๕. อินทริยวิภังค์
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑
๕. อินทริยวิภังค์
อภิธรรมภาชนีย์
อินทริยวิภังค์นิเทศ
ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์ ๒๒ 407
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น 411
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน 413
ปัญหาปุจฉกะ
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา 417
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 77]
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 402
๕. อินทริยวิภังค์
[๒๓๖] อินทรีย์ ๒๒ คือ
๑. จักขุนทรีย์
๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์
๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์
๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์
๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์
๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์
๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์
๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 403
๑๙. ปัญญินทรีย์
๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
[๒๓๗] ในอินทรีย์ ๒๒ นั้น จักขุนทรีย์ เป็นไฉน?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ (๑) นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขุนทรีย์.
โสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นไฉน?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายินทรีย์.
มนินทรีย์ เป็นไฉน?
มนินทรีย์หมวดละ ๑ คือ มนินทรีย์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ (๒) มนินทรีย์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนินทรีย์.
[๒๓๘] อินถินทรีย์ เป็นไฉน?
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง ของหญิง อันใด นี้เรียกว่า อินถินทรีย์.
ปุริสินทรีย์ เป็นไฉน?
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย ของชาย อันใด นี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์.
(๑) ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ภาค ๑ ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป
(๒) ความที่ ฯลฯ พึงดูในขันธวิภังค์ ข้อ (๗๔) เป็นลำดับไป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 404
ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน?
ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ อรูปชีวิตินทรีย์ ในชีวิตินทรีย์ ๒ อย่างนั้น รูปชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของรูปธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์.
อรูปชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
[๒๓๙] สุขินทรีย์ เป็นไฉน?
ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.
ทุกขินทรีย์ เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.
โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 405
โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.
อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน?
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.
[๒๔๐] สัทธินทรีย์ เป็นไฉน?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธาอินทรีย์คือศรัทธา สัทธาพละ อันใด นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
วิริยินทรีย์ เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
สตินทรีย์ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่า สตินทรีย์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 406
สมาธินทรีย์ เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบอินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยารู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์.
[๒๔๑] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์.
อัญญินทรีย์ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าอัญญินทรีย์.
อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 407
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด อันรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึงแล้วเหล่านั้น ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า อัญญาตาวินทรีย์.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
อินทริยวิภังคนิเทศ (๑)
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยวิภังค์ต่อจากสัจจวิภังค์นั้น ต่อไป
บทว่า พาวีสติ (๒๒) เป็นบทกำหนดจำนวน. บทว่า อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ทั้งหลาย) เป็นบทอธิบายธรรมที่ทรงกำหนดไว้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงอินทรีย์เหล่านั้นโดยย่อ จึงตรัสคำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ (จักขุนทรีย์) เป็นต้น.
ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์ ๒๒
ในอินทรีย์เหล่านั้น ที่ชื่อว่า จักขุนทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในจักขุทวาร. ที่ชื่อว่า โสตินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในโสตทวาร. ที่ชื่อว่า ฆานินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ
(๑) บาลีข้อ ๒๓๖
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 408
เป็นใหญ่ในฆานทวาร. ที่ชื่อว่า ชิวหินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในชิวหาทวาร. ที่ชื่อว่า กายินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในกายทวาร. ที่ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการรู้อารมณ์. ที่ชื่อว่า อิตถินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในความเป็นหญิง. ที่ชื่อว่า ปุริสินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในความเป็นชาย. ที่ชื่อว่า ชีวินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการตามรักษา (อนุบาล). ที่ชื่อว่า สุขินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะสุข. ที่ชื่อว่า ทุกขินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะทุกข์. ที่ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะโสมนัส. ที่ชื่อว่า โทมนัสสินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะโทมนัส. ที่ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะอุเบกขา. ที่ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการน้อมใจเชื่อ. ที่ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความเพียร. ที่ชื่อว่า สตินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความปรากฏ (ของอารมณ์). ที่ชื่อว่า สมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความไม่ฟุ้งซ่าน. ที่ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการเห็น. ที่ชื่อว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้ซึ่งการดำเนินไปว่า เราจักรู้ทั่วถึงสิ่งที่ยังไม่รู้ (นี้ เป็นโสดาปัตติมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 409
เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในการรู้ทั่วธรรมที่รู้แล้วนั่นแหละ (โสดาปัตติผล ถึง อรหัตตมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในความเป็นผู้รู้แจ้ง (อรหัตตผล).
