๑๘. ธัมมหทยวิภังค์
[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒
๑๘. ธัมมหทยวิภังค์
ปริยาปันนาปริยาปันนวาระ หน้า 979
อุปปาทกัมมอายุปมาณวาระ หน้า 999
กรรมที่เป็นเห็นให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา หน้า 999
ประมาณแห่งอายุของมนุษย์ หน้า 999
ประมาณแห่งอายุของเทวดาเทียบกับมนุษย์ หน้า 1000
ประมาณแห่งอายุของรูปพรหม หน้า 1002
ประมาณแห่งอายุของอรูปพรหม หน้า 1005
อุปาทินนุปาทานิยติกวาระ หน้า 1020
อรรถกถาธัมมหทยวิภังค์ หน้า 1027
อธิบายสัพพสังคาหิกวาระที่ ๑ หน้า 1028
อธิบายอุปปัตตานุปปัตติทัสนาวาระที่ ๒ หน้า 1029
อธิบายปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระที่ ๓ หน้า 1030
อธิบายวิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระ ๔ หน้า 1030
อธิบายอุปาทกัมมอายุปปมาณทัสสนวาระที่ ๖ หน้า 1031
อธิบายอายุของมนุษย์และเทวดา หน้า 1034
อภิญเญยยาทิวาระที่ ๗ หน้า 1039
อธิบายสารัมมณานารัมมณาทิวาระที่ ๘ หน้า 1039
อธิบายทัสสนวาระที่ ๙ หน้า 1039
อธิบายทัสสนวาระที่ ๑๐ หน้า 1040
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 969
๑๘. ธัมมหทยวิภังค์
สัพพสังคาหิกวาระ
[๑๐๗๓] ขันธ์มีเท่าไร? อายตนะมีเท่าไร? ธาตุมีเท่าไร? สัจจะมีเท่าไร? อินทรีย์มีเท่าไร? เหตุมีเท่าไร? อาหารมีเท่าไร? ผัสสะมีเท่าไร? เวทนามีเท่าไร? สัญญามีเท่าไร? เจตนามีเท่าไร? จิตมีเท่าไร?
[๑๐๗๔] ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๔ อินทรีย์มี ๒๒ เหตุมี ๙ อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗ จิตมี ๗.
[๑๐๗๕] ในธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.
[๑๐๗๖] อายตนะ ๑๒ เป็นไฉน?
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ.
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒.
[๑๐๗๗] ธาตุ ๑๘ เป็นไฉน?
คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 970
ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘.
[๑๐๗๘] สัจจะ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ นิโรธสัจจะ เหล่านั้นเรียกว่า สัจจะ ๔.
[๑๐๗๙] อินทรีย์ ๒๒ เป็นไฉน?
คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ (๑) อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์. เหล่านั้นเรียกว่า อินทรีย์ ๒๒.
[๑๐๘๐] เหตุ ๙ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ในเหตุ ๙ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ กุศลเหตุคืออโมหะ เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓.
อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโทสะ อกุศลเหตุคือโมหะ
เหล่านี้ เรียกว่า อกุศลเหตุ ๓.
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน?
๑. ม. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 971
คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลายหรือในกิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลาย. เหล่านั้นเรียกว่า อัพยากตเหตุ.
[๑๐๘๑] อาหาร ๔ เป็นไฉน?
คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔.
[๑๐๘๒] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน?
คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนธาตุสัมผัส มโนวิญญาณธาตุสัมผัส. เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗
[๑๐๘๓] เวทนา ๗ เป็นไฉน?
คือ เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส. เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗.
[๑๐๘๔] สัญญา ๗ เป็นไฉน?
คือ สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาเกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาเกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาเกิดแต่กายสัมผัส สัญญาเกิดแต่มโนธาตุสัมผัส สัญญาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส. เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 972
[๑๐๘๕] เจตนา ๗ เป็นไฉน?
คือ เจตนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาเกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาเกิดแต่ฆานสัมผัส เจตนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาเกิดแต่กายสัมผัส เจตนาเกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เจตนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗.
[๑๐๘๖] จิต ๗ เป็นไฉน?
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาน ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ. เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗.
อุปปัตตานุปปัตติวาระ
กามธาตุ
[๑๐๘๗] ในกามธาตุมีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร?
ในกามธาตุ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๒๒ เหตุ ๙ อาหาร ๔ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗
บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ.
อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ.
ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 973
คือ จักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ.
สัจจะ ๓ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ในกามธาตุ.
อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ.
เหตุ ๙ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ๙ ในกามธาตุ.
อาหาร ๔ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ ในกามธาตุ.
ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ๗ ในกามธาตุ.
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗ ในกามธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 974
รูปธาตุ
[๑๐๘๘] ในรูปธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร
ในรูปธาตุ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ธาตุ ๙ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๑๔ เหตุ ๘ อาหาร ๓ ผัสสะ ๔ เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔.
ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในรูป ธาตุ.
อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ.
ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ.
สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ.
อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 975
เหตุ ๘ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓.
บรรดาเหตุ ๘ ในรูปธาตุนั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ กุศลเหตุคืออโมหะ เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓.
อกุศลเหตุ ๒ เป็นไฉน?
คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า อกุศลเหตุ ๒.
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน?
คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย หรือ ในกิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อัพยากตเหตุ ๓.
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในรูปธาตุ.
อาหาร ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในรูปธาตุ.
ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส มโนธาตุสัมผัส มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ.
เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้ เรียกว่า จิต ๔ ในรูปธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 976
อรูปธาตุ
[๑๐๘๙] ในอรูปธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร.
ในอรูปธาตุ มีขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๑๑ เหตุ ๘ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑.
บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ.
อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ.
ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ
สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ.
อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ.
เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 977
อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ.
ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน?
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ.
เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
คือ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า จิต ๑ ในอรูปธาตุ.
โลกุตตระ
[๑๐๙๐] ในโลกุตตระ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร.
ในโลกุตตระ มีขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒ อินทรีย์ ๑๒ เหตุ ๖ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑.
บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในโลกุตตระ.
อายตนะ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ใน โลกุตตระ.
ธาตุ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ เหล่านั้นเรียกว่า ธาตุ ๒ ในโลกุตตระ.
สัจจะ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ มัคคสัจจะ นิโรธสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๒ ในโลกุตตระ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 978
อินทรีย์ ๑๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๒ ในโลกุตตระ.
เหตุ ๖ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓.
บรรดาเหตุ ๖ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ กุศลเหตุคืออโมหะ. เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓.
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน?
คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อัพยากตเหตุ ๓
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๖ ในโลกุตตระ.
อาหาร ๓ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในโลกุตตระ.
ผัสสะ ๑ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในโลกุตตระ.
เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ในโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า จิต ๑ ในโลกุตตระ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 979
ปริยาปันนาปริยาปันนวาระ
[๑๐๙๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน นับเนื่องในกามธาตุ ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่องในกามธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต จิตไหน นับเนื่องในกามธาตุ จิตไหน ไม่นับเนื่องในกามธาตุ?
รูปขันธ์ นับเนื่องในกามธาตุ ขันธ์ ๔ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อายตนะ ๒ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
ธาตุ ๑๖ นับเนื่องในกามธาตุ ธาตุ ๒ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
สมุทยสัจจะ นับเนื่องในกามธาตุ สัจจะ ๒ ไม่นับเนื่องในกามธาตุ ทุกขสัจจะ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
อินทรีย์ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อินทรีย์ ๓ ไม่นับเนื่องในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ นับเนื่องในกามธาตุ เหตุ ๖ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
กพฬิงการาหาร นับเนื่องในกามธาตุ อาหาร ๓ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
ผัสสะ ๖ นับเนื่องในกามธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ นับเนื่องในกามธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 980
[๑๐๙๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน นับเนื่องในรูปธาตุ ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน นับเนื่องในรูปธาตุ จิตไหน ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ.
รูปขันธ์ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ขันธ์ ๔ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
อายตนะ ๑๐ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อายตนะ ๒ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ธาตุ ๒ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ. ทุกขสัจจะ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
อินทรีย์ ๑๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อินทรีย์ ๙ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ เหตุ ๖ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
กพฬิงการาหาร ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อาหาร ๓ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.
[๑๐๙๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน นับเนื่องในอรูปธาตุ ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน นับเนื่องในอรูปธาตุ จิตไหนไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 981
รูปขันธ์ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
อายตนะ ๑๐ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. ธาตุ ๒ นับเนื่องในอรูปธาตุ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. ทุกขสัจจะ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
อินทรีย์ ๑๔ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. อินทรีย์ ๘ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. เหตุ ๖ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
กพฬิงการาหาร ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. อาหาร ๓ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. มโนวิญญาณธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.
[๑๐๙๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นโลกิยะ ขันธ์ไหน เป็นโลกุตตระ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นโลกิยะ จิตไหน เป็นโลกุตตระ.
รูปขันธ์ เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ. อายตนะ ๒ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 982
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ. ธาตุ ๒ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ. สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ.
อินทรีย์ ๑๐. เป็นโลกิยะ. อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ. อินทรีย์ ๙ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยะ เหตุ ๖ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
กพฬิงการาหาร เป็นโลกิยะ. อาหาร ๓ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยะ. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นโลกิยะ. มโนวิญญาณธาตุ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.
วิชชมานาวิชชมานวาระ
กามธาตุ
[๑๐๙๕] ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไรย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรย่อมเกิดปรากฏ.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
อายตนะ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๗ ย่อม เกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 983
ธาตุ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก.
สัจจะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
อินทรีย์ ๑๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๓ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๓ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๒ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๙ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๘ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๘ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๗ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๕ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก.
เหตุ ๓ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก เหตุ ๒ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก สัตว์ที่ไม่มีเหตุ (อเหตุกสัตว์) บางเหล่า ย่อมเกิดปรากฏ.
อาหาร ๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
ผัสสะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
[๑๐๙๖] ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 984
คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งมีอายตนะบริบูรณ์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่ สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ คือ รูปายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 985
ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อายตนะ ๙ คือ รูปายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฎฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๙ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๗ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อายตนะ ๗ คือ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่ คัพภไสยกสัตว์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๗ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๑ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งมีอายตนะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 986
บริบูรณ์ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๑ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ คือ รูปธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อม เกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ซึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิด ปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อม เกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ เหล่านั้น ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด ธาตุ ๙ คือ รูปธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ แก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งตาบอด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 987
และหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๙ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๗ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด ธาตุ ๗ คือ รูปธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏเเก่คัพภไสยกสัตว์ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๗ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
คือ ทุกขสัจจะ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๔ ย่อมเกิดปรากฏ แก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๔ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา ผู้เป็นสเหตุกญาณสัมปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 988
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา ผู้เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่มนุษย์สมัยปฐมกัปผู้เป็นสเหตุกญาณสัมปยุต ในกามธาตุ ใน ขณะที่เกิดอินทรีย์ ๑๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๒ ย่อมเกิดปรากฏแก่ สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๒ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่มนุษย์สมัยปฐมกัปผู้เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 989
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภไสยกสัตว์ ผู้เป็นสเหตุกญาณสัมปยุต ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภไสยกสัตว์ ผู้ เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ เหล่า นี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งมีอายตนะบริบูรณ์ในกามธาตุ ในขณะที่เกิดอินทรีย์ ๙ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 990
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ คือ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ซึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ คือ จักขุนทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ย่อม เกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อันทรีย์ ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๗ คือ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ย่อมเกิด ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกที่เป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิดอินทรีย์ ๗ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๕ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 991
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๕ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภไสยกสัตว์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๔ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภไสยกสัตว์ ผู้เป็นอเหตุกนปุงสกสัตว์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิดเหตุ ๓ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็นวิปากเหตุ อโมหะที่เป็นวิปากเหตุ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป คัพภไสยกสัตว์ ผู้เป็นสเหตุกญาณสัมปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๒ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน?
ในขณะที่เกิด เหตุ ๒ คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็นวิปากเหตุ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป คัพภ-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 992
ไสยกสัตว์ ผู้เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.
อเหตุกวิบาก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์นอกนี้.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๔ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก?
คือ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก?
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก?
คือ มโนวิญญาณธาตุ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.
รูปธาตุ
[๑๐๙๗] ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ?
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ อายตนะ ๕ ธาตุ ๕ สัจจะ ๑ อินทรีย์ ๑๐ เหตุ ๓ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่เทวดาทั้งหลาย เว้นแต่พวกอสัญญสัตว์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 993
[๑๐๙๘] ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ โสตธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ใน รูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิด ปรากฏ?
คือ ทุกขสัจจะ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิดเหตุ ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 994
คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็นวิปากเหตุ อโมหะที่เป็นวิปากเหตุ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ มโนวิญญาณธาตุ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
[๑๐๙๙] ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมปรากฏ แก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์?
ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เหล่า เทวดาอสัญญสัตว์.
อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏ.
ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ.
สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจจะ ย่อมเกิดปรากฏ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 995
อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏ.
เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิต ย่อมเกิดปรากฏ.
อรูปธาตุ
[๑๑๐๐] ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ?
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ ย่อมเกิดปรากฏ อายตนะ ๒ ย่อมเกิดปรากฏ ธาตุ ๒ ย่อมเกิดปรากฏ สัจจะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏ อินทรีย์ ๘ ย่อมเกิดปรากฏ เหตุ ๓ ย่อมเกิดปรากฏ อาหาร ๓ ย่อมเกิดปรากฏ ผัสสะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ย่อมเกิดปรากฏ.
[๑๑๐๑] ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๒ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิดอายตนะ ๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๒ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ มโนวิญญาธาตุ ธัมมธาตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 996
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ ทุกขสัจจะ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่านี้ย่อมเกิดปรากฏ.
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็นวิปากเหตุ อโมหะที่เป็นวิปากเหตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 997
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ?
คือ มโนวิญญาณธาตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ.
ภุมมันตรวาระ
[๑๑๐๒] ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ.
กามาวจรภูมิ
[๑๑๐๓] ธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน?
คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใด อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูนินี้ อันนับเนื่องอยู่ในระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด เหล่านั้นชื่อว่า ธรรมที่เป็นกามาวจร.
ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร เป็นไฉน?
คือ ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร.
รูปาวจรภูมิ
ธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน?
คือ จิตและเจตสิกธรรม ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ หรือผู้เกิดแล้ว หรือผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูมินี้ อันนับเนื่องอยู่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 998
ในระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐาเป็นที่สุด เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นรูปาวจร.
ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร เป็นไฉน?
คือ ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร.
อรูปาวจรภูมิ
ธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน?
คือ จิตและเจตสิกธรรม ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ หรือผู้เกิดแล้ว หรือผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูมินี้ อันนับเนื่องอยู่ในระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นอรูปาวจร.
ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร เป็นไฉน?
คือ ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เหล่านั้นชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร.
ธรรมที่เป็นโลกิยะ เป็นไฉน?
คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อันเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นโลกิยะ.
ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เป็นไฉน?
คือ มรรค ผลแห่งมรรค และอสังขตธาตุ (คือนิพพาน) เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นโลกุตตระ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 999
อุปปาทกัมมอายุปมาณวาระ
[๑๑๐๔] คำว่า เทวดา ได้แก่ เทวดา ๓ จำพวก คือ สมมติเทวดา อุปปัตติเทวดา วิสุทธิเทวดา.
พระราชา พระเทวี พระราชกุมาร เรียกว่า สมมติเทวดา.
เหล่าเทวดาชั้นบน นับแต่เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชขึ้นไป เรียกว่า อุปปัตติเทวดา. พระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกว่า วิสุทธิเทวดา.
กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา
[๑๑๐๕] คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว เกิดที่ไหน?
คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งกษัตริย์ผู้มหาศาล บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งพราหมณ์ผู้มหาศาล บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งคหบดีผู้มหาศาล บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นยามา บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นดุสิต บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.
ประมาณแห่งอายุของมนุษย์
[๑๑๐๖] อายุของเหล่ามนุษย์ มีประมาณเท่าไร? คือ ประมาณ ๑๐๐ ปี ต่ำกว่าบ้าง เกินกว่าบ้างก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1000
ประมาณแห่งอายุของเทวดาเทียบกับมนุษย์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีประมาณเท่าไร?
คือ ๕๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี, ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๙ ล้านปี.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีประมาณเท่าไร?
คือ ๑๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี, ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา มีประมาณเท่าไร?
คือ ๒๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นยามา, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี, ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1001
อายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต มีประมาณเท่าไร?
คือ ๔๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี, ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี มีประมาณเท่าไร?
คือ ๘๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี, ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้น นิมมานรดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปี.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีประมาณเท่าไร?
คือ ๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี, ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปี.
พวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งปวง อายุของพวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร เป็น ๑,๒๒๘ โกฏิ ๕ ล้านปี โดยนับอย่างปีมนุษย์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1002
ประมาณแห่งอายุของรูปพรหม
[๑๑๐๗] ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นพรหมปาริสัชชา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณเท่าส่วนที่ ๓ ที่ ๔ แห่งกัป [คือ ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔ แห่งกัป].
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นพรหมปุโรหิตา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณกึ่งกัป.
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นมหาพรหมา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๑ กัป.
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นปริตตาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๒ กัป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1003
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นอัปปมาณาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๔ กัป.
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นอาภัสสรา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๘ กัป.
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นไปริตตสุภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๑๖ กัป.
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นอัปปมาณสุกา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๓๒ กัป.
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นสุภกิณหา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1004
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๖๔ กัป.
ผู้เจริญจตุตถฌาน บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาเหล่าอสัญญสัตว์ บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นเวหัปผลา บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นอวิหา บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นอตัปปา บางคนไปเกิดพวก เทวดาชั้นสุทัสสา บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นสุทัสสี บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาชั้นอกนิฏฐา บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวก เทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เพราะอารมณ์ต่างกัน เพราะมนสิการต่างกัน เพราะฉันทะต่างกัน เพราะปณิธิต่างกัน เพราะอธิโมกข์ต่างกัน เพราะอภินีหารต่างกัน เพราะปัญญาต่างกัน.
อายุของเหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ และเหล่าเทวดาชั้นเวหัปผลา มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๕๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1005
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐา มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัป.
ประมาณแห่งอายุของอรูปพรหม
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณ เท่าไร?
มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร?
มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัป.
เหล่าสัตว์ที่มีอำนาจแห่งบุญส่งเสริม ไปแล้วสู่กามภพ และรูปภพ หรือแม้ไปสู่ภวัคคพรหม ย่อมกลับสู่ทุคติอีกได้ เหล่าสัตว์ มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังจุติเพราะสิ้นอายุ ภพไหนๆ ชื่อว่า เที่ยง ไม่มี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัส
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1006
ไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด รอบคอบ คำนึงถึงความจริงข้อนี้ จึงเจริญมรรคอันอุดมเพื่อพ้นจากชรามรณะ ครั้นเจริญมรรคอันบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่งถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล.
อภิญเญยยาทิวาระ
[๑๑๐๘] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นอภิญเญยยธรรม, ขันธ์ไหนเป็นปริญเญยยธรรม, ขันธ์ไหนเป็นปหาตัพพธรรม, ขันธ์ไหนเป็นภาเวตัพพธรรม, ขันธ์ไหนเป็นสัจฉิกาตัพพธรรม, ขันธ์ไหนไม่ใช่ปหาตัพพธรรม, ขันธ์ไหนไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม, ขันธ์ไหนไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นอภิญเญยยธรรม, จิตไหนเป็นปริญเญยยธรรม, จิตไหนเป็นปหาตัพพธรรม, จิตไหนเป็นภาเวตัพพธรรม, จิตไหนเป็นสัจฉิกาตัพพธรรม, จิตไหนไม่ใช่ปหาตัพพธรรม, จิตไหนไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม, จิตไหนไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม?
รูปขันธ์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
ขันธ์ ๔ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1007
อายตนะ ๑๐ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
อายตนะ ๒ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
ธาตุ ๑๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
ธาตุ ๒ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.
สมุทยสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
มัคคสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
นิโรจสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม.
ทุกขสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๙ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1008
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ไช่ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
อัญญินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม.
อินทรีย์ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ไช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ ปหาตัพพธรรม ไม่ไช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
กุศลเหตุ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรมก็มี.
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1009
กพฬิงการาหาร เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม
อาหาร ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
ผัสสะ ๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นอภิญเญยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.
อารัมมณวาระ
[๑๑๐๙] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นสารัมมณธรรม, ขันธ์ไหนเป็นอนารัมมณธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นสารัมมณธรรม, จิตไหนเป็นอนารัมมณธรรม?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1010
รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณธรรม ขันธ์ ๔ เป็นสารัมมณธรรม.
อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม มนายตนะ เป็นสารัมมณธรรม ธัมมายตนะ เป็นสารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม ธาตุ ๗ เป็นสารัมมณธรรม ธัมม ธาตุ เป็นสารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
สัจจะ ๒ เป็นสารัมมณธรรม. นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณธรรม ทุกขสัจ เป็นสารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณธรรม.
อินทรีย์ ๑๔ เป็นสารัมมณธรรม. ชีวิตินทรีย์ เป็นสารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
เหตุ ๙ เป็นสารัมมณธรรม.
กพฬิงการาหาร เป็นอนารัมมณธรรม อาหาร ๓ เป็นสารัมมธรรม.
ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ เป็นสารัมมณธรรม.
[๑๑๑๐] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นสารัมมณารัมมณธรรม ขันธ์ไหนเป็นอนารัมมณารัมมณธรรม ขันธ์ไหนเป็นอนารัมมณธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นสารัมมณารัมมณธรรม จิตไหนเป็นอนารัมมณารัมมณธรรม จิตไหนเป็นอนารัมมณธรรม?
รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณธรรม.
ขันธ์ ๔ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1011
อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม.
มนายตนะ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
ธัมมายตนะ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม.
ธาตุ ๖ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
ธัมมธาตุ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณธรรม.
มัคคสัจ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.
สมุทยสัจ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
ทุกขสัจ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณธรรม.
อินทรีย์ ๕ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.
อินทรีย์ ๙ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
ชีวิตินทรีย์ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1012
เหตุ ๙ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
กพฬิงการาหาร เป็นอนารัมมณธรรม.
อาหาร ๓ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
ผัสสะ ๖ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็น อนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นสารัมมณารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรมก็มี.
ทิฏฐาทิวาระ
[๑๑๑๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นทิฏฐธรรม, ขันธ์ไหนเป็นสุตธรรม เป็นมุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม, ขันธ์ไหนไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม ไม่ใช่วิญญาตธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นทิฏฐธรรม เป็นสุตธรรม เป็นมุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม, จิตไหนไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม ไม่ใช่วิญญาตธรรม?
รูปขันธ์ เป็นทิฏฐธรรมก็มี เป็นสุตธรรมก็มี เป็นมุตธรรมก็มี ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1013
ขันธ์ ๔ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
รูปายตนะ เป็นทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
สัททายตนะ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม เป็นสุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
คันตายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม เป็นมุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
อายตนะ ๗ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
รูปธาตุ เป็นทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
สัททธาตุ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม เป็นสุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม เป็นมุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
ธาตุ ๑๓ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
สัจจะ ๓ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
ทุกขสัจ เป็นทิฏฐธรรมก็มี เป็นสุตธรรมก็มี เป็นมุตธรรมก็มี ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรมก็มี เป็นวิญญาตธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1014
อินทรีย์ ๒๒ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
เหตุ ๙ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
อาหาร ๔ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
ผัสสะ ๗ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.
ทัสสนวาร
กุสลติก
[๑๑๑๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ บรรดาจิต จิตไหนเป็นกุศล จิตไหนเป็นอกุศล จิตไหนเป็นอัพยากตะ?
รูปขันธ์ เป็นอัพยากตะ ขันธ์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากตะ.
อายตนะ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากตะ.
ธาตุ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี. สมุทยสัจ เป็นอกุศล.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1015
มัคคสัจ เป็นกุศล.
นิโรธสัจ เป็นอัพยากตะ.
ทุกขสัจ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากตะ.
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอกุศล.
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นกุศล.
อินทรีย์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
อินทรีย์ ๖ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ เป็นอกุศล.
กุศลเหตุ ๓ เป็นกุศล.
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นอัพยากตะ.
กพฬิงการาหาร เป็นอัพยากตะ
อาหาร ๓ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
สัมผัส ๖ เป็นอัพยากตะ.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นอัพยากตะ.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.
เวทนาติกะ
[๑๑๑๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ไหนสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์ไหนสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนสัมปยุตด้วยสุขเวทนา จิต
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1016
ไหนสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา จิตไหนสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา?
ขันธ์ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
ขันธ์ ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
มนายตนะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
ธัมมายตนะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
ธาตุ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
กายวิญญาณธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี.
มโนวิญญาณธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
ธัมมธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1017
สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ก็มี.
นิโรจสัจ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
ทุกขสัจ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
อินทรีย์ ๖ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
อินทรีย์ ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
ชีวิตินทรีย์ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
อกุศลเหตุที่เป็น โทสะ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา.
เหตุ ๗ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
อกุศลเหตุที่เป็นโมหะ สัมปยุตด้วยสุเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
กพฬิงการาหาร กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1018
อาหาร ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
ผัสสะ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
กายสัมผัส (๑) สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
เวทนา ๗ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณ (๒) สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี.
มโนวิญญาณธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
วิปากติกวาระ
[๑๑๑๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นวิปากธรรม ขันธ์ไหนเป็นวิปากธัมมธรรม ขันธ์ไหนเป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นวิปากธรรม จิตไหนเป็นวิปากธัมมธรรม จิตไหนเป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม?
รูปขันธ์ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม. ขันธ์ ๔ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
อายตนะ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.
(๑) ม. กายวิญญาณธาตุสัมผัส
(๒) ม. กายวิญญาณธาตุ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1019
อายตนะ ๒ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
ธาตุ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.
ธาตุ ๕ เป็นวิปากธรรม.
มโนธาตุ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็น นววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี
ธาตุ ๒ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
สัจจะ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม.
นิโรธสัจ เป็นเนววิปากนววิปากธัมมธรรม.
ทุกขสัจ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๗ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.
อินทรีย์ ๓ เป็นวิปากธรรม.
อินทรีย์ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม.
อัญญินทรีย์ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๙ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
เหตุ ๖ เป็นวิปากธัมมธรรม.
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
กพฬิงการาหาร เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.
อาหาร ๓ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1020
ผัสสะ ๕ เป็นวิปากธรรม.
มโนธาตุสัมผัส เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ เป็นวิปากธรรม.
มโนธาตุ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
อุปาทินนุปาทานิยติกะ
[๑๑๑๕] ขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ขันธ์ไหนเป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ขันธ์ไหนเป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม จิตไหนเป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม จิตไหนเป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรม?
รูปขันธ์ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี.
ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.
สัททายตนะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1021
อายตนะ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี.
อายตนะ ๒ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
ธาตุ ๑๐ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.
สัททธาตุ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.
ธาตุ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี.
ธาตุ ๒ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
สมุทยสัจ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.
สัจจะ ๒ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรม.
ทุกขสัจ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.
อินทรีย์ ๓ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรม.
อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.
กุศลเหตุ ๓ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1022
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
กพฬิงการาหาร เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี.
อาหาร ๓ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
ผัสสะ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.
มโนธาตุสัมผัส เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.
มโนธาตุ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.
วิตักกติกะ
[๑๑๑๖] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นสวิตักกสวิจารธรรม ขันธ์ไหนเป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม ขันธ์ไหนเป็นอวิตักกาวิจารธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นสวิตักกสวิจารธรรม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1023
จิตไหน เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม จิตไหนเป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
รูปขันธ์ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
ขันธ์ ๓ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
สังขารขันธ์ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม หรืออวิตักกวิจารมัตตธรรม หรืออวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
มนายตนะ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นเป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
ธัมมายตนะ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม หรือเป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม หรือเป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
ธาตุ ๑๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
มโนธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
ธัมมธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม หรือเป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม หรือเป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
สมุทยสัจ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.
นิโรธสัจ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1024
มัคคสัจ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
ทุกขสัจ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม หรือเป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม หรือเป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.
อุเปกขินทรีย์ เป็นสวิตกักสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๑๑ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.
เหตุ ๖ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
กพฬิงการาหาร เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
อาหาร ๓ เป็นสวิตกักสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
ผัสสะ ๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
มโนธาตุสัมผัส เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1025
เวทนา ๖ สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.
มโนธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.
รูปทุกวาระ
[๑๑๑๗] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นรูปธรรม ขันธ์ไหนเป็นอรูปธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นรูปธรรม จิตไหนเป็นอรูปธรรม?
รูปขันธ์ เป็นรูปธรรม.
ขันธ์ ๔ เป็นอรูปธรรม.
อายตนะ ๑๐ เป็นรูปธรรม.
มนายตนะ เป็นอรูปธรรม.
ธัมมายตนะ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.
ธาตุ ๑๐ เป็นรูปธรรม.
ธาตุ ๗ เป็นอรูปธรรม.
ธัมมธาตุ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.
สัจจะ ๓ เป็นอรูปธรรม.
ทุกขสัจ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.
อินทรีย์ ๗ เป็นรูปธรรม.
อินทรีย์ ๑๔ เป็นอรูปธรรม.
ชีวิตินทรีย์ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1026
เหตุ ๙ เป็นอรูปธรรม.
กวฬิงการาหาร เป็นรูปธรรม.
อาหาร ๓ เป็นอรูปธรรม.
ผัสสะ ๗ เป็นอรูปธรรม.
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ เป็นอรูปธรรม.
โลกิยทุกะ
[๑๑๑๘] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นโลกิยธรรม ขันธ์ไหนเป็นโลกุตตรธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหนเป็นโลกิยธรรม จิตไหนเป็นโลกุตตรธรรม?
รูปขันธ์ เป็นโลกิยธรรม.
ขันธ์ ๔ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยธรรม.
อายตนะ ๒ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยธรรม.
ธาตุ ๒ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยธรรม.
สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตรธรรม.
อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยธรรม.
อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตรธรรม.
อินทรีย์ ๙ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.
อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1027
เหตุ ๖ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.
กพฬิงการาหาร เป็นโลกิยธรรม.
อาหาร ๓ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.
ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยธรรม.
มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นโลกิยธรรม.
มโนวิญญาณธาตุ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.
หัวข้อธรรมที่แสดงมาคือ อภิญญา อารัมมณะ ๒ ทิฏฐะ กุศล เวทนา วิปาก อุปาทินนะ วิตก รูป โลกิยะ ฉะนี้แล.
ธัมมหทยวิภังค์ จบบริบูรณ์
วิภังคปกรณ์จบ
อรรถกถาธัมมหทยวิภังค์
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบการกำหนดพระบาลีในธัมมหทยวิภังค์ อันเป็นอันดับต่อจากขุททกวัตถุวิภังค์ ดังต่อไปอย่างนี้ก่อน.
ก็ในวาระนี้ ชื่อว่า สัพพสังคาหิกวาระ คือ วาระว่าด้วยการรวบรวมธรรมทั้งปวงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งหมวดธรรมทั้งหลาย ๑๒ หมวด เริ่มตั้งแต่ขันธ์เป็นต้นไป.
วาระที่ ๒ ชื่อว่า อุปปัตตานุปปัตติทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วยการแสดงความเกิดขึ้นและความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ ในกามธาตุเป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1028
วาระที่ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วยการแสดงธรรมที่นับเนื่องกันและไม่นับเนื่องกัน ในกามธาตุเหล่านั้นนั่นแหละ.
วาระที่ ๔ ชื่อว่า วิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วยการแสดงธรรมอันมีและไม่มีอยู่ ในขณะแห่งความเกิดขึ้นในภูมิทั้ง ๓.
วาระที่ ๕ ชื่อว่า ทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วยการแสดงธรรมเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปในระหว่างภูมิ.
วาระที่ ๖ ชื่อว่า อุปาทกัมมอายุปปมาณทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วยการแสดงประมาณแห่งอายุที่เกิดขึ้นเพราะกรรม ในคติทั้งหลาย.
วาระที่ ๗ ชื่อว่า อภิญเญยยาทิวาระ คือ วาระว่าด้วยธรรมที่พึงรู้ยิ่งเป็นต้น.
วาระที่ ๘ ชื่อว่า สารัมมณานารัมมณาทิวาระ คือ วาระว่าด้วยสารัมมณธรรม และอนารัมมณธรรมเป็นต้น.
วาระที่ ๙ ชื่อว่า ทัสสนวาระ เพราะสงเคราะห์ธรรมมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้นด้วยสามารถเเห่งทิฏฐะและสุตะเป็นต้น.
วาระที่ ๑๐ ชื่อว่า ทัสสนวาระ เพราะสงเคราะห์ธรรมเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งติกมาติกามีกุสลติกะเป็นต้น.
อธิบายสัพพสังคาหิกวาระที่ ๑
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระที่หนึ่ง ชื่อว่า สัพพสังคาหิกวาระ ก่อน โดยพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้ด้วยวาระทั้ง ๑๐ อย่างนี้ คือ เมื่อตรัสมิได้ตรัสว่า ขันธ์หนึ่ง ฯลฯ หรือว่าขันธ์ ๔ หรือว่าขันธ์ ๖
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1029
(ขันธ์ ๖ พวกเดียรถีย์บัญญัติขึ้น) แต่ตรัสถามว่า ขันธ์ทั้งหลาย มีเท่าไรในความเป็นไปในระหว่างแห่งภูมิจำเดิมตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึง ภวัคคภูมิ คนอื่นชื่อว่า สามารถเพื่อจะกล่าวว่าขันธ์ ๕ ดังนี้ มิได้มี เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงกำลังแห่งพระญาณของพระองค์ จึงตรัสคำวิสัชนาอันสมควรแก่คำถามว่า ปญฺจกฺขนฺธา ดังนี้ ก็บัณฑิตย่อมเรียกคำวิสัชนาตามคำถามในพระกำลังแห่งญาณนี้ว่า ชื่อว่า สัพพัญญพยากรณ์ ดังนี้. ในคำทั้งหลาย แม้มีคำว่า อายตนะ ๑๒ เป็นต้นก็นัยนี้. บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธ์วิภังค์เป็นต้น.
อธิบายอุปปัตตานุปปัตติทัสสนวาระที่ ๒
ในวาระที่ ๒ ธรรมเหล่าใด ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วในกามธาตุในกามภพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายอันนับเนื่องกัน และไม่นับเนื่องกันในกามธาตุเหล่านั้นแล้ว ตรัสคำว่า กามธาตุยา ปญฺจกฺขนฺธา เป็นต้น. แม้ในรูปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็เพราะอายตนะทั้งหลายมีคันธายตนะเป็นต้น ย่อมไม่ทำกิจแห่งอายตนะเป็นต้น เพราะความไม่มีฆานายตนะเป็นต้น ของพรหมทั้งหลายผู้นับเนื่องในรูปธาตุ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า รูปธาตุยา ฉ อายตนานิ นว ธาตุโย ดังนี้ เป็นต้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ธาตุที่ไม่นับเนื่องด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่าด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่งสัตว์ ย่อมไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสคำว่า อปริยาปนฺนธาตุยา ดังนี้ เพื่อแสดงซึ่งธาตุใดๆ อันไม่นับเนื่องแล้วนั้นๆ นั่นแหละ จึงตรัสว่า อปริยาปนฺเน กติ ขนฺธา เป็นต้น (แปลว่า ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่อง).
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1030
อธิบายปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระที่ ๓
ในวาระที่ ๓ คำว่า กามธาตุปริยาปนฺนา อธิบายว่า ชื่อว่า ปริยาปันนา เพราะอรรถว่า การเสพซึ่งกามธาตุ อาศัยกามธาตุ อยู่ภายใน กามธาตุนั้น หยั่งลงสู่กามธาตุนั้น จึงถึงซึ่งการนับว่า เป็นกามธาตุนั่นแหละ. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้. คำว่า ปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำกำหนดธรรมเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งภพ และด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่าด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นแห่งสัตว์. คำว่า อปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำไม่กำหนดเหมือนอย่างนั้น.
อธิบายวิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระที่ ๔
ในวาระที่ ๔ คำว่า เอกาทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ ๑๑ เว้นสัททายตนะ. จริงอยู่ สัททายตนะนั้น ย่อมไม่บังเกิดขึ้นในขณะปฏิสนธิ แน่แท้. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสคติแห่งเทพและอสูร ในหมวดทั้ง ๗ ในวาระนี้ แต่ตรัสคติแห่งคัพภเสยยกะทั้งหลายไว้โดยไม่แปลกกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า คัพภเสยยกะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นที่ใดๆ อายตนะของเทพและอสูรทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเกิดในที่นั้นๆ. ธาตุทั้งหลาย ก็อย่างนั้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อธิบายทัสสนวาระที่ ๕
คำใด ที่จะพึงกล่าวใน วาระที่ ๕ คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1031
อธิบายอุปาทกัมมอายุปปมาณทัสสนวาระที่ ๖
ในวาระที่ ๖ ชื่อว่า เทพ (เทวดา) เพราะย่อมบันเทิง ด้วยเบญจกามคุณมีประการต่างๆ อันวิเศษด้วยฤทธิ์. คำว่า สมฺมติเทวา ได้แก่ เทพ โดยสมมติของชาวโลก อย่างนี้ คือ พระราชา พระเทวี. คำว่า อุปฺปตฺติเทวา ได้แก่เป็นเทพโดยอุปบัติ เพราะความบังเกิดขึ้นในเทวโลก. คำว่า วิสุทฺธิเทวา ได้แก่ เป็นเทพโดยความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ควรแก่การบูชาของเทพทั้งหมด. คำว่า ราชาโน ได้แก่ กษัตริย์ผู้มุรธาภิเษกแล้ว. คำว่า เทวิโย ได้แก่เป็นมเหสีของพระราชาเหล่านั้น. คำว่า กุมารา ได้แก่ พระกุมารที่เกิดขึ้นในพระครรภ์ของพระเทวี ของพระราชาผู้อภิเษกแล้ว.
คำว่า อุโปสถกมฺมํ กริตฺวา ได้แก่ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ในวัน ๑๔ ค่ำ เป็นต้น.
บัดนี้ เพราะบุญกรรมมีการให้ทานเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นมนุษย์มีรูปงาม. คือว่า บุญกรรมอันตนกระทำแล้วน้อย ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นมนุษย์มีรูปงาม ผิว่าบุญกรรมอันตนกระทำมากยิ่ง ก็ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น มีประการต่างๆ อันเป็นส่วนนานัปการในเพราะบุญกรรมอันยิ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งความบังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งบุญกรรมนั้น จึงตรัสคำว่า อปฺเปกจฺเจ คหปติมหาสาลานํ (แปลว่า บางคนเข้าถึงความเป็นคหบดีมหาศาล) เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า มหนฺโต สาโร เอเตสํ พึงทราบวินิจฉัยว่า สาระ (ความมั่งคั่ง) อันใหญ่ ของบุคคลเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่า มหาสาระ (ผู้มั่งคั่ง). ก็คำว่า มหาสาระ นี้ ท่านเปลี่ยน ร อักษรให้เป็น ล อักษรจึงเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1032
มหาสาละ. อีกอย่างหนึ่ง คหบดีทั้งหลายนั่นแหละเป็นผู้มหาศาล หรือว่า ความมหาศาลทั้งหลาย มีอยู่ในคหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น คหบดีเหล่านั้น จึงชื่อว่า คหบดีมหาศาล. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.
คหบดีมหาศาล
ในบุคคลเหล่านั้น ในบ้านของบุคคลเหล่าใด มีทรัพย์ต้นทุนเก็บไว้อย่างต่ำสุด ๔๐ โกฏิ และย่อมใช้จ่ายกหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารประจำวันละ ๕ อัมพณะ ผู้นี้ ชื่อว่า คหบดีมหาศาล.
พราหมณ์มหาศาล
ก็ในบ้านของบุคคลใด มีทรัพย์ต้นทุนอย่างต่ำสุด ๘๐ โกฏิ และย่อมใช้กหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารวันละ ๑๐ อัมพณะ บุคคลนี้ ชื่อว่า พราหมณ์มหาศาล.
กษัตริย์มหาศาล
ในพระราชมณเฑียรของพระราชาองค์ใด มีพระราชทรัพย์คงพระคลังอย่างต่ำสุด ๑๐๐ โกฏิ และย่อมใช้กหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารวันละ ๒๐ อัมพณะ พระราชานี้ชื่อว่า กษัตริย์มหาศาล.
คำว่า สหพฺยตํ ได้แก่ ความเป็นผู้อยู่ร่วมกัน (เป็นสหายกัน). อธิบายว่า เกิดเสมอกัน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1033
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า จาตุมหาราชิกานํ เป็นต้น เทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า จาตุมหาราชิกา ย่อมมี ณ ท่ามกลางแห่งภูเขา ชื่อ สิเนรุ. ในเทวดาเหล่านั้นบางพวกดำรงอยู่ที่ภูเขา บางพวกดำรงอยู่ที่อากาศ. ลำดับแห่งเทวดาเหล่านั้นถึงภูเขาจักรวาล. เทวดาเหล่านั้น คือ ขิฑฑาปโทสิกะ มโนปโทสิกะ สีตวลาหก อุณหวลาหก จันทิมเทวบุตร สุริยเทวบุตร แม้ทั้งปวงดำรงอยู่ในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาเท่านั้น.
ชนทั้งหลาย ๓๓ คน บังเกิดแล้วในเทวโลกนั้น เพราะเหตุนั้น เทวโลกนั้น จึงชื่อว่า ดาวดึงส์ (แปลว่า เทวโลกเป็นที่อยู่ของเทวดา ๓๓ ตน). ก็เทวดาแม้เหล่านั้นดำรงอยู่ที่ภูเขาก็มี ดำรงอยู่ที่อากาศก็มี. อันดับแห่งเทวดาเหล่านั้น ก็ถึงภูเขาจักรวาล. อันดับของเทวดายามาเป็นต้น ก็เหมือนกัน จริงอยู่ แม้ในเทวโลกเดียว อันดับของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าไม่ถึงภูเขาจักรวาล ย่อมไม่มี.
ในเทวดาเหล่านั้น เทวดาเหล่าใด ยังชีวิตให้ดำเนินไป ยังชีวิตให้เป็นไปทั่ว ยังชีวิตให้ถึงพร้อมซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า ยามา.
เทวดาเหล่าใดเป็นผู้ยินดีแล้ว ร่าเริงแล้ว เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า ดุสิต.
เทวดาเหล่าใดเนรมิตแล้วๆ ย่อมยินดีในการบริโภคกาม (กามโภค) ตามชอบใจในเวลาที่ปรารถนาเพื่อยินดีอันยิ่ง โดยความเป็นอารมณ์อันตกแต่งตามปกติ เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า นิมมานรดี.
เทวดาเหล่าใด ทราบซึ่งอาจาระแห่งจิตแล้วยังอำนาจให้เป็นไปอยู่ในโภคะทั้งหลายอันผู้อื่นเนรมิตให้แล้ว เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1034
อธิบายอายุของมนุษย์และเทวดา
คำว่า อปฺปํ วา ภิยฺโย อธิบายว่า อายุของเหล่ามนุษย์นั้น ไม่ถึง ๒๐๐ ปี คือว่ามีอายุร้อยปี เกิน ๒๐ ปี หรือว่า ๓๐, ๔๐, ๕๐, ปี หรือว่า ๖๐ ปี เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อปฺปํ (อายุน้อย) ดังนี้ เพราะไม่ถึง ๒๐๐ ปี.
พึงทราบ วินิจฉัยในพรหมปาริสัชชา เป็นต้น พรหมทั้งหลาย เป็นผู้แวดล้อมคือ เพราะเป็นบริวารผู้บำเรอมหาพรหม. เหตุนั้น ชื่อว่า พรหมปาริสัชชา. ชื่อว่า พรหมปุโรหิตา เพราะตั้งอยู่ในความเป็นปุโรหิต (อาจารย์) ของพรหมเหล่านั้น. ชื่อว่า มหาพรหมา เพราะเป็นพรหมใหญ่ โดยความเป็นผู้มีวรรณะงามและความเป็นผู้มีอายุยืน. ชนแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ย่อมอยู่ในปฐมฌานภูมิอันเป็นพื้นเดียวกัน. ก็แต่ว่าอายุแห่งพรหมเหล่านั้นต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตาภา เพราะมีรัศมีน้อย. ชื่อว่า อัปปมาณาภา เพราะมีรัศมีหาประมาณมิได้. ที่ชื่อว่า อาภัสสรา เพราะรัศมีจากสรีระของพรหมเหล่านั้นเป็นราวกะเปลวไฟจากประทีบมีด้ามซ่านไป ซ่านออกไปสู่ที่ต่างๆ ราวกะถึงการเจาะทะลุไป. ชนทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ ย่อมอยู่ระดับเดียวกัน ในทุติยฌานภูมิ. ก็แต่ว่าการกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตสุภา เพระความงามของพรหมเหล่านั้นน้อย. ชื่อว่า อัปปมาณสุภา เพราะความงามของพรหมเหล่านั้นไม่มีประมาณ. ชื่อว่า สุภกิณหา เพราะพรหมเหล่านั้น มีความงามเดียรดาษกว้างขวาง มีรัศมีแห่งสรีระงดงาม มีสีแห่งกายเป็นอันเดียวกัน มีสิริดุจแท่งทองคำรุ่งเรืองสุกใส ตั้งอยู่ในหีบทองคำฉะนั้น. ชนเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ ย่อมอยู่ในตติยฌานภูมิอันเป็นระดับเดียวกัน. แต่ว่า การกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1035
คำว่า อารมฺมณนานตฺตตา (แปลว่า เพราะอารมณ์ที่ต่างกัน) ได้แก่ความเป็นผู้มีอารมณ์ต่างกัน. ในคำว่า มนสิการนานตฺตตา เป็นต้น (แปลว่า เพราะมนสิการที่ต่างกัน) ก็นัยนี้. บัณฑิตพึงทราบในการต่างกัน แห่งอารมณ์นั้นดังนี้ คือ ปฐวีกสิณ ย่อมเป็นอารมณ์ของบุคคลคนหนึ่ง ฯลฯ โอทาตกสิณเป็นอารมณ์ของบุคคลคนหนึ่ง ดังนี้ ชื่อว่า อารัมมณนานัตตะ ซึ่งแปลว่า มีอารมณ์ต่างกัน. คำว่าบุคคลหนึ่งมีฉันทะในปฐวีกสิณ ฯลฯ บุคคลหนึ่งมีฉันทะในโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีฉันทะต่างกัน. คำว่า บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมกระทำการปรารถนาในปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่งย่อมกระทำความปรารถนาในโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีปณิธิต่างกัน. คำว่า ผู้หนึ่งย่อมน้อมใจไปด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่งย่อมน้อมใจไปในโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความน้อมใจเชื่อต่างกัน. คำว่า บุคคลผู้หนึ่งย่อมยังจิตให้มุ่งไปด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่ง ย่อมให้จิคมุ่งไป ด้วยสามารถแห่งโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีอภินีหารต่างกัน. คำว่า บุคคลผู้หนึ่งมีปัญญาสามารถกำหนดปถวีกสิณ ฯลฯ คนหนึ่งมีปัญญาสามารถกำหนดโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีปัญญาต่างกัน.
ในอธิการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอารมณ์และมนสิการไว้โดยส่วนเบื้องต้น. ฉันทะ ปณิธิ ความน้อมใจเชื่อ และอภินีหาร ย่อมเป็นไปในอัปปนาบ้าง ในอุปจาระบ้าง. ส่วนปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมิสสกะ คือ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.
คำว่า อสญฺสตฺตานํ ได้แก่ สัตว์ที่เว้นจากสัญญา. จริงอยู่ สมณะพราหมณ์บางพวกบวชในลัทธิต่างๆ เห็นโทษในจิตว่า เพราะอาศัยจิต ชื่อว่า ความยินดี ความยินร้าย และความหลงใหล จึงมี ดังนี้ แล้วจึงยัง สัญญา-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1036
วิราคะ (ความหมดความยินดีในสัญญา) ให้เกิด มนสิการว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้ไม่มีจิต เป็นสิ่งที่พอใจ และนั่นเป็นทิฏฐธัมมนิพพาน ดังนี้ แล้วเจริญสมาบัติเข้าถึงสัญญาวิราคะนั้น จึงเกิดขึ้นในภพที่ไม่มีสัญญานั้น. ในขณะแห่งการเกิดของอสัญญสัตตพรหมเหล่านั้น รูปขันธ์อย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น. พรหมเหล่านั้นเมื่อยืนเกิด ก็ย่อมยืนอยู่นั่นแหละ เมื่อนั่งเกิด ก็ย่อมนั่งอยู่นั่นแหละ เมื่อนอนเกิด ก็ย่อมนอนอยู่นั่นแหละ เป็นดังเช่นรูปจิตรกรรม (รูปวาด) ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอด ๕๐๐ กัป ในที่สุดแห่งพรหมเหล่านั้น รูปกายนั้นย่อมอันตรธานไป กามาวจรสัญญา ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏว่า เคลื่อนแล้วจากกายนั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญาในโลกนี้ดังนี้.
พรหมเหล่านั้น ที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะผลของเขาเหล่านั้นไพบูลย์. ชื่อว่า อวิหา เพราะย่อมไม่เสื่อม ไม่สูญไปจากสมาบัติของตน. ชื่อว่า อตัปปา เพราะย่อมไม่ยังสัตว์ไรๆ ให้เดือดร้อน. ชื่อว่า สุทัสสา เพราะอรรถว่า เห็นดี มีรูปงามน่าเลื่อมใส. ชื่อว่า สุทัสสี เพราะเทวดา เหล่านั้น ย่อมเห็นด้วยดี หรือว่าการเห็นของเทวดาเหล่านั้นดี. ชื่อว่า อกนิฏฐา เพราะเป็นผู้เจริญที่สุดด้วยคุณทั้งหมดทีเดียว และด้วยภวสมบัติ สำหรับผู้ที่มีคุณธรรมน้อย ย่อมไม่มีในที่นี้.
คำว่า อากาสานญฺจายตนํ อุปคตา ได้แก่ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ. ในคำแม้นอกนี้ก็นัยนี้แหละ.
ภูมิคือ กามาวจร ๖ พรหมโลก ๙ สุทธาวาส ๕ อรูป ๔ อสัญญสัตตา ๑ และเวหัปผลา ๑ รวมเป็นเทวโลก ๒๖ ภูมิ และมนุษยโลกอีกหนึ่ง จึงเป็น ๒๗ ภูมิด้วยประการฉะนี้. บรรดาภูมิทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง กำหนดอายุของมนุษย์และเทวดา มิได้ทรงกำหนดอายุสัตว์ในอบายภูมิ ๔ และในภุมมเทวดาทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1037
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงมิได้ทรงกำหนดอายุในอบาย ๔ และ ภุมมเทวดาเหล่านั้น.
ตอบว่า ในนรกก่อน กรรมเท่านั้น เป็นประมาณ คือว่า กรรมยังไม่สิ้นไปตราบใด ก็ย่อมไหม้อยู่ในนรกตราบนั้น ในอบายที่เหลือก็เหมือนกัน. กรรมนั่นแหละเป็นประมาณแม้ของภุมมเทวดาทั้งหลาย. จริงอยู่ เทวดาบางพวกเกิดแล้วในภูมินั้น ย่อมตั้งอยู่เพียง ๗ วัน บางพวกตั้งอยู่กึ่งเดือน บางพวกตั้งอยู่หนึ่งเดือน แม้ตั้งอยู่ถึงหนึ่งกัปก็มี. ในเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น พระโสดาบันผู้ดำรงอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ในมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบรรลุซึ่งสกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง. บรรดาพระอริยะเหล่านั้น พระโสดาบันเป็นต้น ย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต พระขีณาสพทั้งหลายเท่านั้น ย่อมปรินิพพาน หรือว่าย่อมบวช. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะว่า ธรรมดาว่าพระอรหัตมีคุณอันประเสริฐที่สุด แต่เพศคฤหัสถ์เป็นเพศต่ำ. เพศแห่งคฤหัสถ์จึงไม่อาจเพื่อทรงคุณอันสูงสุดนั้น เพราะความเป็นเพศต่ำ. เพราะฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้น จึงใคร่เพื่อจะปรินิพพาน หรือว่าเพื่อจะบวช.
ส่วนภุมมเทวดา แม้บรรลุพระอรหัต แล้วย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต. พระโสดาบันและพระสกทาคามีนั่นแหละ ในเทวดากามาวจร ๖ ชั้น ย่อมดำรงอยู่ตลอดกาลแห่งชีวิต. พระอนาคามีควรไปสู่รูปภพ. แต่พระขีณาสพ ควรเพื่อปรินิพพาน.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะความไม่มีโอกาส (ที่ว่าง) เพื่อหลีกเร้น. พระอริยะแม้ทั้งหมดในรูปาวจร และอรูปาวจร ย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต. พระโสดาบัน พระสกทาคามี ผู้บังเกิดในรูปาวจรนั้น ย่อมไม่กลับมาในโลกนี้อีก ย่อมปริ-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1038
นิพพานในภพนั้นนั่นแหละ. เพระว่า พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่กลับมาเพราะฌานลาภี (หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามีในรูปภพมีชื่อว่า ฌานลาภีอนาคามีผู้ไม่กลับมาเพราะได้ฌาน)
ถามว่า ก็อะไร ย่อมกำหนดการได้สมาบัติ ๘?
ตอบว่า ฌานอันคล่องแคล่ว ย่อมกำหนด คือว่า ฌานใดของบุคคลนั้นคล่องแคล่ว เพราะความที่ฌานคล่องแคล่วนั้น สมาบัติ ๘ จึงเกิดขึ้น.
ถามว่า ก็อะไร ย่อมกำหนดฌานทั้งหลายทั้งปวงอันคล่องแคล่ว?
ตอบว่า ความปรารถนากำหนด คือบุคคลใด ย่อมปรารถนาการเกิดขึ้นในที่ใด ย่อมทำฌานแล้วเกิดขึ้นในที่นั้นนั่นแหละ.
ถามว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี อะไร ย่อมกำหนด?
ตอบว่า สมาบัติอันผู้นั้นเข้าถึงแล้วในสมัยใกล้มรณะย่อมกำหนด.
ถามว่า สมาบัติที่ถึงพร้อมแล้วในสมัยใกล้มรณะไม่มี อะไร ย่อมกำหนดเล่า?
ตอบว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติย่อมกำหนด. จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อมบังเกิดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนภพโดยส่วนเดียว. ความบังเกิดขึ้นในที่นั้นนั่นแหละก็ดี การเกิดขึ้นในเบื้องบนก็ดี ย่อมมีแก่พระอริยสาวกผู้บังเกิดในพรหมโลก ๙ หามีการเกิดขึ้นในภพเบื้องต่ำไม่. ส่วนการเกิดในภพนั้นก็ดี การเกิดในภพที่สูงขึ้นไปก็ดี การเกิดในภพเบื้องต่ำก็ดี ย่อมมีแก่ปุถุชนทั้งหลาย ความเกิดขึ้นในภพนั้นก็ดี การเกิดขึ้นในภพที่สูงขึ้นไปก็ดี ย่อมมีแก่พระอริยสาวกในสัทธาวาส ๕ และในอรูปภพ ๔. พระอนาคามีผู้บังเกิดในปฐมฌานภูมิ ชำระพรหมโลก ๙ ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นสูงสุดแล้ว จึงปรินิพพานเทวโลกทั้ง ๓ เหล่านั้น คือ เวหัปผลา อกนิฏฐา เนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1039
ชื่อว่า ภพอันประเสริฐที่สุด. พระอนาคามีในภพทั้ง ๓ เหล่านี้ ย่อมไม่ไปสู่ภพเบื้องบนและไม่ลงมาสู่ภพเบื้องต่ำ ย่อมปรินิพพานในภพนั้นๆ นั่นแหละ ดังนี้ นี้เป็นปกิณณกะในวาระที่ ๖ แล.
อภิญเญยยาทิวาระที่ ๗
ในวาระที่ ๗ บัณฑิตพึงทราบความเป็นแห่งอภิญเญยยะ (ธรรมที่พึงรู้ยิ่ง หรือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง) ด้วยสามารถแห่งการรู้ยิ่งซึ่งการกำหนดธรรม อันเป็นไปกับด้วยลักษณะ. ความเป็นแห่งปริญเญยยะ (แปลว่าธรรมควรกำหนดรู้) พึงทราบด้วยสามารถแห่งปริญญาทั้งหลาย คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา. ก็ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งญาตปริญญาและตีรณปริญญาเท่านั้น. ในคำว่า รูปขันธ์เป็นอภิญเญยยะ เป็นปริญเญยยะ ไม่ใช่ปหาตัพพะ เป็นต้น นั่นแหละ.
สมุทยสัจจะ บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งปหานปริญญา ในคำว่า สมุทยสัจจะ เป็นอภิญเญยยะ เป็นปริญเญยยะ เป็นปหาตัพพะ เป็นต้น.
อธิบายสารัมมณานารัมมณาทิวาระที่ ๘
ในวาระที่ ๘ บัณฑิตพึงทราบ ความไม่มีอารมณ์ (อนารัมมณะ) และมีอารมณ์ (อารัมมณะ) ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น และแห่งวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น.
อธิบายทัสสนวาระที่ ๙
ในวาระที่ ๙ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1040
อธิบายทัสสนวาระที่ ๑๐
แม้ใน วาระที่ ๑๐ คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในวาระว่าด้วยปัญหาปุจฉกะนั้นๆ นั่นแล.
วรรณนาธัมมหทยวิภังค์ในสัมโมหวิในทนีอรรถกถาวิภังค์
จบเพียงเท่านี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1041
นิคมคาถา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเคารพธรรม ทรงมีหมู่ทวยเทพนับพันห้อมล้อม แล้วทรงแสดงพระอภิธรรมแก่เทพทั้งหลาย เคารพธรรม ในเทพนคร.
ทรงเป็นนาถะพระองค์เดียวไม่มีบุรุษ เป็นสหาย ตรัสวิภังคปกรณ์อันเป็นปกรณ์ที่ ๒ มีคุณบริสุทธิ์ประดับด้วยวิภังค์ ๑๘ วิภังค์ อันใดไว้
เพื่อประกาศอรรถแห่งปกรณ์นั้น ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่า พุทธโฆสะ ผู้อันพระสงฆ์เถระนิมนต์แล้ว ด้วยคุณอันตั้งอยู่ คือ มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว มีคติไม่ชักช้า มีความรู้ดี ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงถือเอาอรรถกถาเริ่มรจนาในอรรถอันละเอียดอ่อนด้วยดี ชื่อว่า สัมโมหวิโนทนี เพื่อบรรเทาโมหะความหลงมาอธิบาย สัมโมหวิโนทนีนี้ รวมเอาสาระแห่งอรรถกถาของอาจารย์ในปางก่อนไว้ บัดนี้ปกรณ์นี้ถึงที่สุดแล้วด้วยพระบาลี ๔๐ ภาณวาร ปราศจากอันตรายแล้ว ฉันใด ขอมโนรถแม้ทั้งปวงของสรรพสัตว์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1042
ทั้งหลาย จงปราศจากมลทินทั้งหลาย จงสำเร็จสมปณิธานความปรารถนาฉันนั้นเถิด.
ก็บุญใดที่ข้าพเจ้ารจนาปกรณ์นี้ให้สำเร็จแล้ว เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ขอสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวโลก จงได้รับบุญนั้นด้วย.
ขอพระสัทธรรมจงตั้งอยู่ดีตลอดกาลนาน ขอสัตว์โลกผู้ยินดียิ่งในพระธรรม จงเจริญทุกเมื่อ และขอชนบททั้งหลาย จงถึงพร้อมด้วยความสุขมีความเกษมสำราญ มีภิกษาหาได้ง่ายเป็นต้น ตลอดกาลเป็นนิตย์.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ อรรถกถาวิภังคปกรณ์ ชื่อว่าสัมโมหวิโนทนีนี้ อันพระเถระผู้อันครูทั้งหลายเรียกว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วยศรัทธา พุทธิ (ความรู้) และวิริยะอันหมดจดอย่างยิ่ง ผู้ยังเหตุแห่งคุณมีศีล อาจาระ อัชชวะ (ความซื่อตรง) และมัททวะ (ความอ่อนโยน) เป็นต้นให้ตั้งขึ้นแล้ว ผู้สามารถในการสางความรกชัฏ (คือวินิจฉัยข้อความที่ยุ่งยาก) ในความแตกต่างกันแห่งลัทธิของตนและผู้อื่น ผู้ประกอบด้วยความสว่างแห่งปัญญา ผู้มีกําลังแห่งญาณอันไม่ข้องขัดในสัตถุศาสน์ สามารถแยกแยะการศึกษาพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ผู้เป็นมหาไวยากรณ์ (คือเป็นผู้อธิบายอันกว้างขวาง) ผู้ประกอบด้วยความงามแห่งถ้อยคำอันไพเราะเป็นเลิศทั้งเปล่งออกไปได้คล่อง ซึ่งเกิดแก่กรณสมบัติ เป็นนักพูดชั้นเยี่ยมโดยพูดได้ทั้งผูกและแก้ ผู้เป็นกวี-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1043
ใหญ่ ผู้เป็นอลังการแห่งวงศ์ของเหล่าพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร ซึ่งเป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ (๑) มีความรู้อันตั้งมั่นด้วยดีในอุตตริมนุษยธรรม อันประดับด้วยคุณมีอภิญญา ๖ เป็นต้น แตกฉานในปฏิสัมภิทาแวดลอมแล้ว ผู้มีความรู้หมดจดไพบูลย์เป็นผู้กระทำปกรณ์นี้ไว้.
ขอปกรณ์ อันแสดงนัยแห่งปัญญาวิสุทธินี้ จงตั้งอยู่ในโลก เพื่อกุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาธรรมเครื่องสลัดตนออกจากโลก ตราบเท่าที่พระนามว่า พุทโธ ขององค์พระโลกเชษฐ์มหาฤาษีเจ้า ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผู้คงที่ ยังเป็นไปในโลก เทอญ.
ขุนเขายังดำรงอยู่ตราบใด พระจันทร์ยังส่องแสงอยู่เพียงใด ขอพระสัทธรรมของพระโคดม ผู้ทรงมีพระยศใหญ่ จงดำรงอยู่เพียงนั้น เทอญ.
จบบริบูรณ์
(๑) ตั้งแต่ คำว่า ซึ่งเป็นประทีปแห่งเถรวงศ์... ฯลฯ... ปฏิสัมภิทาแตกฉาน เป็นคำขยายความ แสดงคุณสมบัติของพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร มิใช่ของผู้รจนาคัมภีร์นี้.