ปุคคลปัญญัติ
[เล่มที่ 79] พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓
ปุคคลปัญญัติ
อุทเทสวาระ
เอกกมาติกา
ทุกมาติกา
ติกมาติกา
จตุกกมาติกา
ปัญจกมาติกา
ฉักกมาติกา
สัตตกมาติกา
บุคคล ๗ จําพวกอื่นอีก หน้า 176
อัฏฐกมาติกา
นวกมาติกา
ทสกมาติก
อรรถกถาปุคลปัญญัติปกรณ์
บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์ หน้า 183
อีกนัยหนึ่งบัญญัติ ๖ ของอาจารย์ หน้า 186
เอกกนิทเทส
อรรถกถาสมยวิมุตตบุคคล หน้า 190
อรรถกถาอสมยวิมุตตบุคคล หน้า 193
อรรถกถาอกุปปธรรมบุคคล หน้า 198
อรรถกถาปริหานธรรมบุคคลและอปริหานธรรมบุคคล หน้า 199
อรรถกถาเจตนาภัพพบุคคล หน้า 200
อรรถกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล หน้า 201
อรรถกถาอภัพพาคมนบุคคลและภัพพาคมนบุคคล หน้า 207
อรรถกถานิยตบุคคลและอนิตยบุคคล หน้า 208
อรรถกถาเสกขะและอเสกขบุคคล หน้า 216
อรรถกถาเตวิชชบุคคลและฉฬภิญญบุคคล หน้า 217
อรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล หน้า 218
อรรถกถาปัจเจกสัมพุทธบุคคล หน้า 219
อรรถกถาอุภโตภาควิมุตตบุคคล หน้า 220
อรรถกถาปัญญาวิมุตตบุคคล หน้า 222
อรรถกถาทิฏฐิปัตตบุคคล หน้า 224
อรรถกถาสัทธาวิมุตตบุคคล หน้า 226
อรรถกถาธัมมานุสารีบุคคล หน้า 228
อรรถกถาสัทธานุสารีบุคคล หน้า 229
อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมบุคคล หน้า 232
อันตราปรินิพพายีบุคคล หน้า 240
อรรถกถาอันตราปรินิพพายีบุคคล หน้า 241
อุปหัจจปรินิพพายีบุคคล หน้า 241
อรรถกถาอุปหัจจปรินิพพายีบุคคล หน้า 242
อสังขารปรินิพพายีบุคคล หน้า 242
สสังขารปรินิพพายีบุคคล หน้า 243
อรรถกถาอสังขารปรินิพพายีและสสังขารปรินิพพายีบุคคล หน้า 243
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล หน้า 244
บุคคลผู้ปฏิบัติแล้วทําให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลเป็นโสดาบัน หน้า 244
อรรถกถาอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล หน้า 245
ทุกนิเทส
อรรถกถาบุคคลผู้มักโกรธเป็นต้น หน้า 253
อินทริยาคุตตทวารบุคคล หน้า 256
อรรถกถาวหิริกบุคคลเป็นต้น หน้า 259
อรรถกถาทอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล หน้า 245
ทุลลภบุคคล บุคคนผู้หาได้ยาก ๒ จําพวก หน้า 267
อรรถกถาบุคคลผู้หาได้ยาก ๒ จําพวก หน้า 267
อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จําพวก หน้า 269
สุตัปปยบุคคล บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จําพวก หน้า 270
อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย หน้า 270
อาสวะย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จําพวก หน้า 270
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จําพวก หน้า 271
ติกนิทเทส
อรรถกถาบุคคลผู้ไม่มีความหวังเป็นต้น หน้า 276
บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จําพวก หน้า 281
อรรถกถาคิลานูปมบุคคลเป็นต้น หน้า 282
อรรถกถาอุรุกูปมจิตตบุคคลเป็นต้น หน้า 291
อรรถกถาอันธบุคคลเป็นต้น หน้า 295
อรรถกถาอวกุชชปัญญบุคคลเป็นต้น หน้า 299
บุคคลผู้มีราคะยังไม่ไปปราศในกามและภพ หน้า 302
บุคคลมีราคะไปปราศแล้วในกาม แต่มีราคะยังไม่ปราศแล้วในภพ หน้า 302
อรรถกถาบุคคลผู้มีราคะยังไม่ไปปราศแล้วเป็นต้น หน้า 303
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดในหินเป็นต้น หน้า 305
บุคคลเปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จําพวก หน้า 307
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จําพวก หน้า 308
บุคคลผู้เปรียบด้วยผ้าป่านแคว้นกาสี ๓ จําพวก หน้า 310
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จําพวก หน้า 311
อรรถกถาสุปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณได้ง่ายเป็นต้น หน้า 313
บุคคลไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ หน้า 315
บุคคลควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ หน้า 315
บุคคลควรสักการะเคารพ สมาคม คบหาเข้าใกล้ หน้า 316
อรรถกถาบุคคลไม่ควรสมาคมเป็นต้น หน้า 316
บุคคลที่ควรรังเกียจไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ หน้า 318
บุคคลที่ควรเฉยๆ เสียไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ หน้า 319
บุคคลที่ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ หน้า 320
อรรถกถาบุคคลที่ควรรังเกียจเป็นต้น หน้า 320
บุคคลผู้มีราคะไปปราศในกามและในภพ หน้า 303
บุคคลผู้มีปกติทําให้บริบูรณ์ในศีล มีปกติกระทําแต่พอประมาณในสมาธิ ฯลฯ หน้า 322
บุคคลผู้มีปกติทําให้บริบูรณ์ในศีล ฯลฯ หน้า 322
บุคคลผู้มีปกติทําให้บริบูรณ์ในศีล ฯลฯ หน้า 322
อรรถกถาบุคคลผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีลเป็นต้น หน้า 322
ศาสดา ๓ จําพวกแม้อื่นอีก หน้า 325
อรรถกถาศาสดา ๓ จําพวก หน้า 326
จตุกกนิทเทส
บุคคล ๔ จําพวก มีบุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษเป็นต้น หน้า 328
อรรถกถาบุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษเป็นต้น หน้า 329
กัลยาเณนกัลยาณตรบุคคล หน้า 331
อรรถกถาปาปบุคคล บุคคลผู้ลามกเป็นต้น หน้า 332
ปาปธัมเมนปาปธัมมตรบุคคล หน้า 333
กัลยาณธัมเมนกัลยาณธัมมตรบุคคล หน้า 333
อรรถกถาปาปธัมมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมลามกเป็นต้น 333
อรรถกถาสาวัชชบุคคล บุคคลผู้มีโทษ เป็นต้น หน้า 335
อรรถกถาบุคคลผู้อุคฆฏิตัญูเป็นต้น หน้า 337
วิเคราะห์ศัพท์ เนยยบุคคล หน้า 338
บุคคลผู้โต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง หน้า 339
บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว หน้า 339
บุคคลผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและว่องไว หน้า 339
อรรถกถาบุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไวเป็นต้น หน้า 339
บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จําพวก หน้า 341
อรรถกถาบุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จําพวก หน้า 341
บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จําพวก หน้า 342
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยวลาหก ๔ จําพวก หน้า 344
บุคคลผู้เปรียบด้วยหนู ๔ จําพวก หน้า 345
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยหนู ๔ จําพวก หน้า 347
บุคคลผู้เปรียบด้วยมะม่วง ๔ ชนิด หน้า 349
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยมะม่วง ๔ ชนิด หน้า 350
บุคคลผู้เปรียบด้วยหม้อ ๔ ชนิด หน้า 351
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยหม้อ ๔ ชนิด หน้า 353
บุคคลผู้เปรียบด้วยห้วงน้ํา ๔ ชนิด หน้า 354
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยห้วงน้ํา ๔ ชนิด หน้า 355
บุคคลผู้เปรียบด้วยโคถึก ๔ จําพวก หน้า 356
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยโคถึก ๔ จําพวก หน้า 358
บุคคลผู้เปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จําพวก หน้า 359
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จําพวก หน้า 360
บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองพูดสรรเสริญคนที่ไม่ควรสรรเสริญ หน้า 360
บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองพูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ หน้า 361
บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรอง เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส หน้า 361
บุคคลไม่ใคร่ควรแล้วไม่ไตร่ตรองแล้วไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส หน้า 361
บุคคลใคร่ควรแล้วไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียน หน้า 361
บุคคลใคร่ควรแล้วไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ หน้า 362
บุคคลใคร่ครวญ ไตร่ตรองแล้วไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส หน้า 362
บุคคลใคร่ครวญแล้วไตร่ตรองแล้วเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส หน้า 362
บุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ฯลฯ หน้า 362
บุคคลสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ ฯลฯ หน้า 363
บุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ฯลฯ หน้า 363
บุคคลไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ฯลฯ หน้า 363
อรรถกถาบุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียนเป็นต้น หน้า 364
บุคคลดํารงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ฯลฯ หน้า 365
บุคคลดํารงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ ฯลฯ หน้า 356
บุคคลดํารงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ฯลฯ หน้า 365
บุคคลผู้มิใช่ดํารงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วย ฯลฯ หน้า 365
อรรถกถาบุคคลผู้ดํารงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นเป็นต้น หน้า 366
อรรถถาตโมตมปรายนบุคคล บุคคลผู้มืดมามืดไปเป็นต้น หน้า 369
บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จําพวก หน้า 373
อธิบายบุคคลผู้เปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จําพวก หน้า 374
รูปัปปมาโณรูปัปปสันนบุคคล หน้า 375
โฆสัปปมาโณโฆสัปปสันนบุคคล หน้า 375
ลูขัปปมาโณลูขัปปสันนบุคคล หน้า 375
ธัมมัปปมาโณธัมมัปปสันนบุคคล หน้า 376
อรรถกถารูปัปปมาโณรูปัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณเลื่อมใสในรูป เป็นต้น หน้า 376
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯลฯ หน้า 379
บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น ฯลฯ หน้า 379
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย ฯลฯ หน้า 379
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯลฯ หน้า 380
อรรถกถาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเป็นต้น หน้า 380
บุคคลทําตนให้เดือดร้อน ฯลฯ หน้า 381
บุคคลทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ฯลฯ หน้า 383
บุคคลทําตนให้เดือดร้อน ฯลฯ หน้า 383
บุคคลไม่ทําตนให้เดือดร้อน ฯลฯ หน้า 384
อรรถกถาบุคคลทําตนให้เดือดร้อนเป็นต้น หน้า 390
อรรถกถาสราคบุคคล บุคคลผู้มีราคะเป็นต้น หน้า 418
บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ฯลฯ หน้า 418
บุคคลผู้ได้ปัญญาเห็นแจ้งธรรม หน้า 418
บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ฯลฯ หน้า 418
บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ฯลฯ หน้า 419
อรรถกถาบุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ฯลฯ เป็นต้น หน้า 419
บุคคลผู้เข้าถึงฝังยืนอยู่บนบก ฯลฯ หน้า 420
อรรถกถาอนุโสตคามีบุคคล บุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นต้น หน้า 421
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ฯลฯ หน้า 422
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ฯลฯ หน้า 422
บุคคลผู้มีสุตะมาก ฯลฯ หน้า 422
บุคคลผู้มีสุตะมาก ฯลฯ หน้า 423
อรรถกถาบุคคลผู้มีสุตะน้อยเป็นต้น หน้า 423
อรรถกถาสมณมจลบุคคล บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหวเป็นต้น หน้า 425
ปัญจกนิทเทส
บุคคลดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วม หน้า 431
อรรถกถาบุคคลให้แล้วดูหมิ่นเป็นต้น หน้า 432
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จําพวก หน้า 439
ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จําพวก หน้า 441
อรรถกถาภิกษุผู้ถือบิณฑบาตรเป็นวัตร ๕ จําพวก หน้า 442
ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตอันเขานํามาถวายต่อภายหลังเป็นวัตรเป็นต้น ๕ จําพวก หน้า 444
อรรถกถาภิกษุผู้ถือการห้ามภัตอันเขานํามาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตรเป็นต้น หน้า 445
ฉักกนิทเทส
สัตตกนิทเทส
บุคคล ๗ จําพวก มีบุคคลผู้จมแล้วคราวเดียวย่อมจมลงอยู่นั่นเอง เป็นต้น หน้า 448
บุคคล ๗ จําพวก มีบุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นต้น หน้า 450
อัฏฐกนิทเทส
นวกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๘ และ ๙ จําพวก หน้า 458
ทสกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๑๐ จําพวก หน้า 460
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 79]
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 155
พระอภิธรรมปิฎก
เล่มที่ ๓
ปุคคลปัญญัติ (๑)
อุทเทสวาระ
[๑] บัญญัติ ๖ ประการ คือ
๑. ขันธบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นขันธ์
๒. อายตนบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นอายตนะ
๓. ธาตุบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นธาตุ
๔. สัจจบัญญัติ บัญญัติวาเป็นสัจจะ
๕. อินทริยบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นอินทรีย์
๖. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นบุคคล
๑. ขันธบัญญัติ
[๒] การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่า ขันธ์ มีเท่าไร ขันธ์มี ๕ คือ
๑. รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
๑. บาลีเล่มที่ ๓๖. คัมภีร์ที่ ๔
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 156
๓. สัญญาขันธ์
๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์
การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่า ขันธ์ ก็มี ๕ ตามจำนวนหมวดธรรมเหล่านั้น.
๒. อายตนบัญญัติ
[๓] การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิดว่า อายตนะ มีเท่าไร อายตนะ มี ๑๒ คือ
๑. จักขวายตนะ
๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ
๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ
๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ
๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ
๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ
๑๒. ธัมมายตนะ
การบัญญัติธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่า อายตนะ ก็มี ๑๒ ตามจำนวนธรรมเหล่านั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 157
๓. ธาตุบัญญัติ
[๔] การบัญญัติธรรมที่ทรงอยู่ว่า ธาตุ มีเท่าไร ธาตุมี ๑๘ คือ
๑. จักขุธาตุ
๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ
๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ
๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ
๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ
๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ
การบัญญัติธรรมที่ทรงอยู่ว่า ธาตุ ก็มี ๑๘ ตามจำนวนธรรมเหล่านี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 158
๔. สัจจบัญญัติ
[๕] การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงว่า สัจจะ มีเท่าไร สัจจะมี ๔ คือ
๑. ทุกขสัจจะ
๒. สมุทยสัจจะ
๓. นิโรธสัจจะ
๔. มัคคสัจจะ
การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงว่า สัจจะ ก็มี ๔ ตามจำนวนธรรมเหล่านี้.
๕. อินทริยบัญญัติ
[๖] การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่ว่า อินทรีย์ มีเท่าไร อินทรีย์มี ๒๒ คือ
๑. จักขุนทรีย์
๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์
๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
๖. มนินทรีย์
๗. อิติถินทรีย์
๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 159
๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์
๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์
๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธนทรีย์
๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย
๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่ว่า อินทรีย์ ก็มี ๒๒ ตามจำนวนธรรมเหล่านี้.
๖. บุคคลบัญญัติ
การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย มีเท่าไร
เอกกมาติกา
[๗] บุคคล ๑ จำพวก
๑. บุคคลผู้พ้นแล้วในสมัย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 160
๒. บุคคลผู้ทีมิใช่พ้นแล้วในสมัย
๓. บุคคลผู้มีธรรมกำเริบ
๔. บุคคลผู้มีธรรมไม่กำเริบ
๕. บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม
๖. บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม
๗. บุคคลผู้ควรโดยเจตนา
๘. บุคคลผู้ควรโดยตามรักษา
๙. บุคคลผู้ที่เป็นปุถุชน
๑๐. โคตรภูบุคคล
๑๑. บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว
๑๒. บุคคลมิใช่ผู้งดเว้นเพราะกลัว
๑๓. บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล
๑๔. บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล
๑๕. บุคคลผู้เที่ยงแล้ว
๑๖. บุคคลผู้ไม่เที่ยง
๑๗. บุคคลผู้ปฏิบัติ
๑๘. บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล
๑๙. บุคคลผู้ชื่อว่า สมสีสี
๒๐. บุคคลผู้ชื่อว่า ฐิตกัปปี
๒๑. บุคคลผู้เป็นอริยะ
๒๒. บุคคลผู้ไม่เป็นอริยะ
๒๓. บุคคลผู้เป็นเสกขะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 161
๒๔. บุคคลผู้เป็นอเสกขะ
๒๕. บุคคลผู้เป็นเสกขะก็มิใช่ ผู้เป็นอเสกขะก็มิใช่
๒๖. บุคคลผู้มีวิชชา ๓
๒๗. บุคคลผู้มีอภิญญา ๖
๒๘. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒๙. พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓๐. บุคคลผู้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต
๓๑. บุคคลผู้ชื่อว่า ปัญญาวิมุต
๓๒. บุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขี
๓๓. บุคคลผู้ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ
๓๔. บุคคลผู้ชื่อว่า สัทธาวิมุต
๓๕. บุคคลผู้ชื่อว่า ธัมมานุสารี
๓๖. บุคคลผู้ชื่อว่า สัทธานุสารี
๓๗. บุคคลผู้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ
๓๘. บุคคลผู้ชื่อว่า โกลังโกละ
๓๙. บุคคลผู้ชื่อว่า เอกพีชี
๔๐. บุคคลผู้ชื่อว่า สกทาคามี
๔๑. บุคคลผู้ชื่อว่า อนาคามี
๔๒. บุคคลผู้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี
๔๓. บุคคลผู้ชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี
๔๔. บุคคลผู้ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี
๔๕. บุคคลผู้ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 162
๔๖. บุคคลผู้ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
๔๗. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้วซึ่งโสดาปัตติผลเป็นโสดาบัน
๔๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็นสกทาคามี
๔๙. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลเป็นอนาคามี
๕๐. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลเป็นอรหันต์
จบ เอกกมาติกา
ทุกมาติกา
[๘] บุคคล ๒ จำพวก
๑. บุคคลผู้มักโกรธ
บุคคลผู้ผูกโกรธ
๒. บุคคลผู้ลบหลู่บุญคุณของผู้อื่น
บุคคลผู้ตีเสมอผู้อื่น
๓. บุคคลผู้มีความริษยา
บุคคลผู้มีความตระหนี่
๔. บุคคลผู้โอ้อวด
บุคคลผู้มีมารยา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 163
๕. บุคคลผู้ไม่มีหิริ
บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ
๖. บุคคลผู้ว่ายาก
บุคคลผู้มีมิตรชั่ว
๗. บุคคลผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
บุคคลผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ
๘. บุคคลผู้มีสติหลง
บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๙. บุคคลผู้มีศีลวิบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ
๑๐. บุคคลผู้มีสัญโญชน์ในภายใน
บุคคลผู้มีสัญโญชน์ในภายนอก
๑๑. บุคคลผู้ไม่มักโกรธ
บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ
๑๒. บุคคลผู้ไม่ลบหลู่บุญคุณของผู้อื่น
บุคคลผู้ไม่ตีเสมอผู้อื่น
๑๓. บุคคลผู้ไม่มีความริษยา
บุคคลผู้ไม่มีความตระหนี่
๑๔. บุคคลผู้ไม่โอ้อวด
บุคคลผู้ไม่มีมารยา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 164
๑๕. บุคคลผู้มีหิริ
บุคคลผู้มีโอตตัปปะ
๑๖. บุคคลผู้ว่าง่าย
บุคคลผู้มีมิตรดี
๑๗. บุคคลผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
บุคคลผู้รู้ประมาณในโภชนะ
๑๘. บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
๑๙. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
บุคคลผู้พร้อมด้วยทิฏฐิ
๒๐. บุคคล ๒ จำพวกที่หาได้ยาก
๒๑. บุคคล ๒ จำพวกที่ให้อิ่มได้ยาก
๒๒. บุคคล ๒ จำพวกที่ให้อิ่มได้ง่าย
๒๓. อาสวะย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก
๒๔. อาสวะย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก
๒๕. บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว
บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต
๒๖. บุคคลผู้อิ่มแล้ว
บุคคลผู้ให้คนอื่นอิ่ม
จบ ทุกมาติกา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 165
ติกมาติกา
[๙] บุคคล ๓ จำพวก
๑. บุคคลผู้ไม่มีความหวัง
บุคคลผู้มีความหวัง
บุคคลผู้มีความหวังปราศไปแล้ว
๒. บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวก
๓. บุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขีะ
บุคคลผู้ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้ชื่อว่า สัทธาวิมุต
๔. บุคคลผู้มีวาจาเหมือนคูถ
บุคคลผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้
บุคคลผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง
๕. บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเรื้อรัง
บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า
๖. บุคคลผู้บอด
บุคคลผู้มีคาข้างเดียว
บุคคลผู้มีตาสองข้าง
๗. บุคคลผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ
บุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก
บุคคลผู้มีปัญญามาก
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 166
๘. บุคคลบางจำพวกยังไม่สิ้นทั้งกามราคะและภวราคะ
บุคคลบางจำพวกสิ้นกามราคะแล้วแต่ภวราคะยังมีอยู่
บุคคลบางจำพวกสิ้นหมดแล้วทั้งกามราคะและภวราคะ
๙. บุคคลเสมือนรอยขีดในหิน
บุคคลเสมือนรอยขีดในแผ่นดิน
บุคคลเสมือนรอยขีดในน้ำ
๑๐. บุคคลเปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จำพวก
๑๑. บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก
๑๒. บุคคลที่ประมาณได้ง่าย
บุคคลที่ประมาณได้ยาก
บุคคลที่ประมาณไม่ได้
๑๓. บุคคลบางคนไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
บุคคลบางคนควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้
บุคคลบางคนควรสักการะเคารพแล้ว จึงสมาคมจึงคบ จึงเข้าใกล้
๑๔. บุคคลบางคนควรเกลียด ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
บุคคลบางคนควรเฉยๆ เสีย ไม่ควรสมาคม ไม่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 167
ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
บุคคลบางคนควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้
๑๕. บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล มีปกติทำพอประมาณในสมาธิ มีปกติทำพอประมาณในปัญญา
บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีลด้วย มีปกติทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิด้วย มีปกติทำพอประมาณในปัญญา
บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีลด้วย มีปกติทำให้บริบูรณ์ในสมาธิด้วย มีปกติทำให้บริบูรณ์ในปัญญาด้วย
๑๖. ศาสดา ๓ ประเภท
๑๗. ศาสดา ๓ ประเภท แม้อื่นอีก
จบติกมาติกา
จตุกกมาติกา
[๑๐] บุคคล ๔ จำพวก
๑. คนที่เป็นอสัตบุรุษ
คนที่เป็นอสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
คนที่เป็นสัตบุรุษ
คนที่เป็นสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 168
๒. คนลามก
คนลามกยิ่งกว่าคนลามก
คนดี
คนดียิ่งกว่าคนดี
๓. คนมีธรรมลามก
คนมีธรรมลามกยิ่งกว่าคนมีธรรมลามก
คนมีธรรมงาม
คนมีธรรมงามยิ่งกว่าคนมีธรรมงาม
๔. คนมีโทษ
คนมีโทษมาก
คนมีโทษน้อย
คนไม่มีโทษ
๕. บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู
บุคคลผู้เป็นวิปัญจิตัญญู
บุคคลผู้เป็นเนยยะ
บุคคลผู้เป็นปทปรมะ
๖. บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว
บุคคลผู้โต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง
บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว
บุคคลผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและไม่ว่องไว
๗. บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก
๘. บุคคลผู้เปรียบเทียบด้วยวลาหก ๔ จำพวก
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 169
๙. บุคคลผู้เปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก
๑๐. บุคคลผู้เปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวก
๑๑. บุคคลผู้เปรียบด้วยหม้อ ๔ จำพวก
๑๒. บุคคลผู้เปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ จำพวก
๑๓. บุคคลผู้เปรียบด้วยโคถึก ๔ จำพวก
๑๔. บุคคลผู้เปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวก
๑๕. บุคคลบางคนไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ไม่ควรสรรเสริญ
บุคคลบางคนไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
บุคคลบางคนไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว มีความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
บุคคลบางคนไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
๑๖. บุคคลบางคนใคร่ครวญ ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน
บุคคลบางคนใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
บุคคลบางคนใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
บุคคลบางคนใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 170
๑๗. บุคคลบางคนพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน อันจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดสรรเสริญ คนที่ควรสรรเสริญ อันจริงแท้ตามกาล
บุคคลบางคนพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ อันจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน อันจริงแท้ตามกาล
บุคคลบางคนพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน อันจริงแท้ตามกาล และพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ อันจริงแท้ตามกาล
บุคคลบางคนไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน อันจริงแท้ตามกาล และไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ อันจริงแท้ตามกาล
๑๘. บุคคลผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ
บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น
บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วย ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย
บุคคลผู้มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้งมิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย
๑๙. บุคคลผู้มืดมามืดไป
บุคคลผู้มืดมาสว่างไป
บุคคลผู้สว่างมามืดไป
บุคคลผู้สว่างมาสว่างไป
๒๐. บุคคลผู้ต่ำมาแล้วต่ำไป
บุคคลผู้ต่ำมาแล้วสูงไป
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 171
บุคคลผู้สูงมาแล้วต่ำไป
บุคคลผู้สูงมาแล้วสูงไป
๒๑. บุคคลผู้เปรียบด้วยต้นไม้ ๔ อย่าง
๒๒. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง
บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง
บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสในความเศร้าหมอง
บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณเลื่อมใสในธรรม
๒๓. บุคคลบางคนปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น
บุคคลบางคนปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
บุคคลบางคนปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่นด้วย
บุคคลบางคนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น
๒๔. บุคคลบางคนทำตนให้เดือดร้อน ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน
บุคคลบางคนทำคนอื่นให้เดือดร้อน ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำคนอื่นให้เดือดร้อน
บุคคลบางคนทำตนให้เดือดร้อน ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อนด้วย ทำคนอื่นให้เดือดร้อน ขวนขวยประกอบสิ่งที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 172
บุคคลบางคนไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำคนอื่นให้เดือดร้อน ไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำคนอื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำคนอื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หมดหิว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว เสวยความสุขมีตนอันประเสริฐ สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐิธรรมเที่ยว
๒๕. บุคคลมีราคะ บุคคลมีโทสะ บุคคลมีโทสะ บุคคลมรมานะ
๒๖. บุคคลบางคนได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญา บุคคลบางคนได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรมคืออธิปัญญาแต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน บุคคลบางคนได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรมคืออธิปัญญาด้วย บุคคลบางคนไม่ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ไม่ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรม คืออธิปัญญาด้วย
๒๗. บุคคลผู้ไปตามกระแส บุคคลผู้ไปทวนกระแส บุคคลผู้ตั้งตัวได้แล้ว บุคคลผู้ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก เป็นพราหมณ์
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 173
๒๘. บุคคลผู้มีสุตะน้อย และไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์ เพราะสุตะ บุคคลผู้มีสุตะมาก และได้ประโยชน์เพราะสุตะ
๒๙. บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว บุคคลผู้เป็นสมณะบัวหลวง บุคคลผู้เป็นสมณะบัวขาว บุคคลผู้เป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ
จบจตุกกมาติกา
ปัญจกมาติกา
[๑๑] บุคคล ๕ จำพวก
๑. บุคคลบางคนต้องอาบัติด้วย เดือดร้อนด้วย ทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านั้นของบุคคลนั้น.
บุคคลบางคนต้องอาบัติ แต่ไม่เดือดร้อน ทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านั้นของบุคคลนั้น.
บุคคลบางคนไม่ต้องอาบัติ แต่เดือดร้อน ทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านั้นของบุคคลนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 174
บุคคลบางคนไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านั้นของบุคคลนั้น.
บุคคลบางคนไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน ทั้งรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านั้นของบุคคลนั้น.
๒. บุคคลให้แล้วดูหมิ่น บุคคลดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วม บุคคลผู้เชื่อง่าย บุคคลโลเล บุคคลโง่งมงาย
๓. บุคคลเปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวก
๔. ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก
๕. ภิกษุผู้ถือห้ามภัตอันนำมาเมื่อภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวก
๖. ภิกษุผู้ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวก
๗. ภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวก
๘. ภิกษุผู้ถือเพียงไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก
๙. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๐. ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๑. ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๒. ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวก
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 175
๑๓. ภิกษุผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดไว้เป็นวัตร ๕จำพวก
๑๔. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก
จบปัญจกมาติกา
ฉักกมาติกา
[๑๒] บุคคล ๖ จำพวก
๑. บุคคลบางคนแทงตลอดสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลายที่มิได้สดับแล้วในก่อน ทั้งบรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นด้วยทั้งถึงความชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลายด้วย.
บุคคลบางคนแทงตลอดสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลายที่มิได้สดับแล้วในก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นสัพพญญูในธรรมนั้นด้วย ทั้งมิได้ถึงควานชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลายด้วย.
บุคคลบางคนไม่แทงตลอดสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลายที่มิได้สดับแล้วในก่อน เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในทิฏฐธรรมเทียวแต่ทั้งบรรลุสาวกบารมีด้วย.
บุคคลบางคนไม่แทงตลอดสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลายที่มิได้สดับแล้วในก่อน เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในทิฏฐธรรมเทียวไม่ได้บรรลุสาวกบารมี.
บุคคลบางคนไม่แทงตลอดสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลายที่มิได้สดับแล้วในก่อน ทั้งมิได้ทำที่สุดทุกข์ในทิฏฐธรรมเทียวเป็นอนาคามี ไม่มาแล้วสู่ความเป็นอย่างนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 176
บุคคลบางคนไม่แทงตลอดสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลายที่มิได้สดับแล้วในก่อน ทั้งไม่ทำที่สุดทุกข์ในทิฏฐธรรมเทียวเป็นโสดาบัน และสกทาคามี มาแล้วสู่ความเป็นอย่างนี้.
จบฉักกมาติกา
สัตตกมาติกา
[๑๓] บุคคล ๗ จำพวก
บุคคลเปรียบด้วยคนจมน้ำ ๗ เหล่าคือ
๑. บุคคลจมแล้วคราวเดียว ย่อมจมอยู่นั่นเอง ๑
บุคคลโผล่ขึ้นมาแล้ว จมลงอีก ๑
บุคคลโผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่ ๑
บุคคลโผล่ขึ้นแล้ว เหลียวมองดู ๑
บุคคลโผล่ขึ้นแล้ว ว่ายข้ามไป ๑
บุคคลโผล่ขึ้น และว่ายไปถึงที่ที่ตื้นพอหยั่งถึงแล้ว ๑
บุคคลโผล่ขึ้นและข้ามไปถึงฝั่งแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่บนบก ๑
๒. บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๑
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุติ ๑
บุคคลผู้เป็นกายสักขี ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 177
บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ๑
บุคคลเป็นสัทธาวิมุต ๑
บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี ๑
บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี ๑
จบสัตตกมาติกา
อัฏฐกมาติกมาติกา
[๑๔] บุคคล ๘ จำพวก
๑. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔
จบอัฏฐกมาติกา
นวกมาติกา
[๑๕] บุคคล ๙ จำพวก
๑. บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ๑
บุคคลผู้เป็นพระปัจเจกพุทธะ ๑
บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๑
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต ๑
บุคคลผู้เป็นกายสักขี ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 178
บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตติ ๑
บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุต ๑
บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี ๑
บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี ๑
จบนวกมาติกา
ทสกมาติกา
[๑๖] บุคคล ๑๐ จำพวก
ความสำเร็จของพระอริยบุคคล ในกามาวจรภูมินี้ ๕จำพวก.
ความสำเร็จของพระอริยบุคคล เมื่อละกามาวจรภูมินี้ไปแล้ว ๕ จำพวก.
จบทสกมาติกาจบมาติกาปุคคลปัญญัติ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 179
ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาปัญจปกรณ์
อรรถกถาปุคคลปัญญัติปกรณ์
อารัมภกถา
พระศาสดา ผู้ทรงประกาศประเภทแห่งธาตุ ครั้นทรงแสดงธาตุกถาปกรณ์ ซึ่งมีอรรถอันละเอียดในสุราลัยเทวโลกจบแล้ว พระชินเจ้าผู้เป็นอัครบุคคลในโลก ตรัสคัมภีร์ปุคคลปัญญัติใดไว้ อันแสดงถึงประเภทแห่งบัญญัติ ในลำดับแห่งธาตุกถานั้น.
บัดนี้ ถึงโอกาสแห่งการพรรณนาคัมภีร์ปุคคลปัญญัตินั้นแล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) จักพรรณนาปกรณ์นั้น ท่านทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่น สดับพระสัทธรรมนั้น เทอญ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 180
พรรณนามาติกา
(อุทเทสวาระ)
อุทเทสนี้แห่งบุคคลบัญญัติว่า ฉ ปญฺตฺติโย ฯเปฯ ขนฺธปญฺตฺติ ปุคฺคลปญฺตฺติ ดังนี้ก่อน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉ เป็นการกำหนด จำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะบัญญัติธรรมเหล่าใด ในปกรณ์นี้ จึงทรงแสดงการกำหนดบัญญัติธรรมเหล่านั้น ด้วยการนับโดย สังเขป. บทว่า ปญฺตฺติโย เป็นคำแสดงไขธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง กำหนดไว้. ในบทมาติกาเหล่านั้น การบัญญัติ การแสดง การประกาศใน อาคตสถานว่า ตรัสบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ชื่อว่าบัญญัติ. การแต่งตั้ง การวางไว้ ในอาคตสถานว่า เตียงและตั่งที่เขาตกแต่งไปไว้ดี แล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า บัญญัติ. บัญญัติทั้งสองในที่นี้ย่อมสมควร.
จริงอยู่ คำว่า ฉ ปญฺญฺตติโย ได้แก่ การบัญญัติ ๖ การแสดง ๖ การประกาศ ๖ ดังนี้ก็ดี การตั้งไว้ ๖ การวางไว้ ๖ ดังนี้ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงธรรม (บัญญัติ ๖) เหล่านั้นประกอบด้วยนามบัญญัติบ้าง ย่อมทรงตั้งธรรมเหล่านั้นไว้ โดย โกฏฐาสนั้นๆ บ้าง.
คำว่า ขันธบัญญัติ เป็นต้น เป็นคำแสดงสรุปบัญญัติเหล่านั้นไว้ โดยย่อ. บรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น การบัญญัติ การแสดง การประกาศ การตั้งไว้ การวางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นหมวดหมู่กันซึ่งเป็นขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ขันธบัญญัติ. การบัญญัติ การแสดง การประกาศ การตั้งไว้ การ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 181
วางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า อายตนบัญญัติ. การบัญญัติ ... ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นสภาพทรงไว้ซึ่งเป็นธาตุทั้งหลาย ชื่อว่า ธาตุบัญญัติ. การบัญญัติ ... ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นจริง ชื่อว่า สัจจบัญญัติ. การบัญญัติ ... ซึ่งธรรมที่เป็นใหญ่ทั้งหลาย ชื่อว่า อินทริยบัญญัติ. การบัญญัติ ... ซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล ชื่อว่า บุคคลบัญญัติ.
บัญญัติ ๖ นอกพระบาลี
ก็ว่าโดยนัยแห่งอรรถกถาบาลีมุตตกะ คือนอกจากพระบาลี บัญญัติ ๖ อื่นอีก คือ
๑. วิชชมานบัญญัติ
๒. อวิชซมานบัญญัติ
๓. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ
๔. อวิชชนาเนน วิชชมานบัญญัติ
๕. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ
๖. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ.
บรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น การบัญญัติธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล อันเป็นของมีอยู่ เป็นอยู่ เกิดตามความเป็นจริงนี้แหละ ด้วยอำนาจแห่งสัจฉิ- กัตถะและปรมัตถะ ชื่อว่า วิชชมานบัญญัติ.
อนึ่ง การบัญญัติคำทั้งหลายมีคำว่า หญิง ชาย เป็นต้น อันล้วน แต่คำเป็นภาษาของชาวโลก อันไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 182
แม้บัญญัติ คำว่า สัจจะที่ห้าเป็นต้น หรือคำว่า บุรุษตามปรกติของ พวกเดียรถีย์ซึ่งสักว่าเป็นถ้อยคำและวัตถุอันค้นหามิได้ โดยประการทั้งปวง ทีเดียว ก็ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ. บัญญัติที่กล่าวนี้ไม่มีใช้ในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือเอาในที่นี้. พึงทราบบัญญัติที่เหลือ (อีก ๔) ด้วยสามารถการกำหนดซึ่งวิชชมานะและอวิชชมานะเหล่านั้น ต่อไป.
จริงอยู่ วิชชา ๓ และอภิญญา ๖ มีอยู่ (โดยแท้จริง) ส่วนบุคคล ไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ในประโยคว่า บุคคลมีวิชชา ๓ บุคคลมีอภิญญา ๖ เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้ จึงชื่อว่า วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติอวิชชมานะ (สิ่งที่ไม่มีอยู่) ร่วมกับวิชชมานะ (สิ่งที่มี อยู่) อย่างนี้ว่า บุคคลชื่อว่ามีวิชชา ๓ เพราะอรรถว่า วิชชา ๓ ของเขามีอยู่ บุคคล ชื่อว่า มีอภิญญา ๖ เพราะอรรถว่า อภิญญา ๖ ของเขามีอยู่เป็นต้น
ก็หญิงและชาย ไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) รูป มีอยู่ (โดยแท้จริง) ใน คำที่ว่า รูปหญิง รูปชาย เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้ จึงชื่อว่า อวิชมาเนน วิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติวิชชมานะร่วมกับอวิชชมานะ อย่างนี้ว่า รูปของหญิง ชื่อว่า รูปหญิง รูปของชาย ชื่อว่า รูปชายเป็นต้น.
ธรรมทั้งหลายมีจักษุเป็นต้นก็ดี ผัสสเจตสิกก็ดี มีอยู่โดยแท้จริง ในคำทั้งหลายมีคำว่า จักุษุสัมผัส โสตสัมผัส เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติ เห็นปานนี้ จึงชื่อว่า วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติซึ่ง วิชชมานะร่วมกับวิชชมานะ อย่างนี้ว่า สัมผัสในจักษุ สัมผัสเกิดแต่จักษุ สัมผัสเป็นผลของจักษุชื่อว่า จักษุสัมผัสเป็นต้น.
อิสสริยะทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นก็ดี ไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) บุตร ของเขาก็ดี ก็ไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ในคำทั้งหลาย มีคำว่า บุตรของกษัตริย์
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 183
บุตรของพราหมณ์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติปานนี้ จึงชื่อว่า อวิชชมาเนน อวิชซมานบัญญัติ เพราะบัญญัติซึ่งอวิชชมานะร่วมกับอวิชชมานะ อย่างนี้ว่า บุตรของกษัตริย์ชื่อว่า ขัตติยบุตรเป็นต้น.
ในปกรณ์ปุคคลบัญญัตินี้ บรรดาบัญญัติทั้ง ๖ นั้น ได้ ๓ บัญญัติ ข้อแรก เท่านั้น.
จริงอยู่ ได้ชื่อว่า วิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติสภาวะที่มีอยู่จริง เท่านั้น ในฐานะนี้ว่า ขันธบัญญัติ ฯลฯ อินทริยบัญญัติเป็นต้น. ในบทว่า ปุคคลบัญญัติ ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า แต่ในคำทั้ง หลาย มีคำว่า บุคคลมีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ เป็นต้น ได้ วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ.
บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์
ก็ว่าโดยนัยของอาจารย์อันเป็นอรรถกถามุตตกะ (นอกไปจากอรรถกถา) มีบัญญัติ ๖ อื่นอีก คือ.
๑. อุปาทาบัญญัติ
๒. อุปนิธาบัญญัติ
๓. สโมธานบัญญัติ
๔. อุปนิกขิตตบัญญัติ
๕. ตัชชาบัญญัติ
๖. สันติบัญญัติ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 184
บรรดาบัญญัติ ๖ แหล่านั้น บัญญัตินี้ว่า "ธรรมใดแม้เป็นสภาวะที่ ค้นหาไม่ได้ด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ เหมือนธรรมทั้งหลายมีรูปและเวทนา เป็นต้น โดยความเป็นอย่างเดียวกัน หรือเป็นคนละอย่าง โดยเป็นรูปและ เวทนาเป็นต้น สมมติกันว่าเป็นสัตว์ เพราะเข้าไปอาศัย คืออาศัยขันธ์ทั้งหลาย อันต่างด้วยรูปและเวทนาเป็นต้นกระทำให้เป็นเหตุ ชื่อว่า รถ บ้าน กำมือ เตาไฟ เพราะอาศัยส่วน. ทั้งหลายเหล่านั้นๆ ดังนี้ และ ชื่อว่า แผ่นผ้า เพราะ อาศัยธรรมทั้งหลายมีรูปและรสเป็นต้น เหล่านั้นๆ นั่นแหละ ชื่อว่า กาลเวลา ชื่อว่า ทิศทั้งหลาย เพราะอาศัยการหมุนเวียนแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เป็นต้น ชื่อว่า อุคคหนิมิต ชื่อว่า ปฏิภาคนิมิต อันเป็นของสมมติซึ่ง ปรากฏด้วยอาการนั้นๆ เพราะเข้าไปอาศัย คืออาศัยซึ่งนิมิตแห่งภูตรูปนั้นๆ และอานิสงส์แห่งภาวนากระทำให้เป็นเหตุ " บัญญัติเห็นปานนี้ ชื่อว่า อุปาทาบัญญัติ. อนึ่ง บัญญัตินี้ ชื่อว่า บัญญัติ เพราะอรรถว่าอันบุคคลควรรู้ มิใช่ เพราะอรรถว่าอันบุคคลไม่ควรรู้และอุปาทาบัญญัตินี้ ก็คือ อวิชชมานบัญญัติ นั้นนั่นแหละ.
บัญญัติอันใดมีคำเป็นต้นว่า "ที่สอง ที่สาม" ดังนี้ เพราะตั้งไว้ ซึ่งฌานที่หนึ่ง และที่สองเป็นต้น และมีคำเป็นต้นว่า "ยาว สั้น ใกล้ ไกล ดังนี้" เพราะการตั้งไว้อาศัยซึ่งกันและกัน บัญญัตินี้ ชื่อว่า อุปนิธาบัญญัติ. อีกอย่างหนึ่ง อุปนิธาบัญญัตินี้มีอเนกประการ โดยประเภทเป็นต้นว่า
ตทัญญาเปกขูปนิธาบัญญัติ
หัตถคตูปนิธาบัญญัติ
สัมปยุตตูปนิธาบัญญัติ
สมาโรปิตูปนิธาบัญญัติ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 185
อวิทูรคตูปนิธาบัญญัติ
ปฏิภาคูปนิธาบัญญัติ
ตัพพหุลูปนิธาบัญญัติ
ตัพพิสิฏฐูปนิธาบัญญัติ
บรรดาบัญญัติเหล่านั้น คำว่า ที่สอง ที่สาม เป็นต้นนั่นแหละ ชื่อว่า ตทัญญาเปกขูปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวเพ่งเล็งธรรมอื่นจากนั้น.
บัญญัติมีคำว่า บุคคลมีร่มในมือ มีศัสตราในมือเป็นต้น ชื่อว่า หัตถคตูปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวมุ่งการใช้มือ.
บัญญัติมีคำว่า บุคคลมีกุณฑล มีดอกไม้ประดับศีรษะ มีมงกุฏเป็นต้น ชื่อว่า สัมปยุตตูปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวมุ่งเอาของที่สัมปยุต (ประกอบ กับบุคคล).
บัญญัติคำว่า เกวียนข้าวเปลือก หม้อเนยใสเป็นต้น ชื่อว่าสมาโรปิตูปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวมุ่งเอาวัตถุที่ยกขึ้น.
บัญญัติคำว่า ถ้ำใกล้ต้นอินทสาละ ถ้ำใกล้ต้นประยงค์ วิมานใกล้ ต้นซึกเป็นต้น ชื่อว่า อวิทูรคตูปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวมุ่งถึงสถานที่ไม่ ไกลกัน.
บัญญัติคำว่า มีผิวพรรณเหมือนทองคำ แม่โคเหมือนโคผู้เป็นต้น ชื่อว่า ปฏิภาคูปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวมุ่งเอาส่วนเปรียบเทียบ.
บัญญัติคำว่า สระปทุม บ้านพราหมณ์เป็นต้น ชื่อว่า ตัพพหุลูปนิธา บัญญัติ เพราะกล่าวมุ่งเอาวัตถุมีมากของสิ่งนั้น.
บัญญัติคำว่า กำไลมือทำด้วยเพชรเป็นต้น ชื่อว่า ตัพพิสิฏฐูปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวมุ่งเอาวัตถุของสิ่งนั้นประเสริฐ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 186
ก็บัญญัติใด มีคำว่า ไม้ ๓ อัน บท ๘ บท กองข้าวเปลือก กอง ดอกไม้ เป็นต้น เพราะมุ่งการประชุมของวัตถุเหล่านั้นๆ บัญญัตินี้ ชื่อว่า สโมธานบัญญัติ.
บัญญัติใดมีคำว่า ๒,๓,๔ เป็นต้น เพราะมุ่งยกบทต้นๆ นี้ก่อนแล้ว บัญญัติ นี้ชื่อว่า อุปนิกขิตตบัญญัติ.
บัญญัติใด มีคำว่า ปฐวี เตโช ความแข็ง ความร้อนเป็นต้น เพราะเพ่งสภาวธรรมนั้นๆ บัญญัตินี้ ชื่อว่า ตัชชาบัญญัติ.
ก็บัญญัติใด มีคำเป็นต้นว่า คนมีอายุ ๘๐ ปี คนมีอายุ ๙๐ ปี ดังนี้ เพราะเพ่งความเป็นของสืบต่อกันไม่ขาดสาย บัญญัตินี้ ชื่อว่า สันตติบัญญัติ.
อนึ่ง ในบรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น ตัชชาบัญญัติ ก็คือ วิชชมานบัญญัตินั่นเอง. บัญญัติที่เหลือย่อมรวมเป็นพวกอวิชชมานบัญญัติ และอวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ.
อีกนัยหนึ่งบัญญัติ ๖ ของอาจารย์
อีกนัยหนึ่ง บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์ นอกจากอรรถกถา คือ
๑. กิจจบัญญัติ
๒. สัณฐานบัญญัติ
๓. ลิงคบัญญัติ
๔. ภูมิบัญญัติ
๕. ปัจจัตตบัญญัติ
๖. อสังขตบัญญัติ
บรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น การบัญญัติด้วยสามารถแห่งกิจมีคำว่า นักธรรมกถึก เป็นต้น ชื่อว่า กิจจบัญญัติ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 187
การบัญญัติด้วยสามารถแห่งทรวดทรง มีคำว่า ผอม อ้วน กลม สี่เหลี่ยมเป็นต้น ชื่อว่า สัณฐานบัญญัติ.
การบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งเพศ มีคำว่า หญิง ชาย เป็นต้น ชื่อว่า ลิงคบัญญัติ.
การบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งภูมิ มีคำว่า กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ชาวโกศล ชาวมาธุระเป็นต้น ชื่อว่า ภูมิบัญญัติ.
การบัญญัติ ด้วยสามารถสักว่าการตั้งชื่อเฉพาะมีคำว่า ท่านติสสะ นาคะ สุมนะเป็นต้น ชื่อว่า ปัจจัตตบัญญัติ.
การบัญญัติอสังขตธรรม มีคำว่า นิโรธ คือ พระนิพพานเป็นต้น ชื่อว่า อสังขตบัญญัติ.
บรรดาบัญญัติเหล่านั้น ภูมิบัญญัติบางอย่าง และอสังขตบัญญัติ ก็คือ วิชชมานบัญญัตินั่นแหละ. กิจจบัญญัติ จัดเข้าเป็น พวกวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ. บัญญัติที่เหลือ ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงจำแนกบัญญัติที่พระองค์ทรงสรุป ไว้โดยย่อในอุทเทสวาระนั้นแล้วแสดง ด้วยสามารถแห่งการแสดง จึงตรัสคำว่า กิตฺตาวตา เป็นต้น. ในอุทเทสวาระนั้น บัญญัติพึงทราบเนื้อความแห่งคำถาม อย่างนี้ก่อนว่า การบัญญัติ การแสดง การแต่งตั้งซึ่งธรรมที่เป็นกองทั้งหลาย ว่า เป็นขันธ์ อันใดนี้ การบัญญัติ การแสดง การแต่งตั้งนั้น มีประมาณ เท่าไร ดังนี้ เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อจะตอบเอง). แม้ในคำทั้งหลาย มีคำว่า กิตฺตาวตา อายตนานํ เป็นต้น ข้างหน้าก็นัยนี้แหละ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 188
ส่วนในคำวิสัชนา บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำว่า ขันธ์ ๕ โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภท คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ หรือ ว่า ในขันธ์ ๕ แม้นั้น รูปขันธ์เป็นกามาวจร ขันธ์ ๔ ที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๔ เป็นต้น การบัญญัติเห็นปานนี้ย่อมมีด้วยบัญญัติมีประมาณเท่าใด การบัญญัติ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกองว่า เป็นขันธ์ มีอยู่โดยประมาณเท่านี้.
บัญญัติเห็นปานนี้ว่า อายตนะมี ๑๒ โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภท ว่า จักขวายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ หรือว่า ในอายตนะแม้เหล่านั้น อายตนะ ๑๐ เป็นกามาวจร อายตนะ ๒ เป็นไปในภูมิ ๔ ดังนี้ ย่อมมีด้วยบัญญัติมี ประมาณเท่าใด การบัญญัติธรรมทั้งหลายอันเป็นบ่อเกิดว่า เป็นอายตนะ ย่อม มี ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ก็บัญญัติเห็นปานนี้ว่า ธาตุ ๑๘ โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภทว่า จักขุธาตุ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ หรือว่า บรรดาธาตุแม้เหล่านั้น ธาตุ ๑๖ เป็นกามาวจร ธาตุ ๒ เป็นไปในภูมิ ๔ ดังนี้ ย่อมมีด้วยบัญญัติมีประมาณ เท่าใด การบัญญัติธรรมทั้งหลายอันเป็นสภาวะทรงไว้ว่า เป็นธาตุ ย่อมมีด้วย คำมีประมาณเท่านี้.
บัญญัติเห็นปานนี้ว่า สัจจะมี ๔ โดยสังเขป หรือว่า โดยประเภทว่า ทุกขสัจจะ ฯลฯ นิโรธสัจจะ หรือว่า บรรดาสัจจะแม้เหล่านั้น สัจจะ ๒ เป็น โลกิยะ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ ดังนี้ ย่อมมีด้วยคำบัญญัติมีประมาณเท่าใด การบัญญัติธรรมทั้งหลายที่เป็นจริงว่า สัจจะ ย่อมมีด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
บัญญัติเห็นปานนี้ว่า อินทรีย์มี ๒๒ โดยสังเขป หรือโดยประเภทว่า จักขุนทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ หรือว่า บรรดาอินทรีย์แม้เหล่านั้น อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาวจร อินทรีย์ ๙ เป็นมิสสกะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 189
ย่อมมีด้วยคำบัญญัติมีประมาณเท่าใด การบัญญัติธรรมทั้งหลายที่เป็นใหญ่ว่า เป็นอินทรีย์ย่อมมีด้วยคำมีประมาณเท่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนก เรื่องบัญญัติโดยสังเขป ด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้วจึงทรงแสดงบัญญัติ ๕ ด้วย สามารถแห่งการแสดงต่อไป.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกเรื่องบัญญัติโดยพิศดาร แล้ว เพื่อจะทรงแสดงปุคคลบัญญัติ (บัญญัติว่าด้วยบุคคล) ด้วยสามารถแห่ง การแสดง สมยวิมุตโต อสมยวิมุตโต เป็นต้น. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นดุจบุคคลผู้ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ และบุคคลผู้กำลังเป็นไป ตรัสขันธ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องบัญญัตินี้ ๕ เหล่านี้ไว้โดยพิศดารในวิภังคปกรณ์แล้ว เพราะ ฉะนั้น ในปกรณ์ปุคคลบัญญัตินี้ จึงตรัสธรรมมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้นโดย เอกเทสเท่านั้น. ปุคคลบัญญัติที่ ๖ ก็มิได้ตรัสไว้ในหนหลังเลย ในอุทเทสวาร แม้นี้ ก็ตรัสไว้โดยเอกเทสเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความ ประสงค์จะตรัสปุคคลบัญญัติอันเป็นบัญญัติที่ ๖ นั้น โดยพิศดาร จึงทรงตั้ง มาติกาไว้ว่า สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต เป็นต้น จำเดิมแต่บุคคล หนึ่งพวกจนถึงบุคคลสิบพวก แล.
จบพรรณนาบทมาติกา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 190
เอกกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๑ จำพวก
[๑๗] สมยวิมุตตบุคคล
บุคคลผู้พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ในกาลโดยกาล ในสมัยโดยสมัย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่. อนึ่ง อาสวะบางอย่างของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้พ้นแล้วใน สมัย.
อรรถกถาเอกกนิทเทส สมยวิมุตตบุคคล
บัดนี้ เพื่อจะจำแนกมาติกา ตามที่ได้ดังไว้แต่ต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า "กตโม จปุคฺคโล สมยวิมุตฺโต" แปลว่า ก็สมยวิมุตต บุคคล เป็นไฉน? ในคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ได้แก่ ในสัตวโลก. คำว่า เอกจฺโจ ปุคฺคโล ได้แก่ บุคคลคนหนึ่ง. ในคำว่า กาเลน กาลํ นี้ พึงทราบเนื้อความด้วยสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ในกาลหนึ่งๆ คำว่า " สมเยน สมยํ" นี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั้นแหละ (คือเป็นไวพจน์ของคำว่า กาเลน กาลํ) คำว่า "อฏฺ วิโมกฺเข" ได้แก่ สมาบัติ ๘ อันเป็นรูปาวจร และ อรูปาวจรฌาน. จริงอยู่ คำว่า วิโมกข์ นี้เป็นชื่อของสมาบัติ ๘ เหล่านั้นเพราะ พ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย. คำว่า "กาเยน" ได้แก่ นามกายที่เกิด พร้อมกับวิโมกข์. คำว่า "ผุสิตฺวา วิหรติ" ได้แก่ ได้สมาบัติแล้ว จึงผลัด เปลี่ยนอิริยาบถอยู่.
ถามว่า ก็ สมยวิมุตตบุคคลนี้ ถูกต้องวิโมกข์ แล้วอยู่ในกาลไหน?
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 191
ตอบว่า ก็ธรรมดาว่า กาลของท่านผู้ปรารถนาจะเข้าสมาบัติมีอยู่ แต่ ชื่อว่า อกาล หามีไม่.
บรรดา กาลและอกาล คือ สมัย มิใช่สมัยทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็กาลที่กำลัง ปฏิบัติสรีระแต่เช้าตรู่ ๑ กาลที่กำลังทำวัตร ๑ ชื่อว่า สมัยมิใช่กาล ของท่าน ผู้เข้าสมาบัติ. กาลเป็นที่ปฏิบัติสรีระ และทำวัตรเสร็จแล้ว จึงเข้าไปสู่ที่อยู่ พักอยู่จนกระทั่งถึงเวลาจะไปบิณฑบาต ในระหว่างนี้ ชื่อว่า กาลของท่าน เข้าสมาบัติ.
ก็กาลเป็นที่วันทาพระเจดีย์ของภิกษุ ผู้กำหนดเวลาไปบิณฑบาตแล้ว ออกไป ๑ กาลเป็นที่ยืนอยู่ในโรงวิตกของภิกษุ ผู้ที่แวดล้อมด้วยหมู่แห่งภิกษุ ๑ กาลเป็นที่เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต๑ กาลเป็นที่เที่ยวไปในบ้าน ๑ กาลเป็น ที่ดื่มข้าวยาคูในโรงฉันภัต ๑ กาลเป็นที่กระทำวัตร ๑ กาลทั้งหมดนี้ ชื่อว่า อกาล คือ สมัยมิใช่กาลของท่านผู้เข้าสมาบัติ. ก็เมื่อโอกาสอันสงัดในโรงฉัน ภัตมีอยู่ และยังไม่ถึงเวลาฉันภัตตาหาร ในระหว่างเวลาแม้นี้ ก็ชื่อว่า กาล ของท่านผู้เขาสมาบัติ.
อนึ่ง เวลาฉันภัตตาหาร ๑ เวลาไปสู่วิหาร ๑ เวลาเก็บรักษาบาตร และจีวร ๑ เวลากระทำวัตรในเวลากลางวัน ๑ เวลาในการสอบถาม ๑ กาล ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า อกาล คือ สมัยมิใช่กาลของท่านผู้เข้าสมาบัติ. กาลใดมิใช่ กาล กาลนั้นนั่นแหละ มิใช่สมัย.
กิจนั้น แม้ทั้งหมด ยกเว้นกาลที่เหลือ สมัยที่เหลือ ท่านเรียกว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ได้วิโมกข์ ๘ มีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยสหชาตนามกาย อยู่ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลนี้ ชื่อว่า ถูกต้องสหชาตธรรมทั้งหลาย พร้อม กับผัสสะ. ชื่อว่า ถูกต้องอัปปนา ด้วยอุปจาระ ชื่อว่า ย่อมถูกต้องอัปปนา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 192
อื่นอีก ด้วยอัปปนาแรก. ก็ธรรมเหล่าใด เกิดพร้อมกับธรรมเหล่าใด ธรรม เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นธรรมอันท่านได้แล้วกับธรรมนั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า ถูก ต้องแล้วแม้ด้วยผัสสะ. แม้อุปจาระ. ก็เป็นเหตุแห่งการได้อัปปนานั่น แหละ. อัปปนาแรก ก็เป็นเหตุให้ได้อัปปนาอื่นๆ อีกเหมือนกัน ในอุปจาระและอัปปนาเหล่านั้น พึงทราบการถูกต้องสหชาตธรรมทั้งหลาย ด้วยสหชาตธรรมทั้ง หลายของพระโยคีบุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็ ปฐมฌาน มีองค์ ๕ มีวิตกเป็นต้น เว้นองค์ฌานทั้ง ๕ เสียแล้ว ธรรมที่เหลือเกิน ๕๐ เรียกว่า นามขันธ์ ๔. พระโยคีบุคคล ถูกต้อง คือ ได้เฉพาะปฐมฌานสมาบัติวิโมกข์ ด้วยนามกายนั้น แล้วจึงอยู่.
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา. ตติยฌาน มี องค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา. อนึ่ง อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกับ จตุตถฌาน. ในฌานเหล่านั้น คือ ตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ยกเว้นองค์ฌานเหล่านั้นเสียแล้ว ธรรมทั้ง หลายที่เหลือเกิน ๕๐ เรียกว่า นามขันธ์ ๔. พระโยคีบุคคล ถูกต้อง คือ ได้ เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ ด้วยนามกายนั้นแล้วจึงอยู่.
คำว่า "ปญฺาย จสฺส ทิสฺวา" อธิบายว่า เพราะเห็นความเป็น ไปแห่งสังขารด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นสัจธรรมทั้งสี่ ด้วยมรรคปัญญา. คำว่า "เอกจฺเจ อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ" อธิบายว่า อาสวะทั้งหลาย อัน ปฐมมรรคเป็นต้น พึงฆ่าส่วนหนึ่งๆ สิ้นไปแล้ว บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า "สมยวิมุตฺโต" แปลว่า ผู้พ้นแล้วโดยสมัย. ในข้อว่า "ปุคฺคโล สมยวิมุตฺโต" นี้จะกล่าวว่า บุคคลผู้ได้สมาบัติ ๘ ถูกต้องวิโมกข์ ด้วยนามกายนั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 193
แล้ว จึงอยู่ก็ควร แต่ในพระบาลีท่านกล่าวไว้ว่า "เอกจฺเจ อาสวา ปริกฺ ขีณา" แปลว่า อาสวะบางอย่างสิ้นไปแล้ว จริงอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่า อาสวะ ทั้งหลายของปุถุชนสิ้นไปแล้วย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง ไม่ทรงประสงค์เอาปุถุชน ที่ถูกควรจะกล่าวว่า แม้พระขีณาสพ ผู้ได้สมาบัติ ๘ ถูกต้องวิโมกข์ด้วยนามกายนั้นแล้วอยู่ แต่ว่า ธรรมดาว่าอาสวะทั้งหลายของ พระขีณาสพนั้นยังไม่สิ้นไปมิได้มี เพราะฉะนั้น พระขีณาสพนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพระประสงค์เอา. ก็คำว่า "สมยวิมุตฺโต" นี้ พึงทราบ ว่าเป็นชื่อของพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี รวม ๓ จำพวก เท่านั้น
จบอรรถกถาสมยวิมุตตบุคคล
[๑๘] อสมยวิมุตตบุคคล
บุคคลผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนโนโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ในกาลโดย กาล ในสมัยโดยสมัย สำเร็จอิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย พระอริยบุคคลแม้ทั้งปวง ชื่อว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย ในวิโมกข์ส่วนที่ เป็นอริยะ.
