พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อัตถุทธารกัณฑ์ ติกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.พ. 2565
หมายเลข  42015
อ่าน  1,089

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒

อัตถุทธารกัณฑ์ ติกะ

อัตถุทธารกัณฑ์ ติกะ หน้า 549

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา หน้า 562

อธิบายเนื้อความหมวดติกะ หน้า 562

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะ หน้า 564

ว่าด้วยธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะเป็นต้น หน้า 566

ว่าด้วยจตุตถฌาน ๑๒ อย่าง หน้า 567

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะ หน้า 571

ว่าด้วยอตีตารัมมณติกะ หน้า 573

ว่าด้วยจิตตุปบาทกามาวจรกุศล หน้า 575

ว่าด้วยจิตตุปบาทเป็นรูปาวจรจตุตถฌาน หน้า 576

ว่าด้วยปัจจุบันกาล ๓ อย่าง หน้า 578

ว่าด้วยอัชฌัตตติกะเป็นต้น หน้า 582

การจําแนกอารมณ์จิตตุปบาท หน้า 584

เหตุโคจฉกะ หน้า 589

จูฬันตรทุกะ หน้า 592

อาสวโคจฉกะ หน้า 594

สัญโญชนโคจฉกะ หน้า 597

คันถโคจฉกะ หน้า 600

โอฆะ-โยคะ-นีวรณโคจฉกะ หน้า 603

ปรามาสโคจฉกะ หน้า 606

มหันตรทุกะ หน้า 608

อุปาทานโคจฉกะ หน้า 612

กิเลสโคจฉกะ หน้า 615

ปิฏฐิทุกะ หน้า 618

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา หน้า 626

ว่าด้วยนีวรณโคจฉกทุกะ หน้า 628

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกทุกะ หน้า 629


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 76]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 549

อัตถุทธารกัณฑ์ ติกะ

[๘๗๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๘๗๙] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก และฝ่ายกิริยา (อย่างละ) ๕ ดวง ฌาน ๓ (ในจตุกนัย) และ (ในปัญจกนัย) ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมที่สัมปยุตตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกขเวทนา เว้นทุกขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านั้นเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยทุกขเวทนา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 550

ธรรมสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศลและฝ่ายวิบาก เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

เวทนาทั้ง ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้จะกล่าวว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็ไม่ได้.

[๘๘๐] ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน?

วิบากในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก.

ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก.

ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน?

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก.

[๘๘๑] อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน?

วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยธรรม.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 551

อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยธรรม.

อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม.

[๘๘๒] ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง และเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

มรรค ๔ ซึ่งเป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

[๘๘๓] ธรรมมีวิตกมีวิจาร เป็นไฉน?

กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง รูปาวจรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นวิตกและวิจารที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตกมีวิจาร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 552

ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร เป็นไฉน?

ทุติยฌานในรูปาวจรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ทุติยฌานในโลกุตรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นวิจารที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นไฉน?

ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฌาน ๓ หรือฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร (ฌานเบื้องปลายทั้ง ๓ ทั้งในจตุกกนัยและปัญจกนัย) ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ หรือฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก วิจารที่เกิดในทุติยฌานในปัญจกนัย รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร.

วิจารที่เกิดร่วมกับวิตกจะกล่าวว่ามีวิตกมีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตกแต่มีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ไม่ได้.

[๘๘๔] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง ฌาน ๒ หรือฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร (ฌานเบื้องต้นทั้ง ๒ ทั้งในจตุกกนัยและปัญจกนัย) ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒ หรือฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ หรือฌาน ๔

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 553

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง (อเหตุกะ ๒ ดวง กามาวจรกุศล ๔ ดวง) รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นอุเบกขาเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา

ปีติไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุขเวทนา ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา

สุขเวทนาไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา แต่ที่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่าสหรคตด้วยปีติก็มี

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ จะกล่าวว่า สหรคตด้วยปีติก็ไม่ได้ ว่าสหรคตด้วยสุขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาก็ไม่ได้.

[๘๘๕] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ.

ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 554

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคละก็มี ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละก็มี.

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ.

[๘๘๖] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ.

ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละก็มี ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละก็มี.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 555

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ จะละ.

[๘๘๗] ธรรมเป็นเหตุให้ถึงจุติปฏิสนธิ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ถึงจุติปฏิสนธิ.

ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.

ธรรมไม่เป็นเหตุให้ถึงจุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน?

วิบากในภูมิ ๔ กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้ถึงจุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.

[๘๘๘] ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของเสกขบุคคล.

ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน?

อรหัตตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 556

ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล.

[๘๘๙] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน?

กามาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบากทั้งหมด กามาวจรกิริยาอัพยากฤตและรูปทั้งหมด ภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริตตะ.

ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน?

กุศลธรรมและอัพยากฤตธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นมหัคคตะ.

ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ.

[๘๙๐] ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน?

กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ อเหตุกกิริยา มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ.

ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน?

วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญวนาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคตะ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 557

ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.

จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกิริยา ๔ ดวง อกุศลจิตทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์ปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็มี แต่ไม่มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ก็มี

จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกิริยา ๔ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีอารมณ์เป็นปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็มี ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้ก็มี

ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร (เบื้องต้น) ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้

รูปและนิพพานจัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๑] ธรรมทราม เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมทราม.

ธรรมปานกลาง เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมปานกลาง.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 558

ธรรมประณีต เป็นไฉน?

มรรค ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมประณีต.

[๘๙๒] ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นมิจฉาสภาวะ และให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี

ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมาสภาวะ และให้ผลแน่นอน.

ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทัธจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมให้ผลไม่แน่นอน.

[๘๙๓] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกิริยา ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีเหตุคือมรรคก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี แต่จะกล่าวว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีไม่ได้ก็มี

อริยมรรค ๔ ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่มีเหตุคือมรรค ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 559

รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีเหตุคือมรรค ไม่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี

จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง อกุศลทั้งหมด กามาวจรวิบากทั้งหมด จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๖ ดวง ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร (เบื้องต้น) ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา สามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ จะกล่าวว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ ว่ามีเหตุคือมรรคก็ไม่ได้ ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีก็ไม่ได้

รูปทั้งหมด และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๔] ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน?

วิบากในภูมิ ๔ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็มี แต่จะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้น

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่จะกล่าวไม่ได้ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้น

นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็ไม่ได้.

[๘๙๕] ธรรมทั้งปวง เว้นนิพพานเสีย ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 560

นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่าเป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่าเป็นปัจจุบันก็ไม่ได้.

[๘๙๖] ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน?

วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต

ธรรมที่จะจัดว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตโดยเฉพาะ ไม่มี.

ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน?

ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ มโนธาตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.

จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายอกุศลวิบาก อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นอดีตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอนาคตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็มี

กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๙ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นอดีตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอนาคตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็มี ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็ไม่ได้ก็มี

ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร (เบื้องต้น) ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ จะกล่าวว่ามีอารมณ์อดีตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็ไม่ได้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 561

รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๗] ธรรมทั้งปวง เว้นรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพานที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี ที่เป็นทั้งภายในและภายนอกก็มี

รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน จัดเป็นภายนอก.

[๘๙๘] ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน?

วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน.

ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน?

ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร (เบื้องต้น) ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก.

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมดเว้นรูปเสีย, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีอารมณ์เป็นภายในก็มี ที่มีอารมณ์เป็นภายนอกก็มี ที่มีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอกก็มี

อากิญจัญญายตนะ จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นภายในก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นภายนอกก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอกก็ไม่ได้

รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๙] ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้.

ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 562

ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้.

ติกะ จบ

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา (๑)

อธิบายเนื้อความหมวดติกะ

บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาอัฏฐกถากัณฑ์ที่ท่านตั้งไว้ในลำดับแห่งนิกเขปกัณฑ์. ถามว่า ก็กัณฑ์นี้ ชื่อว่า อัฏฐกถากัณฑ์ เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะยกเนื้อความพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นขยายความ.

จริงอยู่ ความแตกต่างกันแห่งธรรมที่มาในปิฎกทั้ง ๓ ท่านได้กำหนดแยกแยะใคร่ครวญไว้ด้วยอัฏฐกถากัณฑ์นั่นแหละ ย่อมชื่อว่า เป็นคำอันท่านวินิจฉัยดีแล้ว. แม้จะกำหนดทางแห่งนัยในพระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้นตลอดถึงการขยายความปัญหา การเป็นไปแห่งการนับในมหาปกรณ์ ไม่ได้ ก็ควรนำมาเปรียบเนื้อความดูจากอัฏฐกถากัณฑ์ได้.

ถามว่า ก็อัฏฐกถากัณฑ์นี้ เกิดแต่ใคร?

ตอบว่า เกิดแต่พระสารีบุตรเถระ.

จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระได้กล่าวอัฏฐกถากัณฑ์ให้สัทธิวิหาริกของท่านรูปหนึ่งผู้ไม่อาจกำหนดขยายเนื้อความในนิกเขปกัณฑ์ได้ แต่อัฏฐกถากัณฑ์นี้ ท่านกล่าวคัดค้านไว้ในมหาอรรถกถาว่า ธรรมดาพระอภิธรรมไม่ใช่


(๑) บาลีเป็น อัตถุทธารกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 563

เป็นวิสัยของพระสาวก ไม่ใช่เป็นโคจรของพระสาวก พระอภิธรรมนี้เป็นพุทธวิสัย เป็นโคจรของพระพุทธเจ้า แต่พระธรรมเสนาบดีถูกสัทธิวิหาริกถามแล้ว จึงพาสัทธิวิหาริกนั้นไปสำนักพระศาสดา แล้วทูลถามต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสอัฏฐกถากัณฑ์ประทานแก่ภิกษุนั้น. ได้ตรัสประทานอย่างไร? คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศลเป็นไฉน). อธิบายว่า เธอกำหนดว่า ธรรมดากุศลธรรมทั้งหลาย เป็นไฉน ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมมีกุศลเป็นต้นด้วยอำนาจการขยายความกระทำให้เป็นช่อๆ เป็นพวงๆ เป็นกลุ่มๆ ประทานแก่ภิกษุผู้ดุษณีภาพนั้นโดยนัยนี้ว่า กุศลอันต่างโดยภูมิด้วยนัยมีอาทิว่า ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ เราแสดงแล้วมิใช่หรือ กุศลจิตนั้นแม้ทั้งหมดในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ดังนี้.

    ในคำพุทธพจน์เหล่านั้น บทว่า จตูสุ (ในภูมิ ๔) ได้แก่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ. บทว่า กุสลํ (กุศล) ได้แก่กุศลอันต่างด้วยกุศลมีผัสสะเป็นต้น. บทว่า อิเม ธมฺมา กุสลา (สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล) ได้แก่ ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดมีผัสสะเป็นต้นที่ตรัสไว้ในภูมิ ๔ เหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

    ก็เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความแตกต่างกันด้วยอำนาจภูมิ จึงตรัสว่า ทฺวาทส อกุสลจิตฺตุปฺปาทา (จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง) ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อกุศลจิตตุปบาท นั้นต่อไป.

    ที่ชื่อว่า อุปปาโท (อุปบาทะ) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้น. อุปปาทะคือ จิตนั่นเอง ชื่อว่า จิตตุปปาทะ ก็คำว่า จิตตุปปาทะนี้เป็นประธานของ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 564

เทศนา เหมือนอย่างที่เขากล่าวว่า พระราชาเสด็จมาแล้ว ดังนี้ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงการมาแม้ของอำมาตย์เป็นต้น ฉันใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า จิตตุปบาท ดังนี้ แม้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยจิตตุปบาทเหล่านั้นฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ด้วยศัพท์ว่าจิตตุปบาทในที่ทั้งหมด พึงทราบว่าทรงถือเอาจิตพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม ดังนี้.

    ก็จำเดิมแต่นี้ไป เนื้อความแห่งบทที่พึงจำแนกด้วยบทติกะและทุกะแม้ทั้งหมด มีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ วิปาโก (วิบากในภูมิ ๔) และนวัตตัพพธรรม (คือธรรมที่ไม่พึงกล่าว) แห่งเวทนามีสุขเป็นต้นในเวทนาติกะเป็นต้น บัณฑิตใคร่ครวญพระบาลี และอรรถกถา ในหนหลังแล้วก็พึงทราบได้โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่เนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะ

    บรรดาติกะเหล่านั้น พึงทราบปริตตารัมมณติกะ (บาลีข้อ ๘๙๐) ก่อน

    ในข้อว่า สพฺโพ กามาวจรสฺส วิปาโก (กามาวจรวิบากทั้งหมด) นี้ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาน ๑๐) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ (กามอารมณ์) เพราะอรรถาว่าอาศัยจักขุประสาทเป็นต้นแล้วเริ่มเป็นไปในธรรมคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันต่างโดยเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น โดยแน่นอนทีเดียว. และมโนธาตุ ๒ คือ กุศลวิบากและอกุศลวิบาก ก็ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่าอาศัยหทยวัตถุปรารภอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั่นแหละเป็นไป ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นโดยแน่นอน.

    อเหตุกโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส ก็ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า ปรารภอารมณ์กามาวจร

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 565

๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น เป็นไปโดยแน่นอนคือด้วยอำนาจเป็นสันติรณะในทวาร ๕ ด้วยอำนาจเป็นตทารัมมณะในทวาร ๖.

    อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบากทั้ง ๒ ก็ชื่อว่าธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า ปรารภกามาวจรอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้นนั่นแหละโดยแน่นอน เป็นไปด้วยอำนาจสันติรณะในทวาร ๕ ด้วยอำนาจตทารัมมณะในทวาร ๖ แม้เมื่อเป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิก็ย่อมกระทำปริตกรรม หรือกรรมนิมิต หรือคตินิมิตให้เป็นอารมณ์ เมื่อเป็นไปด้วยอำนาจจุติในกาลเป็นที่สุดด้วยอำนาจภวังค์ในปวัตติ ก็กระทำปริตตอารมณ์นั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์.

    อนึ่ง สเหตุกกุศลวิบากจิตตุปบาท ๘ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะปรารภปริตธรรมนั่นเองให้เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ และด้วยอำนาจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ โดยนัยที่กล่าวในอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ๒ ดวงนั้นนั่นแหละ.

    กิริยามโนธาตุ (๑) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้นเป็นไปในทวาร ๕. อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส (๑) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะปรารภธรรมมีรูปเป็นต้นที่เป็นกามาวจรนั่นแหละที่เป็นปัจจุบันในทวาร ๖ แม้ที่เป็นอดีตและอนาคตในมโนทวาร กระทำอาการร่าเริงให้เป็นไปแก่พระขีณาสพ.

    ด้วยประการฉะนี้ จิตตุปบาท ๒๕ เหล่านี้ พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะ (กามอารมณ์) ส่วนเดียวเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 566

ว่าด้วยธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะเป็นต้น

ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เพราะปรารภสมาบัติเบื้องต่ำของตนๆ เป็นไป. ธรรมคือ มรรคและผล ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.

จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๘ คือ ที่เป็นกุศล ๔ เป็นกิริยา ๔ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่เสกขบุคคล ปุถุชนและพระขีณาสพปรารภกามาวจรธรรมในเวลาให้ทาน การพิจารณา การฟังธรรมโดยไม่เคารพเป็นต้นเป็นไป ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่พิจารณาธรรมมีปฐมฌานเป็นต้นที่คล่องแคล่วยิ่ง ชื่อว่า เป็นนวัตตัพพารัมมณะในการพิจารณาปัญญัติมีกสิณและนิมิตเป็นต้น. จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวงฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่ยินดีเพลิดเพลินด้วยความเห็นกามาวจรธรรม ๕๕ ดวง (๑) ว่าเป็นสัตว์มีอัตตา ชื่อว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาปรารภมหัคคตธรรม ๒๗ ดวง เป็นไปโดยอาการเห็นผิดนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นนวัตตัพพะ ในเวลาที่ที่ปรารภบัญญัติธรรมเป็นไป. จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็น ปริตตะ มหัคคตะและนวัตตัพพะ ในเวลาปรารภธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นไปด้วยอำนาจความยินดีเพลิดเพลินอย่างเดียว. และจิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะและนวัตตัพพะ ในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจโทมนัส. จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ และนวัตตัพพะ เป็นไปด้วยอำนาจความไม่ตกลงใจ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะก็พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ และนวัตตัพพะ เป็นไปด้วยอำนาจความฟุ้งซ่าน คือด้วยอำนาจแห่งความไม่สงบ.


(๑) ฎีกาว่า กามาวจรจิต ๕๔ ดวง และรูปอีก ๑

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 567

    ก็บรรดาธรรมเหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจปรารภอัปปมาณธรรมให้เป็นไป เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า น อปฺปมาณารมฺมณา (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะไม่ได้).

    จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยญาณ ๘ คือ ฝ่ายกุศล ๔ ฝ่ายกิริยา ๔ มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ นวัตตัพพะ ในเวลาพระเสกขบุคคล ปุถุชน และพระขีณาสพปรารภธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วเป็นไปในการให้ทาน การพิจารณา และการฟังธรรมโดยเคารพเป็นต้น. จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยญาณะ ๘ เหล่านั้น พึงทราบว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะในกาลแห่งโคตรภู และในกาลพิจารณาโลกุตรธรรม.

ว่าด้วยจตุตถฌาน ๑๒ อย่าง

    อนึ่ง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศลก็ดี ฝ่ายกิริยาก็ดี มีอย่างละ ๑๒ อย่าง คือ

    จตุตถฌานอันเป็นบาทในธรรมทั้งปวง ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในอากาสกสิน ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในอาโลกกสิณ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในพรหมวิหาร ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในอานาปานะ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยโสต ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในยถากัมมูปคญาณ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักขุญาณ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณ ๑

    จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณ ๑.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 568

    บรรดาจตุตฌานเหล่านั้น จตุตถฌานในกสิณ ๘ ชื่อว่า จตุตถฌานเป็นบาทในธรรมทั้งปวง จริงอยู่ จตุตถฌานในกสิณ ๘ นั้น เป็นบาทแห่งวิปัสสนาบ้าง เป็นบาทแห่งอภิญญาทั้งหลายบ้าง เป็นบาทแห่งนิโรธบ้าง เป็นบาทแห่งวัฏฏะบ้าง เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า จตุตถฌานเป็นบาทในธรรมทั้งปวง. ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในอากาสกสิณและอาโลกกสิณ เป็นบาทแห่งวิปัสสนาบ้าง เป็นบาทแห่งอภิญญาทั้งหลายบ้าง เป็นบาทแห่งวัฏฏะบ้าง แต่ไม่เป็นบาทแห่งนิโรธเท่านั้น. จตุตถฌานที่เป็นไปในพรหมวิหาร และ อานาปานสมาธิ เป็นบาทแห่งวิปัสสนา และเป็นบาทแห่งวัฏฏะเท่านั้น แต่ไม่เป็นบาทแห่งอภิญญาทั้งหลายและไม่เป็นบาทแห่งนิโรธ.

    บรรดาจตุตถฌานเหล่านั้น ฌานที่มีกสิณเป็นอารมณ์แม้ทั้ง ๑๐ (กสิน๑๐) ชื่อว่า นวัตตัพพารัมมณะ คือมีอารมณ์ที่พึงกล่าวไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะปรารภกสิณบัญญัติเป็นไป จตุตถฌานที่เป็นไปในพรหมวิหาร ก็ชื่อว่า นวัตตัพพารัมมณะ คือมีอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะปรารภสัตวบัญญัติเป็นไป. จตุตถฌานที่เป็นไปในอานาปานสมาธิ ก็ชื่อว่า นวัตตัพพารัมมณะ คือมีอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะปรารภนิมิตเป็นไป.

    จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ ย่อมมีอารมณ์เป็นปริตตะ และมหัคคตะ อย่างไร? คือว่า ในกาลใด พระโยคาวจรมีความประสงค์ทำกายให้อาศัยจิตแล้วไป (เหาะไป) ด้วยกายที่มองไม่เห็นก็ยังกายให้เปลี่ยนไปด้วยอำนาจแห่งจิต ย่อมตั้งไว้ ย่อมยกกายขึ้นในมหัคคตะ ในกาลนั้น อิทธิวิธะนั้นก็มีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะมีรูปกายเป็นอารมณ์ เพราะทำอรรถาธิบายว่า มีอารมณ์ที่ได้แล้วด้วยการประกอบ. ในกาลใด พระโยคาวจรทำจิตให้

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 569

อาศัยกายมีความประสงค์จะไปด้วยกายที่มองเห็น ก็ยังจิตให้เปลี่ยนไปตามอำนาจแห่งกาย ย่อมตั้งจิตที่มีฌานเป็นบาทไว้ คือย่อมยกขึ้นตั้งไว้ในรูปกาย ในกาลนั้น อิทธิวิธะนั้น ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เพราะมีมหัคคจิตเป็นอารมณ์เพราะทำอรรถาธิบายว่า มีอารมณ์ที่ได้ด้วยการประกอบ. จตุตถฌานที่เป็นไปด้วยทิพยโสต มีอารมณ์เป็นปริตตะอย่างเดียว เพราะปรารภเสียงเป็นไป.

    จตุตถฌานที่เป็นไปด้วยเจโตปริยญาณ มีอารมณ์เป็นปริตตะเป็นมหัคคตะและอัปปมาณะ. อย่างไร? คือว่า ในเวลาที่รู้จิตอันเป็นกามาวจรของชนเหล่าอื่น เจโตปริยญาณนั้นก็มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่รู้รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิตของชนอื่น ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้มรรคและผลของชนอื่น ก็มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ ในอธิการนี้ ปุถุชนย่อมไม่รู้จิตของพระโสดาบัน พระโสดาบันย่อมไม่รู้จิตของพระสกทาคามี ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทราบจนถึงพระอรหันต์ แต่พระอรหันต์ย่อมรู้จิตของบุคคลทั้งหมด ก็อริยบุคคลอื่นอีกที่สูง ย่อมรู้จิตของบุคคลผู้ต่ำ พึงทราบความต่างกันดังกล่าวมานี้.

    จตุตถฌานที่เป็นไปในยถากัมมุปคญาณ ย่อมมีอารมณ์เป็นปริตตะในเวลาที่รู้กรรมที่เป็นกามาวจร มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้กรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร.

    จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ มีอารมณ์เป็นปริตตะอย่างเดียวเพราะมีรูปเป็นอารมณ์.

    จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณ มีอารมณ์ที่เป็นปริตตะ มหัคคตะ อัปปมาณะ และนวัตตัพพะ. อย่างไร? คือว่า ในเวลาที่ตามระลึก

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 570

ถึงขันธ์เป็นกามาวจร บุพเพนิวาสญาณนั้น ก็มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่ตามระลึกถึงขันธ์เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่ตามระลึกถึงมรรคที่ตนเองหรือบุคคลอื่นเจริญแล้ว และผลที่ตนหรือคนอื่นทำให้แจ้งแล้วในอดีต ก็มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ แม้บุพเพนิวาสญาณโดยการพิจารณา มรรค ผล พระนิพพาน ด้วยอำนาจการตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้มีวัฏฏะอันขาดแล้วอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตเจริญมรรคแล้ว กระทำผลให้แจ้งแล้ว ปรินิพพานแล้วด้วยนิพพานธาตุ ดังนี้ ก็มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ บุพเพนิวาสญาณมีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) ในเวลาที่ตามระลึกนาม โคตร และนิมิตปฐวีกสิณเป็นต้นโดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ได้มีแล้วในอดีตกาล พระนครของพระองค์มีนามว่า พันธุมดี พระราชบิดามีพระนามว่า พระเจ้าพันธุมราช พระราชมารดามีพระนามว่า พันธุมดี ดังนี้.

    แม้ในจตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณแม้นั้น มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่รู้ว่า บุคคลนี้ในอนาคตกาลจักเกิดในกามาวจร ดังนี้. อนาคตังสญาณนั้นมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้ว่า บุคคลนี้ในอนาคตกาลจักเกิดในรูปาวจรหรืออรูปาวจรดังนี้ มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ ในเวลาที่รู้ถึงบุคคลผู้มีวัฏฏะอันขาดแล้วว่า ในอนาคตกาล บุคคลนี้จักเจริญมรรค จักกระทำผลให้แจ้งจักปรินิพพานด้วยนิพพานธาตุ ดังนี้ และมีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) ในเวลาที่รู้ชื่อและโคตรโดยนัยมีอาทิว่า ในอนาคตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า เมตไตยจักเสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์นามว่า สุพรหมจักเป็นพระพุทธบิดา พราหมณีนามว่า พรหมวดี จักเป็นพระพุทธมารดาดังนี้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 571

    ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในอรูปาวจร และจตุตถฌานในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะกล่าวในที่พระบาลีมาแล้วๆ นั่นแหละ.

    อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปุเรจาริก (ประพฤติอยู่ข้างหน้า) แห่งกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด. พึงทราบความต่างแห่งอารมณ์ของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคตด้วยอุเบกขานั้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านั้นนั่นแหละ. แต่ในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจโวฏฐัพพนะในทวาร ๕ ย่อมมีอารมณ์เป็นปริตตะอย่างเดียวเท่านั้น. ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น มีอารมณ์ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) เพราะเป็นไปปรารภนวัตตัพพธรรม (ธรรมที่ไม่พึงกล่าว) โดยความเป็นปริตตธรรมเป็นต้น. เพราะในฌาน ๓ หรือฌาน ๔ แห่งรูปาวจรเหล่านี้ รูปาวจรทั้งหลายย่อมเป็นไปในปฐวีกสิณเป็นต้น อากาสานัญจายตนะก็เป็นไปในการเพิกอากาศ อากิญจัญญายตนะก็เป็นไปในการปราศจากวิญญาณของอรูปฌาน ดังนี้แล.

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป

    จิตตุปบาทที่ประกอบด้วยญาณ ๘ ที่ตรัสไว้ในเบื้องต้น เป็นธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ (มัคคารัมมณะ) ในเวลาที่พระเสกขะและอเสกขบุคคลพิจารณามรรคที่ตนแทงคลอดแล้ว แต่ไม่มีเหตุคือมรรค เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ที่ชื่อว่า มคฺคาธิปติโน (มีมรรคเป็นอธิบดี) ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติ ในการพิจารณากระทำมรรคที่ตนแทงตลอดแล้วให้หนักหน่วง ในเวลาที่ทำธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ไม่พึงกล่าวว่า มีมรรคเป็นอารมณ์บ้าง มีมรรคเป็นอธิบดีบ้าง. อริยมรรค ๔ เป็นธรรมมีเหตุเป็นมรรคโดยส่วนเดียว เพราะ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 572

มีเหตุกล่าวคือมรรค หรือเหตุที่สัมปยุตด้วยมรรค. แต่ในเวลาที่เจริญมรรคกระทำวิริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่เกิดพร้อมกับอธิบดีก็พึงมีมรรคเป็นอธิบดีในเวลาที่ทำฉันทะ หรือจิตตะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นใหญ่ ก็ไม่พึงกล่าวว่ามีมรรคเป็นอธิบดีฉะนี้แล.

    ในรูปาวจรจตุตถฌาน ๑๒ อย่าง จตุตถฌาน ๙ อย่างมีจตุตถฌานที่เป็นบาทในธรรมทั้งปวงเป็นต้น ไม่เป็นมัคคารัมมณะ (ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์) ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (ไม่มีเหตุคือมรรค) ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี). ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสญาณ และอนาคตังสญาณ มีมรรคเป็นอารมณ์ ในเวลาที่รู้มรรคจิตของพระอริยะทั้งหลาย แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุคือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้หนักเป็นไป.

    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จตุตถฌานทั้ง ๓ นี้จึงไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง.

    ตอบว่า เพราะตนเป็นมหัคคตะ.

    เหมือนอย่างชาวโลกทั้งหมดกระทำพระราชาให้เป็นที่เคารพ ส่วนพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงกระทำความเคารพ เพราะพระมารดาบิดาเหล่านั้นเห็นพระราชาแล้วก็ไม่ลุกจากอาสนะ ไม่กระทำอัญชลีเป็นต้น ย่อมตรัสเรียกโดยนัยที่ตรัสเรียกในเวลาทรงพระเยาว์นั่นแหละฉันใด แม้จตุตถฌานทั้ง ๓ ที่เป็นไปในเจโตปริยญาณเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง เพราะความที่ตนเป็นมหัคคตะ.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 573

    แม้อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา (มโนทวาราวัชชนจิค) ก็เป็นมัคคารัมมณะคือมีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะในเวลาพิจารณามรรคของพระอริยะทั้งหลายเป็นปุเรจาริกของปัจจเวกขณะ แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุคือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิบดี (คือไม่มีมรรคเป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้หนักหน่วงเป็นไป.

    ถามว่า เพราะเหตุไร จิตนี้จึงไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง.

    ตอบว่า เพราะความที่ตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่. เหมือนพระราชา ชาวโลกทั้งปวงย่อมเคารพ แต่เด็กรับใช้ซึ่งเป็นคนเตี้ยค่อมเป็นต้น ซึ่งข้าราชบริพารมิได้ทำความเคารพอย่างยิ่งเหมือนผู้เป็นบัณฑิตเพราะความที่ตนเป็นคนโง่ ฉันใด จิตแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง เพราะตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่.

    จิตตุปบาทที่เป็นกุศลไม่ประกอบด้วยญาณเป็นต้น ย่อมไม่ได้อารมณ์ที่มีอารมณ์เป็นมรรคเป็นต้น เพราะไม่มีญาณและเพราะมีอารมณ์เป็นโลกิยธรรมพึงทราบว่า จิตตุปบาทนี้ย่อมเป็นนวัตตัพพารัมมณะเท่านั้นฉะนี้แล.

ว่าด้วยอตีตารัมมณติกะ

    พึงทราบวินิจฉัยในอตีตารัมมณติกะ ต่อไป

    ธรรม คือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาสมาบัติที่เป็นอดีตในหนหลังเป็นไป.

    บทว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอนาคตโดยเฉพาะไม่มี) ความว่า ชื่อว่า จิตที่มีอารมณ์เฉพาะโดยที่กำหนดไว้ไม่มี. ถามว่า ก็อนาคตังสญาณมีอารมณ์เป็นอนาคตโดยส่วนเดียว แม้จิตที่

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 574

เป็นเจโตปริยญาณก็ปรารภอนาคตเป็นไป มิใช่หรือ? ตอบว่า มิใช่ ไม่ปรารภเป็นไป. แต่จิตที่เป็นอนาคตังสญาณ และเจโตปริยญาณนี้มีอารมณ์เฉพาะดวงย่อมไม่มี มีแต่อารมณ์ที่เป็นมิสสกะ (ปะปนกัน) ด้วยมหัคคตจิตอื่นๆ เพราะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยรูปาวจรจตุตถฌาน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์โดยเฉพาะไม่มี) ดังนี้.

    ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๑๐) และมโนธาตุ ๓ ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะเป็นไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้นซึ่งเป็นปัจจุบัน.

    ในบทว่า ทส จิตฺตุปฺปาทา (จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก ๑๐) นี้ได้แก่ สเหตุกวิบาก ๘ ดวงก่อน ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นอดีตเท่านั้น ในเวลาที่ปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตในเวลาถือปฏิสนธิของพวกเทวดาและมนุษย์เป็นไป. แม้ในเวลาเป็นภวังค์ และจุติ ก็นัยนี้แหละ.

    แต่ว่าในเวลาที่จิตนี้ปรารภคตินิมิตถือปฏิสนธิ และในเวลาที่เป็นภวังค์ต่อจากปฏิสนธิมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน) ในขณะที่เป็นไปในทวาร ๕ ด้วยอำนาจตทารัมมณะก็มีอารมณ์เป็นปัจจุบันเหมือนกัน แต่เพราะรับอารมณ์ต่อจากชวนะที่มีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันในมโนทวารเป็นไป จึงมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. แม้ในมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายอเหตุกกุศลวิบากก็มีนัยนี้แหละ. แต่ในอธิการนี้มีเนื้อความต่างกันอย่างนี้คือ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายอเหตุกกุศลวิบากนั้นเป็นปฏิสนธิของคนทั้งหลายผู้บอดแต่กำเนิดเป็นต้นในหมู่มนุษย์อย่างเดียว และมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถทำสันติรณกิจในปัญจทวาร. ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายอเหตุกกุศลวิบาก เป็นธรรมมีอารมณ์ปัจจุบันด้วยสามารถทำสันติรณกิจ และตทารัมมณกิจในปัญจทวาร. พึง

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 575

ทราบว่า มีอารมณ์ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ด้วยสามารถตทารัมมณะในมโนทวาร เหมือนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นสเหตุกวิบาก ฉะนั้น.

ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกอกุศลวิบาก มีคติเหมือนมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายอเหตุกกุศลวิบากนั่นเอง. แต่ในที่นี้มีความแปลกกันดังนี้ว่า มโนวิญญาณธาตุที่เป็นฝ่ายอเหตุกอกุศลวิบากนั้นเป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติของพวกที่เกิดในอบายภูมิทั้งหลายอย่างเดียว. มโนวิญญาณธาตุฝ่ายอเหตุกกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส เมื่อทำอาการร่าเริงของพระขีณาสพทั้งหลายในปัญจทวาร ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน, ในเวลาปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตเป็นต้น ในมโนทวารเป็นไปด้วยอำนาจหสิตุปปาทนกิจก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน.

ว่าด้วยจิตตุปบาทกามาวจรกุศล ๘

พึงทราบบทมีอาทิว่า กามาวจรกุสลํ (กามาวจรกุศล) ต่อไป

ว่าโดยกุศลก่อน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ดวงของพระเสกขะและปุถุชนผู้พิจารณาขันธ์ ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยอดีตเป็นต้นย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. ในขณะพิจารณาบัญญัติและพระนิพพานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตก็นัยนี้แหละ. ในอธิการนี้ การพิจารณามรรคผลและนิพพานด้วยจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตเหล่านั้นไม่มี นี้เป็นการต่างกันอย่างเดียวเท่านั้น.

ว่าโดยฝ่ายอกุศล จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต ๔ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตเป็นต้นในเวลาที่ยินดีเพลิดเพลินใจและมีความถือผิดซึ่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 576

ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) ของบุคคลผู้ยินดีเพลิดเพลินปรารภบัญญัติผู้ยึดถือว่าเป็นสัตว์เป็นอัตตา. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในที่นี้ การยึดถือด้วยจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตไม่มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น.

จิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต ๒ ดวง ย่อมเป็นธรรมมีอดีตเป็นต้นเป็นอารมณ์แก่บุคคลผู้โทมนัสปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตขันธ์เป็นต้น, เป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าวแก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสปรารภบัญญัติเป็นอารมณ์.

จิตตปบาทที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ในขณะเป็นไปในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นโดยความเป็นธรรมที่ตกลงใจไม่ได้ และความฟุ้งซ่าน ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.

ว่าโดยกิริยา สเหตุกจิตตุปบาท ๘ มีคติอย่างกุศลจิตตุปบาทนั่นแหละ. กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา ในขณะเป็นไปด้วยอำนาจทำโวฏฐัพพนกิจในปัญจทวาร เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันเท่านั้น. ในเวลาที่เป็นปุเรจาริกของชวนจิตที่มีธรรมเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันเป็นอารมณ์ และมีบัญญัติเป็นอารมณ์ในมโนทวาร จิตเหล่านี้ ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.

ว่าด้วยจิตตุปบาทเป็นรูปาวจรจตุตถฌาน

ในจตุตถฌานที่เป็นรูปาวจรมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว จตุตถฌาน ๕ เหล่านี้ คือ จตุตถฌานที่เป็นบาทแห่งธรรมทั้งปวง ๑ จตุตถฌานที่เป็นไปในอากาสกสิณ ๑ จตุตถฌานที่เป็นไปในอาโลกกสิณ ๑ จตุตถฌานที่เป็นไปในพรหมวิหาร ๑ จตุตถฌานที่เป็นไปในอานาปานสมาธิ ๑ เป็นนวัตตัพพารัมมณะ (คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) ทั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 577

    จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เพราะความที่โยคาวจรบุคคลผู้ยังจิตให้เปลี่ยนไปตามอำนาจแห่งกายปรารภฌานจิตในอดีตเป็นบาทให้เป็นไป. แต่เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตแก่โยคาวจรบุคคลผู้อธิฐานธรรมอันเป็นอนาคต เหมือนพระมหากัสสปเถระเป็นต้นอธิษฐานในคราวบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็มีอารมณ์เป็นอนาคต.

    ได้ยินว่า พระมหากัสสปเถระ เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้อธิษฐานว่า ในอนาคตกาลตลอด ๒๑๘ ปี ขอกลิ่นหอม เหล่านี้ อย่าพินาศไป ดอกไม้ทั้งหลายอย่าเหี่ยวแห้ง ประทีปทั้งหลายอย่าดับดังนี้ สิ่งทั้งหมดได้เป็นเหมือนอธิษฐานนั่นแหละ. พระอัสสคุตตเถระ เห็นหมู่ภิกษุที่ฉันภัตตาหารแห้งที่เสนาสนะโรงภัต จึงอธิษฐานว่า ขอให้แอ่งน้ำจงเป็นรสนมส้มในเวลาปุเรภัตทุกวัน ดังนี้ น้ำที่ตักมาในเวลาปุเรภัตจึงมีรสเป็นนมส้ม ในเวลาปัจฉาภัต น้ำนั้นก็เป็นปรกติอย่างเดิมนั่นแหละ. แต่ในเวลาที่พระโยคีบุคคลทำกายให้อาศัยจิต (คือให้เป็นไปเร็วเหมือนจิต) แล้วไปด้วยกายที่มองไม่เห็นหรือว่าในเวลากระทำปาฏิหาริย์อื่น จตุตถฌานนั้นก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะปรารภกายเป็นไป.

    จตุตถฌานที่เป็นทิพโสต เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะปรารภเสียงที่มีอยู่นั่นแหละเป็นไป. จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต และเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต แก่บุคคลผู้รู้จิตของบุคคลเหล่าอื่นในอดีตภายใน ๗ วัน และในอนาคตภายใน ๗ วัน. แต่ในเวลาเกิน ๗ วันแล้วก็ไม่อาจเพื่อจะรู้จิตนั้นได้ เพราะว่า นั่นเป็นวิสัยของอตีตังสญาณและอนาคตังสญาณ. แต่ในเวลาที่รู้จิตปัจจุบันของคนอื่นนี้ ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 578

ว่าด้วยปัจจุบันกาล ๓ อย่าง

ชื่อว่า ปัจจุบัน นี้ มี ๓ อย่าง คือ

ขณปัจจุบัน

สันตติปัจจุบัน

อัทธาปัจจุบัน.

บรรดาปัจจุบัน ๓ เหล่านั้น ปัจจุบันที่ถึงอุปปาทขณะ ฐีติขณะ และภังคขณะ ชื่อว่า ขณปัจจุบัน. ปัจจุบันเนื่องด้วยวาระเป็นไปติดต่อกันสิ้นวาระหนึ่งหรือสองวาระ ชื่อว่า สันตติปัจจุบัน.

ในข้อสันติปัจจุบันนั้น เมื่อบุคคลนั่งในที่มืดแล้ว ออกมาสู่ที่สว่างอารมณ์ยังไม่แจ่มแจ้งทันที อารมณ์นั้นจะปรากฏชัดเจนตราบใด ภายในระหว่างนี้พึงทราบวาระที่สืบต่อกันสิ้นหนึ่งหรือสองวาระ เมื่อบุคคลเที่ยวไปในที่แจ้งแล้วเข้าไปห้องน้อย (ห้องมืด) แล้วรูปารมณ์ก็ยังไม่ปรากฏทันทีก่อน รูปารมณ์นั้นยังไม่ปรากฏตราบใด ภายในระหว่างนี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อสิ้นหนึ่งวาระหรือสองวาระ ก็เมื่อบุคคลยืนอยู่ในที่ไกล แม้เห็นการไหวมือของพวกช่างย้อมและการไหวมือเคาะระฆังตีกลองก็ยังไม่ได้ยินเสียงทันที และยังไม่ได้ยินเสียงตราบใด ในระหว่างแม้นี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อหนึ่งหรือสองวาระ. ท่านมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ก่อน.

ส่วนท่านสังยุตตภาณกาจารย์กล่าวถึง สันตติมี ๒ อย่าง คือรูปสันตติและอรูปสันตติ แล้วกล่าวว่า ระลอกน้ำที่บุคคลเดินข้ามน้ำลุยไปยังฝั่ง ยังไม่ใสสนิทตราบใด เมื่อบุคคลมาจากทางไกล ความร้อนในกายยังไม่สงบไปตราบใดนี้ชื่อว่า รูปสันตติ (ความสืบต่อแห่งรูป) เมื่อบุคคลมาจากแดดเข้าไปสู่ห้องความมืดยังไม่ไปปราศตราบใด เมื่อบุคคลมนสิการกรรมฐานภายในห้อง เปิด

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 579

หน้าต่างแลดูในเวลากลางวัน ความหวั่นไหวแห่งนัยน์ตา ยังไม่สงบตราบใดนี้ก็ชื่อว่า รูปสันตติ วาระแห่งชวนะ ๒ - ๓ ชื่อว่า อรูปสันตติ (ความสืบต่อแห่งนาม) แล้วกล่าวว่า สันตติแม้ทั้งสองนี้ ชื่อว่า ปัจจุบัน.

ส่วนปัจจุบันที่กำหนดด้วยภพหนึ่ง ชื่อว่า อัทธาปัจจุบัน ในภัตเทกรัตตสูตร (๑) ท่านพระมหากัจจายนเถระหมายเอาอัทธาปัจจุบันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โย จาวุโส มโน เย จ ธมฺมา สมฺปยุตฺตา อุภยํเมตํ ปจฺจุปฺปนฺนํ ตสฺมึ ปจฺจุปฺปนฺเนฯปฯ ธมฺเมสุ สํหิรติ ("ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้า (บุคคลมี) ความรู้สึก (๒) (วิญญาณ) เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธัมมารมณ์ทั้ง ๒ อย่าง ที่เป็นปัจจุบันนั้น เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ บุคคลจึงเพลิดเพลินมโนและธัมมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินจึงชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน ดังนี้" ชื่อว่า อัทธาปัจจุบัน.

ก็ในปัจจุบันที่เป็นสันตติและอัทธาเหล่านี้ สันตติปัจจุบันมาในอรรถกถาทั้งหลาย. อัทธาปัจจุบันแล้วในพระสูตร ในขณปัจจุบันเป็นต้นนั้น เกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จิตที่เป็นขณปัจจุบันย่อมเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะจิตของท่านผู้มีฤทธิ์ และของบุคคลอื่นเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน.

ก็ความอุปมาของเกจิอาจารย์เหล่านั้น มีดังนี้

ในกำดอกไม้ที่บุคคลชัดไปในอากาศ ดอกหนึ่งย่อมสวม ๒ ขั้วด้วยขั้วของดอกไม้ดอกหนึ่งได้แน่นอนฉันใด เมื่อพระโยคาวจรพิจารณาจิตของมหาชนด้วยสามารถเป็นกองว่า เราจักรู้จิตของคนอื่น ดังนี้ ก็จะรู้จิตของบุคคลหนึ่งด้วยจิตดวงหนึ่งในอุปปาทขณะ หรือฐีติขณะ หรือภังคขณะได้แน่ ฉันนั้น ก็คำของพวกเกจิอาจารย์นั้นท่านปฏิเสธไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ไม่ถูกต้อง


(๑) ม. อุ. เล่ม ๑๔.๕๖๐/๓๖๕

(๒) ฉบับไทยเป็น นปฺปฏิวิชฺฌติ ฉบับพม่าเป็น ปฏิวิชฺฌตี

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 580

เพราะจิตสองดวงซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลเมื่อรำลึกแม้ร้อยปี แม้พันปี ย่อมระลึกได้และย่อมรู้ได้ ไม่มีฐานะร่วมกัน และเพราะโทษแห่งการถึงความที่อาวัชชนจิตและชวนจิตมีอารมณ์แตกต่างกันในฐานะที่ไม่น่าปรารถนา. ส่วนสันตติปัจจุบัน อัทธาปัจจุบัน พึงทราบว่า ย่อมเป็นอารมณ์ (ของเจโตปริยญาณ) ได้ ดังนี้

    บรรดาสันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันเหล่านั้น คำใดที่กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า จิตของบุคคลอื่นใดในเวลาที่เปลี่ยนไป ๒ - ๓ ชวนวิถีด้วยอำนาจอดีตและอนาคตต่อจากชวนวิถีปัจจุบัน จิตนั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า สันตติปัจจุบันส่วนอัทธาปัจจุบันพึงแสดงด้วยวาระแห่งชวนะ ดังนี้ คำนั้นท่านกล่าวไว้ดีแล้ว.

    ในคำของท่านพระอรรถกถานั้น ท่านแสดงไว้ดังนี้ ท่านผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะรู้จิตของบุคคลอื่นย่อมนึกถึง การนึกถึงย่อมกระทำขณปัจจุบันให้เป็นอารมณ์แล้วก็ดับไปพร้อมกับอารมณ์นั้นนั่นแหละ ต่อจากนั้นก็เป็นชวนะ ๔ - ๕ ชวนะ มีอิทธิจิตเป็นดวงสุดท้าย จิตที่เหลือเป็นกามาวจร บรรดาจิตทั้งหมดนั้น จิตที่ดับแล้วนั้นนั่นแหละย่อมเป็นอารมณ์. จิตเหล่านั้นหาใช่มีอารมณ์ต่างกันไม่ ย่อมมีอารมณ์เดียวกันนั่นเอง เพราะความที่จิตเหล่านั้นมีอารมณ์ปัจจุบันด้วยอำนาจอัทธาปัจจุบัน ก็อิทธิจิตเท่านั้นย่อมรู้จิตของบุคคลอื่นแม้ในความมีอารมณ์เดียวกัน จิตอื่นหารู้ได้ไม่ เหมือนจักขุวิญญาณเท่านั้น ย่อมเห็นรูปในจักขุทวาร วิญญาณนอกนี้หาเห็นได้ไม่ เพราะฉะนั้น อิทธิจิตนี้จึงเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันด้วยสามารถแห่งสันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบัน ด้วยประการฉะนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะสันตติปัจจุบันย่อมเป็นไปในนัยแห่งอัทธาปัจจุบันนั่นแหละ ฉะนั้น อิทธิจิตนี้ บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ด้วยอำนาจอัทธาปัจจุบันนั่นเอง ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 581

    จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาส พึงทราบว่าเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณ์) แม้โดยการตามระลึกถึงชื่อและโคตรในการพิจารณาถึงนิพพานและนิมิตนั่นแหละ พึงทราบว่าเป็นอดีตารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตนั่นเองในกาลที่เหลือ. แม้จตุตถฌานที่เป็นไปในยถากัมมูปคญาณก็เป็นอตีตารัมมณะเหมือนกัน.

    บรรดาจตุตถฌานมีบุพเพนิวาสญาณเป็นต้นเหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณและเจโตปริยญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตก็จริง ถึงอย่างนั้น บรรดาบุพเพนิวาสญาณและเจโตปริยญาณเหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณก็เป็นธรรมมีขันธ์ในอดีต และเป็นธรรมเนื่องด้วยขันธ์ อะไรๆ ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์หามีไม่ เพราะบุพเพนิวาสญาณนั้นมีคติเสมอด้วยสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายมีขันธ์และธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ในอดีตเป็นอารมณ์. ส่วนเจโตปริยญาณมีจิตซึ่งผ่านไปภายใน ๗ วันเท่านั้นเป็นอารมณ์ เพราะเจโตปริยญาณนั้น ย่อมไม่รู้ขันธ์อื่นหรือธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ แต่โดยปริยายตรัสว่า เจโตปริยญาณมีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะมีจิตที่สัมปยุตด้วยมรรคเป็นอารมณ์ ส่วนยถากัมมูปคญาณมีเพียงเจตนาในอดีตเท่านั้นเป็นอารมณ์ พึงทราบความต่างกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.

    ในฐานะนี้ พึงทราบนัยแห่งอรรถกถา ต่อไป

    ก็เพราะตรัสไว้ในปัฏฐานว่า กุศลขันธ์เป็นปัจจัยด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย แก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ และแก่อนาคตังสญาณ ดังนี้ ฉะนั้น ขันธ์แม้ทั้ง ๔ จึงเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ และยถากัมมูปคญาณ แม้ในญาณทั้ง ๒ เหล่านั้น ยถากัมมูปคญาณก็มีกุศลและอกุศลนั่นแหละเป็นอารมณ์.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 582

    จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ ชื่อว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันเท่านั้น เพราะสี (วรรณะ) ที่เป็นอารมณ์มีอยู่. จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตเท่านั้น เพราะอนาคตังสญาณนั้นมีคติอย่างสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายที่มีขันธ์อนาคตและธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ในอนาคตเป็นอารมณ์เหมือนบุพเพนิวาสญาณ. ในบรรดาเจโตปริยญาณและอนาคตังญาณเหล่านั้น แม้เจโตปริยญาณจะมีอารมณ์เป็นอนาคตก็จริง ถึงอย่างนั้น เจโตปริยญาณนั้นก็ทำจิตที่เกิดขึ้นภายใน ๗ วันเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ อนาคตังสญาณนี้ย่อมกระทำจิตที่เกิดขึ้นบ้าง ขันธ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์บ้าง ในอนาคตตั้งแสนกัปให้เป็นอารมณ์ได้. ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณ์ คือเป็นธรรมมีอารมณ์ พึงกล่าวไม่ได้โดยส่วนเดียว เพราะไม่ปรารภธรรมแม้อย่างหนึ่งในธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันให้เป็นไป.

ว่าด้วยอัชฌัตติกะเป็นต้น

    พึงทราบวินิจฉัยในธรรมที่เป็นอัชฌัตติกะ ต่อไป

    บทว่า อนินฺทฺริยพทฺธรูปญฺจ นิพฺพานญฺจ พหิทฺธา (รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน ที่เป็นธรรมภายนอก) นี้ ตรัสว่า ธรรมชาตินี้ ชื่อว่า พหิทธา (เป็นธรรมภายนอก) เพราะไม่มีปริยายแห่งธรรมภายในที่เกิดในตน โดยประการที่ว่า ธรรมชาตินี้ จะจัดเป็นธรรมภายในโดยปริยายอะไรๆ ไม่ได้ เหมือนรูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้จะเรียกว่า เป็นธรรมภายนอก ในเพราะมีในการสืบต่อของบุคคลอื่นบ้างก็นับว่าเป็นธรรมภายในที่เกิดในตน เพราะความที่รูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์นั้นนับเนื่องในการสืบต่อของตน มิใช่ตรัสว่าเป็นภายนอกเพราะเหตุเพียงที่ไม่เกิดภายในตน.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 583

    ส่วนในอัชฌัตตารัมมณติกะ ตรัสว่า เป็นพหิทธารมณ์ (ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก) ทรงหมายเพียงการไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมสักว่าเป็นภายในของตน. พระดำรัสที่ตรัสว่า อากิญจัญญายตนะ จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นภายในก็ไม่ได้ เป็นต้น เพราะพระองค์มิยอมรับแม้ภาวะที่เป็นภายใน แม้ภาวะที่เป็นภายนอก แม้ทั้งภายในทั้งภายนอกแห่งอารมณ์ของอากิญจัญญายตนะโดยเหตุเพียงการปราศจากธรรมภายในเท่านั้น.

    ในบรรดาธรรมเหล่านั้น อากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแหละ ใช่ว่าจะเป็นนวัตตัพพารัมมณะอย่างเดียวก็หาไม่ แม้อาวัชชนจิต แม้อุปจารจิตทั้งหลายของอากิญจัญญายตนะนั้น แม้จิตที่พิจารณาอารมณ์ของอากิญจัญญายตนะนั้น แม้อกุศลจิตทั้งหลายที่เป็นไปด้วยอำนาจความยินดีเป็นต้นของอากิญจัญญายตนะนั้นทั้งหมด ก็เป็นนวัตตพพารัมมณะ (คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) ทั้งนั้น ก็ธรรมชาติเหล่านี้ เมื่อตรัสถึงอากิญจัญญายตนะแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นอันตรัสแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงมิได้ตรัสไว้แผนกหนึ่ง.

    ถามว่า ชื่อว่าเป็นอันตรัสแล้วเหมือนกัน อย่างไร?

    ตอบว่า ก็อากิญจัญญายตนะ พึงมีอารมณ์อย่างเดียวกันกับธรรมชาติที่เป็นปุเรจาริกของอากิญจัญญายตนะนั้น ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งธรรมมีอาวัชชะ และอุปจาระเป็นต้น ธรรมนั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า เป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์พึงกล่าวไม่ได้ เพราะในอดีตารัมมณติกะทรงรับรองความที่จิตตุปบาทเหล่านี้ ซึ่งตรัสไว้อย่างนี้ว่า กามาวจรกุศล อกุศล กิริยาจิตตุปบาท ๙ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ดังนี้ เป็นนวัตตัพพารัมมณะโดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านั้นไม่พึงกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้ และ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 584

เพราะตรัสถึงความที่อากิญจัญญายตนะเป็นเพียงนวัตตัพพารัมมณะโดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ อากิญจัญญายตนะ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผลแม้ ๔ ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอตีตารัมมณะ (คือไม่พึงกล่าวว่าเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต) ดังนี้ก็มี.

    บัดนี้ อากิญจัญญายตนะนั้นแม้พระองค์จะตรัสไว้อย่างเดียวในอัชฌัตตารัมมณติกะ แต่เพราะความที่กุศลมีกามาวจรเป็นต้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะ (คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) จึงตรัสหมายถึงแม้ความเป็นอารมณ์อันเดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นในหนหลัง ฉะนั้น จึงแสดงความที่กุศลมีกามาวจรเป็นต้นเหล่านั้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะแม้ในอัชฌัตตารัมมณติกะนี้. จริงอยู่ ธรรมอะไรเล่าจะขัดขวางในความที่กามาวจรกุศลเป็นต้นซึ่งเป็นอารมณ์อันเดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นเป็นนวัตตัพพารรัมมณะ เมื่อตรัสถึงอากิญจัญญายตนะนั้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ก็พึงทราบได้ว่า กามาวจรกุศลเป็นต้น ย่อมเป็นอันตรัสไว้แล้วเหมือนกัน ฉะนี้แล. คำที่เหลือในที่นี้โดยพระบาลีในอัชฌัตตารัมมณติกะมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ว่าด้วยการจำแนกอารมณ์โดยจิตตุปบาท

    ก็ว่าโดยการจำแนกอารมณ์ จิตตุปบาทเหล่านี้ คือวิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น ๖ ด้วยสามารถแห่งกุศล วิบาก กิริยาก่อน พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) เพราะปรารภสมาบัติเบื้องต่ำที่เนื่องด้วยสันดานของตนเป็นไป.

    ก็ในบรรดาจิตตุปบาท ๖ เหล่านี้ อากาสานัญจายตนะที่เป็นกิริยาย่อมเป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกิริยาเท่านั้น หาเป็นอารมณ์ของวิญ-

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 585

ญาณัญจายตนะที่เป็นกุศลและวิบากนอกนี้ไม่ เพราะเหตุไร? เพราะบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนกิริยา ไม่มีวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกุศลหรือวิบาก. ก็กุศลย่อมเป็นอารมณ์แก่กุศล วิบาก และกิริยาทั้ง ๓ ได้ เพราะเหตุไร เพราะความที่บุคคลผู้ยังอากาสานัญจายตนกุศลให้เกิดแล้วตั้งอยู่ ยังวิญญาณัญจายตนะแม้ทั้ง ๓ อย่างให้เกิดขึ้นสูงกว่าอากาสานัญจายตนะกุศลนั้นได้. ส่วนวิบากย่อมไม่เป็นอารมณ์ของจิตตุปบาทอะไรๆ เพราะเหตุไร? เพราะจิต (ในสมาบัติ) ออกจากวิบากแล้วไม่เกิดอานุภาพเป็นเครื่องนำออกเพื่อคุณอันยิ่ง (ไม่มีอภินิหาร). แม้ในการทำให้เป็นอารมณ์ของเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็นัยนี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบความที่จิตตุปบาทแม้ทั้งหมดมีฌานที่ ๓ หรือฌานที่ ๔ ซึ่งเป็นรูปาวจรเป็นต้น เป็นพหิทธารัมมณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก เพราะปรารภปฐวีกสิณเป็นต้นที่เป็นภายนอกเป็นไปโดยความเป็นภายนอกจากธรรมที่เป็นภายในของตน.

    พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า สพฺเพว กามาวจรา กุสลากุสลาพฺยากตา ธมฺมา รูปาวจรจตุตฺถฌานํ (กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจรทั้งหมด...รูปาวจรจตุตถฌาน) นี้ ต่อไป

    ว่าโดยกุศล จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ดวง เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) แก่ผู้พิจารณาธรรมมีขันธ์เป็นต้นของตน, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก (พหิทธารัมมณะ) ในขณะพิจารณาขันธ์เป็นต้นของคนเหล่าอื่นและในขณะพิจารณาบัญญัติและพระนิพพาน, เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก (อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งของตนและบุคคลอื่นทั้งสองนั้น. แม้ในญาณวิปปยุตก็นัยนี้แหละ. การพิจารณาพระนิพพานของกุศลที่เป็นญาณวิปปยุตเหล่านั้นอย่างเดียวไม่มี.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 586

    ว่าโดยอกุศล จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน เวลายินดี เพลิดเพลิน และยึดถือความเห็นผิด ซึ่งธรรมมีขันธ์เป็นต้นของตน, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาที่เป็นไปอย่างนั้นแหละในขันธ์เป็นต้น และในรูปกสิณที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นต้นของบุคคลอื่น, เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสองนั้น. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน. การยึดถือความเห็นผิดย่อมไม่มีแก่จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตเหล่านั้นอย่างเดียว จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ๒ ดวง เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน แก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสในขันธ์เป็นต้นของตน, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก แก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสในขันธ์เป็นต้น และในรูปบัญญัติที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ของบุคคลอื่น, เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง แม้จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ ก็พึงทราบว่ามีความเป็นอารมณ์ภายในเป็นต้นในเวลาเป็นไปด้วยสามารถแห่งความสงสัยและความหวั่นไหวในธรรมทั้งหลายมีประการตามที่กล่าวแล้ว.

    จิตตุปบาท ๑๓ ดวงเหล่านี้ คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓ ในเวลาที่ปรารภรูปเป็นต้นของตนเป็นไป เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลาปรารภรูปเป็นต้นของบุคคลอื่นเป็นไป เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยอำนาจอารมณ์ทั้งสองนั้น.

    อเหตุกวิบากมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสเป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลาเป็นไปปรารภธรรมมีรูปเป็นต้น ๕ อย่างของตนด้วยอำนาจสันติรณะและตทารัมมณะในปัญจทวาร และในเวลาเป็นไปปรารภกามาวจรธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นภายในด้วยอำนาจตทารัมมณะในมโนทวารนั่นแหละ, เมื่อเป็น

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 587

ไปในธรรมทั้งหลายเหล่าอื่นก็เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก, เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอกด้วยอำนาจอารมณ์ทั้งสอง. ในวิบากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาแม้ทั้ง ๒ ดวง ก็นัยนี้แหละ. ก็มโนวิญญาณธาตุเหล่านี้ย่อมเป็นไปในกรรมเป็นต้นอันต่างด้วยอัชฌัตตธรรมเป็นต้น แม้ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ ในสุคติภูมิและทุคติภูมิเท่านั้น.

    มหาวิบากจิต ๘ ดวง มีคติเหมือนอเหตุกวิบากมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาแม้ทั้ง ๒ เหล่านั้นนั่นแหละ แต่มหาวิบากจิตเหล่านี้ไม่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสันติรณะอย่างเดียว ย่อมเป็นไปในสุคติภูมิด้วยอำนาจปฏิสนธิภวังค์และจุติของสัตว์เหล่านั้นเท่านั้น. อเหตุกกิริยาที่สหรคตด้วยโสมนัสเป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลาปรารภรูปเป็นต้นของตนด้วยอำนาจการกระทำอาการร่าเริงในปัญจทวาร, เป็นธรรมมีอารมณ์ในภายนอกเป็นไปในรูปเป็นต้นของบุคคลอื่น, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายในเป็นไปด้วยอำนาจหสิตุปบาทแก่พระตถาคตเจ้าผู้พิจารณากิริยาที่พระองค์ทรงทำแล้วในเวลาเป็นโชติปาลมาณพ ท้าวมฆเทวราช และกัณหดาบสเป็นต้นในมโนทวาร, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาปรารภการกระทำกิริยาของพระนางมัลลิกาเทวี สันตติมหาอำมาตย์และนายสุมนาการเป็นต้นเป็นไป, เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถอารมณ์ทั้งสอง.

อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายในเป็นต้น ในเวลาเป็นไปในปัญจทวารด้วยอำนาจโวฏฐัพพะและในมโนทวารด้วยอำนาจอาวัชชนะ มหากิริยาจิตตุปบาท ๘ ดวง มีคติเหมือนกุศลจิตนั่นแหละ. มหากิริยาจิตตุปบาทเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพอย่างเดียว กุศลจิตย่อมเกิดแก่พระเสกขะและปุถุชน เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 588

ในข้อนี้จึงมีการทำที่ต่างกัน ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในรูปาวจรจตุตถฌานมีประการตามที่กล่าวแล้ว จตุตถฌานทั้ง ๕ มีจตุตถฌานที่เป็นบาทในธรรมทั้งปวงเป็นต้น ย่อมได้โอกาสในติกะนี้.

    จริงอยู่ ฌานทั้ง ๕ ตามที่กล่าวนี้เป็นพหิทธารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เพราะมีกสิณบัญญัติ และนิมิตเป็นอารมณ์. จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะเป็นอัชฌัตตารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายในเพราะกระทำกายและจิตของตนให้เป็นอารมณ์ในเวลาที่ยังจิตให้เปลี่ยนไปตามอำนาจกาย หรือยังกายเปลี่ยนไปตามอำนาจจิต และในเวลาที่เนรมิตรูปเป็นเพศกุมารเป็นต้นของตน มีอารมณ์เป็นภายนอก (พหิทธารัมมณะ) ในเวลาที่แสดงรูปเป็นรูปช้างและม้าเป็นต้นในภายนอก มีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก (อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ในเวลาที่เป็นไปในภายในตามกาลอันควรและในเวลาที่เป็นไปในภายนอกตามกาลอันควร.

    จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยโสต มีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) ในเวลาฟังเสียงในท้องของตน มีอารมณ์เป็นภายนอก (พหิทธารัมมณะ) ในเวลาฟังเสียงคนอื่น มีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก (อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ทั้งสอง.

    จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ มีอารมณ์เป็นภายนอกอย่างเดียว เพราะมีจิตคนอื่นเป็นอารมณ์ ก็การใช้เจโตปริยญาณนั้นรู้จิตของตนไม่มี.

    จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณเป็นธรรม มีอารมณ์เป็นภายใน ในเวลาที่ตามระลึกถึงขันธ์ของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกเพราะตามระลึกถึงขันธ์ของคนอื่น รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และบัญญัติทั้ง ๓ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถอารมณ์ทั้งสอง.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 589

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน ในเวลาเห็นรูปในท้องของตนเป็นต้น เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาที่เห็นรูปที่เหลือ เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง.

จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลาที่ระลึกถึงขันธ์ในอนาคตของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก ในเวลาที่ระลึกถึงขันธ์อันเป็นอนาคตของคนอื่นหรือรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง.

เหตุที่อากิญจัญายตนนฌานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือ เป็นอารมณ์พึงกล่าวไม่ได้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.

เหตุโคจฉกะ

[๙๐๐] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน?

กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ อโลภกุศลเหตุ อโทสกุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ อโมหกุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิเว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

โทสะ บังเกิดขึ้นจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง

โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

อโลภวิปากเหตุ อโทสวิปากเหตุ ย่อมเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 590

อโมหวิปากเหตุ บังเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก [และ] เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง

อโลภกิริยเหตุ อโทสกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา

อโมหกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรกิริยา [และ] เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ.

ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน?

เว้นเหตุทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ.

[๙๐๑] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา [และ] ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ, กุศลในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ.

ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีเหตุ.

[๙๐๒] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา [และ] ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ, กุศลในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร-

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 591

วิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ.

ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากเหตุ.

[๙๐๓] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน?

เหตุ ๒ เหตุ ๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ.

ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

ธรรมไม่มีเหตุ จะกล่าวว่าธรรมเป็นเหตุและมีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้.

[๙๐๔] ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน?

เหตุ ๒ เหตุ ๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ.

ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 592

กิริยา เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

ธรรมวิปปยุตจากเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้.

[๙๐๕] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ.

ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน?

ทวิปัญจวิญญาณ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ.

ธรรมเป็นเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็ไม่ได้.

เหตุโคจฉกะ จบ

จูฬันตรทุกะ

[๙๐๖] สัปปัจจยธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัปปัจจยธรรม.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 593

อัปปัจจยธรรม เป็นไฉน?

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัปปัจจยธรรม.

[๙๐๗] สังขตธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สังขตธรรม.

อสังขตธรรม เป็นไฉน?

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อสังขตธรรม.

[๙๐๘] สนิทัสสนธรรม เป็นไฉน?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สนิทัสสนธรรม.

อนิทัสสนธรรม เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิทัสสนธรรม.

[๙๐๙] สัปปฏิฆธรรม เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัปปฏิฆธรรม.

อัปปฏิฆธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัปปฏิฆธรรม.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 594

[๙๑๐] รูปิธรรม เป็นไฉน?

มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปิธรรม.

อรูปิธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปิธรรม.

[๙๑๑] โลกิยธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกิยธรรม.

โลกุตรธรรม เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า โลกุตรธรรม.

[๙๑๒] ธรรมทั้งหมดแล จัดเป็นเกนจิวิญเญยยธรรม (ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้) เกนจินวิญเญยยธรรม (ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้).

จูฬันตรทุกะ จบ

อาสวโคจฉกะ

[๙๑๓] อาสวธรรม เป็นไฉน?

อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

กามาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

ภวาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 595

ทิฏฐาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

อวิชชาสวะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อาสวธรรม.

ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือเว้นอาสวธรรมเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอาสวะ.

[๙๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

[๙๑๕] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่เกิดในจิตตุปบาท ๒ ดวงนี้ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (และ) เว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ.

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน?

โมหะ ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 596

[๙๑๖] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

อาสวะเหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือเว้นอาสวะเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ จะกล่าวว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะก็ไม่ได้ ว่าเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะก็ไม่ได้.

[๙๑๗] ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน?

อาสวะ ๒ อาสวะ ๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ จะกล่าวว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็ไม่ได้ ว่าสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็ไม่ได้.

[๙๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

โมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวงโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 597

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็ไม่ได้.

อาสวโคจฉกะ จบ

สัญโญชนโคจฉกะ

[๙๑๙] สัญโญชนธรรม เป็นไฉน?

สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์

กามราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

ปฏิฆสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ๒ดวง

มานสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ

ทิฏฐิสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๒ ดวง

วิจิกิจฉาสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 598

ภวราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง

อิสสาสัญโญชน์ และมัจฉริยสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง

อวิชชาสัญโญชน์ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัญโญชนธรรม.

ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์.

[๙๒๐] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

[๙๒๑] ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือเว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน?

โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 599

    [๙๒๒] ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    สัญโญชน์เหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้.

    [๙๒๓] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    สัญโญชน์ ๒ สัญโญชน์ ๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

    ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

    ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้.

    [๙๒๔] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 600

โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้.

สัญโญชนโคจฉกะ จบ

คันถโคจฉกะ

[๙๒๕] คันถธรรม เป็นไฉน?

คันถะ ๔ คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ

อภิชฌากายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

พยาปาทกายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง

สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า คันถธรรม.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 601

    ธรรมไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นคันถะทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นคันถะ.

    [๙๒๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

    [๙๒๗] ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน?

    จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นโลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย, จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง เว้นปฏิฆะที่เกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ.

    ธรรมวิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน?

    โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ปฏิฆะที่เกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมวิปปยุตจากคันถะ.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 602

    [๙๒๘] ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    คันถธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นคันถะทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็ไม่ได้.

    [๙๒๙] ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน?

    ทิฏฐิและโลภะบังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ.

    ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน?

    จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง เว้นคันถะทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสียสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.

    ธรรมวิปปยุตจากคันถะ จะกล่าวว่าธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็ไม่ได้.

    [๙๓๐] ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ปฏิฆะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 603

วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

    ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

    ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็ไม่ได้.

    คันถโคจฉกะ จบ

โอฆะ-โยคะ-นีวรณโคจฉกะ

    [๙๓๑] โอฆธรรม เป็นไฉน

    ฯลฯ

    โยคธรรม เป็นไฉน

    ฯลฯ

    นีวรณธรรม เป็นไฉน?

    นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.

    กามฉันทนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

    พยาปาทนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง

    ถีนมิทธนิวรณ์ บังเกิดในอกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก

    อุทธัจจนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 604

    กุกกุจจนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ดวง

    วิจิกิจฉานิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

    อวิชชานิวรณ์ บังเกิดในอกุศลจิตทั้งปวง

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นีวรณธรรม.

    ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในรูป ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นนิวรณ์.

    [๙๓๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    [๙๓๓] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน?

    จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

    ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพานสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 605

    [๙๓๔] ธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    นีวรณธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็ไม่ได้.

    [๙๓๕] ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน?นิวรณ์ ๒ - ๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

    ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

    ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็ไม่ได้.

    [๙๓๖] ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 606

    ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

    ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ จะกล่าวว่าธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ก็ไม่ได้.

โอฆะ-โยคะ-นีวรณโคจฉกะ จบ

ปรามาสโคจฉกะ

    [๙๓๗] ปรามาสธรรม เป็นไฉน?

    ทิฏฐิปรามาสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ปรามาสธรรม.

    ธรรมไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นปรามาสะ.

    [๙๓๘] ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 607

    [๙๓๙] ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ เป็นไฉน?

    จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นปรามาสะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ.

    ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ เป็นไฉน?

    จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ.

    ปรามาสธรรม จะกล่าวว่า สัมปยุตด้วยปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากปรามาสะก็ไม่ได้.

    [๙๔๐] ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะเป็นไฉน?

    ปรามาสธรรมนั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะ.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะก็ไม่ได้.

    [๙๔๑] ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 608

    จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะเป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

    ธรรมเป็นปรามาสะและสัมปยุตด้วยปรามาสะ จะกล่าวว่าธรรมวิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากปรามาสะและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้.

    ปรามาสโคจฉกะ จบ

มหันตรทุกะ

    [๙๔๒] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.

    ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?

    รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

    [๙๔๓] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?

    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 609

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

[๙๔๔] เจตสิกธรรม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเจตสิกธรรม.

อเจตสิกธรรม เป็นไฉน?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม.

[๙๔๕] จิตตสัมปยุตธรรม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสัมปยุตธรรม.

จิตตวิปปยุตธรรม เป็นไฉน?

รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิปปยุตธรรม

จิต จะกล่าวว่า จิตตสัมปยุตก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิปปยุตก็ไม่ได้.

[๙๔๖] จิตตสังสัฏฐธรรม (ธรรมเจือกับจิต) เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐธรรม.

จิตตวิสังสัฏฐธรรม (ธรรมไม่เจือกับจิต) เป็นไฉน?

รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิสังสัฏฐธรรม

จิต จะกล่าวว่าจิตตสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้.

[๙๔๗] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือรูปแม้อื่นใด ซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 610

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสมุฏฐานธรรม.

ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?

จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

[๙๔๘] จิตตสหภูตธรรม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสหภูธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู เป็นไฉน?

จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู.

[๙๔๙] จิตตานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ เป็นไฉน?

จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตนุปริวัตติ.

[๙๕๐] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน?

เวทนา สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 611

ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เป็นไฉน?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน.

[๙๕๑] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็นไฉน?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู.

[๙๕๒] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นไฉน?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ.

[๙๕๓] อัชฌัตติกธรรม เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม.

พาหิรธรรม เป็นไฉน?

รูปายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาหิรธรรม.

[๙๕๔] อุปาทาธรรม (ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด) เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทาธรรม.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 612

ธรรมไม่เป็นอุปาทา (ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ มหาภูตรูป ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทา.

[๙๕๕] อุปาทินนธรรม (ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง) เป็นไฉน?

วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอุปาทินนกธรรม.

อนุปาทินนธรรม (ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง) เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนธรรม.

มหันตรทุกะจบ

อุปาทานโคจฉกะ

[๙๕๖] อุปาทานธรรม เป็นไฉน?

อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน

กามุปาทานบังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทานธรรม.

ธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน?

อกุศลที่เหลือเว้นอุปาทานทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 613

[๙๕๗] ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

[๙๕๘] ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นโลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน?

โลภะซึ่งเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน.

[๙๕๙] ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

อุปาทานธรรมเหล่านี้แล ชื่อว่าธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 614

    ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือ เว้นอุปาทานทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน จะกล่าวว่า ธรรมเป็นอุปทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็ไม่ได้.

    [๙๖๐] ธรรมเป็นอุปาทาและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน?

    ทิฏฐิและโลภะบังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

    ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน?

    จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง เว้นอุปาทานทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน

    ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน จะกล่าวว่า ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็ไม่ได้.

    [๙๖๑] ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน?

    โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 615

    ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

    ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน จะกล่าวว่าธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็ไม่ได้.

    อุปาทานโคจฉกะ จบ

กิเลสโคจฉกะ

    [๙๖๒] กิเลสธรรม เป็นไฉน?

    กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

    โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

    โทสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง

    โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

    มานะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง

    ทิฏฐิ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

    วิจิกิจฉา บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

    ถีนะ บังเกิดในอกุศลที่เป็นสสังขาริก

    อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ บังเกิดในอกุศลจิตทั้งปวงสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กิเลสธรรม.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 616

    ธรรมไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกิเลส

    [๙๖๓] ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส.

    [๙๖๔] ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน?

    อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง.

    ธรรมไม่เศร้าหมอง เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมอง.

    [๙๖๕] ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน?

    อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส.

    ธรรมวิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน?

    กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 617

    [๙๖๖] ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

    กิเลสธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

    ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพกฤตในภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.

    ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลสก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้.

    [๙๖๗] ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง เป็นไฉน?

    กิเลสธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง.

    ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส

    ธรรมไม่เศร้าหมอง จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมองก็ไม่ได้ ว่าธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้.

    [๙๖๘] ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน?

    กิเลส ๒ กิเลส ๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส.

    ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน?

    อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 618

ธรรมวิปปยุตจากกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลสและสัปปยุตด้วยกิเลสก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้.

[๙๖๙] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสก็ไม่ได้.

กิเลสโคจฉกะ จบ

ปิฏฐิทุกะ

[๙๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคละ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคละก็มี ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ละก็มี.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 619

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ละ.

[๙๗๑] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละก็มี ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละก็มี.

ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพานสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ละ.

[๙๗๒] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโอดาปัตติมรรคละ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมันสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละก็มี ที่เป็นธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคละก็มี.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 620

ธรรมไม่มีสัมปยุตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะละ เป็นไฉน?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะละ.

[๙๗๓] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ละก็มี ที่เป็นธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ อันมรรคเบื้องสูง ๓ ละก็มี.

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะละ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะละ.

[๙๗๔] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน?

กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล ฝ่าย

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 621

วิบาก และกิริยา, โลกุตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นวิตกที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตก.

ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน?

ทวิปัญจวิญญาณ, ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิตก, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก.

[๙๗๕] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน?

กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, ฌาน ๑ หรือฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา, ฌาน ๑ หรือฌาน ๒ ที่เป็นโลกุตระฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน?

ทวิปัญจวิญญาณ, ฌาน ๓ หรือฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูปาวจรฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา,ฌาน ๓ หรือฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิจาร, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร.

[๙๗๖] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวงฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒ หรือฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ หรือฌาน ๓

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 622

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นปีติที่เกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปีติ.

ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ หรือฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ หรือฌาน ๒ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, ปีติ, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ.

[๙๗๗] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒ หรือฌาน๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ หรือฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ หรือฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก,และฝ่ายกริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒ หรือฌาน ๒ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก ปีติ, รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 623

[๙๗๘] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา,อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและฝ่ายวิบาก สุขเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา.

[๙๗๙] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตรจตุตถฌานฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นอุเบกขาเวทนา ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.

ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๑ ดวง

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 624เาน

ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตระฝ่ายกุศลและฝ่ายวิบาก, อุเบกขาเวทนา, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.

[๙๘๐] กามาวจรธรรม เป็นไฉน?

กามาวจรกุศล อกุศล วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด กามาวจรกิริยาอัพยากฤต และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรธรรม.

ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน?

รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกามาวจร.

[๙๘๑] รูปาวจรธรรม เป็นไฉน?

ฌาน หรือฌาน ๕ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยาสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรธรรม.

ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน?

กามาวจร อรูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูปาวจร.

[๙๘๒] อรูปาวจรธรรม เป็นไฉน?

อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอรูปาวจรธรรม.

ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน?

กามาวจร รูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 625

[๙๘๓] ปริยาปันนธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ปริยาปันนธรรม.

อปริยาปันนธรรม เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อปริยาปันนธรรม.

[๙๘๔] นิยยานิกธรรม (ธรรมเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏฏ์) เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยยานิกธรรม.

อนิยยานิกธรรม (ธรรมไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏฏ์) เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม.

[๙๘๕] นิตยธรรม (ธรรมให้ผลแน่นอน) เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นนิยตธรรมก็มี ที่เป็นอนิยตธรรมก็มี

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยตธรรม.

อนิยตธรรม (ธรรมไม่แน่นอนที่จะให้ผล) เป็นไฉน?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพกฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยตธรรม.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 626

[๙๘๖] สอุตตรธรรม (ธรรมมีธรรมอื่นยิ่งกว่า) เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สอุตตรธรรม.

อนุตตรธรรม (ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า) เป็นไฉน?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุตตรธรรม.

[๙๘๗] สรณธรรม เป็นไฉน?

อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สรณธรรม.

อรณธรรม เป็นไฉน?

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ธรรมสังคณี จบ

อรรถกถากัณฑวรรณนา

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสเหตุโคจฉกทุกะ ต่อไป

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุโดยนัยมีอาทิว่า ตโย กุสลเหตู ดังนี้แล้ว ทรงประสงค์จะแสดงเหตุเหล่านั้นนั่นแหละโดยฐานะแห่งการเกิดขึ้นอีก จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเลสุ อุปฺปชฺชนฺติ (ย่อมเกิดขึ้นในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ) ดังนี้. นัยแห่งเทศนาแม้ในโคจฉกะที่เหลือบัณฑิตพึงทราบโดยอุบายนี้.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 627

ว่าด้วยอาสวโคจฉกะ

    ในนิทเทสแห่งอาสวทุกะ (บาลีข้อ ๙๑๗) ว่า ยตฺถ เทฺว ตโย อาสวา เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ (อาสวะ ๒ อาสวะ ๓ ย่อมเกิดขึ้นร่วมกันในจิตตุปบาทใด) นี้ บัณฑิตพึงทราบ ความเกิดขึ้นร่วมกันแห่งอาสวะทั้งหลาย ๓ อย่าง.

    บรรดาอาสวะที่เกิดร่วมกันเหล่านั้น กามาสวะย่อมเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง คือ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวงพร้อมกับอวิชชาสวะ และเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต ๔ ดวงพร้อมกับทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะ ส่วนภวาสวะย่อมเกิดร่วมกัน ๑ อย่าง คือเกิดในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ๔ พร้อมกับอวิชชาสวะ.

ว่าด้วยสัญโญชนโคจฉกะ

    อนึ่ง ในคำว่า อาสวะ ๒ อาสวะ ๓ เกิดขึ้นร่วมกัน นี้ ฉันใดแม้ในคำว่า สัญโญชน์ ๒ สัญโญชน์ ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในจิตตุปบาทใด นี้ ก็ฉันนั้น คือการเกิดขึ้นร่วมกันของสัญโญชน์ทั้งหลายก็พึงมี ๑๐ อย่าง.

    บรรดาสัญโญชน์ที่เกิดร่วมกันเหล่านั้น กามราคสัญโญชน์ย่อมเกิดร่วมกัน ๔ อย่าง ปฏิฆะสัญโญชน์ย่อมเกิดร่วมกัน ๓ อย่าง มานะสัญโญชน์ย่อมเกิดร่วมกัน ๑ อย่าง วิจิกิจฉาสัญโญชน์และภวราคะสัญโญชน์ก็เกิดร่วมกันอย่างละ ๑ อย่างเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร คือ กามราคสัญโญชน์ก่อน เกิดร่วมกัน ๔ อย่าง คือ เกิดร่วมกันกับมานสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับทิฏฐิสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับสีลัพพตปรามาสและอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์เพียงเท่านั้น ๑.

    ก็ปฏิฆสัญโญชน์เกิดร่วมกัน ๓ อย่าง อย่างนี้ คือ เกิดร่วมกันกับอิสสาสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับมัจฉริยสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์เพียงเท่านั้น ๑.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 628

    มานสัญโญชน์ ย่อมเกิดขึ้นร่วมกันพร้อมกับภวราคสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ อย่างเท่านั้น. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จริงอยู่ วิจิกิจฉาสัญโญชน์นั้นย่อมเกิดร่วมกัน ๑ อย่าง คือร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์. แม้ในภวราคสัญโญชน์ก็นัยนี้แหละ ในจิตตุปบาทเหล่านี้ สัญโญชน์ ๒ สัญโญชน์ ๓ เกิดร่วมกันด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยนีวรณโคจฉกทุกะ

    พระดำรัสใดที่ตรัสไว้ในนีวรณโคจฉกะ (บาลีข้อ ๙๓๕) ว่า ยตฺถ เทฺว ตีณิ นีวรณานิ เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ (นิวรณ์ ๒ นิวรณ์ ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในจิตตุปบาทใด) ดังนี้ แม้ในพระดำรัสนั้น บัณฑิตก็พึงทราบความเกิดขึ้นร่วมกันแห่งนิวรณ์ทั้งหลาย ๘ อย่าง.

    จริงอยู่ ในบรรดานิวรณ์ที่เกิดร่วมกันเหล่านั้น กามฉันทนิวรณ์เกิดร่วมกัน ๒ อย่าง พยาบาทนิวรณ์เกิดร่วมกัน ๔ อย่าง อุทธัจจนิวรณ์เกิดร่วมกันอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็เกิดร่วมกันอย่างเดียวเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร? คือ กามฉันทนิวรณ์ย่อมเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง คือ เกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกันกับถีนนิวรณ์ มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในสสังขาริกจิตตุปบาท ๑. ก็คำใดที่ตรัสว่า นิวรณ์ ๒ นิวรณ์ ๓ คำนั้น ตรัสโดยการกำหนดจำนวนอย่างต่ำ เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นร่วมกันแห่งนิวรณ์แม้ ๔ อย่าง ก็ย่อมถูกต้องทีเดียว.

    ส่วนพยาบาทนิวรณ์ ย่อมเกิดขึ้นร่วมกัน ๔ อย่าง คือ เกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับถีนนิวรณ์ มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในสสังขาริกจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับถีนนิวรณ์ มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และอวิชชา-

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 629

นิวรณ์ในสสังขาริกจิตตุปบาท ๑. ส่วนอุทธัจจนิวรณ์เกิดร่วมกันมีอย่างเดียว คือ เกิดร่วมกับอวิชชานิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ก็เกิดร่วมกันอย่างเดียว คือเกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์.

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกทุกะ

    แม้พระดำรัสนี้ใดที่ตรัสไว้ในกิเลสโคจฉกะ (ข้อ ๙๖๘) ว่า ยตฺถ เทฺว ตโย กิเลสา เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ (กิเลส ๒ กิเลส ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในจิตตุปบาทใด) ดังนี้. ในพระบาลีนั้นบัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า กิเลส ๒ กิเลส ๓ เกิดขึ้นร่วมกับกิเลสเหล่าอื่น หรือกิเลส ๓ เกิดขึ้นร่วมกับกิเลสเหล่าอื่น ในจิตตุปบาทใด ดังนี้ เพราะเหตุไร? เพราะกิเลสที่จะเกิดร่วมกันเพียง ๒ หรือ ๓ เท่านั้นไม่มี

ในพระบาลีนั้น การเกิดขึ้นร่วมกันแห่งกิเลสมี ๑๐ อย่าง. จริงอยู่ ในบรรดากิเลสที่เกิดขึ้นร่วมกัน ๑๐ อย่างเหล่านี้ โลภกิเลสเกิดร่วมกัน ๖ อย่าง ปฏิฆกิเลสเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง โมหกิเลสก็พึงทราบ ๒ อย่างเหมือนกัน. พึงทราบอย่างไร? คือ โลภะ ย่อมเกิดร่วมกัน ๖ อย่าง คือ เกิดร่วมกับโมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ในอสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ในสสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับโมหะ มานะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ในอสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิตตุปบาทนั่นแหละ ๑ เกิดร่วมกับโมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ในสสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิตตุปบาทนั่นแหละ ๑ อนึ่ง เกิดร่วมกับโมหะ อุทธัจจะ ทิฏฐิ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ในอสังขาริกทิฏฐิสัมปยุตตจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ทิฏฐิ ถีนะมิทธะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ ในสสังขาริกทิฏฐิสัมปยุตตจิตตุปบาท ๑.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 630

    ส่วนปฏิฆะเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง อย่างนี้ คือ เกิดร่วมกับโมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ในอสังขาริกจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ในสสังขาริกจิตตุปบาท ๑.

    ส่วนโมหะย่อมเกิดขึ้นร่วมกัน ๒ อย่าง คือ เกิดร่วมกับวิจิกิจฉา อุทธัจจะ อหิรกะ และอโนตตัปปะ ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท ๑ เกิดร่วมกับอุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ในอุทธัจจสัมปยุตตจิตตุปบาท ๑. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

    อรรกถาอัฏฐกถากัณฑ์

    แห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี จบ