พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สัจจวิภังค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.พ. 2565
หมายเลข  42062
อ่าน  1,003

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑

๔. สัจจวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

อริยสัจ ๔ 144/281

ทุกขอริยสัจ 145/281

ทุกขสมุทยอริยสัจ 158/285

ทุกขนิโรธอริยสัจ 160/287

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ 162/290

สัจจวิภังคนิเทศ

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ 292

ว่าด้วยอุเทศวาร 292

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิภาค 293

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิเคราะห์ศัพท์ 294

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น 297

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ 297

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยถอดความ 300

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง 301

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลําดับ 302

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจแห่งญานในอริยสัจ 303

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอุปมา 305

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยจตุกกะ (หมวด ๔) 306

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง) 307

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น 309

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสภาคะและวิสภาคะ 313

วรรณนานิเทศวาร 315

ว่าด้วยทุกขอริยสัจ 315

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยสมมติกถา 317

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยปรมัตถกถา 319

พึงทราบอรรถแห่งชาติเป็นทุกข์ 320

ว่าด้วยทุกข์มีการบริหารครรภ์เป็นมูล 321

ว่าด้วยทุกข์มีความวิบัติแห่งครรภ์เป็นมูล 322

ว่าด้วยทุกข์มีการคลอดเป็นมูล 322

ว่าด้วยทุกข์มีการออกนอกครรภ์เป็นมูล 322

ว่าด้วยทุกข์มีความพยายามของตนเป็นมูล 322

ว่าด้วยทุกข์มีความพยายามของผู้อื่นเป็นมูล 323

ว่าด้วยนิเทศชรา 326

ว่าด้วยชรา ๒ อย่าง 327

พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ 329

ว่าด้วยนิเทศมรณะโดยสมมติ 330

ว่าด้วยนิเทศมรณะโดยปรมัตถ์ 331

พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์ 333

ว่าด้วยทุกข์ทั้ง ๓ ดังข้าศึก ๓ คน 334

ว่าด้วยนิเทศโสกะ 335

พึงทราบอรรถแห่งความโศกเป็นทุกข์ 337

ว่าด้วยนิเทศปริเทวะ 338

พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์ 339

พึงทราบอรรถแห่งทุกข์เป็นทุกข์เป็นต้น 340

ว่าด้วยนิเทศอุปายาส 342

พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์ 342

ว่าดวยการเปรียบทุกข์ ๓ อย่าง 343

ว่าด้วยนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์ 343

ว่าด้วยนิเทศวิปปโยคทุกข์ 346

ว่าด้วยนิเทศอิจฉา 347

ว่าด้วยนิเทศอุปทานขันธ์ 349

พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์ 350

วรรณนานิเทศวาร 357

ว่าด้วยสมุทยสัจจะ 357

วรรณนานิเทศวาร 354

ว่าด้วยนิโรธสัจจะ 354

ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน ๒๖ 356

วรรณนานิเทศวาร 359

ว่าด้วยมรรคสัจจะ 359

ว่าด้วยธรรม ๘ โดยลําดับ 361

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ 363

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ 365

กรรมฐานที่เป็นข้าศึกต่ออกุศลวิตก ๓ 367

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาวาจา 368

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมากัมมันตะ 368

ว่าด้วยนิเทศสัมมาอาชีวะ 369

ว่าด้วยนิเทศสัมมาวายามะเป็นต้น 369

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ 385

ว่าด้วยวินิจฉัยในนิเทศวาร 386

ว่าด้วยปฏิปทาที่ประกอบด้วยองค์มรรค ๕ เป็นต้น 386

ว่าด้วยปฏิปทา ๖๐,๐๐๐ นัย 387

ปัญหาปุจฉกะ

อริยสัจ ๔ 223/388

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา 388

ติกมาติกาวิสัชนา 224/388

ทุกมาติกาวิสัชนา 225/391

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ 400


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 77]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 281

๔. สัจจวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๑๔๔] อริยสัจ ๔ คือ

๑. ทุกขอริยสัจ

๒. ทุกชสมุทัยอริยสัจ

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ทุกขอริยสัจ

[๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน?

ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปีเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

[๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งถึง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะอายตนะในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชาติ.

[๑๔๗] ชรา เป็นไฉน?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่ครำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 282

[๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน?

ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ.

[๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน?

ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ.

[๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน?

ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพูดพร่ำ ความพร่ำเพ้อ ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถุกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ.

[๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน?

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 283

[๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน?

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

[๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน?

ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรคความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส.

[๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ (ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์) เป็นไฉน?

ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความทำร่วม กับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผกฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยคะของเขา นี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์.

[๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ (ความพรัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์) เป็นไฉน?

ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งแต่ความเจริญ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 284

ใคร่แต่ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขาได้แก่ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต นี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์.

[๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ (ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์) เป็นไฉน?

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า เออหนอ ของเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ ประการหนึ่ง.

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าพวกสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ ประการหนึ่ง.

[๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน?

รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 285

ทุกขสมุทยอริยสัจ

[๑๕๘] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน?

ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

[๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน?

ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก?

จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้.

รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้

จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนี้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 286

จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้.

รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญาฯสฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้

รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฎฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้.

รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 287

ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้

รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ โผฎฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้

รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ทุกขนิโรธอริยสัจ

[๑๖๐] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน?

ได้แก่ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว.

[๑๖๑] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน? เมื่อดับ ดับที่ไหน?

ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก?

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 288

จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนนี้

รูป เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมารมณ์ เมื่อดับก็ดับที่ ธัมมารมณ์นี้.

จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุวิญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนวิญญาณนี้

จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสนี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสชาเวทนานี้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 289

รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมสัญญานี้.

รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมสัญเจตนานี้

รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมตัณหานี้.

รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิตกนี้

รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิจารนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 290

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

[๑๖๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน?

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

[๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน?

ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๑๖๕] สัมมาวาจา เป็นไฉน?

ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความเว้นจากการพูดส่อเสียด ความงดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

[๑๖๖] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน?

ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

[๑๖๗] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน?

บุคคลผู้อริสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

[๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 291

เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๑๖๙] สัมมาสติ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิต เนืองๆ อยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานอันยังใจให้ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ ตติยฌาน พึงเป็นฌานที่พระอริยทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอ ยู่เป็นสุขอยู่ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 292

เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

๔. สัจจวิภังคนิเทศ (๑)

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

ว่าด้วยอุเทศวาร

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัจจวิภังค์ในลำดับแห่งธาตุวิภังค์ต่อไป บทว่า จตฺตาริ (๔) เป็นคำกำหนดจำนวน. บทว่า อริยสจฺจานิ (อริยสัจ) เป็นคำแสดงไขธรรมที่กำหนดไว้. ก็พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศวารมีคำว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ (ทุกขอริยสัจ) เป็นต้น.

วิภาคโต นิพฺพจน ลกฺขณาทิปฺปเภทโต

อตฺถตฺถุทฺธารโต เจว อนูนาธิกโต ตถา

กมโต อริยสจฺเจสุ ยํ ญาณํ ตสฺส กิจฺจโต

อนฺโตคธานํ ปเภทา อุปมาโต จตุกฺกโต

สุญฺเตกวิธาทีหิ สภาควิสภาคโต

วินิจฺฉโย เวทิตพฺโพ วิญฺญุนา สาสนกฺกเม


(๑) บาลีข้อ ๑๔๔

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 293

บัณฑิตผู้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยในลำดับคำสอน โดยวิภาค ๑ โดยวิเคราะห์ศัพท์ ๑ โดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น ๑ โดยอรรถ ๑ โดยถอดความ ๑ โดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง ๑ โดยลำดับ ๑ โดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ ๑ โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลง ภายใน ๑ โดยอุปมา ๑ โดยจตุกกะ (หมวด๔) ๑ โดยสุญญตา (ว่าง) ๑ โดยเป็นธรรมอย่างเดียวกันเป็นต้น ๑ โดยสภาคะและวิสภาคะ ๑.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิภาค

บรรดาอุเทศเหล่านั้น คำว่า โดยวิภาค ได้แก่ อรรถแห่งอริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น พระองค์ทรงจำแนกไว้สัจจะละ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ที่กุลบุตรผู้จะตรัสรู้ทุกข์เป็นต้น พึงตรัสรู้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า (๑) ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร อรรถ ๔ แห่งทุกข์นี้ เป็นอรรถของทุกข์ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัย มีอรรถว่าประมวลมา มีอรรถว่าเป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล มีอรรถว่าประกอบไว้ มีอรรถว่าเป็นเครื่องกังวล ฯลฯ นิโรธ มีอรรถว่าสลัดออก มีอรรถว่าสงัด มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ มีอรรถว่าเป็นอมตะ ฯลฯ มรรค มีอรรถว่าการนำออก มีอรรถว่าเป็นเหตุ มีอรรถว่าเป็นทัสสนะ (เห็น) มีอรรถว่าเป็นอธิบดี อรรถ ๔


(๑) ขุ. ป. เล่ม ๓๑ ๕๔๕/๔๔๙

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 294

แห่งมรรคนี้เป็นอรรถของมรรค เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้.

อนึ่ง พระบาลีมีอาทิอย่างนี้ว่า ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร เป็นอรรถที่ควรตรัสรู้ ดังนี้ พึงทราบสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอรรถสัจจะอย่างละ ๔ ตามที่ทรงจำแนกไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิภาคก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิเคราะห์ศัพท์

ก็ในข้อว่า โดยวิเคราะห์ศัพท์ และประเภทมีลักษณะเป็นต้น นี้ พึงทราบสัจจะโดยวิเคราะห์ศัพท์ก่อน.

ในบทว่า ทุกฺขํ นี้ ศัพท์ว่า ทุ นี้ย่อมแสดงความน่าเกลียด จริงอยู่ ชาวโลกเรียกบุตรที่น่าเกลียดว่า ทุปุตฺโต (บุตรน่าเกลียด) ส่วนศัพท์ว่า ขํ ย่อมปรากฏในความว่างเปล่า เพราะอากาศที่ว่างเปล่าเรียกกันว่า ขํ ก็สัจจะ ที่หนึ่ง นี้ ชื่อว่า กุจฺฉิตํ (น่าเกลียด) เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะมิใช่น้อย ชื่อว่า ตุจฺฉํ (ว่างเปล่า) เพราะเว้นจากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และเป็นอัตตาที่ชนพาลคิดกัน (๑) เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขํ (๒) (ทุกข์) เพราะเป็นของน่าเกลียด และเป็นของว่างเปล่า.

ศัพท์ว่า สํ นี้ ในคำว่า สมุทยํ นี้ ย่อมแสดงการประกอบพร้อม เช่นในคำเป็นต้นว่า สมาคโม สเมตํ (การประชุมกัน รวมกัน) ศัพท์ว่า


(๑) คนพาลคิดเห็นว่า ... เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุข และเป็นอัตตา

(๒) คำว่า ทุกขํ นี้ อีกนัยหนึ่งแยกศัพท์เป็น ทุ บทหน้า และ ขมธาตุ ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปตามไวยากรณ์เป็น ทุกฺขํ แปลว่า ทนได้ยาก

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 295

อุท นี้ ย่อมแสดงความเกิดขึ้น เช่นในคำเป็นต้นว่า อุปฺปนฺนํ อุทิตํ (เกิดขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว). แต่ศัพท์ว่า อย ย่อมแสดงถึงเหตุ (๑) ก็เมื่อมีการประกอบด้วยปัจจัยที่คงอยู่ สัจจะที่สอง นี้ ก็เป็นเหตุคือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขสมุทยํ (ทุกขสมุทัย) เพราะสัจจะที่สองนี้เป็นเหตุเกิดทุกข์.

อนึ่ง สัจจะที่สาม เพราะศัพท์ว่า นิ ย่อมแสดงความไม่มี และศัพท์ว่า โรธ ย่อมแสดงถึงผู้ท่องเที่ยว (๒) เพราะฉะนั้น ในสัจจะที่สาม (นิโรธ) นี้ จึงได้แก่ความไม่มีความท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์ กล่าวคือการท่องเที่ยวไปในสังสารเพราะว่างจากคติทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรบรรลุสัจจะที่สามนั้นแล้ว ความไม่มีการท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์กล่าวคือการท่องเที่ยวไปในสังสาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺขนิโรธํ (ทุกขนิโรธ) เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อการท่องเที่ยวไปนั้น อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทุกขนิโรธ เพราะ เป็นปัจจัยแก่ความไม่เกิด คือความดับสนิทแห่งทุกข์.

อนึ่ง สัจจะที่ ๔ นี้ ย่อมดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ เพราะมุ่งหน้าต่อพระนิพพานนั้นด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ และเป็นปฏิปทาเพื่อถึงความดับทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ก็เพราะพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นย่อมแทงตลอดสัจจะเหล่านั้น ฉะนั้น สัจจะเหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า อริยสัจจะ เหมือนอย่างพระดำรัสที่ ตรัสไว้ว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อริสจฺจานิ กตมานิ ฯเปฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา


(๑) สมุทยํ ในที่นี้ก็คือ สํ + อุท + อย สำเร็จรูปเป็น สมุทยํ

(๒) ศัพท์นิโรธ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า นิ หมายถึงความไม่มี ศัพท์ว่า โรธ หมายถึงเรือนจำ สังสาร นิโรธ จึงแปลได้อีกว่า ไม่มีเรือนจำในสังสาร

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 296

อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ (๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลายย่อมแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อริยสัจ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะของพระอริยะดังนี้บ้าง เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯเปฯ สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัจจะของพระอริยะ (๒)

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ เพราะความที่อริยสัจเหล่านั้นอันพระอริยะตรัสรู้แล้วบ้าง เพราะความสำเร็จโดยความเป็นอริยะบ้าง เหมือนอย่างที่ ตรัสว่า อิเมสํ โข ภิกฺขเว จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกว่า อริยะ เพราะตรัสรู้ อริยสัจ ๔ เหล่านี้แลตามความจริง.

อีกอย่างหนึ่งแล ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะอันประเสริฐ คำว่า อริยะนี้มีอธิบายว่า เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นของคลาดเคลื่อน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนญฺกานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


(๑) (๒) สํ. มหาวาร เล่ม ๑๙ ๑๗๐๘/๕๔๕

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 297

อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร จริงอยู่ ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะ มีการเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความให้เร่าร้อนเป็นรส มีปวัตติเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมุทยสัจจะ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นลักษณะ มีการไม่เข้าไปตัดเป็นรส มีปลิโพธเป็นปัจจุปัฏฐาน. นิโรธสัจจะ มีความสงบเป็นลักษณะ มีการไม่จุติเป็นรส มีการไม่มีนิมิตเป็นปัจจุปัฏฐาน. มรรคสัจจะ มีการนำออกเป็นลักษณะ มีการละกิเลสเป็นรส มีวุฏฐานะ (คือการออก) เป็นปัจจุปัฏฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๔ นี้มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุ ให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความกลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะ โดยลำดับ (๑) และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มีตัณหา มีอสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตาม ลำดับเหมือนกันแล.

พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นในที่นี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

ก็ในข้อว่า โดยอรรถและโดยถอดความ นี้ พึงทราบโดยอรรถก่อน หากมีคำถามว่า อะไรเป็นอรรถของสัจจะ ก็จะพึงมีคำตอบอย่างพิสดาร


(๑) คำว่า ประวัติหมายถึงทุกขสัจจะ ปวัตตนะหมายถึงสมุทัย นิวัตติหมายถึงนิโรธ นิวัตตนะ หมายถึงมรรค (ผู้แปล)

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 298

ว่า ภาวะใด เมื่อบุคคลเพ่งอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ย่อมไม่วิปริตเหมือนมายากล ไม่ลวงตาเหมือนพยับแดด ไม่เป็นสภาวะที่ใครๆ หาไม่ได้เหมือนอัตตาของพวกเดียรถีย์ โดยที่แท้เป็นโคจร (อารมณ์) ของอริยญาณ โดยประการมีการเบียดเบียน (ทุกขสัจ) มีเหตุเป็นแดนเกิด (สมุทยสัจ) มีความสงบ (นิโรธสัจ) มีการนำออก (มรรคสัจ) ซึ่งเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของจริงทีเดียว ภาวะที่สัจจะเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของจริง เป็นดังลักษณะไฟ และเป็นดังธรรมดาของสัตว์โลก (ต้องเกิดแก่เจ็บตาย) นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอรรถของสัจจะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ โข ภิกฺขเว ตถเมตํ อวิตเมตํ อนญฺญถเมตํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า นี้ทุกข์ ดังนี้แล นั่นเป็นของแท้จริง นั่นเป็นของไม่ผิด นั่นไม่เป็นไปโดยประการอื่น เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

นาพาธกํ ยโต ทุกฺขํ ทุกฺขา อญฺญํ น พาธกํ

พาธกตฺตนิยาเมน ตโต สจฺจมิทํ มตํ

นอกจากทุกข์แล้ว ตัวเบียดเบียนย่อมไม่มี ตัวเบียดเบียนอื่นนอกจากทุกข์ก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น ทุกข์นี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็น สัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นตัวเบียดเบียน.

ตํ วินา นาญฺญโต ทุกฺขํ น โหติ น จ ตํ ตโต

ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจํ วิสตฺติกา

เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มีแต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหา

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 299

นั้นก็หาไม่ เพราะฉะนั้น ตัณหาตัวซัดซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ นั้น บัณฑิตจึงรู้ว่า เป็นสัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์.

นาญฺา นิพฺพานโต สนฺติ สนฺตํ น จ น ตํ ยโต

สนฺตภาวนิยาเมน ตโต สจฺจมิทํ มตํ

ความสงบอื่นนอกจากพระนิพพานแล้วย่อมไม่มี และพระนิพพานนั้นเว้นจากความสงบก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น พระนิพพานนี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นความสงบ.

มคฺคา อญฺํ น นิยฺยานํ อนิยฺยาโน น จาปิ โส

ตจฺฉนิยฺยานภาวตฺตา อิติ โส สจฺจสมฺมโต

นอกจากมรรคแล้ว เครื่องนำออกอย่างอื่นย่อมไม่มี แม้มรรคนั้นมิใช่เครื่องนำออกก็หาไม่ เพราะฉะนั้น มรรคนั้น บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนำออกอย่างแท้จริง.

อิติ ตจฺฉาวิปลฺลาส ภูตภาวํ จตูสุปิ

ทุกฺขาทีสฺววิเสเสน สจฺจตฺถํ อาหุ ปณฺฑิตา

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 300

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภาวะอันแท้ไม่แปรผัน เป็นของจริงในสัจจะทั้ง ๔ มีทุกข์เป็นต้น โดยไม่แปลกกันว่า เป็นอรรถแห่งสัจจะ ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยสัจจะโดยอรรถ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยถอดความ

พึงทราบวินิจฉัย โดยถอดเอาความ อย่างไร? สัจจศัพท์ในอธิการนี้ ย่อมปรากฏในอรรถมิใช่น้อย อย่างไร คือ สัจจศัพท์ ย่อมปรากฏ ในวาจาสัจจะ (พูดจริง) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย บุคคลพึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงโกรธ. ที่ปรากฏในวิรติสัจจะ (มุสาวาทวิรัติ) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺเจ ิตา สมณพฺราหฺมณา สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ. ที่ปรากฏใน ทิฏิสัจจะ (จริงโดยทิฏฐิ) เหมือนในประโยค มีอาทิว่า กสฺมา นุ สจฺจานิ วทนฺติ นานา ปวาทิยาเส กุสลาวทานา เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ คือเป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด กล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง. ที่ปรากฏใน ปรมัตถสัจจะ คือ นิพพานและมรรค เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เอกํ หิ สจฺจํ น ทุติยมตฺถิ สัจจะมีอย่างเดียวไม่มีอย่างที่สอง. ที่ปรากฏใน อริยสัจจะ เหมือนในประโยค มีอาทิว่า จตุนฺนํ สจฺจานํ กติ กุสลา บรรดาสัจจะ ๔ สัจจะที่เป็นกุศลมีเท่าไร. แม้ในที่นี้ สัจจศัพท์นี้นั้นย่อมเป็นไปในอริยสัจจะ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้. พึงทราบวินิจฉัยโดยถอดความในสัจจะนี้ ฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 301

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง

ในข้อว่า ไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ หากมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระ-ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอริยสัจไว้ ๔ เท่านั้นไม่หย่อนไม่ยิ่ง ตอบว่าเพราะไม่มีสัจจะอย่างอื่น และนำออกข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้ จริงอยู่ สัจจะอื่นยิ่งกว่าสัจจะ ๔ เหล่านี้ หรือว่าบรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้จะพึงนำออกไปสักข้อหนึ่ง หาได้ไม่. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ พึงเอ่ยอ้างว่า ทุกข์ที่พระสมณโคดมแสดงไว้นี้ ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ ทุกขอริยสัจเป็นอย่างอื่น เราจักเว้นทุกขอริยสัจนี้แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจอื่น ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่เป็นได้ ดังนี้ และดังที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งที่สมณโคคมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งนั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งอย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้ (๑)

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกความเป็นไปแห่งทุกข์ ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งเหตุ และเมื่อจะตรัสบอกความไม่เป็นไป ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งอุบาย (เป็นเครื่องสลัดออก) เพราะฉะนั้น จึงตรัสอริยสัจไว้ ๔ เท่านั้น เพราะความที่สัจจะเหล่านั้นมีความเป็นไป (ปวัตติ) ความไม่เป็นไป (นิวัตติ) และเหตุแห่งความเป็นไป ความไม่เป็นไปทั้งสอง อันมีสัจจะ ๔ นี้เป็นอย่างยิ่ง.

อนึ่ง พระองค์ตรัสอริยสัจ ๔ เท่านั้น แม้ด้วยอำนาจแห่งปริญเญยธรรม (ธรรมที่ควรกำหนดรู้) ปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ) สัจฉิกาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) ภาเวตัพพธรรม (ธรรมที่ควรเจริญ) และ


(๑) สํ. มหาวาร. เล่มที่ ๑๙ ๑๖๙๓/๕๓๘

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 302

ตรัสไว้ ๔ ด้วยอำนาจแห่งตัณหา วัตถุที่อาศัยเกิดของตัณหา ความดับตัณหา และอุบายเป็นเครื่องดับตัณหา และตรัสไว้ ๔ แม้ด้วยอำนาจแห่งความอาลัย เหตุที่ยินดีในอาลัย การถอนขึ้นซึ่งอาลัยและอุบายเป็นเหตุถอนขึ้นซึ่งอาลัย.

พึงทราบวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

ข้อว่า โดยลำดับ แม้นี้ ได้แก่ ลำดับแห่งเทศนานั่นเอง ก็ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะ เป็นสัจจะที่รู้ได้ง่าย เพราะเป็นของหยาบ และ เพราะเป็นของทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหมด ฉะนั้นจึงตรัสไว้ก่อน สมุทยสัจจะตรัสไว้ในลำดับแห่งทุกขสัจจะนั้นเพื่อแสดงเหตุของทุกขสัจจะนั้นเอง นิโรธสัจจะตรัสไว้โดยลำดับสมุทยสัจจะนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่า เพราะเหตุดับ ผลจึงดับ มรรคสัจจะตรัสไว้ในที่สุด เพื่อแสดงอุบายเครื่องบรรลุนิโรธสัจจะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุกข์ก่อน เพื่อให้เกิดความสังเวชแก่พวกสัตว์ผู้ยินดีและปรารถนาความสุขในภพ ตรัสสมุทัยในลำดับแห่งทุกข์นั้น เพื่อให้รู้ว่า ทุกข์นั้นตัณหามิได้สร้างแล้วย่อมไม่มา มันย่อมมีเพราะเหตุภายนอกมีพระอิศวรบันดาลก็หาไม่ ที่แท้มันย่อมมีเพราะตัณหานี้ ต่อจากนั้นก็ตรัสนิโรธ เพื่อให้เกิดความโล่งใจ ด้วยการเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแก่สัตว์ผู้มีใจสลดซึ่งแสวงหาอุบายเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เพราะความเป็นผู้ถูกทุกข์พร้อมทั้งเหตุ (ตัณหา) ครอบงำแล้ว ต่อจากนั้นก็ตรัสมรรคอันเป็นธรรมให้ถึงนิโรธ เพื่อบรรลุนิโรธ.

พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยลำดับในสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 303

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ

ข้อว่า โดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ นี้ อธิบายว่า พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยกิจแห่งสัจจญาณ จริงอยู่ สัจจญาณมี ๒ อย่าง คือ

อนุโพธญาณ (ญาณที่รู้โดยลำดับ)

ปฏิเวธญาณ (ญาณที่แทงตลอด).

บรรดาญาณทั้ง ๒ นั้น อนุโพธญาณ เป็นโลกิยะย่อมดำเนินไปในนิโรธและมรรค ด้วยอำนาจแห่งการสดับฟังเป็นต้น. ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์แล้วแทงตลอดสัจจะแม้ทั้ง ๔ โดยกิจ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า โย โกจิ ภิกฺขเว ทุกฺขํ ปสฺสติ ทุกฺขสมุทยมฺปิ โส ปสฺสติ ทุกฺขนิโรธมฺปิ ปสฺสติ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทมฺปิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธ ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๑) พึงกล่าวพุทธวจนะ (ในสูตรนี้) แม้ ทั้งหมด.

อนึ่ง ญาณที่เป็นโลกิยะในสัจจญาณ ๔ เหล่านี้ ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์) ย่อมห้ามสักกายทิฏฐิที่กำลังเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความครอบงำโดยปริยุฏฐาน. สมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย) ย่อมห้ามอุจเฉททิฏฐิ. นิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ) ย่อมห้ามสัสสตทิฏฐิ. มรรคญาณ (ญาณในมรรค) ย่อม ห้ามอกิริยทิฏฐิ.

อีกอย่างหนึ่ง ทุกฺขญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในผลกล่าวคือ ความสำคัญในเบญจขันธ์ซึ่งปราศจากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และ


(๑) สํ. มหาวาร. เล่ม ๑๙ ๑๗๑๑/๕๔๗

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 304

อัตตา ว่ามีความยั่งยืน มีความงาม มีสุข และมีอัตตา สมุทยญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในเหตุที่เป็นไปในการถือมั่นในสิ่งที่มิใช่เหตุ ว่าเป็นเหตุ โดยเข้าใจว่า โลกย่อมเป็นไปโดยพระอิศวรโดยพระผู้เป็นประธาน โดยพระกาฬ และโดยภาวะของตนเองเป็นต้น นิโรธญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในนิโรธที่ยึดถือในอรูปโลก และในภูมิที่เป็นยอดโลกเป็นต้น ว่าเป็น พระนิพพาน (๑) มรรคญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในอุบายที่เป็นไปด้วยความยึดถือในมรรคที่ไม่บริสุทธิ์ อันต่างโดยกามสุขัลลิถานุโยคและอัตตกิลมถานุโยคว่าเป็นมรรคอันบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า

โลเก โลกปฺปภเว โลกตฺถคเม สิเว จ ตทุปาเย

สมฺมุยฺหติ ตาว นโร น วิชานาติ ยาว สจฺจานิ

นรชนยังไม่รู้แจ้งสัจจะทั้งหลายตราบใด เขาก็ย่อมลุ่มหลงในโลก (ทุกข์) ในเหตุเกิดของโลก (สมุทัย) ในพระนิพพานอันเป็นที่ดับไปแห่งโลก และในอุบายของความดับโลกนั้น (มรรค) อยู่ตราบนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน

ข้อว่า โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ความว่า จริงอยู่ ยกเว้นตัณหาและอนาสวธรรม (ธรรมที่ไม่มีอาสวะ) แล้วธรรมทั้งหมดที่เหลือนับว่า


(๑) พวกอุทกดาบสและอาฬารดาบส ถืออรูปโลกว่าเป็นนิพพาน พวกนิครนถ์ถือยอดภูมิ (โลกถูปิกา) ว่าเป็นนิพพาน (มหาฎีกา)

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 305

หยั่งลงภายในในทุกขสัจ. ตัณหาวิจริต (ตัณหาที่ท่องเที่ยวไป) ๓๖ หยั่งลงภายในในสมุทยสัจ. นิโรธสัจไม่มีอะไรเจือปน ธรรมมีวิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ และธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายในในมรรคสัจ. วิตก ๓ มีเนกขัมมวิตกเป็นต้นโดยอิงอาศัยสัมมาสังกัปปะ วจีสุจริต ๔ โดยอิงอาศัยสัมมาวาจา กายทุจริต โดยอิงอาศัยสัมมากัมมันตะ ความมักน้อย และความสันโดษโดยมีสัมมาอาชีวะเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายในในมรรคสัจ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะทั้งหมดเหล่านี้เป็นอริยกันตศีล เพราะศีลอันบุคคลพึงรับด้วยมือคือศรัทธา และเพราะ ความที่ศีลจะมีอยู่ก็เพราะความที่สัมมาวาจาเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ สัทธินทรีย์ สัทธา พละ ฉันทิทธิบาท จึงเป็นธรรมหยั่งลงภายในในมรรคสัจ. สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ วิริยสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาวายามะ สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ สติพละ และสติสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาสติ สมาธิอย่างละ ๓ คือสมาธิมีวิตก และมีวิจารเป็นต้น จิตตสมาธิ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมหยั่งลงภายในในมรรคสัจ.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายในสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอุปมา

ก็ในข้อว่า โดยอุปมา นี้ พึงเห็นทุกขสัจเหมือนของหนัก สมุทยสัจเหมือนการถือของหนัก นิโรธสัจเหมือนวางของหนัก มรรคสัจเหมือนอุบาย

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 306

เป็นเครื่องวางของหนัก. อนึ่ง ทุกขสัจเป็นดังโรค สมุทยสัจเป็นดังสมุฏฐานของโรค นิโรธสัจเป็นดังความสงบของโรค มรรคสัจเป็นดังเภสัช.

อีกอย่างหนึ่ง ทุกขสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้โดยยาก สมุทยสัจเปรียบเหมือนฝนไม่ดี นิโรธสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้ง่าย มรรคสัจเปรียบเหมือนฝนดี.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบสัจจะเหล่านี้โดยอุปมาประกอบด้วยคนมีเวร มูลเหตุแห่งเวร การถอนขึ้นซึ่งเวร อุบายการถอนขึ้นซึ่งเวร และพึงทราบด้วยต้นไม้มีพิษ รากเหง้าของต้นไม้มีพิษ การโค่นตัดต้นไม้มีพิษ อุบายโค่นตัดต้นไม้มีพิษ และพึงทราบด้วยมีภัย เหตุที่มีภัย ความปลอดภัย อุบายให้ปลอดภัย และพึงทราบด้วยฝั่งนี้ ห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งโน้น และความพยายามให้ถึงฝั่งโน้นนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยโดยอุปมาในอริยสัจนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยจตุกกะ (หมวด ๔)

ข้อว่า โดยจตุกกะ ความว่า ก็บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้ ธรรมที่เป็นทุกข์แต่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจก็มี ธรรมที่เป็นอริยสัจไม่เป็นทุกข์ก็มี ธรรมที่เป็นทุกข์ด้วยเป็นอริยสัจด้วยก็มี ธรรมที่ไม่เป็นทุกข์และไม่ใช่อริยสัจก็มี. ในสมุทัยเป็นต้นก็นัยนี้.

ในจตุกกะนั้น ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นสังขารทุกข์ โดยพระบาลีว่า ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ (สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์) (๑) แต่ไม่ใช่อริยสัจ. นิโรธเป็นอริยสัจ


(๑) สํ. ขนฺธวาร เล่ม ๑๗ ๔๒/๒๘

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 307

แต่ไม่เป็นทุกข์ ส่วนอริยสัจทั้ง ๒ นอกนี้ (สมุทัยและมรรค) เป็นทุกข์เพราะความไม่เที่ยง แต่ไม่ใช่ทุกข์โดยสภาวะที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้ากำหนดรู้ ส่วนอุปาทานขันธ์ ๕ เว้นตัณหาแล้วเป็นทั้งทุกข์ เป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง. ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลทั้งหลายไม่ใช่ทุกข์โดยสภาวะที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกำหนดรู้ ทั้งไม่ใช่อริยสัจ.

พึงทราบการประกอบแม้ในสมุทัยเป็นต้น (๑) ตามสมควรแล้ววินิจฉัย ในอริยสัจนี้โดยจตุกกะ ด้วยประการฉะนี้แล.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง)

ในข้อว่า โดยสุญญตา (ว่าง) และโดยเป็นธรรมอันเดียวกันเป็นต้น นี้ พึงทราบโดยสภาพว่างก่อน. จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดทีเดียว พึงทราบว่า เป็นสภาพว่าง เพราะไม่มีผู้เสวย ไม่มีผู้ทำ ไม่มีผู้ดับ ไม่มีผู้เดิน ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า


(๑) ในข้อสมุทัยเป็นต้น กิเลสที่เป็นสมุทัย (นอกจากตัณหา) เป็นสมุทัยเพราะอรรถว่าทำให้เกิดทุกข์แต่ไม่ใช่อริยสัจที่เป็นสมุทัย นิโรธเป็นอริยสัจแต่ไม่เป็นสมุทัย ทุกข์และมรรครวม ๒ พึงเป็นสมุทัยก็ได้เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดผลของตน แต่ไม่เป็นสมุทัยที่เป็นปหาตัพพธรรม ตัณหาเป็นทั้งสมุทัยเป็นทั้งอริยสัจ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นสมุทัยที่จะต้องละ และไม่เป็นอริยสัจ (เป็นสัจจวิมุตติ)

ในนิโรธ สังขารนิโรธ และนิโรธสมาบัติเป็นนิโรธแต่ไม่เป็นนิโรธอริยสัจ สมุทัยเป็นอริยสัจแต่ไม่เป็นนิโรธ ทุกข์และมรรคทั้ง ๒ เป็นนิโรธก็ได้เพราะเป็นขณนิโรธ แต่ไม่ใช่นิโรธสัจจะ. อสังขตะเป็นทั้งนิโรธเป็นทั้งอริยสัจ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นนิโรธ และไม่ใช่อริยสัจ

องค์มรรคอื่นจากอริยมรรคเป็นมรรคแต่ไม่ใช่อริยมรรค นิโรธเป็นอริยสัจแต่ไม่เป็นมรรค ทุกข์และสมุทัยทั้ง ๒ เป็นมรรคก็ได้เพราะเป็นทางไปสู่ภพแต่มิใช่อริยมรรคที่ควรเจริญเพื่อนิโรธ นิโรธคามินีปฏิปทาเป็นทั้งมรรคเป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นมรรคและไม่เป็นอริยสัจ (เก็บความจากมหาฎีกา)

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 308

ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต

การโก น กิริยาว วิชฺชติ

อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา

มคฺคมตฺถิ คมโก น วิชฺชติ

ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่บุคคลไรๆ ผู้เป็นทุกข์หามีไม่ การทำมีอยู่ แต่ผู้ทำหามีไม่ ความดับมีอยู่ แต่บุคคลผู้ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่บุคคลผู้เดินหามีไม่ (๑)

อีกอย่างหนึ่ง

ความว่างในสัจจะ ๔ เหล่านั้น พึงทราบอย่างนี้ คือ สัจจะ ๒ บทแรกว่างจากความเที่ยง ความงาม ความสุข และอัตตา อมตบทคือพระนิพพานว่างจากอัตตา มรรคว่างจากความยั่งยืน ความสุข และอัตตา.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๓ ว่างจากนิโรธ และนิโรธก็ว่างจากสัจจะ ๓ ที่เหลือ.

อีกอย่างหนึ่ง ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ เหตุว่างจากผล เพราะไม่มีทุกข์ในสมุทัย และไม่มีนิโรธในมรรค เหตุไม่ร่วมกับผล เหมือนดังปกติ (ประพฤติ) (๒)


๑. ทุกข์เป็นสัจจะ ส่วนบุคคลเป็นบัญญัติ สัจจะเป็นของมีอยู่โดยปรมัตถ์ บัญญัติไม่มีโดยปรมัตถ์ การกระทำมีอยู่ท่านหมายเอาตัณหาเป็นเหตุกระทำ มิได้หมายเอาบุคคลซึ่งเป็นบัญญัติ. ความดับหมายถึงนิพพาน ไม่ใช่บุคคลเป็นผู้ดับ. ทางหมายถึงมรรค ๘ มีอยู่จริง ส่วนบุคคลผู้เดินไม่มี เพราะมิใช่บุคคล.

๒. ลัทธิภายนอกชื่อว่าปกติวาที มีความเห็นว่า ปกติเดิมเหตุรวมอยู่กับผล ต่อมาจึงแยกออกเป็นคนละอย่าง ลัทธิสมวายวาทีก็ทำนองเดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 309

ของลัทธิทั้งหลายมีปกติวาทีเป็นต้น. และผลเล่าก็ว่างจากเหตุ เพราะความทุกข์กับสมุทัย และนิโรธกับมรรคมิได้เป็นอันเดียวกัน ผลนั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกับเหตุ เหมือนอณูทั้ง ๒ ของเหตุผลของพวกลัทธิทั้งหลายมีสมวายวาทีเป็นต้น เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า

ตยมิธ นิโรธสุญฺํ ตเยน เตนาปิ นิพฺพุติ สุญฺา

สุญฺโ ผเลน เหตุ ผลํปิ ตํ เหตุนา สุญฺํ

บรรดาอริยสัจจะ ๔ นี้ สัจจะ ๓ ว่างจากนิโรธ นิโรธ (นิพฺพุติ) เล่าก็ว่างจากสัจจะ ๓ แม้นั้น สัจจะที่เป็นเหตุว่างจากสัจจะที่เป็นผล แม้สัจจะที่เป็นผลนั้นเล่าก็ว่างจากสัจจะที่เป็นเหตุ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสุญญตา (ว่าง) อย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น

ข้อว่า โดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น ความว่า ก็บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น ทุกข์ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่ามีอย่างเดียวเพราะเป็นปวัตติ (คือเป็น ธรรมหมุนไปในวัฏฏะ) เป็น ๒ อย่างโดยเป็นนามและรูป เป็น ๓ อย่างโดยแยกเป็นอุปปัตติภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็น ๔ อยู่ โดยประเภทแห่งอาหาร ๔ เป็น ๕ อย่างโดยประเภทแห่งอุปาทานขันธ์ ๕.

แม้สมุทัย ชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพให้วัฏฏะหมุนไป เป็น ๒ อย่างโดยเป็นธรรมสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และไม่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็น ๓ อย่างโดยแยกเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็น ๔ อย่างเพราะเป็นโทษ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 310

อันมรรค ๔ พึงละ เป็น ๕ อย่างโดยแยกอารมณ์ มีความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น เป็น ๖ อย่างโดยประเภทแห่งกองตัณหา ๖ (๑)

นิโรธชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นอสังขตธาตุ แต่โดยปริยาย (อ้อม) นิโรธเป็น ๒ อย่างโดยเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน เป็น ๓ อย่างเพราะสงบภพทั้ง ๓ เป็น ๔ อย่างเพราะเป็นอารมณ์ให้มรรค ๔ บรรลุ เป็น ๕ อย่างเพราะสงบความยินดียิ่ง ๕ (มีรูปารมณ์เป็นต้น) เป็น ๖ อย่าง โดยประเภทแห่งความสิ้นไปแห่งกองตัณหา ๖.

แม้มรรคเล่าก็ชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นธรรมควรเจริญ เป็น ๒ อย่างโดยแยกเป็นสมถะและวิปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง เป็น ๒ อย่างโดยประเภทแห่งทัสสนะ (โสดามรรค) และภาวนา (มรรค ๓ ที่เหลือ) เป็น ๓ อย่างโดยประเภทธรรมขันธ์ ๓ (มีศีลขันธ์เป็นต้น). จริงอยู่ มรรคนี้ เพราะเป็นสัปปเทสธรรม (๒) จึงสงเคราะห์ (รวมเข้า) ด้วยขันธ์ ๓ ที่เป็นนิปปเทสธรรม (๓) เหมือนหัวเมืองรวมอยู่ด้วยราชอาณาจักรฉะนั้น. เหมือนอย่างพระธัมมทินนาเถรีกล่าวแก้ปัญหาวิสาขอุบาสกว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ แล ดูก่อนท่านวิสาขะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ พระองค์ทรงสงเคราะห์์ในศีลขันธ์ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ พระองค์ทรงสงเคราะห์ในสมาธิขันธ์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ พระองค์ทรงสงเคราะห์์ในปัญญาขันธ์ ดังนี้ (๔)


(๑) กองตัณหา ๖ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา

(๒) สัปปเทสธรรม หมายถึง ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้เป็นบางส่วน (ส่วนเล็ก)

(๓) นิปปเทสธรรม หมายถึง ธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยสิ้นเชิง (ส่วนใหญ่).

(๔) ม. มู. เล่ม ๑๒ ๕๐๘/๕๔๙.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 311

เพราะในอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ มรรคมีสัมมาวาจาเป็นต้นเป็นศีลอย่างเดียว ฉะนั้น มรรค ๓ มีสัมมาวาจาเป็นต้นนั้น พระองค์จึงทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ โดยกำเนิดของตน แม้ในพระบาลีพระองค์ทรงทำนิเทศไว้ด้วยสัตตมีวิภัตติ ว่า สีลขนฺเธ (๑) ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบด้วยอำนาจแห่งตติยาวิภัตติ เท่านั้น.

อนึ่ง ในมรรค ๓ มีสัมมาวายามะเป็นต้น สมาธิย่อมไม่อาจแน่วแน่ (เป็นอัปปนา) ด้วยความมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์ตามธรรมดาของตนได้ แต่เมื่อวิริยะยังกิจคือการประคองจิตไว้ให้สำเร็จ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือนให้สำเร็จอยู่ สมาธิก็ย่อมแน่วแน่ได้. ในข้อนั้นมีอุปมาดังนี้ เปรียบเหมือน สหาย ๓ คนเข้าไปสู่อุทยานด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักเล่นนักขัตฤกษ์ (๒) คนหนึ่งเห็นต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้ ทีนั้นสหายคนที่สองจึงก้มหลังให้ สหายคนที่หนึ่งนั้นแม้ยืนบนหลังสหายคนที่สองแล้วสั่นอยู่ ไม่อาจเก็บดอกไม้ได้ ทีนั้นสหายคนที่สามนอกนี้จึงเอียงไหล่ไป สหายคนที่หนึ่งนั้นจึงยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง เหนี่ยวไหล่สหายคนหนึ่ง จึงเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลายตามชอบใจ ประดับกายเล่นนักษัตรฉันใด ข้ออุปไมยนี้ พึงเห็นฉันนั้น.

จริงอยู่ ธรรม ๓ มีสัมมาวายามะเป็นต้น เกิดพร้อมกันเหมือนสหาย ๓ คน เข้าไปสู่อุทยานพร้อมกัน. อารมณ์เหมือนต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง. สมาธิไม่สามารถแน่วแน่โดยความมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์ตามธรรมดาของตนเหมือนสหายคนที่หนึ่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้. วายามะ (ความ


(๑) คำว่า สีลขนฺเธ แปลว่า ในศีลขันธ์ แต่ท่านอรรถกถาจารย์ให้แปลว่า ด้วยศีลขันธ์.

(๒) งานประจำปี

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 312

เพียร) เหมือนสหายคนที่ก้มหลังให้. สติเหมือนสหายคนที่ยืนให้ไหล่ บรรดาสหาย ๓ คนนั้น สหายคนหนึ่งนี้ยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง ยึดไหล่สหายคนหนึ่ง ย่อมอาจเก็บดอกไม้ได้ตามปรารถนาฉันใด สมาธิก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อความเพียรยังกิจคือการประคองจิตให้สำเร็จอยู่ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือนให้สำเร็จอยู่ ได้อุปการะแล้วย่อมอาจแน่วแน่โดยมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์ เพราะฉะนั้น ในมรรค ๓ เหล่านี้ มรรคคือสมาธิเท่านั้น พระองค์ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์โดยกำเนิดของตน ส่วนมรรคมีวายามะและสติ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์โดยกิริยา (คือโดยเป็นธรรมมีอุปการะ).

แม้ในสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะเล่า ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) ก็ไม่อาจวินิจฉัยอารมณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามธรรมดาของตนได้ แต่เมื่อวิตก (สัมมาสังกัปปะ) กระทบแล้วๆ ให้อยู่ ก็อาจตัดสินได้อย่างไร? เปรียบเหมือนเหรัญญิก (เจ้าหน้าที่ดูเงิน) วางเหรียญกหาปณะในมือ แม้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะตรวจส่วนทั้งปวงของเหรียญ ก็ไม่อาจเพื่อใช้เปลือกตา พลิกไปรอบๆ ได้ แต่เมื่อใช้ข้อนิ้วพลิกไปๆ ก็อาจเพื่อแลดูข้างโน้นข้างนี้ได้ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่อาจวินิจฉัยอารมณ์ด้วยสามารถแห่ง ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ตามธรรมดาของตน แต่ย่อมอาจวินิจฉัยอารมณ์ที่วิตกมีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เป็นลักษณะ มีการทำจิตให้กระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นกิจ ดุจการกระทบอยู่ และดุจจับพลิกกับไปมาให้อยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ในอธิการแม้นี้ สัมมาทิฏฐิเท่านั้นพระองค์ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยปัญญาขันธ์ เพราะกำเนิดของตน ส่วนสัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอันพระองค์ทรงสงเคราะห์ ในปัญญาขันธ์โดยกิริยา มรรคย่อมถึงการสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ เหล่านี้ ด้วย

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 313

ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า มรรคมี ๓ อย่างโดยประเภทแห่งขันธ์ ๓. มรรคมี ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะทั้งหมดนั่นแหละมีอย่างเดียว เพราะเป็นภาวะที่มีอยู่โดยแท้จริง หรือเพราะเป็นอภิญไญยธรรม (ธรรมที่พึงรู้ยิ่ง) มี ๒ อย่าง โดยเป็นโลกิยะและโลกุตระ และเป็นสังขตะและอสังขตะ มี ๓ อย่าง โดยเป็นธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะและภาวนา โดยเป็นธรรมไม่พึงละด้วยทัสสนะและภาวนา และโดยเป็นธรรมที่พึงละก็ไม่ใช่ ไม่พึงละก็ไม่ใช่ มี ๔ อย่าง โดยประเภทปริญไญยธรรมเป็นต้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้โดยเป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสภาคะและวิสภาคะ

ข้อว่า โดยสภาคะและวิสภาคะ ความว่า สัจจะทั้งหมดนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นสภาคะ (คือมีส่วนเสมอ) กันและกัน โดยเป็นของแท้ โดยเป็นของว่างจากอัตตา และโดยเป็นสิ่งที่แทงตลอดได้ยาก เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อย่างไหนหนอจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือการที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กัน โดยช่องดาลเล็กแต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด กับการยิงปลายขนทราย ด้วยขนทรายที่แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน (๑) " ดังนี้ พระอานนท์ ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยิงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกเป็น ๗ ส่วนกระทำได้ยากกว่าและให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า พระเจ้าข้า" ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใด ย่อม


(๑) ปลายขนทรายแบ่งเป็น ๗ ส่วน ติดที่ปลายลูกศรแล้วยิงปลายขนทรายนั้นให้ถูกเป็นการยาก แต่พระองค์ตรัสว่า การแทงตลอดสัจจะยากกว่า (เก็บจากมหาฎีกา)

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 314

แทงตลอดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากว่าโดยแท้ " ดังนี้ (๑)

ชื่อว่า วิสภาคะ (มีส่วนไม่เสมอกัน) โดยการกำหนดลักษณะของตน ก็สัจจะ ๒ ข้อแรก ชื่อว่า เป็นสภาคะ เพราะเป็นของลึกซึ้ง ด้วยอรรถว่า หยั่งลงได้โดยยาก เพราะเป็นโลกีย์ และเพราะความเป็นไปกับอาสวะ ชื่อว่า เป็นวิสภาคะ เพราะแยกออกโดยเป็นผลและเหตุ และเพราะเป็นธรรมที่ควรรู้. และเป็นธรรมที่ควรละ (ปริญฺเยฺยปหาตพฺพกิจ) สัจจะ ๒ แม้ข้างหลัง ก็เป็นสภาคะ คือมีส่วนเสมอกัน เพราะหยั่งลงได้ยากโดยความเป็นของลึกซึ้ง เพราะเป็นโลกุตระ และเพราะเป็นอนาสวะ อนึ่ง สัจจะ ๒ ข้อหลังเป็นวิสภาคะ เพราะแยกเป็นวิสยะและวิสยี (๒) และเพราะเป็นสัจฉิกาตัพพะ (ธรรมที่ควรทำ ให้แจ้ง) และภาเวตัพพะ (ธรรมที่ควรเจริญ) อนึ่ง สัจจะที่ ๑ และที่ ๓ ชื่อว่า เป็นสภาคะกัน เพราะอ้างถึงผล ชื่อว่า เป็นวิสภาคะกัน เพราะเป็นสังขตะและ อสังขตะ อนึ่ง สัจจะที่ ๒ และที่ ๔ ชื่อว่า เป็นสภาคะกัน เพราะอ้างถึงเหตุ ชื่อว่า เป็นวิสภาคะกัน เพราะเป็นกุศลและอกุศลโดยส่วนเดียว ก็สัจจะที่ ๑ และที่ ๔ ชื่อว่าเป็นสภาคะกัน เพราะเป็นสังขตะ ชื่อว่า เป็นวิสภาคะกัน เพราะเป็นโลกิยะ และโลกุตระ ก็สัจจะที่ ๒ ที่ ๓ เป็นสภาคะกันโดยเป็น เนวเสกขานาเสกขา และชื่อว่า เป็นวิสภาคะ เพราะเป็นสารัมมณะ และอนารัมมณะ (มีอารมณ์และไม่มีอารมณ์).