อรรถกถาอสมยวิมมุตตบุคคล
ก็ในนิเทศว่า "อสมยวิมุตฺโต" พึงทราบเช่นกับคำก่อน โดยนัยที่ กล่าวแล้วนั่นเทียว. อนึ่ง คำว่า "อสมยวิมุตฺโต" นี้ ในที่นี้เป็นชื่อของ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 194
พระอรหันต์สุกขวิปัสสก แต่ว่าพระอรหันต์สุกขวิปัสสก พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ และปุถุชน ย่อมไม่ได้ ในทุกะนี้ (ทุกะนี้ คือ สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต) ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกมุตตกบุคคล. เพราะฉะนั้น พระศาสดา จึงทรงรวบรวมบุคคลทั้งหลาย ที่พระองค์ทรงถือเอา และไม่ทรงถือเอาในหนหลังแล้วยกขึ้นสู่แบบแผนพร้อม กับด้วยปิฏฐิวัฏฏกบุคคลทั้งหลาย คือ ผู้หมุนไปข้างหลัง เพราะความที่พระองค์ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้แล้วด้วยดี จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "สพฺเพปิ อริยปุคฺคลา" แปลว่า แม้ทั้งหมด เป็นพระอริยบุคคล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "อริยวิโมกฺเข" ได้แก่ วิโมกข์อัน เป็นโลกุตตระอันถึงซึ่งการนับว่าเป็น "อริยะ" เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย
ข้อนี้ มีคำอธิบายไว้ว่า
สมัยก็ดี อสมัยก็ดี ของท่านผู้เข้าสมาบัติ ๘ ภายนอกพระพุทธศาสนา มีอยู่, สมัยหรือ อสมัยของท่านผู้พ้นด้วยมรรควิโมกข์ย่อมไม่มี. ศรัทธาของ บุคคลใดมีกำลังและวิปัสสนาอันบุคคลใดปรารภแล้ว มีอยู่ แต่การแทงตลอด มรรค และผลของผู้นั้น ซึ่งกำลังเดิน, ยืน, นั่ง, นอน, เคี้ยว, และบริโภค ไม่มี เพราะฉะนั้น สมัย หรือ อสมัยของผู้พ้นด้วยมรรควิโมกข์ จึงไม่มี. ดัง นั้น ข้อว่า "มคฺควิโมกฺเขน วิมุจฺจนสฺส สมโย วา อสมโย วา นตฺถิ" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นธรรมราชา ทรงรวบรวมบุคคลทั้งหลาย ที่ พระองค์ทรงถือเอา และไม่ทรงถือเอาในหนหลัง แล้วยกขึ้นสู่แบบแผน อันเป็นปิฏฐิวัฏฏกะนี้. ทั้งปุถุชนผู้ได้สมาบัติ ๘ พระองค์ก็มิได้ ทรงพระ ประสงค์เอาด้วยแบบแผนนี้เลย แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง จำแนกบุคคลผู้ได้สมาบัติ ๘ นั้น ก็พึงจำแนกซึ่งความเป็นสมยวิมุตตบุคคล ด้วยอำนาจกิเลสที่ท่านข่มไว้แล้วด้วยสมาบัติ.
จบอรรถกถาอสมยวิมุตตบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 195
[๑๙] กุปปธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันกำเริบ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่ผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดย ไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือจะออกจากสมาบัติใด ในที่ใด กำหนดเวลา เท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่แล ที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงกำเริบ ได้ เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า กุปปธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันกำเริบ.
อรรถกถากุปปธรรมบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง "กุปปธรรมบุคคล" เป็นต้น. สมาบัติธรรม อันบุคคลใด บรรลุแล้ว ย่อมกำเริบ ย่อมพินาศ เพราะเหตุนั้นบุคคลนั้นจึง ชื่อว่า "กุปฺปธมฺโม" แปลว่า ผู้มีธรรมอันกำเริบ. บทว่า "รูปสหคตานํ" อธิบายว่า สมาบัติที่สหรคตด้วยรูปนั้น กล่าวคือ ที่มีรูปเป็นนิมิต คือ เป็น ไปพร้อมกับรูปนั้น หมายความว่า ไม่ยกเว้น รูปาวจรฌานทั้ง ๔ ที่มีรูปเป็น อารมณ์. บทว่า "อรูปสหคตานํ" อธิบายว่า สิ่งอื่นเว้นจากรูปไม่ชื่อว่า รูป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อรูป สมาบัติที่สหรคตด้วยอรูป คือที่เป็นไปพร้อม กับอรูปนั้น ไม่ยกเว้นอรูปาวจรฌานทั้ง ๔ ที่มีอรูปเป็นอารมณ์. คำว่า "น นิกามลาภี" ความว่า ชื่อว่า มิใช่เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา เพราะไม่ ได้ด้วยอาการที่ปรารถนา โดยความเป็นผู้ไม่ชำนาญในการประพฤติมาแล้วโดย อาการ ๕ อย่าง. อธิบายว่า ผู้ไม่ชำนาญเข้าสมาบัติ. คำว่า "น อกิจฺฉลาภี" ได้แก่ ได้โดยลำบาก คือ ได้โดยยาก อธิบายว่า ผู้ใดข่มกิเลสทั้งหลายไว้ด้วย อาคม บรรลุอุปจาระ บรรลุอัปปนา ได้อยู่ซึ่งจิตตมัญชุสา (หีบ คือ จิต
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 196
คงหมายถึงการสั่งสมสุขวิหารธรรม) ลำบากด้วยสัมปโยคะ คือ ความเพียรอัน เป็นสสังขารอันยากลำบาก ย่อมไม่อาจเพื่อบรรลุสัมปทานั้น บุคคลนี้ชื่อว่า มิใช่เป็นผู้ได้โดยลำบาก. คำว่า "น อกสิรลาภี" ได้แก่ เป็นผู้ได้ไม่ บริบูรณ์ อธิบายว่า เข้าสมาบัติแล้วไม่อาจเพื่อจะแผ่ไปตลอดกาลนานได้ คือ ให้เป็นไปได้เพียงหนึ่งวาระจิต หรือสองวาระจิต แล้วก็ออกโดยเร็วพลันนั่น เทียว. บทว่า "ยตฺถิจฺฉกํ" ได้แก่ ความปรารถนาเพื่อจะเข้าสมาบัติใน โอกาสใด. บทว่า "ยทิจฺฉกํ" ความว่า ย่อมปรารถนาเพื่อจะนั่งเข้าสมาบัติ ใดๆ คือ ฌานมีกสิณเป็นอารมณ์ หรือฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ หรือ ฌานมีอสุภะเป็นอารมณ์. บทว่า "ยาวติจฺฉกํ" ความว่า ย่อมปรารถนากาล มีประมาณเท่าใด โดยการกำหนดเวลายาวนาน.
ข้อนี้ มีคำอธิบายไว้ว่า ดังนี้
พระโยคี ย่อมปรารถนาจะเข้าบ้าง ออกบ้างซึ่งสมาบัติใดๆ ในที่ใดๆ ตลอดกาลนานมีประมาณเท่าใด ย่อมไม่อาจเพื่อจะเข้าบ้าง ออกบ้างซึ่งสมาบัติ นั้นๆ ในที่นั้นๆ ตลอดกาลนานมีประมาณเท่านั้น คือ แลดูพระจันทร์ หรือ พระอาทิตย์แล้วกำหนดว่า "เมื่อพระจันทร์ หรือพระอาทิตย์นี้ไปสู่ที่มีประมาณ เท่านี้แล้ว ข้าพเจ้าจะออกจากสมาบัติ" แล้วก็เข้าฌาน ย่อมไม่อาจเพื่อจะออก ตามที่กำหนดไว้ ย่อมออกในระหว่างเทียว เพราะตนเป็นผู้ไม่ชำนาญใน สมาบัติ.
บทว่า "ปมาทมาคมฺม" ได้แก่ อาศัยความประมาท. คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ได้แก่ บุคคล ๓ จำพวก คือ ปุถุชนผู้ได้สมาบัติ ๘ พระโสดาบัน พระสกทาคามี บุคคลเหล่านี้ท่านเรียกว่า "กุปฺปธมฺโม" แปลว่า ผู้มีธรรม อันกำเริบ. ก็คำว่า "กุปฺปธมฺโม" นี้เป็นชื่อของบุคคล ๓ จำพวกนั้น. ก็
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 197
ธรรมทั้งหลาย อันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ และวิปัสสนาของท่านเหล่านั้น ท่านข่ม ไว้ไม่ดี ชำระล้างไว้ไม่ดี เพราะฉะนั้นสมาบัติของท่านเหล่านั้นจึงพินาศไป เสื่อมไป. อนึ่ง สมาบัตินั้น พินาศไป เสื่อมไป เพราะศีลขาด หรือเพราะ การไม่ก้าวล่วงอาบัติเท่านั้นก็หาไม่. ก็นาคริกโปกขธรรมนี้ ย่อมพินาศไป เพราะกรณียกิจ หรือเพราะเหตุสักว่าการแตกแห่งวัตร มีประมาณเล็กน้อย.
ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่งใช้สมาบัติ คือ ใช้สถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่ สมาบัติ เมื่อท่านไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต พวกเด็กเล่นอยู่ที่บริเวณแล้วก็พากัน หลีกไป พระเถระมาแล้วคิดว่า "พวกเด็กคงกวาดบริเวณ" ท่านจึงไม่กวาด เข้าไปสู่วิหารด้วยคิดว่า "เราจักเข้าสมาบัติ" ท่านไม่อาจเพื่อจะเข้าได้ จึงรำพึง ถึงศีลว่า "อะไรหนอเป็นเครื่องกั้น" ไม่เห็นการก้าวล่วง แม้มีประมาณเล็กน้อย จึงตรวจดูว่า "วัตตเภทการแตกแห่งวัตรของเรามีอยู่หรือ ทราบว่าไม่ได้กวาด บริเวณ จึงกวาดแล้ว ก็เข้าไปนั่งเข้าสมาบัติ.
จบอรรถกถากุปปธรรมบุคคล
[๒๐] อถุปปธรรมบุคคล
บุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌานหรือ สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตามต้องการ เป็นผู้ได้ไม่ยาก เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด กำหนด เวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาสที่สมาบัติเหล่า นั้นจะพึงกำเริบ เพราะอาศัยควานประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 198
มีธรรมอันไม่กำเริบ พระอริยบุคคลแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันไม่ กำเริบในวิโมกข์ส่วนที่เป็นอริยะ.
อรรถกถาอกุปปธรรมบุคคล
นิเทศแห่ง "อกุปปธรรมบุคคล" บัณฑิต พึงทราบด้วยความ สามารถแห่งปฏิปักษ์นัย. ของกุปปธรรมบุคคล ที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. ก็คำว่า "อกุปฺปธมฺโม" เป็นชื่อของพระอริยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระอนาคามี ผู้ได้ สมาบัติ ๘ และ พระขีณาสพ. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ และ วิปัสสนาของท่านเหล่านั้น ท่านข่มไว้ดีแล้ว ชำระล้างไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อท่านเหล่านั้น แม้ยังกาลให้ล่วงไปด้วยกิจ มีการสนทนา และความเป็นผู้ ยินดีด้วยหมู่คณะเป็นต้น หรือด้วยความประมาทอันไม่สมควรแก่คนอย่างใด อย่างหนึ่งอื่นๆ สมาบัติก็ไม่กำเริบ ไม่พินาศ แต่ว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระขีณาสพ ผู้สุกขวิปัสสกะ ย่อมไม่ได้ในทุกะนี้ ท่านเหล่านั้นจึงชื่อว่า ทุกมุตตกบุคคล.
เพราะฉะนั้น พระศาสดา จึงทรงรวบรวมบุคคลทั้งหลาย ที่พระองค์ ทรงถือเอาและไม่ทรงถือเอาในหนหลัง แล้วยกขึ้นสู่แบบแผนกับด้วยปิฏฐิ - วัฏฏกบุคคลทั้งหลายไว้ในทุกะแม้นี้ เพราะพระองค์มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดี จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "สพฺเพปิ อริยปุคฺคลา" พระอิริยบุคคลแม้ทั้งหมด.
อนึ่ง หากความกำเริบ ความพินาศแห่งสมาบัติ ๘ ของท่านจะพึงมี ขึ้น แต่โลกุตตรธรรมที่ท่านแทงตลอดแล้วครั้งเดียวหากำเริบและพินาศไปไม่. คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาผู้บรรลุโลกุตตรธรรม นั้น.
จบอรรถกถาอกุปปธรรมบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 199
[๒๑] ปริทานธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ตามความต้องการ มิใช่ เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถเข้าหรือออกสมาบัติ ใด กำหนดเวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่แล ที่บุคคล จะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้นได้ เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ปริหานธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม.
[๒๒] อปริหานธรรมบุคคล
บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะเข้าหรือออกจากสมาบัติใด ในที่ใด กำหนด เวลาเท่าใดได้ตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาสที่บุคคลนั้นจะพึง เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า อปริ- หานธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม. พระอริยบุคคลแม้ทั้งหมด เป็นผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมจากวิโมกข์ส่วนที่เป็นอริยะ.
อรรถกถาปริหารธรรมบุคคล และ อปริหานธรรมบุคคล
แม้นิเทศแห่งปริหานธรรมบุคคล และอปริหานธรรมบุคคล ทั้งหลาย บัณฑิต พึงทราบด้วยสามารถแห่ง กุปปธรรมบุคคล และอกุปปธรรมบุคคล นั่นแหละ. ก็ในที่นี้ คำนี้ว่า "ความเสื่อมก็ดี ความไม่เสื่อมก็ดี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 200
แห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยความประมาทของบุคคล ท่านประสงค์เอา อย่างเดียว จึงเป็นอันว่าแตกต่างกันเพียงแต่ปริยายเทศนาเท่านั้น ธรรมที่เหลือ ทั้งหมด เหมือนกันนั่นแหละ.
จบอรรถกถาปริหานธรรมบุคคล และ อปริหานธรรมบุคคล
[๒๓] เจตนาภัพพบุคคล
บุคคลผู้ควรโดยเจตนา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้นมิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้ โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด กำหนดเวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอยใส่ใจอยู่ ย่อมไม่ เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า เจตนาภัพพบุคคล บุคคลผู้ควร โดยเจตนา.
อรรถกถาเจตนาภัพพบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งเจตนาภัพพบุคคล. คำว่า "เจตนาภพฺโพ" ได้แก่ควรเพื่อจะถึงความไม่เสื่อมรอบแห่งเจตนา. คำว่า "สเจ อนุสญฺเจติ" ได้แก่ ถ้าเข้าสมาบัติ อธิบายว่า ก็พระโยคีเมื่อเข้าสมาบัติ ชื่อว่า ย่อมเอาใจใส่ ท่านจึงไม่เสื่อม พระโยคีนอกจากนี้ย่อมเสื่อม.
จบอรรถกถาเจตนาภัพพบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 201
[๒๔] อนุรักขนาภัพพบุคลคล
บุคคลผู้ควรโดยการตาม รักษา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติ อันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน และบุคคลนั้นแล มิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่ เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออก สมาบัติใด ในที่ใด กำหนดเวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอยรักษา อยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น หากว่าไม่คอยรักษาก็เสื่อมจากสมาบัติ เหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า อนุรักขนาภัพพบุคคล บุคคลผู้ควรโดยการ ตามรักษา.
อรรกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งอนุรักขนาภัพพบุคคล. คำว่า " อนุรกฺขนาภพฺโพ" ได้แก่ ควรเพื่อจะพึงถึงความไม่เสื่อมรอบแห่งการตามรักษา. คำว่า "สเจ อนุรกฺขติ" ความว่า ถ้าพระโยคีสละธรรมที่ไม่มีอุปการะ เสพธรรมที่ มีอุปการะเข้าสมาบัติ. ก็เมื่อท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ตามรักษา ท่านจึง ไม่เสื่อม พระโยคีนอกจากนี้ ย่อมเสื่อม พระโยคีแม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น เป็นผู้ สามารถเพื่อตั้งสมาบัติกระทำให้ถาวร แต่พระโยคีที่ชื่อว่าอนุรักขนาภัพพบุคคล เท่านั้น มีความสามารถมากกว่า พระโยคีผู้ชื่อว่า เจตนาภัพพบุคคล เพราะ ว่า เจตนาภัพพบุคคล ไม่รู้ธรรมที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะ เมื่อไม่รู้จึง บรรเทา คือ ย่อมนำธรรมที่มีอุปการะออกไปแล้วเสพธรรมอันไม่มีอุปการะ เมื่อ เสพธรรมอันไม่มีอุปการะเหล่านั้น ท่านย่อมเสื่อมจากสมาบัติ. แต่อนุรักขนาภัพพบุคคลย่อมรู้ธรรมอันมีอุปการะและไม่มีอุปการะ เมื่อรู้ก็ย่อมบรรเทา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 202
คือนำธรรมอันไม่มีอุปการะออกไป เสพธรรมอันมีอุปการะทั้งหลาย เมื่อท่าน เสพธรรมอันมีอุปการะเหล่านั้นจึงไม่เสื่อมจากสมาบัติ. เปรียบเหมือนชาวนา ผู้รักษานา ๒ คน เป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
คนหนึ่ง มีโรคผอมเหลือง ทนต่อความหนาวเป็นต้นไม่ได้ คนหนึ่ง ไม่มีโรคอดทนต่อความหนาวเย็นเป็นต้นได้ คนที่มีโรคไม่ลงจากกระท่อมไป ข้างล่าง เขาละทิ้งการรักษานา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน พวกนกแขกเต้า นก พิลาป และนกยูงเป็นต้น พากันมาสู่นาของเขาในเวลากลางวัน จิกกินรวง ข้าวลาลี ในเวลากลางคืน พวกเนื้อและสุกรเป็นต้น เข้าไปสู่ลานนาคุ้ยเขี่ย ราวกะที่อันตนทำไว้เอง ครั้นคุ้ยเขี่ยแล้วก็ไป เขาย่อมไม่ได้แม้สักว่าข้าวปลูก อีก เพราะเหตุแห่งความประมาทของตน ส่วนบุคคลผู้ไม่มีโรคไม่ละทิ้งการ รักษานาตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เขาย่อมได้ข้าวประมาณ ๔ เกวียนบ้าง ๘ เกวียนบ้าง จากที่ประมาณกรีสหนึ่ง เพราะความไม่ประมาทของตน. ใน พระโยคี ๒ รูปนั้น บัณฑิตพึงเห็นพระโยคีผู้เจตนาภัพพบุคคล เหมือนคน ขี้โรครักษานา พึงเห็นพระโยคีผู้อนุรักขนาภัพพบุคคล เหมือนคนไม่มีโรค.
บัณฑิตพึงทราบความเสื่อมจากสมาบัติของเจตนาภัพพบุคคลผู้ไม่รู้ ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันมีอุปการะ เสพธรรมอัน ไม่มีอุปการะอยู่ เหมือนกับการไม่ได้เมล็ดพืชที่จะปลูกอีกของคนมีโรค เพราะ ความประมาทของตน พึงทราบความไม่เสื่อมจากสมาบัติของอนุรักขนาภัพพบุคคลผู้รู้ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันไม่มีอุปการะ เสพ อยู่ซึ่งธรรมมีอุปการะ เปรียบเหมือนกับการได้ข้าว ๔ เกวียน ๘ เกวียน จาก ที่ประมาณกรีสหนึ่ง ของบุคคลผู้ไม่มีโรคเพราะความไม่ประมาทของตน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 203
อนุรักขนาภัพพบุคคลเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีความสามารถกว่า กว่า เจตนาภัพพบุคคลในการทำสมาบัติให้มั่นคง ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล
[๒๕] ปุถุชนบุคคล
บุคคลผู้เป็นปุถุชน เป็นไฉน?
สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละไม่ได้ ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ปุถุชน.
อรรถกถาปุถุชนบุคคล
วินิจฉัย ในนิเทศแห่งปุถุชนบุคคล. คำว่า "ตีณิ สญฺโชนานิ" ได้แก่ ทิฏฐิสัญโญชน์ ๑ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ๑ และวิจิกิจฉาสัญโญชน์ ๑ ก็สัญโญชน์เหล่านั้นชื่อว่า ท่านละได้แล้วในขณะแห่งผลจิต. พระองค์ย่อม แสดงว่า ก็ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งผลจิต. คำว่า "เตสญฺจ ธมฺมานํ" ได้แก่ สัญโญชนธรรมเหล่านั้น. ก็ปุถุชน ชื่อว่าผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อละสัญโญชน์ เหล่านั้น ในขณะแห่งมรรคจิต. แต่ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งมรรคจิต ถูลพาลปุถุชนผู้โง่หยาบนั่นแหละ ผู้สละกรรมฐานแล้ว บัณฑิตทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปุถุชนนิเทศนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.
จบอรรถกถาปุถุชนบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 204
[๒๖] โคตรภูบุคคล
บุคคลผู้มีโคตรภูญาณ เป็นไฉน?
ความย่างลงสู่อริยธรรมในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า โคตรภูบุคคล.
อรรถกถาโคตรภูบุคคล
วินิจฉัย ในนิเทศแห่งโคตรภูบุคคล. ของบทว่า "เยสํ ธมฺมานํ" ได้แก่กุศลธรรมเกิน ๕๐ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับโคตรภูญาณเหล่าใด. บทว่า "อริยธมฺมสฺส" ได้แก่ โลกุตตรมรรค. สองบทว่า "อวกฺกนฺติ โหติ" ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือบังเกิด ปรากฏ. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า โคตรภูบุคคล เพราะก้าวล่วงญาณ ของปุถุชน โคตรของปุถุชน มณฑลของปุถุชน และบัญญัติของปุถุชนทั้งปวง แล้วจึงก้าวลงสู่ญาณของพระอริยะ โคตรของพระอริยะ มณฑลของพระอริยะ บัญญัติของพระอริยะได้ ด้วยญาณอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
จบอรรถกถาโคตรภูบุคคล
[๒๗] ภยูปรตบุคคล
บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว เป็นไฉน?
พระเสขะ ๗ จำพวก และบุคคลปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่า ภยูปรตบุคคล บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว พระอรหันต์ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล บุคคล มิใช่ผู้งดเว้นเพราะกลัว.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 205
อรรถกถาภยูปรตบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งภยูปรตบุคคล. บุคคลใดงดเว้นความชั่วเพราะ ความกลัว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ภยูปรโต ผู้งดเว้นความชั่ว เพราะความกลัว. อธิบายว่า ก็พระเสกขบุคคล ๗ พวก กับ ปุถุชนทั้งหลาย ผู้มีศีล กลัวแล้วย่อมงดเว้นจากบาป คือ ไม่กระทำบาป.
บรรดาพระอริยะและปุถุชนทั้งหลาย ย่อมกลัวภัย ๔ อย่างคือ
๑. ทุคคติภัย
๒. วัฏฏภัย
๓. กิเลสภัย
๔. อุปวาทภัย
ในภัยเหล่านั้น ภัย คือ การไปสู่คติชั่ว ชื่อว่า ทุคคติภัย เพราะอรรถ ว่า อันบุคคลพึงกลัว. แม้ในภัยทั้ง ๓ ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในท่านเหล่า นั้นปุถุชนกลัวทุคคติภัยด้วยคิดว่า ถ้าท่านจักทำบาปไซร้ อบายทั้ง ๔ จักเป็น เช่นกับงูเหลือม กำลังหิวกระหายอ้าปากคอยท่าอยู่ ท่านเมื่อเสวยทุกข์อยู่ ในอบายเหล่านั้นจักทำอย่างไร? จึงไม่ทำบาป. ก็สังสารวัฏฏ์มีเบื้องต้นและที่สุด อันรู้มิได้นั่นแหละ ชื่อว่า วัฏฏภัย. อกุศลแม้ทั้งปวง ชื่อว่า กิเลสภัย. การติเตียน ชื่อว่า อุปวาทภัย.
ปุถุชนกลัวภัยเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำบาป แต่พระเสกขะ ๓ จำพวก คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ทั้ง ๓ นี้ล่วงพ้นจากทุคคติภัย ได้แล้ว จึงยังกลัวภัยทั้ง ๓ ที่เหลืออยู่ ย่อมไม่การทำบาป. พระเสกขะผู้ตั้งอยู่ ในมรรค ชื่อว่า ผู้งดเว้นจากภัย ด้วยอำนาจแห่งการบรรลุ หรือเพราะความ เป็นผู้ตัดภัยยังไม่ขาด.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 206
พระขีณาสพ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล ท่านไม่กลัวภัยแม้สักอย่างหนึ่ง ในภัยทั้ง ๔ เหล่านั้น. จริงอยู่ พระขีณาสพ ท่านตัดภัยได้ขาดแล้ว เพราะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อภยูปรโต" ผู้งดเว้นความชั่วมิใช่ เพราะความกลัวภัย.
ถามว่า ท่านก็ย่อมไม่กลัวแม้แต่ อุปวาทภัย ภัยคือการติเตียนหรือ?
ตอบว่า ไม่กลัว แต่ไม่ควรกล่าวว่า ท่านรักษาอุปวาทภัย ข้อนี้ บัณฑิตพึงเห็นเหมือนพระขีณาสพเถระในบ้านโทณุปปลวาปี เป็นตัวอย่าง.
จบอรรถกถาภยูปรตบุคคล และ อภยูปรตบุคคล
[๒๘] อภัพพาคมนบุคคล
บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรค ผลเป็นไฉน?
บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบ ด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่ ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล.
[๒๙] ภัพพาคมนบุคคล
บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน?
บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่ ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา เป็น ผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 207
อรรถกถาอภัพพคมนบุคคล และ ภัพพาคมนบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง อภัพพาคมนบุคคล. ผู้ใดไม่ควรเพื่อจะ บรรลุสัมมัตตนิยาม เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า อภัพพาคมนบุคคล. บทว่า "กมฺมาวรเณน" แปลว่า ด้วยกรรมอันเป็นเครื่องกั้น ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง. บทว่า "กิเลสาวรเณน" แปลว่า ด้วยกิเลสเป็นเครื่องกั้น ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า "วิปากาวรเณน" แปลว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่องกั้น ได้แก่ปฏิสนธิด้วยอเหตุกะและทวิเหตุกจิต. บทว่า "อสทฺธา" แปลว่า ผู้ไม่มี ศรัทธา ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. บทว่า "อจฺฉนฺทิกา" แปลว่า ผู้ไม่มีฉันทะ ได้แก่ ผู้เว้นจากความพอใจ ในกัตตุ- กัมยตากุศล. เว้นชาวชมพูทวีปเสียแล้ว บุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่าผู้อยู่ใน ทวีปทั้ง ๓ นอกจากนี้ ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น มนุษย์ทั้งหลายชื่อว่า เข้าถึง ความเป็นผู้ไม่มีฉันทะ. บทว่า "ทุปฺปญฺา" แปลว่า มีปัญญาทราม ได้แก่ เว้นจากภวังคปัญญา. บทว่า "อภพฺพา" แปลว่า ผู้ไม่ควร ได้แก่ ไม่ได้ อุปนิสัยแห่งมรรคและผล. บทว่า "นิยามํ" ได้แก่ มรรคนิยาม. บทว่า "โอกฺกมิตุํ" ความว่า ไม่ควรเพื่อจะก้าวล่วง คือก้าวลงไปสู่นิยาม กล่าวคือ สัมมัตตะในธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเพื่อจะตั้งมั่นในมรรคผลนั้นได้.
นิเทศแห่ง ภัพพาคมนบุคคล บัณฑิตพึงทราบโดยปฏิปักษ์นัยจากคำ ที่กล่าวแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในทุกะนี้ อย่างนี้ว่า
บุคคลใด กระทำปัญจานันตริยกรรม ๑ เป็นผู้นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ผู้ถือปฏิสนธิมาด้วยอเหตุกะและทวิเหตุกจิต ๑ ผู้ไม่เชื่อพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ๑ ความพอใจเพื่อจะทำกุศลของผู้ใดไม่มี ๑ ผู้มีภวังคปัญญาไม่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 208
บริบูรณ์ ๑ อุปนิสัยมรรคผลของผู้ใดไม่มี ๑ บุคคลเหล่านั้น แม้ทั้งหมดเป็น ผู้มีภัพพวิปริตไม่พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามธรรม คือ มรรคผลและนิพพาน" ดังนี้.
จบอรรถกถาอภัพพาคมนบุคคล และภัพพคมนบุคคล
[๓๐] นิยตบุคคล บุคคลผู้เที่ยงแล้ว เป็นไฉน?
บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม ๕ จำพวก บุคคลผู้เป็นนิยคมิจฉาทิฏฐิและ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกชื่อว่า นิยตะ ผู้เที่ยงแล้ว. บุคคลนอกนั้นชื่อว่า อนิยตะ คือ ผู้ไม่เที่ยง.
อรรถกถานิยตบุคคล และอนิยตบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งนิยตานิยตบุคคล. บทว่า "อนนฺตริกา" ได้ แก่ ผู้พรั่งพร้อมด้วยอนันตริยกรรม. บทว่า "มิจฺฉาทิฏฺฐิกา" ได้แก่ ผู้พรั่ง พร้อมด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. ก็บุคคลเหล่านั้น แม้ทั้งหมดชื่อว่า นิยตะ (เที่ยง) เพราะเป็นผู้เที่ยงเพื่อประโยชน์แก่นรก. ส่วนพระอริยบุคคล ๘ จำพวก ชื่อว่า เที่ยง เพราะเป็นผู้เที่ยง เพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลในเบื้องบน โดยความ เป็นผู้เจริญปัญญาโดยชอบ และเพื่อประโยชน์แก่ อนุปาทาปรินิพพาน. ส่วนบุคคลที่เหลือมีคติไม่เที่ยง เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้างไปในอากาศ เมื่อจะตกลงบนแผ่นดิน ใครๆ ก็ไม่ทราบว่า ทางปลายหรือกลางหรือโคนจะตก ลงก่อนฉันใด บุคคลเหล่านั้นก็เหมือนกัน บัณฑิตพึงทราบว่าชื่อว่า ผู้ไม่เที่ยง เพราะการกำหนดแน่นอนไม่ได้ว่า ผู้นี้จะเกิดในคติชื่อโน้น ฉันนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 209
ก็ตามที่ชนชาวอุตตรกุรุทวีปมีคติเที่ยงตามที่พระองค์ตรัสไว้นั้น หาใช่ ตรัสด้วยอำนาจนิยตธรรมไม่ แท้จริง มิจฉัตตธรรมและสัมมัตตธรรมเท่านั้น ชื่อว่า นิยตะ. ก็บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า "ปุคฺคลนิยโม" ด้วยอำนาจแห่งมิจฉัตตะ และสัมมัตตธรรมเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถานิยตบุคคล และ อนิยตบุคคล
[๓๑] ปฏิปันนกบุคคล
บุคคลผู้ปฏิบัติ เป็นไฉน?
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ บุคคลผู้พร้อม เพรียงด้วยผล ๔ ชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล.
อรรถกถาปฏิปันนกบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งปฏิปันนกบุคคล. บทว่า "มคฺคสมงฺคิโน" แปลว่า ผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ก็บุคคลผู้ตั้งอยู่ ในมรรคเหล่านั้นชื่อว่า ปฏิปันนกบุคคล เพราะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อต้องการ ผล. บทว่า "ผลสมงฺคิโน" ได้แก่ ผู้พร้อมเพรียงด้วยผล เพราะเป็นผู้ พร้อมเพรียงในการได้ผล. อันที่จริง นับตั้งแต่การได้ผลไปแล้ว ท่านเหล่านั้น แม้ยังไม่เข้าผลสมาบัติ ก็ชื่อว่า ตั้งอยู่ในผลนั่นเทียว.
จบอรรถกถาปฏิปันนกบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 210
[๓๒] สมสีสีบุคคล
บุคคลผู้ชื่อว่าสมสีสีเป็นไฉน?
การสิ้นไปแห่งอาสวะ และการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคลใด มีไม่ก่อน ไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียก ว่า สมสีสี.
อรรถกถาสมสีสีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งสมสีสีบุคคล. สองบทว่า "อปุพฺพํ อจริมํ" ได้แก่ ไม่ก่อนไม่หลัง อธิบายว่า พร้อมกันนั่นเอง. บทว่า "ปริยาทานํ" ได้แก่ ความสิ้นไปรอบ. บทว่า "อยํ" ความว่า บุคคลนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกชื่อว่าสมสีสี. ก็สมสีสีบุคคลนี้มี ๓ พวก คือ
๑. อิริยาปถสมสีสี
๒. โรคสมสีสี
๓. ชีวิตสมสีสี.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดกำลังจงกรมอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต ยังจงกรมอยู่นั่นแหละ ย่อมปรินิพพานเหมือนพระปทุมเถระ. บุคคลใดกำลังยืนอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตกำลังยืนอยู่นั่นแหละ ย่อมปรินิพพานเหมือนพระติสสเถระผู้อยู่ในวิหารโกฏบรรพต. บุคคลใด กำลังนั่งอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตกำลังนั่งนั่นแหละ ย่อมปรินิพพาน. บุคคลใด กำลังนอนอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตกำลังนอน นั่นแหละ ย่อมปรินิพพาน. บุคคลทั้งหมดดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อิริยาปถสมสีสีบุคคล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 211
อนึ่ง บุคคลใด เกิดโรคอย่างหนึ่งแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาภายในโรค นั่นแหละ แล้วบรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพานด้วยโรคนั้นนั่นแหละ ท่านผู้นี้ ชื่อว่า โรคสมสีสีบุคคล.
ถามว่า บุคคลผู้ชื่อว่า ชีวิตสมสีสี เป็นไฉน?
ตอบว่า คำว่า "สีสะ" มี ๑๓ อย่าง คือ
๑. ตัณหา ชื่อว่า ปลิโพธสีสะ
๒. มานะ ชื่อว่า พันธนสีสะ
๓. ทิฏฐิ ชื่อว่า ปรามาสสีสะ
๔. อุทธัจจะ ชื่อว่า วิกเขปสีสะ
๕. อวิชชา ชื่อว่า กิเลสสีสะ
๖. ศรัทธา ชื่อว่า อธิโมกขสีสะ
๗. วิริยะ ชื่อว่า ปัคคหสีสะ
๘. สติ ชื่อว่า อุปัฏฐานสีสะ
๙. สมาธิ ชื่อว่า อวิกเขปสีสะ
๑๐. ปัญญา ชื่อว่า ทัสสนสีสะ
๑๑. ชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปวัตตสีสะ
๑๒. วิโมกข์ ชื่อว่า โคจรสีสะ
๑๓. นิโรธ ชื่อว่า สังขารสีสะ.
บรรดาสีสะเหล่านั้น อรหัตตมรรค ย่อมครอบงำอวิชชา คือ กิเลสสีสะ จุติจิตย่อมครอบงำชีวิตนทรีย์ คือ ปวัตตสีสะ จิตที่ครอบงำอวิชชาย่อมไม่อาจ เพื่อจะครอบงำชีวิตนทรีย์ได้ จุติจิตที่ครอบงำชีวิตนทรีย์ก็ไม่อาจเพื่อจะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 212
ครอบงำจิตที่มีอวิชชาได้ จิตที่ครอบงำอวิชชาก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตที่ครอบงำ ชีวิตนทรีย์ก็เป็นอย่างหนึ่ง. สีสะทั้งสองอย่างนี้ของบุคคลใด ถึงความสิ้นไป พร้อมๆ กัน บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ชีวิตสมสีสี.
ถามว่า สีสะทั้ง ๒ อย่างนี้ มีพร้อมๆ กันได้อย่างไร?
ตอบว่า เพราะมีพร้อมๆ กันได้ด้วยวาระ. อธิบายว่า การออกจาก มรรคย่อมมีในวาระใด วาระนั้นชื่อว่ามีพร้อมๆ กัน คือว่า บุคคลใดตั้งอยู่ ในปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง คือ ปัจจเวกขณะในโสดาปัตติมรรค ๕ อย่าง ในสกทามิมรรค ๕ อย่าง ในอนาคามิมรรค ๕ อย่าง ในอรหัตตมรรค ๔ อย่าง แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ จึงปรินิพพาน ความสิ้นไปแห่งสีสะทั้งสองอย่างนี้ จึงชื่อว่าพร้อมๆ กัน เพราะความพร้อมๆ กันด้วยวาระเหล่านั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชีวิตสมสีสี. ก็บุคคลนี้เท่านั้น พระผู้ มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในสมสีสีนิเทศนี้.
จบอรรถกถาสมสีสีบุคคล
[๓๓] ฐิตกัปปีบุคคล
บุคคลผู้ชื่อว่า ฐิตกัปปี เป็นไฉน?
บุคคลนี้ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และเวลาที่ กัปไหม้จะพึงมี กัปก็ไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล บุคคลนี้เรียกว่า ฐิตกัปปี. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ิตกปฺปี ผู้มีกัปตั้งอยู่แล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 213
อรรถกถาฐิตกัปปีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ฐิตกัปปีบุคคล. ๑กัปตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ิตกปฺโป. กัปตั้งอยู่ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ิตกปฺโป แปลว่า ผู้มีกัปอันตั้งอยู่. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ เพื่อจะให้กัป ดำรงอยู่ได้.
คำว่า ฑยฺหนเวลา อสฺสาติ ฌายนกาโล ภเวยย เวลาเป็นที่. ไหม้ของกัปนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงชื่อว่า ฌายนกาโล แปลว่า มีกาล เป็นที่ไหม้. คำว่า "เนว ตาว" ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนี้ (มคฺคสมงฺคีปุคฺคโล) ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผลเพียงใด กัปก็ยัง ไม่ถูกไฟไหม้เพียงนั้น แม้กัปกำลังไหม้อยู่ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนั้น ไม่ไหม้เลย พึงดำรงอยู่ได้. จริงอยู่ขึ้นชื่อว่ากัปวินาศเป็นวิกาลใหญ่ เป็น มหาปโยคะ เป็นมหาโลกวินาศ ด้วยสามารถแห่งการไหม้ตลอดแสนโกฏิจักรวาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาวินาศนี้ พึงปรากฏอยู่อย่างนี้ทีเดียว แต่เมื่อพระ ศาสนายังทรงอยู่ ชื่อว่า กัปวินาศก็ยังไม่มี ทั้งศาสนาก็ย่อมไม่มีในเวลาที่กัปพินาศ. แต่ชื่อว่ากัปวินาศ ย่อมมีในเวลาอันถึงที่สุดแล้ว. แม้เมื่อความเป็นอย่างนั้น
๑. มหากัปหนึ่ง มีอายุเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป อสังขัยกัปหนึ่ง เท่ากับ ๑ ใน ๔ ของมหากัป. ท่านแบ่งมหากัปออกเป็น ๔ ภาค คือ ก. สังวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังถูกทำลาย ข. สังวัฏฏฐายีอสังชัยกัป ได้แก่ โลกที่ถูก ทำลายเสร็จแล้ว ค. วิวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังก่อสร้าง ฆ. วิรัฏฎฐายีอสังขัยกัป ได้ แก่ โลกที่สร้างเสร็จแล้ว
อันตรกัป ได้แก่ ระยะเวลาที่ท่านประมาณไว้ดังนี้ คือ เมื่อมนุษย์มีอายุอยู่ถึง ๑ อสังขัยปี แล้วก็ลดลงนา คือ ร้อยปีลดหนึ่งปี จนถึง ๑๐ ปี และกลับทับทวีเพิ่มขึ้นไปทุกชั่วระยะชีวิต จนถึง ๑ อสังขัยปีอีก จึงนับเป็นอันตรกัปหนึ่ง ๖๔ อันตรกัปจึงเป็นอสังขัยกัปหนึ่ง. อนึ่ง ขัยอายุของ มนุษย์ที่ลดลงและเพิ่มขึ้นระยะนั้น เรียกว่า อายุกัป.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 214
พระศาสดาทรงนำเหตุนี้มาเพื่อจะแสดงความไม่มีอันตราย. แม้เหตุนี้จะพึงมี แต่อันตรายทั้งหลายแห่งผลจิตของมรรคบุคคล อันอะไรๆ ก็ไม่อาจจะกระทำ ได้ดังนี้. ถามว่า ก็บุคคลนี้แม้ให้กัปตั้งอยู่ได้ พึงตั้งอยู่ตลอดกาลมีประมาณ เท่าไร. ตอบว่า การออกจากมรรคย่อมมีในวาระใด ท่านก็พึงตั้งอยู่ตลอดกาล มีประมาณเท่านั้น.
คำว่า "อถ ภวงฺคํ อาวชฺเชนฺตํ มโนทฺวาราวชฺชนํ อุปฺปชฺชติ ตโต ตีณิ อนุโลมานิ เอกํ โคตฺรภูจิตฺตํ เอกํ มคฺคจิตฺตํ เทฺว ผลจิตฺตานิ ปญฺจ ปจฺจเวกฺขณญาณานิ" อธิบายว่า เมื่อภวังคจิตดับแล้ว มโนทวาราวัชชนจิตก็พิจารณา ต่อจากนั้น อนุโลมญาณก็เกิดขึ้น ๓ ขณะ โคตรภูจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ มรรคจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ ผลจิตเกิดขึ้น ๒ ขณะ ปัจจเวกขณญาณเกิดขึ้น ๕ ครั้ง บุคคลนี้ พึงตั้งอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.
อนึ่ง เพื่อจะแสดงเนื้อความนี้ด้วยข้ออุปมาที่มีในภายนอก พระอาจารย์ทั้งหลาย ท่านแสดงเรื่องนี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ก็ถ้าบุคคลพึงเอาเชือก ๓ เกลียว ผูกแท่งศิลาหนาทึบเป็นอันเดียวกัน มีประมาณโยชน์หนึ่ง ห้อยไว้บนศีรษะของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติ- มรรค เมื่อเชือกเกลียวหนึ่งขาดแล้ว แท่งศิลาก็ยังห้อยอยู่ด้วยเชือก ๒ เกลียว เมื่อเกลียวที่สองขาดแล้ว ก็ยังห้อยอยู่ด้วยเชือกเพียงเกลียวเดียว ครั้นเชือกเกลียว เดียวนั้นขาแล้ว แท่งศิลานั้นก็ลอยอยู่บนอากาศเหมือนความหลอกลวงของ ก้อนเมฆลอยอยู่ ศิลานั้นหาได้ทำอันตรายแก่บุคคลผู้มีมัคคานันตระ คือ ผู้ไม่ มีอะไรคั่นระหว่างมรรคกับผลนั้นไม่. การแสดงนี้เป็นการแสดงเพียงเล็กน้อย การแสดงครั้งก่อนนั่นแหละเป็นการแสดงใหญ่. ก็บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ-
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 215
มรรคเท่านั้น ชื่อว่า ตั้งอยู่ตลอดกัปอย่างเดียวก็หาไม่ แม้ผู้ถึงพร้องด้วยมรรค นอกจากนี้ก็ตั้งอยู่ตลอดกัปเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง ทรงชักเอาบุคคลที่พระองค์ทรงถือเอาและไม่ทรงถือเอาหนหลัง แล้วยกขึ้นสู่ แบบแผนนี้ พร้อมกับปิฏฐิวัฏฏกบุคคลทั้งหลาย. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรค แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ิิิิตกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป ดังนี้.
จบอรรถกถาฐิตกัปปีบุคคล
[๓๔] อริยบุคคล
บุคคลผู้เป็นอริยะ เป็นไฉน?
พระอริยบุคคล ๘ เป็นอริยะ. บุคคลนอกนั้น ไม่ใช่อริยะ.
อรรถกถาอริยบุคคล
วินิจฉัย ในนิเทศแห่งพระอริยบุคคล. ชื่อว่า อริยะ เพราะเป็น ผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า อริยะ เพราะประเสริฐกว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บุคคลผู้มีความบริสุทธิ์เป็นอรรถ ชื่อว่า อรรถแห่งอริยะ เพราะฉะนั้น แม้เพราะอรรถว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จึงชื่อว่า อริยะ. เหล่าชนทั้งหลายที่เหลือไม่ ชื่อว่า อริยะ เพราะความเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์.
จบอรรถกถาอริยบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 216
[๓๕] เสขบุคคล
บุคคลผู้เป็นเสขะ เป็นไฉน?
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๓ เป็น เสขะ. พระอรหันต์เป็น อเสขะ. บุคคลนอกนั้นเป็น เนวเสขานาเสขา คือ เป็นเสขะก็มิใช่เป็นอเสขะก็มิใช่.
อรรถกถาเสขกบุคคล และ อเสกขบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งพระเสกขบุคคล. บุคคลเหล่าใดถึงพร้อมด้วย อริยมรรคในขณะแห่งมรรคจิตด้วย ถึงพร้อมด้วยอริยผลในขณะแห่งผลจิตด้วย ชนเหล่านั้นยังศึกษาสิกขาทั้ง ๓ มี อธิศีลสิกขาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ชนเหล่า นั้นจึงชื่อว่า เสกฺขา แปลว่า ผู้ยังศึกษาอยู่. ส่วนพระอรหันต์ ท่านศึกษา สิกขาทั้ง ๓ ในขณะแห่งอรหัตตผล กิจคือการศึกษาย่อมไม่มีแก่ท่านอีก เพราะ ฉะนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า อเสกฺขา แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา. พระอริยบุคคล ๗ จำพวก ท่านกำลังศึกษาอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงชื่อว่า เสกฺขา. พระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สิกฺขิตาเสกฺขา แปลว่า อเสกขบุคคลที่ศึกษาเสร็จแล้วจากบุคคลอื่น เป็นเพราะความที่ศีลเป็นต้นท่าน ศึกษาแล้วในสำนักแห่งบุคคลอื่น พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า อสิกฺขิตาเสกฺขา แปลว่า อเสกขบุคคล ที่ไม่ศึกษาจากสำนักบุคคลอื่น เพราะความที่ท่านเป็นสยัมภู คือ เป็นผู้ตรัสรู้เอง. บุคคลทั้งหลายที่เหลือ กำลัง ศึกษาก็ไม่ใช่ ศึกษาแล้วก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เนวเสกฺขานาเสกฺขา.
จบอรรถกถาเสกขบุคคล และ อเสกขบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 217
[๓๖] เตวิชชบุคคล บุคคลผู้มีวิชชา ๓ เป็นไฉน?
บุคคลผู้ประกอบด้วยวิชชา ๓ ชื่อว่า ผู้มีวิชชา ๓.
[๓๗] ฉฬภิญญบุคคล บุคคลผู้มีอภิญญา ๖ เป็นไฉน? บุคคลผู้ประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่า ผู้มีอภิญญา ๖.
อรรถกเตวิชชบุคคลและฉฬภิญญบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง เตวิชชบุคคล. บุคคล ผู้ยังบุพเพนิวาสและ ทิพยจักขุญาณให้เกิดขึ้นแล้วบรรลุพระอรหัตในภายหลังก็ดี ผู้บรรลุพระอรหัต ก่อน แล้วยังบุพเพนิวาสและทิพยจักขุญาณให้เกิดขึ้นก็ดี ชื่อว่าผู้มีวิชชา ๓ ทั้ง สิ้น (เติวิชฺโช). ก็ข้อกำหนดในการบรรลุเป็นธุระในที่นี้ว่า "ก็ถ้อยคำที่กล่าว ไว้ในพระสูตรเป็นการแสดงโดยอ้อม ถ้อยคำที่กล่าวในพระอภิธรรมเป็นการ แสดงโดยตรง " เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ยังวิชชา ๒ ให้เกิดขึ้นก่อนแล้วบรรลุ พระอรหัตในภายหลังนั่นแหละ พระองค์ทรงพระประสงค์เอาใน เตวิชชนิทเทส นี้. แม้ในบุคคลผู้มีอภิญญา ๖ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาเตวิชชบุคคลและฉฬภิญญบุคคล
[๓๘] สัมมาสัมพุทธบุคคล
บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม ทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูใน ธรรมนั้น และถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียก ว่า พระสัมมาสัมพุทธะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 218
อรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัมมาสัมพุทธบุคคล. คำว่า "ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ" ได้แก่ ในธรรมอันไม่เคยสดับมาก่อนในสำนักแห่งบุคคลอื่น ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้สัจธรรมในปัจฉิมภพ. ก็ในภพก่อนๆ แต่ภพนั้น พระสัพพัญญโพธิสัตว์ ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา เรียนพระไตรปิฎกทั้ง ๓ แล้วยกขึ้นสู่คตปัจจาคตวัตรคือ วัตรที่นำกรรมฐานไปและนำกลับมา เริ่ม ตั้งกรรมฐานจนจดอนุโลมและโคตรภูญาณ. เพราะฉะนั้น คำว่า "สัมมาสัมพุทโธ" นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความเป็นผู้ไม่มีใครๆ เป็นอาจารย์ในปัจฉิมภพ คือภพสุดท้ายเท่านั้น.
จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้า ทรงตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔ ด้วยพระองค์ เอง ด้วยญาณอันประจักษ์แก่พระองค์ว่า "อิทํ ทุกฺขํ ฯลฯ อทํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ ในสังขตธรรมทั้งหลาย ที่ไม่ได้สดับมาในสำนัก แห่งบุคคลอื่น เพราะความที่พระองค์เป็นผู้มีบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว. คำว่า "ตตฺถ" ได้แก่ อรหัตตมรรค กล่าวคือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔ นั้น. คำว่า "พเลสุ วสีภาวํ" ได้แก่ ย่อมถึงความเป็นผู้ชำนาญในการ ประพฤติพระสัพพัญญุตญาณ และทศพลญาณทั้งหลาย. ก็กิจอื่น ชื่อว่าควร กระทำย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำเดิมแต่การบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และพระทศพลญาณ. เหมือนอย่างว่า. อิสริยยศทั้งหมดใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า ชื่อว่า อิสริยยศนี้ ไม่มาถึงแก่ขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาติ จำเดิมแต่การได้อภิเษก อิสริยยศนี้ ย่อมเป็นธรรมชาติมาแล้วทั้งสิ้น ฉันใด ชื่อว่า คุณนี้อันใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า ไม่มาถึงแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่แทงตลอดแล้ว, และไม่ประจักษ์แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำเดิมแต่การบรรลุ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 219
อรหัตตมรรค คุณคือพระสัพพัญญุตญาณแม้ทั้งปวง ชื่อว่ามาแล้ว พระพุทธเจ้า ได้แทงตลอดแล้ว กระทำให้ประจักษ์แล้ว ฉันนั้น เหมือนกัน.
คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ได้แก่ บุคคลผู้มีสัพพัญญูคุณ อันแทงตลอดแล้วด้วยอริยมรรค โดยอานุภาพแห่งความสำเร็จแล้ว ด้วยบารมี อันบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงเรียกว่า "สัมมาสัมพุทโธ".
จบอรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล
[๓๙] ปัจเจกสัมพุทธบุคคล บุคคลผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเอง ในธรรม ทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู ในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคล นี้เรียกว่า พระปัจเจกสัมพุทธะ.
อรรถกถาปัจเจกสัมพุทธบุคคล
วินิจฉัย ในนิเทศแห่ง ปัจเจกสัมพุทธบุคคล. บัณฑิต พึงทราบเนื้อ ความแห่งบทว่า "ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ" โดยนัยที่กล่าวไว้ในกาลก่อนนั่น แหละ. แท้จริงพระปัจเจกพุทธเจ้า ในปัจฉิมภพ ก็ไม่มีใครๆ เป็นอาจารย์ ท่านแทงตลอดสัจธรรมทั้ง ๔ ด้วยอัตตุกกังสิกญาณ คือ ญาณที่รู้เฉพาะตน เองนั่นแหละ แต่หาได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และ ทศพลญาณไม่.
จบอรรถกถาปัจเจกสัมพุทธบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 220
[๔๐] อุภโตภาควิมุตตบุคคล บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถ อยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต.
อรรถกถาอุภโตภาควิมุตตบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง อุภโตถาควิมุตตบุคคล. คำว่า "อฏฺ วิโมกฺเข กาเยน วิหรติ" ความว่า ได้สมาบัติ ๘ ด้วยสหชาตนามกายแล้วอยู่. คำว่า "ปญฺาย จสฺส ทิสฺวา" ความว่า อาสวะทั้ง ๔ สิ้นแล้ว เพราะ เห็นความเป็นไปแห่งสังขารด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นสัจธรรมทั้ง ๔ ด้วย มรรคปัญญา. คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า อุภโตภาควิมุตตบุคคล. ก็บุคคลนี้ พ้นวิเศษแล้ว จากส่วนทั้ง ๒ สิ้น ๒ ครั้ง เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากส่วนทั้ง ๒ สิ้น ๒ ครั้ง.
ข้อนี้ เถรวาทกล่าวไว้เป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้
พระจุลนาคเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎก กล่าวไว้ก่อนว่า บุคคลใด พ้นแล้วด้วยวิกขัมภนวิโมกขสมาบัติ และพ้นแล้วด้วยสมุจเฉทวิโมกขมรรค เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อุภโตกาควิมุตตบุคคล.
พระมหาธรรมรักขิตตเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า บุคคล ผู้นี้ อาศัยนาม แล้วกล่าวว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน อุปสีวะ เปลวไฟ ถูกกำลังลมพัดแล้ว ย่อมดับไป ไม่เข้าถึงการนับได้ ฉันใด มุนี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 221
ผู้หลุดพ้นวิเศษแล้วจากนามกายย่อมดับไป คือ ย่อมอุปาทาปรินิพพาน ย่อม ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่า เป็นคนเป็นสัตว์ได้ ฉันนั้น" ครั้นนำพระสูตร เรื่อง อุปสีวมาณวปัญหาที่ ๖ ในโสฬสปัญหา มาแล้ว จึงกล่าวว่า ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นวิเศษแล้วจานามกายและรูปกาย.
ส่วนพระจูฬภยเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า บุคคลผู้ พ้นวิเศษแล้วด้วยวิกขัมภนวิโมกขสมาบัติสิ้นวาระหนึ่ง พ้นเศษแล้วด้วย สมุจเฉทวิโมกขมรรคสิ้นวาระหนึ่ง จึงเรียกว่า อุภโตภาควิมุตตบุคคล. ก็พระเถระทั้ง ๓ รูปนี้ เป็นบัณฑิต ท่านตั้งวาทะไว้ให้เป็นแบบด้วยการใคร่ ครวญว่า "เหตุในวาทะทั้ง ๓ ย่อมเห็นได้" ก็เมื่อกล่าวโดยสังเขป บุคคลใด พ้นวิเศษแล้วจากรูปกาย ด้วยอรูปสมาบัติ พ้นวิเศษแล้วจากนามกาย ด้วย มรรค เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะ หลุดพ้นวิเศษแล้วจากส่วนทั้งสอง. บุคคลที่ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต นั้นมี ๕ จำพวก คือ บุคคลผู้ใดอรูปสมาบัติ ๔ ออกจากรูปสมาบัติแล้วพิจารณาสังขาร ทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัต เป็น ๔ จำพวก และพระอนาคามีผู้ออกจาก นิโรธสมาบัติแล้วบรรลุพระอรหัต ๑.่ บรรดาพระอริยะทั้ง ๕ นั้น ๔ พวก แรก ท่านไม่เข้านิโรธ อันมีสมาบัติเป็นประธาน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อุภโตภาควิมุตโดยปริยาย ท่านพระอนาคามีผู้ได้สมาบัตินั้นแล้ว เมื่อออกจาก สมาบัติก็เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตเสฏฐบูคคล โดยนิปปริยาย.
ถามว่า อรูปาวจรฌานก็ดี รูปาวจรจตุตถฌานก็ดี มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาและเอกัคคตา เพราะเหตุนั้น บุคคลกระทำรูปาวจรจตุตถฌาน ซึ่งมี องค์ ๒ นั้นให้เป็นปทัฏฐานแล้วบรรลุพระอรหัต ก็พึงเป็นผู้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต มิใช่หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 222
ตอบว่า ไม่พึงเป็นเช่นนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะความที่ผู้นั้นยังไม่พ้นแล้วจากรูปกาย. ด้วยว่า รูปาวจรจตุตถฌานนั้น พ้นจากกิเลสกายเท่านั้น หาได้พ้นจากรูปกายไม่ ฉะนั้น. ผู้ ออกจากสมาบัตินั้นแล้วบรรลุพระอรหัต จึงไม่ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ส่วน อรูปาวจรฌานพ้นแล้วจากนามกายด้วย จากรูปกายด้วย ฉะนั้น ผู้กระทำ อรูปาวจรฌานนั้นให้เป็นบาทแล้วบรรลุพระอรหัต พึงทราบว่า ชื่อว่า อภโตภาควิมุตตบุคคล ดังนี้.
จบอรรถถาอุภโตภาควิมุตตบุคคล
[๔๑] ปัญญาวิมุตตบุคคล บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุตเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถ อยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ปัญญาวิมุต.
อรรถกถาปัญญาวิมุตตบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ปัญญาวิมุตตบุคคล. ผู้ใดหลุดพ้นวิเศษ แล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุตตบุคคล. ปัญญาวิมุตตบุคคลนั้น มี ๕ จำพวก คือ พระอรหัตสุกขวิปัสสก ๑ บุคคลผู้ออกจากฌานทั้ง ๔ แล้ว บรรลุพระอรหัต อีก ๔ จำพวก. ก็บรรดาพระอรหันต์เหล่านั้น แม้องค์หนึ่งที่ ได้วิโมกข์ ๘ หามีไม่. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 223
เทว โข อฏฺวิโมกฺเข" ดังนี้ แต่บรรดาอรูปาวจรฌานทั้งหลาย เมื่อมีอยู่ สักหนึ่งฌาน ก็ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตบุคคล ได้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาปัญญาวิมุตตบุคคล
[๔๒] กายสักขีบุคคล บุคคลชื่อว่า กายสักขี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถ อยู่ ทั้งอาสวะบางอย่างของผู้นั้น ก็สิ้นไปแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า กายสักขี.
อรรถกถากายสักขีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง กายสักขีบุคคล. คำว่า "เอกจฺเจ อาสวา" ได้แก่ อาสวะบางอย่าง ที่ประหานด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ. คำว่า "อยํ วฺจติ" ได้แก่ บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่ากายสักขี. ก็บุคคลนั้น ชื่อว่า กายสักขี ก็เพราะกระทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์อันคนถูกต้องแล้ว. บุคคลใด ถูกต้องผลอันเกิดจากฌานก่อนแล้ว กระทำนิโรธคือนิพพานให้แจ้งในภายหลัง บุคคลแม้นี้ก็ชื่อว่า กายสักขี. กายสักขีบุคคลนี้มี ๖ จำพวก นับตั้งแต่ พระโสดาปัตติผล จนถึงพระอรหัตตมรรค ดังนี้.
จบอรรถกถากายสักขีบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 224
[๔๓] ทิฏฐิปัตตบุคคล บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดี แล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้น ก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย ปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ.
อรรถกถาทิฏฐิปัตตบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ทิฏฐิปัตตบุคคล. คำว่า "อิทํ ทุกฺขํ" ได้ แก่ ทุกข์มีประมาณเท่านี้ ไม่เกินจากนี้ไป. แม้ในเหตุให้เกิดทุกข์เป็นต้น ก็ นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า "ยถาภูตํ ปชานาติ" ความว่า เว้นตัณหาเสียแล้ว ย่อมรู้ทุกข์ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โดยกิจตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกขสัจจะ. ก็ตัณหาย่อมยังทุกข์ให้ตั้งขึ้น ให้เกิด ให้บังเกิด คือ ให้เป็นไปทั่ว ทุกข์นี้ ย่อม เกิดจากตัณหานั้น เพราะเหตุนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งตัณหานั้น ตามความเป็นจริง ว่า "อยํ ทุกฺขสมุทโย" แปลว่า นี้เป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์. ก็เพราะเหตุ ที่ ทุกข์นี้ด้วย สมุทัยนี้ด้วย ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมดับไป ย่อมสงบระงับ คือ ย่อมถึงความไม่ต้องเป็นไป เพราะฉะนั้น ย่อมรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้นตามความ เป็นจริงว่า "อยํ ทุกฺขนิโรโธ" แปลว่า นี้เป็นที่ดับไปแห่งทุกข์. อนึ่ง มรรค ใดประกอบด้วยองค์ ๘ เกิดขึ้น ทุกข์นี้ ย่อมถึงซึ่งความดับไปด้วยมรรคนั้น เพราะฉะนั้น ย่อมรู้ทั่วซึ่งมรรคนั้น ตามความเป็นจริงว่า "อยํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา" แปลว่า นี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 225
บัดนี้เพื่อจะแสดงอริยสัจจะทั้ง ๔ ในขณะเดียวกัน พระองค์จึงตรัส คำเป็นต้นว่า "ตถาคตปฺปเวทิตา" แปลว่า ธรรมอันพระตถาคตแทงตลอด แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ตถาคตปฺปเวทิตา" ความว่า สัจธรรม ทั้ง ๔ ที่พระตถาคตประทับ ณ มหาโพธิมณฑลทรงแทงตลอดแล้ว คือ ทรงทราบแล้ว ได้แก่กระทำให้ปรากฏแล้ว. บทว่า "ธมฺมา" ได้แก่ ธรรม คือ อริยสัจทั้ง ๔. คำว่า "โว ทิฏา โหนฺติ" ได้แก่ ธรรมอันคนเห็นดี แล้ว. คำว่า "โว จริตา" ได้แก่ ประพฤติดีแล้ว. ในธรรมเหล่านั้นอธิบายว่า ได้แก่ ปัญญาที่ตนประพฤติดีแล้ว. คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ได้แก่ บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิปัตโต. ก็บุคคลนี้ บรรลุธรรมที่ตนเห็น แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฎฐิปัตโต. ญาณ คือ ปัญญาว่า "ทุกฺขา สงฺ- ขารา สุโข นิโรโธ" แปลว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข อัน บุคคลนั้นเห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ทิฏิปตฺโต. ทิฏฐิปัตตบุคคลนี้ ก็มี ๖ จำพวก เหมือนพระอริยบุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขี.
จบอรรถกถาทิฏฐิปัตตบุคคล
[๔๔] สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคลชื่อว่า ทัทธาวิมุต เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้ทุกข์เกิด ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 226
อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไป ดีแล้ว ด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็น ด้วยปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า สัทธาวิมุต
อรรถกถาสัทธาวิมุตตบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัทธาวิมุตตบุคคล. ข้อว่า "โน จ โข ยถา ทิฏฺิปตฺตสฺส" อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายของสัทธาวิมุตตบุคคล เป็นธรรมชาติสิ้นไป มิได้เหมือนกันกับทิฏฐิปัตตบุคคล.
ถามว่า ความต่างกันในการละกิเลสแห่งพระอริยบุคคลทั้งสองนั้น มี อยู่หรือ?
ตอบว่า ไม่มี.
ถามว่า ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร สัทธาวิมุตตบุคคล จึงไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล.
ตอบว่า เพราะความแตกต่างกันแห่งธรรมอันท่านพึงบรรลุมีอยู่. ก็ ทิฏฐิปัตตบุคคล ท่านข่มกิเลสได้ด้วยการบรรลุไม่ลำบากเลย สามารถเพื่อข่ม กิเลสทั้งหลาย โดยไม่ลำบาก ไม่ยาก. แต่สัทธาวิมุตตบุคคล เป็นผู้ลำบาก อยู่ด้วยความทุกข์ยาก จึงสามารถข่มกิเลสทั้งหลายได้ ฉะนั้น ท่านจึงไม่ถึง ทิฏฐิปัตติบุคคล.
อีกอย่างหนึ่ง ความแตกต่างกันแม้ด้วยปัญญาของท่านทั้ง ๒ นั้นก็มีอยู่ ด้วย. อันวิปัสสนาญาณแห่งมรรค ๓ เบื้องบนของทิฏฐิปัตตะเป็นคุณชาติคม, กล้า, ผ่องใส เป็นไป. วิปัสสนาญาณของสัทธาวิมุตตะ ไม่คม, ไม่กล้า, ไม่ ผ่องใส เป็นไป. แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล.
เหมือนอย่างว่า ชายหนุ่ม ๒ คน เมื่อจะแสดงศิลปะ คนหนึ่งมีดาบ อันคมกล้าอยู่ในมือ คนหนึ่งมีดาบทื่อ ต้นกล้วยเมื่อถูกตัดด้วยดาบสที่คมกล้า
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 227
ย่อมไม่ได้ยินเสียง แต่เมื่อถูกตัดด้วยดาบที่ทื่อ ย่อมส่งเสียงดัง "กฏะ กฏะ" ดังนี้ฉันใด ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบคำอุปมัยดังนี้ว่า
ความที่วิปัสสนาญาณแห่งมรรค ๓ ของทิฏฐิปัตตบุคคล เป็นคุณชาติ คมกล้าและผ่องใสวิเศษแล้ว พึงทราบว่า เหมือนกับการตัดต้นกล้วยที่ไม่ได้ ยินเสียงด้วยดาบอันคมกล้า ฉันนั้น และความที่วิปัสสนาญาณแห่งมรรคทั้ง ๓ ของสัทธาวิมุตตบุคคล เป็นคุณชาติไม่คม ไม่กล้า และไม่ผ่องใสวิเศษแล้ว พึงทราบว่า เหมือนกับการเอาดาบที่ทื่อตัดต้นกล้วย มีเสียงดังเกิดขึ้น ฉันนั้น. ก็ท่านอาจารย์ห้ามนัยนี้ว่า โน แล้วท่านทำการสันนิษฐานว่า สัทธาวิมุตตบุคคล ไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล เพราะญาณอันท่านพึงบรรลุแตกต่างกันนั่นเทียว ก็ท่านได้กกล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถาที่มาทั้งหลายแล้ว.
จริงอยู่ ในท่านทั้งสองนั้น การสิ้นกิเลสของสัทธาวิมุตตบุคคล ย่อม มีในขณะแห่งมรรคอันเป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้น ดุจบุคคลผู้กำลังเชื่ออยู่ หยั่งลงอยู่ และน้อมใจเชื่ออยู่. ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลสของทิฏฐิบุคคบุคคล ย่อมมีในขณะแห่งมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้น ไม่ชักช้า เป็นของคมกล้าเป็นไป. เพราะฉะนั้นท่านจึงอุปมาว่า เปรียบเหมือนเอาดาบที่ไม่คมกล้าตัดต้นกล้วย ที่ เป็นที่ถูกตัดนั้นย่อมไม่เกลี้ยง ดาบย่อมไม่ผ่านไปโดยรวดเร็ว จึงทำให้ได้ยิน เสียง คือต้องใช้ความพยายามมาก ฉันใด มรรคภาวนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ของสัทธาวิมุตตบุคคลเห็นปานนี้ ย่อมมีฉันนั้น. ญาณ คือ ปัญญาของทิฏฐิ ปัตตบุคคลนั้น เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลเอาดาบอันคมกล้าตัดต้นกล้วย ที่เป็น ที่ถูกตัดย่อมเรียบเกลี้ยง ดาบผ่านไปได้รวดเร็วทำให้ไม่ได้ยินเสียง เขาไม่ต้อง ใช้ความพยายามมาก ฉันใด พึงทราบว่า มรรคภาวนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ของทิฏฐิปัตตบุคคล ผู้เห็นปานนี้ ก็ฉันนั้น ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 228
คำว่า "อยํ วุจจติ" ความว่า บุคคลนี้คือผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า สทฺธาวิมุตฺโต จริงอยู่ สัทธาวิมุตตบุคคลนี้ กำลังเชื่ออยู่ ชื่อว่าได้หลุดพ้น แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สทฺธาวิมุตฺโต. ก็สัทธาวิมุตตบุคคลนี้มี ๖ จำพวก เหมือนกับ กายสักขีบุคคล.
จบอรรถกถาสัทธาวิมุตตบุคคล
[๔๕] ธัมมานุสารีบุคคล บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เป็นไฉน?
ปัญญนทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมี ประมาณยิ่ง บุคคลนั้น ย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี.
บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลชื่อว่า ธัมมานุสารี.
บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ.
อรรถกถาธัมมานุสารีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ธัมมานุสารีบุคคล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง แสดงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยบทนี้ว่า "ปฏิปนฺนสฺสํ". บทว่า "อธิมุติตํ" ได้แก่ มีกำลัง. ผู้ใดย่อมนำมาซึ่งปัญญา เหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า ปัญญาวาหี แปลว่า ผู้มีปกตินำมาชื่อปัญญา. อธิบายว่า ปัญญา ย่อมนำบุคคลนี้ไป. ท่านกล่าวว่า "ปัญญาวาหี" ดังนี้ก็มีบ้าง. คำว่า "ปญฺฺาปุพฺพงฺคมํ" ได้แก่ กระทำปัญญาให้เป็นปุเรจาริก คือ กระทำปัญญาให้เป็น หัวหน้า.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 229
คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียก ว่าธัมมานุสารี. ก็บุคคลใดย่อมระลึก คือ ย่อมตามระลึกด้วยธรรม กล่าวคือ ปัญญา เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ธัมมานุสารี.
คำว่า "ธมฺมานุสารี" นี้ เป็นชื่อแห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติมรรค แต่เมื่อท่านบรรลุผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล.
จบอรรถกถาธัมมานุสารีบุคคล
[๔๖] สัทธนุสารีบุคคล
บุคคลชื่อว่า สัทธานุสารี เป็นไฉน?
สัทธินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี ประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีศรัทธาเป็นเครื่องนำมา มีศรัทธาเป็นประธาน ให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่าสัทธานุสารี. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่า สัทธานุสารี.
บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต.
อรรถกถาสัทธานุสารีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งสัทธานุสารีบุคคล. ผู้ใดย่อมนำมาซึ่งศรัทธา เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สัทธาวาหี แปลว่าผู้นำมาซึ่งศรัทธา. อธิบายว่า ศรัทธานำบุคคลนี้มา. ท่านกล่าวว่า "สุทธาวาหี" ดังนี้บ้างก็มีเหมือนกัน. บทว่า "สทฺธาปุพฺพงคมํ" ได้แก่ กระทำศรัทธาให้เป็นปุเรจาริก คือ ให้ เป็นหัวหน้า. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า สัทธานุสารี. บุคคลใดย่อมระลึก คือ ย่อมตามระลึกถึงด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 230
ศรัทธา เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า สัทธานุสารี. คำว่า "สทฺธานุสารี" นี้ เป็นชื่อของพระโสดาปัตติมรรค. แต่เมื่อท่านบรรลุผลจิตแล้ว ชื่อว่า สัทธาวิมุต. ก็ชื่อว่า ธุระ ๒ อย่าง, ชื่อว่า อภินิเวส ๒ อย่าง, และชื่อว่า สีสะ ๒ อย่างของท่านผู้ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นมีอยู่.
บรรดาธุระเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า ธุระ มี ๒ อย่างคือ สัทธาธุระ ๑. ปัญญาธุระ ๑.
ชื่อว่า อภินิเวส คือ การอาศัย ๒ อย่างคือ ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อม อยู่ด้วยความสามารถแห่งการอาศัยสมถะ (สมถาภินิเวส) อีกรูปหนึ่ง ย่อมอยู่ ด้วยความสามารถแห่งการอาศัยวิปัสสนา (วิปัสสนาภินิเวส).
และชี่อว่า สีสะ คือ ที่สุด เหล่านี้ก็มี ๒ อย่าง คือ ภิกษุรูปหนึ่ง บรรลุธรรมถืงที่สุดแล้ว ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ภิกษุรูปหนึ่ง บรรลุธรรม ถึงที่สุดแล้วมีชื่อว่า ปัญญาวิมุต. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อม ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น ท่านเหล่านั้นทั้งหมดย่อมกระทำธรรม ๒ อย่างนี้ คือ ศรัทธา และ ปัญญา ให้เป็นธุระ อาศัยฐานะทั้ง ๒ เหล่านั้นคือ สมถาภินิเวส และวิปัสสนาภินิเวส และย่อมหลุดพ้นด้วยสีสะทั้ง ๒ เหล่านี้ คืออุภโตภาควิมุตตสีสะ และ ปัญญาวิมุตตสีสะ.
บรรดาท่านเหล่านั้น ภิกษุรูปใด ได้สมาบัติ ๘ กระทำปัญญาให้เป็น ธุระ อาศัยอำนาจสมถะกระทำอรูปสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นปทัฏฐาน แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ภิกษุรูปนั้น ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า ธัมมานุสารี แต่ในฐานะ ๖ ข้างหน้า คือ ตั้งแต่โสดาปัตติผล ถึง อรหัตตมรรค ชื่อว่า กายสักขี. เมื่อบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 231
อีกรูปหนึ่งทำปัญญาอย่างเดียวเท่านั้นให้เป็นธุระ อาศัยอำนาจวิปัสสนา พิจารณาสุทธสังขาร หรือรูปาวจรฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรลุพระอรหัต. ภิกษุแม้นี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า ธัมมานุสารี แต่ในฐานะ ๖ ข้างหน้า คือ ตั้งแต่โสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรค ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ. เมื่อบรรลุ พระอรหัตตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุต. ชื่อ ๒ อย่างคือ ปัญญาวิมิต และ ทิฏฐิปัตตะ ไม่เคยมีในที่นี้ และรวมกับชื่อก่อนๆ อีก ๓ ชื่อ คือ ธัมมานุสารี กายสักขี และอุภโตภาควิมุต จึงเป็น ๕ ชื่อด้วยกัน.
อีกรูปหนึ่ง ท่านได้สมาบัติ ๘ กระทำศรัทธาให้เป็นธุระ อาศัยอำนาจ สมถะ กระทำอรูปสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นปทัฏฐาน เริ่มทั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต. ภิกษุนี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า สัทธานุสารี แต่ในฐานะ ๖ ข้างหน้า ชื่อว่า กายสักขีนั่นแหละ. เมื่อบรรลุพระอรหัตตผล แล้วจึงชื่อว่า อุภโตภาควิมุต นั่นเทียว. ชื่ออย่างเดียวเท่านั้น คือ สัทธานุสารี ไม่เคยมีในที่นี้ รวมกับชื่อ ๕ ชื่อข้างต้น ก็เป็น ๖ ชื่อด้วยกัน.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง กระทำศรัทธานั่นแหละให้เป็นธุระ อาศัยอำนาจ วิปัสสนาพิจารณาสังขารล้วน หรือรูปาวจรฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วบรรลุ พระอรหัต. ภิกษุแม้นี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า สัทธานุสารี ใน ฐานะ ๖ ข้างหนน้า คือ ตั้งแต่โสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรค ชื่อว่า สัทธาวิมุต เมื่อท่านบรรลุอรหัตตผลแล้วจึงชื่อว่าปัญญาวิมุต. ชื่ออย่างเดียวเท่านั้น คือ สัทธาวิมุต ไม่เคยมีในที่นี้ แล้วรวมกับชื่อ ๖ ชื่อข้างต้น ก็เป็น ๗ ชื่อด้วยกัน. พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ ชื่อว่า เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศในโลก.
จบอรรถกถาสัทธานุสารีบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 232
[๔๗] สัตตักขัตตุปรมบุคลล บุคคลชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ ในเบื้องหน้า บุคคลนั้นจะแล่นไป ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ๗ ชาติ แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมะ.
อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัตตักขัตตุปรมบุคคล. คำว่า "สตฺตกฺขตฺตํ" ได้แก่สิ้น ๗ ครั้ง. การเกิดขึ้นในภพ กล่าวคือ การถือเอาซึ่งอัตภาพมี ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่งของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า สตฺตกฺ- ขตฺตุปรโม แปลว่า ผู้มี ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านไม่ถือเอาภพที่ ๘ จากภพที่ ๗ นั้นไป. อุริยมรรค ชื่อว่า "โสโต" แปลว่า กระแส ในคำนี้ว่า "โสตาปนฺโน โหติ" บุคคลผู้ประกอบด้วยมรรคที่ชื่อว่าโสโตนั้น ชื่อว่า โสดาบัน.
เหมือนอย่างคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า "ก็ สารีบุตร เรากล่าวคำนี้ว่า "โสโต โสโต" ดังนี้ สารีบุตร "โสโต" เป็นไฉน?" พระสารีบุตรกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เท่านั้น ชื่อว่าโสโต." พระองค์ตรัสถามว่า "สารีบุตร เราเรียกว่า โสดาบัน สารีบุตร โสดาบันนั้นเป็นไฉน?
พระสารีบุตร กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลใดประกอบ ด้วยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า พระโสดาบัน แม้ใน ขณะแห่งมรรคอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ มีชื่ออย่างนี้ หรือมีโคตรอย่างนี้ ก็
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 233
ชื่อของผลอันมรรคให้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระโสดาบัน พระองค์จึงทรง ประสงค์เอาในขณะแห่งผล.
บทว่า "อวินิปาตธมฺโม" ได้แก่ ภาวะคือการไม่ไปสู่อบายกล่าว คือ วินิปาตด้วยสามารถแห่งอันเกิดขึ้น. บทว่า "นิยโต" ได้แก่ ชื่อว่า นิยตะ คือ เที่ยงด้วยนิยามแห่งมรรค บทว่า "สมฺโพธิปรายโน" ได้แก่ ความเป็น ผู้มีการตรัสรู้อันจะเป็นไปในภายหน้า. แท้จริง พระโสดาบันนั้น ย่อมตรัสรู้ ด้วยมรรคอันตนได้เฉพาะแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า สัมโพธิปรายโน. อีกอย่างหนึ่ง พระโสดาบันนั้น จักตรัสรู้ด้วยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยแน่แท้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า สัมโพธิปรายโน.
สองบทว่า " เทเว จ มนุสฺเส จ" ได้แก่ เทวโลก และมนุษยโลก. สองบทว่า "สนฺธาวิตฺวา สํสริตฺวา" ได้แก่ การไปๆ มาๆ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. สองบทว่า "ทุกฺขสฺสนฺตํ กโรติ" ได้แก่ การทำหนทาง อันเป็นที่สุดแห่ง วัฏฏทุกข์.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกชื่อว่า สัตตักขัตตุปรโม แปลว่า ผู้มี ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง. ก็สัตตักขัตตุปรมบุคคลนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยภพที่ปะปนกัน ด้วยสามารถแห่งเทวโลกและมนุษยโลก ตามกาลอันสมควร.
จบอรรถกถาสัตตักขัตตุปรมบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 234
[๔๘]
โกลังโกลบุคคล
บุคคลชื่อว่า โกลังโกละ เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เป็นโสดาบันมีอันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะได้ตรัสรู้ใน เบื้องหน้า บุคคลนั้นจะแล่นไป ท่องเที่ยวไป สู่ตระกูล สอง หรือ สาม ตระกูล แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า โกลังโกละ.
อรรถกถาโกลังโกลบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง โกลังโกลบุคคล. บุคคลใดย่อมไปจาก ตระกูลสู่ตระกูล เหตุนั้นผู้นั้นจึงชื่อว่า โกลังโกละ. อธิบายว่า ก็ชื่อว่า การ เกิดในตระกูลต่ำจำเดิมแต่การกระทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผลไปแล้ว ย่อม ไม่มี ท่านย่อมเกิดในตระกูลที่มีโภคะมากอย่างเดียวเท่านั้น.
คำว่า "เทฺว วา ตีณิ วา กุลานิ" ได้แก่ ไปสู่ ๒ ภพ หรือ ๓ ภพ ด้วยอำนาจการเกิดเป็นเทวดาและมนุษย์. โกลังโกลบุคคลแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งมิสสกภพ คือภพที่ปะปนกันนั่นเทียว. ก็ใน คำว่า "เทฺว วา ตีณิ วา" สักว่าเป็นเทศนาเท่านั้น. โกลังโกลบุคคลนั่น แหละ ย่อมท่องเที่ยวไปจนถึงภพที่ ๖ จึงกระทำทาง คือ มรรคอันเป็นที่สิ้นสุด แห่งวัฏฏทุกข์ได้.
จบอรรถกถาโกลังโกลบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 235
[๔๙] เอกพีชีบุคคล
บุคคลชื่อว่า โกลังโกละ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ อันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคล นั้นเกิดในภพมนุษย์อีกครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า เอกพีชี.
อรรถกถาเอกพีชีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งเอกพีชีบุคคล. ชื่อว่า พืช คือ ขันธ์อันพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ก็พระโสดาบันองค์ใดมีพืช คือ ขันธ์ครั้งเดียวเท่านั้น คือมีการถือเอาอัตภาพครั้งเดียว พระโสดาบันนั้นชื่อว่า เอกพีชี. ก็คำว่า "มานุสฺสกํ ภวํ" นี้สักว่าเป็นเทศนาในที่นี้เท่านั้น. แต่จะกล่าวว่า "ยังเทวภพ ให้เกิด" ดังนี้บ้างก็สมควรเหมือนกัน ก็ชื่อเหล่านั้นเป็นชื่อแห่งพระอริยบุคคล เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วนั่นเทียว. จริงอยู่ พระโสดาบันผู้ไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคล ผู้ไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ ชื่อว่า โกลังโกลบุคคล ผู้ไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ ชื่อว่า เอกพีชีบุคคล ฉะนั้น ชื่อพระโสดาบันเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาแล้ว. แต่ว่า โดยกำหนดแน่นอน (โดยนิยม) คำว่า พระโสดาบัน รูปนี้เป็น สัตตักขัตตุปรมะ รูปนี้เป็นโกลังโกละ รูปนี้เป็น เอกพีชี ย่อมไม่มี
ถามว่า ก็ใครกำหนดประเภทพระอริยบุคคลเหล่านั้นได้.
วิสัชนาว่า พระเถระบางพวกกล่าวไว้ก่อน ว่า "ปุพฺพเหตุ นิยเมติ" แปลว่า บุพเหตุ ย่อมกำหนดแน่นอน. บางพวกกล่าวว่า "ปมมคฺโค นยเมติ" แปลว่า มรรคที่หนึ่ง กำหนดแน่นอน. บางพวกกล่าวว่า "อุปริ-
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 236
ตโย มคฺคา นิยเมนฺติ" แปลว่า มรรคเบื้องบน ๓ กำหนดแน่นอน. บาง พวกกล่าว "ติณฺณํ มคฺคานํ วิปสฺสนา นิยเมติ" แปลว่า วิปัสสนาแห่งมรรค ทั้ง ๓ กำหนดแน่นอน.
บรรดาวาทะแห่งพระเถระเหล่านั้น วาทะว่า "ปุพฺพเหตุ "นิยเมติ" ย่อมหมายความว่า อุปนิสัยแห่งปฐมมรรค ย่อมเป็นคุณชาตอันบุพเหตุกระทำ แล้ว มรรคเบื้องบน ๓ ปราศจากอุปนิสัยเกิดขึ้น ในวาทะว่า "ปมมคฺโค นิยเมติ" หมายความว่ามรรค ๓ เป็นธรรมชาติไร้ประโยชน์. ในวาทะว่า "อุปริ ตโย มคฺคา นิยเมนฺติ" หมายความว่า เมื่อปฐมมรรคยังไม่เกิดขึ้น นั่นแหละ มรรคเบื้องบน ๓ เกิดขึ้นแล้ว. ก็วาทะว่า "ติณฺณํ มคฺคานํ วิปสฺสนา นิยเมติ" ซึ่งแปลว่า วิปัสสนาแห่งมรรคทั้ง ๓ กำหนดแน่นอน ย่อมถูกต้อง. ก็ถ้าวิปัสสนาแห่งมรรคทั้ง ๓ มีกำลัง พระโสดาบัน ก็ชื่อว่าเอกพีชี. ถ้าอ่อนกว่าวิปัสสนาของเอกพีชี ก็ชื่อว่า โกลังโกละ ถ้าอ่อนกว่าวิปัสสนาของ โกลังโกละนั้น ก็ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พระโสดาบันบางองค์ มีอัชฌาสัยในวัฏฏะ เป็นผู้ยินดีในวัฏฏะ ย่อมท่องเที่ยวไปในวัฏฏะบ่อยๆ นั่นเทียว ปรากฏอยู่. ก็ชนเหล่านั้น มีประมาณ เท่านี้ คือ
๑. อนาถบิณฑิกเศรษฐี
๒. วิสาขา อุบาสิกา
๓. จูลรถเทวบุตร
๔. มหารถเทวบุตร
๕. อเนกวรรณเทวบุตร
๖. ท้าวสักกเทวราช
๗. นาคทัตตเทวบุตร.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 237
ทั้งหมดนี้ มีอัธยาศัยในวัฏฏะ เกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ตั้งแต่ต้น ชำระจิตให้สะอาดในเทวโลกนั่นแหละ แล้วจึงตั้งอยู่ในอกนิฏฐภพ จึงจักปริ- นิพพาน ชนเหล่านี้ พระองค์มิได้ทรงถือเอาในที่นี้ ก็ชนเหล่านี้พระองค์มิได้ ทรงถือเอาเท่านั้นก็หาไม่ พระโสดาบันองค์ใด บังเกิดในมนุษยโลกทั้งหลาย ท่องเที่ยวไปแล้วในมนุษยโลกนั่นแหละสิ้น ๗ ครั้ง แล้วจึงบรรลุพระอรหันต์ ก็ดี พระโสดาบันองค์ใดบังเกิดในเทวโลกทั้งหลายท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ใน เทวโลกนั่นแหละสิ้น ๗ ครั้ง แล้วบรรลุพระอรหันต์ ก็ดี พระโสดาบันแม้ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงถือเอา.
แต่ว่าพึงทราบว่า ในที่นี้พระองค์ทรงถือเอาพระโสดาบัน ที่ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ กับโกลังโกละ ด้วยสามารถแห่งภพอันเจือกัน และ พระโสดาบันผู้บังเกิดในภพของมนุษย์เท่านั้นที่ชื่อว่า เอกพีชี. ในพระโสดาบันเหล่านั้น องค์หนึ่งๆ ย่อมถึงภาวะ ๔ อย่าง ด้วย สามารถแห่งทุกขาปฏิปทา เป็นต้น. ว่าด้วยสัทธธุระ พระโสดาบันมี ๑๒ จำพวก คือ. ชื่อว่าสัตตักขัตตุปรมะ จำพวก ชื่อว่าโกลังโกละ ๔ จำพวก ชื่อว่า เอกพีชี ๔ จำพวก. ว่าด้วยปัญญาธุระ ก็ถ้าพระโสดาบันพึงอาจยัง โลกุตตรธรรมให้เกิดด้วยปัญญา กระทำปัญญาให้เป็นธุระอย่างนี้ว่า เราจักให้ โลกุตตรธรรมเกิดขึ้น แม้บรรลุเป็นพระโสดาบันผู้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะเป็น ต้น ด้วยอำนาจปฏิปทา ๔ อย่าง ก็เป็นพระโสดาบัน ๑๒ จำพวก เหมือนกัน นั่นแหละ ฉะนั้นพระโสดาบันทั้ง ๒๔ จำพวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในฐานะนี้ ด้วยสามารถแห่งพระอริยะผู้เข้าไปเพ่ง ธรรมอันตั้งอยู่ ด้วยศรัทธา หรือ ปัญญา ในที่นี้นั่นเทียว.
จบอรรถกถาเอกพีชีบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 238
[๕๐] สกทาคามีบุคคล บุคคลชื่อว่า สกทาคามี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง เป็นพระสกทาคามี ซึ่งยังจะมาสู่โลก นี้คราวเดียวเท่านั้นแล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี.
อรรถกถาสกทาคามีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สกทาคามีบุคคล. บุคคลใด ย่อมมาอีกครั้ง เดียวด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สกทาคามี แปล ว่า ผู้มาปฏิสนธิอีกครั้งเดียว.
บทว่า "สกิเทว" ได้แก่ ครั้งหนึ่งเท่านั้น.
บรรดาพระสกทาคามี ๕ จำพวก ๔ จำพวกพระองค์ไม่ทรงประสงค์ เอา แต่ทรงประสงค์เอาเพียงพวกเดียวเท่านั้นในที่นี้ ด้วยบทว่า "อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา" เพราะว่า พระสกทาคามีบางพวกบรรลุสกทาคามิผลในโลกนี้ ย่อม ปรินิพพานในโลกนี้นั่นแหละ บางพวกบรรลุสกทาคามิผลในโลกนี้ปรินิพพาน ในเทวโลก บางพวกบรรลุในเทวโลกปรินิพพานในเทวโลกนั่นแหละ บางพวก บรรลุในเทวโลกแล้วเกิดขึ้นในโลกนี้แล้วจึงปรินิพพาน รวมพระสกทาคามีทั้ง ๔ จำพวก ดังกล่าวมานี้ พระองค์มิได้ทรงประสงค์เอา ในสกทาคามีนิสเทสนี้.
แต่พระสกทาคามี พวกใด บรรลุในโลกนี้ แล้วดำรงชีวิตอยู่ใน เทวโลกตลอดอายุ แล้วก็เกิดขึ้นในโลกนี้อีก จึงปรินิพพาน พระสกทาคามี พวกเดียวนี้เท่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงถือเอาใน สกทาคามีนิทเทส นี้.
คำใดที่ยังเหลืออยู่ในที่นี้ ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าว คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้า กล่าวแล้วในโลกุตตรกุศลนิทเทส ในอรรถกถาแห่งธรรมสังคหะในหนหลัง.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 239
ถามว่า ก็พระสกทาคามีนี้ มีการกระทำที่แตกต่างกันกับพระโสดาบัน ที่ชื่อว่า เอกพีชี อย่างไรบ้าง?
ตอบว่า พระโสดาบัน ผู้ชื่อว่า เอกพีชี ท่านมีปฏิสนธิครั้งเดียว เท่านั้น ส่วนพระสกทาคามีท่านมีปฏิสนธิ ๒ ครั้ง ข้อนี้ เป็นการการทำที่แตก ต่างกันระหว่างพระอริยะทั้งสองเหล่านั้น.
จบอรรถกถาสกทาคามีบุคคล
[๕๑] อนาคามีบุคคล
บุคคลชื่อว่า อนาคามี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า อนาคามี
อรรถกถาอนาคามีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง อนาคามีบุคคล. กามธาตุ พระผู้มีพระภาค เจ้าตรัสเรียกว่า โอรํ แปลว่า ต่ำ ในคำว่า "โอรมฺภาคิยานํ สญฺโชนานํ" เครื่องผูกทั้ง ๕ เหล่านั้น อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้นบุคคลนั้น แม้บังเกิดในภวัคคภูมิ ก็ยังถูกเครื่องผูกเหล่านั้นดึงให้ตกไปในกามธาตุนั่นเทียว เหมือนปลาที่กลืนกินเบ็ด และ เหมือนนกกาที่เขาเอาเชือกยาวผูกเท้าไว้ เพราะ ฉะนั้น เครื่องผูกทั้ง ๕ ท่านจึงเรียกว่า โอรัมภาคิยะ อธิบายว่า โอรัมภาคิยะ นี้ เป็นของเบื้องต่ำ คือ เป็นส่วนเบื้องต่ำ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 240
บทว่า "ปริกฺขยา" ได้แก่ เพราะสิ้นไปรอบแห่งเครื่องผูกเหล่านั้น
บทว่า " โอปปาติโก" ได้แก่ ผู้มีกำเนิดเป็นโอปปาติกะ. หมายความ ว่า การนอนในครรภ์ ของพระอนาคามีนั้นท่านพ้นเสียแล้วด้วยบทว่า "โอปปาติโก" นี้.
คำว่า "ตตฺถ ปรินิพฺพายิ" ได้แก่ พระอนาคามี ผู้ปรินิพพาน ในสุทธาวาสเทวโลกนั้น.
คำว่า " อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา " ความว่า ได้แก่ การ ไม่มาจากพรหมโลกแล้วกลับมาสู่กามโลกนี้ ด้วยอำนาจถือปฏิสนธิเป็นสภาวะ. ก็การมาของพระอนาคามีนั้น เพื่อประโยชน์แก่การเห็นพระพุทธเจ้า พระเถระ และสดับฟังพระสัทธรรมอันธรรมดามิได้ห้ามไว้.
คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้มีสภาวะอย่างนี้ ท่าน เรียกว่าพระอนาคามี เพราะไม่กลับมาอีก ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
จบอรรถกถาอนาคามีบุคคล
[๕๒] อันตราปรินิพพายีบุคคล บุคคลชื่อว่า อันตราปริ- นิพพายี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุททวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อละสัญโญชน์ อันมีในเบื้องบน ในระยะเวลาติดต่อกับที่เกิดบ้าง ยังไม่ถึง ท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อันตราปรินิพพายี.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 241
อรรถกถาอันตราปรินิพพายีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายีบุคคล. คำว่า "อุปฺปนฺนํ วา สมนนฺตรา" ความว่า เป็นกาลติดต่อกัน กับการเกิดขึ้นบ้าง. คำว่า "อปฺปตฺตํ วา เวมชฺฌํ อายุปฺปมาณํ" ความว่า ยังไม่ถึงประมาณท่ามกลางอายุบ้าง อธิบายว่า ยังไม่ถึงท่ามกลางอายุ ท่านย่อม ยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว แล้วปรินิพพาน. ก็เนื้อความว่า "เวมชฺฌํ ปตฺตํ" แปลว่า ถึงท่ามกลางบ้าง บัณฑิตพึงทราบโดยการกำหนดด้วย "วา" ศัพท์. พระอนาคามีผู้อันตรายปรินิพพายี ๓ จำพวก เป็นอันสำเร็จแล้วด้วยประการ ฉะนี้. คำว่า "อุปริฏฺิมานํ สญฺโชนานํ" ได้แก่ อุทฺธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เบื้องบน หรือได้แก่ กิเลส ๘. บทว่า "ปหานาย" ได้แก่ ยังมรรค ให้เกิดขึ้นเพื่อต้องการละสังโยชน์เหล่านั้น.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า อันตรายปรินิพพายี เพราะปรินิพพานในระหว่างท่ามกลางแห่งอายุนั่น เทียว.
จบอรรถกถาอันตราปรินิพพายีบุคคล
[๕๓] อุปหัจจปรินิพพายีบุคคล
บุคคลชื่อว่า อุปหัจจปริ- นิพพายี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 242
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อ ละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน เมื่อล่วงพ้นท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง เมื่อใกล้ จะทำกาลกิริยาบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี.
อรรถกถาอุปหัจจปรินิพพายีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายีบุคคล. คำว่า "อติกฺกมิตฺวา เวมชฺฌํ อายุปฺปมาณํ" ได้แก่ก้าวล่วงเลย ท่ามกลางประมาณแห่งอายุ. คำว่า "อุปหจฺจ วา กาลกิริยํ" ได้แก่ ใกล้ จะทำกาลกิริยา อธิบายว่า จวนจะสิ้นอายุแล้ว. คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความ ว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี เพราะก้าว ล่วงเลยท่ามกลาง ๕๐๐ มหากัปแห่งอายุ อันมี ๑,๐๐๐ มหากัปเป็นประมาณ ในอวิหาภูมิทั้งหลายก่อน แล้วจึงตั้งอยู่ในกัปที่ ๖๐๐ มหากัปหรือที่ ๗๐๐ มหากัป หรือที่ ๘๐๐ มหากัป หรือที่ ๙๐๐ มหากัป หรือที่ ๑,๐๐๐ มหากัป อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละ แล้วจึงบรรลุพระอรหัต และปรินิพพานด้วย กิเลสปรินิพพาน.
จบอรรถกถาอุปหัจจปรินิพพายีบุคคล
[๕๔] อสังขารปรินิพพายีบุคคล
บุคคลชื่อว่า อสังขารปรินิพพายีเป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 243
ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดย ไม่ลำบาก เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อสังขารปรินิพาพยี.
[๕๕] สสังขารปรินิพพายีบุคคล บุคคลชื่อว่า สสังขารปรินิพพายีเป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดย ลำบาก เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า สสังขารปรินิพพายี.
อรรถกถาอสังขารปรินิพพายี และสสังขารปรินิพพายีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง พระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อสังขารปรนิพพายี และสสังขารปรินิพพายีบุคคล. พระอนาคามีรูปใด ไม่กระทำความเพียร อย่างแรงกล้า โดยไม่รวบรัด รีบเร่ง มีทุกข์น้อย บรรลุพระอรหัตแล้ว ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานตามธรรมดา ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี แปลว่า ผู้ปรินิพพานตามธรรมดา โดยมิได้กระทำความเพียร อย่างแรงกล้า. ส่วนรูปใด กระทำความเพียรอย่างแรงกล้า โดยรีบด่วนไม่ ชักช้า มีความทุกข์ยาก บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน ด้วยกิเลสปรินิพพาน ตามธรรมดา ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สสังขารปรินิพพายี แปลว่า ผู้ ปรินิพพานตามธรรมดาด้วยการกระทำความเพียรอย่างแรงกล้า.
จบอรรถกถาอสังขารปรินิพพายี และสสังขารปรินิพพายีบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 244
[๕๖] อุทธังโสโตอกนิฏฐาคามีบุคคล บุคคลชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น จุติจากอตัปปาไปสุทัสสา จุติ จากสุทัสสาไปสุทัสสี จุติจากสุทัสสีไปอกนิฏฐา ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นใน อกนิฏฐา เพื่อละสัญโญชน์เบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่าอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.
[๕๗] บุคคลชื่อว่า ผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติ- ผล เป็นโสดาบัน เป็นไฉน?
บุคคลผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อละสัญโญชน์ ๓ ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่า โสดาบัน.
บุคคลปฏิบัติแล้วเพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ปฏิบัติ แล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เพราะกามราคะและพยาบาทของบุคคลใด เบาบางแล้ว บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี.
บุคคลปฏิบัติแล้วเพื่อละไม่ให้เหลือ ซึ่งกามราคะและพยาบาท ปฏิบัติ แล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล กามราคะและพยาบาทอันบุคคลใดละได้หมด ไม่มีเหลือ บุคคลนั้นเรียกว่า อนาคามี.
บุคคลปฏิบัติแล้ว เพื่อไม่ให้เหลือซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อันบุคคลใดละได้หมดไม่มีเหลือ บุคคล นี้เรียกว่า อรหันต์.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 245
อรรถกาอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อุทธังโสโตบุคคล.
ตณฺทาโสตํ กระแส คือ ตัณหา หรือวฏฺฏโสตํ กระแส คือ วัฏฏะ ของพระอนาคามีนั้นมีอยู่ในเบื้องบน เพราะเป็นธรรมชาตินำไปในเบื้องบน ฉะนั้นท่านจึงชื่อว่า อุทฺธํโสโต แปลว่า ผู้มีกระแส คือ ตัณหา หรือวัฏฏะใน เบื้องบน. อีกอย่างหนึ่ง มคฺคโสตํ กระแส คือ มรรคของพระอนาคามีนั้น มีอยู่ในเบื้องบน เพราะท่านไปสู่ภพเบื้องบนแล้วจึงได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึง ชื่อว่า อุทฺธํโสโต แปลว่า ผู้มีกระแส คือ มรรคในเบื้องบน. สองบทว่า " อกนิฏํ คจฺฉติ " ได้แก่ ผู้มีปกติไปสู่ อกนิฏฐภพ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "อวิหาโต จุโต อตปฺปํ คจฺฉติ" เป็นต้น ดังนี้ว่า พระอนาคามีเมื่ออยู่ในอวิหาภูมิตลอด ๑,๐๐๐ มหากัป ไม่อาจบรรลุ อรหัต จึงไปสู่สุทัสสีภูมิ. เมื่อท่านแม้อยู่ในสุทัสสีภูมิตลอด ๘,๐๐๐ มหากัป ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัต ย่อมไปสู่อกนิฏฐภูมิ. อธิบายว่า เมื่อท่านอยู่ใน อกนิฏฐภูมินั้น ย่อมให้อริยมรรคเกิดได้.
อนึ่ง เพื่อต้องการทราบประเภทของพระอนาคามีเหล่านี้ นักศึกษา พึงทราบหมวด ๔ แห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อุทฺธํโสโตอกนิฏฺคามี.
บรรดาพระอนาคามีเหล่านั้นองค์ใดชำระเทวโลกทั้ง ๔ ให้สะอาด จำเดิมแต่อวิหาภูมิ และไปสู่อกนิฏฐภูมิจึงปรินิพพาน องค์นี้ชื่อว่า อุทฺธํโสโตอกนิฏฺคามี.
ก็องค์ใด ชำระเทวโลกทั้ง ๓ เบื้องต่ำให้สะอาด แล้วดำรงอยู่ใน สุทัสสีเทวโลก จึงปรินิพพาน องค์นี้ชื่อว่า อุทฺธํโสโต น อกนิฏฺคามี แปลว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน แต่ไม่ไปสู่อกนิฏฐภูมิ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 246
องค์ใดไปสู่อกนิฏฐภูมินั่นแหละ จากสุทัสสีเทวโลกนี้แล้ว จึงปรินิพพาน องค์นี้ชื่อว่า นอุทฺธํโสโตอกนิฏฺคามี ซึ่งแปลว่า ผู้ไม่มีกระแสใน เบื้องบน แต่ไปสู่อกนิฏฐภูมิ.
ก็องค์ใดดำรงอยู่ ในเทวโลกทั้ง ๔ เบื้องต่ำย่อมปรินิพพานในที่นั้นๆ นั่นแหละ องค์นี้ชื่อว่า นอุทฺธํโสโต นอกนิฏฺคามี แปลว่า ผู้ไม่มีกระแส ในเบื้องบนและไม่ไปสู่อกนิฏฐภูมิ.
เพราะฉะนั้นเมื่อรวมพระอนาคามีเหล่านั้น จึงมี ๔๘ จำพวก ด้วย ประการฉะนี้.
ถามว่า พระอนาคามี มี ๔๘ จำพวก เป็นไฉน?
ตอบว่า ในอวิหาภูมิก่อน พระอนาคามีผู้เป็นอันตรายปรินิพพายี ๓ จำพวก ผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี ๑ จำพวก ผู้เป็นอุทธังโสโต ๑ จำพวก, พระอนาคามีเหล่านั้นรวมเป็น ๑๐ จำพวก คือ เป็นอสังขารปรินิพพายี ๕ จำพวก เป็นสสังขารปรินิพพายี ๕ จำพวก, ในอตัปปา สุทัสสา และสุทัสสีภูมิ ก็ เหมือนกัน คือ มี ๘ ภูมิๆ ละ ๑๐ จำพวก รวมเป็น ๔๐ จำพวก, แต่พระ อนาคามีผู้ชื่อว่า อุทธังโสโต ไม่มีในชั้นอกนิฏฐภูมิ มีแต่พระอนาคามีผู้ชื่อว่า อันตรายปรินิพพายี ๓ จำพวก อุปหัจจปรินิพพายี ๑ จำพวก พระอนาคามี เหล่านั้นเป็น ๘ จำพวก คือ เป็นอสังขารปรินิพพายี ๔ จำพวก เป็นสสังขาร. ปรินิพพายี ๔ จำพวก จึงรวมเป็นพระอนาคามี ๔๘ จำพวก ด้วยประการ ฉะนี้. พระอนาคามีเหล่านั้นทั้งปวง อันบัณฑิตแสดงเปรียบเทียบแล้วด้วย ประกายไฟที่เกิดจากเหล็ก ดังอุทาหรณ์ต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลม ของมีดพับและ มีดตัดเล็บที่ร้อนตลอดวันที่แท่งเหล็ก ประกายไฟเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ฉันใด
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 247
พระอนาคามีที่เห็นปานนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี พวกที่ ๑ ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะกิเลสดับไปไม่เหลือ ใน ลำดับที่เกิดขึ้นนั้นแหละ.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่ กว่านั้น ที่แท่งเหล็ก ประกายไฟก็พุ่งขึ้นสู่อากาศแล้วก็ดับไป ฉันใด พระอนาคามีที่เห็นปานนี้พึงทราบว่าชื่อว่า อันตรายปรินิพพายี พวกที่ ๒ ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะท่านมีอายุยังไม่ถึงท่ามกลางก็ ปรินิพพาน.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่ กว่านั้น (หมายถึงใหญ่ขึ้นไปตามลำดับ) ที่แท่งเหล็ก ประกายไฟพุ่งขึ้นสู่ อากาศแล้ววกกลับลงมาสู่พื้นดินแต่ยังมิทันกระทบก็ดับไป ฉันใด พระอนาคามี ที่เห็นปานนี้พึงทราบว่า ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี พวกที่ ๓ ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะถึงท่ามกลางแห่งอายุแล้ว ยังไม่ใกล้จะทำ กาลกิริยา ก็ปรินิพพาน.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่ กว่านั้นที่แท่งเหล็ก ประกายไฟพุ่งขึ้นสู่อากาศแล้วตกลงยังพื้นดินแต่พอกระทบ กับพื้นดินแล้วก็ดับไป ฉันใด พระอนาคามีเห็นปานนี้พึงทราบว่าชื่อว่า อุปหัจจ- ปรินิพพายี ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะเข้าใกล้การ กระทำกาลกิริยาแล้ว ได้ยังความเป็นไปแห่งอายุให้สิ้นไปแล้ว จึงปรินิพพาน.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็ก แหลมเป็นต้น ที่ร้อนตลอดวัน อัน ใหญ่กว่านั้นที่แท่งเหล็ก สะเก็ดไฟกระเด็นตกไปที่หญ้า หรือที่ไม้เล็กน้อยแล้ว ก็เผาหญ้าหรือไม้เล็กน้อยแล้วก็ดับไป ฉันใด พระอนาคามีที่เห็นปานนี้พึงทราบ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 248
ว่าชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะ ปรินิพพาน ด้วยการประกอบความเพียรมีประมาณเล็กน้อย คือ ด้วยการดำเนิน ไปอย่างสบาย.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่กว่า นั้น ที่แท่งเหล็ก สะเก็ดไฟก็กระเด็นตกไปที่กองไม้ หรือหญ้ากองใหญ่แล้ว ไหม้กองไม้ หรือหญ้ากองใหญ่นั้นหมดแล้ว จึงดับไป ฉันใด พระอนาคามี ผู้เห็นปานนี้พึงทราบว่า ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี ฉันนั้น. ถามว่า เพราะ เหตุไร? ตอบว่า เพราะปรินิพพานด้วยการทำความเพียรอย่างแรงกล้า คือ ดำเนินไปอย่างหนักแน่น.
สะเก็ดไฟอื่นอีก ย่อมตกไปที่กองไม้ และกองหญ้าอันใหญ่นั้น ครั้น เมื่อกองไม้หรือกองหญ้าอัน ใหญ่นั้นถูกไพ่ไหม้อยู่ ถ่านที่ปราศจากเปลวไฟก็ดี เปลวไฟก็ดี เกิดขึ้นแล้วก็เผาไหม้โรงของนายช่างเหล็ก แล้วก็ลามไปไหม้บ้าน หมู่บ้าน เมือง และแว่นแคว้น จดฝั่งสมุทรจึงดับไป ฉันใด พระอนาคามี ผู้เห็นปานนี้พึงทราบว่า ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะท่านกระทำการแผ่ขยายพืชในภพเป็นอเนก แล้วจึงกระทำให้สิ้นสุดลงด้วยการบรรลุธรรมที่ถูกต้องแล้วจึงปรินิพพาน. ก็ แผ่นเหล็กนั่นแหละมีเล็กบ้างใหญ่บ้าง อันต่างด้วยปลายเหล็กแหลมเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในพระสูตร ในวาระทั้งหมดว่า "อโยกปลฺลํ" แผ่นเหล็ก ดังนี้.
เหมือนอย่างคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า "ก็ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา คือ ความวางเฉย ว่า อุเบกขาไม่พึงมี และจะไม่พึงมีแก่เรา ไม่ได้มีแล้วและจักไม่มีแก่เรา สิ่งใด
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 249
มีอยู่ เราย่อมละสิ่งนั้น เธอนั้นย่อมไม่ยินดีในภพ ย่อมไม่ยินดีในการเกิด ลำดับ นั้น เธอย่อมเห็นบทอันยิ่งอันสงบแล้ว ด้วยสัมมัปปัญญา (ปัญญาอันชอบ) ก็บทนั้นนั่นแล อันเธอกระทำให้แจ้งแล้วซึ่งสิ่งทั้งปวงโดยประการทั้งปวง แต่ เธอยังละมานานุสัยทั้งปวงไม่ได้โดยประการทั้งปวง ยังละภวราคานุสัยทั้งปวง โดยประการทั้งปวงไม่ได้ ยังละอวิชชานุสัยทั้งปวงโดยประการทั้งปวงไม่ได้ เธอ นั้นชื่อว่า อันตราปรินิพพายี เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ทั้ง ๕ แล้วตรัสว่า คูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่ ซึ่งแผ่นเหล็กอันร้อนตลอดวัน ประกายไฟเกิดขึ้นแล้วก็พึงดับไป แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าอันตราปรินิพพายี ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ฯลฯ ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่ซึ่ง แผ่นเหล็กอันร้อนตลอดทั้งวัน ประกายไฟเกิดแล้ว บังเกิดแล้ว ก็พึงดับไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อันตรายปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลทุบ อยู่ซึ่งแผ่นเหล็กทั้งหลายที่ร้อนตลอดทั้งวัน สะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว ยังไม่ทัน กระทบพื้นดินก็พึงดับไปแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ฉันนั้นนั่นเทียว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่าอุปหัจจปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 250
ซึ่งแผ่นเหล็กที่ร้อนตลอดทั้งวัน สะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้วกระทบกับ พื้นดินแล้วพึงดับไปฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ทั้ง ๕ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลทุบอยู่ซึ่งแผ่นเหล็กที่ร้อนตลอดวัน สะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้วพึงกระเด็นไปตกอยู่ที่กองหญ้า หรือกองไม้ เล็กน้อย สะเก็ดไฟนั้นพึงให้ไฟเกิดบ้างให้ควันเกิดบ้างในที่นั้น ครั้นให้ไฟ เกิดแล้วก็ดี ให้ควันเกิดแล้วก็ดี แล้วก็ไหม้กองไม้กองหญ้าเล็กน้อยนั้นนั่น แหละจนหมดสิ้นแล้วพึงดับไปเองเพราะสิ้นเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี เพราะความ สิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่าสังขารปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบแผ่น เหล็กที่ร้อนตลอดวัน ประกายสะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้ว พึงตกไปที่ กองหญ้าและกองไม้อันไพบูลย์แล้วพึงให้ไฟเกิดขึ้นบ้าง ให้ควันเกิดขึ้นบ้าง ฯลฯ แล้วก็ไหม้กองหญ้าและกองไม้อันไพบูลย์นั้นนั่นแหละจนสิ้นแล้วก็พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่ซึ่งแผ่นเหล็ก อันร้อนตลอดวัน ประกายสะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้ว พึงตกไปที่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 251
กองหญ้า หรือกองไม่อันใหญ่แล้ว พึงให้ไฟเกิดบ้างให้ควันเกิดบ้าง ฯลฯ แล้ว ก็ไหม้กองหญ้า กองไม้อันใหญ่นั้นนั่นแหละ และพึงลามไปไหม้กอไม้บ้าง ป่าไม้บ้าง ครั้นไหม้แล้วก็มาสู่ภาคพื้นอันเป็นพืชสด หรือถึงหนทาง หรือ ถึงศิลา หรือถึงน้ำ หรือถึงสถานอันเป็นที่รื่นรมย์แล้วก็ดับไป เพราะขาดเชื้อ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่ อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อุทธัง โสโตอกนิฏฐคามี ฉันนั้นเหมือนกัน.
นิเทศแห่งพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติในการกระทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง เป็นต้นมีเนื้อความตื้นเทียว.
คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ท่านเรียกว่า พระอรหันต์. ก็คำว่า พระอรหันต์ในที่นี้ พึงทราบว่ามี ๑๒ จำพวก.
ถามว่า มี ๒ จำพวก อย่างไร.
ตอบว่า ก็วิโมกข์มีอยู่ ๓ อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ บรรดาวิโมกข์เหล่านั้น พระขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วย สุญญตวิโมกข์มี ๔ จำพวก ด้วยอำนาจปฏิปทา ๔ อย่าง และพระขีณาสพผู้หลุด พ้น ด้วยอนิมิตตวิโมกข์หรืออัปปณิหิตวิโมกข์ ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระอรหันต์จึงมี ๑๒ จำพวก ด้วยประการฉะนี้.
ก็บุคคลเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้คือ คือ พระสกทาคามี ๑๒ จำพวก ซึ่งเหมือนพระอรหันต์ ๑๒ จำพวก พระโสดาบัน ๒๔ จำพวก คือ พระโสดาบัน ๑๒ จำพวก คูณด้วยธุระ ๒ คือ สัทธาธุระ ๑ ปัญญาธุระ ๑ และพระอนาคามี ๔๘ จำพวก ทั้งหมดเหล่านี้ เมื่อท่านพ้นจากโลกนี้แล้ว ย่อมไม่ เกิดในลัทธิภายนอกพระศาสนา ย่อมเกิดขึ้นในพระศาสนาแห่งพระสัพพัญญู- พุทธเจ้านั่นเทียว ดังนี้แล.
จบอรรถกถาเอกกนิทเทส ว่าด้วยบุคคล ๑ จำพวกแต่เพียงนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 252
ทุกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๒ จำพวก
[๕๘] ๑. โกธนบุคคล บุคคลผู้มักโกรธ เป็นไฉน? ความโกรธ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ ที่โกรธ โทสะ ความประทุษร้าย ภาวะที่ประทุษร้าย ความพยาบาท กิริยาที่ พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ภาวะที่จิตไม่ยินดีอันใด นี้เรียกว่า ความโกรธ ความโกรธนี้ อันบุคคลใด ละไม่ได้ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้มักโกรธ.
๒. อุปนาหีบุคคล บุคคลผู้ผูกโกรธ เป็นไฉน? ความผูกโกรธ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความโกรธมีในเบื้องบน ความผูกโกรธมีในภายหลัง ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ การไม่หยุดโกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การทำความ โกรธให้มั่นเข้า อันใด เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ ความผูกโกรธ นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้ผูกโกรธ.
อรรถกถาทุกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๒ จำพวก
อรรถกถาบุคคลผู้มักโกรธเป็นต้น
บุคคลผู้มีการโกรธเป็นปกติ คือ ผู้โกรธมาก ชื่อว่า ผู้มักโกรธ. พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตรัสถามบุคคลอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 253
โดยธรรม จึงตรัส คำว่า "ตตฺถ กตโม โกโธ" ซึ่งแปลว่า ความ โกรธในข้อนั้น เป็นไฉน? ดังนี้เป็นต้น.
แม้ในนิเทศแห่งอุปนาหีบุคคล บุคคลผู้ผูกโกรธ เป็นต้นก็นัยนี้ เหมือนกัน. คำเป็นต้นว่า "โกโธ กุชฺฌนา" มีเนื้อความที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในหนหลังนั่นแล. คำเป็นต้นว่า "โกโธ" มีเนื้อความที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในกาลก่อนในอุปนาหีนิเทศเป็นต้นเหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ โกโธ อปฺปหีโน" ความว่า ยังละไม่ได้ด้วย วิกขัมภนปหาน หรือด้วยตทังคปหาน หรือด้วยสมุจเฉทปหาน. แม้ใน บุคคลผู้ผูกโกรธเป็นต้นข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
[๕๙] ๑. มักขีบุคคล
บุคคลผู้มักลบลู่บุญคุณ เป็นไฉน?
ความลบหลู่ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความไม่เห็นคุณของผู้อื่น การกระทำที่ไม่เห็นคุณของผู้อื่น นี้ เรียกว่า ความลบหลู่ ความลบหลู่นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียก ว่า ผู้มักลบลู่บุญคุณของผู้อื่น.
๒. ปลาสีบุคคล
บุคคลผู้ตีเสมอ เป็นไฉน?
การตีเสมอ ในข้อนั้น เป็นไฉน การตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ ตีเสมอ ธรรมเป็นอาหารแห่งการตีเสมอ ฐานแห่งวิวาท การถือเป็นคู่ว่าเท่า เทียมกัน การไม่สละคืน อันใด นี้เรียกว่า การตีเสมอ การตีเสมอนี้ อัน บุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ตีเสมอ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 254
[๖๐] ๑. อิสสุกีบุคคล บุคคลผู้มีความริษยา เป็นไฉน?
ความริษยา ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ ริษยา ความไม่ยินดีด้วย ภาวะที่ไม่ยินดีด้วยในลาภสักการะ ความเคารพความ นับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น อันใด นี้เรียกว่า ความริษยา ก็ความ ริษยานี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความริษยา.
๒. มัจฉรีบุคคล บุคคลผู้มีความตระหนี่ เป็นไฉน?
ความตระหนี่ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความตระหนี่มี ๕ อย่าง คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความอยากไปต่างๆ ความเหนียว แน่น ความตระหนี่ถี่เหนียว ความที่จิตไม่เผื่อแผ่ อันใด เห็นปานนี้ นี้เรียก ว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความตระหนี่.
[๖๑] ๑. สถบุคคล บุคคลผู้โอ้อวด เป็นไฉน?
ความโอ้อวด ในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด ความโอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ภาวะที่ แข็งกระด้าง กิริยาที่แข็งกระด้าง ความพูดยกตน กิริยาที่พูดยกตน อันใด ในข้อนั้น นี้เรียกว่า ความโอ้อวด ความโอ้อวดนี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โอ้อวด.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 255
๒. มายาวีบุคคล บุคคลผู้มีมายา เป็นไฉน?
มายาในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต ด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว เพราะเหตุจะ ปกปิดทุจริตนั้น จึงตั้งความปรารถนาอันลามก ปรารถนาว่า ใครอย่ารู้เรา ดำริ ว่า ใครๆ อย่ารู้เรา พูดว่า ใครๆ อย่ารู้เรา. พยายามด้วยกายว่าใครๆ อย่า รู้เรา มายา ภาวะที่มีมายา ความวางท่า ความหลอกลวง ความตลบตะแลง ความมีเล่ห์เหลี่ยม ความทำให้ลุ่มหลง ความซ่อน ความอำพราง ความผิด ความปกปิด การไม่ทำให้เข้าใจง่าย การไม่ทำให้จะแจ้ง การปิดบัง กิริยาลามก เห็นปานนี้ อันใด นี้เรียกว่า มายา มายานี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า มีมายา.
[๖๒] ๑. อหิริกบุคคล บุคคลผู้ไม่มีหิริ เป็นไฉน?
ความไม่มีหิริ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ธรรมชาติใด ไม่ละอายสิ่งที่ ควรละอาย ไม่ละอายการถึงพร้อมแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า ความไม่มีหิริ บุคคลประกอบแล้วด้วยความไม่มีหิรินี้ เรียกว่า ผู้ไม่มีหิริ.
๒. อโนตตัปปีบุคคล บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็น ไฉน?
ความไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ธรรมชาติใดไม่กลัวสิ่ง ที่ควรกลัว ไม่กลัวการถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า ความ ไม่มีโอตตัปปะ บุคคลประกอบแล้วด้วยความไม่มีโอตตัปปะ นี้ชื่อว่า ผู้ไม่ มีโอตตัปปะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 256
[๖๓] ๑. ทุพพจบุคคล บุคคลผู้ว่ายาก เป็นไฉน?
ความเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยา ที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ถือเอาโดยปฏิกูล ความเป็นผู้ ยินดีโดยความเป็นข้าศึก ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อสหธรรมมิก ว่ากล่าวอยู่นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่ายาก บุคคลประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้ว่ายากนี้ ชื่อว่า ผู้ว่ายาก.
๒. ปาปมิตตบุคคล บุคคลผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน?
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคลเหล่านั้นใด เป็น ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีลมีสุตะน้อย เป็นผู้ตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสวนะ การเข้าไปเสวนะ การซ่องเสพ การคบ การคบหา การภักดีด้วย ความเป็น ผู้คบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้ ชื่อว่า ผู้มีมิตรชั่ว.
