พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปัจจยการวิภังค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.พ. 2565
หมายเลข  42064
อ่าน  1,547

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑

๖. ปัจจยการวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

ปัจจยาการ 255/433

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ 438

ว่าด้วยอุเทศวาร 438

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความต่างแห่งเทศนา 440

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๑ 441

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๒ 441

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๓ 442

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๔ 443

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ 447

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น 453

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยมีอย่างเดียวเป็นต้น 456

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยการกําหนดองค์ 457

ว่าด้วยนิเทศอวิชชาเป็นปัจจัย 458

อวิชชามีลักษณะ ๒๕ 461

ว่าด้วยนิเทศสังขาร 466

ว่าด้วยปุญญาภิสังขาร 468

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขาร 469

ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขาร 470

ว่าด้วยทวารแห่งกรรม 471

ว่าด้วยสัมปโยคะแห่งอภิสังขาร ๓ 472

ว่าด้วยสังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไร 473

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอย่างไร 475

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอีกอย่างหนึ่ง 481

ว่าด้วยนิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ 484

ว่าด้วยปวัตติวิญญาณ ๒ อย่าง 487

วิญญาณในปัญจโวการภพในปวัตติกาล ๑๓ ดวง 487

ว่าด้วยเหตุที่ตทารัมมณะไม่เป็นไปในรูปและอรูปภูมิ 490

ว่าด้วยปฏิสนธิ ๒๐ ประการ 492

ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ ๓ อย่าง 493

เรื่องนายโคปกสีวลี 493

เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง 493

วินิจฉัยเรื่องตายทันที 494

อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง 495

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต 495

ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต 496

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันในลําดับจุติมีอารมณ์อดีต 497

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรือนวัตตัพพะในลําดับจุติมีอารมณ์อดีต 497

ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต 498

ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อจากจุติมีอารมณ์นวัตตัพพะ 499

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต 500

ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ 505

ว่าด้วยปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย 511

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย 512

ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัย 512

ว่าด้วยกายสังขาร ๒๐ ดวง เป็นปัจจัย 512

ว่าด้วยจิตตสังขาร ๑๙ ดวง เป็นปัจจัย 513

ว่าด้วยสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ 513

ว่าด้วยนิเทศนามรูป 516

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทเทศนา 516

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความเป็นไปในภพเป็นต้น 517

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสงเคราะห์ 521

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยปัจจัย 522

ว่าด้วยนิเทศสฬายตนะ 524

ว่าด้วยนามเป็นปัจจัยแก่อายตนะ 526

ว่าด้วยรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ 528

ว่าด้วยนามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ 530

ว่าด้วยนิเทศผัสสะ 531

ว่าด้วยสฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ 531

ว่าด้วยนิเทศเวทนา 534

ว่าด้วยนิเทศตัณหา 536

ว่าด้วยตัณหา ๑๘ อย่าง (เป็นตัณหา ๑๐๘) 536

ว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นปัจจัย 538

ว่าด้วยนิเทศอุปาทาน 539

ว่าด้วยการจําแนกโดยอรรถ 539

ว่าด้วยความย่อและความพิสดารแห่งธรรม 540

มติของอาจารย์บางพวก 540

ว่าโดยลําดับ ๓ 542

ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปทาน 543

ว่าด้วยนิเทศแห่งภพ 544

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติ 552

อธิบายภวจักร ๑๒ 553

อธิบายกาล ๓ 558

อธิบายสนธิ ๓ 559

อธิบายสังคหะ ๔ 559

อธิบายอาการ ๒๐ 560

พึงทราบโดยความเป็นสัจจะและเป็นแดนเกิด 565

พึงทราบภวจักรโดยกิจ 566

พึงทราบภวจักรโดยการห้าม 566

พึงทราบภวจักรโดยการอุปมา 567

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง 569

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งนัย 571

อภิธรรมมาติกา

ปัจจยจตุกกะ อวิชชามูลกนัย 274/575

เหตุจตุกกะ อวิชชามูลกนัย 278/577

สัมปยุตตจตุกกะ อวิชชามูลกนัย 282/580

อัญญมัญญจตุกกะ อวิชชามูลกนัย 286/582

นัย ๘ มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น 290/586

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ 588

อธิบายนัยแห่งมาติกามีอวิชชาเป็นมูล 588

ว่าด้วยปัจจยจตุกกะ 589

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๒ 595

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๓ 596

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๔ 597

ว่าด้วยเหตุจตุกกะ 599

ว่าด้วยสัมปยุตตจตุกกะ 602

ว่าด้วยอัญญมัญญจตุกกะ 602

อธิบายนัยแห่งมาติกามีสังขารเป็นมูลเป็นต้น 603

ว่าด้วยนิเทศจตุกกะที่ ๑ 603

อภิธรรมภาชนีย์

อกุศลนิเทศ

อกุศลจิต ๑๒

อกุศลจิตดวงที่ ๑ ปัจจยจตุกกะ 291/605

เหตุจตุกกะ 311/613

สัมปยุตตจตุกกะ 319/621

อัญญมัญญจตุกกะ 327/629

อกุศลจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ 347/642

อกุศลจิตดวงที่ ๕ 349/643

อกุศลจิตดวงที่ ๖ - ๗ - ๘ 351/644

อกุศลจิตดวงที่ ๙ - ๑๐ 352/645

อกุศลจิตดวงที่ ๑๑ 354/646

อกุศลจิตดวงที่ ๑๒ 356/648

อธิบายอกุศลนิเทศ 650

ปฐมจตุกกะ 650

นิเทศจตุกกะที่ ๒ 652

นิเทศจตุกกะที่ ๓ 652

นิเทศจตุกกะที่ ๔ 652

กุศลนิเทศ

กามาวจรกุศลจิต ๘

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ 358/655

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ 360/657

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕ - ๖ 362/658

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗ - ๘ 364/660

รูปาวจรกุศลจิต 366/661

อรูปาวจรกุศลจิต 368/662

โลกุตรกุศลจิต 370/663

อธิบายกุศลนิเทศ 665

อัพยากตนิเทศ

อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ 666

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑ 372/666

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ 377/668

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๖ 379/670

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗ 381/671

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๘ 383/672

กามาวจรวิบากจิต ๘ 385/674

รูปาวจรวิบากจิต 387/675

อรูปาวจรวิบากจิต 388/676

โลกุตรวิบาก 389/677

อกุศลวิบากจิต ๗ 678

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ 390/678

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๖ 392/679

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗ 394/681

อเหตุกกิริยาจิต ๓ 396/681

กามาวจรกิริยาจิต ๘ 397/682

รูปาวจรกิริยาจิต 398/683

อรูปาวจรกิริยาจิต 399/684

อัพยากตนิเทศ อธิบาย 686

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ

กามาวจรกุศลจิต ๘ 687

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ 400/687

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘ 405/689

รูปาวจรกุศลจิต 406/690

อรูปาวจรกุศลจิต 407/691

โลกุตรกุศลจิต 408/691

กุศลมูลวิบากนิเทศ

อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ 692

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑ 409/692

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘ 411/693

กามาวจรวิบากจิต ๘ 412/694

รูปาวจรวิบากจิต 413/695

อรูปาวจรวิบากจิต 414/695

โลกุตรวิบากจิต 415/696

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ (อรรถกถา) 697

ว่าด้วยกุศลนิเทศ อีกอย่างหนึ่ง 697

อกุศลมูลกวิบากนิเทศ

อกุศลวิบากจิต ๗ 699

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑ 416/699

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ 418/700

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗ 419/700

อกุศลมูลกวิบากนิเทศ (อรรถกถา) 703

ว่าด้วยอกุศลวิบากจิต ๗ 703


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 77]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 433

๖. ปัจจยาการวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา

[๒๕๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นไฉน?

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 434

ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน?

กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน?

อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน?

กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น กายสังขาร เป็นไฉน?

กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนา เป็นจิตตสังขาร

เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

[๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญาณเป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 435

[๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย.

[๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย.

[๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

[๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย.

[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑

ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน?

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่ากรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 436

อุปปัตติภพ เป็นไฉน?

กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ

กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

[๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ควานหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.

[๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ชรา ๑ มรณะ ๑

ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน?

ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่ามรณะ

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 437

[๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน?

ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้าของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรคความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า โสกะ.

[๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน?

ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ.

[๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน?

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแก่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน?

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 438

[๒๗๒] อุปายาส เป็นไฉน?

ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใด อย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า อุปายาส.

[๒๗๓] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ (๑)

วรรณนาสุตตันตภาชนีย

ว่าด้วยอุเทศวาร

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ในลำดับต่อจากอินทรีย์วิภังค์ต่อไป:-

พระบาลีตันติ (แบบแผน) นี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย)


(๑) บาลีข้อ ๒๕๕ เป็นปัจจยาการวิภังค์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 439

ดังนี้ อันกุลบุตรผู้ที่กระทำการสังวรรณนาเนื้อความแห่งพระบาลีนั้น ควรเข้าสู่ที่ประชุมพุทธสาวกผู้เป็นวิภัชชวาที พึงเป็นผู้ไม่กล่าวตู่ต่ออาจารย์ ไม่เลี่ยงไปสู่ลัทธิของตน ไม่กังวลขวนขวายลัทธิอื่น ไม่ปฏิเสธพระสูตร คล้อยตามพระวินัย ตรวจดูมหาประเทศแสดงธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) รวบรวมอรรถ ไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อความ และแสดงโดยปริยาแม้อย่างอื่น จึงสมควรทำการสังวรรณนาความตามพระบาลี.

อนึ่ง การสังวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท แม้โดยปรกติก็เป็นเรื่องที่กระทำได้โดยยาก เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า

สจฺจํ สตฺโต ปฏิสนฺธิ ปจฺจยาการเมว จ

ทุทฺทสา จตุโร ธมฺมา เทเสตุญฺจ สุทุกฺกรา

ธรรม ๔ อย่าง คือ สัจจะ ๑ สัตวบัญญัติ ๑ ปฏิสนธิ ๑ ปัจจยาการ ๑ เป็น ธรรมเห็นได้โดยยาก และแสดงได้แสนยาก.

เพราะฉะนั้น การสังวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท จึงกระทำไม่ได้โดยง่าย เว้นแต่ท่านผู้สำเร็จปริยัติ และบรรลุมรรคผลทั้งหลายแล้ว เท่านั้น.

ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆสาจารย์) ใคร่ครวญประสงค์จะกล่าวพรรณนาปัจจยาการ ในวันนี้ แต่ยังไม่ได้ที่พึ่งพิงเหมือนหยั่งลงสู่สาคร แต่เพราะพระศาสนา (บาลีปฏิจจสมุปบาท) นี้ ประดับด้วยนัยแห่งเทศนาต่างๆ และแนวประพันธ์แห่งบุรพาจารย์ (อรรถกถา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 440

ปฏิจจสมุปบาทเก่า) ก็ยังเป็นไปอยู่มิขาดสาย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักอาศัยข้อความทั้ง ๒ นั้น เริ่มการวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ ขอท่านทั้งหลายตั้งใจสดับการสังวรรณนานั้น.

ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านบูรพาจารย์ กล่าวไว้ว่า

ผู้ใดผู้หนึ่งสนใจฟังการสังวรรณนานี้ เขาก็จะพึงได้คุณพิเศษสืบต่อไปในภพหน้า ครั้นได้คุณวิเศษสืบต่อไปในภพหน้าแล้ว ก็พึงถึงสภาวะที่พระยามัจจุราชมองไม่เห็น.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้ จำเดิมแต่ต้นก่อนทีเดียว.

เทสนาเภทโต อตฺถ ลกฺขเณกวิธาทิโต

องฺคานญฺจ ววตฺถานา วิญฺาตพฺโพ วินิจฺฉโย

พึงทราบวินิจฉัย โดยความแตกต่างแห่งเทศนา ๑ โดยอรรถ ๑ โดยลักษณะเป็นต้น ๑ โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น ๑ และโดยการกำหนดองค์ทั้งหลาย ๑.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความแตกต่างแห่งเทศนา

บรรดาข้อวินิจฉัยเหล่านั้น ข้อว่า โดยความแตกต่างแห่งเทศนา นั้น อธิบายว่า การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ นัย คือ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 441

ทรงแสดงตั้งแต่ข้อต้นไปข้อสุดท้าย (ปลาย) บ้าง ตั้งแต่ท่ามกลางไปข้อสุดท้ายบ้าง อนึ่ง ทรงแสดงตั้งแต่ข้อสุดท้ายไปข้อต้นบ้าง ตั้งแต่ท่ามกลางไปข้อต้นบ้าง เหมือนการจับเถาวัลย์ของบุรุษ ๔ คน ผู้นำเถาวัลย์ไปฉะนั้น.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๑

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษ ๔ คน ผู้นำเถาวัลย์ไป คนหนึ่งเห็นโคนเถาวัลย์ก่อนนั่นเทียว เขาจึงตัดโคนเถาวัลย์นั้นจับดึงเถาวัลย์ทั้งหมดไปใช้ในการงาน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทตั้งแต่ข้อต้นจนถึงแม้ข้อสุดท้ายว่า อิโต โข ภิกฺขเว อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ฯเปฯ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ชราและมรณะ เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้แล (๑) ดังนี้.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๒

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นท่ามกลางเถาวัลย์ก่อน เขาจึงตัดในท่ามกลาง ดึงเอาส่วนท่อนบนเท่านั้นมาใช้ในการงาน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางไปจนถึงแม้สุดท้าย ว่า ตสฺส ตํ เวทนํ อภินนฺทโต อภิวทโต อชฺโฌสาย ติฏฺโต อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ยา เวทนาสุ นนฺทิ ตทุปาทานํ ตสฺสุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้น ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนา


(๑) ม. มูล. เล่ม ๑๒. ๔๔๖/๔๘๐

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 442

ทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ (เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ) (๑) ดังนี้.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๓

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นปลายเถาวัลย์ก่อนเขา จึงจับปลายสาวเอามาทั้งเถาจนถึงโคนตามแนวของปลายแล้วนำไปใช้ในการงาน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงปุฏิจจสมุปบาทตั้งแต่ข้อปลายจนถึงแม้ข้อต้นว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณนฺติ อิติ โข ปเนตํ ฯเปฯ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ก็ข้อว่า ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ในข้อนี้เป็นอย่างนี้มิใช่หรือ หรือในข้อนี้เป็นอย่างไร (พวกภิกษุกราบทูลว่า) พระพุทธเจ้าข้า ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ในข้อนี้มีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย. (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ก็ข้อที่ว่า ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้นเรากล่าวแล้ว ฯลฯ ก็ข้อที่ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ในข้อนี้เป็นอย่างนี้มิใช่หรือ หรือในข้อนี้เป็นอย่างไร (พวกภิกษุกราบทูลว่า) พระพุทธเจ้าข้า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ในข้อนี้มีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย (๒) ดังนี้


(๑) ม. มูล. เล่ม ๑๒. ๔๕๓/๔๘๘

(๒) ม. มูล. เล่ม ๑๒. ๔๔๗/๔๘๐

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 443

แสดงปฏิจจสมุปบาทข้อที่ ๔

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นท่ามกลางเถาวัลย์นั่นแหละก่อน เขาก็ตัดตรงกลางจับสาวลงมาข้างล่างจนถึงโคนนำไปใช้การงาน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางจนถึงข้อต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นกำเนิด มี เวทนาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขารทั้งหลายมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด (๑) ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงแสดงเช่นนี้

ตอบว่า เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมเจริญรอบด้าน และพระผู้มีพระภาคเจ้าเล่าก็ทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วยเทศนา.

จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นธรรมเจริญรอบด้าน ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อแทงตลอดญายธรรมโดยเทศนานั้นนั่นแหละ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า


(๑) ม. มูล เล่ม ๑๒ ๔๔๖/๔๗๙

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 444

ทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วยเทศนา เพราะทรงประกอบด้วยเวสารัชชญาณ ๔ และปฏิสัมภิทาญาณ ๔ และทรงถึงความลึกซึ้ง (ในปฏิจจสมุปบาท) ๔ อย่าง พระองค์ทรงแสดงธรรมโดยนัยต่างๆ ก็เพราะทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วยเทศนานั้นแล.

แต่เมื่อว่าโดยแปลกกันแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เทศนาใดเป็นเทศนาโดยอนุโลมจำเดิมแต่ต้น เทศนานั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพิจารณาเห็นเวไนยชนผู้ลุ่มหลงในการจำแนกเหตุที่เป็นไปทรง ประกาศแล้ว เพื่อทรงชี้แจงความเป็นไปตามเหตุอันควรแก่ตน และเพื่อทรงชี้แจงถึงลำดับแห่งความเกิดขึ้น. เทศนาใดที่ทรงแสดงโดยปฏิโลมตั้งแต่ข้อสุดท้ายทวนไป เทศนานั้นพึงทราบว่า เป็นเทศนาที่พระองค์พิจารณาเห็นโลกที่ถึงความลำบาก โดยนัยมีอาทิว่า "โลกนี้ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด ย่อมแก่ และย่อมตาย" (๑) ทรงประกาศแล้ว เพื่อทรงชี้แจงถึงเหตุแห่งทุกข์มีชราและมรณะเป็นต้นนั้นๆ ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว โดยทำนองแห่งการแทงตลอดในส่วนเบื้องต้น. อนึ่ง เทศนาใดทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางไปจนถึงข้อต้น เทศนานั้นพระองค์ทรงประกาศแล้ว เพื่อทรงนำอดีตกาลมาแสดงโดยลำดับแห่งเหตุและผล จำเดิมแต่อดีตกาลอีก โดยทำนองการกำหนดตัณหา เป็นเหตุแห่งอาหาร. แต่เทศนาใดที่ทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางจนถึงที่สุด เทศนานั้นเป็นเทศนาที่ทรงประกาศเพื่อทรงชี้แจงอนาคตกาล จำเดิมแต่สมุฏฐานแห่งเหตุของอนาคตกาลในปัจจุบันนกาล.

ในเทศนา ๔ เหล่านั้น เทศนานี้ใดที่ตรัสแสดงโดยอนุโลมตั้งแต่ต้น เพื่อทรงชี้แจงความเป็นไปตามเหตุของตน แก่เวไนยชนผู้ลุ่มหลงเหตุแห่งความ


(๑) ที. มหาวคฺค. เล่ม ๒. ๓๘/๓๕

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 445

เป็นไป และเพื่อทรงชี้แจงลำดับความเกิดขึ้นนั้น เทศนานั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้แล้วในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์นี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในปฏิจจสมุปบาทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอวิชชาไว้แต่ต้น แม้อวิชชาก็ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นเหตุเดิมของโลก เหมือนความคงที่ของพวกปกติวาทีหรือ?

ตอบว่า อวิชชา มิใช่ไม่มีเหตุ เหตุแห่งอวิชชา พระองค์ตรัสว่า อาสวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย (อวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาสวเกิดขึ้น) ดังนี้.

ถามว่า ก็ปริยายที่เป็นเหตุเดิมมีโดยสภาวะใด ก็สภาวะนั้นได้แก่อะไร

ตอบว่า ได้แก่ภาวะที่เป็นประธานของวัฏฏกถา (กถาว่าด้วยวัฏฏะ).

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา ก็ตรัสธรรม ๒ อย่าง ทำให้เป็นประธานหรือตรัสอวิชชาเป็นประธาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ปุริมา ภิกฺขเว โกฏิ น ปญฺายติ อวิชฺชาย อิโต ปุพฺเพ อวิชฺชา นาโหสิ อถ ปจฺฉา สมภวีติ เอวญฺเจตํ ภิกฺขเว วุจฺจติ อถ จ ปน ปญฺายติ อิทปฺปจฺจยา อวิชฺชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้ อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ (๑) ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ตรัสภวตัณหาเป็นประธาน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ภวตัณหาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้


(๑) องฺ ทสก. เล่ม ๒๔ ๖๑/๑๒๐

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 446

อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ (๑) ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา จึงตรัสธรรม ๒ นี้ ทำให้เป็นประธาน.

ตอบว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมให้สัตว์ถึงสุคติ หรือทุคติ. จริงอยู่ อวิชชาเป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมอันให้สัตว์ถึงทุคติ. เพราะเหตุไร เพราะปุถุชนผู้อันอวิชชาครอบงำแล้ว ย่อมเริ่มทำกรรมอันให้ตนถึงทุคติอเนกประการมีปาณาติบาตเป็นต้น อันไม่มีความชื่นใจเพราะความเร่าร้อนด้วยกิเลสบ้าง อันนำความพินาศแก่ตนเพราะต้องตกไปสู่ทุคติบ้าง เหมือนแม่โคที่จะถูกฆ่า ถูกความบอบช้ำครอบงำเพราะเร่าร้อนด้วยไฟและถูกตีด้วยค้อน เริ่มดื่มน้ำร้อนแม้อันไม่มีความชื่นใจ แม้นำมาซึ่งความพินาศแก่ตน เพราะความเป็นผู้กระวนกระวายด้วยการบอบช้ำนั้น.

ส่วนภวตัณหาเป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมอันยังสัตว์ให้ถึงสุคติ เพราะ เหตุไร? เพราะปุถุชนผู้อันภวตัณหาครอบงำแล้ว ย่อมเริ่มทำกรรมอันให้ถึงสุคติอเนกประการมีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งมีแต่สำราญใจ เพราะเว้นจากความเร่าร้อนด้วยกิเลส และบรรเทาความบอบช้ำด้วยทุกข์ในทุคติของตน เพราะลุถึงสุคติ เหมือนแม่โคมีประการตามที่กล่าวแล้ว เริ่มดื่มน้ำเย็นซึ่งมีแต่ความสำราญด้วยความอยากในน้ำเย็น และบรรเทาความ บอบช้ำของตน ฉะนั้น.

ก็บรรดาธรรมที่เป็นประธานแห่งวัฎฏกถาเหล่านี้ ในที่บางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทศนาอันมีธรรมอย่างเดียวเป็นมูล อย่างไร คือ


(๑) องฺ ทสก. เล่ม ๒๔. ๖๒/๑๒๔

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 447

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังนี้แล สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย เป็นต้น (๑) อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี (๒) เป็นต้น. ในที่บางแห่ง ทรงแสดงธรรมแม้ทั้ง ๒ เป็นมูล คือ อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของคนพาลผู้มีอวิชชาห่อหุ้ม ประกอบพร้อมด้วยตัณหาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปภายนอกทั้ง ๒ นี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะทั้งหลายซึ่งเป็นเหตุให้คนพาลถูกต้องแล้ว ได้เสวยสุขหรือทุกข์ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาเทศนาเหล่านั้นๆ เทศนานี้ในอธิการนี้ว่า สังขารทั้งหลายย่อมเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเทศนาที่มีธรรมอย่างหนึ่งเป็นมูล (เอกธมฺมมูลิกา) ด้วยอำนาจอวิชชา.

พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างแห่งเทศนาในปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

ข้อว่า โดยอรรถ ได้แก่ โดยอรรถ (เนื้อความ) แห่งบททั้งหลาย มีอวิชชาเป็นต้น คืออย่างไร คือ กายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า อวินฺทิยํ (ธรรมชาติไม่พึงประสบ) อรรถว่าไม่ควรบำเพ็ญ คือสิ่งที่ไม่ควรได้ (วิเคราะห์ว่า) ตํ อวินฺทิยํ วินฺทตีติอวิชฺชา ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมประสบสิ่งที่ไม่ควรประสบนั้น.


(๑) สํ. นิทาน. เล่ม ๑๖. ๖๙/๓๗

(๒) สํ. นิทาน เล่ม ๑๖. ๑๙๖/๑๐๒

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 448

กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมชาติที่ควรได้ เพราะเป็นภาวะตรงกันข้ามกับกายทุจริตเป็นต้นนั้น. (วิเคราะห์ว่า) ตํ วินฺทิยํ น วินฺทตีติ อวิชฺชา ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ได้สิ่งที่ควรได้นั้น.

ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำ (ปัญญา) ไม่ให้รู้แจ้ง ซึ่งอรรถ (เนื้อความ) แห่งกองขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งการเกิดของอายตนะทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งความว่างเปล่าของธาตุทั้งหลาย ซึ่งอรรถอันแท้จริงของสัจจะทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งความเป็นอธิบดีของอินทรีย์ทั้งหลาย.

ที่ชื่อว่า อวิชชา แม้เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำอรรถอย่างละ ๔ * ตามที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจการบีบคั้นเป็นต้นของทุกข์เป็นต้น.


* ในวิสุทธิมรรค บาลีตอนญาณทัสสนวิสุทธิ หน้า ๓๔๖ แสดงว่า

ทุกฺขสฺส ปีฬนฏฺโ ทุกข์มีความบีบคั้นเป็นอรรถ

สงฺขตฏฺโ มีความปรุงแต่งเป็นอรรถ

สนฺตาปฏฺโ มีความให้เร่าร้อนเป็นอรรถ

วิปริณามฏฺโ มีความแปรปรวนเป็นอรรถ

สมุทยสฺส อายูหนฏฺโ สมุทัยมีอันประมวลมาเป็นอรรถ

นิทานฏฺโ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นอรรถ

สํโยคฏฺโ มีอันประกอบไว้เป็นอรรถ

ปลิโพธฏฺโ มีความกังวลใจเป็นอรรถ

นิโรธสฺส นิสฺสรณฏฺโ นิโรธมีอันสลัดออกเป็นอรรถ

วิเวกฏฺโ มีความสงัดจากทุกข์เป็นอรรถ

อสงฺขตฎฺโ มีสภาวะไม่ปรุงแต่งเป็นอรรถ

อมตฏฺโ มีอมตะเป็นอรรถ

มคฺคสฺส นิยฺยานฏฺโ มรรคมีการนำออกเป็นอรรถ

เหตวฏฺโ มีอันเป็นเหตุเป็นอรรถ

ทสฺสนฏฺโ มีการเห็นนิพพานเป็นอรรถ

อธิปเตยฺยฏฺโ มีความเป็นอธิบดีในการสำเร็จกิจเป็นอรรถ.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 449

ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้แล่นไปในสงสารอันไม่มีที่สุด คือ ในกำเนิด คติ ภพ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส.

ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมแล่นไปในหญิงชายเป็นต้นอันไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ย่อมไม่แล่นไปในธรรมมีขันธ์เป็นต้นแม้อันเป็นของมีอยู่.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อวิชชา แม้เพราะปกปิดธรรมซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแห่งปฏิจจสมุปบาทด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ยํ ปฏิจฺจ ผลเมติ โส ปจฺจโย ผลอาศัยธรรมใดเกิดขึ้นเป็นไป เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า ปัจจัย. คำว่า ปฏิจฺจ (อาศัย) ได้แก่ ไม่เว้นธรรมนั้น คือเว้นธรรมนั้นแล้วก็ไม่ปรากฏ. คำว่า เอติ (๑) ได้แก่ ย่อมเกิดขึ้น และย่อมเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง อรรถแห่งปัจจัยมีความหมายถึงอุปการธรรม.

อวิชชา จ สา ปจฺจโย จาติ อวิชฺชาปจฺจโย อวิชชานั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อวิชชาปจฺจโย (อวิชชาเป็นปัจจัย) เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น. สงฺขตมภิสงฺขโรฺตีติ สงฺขารา ธรรมที่ชื่อว่า สังขารทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม.

อีกนัยหนึ่ง สังขาร มี ๒ อย่าง คือ

สังขารที่มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ๑

สังขารที่มาด้วยศัพท์ว่า สังขาร ๑

บรรดาสังขารทั้ง ๒ นั้น สังขารที่มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ๖ เหล่านี้ คือ สังขาร ๓ ได้แก่ ปัญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร


(๑) คำว่า เอติ แยกมาจากบทว่า ผลเมติ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 450

อาเนญชาภิสังขาร และสังขาร ๓ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร สังขารเหล่านั้นแม้ทั้งหมดสักว่าเป็นโลกิยกุศลเจตนา และอกุศลเจตนาเท่านั้น.

ก็สังขารที่มาแล้วโดยสังขารศัพท์เหล่านั้น คือ สังขตสังขาร อภิสังขตสังขาร อภิสังขรณกสังขาร ปโยคาภิสังขาร. บรรดาสังขารเหล่านั้น ธรรมพร้อมทั้งปัจจัยแม้ทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในประโยคมีอาทิว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา (สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ) ชื่อว่า สังขตสังขาร. รูปธรรม อรูปธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เกิดแต่กรรมซึ่งกล่าวไว้ในอรรถกถา ชื่อว่า อภิสังขตสังขาร. รูปธรรมและอรูปธรรมแม้เหล่านั้น ย่อมสงเคราะห์ในบาลีนี้ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ดังนี้นั่นเอง. แต่อาคตสถานแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้นเป็นแผนกหนึ่ง ไม่ปรากฏ. ก็เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ ท่านเรียกว่า อภิสังขรณกสังขาร. อาคตสถานแห่งอภิสังขรณกสังขารนั้น ย่อมปรากฏในประโยคมีคำว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลถูกอวิชชาครอบงำแล้ว ย่อมปรุงแต่งปุญญาอภิสังขารบ้าง ดังนี้เป็นต้น. อนึ่ง ความเพียรอันเป็นไปทางกายและจิต ท่านเรียกว่า ปโยคาภิสังขาร. ปโยคาภิสังขารนั้นมาในประโยคว่า "ล้อนั้น เมื่อนายช่างรถหมุนไป ก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนไปแล้วตั้งอยู่เหมือนอยู่ในเพลา ฉะนั้น (๑) " เป็นต้น.

อนึ่ง มิใช่แต่สังขารเหล่านั้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้สังขารเหล่าอื่นเป็นอเนกที่มาโดยศัพท์สังขาร โดยนัยมีอาทิว่า "ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับ ต่อจากนั้น จิตสังขารก็ย่อมดับ (๒) " ดังนี้ บรรดาสังขารเหล่านั้น สังขารที่ไม่สงเคราะห์เข้าให้สังขตสังขารย่อมไม่มี.


(๑) อํ ติก. เล่ม ๒๐. ๔๕๔/๑๔๑

(๒) ม. มูล เล่ม ๑๒. ๕๑๐/๕๕๑

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 451

เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำใดที่ตรัสไว้ในประโยคมีอาทิว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณํ (วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ คำนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ส่วนในคำที่ยังมิได้กล่าวนั้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้

วิชานาตีติ วิญฺาณํ ชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้แจ้ง.

นมตีติ นามํ ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า ย่อมน้อมไป.

รุปฺปตีติ รูปํ ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมสลาย.

อาเย ตโนติ อายตญฺจ นยตีติ อายตนํ ที่ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า ย่อมแผ่ไปซึ่งกาย (นามรูป) อันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ และ ย่อมนำไปสู่สังสารอันยาวนาน.

ผุสตีติ ผสฺโส ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง.

เวทยตีติ เวทนา ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์.

ปริตสฺสตีติ ตณฺหา ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่า ทะยานอยาก.

อุปาทิยตีติ อุปาทานํ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่น.

ภวติ ภาวยติ จาติ ภโว ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็น และย่อมให้เป็น.

ชนนํ ชาติ ความเกิด ชื่อว่า ชาติ.

ชิรณํ ชรา ความคร่ำคร่า ชื่อว่า ชรา.

มรนฺติ เอเตนาติ มรณํ ชื่อว่า มรณะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุตายของสัตว์ทั้งหลาย.

โสจนํ โสโก ความเศร้า ชื่อว่า โสกะ

ปริเทวนํ ปริเทโว ความร้องคร่ำครวญ ชื่อว่า ปริเทวะ

ทุกฺขยตีติ ทุกฺขํ ชื่อว่า ทุกข์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 452

เพราะอรรถว่า ทำให้ลำบาก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะอรรถว่า ย่อมขุด ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอุปปาทะและฐีติ.

ทุมฺมนสฺส ภาโว ภาวะแห่งทุมนัส ชื่อว่า โทมนัส.

ภูโส อายาโส อุปายาโส ความดับแค้น ใจอย่างมาก ชื่อว่า อุปายาส.

บทว่า สมฺภวนฺติ แปลว่า ย่อมเกิด บัณฑิตพึงทำการประกอบศัพท์ สมฺภวนฺติ ด้วยบทมีความโศกเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ ควรทำประกอบด้วยบททั้งหมด. เพราะเมื่อกล่าวอย่างอื่นว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา (ไม่ประกอบสมฺภวนฺติศัพท์) ธรรมคืออวิชชาและสังขารก็ไม่พึงปรากฏว่า ย่อมกระทำซึ่งกิจอะไรกัน แต่เมื่อมีการประกอบด้วย สมฺภวนฺติ ศัพท์ ก็เป็นอันกำหนดธรรมที่เป็นปัจจัยและธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย (๑) ว่า อวิชชา นั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย ชื่อว่า อวิชชาเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้. ในบททั้งหลายก็นัยนี้.

บทว่า เอวํ (ด้วยประการฉะนี้) นี้เป็นบทอธิบายนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อธิบายว่า ด้วยบทว่า เอวํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมที่เป็นปัจจยาการเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะเหตุทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นเท่านั้น มิใช่เกิดขึ้นด้วยเหตุมีพระอิศวรเนรมิตเป็นต้น.

บทว่า เอตสฺส (นี้) ได้แก่ ตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า เกวลสฺส ได้แก่ (กองทุกข์) ที่ไม่ปะปนกัน หรือว่า ทั้งมวล.


(๑) คือที่เป็น ปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรม.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 453

บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส (กองทุกข์) ได้แก่ ประชุมแห่งทุกข์ มิใช่ประชุมแห่งสัตว์ มิใช่ประชุมแห่งวิปัลลาสมีความสุขและความงามเป็นต้น

บทว่า สมุทโย ได้แก่ ความเกิด.

บทว่า โหติ (ย่อมมี) ได้แก่ ย่อมเกิด.

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถในปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น

ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น ได้แก่ โดยธรรม ๔ มีลักษณะเป็นต้นแห่งปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้น อย่างไร? คือ

๑. อวิชชา

อาณลกฺณา มีความไม่รู้เป็นลักษณะ

สมฺโมหนรสา มีความหลงเป็นกิจ

ฉาทนปจฺจุปฏฺานา มีความปกปิดสภาวะแห่งอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน

อาสวปทฏฺานา มีอาสวะเป็นปทัฏฐาน

๒. สังขารทั้งหลาย

อภิสงฺขรณลกฺขณา สังขารทั้งหลายมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ

อายูหนรสา มีความขวนขวายเป็นกิจ

เจตนาปจฺจุปฏฺานา มีเจตนาเป็นปัจจุปัฏฐาน

อวิชฺชาปทฏฺานา มีอวิชชาเป็นปทัฏฐาน

๓. วิญญาณ

วิชานนลกฺขณํ วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ

ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเป็นประธานเป็นกิจ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 454

ปฏิสนฺธิปจฺจุปฏฺานํ มีการเกิดสื่อเป็นปัจจุปัฏฐาน

สงฺขารปทฏฺานํ มีสังขารเป็นปทัฏฐาน หรือ

วตฺถารมฺมณปทฏฺานํ มีวัตถุและอารมณ์เป็นปทัฏฐาน

๔. นาม

นมนลกฺขณํ นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ

สมฺปโยครสํ มีการประกอบพร้อมกันเป็นกิจ

อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺานํ มีการไม่แยกจากจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน

วิญฺาณปทฏฺานํ วิญญาณเป็นปทัฏฐาน

๕. รูป

รุปฺปนลกฺขณํ รูปมีการแปรปรวนเป็นลักษณะ

วิกิรณรสํ มีการกระจัดกระจายไปเป็นรส

อพฺยากตปจฺจุปฏฺานํ มีความเป็นอัพยากตธรรมเป็นปัจจุปัฏฐาน

วิญฺาณปทฏฺานํ มีวิญญาณเป็นปทัฏฐาน

๖. สฬายตนะ

อายตนลกฺขณํ สฬายตนะมีการทำวัฏฏะให้ยาวนานเป็นลักษณะ

ทสฺสนาทิรสํ มีการทำความเห็นเป็นต้นเป็นรส

วตฺถุทฺวารภาวปจฺจุปฏฺานํ มีความเป็นวัตถุและทวารเป็นปัจจุปัฏฐาน

นามรูปปทฏฺานํ มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน

๗. ผัสสะ

ผุสนลกฺขโณ ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 455

สํฆฏฺฏนรโส มีการประสานอารมณ์กับจิตเป็นรส

สงฺคติปจฺจุปฏฺาโน มีการประชุม (วัตถุ อารมณ์ จิต) เป็นปัจจุปัฏฐาน

สฬายตนปทฏฺาโน มีสฬายตนะเป็นปทัฏฐาน

๘. เวทนา

อนุภวนลกฺขณา เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็น

วิสยรสสมฺโภครสา มีการบริโภคร่วมกันซึ่งรสแห่งอารมณ์เป็นรส

สุขทุกฺขปจฺจุปฏฺานา มีสุขและทุกข์เป็นปัจจุปัฏฐาน

ผสฺสปทฏฺานา มีผัสสะเป็นปทัฏฐาน

๙. ตัณหา

เหตุลกฺขณา ตัณหามีความเป็นเหตุเป็นลักษณะ

อภินนฺทนรสา มีความบันเทิงใจเป็นรส

อติตฺติภาวปจฺจุปฏฺานา มีความไม่อิ่มในอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน

เวทนาปทฏฺานา มีเวทนาเป็นปทัฏฐาน

๑๐. อุปาทาน

คหณลกฺขณํ อุปาทานมีการยึดไว้เป็นลักษณะ

อมุญฺจนรสํ มีการไม่ปล่อยเป็นรส

ตณฺหาทฬฺหตฺตทิฏฺิปจฺจุปฏฺานา มีความมั่นคงด้วยตัณหาและเห็นผิดในอัตตาเป็นปัจจุปัฏฐาน

ตณฺหาปทฏฺานํ มีตัณหาเป็นปทัฏฐาน

๑๑. ภพ

กมฺมกมฺมผลลกฺขโณ ภพมีกรรมและผลของกรรมเป็นลักษณะ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 456

ภาวนภวนรโส มีความทำให้เกิดขึ้นและความเกิดขึ้นเป็นรส

กุสลากุสลาพฺยากตปจฺจุปทฏฺาโน มีความเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะเป็นปัจจุปัฏฐาน

อุปาทานปทฏฺาโน มีอุปาทานเป็นปทัฏฐาน.

ธรรมมีลักษณะเป็นต้นแห่งปัจจยาการมีชาติเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัจจวิภังค์นั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้ แม้โดยลักษณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยมีอย่างเดียวเป็นต้น

ในข้อว่า โดย มีอย่างเดียวเป็นต้น นี้ พึงทราบว่า อวิชชา ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นอัญญาณ (ไม่รู้) อทัสสนะ (ไม่เห็น) และโมหะ (ความหลง) เป็นต้น. ที่ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะความไม่ปฏิบัติ และความปฏิบัติ อนึ่ง เพราะเป็นสังขาร และอสังขาร ที่ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะสัมปยุตด้วยเวทนา ๓. ที่ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะไม่แทงตลอดสัจจะ ๔. ที่ชื่อว่า มี ๕ อย่าง เพราะปกปิดโทษแห่งคติ ๕ (๑) . อนึ่ง ว่าโดยทวารและอารมณ์ อวิชชานั้น พึงทราบว่า มี ๖ อย่าง ในอรูปธรรมแม้ทั้งหมด.

สังขาร ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นสาสววิปากธัมมธรรมเป็นต้น. ที่ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะเป็นกุศลและอกุศล. อนึ่ง เพราะเป็นปริตตธรรมและมหัคคตธรรม เพราะเป็นหีนธรรมและมัชฌิมธรรม และเพราะเป็นมิจฉัตตนิยตธรรม และมิจฉัตตอนิยธรรม. ที่ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะเป็นปุญญาภิสังขารเป็นต้น. ชื่อว่า มี ๔ อย่าง เพราะเป็นไปในกำเนิด ๔. ชื่อว่า มี ๕ อย่าง เพราะเป็นทางแห่งคติ ๕ (๒)


(๑) - (๒) ปกปิดคติ ๕ คือ ทางไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ และเทวดา

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 457

วิญญาณ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นโลกิยวิบากเป็นต้น. ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะเป็นสเหตุกะ และอเหตุกะเป็นต้น. ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยภพ ๒ เพราะประกอบพร้อมด้วยเวทนา ๓ และเพราะเป็น อเหตุกะ ทุเหตุกะ และติเหตุกะ. ชื่อว่า เป็น ๔ อย่าง และเป็น ๕ ด้วย อำนาจกำเนิด และอำนาจคติ.

นามรูป ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะอาศัยวิญญาณและโดยมีกรรมเป็นปัจจัย. ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะเป็นสารัมมณะและอนารัมมณะ. ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะเป็นอดีตเป็นต้น. ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง ด้วยอำนาจกำเนิด ๔ และคติ ๕.