อิติ เอวํ ปกาเรหิ นเยหิ จ วิจกฺขโณ

วิชญฺา อริยสจฺจานํ สภาควิสภาคตํ

บัณฑิตผู้ฉลาด พึงรู้แจ้งความที่อริยสัจทั้งหลายเป็นสภาคะ (มีส่วนเสมอกัน)


(๑) สํ. มหาวาร เล่ม ๑๙ ๑๗๓๘/๕๖๖

(๒) วิสยะในที่นี้คือนิโรธ วิสยีคือมรรค.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 315

และเป็นวิสภาคะ (มีส่วนไม่เสมอกัน) โดยประการและโดยนัยทั้งหลายอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยทุกขอริยสัจ

(บาลีข้อ ๑๔๕)

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงจำแนกสัจจะ ๔ มีทุกข์เป็นต้น ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงโดยย่อ จึงเริ่มนิเทศวารนี้ว่า ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ ดังนี้เป็นต้น.

ในนิเทศแห่งทุกขอริยสัจนั้น บัณฑิตพึงทราบ ชาติ พึงทราบอรรถแห่งชาติเป็นทุกข์ พึงทราบชรา พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ พึงทราบมรณะ พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์ พึงทราบโสกะ พึงทราบอรรถแห่งโสกะเป็นทุกข์ พึงทราบปริเทวะ พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์ พึงทราบ ทุกข์ พึงทราบอรรถแห่งทุกข์เป็นทุกข์ พึงทราบโทมนัส พึงทราบอรรถแห่งโทมนัสเป็นทุกข์ พึงทราบอุปายาส พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์ พึงทราบอัปปิยสัมปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งอัปปิยสัมปโยคะเป็นทุกข์ พึงทราบ ปิยวิปปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งปิยวิปปโยคะเป็นทุกข์. พึงทราบอิจฉา (ความปรารถนา) พึงทราบอรรถแห่งความปรารถนาเป็นทุกข์ พึงทราบขันธ์ พึงทราบอรรถแห่งขันธ์เป็นทุกข์ นี้ เป็นมาติกาเพื่อประโยชน์ในการกล่าวทุกขอริยสัจในนิเทศวารนั้น.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 316

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือ

ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)

วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)

สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)

ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)

อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)

ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)

นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง).

บรรดาทุกข์เหล่านั้น ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ทั้งโดยสภาวะทั้งโดยชื่อ. สุขเวทนา ชื่อว่า วิปริณามทุกข์ เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง. อุเบกขา เวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังขารทุกข์ เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ) ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ. ความป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่ราคะ ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์ (๑) เพราะต้องถามจึงรู้ และเพราะก้าวเข้าไปแล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏดังนี้บ้าง ความป่วยไข้มีการถูกลงกรรมกรณ์ ๓๒ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า อัปปฏิจฉันนทุกข์ เพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ ท่าน


(๑) ปฏิจฉันนทุกข์ที่ว่าทางกาย คือ ปวดหู ปวดฟัน ท่านหมายเอาทุกข์เล็กน้อยจึงไม่มีใครรู้ ต้องถามจึงรู้

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 317

เรียกว่า ปรากฏทุกข์บ้าง. ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น อันมาแล้วในวิภังค์ แห่งทุกขสัจจะ เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์นั้นๆ. ทุกขทุกข์ ชื่อว่า นิปปริยายทุกข์.

ในบรรดาทุกข์เหล่านั้น พึงกล่าวทุกขอริยสัจตั้งไว้ใน ๒ บท นี้ คือ ปริยายทุกข์ และนิปปริยายทุกข์ ก็ธรรมดาอริยสัจนี้ย่อมมาในพระบาลีโดยย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ในที่มาโดยย่อควรกล่าวโดยย่อก็ได้ โดยพิสดารก็ได้ แต่ในที่มาโดยพิสดารสมควรกล่าวโดยพิสดารเท่านั้น ไม่ควรกล่าวโดยย่อ ในที่นี้ทุกข์นี้นั้นมาโดยพิสดาร ดังนั้นพึงกล่าวโดยพิสดารอย่างเดียว ฉะนั้น คำนี้ใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้มีอาทิว่า พึงทราบชาติ พึงทราบอรรถของชาติ เป็นทุกข์ เพราะถือเอาพระบาลีในนิเทศวารมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยสมมติกถา

(บาลีข้อ ๑๔๖)

บรรดาทุกขอริยสัจนั้น พึงทราบคำว่า ชาติ เป็นต้นก่อน ก็บัณฑิตพึงทราบชาติด้วยสามารถแห่งบทภาชนีย์นี้ว่า ตตฺถ กตฺมา ชาติ ยา เตสํ สตฺตานํ ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชาติ ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม...ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์นั้นๆ อันใด... เป็นต้น. อรรถวรรณนาในนิเทศแห่งชาตินั้น ดังต่อไปนี้.

คำว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ (ของสัตว์นั้นๆ) นี้เป็นอรรถแสดง ถึงความทั่วไปแก่สัตว์มิใช่น้อย โดยย่อ คือ เมื่อกล่าวคำอย่างนี้ว่า ความเกิดของเทวทัต ความเกิดของโสมทัต ดังนี้ แม้ทั้งวัน สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 318

การกำหนดถือเอาได้ ย่อมไม่สำเร็จการแสดงในสัตว์อื่นๆ ได้ทั้งหมด แต่ด้วยสองบทนี้ สัตว์บางชนิดย่อมไม่เป็นอันกำหนดถือเอาได้ ย่อมไม่สำเร็จการแสดงในสัตว์อื่นๆ อย่างไรก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ยา เตสํ เตสํ สตฺตา นํ (ของสัตว์เหล่านั้นๆ อันใด). คำว่า ตมฺหิ ตมฺหิ (นั้นๆ) นี้เป็นเนื้อความ แสดงความทั่วไปของสัตว์นิกายมิใช่น้อยด้วยสามารถแห่งคติและชาติ. คำว่า สตฺตนิกาเย ได้แก่ ในหมู่สัตว์ คือ ในกลุ่มสัตว์ ในประชุมสัตว์. บทว่า ชาติ คือ ศัพท์ว่าชาตินี้มีอรรถเป็นอเนก.

จริงอย่างนั้น ศัพท์ว่าชาตินี้ มาในภพ ในประโยคนี้ ว่า เอกมฺปิ ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย (ย่อมระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง) เป็นต้น (๑) มาในนิกาย (หมู่) ในประโยคนี้ว่า อตฺถิ วิสาเข นิคนฺถา นาม สมณชาติ (ดูก่อนนางวิสาขา สมณนิกายหนึ่งมีชื่อว่า นิครนถ์) (๒) มาใน บัญญัติ ในประโยคนี้ว่า ติริยา นาม ติณชาติ นาภิยา อุคฺคนฺตฺวา นภํ อาหจฺจ ฐิตา อโหสิ (ติณชาติชื่อ ติริยา ขึ้นจากนาภีแล้วตั้งจด ท้องฟ้า) มาในสังขตลักษณะ ในประโยคนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิตา (ชาติสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒) (๓) มาในปฏิสนธิ ในประโยคนี้ว่า ยํ ภิกฺขเว มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ปฐมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ ปฐมํ วิญฺญาณํ ปาตุภูตํ ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใด เกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว ปฏิสนธินั้นนั่นแหละอาศัยจิตที่เกิดขึ้นและวิญญาณนั้น) (๔) มาในประสูติในประโยคนี้ว่า สมฺปติ ชาโต โข อานนฺท โพธิสตฺโต (ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดล ที่ประสูติแล) (๕) มาในตระกูล ในประโยคนี้ว่า อนุปกฏฺโ ชาติวาเทน


(๑) ที. สี. เล่ม ๙ ๒๗/๑๗

(๒) อํ. ติก เล่ม ๒๐ ๕๑๐/

(๓) อภิ. ธาตุ เล่ม ๓๖/๑๔

(๔) วิ. มหาวคฺค เล่ม ๔ ๑๔๑/๑๘๗

(๕) ม. อุ. เล่ม ๑๔ ๓๗๗/๒๕๓

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 319

(ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงตระกูล) (๑) มาในอริยศีล ในประโยคนี้ว่า ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต (ดูก่อนน้องหญิง จำเดิมแต่เรา เกิดแล้วโดยอริยชาติ) (๒)

แต่ศัพท์ชาติในอธิการนี้ ย่อมควรในขันธ์ที่เกิดครั้งแรกพร้อมทั้งวิการ เพราะฉะนั้น คำว่าชาตินี้ ในอาการนี้จึงเป็นรูปเฉพาะตนโดยสภาวะว่า ความเกิดของสัตว์ผู้กำลังเกิด. บทที่ทรงเพิ่มด้วยอุปสรรคว่า สัญชาติ ด้วยอำนาจแห่งความเกิดพร้อม. ชื่อว่า โอกกันติ ด้วยอำนาจความหยั่งลง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ชาติ ด้วยอรรถว่าการเกิด ชาตินั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้มีอายตนะบกพร่อง ชื่อว่า สัญชาติ ด้วยอรรถว่าเกิดพร้อม สัญชาติ นั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้มีอายตนะสมบูรณ์. ชื่อว่า โอกกันติ ด้วยอรรถว่าหยั่งลง โอกกันตินั้นประกอบไว้ด้วยอำนาจสัตว์ผู้เกิดในไข่และเกิดในครรภ์ เพราะสัตว์เหล่านั้นย่อมหยั่งลงสู่ฟองไข่และมดลูก ก็เมื่อหยั่งลง ย่อมถือปฏิสนธิ ดุจสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าไปอยู่. ชื่อว่า อภินิพพัตติ ด้วยอรรถว่า บังเกิดยิ่ง อภินิพพัตตินั้น ประกอบไว้ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในเถ้าไคล และโอปปาติกสัตว์ เพราะสัตว์เหล่านั้นย่อมเกิดปรากฏทันที.

นี้เป็นสมมติกถา ก่อน.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยปรมัตถกถา

บัดนี้ เป็นกถาว่าด้วยปรมัตถ์ จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง ย่อมปรากฏโดยปรมัตถ์ ไม่ใช่สัตว์ และในพระบาลีนั้น บทว่า ขนฺธานํ (แห่งขันธ์ทั้งหลาย) พึงทราบการถือเอาขันธ์หนึ่งในเอกโวการภพ ขันธ์สี่ในจตุโว-


(๑) ม. ม. เล่ม ๑๓ ๖๔๙/๕๙๔

(๒) ม. ม. เล่ม ๑๓ ๕๓๑/๔๘๕

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 320

การภพ ขันธ์ห้าในปัญจโวการภพ. บทว่า ปาตุภาโว (ความปรากฏ) ได้แก่ ความเกิดขึ้น.. ในบทว่า อายตนานํ นี้ พึงทราบการสงเคราะห์ด้วยสามารถมนายตนะที่เกิดขึ้นในภพนั้น. บทว่า ปฏิลาโภ (ความได้เฉพาะ) ได้แก่ ความปรากฏในการสืบต่อนั่นเอง เพราะการปรากฏนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า การได้เฉพาะ. คำว่า อยํ วุจฺจติ ชาติ (นี้เรียกว่าชาติ) ความว่า นี้ เรากล่าวเรียกว่า ชาติ. ก็ชาตินี้นั้น ตตฺถ ตตฺถ ภเว ปฐมาภินิพฺพตฺติลกฺขณา มีการเกิดก่อนในภพนั้นๆ เป็นลักษณะ นิยฺยาตนรสา มีการมอบให้เป็นกิจ (๑) อตีตภวโต อิธ อุมฺมุชฺชนปจฺจุปฏฺานา มีการจากภพอดีตมาโผล่ขึ้นในภพนี้เป็นปัจจุปัฏฐาน ผลวเสน ทุกฺขวิจิตฺตตาปจฺจุปฏฺฐานา วา อีกอย่างนี้ มีความวิจิตร (รวบรวมไว้) ซึ่งทุกข์ด้วยอำนาจผลเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พึงทราบอรรถแห่งชาติเป็นทุกข์

บัดนี้ พึงทราบข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งชาติเป็นทุกข์ จริงอยู่ ชาตินี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่ตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งให้ทุกข์เกิด.

ถามว่า ก็ชาตินี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ชนิดไหน?

ตอบว่า ชาตินี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์นั้นแม้ทั้งหมด คือทุกข์ที่เป็นไปในอบายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้ ด้วยสามารถอุปมาในสูตรทั้งหลายมีพาลปัณฑิตสูตรเป็นต้น และทุกข์ที่เกิดขึ้นในสุคติภูมิอันต่างด้วยทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูลเป็นต้น ในมนุษยโลก. ในอธิการนี้ พึงทราบทุกข์อันต่างด้วยทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูลเป็นต้นต่อไป.


(๑) ผู้รู้อธิบายว่า มีการเป็นไปคล้ายกับมอบขันธ์ที่มีขอบเขตในแต่ละภพให้แก่สัตว์เป็นกิจ ฏีกาว่า ดุจมอบสันดานให้ และดุจบอกว่า จงรับเอาไป

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 321

ว่าด้วยทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูล

จริงอยู่ สัตว์นี้เมื่อบังเกิดในท้องมารดา มิได้บังเกิดในที่ทั้งหลายมีดอกอุบล ดอกปทุม และดอกปุณฑริกเป็นต้น โดยที่แท้ย่อมบังเกิดในบริเวณท้องซึ่งน่าเกลียดอย่างยิ่ง เป็นการหมกอยู่ในป่าใหญ่คือสิ่งไม่สะอาดและกลิ่นเหม็นยิ่งนัก อบอวลด้วยกลิ่นซากศพต่างๆ มืดตื้อคับแคบอย่างยิ่ง ในท่ามกลางพื้นท้องและกระดูกสันหลังภายใต้กระเพาะอาหารใหม่บนกระเพาะอาหารเก่า เหมือนหนอนเกิดอยู่ในปลาเน่า ในขนมบูด และน้ำคลำเป็นต้น. สัตว์นั้นบังเกิดในท้องนั้นแล้วถูกไออุ่นที่เกิดในท้องมารดา ๑๐ เดือน อบดุจห่อข้าวนึ่งอยู่ดุจก้อนแป้ง เว้นจากอาการมีการคู้เข้าและเหยียดออกเป็นต้นเสวยอยู่ซึ่งทุกข์มีประมาณยิ่งแล.

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูลก่อน.

ว่าด้วยทุกข์มีการบริหารครรภ์เป็นมูล

อนึ่ง สัตว์นั้นย่อมเสวยทุกข์ใดมีประมาณยิ่ง ด้วยพากเพียรของมารดามีการคร่าไป คร่าไปทั่ว ซัดลง ซัดขึ้นเป็นต้น ในอิริยาบถทั้งหลายมีการลื่นถลา การเดิน การนั่ง การลุกขึ้น และในการหมุนตัวเป็นต้นโดยผลุนผลัน เป็นเหมือนลูกแพะในเงื้อมมือของนักเลงสุรา และเป็นเหมือนลูกงูในเงื้อมมือของหมองู และสัตว์นั้นย่อมเสวยทุกขเวทนากล้าอันใด คือในเวลาที่มารดาดื่มน้ำเย็น ก็เป็นเหมือนบังเกิดในสีตนรก ในเวลาที่มารดากลืนกินยาคูร้อนและภัตร้อนเป็นต้นก็เป็นเหมือนฝนถ่านเพลิงประพรมไปโดยรอบ ในเวลาที่มารดากลืนของเค็มและเปรี้ยวเป็นต้น ก็เป็นเหมือนสัตว์ถึงกรรมกรณ์ โดยวิธีราดด้วยน้ำด่างเป็นต้น.

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการบริหารครรภ์เป็นมูล.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 322

ว่าด้วยทุกข์มีความวิบัติแห่งครรภ์เป็นมูล

อนึ่ง เมื่อมารดาของสัตว์นั้นมีครรภ์หลง ทุกข์ใดย่อมเกิดขึ้นโดยอาการมีการผ่าตัดเป็นต้นในที่เป็นที่เกิดแห่งทุกข์อันไม่ควรเห็นแม้แต่มิตร อำมาตย์ และเพื่อนเป็นต้น.

ทุกข์นี้ มีการพิบัติแห่งครรภ์เป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีการคลอดเป็นมูล

เมื่อมารดากำลังคลอด ทุกข์ใดเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้ถูกลมกรรมชวาตให้พลิกกลับลงไปโดยลำดับสู่ช่องกำเนิดอันน่ากลัวยิ่ง ดุจปล่องเหวผลักไปทางช่องกำเนิดอันคับแคบยิ่ง ดุจช้างใหญ่ถูกผลักออกทางช่องลูกดาล และดุจสัตว์นรกถูกภูเขากระทบบดให้แหลกเป็นจุณไป.

ทุกข์นี้ มีการคลอดเป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีการออกนอกครรภ์เป็นมูล

อนึ่ง ทุกข์ใดย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้คลอดแล้วซึ่งมีสรีระยังอ่อนแอเช่นกับแผลใหม่ ในคราวที่เขาเอามือจับอาบน้ำชำระและเช็ดด้วยท่อนผ้าเป็นต้น ก็จะเป็นเช่นกับเจาะด้วยเข็มและการผ่าด้วยมีดโกน

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการออกนอกครรภ์มารดาเป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีความพยายามของตนเป็นมูล

เบื้องหน้าแต่นี้ไปในปวัตติกาล ทุกข์ใดย่อมมีแก่สัตว์ผู้ฆ่าตนเองก็ดี ผู้ประกอบความเพียรโดยการทำตัวให้เร่าร้อน ให้เร่าร้อนทั่วด้วยสามารถ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 323

แห่งวัตรมีอเจลกวัตรเป็นต้นก็ดี ผู้อดอาหารและผู้แขวนตัวเองด้วยอำนาจความโกรธก็ดี

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการพยายามของตนเป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีความพยายามของผู้อื่นเป็นมูล

อนึ่ง ทุกข์ใดย่อมเกิดแก่ผู้เสวยทุกข์มีถูกฆ่าและจองจำเป็นต้นจากผู้อื่น

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการพยายามของผู้อื่นเป็นมูล.

ชาตินี้เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์นี้แม้ทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้ เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำคาถานี้ไว้ว่า

ชาเยถ โน เจ นรเกสุ สตฺโต

ตตฺถคฺคิทาหาทิกมปฺปสยฺหํ

ลเภถ ทุกขํ น กุหึ ปติฏฺํ

อิจฺจาห ทุกฺชาติ มนีธ ชาตึ

หากว่า สัตว์ไม่พึงเกิดในนรกไซร้ เขาก็ไม่พึงได้ทุกข์ มีการถูกเผาไหม้ในนรกนั้นเป็นต้น ที่ใครๆ อดกลั้นไม่ได้ ไม่มีที่พึ่งในที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น พระมุนีจึงกล่าวความเกิดในโลกนี้ว่า เป็นทุกข์.

ทุกฺขํ ติรจฺเฉสุ กสาปโตท

ทณฺฑาภิฆาฏาทิภวํ อเนกํ

ยนฺตํ กถํ ตตฺถ ภเวยฺย ชาตึ

วินา ตหึ ชาติ ตโตปิ ทุกฺขา

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 324

ความทุกข์ในพวกสัตว์เดรัจฉานมีการกระหน่ำด้วยแส้ ปฏัก และท่อนไม้เป็นต้น มิใช่น้อย เว้นชาติเสีย ทุกข์พึงมีในพวกสัตว์นั้นได้อย่างไร แม้เพราะเหตุนั้น ชาติจึงชื่อว่า เป็นทุกข์ในพวกสัตว์นั้น.

เปเตสุ ทุกฺขํ ปน ขุปฺปิปาสา

วาตาตปาทิปฺปภวํ วิจิตฺตํ

ยสฺมา อชาตสฺส น ตตฺถ อตฺถิ

ตสฺมาปิ ทุกฺขํ มุนิ ชาติมาห

อนึ่ง ทุกข์ชนิดต่างๆ ในพวกเปรต อันมีแดนเกิดแต่ลมและแดดเป็นต้นเพราะความหิวกระหาย ย่อมไม่มีแก่สัตว์ผู้ไม่เกิดในพวกเปรตนั้น แม้เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ก็กล่าวว่า ชาติ (ความเกิดในพวกเปรตนั้น) เป็นทุกข์.

ติพฺพนฺธนกาเร จ อสยฺหสีเต

โลกนฺตเร ยํ อสุเรสุ ทุกฺขํ

น ตํ ภเว ตตฺถ น จสฺส ชาติ

ยโต อยํ ชาติ ตโตปิ ทุกฺขา

อนึ่ง ทุกข์ในพวกอสุรกายที่มีในโลกันตร์ซึ่งเย็นทนไม่ได้ มืดตื้อ จะไม่พึงมีในพวกอสุรกายนั้น ก็เพราะไม่มีความเกิด แม้เพราะเหตุนั้น ชาตินี้ ก็ชื่อว่า เป็นทุกข์.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 325

ยญฺจาปิ คูถนรเก วิย มาตุ คพฺเภ

สตฺโต วสญฺจิรมโต พหิ นิกฺขมญฺจ

ปปฺโปติ ทุกฺขมติ โฆรมิทํปิ นตฺถิ

ชาตี วินา อิติปิ ชาติรยํ หิ ทุกฺขา

อนึ่ง สัตว์ในครรภ์มารดา อันเป็นราวกะคูถนรก โดยการอยู่ตลอดกาลนานก็ดี ออกจากครรภ์มาภายนอกก็ดี ย่อมถึงทุกข์แม้ใดอันร้ายแรง ทุกข์แม้นี้เว้นความเกิดเสียย่อมไม่มี แม้เพราะเหตุนั้น ความเกิดนั้นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์.

