พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ขันธวิภังค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.พ. 2565
หมายเลข  42059
อ่าน  1,384

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑


๑. ขันธวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

ขันธ์ ๕ 1/1

รูปขันธ์ 2/1

เวทนาขันธ์ 8/4

สัญญาขันธ์ 14/7

สังขารขันธ์ 20/11

วิญญาณขันธ์ 26/15

สัมโมหวิโนทนีอรรถกถาพระวิภังค์

อารัมภกถา 20

๑. ขันธวิภังค์นิเทศ

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ 21

ว่าด้วยขันธศัพท์ 21

๑. รูปขันธนิเทศ

อธิบายรูปขันธ์ 24

ว่าด้วยรูปเป็นอดีตเป็นต้น 29

ว่าด้วยรูป ๒ อย่าง 30

ว่าด้วยนิเทศแห่งรูปหีนทุกะ 33

ว่าด้วยนิเทศแห่งทูรทุกรรูป 40

๒. เวทนาขันธนิเทศ 42

ว่าด้วยนิเทศเวทนาหยาบและละเอียด 43

ว่าด้วยมติของอาจารย์ 45

ว่าด้วยนิเทศเวทนาทูรทุกะ 51

๓. สัญญาขันธนิเทศ 52

๔. สังขารขันธนิเทศ 55

๕. วิญญาณขันธนิเทศ 56

ว่าด้วยปกิณกะในเบญจขันธ์ ๑๖ อย่าง 56

ว่าโดยการเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ ๕ 57

ว่าโดยการเกิดก่อนและหลัง 60

ว่าโดยกําหนดกาลของขันธ์ ๕ 64

ว่าโดยเกิดขณะเดียวกัน ดับต่างขณะกัน 66

ว่าโดยการเกิดต่างขณะ ดับขณะเดียวกัน 67

ว่าโดยเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน 69

ว่าโดยเกิดต่างขณะกัน ดับต่างขณะกัน 69

ว่าด้วยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น 70

แสดงนัยการวินิจฉัยขันธ์๕ 70

ว่าด้วยวินินฉัยโดยลําดับ 71

ว่าโดยความแปลกกัน 72

ว่าโดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง 74

ว่าโดยความอุปมา 75

ว่าด้วยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่าง 76

อภิธรรมภาชนีย์

ขันธ์ ๕ 32/83

รูปขันธ์ 33/83

เวทนาขันธ์ 44/86

สัญญาขันธ์ 54/ 97

สังขารขันธ์ 64/100

วิญญาณขันธ์ 74/ 123

ขันธวิภังคนิเทศ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ 135

ว่าด้วยนิเทศรูปขันธ์ 135

ว่าด้วยนิเทศเวทนาขันธ์ 135

ว่าด้วยเทศนาตามอัชฌาศัยบุคคล 137

ว่าด้วยเทศนาวิลาส 138

ว่าด้วยกําหนดมหาวาระ ๔ 138

ว่าด้วยพรรณนาอรรถในเวทนาขันธ์ 139

ว่าด้วยอาการ ๓ อย่าง 141

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ 146

ปัญหาปุจฉกะ

ขันธ์ ๕ 84/147

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา 147

ติกมาติกาวิสัชนา 85/147

ทุกมาติกาวิสัชนา 86/149

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ 158


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 77]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๒

วิภังค์ ภาคที่ ๑

๑. ขันธวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๑] ขันธ์ ๕ คือ

    ๑. รูปขันธ์

    ๒. เวทนาขันธ์

    ๓. สัญญาขันธ์

    ๔. สงขารขันธ์

    ๕. วิญญาณขันธ์

รูปขันธ์

    [๒] ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน?

    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูปภายใน รูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีตรูปไกล รูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 2

    [๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน?

    รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปอดีต.

    รูปอนาคต เป็นไฉน?

    รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปอนาคต.

    รูปปัจจุบัน เป็นไฉน?

    รูปใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปปัจจุบัน.

    [๔] รูปภายใน เป็นไฉน?

    รูปใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตนเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายใน.

    รูปภายนอก เป็นไฉน?

    รูปใด ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายนอก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 3

    [๕] รูปหยาบ เป็นไฉน?

    จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่า รูปหยาบ.

    รูปละเอียด เป็นไฉน?

    อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กวฬิงการาหาร อาโปธาตุ หทยรูป นี้เรียกว่ารูปละเอียด.

    [๖] รูปทราม เป็นไฉน?

    รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่าตำหนิ ไม่น่ายกย่อง ทราม รู้กันว่าทราม สมมติกันว่าทราม ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปทราม.

    รูปประณีต เป็นไฉน?

    รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่น่าตำหนิ น่ายกย่อง ประณีต รู้กันว่าประณีต สมมติกันว่าประณีต น่าปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กล่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปประณีต.

    หรือพึงทราบรูปทรามรูปประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๗] รูปไกล เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 4

    อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ไม่ใกล้ในที่ไม่ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใช่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปไกล.

    รูปใกล้ เป็นไฉน?

    จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ในที่ใกล้เคียง ในที่ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปใกล้. หรือพึงทราบรูปไกลรูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

เวทนาขันธ์

    [๘] เวทนาขันธ์ เป็นไฉน?

    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เวทนาอดีต เวทนาอนาคต เวทนาปัจจุบัน เวทนาภายใน เวทนาภายนอก เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เวทนาทราม เวทนาประณีต เวทนาไกล เวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.

    [๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาอดีต เป็นไฉน?

    เวทนาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาอดีต.

    เวทนาอนาคต เป็นไฉน?

    เวทนาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 5

ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาอนาคต.

    เวทนาปัจจุบัน เป็นไฉน?

    เวทนาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาปัจจุบัน.

    [๑๐] เวทนาภายใน เป็นไฉน?

    เวทนาใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตนเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาภายใน.

    เวทนาภายนอก เป็นไฉน?

    เวทนาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตนเกิดในตน มีเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาภายนอก.

    [๑๑] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน?

    อกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 6

เข้าสมาบัติเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด

    หรือพึงทราบเวทนาหยาบเวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๑๒] เวทนาทราม เวทนาประณีต เป็นไฉน?

    อกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาประณีต กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาทราม เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาทราม เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาประณีต

    หรือพึงทราบเวทนาทรามเวทนาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๑๓] เวทนาไกล เป็นไฉน?

    อกุศลเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอกุศลเวทนา กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกข-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 7

เวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาไกล.

    เวทนาใกล้ เป็นไฉน?

    อกุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาใกล้

    หรือพึงทราบเวทนาไกลเวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

สัญญาขันธ์

    [๑๔] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน?

    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญอนาคต สัญญาปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ สัญญา-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 8

ละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล สัญญาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

    [๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน?

    สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาอดีต.

    สัญญาอนาคต เป็นไฉน?

    สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาอนาคต.

    สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน?

    สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้วที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาปัจจุบัน.

    [๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน?

    สัญญาใดของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตนเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาภายใน.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 9

    สัญญาภายนอก เป็นไฉน?

    สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาภายนอก.

    [๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน?

    สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญาหยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญาละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด

    หรือพึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน?

    อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัม-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 10

ปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต

    หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน?

    อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกเวทนาและอทุกขสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแสะทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 11

อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาไกล.

    สัญญาใกล้ เป็นไฉน?

    อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับกุศลสัญญา อัพยกตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาใกล้

    หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

สังขารขันธ์

    [๒๐] สังขารขันธ์ เป็นไฉน?

    สังขารเหล่าหนึ่ง คือ สังขารอดีต สังขารอนาคต สังขารปัจจุบัน สังขารภายใน สังขารภายนอก สังขารหยาบ สังขารละเอียด สังขารทราม สังขารประณีต สังขารไกล สังขารใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสังขารขันธ์.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 12

    [๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารอดีต เป็นไฉน?

    สังขารเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารอดีต.

    สังขารอนาคต เป็นไฉน?

    สังขารเหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารอนาคต.

    สังขารปัจจุบัน เป็นไฉน?

    สังขารเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารปัจจุบัน.

    [๒๒] สังขารภายใน เป็นไฉน?

    สังขารเหล่าใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารภายใน.

    สังขารภายนอก เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 13

    สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตนเฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารภายนอก.

    [๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน?

    อกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารละเอียด กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ อัพยากตสังขารเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารหยาบ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด

    หรือพึงทราบสังขารหยาบสังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๒๔] สังขารทราม สังขารประณีต เป็นไฉน?

    อกุศลสังขารเป็นสังขารทราม กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารประณีต กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารทราม อัพยากตสังขารเป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารทราม สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารทราม สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารประณีต

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 14

    หรือพึงทราบสังขารทรามสังขารประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน?

    อกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร อกุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอกุศลสังขาร กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอัพยากตสังขาร สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สังขารไกล.

    สังขารใกล้ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 15

    อกุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารใกล้กับอัพยากตสังขาร สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สังขารใกล้

    หรือพึงทราบสังขารไกลสังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

วิญญาณขันธ์

    [๒๖] วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน?

    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต วิญญาณปัจจุบัน วิญญาณภายใน วิญาณภายนอก วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณทราม วิญญาณประณีต วิญญาณไกล วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์.

    [๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน?

    วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณอดีต.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 16

    วิญญาณอนาคต เป็นไฉน?

    วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณอนาคต.

    วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน?

    วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณปัจจุบัน.

    [๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน?

    วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณภายใน.

วิญญาณภายนอก เป็นไฉน?

    วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตนเกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณภายนอก.

    [๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน?

    อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 17

วิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด

    หรือพึงทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๓๐] วิญญาณทราม วิญญาณประณีต เป็นไฉน?

    อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณประณีต กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณทราม วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณประณีต

    หรือพึงทราบวิญญาณทรามวิญญาณประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    [๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน?

    อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณ กุศล

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 18

วิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ อกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า วิญญาณไกล.

วิญญาณใกล้ เป็นไฉน?

    อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 19

ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า วิญญาณใกล้

    หรือพึงทราบวิญญาณไกลวิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป.

    สุตตันตภาชนีย์ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 20

สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์

อารัมภกถา

พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะ ทรงเห็นสัจจะทั้ง ๔ จึงทรงประกาศพระธรรมสังคณี ๔ กัณฑ์ (คือ จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ อัตถุทธารกัณฑ์) แล้ว ทรงเป็นนายกประกอบด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ ทรงเป็นพระบรมศาสดา แสดงพระวิภังค์อันใด ด้วยอำนาจวิภังค์ ๑๘ ประการ มีขันธวิภังค์เป็นต้น ในลำดับแห่งพระธรรมสังคณีนั่นแหะ บัดนี้ลำดับแห่งการสังวรรณนาพระวิภังค์นั้น ถึงพร้อมแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าสะสางนัยอรรถกถาโบราณแล้วจักเรียบเรียงอรรถกถาพระวิภังค์นั้น ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจงตั้งใจทำความเคารพพระสัทธรรม ฟังอรรถกถาพระวิภังค์นั้น เทอญ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 21

๑. ขันธวิภังคนิเทศ

วรรณาสุตตันตภาชนีย์

คำว่า ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ดังนี้ นี้ ชื่อสุตตันตภาชนีย์ (๑) ในขันธวิภังค์อันเป็นวิภังค์ต้นแห่งวิภังค์ปกรณ์. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ๕ เป็นคำกำหนดจำนวน ด้วยคำว่า ๕ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ขันธ์ทั้งหลายมีไม่น้อยกว่านั้นไม่มากกว่านั้น. คำว่า ขันธ์ เป็นคำแสดงธรรมที่ทรงกำหนดไว้.

ว่าด้วยขันธ์ศัพท์

ในพระบาลีขันธวิภังค์นั้น ศัพท์ว่า ขันธ์ (ขนฺธสทฺโท) นี้ใช้ในฐานะมาก คือ ในฐานะว่า กอง (ราสิมฺหิ) ในฐานะว่า คุณ (คุเณ) ในฐานะโดยเป็นบัญญัติ (ปณฺณตฺติยํ) ในความเป็นคำติดปาก (รุฬฺหิยํ).

จริงอยู่ ชื่อว่า ขันธ์ โดยฐานะว่า กอง เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า มีน้ำเท่านี้อาฬหกะ หรือว่าเท่านี้ร้อยอาฬหกะ หรือว่าเท่านี้พันอาฬหกะ หรือว่าเท่านี้แสนอาฬหกะ ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย โดยที่แท้ย่อมถึงการนับว่า เป็นมหาอุทกขันธ์ (กองน้ำใหญ่) อันใครๆ พึงนับไม่ได้ พึงประมาณไม่ได้ทีเดียว แม้ฉันใด ดังนี้ (๒) เพราะมิใช่น้ำ


(๑) คำว่า สุตตันตภาชนีย์ คือ คำที่จำแนกโดยนัยที่ทรงแสดงในพระสูตร

(๒) อง จตุกฺก เล่ม ๒๑ ๕๑/๗๒ คำว่า อาฬหกะ เป็นชื่อกำหนดนับโดยการตวงของ เช่น ๔ กำมือเป็น ๑ ฟายมือ ๒ ฟายมือเป็น ๑ กอบ ๒ กอบเป็น ๑ ทะนาน ๔ ทะนานเป็น ๑ อาฬหกะ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 22

นิดหน่อย คือเป็นน้ำจำนวนมากทีเดียว เขาจึงเรียกว่า อุทกขันธ์ (กองน้ำ) อนึ่ง ธุลีมิใช่มีประมาณเล็กน้อย เขาก็เรียกว่า รชักขันธ์ (กองธุลี) โคมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่า ควักขันธ์ (กองโค) พลมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่า พลขันธ์ (กองพล) บุญมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่า บุญขันธ์ (กองบุญ) เพราะธุลีมีมากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่า รชักขันธ์ โคเป็นต้นมีประมาณมากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่า ควักขันธ์ พลมีประมาณมาก และบุญมีประมาณมาก ท่านก็เรียกว่า พลขันธ์ และบุญขันธ์ ดังนี้.

อนึ่ง ชื่อว่า ขันธ์ โดยฐานะว่าคุณ เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า สีลกฺขนฺโธ (คุณคือศีล) สมาธิขนฺโธ (คุณคือสมาธิ) ดังนี้. และชื่อว่า ขันธ์โดยฐานะเป็นบัญญัติ เหมือนในชื่อนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ (มหนฺตํ ทารุกฺขนฺธํ) ลอยตามกระแสแม่น้ำคงคาไป (๑) ดังนี้. ชื่อว่า ขันธ์ ในฐานะโดยความเป็น คำติดปาก เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า จิต มโน มานัส วิญญาณ วิญญาณขันธ์ อันใด (๒) ดังนี้.

ขันธ์นี้นั้น ทรงประสงค์เอาโดยฐานะว่า กอง ในอธิการนี้ เพราะชื่อว่า อรรถแห่งขันธ์นี้มีอรรถว่าเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นแท่ง เป็นกอง ฉะนั้น พึงทราบว่าขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะเป็นกอง ดังนี้ แม้จะกล่าวว่า อรรถแห่งขันธ์นี้มีอรรถเป็นโกฏฐาส (คือเป็นส่วน) ดังนี้ ก็ควร เพราะคนทั้งหลายในโลกกู้หนี้เขามาแล้ว เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง ก็พูดว่า พวกเราจักให้ ๒ ขันธ์ (๒ ส่วน) ๓ ขันธ์ (๓ ส่วน) ดังนี้ แม้การกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะเป็นโกฏฐาส คือเป็นส่วน ดังนี้ก็ควร ด้วยประการฉะนี้ คำว่า รูปขันธ์


(๑) สํ. สฬายตนวคฺค เล่ม ๑๘ ๓๒๕/๒๒๖

(๒) อภิ. วิ เล่ม ๓๕ ๒๙๔/๑๙๓

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 23

ในสุตตันภาชนีย์นี้จึงได้แก่ กองแห่งรูป ส่วนแห่งรูป. คำว่า เวทนาขันธ์ ก็ได้แก่ กองแห่งเวทนา ส่วนแห่งเวทนา เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งขันธ์มีสัญญาเป็นต้นโดยนัยนี้.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประมวลรูปทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งรูป มีประเภทอย่างนี้ คือ ส่วนแห่งรูป ๒๕ (๑) และส่วนแห่งรูป ๙๖ (๒) ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ อย่าง มีรูปที่เกิดแต่อดีต อนาคต และปัจจุบันเป็นต้น โดยพระดำรัสที่ตรัสว่า มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า รูปขันธ์ ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

อนึ่ง ทรงประมวลเวทนานั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งเวทนาอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า เวทนาขันธ์. และทรงประมวลสัญญานั้นทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งสัญญาอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า สัญญาขันธ์. และทรงประมวลสังขารนั้นทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งเจตนา อันเป็นไปในภูมิ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า เจตนาเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า สังขารขันธ์. และทรงประมวลวิญญาณนั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งจิตอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า


(๑) รูป ๒๕ คือ อายตนะภายในและภายนอก ๑๐ แสะสุขุมรูป ๑๕

(๒) รูป ๙๖ คือ กรรมชรูป ได้แก่ จักขุทสกะ โสต ฆาน ชิว กายทสกะ อิตถีภาวทสกปุริสภาวทสกะ รวม ๗๐ และสุทธัฏฐกรูป ๘ เกิดแต่ จิติ อุตุ อาหารรวม ๒๔ สัททรูป ๒ เกิดแต่จิตและอุตุ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 24

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญาณธาตุ ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า วิญญาณขันธ์.

    อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการแห่งขันธ์ ๕ นี้ รูปแม้ทั้งหมดที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ (คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร) ชื่อว่า รูปขันธ์ เวทนาที่เกิดพร้อมกับจิต ๘๙ มีกามาวจรกุศลจิต ๘ เป็นต้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ แม้สัญญาก็ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ก็ชื่อว่า สังขารขันธ์ จิต ๘๙ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบการกำหนดธรรมในขันธ์ ๕ แม้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายรูปขันธ์

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงจำแนกแสดงรูปขันธ์ เป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตถฺ กตโม รูปกฺขนฺโธ ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในขันธวิภังค์นั้น ดังนี้

    บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น บทว่า กตโม เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา. บทว่า รูปกฺขนฺโธ (รูปขันธ์) เป็นบทแสดงธรรมที่ทรงปุจฉา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกรูปขันธ์นั้นในบัดนี้ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ (รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง). บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ กิญฺจิ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เป็นบทที่ทรงถือเอาโดยไม่เหลือ. บทว่า รูปํ (รูป) เป็นบทกำหนดธรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยบทว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ แม้ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมเป็นอันทรงทำการกำหนดเอารูปโดยไม่มีส่วนเหลือ.

    ถามว่า ในรูปขันธ์นั้น ธรรมที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่ากระไร

    ตอบว่า ที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่า ย่อยยับ.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 25

    สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไรพวกเธอจึงเรียกว่ารูปเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับไปแล ฉะนั้นจึงเรียกว่ารูป รูปย่อมย่อยยับเพราะอะไร? ย่อมย่อยยับเพราะความเย็นบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะความร้อนบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะความหิวบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะความกระหายบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับไปแล เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า รูป ดังนี้.

    ในพระดำรัสเหล่านั้น คำว่า กึ เป็นการณปุจฉา (ถามถึงเหตุ) อธิบายว่า พวกเธอเรียกรูปด้วยเหตุอะไร คือ ชื่อว่า รูปนั้น ด้วยเหตุอะไร. อิติศัพท์ในบทว่า รุปฺปติ นี้เป็นศัพท์ยกเหตุขึ้นแสดง อธิบายว่า เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับ ฉะนั้น จึงชื่อว่า รูป. ก็บทว่า รุปฺปติ มีอธิบายว่า รูปย่อมกำเริบ อันปัจจัยย่อมกระทบ อันปัจจัยย่อมเบียดเบียน ย่อมแตกสลายโดยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้ รูปเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอรรถว่า ย่อยยับไป ด้วยประการฉะนี้ แม้จะกล่าวว่า ชื่อว่า รูป ด้วยลักษณะที่ย่อยยับไป ดังนี้ก็ควร เพราะรูปนี้มีการย่อยยับเป็นลักษณะ.

    อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า รูปย่อมย่อยยับไปเพราะความเย็นบ้าง ดังนี้ ในเบื้องต้น ความที่รูปย่อยยับไปด้วยความเย็นปรากฏในโลกันตริกนรก. จริงอยู่ นรกหนึ่งๆ ในระหว่างทุกๆ สามจักรวาล มีประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์ ซึ่งภายใต้ไม่มีแผ่นดิน เบื้องบนไม่มีไม่มีแสงสว่างแห่งพระจันทร์พระอาทิตย์ดวงประทีปแก้วมณี มืดมิดเป็นนิตย์ ชื่อว่า โลกันตริกนรก อัตภาพของสัตว์ผู้เกิดในโลกันตริกนรกนั้น มีประมาณ ๓ คาวุต สัตว์เหล่านั้น จะมีเล็บทั้งหลายที่ยาวหนาเกาะที่เชิงเขา ห้อยหัวลงดุจค้างคาว เมื่อใดมันเขยิบตัวไปถึงหัตถบาสของกันและกัน เมื่อนั้น พวกมันก็จะสำคัญว่า พวกเราได้

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 26

อาหารแล้วต่างก็พากันขวนขวายในสิ่งที่ตนว่าเป็นอาหารนั้น จึงไล่ตามกันไปรอบๆ แล้ว พลัดตกลงไปในน้ำที่รองแผ่นดิน เมื่อถูกลมเย็นพัดกระหน่ำอยู่ มันก็จะขาดตกลงในน้ำ เหมือนผลมะซางสุก ฉะนั้น. พอตกลงเท่านั้น มันก็มีหนังเอ็นเนื้อ กระดูก ถูกน้ำกรดเย็นกัดทำลายเป็นชิ้นๆ เหมือนก้อนแป้งที่เขาใส่ในน้ำมันเดือด ความย่อยยับไปแห่งรูปปรากฏในโลกันตริกนรก ด้วยความเย็นอย่างนี้. ความย่อยยับแห่งรูปนี้ปรากฏ ในประเทศทั้งหลายที่มีความเย็นเกิดแต่หิมะตก แม้มีแคว้น ชื่อว่า มหิสกะเป็นต้นก็เหมือนกัน เพราะสัตว์ทั้งหลายในประเทศนั้น มีร่างกายถูกความเย็นทำลายตัดขาดแล้วย่อมถึงแม้ความสิ้นชีวิต ดังนี้.

    ว่าด้วยความร้อน ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้ว ในอเวจีมหานรก จริงอยู่ ในอเวจีมหานรกนั้น สัตว์นรกย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ ในเวลาต้องกรรมกรณ์มีการให้นอนลงบนพื้นแผ่นดินโลหะที่ร้อนแล้วจองจำด้วยเครื่องจองจำ ๕ อย่างเป็นต้น.

    ว่าด้วยความหิว ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้วในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต) และในเวลาเกิดทุพภิกขภัย จริงอยู่ พวกสัตว์ในกำเนิดเปรต ชื่อว่า เอามือถืออามิสอย่างใดอย่างหนึ่งใส่เข้าไปในปากมิได้มี ตลอด ๒ - ๓ พุทธันดร ภายในท้องเป็นเหมือนต้นไม้มีโพรงที่ไฟติดทั่วแล้ว ในเวลาเกิดทุพภิกขภัย ชื่อว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่ได้แม้เพียงน้ำข้าวแล้วถึงความตายไป นับประมาณมิได้.

    ว่าด้วยความกระหาย ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้วในอสุรกายทั้งหลาย มีกาลกัญชิกาสูร เป็นต้น จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในพวกกาลกัญชิกาสูรเป็นต้นนั้น ย่อมไม่อาจได้หยาดน้ำเพียงยังหทัยให้ชุ่ม หรือเพียงให้เปียกลิ้น สิ้น ๒ - ๓ พุทธันดร แม้บางพวกที่ไปถึงแม่น้ำด้วยคิดว่า พวกเราจักดื่มน้ำ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 27

ดังนี้ น้ำนั้นก็แห้งถึงความสำเร็จเป็นทรายแห่งแม่น้ำไป แม้บางพวกที่แล่นไปถึงมหาสมุทร มหาสมุทรก็กลายเป็นหินดาด สัตว์เหล่านั้นจึงซูบซีด ถูกทุกข์มีกำลังบีบคั้นท่องเที่ยวไป.

    ได้ยินว่า กาลกัญชิกาสูรตนหนึ่ง ไม่สามารถทนความระหายได้จึงลงไปยังแม่น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้างหนึ่งโยชน์ ในที่กาลกัญชิกาสูรนั้น ลงไปแล้ว น้ำก็แห้งเป็นควันพลุ่งขึ้นเหมือนเดินบนหินดาดอันร้อนจัดฉะนั้น. เมื่ออสุรกายนั้นได้ยินเสียงน้ำจึงวิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้อยู่นั่นแหละ ราตรีสว่างแล้ว. ในขณะนั้น พวกภิกษุ ๓ รูป ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรกำลังเที่ยวภิกขาจารแต่เช้าตรู่ เห็นเขาแล้วจึงถามว่า ดูก่อนสัปบุรุษ ท่านเป็นใคร อสุรกายนั้นตอบ ว่ากระผมเป็นเปรต ขอรับ.

    พวกภิกษุ : ท่านแสวงหาอะไร?

    อสุรกาย : น้ำดื่ม ขอรับ.

    พวกภิกษุ : แม่น้ำนี้เต็มฝั่ง ท่านไม่เห็นหรือ?

    อสุรกาย : ท่านขอรับ มันไม่สำเร็จแก่กระผม.

    พวกภิกษุ : ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนอนลงตรงหลังแม่น้ำเถิด พวกอาตมาจักเทน้ำลงในปากของท่าน. อสูรนั้นก็นอนหงายบนหาดทราย พวกภิกษุได้ช่วยกันเอาบาตร ๓๐ ใบตักน้ำมาเทลงๆ ในปากของอสูรนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำอยู่อย่างนี้ เวลาของภิกขาจารก็ใกล้เข้ามาแล้ว พวกภิกษุจึงพูดว่า ถึงเวลาภิกขาจารของพวกอาตมาแล้ว สัปบุรุษ ท่านได้ความพอใจบ้างไหม? อสูรนั้นตอบว่า ท่านขอรับ ถ้าว่า น้ำมีเพียงฟายมือจากน้ำที่เทลงด้วยบาตร ๓๐ ใบ ของพระคุณเข้าไปในลำคอของกระผมด้วยการทำของคนได้ไซร้ ขอความพ้นจากอัตภาพเปรตอย่าได้มีเลย ดังนี้. ความย่อยยับไปแห่งรูปปรากฏแล้วในปิตติวิสัย เพราะความกระหาย ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 28

    ความที่รูปย่อยยับเพราะสัมผัสเหลือบเป็นต้น ปรากฏแล้วในประเทศทั้งหลายที่มากด้วยเหลือบและยุงเป็นต้น. อนึ่ง ในอธิการนี้ คำว่า เหลือบ ได้แก่ แมลงวันหัวเหลือง. คำว่า มกสา ได้แก่ ยุงนั่นแหละ. คำว่า ลม พึงทราบด้วยอำนาจแห่งลมมีลมในท้อง และลมในเบื้องหลังเป็นต้น.

    จริงอยู่ โรคลมเกิดขึ้นในร่างกายแล้วย่อมทำลายมือ เท้า และเบื้องหลังเป็นต้น ย่อมทำให้เป็นคนบอด ย่อมทำให้เป็นคนง่อย เป็นคนเปลี้ย.

    บทว่า อาตโป (แดด) ได้แก่ ความร้อนของดวงอาทิตย์ ความที่รูปย่อยยับไปด้วยความร้อนนั้นปรากฏแล้วในทางกันดาร มีทะเลทรายเป็นต้น. ได้ยินว่า มีหญิงคนหนึ่งล้าหลังพวกเกวียนในเวลาราตรีในทะเลทราย เมื่อพระอาทิตย์โคจรไปถึงกลางวัน ไม่สามารถจะวางเท้าที่ทรายกำลังร้อนได้ จึงยกกระเช้าลงจากศีรษะเหยียบ เมื่อไม่อาจยืนบนกระเช้า เพราะความร้อนยิ่งก็วางผ้าสาฏกบนกระเช้านั้นแล้วเหยียบ แม้ผ้าสาฏกนั้นร้อนทั่วแล้ว ก็จับลูกน้อยที่อุ้มมาให้นอนคว่ำเหยียบบนลูกน้อยที่กำลังร้องจ้าอยู่ พร้อมกับลูกน้อยก็ได้ทำกาละในที่นั้นนั่นเอง เพราะความร้อนให้เร่าร้อนแล้ว.

    คำว่า สิริสปฺปา (สัตว์เลื้อยคลาน) ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายมีตัวยาวอย่างใดอย่างหนึ่งแล่นเลื้อยไป ความที่รูปย่อยยับไปเพราะสัมผัสแห่งสัตว์เหล่านั้นบัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจในเวลาที่ถูกอสรพิษขบเอาเป็นต้น.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะรวมรูปแม้ทั้งหมดซึ่งมี ๒๕ และ ๙๖ ส่วน ที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยบทว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ (รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง). เข้าในส่วนแห่งรูปที่เป็นอดีตเป็นต้นมาแสดง จึงตรัสคำว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ (รูปเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน) ดังนี้ ต่อจากนั้น ทรงประสงค์จะจัดรูปนั้นนั่นแหละกระทำให้เป็นทุกกะ ๔ ทุกะมีอัชฌัตต-

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 29

ทุกะเป็นต้นมาแสดง จึงตรัสคำมีอาทิว่า อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา (รูปภายใน หรือรูปภายนอก) ดังนี้ ต่อจากนั้น เมื่อจะทรงประมวลรูปนั้นแม้ทั้งหมดที่ทรงกำหนดไว้ใน ๑๑ ส่วนแสดงรวมเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำว่า ตเทกชฺฌํ (รูปนั้นรวมเป็นอันเดียวกัน) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเทกชฺฌํ แยกออกเป็น ตํ เอกชฺฌํ. บทว่า อภิสญฺญูหิตฺวา แปลว่า ประมวลมา. บทว่า อภิสํขิปิตฺวา ได้แก่ ทำการย่อ คำนี้ ตรัสอธิบายไว้ว่า ก็รูปมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแม้ทั้งหมด บัณฑิตเรียกว่ารูปขันธ์ เพราะรวมเป็นกองเดียวกันในภาวะอย่างเดียวกัน กล่าวคือความเป็นรูปที่ย่อยยับไปเป็นลักษณะ ดังนี้. ด้วยคำอธิบายนี้ ย่อมเป็นอันตรัสรูปแม้ทั้งหมดในลักษณะแห่งการย่อยยับไปนี้ว่า ชื่อว่า รูปขันธ์ เพราะความเข้าถึงความเป็นกอง ดังนี้ เพราะขึ้นชื่อว่า รูปขันธ์ อื่น นอกจากรูปหามีไม่. ก็รูป ฉันใด ธรรมมีเวทนาเป็นต้น ก็ชื่อว่า เวทนาขันธ์เป็นต้นฉันนั้น เพราะความเข้าถึงความเป็นกองในลักษณะมีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะเป็นต้น เพราะขึ้นชื่อว่า เวทนาขันธ์เป็นต้นอื่นนอกจากเวทนาเป็นต้น หามีไม่.

ว่าด้วยรูปเป็นอดีตเป็นต้น

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงจำแนกรูปที่ทรงจัดเข้าในโอกาสหนึ่งๆ ให้เป็นส่วนๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ รูปํ อตีตํ ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ เป็นบทสัตตมีวิภัตติในมาติกาตามที่ทรงจัดตั้งไว้ในโอกาส ๑๑ อย่าง คำนี้ตรัสอธิบายว่า คำว่า รูปอดีต ที่ตรัสไว้ในมาติกาตามที่ทรงตั้งไว้โดยนัยมีอาทิว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ดังนี้ รูปนั้นเป็นไฉน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในปุจฉาทั้งหมดโดยอุบายนี้.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 30

    บททั้งหลายมีคำเป็นอาทิว่า อตีตํ นิรุทฺธํ รูปใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ดังนี้ เป็นคำที่ตรัสไว้ในการพรรณนาบทภาชนีย์อตีตติกะแห่งนิกเขปกัณฑ์นั่นแหละ.

    คำว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา นี้เป็นคำแสดงสภาวะของรูปที่ตรัสว่า อดีต ดังนี้. อนึ่ง ในอธิการนี้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ฉันใด คำที่กล่าวไว้ในที่ทุกแห่งก็พึงทราบฉันนั้น. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงมหาภูตรูป และรูปอาศัยมหาภูตรูปกระทำรูปนี้ให้เป็นรูปอดีตบ้าง กระทำรูปนี้ให้เป็นรูปอนาคตบ้าง ฯลฯ กระทำให้เป็นรูปไกลและใกล้บ้าง เพราะขึ้นชื่อว่ารูปอื่น นอกจากมหาภูตรูปและอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปแล้วหามีไม่.

    อีกนัยหนึ่ง ข้อว่า อตีตํเสน สํคหิตํ (รูปที่สงเคราะห์เข้าโดยส่วนอดีต) ได้แก่ รูปที่สงเคราะห์โดยส่วนอดีตนั่นแหละ ทำการนับได้ มีอยู่. ถามว่า รูปอะไร? ตอบว่า มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ พึงทราบอรรถในที่ทั้งปวงอย่างนี้. แม้บทอธิบายรูปที่เป็นอนาคต และปัจจุบันก็มีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.

ว่าด้วยรูป ๒ อย่าง

    ก็รูปนี้ ที่ชื่อว่า เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน มี ๒ อย่าง คือ

    รูปโดยปริยายแห่งพระสูตร ๑

    รูปโดยนิเทศพระอภิธรรม ๑

    ว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร ทรงกำหนดรูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันนั้นไว้ด้วยภพ จริงอยู่ รูปที่เกิดในภพอดีตจำเดิมแต่ปฏิสนธิ (ในภพปัจจุบัน) หรือรูปที่เกิดแล้วในภพถัดไป หรือรูปที่เกิดแล้วในภพที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปป์ ก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า รูปอดีต ทั้งนั้น. รูปที่จะเกิดในภพอนาคตจำเดิมแต่

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 31

จุติแล้ว หรือรูปที่จะเกิดในภพถัดไป หรือรูปที่จะเกิดในที่สุด แห่งภพแสนโกฏิกัปป์ก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า รูปอนาคต ทั้งนั้น. รูปที่กำลังเป็นไประหว่างจุติปฏิสนธิ (ตั้งแต่เกิดถึงตายในภพปัจจุบัน) ชื่อว่า รูปปัจจุบัน.

    ส่วนในนิเทศแห่งพระอภิธรรม ทรงกำหนดรูปด้วยขณะ ด้วยว่า ขณะแห่งรูปมี ๓ อย่าง คือ อุปปาทขณะ (ขณะเกิด) ฐีติขณะ (ขณะตั้งอยู่) ภังคขณะ (ขณะดับ) รูปที่ถึงขณะทั้ง ๓ เหล่านี้แล้วดับไป หรือรูปที่ดับในขณะใกล้ๆ หรือรูปดับในขณะที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปป์ก็ตาม ทั้งหมด ชื่อว่า รูปอดีต นั่นแหละ รูปที่ยังไม่ถึงขณะทั้ง ๓ หรือยังไม่ถึงลักษณะแห่งจิตดวงหนึ่ง หรือยังไม่ถึงขณะในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปป์ก็ตาม ทั้งหมด ชื่อว่า รูปอนาคต นั่นแหละ แต่รูปที่ถึงขณะทั้ง ๓ เหล่านี้แล้ว ชื่อว่า รูปปัจจุบัน.

    ในปริยายแห่งพระสูตร และในนิเทศแห่งพระอภิธรรมนั้น แม้รูปนี้ จะเป็นการจำแนกตามพระสูตร (สุตตันตภาชนีย์) ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า รูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน สำเร็จแล้ว โดยนิเทศแห่งพระอภิธรรมเท่านั้น ดังนี้.

    อีกนัยหนึ่ง เพราะว่า รูปนี้ชื่อว่า รูปอดีต โดยส่วนทั้ง ๔ ด้วยอำนาจอัทธา ๑ สันตติ ๑ สมัย ๑ ขณะ ๑ เป็นรูปอนาคตและเป็นรูปปัจจุบันก็โดยส่วน ทั้ง ๔ เหมือนกัน.

ว่าด้วยอำนาจอัทธาก่อน รูปในกาลก่อนแต่ปฏิสนธิในภพหนึ่งของบุคคลหนึ่ง ชื่อว่า รูปอดีต รูปในบั้นปลายแต่จุติ ชื่อว่า รูปอนาคต รูปในระหว่างทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. ว่าด้วยอำนาจสันตติ รูปที่มีอุตุเดียวกัน มีส่วนเสมอกันเป็นสมุฏฐาน และรูปที่มีอาหารอย่างเดียวกันเป็นสมุฏฐาน แม้กำลังเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจเกิดสืบต่อมาแต่เบื้องต้น ชื่อว่า รูป-

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 32

ปัจจุบัน. รูปที่มีอุตุและอาหารไม่เสมอกับสมุฏฐานซึ่งเกิดก่อนแต่รูปปัจจุบันนั้น ชื่อว่า รูปอดีต รูปที่มีอุตุและอาหารไม่เสมอกันเป็นสมุฏฐานเกิดหลังปัจจุบันชื่อว่า รูปอนาคต. จิตตชรูป (คือรูปเกิดแต่จิต) มีวิถีเดียวกัน มีชวนะเดียวกันและสมาบัติเดียวกัน ชื่อว่า รูปปัจจุบัน จิตตชรูปที่เกิดก่อนรูปปัจจุบันนั้น ชื่อว่า รูปอดีต จิตตชรูปที่เกิดหลังรูปปัจจุบัน ชื่อว่า รูปอนาคต. รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานไม่มีประเภทอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจสันตติอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่พึงทราบประเภทรูปอดีตเป็นต้นของรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นด้วยอำนาจเป็นรูปอุปถัมภ์อุตุชรูป อาหารชรูป จิตตชรูปเหล่านั้นนั่นแหละ. ว่าด้วยอำนาจสมัย รูปที่กำลังเป็นไปด้วยอำนาจการสืบต่อในสมัยทั้งหลายมีครู่ ยาม เวลาเช้า เวลาเย็น กลางคืน และกลางวันเป็นต้นแต่ละอย่าง สมัยนั้นๆ ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. รูปที่เกิดก่อนแต่สมัยนั้น ชื่อว่า รูปอดีต รูปที่เกิดหลังสมัยนั้น ชื่อว่า รูปอนาคต. ว่าด้วยอำนาจขณะ รูปที่นับเนื่องด้วยขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทขณะ เป็นต้น ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. รูปที่เกิดก่อนขณะทั้ง ๓ นั้นชื่อว่า รูปอดีต รูปที่เกิดหลังขณะทั้ง ๓ นั้น ชื่อว่า รูปอนาคต.

    อีกอย่างหนึ่ง รูปที่มีกิจแห่งเหตุและปัจจัยผ่านไปแล้ว ชื่อว่า รูปอดีต รูปที่มีกิจแห่งเหตุสำเร็จแล้วแต่กิจแห่งปัจจัยที่ยังไม่สำเร็จ ชื่อว่า รูปปัจจุบัน รูปที่มีกิจทั้ง ๒ ยังไม่มาถึง ชื่อว่า รูปอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง รูปที่เป็นไปในขณะกิจของตน ชื่อว่า รูปปัจจุบัน รูปที่เป็นไปก่อนกิจของตนนั้นชื่อว่า รูปอดีต รูปที่จะเป็นไปในภายหลังกิจของตนนั้น ชื่อว่า รูปอนาคต. ก็ในนิเทศแห่งรูปที่เป็นอตีตติกะนี้ กถาว่าด้วยขณะเป็นต้นเป็นกถาไม่อ้อมค้อม (โดยตรง) ที่เหลือยังมีปริยายอ้อมค้อม ในกถาทั้ง ๒ เหล่านั้น นิปปริยายกถา (กถาไม่อ้อมค้อม) ทรงประสงค์เอาในสุตตันตภาชนีย์นี้. แม้นิเทศแห่งบท

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 33

รูปหมวดอัชฌัตตทุกะมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้ในนิเทศแห่งอัชฌัตตติกะในหนหลังนั่นแหละ. รูปหยาบเป็นต้นมีเนื้อความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการพรรณนารูปกัณฑ์นั่นแล.

ว่าด้วยนิเทศแห่งรูปหีนทุกะ (ข้อที่ ๖)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งรูปหีนทุกะ ต่อไป

บทว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ (ของสัตว์นั้นๆ) นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติเป็นไปในสัตว์มาก เพราะเมื่อตรัสอยู่ว่า ของสัตว์แม้อื่น ของสัตว์แม้อื่น ดังนี้ ตรัสอยู่ตลอดวันก็ดี ตลอดแสนกัปก็ดี ก็ย่อมตรัสด้วยพระดำรัส (ว่าของสัตว์นั้นๆ) มีประมาณเท่านี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงกำหนดเอาสัตว์โดยไม่เหลือด้วยบททั้ง ๒ เท่านั้น จึงตรัสว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ ดังนี้. ก็ด้วยบทมีประมาณเท่านี้ย่อมสำเร็จการแสดงถึงสัตว์อื่นๆ แม้ทั้งหมด.

บทว่า อุญฺาตํ (ที่น่าดูหมิ่น) คือ ที่เขาสบประมาท. บทว่า อวมญฺาตํ (น่าเหยียดหยาม) คือ รูปที่เขาเย้ยหยัน ซึ่งใครๆ รู้แล้วก็ไม่ประกาศว่ารูปบ้าง. บทว่า หีฬิตํ (น่าเกลียด) คือ รูปที่เขาขว้าง ที่เขาทิ้งด้วยอรรถว่าไม่ควรถือเอา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า รูปที่น่าเกลียด ดังนี้ก็มี. บทว่า ปริภูตํ (น่าตำหนิ) คือ รูปที่เขากำหนดด้วยคำพูดว่า ประโยชน์อะไร ด้วยรูปนี้เล่า ดังนี้. บทว่า อจิตฺตีกตํ (๑) (ไม่น่ายกย่อง) คือ รูปที่ไม่น่าเคารพ. บทว่า หีนํ (ทราม) คือ รูปที่ลามก. บทว่า หีนมตํ (รู้กันว่าทราม) คือ รูปที่เขารู้กันว่าเลว ได้แก่ รูปที่เขากระทำให้รู้กันว่าลามก. บทว่า หีนสมฺมตํ (สมมติกันว่าทราม) คือ รูปที่เขาสมมติกันในโลกว่า ชั่วช้า หรือรูปที่คน


(๑) บาลีเป็น อจิตีกตํ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 34

เลวทรามรู้จักกันดี เหมือนคูถที่สัตว์มีคูถเป็นอาหารรู้จักกันดี. บทว่า อนิฏฺํ (ไม่น่าปรารถนา) คือรูปที่ไม่น่ารัก หรือรูปที่เขาไม่แสวงหาเพื่อต้องการจะได้ ถ้าใครๆ จะพึงแสวงหารูปนั้น ก็พึงแสวงหาเถิด แต่ว่า รูปที่ไม่น่าปรารถนานี้แหละเป็นชื่อของอารมณ์นั้น. บทว่า อกนฺตํ (ไม่น่ารัก) คือรูปที่ไม่น่าปรารถนา หรือหาสิริมิได้. บทว่า อมนาปํ (ไม่น่าชอบใจ) คือรูปที่ไม่ชุ่มชื่นใจ จริงอยู่ รูปเช่นนั้นย่อมไม่ชุ่มชื่นใจ อีกอย่างหนึ่ง มีวิเคราะห์ว่า มนํ อปฺปายติ วฑฺเฒตีติ มนาปํ น มนาปํ อมนาปํ แปลว่า รูปใดย่อมยังใจให้เอิบอาบ คือให้ใจเจริญ เพราะเหตุนั้น รูปนั้น จึงชื่อว่า มนาปะ (ยังใจให้เอิบอาบ) รูปที่ไม่ยังใจให้เอิบอาบ ชื่อว่า อมนาปะ.

    อีกอย่างหนึ่ง รูป ชื่อว่า ไม่น่าปรารถนา เพราะเว้นจากสมบัติ รูปที่ไม่น่าปรารถนานั้นมีอกุศลกรรมเป็นสมุฏฐานโดยส่วนเดียว ในบรรดารูปทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ที่ชื่อว่า อกนฺตํ (รูปที่ไม่น่ารัก) เพราะไม่มีเหตุแห่งความสุข. ที่ชื่อว่า อมนาปํ (รูปที่ไม่น่าชอบใจ) เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์.

    บทว่า รูปา สทฺทา (รูปเสียง) เป็นต้นนี้เป็นคำแสดงสภาวะของรูปทรามนั้น จริงอยู่ พระองค์ทรงจำแนกกามคุณ ๕ ที่ไม่น่าปรารถนาด้วยสามารถแห่งรูปที่เกิดจากอกุศลกรรมไว้ในบทนี้ เพราะว่า รูปที่เกิดแต่กุศลกรรมชื่อว่า ไม่น่าปรารถนาหามีไม่ รูปทั้งหมดที่เกิดแต่กุศลกรรมเป็นรูปที่น่าปรารถนาทั้งนั้น.

    นิเทศแห่งบทรูปประณีต พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว แต่ในบทนี้ พระองค์ทรงจำแนกกามคุณ ๕ ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจแห่งรูปที่เกิดแต่กุศลกรรม. เพราะรูปที่เกิดแต่กุศลกรรม ชื่อว่า เป็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาย่อมไม่มี รูปทั้งหมดน่าปรารถนาทั้งนั้น. ก็ในรูปเกิดแต่กรรม

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 35

ฉันใด แม้ในรูปทั้งหลายที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมมีความเป็นรูปที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกเฉพาะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ไว้ในทุกะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

นี้เป็นกถามีอรรถเสมอกันของอาจารย์ทั้งหลายก่อน.

ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาที (ผู้ชอบค่อนแคะ) กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ที่พระองค์ทรงจำแนกไว้เฉพาะส่วนเดียวไม่มี พระองค์ทรงตรัสธรรมนั้นไว้ด้วยอำนาจความชอบใจของสัตว์นั้นๆ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ที่สุดแห่งความพอใจแล อาตมากล่าวว่าเป็นยอดในเบญจกามคุณ ดูก่อนมหาบพิตร รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของบุคคลบางคน รูปเหล่านั้น ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่นจากนั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา ดูก่อนมหาบพิตรเสียงเหล่าใด ... กลิ่นเหล่าใด ... รสเหล่าใด ... โผฏฐัพพะเหล่าใด เป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นที่พอใจของคนบางคน ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน (๑) ดังนี้เป็นต้น. ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ เพราะบุคคลคนหนึ่งย่อมชอบใจ ย่อมยินดียิ่ง ซึ่งรูปเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ เขาย่อมยังความโลภให้เกิดขึ้นในรูปเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลคนหนึ่งย่อมโกรธ ย่อมขัดเคือง ย่อมยังโทสะให้เกิดขึ้นในรูปเป็นต้นเหล่านั้น รูปเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมน่าปรารถนา ย่อมรักใคร่ ย่อมชอบใจแก่คนบางคน แต่ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจแก่คนบางคน อนึ่ง บางคนย่อมยึดถือโดยความเคารพว่า รูปเหล่านั้น


(๑) สํ. สคาถวคฺค. เล่ม ๑๕ ๓๖๑/๑๑๗ (เนื้อความในอรรกถาหายไปมาก)

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 36

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ แต่อีกคนหนึ่งถือเอารูปเหล่านั้นนั้น แหละโดยไม่เคารพ ด้วยคิดว่ารูปเหล่านั้นไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ดังนี้ ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า รูปที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ที่ทรงจำแนกเฉพาะโดยเฉพาะจึงไม่มี. จริงอยู่ แม้ไส้เดือนทั้งหลายก็ย่อมเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของพวกบุคคลผู้อยู่ปัจจันตประเทศ แต่ว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจอย่างยิ่งของพวกที่อยู่ในมัชฌิมประเทศ อนึ่ง เนื้อของนกยูงเป็นต้น ย่อมเป็นสิ่งน่าปรารถนาของบุคคลผู้อยู่ในมัชฌิมประเทศเหล่านั้น แต่เป็นที่เกลียดชังของบุคคลนอกนี้ ดังนี้.

    พึงถามท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ก็ท่านกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า รูปที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้เฉพาะอย่างไม่มีดังนี้หรือ อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นก็จะพูดว่า ใช่แล้วกระผมกล่าวว่าไม่มี ดังนี้. แล้วถามปัญหาเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละอีก ๓ ครั้ง แล้วควรถามว่า ธรรมดาพระนิพพานเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ ดังนี้. อาจารย์วิตัณฑวาทีเมื่อทราบก็จะบอกว่า เป็นอิฏฐารมณ์. ก็ถ้าอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นไม่พึงตอบอาจารย์สกวาทีก็ไม่พึงบอกว่า พระนิพพานเป็นอิฏฐารมณ์อย่างเดียวก่อน พึงกล่าวต่อไปว่า ก็ท่านปรารถนาความข้อนี้ว่า บุคคลคนหนึ่ง เมื่อมีใครๆ กล่าวถึงคุณของพระนิพพานอยู่ ก็โกรธแล้วถามว่า ท่านกล่าวชมพระนิพพาน ในนิพพานนั้นมีข้าว น้ำ มีระเบียบ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ มีที่นอนเครื่องนุ่งห่ม มีกามคุณ ๕ สำเร็จพร้อมแล้วหรือ เมื่อเขากล่าวว่าไม่มี ก็จะพึงกล่าวว่า อย่าเลยด้วยนิพพานของท่าน เมื่อบุคคลนั้นกล่าวสรรเสริญนิพพานอยู่ต่อไป ก็โกรธ เอามืออุดหูทั้ง ๒ เสีย ดังนี้ มิใช่หรือ? ก็ด้วยอำนาจความข้อนี้ นิพพานในวาทะของท่านจะชื่อว่า เป็นอนิฏฐารมณ์ก็ตามที ถึงอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 37

ใครๆ ก็ไม่พึงถือเอานิพพานนั้นว่าเป็นอนิฏฐารมณ์อย่างนั้น เพราะบุคคลนี้ย่อมกล่าวด้วยความสำคัญอันวิปริตว่า ก็อารมณ์นั้นนั่นแลเป็นที่น่าปรารถนาแก่คนบางคน ไม่น่าปรารถนาแก่บางคนด้วยความจำอันวิปลาส แต่อารมณ์ที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจำแนกไว้เฉพาะอย่างมีอยู่ ดังนี้.

ถามว่า พระองค์ทรงจำแนกด้วยอำนาจใคร?

ตอบว่า ด้วยอำนาจของสัตว์ผู้ปานกลาง.

จริงอยู่ อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์นี้ พระองค์นี้ได้ทรงจำแนกด้วยอำนาจแห่งอิสรชนผู้ใหญ่ยิ่งเช่นพระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามหาสุทัสสนะ และพระเจ้าธรรมาโสกราชเป็นต้น เพราะชนเหล่านั้นมีอารมณ์ แม้ควรเป็นทิพย์ที่ไม่น่าพึงใจปรากฏอยู่ ทั้งมิได้ทรงจำแนกด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้มีทุกข์ยากอย่างยิ่งซึ่งหาข้าวและน้ำได้โดยยาก เพราะชนผู้มีทุกข์ยากอย่างยิ่งเหล่านั้น แม้แต่ข้าวปลายเกรียนที่เหลือ แม้รสเนื้อเน่า ก็เป็นอาหารอร่อยยิ่ง เช่นกับอมตรส. แต่พระองค์ทรงจำแนกด้วยอำนาจแห่งชนชั้นกลาง เช่นหัวหน้าหมู่มหาอำมาตย์ เศรษฐี กุฏุมภี และพ่อค้าเป็นต้น บางคราวได้อยู่ซึ่งอิฏฐารมณ์บางคราวก็ได้อนิฏฐารมณ์ เพราะชนชั้นกลางเห็นปานนี้ย่อมอาจเพื่อกำหนดอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ได้.

แต่พระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมดาว่าอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์กำหนดได้ด้วยอำนาจวิบากเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดด้วยอำนาจชวนจิต แต่ชวนจิตย่อมยินดีในอิฏฐารมณ์ ย่อมยินร้ายในอิฏฐารมณ์ ย่อมยินดีในอนิฏฐารมณ์ ย่อมยินร้ายในอนิฏฐารมณ์นั่นแหละ ด้วยสัญญาวิปลาสดังนี้. ก็อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์นี้ย่อมกำหนดด้วยอำนาจแห่งวิบาก

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 38

โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะใครๆ ไม่อาจลวงวิบากจิตได้ ถ้าอารมณ์เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา กุศลวิบากย่อมเกิดขึ้น ถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา อกุศลวิบากก็ย่อมเกิดขึ้น. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิเห็นพระพุทธเจ้า หรือ พระสงฆ์ หรือเห็นอารมณ์อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นย่อมปิดตาเสีย ย่อมถึงโทมนัส ฟังเสียงแสดงธรรมก็ย่อมอุดหูเสียแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น วิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณ และโสตวิญญาณเป็นต้นของพวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเป็นกุศลวิบากเท่านั้น. สัตว์ทั้งหลายกินคูถมีสุกรเป็นต้น สูดกลิ่นคูถแล้วก็เกิดความดีใจว่า เราจักได้เคี้ยวกิน ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นในการเห็นคูถ จักขุวิญญาณของพวกมันก็เป็นอกุศลวิบากเท่านั้น ในการสูดกลิ่น ฆานวิญญาณของมันก็เป็นอกุศลวิบาก ในการลิ้มรส ชิวหาวิญญาณของมันก็เป็นอกุศลวิบากนั่นแหละ สุกรที่ถูกมัดให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐย่อมส่งเสียงร้องดัง แต่โทมนัสของมันย่อมเกิดในชวนจิตเท่านั้นด้วยสัญญาวิปลาส กายวิญญาณของมันย่อมเป็นกุศลวิบากเท่านั้น.

    ถามว่า เพราะเหตุไร?

    ตอบว่า เพราะความที่อารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความที่อารมณ์น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา แม้ด้วยอำนาจทวาร. จริงอยู่ กองคูถที่เป็นดังโคลนเลนมีสัมผัสเป็นสุข เป็นอนิฏฐารมณ์ในจักขุทวารและฆานทวาร เป็นอิฏฐารมณ์ในกายทวาร. เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิถูกโบยด้วยแก้วมณี ถูกทำให้สะดุ้งบนหลาวทองคำ แก้วมณีและหลาวทองคำเป็นอิฏฐารมณ์ในจักขุทวาร เป็นอนิฏฐารมณ์ในกายทวาร. เพราะเหตุไร? เพราะการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ใหญ่. อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ อย่างนี้ย่อมกำหนดด้วยวิบากเท่านั้นโดยส่วนเดียว.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 39

ในคำว่า ตํ ตํ วา ปน (ได้แก่ตังตังวาปนกนัย) (๑) นี้บัณฑิตไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง. เพราะในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงแยกอรรถให้เข้าใจด้วยสมมติ (๒) ทรงแยกให้เข้าใจ ด้วยบุคคล เพราะฉะนั้นด้วยอำนาจตังตังวาปนกนัยนั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสความที่รูปทราม และรูปประณีต เพราะอาศัยการเปรียบเทียบ โดยเฉพาะบุคคล.

จริงอยู่ รูปของพวกสัตว์นรก ชื่อว่า รูปทรามถึงที่สุด เพราะเทียบกับรูปของพวกสัตว์นรกนั้น รูปของนาคและสุบรรณในสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายชื่อว่า ประณีต. รูปของนาคและสุบรรณเหล่านั้นยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปเปรต รูปเปรตทั้งหลาย จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของเปรตเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปชาวชนบทนั้น รูปของชนชาวชนบทจึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของชนชาวชนบทเหล่านั้น ก็ยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปนายบ้าน รูปของนายบ้านทั้งหลาย จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของพวกนายบ้านเหล่านั้น ก็ยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปของเจ้าประเทศราช รูปของเจ้าประเทศราชทั้งหลายจึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของเจ้าประเทศราชเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปพระเจ้าจักรพรรดิ รูปของพระเจ้าจักรพรรดิจึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปของภุมเทวดา รูปของพวกภุมเทวดา จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของพวกภุมเทวดาเหล่านั้นยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปท้าวจาตุมหา-ราช รูปของท้าวจาตุมหาราช จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปของพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ รูปของ


(๑) หมายถึงนัยที่กล่าวสรุปเนื้อความเฉพาะเรื่องนั้นๆ

(๒) คำว่าสมมติก็คือปัญญัติแต่กว้างมาก ส่วนบุคคลเป็นเฉพาะอุปาทาบัญญัติ ในพระอภิธรรม คำว่า บุคคล กับคำว่า สัตว์ เป็นไวพจน์กัน.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 40

พวกเทพชั้นดาวดึงส์ จึงชื่อว่า ประณีต. ฯลฯ ก็รูปของพวกเทพชั้นอกนิษฐ์ชื่อว่า ประณีตถึงที่สุด.

ว่าด้วยนิเทสแห่งทูรทุกรูป

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรูปทูรทุกะ (รูปไกลรูปใกล้) ต่อไป.

    รูปที่เป็นอิตถินทรีย์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในหนหลังนั่นแหละ แต่ในทุกะนี้ ตรัสสุขุมรูป (รูปละเอียด) ว่าเป็นทูเรรูป (รูปไกล) เพราะเป็นรูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ยาก ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์ได้ยาก ตรัสโอฬาริกรูป (รูปหยาบ) ว่าเป็นสันติเกรูป (รูปใกล้) เพราะเป็นรูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ง่าย ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์ได้ง่าย. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงประกอบว่า รูปนี้ เรียกว่ารูปไกล แม้ในที่ทรงประกอบอันมีกวฬิงการาหารเป็นที่สุดนั่นแหละ เพราะเหตุไร เพราะชื่อว่า รูปไกลมี ๒ อย่าง คือ ไกลโดยลักษณะ และ ไกลโดยโอกาส.

    ในรูปไกลทั้ง ๒ นั้น มิได้ตรัสคำว่า รูปไกล ไว้โดยลักษณะ แต่ตรัสรูปไกลนั้นไว้โดยโอกาส เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า รูปไกล ไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงประสงค์จะแสดงโอฬาริกรูปว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาส จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยํ วา ปนญฺญํปิ (ก็หรือว่า รูปแม้อื่นใดมีอยู่). แม้ในนิเทศแห่งสันติกบท ก็มีนัยนี้แหละ.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า อนาสนฺเน แยกบทเป็น น อาสนฺเน ได้แก่ ในที่ไม่ใกล้เคียง. บทว่า อนุปกฏฺเ แปลว่า ในที่ไม่ใกล้ชิด. บทว่า ทูเร แปลว่า ในที่ไกล. บทว่า อสนฺติเก แปลว่า ในที่ไม่ใช่ใกล้. บทว่า อิทํ วุจฺจติ รูปํ ทูเร (นี้เรียกว่ารูปไกล) นี้ ตรัสสุขุมรูป ๑๕ อย่าง เรียกว่า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 41

รูปไกล โดยลักษณะ แต่ตรัสโอฬาริกรูป ๑๐ อย่าง เรียกว่า รูปไกล โดยโอกาส ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย นิเทศแห่งสันติกบทมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

    บทว่า อิทํ วุจฺจติ รูปํ สนฺติเก (นี้เรียกว่ารูปใกล้) นี้ตรัสโอฬาริกรูป ๑๐ อย่าง เรียกว่า รูปใกล้โดยลักษณะ แต่ตรัสสุขุมรูป ๑๕ อย่าง เรียกว่า รูปใกล้โดยโอกาส ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย.

    ถามว่า ก็รูปที่ชื่อว่าใกล้และไกลด้วยอำนาจโอกาสตั้งแต่ไหน?

    ตอบว่า เมื่อบุคคลพูดอยู่ด้วยถ้อยคำปรกติ ๑๒ ศอก ชื่อว่าอุปจารคือใกล้ต่อการฟัง รูปภายในแห่งอุปจารคือใกล้ต่อการฟังนั้น ชื่อว่า รูปใกล้ เกินจากนั้นไป ชื่อว่า รูปไกล. บรรดารูปใกล้และไกลนั้น สุขุมรูป มีอยู่ในที่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลแม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส แต่สุขุมรูปที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่า เป็นรูปใกล้โดยโอกาสเท่านั้น ไม่ชื่อว่าใกล้โดยลักษณะ. โอฬาริกรูป ที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าเป็นรูปใกล้แม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส. โอฬาริกรูปที่มีอยู่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาสอย่างเดียว ไม่ใช่ไกลโดยลักษณะ.

    ในคำว่า ตํ ตํ วาปน นี้ไม่พึงดูนัยที่มีข้างต้น เพราะนัยข้างต้นเป็นนัยที่ทรงแยกเสร็จแล้ว แต่ในที่นี้มิได้ทรงแยกรูปไกลโดยลักษณะ ทรงแยกรูปไกลโดยโอกาสอย่างเดียว เพราะทรงแสดงรูปไกลและใกล้โดยการเทียบเคียงกันในขันธวิภังคนิเทศนี้.

    จริงอยู่ รูปของตน ชื่อว่า รูปใกล้ รูปของคนอื่นแม้เกิดภายในท้อง ก็ชื่อว่า รูปไกล. รูปของคนอื่นที่เกิดในท้อง ชื่อว่า รูปใกล้ รูปของบุคคลอื่นที่อยู่ภายนอก ชื่อว่า รูปไกล. รูปของบุคคลอื่นผู้นอนเตียงเดียวกัน ชื่อว่า รูปใกล้ รูปของบุคคลอื่นผู้ยืนอยู่ภายนอกหน้ามุข ชื่อว่า รูปไกล

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 42

รูปภายในบริเวณชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกบริเวณชื่อว่า รูปไกล รูปภายในสังฆารามชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกสังฆารามชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในสีมาชื่อว่า รูปใกล้ รูปนอกสีมาชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในเขตบ้านชื่อว่า รูปใกล้ รูปนอกเขตบ้านชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในชนบท ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกชนบทชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในรัชสีมาชื่อว่า รูปใกล้ รูปนอกรัชสีมาชื่อว่า รูปไกล รูปภายในสมุทรชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกสมุทรชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในจักรวาลชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกจักรวาลชื่อว่า รูปไกล ดังนี้.

    รูปขันธนิเทศ จบ

๒. เวทนาขันธนิเทศ (บาลีข้อที่ ๘)

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเวทนาขันธ์เป็นต้น ต่อไป. ข้าพเจ้าจักเว้นบทเหมือนกับบทที่กล่าวไว้ในหนหลังแล้วพรรณนาเฉพาะบทที่ยังมิได้พรรณนาเท่านั้น.

    บทว่า ยา กาจิ เวทนา (เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ทรงถือเอาเวทนาอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า สุขา เวทนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพื่อแสดงเวทนาอธิบายไว้ด้วยอำนาจเวทนาอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ.

    ในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น สุขเวทนาทางกายและสุขเวทนาทางใจมีอยู่ ทุกขเวทนาทางกายและทุกขเวทนาทางใจก็มีอยู่เหมือนกัน. ส่วนอทุกขมสุขเวทนาที่ตรัสว่าเป็นไปทางกายโดยปริยายหมายถึงกายคือประสาทมีจักขุเป็นต้นมีอยู่ เป็นไปทางใจก็มีอยู่. ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นไปทางกายแม้ทั้งหมดเป็นกามาวจร ทุกขเวทนาทางใจก็เป็นกามาวจรเหมือนกัน แต่สุขเวทนาเป็นไปทางใจเป็นไปในภูมิ ๓ อทุกขมสุขเวทนาเป็น

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 43

ไปในภูมิ ๔ พึงทราบความที่เวทนาแม้มีประการทั้งหมดนั้นเป็นอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจสันตติ และด้วยอำนาจขณะเป็นต้น. บรรดาเวทนาเหล่านั้น ว่าด้วยอำนาจสันตติ เวทนาที่นับเนื่องในวิถีเดียวกัน ในชวนะเดียวกัน ในสมาบัติเดียวกัน และเป็นไปโดยประกอบในอารมณ์เดียวกัน ชื่อว่า เวทนาปัจจุบัน เวทนาก่อนปัจจุบัน ชื่อว่า เวทนาอดีต เวทนาหลังปัจจุบัน ชื่อว่า เวทนาอนาคต. ว่าด้วยอำนาจขณะเป็นต้น เวทนาที่นับเนื่องด้วยขณะทั้ง ๓ คือเวทนาที่ถึงท่ามกลางของเบื้องต้น และเบื้องปลายและกำลังทำกิจของตนอยู่ ชื่อว่า เวทนาปัจจบุบัน เวทนาก่อนนั้น ชื่อว่า เวทนาอดีต เวทนาหลังปัจจุบันนั้น ชื่อว่า เวทนาอนาคต. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำนิเทศนี้หมายเอาความที่เวทนาอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจขณะเป็นต้น.

    ว่าด้วยนิเทศเวทนาหยาบและละเอียด

    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาหยาบและละเอียด ต่อไป.

    บทว่า อกุสลา เวทนา (อกุศลเวทนา) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยชาติ. บทว่า ทุกฺขา เวทนา โอฬาริกา (ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงเวทนาหยาบและละเอียดโดยสภาวะ. บทว่า อสมาปนฺนสฺส เวทนา (เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยบุคคล. บทว่า สาสวา (เวทนาที่มีอาสวะ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยโลกิยะและโลกุตระ. บรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นอกุศล ก่อน ชื่อว่า เป็นเวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่ารำคาญใจ และด้วยอรรถว่ามีทุกข์เป็นวิบาก.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 44

เวทนาที่เป็นกุศล ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความกระวนกระวาย และด้วยอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก เวทนาที่เป็นอัพยากฤต ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความอุตสาหะ และด้วยอรรถว่าไม่มีวิบาก. เวทนาที่เป็นกุศล และเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่ามีอุตสาหะ และด้วยอรรถว่ามีวิบาก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤต ชื่อว่า เวทนาละเอียด โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

    ทุกขเวทนา ชื่อว่า เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าไม่มีความยินดี และด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์. สุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่ามีความยินดี และด้วยอรรถว่าเป็นสุข. อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าสงบ และด้วยอรรถว่าประณีต. สุขและทุกขเวทนา ชื่อว่า เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าหวั่นไหว และด้วยอรรถว่าแผ่ออกไป. จริงอยู่ แม้สุขเวทนา ก็ย่อมหวั่นไหวย่อมแผ่ออกไป แม้ทุกขเวทนาก็เหมือนกันเพราะสุขเวทนาเมื่อเกิดย่อมยังสรีระทั้งสิ้นให้หวั่นไหว ให้กระเพื่อม ให้ชุ่มฉ่ำ ให้มัวเมา ให้ยินดีเกิดขึ้น ดุจรดอยู่ด้วยหม้อน้ำเย็น. ทุกขเวทนาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเป็นดุจเวลาที่ใส่ภาชนะร้อนไว้ภายใน และดุจเอาคบเพลิงหญ้าเผาอยู่ภายนอกเกิดขึ้น. แต่อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียดโดยนัยที่กล่าวแล้ว. ก็เวทนาของบุคคลผู้ไม่เข้าสมาบัติ ชื่อว่า เวทนาหยาบ เพราะความที่บุคคลนั้น มีจิตซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ เวทนาของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ชื่อว่า เวทนาละเอียด เพราะบุคคลนั้นประพฤติในนิมิตมีอารมณ์สงบ. เวทนามีอาสวะ ชื่อว่า เวทนาหยาบ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ เป็นเหตุ ขึ้นชื่อว่า วาระแห่งอาสวะ ย่อมเป็นสภาพหยาบอย่างเดียว. เวทนาไม่มีอาสวะ ชื่อว่า เวทนาละเอียด โดยปริยายตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 45

ว่าด้วยมติของอาจารย์

บรรดาเวทนาหยาบและละเอียดเหล่านั้น อาจารย์รูปหนึ่งไม่ฉลาดในกุศลติกะ ไม่ฉลาดในเวทนาติกะ อาจารย์นั้นประสงค์จะรักษากุศลติกะย่อมทำลายเวทนาติกะ ประสงค์จะรักษาเวทนาติกะย่อมทำลายกุศลติกะ. อาจารย์รูปหนึ่งประสงค์จะรักษาติกะย่อมทำลายธรรมภูมิอื่น. อาจารย์รูปหนึ่งย่อมไม่ทำลายอย่างไร? ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเวทนาติกะว่า สุขเวทนา และทุกขเวทนา เป็นเวทนาหยาบ อทุกขมมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียดดังนี้ พระดำรัสนั้น อาจารย์รูปหนึ่งย่อมคัดค้านว่า อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมดมิใช่เวทนาละเอียด เพราะอทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มีบรรดาอทุกขมสุขเวทนา ๓ ชนิดนั้น เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาละเอียด เพราะเหตุไร? เพราะความที่เวทนานั้นมาในพระบาลีหมวดกุศลติกะ ด้วยอาการอย่างนี้ อาจารย์นั้น ชื่อว่า รักษากุศลติกะ แต่ทำลายเวทนาติกะ.

แม้พระดำรัสใดที่ตรัสไว้ในกุศลติกะว่า กุศลเวทนาและอกุศลเวทนา ชื่อว่า เวทนาหยาบ อัพยากตเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียด ดังนี้ พระดำรัสนั้น อาจารย์รูปหนึ่งก็คัดค้านว่า อัพยากตเวทนาทั้งหมดไม่ใช่เวทนาละเอียดเพราะอัพยากตเวทนานั้นเป็นสุขก็มี เป็นทุกข์ก็มี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็มี. บรรดาอัพยากตเวทนา ๓ ชนิดนั้น อัพยากตเวทนาที่เป็นสุขและเป็นทุกข์เป็นเวทนาหยาบ อัพยากตที่เป็นอทุกขมสุขเป็นเวทนาละเอียด เพราะเหตุไร? เพราะความที่อัพยากตเวทนานั้นมาในพระบาลีในเวทนาติกะ ด้วยอาการอย่างนี้ เวทนาติกะเป็นอันอาจารย์นั้นรักษาแล้ว แต่ทำลายกุศลติกะ. ก็อาจารย์ผู้ไม่เหลียวแลดูเวทนาติกะในที่แห่งกุศลติกะมาแล้ว ไม่แลดูกุศลติกะในที่แห่งเวทนาติกะมาแล้ว กล่าวซึ่งความที่เวทนาหยาบและเวทนา-

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 46

ละเอียด โดยลักษณะแห่งกุศลติกะของธรรมมีกุศลเป็นต้น โดยลักษณะแห่งเวทนาติกะของเวทนามีสุขเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมไม่ทำลาย.

อีกอย่างหนึ่ง ในพระดำรัสที่ตรัสในกุศลติกะว่า เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้นั่น อาจารย์รูปหนึ่งย่อมกล่าวว่า เวทนาที่เป็นกุศลแม้เป็นโลกุตรเวทนาก็ชื่อว่า เวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นวิบากโดยที่สุดแม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับทวิปัญจวิญญาณ ชื่อว่า เวทนาละเอียด ดังนี้. อาจารย์นั้นกระทำโลกุตรเวทนาอันสงบประณีตเห็นปานนี้ ให้ชื่อว่า เวทนาหยาบ กระทำอยู่ซึ่งเวทนาอันสัมปยุตด้วยทวิปัญจวิญญาณอันเป็นอเหตุกะอันทรามเขลา ให้ชื่อว่า เวทนาละเอียด ประสงค์จะรักษาติกะ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมทำลายธรรมภูมิอื่น. แต่อาจารย์ผู้กล่าวประกอบกุศลในภูมินั้นๆ กับด้วยวิบากในภูมินั้นๆ ชื่อว่า ย่อมไม่ทำลาย.

บรรดานัยเหล่านั้น มีนัยที่พึงทราบดังต่อไปนี้

จริงอยู่ อาจารย์ผู้กล่าวโดยทำนองนี้ว่า ก็เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจรอรูปาวจร และโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมไม่ทำลาย.

แต่พระจุฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ในอกุศลไม่ควรยกชื่อเวทนาว่าหยาบและละเอียด เพราะอกุศลนั้นเป็นสภาพหยาบโดยส่วนเดียวเท่านั้น แม้ในโลกุตระก็ไม่ควรยกความที่เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบและละเอียด เพราะโลกุตระนั้น เป็นสภาวะละเอียดโดยส่วนเดียว ดังนี้. พวกอันเตวาสิกได้นำถ้อยคำนี้มาบอกแก่พระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 47

ฝ่ายพระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธะตรัสพระอภิธรรมไว้ในฐานะที่มาของบทหนึ่งก็ดี สองบทก็ดี ชื่อว่า มิได้ทรงประทานนัยในฐานะที่ควรประทานย่อมไม่มี ชื่อว่า มิได้ทรงกระทำนัยในฐานะที่ควรกระทำก็ไม่มี แต่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เที่ยวพูดอยู่ว่า กระผมเป็นอาจารย์ เพื่อจะยกความที่เวทนาในอกุศลเป็นเวทนาหยาบและละเอียดขึ้นก็รังเกียจ แต่พระสัมมาสัมพุทธะทรงยกความที่เวทนาเหล่านั้นเป็นเวทนาหยาบและละเอียด ขึ้นแม้ในโลกุตระ ดังนี้ ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงยกพระสูตรนี้มาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ช้านี้ เรียกว่าปฏิปทาเลวโดยเหตุทั้งสองทีเดียว คือ เพราะความลำบาก และเพราะตรัสรู้ช้า " ดังนี้. ที่จริง ในพระสูตรนี้ตรัสปฏิปทา ๔ ไว้เป็นปฏิปทาคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.

    บทว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ ไม่พึงเพ่งถึงนัยข้างต้น บัณฑิตพึงกล่าวด้วยอำนาจแห่ง ตังตังวาปนกนัย เท่านั้น.

    จริงอยู่ เวทนาที่เป็นอกุศลมี ๒ อย่าง คือ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโลภะ และเวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะ ในเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะก็มี ๒ อย่าง คือ นิยตเวทนา อนิยตเวทนา. บรรดาเวทนาทั้ง ๒ นั้น นิยตเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด อนึ่ง นิยตเวทนาคือเวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนาไม่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปถ้าเป็นอสังขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด.

    แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับโลภะก็มี ๒ อย่าง คือ ทิฏฐิคตสัมปยุต และทิฏฐิวิปยุต. ในเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นเวทนาละเอียด แม้

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 48

เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ถ้าเป็นนิยตะก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นอนิยตะก็เป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิดแม้นั้น ถ้าเป็นอสังขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด. ว่าโดยย่อ เวทนาใดถึงอกุศลแล้วให้วิบากมาก เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้วิบากน้อยเป็นเวทนาละเอียด ส่วนเวทนาที่ถึงกุศลให้วิบากน้อยเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้วิบากมากเป็นเวทนาละเอียด.

ในกุศล ๔ อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศลนั้น ก็เป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่เป็นอรูปาวจรกุศลก็เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นโลกุตรกุศลก็เป็นเวทนาละเอียด. นัยนี้โดยไม่ต่างกัน ในภูมิทั้ง ๔ ก่อน.

    แต่ว่าโดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย.

บรรดาเวทนาทั้ง ๓ นั้น เวทนาที่สำเร็จด้วยการให้ทานเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยการรักษาศีลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่สำเร็จด้วยการรักษาศีลนั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาแม้นั้นก็มี ๒ อย่าง คือ เป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๒) และติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๓) ใน ๒ อย่างนั้นเวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ เป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาประกอบด้วยเหตุ ๓ ก็มี ๒ อย่าง โดยเป็นสสังขาริก และอสังขาริก. ในบรรดาเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด. ในรูปาวจร เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับกุศลในทุติย-

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 49

ฌาน ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในอากาสานัญจายตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตตมรรคเป็นเวทนาละเอียด.

ในวิบาก ๔ อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด. นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน.

แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากที่เป็นอเหตุกะ (ไม่ประกอบด้วยเหตุ) มีอยู่ ที่เป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ) ก็มีอยู่ แม้เวทนาที่เป็นสเหตุกะก็มี ๒ คือ เวทนาที่เป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๒) มีอยู่ ที่เป็นติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๓) ก็มีอยู่.

ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นสเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นสเหตุกะแม้นั้น ที่เป็นทุเหตุกะเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นติเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. แม้ในเวทนาที่เป็นติเหตุกะนั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 50

เวทนาที่เป็นวิบากของปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นวิบากของทุติยฌานเป็นเวทนาละเอียด ฯลฯ ที่เป็นวิบากของจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นวิบากของอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของอากาสานัญจายตนะแม้นั้นก็ยังหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญาตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับสกทาคามิผล ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตตผลเป็นเวทนาละเอียด.

ในบรรดากิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เวทนาที่เป็นกิริยาในกามาวจรเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาในรูปวจรแม้นั้นก็ยังหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด. นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน.

แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน ในกามาวจรกิริยาที่ทรงแยกไว้ด้วยอำนาจเวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นต้น เวทนาที่เป็นอเหตุกกิริยาเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นสเหตุกกิริยาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นทุเหตุกกิริยาแม้นั้นก็เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นติเหตุกิริยาเป็นเวทนาละเอียด. ในเวทนาที่เป็นติเหตุกกิริยาแม้นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในทุติยฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในทุติยฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในตติยฌาน ฯลฯ เวทนาที่เป็นกิริยาในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในจตตุถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนา

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 51

ละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ เวทนาที่เป็นกิริยาในเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาใดหยาบ เวทนานั้นทราม. เวทนาใดละเอียด เวทนานั้นประณีต.

    ว่าด้วยนิเทศเวทนาทูรทุกะ (บาลีข้อ ๑๓)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาทูรทุกะ (ไกลใกล้) ต่อไป.

เวทนาเป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาไกล จากเวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากต ด้วยอรรถว่าไม่เสมอกัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน บัณฑิตพึงทราบความที่เวทนาเป็นสภาพไกล ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.

จริงอยู่ แม้ว่าคน ๓ คนผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาที่เป็นอกุศลเป็นต้น และพร้อมด้วยเวทนามีทุกข์เป็นต้น นั่งในเตียงเดียวกันไซร้ เวทนาเหล่านั้นของบุคคลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่า ไกลกัน นั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเวทนาไม่เสมอกัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน. แม้ของในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาของบุคคลผู้เข้าสมาบัติเป็นต้น.

ส่วนเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาใกล้ ด้วยอรรถว่ามีส่วนเสมอกัน และด้วยอรรถว่าคล้ายกับเวทนาที่เป็นอกุศล บัณฑิตพึงทราบความที่เวทนาเป็นสภาวะใกล้ในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ก็ถ้าบุคคล ๓ คน ผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนามีอกุศลเป็นต้น คนหนึ่งเกิดในกามภพ คนหนึ่งเกิดในรูปภพ คนหนึ่งเกิดในอรูปภพ เวทนาเหล่านั้นของบุคคลแม้เหล่านั้น ชื่อว่า เวทนาใกล้กันทั้งนั้นด้วยอรรถว่าเสมอกัน และด้วยอรรถว่าคล้ายกัน. แม้ในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนามีกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 52

ในข้อว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวในหนหลัง พึงกล่าวด้วยอำนาจ ตังตังวาปนกนัย นั่นแหละ แต่เมื่อจะกล่าวไม่ควรยกเวทนาใกล้จากเวทนาไกล แต่พึงยกเวทนาไกลจากเวทนาใกล้ เพราะเวทนาที่เป็นอกุศล มี ๒ อย่าง คือ เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ และสหรคตด้วยโทสะ. ในเวทนา ๒ เหล่านั้น เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ ชื่อว่า เวทนาใกล้เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ,แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะที่เป็นนิยตะ (๑) ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะความเป็นสภาพยั่งยืน ชื่อว่า อนิยตะ เพราะความเป็นสภาพไม่ยั่งยืนอย่างนั้น. พึงทราบเวทนาแต่ละส่วนว่าเป็นเวทนาใกล้โดยเวทนาที่เป็นส่วนนั้นๆ นั่นแหละ และเวทนานอกนี้พึงทราบว่าเป็นเวทนาไกลจากส่วนนอกนี้ คล้อยตามเวทนาทั้งปวงอันต่างด้วยเวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัป เวทนาที่เป็นอสังขาริก สสังขาริก และเวทนาอันต่างด้วยธรรมมีทิฏฐิคตสัมปยุตเป็นต้นในบรรดาจิตที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งถ้อยคำอันข้าพเจ้าให้พิสดารในนิเทศโอฬาริกทุกะนั่นแล.

เวทนาขันธนิเทศ จบ

๓. สัญญาขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๑๔)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ ต่อไป.

บทว่า ยา กาจิ สญฺา (สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาสัญญาที่เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา


(๑) คำว่า นิยตะ หมายถึงยั่งยืน คือ เกิดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นในนรก.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 53

สญฺา (สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น ตรัสเพื่อแสดงสัญญาที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจสัญญาที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ.

บรรดาสัญญาเหล่านั้น สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส หรือในจักขุสัมผัสชื่อว่า จักขุสัมผัสสชา. แม้ในสัญญาที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็ในสัญญา ๖ เหล่านั้น สัญญา ๕ อย่างข้างต้นมีจักขุปสาทเป็นต้นเป็นที่อาศัยเกิดโดยเฉพาะมโนสัมผัสสชาสัญญา (สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส) มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง สัญญาแม้ทั้งหมดจึง ชื่อว่า เป็นไปในภูมิ ๔.

พึงทราบวินิจฉัยในโอฬาริกทุกนิเทศ บทว่า ปฏิฆสมฺผสฺสชา สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส ความว่า ผัสสะที่กระทำจักขุปสาทเป็นต้นที่เป็นสัปปฏิฆะให้เป็นที่อาศัยเกิดปรารภรูปเป็นต้นที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น ชื่อว่าปฏิฆสัมผัส. สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัสนั้น หรือเกิดในปฏิฆสัมผัสนั้นชื่อว่า ปฏิฆสัมผัสสชา. แม้คำว่า สัญญาที่เกิดแต่ จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส ดังนี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานั้นนั่นแหละโดยวัตถุ (คือที่อาศัยเกิด) แม้คำว่า รูปสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ดังนี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานนั้นนั่นเอง โดยอารมณ์ ก็แต่ว่า คำว่า ปฏิฆสัญญา นี้ เป็นชื่อของสัญญาทั้งโดยวัตถุ และอารมณ์. จริงอยู่ สัญญานี้ ตรัสเรียกว่า สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆะ เพราะอาศัยวัตถุที่เป็นสัปปฏิฆะ (เป็นไปกับด้วยการกระทบ) และปรารภอารมณ์ที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น. แม้คำว่า มโนสัมผัสสชา นี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานี้ โดยปริยายเหมือนกัน. เพราะว่าจักขุวิญญาณชื่อว่า มโน. ผัสสะเกิดพร้อมกับมโนนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส. สัญญาเกิดในมโนสัมผัสนั้น หรือเกิดแต่มโนสัมผัสนั้นมีอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัสสชา โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณก็ชื่อว่า มโน

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 54

เหมือนกัน. ผัสสะเกิดพร้อมกับมโนนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส. สัญญาเกิดในมโนสัมผัสนั้น หรือแต่มโนสัมผัสนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัสสชา แม้คำว่า สัญญาที่เกิดแต่อธิวจนสัมผัส ดังนี้ ก็เป็นชื่อของมโนสัมผัสสชานี้ โดยปริยายนั้นแหละ. เพราะว่า นามขันธ์ ๓ คือ เวทนา สังขาร และวิญญาณเป็นสภาวะหมุนไปเบื้องหลังเอง จึงกระทำชื่อสัญญาที่เกิดพร้อมกับตนว่า สัญญาเกิดแต่อธิวจนสัมผัส.

แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) สัญญาที่เป็นไปในปัญจทวารชื่อว่า สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวาร ชื่อว่า สัญญาเกิดแต่อธิวจนสัมผัส. บรรดาสัญญาทั้ง ๒ นั้น สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร แม้ใครๆ แลดูแล้วก็อาจรู้ได้ เพราะฉะนั้น สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวารนั้นจึงชื่อว่า สัญญาหยาบ. จริงอยู่ คนทั้งหลายแลดูบุคคลผู้กำหนัดเพ่งอยู่ก็สามารถรู้ว่า บุคคลนี้กำหนัดเพ่งอยู่ หรือแลดูบุคคลโกรธเพ่งอยู่ ก็สามารถรู้ว่า บุคคลนี้โกรธเพ่งอยู่ ดังนี้.

ในข้อนี้ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.

ได้ยินว่า หญิง ๒ คนกำลังนั่งกรอด้ายในบ้าน ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปเที่ยวไปในบ้าน รูปหนึ่งเดินข้างหน้า ได้แลดูหญิงคนหนึ่ง หญิงนอกนี้ถามหญิงนั้นว่า เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุหนุ่มนี้จึงแลดูเธอดังนี้ นางตอบว่า ภิกษุนี้ไม่แลดูฉันด้วยจิตที่เป็นวิสภาคารมณ์ แต่แลดูด้วยสำคัญว่าเป็นน้องสาว ดังนี้ เมื่อภิกษุทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในบ้านแล้วก็มานั่ง ณ โรงฉัน ภิกษุนอกนี้จึงถามภิกษุนั้นว่า ท่านแลดูหญิงคนนั้นหรือ. ท่านตอบว่า ขอรับกระผมแลดู. ท่านแลดูเพื่อประโยชน์อะไร ภิกษุนั้นตอบว่า กระผมแลดูเธอด้วยคิดว่า เธอคล้ายน้องสาวของผม ด้วยอาการอย่างนี้ สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร บัณฑิต

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 55

พึงทราบว่า แม้ใครๆ แลดูแล้วก็พึงทราบได้ ดังนี้ ก็สัญญานี้นั้น มีปสาทวัตถุเท่านั้น แต่อาจารย์บางพวกแสดงว่า เพราะสัญญานั้นเป็นไปด้วยชวนะดังนี้.

สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวารเป็นสัญญาละเอียด เพราะความที่สัญญานั้น อันบุคคลพึงถามบุคคลอื่นแม้นั่งเตียงเดียวกัน หรือตั่งเดียวกันว่า ท่านคิดหรือตรึกอะไร ดังนี้ จึงทราบได้ด้วยอำนาจแห่งคำบอกของบุคคลนั้น. คำที่เหลือเช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแล.

นี้สัญญาขันธนิเทศ

๔. สังขารขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๒๐)

พึงทราบวินิจฉัยสังขารขันธ์นิเทศ ต่อไป.

บทว่า เย เกจิ สงฺขารา (สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง) นี้ ทรงกำหนดสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เจตนา (เจตนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงสังขารที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจสังขารที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา (เกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. คำว่า เจตนา นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจเป็นประธานสังขารทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย เพราะสังขาร ๔ มาในพระบาลีเกิดขึ้นพร้อมกับจักขุวิญญาณโดยที่สุดทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ซึ่งบรรดาสังขารเหล่านั้น เจตนาชื่อว่า เป็นประธาน เพราะปรากฏด้วยอรรถว่าเป็นตัวกระทำ เพราะฉะนั้น เจตนานี้เท่านั้นทรงถือเอาแล้ว ก็สังขารที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้นย่อมเป็นอันทรงถือเอาแล้ว ก็เพราะเจตนานั้น พระองค์ทรงถือเอาแล้วนั่นแหละ. แม้ในที่นี้ เจตนา ๕ ข้างต้น มีจักขุปสาทเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดอย่างเดียว เจตนาที่เกิดแต่มโน

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 56

สัมผัสมีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง เจตนาทั้งหมดเป็นเจตนาเป็นไปในภูมิ ๔. คำที่เหลือเหมือนเวทนาขันธ์นั่นแล.

    นี้สังขารขันธนิเทศ

๕. วิญญาณขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๒๖)

    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ ต่อไป.

    บทว่า ยํ กิญฺจิ วิญฺาณํ (วิญญาณอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือวิญญาณอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ (จักขุวิญญาณ) เป็นต้น พระองค์ตรัสเพื่อทรงแสดงวิญญาณที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. ในพระบาลีนี้วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น มีจักขุปสาทวัตถุเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดทีเดียว. มโนวิญญาณมีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีหทัยเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง วิญญาณทั้งหมดเป็นวิญญาณเป็นไปในภูมิ ๔. คำที่เหลือเหมือนกับเวทนาขันธ์นั้นแล.

    นี้วิญญาณขันธนิเทศ

ว่าด้วยปกิณกะในเบญจขันธ์ ๑๖ อย่าง

    บัดนี้ พึงทราบปกิณกะในขันธ์ทั้ง ๕ โดยอาการ ๑๖ อย่าง คือ

    โดยการเกิดครั้งแรก (สมุคฺคมโต)

    โดยการเกิดก่อนและหลัง (ปุพฺพาปรโต)

    โดยกำหนดกาล (อทฺธานปริจฺเฉทโต)

    โดยการเกิดขณะเดียวกันดับต่างขณะกัน (เอกุปฺปาทนานานิโรธโต)

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 57

    โดยการเกิดต่างขณะกันดับพร้อมกัน (นานุปฺปาทเอกนิโรธโต)

    โดยเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน (เอกุปฺปาทเอกนิโรธโต)

    โดยเกิดไม่พร้อมกันดับไม่พร้อมกัน (นานุปฺปาทนานานิโรธโต)

    โดยเป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน (อตีตานาคตปจฺจุปนฺนโต)

    โดยเป็นธรรมภายในและภายนอก (อชฺฌตฺติกพาหิรโต)

    โดยเป็นสภาพหยาบและละเอียด (โอฬาริกสุขุมโต)

    โดยเป็นธรรมทรามและประณีต (หีนปณีตโต)

    โดยเป็นธรรมไกลและใกล้ (ทูรสนฺติกโต)

    โดยปัจจัย (ปจฺจยโต)

    โดยสมุฏฐาน (สมฺฏฐานโต)

    โดยความสำเร็จ (ปรินิปฺผนฺนโต)

    โดยเป็นของปรุงแต่ง (สํขตโต)

    ว่าโดยการเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ ๕

    บรรดาปกิณกะเหล่านั้น คำว่า โดยการเกิดขึ้นครั้งแรก นี้การเกิดขึ้นครั้งแรกมี ๒ อย่างคือ การเกิดขึ้นครั้งแรกของคัพภไสยกสัตว์ และการเกิดขึ้นครั้งแรกของโอปปาติกสัตว์ บรรดาการเกิด ๒ อย่างนั้น พึงทราบการเกิดขึ้นครั้งแรกของคัพภไสยกสัตว์อย่างนี้

    จริงอยู่ขันธ์ ๕ ของพวกคัพภไสยกสัตว์ย่อมปรากฏพร้อมกันไม่หลังไม่ก่อนกันในขณะปฏิสนธิ. ข้อนี้ท่านกล่าวว่า ความสืบต่อแห่งรูป กล่าวคือกลละที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นของนิดหน่อยมีเพียงแมลงวันตัวน้อยจะพึงดื่มได้ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้น แล้วยังกล่าวอีกว่า นั่นก็ยังมากเกินไป

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 58

คือมันเป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของเข็มละเอียดที่เขาจุ่มในน้ำมันแล้วยกขึ้น ดังนี้. แม้หยาดน้ำนั้นนั่นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อเขาจับผมเส้นหนึ่งยกขึ้นจากน้ำมันแล้วก็เป็นเพียงหยาดน้ำที่ไหลออกตรงปลายผมเส้นนั้น ดังนี้ แม้หยาดน้ำนั้นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อผ่าเส้นผมของมนุษย์ชาวชนบทนี้ออกเป็น ๘ ส่วน เส้นผมของชาวอุตตรกุรุทวีปมีประมาณเท่าส่วนหนึ่งแต่ ๘ ส่วนนั้น กลละนั้นก็เป็นเพียงหยาดที่ตั้งอยู่ตรงปลายผมของมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นที่เขายกขึ้นจากน้ำมันงาใส ดังนี้ แม้น้ำมันงาใสนั้นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า นั่นก็ยังมาก ธรรมดาขนทรายเป็นธรรมชาติละเอียด กลละนั้นเป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของขนเนื้อทรายเส้นหนึ่งที่เขาจุ่มในน้ำมันงาใสแล้วยกขึ้น ดังนี้. ก็กลละนี้นั้นใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ เสมอด้วยหยาดน้ำมันงาใส ข้อนี้สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

    ติลเตสสฺส ยถา พินฺทุ สปฺปิมณฺโฑ อนาวิไล

    เอวํ วณฺณปฏิภาคํ กลลนฺติ ปวุจฺจติ

    หยาดน้ำมันงา ใสเหมือนเนยใส ไม่ขุ่นมัว ฉันใด ท่านกล่าวว่า กลลรูปมีส่วนเปรียบด้วยรูปพรรณ ฉันนั้น.

ในสันตติรูปเล็กน้อยอย่างนี้ ยังมีสันตติรูปที่เป็นประธาน ๓ กลุ่ม คือ วัตถุทสกะ ๑ กายทสกะ ๑ ภาวทสกะ ด้วยอำนาจอิตถินทรีย์ของหญิง และด้วยอำนาจปุริสินทรีย์ของชาย ๑ บรรดาสันตติรูปทั้ง ๓ กลุ่มเหล่านั้น รูปนี้ คือ วัตถุรูป ๑ มหาภูตรูป ๔ เป็นที่อาศัยของวัตถุรูปนั้น และวรรณะ คันธะ รสะ โอชา รวม ๔ ที่อาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า วัตถุทสกะ รูปนี้คือ กายประสาท ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยของกายประสาทนั้น วรรณะ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 59

คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า กายทสกะ รูปนี้คือ อิตถีภาวะของหญิง และปุริสภาวะของชาย ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยภาวรูปนั้น วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า ภาวทสกะ. กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) ในปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ กำหนดโดยสูงสุดมี ๓๐ ถ้วน ชื่อว่า รูปขันธ์ ด้วยประการฉะนี้. ก็เวทนาที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ชื่อว่า เวทนาขันธ์ สัญญา... ชื่อว่า สัญญาขันธ์ สังขาร... ชื่อว่า สังขารขันธ์ ปฏิสนธิจิต ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ เป็นสภาพบริบูรณ์แล้ว ด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้า ปฏิสนธิของบัณเฑาะก์ (นุปํสกปฏิสนฺธิ) ย่อมลดภาวทสกะ มีกรรมชรูป ๒๐ ถ้วน ด้วยอำนาจทสกะทั้ง ๒ ชื่อว่า รูปขันธ์ ธรรมมีเวทนาขันธ์เป็นต้น มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ แม้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ก็ชื่อว่า บริบูรณ์แล้ว. ในฐานะนี้ บัณฑิตควรกล่าวประเพณีของรูปที่มีสมุฏฐาน ๓ ด้วย.

ก็ชื่อว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกท่านแสดงไว้โดยมิได้กล่าวถึงประเพณี ๓ นั้น.

จริงอยู่ ในขณะปฏิสนธิของสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะมีอายตนะบริบูรณ์ คือมีรูปสันตติที่เป็นประธาน ๗ กลุ่ม ได้แก่ กรรมชรูปตามที่กล่าวข้างต้น ๓ และจักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ ย่อมเกิดขึ้น. บรรดากรรมชรูป ๗ กลุ่มเหล่านั้น จักขุทสกะเป็นต้น เป็นเช่นกับกายทสกะนั่นแหละแต่ภาวทสกะย่อมไม่มีแก่โอปปาติสัตว์ผู้ไม่มีเพศ ด้วยอาการอย่างนี้ กรรมชรูป

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 60

ที่ชื่อว่า รูปขันธ์ ของโอปปาติกสัตว์ที่มีอายตนะบริบูรณ์จึงมี ๗๐ ถ้วนบ้าง ๖๐ ถ้วนบ้าง ธรรมมีเวทนาขันธ์เป็นต้นก็มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกย่อมบริบูรณ์แล้วด้วยประการฉะนี้. นี้ชื่อว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของโอปปาติกสัตว์.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการเกิดขึ้นครั้งแรกอย่างนี้ก่อน.

    ว่าโดยการเกิดก่อนและหลัง

คำว่า โดยการเกิดก่อนและหลัง มีคำถามว่า ก็ขันธ์ ๕ ของคัพภไสยกสัตว์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อนและหลังอย่างนี้ รูปย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นก่อนหรือ หรืออรูปย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นก่อน. ตอบว่า รูปนั่นเองย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น อรูปหาได้ยังรูปให้เกิดขึ้นไม่ เพราะเหตุไร? เพราะความที่ปฏิสนธิจิตยังรูปให้เกิดขึ้นไม่ได้.

จริงอยู่ จิต ๑๖ ดวง คือ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหมด ๑ จุติจิตของพระขีณาสพ ๑ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิปากจิต ๔ ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้.

บรรดาจิต ๑๖ ดวงเหล่านั้น ปฏิสนธิจิตก่อน ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ เพราะวัตถุทุรพล ๑ เพราะความไม่ตั้งมั่น ๑ เพราะมีปัจจัยบกพร่อง ๑ เพราะเป็นจิตจรมาใหม่ ๑. ด้วยว่าบรรดาเหตุ ๔ เหล่านั้น วัตถุที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตเป็นสภาพทุรพลในขณะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตนั้น จึงชื่อว่า ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ เพราะความที่วัตถุเป็นของทุรพล.

อนึ่ง บุรุษที่กำลังตกไปในเหวย่อมไม่อาจเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ฉันใด จิตแม้นี้ก็ฉันนั้น เป็นจิตไม่ตั้งมั่นเป็นเหมือนกำลังตกไปในเหว เพราะถูกกรรม

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 61

ซัดไป เพราะเหตุนั้น ปฏิสนธิจิตนั้น จึงชื่อว่า ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้แม้เหตุที่ไม่ตั้งมั่นเพราะถูกกรรมซัดไป ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกับวัตถุ (รูป) วัตถุของปฏิสนธิจิตนั้น จึงไม่อาจเป็นปัจจัย (ปุเรชาตปัจจัย) ที่เกิดก่อน แต่ถ้าพึงอาจ ก็จะพึงยังรูปให้ตั้งขึ้น แม้ในขณะที่วัตถุซึ่งเกิดก่อนอาจเพื่อเป็นปัจจัย เป็นประเพณีสืบต่ออยู่นั้น จิตที่ไม่เสื่อมจากส่วนประกอบเท่านั้น จึงยังรูปให้เกิดขึ้น จริงอยู่ ถ้าจิตยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ในขณะตั้งอยู่ หรือในภังคขณะ แม้ปฏิสนธิจิตก็จะพึงยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ แต่ว่าจิตย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นในขณะทั้งสองนั้นไม่ได้. เหมือนอย่างกลุ่มเห็ดเมื่อผุดขึ้นจากแผ่นดินย่อมพาเอาผงฝุ่นติดมาด้วย ฉันใด จิตก็ฉันนั้น อาศัย (อัญญมัญญนิสสยะ) วัตถุที่เกิดก่อน (เกิดครั้งแรก) แล้วถือเอารูป ๘ อย่างตั้งขึ้นในอุปาทขณะ แต่รูป (วัตถุ) ที่เกิดก่อน (ครั้งแรก) ในขณะปฏิสนธิไม่อาจเป็นปัจจัยได้ เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิต จึงชื่อว่ายังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ แม้เพราะความบกพร่องแห่งปัจจัย.

อนึ่ง บุคคลผู้มาใหม่ถึงประเทศที่ตนยังไม่เคยมาย่อมไม่อาจพูดแก่คนอื่นๆ ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ พวกท่านจงมาในบ้านเถิด ข้าพเจ้าจักให้ข้าวน้ำของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นแก่พวกท่าน ดังนี้ เพราะความที่บ้านนั้นไม่ใช่วิสัย (คือไม่อยู่ในอำนาจ) ของตน เพราะความที่ตนมิได้เป็นใหญ่ในบ้านนั้น ฉันใด ปฏิสนธิจิตเป็นจิตจรมาใหม่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตนั้นจึงยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ เพราะความที่เป็นผู้มาใหม่. อีกอย่างหนึ่งกรรมชรูป ๓๐ ถ้วนถือเอาฐานแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานตั้งอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตจึงไม่ยังรูปให้ตั้งขึ้น.

ก็จุติจิตของพระขีณาสพก็ไม่ยังรูปให้ตั้งขึ้นเพราะมูลแห่งวัฏฏะของท่านสงบแล้ว จริงอยู่พระขีณาสพนั้นมีมูลแห่งวัฏฏะในภพทั้งปวงสงบแล้ว ไม่ควร

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 62

เกิดขึ้น ชื่อว่า เชื้อสายการเกิดขึ้นอีก มิได้มี. แต่พระโสดาบันเว้น ๗ ภพ ภพที่ ๘ ของท่านมีมูลแห่งวัฏฏะนั้นสงบแล้ว เพราะฉะนั้น จุติจิตของพระโสดาบันนั้น จึงยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ ๗ ภพ. ของพระสกทาคามียังรูปให้ตั้งขึ้นได้ ๒ ภพ ของพระอนาคามียังรูปให้ตั้งขึ้น ๑ ภพ จุติจิตของพระขีณาสพยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้เลย เพราะความที่มูลแห่งวัฏฏะในภพทั้งปวงสงบแล้ว.

อนึ่ง องค์ฌานในทวิปัญจวิญญาณทั้งหลาย ไม่มี องค์มรรคก็ไม่มี เหตุก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ส่วนประกอบ (องค์) ของจิตย่อมเป็นสิ่งทุรพล เหตุนั้นทวิปัญจวิญญาณแม้เหล่านั้น จึงยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้เพราะความที่องค์ของจิตเป็นสภาพทุรพล.

อรูปวิปากจิต ๔ ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ เพราะรูปในภพนั้นไม่มี มิใช่อรูปวิปากจิต ๔ เท่านั้นที่ยังรูปมิให้เกิดขึ้น แม้จิตอื่นๆ ๔๒ ดวง คือกามาวจรกุศลจิต ๘ อกุศลจิต ๑๐ กิริยาจิต ๙ อรูปกุศลจิต ๔ อรูปกิริยาจิต ๔ มรรคจิต ๓ ผลจิต ๔ ซึ่งเกิดในภพนั้น ก็ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ เพราะความที่ในอรูปภพนั้นไม่มีรูป ปฏิสนธิจิตย่อมให้รูปตั้งขึ้นไม่ได้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็อุตุย่อมให้รูปแรกตั้งขึ้น ถามว่า ชื่อว่า อุตุนี้คืออะไร ตอบว่า เตโชธาตุในภายในกรรมชรูป ๓๐ ถ้วนที่เกิดขึ้นในขณะปฏิสนธิ. เตโชธาตุนั้นถึงฐานะแล้วก็ยังรูป ๘ อย่างให้ตั้งขึ้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า อุตุนี้ดับช้า จิตดับเร็ว เมื่ออุตุรูปยังทรงอยู่นั่นแหละ จิตก็เกิดดับถึง ๑๖ ดวง บรรดาจิต ๑๖ ดวงนั้น ภวังคจิตดวงแรกซึ่งถัดจากปฏิสนธิจิต ยังรูป ๘ อย่างให้ตั้งขึ้นในอุปาทขณะทีเดียว แต่เมื่อใดจักมีการเกิดขึ้นแห่งเสียง เมื่อนั้น อุตุและจิตก็ยังรูปชื่อว่าสัททนวกะ (รูปเกิดแต่เสียงมี) จักให้ตั้งขึ้น. แม้กพฬิงการาหารถึงฐานะแล้วก็ยังรูป ๘ อย่างให้ตั้งขึ้น.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 63

ถามว่า กพฬิงการาหารของคัพภไสยกสัตว์นั้นจักมาแต่ที่ไหน

ตอบว่า จักมาแต่มารดา

แม้ข้อนี้ ก็สมกับพระดำรัสที่ตรัสว่า (๑)

ยญฺจสฺส ภุญฺชติ มาตา อนฺนปานญฺจ โภชนํ

เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มาตุ กุจฺฉิคโต นโร

มารดาของสัตว์ในครรภ์นั้นบริโภคข้าวน้ำโภชนะอย่างใด นระผู้อยู่ในท้องของมารดานั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารนั้นในครรภ์นั้น.

ทารกผู้อยู่ในครรภ์ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาแห่งข้าวและน้ำที่มารดากลืนเข้าไป ด้วยประการฉะนี้. โอชานั้นถึงฐานะเป็นที่ตั้งอยู่แล้วก็ยังรูป ๘ อย่างให้ตั้งขึ้น.

ถามว่า ก็โอชานั้นเป็นของหยาบ วัตถุเป็นของละเอียดมิใช่หรือ จะดำรงอยู่ในวัตถุนั้นได้อย่างไร ตอบว่า ครั้งแรกยังไม่ดำรงอยู่ก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักหนึ่งหรือสองสัปดาห์ จึงดำรง แต่โอชานั้นจะดำรงอยู่ก่อนหรือหลังก็ตามจากเวลานั้น. เมื่อใดโอชาแห่งข้าวและน้ำของนั้นๆ ที่มารดากลืนกินก็จะดำรงอยู่ในสรีระของทารก เมื่อนั้นรูป ๘ ก็ตั้งขึ้น.

แม้โอปปาติกสัตว์ผู้เกิดในที่มีขาทนียะและโภชนียะอันวิบากตกแต่งไว้ตามปรกติ เมื่อถือเอาอาหารเหล่านั้นกลืนกินอยู่ พอโอชาตกถึงที่เป็นที่ตั้งอยู่ ก็ยังรูปให้ตั้งขึ้น. โอปปาติกสัตว์บางคนเกิดในป่าไม่มีข้าวและน้ำ มีความหิวโหยมากจึงเอาลิ้นตะล่อมเขฬะกลืนเข้าไป พอโอชาตกถึงที่เป็นที่ตั้งอยู่ของโอปปาติกสัตว์นั้นก็ยังรูปให้ตั้งขึ้นแม้ในที่นั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ในบรรดารูป


(๑) สํ. สคาถวคฺค เล่ม ๑๕ ๘๐๓/๓๐๓

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 64

๒๕ โกฏฐาส (ส่วน) รูป ๒ อย่างคือ เตโชธาตุ และกพฬิงการาหาร เท่านั้น ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น แม้ในอรูป (คือนามธรรม) เล่า ธรรมคือจิตและเจตนากรรม ๒ เท่านั้น ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น. ในบรรดารูปธรรมและนามธรรมเหล่านั้น รูปเป็นสภาพทุรพลในอุปาทขณะและภังคขณะ เป็นสภาพมีกำลังในขณะตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น รูปที่มีกำลังนั้นจึงให้รูปตั้งขึ้นในขณะแห่งการตั้งอยู่ (ฐีติขณะ). จิตเป็นสภาพทุรพลในขณะตั้งอยู่ (ฐีติขณะ) และในภังคขณะ เป็นสภาพมีกำลังในอุปาทขณะเท่านั้น เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงยังรูปให้ตั้งขึ้นในอุปาทขณะเท่านั้น. เจตนากรรมดับไปแล้วนั่นเองจึงเป็นปัจจัยได้. เพราะกรรมที่บุคคลกระทำไว้แล้วในอดีตแม้ในที่สุดแสนโกฏิกัปป์ก็เป็นปัจจัยในบัดนี้ได้ กรรมที่ทำในบัดนี้ก็จะเป็นปัจจัยในอนาคตแม้ในที่สุดแสนโกฏิกัปป์แล.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการเกิดก่อนและหลังดังพรรณนามาฉะนี้.

    ว่าโดยกำหนดกาลของขันธ์ ๕

คำว่า โดยกำหนดกาล นี้ ถามว่า รูปตั้งอยู่นานเท่าไร อรูป (นาม) ตั้งอยู่นานเท่าไร? ตอบว่า รูปมีการเปลี่ยนแปลงนาน ดับก็ช้า อรูป (นาม) เปลี่ยนแปลงเร็ว ดับก็รวดเร็ว เมื่อรูปยังคงทรงอยู่นั่นแหละ จิตเกิดดับไป ๑๖ ดวง ก็แต่ว่ารูปนั้นจะดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เปรียบเหมือนบุรุษคิดว่า เราจักให้ผลไม้ตก จึงเอาไม้ค้อนฟาดกิ่งไม้ผลทั้งหลายและใบทั้งหลายก็พึงหลุดจากขั้วพร้อมกันทีเดียว บรรดาผลและใบเหล่านั้น ผลทั้งหลายย่อมตกถึงดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก ใบทั้งหลายก็พึงตกไปในภายหลัง เพราะความเป็นของเบา ฉันใด ความปรากฏแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมในขณะเดียวกันในปฏิสนธิ ดุจเวลาที่ใบและผลทั้งหลายหลุดจากขั้วในขณะเดียวกันโดยการฟาดด้วยไม้ค้อน ฉันนั้นเหมือนกัน การที่

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 65

รูปยังทรงอยู่นั่นแหละจิตก็เกิดดับไป ๑๖ ดวง ดุจการที่ผลตกลงสู่พื้นดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ ดุจการที่ใบตกไปถึงพื้นดินในภายหลัง เพราะความที่ใบทั้งหลายเป็นของเบา.

บรรดารูปและจิตเหล่านั้น ถึงรูปดับช้าเปลี่ยนแปลงนาน จิตดับเร็วเปลี่ยนแปลงเร็วก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปละทิ้งอรูป (นาม) แล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ หรืออรูปละทั้งรูปแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ ความเป็นไปของรูปและอรูปแม้ทั้ง ๒ มีประมาณเท่ากันทีเดียว ในข้อนี้พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้.

บุรุษคนหนึ่งมีเท้าสั้น คนหนึ่งมีเท้ายาว เมื่อคนทั้ง ๒ นั้นเดินทางร่วมกัน คนเท้ายาวก้าวเท้าครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้จะก้าวเท้าไป ๑๖ ก้าวในการก้าวไปครั้งที่ ๑๖ ของคนเท้าสั้น คนเท้ายาวก็จะชักเท้าของตนดึงมา กระทำเท้าให้ก้าวไปพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่อาจเลยคนหนึ่งไปได้ การไปของคนแม้ทั้ง ๒ จึงชื่อว่า มีประมาณเท่ากันนั่นแหละฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น. ด้วยว่า อรูปเหมือนคนเท้าสั้น รูปเหมือนคนเท้ายาว. เมื่อรูปยังทรงอยู่นั่นแหละ จิตในอรูป (นาม) ธรรมก็เกิดดับ ๑๖ ดวง เหมือนเวลาที่คนเท้ายาวก้าวไปครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้ก้าวไป ๑๖ ครั้ง. การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เหมือนบุคคลเท้าสั้นชักเท้าของตนดึงมา ๑๖ ก้าว บุรุษเท้ายาวก้าวไป ๑ ก้าวฉะนั้น การที่อรูปไม่ละรูป รูปไม่ละอรูป เป็นไปโดยประมาณเท่ากัน เหมือนการที่บุรุษ ๒ คน ไม่ทิ้งซึ่งกันและกันเดินไปโดยประมาณพร้อมกันนั่นแหละดังนี้แล.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการกำหนดกาลอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 66

ว่าโดยเกิดขณะเดียวกันแต่ดับต่างขณะกัน

คำนี้ว่า การเกิดขณะเดียวกัน แต่ดับต่างขณะกัน (ของขันธ์ ๕) นี้ บัณฑิตพึงแสดงเว้นกรรมชรูปดวงสุดท้าย (๑) จริงอยู่ปฏิสนธิเป็นจิตดวงที่หนึ่ง จิตดวงที่ ๒ เป็นภวังค์ ดวงที่ ๓ ก็เป็นภวังค์ ฯลฯ ดวงที่ ๑๖ ก็เป็นภวังค์. ในบรรดาจิต ๑๖ ดวงเหล่านั้น แต่ละดวงมี ๓ ขณะด้วยอำนาจอุปาทขณะ ฐีติขณะ และภังคขณะ ในขณะแห่งจิตทั้ง ๓ เหล่านั้น จิตแต่ละดวงมีกรรมชรูปเกิดขึ้นขณะละ ๓๐ รูปถ้วน บรรดากรรมชรูปเหล่านั้น กรรมชรูปตั้งขึ้นในอุปาทขณะของปฏิสนธิจิตย่อมดับในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ทีเดียว. กรรมชรูปที่ตั้งขึ้นในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในฐีติขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ นั่นแหละ. กรรมชรูปที่ตั้งขึ้นในภังคขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในภังคขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ นั่นแหละ.

ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทำภวังคจิตดวงที่ ๒ (ปฏิสนธิจิตเป็นที่ ๑) ประกอบกับจิตดวงที่ ๑๗ ของตนๆ นั่นแหละแล้วขยายนัยไป. จิต ๑๖ ดวงมีกรรมชรูปดวงละ ๓ รวมกรรมชรูป ๔๘ รูป ด้วยประการฉะนี้. นี้ชื่อว่า ประเพณี คือ เชื้อสายของกรรมชรูป ๔๘ รูป. ก็ประเพณี คือ เชื้อสายของกรรมชรูป ๔๘ รูปนี้นั้นย่อมเป็นไปแม้แก่ผู้กำลังเคี้ยวกิน แม้แก่ผู้บริโภคแม้แก่ผู้หลับ แม้แก่ผู้ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน เหมือนกระแสแห่งแม่น้ำกำลังเป็นไปอยู่ฉะนั้นแล.

พึงทราบความที่ขันธ์ ๕ มีการเกิดขณะเดียวกัน ดับต่างขณะกันอย่างนี้.


(๑) กรรมชรูปดวงสุดท้ายนั้น คือ นับกรรมชรูปตั้งแต่ปฏิสนธิจิตไป ๑๗ ขณะจิตภังคขณะของจิตดวงนี้ดับพร้อมกับกรรมชรูป (ดูปริเฉท ๔ นามวิถีและรูปวิถี)

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 67

ว่าด้วยการเกิดต่างขณะกันดับขณะเดียวกัน

    ความที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างขณะกันดับขณะเดียวกัน บัณฑิตพึงแสดงด้วยปัจฉิมกัมมชรูป (กรรมชรูปสุดท้าย) ในคำนั้น ในที่สุดแห่งอายุสังขาร เมื่อมีวาระจิต ๑๖ ดวง ก็พึงประกอบจิตเป็น ๒ หมวด คือ หมวดจิต ๑๖ ดวงข้างต้น กับ หมวดจิต ๑๖ ดวงข้างปลาย (มีจุติจิตเป็นดวงสุดท้าย) รวมเป็นอันเดียวกัน ด้วยว่า กรรมชรูป ๓๐ ถ้วนที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะของปฐมจิต ในหมวดจิต ๑๖ ดวงข้างต้น ย่อมดับในอุปาทขณะของปฐมจิตในหมวดจิต ๑๖ ดวงข้างปลายนั่นแหละ.

    กรรมชรูป ๓๐ ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในฐีติขณะแห่งปฐมจิตข้างต้น ย่อมดับไปในฐีติขณะแห่งปฐมจิตข้างปลายนั่นเอง. กรรมชรูป ๓๐ ถ้วนที่ตั้งขึ้นในภังคขณะแห่งปฐมจิตข้างต้น ย่อมดับไปในภังคขณะแห่งปฐมจิตข้างปลายเหมือนกัน.

    ส่วนกรรมชรูป ๓๐ ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะแห่ง (ภวังค) จิตดวงที่ ๒ (ชึ่งเกิดดับต่อกันมา) ฯลฯ แห่งจิตดวงที่ ๑๖ ในหมวดจิต ๑๖ ดวงข้างต้น ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจุติจิตนั่นเอง ที่ตั้งขึ้นในฐีติขณะของจิตดวงที่ ๒ นั้น ย่อมดับไปในฐีติขณะของจุติจิตนั่นแหละ ที่เกิดในภังคขณะของจิตดวงที่ ๒ นั้น ก็ดับไปในภังคขณะของจุติจิตเหมือนกัน เบื้องหน้าแต่นั้น การสืบต่อของกรรมชรูปย่อมไม่เป็นไป ถ้าหากจะเป็นไปอีกไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่สิ้น ไม่เสื่อม ไม่แก่ ไม่ตาย.

    อนึ่ง ในการดับในภังคขณะของจุติจิตนี้ คำว่า รูปที่เกิดขึ้นในอุปาทขณะของจิตดวงหนึ่ง ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจิตดวงอื่น โดยนัยมีอาทิว่า รูปนี้ย่อมดับไปในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้เพราะมา

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 68

ในอรรถกถานั้น ย่อมผิดจากพระบาลีนี้ว่า ยสฺส กายสงฺขาโร นิรุชฺฌติ ตสฺส จิตฺตสงฺขาโร นิรุชฺฌตีติ อามนฺตา กายสังขารกำลังดับแก่บุคคลใด จิตตสังขารก็กำลังดับแก่บุคคลนั้นหรือ? ตอบว่า ถูกแล้ว ดังนี้. อย่างไร? ก็เพราะกายสังขารคือลมอัสสาสะและปัสสาสะมีจิตเป็นสมุฏฐาน. ก็รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นในอุปาทขณะของจิตแล้วย่อมตั้งอยู่จนกระทั่งจิต ๑๖ ดวงอื่นเกิดขึ้น ย่อมดับไปพร้อมกับจิตดวงสุดท้ายทั้งหมดแห่งจิต ๑๖ ดวงเหล่านั้น เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้นเกิดพร้อมกับจิตใดก็ดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ จำเดิมแต่จิตนั้น มิใช่ดับในอุปาทขณะ หรือฐีติขณะของจิตไรๆ แม้จะเกิดในฐีติขณะหรือภังคขณะก็หาไม่ นี้เป็นธรรมดาของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อามนฺตา (ถูกแล้ว) ดังนี้ เพราะดับในขณะเดียวกันกับจิตสังขารโดยแน่นอน.

    ก็การกำหนดขณะ (ขณะนิยม) ของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้เป็นการกำหนดขณะ (ขณะนิยม) แม้แก่รูปที่มีกรรมเป็นต้นเป็นสมุฏฐานนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความในอธิการนี้โดยนัยนี้เท่านั้นว่า กรรมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ย่อมดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ จำเดิมแต่ปฏิสนธินั้น. กรรมชรูปที่เกิดในฐีติขณะของปฏิสนธิจิต ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจิตดวงที่ ๑๘. กรรมชรูปที่เกิดในภังคขณะของปฏิสนธิจิต ถึงขณะตั้งอยู่ของจิตดวงที่ ๑๘ แล้วก็ดับไป ดังนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป การสืบต่อของรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเท่านั้นย่อมดำรงอยู่ในสรีระนั้น สรีระย่อมเป็นของอันบุคคลพึงกล่าวว่า พวกท่านจงเอาสรีระนี้ไปเผาเถิด ดังนี้. พึงทราบความที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างขณะกันดับขณะเดียวกัน ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 69

ว่าด้วยเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน

ก็คำว่า โดยการเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน ความว่า รูปเกิดพร้อมกับรูป ดับพร้อมกับรูป อรูปเกิดพร้อมกับอรูป ดับพร้อมกับอรูป พึงทราบความที่ขันธ์ ๕ เกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยเกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกัน

ก็ความที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันบัณฑิตพึงแสดงด้วยสันตติรูป ๔ (๑) จริงอยู่ สันตติรูปทั้ง ๔ ในส่วนนั้นๆ ของสรีระนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ย่อมเป็นไปโดยความเป็นกลุ่มเป็นก้อน. เมื่อสันตติรูป ๔ แม้นั้นเป็นไปอย่างนี้ ก็พึงกำหนดความที่รูปเหล่านั้นมีความเกิดเป็นต้นไม่ได้ เหมือนแถวปลวกหรือแถวมดแดง เมื่อบุคคลแลดูอยู่ก็จะเป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่มิได้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เพราะในที่ใกล้ศีรษะของมดตัวหนึ่งจะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่นๆ ในที่ใกล้ท้องของมดตัวหนึ่งจะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่นๆ ในที่ใกล้เท้าของมดตัวหนึ่งก็จะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้าง ของมดตัวอื่นๆ ฉันใด แม้สันตติรูป ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในอุปาทขณะของสันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้าง ของสันตติรูปอื่นๆ ในฐีติขณะของสันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่นๆ ในภังคขณะของสันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่นๆ. พึงทราบความที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันในสันตติรูป ๔ นี้ด้วยประการฉะนี้.


(๑) สันตติรูป ๔ คือ กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) ๑ จิตตชรูป (รูปเกิดแต่จิต) ๑ อุตุชรูป (รูปเกิดแต่อุตุ) ๑ อาหารชรูป (รูปเกิดแต่อาหาร) ๑

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 70

ว่าด้วยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น

ก็ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีตเป็นต้นมีทุรทุกะ (รูปไกลรูปใกล้) เป็นที่สุด มาในพระบาลีทั้งหมด แม้ปัจจัยและสมุฏฐานทั้งหลายข้าพเจ้าก็กล่าวไว้ในหนหลังโดยนัยมีอาทิว่า กมฺมชํ กมฺมปจฺจยํ อุตุสมุฏฺานํ (๑) (รูปเกิดแต่กรรมมีกรรมเป็นปัจจัย มีอุตุเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นต้น.

ก็ขันธ์แม้ทั้ง ๕ เป็นของสำเร็จแล้ว แต่กรรมเป็นปัจจัยมีอุตุเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐานมิใช่เป็นของไม่สำเร็จแล้ว เป็นสังขตะเท่านั้น มิใช่เป็นอสังขตะ อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ ๕ นั้นชื่อว่าเป็นของสำเร็จแล้วอย่างนั้นแหละมีอยู่ เพราะบรรดาสภาวธรรมทั้งหลาย พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นเป็นธรรมไม่สำเร็จแต่ปัจจัย เป็นธรรมไม่เกิดขึ้นแล้ว. ก็ถามว่า นิโรธสมาบัติ นาม และบัญญัติเป็นอย่างไร? ตอบว่า นิโรธสมาบัติ ใครๆ ไม่พึงเรียกว่าเป็นโลกิยโลกุตระ หรือสังขตอสังขตะ เป็นของสำเร็จแล้วหรือไม่สำเร็จแล้ว แต่ว่านิโรธสมาบัตินั้นเป็นของอันบุคคลให้สำเร็จ ไม่ใช่ไม่สำเร็จเพราะเป็นธรรมอันพระอริยบุคคลพึงเข้าด้วยสมาบัติ นาม และบัญญัติก็อย่างนั้น เพราะนามและบัญญัติแม้นั้นย่อมไม่ได้ชื่ออันต่างด้วยโลกิยะเป็นต้น แต่เป็นสภาพอันบุคคลให้สำเร็จแล้วมิใช่ไม่ให้สำเร็จแล้ว เพราะเมื่อบุคคลจะตั้งชื่อจึงถือเอาทีเดียวดังนี้แล.

แสดงนัยการวินิจฉัยขันธ์ ๕

นักปราชญ์ครั้นทราบขันธ์ ๕ โดยปกิณกะอย่างนี้แล้ว เพื่อความแตกฉานแห่งญาณในขันธ์ ๕ เหล่านี้แหละอีก พึงทราบนัยแห่งการวินิจฉัยโดยชอบ โดยลำดับ


(๑) พม่าเป็น กมฺมชํ กมฺมปจฺจยํ กมฺมปจฺจยอุตุสมุฏานํ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 71

โดยความแปลกกัน โดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง โดยอุปมา โดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่าง และโดยสำเร็จประโยชน์แก่ผู้เห็นอยู่.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

    ในนัยแห่งการวินิจฉัยทั้ง ๖ เหล่านั้น ลำดับในข้อว่า โดยลำดับนี้ มีมากอย่าง คือ

    อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับเห่งการเกิด

    ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ

    ปฏิปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการปฏิบัติ

    ภูมิกฺกโม ลำดับแห่งภูมิ

    เทสนากฺกโม ลำดับแห่งเทศนา.

    ในลำดับทั้ง ๕ นั้น ลำดับแห่งการเกิดขึ้นมีอาทิอย่างนี้ว่า ปมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อมฺพุทํ (รูปครั้งแรกเป็นกลละ จากกลละเป็นอัมพุทะ) ดังนี้. ลำดับแห่งการละมีอาทิอย่างนี้ว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่พึงละโดยโสดาปัตติมรรค มีอยู่ สภาวธรรมทั้งหลายที่พึงละโดยภาวนา คืออริยมรรคเบื้อง ๓ มีอยู่. ลำดับแห่งการปฏิบัติมีอาทิอย่างนี้ว่า ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ. ลำดับแห่งภูมิมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร. ลำดับแห่งเทศนามีอาทิอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ ดังนี้ หรือว่าทานกถา ศีลกถา. บรรดาลำดับทั้ง ๕ นั้น ในที่นี้ ลำดับแห่งการเกิดขึ้นย่อมไม่ควรก่อน เพราะขันธ์เป็นภาวะไม่เกิดขึ้นโดยการกำหนดความสืบต่อกันมาเหมือนรูปกลละเป็นต้น ลำดับแห่งการละก็ไม่ควร เพราะความที่ขันธ์ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตอัน

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 72

พระอริยเจ้าไม่พึงละ ลำดับแห่งการปฏิบัติก็ไม่ควร เพราะขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นของไม่พึงปฏิบัติ ลำดับแห่งภูมิก็ไม่ควร เพราะเวทนาเป็นต้นเป็นธรรมนับเนื่องด้วยภูมิ ๔.

แต่ว่า ลำดับแห่งเทศนา ย่อมควร เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ใคร่ในประโยชน์เกื้อกูลมีพระประสงค์จะทรงเปลื้องเวไนยชนใดผู้ตกไปในการยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นอัตตา จากความยึดถือว่าเป็นอัตตาโดยการแสดงแยกฆนะที่ประชุมกัน เพื่อความถือเอาโดยง่ายของชนนั้น จึงทรงแสดงรูปขันธ์อันหยาบก่อนซึ่งเป็นอารมณ์ของวิญญาณมีจักษุเป็นต้น โดยไม่ต่างกัน. จากนั้นก็ทรงแสดงเวทนาอันรู้สึกพร้อมซึ่งมีรูปที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็นอารมณ์ ทรงแสดงสัญญาที่ถือเอาโดยอาการของอารมณ์เวทนาอย่างนี้ว่า ยํ เวทิยติ ตํ สญฺชานาติ (เสวยอยู่ซึ่งอารมณ์ใดก็จำได้ซึ่งอารมณ์นั้น) ดังนี้ ทรงแสดงสังขารทั้งหลายตัวปรุงแต่งด้วยอำนาจแห่งสัญญา ทรงแสดงวิญญาณอันเป็นที่อาศัยและเป็นใหญ่ของขันธ์มีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น. พึงทราบนัยแห่งวินิจฉัยโดยลำดับอย่างนี้ก่อน.

ว่าโดยความแปลกกัน

ข้อว่า โดยความแปลกกัน คือ ความแปลกกันแห่งขันธ์และอุปาทานขันธ์ ก็อะไรเล่าเป็นความแปลกกันแห่งขันธ์และอุปาทานขันธ์เหล่านั้น บรรดาขันธ์เหล่านี้ ขันธ์ทั้งหลายตรัสไว้โดยไม่แปลกกันก่อน. อุปาทานขันธ์ทั้งหลายตรัสไว้ให้แปลกกัน โดยเป็นขันธ์มีอาสวะและเป็นที่ตั้งของอุปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 73

เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือว่า รูปใกล้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ฯลฯ หรือวิญญาณใกล้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เราเรียกว่า ขันธ์ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปใกล้มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบัน ฯลฯ หรือวิญญาณใกล้ มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ธรรมเหล่านี้ เราเรียกว่า อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ดังนี้.

อนึ่ง ในขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ นามขันธ์ ๔ มีเวทนาเป็นต้นที่ไม่มีอาสวะก็มี ที่มีอาสวะก็มี ฉันใด รูปขันธ์ย่อมเป็นฉันนั้นหามิได้ ก็เพราะความที่รูปนี้ควรเป็นขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นกอง ฉะนั้นจึงตรัสไว้ในพวกขันธ์ทั้งหลาย และเพราะความที่ขันธ์เหล่านั้นควรเป็นอุปาทานขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นกอง และด้วยอรรถว่ามีอาสวะ ฉะนั้น จึงตรัสขันธ์เหล่านั้นไว้ในอุปาทานขันธ์ ส่วนนามขันธ์มีเวทนาเป็นต้นที่ไม่มีอาสวะเท่านั้น ตรัสไว้ในพวกขันธ์ ที่มีอาสวะตรัสไว้ในพวกอุปาทานขันธ์ ก็ในข้อว่า อุปาทานขันธ์ นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ขันธ์ที่มีอุปาทานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ ดังนี้ แต่ในอธิการนี้ พระองค์ทรงประสงค์รวมขันธ์เหล่านั้น แม้ทั้งหมดว่าเป็นขันธ์แล.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 74

ว่าโดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง

    ก็ข้อว่า โดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ ถามว่า เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสขันธ์ว่ามี ๕ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ดังนี้. ตอบว่า เพราะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกันเพราะวัตถุเครื่องยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนนี้มีขันธ์ ๕ เป็นอย่างยิ่ง และเพราะความที่ธรรมอื่นๆ ก็ไม่นอกจากขันธ์ ๕ นั้น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมมีประเภทมิใช่น้อยเข้าด้วยอำนาจที่มีส่วนเสมอกัน รูปก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วยอำนาจการสงเคราะห์รูปที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน. เวทนาก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วยอำนาจการสงเคราะห์เวทนาที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน แม้ในสัญญาขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ ๕ เท่านั้น เพราะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันไว้เป็นพวกเดียวกัน. อนึ่ง วัตถุแห่งการยึดถือว่าเป็นตนเป็นของเนื่องด้วยตนนี้ คือ ขันธ์ ๕ นี้มีรูปเป็นต้น เป็นอย่างยิ่ง ข้อนี้สมกับพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) อาศัยรูป ยึดมั่นรูป ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา เวทนาย ฯเปฯ สญฺา ฯเปฯ สํขาเรสุ ฯเปฯ วิญฺาเณ สติ วิญฺาณํ อุปาทาย วิญฺาณํ อภินิวิสฺส เอวํ ทิฏฺิ อุปฺปชฺชติ เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา (นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารทั้งหลายมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ ทิฏฐิ อาศัยวิญญาณยึดมั่นวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 75

ดังนี้ (๑) เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ ๕ เท่านั้น แม้เพราะความที่วัตถุแห่งการยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนก็มีขันธ์ ๕ นี้เป็นอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมขันธ์ ๕ มีศีลขันธ์เป็นต้นอื่นๆ ใดที่ตรัสไว้ แม้ธรรมขันธ์เหล่านั้น (๒) ก็ถึงการรวมลงในขันธ์ ๕ นี้ เพราะความที่ธรรมขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ขันธ์มี ๕ เท่านั้น เพราะความที่ธรรมอื่นๆ ไม่พ้นจากขันธ์นั้น

พึงทราบนัยแห่งวินิจฉัยโดยไม่หย่อนยิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยความอุปมา

ก็ในข้อว่า โดยความอุปมา นี้ รูปอุปาทานขันธ์ เปรียบเหมือนโรงพยาบาล เพราะเป็นที่อยู่ของวิญญาณอุปาทานขันธ์ซึ่งเปรียบเหมือนคนป่วย ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ทวาร และอารมณ์. เวทนาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือนความป่วยไข้เพราะเป็นตัวเบียดเบียน. สัญญาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือนสมุฏฐานของความป่วยไข้ เพราะเป็นแดนเกิดเวทนาที่สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ด้วยอำนาจกามสัญญาเป็นต้นนั่นแหละ. สังขารอุปาทานขันธ์ เปรียบเหมือนการเสพอสัปปายะ เพราะเป็นต้นเหตุแห่งความป่วยไข้ คือ ตัวเวทนา สมดังที่ตรัสไว้ว่า รูปํ รูปตฺตาย สงฺขตํ อภิสงฺขโรนฺติ ฯเปฯ ภิกฺขเว ตสฺมา สงฺขาราติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า สังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูปโดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรมคือเวทนาโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญาโดยความเป็นสัญญาปรุงแต่งสังขตธรรมคือสังขารทั้งหลายโดยความเป็นสังขารปรุงแต่งสังขตธรรม


(๑) สํ. ขนฺธวาร. เล่มที่ ๑๗ ๔๒๐/๒๕๐

(๒) ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 76

คือวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ (๑) อนึ่ง กายวิญญาณที่เป็นวิบากสหรคตด้วยทุกข์เกิดขึ้นแล้ว เพราะทำคือสั่งสมอกุศลกรรมไว้แล้ว เพราะฉะนั้น วิญญาณอุปาทานขันธ์ จึงเปรียบเหมือนคนป่วย เพราะความไม่หลุดพ้นด้วยความป่วยไข้คือตัวเวทนา.

อีกอย่างหนึ่ง อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอุปมาเหมือนบุคคลผู้ท่องเที่ยวไป เหมือนการณะคือเหตุ เหมือนความผิด เหมือนผู้ก่อเหตุ เหมือนผู้มีความผิด (๒) และเปรียบเหมือนภาชนะ เหมือนโภชนะ เหมือนกับข้าว เหมือนผู้เลี้ยงอาหาร เหมือนผู้บริโภค พึงทราบนัยแห่งการวินิจฉัยขันธ์ ๕ โดยความอุปมาอย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าโดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่าง

ข้อว่า โดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่าง นี้ บัณฑิตพึงทราบนัยแห่งการวินิจฉัยในขันธ์ ๕ นี้ แม้โดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่างนี้ คือ โดยย่อ และโดยพิสดาร.

ก็เมื่อว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ บัณฑิตพึงเห็นโดยความเป็นเหมือนข้าศึกผู้เงื้อดาบตามนัยที่ตรัสไว้ในอาสีวิสูปมสูตร โดยเป็นภาระ (ของหนัก) ด้วยอำนาจภารสูตร โดยความเป็นผู้เคี้ยวกินด้วยอำนาจขัชชนียปริยายสูตร และโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสังขตะ เป็นผู้ฆ่าด้วยอำนาจยมกสูตร. ส่วนโดยพิสดารในอุปทานขันธ์ ๕ นี้ พึงเห็นรูปเหมือนก้อนฟองน้ำ พึงเห็นเวทนาเหมือนต่อมน้ำ พึงเห็นสัญญาเหมือนพยับแดด


(๑) สํ. ขนฺธวาร เล่ม ๑๗ ๑๕๙/๑๐๖๒. หน้าจะเทียบดังนี้ว่า รูปเหมือนบุคคลผู้ท่องเที่ยวไป เวทนาเหมือนการทำของบุคคลนั้นสัญญาเหมือนความผิด (เช่นสัญญาวิปลาส) สังขารเหมือนผู้ก่อเหตุ วิญญาณเหมือนผู้มีความผิดได้รับโทษ อย่างไรก็ดีท่านไม่อธิบายไว้ ผู้แปล.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 77

พึงเห็นสังขารทั้งหลายเหมือนต้นกล้วย พึงเห็นวิญญาณเหมือนเล่ห์กล (มายา) สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า (๑)

เผณุปิณฺโฑปมํ รูปํ เวทนา ปุพฺพุฬูปมา

มรีจิกูปมา สญฺา สงฺขารา กทฺทลูปมา

มายูปมญฺจ วิญฺญาณํ เทสิตาทิจฺจพนฺธุนา

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ทรงแสดงรูปเปรียบดังก้อนฟองน้ำ เวทนาเปรียบดังต่อมน้ำ สัญญาเปรียบดังพยับแดด สังขารทั้งหลายเปรียบดังต้นกล้วย และวิญญาณเปรียบดังเล่ห์กล.

ในพระบาลีเหล่านั้น พึงทราบความที่อุปาทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น เป็นเช่นกับก้อนฟองน้ำเป็นต้น อย่างนี้. เหมือนอย่างว่า ก้อนฟองน้ำเป็นของไม่มีสาระ ฉันใด รูปก็ฉันนั้น ไม่มีสาระ เพราะเว้นจากสาระคือความเป็นของเที่ยง เว้นจากสาระคือความเป็นของยั่งยืน เว้นจากสาระคือความเป็นอัตตาโดยแท้. อนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำนั้นใครๆ ไม่อาจเพื่อจะเอาด้วยคิดว่า เราจักทำบาตรหรือถาดด้วยก้อนแห่งฟองน้ำนี้ แม้ถือเอาได้ก็ไม่ให้สำเร็จประโยชน์นั้น ย่อมแตกทำลายไป ฉันใด รูปก็ฉันนั้น ใครๆ ไม่อาจถือเอาว่า รูปนี้เป็นของเที่ยง ยั่งยืน หรือว่า รูปนี้เป็นเรา เป็นของเรา แม้ถือเอา รูปก็ไม่ตั้งอยู่อย่างนั้น ย่อมเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะทั้งนั้น เพราะฉะนั้น รูปนั้น จึงเป็นเช่นกับก้อนแห่งฟองน้ำนั่นเทียว.


(๑) สํ. ขนฺธวาร. เล่ม ๑๗ ๒๔๗/๑๗๔

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 78

อนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำมีช่องน้อยช่องใหญ่เป็นกลุ่มติดกัน ด้วยที่ต่อมิใช่น้อย เป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์มีงูน้ำเป็นต้นมาก ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น มีช่องน้อยช่องใหญ่ เป็นกลุ่มติดต่อกันด้วยที่ต่อมิใช่น้อย ตระกูลแห่งกิมิชาติ (หนอน) ๘๐ ตระกูล ย่อมอยู่เป็นหมู่เหล่าในรูปนี้ทีเดียว รูปนั้นนั่นแหละ เป็นเรือนเกิดบ้าง เป็นเวจกุฎีบ้าง เป็นโรงพยาบาลบ้าง เป็นสุสานบ้าง ของตระกูลกิมิชาติเหล่านั้น พวกตระกูลกิมิชาติเหล่านั้นจะไม่ไปกระทำการออกลูกในที่อื่นเป็นต้น รูปนั้นก็ชื่อว่าเป็นเช่นกับก้อนแห่งฟองน้ำ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำเริ่มต้นมีประมาณเท่าผลพุทรา แล้วมีประมาณเท่ายอดภูเขาโดยลำดับก็มี ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น เริ่มต้นมีประมาณเท่ากลละเท่านั้น แล้วมีประมาณวาหนึ่งโดยลำดับก็มี มีประมาณเท่าวัตถุทั้งหลายมียอดภูเขาเป็นต้นด้วยสามารถแห่งสัตว์มีโค กระบือ และช้างเป็นต้นก็มี มีประมาณหลายร้อยโยชน์ด้วยสามารถแห่งสัตว์มีปลาและเต่าเป็นต้นก็มี รูปนั้นก็ชื่อว่า เป็นเช่นกับก้อนแห่งฟองน้ำแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำพอตั้งขึ้น ย่อมแตกไปก็มี ตั้งขึ้นไปหน่อยหนึ่ง ย่อมแตกไปก็มี เมื่อไม่แตกไปในระหว่าง แต่ถึงสมุทรแล้วก็ย่อมต้องแตกไปโดยไม่ต้องสงสัย ฉันใด รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแตกไปในคราวเป็นกลละก็มี ย่อมแตกไปในคราวเป็นอัมพุทะเป็นต้นก็มี แต่เมื่อไม่แตกไปในระหว่าง ถึงร้อยปีแล้วสำหรับสัตว์ผู้มีประมาณอายุร้อยปี ก็ต้องแตกดับไปโดยแน่แท้ทีเดียว ย่อมเป็นจุณวิจุณไปในปากแห่งความตาย แม้ด้วยอาการอย่างนี้ รูปก็ชื่อว่า เป็นเช่นกับก้อนแห่งฟองน้ำ.

อนึ่ง ต่อมน้ำไม่มีแก่น ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ก็ต่อมน้ำนั้นไม่มีกำลัง เข้าถึงความเป็นของอันถือเอาไม่ได้ ใครๆ ไม่อาจถือเอาต่อมน้ำ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 79

นั้นเพื่อกระทำแผ่นกระดานหรืออาสนะได้ แม้ถือเอาแล้วๆ มันก็จะแตกไปทันที ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น เป็นของไม่มีกำลัง เป็นของถือเอาไม่ได้ ใครๆ ไม่อาจถือเวทนาว่าเที่ยง หรือยั่งยืน แม้ถือเอาแล้วๆ ก็ไม่ตั้งอยู่เหมือนอย่างนั้นได้ เวทนาแม้ที่บุคคลถือเอาไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นเช่นกับต่อมน้ำ.

อนึ่ง ต่อมน้ำ ย่อมเกิดขึ้น และแตกดับไปในหยาดแห่งน้ำนั้นๆ เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น และย่อมดับไป เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน คือเวทนานั้นซึ่งบัณฑิตพึงนับได้แสนโกฏิขณะ (๑) เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในขณะชั่วการดีดนิ้วมือครั้งหนึ่ง.

อนึ่ง ต่อมน้ำอาศัยเหตุ ๔ คือ พื้นน้ำ ๑ หยาดน้ำ ๑ ความเปียกแห่งน้ำ ๑ ลมกระทบทำให้โปร่ง ๑ จึงเกิดขึ้น. แม้เวทนาก็เช่นนั้น อาศัยเหตุ ๔ อย่าง คือ วัตถุ ๑ อารมณ์ ๑ เครื่องผูกแห่งกิเลส ๑ การกระทบของผัสสะ ๑ เกิดขึ้น เวทนา ชื่อว่า เป็นเช่นกับต่อมน้ำ แม้ด้วยประการฉะนี้.

แม้สัญญา ก็ชื่อว่า เป็นเช่นกับพยับแดด ด้วยอรรถว่า ไม่มีสาระ และด้วยอรรถว่า เข้าถึงความเป็นของอันบุคคลถือเอาไม่ได้ เพราะใครๆ ไม่อาจถือเอาพยับแดดนั้นมาเพื่อดื่ม หรือเพื่ออาบ หรือเพื่อใส่ให้เต็มภาชนะได้ อีกอย่างหนึ่ง พยับแดดย่อมเปลี่ยนแปรไป คือย่อมปรากฏเหมือนกำลังคลื่นเกิดขึ้นเอง ฉันใด แม้สัญญาอันต่างโดยสัญญาว่ามีสีเขียวเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมผันแปร เปลี่ยนแปลงไป เพื่อต้องการเสวยอารมณ์ของสีเขียวเป็นต้น.

อนึ่ง พยับแดด ย่อมลวงมหาชน ย่อมให้กล่าวว่า ที่นั้นดูเหมือนบึงเต็ม เหมือนแม่น้ำเปี่ยม ปรากฏอยู่ ดังนี้ ฉันใด แม้สัญญาก็ฉันนั้น ย่อมลวง ย่อมให้กล่าวว่า นี้สีเขียว นี้สวยงาม นี้เป็นสุข นี้เที่ยง ดังนี้


(๑) อรรถกถา เอกจฺฉรกฺขเณ โกฏิสตสหสฺสสํขา (หน้า ๔๓)

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 80

แม้ในสีเหลืองเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน สัญญาชื่อว่าเป็นเช่นเดียวกับพยับแดด แม้ด้วยการลวงต่างๆ ด้วยประการฉะนี้.

    แม้สังขารทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นเช่นเดียวกับต้นกล้วย เพราะอรรถว่า ไม่มีสาระ และด้วยอรรถว่าพึงถือเอาไม่ได้ เหมือนอย่างว่า ใครๆ ไม่อาจถือเอาอะไรๆ จากต้นกล้วยน้อมนำไปทำประโยชน์แก่ทัพสัมภาระทั้งหลาย มีไม้กลอนหลังคาเป็นต้น แม้น้อมเข้าไปแล้วก็ไม่เป็นโดยประการนั้น ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น ใครๆ ไม่อาจเพื่อถือเอาด้วยอำนาจแห่งความเที่ยงเป็นต้น แม้ถือเอาแล้วก็ไม่เป็นไปโดยประการนั้น.

อนึ่ง ต้นกล้วย ย่อมเป็นที่ประชุมของก้านมาก ฉันใด แม้สังขารขันธ์ก็เป็นที่ประชุมของธรรมมาก ฉันนั้น. และต้นกล้วยนั้นมีลักษณะต่างๆ กันคือ สีของก้านใบภายนอกเป็นอย่างหนึ่ง สีของภายในๆ ถัดจากนั้นก็อย่างหนึ่งฉันใด แม้สังขารขันธ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ทรงประมวลลักษณะของผัสสะไว้อย่างหนึ่ง ของธรรมมีเจตนาเป็นต้นไว้อย่างหนึ่งแล้วตรัสเรียกว่า สังขารขันธ์ เท่านั้น สังขารขันธ์ ชื่อว่า เป็นเช่นเดียวกับต้นกล้วย แม้ด้วยประการฉะนี้.

    แม้วิญญาณ ก็ชื่อว่าเป็นเช่นเดียวกับมายา เพราะอรรถว่าไม่มีสาระ และอรรถว่า ถือเอาไม่ได้นั่นแหละ เหมือนเล่ห์มายาเป็นของเปลี่ยนแปลง มีความปรากฏอย่างรวดเร็ว ฉันใด วิญญาณก็ฉันนั้น เพราะวิญญาณนั้นเป็นของเปลี่ยนแปลงเร็วกว่า ปรากฏเร็วกว่า แม้กว่าเล่ห์มายานั้น ด้วยว่า มายานั้น ย่อมเป็นเหมือนคนมาแล้ว เดินไปแล้ว ยืนอยู่ นั่งอยู่แล้ว ด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละ แต่จิตในเวลามาก็อย่างหนึ่ง ในเวลาเดินเป็นต้นก็อย่างหนึ่ง แม้อย่างนี้ วิญญาณ จึงชื่อว่า เป็นเช่นเดียวกับมายา.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 81

อนึ่ง มายาย่อมลวงมหาชนให้ถือเอาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งว่า นี้ทอง นี้เงิน นี้แก้วมุกดาเป็นต้น แม้วิญญาณก็ลวงมหาชน ให้ยึดถือกระทำเหมือนคนกำลังมา กำลังไป ยืนแล้ว นั่งแล้ว ด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละ แต่จิตในเวลามาก็อย่างหนึ่ง ในเวลาเดินเป็นต้นก็อย่างหนึ่ง แม้อย่างนี้วิญญาณก็ชื่อว่าเป็นเช่นกับมายา.

อนึ่ง ว่าโดยพิเศษ บัณฑิตพึงทราบอัชฌัตติกรูป (รูปภายใน) ที่เป็นสุภารมณ์ก็ดี ที่เป็นอารมณ์ประเสริฐก็ดี ว่าเป็นอสุภะ (ความไม่งาม) พึงเห็นเวทนาว่า เป็นทุกข์ เพราะไม่พ้นจากความเป็นทุกข์ทั้ง ๓ พึงเห็นสัญญาและสังขารทั้งหลายว่า เป็นอนัตตา เพราะความเป็นของอันบุคคลพึงให้ทรงอยูไม่ได้ พึงเห็นวิญญาณว่า เป็นของไม่เที่ยง เพราะมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เมื่อบุคคลเห็นอยู่อย่างนี้ จึงสำเร็จประโยชน์ ก็ความสำเร็จประโยชน์ ๒ อย่าง ย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็นอยู่ด้วยสามารถแห่งเนื้อความโดยย่อ และโดยพิสดาร บัณฑิตพึงทราบนัยวินิจฉัยเนื้อความโดยย่อและพิสดารนั้นอย่างไร คือว่า ว่าโดยย่อก่อน เมื่อบุคคลกำลังเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นข้าศึก มีข้าศึกกำลังเงื้อดาบเป็นต้น ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะขันธ์ ๕ ก็เมื่อว่าโดยพิสดาร เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น โดยความเป็นเช่นเดียวกับก้อนฟองน้ำเป็นต้น ย่อมไม่เป็นผู้เห็นขันธ์อันไม่มีสาระว่าเป็นขันธ์มีสาระ.

แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ เมื่อเห็นอยู่ซึ่งรูปภายในโดยความเป็นของไม่งามย่อมกำหนดรู้กวฬิงการาหาร ย่อมละวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ย่อมข้ามพ้นกาโมฆะ ย่อมพรากจากกามโยคะ เป็นผู้ไม่มีกามาสวะ ย่อมทำลายกายคันถะ (๑) คืออภิชฌา ย่อมไม่ยึดมั่นกามุปาทาน. เมื่อเห็นเวทนาโดยความ


(๑) กายคันถะ กิเลสเครื่องผูกกาย กายในที่หมายถึงรูปและนาม (ขันธ์๕)

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 82

เป็นทุกข์ ย่อมกำหนดรู้ผัสสาหาร ย่อมละวิปลาสในทุกข์ว่าเป็นสุข ย่อมข้ามพ้นภโวฆะ ย่อมพรากจากภวโยคะ เป็นผู้ไม่มีภวาสวะ ย่อมทำลายกายคันถะคือพยาบาท ย่อมไม่ยึดมั่นสีลัพพตุปาทาน. เมื่อเห็นสัญญาแห่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหาร ย่อมละวิปลาสในสิ่งมิใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา ย่อมข้ามพ้นทิฏโฐฆะ ย่อมพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐาสวะ ย่อมทำลายกายคันถะคือความยึดมั่นว่า สิ่งนี้จริง ย่อมไม่ยึดมั่นอัตวาทุปาทาน. เมื่อเห็นวิญญาณโดยความไม่เที่ยง ย่อมกำหนดรู้วิญญาณาหาร ย่อมละวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ย่อมข้ามพ้นอวิชโชฆะ ย่อมพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นผู้ไม่มีอวิชชาสวะ ย่อมทำลายกายคันถะคือสีลัพพตปรามาส ย่อมไม่ยึดมั่นทิฏฐุปาทาน. เพราะการเห็นขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฆ่าเป็นต้นอย่างนี้มีอานิสงส์มาก ฉะนั้น นักปราชญ์พึงเห็นขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้ฆ่าเป็นต้นเถิด.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 83

อภิธรรมภาชนีย์

[๓๒] ขันธ์ ๕ คือ

    ๑. รูปขันธ์

    ๒. เวทนาขันธ์

    ๓. สัญญาขันธ์

    ๔. สังขารขันธ์

    ๕. วิญญาณขันธ์

รูปขันธ์

    ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน?

    [๓๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑ คือ รูปทั้งหมด เป็นนเหตุ เป็นอเหตุกะ

    เป็นเหตุวิปปยุต เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นรูปเป็นโลกิยะ เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็นอุปาทานิยะ เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอัพยากฤต เป็นอนารัมมณะ เป็นอเจตสิก เป็นจิตตวิปปยุต เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นนสวิตักกสวิจาระ เป็นนอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกอวิจาระ เป็นนปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี เป็นเนวเสกขานาเสกขะ เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เป็นปริยาปันนะ เป็นนอปริยาปันนะ เป็น

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 84

อนิยตะ เป็นอนิยยานิกะ เป็นอุปปันนฉวิญญาณวิญเญยยะ เป็นอนิจจะ เป็นชราภิภูตะ รูปขันธ์หมวดละ ๑ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๔] รูปขันธ์หมวดละ ๒ คือ รูปเป็นอุปาทา รูปเป็นอนุปาทา รูปเป็นอุปาทินนะ รูปเป็นอนุปาทินนะ รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็นสนิทสัสนะ รูปเป็นอนิทสัสนะ รูปเป็นสัปปฏิฆะ รูปเป็นอัปปฏิฆะ รูปเป็นอินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์ รูปเป็นมหาภูต รูปไม่เป็นมหาภูต รูปเป็นวิญญัตติ รูปไม่เป็นวิญญัติ รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน รูปเป็นจิตตสหภู รูปไม่เป็นจิตตสหภู รูปเป็นจิตตานุปริวัตติ รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ รูปเป็นอัชฌัตติกะ รูปเป็นพาหิระ รูปเป็นโอฬาริกะ รูปเป็นสุขุมะ รูปเป็นทูเร รูปเป็นสันติเก ฯลฯ รูปเป็นกวฬิงการาหาร รูปไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูปขันธ์หมวดละ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๕] รูปขันธ์หมวดละ ๓ คือ อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทา พาหิรรูปเป็นอุปาทาก็มี เป็นอนุปาทาก็มี, อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนะ พาหิรรูปเป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี, อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะพาหิรูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ฯลฯ อัชฌัตติกรูปไม่เป็นกวฬิงการาหาร พาหิรรูปเป็นกวฬิงการาหารก็มี ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี รูปขันธ์หมวดละ ๓ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๖] รูปขันธ์หมวดละ ๔ คือ อุปาทารูปเป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี อนุปาทารูปเป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี, อุปาทารูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี อนุปาทารูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี, อุปาทารูปเป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็นอัปปฏิฆะก็มี อนุปาทารูปเป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็น

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 85

อัปปฏิฆะก็มี, อุปาทารูปเป็นโอฬาริกะก็มี เป็นสุขุมะก็มี อนุปาทารูปเป็นโอฬาริกะก็มี เป็นสุขุมะก็มี, อุปาทารูปเป็นทูเรก็มี เป็นสันติเกก็มี อนุปาทารูปเป็นทูเรก็มี เป็นสันติเกก็มี ฯลฯ ทิฏฐรูป สุตรูป มุตรูปวิญญาตรูป รูปขันธ์หมวดละ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๗] รูปขันธ์หมวดละ ๕ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อุปาทารูป รูปขันธ์หมวดละ ๕ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๘] รูปขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญเญยยรูป โสตวิญเญยยรูป ฆานวิญเญยยรูป ชิวหาวิญเญยยรูป กายวิญเญยรูป มโนวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๙] รูปขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ มโนธาตุวิญเญยยรูป มโนวิญญาณธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๐] รูปขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ สุขสัมผัสสกายวิญเญยยรูป ทุกขสัมผัสสกายวิฌเญยยรูป มโนธาตุวิญเญยยรูป มโนวิญญาณธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๑] รูปขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์ รูปขันธ์หมวด ๙ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๒] รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์เป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็นอัปปฏิฆะก็มี รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ คือ จักขายตนะ โสตายนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 86

โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้ (อนิทัสสนะ) กระทบไม่ได้ (อัปปฏิฆะ) นับเนื่องในธรรมายตนะ รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ ด้วยประการฉะนี้.

    สภาวธรรมนี้เรียกว่า รูปขันธ์.

เวทนาขันธ์

    เวทนาขันธ์ เป็นไฉน?

    [ทุกมูลกวาร]

    [๔๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๔ คือ เวทนาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ คือ เวทนาขันธ์เป็นสุขินทรีย์ เป็นทุกขินทรีย์ เป็นโสมนัสสินทรีย์ เป็นโทมนัสสินทรีย์ เป็นอุเปกขินทรีย์

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 87

เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ สุขกายสัมผัสสชาเวทนา ทุกขกายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้.

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ สุขกายสัมผัสสชาเวทนา ทุกขกายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม, เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ, เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ, เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ, เวทนาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ, เวทนาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, เวทนาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามี-

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 88

นาปจยคามี, เวทนาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ, เวทนาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ, เวทนาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ, เวทนาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ, เวทนาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ, เวทนาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะเป็นมัคคาธิปติ, เวทนาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที, เวทนาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน, เวทนาขันธ์เป็นอตีตารัมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ, เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา, เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    [๔๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ, เวทนาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ, เวทนาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ, เวทนาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ, เวทนาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ, เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ, เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ, เวทนาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ, เวทนาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ , เวทนาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ,

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 89

เวทนาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ , เวทนาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ, เวทนาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ, เวทนาขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ, เวทนาขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ, เวทนาขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ, เวทนาขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ, เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ, เวทนาขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ, เวทนาขันธ์เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ, เวทนาขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ, เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ, เวทนาขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต, เวทนาขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ, เวทนาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, เวทนาขันธ์เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ, เวทนาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ, เวทนาขันธ์เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ, เวทนาขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ, เวทนาขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ, เวทนาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ, เวทนาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นนกามาวจร, เวทนาขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร, เวทนาขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร, เวทนาขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ, เวทนา-

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 90

ขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ, เวทนาขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ, เวทนาขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ, เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    [๔๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

    [๔๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือเวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 91

๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

[๔๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 92

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 93

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือเวทนาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคัน-

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 94

ถนิยะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอดีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโยคนียะ เป็นอโยคนียะ

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต

    เวทนาขันธ์

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 95

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

    อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

    [๕๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะเวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

    เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอริยาปันนะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ด้วยประการฉะนี้

    [๕๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต, เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะฌานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 96

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

    [๕๒] เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ แพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นกามาวจรเป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

    [๕๓] เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 97

เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.

พหุวิธวาร จบ

สัญญาขันธ์

    สัญญาขันธ์ เป็นไฉน?

[ทุกมูลกวาร]

[๕๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 98

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๔ คือ สัญญาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 99

กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อกุสลมโนวิญญาณธาติสัมผัสสชาสัญญา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๕๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต, สัญญาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม, สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ, สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ, สัญญาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ, สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ, สัญญาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ, สัญญาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, สัญญาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี, สัญญาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ, สัญญาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ, สัญญาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ, สัญญาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ, สัญญาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ, สัญญาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ, สัญญาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที, สัญญาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน, สัญญาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุป-

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 100

ปันนารัมมณะ, สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธาสัญญาขันธ์ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๕๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ, สัญญาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ, สัญญาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ, สัญญาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ, สัญญาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ, สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ, สัญญาขันธ์เป็นนีวรณิยะเป็นอนีวรณียะ, สัญญาขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ, สัญญาขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ, สัญญาขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตต-

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 101

อปรามัฏฐะ, สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ, สัญญาขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ, สัญญาขันธ์เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ, สัญญาขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ, สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ, สัญญาขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต, สัญญาขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ, สัญญาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, สัญญาขันธ์เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ, สัญญาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ, สัญญาขันธ์เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, สัญญาขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ, สัญญาขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ, สัญญาขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ, สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ, สัญญาขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ, สัญญาขันธ์เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ, สัญญาขันธ์เป็นกามาวจรเป็นนกามาวจร, สัญญาขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร, สัญญาขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร, สัญญาขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ, สัญญาขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ, สัญญาขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ, สัญญาขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ, สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

[๕๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 102

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญาญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

[๕๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม-

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 103

สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะเป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

[๕๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 104

สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสเนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 105

สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือสัญญาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ สัญญาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 106

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปุยุตตอโนฆนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 107

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

    [๖๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศลเป็นอัพยกฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตฯสฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

    [๖๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 108

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้

    สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

    [๖๒] สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 109

[๖๓] สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจรเป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา. สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

    สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง อีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ, เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้

    สภาวธรรมนี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

    พหุวิธวาร จบ

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 110

สังขารขันธ์

    สังขารขันธ์ เป็นไฉน?

[กุศลมูลกวาร]

[๖๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ.

สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๔ คือ สังขารขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ.

สังขารขันธ์หมวดละ ๕ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ สุขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา มโนวิญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 111

    สังขารขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้.

    สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ สุขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    [๖๕] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต, สังขารขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม, สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ, สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ, สังขารขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ, สังขารขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ, สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ, สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวหาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี สังขารขันธ์เป็นเสกะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 112

สังขารขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ, สังขารขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ, สังขารขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ, สังขารขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ, สังขารขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ, สังขารขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที, สังขารขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน, สังขารขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ, สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา, สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๖๖] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ, สังขารขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ, สังขารขันธ์เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ, สังขารขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ, สังขารขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ, สังขารขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ, สังขารขันธ์เป็นอาสวะ เป็นโนอาสวะ, สังขารขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ, สังขารขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ, สังขารขันธ์เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ, สังขารขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ, สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนะ เป็นโนสัญโญชนะ, สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ, สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต, สังขารขันธ์เป็น

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 113

สัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ, สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ, สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ, สังขารชนเป็นคันถะ เป็นโนคันถะ, สังขารขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ, สังขารขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ, สังขารขันธ์เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ, สังขารขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ, สังขารขันธ์เป็นโอฆะ เป็นโนโอฆะ, สังขารขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ, สังขารขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นโอฆโอฆนิยะ เป็นโอฆนิยโนโอฆะ, สังขารขันธ์เป็นโอฆโอฆสัมปยุต เป็นโอฆสัมปยุตตโนโอฆะ, สังขารขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ, สังขารขันธ์เป็นโยคะ เป็นโนโยคะ, สังขารขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ,สังขารขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นโยคโยคนิยะ เป็นโยคนิยโนโยคะ, สังขารขันธ์เป็นโยคโยคสัมปยุต เป็นโยคสัมปยุตตโนโยคะ, สังขารขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ, สังขารขันธ์เป็นนีวรณะ เป็นโนนีวรณะ, สังขารขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ, สังขารขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปุยุต, สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ, สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ, สังขารขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ, สังขารขันธ์เป็นปรามาสะ เป็นโนปรามาสะ, สังขารขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ, สังขารขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุตเป็นปรามาสวิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรา-

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 114

มาสะ, สังขารขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ, สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ, สังขารขันธ์เป็นอุปาทานะ เป็นโนอุปาทานะ, สังขารขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ, สังขารขันธ์เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นอุปาทานอุปาทานิยะเป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ, สังขารขันธ์เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ, สังขารขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ, สังขารขันธ์เป็นกิเลสะ เป็นโนกิเลสะ, สังขารขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเสสิกะ, สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ, สังขารขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต, สังขารขันธ์เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ, สังขารขันธ์เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ, สังขารขันธ์เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ, สังขารขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ, สังขารขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, สังขารขันธ์เป็นภาวนาปหายตัพพะ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ, สังขารขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ, สังขารขันธ์เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, สังขารขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ, สังขารขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระล สังขารขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ, สังขารขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ, สังขารขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ, สังขารขันธ์เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ, สังขารขันธ์เป็นกามาวจร เป็นนกามาวจร, สังขารขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร, สังขารขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร, สังขารขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ, สังขารขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ,

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 115

สังขารขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ, สังขารขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ, สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๖๗] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ, สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ด้วยประการฉะนี้.

ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

[๖๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 116

คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นมรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

[๖๙] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 117

    สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือสังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะเป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้. สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ด้วยประการฉะนี้.

    สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปิติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 118

    สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวะ เป็นโนอาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตต-

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 119

อนาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนะ เป็นโนสัญโญชนะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 120

    สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นคันถะ เป็นโนคันถะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

[๗๐] สังขารขันธ์หมวดละ ๗ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะสังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๑] สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 121

เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตจักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๒] สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นกามาวจรเป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 122

    [๗๓] สังขารขันธ์ หมวดละมากอย่าง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจรเป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

สภาวธรรมนี้เรียกว่า สังขารขันธ์.

พหุวิธวาร จบ

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 123

วิญญาณขันธ์

    วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน?

[ทุกมูลกวาร]

    [๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 124

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโน วิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม, วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฎฐสังกิเลสิกะ, เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ, วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ, วิญญาณขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ, วิญญาณขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ, วิญญาณขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, วิญญาณขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี, วิญญาณขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ, วิญญาณขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ, วิญญาณขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ,

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 125

วิญญาณขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะล วิญญาณขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ, วิญญาณขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ, วิญญาณขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที, วิญญาณขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน, วิญญาณขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ, วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา, วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. วิญญาณขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นโลกิยะเป็นโลกุตระ, วิญญาณขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ, วิญญาณขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ, วิญญาณขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ, วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต,

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 126

วิญญาณขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ , วิญญาณขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ, วิญญาณขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ, วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ, วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นอนุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ, วิญญาณขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ, วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ, วิญญาณขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต, วิญญาณขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ, วิญญาณขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, วิญญาณขันธ์เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ, วิญญาณขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ, วิญญาณขันธ์เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ, วิญญาณขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ, วิญญาณขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ, วิญญาณขันธ์เป็นปีตีสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ, วิญญาณขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ, วิญญาณขันธ์เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ, วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นนกามาวจร, วิญญาขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร, วิญญาณขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร, วิญญาณขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ, วิญญาณขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ, วิญญาณขันธ์เป็นนิยตะ เป็น

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 127

อนิยตะ, วิญญาณขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ, วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

[๗๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 128

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

    [๗๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ.

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 129

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะเป็นอุเปกขาสหคตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปป-

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 130

ยุตตอนาสวะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคานี ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หหมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต. วิญญาณ-

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 131

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ, วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ, วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 132

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือวิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ, วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

[๘๐] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็น

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 133

กามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

    [๘๑] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

    วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

    [๘๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 134

เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๘๓] วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์จึงเป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 135

สภาวธรรมนี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.

พหุวิธวาร จบ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ขันธวิภังคนิเทศ วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ว่าด้วยนิเทสรูปขันธ์

บัดนี้ เป็นอภิธรรมภาชนีย์ คือนัยที่ทรงจำแนกโดยพระอภิธรรม ในอภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตพึงทราบนิเทศรูปขันธ์โดยนัยที่ข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ในรูปกัณฑ์ (แห่งอรรถสาลินีอรรถกถาธรรมสังคณี) ในหนหลังนั่นแล.

ว่าด้วยนิเทศเวทนาขันธ์

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาขันธ์ ต่อไป

บทว่า เอกวิเธน แก้เป็น เอกโกฏฺาเสน แปลว่า หมวดหนึ่ง.

บทว่า ผสฺสสมฺปยุตฺโต แยกบทเป็น ผสฺเสน สมฺปยุตฺโต แปลว่า สัมปยุตด้วยผัสสะ เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ได้แก่ เวทนาในสเหตุกทุกะ (๑) คือที่เป็นสเหตุกเวทนาเป็นเวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ ที่เป็นอเหตุกะเวทนาเป็นกามาวจรอย่างเดียว พึงทราบเวทนาที่ตรัสโดยบทแห่งกุศลเป็นต้นโดยอุบายนี้.

อีกอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเวทนาขันธ์นี้อย่างเดียวโดยเป็นธรรมสัมปยุตด้วยผัสสะ ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๒ อย่าง โดยเป็น


(๑) สเหตุกทุกะ คือ เวทนาที่เป็นสเหตกะและอเหตุกะ.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 136

สเหตุกเวทนา (เวทนาที่มีเหตุ) และ อเหตุกเวทนา (เวทนาที่ไม่มีเหตุ). ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๓ อย่าง โดยชาติ (การเกิด). ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๔ อย่าง โดยความต่างแห่งภูมิ. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๕ โดยอินทรีย์ บรรดาเวทนาหมวดละ ๕ เหล่านั้น เวทนาที่เป็นสุขินทรีย์และทุกขินทรีย์อาศัยกายประสาทเกิดขึ้นเป็นกามาวจรอย่างเดียว เวทนาที่เป็นโสมนัสสินทรีย์เป็นไปในภูมิ ๓ อาศัยวัตถุที่ ๖ เกิดขึ้นก็มี ไม่อาศัยวัตถุที่ ๖ เกิดขึ้นก็มี. เวทนาที่เป็นโทมนัสสินทรีย์ อาศัยวัตถุที่ ๖ เกิดขึ้นเป็นกามาวจร. เวทนาที่เป็นอุเบกขินทรีย์เป็นไปในภูมิ ๔ อาศัยประสาท ๔ มีจักขุเป็นต้นเกิดขึ้นก็มี อาศัยวัตถุที่ ๖ เกิดขึ้นก็มี ไม่อาศัยวัตถุเกิดขึ้นก็มี. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๖ อย่าง โดยวัตถุ บรรดาเวทนา ๖ เหล่านั้น เวทนา ๕ ข้างต้นอาศัยประสาท ๕ มีจักขุเป็นต้นเกิดขึ้น เป็นกามาวจรอย่างเดียว เวทนาที่ ๖ ไม่อาศัยวัตถุเกิดขึ้นก็มี อาศัยวัตถุเกิดขึ้นก็มีซึ่งเป็นไปในภูมิ ๔. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง โดยแยกเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสในเวทนา ๖ อย่างเหล่านั้น. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๘ อย่างโดยแยกเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัสในเวทนา ๗ อย่างนั้น. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๙ อย่าง โดยแยกเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุในประเภทแห่งเวทนา ๗ อย่าง. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๑๐ อย่าง โดยแยกเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ในประเภทแห่งเวทนา ๘ อย่าง.

จริงอยู่ ในเวทนาเหล่านี้ มโนสัมผัสสชาเวทนาในประเภทเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง แยกเป็น ๒ คือ มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา และมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา. ในประเภทเวทนาหมวดละ ๘ อย่าง กายสัมผัสสชาเวทนาแยกเป็น ๒ คือ สุขเกิดแต่กายสัมผัส ทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส รวมกับเวทนาหมวดละ ๗ นั้น.

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 137

ในประเภทเวทนาหมวดละ ๙ อย่าง ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนาตามที่ตรัสไว้ในประเภทเวทนา ๗ ทรงแยกเป็น ๓ ด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น. ในเวทนาขันธ์ ๑๐ อย่าง ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนาตามที่ตรัสไว้ในเวทนาขันธ์ ๘ อย่าง ทรงแยกเป็น ๓ ด้วยอำนาจกุศลเป็นต้นนั้นแหละ

ก็ในเวทนาขันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาประกอบด้วยกุศลติกะเพื่อทำบทให้เต็มเท่านั้น แต่ในประเภทเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง ๘ อย่าง และ ๙ อย่าง เพื่อต้องการประทานนัย จึงทรงประทานนัยไว้ในฐานะที่ควรประทาน เพราะเพ่งถึงพระอภิธรรม พระตถาคตเจ้าชื่อว่า มิได้ทรงประทานนัยไว้ในฐานะที่ควรประทาน มิได้มี. นี้เป็นวาระหนึ่งในทุกมูลก่อน.

จริงอยู่ พระศาสดาเมื่อทรงจำแนกเวทนาขันธ์ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ทรงถือเอาธรรมหมวด ๓ (หมวดติกะ) ใส่ในธรรมหมวด ๒ (หมวดทุกะ) บ้าง ทรงถือเอาธรรมหมวด ๒ ใส่ในธรรมหมวด ๓ บ้าง ทรงถือเอาธรรมหมวด ๓ และหมวด ๒ แล้วนำมาโดยทำนองแห่งธรรมอันให้เพิ่มขึ้นทั้ง ๒. ย่อมทรงแสดงเวทนาขันธ์โดยมากอย่าง แม้ในที่ทั้งปวง คือ ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง เวทนาหมวดละ ๒๔ อย่าง เวทนาหมวดละ ๓๐ อย่าง และเวทนามากอย่าง เพราะเหตุไร? เพราะทรงแสดงตามอัชฌาศัยของบุคคล และเพื่อความไพเราะแห่งเทศนา (เทสนาวิลาส).

ว่าด้วยเทศนาตามอัชฌาศัยบุคคล

จริงอยู่ เทวบุตรเหล่าใดในเทวบริษัทที่นั่งเพื่อจะฟังธรรม ย่อมอาจเพื่อแทงตลอดพระดำรัสที่พระศาสดาทรงถือเอาธรรมหมวดติกะใส่เข้าในธรรมหมวดทุกะแสดงอยู่ พระองค์ก็ทรงแสดงกระทำเหมือนอย่างนั้น ด้วยอำนาจสัปปายะของเทวบุตรเหล่านั้น เทวบุตรเหล่าใด อาจเพื่อแทงตลอดธรรมที่พระองค์ตรัสโดยอาการอย่างอื่นก็ทรงแสดงด้วยอาการเหล่านั้นแก่เทพบุตรเหล่านั้น. นี้เป็นอัชฌาศัยของบุคคลในการทรงเทศนาเวทนาขันธ์นี้.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 138

ว่าด้วยเทศนาวิลาส

ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอาจเพื่อแสดงเวทนาขันธ์โดยประการที่ถือเอาธรรมหมวดติกะใส่ในธรรมหมวดทุกะ หรือธรรมหมวดทุกะใส่ในธรรมหมวดติกะ หรือให้ธรรมหมวดติกะและทุกะทั้งสองเจริญขึ้น หรือนัยที่ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง เป็นต้นได้ตามปรารถนานั้นๆ เพราะความที่พระองค์ทรงมีอารมณ์มาก แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า เทศนาวิลาสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ว่าด้วยกำหนดมหาวาระ ๔

ในอภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตพึงทราบมหาวาระ ๔ เหล่านี้ก่อน คือ วาระที่พระองค์ทรงถือเอาเวทนาขันธ์ในธรรมหมวดติกะใส่ในธรรมหมวดทุกะแสดงไว้ ชื่อว่า ทุกมูลกวาร วาระที่ทรงถือเอาเวทนาในธรรมหมวดทุกะใส่ในธรรมหมวดติกะแสดงไว้ ชื่อว่า ติกมูลกวาร วาระที่ทรงยังเวทนาในหมวดติกะและทุกะทั้ง ๒ ให้เจริญแสดงไว้ ชื่อว่า อุภโตวัฑฒิตกวาร วาระมีอาทิว่า สตฺตวิเธน ดังนี้ ในที่สุด ชื่อว่า พหุวิธวาร.

บรรดามหาวาระทั้ง ๔ เหล่านั้น ในทุกมูลกวาร มีวาระ ๙๕๐ วาระ มีวาระที่ประกอบติกะที่หนึ่งในทุกะที่สองเป็นต้น โดยการนำเวทนาติกะ ปีติติกะ สนิทัสสนติกะ ซึ่งไม่ได้ในติกะทั้งหลายออกเสีย ประกอบเฉพาะติกะ ๑๙ ที่เหลือ ซึ่งได้อยู่กับทุกะหนึ่งๆ ที่ได้อยู่ในทุกะทั้งหลาย วาระแม้เหล่านั้นทั้งหมดทรงย่อตรัสไว้ในพระบาลีแสดงธรรมที่ควรแสดงไว้ในที่นั้นๆ. ก็สำหรับบุคคลที่ไม่ให้ฟั่นเฝือควรทราบโดยพิสดาร.

แม้ในติกมูลกวาร ก็มีวาระ ๙๕๐ วาระ มีวาระแห่งการประกอบทุกะที่สองกับติกะที่หนึ่งเป็นต้น โดยนำทุกะแรกเป็นต้น ซึ่งไม่ได้ในทุกะทั้งหลายออกเสีย ประกอบเฉพาะทุกะ ๕๐ มีสเหตุกทุกะ

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 139

เป็นต้นที่เหลือซึ่งได้อยู่กับติกะหนึ่งๆ ที่ได้อยู่ในติกะทั้งหลาย. วาระเหล่านั้นแม้ทั้งหมดตรัสไว้ในพระบาลี ทรงย่อแสดงที่ควรแสดงในที่นั้นๆ ก็บุคคลผู้มิให้ฟั่นเฝือควรทราบโดยพิสดาร.

    ในอุภโตวัฑฒิตกวาร ตรัสว่ามีวาระ ๑๙ วาระ มีวาระประกอบติกะที่หนึ่งกับทุกะที่สองเป็นต้น โดยประกอบติกะ ๑๙ ที่ได้อยู่ด้วยทุกะทั้งหลาย ๑๙ ที่ได้อยู่ โดยกระทำทุกะที่สองในประเภทเวทนาหมวดละ ๒ และติกะที่ ๑ แม้ในประเภทเวทนาหมวดละ ๓ ให้เป็นต้น. นี้เป็นมหาวาระที่สาม ชื่อว่า อุภโตวัฑฒิตกวาร เพราะยังทุกะทั้งสองด้วยอำนาจแห่งทุกะและติกะให้เจริญแล้ว.

    ในนิเทศแห่งเวทนาหมวดละ ๗ ของพหุวิธวาร ตรัสวาระว่าด้วยเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง ไว้ ๑๙ วาระ ประกอบกับภูมิ ๔ พร้อมกับติกะ ๑๙ ที่ได้อยู่แต่ละติกะ จำเดิมแต่ต้น. แม้ในนิเทศแห่งเวทนาหมวดละ ๒๔ ก็ตรัสวาระ ๑๙ วาระ ด้วยอำนาจติกะเหล่านั้นนั่นเอง ในพหุวิธวาร (ว่าด้วยเวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง) ก็ตรัสไว้อย่างนั้น. วาระว่าด้วยเวทนาหมวดละ ๓๐ เป็นชนิดเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น วาระแม้ทั้งหมดจึงเป็น ๕๘ วาระนี้เป็นการพรรณนาพระบาลีในเวทนาขันธ์ด้วยสามารถการกำหนดวาระก่อน.

ว่าด้วยพรรณาอรรถในเวทนาขันธ์

    บัดนี้ เป็นการพรรณนาอรรถแห่งเวทนาขันธ์ นิเทศแห่งเวทนาหมวดละ ๗ ในเวทนาขันธ์นั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ในนิเทศแห่งเวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ ข้อว่า เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์จึงเป็นกุศล (จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา เวทนากฺขนฺโธ อตฺถิ กุสโล) บัณฑิตพึงทราบ ด้วยอำนาจกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง. ข้อว่า เวทนาขันธ์เป็นอกุศล (อตฺถิ อกุสโล) พึงทราบ ด้วยอำนาจอกุศลจิต ๑๒ ดวง. ข้อว่า เวทนาขันธ์เป็นอัพยากฤต (อตฺถิ อพฺยากโต) พึงทราบ ด้วยอำนาจจิต ๒๔ ดวง คือ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๓ มหาวิบาก ๘ และกามาวจรกิริยา ๑๐.

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 140

    ในบรรดาจิตเหล่านั้น กุศลจิต ๘ และอกุศลจิต ๑๒ ย่อมได้ (คือเป็นไป) ด้วยอำนาจชวนะ กิริยามโนธาตุ ย่อมได้ด้วยอำนาจอาวัชชนะ มโนธาตุวิบาก ๒ ย่อมได้ด้วยอำนาจสัมปฏิจฉันนะ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก ๓ ย่อมได้ด้วยอำนาจสันติรณะและตทาลัมพนะ. กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๑ ย่อมได้ด้วยอำนาจโวฏฐัพพนะ มหาวิบากจิต ๘ ย่อมได้ด้วยอำนาจตทาลัมพนะ กิริยาจิต ๙ ย่อมได้ด้วยอำนาจชวนะ. แม้ในโสต ฆานะ ชิวหา และกายทวาร ก็นัยนี้แล.

ก็บทว่า อตฺถิ กุสโล (จึงเป็นกุศล) นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจกุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า อตฺถิ อกุสโล (เป็นอกุศล) ตรัสไว้ด้วยอำนาจอกุศลจิต ๑๒. บทว่า อตฺถิ อพฺยากโต (เป็นอัพยากฤต) ตรัสไว้ด้วยอำนาจจิตตุปบาท ๓๔ คือ กามาวจรวิบาก ๑๑ กิริยา ๑๐ รูปาวจรกิริยาและอรูปาวจรกิริยา ๙ และสามัญญผล ๔.

บรรดาจิต ๖๗ เหล่านั้น กุศลจิต ๒๑ ที่เป็นไปในภูมิ ๔ และอกุศลจิต ๑๒ ย่อมได้ (คือย่อมเป็นไป) ด้วยอำนาจชวนะ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ๑ ย่อมได้ด้วยอาวัชชนะ ๑. วิปากจิต ๑๑ ย่อมได้ด้วยอำนาจตทาลัมพนะ กิริยาจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ (คือที่เป็นกามาวจร๙ ที่เป็นไปในรูปาวจรารูปวจร ๙) และสามัญผล ๔ ย่อมได้ด้วยอำนาจชวนะ จิต ๖๗ เหล่านั้นสมควรเพื่อจะตั้งไว้กล่าวในเวทนาขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาขันธ์หมวดละ ๗ เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งจิตเหล่านั้นแสดงไว้ในเวทนาหมวดละ ๓๐ เป็นการแสดงได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น จึงทรงตั้งจิตเหล่านั้นแสดงเวทนาหมวดละ ๓๐ เท่านั้น.

ก็จิต ๔๔ เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมได้ในจักขุทวาร ด้วยอาการ ๓ คือ ด้วยอุปนิสสยโกฏิ (เงื่อนของอุปนิสสัย) ๑ ด้วยอำนาจ

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 141

การก้าวล่วง (กิเลส) ๑ ด้วยอำนาจภาวนา ๑ ในโสตทวารและมโนทวารก็ย่อมได้ด้วยอาการ ๓ เหมือนอย่างนั้น แต่ฆานะ ชิวหา และกายทวารพึงทราบว่า ย่อมได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยอำนาจการก้าวล่วง และด้วยอํานาจภาวนา.

ว่าด้วยอาการ ๓

ย่อมได้ด้วยอาการ ๓ เป็นอย่างไร?

คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวจาริกไปยังวิหาร เห็นมณฑลกสิณจึงถามว่า นี้ชื่ออะไร เมื่อเขาตอบว่า มณฑลกสิณดังนี้ จึงถามอีกว่า พวกเขาทำอะไรด้วยมณฑลกสิณนี้ ที่นั้นพวกภิกษุจึงบอกแก่เธอว่า พวกภิกษุเจริญมณฑลกสิณนี้ยังฌานทั้งหลายให้เกิดแล้ว เจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้ว บรรลุพระอรหัต ดังนี้ กุลบุตร (ผู้บวชด้วยศรัทธา) จึงพร้อมด้วยความตั้งใจมิได้กำหนดว่า นี้เป็นภาระหนัก มีความคิดว่า แม้เราก็ควรยังคุณนี้ให้เกิดขึ้นดังนี้ จึงคิดว่า ถึงคุณนี้อันบุคคลผู้นอนหลับ ไม่อาจเพื่อจะให้เกิดได้ เราควรทำความเพียรชำระศีลให้หมดจดตั้งแต่เบื้องต้น ดังนี้ จึงยังศีลให้หมดจด ต่อจากนั้น ก็ตั้งมั่นในศีล ตัดปลิโพธ ๑๐ เป็นผู้สันโดษยินดีด้วยไตรจีวรเป็นอย่างยีง ทำวัตรปฏิบัติต่อพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ เรียนกรรมฐานกระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติให้เกิดแล้ว เจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วบรรลุพระอรหัต. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น จักขุวิญญาณเป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่การเกิดเวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ อย่างนี้ คือ เวทนาในการบริกรรมแม้ทั้งหมดเป็นกามาวจร เวทนาในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ เพราะฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 142

จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในจักขุทวารย่อมได้ด้วยอำนาจอุปนิสสัย อย่างนี้ก่อน.

    อนึ่ง เมื่อรูปมาสู่คลองจักขุทวารแล้ว กุลบุตรผู้ดำรงอยู่ในการพิจารณาอย่างนี้ว่า ความยินดีเกิดขึ้นแล้วแก่เราในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ปฏิฆะเกิดขึ้นแล้วแก่เราในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา โมหะเกิดขึ้นแล้วแก่เราในขณะที่ไม่เห็นตามเป็นจริง ก็มานะเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้มีความผูกพันในอารมณ์ต่างๆ ทิฏฐิเกิดแก่เราผู้มีความยึดถือผิด อุทธัจจะเกิดแก่เราผู้มีจิตฟุ้งซ่าน วิจิกิจฉาเกิดแก่เราผู้ตกลงใจไม่ได้ อนุสัยเกิดแก่เราผู้มีกิเลสแรงกล้า ดังนี้ รู้ความเกิดขึ้นแห่งกิเลสของตนแล้ว จึงคิดว่า กิเลสเหล่านี้เจริญขึ้นแก่เราแล้วจักเป็นไปเพื่อความฉิบหาย เอาละเราจักข่มมันเสีย จึงใคร่ครวญดูว่า ก็บุคคลผู้นอนหลับอยู่ไม่อาจเพื่อข่มกิเลสได้ เราควรเริ่มทำความเพียร เพื่อชำระศีลให้หมดจดแต่ต้นทีเดียว ดังนี้ จึงปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนาที่ก้าวล่วงกิเลสที่เกิดขึ้นในรูปารมณ์เป็นไปอย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาวจร เวทนาเป็นไปในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร เวทนาเป็นไปในมรรคผลเป็นโลกุตระเพราฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเกิดขึ้นจิตในจักขุทวารย่อมได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วง (กิเลส) อย่างนี้.

    อนึ่ง เมื่อรูปมาสู่คลองจักขุทวารแล้ว กุลบุตรผู้หนึ่ง ย่อมเริ่มตั้งกำหนดอย่างนี้ว่า รูปนี้อาศัยอะไร? ต่อจากนั้นก็จักทราบรูป (รูปารมณ์) นั้น ว่าอาศัยภูต (มหาภูตรูป) แล้วก็กำหนดมหาภูตรูป ๔ และอุปาทารูป (คือรูปที่อาศัยมหาภูตรูป) ว่าเป็นรูป และกำหนดธรรมทั้งหลายมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ ว่าเป็นอรูป (คือนาม) ต่อจากนั้นก็กำหนดนามรูปพร้อมทั้ง

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 143

ปัจจัยแล้วยกขึ้นสู่ลักษณะ ๓ พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยลำดับแห่งวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนาที่เกิดขึ้นพิจารณารูปารมณ์อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาวจร เวทนาที่เป็นไปในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เวทนานี้ จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเกิดแล้ว จิตในจักขุทวารย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา อย่างนี้.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้ฟังว่า ได้ยินว่าบุคคลทำบริกรรมกสิณ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น เจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วย่อมบรรลุพระอรหัต ดังนี้กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอัชฌาศัย (คือความตั้งใจ) มิได้กำหนดว่า เรื่องนี้เป็นภาระหนัก จึงดำริว่า แม้เราก็ควรให้คุณนี้เกิดขึ้น ดังนี้ แล้วก็ปฏิบัติโดยนัยก่อนนั่นแหละ ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น โสตวิญญาณชื่อว่าเป็นปัจจัยมีกำลัง เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาวจร เวทนาเป็นไปในสมาบัติ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่า มีโสตสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในโสตทวารย่อมได้ด้วยอำนาจอุปนิสสัย อย่างนี้ก่อน.

อนึ่ง เมื่อเสียงมาสู่คลองโสตทวาร กุลบุตรผู้หนึ่งย่อมเริ่มกำหนดอย่างนี้ว่า เสียงนี้อาศัยอะไร ดังนี้เป็นต้น คำทั้งหมดนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขุทวารนั่นแหละ. เวทนาที่เกิดขึ้นพิจารณาสัททารมณ์อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น เวทนานี้จึงชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะมีโสตสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในโสตทวารย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 144

    อนึ่ง คำทั้งหมดว่า ฆานะ ชิวหา และกายทวารมาสู่คลองมีกลิ่นเป็นต้นเป็นอารมณ์ ความยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนาเกิดขึ้นแล้วแก่เราเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขุทวารนั้นแหละ. เวทนาที่เป็นไปก้าวล่วงกิเลสที่เกิดขึ้นในคันธารมณ์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้นเวทนาอันเป็นไปภูมิ ๔ จึงชื่อว่า มีฆานะ ชิวหา กายสัมผัสเป็นปัจจัย จิตทั้งหลายย่อมได้ในทวาร ๓ ด้วยอำนาจการก้าวล่วง (กิเลส) อย่างนี้.

    แต่คำทั้งหมดว่า เมื่อกลิ่นเป็นต้นมาสู่คลองฆานทวารเป็นต้นแล้วกุลบุตรผู้หนึ่ง ย่อมเริ่มกำหนดอย่างนี้ว่า กลิ่นนี้ รสนี้ โผฏฐัพพะนี้ อาศัยอะไร ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารเหมือนกัน. เวทนาที่เกิดขึ้นพิจารณากลิ่นเป็นต้น เป็นอารมณ์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น เวทนานี้จึงชื่อว่า มีฆานะ ชิวหา กายสัมผัสเป็นปัจจัย จิตทั้งหลายย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนาอย่างนี้.

    ก็จิตในมโนทวาร (มี ๖๗ ดวง) ย่อมได้ด้วยอาการแม้ทั้ง ๓.

    จริงอยู่ กุลบุตรบางคนเห็นชาติ (ความเกิด) โดยความเป็นภัย ย่อมเห็นชรา พยาธิ มรณะโดยความเป็นภัย ครั้นเห็นโดยความเป็นภัยแล้ว ก็คิดว่าเราควรพ้นจากชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ ดังนี้ ก็แต่ว่า อันบุคคลผู้นอนหลับอยู่ไม่อาจเพื่อจะพ้นจากชาติเป็นต้นได้ เราควรทำความเพียรชำระศีลให้บริสุทธิ์ตั้งแต่นี้ทีเดียว ดังนี้ แล้วปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารนั่นแหละ ก็ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น ชาติ ชรา พยาธิและมรณะเป็นปัจจัยมีกำลัง เพราะความเกิดแห่งเวทนาอันเป็นไปในภูมิ ๔ อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาวจร เวทนาเป็นไปในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระดังนี้ เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 145

เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่า มีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวารย่อมได้ด้วยอำนาจอุปนิสสัย อย่างนี้ก่อน.

    คำทั้งหมดว่า ก็เมื่อธรรมารมณ์มาสู่คลองมโนทวารเป็นต้น พึงทราบโดยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารนั่นแหละ. เวทนาที่ก้าวล่วงกิเลสที่เกิดขึ้นในธรรมารมณ์อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น เวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่า มีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวารย่อมได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วงกิเลส อย่างนี้.

    อนึ่ง เมื่อธรรมารมณ์มาสู่คลองมโนทวารแล้ว กุลบุตรผู้หนึ่งย่อมเริ่มกำหนดอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์นี้อาศัยอะไร ทราบแล้วว่า อาศัยวัตถุ ก็พิจารณาว่า วัตถุอาศัยอะไร ทราบแล้วว่า อาศัยมหาภูตรูป ดังนี้ เธอจึงกำหนดมหาภูตรูป และอุปาทารูป ว่าเป็น รูป ย่อมกำหนดธรรมที่มีรูปนั้นเป็นอารมณ์ว่าเป็น อรูป (นาม) ต่อจากนั้น ก็กำหนดนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยลำดับแห่งวิปัสสนาแล้วย่อมบรรลุพระอรหัต. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนานี้คือ ที่เกิดขึ้นพิจารณาธรรมารมณ์อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาวจร เวทนาที่เป็นไปในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระดังนี้ ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะมีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวารย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา อย่างนี้.

    ก็เวทนาอย่างละ ๖ คือ เวทหาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในที่สุดแห่งวาระมีวาระแห่งเวทนาหมวดละ ๒๔ เป็นต้น แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เวทนาเหล่านั้นตรัสด้วยอำนาจแห่งปัจจัยธรรมสัมปยุตกัน ดังนี้แล.

    นิเทศแห่งเวทนาขันธ์ จบ

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 146

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัญญาขันธ์

แม้สัญญาขันธ์เป็นต้นก็พึงทราบโดยอุบายนี้. (๑)

จริงอยู่ ในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ย่อมได้แม้เวทนาติกะ และปิติกะในติกะทั้งหลายโดยสิ้นเชิง แม้ธรรมมีสุขสหคตะเป็นต้น ก็ย่อมได้แม้ในทุกะทั้งหลาย.

ในนิเทศแห่งสังขารขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า สัมปยุตด้วยผัสสะ เพราะแม้ผัสสะก็เป็นธรรมนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่ตรัสคำว่า จิตฺตสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยจิต) และในนิเทศแห่งขันธ์นี้ ธรรมทั้งหลายแม้มีเหตุทุกะเป็นต้น ย่อมได้ในทุกะทั้งหลาย ธรรมหมวดติกะเป็นเหมือนสัญญาขันธ์นั่นแล.

ในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสความที่วิญญาณขันธ์เป็นธรรมเกิดแต่จักขุสัมผัส แต่ตรัสคำว่า จกฺขุวิญฺาณํ (จักขุวิญญาณ) เป็นต้น เพราะใครๆ ไม่อาจเพื่อแสดงว่า วิญญาณเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้เป็นเช่นเดียวกับคำที่กล่าวในสัญญาขันธ์นั่นแล.

ก็ในนิเทศแห่งขันธ์แม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ได้ธรรมหมวดติกะและทุกะมากกว่านิเทศแห่งเวทนาขันธ์ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งวาระด้วยอำนาจแห่งธรรมติกะและทุกะเหล่านั้นเถิด ฉะนี้แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ


(๑) โดยเหมือนเวทนาขันธ์

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 147

ปัญหาปุจฉกะ

    [๘๔] ขันธ์ ๕ คือ

    ๑. รูปขันธ์

    ๒. เวทนาขันธ์

    ๓. สัญญาขันธ์

    ๔. สังขารขันธ์

    ๕. วิญญาณขันธ์.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

    บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ ขันธ์ไหนเป็นสรณะ ขันธ์ไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

    [๘๕] รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๔ [เบื้องปลาย] เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ขันธ์ ๒ [เบื้องต้น] กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ขันธ์ ๓ [เบื้องปลาย] เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี รูปขันธ์เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ขันธ์ ๔ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมธรรมก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนา-

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 148

นุปาทานิยะก็มี รูปขันธ์เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี รูปขันธ์เป็นอวิตักกาวิจาระ ขันธ์ ๓ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี สังขารขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี. รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ เวทนาขันธ์ เป็นปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปีติสหคตะก็มี ขันธ์ ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี รูปขันธ์เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี ขันธ์ ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ขันธ์ ๔เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี รูปขันธ์ เป็นปริตตะ ขันธ์ ๔ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมนณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี รูปขันธ์ เป็นมัชฌิมะ ขันธ์ ๔ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยตะ

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 149

ขันธ์ ๔ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี รูปขันธ์เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี รูปขันธ์เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ รูปขันธ์ เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะก็มี.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๘๖] ขันธ์ ๔ เป็นนเหตุ สังขารขันธ์เป็เหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี รูปขันธ์ เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี รูปขันธ์เป็นเหตุวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี สังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 150

เหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี สังขารขันธ์ เป็นเหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี รูปขันธ์เป็นนเหตุอเหตุกะ ขันธ์ ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุก็มี สังขารขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๘๗] ขันธ์ ๕ เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ ขันธ์ ๔ เป็นอนิทัสสนะ รูปขันธ์ เป็นสนิทัสสนะก็มี เป็นอนิทัสสนะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอัปปฏิฆะ รูปขันธ์ เป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็นอัปปฏิฆะก็มี รูปขันธ์ เป็นรูป ขันธ์ ๔ เป็นอรูป รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตระก็มี ขันธ์ ๕เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๘๘] ขันธ์ ๔ เป็นโนอาสวะ สังขารขันธ์ เป็นอาสวะก็มี เป็นโนอาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นสาสวะ ขันธ์ ๔ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นอาสววิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 151

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตโนอาสวะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ ขันธ์ ๔เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔. สัญโญชนโคฉกวิสัชนา

[๘๙] ขันธ์ ๔ เป็นโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์ เป็นสัญโญชนะก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชนิยะก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี รูปขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนิยะโนสัญโญชนะก็มี สังขารขันธ์ เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 152

แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี.

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา

[๙๐] ขันธ์ ๔ เป็นโนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี สังขารขันธ์ เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี สังขารขันธ์ เป็นคันถคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 153

๖.- ๗.- ๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา

[๙๑] ขันธ์ ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ขันธ์ ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ขันธ์ ๔ เป็นโนนีวรณะ สังขารขันธ์ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวรณะก็มี รูปขันธ์ เป็นนีวรณิยะ ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี รูปขันธ์ เป็นนีวรณวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี สังขารขันธ์ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณะสัมปยุตตโนนีวรณะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี รูปขันธ์ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอณีวรณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๙๒] ขันธ์ ๔ เป็นโนปรามาสะ สังขารขันธ์ เป็นปรามาสะก็มี เป็นโนปรามาสะก็มี รูปขันธ์เป็นปรามัฏฐะ ขันธ์ ๔ เป็นปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรามัฏฐะก็มี รูปขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุต ขันธ์ ๓ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี สังขารขันธ์ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาส-

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 154

วิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี รูปขันธ์ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ ขันธ์ ๔ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหัตรทุกวิสัชนา

[๙๓] รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นสารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นโนจิตตะ วิญญาณขันธ์เป็นจิตตะ ขันธ์ ๓ เป็นเจตสิกะ ขันธ์ ๒ เป็นอเจตสิกะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสัมปยุต รูปขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต วิญญาณขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐะ รูปขันธ์ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ วิญญาณขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสมุฏฐานะ วิญญาณขันธ์ เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ รูปขันธ์ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสหภู วิญญาณขันธ์เป็นโนจิตตสหภู รูปขันธ์เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตานุปริวัตติ วิญญาณขันธ์เป็นโนจิตตานุปริวัตติ รูปขันธ์ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฎฐานะ ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน-

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 155

สหภู ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ขันธ์ ๓ เป็นพาหิระ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตติกะ รูปขันธ์ เป็นอัชฌัตติกะก็มี เป็นพาหิระก็มี ขันธ์ ๔ เป็นนอุปาทา รูปขันธ์ เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๙๔] ขันธ์ ๔ เป็นนอุปาทานะ สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานะก็มี เป็นนอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานิยะ ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทานิยะก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มีเป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทินิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 156

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

    [๙๕] ขันธ์ ๔ เป็นโนกิเลสะ สังขารขันธ์ เป็นกิเลสะก็มี เป็นโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ เป็นสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิเลสิกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอสังกิลิฏฐะ ขันธ์ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลสสังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะแม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แมัเป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 157

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

    [๙๖] รูปขันธ์ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนายปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอวิตักกะ ขันธ์ ๔ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี รูปขันธ์เป็นอวิจาระ ขันธ์ ๔ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี รูปขันธ์ เป็นอัปปีติกะ ขันธ์ ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี รูปขันธ์เป็นนปีติสหคตะ ขันธ์ ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี ขันธ์ ๒ เป็นนสุขสหคตะ ขันธ์ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี ขันธ์ ๒ เป็นนอุเปกขาสหคตะ ขันธ์ ๓ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี รูปขันธ์ เป็นกามาวจร ขันธ์ ๔ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นนรูปาวจร ขันธ์ ๔ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นนอรูปาวจร ขันธ์ ๔ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นปริยาปันนะ ขันธ์ ๔ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยยานิกะ ขันธ์ ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยตะ ขันธ์ ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี รูปขันธ์ เป็นสอุตตระ ขันธ์ ๔ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี รูปขันธ์เป็นอรณะ ขันธ์ ๔ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.

    ปัญหาปุจฉกะ จบ

    ขันธวิภังค์ จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 158

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

บัดนี้ เป็นปัญหาปุจฉกะ (หมวดถามปัญหา) ในปัญหาปุจฉกะนั้นบัณฑิตพึงทราบในการถามปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาธรรมใดที่ได้และไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ กติ กุสลา กติ อกุสลา กติ อพฺยากตา (บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต) ดังนี้นั้น ในการวิสัชนา พระองค์ทรงยกธรรมที่ได้เท่านั้นขึ้นแสดง โดยนัยมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ อพฺยากโต (รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต) ดังนี้. ก็ในที่ใดๆ พระองค์ไม่ทรงกำหนดว่า เป็นขันธ์หนึ่งหรือขันธ์สอง ก็จะทรงตั้งตันติ (แบบแผน) ไว้โดยนัยมีอาทิว่า สิยา อุปฺปนฺนา สิยา อนุปปนฺนา (ขันธ์ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี) ดังนี้ในที่นั้นๆ พึงทราบการถือเอาขันธ์แม้ทั้ง ๕. การจำแนกกุศลเป็นต้นของขันธ์เหล่านั้นๆ ที่เหลือ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ (๑) ในหนหลังแล้วแล.

ก็ในอารัมมณิกะทั้งหลาย ขันธ์ ๔ ย่อมเป็นปริตตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็นปรารภกามาวจรธรรม ๕๕ ดวง เป็นมหัคคตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัดผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภรูปาวจรและอรูปาวจรธรรม ๒๗ ดวง และเป็นอัปปมาณารัมมณะ แก่บุคคลผู้พิจารณามรรค ผล และพระนิพพาน แต่เป็นนวัตตัพพารมณ์ ในเวลาพิจารณาบัญญัติ ฉะนี้แล.


(๑) อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 159

    ขันธ์ ๔ เหล่านั้นนั่นเอง เป็นมัคคารัมมณะในวลาที่พระเสขะและอเสขะพิจารณามรรค. เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหตุ) โดยเหตุที่เกิดพร้อมกันในกาลแห่งมรรค. เป็นมัคคาธิปติ โดยอารัมมณาธิปติ ในเวลาพิจารณาทำมรรคให้หนัก (เป็นใหญ่). อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ ๔ เป็นมัคคาธิปติ ด้วยอธิบดีที่เกิดพร้อมกันของบุคคลผู้เจริญมรรคมีวิริยะเป็นใหญ่ หรือมีวิมังสาเป็นใหญ่ แต่ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณะ แก่บุคคลผู้เจริญมรรคมีฉันทะเป็นใหญ่ หรือมีจิตเป็นใหญ่.

ก็ขันธ์ เป็นอตีตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะที่ล่วงแล้ว. เป็นอนาคตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัดเป็นผู้ปรารภธรรมมีขันธ์เป็นต้นที่ยังมาไม่ถึง. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ แก่บุคคลเหล่านั้นแหละผู้ปรารภธรรมเหล่านั้นแหละที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. เป็นนวัตตัพพารัมมณะ แก่บุคคลผู้พิจารณาบัญญัติ หรือพระนิพพาน.

อนึ่ง ขันธ์ ๔ พึงทราบว่าเป็นอัชฌัตตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะของตน เป็นพหิทธารัมมณะ แก่บุคคลผู้ปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะ ของบุคคลเหล่าอื่น เป็นไปอยู่อย่างนั้น เป็นพหิทธารัมมณะนั่นแหละ แม้ในกาลที่พิจารณาบัญญัติและพระนิพพาน เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ แก่บุคคลผู้ประพฤติอย่างนั้นในอัชฌัตตธรรมตามกาล ในพหิทธธรรมตามกาล เป็นนวัตตัพพารัมมณะ ในกาลแห่งอากิญจัญญายตนะ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 160

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจำแนกขันธ์วิภังค์นี้นำออก ๓ ปริวรรต (๑) ด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ก็ในปริวรรตแม้ทั้ง ๓ มีปริจเฉทเดียวเท่านั้น เพราะรูปขันธ์เป็นกามาวจรอย่างเดียวในที่ทั้งปวง ขันธ์ ๔ เป็นไปในภูมิ ๔ พระองค์ตรัสไว้ปะปนกันไปทั้งโลกิยะและโลกุตตระแล.

ขันธวิภังคนิเทศที่หนึ่ง

แห่งสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์ จบ


(๑) หมุนไป ๓ อย่าง.