ในอินทริยวิภังค์ วรรณนาชื่อว่า สุตตันตภาชนีย์ พระองค์มิได้ทรงถือเอา เพราะเหตุไร เพราะอินทรีย์ ๒๒ โดยลำดับนี้มิได้มาในพระสูตร เพราะในพระสูตรบางแห่งทรงตรัสอินทรีย์ไว้ ๒ บางแห่งตรัสไว้ ๓ บางแห่งตรัสไว้ ๕ ก็ด้วยเหตุนี้ อินทรีย์ ๒๒ ติดต่อกันเช่นนี้มิได้มี นี้เป็นนัยแห่งอรรถกถาในอินทริยวิภังค์ก่อน.
ก็นัยอื่นอีก พึงทราบดังต่อไปนี้. จริงอยู่ ในอินทรีย์เหล่านี้
อตฺถโต ลกฺขณาทีหิ กมโต จ วิชานิยา
เภทาเภทา ตถา กิจฺจา ภูมิโต จ วินิจฺฉยํ
พึงทราบการวินิจฉัย โดยอรรถ โดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับ โดยความต่างกันและไม่ต่างกัน โดยกิจ และโดยภูมิ.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ
บรรดาวินิจฉัยเหล่านั้น อรรถถแห่งอินทรีย์มีจักขุเป็นต้น ข้าพเจ้าประกาศไว้ก่อนแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ที่ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อม เห็น. แต่ในอินทรีย์ (ที่เป็นโลกุตระ) ๓ หลัง โลกุตรอินทรีย์ข้อแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ดังนี้ เพราะ ความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์แก่พระอริยะผู้ถึง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 410
แล้วในส่วนเบื้องต้นอย่างนี้ว่า "เราจักรู้อมตบทหรือสัจจธรรม ๔ ที่ยังไม่รู้" ดังนี้. โลกุตรอินทรีย์ที่ ๒ ตรัสเรียกว่า อัญญินทรีย์ เพราะความรู้ทั่ว และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์. โลกุตรอินทรีย์ที่ ๓ ตรัสเรียกว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์ แก่เฉพาะพระขีณาสพ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีกิจแห่งญาณในสัจจะ ๔ สำเร็จแล้ว.
ก็ชื่อว่า อรรถแห่งอินทรีย์ นั่นเป็นอย่างไร. อรรถแห่งอินทรีย์มี อรรถว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นใหญ่ (จอม) อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่า อันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่า อันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่า อันผู้เป็นใหญ่ประกาศแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่า อันผู้เป็นใหญ่เสพแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์แม้ทั้งหมดนั้นย่อมสมควรตามความเหมาะสมในที่นี้.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า เป็นจอม (เป็นใหญ่) เพราะความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด. กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ชื่อว่า เป็นใหญ่ เพราะในกรรมทั้งหลายไม่มีอะไรที่มีความเป็นใหญ่กว่า ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในอธิการนี้ อินทรีย์ทั้งหลายอันเกิดพร้อมด้วยกรรมย่อมแสดงซึ่งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลก่อน และอินทรีย์เหล่านั้นอันพระสัมมาสัมพุทธะผู้เป็นจอมนั้นทรงสอนแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องหมายความเป็นใหญ่ สละด้วยอรรถว่า เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 411
อนึ่ง อินทรีย์ทั้งหมดนั่นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้ และตรัสรู้ยิ่งตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่า อันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว และเพราะอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อินทรีย์บางอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมมุนีพระองค์นั้นแหละเสพแล้ว ด้วยการเสพแห่งอารมณ์ และบางอย่างก็ทรงเสพแล้วด้วยการเสพแห่งการเจริญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลผู้เป็นจอมเสพแล้วบ้าง อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอิสระ กล่าวคือ ความเป็นอธิบดีบ้าง ด้วยว่าความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้น สำเร็จแล้วในความเป็นไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์นั้นแก่กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็แก่กล้า และเมื่ออินทรีย์นั้นอ่อน จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็อ่อนแอ.
นี้วินิจฉัยโดยอรรถในอินทรีย์นี้ก่อน.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น
ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น มีอธิบายว่า บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย อินทรีย์มีจักขุเป็นต้น แม้ด้วยลักษณะ (สภาวะ) ด้วยรส (กิจ) ด้วยปัจจุปัฏฐาน (ผลที่ปรากฏ) และด้วยปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิดขึ้น). ก็ลักษณะเป็นต้นเหล่านั้นแห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง (อรรถกถาอัฏฐสาลนี) ทั้งหมดแล้ว ก็อินทรีย์ ๔ (๑) มีปัญญินทรีย์เป็นต้น โดยอรรถ ได้แก่ อโมหะนั่นเอง อินทรีย์ที่เหลือในพระบาลีนั้นมาแล้ว โดยย่อแล.
(๑) อินทรีย์ ๔ คือ ตั้งแต่ข้อ ๑๙ ถึง ๒๒
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 412
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ
ข้อว่า โดยลำดับ แม้นี้ เป็นลำดับของเทศนานั่นเอง. ในลำดับนั้น การได้เฉพาะซึ่งอริยภูมิย่อมมีด้วยการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นภายใน เพราะ เหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงจักขุนทรีย์เป็นต้นซึ่งนับเนื่องด้วยอัตภาพก่อน. ก็อัตภาพนั้นอาศัยธรรมใด ย่อมถึงการนับว่า เป็นหญิง หรือ เป็นชาย เพื่อทรงชี้แจงแสดงว่า ธรรมนั้นคืออัตภาพนี้ ถัดจากนั้นจึงทรงแสดง อิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์. เพื่อให้ทราบว่า อัตภาพแม้ทั้ง ๒ นั้นมีความเป็นไปเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ ถัดจากนั้นจึงทรงแสดง ชีวิตินทรีย์. ตราบใดที่ชีวิตินทรีย์นั้นยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้นความไม่หยุดยั้งแห่งอารมณ์ที่เสวยแล้ว (เวทนา) เหล่านั้นก็มีอยู่ เพื่อให้ทราบว่า ความเสวยอารมรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถัดจากนั้น จึงทรงแสดง สุขินทรีย์ เป็นต้น.
อนึ่ง เพื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติว่า "ธรรมเหล่านี้พึงเจริญเพื่อความดับสุขินทรีย์เป็นต้นนั้น" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงคำว่า สัทธา เป็นต้น. เพื่อทรงแสดงความไม่เป็นโมฆะแห่งข้อปฏิบัติว่า "ด้วยข้อปฏิบัตินี้ เอกธรรมย่อมปรากฏในตนก่อน" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดง อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ พระองค์ทรงแสดง อัญญินทรีย์ ไว้ต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น เพราะความที่อัญญินทรีย์นั้นเป็นผลของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้นนั่นเอง และเป็นอินทรีย์ที่พึงเจริญในลำดับต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น. เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อให้รู้ว่า "การบรรลุอินทรีย์นี้ได้ด้วยภาวนา (การเจริญ) ก็แล เมื่อบรรลุอินทรีย์นี้แล้ว อินทรีย์อะไรๆ ที่พึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ย่อมไม่มี" จึงตรัสอัญญาตาวินทรีย์อันเป็นความโล่งใจอย่างยิ่งไว้ในข้อสุดท้าย แล. ่
นี้เป็นลำดับในอินทรีย์เหล่านี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 413
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน
ก็ข้อว่า โดยความต่างกัน และ ไม่ต่างกัน นั้น ได้แก่ ในอินทรีย์ ๒๒ นี้ ความต่างกันย่อมมีแก่ชีวิตินทรีย์อย่างเดียว เพราะชีวิตินทรีย์นั้น มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. อินทรีย์ที่เหลือไม่ต่างกัน. พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกันในอินทรีย์เหล่านั้นอย่างนี้.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจ
ข้อว่า โดยกิจ นั้น หากมีผู้ถามว่า "กิจของอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไร ตอบว่า พึงทราบกิจของจักขุนทรีย์ก่อน เพราะพระบาลีว่า จกฺขฺวายตนํ จกฺขุวิญฺาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย (๑) (จักขวายตนะเป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น) จักขุนทรีย์นั้นใด พึงให้สำเร็จโดยความเป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ด้วยความเป็นอินทรีย์กล้าและอ่อนเป็นต้นของตน เป็นการคล้อยอาการของตนกล่าวคือ เป็นสภาพแก่กล้าและอ่อนเป็นต้น นี้เป็นกิจ (ของจักขุนทรีย์นั้น). กิจของ โสต ฆาน ชิวหาและกายินทรีย์ก็อย่างนั้น. แต่การให้สหชาตธรรมทั้งหลาย เป็นไปในอำนาจของตน เป็นกิจของมนินทรีย์. การตามรักษาสหชาตธรรม เป็นกิจของชีวิตินทรีย์. การทรงไว้ซึ่งอาการแห่งนิมิต (เครื่องหมาย) กิริยา อาการ และท่าทางของหญิงและชาย เป็นกิจของอิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์. การครอบงำสหชาตธรรมแล้วให้ถึงลำดับตามอาการอันหยาบ (โอฬาร) ตาม
(๑) ในอภิธรรม ปัฏฐานเล่ม ๔๐ ข้อ ๑๗ หน้า ๑๐ ใช้คำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ ไม่ใช้คำว่า จกฺขฺวายตนํ นอกนั้นเหมือนกัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 414
ภาวะของตน เป็นกิจของสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสสินทรีย์. การให้ถึงอาการมัชฌัตตา (อุเบกขา) อันสงบและประณีต เป็นกิจของอุเปกขินทรีย์.
การครอบงำธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสัทธาเป็นต้น และการให้สัมปยุตธรรมถึงความเป็นภาวะมีอาการผ่องใสเป็นต้น เป็นกิจของสัทธินทรีย์เป็นต้น. การละสังโยชน์ ๓ (มีทิฏฐิสังโยชน์เป็นต้น) และการทำให้สัมปยุตตธรรมมุ่งหน้าต่อการละสังโยชน์ ๓ นั้น เป็นกิจของ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์. การละทำให้เบาบาง (ตนุกรปหาน) ซึ่งกามราคะ พยาบาทเป็นต้น และการให้สัมปยุตตธรรมให้เป็นไปตามอำนาจของตน เป็นกิจของ อัญญินทรีย์. การละความขวนขวายในกิจทั้งหมด และความเป็นปัจจัยให้สัมปยุตตธรรมมุ่งไปสู่อมตะ เป็นกิจของอัญญาตาวินทรีย์แล.
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์เหล่านั้นโดยกิจด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยภูมิ
ข้อว่า โดยภูมิ ความว่า บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ เป็นกามาวจรอย่างเดียว มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เป็นอินทรีย์นับเนื่องในภูมิ ๔ โสมนัสสินทรีย์นับเนื่องด้วยภูมิ ๓ ด้วยอำนาจแห่งกามาวจร รูปาวจรและโลกุตระ อินทรีย์ ๓ ในที่สุดเป็นโลกุตระอย่างเดียวและ.
พึงทราบวินิจฉัยโดยภูมิ ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 415
ภิกษุ ผู้มากด้วยความสลดใจ ดำรงอยู่ในอินทรีย์สังวร กำหนดรู้อันทรีย์ทั้งหลาย ได้แล้ว ย่อมเข้าถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์ได้แล.
ในนิเทศวาร พึงทราบคำทั้งปวงมีอาทิว่า ยํ จกฺขุ จตุนฺนํ มหาภูตานํ (จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภุตรูป ๔) ดังนี้ โดยนัยที่กล่าวไว้ในบทภาชนะในธรรมสังคณีนั่นแล.
อนึ่ง ในนิเทศทั้งหลายมีวิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นต้น พระองค์มิได้ตรัสคำว่า สัมมาวายามะ มิจฉาวายามะ สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นต้น ไว้ เพราะเหตุไร เพราะเป็นสัพพสังคาหิกวาร (วาระว่าด้วยธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันทั้งหมด) จริงอยู่ อินทรีย์ทั้งหลายที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อินทริยวิภังค์นี้. อนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาอินทรีย์ ๒๒ นี้ อินทรีย์ ๑๐ อย่างซึ่งเป็นโลกีย์ เป็นกามาวจรอย่างเดียว อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตระ อินทรีย์ ๙ เป็นโลกิยะและโลกุตระปะปนกัน ฉะนี้แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 416
ปัญหาปุจฉกะ
[๒๔๒] อินทรีย์ ๒๒ คือ
๑. จักขุนทรีย์
๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์
๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์
๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์
๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์
๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์
๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์
๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 417
๑๙. ปัญญินทรีย์
๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์
๒๒. อญัญาตาวินทรีย์.
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์ไหนเป็นกุศล อินทรีย์ไหนเป็นอกุศล อินทรีย์ไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อินทรีย์ไหนเป็นสรณะ อินทรีย์ไหนเป็นอรณะ?
ติกมาติกาวิสัชนา
[๒๔๓] อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากฤต โทมนัสสินทรีย์ เป็นอกุศล อนัญญตัญญญัสสามีตินทรีย์ เป็นกุศล อินทรีย์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี. อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี อินทรีย์ ๓ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ชีวิตินทรีย์ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต ก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี. อินทรีย์ ๗ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม อินทรีย์ ๓ เป็นวิบาก อินทรีย์ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม อัญญินทรีย์ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมม-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 418
ธรรมก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นอวิตักกาวิจาระ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกสวิจาระ อุเปกขินทรีย์ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อินทรีย์ ๑๑ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี. อินทรีย์ ๑๑ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ โสมนัสสินทรีย์ เป็นปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปีติสหคตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 419
ก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี โทมนัสสินทรีย์ เป็นอาจยคามี อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นอปจยคามี อัญญินทรีย์ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ อินทรีย์ ๒ เป็นเสกขะ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอเสกขะ อินทรีย์ ๙ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นปริตตะ อินทรีย์ ๓ เป็นอัปปมาณะ อินทรีย์ ๙ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี. อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๒ เป็นปริตตารัมณะ อินทรีย์ ๓ เป็นอัปปมาณารัมมณะ. โทมนัสสินทรีย์ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี ไม่เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นมัชฌิมะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นหีนะ อินทรีย์ ๓ เป็นปณีตะ อินทรีย์ ๓ เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นอนิยตะ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นสัมมัตตนิยตะ อินทรีย์ ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี โทมนัสสินทรีย์ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี. อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 420
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี อัญญินทรีย์ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ อินทรีย์ ๒ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี. อินทรีย์ ๒๒ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี. อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๒ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมนณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี. อินทรีย์ ๒๒ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี. อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๓ เป็นพหิทธารัมมณะ อินทรีย์ ๔ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี อินทรีย์ ๘ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี. อินทรีย์ ๕ เป็นอนิทัสสนสัปปฎิฆะ อินทรีย์ ๑๗ เป็นอนิทัสสนอับปฏิฆะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 421
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๒๔๔] อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุ อินทรีย์ ๑๘ เป็นเหตุ. อินทรีย์ ๗ เป็นสเหตุกะ อินทรีย์ ๙ เป็นอเหตุกะ อินทรีย์ ๖ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี. อินทรีย์ ๗ เป็นเหตุสัมปยุต อินทรีย์ ๙ เป็นเหตุวิปปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี. อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุสเหตุกะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี. อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุ สัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นนเหตุอเหตุกะ อินทรีย์ ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะ อินทรีย์ ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ อินทรีย์ ๖ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
[๒๔๕] อินทรีย์ ๒๒ เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นอนิทสสนะ. อินทรีย์ ๕ เป็นสัปปฏิฆะ อินทรีย์ ๑๗ เป็นอัปปฏิฆะ. อินทรีย์ ๗ เป็นรูป อินทรีย์ ๑๔ เป็นอรูป ชีวิตินทรีย์ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตระ อินทรีย์ ๙ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตระก็มี. อินทรีย์ ๒๒ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 422
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
[๒๔๖] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนอาสวะ. อินทรีย์ ๑๐ เป็นสาสวะ อินทรีย์ ๓ เป็นอนาสวะ อินทรีย์ ๙ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นอาสววิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็นอาสวสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุตก็มี. อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ อินทรีย์ ๓ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ อินทรีย์ ๓ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
[๒๔๗] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนสัญโญชนะ. อินทรีย์ ๑๐ เป็นสัญโญชนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสัญโญชนิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นสัญโญชนิยะก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นสัญโญชนวิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 423
สัญโญชนสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี. อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยะโนสัญโญชนะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี.
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
[๒๔๘] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนคันถะ. อินทรีย์ ๑๐ เป็นคันถนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอคันถนิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 424
อินทรีย์ ๑๕ เป็นคันถวิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็นคันถสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี. อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี.
๖.- ๗.-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
[๒๔๙] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนโยคะ ฯลฯ อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนนีวรณะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นนีวรณิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอนีวรณิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นนีวรณวิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็นนีวรณสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 425
นีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี. อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น นีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี.
๗. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
[๒๕๐] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนปรามาสะ. อินทรีย์ ๑๐ เป็นปรามัฏฐะ อินทรีย์ ๓ เป็นอปรามัฏฐะ อินทรีย์ ๙ เป็นปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรามัฏฐะก็มี. อินทรีย์ ๖ เป็นปรามาสวิปปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี. อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 426
ปรามัฏฐโนปรามาสะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ อินทรีย์ ๓ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ อินทรีย์ ๓ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็น ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
[๒๕๑] อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๑๔ เป็นสารัมมณะ ชีวิตินทรีย์ เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี. อินทรีย์ ๒๑ เป็นโนจิตตะ มนินทรีย์เป็นจิตตะ. อินทรีย์ ๑๓ เป็นเจตสิกะ อินทรีย์ ๘ เป็นอเจตสิกะ ชีวิตินทรีย์ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสัมปยุต อินทรีย์ ๗ เป็นจิตตวิปปยุต ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุตก็มี มนินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสังสัฏฐะ อินทรีย์ ๗ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี มนินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสมุฏฐานะ อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสหภู อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสหภู
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 427
ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตานุปริวัตติ อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตานุปริวัตติ ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ชีวิตินทรีย์เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี. อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี. อินทรีย์ ๖ เป็นอัชฌัตติกะ อินทรีย์ ๑๖ เป็นพาหิระ. อินทรีย์ ๗ เป็นอุปาทา อินทรีย์ ๑๔ เป็นนอุปาทา ชีวิตินทรีย์ เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนะ อินทรีย์ ๔ เป็นอนุปาทินนะ อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี.
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
[๒๕๒] อินทรีย์ ๒๒ เป็นนอุปาทนะ. อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอนุปาทานิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทานิยะก็มี. อินทรีย์ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี. อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 428
อุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี. อินทรีย์ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
[๒๕๓] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนกิเลสะ. อินทรีย์ ๑๐ เป็นสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๙ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิเลสิกะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นอสังกิลิฏฐะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสังกิลิฏฐะ อินทรีย์ ๖ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นกิเลสวิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็นกิเลสสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ. อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี. อินทรีย์ ๑๕
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 429
กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเสสสัมปยุตตโนกิเลสะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๒๕๔] อินทรีย์ ๑๕ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ อินทรีย์ ๗ เป็นทัสสเนนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ อินทรีย์ ๗ เป็นภาวนายปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนายปหาตัพพะก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ อินทรีย์ ๗ เป็นภาวนายปหาตัพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นอวิตักกะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 430
อินทรีย์ ๑๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี. อินทรีย์ ๙ เป็นอวิจาระ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิจาระ อินทรีย์ ๑๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี. อินทรีย์ ๑ เป็นอัปปีติกะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี. อินทรีย์ ๑๑ เป็นนปีติสหคตะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี. อินทรีย์ ๑๒ เป็นนสุขสหคตะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี. อินทรีย์ ๑๒ เป็นนอุเปกขาสหคตะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาวจร อินทรีย์ ๓ เป็นนกามาวจร อินทรีย์ ๙ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี. อินทรีย์ ๑๓ เป็นนรูปาวจร อินทรีย์ ๙ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี. อินทรีย์ ๑๔ เป็นนอรูปาวจร อินทรีย์ ๘ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นปริยาปันนะ อินทรีย์ ๓ เป็นอปริยาปันนะ อินทรีย์ ๙ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี. อินทรีย์ ๑๑ เป็นอนิยยานิกะ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นนิยยานิกะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นอนิยตะ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นนิยตะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี. อินทรีย์ ๑๐ เป็นสอุตตระ อินทรีย์ ๓ เป็นอนุตตระ อินทรีย์ ๙ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี. อินทรีย์ ๑๕ เป็นอรณะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสรณะ อินทรีย์ ๖ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อินทริยวิภังค์ จบบริบูรณ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 431
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ
พึงทราบการจำแนกอินทรีย์แม้ทั้งหมดในปัญหาปุจฉกะว่าเป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั้น แหละ อนึ่ง ในอารัมมณติกะทั้งหลาย คำว่า อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ นั้น ตรัสหมายเอาจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ แต่ชีวิตินทรีย์ไม่มาในฐานะนี้ เพราะปะปนด้วยอรูป.
บทว่า ทฺวินฺทฺริยา ได้แก่ อินทรีย์ ๒ คำนี้ตรัสหมายเอาอินทรีย์ ๒ คือ สุขินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๒ นั้น เป็นปริตตารัมมณะ โดยส่วนเดียว. คำว่า โทมนสฺสินฺทฺริยํ สิยา ปริตฺตารมฺมณํ สิยา มหคฺคตารมฺมณํ (โทมนัสสินทรีย์เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี) ความว่า ในเวลาปรารภกามาวจรธรรมเป็นไปก็เป็นปริตตารัมมณะ แต่ในเวลาที่ปรารภรูปาวจร อรูปาวจรเป็นไปก็เป็นมหัคคตารัมมณะ และในเวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
คำว่า นวินฺทฺริยา สิยา ปริตฺตารมฺมณา (อินทรีย์ ๙ แม้ปริตตารัมมณะก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น จริงอยู่ ชีวิตินทรีย์ แม้สงเคราะห์ในรูปธรรมซึ่งไม่มีอารมณ์เพราะระคนด้วยรูป และสงเคราะห์ในฝ่ายที่เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ได้โดยส่วนแห่งอรูป.
คำว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ ๔) ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์ เพราะอินทรีย์เหล่านั้น ไม่รวมอยู่ในมัคคารัมมณติกะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 432
บทว่า มคฺคเหตฺกํ (เป็นมรรคเหตุกะ) นี้ ตรัสไว้หมายเอาเหตุที่เป็นสหชาตะ ในเวลาที่วิริยะหรือวิมังสาเป็นใหญ่ เป็นมัคคาธิปติ แต่ในเวลาที่ฉันทะหรือจิตเป็นใหญ่ ก็เป็นนวัตตัพพธรรม.
คำว่า ทสินฺทฺริยา สิยา อุปฺปนฺนา สิยา อุปฺปาทิโน (อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปาทีก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอารูปอินทรีย์ ๗ และวิปากอินทรีย์ ๓. อินทรีย์ ๑๐ ตรัสไว้ในหนหลังพร้อมทั้งโทมนัสสินทรีย์ ในอินทรีย์ ๑๐ เหล่านั้น โทมนัสสินทรีย์ ในเวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ อินทรีย์ที่เหลือ แม้ในเวลาที่พิจารณานิพพานก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
คำว่า ตีณินฺทฺริยานิ พหิทฺธารมฺมณานิ (อินทรีย์ ๓ เป็นพหิทธารัมมณะ) ได้แก่ อินทรีย์ ๓ ที่เป็นโลกุตระ.
บทว่า จตฺตาริ ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๔ เหล่านั้น ปรารภเป็นไปในอัชฌัตตธรรมบ้าง ในพหิทธาธรรมบ้าง.
บทว่า อฏฺินฺทฺริยา (อินทรีย์ ๘) ได้แก่ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ในบรรดาอินทรีย์ ๘ เหล่านั้น ความเป็นนวัตตัพพารัมมณะ พึงทราบในเวลาแห่งอากิญจัญญายตนะ.
ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาวจร อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตระ อินทรีย์ ๙ เป็นอินทรีย์ระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ ปัญหาปุจฉกะแม้นี้ ก็เป็นปริจเฉทอย่างเดียวกับอภิธรรมภาชนีย์นั่นเอง ก็อินทริยวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๒ ปริวรรค ด้วยประการฉะนี้.
วรรณนาอินทริยวิภังค์ จบ