สฬายตนะ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นที่เกิดและประชุม. ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะภูตรูป ประสาทรูป และวิญญาณ (๑) เป็นต้น. ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะเป็นอารมณ์ที่เป็นสัมปัตตะ อสัมปัตตะ และไม่ใช่ทั้ง ๒ (คือทางมโนทวาร). ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยกำเนิด ๔ และคติ ๕ แล. บัณฑิตพึงทราบธรรมแม้มีผัสสะเป็นต้นว่าเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้นโดยนัยนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้แม้โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น อย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยการกำหนดองค์

ชื่อว่า โดยการกำหนดองค์ ความว่า ก็ในปัจจยาการนี้ ความโศก เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงความไม่ขาดตอนของภวจักร เพราะความโศกเป็นต้นนั้น ย่อมเกิดแก่คนพาลผู้ถูกชราและมรณะเบียดเบียน


(๑) ทวิปัญจวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 458

แล้วเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาทางกายถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบาก ย่อมคร่ำครวญ ย่อมตีอกร้องไห้ ย่อมถึงการหลงใหล (๑) ดังนี้เป็นต้น.

อนึ่ง อวิชชายังเป็นไปตราบเท่าที่ความโศกเป็นต้นเหล่านั้นยังเป็นไปอยู่ เพราะเหตุนั้น การเกี่ยวเนื่องกันว่า อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้ แม้อีกจึงเป็นภวจักรทีเดียว เพราะฉะนั้น พึงทราบองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทมี ๑๒ เท่านั้น เพราะประมวลความโศกเป็นต้น แม้เหล่านั้นเข้าด้วยกันกับชรามรณะนั่นเอง พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้ แม้โดยการกำหนดองค์ทั้งหลายไว้ ด้วยประการฉะนี้.

กถาว่าโดยย่อในปัจจยากรนี้ด้วยสามารถอุเทศวารเพียงเท่านี้

วรรณนาอุเทศวาร จบ

ว่าด้วยนิเทศอวิชชาเป็นปัจจัย

(บาลีข้อ ๒๔๖)

บัดนี้ เป็นกถาว่าโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งนิเทศวาร จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขรา ดังนี้ ในพระบาลีนั้น เมื่อจะทรงแสดงสังขารทั้งหลายอันมีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะบุคคลเมื่อจะพูดถึงบุตรก็ย่อมกล่าวถึงบิดาก่อน ด้วยว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ บุตรก็เป็นคำพูดได้ดีว่า บุตรของนายมิต บุตรของนายทัตตะ ดังนี้ ฉะนั้น พระศาสดาทรงเป็นผู้ฉลาดในเทศนา เพื่อทรงแสดงอวิชชาเช่นเป็นบิดาด้วยอรรถว่ายังสังขารทั้งหลายให้เกิดก่อน จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตมา อวิชฺชา ทุกฺเข อญฺาณํ (ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน? ความไม่รู้ทุกข์) เป็นต้น.


(๑) สํ. สฬายตน. เล่ม ๑๘ ๓๖๙/๒๕๗

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 459

ในพระบาลีนั้น เพราะอวิชชานี้ย่อมไม่ให้เพื่ออันรู้ เพื่ออันเห็น เพื่ออันแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสตามความเป็นจริงของทุกขสัจจะ จึงปกปิด หุ้มห่อ ยึดถือไว้อยู่ ฉะนั้น จึงตรัสว่า ทุกฺเข อญฺาณํ (ความไม่รู้ ในทุกข์) ดังนี้. อนึ่ง เพราะอวิชชาย่อมไม่ให้เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอด ซึ่งลักษณะพร้อมทั้งรสตามความเป็นจริงแห่งทุกขสมุทัย แห่งทุกขนิโรธ แห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ปกปิดแล้ว หุ้มห่อแล้ว ยึดถือไว้อยู่ ฉะนั้นจึงตรัสว่า ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ (อัญญาณ) ตรัสว่า อวิชชา ในฐานะ ๔ เหล่านี้ โดยปริยายแห่งพระสูตร.

แต่โดยปริยายแห่งพระอภิธรรมในนิกเขปกัณฑ์ ทรงถือเอาอัญญาณ (ความไม่รู้) ในฐานะ ๔ แม้อื่นอีกว่า ปุพฺพนฺเต อญฺาณํ (ความไม่รู้ ในอดีต) เป็นต้น. ในพระบาลีนั้น คำว่า ปุพฺพนฺโต ได้แก่ อดีตอัทธา คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายที่ล่วงแล้ว. บทว่า อปรนฺโต ได้แก่ อนาคตอัทธา คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายที่ยังไม่มาถึง. บทว่า ปุพฺพนฺตาปรนฺโต ได้แก่ กาลทั้ง ๒ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะที่ล่วงแล้ว และยังไม่มาถึงนั้น. บทว่า อิทปฺปจฺจยตา (ความมีธรรมนี้เป็นปัจจัย) ได้แก่ องค์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุแห่งธรรมทั้งหลายมีสังขาร เป็นต้น. บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนธมฺมา (ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น) ได้แก่ธรรนทั้งหลายมีสังขารเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแต่ธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ในธรรมเหล่านั้น เพราะอวิชชานี้ ย่อมไม่ให้เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอด ซึ่งลักษณะพร้อมทั้งรสตามความเป็นจริง แห่งขันธ์เป็นต้น ที่เป็นอดีต ย่อม

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 460

ปกปิด หุ้มห่อ ยึดถือเอาไว้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุพฺพนฺเต อญฺาณํ (ความไม่รู้ในอดีต). อนึ่ง เพราะอวิชชานี้ ย่อมไม่ให้ เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอดซึ่งลักษณะพร้อมทั้งรสตามความเป็นจริงแห่งขันธ์เป็นต้นอันเป็นอนาคต ฯลฯ แห่งขันธ์เป็นต้น ที่เป็นทั้งอดีตและอนาคต ฯลฯ ย่อมไม่ให้ เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอดซึ่งลักษณะพร้อมทั้งรสตามความเป็นจริงแห่งความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัย และธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ย่อมปกปิด หุ้มห่อ ยึดถือเอาไว้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความไม่รู้ในความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัยในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้นดังนี้. ตรัสความไม่รู้โดยปริยายแห่งพระอภิธรรมในฐานะทั้ง ๘ เหล่านี้ว่าเป็น อวิชชา.

ถามว่า ด้วยลักษณะอย่างนี้ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสถึงอะไร? ตอบว่า ชื่อว่า เป็นอันตรัสอวิชชา โดยกิจ และโดยชาติ. อย่างไร? ก็อวิชชานี้ย่อมไม่ให้ เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอดฐานะทั้ง ๘ เหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสโดยกิจ และอวิชชานี้แม้เมื่อเกิดก็ย่อมเกิดในฐานะ ๘ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัส โดยชาติ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วทรงถือเอาบท ๒๕ มีอาทิว่า ยํ เอวรูปํ อญฺาณํ อทสฺสนํ (ความไม่รู้ ความไม่เห็น อันใดเห็นปานนี้) อีก เพื่อทรงแสดงลักษณะอวิชชา ต่อไป.

อธิการนี้ เพราะอวิชชานี้แม้ตรัสแล้วด้วยบททั้ง ๘ เหล่านี้ เมื่อยังไม่ตรัสถึงลักษณะด้วยบท ๒๕ อีก ชื่อว่าเป็นอันตรัสดีแล้วยังไม่ได้ แต่เมื่อตรัสถึงลักษณะด้วยบท ๒๕ แล้ว ย่อมชื่อว่า เป็นอันตรัสดีแล้ว เหมือนบุรุษ เมื่อกำลังแสวงหาโคที่หายไป พึงถามพวกมนุษย์ว่า เจ้านาย ท่านเห็นโคขาว

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 461

ท่านเห็นโคแดงบ้างไหม ดังนี้ พวกมนุษย์เหล่านั้น ก็พึงพูดอย่างนี้ว่า ในแคว้นนี้ มีโคสีขาวสีแดงมากมาย โคของท่านมีลักษณะอย่างไรเล่า ลำดับนั้น เมื่อบุรุษ นั้นพูดว่า เป็นรูปผ้าพาด หรือเป็นรูปคันไถ ดังนี้ โคจึงชื่อว่าเขาบอกดีแล้ว ฉันใด อวิชชานี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ตรัสด้วยบททั้ง ๘ ยังมิได้ตรัสถึงลักษณะด้วยบท ๒๕ อีก ย่อมชื่อว่าตรัสดีแล้วก็หาไม่ แต่เมื่อตรัสถึงลักษณะแล้วนั่นแหละ จึงชื่อว่า ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงลักษณะแห่ง อวิชชานั้น พึงทราบด้วยอำนาจแม้บท ๒๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เหล่านั้น. ข้อนี้เป็นอย่างไร?

อวิชชามีลักษณะ ๒๕

คือ ปัญญา ชื่อว่า ญาณ ปัญญานั้นย่อมกระทำสัจจธรรม ๔ ซึ่งเป็นผลและเป็นผล ซึ่งเป็นเหตุและเป็นเหตุ ที่รู้แล้วให้ปรากฏ แต่อวิชชานี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระทำสัจจธรรม ๔ นั้น ให้รู้ ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะเป็นข้าศึกต่อญาณ.

ปัญญา ชื่อว่า ทัสสนะ (ความเห็น) ก็มี. ปัญญาแม้นั้นย่อมเห็นซึ่งอาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อเห็นสัจจธรรม ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อทัสสนะ.

ปัญญา ชื่อว่า อภิสมัย (ความตรัสรู้) ก็มี. ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้ อาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้อริยสัจจะ ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนภิสมัย.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 462

ปัญญา ชื่อว่า อนุโพธะ (ความตรัสรู้ตาม) สัมโพธะ (ความ ตรัสรู้พร้อม) ปฏิเวธะ (การแทงตลอด) ก็มี. ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้ตาม ย่อมตรัสรู้พร้อม ย่อมแทงตลอดอาการแห่งสัจจธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้ตาม เพื่อตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอด สัจจธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนนุโพธะ อสัมโพธะ และอัปปฏิเวธะ.

ปัญญา ชื่อว่า สังคาหณา (ความถือเอาถูก) ก็มี. ปัญญานั้น ถือเอาแล้ว ทดลองแล้ว ย่อมถือเอาอาการนั้น แต่อวิชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่อถือเอา ทดลองแล้ว ถือเอาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อสังคาหณา.

ปัญญา ชื่อว่า ปริโยคาหณา (ความหยั่งโดยรอบ) ก็มี. ปัญญานั้น หยั่งลงแล้ว ชำแรกแล้วซึ่งอาการนั้น ย่อมถือเอา แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ไห้เพื่อหยั่งลง ชำแรกแล้วถือเอา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปริโยคาหณา.

ปัญญา ชื่อว่า สมเปกขนา (ความพินิจ) ก็มี. ปัญญานั้น ย่อมเพ่งอาการนั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเพ่งอาการนั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสมเปกขนา.

ปัญญา ชื่อว่า ปัจจเวกขณา (ความพิจารณา) ก็มี ปัญญานั้น ย่อมพิจารณาอาการนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่ออันพิจารณาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงถือว่า อปัจจเวกขณา.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 463

กรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง อันประจักษ์ ย่อมไม่มีแก่อวิชชานี้ และกรรมที่ตัวเอง (คืออวิชชา) ไม่พิจารณาแล้วกระทำ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น อวิชชานี้จึงชื่อว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้ประจักษ์).

อวิชชานี้ ชื่อว่า ทุมมิชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะความมีปัญญาทราม.

อวิชชานี้ ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะความเป็นธรรมชาติโง่เขลา.

ปัญญา ชื่อว่า สัมปชัญญะ (ความรู้ทั่วพร้อม) ก็มี. ปัญญานั้นย่อมรู้ทั่วซึ่งสัจจธรรม ๔ เป็นผลและเป็นผล ที่เป็นเหตุและเป็นเหตุโดยชอบ แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันรู้ทั่วซึ่งอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อสัมปชัญญะ.

อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่.

อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว.

อวิชชา ชื่อว่า สัมโมหะ (ความหลงใหล) ด้วยอำนาจความหลงพร้อม.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถมีอาทิว่า ย่อมรู้สิ่งที่ไม่ควรรู้.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะย่อมนำลง คือ ให้จมลงในวัฏฏะ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 464

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบไว้ในวัฏฏะ.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ และเพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา) เพราะย่อมกลุ้มรุม ย่อมจับ ย่อมปล้นกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุ่มในหนทางปล้นคนเดินทางฉะนั้น.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาลังคี (ลิ่มคืออวิชชา) เพราะอรรถว่า เมื่อเขาใส่ลิ่มคือกลอนเหล็กที่ประตูเมืองแล้ว ย่อมตัดขาดซึ่งการออกไปภายนอกเมืองของพวกคนภายในเมืองบ้าง ซึ่งการเข้าไปภายในเมืองของพวกคนภายนอกเมืองบ้าง ฉันใด อวิชชานี้ตกไปในกายนครของตนแห่งบุคคลใด ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณอันให้ถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น.

อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เพราะอรรถว่า อกุศลนั้นเป็นมูล หรือเพราะอรรถว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย. ก็อกุศลมูลนั้นมิใช่อื่น ในที่นี้ทรงประสงค์เอา โมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล คือ โมหะ.

บทว่า อยํ วุจิจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า นี้ ชื่อว่า อวิชชามีลักษณะอย่างนี้.

พึงทราบลักษณะอวิชชาด้วยอำนาจบท ๒๕ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง อวิชชานี้มีลักษณะอย่างนี้ แม้ตรัสว่า ความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น ก็ย่อมเป็นส่วนหนึ่งแห่งทุกขสัจจะ เป็นธรรมเกิดพร้อมกัน ย่อม

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 465

กระทำทุกขสัจจะนั้นให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดทุกขสัจจะนั้น. มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสมุทยสัจจะ เป็นธรรมเกิดพร้อมกัน ย่อมกระทำสมุทยสัจจะนั้นให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดสมุทยสัจจะนั้น. ไม่เป็นส่วนหนึ่งของนิโรธสัจจะ ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่ทำนิโรธสัจจะนั้นให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดอย่างเดียว. ไม่เป็นส่วนหนึ่งแม้แห่งมรรคสัจจะ ให้เกิดพร้อมกัน ไม่ทำมรรคสัจจะนั้นให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดอย่างเดียว.

อวิชชาย่อมเกิดขึ้นเพราะความมีทุกข์เป็นอารมณ์ และย่อมปกปิดทุกข์ที่เป็นอารมณ์นั้น อวิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความมีสมุทัยเป็นอารมณ์ และย่อมปกปิดสมุทัยที่เป็นอารมณ์นั้น อวิชชาย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะความมีนิโรธเป็นอารมณ์ และย่อมปกปิดนิโรธนั้น อวิชชาย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะความมีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ย่อมปกปิดมรรคนั้น.

สัจจะ ๒ ชื่อว่า ลึกซึ้ง (คัมภีระ) เพราะเห็นได้โดยยาก สัจจะ ๒ ชื่อว่า เห็นได้โดยยาก เพราะความเป็นของลึกซึ้ง. อีกอย่างหนึ่ง อริยสัจคือ ทุกขนิโรธ เป็นสภาพลึกซึ้งและเห็นได้โดยยาก. บรรดาสัจจะเหล่านั้น ขึ้นชื่อว่า ทุกข์ เป็นสภาพปรากฏ แต่ที่ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะเห็นลักษณะได้ยาก. แม้ในสมุทัย ก็นัยนี้เหมือนกัน เปรียบเหมือนว่า ธรรมดาว่า การกวนมหาสมุทรแล้วนำเอาโอชะออกมาเป็นภาระ (ของหนัก) ธรรมดาว่า การขนทรายจากเชิงเขาสิเนรุ ก็เป็นภาระ ธรรมดาว่า การบีบคั้นภูเขาแล้วนำรสออกมาก็เป็นภาระ ฉันใด สัจจะทั้ง ๒ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะความเป็นภาวะลึกซึ้งโดยแท้ แต่นิโรธสัจจะทั้งลึกซึ้งอย่างยิ่ง และเห็นได้ยากอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ความบอดคือโมหะซึ่งปกปิดอริยสัจ ๔ ที่ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 466

ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะความลึกซึ้งด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสเรียกว่า อวิชชา.

บทว่าด้วยนิเทศอวิชชา จบ

ว่าด้วยนิเทศสังขาร

(บาลีข้อ ๒๕๗)

พึงทราบวินิจฉัยในบทแห่งสังขาร ต่อไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเฉพาะสังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่ทรงพาดพิงสังขารที่มาด้วยสังขารศัพท์ ในสังขารตามที่ตรัสไว้ในหนหลัง จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตเม อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ปุญฺภิสงฺขาโร บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นไฉน? ปุญญาภิสังขาร ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น สภาวะที่ชื่อว่า บุญ เพราะอรรถว่า ย่อมชำระกรรมอันเป็นการทำของตน คือ ย่อมยังอัชฌาศัยของผู้กระทำตนนั้นให้บริบูรณ์ และยังภพอันน่าบูชาให้เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะอรรถว่า ย่อมปรุงแต่งวิบาก และกฏัตตารูป. อภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) คือ บุญ ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. สภาพที่ชื่อว่า อปุญฺโ (อบุญ) เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ. อภิสังขารคืออบุญ ชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร. ที่ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หวั่นไหว. ที่ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า อภิสังขารคืออาเนญชะ (ความไม่หวั่นไหว) และสภาพที่ปรุงแต่งภพอันไม่หวั่นไหว.

ที่ชื่อว่า กายสังขาร เพราะอรรถว่า เป็นสังขาร (การปรุงแต่ง) อันกายให้เป็นไป หรือเพราะกาย หรือเป็นไปแก่กาย แม้ในวจีสังขารและจิตสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 467

ในสังขารเหล่านั้น สังขาร ๓ แรก ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งปริวิมังสนสูตร. จริงอยู่ ในสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า หากว่าบุคคลมีอวิชชาปรุงแต่งสังขาร (สภาพปรุงแต่ง) ที่เป็นบุญ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นบุญ หากว่าปรุงแต่งสังขารที่เป็นอบุญ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอบุญ (บาป) หากว่าปรุงแต่งสังขารที่เป็นอาเนญชะ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอาเนญชะ ดังนี้. สังขาร ๓ หมวดที่สอง ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งวิภังคสูตรอันเป็นลำดับแห่งปริวิมังสนสูตรนั้น แม้กล่าวว่าทรงถือเอาโดยปริยายแห่งสัมมาทิฏฐิสูตร ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. เพราะในวิภังคสูตรนั้น ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ เหล่านี้ สังขาร ๓ เป็นไฉน? กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงทรงถือเอาสังขารเหล่านั้นด้วยอำนาจแห่งสูตรเหล่านั้นเล่า.

ตอบว่า เพื่อแสดงบทนี้ว่า ธรรมดาพระอภิธรรมนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงกระทำไว้ในบัดนี้ พวกฤาษีภายนอก หรือพวกพระสาวก หรือพวกเทวดามิได้ภาษิตไว้ ก็พระอภิธรรมนี้เป็นภาษิตของพระชินเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูพุทธะ เพราะในพระอภิธรรมก็ดี ในพระสูตรก็ดี เป็นพระบาลีแบบแผนที่ยกขึ้นแสดงออกเป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 468

ว่าด้วยปุญญาภิสังขาร

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสังขารเหล่านั้นโดยชนิดต่างๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตโม ปุญฺาภิสงฺขาโร ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารเป็นไฉน?

ในพระบาลีนั้น แม้เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ ตรัสโดยไม่กำหนดไว้ว่า เจตนาที่เป็นกุศล แต่เพราะทรงกำหนดว่า กามาวจร รูปาวจร ดังนี้ เจตนา ๑๓ ดวง คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘ ดวง และรูปาวจรกุศลเจตนา ๕ ดวง ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. ด้วยบททั้งหลายว่า ทานมยา (ทานมัย) เป็นต้น ทรงแสดงความเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุแห่งเจตนาเหล่านั้นนั่นเอง.

ในพระบาลีนั้น เจตนา ๘ ดวงเป็นกามาวจรย่อมสำเร็จด้วยทานและศีลเท่านั้น แต่เจตนาแม้ทั้ง ๑๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา. เปรียบเหมือนบุคคลสาธยายธรรมคล่องแคล่ว ย่อมไม่รู้ซึ่งธรรมที่เป็นไปแม้สนธิหนึ่ง แม้สนธิสอง เมื่อนึกถึงจึงรู้ในภายหลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรกระทำกสิณบริกรรม พิจารณาฌานที่เกิดคล่องแคล่ว และเมื่อมนสิการกรรมฐานที่ชำนาญก็ฉันนั้นเหมือนกัน เจตนาแม้ปราศจากญาณ ก็ย่อมสำเร็จเป็นภาวนา. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนาแม้ทั้ง ๑๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.

ในข้อนั้น มีเทศนาโดยย่อในบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้นว่า เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็นใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน. เจตนา ความตั้งใจ ความคิด ปรารภศีล ฯลฯ ปรารภภาวนา ทำภาวนาให้เป็นใหญ่อันใด นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 469

ส่วนกถาโดยพิสดารมีดังนี้ว่า บรรดาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือบรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น หรือทานวัตถุ ๑๐ มีการให้ข้าวเป็นต้น เจตนาของบุคุคลผู้ให้วัตถุนั้นๆ ที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ คือ ในบุรพภาค (ส่วน เบื้องต้น) จำเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งของนั้นๆ ๑ ในเวลาบริจาค ๑ ในการระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในภายหลัง ๑ ชื่อว่า ทานมัย. ส่วนเจตนาที่เป็นไปแก่บุคคลผู้ไปสู่วิหารผู้ตั้งใจว่า เราจักบวชเพื่อบำเพ็ญศีล ดังนี้ บวชแล้วยังมโนรถให้ถึงที่สุดแล้ว รำพึงอยู่ว่า เราบวชแล้วเป็นการดีหนอๆ ดังนี้ สำรวมพระปาฏิโมกข์ พิจารณาอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ระวังอยู่ซึ่งจักขุทวารเป็นต้นในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาสู่คลอง และชำระอาชีวะให้หมดจดอยู่ ชื่อว่า ศีลมัย. เจตนาที่เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้เจริญอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญรูปทั้งหลาย ฯลฯ เจริญธรรมทั้งหลาย เจริญจักขุวิญญาณ ฯลฯ เจริญมโนวิญญาณ เจริญจักขุสัมผัส ฯลฯ เจริญมโนสัมผัส เจริญจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญมโนสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญรูปสัญญา ฯลฯ เจริญชรามรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยทางแห่งวิปัสสนาที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า ภาวนามัย ดังนี้.

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขาร

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอปุญญาภิสังขาร ต่อไป

บทว่า อกุสลา เจตนา (อกุศลเจตนา) ได้แก่ เจตนาสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง. บทว่า กามาวจรา ความว่า

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 470

บรรดาอกุศลเจตนา ๑๒ ดวงเหล่านั้น เว้นเจตนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวงที่เหลือ ย่อมเกิดขึ้นแม้ในรูปภพและอรูปภพ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ชักปฏิสนธิมาในรูปภพและอรูปภพนั้น ย่อมยังวิบากให้ท่องเที่ยวไปในกามาวจร ด้วยอำนาจปฏิสนธินั่นแหล่ะ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นกามาวจรเท่านั้น ดังนี้.

ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขาร

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอาเนญชาภิสังขาร ต่อไป

บทว่า กุสลา เจตนา อรูปาวจรา (กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร) ได้แก่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร ๔ จริงอยู่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร ๔ เหล่านั้น ตรัสเรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว และเพราะอรรถว่า ปรุงแต่งความไม่หวั่นไหว ด้วยว่าธรรม ๑๕ คือ เจตนาที่เป็นกุศล วิบาก กิริยาที่เกิดแต่จตุตถฌานที่เป็นรูปาวจร ๓ ดวง เจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๑๒ ดวง ชื่อว่า อาเนญชา เพราะอรรถว่า มั่นคง เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว. บรรดาเจตนา ๑๕ เหล่านั้น รูปาวจรกุศลเจตนา แม้เป็นสภาพไม่หวั่นไหว แต่ก็ให้เกิดรูปและอรูปที่เหมือนกับตนบ้าง ไม่เหมือนกับตนบ้าง ให้มีความหวั่นไหวบ้าง ไม่มีความหวั่นไหวบ้าง เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร. ส่วนรูปาวจรวิบากเจตนาและรูปาวจรกิริยาเจตนา ย่อมปรุงแต่งวิบากไม่ได้ เพราะไม่มีวิบาก จึงชื่อว่า เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้. เจตนาที่เป็นอรูปาวจรวิบากและกิริยาก็เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น เจตนาเหล่านั้นแม้ทั้ง ๑๑ ดวง จึงเป็น อาเนญชา (ความไม่

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 471

หวั่นไหว) เท่านั้น ไม่เป็นอภิสังขาร. แต่อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ ดวง เท่านั้น ตรัสเรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ย่อมให้เกิดอรูปอันไม่หวั่นไหวเช่นกับตน เหมือนเงาของสัตว์มีช้างม้าเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับสัตว์มีช้างม้าเป็นต้น ฉะนั้น เจตนาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๑๓ ดวงด้วยอำนาจแห่งปุญญาภิสังขาร อกุศลเจตนา ๑๒ ดวงด้วยอำนาจแห่งอปุญญาภิสังขาร อรูปกุศลเจตนา ๔ ดวงด้วยอำนาจอาเนญชาภิสังขารประมวลมาเป็นเจตนา ๒๙ ดวง ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดเจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่เกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์หาประมาณมิได้ในจักรวาลอันประมาณมิได้ ด้วยพระสรรพัญญุตญาณ ทรงแสดงเจตนาไว้ ๒๙ ดวงเท่านั้น เหมือนทรงชั่งอยู่ด้วยคันชั่งอันใหญ่ และเหมือนทรงตวงใส่ไว้ในทะนานนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยทวารแห่งกรรม

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงทวารแห่งกรรม ๓ ที่เหล่าสัตว์ซึ่งหาประมาณมิได้ในจักรวาลอันนับประมาณมิได้ ผู้ประกอบอยู่ซึ่งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมประกอบด้วยทวารเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตโม กายสงฺขโร กายสญฺเจตนา ในสังขารเหล่านั้น กายสังขาร เป็นไฉน? คือ กายสัญเจตนา ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น คำว่า กายสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ถ้วน คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘ ดวง อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง ที่เป็นไปโดยกายทวารซึ่งยังกายวิญญัตติให้ตั้งขึ้น แม้จะกล่าวว่า เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศล ๒๐ ที่เกิดขึ้นให้ถึงการไหวไปด้วยการยึด และการถือเอาในกายทวาร ดังนี้ก็สมควร.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 472

คำว่า วจีสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ดวงนั้นนั่นเองเป็นไปทางวจีทวาร ยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้น แม้จะกล่าวว่า เจตนา ๒๐ ดวงที่เกิดขึ้นทำคางให้ไหว และให้ถึงการเปล่งวาจา ในวจีทวารดังนี้ก็ควร. แต่ในอธิการนี้ อภิญญาเจตนา ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณข้างหน้า เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ถือเอา แม้อุทธัจจเจตนาก็ไม่เป็นปัจจัยเหมือนอภิญญาเจตนา เพราะฉะนั้น แม้อุทธัจจเจตนานั้น ก็พึงนำออกจากความเป็นปัจจัยของวิญญาณ ก็เจตนาแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

คำว่า มโนสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๙ ดวงแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในมโนทวาร ไม่ยังวิญญัตติแม้ทั้ง ๒ ให้ตั้งขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทวารแห่งกรรมที่สัตว์พยายามไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลซึ่งนับประมาณมิได้ เมื่อประกอบกุศลและอกุศลกรรม ย่อมประกอบด้วยทวาร ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

ว่าด้วยสัมปโยคะแห่งอภิสังขาร

อนึ่ง พึงทราบสัมปโยคะ (การประกอบพร้อมกัน) แห่งหมวด ๓ ทั้ง ๒ เหล่านั้น ต่อไป. สัมปโยคะกันอย่างไร? คือ ปุญญาภิสังขาร พึงเป็นกายสังขารแก่บุคคลผู้งดเว้นจากกายทุจริตก็มี พึงเป็นวจีสังขารแก่บุคคลผู้งดเว้นจากวจีทุจริตก็มี ดังนั้น กุศลเจตนา ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจร เป็นปุญญาภิสังขาร เป็นกายสังขารและวจีสังขาร. ส่วนเจตนา ๑๓ ดวง ที่เกิดในมโนทวารเป็นปุญญาภิสังขาร และจิตตสังขาร.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 473

แม้อปุญญาภิสังขาร พึงเป็นกายสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจกายทุจริตนั่นแหละก็มี พึงเป็นวจีสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจวีทุจริตก็มี พึงเป็นจิตตสังขารในเวลาเป็นไปในมโนทวารยกเว้นทวาร ๒ ก็มี ดังนั้น อปุญญาภิสังขารจึงเป็นกายสังขารบ้าง เป็นวจีสังขารบ้าง เป็นจิตตสังขารบ้าง. ก็กายสังขาร พึงเป็นปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็นอาเนญชาภิสังขาร. วจีสังขารก็เหมือนกัน (คือเป็นปุญญาภิสังขารก็มี อปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็นอาเนญชาภิสังขาร) แต่ จิตตสังขาร พึงเป็นปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอาเนญชาภิสังขารก็มี เพราะฉะนั้น ชื่อว่า สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

ว่าด้วยสังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไร

ถามว่า ก็ข้อนี้ จะพึงทราบได้อย่างไรว่า สังขารทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. ตอบว่า รู้ได้เพราะความที่อวิชชามีสังขารจึงมีจริงอยู่ บุคคลใดยังละอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชาในสัจจะ ๔ มีทุกข์เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นก็ยึดถือสังสารทุกข์ โดยความสำคัญว่าเป็นสุขด้วยความไม่รู้ในทุกข์และธรรมมีขันธ์ในส่วนอดีตเป็นต้นก่อน แล้วย่อมปรารภสังขารแม้ทั้ง ๓ (มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น) อันเป็นเหตุแห่งสังสารทุกข์นั้น. ด้วยความไม่รู้ในทุกขสมุทัย เขาก็ย่อมสำคัญหมายปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริวารของตัณหาแม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ โดยความเป็นเหตุแห่งสุข. อนึ่ง เพราะความที่ไม่รู้ในนิโรธและมรรค บุคคลจึงมีความสำคัญในคติพิเศษแม้มิใช่ความดับทุกข์ว่าเป็นความดับทุกข์ และมีความสำคัญในพิธีกรรมทั้งหลายมีการ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 474

บูชายัญ และบำเพ็ญตบะเพื่อให้เป็นเทวดาเป็นต้นแม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์ว่าเป็นทางดับทุกข์ เมื่อปรารถนาทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ก็ย่อมปรารภสังขารแม้ ๓ อย่าง โดยมุ่งหน้าพิธีกรรมมีการบูชายัญ และทำตบะเพื่อความเป็นเทวดาเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะบุคคลนั้น ยังไม่ได้ละอวิชชาในสัจจะ ๔ นั้น จึงไม่รู้อยู่ซึ่งทุกข์โดยความเป็นทุกข์พิเศษ กล่าวคือผลแห่งบุญแม้ระคนด้วยโทษเป็นอเนกมีชาติ ชรา และมรณะเป็นต้น ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารอันต่างด้วยกายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร เพื่อถึงทุกข์นั้น เหมือนผู้ต้องการนางฟ้า (เทพอัปสร) ปรารถนาเกิดเป็นเทพบุตรฉะนั้น. อนึ่ง บุคคลนั้นแม้ไม่เห็นผลบุญนั้น แม้สมมติว่าเป็นสุขซึ่งถึงความเป็นทุกข์เพราะแปรปรวนอันยังความเร่าร้อนใหญ่ให้เกิดขึ้นในบั้นปลาย และความที่ผลบุญนั้นมีความสำราญน้อย ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ซึ่งมีผลบุญนั้นเป็นปัจจัย เหมือนตั๊กแตนบ่ายหน้าตกลงสู่เปลวประทีป และเหมือนบุคคลผู้ติดใจในหยดน้ำผึ้งถึงกับเลียคมศัสตราที่เปื้อนน้ำผึ้งฉะนั้น.

อนึ่ง เมื่อไม่เห็นโทษในธรรมที่มีวิบากมีการเสพกามเป็นต้น ย่อมปรารภอปุญญาภิสังขาร แม้เป็นไปด้วยทวาร ๓ เพราะสำคัญว่าเป็นสุข และเพราะความเป็นผู้ถูกกิเลสครอบงำแล้ว ดุจทารกเล่นอยู่ซึ่งคูถอันปฏิกูล ดุจผู้ต้องการตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น และเมื่อไม่หยั่งรู้ความทุกข์อันมีความแปรปรวนแห่งสังสาร แม้ในวิบากแห่งอรูป ก็ย่อมปรารภอาเนญชาภิสังขาร อันเป็นจิตตสังขารโดยวิปลาสมีความเที่ยงเป็นต้น ดุจคนหลงทิศ เริ่มเดินทางมุ่งหน้าไปสู่นครปิศาจฉะนั้น. เพราะความที่อวิชชามีอยู่.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 475

นั่นแหละสังขารจึงมี มิใช่เพราะความไม่มี ฉะนั้น ข้อนี้จึงทราบได้ว่า สังขารเหล่านี้ย่อมมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้ แม้คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเขลาตกอยู่ในอวิชชาแล้ว เพราะความไม่รู้ ย่อมปรุงแต่งปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่งอปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่งอาเนญชาภิสังขารบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอวิชชาเสียแล้ว วิชชาก็เกิดขึ้นเพราะการสำรอกอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา ภิกษุนั้นย่อมไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอย่างไร

ถามว่า ในอธิการนี้ หากมีผู้กล่าวว่า พวกเรายอมรับว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย นี้ไว้ก่อน แต่คำที่ท่านกล่าวว่า อวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไรแก่สังขารเหล่าไหนเล่า?

ในปัญหากรรมนี้ ท่านย่อมกล่าวคำนี้ว่า

ปจฺจโย โหติ ปุญฺานํ ทุวิธาเนกธา ปน

ปเรสํ ปจฺฉิมานํ สา เอกธา ปจฺจโย มตา

อวิชชานั้นเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร ๒ อย่าง เป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขารซึ่งมีข้างหน้าหลายอย่าง เป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขารสุดท้ายอย่างเดียว ดังนี้.

ในการกล่าวแก้ปัญหานั้น ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร ๒ อย่าง ได้แก่ เป็นปัจจัย ๒ อย่าง คือ ด้วยอารัมมณปัจจัย

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 476

และอุปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยดยอารัมมณปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารฝ่ายกามาวจร ในการพิจารณาสังขารโดยความสิ้นไปเสื่อมไป และเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารฝ่ายรูปาวจรในเวลารู้จิตมีโมหะด้วยอภิญญาจิต . อนึ่ง เมื่อบุคคลบำเพ็ญซึ่งบุญกิริยาวัตถุที่เป็นกามาวจรมีการให้ทานเป็นต้น และเมื่อบุคคลยังรูปาวจรฌานทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่เพื่อก้าวล่วงอวิชชา อวิชชาก็เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารเหล่านั้นแม้ทั้งสอง. และเมื่อบุคคลปรารถนาสมบัติในกามภพและรูปภพ กระทำซึ่งบุญเหล่านั้นแหละ ก็ย่อมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัยเหมือนกัน เพราะความหลงใหลด้วยอวิชชา.

อนึ่ง ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขารซึ่งมีข้างหน้า หลายอย่าง ได้แก่ อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขารหลายอย่าง อย่างไร? คือ ในกาลปรารภอวิชชา กิเลสมีราคะเป็นต้นเกิดขึ้น อวิชชาก็เป็นปัจจัยโดยอารัมมปัจจัย ในเวลาที่ยินดีการทำให้หนักแน่น ก็เป็นปัจจัยโดยอารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย. เมื่อบุคคลหลงใหลด้วยอวิชชา ไม่เห็นโทษ กระทำอยู่ซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่ ๒ เป็นต้น โดยอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. เมื่อทำอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นปัจจัยหลายอย่าง คือ โดยเหตุปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขารสุดท้าย อย่างเดียว ความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขาร ด้วยอุปนิสสยปัจจัย อย่าง

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 477

เดียวเท่านั้น ก็ความที่อวิชชาเป็นอุปนิสสยปัจจัยนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในปุญญาภิสังขารนั่นแหละ.

ก็ในที่นี้มีผู้สงสัยกล่าว ถามว่า อวิชชาอย่างเดียวเท่านั้นเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย หรือว่า แม้ธรรมเหล่าอื่นเป็นปัจจัยก็มีอยู่. พึงเฉลยว่า ในข้อนี้จะมีคำกล่าวอะไรเล่า? ถ้ามีอวิชชาอย่างเดียวเท่านั้น ลัทธิว่าเหตุสำหรับกระทำมีอย่างเดียวก็จะปรากฏ ถ้าธรรมแม้อื่นเป็นปัจจัยมีอยู่ การอธิบายถึงเหตุอย่างเดียวว่า สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ ก็ไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุไร? เพราะว่า

เอกํ น เอกโต อิธ นาเนกมเนกโตปิ โน เอกํ

ผลมตฺถิ อตฺถิ ปน เอก เหตุผลทีปเน อตฺโถ

ในโลกนี้ ผลอย่างเดียว ย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลหลายอย่าง ย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลอย่างเดียว ย่อมมีเพราะเหตุหลายอย่างก็หาไม่ แต่ว่าประโยชน์ในการแสดงเหตุ และผลแต่ละอย่างมีอยู่.

อธิบายว่า โนโลกนี้ ผลอย่างเดียวย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลหลายอย่างย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลอย่างเดียวย่อมมี แม้เพราะเหตุหลายอย่างก็หาไม่ แต่ว่า ผลมากอย่างเท่านั้น ย่อมมีเพราะเหตุมากอย่าง จริงอย่างนั้น ผล (พืชพันธุ์ไม้) กล่าวคือหน่อมีรูป (สี) กลิ่นรสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นมิใช่น้อยเลย ย่อมปรากฏได้เพราะเหตุทั้งหลายเป็นอเนก คือ อุตุ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 478

แผ่นดิน พืช และน้ำ. ก็แต่ว่า การแสดงเหตุและผลแต่ละอย่างอันใดนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณํ (สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ที่ทรงทำไว้แล้ว ความต้องการคือประโยชน์ในการอธิบายเหตุผลแต่ละอย่างเหล่านั้น มีอยู่. เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงเหตุหรือผลอย่างเดียวเท่านั้น โดยสมควรแก่เทศนาวิลาส (ความไพเราะแห่งเทศนา) และแก่เหล่าเวไนยสัตว์ เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผลเป็นประธาน เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผลปรากฏแล้ว เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผลเป็นอสาธารณะ (ไม่ทั่วไป).

จริงอยู่ ในข้อว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา (เวทนาย่อมเกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย) นี้ พระองค์ตรัสเหตุและผลอย่างเดียวเท่านั้น. เพราะผัสสะเป็นปธานเหตุ (เหตุอันเป็นประธาน) ของเวทนา เพราะทรงกำหนดเวทนาตามผัสสะ และเวทนาก็เป็นปธานผล (ผลที่เป็นประธาน) ของผัสสะ เพราะทรงกำหนดผัสสะตามเวทนา.

ในข้อว่า เสมฺหสมุฏฺานา อาพาธา (อาพาธทั้งหลายย่อมเกิดเพราะเสมหะเป็นสมุฏฐาน) นี้ พระองค์ตรัสเหตุอย่างเดียว เพราะเป็นของปรากฏ (ชัดเจน) แล้ว ก็ในอธิการนี้เสมหะปรากฏ มิใช่กรรมเป็นต้นปรากฏ.

ในข้อว่า เยเกจิ ภิกฺขเว อกุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อโยนิโสมนสิการมูลกา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอโยนิโสมนสิการเป็นมูล) ดังนี้ ตรัสเหตุอย่างเดียว เพราะเป็นเหตุไม่ทั่วไป. จริงอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายมีอโยนิโสมนสิการเป็นอสาธารณเหตุ แต่มีวัตถุและอารมณ์เป็นต้น เป็นสาธารณเหตุ ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 479

เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้ อวิชชานี้ เมื่อธรรมอื่นๆ มีวัตถุ อารมณ์ และสหชาตธรรมเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังขารแม้มีอยู่ บัณฑิตก็พึงทราบว่า พระองค์ทรงแสดงโดยความเป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะคำว่า เหตุ ดังนี้ เป็นประธานแห่งเหตุของสังขารแม้เหล่าอื่นมีตัณหาเป็นต้น โดยพระบาลีว่า เมื่อบุคคลมีปกติตามเห็นความชอบใจเนืองๆ ตัณหาย่อมเจริญ และพระบาลีว่า อาสวสมุทัย (ความเกิดแห่งอาสวะ) ย่อมเกิดเพราะอวิชชาสมุทัย (ความเกิดแห่งอวิชชา) ดังนี้ และเพราะความเป็นเหตุปรากฏ และเป็นอสาธารณเหตุ โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความไม่รู้ คนเขลาผู้ตกอยู่ในอวิชชาย่อมปรุงแต่งซึ่งปุญญาภิสังขารบ้างเป็นต้น. ก็ด้วยคำเฉลยการแสดงเหตุและผลแต่ละอย่างนี้นั้นแหละ พึงทราบประโยชน์ในการแสดงเหตุและผลในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้แล.

ในข้อนี้ หากมีผู้กล่าวถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชาเป็นธรรมมีโทษ มีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียวย่อมควรซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขารได้อย่างไร เพราะอ้อยย่อมไม่เกิดแต่พืชสะเดา ตอบว่า อวิชชานั้น จักไม่ควรซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขารได้อย่างไร เพราะในโลกนี้

ธรรมทั้งหลายที่สำเร็จเป็นปัจจัยแล้ว ผิดแผกกันก็มี เหมือนกันก็มี อนึ่ง เป็นเช่นเดียวกันและไม่เป็นเช่นเดียวกันก็มี ธรรมเหล่านั้นหาใช่วิบากอย่างเดียวไม่.

อธิบายว่า ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่สำเร็จแล้วในโลก เป็นธรรมที่ผิดแผกกันโดยฐานะ โดยสภาวะ และโดยกิจ (หน้าที่) เป็นต้นก็มี ที่ไม่

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 480

ผิดแผกกันก็มี จริงอยู่ จิตดวงแรกเป็นปัจจัยที่ผิดแผกโดยฐานะของจิตดวงหลัง และ การศึกษาศิลป์ครั้งแรกเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ผิดแผกโดยฐานะแก่การทำศิลป์เป็นต้นที่กำลังเป็นไปในภายหลัง. กรรมเป็นปัจจัยที่ผิดแผกโดยสภาวะของรูป นมสดเป็นต้นเป็นปัจจัยที่ผิดแผกโดยสภาวะของนมส้มเป็นต้น. แสงสว่างเป็นปัจจัยที่ผิดแผกโดยกิจของจักขุวิญญาณ และงบน้ำอ้อยเป็นต้นเป็นปัจจัยที่ผิดแผกโดยกิจของเครื่องหมักดองเป็นต้น. ส่วนจักขุและรูปเป็นต้น เป็นปัจจัยไม่ผิดแผกโดยฐานะของจักขุวิญญาณเป็นต้น. ชวนะดวงแรกเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ไม่ผิดแผกโดยสภาวะและไม่ผิดแผกโดยกิจของชวนะดวงหลังเป็นต้น.

อนึ่ง ปัจจัยที่สำเร็จแล้วผิดแผกกันและไม่ผิดแผกกันมีอยู่ฉันใด แม้ปัจจัยที่สำเร็จแล้วที่เหมือนกัน และไม่เหมือนกันก็มีอยู่ฉันนั้น. จริงอยู่ รูปกล่าวคือ อุตุและอาหารเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละเป็นปัจจัยแก่รูป. พืชพันธุ์ข้าวสาลีเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่ผลแห่งข้าวสาลีเป็นต้น. แม้สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือ รูปเป็นปัจจัยแก่อรูป อรูปเป็นปัจจัยแก่รูปก็ได้. และขนโค ขนแกะ เขาสัตว์ นมส้ม งา และแป้งเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่หญ้าแพรกและตะไคร้น้ำเป็นต้น. อนึ่ง ธรรมเหล่าใดที่มีปัจจัยที่ผิดแผกกันและไม่ผิดแผกกัน ที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน ธรรมเหล่านั้นมิใช่วิบากแห่งธรรมเหล่านั้น. อวิชชานี้แม้เป็นธรรมมีโทษ ด้วยอำนาจแห่งการให้ผล (วิบาก) และด้วยอำนาจสภาวะที่มีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว ก็พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารเป็นต้นเหล่านี้แม้ทั้งหมดตามควร ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่ผิดแผกกัน และไม่ผิดแผกกันโดยฐานะ โดยกิจ โดยสภาวะ และด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 481

ก็ความที่อวิชชานั้นเป็นปัจจัยนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า จริงอยู่ บุคคลใด ยังละอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชา ในสัจจะ ๔ มีทุกข์เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นจะยึดถือสังสารทุกข์ โดยความไม่รู้ในทุกข์และในขันธ์ที่เป็นส่วนอดีตเป็นต้น ด้วยความสำคัญว่าเป็นสุขก่อน แล้วย่อมปรารภสังขารแม้ ๓ อย่าง (มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น) ที่เป็นเหตุของทุกข์นั้น ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอีกอย่างหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบปริยายแม้อื่น ดังต่อไปนี้ว่า

บุคคลใด หลงใหลอยู่ในการตายและการเกิด (จุติและอุปบัติ) ในสังสาร ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย ในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น บุคคลนั้นย่อมปรุงแต่งสังขาร ๓ เหล่านี้ เพราะเหตุที่อวิชชาเป็นปัจจัยแต่สังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังนี้.

อนึ่ง หากมีผู้กล่าวถามว่า ก็บุคคลผู้หลงใหลในธรรมเหล่านั้นย่อมทำสังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ อย่างไร?

ขอตอบว่า บุคคลผู้หลงใหลในการตาย (จุติ) ก่อน เมื่อเขาไม่ถือเอาซึ่งจุติในที่ทั้งปวงว่า การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มรณะ ดังนี้ ย่อมกำหนดว่า สัตว์ย่อมตาย คือ การก้าวไปสู่กายอื่นของสัตว์เป็นต้น. ผู้หลงใหลในการเกิด (อุปปาตะ) เมื่อไม่ถือการเกิดว่า ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในที่ทั้งปวง ชื่อว่า ชาติ ย่อมกำหนดว่า สัตว์เกิด คือ ความที่สัตว์ปรากฏมีสรีระใหม่เป็นต้น. ผู้หลงใหลในสังสาร เมื่อไม่ถือสังสารที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 482

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ

อพฺโพจฺฉินฺนา วตฺตมานา สํสาโร ปวุจฺจติ

ลำดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย และแห่งธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย เรียกว่า สังสาร ดังนี้

ย่อมกำหนดเหตุเป็นต้นว่า สัตว์นี้ย่อมไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้ ย่อมมาสู่โลกนี้จากโลกอื่น ดังนี้. ผู้หลงใหลในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย เมื่อไม่ถือเอาสภาวลักษณะ (ลักษณะแห่งความมีของตน) และสามัญลักษณะ (ลักษณะที่เสมอกัน) ของสังขารทั้งหลาย ย่อมกำหนดสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน โดยเป็นของเนื่องด้วยตน โดยความยั่งยืน โดยความงาม และโดยความสุข. ผู้หลงใหลในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เมื่อไม่ถือเอาความเป็นไปแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น ย่อมกำหนดว่า "อัตตาย่อมรู้บ้าง ย่อมไม่รู้บ้าง อัตตานั้นแหละย่อมกระทำ ย่อมยังผู้อื่นให้กระทำ อัตตานั้นย่อมเกิดในปฏิสนธิ อณู และพระอิศวรเป็นต้นตั้งสรีระของอัตตานั้นไว้โดยความเป็นกลละเป็นต้น แล้วยังอินทรีย์ทั้งหลายให้บริบูรณ์ อัตตานั้นสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมถือเอา ย่อมยึดถือ ย่อมสืบต่อ อัตตานั้นจะมีในภพอื่นอีก" ดังนี้บ้าง ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้แปรเปลี่ยนไปเป็นของเที่ยง เป็นของเกี่ยวข้องกัน ดังนี้บ้าง บุคคลนั้นอันอวิชชาทำให้บอดแล้ว เมื่อกำหนดอยู่อย่างนี้ ย่อมปรุงแต่งอภิสังขาร คือบุญบ้าง บาปบ้าง อาเนญชาบ้าง เหมือนคนตาบอด เมื่อเที่ยวไปบนแผ่นดิน ย่อมเดินสู่ทางบ้าง นอกทางบ้าง ที่ดอนบ้าง ที่ลุ่มบ้าง

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 483

ที่เสมอบ้าง ที่ไม่เสมอบ้าง" ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวคาถานี้ไว้ว่า

ยถาปิ นาม ชจฺจนฺโธ นโร อปรินายโก

เอกธา ยาติ มคฺเคน อุมฺมคฺเคนาปิ เอกธา

ธรรมดา คนบอดแต่กำเนิด ไม่มีผู้นำไป ในกาลบางครั้งย่อมไปตามทาง ในกาลบางครั้งย่อมเดินไปนอกทาง แม้ฉันใด

สํสาเร สํสรํ พาโล ตถา อปรินายโก

กโรติ เอกธา ปุญฺญํ อปุญฺํปิ เอกธา

คนพาลก็ฉันนั้น เมื่อท่องเที่ยวไปในสังสาร ไม่มีผู้แนะนำ ในกาลบางคราวย่อมทำบุญ บางคราวก็ย่อมทำบาป.

ยทา ตฺวา จ โส ธมฺมํ สจฺจานิ อภิสเมสฺสติ

ตทา อวิชฺชูปสมา อุปสนฺโต จริสฺสติ

อนึ่ง เมื่อใดคนพาลนั้นรู้ธรรมแล้ว จักตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เมื่อนั้นเขาจักเข้าไปสงบ เพราะอวิชชาสงบแล้ว เที่ยวไป ดังนี้.

นี้ เป็นกถาพิสดารในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา แล.

นิเทศอวิชชาเป็นปัจจัย จบ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 484

ว่าด้วยนิเทสสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺาณํ เป็นต้น ในนิเทศแห่งบทว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ต่อไป.

จักขุวิญญาณ มี ๒ อย่าง คือ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็มีอย่างละ ๒ เหมือนกัน (เรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐). ส่วนมโนวิญญาณมี ๒๒ อย่าง คือ.

มโนธาตุที่เป็นกุศลและอกุศลวิบาก

อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ

สเหตุกกามาวจรวิบากจิต

รูปาวจรวิบากจิต

อรูปาวจรวิบากจิต ๔.

โลกิยวิญญาณแม้ทั้งหมดมี ๓๒ ที่สงเคราะห์ (รวบรวมไว้) ด้วยวิญญาณ ๖ อย่างเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ส่วนโลกุตรวิญญาณทั้งหลายไม่ควรในวัฏฏกถา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือเอา.

ในนิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น หากมีคำถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า วิญญาณมีประการตามที่กล่าวมานี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

ตอบว่า รู้ได้ เพราะเมื่อไม่มีกรรมที่สร้างไว้ วิบากก็ไม่มี.

จริงอยู่ วิญญาณนี้เป็นวิบาก และวิบากย่อมไม่เกิดเพราะไม่มีกรรมที่สร้างไว้ หากว่า จะพึงเกิดไซร้ วิบากทั้งหมดก็พึงเกิดแก่เหล่าสัตว์ทุกจำพวก

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 485

แต่ก็หาเกิดไม่ เพราะฉะนั้น ข้อนี้ก็จะพึงทราบได้ว่า "วิญญาณนี้ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้.

หากมีคำถามว่า วิญญาณไหน มีเพราะสังขารไหนเป็นปัจจัย

ตอบว่า กุศลวิบากจิต ๑๖ ดวง คือ จักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก ๕ ดวง มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก ๒ ดวง กามาวจรมหาวิบาก ๘ ดวง มีเพราะปุญญาภิสังขารที่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยก่อน.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญญาณอันเป็นวิบากจิตเกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว. (๑) โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน (รวม ๕ ดวง). มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก (สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ดวง) ก็เกิดขึ้น. มโนวิญญาณธาตุ ๒ ดวง คือ ที่สัมปยุตด้วยโสมนัส และที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา ก็เกิดขึ้น กามาวจรมหาวิบาก ๘ คือ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นอสังขาร (ไม่มีการชักชวน) ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นสสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยโสมนัส ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยเป็นอสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยโสมนัส ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยเป็นสสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นอสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นสสังขาร ๑ ดวง


(๑) อภิ. สํ เล่ม ๓๔. ๓๓๘/๑๒๘

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 486

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยเป็นอสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยเป็นสสังขาร ๑ ดวงเกิดขึ้น. (๑)

อนึ่ง รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง เกิดเพราะปุญญาภิสังขารที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า เมื่อโยคาวจรบุคคลนั้นแหละ สงัดจากกามทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญญจฌานอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วอยู่ (๒) ดังนี้.

วิญญาณมี ๒๑ ดวง มีเพราะปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง วิญญาณ ๗ ดวง คือ จักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นอกุศลวิบาก ๕ ดวง มโนธาตุ (สัมปฏิจฉันนจิต) ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุ ๑ ดวง มีเพราะอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญญาณอันเป็นวิบากเกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรม ที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน (รวม ๕ ดวง) มโนธาตุวิบาก ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุ (สันตีรณจิต) ๑ (๓) ดังนี้.

วิญญาณ ๔ ดวงอย่างนี้ คือ อรูปวิบาก ๔ ดวง มีเพราะอาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า โยคาวจรบุคคลก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานภูมิอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอากาสา-


(๑). อภิ. สํ เล่ม ๓๔. ๔๑๕/๑๔๓

(๒) . อภิ. สํ เล่ม ๓๔. ๔๑๗/๑๔๔

(๓). อภิ. สํ. เล่ม ๓๔. ๔๗๒/๑๗๓

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 487

นัญจายตนสัญญา ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา ฯลฯ อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เพราะละสุขเสียได้ เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละอันได้ทำไว้แล้ว สั่งสมไว้แล้ว (๑) ดังนี้.

ว่าด้วยปวัตติวิญญาณ ๒ อย่าง

วิญญาณใดย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย บัณฑิตทราบวิญญาณนั้นตามที่พรรณนามาฉะนี้แล้ว บัดนี้พึงทราบปวัตติ (ความเป็นไป) ของวิญญาณนั้น ต่อไป.

จริงอยู่ วิญญาณทั้งหมดนี้แหละย่อมเป็นไป ๒ อย่าง ด้วยอำนาจปวัตติวิญญาณ และปฏิสนธิวิญญาณ ในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๑๐ ดวง) มโนธาตุ ๒ ดวง อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส ๑ ดวง รวมเป็น ๑๓ ดวงเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลในปัญจโวการภพเท่านั้น วิญญาณที่เหลือ ๑๙ ดวง ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลบ้าง ในปฏิสนธิกาลบ้าง ตามควรในภพทั้ง ๓ อย่างไร.

วิญญาณในปัญจโวการภพในปวัตติกาล ๑๓ ดวง

วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากก่อน สำหรับผู้เกิดด้วยกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ผู้มีอินทรีย์ที่เข้าถึงความแก่รอบตามลำดับ ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่เป็นอิฏฐารมณ์หรือที่เป็นอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ที่มาสู่คลองแห่งจักขุทวารเป็นต้น อาศัยประสาทมีจักษุเป็นต้น จึงให้สำเร็จทัสสนกิจ (การเห็น)


(๑) อภิ. สํ เล่ม ๓๔. ๔๑๙/๑๔๕

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 488

สวนกิจ (การได้ยิน) ฆายนกิจ (การได้กลิ่น) สายนกิจ (การลิ้มรส) ผุสสนกิจ (การสัมผัส) เป็นไป. วิญญาณ ๕ ที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือนกัน. ก็วิญญาณที่เป็นอกุศลวิบากเหล่านั้น มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ และเป็นอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์เพียงอย่างเดียว. เนื้อความนี้เท่านั้นที่แปลกกัน. อนึ่ง วิญญาณ ๑๐ แม้เหล่านี้มีทวาร อารมณ์ วัตถุ ฐานะที่แน่นอน และมีกิจที่แน่นอนเหมือนกัน.

ต่อจากนั้น มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ซึ่งเป็นกุศลวิบาก ปรารภอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้นแหละ อาศัยหทัยวัตถุยังสัมปฏิจฉันนกิจ (หน้าที่รับอารมณ์) ให้สำเร็จเป็นไป. มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือนกัน. ก็แต่ว่า มโนธาตุทั้ง ๒ นี้ (คือที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก) มีทวารและอารมณ์ไม่แน่นอน มีวัตถุ ฐานะแน่นอน และมีกิจ (หน้าที่) แน่นอน.

ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะที่สหรคตด้วยโสมนัส ปรารภอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นต้น เหล่านั้นแหละ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก อาศัยหทัยวัตถุ ยังสันตีรณกิจให้สำเร็จ ตัดขาดวิถีด้วยภวังค์ ในที่สุดแห่งชวนะซึ่งสัมปยุตด้วยโลภะโดยมากของสัตว์ในกามาวจรในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร ๖ ย่อมเป็นไปครั้งหนึ่งบ้าง สองครั้งบ้าง ด้วยอำนาจตทารัมมณะในอารมณ์อันชวนะถือแล้ว. แต่ในการนับความเป็นไปของจิต ในตทารัมมณะในทวารทั้งหมดมีวาระแห่งจิต ๒ วาระเท่านั้น. ก็จิตนี้ได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ ตทารัมมณะและปิฏฐิภวังค์ (ภวังค์ดวงหลัง) มีทวารและอารมณ์ไม่แน่นอน มีวัตถุแน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน จิต ๑๓ ดวง พึงทราบว่า ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลในปัญจโวการภพ ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 489

ว่าด้วยจิต ๑๙ ในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลในภพ ๓

บรรดาจิต ๑๙ ดวง ที่เหลือ จิตอะไรๆ ย่อมไม่เป็นไปในปฏิสนธิตามสมควรของตนๆ หามิได้ แต่ในปวัตติกาล มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะ ๒ ดวง คือ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก ในเบื้องต้น ให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง คือ สันตีรณกิจ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากในทวารห้า ๑ เป็นตทารัมมณกิจ ในทวาร ๖ โดยนัยที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละ ๑ เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิอันตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทอันเข้าไปตัดเสียซึ่งภวังค์ ๑ และจุติกิจในที่สุด ๑ มี (หทยะ) วัตถุแน่นอน มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป

สเหตุกจิตที่เป็นกามาวจร ๘ ดวง ย่อมยังกิจ ๓ อย่าง ให้สำเร็จ คือ เป็นตทารัมมณกิจ ในทวารทั้ง ๖ โดยนัยที่กล่าวไว้ในปวัตติกาล ๑ เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจที่ตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดเสียซึ่งภวังค์ ๑ จุติกิจในกาลเป็นที่สุด ๑ มีวัตถุแน่นอน มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.

รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง และอรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง ย่อมยังกิจ ๒ อย่างให้เป็นไป คือ เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจอันตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดเสียซึ่งภวังค์ ๑ และจุติกิจในกาลเป็นที่สุด ๑. บรรดาวิบากจิต ๙ ดวงเหล่านั้น รูปาวจรวิบากจิต มีวัตถุและอารมณ์แน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน วิบากจิตนอกนี้ไม่มีวัตถุ (อรูป) มีอารมณ์แน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.

วิญญาณ (เป็นวิบาก) แม้ ๓๒ ย่อมเป็นไปเพราะสังขารเป็นปัจจัยในปวัตติกาล ด้วยประการฉะนี้ก่อน ในปวัตติกาลนั้น สังขารเหล่านั้นๆ ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๓๒ นั้น ด้วยกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 490

ว่าด้วยเหตุที่ตทารัมมณะไม่เป็นไปในรูปและอรูปภูมิ

ในวิบากวิญญาณ ๓๒ ดวงเหล่านั้น ตรัสตทารัมมณจิต ๑๑ ดวงนั้นเหล่าใดไว้ วิบากจิตแม้หนึ่งดวง เป็นตทารัมมณะในรูปภพและอรูปภพเป็นไปหามีไม่ เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีพืช จริงอยู่ ในรูปภูมิและอรูปภูมินั้น พืช คือ ปฏิสนธิ กล่าวคือ กามาวจรวิบากที่จะให้เกิดตทารัมมณกิจในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ย่อมไม่มี หากมีผู้แย้งว่า ถ้าเช่นนั้น จักขุวิญญาณเป็นต้น ก็ไม่มีปรากฏในรูปภพนะซิ ขอตอบว่า มิใช่เช่นนั้น เพราะอานุภาพแห่งความเป็นไปของอินทรีย์ และเพราะจิตตนิยมในความต่างกันแห่งทวารวิถี.

ก็ตทารัมมณะนี้ ย่อมไม่เป็นไปในรูปภพและอรูปภพโดยแน่นอนฉันใด ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่ไม่ใช่กามาวจรแม้ทั้งหมด ฉันนั้น เพราะเหตุไร? เพราะความที่ธรรมมิใช่กามาวจร ทำให้ตทารัมมณะเกิดไม่ได้ และเพราะไม่เหมือนกับธรรมที่เป็นตัวให้กำเนิด. จริงอยู่ ตทารัมมณะนั้นเปรียบเหมือนทารกผู้เยาว์ออกจากบ้านต้องการจะไปภายนอกก็จะเกาะนิ้วมือบิดาผู้ให้กำเนิดของตน หรือญาติผู้มุ่งประโยชน์เช่นกับบิดาไป หาใช่ติดตามคนอื่นมีราชบุรุษเป็นต้นไปไม่ ฉันใด ตทารัมมณะแม้นี้ก็ฉันนั้น ย่อมติดตามกามาวจรชวนะเท่านั้น ซึ่งเป็นบิดาผู้กำเนิดของตน หรือผู้เป็นญาติผู้เช่นเดียวกับบิดาของตน เพราะเป็นธรรมทั้งหลายที่ออกไปภายนอกจากอารมณ์ที่เป็นภวังค์เหมือนกัน ย่อมไม่ติดตามจิตอื่น คือ มหัคคตะหรือโลกุตระ.

อนึ่ง ตทารัมมณะนี้ ย่อมไม่ติดตามมหัคคตะและโลกุตรธรรม ฉันใด แม้กามาวจรธรรมเหล่านี้ ก็ฉันนั้น เมื่อใด จิตเป็นธรรมมีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นไป เมื่อนั้น ตทารัมมณะนี้ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 491

เหล่านั้นไป เพราะเหตุไร? เพราะเป็นถิ่นไม่เคยไป. และเพราะความที่ตนเป็นปริตตารมณ์ (กามารมณ์) โดยส่วนเดียว. จริงอยู่ตทารัมมณะนั้นเปรียบเหมือนทารกยังเยาว์ เมื่อจะติดตามบิดาหรือญาติผู้เช่นกับบิดาไป ย่อมติดตามไปในถิ่นที่เคยไปมีประตูเรือนระหว่างถนน ทางสี่แพร่งเป็นต้นเท่านั้น ย่อมไม่ติดตามผู้ไปสู่ป่า หรือสนามรบ ฉันใด แม้ตทารัมมณะนั้นก็ฉันนั้น เมื่อติดตามกามาวจรธรรมทั้งหลายไป ก็ย่อมติดตามธรรมเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปในถิ่นที่คุ้นเคยมีธรรมที่มิใช่มหัคคตะเป็นต้นเท่านั้น หาใช่ติดตามคือปรารภมหัคคตะและโลกุตรธรรมเหล่านั้นไปไม่. ก็เพราะตทารัมมณะนั้นมีอารมณ์ที่เป็นปริตตารมณ์โดยส่วนเดียว ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส ธรรมเหล่านี้เป็นปริตตารมณ์ ดังนี้ ฉะนั้น ตทารัมมณะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมไม่ติดตามแม้กามาวจรธรรมที่มีมหัคคตะและโลกุตรธรรมเป็นอารมณ์ไป ฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง จะมีประโยชน์อะไรด้วยยุติกถา (กถาประกอบ) นี้ เพราะท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาโดยส่วนเดียวเท่านั้นว่า ตทารัมมณจิต ๑๑ ดวง ย่อมไม่รับตทารมณ์ในเมื่อชวนะปรารภนามและโคตรแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้เมื่อชวนะปรารภบัญญัติแล่นไป. ตทารัมมณ์ย่อมไม่ได้ในวิปัสสนาที่มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในพลววิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินี. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะที่ปรารภธรรมที่เป็นรูปและอรูปแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในธรรมที่เป็นมิจฉัตตนิยตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในธรรมที่เป็นสัมมัตตนิยตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภโลกุตรธรรมแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภอภิญญาญาณแล่นไป.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 492

ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภปฏิสัมภิทาญาณแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในกามาวจรที่มีอารมณ์ทุรพล ย่อมได้ในอารมณ์ที่มีกำลังมาสู่คลองในทวาร ๖ เท่านั้น และตทารมณ์นั้น เมื่อได้ย่อมได้ในกามาวจรอย่างเดียว ขึ้น ชื่อว่า ตทารมณ์ในรูปภพและอรูปภพนั่นแหละ ย่อมไม่มี ดังนี้.

อนึ่ง คำใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "บรรดาจิต ๑๙ ดวงที่เหลือ จิตอะไรๆ ไม่เป็นไปด้วยปฏิสนธิสมควรแก่ตน" ดังนี้ คำนั้นใครๆ ก็เข้าใจได้โดยยาก เพราะย่อเกินไป เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงนัยโดยพิสดารแห่งคำนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวเป็นคำถามว่า ปฏิสนธิมีเท่าไร? ปฏิสนธิจิต มีเท่าไร? ปฏิสนธิ มีในภูมิไหนด้วยจิตอะไร? อารมณ์ของปฏิสนธิ มีอย่างไร? ดังนี้.

ว่าด้วยปฏิสนธิ ๒๐ ประเภท

ในปัญหากรรมนั้น วิสัชนาว่า ปฏิสนธิมี ๒๐ ประเภท รวมทั้งอสัญญีปฏิสนธิ. ปฏิสนธิจิตมี ๑๙ ดวง มีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล. บรรดาปฏิสนธิจิตเหล่านั้น ปฏิสนธิในอุบายภูมิ ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง ปฏิสนธิของสัตว์ผู้บอดแต่กำเนิด หนวกแต่กำเนิด บ้าแต่กำเนิด ผู้ทั้งหนวกทั้งใบ้แต่กำเนิด และเป็นกะเทยเป็นต้น ในมนุษยโลก (มนุษย์) ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญทั้งหลาย ในหมู่เทพชั้นกามาวจรและในพวกมนุษย์ ย่อมมีด้วยสเหตุกมหาวิบาก ๘ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญในโลกรูปพรหม ย่อมมีด้วยรูปาวจรวิบาก ๕ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญในอรูปโลก ย่อมมีด้วยอรูปาวจรวิบาก ๔ ดวง. ก็ปฏิสนธิย่อมมีในภูมิใด ด้วยจิตใดปฏิสนธินั้นแหละ ชื่อว่า ปฏิสนธิ สมควรแก่จิตดวงนั้น.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 493

ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ

ว่าโดยสังเขป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี ๓ คือ

กรรม

กรรมนิมิต

คตินิมิต.

บรรดาอารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว ชื่อว่า กรรม กรรมย่อมประกอบวัตถุใด ทำให้เป็นอารมณ์ วัตถุนั้นชื่อว่า กรรมนิมิต ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต แม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปป์ กรรมนั้นย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิตในขณะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องเทียบเคียงของกรรมนิมิต ดังต่อไปนี้

เรื่องนายโคปกสีวลี

ได้ยินว่า บุรุษชื่อ นายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร ชื่อว่า ตาลปิฏฐิกะ เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ พระเจดีย์ปรากฏแล้ว เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.

เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง

ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมุฬหกาลกิริยา (การทำกาละของผู้ลุ่มหลง) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคมกล้าตัดศีรษะข้างหลังก็ดี เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้า ตัดศีรษะก็ดี ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี ในกาลแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือว่ากรรมนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมปรากฏ.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 494

วินิจฉัยเรื่องตายทันที

ยังมีการตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลหุกมรณะ (ตายเร็ว) จริงอยู่บุคคลเอาค้อนทุบขยี้แมลงวันที่หลบซ่อนอยู่บนด้ามสิ่ว ในเวลาแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือกรรมนิมิต ก็ย่อมปรากฏ อนึ่ง เมื่อแมลงวันถูกค้อนบดขยี้อยู่อย่างนี้ ภวังค์ยังไม่เปลี่ยน (หมุน) มาเป็นอวัชชนะทางกายทวารก่อน ย่อมเปลี่ยน (หมุน) มาสู่เฉพาะมโนทวาราวัชชนะ ทันทีนั้น ชวนะก็แล่นไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์. ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงเปลี่ยน (หมุน) มาสู่อาวัชชนะทากายทวาร ต่อแต่นั้นวิถีจิตทั้งหลาย คือ กายวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะ จึงเป็นไป ชวนะก็แล่นไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์. ในวาระที่ ๓ ภวังค์เปลี่ยน (หมุน) มายังมโนทวาราวัชชนะ ลำดับนั้น ชวนะก็แล่นไปหยั่งลงสู่ภวังค์ แมลงวันย่อมทำกาละ (ตาย) ในฐานะนี้ (๑)

เนื้อความนี้ท่านนำมาเพื่ออะไร เพื่อแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า อารมณ์ของอรูปธรรมทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้.

ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะบังเกิดขึ้น ชื่อว่า คตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏเป็นภาพเช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง) เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏ


(๑) คำว่าในฐานะนี้ หมายถึงมรณาสันนวิถี (วิถีใกล้ความตาย) ประเภทใดประเภทหนึ่งใน ๔ อย่าง เหล่านี้คือ

ประเภทที่ ๑ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วจุติ

ประเภทที่ ๒ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง แล้วจุติ

ประเภทที่ ๓ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วมีภวังค์ ... แล้วจุติ

ประเภทที่ ๔ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีภวังค์ ... แล้วจุติ

ในฐานะนี้ แมลงวันตายในประเภทที่ ๔

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 495

เป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล และยาน. เมื่อเทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมาน และที่นอนเป็นต้น ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง โดยสังเขป คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง คือ

อารมณ์อดีต

อารมณ์ปัจจุบัน

อารมณ์ที่เป็นนวัตตัพพะ (๑)

อสัญญีปฏิสนธิไม่มีอารมณ์ บรรดาปฏิสนธิเหล่านั้น วิญญาณัญจายตนปฏิสนธิ และเนวสัญญานาสัญญายตนปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นอดีตอย่างเดียว กามาวจรวิบาก ๑๐ มีอารมณ์เป็นอดีตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง ปฏิสนธิที่เหลือมีอารมณ์เป็นนวัตตัพพะ (อารมณ์ที่พึงกล่าวไม่ได้). ก็ปฏิสนธิที่กำลังเป็นไปในอารมณ์ ๓ อย่าง ย่อมเป็นไปในลำดับแห่งจุติที่มีอดีตเป็นอารมณ์ หรือ มีนวัตตัพพารมณ์ แต่ชื่อว่า จุติจิตที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันมิได้มี เพราะฉะนั้น พึงทราบอาการที่เป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ ๓ อย่าง ในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๒ อย่าง ด้วยอำนาจสุคติและทุคติ. ข้อนี้เป็นอย่างไร?

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

คือ ในเบื้องต้น บาปกรรมตามที่ตนสั่งสมไว้ หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารแก่บุคคลผู้นอนในเตียงมรณะ เพราะพระบาลีว่า "ก็บาป


(๑) อารมณ์นี้เห็นตรงกับอารมณ์บัญญัติ คือ บัญญัติกรรมนิมิต และบัญญัติมหัคคตกรรมนิมิต ของผู้ที่จะไปเกิดในพรหมโลก

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 496

กรรมเหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมซึ่งดำรงอยู่ในกามาวจรสุคติในสมัยนั้น" ดังนี้ จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นในที่สุดแห่งตทารัมมณะ หรือในชวนะถ้วนๆ เกิดขึ้น ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับแล้ว ก็เกิดปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยทุคติภูมิ อันกำลังแห่งกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไปในบาปกรรมต่างๆ ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตที่มาสู่คลองนั้นนั่นแหละ

นี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติจิตมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก นิมิตในทุคติภูมิมีภาพเปลวเพลิงเป็นต้นในนรกเป็นต้น มาสู่คลองมโนทวาร ด้วยอำนาจแห่งกรรมตามที่กล่าวแล้ว เมื่อภวังค์ของบุคคลนั้นเกิดดับสิ้น ๒ ครั้งแล้วเกิดวิถีจิตทั้ง ๓ คือ อาวัชชนะ ซึ่งปรารภอารมณ์นั้น ๑ ชวนะ ๕ ดวง เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ๑ และตทารัมมณะ ๒ ดวง ๑. ต่อจากนั้น จุติจิต ๑ ดวง กระทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ขณะจิตย่อมล่วงไป ๑๑ ดวง ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตจึงเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีอายุแห่งขณะจิตที่ยังเหลืออยู่ ๕ ขณะนั้นนั่นแล. นี้ ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก หีนารมณ์ (อารมณ์เลว) มีราคะเป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมพาสู่คลองทวารในทวาร ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะที่เกิดขึ้นตามลำดับ ชวนะ ๕ ดวงและตทารัมมณะ ๒ ดวงของบุคคลนั้น ย่อมเกิด เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อความตาย ต่อจากนั้น จุติจิตหน่วงก็ทำ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 497

ภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ขณะแห่งจิตย่อมเป็นอันล่วงไป ๑๕ ขณะ คือ ภวังค์ ๒ ดวง อาวัชชนะ ๑ ดวง ทัศนะ ๑ ดวง สัมปฏิจฉันนะ ๑ ดวง สันตีรณะ ๑ ดวง โวฏฐัพพนะ ๑ ดวง ชวนะ ๕ ดวง ตทารัมมณะ ๒ ดวง และจุติจิต ๑ ดวง ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตจึงเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีอายุขณะจิต ๑ ขณะที่ยังเหลืออยู่นั้นนั่นแหละ ปฏิสนธิแม้นี้ก็มีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต

พึงทราบอาการความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในทุคติภูมิที่มีอารมณ์อดีตและปัจจุบัน ในลำดับแห่งจุติในสุคติภูมิซึ่งมีอารมณ์อดีตนี้ก่อน. ส่วนกรรมอันปราศจากโทษนั้น หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิมีกรรมอันปราศจากโทษที่สั่งสมไว้แล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงตั้งธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (บริสุทธิ์) ไว้ในธรรมที่เป็นฝ่ายดำแล้ว พึงทราบคำทั้งหมดโดยนัยก่อนนั่นแหละ. นี้เป็นอาการแห่งความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในสุคติภูมิ ซึ่งมีอารมณ์อดีตและปัจจุบัน ต่อจากจุติในทุคติภูมิอันมีอารมณ์เป็นอดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรือนวัตตัพพะในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต

อนึ่ง กรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิ ผู้มีกรรมปราศจากโทษซึ่งสั่งสมไว้แล้ว ผู้นอนบนเตียงมรณะ โดยมีพระบาลีมีอาทิว่า ตานิ จสฺส ตสฺมิํ สมเย โอลมฺพนฺติ ก็กรรมอันงามคือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 498

เหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลนั้นผู้นอนบนเตียงในสมัยนั้นเป็นต้น (๑) ก็แลกรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้มีกรรมปราศจากโทษอันเป็นกามาวจรที่สั่งสมไว้แล้วนั่นแหละ ส่วนกรรมนิมิตอย่างเดียว ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้มีมหัคคตกรรมที่สั่งสมไว้แล้ว จุติจิตทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ในลำดับแห่งตทารัมมณะ หรือในชวนวิถีล้วนๆ ซึ่งเกิดขึ้นปรารภกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับ ปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยสุคติภูมิ ซึ่งถูกกำลังกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไป เกิดขึ้นปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตอันมาสู่คลองนั้นนั่นแหละ. นี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรืออารมณ์นวัตตัพพะต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก สุคตินิมิตกล่าวคือภาพท้องมารดาในมนุษยโลก หรือภาพอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์ในเทวโลก ย่อมมาสู่คลองมโนทวารด้วยอำนาจกรรมที่ปราศจากโทษอันเป็นกามาวจร ปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นในลำดับแห่งจุติจิต โดยลำดับที่แสดงไว้ในทุคตินิมิตนั้นแหละ. นี้เป็นปฏิสนธิมีปัจจุบันอารมณ์ในลำดับแห่งจิตมีอดีตอารมณ์.

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก พวกญาติพากันแสดงอารมณ์ กล่าวว่า ดูก่อนพ่อ นี้เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า พ่อจงทำเพื่อประโยชน์แก่ตัวพ่อ พ่อจงยังจิตให้เลื่อมใสแล้วแสดงรูปารมณ์ ด้วยสามารถแห่งพวงดอกไม้ ธงชัย และ


(๑) ม. อุ. เล่ม ๑๔. ๔๘๗/๓๒๓

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 499

ธงแผ่นผ้าเป็นต้น หรือแสดงสัททารมณ์ด้วยสามารถแห่งการฟังธรรม และดุริยบูชาเป็นต้น หรือแสดงคันธารมณ์ด้วยสามารถกลิ่นธูป กลิ่นเครื่องอบที่หอมเป็นต้น หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงลิ้มไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่พ่อแล้วแสดงรสารมณ์ ด้วยสามารถแห่งน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงสัมผัสไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่พ่อแล้วแสดงโผฏฐัพพารมณ์ด้วยอำนาจแห่งผ้าจีนและผ้าโสมาระเป็นต้นน้อมเข้าในทวาร ๕. ชวนะ ๕ ดวงย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อความตาย ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นตามลำดับในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาสู่คลองนั้น และย่อมเกิดตทารัมมณะ ๒ ดวง ลำดับนั้น จุติจิตหนึ่งดวงการทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นในอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในขณะแห่งจิตหนึ่งดวงนั้นแหละ. ปฏิสนธิแม้นี้ ก็มีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจิตมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ต่อจากจุติมีอารมณ์นวัตตัพพะ

อนึ่ง ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก ผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิผู้ได้เฉพาะมหัคคตะด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐวีกสิณเป็นต้น บรรดากุศลกรรม กรรมนิมิต คตินิมิตที่เป็นกามาวจรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือนิมิตมีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือมหัคคตจิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวาร หรืออารมณ์อันประณีต อันมีการเกิดขึ้นแห่งกุศลเป็นเหตุ ย่อมมาสู่คลองในจักษุ หรือโสตทวารอย่างใดอย่างหนึ่ง ชวนะ ๕ ดวง ย่อมเกิดแก่บุกคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นโดยลำดับ แต่ว่า ตทารัมมณะย่อมไม่มีแก่เหล่าสัตว์ผู้มี

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 500

มหัคคตจิตเป็นคติ ฉะนั้น จึงเกิดจุติจิตหนึ่งดวงกระทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ในลำดับแห่งชวนะนั้นแล ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ย่อมเกิดปฏิสนธิจิต มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ทั้งหลายตามที่ปรากฏ อันนับเนื่องในสุคติ อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งสุคติของกามาวจร หรือมหัคคตะ. ปฏิสนธินี้มีอารมณ์ อดีต ปัจจุบัน นวัตตัพพะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากจุติที่มีอารมณ์เป็นนวัตตัพพะ.

พึงทราบปฏิสนธิ ในลำดับแม้จุติในอรูปภูมิ โดยทำนองนี้. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อดีต มีอารมณ์นวัตตัพพะ มีอารมณ์ปัจจุบัน ต่อจากจุติในสุคติภูมิมีอารมณ์อดีต และอารมณ์นวัตตัพพะ.

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

ส่วนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิ ผู้มีบาปกรรม กรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารโดยนัยที่กล่าวนั้นแหละ แต่อารมณ์ที่เป็นเหตุเกิดอกุศลย่อมมาสู่คลองในปัญจทวาร ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตของบุคคลนั้นมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๓ เหล่านั้น อันนับเนื่องในทุคติภูมินี้ ที่สุดแห่งจุติจิตตามลำดับก็เกิดขึ้น. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิจิตมีอารมณ์อดีต และปัจจุบันในลำดับต่อจากจิตในทุคติภูมิมีอารมณ์อดีต ฉะนี้แล ด้วย ลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งวิญญาณ ๑๙ ดวงด้วยอํานาจปฏิสนธิ.

อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ ๑๙ ดวงทั้งหมดนี้นั้น

เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไปด้วยธรรม ๒ อย่าง และวิญญาณที่แตกต่างกัน เป็นไป ๒ อย่างเป็นต้น โดยความแตกต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 501

จริงอยู่ วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนี้ เมื่อจะเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไปด้วยกรรม ๒ อย่าง ด้วยว่า กรรมอันให้กำเนิดวิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนั้นย่อมเป็นปัจจัยโดยนานาขณิกกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัยตามควรแก่ตน ข้อนี้สมกับคำที่ตรัสว่า กุสลากุสลํ กมฺมวิปากสฺส อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กรรมวิบาก ด้วยอุปนิสสยปัจจัย (๑) ก็เมื่อวิญญาณนี้เป็นไปอย่างนี้ ก็พึงทราบความแตกต่างกันแม้มี ๒ อย่างเป็นต้นโดยความแตกต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น อย่างไร? คือ วิญญาณนี้แม้เป็นไปอยู่อย่างเดียวด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่ามี ๒ อย่างโดยความต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันและไม่ระคนกันกับรูป มี ๓ อย่างเพราะความต่างกันแห่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ มี ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งกำเนิดอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ มี ๕ อย่างด้วยสามารถคติ (มีทางไปสู่นรกเป็นต้น) (๒) มี ๗ อย่างด้วยอำนาจวิญญาณฐิติ มี ๙ อย่างด้วยอำนาจสัตตาวาส.

บรรดาวิญญาณเหล่านั้น

วิญญาณที่ระคนกับรูป ๒ อย่าง เพราะความต่างกันแห่งภาวะ และในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่าง มี ๒ ทสกะบ้าง ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ เกิดพร้อมกับวิญญาณที่ระคนกันกับรูปที่เป็นเบื้องต้น (๓)

คำว่า วิญญาณที่ระคนกับรูป ๒ อย่าง เพราะความแตกต่างกันแห่งภาวะ นั้น ความว่า จริงอยู่ บรรดาวิญญาณเหล่านั้น ปฏิสนธิ-


(๑) อภิ. ป. เล่มที่ ๔๐ ๑๓๗๘/๔๖๐

(๒) ดูคติ ๕ ที่เชิงอรรถ หน้า ๔๕๖

(๓) ที่เป็นเบื้องต้น คือเบื้องต้นในการแจกแจงความต่างกันมี ๒ อย่างโดยระคนกับรูปเป็นอย่างแรก ไม่ระคนกับรูปเป็นอย่างที่สอง (ผู้แปล)

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 502

วิญญาณนั้นระคนด้วยรูปเกิดขึ้นเว้นอรูปภพ. ปฏิสนธิวิญญาณนั้น มี ๒ อย่าง คือ มีภาวะ ๑ ไม่มีภาวะ ๑ เพราะในรูปภพเกิดขึ้นเว้นจากภาวะคือ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ เพราะในกามภพเกิดพร้อมกับภาวะ เว้นแต่ปฏิสนธิของบัณเฑาะก์โดยกำเนิด.

คำว่า และในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่าง นั้น ความว่า ในวิญญาณแม้เหล่านั้น วิญญาณมีภาวะ ๒ อย่าง โดยการเกิดพร้อมกันแห่งอิตถีภาวะ หรือปุริสภาวะอย่างใดนั่นแหละ.

คำว่า มี ๒ ทสกะบ้าง มี ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำเกิดพร้อมกับวิญญาณที่ระคนกับรูปที่เป็นเบื้องต้น ความว่า ในวิญญาณเหล่านั้น วิญญาณ ๒ อย่าง คือ วิญญาณที่ระคนกับรูป และไม่ระคนกับรูป ปฏิสนธิวิญญาณที่ระคนกับรูปอันเป็นเบื้องต้นนี้ใด เกิดพร้อมกัน ๒ ทสกะ คือ กายทสกะและวัตถุทสกะ หรือ ๓ ทสกะ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ เป็นอย่างต่ำไม่มีรูปลดลงกว่านั้น.

ก็ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น มีกำหนดรูปอย่างต่ำอย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติได้การนับว่าเป็นกลละ มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาใสที่ปลายขนเส้นหนึ่งแห่งเนื้อทราย ในกำเนิดทั้ง ๒ อันมีชื่อว่า อัณฑชะ และชลาพุชะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งการเกิดขึ้นกำเนิดเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งคติของกำเนิดทั้งหลาย.

จริงอยู่ บรรดาการเกิดด้วยสามารถแห่งคติเหล่านั้น

นิรเย ภุมฺมวชฺเชสุ เทเวสุ จ น โยนิโย

ติสฺโส ปุริมิกา โหนฺติ จตสฺโสปิ คติตฺตเย

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 503

กำเนิด ๓ ข้างต้น (๑) ย่อมไม่มีในนรก และไม่มีในพวกเทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา กำเนิด ๔ ย่อมมีในคติ ๓.

ในคาถานั้น ด้วย จ ศัพท์ ในบทว่า เทเวสุ จ นี้ กำเนิด ๓ ข้างต้น พึงทราบว่า ไม่มีในนิชฌามตัณหิกเปรต เหมือนไม่มีในนรกและในเทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นโอปปาติกะกำเนิดอย่างเดียว แต่กำเนิด ๔ มีในคติ ๓ ที่เหลือกล่าวคือสัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัย และมนุษย์ และพวกภุมมเทวดาที่เว้นไว้ในเบื้องต้น.

บรรดากำเนิดเหล่านั้น

ในรูปพรหม ย่อมเกิดรูป ๓๙ กลาป ในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด ย่อมเกิดรูป ๗๐ กลาป โดยกำหนดอย่างสูง หรืออย่างต่ำมี ๓๐ กลาป.

ในรูปพรหมซึ่งกำเนิดเป็นโอปปาติกะก่อน รูป ๓๙ กลาป ย่อมเกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณด้วยสามารถแห่งกลาป ๔ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และชีวิตนวกะ. ส่วนในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิดเหล่าอื่นเว้นพวกรูปพรหม ย่อมได้รูป ๗๐ กลาปอย่างสูง ด้วยอำนาจแห่งจักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ และ วัตถุทสกะ และรูป ๗๐ กลาปเหล่านั้น ย่อมเกิดในพวกเทพเป็นนิตย์ ในรูปที่เป็นทสกะเหล่านั้น กองรูป ๑๐ เหล่านั้น คือ วรรณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑


(๑) ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 504

โอชา ๑ และธาตุ ๔ (คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม) จักขุประสาท ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ ชื่อว่า จักขุทสกะ โสตทสกะเป็นต้น ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.

อนึ่ง กำหนดอย่างต่ำ รูป ๓๐ กลาป ย่อมเกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ด้วยสามารถแห่งชิวหาทสกะ กายทสกะ วัตถุทสกะ แก่บุคคลผู้บอด หนวกแต่กำเนิด ผู้ไม่มีฆานประสาท และผู้เป็นนปุงสกะมาแต่กำเนิด. บัณฑิตพึงทราบการกำหนด โดยสมควรในระหว่างรูปที่กำหนดอย่างสูง และอย่างต่ำ ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว

พึงกำหนดรู้ธรรมพิเศษแห่งความต่างกันและไม่ต่างกันของจุติ และปฏิสนธิ โดยขันธ์ โดยอารมณ์ โดยคติ โดยเหตุ โดยเวทนา โดยปีติ โดยวิตก และโดยวิจาร ต่อไป.

อธิบายว่า ก็ปฏิสนธิจิต ๒ อย่าง โดยระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วย รูปอันใดนี้ และจุติในลำดับแห่งอดีตแห่งปฏิสนธินั้นอันใด บัณฑิตพึงทราบธรรมพิเศษแห่งความต่างกันและไม่ต่างกันแห่งจุติและปฏิสนธิเหล่านั้น โดยขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น อย่างไร?

คือ บางคราว ขันธ์เท่านั้นเป็นปฏิสนธิโดยไม่ต่างกันแม้โดยอารมณ์ ต่อจากจุติในอรูปภูมิซึ่งมีขันธ์ ๔ บางคราว เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิมีอารมณ์เป็นมหัคคตะและอารมณ์ภายใน ต่อจากจุติที่มี อารมณ์มิใช่มหัคคตะและมีอารมณ์ภายนอก. นี้เป็นนัยในอรูปภูมิอย่างเดียวก่อน. อนึ่ง ในบางคราว ขันธ์ ๕ เป็นกามาวจรปฏิสนธิต่อจากจุติในอรูปภูมิซึ่งมีขันธ์ ๔. ในบางคราว อรูปขันธ์ ๔ เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิ ต่อจากจุติในกามาวจรหรือจุติในรูปาวจรที่มีขันธ์ ๕. ด้วยอาการอย่างนี้ ปฏิสนธิก็มี

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 505

อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิในทุคติบางอย่างต่อจากจุติในสุคติภูมิบางอย่าง. ปฏิสนธิที่เป็นสเหตุกะต่อจากจุติที่เป็นอเหตุกะ. ปฏิสนธิที่เป็นติเหตุกะต่อจากจุติที่เป็นทุเหตุกะ. ปฏิสนธิที่เป็นโสมนัสสสหคตะต่อจากจุติที่เป็นอุเบกขาสหคตะ. ปฏิสนธิที่มีปีติต่อจากจุติที่ไม่มีปีติ. ปฏิสนธิที่มีวิตกต่อจากจุติที่ไม่มีวิตก. ปฏิสนธิที่เป็นมีวิจาร (สวิจาร) ต่อจากจุติที่ไม่มีวิจาร. ปฏิสนธิที่มีวิตกและมีวิจารต่อจากจุติที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงประกอบตามควรโดยตรงกันข้ามกับวิญญาณนั้นๆ เถิด.

ลทฺธปฺปจฺจยมิติ ธมฺม มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ

นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุํ วินา โหติ

วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัยอันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณนั้นจึงไม่มีการเคลื่อนไปจากภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หาปรากฏไม่.

จริงอยู่ วิญญาณนี้มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและอรูป เมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้นจึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับแห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ตามที่ปรากฏต่อไป.

ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ

ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปกติ หรือโดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ต่อความกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนา

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 506

อันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ซึ่งใครๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา ครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภอารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณหาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลายซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อมเป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.

อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้นเหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.

สิยุํ นิทสฺสนาเนตฺถ ปฏิโฆสาทิกา อถ

สนฺตานพนฺธโต นตฺถิ เอกตา นาปิ นานตา

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 507

เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ก็เสียงสะท้อนนั้น มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน มิใช่เป็นเสียงต่างกัน (กับเสียงเดิม) เพราะเนื่องกันด้วยความสืบต่อ.

ก็ธรรมที่จำแนกโดยเสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และเงาพึงเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องนี้ คือ ในการที่วิญญาณนี้ไม่มาในภพนี้แต่ภพก่อน และความที่วิญญาณนี้เกิดขึ้นเหตุที่นับเนื่องด้วยอดีตภพ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า เสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และเงา มีเหตุมาแต่เสียงเป็นเบื้องต้น มิได้แยกกันไปในที่ใด ฉันใด จิตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ในฐานะนี้ จิตนี้มิใช่เป็นดวงเดียวกัน ทั้งมิใช่ต่างกัน เพราะเนื่องกันโดยความสืบต่อ จริงอยู่ ถ้าว่า เมื่อมีความเนื่องกันด้วยความสืบต่อ ความเป็นอย่างเดียวกัน พึงมีโดยส่วนเดียวไซร้ นมส้ม ก็ไม่พึงเกิดแต่นม ก็ถ้าว่า ความต่างกันพึงมีโดยส่วนเดียวไซร้ นมส้มก็ไม่พึงมีเพราะนมสดเป็นใหญ่. ในเหตุที่เกิดขึ้นแห่งเหตุทั้งหมดก็นัยนี้. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะพึงเป็นการตัดโวหารแห่งโลกทั้งหมดไปเสีย และการตัดโวหารของโลกทั้งหมดนั้น ไม่น่าปรารถนา เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ ไม่ควรเข้าใกล้ความเป็นอันเดียวกัน หรือความต่างกันโดยส่วนเดียวกัน ฉะนี้แล.

ก็ในอธิการนี้ หากมีผู้ถามว่า เมื่อความไม่เคลื่อนไปในภพหน้าและความปรากฏมีอยู่อย่างนี้ เหตุที่ขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับแล้ว และเหตุที่กรรมอันเป็นปัจจัยแก่ผล มิได้เป็นไปในที่เกิดผลนั้น ผลนั้นพึงมีแก่บุคคลอื่นและพึงมีแต่กรรมอื่น

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 508

มิใช่หรือ. ก็เมื่อผู้เข้าไปเสวยไม่มีอยู่ ผลนั้นพึงมีแก่ใคร. "เพราะฉะนั้น วิธีนี้ไม่ดี" ในข้อนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถานี้ไว้ว่า

สนฺตาเน ยํ ผลํ เอตํ นาญฺสฺส น จ อญฺโต

พีชานํ อภิสงฺขาโร เอตสฺสตฺถสฺส สาธโก

ผลใดในความสืบต่อ ผลนี้มิใช่มีแก่บุคคลอื่น และมิใช่มีแต่กรรมอื่น สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลายเป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้.

จริงอยู่ ผลเมื่อเกิดขึ้นในความสืบต่ออันเดียวกัน เพราะความที่เป็นอันเดียวกันและความต่างกัน สำเร็จเฉพาะได้โดยส่วนเดียวในผลนั้น จึงไม่มีว่ามีแก่บุคคลอื่นหรือแต่กรรมอื่น ก็สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลายเป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้ เพราะเมื่อบุคคลปลูกพืชมีมะม่วงเป็นต้น ผลพิเศษในกาลอื่นได้ปัจจัยในการสืบต่อแห่งพืชนั้นๆ เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดแก่พืชอื่น ย่อมไม่เกิดแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอื่น. อนึ่ง พืชเหล่านั้น หรือเครื่องปรุงแต่งนั้น ย่อมไม่ถึงฐานะเป็นผลได้ พึงทราบอุปไมยนี้ ฉันนั้น และพึงทราบเนื้อความนี้ ด้วยวิชชา ศิลปะ และโอสถเป็นต้น ที่ใช้ประกอบในร่างกายเด็ก อำนวยผลให้ร่างกายเติบโตเป็นต้นในกาลอื่น. และคำที่กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้เข้าไปเสวย ผลนี้พึงมีแก่แก่ใคร. ในข้อนั้น

การสมมติกันว่าผู้เสวยสำเร็จได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผล เหมือนกับการสมมติว่า ต้นไม้ย่อมมีผล เพราะการเกิดขึ้นแห่งผล ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 509

เหมือนอย่างว่า ต้นไม้ชาวโลกเรียกว่า ผลิผลหรือออกผลแล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่เรียกว่าต้นไม้นั้นแหละ ฉันใด เทวดาหรือมนุษย์ ท่านก็เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวย หรือเรียกว่า ผู้มีสุข ผู้มีทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขและทุกข์ ที่นับว่าเป็นสิ่งที่เข้าไปเสวยอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือเทวดาและมนุษย์ ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มีเนื้อความอะไรๆ ด้วยบุคคลอื่นที่ชื่อว่า ผู้เข้าไปเสวย ดังนี้.

แม้บุคคลใดจะพึงพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตามไม่มีอยู่ก็ตาม ก็พึงเป็นปัจจัยแก่ผลได้ ก็ผิว่าสังขารที่มีอยู่ วิบากก็พึงมีแก่สังขารเหล่านั้นในขณะแห่งความเป็นไป ก็ถ้าสังขารเหล่านั้นไม่มีอยู่ ก็จะพึงนำมาซึ่งผลเป็นนิตย์ทั้งก่อนและหลัง แต่ความเป็นไป. ปัญหากรรมนั้น พึงตอบอย่างนี้

สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัย เพราะเป็นผู้ทำ แต่มิใช่จะนำผลมาให้เป็นนิตย์ ในข้อนั้นพึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็นอุทาหรณ์.

จริงอยู่ สังขารทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะเป็นผู้กระทำกรรม มิใช่เพราะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า "จักขุวิญญาณอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว" และเป็นปัจจัยแก่ผลของตนตามควร มิใช่นำผลมาให้ซ้ำซาก เพราะมีวิบากอันให้ผลแล้ว. ก็ในความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้ พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 510

เหมือนอย่างว่า นายประกันคนใดคนหนึ่งให้โลก เพื่อมอบคืนประโยชน์แก่ใครบางคน ย่อมซื้อสินค้าบ้าง ย่อมเป็นหนี้ (ซื้อเชื่อ) บ้าง การกระทำกิริยานั้นของนายประกันนั้นนั่นเองย่อมเป็นปัจจัยในการมอบคืนประโยชน์นั้น มิใช่กิริยามีอยู่หรือไม่มี. เขาย่อมไม่ยอมเป็นลูกหนี้แม้เกินกว่าการมอบคืนประโยชน์เป็นต้นนั้น เพราะเหตุไร? เพราะความมอบคืนเป็นต้นตนกระทำไว้แล้ว ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะตนกระทำ และย่อมไม่นำผลแม้เกินกว่าการอำนวยผลตามควรแล.

ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งปฏิสนธิวิญญาณที่กำลังเป็นไปทั้ง ๒ อย่าง ด้วยสามารถธรรมที่ระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วยรูป เพราะสังขารเป็นปัจจัย.

บัดนี้ เพื่อป้องกันความหลงลืมในวิญญาณ ๓๒ ดวง เหล่านั้นทั้งหมดนั้นแหละ

บัณฑิตพึงทราบสังขารเหล่านั้นว่าเป็นปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใด และเป็นปัจจัยโดยประการใด ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล ในที่ทั้งหลายมีภพเป็นต้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ชื่อว่า ภพ เป็นต้น. ในภพเป็นต้นเหล่านั้น สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณเหล่าใด และสังขารเหล่านั้น เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล โดยประการใด บัณฑิตพึงทราบโดยประการนั้น.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 511

ว่าด้วยปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย

บรรดาสังขารเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสังขารก่อน

ปุญญาภิสังขารที่จำแนกเป็นเจตนา ๘ ในกามาวจร เป็นปัจจัย ๒ อย่าง คือ โดยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน (นานักขณิกกรรมปัจจัย) และโดยอุปนิสสยปัจจัย แก่วิปากวิญญาณ ๙ ในปฏิสนธิกามภพสุคติภูมิโดยไม่ต่างกัน. ปุญญาภิสังขารที่จำแนกเป็นกุศลเจตนา ๕ ในรูปาวจร ก็เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญาณ ๕ ในปฏิสนธิในรูปภพเหมือนกัน. แต่ปุญญาภิสังขารที่เป็นกามาวจรมีประเภทตามที่กล่าวแล้วเป็นปัจจัย ๒ อย่างแก่ปริตตวิปากวิญญาณ ๗ เว้นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ในกามภพสุคติภูมิ ในปวัตติกาล มิใช่ปฏิสนธิกาล. ปุญญาภิสังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๕ ในรูปภพอย่างนั้นเหมือนกัน.

ก็ในกามภพทุคติภูมิ ก็เป็นปัจจัยแก่ปริตตวิปากวิญญาณทั้ง ๘ ในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล อย่างนั้นเหมือนกัน. ในกามภพทุคติภูมินั้น ปุญญาภิสังขารนั้นเป็นปัจจัย ด้วยการประสบอิฏฐารมณ์ในนรก ในคราวเที่ยวไปในนรกเป็นต้นของพระมหาโมคคัลลานเถระ. แต่อิฏฐารมณ์ย่อมได้ในพวกสัตว์เดรัจฉาน และในพวกนาค สุบรรณ (ครุฑ) และเปรตผู้มีฤทธิ์มากทีเดียว. ปุญญาภิสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาล แก่กุศลวิปากวิญญาณทั้ง ๑๖ ดวง ในกามภพสุคติภูมิ. ว่าโดยไม่แปลกกัน ปุญญาภิสังขาร เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๐ ดวง ในรูปภพอย่างนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 512

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย

อปุญญาภิสังขาร จำแนกเป็นอกุศลเจตนา ๑๒ เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล ไม่เป็นปัจจัยในปวัตติกาล แก่วิญญาณ ๑ ดวง ในกามทุคติภูมิเหมือนกันนั่นแหละ, เป็นปัจจัยในปวัตติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล แก่วิญญาณ ๖ ดวง, เป็นปัจจัยทั้งในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลเหมือนอย่างนั้นแหละแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวง. แต่ในกามสุคติภูมิ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาลแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวงเหล่านั้นเหมือนกันนั่นแหละ. เป็นปัจจัยในปวัตติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล อย่างนั้นแหละแก่วิญญาณ ๔ ดวง ในรูปภพ. ก็อปุญญาภิสังขารนั้นแล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณในกามาวจร ด้วยอำนาจการเห็นรูป ฟังเสียงอันไม่น่าปรารถนาเป็นต้น แต่ในพรหมโลก ชื่อว่า รูปเป็นต้นที่ไม่น่าปรารถนา มิได้มี. แม้ในกามาวจรเทวโลกก็ไม่มีรูปเป็นต้น ที่ไม่น่าปรารถนาเหมือนกัน.

ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัย

ก็อาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัยเหมือนกันนั่นแหละแก่วิปากวิญญาณ ๔ ดวงทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล ในอรูปภพ.

ว่าด้วยกายสังขาร ๒๐ ดวงเป็นปัจจัย (๑)

อนึ่ง ว่าโดยกุศลและอกุศลในกามาวจร กายสังขารแม้ที่จำแนกเป็นเจตนา ๒๐ อย่าง โดยสัพพสังคาหิกนัย เป็นปัจจัย ๒ อย่าง คือด้วยกรรมปัจจัยที่


(๑) ได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ ดวง อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 513

เกิดต่างขณะกัน และด้วยอุปนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๐ ดวง ในกามภพ. กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกันในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวง ในกามภพ แก่วิปากวิญญาณ ๙ ดวง ในรูปภพ. กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยเหมือน อย่างนั้นทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวง ในกามภพ. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยจิตตสังขาร ๒๙ ดวง เป็นปัจจัย

ส่วนจิตตสังขารที่จำแนกเป็นเจตนา ๒๙ อย่าง เป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นแหละในปฏิสนธิกาล มิใช่ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงในภพทั้ง ๓. จิตตสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาลมิใช่ปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๒ ดวง คือ แก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวง ในกามภพ และแก่วิปากวิญญาณ ๙ ดวง ในรูปภพ ตามที่กล่าวมาแล้วในภพทั้งสอง อนึ่ง จิตตสังขารนั้น เป็นปัจจัยอย่างนั้นแหละทั้งในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล แก่วิปาก วิญญาณ ๓๒ ดวง ในภพ ๓

บัณฑิตพึงเข้าใจสังขารเหล่านั้นว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใด และเป็นปัจจัยโดยประการใดนั้น ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลในภพทั้งหลายอย่างนี้ก่อน. แม้ในกำเนิด เป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน

ว่าด้วยสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ

ในนิเทศแห่งสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น คำที่ประกาศพอเป็นหัวข้อตั้งแต่ต้นมีดังนี้ ก็บรรดาสังขารเหล่านี้ ปุญญาภิสังขาร อำนวยปฏิสนธิ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 514

ให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในภพทั้ง ๒ ก่อน ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนเหมือนกันในกำเนิด ๔ มีอัณฑชะเป็นต้น ในคติ ๒ กล่าวคือ เทวคติและมนุษยคติ ในวิญญาณฐิติ ๔ กล่าวคือผู้มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน ๑ มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ ด้วยอำนาจแห่งมนุษย์ทั้งหลาย และในปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ แต่ในอสัญญสัตตาวาส ปุญญาภิสังขารนี้ย่อมปรุงแต่งเพียงแต่รูปเท่านั้น ฉะนั้น จึงอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในสัตตาวาส ๔ (เหมือนวิญญาณฐิติ) นั้นแหละ. เพราะฉะนั้น ปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาน ๒๑ ดวง ตามควรแก่การเกิดขึ้นในภพ ๒ กำเนิด ๔ คติ ๒ วิญญาณฐิติ ๔ และสัตตาวาส ๔ เหล่านั้น โดยนัยตามที่กล่าวนั่นแล.

อนึ่ง อปุญญาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในกามภพ ๑ เท่านั้น ในกำเนิด ๔ ในคติ ๓ ที่เหลือ (๑) ในวิญญาณฐิติ ๑ คือที่มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน และในสัตตาวาส ๑ เช่นเดียวกับวิญญาณฐิตินั้นแหละ เพราะฉะนั้น อปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาลแก่วิปากวิญญาน ๗ ในภพ ๑ กำเนิด ๔ คติ ๓ วิญญาณฐิติ ๑ และในสัตตาวาส ๑ โดยนัยที่กล่าวนั่นแหละ.

แต่ อาเนญชาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในอรูปภพ ๑ ในโอปปาติกะกำเนิด ๑ ในเทวคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓ มี อากาสานัญจายตนะเป็นต้น (๒) ในสัตตาวาส ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น (๓) เพราะฉะนั้น


(๑) นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต

(๒) คือ สัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ๑ วิญญาณัญจายตนะ ๑ อากิญจัญญายตนะ ๑

(๓) ผู้เข้าถึงอรูปภพ ๔

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 515

อาเนญชาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัย ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล แก่วิญญาณ ๔ ดวง ในภพ ๑ เท่านั้น ในกำเนิด ๑ ในคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓ ในสัตตาวาส ๔ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

แม้กายสังขาร ก็ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้วิบากของตนทั้งหมดเกิดขึ้น ในกามภพ ๑ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒ เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้น จึงเป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละทั้งใน ปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวง ในภพ ๑ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนจิตตสังขาร เว้นสัตตาวาส (อสัญญีสัตว์) อย่างเดียว จะไม่ให้ผลในที่ไหนๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จิตตสังขารนี้จึงเป็นเหมือนกันนั่นแหละทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณทั้ง ๓๒ ดวง ตามควรในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และในสัตตาวาส ๘. อนึ่ง ในสัตตาวาสที่ไม่มีวิญญาณ วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

อีกอย่างหนึ่ง ปุญญาภิสังขาร เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายในพวกอสัญญีสัตว์ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยประการฉะนี้แล

บัณฑิตพึงทราบสังขารเหล่านั้นเป็นปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใด และเป็นโดยประการใด ด้วยอำนาจปฏิสนธิสนธิกาล และปวัตติกาล ในฐานะทั้งหลาย มีภพเป็นต้น.

นิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ จบ

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 516

ว่าด้วยนิเทศแห่งนามรูป

(บาลีข้อ ๒๕๙)

ในนิเทศนามแห่งรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย โดยประเภทเทศนา โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหมดมีภพเป็นต้น โดยสงเคราะห์ และโดยนัยแห่งปัจจัย.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทเทศนา

ข้อว่า โดยประเภทเทศนา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาถึงบทว่า รูป ให้เป็นเช่นเดียวกันก่อน โดยไม่ต่างกัน ทั้งในพระสูตรและในนามรูปนิเทศ (พระอภิธรรม) นี้อย่างนี้ว่า ตตฺถ กตมํ รูปํ. จตฺตาโร จ มหาภูตา จตุนฺนญฺจ มหาภูตานํ อุปาทายรูปํ ในนามและรูปเหล่านั้น รูปเป็นไฉน? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔. แต่บทว่า นาม ทรงกระทำเทศนาไว้ต่างกัน เพราะในพระสูตร ตรัสไว้ว่า ในนามและรูปนั้น นามเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ. ในนามรูปนิเทศนี้ตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ด้วยว่า ในพระสูตรนั้น นามแม้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุวิญญาณเป็นปัจจัย และนามใดที่เกิดแล้ว เมื่อจะทรงแสดงนามนั้นที่ปรากฏโดยความไม่ควรถือเอาโดยอาศัยร่วมกับธรรมอื่นอย่างนี้ว่า "ความตั้งอยู่แห่งจิตเป็นอายุของอรูปธรรมทั้งหลาย" ดังนี้ จึงทรงแสดงจำแนกสังขารขันธ์โดย ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งเจตนา ผัสสะ

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 517

มนสิการพร้อมกับขันธ์ ๒ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์). แต่ในพระอภิธรรม (นามรูปนิเทศ) นี้ เมื่อจะทรงสงเคราะห์นามทั้งหมดที่ตรัสแล้วก็ดี ยังมิได้ตรัสก็ดี ในพระสูตรนั้น จึงตรัสว่า ตโย ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ สญฺญากฺขนฺโธ สงฺขารกฺขนฺโธ ขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ดังนี้.

ถามว่า ก็ขันธ์ ๓ เหล่านี้เท่านั้นชื่อว่าเป็นนาม วิญญาณไม่ชื่อว่าเป็นนามหรือ?.

ตอบว่า วิญญาณมิใช่ไม่เป็นนาม แต่เมื่อถือเอาวิญญาณนั้น วิญญาณทั้ง ๒ คือ วิญญาณซึ่งเป็นนาน วิญญาณที่เป็นปัจจัย ก็จะปรากฏรวมกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ ๓ เพื่อทรงแสดงนามที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเว้นวิญญาณไว้ในฐานะเป็นปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทแห่งเทศนา ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความเป็นไปในฐานะทั้งหมดมีภพเป็นต้น

ก็ในข้อว่า โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหมดมีภพเป็นต้น นี้อธิบายว่า ยกเว้นสัตตาวาส (อสัญญสัตตภูมิ) หนึ่งแล้ว นามย่อมเป็นไปในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาสที่เหลือทั้งปวง. รูปย่อมเป็นไปในภพ ๒ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๔ ข้างต้น และสัตตาวาส ๕ ข้างต้น. เมื่อนามและรูปนี้เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็เพราะในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกะที่ไม่มีภาวะ และอัณฑชะ สันติรูปที่เป็นประธาน ๒ อย่างโดยรูปด้วยอำนาจแห่งวัตถุและกาย (ทสกะ) และอรูปขันธ์ ๓ ย่อมปรากฏฉะนั้น ว่าโดยพิสดารของสัตว์เหล่านั้น ธรรม ๒๓ ทั้งรูปและอรูปเหล่านี้ คือธรรม (ที่เป็นรูป)

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 518

๒๐ ขันธ์ที่เป็นอรูป ๓ เหล่านี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญานเป็นปัจจัย" ดังนี้.

แต่เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอา (นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน) ก็ได้ธรรม ๑๔ โดยตัดเอารูปธรรม ๙ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานหนึ่ง สำหรับสัตว์ผู้มีภาวะก็เพิ่มภาวทสกะเข้าไปเป็นธรรม ๓๓. อนึ่ง เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอาของสัตว์แม้เหล่านั้น ก็ได้ธรรม ๑๕ โดยนำรูปธรรม ๑๘ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานทั้ง ๒. ก็เพราะในขณะของปฏิสนธิของรูปพรหมเป็นต้นในสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะกำเนิดย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน ๔ โดยเป็นรูปรูป (๑) ด้วยอำนาจแห่งจักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และชีวิตินทริยนวกะ และอรูปขันธ์ ๓ ฉะนั้น เมื่อว่าโดยพิสดารของกำเนิดเหล่านั้น ธรรม ๒ คือรูปธรรม ๓๙ โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ นี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย" ดังนี้ แต่เมื่อว่าโดยสภาวะที่ถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีกก็จะได้ธรรม ๑๕ อย่าง โดยนำเอารูปธรรม ๒๗ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานทั้ง ๓. ก็เพราะในกามภพ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกะที่เหลือ หรือสังเสทชะผู้มีภาวะและอายตนะบริบูรณ์ ย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน ๗ โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ เพราะฉะนั้น ว่าโดยพิสดารแห่งธรรมเหล่านั้น ก็ได้ธรรม ๗๓ เหล่านั้น คือ (รูป) ธรรม ๗๐ โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ เหล่านั้น พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย" แต่เมื่อว่าโดยการถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก ก็ได้ธรรม ๑๙ โดยนำธรรม ๕๔ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธาน ๖. นี้ว่าโดยอุกฤษฏ์ (ว่าโดยกำหนดอย่างสูงสุด).


(๑) รูปรูป คือ รูปที่มีสภาวะพึงแตกสลาย (ผู้แปล)

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 519

แต่เมื่อว่าโดยกำหนดอย่างต่ำ บัณฑิตพึงลดจำนวนแห่งธรรมคือสันตติรูปที่เป็นประธานอันบกพร่องนั้นๆ ด้วยสามารถแห่งสัตว์นั้นๆ แล้ว ทราบธรรม กล่าวคือ นามรูปเกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร. ส่วนอรูปพรหม มีอรูปขันธ์ ๓ เกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัย สำหรับอสัญญีสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตินทริยนวกะ (ชีวิตินทรีย์ ๙ กลาป) โดยรูปอย่างเดียวแล. นี้เป็นนัยในปฏิสนธิกาล ก่อน.

ส่วนในปวัตติกาล สุทธัฏฐกะ (อวินิโภครูป ๘ ล้วน) ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ย่อมปรากฏจากอุตุที่เป็นไปกับปฏิสนธิจิตในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นส่วนที่เป็นไปแห่งรูปทั้งหมด แต่ว่า ปฏิสนธิจิตย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้. ก็ปฏิสนธิจิตนั้นไม่อาจเพื่อยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ เพราะความที่วัตถุมีกำลังอ่อน เหมือนบุรุษตกลงไปในเหวไม่สามารถจะช่วยเหลือคนอื่นได้ฉะนั้น. แต่เมื่อพ้นปฏิสนธิจิตไปแล้ว จำเดิมแต่ปฐมภวังค์ สุทธัฏฐกรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ตั้งขึ้น. ในกาลปรากฏแห่งเสียง พ้นปฏิสนธิจิตไปแล้ว ย่อมปรากฏเป็นสัททนวกรูปจากอุตุชรูปที่เป็นไป และจากจิต. คัพภไสยกสัตว์เหล่าใด เป็นอยู่ด้วยกพฬิงการาหาร ในสรีระของสัตว์เหล่านั้น ซึมซาบไปด้วยอาหารที่มารดากลืนกินเข้าไปแล้ว โดยพระบาลีว่า

ก็มารดาของคัพภไสยกสัตว์นั้นย่อมบริโภคข้าวและน้ำอันใด นระผู้อยู่ในครรภ์ของมารดานั้น ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวและน้ำนั้น ในครรภ์นั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 520

สำหรับโอปปาติกกำเนิด ในเวลาที่ตนกลืนเขฬะ (น้ำลาย) เข้าไปในปากคำแรกก่อนสิ่งอื่นทั้งหมด สุทธัฏฐกรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานก็ปรากฏ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยย่อได้แก่ธรรม ๙๙ อย่าง คือ รูป ๒๖ ด้วยสามารถแห่งสุทธัฏฐกรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน และนวกรูปทั้งสองโดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์แห่งรูปที่มีอุตุและจิตเป็นสมุฏฐาน และรูป ๗๐ อย่าง ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเกิดขึ้นสามครั้งในขณะแห่งจิตแต่ละดวงอันกล่าวแล้วในเบื้องต้น รวมเป็นรูป ๙๖ อย่าง และอรูปขันธ์ ๓. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสียงไม่แน่นอนปรากฏในกาลบางครั้งบางคราวฉะนั้น นำเสียงทั้ง ๒ นั้นออกแล้ว ธรรม ๙๗ เหล่านั้น พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายตามที่เกิดขึ้น.

ก็ธรรม (ทั้งรูปและอรูป) เหล่านั้น ย่อมเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยแก่สัตว์เหล่านั้นผู้ประมาทบ้าง ผู้กำลังท่องเที่ยวบ้าง ผู้กำลังเคี้ยวกินบ้าง ผู้กำลังดื่มบ้าง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. และความที่วิญญาณเป็นปัจจัย แก่รูปเหล่า นั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาข้างหน้า.

อนึ่ง ในอธิการนี้ กรรมชรูปนี้ใด แม้ดำรงอยู่ครั้งแรกในที่ทั้งปวง คือในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาส อันสมุฏฐานิกรูปทั้ง ๓ ไม่อุปถัมภ์แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ได้ แม้สมุฏฐานิกรูปทั้ง ๓ นั้น อันกรรมชรูปนั้นไม่อุปถัมภ์แล้วก็ดำรงอยู่ไม่ได้ โดยที่แท้ รูปเหล่านั้นต่างก็อุปถัมภ์ซึ่งกันและกันไม่ให้ตกไป จึงดำรงอยู่ได้ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ฯลฯ ๑๐๐ ปีบ้าง จนถึงสิ้นอายุหรือสิ้นบุญของสัตว์เหล่านั้นไป เหมือนกลุ่มอ้อเป็นต้นที่เกี่ยวเกาะกันทั้ง ๔ ทิศ ถูกลมพัดแล้วก็ยังเป็นอยู่ได้ หรือเปรียบเหมือนคนมีพาหนะคือเรืออับปางได้ที่พึ่งบางแห่งในมหาสมุทรแล้ว แม้ถูกกำลังคลื่น

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 521

ซัดแล้ว ก็ยังเป็นอยู่ได้ฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้ โดยความเป็นไป ในฐานะทั้งหมดมีภพเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสงเคราะห์

ก็ในข้อว่า โดยสงเคราะห์ นี้อธิบายว่า บัณฑิตพึงสงเคราะห์ โดยสรูปเสสนัยแห่งเอกเทศอย่างนี้ว่า นามอย่างเดียวอันใดเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาลในอรูปภพ และในปวัตติกาล ในปัญจโวการภพ และรูปอย่างเดียวอันใดเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลทั้งหมดในพวกอสัญญีภพ และในปวัตติกาลในปัญจโวการภพ และนามรูปอันใดที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในกาลทั้งหมดในปัญจโวการภพ นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วย ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า นามรูป ดังนี้ แล้วทราบว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

หากมีผู้สงสัย ถามว่า เพราะความที่อสัญญีสัตว์ไม่มีวิญญาณ วิญญาณจึงไม่ควรหรือ.

ตอบว่า ไม่ควร หามิได้.

จริงอยู่ วิญญาณนี้ (ท่านกล่าวไว้ว่า)

นามรูปสฺส ยํ เหตุ วิญฺญาณนฺตํ ทฺวิธา มตํ

วิปากมวิปากญฺจ ยุตฺตเมว ตโต อิทํ

วิญญาณนั้น เป็นเหตุแห่งนามรูป วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ ๒ อย่าง คือ วิญญาณที่เป็นวิบาก และวิญญาณที่ไม่เป็นวิบาก วิญญาณนี้ จึงควรเป็นปัจจัยแก่รูปในอสัญญีภพนั้นทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 522

จริงอยู่ วิญญาณใดเป็นเหตุแห่งนามรูป วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ ๒ อย่างโดยแยกเป็นวิบากและไม่เป็นวิบาก และในอสัญญีสัตว์ทั้งหลายก็เกิด เพราะวิญญาณที่เป็นอภิสังขารที่เป็นไปในปัญจโวการภพเป็นปัจจัยเพราะความ ที่รูปเหล่านั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพในปวัตติกาลในขณะแห่งจิตเป็นกุศลเป็นต้น ก็มีกรรมเป็นสมุฏฐานเหมือนกัน เพราะฉะนั้น วิญญาณนี้ จึงสมควรเป็นปัจจัยเหมือนกัน. พึงทราบวินิจฉัยโดยสงเคราะห์ในอธิการนี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยปัจจัย

ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า โดยนัยแห่งปัจจัย นี้ ต่อไป.

นามสฺส ปากวิญฺาณํ นวธา โหติ ปจฺจโย

วตฺถุรูปปสฺส นวธา เสสรูปสฺส อฏฺธา

อภิสัขารวิญฺาณํ โหติ รูปสฺส เอกธา

ตทญฺํ ปน วิญฺาณํ ตสฺส ตสฺส ยถารหํ

วิปากวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม ๙ อย่าง เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูป ๙ อย่าง เป็นปัจจัยแก่รูปที่เหลือ ๘ อย่าง อภิสังขารวิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปอย่างเดียว ส่วนวิญญาณอื่นนอกจากนั้นเป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้นๆ ตามควร.

จริงอยู่ นาม กล่าวคือวิบากในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาลนี้ใด ปฏิสนธิวิญญาณ หรือวิปากวิญญาณอื่น เป็นปัจจัย ๙ อย่าง แก่นามนั้นซึ่ง

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 523

ระคนด้วยรูปบ้าง ไม่ระคนด้วยรูปบ้าง โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตนปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล ๙ ปัจจัย โดย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่รูปที่เหลือ ๘ ปัจจัย เว้นวัตถุรูปแล้วนำอัญญมัญญปัจจัยในปัจจัย ๙ ปัจจัยนี้ออก.

ส่วนอภิสังขารวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่อสัญญสัตตรูป หรือแก่กรรมชรูปในปัญจโวการภพ โดยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย อย่างเดียวเท่านั้น โดยปริยายอันมาในพระสูตร. วิญญาณทั้งหมดที่เหลือจากเดิมแต่ปฐมภวังค์ พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้นๆ ตามควร. อนึ่ง เมื่อจะแสดงนัยแห่งปัจจัยของนามรูปนั้นโดยพิสดาร บัณฑิตก็จะพึงยังปัฏฐานกถาแม้ทั้งหมดให้กว้างขวาง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักยังไม่เริ่มปัฏฐานกถานั้น.

ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า "นามรูปในปฏิสนธิกาลมีวิญญาณเป็นปัจจัย ตอบว่า รู้ได้โดยพระสูตร และโดยยุกติ (ความชอบด้วยเหตุผล) เพราะในพระสูตร ความที่ธรรมมีเวทนาเป็นต้นเป็นปัจจัยสำเร็จแล้วโดยมาก โดยนัยมีอาทิว่า จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา (ธรรมทั้งหลายคล้อยไปตามจิต) ดังนี้ ส่วนโดยยุกติว่า

ความจริง วิญญาณย่อมสำเร็จได้ด้วยจิตตชรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้ วิญญาณก็เป็นปัจจัย แม้แก่รูปที่เห็นไม่ได้แล.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 524

จริงอยู่ เมื่อจิตผ่องใสหรือไม่ผ่องใสก็ตาม รูปทั้งหลายที่ควรแก่จิตนั้น เมื่อเกิดขึ้น วิญญาณจึงเห็น ก็การอนุมาน (คาดคะเน) รูปที่เห็นไม่ได้ ย่อมมีด้วยรูปที่เห็นได้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบทนี้ว่า วิญญาณย่อมเป็นปัจจัยแก่รูปในปฏิสนธิ แม้ที่เห็นไม่ได้ ด้วยจิตตชรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้. จริงอยู่ ความที่รูปในปฏิสนธินั้นแม้มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เหมือนที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ก็มีวิญญาณเป็นปัจจัยมาแล้วในปัฏฐานแล. ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยแห่งปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ในข้อว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ (นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) นี้ ชื่อว่า ทรงประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ที่สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารดาก็ดี พรหมก็ดี หรือว่าใครๆ ในโลกก็ดี เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะบรรดาบัณฑิตเข้าไปใคร่ครวญอยู่ ย่อมเห็นเป็นเพียงนามรูป โดยปรมัตถ์เท่านั้น กำลังเป็นไป หาใช่สัตว์บุคคลไม่ ฉะนี้แล.

นิเทศแห่งนามรูปมีวิญญาณเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศสฬายตนะ

(บาลีข้อ ๒๖๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยต่อไป

นามํ ขนฺธตฺตยํ รูปํ ภูตวตฺถาทิกํ มตํ

กเตกเสสํ ตนฺตสฺส ตาทิสสฺเสว ปจฺจโย

นามได้แก่ขันธ์ ๓ รูปได้แก่รูปที่กล่าวว่า ภูตะ และวัตถุเป็นต้น นามรูปนั้น ท่านทำเอกเสสนัยว่าเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้นเช่นนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 525

จริงอยู่ ในนามรูปที่เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น ขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่า นาม ส่วนรูปที่นับเนื่องด้วยสันตติของตน พึงทราบว่า ท่านเรียกว่า ภูตะและวัตถุ โดยความนิยมอย่างนี้ คือ ภูตรูป ๔ วัตถุรูป ๖ และชีวิตินทรีย์. ก็นามรูปนั้น ท่านทำเอกเสสนัยไว้อย่างนี้ว่า นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วย ชื่อว่า นามรูป. นามรูปนั้น พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะที่ท่านทำเอกเสสนัยอย่างนั้นแหละ ด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ฉฏฺายตนญฺจ สฬายตนญฺจ สฬายตนํ (อายตนะที่ ๖ ด้วย อายตนะ ๖ ด้วย ชื่อว่า สฬายตนะ ดังนี้) เพราะเหตุไร? เพราในอรูปภพ นามอย่างเดียวเป็นปัจจัย และนามนั้นก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ เท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยแก่อายตนะอื่น เพราะในอัพยากตวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นามปจฺจยา ฉฏฺายตนํ (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นามที่ทรงสงเคราะห์ไว้ในทีนี้ พึงทราบว่าทรงจำแนกไว้ในอัพยากตวาระนั้นแล (๑)

ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไรว่า "นามรูป เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะเล่า" ตอบว่า ทราบได้เพราะเมื่อนามรูปมีสฬายตนะก็มี. จริงอยู่ เมื่อนามและรูปนั้นๆ มี อายตนะนั้นๆ ก็ย่อมมี มิใช่เป็นโดยประการอื่น ก็สฬายตนะนั้นมีเพราะความที่นามรูปมีนั้นจักแจ่มแจ้งในนัยแห่งปัจจัยทีเดียว เพราะฉะนั้น

นามรูปใด เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด และเป็นปัจจัยโดยประการใด ในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาล บัณฑิตพึงทราบนามรูปนั้น อายตนะนั้น และโดยประการนั้น.


(๑) อภิ. วิ. เล่ม ๓๕ ๓๗๙/๒๓๕

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 526

ว่าด้วยนามเป็นปัจจัยแก่อายตนะ

บรรดานามรูปที่เป็นปัจจัยนั้น มีอธิบายความดังนี้

ความจริง ว่าโดยการกำหนดอย่างต่ำ นามอย่างเดียวนั้น เป็นปัจจัย ๗ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ ในอรูปภพ ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล.

นามเป็นปัจจัยอย่างไร? คือ ในปฏิสนธิกาล ว่าโดยกำหนดอย่างต่ำก่อน นามเป็นปัจจัย ๗ อย่างแก่อายตนะที่ ๖ โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย อนึ่ง ในปฏิสนธิกาลนี้ ก็มีปัจจัยแม้โดยประการอื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัย ด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัย ด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงทราบการกำหนดปัจจัยอย่างต่ำและอย่างสูง ด้วยสามารถแห่งปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้นเถิด.

แม้ในปวัตติกาล นามคือวิบากเป็นปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน แต่นามนอกนี้ซึ่งมิใช่วิบากเป็นปัจจัย ๖ อย่าง กำหนดอย่างต่ำเว้นวิปากปัจจัย ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว และในปวัตติกาลนั้น ก็มีปัจจัยแม้โดยประการอื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น.

แม้ในภพอื่น นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ ในปฏิสนธิกาลเหมือนอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

งพระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 527

แหละ นามนั้นยังเป็นปัจจัยโดยอาการ ๖ อย่าง แก่อายตนะทั้งหลายนอกจากอายตนะที่ ๖ นี้.

จริงอยู่ แม้ในภพอื่นนอกจากอรูปภพ คือในปัญจโวการภพ นามที่เป็นวิบากนั้น เป็นสหายของหทยวัตถุเป็นปัจจัย ๗ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ คือ มนายตนะ โดยกำหนดอย่างต่ำ เหมือนกล่าวไว้ในอรูปภูมินั้นแหล่ะ. อนึ่ง นามนั้นเป็นสหายกับมหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น นอกจากอายตนะที่ ๖ เป็นโดยอาการ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. ก็ในปฏิสนธิกาลนี้ มีปัจจัยแม้อื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงทราบกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำ ด้วยสามารถแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น.

แม้ในปวัตติกาล นามที่เป็นวิบากก็เป็นปัจจัย แก่อายตนะที่เป็นวิบากเหมือนกัน นามที่ไม่ใช่วิบากก็เป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ ซึ่งมิใช่วิบาก.

จริงอยู่ แม้ในปวัตติกาล ในปัญจโวการภพ นามที่เป็นวิบากก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ ที่เป็นวิบาก โดยกำหนดอย่างต่ำ ๗ ปัจจัย เหมือนในปฏิสนธิกาลนั่นแหละ ส่วนนามที่ไม่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ ที่ไม่เป็นวิบาก โดยกำหนดอย่างต่ำ ๖ ปัจจัย เพราะตัดวิปากปัจจัยออกจากปัจจัยทั้ง ๗ นั้น และในปวัตติกาลนี้ ก็พึงทราบกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 528

ในปวัตติกาลนั้นนั่นแหละ นามที่เป็นวิบากก็เป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะ ๕ ที่เหลือ แม้นามที่ไม่ใช่วิบาก ก็ทรงประกาศไว้เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.

จริงอยู่ ในปวัตติกาลนั้นแหละ นามที่เป็นวิบากอาศัยวัตถุมีจักขุประสาทเป็นต้นบ้าง วัตถุนอกนี้บ้าง เป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะที่เหลือ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น โดยปัจฉาชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย แม้นามที่ไม่เป็นวิบาก ก็ทรงประกาศเหมือนนามที่เป็นวิบากนั่นเอง เพราะฉะนั้น แม้นามอันต่างด้วยกุศลเป็นต้น ก็พึงทราบว่าเป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะ ๕ เหล่านั้น นามอย่างเดียว เป็นปัจจัยแก่อายตนะใดๆ และเป็นโดยประการใด ในปฏิสนธิกาลหรือในปวัตติกาล พึงทราบอายตนะนั้นๆ โดยประการนั้นๆ อย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ

ก็ในอายตนะเหล่านี้ รูปไม่เป็นปัจจัยแม้แก่อายตนะหนึ่งในอรูปภพ แต่เป็นปัจจัยในภพที่มีขันธ์ ๕ ว่าโดยรูป วัตถุรูปในปฏิสนธิกาลเป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ ภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะ ๕ โดยไม่แปลกกัน.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 529

จริงอยู่ ว่าโดยรูป วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ คือมนายตนะ ๖ อย่าง โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิตตปัจจัย. ส่วนภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะแม้ทั้ง ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น โดยสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอายตนะที่เกิดขึ้นนั้นๆ ทั้งในปฏิสนธิ กาลและปวัตติกาล โดยไม่แปลกกัน.

ชีวิตรูปเป็นปัจจัย ๓ อย่าง แก่วัตถุรูปเหล่านี้ และอาหารรูปก็เป็นปัจจัย ๓ อย่าง ในปวัตติกาล อายตนะเหล่านั้น เป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ วัตถุรูปเป็นปัจจัย ๕ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ นั้นนั่นแหล่ะ.

ก็ชีวิตรูป ในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล เป็นปัจจัย ๓ อย่าง แก่วัตถุรูปเหล่านี้ทั้ง ๕ มีจักขุเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และอินทริยปัจจัย.

ก็คำว่า และอาหาร คือ และอาหารก็เป็นปัจจัย ๓ อย่างนั้นแหละ ด้วยอำนาจอัตถิปัจจัย อวิตตปัจจัย อาหารปัจจัย. ก็อาหารนั้นแลเป็นปัจจัยในปวัตติกาลเท่านั้น มิใช่ในปฏิสนธิกาล ในกายที่มีอาหารซึมซาบของสัตว์ผู้มีอาหารเลี้ยงชีพเหล่านั้น. อนึ่ง อายตนะ ๕ มีจักขวายตนะเป็นต้นเหล่านั้น เป็นปัจจัยในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่มนายตนะอันเป็นอายตนะที่ ๖ กล่าวคือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และ

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 530

กายวิญญาณ โดยอาการ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย. ส่วนวัตถุรูป เป็นปัจจัย ๕ อย่าง ในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่มนายตนะที่เหลือ ยกเว้นวิญญาณ ๕ นั้นแล ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย รูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยแก่อายตนะใดๆ ในปฏิสนธิกาล หรือปวัตติกาล และเป็นโดยประการใด พึงทราบโดยประการนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยนามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตะ

ก็นามรูปทั้ง ๒ อันใด เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด และโดยประการใด บัณฑิตพึงทราบนามรูปแม้นั้นและโดยประการนั้น ในที่ทุกแห่ง.

พึงทราบอย่างไร? คือในเบื้องต้น นามรูปกล่าวคือนามขันธ์ ๓ และวัตถุรูปในปฏิสนธิกาลปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ด้วยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัยเป็นต้น. คำที่กล่าวนี้พอเป็นหัวข้อในข้อว่านามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ แต่บุคคลผู้ฉลาดอาจประกอบเนื้อความทั้งหมด โดยทำนองแห่งคำที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่แสดงความพิสดารไว้ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

นิเทศสฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จบ

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 531

ว่าด้วยนิเทศผัสสะ

(บาลีข้อ ๒๖๑)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ต่อไป

ว่าโดยย่อ ผัสสะ ๖ อย่างเท่านั้น มีจักขุสัมผัสเป็นต้น ว่าโดยพิสดาร ผัสสะเหล่านั้นก็มี ๓๒ อย่าง เหมือนวิญญาณ.

จริงอยู่ ว่าโดยย่อ ผัสสะ ๖ อย่างเท่านั้น มีคำอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺโส (จักขุสัมผัส) ดังนี้มาแล้วในบาลี. แต่โดยพิสดาร ผัสสะแม้ทั้งหมดมี ๓๒ อย่าง เหมือนวิญญาณตามที่กล่าว เพราะสังขารเป็นปัจจัยอย่างนี้ คือ ผัสสะทั้งหลายมีจักขุสัมผัสสะเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก ๕ ที่เป็นอกุศลวิบาก ๕ เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็น ๑๐ ผัสสะที่เหลือ ๒๒ ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วยวิปากวิญญาณที่เป็นโลกีย์ ๒๒ แล.

ว่าด้วยสฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ

ก็ในสฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะทั้ง ๓๒ นั้น

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอายตนะภายในมีจักขวายตนะเป็นต้นกับอายตนะที่ ๖ พร้อมกับอายตนะแม้ภายนอก ๖ ว่าชื่อว่า สฬายตนะ.

ในพระบาลีว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย นั้น มีอธิบายว่า บัณฑิตเหล่าใดย่อมแสดงปัจจัยและปัจจยุปบัน (ธรรมที่เกิดเพราะปัจจัย) อันเนื่องด้วยสันตติหนึ่งเท่านั้นว่า นี้เป็นกถาแสดงความเป็นไปแห่งอุปาทินนกสังขาร ดังนี้ก่อน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมปรารถนาอายตนะภายในมี

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 532

จักขวายตนะเป็นต้นกับอายตนะที่ ๖ ว่า ชื่อว่า สฬายตนะ เพราะการทำสรูเปกเสสนัยโดยเอกเทศว่า อายตนะที่ ๖ ในอรูปภพ และอายตนะ ๖ โดยรวมทั้งหมดในที่อื่นเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ. โดยทำนองแห่งพระบาลีว่า ผัสสะเกิดเพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ดังนี้. จริงอยู่ อายตนะนั้น ในเพราะทำบทเหล่านี้ให้เป็นเอกเสสสมาสว่า อายตนะที่ ๖ นั้นด้วย สฬายตนะด้วย ย่อมถึงอันนับว่า สฬายนะ ดังนี้. ส่วนบัณฑิตเหล่าใด ย่อมแสดงปัจจยุปบันนธรรม (ธรรมที่เกิดเพราะปัจจัย) เท่านั้น ว่าเป็นธรรมนับเนื่องด้วยสันตติเดียว แต่แสดงปัจจัยแม้ที่มีสันดานต่างกัน บัณฑิตเหล่านั้น เมื่อแสดงอายตนะทั้งหมดที่เป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้น ก็กำหนดเอาแม้อายตนะภายนอก ย่อมปรารถนาอายตนะภายในนั้นแหละกับอายตนะที่ ๖ พร้อมกับแม้อายตนะภายนอกมีรูปายตนะเป็นต้นว่า สฬายตนะ. เพราะอายตนะภายนอกแม้นั้น ย่อมถึงการนับว่า สฬายตนะเหมือนกัน ในเพราะท่านทำเอกเสสสมาสแห่งบทเหล่านี้ว่า อายตนะที่ ๖ ด้วย สฬายตนะด้วย ชื่อว่า สฬายตนะ ดังนี้.

ในข้อนี้ หากมีผู้ถามว่า ผัสสะหนึ่งย่อมไม่เกิดแต่อายตนะทั้งหมด แม้ผัสสะทั้งหมดก็ย่อมไม่เกิดแต่อายตนะหนึ่ง ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผัสสะนี้เป็นหนึ่งเท่านั้น ด้วยพระดำรัสว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย) ดังนี้ เพราะเหตุไร.

ในปัญหากรรมนี้ มีวิสัชนา ดังนี้ ข้อนี้เป็นความจริง ผัสสะหนึ่งย่อมไม่เกิดแต่อายตนะทั้งหมด หรือผัสสะทั้งหมดย่อมไม่เกิดแต่อายตนะหนึ่ง ก็แต่ว่า ผัสสะหนึ่งย่อมเกิดแต่อายตนะหลายอย่าง เช่นจักขุสัมผัสเกิดแต่จักขวายตนะ แต่รูปายตนะ แต่มนายตนะกล่าวคือจักขุวิญญาณ และแต่ธัมมายตนะที่สัมปยุตตกันที่เหลือ ฉันใด ในผัสสะทั้งปวงก็ฉันนั้น พึงประกอบตามสมควร ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 533

ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ

ผัสสะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่จึงทรงแสดงว่า ผัสสะหนึ่ง มีอายตะเป็นอเนก (หลายอย่าง) เป็นแดนเกิด โดยนิเทศเป็นเอกวจนะในนิเทศว่า ผสฺโส สฬายตนป

จฺจยา นี้.

คำว่า นิเทศเป็นเอกวจนะ นั้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ทรงแสดงว่า ผัสสะหนึ่งย่อมเกิดแต่อายตนะหลายอย่างดังนี้ โดยนิเทศเป็นเอกวจนะนี้ว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย. ส่วนในอายตนะทั้งหลาย (ตรัสว่า)

อายตนะภายใน ๕ เป็นปัจจัย ๖ อย่าง ต่อจากนั้น อายตนะหนึ่ง (มนายตนะ) เป็นปัจจัย ๙ อย่าง และพึงชี้แจงอายตนะภายนอกทั้งหลาย ในความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้ตามที่เกิดขึ้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายดังนี้ อายตนะภายในมีจักขวายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่ผัสสะ ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย แก่ผัสสะ ๕ อย่าง อันต่างโดยผัสสะ ๕ มีจักขุสัมผัสเป็นต้น. เบื้องหน้าแต่นั้น อายตนะหนึ่ง คือมนายตนะที่เป็นวิบาก เป็นปัจจัย ๙ อย่าง แก่มโนสัมผัสที่เป็นวิบากโดยประเภทอเนก ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 534

วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย แต่พึงอธิบายอายตนะภายนอก ๖ ในความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้ ตามที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดาอายตนะภายนอกทั้งหลาย รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุสัมผัส ด้วยอำนาจแห่งอารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย สัททายตนะเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยแก่โสตสัมผัสเป็นต้น เหมือนอย่างนั้น แต่ว่า อายตนะภายนอกเหล่านั้น และธัมมายตนะเป็นปัจจัยแก่มโนสัมผัสโดยประการนั้น และโดยเพียงเป็นอารัมมณปัจจัยเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

นิเทศผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศเวทนา

(บาลีข้อ ๒๖๒)

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ต่อไป

ว่าโดยทวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๖ อย่างเท่านั้น มีเวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้น โดยประเภท เวทนาเหล่านั้น ตรัสไว้ ๘๙ อย่าง.

จริงอยู่ ว่าโดยทวาร เวทนา ๖ อย่างเท่านั้น มีเวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้ในพระบาลีโดยนัยมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชาเวทนา (เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส) ดังนี้ แต่โดยประเภท เวทนาเหล่านั้น พึงทราบว่า มี ๘๙ เพราะสัมปยุตด้วยจิต ๘๙ ดวงแล.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 535

ก็บรรดาเวทนา ๘๙ ประเภทเหล่านี้ ตรัสเวทนาที่ประกอบด้วยวิบากจิต ๓๒ ดวงเท่านั้น ว่าทรงประสงค์เอาในข้อว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา นี้.

ผัสสะเป็นปัจจัย ๘ อย่างแก่เวทนา ๕ ในปัญจทวารนั้น เป็นปัจจัยอย่างเดียวแก่เวทนาที่เหลือ แม้ในมโนทวาร ผัสสะนั้นก็เป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้น.

จริงอยู่ ในปัญจทวารนั้น ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้น เป็นปัจจัย ๘ อย่าง แก่เวทนา ๕ ที่มีจักขุประสาทเป็นต้นเป็นวัตถุที่เกิด ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. ก็ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้นเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แก่กามาวจรวิบากเวทนาที่เหลือ ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ และตทารัมมณะในทวารแต่ละทวาร. ข้อว่า แม้ในมโนทวาร ผัสสะนั้นก็เป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้น ความว่า ผัสสะนั้น คือสหชาตมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ๘ อย่าง เหมือนกันนั่นแหละ แก่กามาวจรวิบากเวทนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งตทารมณ์แม้ในมโนทวาร และเป็นปัจจัย แม้แก่วิบากเวทนาในภูมิ ๓ ที่เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิ ภวังค์และจุติ. อนึ่ง ในมโนทวาร มโนสัมผัสที่สัมปยุตด้วยอาวัชชนะ เป็นปัจจัยอย่างเดียว

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 536

ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แก่กามาวจรเวทนาซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะในมโนทวาร ฉะนี้แล.

นิเทศเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศตัณหา

(บาลีข้อ ๒๖๓)

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ต่อไป

ตัณหา ๖ อย่าง พระองค์ทรงแสดงไว้ในนิเทศนี้ โดยความต่างแห่งรูปตัณหาเป็นต้น ในตัณหา ๖ เหล่านั้น แต่ละตัณหาตรัสไว้ ๓ อย่าง โดยอาการที่เป็นไป.

ก็ในนิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัยนี้ มีอธิบายว่า ตัณหา ๖ อย่างเหล่านั้นพระองค์ทรงแสดงแล้ว คือ ประกาศแล้ว ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่งชื่อโดยอารมณ์ว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ดังนี้ เหมือนบุตรที่เขาประกาศชื่อตามบิดาว่า เสฏฺิปุตฺโต (บุตรเศรษฐี) พฺราหฺมณปุตฺโต (บุตรพราหมณ์) ฉะนั้น. บรรดาตัณหา ๖ เหล่านั้น พึงทราบอรรถแห่งคำโดยนัยนี้ว่า รูเป ตณฺหา รูปตณฺหา ตัณหาในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา ดังนี้.

ว่าด้วยตัณหา ๑๐๘ อย่าง

ก็แล บรรดาตัณหาเหล่านั้น ตัณหาแต่ละอย่าง ตรัสไว้ ๓ อย่างนี้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตามอาการที่เป็นไป จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 537

ในกาลใดรูปตัณหานั่นแหละยินดีรูปารมณ์ที่มาสู่คลองจักษุด้วยอำนาจความยินดีในกามเป็นไป ในกาลนั้นชื่อว่า กามตัณหา ในกาลใดรูปตัณหาเป็นไปพร้อมกับทิฏฐิที่เป็นไปว่า รูปารมณ์นั้นนั่นแหละเที่ยง ยั่งยืน ดังนี้ ในกาลนั้นชื่อว่า ภวตัณหาเพราะราคะเกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ภวตัณหา แต่ในกาลใด รูปตัณหานั้นเป็นพร้อมกับอุจเฉททิฏฐิที่เป็นไปว่า รูปารมณ์นั้นนั่นแหละขาดสูญ ย่อมพินาศ ดังนี้ ในกาลนั้น ชื่อว่า วิภวตัณหา เพราะราคะเกิดร่วมกับอุจเฉททิฏฐิ ตรัสเรียกว่า วิภวตัณหา. แม้ในสัททตัณหาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ตัณหาเหล่านี้ จึงรวมเป็น ๑๘.

ตัณหาเหล่านั้นในรูปภายในเป็นต้นมี ๑๘ อย่าง ในภายนอกมี ๑๘ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงเป็น ตัณหา ๓๖ อย่าง ตัณหาเหล่านั้นเป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ รวมตัณหา ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ตัณหา ๑๐๘ เหล่านั้น เมื่อย่อลง พึงทราบว่าเป็น ตัณหา ๖ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น หรือเป็นตัณหา ๓ เท่านั้น ด้วยอำนาจกามตัณหาเป็นต้น.

ก็เพราะสัตว์เหล่านี้ ยินดีเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจอารมณ์มีรูปเป็นต้น จึงทำสักการะใหญ่แก่จิตรกร (ช่างเขียน) คนธรรพ์ (นักดนตรี) ผู้ปรุงแต่งด้วยของหอม พ่อครัว ช่างทอ และแพทย์ผู้ทำวิธีต่างๆ ให้เกิดความยินดีเป็นต้น อันให้ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยยึดเวทนาว่าเป็นของเรา เหมือนบุคคลผู้รักใคร่บุตรด้วยความยึดถือบุตรเป็นของเรา กระทำสักการะใหญ่แก่นางนม ฉะนั้น ตัณหาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัยแล.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 538

ว่าด้วยสุขเวทนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัย

แต่เพราะในนิเทศว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ทรงประสงค์เอาสุขเวทนาที่เป็นวิบากอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เวทนานี้จึงเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้นแก่ตัณหา.

คำว่า เป็นปัจจัยอย่างเดียว คือเป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัย.

ว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นปัจจัย

อีกอย่างหนึ่ง เพราะว่า

คนมีทุกข์ ย่อมปรารถนาสุข คนมีสุข ก็ย่อมปรารถนาสุขแม้ยิ่งขึ้นไป ส่วนอุเบกขาตรัสว่า สุขนั่นแหละ เพราะเป็นธรรมสงบ.

ฉะนั้น เวทนาแม้ทั้ง ๓ จึงเป็นปัจจัยแก่ตัณหา พระมหาฤาษี จึงตรัสว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย. อนึ่ง เพราะเว้นอนุสัยเสีย แล้วตัณหาย่อมไม่เกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัยฉะนั้น ตัณหานั้นจึงไม่มีแก่พราหมณ์ผู้จบพรหมจรรย์แล.

นิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จบ

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 539

ว่าด้วยนิเทศอุปาทาน

(บาลีข้อ ๒๖๔)

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยต่อไป.

บัณฑิตพึงชี้แจงอุปาทาน ๔ เหล่านั้น โดยการจำแนกโดยอรรถ โดยย่อและพิสดารแห่งธรรม และโดยลำดับ.

จริงอยู่ ในพระบาลี ทรงยกอุปาทาน ๔ เหล่านั้นขึ้น ด้วยพระดำรัสที่ตรัสว่า คำว่า อุปาทาน ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.

ว่าด้วยการจำแนกโดยอรรถ

การจำแนกโดยอรรถแห่งอุปาทาน ๔ เหล่านั้น ดังนี้

ธรรมที่ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่นกามกล่าวคือ วัตถุกาม. อนึ่ง กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.

คำว่า อุปาทาน ได้แก่การยึดมั่น เพราะอุปศัพท์ในคำว่า อุปาทาน นี้ มีอรรถว่ามั่น เหมือนในศัพท์มีคำว่า อุปายาส (ความคับแค้นใจ) อุปกัฏฐะ (เวลาใกล้เข้ามาแล้ว) เป็นต้น. อนึ่ง ทิฏฐินั้น ด้วยเป็นอุปาทานด้วย จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่นทิฏฐิ เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิแรก เหมือนในประโยคมีอาทิว่า "อัตตาและโลกเที่ยง" เป็นต้น. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่นศีลและพรต. ศีลและพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย ดังนี้ก็ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะโคศีล (ปรกติของโค) โควัตร

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 540

(การปฏิบัติของโค) เป็นต้น เป็นตัวอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า "ความบริสุทธิ์มีด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเหตุกล่าวของคนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะเหตุยึดมั่นของคนทั้งหลาย ถามว่า ย่อมกล่าวอะไร หรือยึดมั่นอะไร? ตอบว่า กล่าวอัตตา ยึดมั่นอัตตา คือ การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง อัตตาก็เป็นเพียงกล่าวถึงคนเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่นของคนทั้งหลาย นี้เป็นการจำแนกโดยอรรถแห่งอุปาทาน ๔ เหล่านั้นก่อน.

ว่าด้วยความย่อและพิสดารแห่งธรรม

ก็พึงทราบวินิจฉัยในความย่อและพิสดารแห่งธรรม ต่อไป

กามุปาทานก่อน ว่าโดยย่อ ตรัสว่า ความยึดมั่นด้วยตัณหา เพราะบาลีมาแล้วว่า บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทานเป็นไฉน ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามุปาทาน (๑) ดังนี้ ตัณหาหลังเกิดขึ้นยึดมั่นตัณหาแรกนั่นเองด้วยอุปนิสสยปัจจัย ชื่อว่า ความยึดมั่นด้วยตัณหา.

มติของอาจารย์บางพวก

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ความปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง ชื่อว่า ตัณหา เหมือนโจรเหยียดมือไปเพื่อขโมยของในที่มืด การรับอารมณ์


(๑) อภิ. สํ. เล่ม ๓๔. ๗๘๑/๓๐๖

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 541

ที่มาถึงแล้ว ชื่อว่า อุปาทาน เหมือนโจรนั้นแหละจับภัณฑะไว้ ก็ธรรม (คือตัณหาอุปาทาน) เหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อความมักน้อยและความสันโดษ. อนึ่ง ธรรมเหล่านี้ ยังเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์เพราะต้องแสวงหาและรักษา" ดังนี้. ก็อุปาทาน ๓ ที่เหลือโดยย่อก็เป็นเพียงทิฏฐิเท่านั้น.

แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ความยืดมั่นด้วยตัณหาทั้ง ๑๐๘ ประเภท ตามที่กล่าวไว้ในอารมณ์มีรูปเป็นต้นในก่อน ชื่อว่า กามุปาทาน.

มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านี้ ทิฏฐุปาทานเป็นไฉน? ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้คนอื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้. ทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส เห็นปานนี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน (๑) ดังนี้.

อนึ่ง การยึดมั่นว่าความบริสุทธิ์มีด้วยศีลและพรต ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ การถือโดยวิปลาส โดยลักษณะนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและด้วยพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน ดังนี้.

สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน? ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาด


(๑) อภิ. สํ. เล่ม ๓๔. ๗๘๒/๓๐๖

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 542

ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ การถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน ดังนี้.

นี้เป็นความย่อและความพิสดารแห่งธรรมในอธิการนี้.

ว่าโดยลำดับ

ก็ในข้อว่า โดยลำดับ นี้ ลำดับมี ๓ อย่าง คือ

อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด

ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ และ

เทสนากฺกโม ลำดับแห่งเทศนา.

บรรดาลำดับทั้ง ๓ นั้น ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย ไม่ตรัสไว้โดยนิปปริยาย (โดยตรง) เพราะไม่มีคำว่า อุปาทานนี้เกิดขึ้นก่อนในสังสารมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว แต่ก็ตรัสไว้โดยปริยาย (โดยอ้อม) ว่าเป็นความยึดมั่นในสัสสตะและอุจเฉทะซึ่งมีความยึดถืออัตตาเป็นใหญ่ในภพหนึ่งโดยมาก ต่อจากนั้น เมื่อยึดถือว่า "อัตตานี้เที่ยง" ดังนี้ จึงเกิดสีลัพพตุปาทาน เพื่อความปฏิบัติอันบริสุทธิ์แห่งอัตตา เมื่อยึดถือว่า "อัตตาย่อมขาดสูญ" ดังนี้ ก็จะเกิดกามุปาทานแก่บุคคลผู้ไม่มีความอาลัยในโลกอื่น เพราะฉะนั้น อัตตวาทุปาทานจึงเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้นก็เกิดทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทานและกามุปาทาน ดังนี้ เป็นลำดับแห่งความเกิดขึ้นของอุปาทานเหล่านั้นในภพหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในข้อว่า ลำดับแห่งการละนี้ ทิฏฐุปาทานเป็นต้นอันบุคคลย่อมละก่อน เพราะเป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคพึงละ ภายหลังจึงละกามุ-

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 543

ปาทาน เพื่อเป็นกิเลสอันอรหัตตมรรคพึงละ นี้ลำดับการละอุปาทานเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านี้ ทรงแสดงกามุปาทานก่อน เพราะเป็นกิเลสมีอารมณ์มาก และเพราะกิเลสปรากฏแล้ว จริงอยู่ กามุปาทานนั้น ชื่อว่า มีอารมณ์มาก เพราะประกอบด้วย (โลภมูล) จิต ๘ ดวง อุปาทานนอกจากนี้มีอารมณ์น้อย เพราะประกอบด้วย (โลภมูลที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ) จิต ๔ ดวง.

อนึ่ง กามุปาทานปรากฏแก่หมู่สัตว์ เพราะความอาลัยและยินดีโดยมาก อุปาทานนอกนี้ไม่เป็นเช่นนั้น อีกอย่างหนึ่ง กามุปาทานเป็นของมีมากแก่บุคคลผู้ถือมงคลตื่นข่าวเป็นต้น เพื่อบรรลุวัตถุกามทั้งหลาย สัสสตทิฏฐิหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงทิฏฐุปาทานในลำดับต่อจากกามุปาทานนั้น ทิฏฐุปาทานนั้น เมื่อจำแนกก็เป็น ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งสีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน. ในอุปาทาน ๒ นั้นทรงแสดงสีลัพพตุปาทานมีอารมณ์อันหยาบก่อน เพราะบุคคลแม้เห็นกิริยาของโค หรือกิริยาของสุนัขแล้วก็รู้ได้ แล้วทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในที่สุด เพราะเป็นธรรมมีอารมณ์ละเอียด. นี้ลำดับแห่งเทศนาของอุปาทานทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน

ก็บรรดาอุปาทานเหล่านี้ ตัณหาเป็นปัจจัยอย่างเดียวแก่อุปาทานแรก ตัณหาแม้นั้น เป็นปัจจัย ๗ อย่างบ้าง ๘ อย่างบ้าง แก่อุปาทาน ๓ ที่เหลือ.

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 544

ก็ในอุปาทาน ๔ ที่ทรงแสดงไว้ในนิเทศนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ กามตัณหาย่อมเป็นปัจจัยอย่างเดียว ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แก่กามุปาทานแรก เพราะเกิดในอารมณ์ทั้งหลายที่พอใจด้วยตัณหา แต่ตัณหานั้น ย่อมเป็นปัจจัย ๗ อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และเหตุปัจจัย หรือเป็นปัจจัย ๘ อย่าง พร้อมด้วยอุปนิสสยปัจจัย แก่อุปาทาน ๓ ที่เหลือ อนึ่ง เมื่อใดตัณหานั้นเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย เมื่อนั้นตัณหานั้นย่อมเกิดพร้อมกันทีเดียว.

นิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศแห่งภพ

(บาลีข้อ ๒๖๕)

ในนิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถโดยธรรม โดยทบทวนบทที่มีประโยชน์ โดยการแยกภพและรวมภพ และโดยอุปาทานใดเป็นปัจจัยแก่ภพใด.

ในพระบาลีนั้น พึงทราบวินิจฉัยว่า ที่ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่ามี. บทว่า ทุวิเธน (ภพ ๒) มีอธิบายว่า กำหนดโดยอาการ ๒ อย่าง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทุวิเธน เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในปฐมาวิภัตติ อธิบายว่า เท่ากับ ทุวิโธ แปลว่า ๒ อย่าง. บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่พร้อม.

ภพคือกรรม ชื่อว่า กรรมภพ. ภพคือความเกิดขึ้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. ในกรรมภพและอุปปัตติภพนี้ ความเกิดขึ้น ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า ย่อมมี. ส่วนกรรม พึงทราบว่า ชื่อว่า ภพ โดยโวหารว่า

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 545

เป็นผล เพราะกรรมเป็นเหตุของภพ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นสุข เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข.

คำว่า ตตฺถ กตโม กมฺมภโว (ในภพ ๒ นั้น กรรมภพเป็นไฉน) ความว่า บรรดาภพทั้ง ๒ นั้น กรรมภพที่ตรัสแล้วนั้นเป็นไฉน. ปุญญาภิสังขาร เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

บทว่า สพฺพํ (ทั้งปวง) ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ.

กรรมที่ชื่อว่า ภวคามี เพราะอรรถว่า ย่อมไป คือ ย่อมให้สัตว์ถึงภพ ด้วยบทว่ากรรมเป็นเหตุให้ถึงภพนี้ ท่านปฏิเสธโลกุตตระ เพราะกถานี้เป็นวัฏฏกถา (กถาที่แสดงถึงวัฏฏะ) ก็โลกุตตระนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นธรรมอาศัยวิวัฏฏะ.

ที่ชื่อว่า กรรม เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่เขาทำ. บรรดากามภพเป็นต้น ภพกล่าวคือกาม ชื่อว่า กามภพ. ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้. ที่ชื่อว่า สัญญาภพ เพราะอรรถว่า เป็นภพของเหล่าสัตว์ผู้มีสัญญา หรือสัญญามีอยู่ในภพนี้. ที่ชื่อว่า อสัญญาภพ โดยปริยายที่ต่างกัน. ที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญาภพ ด้วยอรรถว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีสัญญาหยาบ และเพราะมีสัญญาละเอียดในภพนี้. ภพที่เกลื่อนกล่นด้วยรูปขันธ์อย่างเดียว ชื่อว่า เอกโวการภพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โวการภพ เพราะอรรถว่า ภพนี้มีขันธ์เดียว. ในจตุโวการภพและปัญจโวการภพก็นัยนี้.

บทว่า อยํ วุจฺจติ อุปปตฺติภโว (นี้เรียกว่าอุปปัตติภพ) ได้แก่ ภพนี้ทั้ง ๙ อย่าง ตรัสเรียกชื่อว่า อุปปัตติภพแล. พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถในอธิการนี้อย่างนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 546

ส่วนข้อวินิจฉัยโดยธรรม ก็ในนิเทศนี้ ว่าโดยธรรม ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนา ๑๓ ดวง อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนา ๑๒ ดวง อาเนญชาภิสังขาร ได้แก่ เจตนา ๔ ดวง.

ด้วยบทว่า สพฺพมฺปิ ภวคามิกมฺมํ (กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งหมด) นี้ ทรงสงเคราะห์ธรรมเหล่านี้ แม้ทั้งหมดที่สัมปยุตด้วยเจตนา หรือธรรมที่เป็นอาจยคามี กล่าวคือกรรมเข้าด้วย อธิบายว่า ทรงสงเคราะห์อุปาทินนขันธ์ ๕ ที่เป็นกามภพ รูปภพก็เหมือนกัน ขันธ์ ๔ ที่เป็นอรูปภพ ขันธ์ ๔ และ ๕ ที่เป็นสัญญาภพ อุปาทินนขันธ์หนึ่งที่เป็นอสัญญาภพ ขันธ์ ๔ ที่เป็นเนวสัญญานาสัญญาภพ ขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ ขันธ์ ๕ ที่เป็นเอกโวการภพเป็นต้น ด้วยอุปาทินนขันธ์ทั้งหลายแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมในนิเทศนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า โดยทบทวนบทที่มีประโยชน์ นี้ ความว่า ปุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นเองตรัสไว้ในนิเทศแห่งสังขาร คือ กรรม เหมือนในนิเทศแห่งภพนั่นแหละ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ปุญญาภิสังขารเป็นต้นซึ่งเกิดก่อนตรัสไว้เพราะความเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอธิการนี้ ด้วยอดีตกรรม ปุญญาภิสังขารเป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้เพราะความเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิต่อไป ด้วยอำนาจกรรมในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น การตรัสย้ำ จึงชื่อว่ามีประโยชน์ทีเดียว.

อีกอย่างหนึ่ง ในเบื้องต้น ตรัสเจตนาเท่านั้นว่าเป็นสังขาร โดยมีอาทิอย่างนี้ว่า ในอภิสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน? กุศลเจตนา กามาวจร ดังนี้ แต่ในนิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนี้ ธรรมแม้สัมปยุตด้วยเจตนา ก็ตรัสว่า สังขาร เพราะพระบาลีว่า

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 547

สพฺพมฺปิ ภวคามิกมฺมํ (กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งหมด) ดังนี้ อนึ่ง ในตอนต้น ตรัสว่า กรรมเฉพาะที่มีวิญญาณเป็นปัจจัยเท่านั้นว่าเป็นสังขาร ในบัดนี้ แม้กรรมที่มีวิญญาณเป็นปัจจัย อันให้เกิดขึ้นในอสัญญาภพ ก็ตรัสว่า สังขาร ก็การพูดมากจะมีประโยชน์อะไร เพราะกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล คือ ปุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นเอง ตรัสไว้ ในข้อว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นี้ อนึ่ง ตรัสธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต เพราความที่แม้อุปปัตติภพก็ทรงสงเคราะห์ในบทว่า อุปาทานปจฺจยา ภโว (ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย) นี้ ฉะนั้น การตรัสซ้ำนี้ จึงชื่อว่ามีประโยชน์โดยประการทั้งปวงแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทบทวนบทที่มีประโยชน์ในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า โดยการแยกออกและรวมกันได้ คือ โดยการแยกและการรวมแห่งภพเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย. จริงอยู่ กรรมที่สัตว์กระทำยังให้สัตว์เกิดขึ้นในกามภพเพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยนั้น ชื่อว่า กรรมภพ. ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแต่กรรมนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้เหมือนกัน. ด้วยประการฉะนี้ กามภพมีกามุปาทานเป็นปัจจัยจึงมี ๒ อย่าง สัญญาภพ และปัญจโวการภพ รวมอยู่ภายในกามภพนั้นแหละ. รูปภพมีกามุปาทานเป็นปัจจัยก็มี ๒ อย่าง สัญญาภพ อสัญญาภพ เอกโวการภพ ปัญจโวการภพ รวมอยู่ภายในรูปภพนั้นแหละ. อรูปภพมีกามุปาทานเป็นปัจจัยก็มี ๓ อย่าง สัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพรวมอยู่ภายในอรูปภพเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ภพที่มีกามุปาทานเป็นปัจจัยจึงมี ๖ ภพ พร้อมกับภพทั้งหลายที่ผนวกเข้าด้วยกัน. ก็ภพ ๖ ที่มีกามุปาทานเป็นปัจจัยพร้อมทั้งภพทั้งหลายที่ผนวกเข้า

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 548

ด้วยกัน ฉันใด แม้ภพทั้งหลายที่มีอุปาทาน (๓) ที่เหลือเป็นปัจจัยก็ฉันนั้น ภพทั้งหลายจึงเป็น ๒๔ พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกัน โดยการแยกออกเพราะอุปาทาน (๔) เป็นปัจจัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนโดยการรวมกัน มีอธิบายว่า รวมกรรมภพและอุปปัตติภพ พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกันเกิดเพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยเป็นกามภพหนึ่ง รูปภพและอรูปภพก็เห็นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงเป็น ๓ ภพ แม้ภพที่มีอุปาทาน ๓ ที่เหลือก็เหมือนกัน จึงเป็น ๑๒ พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกันโดยสงเคราะห์ (คือรวมกัน) เพราะอุปาทาน (๔) เป็นปัจจัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง ว่าโดยไม่ต่างกัน กรรมที่ให้สัตว์เข้าถึงกามภพเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในกามภพนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. ในรูปภพและอรูปภพก็เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็น ๖ ภพ โดยการสงเคราะห์ (การรวมกัน) อีกปริยายหนึ่งคือกามภพ ๒ รูปภพ ๒ อรูปภพ ๒ พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกันมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

อีกอย่างหนึ่ง จัดเป็น ๓ ภพ ด้วยอำนาจกามภพเป็นต้น พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกันโดยไม่แยกกรรมภพและอุปปัตติภพออกจากกัน และจัดเป็น ๒ ภพ ด้วยอำนาจกรรมภพและอุปปัตติภพ โดยไม่แยกกามภพเป็นต้น และจัดเป็นภพ ๑ ด้วยอำนาจแห่งภพว่า ภพที่เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย โดยไม่อาศัยแยกกรรมและอุปปัตติ. พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้ แม้โดยการแยกและรวมกันแห่งภพมีอุปาทานเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า โดยอุปาทานใดเป็นปัจจัยแก่ภพใด อธิบายว่า ก็ในนิเทศนี้ พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยอุปาทานใดเป็นปัจจัยแก่ภพใดนั้น ก็ในนิเทศนี้ อุปาทาน

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 549

เป็นปัจจัยแก่ภพใด อย่างไร? คืออุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นปัจจัยแก่ภพใดภพหนึ่งได้ทั้งนั้น เพราะปุถุชนเปรียบเหมือนคนบ้า ปุถุชนนั้นมิได้พิจารณาว่า "สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร" ดังนี้ ปรารถนาภพอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจอุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น คำที่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "รูปภพและอรูปภพย่อมไม่มีเพราะสีลัพพตุปาทาน" นั้น บัณฑิตไม่ควรถือเอา แต่คำว่า " ภพทั้งหมดย่อมเกิด เพราะอุปาทานทั้งหมด" ดังนี้ ควรถือเอา. อย่างไร? คือคนบางคนในโลกนี้คิดว่า ขึ้นชื่อว่ากามเหล่านี้เป็นของสำเร็จแล้วในตระกูลกษัตริย์มหาศาลเป็นต้นในมนุษยโลก และในเทวโลกกามาวจร ๖ ชั้น" ดังนี้ ด้วยสามารถที่ได้ฟังมา หรือโดยทำนองที่เห็นมา ถูกลวงโดยให้เสพอสัทธรรมเป็นต้น เพื่อบรรลุกามเหล่านั้น จึงสำคัญอยู่ว่า "กามทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยกรรมนี้" ดังนี้ จึงกระทำแม้กายทุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอุปาทานคือกาม บุคคลนั้นจึงเกิดขึ้นในอบายเพราะบริบูรณ์ด้วยทุจริต. ก็เมื่อปรารถนากามทั้งหลายที่คนเห็นแล้ว หรือเมื่อจะรักษากามที่ได้มาแล้ว ย่อมทำกายทุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจกามุปาทาน บุคคลนั้นย่อมเกิดในอบายเพราะความสมบูรณ์ด้วยทุจริต กรรม ที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นเกิดในอบายนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ที่เกิดขึ้นแต่กรรมนั้นชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมเข้าในกรรมภพและอุปปัตติภพนั้นนั่นแหละ.

ส่วนอีกคนหนึ่ง มีความรู้อันการฟังพระสัทธรรมเป็นต้นพอกพูนแล้วสำคัญอยู่ว่า "กามทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยกรรมนี้" ดังนี้ จึงทำกายสุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจกามุปาทาน บุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้นในสวรรค์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 550

หรือในมนุษย์ทั้งหลาย เพราะความบริบูรณ์ด้วยสุจริต. กรรมที่เป็นเหตุให้เขาเกิดในสุคติมีเทวดาเป็นต้นนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรมชื่อว่า อุปปัตติภพ ก็สัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในกรรมภพและอุปปัตติภพนั้นเหมือนกัน กามุปาทานเป็นปัจจัยแก่กามภพพร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งผนวกเข้าด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.

อีกคนหนึ่ง ฟังมาหรือคิดเอาเองว่า ในรูปภพและอรูปภพ กามทั้งหลายสำเร็จดีกว่ากามภพนั้น จึงยังรูปและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจกามุปาทานแล้วบังเกิดขึ้นในโลกแห่งรูปพรรณหรืออรูปพรหมด้วยกำลังแห่งสมาบัติ. ในการเกิดขึ้นในรูปพรหมหรืออรูปพรหมนั้น กรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นเกิด ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ และปัญจโวการภพก็รวมอยู่ภายในรูปภพหรืออรูปภพนั้น. กามุปาทาน เป็นปัจจัยแม้แก่รูปภพและอรูปภพ พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วยก็มี ด้วยประการฉะนี้.

อีกบุคคลหนึ่ง อาศัยอุจเฉททิฏฐิว่า "ที่ชื่อว่า อัตตานี้ ขาดสูญแล้ว ในภพอันเป็นสมบัติของกามาวจร หรือว่าบรรดารูปภพหรืออรูปภพ ภพใดภพหนึ่งย่อมขาดสูญโดยแท้" ดังนี้ จึงทำกรรมอันเข้าถึงภพนั้น. กรรมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายอันเกิดแต่กรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนภพมีสัญญาภพเป็นต้นก็รวมอยู่ภายในกรรมภพและอุปปัตติภพนั้นนั่นแหละ ทิฏฐุปาทานเป็นปัจจัยแก่กามภพ รูปภพ และอรูปภพทั้ง ๓ พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 551

อีกบุคคลหนึ่ง กำหนดเอาว่า "ชื่อว่า อัตตานี้ ย่อมมีความสุข ปราศจากความเร่าร้อนในภพอันเป็นสมบัติในกามาวจร หรือบรรดารูปภพและอรูปภพ ภพใดภพหนึ่ง" จึงทำกรรมอันเข้าถึงภพนั้น ด้วยอัตตวาทุปาทาน กรรมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแต่กรรมภพนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนสัญญาภพเป็นต้น ก็รวมอยู่ในกรรมภพและอุปปัตติภพนั้นนั่นแหละ อัตตวาทุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ ๓ พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเขาด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.

อีกบุคคลหนึ่ง มีความเห็นว่า "ชื่อว่า ศีลและพรตนี้ ย่อมถึงความสุขอันบริบูรณ์แก่บุคคลผู้บำเพ็ญในภพอันเป็นสมบัติของกามาวจร หรือบรรดารูปภพหรืออรูปภพ ภพใดภพหนึ่ง" ดังนี้ จึงทำกรรมอันเข้าถึงภพนั้น ด้วยอำนาจสีลัพพตุปาทาน. กรรมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรมภพนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนสัญญาภพเป็นต้น ก็รวมอยู่ภายในกรรมภพและอุปปัตติภพนั้นแหละ. สีลัพพตุปาทาน ย่อมเป็นปัจจัยแก่ภพ ๓ พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วยกัน ดังนี้แล. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยอุปาทานใด เป็นปัจจัยแก่ภพใด ในนิเทศนี้นั้น ด้วยประการฉะนี้.

หากมีผู้สงสัย ถามว่า "ก็ในนิเทศนี้ อุปาทานอะไร เป็นปัจจัยอย่างไรแก่ภพไหน" ดังนี้ไซร้.

ตอบว่า ปัญหากรรมนั้น พึงทราบว่าอุปาทานเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่รูปภพ และอรูปภพ อุปาทานนั้น เป็นปัจจัยแก่กามภพ แม้ด้วยปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 552

จริงอยู่ ก็อุปาทานทั้ง ๔ นี้ เป็นปัจจัยแก่รูปภพ อรูปภพ และอุปปัตติภพที่เป็นกุศลกรรมในกรรมภพอันนับเนื่องด้วยกามภพ ด้วยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียว. อุปาทาน ๔ นั้นเป็นปัจจัยแก่อกุศลกรรมภพที่สัมปยุตด้วยตนในกามภพโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้น คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และเหตุปัจจัย แต่เป็นปัจจัยแก่ภพที่เป็นวิปปยุตกัน ด้วยอุปนิสสยปัจจัยเดียวเท่านั้นแล.

นิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติ

(บาลีข้อ ๒๒๖)

พึงทราบวินิจฉัยปัจจยาการมีชาติเป็นต้น ในนิเทศแห่งชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัยเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในสัจจวิภังค์นั่นแหละ. แต่คำว่า ภพ ในที่นี้ ทรงประสงค์เอากรรมภพเท่านั้น เพราะกรรมภพนั้น เป็นปัจจัยแก่ชาติ อุปปัตติภพหาเป็นปัจจัยแก่ชาติไม่. ก็แลกรรมภพนั้น เป็นปัจจัย ๒ อย่างเท่านั้น ด้วยอำนาจกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

หากมี ผู้ถามว่า ข้อนี้ จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ.

ตอบว่า รู้ได้ เพราะแสดงความต่างกันแห่งภาวะมีความเลวและประณีตเป็นต้น ในเหตุแม้เป็นปัจจัยภายนอกที่เสมอกัน.

จริงอยู่ แม้เมื่อปัจจัยภายนอกมีบิดามารดา น้ำสุกกะ ประจำเดือน และอาหารเป็นต้นมีเสมอกัน ของสัตว์ผู้แม้เป็นฝาแฝด ก็ยังปรากฏต่างกันแห่งภาวะมีความเลวและประณีตเป็นต้น. ก็ความต่างกันแห่งภาวะ

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 553

มีความเลวและประณีตนั้น มิใช่ไม่มีเหตุ เพราะสภาวะทั้งปวงไม่มีอยู่ในกาลทั้งปวงและไม่ใช่แก่พวกสัตว์ทั้งหมด และทั้งมิใช่เหตุอื่นนอกจากกรรมภพ เพราะไม่มีเหตุอื่นในสันดานอันมีในภายในของเหล่าสัตว์ผู้เกิดแต่กรรมภพนั้น เพราะฉะนั้น ความต่างกันแห่งสัตว์ทั้งหลาย จึงมีกรรมภพเป็นเหตุโดยแท้. แท้จริง กรรมก็เป็นเหตุที่แปลกกันในความเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปณีตตาย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ให้เลวและประณีต ดังนี้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงทราบได้ว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ.

อนึ่ง เมื่อชาติไม่มี ขึ้นชื่อว่า ชรามรณะก็หามีไม่ และธรรมมีความโศกเป็นต้นก็หามีไม่ แต่เมื่อชาติมี ชรามรณะและธรรมมีความโศกเป็นต้น อันเกี่ยวเนื่องด้วยชรามรณะของคนพาลผู้ถูกทุกขธรรม (เหตุแห่งทุกข์) คือ ชรามรณะถูกต้องแล้ว หรือไม่เกี่ยวเนื่องด้วยชรามรณะของคนพาลผู้อันทุกขธรรมนั้นๆ ถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชาติ นี้เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ และแก่ธรรมมีความโศกเป็นต้นแล. ก็ชาตินั้นเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น โดยเงื่อนแห่งอุปนิสสยปัจจัย ดังนี้แล.

นิเทศแห่งชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัยเป็นต้น จบ

อธิบายภวจักร ๑๒

(บาลีข้อ ๒๗๓)

พึงทราบอรรถแห่งบทมีอาทิว่า เอวเมตสฺส (ความเกิดขึ้น ... นี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้นั้น) โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสวาร. บทว่า สงฺคติ (ความไปร่วม) เป็นต้น (๑) เป็นคำไวพจน์ของ บทว่า สมุทโย (ความเกิดขึ้น) นั่นเอง.


(๑) สงฺคติ สมาคโม สโมธานํ ปาตุภาโว แปลว่า ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ.

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 554

ก็เพราะในปัจจยาการวิภังค์นี้ ธรรมมีโสกะเป็นต้น ตรัสไว้สุดท้าย ฉะนั้น อวิชชานั้นใด ที่ตรัสในเบื้องต้นแห่งภวจักรนี้ อย่างนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา (สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้ อวิชชานั้น สำเร็จแล้วจากธรรมมีโสกะเป็นต้น.

ภวจักรนี้มีเบื้องต้น มิได้ปรากฏ เว้นจากผู้สร้างและผู้เสวย ว่างเปล่าจากความว่างเปล่า ๑๒ อย่าง บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นไปร่วมกัน ดังนี้.

หากมีผู้สงสัย ถามว่า ก็ในภวจักรนี้ อวิชชาสำเร็จจากธรรมมีโสกะเป็นต้นอย่างไร? ภวจักรหรือเบื้องต้นมิได้ปรากฏอย่างไร? เว้นจากผู้สร้างและผู้เสวยอย่างไร? ว่างเปล่าจากความว่างเปล่า ๑๒ อย่าง อย่างไร?

ก็คำตอบในที่นี้ คือ โสกะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสไม่พ้นไปจากอวิชชา และขึ้นชื่อว่า ปริเทวะ (ความคร่ำครวญรำพัน) ย่อมมีแก่คนหลง เพราะฉะนั้น เมื่อโสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสและปริเทวะเหล่านั้นสำเร็จแล้ว อวิชชาก็เป็นอันสำเร็จแล้วโดยแท้. อีกอย่างหนึ่ง ก็คำที่ตรัสไว้ว่า "เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด" ดังนี้ และ ธรรมมีโสกะเป็นต้นนี้ ย่อมมีเพราะอาสวะเกิด ข้อนี้เป็นอย่างไร? คือ โสกะ ในเพราะการพลัดพรากจากวัตถุกามย่อมมีเพราะกามาสวะเกิด เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ตสฺส เจ กามยมานสฺส ฉนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน

เต กามา ปริหายนฺติ สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 555

ถ้าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนาอยู่ เกิดความอยากได้แล้ว กามเหล่านั้น ย่อมเสื่อมไปไซร้ สัตว์นั้นย่อมซบเซา เหมือนถูกศรแทง ฉะนั้น (๑)

และเหมือนอย่างที่ตรัสว่า กามโต ชายติ โสโก (ความโศกย่อมเกิดแต่กาม) ก็ความโศกเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมเกิดแต่ทิฏฐาสวะ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า เมื่อเขายึดถืออยู่ว่า เราเป็นรูป รูปเป็นของเราดังนี้ ย่อมเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เพราะความที่รูปนั้นแปรเปลี่ยนไปเป็นประการอื่น (๒) อนึ่ง ธรรมมีโสกะเป็นต้นย่อมเกิด แม้เพราะภวาสวะเกิด เหมือนเกิดเพราะทิฏฐาสวะเกิด เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเทวดาที่มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดำรงอยู่กาลนานในวิมานสูง แม้เทวดาเหล่านั้น ได้สดับพระธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากพากันถึงความกลัว ความสะดุ้ง ความสลดใจ ดังนี้ (๓) เหมือนพวกเทวดาเห็นบุพนิมิต ๕ พากันสะดุ้งเพราะกลัวแต่ความตาย ฉะนั้น.

อนึ่ง ธรรมมีโสกะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแม้เพราะความเกิดขึ้นแห่งอวิชชา เหมือนเพราะความเกิดขึ้นแห่งภวาสวะฉะนั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย คนพาลนั้นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส (เพราะคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว) ๓ อย่าง ในทิฏฐธรรมนี้ (๔) ดังนี้. เพราะธรรม (มีโสกะเป็นต้น) เหล่านี้ ย่อมมีเพราะอาสวะเกิด ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นเมื่อสำเร็จจึงยังอาสวะ


(๑) ขุ. สุตฺต. เล่ม ๒๕. ๔๐๘/๔๘๔

(๒) สํ. ขนฺธวาร. เล่ม ๑๗. ๔/๔

(๓) สํ ขนฺธวาร. เล่ม ๑๗. ๑๕๖/๑๐๔

(๔) ม. อุ. เล่ม ๑๔. ๔๖๘/๓๑๑

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 556

ทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งอวิชชาให้สำเร็จ และเมื่ออาสวะทั้งหลายสำเร็จแล้ว แม้อวิชชาก็เป็นอันสำเร็จทีเดียว เพราะเมื่อมีปัจจัยจึงมีได้แล. ในที่นี้พึงทราบว่า อวิชชาสำเร็จแล้วด้วยธรรมมีโสกะเป็นต้นอย่างนี้ก่อน.

ก็เพราะเมื่ออวิชชาสำเร็จแล้ว เพราะเมื่อปัจจัยมีจึงมีอย่างนี้ ความสืบต่อกันไปแห่งเหตุและผลอย่างนี้ว่า "สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นต้น มิได้มีสิ้นสุด ฉะนั้น ภวจักรมีองค์ ๑๒ ที่เป็นไป ด้วยอำนาจความเกี่ยวเนื่องกันแห่งเหตุและผลนั้นจึงสำเร็จว่า มีเบื้องต้นมิได้ปรากฏ.

หากมีผู้สงสัยถามว่า เมื่อมีเบื้องต้นมิได้ปรากฏเช่นนี้ การกล่าวคำว่า อวิชชาเป็นธรรมข้อต้นว่า "เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย" ดังนี้ ก็ผิดไป มิใช่หรือ?

ตอบว่า ข้อนี้ มิใช่การกล่าวอวิชชาเป็นเพียงธรรมเบื้องต้น แต่ข้อนี้เป็นการกล่าวธรรมที่เป็นประธาน.

จริงอยู่ อวิชชาเป็นประธานแห่งวัฏฏะ ๓ (๑) เพราะว่า ด้วยการยึดถืออวิชชา กิเลสวัฏฏ์ที่เหลือ และกรรมวัฏฏ์เป็นต้น ย่อมผูกพันคนพาลไว้ เหมือนการจับศีรษะงู สรีระงูที่เหลือก็จะพันแขนอยู่ แต่เมื่อตัดอวิชชาขาดแล้วย่อมหลุดพ้นจาววัฏฏะเหล่านั้น เหมือนบุคคลตัดศีรษะงูแล้วก็จะพ้นจากการถูกพันแขน ฉะนั้น เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "เพราะสำรอกอวิชชา โดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ" ดังนี้เป็นต้น. เมื่อบุคคลยึดธรรมใด ความผูกพันย่อมมี และเมื่อปล่อยธรรมใด ความหลุดพ้นย่อมมี การกล่าวนี้เป็นการกล่าวธรรมที่เป็น


(๑) คือ กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 557

ประธาน (คืออวิชชา) นั้น มิใช่การกล่าวธรรมสักว่าเป็นเบื้องต้น พึงทราบภวจักรนี้ว่า "มีเบื้องต้นมิได้ปรากฏ ด้วยประการฉะนี้.

ภวจักรนี้นั้น เพราะเหตุทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่ธรรมมีสังขารเป็นต้น ฉะนั้น จึงเว้นจากผู้สร้างสังสารนอกจากอวิชชาเป็นต้นนั้น เช่นพรหมเป็นต้นที่เขาคาดคะเนเอาอย่างนี้ว่า "พรหม มหาพรหมเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้จัดสรร ดังนี้ หรือว่า เว้นจากอัตตาผู้เสวยสุขและทุกข์ ที่เขาสมมติกันอย่างนี้ว่า " ก็อัตตาของเรานี้แลเป็นผู้กล่าว เป็นผู้เสวย" บัณฑิตพึงทราบว่า "เว้นจากผู้สร้างและผู้เสวย" ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาชื่อว่าว่างจากความยั่งยืน เพราะเป็นธรรมเกิดขึ้นและมีเสื่อมไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าว่างจากความงาม เพราะเป็นธรรมเศร้าหมองและเพราะประกอบด้วยสังกิเลส ชื่อว่า ว่างจากความสุข เพราะถูกความเกิดและความเสื่อมบีบคั้น ชื่อว่าว่างจากอัตภาพผู้ครองอำนาจ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย. องค์ทั้งหลายแม้มีสังขารเป็นต้นก็เหมือนกัน.

อีกนัยหนึ่ง เพราะอวิชชา ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ของอัตตา ไม่ใช่มีในอัตตา ไม่ใช่มีอัตตา องค์ทั้งหลายแม้มีสังขารเป็นต้นก็เหมือนกัน ฉะนั้น พึงทราบว่า ภวจักรนี้ว่างเปล่าโดยความว่าง ๑๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้

ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว พึงทราบอีกว่า

ภวจักรนั้น มีอวิชชาและตัณหาเป็นมูล มีกาล ๓ มีอดีตกาลเป็นต้น ในกาลเหล่านั้น โดยสังเขปได้องค์ ๒ (อวิชชาและสังขาร) องค์ ๘ (มีวิญญาณเป็นต้น) และ องค์ ๒ (ชาติและชรามรณะ) เท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 558

อธิบายว่า ธรรม ๒ คือ อวิชชาและตัณหา พึงทราบว่าเป็นมูลแห่งภวจักรนี้นั้นแล. ภวจักรนี้นั้นจึงมี ๒ อย่าง คือ อวิชชาเป็นมูลมีเวทนาเป็นที่สุดเพราะนำมาแต่ส่วนเบื้องต้น ตัณหาเป็นมูลมีชรามรณะเป็นที่สุดเพราะสืบต่อในส่วนเบื้องปลาย บรรดาภวจักรทั้ง ๒ นั้น ภวจักรแรก ตรัสด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิจริต ภวจักรหลัง ตรัสด้วยอำนาจบุคคลผู้มีตัณหาจริต. เพราะว่า บุคคลทั้งหลายผู้มีทิฏฐิจริต อวิชชาเป็นตัวนำไปสู่สังสาร แต่บุคคลผู้มีตัณหาจริต ตัณหาเป็นตัวนำไปสู่สังสาร.

อีกนัยหนึ่ง ภวจักรแรกตรัสไว้เพื่อถอนอุจเฉททิฏฐิ เพราะทรงประกาศการไม่ตัดขาดแห่งเหตุทั้งหลายของความเกิดขึ้นแห่งผล ภวจักรที่ ๒ ตรัสเพื่อถอนสัสสตทิฏฐิ เพราะทรงประกาศชรามรณะของพวกสัตว์ที่เกิดขึ้น.

อีกนัยหนึ่ง ภวจักรแรกตรัสด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ เพราะทรงแสดงความเป็นไปโดยลำดับ (อายตนะที่เกิด) ภวจักรหลัง ตรัสด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ เพราะทรงแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกัน (แห่งอายตนะ).

อธิบายกาล ๓

อนึ่ง กาลของภวจักรนั้น มี ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในกาลเหล่านั้น ว่าด้วยอำนาจกาลที่มาในพระบาลีโดยสรุป พึงทราบว่ามีองค์ ๒ คือ อวิชชาและสังขาร เป็นอดีตกาล. องค์ ๘ มีวิญญาณเป็นต้น มีภพเป็นที่สุด (๑) เป็นปัจจุบันกาล. และองค์ ๒ คือ ชาติ และชรามรณะ. เป็นอนาคตกาล และพึงทราบอีกว่า


(๑) อรรถกถาว่า ภวาสวานิ. แต่ฉบับ ม. ว่า ภวาวสานานิ

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 559

ก็ภวจักรนี้มีสนธิ ๓ คือ เหตุผลสนธิ ๑ (๑) ผลเหตุสนธิ ๑ เหตุปุพพกผลสนธิ ๑ และมีสังคหะ ๔ ประเภท คือ อาการ ๒๐ มีวัฏฏะ ๓ ย่อมหมุนไปไม่มีกำหนด ดังนี้.

อธิบายสนธิ ๓

บรรดาภวจักรเหล่านั้น ในระหว่างสังขารทั้งหลายและปฏิสนธิวิญญาณ เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า เหตุผลสนธิ. ในระหว่างเวทนาและตัณหา เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า ผลเหตุสนธิ. ในระหว่างภพและชาติ เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า เหตุปุพพกผลสนธิ. เพราะฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีสนธิ ๓ คือ เหตุผลสนธิ ๑ ผลเหตุสนธิ ๑ และเหตุปุพพกผลสนธิ ๑ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายสังคหะ ๔ (๒)

อนึ่ง ภวจักรนี้ มีสังคหะ ๔ ซึ่งกำหนดถือเอาภวจักรตั้งแต่เบื้องต้น (คืออวิชชา) และที่สุด (คือชรามรณะ) แห่งสนธิทั้งหลาย. ข้อนี้เป็นอย่างไร? คือ อวิชชาและสังขาร เป็นสังคหะที่ ๑ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นสังคหะที่ ๒ ตัณหา อุปาทาน และภพ เป็นสังคหะที่ ๓ ชาติชรามรณะ เป็นสังคหะที่ ๔ พึงทราบว่า ภวจักรนี้มีสังคหะ ๔ ประเภท ด้วยประการฉะนี้.


(๑) เหตุผลสนธิอันแรก ได้แก่ สังขารเป็นเหตุในอดีตต่อกับวิญญาณซึ่งเป็นผลในปัจจุบัน ผลเหตุสนธิที่ ๒ ได้แก่ เวทนาซึ่งเป็นผลในปัจจุบันต่อกับตัณหาซึ่งเป็นเหตุในปัจจุบัน และเหตุปุพพกผลสนธิสุดท้าย ได้แก่ ภพเป็นเหตุในปัจจุบันต่อกับชาติอันเป็นผลในอนาคต.

(๒) คำว่า สังคหะ ๔ ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเรียกว่า สังเขป ๔

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 560

อธิบายอาการ ๒๐

อนึ่ง พึงทราบว่า ภวจักรมีอาการ ๒๐ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านั้น คือ

ในอดีตมีเหตุ ๕ ในปัจจุบันมีผล ๕ ในปัจจุบันมีเหตุ ๕ ในอนาคตมีผล ๕.

บรรดาภวจักรเหล่านั้น คำว่า ในอดีตมีเหตุ ๕ ความว่า องค์ ๒ เหล่านี้คืออวิชชา และสังขาร ตรัสไว้ก่อนทีเดียว แต่เพราะบุคคลผู้โง่เขลาย่อมสะดุ้ง บุคคลผู้สะดุ้งย่อมยึดมั่น ภพจึงเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยแก่บุคคลนั้น ฉะนั้น จึงทรงถือเอาแม้ตัณหา อุปาทาน และภพด้วย เพราะเหตุนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวว่า ในกรรมภพก่อน โมหะคืออวิชชา กรรมที่ประกอบคือสังขาร ความใคร่คือตัณหา การเข้าถึงคืออุปาทาน เจตนาคือภพ ธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ในกรรมภพก่อน เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในภพนี้. ในคำเหล่านั้น คำว่า ในกรรมภพก่อน ได้แก่ กรรมภพที่เกิดก่อน คือ กรรมภพที่ทำไว้ในอดีตชาติ. คำว่า โมหะคืออวิชชา อธิบายว่า โมหะ (ความหลง) ในสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ในกาลนั้น อันใด สัตว์นั้นหลงแล้วย่อมทำกรรมด้วยโมหะใด นั้นเป็นอวิชชา. คำว่า กรรมที่ประกอบคือสังขาร ได้แก่ เจตนาแรกของบุคคลผู้ทำกรรมนั้น เหมือนการยังจิตให้เกิดขึ้นด้วยอันคิคว่า เราจักถวายทาน แล้วจัดแจงอยู่ซึ่งอุปกรณ์แห่งการให้ทานหนึ่งเดือนบ้าง หนึ่งปีบ้าง. ก็เจตนาของบุคคลที่ยังทักษิณาให้ตั้งขึ้นในมือของปฏิคาหกทั้งหลาย ท่านเรียกว่า ภพ. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาในชวนะ ๖ ซึ่งมีอาวัชชนะเดียวกัน ชื่อว่าอายุหนสังขาร (กรรมที่ประกอบคือสังขาร) เจตนาดวงที่ ๗ ชื่อว่า ภพ. อนึ่ง เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อ ภพ ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 561

อายุหนสังขาร. คำว่า ความใคร่ คือตัณหา ความว่า ความใคร่ คือ ความปรารถนาในอุปปัตติภพซึ่งเป็นผลของบุคคลผู้ทำกรรมอยู่นั้น ชื่อว่า ตัณหา. คำว่า ความเข้าถึงคืออุปาทาน ความว่า การเข้าถึง การยึด การถือ ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า "เราทำกรรมนี้ให้เป็นปัจจัยแก่ภพแล้ว จักเสพกามในฐานะชื่อโน้น จักขาดสูญ" ดังนี้ อันใด นี้ชื่อว่า อุปาทาน. คำว่า เจตนาคือภพ ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในที่สุดแห่งกรรมที่ประกอบ ชื่อว่า ภพ พึงทราบเนื้อความนี้ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า ในปัจจุบันมีผล ๕ ได้แก่ ภวจักรมีวิญญาณเป็นต้นมีเวทนาเป็นที่สุดมาในพระบาลีนั้นแหละ เหมือนอย่างที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวว่า ในอุปปัตติภพนี้ ปฏิสนธิคือวิญญาณ ๑ ความก้าวลงคือนามรูป ๑ ประสาทคืออายตนะ ๑ ความถูกต้องคือผัสสะ ๑ ความเสวยอารมณ์คือเวทนา ๑ ธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้มีในอุปปัตติภพนี้ เพราะกรรมที่ทำแล้วในกาลก่อนเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้. ในธรรม ๕ นั้น คำว่า ปฏิสนธิคือวิญญาณ ที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปฏิสนธิ เพราะความเกิดขึ้นด้วยอำนาจความสืบต่อในภพอื่น ดังนี้อันใด นั้นชื่อว่า วิญญาณ. คำว่า การก้าวลงคือนามรูป ความว่า การหยั่งในครรภ์ของรูปธรรมและอรูปธรรมเป็นเหมือนมาแล้วเข้าไป อันใด นี้ชื่อว่า นามรูป. คำว่า ประสาทคืออายตนะ นี้ กล่าวไว้ด้วยอำนาจอายตนะ ๕ มีจักขวายตนะเป็นต้น. คำว่า การถูกต้องคือผัสสะ ได้แก่ การถูกต้องแล้ว หรือกำลังถูกต้องซึ่งอารมณ์ อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่า ความเสวยอารมณ์ คือเวทนา ได้แก่ การเสวยวิบากซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ หรือผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นปัจจัย อันใด นั้นชื่อว่า เวทนา พึงทราบเนื้อความนี้ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 562

คำว่า ในปัจจุบันมีเหตุ ๕ ได้แก่ เหตุทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นมาแล้วในพระบาลีนั้นแหละ คือตัณหา อุปาทาน และภพ ก็เมื่อถือเอาภพแล้ว ก็เป็นอันถือสังขารอันเป็นบุพภาคแห่งภพนั้น หรือธรรมอันสัมปยุตด้วยภพนั้นเหมือนกัน และด้วยการถือเอาตัณหาและอุปาทาน ก็เป็นอันถือเอาอวิชชาอันสัมปยุตด้วยตัณหาและอุปาทานนั้น หรือว่าเป็นเหตุให้คนผู้หลงทำกรรมนั้น เพราะฉะนั้น องค์แห่งภวจักรนั้น จึงเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวว่า เพราะความที่อายตนะทั้งหลายในโลกนี้แก่หง่อมแล้ว โมหะคืออวิชชา กรรมที่ประกอบคือสังขาร ความใคร่คือตัณหา การเข้าถึงคืออุปาทาน เจตนาคือภพ ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ดังกล่าวนี้ในภพนี้เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญาณในอนาคต ดังนี้. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เพราะความที่อายตนะทั้งหลายในโลกนี้แก่หง่อมแล้ว นั้น แสดงบุคคลผู้หลงใหลในเวลาทำกรรมของสัตว์ผู้มีอายตนะหง่อมแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

คำว่า ในอนาคตมีผล ๕ ได้แก่ ผล ๕ มีวิญญาณเป็นต้น. ผล ๕ มีวิญญาณเป็นต้นนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ด้วยศัพท์ว่าชาติ ส่วนชรามรณะก็เป็นชรามรณะของผล ๕ มีวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้นแหละ ด้วยเหตุนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวว่า ในอนาคต ปฏิสนธิคือวิญญาณ ความก้าวลงคือนามรูป ประสาทคืออายตะ การถูกต้องคือผัสสะ การเสวยอารมณ์คือเวทนา ธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ ดังกล่าวนี้ มีในอุปปัตติภพในอนาคต เพราะกรรมที่ทำไว้แล้วในภพนี้เป็นปัจจัย ดังนี้. ภวจักรนี้มีอาการ ๒๐ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 563

บรรดาภวจักรมีอาการ ๒๐ เหล่านั้น ในภพก่อนมีองค์ประกอบ คือ กรรม (ที่เป็นเหตุ) ๕ อย่าง ในปัจจุบันมีธรรมที่เป็นวิบาก ๕ อย่าง ในปัจจุบันมีองค์ประกอบคือกรรม ๕ อย่าง ในอนาคตมีธรรมที่เป็นวิบาก ๕ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็นธรรมที่เป็นกรรม ๑๐ อย่าง เป็นวิบาก ๑๐ อย่าง ด้วยอาการที่กล่าว กรรมในฐานะทั้งสองจึงชื่อว่า กรรม วิบากในฐานะทั้งสองจึงชื่อว่า วิบาก ภวจักรแม้ทั้งหมดนี้เป็นทั้งกรรมเป็นทั้งวิบากของกรรม หมุนไปโดยปัจจยาการ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง กรรมในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กรรมสังเขป (ย่อกรรม) วิบากในฐานะทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า วิปากสังเขป (ย่อวิบาก) เพราะฉะนั้น ภวจักร ทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์. อนึ่ง กรรมในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กรรมภพ วิบากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า วิปากภพ เพราะฉะนั้น ภวจักรทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมภพ และวิปากภพ. กรรมในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กรรมปวัตตะ วิบากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า วิปากปวัตตะ เพราะฉะนั้น ภวจักรทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมสันตติและวิปากสันตติ อนึ่ง กรรมในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กรรมสันตติ วิปากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า วิปากสันตติ เพราะฉะนั้น ภวจักรทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมสันตติและวิปากสันตติ อนึ่ง กรรมในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กิริยา วิบากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า ผลของกิริยา เพระฉะนั้น ภวจักรทั้งสิ้นนี้ จึงเป็นทั้งกิริยาและผลของกิริยา ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 564

ภวจักรนี้เกิดขึ้นพร้อมแล้วประกอบด้วยเหตุ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มีความหวั่นไหว เปลี่ยนแปลง ไม่ยั่งยืน ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่ธรรมทั้งหลาย โดยความเป็นเหตุ เพราะในธรรมเหล่านี้หาตัวตน และคนอื่นมิได้.

ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้นเอง เพราะปัจจัยคือเหตุเป็นองค์ประกอบ ก็พระธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อความดับซึ่งเหตุทั้งหลาย.

เมื่อเหตุทั้งหลายดับแล้ว วัฏฏะก็ขาดไม่หมุนเวียน ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมมีเพื่อทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เมื่อค้นหาความเป็นสัตว์ไม่ได้ ความขาดสูญและความยั่งยืน ก็ย่อมไม่มี.

ก็ในคำว่า วัฏฏะ ๓ ย่อมหมุนไปไม่มีกำหนด นี้ อธิบายว่า ภวจักรนี้มีวัฏฏะ ๓ ด้วยวัฏฏะ ๓ เหล่านั้น คือ "สังขารและภพ เป็นกรรมวัฏฏ์ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นกิเลสวัฏฏ์ วิญญาณ นามรูป สฬาตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นวิปากวัฏฏ์" พึงทราบว่า ย่อมหมุนไปโดยการหมุนไป

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 565

รอบบ่อยๆ ชื่อว่า ไม่มีกำหนดเพราะมีปัจจัยไม่ขาดสายตลอดเวลาที่กิเลสวัฏฏ์ยังไม่ขาดทีเดียว. ภวจักรนี้ เมื่อหมุนอย่างนี้

พึงทราบ โดยความเป็นสัจจะ และเป็นแดนเกิดแห่งสัจจะ ๑ โดยกิจ ๑ โดยการห้าม ๑ โดยการอุปมา โดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง ๑ โดยประเภทแห่งนัย ๑ ตามควร.

พึงทราบโดยความเป็นสัจจะและเป็นแดนเกิด

ในคาถานั้น เพราะคำที่ตรัสไว้ในสัจจวิภังค์ว่า " กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นสมุทยสัจจะ โดยไม่แปลกกัน " ดังนี้ ฉะนั้น คำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ดังนี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชา จัดเป็นสัจจะที่ ๒ มีสัจจะที่ ๒ เป็นแดนเกิด. วิญญาณเกิดเพราะสังขารทั้งหลาย จัดเป็นสัจจะที่ ๑ มีสัจจะ ๒ เป็นแดนเกิด. นามรูปเป็นต้นมีวิปากเวทนาเป็นที่สุด เกิดเพราะวิญญาณเป็นต้น จัดเป็นสัจจะที่ ๑ มีสัจจะที่ ๑ เป็นแดนเกิด. ตัณหาเกิดเพราะเวทนา จัดเป็นสัจจะที่ ๒ มีสัจจะที่ ๑ เป็นแดนเกิด. อุปาทานเกิดเพราะตัณหา จัดเป็นสัจจะที่ ๒ มีสัจจะที่ ๒ เป็นแดนเกิด. ภพเกิดเพราะอุปาทาน จัดเป็นสัจจะทั้ง ๒ คือที่ ๑ และที่ ๒ อันมีสัจจะที่ ๒ เป็นแดนเกิด. ชาติเกิดเพราะภพ จัดเป็นสัจจะที่ ๑ อันมีสัจจะที่ ๒เป็นแดนเกิด. ชรามรณะเกิดเพราะชาติ จัดเป็นสัจจะที่ ๑ อันมีสัจจะที่ ๑ เป็นแดนเกิด. ภวจักรนี้พึงทราบโดยเป็นสัจจะ และเป็นแดนเกิดตามควร ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 566

พึงทราบภวจักรโดยกิจ

อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาย่อมยังเหล่าสัตว์ให้หลงใหลในวัตถุทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัย เพราะความปรากฏแห่งสังขารทั้งหลาย อนึ่ง สังขารทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม และย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ. แม้วิญญาณก็ย่อมรู้ชัดซึ่งวัตถุ และย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป. แม้นามรูปก็อุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน และย่อมเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ. แม้สฬายตนะก็ย่อมเป็นไปในวิสัยของตน และย่อมเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ. แม้ผัสสะก็ถูกต้องซึ่งอารมณ์ และย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา. แม้เวทนาก็เสวยซึ่งรสอารมณ์ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ตัณหา. แม้ตัณหาก็กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด และย่อมเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. แม้อุปาทานก็ยึดถือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ภพ. แม้ภพก็สับสนไปในคติต่างๆ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ชาติ. แม้ชาติก็ยังขันธ์ทั้งหลายให้เกิด เพราะขันธ์เหล่านั้นเป็นไปด้วยภาวะคือความเกิดโดยเฉพาะ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ. แม้ชรามรณะก็ตั้งอยู่เฉพาะซึ่งความแก่และความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัยแก่ความปรากฏในภพอื่น เพราะความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นที่รองรับความโศกเป็นต้น ฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยกิจอันเป็นไป ๒ อย่าง ในบททั้งปวงตามสมควร.

พึงทราบภวจักรโดยการห้าม

อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ คำว่า "สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย" ดังนี้ เป็นการห้ามความเห็นว่ามีผู้สร้าง. คำว่า วิญญาณ

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 567

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นี้เป็นการห้ามความเห็นว่าอัตตาเคลื่อนจากที่ (หนึ่งไปที่หนึ่ง) ได้. คำว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นี้เป็นการห้ามความสำคัญว่าเป็นก้อน เพราะเห็นการแตกไปแห่งวัตถุที่กำหนดกันว่ามีอัตตา. ในคำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนานรูปเป็นปัจจัย ดังนี้เป็นต้น เป็นการห้ามความเห็นมีอาทิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมเห็น ฯลฯ ย่อมรู้ ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมยึด ย่อมถือมั่น ย่อมมี ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย" ดังนี้ ฉะนั้น พึงทราบภวจักรแม้นี้โดยการห้ามความเห็นผิด ตามควรเถิด.

พึงทราบภวจักรโดยการอุปมา

ก็เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาเปรียบเหมือนคนบอด เพราะไม่เห็นธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสภาวลักษณะและสามัญลักษณะ. สังขารทั้งหลายที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการลื่นถลาของของคนบอด. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการล้มของคนบอดผู้ลื่นถลา นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความปรากฏแผลฝีของคนบอดที่ล้มแล้ว. สฬายตนะที่เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนต่อมที่แตกของหัวฝี. ผัสสะที่เกิดเพราะสฬายเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการกระทบกับหัวฝี. เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความไม่สบาย (ทุกข์) เพราะการกระทบ. ตัณหาที่เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนผู้ต้องการบำบัดทุกข์. อุปาทานที่เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการถือเอาเภสัชที่เป็นอสัปปายะมาโดยปรารถนาจะบำบัดโรค.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 568

ภพที่เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการพอกยาอสัปปายะที่ตนเก็บมา. ชาติที่เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการปรากฏเป็นฝีกลายด้วยการพอกยาที่เป็นอสัปปายะ. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการแตกแห่งฝีเพราะฝีกลาย.

ก็หรือว่า เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย โดยภาวะที่ไม่ปฏิบัติ และภาวะที่ปฏิบัติผิด ดุจผ้าปิดดวงตา ก็คนพาลถูกอวิชชา ครอบงำแล้ว ย่อมผูกตนไว้ด้วยสังขารทั้งหลาย อันให้เกิดในภพใหม่ ดุจตัวไหมรัดตัวไว้โดยส่วนแห่งรังไหม. วิญญาณที่กำหนดไว้ด้วยสังขาร ย่อมได้ที่อาศัยในคติทั้งหลาย ดุจพระราชกุมารผู้อันปริณายกประคองแล้ว ย่อมได้เสวยราชสมบัติ. วิญญาณย่อมยังนามรูปมีประการอเนกให้บังเกิดในปฏิสนธิ เพราะกำหนดนิมิตแห่งการอุบัติ ดุจนายมายากลยังมายากลให้เกิด. สฬายตนะอาศัยนามรูปแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ดุจกอไม้ป่าอาศัยในภูมิภาคอันดี. ผัสสะย่อมเกิดเพราะการกระทบแห่งอายตนะ ดุจไฟเกิดเพราะการสีกันแห่งไม้สีไฟ. เวทนาย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้กระทบด้วยผัสสะ ดุจความร้อนของบุคคลผู้ถูกต้องไฟ. ตัณหาย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เสวยอารมณ์อยู่ ดุจความกระหายที่เพิ่มขึ้นของผู้ดื่มน้ำเค็ม บุคคลผู้กระหายแล้วย่อมทำความปรารถนาในภพทั้งหลาย ดุจบุคคลกระหายในการดื่มน้ำ. การทำความอยากนั้นเป็นอุปาทานของเขา ย่อมยึดถือภพด้วยอุปาทาน ดุจปลาติดเบ็ด ด้วยความโลภในเหยื่อ. เมื่อภพมี ชาติก็ย่อมมี ดุจเมื่อเมล็ดพืชมี หน่อก็ต้องมี. บุคคลเกิดแล้ว ย่อมเข้าถึงชรามรณะแน่นอน ดุจต้นไม้เกิดขึ้นแล้วก็ต้องล้มไป ฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบด้วยการอุปมาทั้งหลายตามควร ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 569

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง

ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความลึกซึ้ง โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยเทศนาบ้าง โดยการแทงตลอดบ้าง จึงตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งที่มีกระแสความลึกซึ้ง" ดังนี้. (๑) ฉะนั้น ภวจักรแม้นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยประเภทแห่งความลึกซึ้งตามควร.

ในความลึกซึ้งโดยอรรถเป็นต้นเหล่านั้น เพราะชรามรณะจะไม่มีมาแต่ชาติ (ความเกิด) ก็หาไม่ และเว้นชาติเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดจากสิ่งอื่น และย่อมปรากฏเพราะชาติแน่แท้ เพราะฉะนั้น อรรถว่าเกิดและปรากฏ เพราะชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะอรรถปรากฏขึ้นเพราะชาติเป็นปัจจัยอันสัตว์ตรัสรู้ได้โดยยาก ด้วยประการฉะนี้. อรรถว่าเกิดและปรากฏ เพราะภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายก็ชื่อว่า ลึกซึ้ง ฉะนั้น ภวจักรนี้ ชื่อว่า ลึกซึ้งโดยอรรถ. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยอรรถในภวจักรนี้ก่อน.

ก็ผลอันเกิดแต่เหตุ ตรัสเรียกว่า อรรถ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "ญาณ (ความรู้) ในผลของเหตุ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา เป็นต้น.

อนึ่ง เพราะอวิชชามีกิริยาที่ตั้งลงอันใด โดยอาการใด จึงเป็นปัจจัยแก่สังขารเหล่านั้นๆ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายของอวิชชา เพราะกิริยาและอาการนั้นอันสัตว์ตรัสรู้ได้ยาก จึงชื่อว่า ลึกซึ้ง อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่วิญญาณของสังขารทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะของชาติ


(๑) สํ.นิทาน. เล่มที่ ๑๖. ๒๒๕/๑๑๑

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 570

ก็ชื่อว่า ลึกซึ้ง เหมือนกัน ฉะนั้น ภวจักร จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยธรรม. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยธรรมในภวจักรนี้.

ก็คำว่า ธรรม นี้เป็นชื่อของเหตุ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "ญาณ (ความรู้) ในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา" เป็นต้น อนึ่ง เพราะแม้เทศนาซึ่งภวจักรนั้นชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะพระองค์ทรงให้เป็นไปโดยเหตุนั้นๆ โดยประการนั้นๆ ญาณอื่นๆ นอกจากสัพพัญญุตญาณแล้วย่อมไม่ได้ความมั่นคงในเทศนานั้น เพราะภวจักรนี้ในพระสูตรบางแห่งทรงแสดงโดยอนุโลม บางแห่งทรงแสดงโดยปฏิโลม บางแห่งทรงแสดงตั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม บางแห่งก็ทรงแสดงโดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้างตั้งแต่ท่ามกลางไป บางแห่งก็ทรงแสดงเป็นสนธิ ๓ และสังเขป ๔ บางแห่งทรงแสดงสนธิ ๒ และสังเขป ๓ บางแห่งทรงแสดงสนธิ ๑ และสังเขป ๒ ฉะนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยเทศนา. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยเทศนา ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ สภาวะแห่งธรรมมีอวิชชาเป็นต้น อันใด ธรรมมีอวิชชาเป็นต้นย่อมเป็นธรรมอันบุคคลแทงตลอดโดยลักษณะของตนด้วยการแทงตลอดอันใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะหยั่งลงได้โดยยาก ฉะนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยการแทงตลอด เพราะในภวจักรนี้ อรรถแห่งอวิชชาเป็นอัญญาณ (ความไม่รู้) เป็นอทัสสนะ (ความไม่เห็น) และการไม่แทงตลอดสัจจะซึ่งเป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งสังขารทั้งหลายว่าเป็นสภาพปรุงแต่ง การประกอบกรรม เป็นไปกับราคะและปราศจากราคะ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งวิญญาณว่าเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) ไม่ขวนขวาย ไม่เคลื่อนไป และปรากฏเป็นปฏิสนธิ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งนามรูป

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 571

ว่าเป็นสภาพเกิดพร้อมกัน แยกกันได้ แยกกันไม่ได้ น้อมไป และแปรผัน เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งสฬายตนะว่าเป็นอธิบดี (เป็นใหญ่ยิ่ง) เป็นโลก เป็นทวาร เป็นเขต และเป็นอารมณ์ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งผัสสะว่าเป็นการถูก การกระทบ การประจวบ และการประชุม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งเวทนาว่าเป็นการเสวยรสอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ ความวางเฉย และเสวยอารมณ์อันไม่มีชีวะ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งตัณหาว่าเป็นความเพลิดเพลิน ความปรารถนาความเพลิดเพลินนั้น เป็นของให้เต็มได้ยาก ดังสายลำธาร แม่น้ำ ตัณหาคือทะเล เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งอุปาทานว่าเป็นความยึด ความถือ ความยึดมั่น ความลูบคลำ ก้าวล่วงได้โดยยาก เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแหงภพว่าเป็นการซัดไปในกำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส เพราะการปรุงแต่งแห่งการทำกรรม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งชาติว่าเป็นความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด และความปรากฏ เป็นอรรถลึกซึ้ง อรรถแห่งชรามรณะว่าเป็นความสิ้น ความเสื่อม ความแตก และความแปรปรวน เป็นอรรถลึกซึ้ง. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยการแทงตลอดในภวจักรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งนัย

อนึ่ง ในภวจักรนี้ มีอรรถนัย (นัยแห่งอรรถ) ๔ คือ

เอกัตตนัย นัยที่มีอรรถอย่างเดียวกัน

นานัตตนัย นัยที่มีอรรถต่างกัน

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 572

อัพยาปารนัย นัยที่ไม่มีการขวนขวาย

เอวังธัมมตานัย นัยที่มีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

เพราะฉะนั้น พึงทราบภวจักรนี้ แม้โดยความต่างนัยตามควร.

บรรดานัยทั้ง ๔ นั้น ความไม่ขาดแห่งสันดาน (ความสืบต่อ) เหมือนความที่เมล็ดพืชเกิดเป็นต้นไม้ โดยความมีหน่อเป็นต้น อย่างนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า เอกัตตนัย.

เมื่อพระโยคาวจรเห็นภวจักรโดยชอบ ย่อมละอุจเฉททิฏฐิได้ เพราะ หยั่งรู้ความไม่ขาดไปแห่งความสืบต่ออันเป็นไปอยู่ด้วยความเกี่ยวข้องกันทั้งเหตุและผล เมื่อเห็นผิด ย่อมยึดถือสัสสตทิฏฐิ โดยยึดเป็นอันเดียวกันแห่งความไม่ขาดตอนแห่งความสืบต่อ ซึ่งกำลังเป็นไป ด้วยความพันกันซึ่งเหตุและผล.

ส่วนความกำหนดลักษณะภวจักรมีอวิชชาเป็นต้น ตามภาวะของตน ชื่อว่า นานัตตนัย เมื่อพระโยคาวจรเห็นภวจักรโดยชอบ ย่อมละสัสสตทิฏฐิได้ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งสภาวะใหม่ๆ เมื่อเห็นผิดย่อมยึดถืออุเฉททิฏฐิ เพราะยึดถือความต่างกันแห่งความสืบต่อที่ต่างกัน ซึ่งตกไปในความสืบต่ออันเดียวกันนั่นเอง.

ความที่อวิชชาไม่มีความขวนขวายว่า สังขารทั้งหลายอันเราพึงให้เกิดขึ้น หรือความที่สังขารทั้งหลายไม่มีความขวนขวายว่า วิญญาณอันพวกเราพึงให้เกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า อัพยาปารนัย. เมื่อพระโยคาวจรเห็นอยู่โดยชอบ ย่อมละอัตตทิฏฐิ เพราะหยั่งเห็นความไม่มีผู้สร้าง

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 573

เมื่อเห็นผิดย่อมยึดถืออกิริยทิฏฐิ เพราะความไม่ยึดถือความที่เหตุอันสำเร็จโดยกำหนดสภาวะแห่งอวิชชาเป็นต้น ในเพราะไม่มีความขวนขวายแม้นั้น.

อนึ่ง ความเกิดขึ้นแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น ด้วยเหตุทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ไม่ใช่ธรรมเหล่าอื่น เหมือนความที่นมส้มเป็นต้น เกิดแต่นมสดเป็นต้น ดังนี้ นี้ชื่อว่า เอวังธัมมตานัย. เมื่อพระโยคีเห็นโดยชอบย่อมละอเหตุกทิฏฐิและอกิริยทิฏฐิได้ เพราะหยั่งรู้ผลโดยสมควรแก่ปัจจัย เมื่อเห็นผิด ย่อมยึดถืออเหตุกทิฏฐิ และนิยตวาทะ (ความเห็นว่าเที่ยง) เพราะไม่ยึดถือความเป็นไปแห่งผลอันควรแก่ปัจจัย ไม่ยึดถือความเกิดของสภาพอะไรๆ แต่ที่ไหนๆ เลย เพราะฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิต

พึงทราบโดยความเป็นสัจจะและเป็นแดนเกิดแห่งสัจจะ ๑ โดยกิจ ๑ โดยการห้าม ๑ โดยอุปมา ๑ โดยประเภทอันลึกซึ้ง ๑ โดยประเภทแห่งนัย ๑ ตามควรด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่ ภวจักรนี้ ชื่อว่า หยั่งไม่ถึง เพราะลึกซึ้ง ชื่อว่า ก้าวล่วงได้ยาก เพราะต้องศึกษาเอาโดยนัยต่างๆ ใครๆ ยังไม่ทำลายภวจักร (ความหมุนไปแห่งภพ) อันย่ำยีอยู่เป็นนิตย์ดุจอสนิบาต ด้วยดาบคือญาณอันลับดีแล้ว บนหินคือสมาธิอันประเสริฐแล้วจะผ่านพ้นภัยคือสังสารไม่ได้ ย่อมไม่มีแม้ในระหว่างแห่งความฝัน ข้อนี้สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 574

เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นผู้ยุ่ง เหมือนเส้นด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมกระจุกเส้นด้าย เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สังสาร ดังนี้ (๑) เพราะฉะนั้น บัณฑิตในโลกนี้ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ตนหรือแก่ชนเหล่าอื่น พึงละกิจที่เหลือแล้ว

พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ประกอบความเพียรเนืองๆ จะพึงได้ความหยั่งลงในประเภทแห่งปัจจยาการอันลึกซึ้งนี้ได้แล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ


(๑) สํ. นิทาน. เล่มที่ ๑๖ ๒๒๕/๑๑๑

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 575

อภิธรรมมาติกา

ปัจจยจตุกกะ

[อวิชชามูลกนัย]

[๒๗๔] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๗๕] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 576

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๗๖] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๗๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 577

สฬาตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย (๑)

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ปัจจยจตุกกะ จบ

เหตุจตุกกะ

[อวิชชามูลกนัย]

[๒๗๘] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย


(๑) ตามบาลีฉัฏฐสังคายนา.

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 578

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทามีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย.

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๒๗๙] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๐] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 579

ผัสสะมีอายตะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๑] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

เหตุจตุกกะ จบ

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 580

สัมปยุตตจตุกกะ

[อวิชชามูลกนัย]

[๒๘๒] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๓] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 581

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๔] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 582

[๒๘๕] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะ (๑) เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้ยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

สัมปยุตตจตุกกะ จบ

อัญญมัญญจตุกกะ

[อวิชชามูลกนัย]

[๒๘๖] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย


(๑) ฉัฏฐสังคายนาฉบับพม่า อายตนะที่ ๖

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 583

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

นามเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 584

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

นามเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๘] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 585

นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๙] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 586

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อัญญมัญญจตุกกะ จบ

[นัย ๘ มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น]

[๒๙๐] อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 587

อวิชชาเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อภิธรรมมาติกา จบ

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 588

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

พระศาสดาผู้มีพระญาณอันไม่มีอะไรขัดขวางในธรรมทั้งปวง ครั้นทรงแสดงปัจจยาการอันปราศจากขอดปม และไม่ยุ่งยากในสุตตันตภาชนีย์ ด้วยอำนาจจิตต่างๆ ปานดังทรงคลี่ผืนมหาปฐพี และปานดังทรงขยายนภากาศ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพราะปัจจยาการนี้จะมีในจิตต่างๆ กัน อย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ย่อมมีแม้ในจิตดวงเดียวทีเดียว ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจยาการซึ่งเกิดในขณะจิตดวงเดียวกัน โดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจอภิธรรมภาชนีย์จึงทรงตั้งมาติกาไว้ก่อนโดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้. ก็มาติกาที่ทรงตั้งไว้ อย่างนี้ว่า

อวิชฺชาทีหิ มูเลหิ นว มูลปทา นว

นยา ตตฺถ จตุกฺกานิ วารเภทญฺจ ทีปเย

บัณฑิตพึงแสดงหมวด ๔ (แห่งปัจจัย) และประเภทแห่งวาระในนัยทั้ง ๙ ซึ่งมีบทแห่งมูล ๙ ด้วยมูลทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น.

อธิบายนัยแห่งมาติกามีอวิชชาเป็นมูล

ในคาถานี้ มีการอธิบาย ดังต่อไปนี้:-

จริงอยู่ ในปฏิจจสมุปบาทนี้มี ๙ นัย มีบทที่เป็นมูล ๙ บท เหล่านี้ คือ มีอวิชชาเป็นต้น ๑ มีสังขารเป็นต้น ๑ มีวิญญาณเป็นต้น ๑ มีนาม

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 589

เป็นต้น ๑ มีอายตนะที่ ๖ เป็นต้น ๑ มีผัสสะเป็นต้น ๑ มีเวทนาเป็นต้น ๑ มีตัณหาเป็นต้น ๑ มีอุปาทานเป็นต้น ๑ ด้วยบทที่เป็นมูล ๙ บท มีอวิชชาเป็นต้น คือ โดยประเภทแห่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม อายตนะที่ ๖ ผัสสะ เวทนา ตัณหา และอุปาทาน.

บรรดานัยทั้ง ๙ เหล่านั้น นัยนี้ใดมีอวิชชาเป็นต้นก่อน ในนัยที่มีอวิชชาเป็นต้นนั้นมีจตุกกะ ๔ คือ

ปัจจยจตุกกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยปัจจัยธรรม

เหตุจตุกกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยเหตุธรรม

สัมปยุตตจตุกกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยสัมปยุตตธรรม

อัญญมัญญจตุกกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยอัญญมัญญธรรม.

แม้นัยที่เหลือก็เหมือนในนัยมีอวิชชานี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในแต่ละนัย จึงรวมเป็น ๓๖ จตุกกะ ด้วยอำนาจแห่งจตุกกะ ๔. บรรดาจตุกกะเหล่านั้น เพราะรวมวาระอย่างละ ๔ ด้วยจตุกกะแต่ละจตุกกะ จึงเป็นวาระละ ๑๖ ในแต่ละนัย ด้วยอำนาจแห่งจตุกกะทั้ง ๔ ดังนั้น พึงทราบว่าเป็น ๑๔๔ วาระแล.

ว่าด้วยปัจจยจตุกกะ

บรรดาจตุกกะทั้ง ๔ นั้น ปัจจยจตุกกะในนัยมีอวิชชาเป็นมูลก่อนกว่านัยทั้งหมดนี้ใด ในปัจจยจตุกกะนั้น วาระที่หนึ่ง (บาลีข้อ ๒๗๔) ชื่อว่า ทวาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบด้วยองค์สองไม่บริบูรณ์ เพราะตรัสนามไว้ในที่แห่งนามรูป และตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ. วาระที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๗๕) ชื่อว่า เอกาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วย

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 590

องค์ ๑๑) ซึ่งประกอบด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะตรัสนามอย่างเดียวในที่แห่งนามรูป และไม่ตรัสองค์อะไรๆ ในที่แห่งสฬายตนะ. วาระที่ ๓ (บาลีข้อ ๒๗๖) ชื่อว่า ทวาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบด้วยองค์หนึ่งบริบูรณ์ เพราะตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ แต่วาระที่ ๔ มีองค์ ๑๒ บริบูรณ์แล้วโดยแท้.

ในข้อนั้น หากมีข้อสงสัยว่า แม้วาระที่ ๓ นี้ก็ประกอบด้วยองค์ที่ไม่บริบูรณ์เหมือนกัน เพราะตรัสว่า ฉฏฺายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย) ดังนี้. ข้อนั้นขอเฉลยว่า มิใช่เป็นดังนั้น เพราะอายตนะที่ ๖ นั้นมิใช่เป็นองค์ ความจริง ผัสสะอย่างเดียวเป็นองค์ในวาระที่ ๓ นี้ มิใช่อายตนะที่ ๖ เป็นองค์ เพราะฉะนั้น วาระที่ ๓ นี้ มิใช่ประกอบด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะอายตนะที่ ๖ นั้น มิใช่เป็นองค์ฉะนี้แล. อนึ่ง ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า วาระที่หนึ่ง พระองค์ทรงถือเอา ด้วยอรรถว่าทรงรวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าเป็นความต่างกันแห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ. อนึ่ง วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วยอรรถว่าการรวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าความต่างกันแห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยสามารถแห่งสัตว์มีอายตนะไม่บริบูรณ์ วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์มีอายตนะบริบูรณ์. อนึ่ง วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วยอรรถว่ารวบรวมองค์ทั้งหมดนั่นแหละ วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอำนาจมหานิทานสูตร วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจรูปภพ วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจกามภพ.

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 591

บรรดาวาระทั้ง ๔ เหล่านั้น วาระที่หนึ่ง ตรัสว่า สัพพสังคาหิกะ (รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด) เพราะในวาระทั้ง ๓ มีวาระที่ ๒ เป็นต้นเหล่านั้น จะไม่รวมเข้าไปในที่ไหนๆ มิได้มี ความต่างกันแห่งวาระที่เหลือจักแจ่มแจ้งข้างหน้า. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวาระที่หนึ่งนั้น พึงทราบว่า

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใดที่ตรัสโดยประการอื่น และแม้องค์ปฏิจจสมุปบาทใดที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด พึงเข้าไปกำหนดองค์ทั้งหมดนั้นแล.

ในคาถานั้นมีนัย ดังต่อไปนี้:-

ว่าโดยความไม่ต่างกันก่อน ถามว่า บรรดาวาระทั้ง ๔ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า สงฺขารา (สังขารทั้งหลาย) ดังนี้ เหมือนในสุตตันตภาชนีย์ แต่ตรัสว่า สงฺขาโร (สังขาร) ดังนี้นั้น เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะสังขารประกอบด้วยขณะแห่งจิตดวงเดียว จริงอยู่ในสุตตันตภาชนีย์นั้น ทรงจำแนกปัจจยาการอันเป็นไปในขณะแห่งจิตต่างๆ กัน ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ ทรงปรารภปัจจยาการที่เป็นไปในขณะเดียวกัน ก็ในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ย่อมไม่มีเจตนา (คือสังขาร) มาก จึงไม่ตรัสว่า สงฺขารา (สังขารทั้งหลาย) แต่ตรัสว่า สงฺขาโร (สังขาร คือ เจตนา) ดังนี้.

อนึ่ง บรรดาวาระเหล่านี้ ในวาระที่หนึ่งทรงทิ้งรูปเสีย ตรัสว่า วิญฺาณปจฺจยา นามํ (นามเท่านั้นมีวิญญาณเป็นปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรง

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 592

รวบรวมธรรมที่นับเนื่องในขณะแห่งจิตดวงเดียว และเพราะเป็นธรรมสาธารณะไปในที่ทุกสถาน จริงอยู่ นามธรรมนั้นนับเนื่องในขณะจิตดวงเดียวกัน และเป็นธรรมสาธารณะไปในที่ทั้งหมด ย่อมไม่เป็นไปในฐานะแห่งความเป็นไปของวิญญาณ ในที่ไหนๆ หามิได้ ก็เพราะวาระที่หนึ่งนี้ ผัสสะก็มีหนึ่งเท่านั้น นับเนื่องเข้าในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อทรงถือเอาอายตนะที่เป็นปัจจัยอันสมควรแก่ผัสสะนั้น จึงตรัส มนายตนะอย่างเดียวเท่านั้นไว้ในฐานะแห่งสฬายตนะว่า นามปจฺจยา ฉฏฺายตนํ (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ เพราะว่ามนายตนะนั้น เป็นปัจจัยอันสมควรแก่ผัสสะที่เป็นอกุศลดวงหนึ่ง และมนายตนะนี้ ก็ตรัสไว้แม้ในข้อนี้ว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณํ (วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งเหตุและผล และเพื่อครบองค์ จึงทรงถือเอาในที่นี้อีก เพราะในสุตตันตภาชนีย์นั้น สังขารเป็นเหตุต่างกันแก่มนายตนะนี้ นามเป็นผลโดยไม่ต่างกัน แต่ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ นามเป็นเหตุโดยไม่ต่างกันแก่มนายตนะนี้ ผัสสะเป็นผลโดยต่างกันฉะนี้แล.

ส่วนธรรมทั้งหมดมีโสกะเป็นต้น เพราะไม่เกิดในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ไม่เป็นไปในที่ที่จิตเป็นไปทั้งหมดและในจิตทุกดวง ฉะนั้นจึงไม่ทรงถือเอา. แต่ชาติ ชรามรณะ แม้มีประมาณขณะแห่งจิตไม่ได้ ก็ทรงถือเอาเพื่อให้ครบองค์ (แห่งปัจจยาการ) เพราะผนวกเข้าภายในขณะจิต ในวาระที่หนึ่ง องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ตรัสโดยประการอื่น และองค์ปฏิจจสมุปบาทใด ไม่ตรัสไว้ พึงทราบองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

อนึ่ง ในวาระเหล่านี้ องค์ปฏิจจสมุปบาทใดที่ตรัสในวาระอื่นจากวาระที่หนึ่งนี้ พึงทราบอรรถแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 593

แต่ความต่างกันใดๆ มาแล้วในวาระใดๆ ข้าพเจ้าจักประกาศอรรถอันต่างกันนั้นๆ ในวาระนั้นๆ ทีเดียว.

ส่วนในข้อว่า องค์ปฏิจจสมุปบาทใดเป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด นี้ มีอธิบายว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ๗ อย่าง คือ โดยปัจจัย ๖ ปัจจัย มีสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย อันทั่วไปแก่สัมปยุตตธรรม และด้วยเหตุปัจจัย. บรรดาปัจจัยเหล่านั้นเพราะจตุกกะ ๓ มีเหตุจตุกกะเป็นต้นข้างหน้า ตรัสไว้ด้วยอำนาจอวิคตะ สัมปยุตตะ และอัญญมัญญปัจจัย ฉะนั้น ในปัจจยจตุกกะนี้พึงนำปัจจัยทั้ง ๓ เหล่านั้นออกแล้ว พึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัย ๔ อย่างแก่สังขารด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ.

สังขารเป็นปัจจัย ๘ อย่างแก่วิญญาณ คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ ๖ ปัจจัย และโดยกัมมปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกกะนี้ พึงนำ ๓ ปัจจัยเหล่านั้นนั่นแหละออก ก็พึงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.

วิญญาณเป็นปัจจัย ๙ อย่างแก่นาม คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะปัจจัย ๖ อย่าง และโดยอินทริยปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ และอธิปติปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกกะนี้ พึงนำ ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก คงได้ปัจจัย ๖ อย่าง

นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ ๖ อย่าง ข้อว่า นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ นี้ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอธิปติปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย เพราะฉะนั้น นามจึงเป็นปัจจัยได้หลายอย่าง แต่ในปัจจยจตุกกะนี้ พึงนำเอา ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละ ออกแล้วคงได้ปัจจัย ๓ อย่างบ้าง ๔ อย่างบ้าง ๕ อย่างบ้าง.

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 594

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ เหมือนวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม.

ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และอาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ เหล่านั้นแหละออก คงได้ปัจจัย ๔ อย่าง.

เวทนาเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ๘ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง ด้วยฌานปัจจัย ๑ และอินทริยปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกกะนี้พึงนำออก ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละ คงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.

ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เหมือนอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร

อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และด้วยมรรคปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ อย่างเหล่านั้นแหละออกก็ได้ปัจจัย ๔ อย่าง.

ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติด้วยอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นโดยปริยาย (อ้อม) เพราะในคำว่า ชาติ นี้ ประสงค์เอาสังขตลักษณะ ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ด้วยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียวเหมือนกัน.

ส่วนอาจารย์เหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า " ในจตุกกะนี้ อวิชชาเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่สังขารเป็นต้นแม้ทั้งหมด ด้วยสหชาตปัจจัย เพราะวาระที่หนึ่ง ทรงเริ่มด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเท่านั้น" อาจารย์เหล่านั้น อันใครๆ พึงแสดงความไม่มีแห่งภพเป็นต้นเหมือนอย่างนั้น และแสดงความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยที่เหลือแล้วพึงปฏิเสธ เพราะภพมิได้เป็นสหชาตปัจจัยแก่ชาติ ชาติก็ไม่เป็นสหชาตปัจจัยแก่ชรามรณะ ฝ่ายปัจจัยที่เหลือเหล่าใดตรัสไว้แก่สังขารเป็นต้นเหล่านั้น ปัจจัยแม้เหล่านั้นมีอยู่โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจทิ้งเสีย.

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 595

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใดที่ตรัสไว้ โดยประการอื่น และแม้องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด พึงทราบว่า องค์ปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยประการนั้น ดังนี้

ในวาระที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน.

แม้ในวาระที่ ๒ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๒

(บาลีข้อ ๒๗๔)

ส่วนความต่างกัน พึงทราบดังนี้

ถามว่า ในวาระที่ ๒ ตรัสว่า นามปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) มิได้ตรัสคำอะไรๆ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะนั้น เพื่ออะไร?

ตอบว่า เพื่อแสดงความต่างกันแห่งปัจจัย และเพื่อสงเคราะห์เข้าด้วยเทศนาในมหานิทานสูตร.

จริงอยู่ ผัสสะหามีสฬายตนะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้มีแม้ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้นเป็นปัจจัยด้วยทีเดียว ก็ในมหานิทานสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๑ ทรงทิ้งสฬายตนะเสีย อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 596

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้ (๑) เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งปัจจัยนี้ และเพื่อทรงกำหนดเทศนาในมหานิทานสูตรนี้ จึงตรัสว่า นามปจฺจยา ผสฺโส ไว้ในวาระที่ ๒ มิได้ตรัสคำอะไรๆ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ. นี้เป็นความต่างกันในทุติยวาระก่อน.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๓

(บาลีข้อ ๒๗๖)

ส่วนในวาระที่ ๓ ตรัสองค์ที่ ๙ อันมาในสุตตันตภาชนีย์ว่า วิญฺาณปจฺจยา นามรูปํ (นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) ดังนี้. หากมีผู้ถามว่า องค์ที่ ๔ นั้น ไม่ควรในปัจจยจตุกกะนี้ เพราะความที่ปัจจยาการเป็นไปในขณะจิตเดียว. พึงตอบว่า องค์ที่ ๔ (นามรูป) นั้น ไม่ควรหามิได้ เพราะเหตุไร เพราะความเป็นปัจจัยในลักษณะของตน จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ในนามรูปนั้น รูปจะตั้งอยู่เกินกว่าขณะของจิต ถึงอย่างนั้น วิญญาณนั้นก็เป็นปัจจัยแก่รูปนั้นในลักษณะของตน ข้อนี้เป็นอย่างไร? คือ เบื้องต้น วิญญาณเป็นปัจจัย โดยเป็นปัจจัยแก่รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานซึ่งเกิดก่อนบ้าง แก่รูปที่เกิดภายหลังบ้าง ข้อนี้ สมกับพระดำรัสที่ตรัสว่า ปจฺฉาชาตา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา ปุเรชาตสฺส อิมสฺส กายสฺส ปจฺฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย (ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยปัจฉาชาตปัจจัย) ดังนี้. อนึ่ง วิญญาณยังเป็นปัจจัยแก่รูปที่เกิดพร้อมกันซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยนิสสยปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ธรรมทั้งหลาย


(๑) ที. มหาวคฺค เล่ม ๑๐ ๕๗/๖๖

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 597

คือจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยนิสสยปัจจัย.

ถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในวาระแรก จึงไม่ตรัสอย่างนี้เล่า

ตอบว่า เพราะทรงแสดงหมายถึงถิ่นที่รูปเป็นไป

จริงอยู่ ปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงแสดงในกามภพอันเป็นถิ่นที่รูปเป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ แห่งโอปปาติกะผู้มีอายตนะไม่บริบูรณ์ และแห่งเทพในรูปาวจร ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ ๓ นี้ จึงไม่ตรัสว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย) แต่ตรัสว่า ฉฏฺายตนํ (อายตนะที่ ๖) ดังนี้ ในนามรูปนั้น นาม มีนัยตามที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ส่วนรูปพึงทราบว่า หทยรูป. หทยรูปนั้นเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ นี้ ๒ อย่าง คือ ด้วยนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัยแล.นี้เป็นวาระที่ต่างกันในวาระที่ ๓.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๔

ก็วาระที่ ๔ ตรัสไว้ด้วยอำนาจพวกสัตว์ผู้เป็นสังเสทชะและโอปปาติกะด้วยอำนาจกำเนิด พวกสัตว์ผู้มีอายตนะบริบูรณ์ด้วยอำนาจอายตนะ พวกสัตว์ในกามาวจรด้วยสามารถแห่งภพ ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ ๔ นี้ จึงตรัสว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย) ดังนี้ ในนามรูปนั้น นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ด้วยสหชาตปัจจัยเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่อายตนะมีจักขวายตนะเป็นต้นด้วยปัจฉาชาตปัจจัย. บรรดารูป หทยรูปเป็นปัจจัยแก่

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 598

อายตนะที่ ๖ ด้วยนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่จักขวายตนะเป็นต้น ด้วยสหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย. ก็เพราะปัจจยาการนี้เป็นไปในขณะจิตเดียว ฉะนั้น จึงไม่ตรัสในวาระที่ ๔ นี้ว่า สฬายตนปจฺจยา (เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย) ตรัสว่า ฉฏฺายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย). นี้เป็นความต่างกันในวาระที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

บัณฑิตครั้นทราบเหตุต่างกันแห่งวาระทั้ง ๔ เหล่านั้น อย่างนี้แล้ว พึงทราบอีกว่า ในวาระทั้ง ๔ เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว วาระ ๒ ข้อข้างต้น ตรัสเพื่อแสดงปัจจยาการในอรูปภพ เพราะองค์ปฏิจจสมุปบาทที่ไม่ระคนด้วยรูป ย่อมเป็นไปในอรูปภพ. วาระที่ ๓ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงปัจจยาการในรูปภพ เพราะว่าเมื่อความระคนด้วยรูปยังมีอยู่ สฬายตนะก็ย่อมไม่เป็นไปในรูปภพ. วาระที่ ๔ ตรัสเพื่อทรงแสดงปัจจยาการในกามภพ เพราะว่า สฬายตนะทั้งสิ้นย่อมเป็นไปในกามภพ. อีกอย่างหนึ่ง วาระที่ ๓ ตรัสหมายเอาขณะอกุศลเป็นไปแก่พวกสัตว์ที่มีอายตนะบกพร่องในรูปภพ และในกามภพ. วาระที่ ๔ ตรัส หมายสัตว์ผู้มีอายตนะครบในกามภพ.

อีกนัยหนึ่ง วาระที่ ๑ ตรัสหมายเอาจิตที่เป็นไปในที่ทั้งหมด เพราะว่า วาระที่ ๑ นั้น จะไม่เป็นไปในถิ่นที่จิตเป็นไปที่ไหนๆ หามิได้. วาระที่ ๒ ตรัสหมายเอาความต่างกันแห่งปัจจัย เพราะว่า ความที่วาระมีองค์ ๑๑ และ ความที่ผัสสะมีนามเป็นปัจจัย เป็นความต่างแห่งปัจจัย ในวาระที่ ๒ นี้. วาระที่ ๓ ตรัสหมายเอากำเนิด ๒ ข้างต้น เพราะว่า วาระที่ ๓ นั้นย่อมมีในกำเนิด ๒ ข้างต้น เพราะความที่สฬายตนะไม่เกิดทุกเมื่อในกำเนิด ๒ ข้างต้นนั้น

 
  ข้อความที่ 167  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 599

วาระที่ ๔ ตรัสหมายเอากำเนิด ๒ ข้างหลัง. เพราะว่า วาระที่ ๔ นั้นย่อมมีในกำเนิด ๒ ข้างหลัง เพราะความที่สฬายตนะเกิดขึ้นทุกเมื่อในกำเนิด ๒ ข้างหลังนั้นแล.

ก็โดยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ องค์ใดที่กล่าวในวาระทั้ง ๔ ว่า

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใด ที่ตรัสไว้โดยประการอื่น และแม้องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด พึงเข้าไปกำหนดองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้นทั้งหมด โดยประการนั้น ดังนี้.

การแสดงความแห่งคาถา ย่อมเป็นอันข้าพเจ้ากระทำแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ต่อจากจตุกกะนี้ไป บัณฑิตพึงทราบนัยทั้งหมดนี้ และควานต่างกันแม้ในจตุกกะอื่น โดยทำนองนี้นั่นแหละ.

ว่าด้วยเหตุจตุกกะ

(บาลีข้อ ๒๗๘)

บรรดาจตุกกะเหล่านั้น นัยที่ตรัสไว้ในปัจจยจตุกกะก่อนนั้น ปรากฏชัดแล้วในจตุกกะทั้งหมดทีเดียว ส่วนความต่างกันในเหตุจตุกกะเป็นต้นพึงทราบอย่างนี้ ในเหตุจตุกกะก่อน.

อวิชฺชา เหตุ อสฺสาติ อวิชฺชาเหตุโก อวิชชาเป็นเหตุแห่งสังขารนี้ เพราะเหตุนั้น สังขารนี้ จึงชื่อว่า อวิชฺชาเหตุโก (มีอวิชชาเป็น

 
  ข้อความที่ 168  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 600

เหตุ มีอธิบายว่า สังขารนี้มีอวิชชาเป็นไป คือ ไปจนถึงขณะดับ เพราะเป็นไป (เกิด) พร้อมกัน.

อนึ่ง พระองค์ครั้นทรงแสดงว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร โดยสาธารณปัจจัยด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น โดยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา (เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) แล้ว จึงทรงแสดงความที่อวิชชาเป็นอวิคตปัจจัยโดยพิเศษ ด้วยพระดำรัสว่า อวิชฺชาเหตุโก (มีอวิชชาเป็นเหตุ) อีก. แม้ในคำมีอาทิว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณํ สงฺขารเหตุกํ (วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในองค์มีภพเป็นต้น จึงไม่ทรงทำศัพท์ว่า เหตุกํ (เป็นเหตุ) ไว้

ตอบว่า เพราะองค์มีภพเป็นต้นนั้นไม่มีความกำหนดด้วยอวิคตปัจจัย และเพราะไม่มีอวิคตปัจจัย เพราะคำว่า ภพ ในเหตุจตุกกะนี้เป็นชื่อของขันธ์ ๔ ที่มีอุปาทานเป็นปัจจัย โดยพระบาลีว่า ตตฺถ กตฺโม อุปาทานปจฺจยา ภโว ฯเปฯ อยํ วุจฺจติ อุปาทานปจฺจยา ภโว ในพระบาลีนั้น ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้. อนึ่ง ชาติ ชรามรณะก็ผนวกเข้าในสังขารขันธ์ โดยพระบาลีมีอาทิว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิตา (ชาติสงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๒) ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น อุปาทาน ย่อมไม่เป็นอวิคตปัจจัยแก่ภพโดยแน่นอน เพราะความไม่ได้ชาติ ชรามรณะตลอดเวลาที่มีอุปาทาน ความเป็นอวิคตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 169  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 601

ย่อมไม่เกิดแก่ชาติในสังขตลักษณะทั้งหลาย เพราะความที่ภพกล่าวคือชรามรณะไม่มีเพียงขณะแห่งชาติเดียว โดยพระบาลีมีอาทิว่า "ชาติ (ความเกิด) แห่งธรรมนั้นๆ อันใด" ดังนี้ ความเป็นอวิคตปัจจัยย่อมไม่เกิดแก่ชาติ เพราะความที่ชาติไม่มีในขณะชราและมรณะโดยแท้.

อนึ่ง ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ และชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ด้วยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า มิได้ทรงทำศัพท์ว่า เหตุกํ (เป็นเหตุ) ในองค์ทั้งหลายมีภพเป็นต้น เพราะไม่มีกำหนดด้วยอวิคตปัจจัย และเพราะความไม่มีอวิคตปัจจัย แม้โดยประการทั้งปวง.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภพซึ่งระคนด้วยอุปบัติ โดยพระบาลีว่า ภพมี ๒ อย่าง และอุปาทานเป็นอวิคตปัจจัยแก่อุปปัตติภพ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย แต่ตรัสว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้ เพราะทรงตัดออกแล้วในเหตุจตุกกะนี้ แม้ข้างหน้าก็มิได้ตรัสไว้ อุปาทานนั้นไม่สมควร เพราะในที่นี้ มิทรงประสงค์เอาภพที่ระคนด้วยอุปบัติ ด้วยว่าอรูปขันธ์มาในที่นี้ว่า ภพ.

อนึ่ง ในข้อว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย นี้ ภพที่เหลือเว้นชาติ และชรามรณะแล้ว พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่ชาติ เพราะเหตุไร เพราะชาติเป็นต้น ไม่เป็นไปปัจจัยแก่ชาติ ดังนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้น เว้นชาติชราและมรณะแล้ว ภพก็ควรตรัสว่า เป็นปัจจัยแก่ชาติ. ควรตอบว่า ถูกแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส เพราะไม่มีข้ออ้างที่ควรตรัส ก็ในนิเทศแห่งองค์ที่ ๑๐ ควรตรัสภพซึ่งเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ในนิเทศแห่งองค์ที่ ๑๑ ควรตรัสถึงชาติ แต่ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ไม่มีข้ออ้างควรกล่าวบทนั้น ฉะนั้น จึงไม่ตรัส เพราะไม่มีข้ออ้างที่พึงตรัส ถึงแม้มิได้ตรัส ก็ควรถือเอาโดยควรแล.

 
  ข้อความที่ 170  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 602

ก็ในคำว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นต้น ทรงกระทำคำว่า มีวิญญาณเป็นเหตุ เป็นต้น เพราะความที่วิญญาณเป็นต้น เกิดพร้อมกับความเป็นอวิคตปัจจัย. นี้เป็นความต่างกันในเหตุจตุกกะ.

ว่าด้วยสัมปยุตตจตุกกะ

(บาลีข้อ ๒๘๒)

แม้ในสัมปยุตตจตุกกะ ก็ทรงแสดงความที่สังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น โดยตรัสเพียงเท่านี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา (เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) แล้วทรงแสดงความที่อวิชชาเป็นสัมปยุตตปัจจัยว่า อวิชฺชาสมฺปยุตฺโต (อันสัมปยุตด้วยอวิชชา) ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่เพราะอรูปธรรมไม่ประกอบกับรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น แม้ในคำว่า วิญฺาณปจฺจยา นามรูปํ (นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) เป็นต้น ก็ถือเอาเฉพาะองค์ที่ได้เท่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า วิญาณสมฺปยุตฺตํ นามํ (นามสัมปยุตด้วยวิญญาณ) ในบทวาระที่ ๓ และที่ ๔. นี้เป็นความต่างกันในสัมปยุตตจตุกกะ.

ว่าด้วยอัญญมัญญจตุกกะ

(บาลีข้อ ๒๘๖)

อนึ่ง ในอัญญมัญญจตุกกะ พระองค์ทรงแสดงความที่สังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้นว่า อวิชฺชาปจฺจยา (เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) แล้วแสดงความที่อวิชชาเป็นอัญญมัญญปัจจัยว่า สงฺขารปจฺจยาปิ อวิชฺชา (อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่เพราะภพเป็นนิปปเทสะ (คือทรงแสดงโดยสิ้นเชิง) อุปาทาน

 
  ข้อความที่ 171  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 603

เป็นสัปปเทสะ (คือทรงแสดงเล็กน้อย) และธรรมที่เป็นสัปปเทสะเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นนิปปเทสะ ธรรมที่เป็นนิปปเทสะไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสัปปเทสะ ฉะนั้น ในอัญญมัญญจตุกกะนี้ จึงไม่ตรัสว่า ภวปจฺจยาปิ อุปาทานํ (อุปาทานเกิดแม้เพราะภพเป็นปัจจัย) อีกนัยหนึ่ง มิได้ตรัสอย่างนี้เพราะทรงตัดออกแล้วโดยเทศนาในหนหลัง. แต่สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นามรูปย่อมไม่มีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยในขณะจิตดวงหนึ่ง สฬายตนะพึงเป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่นามรูปใด เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ในวาระที่ ๔ จึงทรงถือเอาเฉพาะองค์ที่ได้ในข้อว่า สฬายตนปจฺจยาปิ นามรูปํ (นามรูปเกิดแม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย). นี้เป็นความต่างกันในอัญญมัญญจตุกกะ.

มาติกาแห่งนัยมีอวิชชาเป็นมูล จบ

อธิบายนัยแห่งมาติกามีสังขารเป็นมูลเป็นต้น (๑)

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มนัยมีสังขารเป็นมูลว่า สงฺขารปจฺจยา อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) แม้ในพระบาลีสังขารเป็นมูลเป็นต้นนั้น ก็พึงทราบจตุกกะ ๔ และวาระ ๑๖ เหมือนในนัยที่มีอวิชชาเป็นมูล.

ว่าด้วยนิเทศจตุกกะที่ ๑

ก็ในจตุกกะที่ ๑ พระองค์ทรงแสดงเฉพาะวาระที่ ๑ เท่านั้น แล้วทรงย่อเทศนาไว้ แม้ในนัยที่มีวิญญาณเป็นมูลเป็นต้นก็เหมือนในนัยที่มีสังขารเป็นมูลนี้ บรรดานัยเหล่านั้น พระองค์ทรงแสดงความที่อวิชชามีสังขารเป็นต้น เป็น


(๑) บาลีข้อ ๒๙๐

 
  ข้อความที่ 172  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 604

ปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า สงฺขารปจฺจยา อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ในนัยทั้ง ๘ มีสังขารเป็นมูลเป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว แล้วจึงทรงแสดงความเป็นไปแห่งจักร คือปัจจยาการ แม้ในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้อีก.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสนัยทั้งหลายมีภพเป็นมูล หรือมีชาติและชรามรณะเป็นมูล อวิชชาย่อมไม่มีเพราะภพเป็นปัจจัยหรือ?

ตอบว่า ไม่มี หามิได้. แต่เมื่อตรัสคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สงฺขารปจฺจยา อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ก็จะไม่ได้ตรัสธรรมที่นับเนื่องด้วยภพไรๆ เป็นปัจจัยแก่อวิชชา เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสนัยมีภพเป็นมูล เพราะไม่มีธรรมอื่นที่ไม่อยู่ข้างต้นซึ่งเป็นปัจจัยแก่อวิชชาที่ควรตรัส และแม้อวิชชาก็ย่อมถึงการสงเคราะห์ไว้ด้วยศัพท์ว่าภพ เพราะฉะนั้น เมื่อพระองค์ตรัสว่า ภวปจฺจยา อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย) ก็พึงเป็นการตรัสแม้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ด้วยว่าในขณะแห่งจิตดวงเดียว อวิชชาย่อมไม่ชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่อวิชชา เพราะทรงตัดออกในภพนั่นแหละ นัยแม้มีชาติ ชรามรณะเป็นมูล ก็ไม่ทรงถือเอา อีกนัยหนึ่ง แม้ชาติ ชรามรณะ ก็ทรงผนวกเข้าในภพ และชาติชรามรณะเหล่านี้จะเป็นปัจจัยแก่อวิชชา ในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสนัยที่มีภพเป็นมูล หรือมีชาติชรามรณะเป็นมูลฉะนี้แล.

จบมาติกา กถา

 
  ข้อความที่ 173  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 605

อภิธรรมภาชนีย์

อกุศลนิเทศ

อกุศลจิต ๑๒

อกุศลจิต ดวงที่ ๑

ปัจจยจตุกกะ

[๒๙๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๙๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะอันใด นี้รียกว่า อวิชชา

 
  ข้อความที่ 174  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 606

[๒๙๓] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน (เจตนา) กิริยาที่คิดอ่าน (สญฺเจตนา) ความคิดอ่าน (สญฺเจตยิตฺตตํ) อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

[๒๙๔] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๒๙๕] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

[๒๙๖] อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

[๒๙๗] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องอันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย.

[๒๙๘] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 175  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 607

[๒๙๙] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความชักนำให้คล้อยตามไป ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

[๓๐๐] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย.

[๓๐๑] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

[๓๐๒] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.

[๓๐๓] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ชรา ๑ มรณะ ๑

ในชรามรณะนั้น ชรา เป็นไฉน?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุแห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน?

ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความหายไปแห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

 
  ข้อความที่ 176  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 608

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

[๓๐๔] คำว่า ควานเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๕] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 177  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 609

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้ เรียกว่า นาม

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องอันใด นี้ เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๗] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 178  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 610

[๓๐๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่านอันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ความเกิดขึ้นแห่งโสตายตนะ ความเกิดขึ้นแห่งฆานายตนะ ความเกิดขึ้นแห่งชิวหายตนะ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 179  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 611

คำว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๙] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 180  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 612

[๓๑๐] ในปัจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

 
  ข้อความที่ 181  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 613

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ปัจจยจตุกกะ จบ

เหตุจตุกกะ

[๓๑๑] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเวทนา

 
  ข้อความที่ 182  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 614

เป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารมี อวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยเป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 183  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 615

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย.

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ รกชัฏคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความเห็นโลเล สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความถือผิด ความถือผิดเฉพาะ ความเห็นดิ่งไปในทางผิด ความถือผิดจากสภาวะ ทางแห่งความชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ.

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๓] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะ

 
  ข้อความที่ 184  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 616

นามเป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้ง มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๔] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา.

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

คำว่า ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นาม.

 
  ข้อความที่ 185  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 617

ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะมีนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ.

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๕] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 186  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 618

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน? จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่ารูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

 
  ข้อความที่ 187  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 619

อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยเป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้ เรียกว่า ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๗] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะอันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 188  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 620

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่านาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่ารูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้รียกว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น

นามรูป เป็นไฉน?

นามรูป ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่านาม

รูป เป็นไฉน?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่ารูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

 
  ข้อความที่ 189  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 621

สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะมีสฬายนะเป็นเหตุ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

เหตุจตุกกะ จบ

สัมปยุตตจตุกกะ

[๓๑๙] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพ เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 190  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 622

[๓๒๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยเป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 191  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 623

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๑] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 192  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 624

[๓๒๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสงขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เรียกว่า นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นามเป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นาม

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 193  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 625

[๓๒๓] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๓๒๔] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 194  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 626

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 195  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 627

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยเป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๕] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 196  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 628

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า สฬายตนะ (๑) อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป


(๑) พม่า. อายตนะที่ ๖

 
  ข้อความที่ 197  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 629

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

สฬาตนะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะ (๑) เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นการกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

สัมปยุตตจตุกกะ จบ

อัญญมัญญจตุกกะ

[๓๒๗] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย นามเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดแม้เพราะ


(๑) พม่า. อายตนะที่ ๖

 
  ข้อความที่ 198  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 630

อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา.

[๓๒๙] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่าสังขาร เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๓๓๐] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

สังขารเกิดแม้เพราะวิญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

[๓๓๑] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 199  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 631

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย.

[๓๓๒] อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

นามเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

[๓๓๓] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๓๓๔] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแก่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแก่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 200  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 632

[๓๓๕] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแก่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย.

[๓๓๖] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

[๓๓๗] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

[๓๓๘] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.

[๓๓๙] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ชรา ๑ มรณะ ๑

 
  ข้อความที่ 201  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 633

ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน?

ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความหายไป แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะ เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย.

[๓๔๐] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย การอย่างนี้.

[๓๔๑] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย นามเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทาน ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 202  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 634

[๓๔๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 203  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 635

คำว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นาม

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยากระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

นามเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๓] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิด

 
  ข้อความที่ 204  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 636

เพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๔] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 205  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 637

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

คำว่า อายตนุที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 206  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 638

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัสญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 207  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 639

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๕] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ (๑) เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเกิดแม้เพราะสฬายตนะ (๑) เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย สฬายนะเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ควานไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใดนี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย


(๑) พม่า. อายตนะที่ ๖

 
  ข้อความที่ 208  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 640

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้ เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวนี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

 
  ข้อความที่ 209  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 641

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

คำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดแม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป

 
  ข้อความที่ 210  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 642

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดแม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

อัญญมัญญจตุกกะ จบ

อกุศลจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔

[๓๔๗] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะ

 
  ข้อความที่ 211  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 643

เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ

อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้ เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๕

[๓๔๙] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 212  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 644

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๕๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๖ - ๗ - ๘

[๓๕๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ ... .เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

 
  ข้อความที่ 213  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 645

วิปปยุตจากทิฏฐิ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๙ - ๑๐

[๓๕๒] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปฏิฆะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 214  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 646

[๓๕๓] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปฏิฆะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิตอาฆาต จิตอาฆาตตอบ ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ปฏิฆะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๑๑

[๓๕๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ใน

 
  ข้อความที่ 215  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 647

สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๕๕] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใดนี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

วิจิกิจฉาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 216  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 648

ภพเกิดเพราะวิกิจฉาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังสารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นวิจิกิจฉา นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๑๒

[๓๕๖] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อุทธัจจะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๕๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 217  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 649

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อุทธัจจะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต ดันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพ เกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 218  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 650

อธิบายอกุศลนิเทศ

ปฐมจตุกกนิเทศ

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอากุศล (ในปัจจยาการ) ก่อน เพราะนิเทศอกุศลนี้ มิได้ทรงตั้งมาติกาเหมือนในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังซึ่งทรงกระทำกุศลติกะไว้เป็นเบื้องต้นแล้วทรงจำแนกกุศลก่อนโดยลำดับมาติกาที่ทรงตั้งไว้ เพื่อจะทรงจำแนกแสดงองค์ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นตามลำดับที่ทรงตั้งไว้ในมาติกา ด้วยอำนาจอกุศลธรรมว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) เท่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน). เนื้อความแห่งพระบาลีนั้น พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.

อนึ่ง เพราะตัณหาและกามุปาทานย่อมไม่เกิดในขณะแห่งจิตเดียวกันฉะนั้นในที่นี้ เพื่อทรงแสดงอุปาทานที่ได้เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ทิฏิ ทิฏฺิคตํ ดังนี้.

อนึ่ง เพราะในนิเทศแห่งภพ อุปาทานถึงการสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน ดังนี้เป็นต้น เพราะเมื่อตรัสอยู่อย่างนี้ก็จะพึงปรากฏความที่อุปาทานเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน ก็อุปาทานนั้นนั่นแหละย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้น.

ในนิเทศแห่งชาติเป็นต้น เพราะธรรมเหล่านั้นมีชาติเป็นต้นเป็นความเกิดเป็นต้นของอรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ความที่ฟันหัก ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น จุติ กิริยาที่จุติ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 219  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 651

พระองค์ครั้นทรงตั้งวาระที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว ในวาระที่ ๒ ทรงแสดงปัจจยาการโดยวาระที่ ๑ ในสมัยใด ในสมัยนั้นนั่นแหละ เพื่อทรงแสดงปัจจยาการโดยนัยแม้อื่นอีก จึงไม่ตรัสวาระกำหนดสมัยไว้ต่างหากแล้วทรงทำเทศนาโดยนัยมีอาทิ ว่า ตสฺมึ สมเย อวิชฺชาปจจฺยา สงฺขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ในสมัยนั้น).

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เว้นผัสสะ นี้ตรัสไว้เพื่อทรงนำผัสสะออกจากนาม เพราะแม้ผัสสะก็นับเนื่องด้วยนาม.

ในวาระที่ ๓ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เมื่อรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานกำลังเป็นไปอยู่ เพราะความที่จักขายตนะเบื้องต้นอันรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นค้ำจุนแล้วย่อมปรากฏ ฉะนั้น จึงตรัสว่า จกฺขฺวายตนสฺส อุปจโย (ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ) เป็นต้น. อนึ่ง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ด้วยปัจฉาชาตปัจจัยแม้นก็กรรมชรูปซึ่งกำลังเป็นไปในสมัยนั้น แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้ ในวาระที่ ๓ นั้น ทรงถือเอาสันตติ ๒ คือ สันตติรูปเกิดแต่กรรม และสันตติรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สันตติ ๒ แม้นอกนี้ก็พึงถือเอา เพราะวิญญาณก็เป็นปัจจัยแก่สันตติ ๒ นอกนี้เหมือนกัน.

ส่วนในวาระที่ ๔ ก็เพราะแม้ในขณะจิตเดียวกันจักขวายตนะเป็นต้น เกิดเพราะมหาภูตรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะหทยรูปเป็นปัจจัย และอายตนะแม้ทั้งหมด เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไปด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย และสหชาตปัจจัยเป็นต้น ตามควรฉะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ จกฺขวายตนํ ในปัจจยาการนั้น สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยเป็นไฉน? คือจักขวายตนะ.

ปฐมจตุกกนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 220  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 652

ทุติยจตุกกนิเทศ

คำทั้งหมดในจตุกกะที่ ๒ ตื้นทั้งนั้น.

ตติยจตุกกนิเทศ

ในจตุกกะที่ ๓ ความเป็นสัมปยุตตปัจจัยไม่มีแก่ปัจจยาการใด และมีแก่ปัจจยาการใด เพื่อทรงแสดงปัจจยาการนั้นๆ ไว้แผนกหนึ่ง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิทํ วุจฺจติ วิญฺาณปจฺจยา นามรูปํ วิญฺาณสมฺปยุตฺตํ นามํ นี้เรียกว่านามรูป เรียกว่า นามสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ตติยจตุกกนิเทศ จบ

จตุตถจตุกกนิเทศ

ในนิเทศแห่งนามเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัยในจตุกกะที่ ๔ แม้มิได้ตรัสว่า "เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย" ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะได้ตรัสไว้ในนิเทศแห่งบทที่ติดกันที่เพิ่งผ่านมาว่า "เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ" ดังนี้ นั้น แม้มิได้ตรัส ก็นับว่าเป็นอันตรัสแล้วโดยแท้ เพราะนามใดเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ แม้ผัสสะก็เป็นปัจจัยแก่นามนั้นเหมือนกันฉะนี้แล.

จตุตถจตุกนิเทศ จบ

อนึ่ง พึงทราบนัย ๘ แม้มีสังขารเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่หนึ่งมีอวิชชาเป็นมูลซึ่งจำแนกไว้ ๑๖ วาระ ในจตุกกะ ๔ ที่ทรงประกาศในอกุศลจิต

 
  ข้อความที่ 221  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 653

ดวงที่ ๑ นี้ ส่วนพระบาลีทรงย่อไว้ และพึงทราบว่า ในอกุศลจิตดวงที่หนึ่งนั้นแหละ มี ๙ นัย ๓๖ จตุกกะ และ ๑๔๔ วาระ ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปัจจยาการแม้ในอกุศลจิตที่เหลือ โดยนัยนี้แหละ จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน).

ในพระบาลีนั้น เพราะในจิตที่วิปปยุตจากทิฏฐิ อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยไม่มี ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มอธิโมกข์ซึ่งเป็นนิบาต (บทเชื่อม) กระทำให้มั่นคง เป็นดุจอุปาทานเกิดในที่แห่งอุปาทาน. และเพราะในจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส แม้ตัณหาที่มีเวทนาเป็นปัจจัยก็ไม่มี ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มบทปฏิฆะที่เป็นกิเลสมีกำลัง เป็นดุจตัณหาเกิดในที่แห่งตัณหา ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละ ในที่แห่งอุปาทาน.

ส่วนในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแม้อธิโมกข์ เพราะไม่มีการตัดสิน ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทวิจิกิจฉาซึ่งเป็นกิเลสมีกำลังไว้ในที่แห่งตัณหา ลดฐานะแห่งอุปาทานเสีย. แต่ในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยอุทธัจจะมีอธิโมกข์ ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทอุทธัจจะซึ่งเป็นกิเลสมีกำลัง ในที่แห่งตัณหา ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละไว้ในที่อุปาทาน. ก็พระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุสักว่าความต่างกันในอกุศลทั้งหมด แล้วทรงย่อพระบาลีไว้. ก็ความต่างกันนี้ ทรงแสดงไว้ในนิเทศอธิโมกข์นั้น เป็นนิเทศอธิโมกข์ที่ยังมิได้ เคยแสดงมาก่อน. คำที่เหลือมาในภายหลังทั้งนั้น.

ก็ในนิเทศแห่งอธิโมกข์ มีวินิจฉัยว่า

ที่ชื่อว่า อธิโมกข์ เพราะอำนาจการตัดสินอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ (การตัดสินใจ) เพราะอรรถว่า น้อมใจไปให้อารมณ์นั้น คือ

 
  ข้อความที่ 222  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 654

ถึงความตกลงใจ เพราะไม่มีความสงสัย. อาการที่ตัดสินอารมณ์ ชื่อว่า อธิมุจฺจนา (กิริยาที่ตัดสินใจ) ที่ชื่อว่า ตทธิมุตฺตตา (ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น) เพราะอรรถว่า ความน้อมใจไปในอารมณ์นั้น. ก็ในจิตทุกดวง พึงทราบประเภทแห่งนัยจตุกกะโดยนัยที่กล่าวในปฐมจิต (อกุศล) นั่นแหละ. ก็เพราะในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาไม่มีนัยที่มีอุปาทานเป็นมูลอย่างเดียว จึงมี ๘ นัย ๓๒ จตุกกะ และเป็น ๑๒๘ วาระ ฉะนี้แล.

อกุศลนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 223  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 655

กุศลนิเทศ

กามาวจรกุศลจิต ๘

กามาวจรกุลจิตดวงที่ ๑

[๓๕๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยวิญญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้.

[๓๕๙] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ

ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน?

การไม่โลภ กิริยาที่จะไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัดนัก กิริยาที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็งที่เอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่น กุศลมูลคืออโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อโลภะ

 
  ข้อความที่ 224  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 656

อโทสะ เป็นไฉน?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ อันใด นี้เรียกว่า อโทสะ

อโมหะ เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า อโมหะ

สภาวธรรมเหล่านั้นเรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สงบเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เพราะปสาทะเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 225  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 657

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔

[๓๖๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... . เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๖๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ

 
  ข้อความที่ 226  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 658

ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยาที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่น กุศลมูลคืออโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อโลภะ

อโทสะ เป็นไฉน?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่ประทุษร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ อันใด นี้ เรียกว่า อโทสะ.

สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕ - ๖

[๓๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

 
  ข้อความที่ 227  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 659

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๖๓] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใดนี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 228  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 660

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗ - ๘

[๓๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยวิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้.

[๓๖๕] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 229  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 661

รูปาวจรกุศลจิต

[๓๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๖๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 230  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 662

อรูปาวจรกุศลจิต

[๓๖๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๖๙] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 231  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 663

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

โลกุตรกุศลจิต

[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ

ในกุศลมูลเหล่านั้น อโมหะ เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เล่า กุศลมูล

 
  ข้อความที่ 232  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 664

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉะนี้แล.

กุศลนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 233  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 665

อธิบายกุศลนิเทศ

(บาลีข้อ ๓๕๘)

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะแสดงปัจจยาการในกุศลจิตเป็นต้น โดยนัยนี้แหละ จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) ดังนี้.

ก็ในอกุศลจิต พระองค์ทรงตั้งมาติกาไว้ก่อนแล้วทรงทำนิเทศไว้ในภายหลัง แต่ในกุศลนิเทศนี้ พระองค์มิได้ทรงทำเช่นนั้น เพราะเหตุไร? เพราะมีความต่างกันในวาระว่าด้วยอัปปนา. จริงอยู่ ในโลกิยกุศลจิตเป็นต้น ย่อมมีอัปปนาได้ โดยพระบาลีว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ เพราะความที่ธรรมเหล่านั้นนับเนื่องในทุกขสัจจะ. ในโลกุตรกุศลเป็นต้น ก็ย่อมมีอัปปนาได้ โดยพระบาลีว่า เอวเมเตสํ ธมฺมานํ. เพราะฉะนั้น ในกุศลเป็นต้นนี้ จึงไม่อาจเพื่อทรงตั้งมาติกาโดยสาธารณะ จึงทรงยกมาติกาแห่งกุศลเป็นต้นเหล่านั้นๆ ขึ้นแสดงแต่ละอย่าง แล้วทรงทำนิเทศ ในกุศลเหล่านั้น เพราะไม่มีอวิชชารวมกับกุศลสังขารในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสอวิชชานั้น แล้วตรัสกุศลมูลโดยเป็นรากเหง้าแห่งกุศลทั้งหลาย เหมือนอวิชชาเป็นรากเหง้าของอกุศลทั้งหลาย และเพราะความไม่มีตัณหาอุปาทาน จึงตรัสปสาทะ (ความผ่องใส) อันหยั่งลงในภายในอารมณ์ เหมือนตัณหาตั้งอยู่ในที่แห่งตัณหา ตรัสอธิโมกข์ ชื่อว่า การตกลงใจอย่างมั่นคง เหมือนอุปาทานตั้งอยู่ในที่แห่งอุปาทานฉะนั้น. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั้นแหละ ฉะนี้แล.

กุศลนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 234  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 666

อัพยากตนิเทศ

อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑

[๓๗๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

จักขุวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย มรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๓] ในปัจจยาการเหล่านี้ สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้ เรียกว่าสังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 235  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 667

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะเป็นเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นเวทนา นี้เรียกว่า ภพ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๔] ในสมัยนั้น วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

 
  ข้อความที่ 236  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 668

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีประการอย่างนี้.

[๓๗๕] ในสมัยนั้น วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขารเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามอันสัมปยุตด้วยวิญาณเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนามเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๖] ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย นามเกิดแม้เพราะอายตน่ะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕

[๓๗๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โสตวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็น

 
  ข้อความที่ 237  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 669

อารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่านอันใด นี้เรียกว่าสังขาร ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นเวทนา นี้เรียกว่าภพ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 238  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 670

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๖

[๓๗๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๘๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่าสังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่าเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 239  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 671

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่าภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗

[๓๘๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๘๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่าสังขาร

 
  ข้อความที่ 240  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 672

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจ ในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๘

[๓๘๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณ

 
  ข้อความที่ 241  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 673

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๘๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 242  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 674

กามาวจรวิบากจิต ๘

[๓๘๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... .เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๓๘๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 243  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 675

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

รูปาวจรวิบากจิต

[๓๘๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล

 
  ข้อความที่ 244  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 676

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อรูปาวจรวิบากจิต

[๓๘๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล

โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มี

 
  ข้อความที่ 245  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 677

ทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

โลกุตรวิบากจิต

[๓๘๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล. โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานอันเป็นวิมาก เพราะโลกุตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วทั้งนั้นแล ประกอบด้วยวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิด

 
  ข้อความที่ 246  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 678

เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อกุศลวิบากจิต ๗

อกุศลวิบากจิต

ดวงที่ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕

[๓๙๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 247  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 679

[๓๙๑] ในปัจจยาการเหล่านี้ สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นเวทนา นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๖

[๓๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะ

 
  ข้อความที่ 248  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 680

นามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๙๓] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 249  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 681

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗

[๓๙๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๙๕] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกิริยาจิต ๓

[๓๙๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนธาตุเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือ

 
  ข้อความที่ 250  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 682

ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ. มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ. มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกิริยาจิต ๘

[๓๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดย มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 251  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 683

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

รูปาวจรกิริยาจิต

[๓๙๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 252  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 684

อรูปาวจรกิริยาจิต

[๓๙๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาณ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อัพยากตนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 253  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 685

อัพยากตนิเทศ

(บาลีข้อ ๓)

อธิบายความ

อัพยากฤต ทรงจำแนกไว้โดยลำดับที่มาในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังแล้วนั้นแหละ ในวาระทั้งหมด ทรงลดอวิชชาเป็นมูล เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในที่แห่งอวิชชา. จริงอยู่ ในกุศลจิตทั้งหลาย มีกุศลมูลพึงตั้งในที่แห่งอวิชชา ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ก็ไม่มี แต่ในสเหตุกจิตทั้งหลาย ถึงจะมีกุศลมูลอยู่ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงตัดออกเสียในอพยากตนิเทศนี้ ไม่ทรงถือเอาในอเหตุกจิตนั้น ในกระแสแห่งวิญญาณ ๕ พึงทราบว่า ทรงทำเทศนาเป็นสภาพให้ตกไปในกระแสเดียว (คือแสดงโดยลำดับ).

อนึ่ง ว่าโดยต่างกัน ในอัพยากฤตนี้ทรงลดฐานะแห่งตัณหา และอุปาทานในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีธรรมที่มีกำลังอันควรแก่ฐานะแห่งตัณหา และเพราะเว้นจากอธิโมกข์ แต่ในอเหตุกจิตที่เหลือ ทรงลดฐานะแห่งตัณหาเท่านั้น.

ในสเหตุกจิตทั้งหลาย ทรงเพิ่มบทปสาทะ ในที่แห่งตัณหา เพราะเป็นสภาพแห่งความผ่องใส.

บรรดาอัพยากฤตเหล่านี้ ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก พึงทราบมีนัยอย่างละ ๖ ซึ่งมีสังขาร วิญญาณ นาม สฬายตนะ (๑) ผัสสะ และเวทนาเป็นมูล ในอเหตุกจิตที่เหลือ พึงทราบว่า มีนัยอย่างละ ๗ กับนัยที่มีอธิโมกข์เป็นมูล. ส่วนในสเหตุกจิตทั้งหลาย พึงทราบมีนัยอย่างละ ๘ กับนัยที่มีปสาทะเป็นมูล.

 
  ข้อความที่ 254  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 686

บรรดาอัพยากฤตเหล่านั้น ตรัสเฉพาะวาระแรกของจตุกกะทั้ง ๔ ไว้อย่างเดียวแม้ในจักขุวิญญาณเป็นต้น. วาระที่ ๒ แม้ได้อยู่ด้วยอรรถว่าความต่างกันแห่งปัจจัย ก็ไม่ตรัสไว้. วาระที่ ๓ ที่ ๔ ไม่ตรัสไว้เพราะไม่มีนั่นเอง. ก็วาระที่ ๓ ที่ ๔ ระคนด้วยรูป และจักขุวิญญาณเป็นต้นย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้. แม้ในจตุกกะที่เหลือก็ได้ ๒ วาระเหมือนในจตุกกะที่หนึ่งซึ่งได้ ๒ วาระ. เพราะฉะนั้น พึงทราบทุติยวาระในปฐมจตุกกะ และวาระในจตุกกะที่เหลือจตุกกะละ ๒ วาระ แม้ไม่ตรัสไว้ พึงทราบว่าตรัสไว้ทีเดียว. ในอัพยากตะแห่งอเหตุกะที่เหลือได้วาระแม้ทั้งปวงในจตุกกะทั้งหมด. แต่เพราะตัดออกในอเหตุกอัพยากฤตมีจักขุวิญญาณเป็นต้นนี้ จึงมิทรงถือเอาข้างหน้า. เทศนาที่ตกไปในกระแสทรงทำแล้ว ด้วยประการฉะนี้. แม้ในสเหตุกวิบากที่เหลือเว้นอรูปวจรวิบากก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะในอรูปาวจรวิบากได้ ๒ วาระเท่านั้น ฉะนี้แล.

อัพยากตนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 255  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 687

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ

กามาวจรกุศลจิต ๘

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑

[๔๐๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๑] ในปัจจยากการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 256  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

กพระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 688

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๒] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๓] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะ

 
  ข้อความที่ 257  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 689

ปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๔] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกุศลจิต

ดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘

[๔๐๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ...

 
  ข้อความที่ 258  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 690

เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

รูปาวจรกุศลจิต

[๔๐๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาณ ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตยะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 259  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 691

อรูปาวจรกุศลจิต

[๔๐๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และ โทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

โลกุตรกุศลจิต

[๔๐๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 260  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 692

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายนตะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อวิชชามุลกกุศลนิเทศ จบ

กุศลมูลกวิบากนิเทศ

อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑

[๔๐๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

จักขุวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๑๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยเป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 261  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 693

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิต

ดวงที่ ๒- ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘

[๔๑๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โสตวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 262  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 694

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรวิบากจิต ๘

[๔๑๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 263  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 695

รูปาวจรวิบากจิต

[๔๑๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วบรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลธรรนอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อรูปาวจรวิบากจิต

[๔๑๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาณ อันสหรคตด้วย

 
  ข้อความที่ 264  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 696

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

โลกุตรวิบากจิต

[๔๑๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด

 
  ข้อความที่ 265  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 697

แต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อ

อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

กุศลมูลกวิบากนิเทศ จบ

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ

(บาลีข้อ ๔๐๐)

ว่าด้วยกุศลนิเทศ อีกอย่างหนึ่ง

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงปัจจยาการในขณะแห่งจิตเดียวกันโดยปริยายอื่น จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

ในพระบาลีนั้น คำว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย นี้ตรัสหมายเอาความเป็นอุปนิสสยปัจจัย ด้วยเหตุนั้นแหละ ในนิเทศวารจึงมิได้ทรงจำแนก

 
  ข้อความที่ 266  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 698

ว่า ตตฺถ กตมา อวิชฺชา (ในปัจจยาการนั้น อวิชชาเป็นไฉน) ทรงจําแนกว่า ตตฺถ กตโม อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร (ในปัจจยาการนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชา เป็นไฉน) เพราะสังขารกล่าวต่อกุศลเจตนาอย่างเดียวเท่านั้น เกิดร่วมกับจิตในสมัยนั้น หาใช่อวิชชาไม่.

ในพระบาลีนั้น อวิชชาเป็นปัจจัยแก่โลกิยกุศล โดยนัยที่กล่าวไว้ในสุตตันตภาชนีย์ในหนหลังนั้นแหละ ก็เพราะบุคคลยังละอวิชชาไม่ได้ จึงเจริญโลกุตรกุศล เพื่อละอวิชชา. ฉะนั้น สังขารคือกุศลเจตนานั้น จึงเป็นปัจจัยได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วงอวิชชาแม้นั้น จริงอยู่ เมื่อบุคคลยังมีอวิชชานั่นแหละ จึงประกอบกุศล การประกอบกุศลของบุคคลนอกนี้หามีไม่ ในการประกอบกุศลนั้น ย่อมได้การประกอบกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยอำนาจแห่งความลุ่มหลงบ้าง ด้วยอำนาจแห่งการเจริญเพื่อก้าวล่วงบ้าง ในโลกุตรกุศล ย่อม ได้ด้วยอำนาจภาวนาตัดขาดฉะนี้แล. คำที่เหลือ มีนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ.

ส่วนความต่างกัน มีดังนี้

ในกุศลแต่ละอย่างในหนหลังได้กุศล ๑๖ หมวด รวม ๙ หมวด ด้วยอำนาจจตุกกะละ ๔ ในที่นี้ไม่ได้เหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุไร เพราะอวิชชาไม่เป็นอวิคตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย. ก็ในกุศลมีอวิชชาเป็นมูลนี้ ย่อมได้จตุกกะที่หนึ่งเท่านั้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แม้จตุกกะที่หนึ่งนั้น ก็ทรงแสดงย่อไว้เฉพาะวาระที่หนึ่งเท่านั้น แต่บัณฑิตก็ควรนำออกแสดง ฉะนี้แล.

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ จบ

 
  ข้อความที่ 267  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 699

อกุศลมูลกวิบากนิเทศ

อกุศลวิบากจิต ๗

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑

[๔๑๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๑๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัยเป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 268  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 700

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖

[๔๑๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โสตวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗

[๔๑๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 269  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 701

เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๒๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัยเป็นไฉน?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย.

[๔๒๑] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๔๒๒] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

[๔๒๓] อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

[๔๒๔] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 270  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 702

[๔๒๕] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๔๒๖] อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

[๔๒๗] ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย.

[๔๒๘] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.

[๔๒๙] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน?

ชรา ๑ มรณะ ๑

ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน?

ความสิ้นไป ควานเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความหายไป แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

 
  ข้อความที่ 271  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 703

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย.

[๔๓๐] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นั้น ได้แก่ ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อกุศลมูลกวิบากนิเทศ จบ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัจจยาการวิภังค์ จบบริบูรณ์

อกุศลมูลวิบากนิเทศ

(บาลีข้อ ๔๑๖)

ว่าด้วยอกุศลวิบากจิต ๗

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทรงแสดงปัจจยาการแม้ในอัพยากฤตทั้งหลาย โดยนัยอื่นอีกทีเดียว จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น คำว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย แม้นี้ ตรัสหมายเอาความเป็นอุปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ กุศลมูลย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่กุศลวิบาก และอกุศลมูลเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลวิบาก แต่ไม่ควรกล่าวถึงกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกันทีเดียว ฉะนั้น ปัจจัยที่เป็นกุศลมูล และอกุศลมูลนี้ จึงเป็นปัจจัย ด้วยอุปนิสสยปัจจัย และกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยเหตุนั้นแหละ

 
  ข้อความที่ 272  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 704

ในนิเทศวาร จึงไม่จำแนกว่า ตตฺถ กตมํ กุสลมูลํ ในปัจจยาการนั้น กุศลมูลเป็นไฉน ทรงจำแนกว่า ตตฺถ กตโม กุสลมูลปจฺจยา สงฺขาโร ในปัจจยาการนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ดังนี้. แม้ในอกุศลวิบากก็นัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง ในวิบากนิเทศแม้นี้ ย่อมได้เฉพาะปัจจยจตุกกะที่หนึ่งเท่านั้น ดุจในนิเทศแห่งอกุศลมีอวิชชาเป็นมูล แม้ปัจจยจตุกกะนั้น ก็ทรงแสดงปฐมวาร แล้วทรงย่อไว้ ฉะนั้น พึงทราบประเภทแห่งวาระ ในนัยที่มีกุศลเป็นมูลและอกุศลเป็นมูล ด้วยอำนาจจตุกกะแต่ละจตุกกะในวิปากจิตแต่ละดวง. แต่เพราะอวิชชา และกุศลมูล อกุศลมูล ย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นกิริยา ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวปัจจยาการ ด้วยอำนาจกิริยาแล.

ด้วยประการฉะนี้ ปัจจยาการนี้

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีวาทะประเสริฐตรัสไว้โดยประเภทมิใช่น้อย ในธรรมที่เป็นอกุศล กุศล และอัพยากฤต ส่วนในวิบากแห่งกุศลและอกุศล ตรัสไว้อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย เพื่อให้เกิดความแตกฉานปรีชาญาณ ในประเภทธรรมที่เป็นปัจจัย เพราะเมื่อเว้นลำดับแห่งปริยัติ การฟัง การคิด และการปฏิบัติ ย่อมไม่แตกฉานปรีชาญาณในปัจจยาการนี้ แม้ในกาลไหนๆ ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 273  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 705

นักปราชญ์ ผู้มีปัญญาทรงจำ ควรทำในปัจจยาการนั้น โดยลำดับแห่งปริยัติ การฟัง การคิด และปฏิบัติ ในกาลทุกเมื่อ เพราะกิจอื่นที่ควรทำยิ่งกว่าปัจจยาการนั้น มิได้มี ฉะนี้แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

ก็ในปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ๒ ปริวรรค คือ ด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์ และอภิธรรมภาชนีย์เท่านั้น ดังนี้แล.

ปฏิจจสมุปปาทวิภังคนิเทศ จบ