พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.พ. 2565
หมายเลข  42074
อ่าน  676

[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒

๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์ หน้า 440

เมตตาอัปปมัญญานิทเทส หน้า 441

กรุณาอัปปมัญญานิทเทส หน้า 443

มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส หน้า 444

อุเบกขาอัปปมัญญานิทเทส หน้า 446

อภิธรรมภาชนีย์ หน้า 448

เมตตากุศลฌาน จตุกกนัย หน้า 449

เมตตากุศลฌาน ปัญจกนัย หน้า 450

กรุณากุศลฌาน จตุกกนัย หน้า 451

กรุณากุศลฌาน ปัญจกนัย หน้า 452

มุทิตากุศลฌาน จตุกกนัย หน้า 453

มุทิตากุศลฌาน ปัญจกนัย หน้า 454

อุเบกขากุศลฌาน หน้า 456

เมตตาวิปากฌาน จตุกกนัย หน้า 456

เมตตาวิปากฌาน ปัญจกนัย หน้า 458

กรุณาวิปากฌาน จตุกกนัย หน้า 460

กรุณาวิปากฌาน ปัญจกนัย หน้า 462

มุทิตาวิปากฌาน จตุกกนัย หน้า 464

มุทิตาวิปากฌาน ปัญจกนัย หน้า 466

อุเบกขาวิปากฌาน หน้า 468

เมตตากิริยาฌาน จตุกกนัย หน้า 469

เมตตากิริยาฌาน ปัญจกนัย หน้า 470

กรุณากิริยาฌาน จตุกกนัย หน้า 471

กรุณากิริยาฌาน ปัญจกนัย หน้า 472

มุทิตากิริยาฌาน จตุกกนัย หน้า 474

มุทิตากิริยาฌาน ปัญจกนัย หน้า 475

อุเบกขากิริยาฌาน หน้า 476

ปัญหาปุจฉกะ หน้า 477

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา หน้า 478

ติกมาติกาวิสัชนา หน้า 478

ทุกมาติกาวิสัชนา หน้า 479

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา หน้า 479

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา หน้า 480

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา หน้า 480

๔ - ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา หน้า 480

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา หน้า 481

อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนิทเทส หน้า 482

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ หน้า 482

เมตตาอัปปมัญญา หน้า 485

กรุณาอัปปมัญญา หน้า 487

มุทิตาอัปปมัญญา หน้า 488

อุเบกขาอัปปมัญญา หน้า 488

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ หน้า 489

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ หน้า 490


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 440

๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๗๔๑] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ แผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๒. แผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่กรุณาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๓. แผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่มุทิตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๔. แผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 441

เช่นเดียวกันนี้ แผ่อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

เมตตาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๒] ก็ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร?

ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงรักใคร่ ฉะนั้น.

[๗๔๓] ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน?

การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า เมตตา.

จิต เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยเมตตานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมตตาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 442

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น.

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า นั้นเป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้.

คำว่า เมตตาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน?

การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า เมตตา.

จิต เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยเมตตานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมตตาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใดกว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวรจิตใดไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า อยู่.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 443

กรุณาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๔] ก็ภิกษุแผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร?

ภิกษุแผ่กรุณาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้ว พึงสงสาร ฉะนั้น.

[๗๔๕] ในบทเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน?

การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า กรุณา.

จิต เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าจิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยกรุณานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กรุณาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวางหรือทิศต่างๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าอยู่.

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 444

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า นั้นเป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมด ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้.

คำว่า กรุณาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน?

การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า กรุณา.

จิต เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าจิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยกรุณานี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า กรุณาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวางจิตใดกว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใดไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า อยู่.

มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๖] ก็ภิกษุแผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร? ภิกษุแผ่มุทิตาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงพลอยยินดี ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 445

[๗๔๗] ในบทเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน?

การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย มุทิตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา.

จิต เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยมุทิตานี้ ด้วยเหตุ นั้นจึงเรียกว่า มุทตาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศ เบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น.

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่านั้น เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมด ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 446

คำว่า มุทิตาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน?

การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย มุทิตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา.

จิต เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก ว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยมุทิตานี้ ด้วยเหตุ นั้น จึงเรียกว่า มุทิตาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใดกว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้. จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใดไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

อุเบกขาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๘] ก็ภิกษุแผ่อุเบกขาจิต ไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร?

ภิกษุแผ่อุเบกขาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลหนึ่งผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ แล้วพึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา ฉะนั้น.

[๗๔๙] ในบทเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน?

การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขา เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 447

จิต เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก ว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วย เหตุนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุ นั้น จึงเรียกว่า อยู่.

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็ ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น.

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า นั้นเป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้.

คำว่า อุเบกขาจิต มีอธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน?

การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.

จิต เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 448

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วย เหตุนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใดกว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใดไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือกระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

อภิธรรมภาชนีย์

[๗๕๐] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา

๒. กรุณา

๓. มุทิตา

๔. อุเบกขา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 449

เมตตากุศลฌาน จตุกกนัย (๑)

[๗๕๑] ในอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ ผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ


๑. ฌานโดยจตุกกนัย คือนัยของพระสูตรมี ๔ ฌาน เมตตาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๔

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 450

ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตากุศลฌาน ปัญจกนัย (๑)

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ ทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยเมตตา.

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ ตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา


(๑) ฌานโดยปัญจกนัย คือ นัยของพระอภิธรรมมี ๕ ฌาน เมตตาเป็นอารมณ์ของ ฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๕

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 451

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

กรุณากุศลฌาน จตุกกนัย (๑)

[๗๕๒] กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร


๑. โดยนัยของพระสูตร กรุณาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๔

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 452

กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณา เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณากุศลฌาน ปัญจกนัย (๑)

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่สรหคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ใน


๑. โดยนัยของพระอภิธรรม กรุณาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๕

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 453

สมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌาน ที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

มุทิตากุศลฌาน จตุกกนัย (๑)

[๗๕๓] มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การ


๑. โดยนัยของพระสูตร มุทิตาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๔

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 454

พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัย นั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี. มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตากุศลฌาน ปัญจกนัย (๑)

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบ


๑. โดยนัยของพระอภิธรรม มุทิตาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๕

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 455

ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิตก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 456

อุเบกขากุศลฌาน (๑)

[๗๕๔] อุเบกขา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา.

[๗๕๕] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา

๒. กรุณา

๓. มุทิตา

๔. อุเบกขา

เมตตาวิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๕๖] ในอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.


๑. โดยนัยของพระสูตร อุเบกขาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๔ เท่านั้น โดยนัยของพระอภิธรรมเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๕ เท่านั้น แต่ว่าโดยองค์ของฌานที่ ๔ โดยนัยของพระสูตร และฌานที่ ๕ โดยนัยของพระอภิธรรม ต่างก็มีองค์ฌานสองคือ อุเบกขาและเอกัคคตาเหมือนกัน ในการแสดง อุเบกขากุศลฌาน วิปากฌานและกิริยาฌาน จึงแสดงโดยนัยของพระสูตรเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 457

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลธรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยา ที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าเมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระ-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 458

อริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ที่ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตาวิปากฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 459

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะ รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะ รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุข

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 460

ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโมวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียก ว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

กรุณาวิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๕๗] กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอัน เกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณา

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 461

เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้นอันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติอีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านั้น ชื่อ กุศล.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 462

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณาวิปากฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และ สุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 463

วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 464

ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ที่ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

มุทิตาวิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๕๘] มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 465

มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วย

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 466

มุทิตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใดนี้ เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตาวิปากฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 467

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 468

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

อุเบกขาวิปากฌาน

[๗๕๙] อุเบกขา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 469

[๗๖๐] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา

๒. กรุณา

๓. มุทิตา

๔. อุเบกขา

เมตตากิริยาฌาน จตุกกนัย

[๗๖๑] ในอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 470

เมตตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใดนี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตากิริยาฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรม ที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 471

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

กรุณากิริยฌาน จตุกกนัย

กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยา

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 472

ที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมนสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณากิริยาฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 473

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 474

อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

มุทิตากิริยาฌาน จตุกกนัย

มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 475

มุทิตา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้นอันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตากิริยาฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 476

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ จตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกร่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

อุเบกขากิริยาฌาน

อุเบกขา เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท ในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วาง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 477

เฉย ความวางเฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๗๖๒] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ แผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวางก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๒. แผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่กรุณาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๓. แผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่มุทิตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๔. แผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 478

เช่นเดียวกันนี้ แผ่อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอัปปมัญญา ๔ อัปปมัญญาไหนเป็นกุศล อัปปมัญญาไหนเป็นอกุศล อัปปมัญญาไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ อัปปมัญญาไหนเป็นสรณะ อัปปมัญญาไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๗๖๓] อัปปมัญญา ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อัปปมัญญา ๓ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต อุเบกขาเป็นอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุต

อัปปมัญญา ๔ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ

อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี, อุเบกขาเป็นอวิตักกาวิจาระ.

