๗. สติปัฏฐานวิภังค์
[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒
๗. สติปัฏฐานวิภังค์
พิจารณาเห็นกายในกายภายใน หน้า 2
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอก หน้า 3
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก หน้า 3
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายใน หน้า 6
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอก หน้า 7
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก หน้า 8
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายใน หน้า 10
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอก หน้า 11
พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก หน้า 12
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายใน หน้า 14
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอก หน้า 16
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอก หน้า 18
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา หน้า 22
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา หน้า 25
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา หน้า 28
๔ - ๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา หน้า 31
๑๑ - ๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา หน้า 31
อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังคนิทเทส หน้า 33
สติปัฏฐานตามนัยแห่งปกรณ์ หน้า 36
กายานุปัสสนานิทเทส อุทเทสวารกถา หน้า 38
อธิบายคําว่า อิธ ภิกฺขุ หน้า 38
อธิบายคําว่า อชฺฌตฺตํ กาเย หน้า 39
อธิบายคําว่า กายานุปสฺสี หน้า 40
อธิบายคําว่า พหิทฺธา กาเย เป็นอาทิ หน้า 44
อธิบายคําว่า อาตาปีสมฺปชาโน สติมา หน้า 44
อธิบายคําว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ หน้า 45
พรรณาเนื้อความอุทเทสแห่งเวทนานุปัสสนาเป็นต้น หน้า 47
กรรมฐานกถาว่าด้วยอํานาจสมถะอุคคหโกศล หน้า 52
วจสา (วิธีการสาธยายด้วยวาจา) หน้า 54
มนสา (วิธีการสาธยายด้วยใจ) หน้า 55
วณฺณโตทิ (กําหนดโดยสีเป็นต้น) หน้า 55
ข้อควรทราบก่อนจะบอกอุคคหโกศล หน้า 56
มนสิการโดยไม่ช้าเกินไป หน้า 58
มนสิการโดยห้ามความฟุ้งซ่าน หน้า 58
มนสิการโดยการก้าวล่วงบัญญัติ หน้า 59
มนสิการโดยการปล่อยลําดับ หน้า 59
๔. ทนฺตา (ฟันทั้งหลาย) หน้า 69
๗. นหารู (เอ็นทั้งหลาย) หน้า 71
๘. อฏฐี (กระดูกทั้งหลาย) หน้า 72
๙. อฏฐิมิฺชํ (เยื่อในกระดูก) หน้า 76
๑๗. อนฺตคุณํ (ไส้น้อย) หน้า 79
๑๘. อุทริยํ (อาหารใหม่) หน้า 80
๒๐. มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง) หน้า 83
๒๒. เสมฺหํ (เสมหะ หรือเสลด) หน้า 84
๒๓. ปุพฺโพ (น้ำเหลือง น้ำหนอง) หน้า 84
๓๐. สิงฆานิกา (น้ำมูก) หน้า 88
กรรมฐานกถา ว่าด้วยอํานาจสาธารณะ หน้า 91
เมื่อบอกกําหนดจํากัดจะเป็นโทษอย่างไร หน้า 93
วิธีการสาธยายโดยหัวข้อมนสิการดังนี้ หน้า 97
พึงทราบความอุปมาดังนี้ หน้า 103
ข้อนี้พึงทราบความอุปมานั้นนั่นแหละให้เป็นไปโดยสิ้นเชิงอย่างนี้ว่า หน้า 104
อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส หน้า 113
อรรถกถาจิตตานุปัสสนานิทเทส หน้า 121
อรรถกถาธัมมานุปัสสนานิทเทส หน้า 123
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1
พระอภิธรรมปิฎก
เล่มที่ ๒ (๑)
วิภังค์ ภาคที่ ๒
๗. สติปัฏฐานวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๔๓๑] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
๑. บาลีเล่มที่ ๓๕
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 2
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
กายานุปัสสนานิทเทส
พิจารณาเห็นกายในกายภายใน
[๔๓๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายใน แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเยื้อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมันน้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๑.
๑. บาลีในทุกแห่งไม่มี มตฺถลุงคํ = มันสมอง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 3
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในกายภายนอก.
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอก
[๔๓๓] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายของเขาผู้นั้นมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ามูก ไขข้อ มูตร.
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในกายทั้งภายในและภายนอก.
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก
[๔๓๔] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายทั้งภายในและภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มโดยรอบเต็มไปด้วย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 4
ของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร.
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
[๔๓๕] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทศว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นเนืองๆ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ.
[๔๓๖] บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๔๓๗] บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 5
[๔๓๘] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า มีสัมปชัญญะ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สัมปชัญญะ.
[๔๓๙] บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีสติ.
[๔๔๐] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทศว่าโลก เป็นไฉน?
กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่าโลก.
อภิชฌา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.
โทมนัส เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 6
อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศ ไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด ปราศไปแล้วในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
กายานุปัสสนานิทเทส จบ
เวทนานุปัสสนานิทเทส
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายใน
[๔๔๑] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 7
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดีซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในเวทนาภายนอก.
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอก
[๔๔๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม น้อมจิตเข้าไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 8
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก
[๔๔๓] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่า เป็นทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นสุขเวทนามีอามิส รู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส รู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน และภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสเสียได้ในโลก.
[๔๔๔] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทศ ว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ.
บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีความเพียร.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 9
บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ.
บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ.
บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทศว่าโลก เป็นไฉน?
เวทนานั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่าโลก.
อภิชฌา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใดนี้เรียกว่า อภิชฌา.
โทมนัส เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.
อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้วในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
เวทนานุปัสสนานิทเทส จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 10
จิตตานุปัสสนานิทเทส
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายใน
[๔๔๕] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ เป็น อย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ หรือ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ.
เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ.
เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ.
เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน.
เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นมหัคคตะ หรือเมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ.
เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือเมื่อจิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นอนุตตระ.
เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น.
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 11
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดีซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตภายนอก.
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอก
[๔๔๖] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็น อย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ.
เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจาโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ.
เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ.
เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน.
เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ.
เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 12
เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น.
เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตทั้งภายในและภายนอก.
พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก
[๔๔๗] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก เนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ.
เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ
เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ.
เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ เมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ.
เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 13
เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น.
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น.
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
[๔๔๘] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทศ ว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ
บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร.
บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ.
บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ
บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทศว่า โลก เป็นไฉน?
จิตนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 14
อภิชฌา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.
โทมนัส เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.
อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด ปราศจากไปแล้วในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
จบจิตตานุปัสสนานิทเทส
ธัมมานุปัสสนานิทเทส
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายใน
[๔๔๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 15
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะภายในจิตของเรามีอยู่ หรือเมื่อกามฉันทะภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะภายในจิตของเราไม่มี. อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
เมื่อพยาบาทภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาภายในจิตของเรามีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาภายในจิตของเราไม่มี. อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วจะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
โพชฌังคปัพพะ
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเรามีอยู่ หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี. อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้น ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปัสสัทธิ-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 16
สัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเรามีอยู่ หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี. อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในธรรมภายนอก.
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอก
[๔๕๐] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่ หรือเมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี. อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. เมื่อพยาบาทของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิจิกิจฉา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 17
ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นมีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นไม่มี. อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
โพชฌังคปัพพะ
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขานั้นไม่มี. อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี. อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในธรรมทั้งภายในและภายนอก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 18
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอก
[๔๕๑] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภาย นอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ หรือ เมื่อกามฉันทะไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มี. อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
เมื่อพยาบาทมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุทธัจจะกุกกุจจะมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี. อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
โพชฌังคปัพพะ
เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มี. อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 19
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี. อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก?
[๔๕๒] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทศว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นเนืองๆ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ.
[๔๕๓] บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๔๕๔] บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 20
มาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียร นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร.
[๔๕๕] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึง แล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ.
[๔๕๖] บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ.
[๔๕๗] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มี นิเทศว่า โลก เป็นไฉน?
ธรรมเหล่านั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่าโลก.
อภิชฌา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน ใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.
โทมนัส เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 21
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.
อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำ ให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้งแล้ว ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด ปราศไปแล้วในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
ธัมมานุปัสสนานิทเทส จบ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
อภิธรรมภาชนีย์
[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นกายในกาย
[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 22
จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัย นั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
พิจารณาเห็นจิตในจิต
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 23
จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ระกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ เรียกว่าสติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 24
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
[๔๖๐] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่.
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่.
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่.
[๔๖๑] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิเขปะ มีในสมัยใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ใน สมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 25
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้ แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
พิจารณาเห็นจิตในจิต
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 26
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้ แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 27
ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญแล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
จบอภิธรรมภาชนีย์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 28
ปัญหาปุจฉกะ
[๔๖๒] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐานไหนเป็นกุศล สติปัฏฐานไหนเป็นอกุศล สติปัฏฐานไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ สติปัฏฐานไหนเป็นสรณะ สติปัฏฐานไหนเป็นอรณะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 29
ติกมาติกาวิสัชนา
[๔๖๓] สติปัฏฐาน ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
สติปัฏฐาน ๔ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปมาณะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นปณีตะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคารัมมณะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 30
สติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธา ก็มี.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ.
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๖๔] สติปัฏฐาน ๔ เป็นนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสเหตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุสัมปยุต สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนเหตุสเหตุกะ.
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสังขตะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนิทัสสนะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอรูป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 31
สติปัฏฐาน ๔ เป็นโลกุตตระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาสววิปปยุต สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า
แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ.
๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐ สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสารัมมณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนจิตตะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเจตสิกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสหภู สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ สติปัฏฐาน ๔ เป็นพาหิระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนอุปาทา สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุปาทินนะ.
๑๑,๑๒,๑๓, อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนภาวนา-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 32
ยปหาตัพพะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นนปีติสหคตะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นนกามาวจร สติปัฏฐาน ๔ เป็นนรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔ เป็นนอรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔ เป็นอปริยาปันนะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุตตระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
จบปัญหาปุจฉกะ
สติปัฏฐานวิภังค์ จบบริบูรณ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 33
สัมโมหวิโนทนี (๑)
อรรถกถาวิภังค์
สติปัฏฐานวิภังคนิทเทส
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสติปัฏฐานวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์นั้น ต่อไป
คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงกำหนดสติปัฏฐานไว้ว่า มีจำนวนไม่ต่ำกว่านั้น ไม่เกินกว่านั้น ดังนี้.
คำว่า สติปัฏฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือ สติโคจร ๑ ความที่พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง ๑ ตัวสติ ๑.
จริงอยู่ สติโคจร (อารมณ์ของสติ) ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุให้เกิด และความดับไปแห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟังคำนั้น จงมนสิการให้ดี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดกาย ความเกิดขึ้นแห่งกายย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร เป็นต้น. โดยทำนองนั้น กายย่อมเป็นอารมณ์ปรากฏ มิใช่สติปรากฏ.
(๑) บาลีอรรถกถาหน้า ๒๗๙ เป็นต้นไป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 34
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สติอุปัฏฐาน (๑) และ สติ เป็นต้น. เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ที่ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งมั่น.
ถามว่า อะไร ย่อมตั้งมั่น
ตอบว่า สติ. ที่เป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ที่ตั้งมั่นอันเป็นประธาน ชื่อว่า ปัฏฐาน ที่ตั้งอันเป็นประธานแห่งสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน เหมือนคำว่า ที่อันเป็นที่ตั้งอยู่ของช้าง และของม้า เป็นต้นฉะนั้น.
การที่พระศาสดาเป็นผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่สาวกผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำนี้ว่า พระศาสดาผู้อริยะเสพธรรมใด ธรรมนั้นคือสติปัฏฐาน ๓ ก็เมื่อเสพธรรมนั้นอยู่ จึงควรเพื่อตามสอนหมู่คณะ (๒) ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นธรรมควรให้ตั้งไว้. อธิบายว่า เพราะควรให้เป็นไป. ถามว่า ควรให้ตั้งไว้ด้วยธรรมอะไร.
ตอบว่า ด้วยสติ การให้ตั้งไว้ด้วยสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน.
ก็ตัวสตินั่นแหละ ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำเป็นต้นว่า สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ย่อมดำรงอยู่. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ คือ ก้าวลงแล้วย่อมแล่นไป ย่อมเป็นไป. สตินั่นแหละ ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ดำรงอยู่ (หรือการตั้งมั่น). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า การระลึก. ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งมั่น. ด้วยประการฉะนี้ สตินั้นด้วย ปัฏ-
(๑) คำว่า สติอุปัฏฐาน แปลว่า การเข้าไปตั้งสติ. (๒) จาก สฬายตนวิภังคสูตร มัช.อุ. ข้อ ๖๓๓ - ๖๓๖.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 35
ฐานนั้นด้วย จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน. สติปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาไว้ที่นี้.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงทำคำว่า สติปัฏฐาน ให้เป็นพหูพจน์เล่า.
ตอบว่า เพราะความที่สติมีมาก. จริงอยู่ ท่านทำสติไว้มาก ก็เพราะความต่างกันแห่งอารมณ์.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า เพราะจะให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์. จริงอยู่ บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ประเภทตัณหาจริตและทิฏฐิจริต หรือ สมถยานิกและวิปัสสนายานิกเป็นไป ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งมันทะและติกขบุคคล (คือ จริตอ่อนและแก่กล้า) กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอันโอฬาร เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้ตัณหาจริตอย่างอ่อน. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานอันสุขุม เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้มีตัณหาจริตอย่างแก่กล้า. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานซึ่งมีอารมณ์อันแยกออกไม่มากนัก เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้มีทิฏฐิจริตอย่างอ่อน. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์อันแยกออกมาก เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้มีทิฏฐิจริตอย่างแก่กล้า.
อนึ่ง สติปัฏฐานที่ ๑ ซึ่งมีนิมิตอันบุคคลพึงบรรลุได้โดยไม่ลำบาก เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้สมถยานิกอย่างอ่อน. สติปัฏฐานที่ ๒ เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้สมถยานิกอย่างแก่กล้า เพราะไม่เกิดในอารมณ์อันหยาบ สติปัฏฐานที่ ๓ มีอารมณ์อันแยกออกไม่มากนัก เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้วิปัสสนายานิกอย่างอ่อน. สติปัฏฐานที่ ๔ มีอารมณ์อันแยกออกมากยิ่ง เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้วิปัสสนายานิกอย่างแก่กล้า.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 36
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ โดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยประการฉะนี้แล.
สติปัฏฐานตามนัยแห่งปกรณ์ (๑)
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละวิปัลลาส ๔ เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อละสุภวิปัลลาส สุขวิปัลลาส นิจจวิปัลลาส อัตตวิปัลลาส คือเข้าใจว่า เป็นสุภะ เป็นสุขะ เป็น ของเที่ยง เป็นอัตตา. จริงอยู่ กายเป็นอสุภะ แต่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าใจผิดด้วยสุภวิปัลลาสในกายนั้น มีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสติปัฏฐานที่ ๑ ไว้ เพื่อจะให้สัตว์เหล่านั้นละวิปัลลาสนั้น โดยการแสดงถึงความเป็นอสุภะในกาย. อนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น แม้อันสัตว์ถือเอาแล้วว่า เป็น สุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา ที่จริงเวทนาเป็นทุกข์ จิตก็ไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายก็เป็นอนัตตา. แต่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าใจผิดมีความเห็นคลาดเคลื่อนในธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นว่า เป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือไว้ก็เพื่อจะให้สัตว์เหล่านั้นละวิปัลลาสนั้นโดยการแสดงถึงความเป็นทุกข์ เป็นต้น ในธรรมมีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบว่าได้ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่งดังนี้ เพื่อละวิปัลลาสในความเห็นว่าเป็นสุภะ เป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็เพื่อการละวิปัลลาสเท่านั้นก็หาไม่ โดยที่แท้ พึงทราบว่า พระองค์ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ เพื่อละโอฆะ ๔ โยคะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔ อุปาทาน ๔ อคติ ๔ และเพื่อให้กำหนดรู้อาหาร ๔ ด้วย.
นัยแห่งปกรณ์ มีเพียงเท่านี้
(๑) นัยนี้รจนาขึ้นโดยภาษาของชาวเกาะลังกา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 37
นัยแห่งอรรถกถา
ก็ในอรรถกถา ท่านกล่าวคำไว้เพียงเท่านี้ว่า สติปัฏฐานมีอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยสามารถแห่งการระลึก และด้วยสามารถแห่งการประชุมโดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ว่าเป็น ๔ ได้ด้วย สามารถแห่งอารมณ์ ดังนี้. เหมือนอย่างว่าในนครหนึ่งมี ๔ ประตู ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วก็เข้าไปสู่นครทางประตูทิศตะวันออกนั้นนั่นแหละ. ผู้มาจากทิศใต้ ผู้มาจากทิศตะวันตก ผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศเหนือแล้วก็เข้าไปสู่นครทางประตูทิศเหนือนั่นแหละ ฉันใด คำอุปมาเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบฉันนั้นเถิด. จริงอยู่ พระนิพพาน เปรียบเหมือน นคร. โลกุตตรมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือน ประตู. กายเป็นต้นเปรียบ เหมือนทิศตะวันออก เป็นต้น. ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วก็เข้าไปสู่นครโดยประตูทิศตะวันออก นั่นแหละ ฉันใดพระโยคาวจรทั้งหลาย ผู้มาด้วยกายานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญกายานุปัสสนาโดย ๑๔ ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งเทียว ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งการเจริญกายานุปัสสนา.
ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศใต้ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศใต้แล้วก็เข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านใต้นั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลายผู้มาด้วยเวทนานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญเวทนานุปัสสนาโดย ๘ ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งการเจริญเวทนานุปัสสนา.
ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันตก ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศตะวันตก แล้วเข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านตะวันตกนั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 38
ทั้งหลาย ผู้มาด้วยจิตตานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้นเจริญจิตตานุปัสสนา ๑๖ ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้น ด้วยอานุภาพแห่งจิตตานุปัสสนา.
ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศเหนือแล้ว เข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านเหนือนั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลายผู้มาด้วยธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาโดย ๕ ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพของธัมมานุปัสสนา.
ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐานไว้ ๑ เท่านั้นด้วยสามารถแห่งการระลึก และด้วยสามารถแห่งการประชุมโดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ดังนี้.
กายานุปัสสนานิทเทส
อุทเทสวารกถา
อธิบายคำว่า อิธ ภิกฺขุ
(ภิกษุในพระศาสนานี้)
ในคำว่า อิธ ภิกฺขุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในเทวโลก ตรัสสติปัฏฐานวิภังค์นี้ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่านั่งอยู่ในสำนักของพระองค์ในเทวโลกนั้นไม่มีก็จริง เมื่อความเป็นอย่างนั้น (เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสคำ ว่า อิธ ภิกฺขุ นี้) ก็เพราะสติปัฏฐานเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของภิกษุ อีกทั้งภิกษุทั้งหลายก็เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขุ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 39
ถามว่า ก็พวกภิกษุเท่านั้นหรือ ย่อมเจริญสติปัฏฐานเหล่านี้ ภิกษุณีเป็นต้นไม่เจริญหรือ?
ตอบว่า ชนเหล่าอื่นแม้มีภิกษุณีเป็นต้นก็เจริญ แต่ภิกษุทั้งหลายเป็นบริษัทชั้นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ภิกฺขุ เพราะความเป็นบริษัทชั้นเลิศ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสอย่างนั้นก็เพราะจะแสดงความเป็นภิกษุด้วยการปฏิบัติ. จริงอยู่ บุคคลใดดำเนินไปสู่การปฏิบัตินี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ภิกษุ ด้วยว่าบุคคลผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงการนับว่าเป็น ภิกษุ ทั้งนั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสพระคาถา ว่า
แม้ถ้าว่า ผู้ใดมีธรรมอันประดับแล้ว ผู้สงบแล้ว ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้เที่ยง ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สละอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ประพฤติธรรมอันสงบ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.
อธิบายคำ อชฺฌตฺตํ กาเย (ในกายภายใน)
คำว่า อชฺฌตฺตํ ท่านประสงค์เอากายภายในอันเป็นของตน. เพราะฉะนั้น คำว่า อชฺฌตฺตํ กาเย จึงได้แก่ ในกายของตน. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กาเย ได้แก่ ในรูปกาย. จริงอยู่ รูปกาย ประสงค์เอาว่า กาย ในที่นี้ ดุจกายช้าง กายม้า และกายรถ เป็นต้น เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมแห่งธรรม คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายและโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น. ก็รูปกาย ท่านประสงค์เอาว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม ฉันใด รูป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 40
กาย ท่านก็ประสงค์เอาว่า กาย เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งเลวทราม ฉันนั้น. จริงอยู่ ที่ชื่อว่ากาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันเลวทราม คือ อันน่ารังเกียจอย่างยิ่ง. ประเทศอันเป็นบ่อเกิด ชื่อว่า อายะ. พึงทราบวจนัตถะในคำว่า อายะ นั้น ดังนี้
กายชื่อว่า อายะ (บ่อเกิด) เพราะอรรถว่า เป็นแดนเกิดแห่งธรรมทั้งหลาย (หรือว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่กายนี้ ฉะนั้น กายนี้จึงชื่อว่า อายะ). ถามว่า ธรรมเหล่าไหนย่อมเกิด. ตอบว่า โกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันน่ารังเกียจ ย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น กาย ก็คือ บ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย มีผมเป็นต้นอันน่ารังเกียจ ด้วยประการฉะนี้.
อธิบายคำว่า กายานุปสฺสี (มีปกติตามเห็นกาย)
คำว่า กายานุปสฺสี ได้แก่ มีปกติตามเห็นกาย หรือว่า เห็นกายอยู่เนืองๆ. ก็คำนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสคำว่า กาเย (ในกาย) ดังนี้แล้ว ทรงทำศัพท์กายที่ ๒ ว่า กายานุปสฺสี ดังนี้อีก เพื่อจะแสดงการกำหนดและการแยกฆนะเป็นต้น ไม่ให้ปะปนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงมิได้ตรัสว่า มีปกติตามเห็นเวทนาในกาย หรือว่า มีปกติตามเห็นจิต มีปกติตามเห็นธรรมในกาย เลย โดยที่แท้ ทรงแสดงการกำหนดมิให้ปะปนกัน โดยการแสดงอาการ คือ การตามเห็นกายในวัตถุกล่าวคือกาย ในคำว่า กาเย กายานุปสฺสีเยว (มีปกติตามเห็นกายในกายเท่านั้น) ดังนี้. โดยทำนองเดียวกัน ก็ไม่ตรัสว่า มีปกติตามเห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่งนอกจากอวัยวะน้อยใหญ่ในกาย ทั้งไม่ตรัสว่า มีปกติตามเห็นผู้หญิง ผู้ชาย นอกจากผมขนเป็นต้น. ก็กายแม้ใดกล่าวคือที่ประชุมแห่งภูตรูป และอุปาทารูปมีผมขนเป็นต้น มีอยู่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 41
ในกายนี้ จึงมิได้ตรัสว่า มีปกติตามเห็นธรรมสักอย่างหนึ่งนอกจากภูตรูป และ อุปาทารูปในกายแม้นั้น. อันที่จริง ทรงแสดงการแยกฆนะ โดยการแสดงวัตถุกล่าวคือกาย ด้วยอำนาจแห่งกายคือที่ประชุมนั่นแหละ โดยประการต่างๆ ว่า เป็นผู้มีปกติตามเห็นการประชุมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตรวจดูส่วนประกอบแห่งรถด้วย เป็นผู้มีปกติตามเห็นการประชุมแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมขนเป็นต้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตรวจดูส่วนประกอบน้อยใหญ่ของเมืองด้วย เป็นผู้มีปกติตามเห็นการประชุมของภูตรูป อุปาทารูปทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลแยกใบกล้วย หยวกกล้วย ออกจากลำต้นกล้วย และเปรียบเหมือนผู้แบกำมืออันเปล่าด้วย ฉะนั้น. จริงอยู่ ในอธิการนี้ จะเป็นกายที่นอกจากกายคือที่ประชุมตามที่กล่าวแล้วก็ตาม จะเป็นหญิง เป็นชาย หรือว่าเป็นธรรมอะไรๆ อื่นก็ตาม ย่อมไม่ปรากฏ. แต่ว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมกระทำการยึดมั่นเพราะความเห็นผิด ในเหตุสักว่าการประชุมแห่งธรรมตามที่กล่าวแล้วโดยประการนั้นๆ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ยํ ปสฺสติ น ตํ ทิฏฺฐํ ยํ ทิฏฺฐํ ตํ น ปสฺสติ
อปสฺสํ พชฺฌเต มุฬฺโห พชฺฌมาโน น มุจฺจติ.
แปลว่า
บุคคลเห็นอยู่ซึ่งสิ่งใด (๑) สิ่งนั้น (๒) ชื่อว่า อันเขาเห็นแล้วก็หาไม่ สิ่งใด (๓) อันเขาเห็นแล้ว เขาชื่อว่าย่อมไม่เห็นซึ่งสิ่งนั้น บุคคลผู้หลง เมื่อไม่เห็นย่อมติด เมื่อติดก็ย่อมไม่หลุดพ้น.
(๑) คือเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชาย. (๒) (๓) หมายถึงรูปายตนะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 42
คำว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย ท่านกล่าวแล้ว เพื่อการแสดงการแยกฆนะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแม้นี้ด้วยอาทิศัพท์. จริงอยู่ พระโยคาวจรนี้มีปกติตามเห็นกายในกายนี้เท่านั้น มิใช่มีปกติตามเห็นธรรมอื่น. ถามว่า ข้อนี้ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า ท่านอธิบายว่าชนทั้งหลายผู้มีปกติตามเห็นพยับแดดแม้อันไม่มีน้ำว่าเป็นน้ำ ฉันใด พระโยคาวจรมีปกติตามเห็นกายนี้อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะนั่นแหละว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา เป็นสุภะ ฉันนั้นหามิได้ โดยที่แท้ มีปกติตามเห็นกายก็คือ มีปกติตามเห็นการประชุมแห่งอาการของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะเท่านั้น ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า กายนี้ใด มีลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นเบื้องต้น และมีกระดูกอันแตกเป็นจุณไปเป็นที่สุด ที่พระผู้พระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานโดยนัยว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ไปที่ป่าก็ตาม ฯลฯ เธอย่อมมีสติเทียวหายใจเข้า" เป็นต้น. และกายใดที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ ย่อมตามเห็นกาย คือปฐวี โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยทำนองเดียวกัน ย่อมตามเห็นกาย คืออาโป กายคือเตโช กายคือวาโย กายคือผม กายคือขน กายคือผิว กายคือหนัง กายคือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น ก็เพราะการตามเห็นอยู่ในกายนี้นั่นแหละแห่งกายทั้งปวง จึงชื่อว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย (กาเย กายานุปสฺสี) ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 43
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า ชื่อว่า มีปกติตามเห็นกายกล่าวคือที่ประชุมแห่งธรรม มีผมเป็นต้นในกาย โดยการไม่ตามเห็นอะไรๆ อันพึงถือเอาในกายอย่างนี้ว่า เป็นเรา หรือว่า เป็นของเรา ดังนี้ แต่เพราะการตามเห็นที่ประชุมแห่งธรรมต่างๆ มีผมขน เป็นต้นนั้น นั่นแหละ จึงชื่อว่า กาเย กายานุปสฺสี ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย แม้เพราะการตามเห็นกาย กล่าวคือที่ประชุมแห่งอาการอันมีอนิจจลักษณะเป็นต้นทั้งปวงเทียวซึ่งมีนัยอันมาแล้วในปฏิสัมภิทามรรคโดยลำดับว่า ภิกษุย่อมตามเห็นในกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิใช่โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น ดังนี้. จริงอย่างนั้น ภิกษุนี้ดำเนินไปสู่การปฏิบัติคือ การตามเห็นกายในกาย (๑) ย่อมตามเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยอำนาจอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น มิใช่ตามเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมตามเห็นโดยความเป็นทุกข์ มิใช่ตามเห็นโดยความเป็นสุข, ย่อมตามเห็นโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ตามเห็นโดยความเป็นอัตตา, ย่อมเบื่อหน่าย มิใช่ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมคลายความกำหนัด มิใช่ย่อมกำหนัด. ย่อมให้ดับ มิใช่ย่อมให้เกิด, ย่อมสละคืน มิใช่ย่อมยึดถือ. ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นกายนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญา, เมื่อตามเห็นโดย ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา, เมื่อตามเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา, เมื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลิน, เมื่อคลายความกำหนัด ย่อมละราคะ, เมื่อดับ ย่อมละสมุทัย และเมื่อสละคืน ย่อมละการยึดถือ ดังนี้.
(๑) หรือใช้คำว่า พิจารณากายในกายเนืองๆ ก็ได้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 44
อธิบายคำว่า วิหรติ (อยู่)
คำว่า วิหรติ นั้น เป็นคำแสดงการประกอบการอยู่ด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาการอยู่ด้วยอิริยาบถ ๔. อธิบายว่า บำบัดการเบียดเบียนอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถนั้น แล้วจึงนำอัตภาพอันยังไม่ตกไปให้เป็นไปอยู่.
อธิบายคำว่า พหิทฺธา กาเย เป็นอาทิ
(ในกายภายนอกเป็นต้น)
คำว่า พหิทฺธา กาเย ได้แก่ ในกายของผู้อื่น.
คำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา กาเย ความว่า ในกายของตนตามกาลอันควร ในกายของผู้อื่นตามกาลอันควร. ก็โดยนัยแรก ท่านกล่าวการกำหนดกายในกายของตน. โดยนัยที่ ๒ ท่านกล่าวกำหนดกายในกายของผู้อื่น. โดยนัยที่ ๓ ท่านกล่าวการกำหนดกายในกายของตนตามกาลสมควร ในกายของผู้อื่นตามกาลสมควร. ก็ชื่อว่า อารมณ์ที่กระทบทั้งภายในทั้งภายนอก (พร้อมกัน) ย่อมไม่มี. แต่ว่า ท่านกล่าวกาลเป็นที่สัญจรของกรรมฐานอันคล่องแคล่ว แล้วๆ เล่าๆ ไว้ในคำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา นี้.
อธิบายคำว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา
คำว่า อาตาปี (มีความเพียร) นั้น เป็นคำแสดงการประกอบความเพียรของผู้กำหนดกาย (เป็นอารมณ์). ก็เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นประกอบความเพียรที่ท่านให้ชื่อว่า อาตาปะ เพราะเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสทั้งหลายในภพทั้ง ๓ ในสมัยนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาตาปี.
คำว่า สมฺปชาโน (มีสัมปชัญญะ) คือผู้ประกอบด้วยญาณกล่าวคือ สัมปชัญญะ อันกำหนดเอาซึ่งกาย (เป็นอารมณ์).
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 45
คำว่า สติมา (มีสติ) คือผู้ประกอบด้วยสติอันกำหนดกาย. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุนี้กำหนดอารมณ์ด้วยสติ แล้วก็ตามเห็นอยู่ด้วยปัญญา. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า การตามเห็นของภิกษุเว้นจากสติ ก็ไม่มี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่าเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง ฉะนั้น กายานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐาน ใน คำว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ นี้ ย่อมเป็นคำอธิบายอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เพราะความหดหู่ภายในเป็นธรรม ทำอันตรายแก่ภิกษุผู้ไม่มีอาตาปี ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมหลงใหลในการกำหนดธรรมอันเป็นอุบาย และในการเว้นจากสิ่งที่มิใช่อุบาย. ผู้มีสติหลงลืม ก็ย่อมเป็นผู้ไม่สามารถในการไม่สละอุบายและในการกำหนดสิ่งที่มิใช่อุบาย. เพราะฉะนั้น กรรมฐานของเขาจึงไม่รุ่งเรือง ด้วยเหตุนั้นกรรมฐานนั้นย่อมรุ่งเรืองด้วยอานุภาพแห่งธรรมเหล่าใด เพื่อการแสดงธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา ดังนี้. ครั้งทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และสัมปโยคะ (การประกอบพร้อม) ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละ จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ดังนี้.
อธิบายคำว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ (๑)
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิเนยฺย ได้แก่ นำออกแล้ว ด้วยตทังควินัย หรือด้วยวิกขัมภนวินัย. กายนี้ใด อันต่างด้วยกายภายในเป็นต้น ที่ทรงกำหนดในคำว่า โลเก นี้ กายนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าโลก ในที่นี้. อธิบายว่า
(๑) แปลว่า " พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก "
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 46
นำอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้ออก. แต่เพราะในที่นี้ กามฉันทะ ย่อมถึงการสงเคราะห์ด้วย อภิชฌา ศัพท์ พยาปาทะย่อมถึงการสงเคราะห์ด้วย โทมนัส ศัพท์ ฉะนั้น พึงทราบว่า การละนิวรณ์ เป็นคำอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยการแสดงธรรม ๒ อย่าง ที่มีกำลังอันนับเนื่องในนิวรณ์ดังนี้.
อนึ่ง ว่าโดยพิเศษในที่นี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส การละความยินดีอันมีกายสมบัติเป็นมูลด้วยการนำอภิชฌาออก ละการยินร้ายอันมีกายวิบัติเป็นมูลด้วยการนำโทมนัสออก. ตรัสการละความยินดียิ่งในกายด้วยการนำอภิชฌาออก ละการไม่ยินดียิ่งในกายภาวนา (การเจริญกาย) ด้วยการนำโทมนัสออก. และตรัสการละซึ่งการเพิ่มใส่ในสิ่งอันไม่มีในกายอันมีความงามความสุขเป็นต้น ด้วยการนำอภิชฌาออก ตรัสการละซึ่งการนำออกซึ่งสิ่งอันไม่มีในกายอันมีความไม่งาม ความสุขเป็นต้นด้วยการนำโทมนัสออก. ด้วยคำนั้น อานุภาพแห่งความเพียรและความเป็นผู้สามารถในความเพียร ย่อมเป็นคำอันเพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแล้ว. จริงอยู่ อานุภาพแห่งความเพียรนั้น ย่อมหลุดพ้นจากความยินดียินร้าย อดทนต่อความไม่ยินดีแสะความยินดี ทั้งเว้นจากการเพิ่มใส่ในสิ่งที่ไม่มี และเว้นจากการนำสิ่งที่มีออกไป. ก็พระโยคาวจรนั้น เว้นจากความยินดียินร้าย อดทนต่อความไม่ยินดีและยินดี เมื่อไม่เพิ่มใส่ในสิ่งอันไม่มี และไม่นำสิ่งที่มีออกไป จึงชื่อว่า ผู้มีความสามารถในความเพียรฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง พึงทราบ ในคำว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานไว้ ด้วยอนุปัสสนา (การตามเห็น). ในคำว่า วิหรติ นี้ ตรัสการบริหารกายของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยการอยู่ตามที่กล่าวแล้ว. ในคำว่า อาตาปี เป็นต้น ตรัสสัมมัปปธานไว้ ด้วยอาตาปะ. ตรัส
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 47
กรรมฐานอันมีประโยชน์ทั้งปวง หรืออุบายเป็นเครื่องบริหารกรรมฐานไว้ด้วยสติสัมปชัญญะ. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสการได้สมถะ โดยอำนาจกายานุปัสสนาด้วยสติ. ตรัสวิปัสสนาไว้ ด้วยสัมปชัญญะ. และตรัสผล แห่งภาวนาไว้ ด้วยการนำอภิชฌาโทมนัสออก ดังนี้.
พรรณนาเนื้อความอุทเทสแห่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จบ
พรรณนาเนื้อความอุทเทสแห่งเวทนานุปัสสนาเป็นต้น
วินิจฉัย ในอุทเทสแห่งเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นต้น. พึงทราบ เวทนาภายใน เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็บรรดา เวทนาเป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดไว้ ๓ อย่าง คือ ในเวทนาเป็นต้น ของตน ๑ ในเวทนาเป็นต้น ของผู้อื่น ๑ ในเวทนาเป็นต้น ของตนตามกาลสมควร และของผู้อื่นตามกาลสมควร ๑. ก็ประโยชน์ในการกล่าวซ้ำซึ่งธรรมมีเวทนาเป็นต้น ในคำทั้งหลาย มีคำว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นแหละ.
ก็ในคำว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี, จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี, ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี นี้ คำว่า เวทนา ได้แก่ เวทนา ๓ และเวทนาเหล่านั้นก็เป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น. แม้จิตก็เป็นโลกีย์. แม้ธรรมทั้งหลาย ก็อย่างนั้น. การจำแนกธรรมเหล่านั้น จักปรากฏในนิทเทสวาระ แต่ในที่นี้ เวทนาอันภิกษุพึงตามเห็นได้โดยประการใด เมื่อตามเห็นโดยประการนั้น ก็พึงทราบว่า เป็นผู้มีปกติตามเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลาย ดังนี้. ในจิตและธรรมทั้งหลาย ก็นัยนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 48
ถามว่า เวทนา พระโยคาวจรจะพึงตามเห็นอย่างไร?
ตอบว่า สุขเวทนาก่อน พึงตามเห็นโดยความเป็นทุกข์ ทุกขเวทนาพึงตามเห็นโดยความเป็นดังลูกศร อทุกขมสุขเวทนาพึงตามเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นดังลูกศร เห็นอทุกขมสุขอันสงบแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบ จักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป ดังนี้.
อนึ่ง เวทนาเหล่านั้นทั้งหมดเทียว พึงตามเห็นว่า เป็นทุกข์เท่านั้นก็ได้ ข้อนี้สมกับคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เวทนาทั้งหมดนั้นเรากล่าวว่า เป็นทุกข์ ดังนี้. สุขเวทนา พึงตามเห็นโดยความเป็นทุกข์ก็ได้ เหมือนคำที่ตรัสว่า สุขเวทนายังตั้งอยู่ก็เป็นสุข เมื่อแปรไปก็เป็นทุกข์ ดังนี้ บัณฑิตควรยังคำทั้งหมดให้พิสดาร.
อีกอย่างหนึ่ง พึงตามเห็นเวทนา ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นบ้างก็ได้. คำที่เหลือจักมีแจ้งในนิทเทสวาระ. แม้ในจิตและธรรมทั้งหลาย เฉพาะจิต พึงตามเห็นด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น อันมีประเภทต่างๆ กัน โดยเป็น อารมณ์ อธิปติ สหชาต ภูมิ กรรม วิบาก และกิริยา เป็นต้น และด้วยสามารถแห่งการแตกต่างกันแห่งจิตมีราคะเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. ธรรมทั้งหลาย พึงตามเห็นด้วยสามารถแห่งสลักษณะ และ สามัญญลักษณะ สุญญตาธรรม อนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่ง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 49
อันต่างด้วยธรรมอันสงบและไม่สงบเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในอธิการนี้ อภิชฌาและโทมนัสในโลกกล่าวคือกาย อันบุคคลใดละได้แล้ว อภิชฌาและโทมนัสนั้น แม้ในโลกกล่าวคือเวทนาเป็นต้น ก็ชื่อว่า บุคคลนั้นละได้แล้วเหมือนกันก็จริง ถึงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในสติปัฏฐานทั้งหมด ด้วยสามารถแห่งบุคคลต่างๆ และด้วยสามารถแห่งการเจริญสติปัฏฐาน อันเกิดขึ้นในขณะแห่งจิตที่แตกต่างกัน. จริงอยู่ การละอภิชฌาและโทมนัสในโลกหนึ่งได้แล้ว ก็ชื่อว่า ละอภิชฌาและโทมนัส ในโลกที่เหลือได้. ด้วยเหตุนั้นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส คำนั้นไว้ ก็เพื่อแสดงการละอภิชฌาและโทมนัสในโลกเหล่านั้น ของบุคคลนั้น แล. อุทเทสวารกถา จบ
นิทเทสวารกถา
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะกระทำสัตว์ทั้งหลายให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ มีประการมิใช่น้อย ด้วยสติปัฏฐานเทศนา จึงทรงแบ่งสัมมาสติข้อหนึ่งนั่นแหละ ออกเป็น ๔ ส่วน เป็นสติปัฏฐาน ๔ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ โดยนัยว่า ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ เป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงถือเอาสติปัฏฐานหนึ่งๆ จากสติปัฏฐาน ๔ นั้นจำแนกออกไป จึงเริ่มตรัสนิทเทสวาระ โดยนัยเป็นต้นว่า ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ดังนี้ เปรียบเหมือนช่างสานผู้ฉลาด ต้องการจะทำอุปกรณ์ทั้งหลาย มีเสื่อลำแพน ชนิดหยาบละเอียด เตียบ ข้อง และชะลอมเป็นต้น ได้ไม้ไผ่ลำใหญ่มาลำหนึ่งแล้วตัดออกเป็น ๔ ท่อน ถือเอาท่อนหนึ่งๆ จาก ๔ ท่อนนั้นผ่าออกแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 50
จึงทำอุปกรณ์นั้นๆ ก็หรือว่าเปรียบเหมือนช่างทองผู้ฉลาด ต้องการจะทำเครื่องประดับชนิดต่างๆ ได้แท่งทองคำอันบริสุทธิ์อย่างดี ตัดออกเป็น ๔ ส่วน แล้วถือเอาส่วนหนึ่งๆ จาก ๔ ส่วนนั้น ทำเครื่องประดับนั้นๆ ฉันนั้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กถญฺจ (แปลว่าเป็นอย่างไร) เป็นต้น เป็นคำถามโดยประสงค์จะกล่าวให้พิสดาร. ก็ในอธิการนี้ มีเนื้อความโดยสังเขป ดังนี้ว่า โดยอาการอย่างไร โดยประการอย่างไร ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ ดังนี้. แม้ในวาระแห่งคำถามที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
คำว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้ ศัพท์ว่า อิธ ในที่นี้ เป็นคำแสดงถึงศาสนาอันเป็นที่อาศัยของบุคคลผู้ทำกายานุปัสสนาโดยประการทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งกายภายในเป็นต้นให้เกิดขึ้น และปฏิเสธความเป็นอย่า'นั้นของศาสนาอื่น ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ ศาสนาอื่นว่างจากสมณะ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุในศาสนานี้ ดังนี้.
คำว่า อชฺฌตฺตํ กายํ คือ กายของตน
คำว่า อุทฺธํ ปาทตลา คือ แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน
คำว่า อโธ เกสมตฺถกา คือ แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ.
คำว่า ตจปริยนฺตํ คือ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
คำว่า ปูรนฺนานปฺปการสฺส อสุจิโน ปจฺจเวกฺขติ ความว่า พระโยคาวจรย่อมเห็นว่า กายนี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีเกสาเป็นต้น ซึ่ง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 51
มีประการต่างๆ คืออย่างไร คือ อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา ฯลฯ มุตฺตํ ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. คำว่า อิมสฺมึ ได้แก่ ในกายที่ท่านกล่าวว่าเบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ นี้. คำว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ. จริงอยู่ ท่านเรียกว่า กาย เพราะสั่งสมของไม่สะอาด เป็นบ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันน่ารังเกียจ ทั้งเป็นบ่อเกิดแห่งโรคหลายร้อยอย่างมีโรคตาเป็นต้น. คำว่า เกสา โลมา เป็นต้นนี้ คือ อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น.
พึงทราบความสัมพันธ์ (คือ การเกี่ยวเนื่องกัน) ในโกฏฐาสเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ผมมีอยู่ในกายนี้ ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น จริงอยู่ ในกเฬวระ คือ อัตภาพประมาณวาหนึ่งนี้ เบื้องบนตั้งแต่เท้าขึ้นไป เบื้องต่ำ ตั้งแต่ปลายผมลงมา โดยที่สุดรอบๆ ตั้งแต่หนังเข้าไป เมื่อค้นหาอยู่แม้โดยอาการทุกอย่าง ใครๆ ย่อมไม่พบอะไรๆ คือ จะเป็นแก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว ไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์แดง การบูร หรือจุณสำหรับอบเป็นต้น หรือว่า สิ่งที่เป็นของสะอาดแม้สักนิดหนึ่ง โดยที่แท้ ย่อมพบแต่สิ่งที่ไม่สะอาดทั้งสิ้น อันต่างด้วยผม ขน เป็นต้น มีประการต่างๆ อันมีกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจอย่างยิ่ง ทั้งการดูก็ไม่เป็นสิริ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา ฯลฯ มุตฺตํ ดังนี้. นี้เป็นการพรรณนา บทสัมพันธ์ในอธิการนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 52
กรรมฐานกถาว่าด้วยอำนาจสมถะ
อุคคหโกศล
ก็กุลบุตรผู้ใคร่จะเจริญกรรมฐานนี้ เพื่อบรรลุพระอรหัต เบื้องต้นต้องชำระศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ดีแล้ว ตัดปลิโพธที่มีอยู่ ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ด้วยการเจริญปฏิกูลมนสิการกรรมฐาน ทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา ก็พึงเรียนเอาในสำนักของกัลยาณมิตรผู้บรรลุพระอรหัต หรือในพระอนาคามิผลเป็นต้น รูปใดรูปหนึ่ง โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด แม้ผู้เป็นตันติอาจารย์ (อาจารย์ผู้สอนพระพุทธพจน์) ซึ่งชำนาญในพระบาลีพร้อมทั้งอรรถกถา แต่เมื่อไม่ได้กัลยาณมิตรเช่นนั้น ในวิหารเดียวกัน พึงไปยังที่อยู่ของท่านแล้วเรียนเอาเถิด. บรรดาวิธีการเหล่านั้น การชำระศีล ๔ ให้หมดจด ปลิโพธ การตัดปลิโพธ และวิธีการเข้าไปสู่สำนักของอาจารย์แม้ทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยพิศดารแล้วในปกรณ์วิสุทธิมรรค เพราะฉะนั้น พึงทราบกิจนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในปกรณ์วิสุทธิมรรคนั้นนั่นแหละ.
วจสา บอกโดยวาจา
ก็อาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน พึงบอกโดยวิธีการ ๓ อย่าง คือ สำหรับภิกษุที่เรียนกรรมฐานตามปกติ ในวาระที่เธอมานั่งแล้ว อาจารย์พึงให้เธอทำการสาธยายครั้งหนึ่งหรือ ๒ ครั้ง แล้วจึงบอก. สำหรับภิกษุผู้ต้องการจะอยู่ในสำนักเรียนเอากรรมฐาน อาจารย์พึงบอกในเวลาที่เธอมาแล้วๆ. สำหรับภิกษุผู้ต้องการจะเรียนแล้วไปในที่อื่น อาจารย์พึงบอกกรรมฐาน อย่าให้ยุ่งยาก อย่าให้สงสัย โดยไม่ทำให้พิสดารเกินไป และไม่ย่อเกินไป.
ถามว่า เมื่อจะบอก อาจารย์พึงบอกอย่างไร?
ตอบว่า พึงบอกอุคคหโกศล ๗ อย่าง และมนสิการโกศล ๑๐ อย่าง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 53
ในสองอย่างนั้น อาจารย์พึงบอก อุคคหโกศล ๗ อย่าง อย่างนี้คือ
๑. วจสา (โดย วาจา)
๒. มนสา (โดยใจ)
๓. วณฺณโต (โดยสี)
๔. สณฺฐานโต (โดยสัณฐาน)
๕. ทิสโต (โดยทิศ)
๖. โอกาสโต (โดยโอกาส)
๗. ปริจเฉทโต (โดยปริจเฉท).
พึงสาธยายด้วยวาจา
ก็ในปฏิกูลมนสิการกรรมฐานนี้ แม้ภิกษุนั้นจะทรงพระไตรปิฎกก็พึงทำการสาธยายด้วยวาจาก่อนในเวลาที่มนสิการ. เพราะเมื่อเธอผู้เดียวทำการสาธยายอยู่ กรรมฐานย่อมปรากฏ เหมือนพระเถระ ๒ รูปผู้เรียนกรรมฐานในสำนักของพระมหาเทวเถระผู้อยู่ในมลยะประเทศ. ได้ยินว่า พระมหาเทวเถระ อันพระเถระ ๒ รูปนั้นขอกรรมฐานแล้ว ได้ให้ทวัตติงสาการบาลี โดยสั่งว่า ท่านทั้งหลาย จงทำการสาธยายนี้ อย่างนี้ ตลอด ๔ เดือน พระเถระทั้ง ๒ นั้นแม้มีนิกาย ๒ - ๓ นิกายเหล่านั้นคล่องแคล่วแล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะความที่ตนมีปกติรับโอวาทโดยความเคารพ จึงได้สาธยายทวัตติงสาการตลอด ๔ เดือน ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว.
เพราะฉะนั้น อาจารย์เมื่อจะบอกกรรมฐาน พึงบอกอันเตวาสิกว่า ครั้งแรกเธอจงสาธยายด้วยวาจาก่อน ดังนี้ ก็เมื่อจะกระทำการสาธยาย พึงกำหนดตจปัญจกกรรมฐานเป็นต้น แล้วกระทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งอนุโลมและปฏิโลม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 54
วจสา (วิธีการสาธยายด้วยวาจา)
จริงอยู่ ภิกษุนั้นครั้นกล่าวว่า เกสา (ผม) โลมา (ขน) นขา (เล็บ) ทนฺตา (ฟัน) ตโจ (หนัง) แล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ตโจ (หนัง) ทนฺตา (ฟัน) นขา (เล็บ) โลมา (ขน) เกสา (ผม) ดังนี้.
ครั้นว่า มํสํ (เนื้อ) นหารู (เอ็น) อฏฺฐี (กระดูก) อฏฺฐิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) วกฺกํ (ไต) ในวักกปัญจกะอันเป็นลำดับแห่งตจปัญจกะนั้นแล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า วกฺกํ (ไต) อฏฺฐิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) อฏฺี (กระดูก) นหารู (เอ็น) มํสํ (เนื้อ), ตโจ (หนัง) ทนฺตา (ฟัน) นขา (เล็บ) โลมา (ขน) เกสา (ผม) ดังนี้.
ลำดับนั้น ครั้นว่าในปัปผาสปัญจกะว่า หทยํ (หัวใจ) ยกนํ (ตับ) กิโลมกํ (พังผืด) ปิหกํ (ม้าม) ปปฺผาสํ (ปอด) แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ปปฺผาสํ (ปอด) ปีหกํ (ม้าม) กิโลมกํ (พังผืด) ยกนํ (ตับ) หทยํ (หัวใจ), วกฺกํ (ไต) อฏฺิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) อฏฺี (กระดูก) นหารู (เอ็น) มํสํ (เนื้อ), ตโจ (หนัง) ทนฺตา (ฟัน) นขา (เล็บ) โลมา (ขน) เกสา (ผม) ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงยก มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง) อันมาในปฏิสัมภิทามรรค แม้ไม่ได้ยกขึ้นสู่บาลีนี้ ให้ขึ้นสู่บาลีในที่สุดแห่งกรีสํ (อาหารเก่า) แล้วว่าในมัตถลุงคปัญจกะนี้ ว่า อนฺตํ (ไส้ใหญ่) อนฺตคุณํ (ไส้น้อย) อุทริยํ (อาหารใหม่) กรีสํ (อาหารเก่า) มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง) แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง) กรีสํ (อาหารเก่า) อุทริยํ (อาหารใหม่) อนฺตคุณํ (ไส้น้อย) อนฺต (ไส้ใหญ่), ปปฺผาสํ (ปอด) ปีหกํ (ม้าม) กิโลมกํ (พังผืด) ยกนํ (ตับ) หทยํ (หัวใจ), วกฺกํ (ไต) อฏฺิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) อฏฺี (กระดูก) นหารู (เอ็น) มํสํ (เนื้อ), ตโจ (หนัง) ทนฺตา (ฟัน) นขา (เล็บ) โลมา (ขน) เกสา (ผม) ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงว่าในเมทฉักกะว่า ปิตฺตํ (ดี) เสมฺหํ (เสลด) ปุพฺโพ (หนอง) โลหิตํ (เลือด) เสโท (เหงื่อ) เมโท (มันข้น) แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า เมโท (มันข้น) เสโท (เหงื่อ) โลหิตํ (เลือด) ปุพฺโพ (หนอง) เสมฺหํ (เสลด) ปิตฺตํ (ดี), มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง) กรีสํ (อาหารเก่า) อุทริยํ (อาหารใหม่) อนฺตคุณํ (ไส้น้อย) อนฺต (ไส้ใหญ่), ปปฺผาสํ (ปอด) ปีหกํ (ม้าม) กิโลมกํ (พังผืด) ยกนํ (ตับ) หทยํ (หัวใจ), วกฺกํ (ไต) อฏฺิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) อฏฺี (กระดูก) นหารู (เอ็น) มํสํ (เนื้อ), ตโจ (หนัง) ทนฺตา (ฟัน) นขา (เล็บ) โลมา (ขน) เกสา (ผม) ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงว่าในมุตตฉักกะว่า อสฺสุ (น้ำตา) วสา (มันเหลว) เขโฬ (น้ำลาย) สึฆานิกา (น้ำมูก) ลสิกา (ไขข้อ) มุตฺตํ (มูตร) แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า มุตฺตํ (มูตร) ลสิกา (ไขข้อ) สึฆานิกา (น้ำมูก) เขโฬ (น้ำลาย)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 55
วสา (มันเหลว) อสฺสุ (น้ำตา), เมโท (มันข้น) เสโท (เหงื่อ) โลหิตํ (เลือด) ปุพฺโพ (หนอง) เสมฺหํ (เสลด) ปิตฺตํ (ดี), มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง) กรีสํ (อาหารเก่า) อุทริยํ (อาหารใหม่) อนฺตคุณํ (ไส้น้อย) อนฺต (ไส้ใหญ่), ปปฺผาสํ (ปอด) ปีหกํ (ม้าม) กิโลมกํ (พังผืด) ยกนํ (ตับ) หทยํ (หัวใจ), วกฺกํ (ไต) อฏฺิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) อฏฺี (กระดูก) นหารู (เอ็น) มํสํ (เนื้อ), ตโจ (หนัง) ทนฺตา (ฟัน) นขา (เล็บ) โลมา (ขน) เกสา (ผม) ดังนี้.
พึงทำการสาธยายร้อยครั้งบ้าง พันครั้งบ้าง แสนครั้งบ้าง ด้วยวาจา ดังพรรณนามาฉะนี้. จริงอยู่ ระบบแห่งกรรมฐาน ย่อมเป็นอันคล่องแคล่ว โดยการสาธยายด้วยวาจา จิตย่อมไม่แล่นไปข้างโน้นข้างนี้ โกฏฐาสทั้งหลายย่อมปรากฏเหมือนสายสร้อยข้อมือ เหมือนแถวหลักรั้ว ฉะนั้น.
มนสา (วิธีการสาธยายด้วยใจ)
ก็พระโยคาวจร พึงทำการสาธยายด้วยวาจา ฉันใด แม้การสาธยายด้วยใจก็ฉันนั้นนั่นแหละ เพราะการสาธยายด้วยวาจาเป็นปัจจัยแก่การสาธยายด้วยใจ. การสาธยายด้วยใจเป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดซึ่งลักษณะ. การแทงตลอดลักษณะเป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดมรรคและผล.
วณฺณโตทิ (กำหนดโดยสี เป็นต้น)
ข้อว่า วณฺณโต (โดยสี) ความว่า พึงกำหนดสีแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย มีผม เป็นต้น. คำว่า. สณฺฐานโต (โดยสัณฐาน) คือ พึงกำหนดสัณฐานแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย มีผมเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า ทิสโต (โดยทิศ) ความว่า ในสรีระนี้ ทิศเบื้องบนตั้งแต่นาภีขึ้นไป ทิศเบื้องต่ำจากนาภีลงมา ฉะนั้น พึงกำหนดทิศว่า โกฏฐาสนี้อยู่ในทิศชื่อนี้. คำว่า โอกาสโต (โดยโอกาส) ความว่า พึงกำหนดโอกาสแห่งโกฏฐาสนั้นๆ อย่างนี้ว่า โกฏฐาสนี้ตั้งอยู่ในโอกาสชื่อนี้. คำว่า ปริจฺเฉทโต (โดยการกำหนด) ได้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 56
แก่การกำหนด ๒ อย่าง คือ สภาคปริจเฉท (กำหนดส่วนที่เสมอกัน) และ วิสภาคปริจเฉท (กำหนดส่วนที่ไม่เสมอกัน). ในการกำหนด ๒ อย่างนั้น พึงทราบสภาคปริจเฉทอย่างนี้ว่า โกฏฐาสนี้ กำหนดตัดตอนด้วยโกฏฐาสชื่อนี้ ทั้งเบื้องล่าง เบื้องบน เบื้องขวางโดยรอบ. พึงทราบ วิสภาคปริจเฉทด้วยอำนาจความไม่ปะปนกันแห่งโกฏฐาส อย่างนี้ว่า ผมมิใช่ขน แม้ขนก็มิใช่ผม เป็นต้น.
ข้อที่ควรทราบก่อนจะบอกอุคคหโกศล
ก็พระอาจารย์ เมื่อจะบอกอุคคหโกศล ๗ อย่าง อย่างนี้ ควรจะทราบว่า "กรรมฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรโน้นด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล กรรมฐานนี้ตรัสไว้ในพระสูตรโน้นด้วยอำนาจแห่งธาตุ" ดังนี้ แล้วจึงบอก.
จริงอยู่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานด้วยอำนาจแห่งปฏิกูลเท่านั้น แต่ในมหาหัตถิปโทปมสูตร มหาราหุโลวาทสูตร และธาตุวิภังค์ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งธาตุ. ก็ในกายคตาสติสูตร ตรัสจำแนกฌาน ๔ หมายเอาฌานที่ปรากฏโดยสีแห่งโกฏฐาส.
บรรดากรรมฐานสองอย่างนั้น วิปัสสนากรรมฐานตรัสด้วยอำนาจแห่งธาตุ สมถกรรมฐานตรัสด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมถกรรมฐานนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติปัฏฐานวิภังค์นี้ ด้วยสามารถแห่งสาธารณกรรมฐานทั้งปวง โดยไม่แปลกกันแล.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 57
มนสิการโกศล ๑๐
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบอกอุคคหโกศล ๗ อย่าง อย่างนี้แล้ว จึงบอกมนสิการโกศล ๑๐ อย่าง อย่างนี้คือ
๑. อนุปุพฺพโต (โดยลำดับ)
๒. นาติสีฆโต (โดยไม่รีบด่วน)
๓. นาติสณิกโต (โดยไม่ช้าเกินไป)
๔. วิกฺเขปปฏิพาหนโต (โดยการห้ามความฟุ้งซ่าน)
๕. ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต (โดยการก้าวล่วงบัญญัติ)
๖. อนุปุพฺพมุญฺจนโต (โดยการปล่อยลำดับ)
๗. อปฺปนาโต (โดยอัปปนา)
๘. ๙. ๑๐. ตโย จ สุตฺตนฺตา (โดยสุตตันตะ ๓)
มนสิการโดยลำดับ
บรรดาโกศล ๑๐ เหล่านั้น ข้อว่า อนุปุพฺพโต ความว่า พระโยคาวจรพึงทำกรรมฐานนั้นไว้ในใจโดยลำดับ คือ ตั้งแต่การสาธยาย ไม่พึงเว้นกรรมฐานหนึ่งไว้ในระหว่าง เพราะเมื่อมนสิการเว้นกรรมฐานหนึ่งไว้ในระหว่าง จิตก็จะเหน็ดเหนื่อย ย่อมตกไปจากอารมณ์ เพราะความไม่บรรลุตามใจชอบที่จะพึงได้ด้วยสามารถแห่งภาวนาสมบัติ ย่อมไม่ทำภาวนาให้สำเร็จ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่ฉลาด ก้าวขึ้นบันได ๓๒ ชั้น โดยข้ามไปขั้นหนึ่งในระหว่าง ฉะนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 58
มนสิการโดยไม่รีบด่วน
อนึ่ง แม้เมื่อมนสิการไปโดยลำดับ ก็ไม่พึงมนสิการโดยรีบด่วน เพราะว่าเมื่อมนสิการโดยรีบด่วนเกินไป กรรมฐานย่อมถึงที่สุดอย่างเดียว แต่ไม่แจ่มแจ้ง ทั้งไม่นำมาซึ่งคุณวิเศษ เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษเดินทาง ๓ โยชน์ ไม่ได้กำหนดทางเบี่ยงและทางแยกไว้ เดินไปเดินมาโดยรวดเร็วแม้ทั้ง ๗ ครั้ง ทางย่อมจะสิ้นไปเร็วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ต้องถามคนอื่นทุกครั้งจึงจะเดินทางไปได้ เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรไม่พึงมนสิการโดยรีบด่วนเกินไป.
มนสิการโดยไม่ช้าเกินไป
ก็พระโยคาวจร มนสิการโดยไม่รีบด่วน ฉันใด พึงมนสิการโดยไม่ชักช้าเกินไป ฉันนั้น. เพราะว่า เมื่อมนสิการโดยชักช้าเกินไป กรรมฐานย่อมจะไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่เป็นปัจจัยแก่การบรรลุคุณวิเศษ เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ต้องการเดินทางไกล ๓ โยชน์นั่นแหละ มัวแต่ชักช้าหยุดพักตามโคนไม้ เชิงเขาเป็นต้นในระหว่างทาง ทางก็ย่อมไม่ถึงการสิ้นไป ต้องเดินไป ๒ - ๓ วันจึงจะถึงสุดทางได้.
มนสิการโดยห้ามความฟุ้งซ่าน
ข้อว่า วิกฺเขปปฏิพาหนโต ความว่า พึงห้ามจิตที่สละกรรมฐาน ฟุ้งไปในอารมณ์ภายนอกมากมายเสีย เพราะเมื่อไม่ห้ามจิตไว้ เมื่อจิตฟุ้งไปภายนอก กรรมฐานย่อมเสื่อมสลายไป เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลเดินทางข้ามเหว อันเป็นทางเดินได้คนเดียว ไม่กำหนดทางที่เหยียบ มัวเหลียวดูทางโน้น ทางนี้ย่อมก้าวพลาด ทีนั้นเขาจะตกลงไปในเหวลึกชั่วร้อยบุรุษ เพราะฉะนั้น พึงมนสิการ โดยการห้ามความฟุ้งซ่านเสีย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 59
มนสิการโดยการก้าวล่วงบัญญัติ
ข้อว่า ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต ความว่า พระโยคาวจร พึงก้าวล่วงบัญญัติว่า ผม ขน เป็นต้น และพึงตั้งจิตว่า นั่นเป็นของปฏิกูล. คือ ในครั้งแรก ความเป็นปฏิกูลย่อมปรากฏ ลำดับนั้น พึงก้าวล่วงบัญญัติว่า เกสา โลมา แล้วตั้งจิตไว้ในความเป็นปฏิกูลเท่านั้น เปรียบเหมือน ในเวลาที่น้ำหาได้ยาก พวกมนุษย์เห็นที่มีน้ำในป่า จึงผูกอะไรๆ มีใบตาลเป็นต้น ไว้เป็นสัญญาณ (เครื่องหมาย) ในที่นั้น พวกเขาย่อมมาอาบและดื่ม ด้วยสัญญาณนั้น. ก็แล ในกาลใด รอยเท้าของพวกเขาที่สัญจรมาบ่อยๆ ปรากฏแล้ว ในกาลนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นด้วยสัญญาณนั้นอีก เขาย่อมไปอาบและดื่มได้ในขณะที่ต้องการๆ.
มนสิการโดยการปล่อยลำดับ
ข้อว่า อนุปุพฺพมุญฺจนโต ความว่า โกฏฐาสใดๆ ไม่ปรากฏ เมื่อปล่อยโกฏฐาสนั้นๆ ก็พึงมนสิการไปโดยการปล่อยตามลำดับ คือว่า พระโยคาวจรผู้อาทิกัมมิกะ (ผู้เริ่มทำครั้งแรก) เมื่อมนสิการว่า เกสา ก็มนสิการไป จนจดโกฏฐาสสุดท้ายว่า มุตฺตํ นี้ และเมื่อมนสิการว่า มุตฺตํ ก็มนสิการไป จนจดโกฏฐาสต้นว่า เกสา นี้ นั่นแหละ ทีนั้นเมื่อมนสิการโกฏฐาสนั้นอยู่ โกฏฐาสบางอย่างย่อมปรากฏ บางอย่างก็ไม่ปรากฏ โกฏฐาสใดๆ ปรากฏด้วยมนสิการนั้น พึงทำกรรมฐานนั้นๆ ก่อน บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น เมื่อ ปรากฏ ๒ โกฏฐาส โกฏฐาสหนึ่งปรากฏดีกว่า มนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ บ่อยๆ อยู่ ก็พึงให้อัปปนาเกิดได้. ในข้อนี้มีอุปมาดังนี้.
เหมือนอย่างว่า นายพรานต้องการจะจับลิงที่อยู่ในดงตาล ซึ่งมีต้นตาล ๓๒ ต้น เอาลูกศรยิงไปยังใบตาลต้นแรกแล้วตะเพิด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 60
ทีนั้นแล ลิงตัวนั้นพึงกระโดดไปที่ต้นตาลนั้นๆ โดยลำดับ จนถึงต้นตาลต้นสุดท้าย เมื่อนายพรานไปที่ต้นตาลแม้นั้นแล้วก็ทำอย่างนั้นนั่นแหละ ลิงนั้นก็พึงมายังต้นตาลต้นแรก โดยนัยนั้นนั่นแหละอีก ลิงนั้น เมื่อไปโดยลำดับแล้วๆ เล่าๆ อย่างนี้ก็จะปรากฏตัวออกไปในที่ที่นายพรานตะเพิดเท่านั้น แล้วจะหมอบลงที่ต้นตาลต้นหนึ่งโดยลำดับอีก แล้วจับยอดใบตาลอ่อนกลางต้นตาลนั่นแหละไว้มั่น แม้จะถูกนายพรานยิงก็ไม่หนีไป ฉันใด คำอุปมัยนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น. ในข้อนั้น มีคำเปรียบเทียบอุปมาและอุปมัยดังต่อไปนี้.
การอุปมาและอุปมัย
โกฏฐาส ๓๒ ในกายนี้ เปรียบเหมือนต้นตาล ๓๒ ต้นในดงตาล. จิตเปรียบเหมือนลิง. พระโยคาวจรเปรียบเหมือนนายพราน. การที่จิตของพระโยคาวจรแล่นไปเนืองๆ ในกายอันมีโกฏฐาส ๓๒ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ เปรียบเหมือนการที่ลิงอยู่ในดงตาล อันมีต้นตาล ๓๒ ต้น. การที่เมื่อพระโยคาวจรเริ่มมนสิการว่า เกสา เป็นต้น จิตก็จะดำเนินไปตามลำดับแล้วหยุดอยู่ที่โกฏฐาสสุดท้าย เปรียบเหมือนเมื่อนายพรานเอาลูกศรยิงไปยังใบตาลต้นแรกแล้วตะเพิด ลิงจะกระโดดไปที่ต้นตาลต้นนั้นๆ แล้วไปยังต้นสุดท้าย. แม้ในการที่ลิงกลับมาอีก ก็นัยนี้เหมือนกัน. การที่เมื่อพระโยคาวจรมนสิการบ่อยๆ ครั้นเมื่อโกฏฐาสบางอย่างปรากฏแล้ว ละทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏ ทำบริกรรมในโกฏฐาสที่ปรากฏ เปรียบเหมือนการปรากฏของลิงผู้ไปอยู่โดยลำดับ แล้วๆ เล่าๆ ในที่ที่นายพรานตะเพิดแล้วๆ. การที่เมื่อโกฏฐาส ๒ โกฏฐาสปรากฏ โกฏฐาสใดปรากฏดีกว่า พระโยคาวจรมนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 61
บ่อยๆ แล้วยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในกาลที่สุด เปรียบเหมือนการที่ลิงหมอบลงที่ตาลต้นหนึ่งโดยลำดับ แล้วยึดใบตาลอ่อนกลางต้นตาลนั้นนั่นแหละไว้มั่น แม้ถูกนายพรานยิงก็ไม่หนีไป ฉะนั้น. พึงทราบคำอุปมาแม้อื่นอีก.
เปรียบเหมือน ภิกษุผู้มีบิณฑบาตเป็นวัตร (๑) อาศัยบ้าน ๓๒ สกุลอยู่ ได้ภิกษา ๒ ที่ในบ้านหลังหนึ่งแล้ว พึงเว้นบ้านหลังหนึ่งข้างหน้า ในวันรุ่งขึ้นได้ภิกษา ๓ ที่ พึงเว้นบ้าน ๒ หลังข้างหน้า ในวันที่ ๓ ได้ภิกษาเต็มบาตรในบ้านหลังแรกนั่นแหละ แล้วไปยังอาสนศาลาฉันภิกษา ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ พึงทราบ ฉันนั้น. จริงอยู่ อาการ ๓๒ เปรียบเหมือนบ้าน ๓๒ สกุล. พระโยคาวจรเปรียบเหมือนภิกษุผู้มีบิณฑบาตเป็นวัตร. การที่พระโยคาวจรทำบริกรรมในอาการ ๓๒ เปรียบเหมือนภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยหมู่บ้านนั้นอยู่. การที่พระโยคาวจรมนสิการไปๆ ละทิ้งโกฏฐาสทั้งหลายที่ไม่ปรากฏ กระทำบริกรรมในโกฏฐาสทั้ง ๒ ที่ปรากฏ เปรียบเหมือนภิกษุนั้นได้ภิกษา ๒ ที่ในบ้านหลังแรกแล้วเว้นบ้านหลังหนึ่งข้างหน้า และเปรียบเหมือน ในวันที่ ๒ ได้ภิกษา ๓ ที่ แล้วเว้นบ้าน ๒ หลังข้างหน้า. การที่เมื่อสองโกฏฐาสปรากฏแล้ว โกฏฐาสใดดีกว่า ก็มนสิการโกฎฐาสนั้นๆ นั่นแหละบ่อยๆ แล้วยังอัปปนาให้เกิดได้ เปรียบเหมือนในวันที่ ๓ ได้ภิกษาเต็มบาตรในบ้านหลังแรกนั่นแหละ แล้วไปนั่งฉันในอาสนศาลา.
โดยอัปปนา
ข้อว่า อปฺปนาโต ได้แก่ โกฏฐาสที่เป็นอัปปนา ในข้อนี้ มีอธิบายว่า พึงทราบว่า บรรดาโกฏฐาสทั้งหลายมีเกสาเป็นต้น ทุกๆ โกฏฐาสเป็นอัปปนาได้.
(๑) ระเบียบการถือบิณฑบาตเป็นวัตรของท่านในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้รู้สึกว่าเข้าใจยาก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 62
โดยสุตตันตะ ๓
ในข้อว่า ตโย จ สุตฺตนฺตา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า พึงทราบสุตตันตะ ๓ อย่างเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่วิริยะและสมาธิ คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร โพชฌังคโกสลสูตร.
อธิจิตตสูตร
บรรดาพระสูตรเหล่านั้น พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการนิมิต ๓ โดยกาลอันสมควร คือ พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยกาลอันสมควร พึงมนสิการปัคคหนิมิตโดยกาลอันสมควร พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยกาลอันสมควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ฐานะนั้นพึงให้จิตเป็นไปเพื่อโกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการปัคคหนิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะนั้นพึงให้จิตเป็นไปเพื่ออุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะนั้น จิตย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในกาลใดแล ภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต มนสิการสมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร จิตนั้นย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนควรแก่การงาน เป็นปภัสสร ไม่เปราะ (คือ ไม่ย่อยยับ) ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ประกอบเบ้า (คือ ทำเตาสำหรับหลอมทอง) ครั้นประกอบเบ้าแล้วก็สุมไฟปากเบ้า ครั้นสุมไฟ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 63
แล้วก็เอาคีมคีบทองใส่เข้าไปในปากเบ้า ย่อมสูบลมเข้าไปตามกาลอันควร ย่อมเอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ย่อมวางเฉยโดยกาลอันควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง พึงเป่าลมเข้าไปโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทองก็พึงละลายไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง พึงเอาน้ำประพรมโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทองก็จะพึงเย็นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง พึงดูทองนั้นเฉยๆ อยู่อย่างเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทองก็ไม่พึงสุกปลั่ง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง ย่อมเป่าลม เข้าไปโดยกาลอันควร ย่อมเอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ดูเฉยๆ อยู่ตามกาลอันควร ทองนั้นย่อมเป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน สุกปลั่ง ไม่เปราะ ย่อมใช้งานได้ดี. นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง จำนงอยู่ด้วย เครื่องประดับชนิดใดๆ ผิว่าจะทำเข็มขัด จะทำตุ้มหู จะทำสร้อยคอ จะทำมาลัยทอง แท่งทองคำนั้นย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต ฯลฯ ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อธรรมที่ควรทำให้ แจ้งด้วยอภิญญาใดๆ เมื่อสติอายตนะมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญาในธรรมนั้นๆ นั่นแหละ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อธิจิตตสูตร.
สีติภาวสูตร
พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ เป็น ผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะ (ความเป็นผู้สงบ) อันยอดเยี่ยม. ธรรม ๖ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 64
ที่ควรข่ม ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ย่อมทำให้จิตร่าเริงในสมัยที่ควรทำให้ร่าเริง ย่อมวางจิตเฉยๆ ในสมัยที่ควรวางจิตเฉยๆ ย่อมเป็นผู้น้อมจิตไปในธรรมอันประณีต และเป็นผู้ยินดียิ่งในพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ เหล่านี้แล เป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะอันยอดเยี่ยม ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สีติภาวสูตร.
โพชฌังคโกสัลลสูตร
ก็ โพชฌังคโกสัลลสูตร มาแล้วในโพชฌังคสังยุตนั่นแหละ ในสังยุต มหาวารวรรคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ในสมัยใดจิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ เป็นต้น.
พระโยคาวจรนั้น ครั้นทำการเรียนอุคคหโกศล ๗ อย่างนี้ได้ดีแล้ว และกำหนดมนสิการโกศล ๑๐ อย่างนี้ให้ดีแล้ว พึงเรียนกรรมฐานด้วยสามารถแห่งโกศลทั้งสองให้แม่นยำ. ก็แล ถ้าเธอมีความผาสุกอยู่ในวิหารเดียวกันกับอาจารย์ไซร้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้อาจารย์บอกกรรมฐานโดยพิสดารอย่างนั้น พึง ประกอบเนืองๆ ซึ่งกรรมฐานไป เมื่อไม่ได้คุณวิเศษแล้ว จึงให้ท่านบอกให้ยิ่งต่อไป.
พระโยคาวจรผู้ปรารถนาจะไปอยู่ที่อื่น พึงให้อาจารย์บอกโดยพิสดาร โดยวิธีตามที่กล่าวแล้ว ทบทวนอยู่บ่อยๆ ทำลายบทอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยทั้งปวง และเสนาสนะอันไม่สมควรแก่การเจริญกรรมฐานเสีย อยู่ในวิหารอันสมควร เว้นจากวิหารอันเป็นโทษ ๑๘ ประการ มีความเป็นอาวาสใหญ่เป็นต้น ตัดปลิโพธเล็กน้อย ภิกษุใดเป็นผู้มีราคจริตน้อย เพราะจะต้องละราคะก่อน ฉะนั้น พึงทำบริกรรมไปในปฏิกูลมนสิการ. ก็เมื่อจะทำ พึงถือเอานิมิตใน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 65
ผมทั้งหลายก่อน คือ พึงถอนผมเส้นหนึ่งหรือสองเส้น วางไว้บนฝ่ามือแล้ว พึงกำหนดสีก่อน. จะดูผมทั้งหลายในที่เป็นที่ปลงผมก็ได้. จะดูผมในบาตรใส่น้ำ หรือในบาตรใส่ยาคู ก็ได้เหมือนกัน. เห็นในเวลาที่ผมมีสีดำ ก็พึงมนสิการว่า ดำ เห็นในเวลาที่มีสีขาว ก็มนสิการว่า ขาว แต่ในเวลาที่ผมมีสีปนกัน (เหมือนดอกเลา) ก็พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งสีที่มาก. ก็ในผมทั้งหลาย ฉันใด ในตจปัญจกะแม้ทั้งสิ้นก็ฉันนั้น เห็นแล้ว ก็พึงถือเอานิมิตทีเดียว. ครั้นถือเอานิมิตอย่างนี้แล้ว พึงกำหนดในโกฏฐาสด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาสและปริจเฉทแล้ว พึงกำหนดโดยความเป็นปฏิกูล ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน กลิ่น ที่อยู่ และโอกาส. ต่อไปนี้เป็น อนุปุพพิกถา (การกล่าวตามลำดับ) ในโกฏฐาสทั้งปวงเหล่านั้น.
๑. เกสา (ผมทั้งหลาย)
ผมทั้งหลายก่อน ว่าโดยสี ตามปกติมีสีดำ เหมือนสีลูกมะคำดีควายสดๆ ว่าโดยสัณฐาน ยาวกลม มีสัณฐานคล้ายคันชั่ง ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน ว่าโดยโอกาส ที่ข้างทั้งสองกำหนดด้วยจอนหู ข้างหน้ากำหนดด้วยหน้าผาก ข้างหลังกำหนดด้วยกกคอ หนังสดที่หุ้มกระโหลกศีรษะเป็นโอกาส (คือ ที่ตั้ง) แห่งผมทั้งหลาย ว่าโดยปริจเฉท ผมทั้งหลายเบื้องต่ำ กำหนดด้วยพื้นรากของผมที่หยั่งลึกลงไปในหนังหุ้มศีรษะประมาณปลายเมล็ดข้าวเปลือก เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ (ที่ว่าง) โดยรอบกำหนดด้วย เส้นผมด้วยกัน. การกำหนดว่า ผมสองเส้น มิได้รวมเป็นเส้นเดียวกันนี้ ชื่อว่า สภาคปริจเฉท. การกำหนดว่า ผมไม่ปะปนกันด้วยโกฏฐาส ๓๑ ที่เหลืออย่างนี้ว่า ผมมิใช่ขน ขนมิใช่ผม ธรรมดาว่าผม ย่อมเป็นโกฏฐาส
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 66
แผนกหนึ่ง นี้ ชื่อว่า วิสภาคปริจเฉท. นี้เป็นการกำหนดผมทั้งหลายโดยสีเป็นต้น.
ก็พึงทราบการกำหนดผมเหล่านั้น โดยความเป็นปฏิกูล ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่งสีเป็นต้น ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ชื่อว่าผมทั้งหลายเหล่านี้ แม้โดยสีก็เป็นปฏิกูล แม้โดยสัณฐาน แม้โดยกลิ่น แม้โดยอาสยะ (อาศัย) และแม้โดยโอกาส ก็เป็นของปฏิกูล ด้วยว่า ชนทั้งหลายเห็นอะไรๆ ที่มีสีคล้ายผม ในภาชนะที่ใส่ข้าวยาคู หรือภาชนะที่ใส่ภัต แม้อันเป็นที่ชอบใจ ก็ย่อมจะรังเกียจโดยกล่าวว่า นี้มันปนผม จงนำมันออกไปเสีย. ผมเป็นของปฏิกูลโดยสีอย่างนี้.
แม้ชนทั้งหลายบริโภคอาหาร ในเวลากลางคืน ถูกต้องเส้นป่าน หรือเส้นปอ ซึ่งมีสัณฐานเหมือนผมทั้งหลาย ก็รังเกียจ ฉันนั้นนั่นแหละ. ผมเป็นของปฏิกูล โดยสัณฐานอย่างนี้.
อนึ่ง กลิ่นของผมเว้นจากการตกแต่งด้วยสิ่งของมีการทาด้วยน้ำมัน และอบด้วยดอกไม้เป็นต้น ย่อมเป็นกลิ่นน่ารังเกียจอย่างยิ่ง กลิ่นของผมที่ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมมีกลิ่นน่ารังเกียจมากกว่านั้น. แท้จริง เมื่อว่าโดยสี และ สัณฐาน จะไม่พึงเป็นของปฏิกูลก็ได้ แต่เมื่อว่าโดยกลิ่นแล้ว ย่อมเป็นของปฏิกูลทีเดียว. เปรียบเหมือนก้อนอุจจาระของเด็กเล็ก เมื่อว่าโดยสี ก็มีสีเหมือนขมิ้น แม้ว่าโดยสัณฐาน ก็มีสัณฐานเหมือนแง่งขมิ้น และ เปรียบเหมือนซากสุนัขดำที่พองขึ้นอันเขาทิ้งไว้ในที่ที่ทิ้งขยะ โดยสี ก็มีสีเหมือนผลตาลสุก โดยสัณฐาน ก็มีสัณฐานเหมือนตะโพนที่เขาปล่อยกลิ้งไป แม้เขี้ยวของมันก็เช่นกับดอกมะลิตูม เพราะเหตุนั้น อุจจาระเด็กเล็ก และซากสุนัขดำ แม้ทั้งสอง เมื่อว่าโดยสี และสัณฐานไม่พึงเป็นของปฏิกูลก็ได้ แต่เมื่อว่าโดยกลิ่น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 67
แล้ว ย่อมเป็นของปฏิกูลนั่นแหละ ฉันใด แม้ผมทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เมื่อว่าโดยสีและสัณฐาน ไม่พึงเป็นของปฏิกูลก็ได้ แต่เมื่อว่าโดยกลิ่นแล้ว ย่อมเป็นของปฏิกูลแท้.
ก็ผักสำหรับแกงอันเกิดขึ้นในที่อันไม่สะอาด ด้วยการหลั่งไหลไปแห่งน้ำคร่ำจากหมู่บ้าน ย่อมเป็นของน่ารังเกียจ ไม่น่าบริโภคสำหรับชนชาวนครทั้งหลาย ฉันใด แม้ผมทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ชื่อว่า น่ารังเกียจยิ่งนัก เพราะเกิดขึ้นด้วยน้ำที่ไหลซึมออกมาจากน้ำเหลือง เลือด น้ำอุจจาระ น้ำปัสสาวะ น้ำดี และเสมหะเป็นต้น นี้เป็นปฏิกูลแห่งผมเหล่านั้น โดยอาสยะ (โดยอาศัย).
อนึ่ง ผมเหล่านี้เกิดขึ้นที่กองแห่งโกฏฐาส ๓๑ (อันไม่สะอาด) ดุจผักหญ้าเกิดขึ้นที่กองแห่งคูถ ผมเหล่านั้นชื่อว่า น่ารังเกียจอย่างยิ่ง เพราะเกิดในที่อันไม่สะอาด ดุจผักที่เกิดขึ้นในที่ป่าช้าและกองขยะเป็นต้น และดุจดอกไม้มีบัวหลวงบัวสายเป็นต้นที่เกิดขึ้นในที่ไม่สะอาดมีคูเมืองเป็นต้น นี้เป็นความปฏิกูลแห่งผมเหล่านั้นโดยโอกาส (คือ ที่ตั้งอยู่). ก็ความเป็นปฏิกูลแห่งผมทั้งหลาย ฉันใด พึงกำหนดความเป็นปฏิกูลแห่งโกฏฐาสทังปวง ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่งความปฏิกูล โดยสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ และโอกาส ฉันนั้นเถิด. แต่ว่า เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และปริจเฉท แม้ในโกฏฐาสทั้งปวง พึงกำหนดแต่ละแผนก.
๒. โลมา (ขนทั้งหลาย)
บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น พึงกำหนดขนทั้งหลายก่อน ว่าโดยสีตามปกติ ไม่ดำสนิทเหมือนผม แต่เป็นสีดำปนเหลือง โดยสัณฐาน มีสัณฐาน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 68
ปลายโค้ง เหมือนรากต้นตาล โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส เว้นโอกาสที่ผมทั้งหลายตั้งอยู่ และพื้นฝ่ามือ ฝ่าเท้าแล้ว โดยมากเกิดตามหนังหุ้มสรีระที่เหลือ โดยปริจเฉท เบื้องล่างกำหนดด้วยพื้นรากของขนที่หยั่งลึกเข้าไปในหนังหุ้มสรีระประมาณลิกขา (๑) หนึ่ง เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ โดยรอบ กำหนดเส้นขนด้วยกัน การกำหนดขนสองเส้นมิได้รวมเป็นเส้นเดียว นี้เป็นสภาคปริจเฉทแห่งขนเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉทเช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.
๓. นขา (เล็บทั้งหลาย)
คำว่า นขา เป็นชื่อของใบเล็บ ๒๐ อัน เล็บทั้งปวงนั้น ว่าโดยสี เป็นสีขาว ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังเกล็ดปลา. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ คือ เล็บเท้าเกิดในทิศเบื้องต่ำ เล็บมือเกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่เฉพาะที่หลังตอนปลายนิ้วทั้งหลาย. ว่าโดยปริจเฉท ในทิศทั้ง ๒ กำหนดด้วยเนื้อปลายนิ้ว ข้างในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ข้างนอกและปลายกำหนดด้วยอากาศ เบื้องขวางกำหนดเล็บด้วยกัน. การกำหนดว่า เล็บ ๒ อัน มิได้รวมเป็นอันเดียวกัน นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉทเช่นกับ เส้นผมนั่นแหละ.
(๑) คำว่า ลิกขา นี้ เป็นชื่อมาตราวัดระยะความยาว ในอภิธานัปปทีปิกา กล่าวดังนี้ ๓๖ ปรมาณู เท่ากับ ๑ อณู
๓๖ อณู เท่ากับ ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารี เท่ากับ ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณู เท่ากับ ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา เท่ากับ ๑ อูกา
๗ อูกา เท่ากับ ๑ ธัญญมาส
ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 69
๔. ทนฺตา (ฟันทั้งหลาย)
คำว่า ทนฺตา คือ กระดูกฟัน ๓๒ ซี่ สำหรับผู้มีฟันบริบูรณ์. แม้ฟันเหล่านั้น ว่าโดยสี ก็มีสีขาว ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานมิใช่น้อย จริงอยู่ บรรดาฟันเหล่านั้น ฟัน ๔ ซี่ ตรงกลางฟันแถวล่างก่อน มีสัณฐานดุจเมล็ดน้ำเต้าที่เขาปักเรียงกันไว้ที่ก้อนดินเหนียว. สองข้างฟันกลาง ๔ ซี่นั้น ฟันข้างละซี่ มีรากเดียว มีปลายเดียว มีสัณฐานดังดอกมะลิตูม. ถัดจากนั้น ฟันข้างละซี่ มีราก ๒ มีปลาย ๒ มีสัณฐานดังไม้ค้ำยานน้อย (เกวียน). ถัดไป ฟันข้างละ ๒ ซี่ มีราก ๓ มีปลายก็ ๓. ถัดไป ฟันข้างละ ๒ มีราก ๔ มีปลาย ๔. แม้ฟันแถวข้างบน ก็นัยนี้นั่นแหละ. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่กระดูกกรามทั้ง ๒. ว่าโดยปริจเฉท ข้างล่างกำหนดด้วยพื้นรากของฟันอันตั้งอยู่ที่กระดูกกราม เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ เบื้องขวางกำหนดฟันด้วยกัน. การกำหนดว่า ฟัน ๒ ซี่ มิได้รวมเป็นซี่เดียวกัน นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผม นั่นแหละ.
๕. ตโจ (หนัง)
คำว่า ตโจ คือ หนังหุ้มสรีระทั้งสิ้น เหนือหนังนั้นมีผิวสีดำ คล้ำ เหลือง เป็นต้น ผิวหนังนั้นเมื่อดึงออกจากสรีระทั้งสิ้น ก็จะมีประมาณเท่าเมล็ดในพุทรา. หนังนั้น ว่าโดยสี มีสีขาวเท่านั้น ก็ความที่หนังเป็นสี ขาวนั้น ย่อมปรากฏเมื่อผิวถลอกออกไป เพราะเปลวไฟลวก หรือถูกประหารด้วยเครื่องประหารเป็นต้น. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนร่างกายนั่นแหละ นี้เป็นความสังเขปในข้อว่า ว่าโดยสัณฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 70
ก็ว่าโดยความพิศดาร หนังนิ้วเท้า มีสัณฐานดังรังของตัวไหม. หนังหลังเท้า มีสัณฐานดังรองเท้าหุ้มส้น. หนังแข้ง มีสัณฐานดังใบตาลห่อข้าว. หนังขา มีสัณฐานดังถุงยาวบรรจุข้าวสาร. หนังตะโพก มีสัณฐานดังผืนผ้ากรองน้ำอันเต็มด้วยน้ำ. หนังหลัง มีสัณฐานดังหนังหุ้มโล่. หนังท้อง มีสัณฐานดังหนังหุ้มรางพิณ. หนังอก โดยมากมีสัณฐาน ๔ เหลี่ยม. หนังแขน ทั้ง ๒ มีสัณฐานดังหนังหุ้มแล่งธนู. หนังหลังมือ มีสัณฐานดังฝักมีด หรือ ดังถุงโล่. หนังนิ้วมือ มีสัณฐานดังฝักกุญแจ. หนังคอ มีสัณฐานดังเสื้อปิดคอ. หนังหน้าซึ่งมีช่องน้อยช่องใหญ่ มีสัณฐานดังรังตั๊กแตน. หนังศีรษะ มีสัณฐานดังถลกบาตร.
วิธีการกำหนดหนัง พระโยคาวจร ผู้จะกำหนดหนังเป็นอารมณ์ พึงส่งญานไปบนหน้า ตั้งแต่ริมฝีปากบนขึ้นไป แล้วกำหนดหนังหุ้มหน้าก่อน. แต่นั้น พึงกำหนดหนังหน้าผาก. จากนั้น ก็พึงส่งญาณไประหว่างกระโหลกศีรษะ และหนังศีรษะ ดุจสอดมือไประหว่างบาตรกับถลกบาตรที่สวมไว้ฉะนั้น โดยแยกความที่หนังติดกันกับกระโหลกศีรษะออก กำหนดแต่หนังศีรษะ. ต่อไป ก็กำหนดหนังคอ. ต่อไปกำหนดหนังมือขวา ทั้งโดยอนุโลม (จากหัวไหล่ลงไปทางแขน) ทั้งโดยปฏิโลม (จากข้อมือขึ้นไปถึงหัวไหล่). ลำดับนั้น ก็พึงกำหนดหนังมือซ้าย โดยนัยนั้นนั่นแหละ. ต่อไปก็กำหนดหนังหลัง. ครั้นกำหนดหนังนั้นๆ แล้ว พึงกำหนดหนังเท้าขวาทั้งโดยอนุโลม ทั้งโดยปฏิโลม. ลำดับนั้น พึงกำหนดหนังเท้าซ้าย โดยนัยนั้นนั่นแหละ. จากนั้นพึงกำหนด หนังท้องน้อย หนังหน้าท้อง หนังอก หนังคอ โดยลำดับทีเดียว. ลำดับนั้น พึงกำหนดหนังใต้คาง ถัดจากหนังคอขึ้นไปจนถึงริมฝีปากล่างเป็นที่สุดจึงเสร็จ. เมื่อพระโยคาวจรกำหนดหนังใหญ่ๆ อยู่อย่างนี้ แม้หนังเล็กๆ ก็ย่อมปรากฏ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 71
ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ ว่าโดยโอกาส ตั้งคลุมสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดยปริจเฉทเบื้องล่าง กำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่เบื้องบน กำหนดด้วยอากาศ. นี้ เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.
๖. มํสํ (เนื้อ)
คำว่า มํสํ คือ ชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น. ชิ้นเนื้อแม้ทั้งปวงนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงเช่นกับดอกทองกวาว. ว่าโดยสัณฐาน เนื้อปลีแข้ง มีสัณฐานดังข้าวห่อด้วยใบตาล. เนื้อหลัง มีสัณฐานดังแผ่นตาลงบ. เนื้อสีข้างทั้ง ๒ มีสัณฐาน ดังการฉาบทาด้วยดินเหนียวบางๆ ในท้องยุ้งข้าว. เนื้อถันทั้ง ๒ มีสัณฐานดังก้อนดินเหนียวที่เขาแขวนห้อยไว้. เนื้อแขนทั้ง ๒ มีสัณฐานดังหนูตัวใหญ่ที่เขาถลกหนังทำไว้เป็นสองส่วน. เมื่อพระโยคาวจร กำหนดเนื้อชิ้นใหญ่ๆ อยู่อย่างนี้ แม้เนื้อชิ้นเล็กๆ ก็ย่อมปรากฏ. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ ว่าโดยโอกาส ตั้งฉาบติดกระดูก ๓๑๐ (๑) ท่อน. ว่าโดยปริจเฉท เบื้องล่า กำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ที่ร่างกระดูก เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง เบื้องขวางกำหนดเนื้อด้วยกัน. นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เป็นเช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.
๗. นหารู (เอ็นทั้งหลาย)
คำว่า นหารู คือ เอ็น ๙๐๐ เส้น ว่าโดยสี เอ็นทั้งหมดมีสีขาว. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานต่างๆ จริงอยู่ เอ็นเหล่านั้น เอ็นใหญ่ที่รึงรัด สรีระตั้งแต่เบื้องบนแห่งคอหยั่งลงไปข้างหน้าหทัย ๕ เส้น ข้างหลัง ๕ เส้น ข้างขวา ๕ เส้น ข้างซ้าย ๕ เส้น แม้รึงรัดมือขวา ข้างหน้ามือก็ ๕ เส้น
(๑) พม่า - ๓๐๐ ท่อนเศษ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 72
ข้างหลังมือก็ ๕ เส้น แม้ที่รึงรัดมือซ้ายก็อย่างนั้น ที่รึงรัดเท้าขวา ข้างหน้าเท้าก็ ๕ เส้น ข้างหลังก็ ๕ เส้น แม้ที่รึงรัดเท้าซ้ายก็อย่างนั้น เอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น รึงรัดหยั่งลงตลอดกายอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า สรีรธารกา (ทรงไว้ซึ่งสรีระ) ท่านเรียกว่า กัณฑรา ดังนี้บ้าง เอ็นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด มีสัณฐานดังต้นคล้าอ่อนๆ ส่วนเอ็นเหล่าอื่นที่รึงรัดส่วนนั้นๆ อยู่ คือที่เล็กกว่า (สรีรธารกา) นั้น มีสัณฐานดังเชือกด้าย. เอ็นเหล่าอื่นที่เล็กกว่านั้น มีสัณฐานดังเถากระพังโหม. เอ็นเหล่าอื่นที่เล็กกว่านั้น มีสัณฐานดังสายพิณ ใหญ่ เอ็นเหล่าอื่นอีกมีสัณฐานดังเส้นด้ายใหญ่. เอ็นที่หลังมือ และเท้า มีสัณฐานดังตีนนก. เอ็นที่ศีรษะมีสัณฐานดังตาข่ายคลุมหัวเด็ก. เอ็นที่หลังมีสัณฐานดังอวนเปียกที่เขาแผ่ผึ่งแดด. เอ็นที่เหลือซึ่งไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ นั้นๆ มีสัณฐานดังเสื้อร่างแหที่คลุมสรีระ. ว่าโดยทิศ เอ็นเกิดในทิศทั้ง ๒. ว่าโดยโอกาสตั้งยึดกระดูกทั้งหลาย ในสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดยปริจเฉท เบื้องต่ำ กำหนดด้วยพื้นอันตั้งอยู่บนกระดูก ๓๐๐ ท่อน เบื้องบนกำหนดด้วยประเทศที่ตั้งอยู่จดเนื้อและหนัง เบื้องขวางกำหนดซึ่งกันและกัน. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของเอ็นเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.
๘. อฏฺี (กระดูกทั้งหลาย)
คำว่า อฏฺี ความว่า เว้นกระดูกฟัน ๓๒ ซี่ กระดูกที่เหลือมีประมาณ ๓๐๐ ท่อน คือ
กระดูกมือ ๖๔ ท่อน
กระดูกเท้า ๖๔ ท่อน
กระดูกอ่อนติดเนื้อ ๖๔ ท่อน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 73
กระดูกส้นเท้า ๒ ท่อน
กระดูกข้อเท้าข้างละ ๒ ท่อน
กระดูกแข้งข้างละ ๒ ท่อน
กระดูกเข่า ๒ ท่อน
กระดูกขา ๒ ท่อน
กระดูกสะเอว ๒ ท่อน
กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อน
กระดูกซี่โครง ๒๔ ท่อน
กระดูกหน้าอก ๑๔ ท่อน
กระดูกใกล้หัวใจ ๑ ท่อน
กระดูกไหปลาร้า ๒ ท่อน
กระดูกสะบัก ๒ ท่อน
กระดูกแขนท่อนบน ๒ ท่อน
กระดูกแขนท่อนล่างข้างละ ๒ ท่อน
กระดูกคอ ๗ ท่อน
กระดูกคาง ๒ ท่อน
กระดูกดั้งจมูก ๑ ท่อน
กระดูกเบ้าตา ๒ ท่อน
กระดูกหู ๒ ท่อน
กระดูกหน้าผาก ๑ ท่อน
กระดูกกระหม่อม ๑ ท่อน
กระดูก (กระโหลก) ศีรษะ ๙ ท่อน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 74
กระดูกเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ว่าโดยสี มีสีขาว. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานต่างๆ จริงอยู่ บรรดากระดูกเหล่านั้น กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย มีสัณฐานดังเมล็ดบัว กระดูกท่อนกลางถัดจากท่อนปลาย มีสัณฐานดังเมล็ดขนุน กระดูกท่อนโคน มีสัณฐานดังบัณเฑาะว์. กระดูกหลังเท้า มีสัณฐานดังหมู่ต้นคล้าที่ถูกทุบ. กระดูกส้นเท้า มีสัณฐานดังจาวตาลลอนเดียว. กระดูกข้อเท้า มีสัณฐานดังลูกสะบ้าคู่. กระดูกแข้งในที่เป็นที่ตั้งจดข้อเท้า มีสัณฐาน ดังหน่อไม้อ่อนที่ปอกเปลือก กระดูกแข้งท่อนเล็ก มีสัณฐานดังคันธนู ท่อน ใหญ่ มีสัณฐานดังหลังงูที่แห้งแล้ว. กระดูกเข่า มีสัณฐานดังต่อมน้ำที่แหว่งไปข้างหนึ่ง ตรงที่เป็นกระดูกแข้งจดกระดูกเข่านั้น มีสัณฐานดังเขาโคปลายทู่. กระดูกขาอ่อน มีสัณฐานดังด้ามพร้า หรือด้ามขวานที่เขาถากหยาบๆ. ที่ตรงกระดูกขาอ่อนจดอยู่ที่กระดูกสะเอวนั้น มีสัณฐานดังลูกสะบ้ากีฬา ตรงที่กระดูก สะเอวจดกระดูกขานั้น มีสัณฐานดังผลมะงั่วใหญ่ปลายปาด. กระดูกสะเอวแม้ ๒ อัน เมื่อติดกัน มีสัณฐานดังเตาของนายช่างหม้อ แยกแต่ละอันมีสัณฐานดังคีมของนายช่างทอง. กระดูกตะโพกตอนปลาย มีสัณฐานดังพังพานงูที่เขาจับคว่ำหน้า มีช่องน้อยช่องใหญ่ ๗ แห่ง. กระดูกสันหลังข้างหน้า มีสัณฐานดังห่วงแผ่นตะกั่วที่วางซ้อนๆ กันไว้ ข้างหลังมีสัณฐานดังลูกประคำ ในระหว่างๆ แห่งกระดูกเหล่านั้น มีเดือยสองสามอันเช่นกับฟันเลื่อย. บรรดากระดูกซี่โครง ๒๔ ซี่ ซี่ที่ไม่เต็มมีสัณฐานดังเคียวที่ไม่เต็มเล่ม ซี่ที่เต็มมีสัณฐานดังเคียวเต็มเล่ม กระดูกซี่โครงแม้ทั้งหมดมีสัณฐานดังปีกกางของไก่ขาว. กระดูกอก ๑๔ ชิ้น มีสัณฐานดังลูกกรงคานหามเก่า. กระดูกใกล้หัวใจ มีสัณฐานดังจวัก. กระดูกไหปลาร้า มีสัณฐานดังด้ามมีดโลหะเล่มเล็ก. กระดูกสะบัก มีสัณฐานดังจอบชาวสีหฬที่เหี้ยนไปข้างหนึ่ง. กระดูกต้นแขน มีสัณฐานดังด้าม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 75
แว่น กระดูกปลายแขนมีสัณฐานดังรากตาลคู่. กระดูกข้อมือ มีสัณฐานดังห่วงแผ่นตะกั่วที่เขาเชื่อมติดกันตั้งไว้. กระดูกหลังมือ มีสัณฐานดังกองต้นคล้าที่ทุบแล้ว. กระดูกข้อโคนนิ้วมือ มีสัณฐานดังบัณเฑาะว์ ท่อนกลางมีสัณฐานดังเมล็ดขนุนไม่เต็มเม็ด ท่อนปลายมีสัณฐานดังเมล็ดตุมกา. กระดูกคอ ๗ ชิ้น มีสัณฐานดังแว่นหน่อไม้ที่เขาใช้ไม้เสียบตั้งไว้โดยลำดับ. กระดูกคางล่าง มีสัณฐานดังคีมเหล็กของนายช่างโลหะ ท่อนบนมีสัณฐานดังเหล็กขูด. กระดูกเบ้าตาและกระดูกโพรงจมูก มีสัณฐานดังเต้าของลูกตาลอ่อนที่ควักจาวออกแล้ว. กระดูกหน้าผาก มีสัณฐานดังเปลือกสังข์ที่ตั้งคว่ำหน้า. กระดูกกกหู มีสัณฐานดังฝักมีดโกนของช่างกัลบก. กระดูกที่ตั้งติดกันเป็นแผ่นตอนบนของกระดูกหน้าผากและกระดูกกกหู มีสัณฐานดังท่อนแผ่นผ้าเต็มหม้อที่ยับยู่ยี่. กระดูกกระหม่อม มีสัณฐานดังกระโหลกมะพร้าวเปี้ยวที่ปาดหน้าแล้ว. กระดูกศีรษะ มีสัณฐานดังกระโหลกน้ำเต้าเก่าที่เขาเย็บติดกันตั้งไว้.
ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ในสรีระทั้งสิ้น โดยไม่แปลกกัน. แต่เมื่อว่าโดยแปลกกันในที่นี้ กระดูกศีรษะตั้งอยู่บนกระดูกคอ. กระดูกคอตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง. กระดูกสันหลังตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว. กระดูกสะเอวตั้งอยู่บนกระดูกขาอ่อน กระดูกขาอ่อนตั้งอยู่บนกระดูกเข่า. กระดูกเข่าตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง. กระดูกแข้งตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า. กระดูกข้อเท้าตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า. ว่าโดยปริจเฉท ภายในกำหนดด้วยเยื่อในกระดูก ข้างบนกำหนดด้วยเนื้อ ที่ปลายและโคนกำหนดกระดูกด้วยกัน. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของกระดูกเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั้นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 76
๙. อฏฺิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก)
คำว่า อฏฺิมิญฺชํ คือ เยื่อที่อยู่ภายในกระดูกเหล่านั้นๆ เยื่อในกระดูกนั้น ว่าโดยสี มีสีขาว ว่าโดยสัณฐานเยื่อที่อยู่ภายในแห่งกระดูกท่อนใหญ่ๆ มีสัณฐานดังยอดหวายใหญ่ที่เขาลนไฟยัดไว้ในกระบอกไม้ไผ่ เยื่อที่อยู่ภายในกระดูกท่อนเล็กๆ มีสัณฐานดังยอดหวายเล็กที่เขาลนไฟยัดไว้ในปล้องแห่งข้อไม้ไผ่ (บางแห่งว่า ในปล้องไม้อ้อ) ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในกระดูกทั้งหลาย. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยพื้นภายในแห่งกระดูกทั้งหลาย. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเยื่อในกระดูก ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๐. วกฺกํ (ไต โบราณว่า ม้าม)
คำว่า วกฺกํ คือ ไต เป็นก้อนเนื้อ ๒ ก้อน มีขั้วเดียวกัน ไตนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงอ่อนดังสีเม็ดไม้ทองหลาง. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังสะบ้าคู่สำหรับเล่นของเด็กๆ หรือมีสัณฐานดังผลมะม่วงคู่มีขั้วเดียวกัน. ว่า โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่โดยเป็นขั้วเดียวกับด้วยเอ็นใหญ่ มีรากเดียวกัน ออกจากหลุมคอไปหน่อยหนึ่งแล้วก็แยกออกเป็น ๒ เส้น โอบเนื้อหัวใจ. ว่าโดยปริจเฉท ไตกำหนดได้ด้วยส่วนที่เป็นไต. นี้เป็น สภาคปริจเฉทของไต ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๑. หทยํ (เนื้อหัวใจ)
คำว่า หทยํ คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสีหลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูมที่เขาปลิดกลีบข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยงแต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 77
บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญาเป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ. ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้น เป็นหลุมมีประมาณจุเมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้นๆ ในที่นั้นๆ ของคนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมหจริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้มถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนมีปัญญาจริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่ ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒. ยกนํ (ตับ)
คำว่า ยกนํ คือ แผ่นเนื้อคู่ ตับนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงพื้นเหลือง ไม่แดงจัดดังสีหลังกลีบกุมุท (ดอกบัวแดง). ว่าโดยสัณฐาน ที่โคนเป็นแผ่นเดียวกัน ที่ปลายเป็น ๒ แฉก มีสัณฐานดังใบทองหลาง. อนึ่ง ตับนั้น สำหรับของคนไม่มีปัญญา เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียวเท่านั้น ของคนมีปัญญา เป็นแผ่นเล็กๆ ๒ หรือ ๓ แผ่น. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส อาศัยอยู่ข้างขวาภายในระหว่างถันทั้งคู่ตั้งอยู่. ว่าโดย ปริจเฉท ตับก็กำหนดโดยส่วนที่เป็นตับ. นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 78
๑๓. กิโลมกํ (พังผืด)
คำว่า กิโลมกํ คือ พังผืด เป็นเนื้อสำหรับหุ้มมี ๒ ชนิด โดยแยกเป็นพังผืดชนิดปกปิด และพังผืดชนิดที่ไม่ปกปิด พังผืดแม้ทั้งสองนั้น ว่าโดยสี มีสีขาว ดังสีผ้าทุกูล (ผ้าทำด้วยเปลือกไม้) เก่า. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ของตน. ว่าโดยทิศ พังผืดชนิดที่ปกติ เกิดในทิศเบื้องบน พังพืดนอกนี้เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส พังผืดชนิดที่ปิด ตั้งหุ้มหัวใจและไตอยู่ พังผืดชนิดที่ไม่ปกปิด ตั้งยึดเนื้อใต้หนังในสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดย ปริเฉท เบื้องล่างกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง และเบื้องขวาง กำหนดโดยส่วนที่เป็นพังผืด. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของพังผืด ส่วนวิสภาคปริเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๔. ปิหกํ (ม้าม โบราณว่า ไต)
คำว่า ปิหกํ คือ เนื้อเป็นดังลิ้นอยู่ในท้อง ม้ามนั้น ว่าโดยสี มีสีนิล (คือ สีน้ำเงินแก่) ดุจดอกคนทิสอ. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังลิ้นลูกโคดำ ยื่นออกไปประมาณ ๗ นิ้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส อาศัยตั้งอยู่ข้างบนพื้นท้องทางซ้ายของหัวใจ เมื่อมันออกมาข้างนอกเพราะถูกประหารด้วยเครื่องประหาร สัตว์ทั้งหลายก็จะสิ้นชีวิต. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นม้าม. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของม้าม ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๕. ปปฺผาสํ (ปอด)
คำว่า ปปฺผาสํ คือ ปอด แยกออกจะเป็นชิ้นเนื้อ ๓๒ ชิ้น ปอดนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังผลมะเดื่อไม่สุกจัด. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดัง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 79
ขนมชิ้นหนาๆ ที่ตัดไม่เสมอกัน ส่วนภายในมันซีดเผือด เพราะถูกไอร้อนที่เกิดแต่กรรมเผาผลาญโดยไม่มีสิ่งที่กินและดื่มเข้าไป เหมือนก้อนใบไม้ที่เขาเคี้ยวกินแล้ว (เหลือแต่กาก) หารสและโอชะมิได้. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งห้อยปกคลุมหัวใจและตับ อยู่ระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยส่วนที่เป็นปอด. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของปอด ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๖. อนฺตํ (ไส้ใหญ่)
คำว่า อนฺตํ ได้แก่ ไส้ใหญ่ สำหรับของผู้ชายยาวประมาณ ๓๒ ศอก ของผู้หญิงยาวประมาณ ๒๘ ศอก เป็นไส้ทบ เพราะขดไปมาในที่ ๒๑ แห่ง. ไส้ใหญ่นั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังสีก้อนกรวดขาว. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังงู (ปลาไหลเผือก) ที่เขาตัดหัวขดไว้ในรางเลือด. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในสรีระ มีคอและทวารหนักเป็นเขตแดน โดยเนื่องเป็นอันเดียวกัน คือ เบื้องบนตั้งอยู่ที่หลุมคอ เบื้องล่างตั้งอยู่ที่ทวารหนัก. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นไส้ใหญ่. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของไส้ใหญ่ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๗. อนฺตคุณํ (ไส้น้อย)
คำว่า อนฺตคุณํ คือ ไส้ที่เป็นสายพันอยู่ในที่ขนดไส้ใหญ่ ไส้น้อยนั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังรากจงกลนี. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังรากจงกลนีนั่นแหละ. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ไส้น้อยนั้นตั้งยึดขนดไส้ใหญ่ไว้เป็นมัดเดียวกัน ดุจสายเชือกเครื่องยนต์ที่ยึดแท่นยนต์ไว้ในเวลา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 80
ที่เครื่องยนต์ดึง ของนายช่างผู้ทำการงานทั้งหลาย มีการเจาะและการถากเป็นต้น ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างขนดไส้ใหญ่ในที่ ๒๑ แห่ง เหมือนเชือกที่เย็บร้อยในระหว่างมณฑลเชือกสำหรับเช็ดเท้า ฉะนั้น. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นไส้น้อย. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของไส้น้อย ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๘. อุทริยํ (อาหารใหม่)
คำว่า อุทริยํ ได้แก่ ของที่กิน (ข้าว) ที่ดื่ม (น้ำ) ที่เคี้ยว (ผลไม้ เป็นต้น) ที่ลิ้ม (น้ำผึ้งเป็นต้น) เข้าไปอยู่ในท้อง. อาหารใหม่นั้น ว่าโดยสี มีสีดังอาหารที่กลืนเข้าไป. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังถุงบางๆ ที่บรรจุข้าวสาร. ว่าโดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ในอุทร (กระเพาะอาหาร) อวัยวะเยื่อลำไส้เช่นกับโป่งผ้าที่เกิดขึ้นตรงกลางแห่งผ้าเปียกที่เขารวบชายไว้ เรียกว่า อุทร. อุทรนั้นข้างนอกเกลี้ยง ข้างในเช่นกับผ้าที่ห่อเศษเนื้อหรือผ้าห่อประจำเดือนที่เปื้อนแล้ว แม้จะกล่าวว่า เช่นกับภายในแห่งลูกขนุนละมุด ก็ควร. ในอุทรเล่า ก็มีหมู่หมอนทั้งหลายแยกออกได้ถึง ๓๒ ตระกูล คือ มีพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลม พยาธิเสี้ยนตาล พยาธิปาก เข็ม (ตัวจิ๊ด) พยาธิตัวแบน พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น เป็นตระกูลต่างๆ เกลื่อนกล่นอาศัยอยู่เที่ยวไปเป็นหมู่ๆ ครั้นเมื่อน้ำและข้าวเป็นต้นไม่มีอยู่ มันก็จะพลุ่งพล่านกัดกินเนื้อที่มันอาศัยอยู่ ในเวลาที่กลืนอาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้นลงไป มันก็จะพากันชูปากขึ้นรับ ตะลีตะลานยื้อแย่งคำข้าวที่กลืนลงไปครั้งแรก ๒ - ๓ คำ. ที่อุทรนั้นแล เป็นดุจเรือนคลอด วัจจกุฏี (เรือนถ่าย) โรงพยาบาล และสุสาน (ป่าช้า) ของหนอนเหล่านั้น. อาหารทั้งหลายมีน้ำ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 81
และข้าว เป็นต้น มีประการต่างๆ ที่แหลกด้วยสากคือฟัน พลิกกลับไปมา ด้วยมือคือลิ้น คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ขณะนั้นแหละก็จะเป็นสิ่งที่ปราศจากคุณสมบัติของสี กลิ่น รส เป็นต้น เป็นเช่นกับข้าวย้อมด้ายของนายช่างหูก หรือเป็นเช่นสุนัขกับรากสุนัข ครั้นตกลงไปในคอก็จะคลุกเคล้าด้วยน้ำดี น้ำ เสลดเดือดขึ้นแล้วด้วยกำลังแห่งความเผาของไฟในท้อง (ธาตุไฟย่อยอาหาร) อากูลไปด้วยหมู่หนอน ปล่อยพองขึ้นข้างบนโดยลำดับ ถึงซึ่งความเป็นสิ่งสกปรก มีกลิ่นเหม็นยิ่งนัก ตั้งอยู่ในอุทรนั้น เปรียบเหมือน เมื่อฝนเมล็ดหนา ตกลงมาในฤดูแล้ง ซากสัตว์ต่างๆ จำเดิมแต่มูตร คูถ ท่อนหนัง กระดูก เอ็น น้ำลาย น้ำมูก และเลือด เป็นต้น ที่น้ำพาไปตกลงที่แอ่ง น้ำโสโครกใกล้ประตูบ้านของคนจัณฑาล และผสมเข้ากับโคลนตมสองสามวัน ก็มีหมู่หนอนเกิดขึ้นแล้ว แอ่งน้ำนั้นเดือดขึ้นแล้วด้วยความร้อนด้วยกำลังแห่งแสงแดด ปล่อยฟองขึ้นข้างบนบ่อยๆ เป็นของมีสีเขียวคล้ำ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ ด้วยกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง ถึงซึ่งความเป็นรูปไม่น่าเข้าไปใกล้ ไม่น่าเห็น จะป่วยกล่าวไปไยถึงการเป็นสิ่งน่าดม น่าลิ้มเส่า แม้ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้นมีประการต่างๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันสากคือฟันบดละเอียดแล้ว อันมือคือลิ้น ตวัดพลิกกลับไปมา แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ปราศจากความถึงพร้อมด้วยสี กลิ่นและรส เป็นต้นในทันที เสมือนรากสุนัขในรางสุนัข รวมกันคลุกเคล้าด้วยน้ำดีและเสลด เดือดด้วยแรงไฟและความร้อนในท้อง หนอนตระกูลใหญ่น้อยปล่อยฟองฟอดขึ้นข้างบนถึงความเป็นกองขยะมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ตั้งอยู่ แม้เพราะฟังเรื่องอุทรไรเล่า ความไม่ชอบใจในน้ำและข้าว เป็นต้น ก็เกิดขึ้นได้ จะกล่าวไปไยถึงความไม่ชอบใจในน้ำและข้าวเป็นต้น เพราะการแลดูด้วยปัญญาจักษุเล่า.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 82
อนึ่ง ในอุทรใด ในอุทรนั้น ที่มีของกินมีน้ำและข้าวเป็นต้น ตกลงไปแล้ว ย่อมถึงซึ่งการแยกเป็นส่วนๆ ๕ ส่วน คือสัตว์ (พยาธิ) ทั้งหลายย่อมเคี้ยวกินเสียส่วนหนึ่ง ไฟธาตุย่อมเผาผลาญเสียส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็เป็นมูตร ส่วนหนึ่งก็เป็นคูถ ส่วนหนึ่งถึงความเป็นอาหารไปเพิ่มพูนโกฏฐาสมีเลือดและเนื้อเป็นต้นให้เจริญ. ว่าโดยปริเฉทกำหนดด้วยเยื่ออุทร และส่วนที่เป็นอุทริยะ (คืออาหารใหม่). นี้เป็นสภาคปริเฉทของอาหารใหม่ ส่วนวิสภาคปริจเฉทเช่นกับผมนั่นแหละ.
๑๙. กรีสํ (อาหารเก่า)
ค่าว่า กรีสํ คือ อุจจาระ อุจจาระนั้น ว่าโดยสี มีสีดังอาหารที่กลืนเข้าไปนั่นแหละโดยมาก. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องต่ำ. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่กระเพาะอุจจาระ (ปกฺกาสเย ที่พักอาหารสุก). ชื่อว่า กระเพาะอุจจาระ เป็นเช่นกับกระบอกไม้ไผ่ สูงประมาณ ๘ องคุลี อยู่ตอนสุดของลำไส้ใหญ่ ในระหว่างนาภี (สะดือ) ตอนล่างกับโครงกระดูกสันหลัง. อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมีน้ำและข้าวเป็นต้นตกไปแล้วในกระเพาะอาหาร (อามาสเย ที่พักอาหารดิบ) เดือดเป็นฟองด้วยไฟในอุทร (ไฟธาตุ) สุกไปๆ แหลกละเอียดแล้ว ราวกะบดด้วยลูกหินบดแล้วเคลื่อนไปๆ ตามโพรงแห่งลำไส้ใหญ่ ตกไปทับถมกันอยู่ราวกับดินสีเหลืองที่เขาขยำใส่ไว้ในปล้องไม้ไผ่ เปรียบเหมือนน้ำฝนอันตกลงข้างบนๆ ไหลลงมา ทําให้ภาคพื้นเบื้องต่ำขังอยู่เต็ม ฉะนั้น.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยเยื่อกระเพาะอุจจาระ และโดยส่วนที่เป็นอุจจาระ. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของกรีสะ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 83
๒๐. มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง) (๑)
คำว่า มตฺถลุงฺคํ คือ กองเยื่อที่ตั้งอยู่ภายในกระโหลกศีรษะ. มันสมองนั้นว่าโดยสี มีสีขาวดังดอกเห็ด แม้จะกล่าวว่า มีสีดังนมสดที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นนมส้มก็ควร. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส อาศัยแนวประสาน ๔ แห่ง ตั้งรวมกันอยู่ภายในกระโหลกศีรษะ ดุจก้อนแป้ง ๔ ก้อนที่เขาตั้งไว้รวมกัน. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยพื้นภายในกระโหลกศีรษะ และโดยส่วนที่เป็นมันสมอง. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของมัตถลุงคัง ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๑. ปิตฺตํ (น้ำดี)
คำว่า ปิตฺตํ ได้แก่ น้ำดี ๒ ชนิด คือ น้ำดีที่อยู่ในถุงน้ำดี (พทฺธปิตฺตํ) และน้ำดีที่ไม่อยู่ในถุง (อพทฺธปิตฺตํ) . ในน้ำดีทั้ง ๒ นั้น น้ำดีที่อยู่ในถุง ว่าโดยสี มีสีดังน้ำมันมะซางข้นๆ น้ำดีที่ไม่อยู่ในถุง มีสีดังดอกพิกุลแห้ง ว่าโดยสัณฐาน น้ำดีแม้ทั้ง ๒ มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ น้ำดีในถุงเกิดในทิศเบื้องบน น้ำดีนอกนี้เกิดในทิศทั้ง ๒. ว่าโดยโอกาส เว้นผม ขน เล็บ ฟัน และหนังที่แห้งกระด้างแล้ว ตั้งอยู่เอิบอาบซึมซาบในสรีระที่เหลือ ดุจหยาดน้ำมันในน้ำเอิบอาบซึมซาบแผ่ไปฉะนั้น เมื่อน้ำดีนี้กำเริบ นัยน์ตาของสัตว์ย่อมเหลือง ย่อมวิงเวียนศีรษะ ร่างกายย่อมหวั่นไหว ย่อมคัน. น้ำดีที่ขังอยู่ในถุงน้ำดี ตั้งอยู่ในฝัก (ถุง) ของน้ำดี เช่นกับฝักของบวบใหญ่ มันติดอยู่ที่เนื้อตับในระหว่างหัวใจกับปอด. เมื่อน้ำดีนี้ กำเริบ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นบ้า มีจิตวิปลาส ละทิ้งหิริโอตตัปปะ ย่อมกระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่ควรกล่าว ย่อมคิดสิ่งที่ไม่ควรคิด.
๑. บาลีกล่าวรวมไว้ใน อฏฺฐิมิญฺชํ เยื่อในกระดูก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 84
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำดี. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำดี ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๒. เสมฺหํ (เสมหะ หรือ เสลด)
คำว่า เสมฺหํ คือ เสลด มีประมาณเต็มกอบหนึ่งอยู่ภายในร่างกาย. เสมหะนั้น ว่าโดยสี มีสีขาว ดังสีน้ำใบแตงหนู ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่เยื่ออุทร ในเวลาที่กลืนน้ำและข้าวเป็นต้น ก็เมื่อน้ำและข้าวเป็นต้นตกลงไป มัน (เสมหะ) ก็จะแยกออกจากกันแล้วก็กลับหุ้มปกปิดตามเดิม เปรียบเหมือนแหนในน้ำ ครั้นเมื่อไม้หรือกระเบื้องตกลงไป มันก็จะแยกออกจากกันแล้วก็กลับหุ้มเข้าตามเดิม ฉะนั้น อนึ่ง เมื่อเสมหะมีน้อยไป อุทรจะส่งกลิ่นเหม็นซากสัตว์อันน่ารังเกียจอย่างยิ่ง ดุจหัวฝีหรือไข่เน่าที่แตก ฉะนั้น. และเพราะกลิ่นอันฟุ้งขึ้นจากอุทรนั้น ลมเรอก็ดี ปากก็ดี ย่อมมีกลิ่นเหม็นเช่นกับซากสัตว์เน่า ทั้งเขาผู้นั้นย่อมจะถูกขับไล่ว่า ออกไป เจ้าตัวส่งกลิ่นเหม็น. อนึ่ง เสมหะนั้นมีมากแล้ว มันก็จะปิดกั้นกลิ่นสัตว์ไว้ภายในอวัยวะอุทรนั่นแหละเหมือนแผ่นกระดานที่ปิดวัจจกุฏี ฉะนั้น.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นเสมหะ. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของเสมหะ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๓. ปุพฺโพ (น้ำเหลือง น้ำหนอง)
คำว่า ปุพฺโพ ว่าโดยสี มีสีดังใบไม้เหลือง. แต่ในร่างกายของผู้ตาย มีสีดังน้ำข้าวข้นที่บูด. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ชื่อว่าโอกาสของปุพโพมิได้ขังอยู่เป็นนิตย์ ก็แต่เมื่อส่วนแห่งร่างกายใดถูกกระทบด้วยตอไม้ หนามแหลม เครื่องประหาร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 85
และเปลวไฟเป็นต้นโลหิตก็จะห้อขึ้น หรือว่าต่อมมีฝีเป็นต้นเกิดขึ้นในที่ใดๆ ปุพโพนั้นก็พึงก่อตัวขึ้นในที่นั้นๆ
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นปุพโพ. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของปุพโพ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๔. โลหิตํ (โลหิต เลือด)
คำว่า โลหิตํ ได้แก่ โลหิต ๒ ชนิด คือ สันนิจิตโลหิต (โลหิตที่ขัง) และสังสรณโลหิต (โลหิตที่ไหลเวียนไป). ใน ๒ อย่างนั้น สันนิจิตโลหิต ว่าโดยสี มีสีดังน้ำครั่งข้นที่แก่ไฟ. สังสรณโลหิต มีสีดังน้ำครั่งใสๆ ว่าโดยสัณฐาน แม้ทั้งสองมีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ สันนิจิตโลหิตเกิดในทิศเบื้องบน โลหิตนอกนี้เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส สังสรณโลหิตตั้งแผ่ไปสู่อุปาทินนกสรีระทั้งสิ้นตามเส้นโลหิต เส้นผม ขน เล็บ ฟัน และ หนังที่แห้งกระด้าง. สันนิจิตโลหิต มีประมาณบาตรหนึ่ง (ขนาดใบเล็ก) ตั้งอยู่ เต็มส่วนใต้ของที่ตั้งของตับ ค่อยๆ ไหลไปบนไต หัวใจ ตับ ปอด ทำให้ ไต หัวใจ ตับ ปอดชุ่มอยู่เสมอ เพราะว่าเมื่อโลหิตนี้ไม่ทำให้ไต หัวใจเป็น ต้นชุ่มอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมกระหาย.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นโลหิต. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของโลหิต ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๕. เสโท (เหงื่อ)
คำว่า เสโท คือ อาโปธาตุที่ไหลออกตามรูขนเป็นต้น. เหงื่อนั้น ว่าโดยสี มีสีดังน้ำมันงาใส. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส ชื่อว่าโอกาสของเหงื่อมิได้มีอยู่เป็นนิตย์ เหมือนโลหิต แต่เมื่อใด ร่างกายย่อมร้อนด้วยความร้อนของไฟ ของแสงแดด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 86
และความเปลี่ยนแปลงของอุตุเป็นต้น เมื่อนั้นเหงื่อก็จะไหลออกจากรูผมและขนทั้งปวง ราวกะกำสายบัวพอถอนขึ้นพ้นจากน้ำซึ่งมีรากเหง้าขาดไม่เสมอกัน น้ำก็จะไหลออกไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น แม้สัณฐานของเสโทนั้น ก็พึงทราบ ด้วยสามารถแห่งช่องรูผมและขนนั่นแหละ. พระโยคีผู้กำหนดเสโทเป็นอารมณ์ พึงมนสิการเสโทตามที่ขังอยู่เต็มในช่องรูผมและขนนั่นแล.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นเสโท. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของเสโท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๖. เมโท (มันข้น)
คำว่า เมโท คือ มันข้น. มันข้นนั้น ว่าโดยสี มีสีดังขมิ้นที่ผ่าออกแล้ว. ว่าโดยสัณฐาน สำหรับบุคคลผู้มีร่างกายอ้วนก่อน มีสัณฐานดังผ้าทุกูลเก่ามีสีขมิ้นตั้งอยู่ในระหว่างหนังกับเนื้อ. ส่วนบุคคลผู้มีร่างกายผอม มีสัณฐานดังผ้าทุกูลเก่ามีสีขมิ้นที่ทำเป็น ๒ - ๓ ชั้น อาศัยเนื้อเหล่านี้คือ เนื้อแข้ง เนื้อขา เนื้อหลังติดอยู่กับกระดูกสันหลัง และเนื้อท้องน้อย. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส สำหรับคนอ้วน มันแผ่ไปสู่สรีระทั้งสิ้น สำหรับคนผอมอาศัยเนื้อแข้งเป็นต้นตั้งอยู่ มันข้นนี้ แม้ถึงการนับว่าเป็นน้ำมันได้ แต่เพราะเป็นของน่ารังเกียจอย่างยิ่ง ชนทั้งหลายจึงมิได้ถือเอาเพื่อใช้ทาศีรษะและใช้เป็นน้ำมันหยอดจมูกเป็นต้น.
ว่าโดยปริจเฉท เบื้องต่ำกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง เบื้องขวางกำหนดโดยส่วนที่เป็นมันข้น. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของมันข้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๗. อสฺสุ (น้ำตา)
คำว่า อสฺสุ คือ อาโปธาตุอันไหลออกจากนัยน์ตา. ว่าโดยสี มีสีดังน้ำมันงาใส. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 87
เบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่เบ้าตา แต่ว่าน้ำตานั้นมิได้ขังอยู่ในเบ้าตาทุกเมื่อ เหมือนน้ำดีในถุงน้ำดี ก็เมื่อใดสัตว์ทั้งหลาย เกิดโสมนัสหัวเราะใหญ่ เกิดโทมนัสร้องให้คร่ำครวญ กินอาหารอันเป็นวิสภาคมีอย่างนั้นเป็นรูป (หมายความว่า กินอาหารชนิดที่ทำให้น้ำตาไหลได้) และเมื่อใด ดวงตาของสัตว์ทั้งหลายกระทบกับควันละอองธุลีเป็นต้น มัน (น้ำตา) ย่อมมาตั้งอยู่ที่เบ้าตา หรือย่อมไหลออก เพราะการเกิดขึ้นด้วยโสมนัส, โทมนัส, อาหาร อันเป็นวิสภาค, และอุตุเหล่านั้น.
ก็พระโยคีผู้กำหนดน้ำตาเป็นอารมณ์ พึงกำหนดด้วยสามารถแห่งน้ำตาที่ตั้งอยู่เต็มเบ้าตานั่นแหละ. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำตา. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำตา ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๒๘. วสา (มันเหลว)
คำว่า วสา คือ น้ำมันเหลว. น้ำมันเหลวนั้น ว่าโดยสี มีสีดังน้ำมันมะพร้าว แม้จะกล่าวว่า มีสีดังน้ำมันที่ลาดลงในข้าวตัง ก็ควร. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานแผ่ไปดังหยาดน้ำมันที่ลอยคว้างอยู่เหนือน้ำอันใสในเวลาที่ทำการชำระล้าง. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส โดยมากตั้งอยู่ที่ฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้า หลังเท้า ปลายจมูก หน้าผาก และจะงอยบ่า ก็แต่มันเหลวนั้นมิได้ละลายอยู่ในที่เหล่านั้นทุกเมื่อ เมื่อใด ส่วนของร่างกายเหล่านั้นเกิดความร้อนขึ้นด้วยไฟ แสงแดด อุตุวิสภาคะ และธาตุวิสภาคะ เมื่อนั้น จึงซ่านไปข้างโน้นข้างนี้ ราวกะการแผ่ไปของหยาดน้ำมันเหมือนน้ำใส ในเวลาทำความสะอาดนั้น ฉะนั้น. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นมันเหลว. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของมันเหลว ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 88
๒๙. เขโฬ (น้ำลาย)
คำว่า เขโฬ คือ อาโปธาตุที่ประสมขึ้นเป็นฟองภายในปาก. น้ำลายนั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังฟองน้ำ. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ แม้จะกล่าวว่า มีสัณฐานดังฟองน้ำ ก็ควร. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ออกจากกระพุ้งแก้มทั้งสองมาตั้งอยู่ที่ลิ้น แต่มิได้ขังอยู่ในที่นั้นทุกเมื่อ แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเห็นหรือนึกถึงอาหารเห็นปานนั้น (หมายถึง อาหารที่ทำให้น้ำลายออกได้) หรือว่า วางสิ่งอะไรๆ มีรสร้อน ขม เผ็ด เค็ม และเปรี้ยวลงไปในปาก หรือว่าเมื่อใด หัวใจของสัตว์เหล่านั้นอ่อนเพลีย หรือเกิดความหิวกระหายในอะไรๆ ขึ้น เมื่อนั้น น้ำลายเกิดขึ้นแล้วก็หยั่งลงที่กระพุ้งแก้มทั้งสองข้างมาอยู่ที่ลิ้น. อนึ่ง น้ำลายนั้น ที่ปลายลิ้นมีน้อย ที่โคนลิ้นมีมาก มิรู้จักหมดสิ้นไป ทั้งสามารถเพื่อจะยังอะไรๆ มีข้าวเม่า หรือข้าวสาร หรือของที่ควรเคี้ยว ที่ใส่เข้าไปในปากให้ชุ่มอยู่ ดุจบ่อน้ำที่เขาขุดไว้ใกล้หาดทราย ฉะนั้น.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำลาย. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำลาย ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๓๐. สิงฺฆานิกา (น้ำมูก)
คำว่า สิงฺฆานิกา ได้แก่ น้ำไม่สะอาด อันไหลออกจากมันสมอง. น้ำมูกนั้น ว่าโดยสี มีสีดังเยื่อในจาวตาลอ่อน. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐาน ตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่เต็มโพรงจมูก แต่มิได้ขังอยู่ในที่นั้นทุกเมื่อ ก็แลเมื่อใด สัตว์ทั้งหลายร้องไห้ หรือเป็นผู้มีธาตุกำเริบอันเกิดขึ้นด้วยอาหารอันแสลงหรือฤดูเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้น มันสมองที่ถึงความเป็นเสมหะเสีย จึงเคลื่อนหยั่งลงตามช่องเพดานข้างบนมา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 89
ตั้งอยู่เต็มโพรงจมูก หรือย่อมไหลออกไป เปรียบเหมือน คนห่อนมส้มด้วยใบบัว แล้วเอาหนามแทงข้างล่าง ทีนั้น น้ำเหลวของนมส้มก็จะไหลออกตามช่องนั้น แล้วพึงตกไปภายนอก ฉะนั้น.
ก็พระโยคีผู้กำหนดน้ำมูกเป็นอารมณ์ พึงกำหนดด้วยสามารถแห่งน้ำมูกที่ตั้งอยู่เต็มจมูกแล. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำมูก. นี้ เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำมูก ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๓๑. ลสิกา (ไขข้อ)
คำว่า ลสิกา ได้แก่ ไขลื่นเป็นมัน ที่มีกลิ่นเหม็นสางภายในข้อต่อของร่างกาย. ไขข้อนั้น ว่าโดยสี มีสีดังยางดอกกรรณิการ์. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่ข้อต่อ ๑๐๘ แห่ง ซึ่งทำกิจ คือ การหยอดทาข้อต่อกระดูกทั้งหลายให้สำเร็จอยู่ ก็ไขข้อนั้นของผู้ใดมีน้อยไป เมื่อผู้นั้นลุกขึ้น นั่งลง ก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง คู้ เหยียด กระดูกทั้งหลายจะลั่นดังกฏะๆ เหมือนคนที่เที่ยวดีดนิ้วมือ เมื่อเดินทางไกล แม้ประมาณโยชน์หนึ่งหรือสองโยชน์ วาโยธาตุ ก็จะกำเริบ ร่างกายย่อมเป็นทุกข์ แต่ของผู้ใดมีมาก กระดูกทั้งหลายย่อมไม่ส่งเสียงดังกฏะๆ ในเวลาลุกขึ้นและนั่งลงเป็นต้น เมื่อเดินทางไกล วาโยธาตุก็ไม่กำเริบ ร่างกายก็ไม่เป็นทุกข์.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นไขข้อ. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของไขข้อ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.
๓๒. มุตฺตํ (น้ำมูตร)
คำว่า มุตฺตํ ได้แก่ น้ำมูตร ว่าโดยสี มีสีดังน้ำด่างถั่วเหลือง. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังน้ำอยู่ในหม้อน้ำที่เขาตั้งปิดปาก. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องต่ำ. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในกระเพาะปัสสาวะ, ถุงแห่งกระเพาะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 90
ปัสสาวะ ท่านเรียกว่า กระเพาะปัสสาวะ. ในกระเพาะนั้นเล่า น้ำมูตรย่อมไหลออกจากสรีระ แต่ทางที่เข้าไปของน้ำปัสสาวะมิได้ปรากฏ ส่วนทางที่ออกไปย่อมปรากฏ เปรียบเหมือนน้ำครำที่ซึมเข้าไปในหม้อน้ำเกลือ (หม้อเนื้อหยาบ) ที่ปิดปากอันเขาทิ้งไว้ในแอ่งน้ำครำ ทางเข้าของมันมิได้ปรากฏ ฉะนั้น. อนึ่ง ในกระเพาะไรเล่า เต็มแล้วด้วยน้ำมูตร ความขวนขวายของสัตว์ทั้งหลาย จึงเกิดว่า เราจักถ่ายปัสสาวะ ดังนี้.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยภายในแห่งกระเพาะ และโดยสิ่งที่เป็นน้ำมูตร. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำมูตร ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผม นั่นแหละ.
ก็แล พระโยคาวจร ครั้นกำหนดโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น โดย สี สัณฐาน ทิศ โอกาส และปริจเฉท อย่างนี้แล้ว เมื่อจะมนสิการ ด้วยสามารถแห่งการก้าวล่วงบัญญัติ โดยใส่ใจว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ๕ อย่าง ด้วยสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ และโอกาส โดยนัย อนุปุพฺพโต (โดยลำดับ) นาติสีฆโต (โดยไม่เร็วเกินไป) นาติสณิกโต (โดยไม่ช้าเกินไป) เป็นต้น โดย พิจารณากายนี้ว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา ในกายนี้มีผมเป็นต้น ธรรมทั้งปวงเหล่านั้น (โกฏฐาสทั้งหมด) ก็ย่อมปรากฏ ดุจไม่ก่อนไม่หลังกัน เปรียบเหมือน บุคคลผู้มีตาดี แลดูพวงดอกไม้ ๓๒ สี ที่เขาร้อยไว้ด้วยด้ายเส้นเดียว ดอกไม้ทั้งหลายย่อมปรากฏดุจไม่ก่อนไม่หลัง ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ในกถาแห่งมนสิการโกศลว่า ก็เมื่อพระโยคาวจรมนสิการว่า เกสา มนสิการไปจนจดโกฏฐาสสุดท้ายว่า มุตฺตํ นี้นั่นแหละ. ก็ถ้าว่า จิตจะพิจารณามนสิการไปในภายนอกบ้างไซร้ เมื่อโกฏฐาสทั้งปวงปรากฏแล้ว ในลำดับนั้น มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายผู้เดินไปมา ก็จะละอาการว่าเป็นสัตว์ ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นโดยเป็นกองแห่งโกฏฐาสเท่านั้น และ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 91
อาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้น อันสัตว์เหล่านั้นกลืนเข้าไปอยู่ ก็ย่อมปรากฏ ราวกะของที่เขาใส่เข้าไปในกองแห่งโกฏฐาส. ในลำดับนั้น เมื่อพระโยคาวจร มนสิการเนืองๆ ว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ด้วยการมนสิการโกศล โดยอนุปุพฺพมุญฺจนโต (การปล่อยลำดับ) เป็นต้น อัปปนาก็ย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับ. ในการเกิดขึ้นแห่งอัปปนานั้น การปรากฏด้วยอำนาจแห่ง สี สัณฐาน ทิศ โอกาส และ ปริจเฉท เป็นอุคคหนิมิต. การปรากฏแห่งโกฏฐาสด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล โดยอาการทั้งปวง เป็นปฏิภาคนิมิต. เมื่อพระโยคาวจรรับอารมณ์ปฏิภาคนิมิตนั้นมามนสิการอยู่ ตรึกอยู่บ่อยๆ นามขันธ์ ๔ ก็จะมีปฏิกูลเป็นอารมณ์ อัปปนาก็จะดำรงอยู่ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน. ในปุพภาค จิตมีบริกรรมและอุปจารเป็นไปกับด้วยวิตก วิจาร มีปีติสหรคตด้วยโสมนัส มีปฏิกูลเป็นนิมิต แม้อัปปนา ก็มีวิตก วิจาร ปีติสหรคตด้วยโสมนัสเทียว. แต่ว่า โดยลำดับแห่งภูมิ อัปปนานั้นเป็นมหัคคตะ เป็นรูปาวจร. ก็โสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะความเป็นผู้มีปกติเห็นอานิสงส์ในอารมณ์แม้ปฏิกูลนั้น. อีกอย่างหนึ่ง โสมนัสนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งอารมณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ส่วนทุติยฌานเป็นต้นมิได้เกิดขึ้นในอารมณ์ปฏิกูลนั้น. ถามว่า เพราะอะไร. ตอบว่า เพราะความเป็นอารมณ์อันหยาบ. จริงอยู่ ปฏิกูลนี้เป็นอารมณ์หยาบ ทุติยฌานเป็นต้นจึงมิได้เกิดขึ้น. ในอธิการนี้ ความเป็นเอกัคคตาแห่งจิตย่อมเกิดได้ด้วยกำลังแห่งวิตกเท่านั้น มิได้เกิดขึ้นด้วยการก้าวล่วงวิตกเลย. นี้เป็นกรรมฐานกถาด้วยอำนาจแห่งสมถะก่อน.
กรรมฐานกถา ว่าด้วยอำนาจสาธารณะ
ก็พึงทราบกรรมฐานดังพรรณนามานี้ ด้วยอำนาจสาธารณะโดยไม่แปลกกัน. จริงอยู่ พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญกรรมฐานนี้ เรียนเอากรรมฐาน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 92
นี้ เรียนเอากรรมฐานแล้ว พึงท่องบ่นด้วยวาจา ซึ่ง นิมิตแห่งสี นิมิตแห่งสัณฐาน นิมิตแห่งทิศ นิมิตแห่งโอกาส และนิมิตแห่งปริจเฉท แห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น ในเวลาที่สาธยายนั่นแหละ แล้วมนสิการในแต่ละโกฏฐาสว่า โกฏฐาสนี้ คล้ายกับสิ่งนั้น ดังนี้ แล้วทำการสาธยายโดย ๓ วิธี. ถามว่า พึงทำการสาธยายอย่างไร. ตอบว่าในตจปัญจกะก่อน พึงทำการสาธยายโกฏฐาสเหล่านั้นตลอดกึ่งเดือนเทียว คือโดยอนุโลมตลอด ๕ วัน โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ โดยปฏิโลมตลอด ๕ วัน และทั้งโดยอนุโลมทั้งโดยปฏิโลมอีกตลอด ๕ วัน. ต่อจากนั้น พึงไปสู่สำนักของอาจารย์เรียนเอาวักกปัญจกะ แล้วก็พึงทำการสาธยายตลอดกึ่งเดือน โดยทำนองนั้นนั่นแหละ. ต่อจากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาสแม้ทั้ง ๑๐ เหล่านั้นรวมกันตลอดกึ่งเดือน. พึงเรียนเอาแต่ละโกฏฐาส แม้ในปัปผาสปัญจกะเป็นต้นอีก แล้วทำการสาธยายตลอดกึ่งเดือน. จากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาสแม้ทั้ง ๑๕ เหล่านั้นตลอดกึ่งเดือน. พึงทำการสาธยายมัตถลุงคปัญจกะตลอดกึ่งเดือน. จากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาสแม้ ๒๐ เหล่านั้นตลอดกึ่งเดือน. พึงทำการสาธยายเมทฉักกะตลอดกึ่งเดือน. จากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาสแม้ ๒๖ เหล่านั้นรวมกันตลอดกึ่งเดือน พึงทำการสาธยายมุตตฉักกะตลอดกึ่งเดือน. จากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาส ๓๒ แม้ทั้งหมดรวมกันตลอดกึ่งเดือน. พึงทำการสาธยาย ๖ เดือนอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในกรรมฐานนั้น ภิกษุผู้มีอุปนิสัยอันถึงพร้อมแล้ว ผู้มีปัญญา เรียนกรรมฐานอยู่นั่นแหละ โกฏฐาสทั้งหลายย่อมปรากฏ. ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุบางรูป. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่พึงสละความเพียร ด้วยคิดว่า โกฏฐาส
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 93
ทั้งหลาย ไม่ปรากฏแก่เรา ดังนี้. โกฏฐาสทั้งหลายมีประมาณเท่าไร ยังมิได้ปรากฏ พึงถือเอาโกฏฐาสเหล่านั้น ทำการสาธยายไปเถิด.
อนึ่ง อาจารย์ผู้บอกก็ไม่พึงบอกกรรมฐานอย่างนี้แก่ผู้มีปัญญามากและผู้มีปัญญาน้อย ควรบอกแก่ผู้มีปัญญาปานกลาง เพราะว่า อาจารย์ทั้งหลายกำหนดวางแบบแผนไว้ ๖ เดือนสำหรับผู้มีปัญญาปานกลาง ส่วนโกฏฐาสทั้งหลายของภิกษุใดแม้มีประมาณเท่านี้ยังมิได้ปรากฏ ภิกษุนั้นก็พึงทำการสาธยายต่อไปนั่นแหละ จะไม่กำหนดต่อจากนั้นไปหาควรไม่ พึงกำหนดตลอดทุกๆ ๖ เดือน. เมื่อเธอทำการสาธยายอยู่ ไม่พึงพิจารณาสี ไม่พึงมนสิการลักษณะ พึงทำการสาธยายด้วยอำนาจแห่งโกฏฐาสเท่านั้น. แม้ อาจารย์เล่า ก็ไม่พึงบอกกำหนดจำกัดลงไปว่า เธอจงทำการสาธยายด้วยอำนาจแห่งสี ดังนี้.
เมื่อบอกกำหนดจำกัดจะเป็นโทษอย่างไร
เมื่อบอกกำหนดจำกัด การผิดพลาดด้วยการสำคัญผิด (จะพึงมี) แม้ในสิ่งที่เขาจะพึงถึงพร้อม เพราะถ้าอาจารย์บอกว่า เธอจงทำการสาธยายด้วยอำนาจแห่งสี ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุนี้ทำอยู่อย่างนั้น กรรมฐานไม่ปรากฏ โดยสี หรือว่าโดยอำนาจปฏิกูล หรือโดยอำนาจแห่งธาตุ ทีนั้น ภิกษุนั้นก็จะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะของกรรมฐาน ทั้งมิใช่กรรมฐาน เธอจะกำหนดถือเอาเฉพาะคำอันอาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. ถ้าอาจารย์ แม้บอกว่า เธอจงทำการสาธยายกรรมฐานนี้ด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุนั้นทำ อย่างนั้นอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏโดยปฏิกูล หรือว่าโดยอำนาจแห่งสี หรือว่าโดยอำนาจแห่งธาตุ ทีนั้น เธอก็จะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะของกรรมฐาน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 94
มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำที่อาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. ถ้าอาจารย์บอกว่า เธอจงทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุ ไซร้ เมื่อภิกษุนั้นทำอย่างนั้นอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏโดยธาตุ หรือว่าโดยสามารถแห่งสี หรือว่าโดยสามารถแห่งปฏิกูล ทีนั้น ภิกษุนั้นย่อมจะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะ มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำอันอาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. นี้เป็นโทษในถ้อยคำที่อาจารย์กล่าวกำหนดจำกัด.
อาจารย์พึงบอกอย่างไร
อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานพึงบอกว่า เธอจงทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาส ดังนี้. คือ อย่างไร? คือ อาจารย์พึงบอกว่า เธอจงทำการสาธยายโกฏฐาสว่า เกสา โลมา เป็นต้น ก็ถ้าภิกษุนั้นทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสอย่างนี้ กรรมฐานปรากฏอยู่โดยสี ทีนั้น ภิกษุนั้นก็จะพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาทว่า กระผมทำการสาธยายอาการ ๓๒ ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาส แต่กรรมฐานนั้น (โกฏฐาส) ปรากฏแก่กระผมโดยสี ดังนี้ อาจารย์ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน) มิใช่กรรมฐาน เป็นดุจกรรมฐาน ดังนี้. แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดี แล้ว ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำบริกรรมในวัณณกสิณมา กรรมฐานนี้นั่นแหละเป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งสีทีเดียว. แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งสี นั่นแหละ.
การปรากฏแห่งโกฏฐาส
เมื่อภิกษุนั้นทำอยู่อย่างนี้ ย่อมจะได้วัณณกสิณ ๔ ในภายใน คือ นีลกกสิณ (กสิณสีเขียว) ปีตกกสิณ (กสิณสีเหลือง) โลหิตกกสิณ (กสิณสีแดง)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 95
โอทาตกกสิณ (กสิณสีขาว). คือ อย่างไร? คือ เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสีที่ผม ขน น้ำดี และในสีดำแห่งลูกตาว่า นีลํ นีลํ (เขียวๆ) อยู่ ฌานอันเป็นจตุกกนัยหรือปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหันต์. ก็เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสีมันข้นและในที่สีเหลืองแห่งลูกตาว่า ปีตกํ ปีตกํ (เหลืองๆ) อยู่ ฌานอันเป็นจตุกกนัยหรือปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต. ก็เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสีเนื้อ เลือด และในที่สีแดงแห่งลูกตาว่า โลหิตกํ โลหิตกํ (แดงๆ) อยู่ ฌานอันเป็นจตุกกนัยหรือปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้น ทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ก็เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสีเล็บ ฟัน หนัง กระดูก และในที่สีขาวแห่งลูกตาว่า โอทาตํ โอทาตํ (ขาวๆ) อยู่ ฌานอันเป็นจตุกกนัยหรือปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาได้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต. ข้อนี้ เป็นการออกไปของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจแห่งสี จนถึงพระอรหัต
ภิกษุอื่นอีก เมื่อทำการสาธยายด้วยอำนาจแห่งโกฏฐาสอยู่ กรรมฐานย่อมปรากฏโดยปฏิกูล ทีนั้น ภิกษุนั้นพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาท อาจารย์ก็ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน) มิใช่กรรมฐาน เป็นดุจกรรมฐาน ดังนี้ แต่พึงบอกว่า สัปบุรุษ ดีแล้ว ในปางก่อน เธอจักเคยประกอบความเพียรในปฏิกูลมนสิการมา กรรมฐานนี้นั่นแหละเป็นสัปปายะของเธอ เธอจงการทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูลนั่นแหละ. แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูล. เมื่อภิกษุนั้นทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูลอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผมทั้งหลายเป็นของ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 96
ไม่งาม ไม่น่าชอบใจ มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจ เป็นของปฏิกูล ดังนี้อยู่ ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ปฏิกูลได้. ภิกษุนั้นทำฌาน ให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาได้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ข้อนี้เป็นการออกไปของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล จนถึงพระอรหัต.
ภิกษุอื่นอีก กระทำการสาธยาย ด้วยอำนาจแห่งโกฏฐาส กรรมฐานย่อมปรากฏโดยธาตุ. ถามว่า กรรมฐานเมื่อปรากฏโดยธาตุ ย่อมปรากฏเป็น เช่นไร? ตอบว่า ผมทั้งหลายก่อน เมื่อปรากฏ ย่อมปรากฏเป็นราวกะต้นหญ้าปนคลุมบนจอมปลวก. ขนทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าหญ้าแพรกทั้งหลายเกิดในที่ของบ้านเก่า. เล็บทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าปลอกเม็ดในผลมะซางที่เขาติดไว้ปลายท่อนไม้. ฟันทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าเม็ดน้ำเต้าที่เขาปักไว้ที่ก้อนดินเหนียว. หนัง ย่อมปรากฏเป็น ราวกะว่าหนังโคสดหุ้มไม้เล็กน้อย (หรือหุ้มข้อต่อของพิณ). เนื้อ ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าดินเหนียวที่เขาฉาบทาไว้ข้างฝาเรือน. เอ็นทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าเถาวัลย์พันทัพพสัมภาระ. กระดูก ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าทัพพสัมภาระของฝาเรือนที่ยกขึ้นตั้งไว้. เยื่อในกระดูก ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่ายอดหวายลนไฟที่ใส่ไว้ในไม้ไผ่ลำใหญ่. โกฏฐาสทั้ง ๖ คือ ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม และปอด ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าโรงฆ่าสัตว์. ไส้ใหญ่ ยาว ๓๒ ศอก ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่างูเรือนที่เขาฆ่าแล้วใส่ไว้ในรางเลือด. ไส้น้อย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าเส้นเชือกเล็กที่เขาเย็บไว้ที่ผ้าสำหรับเช็ดเท้า. อาหารใหม่ ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าข้าวสารในถุงผ้าบางหย่อนๆ. อาหารเก่า (อุจจาระ) ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าก้อนดินเหลืองที่เขายัดไว้ในกระบอกไม้ไผ่. มันสมอง ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าก้อนแป้งข้าวสาร ๔ ก้อน ที่เขา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 97
ขยำแล้วตั้งไว้. อาโปธาตุ ๑๒ อย่าง ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าน้ำเต็มถ้วย น้ำ ๑๒ ถ้วยที่เขาตั้งเรียงกันไว้. ทีนั้น ภิกษุนั้นพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาท อาจารย์ก็ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน) มิใช่กรรมฐาน เป็นราวกะว่ากรรมฐาน ดังนี้ แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดีแล้ว ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำความเพียรในธาตุมนสิการมากรรมฐานนั้นนั่นแหละ เป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุเถิด. แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุ แล.
ในข้อนั้นพึงทราบวิธีการสาธยายโดยหัวข้อมนสิการ ดังนี้
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการ (คือกระทำไว้ในใจ) ว่า ผมทั้งหลายเกิดที่หนังหุ้มศีรษะ ผมเหล่านั้นย่อมไม่รู้ตัวเองว่า เราเกิดที่หนังหุ้มศีรษะ แม้หนังหุ้มศีรษะเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า ผมทั้งหลายเกิดในเรา สิ่งเหล่านั้นไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็นสภาพแข็งกระด้าง นี้เป็นปฐวีธาตุ. ย่อมมนสิการว่า ขนทั้งหลายเกิดที่หนังหุ้มสรีระ ขนเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่หนังหุ้มสรีระ แม้หนังหุ้มสรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า ขนทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีการคิด. เล็บทั้งหลายเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย เล็บเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย แม้ปลายนิ้วทั้งหลายเล่า ก็ไม่รู้ว่า เล็บทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีการคิด. ฟันทั้งหลายเกิดที่กระดูกคาง ฟันเหล่านี้ย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่กระดูกคาง แม้กระดูกคางเล่าก็ไม่รู้ว่า ฟันทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีการคิด. หนังย่อมไม่รู้ว่า เราหุ้มสรีระ แม้สรีระเล่าก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังหุ้มไว้ แม้สิ่งนี้ก็ไม่มีการคิด. เนื้อ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 98
ย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบทาสรีระ แม้สรีระเล่าก็ไม่รู้ว่า เราถูกเนื้อฉาบทาไว้ แม้สิ่งนี้ก็ไม่มีการคิด. เอ็นย่อมไม่รู้ว่า เราผูกกองกระดูกไว้ แม้กองกระดูกเล่า ก็ไม่รู้ว่า เราถูกตาข่ายแห่งเอ็นผูกไว้ แม้สิ่งนี้ก็ไม่มีการคิด. กระดูกศีรษะย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกคอ แม้กระดูกคอเล่าก็ไม่รู้ว่า กระดูกศีรษะตั้งอยู่ในเรา กระดูกคอก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกสันหลัง แม้กระดูกสันหลัง กระดูกสะเอว กระดูกขาอ่อน กระดูกแข้ง กระดูกข้อเท้า ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกส้นเท้า แม้กระดูกส้นเท้าเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกข้อเท้าตั้งไว้ ฯลฯ กระดูกคอ ย่อมไม่รู้ว่า เรายกกระดูกศีรษะตั้งไว้ กระดูกทั้งหลายตั้งอยู่โดยที่สุดกันตามลำดับ. จากนี้ไปในที่ต่อมิใช่น้อย เอ็นอะไรๆ มิได้ผูกไว้. กองกระดูกนี้ก็ไม่มีการคิด เป็นดังท่อนไม้ เป็นสภาวะอันชราเตือนแล้ว. เยื่อในกระดูกแม้นี้ ก็ไม่มีการคิด. ไต ฯลฯ มันสมอง ก็ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า แข็งกระด้าง เป็นปฐวีธาตุ ดังนี้. ย่อมกระทำไว้ในใจว่า น้ำดี เสลดฯ ลฯ น้ำมูตร ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็นเครื่องเกาะกุม เป็นอาโปธาตุเอิบอาบซึมซาบไป.
เมื่อพระโยคาวจรกำหนดมหาภูตรูป ๒ เหล่านี้อยู่ เตโชธาตุอันมากย่อมปรากฏที่อุทร. วาโยธาตุอันมากย่อมปรากฏที่จมูก. เมื่อกำหนดมหาภูตรูป ๔ เหล่านั้นอยู่ อุปาทารูปย่อมปรากฏ. ชื่อว่ามหาภูตรูปย่อมกำหนดได้ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนดได้ด้วยมหาภูตรูป. เปรียบเหมือน ชื่อว่า แสงแดดกำหนดได้ด้วยเงา เงาก็กำหนดได้ด้วยแสงแดด ฉันใด มหาภูตรูป ก็ฉันนั้นนั่นแหละ กำหนดได้ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนดได้ด้วยมหาภูตรูป. ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำหนดรูปขันธ์ว่า มหาภูตรูป ๔ อุปาทารูป ๒๓ เป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 99
รูปขันธ์ อย่างนี้อยู่ อรูปขันธ์ก็ย่อมปรากฏตัวด้วยอำนาจแห่งอายตนะและทวาร. การกำหนดรูปและอรูปขันธ์ คือขันธ์ ๕ ย่อมปรากฏด้วยประการฉะนี้. ขันธ์ ๕ คือ อายตนะ ๑๒ และอายตนะ ๑๒ ก็คือ ธาตุ ๑๘ เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงกำหนด นาม และ รูป กระทำให้เป็น ๒ ส่วน ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ อายตนะและธาตุ ให้เป็นราวกะว่าผ่าอยู่ซึ่งเหง้าตาลคู่ ฉะนั้น.
ภิกษุนั้น ใคร่ครวญอยู่ว่า นามรูปนี้เกิดขึ้นเพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยหามิได้ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ มีปัจจัย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัยของนามรูปนั้น จึงกำหนดปัจจัยแห่งนามรูปนั้นว่า นามรูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะอาหารเป็นปัจจัย ดังนี้แล้ว ย่อมก้าวล่วงความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ในกาลบัดนี้ (คือปัจจุบัน) ก็ดี ปัจจัยทั้งหลายและธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น นอกจากนี้แล้วหามีสัตว์หรือบุคคลไม่ มีแต่กองสังขารล้วนๆ เท่านั้น ดังนี้. ก็วิปัสสนานี้ มีสังขารเป็นเครื่องกำหนด จึงชื่อว่า ญาตปริญญา. เมื่อภิกษุกำหนดสังขารแล้วดำรงอยู่อย่างนี้ รากฐานในศาสนาแห่งพระทศพลของเธอ ชื่อว่าหยั่งลงแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่งแล้ว ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่า พระจุลโสดาบันผู้มีคติแน่นอน.
ก็ภิกษุนั้นได้อุตุสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ และธัมมสัปปายะเช่นนั้นแล้ว อาศัยอยู่ด้วยเอกบัลลังก์อันประเสริฐในอาสนะเดียว พิจารณาสังขารทั้งหลายยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยลำดับแห่งวิปัสสนา ย่อมถือเอาพระอรหัตได้ ฉะนี้แล. ข้อนี้เป็นการออกไปของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอำนาจแห่งธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 100
ส่วนภิกษุใด กรรมฐานไม่ปรากฏโดยสี โดยปฏิกูล โดยสุญญตะ ภิกษุนั้นก็ไม่พึงนั่งสละกรรมฐานเสีย โดยคิดว่า กรรมฐานไม่ปรากฏแก่เรา แต่พึงกระทำความเพียรมนสิการในโกฏฐาสต่อไปโดยแท้. ได้ยินว่า พระเถระในปางก่อนกล่าวว่า ภิกษุผู้มนสิการโกฏฐาสแล มีอยู่เป็นนิจเสมอ ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้นทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสเนืองๆ อยู่อย่างนี้ โกฏฐาสทั้งหลายย่อมคล่องแคล่ว. ก็ในกาลใดเล่า โกฏฐาสทั้งหลายจึงจะชื่อว่าคล่องแคล่ว. เมื่อไร สักว่าเธอรำพึงไปว่า เกสา มนสิการไปจนตั้งอยู่ที่โกฏฐาสสุดท้าย คือ มตฺถลุงฺคํ และพอรำพึงว่า มตฺถลุงฺคํ มนสิการมาจนตั้งอยู่ที่โกฏฐาสต้นคือ เกสา ทีนั้น โกฏฐาส ๓๒ ย่อมปรากฏแก่ภิกษุนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุมองดูพวงดอกไม้ ๓๒ สีที่ร้อยไว้ด้วยด้ายเส้นเดียว ก็หรือว่า มองดูเสารั้ว ๓๒ ต้น ที่ฝังไว้โดยลำดับ ดอกไม้ ๓๒ สี หรือว่า เสารั้ว ๓๒ ต้น ย่อมปรากฏตามลำดับ ฉันนั้น. สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายก็ดี มนุษย์ทั้งหลายก็ดี ซึ่งเที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรากฏ (แก่พระโยคาวจรนั้น) ว่าเป็นสัตว์ ย่อมปรากฏเป็นโกฏฐาสทั้งหลาย ขาทนียะโภชนียะ ก็ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าสิ่งของที่เขาใส่เข้าไปในระหว่างโกฏฐาส. จำเดิมแต่โกฏฐาสทั้งหลายคล่องแคล่วแล้ว ภิกษุนั้นจักหลุดพ้นได้ โดยหัวข้อหนึ่งในหัวข้อทั้ง ๓ (คือ โดยสี โดยปฏิกูล โดยสุญญตะ). กรรมฐานย่อมปรากฏ โดยสี หรือโดยปฏิกูล หรือโดยสุญญตะ จำเดิมแต่โกฏฐาสทั้งหลายคล่องแคล่วแล้วก็จักหลุดพ้นโดยหัวข้อหนึ่งในหัวข้อทั้ง ๓ เปรียบเหมือนสตรีที่ต้องการจะ ทอดขนม ปรารถนาซึ่งขนมชิ้นใดๆ ก็ย่อมจะทอดขนมชิ้นนั้นๆ ได้จากแป้งที่ตนขยำตั้งไว้แล้ว ก็หรือว่า เปรียบเหมือนบุคคลเอียงหม้อเต็มด้วยน้ำที่เขาตั้งไว้ในภูมิประเทศเสมอกันด้านใดๆ น้ำก็จะไหลออกไปด้านนั้นๆ นั่นแหละ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 101
ฉันนั้น. เมื่อภิกษุหวังอยู่โดยสี หวังอยู่โดยปฏิกูล หวังอยู่โดยสุญญตะ กรรมฐานก็จักปรากฏได้โดยแท้. นี้ชื่อว่า อุคคหสนธิมีประมาณเท่านี้. ภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในอุคคหสนธิแล้วบรรลุพระอรหัตมีประมาณมากมาย.
อนึ่ง กรรมฐานของภิกษุใด ไม่ปรากฏในอุคคหสนธิ ภิกษุนั้นเรียนเอากรรมฐานแล้ว ถ้าอาจารย์อยู่ในอาวาสใด อาวาสนั้นเป็นสัปปายะแก่เธอไซร้ นั่นเป็นการดี แต่ถ้าไม่ได้เช่นนั้น พึงอยู่ในที่อันเป็นสัปปายะ. เมื่ออาศัยอยู่ พึงเว้นวิหารโทษ ๑๘ (๑) แห่ง แล้วอยู่ในเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ (๒) แม้ภิกษุเองก็พึงประกอบด้วยองค์ ๕. จากนั้น ภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตแล้ว ก็พึงไปสู่ที่พักในเวลากลางคืนหรือที่พักในเวลากลางวัน แล้วมนสิการกรรมฐาน. พึงมนสิการอย่างไร? คือ พึงมนสิการกรรมฐาน โดยลำดับแต่ต้น ตามนัยที่กล่าวแล้วก่อน. ไม่พึงมนสิการเว้นกรรมฐานไว้หนึ่งในระหว่าง. ก็เมื่อเธอมนสิการกรรมฐานโดยลำดับอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากกรรมฐาน และย่อมเสวยโลกุตตรธรรม ๙ ประการอันเช่นกับอานิสงส์แห่งปราสาท เปรียบเหมือน บุรุษผู้ก้าวขึ้นบันได ๓๒ ขั้น โดยลำดับขั้น ขึ้นสู่ปราสาทและเสวยอานิสงส์ของปราสาท ฉะนั้น.
(๑) วิหารที่ควรเว้น ๑๘ แห่ง คือ
๑. วิหารใหญ่ ๗. วิหารใกล้บ่อน้ำ ๑๓. วิหารอยู่ชายแดน
๒. วิหารเก่าคร่ำ ๘. วิหารที่มีคนชอบอยู่ ๑๔. วิหารอยู่ระหว่างพรมแดน
๓. วิหารสร้างใหม่ ๙. วิหารมีผักมาก ๑๕. วิหารใกล้เมือง
๔. วิหารใกล้ป่าไม้ฟืน ๑๐. วิหารมีดอกไม้ ๑๖. วิหารที่มีวิสภาคบุคคล
๕. วิหารใกล้ทาง ๑๑. วิหารมีผลไม้ ๑๗. วิหารที่อยู่แล้วไม่สบาย
๖. วิหารใกล้ที่นา ๑๒. วิหารใกล้ท่า ๑๘. วิหารที่ไม่มีกัลยาณมิตร
(๒) วิหารประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. วิหารที่ไม่ใกล้นักไม่ไกลนักไปมาสะดวก ๒. กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด ๓. ปราศจากสัมผัสเหลือบและยุง ๔. มีปัจจัยสี่ไม่ฝืดเคือง ๕. มีผู้เป็นพหูสูตอยู่ด้วย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 102
เมื่อมนสิการโดยลำดับ ไม่พึงมนสิการโดยเร็วนัก ไม่มนสิการโดยช้านักด้วย. เพราะว่า เมื่อมนสิการเร็วเกินไป กรรมฐานย่อมคล่องแคล่วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นกรรมฐานก็ไม่แจ่มแจ้ง. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. เมื่อมนสิการช้าเกินไป กรรมฐานย่อมไม่ถึงที่สุด ย่อมเสื่อมไปในระหว่างเทียว. เปรียบเหมือน คนเดินทาง ๓ โยชน์ เพราะสนใจในร่มเงาอันร่มเย็นจำเดิมแต่ที่เป็นที่ออกไปแล้ว พบร่มเงาอันเย็นสบายก็พักเสีย พบพื้นทรายอันเป็นที่รื่นรมย์ก็เหยียดหลังเสีย พบสระโบกขรณีในป่าย่อมดื่มย่อมอาบ พบภูเขาก็ขึ้นไปชมทิวทัศน์อันเป็นที่รื่นรมย์แห่งภูเขา สีหะ หรือเสือโคร่ง หรือเสือเหลือง ย่อมฆ่าเขาเสียในระหว่างนั่นแหละ. ก็หรือว่า พวกโจรย่อมปล้นย่อมฆ่า ฉันใด เมื่อมนสิการช้าเกินไป ก็ฉันนั้นนั่นแหละ กรรมฐานย่อมไม่ถึงที่สุด ย่อมเสื่อมไปในระหว่างเทียว เพราะฉะนั้น ในวันหนึ่ง ภิกษุพึงมนสิการสิ้น ๓๐ ครั้ง โดยไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไป แล.
ในเวลาเช้าพึงทำการสาธยาย ๑๐ ครั้ง กลางวัน ๑๐ ครั้ง เย็น ๑๐ ครั้ง การไม่ทำย่อมไม่ควร เหมือนการตื่นนอนเช้า การไม่ล้างหน้าก็ไม่ควร การไม่เคี้ยวกินขาทนียะและโภชนียะก็ไม่ควร ควรยังกิจนี้ให้เป็นไป กิจนี้นั่นแหละไม่ทำเลยสักส่วนหนึ่งหาควรไม่ เมื่อกระทำจึงจะถือเอาประโยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือน บุคคลมีนา ๓ แปลง นาแปลงหนึ่งให้ข้าว ๘ กุมภะ (๔๐๐ ถัง) นาแปลงหนึ่งให้ข้าว ๑๖ กุมภะ (๘๐๐ ถัง) และนาแปลงหนึ่งให้ข้าว ๓๒ กุมภะ (๑,๖๐๐ ถัง) บุคคลนั้นไม่อาจทำนาแม้ทั้ง ๓ แปลงได้ พึงทิ้งเสีย ๒ แปลง แล้วทำนาแปลงหนึ่งอันให้ข้าว ๓๒ กุมภะเท่านั้น คือพึงทำการไถ การหว่าน การเก็บเกี่ยวเป็นต้นในนาแปลงที่ ๓
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 103
นั่นแล นาแปลงที่ ๓ นั้นนั่นแหละ ย่อมแสดงการให้เกิดความอุตสาหะของเขาในนา ๒ แปลงนอกนี้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุแม้ละการงานที่เหลือมีการล้างหน้าเป็นต้นแล้ว พึงทำกรรมในที่นี้โดยแท้ การไม่ทำหาควรไม่ เมื่อทำจึงถือเอาประโยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ ฉะนี้แล. ชื่อว่ามัชฌิมาปฏิปทา ท่านกล่าวไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ พึงป้องกันความฟุ้งซ่านได้. เพราะว่า เมื่อสละกรรมฐาน จิตก็จะถึงความฟุ้งซ่านไปในภายนอก ย่อมเสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัย เปรียบเหมือน บุรุษคนหนึ่ง (พ่อค้า) ยังบุคคลให้ชำระหนี้พันหนึ่ง ได้กำไรแล้วเดินทางมา ในระหว่างทางก้าวขึ้นสะพาน ท่อนไม้อันเดินได้คนเดียวที่พาดข้ามลำธารซอกเขาอันลึกมีจระเข้ มังกร และรากษส (ผีเสื้อน้ำ) เขาเดินปล่อยเท้าก้าวไป เพราะแลดูข้างโน้นข้างนี้ เลยพลัดตกลงไปเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น ฉันใด ภิกษุแม้นี้ก็เหมือนกัน นั่นแหละ ครั้นเมื่อจิตของตนสละกรรมฐานถึงความฟุ้งไปในภายนอก ย่อมเสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัยได้.
ข้อนี้ พึงทราบความอุปมา ดังนี้
ก็กาลที่ภิกษุนี้เรียนกรรมฐานในสำนักของอาจารย์ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษยังบุคคลให้ชำระหนี้หนึ่งพันได้กำไรแล้ว. สังสารวัฏฏ์ เปรียบเหมือน ซอกเขาอันลึกในระหว่างทาง. ทุกข์ใหญ่มีวัฏฏะเป็นมูล เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้นถูกจระเข้เป็นต้นเห็นแล้ว. วิถีแห่งการสาธยายของภิกษุนี้ เปรียบเหมือน สะพานท่อนไม้เดินได้คนเดียว. พึงทราบว่า ความที่ภิกษุนี้สละกรรมฐาน มีจิตฟุ้งไปในภายนอก เสื่อมจากกรรมฐาน ไม่สามารถก้าวล่วง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 104
วัฏฏภัยได้ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้นก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้เดินได้คนเดียว แล้วปล่อยเท้าสำหรับเหยียบ มัวแลดูข้างโน้นข้างนี้พลัดตกลงไป ถึงความเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรพึงมนสิการ เกสาทั้งหลาย ครั้นมนสิการเกสาทั้งหลายแล้ว ก็จะห้ามมิให้จิตตุปบาทฟุ้งไปภายนอก โดยจิตอันหมดจดอยู่นั่นแหละ พึงมนสิการต่อไปว่า โลมา นขา ทนฺตา ตโจ เมื่อมนสิการอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมก้าวล่วงวัฏฏภัยได้. ข้อนี้ พึงทราบความอุปมานั้นนั่นแหละให้เป็นไปโดยสิ้นเชิง อย่างนี้ว่า พึงทราบว่า การที่ภิกษุผู้ฉลาด มนสิการผมทั้งหลาย ห้ามมิให้จิตตุปบาทฟุ้งไปในภายนอกแล้ว ด้วยจิตอันหมดจดนั่นแหละ พึงมนสิการอยู่ ซึ่งคำว่า โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ดังนี้ ไม่ให้เสื่อมจากกรรมฐาน จึงก้าวล่วงวัฏฏะภัยได้ เปรียบเหมือน การที่บุรุษผู้ฉลาด ยังบุคคลให้ชำระหนี้หนึ่งพันได้กำไรแล้วก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้ ระมัดระวังเครื่องนุ่งห่ม กระทำธาตุคือกายให้ทะมัดทะแมงไปจนถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี. แม้เมื่อเธอ ห้ามความฟุ้งซ่านไปในภายนอกอย่างนี้แล้ว พึงมนสิการโดยการก้าวล่วงบัญญัติ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. คือ พึงปล่อยบัญญัติว่า เกสา โลมา เสีย แล้วตั้งสติว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ดังนี้. ก็กรรมฐานแรกนั้นแหละยังมิได้ปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล ตราบใดกรรมฐานยังมิได้ปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล ก็ไม่พึงสละบัญญัติก่อน. กาลใด กรรมฐานปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล กาลนั้น พึงสละบัญญัติ มนสิการซึ่งคำว่า ปฏิกูล ดังนี้. ก็ภิกษุ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 105
เมื่อกระทำ พึงมนสิการกรรมฐาน โดยความเป็นปฏิกูลโดยอาการ ๕ อย่าง โดย นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ เพราะว่าในตจปัญจกะ ย่อมได้ความเป็นปฏิกูลแม้ทั้ง ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ (ที่อาศัย) และโอกาส (ที่ตั้ง) นั่นแหละ. แม้ในกรรมฐานที่เหลือ ภิกษุได้ปฏิกูลใดๆ ก็พึงให้มนสิการเป็นไปด้วยอำนาจแห่งส่วนนั้นๆ. บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น โกฏฐาส ๕ มีผมเป็นต้น ถึงการนับว่า เป็นสุภนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นอิฏฐารมณ์ ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้ยังยินดีเหล่าใดเหล่าหนึ่ง สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมยินดีในโกฏฐาส ๕ เหล่านี้. แต่ว่า ภิกษุนี้ย่อมบรรลุอัปปนาในโกฏฐาสอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีของมหาชนว่า เป็นของปฏิกูลได้ จำเดิมแต่การบรรลุอัปปนาในโกฏฐาส ๕ เหล่านั้น ต่อจากโกฏฐาสนั้นไป เธอเป็นผู้ไม่ลำบากเลยที่จะบรรลุอัปปนาเทียว. ในข้อนั้น พึงทราบความอุปมา ดังนี้.
เปรียบเหมือน นายขมังธนูผู้ฉลาด ให้พระราชาโปรดปรานแล้ว ได้บ้านส่วยซึ่งมีรายได้แสนหนึ่ง ผูกสอดอาวุธ ๕ อย่าง ไปในบ้านนั้น ในระหว่างทางพบพวกโจร ๓๒ คน บรรดาโจรเหล่านั้น เขาพึงฆ่าหัวหน้าโจรทั้ง ๕ คน จำเดิมแต่โจรเหล่านั้นถูกฆ่าแล้ว ในโจรเหล่านั้น โจร ๒ คน ชื่อว่าเดินไปทางเดียวกันย่อมไม่มี ฉันใด อุปไมยนี้ พึงทราบฉันนั้น. กาลที่ภิกษุนี้ เรียนกรรมฐานในสำนักอาจารย์ ดำรงอยู่ เปรียบเหมือน กาลที่นายขมังธนู ให้พระราชาโปรดปรานแล้วได้บ้านส่วย. โกฏฐาส ๓๒ เปรียบ เหมือนโจร ๓๒ คน โกฏฐาส ๕ มีเกสาเป็นต้น เปรียบเหมือนหัวหน้าโจร ๕ คน. กาลที่ภิกษุนี้บรรลุอัปปนาในตจปัญจกะอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นของปฏิกูล ดังนี้ เปรียบเหมือน กาลที่หัวหน้าโจร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 106
ทั้ง ๕ ถูกฆ่าตายแล้ว. พึงทราบว่า การบรรลุอัปปนาของภิกษุผู้ไม่ลำบากอยู่ในโกฏฐาสที่เหลือนั่นแหละ เปรียบเหมือน กาลที่พวกโจรที่เหลือหนีไปโดยเพียงการปรบมือของนายขมังธนูเท่านั้น. ภิกษุผู้ก้าวล่วงบัญญัติอยู่อย่างนี้ พึงให้มนสิการเป็นไปโดยการปล่อยตามลำดับ คือ เมื่อมนสิการผมทั้งหลายซ้ำๆ อยู่นั่นแหละ ครั้นฝักใฝ่ในผมทั้งหลายแล้ว พึงส่งสติไปในขนทั้งหลาย ตราบใดขนยังมิได้ปรากฏ ก็พึงมนสิการว่า ผม ผม ไปก่อน แต่เมื่อใดขนทั้งหลายปรากฏอยู่ ในกาลนั้น พึงเว้นผมทั้งหลายแล้วให้สติเข้าไปตั้งไว้ในขนทั้งหลาย. ในโกฏฐาสทั้งหลาย แม้มีเล็บเป็นต้น ก็พึงให้มนสิการเป็นไปอย่างนี้. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาต่อไป.
เหมือนอย่างว่า ปลิงเมื่อจะไป ยังไม่ได้ที่พึ่งข้างหน้าก็ยังไม่ปล่อยที่ที่หางเกาะไว้ข้างหลัง แต่เมื่อใดได้ที่พึ่งข้างหน้า เวลานั้นก็จะยกหางขึ้นไปเกาะอยู่ในที่ใกล้ปากจับไว้ ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อมนสิการผมซ้ำๆ อยู่นั่นแหละ ฝักใฝ่ในผมแล้ว ก็พึงส่งสติไปในขน ตราบใดขนยังมิได้ปรากฏ ก็พึงมนสิการว่า ผม ผม ก่อน เวลาใดขนปรากฏ เวลานั้น พึงปล่อยผมแล้วจึงให้สติตั้งไว้ในขน. แม้ในเล็บเป็นต้น ก็พึงให้มนสิการเป็นไปอย่างนี้ อัปปนาย่อมเกิดโดยนัยอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พึงยังมนสิการโกศลตามที่กล่าวแล้วให้ถึงพร้อม. คืออย่างไร? คือว่า เมื่อมนสิการอัปปนากรรมฐานนี้อยู่ ก็ย่อมบรรลุอัปปนาได้ ครั้งแรก ทีเดียวอัปปนายังไม่ปรากฏก่อน จริงอยู่ จิตที่เคยเจริญกรรมฐานมาแล้วในสังสารวัฏฏ์อันหาที่สุดมิได้ ซึ่งเป็นไปในอารมณ์ต่างๆ มีอยู่ ครั้นเมื่อเธอรำพึงว่า ผม โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายดำเนินไปตั้งอยู่ที่มันสมอง และสักว่ารำพึงว่า มันสมอง โดยกระแสแห่งการสาธยายดำเนินไปตั้งอยู่ที่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 107
ผม ก็เมื่อมนสิการซ้ำๆ อยู่ โกฏฐาสนั้นๆ ย่อมปรากฏ สติก็ตั้งมั่น ดำรงอยู่เป็นไป. ด้วยเหตุนั้น โกฏฐาสใดๆ ปรากฏยิ่งกว่า พึงทำความเพียรในโกฎฐาสนั้นๆ โดยทวีคูณแล้วจะพึงบรรลุอัปปนา. จำเดิมแต่กาลที่บรรลุอัปปนาแล้วอย่างนี้ เธอย่อมบรรลุอัปปนาในโกฏฐาสที่เหลือได้โดยไม่ลำบากเลย. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาเหมือนลิงในป่าตาลแล.
อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบการประกอบความแม้อย่างนี้ว่า ลิงอาศัยอยู่ในป่าตาล ๓๒ ต้น. นายพรานต้องการจะจับลิงนั้น จึงยืนอยู่ใกล้ต้นตาล ฯลฯ ในที่สุดได้กระทำเสียงขับไล่. ลิงผู้มีมานชาติ (มีชาติแห่งสัตว์ มีมานะ คือการถือตัว) โลดไปสู่ตาลต้นนั้นๆ แล้วหยุดอยู่ทีตาลต้นสุดท้าย. นายพรานไปในที่แม้นั้นแล้วได้ทำเสียงขับไล่. ลิงจึงไปหยุดอยู่ที่ตาลต้นแรกนั้นนั่นแหละ. ลิงนั้นถูกนายพรานติดตามขับอยู่บ่อยๆ เหน็ดเหนื่อยอยู่ ก็หยุดอยู่ที่ตาลต้นนั้นๆ นั่นแหละ ในกาลที่นายพรานทำเสียงขับไล่ๆ มันจึงจะลุกขึ้นไป. เมื่อมันเหน็ดเหนื่อยมากก็จะยึดยอดใบตาลของต้นตาลต้นหนึ่งไว้แน่น แม้ถูกนายพรานยิงด้วยธนูจับมาก็ไม่หนีไป. ในข้อนั้น โกฏฐาส ๓๒ เปรียบ เหมือนตาล ๓๒ ต้น. จิต (ของพระโยคาวจร) เปรียบเหมือนลิง. พระโยคาวจร เปรียบเหมือนนายพราน. การที่พระโยคาวจรมีจิตเคยอบรมแล้วในสังสารวัฏฏ์อันหาที่สุดมิได้ และในอารมณ์ต่างๆ พอเธอรำพึงว่า ผม โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายไปตั้งอยู่ที่ มันสมอง เปรียบเหมือน กาลที่ลิงผู้มีมานชาติในขณะที่ถูกนายพรานยืนอยู่ใกล้ต้นตาลทำเสียงขับไล่จึงหนีไปหยุดอยู่ที่ตาลต้นสุดท้าย. การที่พระโยคาวจรเพียงรำพึงว่า มันสมอง โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายมาหยุดอยู่ที่ ผม เปรียบเหมือน กาลที่ลิงอยู่ที่ตาลต้นสุดท้าย เมื่อถูกนายพรานทำเสียงขับไล่ ก็กลับมาในที่สุด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 108
แห่งตาลข้างนี้. การที่พระโยคาวจรมนสิการซ้ำๆ อยู่ เมื่อโกฏฐาสนั้นๆ ปรากฏอยู่ สติก็จะตั้งมั่น ดำรงอยู่เป็นไป เปรียบเหมือน กาลที่ลิงนั้นถูกนาย พรานติดตามอยู่บ่อยๆ เหน็ดเหนื่อยอยู่ จึงลุกขึ้นไปในขณะที่ถูกนายพรานขับ ไล่ๆ. การที่โกฏฐาสใดปรากฏยิ่งกว่า (ชัดกว่า) แล้วจึงทำมนสิการในโกฏฐาส นั้นให้ทวีคูณไปจนบรรลุอัปปนา เปรียบเหมือน กาลที่ลิงแม้ถูกนายพรานยิงด้วยธนูจับตัวมาก็ไม่หนีไป ฉะนั้น. ในโกฏฐาสเหล่านั้น จำเดิมแต่บรรลุอัปปนาแล้ว จักบรรลุอัปปนาในโกฏฐาสที่เหลือได้โดยไม่ลำบากเลย. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรพึงรำพึงว่า ปฏิกูล ปฏิกูล บ่อยๆ พึงนำปฏิกูลมาตรึกบ่อยๆ เมื่อทำอยู่อย่างนี้ นามขันธ์ ๔ ย่อมมีอารมณ์ปฏิกูลก็จะบรรลุอัปปนาได้. คำทั้งปวงที่ว่า ปุพพภาคจิตทั้งหลายมีวิตก วิจาร กล่าวคือ บริกรรม และอุปจาระ เป็นต้น เช่นกับคำที่กล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. แต่ว่าเมื่อมนสิการโกฏฐาสหนึ่ง ปฐมฌานหนึ่งเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยเฉพาะแต่ละโกฏฐาส ปฐมฌาน ๓๒ ย่อมเกิดขึ้น.
คำว่า โส ตํ นิมิตฺตํ ได้แก่ ภิกษุนั้น ... ซึ่งนิมิตแห่งกรรมฐาน นั้น. คำว่า อาเสวติ คือ ย่อมเสพ ย่อมคบ. คำว่า ภาเวติ คือ ย่อม เจริญ. คำว่า พหุลีกโร คือ กระทำบ่อยๆ. คำว่า สฺวาวตฺถิตํ ววตฺถเปติ คือ กระทำกำหนดให้ดี. ข้อว่า พหิทฺธา กาเย จิตฺตํ อุปสํหรติ (แปลว่า ย่อมน้อมจิตไปในกายภายนอก) อธิบายว่า ครั้นกระทำอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อม คือย่อมให้จิตไป ย่อมส่งจิตของตนไปในกายของผู้อื่นอันเป็นไปภายนอก
คำว่า อตฺถิสฺส กาเย คือ มีอยู่ในกายของผู้นั้น. ข้อว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา กาเย จิตฺตํ อุปสํหรติ (แปลว่า ย่อมน้อมจิตไปในกายทั้งภายในและภายนอก) อธิบายว่า ย่อมน้อมจิตไปในกายของตนตามกาลสมควร น้อมจิตไปในกายของผู้อื่นตามกาลสมควร.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 109
คำว่า อตฺถิ กาเย (มีอยู่ในกาย) นี้ ท่านไม่ประสงค์เอากายของตนและกายของผู้อื่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ในกายนี้. ก็ในข้ออื่น เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมว่า ปฏิกูล ในสรีระอันมีอยู่ของตน อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำบริกรรมว่า ปฏิกูล ในสรีระอันมีอยู่ของผู้อื่น อัปปนาย่อมไม่เกิด อุปจาระก็ไม่เกิด. ถามว่า ก็ปฏิกูลแม้ทั้งสองย่อมเกิดในอสุภ ๑๐ มิใช่หรือ? ตอบว่า ใช่ เพราะอสุภ ๑๐ เหล่านั้นดำรงอยู่ในฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร ฉะนั้น อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี จึงเกิดขึ้นได้ในอสุภ ๑๐ เหล่านั้น ส่วนปฏิกูลในสรีระของผู้อื่นนี้ ตั้งอยู่ในฝ่ายอุปาทินนกสังขาร ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อัปปนาและอุปจาระแม้ทั้งสอง จึงไม่เกิดในที่นั้น. ก็วิปัสสนา กล่าวคือ การตามเห็นอสุภ พึงทราบว่าเป็นภาวนา. ถามว่า ในข้อนี้ ท่านเรียกว่าอะไร. ตอบว่า ท่านเรียก ว่า สมถวิปัสสนา. บัดนี้ พึงทราบปกิณณกะที่ทั่วไปแก่การมนสิการทั้งปวงในที่นี้ ต่อไป.
ว่าโดยนิมิตเป็นต้น
จริงอยู่ การวินิจฉัยผมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบ โดยนิมิต โดยลักษณะ โดยธาตุ โดยสุญญตะ และ โดยขันธ์ เป็นต้น.
ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า โดยนิมิต คือ พระโยคาวจรย่อมกำหนดอาการ ๓๒ โดยโกฏฐาส ด้วยอำนาจแห่งนิมิต ๑๖๐ มีอยู่ในอาการ ๓๒ คือ ผมมีนิมิต ๕ ได้แก่ วัณณนิมิต สัณฐานนิมิต ทิสานิมิต โอกาสนิมิต และปริเฉทนิมิต. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (๓๒ * ๕=๑๖๐).
ข้อว่า โดยลักษณะ คือ พระโยคาวจรย่อมมนสิการอาการ ๓๒ โดยลักษณะด้วยอำนาจแห่งลักษณะ ๑๒๘ ในอาการ ๓๒ คือ ผม มีลักษณะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 110
๔ ได้แก่ ถทฺธตฺตลกฺขณํ (มีความแข็งเป็นลักษณะ) อาพนฺธนลกฺขณํ (มีการเกาะกุมเป็นลักษณะ) อุณฺหตฺตลกฺขณํ (มีความร้อนเป็นลักษณะ) วิตฺถมฺภนลกฺขณํ (มีการขยายตัวเป็นลักษณะ) แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (๓๒ * ๔ = ๑๒๘).
ข้อว่า โดยธาตุ คือ พระโยคาวจรย่อมกำหนดอาการ ๓๒ โดยธาตุด้วยอำนาจแห่งธาตุ ๑๒๘ ในอาการ ๓๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้มีธาตุ ๔ ดังนี้ ผมมีธาตุ ๔ คือ ความแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ความเกาะกุมเป็นอาโปธาตุ ความร้อนเป็นเตโชธาตุ ความขยายตัวเป็นวาโยธาตุ. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (๓๒ * ๔ = ๑๒๘).
ข้อว่า โดยสุญญตะ คือ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นอาการ ๓๒ ด้วยอำนาจแห่งสุญญตะ ๙๖ ในอาการ ๓๒ คือ ผม มีสุญญตะ ๓ ก่อน คือ อตฺตสุญฺตา (ว่างจากตน) อตฺตนิยสุญฺตา (ว่างจากสิ่งที่เป็นของ ตน) นิจฺจภาวสุญฺตา (ว่างจากความเป็นของเที่ยง) เพราะอรรถว่า ผมทั้งหลาย ว่างจากตน หรือจากสิ่งที่เป็นของตน ... จากความแน่นอน ... จากความมั่นคง ... จากความเที่ยง ... จากธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (๓๒ * ๓ = ๙๖).
ข้อว่า โดยขันธ์เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ โดยนัยว่า เมื่อพระโยคาวจรกำหนดอาการ ๓๒ ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นอาทิ ในโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น คือว่า ผมทั้งหลายเป็นขันธ์เท่าไร เป็นอายตนะเท่าไร เป็นธาตุเท่าไร เป็นสัจจะเท่าไร และเป็นสติปัฏฐานเท่าไร เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกายานุปัสสนาโดยพิสดาร ๓ อย่าง โดยแยกเป็นกายภายในเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงปรารภคำว่า อนุปสฺสี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 111
เป็นต้น เพื่อจะแจกบทว่า กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน เป็นต้น ออกไป.
ในข้อนั้น เพื่อแสดงอนุปัสสนาที่ชื่อว่า กายานุปสฺสี นั้น จึงตรัสว่า "ในบทเหล่านั้น การพิจารณาเนืองๆ (อนุปัสสนา) เป็นไฉน ปัญญา ปชานนา (กิริยาที่รู้ชัด) " เป็นอาทิ แม้ในคำทั้งหลายมี อาตาปี เป็นต้นก็นัยนี้ นั่นแหละ. คำว่า ปัญญา ปชานนา พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งจิตตุปปาทกัณฑ์ แล.
คำทั้งปวงว่า อุเปโต (ผู้เข้าไปถึงแล้ว) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ กันและกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุเปโต ด้วยสามารถแห่งอาเสวนะ (การซ่องเสพ) ชื่อว่า สมุเปโต (เข้าไปถึงแล้วด้วยดี) เพราะเข้าถึงด้วยดี ด้วยสามารถแห่งภาวนา. แม้คำเป็นคู่ๆ กันว่า อุปาคโต (ผู้เข้ามาถึงแล้ว) สมุปาคโต (ผู้เข้ามาถึงแล้วด้วยดี) อุปปนฺโน (ผู้เข้าถึงแล้ว) สมฺปนฺโน (ผู้เข้าถึงแล้วด้วยดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ พึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้ว่า ก็ชื่อว่า ผู้ประกอบแล้ว เพราะสามารถกระทำให้มาก. แม้คำว่า ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้วด้วยความเพียรเป็นต้น ก็นัยนี้.
ในบทว่า วิหรติ (อยู่) พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อแสดงโดยเทศนาปุคคลาธิษฐาน จึงตรัสคำว่า อิริยติ (ประพฤติเป็นไปอยู่) เป็นต้น โดยไม่ทำคำถามว่า บรรดาคำเหล่านั้น วิหาร เป็นไฉน. เนื้อความแห่งคำนั้น ชื่อว่า อิริยติ เพราะความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งในอิริยาบถ ๔. ชื่อว่า วตฺตติ (เป็นไปอยู่) เพราะเป็นไปด้วยเกวียน คือ กาย ซึ่งเป็นไปด้วยอิริยาบถ ๔ เหล่านั้น. ชื่อว่า ปาเลติ (รักษาอยู่) เพราะกำจัดอิริยาบถหนึ่งอันเป็นทุกข์ด้วยอิริยาบถอื่นแล้วรักษาสรีระไว้โดยความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 112
เป็นผู้ดำรงอยู่ยั่งยืน. ชื่อว่า ยาเปติ (ให้เป็นไปอยู่) เพราะไม่ดำรงอยู่ในอิริยาบถเดียว คือเป็นไปด้วยอิริยาบถทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ยาเปติ เพราะยังกายนั้นๆ ให้เป็นไปด้วยอิริยาบถนั้นๆ. ชื่อว่า จรติ (เที่ยวไปอยู่) เพราะให้ร่างกายเป็นไปได้ตลอดกาลนาน. ชื่อว่า วิหรติ (อยู่) เพราะเปลี่ยนอิริยาบถด้วยอิริยาบถแล้วนำชีวิตไป.
ข้อว่า เสฺวว กายโย โลโก (กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก) ความว่า ภิกษุมีปรกติตามเห็น กายในกายใดอยู่ กายนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าเสื่อมสลายไป แต่เพราะอภิชฌาและโทมนัสอันบุคคลใดละได้ในกาย บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมละได้แม้ในเวทนาเป็นต้นนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปญฺจปิ อุปาทานกฺขนฺธา โลโก. (แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก)
พึงทราบวินิจฉัย แม้ในคำว่า สนฺตา เป็นต้น (อภิชฌาโทมนัสดังกล่าวนี้) ชื่อว่า สนฺตา (สงบ) เพราะความสงบแล้วด้วยสามารถแห่งนิโรธ. ชื่อว่า สมิตา (ระงับ) เพราะระงับแล้วด้วยภาวนา. ชื่อว่า วูปสนฺตา (เข้าไปสงบ) เพราะความสงบโดยความไม่มีต่อไปแห่งการกำหนดรู้ซึ่งวัตถุ. ชื่อว่า อัสดงคต (ดับไป) เพราะถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ กล่าวคือ นิโรธ. ชื่อว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ดับไปอย่างราบคาบ) เพราะถึงการดับอย่างยวดยิ่ง เหตุที่กำจัดความเกิดบ่อยๆ เสียได้. คำว่า อปฺปิตา คือ ถูกทำให้พินาศไป คือ ไม่ให้มีต่อไป. คำว่า พฺยปฺปิตา คือ ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี คือไม่มีเลย. ชื่อว่า โสสิตา (ถูกทำให้เหือดแห้ง) เพราะความให้เหือดแห้งแล้วอย่างนี้ คือ มิให้มีอาสวะเกิดขึ้นอีกในภายหลัง. ชื่อว่า วิโสสิตา (ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี) เพราะเหือดแห้งด้วยดี คือถูกทำให้แห้งแล้ว. ชื่อว่า พฺยนฺตีกตา (ถูกทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว จุดหมายปลายทางหมดแล้ว) เพราะทำให้ปราศจากไป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 113
อนึ่ง ในอธิการนี้ การบริหารกายของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน โดยการอยู่ด้วยกรรมฐาน พึงทราบด้วยอนุปัสสนา. สัมมัปปธาน พึงทราบด้วยอาตาปะ (ความเพียรเผากิเลส). อุบายเป็นเครื่องบริหารกรรมฐาน พึงทราบด้วยสติสัมปชัญญะ ผู้มีสมถะอันได้แล้ว พึงทราบด้วยสติหรือด้วยอำนาจแห่งกายานุปัสสนา. วิปัสสนา พึงทราบ ด้วยสัมปชัญญะ และพึงทราบว่า ผลแห่งภาวนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยการกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ฉะนี้แล.
อรรถกถากายานุปัสสนานิทเทส จบ
อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส
แม้ในเวทนานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วในหนหลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. ก็ในข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทยมาโน เป็นต้น คำว่า สุขํ เวทนํ อธิบายว่า เมื่อเสวยสุขเวทนาอันเป็นไปทางกายหรือทางจิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนี้เปรียบเหมือน ทารกทั้งหลายแม้ยังนอนหงายอยู่ในเวลาที่ดื่มน้ำนมเป็นต้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมรู้ว่า เราเสวยสุขเวทนา ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. ด้วยว่า ความรู้เช่นนั้นย่อมไม่ละสัตตูปลัทธิ (คือความเห็นว่าเป็นสัตว์) ย่อมไม่เพิกถอนสัตตสัญญา (คือความสำคัญว่าเป็นสัตว์) ทั้งมิใช่กรรมฐาน หรือมิใช่การเจริญสติปัฏฐาน. แต่ความรู้ของภิกษุนี้ ย่อมละสัตตูปลัทธิ ย่อมเพิกถอนสัตตสัญญา ทั้งเป็นกรรมฐานด้วย เป็นการเจริญสติปัฏฐานด้วย. เพราะว่า ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเสวย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 114
คือ ความรู้สึกอย่างนี้ว่า ใครเสวยเวทนา เวทนาของใคร เวทนามีอะไรเป็นเหตุ ดังนี้.
ในปัญหาเหล่านั้น ข้อว่า ใครเสวยเวทนา ความว่า ใครๆ คือ สัตว์หรือว่าบุคคลย่อมเสวยเวทนาหามิได้. ข้อว่า เวทนาของใคร ความว่า มิใช่เวทนาของใครๆ ไม่ว่าเป็นสัตว์หรือบุคคล. ข้อว่า เวทนามีอะไรเป็นเหตุ ความว่า ก็เวทนานั้นแลมีวัตถุเป็นอารมณ์. เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นทราบชัดอย่างนี้ว่า เวทนาเทียวอันเขาย่อมเสวย เพราะทำวัตถุแห่งสุขเป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์ แต่เพราะถือเอาความเป็นไปแห่งเวทนานั้น ก็ย่อมเป็นเพียงโวหารว่า เราเสวยเวทนา ดังนี้ ครั้นทำวัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้แล้ว เมื่อกำหนดว่า เราเสวยเวทนา ดังนี้ พึงทราบว่าเขาผู้นั้นย่อมทราบชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ ดังนี้. เหมือนพระเถระรูปใดรูปหนึ่งในจิตตลบรรพต.
ได้ยินว่า พระเถระในเวลาที่ท่านไม่สบาย นอนร้องครวญครางอยู่เพราะเวทนากล้า พลิกกลับไปมา ภิกษุหนุ่มองค์หนึ่งมาถามท่านว่า ท่านขอรับ ท่านเจ็บปวดตรงไหน. พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ ขึ้นชื่อว่า ที่เป็นที่เจ็บปวดอันเป็นส่วนตรงไหน ไม่มี เราเสวยเวทนา เพราะทำวัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้. ภิกษุหนุ่มจึงเรียนท่านว่า จำเดิมแต่กาลที่ท่านทราบอย่างนี้ การอดกลั้นไม่ควรหรือขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เราจะอดกลั้น. ภิกษุหนุ่ม จึงกล่าวว่า การอดกลั้นเป็นการดี. พระเถระอดกลั้นแล้ว ลมแผ่ไปจนถึงหัวใจ ได้ทำลำไส้ให้เป็นก้อนแก่ท่านบนเตียงนอน. พระเถระให้ภิกษุหนุ่มดู แล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ อดกลั้นขนาดนี้ ควรหรือยัง. ภิกษุหนุ่มได้เป็นผู้นิ่ง. พระเถระประกอบวิริยสมาธิแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นพระอรหันต์ผู้สมสีสี (ผู้มีที่สุดเสมอกัน คือการสิ้นชีวิตพร้อมกับการบรรลุพระอรหัต) ปรินิพพานแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 115
ก็ สุขเวทนาฉันใด ทุกขเวทนา ฯลฯ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ฉันนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกรรมฐานแล้ว เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐานอย่างนี้ จึงตรัสด้วยสามารถแห่งเวทนา.
จริงอยู่ กรรมฐานมี ๒ คือ รูปกรรมฐาน และ อรูปกรรมฐาน. กรรมฐานนั้นนั่นแหละตรัสว่า รูปปริคฺคโห (คือ การกําหนดรูป) บ้าง อรูปปริคฺคโห (คือ การกำหนดอรูป) บ้าง. ในกรรมฐาน ๒ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสรูปกรรมฐานจึงตรัสการกำหนดธาตุ ๔ ด้วยสามารถแห่งมนสิการโดยสังเขปบ้าง โดยพิสดารบ้าง. การมนสิการแม้ทั้ง ๒ นั้น ข้าพเจ้าก็แสดงไว้โดยอาการทั้งปวง ในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสอรูปกรรมฐาน ย่อมตรัสด้วยสามารถแห่งเวทนาโดยมาก.
อนึ่งความถือมั่นในอรูปกรรมฐาน มี ๓ อย่าง คือ ด้วยสามารถแห่งผัสสะ ๑ ด้วยสามารถแห่งเวทนา ๑ และด้วยสามารถแห่งจิต ๑ คือ อย่างไร? คือว่า ก็เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรูปกรรมฐานโดยสังเขป หรือโดยพิสดาร การที่จิตและเจตสิกตกไปในอารมณ์ครั้งแรกนั้น ผัสสะอันกระทบซึ่งอารมณ์นั้นก็เกิดขึ้นปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป. พระโยคาวจรทั้งหลายย่อมเสวยอารมณ์นั้น เวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป. วิญญาณอันเกิดขึ้นกำหนดรู้อารมณ์นั้นอยู่ ก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป.
ในความถือมั่น ๓ อย่างนั้น ผัสสะย่อมปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุนั้น ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นทีเดียวว่า มิใช่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้เวทนาอันเสวยอยู่ซึ่งอารมณ์นั่นแหละ ก็เกิดขึ้นพร้อมด้วย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 116
ผัสสะนั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น แม้วิญญาณอันรู้แจ้งซึ่งอารมณ์นั้น ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยผัสสะนั้น ดังนี้ เวทนาย่อมปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุนั้นก็ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นนั่นแหละว่า มิใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะอันกระทบอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละย่อมเกิดขึ้นกับเวทนานั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น แม้วิญญาณอันรู้แจ้งซึ่งอารมณ์นั้นก็ย่อมเกิดขึ้นกับเวทนานั้น ดังนี้. วิญญาณย่อมปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุนั้นก็ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นนั่นแหละว่า มิใช่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะอันกระทบอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละย่อมเกิดขึ้นกับวิญญาณนั้น แม้เวทนาอันเสวยอยู่ซึ่งอารมณ์นั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้นก็ย่อมเกิดขึ้นกับวิญญาณนั้น ดังนี้.
เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้ อาศัยอะไร ดังนี้ เธอย่อมทราบชัดว่า อาศัยวัตถุ ขึ้นชื่อว่า วัตถุ ก็คือ กรชกาย ท่านกล่าวหมายเอาวัตถุคือกรชกายในที่นี้ไว้ว่า ก็แล วิญาณของเรานี้ อาศัยในกรชกายนี้เกี่ยวเนื่องในกรชกายนี้ ดังนี้ เมื่อว่าโดยอรรถ กรชกายนั้นคือ มหาภูตรูปและอุปาทารูปทั้งหลาย. ในข้อนี้ พระโยคาวจร ย่อมเห็นนามรูปนั่นแหละอย่างนี้ว่า วัตถุเป็นรูปธรรม หมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นเป็นนามดังนี้. รูปในที่นี้ก็คือรูปขันธ์ นามก็คืออรูปขันธ์ ๔ เพราะฉะนั้น นามรูป จึงเป็น เพียงขันธ์ ๕ เพราะว่า ขันธ์ ๕ นอกจากนามรูป หรือว่า นามรูปนอกจากขันธ์ ๕ ย่อมไม่มี. ภิกษุนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุ ดังนี้ ย่อมเห็นว่า มีอวิชชาเป็นต้น เป็นเหตุ ในลำดับนั้น จึงยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ด้วยสามารถแห่งนามรูป พร้อมด้วยปัจจัยว่า นี้เป็นปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 117
นี้เป็นปัจจยุปบัน (คือ ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย) สัตว์หรือว่าบุคคลอื่นไม่มี มีแต่เพียงกองแห่งสังขารล้วนๆ เท่านั้น ดังนี้ พิจารณาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยลำดับแห่งวิปัสสนา เที่ยวไปอยู่. หวังอยู่ซึ่งการแทงตลอดว่า ในวันนี้ ในวันนี้ ดังนี้ ก็หรือว่า เธอได้อุตุสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ และธัมมัสสวนสัปปายะ ในวันเช่นนั้นแล้ว นั่งโดยบัลลังก์เดียวนั่นแหละ ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุดแล้วดำรงอยู่ในพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานแก่ชนแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น จนถึงพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.
ก็แล ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ก็ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเวทนา. จริงอยู่ อรูปกรรมฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ ด้วยสามารถแห่งผัสสะหรือด้วยสามารถแห่งวิญญาณย่อมไม่ปรากฏ คล้ายกับความมืด เพราะกรรมฐานนั้น ย่อมปรากฏด้วยสามารถแห่งเวทนา. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะว่า ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาทั้งหลายปรากฏอยู่ คือในกาลใด สุขเวทนาเกิดขึ้น ทำให้สรีระทั้งสิ้นกระเพื่อมอยู่ สั่นไหวอยู่ ซาบซ่านแผ่ไปอยู่ เป็นราวกะให้เคี้ยวกินเนยใสอันชำระแล้วตั้งร้อยครั้ง ราวกะให้ดับอยู่ซึ่งความเร่าร้อนด้วยน้ำตั้งพันหม้อ ย่อมให้เปล่งวาจาว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้. ในกาลใด ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ทำให้สรีระทั้งสิ้นกระเพื่อมอยู่ สั่นไหวอยู่ ซาบซ่านแผ่ไปอยู่ เป็นราวกะเข้าไปสู่กระเบื้องที่ร้อน ราวกะราดอยู่ด้วยน้ำทองแดงที่ละลายแล้ว ราวกะกำคบเพลิงไม้ที่ใส่เข้าไปในหญ้าและต้นไม้ใหญ่ที่แห้งในป่า ทำให้บ่นเพ้อรำพันอยู่ว่า ทุกข์จริง ทุกข์จริง ดังนี้. ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนา ย่อมปรากฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 118
ส่วนอทุกขมสุขเวทนาชี้แจงให้เห็นได้โดยยาก ไม่แจ่มแจ้งดังความมืด. แต่ย่อมปรากฏแก่ผู้เอาโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นอาการปานกลาง ด้วยสามารถแห่งการปฏิเสธความยินดีและยินร้าย เพราะความสุขและความทุกข์ปราศจากไป. เปรียบเหมือน นายพรานเนื้อ ตามรอยเท้าเนื้อตัวที่หนีขึ้นไปบนระหว่างแผ่นหิน ในเวลาอื่นพบรอยเท้าเนื้อที่ฝั่งนี้ของแผ่นหิน แม้ไม่เห็นรอยเท้าในท่ามกลาง ก็จะทราบได้โดยนัยว่า เนื้อนี้ขึ้นไปจากที่ตรงนี้ ลงมาจากที่ตรงโน้น ในท่ามกลาง มันจักไปบนแผ่นหินโดยประเทศตรงนี้ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะว่า ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาย่อมปรากฏ เป็นราวกะว่า รอยเท้าในที่เป็นที่ขึ้นไป ความเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา ย่อมปรากฏ เป็นราวกะว่า รอยเท้าในที่เป็นที่ก้าวลง อทุกขมสุขเวทนานี้ย่อมปรากฏ แก่ผู้ถือเอาโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนา เป็นอาการปานกลาง ด้วยสามารถแห่งการปฏิเสธความยินดีและยินร้าย ในเพราะการปราศจากสุขและทุกขเวทนา ราวกะการถือเอาโดยนัยว่า เนื้อที่ขึ้นไปบนแผ่นหินตรงนี้ ลงไปตรงโน้น ในท่ามกลางมันจะเดินไปตรงนี้ ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกรรมฐานก่อนแล้ว เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐานในภายหลังอย่างนี้ จึงทรงยักย้ายเปลี่ยนไปแสดงด้วยสามารถแห่งเวทนา ก็พระองค์ทรงแสดงอย่างนี้ ในสติปัฏฐานวิภังค์นี้อย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ ทรงแสดงรูปกรรมฐานก่อนแล้ว ทรงแสดงอรูปกรรมฐานยักย้ายไปด้วยสามารถแห่งเวทนาในภายหลัง ในสูตรทั้งหลายเป็นเอนก คือ ในทีฆนิกาย มีมหานิทานสูตร สักกปัญหสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย มีสติปัฏฐานสูตร จุลลตัณหาสังขยสูตร มหาตัณหาสังขยสูตร จุลลเวทัลลสูตร รัฏฐปาลสูตร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 119
มาคันทิยสูตร ธาตุวิภังค์ อาเนญชสัปปายสูตร ในสังยุตตนิกาย มีจุลลนิทานสูตร รุกโขปมสูตร ปริวิมังสนสูตร สกลเวทนาสังยุตตสูตรทั้งหลาย. ก็ในสติปัฏฐานวิภังค์แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานก่อน แล้วทรงยักย้ายแสดงอรูปกรรมฐาน ด้วยสามารถแห่งเวทนาในภายหลังเช่นในสูตรเหล่านั้นๆ แล.
ในคำว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา เป็นต้นนั้น พึงทราบปริยายแห่งการรู้อีกอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้. ข้อว่า ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา อธิบายว่า ภิกษุนั้นเสวยอยู่ซึ่งสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยอยู่ซึ่งสุขเวทนา เพราะความไม่มีทุกขเวทนาในขณะแห่งสุขเวทนา ด้วยเหตุนั้น ในข้อนั้น เขาผู้นั้นย่อมทราบในที่นี้ว่า เพราะทุกขเวทนาอันใดเคยมีมาก่อน บัดนี้ ทุกขเวทนาอันนั้นมิได้มี และเพราะไม่มีเวทนาอื่นจากสุขเวทนานี้ ขึ้นชื่อว่าเวทนา จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใดเสวยสุขเวทนา สมัยนั้นไม่เสวยทุกขเวทนา ไม่เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นย่อมเสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใดเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นไม่เสวยสุขเวทนา ไม่ เสวยทุกขเวทนา สมัยนั้นย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อนอัคคิเวสนะ แม้สุขเวทนาแล ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาแล ฯลฯ ดูก่อนอัคคิเวสนะ แม้อทุกขมสุขเวทนาแล ก็ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ มีความดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนอัคคิเวสนะ อริยสาวกสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาอันเป็นสุขบ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาอันเป็นทุกข์บ้าง ย่อม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 120
เบื่อหน่ายในเวทนาอันเป็นอทุกขมสุขบ้าง เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า เราหลุดพ้นแล้ว เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่พึงทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้. ในคำว่า สามิสํ วา สุขํ (หรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส) เป็นต้น พึงทราบว่า เคหสิตโสมนัสเวทนา ๖ ที่อาศัยอามิสคือกามคุณ ๕ ชื่อว่า สุขเวทนามีอามิส. เนกขัมมสิตโสมนัสเวทนา ๖ ชื่อว่า สุขเวทนาไม่มีอามิส. เคหสิตโทมนัสเวทนา ๖ ชื่อว่า ทุกขเวทนามีอามิส. เนกขัมมสิตโทมนัสเวทนา ๖ ชื่อว่า ทุกขเวทนาไม่มีอามิส. เคหสิตอุเบกขาเวทนา ๖ ชื่อว่า อทุกขสุขเวทนามีอามิส. เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา ๖ ชื่อว่า อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส. การจำแนกเวทนาเหล่านั้นมาแล้วในบาลีอุปริปัณณาสก์ แล.
คำว่า โส ตํ นิมิตฺตํ ได้แก่ ภิกษุนั้น ... ซึ่งนิมิตแห่งเวทนานั้น.
คำว่า พหิทฺธา เวทนาสุ (ในเวทนาภายนอก) คือ ในเวทนาทั้งหลายของบุคคลอื่น.
คำว่า สุขํ เวทนํ เวทยมานํ คือ รู้บุคคลอื่นกำลังเสวยสุขเวทนา.
คำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา (ทั้งภายในและภายนอก) คือ ย่อมน้อมจิตเข้าไปในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาลสมควร ของผู้อื่นตามกาลสมควร เพราะในวาระนี้ มิได้กำหนดตน มิได้กำหนดผู้อื่น ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงเพียงการกำหนดเวทนาเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ฯลฯ ข้อความที่เหลือในที่นี้ ง่ายทั้งนั้น. ในข้อนี้ ท่านกล่าววิปัสสนาไว้ล้วนๆ แล.
อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 121
อรรถกถาจิตตานุปัสสนานิทเทส
แม้ในจิตตานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นกับคำที่กล่าวแล้วในหนหลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในข้อว่า สราคํ วา จิตฺตํ เป็นต้น บทว่า สราคํ คือ จิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ อย่าง. บทว่า วีตราคํ คือจิตเป็นกุศลและอัพยากตะฝ่ายโลกีย์. แต่เพราะการพิจารณานี้ ไม่ใช่ธรรมสโมธาน ฉะนั้นจึงไม่ได้โลกุตตรจิตแม้สักบทเดียวในที่นี้. อกุศลจิตเหล่าใดเป็นไปกับด้วยราคะเป็นต้น อันพระโยคาวจรย่อมละได้ด้วยสามารถแห่งอรรถอันหนึ่งคือปหานะ อกุศลจิตเหล่านั้นท่านก็ไม่ถือเอา เพราะไม่ได้ในบททั้งสองนี้โดยตรง. อกุศลจิต ๔ ที่เหลือไม่เกี่ยวกับบทหน้าและบทหลัง.
บทว่า สโทสํ คือ จิตสหรคตด้วยโทมนัส ๒ อย่าง. บทว่า วีตโทสํ คือ จิตที่เป็นกุศลและอัพยากตะฝ่ายโลกีย์. อกุศลจิต ๑๐ ที่เหลือ ไม่เกี่ยวกับบทหน้าและบทหลัง.
บทว่า สโมหํ ได้แก่ จิต ๒ อย่าง คือ จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลจิตทั้งปวง ฉะนั้น อกุศลจิต แม้ที่เหลือย่อมเป็นไปในที่นี้ทั้งหมด เพราะว่า อกุศลจิต ๑๒ ท่านถือเอาแล้วในทุกะนี้เหมือนกัน. บทว่า วีตโมหํ คือ จิตที่เป็นกุศลและอัพยากตะฝ่ายโลกีย์.
บทว่า สํขิตฺตํ คือ จิตที่ตกไปในถีนมิทธะ (คือ ความซบเซา) จริงอยู่ จิตนั้น ชื่อว่า หดหู่แล้ว. บทว่า วิกฺขิตฺตํ คือ จิตที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ. จริงอยู่ จิตนั้น ชื่อว่า จิตซ่านไปแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 122
บทว่า มหคฺคตํ คือ รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต. บทว่า อมหคฺคตํ คือ กามาวจรจิต.
บทว่า สอุตฺตรํ คือ กามาวจรจิต. บทว่า อนุตฺตรํ คือ รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต. อีกอย่างหนึ่งในจิตทั้งสองนี้ สอุตตรจิต ได้แก่ รูปาวจรจิต และอนุตตรจิต ได้แก่ อรูปาวจรจิต นั่นแหละ.
บทว่า สมาหิตํ ได้แก่ จิตของผู้มีอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บทว่า อสมาหิตํ คือ จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสอง.
บทว่า วิมุตฺตํ คือ จิตที่หลุดพ้นแล้ว ด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ. บทว่า อวิมุตฺตํ คือ จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ไม่มีโอกาสในที่นี้.
ข้อว่า สราคมสฺส จิตฺตํ ได้แก่ จิตของเขาผู้นั้นมีราคะ. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ในข้อแม้นี้ ท่านก็กล่าววิปัสสนาล้วนๆ ฉะนี้แล.
อรรถกกถาจิตตานุปัสสนานิทเทส จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 123
อรรถกถาธัมมานุปัสสนานิทเทส
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการกำหนดรูปขันธ์ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกำหนดเวทนาขันธ์ด้วยเวทนานุปัสสนา และตรัสการกำหนดวิญญาณขันธ์ด้วยจิตตานุปัสสนานั่นแหละ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะตรัสการกำหนดสัญญาขันธ์แสะสังขารขันธ์ โดยถือเอาหัวข้อแห่งสัมปยุตตธรรม แสดงธัมมานุปัสสนา จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขุ (ก็ภิกษุ ... เป็นอย่างไร) เป็นอาทิ.
อรรถกถานีวรณปัพพะ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ คือ (เมื่อกามฉันทะภายในจิต) มีอยู่ ด้วยสามารถแห่งการปรากฏเนืองๆ. บทว่า อสนฺตํ คือ ไม่มีอยู่ ด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏ หรือว่าเพราะละได้แล้ว. คำว่า ยถา จ คือ กามฉันทะจะเกิดขึ้น ด้วยเหตุใด. คำว่า ตญฺจ ปชานาติ ได้แก่ ย่อมทราบชัดซึ่งเหตุนั้น. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยนัยนี้แล.
ในบทเหล่านั้น กามฉันทะเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิต. ขึ้นชื่อว่า สุภนิมิต แม้สิ่งที่งาม ก็เป็นสุภนิมิต แม้อารมณ์ในสิ่งที่งาม ก็เป็นสุภนิมิต. ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ คือ ไม่มนสิการในอุบาย (วิธีที่ควร) มนสิการผิดทาง คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง หรือในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข หรือในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม ดังนี้. เมื่อยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มากในธรรมทั้ง ๔ เหล่านั้น กามฉันทะย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 124
สุภนินิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อให้กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้งอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดังนี้.
อนึ่ง กามฉันทะนั้นละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต. ขึ้นชื่อว่า อสุภนิมิต แม้สิ่งที่ไม่งาม ก็เป็นอสุภนิมิต แม้อารมณ์ในสิ่งที่ไม่งาม ก็เป็นอสุภนิมิต. ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ คือ มนสิการในอุบาย มนสิการถูกทาง คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง หรือในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นทุกข์ หรือในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา ว่าเป็นอนัตตา หรือในสิ่งที่ไม่งาม ว่าไม่งาม ดังนี้. เมื่อยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มากในธรรม ๔ เหล่านั้นอยู่ ย่อมละกามฉันทะได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือ
๑. การเรียนอสุภนิมิต
๒. การประกอบเนืองๆ ในอสุภภาวนา
๓. ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
๔. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
๖. สัปปายกถา
จริงอยู่ เมื่อพระโยคาวจรเรียนเอาอสุภนิมิ ๑๐ อย่างก็ดี ย่อมละกามฉันทะได้ เมื่อเจริญอสุภะก็ดี เมื่อมีทวารอันเขาปิดแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายก็ดี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 125
เมื่อเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เพราะเมื่อโอกาสแห่งคำข้าว ๔- ๕ คำ มีอยู่ ก็ดื่มน้ำแทนแล้วให้ชีวิตเป็นไปโดยปกติก็ดี ย่อมละกามฉันทะได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
ไม่บริโภคอาหารอีก ๔ - ๕ คำ แล้วพึงดื่มน้ำแทนเป็นการเพียงพอเพื่ออยู่เป็นสุขของภิกษุผู้มีความเพียร.
แม้เมื่อเสพกัลยาณมิตรผู้ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระติสสเถระผู้เจริญอสุภกรรมฐาน ก็ย่อมละกามฉันทะได้. ย่อมละกามฉันทะได้ แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยอสุภะ ๑๐ ในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรมทั้ง ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละกามฉันทะ ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า กามฉันทะอันละแล้วด้วยธรรมทั้ง ๖ ประการเหล่านี้ ไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
ก็พยาบาทเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต. ในคำเหล่า นั้นแม้ปฏิฆะ ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต แม้อารมณ์ในปฏิฆะ ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต. อโยนิโสมนสิการมีลักษณะอย่างเดียวกันในที่ทั้งปวงนั่นแหละ. เมื่อยังมนสิการนิมิตนั้นให้เป็นไปมากในนิมิตนั้น พยาบาทย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อให้พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์มากขึ้น ดังนี้.
อนึ่ง พยาบาทนั้นละได้ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ ในคำเหล่านั้น อัปปนา ก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมควรในคำที่ท่านกล่าวว่า เมตตา. แต่คำว่า เจโตวิมุตติ ได้แก่ อัปปนาเท่านั้น. โยนิโสมนสิการ มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 126
นั่นแหละ. เมื่อยังมนสิการให้เป็นไปมากในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมละพยาบาทได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละพยาบาท คือ
๑. การเรียนเมตตานิมิต
๒. การประกอบเนืองๆ ในเมตตาภาวนา
๓. การพิจารณากัมมัสสกตา
๔. การกระทำการใคร่ครวญให้มาก
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
๖. สัปปายกถา
จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนเมตตา ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปสู่ทิศโดยเจาะจงและไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้. แม้เมื่อเจริญเมตตา ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปสู่ทิศเจาะจงและไม่เจาะจง ก็ย่อมละพยาบาทได้. แม้ เมื่อพิจารณากัมมัสสกตา ของตนและของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ท่านโกรธเขาแล้วจักทำอะไร จักอาจเพื่อยังคุณมีศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศไปได้หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน ท่านก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ มิใช่หรือ. ขึ้นชื่อว่า ความโกรธผู้อื่น ย่อมเป็นเช่นกับผู้ต้องการจับถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว จับซี่เหล็กอันร้อนและคูถเป็นต้นแล้วประหารผู้อื่น แม้ความโกรธของท่านนี้จักทำอะไร จักอาจเพื่อยังคุณมีศีลเป็นต้นของเราให้พินาศไปได้หรือ เรามาด้วยกรรมของตนแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 127
จักไปด้วยกรรมของตนเท่านั้น ความโกรธนี้จักตกไปเบื้องบนของเขาแน่นอน เหมือนกับของขวัญที่บุคคลไม่ยอมรับ และเหมือนกับกำธุลีซัดไปทวนลม ดังนี้ ก็ย่อมละความโกรธได้. เมื่อตั้งอยู่ในความใคร่ครวญพิจารณากัมมัสสกตาของตนและของคนอื่นอย่างนี้ครั้นใคร่ครวญพิจารณาแล้วซึ่งกัมมัสสกตาทั้งสองแล้วตั้งอยู่ในการใคร่ครวญพิจารณาก็ดี, เมื่อเสพกัลยาณมิตรผู้ยินดีในเมตตาภาวนา เช่นกับพระอัสสคุตตเถระก็ดี, ย่อมละพยาบาทได้. ย่อมละพยาบาทได้แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยซึ่งเมตตาในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละพยาบาทดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า พยาบาทอันละด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ไม่เกิดต่อไป ด้วยอนาคามิมรรค ดังนี้.
ความเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะในธรรมทั้งหลายมีอรติเป็นต้น ย่อมมีด้วยอโยนิโสมนสิการ. ความไม่พอใจ ชื่อว่า อรติ. ความเกียจคร้านทางกาย (หรือความเฉื่อยชาทางกาย) ชื่อว่า ตันที. ความบิดกาย (หรือความบิดขี้เกียจ) ชื่อว่า วิชัมภิตา. ความซบเซาเพราะภัต ความกระวนกระวายเพราะภัต (ความเมาภัต) ชื่อว่า ภัตตสัมมทะ. อาการหดหู่แห่งจิต ชื่อว่า เจตโส ลีนัตตัง. เมื่อให้อโยนิโสมนสิการเป็นไปให้มากในธรรมมีอรติเป็นต้นเหล่านี้ ถีนมิทธะย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อรติ (ความไม่พอใจ) ตันที (ความเกียจคร้านทางกาย) วิชัมภิตา (ความน้อมกายหรือบิดกาย) ภัตตสัมมทะ (ความเมาภัต) และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้นของถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 128
อนึ่ง การละถีนมิทธะ ย่อมมีด้วยโยนิโสมนสิการ ในอารัพภธาตุ เป็นต้น. ความเพียรที่เริ่มครั้งแรก ชื่อว่า อารัพภธาตุ. ความเพียรที่มีกำลังมากกว่าอารัพภธาตุนั้นเพราะขจัดความเกียจคร้านได้แล้ว ชื่อว่า นิกกมธาตุ. ความเพียรที่มีกำลังกว่าแม้นิกกมธาตุนั้น เพราะย่ำยีฐานะอื่นๆ ชื่อว่า ปรักกมธาตุ. เมื่อยังมนสิการในความเพียร ๓ ประเภทนี้เป็นไปให้มาก ย่อมละถีนมิทธะได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้น มิให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว " ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละถีนมิทธะคือ
๑. การถือเอานิมิตในอติโภชนะ (บริโภคมากเกินไป)
๒. การเปลี่ยนอิริยาบถ
๓. มนสิการในอาโลกสัญญา
๔. การอยู่กลางแจ้ง
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
๖. สัปปายกถา
จริงอยู่ เมื่อบริโภคอาหารอันควรแก่การนำมาซึ่งประโยชน์เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว นุ่งห่มผ้าสาฎกอันมีค่าน้อยนั่งอยู่ในทีพักอันเป็นเวลากลางคืนหรือกลางวัน กระทำสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะย่อมมาท่วมทับ เป็นราวกะ ว่าถูกช้างใหญ่ทับอยู่. ถือเอานิมิตในโภชนะอันเกินว่า " ก็โภชนะอันเกินนี้ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เว้นโอกาส (ช่องว่าง) แห่งคำข้าวอีก ๔ - ๕ คำ แล้วดื่มน้ำยังอัตภาพให้เป็นไปตามปกติ " ดังนี้ย่อมละถีนมิทธะได้. ถีน-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 129
มิทธะย่อมครอบงำในอิริยาบถใด เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอื่นจากนั้นก็ดี มนสิการแสงสว่างแห่งพระจันทร์ แสงสว่างแห่งประทีป แสงสว่างแห่งดวงไฟในเวลาราตรี และแสงสว่างแห่งอาทิตย์ในเวลากลางวันก็ดี เมื่ออยู่ที่กลางแจ้ง ก็ดี เมื่อเสพกัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะเช่นกับพระมหากัสสปเถระก็ดี ย่อมละถีนมิทธะได้. ย่อมละถีนมิทธะได้แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยซึ่งธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมทั้งหลาย ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละถีนมิทธะ ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า " ก็ถีนมิทธะอันละแล้วด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านั้นไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอรหัตตมรรค " ดังนี้.
อุทธัจจกุกกุจจะเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการ ในเพราะความไม่เข้าไปสงบแห่งจิต. อาการแห่งจิตอันไม่เข้าไปสงบ ชื่อว่า อวูปสมะ แต่เมื่อว่าโดยอรรถ คำว่าอวูปสมะนี้ก็คือ อุทธัจจกุกกุจจะนั่นแหละ. เมื่อยังอโยนิโสมนสิการ ในอุทธัจจกุกกุจจะนั้นให้เป็นไปมากอยู่ อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่เข้าไปสงบแห่งจิต มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อความไพบูลย์มากขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้.
อนึ่ง การละอุทธัจจกุกกุจจะย่อมมีด้วยโยนิโสมนสิการ ในเพราะความสงบแห่งจิต กล่าวคือ สมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเข้าไปสงบแห่งจิต มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อการละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้น แล้ว" ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 130
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละอุทธัจจกุกกุจจะ คือ
๑. ความเป็นพหูสูตร (การสดับตรับฟังมาก)
๒. ปริปุจฉกถา (การสอบถาม)
๓. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัย
๔. การคบบุคคลผู้เจริญ
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
๖. สัปปายกถา
จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนพุทธพจน์และอรรถ ๑ นิกาย หรือว่า ๒ - ๓ - ๔ - ๕ นิกาย แม้ด้วยการสดับมาก ก็ย่อมละอุทธัจกุกกุจจะได้. เมื่อเป็นผู้มากด้วยการสอบถามถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรก็ดี เมื่อเป็นผู้รู้ชำนาญในพระวินัยบัญญัติ เพราะความเป็นผู้ชำนาญอันตนประพฤติแล้วก็ดี เมื่อเข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่ผู้เจริญเช่นกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้ แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละอุทธัจจกุกกุจจะดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า " ก็อุทธัจจะอันละด้วยธรรม ๖ ประการ เหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอรหัตตมรรค และกุกกุจจะอันละได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอนาคามิมรรค " ดังนี้.
วิจิกิจฉาเกิดขึ้นเพราะอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย. วิจิกิจฉานั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย เพราะความเป็นเหตุแห่งความสงสัยบ่อยๆ. เมื่อให้อโยนิโสมนสิการในธรรมอันเป็น ที่ตั้งแห่งความสงสัยนั้นเป็นไปให้มาก วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 131
มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.
อนึ่ง วิจิกิจฉานั้นละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในกุศลธรรมเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและอกุศล อันเป็นโทษและไม่เป็นโทษ อันควรเสพและไม่ควรเสพ อันเลวและประณีต อันเปรียบด้วยมรรคดำและธรรมขาว มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อการละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละวิจิกิจฉา คือ
๑. ความเป็นพหูสูต
๒. ความเป็นผู้สอบถาม
๓. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัย
๔. ความเป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์
๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
๖. สัปปายกถา
จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนพุทธพจน์และอรรถ ๑ นิกาย หรือว่า ๒ - ๓ - ๔ - ๕ นิกาย แม้ด้วยความเป็นผู้สดับฟังมาก ก็ย่อมละวิจิกิจฉาได้. เมื่อปรารภพระรัตนตรัยมากด้วยการสอบถามก็ดี เป็นผู้ชำนาญในการประพฤติวินัยก็ดี เมื่อมากด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยก็ดี เมื่อเสพกัลยาณมิตร เช่น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 132
กับพระเถระชื่อว่าวักกลิ ผู้น้อมไปด้วยศรัทธาก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้. และย่อมละวิจิกิจฉาได้แม้ด้วยสัปปายกถา อันอาศัยคุณของพระรัตนตรัยในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละวิจิกิจฉา ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ก็วิจิกิจฉาอันละได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยโสดาปัตติมรรคดังนี้.
อรรถกถานีวรณปัพพะ จบ
อรรถกถาโพชฌังคปัพพะ
สติสัมโพชฌงค์
ในโพชฌังคปัพพะ คำว่า "สนฺตํ" ได้แก่ มีอยู่ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ. คำว่า "อสนฺตํ" ได้แก่ ไม่มีด้วยสามารถแห่งการไม่ได้. ก็ในคำว่า "ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส" เป็นต้น พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ก่อน อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์. โยนิโสมนสิการมีลักษณะตามที่กล่าวแล้วนั่นแหล่ะ. เมื่อ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 133
ยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มาก ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์นั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ คือ
๑. สติสัมปชัญญะ
๒. ความเว้นจากบุคคลผู้หลงลืมสติ
๓. การเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
๔. ความเป็นผู้น้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น
จริงอยู่ สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะในฐานะทั้ง ๗ มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ด้วยการเว้นบุคคลผู้หลงลืมสติเช่นกับในเรื่องพนักงานคลังแห่งภัต ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเช่นกับด้วยพระติสสทัตตเถระและพระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไปเพื่อให้สติเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ อย่างนี้ย่อมบริบูรณ์ด้วย อรหัตตมรรค ดังนี้.
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ อันเปรียบด้วยธรรมดำและธรรมขาวมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 134
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ
๑. การสอบถาม
๒. การทำวัตถุให้สะอาด
๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
๔. การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม
๕. การเสพบุคคลผู้มีปัญญาดี
๖. การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง
๗. การน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น
บรรดาธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การสอบถาม ได้แก่ ความเป็นผู้มากด้วยการสอบถามอันอาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์แห่งมรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา.
ข้อว่า การทำวัตถุให้สะอาด ได้แก่ การทำวัตถุทั้งภายในและภายนอกให้สะอาด. เพราะว่าเมื่อใด ผม เล็บ ขนทั้งหลายของเธอยาว หรือว่าร่างกายของเธอมีโทษมาก เปื้อนด้วยเหงื่อไคล เมื่อนั้นชื่อว่าวัตถุภายในไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์. ก็เมื่อใด จีวรของเธอเก่าคร่ำคร่ามีกลิ่นเหม็น หรือว่าเสนาสนะสกปรกรกรุงรัง เมื่อนั้นชื่อว่าวัตถุภายนอกไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์. ฉะนั้น เธอพึงทำวัตถุภายในให้สะอาด โดยการโกนผมเป็นต้นด้วย โดยการทำสรีระให้เบาด้วยการชำระเบื้องบน (สระศีรษะ) ชำระเบื้องต่ำ (การถ่ายท้อง) เป็นต้นด้วย โดยการอาบน้ำลูบไล้ร่างกายด้วย. พึงทำวัตถุภายนอกมีการเย็บ การซัก การย้อม และของใช้เป็นต้นให้สะอาด เพราะว่าเมื่อวัตถุภายในและภายนอกอย่างหนึ่งไม่สะอาด แม้ญาณอันดีในจิตและ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 135
เจตสิกอันดี ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่บริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแสงสว่างของเปลวประทีปอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยไส้และน้ำมันแห่งโคมประทีป ฉะนั้น. แต่เมื่อวัตถุภายในและภายนอกสะอาด ญาณอันดีในจิตเจตสิกอันดี ก็แจ่มแจ้งบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเปลวประทีปอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยไส้และน้ำมันแห่งประทีปฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การทำวัตถุให้สะอาด ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้.
การทำอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่า การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน. ก็ถ้าว่า สัทธินทรีย์ของเธอกล้า อินทรีย์นอกนี้อ่อนไซร้ ทีนั้น วิริยินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ เพียรประคอง (ปคฺคหกิจฺจํ) , สตินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ การตั้งมั่น (อุปฏฺฐานกิจฺจํ) , สมาธินทรีย์ ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ การไม่ฟุ้งซ่าน (อวิกฺเขปนกิจฺจํ) , ปัญญินทรีย์ ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ การเห็น (ทสฺสนกิจฺจํ) , เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์มีกำลังกล้า ก็พึงให้ลดลงด้วยการพิจารณาสภาวธรรม หรือว่าเมื่อมนสิการโดยประการใดสัทธินทรีย์มีกำลัง ก็พึงให้ลดลงโดยไม่มนสิการ โดยประการนั้น. ในข้อนี้มีเรื่องของพระวักกลิเถระเป็นอุทาหรณ์. ก็ถ้าว่า วิริยินทรีย์มีกำลังไซร้ ทีนั้น สัทธินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ น้อมใจเชื่อ (อธิโมกฺขกิจฺจํ) อินทรีย์นอกนั้นก็ไม่อาจทำหน้าที่อันต่างด้วยหน้าที่นอกนี้ (คือไม่ทำ หน้าที่ของตนๆ) เพราะฉะนั้น พึงให้วิริยินทรีย์นั้นลดลง โดยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น. แม้ในข้อนี้ ก็พึงแสดงเรื่องของพระโสณเถระเป็นนิทัสสนะ. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือ ก็ฉันนั้น คือ เมื่ออินทรีย์หนึ่งมีกำลัง ก็พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้ ไม่สามารถในหน้าที่ควรทำของตน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 136
ก็ว่าโดยพิเศษในที่นี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความเสมอกันแห่งศรัทธากับปัญญา และแห่งสมาธิกับวิริยะ เพราะว่า บุคคลมีศรัทธากล้าแต่ปัญญาอ่อน ย่อมเป็นผู้เลื่อมใสอันเปล่า คือ ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่มิใช่วัตถุ (วัตถุคือพระรัตนตรัย). บุคคลมีปัญญากล้าแต่ศรัทธาอ่อน ย่อมซ่องเสพพวกคนคดโกง ย่อมเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ เป็นราวกะว่าโรคที่กล้าอันเกิดแต่ยารักษาไม่ได้ฉะนั้น คือมีสักว่าจิตตุปบาทนั่นแหละแล่นไปว่าเป็นกุศล แต่ไม่ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. แต่เพราะความที่อินทรีย์ทั้งสองเสมอกัน เขาจึงเลื่อมใสในวัตถุ (คือพระรัตนตรัย) ทีเดียว. อนึ่ง โกสัชชะย่อมครอบงำบุคคลผู้มีสมาธิกล้ามีวิริยะอ่อน เพราะความที่สมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่ง โกสัชชะ. อุทธัจจะย่อมครอบงำบุคคลผู้มีวิริยะกล้ามีสมาธิอ่อน เพราะความที่วิริยะเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ. แต่สมาธิอันวิริยะประกอบดีแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่ออันตกไปในโกสัชชะ. วิริยะอันสมาธิประกอบดีแล้ว ก็ย่อมไม่ได้เพื่ออันตกไปในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรพึงทำอินทรีย์แม้ทั้งสองนั้นให้เสมอกัน ด้วยว่าอัปปนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งสอง.
อีกอย่างหนึ่ง ศรัทธาแม้มีกำลัง ก็ย่อมควรสำหรับสมาธิกัมมิกบุคคล (ผู้บำเพ็ญสมาธิ) คือ เมื่อบุคคลนั้นเชื่อมั่นอยู่อย่างนั้นจักบรรลุอัปปนาได้. แต่ในสมาธิและปัญญา เอกัคคตามีกำลังจึงควรแก่สมาธิกัมมิกบุคคล เพราะเขา จักบรรลุอัปปนาได้ด้วยอาการอย่างนั้น. ก็สำหรับวิปัสสนากัมมิกบุคคล (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา) ปัญญามีกำลังจึงควร เพราะเขาจะถึงการแทงตลอดลักษณะได้ด้วยอาการอย่างนั้น. แต่เพราะสมาธิและปัญญาทั้งสองเสมอกัน อัปปนาจึงมีได้โดยแท้. ส่วนสติมีกำลังในที่ทั้งปวงจึงควร เพราะว่าสติย่อมรักษาจิตมิให้ตกไปสู่อุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งศรัทธา วิริยะ และปัญญาเป็นฝักฝ่ายแห่ง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 137
อุทธัจจะ และรักษาจิตมิให้ตกไปสู่โกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ. เพราะฉะนั้น สตินั้นพระโยคาวจรพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนการปรุงรสด้วยเกลือในกับข้าวทั้งปวง และเหมือนอำมาตย์ผู้ทำงานทั้งปวงใน ราชกิจทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สติแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นคุณธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. เพราะเหตุไร เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่ง และมีสติเป็นเครื่องบำรุงรักษา เว้นจากสติแล้วการยกและการข่มจิตก็หามีไม่แล.
การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีปัญญาไม่ดี คือไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภทแห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม. การคบบุคคลผู้ประกอบด้วยอุทยัพพยปัญญาอันกำหนดเอาซึ่งลักษณะแห่งปัญญาดี ชื่อว่า การเสพบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งธรรมอันลึกซึ้งเป็นไปในขันธ์ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ชื่อว่า การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง. ความเป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย ชื่อว่า ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 138
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ คือ
๑. การพิจารณาภัยในอบาย
๒. ความเป็นผู้เห็นอานิสงส์ของความเพียร
๓. การพิจารณาวิถีเป็นที่ดำเนินไป
๔. การประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาต
๕. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความเป็นทายาท
๖. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งพระศาสดา
๗. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งชาติ
๘. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งสพรหมจารี
๙. การเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
๑๐. การเสวนากับบุคคลผู้มีความเพียรอันเริ่มแล้ว
๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยะนั้น
ในข้อเหล่านั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งภัยในอบายอย่างนี้ว่า "ในคราวที่เสวยทุกข์ใหญ่จำเดิมแต่กรรมกรณ์ด้วยเครื่องจองจำ ๕ อย่างในนรกทั้งหลายก็ตาม ในคราวที่ถูกจับด้วยแหเครื่องซัดไปและไซเป็นต้น ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานก็ตาม ในคราวที่เป็นสัตว์นำเกวียนไปถูกเขาทิ่มแทงด้วยเครื่องประหารมีปฏักและหนามแหลมเป็นต้นก็ตาม ในคราวที่เป็นผู้อาดูรด้วยความหิวระหายตลอดพันปีเป็นอเนกบ้าง ตลอดพุทธันดรหนึ่งบ้างก็ตาม ในคราวที่เสวยทุกข์มีลมแดดเป็นต้น ด้วยอัตภาพมีเพียงกระดูกและหนัง มีอัตภาพสูงใหญ่ประมาณ ๑๐ ศอก ๘๐ ศอก ในพวกอสูรชื่อกาฬกัญชิกาก็ตาม ไม่อาจเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์เกิดได้ ดูก่อนภิกษุ กาลนี้นั่นแหละเป็นกาลสมควรของเธอเพื่อกระทำความเพียร" ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 139
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า "ผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้โลกุตรธรรม ๙ ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วเท่านั้นอาจเพื่อได้ นี้เป็นอานิสงส์ของความเพียร" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาวิถีแห่งการดำเนินไปอย่างนี้ ว่า "พระโยคาวจรนั้นพึงดำเนินไปตามทางที่พระสัมพุทธะ พระปัจเจกพุทธะ และพระมหาสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้าดำเนินไปแล้วนั่นแหละ เพราะทางนี้ผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อดำเนินไปได้" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาตอย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใดย่อมบำรุงท่านด้วยบิณฑบาตเป็นต้น มนุษย์เหล่านั้น มิใช่ญาติมิใช่ทาสกรรมกรของท่าน ทั้งมิได้ให้บิณฑบาตเป็นต้น อันประณีตแก่ท่านด้วยการคิดว่า พวกเราอาศัยท่านเป็นอยู่ ดังนี้ ที่แท้เขาหวังซึ่งผลอันใหญ่แห่งการกระทำของตนอยู่จึงให้ แม้พระศาสดาก็ไม่ทรงอนุญาตปัจจัยทั้งหลายแก่ท่าน เพราะพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้ แล้วจักเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นสุข ดังนี้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตปัจจัยทั้งหลายแก่ท่าน ด้วยทรงประสงค์ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้แล้วกระทำสมณธรรม แล้วจักพ้นจากวัฏฏทุกข์ ดังนี้ บัดนี้ ท่านนั้นเกียจคร้านอยู่ ไม่ประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาตนั้น เพราะภิกษุผู้มีความเพียรอันเริ่มแล้วเท่านั้น ชื่อว่า มีการประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาต" ดังนี้. ในข้อนี้มีเรื่องพระเถระชื่อว่ามหามิตตะเป็นนิทัสสนะ.
ได้ยินว่า พระเถระอาศัยอยู่ในถ้ำ (ที่กำบัง) ของชาวนา ก็ในบ้านเป็นที่โคจรของท่าน อุบาสิกาคนหนึ่งปฏิบัติบำรุงพระเถระเสมือนบุตร วันหนึ่งอุบาสิกานั้นเมื่อจะไปป่า จึงสั่งธิดาว่า " ลูกแม่ ข้าวสารเก่าอยู่ในที่โน้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 140
น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย อยู่ที่ตรงโน้น เจ้าจงหุงภัตพร้อมด้วยน้ำนมเนยใส และน้ำอ้อยถวายในเวลาที่พระผู้เป็นเจ้ามิตตะพี่ชายของเจ้ามา แล้วเจ้าจงบริโภค " ดังนี้. ธิดากล่าวว่า " ก็แม่เล่า จะบริโภคอะไร. " อุบาสิกากล่าวว่า " เมื่อวานนี้ ปาริวาสิกภัต (ข้าวที่หุงสำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาส) เหลืออยู่ แม่จะบริโภคภัตนั้นกับน้ำผักดอง." ธิดากล่าวว่า "กลางวันแม่จะบริโภคอะไร." มารดากล่าวว่า " เจ้าจงเอาใบผักใส่เข้าไปแล้วหุงข้าวต้มมีรสเปรี้ยวด้วยข้าวปลายเกรียน (ข้าวสารแหลกๆ) แล้วตั้งไว้เถิดแม่" ดังนี้. พระเถระห่มจีวร นำบาตรออกมา ได้ยินเสียงนั้น จึงโอวาทตนเองว่า "ได้ยินว่า มหาอุบาสิกา จะกินปาริวาสิกภัตด้วยน้ำผักดอง แม้กลางวันก็จะกินข้าวต้มรสเปรี้ยวด้วยใบผัก แต่ว่าอุบาสิกาบอกข้าวสารเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่าน ก็มหาอุบาสิกานั้นแล มิได้หวังนา สวน ข้าวและวัตถุ เพราะอาศัยท่านเลย แต่เขาปรารถนาอยู่ซึ่งสมบัติ ๓ (คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) จึงให้ ท่านจักอาจเพื่อให้สมบัติเหล่านั้นแก่เขาหรือไม่ ก็แลบิณฑบาตนี้ ท่านยังมีราคะ โทสะ โมหะ ไม่ควรจะกิน" ครั้นโอวาทตนแล้ว ก็เก็บถุงบาตรปลดลูกดุม (ที่จีวร) กลับเข้าไปสู่ถ้ำชาวนานนั้นแหละ แล้ววางบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่ราวจีวรแล้วนั่งอธิษฐานความเพียรว่า "เรายังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว จักไม่ออกไป" ดังนี้เป็นผู้ไม่ประมาทตลอดกาลนาน เป็นภิกษุผู้มั่นคงแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในเวลาก่อนภัตทีเดียว เป็นพระขีณาสพผู้เบิกบานนั่งอยู่ราวกะดอกปทุมแย้มบานอยู่ฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ใกล้ประตูถ้ำชาวนา เปล่งอุทานว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 141
ข้าแต่บุรุษผู้อาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าแต่บุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใดหมดอาสวะแล้ว ผู้นั้นเป็นทักขิเณยยบุคคล ดังนี้.
แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาแก่พระอรหันต์ผู้เช่นกับท่าน ผู้เข้าไปเพื่อบิณฑบาตจักพ้นจากทุกข์ ดังนี้. พระเถระลุกขึ้นแล้วเปิดประตูออกไปตรวจดูเวลา ทราบว่ายังเช้าอยู่ จึงถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้าน. แม้ทาริกาเตรียมอาหารเสร็จแล้ว ก็เปิดประตูนั่งแลดูอยู่ด้วยคิดว่า "บัดนี้ พี่ชายของเราจักมา". เมื่อพระเถระมาถึงประตูบ้าน ทาริกานั้นจึงรับบาตรแล้วทำให้เต็มด้วยข้าวเจือด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย แล้วจึงวางไว้บนมือของพระเถระ พระเถระกระทำอนุโมทนาว่า "จงเป็นสุขเถิด" แล้วหลีกไป แม้ทาริกานั้น ก็ยืนแลดูพระเถระอยู่ ในเวลานั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์งามยิ่งนัก อินทรีย์ทั้งหลายผุดผ่องไพโรจน์ยิ่ง เป็นราวกะว่าผลตาลสุกที่หลุดจากขั้ว ฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่า จึงถามธิดาว่า "ลูกแม่ พี่ชายของเจ้ามาแล้วหรือ" ธิดานั้นได้บอกความเป็นไปทั้งปวงนั้น มหาอุบาสิกาทราบว่า วันนี้กิจแห่งบรรพชิตแห่งบุตรของเราถึงที่สุดแล้ว จึงกล่าวว่า "ลูกแม่ พี่ชายของเจ้าจะไม่เดือดร้อนในพระพุทธศาสนา" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความเป็นทายาท (คือผู้รับมรดก) ว่า ชื่อว่า มรดกของพระศาสดา คืออริยทรัพย์นั้นยิ่งใหญ่แล มรดกนั้นอันผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้ เหมือนอย่างว่า บิดามารดาทำบุตรผู้ปฏิบัติผิดให้มีในภายนอกว่า "ผู้นี้มิใช่บุตรของเรา" บุตรนั้นย่อมไม่ได้มรดกโดยกาลอันล่วงไปแห่งบิดามารดา ฉันใด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 142
แม้ผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก คือ อริยทรัพย์นี้ ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วนั่นแหละ จึงจะได้" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่ของพระศาสดาอย่างนี้ "ก็พระศาสดาของท่านยิ่งใหญ่ยิ่งนัก แม้หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว ในเวลาที่พระศาสดาของท่านทรงถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา แม้ในเวลาออกทรงผนวช แม้ในเวลาตรัสรู้ ในเวลาทรงแสดงธรรมจักร ในเวลาทำยมกปาฏิหาริย์ ในการเสด็จลงจากเทวโลก ในการปลงพระชนนายุสังขาร แม้ในการปรินิพพานเล่า หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว การที่ท่านบวชในพระศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้แล้วเป็นผู้เกียจคร้าน ควรแล้วหรือ ดังนี้.
วิริยสัมโพฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งชาติอย่างนี้ ว่า "แม้ว่าโดยชาติ บัดนี้ท่านไม่เป็นผู้มีชาติลามก คือประสูติในราชวงศ์ของพระเจ้าโอกากราชซึ่งเป็นมาโดยมหาสมมตวงศ์ อันไม่แตกแยกกัน (ตัวท่านก็นับว่า) เป็นราชนัดดาของพระเจ้าสิริสุทโธทนมหาราช และพระมหามายาเทวี เป็นน้องของพระราหุลผู้เจริญ การที่ท่านเป็นราชบุตรเห็นปานนั้นแล้ว เป็นผู้เกียจคร้านอยู่ สมควรแล้วหรือ" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งสพรหมจารี (เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์) อย่างนี้ว่า "พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย แทงตลอดโลกุตตรธรรมได้ด้วย ความเพียรเท่านั้น ตัวท่านจะดำเนินไปตามทางของสพรหมจารีเหล่านั้นหรือไม่" ดังนี้.
เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน คือสละความเพียรทางกายและทางใจ เช่นกับงูเหลือมกินแล้วก็นอนก็ดี เมื่อเสพบุคคลผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีตน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 143
ส่งไปแล้วก็ดี มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้วิริยะเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนการนั่งเป็นต้นก็ดี วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธอย่อมเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
ปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้.
ในข้อนั้น ปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจเพื่อให้ปีตินั้นเกิดขึ้น ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์ คือ
๑. พุทธานุสสติ
๒. ธัมมานุสสติ
๓. สังฆานุสสติ
๔. ลีลานุสสติ
๕. จาคานุสสติ
๖. เทวตานุสสติ
๗. อุปสมานุสสติ
๘. การเว้นบุคคลผู้ (มีจิต) เศร้าหมอง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 144
๙. การคบบุคคลผู้ (มีจิต) ผ่องแผ้ว
๑๐. การพิจารณาพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
๑๑. การน้อมจิตไปในปีตินั้น
จริงอยู่ แม้เมื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ปีติสัมโพชฌงค์ก็จะเกิดแผ่ไปตลอดสรีระทั้งสิ้นจนถึงอุปจารสมาธิ. แม้เมื่อระลึกถึงคุณของพระธรรมและพระสงฆ์ก็เหมือนกัน. เมื่อบรรพชิตพิจารณาจตุปาริสุทธิศีล ซึ่งรักษาไว้ไม่ให้ด่างพร้อยสิ้นกาลนานก็ดี เมื่อคฤหัสถ์พิจารณาศีล ๕ ศีล ๑๐ ก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น เมื่อบรรพชิตพิจารณาถึงจาคะว่า เราได้ให้โภชนะอันประณีตแก่เพื่อนพรหมจรรย์ก็ดี แม้คฤหัสถ์เมื่อพิจารณาถึงทานอันถวายแล้วแก่ท่านผู้มีศีลในกาลเห็นปานนั้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. เทวดาประกอบด้วยคุณเหล่าใดย่อมถึงความเป็นเทวดา แม้เมื่อพิจารณาซึ่งความที่คุณทั้งหลายเห็นปานนั้นมีอยู่ในตน ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิดขึ้น. เมื่อกิเลสอันข่มไว้ด้วยสมาบัติมีอยู่ แม้เมื่อพิจารณาว่า กิเลสทั้งหลายไม่เกิดขึ้นตลอด ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง ดังนี้ ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อเว้นบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมอง คือมีความเศร้าหมองอันสะสมไว้แล้ว โดยไม่กระ ทำความเคารพในการดูพระเจดีย์ ดูต้นโพธิ์และดูพระเถระ เพราะไม่มีความเลื่อมใสเสน่หาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น เช่นกับธุลีบนหลังลาก็ดี เมื่อเสพบุคคลผู้ผ่องแผ้ว มีจิตอ่อนมากไปด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิดขึ้นได้. เมื่อพิจารณาพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส อันแสดงถึงคุณของพระรัตนตรัย ก็ดี เมื่อมีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไปเพื่อให้ปีติเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิดขึ้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 145
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนาสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปัสสัทชิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ
๑. การเสพโภชนะอันประณีต
๒. การเสพอุตุอันสบาย
๓. การเสพอิริยาบถอันสบาย
๔. การประกอบความเพียรปานกลาง
๕. การเว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่าย
๖. การเสพบุคคลผู้มีจิตอันสงบ
๗. ความน้อมจิตไปในปัสสัทธินั้น
จริงอยู่ เมื่อบริโภคโภชนะอันเป็นสัปปายะอันประณีต อันเป็นที่ชอบใจก็ดี เสพอุตุอันเป็นสัปปายะในฤดูทั้งหลายอันหนาวและร้อน และเสพอิริยาบถอันเป็นสัปปายะในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. แต่ว่า บุคคลใดผู้เป็นชาติแห่งมหาบุรุษ ย่อมเป็นผู้อดทนในอุตุและอิริยาบถทั้งปวงเทียว ท่านมิได้กล่าวหมายเอาบุคคลผู้เป็นมหาบุรุษชาตินั้น. ความที่บุคคลใดเป็นผู้มีสภาคะและวิสภาคะมีอยู่ เมื่อบุคคลนั้นนั่นแหละเว้นอุตุและอิริยาบถอันเป็นวิสภาคะ แล้วเสพอยู่ซึ่งสภาคะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 146
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. การพิจารณากัมมัสสกตาทั้งของตนเองและของผู้อื่น ท่านเรียกว่า การประกอบความเพียรปานกลาง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดด้วยความเพียรอันปานกลางนั้น. บุคคลใดเบียดเบียนผู้อื่นด้วยท่อนไม้เป็นต้นเที่ยวไป แม้เว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่ายเห็นปานนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็เกิดขึ้น. แม้เสพบุคคลผู้มีกายอันสงบแล้ว ผู้มีมือและเท้าอันสำรวมแล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้ปัสสัทธิเกิดในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
สมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ในข้อนั้น สมถะนั่นแหละ ชื่อว่าสมถนิมิต และชื่อว่า อัพยัคคนิมิต เพราะอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ
๑. การทำวัตถุให้สะอาด
๒. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
๓. ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต
๔. ความยกจิตในสมัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 147
๕. ความข่มจิตในสมัย
๖. ความให้จิตร่าเริงในสมัย
๗. ความวางจิตเฉยในสมัย
๘. ความเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
๙. การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
๑๐. การพิจารณาฌานวิโมกข์
๑๑. ความน้อมจิตไปในสมาธินั้น
ในธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การทำวัตถุให้สะอาด และการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ความเป็นผู้ฉลาดในการเรียนกสิณนิมิตชื่อว่า ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต. ข้อว่าความยกจิตในสมัยใด จิตหดหู่ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น สมัยนั้นต้องยกจิตนั้นให้ตั้งขึ้นด้วยธัมมวิจยะ วิริยะ และปีติสัมโพชฌงค์. ข้อว่า การข่มจิตในสมัย คือ ในสมัยใดจิตฟุ้งซ่านด้วยความปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัยนั้นต้องข่มจิตนั้นให้ตั้งขึ้นด้วยปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์. ข้อว่า ความให้จิตร่าเริงในสมัย คือ ในสมัยใด ไม่มีอัสสาทะ (คือไม่มีความชอบใจ) เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันอ่อน หรือเพราะไม่บรรลุความสุขอันเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สมัยนั้น ต้องให้จิตสังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ ๘ ประการ. ชื่อว่า สังเวควัตถุ ๘ คือ ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ รวมเป็น ๔ อปายทุกข์เป็นที่ ๕ วัฏฏมูลกทุกข์ในอดีตเป็นที่ ๖ วัฏฏมูลกทุกข์ในอนาคตเป็นที่ ๗ อาหารปริเยฏฐิมูลกทุกข์ในปัจจุบันเป็นที่ ๘. และยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย นี้ท่านเรียกว่า การยังจิตให้ร่าเริงในสมัย. ชื่อว่า การวางจิตเฉยๆ ในสมัย คือ ในสมัยใด จิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 148
อัสสาทะ ดำเนินไปสู่สมถวิถี เป็นไปโดยชอบในอารมณ์ เพราะอาศัยการปฏิบัติโดยชอบ สมัยนั้น มิต้องขวนขวายในการยก การข่ม และในการยังจิตให้ร่าเริง เปรียบเหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวายในม้าทั้งหลายที่เป็นไปดีแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า การวางจิตเฉยๆ ในสมัย. ชื่อว่า การเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น คือ การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือไม่บรรลุอุปจาระหรืออัปปนา. ชื่อว่า การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น คือการเสพ การคบ การเข้าไปซ่องเสพ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจาระหรืออัปปนา. ชื่อว่า การน้อมจิตไปในสมาธินั้น คือความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้สมาธิเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้. ภิกษุนั้น จึงทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ได้ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
อุเปกขาสัมโพชฌงค์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่ได้เกิด ให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ในข้อนั้น อุเปกขานั่นแหละ ชื่อว่า ธรรม เป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๕ ประการ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ คือ
๑. ความวางเฉยในสัตว์
๒. ความวางเฉยในสังขาร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 149
๓. ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร
๔. ความเสพบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขาร
๕. ความน้อมจิตไปในอุเปกขานั้น
บรรดาธรรมเหล่านั้น ความวางเฉยในสัตว์ย่อมตั้งขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยการพิจารณากัมมัสสกตาอย่างนี้ว่า ตัวท่านมาด้วยกรรมของตน แล้วก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ แม้บุคคลอื่นนั้น ก็มาด้วยกรรมของตน แล้วก็จักไปด้วยกรรมของตนเหมือนกัน ท่านรักใครกันเล่า ดังนี้ และด้วยการพิจารณานิสสัตตะอย่างนี้ว่า ว่าโดยปรมัตถ์ สัตว์ย่อมไม่มีเลย ท่านนั้นรักใครหนอ ดังนี้. ความวางเฉยในสังขารย่อมตั้งขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยการพิจารณาความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงไปแห่งสีโดยลำดับ และเข้าถึงความเป็นของคร่ำคร่าแล้วจะเป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า แล้วก็จักเป็นสิ่งที่เขาพึงเอาปลายไม้เท้าเขี่ยทิ้งไป ก็ถ้าว่า เจ้าของจีวรนั้นพึงมีไซร้ เจ้าของนั้นก็จะไม่พึงให้จีวรนั้นพินาศไปอย่างนี้ ดังนี้ และด้วยการพิจารณาโดยความเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของชั่วคราว ดังนี้. อนึ่ง ในจีวร ฉันใด พึงกระทำการประกอบแม้ในบริขารทั้งหลาย มีบาตรเป็นต้น ฉันนั้นเถิด.
ในข้อว่า ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขารนี้ อธิบายว่า บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ ย่อมยึดถือบุตรธิดาเป็นต้นของตนนั่นแหละว่าเป็นของเรา หรือว่าเป็นบรรพชิตย่อมยึดถืออันเตวาสิกและอุปัชฌาย์เป็นต้นว่าเป็นของเรา บุคคลนั้นย่อมกระทำกิจทั้งหลายมีการโกนผม การเย็บจีวร การซัก การย้อม การรมบาตรเป็นต้นให้แก่ผู้นั้น เมื่อไม่เห็นชนเป็นที่รักนั้นแม้สักครู่หนึ่งก็คิด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 150
ว่า สามเณรรูปโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน จะแลดูข้างโน้นข้างนี้ ราวกะว่าเนื้อสมันหันไปข้างโน้นข้างนี้ แลดูอยู่ (ระวังภัย) แม้ถูกผู้อื่นขอว่า ขอท่านส่งผู้นี้ไปเพื่อช่วยประโยชน์ในการตัดผมเป็นต้นสักครู่ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ ให้ด้วยกล่าวว่า พวกเรายังไม่ให้เขาทำการงานแม้ของพวกเราเพื่อตน ท่านพาเขาไปจักให้เขาลำบาก ดังนี้ นี้ชื่อว่า การยึดถือสัตว์.
ส่วนบุคคลใดย่อมยึดถือสิ่งของทั้งหลายมีจีวร บาตร ถุงบาตร และไม้เท้าคนแก่เป็นต้นว่าเป็นของเรา บุคคลนั้นย่อมไม่ให้บุคคลอื่นแตะต้องแม้ด้วยมือ แม้เมื่อคนอื่นขอยืมชั่วคราว ก็กล่าวว่า แม้เราก็ถนอมสิ่งนี้อยู่ไม่ใช้สอย เราจักให้ท่านทำไมกัน ดังนี้ นี้ชื่อว่า การยึดถือสังขาร.
แต่ว่าบุคคลใดวางตนเป็นกลาง คือ วางเฉยในวัตถุแม้ทั้งสอง (คือสัตว์ และสังขาร) เหล่านั้น นี้ชื่อว่าความวางเฉยในสัตว์และสังขาร. อุเปกขาสัมโพชฌงค์นี้ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เว้นไกลจากบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร เห็นปานนี้บ้าง ย่อมเกิดแก่ผู้เสพบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขารบ้าง ย่อมเกิดแก่ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้อุเบกขานั้นเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นบ้าง ดังพรรณนามาฉะนี้. ภิกษุ นั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถาโพชฌังคปัพพะ จบ
ในข้อทั้งสอง (คือ นีวรณบรรพ และโพชฌงคบรรพ) แม้นี้ ท่านก็กล่าวว่าเป็นวิปัสสนาล้วนๆ เทียว. โดยประการที่พรรณนามา สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ย่อมได้ในจิตต่างๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะว่าพระโยคาวจรกำหนด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 151
กายด้วยจิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนาด้วยจิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดจิตด้วยจิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิตอย่างหนึ่ง แต่ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค ย่อมได้จิตอย่างเดียวกันโดยแท้. จริงอยู่ สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนาของพระโยคาวจรผู้กำหนดกายมาตั้งแต่ต้น ชื่อว่า กายานุปัสสนา บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติอันสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายวิปัสสนาแล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า กายานุปัสสนา บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาของพระโยคาวจรผู้กำหนดเวทนา ผู้กำหนดจิต ผู้กำหนดธรรม ทั้งหลายมาแล้ว ชื่อว่า เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธัมมานุปัสสี. สติอันสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายวิปัสสนาแล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา. บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธัมมานุปัสสี.
เทศนาปุคคลาธิษฐาน จบเพียงเท่านี้
ก็สติอันกำหนดกาย ละวิปัลลาสในกายว่าเป็นของงาม ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า กายานุปัสสนา. สติกำหนดเวทนา ละวิปลาสในเวทนาว่าเป็นสุข ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า เวทนานุปัสสนา. สติกำหนดจิต ละวิปลาสในจิตว่าเป็นสภาพเที่ยง ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า จิตตานุปัสสนา. สติกำหนดธรรม ละวิปลาสในธรรมทั้งหลายว่าเป็นอัตตา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา. ด้วยประการฉะนี้ สติอัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 152
สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง เพราะอรรถว่ายังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ในขณะแห่งมรรค สติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้ในจิตอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์
สติปัฏฐานมีกายานุปัสสนาเป็นต้นแม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเพียงหัวข้อนัยแห่งเทศนา อันจำแนกแล้วในธัมมสังคณี แต่มิได้ทรงตั้งไว้เป็นแบบแผนเหมือนในโลกิยสติปัฏฐานทั้งหลายมีกายเป็นต้นเป็นอารมณ์ เพราะในอภิธรรมภาชนีย์ ทรงปรารภเทศนาด้วยสามารถแห่งโลกุตตรสติปัฏฐาน. พึงทราบประเภทแห่งนัยในอภิธรรมภาชนีย์. คือ อย่างไร? คือในการตั้งมั่นด้วยฌานในโสดาปัตติมรรคแห่งกายานุปัสสนาก่อน มี ๑๐ นัย ด้วยสามารถแห่งจตุกกะและปัญจกะอย่างละ ๒ ในฐานะ ๕ เหล่านี้ คือ สุทธิกปฏิปทา สุทธิกสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิกอัปปณิหิตะ อัปปณิหิตปฏิปทา (รวมเป็นจตุกกะ ๕ นัย และปัญจกะ ๕ นัย). ในนัยทั้งหลายแม้ที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในการตั้งมั่น (๑) ๒๐ มี ๒๐๐ นัย. ๒๐๐ นัยนั้น คูณด้วยอธิบดี ๔ ก็เป็น ๘๐๐ นัย. นัยแม้ทั้งปวงจึงมี ๑,๐๐๐ นัย คือ สุทธิกนัย ๒๐๐นัย และ สาธิปติ ๗๐๐ นัย ด้วยประการฉะนี้. ก็ในสุทธิกสติปัฏฐาน ใน
* ในการตั้งมั่น คือ มหานัย ๒๐ คือ ฌาน, มรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิปาท, อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะวิปัสสนา, ธรรม, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ, อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิตตาภินิเวส.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 153
เวทนานุปัสสนาเป็นต้นก็เหมือนกัน คือ ในโสดาปัตติมรรคมี ๕,๐๐๐นัย. อนึ่ง ในโสดาปัตติมรรค ฉันใด แม้ในมรรคที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในกุศล มี ๒๐,๐๐๐ นัย. แต่ว่าโดยประเภทสุญญตะและอัปปณิหิตนิมิต ในวิบากเป็นตรีคูณจากนัยแห่งกุศลนั้น จึงเป็น ๖๐,๐๐๐ นัย นิทเทสแห่งอภิธรรมภาชนีย์มี ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งนิทเทสแห่งสติปัฏฐานที่เป็นกุศลและวิบาก คือ เป็นการยังกิจของตนให้สำเร็จอย่างหนึ่ง เป็นกิจที่สำเร็จด้วยดีอย่างหนึ่งมี ๑๐ ประเภท ด้วยสามารถแห่งนิทเทสวาระ ๑๐ คือ ฝ่ายกุศล ๕ ฝ่ายวิบาก ๕ ด้วยสามารถแห่งกายานุปัสสนาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งสุทธิกะซึ่งประดับแล้ว ด้วยนัย ๘๐,๐๐๐ นัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ
ในปัญหาปุจฉกะ พึงทราบความที่สติปัฏฐานเป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะ สติปัฏฐานเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะปรารภพระนิพพานอันเป็นอัปปมาณธรรม ไม่เป็นมัคคารัมมณะ แต่เป็นมัคคเหตุกะด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติในการเจริญมรรค เพราะทำวิริยะหรือวิมังสาให้เป็นประธาน ไม่พึงกล่าวว่าเป็นมัคคาธิปติเพราะเจริญมรรคอันกระทำฉันทะหรือจิตตะให้เป็นประธาน แม้ในกาลแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวเหมือนกัน. ในอตีตะเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 154
ต้น ก็ไม่พึงกล่าวแม้โดยความเป็นเอการัมมณะ. แต่เพราะความที่พระนิพพานเป็นพหิทธาธรรม จึงชื่อว่า พหิทธารัมมณะฉะนี้. สติปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโลกุตตระอันสำเร็จแล้วนั่นแหละ ในปัญหาปุจฉกะนี้ ด้วย ประการฉะนี้. จริงอยู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระปะปนกันไว้ในสุตตันตภาชนีย์ทั้งนั้น แต่ในอภิธรรมภาชนีย์และปัญหาปุจฉกะนี้ตรัสว่า เป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้สติปัฏฐานวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็นำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวรรต (คือ ๓ ตอน คือ สุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ) ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.
วรรณนาปัญหาปัตฉกะ จบ
อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังคนิทเทส จบ