๑๒. ฌานวิภังค์
[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒
๑๒. ฌานวิภังค์
โลกุตตรกุศลฌาน จตุกกนัย หน้า 322
โลกุตตรกุศลฌาน ปัญจกนัย หน้า 324
โลกุตตรวิปากฌาน จตุกกนัย หน้า 330
โลกุตตรวิปากฌาน ปัญจกนัย หน้า 331
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา หน้า 336
๔ - ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา หน้า 339
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 283
๑๒. ฌานวิภังค์
มาติกา
[๕๙๙] ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย สำรวมในอินทรีย์ ๖ รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม ประกอบความเพียรอันเป็นไปติดต่อ ประกอบปัญญาอันรักษาไว้ซึ่งตน เจริญโพธิปักขิยธรรม.
ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและถอยกลับมาข้างหลัง เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการคู้อวัยวะเข้าและเหยียดอวัยวะออก เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูดและนิ่ง.
ภิกษุนั้น อาศัยเสนาสนะอันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขาซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าช้า ดง ที่แจ้ง กองฟาง สถานที่ไม่มีเสียงอื้ออึง สถานที่ไม่ใคร่มีคนสัญจรไปมา สถานที่ไม่มีคนพลุกพล่านสถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 284
ภิกษุนั้น ไปสู่ป่าก็ตาม ไปสู่โคนไม้ก็ตาม ไปสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน.
ภิกษุนั้น ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว อยู่ด้วยจิตที่ปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความพยาบาทและความประทุษร้ายได้แล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อยู่ มีความอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้วเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อยู่ มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา อยู่ ไม่มีความสงสัย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย.
ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันทำใจให้เศร้าหมองทำปัญญาให้ทรามได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่าเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 285
และโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มีมนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่.
มาติกา จบ
สุตตันตภาชนีย์
มาติกานิทเทส
[๖๐๐] บทว่า ในศาสนานี้ มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ ในขันตินี้ ในรุจินี้ ในลัทธินี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในศาสนาของพระศาสดานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ในศาสนานี้.
[๖๐๑] บทว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะสมัญญา
ชื่อว่าภิกษุ เพราะปฏิญญา
ชื่อว่าภิกษุ เพราะขอ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 286
ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ
ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เข้าถึงภิกขาจาร
ชื่อว่าภิกษุ เพราะทรงแผ่นผ้าที่ถูกทำลาย
ชื่อว่าภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสโดยจำเพาะส่วน
ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน
พระเสขะ ชื่อว่าภิกษุ
พระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ
ผู้ไม่ใช่พระเสขะและไม่ใช่พระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ ชื่อว่าภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม ชื่อว่าภิกษุ
ผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ชื่อว่าภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็นสาระ ชื่อว่าภิกษุ
ผู้อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ โดยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่อว่าภิกษุ.
[๖๐๒] บทว่า ปาติโมกข์ ได้แก่ ศีลอันเป็นที่อาศัย เป็นเบื้องต้นเป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.
บทว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 287
บทว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยปาติโมกข์สังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาติโมกข์สังวร.
[๖๐๓] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๐๔] บทว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร มีอธิบายว่า อาจาระมีอยู่ อนาจาระ มีอยู่
ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน?
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ ความเป็นผู้ทุศีล แม้ทั้งปวงก็เรียกว่า อนาจาระ. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่หรือด้วยการให้ใบไม้ หรือด้วยการให้ดอกไม้ หรือด้วยการให้ผลไม้ หรือด้วยการให้จุณสำหรับอาบ หรือด้วยการให้ไม้ชำระฟัน หรือด้วยการพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก หรือด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว หรือด้วยการเป็นคนรับเลี้ยงเด็ก หรือด้วยการรับใช้ฆราวาส หรือด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อนาจาระ.
อาจาระ เป็นไฉน?
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อาจาระ ศีลสังวร แม้ทั้งปวงก็เรียกว่า อาจาระ. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 288
ไผ่ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ใบไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ดอกไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ผลไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้จุณสำหรับอาบ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ชำระฟัน ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการเป็นคนรับเลี้ยงเด็ก ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ฆราวาส ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อาจาระ.
บทว่า โคจร มีอธิบายว่า โคจร มีอยู่ อโคจร มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงแพศยา หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของสาวเทื้อ หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์ เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของภิกษุณี หรือเป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา เป็นผู้คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควรก็หรือตระกูลนั้นใด ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นที่ควรจะไปมา มักด่าและบริภาษ ใคร่แต่ความพินาศ ไม่ใคร่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ใคร่ต่อความผาสุก ไม่ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหาบ่อยๆ ซึ่งตระกูล เห็นปานนั้นนี้เรียกว่า อโคจร.
โคจร เป็นไฉน?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงแพศยา ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักสาวเทื้อ ไม่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 289
ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์ ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของนางภิกษุณี ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ก็หรือตระกูลนั้นใดมีศรัทธา เลื่อมใส รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ มีโยคีผู้ปฏิบัติเข้าออกอยู่เนืองๆ เป็นผู้ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุก ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะแก่พวก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหา บ่อยๆ ซึ่งตระกูลเห็นปานนั้น นี้เรียกว่า โคจร.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยอาจาระและโคจร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร ด้วยประการฉะนี้.
[๖๐๕] คำว่า เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย มีอธิบายว่า โทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย เป็นไฉน?
โทษทั้งหลายนั้นใด มีประมาณน้อย เป็นอย่างต่ำ เป็นอย่างเบา ที่สมมติกันว่า โทษเบา ที่พึงสำรวม ที่พึงระวัง ที่พึงกระทำด้วยจิตตุปบาทที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย.
ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ เห็นภัย เห็นความชั่วร้าย และเห็นการรื้อถอน ออกเสียให้พ้น ในโทษอันมีประมาณน้อยเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าเห็น ภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย.
[๖๐๖] คำว่า สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย มีอธิบายว่า สิกขา เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 290
สิกขา ๔ คือ สิกขาของภิกษุ เรียกว่า ภิกขุสิกขา, สิกขาของภิกษุณี เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา, สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุบาสกสิกขา, สิกขาของอุบาสิกา เรียกว่า อุบาสิกาสิกขา เหล่านี้เรียกว่า สิกขา.
ภิกษุสมาทานสิกขาทั้งหมดด้วยสิกขาสมาทานทั้งหมด สมาทานสิกขาทั้งหมดมิให้เหลือ ด้วยอาการที่จะพึงประพฤติทั้งหมด แล้วประพฤติอยู่ในสิกขาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
[๖๐๗] บทว่า คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ มีอธิบายว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ มีอยู่ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ย่อมไม่ถึงการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะ แล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยมนะแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ย่อมไม่รักษามนินทรีย์นั้น ย่อมไม่ถึงการสำรวมในมนินทรีย์นั้น ความไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวมซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 291
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ย่อมรักษาจักขุนทรีย์นั้น ย่อมถึงการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยมนะแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ย่อมรักษามนินทรีย์นั้น ย่อมถึงการสำรวมในมนินทรีย์นั้น ความคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวม ซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖.
[๖๐๘] บทว่า รู้ประมาณในโภชนะ มีอธิบายว่า ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะมีอยู่ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะมีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เป็นไฉน?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคายบริโภคอาหาร เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อให้อ้วนพี ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ การไม่พิจารณา ในโภชนะนั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 292
ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นไฉน?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อผิวพรรณสวยงาม ไม่ใช่เพื่อให้อ้วนพี เราบริโภคอาหาร เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อระงับความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งชีวิตินทรีย์ ความไม่มีโทษและการอยู่โดยผาสุก จักมีแก่เรา ดังนี้ แล้วจึงบริโภคอาหาร ความสันโดษ ความรู้ประมาณ การพิจารณาในโภชนะนั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยความเป็นผู้รู้ ประมาณในโภชนะนี้ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า รู้ประมาณในโภชนะ.
[๖๐๙] ก็ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยา โดยนอนตะแคงขวา วางเท้าซ้อนกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการลุกขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 293
[๖๑๐] บทว่า ความเพียรอันเป็นไปติดต่อ ได้แก่ การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ.
บทว่า ปัญญาอันรักษาไว้ซึ่งตน ได้แก่ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ.
[๖๑๑] บทว่า เจริญโพธิปักขิยธรรม มีอธิบายว่า โพธิปักขิยธรรม เป็นไฉน?
โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม. ภิกษุ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญโพธิปักขิยธรรม.
[๖๑๒] ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและถอยกลับมาข้างหลัง เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและเหลียวดูข้างซ้าย ข้างขวา เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการคู้อวัยวะเข้าและเหยียดอวัยวะออก เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง เป็นอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะ ถอยกลับมาข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะเหลียวดู ข้างซ้ายข้างขวา มีสติสัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะเหยียดอวัยวะออก มีสติสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร มีสติสัมปชัญญะในการกิน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 294
ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ มีสติ สัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มีสติ มีอธิบายว่า สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.
บทว่า มีสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสติและสัมปชัญญะ นี้ ด้วยประการฉะนี้.
ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะถอยกลับมาข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา มีสติสัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะเหยียดอวัยวะออก มีสติสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังมาฏิ บาตร และจีวร มีสติสัมปชัญญะในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ มีสติสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 295
[๖๑๓] บทว่า สงัด มีอธิบายว่า แม้หากเสนาสนะใดจะอยู่ในที่ใกล้ แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหล่าคฤหัสถ์บรรพชิต ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สงัด แม้หากเสนาสนะใดจะอยู่ในที่ไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่นกล่น ด้วยเหล่าคฤหัสถ์บรรพชิต ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สงัด.
[๖๑๔] บทว่า เสนาสนะ ได้แก่ เสนาสนะคือเตียงบ้าง เสนาสนะคือตั่งบ้าง เสนาสนะคือที่นอนบ้าง เสนาสนะคือหมอนบ้าง เสนาสนะคือวิหารบ้าง เสนาสนะคือเพิงบ้าง เสนาสนะคือปราสาทบ้าง เสนาสนะคือป้อมบ้าง เสนาสนะคือโรงบ้าง เสนาสนะคือที่เร้นลับบ้าง เสนาสนะคือถ้ำบ้าง เสนาสนะคือโคนไม้บ้าง เสนาสนะคือพุ่มไม้ไผ่บ้าง หรือภิกษุยับยั้งอยู่ในที่ใด ที่นั้น ทั้งหมด ชื่อว่า เสนาสนะ.
[๖๑๕] บทว่า อาศัย คือ อาศัยอยู่ อาศัยอยู่ด้วยดี เข้าอยู่ เข้าพำนักอยู่ เข้าอาศัยอยู่ เสนาสนะอันสงัดนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อาศัย.
[๖๑๖] บทว่า ป่า ได้แก่ ป่าบริเวณนอกเสาเขื่อนทั้งหมดนั้น.
[๖๑๗] บทว่า โคนไม้ เป็นต้น มีอธิบายว่า รุกขมูล คือ โคนไม้ ปัพพตะ คือ ภูเขา กันทระ คือ ซอกเขา คิริคุหา คือ ถ้ำในเขา สุสาน คือ ป่าช้า อัพโภกาส คือ ที่แจ้ง ปลาลปุญชะ คือ กองฟาง.
[๖๑๘] บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ไกล.
บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะราวป่า.
บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่าหวาดกลัว.
บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่าหวาดหวั่น.
บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ปลายแดน.
บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่ไม่อยู่ใกล้หมู่มนุษย์.
บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่หาความเจริญได้ยาก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 296
[๖๑๙] บทว่า สถานที่ไม่มีเสียงรบกวน มีอธิบายว่า แม้หากเสนาสนะใดจะอยู่ใกล้ แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหล่าคฤหัสถ์บรรพชิต ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า ไม่มีเสียงรบกวน. แม้หากเสนาสนะใดจะอยู่ไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหล่าคฤหัสถ์ บรรพชิต ด้วย เหตุนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า ไม่มีเสียงรบกวน.
[๖๒๐] บทว่า สถานที่ไม่มีเสียงอื้ออึง มีอธิบายว่า เสนาสนะใด ไม่มีเสียงรบกวน เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่มีเสียงอื้ออึง. เสนาสนะ ใดไม่มีเสียงอื้ออึง เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่ใคร่มีผู้คนสัญจรไปมา. เสนาสนะใด ไม่ใคร่มีผู้คนสัญจรไปมา เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน. เสนาสนะใด ไม่มีคนพลุกพล่าน เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น.
[๖๒๑] คำว่า ไปสู่ป่าก็ตาม ไปสู่โคนไม่ก็ตาม ไปสู่เรือนว่างก็ตาม ได้แก่ เป็นผู้ไปสู่ป่าแล้วก็ตาม เป็นผู้ไปสู่โคนไม้แล้วก็ตาม เป็นผู้ไปสู่เรือนว่างแล้วก็ตาม.
[๖๒๒] คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ ได้แก่ เป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์.
[๖๒๓] คำว่า ตั้งให้กายตรง ได้แก่ กายที่ดำรงไว้ ที่ตั้งไว้เป็นกายตรง.
[๖๒๔] คำว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน มีอธิบายว่า สติ เป็น ไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ. สตินี้ อันภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้ว ที่ปลายจมูก หรือที่นิมิตเหนือปาก ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 297
[๖๒๕] คำว่า ละอภิชฌาในโลก มีอธิบายว่า อภิชฌา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.
โลก เป็นไฉน?
อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก.
อภิชฌานี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละอภิชฌาในโลกเสียได้.
[๖๒๖] คำว่า ด้วยจิตที่ปราศจากอภิชฌา มีอธิบายว่า จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด เรียกว่า จิต จิตนี้ปราศจากอภิชฌา ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ด้วยจิตที่ปราศจาก อภิชฌา.
[๖๒๗] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๒๘] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา มีอธิบายว่า อภิชฌา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 298
จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.
ภิกษุ ชำระจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้น จากอภิชฌานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา.
[๖๒๙] คำว่า ละความพยาบาทและความประทุษร้าย มีอธิบาย ว่า ความพยาบาท มีอยู่ ความประทุษร้าย มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน?
จิตอาฆาต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง ความยินร้าย ความเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคือง ความคิดประทุษร้าย การมุ่งคิด ประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความพยาบาทแห่งจิต ความคิดประทุษร้ายแห่งใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ควานคิดปองร้าย กิริยาที่คิด ปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใดนี้เรียกว่า พยาบาท.
ความประทุษร้าย เป็นไฉน?
ความพยาบาทอันใด ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่า ความประทุษร้าย
ความประทุษร้ายอันใด ความประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่า ความพยาบาท. ความพยาบาทและความประทุษร้ายนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีทีสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละความพยาบาทและความประทุษร้าย ด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 299
[๖๓๐] บทว่า มีจิตไม่พยาบาท มีอธิบายว่า จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก ว่า จิต จิตนี้ไม่พยาบาท ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีจิตไม่พยาบาท.
[๖๓๑] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๓๒] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประทุษร้าย มีอธิบายว่า ความพยาบาท มีอยู่ ความประทุษร้าย มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน?
จิตอาฆาต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง ความยินร้าย ความเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคือง ความคิดประทุษร้าย การมุ่งคิด ประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความพยาบาทแห่งจิต ความคิดประทุษร้ายแห่งใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดที่ประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตอันใด นี้เรียกว่า ความพยาบาท.
ความประทุษร้าย เป็นไฉน?
ความพยาบาทอันใด ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่า ความประทุษร้าย ความประทุษร้ายอันใด ความประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่า ความพยาบาท.
จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 300
ภิกษุ ชำระจิตให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากความพยาบาทและความประทุษร้ายนี้ ด้วยเหตุ นั้น จึงเรียกว่า ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประทุษร้าย ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๓] คำว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว มีอธิบายว่า ถีนะ มีอยู่ มิทธะมีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อแท้แห่งจิต ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่แห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.
มิทธะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่งาน ความง่วงซึม ความเฉื่อยชา ความซบเซา ความหาวนอน ความหลับ ความโงกง่วง ความหลับ กิริยาที่หลับ ภาวะที่หลับแห่งเจตสิก อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.
ถีนะและมิทธะนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๔] ค่าว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีอธิบายว่า ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ เพราะถีนมิทธะนั้นอันภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ละแล้วและสละคืนแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ ด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 301
บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๓๕] บทว่า มีอาโลกสัญญา มีอธิบายว่า สัญญา เป็นไฉน?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันใด นี้เรียกว่า สัญญา สัญญานี้ สว่างเปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีอาโลกสัญญา.
[๖๓๖] บทว่า มีสติสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.
สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยสติและสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๗] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ มีอธิบายว่า ถีนะมีอยู่ มิทธะ มีอยู่
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งจิต ฯลฯ ภาวะที่หดหู่แห่งจิต อันใด นี้ เรียกว่า ถีนะ.
มิทธะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบ ฯลฯ ภาวะที่หลับแห่งเจตสิก อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.
จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 302
ภิกษุ ชำระจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากถีนมิทธะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ.
[๖๓๘] คำว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว มีอธิบายว่า อุทธัจจะ มีอยู่ กุกกุจจะ มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.
กุกกุจจะ เป็นไฉน?
ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่า ไม่มีโทษในของที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศจากไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละอุทธัจจะกุกกุจจะได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๙] บทว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีอธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะอุทธัจจกุกกุจจะนั้นอันภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ละแล้วและสละคืนแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 303
[๖๔๐] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วย เหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๔๑] บทว่า ภายใน ได้แก่ เป็นภายในเฉพาะตน.
บทว่า มีจิตสงบ มีอธิบายว่า จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.
จิตนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับภายใน ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีจิตสงบภายใน.
[๖๔๒] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ มีอธิบาย ว่า อุทธัจจะ มีอยู่ กุกกุจจะ มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.
กุกกุจจะ เป็นไฉน?
ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ฯลฯ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.
จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.
ภิกษุ ชำระจิตให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากอุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 304
[๖๔๓] คำว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว มีอธิบายว่า วิจิกิจฉา เป็นไฉน?
การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.
วิจิกิจฉานี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้ เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว.
[๖๔๔] บทว่า เป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา มีอธิบายว่า เป็น ผู้ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ข้ามออกแล้วซึ่งวิจิกิจฉานี้ ถึงฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว โดยลำดับ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา.
[๖๔๕] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๔๖] คำว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย มีอธิบายว่า ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ไม่มีความสงสัย หมดความสงสัย ปราศจากความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายด้วยวิจิกิจฉานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย.
[๖๔๗] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา มีอธิบายว่า วิจิกิจฉา เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 305
การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.
จิต เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.
ภิกษุ ชำระจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากวิจิกิจฉานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.
[๖๔๘] คำว่า ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ได้แล้ว มีอธิบายว่า นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้ พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ได้แล้ว.
[๖๔๙] คำว่า เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ได้แก่ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต.
[๖๕๐] คำว่า ทำปัญญาให้ทราม มีอธิบายว่า ปัญญาที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำปัญญาให้ทราม.
[๖๕๑] คำว่า สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว มีอธิบายว่า กาม เป็นไฉน?
ฉันทะ ชื่อว่า กาม. ราคะ ชื่อว่า กาม. ฉันทราคะ ชื่อว่า กาม.
สังกัปปะ ชื่อว่า กาม. ราคะ ชื่อว่า กาม. สังกัปปราคะ ชื่อว่า กาม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 306
ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กาม.
อกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นไฉน?
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า อกุศลธรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ สงัดจากกามและอกุศลธรรมเหล่านี้แล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[๖๕๒] คำว่า ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีอธิบายว่า วิตก มีอยู่ วิจาร มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อันใด นี้เรียกว่า วิตก.
วิจาร เป็นไฉน?
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์อยู่เนืองๆ อันใด นี้เรียกว่า วิจาร.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิตกและวิจารนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิตก วิจาร ด้วยประการฉะนี้
[๖๕๓] บทว่า เกิดแต่วิเวก มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านั้น คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิด แล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ในวิเวกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เกิดแต่วิเวก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 307
[๖๕๔] บทว่า มีปีติและสุข มีอธิบายว่า ปีติ มีอยู่ สุข มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน?
ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชมยินดี อันใด นี้เรียกว่า ปีติ.
สุข เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า สุข.
สุขนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยปีตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีปีติและสุข.
[๖๕๕] บทว่า ปฐม คือ เป็นที่ ๑ ตามลำดับแห่งการนับ ฌาน นี้ชื่อว่า ปฐมฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งแรก.
[๖๕๖] บทว่า ฌาน ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต.
[๖๕๗] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งปฐมฌาน.
[๖๕๘] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๕๙] คำว่า เพราะวิตกวิจารสงบ มีอธิบายว่า วิตก มีอยู่ วิจาร มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 308
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันใด นี้เรียก ว่า วิตก.
วิจาร เป็นไฉน?
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์อยู่เนืองๆ อันใด นี้เรียกว่า วิจาร.
วิตกและวิจารนี้ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้ เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะ วิตกวิจารสงบ ด้วยประการฉะนี้.
[๖๖๐] บทว่า เป็นไปในภายใน ได้แก่เป็นของภายในเฉพาะตน
บทว่า ผ่องใส ได้แก่ ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง.
[๖๖๑] คำว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ได้แก่ ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
[๖๖๒] คำว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอธิบายว่า วิตก มีอยู่ วิจาร มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันใด นี้ เรียกว่า วิตก.
วิจาร เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 309
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณาอารมณ์ ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์อยู่เนืองๆ อันใด นี้เรียกว่า วิจาร.
วิตกและวิจารนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการฉะนี้.
[๖๖๓] บทว่า เกิดแต่สมาธิ มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านั้น คือ ความผ่องใส ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิด แล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ในสมาธินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เกิดแต่สมาธิ.
[๖๖๔] บทว่า มีปีติและสุข มีอธิบายว่า ปีติ มีอยู่ สุข มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น เป็นไฉน?
ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ฯลฯ ความที่จิตชื่นชมยินดี อันใด นี้เรียกว่า ปีติ.
สุข เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ฯลฯ กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า สุข.
สุขนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยปีตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีปีติและสุข.
[๖๖๕] บทว่า ทุติยะ คือ เป็นที่ ๒ ตามลำดับ แห่งการนับฌานนี้. ชื่อว่า ทุติยฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งที่ ๒.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 310
[๖๖๖] บทว่า ฌาน ได้แก่ ความผ่องใส ปีติ สุข เอกัคคตา แห่งจิต.
[๖๖๗] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งทุติยฌาน.
[๖๖๘] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๖๙] คำว่า เพราะคลายปีติได้อีกด้วย มีอธิบายว่า ปีติ เป็นไฉน?
ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชม ยินดี อันใด นี้เรียกว่า ปีติ.
ปีตินี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะคลายปีติได้อีกด้วย.
[๖๗๐] บทว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีอธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน?
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเฉพาะ ความเป็นกลางแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 311
[๖๗๑] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๗๒] คำว่า มีสติสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า ใน ๒ อย่างนั้น สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.
สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยสติและสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
[๖๗๓] คำว่า เสวยสุขด้วยนามกาย มีอธิบายว่า สุข เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า สุข.
กาย เป็นไฉน?
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า กาย.
ภิกษุ ย่อมเสวยสุขนี้ ด้วยกายนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสวยสุขด้วยนามกาย.
[๖๗๔] คำว่า เป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ มีอธิบายว่า พระอริยเจ้า เป็นไฉน?
พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยเจ้า พระอริยเจ้าเหล่านั้น ย่อมกล่าวสรรเสริญ แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 312
จำแนก ทำให้ชัดเจน ประกาศ ซึ่งบุคคลผู้ได้บรรลุนี้ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า เป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ.
[๖๗๕] คำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข มี อธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน?
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเฉพาะ ความเป็นกลางแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.
สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.
สุข เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า สุข.
ภิกษุ ประกอบด้วยอุเบกขา สติ และสุขนี้ สืบเนื่องอยู่ ประพฤติ เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ด้วยประการฉะนี้.
[๖๗๖] บทว่า ตติยะ คือ เป็นที่ ๔ ตามลำดับแห่งการนับฌาน นี้ชื่อว่า ตติยฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งที่ ๓.
[๖๗๗] บทว่า ฌาน ได้แก่ อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ สุข เอกัคคตาแห่งจิต.
[๖๗๘] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง ซึ่งตติยฌาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 313
[๖๗๙] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๘๐] คำว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้ มีอธิบายว่า สุข มีอยู่ ทุกข์ มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น สุข เป็นไฉน?
ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า สุข.
ทุกข์ เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.
สุขและทุกข์นี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.
[๖๘๑] คำว่า เพราะโสมนัสและโทมันสดับสนิทในก่อน มีอธิบายว่า โสมนัส มีอยู่ โทมนัส มีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัส เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โสมนัส.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 314
โทมนัส เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.
โสมนัสและโทมนัสนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไป อย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้วในก่อน ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน ด้วยประการฉะนี้.
[๖๘๒] บทว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอธิบายว่า ไม่มีความสบายทางใจ ไม่มีความไม่สบายทางใจ มีแต่ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส มีแต่กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข.
[๖๘๓] บทว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา มีอธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน?
ความวางเฉย กิริยาวางเฉย ความเพ่งเฉพาะ ความเป็นกลางแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.
สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.
สตินี้ เปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เพราะอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.
[๖๘๔] บทว่า จตุตถะ คือ เป็นที่ ๔ ตามลำดับแห่งการนับ ฌานนี้ชื่อว่า จตุตถฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งที่ ๔.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 315
[๖๘๕] บทว่า ฌาน ได้แก่ อุเบกขา สติ เอกัคคตาแห่งจิต.
[๖๘๖] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งจตุตถฌาน.
[๖๘๗] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๘๘] ค่าว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง มีอธิบายว่า รูปสัญญา เป็นไฉน?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ของโยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ หรือของผู้อุปบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้เรียกว่า รูปสัญญา.
ภิกษุก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง.
[๖๘๙] คำว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา มีอธิบายว่า ปฏิฆสัญญา เป็นไฉน?
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา เหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา. ปฏิฆสัญญาเหล่านั้น สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา.
[๖๙๐] คำว่า เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา. มีอธิบาย ว่า นานัตตสัญญา เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 316
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ของบุคคลผู้ไม่เข้าสมาบัติ พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ หรือพรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้ เรียกว่า นานัตตสัญญา ภิกษุย่อมไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา.
[๖๙๑] บทว่า อากาศไม่มีที่สุด มีอธิบายว่า อากาศ เป็น ไฉน?
อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด นี้เรียกว่า อากาศ ภิกษุตั้งจิตไว้ ตั้งจิตไว้ด้วยดี แผ่จิตไปไม่มีที่สุดในอากาศนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อากาศไม่มีที่สุด.
[๖๙๒] บทว่า อากาสานัญจายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิกของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
[๖๙๓] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งอากาสานัญจายตนฌาน
[๖๙๔] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๖๙๕] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง มีอธิบายว่า ภิกษุ ก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่ง อากาสานัญจายตนะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 317
[๖๙๖] คำว่า วิญญาณไม่มีที่สุด มีอธิบายว่า ภิกษุ พิจารณาอากาศอันวิญญาณถูกต้องแล้วนั้นแล แผ่จิตไปไม่มีที่สุด ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าวิญญาณไม่มีที่สุด.
[๖๙๗] บทว่า วิญญาณัญจายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิกของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในวิญญาณัญจายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
[๖๙๘] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งวิญญาณัญจายตนฌาน.
[๖๙๙] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่
[๗๐๐] คําว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง มีอธิบายว่า ภิกษุ ก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่งวิญญาณัญจายตนะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง.
[๗๐๑] คําว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี มีอธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นว่า วิญญาณนั้นแลไม่มี ไม่ปรากฏ อันตรธานไป น้อยหนึ่งไม่มี ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี.
[๗๐๒] บทว่า อากิญจัญญายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิกของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในอากิญจัญญายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
[๗๐๓] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง ความถึง การถูกต้อง การทําให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งอากิญจัญญายตนฌาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 318
[๗๐๔] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.
[๗๐๕] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง มีอธิบายว่า ภิกษุ ก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่งอากิญจัญญายตนะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง.
[๗๐๖] บทว่า มิใช่ผู้มีสัญญาและมิใช่ผู้ไม่มีสัญญา มีอธิบายว่า ภิกษุพิจารณาอากิญจัญญายตนฌานนั้นแล โดยความสงบ เจริญสมาบัติ อันมีสังขารเหลืออยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มิใช่ผู้มีสัญญาและมิใช่ผู้ไม่มีสัญญา (๑).
[๗๐๗] บทว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิก ของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
[๗๐๘] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน.
[๗๐๙] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า อยู่.
สุตตันตภาชนีย์ จบ
(๑) อุทเทสแห่งนิทเทสนี้ ไม่ปรากฏในมาติกา เพราะฉะนั้น นิทเทสนี้น่าจะเกินมา หรืออุทเทสนั้น น่าจะขาดไป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 319
อภิธรรมภาชนีย์
กุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๑๐] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
[๗๑๑] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๑๒] ทุติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานทีมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 320
แห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๑๓] ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข ด้วยนามกายบรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๑๔] จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
กุศลฌาน ปัญจกนัย
[๗๑๕] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอคัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 321
เรียกว่า ปฐมฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๑๖] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิตมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๑๗] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๑๘] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๑๙] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 322
ทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมันสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมณานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๒๐] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอัน สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
โลกุตตรกุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๒๑] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
[๗๒๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 323
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัย นั้น นี้เรียกว่า ปฐมณานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๒๓] ทุติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๒๔] ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 324
[๗๒๕] จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
โลกุตตรกุศลฌาน ปัญจกนัย
[๗๒๖] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมณานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๒๗] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติฌาน ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 325
ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๒๘] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุตติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๒๙] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
[๗๓๐] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุปัญจมฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 326
นี้เรียกว่า ปัญจมฌานกุศล. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
วิปากฌาน จตุกกนัย
[๗๓๑] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
[๗๓๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมณาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั่นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมณานวิบาก. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ทุติยฌาน เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 327
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะฯ ลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมี องค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานวิบาก. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
วิปากฌานปัญจกนัย
ปฐมณาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 328
อารมณ์ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ทุติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ปัญจมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 329
อุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึง อรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า กุศล.
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุจตุตถฌานอันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 330
โลกุตตรวิปากฌาน จตุกกนัย
[๗๓๓] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
[๗๓๔] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล. ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ทุติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติย-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 331
ฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันทาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ บรรลุทุติยฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น เรียกว่า ทุติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
โลกุตตรวิปากฌาน ปัญจกนัย
ปฐมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 332
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน วิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ทุติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ปัญจมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุปัญจม-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 333
ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
กิริยาฌาน จตุกกนัย
[๗๓๕] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
[๗๓๖] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 334
๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌานกริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ทุติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้นนี้เรียกว่า ทุติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
กิริยาฌาน ปัญจกนัย
ปฐมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฐมฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน..
ทุติยฌาน เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 335
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ตติยฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
จตุตถฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกร่า จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ปัญจมฌาน เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
อภิธรรมภาชนีย์จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 336
ปัญหาปุจฉกะ
[๗๓๗] ฌาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่.
๒. บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่.
๓. เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่.
๔. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่.
ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาฌาน ๔ ฌานไหนเป็นกุศล ฌานไหนเป็นอกุศล ฌานไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ ฌานไหนเป็นสรณะ ฌานไหนเป็นอรณะ?
ติกมาติกาวิสัชนา
[๗๓๘] ฌาน ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
ฌาน ๓ เว้นสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต จตุตถฌาน เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 337
ฌาน ๔ เป็นวิปากะก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
ฌาน ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.
ฌาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกะก็มี.
ปฐมฌาน เว้นวิตกวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกสวิจาระ, ฌาน ๓ เป็นอวิตักกอวิจาระ.
ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นปีติสหคตะ. ฌาน ๓ เว้นสุขที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอุเบกขาสหคตะ.
ฌาน ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ.
ฌาน ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี.
ฌาน ๔ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี
ฌาน ๔ เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี.
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ, เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี, จตุตถฌาน เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะก็มี แม้เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.
ฌาน ๔ เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 338
ฌาน ๔ เป็นสัมมัตตนิยะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, ฌาน ๓ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น มัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี จตุตถฌาน เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี.
ฌาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี.
ฌาน ๔ เป็นอตีตะก็มี เป็นอนาคตะก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี
ฌาน ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี ฌาน ๓ เป็นพหิทธารัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.
ฌาน ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๓๙] ฌาน ๔ เป็นเหตุ ฌาน ๔ เป็นสเหตุกะ ฌาน ๔ เป็น เหตุสัมปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ ฌาน ๔ เป็นนเหตุสเหตุกะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 339
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ ฌาน ๔ เป็นสังขตะ ฌาน ๔ เป็นอนิทัสสนะ ฌาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ ฌาน ๔ เป็นอรูป ฌาน ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี ฌาน ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นโนอาสวะ ฌาน ๔ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี ฌาน ๔ เป็นอาสววิปปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ ฌาน ๔ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ ฌาน ๔ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.
๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นสารัมมณะ ฌาน ๔ เป็นโนจิตตะ ฌาน ๔ เป็นเจตสิกะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ ฌาน ๔ เป็น จิตตสหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นพาหิระ ฌาน ๔ เป็นโนอุปาทา ฌาน ๔ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี ฌาน ๔ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 340
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๗๔๐] ฌาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ ปฐมฌานเว้นวิตกที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกะ ฌาน ๓ เป็นอวิตักกะ ปฐมฌานเว้นวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิจาระ ฌาน ๓ เป็นอวิจาระ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสัปปีติกะ ฌาน ๒ เป็นอัปปีติกะ ฌาน ๒ เว้นปีติทีเกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นปีติสหคตะ ฌาน ๒ เป็นนปีติสหคตะ ฌาน ๓ เว้นสุขที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เป็นนสุขสหคตะ จตุตถฌานเว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอุเปกขาสหคตะ ฌาน ๓ เป็นนอุเปกขาสหคตะ ฌาน ๔ เป็นนกามาวจร ฌาน ๔ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี ฌาน ๓ เป็นนอรูปาวจร จตุตถฌาน เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี ฌาน ๔ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ฌาน ๔ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตระก็มี ฌาน ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะจบ
ฌานวิภังค์ จบบริบูรณ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 341
อรรถกถาฌานวิภังค์
วรรณนามาติกา
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในฌานวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจากมัคควิภังค์นั้นดังต่อไปนี้.
เบื้องต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่งสุตตันตภาชนีย์ทั้งสิ้นก่อน. ในมาติกาเหล่านั้น คำว่า อิธ เป็นคำแสดงไขถึงคำสั่งสอนอันเป็นจริง โดยอิงอาศัยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความถึงพร้อมในกรณียกิจอันเป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่งยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้นด้วย ทั้งเป็นการปฏิเสธความเป็นจริงของศาสนาอื่นด้วย. ข้อนี้สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะ ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า ภิกฺขุ เป็นคำแสดงถึงบุคคลผู้ยังฌานเหล่านั้นให้เกิดขึ้น.
คำว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต นี้ เป็นคำชี้แจงถึงความที่ภิกษุนั้น ตั้งมั่นในปาฏิโมกขสังวร.
คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำอธิบายถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยการอยู่อันสมควรแก่ความเป็นอย่างนั้น.
คำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน (แปลว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร) นี้ เป็นการแสดงถึงอุปการธรรมของภิกษุนั้น ซึ่งมีปาฏิโมกขสังวรในเบื้องต้น และมีการประกอบเนืองๆ ในฌานเป็นที่สุด.
คำว่า อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี (แปลว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย) นี้ เป็นคำไขถึงความที่ภิกษุนั้น มีความไม่เคลื่อนจากปาฏิโมกข์เป็นธรรมดา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 342
คำว่า สมาทาย (แปลว่า สมาทานแล้ว) นี้ เป็นคำแสดงถึงการถือเอาสิกขาบททั้งหลายของภิกษุนั้นโดยไม่เหลือ.
คำว่า สิกฺขติ นี้ (แปลว่า ประพฤติหรือศึกษาอยู่) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยสิกขา.
คำว่า สิกฺขาปเทสุ นี้ (แปลว่า ในสิกขาบททั้งหลาย) เป็นคำแสดงถึงธรรมอันภิกษุนั้นพึงศึกษา.
คำว่า อินฺทฺริเยสุ นี้ เป็นคำแสดงถึงภูมิ (ภูมิปฏิบัติ) เพราะความที่ภิกษุนั้นมีทวารอันคุ้มครองแล้ว. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า คำนี้ เป็นคำแสดงถึงโอกาสที่บุคคลควรรักษา ดังนี้ก็มี.
คำว่า คุตฺตทฺวาโร นี้ เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอารักขาอันสำรวมดีแล้วในทวารทั้ง ๖.
คำว่า โภชเน มตฺตญฺญู (แปลว่า รู้ประมาณในโภชนะ) นี้ เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นมีคุณธรรมมีความสันโดษเป็นต้น.
คำว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ ชาคริยานุโยคมนุยุตฺโต (แปลว่า ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม) นี้ เป็นคำแสดงถึงความเป็นการณะของภิกษุนั้น.
คำว่า สาตจฺจํ เนปกฺกํ (แปลว่า ประกอบความเพียรอันเป็นไปติดต่อและประกอบด้วยปัญญาอันรักษาตน) นี้ เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้กระทำความพยายามให้ติดต่อกันไป ด้วยความเพียรซึ่งสำรวจแล้วด้วยปัญญา.
คำว่า โพธิปกฺขิกานํ ธมฺมานํ ภาวนานุโยคมนุยุตฺโต (แปลว่า ประกอบความเพียรเจริญโพธิปักขิยธรรม) นี้ เป็นคำแสดงถึงความรู้อันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดด้วยการปฏิบัติของภิกษุนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 343
คำว่า โส อภิกฺกนฺเตฯ เปฯ ตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติ นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการก้าวไปข้างหน้า ฯลฯ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสติสัมปชัญญะในที่ทั้งปวง.
คำว่า โส วิวิตฺตํ เสนาสนํ ภชติ นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะอันสงัด) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นถือเอาเสนาสนะอันสมควร.
คำว่า อรญฺํฯ เปฯ ปฏิสลฺลานสารูปํ นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า ฯลฯ สมควรแก่การหลีกเร้น) เป็นคำแสดงถึงประเภทเสนาสนะอันไม่มีโทษและมีอานิสงส์.
คำว่า โส อรญฺคโต วา นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้นไปสู่ป่าก็ตาม) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยเสนาสนะมีประการตามที่กล่าวแล้วนั้น.
คำว่า นิสีทติ นี้ (แปลว่า นั่งอยู่) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอิริยาบถอันสมควรแก่การประกอบความเพียร.
คำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา นี้ (แปลว่า ตั้งสติมุ่งต่อกรรมฐาน) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เริ่มประกอบความเพียร.
ก็คำว่า โส อภิชฺฌํ โลเก ปหาย เป็นต้น (แปลว่า ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก คือขันธ์ ๕ ได้แล้ว) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้ละนิวรณ์ ด้วยการประกอบความเพียรเนืองๆ ในกรรมฐาน.
คำว่า ตสฺเสว ปหีนนีวรณสฺส วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นต้น (แปล ว่า ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันทำให้ใจเศร้าหมอง ทำปัญญาให้ทราม ได้แล้ว สงัดจากกามทั้งหลาย) เป็นคำแสดงถึงการบรรลุฌานโดยลำดับ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 344
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ยังฌานให้เกิดขึ้นในศาสนานี้. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ยังฌานให้เกิดขึ้น พึงชำระศีล ๔ ให้บริสุทธิ์ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต นี้ ว่าเป็นศีลหมดจดวิเศษแล้วในปาฏิโมกข์สังวร ในบัดนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงอาชีวปาริสุทธิศีลด้วยคำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงศีลทั้งสองของภิกษุนั้นโดยไม่เหลือ ด้วยคำว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกขาปเทสุ นี้. ย่อมทรงแสดงอินทรียสังวร ด้วยคำว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร นี้. ย่อมทรงแสดงปัจจยสันนิสสิตศีล ด้วยคำว่า โภชเน มตฺตญฺู นี้. ย่อมทรงแสดงธรรมทั้งหลาย อันมีอุปการะแห่งการเจริญฌานของภิกษุผู้ตั้งอยู่แล้วในศีล ด้วยคำว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงการประกอบด้วยดีในสติสัมปชัญญะโดยการไม่เสื่อมไปแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นและทั้งความไม่เสื่อมสูญแห่งกรรมฐาน ด้วยคำว่า โส อภิกฺกนฺเต เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงการถือเอาเสนาสนะ อันสมควรแก่ภาวนา ด้วยคำว่า โส วิวิตฺตํ เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงอิริยาบถ อันสมควรแก่ฌานและการเริ่มเจริญฌานของภิกษุผู้เข้า ถึงแล้วซึ่งเสนาสนะนั้น ด้วยคำว่า โส อรญฺคโต วา เป็นต้น ย่อมทรงแสดงการละธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ฌาน โดยการเริ่มเจริญฌาน ด้วยคำว่า โส อภิชฺฌํ เป็นต้น. ย่อมแสดงลำดับการบรรลุฌานทั้งหมดของภิกษุผู้มีธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ฌานอันละแล้วอย่างนี้ ด้วยคำว่า โส อิเม ปญฺจ นีวรเณ ปหาย เป็นต้น ฉะนี้แล.
วรรณนามาติกา จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 345
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์
อธิบายมาติกาปทนิทเทส
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะแสดงจำแนกมาติกาตามที่ทรงตั้งไว้ จึงเริ่มคำว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นอาทิ (แปลว่า บทว่า อิธ มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น).
ในมาติกาปทนิทเทสเหล่านั้น คำสั่งสอนของพระสัพพัญญพุทธะ กล่าวคือ ไตรสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (๑) ๑๐ บท มีคำว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นต้น.
จริงอยู่ ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ทิฏฐิ เพราะความที่ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว (จึงตรัสเรียก ชื่อว่า ทิฏฐิ) ตรัสเรียกชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถแห่งความอดทนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละ, ตรัสเรียกชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่งความยินดี, ตรัส เรียกชื่อว่า ลัทธิ (อาทาย) ด้วยสามารถแห่งการถือเอา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ, ตรัสเรียกชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ควรแก่การ ศึกษา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถทั้งสองนั้น, อรรถทั้งสองนั้นตรัสเรียกชื่อว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถแห่งคำอันพระองค์ตรัสแล้ว, ตรัสเรียกชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะอรรถว่า การประพฤติธรรมอันประเสริฐสุด, ตรัสเรียกชื่อว่า สัตถุศาสน์ ด้วยสามารถแห่งการให้ความพร่ำสอน. เพราะฉะนั้น ในคำว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นต้น จึงได้แก่ ในทิฏฐิของพระพุทธเจ้านี้ ใน
(๑) ๑๐ บท คือ ทิฏฐิ ขันติ รุจิ ลัทธิ ธรรม วินัย ธรรมวินัย ปาพจน์ พรหมจรรย์ สัตถุศาสน์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 346
ขันติของพระพุทธเจ้านี้ ในรุจิของพระพุทธเจ้านี้ ในลัทธิของพระพุทธเจ้านี้ ในธรรมของพระพุทธเจ้านี้ ในวินัยของพระพุทธเจ้านี้.
ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านั้นเป็นไปเพื่ ความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบ เป็นไปเพื่อความก่อ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ เป็นไปเพื่อความยึดถือ ไม่เป็นไปเพื่อความสละ เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลี ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อการปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ดังนี้.
ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ โดยส่วนเดียวว่า นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์.
ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อจะความเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก.
ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์ ดังนี้. ครั้นเมื่อความเป็นไปเช่นนั้น ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ในปาพจน์ของพระพุทธเจ้า ในพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้ ก็เหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง คำสั่งสอนทั้งสิ้นกล่าวคือ ไตรสิกขานี้ ชื่อว่า ทิฏฐิ เพราะความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะความเป็นปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 347
แก่สัมมาทิฏฐิ และเพราะความเป็นเบื้องต้นของสัมมาทิฏฐิ, ชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถแห่งการอดทนของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่งความพอใจ และชื่อว่า ลัทธิ ด้วยสามารถแห่งการถือเอา.
สภาวะใด ย่อมทรงไว้ซึ่งการกของตนไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย ฉะนั้น สภาวะนั้นจึงชื่อว่า ธรรม. สภาวะนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ย่อมนำออกซึ่งสภาวะอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลส. ธรรมนั้นด้วย วินัยนั้นด้วย ชื่อว่า ธรรมวินัย.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า เป็นสภาพกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ดูก่อนโคตมี เธอพึงทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ฯลฯ ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า การฝึกโดยธรรม มิใช่ฝึกด้วยอาชญา มีท่อนไม้เป็นต้น. จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ทณฺเฑเนเก ทมยนฺติ องฺกุเสหิ กสาหิ จ
อทณฺเฑน อสตฺเถน นาโค ทนฺโต มเหสินา.
แปลว่า
คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ด้วยท่อนไม้ ด้วยขอสับ และด้วยแส้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงฝึกช้าง ตัวประเสริฐ มิใช่ด้วยท่อนไม้ มิใช่ด้วยศาสตรา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 348
เมื่อสัตว์ทั้งหลายอันพระองค์ทรงแนะนำอยู่โดยธรรมฉันนั้นแล้ว ความริษยาจักพึงมีแก่ผู้รู้ทั้งหลายได้อย่างไร.
อีกอย่างหนึ่ง การแนะนำโดยธรรม ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ การแนะนำ (วินัย) นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อธรรมอันหาโทษมิได้ ทั้งไม่เป็นไปเพื่อโภคะและอามิสในภพ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาอันกว้างขวาง จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ (ในธรรมวินัยนี้) ย่อมไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อหลอกลวงชน ดังนี้. แม้พระปุณณเถระก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุย่อมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ดับไม่เหลือ) แล.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ย่อมนำผู้ประเสริฐไป. วินัยโดยธรรมก็ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ ธรรมวินัยนี้ย่อมให้ออกจากสังสารธรรมหรือโสกาทิธรรมแล้วนำไปสู่พระนิพพานอันเลิศ.
อีกอย่างหนึ่ง วินัยของพระพุทธเจ้าผู้มีธรรม หาใช่ของเจ้าลัทธิทั้งหลายไม่ ดังนี้จึงชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมจึงชื่อว่า วินัยของธรรมนั้นนั่นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั่นแหละ เป็นธรรมพึงรู้ยิ่ง (อภิญฺเยยา) เป็นธรรมพึงกำหนดรู้ (ปริญฺเยฺยา) เป็นธรรมพึงละ (ปหาตพฺพา) เป็นธรรมพึงเจริญ (ภาเวตพฺพา) เป็นธรรมพึงกระทำให้แจ้ง (สจฺฉิกาตพฺพา) ฉะนั้น วินัยในธรรมทั้งหลายนี้ มิใช่วินัยในสัตว์ทั้งหลาย มิใช่วินัยในชีวะทั้งหลาย จึงชื่อว่า ธรรมวินัย. ชื่อว่า ปวจนะ เพราะอรรถว่า เป็นประธาน (เป็นใหญ่) กว่าถ้อยคำของชนเหล่าอื่น ด้วยถ้อยคำทั้งหลายมีคำอันเป็นไปกับด้วยอรรถและพยัญชนะเป็นต้น. ปวจนะนั้นนั่นแหละ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 349
ชื่อว่า ปาพจน์. ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นจริยาอันเลิศกว่าจริยาทั้งหมด. ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะอรรถว่า คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง แม้คำว่า คำสั่งสอนอันเป็นศาสดาก็ชื่อว่า สัตถุศาสน์ ได้. จริงอยู่ พระธรรมวินัยนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นศาสดาดังพระบาลีว่า โส โว มมจฺจเยน สตฺถา เป็นต้น (แปลว่า ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา) พึงทราบเนื้อความทั้งหลายดังพรรณนามาฉะนี้ ก็เพราะความที่ภิกษุผู้ยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้น ปรากฏในศาสนานี้ มิได้ปรากฏในศาสนาอื่น ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำคำนิยามในบทนั้นไว้ ด้วยบทว่า อิมิสฺสา บ้าง อิมสฺมึ บ้าง (แปลว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น)
ข้อนี้ เป็นคำอธิบายมาติกาปทนิทเทส ในคำว่า อิธ.
ภิกขุนิทเทส
ในภิกขุนิทเทส บทว่า สมญฺาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยบัญญัติคือโดยโวหาร. จริงอยู่ บางคนย่อมปรากฏว่าเป็นภิกษุด้วยสมัญญานั่นแหละ. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายเมื่อนับจำนวนภิกษุทั้งหลาย ในคราวนิมนต์เป็นต้น ย่อมรวมแม้สามเณรด้วย แล้วกล่าวว่า มีภิกษุหนึ่งร้อย หนึ่งพัน ดังนี้.
บทว่า ปฏิญฺาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยปฏิญญาของตน. จริงอยู่ บางคนย่อมเป็นภิกษุแม้ด้วยปฏิญญา. พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งบทว่า โก เอตฺถ นั้น ในบรรดาคำทั้งหลายมีคำปฏิญญาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็นภิกษุ เป็นต้น. ก็ปฏิญญานี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เป็นคำอันพระอานนท์กล่าวแล้ว. อนึ่ง ในเวลาราตรี ชนทั้งหลายแม้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อมีผู้ถามว่า ใครในที่นี้ ผู้ทุศีลนั้นย่อมกล่าวด้วยปฏิญญา อันไม่เป็นธรรม อันไม่เป็นจริงว่า เราเป็นภิกษุ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 350
บทว่า ภิกฺขติ แปลว่า ย่อมขอ. จริงอยู่ บางคนย่อมขอ ย่อมค้นหา ย่อมแสวงหาซึ่งภิกษา ได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ย่อมขอโดยแท้.
บทว่า ภิกฺขาจริยํ อชฺฌุปคโต (แปลว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจารที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นเข้าถึงแล้ว) จริงอยู่ บางคนละกองโภคะน้อยบ้าง มากบ้าง บวชเป็นบรรพชิตไม่มีเรือน ละการเลี้ยงชีพด้วยกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น ผู้นั้นชื่อว่า เป็นภิกษุ เพราะอรรถว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร โดยการปกปิดไว้ซึ่งเพศ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด แม้บริโภคภัตที่เขาหาบมาในท่ามกลางวิหาร เพราะความเป็นผู้มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น ผู้นั้นก็ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด อาศัยก้อนข้าว เพราะความเป็นผู้มีอุตสาหะเกิดขึ้นแล้วในบรรพชา ผู้นั้นก็ชื่อว่า ภิกษุผู้เข้าถึงภิกขาจาร.
บุคคลใด ย่อมทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายโดยการทำลายซึ่งค่า (ราคา) ผัสสะ (การถูกต้องนุ่มนวล) และสีนั้น พึงทราบการทำลายค่า โดยการตัดด้วยมีด. จริงอยู่ ผืนผ้า แม้มีราคาตั้งพัน เมื่อถูกตัดให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว ย่อมเป็นผ้ามีค่าอันทำลายแล้ว ย่อมไม่ได้ราคาแม้เพียงครึ่งหนึ่งของราคาเดิม. พึงทราบการทำลายผัสสะ ด้วยการเย็บด้วยด้าย. จริงอยู่ ผืนผ้าแม้มีผัสสะสบาย ย่อมเป็นผัสสะอันทำลายด้วยด้ายแล้ว ย่อมถึงซึ่งความเป็นผัสสะขรุขระ (กระด้าง) พึงทราบการทำลายสี โดยการเย็บเพราะสนิมแห่งเข็มเป็นต้น. จริงอยู่ ผืนผ้าแม้สะอาดดีแล้ว ย่อมเป็นผืนผ้าที่ถูกทำลายด้วยมลทินแห่งเข็มจำเดิมแต่ทำการเย็บ ในที่สุดย่อมถูกทำลายไปด้วยสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย มีเหงื่อแห่งมือและของปฏิกูลเป็นต้น และด้วยการย้อม การทำกัปปะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 351
(เครื่องหมายจุดดำเล็กๆ) ย่อมผิดไปจากสีเดิม. ผู้ใด ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะการทรงผืนผ้าอันถูกทำลายด้วยอาการ ๓ อย่าง อย่างนี้ ผู้นั้น ชื่อว่า ภิกษุ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าอันถูกทำลายแล้ว ด้วยเหตุสักว่า การทรงผ้ากาสาวะอันเป็นวิสภาคะ (ต่าง) จากผ้าของคฤหัสถ์.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๕ ด้วยโสดาปัตติมรรค.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๔ ด้วยสกทาคามิมรรค.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๔ ด้วยอนาคามิมรรค.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๘ ด้วยอรหัตตมรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ส่วนบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ พระองค์ทรงแสดงด้วยคำว่า ภินฺนตฺตา (แปลว่า เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมแล้ว) จริงอยู่ พระโสดาบันทำลายกิเลส ๕ อย่าง ด้วยโสดาปัตติมรรคแล้วดำรงอยู่. พระสกทาคามีทำลายกิเลส ๔ ด้วยสกทาคามิมรรคแล้วดำรงอยู่. พระอนาคามีทำลายกิเลส ๔ ด้วยอนาคามิมรรคแล้วดำรงอยู่. พระอรหันต์ทำลายกิเลส ๘ ด้วยอรหัตตมรรคแล้วดำรงอยู่. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ อย่างนี้ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัย ในข้อว่า โอธิโส กิเลสานํ ปหานา (แปลว่า เพราะละกิเลสบางส่วน) คำว่า โอธิ (ได้แก่ บางส่วน หรือเขตแดน) มี ๒ อย่าง คือ มัคโคธิ (มคฺค + โอธิ=มคฺโคธิ) แปลว่า ส่วน หรือเขต
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 352
แดนของมรรค กิเลโสธิ (กิเลส + โอธิ=กิเลโสธิ) แปลว่า ส่วนหรือเขตแดนของกิเลส. เขตแดนชื่อว่า โอธิ. ในโอธิ ๒ นั้น พระโสดาบัน ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสบางส่วน ด้วยมัคโคธิ. จริงอยู่ มรรคทั้ง ๔ มรรคหนึ่งเท่านั้นละกิเลสไปบางส่วน มิใช่มรรค ๔ ละกิเลสทั้งสิ้น. แม้ในสกทาคามี อนาคามี ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เพราะโสดาบันชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสบางส่วน คือกิเลโสธิ. จริงอยู่ ในบรรดากิเลสที่ท่านควรละ ท่านละไปได้เพียงบางส่วน หาใช่ละไปทีเดียวทั้งหมดไม่.
ก็พระอรหันต์ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน. จริงอยู่ ท่านละกิเลสไปโดยไม่จำเพาะส่วนด้วยมรรค ๔ หาใช่ละไปด้วยเขตแดนแห่งมรรคเดียวไม่. อนึ่ง ในกิเลสที่พึงละท่านละไปโดยไม่มีส่วนเหลือเลย เพราะว่าแดนแห่งกิเลสแม้สักอย่างหนึ่งชื่อว่าตั้งอยู่มิได้มี. แม้ในส่วนทั้งสองนั้น พระอรหันต์ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสทั้งหลายไปโดยไม่จำเพาะส่วน ดังพรรณนามาฉะนี้.
พึงทราบวิเคราะห์ ในบทว่า เสกฺโข ต่อไป.
พระอริยบุคคล ๗ กับด้วยกัลยาณปุถุชน ผู้ยังศึกษาสิกขา ๓ อยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า เสกขา (ผู้กำลังศึกษาอยู่) ในบุคคลเหล่านั้น พระเสกขะไรๆ ก็ชื่อว่า ภิกษุ.
ชื่อว่า อเสกขา เพราะไม่ต้องศึกษา. พระขีณาสพ ก้าวล่วงเสกขธรรมแล้ว ดำรงอยู่ในผลอันเลิศ เรียกว่า อเสกขะ เพราะไม่มีเสกขธรรมที่ท่านพึงศึกษาให้ยิ่งกว่านั้น.
ภิกษุปุถุชนที่เหลือ กำลังศึกษาสิกขา ๓ อยู่ก็ไม่ใช่ ศึกษาแล้วก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุปุถุชนนั้นไม่ใช่พระเสกขะ และ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 353
พระอเสกขบุคคล. ผู้บรรลุธรรมอันเลิศ คือศีลอันเลิศ สมาธิอันเลิศ ปัญญาอันเลิศ วิมุตติอันเลิศนี้ดำรงอยู่ ชื่อว่า ภิกษุ.
ผู้ไม่ลามก (ผู้ไม่ตกต่ำ) ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม. จริงอยู่ ตั้งแต่กัลยาณปุถุชน จนถึงพระอรหันต์ ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันงาม เพราะประกอบด้วย ศีลอันงาม สมาธิอันงาม ปัญญาอันงาม วิมุตติอันงาม วิมุตติญาณทัสสนะอันงาม.
ภิกษุผู้ไม่มัวหมอง ผ่องใส ชื่อว่า ภิกษุผู้บริสุทธิ์ผ่องใส. ความไม่ขุ่นมัว มีความผ่องใสวิเศษแล้วเป็นอรรถ ดุจความผ่องใสของเนยใสๆ.
บทว่า สาโร พึงทราบว่า ชื่อว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็นสาระ เพราะประกอบด้วยสาระ ๓ มีศีลสาระเป็นต้น ดุจผืนผ้าเขียว เพราะ ประกอบด้วยสีเขียว. อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพเท่านั้นพึงทราบว่า ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันเป็นสาระ เพราะปราศจากกิเลสอันไร้ประโยชน์.
อนึ่ง ในข้อว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยจำเพาะส่วน และพระเสกขะ ชื่อว่า ภิกษุ นี้. ในฐานะ ๓ ดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระเสกขะ ๗. ข้อว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน (โดยไม่เหลือ) และผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ผู้ชื่อว่า ภิกษุ ทั้งปวงเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระขีณาสพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงคำว่า ภิกษุ ด้วยสัญญาเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงความเป็นภิกษุ ด้วยสามารถแห่งการอุปสมบท จึงตรัสว่า สมคฺเคน สงฺเฆน เป็นอาทิ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 354
ในคำเหล่านั้น คำว่า สมคฺเคน สงฺเฆน (แปลว่า โดยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน) ได้แก่ ภิกษุผู้ควรแก่สังฆกรรม ในการทำกรรม อย่างต่ำต้องมีภิกษุครบ ๕ รูป ในการทำกรรมทุกครั้ง โดยไม่กำเริบ ต้องนำฉันทะของภิกษุที่มีอยู่มา เมื่อภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว จึงชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะความที่ฉันทะอันภิกษุนำมาแล้ว.
คำว่า ตฺติจตุตฺเถน (แปลว่า มีญัตติเป็นที่ ๔) ได้แก่ กรรม อันสงฆ์พึงทำด้วยอนุสาวนา ๓ ครั้ง และด้วยญัตติ ๑ ครั้ง
คำว่า กมฺเมน ได้แก่ ด้วยวินัยกรรมอันถูกต้อง (อันเป็นธรรม).
คำว่า อกุปฺเปน ได้แก่ เข้าถึงแล้วซึ่งความที่กรรมนั้นเป็นกรรมอันไม่หวั่นไหว มั่นคง เพราะถึงพร้อมด้วยวัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ และบริษัทสมบัติ (ถึงพร้อมด้วยหมู่คณะ).
คำว่า านารเหน (แปลว่า ควรแก่ฐานะ) ได้แก่ ควรแก่เหตุ ควรแก่สัตถุศาสน์. คือว่าผู้เข้าถึงแล้ว บรรลุแล้วซึ่งภาวะในเบื้องบน ชื่อว่า เป็นอุปสัมบัน (คือ ผู้บวชแล้ว) จริงอยู่ ความเป็นภิกษุชื่อว่า ภาวะในเบื้องบน (อุปริภาวะ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภาวะในเบื้องบนว่า อุปสัมบัน เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกรรม (การบวช) ตามที่กล่าวแล้ว.
นัยเหล้านี้ (หมายถึงการอุปสมบท) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการอุปสมบท ๘ อย่างคือ
๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
๒. สรณคมนอุปสัมปทา
๓. โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา
๔. ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 355
๕. ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา
๖. ทูเตนอุปสัมปทา
๗. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา
๘. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
บรรดาอุปสัมปทาเหล่านั้น อุปสัมปทา ๓ คือ ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ทูเตนอุปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทาเหล่านี้เท่านั้นถาวร. ส่วนที่เหลือได้มีอยู่เพียงสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น. บรรดาอุปสัมปทาเหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาอย่างเดียว.
ปาฏิโมกขสังวรนิทเทส
ในนิทเทสแห่งปาฏิโมกขสังวร คำว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ สิกขาบท คือ ศีล. จริงอยู่ สภาวะใด ย่อมคุ้มครอง ย่อมรักษา ย่อมให้หลุดพ้น ย่อมเปลื้องจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ในอบายเป็นต้น ฉะนั้นจึงตรัสสภาวะนี้ว่า ปาฏิโมกข์ ดังนี้. คำว่า ศีล เป็นที่อาศัย (สีลํ ปติฏฺฐา) เป็นต้น (๑) เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์นั้นนั่นแหละ. ในคำเหล่านั้น คำว่า ศีล นี้ เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์อันสำเร็จในเวลาเป็นที่สิ้นสุดลงพร้อมกับกรรมวาจาก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า ผู้ยังวัตรปฏิบัติให้เต็ม พึงทราบว่า ข้อนั้นก็เป็นศีล. สมจริงตามที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า อะไรเป็นศีล ตอบว่า เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล ดังนี้.
(๑) คำว่า ศีล เป็นต้น คือ เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 356
ในคำเหล่านั้น เจตนาของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า การยังวัตรปฏิบัติให้เต็ม ชื่อว่า เจตนาเป็นศีล.
การงดเว้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า เจตสิก เป็นศีล. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาอันเป็นไปในกรรมบถ ๗ ของผู้ละปาณาติบาต เป็นต้น ก็ชื่อว่า เจตนาเป็นศีล. ในสังยุตตมหาวรรค ท่านกล่าวธรรมทั้ง หลาย มีความไม่โลภไม่พยาบาทและสัมมาทิฏฐิ โดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลละ อภิชฌา อยู่ด้วยเจตนาปราศจากความโลภ ดังนี้ก็ชื่อว่า เจตสิกเป็นศีล.
ในข้อว่าความสำรวมเป็นศีล พึงทราบโดยความสำรวม ๕ คือ
๑. ปาฏิโมกขสังวร (ความสำรวมด้วยปาฏิโมกข์)
๒. สติสังวร (ความสำรวมด้วยสติ)
๓. ญาณสังวร (ความสำรวมด้วยญาณ)
๔. ขันติสังวร (ความสำรวมด้วยขันติ)
๕. วิริยสังวร (ความสำรวมด้วยความเพียร).
ความต่างกัน (นานากรณํ) ของความสำรวมเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในปกรณ์วิเศษชื่อว่า วิสุทธิมรรค.
ข้อว่า การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล อธิบายว่า การไม่ก้าวล่วงอันเป็นไปทางกายและวาจาของผู้มีศีลอันสมาทานแล้ว.
คำว่า การสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล นี้แหละเป็นศีลโดยตรง (นิปปริยาย) ส่วนข้อว่า เจตนาเป็นศีล และเจตสิกเป็นศีล นี้ พึงทราบว่า เป็นศีลโดยปริยาย (โดยอ้อม) ก็เพราะภิกษุชื่อว่า ย่อมตั้งมั่นในพระศาสนาด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลนั้นเป็นที่อาศัย ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 357
ศีลชื่อว่าเป็นที่อาศัย เพราะภิกษุย่อมตั้งมั่นในพระศาสนานี้ หรือ กุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้นย่อมตั้งมั่นในพระศาสนานี้.
เนื้อความนี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งพระสูตรที่ว่า ก็นระ ผู้มีปัญญาอาศัยซึ่งศีล เป็นต้น พระสูตรว่า ดูก่อนมหาราช ชนทั้งหลาย อาศัยศีลแล้ว พึงยังกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น เป็นต้น และพระสูตรว่า ดูก่อนมหาราช เมื่อบุคคลอาศัยศีลแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงย่อมไม่เสื่อมรอบ ดังนี้เป็นต้น.
ศีลนี้นั้น ชื่อว่า เป็นเบื้องต้น เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นก่อน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงชำระธรรม (ศีล) อันเป็นเบื้องต้นนั่นแหละให้ยิ่งขึ้นไป ก็บรรดากุศลธรรมทั้งหลาย อะไรเล่าชื่อว่า เป็นธรรมเบื้องต้น ก็ศีลอันหมดจดดีแล้ว และทิฏฐิอันตรงด้วย เป็นธรรมเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.
เปรียบเหมือนนายช่างผู้สร้างเมือง มีความประสงค์จะสร้างเมือง ย่อมชำระพื้นที่ของเมืองก่อน ภายหลังจึงแบ่งที่สร้างเมือง โดยกำหนดเอาทางสามแพร่งสี่แพร่งเป็นต้น ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้นนั่นแหละ ย่อมชำระศีลตั้งแต่ต้นทีเดียว ภายหลังจากนั้นก็กระทำให้แจ้งซึ่งสมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และพระนิพพาน.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างย้อม ซักผ้าด้วยน้ำด่าง เมื่อผ้าสะอาดดีแล้วจึงย้อมด้วยสีต่างๆ ตามปรารถนา ฉันใด ก็หรือว่า จิตรกร (ช่างวาดเขียน) ผู้ฉลาดปรารถนาจะวาดรูป เขาย่อมกระทำการตกแต่งฝาก่อน หลังจากนั้นจึงวาดรูป ฉันใด.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 358
พระโยคาวจร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชำระศีลแต่ต้นเทียว หลังจากนั้น ก็กระทำให้แจ้งซึ่งสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ศีลเป็นเบื้องต้น ดังนี้.
ศีลนั้นๆ ชื่อว่าเป็นจรณะ เพราะความเป็นธรรมชาติเช่นกับเท้า (เครื่องดำเนินไป). จริงอยู่ เท้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นจรณะ. เหมือนอย่างว่า สภาพการปรุงให้ดำเนินไปสู่ทิศ ย่อมไม่เกิดแก่บุรุษผู้มีเท้าขาดแล้ว ย่อมเกิดแก่บุรุษผู้มีเท้าสมบูรณ์นั้นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น ศีลของผู้ใดแตกแล้ว ขาดแล้ว ไม่สมบูรณ์แล้ว การดำเนินไปสู่ญาณเพื่อบรรลุพระนิพพาน ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่ผู้นั้น ส่วนผู้ใดมีศีลไม่แตก ไม่ขาด บริบูรณ์แล้ว ผู้นั้นก็จะดำเนินไปสู่ญาณเพื่อบรรลุพระนิพพาน ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นจรณะ ดังนี้.
ศีลนั้นๆ ชื่อว่า สังยมะ (เครื่องสำรวม) ด้วยสามารถแห่งการระวัง ชื่อว่า สังวร (เครื่องระมัดระวัง) ด้วยสามารถแห่งการปิดกั้น. แม้ด้วยเหตุทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง ดังนี้. พึงทราบวจนัตถะในที่นี้ว่า
สภาวะใด ย่อมสำรวมการดิ้นรน โดยก้าวล่วงของบุคคล หรือว่า ย่อมสำรวมซึ่งบุคคล คือว่า ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระสับกระส่ายไปของบุคคลนั้น ด้วยสามารถแห่งการก้าวล่วง ฉะนั้น สภาวะนั้นจึงชื่อว่า สังยมะ (เครื่องสำรวม).
ชื่อว่า สังวร (เครื่องระวัง) เพราะย่อมปิดกั้นทวารอันเป็นที่ก้าวล่วงแห่งบุคคล.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 359
คำว่า มุขํ ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด หรือเป็นหัวหน้า. เหมือนอย่างว่า อาหารของสัตว์ทั้งหลาย เข้าไปทางปากแล้ว ย่อมแผ่ไปสู่อวัยวะน้อยใหญ่ ฉันใด กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ แม้ของพระโยคีก็ฉันนั้น เข้าไปทางปากคือศีลแล้ว ย่อมยังความสำเร็จแห่งประโยชน์ให้สมบูรณ์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นหัวหน้า ดังนี้.
คำว่า ปมุเขน สาธุ อธิบายว่าเป็นประธาน เป็นธรรมอันเลิศ เป็นธรรมชาติถึงก่อน เป็นธรรมประเสริฐสุด. คำว่า กุสลานํ ธมฺมานํ สมาปตฺติยา (แปลว่าเพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย) บัณฑิตพึงทราบว่า ศีลเป็นเลิศ เป็นธรรมถึงก่อน เป็นธรรมประเสริฐสุด เป็นประธานเพื่ออันได้เฉพาะซึ่งกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ ดังนี้.
คำว่า กายิโก อวีติกฺกโม (แปลว่า การไม่ล่วงละเมิดทางกาย) ได้แก่กายสุจริต ๓ อย่าง. คำว่า วาจสิโก (แปลว่า การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา) ได้แก่วจีสุจริต ๔ อย่าง. ทั้งสองนั้นชื่อว่า กายิกวาจสิโก (คือ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา). ท่านย่อมถือเอาอาชีวัฏฐมกศีล (คือ ศีล มีอาชีวะเป็นที่ ๘) ย่อมแสดงด้วยการไม่ก้าวล่วงละเมิดทางกายและวาจานี้.
คำว่า สํวุโต ได้แก่ อันเขาปิดแล้ว อธิบายว่า มีอินทรีย์อันสำรวมแล้วชื่อว่าปิดแล้ว. เหมือนอย่างว่า บ้านมีประตูปิดแล้ว ท่านเรียกว่า บ้านอันเขาปิดแล้ว ระวังแล้ว ฉันใด ในข้อนี้ก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุมีอินทรีย์สำรวมแล้ว ระวังคุ้มครองแล้ว.
คำว่า ปาฏิโมกฺขสํวเรน ได้แก่ ด้วยปาฏิโมกข์และสังวร. อีกอย่างหนึ่งได้แก่ ด้วยสังวร กล่าวคือ ปาฏิโมกข์. คำว่า อุเปโต (แปลว่า ผู้เข้าไปถึงแล้ว) เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. พระผู้มีพระ-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 360
ภาคเจ้าตรัสว่า การอยู่ด้วยอิริยาบถของภิกษุผู้ตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์สังวรศีล ด้วยบทแม้ทั้ง ๗ (๑) มีคำว่า อิริยติ เป็นต้น
อนาจารนิทเทส (๒)
ในนิทเทสแห่งอาจาระและโคจระ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะกล่าวอาจาระของสมณะ โคจระของสมณะแม้โดยแท้ จึงทรงยกซึ่งบทว่า อาจาระมีอยู่ อนาจาระมีอยู่ ด้วยบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง เมื่อจะบอกทางจึงกล่าวว่า ท่านจงปล่อยทางซ้าย ถือเอาทางขวา ย่อมบอกทางอันมีภัย ทางอันผิด อันบุคคลพึงปล่อยวางก่อน ภายหลังจึงบอกทางอันเกษม ทางอันตรงอันบุคคลพึงถือเอา ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พระธรรมราชาเช่นกับบุรุษผู้ฉลาดในทาง ทรงบอกอนาจาระอันพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจแล้ว อันบุคคลพึงละก่อน เมื่อจะทรงบอกอาจาระในภายหลังจึงตรัสว่า ตตฺถ กตโม อนาจาโร เป็นอาทิ. จริงอยู่ หนทางที่บุคคลบอกแล้วพึงไปถึงหรือไม่ถึงก็ได้ ส่วนทางที่พระตถาคตบอกแล้ว เป็นทางชอบธรรม ไม่ผิดหวัง ย่อมให้บรรลุถึงพระนครคือพระนิพพาน ดุจวชิราวุธ อันพระอินทร์ทรงปล่อยไปแล้ว ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง ดังนี้. คำว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนี้ เป็นชื่อของพระตถาคต.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะการประกอบความเพียรในกัลยาณธรรม ย่อมเป็นธรรมอันสมบูรณ์แก่บุคคลผู้มีบาปธรรมอันละแล้ว เปรียบเหมือนการทัดทรงด้วยเครื่องประดับ มีระเบียบดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น
(๑) ทั้ง ๗ บท คือ ผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี และประกอบแล้ว
(๒) อนาจาระ หมายถึงความประพฤติไม่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับ อาจาระ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 361
ย่อมสมควรแก่บุคคลผู้มีเหงื่อไคลและมลทินอันตนชำระแล้ว ด้วยการอาบน้ำพร้อมทั้งสระหัว ฉะนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระประสงค์จะบอกอนาจาระอันบุคคลพึงละก่อน เหมือนบุคคลทำความสะอาดชำระล้างเหงื่อไคลและมลทิน ด้วยการอาบน้ำสระหัว ภายหลังบอกอาจาระซึ่งเปรียบเหมือนการทัดทรงด้วยเครื่องประดับมีระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตโม อนาจาโร เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ความล่วงละเมิดทางกาย ได้แก่ กายทุจริต ๓. คำว่า ความล่วงละเมิดทางวาจา ได้แก่ วจีทุจริต ๔. คำว่า ความล่วงละเมิดทางกายและวาจา ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ เหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการก้าวล่วงของบุคคลผู้มีอาชีวัฏฐมกสีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) นั้นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้. ก็เพราะบุคคลไม่ประพฤติอนาจารด้วยกายและวาจาเท่านั้น ย่อมประพฤติแม้ด้วยใจทีเดียว ฉะนั้น เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งปวง ก็เรียกว่า อนาจาระ ดังนี้.
ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงอาจาระอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงตรัสดำว่า อิเธกจฺโจ เวฬุทาเนน เป็นต้น (แปลว่า ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ย่อมเลี้ยงชีพ ด้วยการให้ไม้ไผ่เป็นต้น).
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า การให้ไม้ไผ่ ได้แก่ การให้ไม้ไผ่อันเป็นเครื่องอาศัยเป็นเหตุ. อธิบายว่า ภิกษุไม่ควรให้แก่อุปัฏฐาก ด้วยอันคิดว่า เราจักนำไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นเองหรือไม้ไผ่ที่มีบุคคลคุ้มครองรักษามาให้เป็นเครื่องใช้สอย ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นต้น เพราะว่า ภิกษุเมื่อสำเร็จการเลี้ยงชีพอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาอันไม่ชอบธรรม เป็นมิจฉา-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 362
อาชีวะ. ภิกษุนั้นแหละ ย่อมถูกครหาในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า ก็ชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในอบาย ภิกษุนั้น เมื่อให้ไม้ไผ่อันเป็นของเฉพาะตนย่อมต้องอาบัติทุกกฏ ชื่อว่า กุลทูสกะ (ผู้ประทุษร้ายตระกูล) เมื่อให้ไม้ไผ่อันเป็นของเฉพาะของคนอื่น ย่อมต้องอาบัติด้วยเถยยจิต (ขโมย) สงฆ์พึงกระทำทัณฑกรรมแก่เธอตามราคาสิ่งของนั้น. แม้การให้ไม้ไผ่อันเป็นของสงฆ์ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า ภิกษุย่อมให้ไม้ไผ่นั้น เพราะความที่ตนเป็นใหญ่ เธอก็จะต้องอาบัติ เพราะการสละครุภัณฑ์.
ไม้ไผ่ประเภทไหนเป็นครุภัณฑ์ ประเภทไหนไม่เป็น พึงทราบความดังต่อไปนี้.
ไม้ไผ่ใด ที่ไม่ได้ปลูกไว้ เกิดขึ้นเองก่อน ไม้ไผ่นั้นเป็นครุภัณฑ์ตามฐานะที่สงฆ์กำหนดเท่านั้น นอกนั้นไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ไผ่ทั้งปวง เป็นครุภัณฑ์ โดยประการทั้งปวง ในอันที่สงฆ์ปลูกไว้แล้ว. ไม้ไผ่นั้น ท่านกำหนดแล้วโดยประมาณ. จริงอยู่ มีประมาณหนึ่งทะนานตวงน้ำมัน จัดเป็นครุภัณฑ์ ต่ำกว่านั้นไม่เป็น. อนึ่ง ภิกษุใด มีความต้องการด้วยทะนานตวงน้ำมันหรือต้องการไม้เท้า สงฆ์พึงถือเอาสิ่งนั้นกระทำให้เป็นผาติกรรม (๑) เถิด. ผาติกรรมเป็นของมีราคา หรือเป็นของมากกว่าของสงฆ์ย่อมควร น้อยกว่าไม่ควร. แม้หัตถกรรมสักว่าวัตถุเป็นเครื่องนำน้ำไป หรือว่าวัตถุเป็นเครื่องดายหญ้าอันเล็กน้อย ก็เช่นเดียวกัน สงฆ์ควรทำผาติกรรมนั้นให้ถาวร. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุโกยเลนขึ้นจากสระน้ำก็ดี ใช้ให้บุคคลปูลาดพื้นที่บันไดเพื่อทำพื้นที่ไม่เสมอให้เสมอกันก็ดี ควรอยู่ แต่ไม่ต้องถือเอาเครื่องผาติกรรมคือ เมื่อเธออาศัยอยู่ที่นั้นนั่นแหละพึงใช้สอย เมื่อ
๑. ผาติกรรม หมายถึงสิ่งของแลกเปลี่ยน ในทางพระวินัย หมายถึง การชดเชยของสงฆ์ด้วยสิ่งอื่น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 363
เธอหลีกไปแล้ว พึงทำสิ่งของเหล่านั้นให้เป็นของสงฆ์ เมื่อเธอหลงลืมถือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เมื่อไปแล้วในที่ระลึกได้ ก็พึงนำกลับมาคืนแต่ที่นั้น ถ้าภัยมีในระหว่าง ก็พึงวางสิ่งนั้นไว้ในที่วิหารอันตนไปถึงแล้ว. พวกมนุษย์ไปสู่วิหารขอไม้ไผ่ ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะให้ได้ โดยการบอกว่า นั่นเป็นของสงฆ์ ถ้าพวกเขาขอบ่อยๆ หรือคุกคาม ในเวลานั้น ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพึงทำทัณฑกรรม (๑) แล้วถือเอาเถิด. ขึ้นชื่อว่า การให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่มี. ถ้าว่า พวกมนุษย์เหล่านั้นถวายสิ่งของมีมีดและขวาน เป็นต้น หรือขาทนียะโภชนียะเพื่อกระทำให้เป็นสินไหม ไม่ควรรับ.
ในอรรถกถาพระวินัย ท่านกล่าวไว้ว่า พวกมนุษย์ถูกไฟไหม้บ้าน ถือเอาสิ่งของไปอยู่ ภิกษุไม่ควรห้าม. ถ้าขุยไผ่เกิดขึ้นที่กอไผ่ของสงฆ์ เมื่อไม่มีใครตัดต้นไผ่ ไม้ไผ่นั้นย่อมพินาศไป สงฆ์จะพึงทำอย่างไร. สงฆ์พึงบอก พวกมนุษย์ในเวลาที่ไปภิกขาจาร ถ้าพวกเขาไม่ปรารถนาจะช่วยทำ ก็พึงพูดว่า พวกท่านจะได้ส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าเขาไม่ต้องการ ก็พึงพูดว่า พวกท่านจักได้ ๒ ส่วน เมื่อพวกเขาไม่ปรารถนาแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่ต้องการไม้ไผ่นั้น ก็พึงบอกว่า พวกของท่านมีอยู่ ท่านจงทำให้เป็นสินไหม จงตัดไม้ไผ่ แล้วถือเอาสิ่งนั้นเถิด. ขึ้นชื่อว่า การให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่มี. แม้กอไผ่ถูกไฟไหม้ก็ดี แม้ถูกน้ำพัดไปก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
กถามรรค แม้ในต้นไม้ทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. สำหรับต้นไม้มีประมาณเท่าท่อนเข็ม ก็จัดเป็นครุภัณฑ์ได้. ภิกษุทำลายต้นไม้อันเป็นของสงฆ์ เพื่อทำอาวาส (ที่อยู่) อันเป็นของสงฆ์ แม้ไม่บอกขออนุญาตสงฆ์ก่อน ก็ทำได้ แต่เพื่อตัดคลองแห่งวาทะ พึงบอกขออนุญาตสงฆ์ก่อนแล้วพึงทำ.
(๑) ทัณฑกรรม หมายถึงสินไหม หรือราคาของที่จะแลกเปลี่ยน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 364
ถามว่า ภิกษุให้ตัดต้นไม้ของสงฆ์ ไม่บอกขออนุญาตสงฆ์ก่อน ควรเพื่อกระทำอาวาสเฉพาะบุคคลหรือไม่.
ตอบว่า ไม่ควร.
ก็เมื่อว่าโดยหัตถกรรมอย่างสูง ภิกษุย่อมได้สักว่าที่เป็นที่ตั้งเตียงในบ้านหลังหนึ่ง ในบ้าน ๓ หลังมีสิทธิ์ได้หลังเดียว. ถ้าทัพพสัมภาระเป็นของเฉพาะบุคคล พื้นดินเป็นของสงฆ์ ภิกษุนั้นกระทำบ้านหลังหนึ่ง ย่อมได้ส่วนเสมอกันคือ บรรดาบ้านที่เธอทำ ๒ หลัง เธอควรได้หลังหนึ่ง. เมื่อต้นไม้อันเป็นของสงฆ์ เบียดเบียนอาวาส (ที่อยู่) ของสงฆ์ ภิกษุไม่ขออนุญาตสงฆ์ก่อนนำออกไป ควรหรือไม่ ตอบว่า ควร แต่เพื่อตัดคลองแห่งวาทะ ควรขออนุญาตสงฆ์ก่อนแล้วนำออกไป. ถ้าลาภใหญ่ของสงฆ์อาศัยต้นไม้มีอยู่ ก็ไม่ควรนำออกไป.
เมื่อต้นไม้อันเป็นของเฉพาะบุคคล เบียดเบียนอาวาสอันเป็นของสงฆ์ พึงบอกแก่เจ้าของต้นไม้. ถ้าว่า เขาไม่ปรารถนาจะนำออกไป พึงให้บุคคลตัดก่อนแล้วจึงนำออกไป. เมื่อถูกเขาท้วงว่า พวกท่านจงให้ต้นไม้แก่เรา ดังนี้ พึงให้เขาตีราคาต้นไม้นั้น แล้วให้ทรัพย์ตามราคาทุน. เมื่อต้นไม้อันเป็นของสงฆ์ เบียดเบียนอาวาสอันเป็นของบุคคลก็ดี ต้นไม้อันเป็นของเฉพาะบุคคลเบียดเบียน อาวาสอันเป็นของบุคคลก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
กถามรรคแม้ในเถาวัลย์ (ไม้เถา) ก็นัยนี้นั่นแหละ. อนึ่ง ในที่ใดเถาวัลย์เป็นของหาได้ยาก เขาย่อมทำการซื้อขายกันในที่นั้น จัดเป็นครุภัณฑ์. ก็เถาวัลย์นั้นแล มีประมาณกึ่งหนึ่งของแขน จัดเป็นครุภัณฑ์ ท่อนเถาวัลย์ต่ำกว่านั้น ไม่เป็น.
แม้ในคำว่า การให้ใบไม้ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบคำทั้งปวง มีคำว่า ด้วยการให้ใบไม้ (ปตฺตทาเนน) เป็นต้น ได้แก่ ด้วยการให้ใบไม้อันเป็นปัจจัยเหตุ โดยนัยที่กล่าวแล้วในการให้ไม้ไผ่นั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 365
พึงทราบวินิจฉัยว่าด้วยความเป็นครุภัณฑ์ ในอธิการนี้ (การให้ใบไม้) ต่อไป.
จริงอยู่ บุคคลย่อมซื้อขายแม้ใบไม้ในที่ใด ชนทั้งหลายมีผู้ทำคัมภีร์เป็นต้นย่อมถือเอาเพื่อประโยชน์แก่การผูกคัมภีร์เป็นต้น ในที่อันหาได้ยากเช่นนั้น ย่อมจัดเป็นครุภัณฑ์ทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในใบไม้ทองหลางและใบตาล. แม้ใบตาลบัณฑิตก็พึงกล่าวในฐานะนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้ใบตาลในป่าตาลที่เกิดเองในที่อันสงฆ์กำหนดไว้นั่นแหละ จัดเป็นครุภัณฑ์. นอกจากนั้นไม่เป็น. ตาลที่สงฆ์ปลูกไว้ เป็นครุภัณฑ์แม้ทั้งหมด. ใบลานเปล่าโดยที่สุดมีประมาณ ๘ นิ้ว เป็นประมาณของครุภัณฑ์. แม้หญ้าก็พึงอนุโลมเข้าในข้อนี้เหมือนกัน. ก็ในที่ใดหญ้าไม่มี ในที่นั้น ชนทั้งหลายย่อมใช้กำบังด้วยหญ้ามุงกระค่าย ด้วยฟาง และด้วยใบมะพร้าวเป็นต้น เพราะฉะนั้น หญ้าทั้งหลายแม้เหล่านั้น ท่านจึงสงเคราะห์เข้าในข้อนี้. ในหญ้ามุงกระต่ายและฟางเป็นต้น หญ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมีประมาณหนึ่งกำมือ เป็นครุภัณฑ์. ในบรรดาใบมะพร้าวเป็นต้นแม้ใบหนึ่ง อันบุคคลถวายแก่สงฆ์ หรือที่เกิดในที่ของสงฆ์ หรือหญ้าที่เกิดเอง เป็นของอันบุคคลคุ้มครองรักษาในพื้นที่แห่งหญ้าของสงฆ์ ภายนอกอารามก็จัดเป็นครุภัณฑ์. เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมก็ดี ทำเจดีย์ก็ดี ในการทำอันเป็นของเฉพาะบุคคลก็ดี การให้หญ้านั้นเกินไป ก็ควร. แม้ในไม้ไผ่ที่กล่าวแล้วในหนหลัง ก็นัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในการให้ดอกไม้ ดอกไม้ทั้งหลายที่จัดเป็นครุภัณฑ์ คือ ที่สงฆ์กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ แล้วน้อมไปในระเบียบแห่งข้าวยาคูและภัต หรือน้อมไปในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะมีประมาณเท่านี้ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 366
สามเณรทั้งหลาย เก็บดอกไม้ทั้งหลายในภายนอกกระทำให้เป็นกองไว้ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ซึ่งเป็นผู้แจกดอกไม้ นับจำนวนภิกษุสงฆ์แล้ว แบ่งไว้เป็นส่วนๆ เธอไม่ต้องขออนุญาตสงฆ์ก่อน ย่อมแจกแก่บริษัทที่มาแล้วได้. อนึ่ง ภิกษุผู้แจกนั้น สงฆ์ยังมิได้สมมติ พึงขออนุญาตสงฆ์แล้วพึงทำการแจกเถิด.
ถามว่า ก็ภิกษุย่อมได้เพื่อจะให้ดอกไม้ทั้งหลายแก่ใคร ไม่ไห้แก่ใคร
ตอบว่า ภิกษุนำดอกไม้ไปสู่บ้านของมารดาบิดาก็ดี หรือยังบุคคลให้เรียกมารดาบิดามาจากบ้านก็ดี เธอย่อมได้เพื่ออันให้ด้วยคำว่า ท่านทั้งหลาย จงบูชาพระรัตนตรัย. มิใช่ให้เพื่อเป็นเครื่องประดับ. ภิกษุไม่ควรนำไปให้แก่หมู่ญาติเหลือทั้งหลาย ควรให้บุคคลเรียกมาแล้วให้ด้วยคำว่า พวกท่านทั้งหลาย จงทำการบูชา ดังนี้. ภิกษุนั้น ไม่พึงประสงค์ให้แก่ชนที่เหลือผู้มาสู่ที่เป็นที่บูชา. ชื่อว่า การให้ดอกไม้ ย่อมไม่มี. ในวิหารมีดอกไม้บานมาก ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเห็นพวกมนุษย์แล้ว พึงพูดว่า ในวิหารมีดอกไม้มาก พวกเธอจงบูชา ดังนี้. โทษย่อมไม่มีในเพราะสักว่าคำพูด. ก็แต่ว่า เธอไม่ควรพูดด้วยคิดว่า พวกมนุษย์ถือเอาขาทนียะโภชนียะแล้ว จักมา ดังนี้. ก็ภิกษุนั้น ไม่ควรพูดถึงขาทนียะโภชนียะอันตนพึงบริโภค ถ้ามนุษย์ทั้งหลายถามตามธรรมดาของเขาว่า ดอกไม้ทั้งหลายมีอยู่ในวิหารหรือ และกล่าวต่อไปว่า พวกผมจักมาสู่วิหารในวันชื่อโน้น ท่านทั้งหลาย. อย่าให้พวกสามเณรเก็บดอกไม้ทั้งหลาย ดังนี้. แต่พวกภิกษุลืมบอกสามเณร พวกสามเณรจึงเก็บดอกไม้ทั้งหลายวางไว้ เมื่อพวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันโน้นเทียว พวกกระผมบอกแก่ท่านแล้วว่า อย่าให้สามเณรเก็บดอกไม้ เพราะเหตุใด พวกท่านไม่ได้ห้ามแล้ว. ภิกษุพึงกล่าวว่า เราหลงลืมสติ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 367
ดอกไม้ทั้งหลายสักว่าอันสามเณรเก็บแล้วนั่นแหละ ยังมิได้ทำการบูชา. ไม่ควรกล่าวว่า ท่านจงถือเอา จงบูชา. ถ้าว่า ภิกษุกล่าวไซร้ ก็ไม่พึงบริโภคอามิส. ภิกษุอื่นย่อมบอกแก่พวกสามเณรว่า มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่ในบ้านโน้นบอกว่า พวกท่านอย่าเก็บดอกไม้ ดังนี้. แม้พวกมนุษย์นำอามิสมาถวายทาน และกล่าวว่า คนของพวกกระผมมีไม่มาก ขอท่านจงบอกสามเณรให้ช่วยเก็บดอกไม้พร้อมกับพวกกระผมเถิด. พวกภิกษุพึงกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก สามเณรทั้งหลายมีภิกษาแล้ว พวกสามเณรที่ไม่ไปสู่ที่ภิกขาจารจักทราบเองนั่นแหละ. การที่คฤหัสถ์ได้นัยมีประมาณเท่านี้ ทำสามเณรให้เป็นเหมือนบุตรหรือพี่ชายน้องชายให้เก็บดอกไม้ทั้งหลาย ย่อมไม่มีโทษ. ชื่อว่า การให้ซึ่งดอกไม้ ย่อมไม่มี.
พึงทราบวินิจฉัยในการให้ผลไม้ ดังนี้ แม้ผลไม้ที่สงฆ์กำหนดแล้ว เหมือนดอกไม้นั้นแหละ จัดเป็นครุภัณฑ์. เมื่อมีผลไม้น้อยใหญ่มากในวิหาร พวกมนุษย์ไม่สบายมาขอ. ภิกษุทั้งหลายไม่ขวนขวายเพื่อให้ โดยคิดว่าสิ่งนั้นเป็นของสงฆ์.
พวกมนุษย์ผู้เดือดร้อน ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ในข้อนี้ ภิกษุพึงทำอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย พึงตั้งกฏ (กติกา) กำหนดด้วยผลไม้ทั้งหลาย หรือด้วยต้นไม้ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายไม่พึงห้ามพวกมนุษย์ผู้ถือเอาผลไม้ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ที่ต้นโน้นๆ หรือว่า ผู้ถือเอาผลไม้ทั้งหลายในต้นไม้ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้.
อนึ่ง พวกโจรหรือผู้เป็นใหญ่ถือเอาโดยพลการ ก็ไม่พึงห้าม. เพราะว่าชนเหล่านั้นโกรธแล้ว พึงยังวิหารทั้งสิ้นให้พินาศไปก็ได้. แต่ว่า ภิกษุพึงบอกถึงโทษ.
พึงทราบวินิจฉัยในการให้จุณสำหรับอาบ ดังนี้ จุณสำหรับอาบที่เขาทุบ (บดขยี้) แล้ว ไม่เป็นครุภัณฑ์. เปลือกไม้อันเขายังไม่ทุบนั่นแหละ เป็นครุภัณฑ์. จุณสำหรับ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 368
อาบ อันสุกแล้วด้วยเครื่องย้อม สมควรแก่ผู้ไม่เป็นไข้. จุณสำหรับอาบอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมควรแก่ผู้ป่วยทั้งนั้น. แม้ดินเหนียวก็รวมอยู่ในข้อนี้นั่นแหละ. จริงอยู่ แม้ดินเหนียวในที่ใดเป็นของหาได้โดยยาก ในที่นั้นนั่นแหละ จัดเป็นครุภัณฑ์ ดินเหนียวแม้นั้นอย่างต่ำที่สุดมีประมาณเท่าน้ำอ้อยงบหนัก ๓๐ ปละ (ตามมาตราชั่งน้ำหนักเท่ากับ ๔ ออนซ์) เทียว ต่ำกว่านั้นไม่เป็น.
พึงทราบวินิจฉัยในการให้ไม้ชำระฟัน ดังนี้ ไม้ชำระฟัน อันเขายังไม่ได้ตัด เป็นครุภัณฑ์. วาระแห่งการให้ไม้สีฟันจากสงฆ์ ย่อมถึงแก่สามเณรเหล่าใด สามเณรเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เพื่อให้แก่อาจารย์และพระอุปัชฌายะของตนโดยแยกเฉพาะออกมา. แต่ว่า สามเณรเหล่าใดรับวาระที่กำหนดว่า พึงนำไม้ชำระฟันมีประมาณเท่านี้มา สามเณรเหล่านั้นย่อมได้เพื่ออันถวายไม้ชำระฟันส่วนเกินแก่อาจารย์และพระอุปัชฌายะ. ภิกษุรูปเดียวไม่ควรถือเอาไม้ชำระฟันจำนวนมากมาจากโรงไม้ชำระฟัน พึงถือเอาอันเดียวเท่านั้น ทุกๆ วัน. แม้เมื่ออยู่แยกกัน พึงนับหมู่ภิกษุแล้วถือเอาไม้ชำระฟันตามที่ถึงแก่ตนแล้วไป. เมื่ออาคันตุกภิกษุทั้งหลายมาในระหว่าง หรือเมื่อเธอหลีกไปสู่ทิศ พึงนำไม้ชำระฟันมาตั้งไว้ในที่อันถือเอาได้นั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จาฏุกมฺยตาย เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกคำชมเชยเพื่อต้องการให้เขารักใคร่ เพราะตั้งตนไว้ต่ำเหมือนทาสบ้าง การดำรงไว้ด้วยดีซึ่งคำอันผิดพลาดพลั้งของคนอื่นบ้างว่า เป็นคำพูดปรารถนาเพื่อต้องการให้เขารัก.
คำว่า มุคฺคสูปยตา นี้ เป็นชื่อของผู้เลี้ยงชีพด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่วเขียว. เปรียบเสมือนแกงถั่วเขียวกำลังเดือด ถั่วเขียวจำนวน มากย่อมสุก จำนวนน้อยไม่สุก ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้เลี้ยงชีพด้วยการพูดทีจริงทีเล่น ย่อมพูดเท็จมาก พูดจริงน้อย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 369
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ที่เป็นที่ไม่ซึมเข้าไปแห่งน้ำแกงถั่วเขียว ย่อมไม่มี ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า วาจาอันไม่เข้าไปของบุคคลผู้พูดทีจริงทีเล่น ย่อมไม่มี. วาจานั้นย่อมดำรงอยู่ในกระแสแห่งถ้อยคำอันตนปรารถนาแล้วและปรารถนาแล้วดุจทาง ๔ แพร่ง. ด้วยเหตุนั้น วาจาอันมีปกติกล่าวมุสาของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า วาจาเสมอด้วยแกงถั่ว ดังนี้.
ความเป็นแห่งการงานอันบุคคลเลี้ยงดูแล้ว ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา แปลว่า ความเป็นผู้เลี้ยงดูแล้ว. จริงอยู่ การงานของบุคคลผู้เลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่า การเลี้ยงดูเด็ก. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา. คำว่า ปาริภฏฺยตา นั้น เป็นชื่อของบุคคลผู้ยังเด็กให้เล่นด้วยการทำซึ่งเครื่องประดับเป็นต้น.
คำว่า ชงฺฆเปสนิกํ (การเดินสาส์น) ได้แก่ การนำข่าวสารไปและกลับของคฤหัสถ์เหล่านั้นๆ ในที่ทั้งหลายมีระหว่างบ้านและระหว่างประเทศเป็นต้น. จริงอยู่ ชื่อว่าการเดินสาส์นนี้ย่อมควร ด้วยสามารถแห่งการรับข่าวสารของมารดาบิดาของตน หรือของชนผู้บำรุงบิดามารดาของภิกษุนั้นแล้วไปในที่ไหนๆ ย่อมควร. การนำข่าวสารแม้ของนายช่างผู้ทำการงานของเจดีย์ หรือของสงฆ์ หรือของตน ก็สมควร.
อนึ่ง พวกมนุษย์กล่าวว่า "พวกกระผมจักถวายทาน จักกระทำบูชา ขอท่านจงบอกแก่ภิกษุสงฆ์" ดังนี้ก็ดี พวกมนุษย์ย่อมถวายบิณฑบาต หรือเภสัช หรือจีวรด้วยการกล่าวว่า "ขอท่านทั้งหลาย จงถวายแก่พระเถระชื่อโน้น" ดังนี้ก็ดี พวกมนุษย์ย่อมมอบวัตถุทั้งหลายมีระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น หรือธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นต้น โดยการเรียนว่า "ท่านทั้งหลาย จง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 370
ทำการบูชาในวิหาร ดังนี้ก็ดี การนำข่าวสารทั้งหมดของชนเหล่านั้นไป สมควร. ชื่อว่า การเดินส่งข่าว ย่อมไม่มี. ภิกษุถือเอาข่าวสารของชนทั้งหลายที่เหลือนอกนั้นไป โทษย่อมมีทุกย่างก้าว.
คำว่า อญฺตรญฺตเรน ได้แก่ ด้วยอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งการงานทั้งหลายมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้นเหล่านั้น หรือ ด้วยอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งการงานทั้งหลายสำหรับเลี้ยงชีพที่เป็นมิจฉาอาชีวะเห็นปานนี้ คือ เวชกรรม ภัณฑคาริกกรรม (ดูแลร้านค้า) กรรมคือการแลกก้อนข้าวด้วยก้อนข้าว กรรมคือการบำรุงด้วยของที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์และแก่เจดีย์ โดยไม่สมควร.
คำว่า พุทฺธปฏิกุฏฺเน ได้แก่ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงติเตียนแล้ว รังเกียจแล้ว.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ชื่อว่า อนาจารแม้ทั้งปวงนี้ พระพุทธเจ้าย่อมตรัสไว้. อาจารนิทเทส บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
แม้ในโคจรนิทเทส บัณฑิตก็พึงทราบเหตุในเพราะถ้อยคำแห่งอโคจร โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า โคจโร ได้แก่ ที่อันควรเข้าไปเพื่อต้องการบิณฑบาตเป็นต้น ชื่อว่า โคจร. ที่อันไม่สมควรเพื่ออันเข้าไป ชื่อว่า อโคจร. โคจรแห่งหญิงแพศยามีอยู่แก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า มีโคจรแห่งหญิงแพศยา. อธิบายว่า ที่เป็นที่โคจรอันบุคคลพึงเข้าไปด้วยสามารถแห่งความชมเชยอย่างมิตร. ในอธิการนี้ หญิงทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยรูปชื่อว่า หญิงแพศยา. ภิกษุผู้เข้าไปด้วยสามารถเป็นผู้ประพฤติผิดได้โดยง่าย หรือด้วยความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 371
สนิทสิเนหาดังมิตร ชื่อว่า มีโคจรแห่งหญิงแพศยา. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเข้าไปด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมไม่ควร.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะเป็นความวิบัติในการรักษา.
จริงอยู่ สมณธรรมแม้อันเธอคุ้มครองรักษาแล้วสิ้นกาลนานของภิกษุผู้เข้าไปอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมถึงความพินาศไปด้วยเหตุอันเล็กน้อยนั่นแหละ. แม้ถ้าว่าสมณธรรมของเธอยังไม่พินาศไป ก็จะได้รับความติเตียน. อนึ่ง ภิกษุเมื่อเข้าไปด้วยสามารถแห่งการรับทักษิณา (รับของทำบุญ) พึงตั้งสติแล้วเข้าไป.
หญิงสามีตายหรือว่าหญิงอันสามีหย่าร้างแล้ว ท่านเรียกว่า หญิงหม้าย (วิธวา). หญิงแก่ที่ไม่ได้แต่งงาน ชื่อว่า สาวเทื้อ (ถุลฺลกุมาริโย).
คำว่า ปณฺฑกา ได้แก่ บัณเฑาะก์ผู้มีถ้อยคำอาศัยโลกามิส มีกิเลสหนา มีความเร่าร้อน ไม่สงบ. โทษในเพราะการเข้าไปของภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. แม้ในภิกษุณีทั้งหลาย ก็นัยนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาภิกษุต้องประพฤติพรหมจรรย์ให้มาก. ภิกษุณีทั้งหลายก็เหมือนกัน. ภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้น ย่อมยังสมณธรรมอันตนรักษาคุ้มครองแล้วให้พินาศไป ด้วยสามารถแห่งความสนิทสนมซึ่งกันและกันอันเป็นเหตุเล็กน้อยนั่นแหละ. แต่การที่ภิกษุไปด้วยสามารถแห่งการถามความเป็นไข้ ย่อมควร. ภิกษุให้ดอกไม้ทั้งหลายไปเพื่อต้องการบูชาบ้าง เพื่อต้องการให้โอวาทบ้าง ย่อมควรทีเดียว.
โรงสุราชื่อว่า ปานาคาร. โรงสุรานั้น ย่อมไม่สงัดจากนักเลงสุราซึ่งจะกระทำอันตรายพรหมจรรย์. ในโรงสุรานั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ควรเข้า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 372
ไปกับด้วยนักเลงสุราเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งการคบนักเลงเพราะอันตรายของพรหมจรรย์มีอยู่.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สํสฏฺโ วิหรติ ราชูหิ เป็นต้น ชนเหล่าใดอภิเษกแล้ว หรือยังไม่ได้อภิเษก ย่อมศึกษาในความเป็นพระราชา ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า ราชา.
คำว่า ราชมหามตฺตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ เช่นกับความเป็นใหญ่ของพระราชา.
คำว่า ติตฺถิยา (เดียรถีย์) ได้แก่ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความเห็นผิด
คำว่า ติตฺถิยสาวกา (สาวกของเดียรถีย์) ได้แก่ ผู้ให้ปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้นด้วยอำนาจความภักดี อธิบายว่าเป็นผู้คลุกคลีกับชนเหล่านั้น.
คำว่า อนนุโลมิเกน คิหิสํสคฺเคน สภาวะที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายตรงกันข้ามอันไม่คล้อยตามสิกขา ๓ เป็นเครื่องให้ถึงอันตรายต่อพรหมจรรย์ ความก้าวล่วงบัญญัติ และความเสื่อมรอบจากการขัดเกลา ชื่อว่า การคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร. คืออย่างไร คือว่า ความเป็นผู้มีความโศกร่วมกัน มีความสนุกสนานสนุกสนานร่วมกัน มีสุขทุกข์ร่วมกันกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา หรือ ในเมื่อมีกรณียกิจเกิดขึ้นเป็นผู้ช่วยเหลือด้วยตนแล และความเป็นผู้มีสมาจารเป็นเอกฉันท์กับด้วยเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย หรือการนำมาซึ่งภาวะแห่งสมาจารอันชอบใจเป็นเอกฉันท์ หรือความสนิทสนม มีใจมากด้วยความสิเนหา. ในอธิการนี้ การคลุกคลีกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ย่อมกระทำอันตรายต่อพรหมจรรย์ การคลุกคลีกับเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมทำอันตราย คือการถือเอาลัทธิของชนเหล่านั้น. แต่ว่า ภิกษุที่สามารถเข้าไปเพื่อทำลายวาทะ (ลัทธิ) ของเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์แล้วให้ถือเอาลัทธิของตน ย่อมควร.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 373
บัดนี้ เพื่อแสดงอโคจรโดยปริยายแม้อื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ยานิ วา ปน ตานิ กุลานิ (ก็หรือว่าตระกูลนั้นใด) เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อสทฺธานิ ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้นคือ ไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู พระธรรมเป็นนิยยานิกะ (เป็นธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ) พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
คำว่า อปฺปสนฺนานิ (ไม่เลื่อมใส) ได้แก่ ไม่สามารถเพื่อทำจิตให้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว.
คำว่า อกฺโกสกปริภาสกานิ ได้แก่ การด่าและการบริภาษ คือ ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ อย่างนี้ว่า ท่านเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นลา เป็นผู้เกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์ดิรัจฉาน สุคติของท่านไม่มี มีแต่ทุคติเท่านั้นหวังได้ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมบริภาษด้วยการแสดงสิ่งน่ากลัวอย่างนี้ว่า จะเป็นอย่างไรก็ช่างเถิด บัดนี้ เราจักประหารท่าน จักมัดท่าน จักฆ่าท่าน ดังนี้.
บทว่า อนตฺถกามานิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนาประโยชน์ คือ ย่อมปรารถนาความฉิบหายนั่นแหละ.
บทว่า อหิตกามานิ ได้แก่ ย่อมปรารถนาเกื้อกูลหามิได้ คือไม่ต้องการประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า อผาสุกามานิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนาความผาสุก คือ ย่อมปรารถนาแต่ความไม่ผาสุกเท่านั้น
บทว่า อโยคกฺเขมกามานิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนาแดนเกษมจากโยคะ ๔ อันไม่มีภัย คือ ย่อมปรารถนาแดนอันเป็นไปกับภัยนั่นแหละ. แม้สามเณรทั้งหลาย ก็ย่อมถึงความสงเคราะห์ลงในคำว่า ภิกฺขูนํ ดังนี้. แม้สิกขมานา และ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 374
สามเณรีทั้งหลาย ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในข้อว่า ภิกฺขุนีนํ นี้. จริงอยู่ ตระกูลเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ใคร่แต่ความพินาศแก่บริษัทแม้ทั้ง ๔ คือแก่ชนทั้งหลายผู้บวชอุทิศต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและผู้ถึงสรณคมน์นั่นแหละ.
คำว่า ตถารูปานิ กุลานิ ตระกูลทั้งหลายมีตระกูลแห่งกษัตริย์เป็นต้นเห็นปานนี้.
คำว่า เสวติ ได้แก่ อาศัยเลี้ยงชีพ.
คำว่า ภชติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปหา.
คำว่า ปยิรุปาสติ ได้แก่ เข้าไปหาบ่อยๆ.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ โคจรอันไม่สมควรแม้มีประการทั้ง ๓ นี้ คือ โคจรในสำนักของหญิงแพศยา ๑ โคจรในสำนักแห่งพระราชาเป็นต้น โดยการคลุกคลีกับพระราชาเป็นต้น ๑ โคจรในตระกูลของผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เหล่านี้บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอโคจร. ความเป็นแห่งอโคจรแห่งภิกษุนั้น พึงทราบ โดยปริยายนี้. สำนักแห่งหญิงแพศยา พึงทราบว่าเป็นอโคจร เพราะเป็นโคจรอาศัยเบญจกามคุณก่อน. เหมือนคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อโคจรของภิกษุเป็นวิสัยของผู้อื่นเป็นไฉน. อโคจร เป็นวิสัยของผู้อื่นใด คือ เบญจกามคุณ ดังนี้. สำนักแห่งพระราชานั้นเป็นอโคจร เพราะไม่เป็นอุปนิสัยแห่งความประกอบความเพียรเนืองๆ ในฌาน และเพราะความสั่งสมลาภสักการะอันเป็นเครื่องทำลาย และเพราะความพิบัติแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ. สำนักแห่งตระกูลของผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า เป็นอโคจร เพราะเป็นการทำลายศรัทธา คือนำจิตที่ยินดีออกไป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 375
ในโคจรนิทเทส คำว่า น เวสิยโคจโร เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งคำเป็นปฏิปักษ์ต่อคำที่กล่าวแล้ว.
ก็ในคำทั้งหลาย มีคำว่า โอปานภูตานิ เป็นต้น คำว่า โอปานภูตานิ ได้แก่ เป็นดังบ่อน้ำ ดุจสระโบกขรณีอันเขาขุดแล้วในทางใหญ่ทั้ง ๔ แห่ง เพื่อภิกษุสงฆ์ และเช่นกับบ้านของจิตตมหาอำมาตย์ที่เขาขุดเพื่ออาบน้ำตามความสบาย. ได้ยินว่า บ้านของมหาอำมาตย์นั้น เขาประกอบเสาเวลา (นาฬิกา) ไว้ในบ้านนั่นแหละ. ชื่อว่า ความบกพร่องด้วยปัจจัยของภิกษุผู้มาถึงประตูบ้านของมหาอำมาตย์นั้น มิได้มี. ในวันหนึ่งๆ เขาใช้จ่ายเงินถึง ๖๐ กหาปณะออกไปเพื่อความเป็นไปแห่งเภสัชนั่นแหละ.
คำว่า กาสาวปฺปชฺโชตานิ (รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ) ได้แก่ โอภาสอันหนึ่งแห่งรัศมีของผ้ากาสาวะทั้งหลาย อันภิกษุและภิกษุณีผู้นุ่งห่มแล้วนั่นแหละ เช่นกับตระกูลเศรษฐี ชื่อว่า ภูตปาละ.
คำว่า อิสิวาตปฏิวาตานิ ได้แก่ เป็นของรุ่งเรืองฟุ้งไปทวนลมด้วยลมแห่งจีวรของพระฤาษีทั้งหลายกล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เข้าบ้านและออกจากบ้าน และด้วยลมแห่งสรีระอันเคลื่อนไหวไปด้วยการเหยียดออกและการคู้เข้ามาเป็นต้น หรือว่าเป็นผู้มีอกุศลทั้งหลายอันขจัดได้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งความเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย (อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ พยทสฺสาวี). คำว่า อณุมตฺตานิ ได้แก่ มีประมาณเท่าอณู. คำว่า วชฺชา ได้แก่ โทษทั้งหลาย. คำว่า ยานิ ตานิ วชฺชานิ ได้แก่ ชื่อว่า โทษทั้งหลายนั้นใด เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงติเตียน. คำว่า อปฺปมตฺตกานิ ได้แก่ มีประมาณเล็กน้อย คือมีประมาณนิดหน่อย. คำว่า โอรมตฺตกานิ ได้แก่ ชื่อว่า มีประมาณต่ำ เพราะมีประมาณต่ำสุดกว่าจำนวนน้อย. คำว่า ลหุสานิ ได้แก่ เป็นของเบา. คำว่า ลหุสมฺมตานิ ได้แก่ ที่ชาวโลกสมมติว่าเป็นโทษเบา. คำว่า สญฺมกรณียานิ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 376
ได้แก่ การทำคืนอันภิกษุพึงกระทำด้วยความสำรวม. คำว่า สํวรกรณียานิ ได้แก่ พึงกระทำด้วยความสังวร คือ กระทำคืน อันภิกษุนั้นพึงทำด้วยความระวัง. คำว่า จิตฺตุปฺปาทกรณียานิ ได้แก่ การทำคืน อันภิกษุนั้นพึงทำด้วยสักว่าจิตตุปปาท. คำว่า มนสิการปฏิพทฺธานิ ได้แก่ การทำคืน อันภิกษุพึงทำด้วยเหตุสักว่าน้อมนึกด้วยใจนั่นแหละ.
ก็การทำคืนเหล่านั้น เป็นไฉน?
พึงทราบว่า พระสุมเถระผู้มีปกติอยู่ในทิวาวิหารกล่าวไว้ก่อนว่า "ภิกษุทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยเหตุสักว่าน้อมนึกด้วยใจแล้วนั่นแหละว่า เราจักทำซึ่งอาบัติเหล่านั้น สักว่าจิตตุปบาท ให้ถึงซึ่งอนาปัตติ ให้มีอย่างนี้เป็นรูปอีก ชื่อว่า การทำความเปิดเผย ด้วยการอธิษฐานนี้เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว.
ก็พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่านนั้นกล่าวว่า ก็บทนี้เป็นบทภาชนียปาฏิโมกขสังวรศีลนั่นแหละ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า โทษในที่นี้คือ อาบัติทุกกฏและทุพภาสิตอันเบากว่าโทษทั้งปวง ชื่อว่า การเปิดเผย คือ การออกจากโทษนั้น เป็นไปตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว.
คำว่า อิติ อิเมสุ ได้แก่ เหล่านี้ มีประการอย่างนี้.
คำว่า วชฺชทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นโดยความเป็นโทษ โดยความเป็นโทษประทุษร้าย.
คำว่า ภยทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นโดยความเป็นภัย เพราะเป็นเหตุแห่งภัย ๔ อย่าง.
ในคำว่า อาทีนวทสฺสาวี นี้ ได้แก่ มีปกติเห็นโดยความเป็นโทษมีประการต่างๆ คือ โดยการนำมาซึ่งความนินทาในโลกนี้ โดยมีทุกข์เป็นผลข้างหน้า โดยกระทำอันตรายต่อคุณในเบื้องบน และโดยให้เกิดความเดือดร้อน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 377
คำว่า นิสฺสรณทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นของภิกษุผู้รื้อถอน (สลัด) ออก ในโทษภัยนั้น.
ก็ในอธิการนี้ การรื้อถอนออก เป็นไฉน?
ในอาจริยเถรวาท (วาทะของพระเถระผู้เป็นอาจารย์) กล่าวไว้ก่อนว่า การเปิดเผยด้วยการอธิษฐานด้วยสติ ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ถึงอนาบัติ (การไม่มีอาบัติ เรียกว่า อนาปัตติ).
ในอันเตวาสิกเถรวาท (วาทะของพระเถระผู้เป็นอันเตวาสิก) กล่าวว่า การเปิดเผยโดยการออกด้วยสติ ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ต้องอาบัติ. สำหรับในที่นี้ ภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความเป็นโทษ โดยความเป็นภัย. เพื่อแสดงซึ่งโทษมีประมาณน้อย โดยความเป็นโทษ โดยความเป็นภัยนั้น ท่านกล่าวมาตรา (ประมาณ) ดังนี้.
๑. ชื่อว่า ปรมาณู ๒. ชื่อว่า อณู
๓. ชื่อว่า ตัชชารี ๔. ชื่อว่า รถเรณู
๕. ชื่อว่า ลิกขา ๖. ชื่อว่า โอกา (อูกา)
๗. ชื่อว่า ธัญญมาส ๘. ชื่อว่า อังคุละ
๙. ชื่อว่า วิทัตถิ ๑๐. ชื่อว่า รัตนะ (ศอกกำ)
๑๑. ชื่อว่า ยัฏฐิ ๑๒. ชื่อว่า อุสภะ
๑๓. ชื่อว่า คาวุต ๑๔. ชื่อว่า โยชน์
แปลว่า บรรดาชื่อเหล่านั้น ชื่อว่า ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ (อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลองแห่งตาเนื้อ ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น. ชื่อว่า อณู คือรัศมีแห่ง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 378
พระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา ช่องลูกดาล เป็นวงกลมๆ ด้วยดี ปรากฏหมุนไปอยู่. ชื่อว่า ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น) เพราะเจาะที่ทางโค ทางมนุษย์ และทางล้อแล้วปรากฏฟุ้งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า รถเรณู (ละอองรถ) ย่อมติดอยู่ที่รถนั้นๆ นั่นแหละ. ชื่อว่า ลิกขา (ไข่เหา) เป็นต้น ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.
ก็ในคำเหล่านั้น พึงทราบประมาณดังนี้
๓๖ ปรมาณู ประมาณ ๑ อณู
๓๖ อณู ประมาณ ๑ ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น)
๓๖ ตัชชารี ประมาณ ๑ รถเรณู (ละอองรถ)
๓๖ รถเรณู ประมาณ ๑ ลิกขา (ไข่เหา)
๗ ลิกขา ประมาณ ๑ โอกา (ตัวเหา)
๗ โอกา ประมาณ ๑ ธัญญมาส (เมล็ดข้าวเปลือก)
๗ ธัญญมาส ประมาณ ๑ อังคุละ (นิ้ว)
๑๒ อังคุละ ประมาณ ๑ วิทัตถิ (คืบ)
๑๒ วิทัตถิ ประมาณ ๑ รัตนะ (ศอกกำ)
๗ รัตนะ ประมาณ ๑ ยัฏฐิ (หลักเสา)
๒๐ ยัฏฐิ ประมาณ ๑ อุสภะ (ชื่อโคจ่าฝูง)
๘๐ อุสภะ ประมาณ ๑ คาวุต
๔ คาวุต ประมาณ ๑ โยชน์
ภูเขาสิเนรุราชมีส่วนสูง ๖,๘๐๐,๐๐๐ โยชน์ ด้วยโยชน์นั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 379
ภิกษุกระทำซึ่งโทษมีประมาณน้อย ให้เช่นกับภูเขาสิเนรุราชอันสูงประมาณ ๖,๘๐๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมอาจเพื่อจะเห็น (คือเมื่อเห็นว่าเป็นโทษใหญ่ ก็จะปลงอาบัติ) ได้. ภิกษุใด ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความเป็นภัย ภิกษุใดแม้กระทำซึ่งสักว่าโทษ คืออาบัติทุกกฎ ทุพภาสิต อันเบากว่าโทษทั้งปวง ให้เช่นกับอาบัติปฐมปาราชิก ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความเป็นโทษ โดยความเป็นภัย ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งข้อว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ (สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย) ดังนี้
คำว่า ภิกฺขุสิกฺขา ได้แก่ สิกขาอันภิกษุทั้งหลายพึงศึกษา. ภิกขุสิกขานั้นทั่วไปกับนางภิกษุณีบ้าง ไม่ทั่วไปบ้าง ถึงอย่างนั้นก็ชื่อว่า ภิกขุสิกขา นั่นแหละ. คำว่า ภิกฺขุนีสิกฺขา ได้แก่ สิกขาอันภิกษุณีทั้งหลายพึงศึกษา ภิกขุนีสิกขาแม้นั้น ทั่วไปแก่ภิกษุทั้งหลายก็ดี ไม่ทั่วไปก็ดี ชื่อว่า ภิกขุนีสิกขา เหมือนกัน. แม้สิกขาของสามเณร สิกขมานา สามเณรีทั้งหลายก็รวมอยู่ในภิกขุสิกขาและภิกขุนีสิกขานี้แหละ.
คำว่า อุปาสกสิกฺขา ได้แก่ สิกขาอันอุบาสกทั้งหลายพึงศึกษา. สิกขาของอุบาสกนั้นย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศีล ๕ ศีล ๑๐. คำว่า อุปาสิกาสิกฺขา ได้แก่ สิกขาอันอุบาสิกาทั้งหลายพึงศึกษา สิกขาแม้นั้นย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศีล ๕ ศีล ๑๐.
บรรดาสิกขาเหล่านั้น สิกขาของภิกษุและภิกษุณี ย่อมเป็นไปถึงอรหัตตมรรค. สิกขาของอุบาสกและอุบาสิกา ย่อมเป็นไปถึงอนาคามิมรรค.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 380
ในคำว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ (สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาทั้งหลาย) นั้น ภิกษุนี้ย่อมศึกษาในสิกขาบทอันตนพึงรักษาเทียว. ส่วนสิกขาที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงอรรถของสิกขาบท ด้วยสามารถแห่งการยกขึ้นอธิบาย.
คำว่า อิติ อิมาสุ สิกฺขาสุ ได้แก่ ในสิกขาทั้งหลายเหล่านี้ มีประการอย่างนี้.
คำว่า สพฺเพน สพฺพํ ได้แก่ สิกขาทั้งปวง โดยการสมาทานสิกขาทั้งปวง.
คำว่า สพฺพถา สพฺพํ ได้แก่ สิกขาทั้งปวง โดยมีประการอันบุคคลทั้งปวงพึงศึกษา.
คำว่า อเสสํ นิสฺเสสํ ได้แก่ ชื่อว่า อเสสํ (มิให้เหลือ) เพราะไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่า นิสฺเสสํ เพราะทำสิกขาบทแม้ขาดแล้วด้วยความหลงลืมให้เป็นปกติอีก.
คำว่า สมาทาย วตฺตติ ได้แก่ สมาทานแล้ว คือถือเอาแล้วจึงประพฤติ.
คำว่า เตน วุจฺจติ ได้แก่ สมาทานสิกขาทั้งปวงนี้แล้ว ย่อมศึกษา ย่อมให้เต็มโดยอาการอันบุคคลทั้งปวงพึงศึกษา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ แปลว่า สมาทานแล้ว ประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายดังนี้.
ในนิทเทสหมวดสองแห่งบทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร (คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย) โภชเน มตฺตญฺญู (รู้ประมาณในโภชนะ) พึงทราบการประกอบถ้อยคำแรกแห่งภิกษุผู้ฝักใฝ่ในธรรมอันดำ โดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอาจารนิทเทสนั่นแหละ. ก็ในคำเป็นต้นว่า ตตฺถ กตมา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 381
อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา (ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน) คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอรรถกถานิกเขปกัณฑ์ (ธรรมสังคณี) นั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชาคริยานุโยค (การประกอบความเพียร) ต่อไป. ในคำว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ (ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม ) นี้ เบื้องต้นแห่งราตรี กล่าวคือ เที่ยงคืน ชื่อว่า ปุพพรัตตะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมถือเอาซึ่งปฐมยามและปัจฉาภัต (เวลาภายหลังภัต) ด้วยศัพท์ว่า ปุพพรัตตะ นี้. ภายหลังแห่งราตรีชื่อว่า อปรรัตตะ. ย่อมถือเอาปัจฉิมยามและปุเรภัต (เวลาก่อนภัต) ด้วยศัพท์ว่า อปรรัตตะ นี้. ส่วนมัชฌิมยาม ท่านไม่ถือเอา เพราะเป็นโอกาสแห่งการหลับนอน และการบรรเทาความเมื่อยของภิกษุนั้น.
คำว่า ชาคริยานุโยคํ (การประกอบความเพียร) ได้แก่ การประกอบเนืองๆ ของผู้ตื่นที่ชื่อว่า ชาคริยะ.
คำว่า อนุยุตฺโต โหติ (เป็นผู้ประกอบ) ได้แก่ การประกอบเนืองๆ การขวนขวาย ซึ่งการเสพการเจริญ กล่าวคือการประกอบเนืองๆ นั้น. ก็ในนิทเทสแห่งคำนี้ ในข้อว่า ภิกฺขุ ทิวสํ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดวันหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เวลาเช้า เวลากลางวัน และเวลาเย็น.
คำว่า จงฺกเมน นิสชฺชาย ได้แก่ ภิกษุ เมื่ออยู่ด้วยอิริยาบถทั้งสองแม้นี้ ย่อมชำระจิตจากอาวรณจิต (อุปสรรคของจิต) หรือจากธรรมอันเป็น เครื่องกั้น หรือจากนิวรณ์ทั้ง ๕ หรืออกุศลธรรมทั้งหมด คือว่า ย่อมชำระจิต ย่อมเปลื้องจิตจากอกุศลธรรมเหล่านั้น. อนึ่ง การยืนในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอาก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงถือเอาการยืนนั่นแหละด้วย เพราะอาศัยเอาระหว่างการเดินกับการนั่ง. คำว่า ปฐมยามํ ได้แก่ ในปฐมยามแม้ทั้งสิ้น. คำว่า มชฺฌิมยามํ ได้แก่ ในมัชฌิมยาม กล่าวคือ ส่วนทั้ง ๖ ของกลางคืนและกลางวัน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 382
ในข้อว่า สีหเสยฺยํ นี้ ได้แก่ เสยยา (การนอน) ๔ อย่าง คือ กามโภคี เสยฺยา (นอนอย่างผู้บริโภคกาม) เปตเสยฺยา (นอนอย่างเปรต) สีหเสยฺยา (นอนอย่างสีหะ) ตถาคตเสยฺยา (นอนอย่างพระตถาคต). พึงทราบการนอนเหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บริโภคกามโดยมาก ย่อมนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะฉะนั้นผู้นี้จึงชื่อว่า กามโภคีเสยฺยา. จริงอยู่ บรรดาผู้บริโภคกามเหล่านั้นโดยมาก ชื่อว่า ย่อมไม่นอนตะแคงข้างขวา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยมากบุคคลใด ย่อมนอนหงาย เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า เปตเสยฺยา (นอนอย่างเปรต หรือคนที่ตายไปแล้ว). จริงอยู่ บุคคลย่อมไม่อาจเพื่อนอนตะแคงข้างหนึ่งได้ เพราะความที่ตนมีเนื้อและเลือดน้อย และเพราะกระดูกตรงที่ต่อกันไม่เป็นปกติ จึงได้แต่นอนหงายเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลาย สีหะผู้มิคราชเป็นผู้มีใจเป็นของตน ย่อมสำเร็จการนอนโดยข้างขวา เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงชื่อว่า สีหเสยฺยา. จริงอยู่ สีหะผู้มิคราช วางเท้าหน้าทั้งสองไว้ที่หนึ่ง วางเท้าหลังสองเท้าไว้ที่หนึ่ง และเอาหางใส่ไว้ระหว่างขาอ่อน แล้วกำหนดโอกาส (คือ การปรากฏ) ทั้งเท้าหน้า เท้าหลังและหางอันตนวางไว้แล้วจึงนอนวางศีรษะบนสองเท้าหน้า เพราะความที่ตนเป็นผู้มีอำนาจมาก แม้นอนตลอดวันตื่นขึ้นมาก็ไม่สะดุ้งตื่น (ตกใจตื่น) เมื่อจะลุกขึ้นก็ยกศีรษะขึ้น กำหนดดูการปรากฏของเท้าหน้าเป็นต้นตามที่ตนวางไว้ ถ้าว่าการปรากฏของเท้าเป็นต้น เคลื่อนไปสู่ที่ไรๆ จากที่วางไว้แต่เดิม ย่อมจะไม่เป็นผู้มีใจเป็นของๆ ตน ด้วยคิดว่า ลักษณะนี้ไม่ควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญโดยชาติของตนแล้วก็จะนอนในที่นั้นนั่นแหละ ไม่ออกไปหาอาหาร ก็ถ้าว่า เท้าหน้าเป็นต้นที่ตนตั้งไว้แล้ว ไม่เคลื่อนผิดปกติไป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 383
ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีร่าเริง และคิดว่า อาการนี้สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญของตนโดยชาติ แล้วจะลุกขึ้น แสดงท่าหาวของสีหะ สะบัดสร้อยคอ และบันลือสีหนาทสิ้นสามครั้ง แล้วจึงออกไปแสวงหาอาหาร.
อนึ่ง การนอนประกอบด้วยฌานที่ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตถาคตเสยฺยา. ในบรรดาการนอนเหล่านั้น สีหเสยยา มาในที่นี้ จริงอยู่ ชื่อว่า สีหเสยยา เพราะความเป็นอิริยาบถอันอุดมด้วยเดช.
คำว่า ปาเท ปาทํ ได้แก่ วางเท้าซ้ายเหลื่อมไปบนเท้าที่รองรับหน่อยหนึ่ง. เพราะว่า เมื่อข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า หรือเข่ากระทบกับเข่า เวทนาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ จิตก็ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ไม่ผาสุก. ก็การนอนนั้น เข่าและข้อเท้าย่อมไม่เสียดสีกันโดยอาการใด เมื่อวางเท้าเหลื่อมกันไปโดยอาการนั้นแล้ว ทุกขเวทนานั้นย่อมไม่เกิดขึ้น จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ผาสุก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วางเท้าซ้อนเท้า (เหลื่อมเท้า) ดังนี้.
คำว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่องรู้พร้อม. ก็สติสัมปชัญญะ อันภิกษุกำหนดถือเอาดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้.
คำว่า อุฏฺานสญฺํ มนสิกริตฺวา ได้แก่ ตั้งสัญญาในอันที่จะลุกขึ้นไว้ในจิต กำหนดเวลาที่จะลุกขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักลุกขึ้นในเวลาชื่อโน้น ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนี้แล้วนอน ก็ควรเพื่อจะลุกขึ้นในเวลาตามที่เธอกำหนดไว้.
คำว่า สาตจฺจํ เนปกฺกํ อธิบายว่า ภิกษุประกอบแล้ว ประกอบเนืองๆ แล้วยังวิริยะกล่าวคือความเพียร (อันเป็นไปติดต่อกัน) ชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 384
สาตัจจะ เพราะยังความเพียรนั้นให้เป็นไปทั่ว และยังปัญญากล่าวคือ เนปักกะ (ปัญญาเป็นเครื่องรักษา) อันถึงความแก่รอบให้เป็นไปอยู่นั้นแหละ จึงชื่อว่า ประกอบเนืองๆ ในชาคริยานุโยค อยู่. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเพียรเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. แม้ปัญญา ก็มีคติเช่นวิริยะนั่นแหละ. คือ เมื่อตรัสเรื่องวิริยะในโลกิยะ วิริยะนั้นก็เป็นโลกิยะ ตรัสวิริยะในโลกุตตระ ก็เป็นโลกุตตระ.
คำว่า โพธิปกฺขิยานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในฝ่ายแห่งมรรคญาณ กล่าวคือ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดไว้มีประมาณ ๓๗ เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการตรัสรู้นั่นแหละ อันสามารถเป็นไปโดยความเป็นอันเดียวกันในอารมณ์หนึ่งแห่งภาวนาแม้เป็นโลกีย์จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นอาทิ. โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นมิสสกะคือ เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเหมือนที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังแล.
อธิบายอิริยาบถ
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคำว่า อภิกฺกนฺเต เป็นต้น การก้าวไปข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อภิกกันตะ ก่อน ในคำว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้. การถอยกลับมาข้างหลังเรียกว่า ปฏิกกันตะ. อภิกกันตะ แสะปฏิกกันตะ แม้ทั้งสองนี้ย่อมได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ คือ
ในอิริยาบถเดินก่อน เมื่อน้อมกายเดินไปข้างหน้าชื่อว่า อภิกกันตะ (การเดินไปข้างหน้า). เมื่อถอยกลับมาชื่อว่า ปฏิกกันตะ (ถอยกลับมาข้างหลัง). แม้ในอิริยาบถยืน ยังยืนอยู่นั่นแหละ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 385
เมื่อน้อมกายไปข้างหน้าชื่อว่า อภิกกันตะ เมื่อน้อมกายมาข้างหลังชื่อว่า ปฏิกกันตะ. แม้ในอิริยาบถนั่ง ยังนั่งอยู่นั่นแหละ มีหน้าเฉพาะต่อส่วนข้างหน้าแห่งอาสนะ และน้อมกายไปอยู่ชื่อว่า อภิกกันตะ น้อมกายไปสู่ประเทศส่วนเบื้องหลังชื่อว่า ปฏิกกันตะ. แม้ในอิริยาบถนอน ก็นัยนี้นั่นแหละ.
คำว่า สมฺปชานการี โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีปกติทำกิจทั้งปวงด้วยสัมปชัญญะ หรือเป็นผู้มีปกติทำซึ่งสัมปชัญญะ. จริงอยู่ ภิกษุนั้นย่อมทำซึ่งสัมปชัญญะนั่นแหละ ในอิริยาบถทั้งหลายมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นคือว่า ย่อมเป็นผู้ไม่เว้นจากสัมปชัญญะในอิริยาบถไหนๆ เลย. ก็เพราะ สัมปชัญญะนั้นสัมปยุตด้วยสตินั่นแหละ ฉะนั้น ในนิทเทสแห่งฌานวิภังค์นี้ จึงตรัสว่า สโต สมฺปชาโน อภิกฺกมติ สโต สมฺปชาโน ปฏิกฺกมติ (มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะถอยกลับมาข้างหลัง) ดังนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยมาข้างหลังชื่อว่า เป็นผู้ไม่หลงลืมสติ มีสัมปชัญญะ. คือว่า ภิกษุประกอบด้วยสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมด้วยปัญญานั่นแหละ ย่อมก้าวไปข้างหน้าด้วย ย่อมถอยกลับมาข้างหลังด้วย. เธอย่อมยังสัมปชัญญะ ๔ อย่าง ให้หยั่งลงในอิริยาบถทั้งปวงมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น. จริงอยู่ สัมปชัญญะนี้ มี ๔ อย่าง คือ.
๑. สาตถกสัมปชัญญะ
๒. สัปปายสัมปชัญญะ
๓. โคจรสัมปชัญญะ
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ
บรรดาสัมปชัญญะเหล่านั้น เมื่อจิตในการก้าวไปข้างหน้าเกิดขึ้นแล้ว กำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่ประโยชน์โดยใคร่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 386
ครวญว่า อะไรหนอแล เป็นประโยชน์ในการไปหรือการไม่ไปในที่นี้ ดังนี้ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ.
ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า ประโยชน์ ได้แก่ ความเจริญโดยธรรม ด้วยสามารถแห่งการเห็นเจดีย์ การเห็นต้นโพธิ์ การเห็นพระสงฆ์ การเห็นพระเถระ การเห็นอสุภะ เป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุแม้เห็นเจดีย์หรือต้นโพธิ์ ยังปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ หรือยังปีติมีพระสงฆ์เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งการเห็นพระสงฆ์ให้เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาอยู่ซึ่งสิ่งนั้นนั่นแหละ โดยความเสื่อมสิ้นไป ย่อมบรรลุพระอรหัตได้.
บุคคลเห็นพระเถระทั้งหลาย อาศัยโอวาทของท่านเหล่านั้น หรือเห็นอสุภะแล้วยังปฐมฌานในอสุภะนั้นให้เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสิ่งนั้นนั่นแหละ โดยความเสื่อมสิ้นไปก็ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. เพราะฉะนั้น การเห็นสิ่งเหล่านั้น จึงชื่อว่า สาตฺถํ คือ มีประโยชน์ ...
อนึ่งอาจารย์บางพวก กล่าวว่า การเจริญแม้ด้วยอามิส ก็ชื่อว่า เป็นประโยชน์เหมือนกัน ก็เพราะความที่ตนอาศัยสิ่งนั้นแล้วปฏิบัติเพื่อเอาพรหมจรรย์ ดังนี้.
การที่ภิกษุกำหนดสัปปายะ และอสัปปายะ ในการเดินไปแล้วกำหนด เอาแต่สัปปายะ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ. คืออย่างไร คือว่า การเห็นพระเจดีย์อันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ก่อน ก็ถ้าว่า บริษัทประชุมกันในระหว่าง ทางสิบสองโยชน์ เพื่อทำการบูชาใหญ่พระเจดีย์. ทั้งหญิงทั้งชายย่อมมีรูปสวยงามเป็นราวกะจิตรกรรม ประดับประดาตกแต่งตามความเหมาะสมกับสมบัติของตนๆ พากันเที่ยวไป. ก็ในสถานที่เช่นนี้ ความโลภของบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 387
นั้นๆ ย่อมเกิดในเพราะอารมณ์อันชอบใจ ปฏิฆะย่อมเกิดในเพราะอารมณ์อันไม่ชอบใจ โมหะย่อมเกิดในเพราะความไม่เพ่งพิจารณา.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติกายสังสัคคะ (การสัมผัสทางกาย). หรือว่า มีอันตรายแห่งชีวิตพรหมจรรย์. การยืนในที่เช่นนั้น ย่อมเป็นอสัปปายะ. เป็นสัปปายะ ในเพราะไม่มีอันตรายมีประการตามที่กล่าวแล้ว. แม้ในการดูต้นโพธิ์ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แม้ในการดูพระสงฆ์ ก็เป็นไปกับด้วยประโยชน์ คือ ถ้าว่า เมื่อพวกมนุษย์ทำปะรำใหญ่ในระหว่างบ้าน แล้วฟังธรรมตลอดคืน การประชุมของชนโดยมีประการตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ และทั้งอันตรายก็ย่อมมีด้วย. การยืนในที่เช่นนั้น โดยอาการที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นอสัปปายะ. เป็นสัปปายะ เพราะความไม่มีอันตราย. แม้ในการเห็นพระเถระทั้งหลายผู้มีบริษัทบริวารมาก ก็นัยนี้นั่นแหละ.
แม้การเห็นอสุภะ ก็เป็นไปกับด้วยประโยชน์. เพื่อแสดงประโยชน์ในอสุภะนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพาสามเณรเดินทางไป เพื่อต้องการไม้ชำระฟัน. สามเณรเดินไปข้างหน้าของภิกษุ เมื่อเธอก้าวลงจากทางไปก็เห็นอสุภะ จึงเพ่งดูแล้วยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาทแห่งวิปัสสนา พิจารณาอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย กระทำผลทั้งสามให้แจ้ง แล้วก็กำหนดตั้งกรรมฐานเพื่อต้องการมรรคเบื้องบน. ฝ่ายภิกษุหนุ่ม เมื่อไม่เห็นสามเณรนั้น จึงร้องเรียกว่า สามเณร. สามเณรนั้น คิดว่า จำเดิมแต่วันที่เราบวชแล้ว ขึ้นชื่อว่า การเรียก ๒ ครั้งของภิกษุนี้มิได้มีแก่เรา เราจักยังคุณวิเศษเบื้องบนให้เกิดขึ้นในวันอื่น ดังนี้ จึงขานรับว่า อะไรขอรับ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 388
ดังนี้ ภิกษุหนุ่มจึงกล่าวว่า เธอมานี่ สามเณรนั้นมาแล้วด้วยคำเพียงคำเดียวเท่านั้น แล้วจึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงไปยืนดูข้างหน้า ในที่ๆ กระผมยืนอยู่โดยทางนี้ก่อนสักครู่ขอรับ. ภิกษุนั้นกระทำอย่างนั้นแล้วก็บรรลุคุณวิเศษอันสามเณรนั้นบรรลุแล้วนั่นแหละ. อสุภะอันหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งสองด้วยอาการอย่างนี้.
อนึ่ง อสุภะของมาตุคาม ถึงจะเป็นไปกับด้วยประโยชน์ แต่ก็ย่อมเป็นอสัปปายะแก่บุรุษ และ อสุภะของบุรุษเหล่านั้น ก็เป็นอสัปปายะแก่มาตุคาม เช่นกัน. การกำหนดสัปปายะว่า นี้เป็นสัปปายะ เป็นสภาคะ ดังที่พรรณนามาฉะนี้ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ.
อนึ่ง การที่ภิกษุเรียนเอาโคจร กล่าวคือ กรรมฐานอันชอบใจแก่จริตของตนในกรรมฐาน ๓๘ อย่าง เพื่อสัปปายะอันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ ที่กำหนดแล้วอย่างนี้ แล้วถือเอากรรมฐานนั้นในเวลาโคจรเพื่อภิกขาจาร ชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ.
บัณฑิตพึงทราบหมวด ๔ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวรรณนานั้นดังต่อไปนี้.
๑. ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ย่อมนำกรรมฐานไป แต่ไม่นำกลับมา
๒. บางรูป ย่อมนำกลับมา แต่ไม่นำไป
๓. บางรูป ทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับมา
๔. บางรูป ย่อมนำไปด้วย ย่อมนำกลับมาด้วย
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใด ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นตลอดวัน ด้วยการเดิน การนั่ง ในปฐมยามแห่งราตรี ก็
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 389
อย่างนั้น ในมัชฌิมยามเธอสำเร็จการนอน แม้ในปัจฉิมยาม เธอก็ยังกาลให้ล่วงไปด้วยการนั่ง การเดิน การทำวัตรคือ กวาดลานพระเจดีย์ ลานมหาโพธิ์ก่อน แล้วรดน้ำต้นมหาโพธิ์ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ แล้วสมาทานประพฤติวัตร ทั้งปวงเล็กๆ น้อยๆ มีอาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร เป็นต้น. เมื่อเธอตกแต่งร่างกายแล้วก็เข้าไปสู่เสนาสนะ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ๒ - ๓ ท่าที่บัลลังก์ ให้ไออุ่นเกิดขึ้นแล้วประกอบกรรมฐานเนืองๆ ลุกขึ้นในเวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา ถือเอาบาตรและจีวร กับกรรมฐานอันเป็นสีสะนั่นแหละ (กรรมฐานที่เป็นประธาน) ออกไปจากเสนาสนะก็มนสิการกรรมฐานอยู่อย่างนั้น ไปสู่ลานแห่งพระเจดีย์ ถ้า (กรรมฐานเดิมเป็นพุทธานุสติ) พุทธานุสติกรรมฐานยังมีอยู่ไซร้ ไม่ต้องสละกรรมฐานนั้นเลย เข้าไปสู่ลานพระเจดีย์. ถ้าหาก (ในขณะนั้น) มีกรรมฐานอื่นอยู่ พักกรรมฐานนั้นไว้ที่เชิงบันได เปรียบเหมือนบุคคลถือสิ่งของมา แล้ววางของนั้นไว้ ครั้นพักกรรมฐานอื่นนั้นแล้ว ก็พึงถือเอาปีติอันมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ก้าวขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ ทำประทักษิณเจดีย์ใหญ่สิ้นสามครั้ง แล้วพึงไหว้ในที่ทั้ง ๔. พึงทำประทักษิณเจดีย์น้อย ในที่นั้นนั่นแหละ แล้วพึงไหว้ในที่ทั้ง ๘. อันภิกษุผู้ถึงลานพระเจดีย์ ครั้นไหว้พระเจดีย์แล้ว ก็พึงแสดงความนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ดุจการอยู่ต่อหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไหว้ต้นมหาโพธิ์. ภิกษุนั้นไหว้พระเจดีย์และต้นมหาโพธิ์แล้ว ก็กลับไปสู่ที่ๆ ตนเก็บกรรมฐาน ถือเอากรรมฐานที่ตนวางไว้แล้ว เหมือนบุคคลถือเอาสิ่งของที่ตนวางไว้ไปฉะนั้น ห่มจีวรด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละ ในที่ใกล้บ้าน แล้วจึงเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ. ในกาลนั้นพวกมนุษย์เห็นภิกษุนั้นแล้ว ก็พากันลุกขึ้นต้อนรับโดยคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรามาแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 390
ดังนี้ รับบาตร นิมนต์ให้นั่งที่โรงฉันหรือที่บ้าน ถวายข้าวยาคู ตราบเท่าที่ภัตยังไม่เสร็จ ก็ล้างเท้าทาด้วยน้ำมัน นั่งข้างหน้าถามปัญหาบ้าง ใคร่จะเป็นผู้ฟังธรรมบ้าง.
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้ถ้าว่า พวกมนุษย์ไม่ต้องการให้ภิกษุกล่าวธรรม ธรรดาว่า ธรรมกถา (การแสดงธรรม) เพื่อการสงเคราะห์ประชุมชน ภิกษุนั้นพึงกระทำทีเดียว. จริงอยู่ ธรรมดาว่า ธรรมกถาที่จะพ้นไปจากกรรมฐานย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ภิกษุฉันอาหารด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละ เสร็จแล้วกล่าวอนุโมทนา ภิกษุนั้นผู้อันมนุษย์ทั้งหลายตามไปส่งอยู่ ออกไปจากหมู่บ้านแล้ว ควรให้มนุษย์เหล่านั้นกลับแล้วก็เดินไปตามทาง. ลำดับนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่มทั้งหลายผู้ออกไปสู่บ้านก่อนกว่า มีภัตกิจอันกระทำแล้วภายนอกบ้านเทียว เห็นภิกษุนั้นซึ่งกำลังเดินมา ก็พากันไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรของท่าน.
ได้ยินว่า ภิกษุในปางก่อนทั้งหลาย มิได้เลือกว่า ผู้นี้เป็นพระอุปัชฌายะของเรา ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา (หรือไม่) แล้วการทำวัตร คือ ย่อมกระทำการกำหนดถึงภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วเท่านั้น.
สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้น ถามภิกษุนั้นว่า ท่านขอรับ พวกมนุษย์เหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน เป็นผู้เกี่ยวดองทางโยมมารดา หรือทางบิดา.
ภิกษุนั้นตอบว่า พวกเธอเห็นอะไร จึงถาม.
พวกสามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้น ตอบว่า พวกกระผมเห็นความรักของชนเหล่านั้นมีมากมายในท่าน.
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมใดแม้มารดาบิดาของเรากระทำได้ยาก แต่มนุษย์พวกนี้กระทำได้ แม้บาตรและจีวรอันเป็นของใช้อยู่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 391
ของพวกเรา ด้วยอานุภาพแห่งชนเหล่านั้น พวกเราย่อมไม่รู้ถึงภัยในเวลามีภัย ไม่รู้ถึงความอดอยากในเวลาข้าวยากหมากแพง ชนทั้งหลายผู้เช่นกับมนุษย์ผู้มีอุปการะเหล่านี้ของพวกเราย่อมไม่มี ดังนี้ เมื่อกล่าวชมเชยคุณของมนุษย์เหล่านั้น แล้วจึงไป.
ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานไป แต่ไม่นำกลับมา.
อนึ่ง เมื่อภิกษุใดทำวัตรปฏิบัติมีประการตามที่กล่าวแล้วแต่เช้า ความ ร้อนเกิดแต่กรรม (กมฺมชฺชเตโช) ของท่านย่อมโพลง ปล่อยซึ่งอนุปาทินนกรูป แล้วถือเอาอุปาทินนกรูป เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากสรีระ ย่อมไม่สามารถ ก้าวขึ้นสู่วิถีแห่งกรรมฐานได้. ภิกษุนั้นถือเอาบาตรและจีวรแต่เช้า ไหว้พระเจดีย์โดยรวดเร็ว ออกไปสู่บ้านในเวลาเป็นที่ออกไปแห่งฝูงโคนั่นแหละ ได้ ข้าวยาคูแล้วนำไปสู่อาสนศาลา ดื่มอยู่. ลำดับนั้น เตโชธาตุอันเกิดจากกรรม ก็ปล่อยวางอุปาทินนกรูป ถือเอาอนุปาทินนกรูป. เพราะเหตุสักว่าดื่มข้าวยาคู ๒-๓ ครั้ง ภิกษุนั้นถึงความดับความ เร่าร้อนอันเกิดจากเตโชธาตุเสียได้ เหมือนอาบน้ำตั้งร้อยหม้อ ฉันข้าวยาคูด้วย กรรมฐานสีสะ ล้างบาตรและปากเสร็จแล้ว ก็มนสิการกรรมฐานในระหว่าง เวลาแห่งภัต เที่ยวไปเพื่อบิณฑะในสถานที่เหลือ ฉันอาหารด้วยกรรมฐานสีสะ จำเดิมแต่กาลนั้นมา ก็ถือปฏิบัติกรรมฐาน อันเธอถูกต้อง เอาใจใส่อยู่นั่นแหละกลับมาอยู่.
ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานกลับมา แต่ไม่นำไป.
ก็ภิกษุผู้เช่นนี้ ดื่มข้าวยาคูแล้วปรารภวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในพุทธศาสนาเหลือที่จะนับ. ในทวีปสีหฬนั่นแหละในอาสนศาลาแห่งหมู่บ้านนั้นๆ พวกภิกษุที่ดื่มข้าวยาคูในที่นั้นแล้ว ไม่บรรลุพระอรหัต มิได้มี.
ก็ภิกษุใด เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท มีธุระอันทอดทิ้งเสียแล้ว ทำลายวัตรทั้งปวงแล้ว มีจิตพัวพันด้วยเครื่องผูกจิต ๕ อย่าง (นิวรณ์ ๕) อยู่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 392
ไม่มีสัญญาในกรรมฐาน แม้เรียนมาแล้ว เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ เป็นผู้คลุกคลีแล้ว โดยการคลุกคลีอันเป็นของคฤหัสถ์อันไม่สมควร เที่ยวไปด้วย ฉันอาหารด้วย (ทั้งเที่ยวทั้งกิน) ไร้ประโยชน์ ก้าวไปๆ (ทั้งไปทั้งกลับ).
ภิกษุเช่นนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมไม่นำกรรมฐานไป ย่อมไม่นำกรรมฐานกลับมา.
ส่วนภิกษุใด ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุนี้ ย่อมนำกรรมฐานไปด้วย ย่อมนำกับมาด้วย ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบภิกษุนั้น ด้วยสามารถแห่งวัตรของภิกษุผู้นำไปและนำกลับมา ซึ่งเป็นนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว อยู่ร่วมกัน ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง ย่อมกระทำกติกวัตรว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านมิได้บวชหนีหนี้ มิได้บวชหนีภัย มิได้บวชเพื่อเลี้ยงชีพ แต่พวกท่านเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพ้นจากทุกข์ จึงบวชในพระพุทธศาสนานี้ เพราะฉะนั้น ถ้ากิเลสเกิดขึ้นในเวลาเดิน พวกท่านจงข่มกิเลสในขณะเดินนั้นนั่นแหละ กิเลสเกิดขึ้นในเวลายืน นั่ง นอน ก็จงข่มกิเลสในเวลายืน นั่ง นอน นั้นนั่นแหละ ดังนี้.
ภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว เมื่อไปภิกขาจาร ย่อมมนสิการกรรมฐานด้วยสัญญาแห่งแผ่นหินที่มีอยู่ในระหว่างกึ่งอุสุภะบ้าง หนึ่งอุสุภะบ้าง กึ่งคาวุตบ้าง หนึ่งคาวุตบ้าง. ถ้ากิเลสของใครๆ เกิดขึ้นในขณะเดินไซร้ ผู้นั้นย่อมข่มกิเลสนั้นในที่นั้นนั่นแหละ แล้วจึงไป. เมื่อไม่อาจข่มได้ เธอก็จะหยุดอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ภิกษุผู้มาข้างหลังของเธอก็ต้องหยุดด้วย. ภิกษุ (ผู้หยุดก่อน) คิดว่า ภิกษุนี้ ย่อมรู้วิตกของเราที่เกิดขึ้น ข้อ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 393
นี้ไม่สมควรเลย ติเตียนตนเองเช่นนี้แล้ว ยังวิปัสสนาให้เจริญก้าวลงสู่อริยภูมิ. เมื่อกิเลสเกิดขึ้นเวลานั่ง เธอก็จะนั่งอยู่นั่นแหละ แม้ภิกษุผู้มาทีหลังของเธอก็ ย่อมนั่งด้วย ... .เช่นนั้นนั่นแหละ. เมื่อเธอไม่สามารถก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็จะมนสิการกรรมฐานข่มกิเลสนั้นแล้ว จึงลุกไป. ภิกษุนั้นย่อมไม่ยกเท้าขึ้นด้วยจิตปราศจากกรรมฐาน. ถ้ายกเท้าขึ้นด้วยจิตปราศจากกรรมฐานไซร้ ท่านก็จะกลับไปเดินตั้งต้นมาใหม่ในสัญญาแห่งเท้าก้าวแรกทีเดียว เหมือนพระเถระชื่อว่า มหาปุสสเทวะ ผู้อยู่ที่อาลินทกประเทศ.
ได้ยินว่า พระเถระนั้น บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนั่นแหละถึง ๑๙ พรรษา. นัยว่า แม้พวกมนุษย์ผู้ไถนา หว่านข้าว นวดข้าว กระทำการงานต่างๆ ในระหว่างทาง เห็นพระเถระผู้ไปอยู่เช่นนั้น ก็สนทนากันอย่างสนุกว่า พระเถระนี้ กลับไปกลับมา ท่านคงจะหลงทาง หรือท่านลืมอะไร ดังนี้.
พระเถระไม่อนาทรถ้อยคำนั้น กระทำสมณธรรมอยู่ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานนั่นแหละ บรรลุพระอรหัตแล้วในระหว่างแห่งพรรษา ๒๐ นั้นแล. ก็ในวันที่ท่านบรรลุพระอรหัต เทวดาผู้สิงอยู่ในที่สุดแห่งที่เป็นที่จงกรมของท่าน ได้ยืนยังประทีปให้โชติช่วงด้วยนิ้วมือทั้งหลาย แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้ไปสู่ที่บำรุง.
พระเถระชื่อว่า มหาติสสะ ผู้มีปกติอยู่ในป่า เห็นโอภาสนั้น จึงถามท่านในวันที่สองว่า ในเวลาราตรี โอภาสได้มีในสำนักของท่านผู้มีอายุ นั่นเป็นโอภาสอะไร.
พระเถระนั้น ไม่ประสงค์จะบอก จึงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า โอภาส ย่อมเป็นโอภาสแห่งประทีปก็มี เป็นโอภาสแห่งแก้วมณีก็มี เป็นต้น ต่อจากนั้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 394
ท่านถูกรบเร้าว่า ขอท่านจงบอกโอภาสนั้น ดังนี้ ท่านจึงรับคำว่า ครับ จะบอก แล้วท่านจึงบอกเนื้อความนั้นแล้ว.
ก็เรื่องของพระเถระผู้ปฏิบัติกรรมฐานเช่นนี้ เหมือนกับเรื่องของพระเถระชื่อว่า มหานาค ผู้มีปกติอยู่ในมณฑป ชื่อว่า กาลวัลลิ.
ได้ยินว่า พระมหานาคเถระรูปนั้น บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ได้อธิษฐานอิริยาบถเพียงการยืนและการจงกรมเท่านั้น ตลอด ๗ ปี โดยคิดว่า เบื้องต้น เราจักบูชามหาปธาน (คือความเพียรใหญ่) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน ดังนี้ ต่อมาท่านก็บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอีกตลอด ๑๖ ปี จึงบรรลุพระอรหัต.
ก็ท่านพระมหานาคนั้น ยกเท้าขึ้นด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานนั่นแหละ ครั้นเมื่อยกขึ้นปราศจากกรรมฐาน ก็จะหวนกลับไปสู่ที่ใกล้บ้าน ยืนอยู่ในประเทศอันเป็นที่สงสัยว่า "นั่นเป็นแม่โคหรือหนอ หรือว่าเป็นบรรพชิต" ห่มจีวร ล้างบาตรด้วยน้ำจากคนโทที่หนีบรักแร้มา แล้วอมน้ำคำหนึ่ง.
ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมาอยู่เพื่อถวายภิกษาหรือเพื่อจะไหว้ ความส่ายไปแห่งกรรมฐานอย่าได้มี แม้ด้วยสักแต่คำว่า ขอพวกท่านจงเป็นผู้มีอายุยืน ดังนี้.
ก็ภิกษุนั้นถูกมนุษย์ทั้งหลายถามถึงการนับวันว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวันอะไร" หรือถามจำนวนภิกษุ หรือถามปัญหา จึงกลืนน้ำแล้วบอก. ถ้าผู้ถามถึงวันเป็นต้นไม่มี ในเวลาเป็นที่จากไป ภิกษุนั้นก็จะบ้วนน้ำทิ้งที่ประตูแห่งบ้านนั่นแหละ แล้วจึงไป. อนึ่ง เรื่องนี้เหมือนภิกษุ ๕๐ รูป ผู้อยู่จำพรรษาในวิหารชื่อว่า คลัมพุติตถะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 395
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้ทำกติกวัตรในวันเพ็ญอาสาฬหะว่า พวกเรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่สนทนากะกันและกัน ดังนี้. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น เมื่อจะเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ กระทำการอมน้ำอมหนึ่งแล้วจึงเข้าไป เมื่อถูกถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้ว. พวกมนุษย์เห็นที่เป็นที่บ้วนน้ำทิ้งในที่นั้นก็จะทราบว่า วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าของเรามาองค์เดียว หรือสององค์ ดังนี้. ก็มนุษย์เหล่านั้นคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ ย่อมไม่สนทนากับพวกเราเท่านั้นหรือหนอ หรือไม่สนทนากะกันและกัน ดังนี้ ถ้าว่าพวกท่านไม่สนทนากะกันและกันไซร้ ท่านจักต้องวิวาทกันแน่ พวกเราจงมา เราจักให้ภิกษุเหล่านั้นอดโทษกะกันและกัน ดังนี้. พวกมนุษย์ทั้งหมด พากันไปสู่วิหาร ก็บรรดาภิกษุ ๕๐ รูป ภิกษุแม้สองรูปอยู่ในโอกาสเดียวกัน มิได้มี ในมนุษย์เหล่านั้นคนที่มีปัญญา กล่าวในเวลานั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย โอกาสอันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ทะเลาะกันไม่เป็นเช่นนี้ ลานพระเจดีย์ ลานพระมหาโพธิ์ อันพระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ปัดกวาดดีแล้ว ไม้กวาดทั้งหลายท่านก็เก็บไว้เรียบร้อย ทั้งน้ำฉันน้ำใช้ท่านก็จัดตั้งไว้อย่างดี ดังนี้ พวกมนุษย์เหล่านั้น จึงพากันกลับไปจากที่นั้นทีเดียว.
ภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตภายใน ๓ เดือนนั่นแหละ ปวารณาแล้วซึ่งสุทธิปวารณา ในวันมหาปวารณา.
ภิกษุเหล่านั้น ยกเท้าขึ้นด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานนั่นแหละ เหมือนพระมหานาคเถระผู้อาศัยอยู่ที่กาลวัลลิมณฑป และเหมือนภิกษุ ๕๐ รูป ผู้จำพรรษาในคลัมพุติตถวิหาร อย่างนี้คือ ภิกษุผู้ปฏิบัตินั้นไปสู่ที่ใกล้บ้าน แล้วจึงทำการอมน้ำอมหนึ่ง แล้วก็กำหนดทางทั้งหลาย จะดำเนินไปสู่วิถีที่พวกชนไม่ทะเลาะกัน ไม่มีนักเลงสุราเป็นต้น หรือช้างร้ายม้าร้ายไม่มีอยู่ในที่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 396
นั้น เมื่อเธอเที่ยวไปในบ้านเพื่อบิณฑะ ไม่ควรไปโดยกระตือรือร้น เหมือนชนที่มีธุระด่วน เพราะว่า ชื่อว่า ปิณฑปาติกธุดงค์ (องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลสของภิกษุผู้ถือการฉันอาหารจากการบิณฑบาตเป็นวัตร) ไรๆ เช่นนั้นไม่มี. ย่อมเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ดำเนินไป เหมือนเกวียนบรรทุกน้ำถึงที่ไม่เสมอกัน ไปอยู่. อันภิกษุผู้เข้าไปสู่ระหว่างบ้าน ควรรอคอยเวลาอันสมควรแก่ภัตนั้น เพื่อกำหนดถึงผู้ประสงค์จะถวายหรือไม่ถวาย ถ้ารับภิกษาได้แล้วจะเป็นภายในบ้านหรือภายนอกบ้านก็ตาม แล้วก็จะมาสู่วิหารนั่นแหละ นั่งในโอกาสอันเหมาะสม ตามความผาสุก มนสิการกรรมฐานอยู่ ยังปฏิกูลสัญญาในอาหารให้เกิดขึ้น ย่อมพิจารณาอาหารนั้นด้วยสามารถแห่งการเปรียบเทียบกับน้ำมันหยอดเพลารถ เปรียบเทียบกับผ้าพันแผล และเปรียบกับเนื้อบุตร แล้วจึงฉันอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นผู้มีปกติฉันอาหารโดยมนสิการว่า เนว ทฺวาย น มทาย ฯลฯ ผาสุวิหาโร จ ดังนี้.
เนว ทวาย มิใช่เพื่อเล่น
น มทาย มิใช่เพื่อมัวเมา
น มณฺฑนาย มิใช่เพื่อประดับ
น วิภูสนาย มิใช่เพื่อตกแต่ง
ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส เพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่เป็นไป
ิติยา ยาปนาย วิหึสุปรติยา เพื่อระงับเสียซึ่งความเบียดเบียน
พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย อิติ ปุราณญฺจ เวทนํ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ปฏิหงฺขามิ นวญฺจ เวทนํ จะกำจัดเวทนาเก่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 397
น อุปฺปาเทสฺสามิ จักมิให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ ความเป็นไป ความไม่มีโทษ
อนวชฺชตา จ ผาสุ วิหาโร จ และการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา.
ครั้นทำกิจด้วยน้ำเสร็จแล้ว ก็สงบจิตพิจารณาถึงความลำบากในการแสวงหาภัต สักครู่หนึ่ง ในเวลาปุเรภัต พิจารณาอย่างไร ในปัจฉาภัตก็อย่างนั้น มนสิการอยู่ซึ่งกรรมฐานนั่นแหละตลอดปุริมยามและปัจฉิมยาม.
ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานไป และย่อมนำกรรมฐานกลับ แล.
ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร กล่าวคือ การนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับนี้ ถ้าเธอมีอุปนิสสัยอันถึงพร้อมแล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ในปฐมวัยนั่นแหละ ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัยก็จะบรรลุในมัชฌิมวัย ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัยก็จะบรรลุในปัจฉิมวัย ถ้าในปัจฉิมวัยไม่บรรลุ ก็จะบรรลุในมรณสมัย (เวลาใกล้ตาย) ถ้าไม่บรรลุในมรณสมัย เกิดเป็นเทพบุตรแล้ว ย่อมบรรลุ ถ้าเป็นเทพบุตรแล้วไม่บรรลุ เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอุบัติขึ้น เธอเกิดขึ้นแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิ ถ้าไม่ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิ ย่อมจะเป็นผู้ตรัสรู้เร็วพลันเสมอต่อพระสาวกทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เหมือนพระพาหิยทารุจิริยเถระ. หรือเป็นผู้มีปัญญามากเหมือนพระสารีบุตร หรือเป็นผู้มีฤทธิ์มากเหมือนพระมหาโมคคัลลานะ หรือเป็นผู้ทรงธุดงค์คุณเหมือนพระมหากัสสปเถระ หรือเป็นผู้มีทิพยจักษุเหมือนพระอนุรุทธเถระ หรือเป็นผู้ทรงพระวินัยเหมือนพระอุบาลีเถระ หรือเป็นพระธัมมกถึกเหมือนพระปุณณมันตานีบุตร หรือเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเหมือนพระเรวตเถระ หรือจะเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 398
พหูสูตเหมือนพระอานนทเถระ หรือเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนพระราหุลพุทธบุตร. ในกรรมฐานอันประกอบด้วยหมวด ๔ นี้ ภิกษุใด ย่อมนำกรรมฐานไปด้วย ย่อมนำกรรมฐานกลับมาด้วย โคจรสัมปชัญญะของเธอชื่อว่า ถึงสุดยอด แล.
ก็การไม่หลงลืมในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ บัณฑิตพึงทราบข้อนั้น ดังต่อไปนี้
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อก้าวไปข้างหน้า หรือถอยมาข้างหลัง ไม่หลงใหลอยู่ เหมือนปุถุชนผู้อันธพาลหลงใหลอยู่ว่า อัตตา ย่อมก้าวไปในอิริยาบถทั้งหลายมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น การก้าวไปสำเร็จได้ด้วยอัตตา หรือว่า เราย่อมก้าวไป การก้าวไปสำเร็จได้ด้วยเรา ดังนี้ อันที่จริงครั้นเมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักก้าวไป ดังนี้ วาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นกับด้วยจิตนั้นนั่นแหละ ยังการเคลื่อนไหวให้เกิดขึ้นอยู่. ด้วยอาการอย่างนี้ โครงกระดูกอันสมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไป ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดจากการทำของจิต. เมื่อการยกเท้าขึ้นข้างหนึ่งอยู่อย่างนี้ ธาตุทั้งสองคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีประมาณต่ำ มีกำลังน้อย ธาตุทั้งสอง นอกจากนี้ (คือ วาโยธาตุ เตโชธาตุ) มีปริมาณมาก มีกำลังมาก. การยกเท้าไปหรือไปแล้ว ก็เหมือนกัน. ในการลดเท้าลง ธาตุทั้งสอง คือ เตโชธาตุ วาโยธาตุ มีประมาณต่ำ มีกำลังน้อย ส่วนธาตุทั้งสองนอกนี้ มีประมาณมาก มีกำลังมาก. ในการวางเท้าลง และการยับยั้งเท้าไว้ ก็เหมือนกัน. ในการเป็นไปนี้ รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นไปในการยกเท้าขึ้นนั้น (เกิดดับไปแล้ว) ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไป. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในขณะนำเท้าไปนั้น ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไปแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 399
รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในขณะก้าวเท้าไปแล้ว ย่อมไม่ถึงการลดเท้าลง. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในขณะลดเท้าลง ย่อมไม่ถึงการวางเท้าลง. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในขณะวางเท้าลง ย่อมไม่ถึงการยับยั้งเท้าไว้. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย ในที่นั้นๆ นั่นแหละ เป็นส่วนหนึ่งๆ เป็นสนธิหนึ่งๆ เป็นเขตหนึ่งๆ ย่อมแตกทำลายไป ราวกะเมล็ดงาที่เขาใส่ในกระเบื้องร้อน ส่งเสียงดัง ตะตะ ฉะนั้น. ในการเป็นไปเช่นนี้ มีใครหรือที่ก้าวไป หรือว่า เป็นการก้าวไปของใคร. อันที่จริง เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว เป็นการไปของธาตุทั้งหลายเท่านั้น เป็นการยืนของธาตุทั้งหลาย เป็นการนั่งของธาตุทั้งหลาย เป็นการนอนของธาตุทั้งหลาย (หมายความว่า เป็นอาการของธาตุทั้งหลายเท่านั้น). ด้วยว่าในโกฏฐาสนั้นๆ จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นกับด้วยรูปทั้งหลาย จิตดวงหนึ่งย่อมดับไป ดุจกระแสน้ำซึ่เกี่ยวเนื่องตามกันไปไม่ขาดสายเป็นไปอยู่ ฉะนั้น. การไม่หลงใหลในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ฉะนี้แล.
จบเนื้อความแห่งบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ เพียงนี้.
อธิบาย อาโลกิเต (การแลไปข้างหน้า) วิโลกิเต (การแลดูข้างๆ)
ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ การเพ่งดูข้างหน้า ชื่อว่า อาโลกิตะ. การเพ่งดูทิศน้อยทั้งหลาย ชื่อว่า วิโลกิตะ. แม้การเพ่งดูทิศอื่นๆ ด้วยสามารถแห่งการเพ่งดูข้างล่าง ข้างบน ข้างหลัง ก็ชื่อว่า โอโลกิตะ (ดูข้างล่าง) อุลโลกิตะ (ดูข้างบน) อปโลกิตะ (ดูข้างหลัง). การแลดู ๓ อย่างนั้น ท่านมิ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 400
ได้ถือเอา ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ ด้วยว่า การแลดูสองอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วด้วยสามารถแห่งความเหมาะสม. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยหัวข้อที่เป็นประธานแล้ว การแลดูเหล่านั้น แม้ทั้งหมดก็รวมอยู่ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้แหละ.
ในบรรดาการแลดูเหล่านั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักแลดูข้างหน้า ดังนี้ มิได้แลดูด้วยสามารถสักแต่จิตเท่านั้น ต้องกำหนดถือเอาประโยชน์ด้วย จึงชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยทำท่านพระนันทะให้เป็นองค์พยานดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระนันทะจะพึงแลดูทิศเบื้องหน้าไซร้ พระนันทะก็จะพิจารณาธรรมทั้งปวงแล้วแลดูทิศข้างหน้า เพราะว่าเมื่อแลดูทิศข้างหน้าอยู่อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายอันเป็นอกุศลอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตาม ด้วยอาการอย่างนี้แล ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในธรรมอันเป็นไปกับด้วยประโยชน์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระนันทะ จะพึงแลดูทิศเบื้องหลัง (ตะวันตก) ไซร้ จะพึงแลดูทิศเหนือ จะพึงแลดูทิศใต้ จะพึงแลดูเบื้องล่าง เบื้องบน จะพึงแลดูทิศน้อย นันทะก็จะพิจารณาธรรมทั้งปวงแล้ว จึงแลดูทิศน้อยอยู่ เพราะว่า เมื่อแลดูทิศน้อยอยู่อย่างนี้ ... ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในธรรมอันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ บัณฑิตพึงทราบ โดยความเป็นไปกับด้วยประโยชน์ และความเป็นไปแห่งสัปปายะ ด้วยสามารถ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 401
แห่งการเห็นพระเจดีย์เป็นต้น ตามที่กล่าวไว้ในก่อนนั่นแหละ. ก็โคจรสัมปชัญญะ มิได้เว้นจากกรรมฐาน. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทำการแลดูข้างหน้า การแลดูข้างๆ ด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละ โดยความสามารถแห่งกรรมฐานอันเป็นของตน มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นที่ตั้ง. ก็ภายในแห่งร่างกายนี้ ชื่อว่า อัตตา เป็นผู้แลดูข้างหน้า หรือแลดูข้างหลัง มิได้มีเลย. ก็แต่ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า จักแลดูข้างหน้า ดังนี้ วาโยธาตุ อันมีจิตเป็นสมุฏฐานกับด้วยจิตนั้นนั่นแหละ ยังความเคลื่อนไหว (วิญญัติรูป) แห่งรูปให้เกิดขึ้น ทันทีนั้นเอง หนังตาอันเป็นส่วนเบื้องล่าง ก็จมลงข้างล่าง หนังตาอันเป็นส่วนเบื้องบน ก็จะเลิกขึ้นไปเบื้องบน ด้วยอำนาจแห่งการแผ่ขยายไปของวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต. ใครๆ ชื่อว่า เปิด (ตา) อยู่ด้วยเครื่องยนต์ มิได้มี. ในลำดับนั้น จักขุวิญญาณ ก็เกิดขึ้นยังทัสสนกิจให้สำเร็จอยู่ การรู้อย่าง นี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้.
ก็อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งความเป็น มูลปริญญา อาคันตุกะ และตาวกาลิกะ ต่อไป.
ว่าโดยมูลปริญญา (ความรอบรู้ถึงมูล) ก่อน
ภวงฺคมาวชฺชนฺเจว ทสฺสนํ สมฺปฏิจฺฉนํ
สนฺตีรณํ โวฏฺพฺพนํ ชวนํ ภวติ สตฺตมํ.
แปลว่า ภวังคจิต อาวัชชนจิต จักขุวิญญาณจิต สัมปฏิจฉนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต จากนั้นชวนจิต ย่อมเกิด ๗ ครั้ง.
บรรดาจิตเหล่านั้น ภวังคจิต ย่อมยังกิจอันเป็นส่วนแห่งอุปปัตติภพให้สำเร็จเป็นไป เพราะการดับไปซึ่งภวังค์นั้น กิริยามโนธาตุ จึงยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งกิริยามโนธาตุนั้น จักขุวิญญาณจิต
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 402
จึงยังทัสสนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งจักขุวิญญาณจิต วิปากมโนธาตุจึงยังสัมปฏิจฉนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งวิปากมโนธาตุนั้น วิปากมโนวิญญาณธาตุจึงยังสันตีรณกิจให้สำเร็จเป็นไป เพราะการดับไปแห่งวิปากมโนวิญญาณธาตุนั้น กิริยามโนวิญญาณธาตุจึงยังโวฏฐัพพนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งกิริยามโนวิญญาณธาตุนั้น ชวนจิตจึงแล่นไป ๗ ครั้ง.
ในชวนจิตเหล่านั้น การแลดูข้างหน้า หรือแลดูข้างๆ ว่า "นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย" ด้วยสามารถแห่งความยินดียินร้าย และความหลงใหล ย่อมไม่มีแม้ในชวนจิตดวงที่หนึ่ง. แม้ในชวนจิตที่ ๒ ฯลฯ แม้ในชวนจิตที่ ๗. ก็ครั้นเมื่อชวนจิตเหล่านั้นแตกทำลายไป ด้วยสามารถแห่งการแตกดับตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย ราวกะว่าทหารในสนามรบถูกทำลายไปอยู่ การแลดูข้างหน้า หรือการแลดูข้างๆ ว่า "นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย" ด้วยสามารถแห่งความยินดีเป็นต้น จึงมี.
บัณฑิตพึงทราบอสัมโมหสัปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งมูลปริญญา ด้วยประการฉะนี้ก่อน.
ว่าโดยความเป็นแห่งอาคันตุกะ (ด้วยสามารถแห่งความเป็นดังแขกผู้มาหา)
ก็ในจักขุทวาร ครั้นเมื่อรูปมาสู่คลองแล้ว ต่อจากภวังคจลนจิตไป บรรดาจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการยังกิจของตนๆ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ในที่สุดชวนจิตก็เกิดขึ้น. ชวนจิตนั้น ย่อมเกิดในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้นก่อน เหมือนบุรุษผู้เป็นแขก (ผู้จรมา). เมื่อบุรุษผู้เป็นแขกนั้นเข้าไป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 403
เพื่อจะขออะไรๆ ในบ้านของผู้อื่น ไม่ควรทำร้ายแม้ในเจ้าของแห่งบ้าน ผู้นั่งนิ่งเฉยอยู่ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้น อันไม่ยินดี ไม่ยินร้าย และไม่หลง ในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้น ความยินดี ความยินร้าย ความหลงใหล ก็ไม่ควรมี ฉันนั้น. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นอาคันตุกะ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ว่าด้วยความเป็นตาวกาลิกะ (คือเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง)
ก็จิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นปริโยสานเหล่าใดนั้น ย่อมเกิดขึ้นในจักขุทวาร จิตเหล่านั้นกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายย่อมแตกดับไปในที่นั้นๆ นั่นแหละ ย่อมไม่เห็นซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น จิตอันใดอันหนึ่งเหล่านี้ จึงชื่อว่า เป็นตาวกาลิกะ คือเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบ วินิจฉัยในข้อนั้น ดังต่อไปนี้.
เมื่อหมู่มนุษย์ทั้งปวงในบ้านหลังหนึ่งตายแล้ว เวลา (อายุ) ของชนคนเดียวที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งก็จะมีความตายเป็นธรรมดา เขาชื่อว่า ย่อมยินดียิ่ง ในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น เป็นสิ่งไม่ควรมี ฉันใด ในทวารหนึ่ง ก็ฉัน นั้นนั่นแหละ เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นพร้อมด้วยสัมปยุตตธรรมตายไปแล้วใน ที่นั้นๆ นั่นแหละ ในขณะของจิตที่ยังเหลืออยู่นั้น ซึ่งก็มีความตายเป็นธรรมดา ชื่อว่า ย่อมยินดียิ่ง ด้วยสามารถแห่งความยินดียินร้ายและความหลงใหล แม้ของชวนจิตก็หาควรจะมีไม่. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่ง ความเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะนั้น ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาโดยความเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย. จริงอยู่ในการพิจารณาโดยความเป็นขันธ์นั้น ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 404
จักษุ และรูปทั้งหลาย เป็น รูปขันธ์
จักขุวิญญาณที่ทำทัสสนกิจ เป็น วิญญาณขันธ์
เวทนาอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณนั้น เป็น เวทนาขันธ์
สัญญา เป็น สัญญาขันธ์
ผัสสะ เป็นต้น เป็น สังขารขันธ์
ด้วยประการฉะนี้ การแลดูไปข้างหน้าและการแลดูข้างๆ เป็นเพราะการประชุมกันแห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ จึงปรากฏเกิดขึ้นได้. ในที่นี้ มีใครสักคนหนึ่งเล่า ที่แลดูไปข้างหน้า หรือย่อมแลดูข้างๆ. โดยทำนองเดียวกัน ย่อมพิจารณาโดยความเป็นอายตนะ คือ
จักษุ เป็น จักขวายตนะ
รูป เป็น รูปายตนะ
จักขุวิญญาณที่ทำทัสสนกิจ เป็น มนายตนะ
ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณมีเวทนาเป็นต้นนั้น เป็น ธัมมายตนะ
โดยประการฉะนี้ การแลดูไปข้างหน้าและการแลดูข้างๆ ย่อมปรากฏเกิดขึ้นได้เพราะการประชุมกันแห่งอายตนะ ๔ เหล่านั้น. ในที่นี้ จะมีใครสักคนเล่า ที่แลดูข้างหน้า หรือแลดูข้างๆ. โดยความเป็นธาตุ ก็เหมือนกันนั่นแหละ คือ
จักษุ เป็น จักขุธาตุ
รูป เป็น รูปธาตุ
จักขุวิญญาณ เป็น จักขุวิญญาณธาตุ
ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณมีเวทนาเป็นต้นนั้น เป็น ธัมมธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 405
ด้วยอาการอย่างนี้ การแลดูข้างหน้า การแลดูข้างๆ ในเพราะการประชุมกันแห่งธาตุ ๔ เหล่านั้นจึงปรากฏขึ้น ในที่นี้ ใครเล่าที่แลดูข้างหน้า หรือแลดูข้างๆ. ว่าโดยความเป็นปัจจัย ก็เช่นเดียวกัน คือ
จักษุ เป็น นิสสยปัจจัย
รูป เป็น อารัมมณปัจจัย
อาวัชชนจิต เป็น อนันตระ สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ นัตถิ วิคตะ ปัจจัย
อาโลกะ (แสงสว่าง) เป็น อุปนิสสยปัจจัย
เวทนา เป็นต้น เป็น สหชาตปัจจัย เป็นต้น
ด้วยประการฉะนี้ จึงปรากฏเป็นการแลดูข้างหน้า แลดูข้างๆ ในเพราะการประชุมกันแห่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้. ในที่นี้ มีใครเล่าสักคนหนึ่งหรือที่แลดูข้างหน้า แลดูข้างๆ ดังนี้. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ในคำว่าอาโลกิเต วิโลกิเต นี้ แม้ด้วยความสามารถแห่งการพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และความเป็นปัจจัย ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.
อธิบาย สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ
(แปลว่า เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการคู้อวัยวะเข้า และเหยียดอวัยวะออก)
คำว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ได้แก่ การคู้อวัยวะเข้า และการเหยียดอวัยวะออก แห่งข้อต่อทั้งหลาย. ในที่นี้ ภิกษุไม่ได้ทำการคู้และการเหยียดอวัยวะด้วยสามารถแห่งจิตเท่านั้น ต้องกำหนดถึงประโยชน์และสิ่งมิใช่ประโยชน์ในเพราะการคู้และการเหยียดแห่งข้อมือข้อเท้าเป็นปัจจัย แล้วกำหนดถือเอาแต่ประโยชน์ในการคู้เข้าเหยียดออกนั้นได้ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 406
พึงทราบวินิจฉัย ในข้อนี้ต่อไป.
เมื่อภิกษุนั้น คู้อวัยวะแห่งข้อมือและข้อเท้านานเกินไป หรือว่าเหยียดออกนานเกินไป ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้นทุกๆ ขณะ จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานก็ย่อมตกไป ย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษ.
ก็ถ้าเมื่อภิกษุนั้น คู้อวัยวะเข้าในเวลาอันควร เมื่อเหยียดอวัยวะออกในเวลาอันควร ทุกขเวทนาย่อมไม่เกิด จิตย่อมเป็นธรรมชาติสงบ กรรมฐานย่อมถึงการแผ่ไป ย่อมบรรลุคุณวิเศษ พึงทราบกำหนดประโยชน์และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็ครั้นเมื่อประโยชน์แม้มีอยู่ การกำหนดสัปปายะแล้วถือเอาแต่สัปปายะ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ.
ในการคู้อวัยวะเข้าและการเหยียดอวัยวะออกนั้น มีนัยดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มทั้งหลายสาธยายพุทธพจน์อยู่ที่ลานพระมหาเจดีย์ ภิกษุณีทั้งหลาย กำลังฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุหนุ่มนั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เหยียดมือออกไปถูกต้องกายนางภิกษุณีสาวแล้ว จึงเป็นเหตุให้เธอต้องลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์. อีกรูปหนึ่ง เมื่อเหยียดเท้าออกไป ก็เหยียดไปที่กองไฟ ไฟไหม้เท้าของเธอจนจดกระดูก. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่จอมปลวก เธอได้ถูกอสรพิษกัดเอาแล้ว. อีกรูปหนึ่งเหยียดออกไปที่ราวจีวร ก็ถูกงูเขียวกัดแล้ว. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงเหยียดมือเหยียดเท้าในอสัปปายะเห็นปานนี้ ควรเหยียดออกไปในสัปปายะ. นี้ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ ในข้อนี้ แล.
ว่าด้วยโคจรสัมปชัญญะ
ก็โคจรสัมปชัญญะ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องของพระมหาเถระ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 407
ได้ยินว่า พระมหาเถระนั่งพักในที่พักในเวลากลางวัน สนทนากันอยู่กับอันเตวาสิกทั้งหลาย เผลอเหยียดมือออกไปโดยเร็ว แล้วก็ชักมือกลับ มาวางไว้ที่เดิมแล้วก็ค่อยๆ เหยียดออกไป. พวกอันเตวาสิกถามท่านว่า เพราะอะไรขอรับ ท่านเหยียดมือออกไปโดยเร็ว แล้วชักมือมาวางไว้ที่เดิมอีก แล้วค่อยๆ เหยียดออกไป. ท่านตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จำเดิมแต่เราเริ่มเพื่อมนสิการกรรมฐาน เราไม่เคยเหยียดมือออกไปพ้นจากกรรมฐาน แต่บัดนี้ เรากำลังสนทนากับพวกเธออยู่ปล่อยกรรมฐานเหยียดมืออกไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชักมือกลับมาวางไว้ตามเดิมแล้วจึงเหยียดไปอีก. พวกอันเตวาสิกเหล่านั้นพากันสาธุการว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีแล้ว ธรรมดาภิกษุพึงเป็นเช่นนี้.
แม้ในคำว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต นี้ พึงทราบว่าเป็นสภาวะไม่เว้นจากกรรมฐานนั่นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้ คือ
ธรรมดาว่า อัตตาอะไรๆ ในภายใน คู้อวัยวะเข้า หรือเหยียดอวัยวะออก มิได้มี ก็การกำหนดว่า การคู้อวัยวะเข้า การเหยียดอวัยวะออก ย่อมมีได้ ด้วยการแผ่ไปของวาโยธาตุ อันเป็นการกระทำของจิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว เป็นเหมือนหุ่นยนต์เคลื่อนไหวเท้าและมือได้ ด้วยสามารถแห่งการดึงเส้นด้าย ฉะนั้น ในลักษณะอย่างนี้ จึงชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ.
ในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ (แปลว่า เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร) การใช้สอยสังฆาฏิและจีวรด้วยสามารถแห่งการนุ่งห่ม และการใช้บาตรด้วยสามารถแห่งการรับภิกษา ชื่อว่าการทรงไว้. บัณฑิตพึงทราบการทรงผ้าสังฆาฏิและจีวรในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ก่อน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 408
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประโยชน์ในการทรงผ้าไว้มีประการต่างๆ โดย นัยเป็นต้นว่า การได้อามิสของภิกษุผู้นุ่งห่มแล้วเที่ยวไปเพื่อบิณฑะ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่าประโยชน์ และพึงทราบว่า เป็นสาตถกสัปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งประโยชน์นั้น.
อนึ่ง จีวรเนื้อละเอียด เป็นสัปปายะแก่ภิกษุผู้มีปกติร้อน มีกำลังทราม. จีวรเนื้อหนาผ้าสองชั้น เป็นสัปปายะแก่ผู้มีปกติหนาว. นอกนี้เป็นอสัปปายะ. ผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า ก็เป็นอสัปปายะเช่นกัน. เพราะว่า จีวรเก่าผืนนั้นย่อมกระทำปลิโพธิให้แก่เธอโดยต้องดามไว้เป็นต้น. โดยทำนองเดียวกัน จีวรอันเป็นที่ยินดีพอใจของโจรทั้งหลายมีผ้าทุกูล (ผ้าชนิดดี) ซึ่งทําด้วยไหมและขนสัตว์เป็นต้น ก็เป็นอสัปปายะ. จริงอยู่ ผ้าเช่นนั้น ย่อมกระทำอันตรายแก่ภิกษุผู้นุ่งห่มคนเดียวอยู่ในป่าหรือย่อมทำอันตรายต่อชีวิตของเธอก็ได้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยนิปปริยายแล้ว จีวรใดเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งมิจฉาชีวะมีการทายนิมิตเป็นต้น และจีวรใดเมื่อเธอเสพอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป จีวรนั้นๆ เป็นอสัปปายะ. นอกจากนี้เป็นสัปปายะ.
ในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ ชื่อว่า เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการทรงผ้าสังฆาฏิและจีวรอันเป็นสัปปายะนั้น. ทั้งโคจรสัมปชัญญะ ก็พึงทราบว่าไม่เว้นจากกรรมฐานเหมือนกัน คือ
ชื่อว่า อัตตา คือ ตัวตนอะไรๆ ในภายในทำการห่มอยู่ซึ่งจีวร มิได้มี. ก็แต่ว่า การห่มจีวรย่อมมีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปแห่ง วาโยธาตุ อันเป็นการกระทำของจิตมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ในการทรงจีวรนั้น แม้จีวรก็ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา. ทั้งจีวรก็ไม่รู้ว่า เรา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 409
ห่มกายไว้ แม้กายเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกจีวรห่มไว้ ดังนี้. ว่าโดย สภาวะธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมปกปิดซึ่งหมู่แห่งธาตุด้วยกัน เหมือนการห่อหนังสือด้วยท่อนผ้าเก่าๆ เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุได้จีวรชนิดดีมา ก็ไม่พึงโสมนัส ได้จีวรชนิดไม่ดีมา ก็ไม่พึงโทมนัส. เหมือนอย่างว่า ในสถานที่ทั้งหลายมีจอมปลวกและต้นไม้ใหญ่เป็นต้น ใครๆ ย่อม ทำสักการะที่นั้นๆ ด้วยวัตถุทั้งหลายมีเครื่องประดับด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นก็ดี ไม่ทำสักการะโดยขว้างปาด้วยคูถ มูตร เปือกตม หรือประหารด้วยท่อนไม้และศัสตราเป็นต้นก็ดี จอมปลวกและต้นไม้เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่โสมนัสด้วยสิ่งนั้นๆ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ ได้จีวรอย่างดีก็ไม่ทำความพอใจ ได้จีวรไม่ดีก็ไม่ทำความเสียใจ. บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะในการนุ่งห่มจีวรในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา ความเป็นไป ดังพรรณามาฉะนี้.
แม้ในการทรงบาตร ภิกษุก็ไม่ถือบาตรโดยเร็วเกินไป เมื่อถือเอาบาตรเที่ยวไปเพื่อบิณฑะ โดยหวังว่า เราจักได้ภิกษา ดังนี้ เพราะการถือเอาบาตรอย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ พึงทราบว่า เป็นสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจประโยชน์อันตนควรได้. บาตรหนัก เป็นอสัปปายะแก่ภิกษุผู้มีร่างกายผอม ไม่มีกำลัง. บาตรที่ทำความสะอาดไม่ดี มีตุ่มสนิมขึ้น ๔- ๕ ตุ่ม เป็นอสัปปายะ เพราะว่าบาตรที่ภิกษุทำความสะอาดไม่ดี ไม่สมควรแก่ภิกษุ เพราะว่าปลิโพธิ (ความกังวล) ย่อมมีแก่เธอผู้ชำระบาตรนั้นอยู่ทีเดียว. อนึ่ง บาตรมีสีเหมือนแก้วมณี อันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ เป็นอสัปปายะ เหมือนนัยที่กล่าว ไว้ในเรื่องของจีวรนั้นแหละ. ก็บาตรที่ได้มาด้วยสามารถแห่งการทายนิมิต (หมอดู) เป็นต้นก็ดี เมื่อเธอเสพบาตรใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 410
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมก็ดี บาตรนี้เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียว. บาตรนอกจากนี้เป็นสัปปายะ.
ในการทรงบาตรนี้ ชื่อว่า เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่ง สัปปายะนั้นๆ. และพึงทราบว่า เป็นโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่เว้นจากกรรมฐานเหมือนกันคือ
ขึ้นชื่อว่า ตัวตน (อัตตา) อะไรในภายใน ถืออยู่ซึ่งบาตร หามีไม่. ด้วยว่า การถือบาตรย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็น การกระทำของจิตมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในฐานะเช่นนี้ แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา. บาตรย่อมไม่รู้ว่า เราถูกมือถือเอาไว้แล้ว แม้มือเล่าก็ย่อมไม่รู้ว่า บาตรอันเราถือไว้ แล้ว ดังนี้ (เมื่อมีผู้ถามแทรกมาว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ใครเล่าเป็นผู้ถือ และถืออะไร) ก็ธาตุทั้งหลายนั่นแหละ ย่อมถือหมู่ธาตุด้วยกัน ดุจการใช้คีมเหล็กคีบบาตรที่ลนไฟ. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อว่า การทรงบาตร นี้ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาความเป็นไป ดังพรรณนามาฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้เปี่ยมด้วยความกรุณา เห็นคนอนาถามีมือและเท้าอันขาดแล้ว มีน้ำเลือดน้ำหนองไหลออกมากับหมู่หนอน ที่ศาลาคน อนาถา อันเกลื่อนกล่นแล้วด้วยแมลงวันหัวเขียว จึงน้อมไป (ส่ง) ซึ่งวัตถุทั้งหลายมีผ้าสำหรับพันแผลและยาสำหรับรักษา ด้วยกระเบื้อง (ภาชนะ ใส่ของ) เพื่อชนอนาถาเหล่านั้น ในสิ่งของเหล่านั้น บางคนย่อมได้ผ้าพันแผลเนื้อละเอียด บางคนได้เนื้อหยาบ แม้กระเบื้องใส่เภสัชก็เหมือนกัน บางคน ได้ของดี บางคนได้ของเลว เขาเหล่านั้นย่อมไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ด้วยว่า ความต้องการของเขาด้วยผ้าเพียงปกปิดแผลเท่านั้น และด้วยกระเบื้องก็เพียง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 411
เป็นเครื่องรองรับเภสัชนั่นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุใด ย่อมกำหนด (พิจารณา) จีวร ดุจผ้าพันแผล และกำหนดพิจารณาบาตร ดุจกระเบื้องเพื่อใส่เภสัช และกำหนดพิจารณาภิกษาอันได้แล้วในบาตร ดุจเภสัชในกระเบื้อง. ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้มีปกติทำสัมปชัญญะอันอุดม ด้วยอสัมโมหสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร แล.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อสิเต เป็นอาทิ.
คำว่า อสิเต ได้แก่ ในการกินอาหาร คือก้อนข้าวที่ตกไปในบาตรเป็นต้น (อาหารบิณฑบาต).
คำว่า ปีเต ได้แก่ การดื่มข้าวยาคูเป็นต้น.
คำว่า ขายิเต ได้แก่ การกัดเคี้ยวอาหารแข็งอันทำด้วยแป้งเป็นต้น.
คำว่า สายิเต ได้แก่ การเลียลิ้มรสน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น.
ในการกินอาหารเป็นต้นนั้น ประโยชน์แม้ทั้ง ๘ อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า เราจักไม่กินเพื่อเล่น เป็นต้น ชื่อว่า ประโยชน์. และพึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการกินอันเป็นประโยชน์นั้น.
ก็บรรดาอาหารทั้งหลาย อันเลว อันประณีต มีรสขม รสหวาน เป็นต้น ภิกษุใด ไม่มีความผาสุกด้วยอาหารชนิดใด อาหารนั้นจัดเป็นอสัปปายะแก่เธอ. อนึ่ง อาหารใดที่เธอได้มาด้วยสามารถแห่การทายนิมิต (หมอดู) เป็นต้นก็ดี ภิกษุฉันอาหารใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเกิด กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไปก็ดี อาหารนั้นๆ เป็นอสัปปายะโดยแท้ๆ อาหารตรงกันข้ามกับที่กล่าวมา เป็นสัปปายะ. ในที่นี้ พึงทราบว่า เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการกินอาหารอันเป็นสัปปายะนั้นๆ และ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 412
พึงทราบว่าเป็น โคจรสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการไม่เว้นจากกรรมฐาน คือ
ชื่อว่า ตัวตนอะไรๆ (อัตตา) ภายในบริโภคอาหารอยู่หามีไม่ ด้วยว่า ชื่อว่า การจับบาตรย่อมมีเพราะการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต. ชื่อว่า การหยั่งมือลงในบาตรย่อมมี เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิตนั่นแหละ. การทำคำข้าว การยกคำข้าวเข้าปาก การเปิดปาก ก็ย่อมมีเพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต. มิได้มีใครเปิดขากรรไกรด้วยกุญแจ หรือด้วยเครื่องยนต์อะไรๆ เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นแหละ จึงวางคำข้าวในปากได้ จากนั้น ฟันเบื้องบนก็ทำหน้าที่ให้สำเร็จดุจสาก ฟันเบื้องล่างก็ยังหน้าที่ให้สำเร็จดุจครก ทั้งลิ้นก็ทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ดังมือ. น้ำลายใสที่ปลายลิ้น น้ำลายข้นที่โคนลิ้น ย่อมคลุกเคล้ากับอาหารในที่นั้นๆ ด้วยประการฉะนี้ คำข้าวนั้นจึงเป็นไปในครกคือฟันเบื้องล่าง เปียกชุ่มด้วยน้ำลาย แหลกละเอียดแล้วด้วยสากคือฟันเบื้องบน. ชื่อว่า ใครๆ ใส่คำข้าวไปภายในด้วยช้อนหรือทัพพี หามีไม่. วาโยธาตุเท่านั้นย่อมให้อาหารเข้าไปภายใน. ชื่อว่า ใครๆ ให้คำข้าวที่เข้าไปแล้วๆ ให้ทรงอยู่ กระทำให้เคลื่อนไปสู่ความเป็นกาก ก็ไม่มี. คำข้าวนั้นย่อมตั้งอยู่ได้ ด้วยสามารถแห่งวาโยธาตุเท่านั้น. ใครๆ ชื่อว่า เตาก่อไฟหุงข้าวอยู่อย่างนั้นก็ไม่มี เตโชธาตุนั่นแหละย่อมยังอาหารนั้นๆ ให้สุกอยู่. ชื่อว่า ใครๆ นำอาหารที่สุกแล้วๆ ออกไปด้วยท่อนไม้หรือปลายไม้เท้าก็ไม่มี. วาโยธาตุนั้นแหละ ย่อมนำออกไป ด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าวได้ว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 413
วาโยธาตุ ย่อมนำอาหารนั้นให้เข้าไปภายใน ทั้งไม่ให้เข้าไปก็ได้ ย่อมทรงอาหารนั้นไว้ ย่อมให้เคลื่อนไหว ย่อมขยี้ ย่อมให้แห้ง และย่อมนำออกไปภายนอก.
ปฐวีธาตุ ย่อมช่วยให้อาหารทรงอยู่ ย่อมให้เปลี่ยนแปลง ย่อมให้แหลก ย่อมให้แห้ง และย่อมนำออก.
อาโปธาตุ ย่อมทำอาหารให้เป็นยาง ย่อมทำให้เปียกชุ่ม ย่อมรักษาความสดของอาหารนั้น.
เตโชธาตุ ย่อมให้อาหารที่เข้าไปภายในสุก.
อากาศธาตุ ย่อมเป็นทางแห่งอาหารลงไป.
วิญญาณธาตุ อาศัยประกอบความเพียรโดยชอบในที่นั้นๆ แล้วบริโภคอาหารดังนี้.
ในข้อว่า การกิน เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาความเป็นไปอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ แม้โดยความพิจารณาความเป็นของปฏิกูล ๑๐ อย่าง คือ
๑. โดยการเดินไป
๒. โดยการแสวงหา
๓. โดยการบริโภค
๔. โดยการที่อาศัย (อาหารที่เข้าไปในนั้นย่อมเปื้อนด้วยของ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เปื้อนด้วยน้ำดีบ้าง ด้วยเสมหะบ้าง ด้วยน้ำเหลืองบ้าง ด้วยเลือดบ้าง มิได้เว้นใครเลยสักคนเดียว)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 414
๕. โดยความสั่งสม (กระเพาะอาหาร คือ เมื่อเปื้อนด้วยของ ๔ อย่างแล้วก็ลงไปพักอยู่ที่กระเพาะอาหาร อันเป็นดุจหลุมมูตร คูถ)
๖. โดยความเป็นของยังไม่ย่อย
๗. โดยความเป็นของที่ย่อยแล้ว
๘. โดยความเป็นผล (หมายถึงอาหารที่ย่อยแล้ว ก็ผลิผลไปเป็น ผม ขน เป็นต้น ส่วนที่ย่อยไม่ดีก็ก่อให้เกิดโรคนับด้วยร้อยชนิด)
๙. โดยความไหลออก
๑๐. โดยความเปรอะเปื้อน.
ส่วนถ้อยคำพิสดารในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบและศึกษาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งว่าโดยนิทเทสแห่งอาหารปฏิกูลสัญญาเถิด.
พึงทร าบวินิจฉัยใน อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ต่อไป
คำว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ.
ในที่นี้ เมื่อบุคคลใดไม่ทำการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ในเวลาที่ควรแล้ว เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากสรีระ ตาทั้งสองย่อมมืดมัว จิตย่อมไม่ตั้งมั่น โรคต่างๆ ย่อมเกิดขึ้น. แต่เมื่อทำการถ่ายตามปกติแล้ว เหตุทั้งปวงนั้นย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนี้. นี้ชื่อว่า เป็นประโยชน์ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. พึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะนั้น.
อนึ่ง เมื่อทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่อันไม่ควร ย่อมต้องโทษทางพระวินัย ย่อมเสื่อมจากยศ (คือ ชื่อเสียง) ย่อมเป็นอันตรายต่อชีวิตก็ได้. เมื่อทำการถ่ายในที่อันควร เหตุทั้งหมดเหล่านั้นย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ข้อนี้ จึงชื่อว่า เป็นสัปปายะ. ในข้อว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม นี้ ชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 415
เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะนั้น. พึงทราบว่า เป็นโคจรสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการไม่ละจากกรรมฐานนั้นแหละ คือ
ชื่อว่า อัตตาไรๆ ในภายในการทำการถ่ายอุจจาระปัสสสาวะอยู่หามีไม่. ก็เพราะการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นแหละ การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ จึงมีได้. เหมือนอย่างว่า ครั้นเมื่อหัวฝีสุกงอมแล้ว เพราะการตกไปแห่งหัวฝีนั้น หนองและเลือดจึงไหลออก โดยที่มิต้องประสงค์จะให้มันออก มันก็ออก ฉันใด หรือเหมือนอย่างว่า น้ำย่อมไหลออกจากภาชนะของน้ำอันบุคคลเทให้ล้นแล้ว โดยมิประสงค์จะให้น้ำนั้นออกฉันใด อุจจาระในกระเพาะอาหาร หรือปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ก็ฉันนั้น อุจจาระและปัสสาวะอันสะสมไว้แล้ว ถูกเบียดเบียนด้วยกำลังแห่งลมในกระเพาะก็ย่อมออกไป แม้มิพึงประสงค์จะให้ออกก็ตามที มันย่อมออกไปด้วยอำนาจของวาโยธาตุ. ก็อุจจาระปัสสาวะนี้นั้น หาใช่เป็นของภิกษุนั้นไม่ ทั้งมิใช่ของใครอื่น. อุจจาระปัสสาวะนั้นเป็นของปฏิกูลที่หลั่งไหลออกจากสรีระตามธรรมดาเท่านั้น. เปรียบเหมือนอะไรเล่า เหมือนบุคคลเทน้ำเก่าจากหม้อน้ำ น้ำเก่านั้นก็มิใช่เป็นของหม้อน้ำนั้น ทั้งมิใช่เป็นของใครอื่น สักว่าเป็นการดำเนินไปตามเหตุปัจจัย ฉันใด ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการใคร่ครวญตามความเป็นไปฉันนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า คเต เป็นอาทิ.
คำว่า คเต ได้แก่ ในการเดิน.
คำว่า ิเต ได้แก่ ในการยืน.
คำว่า นิสินฺเน ได้แก่ ในการนั่ง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 416
คำว่า สุตฺเต ได้แก่ ในการนอน. (คำว่า สุตฺเต ซึ่งแปลว่าในการหลับนี้ ในที่นี้ท่านอธิบายว่า ได้แก่ในการนอน ท่านใช้คำว่า สยเน).
ในการเดินเป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบการทำสัมปชัญญะ ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น.
อีกนัยหนึ่ง พึงทราบ ในการเดินเป็นต้น ต่อไป ดังนี้.
ความย่อว่า ภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่ง เมื่อเธอเดินไป ก็คิดอย่างอื่น ตรึกอยู่อย่างอื่น ไปอยู่ โดยทำนองเดียวกัน เมื่อยืนก็ดี เมื่อนั่งก็ดี เมื่อนอนก็ดี ก็คิดอย่างอื่น ตรึกถึงอย่างอื่น ย่อมยืนอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่อย่างนั้น. ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่สละกรรมฐานเลย ทั้งเดิน ทั้งยืน ทั้งนั่ง ทั้งนอน. แต่อาจารย์บางพวก อธิบายว่า กรรมฐานยังมิได้ปรากฏด้วยการจงกรมมีประมาณเพียงเท่านี้.
จริงอยู่ ภิกษุใดก้าวลงสู่ที่จงกรม ก้าวไปจนถึงที่สุดแห่งการจงกรม ก็กำหนดกรรมฐานว่า
รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปในที่สุดแห่งการจงกรมทาง ด้านทิศตะวันออก ย่อมดับไปก่อนๆ ที่จะถึงที่อันเป็นที่สุดแห่งการจงกรมทิศตะวันตกทีเดียว. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย แม้เป็นไปในที่สุดแห่งการจงกรมด้านทิศตะวันตก ก็ย่อมดับไปก่อนๆ ที่จะถึงที่สุดแห่งที่เป็นที่จงกรมทางด้านทิศตะวันออกนั่นแหละ. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปในท่ามกลางอันเป็นไปในท่ามกลางที่อันเป็นที่จงกรม ก็ย่อมดับไปก่อน ไม่ทันถึงที่สุดทั้งสอง (ทั้งข้างหน้าข้างหลัง) ย่อมดับไปในท่ามกลางที่อันเป็นที่จงกรมนั่นแหละ. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปในการก้าว ย่อมดับไปในการก้าวนั่นแหละ ไม่ทันถึงการยืน. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 417
เป็นไปในการยืนเล่า ก็ดับไปในการยืนนั่นแหละไม่ทันถึงการนั่ง ฯลฯ ย่อมดับไปในการนั่งนั่นแหละ ไม่ทันถึงการนอน ดังนี้ เมื่อเธอกำหนดอยู่ กำหนดอยู่อย่างนี้นั่นแหละ จิตย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์. เมื่อจะลุกออกไป ก็ถือเอากรรมฐานนั้นแหละแล้วลุกออกไป. ภิกษุนี้ ชื่อว่า ผู้มีปกติรู้ชัด ในข้อว่า ในการเดิน เป็นต้น.
ส่วนกรรมฐานในการหลับ มิได้แจ่มแจ้งอย่างนี้ กรรมฐานอันมิแจ่มแจ้ง ภิกษุไม่ควรกระทำ. เพราะฉะนั้น ภิกษุใดย่อมสามารถเพียงใด ก็กำหนดก้าวไปเพียงนั้น กำหนดยืนอยู่แล้ว นั่งแล้วเพียงนั้น เมื่อนอน กำหนดอย่างนี้ แล้วจึงนอน คือ กายก็ไม่มีเจตนา เตียงก็ไม่มีเจตนา กายย่อมไม่รู้ว่า เรานอนบนเตียง. แม้เตียงเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า กายอันเรานอนแล้ว ดังนี้ เมื่อกำหนดอย่างนี้ว่า กายไม่มีเจตนา นอนแล้วบนเตียงอันไม่มีเจตนา ดังนี้ กำหนดอยู่บ่อยๆ จิตย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์. เมื่อตื่นก็ถือเอากรรมฐานนั่นแหละ ย่อมตื่นอยู่. ภิกษุนี้ ชื่อว่า มีปกติรู้ชัดในการนอน (ในการหลับ) ดังนี้.
คำว่า ชาคริเต แปลว่า ในการตื่น. ในข้อนี้ เมื่อภวังคจิต (ในการหลับ) ยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่าการตื่นย่อมไม่มี. ภิกษุกำหนดว่า เมื่อจิตควรแก่การทำงานเป็นไปอยู่ ชื่อว่า การตื่นย่อมมี ดังนี้ ชื่อว่า มีปกติรู้ชัดในการตื่น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแบ่งกลางคืนและกลางวันออกเป็น ๖ ส่วน แม้เอาใจใส่อยู่ ๕ ส่วน ก็ชื่อว่า มีปกติรู้ชัดในการตื่น.
คำว่า ภาสิเต แปลว่า ในการพูด. ในข้อนี้ เมื่ออุปาทายรูป คือ สัททายตนะ ไม่มีอยู่ ชื่อว่า การพูดยังไม่มี ภิกษุกำหนดสัททายตนะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 418
ซึ่งเป็นไปอยู่ ชื่อว่า มีปกติรู้ชัดในการพูด. ภิกษุแสดงธรรมโดยมุ่งวิมุตตายตนะอยู่ก็ดี กล่าวกถาอันอาศัยกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง เพื่อละติรัจฉานกถา ๓๒ อย่างก็ดี ชื่อว่า มีปกติรู้ชัดในการพูด.
คำว่า ตุณฺหีภาเว ได้แก่ การนิ่ง การไม่พูด. ในข้อนี้ เมื่ออุปาทายรูป คือสัททายตนะยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า ความเป็นผู้นิ่งก็มิได้มี. ภิกษุไม่กำหนด ความเป็นไปแห่งสัททายตนะนั้น ชื่อว่า มีปกติรู้ชัดในความเป็นผู้นิ่ง ในบรรดาอารมณ์กรรมฐาน ๓๘ ประการนั้น (เว้นอากาศและอาโลกกสิณ) ภิกษุถือเอากรรมฐานตามความพอใจ นั่งอยู่ก็ดี เข้าทุติยฌานก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้มีปกติรู้ชัดในความเป็นผู้นิ่ง.
อนึ่ง ในนิทเทสแห่งฌานวิภังค์นี้ อิริยาบถหนึ่งมาแล้วในฐานทั้งสอง (ท่านแสดงไว้ ๒ อย่าง) คือ
ในข้อว่า อภิกฺกนฺเต (การก้าวไปข้างหน้า) ปฏิกฺกนฺเต (การถอยกลับมาข้างหลัง) ที่กล่าวไว้ก่อนนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้พระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภิกษุผู้เดินทางไปสู่บ้านเพื่อภิกขาจาร และทั้งการเดินกลับมาด้วยสามารถแห่งการเดินทางไกล. ส่วนในข้อว่า คเต (ในการเดิน) ิเต (ในการยืน) นิสินฺเน (ในการนั่ง) พึงทราบว่า ตรัสด้วยสามารถแห่งอิริยาบถ คือ ในการก้าวเท้าไปเล็กๆ น้อยๆ ในวิหาร.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กตมา สติ (สติเป็นไฉน) เป็นต้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงประโยชน์อะไร ด้วยคำว่า โส วิวิตฺตํ (ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะอันสงัด).
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 419
ตอบว่า ย่อมทรงแสดงเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ อันเป็นวิถีแห่งการประกอบความเพียร อันเป็นที่เข้าไปนั่งของภิกษุนั้น.
จริงอยู่ คุณทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ของภิกษุใดมีอยู่ในภายใน ภิกษุนั้นสมควรอยู่ป่า. แต่ถ้าคุณเหล่านั้นไม่มีแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ไม่ควรอยู่ป่า. เพราะว่าการอยู่ป่าของภิกษุเห็นปานนี้ ย่อมเป็นเช่นกับการอยู่ในดงของสัตว์ร้ายทั้งหลายมี ลิงดำ หมี เสือดาว และเสือเหลือง เป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะความที่ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยอยู่ตามความปรารถนา
ด้วยว่า ประโยชน์ไรๆ อันมีการอยู่ป่าเป็นเหตุของภิกษุนั้นไม่มี เธอย่อมประทุษร้ายการอยู่ป่าด้วย และประทุษร้ายป่าทั้งหลายด้วย ทั้งย่อมยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา. ส่วนภิกษุใด มีคุณมีประมาณเท่านี้ในภายใน ภิกษุนั้นสมควรอยู่ป่า. เพราะว่าภิกษุนั้นอาศัยการอยู่ป่า เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วถือเอาพระอรหัต ย่อมปรินิพพาน ชื่อว่า ย่อมทำป่าทั้งสิ้นให้งาม ย่อมทำศีรษะแห่งป่าทั้งหลายให้สะอาด ย่อมทำคำสั่งสอนของพระชินเจ้าทั้งสิ้นให้แผ่ออกไป. เพราะฉะนั้น พระศาสดา เมื่อทรงแสดงเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ อันเป็นวิถีแห่งความเพียรอันเป็นที่เข้าไปนั่งของภิกษุเห็นปานนี้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส วิวิตฺตํ เสนาสนํ ภชติ ดังนี้ (ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะอันสงัด).
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ เป็นเสนาสนะว่างเปล่า มีเสียงน้อยคือมีเสียงกึกก้องน้อย ก็เพื่อแสดงเนื้อความนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ตญฺจ อนากิณฺณํ (แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่อนกล่น) เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 420
คำว่า อนากิณฺณํ ได้แก่ ไม่เกลื่อนกล่นแล้ว คือไม่ถูกเบียดเบียน. ในที่นี้ การอาศัยภูเขา อาศัยป่า อาศัยแม่น้ำโดยรอบประมาณคาวุตหนึ่งก็ดี กึ่งโยชน์ก็ดีแห่งเสนาสนะใด ทั้งใครๆ ไม่สามารถเพื่อเข้าไปในเวลาอันไม่สมควร เสนาสนะนี้ ชื่อว่า ไม่เกลื่อนกล่นแล้วแม้ในที่ใกล้. เสนาสนะใดห่างไกลมีประมาณกึ่งโยชน์ หรือประมาณหนึ่งโยชน์ เสนาสนะนี้ ชื่อว่า ไม่เกลื่อนกล่นแล้วในที่ไกล.
ภิกษุย่อมนอนและย่อมนั่ง ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ที่นี้ จึงชื่อว่า เสนาสนะของภิกษุ. เพื่อแสดงประเภทแห่งเสนาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า มญฺโจ (เตียง) ปีํ (ตั่ง) เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า มฺโจ ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ
๑. เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา
๒. เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกับขา
๓. เตียงมีขาเหมือนก้ามปู
๔. เตียงมีขาจดแม่แคร่ซึ่งถอดออกได้
ตั่งก็เหมืนกัน. คำว่า ภิสี ได้แก่ ที่นอน ๕ ชนิด คือ
๑. ที่นอนทำด้วยขนสัตว์
๒. ที่นอนทำด้วยท่อนผ้า
๓. ที่นอนทำด้วยเปลือกไม้
๔. ที่นอนทำด้วยใบไม้
๕. ที่นอนทำด้วยหญ้า
หมอนหนุนศีรษะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสนาสนะ คือ หมอน. หมอนนั้น ว่าโดยส่วนกว้างมีประมาณหนึ่งคืบสี่นิ้ว สมควร. โดยส่วนยาว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 421
ประมาณสมควรแก่ความกว้างของเตียง. คำว่า วิหาโร (เสนาสนะ คือ วิหาร) ได้แก่ เสนาสนะที่ท่านแสดงไว้ คือเสนาสนะที่เป็นที่พักในเวลากลางวันและที่พักในเวลากลางคืนอันเป็นสถานที่รอบๆ บริเวณ. คำว่า อฑฺฒโยโค (เสนาสนะ คือ เพิง) ได้แก่ เรือนมีรูปโค้งดังครุฑ. คำว่า ปาสาโท (เสนาสนะ คือ ปราสาท) ได้แก่ ปราสาทยาวที่เขาทำเป็น ๒ ยอด (หรือ ๒ ช่อฟ้า). คำว่า อฏฺโฏ (เสนาสนะ คือ ป้อม) ได้แก่ ที่พักอยู่พิเศษ มี ๔ - ๕ ชั้น มีฝาหนาที่เขาก่อด้วยอิฐ เพื่อป้องกันศัตรูมีพระราชาผู้เป็นปรปักษ์กันเป็นต้น. คำว่า มาโฬ (เสนาสนะ คือ โรง) ได้แก่ โรงมีรูปกลมเช่นกับโรงฉันอาหาร. ในอรรถกถาพระวินัย ท่านกล่าวว่า เป็นปราสาทสี่เหลี่ยม สงเคราะห์เข้าในปราสาทมียอดเดียว. คำว่า เลนํ (เสนาสนะ คือ ที่เร้น) ได้แก่ เสนาสนะที่เขาขุดภูเขากระทำ หรือเสนาสนะ ที่ทำกระท่อมในที่บางส่วนแห่งเงื้อมเขา. คำว่า คูหา (เสนาสนะ คือ ถ้ำ) ได้แก่ในรอยแยกแห่งแผ่นดิน หรือในที่ใดสมควรตามประทีปไว้ทั้งกลางคืนและกลางวัน ในที่นั้น ชื่อว่า ถ้ำแห่งภูเขา หรือถ้ำแห่งแผ่นดิน. คำว่า รุกฺขมูลํ (เสนาสนะคือโคนไม้) ได้แก่ ภายใต้ต้นไม้ ที่เขาล้อมรั้ว. คำว่า เวฬุคุมฺโพ (เสนาสนะคือพุ่มไม้) ได้แก่ กอไม้ไผ่. ก็หรือว่า เตียงเป็นต้นที่ตั้งไว้โดยหวังว่าภิกษุจะมา หรือในที่ใดพวกภิกษุย่อมประชุมกัน หรือที่ใดเป็นที่ควรประชุมของภิกษุเหล่านั้น ที่ทั้งหมดนั้นก็จัดเป็นเสนาสนะ.
คำว่า ภชติ ได้แก่ เข้าถึงอยู่. ในข้อว่า สมฺภชติ นั้น ได้แก่ เป็นผู้ไม่เดือดร้อนด้วยอำนาจแห่งความยินดียิ่ง จึงชื่อว่า เข้าถึงอยู่ด้วยดี. บทว่า เสวติ ได้แก่ ย่อมเสพด้วยสามารถแห่งการอยู่อาศัย. บทว่า นิเสวติ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 422
ไม่เป็นผู้เดือดร้อน เข้าอาศัยอยู่แล้ว ชื่อว่า เสพอยู่. บทว่า สํเสวติ ได้แก่ เมื่อยังเสนาสนวัตรให้ถึงพร้อม ชื่อว่า เสพอยู่โดยชอบ.
บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทแห่งบทว่า วิวิตฺตํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า อรญฺรุกฺขมูเล เป็นอาทิ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อรญฺํ (ป่า) ดังต่อไปนี้.
ว่าโดยปริยายแห่งพระวินัยก่อน คำว่า ป่า ท่านหมายเอาสถานที่เว้นจากบ้านและอุปจาระแห่งบ้านที่เหลือ เรียกว่า ป่า. โดยปริยายแห่งพระสูตร คำว่า ป่า ได้แก่ ป่าที่ภิกษุอาศัยอยู่ คือ เป็นเสนาสนะ. อันอยู่ห่างจากบ้านประมาณ ๕๐๐ ธนู ชื่อว่า ป่า. ก็พระวินัยและพระสูตรแม้ทั้งสอง ชื่อว่า ปริยายเทศนา (คือป่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยอ้อม). ส่วนพระอภิธรรม ชื่อว่า นิปปริยายเทสนา (คือป่าที่ทรงแสดงโดยตรง). เพื่อแสดงป่าโดย ปริยายแห่งพระอภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า นิกฺขมิตฺวา พหิ อินฺทขีลํ ดังนี้. อธิบายว่า บริเวณนอกจากเสาเขื่อน ชื่อว่า ป่า.
อนึ่ง บรรดาเสนาสนะทั้งหลายมีโคนไม้เป็นต้น ชื่อว่าโคนไม้ เพราะเป็นสิ่งที่บุคคลรู้ได้โดยง่ายตามธรรมดา (ด้วยเหตุนั้น) จึงตรัสว่า รุกฺขมูลํ เป็นอาทิ. คำว่า ปพฺพตํ คือ ภูเขา. จริงอยู่ ในข้อนี้ เมื่อภิกษุทำกิจด้วยน้ำในสระตระพังหินเสร็จแล้ว นั่งพักอยู่ที่เงาไม้อันเย็น กระทบลมเย็นซึ่งพัดมาจากทิศต่างๆ อยู่ จิตของเธอย่อมสงบ. วินิจฉัยในคำว่า กนฺทรํ (ซอกเขา) น้ำพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กํ. ถามว่า ประเทศแห่งภูเขานั้น แยกออกไปด้วยอะไร ตอบว่า แยกออกไปด้วยน้ำ. อาจารย์บางพวก ย่อมกล่าวว่า ที่นั้นเป็นที่ลาดบ้าง เป็นแอ่งน้ำบ้าง. จริงอยู่ ในที่นั้นมีเมล็ดทรายเช่นกับแผ่นเงิน ป่าชัฏนั้นเป็นเช่นกับเพดานอันสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี. ภิกษุ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 423
ก้าวลงสู่รอยแยกเห็นปานนี้ ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ทำตัวให้เย็นสบาย ทำกองทรายให้สูงขึ้น จัดแจงผ้าบังสุกุลจีวรแล้วนั่งทำสมณธรรมอยู่ จิตของเธอย่อมสงบ.
คำว่า คิริคุหํ (ถ้ำในระหว่างภูเขา) คือ ถ้ำในระหว่างแห่งภูเขาทั้งสอง หรือว่าในภูเขาหนึ่งมีช่องใหญ่เช่นกับอุโมงค์. ลักษณะแห่งสุสาน ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์ชื่อ วิสุทธิมรรค.
คำว่า วนปตฺถํ (ดง) ได้แก่ สถานที่นอกจากหมู่บ้าน มิใช่ที่ใกล้เคียงของพวกมนุษย์ คือ ในที่ไม่มีการไถ การหว่าน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกชื่อเสนาสนะอันไกลนี้ว่า วนปตฺถํ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสนาสนะมีโคนไม้เป็นต้น พระองค์ทรงแยกแสดงเสนาสนะ อันไม่มีเสียงรบกวนนี้ไว้ต่างหาก ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงอธิบายคำนั้นตามลำดับแห่งบทที่พระองค์ทรงตั้งไว้ แต่ทรงอธิบายไว้ในภายหลังแห่งคำทั้งปวง ดังนี้.
คำว่า อพฺโภกาสํ (ที่แจ้ง) คือสถานที่ไม่มีที่กำบัง. ก็ภิกษุ ระสงค์ในที่เช่นนี้ ต้องทำให้เป็นเพิง ด้วยจีวรแล้วอยู่.
คำว่า ปลาลปุญฺชํ ได้แก่ กองฟาง. จริงอยู่ ภิกษุดึงฟางออกจากกองฟางใหญ่แล้วทำให้เป็นที่อยู่เช่นกับเงื้อมเขาและถ้ำ. แม้ภิกษุจะเอาฟางใส่ไว้บนพุ่มไม้เป็นต้นแล้วนั่งกายใต้กระทำสมณธรรมก็ได้. คำนี้ ท่านหมายเอาเสนาสนะ คือกองฟางนั้นแล.
ในวนปัตถนิทเทส (ในนิทเทสว่าด้วยดง) คำว่า สโลมหํสานํ ได้ แก่ ในที่ใด เมื่อเข้าไปแล้ว ขนพองสยองเกล้าย่อมเกิดขึ้น ที่เห็นปานนี้ ชื่อว่า เสนาสนะประกอบด้วยความน่ากลัว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 424
คำว่า ปริยนฺตานํ ได้แก่ ชื่อว่า เสนาสนะอันตั้งอยู่ปลายแดน เพราะเป็นเสนาสนะไกล.
คำว่า น มนุสฺสุปจารานํ ได้แก่ เสนาสนะตั้งอยู่เลยป่าไป คือ ไม่มีพวกมนุษย์ทำการไถและหว่าน.
คำว่า ทุรภิสมฺภวานํ ได้แก่ เสนาสนะที่บุคคลไม่อาจเพื่ออยู่อาศัย โดยความยินดีชอบใจในวิเวกได้.
ในนิทเทสแห่งอัปปสัททะเป็นต้น. คำว่า อปฺปสทฺทํ ได้แก่ มีเสียงน้อย (สถานที่ไม่มีเสียงรบกวน) โดยหมายถึงเสียงของคำพูด.
คำว่า อปฺปนิคฺโฆสํ ได้แก่ มีเสียงกึกก้องน้อย (ไม่มีเสียงอื้ออึง) โดยหมายถึงเสียงกึกก้องของชาวพระนคร. ก็เพราะศัพท์ทั้งสองแม้นี้ เป็นอย่างเดียวกันโดยอรรถแห่งศัพท์ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ อปฺปสทฺทํ ตเทว ตํ อปฺปนิคฺโฆสํ (เสนาสนะใดไม่มีเสียงรบกวน เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่มีเสียงอื้ออึง) ดังนี้.
คำว่า วิชนวาตํ ได้แก่ เว้นจากลมแห่งสรีระแห่งชนผู้สัญจรมาในภายหลัง. พระบาลีว่า วิชนวาทํ ดังนี้ ก็มี. อธิบายว่า เว้นแล้วจากการกล่าวของชนผู้อยู่ภายใน. ก็เพราะ เสนาสนะนั้นมีเสียงกึกก้องน้อย อันใด เสนาสนะนั้นนั่นแหละ เว้นแล้วจากการสัญจรของชน และจากวาทะของชน ฉะนั้น ในนิทเทสของพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ อปฺปนิคฺโฆสํ ตเทว ตํ วิชนวาตํ (เสนาสนะใดไม่มีเสียงอื้ออึง เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่มีคนสัญจรไปมา) ดังนี้.
คำว่า มนุสฺสราหเสยฺยกํ ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งการทำความลับของพวกมนุษย์. ก็เพราะเหตุที่เสนาสนะนั้นเว้นจากการสัญจรของประชุมชน ด้วยเหตุนั้น ในนิทเทสแห่งพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ วิชนวาตํ ตเทว ตํ มนุสฺสราหเสยฺยกํ เสนาสนะใดไม่มีคนสัญจรไปมา เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน) ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 425
คำว่า ปฏิสลฺลานสารูปํ ได้แก่ เป็นเสนาสนะสมควรแก่วิเวก. เพราะเสนาสนะนั้นเป็นที่อาศัยทำความลับของพวกมนุษย์โดยนิยมนั่นแหละมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ในนิทเทสแห่งพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ มนุสฺสราหเสยฺยกํ ตเทว ตํ ปฏิสลฺลานสารูปํ (เสนาสนะใดไม่มีคนพลุกพล่าน เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น) ดังนี้.
เสนาสนะ คือ ป่า ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนิทเทสแห่งคำว่า อรญฺญคตา เป็นต้นนั่นแหละ. เสนาสนะ คือ โคนไม้ก็เหมือนกัน. ส่วนเสนาสนะแม้ทั้งหมดที่เหลือสงเคราะห์ด้วยสุญญาคาร.
คำว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา (นั่งคู้บัลลังก์) ได้แก่ การนั่งคู้ขาโดยรอบ.
คำว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย ได้แก่ ตั้งสรีระท่อนบนให้ตรง คือ ยังที่ต่อแห่งที่ต่อในกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ ให้เป็นไปตามลำดับ. จริงอยู่ เมื่อภิกษุนั้นนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อ และเอ็นทั้งหลาย ย่อมไม่โค้งงอ. ทีนั้น เวทนาอันใดของเธอที่พึงเกิดขึ้น เพราะการน้อมไปแห่งสิ่งเหล่านั้นย่อมไม่เกิดขึ้น. เมื่อทุกขเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตของเธอย่อมเป็นธรรมชาติสงบ กรรมฐานย่อมไม่ตกไป ย่อมเจริญขึ้น คือ ย่อมเพิ่มขึ้น. ก็แม้คำว่า อุชุโก โหติ กาโย ิโต ปณิหิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสหมายเอาเนื้อความนี้เหมือนกัน.
คำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา แปลว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า กระทำสติในที่ใกล้ปาก ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตินี้ อันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้ดี แล้วที่ปลายจมูก หรือว่า ที่นิมิตเหนือปาก. ก็ในคำว่า มุขนิมิตฺตํ นี้ บัณฑิตพึงเห็นซึ่งประเทศในท่ามกลางแห่งริมฝีปากเบื้องบน คือว่า ลมแห่ง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 426
นาสิกย่อมกระทบในที่ใด. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปริ ได้แก่ มีการกำหนดเป็นอรรถ. คำว่า มุขํ มีการนำออกไปเป็นอรรถ. คำว่า สติ มีการตั้งมั่นเป็นอรรถ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปริมุขํ สตึ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบในข้อนี้แม้โดยนัยที่กล่าวแล้วในปฏิสัมภิทา ฉะนั้น. ความสังเขป พึงทราบในที่นี้ว่า ภิกษุสมควรกำหนดกระทำสติ.
อภิชฌานิทเทสมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
พึงทราบการพรรณนาโดยย่อในอภิชฌานิทเทส ดังนี้
ข้อว่า อภิชฺฌํ โลเก ปหาย (แปลว่า ละอภิชฌาในโลก) ได้แก่ โลก ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เพราะอรรถว่า มีการเสื่อมและสลายไปเป็นธรรมดา. เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า ท่านละราคะ ข่มกามฉันทะ ในอุปาทานขันธ์ ๕ แล้ว. คำว่า วิคตาภิชฺเฌน (แปลว่า จิตที่ปราศจากอภิชฌา) ได้แก่ ชื่อว่า มีอภิชฌาไปปราศแล้ว เพราะละได้แล้วด้วยวิกขัมภนละ. อธิบายว่ามีอภิชฌาไปปราศแล้ว เช่นกับด้วยจักขุวิญญาณ หามิได้. คำว่า อภิชฺฌาย จิตตํ ปริโสเธติ (แปลว่า ชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา) ได้แก่ ย่อมเปลื้องจิตจากอภิชฌา. อธิบายว่า อภิชฌา นั้น ย่อมปล่อยซึ่งจิตนั้น ครั้นปล่อยแล้ว ย่อมไม่ถือเอาซึ่งจิตนั้นอีกโดยประการใด ภิกษุนั้น ย่อมกระทำโดยประการนั้น. ในนิทเทสบททั้งหลาย พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เมื่อเสพ ชื่อว่า ย่อมชำระซึ่งจิตนั้น เมื่อเจริญ ชื่อว่า ย่อมยังจิตให้หมดจด เมื่อกระทำให้มาก ชื่อว่า ย่อมยังจิตให้บริสุทธิ์ แม้ในคำว่า โมเจติ (แปลว่า ให้พ้น) เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ แม้แห่งคำทั้งหลายมีคำว่า พยาปาทปโทสํ ปหาย (แปลว่า ละพยาบาท และประทุษร้าย) เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 427
จิต ย่อมพยาบาท ย่อมละปกติภาวะ ด้วยธรรมชาตินี้ เช่นกับขนมกุมมาสบูดเป็นต้น เหตุนั้นธรรมชาตินี้ จึงชื่อว่า พยาปาทะ.
จิตใด ย่อมทำลาย หรือย่อมทำให้เสียหาย หรือย่อมพินาศไป เพราะถึงการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงชื่อว่า ปโทสะ (คือประทุษร้าย).
คำทั้งสองนี้ เป็นชื่อของความโกรธโดยแท้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โย พยาปาโท โส ปโทโส โย ปโทโส โส พยาปาโท (ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่า ความประทุษร้าย, ความประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่า ความพยาบาท) ดังนี้ ก็เพราะศัพท์นี้ ท่านยกขึ้นแสดงแล้ว ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี (มีความอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง) แต่ตรัสว่า อพฺยาปนฺนจิตฺโต (เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท) เพียงเท่านี้.
ความป่วยแห่งจิต ชื่อว่า ถีนะ. ความป่วยแห่งเจตสิก ชื่อว่า มิทธะ. ถีนะด้วย มิทธะด้วย เรียกว่า ถีนมิทธะ.
สองบทว่า สนฺตา โหนฺติ (สงบ) ได้แก่ ธรรมทั้งสอง คือถีนมิทธะเหล่านั้น ชื่อว่า สงบลงแล้ว เพราะความสงบลงด้วยนิโรธ. ในที่นี้ ท่านทำการแยกถ้อยคำไว้ โดยหมายเอาถีนมิทธะนี้.
คำว่า อาโลกสญฺี (มีอาโลกสัญญา) ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีนิวรณ์ไปปราศแล้ว เพื่อสามารถอันจำอาโลกะ (แสงสว่าง) อันตนเห็นแล้วในเวลาราตรีบ้าง ในเวลากลางวันบ้าง.
คำว่า สโต สมฺปชาโน (มีสติสัมปชัญญะ) ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยสติและญาณ. ก็คำว่า จตฺตตฺตา (เพราะความที่ถีน-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 428
มิทธะ ... อันภิกษุนั้นสละแล้ว) เป็นต้น ในนิทเทสบทแห่งอาโลกสัญญาซึ่งปราศจากถีนมิทธะนั้นเป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น
ในคำว่า จตฺตตฺตา ได้แก่ เป็นเหตุของผู้สละแล้ว. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ในคำว่า จตฺตตฺตา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วยสามารถแห่งการสละโดยภาวะของตน. คำว่า วนฺตตฺตา (แปลว่า คายแล้ว) นี้ ตรัสด้วยสามารถแห่งการแสดงโดยความเป็นผู้ไม่ยึดถือ. คำว่า มุตฺตตฺตา (แปลว่า ปล่อยแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งการหลุดพ้นจากการสืบต่อ. คำว่า ปหีนตฺตา (แปลว่า ละแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้ไม่มีที่เป็นที่ตั้งในที่ไหนๆ ของผู้หลุดพ้นแล้ว. คำว่า ปฏินิสฺสฏฺตฺตา (แปลว่า สละคืนแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งการแสดงถึงภิกษุผู้สละซึ่งถึนมิทธะอันเคยยึดถือมาในก่อน. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เพราะสละแล้วโดยความหลุดพ้น คือเพราะครอบงำด้วยสามารถแห่งภาวนา. คำว่า ปหีนปฏินิสฺสฏตฺตา (แปลว่า ละแล้วและสละคืนแล้ว) ได้แก่ การสละด้วยอำนาจแห่งการข่ม คือย่อมไม่ให้การสืบต่อเกิดขึ้นบ่อยๆ. คำว่า อาโลกา โหติ (แปลว่า สว่าง) ได้แก่ มีรัศมีดี. ชื่อว่า วิวฏา (เปิดเผย) เพราะอรรถว่าไม่มีเครื่องกั้น. ชื่อว่า ปริสุทฺธา (บริสุทธิ์) เพราะอรรถว่าไม่มีอุปกิเลส. ชื่อว่า ปริโยทาตา (ผ่องแผ้ว) เพราะอรรถว่า ปภัสสร.
ในบทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจํ นี้ อาการอันไม่สงบ ชื่อว่า อุทธัจจะ. ความประพฤติผิดในวัตถุ เพราะไม่พินิจพิเคราะห์ในอารมณ์ ชื่อว่า กุกกุจจะ. แม้ในคำว่า สนฺตา โหนฺติ (สงบ) นี้ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งวาทะโดยนัยก่อนนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 429
คำว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ (เป็นผู้ข้ามได้แล้วซึ่งวิจิกิจฉา) ได้แก่ ข้ามแล้ว ก้าวล่วงแล้วซึ่งวิจิกิจฉา ดำรงอยู่. คำว่า ติณฺโณ (เป็นผู้ข้ามแล้ว) แม้ในนิทเทสแห่งคำว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสด้วยสามารถแห่งการแสดงถึงความไม่จมลงในวิจิกิจฉา. คําว่า อุตฺติณฺโณ (ข้ามพ้นแล้ว) นี้ ตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งการแสดงถึงการก้าวล่วงวิจิกิจฉานั้น. คำว่า นิตฺติณฺโณ (ข้ามออกแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งภาวนา คือด้วยสามารถแห่งการแสดงความที่วิจิกิจฉานั้นอันตนข้ามแล้ว เพราะครอบงำอุปัททวะทั้งหลายได้แล้ว. คำว่า ปารคโต (ถึงซึ่งฝั่ง) ได้แก่ ถึงฝั่งวิจิกิจฉา คือความไม่มีวิจิกิจฉา. คำว่า ปารมนุปฺปตฺโต (ถึงฝั่งแล้วโดยลำดับ) ได้แก่ ถึงฝั่งนั้นนั่นแหละ ด้วยการประกอบความเพียรภาวนาเนืองๆ คือ ย่อมแสดงซึ่งความปฏิบัติมีผลอย่างนี้แก่ภิกษุ. คำว่า อกถํกถี (ไม่มีความสงสัย) ได้แก่ เว้นจากความสงสัยอันเป็นไปทั่วแล้วอย่างนี้ว่า นี้อย่างไร นี้เป็นอย่างไร. คำว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมอันไม่มีโทษทั้งหลาย. คำว่า น กงฺขติ ได้แก่ ไม่ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือหนอ. คำว่า น วิจิกิจฺฉติ (ไม่เคลือบแคลง) ได้แก่ ไม่ยาก ไม่ลำบาก เพื่อวินิจฉัยธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะ. คำว่า อกถํกถี โหติ (ไม่สงสัย) ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากความสงสัยว่า กุศลธรรมเหล่านี้ เป็นอย่างไรหนอ. คำว่า นิกฺกถํกโถ วิคตกถํกโถ (หมดความสงสัย) เป็นไวพจน์ของคำว่า เป็นผู้ไม่มีความสงสัย นั่นแหละ. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวจนัตถะในพระบาลีนั้น ดังต่อไปนี้.
ภิกษุใดออกไปแล้วจากความสงสัย เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า มีความสงสัยออกแล้ว (คือ ไม่มีความสงสัย). ความสงสัยของภิกษุนั้นปราศไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า มีความสงสัยไปปราศแล้ว (คือ ปราศจากความสงสัย).
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 430
คำว่า อุปกิเลเส ได้แก่ อุปกิเลส. จริงอยู่ นิวรณ์ ๕ เหล่านั้นเข้าถึงจิตแล้ว จักยังจิตนั้นให้เศร้าหมอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุปกิเลเส ดังนี้.
คำว่า ปญฺาย ทุพฺพลีกรเณ (ทำปัญญาให้ทราม) ได้แก่ เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันเป็นโลกิยะและปัญญาอันเป็นโลกุตตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ทั้งเข้าไปตัดซึ่งสมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อันเกิดขึ้นแล้วให้ตกไป ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า ทำปัญญาให้ทราม ดังนี้. แม้คำว่า อนุปฺปนฺนา เจว ปญฺญา น อุปฺปชฺชติ อุปฺปนนา จ ปญฺญา นิรุชฺฌติ นี้ (ปัญญาอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และปัญญาอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อความที่กล่าวแล้วนี้เหมือนกัน. คำทั้งปวงที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีอรรถดังเช่นที่ข้าพเจ้าประกาศแล้วในหนหลัง ในที่นั้นๆ แล.
คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าวในนิทเทสทั้งหลาย แม้มีคำ วิวิจฺเจว กาเมหิ (สงัดจากกามทั้งหลาย) เป็นต้น คำนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวแล้วในรูปาวจร นิทเทสในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง และในที่นั้นๆ ในนิทเทสนี้. จริงอยู่ แม้ในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังว่า ฌานประกอบด้วยองค์ ๓ ฌานประกอบด้วยองค์ ๒ ฉันใด ในนิทเทสนี้ มิได้ตรัสฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบความต่างกันอย่างนี้ว่า ฌานนั้นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงแล้ว โดยนัยมีคำว่า สัมปสาทะ (ความผ่องใส) ปีติ สุข และเอกัคคตาแห่งจิต ชื่อว่า ฌาน เพราะถือเอาองค์ ๓ กับสัมปสาทะ เป็นต้น โดยปริยายแห่งพระบาลีว่า อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทํ (ความผ่องใสเป็นไปในภายใน) เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 431
ก็ในบทนิทเทสว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ คำทั้งหมดมีคำว่า อาจิกฺขนฺติ เทเสนฺติ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกันโดยแท้. แม้เมื่อ เป็นเช่นนั้นมีอยู่ บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสบอกด้วยสามารถแห่งอุทเทส (คือ หัวข้อที่ยกขึ้นแสดง) มีคำว่า อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี (แปลว่า มีจิตเป็นอุเบกขา อยู่เป็นสุข) เป็นต้น ย่อมทรงแสดงด้วยสามารถแห่งนิทเทส (คือ ยกขึ้นชี้แจง) ย่อมทรงบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งปฏินิทเทส (คือแสดงอย่างกว้างขวาง) ชื่อว่า ย่อมแต่งตั้ง เพราะตั้งอรรถไว้โดยประการนั้นๆ เมื่อแสดงเหตุแห่งอรรถนั้นๆ ชื่อว่า ย่อมเปิดเผย เมื่อแสดงซึ่งการจำแนกบทพยัญชนะ ชื่อว่า ย่อมทรงจำแนก เมื่อนำมาซึ่งความที่บทแห่งพยัญชนะอันยังไม่เปิดเผย และความที่บทพยัญชนะนั้นมีอรรถอันลึกออกแล้ว ยังบทอันเป็นที่พึ่งแก่ญาณแห่งโสตะทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่ ชื่อว่า ย่อมกระทำให้ชัด เมื่อกำจัดความมืดในการไม่รู้ของโสตะทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมทรงประกาศ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
แม้ในนิทเทสแห่ง สมติกกมะ (แปลว่า เพราะการก้าวล่วง) ชื่อว่า ก้าวล่วงแล้ว เพราะความเป็นผู้ออกแล้วจากธรรมนั้นๆ (หมายถึง องค์ฌานนั้น) ในที่นั้นๆ ชื่อว่า ข้ามแล้ว เพราะบรรลุภูมิในเบื้องบน ชื่อว่า ข้ามพ้นแล้ว เพราะความเป็นผู้ไม่เสื่อมจากฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบความนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 432
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์
แบบแผนในอภิธรรมภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ โดยนัยอันมาแล้วจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ. ฉะนั้น ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งฌานทั้งหลาย แม้ทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นกุศล วิบาก และกิริยา โดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั่นแหละ เนื้อความทั้งหมดแม้อันต่างด้วยเนื้อความมีสุทธิกนวกะเป็นต้น ก็เช่นเดียวกับนัยที่กล่าวแล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์เหมือนกัน แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ
ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ฌานทั้งหลายเป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ ก็แต่ในอารัมมณติกะ (คือ หมวด ๓ แห่งอารมณ์) ฌานเหล่านั้น พึงทราบว่า ไม่พึงกล่าวโดยความเป็นอารมณ์มีปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะความที่ฌานทั้ง ๓ มีนิมิตเป็นอารมณ์. ส่วนในปัญหาปุจฉกะนี้ ฌานเหล่านั้นเป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ พึงมีในเวลาแห่งมรรค หรือในเวลาแห่งผล.
ในข้อว่า จตุตฺถํ ฌานํ สิยา ปริตฺตารมฺมณํ นี้ (ฌานที่ ๔ พึงเป็นปริตตารมณ์) ว่าโดยกุศลแล้ว จตุตถฌาน มี ๑๓ ประเภท คือ
จตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งฌานทั้งปวง ๑
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอิทธิวิธิ ๑
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 433
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพโสตญาณ ๑
จตุตถฌานอันให้สำเร็จเจโตปริยญาณ ๑
จตุตถฌานอันให้สำเร็จปุพเพนิวาสญาณ ๑
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพจักขุญาณ ๑
จตุตถฌานอันให้สำเร็จยถากัมมูปคตญาณ ๑
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอนาคตังสญาณ ๑
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอากาสานัญจายตนฌาน เป็นต้น อีก ๔
และ จตุตถฌานอันให้สำเร็จโลกุตตระ ๑
ในฌานเหล่านั้น จตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งฌานทั้งปวง เป็นนวัตตัพพารัมมณะอย่างเดียว (คือ เป็นอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว).
เมื่อภิกษุน้อมกายไปด้วยอำนาจแห่งจิต (คือ ให้กายไปพร้อมกับจิต) จตุตถฌานอันให้สำเร็จอิทธิวิธิ ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ. เพราะความที่ภิกษุนั้น มีกายเป็นอารมณ์ ในขณะที่ทำปาฏิหาริย์ด้วยการอันไม่ปรากฏอยู่ (คือเมื่อกายไปพร้อมกับจิต กายก็จะไม่ปรากฏ เรียกว่า อทิสสมานกาย). เมื่อภิกษุน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งกาย (คือ ให้จิตไปพร้อมกับกาย ย่อมปรากฏเห็นได้) กระทำปาฏิหาริย์ด้วยกายอันปรากฏอยู่ ไปสู่พรหมโลก จตุตถฌานอันให้สำเร็จอิทธิวิธิ ชื่อว่า เป็นมหัคคตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้น มีจิตในสมาบัติเป็นอารมณ์.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพโสตญาณ ชื่อว่า ปริตตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้นมีเสียงเป็นอารมณ์.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จเจโตปริยญาณ เป็นปริตตารัมมณะในขณะที่รู้จิตอันเป็นกามาวจร เป็นมหัคคตารัมมณะในเวลารู้จิตอันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร เป็นอัปปมาณารัมมณะในเวลารู้จิตอันเป็นโลกุตตระ. ก็ปุถุชน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 434
ผู้ได้เจโตปริยญาณย่อมรู้จิตของปุถุชนทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยะทั้งหลาย พระโสดาบันย่อมรู้จิตของพระโสดาบัน และปุถุชนทั้งหลาย พระสกทาคามีย่อมรู้จิตของพระสกทาคามีและบุคคลผู้มีภูมิต่ำกว่า พระขีณาสพย่อมรู้จิตของชนแม้ทั้งหมด.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จปุพเพนิวาสญาณ เป็นปริตตารัมมณะในขณะที่ระลึกถึงขันธ์อันเป็นกามาวจร เป็นมหัคคตารัมมณะในขณะที่ตามระลึกถึงขันธ์อันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร เป็นอัปปมาณารัมมณะในเวลาตามระลึกว่า ในอดีตกาล พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพทั้งหลาย เจริญมรรค แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งผล ดังนี้ เป็นนวัตตัพพารัมมณะในเวลาที่ตามระลึกถึงชื่อและโคตร.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพจักขุญาณ ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้นมีสีเป็นอารมณ์.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จยถากัมมูปคตญาณ (๑) เป็นปริตตารัมมณะในขณะระลึกถึงกรรมอันเป็นกามาวจร เป็นมหัคคตารัมมณะในขณะระลึกถึงกรรมอันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอนาคตังสญาณ เป็นปริตตารัมมณะในเวลาที่รู้ถึงการเกิดขึ้นแห่งกามธาตุในอนาคตกาล เป็นมหัคคตารัมมณะในเวลาที่รู้การเกิดขึ้นในรูปภพและอรูปภพ เป็นอัปปมาณารัมมณะในการรู้ว่า ในอนาคตกาล พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพทั้งหลาย จักเจริญมรรค จักสำเร็จผล ดังนี้ เป็นนวัตตัพพารัมมณะในเวลาที่ระลึกถึงชื่อและโคตร โดยนัยเป็นต้นว่า ในอนาคตกาล จักมีพระราชาพระนามว่า สังขะ.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอากาสานัญจายตนะ และ อากิญจัญญายตนะ เป็น นวัตตัพพารัมมณะ.
(๑) พม่าเป็น ยถากัมมูปคญาณ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 435
จตุตถฌานอันให้สำเร็จวิญญานัญจายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นมหัคคตารัมมณะ.
โลกุตตรจตุตถฌาน เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
แม้ว่าโดยกิริยา จตุตถฌานนี้นั่นแหล่ะ มีการกำหนดอารมณ์ตามฌาน ๑๒ เหล่านั้น.
คำว่า ตีณิ ฌานานิ น มคฺคารมฺมณา (ฌาน ๓ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ) ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ หรือเจโตปริยญาณเป็นต้น พึงทำมรรคให้เป็นอารมณ์ได้. ฌานทั้ง ๓ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เพราะไม่เป็นไปอย่างนั้น แต่พึงเป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรคอันมีวิริยะเป็นหัวหน้า หรือมีวีมังสาเป็นหัวหน้า แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคาธิปติ ในกาลที่มีฉันทะและจิตตะเป็นหัวหน้า และในกาลแห่งผล.
แม้ในคำว่า จตุตฺถชฺฌานํ นี้ ว่าโดยกุศล ในจตุตถฌาน ๑๓ ไม่พึงกล่าวว่า ฌานที่ ๔ อันเป็นสัพพัตถปาทกะ อิทธิวิธะ ทิพพโสตญาณ ทิพพจักขุญาณ ยถากัมมูปคตญาณ และฌานที่ ๔ อันเป็นอรูป ๔ อย่าง ว่าเป็นมัคคารัมมณะเป็นต้น. ส่วนฌานที่ ๔ อันเป็นเจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสญาณ อนาคตังสญาณ เป็นมัคคารัมมณะ. แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคเหตุกะ หรือ มัคคาธิปติ. โลกุตตรจตุตถฌาน ไม่เป็นมัคคารัมมณะ. แต่ในกาลแห่งมรรค เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติ ในกาลเจริญ มรรคอันมีวิริยะและวีมังสาเป็นหัวหน้า ไม่พึงกล่าวว่าเป็นมัคคาธิปติ ในกาลเจริญมรรค อันมีฉันทะและจิตตะเป็นหัวหน้า และในกาลแห่งผล.
แม้เมื่อว่าโดยกิริยาแล้ว ในฌาน ๑๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 436
คำว่า ตีณิ ฌานานิ น วตฺตพฺพา บัณฑิตพึงทราบว่า ไม่พึงกล่าวว่า ฌาน ๓ เป็นปริตตารัมมณะ เป็นต้น เพราะไม่ปรารภธรรมแม้สักอย่างหนึ่งในอดีตเป็นต้นให้เป็นไป.
คำว่า จตุตฺถํ ฌานํ ได้แก่ เมื่อว่าโดยกุศล จตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งฌานทั้งหมด ในจตุตถฌาน ๑๓ เป็นนวัตตัพพารัมมณะเท่านั้น.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอิทธิวิธิ เป็นอตีตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้น มีจิตในสมาบัติเป็นอารมณ์ในการน้อมจิตไปตามอำนาจกาย เป็นอนาคตารัมมณะ ในกาลอธิษฐาน (ของพระเถระ) ว่า ในอนาคตกาล ขอดอกไม้เหล่านั้นจงอย่าเหี่ยวแห้งไป ประทีปทั้งหลายจงอย่าดับไป กองแห่งอัคคีหนึ่งจงตั้งขึ้น บรรพตจงตั้งขึ้นด้วยดี ดังนี้. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้น มีกายเป็นอารมณ์ ในกาลน้อมกายไปด้วยอำนาจแห่งจิต (คือ ให้กายไปพร้อมกับจิต).
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพโสตญาณ ชื่อว่า เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้นมีเสียงเป็นอารมณ์.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จเจโตปริยญาณ เป็นอตีตารัมมณะในกาลที่รู้จิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไปภายใน ๗ วันในอดีตกาล เป็นอนาคตารัมมณะในกาลรู้จิตที่จะเกิดขึ้นภายใน ๗ วันในอนาคตกาล. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศเจโตปริยญาณนั่นแหละ ด้วยพระสูตรนี้ว่า พระองค์จักทายใจแม้มากมาย โดยกำหนดถึงมโนสังขารของบุคคลผู้เจริญผู้นี้ เขาตั้งไว้แล้วโดยประการใด ในระหว่างแห่งจิตดวงนี้ เราจักตรึกไปถึงวิตกชื่อนี้โดยประการนั้น จิตนั้นก็ย่อมมีอย่างนั้นนั่นแหละ หามีอย่างอื่นไม่. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ในกาลปรารภปัจจุบันเป็นไปด้วยสามารถแห่งอัทธานปัจจุบัน (ปัจจุปันกาลอัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 437
ยืดยาว) และสันตติปัจจุบัน คือปัจจุบันอันสืบต่อกันไป. ในข้อนี้พึงทราบเรื่องพิศดาร โดยนัยที่กล่าวแล้วในการพรรณนาอรรถกถากัณฑ์ในหนหลังนั่นแหละ.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จปุพเพนิวาสญาณ เป็นอตีตารัมมณะ ในกาลตามระลึกถึงอดีตขันธ์ เป็นนวัตตัพพารัมมณะ ในกาลตามระลึกถึงชื่อและโคตร.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพจักขุ ชื่อว่า เป็นปัจจุปันนารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้นมีสีเป็นอารมณ์.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จยถากัมมูปคตญาณ ย่อมกระทำอดีตกรรมเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จตุตถฌานนั้นจึงชื่อว่า เป็นอตีตารัมมณะ.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอนาคตังสญาณ เป็นอนาคตารัมมณะ ในกาลตามระลึกถึงขันธ์อันเป็นอนาคต เป็นนวัตตัพพารัมมณะ ในกาลตามระลึกถึงชื่อและโคตร.
อากาสานัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนจตุตถฌาน เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนจตุตถฌาน เป็นอตีตารัมมณะ.
โลกุตตรจตุตถฌาน เป็นนวัตตัพพารัมมณะ แล.
แม้ว่าโดยกิริยา ในจตุตถฌาน ๑๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ข้อว่า ตีณิ ฌานานิ พหิทฺธารมฺมณา ได้แก่ ชื่อว่า เป็นพหิทธารัมมณะ เพราะปรารภนิมิตอันเป็นภายนอกให้ปรากฏอยู่ภายในเป็นไป. แม้ในข้อว่า จตุตฺถํ ฌานํ นี้ เมื่อว่าโดยกุศลแล้ว ได้จตุตถฌาน ๑๓ ดังนี้ คือ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 438
จตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งฌานทั้งปวง เป็นพหิทธารัมมณะ.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอิทธิวิธิ ชื่อว่า เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เพราะความที่แห่งภิกษุนั้น มีกายและจิตของตนนั่นแหละเป็นอารมณ์ในกาลน้อมจิตไปด้วยอำนาจของกายบ้าง ในกาลน้อมกายไปด้วยอำนาจของจิตบ้าง เป็นพหิทธารัมมณะในกาลเป็นไปโดยนัยว่า ภิกษุนั้นย่อมแสดงแม้ซึ่งรูปช้าง ในภายนอก ดังนี้เป็นต้น.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพโสตญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะในกาลที่ภิกษุนั้นมีเสียงอันมีในท้องของตนเป็นอารมณ์ เป็นพหิทธารัมมณะในกาลที่ภิกษุนั้นมีเสียงของผู้อื่นเป็นอารมณ์ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะด้วยสามารถแห่งรูปทั้งของตนและของผู้อื่นเป็นอารมณ์.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จเจโตปริยญาณ เป็นพหิทธารัมมณะอย่างเดียว.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จปุพเพนิวาสญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ ในกาลตามระลึกถึงขันธ์ของตน เป็นพหิทธารัมมณะในกาลตามระลึกถึงขันธ์ทั้งหลายของบุคคลอื่น และในกาลตามระลึกถึงชื่อและโคตร.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จทิพพจักขุญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะในกาลที่มีรูปของตนเป็นอารมณ์ เป็นพหิทธารัมมณะในกาลที่มีรูปของบุคคลอื่นเป็นอารมณ์ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะแม้ด้วยสามารถแห่งกาลที่มีรูปของตนและของผู้อื่นเป็นอารมณ์.
จตุตถฌานอันให้สำเร็จยถากัมมูปคตญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะในกาลรู้กรรมของตน เป็นพหิทธารัมมณะในกาลรู้กรรมของผู้อื่น เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะด้วยสามารถแห่งกาลรู้กรรมของตนและของผู้อื่น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 439
จตุตถฌานอันให้สำเร็จอนาคตังสญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะในกาลรู้ธรรมอันเกิดขึ้นในอนาคตของตน เป็นพหิทธารัมณะในกาลตามระลึกถึงขันธ์ของผู้อื่นและในกาลตามระลึกถึงชื่อและโคตร เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะด้วยอำนาจแห่งกาลตามระลึกทั้งสองนั้น.
อากาสานัญจายตนจตุตถฌาน เป็นพหิทธารัมมณะ.
อากิญจัญญายตนจตุตถฌาน เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนจตุตถฌาน เป็นอัชฌัตตารัมมณะ.
โลกุตตรจตุตถฌาน เป็นพหิทธารัมมณะ.
แม้ว่าโดยกิริยา ในฌานทั้ง ๑๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน แล.
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ
อนึ่ง ในฌานวิภังค์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสฌานทั้งหลายเป็นมิสสกะ คือเป็นโลกิยะและเป็นโลกุตตระสลับกันไป ในการพรรณนาสุตตันตภาชนีย์บ้าง ในการพรรณนาอภิธรรมภาชนีย์บ้าง ในปัญหาปุจฉกะบ้าง. จริงอยู่ นัยทั้ง ๓ เหล่านั้น ชื่อว่า เอกปริจเฉทนั่นแหละ เพราะนัยทั้ง ๓ เหล่านั้นเป็นธรรมอันเจือกันในภูมิทั้ง ๓. แม้ฌานวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.
อรรถกถาฌานวิภังคนิทเทส จบ