อัปปมัญญา ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นปีติสหคตะก็มี, อุเบกขาเป็นอุเปกขาสหคตะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 479

อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวเสกขานาเสกขะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นมหัคคตะ

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นมัชฌิมะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยตะ

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปันนารัมมณะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาววิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๗๖๔] เมตตาเป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ เป็นนเหตุ อัปปมัญญา ๔ เป็นสเหตุกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเหตุสัมปยุต เมตตาเป็นเหตุสเหตุกะ อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ เมตตา

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 480

เป็นเหตุเหตุสัมปยุต อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ อัปปมัญญา ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะ เมตตากล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๗๖๕] อัปปมัญญา ๔ เป็นสัปปัจจยะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสังขตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิทัสสนะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอัปปฏิฆะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอรูป อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

อัปปมัญญา ๔ เป็นโนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอาสววิปปยุต อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็นสาสวโนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

อัปปมัญญา ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นสารัมมณะ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนจิตตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเจตสิกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสัมปยุต อัปปมัญญา ๔ เป็น จิตตสังสัฏฐะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสหภู

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 481

อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ อัปปมัญญา ๔ เป็นพาหิระ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนอุปาทา อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี อัปปมัญญา ๔ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๗๖๖] อัปปมัญญา ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อุเบกขาเป็นอวิตักกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อุเบกขาเป็นอวิจาระ อัปปมัญญา ๓ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี อุเบกขาเป็นอัปปีติกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี อุเบกขาเป็นนปีติสหคตะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสุขสหคตะ อุเบกขาเป็นนสุขสหคตะ อุเบกขาเป็นอุเปกขาสหคตะ อัปปมัญญา ๓ เป็นนอุเปกขาสหคตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนกามาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นนอรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นปริยาปันนะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยยานิกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสอุตตระ อัปปมัญญา ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะจบ

อัปปมัญญาวิภังค์ จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 482

อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนินิทเทส

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบ อัปปมัญญาวิภังค์ ในลำดับแห่งฌาน วิภังค์นั้น ต่อไป.

คำว่า จตฺตาโร (๔) เป็นคำกำหนดจำนวน. คำว่า อปฺปมญฺาโย ได้แก่ ชื่อว่า อัปปมัญญาทั้งหลาย เพราะอำนาจแห่งการแผ่ไปไม่มีประมาณ. จริงอยู่ ภิกษุนั้น ย่อมแผ่อัปปมัญญาเหล่านั้นไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ หรือว่าย่อมแผ่ไปด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปอันไม่มีส่วนเหลือแม้สัตว์ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตาเป็นต้นว่า เป็นอัปปมัญญาทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปในสัตว์อันไม่มีขอบเขต ดังนี้.

คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระศาสนานี้.

คำว่า เมตฺตาย ได้แก่ ประกอบด้วยเมตตา.

คำว่า เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต.

คำว่า เอกํ ทิสํ ได้แก่ ทิศหนึ่ง. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสัตว์ที่ภิกษุกำหนดครั้งแรก ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปอันเนื่องด้วยทิศหนึ่ง.

คำว่า ผริตฺวา (แผ่ไป) ได้แก่ สัมผัสแล้ว กระทำให้เป็นอารมณ์.

คำว่า วิหรติ (อยู่) ได้แก่ ให้วิหารธรรมเป็นไปในอิริยาบถอันตนตั้งมั่นแล้วด้วยพรหมวิหาร.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 483

คำว่า ตถา ทุติยํ (ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น) อธิบายว่า บรรดาทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออก เป็นต้น ภิกษุนั้นย่อมแผ่ไปยังสัตว์ในทิศใด ทิศหนึ่งอยู่ ในทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ในทิศที่ ๓ ในทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น.

คำว่า อุปริทิสํ (ทิศเบื้องสูง) นี้ พึงทราบคำอธิบายตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยนัยแห่งคำว่า อิติ อุทฺธํ นั้นนั่นแหละ (อุทฺธํ แปลว่า ในทิศเบื้องบน).

คำว่า อโธ ติริยํ (ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง) ได้แก่ ทิศเบื้องต่ำก็ดี ทิศเบื้องขวางก็ดี พึงแผ่เมตตาไป ฉันนั้นนั่นแหละ. อนึ่ง คำว่า อโธ นี้ ได้แก่ ทิศเบื้องต่ำ. คำว่า ติริยํ ได้แก่ อนุทิศ (ทิศน้อย) อธิบายว่า ภิกษุยังจิตอันสหรคตด้วยเมตตาให้แล่นออกไปบ้าง ให้แล่นกลับมาบ้าง (ให้ระลึกไปมา) ในทิศทั้งปวง ด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนม้าแล่นไปมาอยู่ในสนามแห่งม้า ฉันนั้น.

การแผ่เมตตาโดยเจาะจง (โอธิโส) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดทิศหนึ่งๆ แสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้. แต่คำว่า สพฺพธิ (ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปในสัตว์ทั้งปวง) เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงการแผ่ไปโดยไม่เจาะจง (อโนธิโส).

ในคำเหล่านั้น คำว่า สพฺพธิ แปลว่า ในสัตว์โลกทั้งปวง.

คำว่า สพฺพตฺตตาย (เพราะเป็นผู้มีจิต (มีตน) เสมอ ในสัตว์ทุกหมู่เหล่า) ได้แก่ เพราะความที่เมตตาจิตนั้นเป็นไปในสัตว์ทั้งปวงทุกหมู่เหล่า อันต่างด้วยสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ชนิดเลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ เป็นมิตรสหาย และสัตว์ผู้เป็นกลาง (คือมิใช่มิตร มิใช่ศัตรู) เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายคำว่า เพราะเป็นผู้มีจิต (มีตน) เสมอกัน โดยตรัสว่า เพราะไม่ทำการแบ่งแยกว่า นี้เป็นสัตว์อื่น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 484

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สพฺพตฺตตาย นี้ ได้แก่ โดยความเป็นจิตที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งปวง คือทรงอธิบายว่า เป็นผู้มีจิตเมตตา มิได้ฟุ้งไปเป็นอย่างอื่นแม้หน่อยหนึ่ง.

คำว่า สพฺพาวนฺตํ (ทั้งปวง) อธิบายว่า ประกอบด้วย สัตว์โลกทั้งปวง คำว่า โลกํ ได้แก่ สัตว์โลก. สำหรับในข้อนี้ ตรัสว่า มีจิตอันสหรคตด้วยเมตตาอีก เพื่อแสดงปริยาย (คือ คำไวพจน์) แห่งคำว่า วิปุเลน (ไพบูลย์) คือ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์นั้นนั่นแหละ เป็นต้น. อนึ่ง ศัพท์ว่า ตถา ก็ดี (ตถาศัพท์) ศัพท์ว่า อิติ ก็ดี (อิติศัพท์) พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสซ้ำในการแผ่ไปโดยไม่เจาะจงนี้ เหมือนการแผ่เมตตาจิตไปโดยเจาะจง ฉะนั้น จึงตรัสว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ซ้ำอีก. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา นี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งคำนิคม (คือ คำที่ตรัสสรุปความ).

อนึ่ง ในคำว่า วิปุเลน นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเมตตาอันไพบูลย์ ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป. ก็เมตตาจิตนั้นเป็นจิตกว้างขวาง (คือ เป็นจิตมหัคคตะ) ด้วยสามารถแห่งภูมิ. เมตตาจิตนั้นเป็นจิตหาประมาณมิได้ ด้วยสามารถแห่งการกระทำให้คล่องแคล่ว และพึงทราบว่า เป็นจิตไม่มีประมาณ ด้วยสามารถแห่งการกระทำสัตว์ให้เป็นอารมณ์. เมตตาจิตนั้นเป็นจิตไม่มีเวร เพราะละธรรมอันเป็นข้าศึก คือการเบียดเบียน. เมตตาจิตนั้น เป็นจิตไม่มีความพยาบาท เพราะละโทมนัส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายว่า เป็นจิตไม่มีทุกข์ ดังนี้. เนื้อความที่ได้พรรณนามานี้ เป็นอรรถแห่งมาติกาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้โดยนัยว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ด้วยจิตอันสหรคตด้วยเมตตา เพียงนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 485

เมตตาอัปปมัญญา

บัดนี้ พึงทราบบทภาชนีย์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น. ในบทภาชนีย์นั้น กรรมฐานอันประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้มีโทสจริต เพราะเหตุนั้น เมตตานี้จึงชื่อว่าถึงอัปปนาในบุคคลตามความเหมาะสม. เพื่อแสดงซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งเมตตานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ นาม เอกํ ปุคฺคลํ เป็นต้น.

ในคำเหล่านั้น คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความอุปมา อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง.

คำว่า ปิยํ (ผู้เป็นที่รักใคร่) ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความรัก.

คำว่า มนาปํ (ชอบใจ) ได้แก่ ผู้กระทำความเจริญให้หทัย.

บรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นที่รัก เพราะอำนาจแห่งการเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน หรือว่าโดยประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน. ชื่อว่า เป็นที่ชอบใจ เพราะการประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นที่รัก พึงทราบด้วยความที่ตนเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทาน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ชอบใจ พึงทราบด้วยความเป็นผู้มีวาจาไพเราะ และประพฤติประโยชน์. ก็ในที่นี้ การละพยาบาทของเขา ย่อมมีเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่รัก แต่นั้น เมตตาก็ย่อมแผ่ไปได้โดยง่าย. ความวางเฉยย่อมไม่ตั้งอยู่ในเพราะความเป็นผู้ชอบใจ. อนึ่ง บุคคลใด ย่อมเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ แต่นั้น เมตตาของเขาย่อมไม่เสื่อม เพราะความเป็นผู้ตามรักษาซึ่งหิริโอตตัปปะ. ฉะนั้น คำว่า ปิยํ (แปลว่า

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 486

ผู้เป็นที่รัก) มนาปํ (เป็นที่ชอบใจ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำคำอธิบายว่า เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงทำบุคคลผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจนั้นให้เป็นอุปมา (เครื่องเปรียบเทียบ).

คำว่า เมตฺตาเยยฺย (แปลว่า พึงแผ่เมตตาไป อธิบายว่า พึงกระทำเมตตา คือพึงยังเมตตาให้เป็นไปในบุคคลนั้น.

คำว่า เอวเมว สพฺเพ สตฺเต (ในสัตว์ทั้งปวง ... ฉันนั้นนั่นแหละ) อธิบายว่า พึงแผ่เมตตาไปยังบุคคลผู้เป็นที่รัก ฉันใด ย่อมแผ่เมตตาอันเข้าถึงซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในการบรรลุอัปปนาในบุคคลนั้นไปยังสัตว์ทั้งปวง แม้ในบุคคลผู้ปานกลางและผู้มีเวร โดยลำดับ ฉันนั้น.

คำว่า เมตฺติ เมตฺตายนา เป็นต้น มีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ.

คำว่า วิทิสํ วา (หรือทิศต่างๆ) เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเพื่อให้เนื้อความแห่งคำว่า ติริยํ วา (หรือทิศเบื้องขวาง) นี้ แจ่มแจ้ง.

คำว่า ผริตฺวา (แผ่ไปแล้ว) ได้แก่ ถูกต้องแล้วด้วยสามารถกระทำให้เป็นอารมณ์.

คำว่า อธิมุญฺจิตฺวา ได้แก่ น้อมไปโดยความเป็นจิตอันยิ่ง อธิบายว่า น้อมไปแล้ว น้อมไปดีแล้ว ให้ระลึกดีแล้ว ให้แผ่ไปแล้วด้วยดี ฉันใด ชื่อว่า น้อมจิตไปแล้ว ฉันนั้น.

ในนิทเทสแห่งคำว่า สพฺพธิ (ในสัตว์ทุกหมู่เหล่า) เป็นต้น บททั้ง ๓ เหล่านี้เป็นบทสงเคราะห์ในธรรมทั้งปวง (คือ กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงอรรถแห่งบทเหล่านั้นโดยความเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสว่า สพฺเพน

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 487

สพฺพํ เป็นต้น. เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ในนิทเทสแห่งคำว่า วิปุลา (อันไพบูลย์) เป็นต้น ก็เพราะเมตตาจิตใดเป็นธรรมชาติถึงอัปปนา จิตนั้นชื่อว่า เป็นจิตไพบูลย์ จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตกว้างขวางด้วยสามารถแห่งภูมิโดยกำหนด. ก็จิตใดเป็นจิตกว้างขวาง จิตนั้นชื่อว่า เป็นจิตไม่มีประมาณ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์อันหาประมาณมิได้. จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นชื่อว่า ไม่มีเวร ด้วยสามารถการทำลายกิเลสที่เป็นศัตรู. จิตใดไม่มีเวร จิตนั้นชื่อว่า ไม่มีความพยาบาท. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยํ วิปุลํ ตํ มหคฺคตํ เป็นต้น (จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง) เป็นต้น.

อนึ่ง ในข้อนี้ อเวโร อพฺยาปชฺโฌ (ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาท) นี้ ท่านตรัสแล้วโดยปริยายแห่งลิงควิปลาส (หมายความว่า จิต เป็นนปุงสกลิงค์ ตัวคุณนามเป็น ปุงลิงค์ โดยภาษาไวยากรณ์). อีกอย่างหนึ่ง ท่านใช้ศัพท์ว่า อเวโร อพฺยาปชฺโฌ นี้ เข้ากับ มโน ศัพท์ (คือ ใจ ซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน) เช่น จิตใดหาประมาณมิได้ มนะ คือใจนั้นชื่อว่า ไม่มีเวร. ใจใดไม่มีเวร ใจนั้นชื่อว่า ไม่มีความพยาบาท ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง เป็นต้น นี้บัณฑิตพึงทราบว่า บทข้างหลังๆ อธิบายบทข้างหน้าๆ หรือว่า บทข้างหน้าๆ อธิบายบทข้างหลังๆ ดังนี้ ก็ได้.

กรุณาอัปปมัญญา

แม้คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เอกํ ปุคฺคลํ ทุคฺคตํ ทุรุเปตํ (เหมือนบุคคลเห็นบุคคลหนึ่งผู้ตกทุกข์ได้ยากพึงสงสาร ฉะนั้น) นี้ พระ-

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 488

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อแสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งกรุณา. จริงอยู่ ความเป็นแห่งกรุณาอันมีกำลังย่อมเกิดในเพราะบุคคลเห็นปานนี้. ในคำเหล่านั้น คำว่า ทุคฺคตํ ได้แก่ ผู้ถึงซึ่งความพรั่งพร้อมด้วยทุกข์.

คำว่า ทุรุเปตํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายทุจริตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่งพึงทราบเนื้อความในข้อนี้นั่นแหละว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืด ด้วยสามารถแห่งคติวิบัติ ตระกูลวิบัติ และโภควิบัติ เป็นต้น ชื่อว่า ทุคคตะ (คือ ผู้ตกทุกข์). บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืดในภพเบื้องหน้า เพราะความที่ตนเป็นผู้ประกอบด้วยกายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ทุรุเปโต (คือบุคคลผู้เข้าถึงได้ยาก).

มุทิตาอัปปมัญญา

แม้คำว่า "เอกํ ปุคฺคลํ ปิยํ มนาปํ" (บุคคลคนหนึ่งผู้เป็นที่รักใคร่ ชอบใจแล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งมุทิตา. ในข้อนี้ พึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยสามารถแห่งคติสมบัติ ตระกูลสมบัติ และโภคสมบัติ เป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่รักใคร่. และพึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มีความรุ่งเรืองในภพเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยกายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่ชอบใจ.

อุเบกขาอัปปมัญญา

แม้คำว่า "เนว มนาปํ น อมนาปํ" (ผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่) นี้ พระ-

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 489

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา. ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่าผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึงพร้อมด้วยความเป็นมิตร. ชื่อว่า ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึงพร้อมด้วยความเป็นอมิตร. คำใดยังเหลืออยู่ที่จะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมดข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.

แม้วิธีการเจริญภาวนาของกรรมฐานเหล่านี้ ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแหละ.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ในอภิธรรมภาชนีย์ นี้ ว่าโดยกุศลก็ดี โดยวิบากก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกแล้ว โดยนัยที่จำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั่นแหละ. แม้เนื้อความแห่งอภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตก็พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในที่นั้น.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 490

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตาเป็นต้น เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนวัตตัพพารัมมณะ (เป็นอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) ในติกะทั้งสามทีเดียว. ในอัชฌัตตารัมมณติกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ (เป็นอารมณ์ภายนอก).

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อนึ่ง ในอัปปมัญญาวิภังค์นี้ อันพระสัมมาสัมพุทธะตรัสอัปมัญญาทั้งหลายไว้ในสุตตันตภาชนีย์ก็ดี เป็นโลกิยะอย่างเดียว. จริงอยู่ นัยทั้งสาม (คือ สุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) เหล่านี้ กำหนดได้เป็นอย่างเดียวกัน เพราะความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นเพียงโลกียะ. แม้อัปปมัญญาวิภังคนิทเทสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนิทเทส จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง