๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์
[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒
๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์
อรรถกถาขุททกวัตถุวิภังค์ หน้า 858
กําหนดแม่บท (มาติกา) ในขุททกวิภังค์ หน้า 858
อธิบายมาติกาหมวดหนึ่ง หน้า 859
ว่าด้วยความมัวเมาในชาติเป็นต้น หน้า 859
ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีโรคเป็นต้น หน้า 860
ว่าด้วยความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว หน้า 860
ว่าด้วยความมัวเมาในชีวิต หน้า 860
ว่าด้วยความมัวเมาในลาภ หน้า 861
ว่าด้วยความมัวเมาในสักการะ หน้า 861
ว่าด้วยความมัวเมาในความทําความเคารพ หน้า 861
ว่าด้วยความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า หน้า 861
ว่าด้วยความมัวเมาในบริวาร หน้า 862
ว่าด้วยความมัวเมาในโภคสมบัติ หน้า 862
ว่าด้วยความมัวเมาในวรรณะ หน้า 862
ว่าด้วยความมัวเมาในการศึกษา หน้า 863
ว่าด้วยความมัวเมาในปฏิภาณ หน้า 863
ว่าด้วยความมัวเมาในรัตตัญู หน้า 864
ว่าด้วยความมัวเมาในการถือบิณฑบาตเป็นวัตร หน้า 863
ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น หน้า 864
ว่าด้วยความมัวเมาในอิริยาบถ หน้า 864
ว่าด้วยความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ หน้า 864
ว่าด้วยความมัวเมาในยศ หน้า 864
ว่าด้วยความมัวเมาในศีล หน้า 865
ว่าด้วยความมัวเมาในฌาน หน้า 865
ว่าด้วยความมัวเมาในศิลปะ หน้า 865
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง หน้า 865
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด หน้า 865
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม หน้า 866
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ หน้า 866
เรื่องของผู้มีความโลภเกินประมาณ หน้า 871
เรื่องพระอรหันต์ตุ่มน้ำ (จาฏิอรหันต์) หน้า 882
เรื่องพระอรหันต์ย่านไทร (ปาโรหอรหันต์) หน้า 882
ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตานิทเทส หน้า 899
เรื่องการเผาผลาญของไฟ คือราคะ หน้า 928
อรรถกถาตัณหาวิจริตนิทเทส หน้า 962
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 754
๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์
เอกกมาติกา
[๘๔๙] ความมัวเมาในชาติ ความมัวเมาในโคตร ควานมัวเมาในความไม่มีโรค ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ความมัวเมาในชีวิต ความมัวเมาในลาภ ความมัวเมาในสักการะ ความมัวเมาในการทำความเคารพ ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า ความมัวเมาในบริวาร ความมัวเมาในโภคสมบัติ ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี ความมัวเมาในการศึกษา ความมัวเมาในปฏิภาณ ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู ความมัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น ความมัวเมาในอิริยาบถ ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ ความมัวเมาในยศ ความมัวเมาในศีล ความมัวเมาในฌาน ความมัวเมาในศิลปะ ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ ความมัวเมา ความประมาท ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความอยากได้เกินประมาณ ความมักมาก ความปรารถนาลามก การพูดเสียดแทง การพูดเกียดกัน การชอบตกแต่ง การประพฤติไม่สมควร ความไม่ยินดี ความโงกง่วง ความบิดกาย ความเมาอาหาร ความย่อหย่อนแห่งจิต การหลอกลวง การพูดประจบ การแสดงนิมิต การพูดติเตียน การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ความสำคัญตนว่าเสมอเขา ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญกว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 755
ตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตน ว่าเสมอเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่า เลิศกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่า เลวกว่าเขา ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น ความเย่อหยิ่ง ความดูหมิ่นตัวเอง ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ความสำคัญว่ามีอัตตาตัวตน ความถือตัว ผิด ความคิดถึงญาติ ความคิดถึงชนบท ความคิดไม่ตายตัว ความคิดเกี่ยว ด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง ความคิดเกี่ยว ด้วยความไม่มีใครดูหมิ่น.
ทุกมาติกา
[๘๕๐] โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้ มักขะ ความลบลู่คุณท่าน ปลาสะ ความตีเสมอ อิสสา ความริษยา มัจฉริยะ ความตระหนี่ มายา ความเจ้าเล่ห์ สาเถยยะ ความโอ้อวด อวิชชา ความ ไม่รู้ ภวตัณหา ความปรารถนาภพ ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อุจเฉททิฏฐิ ความเห็น ว่าขาดสูญ อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่า ไม่มีที่สุด ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต โทวจัสสตา ความเป็น ผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน อขันติ ควานไม่อดทน อโสรัจจะ ความไม่ สงบเสงี่ยม อสาขัลยะ ความไม่มีวาจาอ่อนหวาน อัปปฏิสันถาระ ความไม่มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 756
การปฏิสันถาร อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ โภชนอมัตตัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ, อัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน พหิทธาสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายนอก.
ติกมาติกา
[๘๕๑] อกุศลมูล ๓ อกุศลวิตก ๓ อกุศลสัญญา ๓ อกุศลธาตุ ๓ ทุจริต ๓ อาสวะ ๓ สัญโญชน์ ๓ ตัณหา ๓ ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เอสนา ๓ วิธา ๓ ภัย ๓ ตมะ ๓ ติตถายตนะ ๓ กิญจนะ ๓ อังคณะ ๓ มละ ๓ วิสมะ ๓ วิสมะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง อัคคิ ๓ กสาวะ ๓ กสาวะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี อัตตานุทิฏฐิ ความเห็นผิดว่ามีอัตตาตัวตน มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด อรติ ความไม่ยินดี วิเหสา ความเบียดเบียน อธัมมจริยา ความประพฤติอธรรม โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว นานัตตสัญญา สัญาต่างๆ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน โกสัชชะ ความเกียจคร้าน ปมาทะ ความประมาท อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ มหิจฉตา ความมักมาก อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต อโนตตัปปะ ควา,ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต ปมาทะ ความประมาท อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว อัสสัทธิยะ ความไม่เชื่อ อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำด้วยอำนาจความตระหนี่อันกระด้าง โกสัชชะ ความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 757
เกียจคร้าน อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อสังวระ ความไม่สำรวม ทุสสีลยะ ความทุศีล อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี มุฎฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย กุมมัคคเสวนา การเสพทางชั่ว เจตโสลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต.
จตุกกมาติกา
[๘๕๒] อาสวะ ๔ คันถะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อุปาทาน ๔ ตัณหุปปาทา ๔ อคติคมนะ ๔ วิปริเยสะ ๔ อนริยโวหาร ๔ อนริยโวหาร ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ทุจริต ๔ ทุจริต ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ภัย ๔ ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ทิฏฐิ ๔.
ปัญจกมาติกา
[๘๕๓] โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ มัจฉริยะ๕ สังคะ ๕ สัลละ ๕ เจโตขีละ ๕ เจตโสวินิพันธะ ๕ นิวรณ์ ๕ อนันตริยกรรม ๕ ทิฏฐิ ๕ เวร ๕ พยสนะ ๕ ภัย ๕ ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕.
ฉักกมาติกา
[๘๕๔] วิวาทมูล ๖ เคหสิตฉันทราคธรรม ๖ วิโรธวัตถุ ๖ ตัณหากายะ ๖ อคารวะ ๖ ปริหานิยธรรม ๖ ปริหานิยธรรม ๖ แม้อีกนัยหนึ่ง โสมนัสสุปวิจาร ๖ โทมนัสสุปวิจาร ๖ อุเปกขูปวิจาร ๖ เคหสิตโสมนัส ๖ เคหสิตโทมนัส ๖ เคหสิตอุเปกขา ๖ ทิฏฐิ ๖.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 758
สัตตกมาติกา
[๘๕๕] อนุสัย ๗ ปริยุฏฐาน ๗ สัญโญชน์ ๗ อสัทธรรม ๗ ทุจริต๗ มานะ ๗ ทิฏฐิ ๗.
อัฏฐกมาติกา
[๘๕๖] กิเลสวัตถุ ๘ กุสีตวัตถุ ๘ จิตตปฏิฆาคในโลกธรรม ๘ อนริยโวหาร ๘ มิจฉัตตะ ๘ ปุริสโทษ ๘ อสัญญีวาทะ ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘.
นวกมาติกา
[๘๕๗] อาฆาตวัตถุ ๙ ปุริสมละ ๙ มานะ ๙ ตัณหามูลกธรรม ๙ อิญชิตะ ๙ มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙.
ทสกมาติกา
[๘๕๘] กิเลสวัตถุ ๑๐ อาฆาตวัตถุ ๑๐ อกุศลกรรมบถ ๑๐ สัญโญชน์ ๑๐ มิจฉัตตะ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.
[๘๕๙] ตัณหาวิจริตอาศัยอายตนะภายใน ๑๘ ตัณหาวิจริตอาศัยอายตนะภายนอก ๑๘ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖.
ตัณหาวิจริตเป็นอดีต ๓๖ ตัณหาวิจริตเป็นอนาคต ๓๖ ตัณหาวิจริตเป็นปัจจุบัน ๓๖ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘.
ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร.
มาติกา จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 759
เอกกนิทเทส
[๘๖๐] ในเอกกมาติกาเหล่านั้น ความมัวเมาในชาติ เป็นไฉน?
ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยชาติ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในชาติ.
[๘๖๑] ความมัวเมาในโคตร เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยโคตร นี้เรียกว่า ความมัวเมาในโคตร.
ความมัวเมาในความไม่มีโรค เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความไม่มีโรค นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความไม่มีโรค.
ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็นหนุ่มสาว นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว.
ความมัวเมาในชีวิต เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยชีวิต นี้เรียกว่า ความมัวเมาในชีวิต.
ความมัวเมาในลาภ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยลาภ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในลาภ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 760
ความมัวเมาในสักการะ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยสักการะ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในสักการะ.
ความมัวเมาในการทำความเคารพ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยการทําความเคารพ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในการทำความเคารพ.
ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็นหัวหน้า นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า.
ความมัวเมาในบริวาร เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยบริวาร นี้เรียกว่า ความมัวเมาในบริวาร.
ความมัวเมาในโภคสมบัติ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยโภคสมบัตินี้เรียกว่า ความมัวเมาในโภคสมบัติ.
ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยวรรณะแห่งสรีระ และคุณความดี นี้เรียกว่า ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระ และคุณความดี.
ความมัวเมาในการศึกษา เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยการศึกษา นี้เรียกว่า ความมัวเมาในการศึกษา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 761
ความมัวเมาในปฏิภาณ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความทีจิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยปฏิภาณ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในปฏิภาณ.
ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็นผู้รัตตัญญู นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู.
ควานมัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความถือบิณฑบาต เป็นวัตร.
ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความไม่มีใครดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น.
ความมัวเมาในอิริยาบถ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยอิริยาบถ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในอิริยาบถ.
ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยอิทธิฤทธิ์ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์.
ความมัวเมาในยศ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยยศนี้ เรียกว่า ความมัวเมาในยศ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 762
ความมัวเมาในศีล เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยศีล นี้เรียกว่า ความมัวเมาในศีล.
ความมัวเมาในฌาน เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยฌาน นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในฌาน.
ความมัวเมาในศิลปะ เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยศิลปะ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในศิลปะ.
ความมัวเมาในควานมีทรวดทรงสูง เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมีทรวดทรงสูง นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง.
ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด เป็นไฉน?
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมีทรวดทรงสันทัด นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด.
ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม เป็นไฉน?
ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมีทรวดทรงงาม นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม
ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ เป็นไฉน?
ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกคน การเทิดตน การเชิดชูคนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมีร่างกายบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในควานมีร่างกายบริบูรณ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 763
[๘๖๒] ความมัวเมา เป็นไฉน?.
ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความมัวเมา.
[๘๖๓] ความประมาท เป็นไฉน?
ความปล่อยจิตไป ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความกระทำโดยไม่เคารพ ความกระทำโดยไม่ติดต่อ ความกระทำไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจจริง ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความประมาท.
[๘๖๔] ความหัวดื้อ เป็นไฉน?
ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ สภาพที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความหยาบคาย ความดื้อรั้น ความไม่อ่อนโยน อันใด นี้เรียกว่า ความหัวดื้อ.
[๘๖๕] ความแข่งดี เป็นไฉน?
ความแข่งดี ความแข่งขึ้นหน้า กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งขึ้นหน้า สภาพที่แข่งขึ้นหน้า อันใด นี้เรียกว่า ความแข่งดี.
[๘๖๖] ความอยากได้เกินประมาณ เป็นไฉน?
ความอยากได้มากของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริวาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความอยากได้เกินประมาณ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 764
[๘๖๗] ความมักมาก เป็นไฉน?
ความอยากได้มากของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความมักมาก.
[๘๖๘] ความปรารถนาลามก เป็นไฉน?
คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีการศึกษาน้อย ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีการศึกษามาก เป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบสงัด เป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติหลงลืม ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความปรารถนา การปรารถนา ความปรารถนาลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความปรารถนาลามก.
[๘๖๙] การพูดเสียดแทง เป็นไฉน?
การพูดเสียดแทง สภาพที่พูดเสียดแทง การพูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม กิริยาที่พูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม การพูดมีเหลี่ยมมีคู สภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู อันใด นี้เรียกว่า การพูดเสียดแทง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 765
[๘๗๐] การพูดเกียดกัน เป็นไฉน?
การพูดเกียดกัน กิริยาที่พูดเกียดกัน สภาพที่พูดเกียดกัน ความละโมภ กิริยาที่ละโมภ สภาพที่ละโมภ ความถ่อมตนเพื่อจะได้ความต้องการสิ่งที่ประณีต อันใด นี้เรียกว่า การพูดเกียดกัน.
[๘๗๑] การชอบตกแต่ง เป็นไฉน?
การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่งกายอันเปื่อยเน่า หรือการตกแต่งบริขารภายนอก การประเทืองผิว การเล่นหัว การร่าเริง ความกำหนัดยินดี สภาพที่กำหนัดยินดี ความตกแต่ง กิริยาที่ตกแต่ง อันใด นี้เรียกว่า การชอบตกแต่ง.
[๘๗๒] ความประพฤติไม่สมควร เป็นไฉน?
ความไม่ประพฤติตาม ความประพฤติขัดขืน ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในบุคคลใดบุคคลหนึ่งผู้ควรเคารพ คือ บิดามารดา พี่ชาย พี่สาว อาจารย์ อุปัชฌายะ พระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า นี้เรียกว่า ความประพฤติไม่สมควร.
[๘๗๓] ความไม่ยินดี เป็นไฉน?
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความรำคาญ ความกระวนกระวายใจ ในเสนาสนะที่สงัด หรือในอธิกุศลธรรมคือสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความไม่ยินดี.
[๘๗๔] ความโงกง่วง เป็นไฉน?
ความง่วงงุน กิริยาที่ง่วงงุน สภาพที่ใจง่วงงุน ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน สภาพที่เกียจคร้าน อันใด นี้เรียกว่า ความโงกง่วง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 766
[๘๗๕] ความบิดกาย เป็นไฉน?
ความเหยียดกาย การเหยียดกาย ความโน้มกายไปข้างหน้า ความโน้มกายไปข้างหลัง ความโน้มกายไปรอบๆ ความตั้งตัวตรง ความไม่สบายกาย อันใด นี้เรียกว่า ความบิดกาย.
[๘๗๖] ความเมาอาหาร เป็นไฉน?
ความมึนเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดเพราะอาหาร ความร้อนกระวนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร อันใด ของผู้บริโภคอาหารแล้ว นี้เรียกว่า ความเมาอาหาร.
[๘๗๗] ความย่อหย่อนแห่งจิต เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย การย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน การหดหู่ กิริยาที่หดหู่ สภาพที่หดหู่ แห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ความ ย่อหย่อนแห่งจิต.
[๘๗๘] การหลอกลวง เป็นไฉน?
การหลอกลวงเกี่ยวด้วยการเสพปัจจัย การหลอกลวงด้วยการพูดเสียบเคียง หรือการดำรงอิริยาบถ กิริยาที่ดำรงอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี ความสยิ้วหน้า สภาพที่สยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง สภาพที่หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การหลอกลวง.
[๘๗๙] การพูดประจบ เป็นไฉน?
การทักทายคนอื่น การแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง การพูดเยินยอ การพูดอ้อมค้อม การพูดชมเชย การพูดสรรเสริญ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 767
การพูดสรรเสริญบ่อยๆ การพูดเอาใจให้คนรัก การพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก การพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว การเป็นผู้รับเลี้ยงเด็กของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ อันใด นี้เรียกว่า การพูดประจบ.
[๘๘๐] การแสดงนิมิต เป็นไฉน?
การทำนิมิต ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวด้วยปัจจัย การพูดเป็นเลศนัย การกระซิบใกล้ๆ การพูดเลียบเคียง แก่ชนเหล่าอื่น อันใด ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การแสดงนิมิต.
[๘๘๑] การพูดติเตียน เป็นไฉน?
การด่า การพูดข่ม การนินทา การพูดตำหนิโทษ การกล่าวโทษ การพูดติเตียน การพูดเหยียดหยาม การพูดให้เสียชื่อเสียง การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน การพูดไพเราะต่อหน้านินทา ลับหลังแก่ชนเหล่าอื่น อันใด ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การพูดติเตียน.
[๘๘๒] การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ เป็นไฉน?
ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น นำอามิสที่ได้จากข้างโน้นมาให้ข้างนี้ การปรารถนา การเสาะหา การแสวงหา กิริยาที่เที่ยวหา กิริยาที่แสวงหา ซึ่งอามิสด้วยอามิส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า การแลก เปลี่ยนลาภด้วยลาภ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 768
[๘๘๓] ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษาหรือโดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.
[๘๘๔] ความสำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือ โดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตนว่าเสมอเขา.
[๘๘๕] ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือโดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน ความเกลียดตนยิ่ง สภาพที่เกลียดตนยิ่ง ความดู ถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 769
[๘๘๖] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้น แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธงอันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.
[๘๘๗] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการ เป็นดุจธงอันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา.
[๘๘๘] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 770
โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง สภาพที่เกลียดตนอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา.
[๘๘๙] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดย เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่า เลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.
[๘๙๐] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ เรียกว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา.
[๘๙๑] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 771
ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง สภาพที่ดูหมิ่นตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา.
[๘๙๒] ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวกว่าเขา ถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว การถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.
[๘๙๓] ผู้เลวกว่าเขาสำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลวกว่าเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา.
[๘๙๔] ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 772
อาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน สภาพ ที่เกลียดตนยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา.
[๘๙๕] ความถือตัว เป็นไฉน?
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความถือตัว.
[๘๙๖] ความดูหมิ่นผู้อื่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นผู้อื่น.
[๘๙๗] ความเย่อหยิ่ง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เบื้องต้นถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ ต่อมา ภายหลังถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ ไม่ลดตนให้ต่ำกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นนี้ว่านี้ นี้ เรียกว่า ความเย่อหยิ่ง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 773
[๘๙๘] ความดูหมิ่นตนเอง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นตนเอง โดยเหตุอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นตนเอง.
[๘๙๙] ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ เป็นไฉน?
ความสำคัญว่าถึงแล้วในธรรมที่ตนยังไม่ถึง ความสำคัญว่าทำแล้วในกิจที่ตนยังไม่ได้ทำ ความสำคัญว่าบรรลุแล้วในธรรมที่คนยังไม่บรรลุ ความสำคัญว่าได้ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ.
[๙๐๐] ความสำคัญว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน?
ความสำคัญในรูปว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในรูปว่าเป็นตัวเรา ความเข้าใจรูปว่าเป็นตัวเรา ความสำคัญในเวทนาว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความสำคัญในสัญญาว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความสำคัญในสังขารว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความสำคัญในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความเข้าใจในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญว่า มีอัตตาตัวตน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 774
[๙๐๑] ความถือตัวผิด เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือตนโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือโดยหน้าที่การงานอันลามก โดยศิลปะอันลามก โดยวิทยฐานะอันลามก โดยการศึกษาอันลามก โดยปฏิภาณอันลามก โดยศีลอันลามก โดยวัตรอันลามก โดยศีลและวัตรอันลามก หรือโดยทิฏฐิอันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวผิด.
[๙๐๒] ความคิดถึงญาติ เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ปรารภถึงหมู่ญาติ นี้เรียกว่า ความคิดถึงญาติ.
[๙๐๓] ความคิดถึงชนบท เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณ ปรารภถึงชนบท นี้เรียกว่า ความคิดถึงชนบท.
[๙๐๔] ความคิดไม่ตายตัว เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณประกอบด้วยทุกกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า ความคิดไม่ตายตัว.
[๓๐๕] ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น เป็นไฉน?
สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อยู่ มีความรื่นเริงร่วมกัน มีความโศกเศร้าร่วมกัน ถึงคราวสุข สุขด้วย ถึงคราวทุกข์ ทุกข์ด้วย เมื่อมีกิจที่จะพึงทำเกิดขึ้น ก็พยายามช่วยทำด้วยตนเอง ความตรึก ความตรึก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 775
อย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณ ในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์เหล่านั้น นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น.
[๙๐๖] ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณ ปรารภลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง.
[๙๐๗] ความคิดเกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเรา โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณ ในความไม่อยากให้ใครดูหมิ่นนั้น นี้เรียกว่า ความคิดที่เกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น.
ทุกนิทเทส
[๙๐๘] ใน ทุกมาติกาเหล่านั้น โกธะ ความโกรธ เป็นไฉน?
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพที่คิดปองร้าย ความยินร้าย ความยินร้ายอย่างร้าย ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า โกธะ ความโกรธ.
อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้ เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 776
ความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมา ชื่อว่า ความผูกโกรธไว้ ความผูกโกรธไว้อย่างนี้ กิริยาที่ผูกโกรธไว้ สภาพที่ผูกโกรธไว้ ความตั้งไว้ ความทรงไว้ ความดำรงไว้ ความสั่งสมไว้ ความผูกพันไว้ ความยึดมั่นไว้ซึ่งความโกรธ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้.
[๙๐๙] มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน เป็นไฉน?
ความลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ลบหลู่คุณท่าน สภาพที่ลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ การดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ เรียกว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน.
ปลาสะ ความตีเสมอ เป็นไฉน?
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ สภาพที่ตีเสมอ ความตีตัวเสมอ โดยนำความชนะของตนมาอ้าง เหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี ความไม่ลดละ อันใด นี้เรียกว่า ปลาสะ ความตีเสมอ.
[๙๑๐] อิสสา ความริษยา เป็นไฉน?
ความริษยา กิริยาที่ริษยา สภาพที่ริษยา ความเกียดกัน กิริยาเกียดกัน สภาพที่เกียดกัน ในลาภสักการะ การทำความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชา ของผู้อื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสา ความริษยา.
มัจฉริยะ ความตระหนี่ เป็นไฉน?
มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะและความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มัจฉริยะ ความตระหนี่.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 777
[๙๑๑] มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้งความปรารถนาลามกไว้ เพราะมีความต้องการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย ดำริว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย พูดว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย พยายามด้วยกายว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์ กิริยาที่ทำให้หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง ความไม่เปิดเผย ความไม่ทำให้แจ้ง ความปิดมิดชิดการกระทำที่ชั่ว อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา ความเจ้าเล่ห์.
สาเถยยะ ความโอ้อวด เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดมาก การโอ้อวด สภาพที่โอ้อวด ความโอ้อวด ความกระด้าง สภาพที่กระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู สภาพที่พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคูของบุคคลนั้น อันใด นี้เรียกว่า สาเถยยะ ความโอ้อวด.
[๙๑๒] อวิชชา ความไม่รู้ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ความไม่รู้.
ภวตัณหา ความปรารถนาภพ เป็นไฉน?
ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความปรารถนาในภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวตัณหา ความปรารถนาภพ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 778
[๙๑๓] ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด เป็นไฉน? ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด.
วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด เป็นไฉน?
ความเห็นว่า อัตตาจักไม่มีและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเป็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด.
[๙๑๔] สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง เป็นไฉน?
ความเห็นว่า อัตตาเที่ยงและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้า ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง.
อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นไฉน?
ความเห็นว่า อัตตาจักขาดสูญและโลกจักขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ.
[๙๑๕] อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด เป็นไฉน?
ความเห็นว่า อัตตามีที่สุด และโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็น ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส ความเห็นว่าไม่มีที่สุด อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด.
อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 779
ความเห็นว่า อัตตาไม่มีที่สุด และโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด.
[๙๑๖] ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต เป็นไฉน?
ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด ปรารภส่วนอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภ ส่วนอดีต.
อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต เป็นไฉน?
ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด ปรารภส่วนอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภ ส่วนอนาคต.
[๙๑๗] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน?
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต.
อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน?
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 780
[๙๑๘] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน?
กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก.
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน?
บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบ ด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไป ตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.
[๙๑๙] อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง เป็นไฉน?
ความไม่ตรง สภาพที่ไม่ตรง ความคด ความโค้ง ความงอ อันใด นี้เรียกว่า อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง.
อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน เป็นไฉน?
ความไม่อ่อนน้อม สภาพที่ไม่อ่อนน้อม ความกระด้าง ความหยาบคาย สภาพที่กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความถือรั้น ความไม่อ่อนน้อม อันใด นี้เรียกว่า อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน.
[๙๒๐] อขันติ ความไม่อดทน เป็นไฉน?
ความไม่อดทน สภาพที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย ความปวดร้าว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อขันติ ความ ไม่อดทน.
อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 781
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด ทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม.
[๙๒๑] อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน เป็นไฉน?
วาจาใด เป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบผู้อื่น ยั่วให้โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลพูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่สละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบในลักษณะ ดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน.
อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร เป็นไฉน?
ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธัมมปฏิสันถาร ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทำการปฏิสันถาร ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมมปฏิสันถาร นี้เรียกว่า อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร.
[๙๒๒] อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่น ด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 782
ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น.
การไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวม ซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖.
โภชนอมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ ความไม่รู้ประมาณ ความไม่พิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า โภชนอมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร.
[๙๒๓] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน?
ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ สภาพที่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ.
อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
[๙๒๔] สีลวิปัตติ ควานวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน?
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด ทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล. ความ ความทุศีลแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 783
ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญา อันยิ่งด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ.
[๙๒๕] อัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน เป็นไฉน?
สัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ จัดเป็นอัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน สัญโญชน์เบื้องสูง ๕ จัดเป็นพหิทธาสัญโญชนะ สญโญชน์ภายนอก.
ติกนิทเทส
[๙๒๖] ใน ติกมาติกา เหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน?
โลภะ โทสะ โมหะ.
บรรดา อกุศลมูล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 784
เพื่อนสอง ปณิธิ (การตั้งความปรารถนา) ธรรมชาตินำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง สภาพที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ สภาพที่กระซิบ การละโมภ กิริยาที่ละโมภ สภาพที่ละโมภ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความ กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ ราคะ ที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.
โทสะ เป็นไฉน?
ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, ความอาฆาต ย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 785
แล้ว, ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา, ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว, ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเจริญแก่ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเจริญแก่คน ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันมิใช่เหตุ. ความอาฆาตแห่งจิต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง ความยินร้าย ความขุ่นเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคืองอย่างแรง ความคิด ประทุษร้าย การมุ่งคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความพยาบาทแห่งจิต ความคิดประทุษร้ายทางใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความคิด ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตอันใด มีลักษณะเช่นว่า นี้เรียกว่า โทสะ.
โมหะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ใน ส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในธรรมอันเป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 786
ไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ.
เหล่านี้เรียกว่า อกุศลมูล ๓
[๙๒๗] อกุศลวิตก ๓ เป็นไฉน?
กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วยกามนี้เรียกว่า กามวิตก.
พยาบาทวิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย ความพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทวิตก.
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วยความเบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก. เหล่านั้นเรียกว่า อกุศลวิตก ๓.
[๙๒๘] อกุศลสัญญา ๓ เป็นไฉน?
กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
บรรดาสัญญา ๓ นั้น กามสัญญา เป็นไฉน?
ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กามสัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 787
พยาบาทสัญญา เป็นไฉน?
ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ เกี่ยวด้วยพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทสัญญา.
วิหิงสาสัญญา เป็นไฉน?
ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเดียวด้วยความเบียดเบียน นี้ เรียกว่า วิหิงสาสัญญา.
เหล่านั้นเรียกว่า อกุศลสัญญา ๓.
[๙๒๙] อกุศลธาตุ ๓ เป็นไฉน?
กามธาตุ พยาบาทธาตุ วิหิงสาธาตุ
บรรดาอกุศลธาตุ ๓ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน?
กามวิตก จัดเป็นกามธาตุ พยาบาทวิตก จัดเป็น พยาบาทธาตุ วิหิงสาวิตก จัดเป็น วิหิงสาธาตุ.
บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด, อันเกี่ยวด้วย กามนี้เรียกว่า กามวิตก.
พยาบาทวิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วยความพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทวิตก.
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วยความเบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก.
เหล่านี้เรียกว่า อกุศลธาตุ ๓.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 788
[๙๓๐] ทุจริต ๓ เป็นไฉน?
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายทุจริต เป็นไฉน?
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่า กายทุจริต.
วจีทุจริต เป็นไฉน?
มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ นี้เรียกว่า วจีทุจริต
มโนทุจริต เป็นไฉน?
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี้เรียกว่า มโนทุจริต.
กายทุจริต เป็นไฉน?
กายกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า กายทุจริต
วจีกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า วจีทุจริต
มโนกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มโนทุจริต
บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายกรรมฝ่ายอกุศล เป็นไฉน?
กายสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า กายกรรมฝ่ายอกุศล
วจีสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า วจีกรรมฝ่ายอกุศล
มโนสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มโนกรรมฝ่ายอกุศล
เหล่านั้นเรียกว่า ทุจริต ๓.
[๙๓๑] อาสวะ ๓ เป็นไฉน?
กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
บรรดาอาสวะ ๓ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า กามาสวะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 789
ภวาสวะ เป็นไฉน?
ความพอใจในภพ ฯลฯ ควานหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ.
อวิชชาสวะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ นี้เรียก ว่า อวิชชาสวะ.
เหล่านี้เรียกว่า อาสวะ ๓.
[๙๓๒] สัญโญชน์ ๓ เป็นไฉน?
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
บรรดาสัญโญชน์ ๓ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร เป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.
วิจิกิจฉา เป็นไฉน?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา เคลือบแคลงสงสัยในพระธรรม เคลือบแคลงสงสัยในพระสงฆ์ เคลือบแคลงสงสัยในสิกขา เคลือบแคลงสงสัยในส่วนอดีต เคลือบแคลงสงสัยในส่วนอนาคต เคลือบแคลงสงสัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 790
ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต เคลือบแคลงสงสัยในธรรมอันเป็นปัจจัยของกัน และกัน และอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง สภาพที่เคลือบแคลง ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.
สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน?
สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อม มีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยทั้งศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.
เหล่านั้นเรียกว่า สัญโญชน์ ๓.
[๙๓๓] ตัณหา ๓ เป็นไฉน?
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยภวทิฏฐิ นี้เรียกว่า ภวตัณหา.
วิภวตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา. ตัณหาที่เหลือนอกนั้น เรียกว่า กามตัณหา.
บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 791
ความกำหนัด ความกำหนัดนักแห่งจิต ฯลฯ อันประกอบด้วยรูปธาตุ และอรูปธาตุ นี้เรียกว่า ภวตัณหา.
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา.
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓.
[๙๓๔] ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
กามตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา.
รูปตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา.
อรูปตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา.
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓.
[๙๓๕] ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น รูปตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 792
อรูปตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา.
นิโรธตัณหา เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนดนักแห่งจิตอันสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา.
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓.
[๙๓๖] เอสนา ๓ เป็นไฉน?
กาเมสนา ภเวสนา พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า กาเมสนา.
ภเวสนา เป็นไฉน?
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภเวสนา.
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน?
ความเห็นว่าโลกเที่ยง หรือความเห็นว่าโลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย จะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา.
บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน?
ความกำหนัดในกาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในกามนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 793
ภเวสนา เป็นไฉน?
ความกำหนัดในภพ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในภพนั้น นี้เรียกว่า ภเวสนา.
ความเห็นว่าโลกมีที่สุด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศลตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความเห็นว่าโลกมีที่สุดนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา.
เหล่านี้เรียกว่า เอสนา ๓.
[๙๓๗] วิธา ๓ เป็นไฉน?
ความถือตัวว่าประเสริฐกว่าเขา ความถือตัวว่าเสมอเขา ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา เหล่านั้นเรียกว่า วิธา ๓.
[๙๓๘] ภัย ๓ เป็นไฉน?
ชาติภัย ชราภัย มรณภัย
บรรดาภัย ๓ นั้น ชาติภัย เป็นไฉน?
ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความสะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย.
ชราภัย เป็นไฉน?
ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความสะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย.
มรณภัย เป็นไฉน?
ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความสะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย.
เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๓
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 794
[๙๓๙] ตมะ ๓ เป็นไฉน?
๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อไม่เลื่อมใส ปรารภอดีตกาล ๒. ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล ๓. ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล เหล่านี้เรียกว่า ตมะ ๓.
[๙๔๐] ติตถายตนะ ๓ เป็นไฉน?
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น เพราะได้ทำเหตุไว้ในปางก่อน.
๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุ คือมีผู้เป็นให้สร้างให้.
๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย.
เหล่านั้นเรียกว่า ติตถายตนะ ๓.
[๙๔๑] กิญจนะ ๓ เป็นไฉน?
กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ กิเลสเครื่องกังวลคือโทสะ กิเลสเครื่องกังวลคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า กิญจนะ ๓.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 795
[๙๔๒] อังคณะ ๓ เป็นไฉน?
กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ กิเลสเพียงดังเนินคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า อังคณะ ๓.
[๙๔๓] มละ ๓ เป็นไฉน?
มลทินคือราคะ มลทินคือโทสะ มลทินคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า มละ ๓.
[๙๔๔] วิสมะ ๓ เป็นไฉน?
ความไม่สม่ำเสมอคือราคะ ความไม่สม่ำเสมอคือโทสะ ความไม่สม่ำเสมอคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ ๓.
[๙๔๕] วิสมะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ ๓.
[๙๔๖] อัคคิ ๓ เป็นไฉน?
ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า อัคคิ ๓.
[๙๔๗] กสาวะ ๓ เป็นไฉน?
น้ำฝาดคือราคะ น้ำฝาดคือโทสะ น้ำฝาดคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า กสาวะ ๓.
[๙๔๘] กสาวะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
น้ำฝาดทางกาย น้ำฝาดทางวาจา น้ำฝาดทางใจ เหล่านี้เรียกว่า กสาวะ ๓.
[๙๔๙] อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 796
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ เขาจึงบริโภคกาม นี้เรียกว่า อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี.
อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอา โดยวิปลาสอันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่ามีอัตตาตัวตน.
มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นไฉน?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลกนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ.
สัสสตทิฏฐิ จัดเป็น อัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ จัดเป็น อัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 797
[๙๕๐] อรติ ความไม่ยินดี เป็นไฉน?
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความกระสัน ความดิ้นรน ในเสนาสนะอันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ ความไม่ยินดี.
วิเหสา ความเบียดเบียน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง ศาสตราบ้าง เชือกบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความบีบคั้น ความบีบคั้นยิ่ง ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนยิ่ง ความทำให้เดือดร้อน ความทำให้เดือดร้อนยิ่ง ความทำร้ายสัตว์อื่น อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิเหสา ความเบียดเบียน.
อธัมมจริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม เป็นไฉน?
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียก ว่า อธัมมจริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม.
[๙๕๑] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน?
กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก.
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 798
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.
นานัตตสัญญา สัญญาต่างๆ เป็นไฉน?
สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วยความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาต่างๆ อกุศลสัญญาแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า นานัตตสัญญา.
[๙๕๒] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน.
โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความไม่เคารพ ความทำโดยไม่ติดต่อ ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน.
ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 799
ไม่ติดต่อ ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท.
[๙๕๓] อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ เป็นไฉน?
ความอยากได้มากยิ่งของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขารตามที่ตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ.
อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
มหิจฉตา ความมักมาก เป็นไฉน?
ความอยากได้มากยิ่งของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา ควานมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา ความมักมาก.
[๙๕๔] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 800
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต.
อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน?
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต.
ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูน การปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดยไม่ติดต่อ ความไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท.
[๙๕๕] อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ เป็นไฉน?
ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ความไม่ถือเอา กิริยาที่ไม่ถือเอา สภาพที่ไม่ถือเอา ความไม่มีศีล ความไม่ยำเกรงอันใด นี้เรียกว่า อนาทริยะ ความเอื้อเฟื้อ.
โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน?
กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 801
ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรมิก นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก.
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน?
บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ทุศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.
[๙๕๖] อัสสัทธิยะ ความไม่มีศรัทธา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่มีศรัทธา กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปลงใจเชื่อ ความไม่เลื่อมใสยิ่ง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ ความไม่มีศรัทธา.
อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำ ด้วยอำนาจความตระหนี่อันกระด้าง เป็นไฉน?
มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕ คือ อาวาสมัจฉริยะ ความตระหนี่ที่อยู่, กุลมัจฉริยะ ความตระหนี่ตระกูล, ลาภมัจฉริยะ ความตระหนี่ลาภ, วัณณมัจฉริยะ ความตระหนี่วรรณะ, ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม, ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใด ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำ ด้วยอำนาจความตระหนี่อันกระด้าง.
โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความไม่ทำโดย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 802
ติดต่อ ความไม่ทำให้มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ. ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน.
[๙๕๗] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน.
อสังวร ความไม่สำรวม เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะ แล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมนมนินทรีย์นั้น นี้เรียกว่า อสังวร ความไม่สำรวม.
ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล เป็นไฉน?
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 803
[๙๕๘] อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า เป็นไฉน?
บรรดาบทเหล่านั้น พระอริยเจ้า เป็นไฉน พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยเจ้า. ความไม่ต้องการจะพบ ความไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคมกับพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า.
สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม เป็นไฉน?
บรรดาบทเหล่านั้น พระสัทธรรม เป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า พระสัทธรรม. ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะเรียน ความไม่ต้องการจะทรงจำซึ่งพระสัทธรรมนี้ อันใด นี้เรียกว่า สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม.
อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี เป็นไฉน?
บรรดาบทเหล่านั้น ความคิดแข่งดี เป็นไฉน ความคิดแข่งดี ความคิดแข่งดีเนืองๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดีเนืองๆ สภาพที่คิดแข่งดีเนืองๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความคอยแสวงหาโทษ อันใด นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี.
[๙๕๙] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน?
ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 804
อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต.
[๙๖๐] อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เป็นไฉน?
ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสิ่งที่ไม่เทียง ว่าเที่ยง ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตน ว่าเป็นอัตตาตัวตน ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม หรือความนึก ความนึกเนืองๆ ความคิด ความพิจารณา ความทำไว้ในใจแห่งจิต โดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย.
กุมมัคคเสวนา การเสพทางผิด เป็นไฉน?
บรรดาบทเหล่านั้น ทางผิด เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า ทางผิด การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี การชอบใจ ความชอบใจ ซึ่งทางผิดนี้ ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามทางผิดนี้อันใด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา การเสพทางผิด.
เจตโสลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 805
ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน ความซบเซา กิริยาที่ซบเซา สภาพที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต.
จตุกกนิทเทส
[๙๖๑] ในจตุกกมาติกาเหล่านั้น อาสวะ ๔ เป็นไฉน?
กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า กามาสวะ.
ภวาสวะ เป็นไฉน?
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ.
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน?
ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว จะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ทิฏฐอาสวะ.
อวิชชาสวะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ
เหล่านี้เรียกว่า อาสวะ ๔.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 806
[๙๖๒] คันถะ ๔ เป็นไฉน?
อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็งก็จะเอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่น อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ.
พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน?
ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า พยาปาทกายคันถะ.
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน?
สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรมาสกายคันถะ.
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน?
ความเห็นว่าโลกเที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วจะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ยกเว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 807
เหล่านี้เรียกว่า คันถะ ๔.
[๙๖๓] โอฆะ ๔ ฯลฯ โยคะ ๔ ฯลฯ อุปาทาน ๔ เป็นไฉน?
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.
บรรดา อุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า กามุปาทาน.
ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน. ยกเว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทาน มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน.
สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน?
สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน.
อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 808
ของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน
เหล่านี้เรียกว่า อุปาทาน ๔.
[๙๖๔] ตัณหุปาทา ๔ เป็นไฉน?
ตัณหาเมื่อจะเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุบ้าง ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุบ้าง ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุบ้าง ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะปัจจัยดังกล่าวมานี้อันประณีตและประณีตยิ่งเป็นเหตุบ้าง
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหุปาทา ๔.
[๙๖๕] อคติคมนะ ๔ เป็นไฉน?
บุคคลย่อมลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ย่อมลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน ย่อมลำเอียงเพราะเขลา ย่อมลำเอียงเพราะกลัว ความลำเอียง การถึงความลำเอียง การลำเอียงเพราะรักใคร่กัน การลำเอียงเพราะเป็นพวกพ้องกัน ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
เหล่านี้เรียกว่า อคติคมนะ ๔.
[๙๖๖] วิปริเยสะ ๔ เป็นไฉน?
ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 809
เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
เหล่านี้เรียกว่า วิปริเยสะ ๔.
[๙๖๗] อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน?
เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้ เมื่อไม่รู้แจ้ง พูดว่ารู้แจ้ง
เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔.
[๙๖๘] อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้ เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง
เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔.
[๙๖๙] ทุจริต ๔ เป็นไฉน?
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท
เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔.
[๙๗๐] ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
เหล่านี้ เรียกว่า ทุจริต ๔.
[๙๗๑] ภัย ๔ เป็นไฉน?
ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 810
[๙๗๒] ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.
[๙๗๓] ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
ภัยเกิดแต่คลื่น ภัยเกิดแต่จรเข้ ภัยเกิดแต่วังวน ภัยเกิดแต่ปลาร้าย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.
[๙๗๔] ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
ภัยเกิดแต่การค่อนขอดตัวเอง ภัยเกิดแต่การค่อนขอดผู้อื่น ภัยเกิดแต่อาชญา ภัยเกิดแต่อบาย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.
[๙๗๕] ทิฏฐิ ๔ เป็นไฉน
ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำเอง ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์คนอื่นกระทำให้ ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุข ทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ ตนไม่ได้ทำเองด้วย คนอื่นไม่ได้ทำให้ด้วย แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๔.
ปัญจกนิทเทส
[๙๗๖] ใน ปัญจกมาติกาเหล่านั้น โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็น ไฉน?
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 811
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. กามฉันทะ
๕. พยาบาท
เหล่านี้เรียกว่า โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.
[๙๗๗] อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็นไฉน?
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ
๑. รูปราคะ
๒. อรูปราคะ
๓. มานะ
๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
เหล่านี้เรียกว่า อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.
[๙๗๘] มัจฉริยะ ๕ เป็นไฉน?
มัจฉริยะ ๕ คือ
๑. อาวาสมิจฉริยะ ความตระหนี่ที่อยู่.
๒. กุลมัจฉริยะ ความตระหนี่ตระกูล
๓. ลาภมัจฉริยะ ความตระหนี่ลาภ
๔. วัณณมัจฉริยะ ความตระหนี่วรรณะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม
เหล่านี้เรียกว่า มัจฉริยะ ๕.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 812
[๙๗๙] สังคะ ๕ เป็นไฉน?
สังคะ ๕ คือ
๑. ราคสังคะ เครื่องข้องคือราคะ
๒. โทสสังคะ เครื่องข้องคือโทสะ
๓. โมหสังคะ เครื่องข้องคือโมหะ
๔. มานสังคะ เครื่องข้องคือมานะ
๕. ทิฏฐิสังคะ เครื่องข้องคือทิฏฐิ
เหล่านี้เรียกว่า สังคะ ๕.
[๙๘๐] สัลละ ๕ เป็นไฉน?
สัลละ ๕ คือ
๑. ราคสัลละ ลูกศรคือราคะ
๒. โทสสัลละ ลูกศรคือโทสะ
๓. โมหสัลละ ลูกศรคือโมหะ
๔. มานสัลละ ลูกศรคือมานะ
๕. ทิฏฐิสัลละ ลูกศรคือทิฏฐิ
เหล่านี้เรียกว่า สัลละ ๕.
[๙๘๑] เจโตขีละ ๕ เป็นไฉน?
เจโตขีละ ๕ คือ
๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
๒. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม
๓. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 813
๔. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา
๕. เป็นผู้มีจิตขุ่นเคือง ไม่ชอบใจ มีจิตกระทบกระทั่ง กระด้าง กระเดื่องในเพื่อนพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
เหล่านี้เรียกว่า เจโตขีละ ๕.
[๙๘๒] เจตโสวินิพันธะ ๕ เป็นไฉน?
เจตโสวินิพันธะ ๕ คือ
๑. บุคคลเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาม
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป
๔. บริโภคอาหารเต็มท้องตามความต้องการแล้ว หาความสุขในการนอน หาความสุขในการพลิกไปมา หาความสุขในการหลับอยู่
๕. ปรารถนาเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยผูกใจว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หรือเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยตนใดตนหนึ่งด้วยศีลนี้ หรือด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้
เหล่านี้เรียกว่า เจตโสวินิพันธะ ๕.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 814
[๙๘๓] นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
นิวรณ์ ๕ คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ กามฉันทะ
๒. พยาปาทนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ พยาบาท
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ ถีนมิทธะ
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ วิจิกิจฉา
เหล่านี้เรียกว่า นิวรณ์ ๕.
[๙๘๔] อนันตริยกรรม ๕ เป็นไฉน?
อนันตริยกรรม ๕ คือ
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
เหล่านั้นเรียกว่า อนันตริยกรรม ๕.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 815
[๙๘๕] ทิฏฐิ ๕ เป็นไฉน?
ทิฏฐิ ๕ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามีสัญญา เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน
๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตาไม่มีสัญญา เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน
๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน
๔. ก็หรือว่า สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ซึ่งปรากฏมีอยู่
๕. ก็หรือว่า สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันทิฏฐธัมมนิพพาน
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๕.
[๙๘๖] เวร ๕ เป็นไฉน?
เวร ๕ คือ
๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เหล่านี้เรียกว่า เวร ๕.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 816
[๙๘๗] พยสนะ ๕ เป็นไฉน?
พยสนะ ๕ คือ
๑. ญาติพยสนะ ความพินาศแห่งชาติ
๒. โภคพยสนะ ความพินาศแห่งทรัพย์
๓. โรคพยสนะ ความพินาศเพราะโรค
๔. สีลพยสนะ ความพินาศแห่งศีล
๕. ทิฏฐิพยสนะ ความพินาศแห่งทิฏฐิ
เหล่านี้เรียกว่า พยสนะ ๕.
[๙๘๘] โทษแห่งความไม่อดทน ๕ เป็นไฉน?
โทษแห่งความไม่อดทน ๕ คือ
๑. ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของชนมาก
๒. มีเวรมาก
๓. มีโทษมาก
๔. ตายโดยความหลงลืม
๕. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เหล่านี้เรียกว่า โทษแห่งความไม่อดทน ๕.
[๙๘๙] ภัย ๕ เป็นไฉน?
ภัย ๕ คือ
๑. ภัยเกิดแต่การเลี้ยงชีพ
๒. ภัยเกิดแต่การติเตียน
๓. ภัยคือความขลาดกลัว เมื่อเข้าสู่ที่ประชุม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 817
๔. ภัยเกิดแต่มรณะ
๕. ภัยเกิดแต่อบาย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๕.
[๙๙๐] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน?
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้เพียบพร้อม พรั่งพร้อม บำรุงบำเรอ ด้วยกามคุณ ๕ อยู่ ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ท่านผู้เจริญ เพราะกามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ความเศร้าโศก ความร่ำไห้ ความทุกข์ ความโทมนัส ความคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะกามเหล่านั้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอัน ยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 818
๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่ เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ วิตก วิจารใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น ปฐมฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะวิตกและวิจารนั้น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้บรรลุทุติยฌาน อันเป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ปีติ ความลำพองใจใด มีอยู่ในทุติยฌานนั้น ทุติยฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะปีติและความลำพองใจนั้น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล เพราะคลายปีติได้อีกด้วยอัตตานี้ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 819
เหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ สุขและความนึกคิดทางใจใด มีอยู่ในตติยฌานนั้น ตติยฌานนี้ ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะสุขและความนึกคิดทางใจนั้น เมื่อใดแล อัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้ บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕.
ฉักกนิทเทส
[๙๙๑] ใน ฉักกมาติกา เหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน?
ความโกรธ ความลบหลู่คุณท่าน ความริษยา ความโอ้อวด ความปรารถนาลามก ความยึดถือแต่ความเห็นของตน
เหล่านี้เรียกว่า วิวาทมูล ๖.
[๙๙๒] ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖.
[๙๙๓] วิโรธวัตถุ ๖ เป็นไฉน?
ความอาฆาต ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในรูปที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่ไม่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 820
น่าชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ ความอาฆาต ควานกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ.
[๙๙๔] ตัณหากายะ ๖ เป็นไฉน?
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหากายะ ๖.
[๙๙๕] อคารวะ ๖ เป็นไฉน?
บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในพระศาสดา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในพระธรรม ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในพระสงฆ์ ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในสิกขา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในความไม่ประมาท ประพฤติเป็นไปอยู่ บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในการปฏิสันถาร ประพฤติเป็นไปอยู่
เหล่านี้เรียกว่า อคารวะ ๖.
[๙๙๖] ปริหานิยธรรม ๖ เป็นไฉน?
ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการหลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความยินดีในการอยู่ร่วมกัน ความยินดีในธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม ๖.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 821
[๙๙๗] ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน?
ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการหลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม ๖.
[๙๙๘] โสมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน?
เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
เหล่านี้เรียกว่า โสมนัสสุปวิจาร ๖.
[๙๙๙] โทมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน?
เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
เหล่านั้นเรียกว่า โทมนัสสุปวิจาร ๖.
[๑๐๐๐] อุเปกขูปวิจาร ๖ เป็นไฉน?
เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา พึงเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเขกขา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 822
เหล่านี้เรียกว่า อุเปกขูปวิจาร ๖.
[๑๐๐๑] เคหสิตโสมนัส ๖ เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ควานเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ชอบใจฯสฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ชอบใจ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ
เหล่านั้นเรียกว่า เคหสิตโสมนัส ๖.
[๑๐๐๒] เคหสิตโทมนัส ๖ เป็นไฉน?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์ อันไม่เป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตโสมนัส ๖.
[๑๐๐๓] เคหสิตอุเปกขา ๖ เป็นไฉน?
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 823
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตอุเปกขา ๖.
[๑๐๐๔] ทิฏฐิ ๖ เป็นไฉน?
ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่ ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา ดังนี้ บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้นเป็นผู้กล่าว เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยผลแห่งความดีและความชั่วในภพนั้นๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่ได้มีมาแล้วในอดีต อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นของเที่ยง ยั่งยืนมั่นคง ไม่แปรผัน ดังนี้บ้าง
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๖.
สัตตกนิทเทส
[๑๐๐๕] ใน สัตตกมาติกา เหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน?
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 824
เหล่านี้เรียกว่า อนุสัย ๗.
[๑๐๐๖] ปริยุฏฐาน ๗ เป็นไฉน?
กามราคปริยุฏฐาน ปฏิฆปริยุฏฐาน มานปริยุฏฐาน ทิฏฐิปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน ภวราคปริยุฏฐาน อวิชชาปริยุฏฐาน
เหล่านี้เรียกว่า ปริยุฏฐาน ๗.
[๑๐๐๗] สัญโญชน์ ๗ เป็นไฉน?
กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์
เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ ๗.
[๑๐๐๘] อสัทธรรม ๗ เป็นไฉน?
บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีการศึกษาน้อย เกียจคร้าน หลงลืมสติ ปัญญาทราม
เหล่านี้เรียกว่า อสัทธรรม ๗.
[๑๐๐๙] ทุจริต ๗ เป็นไฉน?
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๗.
[๑๐๑๐] มานะ ๗ เป็นไฉน?
มานะ อติมานะ มานาติมานะ โอมานะ อธิมานะ อัสมิมานะ มิจฉามานะ
เหล่านี้เรียกว่า มานะ ๗.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 825
[๑๐๑๑] ทิฏฐิ ๗ เป็นไฉน?
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดโดยมีมารดาและบิดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล้ว เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป ท่องเที่ยวอยู่ในกามภูมิ มีอาหารคือคำข้าวเป็นภักษา มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป สำเร็จแล้วด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 826
ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแลเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 827
อัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาด สูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
๖. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้ เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญเพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาด สูญ ควานพินาศ ควานไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
๗. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตา นั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี สมณะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 828
หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๗.
อัฏฐกนิทเทส
[๑๐๑๒] ใน อัฏฐกมาติกา เหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๘ เป็นไฉน?
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ.
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ ๘.
[๑๐๑๓] กุสีตวัตถุ ๘ เป็นไฉน?
กุสีตวัตถุ ๘ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ มีการงานที่ต้องทำ เธอเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงานแล แต่เมื่อเราทำการงานอยู่ จักลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๑.
๒. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่ ลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๒.
๓. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางแล แต่เมื่อเราเดินทางไป จักลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 829
เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๓.
๔. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้ว เมื่อเรากำลังเดินทางอยู่ ลำบากกาย อย่ากะนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๔.
๕. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปในบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอคิดอย่างนี้ว่า เมื่อเราเที่ยวไปตามบ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นลำบาก ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๕.
๖. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปตามบ้านเรือนหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว เธอคิดอย่างนี้ว่า เมื่อเราเที่ยวไปตามบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วหมัก อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๖.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 830
๗. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย ความดำริเพื่อจะนอนมีอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๗.
๘. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายไข้แล้ว แต่ยังไม่นาน เธอคิดอย่างนี้ว่า เราหายได้แล้ว แต่ยังไม่นาน กายของเราอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น กุสีตวัตถุข้อที่ ๘.
เหล่านี้เรียกว่า กุสีตวัตถุ ๘.
[๑๐๑๔] จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม ๘ เป็นไฉน?
จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม ๘ คือ
๑. ความยินดีในลาภ
๒. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ
๓. ความยินดีในยศ
๔. ความยินร้ายในความเสื่อมยศ
๕. ความยินดีในความสรรเสริญ
๖. ความยินร้ายในความนินทา
๗. ความยินดีในสุข
๘. ความยินร้ายในทุกข์
นี้เรียกว่า จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม ๘.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 831
[๑๐๑๕] อนริยโวหาร ๘ เป็นไฉน?
อนริยโวหาร ๘ คือ
๑. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น
๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน
๓. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้
๔. เมื่อไม่รู้แจ้ง พูดว่ารู้แจ้ง
๕. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น
๖. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน
๗. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้
๘. เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง
เหล่านั้นเรียกว่า อนริยโวหาร ๘.
[๑๐๑๖] มิจฉัตตะ ๘ เป็นไฉน?
มิจฉัตตะ ๘ คือ
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ
เหล่านี้เรียกว่า มิจฉัตตะ ๘.
[๑๐๑๗] ปุริสโทษ ๘ เป็นไฉน?
ปุริสโทษ ๘ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นแก้ตัวด้วยความไม่มีสติว่า เราระลึกไม่ได้ๆ ดังนี้ นี้จัดเป็น ปุริสโทษ ข้อที่ ๑
๒. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ได้โต้ตอบผู้โจทว่า ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการกล่าว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 832
สำหรับท่านผู้โง่เขลา ผู้ไม่ฉลาด แม้ท่านยังสำคัญผิดที่จะกล่าวกะเรา ดังนี้ นี้จัดเป็น ปุริสโทษข้อที่ ๒.
๓. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น กลับปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้โจทนั่นแหละว่า ท่านนั่นแหละ ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน ดังนี้ นี้จัดเป็น ปุริสโทษ ข้อที่ ๓.
๔. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ยกเหตุอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอกเรื่อง ทำเคือง ทำโกรธ ทำอาการไม่พอใจ นี้จัดเป็น ปุริสโทษข้อที่ ๔.
๕. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น โบกมือปฏิเสธในท่ามกลางสงฆ์ นี้จัดเป็น ปุริสโทษ ข้อที่ ๕.
๖. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น นิ่งเสีย ทรมานสงฆ์ให้ลำบาก นี้จัดเป็น ปุริสโทษข้อ ที่ ๖.
๗. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อต่อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อต่อโจท หลีกไปเสีย ตามชอบใจทั้งที่ยังต้องอาบัติอยู่ นี้จัดเป็น ปุริสโทษข้อที่ ๗.
๘. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น พูดอย่างนี้ว่า ทำไมหนอท่านจึงขวนขวายในเรานัก บัดนี้ เราจะลาสิกขาสึกไปเป็นคฤหัสถ์ เธอนั้นก็ลาสิกขาสึกไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้แลท่านทั้งหลายจงยินดีแช่มชื่นเถิด ดังนี้ นี้จัดเป็น ปุริสโทษข้อที่ ๘.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 833
[๑๐๑๘] อสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน?
อสัญญีวาทะ ๘ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา
๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา
๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
๔. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูปก็ไม่ใช่ ที่หารูปมิได้ก็มิใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
๕. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
๖. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่หาที่สุดมิได้ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
๗. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
๘. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุดก็ไม่ใช่ ที่หาที่สุดมิได้ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
เหล่านี้เรียกว่า อสัญญีวาทะ ๘.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 834
[๑๐๑๙] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน?
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่
๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
๔. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
๕. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
๖. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
๗. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 835
๘. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตามีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เหล่านี้เรียกว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘.
นวกนิทเทส
[๑๐๒๐] ในนวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นไฉน?
อาฆาตวัตถุ ๙ คือ
๑. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย แก่เราแล้ว
๒. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย แก่เรา
๓. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย แก่เรา
๔. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว
๕. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำประโยชน์แก่คน ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 836
๘. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๙. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๙.
[๑๐๒๑] ปุริสมละ ๙ เป็นไฉน?
ปุริสมละ ๙ คือ
๑. โกธะ ความโกรธ
๒. มักขะ ควานลบหลู่คุณท่าน
๓. อิสสา ความริษยา
๔. มัจฉริยะ ความตระหนี่
๕. มายา ความเจ้าเล่ห์
๖. สาเถยยะ ความโอ้อวด
๗. มุสาวาท พูดเท็จ
๘. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก
๙. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
เหล่านี้เรียกว่า ปุริสมละ ๙.
[๑๐๒๒] มานะ ๙ เป็นไฉน?
มานะ ๙ คือ
๑. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
๒. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
๓. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 837
๔. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
๕. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
๖. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
๗. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
๘. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
๙. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
เหล่านี้เรียกว่า มานะ ๙.
[๑๐๒๓] ตัณหามูลกธรรม ๙ เป็นไฉน?
ตัณหามูลกธรรม ๙ คือ
๑. เพราะอาศัยตัณหา จึงเกิดการแสวงหา
๒. เพราะอาศัยการแสวงหา จึงเกิดการได้
๓. เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการวินิจฉัย
๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย จึงเกิดฉันทราคะ
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ จึงเกิดความยึดถือ
๖. เพราะอาศัยความยึดถือ จึงเกิดการหวงแหน
๗. เพราะอาศัยการหวงแหน จึงเกิดความตระหนี่
๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดการรักษา
๙. เพราะอาศัยการรักษา จึงเกิดบาปอกุศลธรรมหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การโต้เถียง การวิวาท การพูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหามูลกธรรม ๙.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 838
[๑๐๒๔] อิญชิตะ ๙ เป็นไฉน?
อิญชิตะ ๙ คือ
๑. ความหวั่นไหวว่า มีเรา
๒. ความหวั่นไหวว่า เป็นเรา
๓. ความหวั่นไหวว่า นี้เป็นเรา
๔. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี
๕. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
๗. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
๘. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เหล่านี้เรียกว่า อิญชิตะ ๙.
[๑๐๒๕] มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙ เป็นไฉน?
สังขตะ ๙ คือ
๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี
๒. ความปรุงแต่งว่า เป็นเรา
๓. ความปรุงแต่งว่า นี้เป็นเรา
๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี
๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 839
๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เหล่านี้เรียกว่า สังขตะ ๙.
ทสกนิทเทส
[๑๐๒๖] ในทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน?
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ ๑๐.
[๑๐๒๗] อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน?
อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ
๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย แก่เราแล้ว
๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย แก่เรา
๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย แก่เรา
๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว
๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบพอของเรา
๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 840
๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว
๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ควร
เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๑๐.
[๑๐๒๘] อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน?
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
เหล่านี้เรียกว่า อกุศลกรรมบถ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 841
[๑๐๒๙] สัญโญชน์ ๑๐ เป็นไฉน?
สัญโญชน์ ๑๐ คือ
๑. กามราคสัญโญชน์
๒. ปฏิฆสัญโญชน์
๓. มานสัญโญชน์
๔. ทิฏฐิสัญโญชน์
๕. วิจิกิจฉาสัญโญชน์
๖. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์
๗. ภวราคสัญโญชน์
๘. อิสสาสัญโญชน์
๙. มัจฉริยสัญโญชน์
๑๐. อวิชชาสัญโญชน์
เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ ๑๐.
[๑๐๓๐] มิจฉัตตะ ๑๐ เป็นไฉน?
มิจฉัตตะ ๑๐ คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ
๒. มิจฉาสังกัปปะ
๓. มิจฉาวาจา
๔. มิจฉากัมมันตะ
๕. มิจฉาอาชีวะ
๖. มิจฉาวายามะ
๗. มิจฉาสติ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 842
๘. มิจฉาสมาธิ
๙. มิจฉาญาณ
๑๐. มิจฉาวิมุตติ
เหล่านี้เรียกว่า มิจฉัตตะ ๑๐
[๑๐๓๑] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน?
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ
๑. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล
๒. ความเห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล
๓. ความเห็นว่า การบูชาเทวดาไม่มีผล
๔. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี
๕. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี
๖. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี
๗. ความเห็นว่า มารดาไม่มี
๘. ความเห็นว่า บิดาไม่มี
๙. ความเห็นว่า สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี
๑๐. ความเห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้รู้ได้ไม่มีในโลก
เหล่านี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.
[๑๐๓๒] อันตคาหิกทิฏฐิวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน?
อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ
๑. ความเห็นว่า โลกเที่ยง
๒. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 843
๓. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด
๔. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด
๕. ความเห็นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
๖. ความเห็นว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น
๗. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก
๘. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก
๙. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี
๑๐. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้
นี้เรียกว่า อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.
อัฏฐารสกนิทเทส
[๑๐๓๓] ในมาติกานั้น ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน เป็นไฉน?
ตัณหาว่าเรามี ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการอื่น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการอื่น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราแน่นอน ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราไม่แน่นอน ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่น ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 844
ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง ดังนี้ ก็มี.
[๑๐๓๔] ก็ตัณหาว่า เรามี คืออย่างไร?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามี ได้มานะว่า เรามี ได้ทิฏฐิว่า เรามี เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นโดยประการนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี.
[๑๐๓๕] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ มีรูปหรือไม่มีรูป มีสัญญาหรือไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้.
[๑๐๓๖] ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือนกัน หรือเขาเป็นแพศย์ เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นศูทร เราก็เป็นศูทรเหมือนกัน หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน หรือเขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน หรือเขาเป็นเทวดา เราก็เป็นเทวดาเหมือนกัน หรือเขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน หรือเขามีรูป เราก็มีรูปเหมือนกัน หรือเขาไม่มีรูป เราก็ไม่มีรูปเหมือนกัน หรือเขามีสัญญา เราก็มีสัญญาเหมือนกัน หรือเขาไม่มีสัญญา เราก็ไม่มีสัญญาเหมือน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 845
กัน หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น.
[๑๐๓๗] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา หรือเขาเป็นแพศย์ เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นศูทร เราไม่ได้เป็นศูทรเหมือนเขา หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์เหมือนเขา หรือเขาเป็นบรรพชิต เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา หรือเขาเป็นเทวดา เราไม่ได้เป็นเทวดาเหมือนเขา หรือเขาเป็นมนุษย์ เราไม่ได้เป็นมนุษย์เหมือนเขา หรือเขามีรูป เราไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขาไม่มีรูป เรา ไม่ใช่ไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขามีสัญญา เราไม่ใช่มีสัญญาเหมือนเขา หรือเขาไม่มีสัญญา เราไม่ใช่ไม่มีสัญญาเหมือนเขา หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่ใช่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น.
[๑๐๓๘] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็น คืออย่างไร?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็น ได้มานะว่า เราจักเป็น ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ หรือเราจักเป็นอย่างนั้น หรือเราจักเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี.
[๑๐๓๙] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็นแพศย์ หรือจักเป็นศูทร จักเป็นคฤหัสถ์ หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 846
หรือจักเป็นมนุษย์ จักมีรูป หรือจักไม่มีรูป จักมีสัญญา หรือจักไม่มีสัญญา หรือจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้.
[๑๐๔๐] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น.
[๑๐๔๑] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราจักไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักไม่เป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น.
[๑๐๔๒] ก็ตัณหาว่า เราแน่นอน คืออย่างไร?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เรา ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอน.
[๑๐๔๓] ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน คืออย่างไร?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่มี อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 847
[๑๐๔๔] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็น คืออย่างไร?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็น ได้มานะว่า เราพึงเป็น ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้น หรือเราพึงเป็นไปโดยประการอื่น ก็ย่อมมี.
[๑๐๔๕] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือพึงเป็นพราหมณ์ พึงเป็นแพศย์ หรือพึงเป็นศูทร พึงเป็นคฤหัสถ์ หรือพึงเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดา หรือพึงเป็นมนุษย์ พึงมีรูป หรือพึงไม่มีรูป พึงมีสัญญา หรือพึงไม่มีสัญญา หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้.
[๑๐๔๖] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น.
[๑๐๔๗] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 848
พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น.
[๑๐๔๘] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง คืออย่างไร?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้มานะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้ทิฏฐิว่า เราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้นว่า เราก็พึงเป็นโดยประการนี้บ้าง หรือพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง หรือพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง ก็ย่อมมี.
[๑๐๔๙] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราก็พึงเป็นกษัตริย์บ้าง หรือพึงเป็นพราหมณ์บ้าง พึงเป็นแพศย์บ้าง หรือพึงเป็นศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์บ้าง หรือพึงเป็นบรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาบ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์บ้าง พึงมีรูปบ้าง หรือ พึงไม่มีรูปบ้าง พึงมีสัญญาบ้าง หรือพึงไม่มีสัญญาบ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง.
[๑๐๕๐] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 849
[๑๐๕๑] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง คือ อย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้างก็หาไม่อย่าง นี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง.
เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน.
[๑๐๕๒] ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน?
ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 850
[๑๐๕๓] ก็ ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คือ อย่างไร?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เรามีด้วยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี.
[๑๐๕๔] ก็ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น เทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ นี้ มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้ มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีสัญญาณด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือมีสัญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาณก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๕๕] ก็ ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 851
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๕๖] ก็ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่เป็นกษัตริย์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็หามิได้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๕๗] ก็ ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ เราจักเป็นอย่างนั้น ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้ ก็ย่อมมี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 852
[๑๐๕๘] ก็ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ จักเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือจักไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๕๙] ก็ ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณที่เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๐] ก็ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 853
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราจักไม่เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาก็หามิได้ อย่างนี้ ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๑] ก็ ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เราไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๒] ก็ ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจัก ไม่มี ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๓] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 854
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรม เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี.
[๑๐๖๔] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้ไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๕] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 855
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้น เพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า เราพึง เป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๖] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณเหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่ มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๗] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ก็ย่อมมี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 856
[๑๐๖๘] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร?
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือ พึงไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[๑๐๖๙] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง.
[๗๐๗๐] ก็ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 857
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเขาเป็นพราหมณ์เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างอย่างนี้ ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้บ้าง.
เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก.
[๑๐๗๑] ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน ๑๘ เหล่านี้ ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ๑๘ เหล่านี้ ประมวลเข้าด้วยกันเป็น ตัณหาวิจริต ๓๖.
ตัณหาวิจริตดังกล่าวนี้เป็นอดีตกาล ๓๖ เป็นอนาคตกาล ๓๖ เป็น ปัจจุบันกาล ๓๖ ประมวลเข้ากันเป็น ตัณหาวิจริต ๑๐๘.
[๑๐๗๒] ในมาติกานั้น ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในพรหมชาลสูตร เป็นไฉน?
คือ สัสสตวาทะ ๔ เอกัจจสัสสติกวาทะ ๔ อันตานันติกวาทะ ๔ อมราวิกเขปิกวาทะ ๔ อธิจจสมุปปันนิกวาทะ ๒ สัญญีวาทะ ๑๖ อสัญญีวาทะ ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ อุจเฉทวาทะ ๗ ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร ด้วยประการฉะนี้.
ขุททกวัตถุวิภังค์ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 858
อรรถกถาขุททกวัตถุวิภังค์
การกำหนดบทมาติกา
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งปฐมมาติกาแม้ใน ขุททกวัตถุวิภังค์ อันเป็นลำดับแห่งญาณวิภังค์นั้น แล้วทรงทำคำอธิบาย โดยลำดับแห่งบทที่พระองค์ทรงตั้งไว้.
กำหนดแม่บท (มาติกา) ในขุททกวิภังค์
ธรรมหมวดที่หนึ่ง (เอกกมาติกา) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ ๗๓ บท มีคำว่า ความมัวเมาในชาติ เป็นต้นก่อน ต่อจากนั้น ทรงตั้ง ธรรมหมวดสอง (ทุกมาติกา) ๑๘ บท มีคำว่า ความโกรธ และความผูกโกรธ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสาม (ติกมาติกา) ๓๕ บท มีคำว่า อกุศลมูล ๓ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสี่ (จตุกกมาติกา) ๑๔ บท มี อาสวะ ๔ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดห้า (ปัญจกมาติกา) ๑๕ บท มีคำว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดหก (ฉักกมาติกา) ๑๔ บท มีคำว่า วิวาทมูล ๖ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดเจ็ด (สัตตกมาติกา) ๗ บท มีอนุสัย ๗ เป็นต้น ทรงตั้งธรรมหมวดแปด (อัฏฐกมาติกา) ๘ บท มี กิเลสวัตถุ ๘ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดเก้า (นวกมาติกา) ๙ บท มี อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสิบ (ทสกมาติกา) ๗ บท มี กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นต้น. และพึงทราบว่า ทรงตั้งตัณหาวิจริต ๑๘ มีคำว่า ตัณหาวิจริต (๑) อาศัยอายตนะภายใน ๑๘ และอาศัยอายตนะภายนอก ๑๘ ประมวลเข้าด้วยกันเป็น ๓๖ เป็นต้น (ตัณหา ๓๖ * กาล ๓=๑๐๘) ดังนี้. นี้เป็นการกำหนดบทมาติกา ก่อน.
(๑) ในบาลีนิทเทส กล่าวว่า ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘...
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 859
อรรถกถาเอกกนิทเทส
อธิบายมาติกาหมวดหนึ่ง
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบนิทเทสวาระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภไว้ในบทมาติกาที่ทรงตั้งไว้ในเอกกมาติกาเหล่านั้น โดยนัยว่า กตโม ชาติมโท (แปลว่า ความมัวเมาในชาติ เป็นไฉน?) เป็นต้น.
ว่าด้วยความมัวเมาในชาติ เป็นต้น
คำว่า ชาตึ ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะอาศัยชาติ. ก็ในเอกกมาติกานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ชื่อว่า การอาศัยมีอยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในมาติกานี้ว่า ได้แก่ เมื่อชาติมีอยู่ ดังนี้. แม้ในคำว่า เพราะอาศัยโคตร เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ชื่อว่า มัวเมา ด้วยสามารถแห่งความมัวเมา. อาการแห่งความมัวเมา คือกิริยาที่มัวเมา. ความเป็นแห่งกิริยาที่มัวเมา คือ สภาพที่มัวเมา. คำว่า ความถือตัว (มานะ) กิริยาที่ถือตัว (มญฺนา) เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งธัมมสังคหะในหนหลัง. ค่าว่า อยํ วุจฺจติ (แปลว่า บุคคลนี้เรียกว่า) ได้แก่ บุคคลนี้นั่นแหละ เมื่อชาติมีอยู่ อาศัยชาตินั้นแล้วมีมานะ (มีความถือตัว) อันถึงซึ่งกิริยาอันมัวเมา อันเกิดขึ้นแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า มีความมัวเมาในชาติ ดังนี้. บรรดาวรรณะ แม้ทั้ง ๔ เหล่า มีกษัตริย์เป็นต้น (กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร) ชื่อว่า ความมัวเมานี้นั่นแหละ ย่อมเกิดขึ้น. จริงอยู่ กษัตริย์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ ย่อมทำมานะ (ความถือตัว) ว่า บุคคลอื่นเช่นเราย่อมไม่มี กษัตริย์ที่เหลือ (เว้นเรา) ตั้งขึ้นมาในภายหลัง ส่วนเราเป็นกษัตริย์สืบสันตติวงศ์ ดังนี้. แม้พราหมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 860
แม้ในนิทเทสแห่งความมัวเมาในโคตรเป็นต้น ก็พึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้เช่นกัน. เพราะว่าแม้กษัตริย์ ก็ทำมานะ (ถือตัว) ว่า เราเป็นกษัตริย์ โกณฑัญญโคตร เป็นกษัตริย์อาทิจจโคตร ดังนี้. แม้พราหมณ์ ก็ทำมานะว่า เราเป็นพราหมณ์กัสสปโคตร เราเป็นพราหมณ์ภารทวาชโคตร ดังนี้. แม้แพศย์ แม้ศูทร ก็อาศัยตระกูลวงศ์ของตน แล้วทำมานะ. ชนทั้งหลายผู้เป็นหัวหน้าคณะแม้ทั้ง ๑๘ คณะ ก็ย่อมทำมานะว่า หัวหน้าหมู่โน้นแตกแยกกัน เราไม่แตกแยกกัน ดังนี้เป็นต้น.
ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีโรค เป็นต้น
ในบรรดาความมัวเมาทั้งหลาย มีความมัวเมาในความไม่มีโรคเป็นต้น มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความที่มัวเมาว่า เราไม่มีโรค ชนทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีโรคมาก ขึ้นชื่อว่า พยาธิแม้เพียงจะผ่านผิวของเราก็ไม่มี ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความไม่มีโรค.
ว่าด้วยความมัวเมาโดยความเป็นหนุ่มสาว
มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เรายังเป็นหนุ่มสาว อัตภาพของสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) เป็นเช่นกับต้นไม้ตั้งอยู่ริมเงื้อมผา ส่วนเราตั้งอยู่ในปฐมวัย ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว.
ว่าด้วยความมัวเมาในชีวิต
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เราเป็นอยู่นาน เราจะเป็นอยู่นาน เราจักเป็นอยู่นาน เราเป็นสุข เราจะเป็นสุข เราจักเป็นสุข ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในชีวิต.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 861
ว่าด้วยความมัวเมาในลาภ
มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เรามีลาภมาก สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (นอกจากเรา) มีลาภน้อย ก็ลาภทั้งหลายของเราประมาณไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในลาภ.
ว่าด้วยความมัวเมาในสักการะ
มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมได้ปัจจัยใดๆ เราเท่านั้นที่ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นอันประณีตที่เขากระทำดีแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในสักการะ.
ว่าด้วยความมัวเมาในความทำความเคารพ
มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ชนทั้งหลายเดินตามไปข้างหลังของภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ไหว้ภิกษุนั้น ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นสมณะ ดังนี้บ้าง แต่พวกเขาเหล่านั้นเห็นเราแล้วย่อมไหว้ทีเดียว กระทำความเคารพเรา เสมือนว่าเป็นฉัตรที่ปักติดอยู่เราในหิน ย่อมกระทำความสำคัญเราว่าเป็นผู้เข้าไปหาได้ยากราวกะกองไฟฉะนั้น ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความทำความเคารพ.
ว่าด้วยความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า
มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมตัดสินได้ด้วยปากของเราเท่านั้น แม้เมื่อไปภิกขาจาร ก็ทำเราเท่านั้น ให้ไปข้างหน้า แล้วจึงห้อมล้อมตามไป ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 862
ว่าด้วยความมัวเมาในบริวาร
มานะที่เกิดขึ้นแก่ผู้ครองเรือนผู้มีบริวารมากก่อน ด้วยอำนาจความมัวเมาว่า "บุรุษร้อยหนึ่งบ้าง บุรุษพันหนึ่งบ้าง ย่อมแวดล้อมเรา" ดังนี้ ส่วนที่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่ครองเรือน (คือสมณะ) ด้วยอำนาจความมัวเมาว่า "สมณะร้อยหนึ่งบ้าง สมณะพันหนึ่งบ้าง ย่อมแวดล้อมเรา สมณะที่เหลือมีบริวารน้อย เรามีบริวารมากด้วย มีบริวารดีด้วย" ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในบริวาร.
ว่าด้วยความมัวเมาในโภคสมบัติ
ก็โภคสมบัติ ท่านถือเอาด้วย ลาภะ ศัพท์ นั่นแหละแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ถือเอากองแห่งโภคะอันตั้งไว้ในที่นี้อีก เพราะฉะนั้น มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (นอกจากเรา) แล้ว ย่อมไม่ได้แม้แต่การใช้สอยเพื่อตน ส่วนเรามีทรัพย์เก็บไว้นับไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในโภคสมบัติ.
ว่าด้วยความมัวเมาในวรรณะ
คำว่า วณฺณํ ปฏิจฺจ ได้แก่อาศัยวรรณะคือ ผิวพรรณแห่งสรีระบ้าง วรรณะคือ คุณความดีบ้าง มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีผิวพรรณไม่ดี มีรูปไม่งาม ส่วนเรามีรูปงามน่าเลื่อมใส สัตว์ทั้งหลายที่เหลือไม่มีคุณงามความดี ไม่เป็นที่สรรเสริญ ส่วนเรามีกิตติศัพท์ที่ฟุ้งปรากฏไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ เราเป็นพระเถระผู้เป็นพหูสูต แม้เพราะเหตุนี้เราเป็นผู้มีศีล แม้เพราะเหตุนี้เราเป็นผู้ประกอบด้วยองค์คุณแห่งธุดงค์ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า ความมัวเมาในวรรณะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 863
ว่าด้วยความมัวเมาในการศึกษา
มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือมีการศึกษาน้อย แต่เรามีการศึกษามาก ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในการศึกษา.
ว่าด้วยความมัวเมาในปฏิภาณ
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) ไม่มีปฏิภาณ ส่วนเรามีปฏิภาณมากจนนับไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในปฏิภาณ.
ว่าด้วยความมัวเมาในรัตตัญญู
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เราเป็นผู้รู้ราตรีนาน เราย่อมรู้วงศ์ของพระพุทธเจ้าพระองค์โน้น ย่อมรู้วงศ์แห่งพระราชาพระองค์โน้น รู้วงศ์แห่งชนบทโน้น รู้วงศ์แห่งบ้านโน้น ย่อมรู้ซึ่งการกำหนดทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมรู้ซึ่งการประกอบฤกษ์และการทำนาย ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในรัตตัญญู.
ว่าด้วยความมัวเมาในการถือบิณฑบาตเป็นวัตร
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ภิกษุทั้งหลายถือบิณฑบาตเป็นวัตรเพียงเล็กน้อย แต่เราถือบิณฑบาตเป็นวัตรตั้งแต่บวช ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในการถือบิณฑบาตเป็นวัตร.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 864
ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือเป็นผู้ถูกดูหมิ่นดูแคลน เราไม่มีใครดูหมิ่นดูแคลน ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น.
ว่าด้วยความมัวเมาในอิริยาบถ
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า อิริยาบถของสัตว์ทั้งหลายไม่น่าเลื่อมใส ส่วนของเราน่าเลื่อมใส ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในอิริยาบถ.
ว่าด้วยความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจควานมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือเช่นกับนกกาปีกหักบินไม่ได้ ส่วนเรามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก หรือว่าเราจะทำสิ่งใดๆ ก็ย่อมสำเร็จ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์.
ว่าด้วยความมัวเมาในยศ
ยศ ท่านถือเอาด้วย ปริวาระ ศัพท์นั่นแหละ แต่ในที่นี้ท่านถือเอาความเป็นผู้มัวเมาในอุปัฏฐาก ความมัวเมานั้น บัณฑิตพึงแสดงด้วยบุคคลผู้ครองเรือนบ้าง ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง ก็บรรดาประชุมชน ๑๘ พวก ผู้ครองเรือนพวกหนึ่งก็มีหัวหน้าคนหนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เราจักแต่งตั้งคนผู้บำรุงเรา เราจักเที่ยวไป แม้ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ) เป็นหัวหน้าคณะมีอยู่ ก็มีความสำคัญตนด้วยสามารถแห่งความเมามัวว่า เราเป็นหัวหน้า ภิกษุทั้งหลายเป็นไปในโอวาทของเรา เป็นต้น ชื่อว่า ความมัวเมาในยศ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 865
ว่าด้วยความมัวเมาในศีล
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น เรา) เป็นผู้ทุศีล ส่วนเราเป็นผู้มีศีล ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในศีล.
ว่าด้วยความมัวเมาในฌาน
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น เรา) ไม่มีเอกัคคตาจิต (สมาธิ) ในกาลแม้สักว่าเพียงการดื่มน้ำของไก่ ส่วนเราได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาฌาน ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในฌาน.
ว่าด้วยความมัวเมาในศิลปะ
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (นอกจากเรา). ไม่มีศิลปะ แต่เรามีศิลปะ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในศิลปะ.
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีทรวดทรงเตี้ย แต่เรามีทรวดทรงสูง ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง.
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด
มานะที่อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีทรวดทรงเตี้ยไป สูงไป แต่เรามีทรวดทรงเรียบร้อยพอดีดุจต้นนิโครธ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 866
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า รูปร่างทรวดทรงของสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีรูปร่างแปลก ไม่น่าชม แต่เรามีรูปร่างน่าปลื้มใจ น่าเลื่อมใส ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม.
ว่าด้วยความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์
มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีโทษมาก แต่ของเราไม่มีโทษแม้สักเท่าปลายเส้นผม ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสมานะ (ความถือตัว) อันเป็นไปกับด้วยวัตถุ (สวัตถุกะ) ด้วยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงมานะอันไม่มีวัตถุ (อวัตถุกะ) อันกำลังเกิดขึ้นนั่นแหละ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตตฺถ กตฺโม มโท (แปลว่า ในคำเหล่านั้น ความมัวเมา เป็นไฉน) คำนั้น มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ปมาทนิทเทส
อธิบายความประมาท
คำว่า จิตฺตสฺส โวสฺสคฺโค (แปลว่า การปล่อยจิต) ได้แก่ การปล่อยจิต เพราะความไม่ข่มไว้ด้วยสติ ในฐานะทั้งหลายเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้ อธิบายว่า เว้นจากสติ. คำว่า โวสฺสคฺคานุปฺปทานํ แปลว่า การเพิ่มพูนการปล่อยจิตไป คือ การปล่อยจิตไปบ่อยๆ. คำว่า อสกฺกจฺจกิริยตา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 867
(แปลว่า ความกระทำโดยไม่เคารพ) ได้แก่ ชื่อว่า ความกระทำโดยไม่เคารพ ด้วยสามารถแห่งการไม่ทำด้วยความเคารพ คือ การเจริญกุศลธรรมทั้งหลายมีการให้ทานเป็นต้น หรือว่า ด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความเคารพต่อบุคคล หรือว่าต่อไทยธรรม. ความเป็นแห่งการกระทำโดยติดต่อกันไป ชื่อว่า สาตัจจะ. ความไม่ทำโดยติดต่อกัน ชื่อว่า อสาตัจจะ. อาการที่ทำโดยไม่ติดต่อกัน ชื่อว่า อสาตัจจกิริยตา. ความกระทำโดยไม่มั่นคง ชื่อว่า อนัฏฐิตกิริยตา. ในข้อนี้ เปรียบเหมือนตัวกิ้งก่าวิ่งไปหน่อยหนึ่งแล้ว หยุดหน่อยหนึ่ง ย่อมไม่วิ่งไปติดต่อกัน ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ บุคคลใด ให้ทานครึ่งหนึ่ง (วันหนึ่ง) หรือทำการบูชาครั้งหนึ่ง หรือว่าฟังธรรมครั้งหนึ่ง ก็หรือว่าทำสมณธรรมครั้งหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ทำต่อไป ย่อมไม่ให้กุศลนั้นๆ เป็นไปติดต่อกัน การทำนั้นของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ความกระทำไม่มั่นคง ดังนี้. คำว่า โอลีนวุตฺติตา (แปลว่า ความประพฤติย่อหย่อน) ได้แก่ ชื่อว่า ความประพฤติย่อหย่อน เพราะไม่มีความประพฤติแผ่ออกไป กล่าวคือการกระทำไม่ให้ขาดระยะ. คำว่า นิกฺขิตฺตฉนฺทตา (แปลว่า ความทอดทิ้งฉันทะ) ได้แก่ ความที่วิริยะฉันทะ ในการทำกุศลเป็นสภาพอันเขาทิ้งเสียแล้ว. คำว่า นิกฺขิตฺตธุรํ (แปลว่า ความทอดทิ้งธุระ) ได้แก่ การตัดธุระ คือ ตัดความเพียรออกไป อธิบายว่า ความที่บุคคลนั้น มีฉันทะอันมีในใจ ทอดทิ้งเสียแล้ว. คำว่า อนธิฏฺานํ (แปลว่า ความไม่ตั้งใจจริง) ได้แก่ ความไม่มีความตั้งใจเฉพาะในการกุศล.
คำว่า อนนุโยโค ได้แก่การไม่ประกอบความเพียรเนืองๆ. ความเผลอสติ ชื่อว่า ความประมาท. ก็คำว่า โย เอวรูโป ปมาโท (แปลว่า ความ ประมาท.. อันใด มีลักษณะเช่นนี้) นี้ เป็นการแสดงอาการโดยความไม่มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 868
ขอบเขตแห่งปริยายโดยอรรถและโดยพยัญชนะ. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายไว้ว่า ความประมาทนี้ใด ที่แสดงแล้วแต่ต้น ความประมาทอันใด แม้อื่นก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ กิริยาที่ประมาทด้วยสามารถแห่งอาการที่มัวเมา (ก็ดี) สภาพที่ประมาทด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ปล่อยปละละเลย (ก็ดี) ก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความประมาท. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความประมาทนี้ มีการสละสติในเพราะกามคุณ ๕ เป็นลักษณะ (เป็นเหตุ). บัณฑิต พึงทราบความประมาทนั้นนั้นแหละว่า เป็นอาการสละสติ ดังนี้.
ถัมภนิทเทส
อธิบายความหัวดื้อ
ชื่อว่า ความหัวดื้อ เพราะอรรถว่า กระด้าง. ความกระด้างของจิต ราวกะผ้าเนื้อหยาบแข็งกระด้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้ อาการแห่งความหัวดื้อ เรียกว่า กิริยาที่หัวดื้อ. ความเป็นสภาพที่ดื้อแล้ว ชื่อว่า สภาพหัวดื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กักขฬะ ชื่อว่า กกฺขลิยํ (แปลว่า แข็งกระด้าง). ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบช้า ชื่อว่า ผารุสิยํ (แปลว่า ความหยาบคาย) ความเป็นแห่งจิตอันถือรั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความอ่อนน้อมนั้น แก่บุคคลผู้ควรอ่อนน้อมมีการอภิวาทเป็นต้น ชื่อว่า อุชุจิตตฺตา ความเป็นผู้มีจิตถือรั้น. ความเป็นแห่งความกระด้าง ไม่เป็นธรรมชาติอ่อน ชื่อว่า อมุทุตา ความเป็นผู้ไม่อ่อนโยน. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ถมฺภ ความหัวดื้อ. อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยความหัวดื้อ อันใด ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือมซึ่งกินเหยื่อแล้วก็นอนงอศีรษะดังงอนไถ ฉะนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 869
ครั้นเห็นพระเจดีย์ หรือบุคคลผู้เจริญกว่า ก็ไม่นอบน้อม ย่อมประพฤติเคร่งครัด เป็นราวกะถุงลมอันเต็มด้วยลม บุคคลนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีความพองขึ้นแห่งจิตเป็นลักษณะ.
สารัมภนิทเทส
อธิบายความแข่งดี
ชื่อว่า ความแข่งดี (สารัมภะ) ด้วยสามารถแห่งการฉุนเฉียว. ความแข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า ความแข่งขึ้นหน้า (ปฏิสารัมภะ). อาการที่แข่งดี ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดี. กิริยาที่แข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดีขึ้นหน้า ความเป็นแห่งบุคคลแข่งดีแผ่ไปแล้ว ชื่อว่า สภาพความแข่งดีขึ้นหน้า คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความแข่งดี ว่าโดยลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลนั้นว่า มีสิ่งเปรียบด้วยการกระทำเกินเป็นลักษณะ. คือว่า บุคคลใดประกอบด้วยสิ่งใด บุคคลผู้แข่งดีนั้น ย่อมกระทำสิ่งนั้นๆ ให้เป็นสองเท่า. เช่น ผู้ครองเรือน บุคคลอื่นตกแต่ง หรือตระเตรียมสิ่งของภายในบ้านด้วยวัตถุเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลผู้แข่งดีย่อมจัดแจงสิ่งนี้นัยสองอย่าง ผู้แข่งดีคนอื่นอีกย่อมจัดแจงสิ่งนั้นเป็นสี่ ผู้อื่นอีกย่อมจัดแจงเป็นแปด ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมจัดแจงเป็น ๑๖.
ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ) ผู้มีการแข่งดีมีอยู่ เมื่อผู้หนึ่งเรียนพระพุทธพจน์นิกายหนึ่งด้วยสูตรหนึ่ง ผู้แข่งดีคนอื่นย่อมคิดว่า เราจักเป็นผู้ล้าหลังผู้นั้น ดังนี้ จึงเรียน ๒ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนเอา ๓ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียน ๔ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนพระพุทธพจน์ ๕ นิกาย. ก็การเรียนพระพุทธพจน์นั้น ไม่ควรด้วยสามารถแห่งความแข่งดี. เพราะว่าความแข่งดี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 870
นั้นเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล เป็นทางยังสัตว์ให้ถึงนรก. แต่ว่า ว่าด้วยสามารถแห่งฝักฝ่ายในกุศล เมื่อบุคคลถวายสลากภัตเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลอื่นควรให้เพิ่มเป็นสอง เมื่อบุคคลถวายสองอย่าง บุคคลอื่นควรถวายเพิ่มเป็นสี่อย่าง อย่างนี้สมควร. ก็ครั้นเมื่อภิกษุเรียนพระพุทธพจน์นิกายหนึ่ง ภิกษุอื่นเรียนเอาสองนิกายด้วยคิดว่า เมื่อเราสาธยายพระพุทธพจน์อยู่ ความผาสุกย่อมมี ดังนี้ ก็ควร ฉะนั้น การเรียนพุทธพจน์ให้ยิ่งกว่านั้น เพราะมั่นอยู่ในฝักฝ่ายแห่งกุศลอันเป็นวิวัฏฏะ ก็ควร.
อัตริจฉตานิทเทส
อธิบายความอยากได้เกินประมาณ
อรรถแห่งความชั่วช้าลามกที่กล่าวไว้ใน อริยวังสสูตร ฉันใด อรรถแห่งความเป็นผู้อยากได้เกินประมาณ ก็ฉันนั้น. ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ภิกษุได้สิ่งใดๆ มา ก็ไม่ยินดีสิ่งนั้นๆ ก็หรือว่า เป็นคฤหัสถ์ ย่อมได้สิ่งใดๆ ในบรรดารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้นๆ. คำว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความปรารถนาให้วิเศษขึ้นไป.) ชื่อว่า ความอยาก เพราะอำนาจแห่งความปรารถนา. หรือว่า อาการแห่งความอยาก นั่นแหละ ชื่อว่า กิริยาที่ปรารถนา. สภาพแห่งความอยากเกินการได้ของตน ชื่อว่า ความมักมาก. คำว่า ราคะ เป็นต้น มีอรรถตามที่กล่าวแล้วในหนหลังแล. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ผู้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกชื่อว่า ความมักมาก แม้ความอยากเกินประมาณนี้ ก็เป็นชื่อของ ความมักมากนั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความอยากได้เกินประมาณนี้ ได้แก่ ความไม่สันโดษในลาภของตน และความปรารถนาในลาภของผู้อื่น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 871
ข้อนี้ มีการอยากได้เกินประมาณเป็นลักษณะ (เป็นเครื่องกำหนด). จริงอยู่ แม้วัตถุอันประณีต อันบุคคลผู้มีความอยากเกินประมาณนั้น ได้แล้ว ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าของลามก (ต่ำช้า). แม้วัตถุอันลามกอันบุคคลอื่นได้แล้ว ย่อมปรากฏราวกะว่าเป็นของประณีต. ข้าวยาคูอันสุกแล้วในภาชนะหนึ่ง หรือว่าภัต หรือว่าขนมที่เขาใส่ไว้ในบาตรของตน เป็นราวกะว่าเป็นของลามก. ในบาตรของผู้อื่น ย่อมปรากฏราวกะว่า เป็นของประณีต. อนึ่งความอยากเกินประมาณนี้ ย่อมมีแม้แก่บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมมีแม้แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมมีแม้แก่สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย. ในข้อนี้พึงทราบเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นเป็นอุทาหรณ์ต่อไป.
เรื่องของผู้มีความโลภเกินประมาณ
ได้ยินว่า กฏุมพีคนหนึ่ง นิมนต์ภิกษุณี ๓๐ รูป ได้ถวายภัตกับขนม พระสังฆเถรียังขนมในบาตรของภิกษุณีทั้งปวงให้เปลี่ยนแปลงแล้ว (เข้าใจว่าแบ่งขนมในบาตรอื่น) แล้วจึงได้เคี้ยวกินขนมนั้นอันตนได้แล้วในภายหลัง.
แม้พระเจ้าพาราณสี ก็ทรงพระดำริว่า เราจักเสวยเนื้อสุกด้วยถ่านไฟ ดังนี้จึงทรงพาพระเทวีเสด็จเข้าไปประพาสป่า ทอดพระเนตรเห็นกินนรีนางหนึ่ง ทรงทิ้งพระเทวีเสด็จตามนางกินนรีนั้นไป. พระเทวีจึงเสด็จไปสู่อาศรมบท (บวชเป็นตาปสินี) แล้วกระทำกสิณบริกรรม บรรลุสมาบัติ ๘ และ อภิญญา ๕ นั่งอยู่ เห็นพระราชากำลังเสด็จมา จึงเหาะขึ้นไปในอากาศได้เสด็จไปแล้ว. เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 872
อตฺริจฺฉํ อติโลเภน อติโลภมเทน จ
เอวํ โส หายติตฺตานํ จนฺทํว อสิธาภุยา
แปลว่า
พระองค์นั้น ทรงปรารถนานางจันทกินนรีอยู่ ทรงละทิ้งพระราชบิดา อสิตาภูเสื่อมแล้ว ฉันใด พระองค์ย่อมยังพระสรีระให้เสื่อมโทรมไป เพราะความโลภมากและเพราะความมัวเมาในความโลภเกินไปฉันนั้น ดังนี้.
เทวดาได้ทำการเยาะเย้ยพระราชาว่า พระองค์ เมื่อปรารถนานางจันทกินนรี ทรงละทิ้งพระราชธิดาอสิตาภู จึงเสื่อมจากนางทั้งสอง เมื่อโลภเกินไปอย่างนี้ ย่อมทำตนให้เสื่อมไป ดังนี้.
เรื่องบุตรเศรษฐี
แม้ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสป บุตรเศรษฐี คนหนึ่งชื่อว่า มิตตวินทุกะ ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ผู้อันมารดาอ้อนวอนอยู่ว่า พ่อ เจ้าจงรักษาอุโบสถศีล จงฟังธรรมในวันนี้ตลอดราตรีในวิหารแล้ว แม่จักให้ทรัพย์แก่เจ้าพันหนึ่ง ดังนี้ เพราะความโลภในทรัพย์ จึงไปสู่วิหารสมาทานองค์แห่งอุโบสถศีล ครั้นแล้วก็กำหนดสถานที่ว่า ที่นี้ไม่มีภัย (คือ ไม่มีใครเห็น) แล้วนอนภายในธรรมาสน์ ครั้นนอนตลอดคืนแล้ว ก็ลุกขึ้นไปบ้าน. มารดาของเขาหุงข้าวยาคูส่งให้แต่เช้าตรู่. นายมิตตวินทุกะนั้น ขอรับทรัพย์พันหนึ่งก่อนนั่นแหละ แล้วจึงดื่มข้าวยาคู.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 873
ลำดับนั้น เขาได้มีปริวิตกว่า เราจะรวบรวมทรัพย์ให้มาก ด้วยทุนทรัพย์นี้ ดังนี้ จึงปรารถนาจะขึ้นเรือไปสู่สมุทรเพื่อไปค้าขาย. ทีนั้นมารดาของเขาได้กล่าวห้ามว่า พ่อ ในตระกูลของเรามีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ เจ้าอย่าไปเลย ดังนี้ เขาไม่เชื่อฟังถ้อยคำของมารดา เดินไปอยู่นั่นแหละ. มารดาจึงไปยืนขวางข้างหน้า ในขณะนั้นแหละ เขาโกรธแล้ว จึงใช้เท้าประหารมารดาให้ล้มลง ด้วยคิดว่า หญิงนี้มายืนขวางหน้าเรา ดังนี้ ได้ทำมารดาให้อยู่ในระหว่าง (ข้ามไป) ไปแล้ว มารดาลุกขึ้นแล้ว กล่าวว่า พ่อเจ้าอย่าได้สำคัญอย่างนี้ว่า เมื่อเราทำกรรมเห็นปานนี้ในมารดาผู้เช่นกับด้วยเรา ไปแล้วจักมีความสุข ดังนี้.
เมื่อนายมิตตวินทุกะนั้น ก้าวขึ้นเรือไปอยู่ เรือแล่นไปถึงวันที่ ๗ ก็หยุด. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวว่า บุรุษผู้ลามกต้องมีอยู่ในเรือนี้แน่แท้ ท่านทั้งหลายจงจับสลากกัน ดังนี้ สลากที่พวกเขาให้จับอยู่ ก็ตกแก่นายมิตตวินทุกะนั้นนั่นแหละถึง ๓ ครั้ง. มนุษย์เหล่านั้นจึงจับนายมิตตวินทุกะนั้นลอยแพ แล้วจึงแล่นเรือไปในสมุทร. แพของนายมิตตวินทุกะนั้นลอยไปถึงเกาะหนึ่ง เขาเสวยสมบัติอยู่กับด้วยนางเวมานิกเปรตทั้งหลาย แม้ผู้อันนางเวมานิกเปรตทั้งหลายกล่าวอ้อนวอนว่า ขอท่านอย่าไป ดังนี้ เมื่อเขาไปอยู่เห็นสมบัติสองเท่าของสมบัตินั้นก็เสวยอยู่ๆ เป็นไปโดยลำดับในที่สุด ได้เห็นบุรุษคนหนึ่งมีกงจักรคมกล้าหมุนอยู่ที่ศีรษะ จักรนั้นปรากฏราวกะว่า ดอกปทุม. นายมิตตวินทุกะนั้น จึงกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้ดอกปทุมที่ท่านประดับไว้นี้แก่ข้าพเจ้า ดังนี้. บุรุษนั้นกล่าวว่า ข้าแต่นาย นี้มิใช่ดอกปทุม นี้เป็นกงจักรอันคมกล้า ดังนี้. นายมิตตวินทุกะ กล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ลวงข้าพเจ้า ดอกปทุมเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ามิเคยเห็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 874
หรือ ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็ท่านฉาบทาด้วยจันทน์แดง จึงไม่ต้องการให้ดอกปทุมอันเป็นเครื่องประดับนั้นแก่เรา ดังนี้. บุรุษนั้น คิดว่า แม้ชนนี้ จักเป็นผู้ทำกรรมเช่นเรานั่นแหละ จึงใคร่จะเสวยผลของกรรมนั้น ดังนี้ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีกงจักรอันพัดผันอยู่ที่ศีรษะนั้น จึงกล่าวว่า เอาเถิด เราจักให้ ดังนี้แล้วเอากงจักรใส่ให้บนศีรษะของนายมิตตวินทุกะแล้วไป.
พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ว่า
จตฺพภิ อฏฺชฺฌคมา อฏฺาภิปิ จ โสฬส
โสฬสาภิ จ พาตฺตึส อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท
อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก
แปลว่า
บุรุษนั้น (นายมิตตวินทุกะ) ละจากนางเวมานิกเปรต ๔ นาง เสวยสมบัติกับนางเวมานิกเปรต ๘ นาง ละจากนางเวมานิกเปรต ๘ นาง เสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิกเปรต ๑๖ นาง ละจากนางเวมานิกเปรต ๑๖ นางแล้วเสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิกเปรต ๓๒ นาง เป็นผู้มีความอยากเกินประมาณเข้าถึงจักรอยู่ จักรนั้นย่อมหมุนไปบนศีรษะของบุรุษผู้อันความอยากนำมาแล้ว ดังนี้.
เรื่องอำมาตย์
อำมาตย์คนหนึ่ง มีความอยากเกินประมาณแม้อื่นอีก ก้าวล่วงเขตแดนของตนเข้าไปสู่แดนของผู้อื่น ถูกโบยตีแล้วในที่นั้น จึงหนีไปสู่ที่เป็นที่อยู่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 875
ของดาบสองค์หนึ่ง อธิษฐานองค์อุโบสถแล้วนอน. อำมาตย์นั้นถูกดาบสถามว่า ท่านทำกรรมอะไรมา เขาจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
สกํ นิเกตํ อติเหฬยาโน ฯลฯ อตฺริจฺฉตา มา ปุนราคามาสิ ดังนี้
แปลว่า ข้าพเจ้าเกลียดชังที่อยู่ของข้าพเจ้า ได้ไปสู่สถานที่อันเป็นมลทินด้วยความโลภมาก ลำดับนั้น ชนทั้งหลายออกจากบ้านพากันมาโบยตีข้าพเจ้าด้วยเกาทัณฑ์ ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะแตกแล้ว มีโลหิตโซมตัว จึงหนีออกมา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ขอความปรารถนาอันเลวทรามอย่าได้กลับมาหาข้าพเจ้าอีกเลย ดังนี้.
มหิจฉตานิทเทส
อธิบาย ความมักมาก หรือความหิวกระหาย
บุคคลใด ปรารถนาวัตถุทั้งหลายเกินประมาณ ก็หรือว่า ความอยากของผู้นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความมักมาก (มีความหิวกระหาย). ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีความมักมากนั้น ชื่อว่า สภาพความมักมาก. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะได้แก่ การไม่รู้จักประมาณในการรับ ในการบริโภค ก็เพราะการเจริญคุณอันไม่มีอยู่ นี้ชื่อว่า มีความอยากมากเป็นลักษณะ. จริงอยู่ บุคคลผู้อยากมาก (อยากใหญ่) มีความหิวกระหาย เปรียบเหมือนพ่อค้าหาบเร่ (กจฺฉปูฏวาณิชฺโช) ถือสินค้าเครื่องประดับด้วยมือ และห้อยสิ่งที่ควรขายไว้ที่หน้าตัก แล้วกล่าวโฆษณาเชิญชวนมหาชนที่เห็นอยู่นั่นแหละว่า แม่ จงถือเอาสิ่งชื่อโน้น ชื่อโน้น ดังนี้ ชื่อฉันใด ข้อนี้ก็ฉัน นั้นนั่นแหละ คุณคือ ศีล หรือการศึกษาพระพุทธพจน์ หรือธุดงค์คุณ โดยที่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 876
สุดแม้สักว่าการอยู่ป่าเป็นวัตรของตนแม้มีประมาณน้อย แต่เป็นผู้ใคร่เพื่อยังมหาชน ผู้รู้อยู่นั้นให้ส่งเสริมตน. ก็แลบุคคลเช่นนี้ ครั้นเมื่อมหาชนส่งเสริมตน น้อมปัจจัยทั้งหลายแม้ตั้งเล่มเกวียนมาให้ก็ไม่พอ ไม่กล่าวห้ามว่า อย่าเลย ย่อมถือเอาเทียว. จริงอยู่ ใครๆ ก็ไม่อาจเพื่อยังสิ่งทั้ง ๓ ให้อิ่ม ให้เต็ม คือ ไฟย่อมไม่อิ่มด้วยเชื้อ สมุทรย่อมไม่อิ่มเต็มด้วยน้ำ บุคคลผู้มีความอยากใหญ่ ผู้หิวกระหาย ย่อมไม่อิ่มไม่พอด้วยปัจจัยทั้งหลาย ดังนี้.
อคฺคิกฺขนโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล
พหุเก ปจฺจเย เทนฺเต ตโยเปเต น ปูรเย.
แปลว่า
สิ่งทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ กองไฟ ๑ มหาสมุทร ๑ บุคคลผู้มักมาก ๑ เมื่อใครๆ ให้ปัจจัยทั้งหลายแม้มากมาย ก็ไม่พึงให้อิ่มให้เต็มได้.
จริงอยู่บุคคลผู้มักมาก แม้แต่มารดาผู้ให้กำเนิด ก็ไม่อาจเพื่อถือเอาใจของเขาไว้ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลผู้เป็นอุปัฏฐากเล่า ในข้อนี้ มีเรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์:-
เรื่องภิกษุหนุ่ม
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ย่อมติดใจในขนมทำด้วยแป้ง ลำดับนั้น มารดาของภิกษุนั้น เมื่อจะทดลองข้อปฏิบัติของบุตรดูว่า ถ้าว่า บุตรของเรา ย่อมรู้ประมาณในการรับไซร้ เราจักบำรุงด้วยขนมทั้งหลายตลอดไตรมาส
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 877
ดังนี้ จึงเริ่มทดลองในวันใกล้ฤดูฝน ครั้งแรกได้ถวายขนมชิ้นหนึ่ง เมื่อขนมชิ้นนั้นหมดแล้ว จึงถวายชิ้นที่ ๒ เมื่อขนมชิ้นที่ ๒ หดแล้ว จึงถวายขนมชิ้นที่ ๓ ภิกษุหนุ่มไม่ห้ามว่า พอละ เคี้ยวกินอยู่นั่นแหละ มารดาทราบซึ่งความที่ภิกษุลูกชายนั้นไม่รู้จักประมาณ จึงกล่าวว่า ขนมของไตรมาสทั้งสิ้น บุตรของเราเคี้ยวกินหมดแล้วในวันนี้แหละ ดังนี้ ตั้งแต่วันนั้นมาไม่ได้ถวาย อีกแม้สักชิ้นหนึ่ง.
แม้ พระเจ้าติสสมหาราช เมื่อถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพต ทุกๆ วัน ผู้อันชาวชนบทกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ย่อมเสพเฉพาะที่แห่งเดียวเท่านั้นหรือ (ถวายทานแห่งเดียว) การถวายทานในที่อื่น ย่อมไม่สมควรแก่พระองค์หรือ ดังนี้ ในวันที่ ๒ แต่วันนั้น จึงให้ถวายมหาทานใน เมืองอนุราธบุรี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่รู้จักประมาณในการรับ ชนทั้งหลาย ๒ - ๓ คน ทิ้งขว้างซึ่งขาทนียะโภชนียะที่ภิกษุรูปหนึ่งๆ รับไปแล้ว. พระราชาให้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพตในวันที่สอง แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงให้บาตรในเวลาที่ท่านทั้งหลายมาสู่พระราชวัง ดังนี้ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ก็มิได้ให้บาตร ด้วยคำว่า อย่าเลยมหาราช ภิกษุทั้งหลายจักรับภิกษาโดยประมาณของตนเท่านั้น ดังนี้. ภิกษุทั้งปวงรับซึ่งภิกษาอันสมควรแก่ประมาณของตนนั้นแหละ. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงดูภิกษุเหล่านี้ ในบรรดาภิกษุทั้งหลาย แม้รูปหนึ่ง ก็รู้ประมาณของตน. เมื่อวันวาน วัตถุอะไรๆ ก็มิได้เหลือ แต่วันนี้ ภิกษุถือเอาน้อยพอประมาณแก่ตน ของจึงเหลือมากมาย ดังนี้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ผู้มีใจเป็นของๆ ตน เพราะรู้จักประมาณ ส่วนภิกษุนอกนี้ ไม่มีใจเป็นของๆ ตน เพราะความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 878
ปาปิจฉตานิทเทส
อธิบายความปรารถนาลามก
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอชนจงรู้ว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา เป็นต้น ย่อมทำอาการอย่างไร คือ บุคคลนั้น ไม่มีศรัทธา ย่อมแสดงอาการว่า มีศรัทธา ผู้ทุศีล เป็นต้น ย่อมแสดงอาการของผู้มีศีลเป็นต้น.
ถามว่า ย่อมแสดงอาการอย่างไร?
ตอบว่า ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ในวันมีมหรสพ เธอจะถือเอาไม้กวาด ปัดกวาดวิหารและทำการเทหยากเยื่อในเวลาที่พวกมนุษย์มาสู่วิหาร ครั้นทราบว่า การกระทำของเธอ มนุษย์ทั้งหลายรู้แล้ว จึงไปสู่ลานพระเจดีย์ ย่อมเทหยากเยื่อ ย่อมเกลี่ยทรายทำพื้นให้เสมอกัน ย่อมล้างอาสนะทั้งหลาย ย่อมรดน้ำที่ต้นโพธิ์. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเธอแล้วก็สำคัญว่า ภิกษุอื่นที่ปฏิบัติวิหาร เห็นจะไม่มีภิกษุนี้เท่านั้นเป็นพระเถระผู้มีศรัทธาปฏิบัติวิหารนี้อยู่ ดังนี้ จึงนิมนต์ภิกษุนั้น เพื่อฉันอาหาร.
แม้ผู้ทุศีล ก็เข้าไปหาพระวินัยธร ย่อมถามในที่พร้อมหน้าแห่งอุปัฏฐากทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครั้นเมื่อกระผมเดินไป โคตกใจแล้ว เมื่อกระผมปัดกวาดโคก็วิ่งเตลิดไป ทำให้หญ้าทั้งหลายขาดแล้ว เมื่อกระผมจงกรมอยู่หญ้าทั้งหลายย่อมอับเฉา เมื่อกระผมบ้วนน้ำลายให้ตกไปตัวแมลงเล็กๆ ย่อมตาย การให้น้ำลายตกไปที่หญ้าโดยไม่มีสติ โทษอะไรย่อมมีในที่นั้นขอรับ ดังนี้. เมื่อพระวินัยธรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อเราไม่รู้ ไม่แกล้ง ไม่เจตนาฆ่าสัตว์ อาบัติย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วกล่าวยกย่องพระวินัยธรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่กระผมราวกะว่าเป็นของหนัก ท่าน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 879
ย่อมพิจารณาชอบแล้ว ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายฟังถ้อยคำนั้นแล้วเลื่อมใสว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ย่อมรังเกียจแม้ในเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านจักกระทำกรรมหยาบอื่นได้อย่างไร ภิกษุผู้มีศีลเช่นกับภิกษุนี้ย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วทำสักการะ.
แม้ผู้ศึกษาน้อย ก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า ภิกษุโน้นทรงพระไตรปิฎก ภิกษุโน้นทรงนิกาย ๔ เป็นอันเตวาสิกของเรา ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมในสำนักของเรา ดังนี้ พวกมนุษย์เลื่อมใสว่า ภิกษุ ผู้เป็นพหูสูตเช่นกับด้วยพระผู้เป็นเจ้าของเราไม่มี ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้นๆ เรียนธรรมในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าของเรา ดังนี้ จึงทำสักการะ.
แม้ผู้ยินดีด้วยหมู่คณะ ในวันที่มีมหรสพ ยังบุคคลให้ถือเอาตั่ง คือที่นั่งยาวและหมอนข้าง ย่อมนั่งพักอยู่ในที่พักเวลากลางวันที่โคนไม้สุดเขตแดนแห่งวิหาร. มนุษย์ทั้งหลายมาแล้ว ย่อมถามว่า พระเถระไปไหน ดังนี้ ชื่อว่าบุตรของคัณฐิกะ ผู้กล่าวคำอันคลุมเคลือนั่นแหละมีอยู่ ย่อมกล่าวด้วยเหตุนั้นนั่นแหละว่า พระเถระย่อมไม่นั่งในกาลเห็นปานนี้ ย่อมอยู่ในที่จงกรม อันมีระยะทางยาว อยู่ ณ ที่สุดแห่งวิหาร ดังนี้. แม้ภิกษุนั้น ก็ยังกาลให้ล่วงไปครึ่งวัน แล้วยังใยแห่งแมลงมุมที่ติดไว้ที่หน้าผา แล้วก็ให้บุคคลถือเอาตั่งมานั่งที่ประตูแห่งบริเวณ. มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไปที่ไหน พวกกระผมมาไม่เห็นท่าน ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมยังมนุษย์ให้รู้ซึ่งความที่ตนเป็นผู้ชอบความสงบด้วยคำว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ภายในวิหารนี้เกลื่อนกล่น ที่นี้เป็นที่เที่ยวเดินและยืนของภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย อาตมานั่งในที่พักในเวลากลางวันซึ่งมีที่จงกรม ๖๐ ศอก ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 880
แม้ภิกษุผู้เกียจคร้าน ก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย พวกท่านเห็นอุกาบาต (การตกลงของคบเพลิง) แล้ว หรือ ดังนี้ ถูกพวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมย่อมไม่เห็น อุกกาบาตได้มีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่จงกรมของพวกเรา แล้วจึงถามว่า พวกท่านได้ยินเสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดินหรือ ดังนี้ เมื่อเขากล่าวว่า พวกกระผมย่อมไม่ได้ยิน. ก็เสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ย่อมมีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ ก็กล่าวว่า ในเวลามัชฌิมยาม คือในเวลาที่พวกเรายืนพิงแผ่นกระดานกำหนดอารมณ์ โอภาสใหญ่ได้มีแล้ว แล้วถามว่า โอภาสใหญ่นั้น พวกเธอเห็นแล้วหรือ ดังนี้ เมื่อมนุษย์ถามว่า โอภาสใหญ่ได้มีเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่หยั่งลงแต่การจงกรมของอาตมา ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสว่า พระเถระของเราทั้งหลาย ย่อมจงกรมตลอดยามทั้งสามเทียว ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเช่นกับด้วยพระผู้เป็นเจ้าของย่อมไม่มี ดังนี้ จึงทำสักการะ.
แม้ผู้หลงลืมสติ ก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า เราเรียนพระสูตรทีฆนิกายในกาลชื่อโน้น เรียนมัชฌิมนิกายในกาลโน้น สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกายในกาลโน้น ชื่อว่าการแลดูอย่างอื่นในระหว่างย่อมไม่มี แบบแผนเป็นราวกะเกิดขึ้นในปากของเรา และย่อมมาในที่แห่งเราปรารถนาแล้วๆ ส่วนภิกษุอื่น ยังปากให้ส่ายไป (เพื่อถามปัญหา) เป็นราวกะแพะ ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้ว ด้วยคิดว่า บุคคลอื่นจักปฏิบัติเช่นกับพระคุณเจ้าของเราย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วทำสักการะ.
แม้ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ก็ย่อมถามปัญหาในพระอรรถกถาจารย์ ในที่พร้อมหน้าแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย คือ ย่อมถามว่า ชื่อว่า กสิณ ย่อมเจริญ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 881
อย่างไร ชื่อว่านิมิตที่เกิดขึ้นมีประมาณเท่าไร อุปจาระย่อมมีประมาณเท่าไร อัปปนาย่อมมีประมาณเท่าไร องค์ของปฐมฌานมีประมาณเท่าไร องค์ของทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน มีประมาณเท่าไร ดังนี้ เมื่อพระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ประโยชน์อะไรด้วยคำเหล่านี้ คำอะไรๆ อย่างนี้ไม่มีหรือ และกระทำการยิ้มในเวลาที่กล่าวถ้อยคำอันเหมาะแก่การศึกษา ดังนี้ จึงแสดงการได้สมาบัติของตนด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้ย่อมถูกต้อง ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายพากันเลื่อมใสว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราได้สมาบัติแล้ว ย่อมทำสักการะ.
แม้ผู้มีปัญญาทราม ก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย กล่าวอยู่ว่า เราย่อมสละปริยัติ ดังนี้เป็นต้น ด้วยคำว่า เมื่อเราตรวจดูหมวดสามแห่งธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้าในมัชฌิมนิกายอยู่ มรรคนั่นแหละมาแล้วพร้อมด้วยฤทธิ์ ชื่อว่าปริยัติ ไม่เป็นสิ่งที่กระทำได้โดยยากสำหรับพวกเรา การสนใจในปริยัติ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้ ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นคนมีปัญญามาก. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมทำลายพระศาสนา. ชื่อว่า มหาโจรเช่นกับบุคคลนี้ย่อมไม่มี เพราะว่า บุคคลผู้ทรงพระปริยัติ ชื่อว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ หามีไม่.
แม้ผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ เห็นทารกในบ้านแล้ว ถามว่า มารดาบิดาของพวกเธอย่อมกล่าวว่า เราเป็นอะไร. พวกทารกกล่าวว่า มารดาบิดาของกระผม กล่าวว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ ขอรับ. ภิกษุนั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ดูก่อนบุตรคหบดีผู้ฉลาด ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะลวงท่านได้ ดังนี้ ก็ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบซึ่งภิกษุแม้อื่นอีกที่แสดงตนเป็นพระอรหันต์ มีพระอรหันต์ตุ่มน้ำและพระอรหันต์ย่านไทร เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 882
เรื่องพระอรหันต์ตุ่มน้ำ (จาฏิอรหันต์)
ได้ยินว่า ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) รูปหนึ่งฝังตุ่มน้ำใบใหญ่ไว้ภายในห้องของตน ย่อมเข้าไปในตุ่มในเวลาที่พวกมนุษย์มาหา มนุษย์ทั้งหลาย จึงถามกันว่า พระเถระไปไหน ดังนี้. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระอยู่ในห้อง ดังนี้ พวกมนุษย์แม้เข้าไปค้นหาอยู่ เมื่อไม่เห็นจึงออกมาแล้ว กล่าวว่า พระเถระไม่มี ดังนี้ ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระอยู่ภายในห้องนั้นแหละ ดังนี้ พวกมนุษย์จึงเข้าไปอีก พระเถระนั้นออกจากตุ่มแล้ว มานั่งอยู่ที่ตั่ง. ลำดับนั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมไม่เห็นท่านเมื่อเขามาครั้งแรกจึงออกไป ท่านไปอยู่ที่ไหน ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยคำว่า ชื่อว่า สมณะทั้งหลายย่อมไปสู่ที่อันตนปรารถนาแล้วๆ ดังนี้.
เรื่องพระอรหันต์ย่านไทร (ปาโรหอรหันต์)
ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) อีกรูปหนึ่ง อาศัยอยู่ที่บรรณศาลาใกล้ภูเขาลูกหนึ่ง ก็ต้นไทรต้นหนึ่งมีอยู่ที่เงื้อมเขา (เหว) ข้างหลังแห่งบรรณศาลา รากของต้นไทรนั้น ไปปรากฏอยู่ที่พื้นดินส่วนหนึ่ง. มนุษย์ทั้งหลายเดินมาตามทางแล้ว ย่อมนิมนต์ภิกษุนั้นเพื่อภัตตาหาร. ภิกษุนั้นถือบาตรและจีวรแล้ว โหนลงมาตามรากของต้นไทรนั้น แล้วมาปรากฏตัวใกล้ประตูบ้าน. ลำดับนั้น ผู้อันมนุษย์ทั้งหลายผู้มาถึงที่ลังถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านมาทางไหน ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ชื่อว่า ทางอันสมณะทั้งหลายมาแล้ว ไม่สมควรถาม สมณะทั้งหลายย่อมมาโดยที่อันตนปรารถนาแล้วๆ ดังนี้. ก็บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่งฟังเรื่องโดยตลอด ทราบแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 883
คิดว่า เราจักเฝ้าจับดูภิกษุนี้ ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้นอยู่ ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้น ก้าวลงตามรากต้นไทร จึงตัดรากไทรนั้นข้างหลัง เหลือไว้เล็กน้อย. ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น คิดว่า เราจักจับรากไทรก้าวลงไป จึงจับรากไทรนั้น ทีนั้น ก็หล่นลงไปที่ดินเหนียว บอบช้ำแล้ว เธอทราบว่า ใครๆ ทราบเรื่องของตนแล้ว จึงหนีออกไป ดังนี้.
ความเป็นแห่งบุคคลผู้ปรารถนาลามก ชื่อว่า สภาพลามก ก็เมื่อว่า โดยลักษณะแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ความที่บุคคลนั้น ยังบุคคลอื่นให้สรรเสริญความดีอันไม่มีอยู่และความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ข้อนี้เป็นลักษณะของความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ดังนี้.
สิงคนิทเทส
อธิบาย การพูดทิ่มแทง
ชื่อว่า สิงคะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องทิ่มแทง. เครื่องทิ่มแทงนี้ เป็นชื่อของการทิ่มแทงเพราะกิเลส กล่าวคือ ความที่วาจานั้นเป็นเครื่องทิ่มแทงของชาวเมือง. ความเป็นแห่งวาจาเป็นเครื่องทิ่มแทง ชื่อว่าสภาพแห่งวาจาเป็นเครื่องทิ่มแทง. อีกอย่างหนึ่ง อาการเป็นเครื่องพูดทิ่มแทง ก็ชื่อว่า สภาพที่พูดทิ่มแทง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นสี่เหลียม ชื่อว่า การพูดเป็นสี่เหลี่ยม. การพูดเป็นสี่คมก็อย่างนั้น. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ชื่อว่า สภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู. คำนี้ เป็นชื่อของความเป็นของบุคคลผู้ชำนาญการพูดทิ่มแทง ซึ่งตระเตรียมไว้ก่อนนั่นแหละ (เช่นกับขุดบ่อล่อปลา) คำนอกนี้เป็นไวพจน์ของคำพูดทิ่มแทงทั้งนั้น. การพูดทิ่มแทงด้วยอำนาจแห่งกิเลส ท่านกล่าวไว้ด้วยบทแม้ทั้งหมด ด้วยอาการอย่างนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 884
ตินติณนิทเทส
อธิบาย การพูดเกียดกัน
คำว่า ตินฺติณํ ได้แก่ การพูดติเตียน หรือพูดเกียดกัน. อาการแห่งความประพฤติเกียดกัน เรียกว่ากิริยาที่พูดเกียดกัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยความเกียดกันของผู้พูดด้วยความเกียดกัน ชื่อว่าสภาพที่เกียดกัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ละโมบ ชื่อว่า สภาพที่ละโมบ. คำนอกจากนี้ เป็นคำอธิบายความเป็นแห่งกิริยาอาการของคำพูดเกียดกัน. คำว่า ปุจฺฉญฺชิกตา ได้แก่ ความหวั่นไหวของการเสวยอารมณ์ในฐานะแห่งประโยชน์ที่ควรได้หรือไม่ควรได้ ท่านเรียกว่า ความประพฤติถ่อมตนเพื่อจะได้. คำว่า สาธุกมฺยตา ได้แก่ ความปรารถนาที่จะได้สิ่งอันประณีตยิ่งขึ้นไป. ท่านกล่าวอาการเกียดกันไว้ ด้วยสามารถแห่งกิเลสด้วยบททั้งปวง โดยหมายเอาว่า วัตถุของผู้อื่นเป็นราวกะว่าเป็นของตน เช่นกับการเห่าของสุนัขที่กำลังดื่มน้ำข้าวที่รางน้ำข้าว เพราะเห็นสุนัขอื่นมา ดังนี้.
จาปัลยนิทเทส
อธิบาย การชอบตกแต่ง
การตกแต่งจีวร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการทำให้เรียบร้อยเป็นกลีบเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งจีวร. การตกแต่งบาตร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการกระทำให้มีผิวหมดจดดังสีแห่งแก้วมณี ชื่อว่า การตกแต่งบาตร. การตกแต่งเสนาสนะอันเป็นของเฉพาะบุคคล ด้วยจิตรกรรมเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งเสนาสนะ. คำว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส (แปลว่าการตกแต่งกายอันเปื่อยเน่า) ได้แก่ การตกแต่งกายของมนุษย์นี้ เหมือนอย่างว่า สุนัขจิ้งจอก แม้เกิดในวันนั้น ถึงกระดูกขายังอ่อนอยู่ก็ตาม เขาก็เรียกกันว่า สุนัขจิ้งจอกแก่นั่นแหละ และ
๑. บาลีว่า ปุญฺจิกตา, ม. ปุญฺฉญฺชิกตา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 885
ต้นเครือเถาที่เป็นยา มีต้นบรเพ็ด เถาหัวด้วน ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเถาวัลย์เน่านั่นแหละ ฉันใด กายมนุษย์แม้มีสีเพียงดั่งสีแห่งทองพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า กายอันเปื่อยเน่านั้น ด้วยเครื่องอาภรณ์มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น อันมีสีแดงสีเหลืองเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่ง. คำว่า พาหิรานํ วา ปริกฺขารํ (แปลว่า หรือว่าการตกแต่งบริขารภายนอก) ได้แก่ การตกแต่งบริขาร ที่เหลือนอกจากบาตรและจีวร.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร นี้อันใด การตกแต่งกายด้วยบริขารเหล่านั้น หรือว่า การตกแต่งบริขารภายนอกจากกาย ก็เรียกว่าการตกแต่ง ด้วยสามารถแห่งชื่อตามที่ตั้งไว้สำหรับเรียก. ในคำว่า มณฺฑนา วิภูสนา นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า มัณฑนา (การแต่งกาย) ด้วยสามารถแห่งการยังที่อันบกพร่องให้เต็ม ชื่อว่า วิภูสนา (การประดับ) ด้วยสามารถแห่งการประเทืองผิว เป็นต้น. คำว่า เกฬนา ได้แก่การเล่นที่ร่าเริง. คำว่า ปริเกฬนา ได้แก่การร่าเริง. ความเป็นแห่งจิตที่หวั่นไหว ชื่อว่า สภาพที่หวั่นไหว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ชอบตกแต่ง ก็อย่างนั้น. คำว่า อิทํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้หวั่นไหวไปเพราะชอบตกแต่ง. บุคคลผู้ประกอบด้วยการตกแต่งใด บุคคลนั้นแม้มีอายุตั้งร้อยปี ก็ย่อมเป็นราวกะทารกผู้เกิดในวันนั้น ดังนี้.
อสภาควุตตินิทเทส
อธิบาย ความประพฤติไม่สมควร
ความประพฤติไม่คล้อยตามพระพุทธพจน์ ชื่อว่า ความประพฤติไม่สมควร. วิถีทางแห่งความสุข โดยการกระทำให้ขัดแย้งอันเป็นข้าศึกต่างๆ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 886
ชื่อว่า ความประพฤติขัดขืน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อก็เหมือนกัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่คารวะ ชื่อว่า ความไม่เคารพ. ความเป็นผู้ไม่ทำตามคำของผู้เจริญ (หัวหน้า) ชื่อว่า ความไม่เชื่อฟัง. คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติไม่สมควร อธิบายว่า ความเป็นผู้มีชีวิตอันไม่เหมาะสมดังนี้. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชีวิตอยู่อันไม่สมควรใด คือ ย่อมไม่ปฏิบัติเหลียวแลเลี้ยงดูมารดาหรือบิดาผู้ป่วยไข้ ย่อมทำการทะเลาะกับบิดามารดาเพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมทะเลาะกับพี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว เพราะเหตุแห่งทรัพย์ของมารดาบิดา ย่อมกล่าววาจาหมดยางอาย (หน้าด้าน) ย่อมไม่ทำวัตรและวัตรอาศัยต่ออาจารย์ ต่ออุปัชฌาย์ ไม่อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธ ย่อมถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะในสถานที่เป็นที่เคารพแห่งพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมถ่มเขฬะบ้าง สั่งน้ำมูกบ้าง ย่อมกั้นร่ม ย่อมเดินใส่รองเท้าเข้าไป ย่อมไม่ละอายในพระสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่เคารพยำเกรงในสงฆ์ ย่อมไม่ยังหิริโอตตัปปะให้ตั้งขึ้นในที่อันควรเคารพใน บุคคลทั้งหลายมีมารดาและบิดาเป็นต้น. การทำอย่างนี้แม้ทั้งปวงในวัตถุทั้งหลายและในบุคคลมีมารดาเป็นต้น ของผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า ความประพฤติไม่สมควร.
อรตินิทเทส
อธิบาย ความไม่ยินดี
คำว่า ปนฺเตสุ แปลว่า ในเสนาสนะอันสงัด อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ เสนาสนะอันสงัดอันอยู่ในที่ไกล. คำว่า อธิกุสเลสุ ได้แก่ สมถะและ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 887
วิปัสสนา. คำว่า อรติ เป็นคำปฏิเสธความยินดี. อาการแห่งความไม่ยินดี ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดี. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า สภาพที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่งความไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่งบุคคลผู้กระวนกระวาย ชื่อว่า ความกระวนกระวายใจ. คำว่า ปริตสฺสิตา ได้ แก่ ความเป็นผู้สะดุ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้กระวนกระวายใจ.
ตันทีนิทเทส
อธิบาย ความโงกง่วง
ความเกียจคร้านชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ตันที (คือความง่วง หรือความประมาท). อาการแห่งความเป็นผู้โงกง่วง ชื่อว่า กิริยาที่โงกง่วง. คำว่า ตนฺทิมนกตา ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตอันความเกียจคร้านครอบงำแล้ว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า สภาพที่จิตโงกง่วง. อาการแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า กิริยาแห่งความโงกง่วง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้านทางกายด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ดังนี้.
วิชัมภิตานิทเทส
อธิบาย ความบิดกาย
ความให้กายไหวเอี้ยวไป ชื่อว่า ความบิดกาย. ความบิดกายบ่อยๆ (ในท่าต่างๆ) เรียกว่าความเหยียดกาย. คำว่า อานมนา (แปลว่า ความ โน้มกาย) ได้แก่ ความโน้มกายไปข้างหน้า. คำว่า วินมนา (แปลว่า ความโน้มกายไปข้างหลัง) ได้แก่ความเอนกายไปข้างหลัง. คำว่า สนฺนมนา ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 888
ความโน้มกายไปรอบๆ. ในคำว่า ความน้อมกายให้ตรง นี้ เหมือนอย่างว่า ช่างหูกผู้ขยัน จับถือซึ่งอะไรๆ นั่นแหละแต่เส้นด้าย แล้วก็ตั้งกายให้ตรง ฉันใด การยกกายขึ้นเบื้องบน ก็ฉันนั้น. คำว่า พยาธิยกํ (แปลว่า ความไม่สบายกาย) ได้แก่ ความที่บุคคลนั้นมีพยาธิเกิดขึ้นแล้ว. ความบิดกายนั่นแหละด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้.
ภัตตสัมมทนิทเทส
อธิบายความเมาอาหาร
คำว่า ภุตฺตาวิสฺส ได้แก่ ของผู้บริโภคอาหาร. ความไม่สบายเนื่องจากกินอาหาร ชื่อว่า ความอึดอัดเพราะอาหาร. จริงอยู่ บุคคลย่อมเป็นราวกะว่าถึงความซบเซาเพราะอาหารมีกำลัง (มาก). ความเป็นแห่งผู้ลำบากเพราะอาหาร ชื่อว่า ความเป็นผู้กระวนกระวายเพราะอาหาร. ความกระวนกระวาย เพราะอาหาร ชื่อว่า ความเร่าร้อนเพราะอาหาร. จริงอยู่ ในสมัยนี้ บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีอินทรีย์อันอาหารขจัดแล้ว โดยให้ความเร่าร้อนเกิดขึ้น คือ ย่อมทำให้ร่างกายทรุดโทรม. คำว่า กายทุฏฺฐุลฺลํ (แปลว่า ความเป็นผู้หนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร) ได้แก่ ความเป็นผู้มีร่างกายอันไม่ควรแก่การงาน (คือ ไม่คล่องแคล่ว) เพราะอาศัยอาหาร.
นิทเทสแห่งความเป็นผู้ย่อหย่อนแห่งจิต มีเนื้อความดังกล่าวไว้ใน อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะในหนหลังนั่นแหละ. และพึงทราบอาการแห่งความป่วยไข้ด้วยสามารถแห่งกิเลสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 889
กุหนานิทเทส
อธิบาย ความหลอกลวง
คำว่า ลาภสกฺการสิโลกสนฺนิสฺสิตสฺส (แปลว่า สภาพที่หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง) อธิบายว่า ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น ต้องการลาภสักการะและสรรเสริญ จึงปรารถนาเช่นนั้น. คำว่า ปาปิจฺฉสฺส (แปลว่า ผู้ปรารถนาลามก) ได้แก่ ภิกษุผู้ใคร่แสดงความดีอันตนไม่มีอยู่. คำว่า อิจฺฉาปกตสฺส (แปลว่า ถูกความอยากครอบงำแล้ว) อธิบายว่า ภิกษุนั้นถูกความอยากอันมิใช่ธรรมดาทำให้เดือดร้อนแล้ว.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบกุหนวัตถุ (เรื่องความหลอกลวง) ๓ อย่าง อันมาในมหานิทเทส ด้วยสามารถแห่งภิกษุผู้หลอกลวงโดยมุ่งเสพปัจจัย ๑ ความหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง ๑ และความหลอกลวงด้วยการอาศัยซึ่งอิริยาบถ ๑ เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงความหลอกลวงแม้ทั้ง ๓ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน วา (แปลว่า ด้วยการซ่องเสพปัจจัย) เป็นต้น ดังนี้.
ในข้อนั้น พึงทราบเรื่องความหลอกลวง (กุหนวัตถุ) กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยทำอุบายเป็นเหตุให้ทายกน้อมปัจจัยมาแม้ตั้งเล่มเกวียน จำเดิมแต่การปฏิเสธ เพราะอาศัยความปรารถนาลามกของภิกษุผู้อันความอยากครอบงำ ผู้อันทายกนิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้นเมื่อทายกนั้นน้อมถวายจีวรเป็นต้น อันประณีต ด้วยวิธีต่างๆ ว่า โอ พระผู้เป็นเจ้า มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่ต้องการเพื่อจะรับอะไรๆ ก็ถ้าท่านพึงรับอะไรๆ แม้สักเล็กน้อย นั่นเป็นการที่พวกเราได้ดีแล้วหนอ ดังนี้ เพราะเธอรู้ว่าคหบดีเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นดีแล้วในตน จึงกระทำให้แจ้งเพื่อประสงค์จะอนุเคราะห์คหบดีนั้น ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 890
สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในมหานิทเทส ว่า
เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย เป็นไฉน.
พวกคหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก เธอย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า จากกองหยากเยื่อหรือจากตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วย บิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติแสวงหา ข้อนั้นเป็นการสมควร เป็นประโยชน์ อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ ข้อนั้นเป็นการสมควร เธออาศัยความเป็นผู้อยากได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง.
พวกคหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสพบุญมาก คือเพราะประจวบด้วยศรัทธา กุลบุตร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 891
ผู้มีศรัทธาก็ประสพบุญมาก เพราะประจวบด้วยไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมประสพบุญมาก็เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมประสพบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย.
ก็บุคคลผู้มีความปรารถนาลามกมากนั่นแหละ แม้มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นเรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงอันเป็นอุบาย โดยทำนองนั้นๆ ด้วยวาจาอันแสดงถึงการบรรลุอุตตริมนุสสธรรม เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ มีความประสงค์ให้เขายกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใด ทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงภาชนะโลหะ ทรงธัมมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูกกุญแจ สวมรองเท้า ใช้ประคดเอว ใช้สายโยคบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใด มีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวกอย่างนี้ มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ สมณะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 892
นั้นมีศักดิ์มาก พูดว่าสมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดอยู่ในเรือมีหลังคาแถบเดียวอย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้นอย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้ อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ในเรือนที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้าสยิ้ว หลอกลวง ปลิ้นปล้อนตลบแตลง อันผู้อื่นสรรเสริญด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ ได้วิหารสมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรมและนิพพานอันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบังความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงอันกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง ดังนี้.
ก็เมื่อภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกนั่นแหละ มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบ เรื่องหลอกลวง อาศัยอิริยาบถอันเป็นอุบาย ด้วยอิริยาบถอันตน กระทำเพื่อประสงค์ให้ผู้อื่นสรรเสริญตน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยอิริยาบถ เป็นไฉน. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการยืน สำรวมการนั่ง ลำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 893
เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เหมือนผู้เจริญฌานอันประกอบด้วยมรรควิถี) การตั้งใจ การดำรงอิริยาบถ ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวง กล่าวคือด้วยอิริยาบถ ดังนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า การซ่องเสพปัจจัย ในคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน ได้แก่ด้วยการซ่องเสพปัจจัยอันกล่าวอย่างนี้. คำว่า สามนฺตชปฺปิเตน ได้แก่ ด้วยการพูดในที่ใกล้. คำว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยาบถ ทั้ง ๔. คำว่า อฏฺปนา ได้แก่ การเริ่มยกอิริยาบถ หรือการตั้งอิริยาบถ ด้วยความเอาใจใส่ (ตั้งใจ). คำว่า ปนา ได้แก่ อาการที่ตั้งอิริยาบถ. คำว่า สณฺาปนา ได้แก่ การตระเตรียมอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบาย คำนี้ไว้ว่า การทำให้ผู้อื่นเลื่อมใส. คำว่า ภากุฏิกา ได้แก่ การสยิ้วหน้า ด้วยสามารถแห่งการแสดงความเป็นใหญ่ หรือความเป็นผู้เคยดำรงอยู่ก่อน คำนี้ ตรัสอธิบายว่า เป็นผู้แสดงความไม่พอใจ ดังนี้. ที่ชื่อว่า สยิ้วหน้าเพราะว่า การสยิ้วหน้าของผู้นั้นมีอยู่เป็นปกติ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้สยิ้วหน้า ชื่อว่า สภาพที่สยิ้วหน้า. คำพูดอันเป็นอุบายให้เขาเชื่อ ชื่อว่า ความหลอกลวง. วิถีทางของผู้หลอกลวง ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องหลอกลวง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หลอกลวง ชื่อว่า สภาพที่หลอกลวง ดังนี้.
ลปนานิทเทส
อธิบาย การพูดประจบ
การพูดตั้งแต่ต้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายมาเพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ท่านมาด้วยความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 894
ประสงค์อย่างนี้ไซร้ อาตมาจักจัดภิกษุให้ไปภายหลัง ดังนี้ เพราะเห็นพวกมนุษย์มาสู่วิหารนี้ ชื่อว่า การพูดทักทาย.
อีกอย่างหนึ่ง การพูดแนะนำตนเองว่า อาตมา ชื่อว่า ติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ของพระราชาโน้นๆ ก็เลื่อมใส ดังนี้ เพราะการแนะนำตนอย่างนี้ ก็ชื่อว่า การพูดทักทาย. เมื่อบุคคลผู้ถามมีอยู่ การพูดโต้ตอบมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า การพูดสนทนา. การพูดด้วยดี เพราะให้โอกาสแก่ผู้หวาดกลัว ในเพราะการพูดไม่คล่องของคหบดีทั้งหลาย ชื่อว่า การพูดปลอบโยน. การพูดยกตนให้สูงอย่างนี้ว่า เราเป็นกุฎุมพีใหญ่ เป็นทานบดีใหญ่ ดังนี้ ชื่อว่า การพูดยกย่อง. การพูดโดยการกระทำให้สูงโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การพูดเยินยอ. การพูดทำให้ชอบใจว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในครั้งก่อน ท่านย่อมถวายทานในกาลเช่นนี้ บัดนี้ ท่านไม่ถวายทานหรือ. เขาตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมยังไม่ได้โอกาส เป็นต้น โดยทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ชื่อว่า การพูดอ้อมค้อม. อธิบายว่า ได้แก่ การพูดเกลี่ยกล่อม.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นบุคคลถืออ้อยมา จึงถามว่า ดูก่อนอุบาสก อ้อยนี้ท่านได้มาจากไหน. เขาตอบว่า จากไร่อ้อยขอรับ ภิกษุถามว่า อ้อยในไร่นั้น มีรสหวานไหม. อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเคี้ยวกินแล้วพึงทราบ. ภิกษุกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก ถ้าว่าอาตมาพูดว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายอ้อยแก่ภิกษุ ดังนี้ ย่อมไม่ควร การพูดชมเชยของภิกษุผู้ประจบเห็นปานนี้ อันใด การพูดอ้อมค้อมก็อันนั้น. การพูดอ้อมค้อมบ่อยๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การพูดประจบ. คำว่า การพูดชมเชย ได้แก่วาจาเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 895
เครื่องยังจิตให้หวั่นไหว ซึ่งยกขึ้นอย่างนี้ว่า ตระกูลนี้ ย่อมรู้จักเราดีทีเดียว ถ้าเขาจะถวายไทยธรรมไซร้ก็จักถวายแก่เราเท่านั้น ดังนี้ชื่อว่า การสรรเสริญ คือ การยกย่อง. ในข้อนั้นพึงกล่าวถึงเรื่องอุปัฏฐากผู้บำรุงภิกษุ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูป เข้าไปสู่บ้านหนึ่ง นั่งที่โรงภัตตาหาร เห็นกุมาริกาคนหนึ่ง จึงเรียกมา. ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง จึงถามภิกษุรูปหนึ่งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุมาริกานี้เป็นลูกใคร. ภิกษุนั้นจึงยกย่องสรรเสริญ ด้วยคำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลูกสาวอุปัฏฐากผู้บำรุงของกระผม มารดาของหญิงนี้ เมื่อกระผมไปบ้านแล้ว เมื่อจะถวายเนยใส ย่อมถวายทั้งหม้อทีเดียว แม้กุมาริกานี้ ก็ย่อมถวายเนยใสทั้งหม้อเหมือนมารดานั่นแหละ ดังนี้.
การพูดสรรเสริญซ้ำๆ ชื่อว่า การพูดสรรเสริญบ่อย. คำว่า อนุปฺปิยภาณิตา ได้แก่ การกล่าววาจาอันเป็นที่รักบ่อยๆ ไม่สนใจคำอันเหมาะสม แก่สัจจะ หรือเหมาะสมกับธรรมเลย. คำว่า ปาตุกมฺยตา ได้แก่ ความประพฤติตั้งตนไว้ต่ำให้เป็นไป. คำว่า มุคฺคสูปยตา ได้แก่ วาจาเช่นกับแกงถั่วเขียว. เหมือนอย่างว่า ครั้นเมื่อถั่วเขียวทั้งหลายอันบุคคลต้มอยู่ ถั่วเขียวอะไรๆ บางอย่างย่อมไม่สุก ถั่วเขียวที่เหลือย่อมสุกฉันใด คำพูดสัจจะไรๆ มี อยู่ คำพูดอันเหลวไหล ก็มีอยู่ในถ้อยคำของบุคคลนั้นนั่นแหละ บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้มีวาจาเช่นแกงถั่วเขียว ดังนี้. ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีวาจาทีเล่นทีจริงเช่นแกงถั่วเขียวนั้น ชื่อว่า สภาพวาจาเช่น แกงถั่วเขียว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้รับเลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่า สภาพความเป็นผู้เลี้ยงดูเด็ก. จริงอยู่ บุคคลใดย่อมเลี้ยงดูทารกในตระกูล ด้วยสะเอว หรือ ด้วยบ่า เหมือนแม่นม อธิบายว่า ย่อมเลี้ยงดูเด็กในตระกูลโดยให้ทรงอยู่. การงานของผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น ชื่อว่า การรับเลี้ยงเด็ก. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่า สภาพการรับเลี้ยงเด็ก ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 896
เนมิตติกตานิทเทส
อธิบาย การแสดงนิมิต
คำว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม อันประกอบพร้อมด้วยการให้ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ชนเหล่าอื่น. คำว่า นิมิตฺตกมฺมํ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการทำนิมิต. ในข้อนี้ มีเรื่องดังนี้
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ถือบิณฑบาตเป็นวัตรไปถึงประตูบ้านนายช่างทองผู้อุปัฏฐาก ผู้อันช่างทองถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านต้องการอะไร ดังนี้ เธอจึงนำมือออกจากภายในระหว่างจีวร แล้วได้แสดงอาการ คือการนำมีดไป. ช่างทอง ทราบลักษณะอาการนั้น แล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นั่นมีดของกระผม ดังนี้ แล้วได้ถวายมีดไป. คำว่า โอภาโส ได้แก่ กล่าวถ้อยคำอันเกี่ยวด้วยปัจจัย. คำว่า โอภาสกมฺมํ อธิบายว่า ภิกษุเห็นบุคคลผู้เลี้ยงลูกโค จึงถามว่า ลูกโคเหล่านี้ เป็นลูกโคนม หรือเป็นลูกโคเปรียง (ตักกโควัจฉา) เมื่อเด็กเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นลูกโคนม ดังนี้ เธอก็จะพูดเป็นนัย อันยังมารดาบิดาของเด็กเลี้ยงโคนั้นให้ทราบ อันเป็นเหตุให้เขาถวายนมเป็นต้น โดยนัยว่า ผิว่า พึงเป็นลูกโคนม แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงได้น้ำนม ดังนี้. คำว่า สามนฺตชปฺปา ได้แก่ การกระซิบ คือพูด ใกล้. ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่อง พระเถระผู้เรียนชาดก.
ได้ยินว่า พระเถระผู้เรียนชาดกรูปหนึ่ง เป็นผู้ใคร่จะฉันอาหาร เข้าไปสู่บ้านอุปัฏฐายิกา แล้วนั่งอยู่. อุปัฏฐายิกานั้น ไม่ประสงค์จะถวายอะไร จึงกล่าวว่า ข้าวสารไม่มี ดังนี้ แล้วไปสู่บ้านของเพื่อนบ้าน เป็นราวกะว่า ต้องการจะนำข้าวสารมา. ทีนั้นภิกษุก็เข้าไปภายในห้อง แลดูอยู่ เห็นอ้อยพิง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 897
อยู่ที่มุมประตูหน้าต่าง เห็นน้ำอ้อยงบที่ภาชนะ เห็นปลาเค็มในกระจาด เห็นข้าวสารในหม้อใหญ่ เห็นจอกน้ำในหม้อน้ำ แล้วก็ออกมานั่ง.
หญิงแม่เรือนมาแล้วก็กล่าวว่า เราไม่ได้ข้าวสาร ดังนี้. พระเถระ กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสิกา วันนี้ ภิกษาเห็นจักไม่ถึงพร้อม แล้วกล่าวว่า อาตมา ได้เห็นนิมิตก่อนนั่นแหละ. หญิงนั้นถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมิตเป็นอย่างไร ดังนี้.
พระเถระกล่าวว่า อาตมาแลดูอยู่ด้วยคิดว่า เราจักประหารงูอันเห็นแล้วนั้น ซึ่งเป็นราวกะว่าอ้อยที่วางไว้ที่มุมใกล้หน้าต่าง เห็นแผ่นหิน ราวกะก้อนน้ำอ้อยงบที่วางไว้ในภาชนะ เห็นพังพานงูแผ่ออกแล้ว เพราะถูกขว้างปาด้วยก้อนดิน เช่นกับการผ่าปลาใส่เกลือวางไว้ในกระจาด เห็นฟันของงูนั้นผู้ไล่กัดก้อนดินนั้น เช่นกับข้าวสารในหม้อ ลำดับนั้น เห็นเขฬะอันเจือด้วยพิษออกไปจากปากงูผู้โกรธแล้วนั้น เช่นกับจอกน้ำที่ในหม้อน้ำ ดังนี้. หญิงแม่บ้านนั้น ถวายอ้อยแล้ว ด้วยคิดว่า เราไม่อาจเพื่อลวงสมณะโล้นได้ ดังนี้ แล้วหุงข้าวถวายพร้อมกับน้ำอ้อยงบในหม้อและปลา ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบการพูดด้วยอาการอย่างนี้ว่า เป็นการพูดใกล้ๆ ดังนี้. คำว่า การพูดแวดล้อม หว่านล้อมโดยประการที่ตนจะได้ อย่างนั้นแล.
นิปเปสิกตานิทเทส
อธิบาย การพูดติเตียน
คำว่า การด่า ได้แก่ การด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ. คำว่า การข่ม ได้แก่การกล่าวเย้ยหยัน. คำว่า การนินทา ได้แก่ การพูดยกโทษขึ้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 898
โดยนัยว่า เขาไม่มีศรัทธา ไม่น่าเลื่อมใส. คำว่า การพูดตำหนิโทษ ได้แก่ การยกวาจาขึ้นว่า ท่านอย่าได้กล่าววาจาเช่นนี้ ในที่นี้. การพูดตำหนิโทษ อันเป็นไปกับด้วยวัตถุ เป็นไปกับด้วยเหตุ โดยส่วนทั้งปวง เรียกว่า การพูดเหยียดหยาม.
อีกอย่างหนึ่ง การพูดยกโทษขึ้นอย่างนี้ว่า โอ ท่านทานบดี ไม่ให้อะไรๆ ชื่อว่า ติเตียน. การพูดด้วยดีอย่างนี้ว่า ท่านทานบดีใหญ่ ดังนี้ เรียกว่า การพูดเหยียดหยาม. คำว่า การพูดเหยียดหยาม ได้แก่การพูดเยาะเย้ย อย่างนี้ว่า ชีวิต (ความเป็นอยู่) ของท่านผู้นี้ กินพืชเป็นอาหารมิใช่หรือ ดังนี้ ชื่อว่า การพูดเยาะเย้ย. ย่อมพูดให้ยิ่งกว่านี้ว่า ท่านทั้งหลายย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มิใช่ทายก เป็นต้น บุคคลใด ย่อมให้วาจาแก่บุคคลทั้งปวงตลอดกาลเป็นนิจว่า ไม่มี ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า พูดเยาะเย้ย หรือเหยียดหยามให้เสียชื่อเสียง. การพูดว่า ทานบดีไม่ให้ หรือตำหนิให้เสียชื่อเสียง โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างแรง. การนำเรื่องไปติเตียนจากบ้านโน้นไปสู่บ้านนี้ จากชนบทโน้นไปสู่ชนบทนี้ว่า บุคคลย่อมประสบ แม้ความกลัวแต่การติเตียนของเรา อย่างนี้ชื่อว่า การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน การพูดวาจาไพเราะต่อหน้า ในภายหลังพูดนินทา ชื่อว่า การพูดไพเราะต่อ หน้านินทาลับหลัง. จริงอยู่ บุคคลผู้พูดอย่างนี้ เมื่อไม่อาจแลดูเฉพาะหน้า ย่อมเป็นราวกะการเคี้ยวกินเนื้อในที่ลับหลัง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า พูดไพเราะต่อหน้าลับหลังนินทา ดังนี้. คำว่า อยํ วุจฺจติ นิปฺเปสิกตา ได้แก่ บุคคลนี้ ย่อมไม่นำ คือย่อมไม่กล่าวคุณของผู้อื่นอันมีอยู่ในภายในราวกะบุคคลบดคันธชาติ คือบดขยี้คุณของผู้อื่นให้แหลกเป็นจุณ ย่อมเป็นราวกะการแสวงหาคันธชาตินั้น วาจาเช่นนี้ ย่อมเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 899
วาจาแสวงหาลาภ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า พูดติเตียน (อุบายโกง) ดังนี้.
ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตานิทเทส
อธิบาย การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ
การแสวงหา (ด้วยอำนาจแห่งความอยาก) ชื่อว่า การมุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง. คำว่า อิโต ลทฺธํ ได้แก่ลาภสักการะ ชื่อเสียง อันตนได้แล้วจากบ้านนี้. คำว่า อมุตฺรา ได้แก่ ในบ้านชื่อโน้น. คำว่า เอฏฺิ ได้แก่ การปรารถนา. คำว่า คเวฏฺิ ได้แก่ การเสาะหา. คำว่า ปริเยฏฺิ ได้แก่ การแสวงหาบ่อยๆ. ก็ในเรื่องนี้ บัณฑิตพึงกล่าว เรื่องของภิกษุผู้ให้ภิกษาอันตนได้แล้วๆ จำเดิมแต่ต้น แก่ทารกในตระกูล ในที่นั้นๆ แล้วจึงได้น้ำนมและข้าวยาคูในที่สุด แล้วจึงไป. คำว่า เอสนา เป็นต้น เป็นคำไวพจน์ของคำว่าความปรารถนาเป็นต้น เพราะฉะนั้นในที่นี้พึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า คำว่า เอฏฺิ ได้แก่ กิริยาที่หา. คำว่า คเวฏฺิ ได้แก่ กิริยาที่เที่ยวหา. คำว่า ปริเยฏฺิ ได้แก่ กิริยาที่เที่ยวแสวงหาดังนี้.
เสยยมานนิทเทส
อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
คำว่า ชาติยา (แปลว่า โดยชาติ) ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยชาติมีความเป็นกษัตริย์ เป็นต้น. คำว่า โคตฺเตน (โดยโคตร) ได้แก่ ด้วยโคตรอันสูงสุด มีโคตมโคตรเป็นต้น. คำว่า โกลปุตฺติเยน (โดยความเป็นผู้มีสกุล) ได้แก่ ด้วยความเป็นตระกูลใหญ่ คำว่า วณฺณโปกฺขรตาย (โดยความเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 900
ผู้มีรูปงาม) ได้แก่ โดยความเป็นผู้มีสรีระอันถึงพร้อมด้วยวรรณะ จริงอยู่ สรีระ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า โปกขระ. อธิบายว่า เพราะความที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีรูปงามด้วยวรรณสมบัติ. คำว่า ธเนน เป็นต้น (คือ โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ เป็นต้น) มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ในคำว่า มานํ ชปฺเปติ (ย่อมถือตัว คือ ย่อมยังมานะให้เกิด) เหล่านั้น อธิบายว่า ในบรรดาวัตถุเหล่านั้น ย่อมให้มานะเป็นไปว่าเราเลิศกว่าเขา คือย่อมกระทำด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้.
สทิสมานนิทเทส
อธิบาย ความสำคัญตนว่าเสมอเขา
ในคำว่า มานํ ชปฺเปติ นี้นั่นแหละ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมให้มานะ (ความสำคัญตน) ว่า เราเป็นผู้เช่นเดียวกับเขา ด้วยวัตถุ (เหตุ) อย่างใดอย่างหนึ่ง. ก็ในนิทเทสแห่งความสำคัญตนว่าเสมอเขานี้ มีเนื้อความแปลกกันโดยอรรถ แต่ในพระบาลีไม่มีการกระทำที่แตกต่างกัน.
หีนมานนิทเทส
อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
คำว่า โอมานํ ชปฺเปติ ได้แก่ ยังมานะให้เป็นไปในฝ่ายต่ำ. มานะอันลามก อันต่ำช้า ชื่อว่า โอมานะ. คำว่า โอมญฺิตตฺตํ ได้แก่ การ แสดงความเป็นไปแห่งอาการ. คำว่า หีฬนา ได้แก่ การดูหมิ่นตนเอง (การรังเกียจตนเอง) โดยฐานะทั้งหลาย มีโดยชาติเป็นต้น. คำว่า โอหีฬนา ได้แก่ การดูถูกอย่างยิ่งเกินเปรียบ. คำว่า โอหีฬตตฺตํ ได้แก่ เป็นการ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 901
แสดงออกแห่งความเป็นไปของบุคคลนั้นนั่นแหละ. คำว่า อตฺตุญฺา ได้ แก่ ความเข้าใจตนเองว่า ต่ำช้า (ดูถูกตนเอง). คำว่า อตฺตาวญฺา ได้แก่ การเหยียดหยามตน. คำว่า อตฺตปริภโว ได้แก่ ความเย้ยหยันตน (การดูแคลน) โดยสำคัญว่า พวกเราต่ำกว่าเขาโดยสมบัติ มีชาติเป็นต้น. มานะ ๓ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งวัตถุ มีชาติเป็นต้น มิได้อาศัยบุคคล ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในมานะ ๓ เหล่านั้น มานะหนึ่งๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสำคัญตนว่าดีกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา แม้ทั้ง ๓. ในมานะเหล่านั้น มานะว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นมานะแท้จริง ของบุคคลผู้เลิศกว่าเขา ส่วนมานะที่เหลือไม่ใช่. มานะว่า เราเสมอเขา เป็นมานะแท้จริงของบุคคลผู้เสมอกับผู้อื่นนั่นแหละ ที่เหลือไม่ใช่. มานะว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะของบุคคลผู้เลวนั่นแหละ ที่เหลือไม่ใช่.
บรรดามานะเหล่านั้น ก็คำว่า กตโม เสยฺยสฺส เสยฺโยหมสฺมิ (แปลว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน?) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมานะ ๙ อย่าง โดยอาศัยบุคคล. ในมานะเหล่านั้น มานะ อย่างละ ๓ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้หนึ่ง. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทหติ (แปลว่า ย่อมถือตัว) ได้แก่ ย่อมตั้งไว้. คำว่า ตํ นิสฺสาย ได้แก่ อาศัยการถือตัว โดยความเป็นผู้เลิศกว่าเขานั้น.
ก็มานะในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ดังนี้ มานะนี้ย่อมเกิดแก่พระราชาทั้งหลาย และบรรพชิตทั้งหลาย. จริงอยู่ พระราชา ย่อมทำมานะนี้ว่า ใครๆ เสมอเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือด้วยทรัพย์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 902
หรือด้วยพาหนะ มีอยู่หรือ ดังนี้. แม้บรรพชิต ก็ย่อมทำมานะนี้ว่า ใครๆ เช่นกับเรา ด้วยศีล และธุดงค์เป็นต้นมีหรือ ดังนี้.
แม้มานะว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ดังนี้ ก็ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นนั่นแหละ. จริงอยู่ พระราชา ย่อมทำมานะนี้ว่า อะไรๆ เป็นการกระทำที่ต่างกันของเรา กับด้วยพระราชาเหล่าอื่น โดยแว่นแคว้น หรือโดยทรัพย์ หรือโดยพาหนะมีหรือ ดังนี้. แม้บรรพชิตก็ย่อมทำมานะนี้ว่า อะไรๆ เป็นการกระทำที่ต่างกันของเรากับด้วยภิกษุอื่น ด้วยคุณทั้งหลายมีศีล และธุดงค์เป็นต้น หรือ ดังนี้.
แม้มานะในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขา ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ. จริงอยู่ แว่นแคว้น หรือทรัพย์ หรือพาหนะ เป็นต้น ย่อมไม่สมบูรณ์แก่พระราชาใด พระราชานั้น ย่อมทำเหตุสักว่าอาศัยความสุขอันเป็นโวหารว่าผู้นั้นเป็นราชาของเรา ดังนี้ ให้เป็นมานะว่า เรา ชื่อว่า เป็นราชาได้อย่างไร ดังนี้. แม้บรรพชิต ผู้มีลาภสักการะน้อย ย่อมทำมานะอันสักว่าถ้อยคำว่า เป็นพระธรรมกถึก เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระ นั่นแหละ ให้เป็นมานะนี้ว่า เราชื่อว่าเป็นพระธรรมกถึก หรือเป็นพหูสูต หรือเป็นมหาเถระอย่างไร เพราะลาภสักการะไม่มีแก่เรา ดังนี้.
มานะว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย มีอำมาตย์เป็นต้น. จริงอยู่ อำมาตย์ย่อมทำมานะทั้งหลายเหล่านั้นว่า ราชบุรุษอื่น (อำมาตย์) เช่นกับเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือ โดยโภคะ ยานพาหนะเป็นต้น มีอยู่หรือ ดังนี้. หรือทำมานะว่า การกระทำอันแตกต่างกันของเรากับอำมาตย์เหล่าอื่นมีอยู่หรือ ดังนี้ หรือทำมานะว่า สักว่า ชื่อว่า อำมาตย์นั่นแหละแม้สักว่ารสนิยมในการเคี้ยวกินอาหาร ย่อมไม่มีแก่เรา หรือว่า เราชื่อว่า เป็นอำมาตย์ได้อย่างไร ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 903
มานะในคำว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นต้น ย่อมเกิดแก่ทาสทั้งหลาย. จริงอยู่ ทาสย่อมทำมานะทั้งหลายเหล่านี้ว่า เราเป็นทาสเพราะมารดาบิดา ชื่อว่าทาสอื่นเสมอเรา มีหรือ คนอื่นไม่สามารถเพื่อเป็นอยู่เพราะอาศัยท้องเป็นเหตุ จึงเป็นทาส ส่วนเราชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่า เพราะมาตามประเพณี หรือว่าทำมานะว่า การทำที่แตกต่างกันของเรากับทาสผู้โน้น ผู้เป็นทาสมาตามประเพณี ผู้เป็นทาสบริสุทธิ์โดยส่วนสอง ดังนี้ หรือว่า ทำมานะว่า เราเข้าถึงความเป็นทาส ด้วยสามารถแห่งปากท้อง แต่ตำแหน่งทาสของเราไม่มีตั้งแต่มารดาบิดา เราชื่อว่าเป็นทาสได้อย่างไร ดังนี้. ก็ทาส ย่อมทำมานะ ฉันใด แม้คนเทขยะ และคนจัณฑาลเป็นต้น ก็ย่อมทำมานะทั้งหลายเหล่านี้ ฉันนั้นนั่นแหละ.
อนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นของบุคคลผู้เลิศกว่าเขาเท่านั้น มานะ ๒ นอกนี้ ไม่ใช่. มานะว่า ผู้เสมอเขา มีความสำคัญตนว่าเสมอเขา ดังนี้ ก็เหมือนกัน มานะ ๒ นอกนี้ไม่ใช่. มานะว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ก็เกิดแก่บุคคลผู้เลวนั้นนั่นแหละ มานะ ๒ นอกนี้ไม่ใช่.
ในมานะเหล่านั้น มานะอันเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นธรรมอันพระอรหัตมรรคพึงฆ่า มานะอันไม่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงฆ่า.
พระศาสดา ครั้นตรัสมานะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยวัตถุอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงมานะซึ่งเกิดขึ้นอันไม่มีวัตถุ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตตฺถ กตโม มาโน (แปลว่า บรรดาคำเหล่านั้น มานะ (ความถือตัว) เป็นไฉน?) เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 904
ในนิทเทสแห่งอติมานะ (ความดูหมิ่น) พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงถือเอาบุคคลด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้เลิศเป็นต้น แต่ทรงชี้แจงด้วยสามารถแห่งวัตถุมีชาติเป็นต้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อติมญฺติ (แปลว่า ย่อมดูหมิ่น) ได้แก่ ย่อมสำคัญตนเลยไปว่า ผู้อื่นเช่นกับเราโดยชาติ เป็นต้น ย่อมไม่มี ดังนี้.
มานาติมานนิทเทส
อธิบาย ความถือตัว ความเย่อหยิ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า โย เอวรูโป อย่างนี้ เพื่อแสดงว่า มานะอันเกิดขึ้นในเบื้องต้นว่า บุคคลใดเป็นผู้เช่นกับเรา แต่มาบัดนี้ เราเป็นผู้ประเสริฐกว่า ผู้นี้ต่ำกว่า ดังนี้ ชื่อว่า ความถือตัวและความเย่อหยิ่ง โดยอาศัยมานะว่าผู้อื่นเช่นกับตนในกาลก่อนนั้น บุคคลนี้ ย่อมเป็นราวกะบุคคล มีภาระหนักยิ่งกว่าภาระหนัก ดังนี้.
นิทเทสแห่งโอมานะ (มานะอันลามก) เช่นกับนิทเทสแห่งมานะอันเลว (หีนมานะ) นั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ (สัตว์ผู้พอแนะนำได้) ชื่อว่ามานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้มีความสำคัญว่า เราเป็นคนเลว ดังนี้ มานะนี้ ชื่อว่า โอมานะ. อีกอย่างหนึ่ง ในมานะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มานะนี้ชื่อว่า โอมานะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไป โดยกระทำตนให้ต่ำอย่างนี้ว่า ท่านมีชาติ แต่ชาติของท่านเหมือนชาติของกา ท่านมีโคตร แต่โคตรของท่านเหมือนโคตรของคนจัณฑาล เสียงของท่านมีอยู่ แต่เสียงของท่านเหมือนเสียงขอกา ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 905
อธิมานนิทเทส
อธิบาย ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ
คำว่า อปฺปตฺเต ปตฺตสญฺิตา (แปลว่า ความสำคัญว่าถึงแล้วในธรรมที่ตนยังไม่ถึง) ได้แก่ มีความสำคัญว่าถึงสัจจะ ๔ อันตนยังไม่บรรลุว่า บรรลุแล้ว. คำว่า อกเต (แปลว่า ในกิจที่ยังไม่ได้ทำ) ได้แก่ มีความสำคัญ ในกิจที่ตนพึงกระทำ อันมรรค ๔ ยังมิได้กระทำ. ว่า อนธิคเต (แปลว่า... ในธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ) ได้แก่ยังไม่บรรลุสัจธรรมทั้ง ๔. คำว่า อสจฺฉิกเต (แปลว่า ในธรรมที่ตนยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง) ได้แก่ ธรรมอันอรหัตมรรค ยังมิได้กระทำให้แจ้ง. คำว่า อยํ วุจฺจติ อธิมาโน ได้แก่ บุคคลนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้มีความสำคัญว่าตนได้บรรลุธรรมวิเศษ.
ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษนี้ ย่อมเกิดแก่ใคร ย่อมไม่เกิดแก่ใคร.
ตอบว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวก ก่อน. จริงอยู่ พระอริยสาวกนั้น มีโสมนัส (ความพอใจ) อันเกิดขึ้นดีแล้วในขณะแห่งการพิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลส ที่ท่านละแล้วและยังมิได้ละทีเดียว ไม่มีการสงสัยในการแทงตลอด (ในปฏิเวธ) ซึ่งเป็นอริยคุณ เพราะฉะนั้น ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดแก่พระโสดาบันเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งความสำคัญว่า เราเป็นพระสกทาคามี เป็นต้น.
ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้ทุศีล. จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีลนั้นไม่มีความปรารถนาในการ บรรลุอริยคุณเลย. ความสำคัญตน ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 906
ศีล ผู้มีกรรมฐานอันสละแล้ว ผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ยินดีในการนอน เป็นต้น.
ก็แต่ว่า ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษนั้น ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้ไม่ประมาทในกรรมฐาน ผู้กำหนดนามรูป ข้ามความสงสัยได้ด้วยการกำหนดปัจจัย ผู้ยกนามรูปขึ้นสู่ไตรลักษณ์แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ผู้มีความเห็นแจ้ง มีความเพียร. อนึ่ง เมื่อมีความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษเกิดขึ้นแล้ว บุคคลผู้ได้สมถะอย่างเดียว (สุทธสมถลาภี) หรือผู้ได้วิปัสสนาอย่างเดียว (วิปัสสนาลาภี) ย่อมพักกรรมฐานไว้ในระหว่าง เพราะว่า เมื่อบุคคลนั้นไม่เห็นความปรากฏเกิดขึ้นแห่งกิเลสในสิ้นเวลา ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง จึงเกิดความสำคัญตนว่า เราเป็นพระโสดาบัน หรือเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี ดังนี้. ส่วนพระโยคีผู้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา เมื่อมีความสำคัญว่าได้บรรลุพระอรหัตเท่านั้น จึงพักกรรมฐานเสีย เพราะว่า กิเลสทั้งหลายอันบุคคลนั้นข่มไว้แล้วด้วยกำลังแห่งสมาธิ สังขารทั้งหลาย อันเธอกำหนดดีแล้วด้วยกำลังแห่งวิปัสสนา ฉะนั้น กิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น สิ้น ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง. ความไม่สงสัย (คือไม่มีความสำคัญตน) ย่อมมีแก่พระขีณาสพเท่านั้น. พระโยคีผู้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น เมื่อไม่เห็นความเกิดขึ้นแห่งกิเลสสิ้นกาลนานอย่างนี้ จึงพักกรรมฐานไว้ในระหว่างเทียว ย่อมสำคัญว่า เราบรรลุพระอรหันต์ ดังนี้ เหมือน พระมหานาคเถระ ผู้อยู่ในอุจจตลังกะ เหมือนพระมหาทัตตเถระ ผู้อยู่ในหังกนกะ และเหมือนพระจูฬสุมเถระ ผู้อยู่ในเรือนเป็นที่กระทำความเพียร ชื่อว่า นิงกโปณณะ ใกล้ภูเขาชื่อ จิตตลบรรพต. ในข้อนั้น พึงทราบการชี้แจงสักเรื่องหนึ่ง ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 907
เรื่องพระมหานาคเถระ
ได้ยินว่า พระธัมมทินนเถระ ผู้อาศัยอยู่ในตลังกะรูปหนึ่ง เป็นพระขีณาสพผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้เป็นผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ในวันหนึ่ง ท่านนั่งพักในที่พักในเวลากลางวันของตน นึกถึงอาจารย์ของท่านว่า กิจแห่งสมณะของพระมหานาคเถระผู้อาศัยอยู่ในอุจจตลังกะ อาจารย์ของเราถึงที่สุดแล้ว หรือไม่หนอ ดังนี้ เห็นแล้วซึ่งความที่อาจารย์ของตนนั้นยังเป็นปุถุชน และทราบว่า เมื่อเราไม่ไปอยู่ อาจารย์ของเราจักกระทำกาลกิริยา ด้วยความเป็นปุถุชนนั่นแหละ ดังนี้ จึงเหาะขึ้นไปสู่เวหาสด้วยฤทธิ์ หยั่งลงแล้วในที่ใกล้พระมหานาคเถระซึ่งนั่งพักอยู่ในที่เป็นที่นั่งพักในเวลากลางวัน ไหว้แล้ว แสดงวัตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ก็เมื่อ อาจารย์ถามว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มีอายุ เพราะเหตุไร เธอจึงมาในเวลาอันไม่สมควร ดังนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาเพื่อจะถามปัญหาขอรับ ดังนี้. ลำดับนั้น เมื่ออาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เธอจงถาม เมื่อผมทราบก็จักตอบ ดังนี้ จึงถามปัญหาพันข้อ. พระเถระผู้อาจารย์ ไม่คิดอยู่ซึ่งปัญหานั้นอันพระธัมมทินนะถามแล้วๆ ก็กล่าวแก้แล้วๆ. ทีนั้น ครั้นเมื่อคำอันพระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ญาณของท่านคมยิ่งนัก ธรรมนี้ท่านบรรลุในกาลไร ดังนี้ ท่านก็กล่าวว่า ผู้มีอายุ ในกาลแห่งพรรษา ๖๐ แต่กาลนี้ ดังนี้. พระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านยังใช้สมาธิอยู่หรือ ดังนี้ พระเถระอาจารย์ตอบว่า ผู้มีอายุ ข้อนี้ ไม่หนักใจเลย ดังนี้.
พระธัมมทินนะ จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอท่าน จงนิรมิตช้างเชือกหนึ่ง ดังนี้. ท่านก็เนรมิตช้างเผือกแล้ว. พระธัมมทินนะ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ช้างนี้ มีหูกาง (ผึ่ง) ออกแล้ว มีหาง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 908
เหยียดออกแล้ว เอางวงใส่ในปาก ส่งเสียงร้องโกญจนาท (เสียงกึกก้อง) มุ่งหน้าเฉพาะต่อท่านมาอยู่ โดยอาการที่ท่านสร้างมันขึ้นมา อย่างนั้น ดังนี้. พระเถระผู้อาจารย์ ครั้นนิรมิตอย่างนั้นแล้ว เห็นแล้วซึ่งอาการกิริยาเสียงร้องของช้างมาโดยเร็ว ท่านก็ลุกขึ้นเริ่มเพื่อจะหนีไป. พระธัมมทินนะผู้เป็นพระขีณาสพ จึงเหยียดมือออกไปจับชายจีวรของพระอาจารย์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความกลัวย่อมมีแก่พระขีณาสพด้วยหรือ ดังนี้. พระอาจารย์จึงทราบความที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ในกาลนั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มีอายุ ท่านจงเป็นที่พึ่งแก่กระผม ดังนี้ แล้วนั่งกระโหย่งใกล้เท้าของพระธัมมทินนะ. พระธัมมทินนะเถระกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาด้วยประสงค์ ว่าจักเป็นที่พึ่งแก่ท่าน ขอท่านอย่าได้วิตก ดังนี้ แล้วบอกกรรมฐาน. พระเถระผู้อาจารย์ เรียนกรรมฐานแล้วก็ก้าวขึ้นสู่ที่เป็นที่จงกรม ในก้าวที่สามก็บรรลุพระอรหัตผลอันเลิศ ได้ยินว่า พระเถระนี้เดิมท่านเป็นผู้มีโทสจริต.
อัสมิมานนิทเทส
อธิบาย ความสำคัญว่า มีอัตตา
คำว่า รูเป อสฺมีติ มาโน (แปลว่า ความสำคัญในรูป ว่าเป็น ตัวเรา) ได้แก่ มีความสำคัญเกิดขึ้นว่า รูปเป็นเรา ดังนี้. คำว่า ฉนฺโท (แปลว่า ความพอใจ) ได้แก่ เป็นผู้มีฉันทะไปตามมานะ... (มานะ คือความสำคัญว่ามีอัตตา) นั่นแหละ. ความเข้าใจพอใจอันนอนเนื่องอยู่ในรูปว่าเป็น ตัวเรา ก็เหมือนกัน แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 909
มิจฉามานนิทเทส
อธิบาย ความถือตัวผิด
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาปเกน วา กมฺมายตเนน เป็นต้น การงานของพรานเบ็ด ชาวประมง และผู้ฆ่าสัตว์เป็นต้น ชื่อว่า หน้าที่การงาน อันลามก. ความฉลาดเฉียบแหลมในการทำแหและชุดดักปลา และทำหลาวแทงปลาเป็นต้น ชื่อว่า ศิลปะอันลามก. วิชชาในการทำร้ายสัตว์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะอันลามก. การประกอบพร้อมเฉพาะ ด้วยเรื่องเล่า มีเรื่องภารตยุทธและเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น ชื่อว่า การศึกษาอันลามก. ความเฉียบแหลมในกาพย์กลอน การฟ้อนรำ การรำพันเป็นต้น อันประกอบด้วยทุพภาษิต ชื่อว่า ปฏิภาณอันลามก. อัชชศีล (มีความประพฤติอย่างแพะ) โคศีล (การประพฤติอย่างโค) ชื่อว่า ศีลอันลามก. ทิฏฐิ ๖๒ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิฏฐิอันลามก.
ใน นิทเทสแห่งความวิตกถึงญาติ (ความคิดถึงญาติ) เป็นต้น ชื่อว่า คิดถึงญาติ คือ มีวิตกอันเกิดขึ้นปรารภญาติทั้งหลาย ด้วยความรักใคร่อันเกี่ยวข้องกันในบ้าน อาศัยกามคุณ ๕ อย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของเราเป็นอยู่สบาย มีทรัพย์สมบัติ ดังนี้. แต่ว่าบุคคลนั้น มีความตรึกเป็นไปอย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของเรามีศรัทธา มีความเลื่อมใส ถึงความสิ้นไป ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ไม่ชื่อว่า ตรึกถึงญาติ.
ความตรึกอันเกิดขึ้นแก่ผู้ยินดีอยู่ว่า ชนบทของเราทั้งหลาย มีภิกษาหาได้โดยง่าย มีข้าวกล้าสมบูรณ์ ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งความรักอันอาศัยเรือน (เคหสิตเปมํ) ชื่อว่า ความตรึกถึงชนบท. แต่ว่า บุคคลมีความตรึกเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 910
ไปอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายในชนบทของพวกเรา มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ถึงความสิ้นไป ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ความตรึกถึงชนบท.
ความตรึกเพื่อความต้องการไม่ให้ตาย หรือว่าความตรึกอันไม่ตาย ชื่อว่า อมรวิตก ความตรึกอันไม่ตายตัว. ในข้อนั้น ความตรึกอันเกี่ยวด้วยความพอใจในการทำสิ่งที่ทำได้โดยยากของผู้ทำทุกรกิริยาโดยตรึกว่า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นด้วยความเพียรมีการนั่งกระโหย่งเป็นต้น ซึ่งทำจนหมดแรงแล้ว อัตตา ย่อมเกิดเป็นสุข ย่อมไม่ตายในภพเบื้องหน้า ดังนี้ ชื่อว่า ความตรึก เพื่อความต้องการไม่ตายตัว. ก็บุคคลผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ถูกผู้อื่นถามปัญหาว่า ท่านย่อมกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น ท่านก็จะกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัวว่า สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่เราว่า.
เอวนฺติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนี้ ก็ไม่ใช่
ตถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนั้น ก็ไม่ใช่
อญฺถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างอื่น ก็ไม่ใช่
โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่
โน โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่ ดังนี้ ย่อมถึงความสับสน.
ความตรึกอันประกอบด้วยทิฏฐิคตะของบุคคลนั้น เปรียบเหมือนปลาไหลโจนลงน้ำไปแล้ว ใครๆ ไม่อาจเพื่อให้ตาย บุคคลผู้จับปลา. ไหลนั้น ย่อมวิ่งไปข้างนี้ๆ ก็ไม่สามารถเคลื่อนไปจับมันได้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า ความตรึกไม่ตายตัว เพราะอรรถว่าไม่คงที่ และเพราะไม่ตั้งมั่นอยู่ในฝ่ายหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสความตรึกอันไม่ตายตัวนี้ โดยรวมเอาความตรึกแม้ทั้งสองชนิดนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 911
คำว่า ปรานุทฺทยตาปฏิสํยุตฺโต (แปลว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น) ได้แก่ ความตรึกประกอบด้วยความรักอาศัยเรือนอันเหมาะสมกับความเอ็นดู. คำว่า สหนนฺทิ เป็นต้น (แปลว่า มีความรื่นเริงร่วมกัน) ได้แก่ ครั้นเมื่ออุปัฏฐากทั้งหลาย มีความยินดีร่าเริง หรือมีความเศร้าโศก เธอก็ย่อมร่าเริงเป็นทวีคูณ หรือย่อมเศร้าโศกทวีคูณร่วมกับด้วยอุปัฏฐากเหล่านั้น เมื่ออุปัฏฐากเหล่านั้น มีความสุข หรือทุกข์ เธอก็จะเป็นผู้มีความสุขทวีคูณ หรือมีทุกข์ทวีคูณ ร่วมกับอุปัฏฐากเหล่านั้น. คำว่า อุปฺปนฺเนสุ กิจฺจกรณีเยสุ (แปลว่า เมื่อมีกิจที่พึงทำเกิดขึ้น) ได้แก่ เมื่อบุคคลอื่นเหล่านั้นมีการงานใหญ่น้อยเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า อตฺตนา วา โยคํ อาปชฺชติ (แปลว่า พยายามทำด้วยตนเอง) ได้แก่ เมื่อภิกษุยังกิจเหล่านั้นๆ ให้สำเร็จอยู่ ย่อมก้าวล่วงพระบัญญัติ (วินัย) ย่อมละเมิดธรรมอันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส. คำว่า โย ตตฺถ (แปลว่า ในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์เหล่านั้น) ได้แก่ ความตรึกใด อันเป็นเคหสิตมีอยู่ในวิหารอันคลุกคลีกันนั้น หรือว่า ในการละเลยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส. ความตรึกนี้ ชื่อว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น.
คำว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิสํยุตฺโต (แปลว่า ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง) ได้แก่ ความตรึกอันประกอบด้วยความสามารถแห่งการกระทำให้เป็นอารมณ์ กับการได้ปัจจัย มีการได้จีวรเป็นต้น กับด้วยสักการะ กับด้วยกิตติศัพท์ (ชื่อเสียง).
คำว่า อนวฺตฺติปฏิสํยุตฺโต (แปลว่า ความคิดด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น) ได้แก่ ความตรึกอันเกิดขึ้นพร้อมกับความปรารถนาไม่ให้ใครดูหมิ่นอย่างนี้ว่า โอหนอ บุคคลอื่นๆ ไม่พึงดูหมิ่นเรา ไม่กล่าวร้ายเรา ไม่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 912
พึงพูดเบียดเบียนเรา. คำว่า โย ตตฺถ เคหสิโต ได้แก่ เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า บุคคลเหล่าอื่นอย่าดูถูกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้อาศัยเรือน กล่าวคือ กามคุณ ๕ ชื่อว่า มีวิตกอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวง ปรากฏชัดแจ้งแล้วแล.
เอกกนิทเทส จบ
อรรถกถาทุกนิทเทส
อธิบาย มาติกาหมวดสอง
ในทุกมาติกาทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบ นิทเทสแห่งความโกรธ เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ใน นิทเทสแห่งความผูกโกรธ เป็นต้น อันเป็นอนาคต คือ บุคคลใดย่อมผูกโกรธไว้ในกาลก่อน ภายหลังความโกรธเกิดขึ้นอีก ดังนี้ ก็ชื่อว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ. อาการแห่งความผูกโกรธ ชื่อว่า กิริยาที่ผูกโกรธ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ผูกโกรธ ชื่อว่า สภาพที่ผูกโกรธ. คำว่า อฏฺปนา (ความตั้งไว้) ได้แก่ การตั้งความโกรธไว้ติดต่อกันของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ โดยการกำหนดเขตแดนของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. การตั้งความโกรธไว้ตามปกติ เรียกว่า การทรงไว้ซึ่งความโกรธ. การตั้งความโกรธบ่อยๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความดำรงความโกรธไว้. การไม่แสดงความแตกต่างกันแห่งความโกรธหลังกับความโกรธอันเกิดขึ้นก่อนแล้วทำไว้โดยความเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า ความสั่งสมความโกรธไว้. ความสืบต่อความโกรธครั้งหลังกับด้วยความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความผูกพันความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 913
โกรธไว้. คำว่า ความยึดมั่นความโกรธ ได้แก่ การทำความโกรธให้มั่นคง. คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า ลักษณะนี้มีความเข้าไปผูกไว้เป็นลักษณะ มีความไม่สละคืนซึ่งเวรเป็นรส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกลักษณะนี้ว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ ดังนี้ อธิบายว่า บุคคลผู้ประกอบความโกรธด้วยลักษณะใด ย่อมไม่อาจเพื่อสละเวร ชื่อเห็นปานนี้ บุคคลนี้ย่อมติดตามซึ่งความโกรธอื่นๆ อีก ด้วยลักษณะว่า บุคคลนี้ไม่สมควรพูดกะเราอย่างนี้ ดังนี้ ความโกรธของเขา ย่อมลุกโพลงทีเดียว ราวกะฟืนไม้สนอันไฟติดทั่วแล้ว ความโกรธนั้นย่อมไม่สะอาด เป็นราวกะหนังหมีอันบุคคลทำความสะอาดอยู่ และเป็นราวกะผ้าเก่าอันเปื้อนด้วยไขมันหรือน้ำมัน.
ชื่อว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน ด้วยสามารถแห่งความเป็นของเปรอะเปื้อน คือว่า บุคคลแม้ประพฤติด้วยสามารถแหงความเป็นผู้ลบหลู่คุณของผู้อื่นนั้น ย่อมเปรอะเปื้อนโทษนั้นก่อน เหมือนคูถอันเป็นของตนเองย่อม เปรอะเปื้อนตนก่อนกว่า. สองบทจากนั้น เป็นคำอธิบายสภาพแห่งกิริยาอาการ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้แข็งกระด้างหยาบช้า ชื่อว่า สภาพที่ลบหลู่ อธิบายว่า คุณแม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่มีเพราะอาศัยความลบหลู่ดูหมิ่น เพราะฉะนั้น สภาพนั้นจึงชื่อว่า เป็นการพูดเปลืองน้ำลาย. การกระทำแห่งบุคคลผู้ลบหลู่คุณของผู้อื่น ชื่อว่า กระทำความลบหลู่. จริงอยู่ เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นภิกษุก็ตาม เมื่ออาศัยภิกษุอยู่ โกรธแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น ย่อมดูหมิ่น และคุณคือความที่บุคคลนั้นอาศัยผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่มีแก่เขา เพราะเหตุแห่งความโกรธนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พูดไปให้เปลืองน้ำลาย (การพูดให้น้ำลายตกไปเปล่าๆ) จึงชื่อว่า เป็นการกระทำซึ่งความเป็นผู้ลบหลู่ ดูหมิ่น และเป็นราวกะว่าเหยียบย่ำความดีของผู้อื่นไว้ด้วยเท้า. การกระทำอัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 914
นั้นของผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะ มักขะนี้มีการลบหลู่คุณของผู้อื่นเป็นลักษณะ มีการยังคุณของผู้อื่นให้พินาศไปเป็นรส มีการตัดทำลายกิริยาอาการอันบุคคลอื่นทำดีแล้วเป็นปัจจุปัฏฐาน (เป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น).
บุคคลใด ย่อมตีเสมอเขา เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ปลาสะ ผู้ตีเสมอเขา. อธิบายว่า แสดงคุณของผู้อื่น ย่อมทำคุณทั้งหลาย คล้ายกับเป็นคุณของตนๆ. วิถีทางของบุคคลผู้ตีเสมอกับผู้อื่น ชื่อว่า ปลาสายนา. ปลาสะ ความตีเสมอนั้นด้วยเป็นอาหารเพราะการนำมาซึ่งความชนะของตนด้วย ชื่อว่า ปลาสาหาร. คำว่า วิวาทฏฺานํ ได้แก่เหตุแห่งความวิวาทกัน. การถือเอาธุระ (หน้าที่การงาน) เสมอกัน ชื่อว่า การแข่งดี. การไม่สละธุระอันตนถือเอาแล้ว ชื่อว่า การไม่ลดละ. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น ปลาสะนั้น มีการแข่งดีเป็นลักษณะ มีการกระทำคุณทั้งหลายของตนให้เสมอกันกับคุณของบุคคลอื่นเป็นรส มีการเอาใจใส่โดยกำหนดยึดถือคุณของผู้อื่นเป็นปัจจุปัฏฐาน. จริงอยู่ บุคคลผู้ตีเสมอย่อมไม่ให้ธุระ (การงาน) แก่บุคคลที่สอง ย่อมยังคุณของตนให้แผ่ออกไปเสมอๆ คือว่า ครั้นเมื่อพระสูตรทั้งหลาย หรือการณะทั้งหลายจำนวนมาก อันภิกษุอื่นแม้นำมาแล้วในโรงสนทนาธรรม ย่อมจะกล่าวขยายความออกไปซึ่งคุณของตนให้เสมอๆ กับผู้อื่นว่า ในวาทะของท่านและวาทะของเรา เหตุอันแตกต่างกัน ชื่อว่ามีอยู่หรือ ถ้อยคำของพวกเราก็เป็นเช่นเดียวกับท่านนั่นแหละ เปรียบเหมือนแท่งทองคำอันบุคคลผ่าออกแล้วก็เป็นทองคำนั่นแหละ มิใช่หรือ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 915
นิทเทสแห่ง อิสสา ความริษยา และ มัจฉริยะ ความตระหนี่ มีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วทั้งนั้นแล.
มายานิทเทส
อธิบายมายา ความเจ้าเล่ห์
คำว่า วาจํ ภาสติ ได้แก่ ภิกษุผู้ก้าวล่วงพระบัญญัติอันรู้อยู่นั่นแหละ ทำให้เป็นภาระหนัก ย่อมพูดราวกะว่าตนเป็นผู้เข้าไปสงบ ด้วยประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้ว่า ชื่อว่า ฐานะคือ การล่วงพระบัญญัติ ย่อมไม่มีแก่ตัวเอง ดังนี้. คำว่า กาเยน ปรกฺกมติ ได้แก่ ภิกษุนั้น ย่อมทำวัตรปฏิบัติด้วยกาย โดยคิดว่า ใครๆ อย่าได้รู้ซึ่งบาปกรรมนี้อันเราทำแล้ว ดังนี้. ลักษณะนี้ ชื่อว่า มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นราวกะว่าการเล่นกล (จักขุโมหนมายา) เพราะการปกปิดไว้ซึ่งโทษอันตนรู้อยู่. ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีมายา ชื่อว่า มายาวิตา. สัตว์ทั้งหลายทำบาปแล้ว ก็ยังล่วงละเมิดคือทำบาปอีก เพราะความเป็นผู้ปกปิดไว้ ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ความเจ้าเล่ห์. ชื่อว่า ลวง เพราะย่อมลวงโดยให้เห็นเป็นไปโดยประการอื่น ด้วยการกระทำทางกายและ วาจาฯ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมทำซึ่งความฉ้อโกง ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ความฉ้อโกงฯ อธิบายว่า ย่อมทำให้เปล่าประโยชน์. ชื่อว่า ความกลบเกลื่อน เพราะยังบาปทั้งหลายให้เกิดสับสนกันไป ด้วยกล่าวคำว่า เราย่อม ไม่ทำอย่างนี้ ดังนี้. ชื่อว่า ความหลีกเลี่ยง เพราะการเว้นด้วยคำพูดว่า เราย่อมไม่ทำอย่างนี้. ชื่อว่า ความซ่อน เพราะความไม่สำรวมด้วยกายเป็นต้น. การซ่อนโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การซ่อนบัง. ชื่อว่า การปกปิด เพราะ ย่อมปกปิดบาปด้วยกายกรรม วจีกรรม ราวกะคูถอันบุคคลปกปิดไว้ด้วย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 916
หญ้าและใบไม้ทั้งหลาย. การปกปิดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความปิดบัง ชื่อว่า ความไม่เปิดเผย เพราะย่อมไม่ทำให้แจ้ง. ชื่อว่า ความปิดบังมิดชิด เพราะไม่แสดงไห้ปรากฏ. การปกปิดด้วยดี ชื่อว่า ความปกปิดมิดชิด ชื่อว่า การกระทำที่ชั่ว เพราะทำบาปแม้อีกด้วยสามารถแห่งการซ่อนเร้นอันตนทำแล้ว. คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า ลักษณะนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า มายา อันมีการซ่อนปิดไว้อันตนทำแล้วเป็นลักษณะ. บุคคลประกอบด้วย ลักษณะนี้ใด ย่อมเป็นราวกะถ่านเพลิงอันปิดไว้ด้วยขี้เถ้า ย่อมเป็นราวกะตอไม้อันน้ำปกปิดไว้ ย่อมเป็นราวกะว่าศัสตราอันบุคคลพันไว้ด้วยเศษผ้า.
สาเถยยนิทเทส
อธิบาย สาเถยยะ ความโอ้อวด
การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณอันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้โอ้อวด. ความโอ้อวดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า เป็นผู้โอ้อวดมาก. คำว่า ยํ ตตฺถ ได้แก่ ความโอ้อวดอันใดในบุคคลนั้น. ความคดโกง คือ การแสดงคุณอันไม่มีอยู่ ชื่อว่า การโอ้อวด. อาการแห่งความโอ้อวด ชื่อว่า ความเป็นแห่งบุคคลผู้โอ้อวด. คำว่า กกฺขรตา ได้แก่ ความเป็นแห่งความกระด้าง มีความไม่อดทนต่อสิ่งอันไม่เป็นภัยราวกะความหยาบกระด้างของก้านปทุม. แม้คำว่า สภาพที่กระด้าง ก็เป็นไวพจน์ของความโอ้อวดนั้นนั่นแหละ ความคดโกงอันมั่นคง ราวกะเสาเขื่อนอันบุคคลขุดหลุมฝังตั้งไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบททั้งสอง คือ การพูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู สภาพที่พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู. คำว่า อิทํ วุจฺจติ ความว่า ความโอ้อวด มีการประกาศคุณอันไม่มีอยู่ของตนเป็นลักษณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สาเถยยะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 917
ความโอ้อวด. ความโอ้อวดนั้น อันใครๆ ไม่อาจเพื่อรู้ซึ่งการกล่าวลวงของผู้ประกอบด้วยอาการใด อาการนั้นย่อมเป็นเช่นกับสุกรยักษ์ ที่กล่าวไว้ดังนี้ว่า
ยักษ์นั้น ย่อมแปลงเพศเป็นสุกรอยู่ข้างซ้าย เป็นแพะอยู่ข้างขวา เป็นโคแก่มีเขายาว เป็นละมั่งส่งเสียงร้อง ดังนี้.
นิทเทสแห่งอวิชชาเป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ.
อนาชชวนิทเทส
อธิบาย อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง
อาการแห่งความเป็นผู้คดโกง ชื่อว่า อนาชชวะ คือ ความไม่ซื่อตรง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ซื่อตรง ชื่อว่า สภาพไม่ซื่อตรง. ความคดโค้งแห่งดวงจันทร์ ชื่อว่า ชิมฺหตา คือ ความไม่ตรง. คำว่า วงฺกตา ได้แก่ ความคดดังโคมูตร (เยี่ยวโค). คำว่า กุฏิลตา (แปลว่า ความโค้ง) ได้แก่ ความโค้งดังปลายงอนของไถ. ความคดแห่งกายวาจาและจิตนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้งปวงเหล่านี้.
อมัททวนิทเทส
อธิบาย อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน
ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมุทุตา. อาการแห่งความไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมัททวตา. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กระด้าง ชื่อว่า กักขฬิยะ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบคาย ชื่อว่า ผารุสิยะ. ความเป็นแห่งจิตอันแข็งกระด้าง เพราะความไม่ประพฤติอ่อนน้อม ชื่อว่า อุชุจิตฺตตา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 918
ศัพท์ว่า อมุทุตา ท่านแสดงเนื้อความแห่งผู้ไม่อ่อนน้อมนั้นให้วิเศษขึ้นอีก. คำว่า อุชุจิตฺตตา ความเป็นผู้มีจิตถือรั้น ไม่ใช่ความเป็นจิตซื่อตรง. นิทเทสแห่งอขันติ ความไม่อดทนเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตรงกันข้าม กับนิทเทสแห่งขันติความอดทนเป็นต้น.
สัญโญชนนิทเทส
อธิบาย สัญโญชน์ กิเลสเครื่องผูกไว้
กามภพ ชื่อว่า (สัญโญชน์) ภายใน. รูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า (สัญโญชน์) ภายนอก. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศัอยู่ในกามภพสิ้นกาลเล็กน้อย คืออาศัยอยู่สิ้นกาลอันเป็นส่วนที่ ๔ (๑/๔) แห่งกัปเท่านั้น ในส่วนแห่งกัปทั้งสามที่เหลือนอกนี้ กามภพ ย่อมว่างเปล่า.
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศัยอยู่ในรูปภพและอรูปภพตลอดกาลเป็นอันมาก แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นมีมากในกามภพ ส่วนในรูปภพและอรูปภพมีน้อย ก็จุติและปฏิสนธิในที่ใดมีมาก ความอาลัยก็ดี ความปรารถนาก็ดี ความอยากก็ดี ย่อมมีมากในที่นั้น จุติและปฏิสนธิในที่ใดมีน้อย ในภพนั้นก็มีกิเลสเครื่องผูกน้อย เพราะฉะนั้น กามภพจึงชื่อว่า เป็นอัชฌัตตะภายใน ส่วนรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า เป็นพหิทธาภายนอก. เครื่องผูกในกามภพ กล่าวคือภายใน ชื่อว่า สัญโญชน์ภายใน เครื่องผูกในรูปภพและอรูปภพกล่าวคือภายนอก ชื่อว่า สัญโญชน์ภายนอก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 919
บรรดาสัญโญชน์เหล่านั้น ทั้งภายในและภายนอก มีอย่างละ ๕ ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำมี ๕ สัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องบนมี ๕ ดังนี้.
ในข้อนั้น พึงทราบวจนัตถะ ดังนี้
กามธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ชื่อว่า โอรํ (แปลว่า เบื้องต่ำ) สัญโญชน์ใด ย่อมเสพซึ่งธรรมเบื้องต่ำนั้น โดยอาศัยความเกิดขึ้นและความสำเร็จในกามธาตุนั้น เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์นั้น จึงชื่อว่า โอรัมภาคิยะ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. รูปธาตุและอรูปธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ชื่อว่า อุทฺธํ (แปลว่า เบื้องบน) สัญโญชน์ใด ย่อมเสพซึ่งธรรมเบื้องบนนั้น โดยความเกิดขึ้นและความสำเร็จในรูปธาตุและอรูปธาตุนั้น เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์นั้น จึงชื่อว่า อุทธัมภาคิยะ อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน.
ทุกนิทเทส จบ
อรรถกถาติกนิทเทส
อธิบาย มาติกาหมวด ๓
ความปรากฏแห่งวัฏฏมูล ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยอกุศลมูล ๓. วิตกในธรรมทั้งหลาย มีอกุศลวิตก เป็นต้น พึงทราบว่า ตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งการตรึก. สัญญา พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งสัญชานนะความจำได้. พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 920
ทุจริตนิทเทส
อธิบาย ทุจริต
ทุจริต นัยที่หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมบถ. นัยที่สอง ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมอันสงเคราะห์ในอกุศลทั้งหมด. นัยที่สาม ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันเกิดขึ้นแล้ว.
ในนิทเทสแห่งอาสวะ โดยปริยายแห่งสุตตันตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอาสวะ ๓ เท่านั้น.
เอสนานิทเทส
อธิบาย เอสนา การแสวงหา
ในเอสนานิทเทสนั้น ว่าโดยสังเขป ความยินดีด้วยการแสวงหากาม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า กาเมสนา. ความยินดีโดยการแสวงหาภพ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า ความพอใจในภพ ๓ อันใด เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ภเวสนา. ความเห็นผิดที่แสวงหาพรหมจรรย์อันเห็นชอบตามอัชฌาสัยแห่งทิฏฐิ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า โลกเที่ยง เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า พรหมจริเยสนา. ก็เพราะราคะและทิฏฐิ มิได้ชื่อว่าเอสนาอย่างเดียวเท่านั้น แม้กรรมอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับราคะและทิฏฐินั้น ก็ชื่อว่า เอสนา การแสวงหา นั่นแหละ ฉะนั้น เพื่อแสดงซึ่งเอสนา การแสวงหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกนัยที่ ๒ ไว้. บรรดา คำเหล่านั้น คำว่า ตเทกฏฺํ (แปลว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน) พึงทราบว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 921
เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับธรรมที่สัมปยุตด้วยราคะและทิฏฐินั้น คือ ธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับกามราคะ ย่อมเป็นไปแก่สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในกามภพทั้งหลายเท่านั้น ส่วนธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับภวราคะ ย่อมเป็นไปแก่มหาพรหมทั้งหลาย. ในกาลเมื่อพระโยคาวจรออกแล้วจากสมาบัติ ยินดีซึ่งองค์ฌานจงกรมอยู่ อกุศลกายกรรมย่อมเกิด ในกาลเมื่อยินดีเพราะ เปล่งวาจาว่า โอ! สุขจริง, โอ! สุขจริง ดังนี้ อกุศลวจีกรรมย่อมเกิด. ในกาลเมื่อยินดีด้วยใจเท่านั้น เพราะยังไม่ทำองค์แห่งกายและองค์วาจาให้ไหวไป อกุศลมโนกรรมย่อมเกิด. อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไปตามทิฏฐิแม้ทั้งหมดด้วยอำนาจอันตัคคาหิกทิฏฐิเท่านั้น เพราะอำนาจการเดินจงกรม เป็นต้น.
วิธานิทเทส
อธิบาย วิธา (๑) คือ การถือตัว
การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวยกย่องตนว่า มีศีลชนิดไร มีปัญญาชนิดไร เป็นต้น ชื่อว่า วิธา. การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า ญาณวัตถุมีอย่างเดียว (คือไม่แปลกกัน) เป็นต้น ชื่อว่า โกฏฐาส. การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า บุคคล ย่อมไม่กำหนดในวิธา คือการถือตัวทั้งหลาย เป็นต้น ชื่อว่า มานะ. แม้ในที่นี้ มานะนั่นแหละ ชื่อว่า วิธา. จริงอยู่ มานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า วิธา เพราะการจัดแจง ปรับแต่ง ด้วยสามารถแห่งการถือตนว่าเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง
(๑) คำว่า วิธา หมายถึงกิเลสมีประการมาก คือ มานะ หรือ อหังการ หรือยึดถือ เป็นส่วนๆ เรียกว่าโกฏฐาส
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 922
ชื่อว่า วิธา เพราะอรรถว่า การดำรงไว้ซึ่งการถือตัว. เพราะฉะนั้นคำว่า เสยฺโย อหํ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า วิธา เพราะดำรงไว้ซึ่งมานะอันมีประการมากอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เป็นต้น. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็นัยนี้.
ภยนิทเทส
อธิบาย ภัยคือความกลัว
คำว่า ชาตึ ปฏิจฺจ ภยํ ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความเกิด (ชาติ) เป็นปัจจัย. คำว่า ภยานกํ (แปลว่า ภัยอันน่ากลัว) นี้เป็นนิทเทสแห่งอาการ. คำว่า ฉมฺภิตตฺตํ (แปลว่า ความสะดุ้งแห่งจิต) ได้แก่ ความหวั่นไหวแห่งตน เพราะอำนาจแห่งภัย. คำว่า โลมหํโส (แปลว่า ความชูชันแห่งขน) ได้แก่ ความที่ขนทั้งหลายเป็นของชูชันขึ้นไปเบื้องบน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความกลัวโดยกิจด้วยบททั้งสองนี้แล้ว ก็ทรงแสดงความกลัวโดยสภาวะ คือ ความสะดุ้งหวาดเสียวแห่งจิตอีก.
ตมนิทเทส
อธิบาย ตมะ คือ อวิชชา
อวิชชา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยความมีวิจิกิจฉาเป็นสีสะ. จริงอยู่เพราะพระบาลีว่า เป็นภัยใหญ่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อวิชชา จึงชื่อว่า ตมะ. ตมะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า มีวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย) เป็นสีสะ เป็นการแสดงโดยง่ายด้วยอำนาจแห่งกาลอันยาวนานทั้ง ๓ (คือ อดีต-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 923
อัทธานะ อนาคตอัทธานะ ปัจจุปันนอัทธานะ). ในกาลเหล่านั้น เมื่อบุคคลสงสัยว่า ในอดีตกาล เราได้เป็นกษัตริย์หรือหนอ หรือว่าเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคนดำ เป็นคนขาว เป็นคนเตี้ย คนสูง ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสงสัยปรารภอดีตอัทธานะ (อดีตกาลอันยาวนาน). เมื่อสงสัยอยู่ว่า ในอนาคตกาล เราจักเป็นกษัตริย์หรือหนอ หรือว่า จักเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร ฯสฯ เป็นคนสูง ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสงสัยปรารภอนาคตอัทธานะ (อนาคตกาลอันยาวนาน) เมื่อสงสัยอยู่ว่า ในบัดนี้ (ปัจจุบัน) เราเป็นกษัตริย์หรือหนอ หรือว่าเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร หรือสงสัยว่า เรามีรูป เป็นอย่างไร หรือว่ามีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างไร ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสงสัยปรารภปัจจุปันนอัทธานะ (ปัจจุบันกาลอันยาวนาน).
ในตมนิทเทส นั้น บุคคลผู้เป็นกษัตริย์ ฯลฯ หรือว่า ผู้เป็นศูทร ชื่อว่า ไม่รู้ซึ่งความที่แห่งตนเป็นกษัตริย์ ฯลฯ หรือว่า ไม่รู้ซึ่งความที่แห่ง ตนเป็นศูทร ย่อมไม่มีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ผู้ถือลัทธิว่า ชีวะมีอยู่โดยประการทั้งปวง ฟังการแบ่งชั้นวรรณะแห่งชีวะของกษัตริย์เป็นต้น เมื่อเคลือบแคลงสงสัย ชื่อว่า ย่อมสงสัยอย่างนี้ว่า ชีวะในภายในของเราทั้งหลายเป็นอย่างไรหนอ เป็นสีเขียวหรือหนอ หรือว่าสีเหลือง หรือว่าสีแดง หรือว่าสีขาว หรือเป็น ๔ ส่วน หรือเป็น ๖ ส่วน เป็น ๘ ส่วน อย่างไรหนอ ดังนี้.
คำว่า ติตฺถายตนานิ ได้แก่ อายตนะ คือ คำสั่งสอนอันเป็นลัทธิ ต่างๆ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ อายตนะ คือ คำสั่งสอนของเดียรถีย์ทั้งหลาย. ในอายตนะเหล่านั้น ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ติตถะ คือท่าเป็นที่ข้าม. ทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมควร ย่อมชอบใจแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นเดียรถีย์. อรรถแห่งอายตนะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็เพราะอายตนะเหล่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 924
นั้น คติแห่งทิฏฐิแม้ทั้งปวง เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๓ (๑) เหล่านี้เท่านั้น แม้เมื่อประชุม ก็ย่อมประชุมประมวลมาในฐานะเหล่านี้นั่นแหละ ด้วยว่า อายตนะ คือคำสอนของเดียรถีย์เหล่านั้นเท่านั้น เป็นมูลเหตุในความเป็นทางดำเนินไปแห่งทิฏฐิ ฉะนั้น ติตถะอันเป็นเหตุเหล่านั้นจึง ชื่อว่า อายตนะ และเพราะอรรถมีคำว่า ทิฏฐิเหล่านั้น เป็นสภาวะเกิดขึ้นเองด้วย จึงชื่อว่า ติตถายนะ. ด้วยอรรถนั้นนั่นแหละ แม้คำว่า อายตนะของเดียรถีย์ทั้งหลาย ดังนี้ ก็ชื่อว่า ติตถายตนะ. คำว่า ปุริสปุคฺคโล ได้แก่ สัตว์. อนึ่งแม้ใครๆ เรียกว่า บุรุษก็ดี บุคคลก็ดี ย่อมกล่าวได้ว่า เป็นสัตว์นั่นแหละโดยแท้. กถานี้ ชื่อว่า สมมติกถา. บุคคลใด ย่อมรู้สมมติกถานี้ได้โดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสคำนั้นโดยประการนั้น. คำว่า ปฏิสํเวเทติ (แปลว่า ย่อมเสวยเวทนา) ได้แก่ ย่อมรู้สิ่งอันเกิดขึ้นในสันดานของตน ทั้ง ย่อมกระทำ หรือย่อมเสวยเวทนาที่ตนรู้แล้วนั้น. คำว่า ปุพฺเพ กตเหตุ (แปลว่า เพราะทำเหตุไว้ในปางก่อน) ได้แก่ เพราะเหตุอันตนกระทำแล้วในกาลก่อน อธิบายว่า เขาย่อมเสวยเวทนาด้วยกัมมปัจจัยอันตนทำแล้วในกาลก่อนนั้น.
นิคัณฐสมัย
ลัทธิแห่งนิครนถ์ หรือชีเปลือย
ก็พวกนิครนถ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือกล่าวปฏิเสธการเสวยกรรม และการเสวยกิริยา แต่ย่อมรับรองการเสวยวิบาก (ผลของกรรม) อย่าง
(๑) คำว่า ฐานะทั้ง ๓ คือ
๑. วาทะว่า เพราะได้ทำเหตุไว้ในปางก่อน
๒. วาทะว่า เพราะเหตุคือมีผู้เป็นใหญ่สร้างให้
๓. วาทะว่า โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 925
เดียวเท่านั้น. ทั้งในบรรดาอาพาธ ๘ (๑) อย่าง มีอาพาธอันเกิดแต่น้ำดีเป็นสมุฏฐานเป็นต้น เขาปฏิเสธอาพาธ ๗ อย่าง ย่อมรับรองอาพาธที่ ๘ เท่านั้น. ในกรรม ๓ (๒) มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น ปฏิเสธกรรม ๒ อย่าง ย่อมรับรองอปราปรเวทนียกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ในเจตนา ๔ อย่าง กล่าวคือ กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา ย่อมรับรองเฉพาะเจตนาอันเป็นวิบากเท่านั้น. คำว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ ได้แก่ ชื่อว่า มีพระผู้เป็นใหญ่สร้าง ให้เป็นเหตุ อธิบายว่า ผู้เป็นใหญ่ คือ พระพรหม หรือปชาบดี นิมิตสิ่งนั้นๆ ขึ้น จึงเสวยได้.
พราหมณสมัย
ลัทธิแห่งพราหมณ์
จริงอยู่ ลัทธิของพราหมณ์นี้ เป็นการประกอบฐานะทั้ง ๓ เหล่านั้นว่า ดังนี้
เวทนา ๓ เหล่านี้ อันใครๆ ชื่อว่า ไม่อาจเพื่อเสวยเวทนาได้ เพราะ เหตุอันตนเองกระทำไว้แล้ว หรือเพราะเหตุอันบุคคลอื่นทำให้ในปัจจุบัน หรือว่า เพราะเหตุอันตนทำไว้แล้วในปางก่อน หรือว่า เพราะไม่มีเหตุ ไม่มี
(๑) อาพาธ ๘ อย่าง คือ
๑. ปิตฺติสมุฏฺานา เกิดจากน้ำดีเป็นสมุฏฐาน
๒. วาตสมุฏฺานา เกิดจากลมเป็นสมุฏฐาน
๓. เสมฺหสมุฏฺานา เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐาน
๔. สนฺนิปาติกา เกิดจากใช้สันนิบาตเป็นสมุฏฐาน
๕. อุตุปริณามชา เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุตุเป็นสมุฏฐาน
๖. วิสมปริหารชา เกิดจากการบริหารร่างกายไม่เหมาะสมเป็นสมุฏฐาน
๗. โอปกฺกมิกา เกิดจากการทำความเพียรแก่กล้าเป็นสมุฏฐาน
๘. กมฺมวิปากชา เกิดจากผลของกรรมเป็นสมุฏฐาน
(๒) กรรม ๓ คือ ทิฏฐธัมมเวทนียะ อปปัชชเวทนียะ และอปราปรเวทนียกรรม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 926
ปัจจัย ก็แต่ว่า บุคคลย่อมเสวยเวทนาเหล่านี้ได้ เพราะเหตุที่ผู้เป็นใหญ่นิมิตให้เท่านั้น ดังนี้.
อนึ่ง พวกพราหมณ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือไม่กล่าวรับรองในอาพาธ ๘ อย่างที่กล่าวมาแล้วแม้สักอย่างเดียว ทั้งย่อมกล่าวห้ามอาพาธแม้ทั้งหมด. ในโกฏฐาส (คือธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งๆ) แม้ทั้งปวง มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น ก็เหมือนกัน ไม่กล่าวรับรองแม้สักอย่าง ย่อมปฏิเสธโกฏฐาสทั้งหมด.
คำว่า อเหตุอปฺปจฺจยา อธิบายว่า เพราะเว้นเหตุและปัจจัย ย่อมเสวยเวทนาโดยปฏิเสธเหตุ
อาชีวกสมัย
ลัทธิของอาชีวก
แม้อาชีวกเหล่านั้น ก็มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือ ไม่กล่าวรับรองในเหตุทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว และในอาพาธทั้งหลายมีพยาธิเป็นต้น แม้สักอย่าง ย่อมปฏิเสธสิ่งทั้งหมดนั้น.
ปลิโพธทั้งหลาย ชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องกังวล. คำว่า กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ ได้แก่ ราคะเมื่อกำลังเกิดขึ้น ย่อมผูกพัน ย่อมให้สัตว์กังวล เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า กิเลสเป็นเครื่องกังวล. แม้ในโทสะและโมหะก็นัยนี้แหละ.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า องฺคณานิ แปลว่า เนินนั้น ดังนี้.
ภูมิประเทศใด ในพระบาลีอันมาแล้วอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมไม่พบน้ำในที่อันเป็นเนินนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า เนิน. กิเลสไรๆ มาในพระบาลีว่า บุคคลย่อมพยายามเพื่อละกิเลสนั้นนั่นแหละ อันเป็นเพียงดังธุลี หรือว่า เป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 927
เพียงดังเนิน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น กิเลสนั้นๆ จึงชื่อว่า น้ำตม หรือ เปือกตม. กิเลสมีประการต่างๆ ในอาคตสถานว่า สงฺคโณว สมาโน ดังนี้ กิเลสนั้น ชื่อว่า ติพพกิเลส คือกิเลสที่มีกำลังหนาแน่น. ในที่แม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอา คำว่า กิเลสเพียงดังเนิน ด้วยเหตุนั้น นั่นแหละ จึงตรัสว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ เป็นต้น.
คำว่า มลทิน ได้แก่กิเลสเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง. คำว่า มลทิน คือ ราคะ อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมให้ถือเอาซึ่งความขุนมัว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า มลทิน. แม้กิเลสทั้งสองที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ.
วิสมนิทเทส
อธิบาย ความทำให้ไม่สม่ำเสมอ คือ กิเลส
ก็เพราะ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมสะดุดในกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น และในทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น ก็แล สัตว์ทั้งหลายสะดุดพลาดไปแล้ว ย่อมตกไปจากพระพุทธศาสนาบ้าง จากสุคติบ้าง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความไม่สม่ำเสมอ คือ ราคะ เป็นต้น เพราะการสะดุดแล้วก็ตกไปเป็นเหตุ.
อัคคินิทเทส
อธิบาย อัคคิ คือ ไฟ
คำว่า อคฺคิ คือ ไฟ ชื่อว่า อัคคิ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า ราคคฺคิ (แปลว่า ไฟ คือ ราคะ) อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาผลาญ ยังสัตว์ให้ไหม้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อัคคิ (ไฟ คือ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 928
ราคะ) แม้โทสะและโมหะ ก็นัยนี้. ใน อัคคินิทเทส นั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
เรื่องการเผาผลาญของไฟ คือ ราคะ
ได้ยินว่า ภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ไปสู่โรงอุโบสถ ในวิหารชื่อว่า จิตตลบรรพต แล้วยืนดูรูปของบุคคลผู้รักษาประตูอยู่ ลำดับนั้น ราคะคือ ความกำหนัดในภายในของเธอจึงเกิดขึ้น เธอถูกไฟคือราคะนั้นนั่นแหละไหม้ แล้วทำกาละ. พวกภิกษุณีทั้งหลายผู้เดินไป กล่าวว่า ภิกษุณีสาวรูปนี้ยืนอยู่ เธอจงเรียกมา ดังนี้ ภิกษุณีรูปหนึ่งเดินไปจับมือของภิกษุณีสาวนั้น พร้อมกับการกล่าวว่า เพราะเหตุไร เธอจึงยืนอยู่เล่า ดังนี้ ภิกษุณีสาวรูปนั้น พอมือของภิกษุณีอีกรูปหนึ่งถูกต้องแล้วเท่านั้นก็ล้มลง.
นี้เป็นเรื่องแห่งการเผาไหม้ของราคะก่อน.
ส่วน ไฟ คือ โทสะ บัณฑิตพึงทราบดังเช่น เทพพวกหนึ่งที่ชื่อว่า มโนปโทสิกะ เพราะความเผาผลาญของโทสะ จึงต้องจุติ.
และไฟ คือ โมหะนั้น พึงทราบ ดังเช่น เทพพวกหนึ่ง ที่ชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ เพราะ ความเผาผลาญของโมหะก็ต้องจุติ. จริงอยู่ ความหลงลืมไม่ได้สติ ย่อมมีแก่เทพชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ ด้วยอำนาจแห่งโมหะ เพราะฉะนั้น เมื่อเทพเหล่านั้น ยังเวลาบริโภคอาหารให้เลยไปแล้ว เธอก็ย่อมทำกาละด้วยอำนาจแห่งความสนุกสนานร่าเริงนั้น.
กสาวนิทเทส (น้ำฝาด)
คำว่า น้ำฝาด ได้แก่ น้ำที่ไร้ค่า ไม่มีรส. ธรรมอันประณีต อันมีโอชะแม้สักอย่างหนึ่ง ในกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นด้วย ในทุจริตทั้งหลาย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 929
มีกายทุจริตเป็นต้นด้วย หามีไม่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส ว่า น้ำฝาด คือ ราคะ เป็นต้น.
ทิฏฐินิทเทส
ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) อันสัมปยุตด้วยความยินดี ชื่อว่า อัสสาททิฏฐิ. คำว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ได้แก่สมณพราหมณ์ภายนอก ย่อมกล่าวว่า โทษในการซ่องเสพวัตถุกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีด้วยกิเลสกาม ดังนี้. คำว่า ปาตพฺยตํ ได้แก่ การดื่ม การบริโภค คือการกลืนกิน. จริงอยู่ สมณพราหมณ์นั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ จึงบริโภคกิเลสกามในวัตถุกามทั้งหลาย ราวกะบุคคลดื่มอยู่ กลืนกินอยู่ (ซึ่งอาหาร). ความเห็นผิดว่ามีอัตตา (ความเห็นผิดเป็นไปตามอัตตา) ชื่อว่า อัตตานุทิฏฐิ (เช่น เห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป เป็นต้น).
ทิฏฐิอันลามก ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ (เช่นเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล เป็นต้น).
บัดนี้ เพื่อแสดงเนื้อความ ในอัสสาทนิทเทสนั้น ตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะสัสสตทิฏฐิเป็นที่ ๑ คือเป็นอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิเป็นทิฏฐิที่ ๒ คือเป็นอัตตานุทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิเป็นทิฏฐิที่ ๓ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า สัสสตทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ เป็นต้น.
นิทเทสแห่งอรติ คือความไม่ยินดี และ นิทเทสแห่งวิเหสา คือ ความเบียดเบียน มีอรรถาธิบายตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ความประพฤติไม่เป็นธรรม ชื่อว่า อธัมมจริยา. อธิบายว่า การกระทําความผิด. ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่า วิสมจริยา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิสมจริยา เพราะความประพฤติกระทำกรรมอันไม่สม่ำเสมอ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 930
นิทเทสแห่งความเป็นผู้ว่ายาก และนิทเทสแห่งความเป็นผู้มีมิตรชั่ว มีอรรถาธิบายตามที่กล่าวมาแล้ว.
สัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในความ ต่างๆ กัน ชื่อว่า นานัตตสัญญา เพราะความเป็นไปในนิมิตตารมณ์แห่งปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะกามสัญญาเป็นอย่างหนึ่งทีเดียว ทั้งพยาปาทสัญญาเป็นต้นก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แม้คำว่า สัญญาอันเป็นสภาวะต่างๆ กัน ดังนี้ จึงชื่อว่า นานัตตสัญญา.
โกสัชชนิทเทส
ความประพฤติย่อหย่อน ความไม่สามารถประกอบความเพียร ด้วยการเจริญกุศลธรรมของผู้มีจิตคุ้นเคยในกามคุณ ๕ ชื่อว่า โกสัชชะ (คือ ความเกียจคร้าน). บัณฑิตพึงทราบ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ประมาทแล้ว ด้วยสามารถแห่งความมัวเมา ชื่อว่า ปมาทะ (คือ ความประมาท).
นิทเทสแห่งอสันตุฏฐิ (คือ ความไม่สันโดษ) มีเนื้อความตามที่กล่าวมาแล้ว.
อนาทริยนิทเทส
ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ด้วยสามารถแห่งความไม่เอื้อเฟื้อต่อโอวาท (การกล่าวสอน) ชื่อว่า อนาทริยะ (คือ ความไม่เอื้อเฟื้อ). อาการแห่งความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ. ความเป็นผู้ไม่เคารพ ชื่อว่า อคารวตา เพราะอรรถว่าไม่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ควรเคารพ. ชื่อว่า ความไม่เชื่อฟัง เพราะอรรถว่า ไม่อยู่อาศัยร่วมกับผู้เป็นหัวหน้า. คำว่า อนทฺทา ความไม่ถือเอา ได้แก่การไม่รับเอาโอวาท. คำว่า อนทฺทายนา ได้แก่ อาการ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 931
ที่ไม่เอื้อเฟื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ดำเนินไปด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า อนทฺทายิตตฺตํ ความพอใจทางโต้แย้ง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีศีล ชื่อว่า อสีลยํ (ทุศีล). คำว่า อจิตฺติกาโร ได้แก่ การไม่ทำความเคารพยำเกรง.
ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า ความไม่ศรัทธา. อาการแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า กิริยาที่ไม่เชื่อฟัง. การไม่ถือเอา เพราะไม่ไว้ใจ ไม่เข้าไปใกล้ ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ปลงใจเชื่อ. ชื่อว่า ความไม่เลื่อมใสยิ่ง เพราะอรรถว่าไม่เลื่อมใสยิ่ง.
คำว่า อวทญฺญุตา (แปลว่า ความไม่เผื่อแผ่) ได้แก่ ผู้ไม่รู้ถึงถ้อยคำว่า ขอท่านจงให้ทาน ท่านจงกระทำบุญ เพราะอำนาจแห่งความ ตระหนี่อันกระด้าง.
ในข้อว่า พุทฺธา จ สาวกา จ พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้านี้ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านก็ถือเอา ด้วยศัพท์ว่า พุทธะ นั่นแหละ. ความเป็นผู้ไม่ต้องการไปสู่ที่ใกล้แห่งพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า อสเมตุกามตา ความไม่ต้องการจะสมาคมกับพระอริยะทั้งหลาย. คำว่า ความไม่ต้องการจะฟัง... ซึ่งพระสัทธรรม ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ชื่อว่า พระสัทธรรม ความเป็นผู้ไม่ต้องการเพื่อจะฟังซึ่งพระธรรมนั้น. ความเป็นผู้ไม่ศึกษาพระธรรม ชื่อว่า อนุคฺคเหตุกามตา ความไม่ต้องการจะเรียน. ความเป็นผู้คิดคัดค้านแข่งดี ชื่อว่า ความไม่ต้องการจะทรงพระธรรมไว้. ก็ เมื่อว่าโดยอรรถความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีนั้น ย่อมมี เหตุใด เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงอรรถนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า บรรดาบทเหล่านั้นความคิดแข่งดีเป็นไฉน เป็นต้น. ในข้อนั้น ชื่อว่า ความแข่งดี ย่อมมีด้วยสามารถ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 932
แห่งความตำหนิติเตียน ความแข่งดีเกิดขึ้นบ่อยๆ ชื่อว่า ความคิดแข่งดีเนืองๆ ความเป็นแห่งบุคคลผู้คิดแข่งดีเนืองๆ ชื่อว่าสภาพที่คิดแข่งดีเนืองๆ.
คำว่า ความดูถูก ได้แก่ การหยาบหยาม. คำว่า ความดูหมิ่น ได้แก่ การเหยียดหยาม. ความเย้ยหยัน ชื่อว่า ความดูแคลน. ความเป็น ผู้แสวงหาข้อบกพร่อง ชื่อว่า ความคอยแสวงหาโทษ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใด ย่อมแสวงหาซึ่งความผิด เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ผู้คอยแสวงหาโทษ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้คอยแสวงหาโทษนั้น ชื่อว่า สภาพที่คอยแสวงหาโทษ คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า ก็ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีนี้ มีการคอยติดตามดูโทษของผู้อื่นเป็นลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี. บุคคลใด ประกอบแล้วด้วยลักษณะ คือคอยติดตามดูโทษของผู้อื่นใดนั้น เปรียบเหมือน ช่างชุนผ้า คลี่ผ้าออกแล้ว ก็ตรวจดูผ้า ทะลุนั่นแหละ ฉันใด บุคคลผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ลบหลู่คุณแม้ทั้งปวงของผู้อื่นแล้วดำรงอยู่ในสิ่งที่ไม่เป็นคุณทั้งหลายเท่านั้น.
คำว่า อโยนิโส มนสิกาโร ได้แก่ การทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย. คำว่า อนิจฺเจ นิจฺจํ อธิบายว่า มนสิการอย่างนี้ คือมนสิการ ในวัตถุอันไม่เทียงแท้ว่า สิ่งนี้เป็นของเที่ยงแท้. แม้ในคำว่า ทุกฺเข สุขํ เป็นต้น ก็นัยนี้. คำว่า สจฺจวิปฺปฏิกูเลน วา ได้แก่ มนสิการโดยไม่คล้อยตามสัจจะทั้ง ๔. คำว่า จิตฺตสฺส อาวฏฺฏนา เป็นต้น แม้ทั้งปวง เป็นไวพจน์ของอาวัชชนจิตนั่นแหละ. จริงอยู่ อาวัชชนะ ชื่อว่า อาวัฏฏนาแห่งจิต เพราะยังภวังคจิตให้เปลี่ยนหมุนไป. ชื่อว่า การเปลี่ยนหมุนไป เพราะย่อมหมุนไปในภายหลัง (ภวังค์). จิตใด ย่อมคำนึงถึงอารมณ์ เพราะเหตุนั้น จิตนั้น จึงชื่อว่า อาโภคะ. จิตใดย่อมประมวลมาซึ่งอารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของภวังค์ เหตุนั้น จิตนั้น จึงชื่อว่า สมันนาหาระ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 933
เมื่ออาวัชชนจิตเกิดขึ้น ทำตนให้ผูกพันแล้วๆ ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละไว้ในใจ เพราะเหตุนั้นอาวัชชนจิตนั้น จึงชื่อว่า มนสิการ. คำว่า ย่อมทำไว้ในใจ ได้แก่ ย่อมตั้งไว้ในใจ. คำว่า อยํ วุจฺจติ อธิบายว่า กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย คือมนสิการผิดทางเป็นลักษณะ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อโยนิโสมนสิการ. บุคคลย่อมไม่อาจเพื่อพิจารณาสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ตามความเป็นจริงได้ด้วยอโยนิโสมนสิการนั้น.
อุมมัคคเสวนานิทเทส
อธิบายการเสพทางผิด
ชื่อว่า การเสพ ด้วยสามารถแห่งการเสพทางอันผิด อันใด ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การเสพทางผิด ดังนี้ เพื่อแสดงทางผิดอันนั้น จึงทรงทำทุติยปุจฉาว่า บรรดาบทเหล่านั้น ทางผิดเป็นไฉน ดังนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล
ติกนิทเทส จบ
อรรถกถาจตุกกนิทเทส
ในนิทเทสแห่งมาติกาหมวด ๔
คำว่า ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร เป็นต้น อธิบายว่าตัณหาย่อมเกิดขึ้นเพราะจีวรเป็นเหตุอย่างนี้ว่า เราจักได้จีวรอันชอบใจในที่ไหนๆ เป็นต้น. อิติ ศัพท์ ในคำว่า อิติ ภวาภวเหตุ นี้เป็น นิบาต ลงในอรรถแห่งนิทัสสนะ (คือ อุทาหรณ์) อธิบายว่า ตัณหาเมื่อจะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 934
เกิด ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุฉันใด ตัณหานั้น แม้เมื่อจะเกิด ก็ย่อมเกิดเพราะวัตถุอื่นๆ อันประณีต และประณีตยิ่งกว่าเป็นเหตุฉันนั้น. ก็วัตถุทั้งหลาย มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น อันประณีตและประณีตยิ่งกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในคำว่า ภวาภโว นี้. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอริยวงศ์ ๔ ตามลำดับ เพื่อประโยชน์แก่การละความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ (ตัณหุปปาทา ๔) เหล่านี้.
อคติคมนะ
คำว่า ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ อธิบายว่า บุคคลย่อมลำเอียง คือย่อมกระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะฉันทะ คือเพราะความรัก. แม้ในบทอื่นๆ ก็นัยนี้. ในอคติเหล่านั้น บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันไม่ใช่เจ้าของ ให้เป็นเจ้าของ ด้วยสามารถแห่งความพอใจรักใคร่ว่า บุคคลนี้เป็นมิตรของข้าพเจ้า หรือว่าเป็นเพื่อน (สนฺทิฏโฐ) หรือว่าเป็นผู้ร่วมกินร่วมนอน (สมภัตตะ) หรือว่า เป็นญาติของข้าพเจ้า ก็หรือว่า บุกคลนี้ย่อมให้สินบนแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะรักใคร่ (ฉันทาคติ) .
บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของให้เป็นของไม่ใช่เจ้าของ ด้วยสามารถแห่งปกติเวร (คือ การไม่ชอบพอกันมาก่อน) หรือว่า ด้วยสามารถแห่งความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้นนั่นแหละว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะความไม่ชอบกัน (โทสาคติ) .
บุคคลใด กล่าวคำใด ย่อมทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของ ให้ไม่ใช่เจ้าของ เพราะความโง่เขลา เพราะเป็นคนทึบ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียง เพราะหลง (โมหาคติ) .
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 935
บุคคลใด มีความกลัวว่า ผู้นี้ เป็นราชวัลลภ หรือว่าผู้นี้มีความประพฤติไม่เรียบร้อย หรือว่า บุคคลนี้ จะพึงทำความฉิบหายให้แก่เรา ดังนี้ ย่อมทำบุคคลผู้มิใช่เจ้าของทรัพย์ ให้เป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้นี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียง เพราะความกลัว (ภยาคติ) .
ก็อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใด เมื่อแบ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในฐานะที่ควรแบ่ง ย่อมให้มากกว่าผู้อื่น ด้วยอำนาจแห่งความรักว่า ผู้นี้เป็นมิตรของเรา หรือว่าเป็นเพื่อน หรือว่าเป็นผู้ร่วมกินร่วมนอน ดังนี้. ย่อมให้น้อยด้วยอำนาจ แห่งโทสะว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา ดังนี้ เมื่อไม่รู้ว่า สิ่งนี้อันเราให้แล้ว หรือว่ายังมิให้ เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา ย่อมให้สิ่งของมากแก่คนบางคน ย่อมให้น้อยแก่คนบางคน ดังนี้ เป็นผู้กลัวว่า เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ ผู้นี้พึงทำความฉิบหายแม้แก่เรา ดังนี้ ย่อมให้สิ่งของแก่คนบางคน. บุคคลแม้ทั้ง ๔ จำพวกนี้ ชื่อว่า ย่อมดำเนินไปสู่ฉันทาคติเป็นต้น ตามลำดับ. พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไม่ดำเนินไปเพราะธรรมมีฉันทะเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนี้ ธรรมนี้ จึงชื่อว่า อคติ. ชนทั้งหลายมิใช่พระอริยะ ย่อมดำเนินไปสู่อคติ ด้วยธรรมมีฉันทะเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น. อคตินี้ จึงชื่อว่า อคติคมนะ บททั้ง ๒ แห่งธรรมทั้ง ๔ มีฉันทะเป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งความเป็นธรรมสาธารณะ. การลำเอียง (คมนํ หมายถึงการเป็นไป) เพราะ ฉันทะ ชื่อว่า ฉันทคมนะ (แปลว่า ความลำเอียงเพราะความรักใคร่). ฉันทาคมนะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการไม่สาธารณะแก่ธรรมทั้งหลายมีโทสะเป็นต้น. การลำเอียง เพราะทำราคะอันเป็นฝ่ายของตน และ โทสะอันเป็นฝ่ายของผู้อื่นไว้เฉพาะหน้า ด้วยความเป็นผู้ไม่รวมเป็นพวกเดียวกัน ชื่อว่า ความลำเอียงเพราะเป็นพวกพ้องกัน. ชื่อว่า ความลำเอียงเพราะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 936
ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล ก็เพราะเป็นราวกะน้ำที่ไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉะนั้น. การลำเอียงนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเป็นธรรมสาธารณะแม้แก่การลำเอียง ทั้ง ๔.
วิปริเยสะ ความเข้าใจผิด
สภาวะใด ย่อมแสวงหาสิ่งตรงกันข้าม โดยนัยว่า สิ่งทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า วิปริเยสะ (ความเข้าใจผิด). ความเข้าใจผิด เพราะสัญญา ชื่อว่า สัญญาวิปริเยสะ. ในวิปริเยสะทั้ง ๒ แม้นอกนี้ก็นัยนี้. วิปริเยสะทั้ง ๔ เหล่านั้น ย่อมมีด้วยสามารถแห่งวัตถุ ๔ (คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ และอสุภะ) จึงเป็นวิปริเยสะ ๑๒ ด้วยสามารถแห่งสัญญาเป็นต้น. ในวัตถุเหล่าใด วิปริเยสะ ๘ ในวิปริเยสะเหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ในคำว่า อสุเภ สุภํ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า สัญญาและจิตตวิปัลลาส ย่อมเบาบางไป ด้วยสกทาคามิมรรค และย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ในคำว่า ทุกฺเข สุขํ นี้ พึงทราบว่า ย่อมละได้ด้วยอรหัตมรรค.
อนริยโวหาร
คำว่า อนริยโวหารา ได้แก่ โวหารคือถ้อยคำทั้งหลาย อันมิใช่ของพระอริยะเป็นถ้อยคำลามก. คำว่า ทิฏฺวาทิตา (แปลว่า พูดว่าเห็น) ได้แก่ เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ข้าพเจ้าเห็นแล้ว. ก็ในคำนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันยังวาจานั้นๆ ให้ตั้งขึ้น. แม้คำว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 937
เจตนาที่บุคคลนั้นกล่าวพร้อมกับเสียง ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสไว้แล้วนั่นแหละ. ในหมวด ๔ แห่งอริยโวหารที่ ๒ ก็นัยนี้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า พระอริยะไม่เห็นแล้ว กล่าวว่า เราเห็นแล้ว หรือว่า เห็นแล้ว กล่าวว่า เราไม่เห็น ย่อมไม่มี. บุคคลผู้มิใช่พระอริยะเท่านั้น ย่อมกล่าวอย่างนี้. เพราะฉะนั้น เมื่อบุคคลกล่าวอยู่อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เจตนา ๘ เหล่านี้พร้อมกับเสียง ชื่อว่า อนริยโวหาร ๘.
ทุจริต
หมวด ๔ ที่หนึ่งในทุจริตทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันเป็นบาป (เป็นเวร) หมวด ๔ ที่สอง ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งวจีทุจริต.
ภัย
ในภัยทั้งหลาย ภัยอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเกิด (ชาติ) ชื่อว่า ชาติภัย ในหมวด ๔ ที่หนึ่ง. แม้ในภัยที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ. ภัยอันเกิดขึ้น แต่พระราชา ชื่อว่า ราชภัย ในหมวด ๔ ที่สอง. แม้ในภัยที่เหลือ ก็นัยนี้. ภัย ๔ ในหมวด ๔ ที่สาม เมื่อบุคคลหยั่งลงสู่น้ำในมหาสมุทร จึงชื่อว่า เป็นภัยตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนั้น.
ได้ยินว่า ในมหาสมุทร คลื่นชื่อว่า มหินทวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้องบน ๖๐ โยชน์. คลื่นชื่อว่า คังคาวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้องบน ๕๐ โยชน์. คลื่นชื่อว่า โรหนวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้องบน ๔๐ โยชน์ ภัยอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยลูกคลื่นทั้งหลายเห็นปานนี้ ชื่อว่า อูมิภัย ภัยเกิดขึ้นแต่คลื่น. ภัยเกิด แต่จระเข้ ชื่อว่า กุมภิลภัย. ภัยเกิดแต่วังน้ำวน ชื่อว่า อาวัฏฏภัย. สุํสุกา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าปลาร้าย ภัยแต่ปลาร้ายนั้น ชื่อว่า สุงสุกาภัย. คำว่า ภัยเกิดแต่การค่อนขอดตัวเอง ในหมวด ๔ ที่สี่ได้แก่ ภัยอันเกิด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 938
ขึ้นแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมติเตียนตนเอง. คำว่า ภัยเกิดแต่การค่อนขอดผู้อื่น ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นแต่การติเตียนบุคคลอื่น. คำว่า ภัยเกิดแต่อาชญา ได้แก่ ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอาชญาอันพระราชาให้เป็นไปแก่บุคคลผู้ครองเรือน (อาคาริกบุคคล) และเพราะอาชญา คือพระวินัยของผู้ไม่ครองเรือน. คำว่า ภัยเกิดแต่อบาย ได้แก่ ภัยอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยอบายภูมิ ๔. ชื่อว่า มหาภัย ๑๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยภัย ๔ หมวดๆ ละ ๔ เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ทิฏฐิ
ชื่อว่า ติมพรูสกทิฏฐิ (๑) พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในทิฏฐิจตุกกะ. บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น. คำว่า สุขทุกข์ตนทำเอง (๒) ดังนี้ ได้แก่ เมื่อบุคคลเห็นเวทนา โดยความเป็นอัตตาตัวตนอยู่ ความเห็นผิดก็เกิดขึ้นว่า เวทนาอันเวทนานั่นเองทำไว้แล้ว ดังนี้. ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น ก็จะปรากฏว่า เวทนาที่เกิดขึ้นในกาลก่อนนั้นยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ทิฏฐิ คือความเห็นผิดนี้ จึงชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ. คำว่า สจฺจโต เถตโต ได้แก่ (ทิฏฐิเกิดขึ้น) โดยสัจจะ โดยถาวร. คำว่า สุขทุกข์อันคนอื่นทำให้ (๓) ดังนี้ อธิบายว่า เมื่อเสวยเวทนาอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็เห็นว่า ตนมีเวทนา คือ มีเวทนาอื่นกระทำให้ ทิฏฐิความเห็นผิดก็จะเกิดขึ้นว่า เวทนานี้ อันเวทนาอื่นทำให้ ดังนี้. ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ ความขาดสูญแห่งเวทนาอันเกิดขึ้นก่อนย่อมปรากฏ
(๑) ติมพรูสกทิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่ชุ่มอยู่ด้วยราคะ ท่านผู้รู้ให้คำอธิบายว่า เป็นทิฏฐิที่เกิดจากการเรียนมากแล้วมีมานะมาก ฉันเป็นผู้คงแก่เรียน (สัสสต, อุจเฉท, อเหตุกทิฏฐิ)
(๒) ในสักกายทิฏฐิว่า เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ แปลว่า เห็นเวทนา โดยความเป็นตน โดยเข้าใจว่าเวทนาเป็นอันเดียวกับตน
(๓) ในสักกายทิฏฐิว่า เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ แปลว่า อีกอย่างหนึ่ง เห็นตนมีเวทนา โดยเข้าใจว่าตนกับเวทนาเป็นคนละอย่าง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 939
ว่า เพราะเวทนาเป็นผู้กระทำเวทนา ฉะนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ. คำว่า สุขทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ดังนี้ ได้แก่ทิฏฐิความเห็นผิดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ตนทำเองครึ่งหนึ่ง ผู้อื่นทำให้ครึ่งหนึ่ง โดยอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. นี้ ชื่อว่า สัสสตุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิความเห็นผิดข้อที่ ๔ เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ไม่มีเหตุเลย ดังนี้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ. บทที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวในหนหลังแล.
จตุกกนิทเทส จบ
อรรถกถาปัญจกนิทเทส
อธิบายมาติกาหมวด ๕
สัญโญชน์
สัญโญชน์ทั้งหลาย มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันบุคคลใดยังมิได้ละ สัญโญชน์เหล่านี้ก็จะคร่าบุคคลเหล่านั้นผู้เกิดอยู่แม้ในภวัคคภูมิ (ยอดภูมิ) ให้ไปในกามภพนั่นแหละ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โอรัมภาคิยะ (๑) (เบื้องต่ำ). ด้วยเหตุนี้ สัญโญชน์ ๕ เหล่านี้ จึงมิได้ห้ามผู้ไปสู่ภวัคคภูมิ ก็แต่ย่อมนำผู้ไปแล้วนั้นให้กลับมาสู่ภพนี้อีก. สัญโญชน์เบื้องบน (๒) มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า สังคะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้อง และชื่อว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะอรรถว่า เข้าไปเสียบแทง
(๑) สัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สิลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
(๒) อุทธมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ รูปราคะ อรปราคะ มานะ อุทธัจจะ วิชชา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 940
เจโตขีละ (ตะปูตรึงใจ)
คำว่า เจโตขีลา ได้แก่ ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้าง ความที่จิตเป็นดุจกองหยากเยื่อ ความที่จิตเป็นดุจตอไม้. คำว่า สตฺถริ กงฺขติ ได้แก่ ความสงสัยในพระสรีระร่างกายของพระศาสดา หรือในพระคุณของพระศาสดา คือว่า เมื่อบุคคลสงสัยในพระสรีระของพระศาสดา ย่อมสงสัยว่า พระสรีระของพระศาสดา ชื่อว่าประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการนั้น มีจริงหรือ ดังนี้ เมื่อสงสัยในพระคุณของพระศาสดา ย่อมสงสัยว่า พระสัพพัญญุตญาณที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่หรือ ดังนี้. คำว่า วิจิกิจฺฉติ ได้แก่ เมื่อบุคคลคิดอยู่ ย่อมลำบาก ย่อมประสพความทุกข์ ย่อมไม่อาจเพื่อตัดสินได้. คำว่า นาธิมุจฺจติ ได้แก่ ย่อมไม่ได้เฉพาะ ซึ่งการน้อมใจเชื่อว่า พระคุณของพระศาสดานั้นเป็นอย่างนี้ ดังนี้. คำว่า น สมฺปสีทติ ได้แก่ บุคคลหยั่งลงสู่พระคุณของพระศาสดาแล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อเป็นผู้ไม่มัวหมอง เพราะความยินดี และเพราะความเป็นผู้หมดความสงสัย.
คำว่า ธมฺเม ได้แก่ ย่อมสงสัยในพระปริยัตติธรรม ในพระปฏิเวธธรรม. อธิบายว่า เมื่อสงสัยในพระปริยัตติธรรม ย่อมสงสัยว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า พระไตรปิฎกคือพระพุทธพจน์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นั้น มีอยู่หรือหนอ ดังนี้ เมื่อสงสัยในพระปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ชื่อว่า มรรค เพราะการไหลออกแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า ผลเพราะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 941
การไหลออกแห่งมรรค และชื่อว่า พระนิพพาน เพราะเป็นการสละคืนแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้นั้น มีอยู่หรือ ดังนี้. คำว่า สงฺเฆ กงฺขติ ได้แก่ ย่อมสงสัยว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ ผู้ดำเนินไปสู่ปฏิปทา ด้วยสามารถแห่งการดำเนินไปมีคำว่า อุชุปฏิปนุโน เป็นต้น เห็นปานนี้ ชื่อว่า สงฆ์อันหมู่แห่งพระอริยบุคคล ๘ มีอยู่หรือหนอ ดังนี้. เมื่อสงสัยในสิกขา ย่อมสงสัยว่า บุคคลทั้งหลายย่อมกล่าวว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ดังนี้ คำนี้มีอยู่หรือหนอ ดังนี้.
เจตโส วินิพันธะ
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เจตโส วินิพนฺธา ชื่อว่า เจตโส วินิพันธะ (เครื่องผูกพันจิต) เพราะเครื่องผูกทั้งหลายย่อมผูกจิตไว้ เหมือนบุคคลกำวัตถุด้วยมือแล้วก็ถือเอา. คำว่า กาเม ได้แก่ ในวัตถุกามบ้าง ในกิเลสกามบ้าง. คำว่า กาเย ได้แก่ ในกายของตน. คำว่า รูเป ได้แก่ ในรูปภายนอก. คำว่า ยาวทตฺถํ แปลว่า ตามความต้องการ. คำว่า อุทราวเทหกํ ได้แก่ เต็มกระเพาะอาหาร จริงอยู่อาหารเต็มกะเพาะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อุทราวเทหกะ เพราะการบริโภคอาหารจนเต็มอิ่ม. คำว่า เสยฺยสุขํ ได้แก่ หาความสุขบนเตียงและตั่ง หรือว่า ความสุขเกี่ยวกับอุณหภูมิ. คำว่า ปสฺสสุขํ ได้แก่ ความสุขของบุคคลผู้นอนพลิกไปมาข้างขวา หรือ ข้างซ้ายย่อมมีฉันใด ความสุขอันเกิดขึ้นแล้วในที่นี้ก็ฉันนั้น. คำว่า มิทฺธสุขํ ได้แก่ ความสุขในการหลับ. คำว่า อนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วอยู่ คำว่า ผูกใจ ได้แก่ ปรารถนาแล้ว. คำว่า ด้วยศีล ในคำว่า สีเลน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 942
เป็นต้น ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล. คำว่า วตฺตํ ได้แก่ สมาทานวัตร คือ การประพฤติ. คำว่า ตโป ได้แก่ การประพฤติตบะ. คำว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ย่อมเว้นเมถุนธรรม. คำว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ แปลว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่. คำว่า เทวญฺตโร วา ได้แก่ หรือว่า เป็น เทวดาผู้มีศักดาน้อยตนใดตนหนึ่ง ดังนี้.
นิวรณ์
ธรรมทั้งหลาย ที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะย่อมปิด ย่อมกั้นกุศลธรรมทั้งหลาย.
อนันตริยกรรม
คำว่า มาตา ชีวิตา โวโรปิตา โหติ ได้แก่ มนุษย์เท่านั้นฆ่ามารดาของตนผู้เป็นมนุษย์ แม้บิดาก็เป็นบิดามนุษย์อย่างนั้นแหละ. พระอรหันต์ ก็เป็นพระอรหันต์มนุษย์นั่นแหละ. คำว่า ด้วยจิตอันประทุษร้าย ได้แก่ ด้วยจิตคิดจะฆ่า.
ทิฏฐิ
คำว่า สญฺี ได้แก่ พรั่งพร้อมด้วยสัญญา. คำว่า อโรโค ได้แก่ เที่ยงแท้ไม่แปรผัน. คำว่า อิตฺเถเก อภิวทนฺติ ได้แก่ สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวอย่างนี้ คือ ย่อมกล่าวด้วยประการฉะนี้. สัญญีวาทะ ๑๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. คำว่า อสญฺี ได้แก่ เว้นจากสัญญา. อสัญญีวาทะ ๑๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทว่า อสญฺี นี้. เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทที่ ๓. คำว่า สโต วา ปน สตฺตสฺส ได้เเก่ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสัตว์มีอยู่นั่นแหละ. คำว่า อุจฺเฉทํ ได้แก่ ความขาดสูญ. คำว่า วินาสํ ได้แก่ ความพินาศ. คำว่า วิภวํ ได้แก่ ความไม่มี. คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 943
ในข้อนั้น คน ๒ คน คือ ผู้ได้ฌานคนหนึ่ง ไม่ได้ฌานคนหนึ่ง ย่อมถือเอาอุจเฉททิฏฐิ.
ในสองคนนั้น ฌานลาภีบุคคลเห็นสัตว์จุติอยู่ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ตามความเหมาะสม ไม่เห็นอยู่ซึ่งความเกิดขึ้น ก็หรือว่า บุคคลใด ย่อมไม่อาจเพื่อเห็นซึ่งจุตินั่นแหละด้วย ไม่อาจเพื่ออันเห็นความเกิดขึ้นด้วย บุคคลนั้น ก็ย่อมถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ.
ผู้ไม่ได้ฌานเพราะความมักมากในกามคุณ ย่อมคิดว่า ใครหนอจะรู้ซึ่งปรโลก ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนใบไม้หล่นไปจากต้นไม้แล้ว ย่อมไม่งอกงามขึ้น ฉันใด บุคคลผู้ไม่ได้ฌานถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ เพราะวิตก เป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น. อุจเฉทวาระ ๗ อันเกิดขึ้นแล้วเพราะการกำหนดเหมือนอย่างนั้นด้วย โดยประการอื่นด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งตัณหาทิฏฐิทั้งหลาย. จริงอยู่ ทิฏฐินี้ เป็นคำสงเคราะห์ของตัณหาทิฏฐิเหล่านั้น. ปัจจักขธรรม (ธรรมที่ประจักษ์) พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ทิฏฐธรรม ในคำว่า ทิฏฺธมฺมนิพฺพานํ วา ปเนเก (แปลว่า ก็หรือว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวยืนยันทิฏฐธัมมนิพพาน). คำที่กล่าวนี้เป็นชื่อของความที่บุคคลนั้นได้เฉพาะธรรมนั้นๆ. นิพพานในทิฏฐธรรม ชื่อว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน. อธิบายว่า ความเข้าไปสงบแห่งทุกข์ ในอัตภาพนี้เท่านั้น. นี้เป็นคำสงเคราะห์วาทะว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน.
เวร
คำว่า เวรา (เวร ๕) ได้แก่ เจตนาอันเป็นบาป.
คำว่า พฺยสนา ได้แก่ ความพินาศทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 944
โทษแห่งความไม่อดทน ๕
๑. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
๒. มีเวรมาก
๓. มีโทษมาก
๔. ตายโดยความหลงลืมสติ
๕. ตายแล้วเข้าถึงอบายภูมิ ๔ ภูมิใดภูมิหนึ่ง
คำว่า อกฺขนฺติยา ได้แก่ แห่งความไม่อดทน. คำว่า อปฺปิโย ได้แก่ ไม่พึงเป็นที่รัก เพราะเป็นสิ่งปฏิกูลในการเห็น ในการฟัง. ชื่อว่า ไม่เป็นที่ชอบใจ เพราะแม้เมื่อคิดจิตย่อมไม่แนบแน่น. คำว่า เวรพหุโล ได้แก่ มีเวรมาก. คำว่า วชฺชพหุโล ได้แก่ มีโทษมาก.
ภัย
ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอาชีพอันยังชีวิตให้เป็นไป ชื่อว่า อาชีวกภัย. อาชีวกภัยนั้น ย่อมมีแก่ผู้ครองเรือนบ้าง แก่ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง. ในบุคคลเหล่านั้น ผู้ครองเรือน ย่อมกระทำกรรมอันเป็นอกุศลเป็นอันมาก เพราะเหตุแห่งอาชีพก่อน และต่อจากนั้นภัยนั้นก็เกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย หรือ จนกระทั่งนรกปรากฏ. แม้ผู้ไม่ครองเรือนเล่า เมื่อทำอเนสนา คือการแสวงหา เลี้ยงชีพในทางอันไม่ควรเป็นอันมาก ภัยนั้นย่อมเกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย หรือนรกปรากฏ นี้ ชื่อว่า อาชีวกภัย. คำว่า อสิโลกภยํ ได้แก่ ภัยคือการติเตียน. คำว่า ปริสสารชฺชภยํ ได้แก่ ภัยกล่าวคือความกำหนัด ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีบาปอันทำไว้แล้ว และเข้าไปสู่ที่ประชุมแห่งบริษัท นี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 945
ชื่อว่า ภัยเกิดแก่ความขลาดกลัวเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม. ภัยทั้งสองนอกนี้ คือ มรณภัย อบายภัย ปรากฏชัดแจ้งแล้ว แล.
ในทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ คำว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ได้แก่ ด้วยความผูกพัน อันเป็นส่วนแห่งกามคุณ ๕ มีรูปอันเป็นที่ชอบใจเป็นต้น. คำว่า สมปฺปิโต ได้แก่ ติดแน่นแล้ว แนบเเน่นแล้วด้วยดี. คำว่า สมงฺคีภูโต ได้แก่ ประกอบแล้ว. คำว่า ปริจาเรติ (แปลว่า ย่อมบำเรอ) ได้แก่ ยังอินทรีย์ทั้งหลายให้เป็นไป ให้เป็นไปพร้อม ย่อมน้อมเข้าไปข้างนี้ด้วย ตามความสุขในกามคุณทั้งหลายนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสมาคม ย่อมรื่นรมย์ ย่อมเล่นในกามเหล่านั้น. ก็กามคุณทั้งสองในที่นี้ ท่านประสงค์เอากามคุณอันเป็นของมนุษย์ และเป็นของทิพย์. กามคุณอันเป็นของมนุษย์ บัณฑิตพึงเห็นเช่นกับกามคุณของพระเจ้ามันธาตุราช กามคุณอันเป็นทิพย์ พึงเห็นเช่นกับกามคุณของเทวราชในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี. ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวบุคคลผู้เข้าถึงกามเห็นปานนี้ว่า เป็นผู้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ปรมทิฏฺธมฺมนิพฺพานํ ได้แก่ ทิฏฐธัมมนิพพาน อันยอดเยี่ยม คือ สูงสุด.
ในวาระที่ ๒ (ข้อที่ ๒) กามทั้งหลาย ที่ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะ อรรถว่า มีแล้ว กลับไม่มี. ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า บีบคั้นและพึง ทราบว่า ชื่อว่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะอรรถว่าละปกติภาวะ. คำว่า เตสํ วิปริณามญฺถาภาวา (แปลว่า เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น) อธิบายว่า เพราะความที่กามเหล่านั้นเป็นอย่างอื่นกล่าวคือ มีความแปรปรวนไป. โสกะคือความเศร้าโศก ปริเทวะคือความร่ำไห้ ทุกขะคือความทุกข์ โทมนัสสะคือความโทมนัส อุปายาสะคือความคับแค้นใจ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 946
ย่อมเกิดขึ้น โดยนัยที่กล่าวไว้ว่า ยมฺปิ เม อโหสิ ตมฺปิ เม นตฺถิ แม้เราได้มีสิ่งใดแล้ว แม้เราก็กลับไม่มีสิ่งนั้นดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น ความ เศร้าโศก มีการเผาผลาญภายในเป็นลักษณะ. ความร่ำไห้ มีการบ่นเพ้ออาศัยซึ่งความโกรธนั้นเป็นลักษณะ. ทุกข์มีการบีบคั้นกายเป็นลักษณะ โทมนัสมีการพิฆาตใจเป็นลักษณะ. ความคับแค้นใจมีความเศร้าใจเป็นลักษณะ. คำว่า วิตกฺกิตํ ได้แก่ วิตกอันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการยกขึ้น. คำว่า วิจาริตํ ได้แก่ วิจารอันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการประคอง. คำว่า เอเตน เอตํ ได้แก่ ปฐมฌานนี้ ย่อมปรากฏราวกะเป็นหนามอันใหญ่ ด้วยวิตกและด้วยวิจารนี้. คำว่า ปีติคตํ ได้แก่ ปีตินั่นแหละ. คำว่า เจตโส อุพฺพิลาวิตํ (แปลว่า ความลำพองใจ) ได้แก่ การทำจิตให้เบิกบาน คำว่า เจตโส อาโภโต ได้แก่ ออกจากฌานแล้ว ก็มนสิการให้จิตหวนระลึกถึงความสุขบ่อยๆ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
ปัญจกนิทเทส จบ
อรรถกถาฉักกนิทเทส
อธิบายมาติกาหมวด ๖
บุคคลผู้โกรธแล้ว ย่อมถึงการทะเลาะ การวิวาท การโต้เถียงกัน ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ หรือว่า บุคคลผู้ยึดถือแต่ความเห็นของตน ก็ย่อมถึงการทะเลาะ การวิวาท การโต้เถียงกันเพราะความยึดถือแต่ความเห็นของตน เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิวาทมูล มีความโกรธเป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 947
ฉันทราคนิทเทส
อธิบาย ฉันทราคะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยย่อว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยเรือน ชื่อว่า ฉันทราคะ เพราะอาศัยเรือน คือ กาม ดังนี้ แล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรมนั้น โดยประเภทอีก จึงตรัสว่า มนาปิเยสุ รูเปสุ เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า มนาปิเยสุ ได้แก่ ความชอบใจ อันยังใจให้เจริญ.
วิโรธวัตถุ คือ ความพิโรธ (ความอาฆาต).
อคารวะ (ความไม่เคารพ)
คำว่า อคารโว ในอคารวะทั้งหลาย ได้แก่ เว้นจากความเคารพ. คำว่า อปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ประพฤติตามถ้อยคำ. ก็ข้อนี้ ครั้นเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุใด ย่อมไม่ไปสู่ที่บำรุงในกาลทั้ง ๓ เมื่อพระศาสดาไม่สวมรองพระบาทจงกรมอยู่ ภิกษุใดสวมรองเท้าจงกรมอยู่ เมื่อพระศาสดาจงกรมอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมจงกรมในที่จงกรมสูง เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมอยู่ในที่สูง ภิกษุใด ย่อมห่มคลุมไหล่ทั้งสอง ย่อมกั้นร่ม ย่อมสวมรองเท้า ย่อมอาบน้ำ ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ในที่อันเห็นพระศาสดา ก็หรือว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ภิกษุใด ย่อมไม่ไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์ ย่อมทำการงานทั้งปวงอันกล่าวแล้ว ในที่อันมองเห็นพระเจดีย์ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพในพระศาสดา.
ก็ภิกษุใด ไปฟังธรรมที่สงฆ์ประกาศแล้ว โดยไม่เคารพ ย่อมไม่ฟังโดยเคารพ ย่อมนั่งสนทนากัน ย่อมเรียนโดยไม่เคารพ ย่อมกล่าวสอน โดยไม่เคารพ ภิกษุนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เคารพในพระธรรม.
ก็ภิกษุใด ไม่ได้รับการเชื้อเชิญจากภิกษุเถระให้แสดงธรรม ย่อมแสดงธรรม ย่อมแก้ปัญหา ย่อมเดิน ยืน นั่ง กระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่า หรือว่านั่งเอาผ้ารัดเข่า เอามือรัดเข่า ย่อมห่มคลุมไหล่ทั้งสองในท่ามกลางสงฆ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 948
ย่อมกั้นร่มและสวมรองเท้า ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพในสงฆ์. จริงอยู่ ภิกษุแม้กระทำความไม่เคารพในเรื่องที่กล่าวแล้วเพียงอย่างเดียวในสงฆ์ก็ชื่อว่า ไม่เคารพในสงฆ์เหมือนกัน.
ก็ภิกษุใดยังไม่กระทำสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา.
เมื่อภิกษุใดไม่เจริญลักษณะแห่งความไม่ประมาทเนืองๆ ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เคารพในความไม่ประมาท. เมื่อไม่กระทำปฏิสันถาร ๒ อย่าง (๑) ชื่อว่า ไม่เคารพในปฏิสันถาร.
ปริหานิยธรรม
คำว่า ปริหานิยา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันกระทำซึ่งความเสื่อม. คำว่า กมฺมารามตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วด้วยความยินดียิ่งในนวกรรม (การก่อสร้าง) หรือว่า ในการงานทั้งหลาย มีการใคร่ครวญคิดถึงจีวรเป็นต้น. คำว่า ภสฺสารามตา ได้แก่ ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วในการสนทนาด้วยสามารถแห่งคำอันเป็นดิรัจฉานกถา. คำว่า นิทฺทารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการหลับนอน. คำว่า สงฺคณิการามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการคลุกคลีด้วยหมู่. คำว่า สํสคฺคารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการอยู่ร่วมกัน ๕ อย่าง คือในการอยู่ร่วมกันด้วยการฟัง อยู่ร่วมกันด้วยการดู อยู่ร่วมกันด้วยการสนทนา อยู่ร่วมกันด้วยการบริโภค อยู่ร่วมกันด้วยกาย. คำว่า ปปญฺจารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โสมนัสสุปวิจาร เป็นต้น. ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า โสมนัสสุปวิจาร เพราะอรรถว่าย่อมครุ่นคิดถึงซึ่งการเกิดขึ้นร่วมกับ
(๑) ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ธัมมปฏิสันถาร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 949
โสมนัส. คำว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา ได้แก่ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. คำว่า โสมนสฺสฏฺานิยํ ได้แก่ เป็นเหตุแห่งโสมนัส ด้วยสามารถแห่งอารมณ์. ในคำว่า อุปวิจรติ นั้น ได้แก่ ย่อมครุ่นคิดถึง โดยความเป็นไปแห่งวิจาร. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในหมวด ๖ แม้ทั้ง ๓ คือ โสมนัสสุปวิจาร โทมนัสสุปวิจาร และอุเปกขูปวิจาร โดยนัยนี้ว่า วิตกฺโก ปน ตํสมํปยุตฺโต วา ดังนี้ (แปลว่า วิตกเป็นธรรมสัมปยุตกับด้วยวิจารนั้น)
คำว่า เคหสิตานิ ได้แก่ อิงอาศัยกามคุณ. คำว่า โสมนสฺสานิ ได้แก่ ความสุขทางใจ. คำว่า โทมนสฺสานิ ได้แก่ ความทุกข์ทางใจ. คำว่า อุเปกฺขา ได้แก่ อุเขกขาเวทนาอันสัมปยุตด้วยอัญญาณ (คือ โมหะ). แม้คำว่า อญฺาณุเปกฺขา ดังนี้ ก็เป็นชื่อของเคหสิตอุเบกขา ๖ นั่นแหละ.
ทิฏฐิ ๖
วา ศัพท์ในบททั้งปวง ในคำว่า อตฺถิ เม อตฺตาติ วา นี้ เป็น นิบาตกำหนดเนื้อความ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายว่า ความเห็นผิด ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ก็ดี. ก็สัสสตทิฏฐิ ย่อมถือเอาซึ่งความที่ตนมีอยู่ในกาลทั้งปวง ในคำว่า อตฺถิ เม อตฺตา นี้. คำว่า สจฺจโต เถตโต ได้แก่ โดยแท้จริง โดยมั่นคง. คำว่า อิทํ สจฺจํ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิบายว่า โดยความเป็นสิ่งมั่นคงด้วยดี. คำว่า นตฺถิ เม อตฺตา (แปลว่า อัตตาของเราไม่มี) อธิบายว่า ทิฏฐินี้ ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะถือเอาความไม่มี แห่งสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ในที่นั้นๆ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 950
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐินี้ ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะถือเอาอัตตาในกาลทั้ง ๓ แม้เกิดก่อนว่า มีอยู่. อุจเฉททิฏฐิ ถือเอาอัตตาอันเป็นปัจจุบันเท่านั้นว่า มีอยู่. คือว่า ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะการถือว่า อัตตาในอดีตและอนาคต แม้เกิดภายหลังว่า ไม่มีอยู่ ดังนี้ ราวกะทิฏฐิของบุคคลผู้มีความเห็นว่า ของบูชายัญมีเถ้าธุลีเป็นที่สุด . สัสสตทิฏฐิของบุคคลผู้มีความเห็นว่า อัตตาเกิดขึ้นลอยๆ เทียว จึงยึดถือว่า อัตตาในอดีตเท่านั้นไม่มี ดังนี้. คำว่า อตฺตนา วา อตฺตานํ สญฺชานามิ (แปลว่า ย่อมรู้จักอัตตาด้วยอัตตา ดังนี้ ก็ดี) อธิบายว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เราชื่อว่า ย่อมรู้จักอัตตานี้ด้วยอัตตานี้ เพราะถือว่า อัตตาในขันธ์ โดยมีสัญญาขันธ์เป็นสีสะแล้วรู้ขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญา ดังนี้. คำว่า อตฺตนา วา อนตฺตานํ (แปลว่า รู้จักอนัตตาด้วยอัตตา) อธิบายว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เพราะรู้อัตตาเหล่านั้น โดยการถือเอาสัญญาขันธ์นั่นแหละว่าเป็นอัตตา แล้วก็ถือเอาขันธ์ ๔ ที่เหลือว่าเป็นอนัตตา. คำว่า อนตฺตนา วา อตฺตานํ (แปลว่า รู้จักอัตตาด้วยอนัตตา) ได้แก่ ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เพราะถือเอาสัญญาขันธ์ว่าเป็นอนัตตา แล้วถือขันธ์ ๔ นอกนี้ว่าเป็นอัตตา เพราะรู้อัตตาเหล่านั้นด้วยสัญญา. การยึดถืออัตตาแม้ทั้งปวงเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิดังกล่าวมาแล้วนั่นแหละ. ก็คำว่า วโท เวเทยฺโย (แปลว่า ผู้กล่าว ผู้เสวย) นี้ เป็นคำ กล่าวทำสัสสตทิฏฐิแสะอุจเฉททิฏฐิให้มั่นคงทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในคำเหล่านั้น ดังนี้ ที่ชื่อว่า ผู้กล่าว ( วโท ) เพราะย่อมกล่าว อธิบายว่า ผู้กระทำวจีกรรม. ชื่อว่า เวเทยฺโย เพราะอันบุคคลพึงเสวย อธิบายว่า อัตตาย่อมรู้จึงชื่อว่าย่อมเสวย. บัดนี้ อัตตานั้น ย่อมรู้ซึ่งธรรมใด เพื่อแสดงธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตตฺร ตตฺร ได้แก่ ในโยนิ ในคติ ในฐิติ ใน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 951
นิวาส และนิกายทั้งหลาย หรือว่าในอารมณ์ทั้งหลายนั้นๆ. คำว่า ทีฆรตฺตํ ได้แก่ สิ้นกาลนาน. คำว่า ปจฺจนุโภติ ได้แก่ ย่อมเสวย. คำว่า น โส ชาโต นาโหสิ ได้แก่ อัตตานั่นชื่อว่า ไม่เกิด เพราะการไม่เกิดเป็นธรรมดา อธิบายว่า อัตตานั้นมีอยู่ในกาลทุกเมื่อทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละจึงว่า อัตตา ไม่ได้มีแล้วในอดีต จักไม่มีแม้ในอนาคต เพราะว่า อัตตาใดเกิดขึ้นแล้ว อัตตานั้นได้มีแล้ว แต่อัตตาใดจักเกิด อัตตานั้นก็จักมี ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า น โส ชาโต นาโหสิ อธิบายว่า อัตตานั้น ไม่เกิด ไม่ได้มีแล้ว แม้ในอดีต, ไม่เกิด จักไม่มี แม้ในอนาคต เพราะ ความที่อัตตานั้นมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ. คำว่า นิจฺโจ ได้แก่ เว้นจากการเกิดและการดับ. คำว่า ธุโว (ยั่งยืน) ได้แก่ เป็นสภาพมั่นคง เป็นสิ่งมีสาระ. คำว่า สสฺสโต ได้แก่ ประกอบด้วยกาลทั้งปวง. คำว่า อวิปริณามธฺมโม (ไม่แปรผัน) ได้แก่ ธรรมที่ไม่ละความเป็นปกติของตน คือ ย่อมไม่ถึงซึ่งความเป็นไปโดยประการอื่น เหมือนกิ้งก่า ไม่ละอยู่ซึ่งความเป็นปกติของตน ฉะนั้น. ชื่อว่าทิฏฐิ อันเป็นไปกับอาสวะทั้งปวงนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ฉักกนิทเทส จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 952
อรรถกถาสัตตกนิทเทส
อธิบายมาติกาหมวด ๗
สภาวธรรมเหล่าใด ชื่อว่า ย่อมนอนเนื่อง เพราะอรรถว่าเป็นสภาพที่มีกำลัง และเพราะอรรถว่าเป็นสภาพที่ยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อนุสัย คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน. (๑)
สภาวธรรมเหล่าใด ย่อมประกอบสัตว์ไว้ ย่อมให้สัตว์สืบต่ออยู่ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า สัญโญชน์ คือกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ.
สภาวธรรมเหล่าใด ย่อมเกิดกลุ้มรุมจิต โดยกระทำให้กำเริบ เพราะเหตุนั้นสภาวธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปริยุฏฐาน คือ กิเลสที่ประทุษร้ายจิต. ปริยุฏฐาน คือ กามราคะ ชื่อว่า กามราคปริยุฏฐาน. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
ธรรมทั้งหลายอันมิใช่ของสัตบุรุษ หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่สงบ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมลามก เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อสัทธรรม.
จริตทั้งหลาย อันโทษทั้งหลายมีราคะเป็นต้นประทุษร้ายแล้ว เพราะเหตุนั้นจริตเหล่านั้นจึงชื่อว่า ทุจริต. ธรรมเหล่าใด ย่อมสำคัญว่าตนมีอยู่ โดยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า มานะ.
(๑) องค์ธรรมของอนุสัยกิเลส สัญโญชน์ และปริยุฏฐาน อย่างเดียวกัน คือ กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ภวราคะ อวิชชา ส่วนที่ต่างกันนั้น คือ อนุสัย จัดเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ปัจจัยแล้วจึงเกิดขึ้น สัญโญชน์และปริยุฏฐาน จัดเป็นกิเลสอย่างกลาง เพราะเกิดสัมปยุตกับจิต กิเลสทั้งหมดล่วงมโนทวารไปสู่กายทวาร วจีทวาร เรียกว่า กิเลสอย่างหยาบ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 953
ทิฏฐินิทเทส
คำว่า รูปี ได้แก่ มีรูป. คำว่า จาตุมหาภูติโก ความว่า สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔. คำว่า มาตาปิตูนํ เอตํ ได้แก่ รูปอันเป็นของมารดาและบิดา. ถามว่ารูปอะไร ตอบว่า รูปคือ น้ำสุกกะและโลหิต (น้ำสุกกะอันเป็นของบิดาและโลหิตของมารดา) ชื่อว่า มาตาเปตติกสัมภวะ เพราะเกิดขึ้นแต่น้ำสมภพของมารดาและบิดา. สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวซึ่งความเป็นแห่งมนุษย์ด้วยรูปกายอันเป็นประธานนั้นว่านี้เป็นอัตตา. ในวาระที่ ๒ สมณพราหมณ์บางคนปฏิเสธรูปกายอันเกิดแต่มารดาบิดานั้น แต่ย่อมกล่าวรับรองซึ่งความเป็นอัตตาอันเป็นทิพย์. คำว่า ทิพฺโพ ได้แก่ อัตตาที่บังเกิดขึ้นในเทวโลก. คำว่า กามาวจโร ได้แก่ อัตตาอันนับเนื่องด้วยสวรรค์ ๖ ชั้น. คำว่า กพฬิงฺการํ ภกฺขยติ (๑) ได้แก่ มีก้อนข้าวเป็นอาหาร. คำว่า มโนมโย ได้แก่ อัตตาที่เกิดขึ้นแล้วด้วยใจซึ่งเกิดแต่ฌาน. คำว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี ได้แก่ ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง. คำว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่ มีอินทรีย์บริบูรณ์ไม่บกพร่อง. รูปเหล่าใด มีอยู่ในพรหมโลก พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสซึ่งรูปนั้น ด้วยสามารถแห่งรูปของพรหมด้วย และด้วยสามารถแห่งสัณฐานแห่งรูปนอกจากนี้ด้วย. คำว่า อากาสานญฺจายตนูปโค ได้แก่ เป็นผู้เข้าถึงซึ่งความเป็นแห่งอากาสานัญจายตนะ. ในคำทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็นัยนี้แหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
สัตตกนิทเทส จบ
(๑) บาลีว่า ภกฺโข.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 954
อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส
อธิบายมาติกาหมวด ๘
กิเลสวัตถุ (๑) คือ กิเลสทั้งหลายนั่นแหละ. คำว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน คือความขี้เกียจ อธิบายว่าเป็นเหตุแห่งความเกียจคร้าน. คำว่า กมฺมํ กตฺตพฺพํ โหติ (แปลว่า เราจักต้องทำการงาน) ได้แก่ การงานที่ต้องทำมีการพิจารณาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น. คำว่า น วิริยํ อารภติ (แปลว่า ไม่ปรารภความเพียร) ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียรแม้ทั้ง ๒ อย่าง. คำว่า อุปฺปตฺสฺส ได้แก่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง มีฌาน วิปัสสนา มรรคและผล. คำว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุอันนั้นนั่นแหละ. คำว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งฌาน วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง. คำว่า อิทํ ปมํ อธิบายว่า การจมลงอย่างนี้ว่า เชิญท่านเถิด เราจะนอน ดังนี้ นี้เป็นกุสีตวัตถุข้อที่หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
ก็ในคำว่า มาสาจิตํ มญฺเ (แปลว่า เป็นเหมือนถั่วหมัก) ได้แก่ ถั่วอันบุคคลให้เปียกชุ่มแล้วด้วยน้ำ ชื่อว่า ถั่วหมัก. อธิบายว่า ถั่วหมัก เปียกชุ่มแล้วย่อมเป็นของหนัก ฉันใด กายของผู้เกียจคร้านนั้นย่อมหนัก ฉันนั้น.
คำว่า คิลานา วุฏฺฐิโต โหติ ได้แก่ ภิกษุเพิ่งจะหายป่วย.
(๑) กิเลสวัตถุ ๘ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 955
จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อฏฺสุ โลกธมฺเมสุ ดังนี้. ที่ชื่อว่า โลกธรรม เพราะเป็นธรรมของชาวโลก. สัตว์โลกทั้งหลายชื่อว่า พ้นจากโลกธรรมเหล่านี้ย่อมไม่มีเลย โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมมีแม้แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โลกธรรม ดังนี้. บทว่า ปฏิฆาโต ได้แก่อาการคือ การกระทบจิต. คำว่า ลาเภ สาราโค (แปลว่า ความยินดีในลาภ) ได้แก่ ความยินดีอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งโสมนัสอันอิงอาศัยเรือนอย่างนี้ว่า เราย่อมได้ลาภ ดังนี้ ความยินดีนั้นจึงชื่อว่า กระทบจิต. คำว่า อลาเภน ปฏิวิโรโธ (แปลว่า ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ) ได้แก่ ความยินร้ายอันเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งโทมนัสว่า เราย่อมไม่ได้ลาภ ดังนี้ ความยินดียินร้ายแม้นั้น ย่อมกระทบจิต เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ปฏิฆาตะ. แม้ในคำว่า ความยินดีในยศเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น อย่างนี้ว่า เรามีบริวารมาก เรามีบริวารน้อย เราได้รับความสรรเสริญ เราได้รับการนินทา เราถึงสุข เราถึงทุกข์ ดังนี้. คำว่า อนริยโวหารา ได้แก่ โวหาร (คำพูด) ของบุคคลผู้มิใช่พระอริยะ.
โทษทั้งหลายของบุรุษ ชื่อว่า ปุริสโทส. คำว่า น สรามิ ได้แก่ ย่อมแก้ตัว ย่อมให้คนหลุดพ้น โดยความเป็นผู้ไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึกไม่ได้ กำหนดไม่ได้ซึ่งฐานะแห่งกรรมนอันเราทำแล้ว. คำว่า โจทกํเยว ปฏิปฺผรติ ได้แก่ เป็นผู้ขัดเเย้งกันแผ่ไป คือย่อมตั้งอยู่ด้วยความเป็นผู้โต้เถียงกัน. คำว่า กินฺนุ โข ตุยฺหํ ความว่า ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการกล่าวของท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด คือ ย่อมแสดงว่า ท่านย่อมไม่รู้เรื่องวัตถุ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 956
แห่งอาบัติ ย่อมไม่รู้จักการตำหนิ. อธิบายว่า แม้ท่านเองก็ไม่รู้จักอาบัติ ท่านจึงสำคัญคำอะไรๆ อันบุคคลพึงกล่าวอย่างนี้ ดังนั้น โทษนั้นย่อมครอบงำท่าน. คำว่า ปจฺจาโรเปติ ความว่า ย่อมกล่าวยกอาบัติขึ้นว่า ท่านนั่นแหละต้องอาบัติ เป็นต้น. คำว่า ปฏิกโรหิ ได้แก่ ย่อมแสดงว่า ท่านจงแสดง เทสนาคามินี (คือการแสดงอาบัติตั้งแต่ถุลลัจจัย จนถึงอาบัติต่ำสุด) จงออกจากวุฏฐานคามินี (คือ ออกจากอาบัติสังฆาทิเสส) เมื่อตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้น จึงควรทักท้วงผู้อื่น ดังนี้. คำว่า อญฺเนญฺํ ปฏิจรติ ได้แก่ ย่อมกลบเกลื่อนซึ่งเหตุอย่างอื่นด้วยเหตุอื่น หรือว่า กลบเกลื่อนซึ่งถ้อยคำด้วยถ้อยคำ. คำว่า อาปตฺตึ อาปนฺโนสิ ได้แก่ ย่อมกล่าวว่า ใครพูดว่าเราต้องอาบัติ เราต้องอาบัติอะไร ต้องอาบัติอย่างไร ต้องอาบัติที่ไหน ย่อมพูดอะไรๆ อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสงฆ์กล่าวว่า อาบัติอะไรๆ เห็นปานนี้ ท่านเห็นหรือ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมไม่พึง ย่อมไม่น้อมโสตเข้าไป. คำว่า พหิทฺธา กถํ อปนาเมติ ได้แก่ ถูกสงฆ์ถามว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้หรือ. ภิกษุผู้ถูกถามนั้น ก็จะพูดเป็นอย่างอื่นว่า กระผมจะไปเมืองปาฏลีบุตร. เมื่อสงฆ์ถามอีกว่า พวกเราย่อมไม่ถามการไปเมืองปาฏลีบุตรของเธอ ดังนี้. ภิกษุนั้นก็จะพูดต่อไปว่า เราไปสู่เมืองราชคฤห์. สงฆ์กล่าวว่า ท่านจะไปเมืองราชคฤห์ หรือไปบ้านพราหมณ์ก็ตาม เธอก็ต้องอาบัติ ดังนี้. บรรดาคำพูดนอกเรื่องเหล่านั้น เมื่อภิกษุกล่าวคำว่า เนื้อสุกรอันเราได้แล้ว เป็นต้น ชื่อว่า ย่อมพูดสับสน. คำว่า โกปํ ได้แก่ ความเป็นผู้โกรธแล้ว. คำว่า โทสํ ได้แก่ เป็นผู้ประทุษร้ายแล้ว. คำแม้ทั้งสองนี้ ก็เป็นชื่อของความโกรธนั่นแหละ. คำว่า อปฺปจฺจยํ ได้แก่ กิริยาที่ไม่สันโดษ. คำนี้เป็นชื่อของโทมนัส. คำว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 957
ปาตุกโรติ ได้แก่ ย่อมแสดง ย่อมประกาศ. คำว่า พาหาวิกฺเขปกํ ภณติ ได้แก่ แกว่งแขนพูดถ้อยคำอันไม่มียางอาย. คำว่า วิเหเสติ ได้แก่ ย่อมเบียดเบียน ย่อมเสียดสี. คำว่า อนาทยิตฺวา ได้แก่ ไม่ถือเอาด้วยความเคารพยำเกรง คือ ดูหมิ่นและไม่เอื้อเฟื้อ. คำว่า อติพาฬฺหํ ได้แก่ แน่วแน่ยิ่งเกินประมาณ. คำว่า มยิ พฺยาวฏา ได้แก่ ถึงการขวนขวายในเรา. คำว่า หีนายาวตฺติตฺวา อธิบายว่า ลาเพศมาเป็นคฤหัสถ์ เพื่อต้องการเป็นคนเลว. ค่าว่า อตฺตมนา โหถ ได้แก่ ย่อมกล่าวโดยประสงค์ว่า ท่านทั้งหลาย จงมีจิตยินดี จงได้สิ่งอันเราพึงได้ จงอยู่ในที่อันเราพึงอยู่ จงอยู่อย่างผาสุกอันเราทำแล้วเพื่อท่านทั้งหลาย ดังนี้.
วาทะอันเป็นไปในคำว่า อัตตาไม่มีสัญญา ชื่อว่า อสัญญีวาทะ. อสัญญีวาทะนั้น มีอยู่แก่บุคคลเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่า อสัญญีวาทะ. ความเห็นผิดว่า อัตตามีรูป ในคำว่า รูปี อตฺตา เป็นต้น ความว่า ทิฏฐิว่า อัตตามีรูป ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ได้ฌาน เพราะยึดถือกสิณรูปว่าเป็นอัตตา. ส่วนความเห็นผิดของผู้ไม่ได้ฌานย่อมมีด้วยสักว่าการตรึกเท่านั้น เหมือนความเห็นผิดของอาชีวกทั้งหลาย. ก็แล ความเห็นผิดว่า อัตตาไม่มีรูป ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ได้ฌานเท่านั้น เพราะถือเอานิมิตในอรูปสมาบัติว่าเป็นอัตตา. ความเห็นผิดของผู้ไม่ได้ฌาน ย่อมมีเพียงความตรึกอย่างเดียว เหมือนความเห็นผิดของพวกนิครนถ์. ก็ในที่นี้ บัณฑิตพึงสอบสวนถึงเหตุให้แน่นอนในความเป็นแห่งอัตตาอันไม่มีสัญญาทีเดียว. เพราะว่า บุคคลผู้มีความเห็นผิด ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ย่อมเป็นราวกะคนบ้า. คำว่า อัตตาทั้งที่มีรูป และไม่มีรูป ได้แก่ ความเห็นผิดที่ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ยึดถือเอารูปฌานและอรูปฌานปะปนกัน. ทิฏฐินี้ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ได้รูปาวจรและอรูปาวจรสมาบัติบ้าง แก่ผู้ตรึกเอาเองบ้าง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 958
ก็คำว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่ เป็นทิฏฐิของผู้ชอบตรึกโดยส่วนเดียวเท่านั้น. คำว่า อนฺตวา (แปลว่า อัตตามีที่สุด) ได้แก่ ทิฏฐิของบุคคลผู้ถือปริตตกสิณ (กสิณมีอารมณ์เล็กน้อย) โดยความเป็นอัตตา. คำว่า อนนฺตวา ได้แก่ ทิฏฐิของผู้ถือกสิณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ. คำว่า อนฺตวา จ อนนฺตวา จ (แปลว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ได้แก่ ทิฏฐิอันเกิดขึ้น เพราะถือเอากสิณในเบื้องบนและเบื้องต่ำที่มีที่สุด และถือเอากสิณในเบื้องขวางที่ไม่มีที่สุดว่าเป็นอัตตา. คำว่า เนวนฺตวา นานนฺตวา (แปลว่า อัตตามีที่สุดก็มิใช่ หาที่สุดมิได้ก็มิใช่) ได้แก่ทิฏฐิของพวกชอบคิดเท่านั้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อัฏฐกนิทเทส จบ
อรรถกถานวกนิทเทส
อธิบาย มาติกาหมวด ๙
คำว่า อาฆาตวัตถุ ๙ นี้ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย. ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่า ปุริสมละ เพราะเป็นมลทินต่อบุรุษ. คำว่า นววิธา ได้แก่ มลทิน ๙ อย่าง หรือว่า ๙ ประเภท.
ตัณหามูลธรรม
คำว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะอาศัยตัณหา. คำว่า ปริเยสนา ได้แก่ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อตัณหายังมีอยู่ อารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นก็มีอยู่. คำว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อการแสวงหายังมีอยู่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็มีอยู่.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 959
ก็วินิจฉัยมี ๔ ด้วยอำนาจแห่ง ญาณ ตัณหา ทิฏฐิ และวิตก.
ในคำเหล่านั้น ปัญญาใดที่พึงรู้การวินิจฉัย (การตัดสินใจ) ได้โดยง่าย ครั้นรู้การวินิจฉัยดีแล้ว ก็ประกอบความสุขเนืองๆ ในภายใน นี้ชื่อว่า ญาณวินิจฉัย. วินิจฉัย ๒ คือ ตัณหาวินิจฉัย ทิฏฐิวินิจฉัย อันมาแล้วในพระบาลีนั้น ตัณหาวิจริต ๑๐๘ ชื่อว่า ตัณหาวินิจฉัย. ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐิวินิจฉัย. ก็ความตรึกนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า วินิจฉัยในวิภังค์นี้ มาในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนจอมเทพ ฉันทะ (ความพอใจ) แล เป็นเหตุแห่งความตรึก ดังนี้.
จริงอยู่ บุคคลใดได้ลาภแล้ว ย่อมวินิจฉัยซึ่งสิ่งนั้นๆ ว่า สิ่งนี้เป็นของชอบใจ สิ่งนี้ไม่ชอบใจ หรือว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดีด้วยความตรึกนั่นแหละ คือ โดยตรึกว่า สิ่งของมีประมาณเท่านี้ จักมีแก่เรา เพื่อความเจริญแห่งรูปารมณ์ สิ่งของมีประมาณเท่านี้ จักมีแก่เรา เพื่อความเจริญแห่งสัททารมณ์ เป็นต้น สิ่งของมีประมาณเท่านี้สมควรแก่เรา สิ่งของมีประมาณเท่านี้สมควรแก่ผู้อื่น เราจักบริโภคมีประมาณเท่านี้ จักเก็บไว้มีประมาณเท่านี้ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการวินิจฉัย ดังนี้.
คำว่า ฉนฺทราโค ได้แก่ ราคะ คือ ความยินดี อันมีกำลังทรามด้วย อันมีกำลังมากด้วย ย่อมเกิดในวัตถุอันตรึกด้วยอกุศลวิตก อย่างนี้. ก็ คำว่า ฉนฺโท ในวิภังค์นี้ เป็นชื่อของราคะมีกำลังทราม. คำว่า อชฺโฌสานํ ได้แก่ ความยึดถืออันมีกำลังว่า เป็นเรา เป็นของของเรา ดังนี้. คำว่า ปริคฺคโห แปลว่า ความหวงแหน ได้แก่ การทำความหวงแหนด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ. คำว่า มจฺฉริยํ ความตระหนี่ ได้แก่ ความไม่อดทน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 960
เพื่อให้เป็นของสาธารณะแต่ชนเหล่าอื่น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อาจารย์ในปางก่อน จึงกล่าวความหมายแห่งตัณหาและทิฏฐินั้นไว้อย่างนี้ว่า ความอัศจรรย์นี้จงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่บุคคลอื่น เป็นต้น เพราะความเป็นไปแห่งตัณหาและทิฏฐินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกธรรมนี้ว่า ความตระหนี่ ดังนี้. คำว่า อารกฺโข แปลว่า การรักษา ได้แก่ การรักษาด้วยดี ด้วยอำนาจแห่งการคุ้มครองป้องกันสิ่งของนั้นๆ โดยการปิดประตูและเก็บไว้ในหีบเป็นต้น. คำว่า อธิกโร ได้แก่ อธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้น. คำว่า อธิกรณ์นี้ เป็นชื่อของเหตุ (๑) คำว่า อารกฺขาธิกรณํ นี้ เป็นศัพท์นปุงสกลิงค์ ในความมี ความเป็น อธิบายว่า เป็นเหตุแห่งการรักษา.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตัณหามูลกธรรม ๙ เพื่อห้ามอกุศลธรรมอื่นๆ ในเพราะการเบียดเบียนสัตว์มีการจับท่อนไม้เป็นต้น. การจับถือท่อนไม้ ท่านเรียกว่า ทัณฑาทานะ. การจับถือศาสตรามีคมข้างเดียว เป็นต้น ชื่อว่า สัตถาทานะ. การทะเลาะด้วยกายก็ตาม การทะเลาะด้วยวาจาก็ตาม ชื่อว่า การทะเลาะ. ความพิโรธ การโต้เถียงเกิดขึ้นก่อน การวิวาทเกิดขึ้นทีหลัง. คำว่า ตุวํ ตุวํ (๒) เป็นถ้อยคำที่ไม่เคารพ ท่านแก้ศัพท์นี้ว่าเป็น ตฺวํ ตฺวํ ดังนี้.
การสั่นสะเทือน การหวั่นไหว ชื่อว่า อิญชิตะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมานะนั่นแหละไว้ในคำว่า อสฺมิ (แปลว่า เป็นเรา) ไว้ด้วยบททั้งปวง ซึ่งมีคำว่า อิญฺชิตเมตํ เป็นต้น. จริงอยู่ มานะ แม้เป็นไปแล้วในคำว่า เป็นเรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า อิญชิตะ นั่นแหละ. เนวสัญญีนาสัญญี (๓) อันเป็นไป
(๑) เหตุ ได้แก่ การทะเลาะ การแก่งแย่ง การพูดขึ้นมึงกู เป็นต้น
(๒) หมายถึงการพูดเร็วๆ ว่า ท่านๆ
(๓) เราจักเป็นสัตว์ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 961
ในคำว่า นี้เป็นเรา ก็ดี หรือเราจักเป็นไป ก็ดี ก็ชื่อว่า อิญชิตะ. มานะ นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แม้ด้วยหมวด ๙ ที่เหลือ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสว่า ชื่อว่า มานะ เพราะความหวั่นไหว. ชื่อว่า ความหวั่นไหวเพราะความสำคัญตน. ชื่อว่า ความสำคัญตน เพราะความดิ้นรน. ชื่อว่า ความดิ้นรน เพราะเป็นธรรมยังสัตว์ให้เนิ่นช้า. ธรรมที่ยังสัตว์ให้เนิ่นช้า ชื่อว่า สังขตะ เพราะการปรุงแต่ง ด้วยเหตุนั้นๆ ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
นวกนิทเทส จบ
อรรถกถาทสกนิทเทส
อธิบาย มาติกาหมวด ๑๐
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ กิเลส ๑๐ นั่นแหละ. ก็ในนิทเทสนี้ กิเลสวัตถุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรื่องนี้กับด้วยอาฆาตอันเกิดขึ้นในอฐานะ. ซึ่งเป็นดังกระทบตอไม้และหนามเป็นต้น อันบุคคลไม่พึงให้กำเริบ ด้วยสามารถแห่งบททั้งหลายมีคำว่า อนตฺถํ เม อจริ เป็นต้น แปลว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา. คำว่า มิจฺฉาาณํ ในมิจฉัตตะ ๑๐ ได้แก่ โมหะอันเกิดขึ้นโดยกิริยาที่พิจารณาว่า บรรดาการทำบาปทั้งหลาย เราขจัดได้แล้ว ขจัดดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งความคิดโดยอุบาย. คำว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ได้แก่ ธรรมที่เป็นชื่อของวิมุตติ ของบุคคลผู้ยังไม่หลุดพ้นอยู่นั่นแหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ทสกนิทเทส จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 962
อรรถกถาตัณหาวิจริตนิทเทส
อธิบาย ตัณหาวิจริต
คำว่า ตณฺหาวิจริตานิ ได้แก่ ความปรากฏแห่งตัณหา ความเป็นไปทั่วแห่งตัณหา. คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยเบญจขันธ์ภายใน. ก็คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. คำว่า อสฺมีติ โหติ แปลว่า ตัณหาว่า เรามี ดังนี้ ก็มี ได้แก่ คำว่า เรามี ดังนี้ก็มี เพราะอาศัยขันธปัญจกะภายใน นี้ใด แล้วถือเอาการประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ. อธิบายว่า ครั้นเมื่อการประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้นยังมีอยู่ การยึดถือว่าเรามีอยู่ จึงมี. ในคำว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ แปลว่า เราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มีเป็นต้น พึงทราบว่า เมื่อการยึดถือเอาโดยการประชุมกันว่า เรามีอยู่อย่างนี้ มีอยู่ การยึดถือ ๒ อย่าง ย่อมมี คือ ความยึดถือเอา โดยการไม่เปรียบเทียบ (อนุปนิธาย) และการถือเอาโดยการเปรียบเทียบ (อุปนิธาย) ฯ ใน ๒ อย่าง นั้น คำว่า อนุปนิธาย ได้แก่การไม่อาศัยอาการอย่างอื่นว่า เรามีอยู่โดยประการนี้ เพราะทำภาวะของตนเท่านั้นให้เป็นอารมณ์. อธิบายว่า การยึดถือเอาด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างนี้ว่า บรรดาชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น เราเป็นอย่างนี้ ดังนี้ เรียกว่า การยึดถือเอาโดยอนุปนิธายะ ก่อน.
ส่วนการยึดถือเอาโดยอุปนิธายะ มี ๒ อย่าง คือ โดยความเปรียบเทียบเสมอกับตน และไม่เสมอกับตน. เพื่อแสดงการยึดถือนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เอวสฺมิ และว่า อญฺถสฺมิ ด้วย. บรรดาคำเหล่านั้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 963
คำว่า เอวสฺมิ นี้ เป็นการยึดถือโดยเปรียบเทียบเสมอกับตน. อธิบายว่า กษัตริย์นี้ฉันใด พราหมณ์นี้ฉันใด แม้ตัวเราก็ฉันนั้น ดังนี้. คำว่า อญฺถสฺมิ นี้ เป็นการยึดถือเปรียบเทียบโดยความไม่เสมอกับตน อธิบายว่า กษัตริย์นี้ ฉันใด พราหมณ์นี้ ฉันใด เราเป็นอย่างอื่น คือเลวกว่า หรือว่า ยิ่งกว่าชนเหล่านั้น ดังนี้. ตัณหาวิจริต ๔ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วยสามารถแห่งปัจจุบันก่อนนั่นแหละ. ส่วนตัณหาวิจริต ๔ เหล่านี้มีซึ่งจักเกิดเป็นต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอนาคต. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งตัณหาเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ ดังที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแหละ.
คำว่า อสฺมิ ได้แก่ เราเที่ยง. คำว่า สาตสฺมิ ได้แก่ เราไม่เที่ยง. อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีว่า อสสฺมิ สตสฺมิ ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ เป็นอสธาตุ. คำว่า อตฺถิ นี้เป็นชื่อของคำว่า เที่ยง. คำว่า สีทติ เป็นสตธาตุ. คำว่า สีทติ นี้ เป็นชื่อของคำว่า ไม่เที่ยง. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบบททั้ง ๒ เหล่านี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งสัสสตะและอุจเฉทะ. บททั้ง ๔ ข้างหน้าแต่นี้ มีคำว่า สิยํ (๑) เป็นต้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งความสงสัยและความกังวลใจ. บทเหล่านั้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนวด ๔ แรกนั้นแหละ. ก็บททั้ง ๔ มีคำว่า อปาหํ สิยํ (๒) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งอาการปรารถนา อย่างนี้ว่า ชื่อว่า เราพึงมีโดยประการนั้นๆ บ้าง. บททั้ง ๔ เหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ แรก นั่นแหละ.
(๑) เราพึงเป็น เราพึงเป็นโดยประการนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นโดยประการอื่น
(๒) เราพึงเป็นบ้าง เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง เราพึงเป็นประการอื่นบ้าง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 964
ในบทเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้.
เทฺว ทิฏิสีสา จตฺตาโร สุทฺธสีสา สีสมูลกา
ตโย ตโยติ เอตาน อฏฺารส วิภาวเย.
แปลว่า
บัณฑิตพึงชี้แจงตัณหาวิจริตธรรม ๑๘ เหล่านี้ คือ ๒ บท ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ (มีทิฏฐิเป็นประธาน) ๔ บทเป็นสุทธสีสะ บทละสาม รวม ๑๒ บท เป็นสีสมูลกะ ดังนี้.
จริงอยู่ ในบทเหล่านั้น สองบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง สัสสตะ และ อุจเฉทะ ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ. ๔ บทเหล่านี้ คือ อสฺมิ (ตัณหาว่า เราเป็น) ภวิสฺสํ (ตัณหาว่า เราจักเป็น) สิยํ (ตัณหาว่า เราพึงเป็น) อปาหํ สิยํ (ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง) ชื่อว่า สุทธสีสะ เท่านั้น. ๑๒ บท คืออย่างละ ๓ มีคำว่า อิตฺถสฺมิ เป็นต้น (ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้) ชื่อว่า สีสมูลกะ เพราะฉะนั้นพึงทราบ ตัณหาวิจริตธรรมเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ๒ บท ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ ๔ บท ชื่อว่า สุทธสีสะ ๑๒ บท ชื่อว่า สีสมูลกะ ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงจำแนกแสดงธรรมเหล่านั้น (ตัณหาวิจริต) โดยลำดับเทียว จึงเริ่มคำว่า กถญฺจ อสฺมีติ โหติ เป็นอาทิ (ก็ตัณหาว่า เรามี คืออย่างไร). บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กิญฺจิธมฺมํ อนวการึ กริตฺวา (แปลว่า ไม่ทำการแยกธรรมอันใดอันหนึ่ง) อธิบายว่า ไม่ทำการแยกธรรมอะไรๆ แม้สักอย่างหนึ่ง คือไม่ถือเอาแต่ละอย่างในบรรดาธรรมทั้งหลายมีรูป เวทนาเป็นต้น โดยถือเอารวมกันนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 965
คำว่า อสฺมีติ ฉนฺทํ ปฏิลภติ (แปลว่า ย่อมได้ฉันทะ คือ ความพอใจว่า เรามี ดังนี้) อธิบายว่า ถือเอาเบญจขันธ์รวมกันทั้งหมด แล้วย่อมได้ตัณหาว่าเราดังนี้. แม้ในคำว่า มานะ ทิฏฐิ ก็นัยนี้. ในธรรมเหล่านั้น (คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) นิทเทสนี้ เป็นตัณหาวิจริตนิทเทส แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น มานะ ทิฏฐิก็ไม่เว้นจากตัณหา. เพราะฉะนั้น ในตัณหาวิจริตนิทเทสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสมานะและทิฏฐิไว้ ด้วยสามารถแห่งอรรถอย่างเดียวกัน กับตัณหาวิจริตนั้น. อีกอย่างหนึ่งแม้ธรรมทั้งสาม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ซึ่งเป็นธรรมทำสัตว์ให้เนิ่นช้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกขึ้นแสดงโดย ตัณหาสีสะ (คือ มีตัณหาเป็นประธาน). ส่วนมานะ ทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา เพื่ออธิบายตัณหานั้นโดยสมควรแก่ธรรมที่ยกขึ้นแสดงเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา จึงตรัสไว้อย่างนี้ เพื่อแสดงแม้ธรรมเครื่องเนิ่นช้าที่เหลือ (คือมานะ ทิฏฐิ) กับตัณหานั้นนั่นแหละ. คำว่า ตสฺมึ สติ อิมานิ ปปญฺจิตานิ (แปลว่า เมื่อธรรมทั้ง ๓ มีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้น) อธิบายว่า ครั้นเมื่อธรรมเครื่องเนิ่นช้า ๓ อย่าง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า ตสฺมึ อสฺมีติ ฉนฺทํ ปฏิลภติ เป็นต้น มีอยู่ ธรรมเหล่านี้ มีคำว่า อิตฺถสฺมีติ วา (แปลว่า เราเป็นโดยประการนั้น) เป็นต้น ย่อมเป็นธรรมเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ดังนี้.
ในคำทั้งหลายมีคำว่า ขตฺติโยสฺมิ (แปลว่า ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ เป็นต้น) บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า เราชื่อว่า เป็นกษัตริย์ ด้วยเสนาอำมาตย์เป็นต้นอภิเษก (แต่งตั้ง) เราชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยความเป็นปุโรหิต โดยการเรียนมนต์เป็นต้น เราชื่อว่าเป็นแพศย์ ด้วยการรักษานาและ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 966
โคเป็นต้น เราชื่อว่า เป็นเช่นชาติศูทร ด้วยความเป็นผู้แสวงหาอาหาร เราชื่อว่าเป็นผู้ครองเรือน ด้วยลักษณะของคฤหัสถ์ ดังนี้ คำว่า เอวํ อิตฺถสฺมีติ โหติ (แปลว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น) อธิบายว่า ตัณหา ย่อมยังวิธีการแห่งกษัตริย์เป็นต้นในชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น ให้เกิดขึ้นในตนอย่างนี้แล้ว จึงพอใจวิธีการโดยประการอย่างนี้ว่า เป็นเรา ดังนี้. ในคำว่า ยถา โส ขตฺติโย เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ชนนั้นเป็นกษัตริย์ ด้วยเสนาอำมาตย์เป็นต้นอภิเษก ฉันใด แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ฉันนั้น.
ในนัยที่ ๒ พึงทราบความโดยนัยนี้ว่า บุคคลนั้นเป็นกษัตริย์ โดยเสนาอำมาตย์เป็นต้นอภิเษก ฉันใด แต่เราหาเป็นกษัตริย์เช่นนั้นไม่ คือว่า เป็นคนเลวกว่าคนนั้น หรือว่าประเสริฐกว่า ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งคำว่า ภวิสฺสํ เป็นต้นก็นัยนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายในอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงจำแนกตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก. จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตมานิ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า พาหิรสฺส อุปาทาย ได้เเก่ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก. จริงอยู่ แม้คำว่า พาหิรสฺส อุปาทาย นี้ ก็เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. คำว่า อิมินา ได้แก่ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือว่า ด้วยวิญญาณนี้. ก็คำที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสวาระก่อนนั่นแหละ. ในนิทเทสวาระ คำว่า อวการึ กริตฺวา ได้แก่ ทำการแยกเบญจขันธ์. ในคำทั้งหลายมีคำว่า อิมินา อสฺมีติ ฉนฺทํ ปฏิลภติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บุคคลถือเอาเบญจขันธ์ อย่างนี้ว่า อิมินา รูเปน วา ฯลฯ วิญฺาเณน วา ดังนี้ โดยเอกเทส ย่อมได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูปนี้ เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 967
ในคำทั้งหลายมีคำว่า อิมินา ขตฺติโยสฺมิ เป็นต้น พึงทราบเนื้อ ความโดยนัยก่อนนั่นแหละ. อย่างนี้ว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยฉัตร หรือว่าด้วยพระขรรค์ หรือว่าด้วยเสนาอำมาตย์อภิเษก ดังนี้. จริงอยู่ บทว่า อิมินา เป็นสักว่าบทเท่านั้น คือเป็นคำวิเศษ ในข้อนี้. บทที่ท่านกล่าวว่า อิมินา ดังนี้นั่นแหละ แม้ในคำว่า ยถา โส ขตฺติโย เป็นต้น ก็เป็นบทวิเศษ. เพราะฉะนั้น บัณฑิตครั้นประกอบทอย่างนี้ว่า เป็นกษัตริย์ด้วยสามารถแห่งรูปนั้น ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น หรือว่า เป็นกษัตริย์ด้วยพระขรรค์ หรือว่า ด้วยฉัตร หรือว่า ด้วยเสนาอำมาตย์อภิเษกนี้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้ พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. คำว่า อิมินา นิจฺโจสฺมิ (แปลว่า เราเที่ยงด้วยรูปนี้) อธิบายว่า ครั้นทำการแยกเบญจขันธ์แล้วก็ถือเอาธรรมอย่างหนึ่งในรูปเป็นต้นนั่นแหละว่าเป็นเรา แล้วย่อมสำคัญว่า เราเที่ยง เรายั่งยืนด้วยพระขรรค์นี้ หรือว่าด้วยฉัตร ดังนี้. แม้ในคำว่า อุจเฉททิฏฐิ ก็นัยนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
คำว่า อิติ เอวรูปานิ อตีตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหาวิจริตในอดีตของแต่ละบุคคล มี ๓๖. คำว่า อนาคตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหาวิจริต ในอนาคตของแต่ละบุคคลนั่นแหละ มี ๓๖. คำว่า ปจฺจุปฺปนฺนานิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหาวิจริตในปัจจุบัน ๓๖ ของบุคคลคนหนึ่งๆ หรือว่า มากคนด้วยสามารถแห่งตัณหาตามที่ได้. ก็บัณฑิตพึงทราบตัณหาวิจริตของสัตว์ทั้งปวงในอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้นมี ๓๖ ในอนาคต ๓๖ ในปัจจุบัน ๓๖ ดังนี้. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายชนิดที่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ มิใช่เช่นเดียวกัน มีมากมายหาที่สุดมิได้. อนึ่ง ในข้อว่า อฏฺสตํ ตณฺหาวิจริตํ โหติ นี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 968
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า ตัณหาวิจริต กล่าวคือ ตัณหา ๑๐๘ ดังนี้นั่นแหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ตัณหาวิจริตนิทเทส จบ
ในทิฏฐิคตนิทเทส
คำว่า พฺรหฺมชาเล เวยฺยากรเณ ได้แก่ พระสูตรที่หนึ่งแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย อันเป็นคำไวยากรณ์ ชื่อว่า พรหมชาละ. คำว่า วุตฺตานิ ภควตา ได้แก่ ภาษิตที่พระศาสดาตรัสโดยพระองค์เอง. ในคำว่า จตฺตาโร สสฺสตวาทา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบประเภทและเนื้อความแห่งทิฏฐิ โดยนัยที่กล่าวในพรหมชาลสูตร มีคำว่า เต จ โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา กิมาคมฺม กิมารพฺภ สสฺสตวาทา สสฺสตํ อตฺตานญฺจ โลกญฺจ ปญฺเปนฺติ จตูหิ วตฺถูหิ เป็นต้น นั่นแหละ (แปลว่า ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญ ซึ่งมีวาทะว่าเที่ยงเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงบัญญัติว่า อัตตาและโลกเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ) ดังนี้.
วรรณนาขุททกวัตถุวิภังค์ในอรรถกถาวิภังค์ ชื่อสัมโมหวิโนทนี จบ