กึ ภาสิเตน พหุนา นนุ ยํ กุหิญฺจิ

อตฺถีธ กิญฺจิรปิ ทุกฺขมิทํ กทาจิ

เนวตฺถิ ชาติวิรเห ยทโต มเหสิ

ทุกฺขาติ สพฺพปมํ อิมมาห ชาตึ

ประโยชน์อะไรด้วยการกล่าวมากไป ทุกข์นี้แม้ไรๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีในที่ไหนๆ จะไม่มีในกาลไหนๆ เพราะเว้นจากความเกิดมีไม่ได้ มิใช่หรือ เพราะเหตุนั้น พระมหาฤาษี จึงตรัสความเกิดนี้ว่า เป็นทุกข์ก่อนทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 326

ว่าด้วยนิเทศชรา

(บาลีข้อ ๑๔๗)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศชรา ต่อไป

บทว่า ชรา (ความคร่ำคร่า) เป็นคำบอกสภาวะเฉพาะตน. บทว่า ชีรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เป็นศัพท์แสดงถึงอาการ.

ศัพท์ทั้ง ๓ มีคำว่า ขณฺฑิจฺจํ (ความที่ฟันหลุด) เป็นต้น เป็นศัพท์แสดงถึงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านไป สองศัพท์หลังเป็นการอธิบายความตามปกติ (๑)

จริงอยู่ ชรานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยภาวะของตนด้วยบทว่า ความคร่ำคร่า นี้. เพราะเหตุนั้น บทว่า ความคร่ำคร่า นี้ จึงเป็นคำบอกสภาวะเฉพาะตนแห่งบทว่า ความคร่ำคร่า นั้น. ทรงแสดงชรานั้นโดยอาการ ด้วยบทว่า ชีรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เพราะเหตุนั้น ศัพท์ว่า ชีรณตา นี้ จึงเป็นการอธิบายถึงอาการของชรานั้น.

ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจํ นี้ พระผู้นีพระภาคเจ้าทรงแสดงชราโดยกิจ คือกระทำความเป็นผู้มีฟันและเล็บหักในเมื่อล่วงกาลผ่านไป. ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ (ความที่ผมหงอก) นี้ ทรงแสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มีผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตฺตจตา (ความที่หนังเหี่ยวย่น) นี้ ทรงแสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มีเนื้อเหี่ยวแล้ว หนังย่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ศัพท์ทั้ง ๓ มีอาทิว่า ขณฺฑิจฺจํ (ความที่ฟันหลุด) เหล่านี้ จึงเป็นศัพท์แสดงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านไปของชรานั้น. ด้วยศัพท์ทั้ง ๓ นั้น พระองค์ทรงแสดง ปากฏชรา ว่า ชรานั้นเป็นธรรมชาติปรากฏแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเห็นภาวะเหล่านี้เป็นของพิการไป เปรียบเหมือนทางเดินของน้ำ หรือ


(๑) คือ อายุโน สํหานิ ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 327

ลมหรือไฟย่อมปรากฏเพราะความที่หญ้าและต้นไม้เป็นต้นหักโค่นทลายแล้วหรือถูกไฟไหม้ และทางที่เป็นไปแล้วนั้นมิใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย ข้อนี้ ฉันใด ทางเดินของเรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมปรากฏที่ฟันเป็นต้น ด้วยอำนาจลักษณะมีภาวะที่หักเป็นต้น ใครๆ แม้ลืมตาก็รู้ได้ แต่ลักษณะมีภาวะที่ฟันหักเป็นต้นเท่านั้น มิใช่ชรา เพราะชรามิใช่สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยตา.

อนึ่ง ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก (ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) พระองค์ทรงแสดงชราโดยปกติ กล่าวคือความสิ้นอายุ และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ซึ่งปรากฏเฉพาะในเมื่อล่วงกาล ผ่านไปเท่านั้น เพราะเหตุนั้น สองศัพท์หลังเหล่านี้ พึงทราบว่า เป็นศัพท์อธิบายความตามปกติของชรานั้น บรรดาบททั้ง ๒ (คือความเสื่อมสิ้นแห่งอายุและความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) นั้น เพราะอายุของผู้ถึงชราแล้วย่อมเสื่อม ฉะนั้น ชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส โดยผลูปจารนัยว่า ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ. อนึ่ง เพราะอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มเป็นของผ่องใสดี สามารถรับวิสัยของตนแม้ละเอียดได้โดยง่ายที่เดียว เมื่อเขาถึงชราแล้ว เป็นอินทรีย์หง่อมแล้ว สับสนไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถรับวิสัยของตนแม้หยาบได้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อินฺทฺริยานํ ปริปาโก (ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) โดยผลูปจารนัยที่เดียว.

ว่าด้วยชรา ๒ อย่าง

อนึ่ง ชราแม้ทั้งหมดที่ทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างไว้อย่างนี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 328

ปากฏชรา

ปฏิจฉันชรา.

บรรดาชราทั้ง ๒ นั้น ชราในรูปธรรม ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงภาวะมีการหักเป็นต้นในอวัยวะมีฟันเป็นต้น ส่วนชราในอรูปธรรม ชื่อว่า ปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงวิการเช่นนั้น.

ในชราทั้ง ๒ นั้น ภาวะมีความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้นนี้นั้น เป็นวรรณะ (สี) เท่านั้น เพราะความที่อวัยวะมีฟันเป็นต้นเช่นนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้โดยง่าย บุคคลเห็นวรรณะ (สี) นั้นด้วยจักษุแล้วก็คิดทางมโนทวาร ย่อมทราบชราว่า ขันธ์เหล่านี้ถูกชราประหารแล้ว ดุจการแลดูวัตถุทั้งหลายมีเขาโคเป็นต้นที่ผูกไว้ในที่เป็นที่ตั้งแห่งน้ำ ก็จะทราบได้ว่า ภายใต้มีน้ำ ฉะนั้น.

ชรานี้ มีอีก ๒ อย่าง คือ

อวีจิชรา (ชราไม่มีร่องรอย)

สวีจิชรา (ชรามีร่องรอย).

บรรดาชราทั้ง ๒ นั้น ชรา (ความคร่ำคร่า) ของแก้วมณี ทอง เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์เป็นต้น ชื่อว่า อวีจิชรา เพราะความพิเศษแห่งสีเป็นต้นในระหว่างๆ เป็นของที่รู้ได้โดยยาก เหมือนความแปลกแห่งสีเป็นต้นของสัตว์มีชีวิตในพวกมันททสกะเป็นต้น และสิ่งไม่มีชีวิตในพวกที่เป็นดอกไม้ผลไม้และใบอ่อนเป็นต้น. มีอธิบายว่าเป็นนิรันตรชราคือ ชราไม่มีระหว่าง แต่ชรา (ความคร่ำคร่า) ในสิ่งอื่นๆ จากวัตถุมีแก้วมณีเป็นต้นนั้น ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความแปลกแห่งสีเป็นต้นในระหว่างๆ เป็นสิ่งที่รู้ได้ง่าย.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 329

ในชราทั้ง ๒ นั้น สวีจิชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งอุปาทินนรูป และอนุปาทินนรูป. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ฟันน้ำนมของพวกเด็กๆ ย่อมเกิดก่อนทีเดียว ฟันเหล่านั้นไม่ถาวร แต่เมื่อฟันเหล่านั้นหักไปแล้ว ฟันก็จะตั้งขึ้นอีก ฟัน (แท้) เหล่านั้นครั้งแรกเป็นสีขาว ย่อมเป็นสีดำในเวลาถูกลมคือชรากระทบ. อนึ่ง ผมครั้งแรกย่อมเป็นสีแดงบ้าง สีดำบ้าง ขาวบ้าง. ส่วนผิวย่อมมีสีแดง เมื่อบุคคลกำลังเจริญๆ บุคคลขาวก็จะปรากฏเป็นสีขาว บุคคลดำก็จะปรากฏเป็นสีดำ แต่เมื่อถูกลมคือชรากระทบแล้ว ผิวนั้นก็จะจับรอยย่น. ข้าวกล้าแม้ทั้งหมดในเวลาที่หว่านแล้ว ย่อมงอกเป็นสีขาว ภายหลังจะเป็นสีเขียว แต่ในเวลาถูกลมคือชรากระทบแล้วก็เป็นสีเหลือง จะแสดงแม้ด้วยหน่อมะม่วงก็ควรเหมือนกัน. คำว่า อยํ วุจฺจติ ชรา (นี้เรียกว่าชรา) ความว่า นี้เรากล่าวให้ชื่อว่า ชรา.

ก็ชรานี้นั้น ขนฺธปริปากลกฺขณา มีความแก่ของขันธ์เป็นลักษณะ มรณูปนยนรสา มีการนำเข้าไปหาความตายเป็นกิจ โยพฺพนวินาสปจฺจุปฏฺานา มีความพินาศแห่งวัยหนุ่มสาวเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์

ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ นี้ ต่อไป แม้ชรานี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งของทุกข์.

ถามว่า เป็นที่ตั้งของทุกข์ไหน.

ตอบว่า ของทุกข์ทางกาย และทุกข์คือโทมนัส.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 330

จริงอยู่ อัตภาพของคนชราแล้วย่อมทุรพล เหมือนเกวียนเก่าคร่ำคร่า เมื่อเขาพยายามเพื่อจะยืน หรือเดิน หรือนั่ง ย่อมเกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรง เมื่อบุตรและภรรยาไม่ค่อยสนใจเหมือนแต่ก่อนก็เกิดโทมนัส พึงทราบชรา เป็นทุกข์ โดยความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้งสองด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง (ท่านประพันธ์เป็นคาถาไวัว่า)

อนึ่ง สัตว์ย่อมถึงทุกข์ใด ทั้งทางกาย และทางใจ เพราะความที่อวัยวะหย่อนยาน เพราะความพิการแห่งอินทรีย์ เพราะความ พินาศแห่งความหนุ่มสาว เพราะกําลังถูกบั่นทอน เพราะปราศจากคุณมีสติเป็นต้น และบุตรภรรยาของตนไม่เลื่อมใส และถึงความเป็นคนพาลอย่างยิ่ง ทุกข์ทั้งหมดนี้มีชราเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ชราจึงเป็นทุกข์แล.

ว่าด้วยนิเทศมรณะโดยสมมติ

พึงทรานวินิจฉัยในนิเทศมรณะ ต่อไป

ที่ชื่อว่า จุติ ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เคลื่อน (จากภพ) คำว่าจุตินี้ เป็นคำพูดธรรมดาของจุติที่เป็นขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕. บทว่า จวนตา (ภาวะที่เคลื่อน) เป็นบทแสดงไขถึงลักษณะโดยกล่าวถึงภาวะ บทว่า เภโท (ความทำลาย) เป็นบทอธิบายความเกิดขึ้นแห่งภังคะ (ความดับ)

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 331

ของขันธ์ที่จุติ. บทว่า อนฺตรธานํ (ความหายไป) เป็นบทอธิบายความไม่มีที่ตั้งโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งของจุติขันธ์ที่แตกดับ ดุจหม้อที่แตกไป ฉะนั้น. บทว่า มจฺจุมรณํ แปลว่า มฤตยูคือความตาย มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด ชื่อว่า กาละ การกระทำของกาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา (ความทำกาละ).

มรณะโดยสมมติ เป็นคำอันข้าพเจ้าแสดงแล้วเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งมรณะโดยปรมัตถ์

บัดนี้ เพื่อกำหนดมรณะโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ขนฺธานํ เภโท (ความแตกแห่งขันธ์) เป็นต้น.

จริงอยู่ ว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นย่อมแตกไป ขึ้นชื่อว่า สัตว์ไรๆ ย่อมตายหามีไม่ แต่เมื่อขันธ์ทั้งหลายกำลังแตก สัตว์ก็ย่อมมีโวหารว่ากำลังตาย เมื่อขันธ์แตกแล้ว ก็มีโวหารว่า สัตว์ตายแล้ว ก็ในอธิการนี้ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจจตุโวการภพ และปัญจโวการภพ. ความทอดทิ้งซากศพ (กเฬวรสฺส นิกฺเขโป) ด้วยอำนาจเอกโวการภพ. อีกอย่างหนึ่ง ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจขันธ์ ๔ (จตุโวการภพ) ความทอดทิ้งซากศพไว้พึงทราบด้วยอำนาจภพทั้ง ๒ ที่เหลือ เพราะเหตุไร? เพราะ การเกิดแห่งซากศพกล่าวคือรูปกาย ย่อมมีในภพแม้ทั้ง ๒ อีกอย่างหนึ่ง เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นย่อมแตกไปนั่นเอง ไม่ทิ้งอะไรๆ ไว้ ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งขันธ์ในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น ความทอดทิ้งซากศพย่อมมีในพวกมนุษย์เป็นต้น. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความตายโดยเหตุแห่งการทอดทิ้งร่างกายว่า การทิ้งซากศพ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 332

ด้วยบทว่า ชีวิตินฺทฺริยสฺส อุปจฺเฉโท (ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า ความตายของขันธ์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นมีอยู่ ขึ้นชื่อว่า ความตายของขันธ์ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์หามีไม่ แค่คำว่า ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตาย นี้ เป็นเพียงโวหารเท่านั้น แต่เมื่อว่าโดยอรรถแล้ว คำพูดเช่นนี้ย่อมแสดงถึงความที่สรรพสิ่งทั้งหลายมีข้าวกล้าเป็นต้นเป็นของสิ้นไปเสื่อมไปนั่นเอง.

คำว่า อิทํ วุจฺจจิ มรณํ (นี้เรียกว่ามรณะ) ความว่า แม้ทั้งหมดนี้ เราก็เรียกชื่อว่า มรณะ.

อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า มรณะ นี้ พึงทราบประเภทแม้นี้ คือ

ขณิกมรณะ (ตายทุกขณะ)

สมมติมรณะ (ตายโดยสมมติ)

สมุจเฉทมรณะ (ตายโดยตัดขาด).

บรรดามรณะเหล่านั้น ความแตกแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมในปวัตติกาล ชื่อว่า ขณิกมรณะ. ความตายนี้ว่า ท่านติสสะตาย ท่านปุสสะตาย เป็นต้น ชื่อว่า สมมติมรณะ. การทำกาละของพระขีณาสพไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่า สมุจเฉทมรณะ. แต่ในนิเทศนี้ พระองค์ประสงค์เอาสมมติมรณะ แม้คำว่า ความตายเพราะความเกิดเป็นปัจจัย ความตายด้วยความพยายาม ความตายโดยหน้าที่ ความตายเพราะสิ้นอายุ ดังนี้ ก็เป็นชื่อความตายโดยสมมตินั่นเอง.

ความตายโดยสมมตินี้นั้น จุติลกฺขณํ มีการเคลื่อนจากภพเป็นลักษณะ วิโยครสํ มีการพรากไปเป็นกิจ วิปฺปวาสปจฺจุปฏฺานํ มีการปราศจากภพเก่าเป็นปัจจุปัฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 333

พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์ ต่อไป. แม้มรณะนี้ตัวเองก็ไม่เป็นทุกข์ แต่พระองค์ตรัสว่า ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ เพราะเวทนามีในสรีระแม้เกิดในที่สุดแห่งความตายจะเผาสรีระ เหมือนคบหญ้าติดไฟที่ถือไว้ทวนลม ในเวลาที่นิมิตแห่งนรกเป็นต้นปรากฏ โทมนัสรุนแรงย่อมเกิดขึ้น.

พึงทราบมรณะว่าเป็นทุกข์ โดยเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ นี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

เพราะความตายนี้ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ใจของคนใกล้ตายที่เป็นคนลามกซึ่งเห็นนิมิตมีกรรมอันลามกเป็นต้นอยู่โดยลำดับ สำหรับคนดีผู้ไม่สามารถข่มความพลัดพรากจากวัตถุอันเป็นที่รัก (คือสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักใคร่) ได้ แม้ทุกข์ซึ่งเกิดในสรีระมีโรคลมอันตัดข้อต่อและเส้นเอ็นเป็นต้น ซึ่งข่มไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ ที่มีแก่เหล่าสัตว์ทั้งปวง ที่กำลังถูกโรคเสียดแทงเป็น ธรรมดา โดยไม่แปลกกันนี้ ฉะนั้น มรณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นทุกข์ เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 334

ว่าด้วยทุกข์ทั้ง ๓ ดังข้าศึก ๓ คน

อีกนัยหนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ชาติ ชรา และมรณะเหล่านี้ ย่อมเที่ยวแสวงหาโอกาส ดุจปัจจามิตรผู้เข่นฆ่าสัตว์เหล่านี้ คือ เปรียบเหมือนข้าศึก ๓ คนของบรุษผู้คอยโอกาสเฝ้าดูอยู่ คนหนึ่งพูดว่า ข้าจักกล่าวชมชื่อป่าโน้นแล้ว จักพาเขาไปในป่านั้น ในเรื่องนี้ไม่มีอะไรที่ทำได้ยากสำหรับเรา. คนที่ ๒ พูดว่า ในเวลาที่เจ้าพาคนนี้ไป เราจักโบยตีกระทำให้ทุรพล ในเรื่องนี้ไม่มีอะไรยาก สำหรับเรา. คนที่ ๓ พูดว่า เมื่อเจ้าโบยตีทำบุรุษนี้ให้หมดกำลังแล้ว ชื่อว่า เอาดาบคมตัดศีรษะ จงเป็นหน้าที่ของเราเถิด ดังนี้. ข้าศึกทั้ง ๓ นั้นครั้นพูดอย่างนั้นแล้ว ก็กระทำอย่างนั้น.

ในการอุปมานั้น ชื่อว่า การคร่าออกจากวงของเพื่อนและญาติแล้ว ให้เกิดในภพใดภพหนึ่ง ดุจเวลาที่ข้าศึกคนที่หนึ่งกล่าวชมป่าแล้วพาบุรุษนั้นไปในป่านั้น พึงทราบว่า เป็นหน้าที่ของชาติ (ความเกิด). การที่ขันธ์ซึ่งเกิดขึ้นแล้วตกไป (คืออ่อนกำลังลง) แล้ว ทำให้เป็นผู้พึ่งคนอื่นและมีเตียงนอนเป็นเบื้องหน้า ดุจข้าศึกคนที่ ๒ โบยตีทำให้เป็นผู้ทุรพล พึงทราบว่า เป็นหน้าที่ของชรา. การให้ถึงความสิ้นชีวิต ดุจข้าศึกคนที่ ๓ เอาดาบคมตัดศีรษะ พึงทราบว่า เป็นหน้าที่ของมรณะ ฉะนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในทุกข์ทั้ง ๓ นี้ พึงเห็นชาติทุกข์ เหมือนการเข้าสู่ทางกันดารใหญ่ที่มีโทษ. พึงเห็นชราทุกข์ เหมือนความเป็นผู้ทุรพลที่อดข้าวและน้ำในทางกันดารนั้น. พึงเห็นมรณทุกข์ เหมือนการให้ถึงความพินาศด้วยเครื่องผูกมัดเป็นต้น แก่คนทุรพลผู้มีความพยายามให้อิริยาบถเป็นไปถูกขจัดแล้วแล.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 335

ว่าด้วยนิเทศโสกะ

(บาลีข้อ ๑๔๙)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศโสกะ ต่อไป

สภาวะใด ย่อมถึงความพราก อธิบายว่า ย่อมชัดไป คือย่อมกำจัดประโยชน์เกื้อกูลและความสุข เพราะเหตุนั้น สภาวะนั้นจึงชื่อว่า พยสนะ (ความเสื่อม) ความเสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ อธิบายว่า ความสิ้นญาติคือความพินาศแห่งญาติ ด้วยภัยแต่โจรและโรคเป็นต้น คือด้วยความเสื่อมแห่งญาตินั้น.

บทว่า ผุฏฺสฺส (ของผู้ที่ถูกกระทบ) ได้แก่ ของบุคคลผู้อันความเสื่อมท่วมทับแล้ว ครอบงำแล้ว คือประกอบพร้อมแล้ว. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้แหละ.

แต่ความแปลกกันมี ดังนี้.

ความเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย ชื่อว่า โภคพยสนะ อธิบายว่า ความสิ้นโภคะ ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยอำนาจแห่งภัยมีราชภัยและโจรภัยเป็นต้น. ความเสื่อมคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ จริงอยู่ โรคย่อมยังความไม่มีโรคให้พราก คือย่อมให้พินาศไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ. ความพินาศแห่งศีล ชื่อว่า สีลพยสนะ (ความเสื่อมศีล) คำว่า สีลพยสนะ นี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ทุศีล. ความเสื่อมคือทิฏฐิซึ่งยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศเกิดขึ้น ชื่อว่า ทิฏฐิพยสนะ (๑) (ความเสื่อมทิฏฐิ). อนึ่ง บรรดาความเสื่อม ๕ เหล่านี้ ความเสื่อม ๒ เบื้องต้น (คือความเสื่อมญาติ และความเสื่อมโภคทรัพย์) เป็นของยังไม่เกิดขึ้น แต่ความเสื่อมหลัง ๓ (คือความเสื่อมด้วยโรค ความเสื่อมศีล ความเสื่อมทิฏฐิ) เป็นของเกิดขึ้นแล้ว คือถูกไตรลักษณ์


(๑) หมายถึงความเสื่อมจากสัมมาทิฏฐิ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 336

กระทบแล้ว. อนึ่งความเสื่อม ๓ แรกไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ความเสื่อม ๒ คือ ศีลและทิฏฐิเป็นอกุศล.

บทว่า อญฺตรญฺตเรน (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาความเสื่อมทั้งหลายมีความเสื่อมจากมิตรและอำมาตย์เป็นต้นที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งถือเอาก็ตามไม่ถือเอาก็ตาม.

บทว่า สมนฺนาคตสฺส (ของบุคคลผู้ประกอบ) ได้แก่ ของผู้พัวพันอยู่คือผู้ยังไม่พ้นไป.

บทว่า อญฺตรญฺตเรน ทุกฺขธมฺเมน (ด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นแห่งทุกข์คือความโศกอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า โสโก (ความโศก) ที่ชื่อว่า ความโศก ด้วยอำนาจความเศร้าโศก คำว่า ความโศก นี้เป็นคำบอกสภาวะเฉพาะของความโศกที่เกิดขึ้นด้วยเหตุเหล่านี้. บทว่า โสจนา (กิริยาที่โศก) ได้แก่ อาการของความโศกเศร้า. ความเป็นแห่งความโศกเศร้าชื่อว่า โสจิตตฺตํ (สภาพโศกเศร้า).

บทว่า อนฺโตโสโก (ความแห้งผากภายใน) ได้แก่ ความโศก เศร้าในภายใน. บทที่ ๒ (อนฺโตปริโสโก ความแห้งกรอบภายใน) ทรงเพิ่มบทอุปสรรค. จริงอยู่ ความโศกเศร้านั้นยังภายในให้แห้งผาก ให้แห้งกรอบ เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ความแห้งผากภายใน และความแห้งกรอบภายใน.

บทว่า เจตโส ปริชฺฌายนา (ความเกรียมใจ) ได้แก่ อาการที่เผาจิต เพราะความโศกเศร้า เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาจิต ย่อมไหม้จิตอย่างเดียว

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 337

ย่อมยังบุคคลให้บ่นว่า จิตของเราเกรียมแล้ว ไม่มีอะไรๆ แจ่มใส ดังนี้. มนะที่ถึงทุกข์ ชื่อว่า ทุมฺมโน (เสียใจ) ภาวะแห่งทุมมนะนั้น ชื่อว่า ความโทมนัส ชื่อว่า ลูกศร คือ ความโศกเศร้า ด้วยอรรถว่าแล่นเข้าไปโดยลำดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสกสัลลํ (ลูกศรคือความโศก).

คำว่า อยํ วุจฺจติ โสโก (นี้เรียกว่า โสกะ) ความว่า นี้เราย่อมเรียกชื่อว่า โสกะ ก็ความโศกนี้ว่าโดยใจความก็ได้แก่ โทมนัสเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโศกนั้น อนฺโตนิชฺฌายนลกฺขโณ มีการเผาไหม้ภายในเป็นลักษณะ เจตโส ปรินิชฺฌายนรโส มีการเผารนใจเป็นรส อนุโสจนปจฺจุปฏฺาโน มีความเศร้าโศกเนืองๆ เป็นปัจจุปัฏฐาน (๑)

พึงทราบอรรถแห่งความโศกเป็นทุกข์

ก็ในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งความโศกเป็นทุกข์ นี้ ความว่า โศกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะความโศกนั้นเป็นสภาวทุกข์ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์.

ถามว่า ของทุกข์ไหน?

ตอบว่า ของทุกข์กาย และทุกข์คือโทมนัสในขณะแห่งชวนะ.

จริงอยู่ ด้วยกำลังแรงของความโศก ฝีใหญ่ย่อมตั้งขึ้นที่หัวใจสุกงอมแล้วย่อมแตกออก และโลหิตดำย่อมไหลออกทางปากแผล ทุกข์ทางกายรุนแรงย่อมเกิดขึ้น. เมื่อครุ่นคิดอยู่ว่า ญาติของเราเท่านี้สิ้นไปแล้ว โภคะของเราเท่านี้สิ้นไปแล้ว ดังนี้ โทมนัสแรงกล้าก็เกิดขึ้นได้.


(๑) คำว่า โทสจิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐาโน โศกมีโทสจิตตุปบาทเป็นปทัฏฐาน ในที่นี้ท่านไม่กล่าวไว้.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 338

พึงทราบโศกนี้ว่าเป็นทุกข์ เพราะความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้ง ๒ นี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง

สตฺตานํ หทยํ โสโก สลฺลํ วิย วิตุชฺชติ

อคฺคีตตฺโตว นาราโจ ภูสญฺจ อุหเต ปุน,

สมาวหติ จ พฺยาธิ ชรามรณเภทนํ

ทุกฺขํปิ วิวิธํ ยสฺมา ตสฺมา ทุกฺโขติ วุจฺจติ

โศก ย่อมเสียดแทงหทัยของเหล่าสัตว์ดุจลูกศร และย่อมแผดเผาอย่างแรงกล้าอีก เหมือนหลาวเหล็กเผาไฟสังหารอยู่ เพราะโศกนั้นย่อมนำมาพร้อมแม้ซึ่งทุกข์ชนิดต่างๆ อันต่างโดยพยาธิ ชรา และมรณะ ฉะนั้นโศกนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นทุกข์แล.

ว่าด้วยนิเทศปริเทวะ

(บาลีข้อ ๑๕๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศปริเทวะ ต่อไป

ที่ชื่อว่า อาเทโว (ความร้องไห้) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์เปล่งเสียงร้องไห้โดยอ้างว่า ธิดาของฉัน บุตรของฉัน ดังนี้ ที่ชื่อว่า ปริเทโว (ความคร่ำครวญ) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์คร่ำครวญประกาศถึงคุณของธิดาและบุตรนั้นๆ. ๒ บทข้างหลัง จาก ๒ บทข้างหน้า (๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยการขยายความโดยอาการและภาวะของ ๒ บทข้างหน้านั่นเอง. บทว่า วาจา


(๑) ได้แก่ คำว่า กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ สภาพที่ร้องไห้ สภาพที่คร่ำครวญ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 339

ก็คือคำพูด. คำที่พูดเปล่าไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า ปลาโป (พูดพร่ำ) พูดพร่ำจนน่าเกลียดด้วยอำนาจการพูดครึ่งๆ กลางๆ และพูดไปอย่างอื่นเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปฺปลาโป (ความพร่ำเพ้อ). บทว่า ลาลโป (ความพิไรร่ำ) ได้แก่ การพูดซ้ำซาก อาการแห่งการพูดซ้ำซาก ชื่อว่า ลาลปนา (กิริยาที่พิไรร่ำ). ภาวะแห่งกิริยาพิไรร่ำ ชื่อว่า ลาลปฺปิตตฺตํ (สภาพพิไร ร่ำ).

คำว่า อยํ วุจฺจติ ปริเทโว (นี้เรียกว่า ปริเทวะ) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า ปริเทวะ. ปริเทวะนั้น ลาลปฺปนลกฺขโณ มีการพิไรร่ำเป็นลักษณะ คุณโทสปริกิตฺตนรโส มีการรำพันถึงคุณและโทษเป็นรส สมฺภมปจฺจุปฏฺาโน มีความวุ่นวายไม่ตั้งมั่นเป็นปัจจุปัฏฐาน (๑)

พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์ ต่อไป. ปริเทวะแม้นี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์กายและทุกข์คือโทมนัส.

จริงอยู่ บุคคลผู้กำลังคร่ำครวญย่อมเอากำปั้นทุบลำตัวของตนได้ ย่อมเอามือทั้ง ๒ ตีอก ขยี้อก ย่อมเอาหัวชนฝาก็ได้ เพราะเหตุนั้น ทุกข์กายอย่างแรงจึงเกิดแก่เขาได้ เขาย่อมคิดเป็นต้นว่า ญาติของเราเท่านี้สิ้นแล้ว เสื่อมแล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น โทมนัสอย่างแรงจึงเกิดขึ้นแก่เขา.


(๑) และคำว่า โทสจิตฺตชมหาภูตปทฏฺฐาโน มีมหาภูตรูปที่เกิดแต่โทสจิตเป็นปทัฏฐาน ท่านไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 340

พึงทราบปริเทวะว่าเป็นทุกข์โดยความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้ง ๒ แม้ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง

ยํ โสกสลฺลวิหโต ปริเทวมาโน

กณฺโฏฺตาลุตลโสสชมปฺปสยหํ

ภิยฺโยธิมตฺตมธิคจฺฉติเยว ทุกฺขํ

ทุกฺโขติ เตน ภควา ปริเทวมาห

บุคคลผู้ถูกลูกศรคือความโศกเสียดแทงแล้ว คร่ำครวญอยู่ ย่อมประสบทุกข์ใดซึ่งทนไม่ได้ อันเกิดแต่แห้งที่คอ ริมฝีปาก พื้นเพดานอย่างยิ่งเหลือประมาณ ด้วยทุกข์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปริเทวะ คือความคร่ำครวญว่าเป็นทุกข์แล.

นิเทศแห่งทุกข์และโทมนัส (บาลีข้อ ๑๕๑ - ๑๕๒) ปรากฏชัดแล้ว เพราะข้าพเจ้าพรรณนาไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ (อรรถกถาอรรถสาลีนี) ในหนหลังนั่นแล. และหมวดธรรม ๔ มีลักษณะเป็นต้นของทุกข์และโทมนัสเหล่านั้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้ในที่นั้นเหมือนกัน.

พึงทราบอรรถกถาแห่งทุกข์เป็นทุกข์เป็นต้น

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ว่า พึงทราบอรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นทุกข์ และพึงทราบอรรถแห่งโทมนัสว่าเป็นทุกข์ต่อไป ทุกข์และโทมนัสแม้ทั้ง ๒ นี้ พระผู้มีพระเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะตัวเองเป็นทุกข์ด้วย เป็นวัตถุที่ตั้ง

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 341

แห่งทุกข์ทางกายและทางจิตด้วย. จริงอยู่ เมื่อบุคคลประสบทุกข์ โดยทุกข์คือการถูกตัดมือตัดเท้า และตัดหูตัดจมูกซึ่งนอนวางกระเบื้องขอทานเก่าไว้ข้างหน้า ในศาลาของคนอนาถา เมื่อมีหมู่หนอนออกจากแผลทั้งหลาย ทุกข์กายรุนแรงย่อมเกิดขึ้น โทมนัสรุนแรงก็ย่อมเกิด เพราะเห็นมหาชนผู้มีเสื้อผ้าย้อมด้วยสีต่างๆ มีเครื่องประดับอันน่าชอบใจเล่นนักกษัตรอยู่.

พึงทราบความที่ทุกข์เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ อย่างนี้ก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง

เพราะทุกข์ทางกายนี้ย่อมบีบคั้น และย่อมให้เกิดทุกข์ทางใจอย่างยิ่ง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นทุกข์โดยพิเศษ (คืออีกอย่างหนึ่ง).

อนึ่ง บุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยทุกข์ทางใจ ย่ดมสยายผม ย่อมขยี้อก ย่อมกลิ้งเกลือกไปมา ย่อมโดดเหว ย่อมนำศัสตรามา ย่อมเคี้ยวยาพิษ ย่อมเอาเชือกแขวนคอ ย่อมเข้าไปสู่กองไฟ เป็นผู้มีความเดือดร้อน โดยประการนั้นๆ เป็นผู้มีจิตรุ่มร้อนอยู่ ย่อมคิดถึงเรื่องวิปริตนั้นๆ.

พึงทราบความที่โทมนัสเป็นวัตถุที่ตั้งของทุกข์ทั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

เพราะโทมนัสย่อมบีบคั้นจิต และย่อมนำความบีบคั้นมาแก่ร่างกาย ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวแม้โทมนัสว่าเป็นทุกข์ เพราะความเสียใจนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 342

ว่าด้วยนิเทศอุปายาส

(บาลีข้อ ๑๕๓)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอุปายาส ต่อไป

ที่ชื่อว่า อายาโส (ความแค้น) ด้วยอรรถว่า ลำบาก คำนี้เป็นชื่อของความลำบากจิตที่เป็นไปโดยอาการตกใจและเศร้าใจ ความแค้นใจอย่างแรงชื่อว่า อุปายาส (ความขุ่นแค้น). ภาวะแห่งบุคคลผู้แค้นใจ ชื่อว่า อายาสิตตฺตํ (สภาพแค้น) ภาวะแห่งบุคคลผู้ขุ่นแค้น ชื่อว่า อุปายาสิตตฺตํ (สภาพขุ่นแค้น).

คำว่า อยํ วุจฺจติ อุปายาโส (นี้เรียกอุปายาส) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า อุปายาส. ก็อุปายาสนี้นั้น พฺยาสตฺติลกฺขโณ มีการติดในอารมณ์ต่างๆ เป็นลักษณะ นิตฺถุนนรโส มีการทอดถอนใจเป็นรส วิสาทปจฺจุปฏฺาโน มีความเศร้าใจเป็นปัจจุปัฏฐาน (๑)

พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์ นี้ต่อไป อุปายาสแม้นี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ ดังนี้ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลถูกพระราชากริ้วถอดยศ มีบุตรและพี่ชายน้องชายถูกประหาร ตัวเองเล่าก็ถูกสั่งฆ่า ก็จะเข้าไปสู่ดงเพราะความกลัวหลบหลีกแล้ว ถึงความเป็นผู้เศร้าใจอย่างใหญ่หลวง ย่อมเกิดทุกข์กายมีกำลัง เพราะยืนเป็นทุกข์ นอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกข์. เมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติของเราเท่านี้ โภคทรัพย์เท่านี้ ฉิบหายแล้ว ดังนี้ โทมนัสมีกำลังก็ย่อมเกิดขึ้น.


(๑) หทยวตฺถุปทฏฺาโน มีหทยวัตถุเป็นปทัฏฐาน (ไม่กล่าวไว้ในที่นี้)

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 343

พึงทราบอุปายาสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์เหล่านี้แม้ทั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

อุปายาส ย่อมยังทุกข์มีประมาณยิ่งอันใดให้เกิดขึ้น เพราะการเผาจิต และทำกายให้เศร้าหมอง เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปายาสว่าเป็นทุกข์.

ว่าด้วยการเปรียบทุกข์ ๓ อย่าง

อนึ่ง บรรดาทุกข์ ๓ อย่างมีโสกะเป็นต้นเหล่านี้ โสกะ พึงเห็นเหมือนการหุงน้ำมันเป็นต้น ในภายในภาชนะเท่านั้น ด้วยไฟอ่อน. พึงเห็น ปริเทวะ เหมือนการล้นออกข้างนอกภาชนะของน้ำมันที่หุงอยู่ด้วยไฟแรง. พึงเห็น อุปายาส เหมือนการเคี่ยวจนแห้งในภายในภาชนะนั้นนั่นแหละ ของน้ำมันเป็นต้น ซึ่งเหลือจากการล้นไปข้างนอกไม่พอที่จะล้นไปได้.

ว่าด้วยนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์

(บาลีข้อ ๑๕๔)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์ ต่อไป

บทว่า ยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส (แปลว่า อันใด...ของ). บทว่า อนิฏฺา (อันไม่เป็นที่ปรารถนา) ได้แก่ ที่เขาไม่แสวงหา คือที่เขาแสวงหาหรือไม่แสวงหาก็ตาม. อนึ่ง บทว่า อนิฏฺา นี้ เป็นชื่อของอารมณ์ที่ไม่ชอบใจอันไม่พึงแสวงหา.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 344

ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่าใด ย่อมไม่ก้าวไป คือย่อมไม่เข้าไปในใจ เพราะเหตุนั้น ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้น จึงชื่อว่า อกนฺตา (ไม่เป็นที่รักใคร่). ธรรมเหล่าใด ย่อมไม่น่ารัก ย่อมไม่ยังใจให้เจริญ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อมนาปา (ไม่เป็นที่ชอบใจ).

คำว่า รูป เป็นต้นเป็นคำขยายความสภาวะของธรรมเหล่านั้น. บุคคลเหล่าใด ย่อมใคร่ คือย่อมปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่า อนตฺถกามา (ผู้มุ่งก่อความพินาศ). บุคคลเหล่าใด ย่อม ใคร่ คือย่อมปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่า อหิตกามา (ผู้มุ่งทำลายประโยชน์เกื้อกูล). บุคคลเหล่าใด ย่อมใคร่ คือย่อมปรารถนาความไม่ผาสุกคือการอยู่เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่า อผาสุกา (ผู้มุ่งทำลายความผาสุก). บุคคลเหล่าใด ย่อมไม่ปรารถนาแดนเกษมจากโยคะ คือวิวัฏฏะอันปราศภัย คือย่อมใคร่ ย่อมปรารถนา วัฏฏะอันมีภัยนั้นแหละเพื่อโยคะ ๔ เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา (ผู้มุ่งทำลายแดนเกษมจากโยคะ).

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในบททั้ง ๘ มีคำว่า อนตฺถกามา เป็นต้นนี้ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ชื่อว่า อนตฺถกามา (ผู้มุ่งก่อความพินาศ) เพราะไม่ใคร่ต่อประโยชน์กล่าวคือความเจริญธรรมมีศรัทธาเป็นต้น และเพราะใคร่ต่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ กล่าวคือความเสื่อมแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า อหิตกามา (ผู้มุ่งทำลายประโยชน์เกื้อกูล) เพราะไม่ใคร่ต่อประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นอุบายวิธีแห่งศรัทธาเป็นต้นนั่นเอง และเพราะใคร่ต่อสิ่งที่มิใช่ ประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นอุบายวิธีแห่งอกุศลมีความเสื่อมศรัทธาเป็นต้นนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 345

ที่ชื่อว่า อผาสุกา (ผู้มุ่งทำลายความผาสุก) เพราะไม่ใคร่ต่อการอยู่เป็นผาสุก และเพราะใคร่ต่อการอยู่โดยไม่เป็นผาสุก. ที่ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา (ผู้มุ่งทำลายแดนเกษม) เพราะไม่ใคร่ต่อความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง และเพราะ ใคร่ต่อภัย ดังนี้. การไปประกอบพร้อมกัน ชื่อว่า สํคติ (ความไปร่วม). ความมาร่วมกัน ชื่อว่า สมาคโม (ความมาร่วม). ภาวะที่พร้อมกันในการยืน การนั่งเป็นต้น ชื่อว่า สโมธานํ (ความประชุมร่วม). การทำร่วมกันซึ่งกิจ ทั้งปวง ชื่อว่า มิสฺสีภาโว (ความเป็นผู้กระทำร่วม).

นี้เป็นโยชนา คือข้อแนะนำด้วยอำนาจแห่งสัตว์.

ส่วนโยชนาด้วยอำนาจแห่งสังขาร พึงถือเอาความตามที่ได้. คำว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า อัปปิยสัมปโยคทุกข์ อัปปิยสัมปโยคนั้น อนุฏฺสโมธานลกฺขโณ มีการประชุมลงซึ่งสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ จิตฺตวิฆาฏกรณรโส มีการทำความพินาตจิตเป็นรส อนตฺถภาวปจฺจุปฏฺาโน มีภาวะที่ไร้ประโยชน์เป็นปัจจุปัฏฐาน

อัปปิยสัมปโยคทุกข์นั้นชื่อว่าเป็นธรรมหนึ่งไม่มีโดยอรรถะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ อย่างแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยอารมณ์อันไม่เป็นที่รักอย่างเดียว เพราะวัตถุทั้งหลายอันไม่น่าปรารถนาถึงการประชุมลงแล้ว ย่อมยังทุกข์ทางกายให้เกิดขึ้นโดยการแทง การตัด การผ่าเป็นต้นบ้าง ย่อมยังทุกข์ทางใจให้เกิดขึ้นโดยการเกิดความสะดุ้ง กลัวบ้าง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 346

เพราะเห็นสัตว์อันไม่เป็นที่รักจึงเป็นทุกข์ที่ใจก่อนทีเดียว และการเกิดทุกข์ด้วยความพยายามของสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้นในกาย เพราะฉะนั้น พึงทราบการสมาคมกับสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้นว่า พระมหาฤาษีตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแม้แห่งทุกข์ทั้ง ๒ ในโลกนี้แล.

ว่าด้วยนิเทศปิยวิปปโยคทุกข์

(บาลีข้อ ๑๕๕)

นิเทศแห่งปิยวิปปโยคทุกข์ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วแล. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า มาตา วา (มารดาก็ตาม) เป็นต้น เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้ใคร่ประโยชน์โดยย่อ.

ในพระบาลีนั้น มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า มารดา เพราะอรรถว่า ย่อมถนอมรัก. ที่ชื่อว่า บิดา เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ. ที่ชื่อว่า พี่ชาย น้องชาย ด้วยอรรถว่า ย่อมคุ้นกัน. ที่ชื่อว่า ภคินี ก็เหมือนกัน. ที่ชื่อว่า มิตร เพราะอรรถว่า ประพฤติเมตตา หรือว่าด้วยอรรถว่า นับถือ อธิบายว่า ย่อมสอดใส่ความลับทั้งหมดไว้ภายใน. ที่ชื่อว่า อำมาตย์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นผู้ร่วม ด้วยอรรถว่าเป็นผู้พร้อมกันในกรณียกิจทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า ญาติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ หรือทราบอย่างนี้ว่า คนนี้เป็นคนภายในของพวกเรา. ที่ชื่อว่า สาโลหิต เพราะอรรถว่า เป็นผู้สัมพันธ์กันด้วยสายเลือด.

พึงทราบบทเหล่านี้ โดยเนื้อความ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 347

คำว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์. ปิเยหิวิปปโยคทุกข์นั้น อิฏฺวตฺถุวิโยคลกฺขโณ มีการพลัดพรากจากวัตถุที่ปรารถนาเป็นลักษณะ โสกุปฺปาทนรโส มีการให้เกิดขึ้นแห่งความโศกเป็นรส พฺยาสนปจฺจุปฏฺาโน มีความฉิบหายเป็นปัจจุปัฏฐาน.

ปิเยหิวิปปโยคทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งโดยอรรถย่อมไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ ของบุคคลผู้พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักอย่างเดียว เพราะวัตถุที่น่าปรารถนาทั้งหลายเมื่อพลัดพรากไป ย่อมยังทุกข์แม้ทางกายให้เกิดขึ้นโดยความเป็นผู้มีสรีระซูบซีดและเหี่ยวแห้งเป็นต้น แม้ทางใจก็ให้เกิดทุกข์ โดยการให้เศร้าโศกว่า แม้สิ่งที่มีอยู่แก่พวกเรานั้นก็ไม่มีแล้ว ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า

เพราะพลัดพรากจากญาติและทรัพย์เป็นต้น พวกคนพาลผู้เพรียบพร้อมด้วยลูกศรคือความโศกเสียดแทงอยู่ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เขาจึงรู้กันว่า เป็นทุกข์.

ว่าด้วยนิเทศอิจฉา

(บาลีข้อ ๑๕๖)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอิจฉา (ความปรารถนา) ต่อไป

บทว่า ชาติธมฺมานํ (มีความเกิดเป็นธรรมดา) ได้แก่ มีภพเกิดเป็นสภาพ มีความเกิดปกติ. บทว่า อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ (ความปรารถนา ย่อมเกิด) ได้แก่ ตัณหาย่อมเกิด. ศัพท์ว่า อโห วต (โอหนอ) เป็นการปรารถนา. คำว่า น โข ปเนตํ อิจฺฉาย ปตฺตพฺพํ (ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 348

ตามความปรารถนา) ความว่า ความไม่มาแห่งชาติ (ความเกิด) อันมีอยู่ในพวกสาธุชนผู้ละสมุทัยได้แล้ว และมีอยู่ในท่านผู้ปรินิพพานซึ่งไม่มีความเกิดเป็นธรรมดา อันชนทั้งหลายปรารถนาแล้วอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอพวกเราอย่ามี ความเกิดเป็นธรรมดา และขอความเกิดอย่ามาถึงพวกเราเลยหนา ดังนี้นั้น ชื่อว่า ย่อมไม่สำเร็จตามความปรารถนาได้ เพราะแม้บุคคลปรารถนาอยู่ เว้นจากมรรคภาวนา ก็ไม่พึงสำเร็จ และเพราะแม้บุคคลผู้ไม่ปรารถนา เป็นธรรมพึงถึงด้วยมรรคภาวนา.

บทว่า อิทมฺปิ แปลว่า แม้นี้. ปิ อักษร หมายเอาบทที่แปลกกันข้างหน้า. บทว่า ยมฺปิจฺฉํ (ปรารถนาสิ่งใด) ความว่า เมื่อบุคคลปรารถนาวัตถุที่ไม่พึงได้โดยธรรมแม้ใด ย่อมไม่ได้ซึ่งความปรารถนาในวัตถุที่ไม่พึงได้นั้น พึงทราบว่า เป็นทุกข์.

แม้ในบทมีคำว่า แก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เป็นต้น ก็นัยนี้. ความปรารถนาในวัตถุที่ไม่พึงได้ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกขํ (ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์) ด้วยประการฉะนี้.

ความปรารถนานั้น อลพฺภเนยฺยวตฺถุอิจฺฉนลกฺขณา มีความอยากในวัตถุที่ไม่พึงได้เป็นลักษณะ ตปฺปริเยสนรสา มีการแสวงหาสิ่งนั้นเป็นรส เตสํ อปฺปตฺติปจฺจุปฏฺานา มีความไม่สำเร็จสิ่งเหล่านั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน.

ก็ความปรารถนานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ จริงอยู่ บางคนที่คนอื่นยกย่องว่า จักเป็นพระราชา เขามีคณะที่ฝ่ายบ้านเมืองตัดขาดแตกไปติดตามแล้วเข้าไปยังโขดเขาหรือราวไพร. ทีนั้นพระราชาทรงทราบพฤติการณ์นั้นแล้วทรงส่งกองทัพไป บุรุษนั้นมีบริวารถูกราชบุรุษกำจัดแล้ว แม้ตนเองก็ถูกทำร้าย จึงหนีเข้าไป (ซ่อน) ยังระหว่าง

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 349

ต้นไม้หรือระหว่างแผ่นหิน. สมัยนั้น เมฆใหญ่ตั้งขึ้น มีฝนพรําดำมืดยิ่ง ในขณะนั้นฝูงสัตว์มีมดดำเป็นต้นก็ล้อมเกาะเขารอบด้าน ด้วยเหตุนั้น ความทุกข์กายมีกำลังจึงเกิดแก่เขา เมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติเท่านี้ และโภคทรัพย์เท่านี้ ฉิบหายแล้ว เพราะอาศัยเราคนเดียว ดังนี้ โทมนัสมีกำลังก็เกิดแก่เขา.

ความปรารถนานี้พึงทราบว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์เหล่านั้นแม้ทั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

เมื่อสัตว์ปรารถนาวัตถุนั้นๆ อยู่ เพราะไม่ได้วัตถุนั้นๆ ความทุกข์อันใด ซึ่งเกิดจากความพลาดหวัง ย่อมเกิดแก่พวกสัตว์ในโลกนี้ ความปรารถนาวัตถุที่บุคคลไม่พึงได้เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เพราะฉะนั้น พระชินพุทธเจ้าจึงตรัสความไม่ได้ตามความปรารถนาว่าเป็นทุกข์แล.

ว่าด้วยนิเทศอุปาทานขันธ์

(บาลีข้อ ๑๕๗)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุปาทานขันธ์ ต่อไป

บทว่า สํขิตฺเตน (โดยย่อ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเทศนา จริงอยู่ ใครๆ ไม่อาจย่อทุกข์ได้ เท่านี้เป็นทุกข์ร้อยหนึ่ง หรือว่า เท่านี้เป็นทุกข์พันหนึ่ง แต่เทศนาอาจย่อได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงย่อเทศนาว่า ขึ้นชื่อว่า ทุกข์ มิใช่อะไรอื่น โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ดังนี้

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 350

จึงตรัสแล้วอย่างนี้. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ (คือ) เป็นนิบาต เนื้อความแห่งนิบาตนั้น มีอธิบายว่า หากว่ามีผู้ถามว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นไฉนดังนี้. เนื้อความแห่งบทว่า รูปูปาทานกฺขนฺโธ (รูปูปาทานขันธ์) เป็นต้น ข้าพเจ้า พรรณนาไว้แล้วในขันธวิภังค์แล.

พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ทั้งหลายว่าเป็นทุกข์ นี้ ต่อไป

ชาติปฺปภูติกํ ทุกฺขํ ยํ วุตฺตํ อิธ ตาทินา

อวุตฺตํ ยญฺจ ตํ สพฺพํ วินา เอเต น วิชฺชติ

ยสฺมา ตสฺมา อุปาทานกฺขนฺธา สํเขปโต อิเม

ทกฺขาติ วุตฺตา ทุกฺขนฺเต เทสเกน มเหสินา

เพราะทุกข์มีชาติเป็นแดนเกิดอันใด อันพระพุทธเจ้าผู้คงที่ตรัสไว้ในโลกนี้ และ ทุกข์ใดที่มิได้ตรัสไว้ ทุกข์นั้นทั้งหมดเว้นอุปาทานขันธ์ ๕ แล้ว ย่อมไม่มี ฉะนั้น พระมหาฤาษีพุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงซึ่งที่สุดแห่งทุกข์จึงตรัสว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ นี้ เป็นทุกข์แล.

จริงอย่างนั้น ชาติเป็นต้นเบียดเบียนอยู่ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นแหละ โดยประการต่างๆ เหมือนไฟป่าเบียดเบียนเชื้อไฟ เหมือนเครื่องประหารเบียดเบียนเป้า เหมือนเหลือบและยุงเป็นต้นเบียดเบียนโค เหมือนผู้เก็บเกี่ยวเบียด

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 351

เบียนนา เหมือนโจรปล้นเบียดเบียนหมู่บ้าน ย่อมเกิดขึ้นในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง เหมือนหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้นย่อมเกิดขึ้นในพื้นดิน ดุจดอกไม้ ผลไม้ และใบอ่อนเป็นต้นเกิดที่ต้นไม้ ฉะนั้น.

อนึ่ง ทุกข์ที่เป็นเบื้องต้นแห่งอุปาทานขันธ์คือ ชาติ ทุกข์ในท่ามกลางคือ ชรา ทุกข์ในที่สุดคือ มรณะ. เพราะกระทบทุกข์มีความตายเป็นที่สุด จึงมีทุกข์แผดเผาคือ โสกะ. เพราะการอดกลั้นความโศกนั้นไม่ได้ มีทุกข์เป็นเหตุพูดรำพันคือ ปริเทวะ. จากนั้นก็มีทุกข์เป็นทุกข์เบียดเบียนกาย เพราะประกอบกับโผฏฐัพพะ (กระทบ) กับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาคือ ธาตุกำเริบ. เพราะปุถุชนผู้ถูกทุกข์กายนั้นเบียดเบียนอยู่โดยเกิดปฏิฆะในอุปาทานขันธ์นั้น ก็เกิดทุกข์ที่เบียดเบียนทางใจคือ โทมนัส. ทุกข์มีการทอดถอนใจของบุคคลผู้เศร้าหมองอันเกิดแต่ความเจริญของโสกะเป็นต้นคือ อุปายาส. ทุกข์พลาดหวังของบุคคลผู้พลัดจากมโนรถ คือการไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา. อุปาทานขันธ์ที่บุคคลมีปัญญาเข้าไปพิจารณาอยู่โดยประการต่างๆ เทียว ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า เป็นทุกข์แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงย่อทุกข์ที่ตรัสแสดงไว้แต่ละอย่าง ซึ่งใครๆ ไม่สามารถแสดงโดยไม่เหลือด้วยกัปเป็นอเนกนั้นแม้ทั้งหมด ในอุปาทานขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดุจทรงย่อรสน้ำในสมุทรทั้งสิ้นมาแสดงในน้ำหยดเดียว (มีรสเค็ม) จึงได้ตรัสว่า สํขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

กถาว่าด้วยนิเทศแห่งทุกขสัจจะ จบ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 352

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยสมุทยสัจจะ

(บาลีข้อ ๑๕๘)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสมุทยสัจจะ ต่อไป

บทว่า ยายํ ตณฺหา ตัดบทเป็น ยา อยํ ตณฺหา แปลว่า ตัณหานี้ใด. บทว่า โปโนพฺภวิกา มีวิเคราะห์ว่า เหตุทำซึ่งภพใหม่ ชื่อว่า โปโนพฺภโว เหตุทำซึ่งภพใหม่เป็นปกติของตัณหานั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา (เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ๆ) อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาใด ย่อมให้ซึ่งภพใหม่ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อภพใหม่ ย่อมเกิดในภพบ่อยๆ เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา.

อนึ่ง ตัณหานั้นเป็นตัวให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี เป็นไปเพื่อ ภพใหม่ก็มี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็มี แม้แต่ที่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตัณหานั้นให้แล้ว. ตัณหานั้นเมื่อให้อยู่ซึ่งภพใหม่ก็ดี ไม่ให้ก็ดี เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็ดี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็ดี แม้แต่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตนให้แล้วนั้น ก็ได้ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา เหมือนกัน.

ที่ชื่อว่า นนฺทิราคสหคตา (ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี) เพราะอรรถว่า ไปพร้อมกับนันทิราคะ กล่าวคือ ความยินดียิ่ง มีอธิบายว่า โดยอรรถไปสู่ความเป็นอันเดียวกับนันทิราคะนั่นเอง. บทว่า ตตฺรตตฺราภินนฺทินี เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ความเป็นอัตตามีอยู่ในที่ใดๆ ก็มีความยินดียิ่งในที่นั้นๆ หรือว่า มีความเพลิดเพลินในอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นๆ อธิบายว่า มีความเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 353

ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต เนื้อความแห่งศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ นั้นว่า หากมีคำถามว่า ตัณหานั้นเป็นไฉนดังนี้.

บทว่า กามตณฺหา มีวิเคราะห์ว่า ตัณหาในกาม ชื่อว่า กามตัณหา. คำว่า กามตัณหานี้เป็นชื่อของราคะอันประกอบด้วยกามคุณ ๕. ตัณหาในภพ ชื่อว่า ภวตัณหา. คำว่าภวตัณหานี้เป็นชื่อของราคะ (ความยินดี) ในรูปภพ อรูปภพ และความพอใจในฌานที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิซึ่งเกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจปรารถนาภพ. ตัณหาในวิภพ ชื่อว่า วิภวตัณหา. คำว่า วิภวตัณหานี้เป็นชื่อของราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงวัตถุที่ตั้งแห่งตัณหานั้นโดยพิสดาร จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สา โข ปเนสา (ก็ตัณหานี้นั้นแล). ในพระบาลีนั้น บทว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่าย่อมเกิด. บทว่า นิวีสติ (ย่อมตั้งอยู่) ได้แก่ ย่อมตั้งมั่นด้วยอำนาจความเป็นไปบ่อยๆ. คำว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ (ปิยรูป สาตรูปใด มีอยู่ในโลก) ความว่า สิ่งใดเป็นสภาพน่ารัก และเป็นสภาพอ่อนหวานในโลก.

พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า จกฺขํุ โลเก จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ต่อไป จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยึดมั่นในจักษุเป็นต้นโดยความถือตัวของเราในโลก ตั้งมั่นในสมบัติ ย่อมสำคัญจักษุของตน (เป็นต้น) ว่าเป็นประสาท ๕ ที่ผ่องใส โดยทำนองการถือเอานิมิตให้กระจกเงาเป็นต้น ดุจสีหบัญชรแก้ว มณีที่เผยออกในวิมานทอง ย่อมสำคัญโสตเป็นดุจหลอดเงินและดังสายสังวาล ย่อมสำคัญฆานะมีโวหารอันได้แล้วว่า มีจมูกโด่ง ดุจเกลียวหรดาลกลมตั้งอยู่ ย่อมสำคัญชิวหาอันอ่อนให้รสอันละเอียดดุจผ้ากัมพลแดง ย่อมสำคัญกาย ดุจ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 354

หลักเสาไม้แก่น และดุจเสาค่ายทองคำ ย่อมสำคัญใจว่าโอฬารไม่เหมือนใจของชนเหล่าอื่น ย่อมสำคัญรูป ดุจสีทอง และสีดอกกรรณิการ์เป็นต้น ย่อมสำคัญเสียง ดุจเสียงขันของนกการเวกและดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวาน ของขลุ่ยแก้วมณีที่เป่าเบาๆ ย่อมสำคัญอารมณ์ คือกลิ่นเป็นต้นที่เกิดแต่สมุฏฐานที่ตนได้เฉพาะแล้วว่า คนอื่นใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้. เมื่อชนเหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ อายตนะเหล่านั้น มีจักษุเป็นต้นก็ย่อมเป็นปิยรูป และสาตรูป เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาของชนเหล่านั้น ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นในจักษุเป็นต้นนั้น และที่เกิดแล้วก็ย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจที่เป็นไปบ่อยๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงพระดำรัสมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชมานา (เมื่อเกิด) ความว่า เมื่อใดตัณหาย่อมเกิด เมื่อนั้นก็ย่อมเกิดในจักษุนี้. แม้ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล.

กถาว่าด้วยนิเทศแห่งสมุทยสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยนิโรธสัจจะ

(บาลีข้อ ๑๖๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศนิโรธสัจจะ ต่อไป.

ในข้อว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย (ความสำรอก....แห่งตัณหา นั้นเทียว) ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า โย ตสฺเสว

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 355

ทุกฺขสฺส (ความสำรอก...ทุกข์นั้นนั่นแหละ) ดังนี้ แต่เพราะทุกข์ดับไป เพราะการดับสมุทัยมิใช่โดยประการอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ยถา หิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห

ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ

เอวํปิ ตณฺหานุสเย อนุหเต

นิพฺพตฺตเต ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ

เปรียบเหมือนต้นไม้แม้ถูกตัดแล้ว เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอุปัทวะ ก็ย่อมงอกขึ้นอีกฉันใด แม้ทุกข์นี้ก็ฉันนั้น เมื่อตัณหานุสัย ยังมิได้ถอนขึ้น ก็ย่อมขึ้นบ่อยๆ.

ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงการดับทุกข์นั้นจึงตรัสไว้อย่างนี้ เพื่อทรงแสดง ฃโดยความดับสมุทัย แท้จริง พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงประพฤติเปรียบเสมือนสีหราช พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเมื่อทรงดับทุกข์ และเมื่อทรงแสดงความดับทุกข์ ย่อมปฏิบัติในเหตุ มิใช่ในผล แต่พวกอัญเดียรถีย์มีความประพฤติเปรียบด้วยสุนัข พวกเขาเหล่านั้นเมื่อจะดับทุกข์ก็ดี เมื่อจะแสดงความดับทุกข์ก็ดี ย่อมปฏิบัติในผลโดยประกอบความเพียรในอันทำตนให้ลำบาก (อัตกิลมถานุโยค) และด้วยการแสดงการประกอบความเพียรในอันทำตนให้ลำบากนั่นเอง ไม่ปฏิบัติในเหตุแล.

พระศาสดาผู้ปฏิบัติอยู่ในเหตุ เพราะประพฤติเปรียบด้วยสีหะ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า โย ตสฺสาเยว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 356

ในพระบาลีนั้น บทว่า ตสฺสาเยว (แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว) ความว่า สภาวะนั้นใดแห่งตัณหานั้นนั่นแหละที่พระองค์ทรงประกาศไว้ในหนหลัง ด้วยสามารถแห่งความเกิดและความตั้งมั่น.

บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ (ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ) เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานทั้งนั้น เพราะอาศัยพระนิพพาน ตัณหาย่อมสำรอก ย่อมดับโดยไม่เหลือ ฉะนั้น พระนิพพานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อเสสวิราคนิโรธ (ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ) แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว. และเพราะอาศัยพระนิพพานแล้ว บุคคลจึงชนะตัณหาได้ ย่อมสละคืนได้ ย่อมพ้นได้และย่อมไม่ติดอยู่ ฉะนั้นจึงตรัสเรียกพระนิพพานว่า จาโค (ความสละ) ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน) มุตฺติ (ความพ้น) อนาลโย (ความไม่อาลัย).

ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน

ความจริง พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระนิพพานนั้น มีชื่อเรียกแทนพระนิพพานเป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งชื่อที่เป็นปฏิปักษ์แห่งสังขตธรรมทั้งหมด อย่างไร คือ ชื่อมีอาทิว่า

อเสสโต วิราโค (ความสำรอกโดยไม่เหลือ)

นิโรโธ (ความดับ)

จาโค (ความสละ)

ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)

มุตฺติ (ความพ้น)

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 357

อนาลโย (ความไม่มีอาลัย)

ราคกฺขโย (ความสิ้นราคะ)

โทสกฺขโย (ความสิ้นโทสะ)

โมหกฺขโย (ความสิ้นโมหะ)

ตณฺหกฺขโย (ความสิ้นตัณหา)

อนุปฺปาโท (ความไม่เกิดขึ้น)

อปฺปวตฺตํ (ความไม่เป็นไป)

อนิมิตฺตํ (ความไม่มีเครื่องหมาย)

อปฺปณิหิตํ (ความไม่มีที่ตั้ง)

อนายูหนํ (ความไม่พยายาม)

อปฺปฏิสนฺธิ (ความไม่มีปฏิสนธิ)

อปฺปฏิวตฺติ (ความไม่กลับเป็นไป)

อคติ (ความไม่มีคติ)

อชาตํ (ความไม่เกิด)

อชรํ (ความไม่แก่)

อพฺยาธิ (ความไม่เจ็บ)

อมตํ (ความไม่ตาย)

อโสกํ (ความไม่มีโศก)

อปริเทวํ (ควานไม่มีปริเทวะ)

อนุปายาสํ (ความไม่มีอุปายาส)

อสํกิฏฺํ (ความไม่เศร้าหมอง).

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 358

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงความไม่มีแห่งตัณหาอันมรรคตัดแล้ว แม้อาศัยพระนิพพานแล้วก็ถึงความไม่เป็นไปในวัตถุเป็นที่ตั้งอันใด ที่พระองค์ทรงแสดงความเกิดของมันไว้ในที่นั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำว่า สา โข ปเนสา (ก็ตัณหานี้นั้นแล) เป็นต้น.

ในพระดำรัสนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บุรุษเห็นเถาบวบขมเกิดในนา แล้วพึงแสวงหารากไปตั้งแต่ยอดแล้วก็ตัดเสีย บวบขมนั้นก็จะเหี่ยวแห้ง ถึงความไม่มีบัญญัติ แต่นั้น เถาบวบขมในนานั้น บุคคลก็พึงกล่าวได้ว่า อันตรธานไปแล้ว ถูกทำลายแล้ว ฉันใด ตัณหาในอารมณ์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดุจเถาบวบขมในนา ตัณหานั้นถูกอริยมรรคตัดรากแล้ว เพราะอาศัยพระนิพพานจึงถึงความเป็นไปไม่ได้ ก็ตัณหานั้นถึงความเป็นไปอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ปรากฏในวัตถุที่ตั้งเหล่านั้น ดุจเถาบวบขมในนาไม่ปรากฏอยู่ ฉะนั้น.

อนึ่ง พวกราชบุรุษนำพวกโจรมาจากดงแล้วพึงประหารชีวิตที่ประตูด้านทักษิณของพระนคร ต่อจากนั้น ใครๆ ก็พึงกล่าวว่า โจรในดงตายแล้ว หรือโจรถูกราชบุรุษฆ่าแล้ว ฉันใด ตัณหาในจักษุเป็นต้น อันใดเป็นเหมือนพวกโจรในดงก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดับไปแล้วเพราะอาศัยพระนิพพาน ชื่อว่า ดับไปในพระนิพพาน ดุจพวกโจรถูกประหารที่ประตูด้านทักษิณ ก็ตัณหานั้นดับแล้วอย่างนี้ จึงไม่ปรากฏในวัตถุที่ตั้งเหล่านั้น ดุจพวกโจรไม่ปรากฏในดง ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความดับตัณหานั้นในที่อารมณ์มีจักษุเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ เอตฺถ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 359

นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ (จักษุเป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ ย่อมละที่จักษุนี้ เมื่อจะดับย่อมดับที่จักษุนี้). คำที่เหลือในที่ทั้งหมดมีเนื้อความ ตื้นทั้งนั้นแล.

กถาว่าด้วยนิเทศแห่งนิโรธสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยมรรคสัจจะ

(บาลีข้อ ๑๖๒)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมรรคสัจจะ ต่อไป.

บทว่า อยเมว (นี้เท่านั้น) เป็นคำกำหนดแน่นอน เพื่อปฏิเสธมรรคอื่น. บทว่า อริโย (อริยะ) ความว่า ที่ชื่อว่า อริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลายที่ฆ่าด้วยมรรคนั้นๆ เพราะทำความเป็นอริยะ และเพราะทำการได้เฉพาะซึ่งอริยผล. องค์ ๘ ของมรรคนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่า อฏฺงฺคิโก (มีองค์ ๘) องค์ ๘ ของมรรคนี้นั้นเป็นเพียงองค์เท่านั้น เหมือนเสนามีองค์ ๔ และดนตรีมีองค์ ๕ พ้นจากองค์มิได้มี. ที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่ผู้ต้องการพระนิพพานย่อมแสวงหา หรือย่อมเสาะหาพระนิพพาน หรือเป็นสภาพฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ ความว่า ถ้ามีผู้ถามว่า องค์มรรคนั้นเป็นไฉน ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า มรรค คือ องค์มรรค นั่นเอง นอกจากองค์มรรคย่อมไม่มี จึงตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มาสมาธิ ดังนี้. บรรดาองค์มรรค ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเห็นโดยชอบเป็นลักษณะ (สมฺมา ทสฺสนลกฺขณา) , สัมมาสังกัปปะ มีการยกสัมปยุตตธรรมขึ้นโดยชอบเป็นลักษณะ

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 360

(สมฺมา อภินิโรปนลกฺขโณ) , สัมมาวาจา มีการกำหนดถือโดยชอบเป็นลักษณะ (สมฺมา ปริคฺคหลกฺขณา) , สัมมากัมมันตะ มีการงานดีโดบชอบเป็นลักษณะ (สมฺมา สมุฏาปนลกฺขโณ) , สัมมาอาชีวะ มีอาชีวะที่ผ่องแผ้วโดยชอบเป็นลักษณะ (สมฺมา โวทานลกฺขโณ) , สัมมาวายามะ มีความเพียรประคองไว้โดยชอบเป็นลักษณะ (สมฺมา ปคฺคหลกฺขโณ) , สัมมาสติ มีการปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ (สมฺมา อุปฏฺานลกฺขณา) (๑) , สัมมาสมาธิ มีการตั้งใจมั่นโดยชอบเป็นลักษณะ (สมฺมา สมาธานลกฺขโณ) .

บรรดาองค์มรรค ๘ เหล่านั้น แต่ละองค์มีกิจ คือหน้าที่องค์ละ ๓. อย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิก่อน ย่อมละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตน แม้อื่นๆ ได้ ๑ ย่อมทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ๑ ย่อมเห็นสัมปยุตตธรรมทั้งหลายเพราะไม่ฟั่นเฝือด้วยอำนาจกำจัดโมหะอันปกปิดสัมปยุตตธรรมนั้นๆ ได้ ๑ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ย่อมกระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ แต่ในสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนี้ ว่าโดยความแปลกกัน สัมมาสังกัปปะย่อมยกขึ้นซึ่งสหชาตธรรม สัมมาวาจา ย่อมกำหนดถือไว้โดยชอบ สัมมากัมมันตะย่อมยังการงานให้ตั้งขึ้นดีโดยชอบ สัมมาอาชีวะย่อมให้อาชีวะผ่องแผ้วโดยชอบ สัมมาวายามะย่อมประคองไว้โดยชอบ สัมมาสติ ย่อมปรากฏโดยชอบ สัมมาสมาธิย่อมตั้งมั่นโดยชอบ.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาสัมมาทิฏฐินี้ ในส่วนเบื้องต้น (โลกีย์มรรค) มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ในกาลแห่งมรรคมีขณะเดียวกัน มีอารมณ์


(๑) คำว่า อุปฏานลกฺขณา นี้ เฉพาะคำว่า อุปฏาน มีคำแปลหลายอย่างคือแปลว่า มีการปรากฏบ้าง มีการบำรุงบ้าง มีการปฏิบัติบ้าง มีการตั้งมั่นบ้าง.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 361

เดียวกัน ก็ว่าโดยกิจ (หน้าที่) ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่างมีคำอาทิว่า ทุกฺเข าณํ (ญาณในทุกข์). แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นในส่วนเบื้องต้นก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ในกาลแห่งมรรคมีขณะเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน บรรดาองค์ มรรค ๗ มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้นเหล่านั้น ว่าโดยกิจ (หน้าที่) สัมมาสังกัปปะ ย่อมได้ชื่อ ๓ อย่างว่า เนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น. องค์มรรค ๓ มีสัมมาวาจา เป็นต้นในส่วนเบื้องต้นมีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน คือ ย่อมเป็นวิรตีบ้าง เป็นเจตนาบ้าง ในขณะแห่งมรรคเป็นวิรตีอย่างเดียว. องค์มรรค ๒ แม้นี้ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ว่าโดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง สัมมัปปธาน และสติปัฏฐาน ส่วนสัมมาสมาธิ ในส่วนเบื้องต้นก็ดี ในขณะ แห่งมรรคก็ดี ก็ชื่อว่า สัมมาสมาธินั่นแล.

ว่าด้วยธรรม ๘ โดยลําดับ

ในธรรม ๘ ตามที่แสดงมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นธรรมอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน เพราะสัมมาทิฏฐินี้พระองค์ตรัสเรียกว่า "ประทีปอันโพลงทั่วคือปัญญา ศัสตรา คือปัญญาเป็นต้น ฉะนั้น พระโยคาวจรผู้ทำลายความมืดคืออวิชชาด้วยสัมมาทิฏฐิกล่าวคือวิปัสสนาญาณในกาลเบื้องต้นนี้แล้วฆ่าโจรคือกิเลสอยู่ ย่อมบรรลุพระนิพพานได้โดยปลอดภัย ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า "พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน ดังนี้.

อนึ่ง สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสไว้ในลำดับสัมมาทิฏฐินั้น เปรียบเหมือนเหรัญญิก (ผู้ดูเงิน)

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 362

ใช้มือพลิกเงินกลับไปมาแล้วตรวจดูกหาปณะด้วยตา ย่อมรู้ว่า กหาปณะนี้เก๊ กหาปณะนี้ดี ฉันใด แม้พระโยคาวจร ก็ฉันนั้น ใช้วิตกตรึกแล้วๆ ในกาลส่วนเบื้องต้นแล้วตรวจดูอยู่ด้วยวิปัสสนาปัญญา ก็จะทราบได้ว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกามาวจร ธรรมเหล่านั้นเป็นรูปาวจรเป็นต้น ก็หรือว่า เปรียบเหมือนช่างถากใช้มีดถากท่อนไม้ใหญ่อันบุรุษจับตรงปลายพลิกกลับไปมาโดยรอบ ให้แล้ว ย่อมนำไปในการงานได้ ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น กำหนดธรรม ทั้งหลายอันวิตกตรึกแล้วๆ ให้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร ธรรมเหล่านั้นเป็นรูปาวจร ด้วยปัญญา ดังนี้แล้ว ย่อมน้อมไปในการงานได้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาสังกัปปะในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น.

สัมมาสังกัปปะนี้เป็นธรรมมีอุปการะมากแม้แก่สัมมาวาจา ดุจมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐิ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนคหบดี บุคคลตรึกแล้วตรองแล้วก่อนแล ย่อมเปล่งวาจาภายหลัง เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสสัมมาวาจาในลำดับของสัมมาสังกัปปะนั้น.

อนึ่ง เพราะชนทั้งหลายจัดแจงด้วยวาจาก่อนว่า พวกเราจะทำสิ่งนี้ๆ " แล้วจึงประกอบการงานในโลก ฉะนั้น วาจา จึงเป็นธรรมมีอุปการะแก่กายกรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสสัมมากัมมันตะในลำดับแห่งสัมมาวาจา.

อนึ่ง เพราะอาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) ย่อมเต็มแก่บุคคลผู้ละวจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓ ยังสุจริตทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์นั่นแหละ มิใช่เต็มแก่บุคคลนอกจากนี้ ฉะนั้น จึงตรัสสัมมาอาชีวะในลำดับสุจริตทั้ง ๒ นั้น.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 363

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงว่า "บุคคลผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ ไม่สมควรจะพอใจเพียงเท่านี้ว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้วเป็นคนประมาทดังคนหลับ โดยที่แท้ ควรเริ่มความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ ดังนี้ จึงตรัสสัมมาวายามะในลำดับสัมมาอาชีวะนั้น.

ต่อจากนั้น เพื่อจะทรงแสดงว่า พระโยคาวจรแม้มีความเพียรเริ่มแล้ว ก็พึงทำสติให้ตั้งมั่นอย่างดีในวัตถุ มีกาย (๑) เป็นต้น" ดังนี้ จึงทรงแสดงสัมมาสติในลำดับแห่งสัมมาวายามะนั้น.

อนึ่ง เพราะสติตั้งมั่น ดีอย่างนี้แล้ว ก็จะตรวจดูคติทั้งหลายแห่งธรรมทั้งหลายที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะของสมาธิ จึงเพียงพอเพื่อตั้งจิตมั่นในอารมณ์มีความเป็นหนึ่งได้ ฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สัมมาสมาธิไว้ในลำดับแห่งสัมมาสติ ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ

(บาลีข้อ ๑๖๓)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ ต่อไป

กรรมฐานในสัจจะ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยพระดำรัสมีอาทิว่า ทุกฺเข าณํ (ความรู้ในทุกข์) ดังนี้. บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ สัจจะ ๒ หลังเป็นวิวัฏฏะ ในสัจจะที่เป็นวัฏฏะและวิวัฏฏะเหล่านั้น ภิกษุย่อมมีความยึดมั่นกรรมฐานในสัจจะที่เป็นวัฏฏะ. ไม่มีความยึดมั่นในสัจจะที่เป็นวิวัฏฏะ.

จริงอยู่ พระโยคาวจรเรียนสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยย่อ อย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย ดังนี้ และโดยพิสดารมีนัย อาทิว่า "ขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือรูปขันธ์ ดังนี้ แล้วทบทวนด้วยวาจาอยู่บ่อยๆ ย่อมทำกรรม. แต่ในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจรย่อมทำกรรมด้วยการฟัง


(๑) คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 364

อย่างนี้ว่า "นิโรธสัจจะน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มรรคสัจจะน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ" ดังนี้ เมื่อเธอทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔ ด้วยการแทงตลอดคราวเดียวกัน ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้คราวเดียวกัน คือ แทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดคือการกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) ย่อมแทงตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอด คือการละ (ปหานกิจ) ย่อมแทงตลอดนิโรธ ด้วยการแทงตลอดคือการทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยากิจ) ย่อมแทงตลอดมรรคด้วยการแทงตลอดคือการเจริญ ย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้คือการกำหนดรู้ ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้คือการเจริญ.

ในกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้น พระโยคาวจรย่อมมีการแทงตลอด (ปฏิเวธ) ด้วยการเรียน การสอบถาม การฟัง การทรงจำ และการพิจารณาในสัจจะ ๒ (ข้างต้น) ย่อมมีการแทงตลอดได้ด้วยการฟังอย่างเดียวในสัจจะ ๒ (ข้างปลาย). ในกาลต่อมา ย่อมมีการแทงตลอดโดยกิจในสัจจะ ๓ ย่อมมีแทงตลอดโดยอารมณ์ในนิโรธ. ในการแทงตลอดโดยกิจและอารมณ์เหล่านั้น ความรู้ด้วยปฏิเวธะ (ปฏิเวธญาณ) แม้ทั้งหมดเป็นโลกุตระ ความรู้ด้วยการฟัง การทรงจำ และการพิจารณาเป็นโลกิยะฝ่ายกามาวจร. ส่วนปัจจเวกขณญาณย่อมมีแก่พระโยคาวจรผู้ได้มรรคสัจจะ และพระโยคาวจรนี้เป็นอาทิกัมมิกบุคคล เพราะฉะนั้น ปัจจเวกขณญาณ (คือการพิจารณา) นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวไว้ในที่นี้.

อนึ่ง การผูกใจ การใส่ใจ การมนสิการ และการพิจารณาว่า "เราจะกำหนดรู้ทุกข์ จะละสมุทัย จะทำนิโรธให้แจ้ง จะเจริญมรรค" ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ผู้ถือเอาในเบื้องต้น แต่ย่อมมีจำเดิมแต่การกำหนดถือเอา ส่วนในกาลต่อมา ทุกข์ย่อมเป็นอันเธอรู้แล้วโดยแท้ ฯลฯ มรรคก็ย่อมเป็นอันเธอเจริญแล้วเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 365

บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น ๒ สัจจะเป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะสัตว์เห็นได้ยาก สัจจะ ๒ ที่ชื่อว่า เห็นได้โดยยาก เพราะลึกซึ้ง จริงอยู่ ทุกขสัจจะเป็นของปรากฏขัดโดยความเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงแม้คำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ทุกข์หนอ ในเวลาที่ถูกตอหรือหนามทิ่มแทงเป็นต้น. ถึงสมุทัยก็ปรากฏชัดโดยความเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ประสงค์จะเคี้ยวจะบริโภคเป็นต้น ก็สัจจะทั้ง ๒ แม้นั้นเป็นของลึกซึ้ง ว่าโดยการแทงตลอดลักษณะ. ก็สัจจะ ๒ เหล่านั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก ด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อจะเห็นสัจจะ ๒ นอกนี้ (นิโรธ มรรค) ย่อมดุจการเหยียดมือไปเพื่อจับภวัคคพรหม ดุจการเหยียดเท้าเพื่อถูกต้องอเวจีนรก และเป็นดุจเอาปลายขนทรายจดปลายขนทรายที่แบ่งแล้วร้อยส่วน (๑) สัจจะ ๒ เหล่านั้น ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้งด้วยประการฉะนี้. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺเข าณํ นี้ ทรงหมายเอาความเกิดขึ้นแห่งญาณในส่วนเบื้องต้น ด้วยสามารถแห่งการเรียนเป็นต้นในสัจจะ ๔ ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ด้วยประการฉะนี้. แต่ในขณะแห่งการแทงตลอด ญาณนั้นย่อมมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น.

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ

(บาลีข้อ ๑๖๔)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ ต่อไป. สังกัปปะ (ความดำริ) ใด ออกจากกาม เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า เนกขัมมสังกัปปะ (ความดำริในการออกจากกาม). สังกัปปะใด ออกจากพยาบาท เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อัพยาปาทสังกัปปะ


(๑) บางแห่งแสดงว่า เอาปลายขนทรายจรดปลายขนทรายที่แบ่งแล้ว ๗ ส่วน.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 366

(ความดำริในการไม่พยาบาท). สังกัปปะใดออกจากความเบียดเบียน เพราะ เหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในการไม่เบียดเบียน).

บรรดาสังกัปปะทั้ง ๓ เหล่านั้น เนกขัมมวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของกามวิตก อัพยาบาทวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นทำการ ตัดทาง คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของวิหิงสาวิตก. อนึ่ง เนกขัมมวิตก เกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อกามวิตก อัพยาบาทวิตกและอวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.

ในวิตกเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมพิจารณากามวิตก ก็หรือสังขาร ไรๆ อื่น เพื่อทำลายทางของกามวิตก ต่อจากนั้น ความดำริของเธอซึ่งสัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนาก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลายทางของกามวิตก ด้วยสามารถแห่งองค์ของวิปัสสนานั้น (ตทังคปหาน) เธอขวนขวายวิปัสสนาก็จะบรรลุมรรคได้ ลำดับนั้น สังกัปปะ (ความดำริ) ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของเธอก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลายเครื่องดำเนินของกามวิตกด้วยสามารถแห่งสมุจเฉท. อนึ่ง พระโยคาวจรย่อมพิจารณาพยาบาทวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของพยาบาทวิตก หรือย่อมพิจารณาวิหิงสาวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของวิหิงสาวิตก ต่อจากนั้น พึงประกอบคำทั้งปวงในขณะแห่งวิปัสสนาของเธอ โดยนัยมีในก่อนนั่นแล.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 367

กรรมฐานที่เป็นข้าศึกต่ออกุศลวิตก ๓

อนึ่ง ในอารมณ์กรรมฐาน ๓๘ (๑) ที่ทรงจำแนกไว้ในพระบาลี แม้กรรมฐานหนึ่ง ชื่อว่าไม่เป็นข้าศึกต่ออกุศลวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น หามีไม่. ก็ปฐมฌานในอสุภะทั้งหลายทั้งหมดทีเดียว เป็นข้าศึกต่อกามวิตกโดยส่วนเดียวก่อน ฌานหมวด ๓ หมวด ๔ (ปัญจกนัย) ในเมตตาภาวนาเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาทวิตก ฌานหมวด ๓ และหมวด ๔ ในกรุณาเป็นปฏิปักษ์ต่อวิหิงสาวิตก เพราะฉะนั้น เมื่อพระโยคาวจรกระทำบริกรรมในอสุภะเข้าฌานสังกัปปะ (ความดำริ) ที่สัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งสมาบัติ ก็จะเกิดเป็นข้าศึกต่อกามวิตกด้วยสามารถแห่งวิกขัมภนปหาน เมื่อพระโยคาวจรทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา สังกัปปะอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนาก็ย่อมเกิดเป็นข้าศึกต่อกามวิตกด้วยสามารถแห่งองค์ของวิปัสสนา (ตทังคปหาน) นั้น เมื่อเธอขวนขวายวิปัสสนาบรรลุมรรคแล้ว สังกัปปะที่สัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคก็เกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อกามวิตก ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน สังกัปปะ (ความดำริ) อันเกิดขึ้นอย่างนี้ พึงทราบว่า ตรัสเรียกว่า เนกขัมมสังกัปปะแล.

อนึ่ง บัณฑิตพึงประกอบคำทั้งปวงว่า "พระโยคาวจรทำบริกรรมในเมตตาภาวนา ทำบริกรรมในกรุณาภาวนาเข้าฌาน" เป็นต้น โดยนัยก่อนนั่นแหละ พึงทราบว่า สังกัปปะอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ตรัสเรียกว่า อัพยาปาทสังกัปปะ และอวิหิงสาสังกัปปะ สังกัปปะเหล่านี้มีเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้นด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า มีอารมณ์ต่างๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะความที่สังกัปปะเหล่านั้นเกิดขึ้นมีอารมณ์ต่างกันด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและฌาน แต่ในขณะ


(๑) นัยฎีกา เว้นอาโลกกสิณ และอากาสกสิณ

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 368

แห่งมรรค กุศลสังกัปปะ (ความดำริที่เป็นกุศล) ย่อมเกิดขึ้นเป็นอันเดียวกัน ทำองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินแห่งอกุศลสังกัปปะที่เกิดขึ้นในฐานะ ๓ เหล่านี้ ด้วยสามารถแห่งการไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาวาจา

(บาลีข้อ ๑๖๕)

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในนิเทศแห่งสัมมาวาจา ต่อไป

อนึ่ง เพราะบุคคลย่อมงดเว้นมุสาวาทด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นปิสุณาวาจาเป็นต้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ฉะนั้น ความงดเว้นทั้ง ๔ เหล่านั้น จึงต่างๆ กันในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรค ย่อมเกิดความงดเว้นเป็นกุศลกล่าวคือสัมมาวาจาอย่าวเดียวเท่านั้นอันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินแห่งเจตนาความเป็นผู้ทุศีลในอกุศล ๔ อย่าง กล่าวคือมิจฉาวาจาด้วยสามารถไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมาวาจา.

ว่าด้วยนิเทศสัมมากัมมันตะ

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในนิเทศแห่งสัมมากัมมันตะ ต่อไป

อนึ่ง เพราะบุคคลย่อมงดเว้นปาณาติบาตจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นอทินนาทานด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นกาเมสุมิจฉาจารด้วยจิตดวงหนึ่ง ฉะนั้น เจตนาเป็นความงดเว้นทั้ง ๓ เหล่านี้ จึงต่างกันในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรค ย่อมเกิดกุศลเป็นเครื่องงดเว้น กล่าวคือสัมมากัมมันตะ

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 369

ดวงเดียวเท่านั้น อันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนาเป็นเหตุศีลในอกุศล ๓ อย่าง กล่าวคือมิจฉากัมมันตะ ด้วยสามารถแห่งความไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาอาชีวะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาอาชีวะ ต่อไป

บทว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ สาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ. บทว่า มิจฺฉาอาชีวํ ปหาย (ละมิจฉาอาชีวะแล้ว) ได้แก่ ละขาดซึ่งอาชีวะอันลามก. บทว่า สมฺมาอาชีเวน (ด้วยสัมมาอาชีวะ) ได้แก่ อาชีวะอันเป็นกุศลที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว. บทว่า ชีวิตํ กปฺเปติ (เลี้ยงชีวิตอยู่) ได้แก่ ยังความเป็นไปแห่งชีวิตให้ ดำเนินไป. แม้ในสัมมาอาชีวะนี้ เพราะบุคคลย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วงกายทวารด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วงทางวจีทวารด้วยจิตดวงหนึ่ง ฉะนั้น ในส่วนเบื้องต้นจึงเกิดขึ้นในขณะต่างๆ แต่ในขณะแห่งมรรค ย่อมเกิดกุศลเครื่องงดเว้น กล่าวคือสัมมาอาชีวะดวงเดียวเท่านั้น อันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนาเป็นเครื่องทุศีลในมิจฉาอาชีวะที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจกรรมบถ ๗ ในทวารทั้ง ๒ ด้วยสามารถไม่ให้เกิดขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาวายามะเป็นต้น

นิเทศแห่งสัมมาวายามะจักแจ่มแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบทในสัมมัปปธานวิภังค์. ก็สัมมาวายามะนี้ย่อมได้ในจิตต่างๆ ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้น

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 370

เพราะบุคคลย่อมทำความเพียรเพื่อความไม่เกิดแห่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วด้วยจิตดวงหนึ่ง และเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วด้วยจิตดวงหนึ่ง แต่ในขณะแห่งมรรค ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะความเพียรอันสัมปยุตด้วยมรรคอันเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอรรถว่ายังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาสติ

แม้นิเทศแห่งสัมมาสติก็จักมีแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบทในสติปัฏฐานวิภังค์. อนึ่ง สัมมาสติแม้นี้ก็ย่อมได้ให้จิตต่างๆ ในส่วนเบื้องต้น จริงอยู่ บุคคลย่อมกำหนดกายเป็นอารมณ์ด้วยดวงหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนาเป็นต้น ด้วยจิตดวงหนึ่งๆ แต่ในขณะแห่งมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะสติที่สัมปยุตด้วยมรรคดวงเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอรรถว่า ให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาสมาธิ

(บาลีข้อ ๑๗๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมาธิ ต่อไป

ฌาน ๔ มีความต่างกันแม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรคในส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยอำนาจสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคต่างกันด้วยอำนาจแห่งมรรค. ความจริง ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน แม้มรรคดวงที่ ๒ เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน หรือประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งก็ประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรค เป็นต้น ก็เป็นธรรมประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น หรือว่า

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 371

ประกอบด้วยปฐมฌาน. ด้วยอาการอย่างนี้ มรรคแม้ทั้ง ๔ ย่อมเป็นเช่นเดียวกันบ้าง ไม่เป็นเช่นเดียวกันบ้าง หรือเป็นเช่นเดียวกันบางอย่าง ด้วยอำนาจฌาน.

ส่วนความแปลกของมรรคนั้น ด้วยกำหนดฌานเป็นบาทมีดังต่อไปนี้ ว่าด้วยนิยาม (การกำหนด) มรรคที่มีฌานเป็นบาทก่อน เมื่อบุคคลผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ มรรคเป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌานก็เกิดขึ้น และในมรรคนี้ องค์มรรคและโพชฌงค์ย่อมเป็นธรรมบริบูรณ์ทีเดียว เมื่อบุคคลได้ทุติยฌานออกจากทุติยฌานพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วยทุติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคย่อมมี ๗ องค์ เมื่อได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้วพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วยตติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคมี ๗ โพชฌงค์ ๖. นับตั้งแต่จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็นัยนี้. ฌานที่เป็นจตุกนัยและปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้นในอรูปภพ. ก็ฌานนั้นแลตรัสเรียกว่า โลกุตระมิใช่โลกิยะ ถามว่า ในอธิการนี้เป็นอย่างไร ตอบว่า ในอธิการนี้ พระโยคาวจรออกจากณานใด บรรดาปฐมฌานเป็นต้น ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรคแล้วเจริญอรูปสมาบัติเกิดขึ้นในอรูปภพ มรรค ๓ (เบื้องต้น) ของเขาประกอบด้วยฌานนั้นแหละ ย่อมเกิดขึ้นในภพนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฌานที่เป็นบาทนั้นเอง ย่อมกำหนดมรรค.

แต่พระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า อัชฌาสัยของบุคคลย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีย่อมกำหนด บัณฑิตพึงทราบ วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการวรรณนาบทภาชนีย์ว่าด้วยโลกรุตระในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแล.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 372

คำว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ (นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ) ความว่า เอกกัคคตา (สมาธิจิต) ในฌาน ๔ เหล่านั้น เรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็นโลกิยะในส่วนเบื้องต้น แต่ในกาลภายหลังเป็นโลกุตระ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคสัจจะด้วยสามารถเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระ

บรรดามรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระเหล่านั้น ในโลกิยมรรค องค์มรรคทั้งหมดย่อมมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ ๖ ตามสมควร แต่ในโลกุตรมรรค ปัญญาจักษุ (จักษุคือปัญญา) มีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถอนเสียซึ่งอวิชชานุสัยของพระอริยสาวกผู้ประพฤติเพื่อแทงตลอดสัจจะ ๔ เป็น สัมมาทิฏฐิ. อนึ่ง การยกจิตขึ้นสู่แนวทางพระนิพพานซึ่งสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้นแล้วถอนเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ ๓ อย่าง ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็น สัมมาสังกัปปะ. อนึ่ง ความงดเว้นมิจฉาวาจาที่สัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นแหละ ถอนขึ้นซึ่งวจีทุจริต ๔ อย่าง ของบุคคลผู้เห็นอยู่ และตรึกอยู่ เป็น สัมมาวาจา. ความงดเว้นกายทุจริต ๓ อย่าง ที่สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นแหละตัดขาดมิจฉากัมมันตะ ของบุคคลผู้งดเว้นอยู่ เป็น สัมมากัมมันตะ. ความงดเว้นมิจฉาอาชีวะ ที่เป็นธรรมชาติผ่องแผ้วของสัมมาวาจาและกัมมันตะเหล่านั้นนั่นเอง เป็นธรรมสัมปยุตด้วยสัมมาวาจาและกัมมันตะนั้นๆ แหละตัดขาดอกุศลมีการหลอกลวงเป็นต้น เป็น สัมมาอาชีวะ. อนึ่ง วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ของบุคคลผู้ตั้งมั่น ในภูมิศีลกล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี้สมควรแก่

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 373

ศีลนั้น สัมปยุตด้วยศีลนั้นนั่นแล ตัดขาดความเกียจคร้าน ให้สำเร็จความไม่เกิดอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้ดำรงอยู่ เป็น สัมมาวายามะ. ความที่จิตไม่หลงลืมของผู้พยายามอยู่ อย่างนี้ สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะนั้นถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสติ ให้สำเร็จเป็นกายานุปัสสนาเป็นต้นในอารมณ์มีกายเป็นต้น เป็น สัมมาสติ. ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งของผู้รักษาจิตอันอนุตรสติจัดแจงดีแล้ว สัมปยุตด้วยสัมมาสติและถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ ด้วยประการฉะนี้แล.

นี้ เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นโลกุตระ.

ว่าด้วยมรรคเป็นทั้งวิชาและจรณะเป็นต้น

อนึ่ง โลกุตรมรรคใดพร้อมทั้งงโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับว่าเป็น ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์) มรรคนั้นแลเป็นทั้งวิชชาและจรณะ เพราะสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยวิชชา ธรรมที่เหลือสงเคราะห์ไว้ด้วยจรณะ อนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งสมถะและ วิปัสสนา เพราะความที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยวิปัสสนาญาณ. ธรรมนอกจากนี้ สงเคราะห์ไว้ด้วยสมถญาณ. อีกอย่างหนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งขันธ์ ๓ และสิกขา ๓ เพราะความที่สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์ ธรรม ๓ ในลำดับต่อจากสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ที่เหลือสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ และธรรมเหล่านั้นแหละสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา.

พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรคใด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะดุจบุคคลผู้เดินทางไกลประกอบด้วยจักษุทั้ง ๒ อันสามารถในการเห็น

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 374

และเท้าทั้ง ๒ อันสามารถในการเดิน เว้นที่สุด ๒ อย่าง คือกามสุขัลลิกานุโยคด้วยวิปัสสนาญาณ และอัตตกิลมถานุโยคด้วยสมถญาณ ดำเนินไปสู่มัชฌิมปฏิปทา ทำลายอยู่ซึ่งกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์ ซึ่งกองแห่งโทสะด้วยศีลขันธ์ ซึ่งกองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ บรรลุสมบัติ ๓ คือ ซึ่งปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญาสิกขา ซึ่งศีลสัมปทาด้วยอธิศีลสิกขา ซึ่งสมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งอมตะคือพระนิพพาน ชื่อว่าหยั่งลงสู่อริยภูมิ กล่าวคือสัมมัตตนิยาม (นิยามอันชอบ) ซึ่งวิจิตรด้วยรัตนะคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และปริโยสาน (ที่สุด) แล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 375

อภิธรรมภาชนีย์

อัฏฐังคิกวาร

[๑๗๑] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์

๒. ทุกขสมุทัย

. ทุกขนิโรธ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๑๗๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉน?

กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ อกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลกรรม และอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๗๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหา (ตณฺหาย ปหานํ) นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌานอันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ [โสดาปัตติผล] สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกมี

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 376

วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น.

[๑๗๖] ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๑๗๗] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๑๗๘] สัมมาวาจา เป็น ไฉน?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากวจีทุจริต ๔ กิริยา ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุวจี ทุจริต ๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียก ว่า สัมมาวาจา.

[๑๗๙] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน?

การงด การเว้น การละเลิก เจตนาเครื่องเว้นจากกายทุจริต ๓ กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ กายทุจริต ๓ การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

[๑๘๐] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน?

การงด การเว้น การละเลิก เจตนาเครื่องเว้นจากมิจฉาอาชีวะ กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 377

มิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

[๑๘๑] สัมมาวายามะ เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๑๘๒] สัมมาสติ เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๑๘๓] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๑๘๔] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

[๑๘๕] ทุกข์ เป็นไฉน?

อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลกรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 378

[๑๘๖] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหาแสะกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๘๗] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมฌาน สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา.

[๑๘๘] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ และอกุศลกรรมที่เหลือนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

[๑๘๙] ทุกข์ เป็นไฉน?

กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๙๐] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหากิเลสที่เหลือและอกุศลธรรมที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๙๑] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 379

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๑๙๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๑๙๓] ทุกข์ เป็นไฉน?

กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๙๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ และกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๙๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 380

[๑๙๖] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๑๙๗] ทุกข์ เป็นไฉน?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๙๘] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหา กิเลสที่เหลือ กุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้ เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๙๙] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้ เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ปัญจังคิกวาร

[๒๐๐] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์

๒. ทุกขสมุทัย

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 381

๓. ทุกขนิโรธ

. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๒๐๑] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๒๐๒] ทุกข์ เป็นไฉน?

กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๐๓] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๒๐๔] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารมีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น.

[๒๐๕] ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 382

[๒๐๖] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๒๐๗] สัมมาวายามะ เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความเพียรชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๒๐๘] สัมมาสติ เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๒๐๙] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

นี้เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ฯลฯ

[๒๑๐] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๒๑๑] ทุกข์ เป็นไฉน?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 383

[๒๑๒] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๒๑๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

สัพพสังคาหิกวาร

[๒๑๔] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์

๒. ทุกขสมุทัย

๓. ทุกขนิโรธ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๒๑๕] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 384

[๒๑๖] ทุกข์ เป็นไฉน?

กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศล ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๑๗] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๒๑๘] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯลฯ

[๒๑๙] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๒๒๐] ทุกข์ เป็นไฉน?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล มิใช่อกุศล และมิใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๒๑] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน?

การละตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 385

[๒๒๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

บัดนี้ เป็นอภิธรรมภาชนีย์ ในอภิธรรมภาชนีย์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า อริยสัจจะทั้งหลาย ตรัสว่า จตฺตาริ สจฺจานิ (สัจจะ ๔) ดังนี้ เพื่อทรงแสดงสมุทัย กล่าวคือธรรมเป็นปัจจัยโดยสิ้นเชิง (นิปปเทสะ).

จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า อริยสัจจะ ดังนี้ กิเลสที่เหลือ กุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ กุศลธรรมที่เหลือซึ่งมีอาสวะ ย่อมสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยว่าตัณหาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมให้ทุกข์ตั้งขึ้นก็หาไม่ แม้ธรรมเหล่านั้นที่เหลือมีกิเลสเป็นต้นเป็นปัจจัยก็ย่อมยังทุกข์ให้ตั้งขึ้นได้ เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงสมุทัยกล่าวคือธรรมเป็นปัจจัย โดยสิ้นเชิงว่า แม้ธรรมที่เป็นปัจจัยเหล่านั้น ย่อมให้ทุกข์ตั้งขึ้นเหมือนกัน จึงตรัสว่า จตฺตาริ สจฺจานิ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 386

ว่าด้วยวินิจฉัยในนิเทศวาร

ก็ในนิเทศวารแห่งสัจจะทั้ง ๔ เหล่านั้น พระองค์มิได้ทรงแสดงทุกข์ก่อน เพื่อต้องการแสดงทุกข์นั้นนั่นแหละให้เข้าใจโดยง่าย จึงทรงยกทุกขสมุทัยขึ้นแสดง. เพราะเมื่อพระองค์ทรงแสดงทุกขสมุทัยแล้ว ทุกขสัจจะโดยนัยมีอาทิว่า "ก็กิเลสทั้งหลายที่เหลือ" ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงได้ง่าย. นิโรธสัจจะในนิเทศวารนี้ ทรงแสดงโดยอาการ ๕ ด้วยอำนาจแห่งการละสมุทัยตามที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า "การละตัณหา และการละกิเลสที่เหลือนอกจากตัณหา" เป็นต้น. ส่วนมรรคสัจจะในนิเทศวารนี้ พระองค์เมื่อจะทรงแสดงก็ทรงแสดงเพียงเป็นหัวข้อแห่งนัยเทศนาที่จำแนกไว้ในธรรมสังคณี ด้วยอำนาจโสดาปัตติมรรคที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ในมรรคสัจจะนั้น บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งนัยที่ข้าพเจ้าจักประกาศข้างหน้า.

ว่าด้วยปฏิปทาที่ประกอบด้วยองค์มรรค ๕ เป็นต้น

อนึ่ง มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นปฏิปทาอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ แต่เพราะพระบาลีว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส กายกมฺมํ วจีกมฺมํ อาชีโว สุปริสุทฺโธ โหติ (ก็กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของบุคคลนั้นบริสุทธิ์ดีแล้ว ในกาลก่อนทีเดียว) ดังนี้ มรรคแม้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นทรงแสดงว่าเป็นปฏิปทาเหมือนกัน ด้วยอำนาจอัธยาศัยของบุคคล เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงนัยนั้น จึงทรงแสดงแม้ปัญจังคิกวาร (วาระว่าด้วยองค์มรรค ๕) อนึ่ง เพราะมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ และองค์ ๕ เป็นปฏิปทาเท่านั้นก็หาไม่ ถึงสัมปยุตตธรรมทั้งหลายเกิน ๕๐ ก็เป็นปฏิปทาเหมือนกัน ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงนัยนั้น จึงทรงแสดงแม้สัพพสังคาหิกวาร (วาระว่าด้วยธรรมที่สงเคราะห์ เข้าด้วยกันทั้งหมด) ที่ ๓. ในสัพพสังคาหิกวารนั้น ย่อมขาดคำว่า "ธรรมที่

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 387

เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" นี้ไป. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกัน ทั้งนั้น ในวาระทั้งปวงแล.

ว่าด้วยปฏิปทา ๖๐,๐๐๐ นัย

ในวาระทั้ง ๓ (อัฏฐังคิกวาร ปัญจังคิกวาร สัพพสังคาหิกวาร) เหล่านั้น พึงทราบโกฏฐาสแรกในโกฏฐาส ๕ ของอัฏฐังคิกวารมีคำว่า การละตัณหา และการละกิเลสทั้งหลายที่เหลือจากตัณหา ดังนี้ก่อน. ในการอาศัยฌานในโสดาปัตติมรรคมี ๑๐ นัย ด้วยอำนาจฌานที่เป็นจตุกนัยและปัญจกนัยอย่างละ ๒ ในฐานะ ๕ เหล่านั้น คือ สุทธิกปฏิปทา สุทธิสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิกอัปปณิหิตะ อัปปณิหิตปฏิปทา. แม้ในการอาศัยฌานที่เหลือ (๑) ก็อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ในการอาศัยฌาน ๒๐ นัย จึงเป็น ๒๐๐ นัย. ๒๐๐ นัยนั้นคูณด้วยอธิบดี ๔ เป็น ๘๐๐ นัย รวมนัยแม้ทั้งหมดคือ สุทธิกนัย ๒๐๐ สาธิปตินัย ๘๐๐ เป็น ๑,๐๐๐ นัย ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง ในโสดาปัตติมรรคฉันใด แม้ในมรรคที่เหลือก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็น ๔,๐๐๐ นัย. อนึ่ง ในโกฏฐาสแรก มี ๔,๐๐๐ นัย ฉันใด แม้ในโกฏฐาสที่เหลือก็ฉันนั้น เหตุนั้น ในโกฏฐาสทั้ง ๕ ในอัฏฐังคิกวารจึงเป็น ๒๐,๐๐๐ นัย ในปัญจังคิกวาร และ ในสัพพสังคาหิกวารก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น นัยแม้ทั้งหมด พระศาสดาจึงทรงจำแนกไว้ ๖๐,๐๐๐ นัย แต่ในพระบาลีมาแล้วโดยย่อ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อภิธรรมภาชนีย์นี้ มีมหาวาระ ๓ มีโกฏฐาส ๑๕ ประดับด้วยนัย ๖๐,๐๐๐ นัย เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้านำออกแสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ


(๑) อภิ. สํ. ๓๔/ ๒๖๙/ ๑๐๔ (มีอีก ๒๐ นัย)

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 388

ปัญหาปุจฉกะ

[๒๒๓] อริยสัจ ๔ คือ

๑. ทุกขอริยสัจ

๒. ทุกขสมุทัยอริยสัจ

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอริยสัจ ๔ อริยสัจไหนเป็นกุศล อริยสัจไหนเป็นอกุศล อริยสัจไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อริยสัจไหนเป็นสรณะ อริยสัจไหนเป็นอรณะ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๒๒๔] สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี. สัจจะ ๒ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ทุกขสัจเป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต. สัจจะ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม นิโรธสัจเป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ทุกขสัจเป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี. สมุทยสัจ เป็นอนุปาทินนุ-

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 389

ปาทานิยะ สัจจะ ๒ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ทุกขสัจเป็นอุปาทินนุทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี. สมุทยสัจเป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ สัจจะ ๒ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ทุกขสัจเป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี. สมุทยสัจเป็นสวิตักกสวิจาระ นิโรธสัจเป็นอวิตักกาวิจาระ มัคคสัจเป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี ทุกขสัจเป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี. สัจจะ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ ทุกขสัจเป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ สมุทยสัจเป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี ทุกขสัจเป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นเนวทัสสเนนนภานายปหาตัพพเหตุกะ สมุทยสัจเป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี ทุกขสัจเป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี. สมุทยสัจเป็นอาจยคามี มัคคสัจเป็นอปจยคามี นิโรธสัจเป็นเนวาจยคามินาปจยคามี ทุกขสัจเป็นอาจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี. มัคคสัจเป็นเสกขะ สัจจะ ๓ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ. สมุทยสัจเป็นปริตตะ สัจจะ ๒ เป็นอัปปมาณะ

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 390

ทุกขสัจเป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี. นิโรธสัจเป็นอนารัมมณะ มัคคสัจเป็นอัปปมาณารัมมณะ สมุทยสัจเป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี ไม่เป็นอัปปมาณารัมมณะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี ทุกขสัจเป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี สมุทยสัจเป็นหีนะ สัจจะ ๒ เป็นปณีตะ ทุกขสัจเป็นหีหะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี. นิโรธสัจเป็นอนิยตะ มัคคสัจเป็นสัมมัตตนิยตะ สัจจะ ๒ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี. นิโรธสัจเป็นอนารัมมณะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ มัคคสัจไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ทุกขสัจเป็นมัคคารัมมณะก็มี ไม่เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี. สัจจะ ๒ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปปันนะ แม้เป็นอนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาที ทุกขสัจเป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี. สัจจะ ๓ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบัน. นิโรธสัจเป็นอนารัมมณะ มัคคสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ สัจจะ ๒ เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 391

แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี. นิโรธสัจเป็นพหิทธา สัจจะ ๓ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี. นิโรธสัจเป็นอนารัมมณะ มัคคสัจเป็นพหิทธารัมมณะ สมุทยสัจเป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ทุกขสัจเป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี. สัจจะ ๓ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ ทุกขสัจเป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนสัปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะก็มี.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๕] สมุทยสัจเป็นเหตุ นิโรธสัจเป็นนเหตุ สัจจะ ๒ เป็นเหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี. สัจจะ ๒ เป็นสเหตุกะ นิโรธสัจเป็นอเหตุกะ ทุกขสัจ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นเหตุสัมปยุต นิโรธสัจเป็นเหตุวิปปยุต ทุกขสัจเป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจเป็นเหตุสเหตุกะ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ มัคคสัจเป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ทุกขสัจเป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ. สมุทยสัจเป็นเหตุเหตุสัมปยุต นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ มัคคสัจเป็นเหตุเหตุ-

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 392

สัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ทุกขสัจเป็นเหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี. นิโรธสัจเป็นนเหตุอเหตุกะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ มัคคสัจเป็นนเหตุสเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นเหตุอเหตุกะก็มี ทุกขสัจเป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๒๒๖] สัจจะ ๓ เป็นสัปปัจจยะ นิโรธสัจเป็นอัปปัจจยะ. สัจจะ ๓ เป็นสังขตะ นิโรธสัจเป็นอสังขตะ. สัจจะ ๓ เป็นอนิทัสสนะ ทุกขสัจเป็นสนิทัสสนะก็มี เป็นอนิทัสสนะก็มี. สัจจะ ๓ เป็นอัปปฏิฆะ ทุกขสัจเป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็นอัปปฏิฆะก็มี. สัจจะ ๓ เป็นอรูป (๑) ทุกขสัจเป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี. สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตระ. สัจจะ ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๗] สมุทยสัจเป็นอาสวะ สัจจะ ๒ เป็นโนอาสวะ ทุกขสัจเป็นอาสวะก็มี เป็นโนอาสวะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นสาสวะ สัจจะ ๒ เป็นอนาสวะ. สมุทยสัจเป็นอาสวสัมปยุต สัจจะ ๒ เป็นอาสววิปปยุต ทุกขสัจเป็น อาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจเป็นอาสวสาสวะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ ทุกขสัจ เป็น


(๑) บาลีเป็น ตีณิ สจฺจา รูปา ที่ถูกควรเป็น ตีณิ สจฺจารูปา ฉบับ ม. เป็น ตีณิ สจฺจานิ อรูปานิ.

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 393

อาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี. สมุทยสัจเป็นอาสวอาสวสัมปยุต สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตโนอาสวะ ทุกขสัจเป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ ทุกขสัจเป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๘] สมุทยสัจเป็นสัญโญชนะ สัจจะ ๒ เป็นโนสัญโญชนะ ทุกขสัจเป็นสัญโญชนะก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นสัญโญชนิยะ สัจจะ ๒ เป็นอสัญโญชนิยะ. สมุทยสัจเป็นสัญโญชนสัมปยุต สัจจะ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุต ทุกขสัจเป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจเป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ ทุกขสัจเป็น สัญโญชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี. สมุทยสัจเป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ ทุกขสัจเป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 394

ก็มี. สัจจะ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ ทุกขสัจเป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ ก็มี.

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๙] สมุทยสัจเป็นคันถะ สัจจะ ๒ เป็นโนคันถะ ทุกขสัจเป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นคันถนิยะ สัจจะ ๒ เป็นอคันถนิยะ. สัจจะ ๒ เป็นคันถวิปปยุต สัจจะ ๒ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจเป็นคันถคันถนิยะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะ ทุกขสัจเป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี. สมุทยสัจเป็นคันถคันถสัมปยุต กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ ทุกขสัจเป็นคันถคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ สัจจะ ๒ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี.

๖.,๗.,๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา

[๒๓๐] สมุทยสัจเป็นโอฆะ ฯลฯ สมุทยสัจเป็นโยคะ ฯลฯ สมุทยสัจเป็นนีวรณะ สัจจะ ๒ เป็นโนนีวรณะ ทุกขสัจ เป็นนีวรณะก็มี

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 395

เป็นโนนีวรณะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นนีวรณิยะ สัจจะ ๒ เป็นอนีวรณิยะ. สมุทยสัจเป็นนีวรณสัมปยุต สัจจะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุต ทุกขสัจเป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจเป็นนีวรณนีวรณิยะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ ทุกขสัจเป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี. สมุทยสัจเป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ ทุกขสัจเป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ ทุกขสัจเป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๒๓๑] สัจจะ ๓ เป็นโนปรามาสะ ทุกขสัจเป็นปรามาสะก็มี เป็นโนปรามาสะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นปรามัฏฐะ สัจจะ ๒ เป็นอปรามัฏฐะ. สัจจะ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุต สมุทยสัจเป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ทุกขสัจ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ ทุกขสัจเป็นปรามาส-

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 396

ปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ สัจจะ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา

[๒๓๒] สัจจะ ๒ เป็นสารัมมณะ นิโรธสัจเป็นอนารัมมณะ ทุกขสัจเป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี. สัจจะ ๓ เป็นโนจิตตะ ทุกขสัจเป็นจิตตะก็มี เป็นโนจิตตะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นเจตสิกะ นิโรธสัจเป็นอเจตสิกะ ทุกขสัจเป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตสัมปยุต นิโรธสัจเป็นจิตตวิปปยุต ทุกขสัจเป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุตก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตสังสัฏฐะ นิโรธสัจเป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ทุกขสัจเป็น จิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตสมุฏฐานะ นิโรธสัจเป็นโนจิตตสมุฏฐานะ ทุกขสัจเป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตสหภู นิโรธสัจเป็นโนจิตตสหภู ทุกขสัจเป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตานุปริวัตติ นิโรธสัจเป็นโนจิตตานุปริวัตติ ทุกขสัจเป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ นิโรธสัจเป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ทุกขสัจเป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู นิโรธสัจเป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 397

ทุกขสัจเป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสีฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี. สัจจะ ๒ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ นิโรธสัจเป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ทุกขสัจเป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี. สัจจะ ๓ เป็นพาหิระ ทุกขสัจเป็นอัชฌัตติกะก็มี เป็นพาหิระก็มี. สัจจะ ๓ เป็นนอุปาทา ทุกขสัจเป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี. สัจจะ ๓ เป็นอนุปาทินนะ ทุกขสัจเป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๒๓๓] สมุทยสัจเป็นนอุปาทานะ สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานะ ทุกขสัจเป็นอุปาทานะก็มี เป็นนอุปาทานะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานิยะ สัจจะ ๒ เป็นอนุปาทานิยะ. สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุต สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจเป็นอุปาทานอุปาทานิยะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ ทุกขสัจเป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี. สมุทยสัจเป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ ทุกขสัจเป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 398

สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

[๒๓๘] สมุทยสัจเป็นกิเลสะ สัจจะ ๒ เป็นโนกิเลสะ ทุกขสัจเป็นกิเลสะก็มี เป็นโนกิเลสะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นสังกิเลสิกะ สัจจะ ๒ เป็นอสังกิเลสิกะ. สมุทยสัจเป็นสังกิลิฏฐะ สัจจะ ๒ เป็นอสังกิลิฏฐะ ทุกขสัจเป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐะก็มี. สมุทยสัจเป็นกิเลสสัมมปยุต สัจจะ ๒ เป็นกิเลสวิปปยุต ทุกขสัจเป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี. สมุทยสัจเป็นกิเลสสังกิเลสิกะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลลสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสิกะ ทุกขสัจเป็นกิเลสสังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี. สมุทยสัจเป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ ทุกขสัจเป็นกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี. สมุทยสัจเป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ ทุกขสัจเป็นกิเลสกิเลสลัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเสสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ ทุกขสัจเป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 399

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๒๓๕] สัจจะ ๒ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ สัจจะ ๒ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ สัจจะ ๒ เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวหายปหาตัพพะก็มี. สัจจะ ๒ เป็น นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ สัจจะ ๒ เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ สัจจะ ๒ เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี. สมุทยสัจเป็นสวิตักกะ นิโรธสัจเป็นอวิตักกะ สัจจะ ๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี. สมุทยสัจเป็นสวิจาระ นิโรธสัจเป็นอวิจาระ สัจจะ ๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี. นิโรธสัจเป็นอัปปีติกะ สัจจะ ๓ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี. นิโรธสัจเป็นนปีติสหคตะ สัจจะ ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี. นิโรธสัจเป็นนสุขสหคตะ สัจจะ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี. นิโรธสัจเป็นนอุเปกขาสหคตะ สัจจะ ๓ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี. สมุทยสัจเป็นกามาวจร สัจจะ ๒ เป็นนกามาวจร ทุกขสัจเป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี. สัจจะ ๓ เป็นนรูปาวจร ทุกขสัจเป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี. สัจจะ ๓ เป็นนอรูปาวจร ทุกขสัจเป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี. สัจจะ ๒ เป็นปริยาปันนะ สัจจะ ๒ เป็นอปริยาปันนะ. มัคคสัจเป็นนิยยานิกะ สัจจะ ๓ เป็นอนิยยานิกะ. มัคคสัจเป็นนิยตะ นิโรธสัจเป็นอนิยตะ สัจจะ ๒ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี. สัจจะ ๒ เป็นสอุตตระ สัจจะ ๒ เป็นอนุตตระ

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 400

สมุทยสัจเป็นสรณะ สัจจะ ๒ เป็นอรณะ ทุกขสัจเป็นสรณะก็มี เป็นอรณะ ก็มี ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สัจจวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในปัญหาปุจฉกะ ต่อไป

บัณฑิตพึงทราบความที่สัจจะแม้ทั้ง ๔ เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในขันธวิภังค์นั่นแล แต่ในอารัมมณติกะทั้งหลาย สมุทยสัจจะเป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในกามาวจรธรรม เป็นมหัคคตารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในมหัคคตธรรม เป็นนวัตตัพพารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในบัญญัติธรรม. ทุกขสัจจะเป็นปริตตารัมมณะซึ่งปรารภกามาวจรธรรมเกิดขึ้น เป็นมหัคคตารัมมณะในกาลปรารภรูปาวจรธรรมและอรูปาวจรธรรมเกิดขึ้น เป็นอัปปมาณารัมมณะเกิดในเวลาพิจารณาโลกุตรธรรม ๙ เป็นนวัตตัพพารัมณะในเวลาพิจารณาบัญญัติ. มรรคสัจจะ เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหตุ) แม้ในกาลทั้งปวง ด้วยสามารถเป็นสหชาตเหตุ เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญมรรคกระทำวริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาที่ฉันทะและจิตอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอธิบดี. ทุกขสัจจะเป็นมรรคารัมมณะในเวลาพิจารณามรรคของพระอริยะ เป็นมัคคาธิบดีในเวลาพิจารณามรรคของพระอริยเจ้าเหล่านั้นนั่นเทียว กระทำให้หนักเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาพิจารณาธรรมที่เหลือ.

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 401

บทว่า เทฺว สจฺจานิ (สัจจะ ๒) (๑) ได้แก่ทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ เพราะสัจจะทั้ง ๒ เหล่านี้ เป็นอารมณ์มีอดีตเป็นต้น ในเวลาที่ปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น สมุทยสัจจะ ย่อมเป็นอารมณ์มีอารมณ์ภายในเป็นต้น แก่บุคคลผู้ยินดีอยู่ในธรรมอันต่างด้วยธรรมมีอัชฌัตตะเป็นต้น. ทุกขสัจจะ ในเวลาเป็นอากิญจัญญายตนะ พึงทราบว่า เป็นนวัตตัพพารัมมณะก็มี. เพราะฉะนั้น ในปัญหาปุจฉกะนี้ สองสัจจะ (ต้น) เป็นโลกีย์ สองสัจจะ (หลัง) เป็นโลกุตระ ในปัญหาปุจฉกะนี้ ฉันใด ในสุตตันตภาชนีย์และอภิธรรมภาชนีย์ทั้ง ๒ แม้ก่อนก็ฉันนั้น เพราะสัจจะที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ พระสัมมาสัมพุทธะตรัสแล้วในการวรรณนาแม้ทั้ง ๓ มีสุตตันตภาชนีย์เป็นต้น แม้สัจจวิภังค์นี้ พระองค์ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ๓ ปริวรรต ด้วยประการฉะนี้แล.

สัจจวิภังคนิเทศ จบ


(๑) บาลีข้อ ๒๒๔

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง