พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อายตนวิภังค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.พ. 2565
หมายเลข  42060
อ่าน  1,098

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑

๒. อายตนวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

อายตนะ ๑๒ 97/161

อายตนวิภังคนิเทศ

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ 162

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ 163

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะ 166

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความมีเพียงเท่านั้น 167

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลําดับ 168

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยย่อและพิสดาร 169

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมพึงเห็น 170

อธิบายอายตนะโดยไตรลักษณ์ 171

อภิธรรมภาชนีย์

อายตนะ ๑๒ 99/ 177

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ 179

ปัญหาปุจฉกะ

อายตนะ ๑๒ 101/186

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา 186

ติกมาติกาวิสัชนา 102/186

ทุกมาติกาวิสัชนา 103/189

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ 198


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 77]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 161

๒. อาตนวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

    [๙๗] อายตนะ ๑๒ คือ

    ๑. จักขายตนะ

    ๒. รูปายตนะ

    ๓. โสตายตนะ

    ๔. สัททายตนะ

    ๕. ฆานายตนะ

    ๖. คันธายตนะ

    ๗. ชิวหายตนะ

    ๘. รสายตนะ

    ๙. กายายตนะ

    ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ

    ๑๑. มนายตนะ

    ๑๒. ธรรมายตนะ

    [๙๘] จักขุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา โสตะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา สัททะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฆานะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา คันธะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 162

ธรรมดา ชิวหา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา รส ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา กาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา โผฏฐัพพะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรวนไปเป็นธรรมดามโน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อายตนวิภังคนิเทศ (บาลีข้อ ๙๗)

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสุตตันตภาชนีย์ในอายตนนิเทศอันเป็นลำดับต่อจากขันธวิภังคนิเทศนั้นก่อน จึงตรัสพระบาลีว่า ทฺวาทสายตนานิ จกฺขฺวายตนํ รูปายตนํ (อายตนะ ๑๒ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ) เป็นต้น ในอายตนะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยบาลีมุตตกะก่อน.

อฺถลกฺขณตาวตฺถ กมสํเขปวิตฺถารา

ตถา ทฏฺพฺพโต เจว วิญฺาตพฺโพ วินิจฺฉโย

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉันโดยอรรถ ๑ โดยลักษณะ ๑ โดยความมีเพียงเท่านั้น ๑ โดยลำดับ ๑ โดยย่อ ๑ โดยพิสดาร ๑ โดยเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเห็น ๑.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 163

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

ในคำวินิจฉัยเหล่านั้น พึงทราบอรรถโดยแปลกกันก่อน.

๑. จกฺขตีติ จกฺขุ (๑) ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น อธิบายว่า ย่อมชอบ คือ ทำรูปให้แจ่มแจ้ง

๒. รูปยตีติ รูปํ ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมให้ปรากฏ อธิบายว่า รูปเมื่อถึงวิการแหงวรรณะ ย่อมแสดงภาวะของตนไปสู่หทัย.

๓. สุณาตีติ โสตํ ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน.

๔. สปฺปตีติ สทฺโท ชื่อว่า สัททะ เพราะอรรถว่า ออกไป คือ เปล่งออกไป.

๕. ฆายตีติ ฆานํ ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า สูดดม.

๖. คนฺธยตีติ คนฺโธ ชื่อว่า คันธะ เพราะอรรถว่า ส่งกลิ่น คือ ย่อมแสดงที่อยู่ของตนให้ปรากฏ.

๗. ชีวิตํ อวหานตีติ ชิวฺหา ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า นำมาซึ่งชีวิต.

๘. รสนฺติ ตํ สตฺตาติ รโส ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เป็นที่ยินดี คือ เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย.


(๑) จกฺขุวิญฺญาณธิฏฺฐิตํ หุติวา สมวิสมํ จกฺขติ อาจิกฺขนฺตํ วิย โหตีติ จกฺขุ แปลว่า รูปใดเป็น ที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ ย่อมเห็นประจักษ์ คือ ย่อมเป็นราวกะบอกอารมณ์ที่ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า จักขุ ได้แก่ จักขุปสาท หรือเรียกว่า ตา คำที่เป็นชื่อของตา มีมากเช่น จกฺขุ อกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหํ ปมุขํ ดังคาถาประพันธ์ไว้ว่า

จกฺขกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺิ ทสฺสนํ

เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหนฺตุ ปมุขนฺติ ปวุจฺจติ

(จากธาตุปฺปทีปิกา)

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 164

    ๙. กุจฺฉิตานํ สาสวธมฺมานํ อาโยติ กาโย ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นบ่อเกิดของธรรมมีอาสวะอันบัณฑิตเกลียด คำว่า อาโย คือ ที่เกิด.

    ๑๐. ผุสฺสิยตีติ โผฏฺพฺพํ ชื่อว่า โผฏัพพะ เพราะอรรถว่า อันกายย่อมถูกต้อง.

    ๑๑. มนุยตีติ มโน ชื่อว่า มนะ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้.

    ๑๒. อตฺตโน ลกฺขณํ ธารยตีติ ธมฺมา ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน.

    แต่เมื่อว่าโดยอรรถไม่แปลกกัน พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเครื่องต่อ (อายตนโต) ๑ เพราะการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย (อายานํ ตนนโต) ๑ เพราะนำไปสู่สังสารต่อไป (อายตสฺส จ นยนโต) ๑.

    จริงอยู่ ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูปเป็นต้น มีอธิบายไว้ว่า ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกมีอารมณ์ตามทวารนั้นๆ ย่อมเจริญขึ้นย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ ย่อมขยายไปด้วยกิจมีการเสวยอารมณ์เป็นต้นของตนๆ นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๑.

    ก็เมื่อธรรมอันเป็นอายะ (คือเป็นบ่อเกิดของอาสวะมีอยู่) ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นก็ย่อมแผ่ไป คือย่อมยังธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะนี้ให้กว้างขวาง นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๒.

    ก็อายตนะเหล่านั้นย่อมนำไป คือ ย่อมให้เป็นไปถ่ายเดียวสู่สังสารทุกข์อันยาวนานมาแต่อดีต เป็นไปล่วงไปในสังสารอันมีเงื่อนเบื้องต้นและที่สุดอันรู้ไม่ได้ ให้หวนกลับมิได้ นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๓. เพราะเหตุนั้น ธรรม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 165

เหล่านี้แม้ทั้งหมด จึงตรัสเรียกว่า ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเครื่องต่อ เพราะเป็นการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย และเพราะนำไปสู่สังสารอันยาวนานต่อไป.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่ เพราะอรรถว่า เป็นอากร (บ่อเกิด) เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม เพราะอรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่า เป็นการณะ.

จริงอย่างนั้น โวหารทางโลก เขาเรียก ที่อยู่อาศัย ว่า อายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อิสฺสรายตนํ (ที่อยู่ของพระอิศร) วาสุเทวายตนํ (ที่อยู่ของพระวาสุเทพ). อากรคือบ่อเกิด เรียกว่า อายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุวณฺณายตนํ (บ่อทอง) รตนายตนํ (บ่อรัตนะ). ก็โวหารในศาสนาเรียกที่ประชุม ว่า อายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า มโนรเม อายตเน เสวนฺติ นํ วิหงฺคมา (๑) (เมื่ออายตนะคือที่ประชุมอันเป็นที่รื่นเริงใจมีอยู่ พวกนกก็พากันไปอาศัยต้นไม้นั้น). ถิ่นที่เกิด เรียกว่า อายตนะเช่นในประโยคมีอาทิว่า ทกฺขิณาปโถ คุนฺนํ อายตนํ (ทักขิณาบถ คือทางทิศใต้ของอินเดีย เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย). การณะ เรียกว่า อายตนะเช่นในประโยคมีอาทิว่า ตตฺร ตเตฺรว สกฺขิภพฺพตํ ปาปฺณาติ สติ สติ อายตเน (๒) (เมื่ออายตนะคือเหตุเป็นเครื่องระลึกมีอยู่ เธอก็จะบรรลุผลในจตูปปาตญาณนั้นๆ โดยแน่นอน).

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นๆ ย่อมอาศัยอยู่ในอายตนะทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น เพราะความเป็นไปเนื่องด้วยจักขุเป็นต้นนั้น


(๑) อํ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒ ๓๘/๔๖

(๒) อํ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒ ๒๓/๒๐

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 166

เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า เป็นนิวาสถาน คือเป็นที่อยู่อาศัยของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จิตและเจตสิกเหล่านั้นเกลื่อนกล่นในอายตนะจักขุเป็นต้น เพราะอาศัยจักขุเป็นต้นนั้น และเพราะความที่มีรูปเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า เป็นอากร คือเป็นบ่อเกิดของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จักขุเป็นต้นชื่อว่า เป็นที่ประชุม (สโมสรณ์) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะเป็นที่ประชุมด้วยอำนาจเป็นวัตถุทวารและอารมณ์ในอายตนะนั้นๆ. อนึ่ง อายตนะมีจักขุเป็นต้น เป็นถิ่นเกิด ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะความเกิดขึ้นในอายตนะนั้นนั่นแหละ โดยความเป็นที่อาศัย (นิสสยปัจจัย) และเป็นอารมณ์ (อารัมมณปัจจัย) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง อายตนะมีจักขุเป็นต้น เป็นการณะ (เหตุ) ของจิต และเจตสิกเหล่านั้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้นไม่มีจิตและเจตสิกก็หามีไม่.

    ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า อายตนะ ด้วยเหตุแม้เหล่านั้น คือ เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัย เพราะอรรถว่า เป็นอากร เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม เพราะอรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น ว่าโดยอรรถตามที่กล่าวมา จักขุนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วยจึงชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ธรรมายตนะ.

    พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้ โดยอรรถอย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะ

    ก็ข้อว่า โดยลักษณะ นั้น คือ พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้โดยลักษณะแห่งอาตนะมีจักขุเป็นต้น ก็แต่ลักษณะนั้นของอายตนะมีจักขุ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 167

เป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิเทศแห่งรูปกัณฑ์ในหนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความมีเพียงเท่านั้น

ข้อว่า โดยความมีเพียงเท่านั้น ได้แก่ โดยความมีจำนวนเพียงเท่านั้น คำนี้ มีอธิบายว่า หากมีผู้สงสัยว่า ก็อายตนะแม้มีจักขุเป็นต้น ก็เป็นธรรมนั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์มิได้ตรัสว่า ธรรมอายตนะ เท่านั้น แต่ตรัสอายตนะ ๑๒ อย่าง ดังนี้ เพราะเหตุไร?

ข้อนี้ ควรแก้ความสงสัยว่า ที่ตรัสไว้ ๑๒ อย่าง เพราะทรงกำหนดทวารและอารมณ์ อันเป็นที่เกิดขึ้นแห่งวิญญาณกาย ๖ (๑)

จริงอยู่ ในอายตนวิภังค์ มีประเภทอายตนะเหล่านั้น โดยกำหนดความเป็นทวารและความเป็นอารมณ์ของวิญญาณกาย ๖ มีเพียงนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อายตนะมี ๑๒ ด้วยว่า จักขายตนะนั่นแหละเป็นทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายซึ่งนับเนื่องในวิถีของจักขุวิญญาณ และรูปายตนะนั่นแหละก็เป็นอารมณ์ อนึ่ง อายตนะนอกนี้เป็นทวารเกิดขึ้นแก่วิญญาณกายนอกนี้ แต่อายตนะที่เป็นเอกเทศแห่งมนายตนะกล่าวคือ ภวังคจิตนั้นเองเป็นทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายที่ ๖ และธรรมมายตนะ ที่ไม่ทั่วไปก็เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอายตนะไว้ ๑๒ เพราะกำหนดทวารและอารมณ์อันเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณกาย ๖ ไว้ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนั้นโดยความมีเพียงเท่านั้น อย่างนี้.


(๑) วิญญาณกาย คือ กองแห่งวิญญาณมี ๖ อย่าง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 168

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

ข้อว่า โดยลำดับ ความว่า ในบรรดาลำดับทั้งหลายมีลำดับแห่งการเกิดขึ้นเป็นต้นตามที่กล่าวไว้แล้วในก่อน (๑) ลำดับแห่งเทศนาเท่านั้นย่อมควรในอายตนวิภังค์แม้นี้. เพราะว่า บรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน จักขายตนะชื่อว่า ย่อมปรากฏ เพราะความมีรูปที่เห็นได้และกระทบได้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงแสดงจักขายตนะก่อน ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงโสตายตนะเป็นต้นซึ่งมีรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบได้เป็นอารมณ์.

อีกอย่างหนึ่ง ในบรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน พระองค์ทรงแสดงจักขายตนะและโสตายตนะก่อน เพราะความที่อายตนะทั้งสองนั้นเป็นธรรมมีอุปการะมากโดยเป็นเหตุให้เกิดทัศนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) และสวนานุตริยะ (การได้ฟังอันยอดเยี่ยม) ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงอายตนะ ๓ มีฆานายตนะเป็นต้น ในที่สุด ทรงแสดงมนายตนะไว้ เพราะความที่ธรรมแม้ทั้ง ๕ ก็เป็นอารมณ์เป็นที่เที่ยวไป (ของมนายตนะนั้ย).

อนึ่ง ในอายตนะทั้งหลายอันเป็นภายนอก พระองค์ทรงแสดงอายตนะมีรูปเป็นต้นในลำดับของอายตนะภายในนั้นๆ เพราะความเป็นอารมณ์ของจักขายตนะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบลำดับแห่งอายตนะเหล่านั้นอย่างนี้แหละ แม้โดยกำหนดเหตุเกิดขึ้นของวิญญาณ ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีที่ตรัสว่า


(๑) ท่านกล่าวลำดับไว้ ๕ คือ

๑. อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด

๒. ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ

๓. ปฏิปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการปฏิบัติ

๔. ภูมิกฺกโม ลำดับแห่งภูมิ

๕. เทศนากฺกโม ลำดับแห่งการเทศนา.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 169

จักขุวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยจักขุและรูป ฯลฯ มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย ดังนี้.

    พึงวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้โดยลำดับ อย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยย่อและพิสดาร

    ข้อว่า โดยย่อและโดยพิสดาร ความว่า ก็ เมื่อว่าโดยย่อ เพราะความที่มนายตนะและธรรมายตนะส่วนหนึ่ง พระองค์ทรงสงเคราะห์เข้าเป็นนาม อายตะที่เหลือจากนั้น ทรงสงเคราะห์เข้าเป็นรูป อายตนะแม้ทั้ง ๑๒ จึงเป็นเพียงนามกับรูปเท่านั้น แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร บรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน จักขายตนะ สักว่าเป็นเพียงเฉพาะจักขุปสาทด้วยสามารถแห่งการเกิดก่อน แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่งปัจจัย คติ นิกาย และบุคคล เป็นอนันตประเภท (มีประเภทหาขอบเขตมิได้) อายตนะ ๔ มีโสตายตนะเป็นต้นก็เป็นอนันตประเภทเหมือนกัน. มนายตนะมี ๘๑ ประเภท โดยประเภทแห่งกุศลวิญญาณ อกุศลวิญญาณ วิบากวิญญาณ กิริยาวิญญาณ ที่เป็นไปในภูมิ ๓ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่งวัตถุและปฏิปทาเป็นต้นก็เป็นอนันตประเภท. ว่าโดยประเภทแห่งสมุฏฐาน รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ มี ๔ ประเภท สัททายตนะ มี ๒ ประเภท, แต่เมื่อว่าโดยประเภทสภาคะและวิสภาคะแล้ว อายตนะแม้ทั้งหมดเป็นอนันตประเภท. โผฏฐัพพายตนะมี ๓ ประเภท ด้วยอำนาจแห่งปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แต่เมื่อว่าโดยสมุฏฐาน มี ๔ ประเภท เมื่อว่าโดยสภาคะและวิสภาคะเป็นอเนกประเภท. ธรรมายตนะเป็นอเนกประเภท ด้วยอำนาจแห่งธรรมารมณ์เป็นไปในภูมิ ๓ ฉะนี้แล.

    พึงทราบวินิจฉัยอายตนะโดยย่อและพิสดารอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 170

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมพึงเห็น

    ก็ในข้อว่า โดยเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเห็น นี้ ความว่า อายตนะทั้งหมดเหล่านั้นแหละ พึงเห็นโดยการยังไม่มาถึง (อนาคมนโต) และโดยการไม่ออกไป (อนิคฺคมนโต).

    จริงอยู่ อายตนะเหล่านั้นเมื่อก่อนแต่ผุดขึ้นย่อมมาจากที่ไหนๆ ก็หาไม่ แม้หลังจากความสลายแล้วจะไปสู่ที่ไหนๆ ก็หาไม่ โดยที่แท้ เมื่อก่อนแต่ผุดขึ้น อายตนะเหล่านั้นยังไม่ได้ภาวะของตนโดยเฉพาะ หลังจากสลายไปก็มีภาวะของตนแตกหมดแล้ว ถภาวะที่ไม่เป็นไปในอำนาจย่อมเป็นไปได้ ก็เพราะเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย ในเบื้องต้นเบื้องปลายและท่ามกลาง เพราะฉะนั้น พึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยการยังไม่มาถึง และโดยการไม่ออกไป.

    อนึ่ง พึงเห็นอายตนะเหล่านี้ โดยความไม่เคลื่อนไป (นิรีหโต) และไม่มีความพยายาม (อพฺยาปารโต) จริงอยู่ อายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูปเป็นต้นจะได้มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชื่อว่า วิญญาณพึงเกิดขึ้นเพราะพวกเราพบกัน ดังนี้ก็หาไม่ และอายตนะเหล่านั้นจะขวนขวายเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณโดยความเป็นทวาร โดยความเป็นวัตถุ หรือโดยความเป็นอารมณ์ก็หาไม่ คือไม่ต้องขวนขวายพยาม โดยที่แท้ มันเป็นเรื่องธรรมดาเท่านั้นที่จักขุวิญญาณเป็นต้น จะเกิดขึ้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุและรูปเป็นต้นพบกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยความไม่เคลื่อนไปและโดยความไม่มีความพยายาม.

    อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงเห็นอายตนะภายในเหมือนเรือนว่าง เพราะเว้นจากความยั่งยืน จากความงาม จากสุข และจากอัตภาพ พึงเห็นอายตนะภายนอกเหมือนพวกโจรปล้นชาวบ้าน เพราะกระทบอายตนะภายใน. ข้อนี้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 171

สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุถูกรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจกระทบ ดังนี้ บัณฑิตควรให้พิสดาร อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นอายตนะภายในเหมือนสัตว์ ๖ (๑) ชนิด พึงเห็นอายตนะภายนอก เหมือนที่เที่ยวหากินของสัตว์เหล่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนี้โดยเป็นธรรมพึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

อธิบายอายตนะโดยไตรลักษณ์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงแสดงอาการแห่งอายตนะเหล่านั้นอันบัณฑิตพึงเห็นแจ้งตามความเป็นจริง จึงเริ่มคำมีอาทิว่า จกฺขุํ อนิจฺจํ (จักขุไม่เที่ยง) ดังนี้.

บรรดาอายตนะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า จักขุ ชื่อว่า ไม่เที่ยง ด้วยอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ ดังนี้ก่อน. ชื่อว่า ความไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ อย่าง แม้อื่นอีก คือ โดยมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นที่สุด ๑ โดยความแปรปรวนไป ๑ โดยความเป็นของชั่วคราว ๑ โดยปฏิเสธความเที่ยง ๑.

จักขุนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น อีกอย่างหนึ่งจักขุนี้เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ (ฐิติ) เมื่อตั้งอยู่ ย่อมลำบากด้วยชรา ถึงชราแล้วย่อมแตกดับไปแน่แท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเหตุเหล่านี้ คือ โดยความเป็นของบีบคั้นเนืองๆ ๑ โดยความเป็นของทนได้ยาก ๑ โดยเป็นวัตถุตั้งแห่งทุกข์ ๑ โดยปฏิเสธความสุข ๑.

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ. อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้


(๑) สัตว์ ๖ ชนิด คือ งู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 172

คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึงการแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูง ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.

ที่ชื่อว่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะถึงความเสื่อม เพราะถึงการเลื่อนไปสู่ภพด้วยอำนาจไปๆ มาๆ เพราะละจากความเป็นปกติ. คำว่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดานี้ เป็นไวพจน์ของความไม่เทียงนั่นเอง. แม้ในอายตนะทั้งหลาย มีคำว่า รูปไม่เที่ยง เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในอายตนะเหล่านี้ ยกเว้นจักขุเสียแล้ว ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ไม่เที่ยง หาใช่จักขุไม่ (๑) แต่ว่า จักขุเป็นจักขุด้วย เป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วย ธรรมที่เหลือก็เหมือนกันเป็นทุกข์ หาใช่จักขุไม่ แต่จักขุเป็นจักขุด้วย เป็นทุกข์ด้วย ธรรมที่เหลือเป็นอนัตตา หาใช่จักขุไม่ แต่จักขุเป็นจักขุด้วย เป็นอนัตตาด้วย ฉะนี้แล. แม้ในรูปเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ก็ในสุตตันตภาชนีย์นี้ พระตถาคตทรงแสดงลักษณะอะไร.

ตอบว่า ทรงแสดงอนัตตลักษณะแห่งอายตนะ ๑๒ อย่าง.

จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงอนัตตลักษณะ ย่อมแสดงโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยทั้งความไม่เที่ยงและโดยความเป็นทุกข์บ้าง ในลักษณะทั้ง ๓ เหล่านั้น พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษณะ โดยความไม่เที่ยงในสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึง


(๑) อายตนะที่เป็นรูปมีจักขายตนะเป็นต้นไม่เกิดในอรูปภูมิ จึงไม่เห็นอายตนะที่เป็นรูปนั้น โดย ความเป็นอนิจจังเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 173

กล่าวว่าจักขุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นย่อมไม่ควร จักจุย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นของบุคคลนั้น ต้องกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป ฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่า จักขุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ดังนี้ จักขุเป็นอนัตตา (๑) ดังนี้.

พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษะโดยความเป็นทุกข์ ในสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ก็พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราจงอย่าเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่พึงได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษณะทั้งโดยไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ในพระสูตรทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมัปปัญญาตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา (๒) ดังนี้.

ถามว่า ทรงแสดงอย่างนี้ เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะความไม่เที่ยงและความทุกข์ปรากฏ.


(๑) ม. ยุ. เล่ม ๑๔, ๘๑๘/๕๑๒

(๒) สํ. ขนฺธวารวคฺค. เล่ม ๑๗, ๔๒/๒๘

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 174

    จริงอยู่ เมื่อถ้วยชาม หรือขัน หรือวัตถุอะไรๆ ตกจากมือแตกแล้ว ชนทั้งหลายย่อมพูดว่า โอ! มันไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้ ก็เมื่อฝีต่อมเป็นต้นตั้งขึ้นในอัตภาพแล้ว หรือว่าถูกตอหรือหนามทิ่มเอาแล้วก็ย่อมพูดว่า โอ! เป็นทุกข์ ทุกข์ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้.

    อนัตตลักษณะ ไม่ปรากฏ มืดมน ไม่แจ่มแจ้ง แทงตลอดได้โดยยาก แสดงได้โดยยาก ทำให้เข้าใจได้โดยยาก. แต่อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตามย่อมปรากฏ. อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้วย่อมไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปบาทเท่านั้น.

    จริงอยู่ ดาบสและปริพาชกทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแม้มีสรภังคศาสดาเป็นต้น ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้ แต่ไม่สามารถจะกล่าวว่า อนัตตา ได้ แม้ถ้าพวกดาบสเป็นต้นเหล่านั้นพึงสามารถกล่าวคำว่า อนัตตา ในบริษัทที่ประชุมกันแล้ว บริษัทที่ประชุมกันก็จะพึงแทงตลอดมรรคและผล เพราะการประกาศให้รู้อนัตตลักษณะไม่ใช่วิสัยของใครๆ อื่น เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้านั้น อนัตตลักษณะนี้จึงไม่ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะแสดงอนัตตลักษณะ จึงทรงแสดง โดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยทั้งความไม่เที่ยงทั้งความเป็นทุกข์บ้าง แต่ในอายตนวิภังค์นี้ พึงทราบว่า ทรงแสดงอายตนะนั้นทั้งโดยความไม่เที่ยง ทั้งโดยความเป็นทุกข์ ดังนี้.

ถามว่า ก็ลักษณะเหล่านี้ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการอะไร ไม่แทงตลอดอะไร และอันอะไรปิดปังไว้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 175

    ตอบว่า อนิจจลักษณะก่อน ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และเพราะสันตติปิดบังไว้. ทุกขลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความบีบคั้นเนืองๆ แต่เพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้. อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดการแยกธาตุต่างๆ และเพราะอันฆนสัญญาปกปิดไว้.

ก็พระโยคาวจรกำหนดความเกิดและความเสื่อม เพิกสันตติได้แล้ว อนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง มนสิการการบีบคั้นเนืองๆ สับเปลี่ยนอิริยาบถได้แล้ว ทุกขลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง เมื่อแยกธาตุต่างๆ แล้วทำการแยกความเป็นก้อน อนัตตลักษณะย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง.

อนึ่ง ในอธิการนี้ พึงทราบวิภาค (การจำแนก) นี้ คือ

    อนิจฺจํ (ความไม่เที่ยง) อนิจฺจลักฺขณํ (ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง) ทุกฺขํ (ความทุกข์) ทุกฺขลกฺขณํ (ลักษณะแห่งทุกข์) อนตฺตา (ไม่ใช่อัตตา) อนตฺตลกฺขณํ (ลักษณะแห่งอนัตตา).

บรรดาวิภาคทั้ง ๖ เหล่านั้น ค่าว่า อนิจจัง ได้แก่ ขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร? เพราะความที่ขันธ์ ๕ มีความแปรเปลี่ยนไปด้วยความเกิดและความเสื่อม หรือว่า เพราะมีแล้วกลับไม่มี. ความที่ขันธ์ ๕ มีความแปรเปลี่ยนไปด้วยความเกิดและความเสื่อม หรือว่า ความเปลี่ยนแปลงแห่งอาการ (ลักษณะ) กล่าวคือ เป็นแล้วกลับไม่เป็น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 176

    เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้น เป็นทุกข์ ดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะมีการบีบคั้นเนืองๆ อาการ (คือลักษณะ) ที่บีบคั้นเนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ.

    ก็เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า อนัตตา เพราะพระบาลีว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. อาการ (คือลักษณะ) ที่ไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ เพราะฉะนั้น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จึงเป็นอย่างหนึ่ง อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ จึงเป็นอย่างหนึ่ง.

    จริงอยู่ คำว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ นี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่วิการ (การเปลี่ยนแปลง) แห่งอาการ (ลักษณะ) มีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ฉะนี้แล.

    อนึ่ง ว่าโดยสังเขปในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะ ๑๒ เป็นกามาวจร อายตนะ ๑๒ (คือ มนายตนะ และธรรมายตนะ) เป็นไปในภูมิ ๓ วาระว่าด้วยการพิจารณา พึงทราบว่า ตรัสไว้ในอายตนะแม้ทั้งหมดแล. วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 177

อภิธรรมภาชนีย์

[๙๙] อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ

๒. โสตายตนะ

๓. ฆานายตนะ

๔. ชิวหายตนะ

๕. กายายตนะ

๖. มนายตนะ

๗. รูปายตนะ

๘. สัททายตนะ

๙. คันธายตนะ

๑๐. รสายตนะ

๑๑. โผฏฐัพพายตนะ

๑๒. ธรรมายตนะ.

[๑๐๐] ในอายตนะ ๑๒ นั้น

จักขายตนะ เป็นไฉน?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ (๑) นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขายตนะ

โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ เป็นไฉน?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายายตนะ.


(๑) ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณี ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 178

มนายตนะ เป็นไฉน?

มนายตนะหมวดละ ๑ คือ มนายตนะเป็นผัสสัมปยุต. มนายตนะหมวดละ ๒ คือ มนายตะ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. มนายตนะหมวดละ ๓ คือ มนายตนะ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ (๑) มนายตนะหมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนายตนะ.

รูปายตนะ เป็นไฉน?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ (๒) นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ.

สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน?

ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพาธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.

ธรรมายตนะ เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้นับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ.

ในธรรมายตนะนั้น เวทนาขันธ์เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ เป็นไฉน?

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

สังขารขันธ์ เป็นไฉน?


(๑) ความที่ ฯลฯ พึงดูในขันธวิภังค์ ข้อ (๗๔) เป็นลำดับไป

(๒) ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณี ข้อ (๕๒๑)

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 179

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.

รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ เป็นไฉน?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ.

อสังขตธาตุ เป็นไฉน?

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมายตนะ.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอายตนะทั้งหลายไว้ (ในสุตตันตภาชนีย์) ในหนหลัง โดยความเป็นอายตนะคู่ว่า จกฺขายตนํ รูปายตนํ (จักขายตนะ รูปายตนะ) ดังนี้เป็นต้น เพื่อประสงค์ทรงอุปการะพระโยคาจรทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา ฉันใด ในอภิธรรมภาชนีย์ มิได้ตรัสเหมือนอย่างนั้น เพื่อทรงประสงค์จะแสดงสภาวะแห่งอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก โดยอาการ (ลักษณะ) ทั้งปวง จึงตรัสโดยนัยแห่งการกำหนดอายตนะภายในและภายนอก อย่างนี้ว่า จกฺขุวายตนํ โสตายตนํ (จักขวายตนะ และโสตายตนะ) ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 180

ในนิเทศวารแห่งอายตนะเหล่านั้น พึงทราบคำว่า บรรดาอายตนะ๑๒ เหล่านั้น จักขายตนะเป็นไฉน เป็นต้นโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. แต่ในคำที่ตรัสไว้ในนิเทศแห่งธรรมายตนะว่า ตตฺถ กตมา อสํขตา ธาตุ ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย (ในอายตนะเหล่านั้น อสังขตธาตุ เป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ) ดังนี้เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้

บทว่า อสํขตา ธาตุ (อสังขตธาตุ) ได้แก่ พระนิพพานอันมีอสังขตะเป็นสภาวะ (คือเป็นธรรมอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้เป็นสภาวะ) แต่เพราะอาศัยพระนิพพานนี้ กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นย่อมสิ้นไป ฉะนั้นจึงตรัสว่า ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ควานสิ้นไปแห่งโมหะ ดังนี้. นี้เป็นคำอธิบายเนื้อความที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายในนิเทศอภิธรรมภาชนีย์นี้.

แต่อาจารย์วิตัณฑวาที่กล่าวว่า ธรรมดาว่า นิพพานเฉพาะอย่างไม่มี มีแต่นิพพาน คือความสิ้นไปแห่งกิเลสเท่านั้น ดังนี้. แต่เมื่อมีผู้ท้วงว่า ขอจงนำสูตรมา ดังนี้ ก็จะอ้างชัมพุขาทกสูตรนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรที่เรียกว่า นิพพาน นิพพาน ดังนี้ อาวุโส นิพพานเป็นไฉน ดังนี้ อาวุโสความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะอันใด นี้เรียกว่า นิพพานดังนี้ แล้วกล่าวคำที่ควรกล่าวโดยสูตรนี้ว่า ธรรมดาว่า นิพพานเฉพาะอย่างไม่มี มีแต่นิพพานคือความสิ้นกิเลสเท่านั้น ดังนี้.

พึงโต้ท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ก็เนื้อความนั้นเหมือนกับสูตรนี้หรือ แน่ละท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีจักตอบว่าใช่ เนื้อความที่พ้นจากสูตรไปมิได้มีดังนี้.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 181

ลำดับนั้น พึงกล่าวกะท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า สูตรนี้ท่านอ้างมาก่อน ขอให้นำสูตรถัดไปมาแสดง ดังนี้ ท่านอาจารย์วิตัณฑวาที จึงนำชื่อสูตรที่ถัดไปแห่งสูตรนั้น มาแสดงอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัต อรหัต ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส อรหัต เป็นไฉน? ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อรหัต ดังนี้.

เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีนำสูตรนี้มา ชนทั้งหลายก็จะกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ธรรมนับเนื่องด้วยธรรมายตนะ ชื่อว่า นิพพาน นามขันธ์ ๔ ชื่อว่า พระอรหัต พระธรรมเสนาบดีผู้กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานอยู่ เมื่อมีผู้ถามถึงพระนิพพานบ้าง ถามถึงพระอรหัตบ้าง ก็กล่าวถึงความสิ้นกิเลสเท่านั้น ก็นิพพานและพระอรหัต เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร นิพพานเป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน จงยกไว้ ในที่นี้เนื้อความที่ท่านทำให้ละเอียดเกินไป มีความประสงค์อะไร ท่านไม่รู้พระนิพพานเป็นอย่างเดียว หรือว่าต่างกันดอกหรือ เมื่อท่านรู้แล้วก็เป็นการดีมิใช่หรือ ท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีถูกถามบ่อยๆ อย่างนี้ ก็ไม่อาจกล่าวให้ผิดไปจากความจริง ก็จะกล่าวว่าพระอรหัต พระองค์ก็ตรัสว่า ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ เพราะความที่พระอรหัตนั้นเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นราคะเป็นต้น ดังนี้.

ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็จะกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ท่านเอาใหญ่แล้ว แม้ทำความหมายให้พูดอย่างนั้น แต่กลับไปพูดเสียอย่างนี้ทีเดียว ก็พระนิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกตรัสไว้ ฉันใด ท่านจงกำหนดพระนิพพานแม้นี้ ฉันนั้นเถิด เพราะอาศัยพระนิพพานแล้ว ราคะเป็นต้นย่อมสิ้นไป เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า นิพพาน คือความสิ้นราคะ คือความสิ้น

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 182

โทสะ คือความสิ้นโมหะ ดังนี้ เพราะคำแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น ก็เป็นชื่อของพระนิพพานเหมือนกัน ดังนี้.

ถ้ากล่าวอย่างนี้ปรับความเข้าใจกันได้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่เข้าใจก็พึงให้กระทำสภาวะเป็นนิพพานมากมาย ทำอย่างไร? คือ พึงถามอย่างนี้ก่อนว่า ชื่อว่า ความสิ้นราคะ เป็นควานสิ้นไปแห่งราคะอย่างเดียว หรือเป็นการสิ้นไปแม้แห่งโทสะและโมหะ ชื่อว่า ความสิ้นโทสะ เป็นการสิ้นไปแห่งโทสะอย่างเดียว หรือว่าเป็นความสิ้นไปแม้แห่งราคะและโมหะ ชื่อว่า ควานสิ้นโมหะ เป็นการสิ้นไปแห่งโมหะอย่างเดียว หรือเป็นการสิ้นไปแม้แห่งราคะและโทสะ ดังนี้.

แน่นอนอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นจักกล่าวว่า ชื่อว่า ความสิ้นราคะ เป็นการสิ้นเฉพาะราคะ ชื่อว่า ความสิ้นโทสะ เป็นการสิ้นเฉพาะโทสะชื่อว่า ความสิ้นโมหะ เป็นการสิ้นเฉพาะโมหะ ดังนี้.

ลำดับนั้น พึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ในวาทะของท่าน ความสิ้นราคะเป็นนิพพานหนึ่ง ความสิ้นโทสะเป็นนิพพานหนึ่ง ความสิ้นโมหะเป็นนิพพานหนึ่ง เมื่อสิ้นอกุศลมูล ๓ อย่าง นิพพานก็มี ๓ อย่าง เมื่อสิ้นอุปาทาน ๔ อย่าง ก็มีนิพพาน ๔ อย่าง เมื่อสิ้นนิวรณ ๕ อย่าง ก็มีนิพพาน ๕ อย่าง เมื่อสิ้นกองแห่งตัณหา ๖ ก็มีนิพพาน ๖ อย่าง เมื่อสิ้นอนุสัย ๗ อย่างก็มีนิพพาน ๗ อย่าง เมื่อสิ้นมิจฉัตตะ ๘ อย่าง ก็มีนิพพาน ๘ อย่าง เมื่อสิ้นธรรมอันเป็นมูลแห่งตัณหา ๙ อย่าง ก็มีนิพพาน ๙ อย่าง เมื่อสิ้นสังโยชน์๑๐ อย่าง ก็มีนิพพาน ๑๐ อย่าง เมื่อสิ้นกิเลส ๑,๕๐๐ อย่าง นิพพานก็มีแต่ละอย่างๆ เพราะฉะนั้น นิพพานจึงมาก. ก็นิพพานของท่านไม่มีประมาณดังนี้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 183

ก็ท่านไม่ถือเอาอย่างนี้ แต่จงถือเอาว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นอาศัยพระนิพพานแล้วก็สิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงมีอย่างเดียวเท่านั้น คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ดังนี้ เพราะคำแม้ทั้ง ๓ นี้ก็เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นเทียว

ก็ถ้าว่าเมื่อชนเหล่าอื่นแม้กล่าวอย่างนี้แล้ว อาจารย์วิตัณฑวาทีก็ยังกำหนดไม่ได้ ก็พึงทำการอธิบายพระนิพพานโดยเปรียบกับของหยาบๆ อธิบายอย่างไร คือว่าสัตว์ผู้โง่เขลาแม้มี เสือเหลือง เนื้อ และลิงเป็นต้น ถูกกิเลสกลุ่มรุมแล้วย่อมเสพวัตถุ (เมถุน) เมื่อถึงที่สุดแห่งการเสพของสัตว์เหล่านั้น กิเลสทั้งหลายก็สงบ ในวาทะของท่าน พวกสัตว์มีหมี เสือเหลือง เนื้อ และลิงเป็นต้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพระนิพพานแล้ว นิพพานของท่านหยาบหนอ เป็นของหยาบช้า ใครๆ ไม่อาจเพื่อประดับแม้ที่หูได้.

ก็ท่านไม่ถือเอาอย่างนี้ แต่จงถือเอาว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นอาศัยพระนิพพานแล้วก็สิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงมีอย่างเดียวเท่านั้น คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ดังนี้ เพราะคำแม้ทั้ง ๓ นี้ก็เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นเทียว

ก็ถ้าว่า กล่าวแล้วอย่างนี้แล้ว อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นยังกำหนดไม่ได้ ก็ควรอธิบาย แม้ด้วยโคตภู อธิบายอย่างไร? คือว่า พึงถามอาจารย์วิตัณฑวาทีอย่างนี้ก่อนว่า ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า โคตรภูมีอยู่หรือ อาจารย์วิตัณฑวาทีก็จะตอบว่า ใช่ผมย่อมกล่าวดังนี้ แล้วจึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ในขณะแห่งโคตรภู กิเลสทั้งหลายสิ้นไปแล้ว หรือกำลังสิ้น หรือจักสิ้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 184

อาจารย์วิตัณฑวาทีก็จะกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป มิใช่กำลังสิ้นไป ก็แต่ว่าจักสิ้นไป ดังนี้. ถามอีกว่า ก็โคตรภูมีอะไรเป็นอารมณ์ ตอบว่า มีนิพพานเป็นอารมณ์. ในขณะโคตรภูของท่าน กิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป มิใช่กำลังสิ้น โดยที่แท้จักสิ้น เมื่อกิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป ท่านย่อมบัญญัติความสิ้นไปแห่งกิเลสว่าเป็นนิพพาน เมื่อยังไม่ได้ละอนุสัย ท่านย่อมบัญญัติการละอนุสัยว่าเป็นนิพพาน คำนั้นๆ ของท่านไม่สมกัน.

ก็ท่านไม่ถือเอาอย่างนี้ แต่จงถือเอาว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นอาศัยพระนิพพานแล้วก็สิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงมีอย่างเดียวเท่านั้น คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ดังนี้ เพราะคำแม้ทั้ง ๓ นี้ก็เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นเทียว

ก็ถ้าเขากล่าวแม้อย่างนี้ อาจารย์วิตัณฑวาทีก็ยังกำหนดไม่ได้ ก็ควรทำอธิบาย ด้วยมรรค อธิบายอย่างไง? คือพึงถามท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีอย่างนี้ก่อนว่า ท่านกล่าวชื่อว่ามรรค หรือ? ท่านก็จะตอบว่า ใช่ เราย่อมกล่าวดังนี้. ถามอีกว่า ในขณะแห่งมรรค กิเลสทั้งหลายสิ้นไปแล้ว หรือกำลังสิ้น หรือจักสิ้น ดังนี้.

เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้ ก็จักตอบว่า ในขณะแห่งมรรคไม่ควรจะกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว หรือว่า จักสิ้น แต่ควรจะกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายกำลังสิ้นไป ดังนี้. พึงกล่าวว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น พระนิพพานอันยังกิเลสให้สิ้นไปแห่งมรรคเป็นไฉน กิเลสที่สิ้นไปด้วยมรรคเป็นไฉน มรรคกระทำพระนิพพานซึ่งเป็นที่สิ้นกิเลสให้เป็น

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 185

อารมณ์ แล้วยังกิเลสเหล่าไหนให้สิ้นไป เพราะฉะนั้นท่านอย่าถือเอาอย่างนี้เลย ก็กิเลสมีราคะเป็นต้นสิ้นไปเพราะอาศัยพระนิพพาน เพราะฉะนั้น จะต้อง กล่าวว่า พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ คำแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้นก็เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น ดังนี้.

เมื่อท่านสกวาทีกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านวิตัณฑวาทีก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านย่อมกล่าวว่า อาศัย อาศัย (พระนิพพาน) ดังนี้หรือ? ท่านสกวาทีตอบว่า ใช่ กระผมย่อมกล่าว ดังนี้. ถามอีกว่า คำว่า ชื่อว่า อาศัย ดังนี้ นี้ท่านได้มา จากไหน ท่านก็จะตอบว่า ได้มาจากพระสูตร. ขอท่านจงนำสูตรมา. จึงนำสูตร มาว่า อวิชชา และตัณหาอาศัยพระนิพพานแล้วหักไปในพระนิพพานนั้น สิ้นไปในนิพพานนั้น จะไม่ถึงความเป็นอะไรๆ ในที่ไหนๆ เมื่อท่านสกวาทีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปรวาที (ผู้มีวาทะในลัทธิภายนอกพระศาสนา) ก็จะถึงความเป็นผู้ดุษณีภาพแล.

แม้ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ อายตนะ ๑๐ เป็นกามาวจร ส่วนอายตนะ ๒ พึงทราบว่า เป็นไปในภูมิ ๔ คือระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ฉะนี้แล.

วรรณนา อภิธรรมภาชนีย์ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 186

ปัญหาปุจฉกะ

[๑๐๑] อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ

๒. รูปายตนะ

ฯลฯ

๑๑. มนายตนะ

๑๒. ธรรมายตนะ.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอายตนะ ๑๒ อายตนะไหนเป็นกุศล อายตนะไหนเป็นอกุศล อายตนะไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อายตนะไหนเป็นสรณะ อายตนะไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๑๐๒] อายตนะ ๑๐ (คือโอฬาริกายตนะ ๑๐) เป็นอัยพากฤต อายตนะ ๒ (คือ มนายตนะ ธรรมายตนะ) เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต มนายตนะ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ธรรมายตนะเป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนว-

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 187

วิปากนวิปากธัมมธรรม อายตนะ ๒ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี

อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ สัททายตนะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อายตนะ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๒ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทนิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอสังกิสิฏฐสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิกฐาสังกิเลสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกาวิจาระ มนายตนะ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี ธรรมายตนะ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ อายตนะ ๒ เป็น ปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนเนนภาวนายปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี อายตนะ ๒ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวเสกขนา-

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 188

เสกขะ อายตนะ ๒ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปริตตะ อายตนะ ๒ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็น อัปปมาณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นปริตตารัมมณะ ก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้ เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นมัชฌิมะ อายตนะ ๒ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยตะ อายตนะ ๒ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี

อายตนะ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ สัททายตนะ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที อายตนะ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ธรรมายตนะ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปปันนะ แม้เป็นอนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาทีก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี ธรรมายตนะ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบันก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี อายตนะ ๑๒ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็น

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 189

อัชฌัตตพหิทธาก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นอัชฌัตตา- รัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตต- พหิทธารัมมณะก็มี รูปายตนะ เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะ อายตนะ ๙ เป็น อนิทัสสนสัปปฏิฆะ อายตนะ ๒ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๓] อายตนะ ๑๑ เป็นนเหตุ ธรรมายตนะ เป็นเหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเหตุวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธรรมายตนะ เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธรรมายตนะ เป็นเหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนเหตุอเหตุกะ มนายตนะ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี ธรรมายตนะ เป็น

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 190

นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๑๐๔] อายตนะ ๑๑ เป็นสัปปัจจยะ ธรรมายตนะ เป็นสัปปัจจยะ ก็มี เป็นอัปปัจจยะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นสังขตะ ธรรมายตนะ เป็นสังขตะก็มี เป็นอสังขตะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นอนิทัสสนะ รูปายตนะ เป็นสนิทัสสนะ อายตนะ ๑๐ เป็นสัปปฏิฆะ อายตนะ ๒ เป็นอัปปฏิฆะ อายตนะ ๑๐ เป็นรูป มนายตนะ เป็นอรูป ธรรมายตนะ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี อายตนะ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตระก็มี อายตนะ ๑๒ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๕] อายตนะ ๑๑ เป็นโนอาสวะ ธรรมายตนะ เป็นอาสวะก็มี เป็นโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสาสวะ อายตนะ ๒ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอาสววิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ธรรมายตนะ เป็นอาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 191

อาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี ธรรมายตนะ เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น อาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ อายตนะ ๒ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๖] อายตนะ ๑๑ เป็นโนสัญโญชนะ ธรรมายตนะ เป็นสัญโญชนะก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนิยะ อายตนะ ๒ เป็น สัญโญชนิยะก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธรรมายตนะ เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี ธรรมายตนะ เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็น สัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชน

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 192

สัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ อายตนะ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุคตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี.

๕. คันถโตจฉกวิสัชนา

[๑๐๗] อายตนะ ๑๑ เป็นโนคันถะ ธรรมายตนะ เป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นคันถนิยะ อายตนะ ๒ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นคันถวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี ธรรมายตนะ เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสมัปยุตตโนคันถะก็มี ธรรมายตนะ เป็นคันถคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี อายตนะ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ อายตนะ ๒ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 193

๖.-๗.-๘. โอฆโคจฉกกาทิวิสัชนา

[๑๐๘] อายตนะ ๑๑ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อายตนะ ๑๑ เป็นโนโยคะ ฯลฯ อายตนะ ๑๐ เป็นโนนีวรณะ ธรรมายตนะ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณิยะ อายตนะ ๒ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณวิปปยุต อายคนะ ๒ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธรรมายตนะ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโหนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธรรมายตนะ เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ อายตนะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุคตตอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๙] อายตนะ ๑๑ เป็นโนปรามาสะ ธรรมายตนะ เป็นปรามาสะก็มี เป็นโนปรามาสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามัฏฐะ อายตนะ ๒ เป็น

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 194

ปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรามัฏฐะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามาสวิปปยุต มนายตนะ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ธรรมายตนะ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ธรรมายตนะ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามาลวิปปยุตตปรามัฏฐะ อายตนะ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปุยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา

[๑๑๐] อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ มนายตนะ เป็นสารัมมณะ ธรรมายตนะ เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี มนายตนะ เป็นจิตตะ อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตะ อายตนะ ๑๑ เป็นอเจตสิกะ ธรรมายตะ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นจิตตวิปปยุต ธรรมายตนะ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุตก็มี มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต อายตนะ ๑๐ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธรรมายตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ อายตนะ ๖ เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ อายตนะ ๖ เป็นจิตตสุฏฐะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี อายตนะ ๑๑

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 195

เป็นโนจิตตสหภู ธรรมายตนะ. เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตานุปริวัตติ ธรรมายตนะ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ธรรมายตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสังสัฉฐสมุฏฐานสหภู ธรรมายตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ธรรมายตนะ เป็นนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานุปริวัตติก็มี อายตนะ ๖ เป็นอัชฌัตติกะ อายตนะ ๖ เป็นพาหิระ อายตนะ ๙ เป็นอุปาทา อายตนะ ๒ เป็นนอุปาทา ธรรมายตนะ เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนะ สัททายตนะ เป็นอนุปาทินนะ อายตนะ ๖ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนาก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๑๑๑] อายตนะ ๑๑ เป็นนอุปาทานะ ธรรมายตนะ เป็นอุปาทานะก็มี เป็นนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานิยะ อายตนะ ๒ เป็นอุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธรรมายตนะ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 196

อุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี ธรรมายตนะ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ อายตนะ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

[๑๑๒] อายตนะ ๑๑ เป็นโนกิเลสะ ธรรมายตนะ เป็นกิเลสะก็มี เป็นโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิเลสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอสังกิลิฏฐะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกิเลสวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็น สังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธรรมายตนะ เป็นกิเลสสังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น กิเลสสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี ธรรมายตนะ เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิกฐโนกิเลสะก็มี

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 197

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธรรมายตนะ เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นกิเสสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๑๑๓] อายตนะ ๑๐ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนายปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๒ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกะ อายตนะ ๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิจาระ อายตนะ ๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอัปปีติกะ อายตนะ ๒ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนปีติสหคตะ อายตนะ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนสุขสหคตะ อายตนะ ๒

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 198

เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนอุเปกขาสหคตะ อายตนะ ๒ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกามาวจร อายตนะ ๒ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนรูปาวจร อายตนะ ๒ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนอรูปาวจระ อายตนะ ๒ เป็นอรูปาวจระก็มี เป็นอรูปาวจรก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปริยาปันนะ อายตนะ ๒ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยยานิกะ อายตนะ ๒ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยตะ อายตนะ ๒ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสอุตตระ อายตนะ ๒ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอรณะ อายตนะ ๒ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อายตนวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาทางปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ แม้ในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะใดที่ได้ อายตนะใดที่ไม่ได้ พระองค์ตรัสถามอายตนะนั้นทั้งหมดแล้วทรงวิสัชนาด้วยสามารถแห่งอายตนะที่ได้เท่านั้น มิใช่แต่ในที่นี้อย่างเดียว ในปัญหาปุจฉกะแม้ทั้งหมดก็นัยนี้แหละ.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 199

ก็ในอายตนะทั้งหมดในที่นี้ พึงทราบความที่อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากตะโดยความเป็นรูป พึงทราบความที่อายตนะ ๒ เป็นกุศลเป็นต้น เหมือนขันธ์ ๔ ในขันธวิภังค์ เพราะขันธ์ ๔ เป็นธรรมมีปัจจัยด้วยเป็นสังขตะด้วยทั้งหมดทีเดียว แต่ธรรมายตนะมาแล้วว่า พึงเป็น อปัจจัยก็มี พึงเป็น อสังขตะ ก็มี ดังนี้.

อนึ่ง ในอารัมมณติกะ ธรรมายตนะเป็นอนารัมมณะ คือ เป็นสุขุมรูป ย่อมเข้ากันกับส่วนแห่งอารมณ์ที่เป็น นวัตตัพพารัมมณะ (อารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว) ก็ความแปลกกันในอายตนวิภังค์นี้ ดังนี้ คือ ธรรมายตนะนั้นแล เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และธรรมารมณ์ที่เป็นนวัตตัพพารัมมณะ (คือเป็นอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) โดยไม่เป็นปริตตารมณ์เป็นต้น. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันทีเดียว.

อายตนะ ๒ แม้ในที่นี้ก็เหมือนขันธ์ ๔ คือคำทั้งหมดว่า เมื่อบุคคลผู้มีจิตยินดี ผู้มีจิตประทุษร้าย ผู้มีจิตลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็นมีอยู่ ปริตตารมณะก็ปรารภกามาวจรธรรม ๕๕ เป็นไป ดังนี้ เป็นเช่นดังคำที่กล่าวไว้ในขันธ์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.

อายตนวิภังคนิเทศ ที่ ๒ จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง