พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๔. สิกขาปทวิภังค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.พ. 2565
หมายเลข  42075
อ่าน  437

[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒

๑๔. สิกขาปทวิภังค์

อภิธรรมภาชนีย์ หน้า 491

แจกสิกขาบท ๕ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ นัยที่ ๑ หน้า 491

แจกสิกขาบท ๕ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ นัยที่ ๒ หน้า 495

ธรรมเป็นสิกขา หน้า 499

ปัญหาปุจฉกะ หน้า 500

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา หน้า 501

ติกมาติกาวิสัชนา หน้า 501

ทุกมาติกาวิสัชนา หน้า 502

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา หน้า 502

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา หน้า 502

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา หน้า 503

๔ - ๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา หน้า 503

๑๑ - ๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา หน้า 503

อรรถกถาสิกขาปทวิภังค์ หน้า 504

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ หน้า 504

ภาชนียบท (การจําแนกบท) หน้า 506

ปาณาติบาต มีโทษ หน้า 508

อทินนาทาน มีโทษ หน้า 509

กาเมสุมิจฉาจาร มีโทษ หน้า 509

มุสาวาท มีโทษ หน้า 510

การดื่มสุรา มีโทษ หน้า 510

ธรรมเป็นสิกขา หน้า 513

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ หน้า 513


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 491

๑๔. สิกขาปทวิภังค์

อภิธรรมภาชนีย์

แจกสิกขาบท ๕ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ นัยที่

[๗๖๗] สิกขาบท ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท

๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท

๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

[๗๖๘] ใน สิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากปาณาติบาต กิริยาไม่ทำปาณาติบาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งปาณาติบาต การกำจัดต้นเหตุแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้นอันใดของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวรจกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นในสมัยใด การจงใจ (เจตนา) กิริยาที่จงใจ (สญฺเจตนา) ความจงใจ (สญฺเจตยิตตฺตํ) ในสมัยนั้น อันใด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 492

ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

ปาณาตปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากปาณาติบาต กิริยาไม่ทำปาณาติบาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งปาณาติบาต การกำจัดต้นเหตุแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด การจงใจ กิริยาที่จงใจ ความจงใจ ในสมัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 493

นั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้น จากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาเวรมณีสิกขาบท.

[๗๖๙] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยฌาน เกิดขึ้นในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปนาทัฏฐาน การไม่ล่วงละเมิดสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การกำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ในสมัยนั้น อันใดของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชซปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตตด้วยเวรมณี.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นในสมัยใด การจงใจ กิริยาที่จงใจ ความจงใจ ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมา-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 494

ทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยการชักจูงในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงละเมิดสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การกำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 495

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด การจงใจ กิริยาที่จงใจ ความจงใจ ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท.

แจกสิกขาบท ๕ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ นัยที่ ๒

[๗๗๐] สิกขาบท ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท

๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท

๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

[๗๗๑] ในสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 496

วีมังสาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากปาณาติบาต กิริยาไม่ทำปาณาติบาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ วีมังสาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิปเตยยะ อย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด การจงใจ กิริยาที่จงใจ ความจงใจ ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ วีมังสาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 497

ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เป็นหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้น ในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้นจากปาณาติบาต กิริยาที่ไม่ทำปาณาติบาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใดของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

[๗๗๒] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 498

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ วีมังสาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงละเมิดสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การกำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุรุาเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 499

ชักจูงเป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงละเมิดสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การ กำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท.

ธรรมเป็นสิกขา

[๗๗๓] ธรรมเหล่าไหน เป็นสิกขา?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สิกขา.

ธรรมเหล่าไหน เป็นสิกขา?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 500

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สิกขา.

ธรรมเหล่าไหน เป็นสิกขา?

ภิกษุเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ ฯลฯ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ ฯลฯ เจริญโลกุตตรฌานอันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สิกขา.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๗๗๔] สิกขาบท ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท

๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท

๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 501

ติกมาติกาปุจฉา - ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาสิกขาบท ๕ สิกขาบทไหนเป็นกุศล สิกขาบทไหนเป็นอกุศล สิกขาบทไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ สิกขาบทไหนเป็นสรณะ สิกขาบทไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๗๗๕] สิกขาบท ๕ เป็นกุศลอย่างเดียว

สิกขาบท ๕ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นวิปากธัมมธรรม

สิกขาบท ๕ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ

สิกขาบท ๕ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ

สิกขาบท ๕ เป็นสวิตักกสวิจาระ

สิกขาบท ๕ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเบกขาสหคตะก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ

สิกขาบท ๕ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

สิกขาบท ๕ เป็นอาจยคามี

สิกขาบท ๕ เป็นเนวเสกขานาเสกขะ

สิกขาบท ๕ เป็นปริตตะ

สิกขาบท ๕ เป็นปริตตารัมมณะ

สิกขาบท ๕ เป็นมัชฌิมะ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 502

สิกขาบท ๕ เป็นอนิยตะ

สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ

สิกขาบท ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที

สิกขาบท ๕ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ

สิกขาบท ๕ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นพหิทธารัมมณะ

สิกขาบท ๕ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๗๗๖] สิกขาบท ๕ เป็นนเหตุ สิกขาบท ๕ เป็นสเหตุกะ สิกขาบท ๕ เป็นเหตุสัมปยุต สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ เป็นนเหตุสเหตุกะ.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นสัปปัจจยะ สิกขาบท ๕ เป็นสังขตะ สิกขาบท ๕ เป็นอนิทัสสนะ สิกขาบท ๕ เป็นอัปปฏิฆะ สิกขาบท ๕ เป็นอรูป สิกขาบท ๕ เป็นโลกิยะ สิกขาบท ๕ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 503

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นโนอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นสาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นอาสววิปปยุต สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็ สาสวโนอาสวะ สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ แต่เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนคันถะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนโยคะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นสารัมมณะ สิกขาบท ๕ เป็นโนจิตตะ สิกขาบท ๕ เป็นเจตสิกะ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสัมปยุต สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสังสัฏฐะ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสมุฏฐานะ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสหภู สิกขาบท ๕ เป็นจิตตานุปริวัตติ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ สิกขาบท ๕ เป็นพาหิระ สิกขาบท ๕ เป็นโนอุปาทา สิกขาบท ๕ เป็นอนุปาทินนะ.

๑๑, ๑๒, ๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ สิกขาบท ๕ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ สิกขาบท ๕ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ สิกขาบท ๕ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ สิกขาบท ๕ เป็นสวิตักกะ เป็นสวิจาระ สิกขาบท ๕ เป็นสัปปีติกะ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 504

ก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี สิกขาบท ๕ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี สิกขาบท ๕ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สิกขาบท ๕ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สิกขาบท ๕ เป็นกามาวจร สิกขาบท ๕ เป็นนรูปาวจร สิกขาบท ๕ เป็นนอรูปาวจร สิกขาบท ๕ เป็นปริยาปันนะ สิกขาบท ๕ เป็นอนิยยานิกะ สิกขาบท ๕ เป็นอนิยตะ สิกขาบท ๕ เป็นสอุตตระ สิกขาบท ๕ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สิกขาปทวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาสิกขาปทวิภังค์

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยสิกขาบทวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก อัปปมัญญาวิภังค์นั้นต่อไป.

คำว่า เป็นคำกำหนดจำนวน.

คำว่า สิกฺขาปทานิ (สิกขาบททั้งหลาย) ได้แก่ บทที่กุลบุตรพึงศึกษา. อธิบายว่า สิกขาบทนี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งสิกขา (สิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา). อนึ่ง กุสลธรรมแม้ทั้งหมดอันมาแล้วในเบื้องบน ชื่อว่า สิกขา เพราะเป็นธรรมอันกุลบุตรพึงศึกษา. ก็บรรดาองค์แห่งศีล ๕ องค์ใดองค์หนึ่ง ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยของสิกขาเหล่านั้น ฉะนั้น องค์แห่งศีลเหล่านั้น จึงชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่งสิกขา.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 505

คำว่า ปาณาติปาตา ได้แก่ จากการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือ การฆ่า การให้ตาย.

คำว่า เวรมณี ได้แก่ การงดเว้น.

คำว่า อทินฺนาทานา ได้แก่ จากการถือเอาสิ่งของอันบุคคลอื่นมิได้ให้ อธิบายว่า ได้แก่การนำสิ่งของอันบุคคลหวงแหนแล้วไป.

คำว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกามทั้งหลาย. คำว่า มิจฺฉาจารา ได้แก่ จากการประพฤติลามกด้วยอำนาจกิเลสกาม.

คำว่า มุสาวาทา ได้แก่ จากวาทะอันไม่เป็นจริง.

พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า สุราเมรยมัชชปมาทฏฺานา นี้ ต่อไป.

คำว่า สุรา ได้แก่ สุรา ๕ ชนิด คือ สุราทำด้วยแป้ง ๑ สุราทำด้วยขนม ๑ สุราทำด้วยข้าวสุก ๑ สุราที่เอาเชื้อเหล้าใส่เข้าไป ๑ สุราที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุง ๑.

คำว่า เมรัย ได้แก่ เครื่องหมักดอง ๕ ชนิด คือ น้ำดองด้วยดอกไม้ ๑ น้ำดองด้วยผลไม้ ๑ น้ำดองด้วยน้ำอ้อยงบ ๑ น้ำดองดอก มะซาง ๑ น้ำดองที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุง ๑.

สุราและเมรัยแม้ทั้งสองนั้น ชื่อว่า มัชชะ (น้ำเมา) เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. ชนทั้งหลายย่อมดื่มสุราหรือเมรัยนั้น ด้วยเจตนาใด เจตนานั้นชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะเป็นเหตุให้หลงงมงาย เพราะเหตุนั้น ที่ตั้งแห่งความประมาทจึงชื่อว่า มีอยู่ ในเพราะการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย. เนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในมาติกามีเพียงเท่านี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 506

ภาชนียบท (การจำแนกบท)

ก็คำทั้งปวงเป็นต้นว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ ในบทภาชนีย์นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเช่นเดียวกับคำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. อนึ่ง เพราะการงดเว้นอย่างเดียวเท่านั้น เป็นสิกขาบทก็หาไม่ แม้เจตนาก็ชื่อว่า เป็นสิกขาบทเหมือนกัน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงแสดงนัยที่สอง เพื่อแสดงถึงเจตนาอันเป็นสิกขาบทนั้น. ก็ธรรมทั้งสอง (วิรัติ เจตนา) เหล่านั้น เป็นสิกขาบทเท่านั้นก็หาไม่ แม้ธรรมอื่นอีก ๕๐ อันสัมปยุตด้วยเจตนา ก็เป็นสิกขาบทด้วย เพราะเป็นส่วนแห่งธรรมอันกุลบุตรพึงศึกษา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงแม้นัยที่ ๓ ต่อไป. ในที่นี้ สิกขาบทมี ๒ อย่าง คือ ปริยายสิกขาบท (สิกขาบทโดยอ้อม) นิปปริยายสิกขาบท (สิกขาบทโดยตรง).

ในสองอย่างนั้น วิรตี (การงดเว้น) เป็นสิกขาบทโดยตรง จริงอยู่ วิรตี นั้นมาในพระบาลีว่า ปาณาติปาตา เวรมณี ดังนี้ มิใช่เจตนา. ด้วยว่า บุคคลเมื่องดเว้น ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตนั้นๆ ด้วยวิรตีนั้นนั่นแหละ มิใช่ด้วยเจตนา. แต่ท่านก็นำเจตนามาแสดงไว้. โดยทำนองเดียวกันกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำสัมปยุตตธรรมของเจตนาที่เหลือมาแสดงไว้อีก. จริงอยู่ใน กาลก้าวล่วงเจตนาอันเป็นบาป ชื่อว่า ความเป็นผู้ทุศีล. ฉะนั้น แม้ในเวลาแห่งวิรัติพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส เจตนา นั้น ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีศีลดี. ธรรมทั้งหลาย ๕๐ มีผัสสะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงถือเอาแล้ว เพราะเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อความกระตุ้นญาณในสิกขาบททั้งหลายเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยซึ่งสิกขาบททั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นเหล่านี้ โดย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 507

ธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล โดยกรรม โดยสาวัชชะ โดยปโยคะ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า โดยธรรม ได้แก่ เจตนาธรรมทั้งหลายเหล่านั้น มีปาณาติบาตเป็นต้น.

คำว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่ เป็นกรรมบถแม้ทั้ง ๕ ทีเดียว.

คำว่า โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาต มีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจาร (การประพฤติผิด) มีหญิงและชายเป็นอารมณ์. มุสาวาท มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. การดื่มสุรา มีสังขารเป็นอารมณ์.

ว่าโดยเวทนา ปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา. อทินนาทาน เป็นเวทนา ๓. จริงอยู่ อทินนาทานนั้น เป็นสุขเวทนาแก่ผู้ยินดีร่าเริงถือเอาวัตถุอันเจ้าของเขามิได้ให้ เป็นทุกขเวทนาในเพราะบุคคลผู้ถือเอาสิ่งของนั้นมีความกลัว เป็นอทุกขมสุขเวทนาแก่บุคคลผู้เฉย ถือเอาอยู่. มิจฉาจาร เป็นสุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา. มุสาวาท เป็นเวทนา ๓ เหมือนอทินนาทาน. การดื่มสุรา เป็นสุขเวทนาปานกลาง (สุขมชฺฌตฺตเวทนา).

ว่าโดยมูล ปาณาติบาต มีโทสะและโมหะเป็นมูล อทินนาทาน บางครั้งมีโลภะโมหะเป็นมูล บางครั้งมีโทสะโมหะเป็นมูล. มิจฉาจาร มีโลภะโมหะเป็นมูล. มุสาวาท บางครั้งมีโลภะโมหะเป็นมูล บางครั้งมีโทสะโมหะเป็นมูล. การดื่มสุรา มีโลภะโมหะเป็นมูล.

ว่าโดยกรรม ก็มุสาวาทในที่นี้เป็นวจีกรรม. สิกขาบทที่เหลือเป็นกายกรรมทั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 508

ว่าโดยสาวัชชะ (โทษ) ปาณาติบาตมีโทษน้อยก็มี มีโทษมากก็มี. สิกขาบททั้งหลายมีอทินนาทานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน. เหตุต่างๆ แห่ง สิกขาบททั้ง ๕ นั้น ท่านแสดงไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ปาณาติบาตมีโทษ ดังนี้

การฆ่าสัตว์แมลงตัวเล็กๆ เช่นมดดำ ชื่อว่า มีโทษน้อย

ฆ่าสัตว์เช่นนั้นที่ใหญ่กว่า มีโทษมากกว่า

ฆ่าสัตว์ประเภทนับเนื่องด้วยนกใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าสัตว์ประเภทเลื้อยคลานใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าสัตว์ประเภทกระต่าย มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าสัตว์ประเภทเนื้อ มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าโค มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าม้า มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าช้าง มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่ามนุษย์ผู้ทุศีล มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่ามนุษย์ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่ามนุษย์ผู้ถึงสรณะ (คือผู้ถึงพระไตรสรณคมน์) มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าผู้ตั้งอยู่ในสิกขาบท ๕ มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าสามเณร มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 509

อทินนาทาน มีโทษ ดังนี้

การถือเอาสิ่งของ ของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษน้อย

ถือเอาสิ่งของ ของผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของสามเณร มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของภิกษุปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

กาเมสุมิจฉาจาร มีโทษ ดังนี้

แม้ประพฤติผิดก้าวล่วงหญิงผู้ทุศีล ก็มีโทษน้อย

ประพฤติผิดในบุคคล ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในบุคคลผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในสามเณรี มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 510

มุสาวาท มีโทษ ดังนี้

มุสาวาท (พูดเท็จ) เพื่อต้องการทรัพย์มีประมาณกากณิกหนึ่ง (คําว่า กากณิกเป็นชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกากลืนกินได้) มีโทษน้อยในเพราะคำพูดอันเป็นเท็จนั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งมาสก (๑) มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งมาสก มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ๕ มาสก มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์มีค่านับไม่ได้ มีโทษมากกว่านั้น

แต่มุสาวาท เพื่อทำสงฆ์ให้แตกจากกัน มีโทษมากยิ่งนัก.

การดื่มสุรา มีโทษ ดังนี้

การดื่มสุราประมาณฟายมือหนึ่ง มีโทษน้อย

การดื่มสุราประมาณกอบหนึ่ง มีโทษมากกว่า

แต่การดื่มสุรามากสามารถให้กายไหว แล้วทำการปล้นบ้าน ปล้นหมู่บ้าน มีโทษหนักมาก.

จริงอยู่ ในปาณาติบาต การฆ่าพระขีณาสพก็ดี ในอทินนาทาน การถือเอาวัตถุสิ่งของของพระขีณาสพไปก็ดี ในกาเมสุมิจฉาจารการประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นขีณาสพก็ดี ในมุสาวาท การยังสงฆ์ให้แตกจากกันก็ดี ในการดื่มสุราอันสามารถให้กายเคลื่อนไหวไปปล้นบ้านปล้นหมู่บ้านก็ดี จัดว่ามีโทษมาก


(๑) ๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท, ๔ บาท เท่ากับ ๑ กหาปณะ (บาท=เงินบาทของอินเดียโบราณ)

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 511

ทั้งนั้น แต่ว่าสังฆเภท โดยการกล่าวซึ่งมุสาวาทเท่านั้นจัดว่ามีโทษมากกว่าโทษเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เพราะว่าอกุศลอันมากนั้นสามารถเพื่อจะให้ไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.

ว่าโดยปโยคะ ปาณาติบาต เป็นสาหัตถิกะ (คือทำด้วยมือของตนเอง) ก็มี เป็นอาณัติกะ (คือ ใช้ให้คนอื่นทำ) ก็มี. อทินนาทานก็เหมือนอย่างนั้น. กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราปานะ เป็นสาหัตถิกะเท่านั้น.

บัณฑิตครั้นทราบวินิจฉัยสิกขาบทเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งการวินิจฉัยซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น (คือการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป อันหมายถึงการฆ่าสัตว์เป็นต้น) โดยธรรมเป็นต้นอย่างนี้แล้วก็พึงทราบวินิจฉัยแม้ซึ่งคำว่า ปาณาติปาตา เวรมณี (งดเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป) เป็นต้น โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล โดยกรรม โดยขัณฑะ โดยสมาทาน โดยปโยคะ ด้วย.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ว่าโดยธรรม ได้แก่ สิกขาบททั้ง ๕ นั้นเป็นธรรมมีเจตนา ด้วยสามารถแห่งปริยายศีลเป็นไปตามลำดับนั้นนั่นแหละ.

ว่าโดยโกฏฐาส สิกขาบทแม้ทั้ง ๕ เป็นกรรมบถ.

ว่าโดยอารมณ์ การงดเว้นจากปาณาติปาต เพราะกระทำชีวิตินทรีย์ของผู้อื่นให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ย่อมงดเว้นด้วยเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นของตน. นัยแม้ในสิกขาบทที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ เพราะว่าสิกขาบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด กระทำวัตถุอันบุคคลพึงก้าวล่วงแล้ว ย่อมงดเว้นด้วยเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเช่นเดียวกัน.

ว่าโดยเวทนา สิกขาบทแม้ทั้งหมดเป็นสุขเวทนา หรือเป็นมัชฌัตตเวทนา.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 512

ว่าโดยมูล เมื่องดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ย่อมเป็นอโลภะ อโทสะ และอโมหะมูล เมื่องดเว้นด้วยจิตปราศจากญาณ ย่อมเป็นอโลภะและอโทสะมูลเท่านั้น.

ว่าโดยกรรม มุสาวาทา เวรมณี ในที่นี้เป็นวจีกรรม. ที่เหลือเป็นกายกรรม.

ว่าโดยขัณฑะ (ว่าโดยการขาด) คฤหัสถ์ทั้งหลายย่อมก้าวล่วงสิกขาบทใดๆ สิกขาบทนั้นๆ เท่านั้นย่อมขาด ย่อมแตก สิกขาบทที่เหลือย่อมไม่ขาด ไม่แตก.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะคฤหัสถ์ทั้งหลายมิใช่เป็นผู้มีศีลประจำ เขาย่อมสามารถเพื่อรักษาสิกขาบทใดๆ ก็ย่อมรักษาสิกขาบทนั้นๆ นั่นแหละ. แต่สิกขาบททั้งหลายทั้งปวงของสามเณร แม้เธอก้าวล่วงเพียงข้อเดียว ชื่อว่าย่อมแตกทั้งหมด แม้เธอจะไม่ได้ก้าวล่วงสิกขาบททั้งหมดก็ตาม ถึงอย่างนั้นสิกขาบทที่เหลือเหล่านั้นก็ชื่อว่า ย่อมแตกนั่นแหละ. ก็การก้าวล่วงศีลของสามเณรนั้นมีวัตถุเป็นทัณฑกรรม (คือ ต้องถูกลงโทษ) เมื่อสามเณรนั้นทำทัณฑกรรมว่า กระผมจักไม่ทำอย่างนี้อีก ศีลย่อมบริบูรณ์.

ว่าโดยสมาทาน เมื่อคฤหัสถ์ตั้งใจว่า ข้าพเจ้าจักอธิษฐานศีล ๕ เองทีเดียว ดังนี้ก็ดี เมื่อสมาทานศีลนั้นโดยแยกแต่ละข้อก็ดี ย่อมชื่อว่า สมาทานแล้วทีเดียว คือว่า คฤหัสถ์นั้นนั่งในสำนักแห่งผู้ใดแล้วก็ถือเอาด้วยคำว่า ข้าพเจ้าจะสมาทานศีล ๕ ก็ดี ขอสมาทานโดยแต่ละข้อก็ดี ชื่อว่า ย่อมสมาทานนั่นแหละ.

ว่าโดยปโยคะ ศีล ๕ แม้ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นสาหัตถิกปโยคะทั้งหมด (คือกระทำด้วยตนเองทั้งหมด).

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 513

ธรรมเป็นสิกขา

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมอันเป็นสิกขานั้น ดังนี้.

กุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า สิกขา เพราะความที่ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลพึงศึกษา เหตุนั้น เพื่อแสดงซึ่งสิกขาทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ เป็นอาทิ. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยยังพระบาลีให้พิสดาร โดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในสิกขาปทวิภังค์นี้แสดงไว้เพียงหัวข้อเท่านั้นแล.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่สิกขาบททั้งหลายเป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะทั้งหลาย สิกขาบทเหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่าเป็นสัตตารัมมณะ (คือ มีสัตว์เป็นอารมณ์) ก็เพราะสิกขาบทเหล่านั้นย่อมกระทำสังขารอันถึงซึ่งการนับว่า เป็นสัตว์ เท่านั้นให้เป็นอารมณ์ และเพราะสิกขาบทแม้ทั้งหมดเหล่านั้นสำเร็จแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัมปัตตวิรัติทั้งนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปริตตารัมมณะด้วย เป็นปัจจุปันนารัมมณะด้วย. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ความเป็นแห่งสิกขาบทแม้ทั้งปวงเป็นพหิทธารัมมณะ ก็เพราะความที่การงดเว้นย่อมมีแก่วัตถุใด วัตถุนั้นเป็นของภายนอกทั้งสิ้น แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 514

ก็สิกขาปทวิภังค์นี้ ในอภิธรรมภาชนีย์ก็ดี ในปัจหาปุจฉกะก็ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสิกขาบททั้งหลายว่าเป็นโลกียะเท่านั้น เพราะว่านัยแม้ทั้งสองเหล่านี้ เป็นปริจเฉทเดียวกันโดยความเป็นโลกียะนั่นแหละ. สิกขาปทวิภังค์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ๒ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

อรรถกถาสิกขาปทวิภังคนิทเทส จบ