พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธาตุกถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ก.พ. 2565
หมายเลข  42083
อ่าน  2,527

[เล่มที่ 79] พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓

ธาตุกถา

มาติกา

นยมาติกา ๑๔ นัย 1/1

อัพภันตรมาติกา ๑๒๕ บท 3

นยมุขมาติกา ๔ นัย 4

ลักขณมาติกา ๒ ลักษณะ 4

พาหิรมาติกา (ธัมมสังคณีท้งหมด) 4

อารัมภกถา 5

อรรถกถามาติกา 6

๑. สังคหาสังคหปทนิทเทส อัพภันตรมาติกา

ขันธปทนิทเทส 11

อรรถกถาขันธปทนิทเทส 14

อายตนปทนิทเทส 16

อรรถกถาอายตนปทนิทเทส 17

ธาตุนิทเทส 18

สัจจนิทเทส 20

อรรถกถาสัจจนิทเทส 22

อินทริยนิทเทส 22

อรรถกถาอินทริยนิทเทส 24

ปฏิจจสมุปปาทนิทเทส 25

อิทธิปาทนิทเทส 27

ฌานนิทเทส 27

อัปปมัญญานิทเทส 27

พาหิรมาติกา

มาติกานิทเทส 28

ทุกมาติกานิเทส 33

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทนิทเทส 43

๒. สังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 46

อรรถกถาสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส 47

ปัญหา ๘ ปัญหา 49

๓. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 53

อรรถกถาอสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส หน้า 56

ปัญหา ๗ ปัญหา หน้า 57

๔. สังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 59

อรรถกถาสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส 60

ปัญหา ๒ ปัญหา 61

๕. อสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 62

อรรถกถาอสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส 71

ปัญหา ๓๔ ปัญหา 72

๖. สัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 74

อรรถกถาสัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส 90

ปัญหา ๑๔ ปัญหา 92

๗. สัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 96

อรรถกถาสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส 98

ปัญหา ๓ ปัญหา 100

๘. วิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 101

อรรถกถาวิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส 101

๙. สัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 102

อรรถกถาสัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส 108

ปัญหามีมาก 109

๑๐. วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 110

อรรถกถาวิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส 121

๑๑. สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 121

อรรถกถา สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส 124

๑๒. สัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

นิทเทสนี้ เริ่มแต่ข้อ 125

อรรถกถาสัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส 131

๑๓. อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 132

อรรถกถาอสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส 135

๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคิหิตปทนิทเทส

นิทเทสนี้เริ่มแต่ข้อ 136

สรุปข้อธรรม 150

อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส 151

คํานิคม (ธาตุกถา) 153


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 79]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๓

ธาตุกถา และ ปุคคลปัญญัติ

ธาตุกถา (๑)

มาติกา

๑. นยมาติกา ๑๔ นัย

    [๑] ๑. สงฺคโห อสงฺคโห ธรรมที่สงเคราะห์ได้ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้

    ๒. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมที่สงเคราะห์ได้

    ๓. สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ได้ด้วยธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้

    ๔. สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ได้ด้วยธรรมที่สงเคราะห์ได้

    ๕. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้

    ๖. สมฺปโยโค วิปฺปโยโค ธรรมที่ประกอบได้ธรรมที่ประกอบไม่ได้


    บาลีเล่ม ๓๖.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 2

    ๗. สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ ธรรมที่ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมที่ประกอบได้

๘. วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ ธรรมที่ประกอบได้ด้วยธรรมที่ประกอบไม่ได้

๙. สมฺปยุตฺเตน สมฺปยตฺตํ ธรรมที่ประกอบได้ด้วยธรรมที่ประกอบได้

๑๐. วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺต ธรรมที่ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมที่ประกอบไม่ได้

๑๑. สงฺตหิเตน สมฺปยุตฺตํ ธรรมที่ประกอบได้วิปฺปยุตฺตํ ธรรมที่สงเคราะห์ได้

๑๒. สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ได้อสงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมที่ประกอบได้

๑๓. อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ ธรรมที่ประกอบได้วิปฺปยุตฺตํ ธรรมที่ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้

๑๔. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ได้อสงฺคหิตํ ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมที่ประกอบไม่ได้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 3

๒. อัพภันตรมาติกา ๑๒๕ บท

    ๑. ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ๕

    ๒. ทวาทสายตนานิ อายตนะ ๑๒

    ๓. อฏฺารส ธาตุโย ธาตุ ๑๘

    ๔. จตฺตาริ สจฺจานิ สัจจะ ๔

    ๕. พาวีสตินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๒๒

    ๖. ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ปฏิจจสมุปบาท

    ๗. จตฺตาโร สติปฎฺานา สติปัฏฐาน ๔

    ๘. จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา สัมมัปปธาน ๔

    ๙. จตฺตาโร อิทฺธิปาทา อิทธิบาท ๔

    ๑๐. จตฺตาริ ฌานานิ ฌาน ๔

    ๑๑. จตสฺโส อปฺปมญฺณาโย อัปปมัญญา ๔

    ๑๒. ปัญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕

    ๑๓. ปญฺจ พลานิ พละ ๕

    ๑๔. สตฺต โพชฺฌงฺคา โพชฌงค์ ๗

    ๑๕. อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค อริยมรรคมีองค์ ๘

    ๑๖. ผสฺโส ผัสสะ

    ๑๗. เวทนา เวทนา

    ๑๘. สญฺญา สัญญา

    ๑๙. เจตนา เจตนา

    ๒๐. จิตฺตํ จิต

    ๒๑. อธิโมกฺโข อธิโมกข์

    ๒๒. มนสิกาโร มนสิการ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 4

๓. นยมุขมาติกา ๔ นัย

    ๑. ตีหิ สงฺคโห การสงเคราะห์ได้ด้วยธรรม ๓

    ๒. ตีหิ อสงฺคโห การสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรม ๓

    ๓. จตูหิ สมฺปโยโค การประกอบได้ด้วยธรรม ๔

    ๔. จตูหิ วิปฺปโยโค การประกอบไม่ได้ด้วยธรรม ๔

๔. ลักขณมาติกา ๒ ลักษณะ

    ๑. สภาโคธรรมที่มีส่วนเสมอกัน

    ๒. วิสภาโค ธรรมที่มีส่วนไม่เสมอกัน

๕. พาหิรมาติกา

    ธัมมสังคณี แม้ทั้งหมด เป็นมาติกาแห่งธาตุกถาแล.

จบมาติกา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 5

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาปัญจปกรณ์

อรรถกถาธาตุกถาปกรณ์

อารัมภกถา

    พระมหาวีรเจ้า ผู้ทรงชนะมาร ครั้นทรงแสดงวิภังคปกรณ์ ด้วยวิภังค์ ๑๘ วิภังค์จบลงแล้ว เมื่อจะทรงประกาศความต่างกันแห่งธาตุ จึงได้ตรัสธาตุกถา-ปกรณ์ ไว้ในลำดับแห่งวิภังคปกรณ์นั้นนั่นแหละข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) จักแสดงเนื้อความแห่งธาตุกถาปกรณ์นั้น ขอสาธุชนทั้งหลาย จงมีจิตตั้งมั่นสดับพระธรรมเทอญ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 6

อรรถกถามาตกา

นยมาติกา ๑๔ นัย

พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ปกรณ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกไว้ ๑๔ นัย ด้วยสามารถแห่งคำว่า " สงฺคโห อสงฺคโห " เป็นต้น คำนั้นแม้ทั้งหมดท่านตั้งไว้ ๒ อย่าง คือ โดยอุทเทส และนิทเทส. อุทเทส แห่งธรรมมีขันธ์ เป็นต้น ชื่อว่า มาติกา.

มาติกานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ ๕ อย่าง คือ นยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา และพาหิรมาติกา. บรรดามาติกาเหล่านั้น มาติกาที่ทรงตั้งไว้ ๑๔ บท มีคำว่า " สงฺคโห อสงฺคโห ฯเปฯ วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ " นี้ ชื่อว่า นยมาติกา. จริงอยู่ มาติกานี้พระองค์ตรัสเรียกว่า นยมาติกา ก็เพราะความที่มาติกานี้ทรง ตั้งไว้เพื่อแสดงว่า " ธรรมทั้งหลายในธาตุกถาอันพระองค์ทรงจำแนก ไว้แล้ว โดยนัยอันสงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้นนี้ " ดังนี้. นยมาติกานี้ แม้จะเรียกว่า " มูลมาติกา" ก็ควร เพราะความเป็นมูลแห่งบททั้งหลายเหล่า นั้น.

มาติกาที่ทรงตั้งไว้ ๑๒๕ บท ว่า " ปญฺจกฺขนฺธาฯ เปฯ มนสิกาโร " นี้ชื่อว่า อัพภันตรมาติกา.

จริงอยู่ มาติกานี้ ท่านเรียกว่า อัพภันตรมาติกา เพราะความที่มาติกา นี้พระองค์ไม่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า " ธรรมสังคณีแม้ทั้งหมด เป็นมาติกาใน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 7

ธาตุกถา " ดังนี้ แต่ทรงแสดงธรรมมีขันธ์เป็นต้น ที่ควรจำแนกโดยนัยมี การสงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้นไว้โดยย่อ แล้วตั้งไว้ในภายในแห่งธาตุกถานั้น แหละ. ข้อนี้ แม้จะกล่าวว่า " เป็นปกิณณกมาติกา " ดังนี้ก็ได้ เพราะ ความที่บททั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นมิได้สงเคราะห์ไว้ในธัมมสังคณีมาติกา.

มาติกาที่ทรงตั้งไว้ด้วยบททั้งหลาย ๔ บท คือ " ตีหิ สงฺคโห, ตีหิ อสงฺคโห, จตูหิ สมฺปโยโค, จตูหิ วิปฺปโยโค " นี้ชื่อว่า นยมุขมาติกา.

จริงอยู่ ธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ และสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบไว้ในธรรมทั้งหลายมีปัญจขันธ์เป็นต้นแม้ทั้งปวง และในธรรมแห่งมาติกาทั้งหลายมีกุสลติกะเป็นต้น ด้วยบทแห่งขันธ์ อายตนะ และธาตุทั้ง ๓ นั่นแหละ. โดยทำนองเดียวกัน สัมปโยคะก็ดี วิปปโยคะก็ดี ก็ทรงประกอบไว้ด้วยอรูปขันธ์ทั้ง ๔. บททั้ง ๔ เหล่านี้ ทรงเรียกว่านยมุขมาติกา เพราะความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่ทรงตั้งไว้เพื่อแสดงถึงหัวข้อ แห่งนัยทั้งหลายมีธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้นเหล่านี้.

มาติกาที่ทรงตั้งไว้ด้วยบททั้ง ๒ คือ " สภาคะและวิสภาคะ " ชื่อว่า ลักขณมาติกา. จริงอยู่ นัยแห่งธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบไว้ด้วยธรรมทั้งหลายอันมีลักษณะที่เสมอกัน นัยแห่งธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ทรงประกอบไว้ด้วยธรรมทั้งหลายที่มีลักษณะไม่เสมอกัน นัยแห่งสัมปโยคะ และวิปปโยคะก็เหมือนกัน. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกว่าลักขณมาติกา เพราะความทีบทเหล่านั้นพระองค์ทรงตั้งไว้เพื่อแสดง ลักษณะแห่งธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งลักษณะที่เป็น สภาคะและวิสภาคะ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 8

มาติกาที่ทรงย่อตั้งบทติกะ ๖๖ และบททุกะ ๒๐๐ ว่า " ธัมมสังคณี แม้ทั้งหมดเป็นมาติกาในธาตุกถา " นี้ ชื่อว่า พาหิรมาติกา.

จริงอยู่ มาติกานี้ เรียกว่า " พาหิรมาติกา " ก็เพราะความที่มาติกา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ภายในธาตุกถาอย่างนี้ว่า " ปญฺจกฺจนฺธา ฯลฯ มนสิกาโร " ดังนี้ ทรงตั้งไว้ภายนอกจากมาติกาแห่งธาตุกถา อย่างนี้ว่า " ธัมมสังคณีแม้ทั้งปวงเป็นมาติกา " ดังนี้.

บัณฑิต ทราบความที่มาติกาเป็นภาวะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ ๕ อย่างด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ ๔ อย่าง ในคำทั้งหลาย มีคำว่า " สงฺคโห อสงฺคโห " เป็นต้น ด้วยสามารถ แห่งชาติ สัญชาติ กิริยา คณนสังคหะก่อน.

บรรดาสังคหะ. (คือธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้) เหล่านั้น การ สงเคราะห์ที่กล่าวว่า " พวกกษัตริย์ทั้งปวงจงมา พวกพราหมณ์ทั้งปวง พวกแพศย์ทั้งปวง พวกผู้บริสุทธิ์ทั้งปวงจงมา ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมาวาจาใด สัมมากัมมันตะใด สัมมาอาชีวะใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์เข้าในศีลขันธ์ " นี้ ชื่อว่า ชาติสังคหะ (สงเคราะห์ที่เข้ากันได้โดยชาติ). เพราะว่าในอธิการนี้ ธรรมแม้ทั้งปวงถึงซึ่ง การสงเคราะห์เป็นอันเดียวกันโดยชาติ ราวกะในฐานะที่ท่านกล่าวแล้วว่า " ชน ทั้งหลายผู้มีชาติเดียวกันจงมา " ดังนี้.

การสงเคราะห์ที่กล่าวว่า " ชาวโกศลทั้งปวงจงมา ชาวมคธทั้ง ปวงจงมา ชาวอารุกัจฉกะทั้งปวงจงมา ดุก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ธรรม เหล่านี้ คือ สัมมาวายามะใด สัมมาสติใด สัมมาสมาธิใด พระผู้ มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์เข้าในสมาธิขันธ์ " นี้ ชื่อว่า สัญชาติสังคหะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 9

เข้าโดยสัญชาติ). จริงอยู่ ในที่นี้ ชนทั้งหมดถึงแล้วซึ่งการสงเคราะห์เป็นอัน เดียวกันโดยสถานที่แห่งความเกิด คือ โดยโอกาสที่อาศัยอยู่ ราวกะในที่อัน ท่านกล่าวแล้วว่า " ชนทั้งหลายผู้เกี่ยวเนื่องกันโดยชาติ จงมา " ดังนี้.

การสงเคราะห์ที่กล่าวว่า " พวกทหารช้าง (นายควาญช้าง) จงมา พวกทหารม้าจงมา พวกทหารรถจงมา ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ธรรม เหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิใด สัมมาสังกัปปะใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง สงเคราะห์ไว้ในปัญญาขันธ์ " นี้ ชื่อว่า กิริยาสังคหะ (คือ การสงเคราะห์ เข้ากันได้โดยการกระทำ). เพราะชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดถึงแล้วซึ่งการสงเคราะห์ เข้าเป็นอันเดียวกันด้วยการกระทำของตน.

ถามว่า จักขวายตนะ ย่อมถึงซึ่งคณนา (คือ การนับ) ว่าเป็น ขันธ์ไหน?

ตอบว่า จักขวายตนะ ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเป็น รูปขันธ์. การ สงเคราะห์ที่กล่าวว่า " ก็ถ้าจักขวายตนะถึงซึ่งการนับว่าเป็นรูปขันธ์ไซร้ ดูก่อน ผู้เจริญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านพึงกล่าวว่าจักขวายตนะสงเคราะห์เข้าด้วยรูปขันธ์ " นี้ ชื่อว่า คณนสังคหะ (คือ การสงเคราะห์เข้าโดยการนับ หรือเรียกว่า การนับสงเคราะห์). คณนสงเคราะห์นี้ ท่านประสงค์เอาในที่นี้. บัณฑิตพึง ทราบธรรมที่นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมนั้น. พึง ทราบ บทว่า " สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ " เป็นต้น โดยการกำหนดซึ่งธรรม เหล่านั้น. พึงทราบสัมปโยคธรรม ด้วยสามารถแห่งความเป็น เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกวัตถุกะ เอการัมมณะ. พึงทราบวิปปโยคะ โดยเป็นธรรมเป็น ปฏิปักษ์ต่อสัมปโยคะนั้น. พึงทราบบทว่า " สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ " เป็นต้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 10

โดยการกำหนดซึ่งธรรมเหล่านั้น. พึงทราบบทว่า " สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ " เป็นต้น โดยการกำหนดซึ่งธรรมที่เกี่ยวข้องกันทั้ง ๒ บท. ก็ คำว่า " ปญฺจกฺขนฺธา " เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธวิภังค์ เป็นต้นนั่นแหละ. แต่ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ในที่นี้พึงทราบว่า ท่าน กล่าวแล้ว โดยการเกิดขึ้นของสัพพจิตตสาธารณะ ตามที่กล่าวแล้วด้วยสามารถ แห่งสันนิษฐานบท ดังนี้แล.

จบอรรถกถามาติกา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 11

๑. สังคหาสังคหาปทนิทเทส

อัพภันตรมาติกา

ขันธปทนิทเทส

[๒] รูปขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? รูป ขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๓] เวทนาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? เวทนาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔] สัญญาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สัญญาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๕] สังขารขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สังขารขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๖] วิญญาณขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? วิญญาณขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 12

[๗] รูปขันธ์และเวทนาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? รูปขันธ์และเวทนาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๘] รูปขันธ์และสัญญาขันธ์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๙] รูปขันธ์และสังขารขันธ์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๐] รูปขันธ์และวิญญาณขันธ์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ ไม่มีอายตนะ ธาตุอะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๑] รูปขันธ์ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? รูปขันธ์ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์ สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๒] รูปขันธ์ เวทนาขันธ์และสังขารขันธ์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๓] รูปขันธ์ เวทนาขันธ์และวิญญาณขันธ์ ฯลฯ สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 13

เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ ไม่มีอายตนะ ธาตุอะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้.

[๑๔] รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๕] รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ ไม่มีอายตนะ ธาตุอะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๖] รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และ วิญญาณขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๗] ขันธ์ ๕ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ขันธ์ ๕ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่ สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 14

อรรถกถาสังคหาสังคหปทนิทเทส

อรรถกถาขันธปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจะแสดงมาติกาตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ ด้วย สามารถแห่งปัญจขันธ์เป็นต้น ประกอบกับบท นยมาติกา ทั้งหลาย มีคำว่า "สงฺคโห อสงฺคโห" เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าเริ่มนิทเทสวาระโดยนัย เป็นต้นว่า " รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ " ดังนี้. บรรดามาติกาเหล่านั้น เพราะ นยมุขมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ว่า " ตีหิ สงฺคโห " (คือ การ สงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ คือ โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ) ตีหิ อสงฺคโห (คือ การสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมทั้ง ๓) ด้วยนยมาติกาว่า " สงฺคโห อสงฺคโห " เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อแสดงการนับสงเคราะห์รูปขันธ์เป็นต้น ท่านจึงยกบททั้ง ๓ คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุนั่นแหละขึ้นแสดงว่า " ธรรม เหล่านี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์เท่าไร ได้ด้วยอายตนะเท่าไร ได้ด้วยธาตุ เท่าไร " ดังนี้ บรรดาธรรมทั้งหลาย มีสัจจะ ๔ เป็นต้น แม้อย่างหนึ่งไม่เป็น ปรามัฏฐะ (คือไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส).

ก็ ลัขณมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้อย่างนี้ว่า " สภาโค วิสภาโค " ดังนี้ ฉะนั้น ในการวิสัชนาปัญหานี้ จึงตรัสว่า " รูปขันธ์นับ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์หนึ่ง " เป็นต้น เพราะว่า ธรรมมีขันธ์เป็นต้นเหล่านี้ เป็นสภาคะของลักขณมาติกานั้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า " เอเกน ขนฺเธน " ได้แก่ (นับสงเคราะห์ได้) ด้วยรูปขันธ์เท่านั้น. จริงอยู่. รูปอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ย่อมถึงการนับสงเคราะห์ว่าเป็นรูปอย่างเดียว เพราะความเป็น ธรรมเสมอกับรูปขันธ์. เพราะฉะนั้น รูปท่านจึงสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์นั่นแหละ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 15

กำหนดเอาด้วยรูปขันธ์นั่นแหละ. สองบทว่า " เอกาทสหิ อายตเนหิ " ได้ แก่ เว้นจากมนายตนะ. เพราะรูปขันธ์แม้ทั้งปวงเป็นอายตนะ ๑๐ และเป็น ส่วนหนึ่งแห่งธัมมายตนะ ฉะนั้น รูปขันธ์นั้น ท่านจึงนับเอาแล้ว กำหนด แล้วด้วยอายตนะ ๑๑. สองบทว่า " เอกาทสหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ด้วยธาตุ ๑๑ เว้นจากวิญญาณธาตุ ๗. ด้วยว่า ชื่อว่ารูปที่มิได้นับเนื่องในธาตุเหล่านั้นย่อม ไม่มี. ในนิทเทสแห่งอสังคหนัย ทรงทำคำถามโดยย่อไว้ว่า " กตีหิ อสงฺคหิโต " ดังนี้ แต่เพราะในการวิสัชนาแห่งปัญญานั้น อรูปขันธ์ ๔ มนายตนะ ๑ วิญญาณธาตุ ๗ เป็นวิสภาคะของรูปขันธ์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบบท สงฺคโห อสงฺคโห ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.

อนึ่ง ในคำว่า " รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ " เป็นต้น ในขันธนิทเทสนี้ ทรงแสงคำปุจฉา ๕ และวิสัชนา ๕ ในสังคหนัยอันเป็น เอกมูลไว้โดยย่อก่อน. ในอสังคหนัย ก็แสดงคำปุจฉา ๕ และคำวิสัชนา ๕ โดยย่อ. แม้ในมูลทั้งหลายมี ทุกมูล เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบคำปุจฉาและ คำวิสัชนาทั้งหลายโดยอุบายนี้. ก็ในนิทเทสนี้ ทรงแสดงทุกะติกะและจตุกกมูล ไว้ในรูปักขันธมูลนั่นแหละ. แต่ในปัญจกมูลทรงทำปุจฉาวิสัชนาไว้ ๒ อย่าง คือ โดย เภทะ (หมายถึงการแยก) อย่างนี้ว่า " รูปกฺขนฺโธ จฯ เปฯ วิญฺญาณกฺขนฺโธ จ " และโดย อเภทะ (คือ การไม่แยก) อย่างนี้ว่า " ปญฺจกฺขนฺธา กตีหิ ขนฺเธหิ " ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบนัยแห่งพระบาลีดัง พรรณนามาฉะนี้.

จบอรรถกถาขันธปทนิทเทสแห่งอัพภันตรมาติกา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 16

อายตนปทนิทเทส

[๑๘] จักขวายตนะ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? จักขวายตนะสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๙] โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันทายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตะ ๑ ธาตุ ๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๐] มนายตนะ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๒๑] ธัมมายตนะ ฯลฯ ยกเว้น นิพพาน โดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตน ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๒] จักขวายตนะและโสตายตนะ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๒๓] จักขวายตนะและฆานายตนะ จักขวายตนะและชิวหายตนะ จักขวายตนะและกายายตนะ จักขวายตนะและรูปายตนะ จักขวายตนะและสัททายตนะ จักขวายตนะและคันธายตนะ จักขวายตนะและรสายตนะ จักขวายตนะและโผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ สงเคราะห์

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 17

ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๒๔] จักขวายตนะและมนายตนะ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๒ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๒๕] จักขวายตนะและธัมมายตนะ ฯลฯ ยกเวนนิพพานโดยความ เป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๒๖] อายตนะ ๑๒ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? อายตนะ ๑๒ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

อรรถกถาอายตนปทนิทเทสเป็นต้น

ในนิทเทสทั้งหลาย มีอายตนปทนิทเทสเป็นต้น พึงทราบ อายตนปทนิทเทส ก่อน. คำว่า " จกฺขฺวายตนํ เอเกน ขนฺเธน " ความว่า จักขวายตนะ พึงทราบว่า นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์ ๑ ด้วยจักขวายตนะ ๑ ด้วยจักขุธาตุ ๑. แม้ในโสตายตนะเป็นต้นก็พึงทราบการนับสงเคราะห์ได้ และ สงเคราะห์ไม่ได้ โดยนัยนี้เทียว. แต่ในคำว่า " อสงฺขตํ ขนฺธโต เปตฺวา " นี้เพราะอสังขตะ คือ นิพพาน ชื่อว่า ธัมมายตนะ ก็ธัมมายตนะ คือ นิพพาน นั้น ไม่ถึงซึ่งการนับสงเคราะห์ว่าเป็นขันธ์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า " ขนฺธโต

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 18

เปตฺวา " ยกเว้นโดยความเป็นขันธ์ ดังนี้. สองบทว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ (สงเคราะห์ได้) ด้วยขันธ์สี่คือ รูป เวทนา สัญญา และสังขารขันธ์. เพราะ ว่าธัมมายตนะเว้นนิพพานแล้ว นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ทั้งหลาย มีรูปขันธ์เป็น ต้น เหล่านี้. ส่วนอายตนะนั้น เว้นธัมมายตนะ และธัมมธาตุแล้ว นับสงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยวิญญาณขันธ์ อายตนะและธาตุที่เหลือ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสไว้ว่า " ธัมมายตนะ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ (คือ วิญญาณขันธ์) ด้วย อายตนะ ๑๑ (คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐ และมนายตนะ ๑) ด้วยธาตุ ๑๗ (คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ และวิญญาณธาตุ ๗) " ดังนี้. ก็นัยทั้งหลายที่มีรูปขันธ์ เป็นมูลในหนหลัง ฉันใด พึงทราบนัยทั้งหลาย ที่มีจักขวายตนะเป็นมูลแม้ ในที่นี้ ฉันนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงบาลีทุกะ (คือ เภทสุทธะ และเภทเอกมูลาทิ) พอควรแล้ว จึงทำคำปุจฉาวิสัชนาโดย อเภทะ ว่า " ทฺวาทสายตนานิ " ดังนี้ แม้ในธาตุนิทเทสก็นัยนี้นั่นแหละ.

จบอรรถกถาอายตนปทนิทเทสเป็นต้น

ธาตุนิทเทส

[๒๗] จักขุธาตุ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? จักขุธาตุ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 19

[๒๘] โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ๑ ธาตุ ๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๙] ธัมมธาตุฯ ลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สง เคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๓๐] จักขุธาตุและโสตธาตุฯ ลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๓๑] จักขุธาตุและฆานธาตุ จักขุธาตุและชิวหาธาตุ จักขุ- ธาตุและกายธาตุ จักขุธาตุและรูปธาตุ จักขุธาตุและสัททธาตุ จักขุ- ธาตุและคันธธาตุ จักขุธาตุและรสธาตุ จักขุธาตุและโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๓๒] จักขุธาตุและจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๒ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๓๓] จักขุธาตุและโสตวิญญาณธาตุ จักขุธาตุและฆานวิญญาณธาตุ จักขุธาตุและชิวหาวิญญาณธาตุ จักขุธาตุและกายวิญญาณธาตุ จักขุธาตุและมโนธาตุ จักขุธาตุและมโนวิญญาณธาตุ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 20

ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๓๔] จักขุธาตุและธัมมธาตุ ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็น ขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑. ธาตุ ๑๖.

[๓๕] ธาตุ ๑๘ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธาตุ ๑๘ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

สัจจนิทเทส

[๓๖] ทุกขสัจ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ทุกขสัจ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่ สงเคราะห์ไม่ได้.

[๓๗] สมุทยสัจ มัคคสัจ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๓๘] นิโรธสัจ ฯลฯ ไม่มีขันธ์อะไรที่สงเคราะห์ได้ สงเคราะห์ได้ ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๓๙] ทุกขสัจและสมุทยสัจ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 21

[๔๐] ทุกขสัจและมัคคสัจ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๑] ทุกขสัจและนิโรธสัจ ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๒] ทุกขสัจ สมุทยสัจ และมัคคสัจ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๓] ทุกขสัจ สมุทยสัจ และนิโรธสัจ ยกเว้นนิพพานโดย ความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๔] ทุกขสัจ สมุทยสัจ มัคคสัจ และนิโรธสัจ ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๘๕] สัจจะ ๔ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สัจจะ ๔ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มี ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 22

อรรถกถาสัจจนิทเทส

ใน สัจจนิทเทส ทุกะติกะจตุกกะแม้ทั้งปวง ทรงแสดงไว้ชัดแล้วใน พระบาลี. แต่เพราะคำวิสัชนา แม้ในมัคคสัจจะในทุกะติกะทั้งหลายเช่นกับ สมุทยสัจจะนั่นแหละ ฉะนั้นจึงตรัสมัคคสัจจะนั้น ในลำดับแห่งสมุทยสัจจะ.

จบอรรถกถาสัจจนิทเทส

อินทริยนิทเทส

[๔๖] จักขุนทรีย์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? จักขุนทรีย์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๗] โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๘] มนินทรีย์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 23

[๔๙] ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๕๐] สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๕๑] จักขุนทรีย์และโสตินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑. ธาตุ ๑๖.

[๕๒] จักขุนทรีย์และฆานินทรีย์ จักขุนทรีย์และชิวหินทรีย์ จักขุนทรีย์และกายินทรีย์ จักขุนทรีย์ละอิตถินทรีย์ จักขุนทรีย์ และปุริสินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๕๓] จักขุนทรีย์และมนินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๕๔] จักขุนทรีย์และชีวิตินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 24

[๕๕] จักขุนทรีย์และสุขินทรีย์ จักขุนทรีย์และทุกขินทรีย์ จักขุนทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ จักขุนทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ จักขุนทรีย์และอุเปกขินทรีย์ จักขุนทรีย์และสัทธินทรีย์ จักขุนทรีและ วิริยินทรีย์ จักขุนทรีย์และสตินทรีย์ จักขุนทรีย์และสมาธินทรีย์ จักขุนทรีย์และปัญญินทรีย์ จักขุนทรีย์และอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ จักขุนทรีย์และอัญญินทรีย์ จักขุนทรีย์และอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๕๖] อินทรีย์ ๒๒ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? อินทรีย์ ๒๒ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๗ ธาตุ ๑๓. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๕ ธาตุ ๕.

อรรถกถาอินทริยนิทเทส

ใน นิทเทสแห่งอินทรีย์ คำว่า " ชีวิตินฺทฺริยฺ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ " ความว่า รูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์ อรูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ ได้ด้วยสังขารขันธ์. พึงทราบอินทรีย์ที่เหลือโดยทำนองแห่งนัยที่กล่าวแล้วนั่น แหละ. ส่วนการกำหนดพระบาลีในนิทเทสนี้เช่นกับอายตนนิทเทส และธาตุ นิทเทสนั่นแล.

จบอรรถกถาอินทริยนิทเทส

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 25

ปฏิจจสมุปปาทนิทเทส

[๕๗] อวิชชา ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๕๘] สังขาร เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๕๙] วิญญาณ เพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๖๐] นามรูป เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๖๑] สฬายตนะ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๒ อายตนะ ๖ ธาตุ ๑๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๖ ธาตุ ๖.

[๖๒] ผัสสะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนา เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย ตัณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 26

[๖๓] อุปปัตติภพ กามภพ สัญญาภพ ปัญจโวการภพ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๖๔] รูปภพ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๕ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์อะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย อายตนะ ๗ ธาตุ ๑๐.

[๖๕] อรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๖๖] อสัญญาภพ เอกโวการภพ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๖๗] ชาติ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒, ชรา ฯลฯ สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๒, มรณะ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตน ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๖๘] โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 27

อิทธิบาทนิทเทส

[๖๙] อิทธิบาท ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

ฌานนิทเทส

[๗๐] ฌาน ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

อัปปมัญญานิทเทส เป็นต้น

[๗๑] อัปปมัญญา ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา อธิโมกข์ มนสิการ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๗๒] จิต ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 28

พาหิรมาติกา

ติกมาติกานิทเทส

[๗๓] กุศลธรรม อกุศลธรรม สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? กุศลธรรม อกุศลธรรม สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑. ธาตุ ๑๖.

[๗๔] อัพยากตธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุอะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๗๕] สุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๗๖] อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑.

[๗๗] วิปากธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๗๘] วิปากธัมมธรรม สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 29

[๗๙] เนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความ เป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๓. สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๘๐] อุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๘๑] อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๗ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๕ ธาตุ ๑๐.

[๘๒] อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๘๓] อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๘๔] สวิตักกสวิจารธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๘๕] อวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 30

[๘๖] อวิตักกาวิจารธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๘๗] สุขสหคตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๘๘] อุเปกขาสหคตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑.

[๘๙] ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม อาจยคามิธรรม อปจยคามิธรรม เสกขธรรม อเสกขธรรม มหัคคตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๙๐] เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพธรรม เนวทัสสนนภาวนา ปหาตัพพเหตุกธรรม เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เนวเสกขานาเสกขธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๙๑] ปริตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 31

[๙๒] อัปปมาณธรรม ปณีตธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดย ความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ๑๐

[๙๓] ปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๙๔] มหัคคตารัมมณธรรม อัปปมาณารัมมณธรรม หีน ธรรม มิจฉัตตนิยตธรรม สัมมัตตนิยตธรรม มัคคารัมมณธรรม มัคคเหตุกธรรม มัคคาธิปติธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๙๕] มัชฌิมธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๙๖] อนิยตธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้

[๙๗] อุปปันนธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๙๘] อนุปปันนธรรมห ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๗ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๕ ธาตุ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 32

[๙๙] อุปปาทิธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่ สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๐๐] อตีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุปปันนธรรม อัชฌัตต ธรรม อัชฌัตตพหิทธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๐๑] พหิทธธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. ส่งเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๐๒] อตีตารัมมณธรรม อนาคตารัมมณธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๐๓] ปัจจุปปันนารัมมณธรรม อัชฌัตตารัมมณธรรม พหิทธารัมมณธรรม อัชฌัตตพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๑๐๔] สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๐๕] อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๙ ธาตุ ๙. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๓ ธาตุ ๙.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 33

[๑๐๖] อนิทัสสนาปปฏิฆธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความ เป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑๐ธาตุ ๑๐.

ทุกมาติกานิทเทส

[๑๐๗] เหตุธรรม เหตุสเหตุกธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๐๘] นเหตุธรรม อเหตุกธรรม เหตุวิปปยุตตธรรม นเหตุ- อเหตุกธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๐๙] สเหตุกธรรม เหตุสัมปยุตตธรรม สเหตุกนเหตุธรรม เหตุสัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุสเหตุกธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๑๐] สัปปัจจยธรรม สังขตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๑๑] อัปปัจจยธรรม อสังขตธรรม ฯลฯ ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่ สงเคราะห์ได้ สงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 34

[๑๑๒] สนิทัสสนธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๑๓] อนิทัสสนธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๑๔] สัปปฏิฆธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑๐. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๑๑๕] อัปปฏิฆธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๑๑๖] รูปีธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๑๗] อรูปีธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๑๑๘] โลกิยธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุอะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 35

[๑๑๙] โลกุตตรธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๒๐] เกนจิวิญเญยยธรรม เกนจินวิญเญยยธรรม ฯลฯ ยก เว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๒๑] อาสวธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๒๒] โนอาสวธรรม อาสววิปปยุตตธรรม ฯลฯ ยกเว้น นิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตน ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๒๓] สาสวธรรม สาสวโนอาสวธรรม อาสววิปปยุตตสาสวธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๒๔] อนาสวธรรม อาสววิปปยุตตอนาสวธรรม ฯลฯ ยก เว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 36

สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๒๕] อาสวสัมปยุตตธรรม อาสวสัมปยุตตโนอาสวธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๒๖] สัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสปรามัฏฐธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่า ไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๒๗] โนปรามาสธรรม ปรามาสวิปปยุตตธรรม ฯลฯ ยก เว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๒๘] ปรามัฏฐธรรม ปรามัฏฐโนปรามาสธรรม ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๒๙] อปรามัฏฐธรรม ปรามาสวิปปยุตตธรรม อปรามัฏฐ- ธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 37

[๑๓๐] ปรามาสสัมปยุตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๓๑] สารัมมณธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๑๓๒] อนารัมมณธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๓๓] จิตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๑๓๔] โนจิตตธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๓๕] เจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๓๖] อุเจตสิกธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ ไม่มีอายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 38

[๑๓๗] จิตตวิปปยุตตธรรม จิตตวิสังสัฏฐธรรม ฯลฯ ยกเว้น นิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๓๘] จิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๖ ธาตุ ๖. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๖ ธาตุ ๑๒.

[๑๓๙] โนจิตตสมุฏฐานธรรม โนจิตตสหภูธรรม โนจิตตานุปริวัตติธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่า ไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ ไม่มีอายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๔๐] จิตตสหภูธรรม จิตตานุปริวัตติธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๔๑] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๔๒] โนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โนจิตตสังสัฏฐสมุฏ- ฐานสหภูธรรม โนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม ฯลฯ ยกเว้น นิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ ไม่มีอายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 39

[๑๔๓] อัชฌัตติกธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๖ ธาตุ ๑๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตมะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๖ ธาตุ ๖.

[๑๔๔] พาหิรธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๖ ธาตุ ๖. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๖ ธาตุ ๑๒.

[๑๔๕] อุปาทาธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๑๔๖] โนอุปาทาธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๓ ธาตุ ๙. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๙ ธาตุ ๙.

[๑๔๗] อุปาทินนธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๔๘] อนุปาทินนธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๗ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๕ ธาตุ ๑๐.

[๑๔๙] อุปาทานธรรม กิเลสธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐธรรม กิเลสสัมปยุตตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 40

อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๕๐] โนกิเลสธรรม อสังกิลิฏฐธรรม กิเลสวิปปยุตตธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๕๑] สังกิเลสิกธรรม สังกิเลสิกโนกิเลสธรรม กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๕๒] อสังกิเลสิกธรรม กิเลสวิปยุตตอสังกิเลสิกธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๕๓] สังกิลิฏฐธรรม กิเลสสัมปยุตตธรรม สังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๕๔] ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรมฯสฯ สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 41

[๑๕๕] นทัสสนปหาตัพพธรรม นภาวนาปหาตัพพธรรม นทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม นภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุอะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๕๖] สวิตักกธรรม สวิจารธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๑๕๗] อวิตักกธรรม อวิจารธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดย ความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๑๕๘] สัปปีติกธรรม ปีติสหคตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๕๙] อัปปีติกธรรม นปีติสหคตธรรม นสุขสหคตธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุอะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๖๐] สุขสหคตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 42

[๑๖๑] อุเปกขาสหคตธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑.

[๑๖๒] นอุเปกขาสหคตธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็น ขันธ์แล้วสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๑๖๓] กามาวจรธรรม ปริยาปันนธรรม สอุตตรธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๑๖๔] นกามาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม อนุตตรธรรม ฯลฯ ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๖๕] รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม นิยยานิกรรม นิยตธรรม สรณธรรม ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๖๖] นรูปาวจรธรรม นอรูปาวจรธรรม อนิยยานิกธรรม อนิยตธรรม อรณธรรม สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? อรณธรรม ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

จบสังคหาสังคหปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 43

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทนิทเทส

ใน ปฏิจจสมุปปาทนิทเทส๑ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง เริ่มคำ ปุจฉาว่า " อวิชฺชา กตีหิ ขนฺเธหิ " แต่ทรงแสดงคำวิสัชนาอย่างนี้เทียวว่า " อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เอเกน ขนฺเธน " เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า " สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณํ " อธิบายว่า เมื่อปฏิสนธิเป็นไปแล้ว วิปากวิญญาณ แม้ทั้งปวงก็เป็นไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า " สตฺตหิ ธาตูหิ สงฺคหิตํ " แม้ในนามรูป ก็พึงทราบด้วยสามารถแห่งความเป็นไปของปฏิสนธิ นั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น พระองค์ทรงรวบรวมแม้ซึ่งสัททายตนะ แล้วแสดง การนับสงเคราะห์ไว้ด้วยอายตนะ ๑๑ ในปฏิจจสมุปปาทนิทเทสนี้.

พึงทราบขันธเภทะ (คือ การแยกขันธ์) ในธรรมทั้งหลาย มีผัสสะ เป็นต้น. จริงอยู่ ผัสสะ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์อย่างหนึ่ง เวทนาขันธ์ก็ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์อย่างหนึ่ง. สำหรับตัณหา อุปาทาน กรรมภพ นับ สงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์เท่านั้น. อนึ่ง บทแห่งภพ ทรงจำแนก ๑๑ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกัมมภพเป็นต้นไว้ในนิทเทสนี้. บรรดาภพเหล่านั้น กรรมภพ ทรงแสดงรวมกับภพเหล่านั้น เพราะความเป็นคำวิสัชนาเช่นกับผัสสะเป็นต้น. อุปปัตติภพ กามภพ สัญญาภพ ปัญจโวการภพทั้งหลาย ทรงแสดงรวมกัน เพราะความเป็นคำวิสัชนาเช่นกับเป็นของกันและกัน. แต่เพราะสภาวธรรมอัน กรรมเข้าไปยึดถือไว้โดยความเป็นผลเทียม ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " เอกาทสหายตเนหิ สตฺตรสหิ ธาตูหิ " จริงอยู่ สัททายตนะ อันกรรม


๑. บาลีข้อ ๕๗ - ๖๘

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 44

มิได้ยึดไว้โดยความเป็นผล (คือ มิใช่เป็นกัมมชรูป) สัททายตนะนั้น พระองค์ จึงไม่ได้ทรงถือเอาในที่นี้.

ใน รูปภวนิทเทส สองบทว่า " ปญฺจหิ อายตเนหิ " ได้แก่ ด้วยจัก ขวายตนะ โสตายตนะ มนายตนะ รูปายตนะ และธัมมายตนะ.

สองบทว่า " อฏฺหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ธาตุ ๘ คือจักขุธาตุ โสตธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ รูปธาตุ ธัมมธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ. ภพทั้ง ๓ แม้มีอรูปภพเป็นต้น แสดงรวมกัน เพราะความเป็นคำวิสัชนา ทำนองเดียวกัน. อสัญญีภพ เอกโวการภพ ก็ฉันนั้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " ทฺวีหิ อายตเนหิ " ได้แก่ อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะและธัมมายตนะ. แม้ในธาตุทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ.

อนึ่งในนิทเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกรูปายตนะขึ้นแสดง เพราะความที่รูปายตนะแห่งพรหมนั้นเป็นอารมณ์แก่พรหมทั้งหลายที่เหลือผู้อยู่ ในพื้นพิภพเดียวกัน เพราะการเกิดขึ้นแห่งจักขุ.

คำว่า " ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ รูปชาติ นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูป ขันธ์ อรูปชาติ นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์. แม้ในชราและมรณะ ก็นัยนี้. คำว่า " เอเกน ขนฺเธน " แม้ในธรรมมีโสกะเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบขันธ์ ที่แปลกกันอย่างนี้ว่า

โสกทุกขโทมนัสสะ นับสงเคราะห์ได้ด้วยเวทนาขันธ์

ปริเทวะ นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์

อุปายาสะเป็นต้น นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์.

คำว่า " อิทฺธิปาโท ทฺวีหิ ขนฺเธหิ " เป็นต้น ได้แก่ นับสงเคราะห์ ได้ด้วยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ด้วยมนายตนะ ธัมมายตนะ ด้วยธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 45

คำว่า " ฌานํ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ด้วยเวทนาขันธ์ และสังขาร ขันธ์. ธรรมทั้งหลายมี อัปปมัญญา เป็นต้น อธิบายไว้รวมกัน เพราะ ความเป็นคำวิสัชนาทำนองเดียวกัน. แต่ จิต แม้ตั้งไว้ในลำดับแห่งเจตนา ก็ ทรงแสดงในภายหลัง เพราะมีคำวิสัชนาไม่เหมือนกัน. บรรดาบททั้งหลายมี อัปปมัญญาเป็นต้นเหล่านั้น คำว่า " เอเกน ขนฺเธน " ได้แก่ เวทนานับ สงเคราะห์ได้ด้วยเวทนาขันธ์ สัญญานับสงเคราะห์ได้ด้วยสัญญาขันธ์ ธรรมที่ เหลือนับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบขันธ์ที่แปลกกัน ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสังคหาสังคหบทในอัพภันตรมาติกา อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง พาหิรมาติกา๑ จึงเริ่มคำว่า " กุสลา ธมฺม" เป็นอาทิ. บรรดามาติกาเหล่านั้น ในเวทนาติกะ๒ คำว่า "ตีหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ด้วยกายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ. คำว่า "สตฺตหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ด้วยธาตุ ๗ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ. ใน วิปากติกะ๓ คำว่า "อฏฺหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ด้วยธาตุทั้ง ๗ เหล่านั้นนั่นแหละ กับด้วยกายวิญญาณธาตุ๑. แต่วิปากธัมมธัมมา ถือเอารวมกัน เพราะคำวิสัชนา เช่นเดียวกันกับด้วยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะทั้งหลาย. ก็แลนิทเทสเหล่านั้นแสดงไว้ ฉันใด ในบทติกะและทุกะทั้งปวง (ในพาหิรมาติกานี้) ก็ฉันนั้น คือว่า บท ใดๆ เป็นคำวิสัชนาร่วมกับบทใดๆ บทนั้นๆ แม้ไม่เป็นไปตามลำดับ ท่าน ก็ถือเอาคำวิสัชนาพร้อมกับด้วยบทนั้นๆ. สังคหาสังคหนัยในที่นี้ พึงทราบ โดยทำนองที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสังคหาสังคหปทนิทเทส


๑. บาลีข้อ ๗๓ - ๗๔ ๒. ข้อ ๗๕ - ๗๖ ๓. ข้อ ๗๗ - ๗๙

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 46

๒. สังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

[๑๖๗] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขายตนะ ฯลฯ โผฏ- ฐัพพายตนะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขุธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๑๖๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กานวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดย อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๒.

[๑๖๙] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ โดย ขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนะสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๑๗๐] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยอสัญญาภพ เอกโวการภพ โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนะสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๓ ธาตุ ๙.

[๑๗๑] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยปริเทวะ และ สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนะสังคหะ ธาตุ สังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 47

[๑๗๒] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยอนิทัสสนสัปฏิฆธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๑๗๓] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยสนิทัสสนธรรม โดย ขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๑๗๔] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยสัปปฏิฆธรรม อุปาทาธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรม เหล่านั้นสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๗ อินทรีย์ ๗ อสัญญาภพ ๑ เอกโวการภพ ๑ ปริเทวะ ๑ สนิทัสสนธรรม ๑ สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ๑ อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ๑ สัปปฏิฆธรรม ๑ อุปาทาธรรม ๑ (รวม ๔๒ บท) ด้วยประการฉะนี้. จบสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

อรรถกถาสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก สังคหิเตน อสังหิตบท พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มคำว่า "จกฺขฺวายตเนน" เป็นอาทิ. ในบทนี้ พึงทราบลักษณะ ดังนี้ ก็ในวาระนี้บทใด (หมายถึงรูป๒๗เว้นจักขายตนะ) นับสงเคราะห์ได้ด้วย บทแห่งขันธ์ แต่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยบทแห่งอายตนะและธาตุ หรือว่า บทใด (วิญญาณธาตุ ๗ เว้นจักขุวิญญาณธาตุ) นับสงเคราะห์ได้ด้วยบทแห่ง

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 48

ขันธ์และอายตนะ แต่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยบทแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงทำปุจฉาและวิสัชนาซึ่งบทอันสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์แห่งบทนั้น ก็บท (ที่สงเคราะห์ไม่ได้) นั้น ย่อมไม่ประกอบในธรรมทั้งหลาย มีรูปขันธ์เป็น ต้น. เพราะว่า รูปขันธ์สงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์เท่านั้น แต่รูปขันธ์นั้น ชื่อ ว่านับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะและธาตุ ๑๑ ทั้งกึ่งก็ไม่มี เวทนาเทียวนับ สงเคราะห์ได้ด้วยเวทนาขันธ์เท่านั้น แม้เวทนาขันธ์นั้นชื่อว่านับสงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยธัมมายตนะและธัมมธาตุทั้งหลาย ก็หาไม่. เมื่อไม่มี เพราะธรรม เหล่านี้สงเคราะห์ไม่ได้อย่างนี้ บททั้งหลายเหล่าอื่นนั้น และบทมีมนายตนะ ธัมมายตนะ เป็นต้น มีรูปอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงสงเคราะห์ไว้ ในวาระนี้. แต่บทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่งรูปอันไม่เจือด้วยรูป และซึ่งเอกเทศแห่งวิญญาณอันไม่เจือด้วยธรรมอื่น บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไว้ในนิทเทสแห่งบทนี้. ในที่สุด ทรงแสดงธรรมเหล่านั้น ไว้ในอุทานคาถาอย่างนี้ว่า

"ทสายตนา สตฺตรส ธาตุโย สตฺตินฺทฺริยา อสญฺาภโว เอกโวการภโว ปริเทโว สนิทสฺสนสปฺปฏิฆํ อนิทสฺสนํ ปุนเรว (๑) สปฺปฏิฆํ อุปฺปาทา".

แปลว่า นิทเทสนี้มี ๔๒ บท คือ

โอฬาริกายตนะ ๑๐ บท

ธาตุ ๑๗ บท (เว้นธัมนธาตุ)

รูปอินทรีย์ ๗ บท (คือ จักขุนทรีย์เป็นต้น จนถึงปุริสินทรีย์ เป็นที่สุด)


(๑) บางแห่งเป็น ปุนเทว

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 49

อสัญญีภพ ๑ บท

เอกโวการภพ ๑ บท

ปริเทวะ ๑ บท

นิทัสสนสัปปฏิฆะ ๑ บท

อนิทัสสนสัปปฏิฆะ ๑ บท

สนิทัสสนะ ๑ บท

สัปปฏิฆะ ๑ บท

อุปาทาธรรม ๑ บท.

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ การนับสงเคราะห์ธรรมที่ไก้ และไม่ ได้ด้วยสามารถแห่งบทเหล่านั้นนั่นแหละ. ก็ว่าด้วยอำนาจแห่งปัญญา ในวาระนี้ ทรงทำไว้ ๘ ปัญหา คือ

ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมธรรม ๒๐ ด้วยสามารถแห่ง อายตนะ (โอฬาริกายตนะ ๑๐) และธาตุ (โอฬาริกธาตุ ๑๐) ไว้ใน คำวิสัชนาทำนองเดียวกัน

ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมวิญญาณธาตุ ๗.

ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมอินทรีย์ ๗ (คือ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น)

ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมภพทั้ง ๒ และ

ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย ปริเทวบท และสนิทัสสนสัปปฏิฆบท.

ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย อนิทัสสนสัปปฏิฆาบท.

ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย สนิทัสสนบททั้งหลาย.

ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย สัปปฏิฆบททั้งหลาย และอุปาทาธรรม ทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 50

บรรดาปัญหาเหล่านั้น พึงทราบการจำแนกขันธ์เป็นต้น อย่างนี้ คือ

ในปัญหาที่ ๑ ก่อน. สองบทว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยอรูปขันธ์ ๔. สองบทว่า " ทฺวีหายตเนหิ " ได้แก่ สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยมนายตนะ ๑ กับบรรดาจักขวายตนะเป็นต้นอย่างละหนึ่งๆ. สองบทว่า " อฏฺหิ ธาตูหิ" ได้แก่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ธาตุ ๘ คือ ด้วยวิญญาณธาตุ ๗ กับบรรดาจักขุธาตุเป็นต้น อย่างละหนึ่งๆ ในนิทเทสนี้พึงทราบนัยดังนี้ว่า จักขวายตนะสงเคราะห์โดยความเป็นขันธ์ เป็นรูปขันธ์ได้ เมื่อจักขวายตนะนั้น สงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์แล้ว จักขวายตนะหนึ่งนั้นแหละก็สงเคราะห์ได้ด้วยการ สงเคราะห์เป็นอายตนะ ส่วนอายตนะ ๑๐ ที่เหลือนับสงเคราะห์ไม่ได้. แม้ โดยการสงเคราะห์ด้วยธาตุ จักขุธาตุหนึ่งนั่นแหละนับสงเคราะห์ด้วยธาตุได้. ธาตุ ๑๐ ที่เหลือนับสงเคราะห์ไม่ได้. เพราะเหตุนี้อายตนะ ๑๐ เหล่าใดนับ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจักขวายตนะนั้น อายตนะเหล่านั้นไม่นับสงเคราะห์ด้วย อายตนะ ๒ คือ จักขวายตนะ และมนายตนะ. ธาตุ ๑๐ แม้เหล่าใดนับ สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ธาตุเหล่านั้น ก็นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจักขุธาตุและ วิญญาณธาตุ ๗ ดังนี้. แม้ในรูปายตนะเป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ.

ในปัญหาที่ ๒ เพราะวิญญาณขันธ์ ท่านสงเคราะห์ได้ด้วยวิญญาณธาตุอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่าสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยมนายตนะ ไม่มี ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า " อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา " ดังนี้. ก็ในการวิสัชนาปัญหาที่ ๒ นี้ สองบทว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ด้วย ขันธ์ ๔ มีรูปเป็นต้น. สองบทว่า " เอกาทสหิ อายตเนหิ " ได้แก่ สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑๑ เว้นมนายตนะ. สองบทว่า " ทฺวาทสหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑๒ ที่เหลือ โดยนำวิญญาณธาตุ ๖ ออกตามสมควร. เพราะว่า

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 51

จักขุวิญญาณธาตุนับสงเคราะห์ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั่นแหละ ธาตุนอกนี้ สงเคราะห์ไม่ได้. แม้ในโสตวิญญาณธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในปัญหาที่ ๓ การวิสัชนาจักขุนทรีย์เป็นต้น เช่นเดียวกับจักขวายตนะ เป็นต้นนั่นแหละ. แต่ในอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ พึงทราบอายตนะ ๒ คือ มนายตนะ (๑) กับธัมมายตนะ และธาตุ ๘ คือ วิญญาณธาตุ ๗ กับธัมมธาตุ ๑ (นับสงเคราะห์เข้าด้วยอินทรีย์ทั้ง ๒ นี้ไม่ได้).

ในปัญหาที่ ๔ สองบทว่า " ตีหายตเนหิ " ได้แก่ (นับสงเคราะห์ ไม่ได้) ด้วยรูปายตนะ ธัมมายตนะ มนายตนะ. เพราะว่า ในภพเหล่า นั้น ว่าโดยอำนาจแห่งรูปายตนะและธัมมายตนะ ได้อายตนะ ๒ เท่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๓ คือ ด้วยอายตนะ ๒ (คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ) เหล่านั้นนั่นแหละ และมนายตนะ ๑. สองบทว่า " นวหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ด้วยธาตุ ๙ คือวิญญาณธาตุ ๗ กับรูปธาตุ และธัมมธาตุ.

ในปัญหาที่ ๕ สองบทว่า " ทฺวีหายตเนหิ " หมายเอาบทที่ ๑ (คือ ปริเทวธรรม) ซึ่งนับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยสัททายตนะ และมนายตนะ. หมายเอาบทที่ ๒ (คือ สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม) ซึ่งนับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย รูปายตนะ และมนายตนะ. แม้ธาตุทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า วิญญาณธาตุ ๗ กับอายตนะอย่างละ ๑ ในบรรดาอายตนะเหล่านั้นนั่นแหละ. ในปัญหาที่ ๖ สองบทว่า " ทสหายตเนหิ " ได้แก่ อายตนะ ๑๐ เว้นรูปายตนะและธัมมายตนะ. สองบทว่า " โสฬสหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ธาตุ ๑๖ เว้นรูปธาตุ และธัมมธาตุ. ถามว่า ข้อนี้มีอธิบายอย่างไร ตอบว่า ก็เพราะ โอฬาริกายตนะ ๙ ชื่อว่า อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เมื่ออายตนะเหล่านั้น


(๑) คำว่า มนายตนะ ในอรรถกถาเห็นจะตกไป เพราะว่า ท่านกล่าวว่า อายตนะ ๒ (คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ) แต่ในอรรถกถานี้ กล่าวไว้แต่เพียง ธัมมายตนะเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 52

สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์โดยขันธ์สงเคราะห์แล้ว อายตนะเหล่านั้นนั่นแหละ ก็ สงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปายตนะและธัมมายตนะ. แม้ว่าโดยธาตุสงเคราะห์ โอฬาริกธาตุ ๙ สงเคราะห์เข้ากันได้ แต่รูปธาตุและ ธัมมธาตุ นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ด้วยอายตนะนั้นนั่นแหละ. ด้วยเหตุนี้ อันนับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะเหล่านั้น ส่วนอายตนะเหล่านั้น พึงทราบ อายตนะ ๒ เหล่าใดว่านับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑๐ คือ โอฬาริกายตนะ ๙ และมนายตนะ ๑ เว้นรูปายตนะ และธัมมายตนะ. ธาตุทั้ง ๒ แม้เหล่าใด ที่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธาตุเหล่านั้น พึงทราบว่า นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๙ และวิญญาณธาตุ ๗ เว้นรูป ธาตุและธัมมธาตุ.

ในปัญหาที่ ๗ สองบทว่า " ทฺวีหายตเนหิ " ได้แก่ ด้วยอายตนะ ๒ คือ รูปายตนะและมนายตนะ. สองบทว่า " อฏฺหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ด้วยธาตุ ๘ คือ ด้วยรูปธาตุ และวิญญาณธาตุ ๗.

ในปัญหาที่ ๘ สองบทว่า " เอกาทสหายตเนหิ " หมายเอาสัปปฏิฆธรรมทั้งหลายเว้นธัมมายตนะ และหมายเอาอุปปาทาธรรมทั้งหลาย เว้น โผฎฐัพพายตนะ. แม้ในธาตุทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. ก็การประกอบเนื้อ ความในนิทเทสแห่งบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหน หลังนั้นแล.

จบอรรถกถาสังคหิเตนอสังคหิตบท

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 53

๓. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

[๑๗๕] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สมุทยสัจ มัคคสัจ โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้นยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๗๖] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยนิโรธสัจ โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๗๗] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยชีวิตินทรีย์ โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสงเคราะห์ ธรรมเหล่า นั้นยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๗๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขาร เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ผัสสะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย โดยขันธสังคหะ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 54

แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นยกเว้นนิพพาน โดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๗๙] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ชาติ ชรา มรณะ ฌาน โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม เหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๘๐] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยโสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา อธิโมกข์ มนสิการ เหตุธรรม เหตุสเหตุกธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๘๑] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอัปปัจจยธรรม อสังขตธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๘๒] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอาสวธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดย ความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 55

[๑๘๓] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสปรามัฏฐธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๘๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยเจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม เหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๘๕] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจิตตสหภูธรรม จิตตานุปริวัตติธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์อะไรๆ ที่สงเคราะห์ได้ สงเคราะห์ ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๘๖] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอุปาทานธรรม กิเลสธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐธรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรม เหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

จบอสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 56

อรรถกถาอสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก อสังคหิเตน สังคหิตบท พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในบทนี้ พึงทราบลักษณะ ดังนี้ ในวาระนี้ บทใดนับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้โดยขันธ์ แต่นับสงเคราะห์เข้ากัน ได้โดยบทแห่งอายตนะและธาตุทังหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาและ วิสัชนา การนับสงเคราะห์ซึ่งบทนั้นโดยขันธ์เป็นต้น. ก็แต่ บท (อสังคหิเตน สังคหิตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบในบททั้งหลายมีรูปขันธ์ วิญญาณขันธ์ และ จักขายตนะเป็นต้น. เพราะว่า รูปขันธ์นับสงเคราะห์นามขันธ์ ๔ โดยขันธ์ สงเคราะห์ไม่ได้. บรรดาธรรมเหล่านั้น แม้ธรรมหนึ่ง ชื่อว่า นับสงเคราะห์ ได้โดยอายตนะและธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมไม่มี. เมื่อมีคำถามว่า เวทนา เป็นต้น นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ มิใช่หรือ. ตอบว่า เวทนา เป็นต้นที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ แต่ไม่ใช่ธัมมายตนะ คือ รูป ขันธ์. เพราะทรงจำแนกธัมมายตนะสักว่าเป็นสุขุมรูปโดยความเป็นรูปขันธ์ ฉะนั้น ธรรมเหล่าใด ที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ ธรรมเหล่า นั้น มิได้ชื่อว่า นับสงเคราะห์เข้าได้โดยรูปขันธ์. ขันธ์ ๔ นอกนี้ ก็สงเคราะห์ เข้ากันไม่ได้ แม้กับวิญญาณขันธ์. บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมแม้หนึ่ง ชื่อ ว่านับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยอายตนะและธาตุเหล่านั้นก็ย่อมไม่มี. เพราะความ ที่บทเหล่านี้ นับสงเคราะห์เข้ากันอย่างนี้ไม่มีอยู่ บททั้งหลาย นอกนี้ก็ดี จึง นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ในวาระนี้. ส่วนบทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่ง ธัมมายตนะอันไม่เจือด้วยวิญญาณหรือโอฬาริกรูป บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในที่นี้. พึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 57

ตโย ขนฺธา ตถา สจฺจา อินฺทฺริยา ปน โสฬส ปทานิ ปจฺจยากาเร จุทฺทสูปริ จุทฺทส. สมตฺตึส ปทา โหนฺติ โคจฺฉเกสุ ทสสฺวถ ทุเว จูฬนฺตรทุภา อฏฺ โหนฺติ มหนฺตรา.

แปลว่า ขันธ์ ๓ (คือ เจตสิกขันธ์ ๓) สัจจะ ๓ (คือ สมุทัย นิโรธ มรรค) อินทรีย์ ๑๖ (คือ เว้นปสาทอินทรีย์ ๕ และมนินทรีย์) ปัจจยาการ ๑๔ (คือปฏิจจสมุปบาท ๑๔ เว้นวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ อุปปัตติภวะ ปริเทวะ) บทที่ต่อมาจากปัจจยาการอีก ๑๔ บท (คือ บทสติปัฎฐานเป็นต้น เว้นอิทธิบาท) บททั้งหลาย ๓๐ บทที่ในโคจฉกะสิบ จูฬันตรทุกะ ๒ บท (คือ อัปปัจจยบท และอสังขตบท) มหันตรทุกะ ๘ บท (รวม ๙๐ บท).

ก็บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญหาทั้งหมดไว้ ๑๒ บท โดยรวมบท ๖ บท ที่เป็นคำวิสัชนาเช่นเดียวกัน. บัณฑิตพึงทราบการจำแนก ขันธ์ในบทเหล่านั้นอย่างนี้. แต่ในอายตนะและธาตุทั้งหลาย มิได้มีความต่างกัน.

ในปัญหาที่ ๑ ก่อน. สองบทว่า " ตีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ (นับ สงเคราะห์ได้) ด้วยขันธ์ ๓ คือ รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ส่วน อายตนะและธาตุ พึงทราบการนับสงเคราะห์ได้ด้วยสามารถแห่งธัมมายตนะ และธัมมธาตุ. ในนิทเทสนี้ พึงทราบนัยดังนี้ว่า นิพพาน สุขุมรูป สัญญา สังขารขันธ์ ไม่นับสงเคราะห์โดยขันธ์สังคหะกับด้วยเวทนาขันธ์ แต่เป็นธรรม ที่นับสงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะ (คือ ธัมมายตนะ) และธาตุ (คือ ธัมมธาตุ). บรรดาธรรมเหล่านั้น นิพพานไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นขันธ์. ธรรมที่เหลือย่อม ถึงการสงเคราะห์ได้ ด้วยรูปขันธ์ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์. แม้นิพพานก็ ย่อมถึงซึ่งการนับสงเคราะห์ว่าเป็นอายตนะและธาตุนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 58

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " อสงฺขตํ ขนฺธโต เปตฺวา ตีหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา สงฺคหิตา" ดังนี้. แต่ในฝ่ายสัญญาขันธ์ ในที่นี้ นำสัญญาขันธ์ออกแล้ว พึงทราบว่าเป็นขันธ์ ๓ กับด้วยเวทนาขันธ์. ในสังขารขันธ์เป็นต้น นำสังขารขันธ์ออกแล้ว พึงทราบว่าเป็นขันธ์ ๓ ด้วย สามารถแห่งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์.

ในปัญหาที่ ๒ สองบทว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ขันธ์ ๔ เว้น วิญญาณขันธ์. ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้น นับสงเคราะห์ด้วยนิโรธ โดยเป็นขันธ์ สังคหะไม่ได้ แต่นับสงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะและธาตุ. ในปัญหาที่ ๓ คำว่า " ทฺวีหิ " ได้แก่ (นับสงเคราะห์ได้) ด้วย ขันธ์ ๒ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์. เพราะว่า เวทนา สัญญา วิญญาณขันธนับสงเคราะห์โดยเป็นขันธ์สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปอินทรีย์และอรูปอินทรีย์. แต่ ในธรรมเหล่านั้น เวทนา สัญญา นับสงเคราะห์ได้โดยการสงเคราะห์เป็น อายตนะและธาตุ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " เวทนา สญฺากฺ- ขนฺเธหิ " บัณฑิตพึงทราบ ความต่างกันแห่งขันธ์ในบททั้งปวง โดย อุบายนี้.

ก็เบื้องหน้าแต่นี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวชื่อของขันธ์ทั้งหลายพอสมควรเท่า นั้น.

ในปัญหาที่ ๔ สองบทว่า " ตีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ในอิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ พึงทราบการนับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ คือ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์. ในหมวด ๕ แห่งเวทนา พึงทราบ ด้วยรูป สัญญา สังขารขันธ์. ในสัทธินทรีย์เป็นต้น มีผัสสะ เป็นที่สุด พึงทราบว่าสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยรูป เวทนา สัญญาขันธ์. พึงทราบในเวทนา เช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแหละ. พึงทราบวินิจฉัยในตัณหา อุปาทาน กัมมภวะทั้งหลาย เช่นกับสังขารขันธ์.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 59

ในปัญหาที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัย ในชาติชรามรณะ เช่นกับชีวิตินทรีย์. เพราะนิพพาน สุขุมรูป สัญญา กับฌาน นับสงเคราะห์โดยเป็น ขันธ์สงเคราะห์ไม่ได้ แต่นับสงเคราะห์เข้าโดยเป็นอายตนะและธาตุได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาธรรมนั้น นับสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒ คือรูป ขันธ์และสัญญาขันธ์.

ในปัญหาที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัย ในหมวด ๓ แห่งโสกะเป็นต้นนับ สงเคราะห์กับเวทนาขันธ์ พึงทราบในอุปายาสะเป็นต้น เช่นกับสังขารขันธ์. พึงทราบในเวทนาอีกเช่นกับเวทนาขันธ์. พึงทราบในสัญญาเช่นกับสัญญา ขันธ์ พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาเป็นต้น เช่นกับสังขารขันธ์.

แม้ ในปัญหาที่ ๗ เป็นต้น ก็พึงทราบธรรมทีนับสงเคราะห์ได้ และ ไม่ได้ โดยอุบายนี้ แล.

จบอรรถกถาอสังคหิตปทนิทเทส

๔. สังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

[๑๘๗] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วย สมุทยสัจ มัคคสัจ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ. ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๑๘๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วย อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทริย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขิน-

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 60

ทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ผัสสะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ตัณหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กรรมภพเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ผัสสะ เจตน อธิโมกข์ มนสิการ เหตุธรรม เหตุสเหตุกธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม อาสวรรม สัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม อุปาทานธรรม กิเลสธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐ- ธรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไค้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ไดด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

จบสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

อรรถกถาสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก สังคหิเตน สังคหิตบท พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง เริ่มคำว่า "สมุทยสจฺเจน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น บทใด นับสงเคราะห์ ได้ด้วยสามารถแห่งขันธ์สงเคราะห์เป็นต้น โดยธรรมมีขันธ์เป็นต้น พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงทำปุจฉา วิสัชนา ซึ่งการสงเคราะห์บทนั้นนั่นแหละ ด้วยขันธ์

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 61

เป็นต้นอีก. บทนั้นแม้บทหนึ่ง มิได้ประกอบในบททั้งหลายที่ท่านถือเอาส่วน ทั้งสิ้นตั้งไว้ ในขันธ์ อายตนะและธาตุ. เพราะว่า บทอื่น ชื่อว่าสงเคราะห์ และด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้น โดยบทแห่งขันธ์เป็นต้นทั้งสิ้น มิได้มี. บทใด รวมบทที่สงเคราะห์ได้แก่ตน มีอยู่ บทนั้นพึงถึงการนับสงเคราะห์ด้วย สามารถแห่งขันธ์เป็นต้น นั่นแหละอีก ฉะนั้น บททั้งหลายเช่นนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาในวาระนี้. ส่วนบทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศ แห่งสังขารขันธ์อันไม่ปนด้วยบทอื่น หรือย่อมส่องถึงเวทนาขันธ์ หรือสุขุมรูป หรือเอกเทศแห่งสัจจะอันไม่ปนด้วยบทอื่น บทเหล่านั้น พระองค์ทรงถือเอา ในวาระนี้. พึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้น ดังนี้

"เทฺว สจฺจา ปณฺณรสินฺทฺริยา เอกาทส ปฏิจฺจปทาห อุทฺธํ ปน เอกาทส โคจฺฉกปทเมตฺถ ตึสวิธา".

แปลว่า สัจจะ ๒ (คือ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ) อินทรีย์ ๑๕ (คือ เว้นปสาทินทรีย์ ๕ ชีวิตินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑) ปฏิจจสมุปบาท ๑๑ บท (คือ เว้นวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ เวทนา อุปปัตติภวะ ชาติ ชรา มรณะ) บทที่ต่อจากปฏิจจสมุปบาทอีก ๑๑ บท (คือ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อัปปมัญญา ปัญจินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มัคคังคะ ผัสสะ เจตนา อธิโมกข์ มนสิการ) บทในโคจฉกะ ๓๐ บท (รวม ๖๙ บท).

ก็ในนิทเทสแห่งบทนี้ มี ๒ ปัญหาเท่านั้น. ในปัญหาเหล่านั้น บทใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นเพื่อปุจฉา บทนั้นนั่นแหละ นับสงเคราะห์ได้ ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้น ด้วยธรรมเหล่าใด ทรงหมายเอาธรรมเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า "เอเกน ขนฺเธน" เป็นต้นไว้ในที่ทั้งปวง. ในปัญหานั้น พึง ทราบนัย ดังนี้ว่า ก็สังขารทั้งหลายยกเว้นตัณหาแล้ว นับสงเคราะห์ได้ด้วย

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 62

ขันธ์สงเคราะห์เป็นต้นได้ด้วยสมุทยสัจจะ. ตัณหานั่นแหละ ก็ยังสงเคราะห์เข้า กันได้กับด้วยธรรมเหล่านั้นได้อีก. ตัณหานั้นจึงชื่อว่านับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ สงเคราะห์เป็นต้น ด้วยสังขารทั้งหลายนั่นแหละอีก. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นั่น แหละ. แต่ในปุจฉาแห่งอรูปธรรมทั้งหลายในที่นี้ ชื่อว่ามีขันธ์หนึ่ง คือสังขาร ขันธ์ หรือเวทนาขันธ์. ในปุจฉาแห่งธรรม ชื่อว่ามีขันธ์หนึ่ง คือ รูปขันธ์. ในปุจฉาแห่งบทปริเทวะ ชื่อว่ามีอายตนะหนึ่ง คือสัททายตนะ ชื่อว่ามีธาตุหนึ่ง คือสัททธาตุนั่นแหละ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบทที่เหลือด้วยสามารถแห่ง ธัมมายตนะและธัมมธาตุ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

๕. อสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

[๑๘๙] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปขันธ์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ. อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๙๐] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 63

[๑๙๑] ธรรุมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยวิญญาณขันธ์ มนายตนะ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ มนินทรีย์ โดย ขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ด้วยธรรม เหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๑๙๒] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ จักขุธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๑๙๓] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธัมมายตนะ ธัมมธาตุ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๙๔] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสมุทยสัจ มรรคสัจ นิโรธสัจ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๙๕] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 64

[๑๙๖] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๑๙๗] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยวิญญาณเพราะสังขาร เป็นปัจจัย โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๑๙๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยนามรูปเพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๑๙๙] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสฬายตนะเพราะนามรูปเป็นปัจจัย โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๒๐๐] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยผัสสะเพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย เวทนาเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเพราะเวทนาเป็น ปัจจัย อุปาทานเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กรรมภพ โดยขันธสังคหะ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 65

อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๐๑] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพ อิทธิบาท โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๒๐๒] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอสัญญาภพ เอกโวการภพ ชาติ ชรา มรณะ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๒๐๓] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยปริเทวะ โคยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๒๐๔] ธรรมเหล่าใด สุเคราะห์ไม่ได้ด้วยโสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ฌาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา อธิโมกข์ มนสิการ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 66

[๒๐๕] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจิต โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๒๐๖] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยกุศลธรรม อกุศลธรรม สุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม วิปากธรรม วิปากธัมมธรรม อนุปาทินนานุ ปาทานิยธรรม สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกธรรม สวิตักกสวิจารธรรม อวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปทาตัพพเหตุกธรรม อาจยคามีธรรม อปจยคามีธรรม เสกขธรรม อเสกขธรรม มหัคคตธรรม อัปปมาณธรรม ปริตตารัมมณธรรม มหัคคตารัมมณธรรม อัปปมาณารัมมณธรรม หีนธรรม ปณีตธรรม มิจฉัตตนิยตธรรม สัมมัตตนิยตธรรม มัคคารัมมณธรรม มัคคเหตุกรรม มัคคาธิปติธรรม อตีตารัมมณธรรม อนาคตารัมมณธรรม ปัจจุปันนารัมมณธรรม อัชฌัตตารัมมณธรรม พทิทธารัมมณธรรม อัชฌัตตพหิทธารัมมณธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 67

[๒๐๗] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

[๒๐๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยเหตุธรรม เหตุสเหตุ- กธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๐๙] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสเหตุกธรรม เหตุสัมปยุตตธรรม สเหตุกนเหตุธรรม เหตุสัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุสเหตุกธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๒๑๐] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอัปปัจจยธรรม อสังขตธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ สังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๑๑] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสนิทัสสนธรรม สัปปฏิฆธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 68

[๒๑๒] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปีธรรม โดยขันธสังคหะ. อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๒๑๓] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอรูปีธรรม โลกุตตรธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๒๑๔] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอาสวธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๑๕] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอนาสวธรรม อาสวสัมปยุตตธรรม อาสวสัมปยุตตโนอาสวธรรม อาสววิปปยุตตอนาสวธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๐.

[๒๑๖] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสปรามัฏฐธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 69

[๒๑๗] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอปรามัฏฐธรรม ปรามาสสัมปยุตตธรรม ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐธรรม สารัมมณธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม เหล่านั้นสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๒๑๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอนารัมมณธรรม โนจิตตกรรม จิตตวิปปยุตตธรรม จิตตวิสังสัฏฐธรรม จิตตสมุฏฐานธรรม จิตตสหภูธรรม จิตตานุปริวัตติธรรม พาหิรธรรม อุปาทาธรรม โดย ขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๒๑๙] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจิตตธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๒๒๐] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยเจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๒๑] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอัชฌัตติกธรรม โดย ขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 70

ธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑.

[๒๒๒] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอุปาทานธรรม กิเลสธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุ- สังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๒๒๓] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอสังกิเลสิกธรรม สังกิลิฏฐธรรม กิเลสสัมปยุตตตธรรม สังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกธรรม ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม สวิตักกธรรม สวิจารธรรม สัปปีติกธรรม ปีติสหคตธรรม สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรรม นกามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม นิยยานิกธรรม นิยตธรรม อนุตตรธรรม สรณธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสงัคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 71

ข้อธรรมในอสังคหิเตนอสังคหิตบท

รูป ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ นามรูป ภพ ๒ ชาติ ชรา มรณะ รูป อนารัมมณธรรม โนจิตตะ จิตตวิปปยุตตะ วิสังสัฏฐะ สมุฏฐานะ สหภู อนุปริวัตติ พาหิระ อุปาทา.

รวม ๒๒ นัย นี้เป็นนัยที่ให้รู้ได้ง่าย

จบอสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

อรรถกถาอสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก อสงัคหิเตน อสังคหิตบท พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสแห่งบทนั้น บทใด นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้น ด้วยบทอันสงเคราะห์ไม่ได้ โดยขันธ์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาวิสัชนา ซึ่งการสงเคราะห์ บทนั้นนั่นแหละ ด้วยขันธ์เป็นต้นอีก. บท (อสังคหิเตน อสังคหิตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบในบททั้งหลาย มีทุกขสัจจะเป็นต้น อันเป็นไปด้วยขันธ์ ๕ และในบททั้งหลายอันมีอนิทัสสนาปปฏิฆะเป็นต้น อันเป็นไปด้วยสุขุมรูป กับ ด้วยวิญญาณ. เพราะพระนิพพานไม่พึงสงเคราะห์เข้าเป็นขันธ์ได้โดยบทเช่น นั้น. ส่วนบทที่เหลือ ชื่อว่าเป็นธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยขันธ์เป็นต้น ย่อมไม่มี ฉะนั้น บททั้งหลายอันมีรูปเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรง ถือเอาในวาระนี้. ก็แต่ บทเหล่าใด ไม่แสดงวิญญาณในขันธ์ ๕ โดยรวมกับ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 72

สุขุมรูป บทเหล่านั้นพระองค์ทรงถือเอาในที่นี้. บัณฑิตพึงทราบอุทานแห่ง บทเหล่านั้น ดังนี้.

"สพฺเพ ขนฺธา ตถายตนธาตุโย สจฺจโต ตโย อินฺทฺริยานิปิ สพฺพานิ เตวีสติ ปฏิจฺจโต.

ปรโต โสฬส ปทา เตจตฺตาฬีสกตฺติเก โคจฺฉเก สตฺตติ เทฺว จ สตฺต จูฬนฺตเร ปทา.

มหนฺตเร ปทา วุตฺตา อฏฺารส ตโต ปรํ อฏฺารเสว าตพฺพา เสสา อิธ น ภาสิตา".

แปลว่า ขันธ์ทั้งหมด อายตนะทั้งหมด ธาตุทั้งหมด สัจจะ ๓ (คือ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ มัคคสัจจะ) อินทรีย์ทั้งหมด ปฏิจจสมุปบาท ๒๓ (เว้นอุปปัตติภวะ กามภวะ รูปภวะ สัญญีภวะ ปัญจโวการภวะ) ต่อจาก ปฏิจจสมุปบาทอีก ๑๖ บท (คือ สติปัฏฐานเป็นต้น จนถึงมนสิการเป็นที่สุด) ในติกะ ๔๓ บท ในโคจฉกะ ๗๒ บท ในจูฬันตรทุกะ ๗ บท ในมหันตรทุกะ ๑๘ บท ข้างหน้านี้อีก ๑๘ บท (คือ ปิฏฐิทุกะ) รวมทั้งหมด ๒๕๗ บท บทที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงแสดงไว้ในนิทเทสนี้.

ก็ในนิทเทสนี้ ปัญหาแม้ทั้งหมดมี ๓๔ พร้อมกับบทที่ทรงรวบรวมไว้ ด้วยสามารถแห่งคำวิสัชนาทำนองเดียวกัน. ในนิทเทสแห่งบทเหล่านั้น บทใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเพื่อปุจฉา บทนั้นนั่นแหละสงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยธรรมเหล่าใดมีขันธ์เป็นต้น ทรงหมายเอาธรรมเหล่านั้น จึงตรัสว่า "เอเกน ขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในข้อนี้ พึงทราบนัยดังนี้ว่า ขันธ์ ๔ นิพพาน ๑ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปขันธ์ โดยขันธ์สงเคราะห์ ยกเว้น วิญญาณแล้ว ธรรมที่เหลือนับสงเคราะห์ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและ

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 73

ธาตุ เพราะฉะนั้น วิญญาณนั่นแหละ. ชื่อว่าสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แม้โดยการ สงเคราะห์ทั้ง ๓ มีขันธ์สงเคราะห์เป็นต้น. ขันธ์ ๔ ก็นับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยนิพพาน กับด้วยวิญญาณ โดยการสงเคราะห์เข้าเป็นขันธ์เป็นต้น. ธรรม แม้เหล่านั้นทั้งหมด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยวิญญาณนั่นแหละ โดยขันธ์สงเคราะห์ เป็นต้นอีก ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่านับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗. อีกนัยหนึ่ง วิญญาณใดนั้นนั่นแหละ นับสงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยรูปขันธ์ โดยการสงเคราะห์ทั้ง ๓ มีขันธ์สงเคราะห์เป็นต้น รูปธรรม เหล่านั้นเทียว ก็สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยวิญญาณธรรม แม้เหล่านั้น โดยการ สงเคราะห์ทั้ง ๓. และรูปธรรมเหล่านั้น ก็นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยวิญญาณ โดยการสงเคราะห์ทั้ง ๓ อีก. ด้วยว่า วิญญาณ เมื่อว่าโดยขันธ์ เป็นวิญญาณขันธ์ ๑ เมื่อว่าโดยอายตนะ เป็นมนายตนะ ๑ เมื่อว่าโดยธาตุ เป็นวิญญาณ ธาตุ ๗ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า "เอเกน ขนฺเธน" เป็นอาทิ. โดยอุบายนี้ ในบททั้งปวง บทใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้น แสดงเพื่อปุจฉา บทนั้นนั่นแหละ นับสงเคราะห์ไม่ได้ โดยธรรมเหล่าใดด้วย สามารถแห่งขันธ์เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบขันธ์เป็นต้น ที่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย สามารถแห่งธรรมเหล่านั้น.

ในนิทเทสนั้น ปัญหาที่ ๒ พึงทราบด้วยสามารถแห่งรูป และ วิญญาณก่อน เพราะว่า เวทนาเป็นต้น นับสงเคราะห์ไม่ด้วยรูปและ วิญญาณนั่นแหละ โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์เป็นต้น. ด้วยว่า ขันธ์ทั้ง ๒ เหล่านั้น เป็นอายตนะ ๑๑ เป็นธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 74

ในปัญหาที่ ๓ วิญญาณ นับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ มีรูปขันธ์ เป็นต้น ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น ด้วยสามารถ แห่งธรรมเหล่านั้น.

ในปัญหาที่ ๔ พึงทราบธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น ในปัญหาทั้ง ปวงโดยนัยนี้ว่า จักขวายตนะ นับสงเคราะห์ไม่ได้ โดยขันธ์ ๔ มีเวทนา เป็นต้น. ในปริโยสานธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในอุทานคาถานั่น แหละว่า "รูปํ ธมฺมายตนํ" เป็นอาทิ เป็นการแสดงย่อไว้โดยอาการอื่น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

๖. สัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส

[๒๒๔] รูปขันธ์ ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง (๑) .

[๒๒๕] เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บาง อย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย


(๑) บางอย่าง หมายความว่า ธรรมที่นับเนื่องอยู่ในธัมมายตนะและธัมมธาตุ ได้เฉพาะ บางอย่าง คือไม่ได้ทั้งหมด.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 75

ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๒๖] วิญญาณขันธ์ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๒๗] จักขวายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ประกอบได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๒๘] มนายตนะ ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๒๙] จักขุธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๐] จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 76

[๒๓๑] สมุทยสัจ มัคคสัจ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๒] นิโรธสัจ จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๓] มนินทรีย์ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บาง อย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๔] สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๕] อุเปกขินทรีย์ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๖ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 77

[๒๓๖] สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ สังขารเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๗] วิญญาณเพราะสังขารเป็นปัจจัย ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๘] ผัสสะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บาง อย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๓๙] เวทนาเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๐] ตัณหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปทานเพราะตัณหา เป็นปัจจัย กัมมภพเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 78

ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๑] รูปภพ ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มี ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วย ธาตุ ๓.

[๒๘๒] อรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพ ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบ ได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๓] อสัญญาภพ เอกโวการภพ ปริเทวะ ประกอบได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๔] โสกะ ทุกข์ โทมนัส ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๕] อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 79

บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๖] อิทธิบาท ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๒ และประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๘๗] ฌาน ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๘] อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบ ไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๔๙] ผัสสะ เจตนา มนสิการ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๐] เวทนา สัญญา ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 80

อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๑] จิต ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บาง อย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๒] อธิโมกข์ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๒ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๓] กุศลธรรม อกุศลธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๔] สุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๕] อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 81

[๒๕๖] วิปากธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๗] วิปากธัมมธรรม สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ประกอบ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบ ได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๕๘] เนววิปากนวิปากธัมมธรรม อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะอะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๒๕๙] อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่ มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๒๖๐] สวิตักกสวิจารธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๖๑] อวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม ประกอบได้ ด้วยขันธ์ ๑ ประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 82

ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๖๒] อวิตักกาวิจารธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๒๖๓] สุขสหคตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ และประกอบได้ ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๖๔] อุเปกขาสหคตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๖๕] ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม อาจยคามีธรรม อปจยคามีธรรม เสกขธรรม อเสกขธรรม มหัคคตธรรม ประกอบ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบ ได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๖๖] อัปปมาณธรรม ปณีตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบ

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 83

ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๒๖๗] ปริตตารัมมณธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ. ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๖๘] มหัคคตารัมมณธรรม อัปปมาณารัมมณธรรม หีนธรรม มิจฉัตตนิยตธรรม สัมมัตตนิยตธรรม มัคคารัมมณธรรม มัคคเหตุกธรรม มัคคาธิปธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๖๙] อนุปปันนธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๒๗๐] อตีตารัมมณธรรม อนาคตารัมมณธรรม ประกอบได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อาตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๑] ปัจจุปปันนารัมมณธรรม อัชณัตตารัมมณธรรม พหิทธารัมมณธรรม อัชฌัตตพหิทธารัมมณธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบ

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 84

ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๒] สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๓] เหตุธรรม เหตุสเหตุธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๔] สเหตุกธรรม เหตุสัมปยุตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖. และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๕] สเหตุกนเหตุธรรม เหตุสัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุ- สเหตุกธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๖] อัปปัจจยธรรม อสังขตธรรม สนิทัสสนธรรม สัปปฏิฆธรรม รูปีธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่ มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 85

ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๗] โลกกุตตรธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๒๗๘] อาสวธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๗๙] อนาสวธรรม อาสววิปปยุตตอนาสวธรรม ประกอบ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบ ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๒๘๐] อาสวสัมปยุตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๘๑] อาสวสัมปยุตตโนอาสวธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 86

[๒๘๒] สัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสปรามัฏฐธรรม ประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๘๓] อปรามัฏฐธรรม ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๒๘๔] ปรามาสสัมปยุตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๘๕] สารัมมณธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๘๖] อนารัมมณธรรม จิตตวิปปยุตตธรรม จิตตวิสังสัฏฐ- ธรรม อุปาทาธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 87

[๒๘๗] จิตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๘๘] เจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๘๙] อนุปาทินนธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๒๙๐] อุปาทานธรรม กิเลสธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเสสสังกิลิฏฐธรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บาง อย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๙๑] อสังกิเลสิกธรรม กิเลสวิปปยุตต (๑) อสังกิเลสกธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประ-


(๑) บาลี เป็น กิเลสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา คำว่า ธมฺมา เกิดไป จึงไม่แปลตามเพราะผิด ทุกมาติกา.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 88

กอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๒๙๒] สังกิลิฏฐธรรม กิเลสสัมปยุตตธรรม ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๙๓] สังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๙๔] ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสน ปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๙๕] สวิตักกธรรม สวิจารธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๙๖] อวิตักกธรรม อวิจารธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบ ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 89

[๒๙๗] สัปปีติกธรรม ปีติสหคตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๙๘] สุขสหคตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๒๙๙] อุเปกขาสหคตธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๐๐] นกามาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม อนุตตรธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๓๐๑] รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม นิยยานิกธรรม นิยตธรรม สรณธรรม ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

จบสัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 90

อรรถกถาสัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปโยคะ วิปปโยคะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺโธ" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น บทใด ย่อม ได้ บทใด ย่อมไม่ได้ บททั้งหมดนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาเพื่อปุจฉา. แต่ในการวิสัชนา บทใดย่อมไม่ได้ บทนั้นพระองค์ปฏิเสธว่า "นตฺถิ" (ไม่มี). การประกอบซึ่งกันและกันของรูปขันธ์ทั้งหลายนั่นแหละ อันเกิดขึ้นในสันดาน หนึ่ง ในขณะหนึ่ง อันมีส่วนเสมอด้วยอรูปขันธ์ ๔ นั่นแหละ ย่อมได้จาก พระบาลีว่า "จตูหิ สมฺปโยโค จตูหิ วิปฺปโยโค สภาโค วิสภาโค" ดังนี้. ก็ชื่อว่า สัมปโยคะ (คือ การประกอบ) ของรูปทั้งหลาย กับด้วยรูป หรือด้วยนิพพาน และสัมปโยคะของนิพพาน กับด้วยรูป ย่อมไม่มี. โดย ทำนองเดียวกัน การประกอบของรูป และนิพพานกับด้วยอรูปขันธ์ทั้งหลาย ก็ย่อมไม่มี. เพราะว่า ธรรมเหล่านั้น มีส่วนไม่เสมอกันกับธรรมเหล่านั้น. ก็ การประกอบอรูปขันธ์ทั้งหลาย กับด้วยรูปหรือนิพพาน ย่อมไม่มีฉันใด การประกอบอรูปขันธ์ทั้งหลาย กับแม้ด้วยอรูปธรรมทั้งหลาย อันมีสันดานแยก กันมีขณะต่างๆ กัน ก็ไม่มีนั่นแหละ. ด้วยว่า ธรรมแม้เหล่านั้นเป็นวิสภาคะ แก่ธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นวิสภาคะโดยสันดานและขณะนั่นแหละ. ก็แต่ ความเป็นวิสภาคะนี้ ไม่มีในสังคหนัย (คือ นัยที่สงเคราะห์เข้ากันได้) เพราะ ผิดด้วยอรรถแห่งการสงเคราะห์. จริงอยู่ เหตุสักว่าการเข้าถึงซึ่งการนับ จัดเป็น อรรถแห่งการสงเคราะห์. แต่ในสัมปโยคนัย มีอยู่. ก็เพราะ ลักษณะแห่ง ความเกิดขึ้นเป็นต้น เป็นอรรถแห่งสัมปโยคะ ฉะนั้น ความเป็นวิสภาคะนั้น จึงไม่ประกอบลักษณะแห่งสัมปโยคะในที่นี้แม้ด้วยธรรมหนึ่งแห่งบทใดอย่างนี้ เพื่อปุจฉาซึ่งบทนั้นแม้กระทำการสงเคราะห์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ปฏิเสธ

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 91

ว่า "ไม่มี" ธรรมของบทใด ย่อมประกอบลักษณะแห่งวิปปโยคะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงวิปปโยคะของธรรมบทนั้น. ก็บทเหล่าใดย่อมแสดง ถึงมิสสกธรรมทั้งหลาย อันไม่เป็นวิปปยุตด้วยธาตุแม้หนึ่งในวิญญาณธาตุ ๗ ด้วยรูป หรือด้วยนิพพาน บทเหล่านั้นแม้โดยประการทั้งปวง ย่อมไม่ประกอบ ไว้ในนิทเทสนี้ เพราะฉะนั้น บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงไม่ถือ เอา. พึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้น ดังนี้

"ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ทุกฺขสจฺจญฺจ ชีวิตํ สฬายตนํ นามรูปํ จตฺตาโร จ มหาภวา. ชาติ ชรา จ มรณํ ติเกเสกูนวีสติ โคจฺฉเกสุ จ ปญฺญา สอฏฺ จูฬนฺตเต ปทา. มหนฺตเร ปณฺณรฺส อฏารส ตโต ปเร เตวีสปทสตํ เอตํ สมฺปโยเค น ลพฺภติ".

แปลว่า ธัมมายคตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑ ทุกขสัจจะ ๑ ชีวิต ๑ สฬายตนะ ๑ นาม รูป ๑ ภพใหญ่ ๔ (คือ อุปปัตติภวะ กามภวะ สัญญีภวะ ปัญจโวการภวะ) ชาติ ชรา มรณะในติกะ ๑๙ บท ในโคจฉกะ ๕๐ บท ในจูฬันตรทุกะ ๘ บท ในมหันตรทุกะ ๑๙ บท ต่อจากนั้นอีก ๑๘ บท รวมเป็น ๑๓๒ บท บทเหล่านั้นไม่ได้ในสัมปโยคะ.

จริงอยู่ ธัมมายตนะอันใครๆ ไม่อาจกล่าวว่า "สัมปยุต" แม้ด้วย วิญญาณ ไม่นับเนื่องในนิทเทสนั้น เพราะความที่ธัมมายตนะเหล่านั้น เป็น สภาพเจือด้วยรูปและนิพพาน. ก็เพราะในนิทเทสนี้ ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็น ต้นสัมปยุตด้วยวิญญาณ ฉะนั้น จึงไม่อาจเพื่อกล่าวว่าเป็นวิปปยุต. แม้ในบทที่ เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. บทเหล่านั้นแม้ในที่ทั้งปวง ย่อมไม่ประกอบ

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 92

กันด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ ทรงถือเอาในที่นี้. บทที่เหลือมีขันธ์เป็นต้น ย่อมประกอบกันได้ ฉะนั้น พระองค์จึงถือเอาบทเหล่านั้นทำปัญหาและวิสัชนา ด้วยสามารถแยกแต่ละบท และโดยรวมบทนั้นๆ ไว้.

บรรดาปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ บทว่า "เอเกนายตเนน" ได้แก่ ไม่ประกอบด้วยมนายตนะ. บทว่า "เกหิจิ" ได้แก่ ไม่ประกอบด้วยเวทนา สัญญา สังขาร อันนับเนื่องด้วยธัมมายตนะและธัมมธาตุ.

ในปัญหาที่ ๒ บทว่า " ตีหิ " ได้แก่ ด้วยขันธ์ที่เหลือทั้งหลาย ยกเว้นขันธ์ที่ถามแล้วและถามแล้ว. สองบทว่า "เกหิจิ สมฺปยุตฺโต" ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัมปยุทาด้วยสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์. แม้ขันธ์นอกนี้ ยกเว้น ตัวเองแล้วก็สัมปยุตด้วยขันธ์นอกนี้ได้. สองบทว่า "เกหิจิ วิปฺปยุตฺโต" ได้แก่ (ไม่ประกอบ) ด้วยรูปและนิพพาน. อรูปในธัมมายตนะและธัมมธาตุ พึงเห็นในการไม่ประกอบด้วยรูป และรูปก็พึงเห็นในการไม่ประกอบด้วยอรูป ในบททั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

ในปัญหาที่ ๓ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

ในปัญหาที่ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสคำว่า "กตีหิ ขนฺเธหิ" เป็นอาทิ แต่ตรัสว่า "สมฺปยุตฺตํ" และคำว่า "นตฺถิ" ดังนี้. บทนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลาย มีขันธ์เป็นต้น. ในปัญหาทั้งหลาย อันมีรูปอย่างนี้แม้ข้างหน้าก็นัยนี้นั่นแหละ. พระบาลีข้างหน้าทรงย่อไว้ เพราะ แสดงโดยสรุปไว้ในปัญหาต้น. บัณฑิตพึงทราบการประกอบเนื้อความในบท ทั้งปวงโดยนัยนี้. ก็แต่ในที่ใด ปัญหายังไม่ปรากฏ ข้าพเจ้าจักทำปัญหานั้น ให้ปรากฏเป็นไปในที่นั้นนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 93

สองบทว่า "โสฬสหิ ธาตูหิ" อธิบายว่า จักขุวิญญาณธาตุ ยก เว้นตัวเองก่อนแล้ว ไม่ประกอบด้วย วิญญาณธาตุ ๖ และรูปธาตุ ๑๐. แม้ ในธาตุที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. สองบทว่า "ตีหิ ขนฺเธหิ" ได้แก่ (สัมปยุต) ด้วยขันธ์ที่เหลือทั้งหลาย ยกเว้นสังขารขันธ์. สองบทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ ด้วยมโนวิญญาณธาตุ. เพราะว่า สัมปโยคะของสมุทัยและ มรรคด้วยธาตุอื่น ย่อมไม่มี. สองบทว่า "เอเกน ขนฺเธน" ได้แก่ ด้วย สังขารขันธ์. บทว่า "เอเกนายตเนน" ได้แก่ ด้วยธัมมายตนะ. สอง บทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ ด้วยธัมมธาตุ. เพราะบรรดาสัจจะเหล่านั้น สัจจะ ๒ สัมปยุตได้ด้วยธัมมธาตุบางอย่าง.

ในปัญหาว่าด้วย สุขินทรีย์ เป็นต้น บทว่า "ตีหิ" ได้แก่ สัมปยุต ด้วยขันธ์ คือ สัญญา สังขาร และวิญญาณ. สองบทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ (สัมปุยุต) ด้วยกายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ (๑) สองบทว่า "ฉหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ไม่ประกอบด้วยวิญญาณธาตุทั้งหลาย ยกเว้นกายวิญญาณธาตุ.

ในปัญหาว่าด้วย รูปภพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "น เกหิจิ" ดังนี้ เพราะความที่อรูปขันธ์ และอรูปายตนะแม้ทั้งหมดมีอยู่. แต่ตรัสว่า "ตีหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺโต" (๒) ดังนี้ เพราะความที่ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณธาตุทั้งหลาย ไม่มีอยู่.


(๑) คำว่า ด้วยมโนวิญญาณธาตุ ไม่น่าจะมี เพราะบาลีว่า "เอกาย ธาตุยา" แปลว่า สัมปยุตด้วยธาตุ ๑ และธาตุหนึ่งในที่นี้ ได้แก่ กายวิญญาณธาตุเท่านั้น.

(๒) ในอรรถกถา และธาตุกถาบาลี ตอนสัปโยควิปปโยคปทวรรณนาที่ หน้า ๘๕ บรรทัดที่ ๖ นับลงว่า "อรูปภวปณฺเห ฆานชิวหากายวิญญาณธาตูนํ ปน นตฺถิาย ตีหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺโตติ วุตฺตํ" แปลว่าไม่ตรงสภาวะ แต่ในบาลีอรรถกถาของพม่า ไม่มีคำว่า "อรูปภวปญฺเห" ซึ่งถ้าแปลตามบาลีอรรถกถาพม่าและตรงกับสภาวะ ในที่นี้จึงแปลตามบาลีอรรถกถา พม่า โดยตัดคำว่า "อรูปภวปญฺเห" ออก.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 94

ในปัญหาว่าด้วย อธิโมกข์ สองบทว่า "ทฺวีหิ ธาตูหิ" ได้แก่ สัมปยุตด้วยมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ. บทว่า "ปณฺณรสหิ" ได้แก่ วิปปยุตด้วยรูปธาตุ ๑๐ ที่เหลือ และวิญญาณธาตุ ๕ มีจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น.

ในปัญหาว่าด้วย กุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธสัมปโยคะ เพราะความที่ขันธ์แม้ทั้ง ๔ เป็นภาวะอันกุศลทั้งหลายถือเอาแล้ว

ในปัญหาว่าด้วย เวทนาติกะ สองบทว่า "เอเกน ขนฺเธน" ได้แก่ ด้วยเวทนาขันธ์เท่านั้น. บทว่า "ปณฺณรสหิ" ได้แก่ วิปปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ (๑) มโนธาตุ และรูปธาตุทั้งหลาย. บทว่า "เอกาทสหิ" ได้แก่ ด้วยรูปธาตุทั้งหลาย (คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐) กับกายวิญญาณธาตุ ๑.

ในปัญหาว่าด้วย เนววิปากนวิปากธัมมธรรม (คือ ธรรมที่มิใช่ วิบาก และมิใช่เป็นเหตุแห่งวิบาก) บทว่า "ปฺจหิ" ได้แก่ ด้วยปัญจวิญญาณธาตุ ๕ มีจักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น.

ในปัญหาว่าด้วย อนุปาทินนุปาทานิยะ (คือ สภาวธรรมทั้งหลาย ที่กรรมไม่ได้ยึดไว้โดยเป็นผล และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) บทว่า "ฉหิ" ได้แก่ ด้วยธาตุ ๖ ยกเว้นมโนวิญญาณธาตุ.

ในปัญหาว่าด้วย สวิตักกสวิจาระ บทว่า "ปณฺณรสหิ" ได้แก่ ด้วยรูปธาตุทั้งหลาย กับปัญจวิญญาณธาตุ.

ในปัญหาว่าด้วย อวิตักกวิจารมัตตา สองบทว่า "เอเกน ขนฺเธน" เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งสังขารขันธ์. จริงอยู่ เว้นวิจารใน


๑. อรรถกถาบาลีหน้า ๒๑ บรรทัดที่ ๑๒ นับลง ว่า ปณฺณรสหีติ จักขุโสตฆานชิวหากายวิฺญาณธาตุ มโนธาตูหิ เจว รูปธาตูหิ จ. แปลแล้วได้ธาตุเกินกว่า ๑๕ ตรวจดูบาลีอรรถกถา ของพม่า ไม่มีคําว่า กาย หน้าคําว่าวิญญาณธาตุ ซึ่งเมื่อแปลตามบาลีอรรถกถาของพม่าแล้วได้ ครบ ๑๕ ถูกต้องตามสภาวะ.

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 95

ทุติยฌาน ธรรมที่เหลือ ชื่อว่า ไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร. ยกเว้นปีติแล้ว ธรรมที่เหลือ ชื่อว่า เกิดพร้อมกับปีติ. ในปัญหานี้ วิจารไม่สัมปยุตกับด้วย วิจาร ปีติก็ไม่สัมปยุตกับด้วยปีติ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า สัมปยุตด้วยธรรมบางอย่างในสังขารขันธ์ ธัมมายตนะ และธัมมธาตุ. บทว่า "โสฬสหิ" ได้แก่ ด้วยธาตุทั้งหลาย ๑๖ ยกเว้นธัมมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ.

ในปัญหาว่าด้วย อวิตักกอวิจาระ สองบทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ ด้วยมโนธาตุ. สุขสหคตธรรม และอุเปกขาสหคตธรรม ตรัสไว้ใน เวทนาติกะนั่นแหละ. ทัสสเนนปหาตัพพธรรมเป็นต้น เช่นกับด้วยกุศลนั่น แหละ. ปริตตารมณ์เช่นกับด้วยวิปากธรรม. สองบทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ ด้วยธัมมธาตุ. บทว่า "เกหิจิ" ความว่า ธรรมเหล่าใด เป็น ปริตตารมณ์ไม่มีในบทนั้น วิปปยุตกับด้วยธรรมเหล่านั้น หามิได้. ก็แต่ ว่า ธัมมธาตุย่อมแยกปฏิเสธในบทแรกเท่านั้น เพราะความที่ปริตตารมณ์เป็น สภาพอันสงเคราะห์ด้วยขันธ์ทั้ง ๔ ได้ ด้วยสามารถแห่งจิตตุปบาท ๖ ดวง. มหัคคตารมณ์เป็นต้น เป็นเช่นกับธรรมอันเป็นกุศลนั่นแหละ. ในอนุปปันนธรรม (คือ สภาวธรรมที่ยังไม่เกิด) ทั้งหลาย. สองบทว่า "ปญฺจหิ ธาตูหิ" ได้แก่ วิปปยุตด้วยวิญญาณธุาต ๕ มีจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น. ก็แล วิญญาณ. ธาตุ ๕ เหล่านั้น ย่อมไม่แยกส่วนที่เกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิ- ธรรม (คือ สภาวธรรมที่สำเร็จแล้วอันจะเกิดขึ้น) โดยส่วนเดียว แม้แต่ส่วน แห่งอุปปันนธรรม (คือ ธรรมที่กำลังเกิดขึ้น หรือกำลังถึงขณะทั้ง ๓). ธรรม ที่เป็นปัจจุปปันนารมณ์เป็นต้น เช่นเดียวกับธรรมที่เป็นปริตตารมณ์. ธรรม ทีเป็นเหตุเป็นต้น เช่นกับธรรมที่เป็นสมุทัย. ธรรมที่มีสัมปยุตตเหตุ แต่ไม่

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 96

ใช่เหตุ เช่นกับปีติสหคตธรรม. ปรามาสสัมปยุตตธรรม ก็ฉันนั้น. อนุปาทินนธรรม (คือ ธรรมอันกรรมมิได้ยึดถือไว้โดยความเป็นผล) เช่น เดียวกับอนุปปันนธรรมนั่นแหละ. ธรรมที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

จบอรรถกถาสัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส

๗. สัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

[๓๐๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไดด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๐๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่า นั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบ ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๓๐๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย มนินทรีย์ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 97

[๓๐๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อุเปกขินทรีย์ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๓๐๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยวิญญาณเพราะสังขารเป็น ปัจจัย ผัสสะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต มนสิการ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๐๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อธิโมกข์ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๓๐๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๓๐๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สวิตักกสวิจารธรรม ธรรม เหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๓๑๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย จิตตธรรม เจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ-

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 98

ธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๑๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสวิตักกธรรม สวิจารธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะอะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๓๑๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอุเปกขาสหคตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

สรุปข้อความ

ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ อินทรีย์ ๒ ปฏิจจสมุปบาท ๓ ธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น อธิโมกข์เจตสิก มนสิการเจตสิก ธรรม ๓ บทในติกะ ธรรม ๗ บทในมหันตรทุกะ ธรรมที่สัมปยุต ด้วยมนายตนะอีก ๒ คือที่สัมปยุตด้วยวัตถุ วิจาร และที่สัมปยุตตด้วย อุเบกขา.

จบสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

อรรถกถาสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปยุตเตน วิปปยุตตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในบทนี้ มีลักษณะดังนี้ ก็ใน

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 99

วาระนี้ ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยบทที่ยกขึ้นแสดง เพื่อปุจฉา คือ ธรรม เหล่าใด วิปปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาวิสัชนา ซึ่งการไม่ประกอบแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยขันธ์เป็นต้น. ก็บท (สัมปยุตเตน วิปปยุตตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบในธรรมทั้งหลาย มีรูปขันธ์เป็นต้น. เพราะ ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า สัมปยุตด้วยรูปขันธ์ ย่อมไม่มี ฉะนั้น รูปขันธ์นั้นด้วย บทอื่นมีรูปอย่างนี้ด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงถือเอาในวาระนี้. ส่วนบท เหล่าใด ย่อมส่องถึงสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ในธัมมธาตุ และวิญญาณอันไม่ เจือด้วยธรรมอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในวาระนี้. พึงทราบอุทาน แห่งธรรมเหล่านั้น ดังนี้

"จตฺตาโร ขนฺธายตนญฺจ เอกํ เทฺว อินฺทฺริยา ธาตุปทานิ สตฺต ตโย ปฏิจฺจาถ ผสฺสสตฺตกํ ติเก ตโย สตฺส มหนฺตเร จ เอกํ สวิตกฺกํ สวิจารเนกํ ยุตฺตํ อุเปกฺขาย เจ เอกเมว".

แปลว่า นามขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ (คือ มนายตนะ) วิญญาณธาตุ ๗ อินทรีย์ ๒ (คือ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์) ปฏิจจสมุปบาท ๓ (คือ วิญญาณ ผัสสะ เวทนา) หมวด ๗ แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ติกมาติกา ๓ (คือ อทุกขมสุขายเวทนาย สวิตกักสวิจารบท อุเปกขาสหคตบท) มหันตรทุกะ ๗ (คือ จิตตบท เจตสิกบท สัมปยุตตบท จิตสัมปยุตตบท จิตตสังสัฏฐบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูบท จิตตสังสัฏฐานานุปริวัติบท) สวิตักกบท ๑ สวิจารบท ๑ อุเปกขาสหคตบท ที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ๑ บท (รวม ๓๗ บท).

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 100

เนื้อความนี้นั่นแหละ นับสงเคราะห์ในกาลที่สุด แม้ด้วยคำว่า "ขนฺธา จตุโร" เป็นต้น. ในนิทเทสนั้น บทเหล่าใด มีคำวิสัชนาทำนองเดียวกัน บทเหล่านั้น แม้ไม่เป็นไปตามลำดับ ท่านก็รวมไว้ทำปัญหา อันมีเวทนาขันธ์ เป็นต้น ในที่นั้น. ในปัญหาเหล่านั้น พึงทราบการจำแนกขันธ์เป็นต้น อย่างนี้.

ในปัญหาว่าด้วย เวทนาขันธ์์เป็นต้นก่อน. บทว่า "เอเกน" ได้แก่ (ไม่ประกอบ) ด้วยมนายตนะ. บทว่า "สตฺตหิ" ได้แก่ด้วยวิญญาณธาตุ ๗. บทว่า "เกหิจิ" ได้แก่ ด้วยเวทนาเป็นต้น ในธัมมายตนะ.

ในปัญหาว่าด้วย วิญญาณธาตุ คำว่า "เต ธมฺมา น เกหิจิ" ความ ว่ายกเว้น วิญญาณธาตุที่ยกขึ้น เพื่อปุจฉาแล้ว ธรรมที่เหลือเหล่านั้น มีวิญญาณ ธาตุ ๖ รูปและนิพพาน ไม่วิปปยุตด้วยขันธ์ทั้งหลายบางอย่าง หรือด้วย อายตนะทั้งหลาย เพราะความที่ขันธ์และอายตนะทั้งหมดนั้นยังสงเคราะห์ได้. สองบทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ ธรรมใดๆ ที่ยกขึ้น เพื่อปุจฉา วิปปยุตแล้วด้วยธรรมนั้นๆ.

ในปัญหาว่าด้วย อุเปกขินทรีย์ บทว่า "ปญฺจหิ" ได้แก่ (วิปปยุต) ด้วยจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น อันประกอบด้วยอุเบกขา (คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ มโนธาตุ). บัณฑิต พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง ด้วยสามารถแห่งบททั้งหลาย อันวิปปยุตกับ ด้วยบทที่ยกขึ้นเพื่อปุจฉาโดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.

จบอรรถกถาสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 101

๘. วิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

[๓๑๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย รูปขันธ์ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้.

[๓๑๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร วิญญาณขันธ์ ฯลฯ สรณธรรม อรณธรรม ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ. ธาตุ ที่ ประกอบได้.

จบวิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

อรรถกถาวิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนกบท วิปปยุตเตน สัมปยุตตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ปุจฉาแม้ทั้งหมดในบทเหล่านั้น เป็นโมฆปุจฉาเทียว. เพราะว่า นามขันธ์ ๔ ชื่อว่า วิปปยุตด้วยรูปขันธ์. สัมปโยคะของธรรมเหล่านั้น ด้วยธรรมเหล่าอื่น จึงไม่มี. รูปและนิพพาน วิปปยุต ด้วยเวทนาขันธ์. สัมปโยคะของธรรมเหล่านั้น ก็ไม่มีด้วยธรรมอะไรๆ. บัณฑิตพึงทราบความเป็นสัมปโยคะของวิปปยุตตธรรมทั้งหลาย ในบททั้งปวง อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า "นตฺถิ" (ไม่มี) นั่นแหละ ในคำวิสัชนาปัญหาทั้งหมด เพราะความเป็นโมฆะแห่งคำปุจฉา ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.

จบอรรถกถาวิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 102

๙. สัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

[๓๑๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๑๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยวิญญาณขันธ์ มนายตนะ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๑๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสมุทยสัจ มัคคสัจ ธรรม เหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บาง อย่าง.

[๓๑๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยมนินทรีย์ ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ และ ประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๑๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และ ประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 103

[๓๒๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอุเปกขินทรีย์ ธรรมเหล่า ใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๖ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๒๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๒๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย วิญญาณเพราะสังขาร เป็นปัจจัย ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบ ได้ด้วยขันธ์ ๓ ประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๒๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย ผัสสะ เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บวงอย่าง.

[๓๒๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย เวทนา เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบ ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๒๕] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วย ตัณหา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย อุปาทานเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพ ธรรมเหล่าใดประกอบ

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 104

ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๒๖] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วย โสกะ ทุกขะ โทมนัสสะ ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บาง อย่าง.

[๓๒๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๒๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อิทธิบาท ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๒ และ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๒๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย ฌาน ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๐] กรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย ผัสสะ เจตนา มนสิการ ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วย

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 105

ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย เวทนา สัญญา ธรรม เหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย จิต ธรรมเหล่าใดประกอบ ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ และประกอบได้ ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อธิโมกข์ ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๒ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ธรรม เหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สวิตักกสวิจารธรรม อวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 106

[๓๓๘] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยเหตุธรรม เหตุสเหตุกธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรม เหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๓๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สเหตุกนเหตุธรรม เหตุ- สัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุสเหตุกธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง..

[๓๔๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อาสวธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๔๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อาสวสัมปยุตตโนอาสวธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสปรามัฏฐธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๔๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย ปรามาสสัมปยุตตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง,

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 107

[๓๔๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย จิตตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ ประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๔๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย เจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฎฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๓๘๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย อุปาทานธรรม กิเลสธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐธรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ ประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๔๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม สวิตักกธรรม สวิจารธรรม สัมปีติกธรรม ปีติสหคตธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรม เหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

จบสัมปยุตตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 108

อรรถกถาสัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปยุตเตน สัมปยุตตตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น บทใด สัมปยุตด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาวิสัชนา สัมปโยคะบทนั้นนั่นแหละด้วยขันธ์เป็นต้นอีก. บท (สัมปยุตเตน สัมปยุตตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบด้วยรูปหรือด้วยบททั้งหลายอันเจือด้วยรูป หรือด้วยบท อัน สงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์ทั้งหมด. เพราะว่า สัมปโยคะของธรรมเหล่าอื่นด้วย รูป. หรือด้วยธรรมอันเจือด้วยรูป ไม่มี, บทอื่นก็ไม่มีนั่นแหละ เพราะความ ที่ขันธ์เป็นต้น อันควรแก่สัมปโยคะทั้งหมด ท่านถือเอาด้วยธรรมอันสงเคราะห์ กับด้วยอรูปขันธ์ทั้งปวง. บทใดพึงถึงการประกอบกับบทนั้น ฉะนั้นบทเช่นนั้น ท่านไม่ถือเอาในที่นี้. แต่บทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่งอรูปอันไม่เจือ ด้วยรูป บทเหล่านั้น ทรงถือเอาในนิทเทสนี้. พึงทราบอุทานของบทเหล่านั้น ดังนี้

"อรูปกฺขนฺธา จตฺตาโร มนายตนเมว จ วิญฺาณธาตุโย สตฺต เทฺว สจฺจา จุทฺทสินฺทฺริยา. ปจฺจเย ทฺวาทส ปทา ตโต อุปริ โสฬส ติเกสุ อฏ โคจฺฉเก เตจตฺตาฬิสเนว จ. มหนฺตรทุเก สตฺตา ปทา ปิฏฺิทุเกสุ ฉ นวมสฺส ปทสฺเสเต นิทฺเทเส สงฺคหํ คตา".

แปลว่า นามขันธ์ ๔ มนายตนะ ๑ วิญญาณธาตุ ๗ สัจจะ ๒ (คือ สมุทยสัจจะมัคคสัจจะ.) อินทรีย์ ๑๔ (คือ มนินทรีย์เป็นต้น ถืงอัญญาตา วินทรีย์เป็นที่สุด) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ผัสสะ

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 109

เวทนา ตัณหาอุปาทาน กัมมภวะ โสกะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ) ต่อจากนั้น ปฏิจจสมุปบาท ๑๖ บท (คือ สติปัฏฐานเป็นต้น จนถึงมนสิการเป็นที่สุด) ใน ติกะ ๘ บท (คือ เวทนาติกะ ๓ บท วิตักกติกะ ๒ บท ได้แก่ปฐมบทและทุติยบท และปีติติกะ ๓ บท) ในโคจฉกะ ๔๓ บท (คือ เหตุโคจฉกะ ๖ บท อาสวโคจฉกะ ๔ บท สัญโญชนโคจฉกะ ๔ บท คันถโคจฉกะ ๘ บท โอฆโคจฉกะ ๔ บท โยคโคจฉกะ ๔ บท นีวรณโคจฉกะ ๔ บท ปรามาสโคจฉกะ ๓ บท อุปาทานโคจฉกะ ๔ บท กิเลสโคจฉกะ ๖ บท) ในมหันตรทุกะ ๗ บท (คือ จิตตบท เจตสิกบท จิตตสัมปยุตตบท จิตตสังสัฏฐบท จิตตสัฏฐสมุฏฐานบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติบท) ในปิฏฐิทุกะ ๖ บท (คือ สวิตักกบทสวิจารบท สัปปีติกบท ปีติสหคตบท สุขสหคตบท อุเปกขาสหคตบท) ธรรมทั้งหลาย (๑๒๐ บท) ถึงการสงเคราะห์แห่งบทที่ ๙.

ก็ในปัญหาทั้งปวง ธรรมเหล่าใด ทรงยกขึ้นเพื่อปุจฉา ธรรมเหล่า นั้นสัมปยุตด้วยธรรมเหล่าใด มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งธรรมมีขันธ์ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น. เพราะว่า นามขันธ์ ๓ นอกนี้ สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์ เวทนาขันธ์ก็สัมปยุตด้วยขันธ์เหล่านั้นอีก คือ เวทนา ขันธ์นั้น สัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ มีสัญญาขันธ์ เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยมนายตนะ ๑ ด้วยวิญญาณธาตุ ๗ และด้วย สัญญา สังขารทั้งหลายบางอย่างนั่นแหละใน ธัมมายตนะและธัมมธาตุ. ในปัญหาทั้งปวง ก็นัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาสัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 110

๑๐. วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

[๓๔๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย รูปขันธ์ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อาตยตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย จักขวายตนะฯ เปฯ โผฏฐัพพายตนะ จักขุธาตุฯ เปฯ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมเหล่าใด ประกอบ ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุ ฯเปฯมโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สมุทยสัจ มรรคสัจ ธรรมเหล่าใด ประกอบ ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย นิโรธสัจ จักขุนทรีย์ ฯ เปฯ กายอินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 111

[๓๕๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย มนินทรีย์ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อุเปกขินทรีย์์ ธรรม เหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๗] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๕๘] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย วิญญาณมีเพราะสังขาร เป็นปัจจัย ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามีเพราะผัสสะ เป็นปัจจัย ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 112

[๓๕๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย ตัณหามีเพราะเวทนา เป็นปัจจัย อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ธรรมภพ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย รูปภพ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๓.

[๓๖๑] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย อสัญญาภพ เอกโวการภพ ปริเทวะ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพ โสกะ ทุกข์ โสมนัส อุปายาส สติ- ปัฏฐาน สัมมปปธาน อิทธิบาท ฌาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๓] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต มนสิการ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 113

[๓๖๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อธิโมกข์ ธรรมเหล่า ใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๕] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย กุศลธรรม อกุศลธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย สุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตน ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรม เหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย วิปากธรรม ธรรม เหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๖๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย วิปากธัมมธรรม สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 114

ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๗๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย เนววิปากนวิปากธัมมธรรม อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๓๗๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบ ไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๓๗๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย สวิตักกสวิจารธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๗๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรม เหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๗๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อวิตักกาวิจารธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๓๗๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย สุขสหคตธรรม ธรรม เหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วย

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 115

ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๗๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อุเปกขาสหคตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๗๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปทาตัพพเหตุกธรรม อาจยคามีธรรม อปจยคามีธรรม เสกขธรรม อเสกขธรรม มหัคคตธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่า นั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๗๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อัปปมาณธรรม ปณีตธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มี ขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๓๗๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย ปริตตารัมมณธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย มหัคคตารัมมณธรรม อัปปมาณารัมมณธรรม หีนธรรม มิจฉัตตนิยตธรรม สัมมัตตนิยตธรรม มัคคารัมมณธรรม มัคคเหตุกธรรม มัคคาธิปติธรรม

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 116

ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อนุปปันนธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะอะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๓๘๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อตีตารัมมณธรรม อนาคตารัมมณธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบ ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย ปัจจุบันนารัมมณธรรม อัชฌัตตารัมมณธรรม พหิทธารัมมณธรรม อัชฌัตตพหิทธารัมมณธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย สนิทัสสนสัปปฏิฆ- ธรรม อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และ ประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย เหตุธรรม สเหตุกธรรม เหตุสัมปยุตตธรรม เหตุสเหตุกธรรม สเหตุกนเหตุธรรม เหตุสัมปยุตตธรรม เหตุสัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุสเหตุกธรรม

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 117

ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อัปปัจจยธรรม อสังขตธรรม สนิทัสสนธรรม สัปปฏิฆธรรม รูปีธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย โลกุตตรธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๓๘๘] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย อาสวธรรม อาสวสัมปยุตตธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม อาสวสัมปยุตตโนอาสวธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้นธรรม เหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖. และประกอบไม่ ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๘๙] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย อนาสวธรรม อาสว วิปปยุตตอนาสวธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ ด้วยธาตุ ๖.

[๓๙๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฌธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสสัมปยุตตธรรม ปรามาสปรามัฏฐธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 118

ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๙๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อปรามัฏฐธรรม ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะอะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบ ไม่ได้ด้วย ธาตุ ๖.

[๓๙๒] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยสารัมมณธรรม จิตตธรรม เจตสิกธรรม จิตตัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่า นั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และ ประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๙๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอนารัมมณธรรม จิตตวิปปยุตตธรรม จิตตวิสังสัฏธรรม. อุปาทาธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบ ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๙๔] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยอนุปาทินนธรรม ธรรม เหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๓๙๕] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย อุปาทานธรรม กิเลสธรรม สังกิลิฏธรรม กิเลสสัมปยุตตธรรม กิเสสกิเลสกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐธรรม สังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสกิเลสสัมยุตต-

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 119

ธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วย ธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๙๖] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยอสังกิเลสกธรรม กิเลสวิปปยุตตธรรม อสังกิเลสธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรม เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะอะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบ ไม่ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๓๙๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วย อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๙๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอวิตักกธรรม สวิจารธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๓๙๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอวิตักกธรรม อวิจารธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๔๐๐] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยสัปปีติกธรรม ปีติสหคตธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 120

[๔๐๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสุขสหคตธรรม ธรรม เหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๐๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อุเปกขาสหคตธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๐๓] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยนกามาจรธรรม อปริยาปันนธรรม อนุตตรธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่า นั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะอะไรๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ ได้ด้วยธาตุ ๖.

[๔๐๔] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยรูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม นิยยานิกธรรม นิยตธรรม สรณธรรม ธรรมเหล่าใดประกอบ ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้นประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ และ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

จบวิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 121

อรรถกถาวิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก วิปปยุตเตน วิปปยุตตบท พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น ธรรมเหล่า ใด มีรูปขันธ์เป็นต้น ที่พระองค์ยกขึ้นแสดงไว้ในนิทเทสแห่งสัมปโยค. วิปปโยคะ. ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละทรงยกขึ้นแสดงในคำปุจฉาทั้งปวง. ส่วนบท ทั้งหลายที่มาโดยลำดับแห่งบทอื่น ก็เพราะท่านรวมคำวิสัชนาอันเป็นทำนอง เดียวกันไว้. บรรดาปัญหาเหล่านั้น บทใด ยกขึ้นแสดงเพื่อปุจฉา บทนั้น วิปปยุตด้วยธรรมเหล่าใด บัณฑิตพึงทราบการจำแนกธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วย สามารถแห่งธรรมเหล่านั้น. ด้วยว่า ธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น วิปปยุต ด้วยรูปขันธ์ และรูปขันธ์ก็วิปปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น. สำหรับนิพพานมีคติ อย่างสุขุมรูปนั่นแหละ. รูปขันธ์นั้น วิปปยุตด้วยนามขันธ์ ๔ ด้วยมนายตนะ ๑ ด้วยวิญาณธาตุ ๗ และด้วยธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นบางอย่างในธัมมายตนะและธัมมธาตุ. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้ แล.

จบอรรถกถาวิปปยุตเตนวิปปยุตตปท

๑๑. สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

[๔๐๕] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วยสมุทยสัจ มัคคสัจ โดย ขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ อาตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบ

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 122

ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๐๖] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วย อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้ ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๐๗] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วย สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๐๘] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วยอุเปกขินทรีย์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๒ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๐๙] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วย สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารเพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย ผัสสะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ตัณหาเพราะเวทนาเป็น

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 123

ปัจจัย อุปาทานเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กรรมภพ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. [๔๑๐] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วย ปริเทวะ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้ ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๑๑] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วยโสกะ ทุกข์ โทมนัส โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๑๒] ธรรมเหล่าใดสงเคราะห์ได้ด้วยอุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมี องค์ ๘ ผัสสะ เจตนา อธิโมกข์ มนสิการ เหตุธรรม เหตุสเหตุ- กธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม อาสวธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม สัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม อุปาทานธรรม กิเลสธรรม

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 124

กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐธรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. จบสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

อรรถกถาสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก สังคหิเตน สัมปยุตตะ วิปปยุตตบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า "สมุทยสจฺเจน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น ธรรม เหล่าใด มีสมุทยสัจจะเป็นต้น ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงแล้ว ในนิทเทสแห่ง สังคหิเตน สังคหิตบท ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละทรงยกขึ้นแสดงในปุจฉาทั้งปวง (ในที่นี้) ส่วนบททั้งหลายที่มาโดยลำดับแห่งบทอื่นนั้น เพราะรวมคำวิสัชนา เป็นทำนองเดียวกัน. ในนิทเทสนั้น ธรรมเหล่าใดนับสงเคราะห์ได้ ด้วยบทที่ ยกขึ้นแสดงเพื่อปุจฉา โดยสงเคราะห์ด้วยขันธ์เป็นต้น สัมปโยคะ หรือวิปปโยคะของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ด้วยธรรมเหล่าใด บัณฑิตพึงทราบการจำแนก ขันธ์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น.

ในปัญหานั้น มีนัยดังนี้. ธรรมทั้งหลาย อันนับเนื่องในสังขารขันธ์ นับสงเคราะห์ได้ด้วยสมุทยสัจจะโดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์เป็นต้นก่อน. ก็ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นสังขารขันธ์ทั้งหลายในธัมมายตนะและธัมมธาตุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 125

ชื่อว่า สัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ ที่เหลือด้วยอายตนะ ๑ ด้วยวิญญาณธาตุ ๗ และ ยกเว้นตัณหาเสียแล้ว ชื่อว่า สัมปยุตด้วยธรรมบางอย่าง เพราะสัมปยุตด้วย ธรรมที่เหลือ. และวิปปยุตด้วยรูปขันธ์ ๑ ด้วยรูปายตนะ ๑๐ ด้วยรูปธาตุ ๑๐ ชื่อว่า วิปปยุตด้วยธรรมบางอย่าง ในธัมมายตนะ ๑ ในธัมมธาตุ ๑ เพราะ ความวิปปยุตตด้วยรูปและนิพพาน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในปัญหาทั้งปวง โดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.

จบอรรถกถาสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

๑๒. สัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

[๔๑๓] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๑๔] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วย วิญญาณขันธ์ มนายตนะ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ธรรมเหล่า นั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๑๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสมุทยสัจ มัคคสัจ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 126

[๔๑๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย มนินทรีย์ ฯลฯ ธรรม เหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๑๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๑๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๑.

[๔๑๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๒๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยวิญญาณเพราะสังขารเป็น ปัจจัย ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 127

[๔๒๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยผัสสะเพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๒๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยเวทนาเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๒๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยตัณหาเพราะเวทนาเป็น ปัจจัย อุปาทานเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กรรมภพ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๒๔] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยโสกะ ทุกข์ โทมนัส ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๒๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๒๖] ธรรมเหล่าใดประกอบได้ด้วยอิทธิบาท ฯลฯ ธรรมเหล่า นั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 128

[๔๒๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยฌาน ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ. อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๒๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๒๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยผัสสะ เจตนา มนสิการ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๓๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยเวทนา สัญญา ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๓๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วย จิต ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๓๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอธิโมกข์ ฯลฯ ธรรม เหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 129

[๔๓๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม สวิ- ตักกสวิจารธรรม อวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๓๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยเหตุธรรม เหตุสเหตุกธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๓๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสเหตุกนเหตุธรรม เหตฺ- สัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุสเหตุกธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๓๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอาสวธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๓๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอาสวสัมปยุตตโนอาสวธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 130

[๔๓๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นิวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสปรามัฏฐ- ธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๓๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยปรามาสสัมปยุตตธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๔๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยจิตตธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

[๔๔๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยเจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗. สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑.

[๔๔๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอุปาทานธรรม กิเลสธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏธรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 131

[๔๔๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม สวิตักกธรรม สวิจารธรรม สัปปีติกธรรม ปีติสหคตธรรม สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗.

จบสัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

อรรถกถาสัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปยุตเตน สังคหิตะ อสังคหิตะ พระผู้- มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น ธรรมเหล่าใดมีเวทนาขันธ์เป็นต้น ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงในนิทเทสแห่ง สัมปยุตเตน สัมปยุตตบท ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ทรงยกขึ้นในคำปุจฉาทั้ง ปวง. ในปัญหานั้น ธรรมเหล่าใด สัมปยุตกับด้วยบทที่ยกขึ้นแสดงเพื่อปุจฉา การนับสงเคราะห์เข้ากันได้ หรือการนับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ของธรรมเหล่า นั้น ด้วยธรรมเหล่าใด บัณฑิตพึงทราบการแยกธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วย สามารถแห่งธรรมเหล่านั้น. ในปัญหานั้น มีนัยดังนี้. ก็เวทนาขันธ์ สัมปยุต ด้วยธรรมทั้งหลายมีสัญญาเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้นมีสัญญาเป็นต้น นับสงเคราะห์ ได้ ด้วยขันธ์ ๓ มีสัญญาเป็นต้น ด้วยอายตนะ ๒ คือ ธัมมายตนะ มนายตนะ

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 132

ด้วยธาตุ ๘ คือ ด้วยธัมมธาตุ ๑ วิญญาณธาตุ ๗ แต่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ และธาตุที่เหลือ. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในปัญหาทั้งปวง โดยอุบายนี้ แล.

จบอรรถกถาสัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

๑๓. อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

[๔๔๔] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปขันธ์ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๔๕] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธัมมายตนะ ธัมมธาตุ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ นามรูปเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อสัญญาภพ เอกโวการภพ ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๔๖] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพ อิทธิบาท ฯลฯ โดยขันธสังคหะ อายตน-

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 133

สังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๔๗] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยกุศลธรรม อกุศลธรรม สุขเวทนาสัมปยุตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม วิปากธรรม วิปากธัมมธรรม อนุปาทินนานุ- ปาทานิยธรรม สังกิลิฏฐสังเลสิกธรรม อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกธรรม สวิตักกสวิจารธรรม อวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม อาจยคามีธรรม อปจยคามีธรรม เสกขธรรม อเสกขธรรม มหัคคตธรรม อัปปมาณธรรม ปริตตารัมมณธรรม มหัคคตารัมมณธรรม อัปปมาณารัมมณธรรม หีนธรรม ปณีตธรรม มิจฉัตตนิยตธรรม สัมมัตตนิยตธรรม มัคคารัมมณธรรม มัคคเหตุกธรรม มัคคา ธิปติธรรม อตีตารัมมณธรรม อนาคตารัมมณธรรม ปัจจุปปันนารัมมณธรรม อัชฌัตตารัมมณธรรม พหิทธารัมมณธรรม อัชฌัตตพหิทธารัมมณธรรม สเหตุกธรรม เหตุสัมปยุตตธรรม สุเหตุกนเหตุธรรม เหตุสัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุสเหตุกธรรม ฯลฯ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 134

[๔๔๘] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปีธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ และประกอบได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๔๙] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอรูปีธรรม โลกุตตรธรรม อนาสวธรรม อาสวสัมปยุตตธรรม อาสวสัมปยุตตโนอาสวธรรม อาสววิปปยุตตอนาสวธรรม อสัญโญชนิยธรรม อคันถนิยธรรม อโนฆนิยธรรม อโยคนิยธรรม อนีวรณิยธรรม อปรามัฏฐธรรม ปรามาสสัมปยุตตธรรม ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐธรรม สารัมมณธรรม ฯลฯ โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

[๔๕๐] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอนารัมมณธรรม โนจิตตธรรม จิตตวิปปยุตตธรรม จิตตวิสังสัฏฐธรรม จิตตมุฏฐานธรรม จิตตสหภูธรรม จิตตานุปริวัตติธรรม พาหิรธรรม อุปาทาธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ ๓ และประกอบ ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และประกอบไม่ ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 135

[๔๕๑] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย อนุปาทานิยธรรม อุปาทานสัมปยุตตธรรม อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานธรรม อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยธรรม อสังกิเลสิกธรรม อสังกิลิฏฐธรรม กิเลสสัมปยุตตตธรรม สังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกธรรม ทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม สวิตักกธรรม สวิจารธรรม สัปปีติกธรรม ปีติ- สหคตธรรม สุขสหคตธรรม อุเปกขาสหคตธรรม นกามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม นิยยานิกธรรม นิยตธรรม อนุตตรธรรม สรณธรรม โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้นประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้. ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ ประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางอย่าง.

จบอสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

อรรถกถาอสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก อสังคหิเตน สัมปยุตตะ วิปปยุตตบท พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า " รูปกฺขนฺเธน " เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น ธรรมเหล่าใด มีปัญหาเช่นกับด้วยรูปขันธ์ ในนิทเทสแห่งอสังหิเตน อสังคหิตบท ที่ ๕ และธรรมเหล่าใดเช่นกับด้วยอรูปภพ ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ พระองค์ ทรงยกขึ้นแสดงไว้ ส่วนบททั้งหลายที่เหลือที่มิได้ยกมา (ในที่นี้) ฉะนั้น บท เหล่านั้นจึงมิได้ยกขึ้นแสดง. เพราะว่า รูปและอรูปธรรมทั้งหลายมิได้นับ

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 136

สงเคราะห์ด้วยเวทนาขันธ์ โดยอำนาจแห่งความเป็นขันธ์เป็นต้น ทั้งชื่อว่า สัมปโยคะแห่งบทเหล่านั้นก็มิได้มี ฉะนั้น บทเหล่าใด ที่มิได้ยกมาแสดง บทเหล่านั้นนั่นแหละ ทรงยกขึ้นแสดงรวมพร้อมกับคำวิสัชนาอันเป็นทำนอง เดียวกัน. ในปัญหานั้น ธรรมเหล่าใด ที่สงเคราะห์ได้ ด้วยธรรมที่ยกขึ้น แสดงเพื่อปุจฉา ด้วยสามารถแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น ธรรมเหล่านั้นสัมปยุต และวิปปยุตด้วยธรรมเหล่าใด บัณฑิตพึงทราบการจำแนกธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น. ในปัญหานั้น มีนัยดังนี้ วิญญาณเทียวนับ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปขันธ์ โดยการสงเคราะห์ ๓ อย่างก่อน. วิญญาณนั้น สัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น และด้วยธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็น ต้นในธัมมายตนะและธัมมธาตุทั้งหลาย. และวิปปยุตด้วยรูปขันธ์ ๑ ด้วย รูปายตนะ ๑๐ ด้วยรูปธาตุ ๑๐ และด้วยธรรม คือ รูปและนิพพานใน ธัมมายตนะและธัมมธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าหมายเอาวิญญาณนั้น จึงตรัสว่า "เต ธมฺมา ตีหิ ขนฺเธหิ" เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความทั้งปวง โดย นัยนี้ แล.

จบอรรถกถาอสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตบท

๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

[๔๕๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยรูปขันธ์ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ ด้วยขัน ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 137

[๔๕๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๔๕๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยจักขวายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ จักขุธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๕๕] ธรรมเหล่าใดประกอบไม่ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดย ความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๔๕๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยทุกขสัจ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๕๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสมุทยสัจ มัคคสัจ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 138

ื [๔๕๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยนิโรธสัจ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๕๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยมนินทรีย์ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้น นิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่ได้ด้วย ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๔๖๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความ เป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๖๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอุเปกขินทรีย์ ธรรม เหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๔๖๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญัตญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 139

อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๖๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยวิญญาณเพราะสังขาร เป็นปัจจัย ผัสสะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๔๖๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยตัณหาเพราะเวทนาเป็น ปัจจัย อุปาทานเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กรรมภพ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๖๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอุปปัตติภพ สัญญาภพ ปัญจโวการภพ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๔๖๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยกามภพ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๕. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๓.

[๔๖๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยรูปภพ อสัญญาภพ เอกโวการภพ ปริเทวะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 140

๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๖๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพ โสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท ฌาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความ เป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้..

[๔๖๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต มนสิการ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๔๗๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอธิโมกข์ ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๔๗๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยกุศลธรรม อกุศลธรรม สุขเวทนาสัมปยุตตตธรรม ทุกขเวทนาสัมปยุตตธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 141

[๔๗๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอัพยากตธรรม ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๗๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตตธรรม วิปากธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๓. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้ สะเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๔๗๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยวิปากธัมมธรรม สังกิลิฏฐสังกเลสิกธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์ แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่มีด้วย ขันธ์ อายตนะ. ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้.

[๔๗๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยเนววิปากนวิปากธัมมธรรม อนุปาทินนุปาทานิยธรรม อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม อสังกลิฏฐาสังกเลสกธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๗๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอุปาทินนุปาทานิยธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 142

ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๔๗๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑. ธาตุ ๑๖.

[๔๗๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสวิตักกสวิจารธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้น นิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มี ขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๔๗๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอวิตักกวิจารมัตตธรรม ปีติสหคตธรรม สุขสหคตธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความ เป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๘๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอวิตักกาวิจารธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๔๘๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอุเปกขาสหคธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 143

[๔๘๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปทาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม อาจยคามีธรรม อปจยคามีธรรม เสกขธรรม อเสกขธรรม มหัคคตธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๘๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพธรรม เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม เนวาจยคามีนาปจยคามีธรรม เนวเสกขานาเสกขธรรม ปริตตธรรม ธรรมเหล่า นั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๘๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอัปปมาณธรรม ปณีตธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๘๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยปริตตารัมมณธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยธาตุ ๖.

[๔๘๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยมหัคคตารัมมณธรรม อัปปมาณารัมมณธรรม หีนธรรม มิจฉัตตนิยตธรรม สัมมัตตนิยต-

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 144

ธรรม มัคคารัมมณธรรม มัคคเหตุกธรรม มัคคาธิปติธรรม ธรรม เหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๘๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยมัชฌิมธรรม อนิยตธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๘๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอุปปันนธรรม อนุปปันนธรรม อุปปาทิธรรม อตีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุปปันน - ธรรม อัชฌัตตธรรม พหิทธรรม สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔. อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๘๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อตีตารัมมณธรรม อนาคตารัมมณธรรม อัชฌัตตารัมมณธรรม พหิทธารัมมณธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๙๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยปัจจุปปันนารัมมณธรรม อัชฌัตตพหิทธารัมมณธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความ

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 145

เป็นขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๒. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะอะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยธาตุ ๖.

[๔๙๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย เหตุธรรม สเหตุกธรรม เหตุสัมปยุตตธรรม เหตุสเหตุกธรรม สเหตุกนเหตุธรรม เหตุเหตุสัมปยุตตธรรม เหตุสัมปยุตตนเหตุธรรม นเหตุเหตุกธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๙๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอเหตุธรรม เหตุวิปปยุตตธรรม นเหตุอเหตุกธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๔๙๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอัปปัจจยธรรม อสังขตธรรม สนิทัสสนธรรม สัปปฏิฆธรรม รูปีธรรม โลกุตตรธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๙๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยโลกิยธรรม ธรรมเหล่า นั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 146

[๔๙๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอาสวธรรม อาสวสัมปยุตตธรรม อาสวสาสวธรรม อาสวอาสวสัมปยุตตตธรรม อาสววิปปยุตตโนอาสวธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้

[๔๙๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสาสวธรรม อาสววิปปยุตตธรรม สาสวโนอาสวธรรม อาสววิปปยุตตสาสวธรรม ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตน ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖

[๔๙๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย อนาสวธรรม อาสววิปปยุตตอนาสวธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย คันถอายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๔๙๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสัญโญชนธรรม คันถธรรม โอฆธรรม โยคธรรม นีวรณธรรม ปรามาสธรรม ปรามาสสัมปยุตตธรรม ปรามาสปรามัฏฐธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพาน โดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๔๙๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย ปรามัฏฐธรรม ปรามาสวิปปยุตตธรรม ปรามัฏฐโนปรามาสธรรม ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 147

[๕๐๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอปรามัฏฐธรรม ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๕๐๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสารัมมณธรรม จิตตธรรม เจตสิกธรรม จิตตสัมปยุตตธรรม จิตตสังสัฏฐธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม จิตตสังสัฏฐ- สมุฏฐานานุปริวัตติธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็น ขันธ์แล้วสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗.

[๕๐๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอนารัมมณธรรม จิตตวิปปยุตตธรรม จิตตวิสังสัฏฐธรรม อุปาทาธรรม อนุปาทินนธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๕๐๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอุปาทินนธรรม ธรรม เหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๕.

[๕๐๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอุปาทานธรรม กิเลสธรรม สังกิลิฏฐธรรม กิเลสสัมปยุตตธรรม กิเลสสังกิเลสิกธรรม กิเลสสังกิลิฏฐธรรรม สังกิลิฏฐโนกิเลสธรรม กิเลสกิเลสสัมปยุตตธรรม กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดย

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 148

ความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่ สงเคราะห์ไม่ได้.

[๕๐๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสังกิเลสิกธรรม อสังกิลิฏฐธรรม กิเลสวิปปยุตตธรรม สังกิเลสิกโนกิเลสธรรม กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๕๐๖] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอสังกิเลสิกธรรม กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

[๕๐๗] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยทัสสนปหาตัพพธรรม ภาวนาปหาตัพพธรรม ทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม ภาวนาปหาตัพพเหตุกธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๕๐๘] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยนทัสสนปหาตัพพธรรม นภาวนาปหาตัพพธรรม นทัสสนปหาตัพพเหตุกธรรม สภาวนาปหาตัพพเหตุธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 149

[๕๐๙] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสวิตักกธรรม สวิจารธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๗. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ ได้ด้วยธาตุ ๑.

[๕๑๐] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยสัปปีติกธรรม ปีติสหคตธรรม สุขสหคตธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็น ขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ ไม่ได้.

[๕๑๑] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยอุเปกขาสหคตธรรม ธรรมเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๓. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ไม่มีขันธ์ อายตนะ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ ๕.

[๕๑๒] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยกามาวจรธรรม ปริยาปันนธรรม สอุตตรธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

[๕๑๓] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยนกามาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม อนุตตรธรรม ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 150

[๕๑๔] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยรูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม นิยยานิกธรรม นิยตธรรม สรณธรรม ธรรมเหล่านั้นยกเว้น นิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ อะไรๆ ที่สงเคราะห์ไม่ได้.

[๕๑๕] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยนรูปาวจรธรรม นอรูปาวจรธรรม อนิยยานิกธรรม อนิยตธรรม อสรณธรรม ธรรมเหล่า นั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖.

สรุปข้อธรรมดังกล่าวมาแล้ว

ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ชีวิตินทรีย์ นามรูป สฬายตนะ ชาติ ชราและมรณะและใน ๒ ติกะย่อม (แสดง) ไม่ได้.

ในหมวดแรก ได้ธรรม (ในจูฬันตรทุกะ) ๗ บทและ (ในโคจฉกะ) ๑๐ บท ในหมวดถัดมาได้ธรรม (ในมหันตรทุกะ) ๑๔ บท ในหมวดสุดท้าย ได้ธรรม (ในปิฏฐิทุกะ) ๖ บท.

ธรรม ๔๗ เหล่านี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ (แสดงไม่ได้) ย่อมได้โดย สมุจเฉท และโดยโมฆปุจฉกะ ฉะนี้แล.

จบวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

ธาตุกถา จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 151

อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

บัดนี้ เพื่อจำแนก วิปปยุตเตนสังคหิตาสงัดหิตบท พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น วิปปโยคะของบทเหล่าใด ที่มิได้ยกขึ้นมา (ในที่นี้) บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาในวาระนี้. ถามว่า ก็บทเหล่านั้น เป็นบทอะไร ตอบ ว่าเป็นบทธัมมายตนะเป็นต้น. เพราะว่าวิปปโยคะ ย่อมไม่มีในธรรมทั้งหลาย มีขันธ์เป็นต้นของธัมมายตนะ แม้สักบทเดียว. แม้ในธัมมธาตุเป็นต้น ก็นัย นี้นั่นแหละ. บัณฑิตพึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้นดังนี้.

"ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ชีวิตินฺทฺริยเมว จ นามรูปปทญฺเจว สฬายตนเมว จ. ชาติอาทิตฺตยํ เอกํ ปทํ วีสติเม ติเก ติกาวสานิกํ เอกํ สตฺต จูฬนฺตเร ปทา. ทเสว โคจฺฉเก โหนฺติ มหทนฺตรมฺหิ จุทฺทส ฉ ปทานิ ตโต อุทฺธํ สพฺพานิปิ สมาสโต. ปทานิ จ ลพฺภนฺติ จตฺตาฬีสญฺจ สตฺตธา".

แปลว่า

ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ชีวิตินทรีย์ นามรูป สฬายตนะ ธรรมทั้ง ๓ มีชาติเป็นต้น (คือ ชาติ ชรา มรณะ) ในติกะที่ ๒๐ บทหนึ่ง (คือ อัชฌัตตพหิทธบท) บทสุดท้ายของติกะ ๑ บท คือ (อนิทัสสนอัปปฏิฆบท) ในจูฬันตรทุกะ ๗ บท ในโคจฉกะ ๑๐ บท ในมหันตร--

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 152

ทุกะ ๑๔ บท ต่อจากนั้นอีก ๖ บท (คือ ปิฏฐิทุกะ ๖) บทเหล่านี้ แม้ทั้งหมดท่านแสดงไว้โดยย่อ รวม ๔๗ บท เหล่านี้ ย่อมประกอบไม่ได้ (หมายความว่าเป็น วิปปยุต).

แม้คาถาสุดท้าย มีค่าว่า. "ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ" เป็นต้น พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงอรรถนี้นั่นแหละ. ก็แต่ว่า เว้นบทเหล่านี้แล้ว บทที่เหลือแม้ทั้งหมด ย่อมได้ (คือ หมายความว่า สงเคราะห์เข้ากันได้). การจำแนกโดยความเป็นขันธ์เป็นต้น ในบทเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบโดย ทำนองแห่งนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละดังนี้แล.

จบ อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 153

คำนิคม

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ฉลาดในการจำแนกธาตุ ตรัสคัมภีร์ธาตุกถาอันใดไว้ บัดนี้ การประกาศส่วนนยมุข คือหัวข้อที่เป็นประธานของคัมภีร์นั้นจบลงแล้ว. ก็แล นัยแม้ทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้เป็นเพียงสังเขปกถาบุคคลผู้ฉลาดอาจเพื่อรู้ส่วนนยมุข คือหัวข้อที่พระองค์ทรงแสดงนี้ได้. ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวเนื้อความพิสดารแห่งคัมภีร์นี้ทุกๆ บทไซร้ ก็จะพึงกล่าวถ้อยคำนั้นมากเหลือเกิน ทั้งเนื้อความนั้น ก็มิได้แปลกกันเลย.

บุญกุศลใด อันข้าพเจ้า ผู้กระทำคัมภีร์นี้ เพื่อแบบแผน มีประมาณ ๒ ภาณวารหย่อนสำเร็จลงแล้วด้วยประการฉะนี้ ขอกุศลผลบุญนั้น จงถึงแก่สัตวโลกทั้งหลาย เพื่อความสุขเกษมสำราญตลอดกาลนิรันดร์เทอญ.

จบ อรรถกถาแห่งธาตุกถาปกรณ์