจสมุปบาทธรรม) ได้แก่ ความรู้เนื้อความในปัจจัยทั้งหลายและในธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยอย่างนี้ว่า นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมนี้ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโลภะ

เนื้อความแห่งบททั้งหลายที่ยังมิได้กล่าวไว้ในหนหลังแม้ในโลภนิทเทสพึงทราบดังต่อไปนี้.

สภาวะที่ชื่อว่า ราโค (ความกำหนัด) ด้วยสามารถความยินดี. ที่ชื่อว่า สาราโค (ความกำหนัดนัก) ด้วยอรรถว่าความยินดีมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อนุนโย (ความคล้อยตามอารมณ์) เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้คล้อยไปในอารมณ์ทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า อนุโรโธ (ความยินดี) เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ อธิบายว่า ย่อมยังสัตว์ให้ใคร่. ที่ชื่อว่า นนฺที (ความเพลิดเพลิน) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์เพลิดเพลินในภพใดภพหนึ่ง หรือตัวเองย่อมเพลิดเพลิน. ความเพลิดเพลินนั้นด้วย ความกำหนัดด้วยอรรถว่าความยินดีนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นนฺทีราโค (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน) ในนันทีราคะนั้น ตัณหาเกิดขึ้นครั้งเดียวในอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า นันที (ความเพลิดเพลิน) เมื่อเกิดขึ้นบ่อยๆ จึงตรัสเรียกว่า นันทีราโค (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน).

บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค (ความกำหนัดนักแห่งจิต) ได้แก่ ความกำหนัดใดที่ตรัสไว้ว่า สาราโค (ความกำหนัดนัก) ด้วยอรรถว่า ความยินดีมี

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 397

กำลังในหนหลัง ความกำหนัดนักนั้นเป็นความกำหนัดนักของจิตเท่านั้นมิใช่ของสัตว์.

    สภาวะที่ชื่อว่า อิจฺฉา (ความอยาก) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอยากอารมณ์. ที่ชื่อว่า มุจฺฉา (สยบ) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์สยบเพราะความที่กิเลสมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อชฺโฌสานํ (ความหมกหมุ่น) ด้วยอำนาจการถือเอาโดยการกลืนให้สิ้นไป. ที่ชื่อว่า เคโธ (ความใคร่) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้สัตว์มักมากด้วยราคะนี้ คือให้ถึงความตะกละตะกลาม. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า เคโธ (ความใคร่) ด้วยอรรถว่าหนาแน่น จริงอยู่ อรรถว่าหนาแน่นนี้แหละ เหมือนที่ตรัสว่า ความใคร่เป็นดังไพรสณฑ์ทึบ (หนาแน่น) ดังนี้. บทต่อไปคือ ปลิเคโธ (ความรักใคร่) ท่านเพิ่มด้วยอำนาจอุปสรรค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปลิเคโธ (ความรักใคร่) เพราะอรรถว่า เป็นความละโมบโดยส่วนทั้งปวง. ที่ชื่อว่า สงฺโค (ความข้อง) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์ติดอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สงฺโค ด้วยอรรถว่าติดอยู่. ที่ชื่อว่า ปงฺโก (ความจมอยู่) ด้วยอรรถว่าจมลง. ที่ชื่อว่า เอชา (ธรรมชาติผู้คร่ามา) ด้วยอำนาจแห่งการคร่ามา จริงอยู่คำนี้ตรัสไว้ว่า ธรรมชาติผู้คร่ามา ย่อมชักลากบุรุษไปเพื่อเกิดขึ้นเฉพาะในภพนั้นๆ โดยแท้. ที่ชื่อว่า มายา (ธรรมชาติหลอกลวง) ด้วยอรรถว่าล่อสัตว์ไว้. ที่ชื่อว่า ชนิกา (ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด) ด้วยอรรถว่ายังสัตว์ให้เกิดในวัฏฏะ จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ว่า ตัณหาย่อมยังสัตว์ให้เกิด จิตของสัตว์นั้นย่อมพล่านไป. ที่ชื่อว่า สญฺชนนี (ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เกิดผูกมัดไว้ด้วยความทุกข์ในวัฏฏะ. ที่ชื่อว่า สิพฺพินี (ธรรมชาติอันร้อยรัด) เพราะอรรถว่า ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ด้วยการสืบต่อ จริงอยู่ ตัณหานี้ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ให้สืบต่อ

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 398

ด้วยอำนาจจุติปฏิสนธิ เหมือนช่างชุน ชุนผ้าท่อนเก่ากับผ้าท่อนเก่า เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ตัณหานี้ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ ด้วยอรรถว่ากระทำให้สืบต่อ.

    ที่ชื่อว่า ชาลินี (ธรรมชาติมีข่าย) เพราะอรรถว่า ข่ายคืออารมณ์มีประการมากมาย หรือว่าข่ายคือการเข้าไปดิ้นรนของตัณหานั้นมีประการต่างๆ. ที่ชื่อว่า สริตา (ธรรมชาติอันกำเริบใจ) เพราะอรรถว่า เหมือนแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ด้วยอรรถว่าคร่ามา อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สริตา ด้วยอรรถว่าชุ่มใจ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า โสมนัสเป็นธรรมชาติชุ่มใจ เป็นความเสน่หาย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิด ก็ในบาลีนั้นอธิบายว่า ตัณหานี้เป็นความชุ่มชื่นและความสนิทสนมกัน. ที่ชื่อว่า วิสตฺติกา (ธรรมชาติอันซ่านไป) เพราะอรรถว่าหลั่งไหลไป.

    อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ซึมซาบไป ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า กว้างขวาง ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ย่อมกระสับกระส่าย ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า หลอกลวงชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ย่อมบั่นทอนโดยประการต่างๆ ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่ามีผลเป็นพิษ คือว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นผลมาแต่ตัณหานั้น เหตุนั้นตัณหานั้นท่านจึงเรียกว่า มีรากเป็นพิษ ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่ามีการบริโภคเป็นพิษ ก็หรือชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ตัณหานั้นซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ คือแพร่หลาย ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ในธรรม ในตระกูล ในคณะ.

    ที่ชื่อว่า สุตฺตํ (ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย) เพราะอรรถว่า ดุจเส้นด้ายที่ผูกเต่าไว้ ด้วยอรรถว่าให้ถึงความเสื่อมและความพินาศ สมดังพระดำรัส

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 399

ที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติเหมือนเส้นด้ายนี้แล เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน).

ที่ชื่อว่า วิสฏา (ธรรมชาติอันแผ่ไป) ด้วยอรรถว่า แผ่ขยายไปในอารมณ์แม้มีรูปเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อายูหนี (ธรรมชาติผู้ประมวลมา) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้ขวนขวายเพื่อการได้วัตถุนั้นๆ. ที่ชื่อว่า ทุติยา (ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง) ด้วยอรรถว่า เป็นสหายเพราะการไม่ให้เพื่ออันเงยหน้า จริงอยู่ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายเงยหน้าในวัฏฏะ. คือ ย่อมให้อภิรมย์ เหมือนสหายรักในที่ๆ ตนไปแล้ว ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า (๑)

ตณฺหาทุติโย ปุริโส ทีฆมทฺธาน สํสรํ

อิตฺถภาวญฺถาภาวํ สํสารํ นาติวตฺตติ

บุรุษ (สัตว์) มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วงสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้ (คือเป็นมนุษย์) และความเป็นอย่างอื่น (คือเป็นเทวดาเป็นต้น).

ที่ชื่อว่า ปณิธิ ด้วยสามารถแห่งการตั้งความปรารถนา. ที่ชื่อว่าภวเนตฺติ (ธรรมชาตินำไปสู่ภพ) เพราะอรรถว่า ย่อมนำไปสู่ภพ จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหานี้นำไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาแล้วๆ เหมือนโคทั้งหลายที่ถูกเชือกผูกคอไว้ ฉะนั้น.

ที่ชื่อว่า วนํ (ตัณหาเหมือนป่า) เพราะอรรถว่า ย่อมประชุม คือย่อมคบ ย่อมยึดซึ่งอารมณ์นั้นๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนํ เพราะอรรถว่าย่อมอ้อนวอน. บทว่า วนโถ (ตัณหาเหมือนดง) ทรงเพิ่มบทโดยพยัญชนะ


(๑) อํ. จตุกฺก เล่ม ๑๓ ๗/๑๒.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 400

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนํ (ตัณหาเหมือนป่า) เพราะอรรถว่า ดุจป่า ด้วยอรรถว่า ยังทุกข์อันเป็นความเสื่อมเสียให้ตั้งขึ้น และด้วยอรรถว่ารกชัฏ คำว่า ป่า นี้ เป็นชื่อของตัณหาที่มีกำลังแรง ส่วนตัณหาที่มีกำลังแรงกว่านั้น ชื่อว่า วนโถ ด้วยอรรถว่าเป็นดงชัฏ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า (๑)

วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ วนโต ชายเต ภยํ

เฉตฺวา วนํ วนถญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตัดป่า (คือกิเลสมีราคะเป็นต้น) อย่าตัดต้นไม้ ภัย (มีความเกิดเป็นต้น) ย่อมเกิดแต่ป่าคือกิเลส เธอทั้งหลายครั้นตัดป่า (คือกิเลสอันเกิดขึ้นก่อน) และหมู่ไม้ในป่า (คือกิเลสที่เกิดภายหลัง) แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีป่าคือ ตัณหา.

ตัณหานั้น ชื่อว่า สนฺถโว (ความเกี่ยวข้อง) ด้วยอรรถว่า สนิทสนมอธิบายว่า คลุกคลีแล้ว. สันถวะคือความเกี่ยวข้องนั้นมี ๒ อย่าง คือ

ตณฺหาสนฺถโว ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา

มิตฺตสนฺถโว ความสนิทสนมด้วยอำนาจมิตร.

ในบรรดาสันถวะทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาตัณหาสันถวะคือ ความเกี่ยวข้องหรือสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา. ที่ชื่อว่า สิเนโห (ความเยื่อใย) ด้วยอำนาจความเสน่หา. ที่ชื่อว่า อเปกฺขา (ความห่วงใย) เพราะอรรถว่า ย่อมเพ่งด้วยอำนาจการทำความอาลัย ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้ใน


(๑) ธมฺมปท. มคฺควคฺค เล่ม ๒๕ ๓๐/ ๕๒

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 401

(มหาสุทัสสนสูตร) ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระนครแปดหมื่นสี่พันมีเมืองกุสาวดีราชธานีเป็นประมุขเหล่านี้เป็นของพระองค์ ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงยังความพอพระทัยให้เกิดในพระนครเหล่านั้นเถิด จงมีความห่วงใยในพระชนม์ชีพเถิด ดังนี้ จริงอยู่ ในพระบาลีนี้ท่านอธิบายว่า จงทำความอาลัย ดังนี้.

ตัณหาที่ชื่อว่า ปฏิพนฺธุ (ความผูกพัน) เพราะอรรถว่า ย่อมผูกไว้เฉพาะแต่ละอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปฏิพนฺธุ (ความผูกพัน) เพราะอรรถว่า เฉพาะแต่อารมณ์ที่ผูกพันด้วยความหมายว่าเป็นญาติ จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าพันธุ คือพวกพ้องเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยอรรถว่าอาศัยอยู่เป็นนิตย์.

ตัณหาที่ชื่อว่า อาสา (การหวัง) เพราะการหวังอารมณ์ทั้งหลายอธิบายว่า เพราะครอบงำและเพราะการบริโภคไม่รู้จักอิ่ม. ที่ชื่อว่า อาสึสนา (กิริยาที่หวัง) ด้วยอำนาจแห่งความหวัง. ภาวะแห่งความหวัง ชื่อว่า อาสึสิตตฺตํ (ความหวัง).

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงฐานะแห่งการเป็นไปของตัณหานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า รูปาสา (ความหวังรูป) ดังนี้. ในพระบาลีมีอาทิว่า ความหวังในรูปเป็นต้นนั้น พึงทราบบทแม้ ๙ (๑) อย่างนี้ว่า ความหวังในรูป ชื่อว่า รูปาสา โดยถือเอาอรรถแห่งความหวังว่า ชื่อว่า อาสา (ความหวัง) ด้วยอำนาจความปรารถนา. ก็ในบรรดาบททั้ง ๙ นี้ ๕ บทข้างต้นตรัสด้วยอำนาจเบญจกามคุณ. บทที่ ๖ ตรัสด้วยอำนาจความโลภในบริขาร บทที่ ๖ นั้นเป็นของพวกบรรพชิตโดยพิเศษ ๓ บทต่อจากนั้นเป็นของพวกคฤหัสถ์ด้วย


(๑) บททั้ง ๙ คือ ความหวังในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ลาภ ทรัพย์ บุตร ชีวิต

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 402

อำนาจแห่งวัตถุเป็นอารมณ์ไม่รู้จักอิ่ม เพราะวัตถุอันเป็นที่รักยิ่งกว่าทรัพย์ บุตร ชีวิต ของพวกคฤหัสถ์เหล่านั้นมิได้มี.

    ตัณหาที่ชื่อว่า ชปฺปา (ธรรมชาติผู้กระซิบ) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้พูดอุบอิบอย่างนี้ว่า นี่ของฉัน นี่ของฉัน หรือว่า สิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เรา สิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เรา ดังนี้. สองบทต่อจากนั้นคือ ปชปฺปา อภิชปฺปา (ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง) ทรงเพิ่มอุปสรรคเข้ามา. ต่อจากนั้นไป ทรงตรัสคำว่า ชปฺปา (การกระซิบ) อีก เพราะทรงปรารภเพื่อจะจำแนกโดยอาการอื่น. คืออาการกระซิบชื่อว่า ชปฺปายนา (กิริยาที่กระซิบ) ภาวะแห่งการกระซิบ ชื่อว่า ชปฺปิตตฺตํ (ความกระซิบ) ที่ชื่อว่า โลลุโป (การละโมบ) เพราะอรรถว่า ย่อมปล้น คือ กระชากมาในอารมณ์บ่อยๆ ภาวะแห่งการละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปํ (กิริยาที่ละโมบ) อาการแห่งกิริยาที่ละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปายนา (ความละโมบ) ภาวะแห่งบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยความละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปายิตตฺตํ.

    บทว่า ปุญฺจิกตา (ธรรมชาติเป็นเหตุซมซาน) ความว่า สัตว์ทั้งหลายเที่ยวหัวเราะระริกไป เหมือนพวกสุนัขสั่นหางอยู่ในที่เป็นที่ตั้งแห่งความอยากด้วยตัณหาใด นั้นเป็นชื่อแห่งตัณหาอันให้เกิดหัวเราะระริกไปนั้น.

    บทว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี) ความว่า อยากได้อารมณ์ที่ชอบใจที่ชื่นใจอันดี เรียกว่า ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี ภาวะแห่งความใคร่ในอารมณ์ที่ดีนั้น ชื่อว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี).

    ตัณหาที่ชื่อว่า อธมฺมราโค (ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร) เพราะอรรถว่า มีความกำหนัดในฐานะอันไม่ควรมีมารดาและน้าเป็นต้น. ความโลภที่เกิดขึ้นมีกำลังแรง แม้ในฐานะที่ควร ชื่อว่า วิสมโลโภ (ความโลภเกินขนาด) อีกอย่างหนึ่ง ฉันทราคะคือ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 403

ความพอใจ) เกิดขึ้นในฐานะที่ควรหรือในฐานะที่ไม่ควร โดยพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ราโค วิสมํ (ความกำหนัดไม่สม่ำเสมอ) เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อธมฺมราโค (ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร) ด้วยอรรถว่าไม่เป็นธรรมและชื่อว่า วิสมโลโภ (ความโลภเกินขนาด) ด้วยอรรถว่าปราศจากความสม่ำเสมอ ดังนี้.

    ตัณหาที่ชื่อว่า นิกนฺติ (ความติดใจ) ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย. อาการแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า นิกามนา (กิริยาที่ติดใจ). ที่ชื่อว่า ปฏฺนา (ความปรารถนา) ด้วยอำนาจแห่งความตั้งใจ. ที่ชื่อว่า ปิหนา (ความกระหยิ่มใจ) ด้วยอำนาจความริษยา. ความปรารถนาด้วยดี ชื่อว่า สมฺปฏนา (ความปรารถนานัก).

    ตัณหาในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามตัณหา ตัณหาในรูปภพและอรูปภพชื่อว่า ภวตัณหา ตัณหาในวิภวะกล่าวคือความขาดสูญ ชื่อว่า วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพล้วนอย่างเดียว ชื่อว่า รูปตัณหา ตัณหาในอรูปภพ ชื่อว่า อรูปภวตัณหา. ความยินดีสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิราคะ ตัณหาในนิโรธ ชื่อว่า นิโรธตัณหา ตัณหาในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา ตัณหาในเสียง ชื่อว่า สัททตัณหา ตัณหาในกลิ่น ชื่อว่า คันธตัณหา. แม้ในรสเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. คำว่า โอฆะเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.

    ที่ชื่อว่า อาวรณํ (อาวรณ์) เพราะย่อมกั้นกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ชื่อว่า ฉาทนํ (เครื่องปิดบัง) ด้วยอำนาจการปกปิด. ที่ชื่อว่า พนฺธนํ (เครื่องผูก) เพราะย่อมผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ที่ชื่อว่า อุปกิเลส เพราะเข้าถึงจิตแล้วให้เศร้าหมอง คือ ทำให้เศร้าหมอง ที่ชื่อว่า อนุสัย เพราะย่อมนอนเนื่อง

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 404

คือ เป็นไปด้วยอรรถว่ามีกำลัง ที่ชื่อว่า ปริยุฏฐาน เพราะเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต อธิบายว่า ยึดความเป็นกุศลโดยไม่ให้เพื่อเกิดขึ้น. จริงอยู่ ในประโยคมีอาทิว่า พวกโจรปล้นในหนทาง พวกนักเลงดักทำร้ายในหนทาง คือยึดทางไว้ ชื่อว่า ถือเอาซึ่งทาง ฉันใด แม้ในปริยุฏฐานนี้ ก็พึงทราบปริยุฏฐานด้วยอรรถว่า ถือเอา ฉันนั้น.

    ตัณหาที่ชื่อว่า ลตา (เหมือนเถาวัลย์) เพราะเป็นเหมือนเถาวัลย์โดยความหมายว่า พันไว้รอบ ตัณหานี้ ตรัสเรียกว่า เถาวัลย์ แม้ในที่ตรัสไว้ว่า ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺติ (ตัณหาเหมือนเถาวัลย์แตกแขนงตั้งอยู่) ดังนี้. ที่ชื่อว่า เววิจฺฉํ (ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ) เพราะปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ. ที่ชื่อว่า ทุกฺขมูลํ (รากเหง้าแห่งทุกข์) เพราะเป็นมูลแห่งวัฏทุกข์. ที่ชื่อว่า ทุกฺขนิทานํ (เหตุแห่งทุกข์) เพราะเป็นเหตุเกิดของทุกข์นั้นนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า ทุกฺขปฺปภโว (แดนเกิดแห่งทุกข์) เพราะทุกข์นั้นย่อมเกิดจากตัณหานี้. ที่ชื่อว่า ปาโส (บ่วง) เพราะเหมือนบ่วง ด้วยอรรถว่าเครื่องผูก. บ่วงแห่งมารชื่อว่า มารปาโส. ที่ชื่อว่า พลิสํ (เบ็ด) เพราะเป็นเหมือนเบ็ด ด้วยอรรถว่า สำรอกออกยาก. เบ็ดของมาร ชื่อว่า มารพลิสํ. สัตว์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้วย่อมไม่ก้าวล่วงวิสัยแห่งมาร มารย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในเบื้องบนสัตว์เหล่านั้น โดยปริยายนี้ จึงเรียกว่า แดนแห่งมารเพราะเป็นวิสัยของมาร.

    แม่น้ำคือตัณหา ชื่อว่า ณฺหานที ด้วยอรรถว่า ไหลไป. ข่ายคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหาชาลํ ด้วยอรรถว่าปกคลุมไว้ สุนัขทั้งหลายที่เขาเอาเชือกผูกไว้ ย่อมถูกนำไปตามปรารถนา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ถูกตัณหาผูกไว้ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า คทฺทุลํ (เหมือนเชือก)

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 405

เพราะเป็นเหมือนเชือกด้วยอรรถว่าผูกไว้แน่น. เชือกคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหาคทฺทุลํ. สมุทร (ทะเล) คือตัณหาด้วยอรรถว่าให้เต็มได้ยาก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ตัณหาเหมือนสมุทร.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโทสะ

    พึงทราบวินิจฉัยในโทสนิทเทส ต่อไป.

    คำว่า อนตฺถํ เม อจริ (ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา) คือได้กระทำความไม่เจริญแก่เรา. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้

    คำว่า อฏฺาเน วา ปน อาฆาโต (หรืออาฆาตอันเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ) ได้แก่ความโกรธย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันมิใช่เหตุ จริงอยู่บุคคลบางคนย่อมโกรธในฐานะอันมิใช่เหตุว่า ฝนย่อมตกเกินไป ย่อมโกรธว่าฝนไม่ตก ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ร้อน ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ไม่ร้อน เมื่อลมพัดอยู่ก็โกรธ ลมไม่พัดก็โกรธ เมื่อไม่สามารถจะกวาดลานก็โกรธใบโพธิ์ทั้งหลาย เมื่อไม่สามารถจะห่มจีวรได้ก็โกรธลมพัด สะดุดหกล้มก็โกรธตอไม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความโกรธนี้จึงตรัสว่า อฏฺาเน วา ปน อาฆาโต ชายติ (หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ) ดังนี้. บรรดาความโกรธเหล่านั้น ความแตกแห่งกรรมบถย่อมมีเพราะอาฆาตเกิดขึ้นปรารภสัตว์ทั้งหลายในฐานะ ๙ ข้างต้น แต่อาฆาตในฐานะอันมิใช่เหตุเกิดในสังขาร ย่อมไม่ทำการแตกกรรมบถ.

    โทสะที่ชื่อว่า จิตอาฆาต เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังจิตให้อาฆาตอยู่ ความอาฆาตที่แรงกว่านั้น ชื่อว่า ปฏิฆาโต (ความขัดเคือง). ที่ชื่อว่า ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่ง) ด้วยอำนาจความหงุดหงิด. ที่ชื่อว่า ปฏิวิโรโธ (ความแค้น) เพราะคับแค้นใจ. ที่ชื่อว่า โกโป (ความเคือง) ด้วยอำนาจแห่ง

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 406

ความโกรธ. บทว่า ปโกโป สมฺปโกโป (ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน) ทรงเพิ่มบทด้วยอุปสรรค. ที่ชื่อว่า โทโส (โทสะ) ด้วยอำนาจการประทุษร้าย. บทว่า ปโทโส สมฺปโทโส (ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย) ทรงเพิ่มบทด้วยอุปสรรค.

    คำว่า จิตฺตสฺส พฺยาปตฺติ (ความขุ่นจิต) ความว่า อาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพราะจิตวิบัติ ชื่อว่า มโนปโทโส (ธรรมชาติประทุษร้ายใจ) เพราะเกิดขึ้นประทุษร้ายใจ. ที่ชื่อว่า โกโธ (โกรธ) ด้วยสามารถแห่งการโกรธ. อาการแห่งการโกรธ ชื่อว่า กุชฺฌนา (กิริยาที่โกรธ). ภาวะแห่งจิตที่โกรธ ชื่อว่า กุชฺฌิตตฺตํ (ความโกรธ).

    บัดนี้ เพื่อทรงแสดงนัยที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทส จึงตรัสคำมีอาทิว่า โทโส ทุสฺสนา (การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย) ดังนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทำการประกอบในนิทเทสนี้อย่างนี้ว่า โทสะเห็นปานนี้อันใดที่ตรัสไว้ในที่นี้ว่า จิตอาฆาต ฯลฯ ความโกรธ และที่ตรัสไว้แล้วในหนหลังโดยนัยมีอาทิว่า โทโส ทุสฺสนา (การประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้าย) นี้เรียกว่า โทสะ. ด้วยว่า เมื่อมีคำที่กล่าวไว้อย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านกันข้อเสียหายในการพูดซ้ำ นิทเทสแห่งโมหะ พึงทราบโดยนัยที่เป็นปฏิปักษ์กับคำที่กล่าวไว้ในนิทเทสแห่งอโมหะ ก็นิทเทสแห่งโมหะนี้จักมีแจ้งในอรรถกถาแห่งวิภังคปกรณ์โดยอาการทั้งปวง.

    คำว่า เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา สเหตุกา (ธรรมเหล่าใดมีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น) ความว่า ธรรมเหล่าใดที่เป็นเหตุก็ดี ไม่เป็นเหตุก็ดี อื่นใด ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สเหตุกา (มีเหตุ) ด้วยเหตุธรรมเหล่านั้น. แม้ในบทว่า อเหตุกะ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ ธรรมที่เป็นเหตุย่อมเป็นเหตุ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 407

อย่างเดียว และเป็นธรรมมีเหตุ (สเหตุกะ) ในการเกิดพร้อมกัน ๓ เหตุ หรือ ๒ เหตุ. ส่วนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุประกอบ. แม้ในนิทเทสแห่งทุกะที่สัมปยุตด้วยเหตุก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสังขตทุกะ

    ในนิทเทสสังขตทุกะ พระองค์ทรงทำนิทเทสไว้ด้วยอำนาจธรรมเป็นเอกวจนะว่า โย เอว โส ธมฺโม (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นใดเล่า) ดังนี้ ทรงหมายเอาอสังขตธาตุตามที่ตรัสไว้ในทุกะแรก แต่ในทุกะแรกนี้ทรงทำเป็นพหุวจนะไว้โดยนัยปุจฉานุสนธิว่า อิเม ธมฺมา อปฺปจฺจยา (ธรรมเหล่านี้ไม่มีปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรงยกขึ้นถามด้วยอำนาจแห่งบทพหุวจนะ. แม้ในบทมีอาทิว่า อิเม ธมฺมา สนิทสฺสนา (สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสวิญเญยยทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเกนจิวิญเญยยทุกะ ต่อไป.

    บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺยา (ธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้) ได้แก่ อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในนิทเทสนี้ คำว่าจิตบางดวงรู้ได้ คือในบรรดาจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น จักขุวิญญาณหรือโสตวิญญาณดวงใดดวงหนึ่งพึงรู้ได้. คำว่า จิตบางดวงรู้ไม่ได้ คือจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีทุกะนี้ว่า เย เต ธมฺมา จกฺขุวิญฺเยฺยา น เต ธมฺมา โสตวิญฺเยฺยา (ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้) ดังนี้ เพราะ

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 408

ความที่ทุกะนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า ย่อมเป็นหมวดทุกะได้เพราะความต่างกันแห่งเนื้อความของบทแม้ทั้งสองดังนี้. แต่พึงถือเอาเนื้อความนี้ว่า รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ได้ เสียงอันจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ แล้วพึงทราบทุกะหนึ่งนี้ว่าธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณพึงรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ ก็หรือว่า ธรรมเหล่าใดที่โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณไม่พึงรู้ได้ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ทรงจำแนกทุกะละ ๔ หมวด มีอินทรีย์ (มีจักขุนทรีย์เป็นต้น) ละหนึ่งเป็นมูล (มีอินทรีย์ที่เหลือเป็นมูลีหมุนไป) อย่างนี้ จึงเป็น ๒๐ หมวด ดังนี้.

    ถามว่า ก็ธรรมที่มโนวิญญาณบางดวงพึงรู้ได้ บางดวงไม่พึงรู้ได้ ไม่มีหรือ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมิได้ตรัสเป็นทุกะไว้ในที่นี้.

    ตอบว่า มิใช่ไม่มี แต่เพราะไม่มีการกำหนดจึงมิได้ตรัสไว้ เพราะว่าการกำหนดว่า ธรรมที่จักขุวิญญาณไม่พึงรู้ได้เลยดังนี้ โดยประการใด แม้มโนวิญญาณก็ไม่พึงรู้ได้ โดยประการนั้น มิได้มีอยู่ เพราะฉะนั้น เพราะไม่มีโดยการกำหนด จึงไม่ตรัสทุกะในมโนวิญญาณนี้ไว้ในที่นี้ แต่เนื้อความนี้มีอยู่ว่า ธรรมที่มโนวิญญาณพึงรู้ได้มีอยู่ ที่ไม่พึงรู้ก็มี ดังนี้ เพราะฉะนั้น เนื้อความนั้นแม้มิได้ตรัสไว้ บัณฑิตก็พึงทราบด้วยสามารถตามที่หาได้.

    จริงอยู่ ธรรมคือกามาวจรทั้งหลายนั่นแหละ อันกามาวจรธรรมทั้งหลายอันถึงการนับว่า มโนวิญญาณ บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็ไม่พึงรู้ได้ก่อน แม้ธรรมมีรูปาวจรเป็นต้น อันกามาวจรเหล่านั้นนั่นแหละบางดวงพึงรู้ได้ บางดวงรู้ไม่ได้ กามาวจรทั้งหลายแม้อันรูปาวจรเหล่านั้นบางดวงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้. แม้รูปาวจรเป็นต้น อันรูปาวจรเหล่านั้นแหละบางดวงรู้ได้ บางดวงรู้ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 409

    แต่ว่า กามาวจรทั้งหลาย รูปาวจรทั้งหลาย และโลกุตรธรรมทั้งหลาย อันอรูปาวจรทั้งหลายไม่พึงรู้ได้เลย ส่วนอรูปาวจรทั้งหลาย อันมโนวิญญาณบางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันมโนวิญญาณบางดวงเท่านั้นพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้. ธรรมทั้งหลายมีกามาวจรเป็นต้นไม่พึงรู้ได้ด้วยโลกุตรธรรมทั้งหลาย ก็โลกุตรธรรมทั้งหลายอันมโนวิญญาณบางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ เพราะความที่โลกุตรธรรมเหล่านั้นอันพระนิพพานไม่พึงรู้ และโลกุตรธรรมเหล่านั้น พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวงไม่พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวง เพราะความที่มรรคและผลทั้งหลาย อันพระนิพพานไม่พึงรู้ ดังนี้.

อาสวโคจฉกะ

    [๗๐๘] ธรรมเป็นอาสวะ เป็นไฉน?

    อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

    [๗๐๙] บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน?

    ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามาสวะ.

    [๗๑๐] ภวาสวะ เป็นไฉน?

    ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 410

    [๗๑๑] ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์เป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ. มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมด จัดเป็นทิฏฐาสวะ.

    [๗๑๒] อวิชชาสวะ เป็นไฉน?

    ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปุริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 411

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะ.

    [๗๑๓] ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?

    เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ ที่เหลือ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมไม่เป็นอาสวะ.

    [๗๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจรอรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

    [๗๑๕] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ.

    ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 412

    [๗๑๖] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

    อาสวะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

    [๗๑๗] ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน?

    กามาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยกามาสวะ

    ภวาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยภวาสวะ

    ทิฏฐาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยทิฏฐาสวะ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ.

    ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 413

    [๗๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

    ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

    อาสวโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสอาสวทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาสวทุกะ ต่อไป

    ราคะประกอบด้วยเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามาสวะ ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ชอบใจอันเป็นไปในฌาน ราคะสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งภพ ชื่อว่า ภวาสวะ ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ ความไม่รู้ในฐานะ ๘ ชื่อว่า อวิชชาสวะ.

    ก็เพื่อมิให้หลงใหลในอาสวะทั้งหลายที่ตรัสไว้ในที่นั้นๆ พึงทราบความต่างกันแห่งอาสวะมีอาสวะหมวดหนึ่งเป็นต้น เพราะเมื่อว่าโดยอรรถ อาสวะเหล่านี้มีอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้คือ ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เป็นของหมักดอง แต่ในพระวินัยตรัสอาสวะ ๒ อย่าง คือ เพื่อปิดกั้นอาสวะอันเป็นไปในปัจจุบัน เพื่อป้องกันอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายิกภพ ดังนี้. ในพระสูตร ในสฬายตนะ มีอาสวะ ๓ อย่างว่า ดูก่อนอาวุโส อาสวะ ๓ เหล่านี้คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ดังนี้. ในนิพเพธิกปริยายสูตรมีอาสวะ ๕ อย่าง ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่เป็นเหตุให้ตกนรกก็มี อาสวะเป็นเหตุให้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็มี อาสวะที่ให้ไปสู่ปิตติวิสัยก็มี

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 414

อาสวะที่ให้ไปสู่มนุษยโลกก็มี อาสวะที่ให้ไปสู่เทวโลกก็มี. ในฉักกนิบาตอาหุเนยยสูตร ตรัสอาสวะ ๖ อย่างว่า อาสวะที่พึงละด้วยสังวรก็มี อาสวะที่พึงละด้วยการเสพก็มี อาสวะที่พึงละด้วยการอดกลั้นก็มี อาสวะที่พึงละด้วยหลีกออกก็มี อาสวะที่พึงละด้วยการบรรเทาก็มี อาสวะที่พึงละด้วยภาวนาก็มี. ในสัพพาสวปริยายสูตรตรัสอาสวะ ๗ อย่าง กับทัสสนปหาตัพพธรรม.

    แต่ในที่นี้ อาสวะเหล่านั้นตรัสไว้ ๔ อย่าง โดยประเภทแห่งกามาสวะเป็นต้น ในอาสวะ ๔ เหล่านั้นมีวจนัตถะ ดังต่อไปนี้

    อาสวะในกามกล่าวคือเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามาสวะ อาสวะในภพแม้ทั้ง ๒ คือ กัมมภพและอุปปัตติภพ ได้แก่ รูปภพและอรูปภพ ชื่อว่าภวาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ อาสวะคืออวิชชา ชื่อว่า อวิชชาสวะ.

    บทว่า กาเมสุ (ในกามทั้งหลาย) ได้แก่ กามคุณ ๕. บทว่า กามฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจคือความใคร่ มิใช่ความพอใจของบุคคลผู้ใคร่จะทำ และมิใช่ธรรมฉันทะ ความกำหนัดคือความใคร่ด้วยอำนาจแห่งความพอใจและด้วยอำนาจแห่งความกำหนัด ชื่อว่า กามราคะ.

    กามาสวะที่ชื่อว่า กามนนฺที (ความเพลิดเพลินคือความใคร่) เพราะอรรถว่า ความเพลิดเพลินคือกามด้วยอำนาจแห่งความใคร่และความเพลิดเพลิน. บัณฑิตทราบอรรถแห่งกามะในบททั้งปวงอย่างนี้ พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า กามตัณหา (ตัณหาคือความใคร่) โดยความหมายของตัณหา ที่ชื่อว่า กามสิเนโห (สิเนหาคือความใคร่) โดยความหมายของความรัก ที่ชื่อว่า กามปริฬาโห (ความเร่าร้อนคือความใคร่) โดยความหมายแห่งการแผดเผา ที่ชื่อว่ากามมุจฺฉา (ความสยบคือความใคร่) โดยความหมายของการซบเซา พึง

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 415

ทราบว่า กามชฺโฌสานํ (ความหมกมุ่นคือความใคร่) โดยความหมายของการกลืนหมดสิ้น.

    บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า อาสวะที่จำแนกด้วยบททั้ง ๘ นี้ ตรัสเรียกชื่อว่า กามาสวะ.

    บทว่า ภเวสุ ภวฉนฺโท (ความพอใจในภพ ในภพทั้งหลาย) ความว่า ความพอใจอันเป็นไปด้วยอำนาจการปรารถนาภพ ในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า ภวฉันทะ (ความพอใจในภพ). พึงทราบแม้บทที่เหลือโดยนัยนี้แล.

    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประเภทแห่งทิฏฐิด้วยอาการ ๑๐ อย่างมีอาทิว่า สสฺสโต โลโก (ความเห็นว่าโลกเที่ยง) บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น คำว่า สสฺสโต โลโก (โลกเที่ยง) มีอธิบายว่า ทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการแห่งการยึดถือว่า เที่ยง ของบุคคลผู้ยึดเบญจขันธ์ว่า เป็นโลก แล้วถือว่า โลกนี้เที่ยง ยั่งยืน มีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์.

    บทว่า อสสฺสโต (โลกไม่เที่ยง) อธิบายว่า ทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการที่ยึดถือการขาดสูญ ของบุคคลผู้ยึดถือโลกนั้นนั่นแหละว่า ย่อมขาดสูญย่อมพินาศ.

    บทว่า อนฺตวา (โลกมีที่สุด) ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการแห่งการยึดถือว่า โลกมีที่สุด ของบุคคลผู้ได้ฌานมีกสิณเล็กน้อยเป็นอารมณ์หรือผู้เข้าสมาบัติในกสิณมีประมาณเท่ากระด้งหรือขันน้ำ ผู้ยึดถือในรูปและอรูปธรรมอันเป็นไปภายในสมาบัติว่าเป็นโลก และว่ามีที่สุด ด้วยการกำหนดกสิณ. ทิฏฐินั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) บ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) บ้าง. แต่บุคคลผู้ได้กสิณไพบูลย์เข้าสมาบัติกสิณนั้น

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 416

ยึดถือรูปธรรมอรูปธรรมที่เป็นไปภายในสมาบัติว่าเป็นโลก และเห็นว่าไม่มีที่สุด ด้วยการกำหนดกสิณ มีความเห็นเป็นไปด้วยอาการแห่งการยึดถือว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ (ความเห็น) นั้นเป็นสัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิบ้าง.

    บทว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ (ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น) ความว่า ทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการถือการขาดสูญว่า เมื่อสรีระขาดสูญ แม้ชีพก็ขาดสูญ เพราะถือว่า ชีพของสรีระนั่นแหละมีความแตกดับเป็นธรรมดา.

    แม้ในบทที่ ๒ ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการที่ยึดถือความเที่ยงว่า เมื่อสรีระแม้ขาดสูญอยู่ แต่ชีพจักไม่ขาดสูญ เพราะการยึดถือชีพเป็นอย่างอื่นจากสรีระ.

    พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า โหติ ตถาคโต ปรํมรณา (สัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ) ดังนี้ สัตว์ชื่อว่า ตถาคต เมื่อยึดถือว่า สัตว์นั้นยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะดังนี้ เป็นสัสสตทิฏฐิข้อที่ ๑, เมื่อถือว่าไม่เป็นอยู่ก็เป็นอุจเฉททิฏฐิข้อที่ ๒, เมื่อถือว่า เป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี ก็เป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิ (บางอย่างเที่ยง) ข้อที่ ๓, เมื่อถือว่าเป็นอยู่ก็มิใช่ ไม่เป็นอยู่ก็มิใช่ ก็เป็นอมราวิกเขปทิฏฐิ (สัดส่าย ไม่ตายตัว) ข้อที่ ๔.

    บทว่า อิเม ธมฺมา อาสวา (สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะ) ความว่า สภาวธรรมเหล่านี้รวมกามาสวะและภวาสวะเป็นอันเดียวกันด้วยอำนาจแห่งราคะ โดยย่อเป็นธรรม ๓ โดยพิสดารเป็น ๔ ชื่อว่าสภาวธรรมเป็นอาสวะ.

    ถามว่า ก็ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ที่เกิดขึ้นในวิมาน ต้นกัลปพฤกษ์และอาภรณ์ของพรหม เป็นกามาสวะหรือไม่? ตอบว่า ไม่เป็น เพราะเหตุไร? เพราะความที่ราคะอันเป็นเบญจกามคุณท่านละได้แล้วในโลกนี้แหละ.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 417

    ก็เพ่งถึงเหตุโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็นเหตุ. เพ่งถึงคัณฐโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าอภิชฌากายคัณฐะ เพ่งถึงกิเลสโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็นกิเลส.

    ถามว่า ก็ราคะเกิดพร้อมกับทิฏฐิ เป็นกามาสวะหรือไม่? ตอบว่าไม่เป็น ธรรมนี้ชื่อว่า ทิฏฐิราคะ ข้อนี้สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทานที่บุคคลให้ในบุรุษบุคคลผู้ยังยินดีด้วยทิฏฐิราคะ ย่อมไม่มีผลมากไม่มีอานิสงส์มาก ดังนี้.

    ก็อาสวะเหล่านี้ ควรนำมาตามลำดับกิเลสบ้าง ตามลำดับแห่งมรรคบ้าง ว่าโดยลำดับแห่งกิเลส อนาคามิมรรคย่อมละกามาสวะ อรหัตตมรรคย่อมละภวาสวะ โสดาปัตติมรรคย่อมละทิฏฐาสวะ อรหัตตมรรคย่อมละอวิชชาสวะ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคละทิฏฐาสวะ อนาคามิมรรคละกามาสวะ อรหัตตมรรคละภวาสวะและอวิชชาสวะ ดังนี้.

สัญโญชนโคจฉกะ

    [๗๑๙] ธรรมเป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์.

    [๗๒๐] บรรดาสัญโญชน์ ๑๐ นั้น กามราคสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ความพอใจต่อความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือ

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 418

ความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกหมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลายอันใด นี้เรียกว่า กามราคสัญโญชน์.

    [๗๒๑] ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักชอบพอของเรา. อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือ อาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันมิใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาคิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ปฏิฆสัญโญชน์.

    [๗๒๒] มานสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    การถือตัว ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเสมอกับเขา ว่าเราเลวกว่าเขา การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานสัญโญชน์.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 419

    [๗๒๓] ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่าโลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัญโญชน์

    ความเห็นผิดแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตาปรามาสสัญโญชน์เสียจัดเป็นทิฏฐิสัญโญชน์.

    [๗๒๔] วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขาในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลงกิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไปความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉาสัญโญชน์.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 420

    [๗๒๕] สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิดทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์.

    [๗๒๖] ภวราคสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวราคสัญโญชน์.

    [๗๒๗] อิสสาสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    การริษยา กิริยาที่ริษยา ความริษยา การเกลียดกัน กิริยาที่เกียดกัน ความเกียดกันในลาภสักการ การทำความเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชาของคนอื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสาสัญโญชน์.

    [๗๒๘] มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ความตระหนี่ ๕ คือ ตระหนี่อาวาส ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม, การตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความตระหนี่ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่ แห่งจิตมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า มัจฉริยสัญโญชน์.

    [๗๒๙] อวิชชาสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 421

อนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์แจ้ง ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสัญโญชน์.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์.

    [๗๓๐] ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    เว้นสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์.

    [๗๓๑] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 422

    [๗๓๒] ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

    ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์.

    [๗๓๓] ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์เป็นไฉน?

    สัญโญชนธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์โดยสัญโญชนธรรมเหล่านั้น เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

    [๗๓๔] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    กามราคสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยกามราคสัญโญชน์

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 423

    ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยปฏิฆสัญโญชน์

    มานสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยมานสัญโญชน์

    ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยทิฏฐิสัญโญชน์

    วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยวิจิกิจฉาสัญโญชน์

    สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยสีลัพพตปรามาสสัญโญชน์

    ภวราคสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ แสะสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยภวราคสัญโญชน์

    อิสสาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอิสสาสัญโญชน์

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 424

    มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยมัจฉริยสัญโญชน์

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

    ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้นเว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาพธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

    [๗๓๕] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชนธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชนะ.

    ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

    สัญโญชนโคจฉกะ จบ

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 425

อธิบายสัญโญชนโคจฉกะ

ว่าด้วยมานนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยมานนิทเทสในสัญโญชนโคจฉกะ ต่อไป

บทว่า เสยฺโย หมสฺมีติ มาโน (๑) (การถือตัวว่าเราดีกว่าเขา) ได้แก่มานะอันเกิดขึ้นอย่างนั้นว่า เราดีกว่าเขา โดยความหมายว่าสูงสุด. บทว่า สทิโส หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเสมอกับเขา) ได้แก่ มานะอันเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราเสมอกับเขา โดยความหมายว่า เสมอๆ กัน. บทว่าหีโน หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเลวกว่าเขา) ได้แก่ มานะอันเกิดอย่างนี้ว่า เราเลวกว่าเขา โดยความหมายว่า ลามกกว่า. มานะทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ มานะว่าดีกว่าเขา มานะว่าเสมอเขา มานะว่าเลวกว่าเขา ย่อมเกิดแก่ชน ๓ จำพวก ด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่ มานะ ๓ คือ มีความสำคัญตนว่า เราดีกว่าเขา เสมอเขา เลวกว่าเขา ย่อมเกิดแก่คนที่ดีกว่าเขาบ้าง แก่คนที่เสมอเขาบ้าง แก่คนที่เลวกว่าเขาบ้าง.

บรรดามานะ ๓ อย่างนั้น แม้มานะว่าเราดีกว่าเขาของบุคคลผู้ดีกว่าเขา เป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ ๒ นอกนี้มิใช่มานะตามความเป็นจริง. มานะว่าเราเสมอเขาของบุคคลผู้เสมอเขา ฯลฯ มานะว่าเราเลวกว่าเขาของบุคคลผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ ๒ นอกนี้มิใช่มานะตามความเป็นจริง.

ด้วยคำที่กล่าวมานี้ ตรัสไว้อย่างไร?

ตรัสไว้ว่า มานะ ๓ ย่อมเกิดแก่บุคคลคนเดียวได้.


(๑) อภิ. วิ. เล่ม ๓๕. ๘๘๓/๔๗๖

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 426

    แต่ในนิทเทสมานะข้อที่หนึ่งในขุททกวัตถุวิภังค์ ตรัสว่า มานะหนึ่งย่อมเกิดแก่ชนทั้ง ๓. ที่ชื่อว่า มานะ (ความถือตัว) ด้วยอำนาจการทำความถือตัว.

    บทว่า มญฺนา มญฺิตตฺตํ (กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว) นี้เป็นการชี้แจงถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า อุณฺณติ การยกตน) โดยความหมายว่าเทิดทูน. ที่ชื่อว่า อุณฺณาโม (การเชิดชูตน) เพราะอรรถว่า มานะย่อมยังบุคคลผู้เกิดมานะให้พอง คือยกให้ตั้งขึ้น ที่ชื่อว่า ธโช (ดุจธง) โดยความหมายว่าเชิดชูขึ้นแล้ว. ที่ชื่อว่า สมฺปคฺคาโห (การยกจิตขึ้น) เพราะอรรถว่าย่อมประคับประคองจิตโดยความหมายว่า การยกขึ้น. บรรดาธงทั้งหลายมากธงที่ยกขึ้นสูง ตรัสเรียกว่า เกตุ (ธง) เพราะว่ามานะเมื่อเกิดบ่อยๆ เพราะอาศัยมานะต่อๆ มาก็เป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้นไว้สูง เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เหมือนธง. จิตใดย่อมต้องการมานะเหมือนธง เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงชื่อว่า เกตุกมฺยํ (ปรารถนาดุจธง) ภาวะแห่งเกตุกัมยะนั้น ชื่อว่า เกตุกมฺยตา (ความที่จิตต้องการดุจธง) ก็ความที่จิตต้องการดุจธงนั้นเป็นของจิต มิใช่เป็นของอัตตา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เกตุกมฺยตา จิตฺตสฺส (ความที่จิตต้องการดุจธง) อธิบายว่า จิตสัมปยุตด้วยมานะย่อมปรารถนาดุจธงและภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่า เกตุกมฺยตา คือ มานะที่นับว่าเป็นดุจธง.

ว่าด้วยอิสสานิทเทส

    พึงทราบวินิจฉัยในอิสสานิทเทส ต่อไป

    คำว่า ยา ปรลาภสกฺการครุการมานนวนฺทนปูชนาทีสุ อิสฺสา (การริษยาในลาภสักการะ ในการทำความเคารพ ในการนับถือ ในการไหว้

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 427

และบูชาของบุคคลอื่นเป็นต้น อันใด) ความว่า การริษยาใดที่มีลักษณะขึงเคียดในสมบัติของผู้อื่น ในสิ่งทั้งหลายมีลาภเป็นต้นของชนเหล่าอื่นนั่นว่า ลาภเป็นต้นเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร ด้วยบุคคลนี้.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้เฉพาะปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จริงอยู่ บุคคลผู้ริษยา ย่อมขึงเคียดลาภนั้น ของบุคคลอื่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ประโยชน์อะไร ด้วยลาภนี้แก่บุคคลนี้ ดังนี้.

    บทว่า สกฺกาโร (สักการะ) ได้แก่ การได้ปัจจัยเหล่านั้นนั่นแหละที่ดีอันบุคคลทำดีแล้ว. บทว่า ครุกาโร (การทำความเคารพ) ได้แก่ กิริยาที่ยกย่องคือ การกระทำให้เป็นภาระ. บทว่า มานนํ (การนับถือ) ได้แก่การกระทำให้เป็นที่รักด้วยใจ. บทว่า วนฺทนํ (การไหว้) ได้แก่ การไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์. บทว่า ปูชนา (การบูชา) ได้แก่ การบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น. ที่ชื่อว่า อิสฺสา (การริษยา) ด้วยอำนาจกิริยาที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายนา (กิริยาที่ริษยา) ภาวะที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายิตตฺตํ (ความริษยา). การกีดกันเป็นต้นเป็นคำไวพจน์ของการริษยา. บัณฑิตพึงทราบลักษณะแห่งความขึ้งเคียดของการริษยานี้โดยบุคคลผู้ครองเรือนบ้าง ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง.

ว่าด้วยลักษณะการริษยา ๒ อย่าง

    จริงอยู่ ฆราวาสบางคนอาศัยความเพียรกระทำอย่างบุรุษของตนด้วยอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งในการงานทั้งหลายมีการทำนาและค้าขายเป็นต้น ย่อมได้ยานพาหนะหรือรัตนะที่ดี อีกคนหนึ่ง มีความปรารถนาให้บุคคลนั้นเลื่อมลาภ ไม่ยินดีด้วยการได้ลาภของบุคคลนั้น คิดแต่ว่า เมื่อไรหนอ เจ้าคนนี้

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 428

จักเสื่อมจากสมบัตินี้เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป เมื่อบุคคลคนนั้นเสื่อมจากสมบัตินั้นด้วยเหตุอย่างหนึ่ง ก็ชอบใจ.

    แม้บรรพชิตรูปหนึ่งผู้มีใจริษยา เห็นบรรพชิตรูปอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยการได้ปัจจัยเป็นต้นอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยสุตตปริยัติเป็นต้นของตนก็คิดแต่ว่า เมื่อไรหนอ ท่านรูปนี้จักเสื่อมจากลาภเหล่านี้เป็นต้น เมื่อใดเห็นภิกษุรูปนั้นเสื่อมด้วยเหตุอย่างหนึ่ง เมื่อนั้นก็มีจิตเบิกบาน บัณฑิตพึงทราบว่า การริษยามีการขึงเคียดสมบัติของบุคคลอื่นเป็นลักษณะ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยมัจฉริยนิทเทส

    พึงทราบวินิจฉัยมัจฉริยนิทเทส ต่อไป

    เพื่อทรงแสดงมัจฉริยะ (ความตระหนี่) โดยวัตถุ จึงตรัสคำมี อาทิว่า ปญฺจ มจฺฉริยานิ อาวาสมจฺฉริยํ (ความตระหนี่ ๕ คือตระหนี่อาวาส) ดังนี้. ในมัจฉริยะเหล่านั้น ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมจฺฉริยํ. แม้บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อารามทั้งสิ้นก็ดี บริเวณอารามก็ดี ห้องน้อยก็ดี ที่พักในเวลาราตรีเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า อาวาส. พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสนั้นย่อมอยู่สบาย ย่อมได้ปัจจัยทั้งหลาย ภิกษุรูปหนึ่งผู้ตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนาให้ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีศีลเป็นที่รักมาในที่อยู่นั้น แม้มาแล้วก็คิดว่าภิกษุนี้จงไปโดยเร็วเถิด นี้เชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่อาวาส) แต่ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาการอยู่ในที่นั้นของพวกผู้ก่อการทะเลาะเป็นต้น ไม่ชื่อว่าอาวาสมัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๑).

    บทว่า กุลํ (ตระกูล) ได้แก่ ตระกูลอุปัฏฐากบ้าง ตระกูลญาติบ้าง เมื่อภิกษุไม่ปรารถนาให้ภิกษุอื่นเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ย่อมเป็น กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) แต่ภิกษุไม่ปรารถนาให้บุคคลลามกเข้าไปในตระกูลนั้น ไม่

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 429

ชื่อว่ามัจฉริยะ เพราะคนผู้ลามกนั้นย่อมปฏิบัติ เพื่อทำลายความเลื่อมใสของตระกูลเหล่านั้น แต่ภิกษุผู้สามารถรักษาความเลื่อมใสไว้ได้ ไม่ปรารถนาให้ภิกษุนั้นเข้าไปในตระกูลนั้น จึงชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๒).

บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้ปัจจัย ๔ เมื่อภิกษุผู้มีศีลรูปอื่นได้อยู่ซึ่งปัจจัย ๔ นั้นนั่นแหละ ภิกษุผู้ตระหนี่คิดอยู่ว่า ขอจงอย่าได้ ดังนี้ ย่อมเป็น ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) แต่ภิกษุใดยังศรัทธาไทย (ของที่ถวายด้วยศรัทธา) ให้ตกไปก็ดี ย่อมทำปัจจัยที่ได้มาให้เสียหายด้วยสามารถแห่งการไม่บริโภคหรือบริโภคไม่ดีเป็นต้นก็ดี ไม่ให้วัตถุแม้จะถึงความบูดเน่าแก่ภิกษุอื่นก็ดี ภิกษุผู้ตระหนี่เห็นภิกษุนั้นแล้ว คิดอยู่ว่า ถ้าภิกษุรูปนี้ไม่ได้ปัจจัยนี้ ภิกษุอื่นผู้มีศีลพึงได้ พึงบริโภค ดังนี้ ไม่ชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๓).

สรีรวรรณะ (ผิวพรรณแห่งสรีระ) ก็ดี คุณวรรณะ (การสรรเสริญคุณความดี) ก็ดี ชื่อว่า วรรณะ ในวรรณะทั้ง ๒ นั้น บุคคลผู้ตระหนี่สรีรวรรณะ เมื่อมีคนพูดว่า บุคคลอื่นน่าเลื่อมใส มีรูปงาม ดังนี้ ไม่ปรารถนาจะกล่าวถึงบุคคลนั้น. บุคคลผู้ตระหนี่คุณวรรณะ (คือการสรรเสริญคุณความดี) ย่อมไม่ปรารถนาจะกล่าวชมคุณความดีของผู้อื่นด้วยศีล ด้วยธุดงค์ ด้วยปฏิปทา ด้วยอาจาระ (นี้เป็นวรรณมัจฉริยะข้อที่ ๔).

บทว่า ธมฺโม (ธรรม) ได้แก่ ปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม. ในธรรมทั้ง ๒ นั้น พระอริยสาวกทั้งหลายย่อมไม่ตระหนี่ปฏิเวธธรรม ย่อมปรารถนาการแทงตลอดแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกในธรรมอันตนแทงตลอดแล้วคือย่อมปรารถนาว่า ขอสัตว์เหล่าอื่นจงรู้การแทงตลอดธรรมนั้น ก็ขึ้นชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม) ย่อมมีในตันติธรรม (๑) (ธรรมที่เป็น


(๑) ตันติธรรม คือ ธรรมและวินัย

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 430

คัมภีร์) เท่านั้น บุคคลผู้ประกอบตันติธรรมนั้น ย่อมรู้คัมภีร์อันลี้ลับ หรือกถามรรคอันใด ไม่ประสงค์จะให้คนอื่นรู้คัมภีร์ หรือกถามรรคนั้น แต่ว่าบุคคลใดใคร่ครวญถึงบุคคล หรือใคร่ครวญธรรมด้วยการประคองธรรม ไม่ให้ด้วยการประคองบุคคล ภิกษุนี้ไม่ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ.

    ในข้อนี้ บุคคลบางคนเป็นคนเหลาะแหละ (โลโล) บางคราวเป็นสมณะ บางคราวเป็นพราหมณ์ บางคราวเป็นคฤหัสถ์ ก็ภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่า บุคคลนี้จักทำลายตันติธรรมอันละเอียดสุขเป็นธรรมอันยิ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมาให้สับสน ภิกษุนี้ใคร่ครวญถึงบุคคลแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้เพราะประคองธรรมไว้ ส่วนภิกษุใด ย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ธรรมนี้ละเอียดสุขุม ถ้าบุคคลนี้จักเรียนเอา จักพยากรณ์อรหัตตผล จักแสดงตนให้ถึงความพินาศ ภิกษุนี้ใคร่ครวญธรรมแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้ด้วยการประคองบุคคล แต่บุคคลใดย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ถ้าบุคคลนี้ เรียนธรรมนี้ จักสามารถทำลายลัทธิ (สมยํ) ของพวกเรา ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตระหนี่ธรรม (นี้เป็นธรรมมัจฉริยข้อที่ ๕).

    บรรดามัจฉริยะ ๕ เหล่านี้ ว่าด้วยอาวาสมัจฉริยะก่อน บุคคลเกิดเป็นยักษ์ หรือเป็นเปรต แล้วจะเอาศีรษะเทินหยากเยื่อของที่อยู่นั้นแลเที่ยวไป. ว่าด้วยกุลมัจฉริยะ เมื่อตระกูลนั้นทำทาน และนับถือบุคคลเหล่าอื่น เมื่อเขาเห็นก็คิดอยู่ว่า ตระกูลนี้ของเราแตกแล้วหนอ โลหิตจะพุ่งออกจากปากมีการถ่ายท้องบ้าง ไส้ใหญ่ทั้งหลายก็จะเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยออกมาบ้าง. ว่าด้วยลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ในลาภอันเป็นของสงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคลบริโภค เป็นดุจเครื่องใช้ของบุคคล ย่อมเกิดเป็นยักษ์ หรือเปรต หรืองูเหลือมใหญ่. ว่าด้วยสรีรวรรณคุณมัจฉริยะ และปริยัติธรรมมัจฉริยะ บุคคล

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 431

ย่อมสรรเสริญวรรณะของตน ไม่สรรเสริญวรรณะของผู้อื่น เมื่อจะกล่าวโทษด้วยคำว่า นี้วรรณะอะไร? ดังนี้ เมื่อไม่ให้ปริยัติธรรมอะไรๆ แก่ใครๆ ย่อมเป็นผู้มีพรรณทราม และจะเป็นบ้าน้ำลาย.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมถูกไฟไหม้ ในเรือนโลหะด้วยความตระหนี่อาวาส ย่อมเป็นผู้มีลาภน้อยด้วยความตระหนี่ตระกูล ย่อมเกิดในคูถนรกด้วยความตระหนี่ลาภ บุคคลเมื่อเกิดทุกๆ ภพย่อมไม่มีผิวพรรณดี ด้วยการตระหนี่วรรณะ ย่อมเกิดในกุกกุลนรก ด้วยการตระหนี่ธรรม.

ที่ชื่อว่า มจฺเฉรํ (ความตระหนี่) ด้วยสามารถการเห็นแก่ตัว อาการแห่งความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายนา (กิริยาที่ตระหนี่) ภาวะแห่งจิตที่ถูกความตระหนี่ให้เป็นไปแล้ว พรั่งพร้อมด้วยความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายิตตฺตํ (ความตระหนี่). บุคคลที่ชื่อว่า วิวิจฺโฉ (ผู้หวงแหน) เพราะอรรถว่าปรารภนาสมบัติทั้งหมดของตนไม่ให้เสื่อมสูญไป ด้วยคิดว่า ขอสมบัติทั้งปวงจงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้. ภาวะแห่งบุคคลผู้หวงแหน ชื่อว่า เววิจฺฉํ (ความหวงแหน) คำว่า ความหวงแหน นี้ เป็นชื่อของความตระหนี่อย่างอ่อน.

บุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ตรัสว่า กทริโย (ผู้เห็นแก่ตัว) ภาวะแห่งบุคคลผู้เห็นแก่ตัวนั้น เรียกว่า กทริยํ (ความเหนียวแน่น) คำว่า ความเหนียวแน่นนี้เป็นชื่อของความตระหนี่กล้าแข็ง เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความตระหนี่นั้นย่อมห้ามแม้บุคคลอื่นผู้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้ในสังยุตตนิกายสคาถวรรคว่า (๑)

กทริโย ปาปสํกปฺโป มิจฺฉาทิฏฐิ อนาทโร

ททมานํ นิวาเรติ ยาจมานาน โภชนํ


(๑) สํ. สคาถวคฺค. เล่ม ๑๕ ๓๙๘/๑๓๙

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 432

บุคคลผู้เหนี่ยวแน่น มีความดำริชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนทั้งหลายที่ขออยู่ ดังนี้.

บุคคลใดเห็นยาจกทั้งหลายแล้วให้จิตยับยั้งอยู่ คือให้ทนหดหู่อยู่ด้วยความขี้เหนียว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า กฏุกจฺฉโก (ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ). ภาวะแห่งความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั้น ชื่อว่า กฏุกจฺฉกตา (ความไม่เอื้อเฟื้อ).

อีกนัยหนึ่ง บุคคลผู้มีช้อนในมือ ตรัสเรียกว่า กฏจฺฉุกตา ก็บุคคลเมื่อจะถือเอาข้าวจากหม้อซึ่งเต็มเสมอปากหม้อ ย่อมถือเอาด้วยปลายช้อนอันแคบทุกส่วน ก็ไม่อาจเพื่อถือเอาให้เต็ม ฉันใด จิตของบุคคลผู้ตระหนี่ก็ฉันนั้นย่อมคับแคบ เมื่อจิตคับแคบ แม้กายก็คับแคบถอยกลับ ย่อมไม่ยื่นให้เพื่อชนเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น ความตระหนี่จึงตรัสเรียกว่า กตกญฺจุกตา (๑) (ความเป็นคนมีใจแคบเหมือนช้อนเครื่องคดข้าว).

บทว่า อคฺคหิตตฺตํ จิตฺตสฺส (ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิต) ได้แก่การที่จิตกันเอาไว้ โดยประการที่ไม่เหยียดไปโดยอาการมีการให้ทานเป็นต้นในการทำอุปการะแก่ชนเหล่าอื่น. ก็เพราะคนตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนาจะให้สิ่งอันมีอยู่ของตนแก่ชนเหล่าอื่น อยากจะรับแต่ของคนอื่น ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความตระหนี่นั้นมีการซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะ หรือความตระหนี่นั้นมีการถือเอาสมบัติของคนอื่นเป็นลักษณะ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปว่า ความอัศจรรย์นี้ จงมีแก่เราคนเดียว อย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้. คำที่เหลือในโคจฉกะนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.


(๑) บางแห่งเป็น กฏุกญฺจุกตา

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 433

    ก็สังโยชน์เหล่านี้ ควรนำมาแสดง โดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับมรรคบ้าง ว่าโดยลำดับกิเลส กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์อันอนาคามิมรรคย่อมละ มานสังโยชน์อันอรหัตตมรรคย่อมละ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสอันโสดาปัตติมรรคย่อมละ ภวราคสังโยชน์อันอรหัตตมรรคย่อมละ อิสสา มัจฉริยะอันโสดาปัตติมรรคย่อมละ อวิชชาอันอรหัตตมรรคย่อมละ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคย่อมละทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ อนาคามรรคย่อมละกามราคะและปฏิฆะ อรหัตตมรรคย่อมละมานะ ภวราคะ และอวิชชา ดังนี้แล.

คันถโคจฉกะ

    [๗๓๖] ธรรมเป็นคันถะ เป็นไฉน?

    คันถะ ๔ คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีสัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.

    [๗๓๗] บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน?

    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 434

เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวังภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความที่กระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่อารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ.

    [๗๓๘] พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน?

    อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วย

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 435

คิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิตธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า พยาปาทกายคันถะ.

    [๗๓๙] สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ.

    [๗๔๐] อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้แหละจริงอย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกมีที่สุด นี้แหละจริงอย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุด นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 436

ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะนี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่าดังนี้ก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะ จัดเป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ.

    [๗๔๑] ธรรมไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน?

    เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นคันถะ.

    [๗๔๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 437

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

    [๗๔๓] ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านี้ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ.

    ธรรมวิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมวิปปยุตจากคันถะ.

    [๗๔๔] ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    คันถธรรมเหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของคันถะโดยคันถธรรมเหล่านั้น เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.

    [๗๔๕] ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน

    สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะโดยอภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะเป็นคันถะ และสัมประยุตด้วยคันถะโดยสีลัพพตปรามาสกายคันถะ

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 438

    อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะโดยอภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะเป็นคันถะ และสัมประยุตด้วยคันถะโดยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ.

    ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านั้น เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.

    [๗๔๖] ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะเป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

    ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

    คันถโคจฉกะ จบ

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 439

โอฆ-โยคโคจฉกะ

    [๗๔๗] ธรรมเป็นโอฆะ เป็นไฉน? ฯลฯ

    ธรรมเป็นโยคะ เป็นไฉน? ฯลฯ โอฆ-โยคโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสคัณฐโคจฉกะ

    พึงทราบวินิจฉัยคัณฐโคจฉกะ ต่อไป.

    สภาวธรรมที่ชื่อว่า กายคัณฐะ เพราะอรรถว่า ย่อมผูกนามกายคือย่อมยังนามกายให้สืบต่อในวัฏฏะด้วยอำนาจแห่งจุติและปฏิสนธิ. กายคัณฐะใดที่ปฏิเสธแม้คำภาษิตของพระสัพพัญญู ย่อมยึดมั่นโดยอาการนี้ว่า โลกเที่ยงนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไร้ประโยชน์ (เป็นโมฆะ) เพราะฉะนั้น กายคัณฐะนั้นจึงชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ ก็เพราะความแตกต่างกันแห่งอภิชฌาและกามราคะมีอยู่ ฉะนั้น ในการจำแนกบทอภิชฌากายคัณฐะ จึงไม่ตรัสว่า กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ในกามทั้งหลายอันใด ดังนี้ ตรัสว่า ราคะ (ความกำหนัด) สาราคะ (ความกำหนัดนัก) เป็นต้น ด้วยพุทธพจน์นี้ คำใดที่กล่าวไว้ในภายหลังว่า ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในวิมานเป็นต้นของพวกพรหม ไม่เป็นกามาสวะเพ่งถึงคัณฐะแล้วอภิชฌาก็ชื่อว่า กายคัณฐะ (อภิชฌากายคัณฐะ) ดังนี้ คำนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ข้าพเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว. แม้ในกิเลสโคจฉกะข้างหน้าก็นัยนี้แหละ.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 440

    คำว่า เปตฺวา สีลพฺพตปรามาสํ (เว้นสีลัพพตปรามาส) นี้ความว่า เพราะสีลัพพตปรามาสไม่ยึดถือโดยอาการมีอาทิว่า นี้เท่านั้นจริง ดังนี้ แต่ย่อมยึดถืออย่างนี้ว่า มีความบริสุทธิ์ได้ด้วยศีล ดังนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงคัดค้านสีลัพพตปรามาสอันเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นจึงตรัสว่า เว้น.

นีวรณโคจฉกะ

    [๗๔๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.

    [๗๔๙] บรรดานิวรณ์ ๖ นั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน?

    ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลายอันใด นี้เรียกว่า กามฉันทนิวรณ์.

    [๗๕๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน?

    อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่าผู้นี้ไค้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 441

ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้ายความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด (และ) การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้ายความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตนี้เรียกว่า พยาปาทนิวรณ์.

    [๗๕๑] ถีนมิทธนีวรณ์ เป็นไฉน?

    ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง. ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน?

    ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซาอาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.

มิทธะ เป็นไฉน?

    ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย ความปกคลุม ความหุ้มห้อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง ความหาวนอน อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใดนี้เรียกว่า มิทธะ.

    ถีนะและมิทธะดังว่านี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์.

    [๗๕๒] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน?

    อุทธัจจกุกกุจจะนั้น แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 442

    ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.

    กุกกุจจะ เป็นไฉน?

    ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ การรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความรำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ. อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ รวมเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์.

    [๗๕๓] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน?

    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์.

    [๗๕๔] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน?

    ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 443

ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความมีปัญญาทราม ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชานิวรณ์.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์.

    [๗๕๕] ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมไม่เป็นนิวรณ์.

    [๗๕๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม กุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    [๗๕๗] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 444

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณ์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

    ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณ์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์.

    [๗๕๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    นิวรณ์เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิวรณ์โดยนิวรณ์ธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

    [๗๕๙] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกามฉันทนิวรณ์

    พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยพยาปาทนิวรณ์

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 445

    ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยถีนมิทธนิวรณ์

    อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์

    กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกุกกุจจนิวรณ์

    วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยวิจิกิจฉานิวรณ์

    กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกามฉันทนิวรณ์

    พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยพยาปาทนิวรณ์

    ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยถีนมิทธนิวรณ์

    กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกุกกุจจนิวรณ์

    วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยวิจิกิจฉานิวรณ์

    อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 446

    ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมสัมปยุต ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

    [๗๖๐] ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจรได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    นีวรณโคจฉกะ จบ

ปรามาสโคจฉกะ

    [๗๖๑] ธรรมเป็นปรามาสะ เป็นไฉน?

    ทิฏฐิปรามาสะ.

    ทิฏฐิปรามาสะ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 447

ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิปรามาสะ.

    มิจฉาทิฏฐิ แม้ทุกอย่าง จัดเป็นทิฏฐิปรามาสะ.

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปรามาสะ.

    ธรรมไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน?

    เว้นปรามาสธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นปรามาสะ.

    [๗๖๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    [๗๖๓] ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ.

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 448

    ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ.

    [๗๖๔] ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

    ปรามาสะนั้นนั่นแล ชื่อว่าธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของปรามาสะโดยปรามาสธรรมเหล่านั้นเว้นปรามาสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะ.

    [๗๖๕] ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรมอกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 449

    ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    ปรามาสโคจฉกะ จบ

มหันตรทุกะ

    [๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.

    ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?

    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

    [๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?

    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

    ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

    [๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 450

    ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?

    จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก.

    [๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยจิต.

    ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน?

    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากจิต

    จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.

    [๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต.

    ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?

    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต

    จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.

    [๗๗๑] ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือรูปแม้อื่นใดซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 451

รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน.

    ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?

    จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

    [๗๗๒] ธรรมเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดร่วมกับจิต.

    ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?

    จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต.

    [๗๗๓] ธรรมเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดคล้อยตามจิต.

    ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?

    จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต.

    [๗๗๔] ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน.

    ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 452

    จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

    [๗๗๕] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต.

    ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?

    จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต.

    [๗๗๖] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต.

    ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?

    จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต.

    [๗๗๗] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน?

    จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน.

    ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 453

    รูปายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายนอก.

    [๗๗๘] ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน?

    จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด.

    ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป ๔ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด.

    [๗๗๙] ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง เป็นไฉน?

    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรม ที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง.

    ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอกุศลธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น, มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง.

    มหันตรทุกะ จบ

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 454

อธิบายนีวรณโคจฉกะ

ว่าด้วยถีนมิทธนิทเทส

    พึงทราบวินิจฉัยในถีนมิทธนิทเทสแห่งนีวรณโคจฉกะ ต่อไป.

    บทว่า จิตฺตสฺส อกลฺยตา (ความไม่สมประกอบแห่งจิต) คือภาวะแห่งคนป่วยไข้. จริงอยู่ คนป่วยไข้ ตรัสเรียกว่า อกลฺยโก (ผู้มีสุขภาพไม่ดี) แม้ในวินัยก็กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ ดังนี้.

    บทว่า อกมฺมญฺตา (ความไม่ควรแก่การงาน) ได้แก่ อาการแห่งความไม่ควรแก่การงานคือความเป็นไข้แห่งจิต. บทว่า โอลียนา (ความท้อแท้) ได้แก่ อาการที่ท้อถอย. จริงอยู่ จิตที่ยังอิริยาบถให้เกิดขึ้น เมื่อไม่อาจเพื่อให้อิริยาบถทรงอยู่ ย่อมท้อแท้ ดุจค้างคาวเล็กห้อยอยู่บนต้นไม้ ย่อมท้อถอยดุจหม้อน้ำดื่มห้อยไว้ที่เสาเขื่อนฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความท้อแท้ ดังนี้ ทรงหมายถึงอาการนั้นของจิตนั้น. บทที่ ๒ (สลฺลียนา ความถดถ้อย) ทรงเพิ่มด้วยอำนาจบทอุปสรรค.

    บทว่า ลีนํ (ความหดหู่) ได้แก่ ขดงอแล้ว เพราะความไม่แผ่ออกไป. บททั้ง ๒ นอกนี้ (คือ ลียนา ลียิตตฺตํ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่) เป็นบทแสดงถึงอาการและภาวะของจิตนั้น.

    บทว่า ถีนํ (ความซบเซา) ความว่า ที่ชื่อว่า ถีนะ โดยความเป็นแท่ง เพราะไม่แผ่ไปเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา (อาการที่ซบเซา) เป็นการแสดงอาการของจิต ภาวะแห่งอาการที่จิตซบเซาแล้ว ชื่อว่า ถียิตตฺตํ (ความซบเซา) อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้างด้วยสามารถแห่งการไม่แผ่ออกไปนั้นเทียว.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 455

    บทว่า กายสฺส (แห่งกาย) ได้แก่ นามกายคือขันธ์ ๓. บทว่า อกลฺยตา อกมฺมญฺตา (ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย) มีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า โอนาโห (ความปกคลุม) เพราะอรรถว่า ย่อมปกคลุมกาย เหมือนก้อนเมฆปกคลุมอากาศฉะนั้น การปกคลุมโดยส่วนทั้งหมด ชื่อว่า ปริโยนาโห (ความหุ้มห่อ).

    ที่ชื่อว่า อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน) เพราะอรรถว่าย่อมปิดกั้นไว้ภายใน. เหมือนอย่างว่า นครที่เขาปิดแล้ว พวกมนุษย์ย่อมไม่ได้เพื่ออันออกไปภายนอก ฉันใด ธรรมทั้งหลายอันมิทธะ (ความง่วงเหงา) ปิดไว้แล้วย่อมไม่ได้เพื่ออันแผ่ออกไป ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน).

    ที่ชื่อว่า มิทฺธํ (ความง่วงเหงา) เพราะอรรถว่า ย่อมกำจัด อธิบายว่าย่อมเบียดเบียนโดยความไม่ควรแก่การงาน. ที่ชื่อว่า โสปฺปํ (ความหาวนอน) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้หลับ. ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (อาการที่โงกง่วง) เพราะอรรถว่า ย่อมทำให้เปลือกตาเป็นต้นงับลง.

    บทว่า สุปนา สุปิตตฺตํ กิริยาที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน เป็นบทแสดงอาการและภาวะของจิตนั้น แต่ว่า บทว่า ความหาวนอน ข้างหน้าของบทเหล่านั้นอันใด เหตุในการกล่าวซ้ำของบทนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

    บทว่า อิทํ วุจฺจติ ถีนมิทฺธนิวรณํ ถีนะและมิทธะนี้เรียกว่าถีนมิทธนีวรณ์ คือ รวมถีนะและมิทธะนี้เข้าด้วยกัน เรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ ด้วยอรรถว่ากางกั้น. ถีนมิทธนิวรณ์ใด ย่อมเกิดขึ้นในเวลาก่อนหรือหลังความหลับแก่พระเสกขะและปุถุชนทั้งหลายโดยมาก ถีนมิทธนิวรณ์นั้น อรหัตตมรรคตัดขาดแล้ว แต่การก้าวลงสู่ภวังค์ของพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมมีด้วย

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 456

ความทุรพลแห่งกรชกาย (กายเกิดแต่ธุลี) (๑) เมื่อภวังค์นั้นไม่ระคนด้วยอารมณ์อื่นเป็นไปอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นย่อมหลับ นั้นชื่อว่า ความหลับย่อมมีแก่พระขีณาสพเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ก็เราแลย่อมรู้เฉพาะ ในท้ายเดือนฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาตภายในกาลภายหลังภัต ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวลงสู่ความหลับโดยปรัศว์เบื้องขวา ดังนี้ (๒)

ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล

ก็ความที่กรชกายอ่อนเพลีย (ทุรพล) นี้ เห็นปานนี้ ไม่ใช่ภาวะที่มรรคพึงฆ่า ความที่กายทุรพลนี้ย่อมได้ทั้งในรูปที่มีใจครอง และในรูปที่ไม่มีใจครอง เมื่อจะได้ในรูปที่มีใจครอง ย่อมได้ในเวลาที่พระขีณาสพเดินทางไกลหรือทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเหน็ดเหนื่อย เมื่อได้ในรูปที่ไม่มีใจครอง ย่อมได้ในใบไม้ดอกไม้ทั้งหลาย จริงอยู่ ใบไม้ของต้นไม้บางชนิดย่อมคลี่ออกไปด้วยแสงแดด ในเวลาราตรีย่อมงอกลับ ดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานด้วยแสงพระอาทิตย์ แต่ในเวลาราตรีย่อมหุบ ก็มิทธะนี้ย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลายเพราะความที่มิทธะนั้นไม่เป็นอกุศล ฉะนี้แล.

ในอธิการแห่งมิทธะนั้น ถ้าพึงมีผู้สงสัยว่า มิทธะมิใช่อกุศล เพราะเหตุไร เพราะมิทธะเป็นรูป ก็รูปเป็นอัพยากตะและมิทธะนี้ก็เป็นรูป ด้วยเหตุนั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำกายศัพท์ว่า ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย ดังนี้.

ข้อนี้ พึงเฉลยว่า ถ้าว่ามิทธะนี้เป็นรูปด้วยเพียงคำที่ตรัสว่า กายสฺส (แห่งกาย) เท่านั้นไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีกายปัสสัทธิเป็นต้นก็พึงเป็นรูปไป.


(๑) รูปอันเกิดสืบต่อมาด้วยสมุฏฐาน ๔

(๒) ม. มู. เล่มที่ ๑๒ ๔๓๐/๔๖๑

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 457

ทั้งหมด แม้การเสวยสุขและการกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะที่ตรัสไว้ว่า เสวยสุขด้วยกาย กระทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ดังนี้ ก็พึงเป็นรูปเท่านั้น เพราะฉะนั้น ไม่ควรพูดว่ามิทธะนี้เป็นรูป ดังนี้.

    ถามว่า ก็ในอธิการนี้ นามกาย ชื่อว่า กาย เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงตรัสว่า โสปฺปํ ปจลายิกา (ความหาวนอน ความโงกง่วง) ดังนี้เล่า ด้วยว่านามกายย่อมไม่หาวนอน ย่อมไม่โงกง่วง.

    ตอบว่า เพราะความหาวนอนและความโงกง่วงนั้นเป็นผลของมิทธะนั้น เหมือนเพศเป็นต้นเป็นผลของอินทรีย์ฉะนั้น เหมือนอย่างว่า ทรวดทรงมีเพศเป็นต้นเหล่านี้ คือ เพศหญิง นิมิตหญิง มารยาหญิง กิริยาของหญิงตรัสไว้เพราะความเป็นผลของอิตถินทรีย์ ฉันใด ความหาวนอนเป็นต้นก็ตรัสไว้ เพราะความเป็นผลแห่งมิทธะ กล่าวคือความป่วยไข้แห่งนามกายแม้นี้ฉันนั้น. ด้วยว่า เมื่อมิทธะมีอยู่ ความหาวนอนเป็นต้นนั้นก็มี เพราะฉะนั้น จึงตรัสมิทธะแม้เป็นอรูป (นาม) โดยผลูปจารนัย (มุ่งถึงผล) ว่า ความหาวนอน ความโงกง่วง กิริยาที่หาวนอน ความหาวหอน. อนึ่งแม้ด้วยวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ว่า ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (ความโงกง่วง) เพราะอรรถว่า ย่อมทำให้เปลือกตาเป็นต้นปิดลงดังนี้ ก็ให้สำเร็จความหมายนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น มิทธะจึงไม่ใช่รูป. อนึ่ง ความที่มิทธะนั้นเป็นอรูป พระองค์ก็ทรงแสดงแม้ด้วยความปกคลุมเป็นต้นนั่นแหละ เพราะว่า

    ถ้ามีผู้ท้วงอีกว่า ก็มิทธะนี้เป็นรูปด้วยเหตุ (มีการปกคลุมเป็นต้น) นี้แหละมิใช่หรือ เพราะอรูป (นาม) ย่อมปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบังไว้ในภายในซึ่งอะไรๆ ไม่ได้เลย

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 458

    ข้อนี้ตอบว่า ถ้าอย่างนั้น แม้ความกางกั้นกุศลธรรมก็ไม่พึงมี เพราะฉะนั้น พึงทราบความที่มิทธะแม้นี้เป็นความปกคลุมเป็นต้น ด้วยอรรถมีความปกคลุมเป็นต้น เหมือนอรูปธรรมมีกามฉันทะเป็นต้น ที่ชื่อว่า นิวรณ์ ด้วยอรรถว่ากางกั้นฉะนั้น.

    อีกอย่างหนึ่ง ท่านท้วงว่า มิทธะแม้นี้ชื่อว่า เป็นอรูป เพราะพระบาลีว่า ละนิวรณ์ ๕ เพราะทำจิตให้เศร้าหมองบั่นทอนปัญญา ดังนี้ เพราะรูปทำจิตให้เศร้าหมองไม่ได้ ทอนปัญญาก็ไม่ได้ ดังนี้ เพราะเหตุไร จึงเป็นไม่ได้ คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์บางพวกดื่มสุราเมรัยไม่ละเว้นการดื่มสุราและเมรัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของสมณพราหมณ์ข้อที่หนึ่งดังนี้มีอยู่มิใช่หรือ.

    อีกข้อหนึ่งก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการดื่มสุราและเมรัยที่พึงเห็นในปัจจุบันมี ๖ อย่างคือ เสียทรัพย์ ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดของโรค ๑ ทำให้เสียชื่อเสียง ๑ ทำให้ไม่รู้จักอาย ๑ บั่นทอนปัญญา ๑ รวมเป็นข้อที่ ๖ ดังนี้ แม้พระบาลีย่อมเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ทีเดียว เพราะประจักษ์อยู่ก็เพราะเหตุที่น้ำเมาเข้าถึงท้อง จิตย่อมเศร้าหมอง ปัญญาย่อมทุรพล ฉะนั้น แม้มิทธะก็เปรียบเหมือนน้ำเมาพึงทำจิตให้เศร้าหมองบั่นทอนปัญญามิใช่หรือ.

    ตอบว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น เพราะทรงแสดงถึงความเป็นปัจจัยจริงอยู่ ถ้าน้ำเมาพึงเป็นสังกิเลส (ทำจิตให้เศร้าหมอง) ไซร้ สังกิเลสนั้นก็พึงมาสู่นิทเทสในนิทเทสแห่งอุปกิเลสทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้อันทำจิตให้เศร้าหมองดังนี้ หรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล ฉันนั้นนั่นแหละ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 459

เป็นเครื่องทำจิตมิให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน มิให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง มิให้ตั้งมั่นโดยชอบ มิใช่เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเครื่องเศร้าหมอง ๕ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้ หรือว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปกิเลสของจิตเป็นไฉน? อภิชฌาวิสมโลภะเป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้ ก็เพราะเมื่อน้ำเมาแม้นั้นอันบุคคลดื่มแล้ว กิเลสทั้งหลายอันทำจิตให้เศร้าหมองและบั่นทอนปัญญาย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น น้ำเมานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้โดยแสดงชี้ถึงปัจจัย เพราะความที่น้ำเมาเหล่านั้นเป็นปัจจัยแก่อุปกิเลส. ส่วนมิทธะเป็นสังกิเลสแห่งจิตด้วยตนเอง และบั่นทอนปัญญา เพราะฉะนั้น มิทธะ คือ อรูปเท่านั้น.

    ยังมีเนื้อความบางอย่างที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งกว่านี้ โดยการกล่าวถึงสัมปโยคะ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ ด้วยอวิชชานิวรณ์ เพราะฉะนั้น มิทธะนี้จึงไม่ใช่รูปเพราะตรัสถึงการสัมปโยคะ เพราะรูปจะนับเข้าด้วยธรรมที่สัมปยุตด้วยกันหาได้ไม่ดังนี้.

    แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์ผู้กล่าวถึงมิทธะก็จะพึงท้วงว่า คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งธรรมดาตามที่หาได้ เหมือนอย่างพระดำรัสที่ตรัสด้วยอำนาจประกอบความตามที่ได้อย่างนี้ว่า ทั้งหอยกาบและหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวดและกระเบื้อง ทั้งฝูงปลาเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ดังนี้ความจริง ก้อนกรวดและกระเบื้องตั้งอยู่อย่างเดียวไม่เที่ยวไป อีกสองอย่างนอกนี้ย่อมเที่ยวไปบ้าง ย่อมตั้งอยู่บ้าง ข้อนี้ฉันใด แม้ในอธิการแห่งมิทธะนี้ก็ฉันนั้น มิทธะเป็นนิวรณ์อย่างเดียวไม่สัมปยุตด้วยอกุศล ถีนะเป็นนิวรณ์ด้วยเป็นธรรมสัมปยุตด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถีนมิทธะ

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 460

ทั้งหมดรวมกันด้วยสามารถแห่งธรรมตามที่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ดังนี้ แต่มิทธะเป็นนิวรณ์อย่างเดียวไม่สัมปยุตกับอกุศล เหมือนก้อนกรวดและกระเบื้องตั้งอยู่อย่างเดียวไม่เที่ยวไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น มิทธะจึงเป็นรูปเท่านั้น ดังนี้.

    ตอบว่า ท่านไม่ควรเห็นเช่นนั้น เพราะมิทธะไม่สำเร็จความเป็นรูปได้จริง คำว่า ก้อนกรวดและกระเบื้องย่อมไม่เที่ยวไป ดังนี้ แม้เว้นจากพระสูตรก็เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น เนื้อความด้วยสามารถที่หาได้ในพระสูตรนี้จงยกไว้ แต่คำที่กล่าวว่า มิทธะเป็นรูป นี้ไม่ควร ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะให้มิทธะนั้นเป็นรูปได้ด้วยสูตรนี้ เพราะฉะนั้น มิทธะนี้มิได้ตรัสด้วยอำนาจความตามที่ได้ เพราะมิทธะไม่สำเร็จความเป็นรูป เหตุนั้น มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น.

    ถ้อยคำที่ควรจะกล่าวให้ยิ่งขึ้นไปกว่าคำที่กล่าวแล้ว ก็เพราะมีพระบาลีว่า จตฺตตฺตา (เพราะสละแล้ว) เป็นต้น จริงอยู่ในวิภังคปกรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า เพราะสละแล้ว อย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อว่า มีถีนมิทธะไปปราศแล้ว เพราะสละแล้ว เพราะคายแล้ว เพราะปล่อยแล้ว เพราะละแล้ว เพราะสละคืนแล้ว ซึ่งถีนมิทธะนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่าผู้มีถีนมิทธะไปปราศแล้ว ดังนี้ และว่า ภิกษุทำจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้หลุดพ้น ให้พ้นวิเศษ ให้ปลดเปลื้องจากถีนมิทธะนี้ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ทำจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ดังนี้ส่วนรูปพระองค์มิได้ตรัสอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแหละ มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 461

    อาจารย์ผู้กล่าวมิทธะแย้งว่า ท่านไม่ควรกล่าว โดยความที่ถีนมิทธะไม่เกิดแต่จิต แท้จริง ๓ อย่าง คือเกิดแต่จิต ๑ เกิดแต่อุตุ ๑ เกิดแต่อาหาร ๑ ในบรรดามิทธะทั้ง ๓ เหล่านี้ มิทธะใด เกิดแต่จิตในวิภังค์แห่งมิทธะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความไม่มีแต่ฌานจิตทั้งหลาย เพราะฉะนั้น มิทธะจึงไม่สำเร็จเป็นอรูป เหตุนั้น มิทธะจึงเป็นรูปเท่านั้น ดังนี้.

    ตอบว่า ข้อนี้ไม่ควรเห็นมิทธะเป็นรูปได้เลย จริงอยู่ ครั้นความที่มิทธะสำเร็จเป็นรูป ใครๆ ก็อาจไค้คำพูดนั่นว่า ความไม่เกิดแห่งมิทธะอันเกิดแต่จิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์นั้น และความที่มิทธะเป็นรูปนั่นเทียว ย่อมไม่ควร เพราะฉะนั้น มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น.

    ถ้อยคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่าโดยการกล่าวถึงการละ (ละ) มีอยู่จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละแม้มิทธะไว้ ในพระบาลีทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้วก็อาจเข้าปฐมฌานอยู่ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจะ ๑ กุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ก็โทษในกามทั้งหลายแล ชื่อว่าอันบุคคลนั้นเห็นดีแล้วด้วยสัมปชัญญะ ดังนี้ และว่า ภิกษุละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล้วจักรู้ประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ด้วยปัญญาที่มีกำลัง ดังนี้ ส่วนรูปอันบุคคลไม่พึงละ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า รูปขันธ์อันบุคคลพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ดังนี้ มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น เพราะกล่าวถึงการละมิทธะแม้นี้.

    อาจารย์ผู้กล่าวมิทธะค้านว่า ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะพระดำรัสการละแม้ซึ่งรูปก็มีอยู่ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ แม้ซึ่ง

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 462

รูปนั่นแหละในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละรูปนั้นเสีย ดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า มิทธะเป็นอรูปนี้ จึงไม่ถูกต้อง.

    อาจารย์ผู้ชี้แจ้งกล่าวว่า ท่านไม่ควรเห็นอย่างนั้น เพราะพระดำรัสนั้นตรัสโดยประการอื่น จริงอยู่ ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละรูปด้วยสามารถแห่งการละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ) ในรูปอันใด การกำจัดนั้นเป็นการละในรูปนั้น ดังนี้ มิทธะจึงไม่ใช่รูปเพราะตรัสไว้โดยประการอื่นว่า คำว่า รูป ตรัสว่าเป็นธรรมควรละเหมือนการละธรรม ๖ อย่าง ละนิวรณ์ ๕ อย่าง หามิได้ เพราะฉะนั้น พระสูตรเหล่าใดที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ภิกษุละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้อันทำใจให้เศร้าหมอง ดังนี้บัณฑิตพึงทราบว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้นโดยพระสูตรเหล่านั้นด้วย โดยพระสูตรเหล่าอื่นด้วย.

    จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตร มิใช่น้อยอันส่องถึงความที่มิทธะนั้นเป็นอรูปเท่านั้นมีอาทิอย่างนี้ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ท่วมทับจิต บั่นทอนปัญญา ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ ฯลฯ ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ท่วมทับจิต บั่นทอนปัญญา ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์ทำให้มืด ไม่ทำจักษุ ไม่ทำญาณ ดับปัญญา เป็นพวกพิฆาต ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้ และว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สมัยใด บุคคลถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมจิต ถูกถีนมิทธะครอบงำ

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 463

จิตอยู่ ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการอยู่โดยอุบายไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกองแห่งอกุศลล้วนๆ นี้ คือ นิวรณ์ ๕ นี้ ดังนี้

    ก็เพราะมิทธะนี้เป็นอรูป ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นแม้ในอรูปธรรม จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ในปัฏฐานมหาปกรณ์ว่า ธรรมคือนิวรณ์อาศัยธรรมคือนิวรณ์เกิดขึ้น มิใช่อาศัยปุเรชาตปัจจัยเกิดขึ้น พุทธวจนะทั้งหมดในวิภังค์พระดำรัสนี้ว่า อาศัยกามฉันทนิวรณ์ในความเป็นอรูปย่อมเกิดถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชานิวรณ์ ดังนี้ ให้พิสดาร เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้พึงถึงความตกลงว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้นดังนี้.

ว่าด้วยกุกกุจจนิทเทส

    พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุจจนิทเทส ต่อไป

    บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺิตา (ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร) เป็นต้นตรัสไว้เพื่อแสดงกุกกุจจะโดยมูล จริงอยู่ ในการก้าวล่วงที่ทำแล้ว โดยมีความสำคัญอย่างนี้ เมื่อภิกษุมีสติระลึกถึงวัตถุและอัชฌาจารที่สำเร็จแล้วอีก ก็เดือดร้อนอยู่เนืองๆ อย่างนี้ว่า เราทำกรรมชั่วแล้วดังนี้กุกกุจจะนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการตามเดือดร้อนในภายหลัง ด้วยเหตุนั้น เพื่อทรงแสดงกุกกุจจะนั้นโดยมูล จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺิตา ดังนี้.

    ในพระพุทธพจน์นั้น อธิบายว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ย่อมฉันอาหารที่ไม่ควร มีความสำคัญว่าเนื้อที่ควรย่อมฉันเนื้ออันไม่ควร คือย่อมขบฉัน (เคี้ยวกิน) เนื้อหมีด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อสุกร หรือย่อมขบฉันเนื้อเสือ-

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 464

เหลืองด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อกวาง เมื่อกาลผ่านไปแล้ว สำคัญว่ายังเป็นกาลอยู่ห้ามภัตแล้วสำคัญว่าไม่ได้ห้ามภัต เมื่อของที่ยังมิได้รับประเคนตกไปในบาตรย่อมฉันด้วยสำคัญว่ารับประเคนแล้ว อย่างนี้ ชื่อว่า การทำการก้าวล่วงด้วยความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร. ภิกษุเมื่อขบฉันเนื้อสุกรด้วยความสำคัญว่าเป็นเนื้อหมี และฉันอาหารในเวลาด้วยสำคัญว่านอกเวลา ชื่อว่า กระทำการก้าวล่วงด้วยความสำคัญในของที่ควรว่าไม่ควร.

    อนึ่ง สิ่งบางอย่างไม่มีโทษภิกษุการทำด้วยความสำคัญว่ามีโทษ และที่มีโทษทำความสำคัญว่าไม่มีโทษ ชื่อว่า กระทำการก้าวล่วงด้วยความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ด้วยความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ. ก็เพราะกุกกุจจะนี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะการก้าวล้วงที่ทำแล้ว ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษอย่างนี้ว่า กรรมอันดีเรายังมิได้กระทำหนอ กุศลเรายังมิได้กระทำ เครื่องปัองกันของคนกล้า ยังมิได้กระทำหนอ บาปเรากระทำแล้วหนอ ความหยาบช้า เรากระทำแล้ว ความร้ายกาจเรากระทำแล้ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุญาตวัตถุแม้อื่นแก่ภิกษุผู้มีกุกกุจจะนั้นจึงตรัสคำมีอาทิว่า การรำคาญ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเห็นปานนี้ อันใด ดังนี้. ในอธิการนี้ บทว่า กุกกุจจะ มีอรรถง่ายทั้งนั้น. อาการแห่งความรำคาญ ชื่อว่า กุกฺกุจฺจายนา (กิริยาที่รำคาญ) ภาวะแห่งธรรมอันกุกกุจจะให้เป็นไปแล้วชื่อว่า กุกฺกุจฺจายิตตฺตํ (ความรำคาญ).

    ในคำว่า เจตโส วิปฺปฏิสาโร (ความเดือดร้อนใจ) นี้ ความว่าการเผชิญหน้าต่อกรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำ หรือเผชิญหน้าต่อสิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษ ชื่อว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) ก็เพราะความวิปฏิสารนั้นย่อมทำบาปอันทำแล้วให้เป็นกรรมที่ยังไม่กระทำ หรือย่อมไม่กระทำความดี

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 465

ที่ยังไม่ทำแล้วให้เป็นอันตนทำแล้ว ฉะนั้น การหวนระลึกไปผิดรูปหรือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปฏิสาร. อนึ่ง เพื่อให้ทราบว่า วิปฏิสารนั้นเป็นของจิต มิใช่ของสัตว์ ดังนี้ จึงตรัสว่า เจตโส วิปฺปฏิสาโร (ความเดือดร้อนใจ) ดังนี้. เนื้อความนี้เป็นการอธิบายสภาวะของกุกกุจจะนั้น.

    ก็กุกกุจจะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมสลักใจอยู่เหมือนปลายเหล็กแหลมขีดภาชนะสำริดอยู่นั่นแหละเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มโนวิเลโข (ความยุ่งใจ) เนื้อความนี้อธิบายกิจ (หน้าที่) ของกุกกุจจะนั้น. ส่วนกุกกุจจะ (ความรังเกียจ) ใดที่ตรัสไว้ในพระวินัยว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร รังเกียจว่าการอยู่ฉันอาหารในโรงฉันเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมรับ ดังนี้ กุกกุจจะ (การรังเกียจ) นั้นไม่เป็นนิวรณ์. เพราะพระอรหันต์ไม่มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า สิ่งนี้เราทำผิดแล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า กุกกุจจะ (ความรังเกียจ) ในพระวินัยกล่าวคือการพิจารณานี้ว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เป็นนีวรณปฏิรูปกะ (คล้ายกับนิวรณ์).

ว่าด้วยธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตตธรรม

    ในนิทเทสบทว่า กตเม ธมฺมา นีวรณา เจว นีวรณสมฺปยุตฺตา (ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน?) ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสแยกว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์ เพราะถีนะและมิทธะมิได้เว้นซึ่งกันและกัน ดังนี้. แต่เพราะเมื่อ

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 466

อุทธัจจะมีอยู่ กุกกุจจะก็ไม่มี อุทธัจจะแม้เว้นจากกุกกุจจะก็เกิดได้ ฉะนั้นจึงตรัสแยกอุทธัจจะนั้น.

    อนึ่ง นิวรณ์ใด ไม่ถึงการประกอบเข้ากับนิวรณ์ใด พึงทราบว่านิวรณ์นั้นพระองค์มิได้ทรงประกอบไว้ ก็นิวรณ์เหล่านี้ควรเพื่อนำมากล่าวตามลำดับแห่งกิเลสบ้าง ตามลำดับแห่งมรรคบ้าง ว่าด้วยลำดับแห่งกิเลส กามฉันทนิวรณ์และพยาปาทนิวรณ์ อันอนาคามิมรรคย่อมละ ถีนมิทธนิวรณ์และอุทธัจจนิวรณ์ อันอรหัตตมรรคย่อมละ กุกกุจจนิวรณ์และวิจิกิจฉานิวรณ์ อันโสดาปัตติมรรคย่อมละ อวิชชานิวรณ์ อันอรหัตตมรรคย่อมละ ว่าโดยลำดับแห่งมรรค กุกกุจจะและวิจิกิจฉา ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค กามฉันทะและพยาบาทย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค ถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชาย่อมละได้ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.

    ในปรามาสโคจฉกะ บทว่า เต ธมฺเม เปตฺวา (เว้นปรามาสธรรมเหล่านั้นเสีย) คือพระองค์ทรงกระทำให้เป็นพหูพจน์โดยเสมอกับคำถาม.

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 467

อุปาทานโคจฉกะ

    [๗๘๐] ธรรมเป็นอุปาทาน เป็นไฉน?

    อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.

    [๗๘๑] บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน?

    ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใดนี้ชื่อว่า กามุปาทาน.

    [๗๘๒] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ที่จุติและอุบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิดทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด บ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน.

    เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานเสีย มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่างจัดเป็นทิฏฐุปาทาน.

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 468

    [๗๘๓] สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิดทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน.

    [๗๘๔] อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน?

    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป, ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา, ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา, ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร, ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิดทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 469

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทาน.

    [๗๘๕] ธรรมไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน?

    เว้นอุปาทานธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิ ญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทาน.

    [๗๘๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้น เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

    [๗๘๗] ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

    ธรรมวิปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมวิปยุตจากอุปาทาน.

    [๗๘๘] ธรรมเป็นอุปาทาน และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 470

    อุปาทานเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอุปาทาน โดยอุปาทานธรรมเหล่านั้นเว้นอุปาทานเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน.

    [๗๘๙] ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน?

    ทิฏฐุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยกามุปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยทิฏฐุปาทาน

    สีลัพพตุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยกามุปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยสีลัพพตุปาทาน

    อัตตวาทุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยกามุปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอัตตวาทุปาทาน

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

    ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น เว้นอุปาทานธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน.

    [๗๙๐] ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 471

ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจรอรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

อุปาทานโคจฉกะ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยอุปาทานโคจฉกะ

ในอุปาทานนิทเทส พึงทราบวินิจฉัยดังนี้

ที่ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งกามกล่าวคือวัตถุ. กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.

บทว่า อุปาทานํ (อุปาทาน) แปลว่า ความยึดมั่น. เพราะอุปศัพท์ในคำนี้มีอรรถว่ามั่น เหมือนในคำทั้งหลายมี อุปายาสะ (ความคับแค้น) อุปกัฏะ (ใกล้ถึงแล้ว) เป็นต้น (๑)

อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน หรือว่า ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ. เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิต้น เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สสฺสโต


(๑) อุปายาสะ อุป + อายาส อุป มั่น อายาส ความลำบาก กฏฺ ใกล้แล้ว อุป + กฏฺใกล้ถึงแล้ว

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 472

อตฺตา จ โลโก จ (อัตตาและโลกเที่ยง) ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นศีลพรต. ศีลพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน. จริงอยู่ คำว่า โคศีล และโควัตรเป็นต้นเป็นอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีลพรตอย่างนี้. อนึ่ง ชื่อว่า วาทะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุกล่าว. ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่น ย่อมกล่าว ที่ยึดมั่นอะไร? การกล่าวและการยึดมั่นอัตตาของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง เหตุสักแต่วาทะว่าเป็นอัตตาอย่างเดียว ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่นว่าเป็นอัตตา.

ว่าด้วยนิทเทสกามุปาทาน

    แม้ในคำว่า โย กาเมสุ กามฉนฺโท (ความพอใจคือความใคร่ในกามทั้งหลายอันใด) นี้ วัตถุกามทั้งหลาย และกิเลสกามทั้งหลายทรงประสงค์เอากามทั้งหลายโดยไม่เหลือ เพราะฉะนั้น ความพอใจคือความใคร่ในวัตถุกามทั้งหลาย ชื่อว่า กามุปาทาน ในอธิการนี้ ฉะนั้น กามุปาทานนั้น จึงสำเร็จ (แก่ปุถุชนเป็นต้น) แม้แก่พระอนาคามี แต่กามราคะอันเป็นวัตถุของกามคุณ ๕ ย่อมไม่มีแก่พระอนาคามีนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐุปาทาน

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐุปาทาน ต่อไป

    บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ (ทานที่ให้แล้วไม่มีผล) ความว่า เขาย่อมรู้ว่าชื่อว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีอยู่ คือใครๆ อาจเพื่อให้อะไรๆ แก่ใครๆ ก็ได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของทานไม่มี ดังนี้.

    บทว่า นตฺถิ ยิฏฺํ (การบูชาไม่มีผล) ความว่า การบูชาใหญ่ (มหายาโค) ตรัสเรียกว่า ยิฏฺํ (การบูชา) คือ ย่อมรู้ว่า การบูชานั้นใครๆ อาจบูชาได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของการบูชาไม่มี ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 473

    บทว่า หุตํ (การบวงสรวง) ความว่า กิริยาที่บูชา และนำของมาให้เพื่อมงคล บุคคลย่อมรู้กิริยาอันนั้นว่า ใครๆ ก็อาจทำได้ แต่ว่าเขาย่อมถือว่าผลวิบากของกิริยามงคลนั้นไม่มีผล.

    ในบทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ (ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว) นี้กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่ทำดี อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่ทำชั่ว. บุคคลย่อมรู้ถึงความที่กรรมดีกรรมชั่วเหล่านั้นมีอยู่ แต่ย่อมยึดถือว่าผลวิบากไม่มี ดังนี้.

    บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก (โลกนี้ไม่มี) ความว่า บุคคลย่อมถือโลกนี้ด้วยคิดว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกอื่นของบุคคลผู้ทำกรรมดีกรรมชั่วเหล่านั้นไม่มี ดังนี้.

    บทว่า นตฺถิ ปรโลโก (โลกอื่นไม่มี) ความว่า บุคคลผู้อยู่ในโลกนี้ย่อมถือเอาซึ่งโลกอื่นว่า ไม่มี

    บทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา (มารดาไม่มี บิดาไม่มี) ความว่าเขาย่อมรู้ความที่มารดาบิดามีอยู่ แต่เขาถือว่า ผลวิบากอะไรๆ ด้วยการทำอุปการะในมารดาบิดาเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้.

    บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา (โอปปาติกสัตว์ไม่มี) คือเขาถือว่า สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิ ไม่มี.

    บทว่า สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา (ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ) ความว่า เขาย่อมถือว่า สมณะและพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ดำเนินไปสู่อนุโลมปฏิปทา ไม่มีในโลก.

    บทว่า เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ (สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก) ความว่า ย่อมถือว่า ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 474

สัพพัญญูพุทธะผู้สามารถรู้โลกนี้และโลกอื่นด้วยญาณอันวิเศษยิ่งโดยตนเท่านั้นไม่มี ดังนี้.

    ก็อุปาทานเหล่านี้ควรเพื่อนำมาโดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับมรรคบ้าง. ว่าโดยลำดับกิเลส กามุปาทานอันมรรคทั้ง ๔ ย่อมละ อุปาทาน ๓ ที่เหลือ อันโสดาปัตติมรรคย่อมละ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคย่อมละทิฏฐุปาทานเป็นต้น มรรคทั้ง ๔ ย่อมละกามุปาทาน.

กิเลสโคจฉกะ

    [๗๙๑] ธรรมเป็นกิเลส เป็นไฉน?

    กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ.

    [๗๙๒] บรรดากิเลสวัตถุ ๑๐ นั้น โลภะ เป็นไฉน?

    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสงบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 475

ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวังความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหาโผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.

    [๗๙๓] โทสะ เป็นไฉน?

    อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 476

ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้นความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า โทสะ.

    [๗๙๔] โมหะ เป็นไฉน?

    ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเจริญ ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ การไม่พิจารณา การไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลาความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะ.

    [๗๙๕] มานะ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 477

    การถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา การถือตัวกิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความมีจิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานะ.

    [๗๙๖] ทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างหน้า ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดถือมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิดภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิ

    มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่างจัดเป็น ทิฏฐิ.

    [๗๙๗] วิจิกิจฉา เป็นไฉน?

    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิด

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 478

ส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

    [๗๙๘] ถีนะ เป็นไฉน?

    ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.

    [๗๙๙] อุทธัจจะ เป็นไฉน?

    ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.

    [๘๐๐] อหิริกะ เป็นไฉน?

    กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ.

    [๘๐๑] อโนตตัปปะ เป็นไฉน?

    กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่าอโนตตัปปะ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลส.

    [๘๐๒] ธรรมไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมไม่เป็นกิเลส.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 479

    [๘๐๓] ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    [๘๐๔] ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน?

    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้น เป็นสมุฏฐานสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง.

    ธรรมไม่เศร้าหมอง เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจรโลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมอง.

    [๘๐๕] ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส.

    ธรรมวิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส.

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 480

    [๘๐๖] ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    กิเลสธรรมเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของสังกิเลสโดยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.

    [๘๐๗] ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง เป็นไฉน?

    กิเลสเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง.

    ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใด เศร้าหมองโดยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส.

    [๘๐๘] ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน?

    โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

    โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 481

    มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

    ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

    วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

    ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

    อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ.

    อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ.

    อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ.

    โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

    โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

    โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ.

    มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 482

    ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

    วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

    ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

    อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ.

    อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ.

    โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

    โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

    โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ.

    มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

    ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

    วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 483

    ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

    อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ.

    อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ.

    โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

    โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

    โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ.

    มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

    ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

    วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

    ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

    อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ.

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 484

    อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปุยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ.

    สภาวธรรมเหล่านี้ ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส.

    ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมสัมปุยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.

    [๘๐๙] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส.

    ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    กิเลสโคจฉกะ จบ

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสโคจฉกะ ต่อไป

    กิเลสเท่านั้น ชื่อว่า กิเลสวัตถุ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วัตถุ เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้มีอาสวะยังไม่สิ้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในกิเลสมีโลภะเป็นต้น ที่ชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะอรรถว่า กิเลส

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 485

เหล่านั้นด้วย เป็นวัตถุของสัตว์ผู้ตั้งอยู่ในกิเลสเหล่านั้นด้วย. ก็เพราะแม้กิเลสทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้น โดยความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมอยู่ในกิเลสที่เป็นปัจจัยนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสวัตถุ แม้ด้วยอรรถว่า เป็นวัตถุ (ที่อยู่) ของกิเลสทั้งหลาย.

    ก็โลภะนี้ว่า ตตฺถ กตโม โลโภ โย ราโค สาราโค (บรรดากิเลส ๑๐ เหล่านั้น โลภะเป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก) ดังนี้ทรงขยายออกตั้งร้อยกว่าบท ในฐานะทั้ง ๓ คือ เหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะ และในกิเลสโคจฉกะนี้. ทรงอธิบายไว้ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ และอุปาทานโคจฉกะ โคจฉกะละ ๘ บท. โลภะนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงถือเอาโดยนิปปเทส (แสดงโดยไม่เหลือ) ในฐานะที่ทรงชี้แจงไว้ร้อยกว่าบทบ้าง ในฐานะที่ทรงชี้แจงไว้โคจฉกะละ ๘ บทบ้าง ในโคจฉกะเหล่านั้น ตัณหาที่ตั้งอยู่โดยส่วนเดียวกันนั่นแหละ ในเหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ อุปาทานโคจฉกะ กิเลสโคจฉกะ พึงฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๔. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง ๒ ตั้งอยู่ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ ก็พึงฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๔. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง ๒ นั้น อย่างไร? คือในอาสวโคจฉกะเป็นกามาสวะ และภวาสวะ ในสัญโญชนโคจฉกะ ได้แก่ กามราคสัญโญชน์และภวราคสัญโญชน์ ในโอฆะ ได้แก่ กาโมฆะและภโวฆะ ในโยคะได้แก่กามโยคะ และภวโยคะ ก็กิเลสวัตถุเหล่านี้ควรนำมาโดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับมรรคบ้าง.

    ว่าโดยลำดับกิเลส โลภะอันมรรคทั้ง ๔ ย่อมละ โทสะอันอนาคามิมรรคย่อมละ โมหะและมานะอันอรหัตตมรรคย่อมละ

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 486

ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรคย่อมละ ถีนะเป็นต้นอันอรหัตตมรรคย่อมละ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรคย่อมละ โทสะอันอนาคามิมรรคย่อมละ กิเลส ๗ ที่เหลืออันอรหัตตมรรคย่อมละฉะนี้แล.

ปิฏฐิทุกะ

    [๘๑๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

    [๘๑๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ.

    [๘๑๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน?

    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 487

    [๘๑๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิการถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

    [๘๑๔] สัญโญชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ.

    ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ละ เป็นไฉน?

    เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ละ.

    [๘๑๕] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

    โลภะ โทสะ โมหะที่เหลือ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ.

    ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ เป็นไฉน?

    เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละเหล่านั้นเสีย กุศลธรรมอกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 488

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ.

    [๘๑๖] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

    [๘๑๗] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นคนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การยึดถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

    [๘๑๘] วิจิกิจฉา เป็นไฉน?

    ปุถุชนเคลือบแคลง สงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

    [๘๑๙] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 489

    [๘๒๐] สัญโญชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ

    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ, โลภะ โทสะ โมหะ อันตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ

    ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น,กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐานสภาวธรรมแหละนี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ.

    ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะละ เป็นไฉน?

    เว้นธรรมอันโสดาปัตติมรรคละเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ.

    [๘๒๑] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

    โสภะ โทสะ โมหะที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 490

    ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรมวจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ.

    ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะละ เป็นไฉน?

    เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละเหล่านั้นเสีย กุศลธรรมอกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธรรมสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะละ.

    [๘๒๒] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยวิตก ในภูมิแห่งจิตมีวิตกที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นวิตกเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมมีวิตก.

    ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิตก ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตระ, วิตก รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก.

    [๘๒๓] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิจาร ในภูมิแห่งจิตมีวิจารเป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นวิจารเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิจาร.

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 491

    ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิจาร ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, วิจาร รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร.

    [๘๒๔] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ ในภูมิแห่งจิตมีปีติที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมมีปีติ.

    ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีปีติ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุสภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ.

    [๘๒๕] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ ในภูมิแห่งปีติที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

    ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งปีติเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ.

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 492

    [๘๒๖] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

    สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาในภูมิแห่งสุขเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นสุขเวทนาเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

    ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งสุขเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, สุขเวทนา รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา.

    [๘๒๗] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน?

    สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนาในภูมิแห่งอุเบกขาเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตระ เว้นอุเบกขาเวทนาเสีย สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.

    ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งอุเบกขาเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ อุเบกขาเวทนา รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.

    [๘๒๘] ธรรมเป็นกามาวจร เป็นไฉน?

    ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกามาวจร.

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 493

    ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน?

    รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกามาวจร.

    [๘๒๙] ธรรมเป็นรูปาวจร เป็นไฉน?

    จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐธรรมสุขวิหาร (กิริยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชนอกนิษฐ์เป็นที่สุด อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูปาวจร.

    ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน?

    กามาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูปาวจร.

    [๘๓๐] ธรรมเป็นอรูปาวจร เป็นไฉน?

    จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (กิริยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือเบื้องต่ำกำหนดเทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญายตนภูมิเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอรูปาวจร.

    ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน?

    กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร.

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 494

    [๘๓๑] ธรรมเป็นปริยาปันนะ เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริยาปันนะ.

    ธรรมเป็นอปริยาปันนะ เป็นไฉน?

    มรรค ผลของมรรค และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอปริยาปันนะ.

    [๘๓๒] ธรรมเป็นนิยยานิกะ เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยยานิกะ.

    อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน?

    เว้นนิยยานิกธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม.

    [๘๓๓] ธรรมเป็นนิยตะ เป็นไฉน?

    อนันตริยกรรม ๕ นิยตมิจฉาทิฏฐิ และมรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยตะ.

    ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน?

    เว้นนิยตธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมให้ผลไม่แน่นอน.

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 495

    [๘๓๔] ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน?

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

    ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน?

    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

    [๘๓๕] ธรรมเกิดกับกิเลส เป็นไฉน?

    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกัน กับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐานสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดกับกิเลส.

    ธรรมไม่เกิดกับกิเลส เป็นไฉน?

    กุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดกับกิเลส.

    ปิฏฐิทุกะ จบ

อรรกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยนิทเทสกามาวจรในปิฏฐิทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสกามาวจร ต่อไป.

    บทว่า เหฏฺโต (เบื้องต่ำ) (บาลีข้อ ๘๒๘) ได้แก่ ส่วนข้างล่าง.

    บทว่า อวีจินิรยํ (อเวจีนรก) มีความหมายว่า ที่ชื่อว่า อวีจิ เพราะอรรถว่า ในนรกนี้ไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งเปลวไฟทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 496

หรือไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งทุกขเวทนาของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีชื่อว่า นิรยะ (นรก) เพราะอรรถว่า ในที่นี้ไม่มีความเจริญกล่าวคือความสุข อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า นรก ด้วยอรรถว่า ไม่มีความยินดีบ้าง ด้วยอรรถว่า ไม่มีความชอบใจบ้าง.

    บทว่า ปริยนฺตํ กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กระทำนรกกล่าวคืออเวจีนั้นเป็นที่สุด. บทว่า อุปริโต (เบื้องสูง) ได้แก่ ส่วนเบื้องบน. บทว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺติเทเว (เทพปรนิมมิตวสวัตดี) ความว่า เทพมีโวหารอันได้แล้วอย่างนี้ เพราะยังอำนาจให้เป็นไปในความใคร่ (กาม) ทั้งหลายอันเทพอื่นนิมิตให้. บทว่า อนฺโต กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กั้นไว้ในที่สุด. บทว่า ยํ เอตสฺมึ อนฺตเร (ระหว่างนี้อันใด) ได้แก่ ในภูมินี้อันใด.

    ก็เพราะเหตุที่ธรรมแม้เหล่าอื่น ย่อมท่องเที่ยวไปในระหว่างภูมินี้โดยความเกิดในภูมิไหนๆ ในกาลบางครั้งบางคราว ฉะนั้น เพื่อไม่ทรงรวมธรรมเหล่านั้นด้วยบทนี้ว่า เอตฺถาวจรา (การท่องเที่ยวไปนี้) จึงตรัสคำว่า อวจรา (ท่องเที่ยว). ด้วยคำนั้น ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไปหยั่งลงภายในระหว่างภูมินี้ โดยที่เกิดอยู่ทุกที่ทุกเมื่อ คือย่อมท่องเที่ยวไปในส่วนเบื้องต่ำโดยภูตรูปและอุปาทารูปก็เป็นไปในภายใต้ของอเวจีนรก จึงทรงกระทำการรวบรวมธรรมเหล่านั้นไว้ เพราะว่า ธรรมเหล่านั้น หยั่งลงแล้วเที่ยวไป คือหยั่งลงในส่วนเบื้องต่ำนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า อวจร. จริงอยู่ เพราะธรรมเหล่านี้ ท่องเที่ยวไปในภูมินี้ ย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในภูมิอื่น แต่ไม่นับเนื่องในภูมิอันนั้น ฉะนั้น จึงทรงกระทำการกำหนดธรรมเหล่านั้น ซึ่งท่องเที่ยวไปแม้ในภูมิอื่น ด้วยบทนี้ว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา (นับเนื่องในภูมินี้). บัดนี้ เมื่อจะแสดง

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 497

ธรรมเหล่านั้นอันเป็นธรรมนับเนื่องในภูมินี้โดยความเป็นราสี (กอง) โดยความว่างเปล่า โดยความเป็นปัจจัย และเป็นสภาวะ จึงตรัสคำว่า ขันธ์เป็นต้น.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งรูปาวจรธรรม

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสรูปาวจรธรรม ต่อไป.

    บทว่า พฺรหฺมโลกํ (พรหมโลก) ได้แก่ สถานที่ดำรงอยู่แห่งพรหมกล่าวคือ ปฐมฌานภูมิ. คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิทเทสกามวจรนั่นแหละ. ในบทมีอาทิว่า สมาปนฺนสฺส จ (ของผู้เข้าสมาบัติ) พึงทราบว่า ตรัสกุศลฌานด้วยบทที่ ๑ ตรัสวิบากฌานด้วยบทที่ ๒ ตรัสกิริยาฌานด้วยบทที่ ๓ ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอรูปาจรธรรม ต่อไป

    บทว่า อากาสานญฺจายตนูปเค (ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิ) ได้แก่ ผู้เข้าถึงภพกล่าวคือ อากาสานัญจายตนะ. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้แหละ. คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสรณทุกะ (ที่ ๑๘)

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสรณทุกกะ ต่อไป

    บรรดาอกุศลมูล ๓ อกุศลมูล คือโมหะนี้ใด โมหะนั้นสัมปยุตด้วยโลภะ พึงทราบว่า เป็นสรณะ (เกิดพร้อมกับกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้) โดยโลภะ โมหะที่สัมปยุตด้วยโทสะ เป็นสรณะโดยโทสะ แต่โมหะที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นสรณะโดยเป็นกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับการละโดยกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คือราคะอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และกิเลสคือรูปราคะอรูปราคะ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 498

สุตตันติกทุกะ

    [๘๓๖] ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา เป็นไฉน?

    ธรรมทั้งหลายที่สัมปุยุตด้วยวิชชา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา.

    ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา เป็นไฉน?

    ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอวิชชา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา.

    [๘๓๗] วิชชูปมธรรม เป็นไฉน?

    ปัญญาในอริยมรรค ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า วิชชูปมธรรม.

    วชิรูปมธรรม เป็นไฉน?

    ปัญญาในอรหัตตมรรคเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า วชิรูปมธรรม.

    [๘๓๘] พาลธรรม เป็นไฉน?

    อหิริกะ อโนตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาลธรรม.

    บัณฑิตธรรม เป็นไฉน?

    หิริ โอตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า บัณฑิตธรรม กุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น บัณฑิตธรรม.

    [๘๓๙] กัณหธรรม เป็นไฉน?

    อหิริกะ อโนตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กัณหธรรม อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น กัณหธรรม.

    สุกกธรรม เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 499

    หิริ โอตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สุกกธรรม กุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น สุกกธรรม.

    [๘๔๐] ตปนิยธรรม เป็นไฉน?

    กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ตปนิยธรรม อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น ตปนิยธรรม.

    อตปนิยธรรม เป็นไฉน?

    กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อตปนิยธรรม กุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น อตปนิยธรรม.

    [๘๔๑] อธิวจนธรรม เป็นไฉน?

    การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อธิวจนธรรม

    ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า อธิวจนปถธรรม.

    [๘๔๒] นิรุตติธรรม เป็นไฉน?

    การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิรุตติธรรม

    ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า นิรุตติปถธรรม (ธรรมเป็นทางแห่งนิรุตติธรรม)

    [๘๔๓] บัญญัติธรรม เป็นไฉน?

    การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า บัญญัติธรรม

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 500

    ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า บัญญัติปถธรรม (ธรรมเป็นทางแห่งบัญญัติธรรม)

    [๘๔๔] บรรดาธรรมเหล่านั้น นามธรรม เป็นไฉน?

    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ นี้เรียกว่า นามธรรม.

    รูปธรรม เป็นไฉน?

    มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น นี้เรียกว่า รูปธรรม.

    [๘๔๕] อวิชชา เป็นไฉน?

    ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะอันใด นี้เรียกว่า อวิชชา.

    ภวตัณหา เป็นไฉน?

    ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใดนี้เรียกว่า ภวตัณหา.

    [๘๔๖] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ตนและโลกจักเกิด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ.

    วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ตนและโลกจักไม่เกิด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ.

    [๘๔๗] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ตนและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 501

    อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ตนและโลกจักสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ.

    [๘๔๘] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ตนและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ.

    อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ตนและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ.

    [๘๔๙] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภส่วนอดีต เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ.

    อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน?

    ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภส่วนอนาคต เกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ.

    [๘๕๐] อหิริกะ เป็นไฉน?

    กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ.

    อโนตตัปปะ เป็นไฉน?

    กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่าอโนตตัปปะ.

 
  ข้อความที่ 167  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 502

    [๘๕๑] หิริ เป็นไฉน?

    กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า หิริ.

    โอตตัปปะ เป็นไฉน?

    กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า โอตตัปปะ.

    [๘๕๒] โทวจัสสตา เป็นไฉน?

    กิริยาของผู้ว่ายาก ภาวะแห่งผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก ความยึดข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่รับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่าโทวจัสสตา.

    ปาปมิตตตา เป็นไฉน?

    บุคคลเหล่าใด เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล ไร้การศึกษา มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม, การเสพ การซ่องเสพ การซ่องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา.

    [๘๕๓] โสวจัสสตา เป็นไฉน?

    กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะแห่งผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดข้างขัดขืน ความไม่พอใจทางโต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ทั้งเคารพ ทั้งรับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่าโสวจัสสตา.

 
  ข้อความที่ 168  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 503

    กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน?

    บุคคลเหล่าใด เป็นคนมีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต มีจาคะ มีปัญญา,การเสพ การซ่องเสพ การซ่องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดีความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา.

    [๘๕๔] อาปัตติกุสลตา เป็นไฉน?

    อาบัติทั้ง ๕ หมวด ๗ หมวด เรียกว่าอาบัติ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในอาบัติแห่งอาบัติทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อาปัตติกุสลตา.

    อาปัตติวุฏฐานกุสลตา เป็นไฉน?

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันเป็นเหตุฉลาดในการออกจากอาบัติเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า อาปัตติวุฏฐานกุสลตา.

    [๘๕๕] สมาปัตติกุสลตา เป็นไฉน?

    สมาบัติที่มีวิตกมีวิจาร มีอยู่ สมาบัติที่ไม่มีวิตกแต่มีวิจาร มีอยู่สมาบัติที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีอยู่, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในสมาบัติแห่งสมาบัติทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า สมาปัตติกุสลตา.

    สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา เป็นไฉน?

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันเป็นเหตุฉลาดในการออกจากสมาบัติเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา.

 
  ข้อความที่ 169  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 504

    [๘๕๖] ธาตุกุสลตา เป็นไฉน?

    ธาตุ ๑๘ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในธาตุแห่งธาตุทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ธาตุกุสลตา.

    มนสิการกุสลตา เป็นไฉน?

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความสอดส่องธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในการมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่ามนสิการกุสลตา.

    [๘๕๗] อายตนกุสลตา เป็นไฉน?

    อายตนะ ๑๒ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในอายตนะแห่งอายตนะทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อายตนกุสลาตา.

    ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา เป็นไฉน?

    ปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงเกิดขึ้น เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงเกิดขึ้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิดขึ้น เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงเกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิดขึ้น เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 170  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 505

ตัณหาจึงเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิดขึ้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงเกิดขึ้น เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิดขึ้น เพราะชาติเป็นปัจจัยชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในปฏิจจสมุปบาทนั้นอันใด นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา.

    [๘๕๘] ฐานกุสลาตา เป็นไฉน?

    ธรรมใดๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใดๆ ลักษณะนั้นๆ เรียกว่า ฐานะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในฐานะนั้น อันใด นี้เรียกว่า ฐานกุสลตา.

    อัฏฐานกุสลตา เป็นไฉน?

    ธรรมใดๆ ไม่เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัยเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใดๆ ลักษณะนั้นๆ ชื่อว่า อฐานะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในอฐานะนั้น อันใด นี้เรียกว่า อัฏฐานกุสลตา.

    [๘๕๙] อาชชวะ เป็นไฉน?

    ความซื่อตรง ความไม่คด ความไม่งอ ความไม่โกง อันใด นี้เรียกว่า อาชชวะ.

    มัททวะ เป็นไฉน?

    ความอ่อนโยน ความละมุนละไม ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง ควานเจียมใจ อันใด นี้เรียกว่า มัททวะ.

    [๘๖๐] ขันติ เป็นไฉน?

    ความอดทน กิริยาที่อดทน ความอดกลั้น ความไม่ดุร้าย ความไม่ปากร้าย ความแช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ขันติ.

 
  ข้อความที่ 171  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 506

    โสรัจจะ เป็นไฉน?

    ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา อันใด นี้เรียกว่า โสรัจจะ ศีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็นโสรัจจะ.

    [๘๖๑] สาขัลยะ เป็นไฉน?

    วาจาใด เป็นปม เป็นกาก เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น เกี่ยวผู้อื่นไว้ ยั่วให้โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ละวาจาเช่นนั้นเสีย, วาจาใด ไร้โทษ สบายหู ไพเราะจับใจ เป็นวาจาของชาวเมือง เป็นที่ยินดีเจริญใจของชนหมู่มากกล่าววาจาเช่นนั้น, ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย ในลักษณะดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า สาขัลยะ.

ปฏิสันถาร เป็นไฉน?

    ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร, บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิสันถาร โดยอามิสปฏิสันถารก็ดี โดยธรรมปฏิสันถารก็ดีนี้เรียกว่า ปฏิสันถาร.

    [๘๖๒] ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน?

    บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือโดยอนุพยัญชนะ, อภิชฌา โทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวม จักขุนทรีย์ใด, ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น

 
  ข้อความที่ 172  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 507

    ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือโดยอนุพยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส อกุศล บาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวมมนินทรีย์ใด ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น

    การไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวมซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖.

    ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน?

    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหาร เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อจะประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี, ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ ความไม่พิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร.

    [๘๖๓] ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน?

    บุคคลบางคนโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือนิมิต เป็นผู้ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ, อภิชฌา โทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด,ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น รักษาจักขุนทรีย์นั้น สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น

    ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือนิมิต เป็นผู้ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ, อภิชฌา โทมนัส

 
  ข้อความที่ 173  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 508

อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวมมนินทรีย์ใด, ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น รักษามนินทรีย์นั้น สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น

    การคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์.

    ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน?

    บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหาร ไม่ใช่เพื่อจะเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่เพื่อจะประเทือง ไม่ใช่เพื่อจะให้อ้วนพี แต่เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เพราะโดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษและการอยู่โดยผาสุก จักมีแก่เราด้วย ดังนี้ แล้วจึงบริโภคอาหาร, ความสันโดษ ความรู้ประมาณ การพิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้ ประมาณในโภชนาหาร.

    [๘๖๔] มุฏฐสัจจะ เป็นไฉน?

    ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้ อาการที่ระลึกไม่ได้ ความไม่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ.

    อสัมปชัญญะ เป็นไฉน?

    ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะอันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ.

 
  ข้อความที่ 174  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 509

    [๘๖๕] สติ เป็นไฉน?

    สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติอันใด นี้เรียกว่า สติ.

    สัมปชัญญะ เป็นไฉน?

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.

    [๘๖๖] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน?

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า กำลังคือการพิจารณา.

    กำลังคือภาวนา เป็นไฉน?

    การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใดนี้เรียกว่า กำลังคือภาวนา

    โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ จัดเป็น กำลังคือภาวนา.

    [๘๖๗] สมณะ เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ.

    วิปัสสนา เป็นไฉน?

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา.

    [๘๖๘] สมถนิมิต เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถนิมิต.

 
  ข้อความที่ 175  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 510

    ปัคคาหนิมิต เป็นไฉน?

    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าปัคคาหนิมิต.

    [๘๖๙] ปัคคาหะ เป็นไฉน?

    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าปัคคาหะ.

    อวิกเขปะ เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า อวิกเขปะ.

    [๘๗๐] สีลวิบัติ เป็นไฉน?

    ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา อันใด นี้เรียกว่า สีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิบัติ.

    ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

    มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิวิบัติ.

    [๘๗๑] สีลสัมปทา เป็นไฉน?

    ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลสัมปทา

 
  ข้อความที่ 176  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 511

    สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลสัมปทา.

    ทิฏฐิสัมปทา เป็นไฉน?

    ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อมมีผล การบวงสรวงย่อมมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกอื่นมีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ที่จุติและอุบัติมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา

    สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา.

    [๘๗๒] สีลวิสุทธิ เป็นไฉน?

    ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิสุทธิ

    สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิสุทธิ.

    ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นไฉน?

    ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาญาณ) ญาณอันสมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ (สัจจานุโลมิกญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค (มัคคญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล (ผลญาณ).

    [๘๗๓] บทว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั้น มีนิเทศว่า ปัญญากิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ.

    บทว่า ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด นั้น มีนิเทศว่าการปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ.

 
  ข้อความที่ 177  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 512

    [๘๗๔] บทว่า ความสลดใจ นั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดยความเป็นภัย.

    บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้น มีนิทเทสว่า ชาติชรา พยาธิ มรมะ.

    บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว นั้น มีนิทเทว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายามย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

    [๘๗๕] บทว่า ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม นั้น มีนิทเทสว่าความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่รู้จักอิ่ม ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย.

    บทว่า ความไม่ท้อถอยในความเพียร นั้น มีนิทเทสว่า ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด ความเป็นผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทิ้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระ การเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

    [๘๗๖] บทว่า วิชชา นั้น มีนิทเทสว่า วิชชา ๓ วิชชาคือ ญาณอันตามระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือญาณในจุติ

 
  ข้อความที่ 178  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 513

และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) วิชชาคือญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

    บทว่า วิมุตติ นั้น มีนิทเทสว่า วิมุตติ ๒ คือ อธิมุตติแห่งจิต (สมาบัติ ๘) และนิพพาน.

    [๘๗๗] บทว่า ขเย าณํ นั้น มีนิทเทว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค.

    บทว่า อนุปฺปาเท าณํ นั้น มีนิทเทสว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล.

    สุตตันติกทุกะ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยนิทเทสวิชชูปมทุกะ

    นิทเทสบททั้งหลายแห่งสุตตันติทุกะเหล่านั้น โดยมากมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะสุตตันติกะทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้จำแนกแสดงโดยใจความในมาติกากถาแล้ว และเพราะนิทเทสบทแม้เหล่านั้น เข้าใจง่ายโดยนัยที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะแสดงเนื้อความที่ต่างกันต่อไป

    พึงทราบวินิจฉัยในวิชชูปมทุกะก่อน ได้ยินว่า บุรุษผู้มีจักษุเดินทางไปในเวลาราตรีมีเมฆมืด ทางย่อมไม่ปรากฏแก่บุรุษนั้น เพราะความมืดสายฟ้าแลบแล้วขจัดความมืดไป ทีนั้นทางก็ปรากฏแก่เขา เพราะปราศจากความมืด เขาจึงเดินทางต่อไป แม้ครั้งที่สองความมืดก็ย่อมปกคลุมอีก ทางจึงไม่

 
  ข้อความที่ 179  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 514

ปรากฏแก่เขา สายฟ้าแลบแล้วขจัดความมืดนั้น เมื่อปราศจากความมืดแล้วทางก็ได้ปรากฏ เขาจึงเดินทางต่อไป ครั้งที่สาม ความมืดได้ปกคลุมแล้ว ทางก็ไม่ปรากฏ สายฟ้าแลบแล้วก็ขจัดความมืดไป.

    บรรดาข้ออุปมาเหล่านั้น การเริ่มวิปัสสนาของอริยสาวกเพื่อประโยชน์บรรลุโสดาปัตติมรรค เหมือนการเดินทางของบุรุษผู้มีจักษุในเวลาที่มืดความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่ทางไม่ปรากฏในความมืด เวลาที่แสงสว่างคือโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นกำจัดความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่สายฟ้าแลบขึ้นกำจัดความมืด เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏแก่โสดาปัตติมรรค เหมือนเวลาที่ทางปรากฏในการปราศจากความมืด ก็การปรากฏของทางก็คือการปรากฏของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคสมังคีนั่นเอง.

    การเริ่มวิปัสสนาของบุคคล เพื่อประโยชน์บรรลุสกทาคามิมรรคเหมือนการดำเนินไปครั้งที่สอง ความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่ทางไม่ปรากฏในความมืด เวลาที่แสงสว่างคือสกทาคามิมรรคเกิดขึ้นกำจัดความมืดปิดบังสัจจะเหมือนเวลาสายฟ้าแลบครั้งที่สองกำจัดความมืด เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏแก่สกทาคามิมรรค เหมือนเวลาที่ทางปรากฏในการปราศจากความมืด ก็การปรากฏของทางก็คือการปรากฏของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคนั่นแหละ.

    การเริ่มวิปัสสนาเพื่อบรรลุอนาคามิมรรค เหมือนบุคคลเดินทางครั้งที่สาม ความมืดอันปิดบังสัจจะ เหมือนทางไม่ปรากฏในเวลามืด เวลาที่แสงสว่างคืออนาคามิมรรคเกิดขึ้นกำจัดความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่สายฟ้าแลบกำจัดความมืดครั้งที่สาม เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏแก่อนาคามิมรรค เหมือนเวลาที่ทางปรากฏในเวลาปราศจากความมืด ก็การปรากฏของทางก็คือการปรากฏของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 180  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 515

อนึ่ง แผ่นหิน หรือแก้วมณี ชื่อว่า ไม่แตกไปด้วยวชิระ (ฟ้าผ่า) ย่อมไม่มี วชิระตกไปในที่ใด ที่นั้นย่อมเป็นอันถูกขจัดแล้วทีเดียว วชิระเมื่อฟาดไปย่อมฟาดไปมิให้อะไรเหลือ ขึ้นชื่อว่า ทางที่วชิระผ่านไปแล้วจะไม่เป็นสิ่งปรากฏอีก ชื่อว่า กิเลสที่อรหัตตมรรคไม่ละแล้วก็ย่อมไม่มีอย่างนั้นเหมือนกัน แม้อรหัตตมรรคย่อมกำจัดกิเลสทั้งสิ้น คือเมื่อยังกิเลสให้สิ้นไปย่อมให้สิ้นไปโดยไม่เหลือ เหมือนวชิระกำจัดอยู่ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า การกลับมาเกิดอีกของกิเลสที่อรหัตตมรรคละแล้วย่อมไม่มี เหมือนทางที่วชิระผ่านไปแล้วไม่กลับเป็นสิ่งปรากฏอีก ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสพาลทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสพาลทุกะ ต่อไป

อหิริกะและอโนตตัปะปรากฏแล้วในพาลชนทั้งหลาย. อนึ่ง อหิริกะและอโนตตัปปะเหล่านั้นยังเป็นมูลแห่งพาลธรรมที่เหลือ ด้วยว่าคนที่ไม่มีหิริไม่มีโอตตัปปะชื่อว่าไม่ทำอกุศลอะไรๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง ๒ เหล่านั้นจึงตรัสแยกไว้ก่อนทีเดียว. แม้ในธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (สุกกธรรม) ก็นัยนี้แหละ. ในกัณหทุกะก็เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสตปนียทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสตปนียทุกะ ต่อไป

บัณฑิตพึงทราบ ตปนธรรม (ธรรมที่เร่าร้อน) เพราะเหตุที่ทำและเพราะเหตุที่ไม่ทำ จริงอยู่ กายทุจริตเป็นต้น ย่อมให้เร่าร้อนเพราะเหตุที่ทำ กายสุจริตเป็นต้น ย่อมให้เร่าร้อนเพราะเหตุที่ไม่ทำ จริงอย่างนั้น บุคคล


(๑) วชิระ เป็นชื่อของฟ้าผ่าก็มี เป็นชื่ออาวุธของพระอินทร์ก็มี

 
  ข้อความที่ 181  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 516

ย่อมเดือดร้อนว่า กายทุจริตเราการทำไว้ และย่อมเดือดร้อนว่า กายสุจริตเรามิได้การทำไว้ ย่อมเดือดร้อนว่า วจีทุจริตเรากระทำไว้ ฯลฯ ย่อมเดือดร้อนว่า มโนสุจริตเรามิได้ทำไว้. แม้ในอตปนียธรรม (ธรรมที่ไม่เร่าร้อน) ก็นัยนี้แหละ.

    จริงอยู่ บุคคลผู้ทำความดี ย่อมไม่เร่าร้อนว่า กายสุจริตเราทำไว้แล้วย่อมไม่เร่าร้อนว่า กายทุจริตเราไม่ทำไว้แล้ว ย่อมไม่เร่าร้อนว่า วจีสุจริตเรากระทำไว้ ฯลฯ ไม่เร่าร้อนว่า มโนทุจริตเราไม่ทำไว้ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสอธิวจนทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอธิวจนทุกะ ต่อไป

    บทว่า ยา เตสํ เตสํ ธมฺมานํ (ธรรมนั้นๆ อันใด) ได้แก่ ทรงรวบรวมเอาธรรมทั้งหมด. ที่ชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน) เพราะอันเขาบอก คือย่อมสนทนากัน ย่อมสนทนากันอย่างไร ย่อมสนทนากันด้วยอาการหลายประการอย่างนี้ว่า เรา ของเรา คนอื่น ของคนอื่น ว่าเป็นสัตว์ เป็นภาวะ เป็นบุรุษ เป็นบุคคล เป็นนระ เป็นมานพ ชื่อว่า ติสสะ ชื่อว่า ทัตตา ว่าเตียง ว่าตั่ง ว่าฟูก ว่าหมอน วิหาร บริเวณ ประตู หน้าต่างดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน).

    ที่ชื่อว่า สมัญญา (การกำหนดรู้) เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ. ย่อมรู้โดยชอบอย่างไร ย่อมรู้ว่า เรา ของเรา ฯลฯ ประตู หน้าต่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ. ที่ชื่อว่า บัญญัติเพราะอรรถว่า อันเขาย่อมแต่งตั้ง. ที่ชื่อว่า โวหาร เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมร้องเรียก ย่อมร้องเรียกอย่างไร ย่อมร้องเรียกว่า เรา ของเรา ฯลฯ ประตู หน้าต่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โวหาร.

 
  ข้อความที่ 182  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 517

    บทว่า นามํ (นาม) ได้แก่ นาม ๔ อย่าง คือ

    ๑. สามัญนาม ชื่อทั่วไป

    ๒. คุณนาม ชื่อโดยคุณ

    ๓. กิตติมนาม ชื่อโดยการยกย่อง

    ๔. อุปปาติกนาม ชื่อตามที่เกิดขึ้น.

    บรรดานาม ๔ อย่างนั้น นามของพระราชาว่า มหาสมมตะ ดังนี้เพราะมหาชนในครั้งปฐมกัปประชุมกันตั้งไว้ ชื่อว่า สามัญนาม ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ อักษรแรกว่ามหาสมมตะดังนี้ เกิดขึ้น เพราะมหาชนสมมติขึ้นแล. นาม อันมาแล้วโดยคุณอย่างนี้ว่า พระธรรมกถึก ผู้ทรงบังสุกุลจีวร พระวินัยธร ผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้มีศรัทธา ผู้เลื่อมใสแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า คุณนาม.

    แม้พระนามของพระตถาคตมีหลายร้อยอาทิว่า ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ดังนี้ ก็ชื่อว่า คุณนาม เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณาจารย์ จึงกล่าวว่า

    อสงฺเขยฺยานิ นามานิ สคุเณน มเหสิโน

    คุเณน นามมุทฺเธยฺยํ อปิ นาม สหสฺสโต

    พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่มีพระนาม โดยพระคุณของพระองค์นับไม่ถ้วน บัณฑิต พึงยกพระนามโดยพระคุณขึ้นแสดงแม้เป็นพันๆ พระนาม ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 183  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 518

    ส่วนนามใด ที่พวกญาติทั้งหลายผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้กระทำสักการะแก่พระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย พากันคิดกำหนดแล้วในวันที่ตั้งชื่อของเด็กผู้เกิดมากระทำการตั้งชื่อว่า เด็กนี้ชื่อโน้น นามนี้ ชื่อว่า กิตติมนาม.

    อนึ่ง บัญญัติแรกย่อมตกไปในบัญญัติหลัง โวหารแรกย่อมตกไปในโวหารหลัง เช่นพระจันทร์แม้ในกัปก่อนชื่อว่าพระจันทร์ แม้ในปัจจุบันก็เรียกว่าพระจันทร์เหมือนกัน พระอาทิตย์ สมุทร ปฐวี บรรพตในกัปก่อนชื่อว่า บรรพต แม้ในปัจจุบันก็เรียกว่าบรรพตนั่นแหละ นี้ชื่อว่า อุปปาติกนาม. นามแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็คงเป็นนามอย่างเดียวกันนั่นเอง.

    บทว่า นามกมฺมํ (นามกรรม) คือการให้ชื่อ.

    บทว่า นามเธยฺยํ (นามเธยยะ) คือการตั้งชื่อ.

    บทว่า นิรุตฺติ (การออกชื่อ) ได้แก่ การเรียกชื่อ.

    บทว่า พฺยญฺชนํ (การระบุชื่อ) ได้แก่ การประกาศชื่อ ก็เพราะการระบุชื่อนี้ ย่อมปรากฏถึงความหมาย ฉะนั้น จึงตรัสไว้อย่างนั้น.

    บทว่า อภิลาโป (การเรียกชื่อ) ได้แก่ ชื่อที่เรียกนั่นเอง.

    บทว่า สพฺเพว ธมฺมา อธิวจนปถา (ธรรมทั้งหมดแล ชื่อว่า ธรรมเป็นทางแห่งอธิวจนะ) ได้แก่ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นวิถีของธรรมที่เป็นชื่อไม่มีหามิได้ ธรรมหนึ่งย่อมรวมลงในธรรมทั้งหมด ธรรมทั้งหมดก็ประชุมลงในธรรมหนึ่งข้อนี้เป็นอย่างไร? คือว่า ธรรมหนึ่งคือนามบัญญัตินี้นั้น ย่อมประมวลลงในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด คือสัตว์ก็ดี สังขารก็ดี ชื่อว่า พ้นไปจากชื่อหามีไม่. แม้ต้นไม้ในดง และภูเขาเป็นต้น ก็ยังเป็นภาระ (คำพูด) ของชาวชนบท เพราะว่า ชาวชนบทเหล่านั้น ถูกเขาถามว่า ต้นไม้นี้ชื่ออะไร?

 
  ข้อความที่ 184  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 519

ก็จะบอกชื่อที่ตนรู้จักว่า ต้นไม้นั้นเป็นต้นตะเคียน ดังนี้ พวกเขาไม่รู้จักชื่อต้นไม้ใด ก็จะพูดว่า ต้นไม้นั้นไม่มีชื่อ ดังนี้ แม้คำว่าต้นไม้ไม่มีชื่อนั้น ก็เป็นนามเธยยะ (การตั้งชื่อ) ของต้นไม้นั้นนั่นเอง. แม้ปลาและเต่าเป็นต้นในทะเลก็นัยนี้แหละ.

    สองทุกะนอกนี้ (คือนิรุตติทุกะและปัญญัติทุกะ) มีเนื้อความเหมือนทุกะนี้แล.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งนามรูปทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งนามรูปทุกะ ต่อไป

    ที่ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าเป็นนามกรณะ (การให้ชื่อ) ด้วยอรรถว่า การน้อมไปสู่อารมณ์ และด้วยอรรถว่าการยังอารมณ์ให้น้อมลงในตน. ในบรรดาอรรถทั้ง ๓ เหล่านั้น ขันธ์ ๔ ก่อน ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าการให้ชื่อ เหมือนอย่างพระนามว่า มหาสมมตะ ดังนี้ เป็นชื่อของพระเจ้ามหาสมมตะพระองค์นั้น เพราะมหาชนยกย่องแล้วฉันใด หรือว่ามารดาและบิดาตั้งชื่ออันมีเกียรติแก่บุตร อย่างนี้ว่า ลูกนี้จงชื่อว่า ติสสะ ลูกนี้จงชื่อว่า ปุสสะ ฉันใด หรือว่า นาม ที่มาโดยคุณว่า พระธรรมกถึก พระวินัยธร ดังนี้ฉันใด ชื่อของขันธ์ ๔ มีเวทนาเป็นต้น ฉันนั้นหามิได้ เพราะขันธ์ ๔ มีเวทนาเป็นต้นเมื่อจะทำชื่อของตนเกิดขึ้น ก็เป็นดุจมหาปฐพีเป็นต้น เมื่อเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อของขันธ์มีเวทนาเป็นต้น ก็ย่อมเกิดขึ้นโดยแท้จริงอยู่ ใครๆ จะพูดถึงเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วว่า เจ้าจงชื่อว่า เวทนา ดังนี้หาได้ไม่. และกิจคือหน้าที่ที่จะตั้งชื่อของเวทนานั้นก็ไม่มี. เมื่อปฐพีเกิดขึ้นแล้ว กิจที่จะตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อว่าปฐพีดังนี้มิได้มี เมื่อจักรวาล เขาสิเนรุ

 
  ข้อความที่ 185  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 520

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนักษัตร เกิดขึ้นแล้ว กิจที่จะตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อว่า จักรวาล เจ้าจงชื่อว่า สิเนรุ เจ้าจงชื่อว่า นักษัตร ดังนี้ มิได้มีนาม (ชื่อ) เกิดขึ้นแล้วนั่นแหละ ย่อมตกลงไปในโอปปาติกบัญญัติ (ได้ชื่อว่าตามสภาพที่เกิดขึ้น) ฉันใด เมื่อเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ฉันนั้น กิจที่จะตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อว่าเวทนา ดังนี้ มิได้มี. เมื่อเวทนานั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า เวทนา ก็ย่อมเกิดขึ้นนั่นแหละ. แม้ในขันธ์มีสัญญาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

    จริงอยู่ เวทนาก็ชื่อว่า เวทนานั่นแหละ สัญญาก็ชื่อว่าสัญญา สังขารก็ชื่อว่าสังขาร และวิญญาณก็ชื่อว่า วิญญาณเหมือนกัน แม้ในอดีต แม้ในอนาคต แม้ในปัจจุบัน. ถึงพระนิพพานก็ชื่อว่า พระนิพพานนั่นแหละแม้ในกาลทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๔ จึงชื่อว่า นาม โดยสภาวะกระทำชื่อ.

    ส่วนในข้อว่า การน้อมไปสู่อารมณ์ นี้ ขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม จริงอยู่ ขันธ์ ๔ เหล่านั้น น้อมไปมุ่งเฉพาะต่ออารมณ์ นามแม้ทั้งหมด ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าน้อมไป. เพราะขันธ์ ๔ ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์ พระนิพพานย่อมยังธรรมไม่มีโทษให้น้อมไปในตน เพราะเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย.

    ในอวิชชาทุกนิทเทส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดอวิชชาและภวตัณหา เพื่อแสดงความเกิดขึ้นเป็นไปของวัฏมูล.

    ในนิทเทสภวทิฏฐิ บทว่า ภวิสฺสติ อตฺตา จ โลโก จ (อัตตาและโลกจักเกิด) ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ ที่ถือว่าขันธปัญจกะว่าเป็นอัตตาและโลกแล้วยึดถือไว้โดยอาการที่ยึดถือว่า ขันธปัญจกะนั้นจักเกิด. ทิฏฐิที่ ๒ คืออุจเฉททิฏฐิ ซึ่งยึดถือเอาโดยอาการว่า ขันธปัญจกะนั้นจักไม่เกิด.

 
  ข้อความที่ 186  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 521

    ในนิทเทสปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ บทว่า ปุพฺพนฺตํ อารพฺภ (ปรารภส่วนอดีต) ได้แก่ทำส่วนอดีตให้เป็นอารมณ์ ทรงถือเอาปุพพันตานุทิฏฐิ ๑๘ ที่มาในพรหมชาลสูตร ด้วยบทว่า ปุพฺพนฺตํ อารพฺภ นี้.

    บทว่า อปรนฺตํ อารพฺภ (ปรารภส่วนอนาคต) ได้แก่ กระทำส่วนอนาคตให้เป็นอารมณ์แล้วถือเอาอปรันตานุทิฏฐิ ๔๔ อันมาแล้วในพรหมชาลสูตรนั้นนั่นแหละ. ด้วยบทว่า อปรนฺตํ อารพฺภ นี้.

    ในโทวจัสสตานิทเทส บทว่า สหธมฺมิเก วุจฺจมาเน (เมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทอันใด ชื่อว่า สหธรรมิก เมื่อภิกษุถูกชี้ถึงวัตถุในสิกขาบทนั้น ปรับอาบัติกล่าวอยู่ว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ นิมนต์ท่านแสดงอาบัติ นิมนต์ท่านออกจากอาบัติ นิมนต์ท่านกระทำคืนอาบัติ ดังนี้.

    ในบทว่า โทวจสฺสายํ (กิริยาของผู้ว่ายาก) เป็นต้น กรรมของผู้ว่ายากซึ่งถูกตักเตือนอยู่อย่างนี้ โดยการประท้วงตอบบ้าง โดยไม่ยอมรับโอวาทโดยเคารพบ้าง ชื่อว่า โทวจสฺสายํ (กิริยาของผู้ว่ายาก) กิริยาของผู้ว่ายากนั้นนั่นแหละ ตรัสเรียกว่า โทวจัสสัง (ความเป็นผู้ว่ายาก) ดังนี้ก็มี. ภาวะของความเป็นผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสิยํ (ความเป็นผู้ว่ายาก) คำนอกจากนี้ มีคำว่า ความยึดข้างขัดขืนเป็นต้น เป็นคำไวพจน์ของความเป็นผู้ว่ายากนั่นแหละ.

    บทว่า วิปฺปฏิกุลคาหิตา (ความยึดข้างขัดขืน) ได้แก่ ความยึดถือโดยไม่คล้อยตาม บุคคลชื่อว่า วิปจฺจนีกสาโต (พอใจทางโต้แย้ง) เพราะอรรถว่า มีความยินดีโดยการโต้แย้งกล่าวคือถือข้างขัดขืน. คำนี้เป็นชื่อของบุคคลผู้ได้ความสุขโดยพอใจว่า เราได้กระทำเขาให้หมดเสียงด้วยคำที่สำคัญ

 
  ข้อความที่ 187  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 522

เพียงคำเดียวเท่านั้น. ภาวะของบุคคลผู้พอใจในทางโต้แย้งนั้น ชื่อว่า วิปจฺจนีกสาตตา (ความพอใจทางโต้แย้ง) ภาวะของคนผู้ไม่เอื้อเฟื้อด้วยอำนาจความไม่รับเอาโอวาท ชื่อว่า อนาทริยํ (ความไม่เอื้อเฟื้อ) คำนอกนี้มีภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น เป็นไวพจน์ของความไม่เอื้อเฟื้อนั้นนั่นแหละ อีกอย่างหนึ่ง อาการที่ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า อนาทริตา (ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).

    ภาวะที่ไม่เคารพอันเกิดขึ้นด้วยการไม่อยู่ในอำนาจปกครองของครู ชื่อว่า อคารวตา (ความไม่เคารพ). ภาวะที่ไม่ยอมเชื่อฟังอันเกิดขึ้นด้วยการไม่อยู่ในอำนาจการปกครองของบุคคลผู้มีความเจริญ ชื่อว่า อปฺปฏิสฺสวตา (ความไม่รับฟัง).

    บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียก) ความว่า กิริยานี้ คือเห็นปานนี้เรียกว่า โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก).

    ก็ โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก) นี้ว่าโดยใจความได้แก่ ขันธ์ ๔ อันเป็นไปโดยอาการนั้น หรือว่า ได้แก่ สังขารขันธ์อย่างเดียว. แม้ในปาปมิตตตาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ จริงอยู่ โทวจัสสตาและปาปมิตตตาเป็นต้นชื่อว่า เป็นเจตสิกธรรมส่วนหนึ่งย่อมไม่มี.

    ที่ชื่อว่า อสทฺธา (คนไม่มีศรัทธา) เพราะอรรถว่า ศรัทธาของบุคคลเหล่านั้นไม่มี อธิบายว่า เขาย่อมไม่เชื่อวัตถุทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า ทุสฺสีลา (ไม่มีศีล) ได้แก่ ขึ้นชื่อว่าความชั่วของศีลย่อมไม่มี คือผู้ไม่มีศีล. บทว่า อปฺปสฺสุตา (มีสุตะน้อย) คือเว้นจากการศึกษา.

    ที่ชื่อว่า มัจฉรี (มีความตระหนี่) เพราะอรรถว่า มีความตระหนี่ ๕ อย่าง. ที่ชื่อว่า นิปฺปญฺา (มีปัญญาทราม) เพราะอรรถว่า ไร้ปัญญา. ชื่อว่า เสวนา (การเสพ) ด้วยสามารถการคบหา. การเสพที่มีกำลัง ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 188  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 523

นิเสวนา (การซ่องเสพ). การเสพโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า สํเสวนา (การซ่องเสพด้วยดี). อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่มบท ด้วยอำนาจอุปสรรคแล้วตรัสการเสวนะแม้ทั้ง ๓ บททีเดียว.

    บทว่า ภชนา (การคบ) ได้แก่ การเข้าไปใกล้.

    บทว่า สมฺภชนา (การคบหา) ได้แก่ การคบโดยส่วนทั้งปวงชื่อว่า การคบหา. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บทว่า ภตฺติ (ความภักดี) ได้แก่ ความภักดีอย่างแน่วแน่. บทว่า สมฺภตฺติ (ความจงรักภักดี) ได้แก่ ความภักดีโดยส่วนทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่มบทด้วยอุปสรรคแล้วตรัสความภักดีมั่นคงแม้ทั้งสองบท.

    บทว่า ตํสมฺปวงฺกตา (ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลนั้น) ได้แก่ภาวะที่โน้มน้าวไปด้วยกายและจิตในบุคคลเหล่านั้น อธิบายว่าความเอียงไป ความโอนไป ความเงื้อมไปในบุคคลนั้น. แม้นิทเทสโสวจัสสตาทุกะก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.

    ในนิทเทสอาปัตติกุสลตาทุกะ บทว่า ปญฺจปิ อาปตฺติขนฺธา (อาบัติทั้ง ๕ หมวด) ได้แก่ อาบัติ ๕ หมวดเหล่านั้นตามนิทเทสแห่งมาติกาคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ. บทว่า สตฺตปิ อาปตฺติกฺขนฺธา (อาบัติทั้ง ๗ หมวด) ได้แก่ อาบัติ ๗ หมวดเหล่านี้ตามนิทเทสแห่งวินัย คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต.

    บรรดาความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติเหล่านั้น ปัญญาที่รู้การกำหนดอาบัติเหล่านั้นพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ) ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดในการออกจากอาบัติพร้อมกับกรรมวาจา ชื่อว่าอาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ).

 
  ข้อความที่ 189  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 524

    ในนิทเทสสมาบัติกุสลตา ที่ชื่อว่า สมาบัติ เพราะอันพระโยคีพึงเข้า ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดอัปปนาพร้อมทั้งบริกรรม ชื่อว่า สมาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ) ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ) เพราะเมื่อตั้งใจว่า เมื่อพระจันทร์ หรือพระอาทิตย์ หรือดาวนักษัตรโคจรมาสู่ที่นี้แล้ว เราจักออกจากสมาบัติ ดังนี้ มีอยู่ด้วยปัญญาเป็นเครื่องกำหนดการออกในสมัยนั้นไม่ผิดพลาด.

    ในนิทเทสธาตุกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้การกำหนดการเรียน การมนสิการ การฟัง การทรงจำ ซึ่งธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธาตุกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ) ปัญญาที่รู้การเรียน การมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ).

    ในนิทเทสอายตนกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้กำหนดการเรียน การมนสิการ การฟัง การทรงจำซึ่งอายตนะ ๑๒ ชื่อว่า อายตนกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ).

    อีกอย่างหนึ่ง บรรดากุสลตาเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ (ธาตุกุสลตา มนสิการกุสลตา อายตนกุสลตา) ความรู้ทั้งปวง คือ การเรียน มนสิการ การฟังการเข้าใจ การแทงตลอด การพิจารณาเห็น ย่อมสมควร. ในบรรดาการรู้ทั้ง ๖ เหล่านั้น การฟัง การเรียน การพิจารณาเห็นเป็นโลกีย์ การแทงตลอดเป็นโลกุตระ การเข้าใจและมนสิการเป็นมิสสกะคือเป็นโลกีย์ก็มี เป็นโลกุตระก็มี.

    บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้นจักแจ่มแจ้งในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์. ปัญญาที่รู้ว่า ธรรมนี้เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท).

 
  ข้อความที่ 190  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 525

ว่าด้วยนิทเทสฐานาฐานทุกะ

    พึงทราบ วินิจฉัยในนิทเทสฐานาฐานทุกะ ต่อไป

    คำแม้ทั้ง ๒ นี้ว่า เหตุปจฺจยา (เป็นเหตุเป็นปัจจัย) เป็นคำไวพจน์ของกันและกัน. จริงอยู่ จักขุประสาทเป็นเหตุ และเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่ทำรูปให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อนึ่ง โสตประสาทเป็นต้นก็เป็นเหตุและเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น พืชทั้งหลายมีพืชมะม่วงเป็นต้นก็เป็นเหตุและเป็นปัจจัยแก่ผลมะม่วงเป็นต้น.

    ในนัยที่ ๒ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บทว่า เย ธมฺนา (ธรรมเหล่าใด) เป็นคำแสดงปัจจัยธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า เยสํ เยสํ (เหล่าใดๆ) เป็นคำแสดงถึงปัจจยสมุปปันนธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า น เหตู น ปจฺจยา (ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย) ได้แก่ จักขุประสาท ไม่เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณที่เกิดขึ้นกระทำเสียงให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง โสตประสาทเป็นต้น ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณที่เหลือ และพืชมะม่วงเป็นต้นก็ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลเป็นต้น ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสอาชวะและมัททวะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาชวะ และมัททวะทุกะ ต่อไป

    บทว่า นีจจิตฺตตา (ความเจียมใจ) นี้เป็นความต่างกันเพียงบทเท่านั้น เนื้อความแห่งคำนั้นว่า บุคคลชื่อว่า นีจจิตฺโต (เจียมใจ) เพราะอรรถว่า มีใจเจียมโดยไม่มีมานะ. ภาวะแห่งบุคคลผู้เจียมใจ ชื่อว่า นิจจิตฺตตา (ความเจียมใจ). คำที่เหลือมาในบทภาชนีย์แห่งจิตตุชุกตา และจิตตมุทุตานั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 191  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 526

ว่าด้วยนิทเทสขันติทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสขันติทุกะ ต่อไป

    ที่ชื่อว่า ขันติ ด้วยอำนาจการอดทน อาการแห่งความอดทน ชื่อว่า ขมนตา (กิริยาที่อดทน). ที่ชื่อว่า อธิวาสนตา (ความอดกลั้น) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอดกลั้น คือเป็นเหตุยกขึ้นเหนือตนทนอยู่ ไม่ต่อต้าน ไม่เป็นข้าศึกดำรงอยู่.

    ภาวะแห่งความไม่ดุร้าย ชื่อว่า อจณฺฑิกฺกํ (ความไม่ดุร้าย). บทว่า อนสุโรโป (ความไม่ปากร้าย) มีอธิบายว่า คำพูดที่เปล่งออกมาชั่ว เพราะยกขึ้นพูดไม่ถูกต้อง เรียกว่า ความปากร้าย. ชื่อว่า อนสุโรโป (ความไม่ปากร้าย) เพราะมีสภาพตรงกันข้ามกับปากร้ายนั้น ได้แก่ วาจาที่เปล่งออกมาดี. ในอธิการนี้ ทรงแสดงถึงเหตุ โดยผลูปจารนัย (นัยที่มุ่งถึงผล) อย่างนี้.

    บทว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส (ความแช่มชื่นแห่งจิต) ได้แก่ความที่จิตเป็นใจของตนด้วยอำนาจโสมนัส อธิบายว่า ภาวะแห่งจิตเป็นของตนนั่นแหละ คือ การที่จิตไม่พยาบาทแล้ว.

ว่าด้วยนิทเทสโสรัจจทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสโสรัจจทุกะ ต่อไป

    บทว่า กายิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย) ได้แก่กายสุจริต ๓ อย่าง. บทว่า วาจสิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา) ได้แก่ วจีสุจริต ๔ อย่าง. ด้วยบทว่า กายิกวาจสิโก (ทางกายและทางวาจา) นี้ ทรงกำหนดถืออาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) ซึ่งตั้งขึ้นทางกายและทางวาจา. บทว่า อิทํ วุจฺจติ โสรจฺจํ (นี้เรียกว่าโสรัจจะ) นี้ ตรัสชื่อโสรัจจะไว้ เพราะความงดเว้นด้วยดีจากบาป. บทว่า สพฺโพปิ

 
  ข้อความที่ 192  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 527

สีลสํวโร (ศีลสังวรแม้ทั้งหมด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงการถือศีลทางใจ เพราะบุคคลมิใช่ประพฤติอนาจารทางกายและทางวาจาเท่านั้นแม้ทางใจก็ต้องประพฤติเหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสสาขัลยทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสาขัลยทุกะ ต่อไป

    บทว่า อณฺฑกา (เป็นปม) ได้แก่ เกิดเป็นปมด้วยวาจาปริภาษและเย้ยหยันประกอบด้วยโทสะ เหมือนกับปมที่เกิดขึ้นที่ต้นไม้ที่มีโทษ ฉะนั้น.

    บทว่า กกฺกสา (เป็นกาก) ได้แก่ วาจาเสีย คือ วาจานั้นเป็นกากเช่นเดียวกับต้นไม้ที่เสียย่อมเป็นกาก เป็นจุณไหลออกมา ฉะนั้น. วาจาที่เป็นกากนั้น เป็นราวกะเสียดสีโสตเข้าไป ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นกาก.

    บทว่า ปรกฏุกา (เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น) ได้แก่ เผ็ดร้อนไม่เป็นที่ชอบใจ ให้เกิดโทสะแก่ผู้อื่น. บทว่า ปราภิสชฺชนี (เกี่ยวผู้อื่นไว้) ได้แก่เป็นดุจกิ่งไม้มีหนามงอแทงผิวหนังเกี่ยวผู้อื่นไว้ไม่ให้ไป แม้เขาจะไปก็ทำให้ติดอยู่ย่อมไม่ให้ไป ฉะนั้น.

    บทว่า โกธสามนฺตา (ยั่วให้โกรธ) ได้แก่ เป็นวาจาใกล้ต่อความโกรธ. บทว่า อสมาธิสํวตฺตนิกา (ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ) ได้แก่ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ คำเหล่านั้นทั้งหมดเป็นไวพจน์ของวาจาที่เป็นไปกับโทสะ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า ตถารูปึ วาจึ ปหาย (ละวาจาเช่นนั้นเสีย) นี้ ตรัสไว้เพื่อแสดงว่า วาจาอ่อนหวานแม้เป็นไปในระหว่างของผู้มีได้ละผรุสวาจาตั้งอยู่ก็ชื่อว่า วาจาไม่อ่อนหวานนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 193  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 528

บทว่า เนฬา อธิบายว่า โทษตรัสเรียกว่า เอฬํ โทษของวาจานั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เนฬา (ไร้โทษ) อธิบายว่าไม่มีโทษ ดุจศีล (ที่ไร้โทษ) ซึ่งตรัสไว้ในคำนี้ว่า เนฬงฺโค เสตปจฺฉาโท เป็นต้น (๑) แปลว่า รถคืออัตภาพมีศีลอันหาโทษมิได้ มีการประดับด้วยบริขารขาวเป็นต้น.

บทว่า กณฺณสุขา (สบายหู) ได้แก่ สบายแก่หูทั้งสอง เพราะเป็นวาจาที่ไพเราะโดยพยัญชนะ คือไม่ทำการเสียดแทงหูให้เกิดขึ้นดุจการแทงด้วยเข็ม.

วาจาใด ไม่ยังความโกรธให้เกิด ย่อมยังความรักให้เกิดขึ้นในสรีระเพราะเป็นวาจาไพเราะโดยอรรถ เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เปมนียา (วาจาไพเราะ).

วาจาใด ไปสู่หทัย ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนเข้าไปสู่จิตโดยง่าย เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า หทยงฺคมา (วาจาจับใจ).

วาจาใด เป็นของมีอยู่ในเมือง เพราะเป็นวาจาบริบูรณ์ด้วยคุณ เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า โปรี (วาจาของชาวเมือง). วาจาที่กล่าวเรียกว่า ดูก่อนกุมารีผู้ดี ดุจนารีผู้มีวัฒนธรรมอันดีในบุรี เพราะเหตุนั้น แม้วาจานั้นก็ชื่อว่า โปรี. วาจานี้ใด เป็นของมีอยู่แก่ชาวเมือง เพราะเหตุนั้นแม้วาจานั้น ก็ชื่อว่า โปรี อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวพระนคร จริงอยู่ชาวพระนคร มีถ้อยคำสมควร ย่อมเรียกบุคคลคราวพ่อว่าพ่อ ย่อมเรียกบุคคลควรเป็นพี่ชายน้องชายว่าพี่ชายน้องชายเป็นต้น.

วาจาใดเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักชอบใจแก่ชนเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนกนฺตา (วาจาที่ชอบใจของชนหมู่มาก).


(๑) ขุ. อุ. เล่ม ๒๕ ๑๕๑/๒๐๑

 
  ข้อความที่ 194  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 529

    วาจาใดเป็นที่ตั้งใจให้ชุ่มชื่น คือ ทำความเจริญแห่งจิตแก่ชนจำนวนมาก โดยความเป็นวาจาที่เจริญใจของชนหมู่มากนั่นแหละ เพราะเหตุนั้นวาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนมนาปา (วาจาที่เจริญใจ).

    บทว่า ยา ตตฺถ ได้แก่ วาจาใดในบุคคลนั้น.

    บทว่า สณฺหวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน) ได้แก่ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย.

    บทว่า สขิลวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน) ได้แก่ วาจาอ่อนน้อม.

    บทว่า อผรุสวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย) ได้แก่ วาจาไม่กักขฬะ.

ว่าด้วยนิทเทสปฏิสันถารทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสปฏิสันถารทุกะ ต่อไป

    บทว่า อามิสปฏิสนฺถาโร (อามิสปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่าง (รอยแตกร้าวสามัคคี) ของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้อามิส ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใด การต้อนรับแขกด้วยอามิสโดยประการนั้น.

    บทว่า ธมฺมปฏิสนฺถาโร (ธรรมปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่างของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้ธรรม ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใด การต้อนรับแขกด้วยธรรมโดยประการนั้น.

    บทว่า ปฏิสนฺถารโก โหติ (บุคคลผู้ปฏิสันถาร) ความว่า ช่องของโลกสันนิวาสมี ๒ เท่านั้น บุคคลผู้ปฏิสันถาร (ผู้อุดช่อง) ทั้ง ๒ นั้นคือบุคคลผู้ปฏิสันถารนั้นย่อมอุดช่องคือกระทำเป็นนิตย์ ด้วยการปฏิสันถารทั้ง ๒ นี้

 
  ข้อความที่ 195  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 530

คือ ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธรรมปฏิสันถาร ในอธิการนี้พึงทราบกถานี้จำเดิมแต่ต้น.

    จริงอยู่ ภิกษุผู้ทำปฏิสันถารเห็นอาคันตุกภิกษุมาอยู่ พึงลุกขึ้นต้อนรับรับบาตรจีวร ถวายอาสนะ พัดวีด้วยก้านใบตาล ล้างเท้าทาน้ำมัน เมื่อมีเนยใสและน้ำอ้อยก็พึงถวายเป็นเภสัช พึงเอื้อเฟื้อด้วยน้ำดื่ม พึงจัดที่อาศัยด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อามิสปฏิสันถารอันภิกษุกระทำโดยเอกเทศ.

    อนึ่ง ในเวลาเย็น เมื่อภิกษุผู้อ่อนกว่ายังไม่มาสู่ที่บำรุงของตนนั่นแหละควรไปสู่สำนักของภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงนั่งถามปัญหาในวิสัย มิใช่ถามปัญหาที่เหลือวิสัยของเธอ คือไม่ถามว่า พวกเธอเรียนนิกายไหน พึงถามว่า อาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของท่านชำนาญคัมภีร์ไหน ดังนี้ แล้วถามปัญหาในฐานะพอเหมาะพอควร. ถ้าเธอสามารถตอบได้ ข้อนั้นเป็นการดี. ถ้าเธอไม่อาจตอบก็พึงตอบเสียเอง ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ธรรมปฏิสันถารอันภิกษุทำโดยเอกเทศ.

    ถ้าเธออยู่ในสำนักของตน พึงพาเธอไปเที่ยวบิณฑบาตเป็นนิตย์ ถ้าเธอต้องการเพื่อจะไป วันรุ่งขึ้น ก็พึงพาเธอไปในทิศที่ควรไป เที่ยวบิณฑบาตในบ้านหนึ่งแล้วก็พึงส่งกลับ. ถ้าพวกภิกษุถูกนิมนต์ในทางทิศอื่น ก็พึงพาภิกษุนั้นผู้ปรารถนาไปด้วย เมื่อไม่ปรารถนาจะไป ด้วยคิดว่า ทิศนี้ไม่ควรแก่เราดังนี้ ก็พึงส่งพวกภิกษุที่เหลือให้ไป แล้วพาเธอเที่ยวบิณฑบาต อามิสที่ตนได้แล้วควรถวายเธอ อย่างนี้ชื่อว่า อามิสปฏิสันถารอันภิกษุกระทำแล้ว.

    ถามว่า อามิสที่ตนได้แล้ว อันภิกษุผู้ทำปฏิสันถารพึงถวายใคร.

    ตอบว่า ควรถวายภิกษุอาคันตุกะก่อน ถ้าภิกษุผู้อาพาธหรือยังไม่ได้พรรษามีอยู่ไซร้ ก็พึงถวายแก่ภิกษุแม้ผู้อาพาธเป็นต้นเหล่านั้น พึงถวายแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ พึงถวายแก่ภิกษุผู้แจกภัณฑะ แต่ภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณีย-

 
  ข้อความที่ 196  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 531

ธรรมพึงถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วๆ แม้ร้อยครั้งพันครั้ง จำเดิมแต่เถรอาสน์ไป ส่วนภิกษุผู้ทำปฏิสันถารพึงให้แก่ภิกษุผู้ยังไม่ได้ ออกไปบ้านแล้วเห็นภิกษุหรือ ภิกษุณีผู้ชราหรืออนาถา ก็พึงถวายแก่ท่านแม้เหล่านั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

    ได้ยินว่า เมื่อพวกโจรปล้นบ้านชื่อว่าคุตตศาลา ในขณะนั้นนั่นแหละ พระขีณาสวเถรีรูปหนึ่งออกจากนิโรธแล้วให้ภิกษุณีถือสิ่งของไปสู่ทางพร้อมกับมหาชน ถึงประตูบ้านนกุลนคร นั่งที่โคนไม้ในเวลาเที่ยงวัน ในสมัยนั้นพระมหานาคเถระผู้อยู่ในวิหารกาฬวัลลิมณฑปเที่ยวไปบิณฑบาตที่บ้านนกุลนคร ออกมาเห็นพระเถรีจึงถามเอื้อเฟื้อด้วยภัต พระเถรี ตอบว่า ดิฉันไม่มีบาตร. พระเถระได้ให้ภัตพร้อมทั้งบาตรว่า นิมนต์ท่านฉันด้วยบาตรนี้. พระเถรีทำภัตกิจเสร็จแล้วล้างบาตรถวายพระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านจักลำบากด้วยภิกขาจารเพียงวันนี้เท่านั้น หลวงพ่อ ตั้งแต่วันนี้ไป ขึ้นชื่อว่าความลำบากด้วยภิกขาจารของท่านจักไม่มี ดังนี้ ตั้งแต่วันนั้น ขึ้นชื่อว่าบิณฑบาตมีค่าหย่อนกว่ากหาปณะมิได้เกิดขึ้นแก่พระเถระเลย นี้ชื่อว่า อามิสปฏิสันถาร.

    อันภิกษุกระทำปฏิสันถารนี้ควรตั้งอยู่ในฝ่ายสงเคราะห์บอกกรรมฐานแก่ภิกษุนั้น พึงบอกธรรม พึงกำจัดความสงสัย พึงทำกรณียกิจที่เกิดขึ้น พึงให้อัพภาน วุฏฐานะ มานัต และปริวาส ผู้ควรบรรพชาก็พึงให้บรรพชา ผู้ควรอุปสมบทก็พึงให้อุปสมบท. การทำกรรมวาจาแม้แก่ภิกษุณีผู้หวังอุปสมบทในสำนักของคนก็ควร นี้ชื่อว่า ธรรมปฏิสันถาร.

    ภิกษุผู้ทำปฏิสันถารทั้ง ๒ นี้ ย่อมยังลาภที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิด ย่อมทำลาภที่เกิดแล้วให้มั่นคง ย่อมรักษาชีวิตของตนในฐานะอันคับขัน (คือประกอบด้วยภัยร้ายแรง) ได้ เหมือนพระเถระ (ผู้ตกอยู่ในฐานะอันดับขัน)

 
  ข้อความที่ 197  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 532

ใช้มือที่จับบาตรนั่นแหละถือภัตอันเลิศ เกลี่ยถวายภัตในบาตรทั้งหมดต่อพระเจ้าโจรนาคราช ฉะนั้น (๑)

ส่วนในการยังลาภที่ยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงแสดงถึงเรื่องการถวายมหาเภสัช ที่พระเจ้ามหานาคผู้เสด็จหนีจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นแล้วได้รับความอนุเคราะห์ในสำนักของพระเถระรูปหนึ่ง ได้กลับมาดำรงอยู่ในราชสมบัติอีกทรงประพฤติให้เป็นไป ณ ลานวัดเสตัมพวิหาร ตลอดพระชนมชีพ. ในการทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวร พึงแสดงเรื่องที่พวกโจรได้รับปฏิสันถารจากมือของพระทีฆภาณกอภัยเถระแล้วไม่ปล้นห่อภัณฑะที่เจติยบรรพต.

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุ อคุตตทวารตาทุกะ

จะวินิจฉัยนิทเทสความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ต่อไป

บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา (เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว) ได้แก่เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูป ซึ่งมีโวหารอันได้แล้วว่า จักษุดังนี้ ด้วยสามารถแห่งเหตุ. ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า จักษุย่อมไม่เห็นรูป เพราะจักษุไม่ใช่จิต จิตก็เห็นรูปไม่ได้ เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่บุคคลย่อมเห็นได้ด้วยจิตที่มีปสาทวัตถุโดยการกระทบกันแห่งทวารและอารมณ์ ก็กถานี้เช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เขายิงด้วยธนู ดังนี้ เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้จึงมีคำอธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ ดังนี้.

บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี (ผู้ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมถือนิมิตว่าเป็นหญิงเป็นชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีความงามเป็นต้น ด้วยอำนาจฉันทราคะ ไม่ดำรงอยู่ในรูปเพียงการเห็นเท่านั้น.


(๑) ได้ยินว่า พระเจ้าโจรนาคราชดุร้าย

 
  ข้อความที่ 198  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 533

    บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี (เป็นผู้ถือโดยอนุพยัญชนะ) ได้แก่ถือเอากิริยาอาการอันต่างด้วยมือ เท้า การยิ้ม การหัวเราะ การพูด การมองดู การเหลียวซ้ายแลขวาเป็นต้น อันได้โวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะเครื่องปรากฏของกิเลสทั้งหลาย คือ เพราะกระทำกิเลสให้ปรากฏ.

    บทว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ (เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด) ความว่า ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้พึงครอบงำ คือ พึงติดตามพึงท่วมทับบุคคลนี้ ผู้มีจักขุนทรีย์ไม่สำรวมแล้วด้วยบานประตูคือสติ คือเป็นผู้ไม่มีจักขุทวารอันปิดกั้นแล้วอยู่นี้ เพราะเหตุไร เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด.

    บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ (ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น) ความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ ก็บุคคลผู้เป็นอย่างนี้แหละ ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์ ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ผู้ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้นว่า สังวรก็ดี อสังวรก็ดี ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์แม้โดยแท้ เพราะว่าสติ หรือความหลงลืมสติย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทหามิได้. แต่ว่า ในกาลใดรูปารมณ์มาถึงคลองจักขุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดดับ ๒ วาระแล้ว กิริยามโนธาตุก็ยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้นจักขุวิญญาณก็ยังทัศนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นวิปากมโนธาตุก็ยังสัมปฏิจฉันนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้น วิปากาเหตุกมโนวิญญาณธาตุก็ยังสันติรณกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นมโนวิญญาณธาตุ อันเป็นอเหตุกกิริยาก็ยังโวฏฐานกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้น ชวนจิต

 
  ข้อความที่ 199  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 534

ย่อมแล่นไป สังวรก็ดี อสังวรก็ดี จะมีอยู่ในสมัยแห่งภวังคจิตแม้นั้นก็หาไม่ หรือจะมีอยู่ในสมัยแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่งก็หาไม่ แต่ในขณะแห่งชวนจิต ความเป็นผู้ทุศีลบ้าง ความหลงลืมสติบ้าง ความไม่รู้บ้าง ความไม่อดทนบ้าง ความเกียจคร้านบ้างย่อมเกิดขึ้น อสังวรย่อมมี. ก็อสังวรนั้นเป็นอย่างนี้ จึงตรัสเรียกว่า อสังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะเมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็มิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง เหมือนอะไร? เหมือนประตู ๔ ด้านในพระนครเขามิได้ปิดไว้ ถึงในภายในเรือน ซุ้มประตูและห้องเป็นต้นจะปิดไว้อย่างดีก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่ามิได้รักษา มิได้คุ้มครองสิ่งของทั้งหมดไว้ในภายในพระนครได้เลย เพราะพวกโจรเข้าไปทางประตูนคร พึงกระทำตามปรารถนาได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในชวนะ เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครองแม้ทวาร แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

    แม้คำมีอาทิว่า ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้นั่นแหละ.

    บทว่า ยา อิเมสํ (อินทรีย์ ๖ เหล่านี้อันใด) ความว่า การไม่คุ้มครองอันใด กิริยาที่ไม่คุ้มครองอันใด การไม่รักษาอันใด การไม่สำรวมอันใดแห่งอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ อธิบายว่า การไม่กั้น การไม่ปิดอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโภชเน อมัตตัญญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ) ต่อไป

    บทว่า อิเธกจฺโจ (บุคคลบางคนในโลกนี้) ได้แก่ บุคคลบางคนในสัตวโลกนี้. บทว่า อปฺปฏิสงฺขา (ไม่พิจารณา) ได้แก่ ไม่รู้ คือไม่ใคร่ครวญด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า อโยนิโส (โดยไม่แยบคาย)

 
  ข้อความที่ 200  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 535

ได้แก่ โดยมิใช่อุบาย. บทว่า อาหารํ (อาหาร) ได้แก่ สิ่งที่พึงกลืนกินมีอาหารและน้ำดื่มเป็นต้น. บทว่า อาหาเรติ (บริโภค) ได้แก่ย่อมบริโภคคือย่อมกลืนกิน. บทว่า ทวาย (เพื่อจะเล่น) เป็นต้นนี้ตรัสไว้เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย จริงอยู่ บุคคลเมื่อบริโภคอาหารโดยไม่ใช่อุบาย ย่อมบริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตกแต่ง (๑) หรือเพื่อการประดับ (๒) ไม่ชื่อว่า บริโภคเพราะอาศัยอุบายอันเป็นประโยชน์นี้.

บทว่า ยา ตตฺถ อสนฺตุฏตา (ความเป็นผู้ไม่สันโดษ) ได้แก่กิริยาที่ไม่พอใจ คือความที่ไม่พอใจในการบริโภคอาหาร โดยมิใช่อุบายนั้นอันใด. บทว่า อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ) ได้แก่ ความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ คือ การไม่รู้จักประมาณ กล่าวคือความพอดี.

บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจการบริโภคอาหารอันไม่พิจารณานี้ เรียกชื่อว่า โภชเน อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค).

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุ คุตตทวารตาทุกะ

จะวินิจฉัยนิทเทสความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ต่อไป

บทว่า จกฺขุนา (ด้วยจักษุ) เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ (เป็นผู้ไม่ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมไม่ถือนิมิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิต เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์


(๑) บาลีว่า มณฺฑนาย เพื่อประเทืองผิว

(๒) วิภูสนาย เพื่อความอ้วนพี.

 
  ข้อความที่ 201  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 536

แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันมิได้คุ้มครอง ฉันใด ในอธิการนี้ก็ฉันนั้น เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันคุ้มครองแล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ย่อมเป็นอันคุ้มครองแล้ว เหมือนอะไร? เหมือนประตูพระนครที่ปิดดีแล้ว ภายในบ้านเป็นต้นไม่ได้ปิดไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิ่งของทั้งหมดภายในพระนคร ก็ย่อมเป็นอันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วเหมือนกัน เพราะเมื่อประตูพระนครปิดแล้ว พวกโจร ก็ย่อมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดในชวนจิตแล้ว แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สังวรแม้เกิดอยู่ในในขณะแห่งชวนจิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้.

    แม้ในบทมีอาทิว่า ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้แหละ.

    จะวินิจฉัยในนิทเทสโภชเน มัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ) ต่อไป.

    บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหารํ อาหาเรติ (พิจารณาโดยแยบคายบริโภคอาหาร) ได้แก่ รู้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาแล้วบริโภคอาหารโดยอุบาย.

    บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอุบายนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เนว ทวาย (ไม่ใช่เพื่อเล่น) ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เนว ทวาย ได้แก่ ไม่บริโภคเพื่อเล่น. ในพระบาลีนั้น นักเต้นรำและคนกระโดดสูงเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมบริโภคเพื่อเล่น. เพราะเมื่อเขาบริโภคโภชนะใดแล้ว การเล่นกล่าวคือฟ้อนรำกาพย์กลอนและการเล่นโศลก ย่อมแจ่มใสยิ่งนัก ชนเหล่านั้นแสวงหาอาหารโดยอธรรมมิได้สม่ำเสมอแล้วย่อมบริโภคอาหารเหล่านั้น แต่ภิกษุนี้ไม่บริโภคอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 202  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 537

    บทว่า น มทาย (ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา) ได้แก่ ย่อมไม่บริโภคเพื่อความเพิ่มพูนความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษ. ในข้อนั้น พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ชื่อว่า ย่อมบริโภคเพื่อความมัวเมา เพราะชนเหล่านั้นย่อมบริโภคโภชนะมีรสกลมกล่อมและประณีต เพื่อความเพิ่มพูนความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษของตน แต่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภคอย่างนั้น.

    บทว่า น มณฺฑนาย (ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว) ความว่า ไม่บริโภคเพื่อตกแต่งสรีระ ในข้อนั้น หญิงแพศยา หญิงชาวบ้าน หญิงในเมืองเป็นต้น ย่อมดื่มเนยใสและน้ำอ้อย ย่อมบริโภคอาหารแต่น้อยทั้งเป็นอาหารที่ละเอียดอ่อน ด้วยคิดว่า การบริโภคอย่างนี้ การดำรงอยู่แห่งอวัยวะของพวกเราจักดำรงอยู่ดี ฉวีวรรณในสรีระจักผ่องใส ดังนี้ แก่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภคอย่างนั้น.

    บทว่า น วิภูสนาย (ไม่บริโภคเพื่อความอ้วนพี) ได้แก่ ไม่บริโภคเพื่อต้องการประดับด้วยเนื้อในสรีระ ในบุคคลเหล่านั้น นักมวยปล้ำ นักมวยกำหมัด และนักมวยสมัครเล่นเป็นต้น ย่อมยังสรีระให้ล่ำสันด้วยโภชนาหารมีปลาและเนื้อเป็นต้นที่สนิทดี โดยคิดว่า ด้วยการบริโภคอย่างนี้ เนื้อของพวกเราจักล่ำสันเพื่อประโยชน์แก่การที่จะทนต่อการต่อยตี ดังนี้ แต่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภคเพื่อประโยชน์ทำเนื้อให้ล่ำสันในสรีระอย่างนั้น.

    บทว่า ยาวเทว (เพียง) นี้เป็นคำแสดงการกำหนดประโยชน์ในการกลืนกินอาหาร. บทว่า อิมสฺส กายสฺส ิติยา (เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้) ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อต้องการให้กรชกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ดำรงอยู่ ข้อนี้เป็นประโยชน์ในการกลืนกินอาหารของภิกษุนี้. บทว่า ยาปนาย

 
  ข้อความที่ 203  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 538

(เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป) ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อประโยชน์แก่การให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป. บทว่า วิหึสูปรติยา (เพื่อบำบัดความหิว) ได้แก่ ความหิวเกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคเป็นปัจจัย ชื่อว่า วิหิงสา ย่อมบริโภคเพื่อต้องการกำจัดวิหิงสานั้น คือเพื่อให้วิหิงสานั้นสงบลง. บทว่า พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย (เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์) ความว่า ไตรสิกขาคือศาสนาทั้งสิ้น ชื่อว่า พรหมจรรย์ ย่อมบริโภคเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์นั้น. บทว่า อิติ นี้เป็นบทแสดงถึงอุบาย อธิบายว่า ด้วยอุบายนี้.

บทว่า ปุราณญฺจ เวทนํ ปฏิหํขามิ (เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย) ความว่า เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคอาหารเป็นปัจจัย ชื่อว่า เวทนาเก่า ภิกษุย่อมบริโภคอาหารด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่านั้น.

บทว่า นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ (จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย) ความว่า เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคเกินไปเป็นปัจจัย (๑) ชื่อว่าเวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคด้วยคิดว่า เราจักไม่ให้เวทนาใหม่นั้นเกิดขึ้นดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคแล้วเป็นปัจจัย ชื่อว่าเวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคเพื่อมิให้เกิดเวทนานั้นซึ่งยังไม่เกิดขึ้นนั่นแหละ.

บทว่า ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ แปลว่าความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา. บทว่า อนวชฺชตา จ (ความไม่มีโทษ) นี้ ได้แก่ ในการบริโภคนี้สิ่งที่มีโทษก็มี สิ่งที่ไม่มีโทษก็มี ในสองอย่างนั้น การแสวงหาโดยไม่ชอบธรรมการรับเอาโดยไม่ชอบธรรม การบริโภคโดยไม่ชอบธรรม นี้ชื่อว่า สาวัชชะ (มีโทษ). การแสวงหาโดยธรรม การรับเอา การพิจารณาแล้วบริโภคโดยธรรม นี้ชื่อว่า อนวัชชะ. (ไม่มีโทษ).


(๑) ฉบับพม่าเป็น อติภุตฺตปจฺจเยน.

 
  ข้อความที่ 204  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 539

    บุคคลบางคนย่อมทำอาหารที่ไม่มีโทษนั่นแหละให้มีโทษ คือทำอาหารที่ตนได้มาโดยธรรมแล้วบริโภคเกินประมาณ เธอย่อมไม่อาจเพื่อให้อาหารนั้นๆ ให้ย่อย ย่อมลำบากด้วยการอาเจียนและถ่ายท้องเป็นต้น พวกภิกษุทั้งวัดต้องช่วยกันขวนขวายในการปฏิบัติร่างกายและแสวงหายาเป็นต้นให้ภิกษุนั้น เมื่อถูกถามว่า นี่อะไรๆ พวกภิกษุก็จะพูดว่า ภิกษุรูปโน้นท้องขึ้นดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายก็จะพากันตำหนิติเตียนว่า ท่านนี้มีปกติอย่างนี้เป็นนิจกาลแหละ ย่อมไม่รู้จักประมาณท้องของตน ดังนี้ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ย่อมทำอาหารที่ไม่มีโทษให้มีโทษ อย่างนี้. ภิกษุไม่กระทำเหมือนอย่างนั้น ย่อมฉันอาหารด้วยมนสิการว่า ความไม่มีโทษจักมี ดังนี้.

    แม้ในบทว่า ผาสุวิหาโร จ (และการอยู่โดยผาสุก) นี้ความว่า การอยู่โดยผาสุกก็มี การอยู่โดยไม่ผาสุกก็มี.

พราหมณ์ตะกละ ๕ คน

    ในการบริโภคนั้น การบริโภคของพราหมณ์ ๕ คนเหล่านี้ คือ พราหมณ์ชื่อ อาหารหัตถกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ อลังสาฏกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ ตัตถวัฏฏกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ ๑ ชื่อว่าอยู่ไม่ผาสุก.

    จริงอยู่ บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น พราหมณ์ชื่อ อาหารหัตถกะบริโภคมากไม่อาจลุกขึ้นได้ตามธรรมดาของตน จึงพูดว่า ช่วยฉุดมือที ดังนี้. พราหมณ์ชื่ออลังสาฏกะ บริโภคอาหารมากแม้จะลุกขึ้นได้แต่ไม่อาจนุ่งผ้าได้. พราหมณ์ชื่อ ตัตถวัฏฏกะ บริโภคมากไม่สามารถลุกขึ้นได้ ย่อมกลิ้งอยู่ที่นั้นนั่นแหละ. พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ บริโภคมากจนล้นถึงปาก จนถึงพวกกาอาจจิกกินได้. พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ บริโภคมากไม่อาจเพื่อหุบปากได้ ย่อมอาเจียนในที่นั้นนั่นแล.

 
  ข้อความที่ 205  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 540

    ภิกษุย่อมไม่ทำอย่างนี้ ย่อมฉันอาหารด้วยคิดว่า การอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา ดังนี้. การที่ท้องพร่องด้วยคำข้าว ๔ - ๕ คำ ชื่อว่า การอยู่เป็นผาสุก เพราะเมื่อภิกษุบริโภคอาหารเพียงนี้แล้วดื่มน้ำ อิริยาบถ ๔ ย่อมเป็นไปโดยสะดวก เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดี จึงกล่าวคาถาไว้อย่างนี้ว่า

    จตฺตาโร ปญฺจ อาโลเป อภุตฺวา อุทกํ ปิเว

อลํ ผาสุวิหาราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน

    ภิกษุไม่บริโภคอาหาร ๔ - ๕ คำ แล้วพึงดื่มน้ำแทน การบริโภคอย่างนั้น สมควรเพื่ออยู่เป็นผาสุกของภิกษุผู้มีจิตเป็นไปในกรรมฐาน ดังนี้.

องค์ ๑๒ ของภิกษุผู้ฉันอาหาร

    ก็ในฐานะนี้ควรประมวลองค์ทั้งหลาย คือ

    ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อเล่น เป็นองค์ ๑

    ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา เป็นองค์ ๑

    ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว เป็นองค์ ๑

    ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่ออ้วนพี เป็นองค์ ๑

    ข้อว่า เพื่อกายดำรงอยู่และชีวิตินทรีย์เป็นไป เป็นองค์ ๑

    ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เป็นองค์ ๑

    ข้อว่า เพราะโดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่เกิด เป็นองค์ ๑

    ข้อว่า ความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา เป็นองค์ ๑

 
  ข้อความที่ 206  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 541

ข้อนี้ว่า "ความไม่มีโทษ และการอยู่เป็นสุข เป็นอานิสงส์แห่งการบริโภคโภชนะ ในความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหารนี้

    ส่วนพระมหาสีวเถระกล่าว องค์ ๔ ข้างต้น ชื่อว่าเป็นข้อห้าม รวมเป็นองค์ ๑ พึงประมวลองค์ ๘ เบื้องปลายมา ในองค์ ๘ เบื้องปลายนั้น ข้อว่า เพียงให้กายนี้ดำรงอยู่ จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไปจัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิว จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า ด้วยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่า จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่าความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า ความไม่มีโทษจัดเป็นองค์ ๑ ส่วนการอยู่ผาสุกเป็นอานิสงส์ของการบริโภค ดังนี้.

    ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร.

    บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า การบริโภคด้วยการพิจารณาเป็นไปด้วยสามารถการรู้จักประมาณอันควรในการแสวงหา การรับและการบริโภคนี้ ชื่อว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร).

ว่าด้วยมุฏฐสัจจทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในมุฏฐสัจจทุกะ ต่อไป

    บทว่า อสติ (ความระลึกไม่ได้) ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เว้นจากสติ.

    บทว่า อนนุสฺสติ อปฺปฏิสฺสติ (ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก) นี้ทรงเพิ่มบทด้วยอำนาจอปสรรค.

 
  ข้อความที่ 207  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 542

บทว่า อสรณตา แปลว่า อาการที่ระลึกไม่ได้.

บทว่า อธารณตา (ความไม่ทรงจำ) ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทรงจำเพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความไม่ทรงจำนั้นถึงตั้งใจจำก็ไม่อาจรักษาไว้ได้.

ที่ชื่อว่า ปิลาปนตา (ความเลื่อนลอย) เพราะอรรถว่า ย่อมเลื่อนลอยในอารมณ์ เหมือนกระโหลกน้ำเต้าลอยในน้ำฉะนั้น.

บทว่า ปมุสฺสนตา (๑) (ความหลงลืม) ได้แก่ เพราะไม่มีสติ หรือหลงลืมสติ เพราะบุคคลผู้ไม่มีสติหรือหลงลืมสตินั้น ย่อมเป็นดุจกาที่เก็บก้อนข้าว และเป็นเช่นกับสุนัขจิ้งจอกที่เก็บก้อนเนื้อ ฉะนั้น.

ว่าด้วยภาวนาพลทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสภาวนาพละ ต่อไป

บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ (ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย) คือโพธิปักขิยธรรม.

บทว่า อาเสวนา (การเสพ) คือการเสพตั้งแต่ต้น.

บทว่า ภาวนา (การเจริญ) คือการเพิ่มขึ้น.

บทว่า พหุลีกมฺมํ (กระทำให้มาก) คือกระทำบ่อยๆ.

นิทเทสแห่งศีลวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโสรัจจนิทเทสนิทเทสแห่งทิฏฐิวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับทิฏฐิสัมปทา และนิทเทสแห่งทิฏฐิสัมปทา พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับนิทเทสแห่งทิฏฐิปาทาน. นิทเทสแห่งศีลวิสุทธิเหมือนกับนิทเทสแห่งศีลสัมปทาก็จริง ถึงอย่างนั้น ในนิทเทสแห่งศีลสัมปทานั้น พระองค์ตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลอันให้ถึงวิสุทธิ ส่วนในนิทเทสแห่งศีลวิสุทธินี้ ตรัสศีลอันถึงวิสุทธิ.


(๑) บาลีเป็น สมฺมุสนตา

 
  ข้อความที่ 208  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 543

    อนึ่ง โลกิยะและโลกุตรธรรมแม้เป็นไปในภูมิ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ด้วยทุกะทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ

    ๑. สติและสัมปชัญญะ (ทุกะที่ ๓๐)

    ๒. ปฏิสังขานพละและภาวนาพละ (ทุกะที่ ๓๑)

    ๓ สมถะและวิปัสสนา (ทุกะที่ ๓๒)

    ๔. สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต (ทุกะที่ ๓๓)

    ๕. ปัคคาหะและอวิกเขปะ (ทุกะที่ ๓๔)

    ๖. สีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา (ทุกะที่ ๓๖).

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิ ต่อไป

    บทว่า กมฺมสฺสกตาณํ (ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน) ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า นี้เป็นกรรมของตน นี้ไม่ใช่กรรมของตน บรรดากรรมทั้ง ๒ เหล่านั้น กรรมที่ตนทำแล้วหรือผู้อื่นทำแล้วจงยกไว้ อกุศลกรรมแม้ทั้งหมดไม่ใช่ของตน เพราะเหตุไร? เพราะทำลายประโยชน์ และเพราะให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลกรรมชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะทำลายสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และเพราะให้เกิดประโยชน์ ในข้อนั้น เหมือนบุรุษมีทรัพย์มีโภคะ เดินทางไกลในระหว่างทาง เมื่อเขาประกาศเล่นงานนักษัตรในบ้านและนิคมเป็นต้น ก็มิได้คิดว่า เราเป็นอาคันตุกะ (แขก) พึงอาศัยใครหนอเล่นงานนักษัตร เมื่อเล่นนักษัตรโดยทำนองที่ต้องการ ย่อมผ่านทางกันดารโดยสบาย ฉันใด สัตว์เหล่านี้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตญาณนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระทำกรรมอันเป็นวัฏฏคามีมาก เสวยความสุขสำราญ บรรลุพระอรหัตแล้วเกินที่จะนับได้.

 
  ข้อความที่ 209  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 544

    บทว่า สจฺจานุโลมิกาณํ (สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่ วิปัสสนาญาณที่คล้อยตามสัจจะ ๔.

    บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณํ ผลสมงฺคิสฺส าณํ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่มรรคญาณและผลญาณนั่นแหละ.

    ในนิทเทสแห่งบทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ โข ปน (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกญาณ ๔ มี กัมมัสสกตญาณเป็นต้นนั่นแหละที่ตรัสไว้ในหนหลัง ด้วยบทมีอาทิว่า ยา ปญฺา ปชานนา (ปัญญากิริยาที่รู้ชัด อันใด) ดังนี้.

    ในนิทเทสแห่งบทว่า ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธานํ (ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด) ได้แก่ ความเพียรที่ทรงแสดงด้วยบทมีอาทิว่า โย เจตสิโก วิริยารมฺโภ (การปรารภความเพียรทางใจอันใด) ดังนี้ มีคติอย่างปัญญานั่นแหละ ในฐานะแห่งปัญญาที่เป็นโลกีย์ ก็พึงทราบว่าวิริยะนั้นเป็นโลกีย์ ในฐานะแห่งโลกุตรปัญญา ก็พึงทราบว่า วิริยะนั้นเป็นโลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสสังเวคทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสังเวคทุกะ ต่อไป

    บทว่า ชาติภยํ (กลัวชาติ) ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติ (ความเกิด) โดยความเป็นภัยตั้งอยู่. แม้ในญาณที่เห็นชราและมรณะโดยความเป็นภัยเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

    ด้วยบทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ (เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลบาปธรรม) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเพียรอันเป็นเหตุของ

 
  ข้อความที่ 210  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 545

ภิกษุผู้เห็นชาติเป็นต้น โดยความเป็นภัยแล้วใคร่เพื่อจะพ้นไปจากชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ. ส่วนเนื้อความแห่งบทภาชนีย์จักมีแจ้งในอรรถกถาวิภังคัฏฐกถา.

ว่าด้วยนิทเทสอสันตุฏฐตากุศลธรรมทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในบทนิทเทสว่า อสนฺตุฏฺตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ (ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรมทั้งหลาย) ต่อไป

บทว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไป) ได้แก่ ความพอใจอย่างเยี่ยม จริงอยู่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายปักขิยภัต (อาหารที่ถวายประจำปักษ์) บ้าง สลากภัต (อาหารที่ถวายโดยวิธีจับสลาก) บ้างอุโปสถิกภัต (อาหารที่ถวายในวันอุโบสถ) บ้าง ปาฏิปทิกภัต (อาหารที่ถวายในวันหนึ่งค่ำ) บ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการถวายทานนั้นๆ จึงถวายธุวภัต (๑) (ถวายอาหารประจำ) สังฆภัต (ถวายอาหารแก่สงฆ์) วัสสาวาสิกภัต (ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา) อีก ย่อมสร้างอาวาส ย่อมถวายปัจจัยแม้ทั้ง ๔. เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มใจแม้ในการถวายนั้นๆ จึงรับสรณะทั้งหลาย สมาทานเบญจศีล เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มแม้ในการทำกุศลนั้นๆ จึงบวช ครั้นบวชแล้วก็เรียนพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎกคือนิกายหนึ่ง สองนิกาย ย่อมยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด เจริญวิปัสสนาถือเอาพระอรหัต จำเดิมแต่การบรรลุพระอรหัตแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มหาสันตุฏฐะ (อิ่มใจอย่างใหญ่) ความพอใจอย่างเยี่ยม (พิเศษ) จนถึงพระอรหัตอย่างนี้ชื่อว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไป).

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งบทว่า อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ (ความไม่ท้อถอยในความพยายาม) ดังนี้ เพราะภิกษุหน่ายอยู่ในการเจริญ


(๑) โยชนาว่า ธุรภัต อาหารที่ถวายผู้ทำความเพียร

 
  ข้อความที่ 211  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 546

กุศลธรรมอันยิ่งทั้งหลายในเสนาสนะอันสงัดทั้งหลาย ชื่อว่ายังความเพียรให้ถ้อถอย ภิกษุเมื่อไม่หน่าย ชื่อว่า ไม่ยังความเพียรให้ถ้อถอย เพราะฉะนั้นเพื่อทรงแสดงนัยนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา กุสลานํ ธมฺมานํ (เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรมอันใด) ดังนี้.

    ในพระบาลีเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจกิริยตา (ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพ) ได้แก่ ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพในการทำกุศลทั้งหลาย.

    บทว่า สาตจฺจกิริยตา (ความกระทำติดต่อ) คือ ทำติดต่อกันนั่นแหละ.

    บทว่า อฏฺิตกิริยตา (ความการทำไม่หยุด) คือ ทำไม่ให้ขาดทำไม่หยุด.

    บทว่า อโนลีนวุตฺติตา (ความประพฤติไม่ย่อหย่อน) คือ ความดำรงชีพไม่ย่อหย่อน หรือความประพฤติไม่ย่อหย่อน.

    บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา (ความไม่ทิ้งฉันทะ) คือ ไม่ทิ้งกุศลฉันทะ.

    บทว่า อนิกฺขตฺตธุรตา (ความไม่ทอดธุระ) คือ ไม่ทอดทิ้งธุระความเพียรในการสร้างกุศล.

ว่าด้วยนิทเทสวิชชาทุกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณํ วิชฺชา นี้ต่อไป

    บทว่า ปุพฺเพนิวาโส (บุพเพนิวาส) ได้แก่ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน และขันธ์ที่เนื่องกัน. การตามระลึกบุพเพนิวาสได้ ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ. ญาณสัมปยุตด้วยบุพเพนิวาสานุสตินั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ. บุพเพนิวาสานุสติญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่าย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน คือญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำขันธ์เหล่านั้น อันตนรู้แจ้งแล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้นญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า กระทำขันธ์ให้ปรากฏ.

 
  ข้อความที่ 212  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 547

    บทว่า จุตูปปาเต าณํ (จุตูปปาตญาณ) ได้แก่ ญาณ (คือความรู้) ในจุติและอุปบัติ. ญาณแม้นี้ก็ชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย คือ ญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า กระทำจุติปฏิสนธิที่รู้แล้วให้ปรากฏ.

    บทว่า อาสวานํ ขเย าณํ (อาสวักขยญาณ) ได้แก่ ญาณในสมัยสิ้นสรรพกิเลสทั้งหลาย ญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่าย่อมกำจัดความมืดอันปิดบังสัจจะทั้ง ๔ คือ ญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำสัจจะที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่ากระทำสัจจะให้แจ่มแจ้ง.

    ในข้อว่า จิตฺตสฺส จ อธิมุตฺติ นิพฺพานญฺจ (อธิมุตติแห่งจิตและนิพพาน) นี้ สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อธิมุตติแห่งจิต ด้วยอรรถว่า น้อมไปในอารมณ์ และด้วยอรรถว่า หลุดพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย. ส่วนญาณนอกนี้ชื่อว่า นิพพาน ด้วยอรรถว่า วานะกล่าวคือตัณหาไม่มีในนิพพานนี้ หรือ พระนิพพานนี้ออกไปจากวานะ (คือตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด) นั้น. บรรดาธรรมทั้ง ๒ (คืออธิมุตติแห่งจิตและนิพพาน) เหล่านั้น สมาบัติ ๘ ตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นแล้วจากกิเลสที่ข่มไว้ได้เอง. แต่นิพพานตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นโดยส่วนเดียวจากสรรพกิเลสทั้งหลาย.

    บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณํ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค) ได้แก่ มรรคญาณทั้ง ๔. บทว่า ผลสมงฺคิสฺส าณํ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่ ผลญาณทั้ง ๔.

 
  ข้อความที่ 213  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 548

    ในญาณทั้ง ๒ เหล่านั้น มรรคญาณที่ ๑ ชื่อว่า ขเย าณํ (ญาณในความสิ้นกิเลส) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังกิเลส ๕ อย่างให้สิ้นไป ให้ดับไปให้สงบ ให้ระงับ. มรรคญาณที่ ๒ ยังกิเลส ๔ อย่าง ให้สิ้นไป. มรรคญาณที่ ๓ ก็ยังกิเลส ๔ อย่างให้สิ้นไปเหมือนกัน แต่มรรคญาณที่ ๔ ชื่อว่า ขเย าณํ เพราะอรรถว่า ย่อมเกิดขึ้นทำกิเลส ๘ อย่างให้สิ้นไปให้ดับไป ให้สงบ ให้ระงับ.

    แต่ผลญาณของมรรคนั้นๆ ชื่อว่า อนุปฺปาเท าณํ (ญาณในความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลส) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นไป ในที่สุดแห่งการดับไป ในที่สุดแห่งการสงบไป ในที่สุดแห่งการระงับไป ในที่สุดแห่งการไม่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการไม่เป็นไปแห่งกิเลสเหล่านั้น ดังนี้แล.

    กถาว่าด้วยสุตตันติกทุกนิกเขป จบ

    อรรถกถานิกเขปกัณฑ์ ในอัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี จบ