[๖๔] ๑. อินทริยาคุตตทวารบุคคล บุคคลผู้มีทวารอันไม่ คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน?
ความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ในข้อนั้น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยตา เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต เป็น ผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ จักษุนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวม อินทรีย์ คือ จักษุใด เป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ คือจักษุ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 257
นั้น ย่อมไม่รักษาอินทรีย์ คือ จักษุ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือ จักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต เป็น ผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ใจใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติ เพื่อสำรวมอินทรีย์ คือ ใจนั้น ย่อมไม่รักษาอินทรีย์ คือ ใจ ย่อมไม่ถึงความ สำรวมอินทรีย์ คือ ใจ การไม่คุ้มครอง การไม่ปกครอง การไม่รักษา การไม่ สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านั้นอันใด นี้ชื่อว่า ความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครอง แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครอง แล้วในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วใน อินทรีย์ทั้งหลาย.
๒. โภชเนอมัตตัญญูบุคคล บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เป็นไฉน?
ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคล บางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาแล้ว โดยแยบคาย บริโภคซึ่งอาหารเพื่อเล่น เพื่อ มัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนะนั้น ความไม่พิจารณาในโภชนะอันใด นี้เรียกว่า ความ เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนะนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ.
[๖๕] ๑. มุฏฐัสสติบุคคล บุคคลผู้มีสติหลง เป็นไฉน?
ความเป็นผู้มีสติหลง ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความระลึกไม่ได้ ความ ตามระลึกไม่ได้ ความกลับระลึกไม่ได้ ความไม่มีสติ ความระลึกไม่ได้ ความ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 258
ทรงจำไม่ได้ ความหลงไหล ความฟั่นเฟือน อันใด นี้เรียกว่า ความเป็น ผู้มีสติหลง บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีสติหลงนี้ ชื่อว่า ผู้มีสติหลง.
๒. อสัมปชานบุคคล บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็น ไฉน?
อสัมปชัญญะ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความ ไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้ตาม ความไม่พร้อม ความไม่แทงตลอด ความไม่รับ ทราบ ความไม่กำหนดลงทราบ ความไม่เพ่งเล็ง ความไม่พิจารณา ไม่ทำ ให้แจ่มแจ้ง ความเป็นผู้ทรามปัญญา ความเป็นผู้เขลา ความหลงทั่ว ความ หลงพร้อม ความโง่ โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ ไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะนี้ ชื่อว่า ผู้ไม่มีสมัปชัญญะ.
[๖๖] ๑. สีลวิปันนบุคคล บุคคลผู้มีศีลวิบัติ เป็นไฉน?
ศีลวิบัติ ในข้อนั้น เป็นไฉน? การล่วงละเมิดทางกาย การล่วง ละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่าศีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าศีลวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลวิบัตินี้ ชื่อว่า ผู้มี ศีลวิบัติ.
๒. ทิฏฐิวิปันนบุคคล บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน?
ทิฏฐิวิบัติ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ทิฏฐิความเห็นไปว่า ทานที่ให้ไม่มี ผล การบูชาใหญ่ (คือมหาทานที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง) ไม่มีผล สักการะที่บุคคล ทำเพื่อแขก ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาและบิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 259
ผู้ประพฤติดีและปฏิบัติชอบ ที่รู้ยิ่งแล้วซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศทำให้แจ้งในโลกนี้ไม่มีดังนี้ มีอย่างนี้เป็นรูปอันใด ทิฏฐิ ความเห็นไป ข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นข้าศึกความดิ้นรนเพราะ ทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความเกี่ยวเกาะ ความยึดมั่นการยึด ถือความปฏิบัติผิด บรรดาผิด ทางผิด ภาวะที่เป็นผิด ลัทธิเป็นแดนเสื่อม ความยึดถือ การแสวงหาผิด อันใด มีลักษณะอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินี้ ชื่อว่า ผู้มีทิฏฐิวิบัติ.
[๖๗] ๑. อัชฌัตตสัญโญชนบุคคล บุคคลผู้มีสัญโญชน์ภาย ใน เป็นไฉน?
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียก ว่า ผู้มีสัญโญชน์ภายใน.
๒. พหิทธาสัญโญชนบุคคล บุคคลผู้มีสัญโญชน์ภาย นอก เป็นไฉน?
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสัญโญชน์ภายนอก.
อรรถกถาอหิริกบุคคล คือ ผู้ไม่มีหิริ เป็นต้น
พึงทราบวินิจฉัยในอหิริกนิเทศต่อไป.
สองบทว่า "อิมินา อหิริเกน" ความว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม คือ ความไม่ละอายนี้ อันมีประการอย่างนี้. แม้ในคำเป็นต้นว่า "อโนตฺตปฺเปน" ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 260
บทว่า "อชฌตฺตสญฺโชโน" ได้แก่ มีเครื่องผูกในภายใน.
สองบทว่า "พหิทฺธา สญฺโชโน" ได้แก่ ผู้มีเครื่องผูกในภาย นอก. เครื่องผูกแม้ทั้ง ๒ เหล่านี้ บัณฑิตพึงแสดงการอุปมาด้วยโรงลูกโค. จริง อยู่ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ที่ดำรงชีวิตอยู่ในกามโลกนี้ เปรียบ เหมือนลูกโคที่เขาผูกให้นอนอยู่ภายในโรงลูกโคนั่นแหละ. เครื่องผูก คือ สังโยชน์แห่งพระโสดาบัน และพระสกทาคามีเหล่านั้น ตั้งอยู่ในกามโลกนี้ แม้ ตัวท่านก็ดำรงอยู่ในภพนี้เหมือนกัน. ถ้าพระโสดาบัน และพระสกทาคามีดำรง อยู่ในรูปภพ หรืออรูปภพ ก็เปรียบเหมือนกับลูกโคที่เขาผูกไว้ในภายใน ณ โรงแห่งลูกโค แต่ตัวลูกโคนอนอยู่ภายนอกโรง เพราะว่าเครื่องผูกแห่งพระโสดาบัน และพระสกทาคามีเหล่านั้น ตั้งอยู่ในกามโลกนี้ แต่ท่านอยู่ใน พรหมโลก. พระอนาคามีผู้อยู่ในรูปภพ เปรียบเหมือนกับลูกโคที่เขาผูกไว้ ภายนอกโรง ตัวก็นอนอยู่ภายนอกโรง เพราะว่า เครื่องผูก คือสังโยชน์แห่ง พระอนาคามีนั้นอยู่ในภายนอกจากกามโลก แม้ตัวท่านก็ดำรงอยู่ในภายนอกจาก กามโลกเหมือนกัน. ส่วนพระอนาคามีผู้สถิตอยู่ในกามโลกนี้ เปรียบเหมือน กับลูกโคที่เขาผูกไว้ภายนอกโรง แต่ตัวนอนอยู่ภายในโรง. เพราะว่า เครื่อง ผูกของอนาคามีนั้น อยู่ในรูปภพ อรูปภพ แต่ท่านอยู่ในกามภพนี้.
[๖๘] ๑. อักโกธนบุคคล บุคคลผู้ไม่โกรธ เป็นไฉน?
ความโกรธในข้อนั้น เป็นไฉน? ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ ที่โกรธ โทสะ กิริยาที่ประทุษร้าย ภาวะที่ประทุษร้าย พยาบาท กิริยาที่ พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความ เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่ยินดี นี้เรียกว่า ความโกรธ ความโกรธนี้ อัน บุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่โกรธ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 261
๒. อนุปนาหีบุคคล บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ เป็นไฉน?
ความผูกโกรธ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความโกรธมีในกาลเบื้องต้น ความผูกโกรธมีในกาลภายหลัง ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูก โกรธ การไม่หยุดโกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การไหล ไปตามความโกรธ การผูกพันความโกรธ การทำความโกรธให้มั่นเข้า อันใด เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ. ความผูกโกรธนี้ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ผูกโกรธ.
อรรถกถาอักโกธนบุคคล คือ บุคคลผู้ไม่โกรธ เป็นต้น
บทว่า "ปหีโน" ได้แก่ ความโกรธที่บุคคลละได้แล้ว ด้วยวิกขัมภนปหาน หรือด้วยตทังคปหาน หรือ ด้วยสมุจเฉทปหาน.
[๖๙] ๑. อมักขีบุคคล บุคคลผู้ไม่ลบหลู่บุญคุณผู้อื่น เป็นไฉน?
ความลบหลู่บุญคุณผู้อื่น ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความลบหลู่ กิริยา ที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความไม่เห็นคุณของผู้อื่น การกระทำความไม่เห็นคุณ ผู้อื่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่บุญคุณผู้อื่น. ความลบหลู่บุญคุณผู้อื่นนี้ อัน บุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ลบหลู่บุญคุณผู้อื่น.
๒. อปลาสีบุคคล บุคคลผู้ไม่ตีเสมอผู้อื่น เป็นไฉน?
ความตีเสมอผู้อื่น ในข้อนี้ เป็นไฉน.? การตีเสมอ กิริยาที่ดีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ ธรรมที่เป็นอาหารแห่งการตีเสมอ ฐานะแห่งวิวาท การถือเป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 262
เทียบเคียงคู่ว่าเท่าเทียมกัน การไม่สละคืน นี้เรียกว่า การตีเสมอ. การตีเสมอ นี้ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ตีเสมอผู้อื่น.
[๗๐] ๑. อนิสสุกีบุคคล บุคคลผู้ไม่มีความริษยา เป็นไฉน?
ความริษยา ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะ ที่ริษยา ความไม่ยินดีด้วย กิริยาที่ไม่ยินดีด้วย ภาวะที่ไม่ยินดีด้วย ในลาภ สักการะ ในการทำความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของคนอื่น อันใดนี้เรียกว่า ความริษยา. ความริษยานี้อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ไม่มีความริษยา.
๒. อมัจฉรีบุคคล บุคคลผู้ไม่มีความตระหนี่ เป็น ไฉน?
ความตระหนี่ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความอยากมีประการต่างๆ ความเหนียวแน่น ความตระหนี่ถี่เหนียว ความที่จิตไม่เผื่อแผ่ อันใด เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ มีความตระหนี่.
[๗๑] ๑. อสถบุคคล บุคคลผู้ไม่โอ้อวด เป็นไฉน?
ความโอ้อวด ในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด ความโอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ภาวะที่ แข็งกระด้าง กิริยาที่แข็งกระด้าง ความพูดยกตน กิริยาที่พูดยกตน อันใด
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 263
นี้เรียกว่า ความโอ้อวด ความโอ้อวดนี้ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่โอ้อวด.
๒. อมายาวีบุคคล บุคคลผู้ไม่มีมายา เป็นไฉน?
มายาในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต ด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว เพราะเหตุจะ ปกปิดความทุจริตนั้น จึงตั้งความปรารถนาอันลามก ปรารถนาว่าใครๆ อย่า รู้เรา ดำริว่า ใครๆ อย่ารู้เรา พูดว่า ใครๆ อย่ารู้เรา พยายามด้วยกายว่า ใครๆ อย่ารู้เรา มายา ภาวะที่มีมายา ความวางท่า ความหลอกลวง ความ ตลบตะแลง ความมีเล่ห์เหลี่ยม ความทำให้ลุ่มหลง ความซ่อนความอำพราง ความปิด ความปกปิด การไม่ทำให้เข้าใจง่าย การไม่ทำให้จะแจ้ง การปิด บังอำพราง กิริยาลามก อันใด เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า มายา. มายานี้ อัน บุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีมายา.
[๗๒] ๑. หิริมาบุคคล บุคคลผู้มีหิริ เป็นไฉน?
ความละอายุในข้อนั้น เป็นไฉน? ละอายการเข้าถึงธรรมอันเป็นบาป อกุศล นี้เรียกว่า หิริ ความละอาย บุคคลผู้ประกอบด้วยหิรินี้ชื่อว่า ผู้มีหิริ.
๒. โอตตัปปีบุคคล บุคคลผู้มีโอตตัปปะ เป็นไฉน?
โอตตัปปะ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ธรรมชาติใดกลัวสิ่งที่ควรกลัว กลัวการเข้าถึงธรรมที่เป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า โอตตัปปะ. บุคคลผู้ประกอบ แล้วด้วยโอตตัปปะนี้ ชื่อว่า ผู้มีโอตตัปปะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 264
[๗๓] ๑. สุวจบุคคล บุคคลผู้ว่าง่าย เป็นไฉน?
ความเป็นผู้ว่าง่าย ในข้อนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ว่าง่าย ภาวะที่ว่า ง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ถือเอาโดยไม่ปฏิกูล ความเป็นผู้ยินดี โดย ไม่เป็นข้าศึก ความเอื้อเฟื้อ ความเคารพ ความเชื่อฟัง ในเมื่อสหธรรมมิก ว่ากล่าวอยู่. บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ว่าง่าย.
๒. กัลยาณมิตตบุคคล บุคคลผู้มีมิตรดี เป็นไฉน?
ความเป็นผู้มีมิตรดี ในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคลเหล่าใดมีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต มีการบริจาค มีปัญญา การเสวนะ การซ่องเสพ การคบ การคบหา การคบหาพร้อม การภักดี การภักดีด้วย ความเป็นผู้คบหาสมาคม บุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี. บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความ เป็นผู้มีมิตรดี นี้ชื่อว่า เป็นผู้มีมิตรดี.
[๗๔] ๑. อินทรียคุตตทวารบุคคล บุคคลมีทวารอันคุ้มครอง แล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นไฉน?
ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ในข้อนั้นเป็น ไฉน? บุคคลในโลกนี้เห็นรูปด้วยตา เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต เป็นผู้ไม่ถือ เอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส พึง ซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือจักษุนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ คือจักษุใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจักษุนั้น ย่อมรักษา อินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงความสำรวม อินทรีย์คือจักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอัน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 265
ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือใจ นี้อยู่ เพราะความไม่สำรวมอินทรีย์คือใจใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม อินทรีย์คือใจนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือใจ ย่อมถึงความสำรวมอินทรีย์คือใจ การคุ้มครอง การปกครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านั้นใด นี้ เรียกว่า ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย นี้ชื่อว่า เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย.
๒. โภชเนมัตตัญญูบุคคล บุคคลผู้รู้จักประมาณใน โภชนะเป็นไฉน?
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคล บางคนในโลกนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อจะ เล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประดับ ไม่บริโภคเพื่อตกแต่ง ประเทืองผิว บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายเป็นไป เพื่อ จะกำจัดความเบียดเบียนลำบากคือความหิวอาหารเสีย เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการเสพเฉพาะอาหารนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายจักเป็นไปได้นานจักมีแก่เรา ความเป็นผู้ ไม่มีโทษ ความอยู่สบายด้วยจักมีแก่เรา ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในโภชนะนั้น ความพิจารณาในโภชนะนั้นอันใด นี้เรียกว่า ความเป็น ผู้รู้จักประมาณในโภชนะ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในโภชนะ นี้เรียกว่า ผู้รู้จักประมาณในโภชนะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 266
[๗๕] ๑. อุปัฏฐิตสติบุคคล บุคคลผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นไฉน?
สติในข้อนั้น เป็นไฉน? ความระลึกได้ ความตามระลึกได้ ความ หวนระลึกได้ ความนึกได้คือสติ ความทรงจำ ความไม่ฟั่นเฟือน ความไม่ หลงลืม นี้เรียกว่า สติ บุคคล ผู้ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ชื่อว่า ผู้มีสติอันเข้า ไปตั้งไว้แล้ว.
๒. สัมปชานบุคคล บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน? สัมปชัญญะ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความรอบรู้ ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกสรร ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความ เข้าไปกำหนดรู้เฉพาะ ความเป็นผู้รู้ ความฉลาด ความรู้ละเอียด ความรู้ แจ่มแจ้ง ความคิดนึก ความใคร่ครวญ ความรู้กว้างขวาง ความรู้เฉียบขาด ความรู้นำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาเพียงดังปะฏัก ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา ประทีปคือปัญญา รัตนะคือปัญญา ความสอดส่องธรรมคือ อโมหะ สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ชื่อว่า ผู้มีสัมปชัญญะ.
[๗๖] ๑. สีลสัมปันนบุคคล
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็น ไฉน?
ความถึงพร้อมด้วยศีล ในข้อนี้ เป็นไฉน? การไม่ล่วงละเมิดทาง กาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยศีล ความสำรวมด้วยศีลแม้ทั้งหมด ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยศีล บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยศีลสัมปทา ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 267
๒. ทิฏฐิสัมปันนบุคคล บุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย ทิฏฐิเป็นไฉน?
ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในข้อนั้น เป็นไฉน? ความรอบรู้ ความ รู้ชัด ฯลฯ ความสอดส่องธรรม คือ อโมหะ สัมมาทิฏฐิเช่นนี้ว่า ทานที่ให้ แล้วมีผล การบูชาใหญ่ (คือมหาทานที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง) มีผล สักการะที่ บุคคลทำเพื่อแขกมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้อุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้พร้อมเพรียง กัน ประพฤติดีปฏิบัติชอบที่ รู้ยิ่งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ ทำให้แจ้งมี นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า ทิฏฐิสัมปทา บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสัมปทานี้ ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ.
[๗๗] ๑. ทุลลภบุคคล บุคคลผู้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน?
บุพพการีบุคคล ๑. กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑.
บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก.
อรรถกถาบุคคลผู้หาได้ยาก ๒ จำพวก
บทว่า "ทุลฺลภา" ได้แก่ มิใช่บุคคลที่หาได้โดยง่าย.
บทว่า "ปุพฺพการี" ได้แก่ ผู้กระทำอุปการะก่อนนั่นเทียว.
บทว่า "กตเวที" ได้แก่ ประกาศอุปการคุณที่บุคคลอื่นกระทำแล้ว คือกระทำอุปการคุณให้ปรากฏ.
บัณฑิต พึงแสดงบุคคลทั้ง ๒ พวกนั้น ด้วยอาคาริยบุคคล และ อนาคาริยบุคคล คือ คฤหัสถ์ และ บรรพชิต ก็บรรดาคฤหัสถ์ทั้งหลาย มารดา และบิดาชื่อว่าบุพพการี (ผู้กระทำอุปการะก่อน) ส่วนบุตรและธิดาผู้ปฏิบัติ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 268
มารดาบิดา และกระทำการอภิวาทเป็นต้นแก่บิดามารดาชื่อว่า กตเวที (ผู้รู้ อุปการคุณอันบุพพการีชนกระทำแล้ว) สำหรับบรรพชิตทั้งหลาย อาจารย์ และอุปัชฌาย์ชื่อว่า บุพพการี. อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกทั้งหลาย (ลูกศิษย์ และผู้อยู่ร่วม) ที่ปฏิบัติอาจารย์และอุปัชฌาย์ชื่อว่า กตเวที เพื่อประกาศบุคคล ทั้ง ๒ พวกนั้นให้แจ่มแจ้ง บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่องของพระโสณเถระ ผู้ เลี้ยงดูอุปัชฌาย์ เป็นต้น.
อีกนัยหนึ่ง บุคคลใด เมื่อผู้อื่นยังมิได้กระทำอุปการะเลย ไม่เพ่งเล็ง ถึงอุปการะที่ผู้อื่นกระทำในตน แล้วกระทำการอุปการะ ผู้นั้นก็ชื่อว่าบุพพการี เปรียบเหมือนบิดามารดาพวกหนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์พวกหนึ่ง บุพพการี บุคคลนั้น ชื่อว่าหาได้โดยยาก เพราะความที่สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหาครอบงำไว้.
บุคคลใด รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำในตน ประกาศอยู่ซึ่งอุปการะที่เป็น ไปตามสมควรแก่อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า กตัญญูกตเวที เปรียบเหมือน บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในมารดา และบิดา หรือในอาจารย์ และ อุปัชฌาย์ทั้งหลาย. กตัญญูกตเวทีบุคคลนั้น ชื่อว่า หาได้โดยยาก เพราะ ความที่สัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาครอบงำไว้.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เมตตารักใคร่ โดยไม่มีเหตุ ชื่อว่า บุพพการี. บุคคลเมตตารักใคร่ โดยมีเหตุ ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
บุคคลผู้กระทำประโยชน์ โดยไม่เพ่งเล็งถึงเหตุเป็นต้นอย่างนี้ว่า "ผู้นี้ จักกระทำอุปการะแก่เรา" ชื่อว่า บุพพการี. บุคคลผู้กระทำประโยชน์ โดย เพ่งเล็งถึงสาเหตุเป็นต้น อย่างนี้ว่า "ผู้นี้จักกระทำอุปการะแก่เรา" ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
ผู้มืดมาสว่างไปข้างหน้า ชื่อว่า บุพพการี. ผู้สว่างมาสว่างไปข้างหน้า ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 269
ผู้แสดงธรรม ชื่อว่าบุพพการี. ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า บุพพการีในโลกนี้ พร้อมทั้ง เทวโลก. พระอริยสาวก ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาแห่งทุกนิบาต ท่านกล่าวคำไว้มีประมาณเท่านี้ ว่า (ผู้กระทำอุปการะก่อน ชื่อว่า บุพพการี. ผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว กระทำตอบในภายหลัง ชื่อว่า กตเวที). บรรดาบุคคลทั้ง ๒ พวกนั้น บุพพการี ชน ย่อมกระทำความสำคัญว่า "เราให้หนี้" บุคคลผู้กระทำตอบแทนในภาย หลัง ย่อมทำความสำคัญว่า "เราใช้หนี้".
[๗๘] ๒. ทุตตัปปยบุคคล
บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวก เป็นไฉน?
บุคคลผู้ที่เก็บของที่ตนได้แล้วๆ ๑. ผู้ที่สละของที่ตนได้แล้วๆ ๑. บุคคล ๒ จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ยาก.
อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวก
บทว่า "ทุตฺตปฺปยา" ได้แก่ ผู้ให้ตนอิ่ม คือ ผู้ที่ใครๆ ไม่อาจให้ อิ่มได้. ก็ภิกษุใด อาศัยตระกูลอุปัฏฐาก หรือ ตระกูลของญาติอยู่ เมื่อจีวร ที่ให้เก่าแล้ว ก็เก็บจีวรที่ตระกูลเหล่านั้นถวายเสียไม่ใช้สอย ถือเอาจีวรที่ ตระกูลเหล่านั้นถวายแล้วบ่อยๆ แล้วก็เก็บเสียนั่นแหละ. อนึ่ง ภิกษุใดสละ จีวรที่ตนได้แล้วๆ โดยนัยนั้นนั่นแหละถวายแก่ภิกษุอื่น แม้ได้จีวรบ่อยๆ ก็ กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
บุคคล ๒ พวกนี้ใครๆ น้อมนำปัจจัยเข้าไปถวายตั้งเล่มเกวียนก็ไม่ อาจเพื่อให้อิ่มได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุตตัปปยา แปลว่า อันใครๆ ให้อิ่ม ได้โดยยาก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 270
[๗๙] ๑. สุตัปปยบุคคล บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวก เป็นไฉน?
ผู้ที่ไม่เก็บของที่ตนได้แล้วๆ ๑. ผู้ที่ไม่สละของที่ตนได้แล้วๆ ๑.
บุคคล ๒ จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ง่าย.
อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย
คำว่า "น วิสชฺเชติ" ได้แก่ กระทำให้เป็นของๆ ตน ไม่ให้แก่ ผู้อื่น แต่เมื่อมีอดิเรกลาภ (ของเหลือ) ก็ไม่เก็บไว้ ย่อมถวายแก่ภิกษุอื่นเสีย ข้อนี้ มีคำอธิบายไว้ดังนี้ คือ.
ก็ภิกษุใดแล มีจีวรเก่าแล้ว ได้ผ้าสาฎกจากตระกูลอุปัฏฐาก หรือ ตระกูลญาติ กระทำให้เป็นจีวร ใช้ไม่ยอมทิ้ง แม้ปะแล้วก็ยังใช้ห่มอยู่ เมื่อตระกูลเหล่านั้นถวายให้ใหม่ก็ไม่รีบรับโดยเร็ว (หมายถึงมีการพิจารณา) นี้พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง นั้นคือ ภิกษุใดใช้จีวรที่ได้แล้วๆ ด้วยตนเอง ย่อม ไม่ถวายแก่ภิกษุเหล่าอื่นภิกษุแม้ทั้ง ๒ พวกนี้ใครๆ ก็อาจให้อิ่มได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สุตตัปปยา แปลว่า อันผู้อื่นให้อิ่มได้โดยง่าย.
[๘๐] อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวกเหล่า ไหน?
ผู้ที่ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ไม่ควรรังเกียจ ๑. ผู้ที่ไม่ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ควรรังเกียจ ๑.
อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 271
[๘๑] อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก เหล่าไหน?
ผู้ที่ไม่ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ไม่ควรรังเกียจ ๑. ผู้ที่ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ควรรังเกียจ ๑.
อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก เหล่านี้.
[๘๒] ๑. หีนาธิมุตตบุคคล บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก เขาย่อมเสพ ย่อม คบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามก นี้เรียกว่า บุคคลผู้ มีอัธยาศัยเลว.
๒. ปณีตาธิมุตตบุคคล บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม เขาย่อมเสพย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ผู้มีศีล ผู้มีธรรมอันงาม นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีอัธยาศัย ประณีต.
[๘๓] ติตตบุคคล บุคคลผู้อิ่มแล้ว เป็นไฉน?
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายของพระตถาคตเจ้าผู้เป็น พระอรหันต์ชื่อว่า ผู้อิ่มแล้ว ๑. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า ผู้อิ่ม แล้วด้วย ยังผู้อื่นให้อิ่มแล้วด้วย ๑.
จบบุคคล ๒ จำพวก
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 272
คำว่า "อาสวา" ได้แก่ กิเลสทั้งหลาย.
คำว่า "น กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ กุกฺกุจฺจายติ" ความว่า ย่อมประพฤติ รังเกียจ สิ่งที่ไม่ควรรังเกียจเช่น ภิกษุได้เนื้อสุกรแล้วประพฤติรังเกียจว่า เป็น เนื้อหมี. ได้เนื้อมฤคแล้วประพฤติรังเกียจว่า เป็นเนื้อเสือเหลือง, เมื่อกาล (แห่งภัต) ยังมีอยู่ ย่อมประพฤติรังเกียจว่า กาลไม่มี, ไม่ถูกห้าม แต่ ประพฤติรังเกียจว่า เราถูกห้ามเสียแล้ว เมื่อละอองธุลียังไม่ตกไปในบาตรเลย ย่อมประพฤติรังเกียจว่าละอองธุลีตกไปแล้ว. เมื่อเขายังไม่กระทำเนื้อปลาอุทิศ ต่อตน ก็ประพฤติรังเกียจว่า เขากระทำเนื้อปลาอุทิศต่อเรา.
คำว่า "กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ น กุกฺกจฺจายติ" ความว่า ย่อมไม่ ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจเช่น ภิกษุได้เนื้อหมีแล้วย่อมไม่ ประพฤติรังเกียจว่า เป็นเนื้อหมี ฯลฯ ครั้นเมื่อเขาการทำเนื้อปลาอุทิศ คือ เจาะจงตน ย่อมไม่ประพฤติรังเกียจว่า เขาทำเนื้อปลาอุทิศ คือ เจาะจงซึ่งเรา.
ส่วนใน อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวคำไว้มีประมาณเท่านี้ว่า คำว่า "กุกกุจฺจายิตพฺพํ" ได้แก่ การไม่ตั้งไว้ การไม่พิจารณาซึ่งส่วนอัน เป็นของสงฆ์ ชื่อว่า อันใครๆ ไม่พึงรังเกียจ ย่อมรังเกียจสิ่งนั้น. คำว่า "กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ" ความว่า การตั้งไว้ การพิจารณาซึ่งสิ่งอันเป็นของสงฆ์ นั้นนั่นแหละ ย่อมไม่รังเกียจของนั้น.
คำว่า "อิเมสํ" ความว่า อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแน่นอนแก่ บุคคลทั้ง ๒ พวกเหล่านั้น ทั้งในกลางวัน ทั้งในกลางคืน ดุจหญ้าและเถาวัลย์ เป็นต้น งอกงามเจริญอยู่ในภูมิภาคอันดี. ในธรรมขาว บัณฑิตพึง ทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ภิกษุใดได้กัปปิยะมังสะ คือ เนื้อที่สมควรแล้วก็รับ เอาเนื้อที่สมควรนั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ รังเกียจ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 273
คำว่า "หีนาธิมุตฺโต" ได้แก่ ผู้มีอัชฌาสัยอันเลว.
คำว่า "ทุสฺสีโล" ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล.
คำว่า "ปาปธมฺโม" ได้แก่ ผู้มีธรรมอันลามก.
คำว่า "ปณีตาธิมุตฺโต" ได้แก่ ผู้มีอัชฌาสัยอันประณีต.
คำว่า "กลฺยาณธมฺโม" ได้แก่ ผู้มีธรรมอันเจริญ คือ มีธรรมอัน สะอาด มีธรรมอันงาม.
คำว่า "ติตฺโต" แปลว่า อิ่มแล้ว ได้แก่ ผู้ตั้งตนไว้ดีแล้ว คือ ถึงที่สุดแล้ว.
คำว่า "ตปฺเปตา" แปลว่า ผู้ยังบุคคลอื่นให้อิ่ม ได้แก่ ผู้กระทำ บุคคลทั้งหลายอื่นให้อิ่ม.
ในคำนี้ว่า "ปจฺเจกสมฺพุทฺธา เย จ ตถาคตสาวกา" พึงทราบ คำอธิบายว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายท่านอิ่มแล้ว คือ บริบูรณ์แล้วด้วย โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ แต่ไม่สามารถเพื่อให้บุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นอิ่ม ได้ เพราะว่า การตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลายด้วยธรรมกถาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมไม่มี. แต่ว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไม่มีประมาณมีการ ตรัสรู้ธรรมด้วยธรรมกถาแห่งพระสาวกทั้งหลาย. พระสาวกทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อแสดงธรรมมิได้แสดงให้เป็นถ้อยคำของตนเอง แต่แสดงธรรมกถากระทำ ให้เป็นถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้บริษัทที่นั่งประชุมกันเพื่อจะฟังธรรม ก็กระทำความเคารพว่า พระภิกษุรูปนี้มิได้แสดงธรรมที่ตนเองแทงตลอดแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 274
ย่อมกล่าวธรรมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น การกระทำความ เคารพยำเกรงจึงมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั่นเทียว.
บรรดาบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ชื่อว่า ยังบุคคลอื่นให้อิ่ม ด้วยประการฉะนี้ เหมือนอย่างว่า "เมื่อพระราชารับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ของสิ่งนี้และสิ่งนี้แก่บุคคลชื่อโน้น ราชบุรุษนำของมาแล้ว ให้แก่บุคคลชื่อโน้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พระราชาเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ให้ นั้น ของแม้อันชนทั้งหลายเหล่าใดได้แล้ว ชนเหล่านั้นย่อมรับเอาด้วยคิดว่า ฐานันดร อันพระราชาพระราชทานแล้วแก่เรา สมบัติ คือ อิสริยยศ อัน พระราชาพระราชทานแล้วแก่เรา เท่านั้น แต่ถือเอาด้วยความคิดว่า ฐานันดร เป็นต้น อันราชบุรุษทั้งหลายให้แก่พวกเราหามิได้ ฉันใด ข้ออุปมาเป็นเครื่อง ยังคำอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบ ฉันนั้น. คำที่เหลือในบททั้งปวง เนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาทุกนิทเทส ว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก เพียงเท่านี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 275
ติกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก
[๘๔] ๑. นิราสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีความหวัง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ผู้ประกอบด้วย กายกรรมเป็นต้นอันไม่สะอาดและสมาจารอันผู้อื่นหรือตนพึงระลึกได้ด้วย ความระแวง ผู้มีการงานอันปกปิด ผู้มีใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ผู้มิ ใช่ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ผู้อัน ราคะชุ่มแล้ว ผู้มีหยากเยื่อมีราคะเป็นต้น เกิดแล้ว เธอได้ยินว่า นัยว่า ภิกษุมี ชื่ออย่างนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ดังนี้ เธอย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนี้ว่า แม้เรา ก็จักรู้ยิ่งด้วยตนเอง จักทำให้แจ้ง จักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อัน หาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ใน ทิฏฐธรรมในกาลไหนๆ โดยแท้ดังนี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความหวัง.
๒. อาสังสบุคคล บุคคลผู้มีความหวัง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลมีธรรมอันงาม เธอได้ยินว่า นัยว่า ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จ อิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมดังนี้ เธอย่อมได้เกิดความคิดขึ้นว่า แม้ว่าเราก็รู้ยิ่ง
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 276
ด้วยตนเอง จักทำให้แจ้ง จักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิ ได เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถ อยู่ในทิฏฐธรรม ในกาลไหนๆ โดยแท้ ดังนี้เรียกว่า ผู้มีความหวัง.
๓. วิคตาสบุคคล บุคคลผู้มีความหวังไปปราศแล้ว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึง แล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมแล เธอได้ยินว่า นัยว่า ภิกษุ ชื่ออย่างนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จ อิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ดังนี้ เธอย่อมไม่เกิดความคิดขึ้นว่า แม้เราก็รู้ยิ่งด้วย ตนเอง จักทำให้แจ้ง จักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ใน กาลไหนๆ โดยแท้ ดังนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า ความหวังในความ หลุดพ้นใดของพระขีณาสพนั้น ผู้ซึ่งเมื่อยังไม่หลุดพ้นในกาลก่อน ความหวัง นั้นได้สงบระงับแล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความหวังไปปราศแล้ว.
อรรถกถาติกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๓ จำพวก
อรรถกถาบุคคลผู้ไม่มีความหวังเป็นต้น
บทว่า "ทุสฺสีโล" ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล.
บทว่า "ปาปธมฺโม" ได้แก่ผู้มีธรรมอันลามก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้ทุศีล เพราะความวิบัติแห่งศีล ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันลามก เพราะความวิบัติ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 277
แห่งทิฏฐิ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้ทุศีล เพราะขาดความสำรวมทางกายทวารและ วจีทวาร ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันลามก เพราะขาดความสำรวมทางมโนทวาร. ชื่อว่า ผู้ทุศีล เพราะความเป็นผู้ประกอบการงานอันไม่สะอาด. ชื่อว่า ผู้มีธรรมอัน ลามก เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยอันไม่สะอาด. ชื่อว่า ผู้ทุศีล เพราะเว้นจาก กุศลศีล ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันลามก เพราะประกอบด้วยอกุศลศีล.
บทว่า "อสุจิ" แปลว่า ไม่สะอาด ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกรรมอันไม่ สะอาดทั้งหลาย มีกายกรรมเป็นต้น.
บทว่า "สงฺกสฺสรสมาจาโร" ได้แก่ ผู้มีสมาจารอันผู้อื่นพึงระลึก ได้ด้วยความระแวง. อธิบายว่า ผู้มีสมาจารอันผู้อื่นเห็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง อันไม่สมควรแล้วระแวงอย่างนี้ กรรมนี้จักเป็นของอันภิกษุนี้กระทำแล้ว หรือ มีสมาจารอันตนพึงระลึกได้ด้วยความระแวงของคนนั่นแหละ ชื่อว่า ผู้มีสมาจาร อันน่าระแวง. ก็เพราะเขาเห็นพวกภิกษุประชุมปรึกษากันถึงกิจอย่างใดอย่าง หนึ่งนั่นแหละ ในที่เป็นที่พักกลางวันเป็นต้น เขาจึงมีสมาจารอันน่าระแวง สงสัยอย่างนี้ว่า พวกภิกษุเหล่านั้นรู้กรรมที่เรากระทำหรือ จึงปรึกษากันอยู่.
บทว่า "ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต" ได้แก่ประกอบด้วยธรรมอันลามก อันสมควรแก่การปกปิด.
สองบทว่า "อสฺสมโณ สมณปฏิญฺโ" ความว่า ผู้มิได้เป็นสมณะ เลย แต่ปฏิญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นสมณะ เพราะเป็นผู้มีคุณธรรมอันควรแก่ ความเป็นสมณะ.
สองบทว่า "อพฺรหฺมจารี พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ" ความว่า ก็ภิกษุ ผู้ทุศีลนั้นเห็นเพื่อนสหธรรมิกผู้เป็นพรหมจารี ผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ นุ่งห่มเรียบร้อย ทรงบาตรงดงามเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้าน (คาม) นิคม
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 278
ชนบท และราชธานีทั้งหลายแล้วสำเร็จการเลี้ยงชีพอยู่ แม้ตนเองก็ปฏิบัติเช่น นั้น โดยอาการเช่นนั้น ย่อมเป็นเหมือนกับให้ปฏิญญาว่า "ข้าพเจ้าเป็น พรหมจารี" กล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นภิกษุแล้วเข้าไปสู่โรงอุโบสถเป็นต้น ย่อม ปฏิญญาว่าตนเป็นพรหมจารีบุคคล นั่นแหละ. บุคคลผู้ถือเอาลาภอันเป็นของ สงฆ์ก็เหมือนกัน.
บทว่า "อนฺโตปูติ" ได้แก่ ผู้มีกรรมอันกรรมเน่าตามเข้าไปใน ภายใน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้เน่าใน เพราะเว้นจากสาระแห่งคุณ โดยความ เป็นผู้ไม่มีคุณ.
บทว่า "อวสฺสุโต" ได้แก่ ผู้อันราคะเป็นต้นชุ่มแล้ว.
บทว่า "กสมฺพุชาโต"๑ ได้แก่ ผู้มีหยากเยื่อมีราคะเป็นต้นเกิด แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง น้ำปฏิกูลที่ซึมเข้าไปสู่ซากศพอันชุ่ม พระองค์ก็ตรัส เรียกว่า กสัมพุ. ก็บุคคลชื่อว่าผู้ทุศีลในพระศาสนานี้ เป็นเช่นกับน้ำเหลือง อันชุ่มในซากศพ เพราะความที่ตนเป็นผู้อันบัณฑิตพึงรังเกียจ เพราะฉะนั้น บุคคลใดเป็นเหมือนน้ำเหลืองซากศพ บุคคลนั้นจึงชื่อว่า กสัมพุชาต.
ข้อว่า "ตสฺส น เอวํ โหติ" ความว่า เพราะเหตุไร เธอจึงไม่มี ความคิดอย่างนั้น? เพราะศีลที่เธอตั้งอยู่แล้วพึงอาจเพื่อจะได้พระอรหัต เธอก็ทำลายเสียแล้ว. เหมือนอย่างว่า ลูกคนจัณฑาลแม้ได้ยินว่า ขัตติยกุมาร ชื่อโน้น เขาอภิเษกในราชสมบัติแล้วก็เพราะชนทั้งหลายผู้เกิดในภายหลังใน ตระกูลใดย่อมถึงการอภิเษก ตนมิได้เกิดในตระกูลนั้นจึงมิได้มีความคิดอย่างนี้ ว่า "แม้ชื่อว่าเรานั้น ก็จักพึงถึงการอภิเษก เหมือนขัตติยกุมารโดยแน่แท้ ฉันใด ภิกษุผู้ทุศีล แม้ฟังว่า "พระภิกษุชื่อโน้นบรรลุพระอรหัตดังนี้ เพราะ
๑. บาลีว่า กสมฺพุกชาโต
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 279
ความที่ศีลที่ตนตั้งอยู่แล้วนั้นไม่มี จึงไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า "แม้ชื่อว่าเรานั้น จักพึงบรรลุพระอรหัต เหมือนภิกษุผู้มีศีลโดยแน่แท้" ฉันนั้นเหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า นิราโส ผู้ไม่มีความหวัง เพราะไม่มีความหวังที่จะได้พระอรหัต.
ข้อว่า "ตสฺส เอวํ โหติ" ความว่า เพราะเหตุที่ศีลที่เธอตั้งอยู่แล้ว สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตเป็นสภาพมั่นคง. เหมือนอย่างว่า กุมารผู้สุชาติ คือ เกิดดีแล้ว พอสดับคำว่า " ขัตติยกุมารชื่อโน้น เขาอภิเษกแล้ว" เพราะเหตุ ที่ตนก็เกิดในตระกูลนั้นจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า "แม้เราก็พึงถึงการอภิเษก เหมือนกุมารนั้นโดยแน่แท้ " ฉันใด ภิกษุผู้มีศีล พอได้ยินว่า "ภิกษุชื่อโน้น บรรลุพระอรหัตแล้ว" เพราะเหตุที่ศีลอันเธอตั้งอยู่แล้วควรจะบรรลุพระอรหัตเป็นธรรมชาติมั่นคง จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า "แม้เราก็พึงบรรลุพระอรหัต เหมือนกับภิกษุผู้มีศีลโดยแน่แท้" ฉันนั้นเหมือนกัน.
ข้อว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียก ว่า อาสํโส คือ ผู้มีความหวัง เพราะว่าเธอนั้นหวังอยู่ คือ ปรารถนาอยู่ซึ่ง พระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า อาสํโส. บุคคลผู้มีความหวัง
ข้อว่า " ยา หิสฺส ปุพฺเพ อวิมุตฺตสฺส" ความว่า ความหวังในการ หลุดพ้นอันใด ของพระขีณาสพผู้ยังมิได้หลุดพ้น ด้วยการหลุดพ้นด้วย อรหัตตมรรคในกาลก่อนความหวังอันนั้นของท่านสงบระงับแล้ว เพราะฉะนั้น พระขีณาสพท่านจึงไม่มีความคิดอย่างนั้น. เหมือนอย่างว่า กษัตริย์ผู้อภิเษก แล้ว พอทรงสดับคำว่า " ขัตติยกุมารชื่อโน้นเขาอภิเษกในราชสมบัติแล้ว" เพราะ พระราชาองค์เดียวมิได้มีการอภิเษก ๒ ครั้ง มิได้มีเศวตฉัตร ๒ ครั้ง จึงมิได้ มีความดำริอย่างนี้ว่า "แม้เราก็พึงถึงการอภิเษก เหมือนขัตติกุมารนั้นโดย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 280
แน่แท้" ฉันใด พระขีณาสพพอได้ยินว่า "พระภิกษุชื่อโน้น บรรลุพระอรหัตแล้ว" เพราะความเป็นพระอรหัต ๒ ครั้งไม่มี ท่านจึงมิได้มีความคิด อย่างนี้ว่า "แม้เราก็จะพึงบรรลุพระอรหัต เหมือนพระภิกษุนั้นโดยแน่แท้" ฉันนั้นนั่นเทียว.
ข้อว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียก ว่า วิคตาโส คือ ผู้ปราศจากความหวัง เพราะท่านปราศจากความหวังใน ความเป็นพระอรหัต.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวก เป็นไฉน?
[๘๕] คนไข้ ๓ จำพวก.
๑. คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะเป็นที่สบายหรือไม่ได้โภชนะ เป็นที่สบาย ได้เภสัชเป็นที่สบายหรือไม่ได้เภสัชเป็นที่สบาย ได้อุปัฏฐาก สมควรหรือไม่ได้อุปัฏฐากสมควร ก็ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นเลย.
๒. ส่วนคนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะเป็นที่สบาย หรือไม่ได้ โภชนะเป็นที่สบาย ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้เภสัชที่สบาย ได้อุปัฏฐากที่สมควร หรือไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควรก็ย่อมหายจากอาพาธนั้น.
๓. ส่วนคนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะเป็นที่สบาย ก็หายจาก อาพาธนั้น ไม่ได้ก็ไม่หายจากอาพาธนั้น ได้เภสัชเป็นที่สบาย ก็หายจากอาพาธ นั้น ไม่ได้ก็ไม่หายจากอาพาธนั้น ได้อุปัฏฐากที่สมควร ก็หายจากอาพาธนั้น ไม่ไดก็ไม่หายจากอาพาธนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 281
ในคนไข้ ๓ จำพวกนั้น คนไข้นี้ใด ได้โภชนะเป็นที่สบายก็หายจาก อาพาธนั้น ไม่ได้ก็ไม่หายจากอาพาธนั้น ได้เภสัชเป็นที่สบายก็หายจากอาพาธ นั้น ไม่ได้ก็ไม่หายจากอาพาธนั้น ได้อุปัฏฐากสมควรก็หายจากอาพาธนั้น ไม่ได้ก็ไม่หายจากอาพาธนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยคนไข้จำพวกนี้จึงได้ ทรงอนุญาตคิลานภัต อนุญาตคิลานเภสัช อนุญาตคิลานอุปัฏฐากไว้ ก็แหละ เพราะอาศัยคนไข้จำพวกนี้ คนไข้แม้เหล่าอื่นอันภิกษุทั้งหลายก็ควรบำรุง.
[๘๖] บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวก เป็นไฉน?
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นพระตถาคต หรือไม่ได้เห็นพระตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัย อันพระตถาคตประกาศแล้ว ก็ย่อมไม่หยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรม ทั้งหลาย
๒. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นพระตถาคต หรือไม่ได้เห็น พระตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังธรรม วินัยอันพระตถาคตประกาศแล้ว ก็ย่อมก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรม ทั้งหลายได้.
๓. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นพระตถาคต ย่อมก้าวลงสู่ นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลายได้ เมื่อไม่ได้ ก็ย่อมไม่ก้าวลงสู่นิยาม อันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อฟังธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ ย่อมไม่ก้าว ลงสู่นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 282
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลใดได้เห็นพระตถาคต ย่อมก้าว ลงสู่นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลายได้ เมื่อไม่ได้ ย่อมไม่ก้าวลงสู่ นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ฟังธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศ แล้วย่อมก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลายได้ เมื่อไม่ได้ ก็ย่อม ไม่ก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตพระธรรมเทศนาไว้ เพราะอาศัยบุคคลจำพวกนี้ ก็แหลเพราะ อาศัยบุคคลนี้ภิกษุทั้งหลายจึงแสดงธรรมแก่บุคคล แม้เหล่าอื่นๆ บุคคลเปรียบ ด้วยคนไข้ ๓ จำพวกเหล่านี้ ย่อมมีปรากฏอยู่ในโลก.
อรรถกถาคิลานูปมบุคคลเป็นต้น
ชนเหล่านั้น ท่านเรียกว่า คิลานูปมา คือ ผู้เปรียบด้วยคนไข้ ด้วย อุปมาใดเพื่อจะแสดงอุปมานั้นก่อน ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "ตโย คิลานา" ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า " สปฺปายานิ " ได้แก่ อันเป็นประโยชน์ เกื้อกูล คือ กระทำให้เจริญ บทว่า "ปฏิรูปํ" ได้แก่อันเหมาะสม. ด้วยคำว่า " เนว วุฏฺาติ ตมฺหา อาพาธา " พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงบุคคลผู้ เป็นไข้ที่ถึงที่สุดแล้ว ที่ประกอบด้วยโรคทั้งหลายมีโรคลม และโรคลมบ้าหมู เป็นต้น ที่แก้ไขไม่ได้. ด้วยคำนี้ว่า "วุฏิาติ ตมฺหา อาพาธา" พระองค์ ตรัสถึงอาพาธเล็กน้อย อันต่างด้วยโรคทั้งหลาย มีโรคจาม โรคหิดเปื่อย โรคตกกระ โรคฝี และโรคชรา เป็นต้น. ก็ความผาสุกของชนเหล่าใดย่อม มีได้ด้วยการปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงบุคคลผู้อาพาธเหล่านั้นแม้ ทั้งหมดด้วยคำนี้ว่า ลภนฺโต สปฺปายานิ โน อลภนฺโต.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 283
ก็ในที่นี้ บุคคลผู้อุปัฏฐากคนไข้ ต้องประกอบไปด้วยองค์คุณทั้งหลาย คือ เป็นบัณฑิต ๑ เป็นผู้ขยัน ๑ ไม่เกียจคร้าน ๑ พึงทราบว่า ชื่อว่า อุปัฏ- ฐากที่เหมาะสม.
ข้อว่า "คิลานุปฏฺาโก อนุญฺาโต" ความว่า บุคคลใดอัน ภิกษุสงฆ์พึงให้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า อนุญฺาโต แปลว่า ผู้ อันภิกษุสงฆ์อนุญาตแล้ว. ก็บุคคลผู้เป็นไข้นั้นเมื่อไม่สามารถเพื่อจะยังอัตภาพ ให้เป็นไปตามธรรมดาของตน ภิกษุสงฆ์พึงอปโลกน์แล้วให้ถ้อยคำว่า "ขอให้ ภิกษุหรือสามเณรรูปหนึ่ง จงปฏิบัติบำรุงภิกษุผู้อาพาธนี้" ก็ถ้าภิกษุหรือ สามเณรนั้น ยังปฏิบัติภิกษุผู้อาพาธนั้นอยู่ตราบใด คนไข้ก็ดี ภิกษุหรือสามเณร ก็ดี มีความต้องการด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นภาระแก่สงฆ์เท่านั้น.
ข้อว่า "อญฺเปิ คิลานา อุปฏฺาตพฺพา" ความว่า บุคคลผู้ เป็นคนไข้ ๒ จำพวก แม้นอกจากนี้ ภิกษุสงฆ์ก็ควรอุปัฏฐากด้วย.
ถามว่า "เพราะเหตุไร?"
ตอบว่า "ก็บุคคลใดเป็นไข้ถึงที่สุดแล้ว ผู้นั้นเมื่อไม่มีใครอุปัฏฐาก พึงเสียใจว่า "ถ้าหากว่า ภิกษุหรือสามเณรพึงปฏิบัติเรา ความผาสุกจะพึงมี แก่เรา แต่พวกเขาไม่ปฏิบัติเรา" ดังนี้แล้วพึงไปเกิดในอบาย. ก็เมื่อคนไข้ นั้น เมื่อภิกษุสามเณรบำรุงปฏิบัติอยู่ เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า "กิจใด ที่ภิกษุสงฆ์พึงกระทำ กิจนั้นทั้งหมด ภิกษุสงฆ์ก็กระทำแล้ว แต่กรรมวิบาก ของเราเป็นเช่นนี้ ภิกษุผู้อาพาธนั้น ยังเมตตาจิตให้ตั้งขึ้นในภิกษุสงฆ์แล้ว ย่อมเกิดในสวรรค์.
อนึ่ง ภิกษุใด มีอาพาธเล็กน้อย ได้อุปัฏฐากก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ย่อมหายจากโรคได้ ภิกษุผู้อาพาธเล็กน้อยนั้น แม้เว้นจากเภสัช พยาธิก็เข้า ไปสงบระงับได้ แต่ถ้าเขาทำเภสัชให้ฉัน อาพาธเล็กน้อยนั้นก็ย่อมสงบระงับ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 284
ได้โดยเร็วพลัน. ลำดับนั้น คนไข้ที่หายจากโรคแล้วนั้น เขาอาจเพื่อเรียน พระพุทธวจนะ หรือกระทำสมณธรรม ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "ภิกษุ สงฆ์พึงอุปัฏฐากคนไข้แม้พวกอื่น"
ข้อว่า "เนว โอกฺกมติ" ได้แก่ ไม่เข้าไป.
ข้อว่า "นิยามํ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตํ" ได้แก่ สัมมตธรรม กล่าวคือมรรคนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงบุคคล ผู้มีบทอย่างยิ่ง (ปทปรม) ด้วยธรรมข้อนี้. ทรงถือเอา อุคฆฏิตัญญูบุคคล ผู้ เช่นกับพระนาลกเถระในพระศาสนาด้วยวาระที่ ๒ และทรงถือเอาอุคฆฏิตัญญู บุคคลผู้มีปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งท่านได้โอวาทในสำนักแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายครั้งหนึ่งในพุทธันดรแล้วจึงแทงตลอดสัจธรรมคือ บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระองค์ทรงกล่าวถึง วิปจิตัญญูบุคคล ด้วยวาระที่ ๓. ก็ เนยยบุคคล ย่อมเป็นผู้อาศัย วิปจิตัญญูบุคคลนั่นเทียว.
ข้อว่า "ธมฺมเทสนา อนุญฺาตา" ความว่า พระองค์ทรงอนุญาต พระธรรมเทศนาเดือนละ ๘ ครั้ง.
ข้อว่า "อญฺเสมฺปิ ธมฺโม เทเสตพฺโพ" ความว่า พระธรรมกถึกควรกล่าวธรรมแก่ชนทั้งหลายแม้นอกจากนี้.
ถามว่า "เพราะเหตุไร?"
ตอบว่า "เพราะปทปรมบุคคล แม้ไม่สามารถแทงตลอดธรรมใน อัตภาพนี้ แต่ก็จะเป็นปัจจัยไปในกาลข้างหน้า.
อนึ่ง คนไข้ใด ได้เห็นรูปพระตถาคตก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี และได้ พระธรรมวินัยก็ดี ไม่ได้ก็ดี เขาย่อมตรัสรู้ธรรมได้ คนไข้นั้นเมื่อไม่ได้ตรัส รู้ก่อน แต่เมื่อได้ปัจจัยที่สมควรก็จักตรัสรู้ได้โดยเร็วพลันนั่นเทียว เพราะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 285
ฉะนั้นพระธรรมกถึกทั้งหลาย พึงแสวงธรรมแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเหตุที่ กล่าวมานี้. แต่ว่าความแสดงธรรมแก่บุคคลที่ ๓ บ่อยๆ ทีเดียว.
[๘๗] ๑. กายสักขีบุคคล บุคคลชื่อว่า กายสักขี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ และกิเลสบางอย่างของผู้นั้น เป็นของสิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่ากายสักขี.
๒. ทิฏฐิปัตตบุคคลบุคคล ชื่อว่า ทิฏฐิฏตะ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ ความดับทุกข์ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และธรรมทั้งหลายอันพระตถาคตประกาศแล้ว เป็นอันเธอได้เห็นดีแล้วด้วย ปัญญา เป็นอันเธอดำเนินไปด้วยดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง ของเธอเป็นอันสิ้นไปแล้วโดยรอบ เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ.
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคลชื่อว่าสัทธาวิมุต เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายอันพระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเป็นอันเธอเห็นแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่างของเธอเป็นอันสิ้นไปแล้วโดยรอบ เพราะเห็น ด้วยปัญญา อาสวะของทิฏฐิปัตตะบุคคลสิ้นไปรอบ ฉันใด อาสวะของสัทธาวิมุตตบุคคลหาเป็นเช่นนั้นไม่ บุกคลนี้เรียกว่า สัทธาวิมุต.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 286
อรรถกถากายสักขีบุคคลเป็นต้น
บุคคลทั้งหลายที่ชื่อว่า กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ และ สัทธาวิมุต ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
[๘๘] ๑. คูถภาณีบุคคล บุคคลผู้มีวาจาเหมือนคูถ เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบพูดเท็จ ไปอยู่ในที่ประชุม ไปอยู่ใน บริษัท ไปอยู่ในท่ามกลางญาติ ไปอยู่ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ในท่าม กลางราชตระกูล ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้ อย่างไร จงพูดอย่างนั้น บุคคลนั้นไม่รู้ กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้ หรือรู้อยู่ กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ ไม่เห็นกล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น หรือเห็นอยู่ กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จ โดยรู้อยู่ว่าเท็จดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุ แห่งคนอื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีวาจา เหมือนคูถ.
๒. ปุปผภาณีบุคคล บุคคลผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเสียแล้วซึ่งมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจาก มุสาวาท ไปอยู่ในที่ประชุม ไปอยู่ในบริษัท ไปอยู่ในท่ามกลางญาติ ไปอยู่ ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ในท่ามกลางราชตระกูล ถูกเขานำไปเพื่อซัก ถาม ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร จง พูดอย่างนั้น บุคคลนั้นไม่รู้กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่รู้ หรือรู้อยู่กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้ ไม่เห็นกล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น เห็นอยู่กล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวคำ เท็จโดยรู้อยู่ว่าเท็จดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 287
๓. มธุรภาณีบุคคล
บุคคลผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ วาจานั้นใดไม่มีโทษ สบายหู เป็นที่ตั้งแห่ง ความรัก จับใจ เป็นของชาวเมือง อันคนมากใคร่ เป็นที่ชอบใจของคนมาก เป็นผู้กล่าววาจาเช่นนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง.
อรรถกถาคูถภาณีบุคคล เป็นต้น
บทว่า "สภคฺโค" ได้แก่ อยู่ในสภา คือ ที่ประชุม.
บทว่า "ปริสคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในบริษัทชาวบ้าน.
บทว่า "คามมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในท่ามกลางแห่งชาวชนบท ทั้งหลาย.
บทว่า "าติมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในท่ามกลางแห่งทายาท ทั้งหลาย (ผู้รับมรดกเรียก ทายาท)
บทว่า "ปูคมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในท่ามกลางแห่งอำมาตย์ ทั้งหลาย.
บทว่า "ราชกุลมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในโรงมหาวินิจฉัย ใน ท่ามกลางราชตระกูล.
บทว่า "อภินีโต" ได้แก่ ถูกเขานำไปเพื่อประโยชน์แก่การซักถาม.
บทว่า "สกฺขิ ปุฏฺโ" ได้แก่ ถูกเขากระทำให้เป็นพยานแล้วซัก.
คำว่า "เอหมฺโภ ปุริส" นี้ เป็นคำอาลปนะ คือ คำสำหรับร้อง เรียก.
คำว่า "อตฺตเหตุ วา ปรเหตุ วา" ได้แก่ เพราะเหตุแห่งอวัยวะ มีมือและเท้าเป็นต้น หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ของตนหรือของผู้อื่น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 288
ในคำนี้ว่า "อามิสกิญฺจิกฺขเหตุ วา" ลาภ ท่านประสงค์เอาว่า "อามิส" คือสิ่งของต่างๆ.
คำว่า "กิญฺจิกฺขํ" ได้แก่ สินจ้างใดๆ ก็ตามที่มีประมาณเล็กน้อย อธิบายว่า เพราะเหตุแห่งสินจ้างมีประมาณเล็กน้อย โดยที่สุดมี นกกระทา, นกคุ่ม, ก้อนเนยใสและก้อนเนยข้นเป็นต้น
สองบทว่า "สมฺปชานมุสาภาสิตา โหติ" ความว่า กระทำการ กล่าวมุสาวาททั้งที่รู้อยู่นั่นแหละ.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่าคูถภาณี คือ ผู้มีวาทะเหมือนคูถ เพราะมีวาจาเช่นกับด้วยคูถ (อุจจาระ) ท่านอธิบายไว้ว่า เหมือนอย่างว่า ขึ้นชื่อว่าคูถย่อมไม่เป็นที่ชอบใจแก่มหาชน ฉันใด, คำพูดของบุคคลผู้กล่าวเท็จนี้ ก็ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า ปุบผภาณี คือ ผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้. เหมือนอย่างว่า ดอกมะลิทั้ง หลาย ทั้งที่กำลังตูมหรือกำลังบาน ย่อมเป็นที่รักใคร่เป็นที่ปรารถนาของมหาชน ฉันใด, วาจาของบุคคลผู้นี้ก็ย่อมเป็นที่ชอบใจรักใคร่ของเทวดาและมนุษย์ทั้ง หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
โทโส คือ โทษ ท่านเรียกว่า เอลํ ซึ่งแปลว่า ความชั่ว ในคำว่า "เนลา" วิเคราะห์ว่า โทษของวาจานั้นไม่มี เพราะฉะนั้น วาจานั้นจึงเรียกว่า เนลา แปลว่า วาจาไม่มีโทษ. อธิบายว่า หมดโทษ ดุจโทษที่ท่านกล่าวไว้ใน คำนี้ว่า "เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท๑" ดังนี้.
๑. ขุ.อุ. ๒๕/ข้อ ๑๕๑.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 289
บทว่า "กณฺณสุขา" ได้แก่ ชื่อว่าสบายแก่หูทั้งสอง เพราะเป็นวาจา ที่ไพเราะโดยพยัญชนะ. อธิบายว่า ไม่ทำการเสียดแทงหูให้เกิดขึ้น ดุจการ แทงด้วยเข็มทั้งหลาย. พึงทราบวิเคราะห์ต่างๆ ดังนี้
วาจาใด ไม่ยังความโกรธให้เกิดขึ้นในสรีระทั้งสิ้น ย่อมยังความรัก ให้เกิดเพราะเป็นวาจาที่ไพเราะโดยอรรถ เพราะฉะนั้น วาจานั้นจึงชื่อว่า เปมนียา แปลว่า วาจาอันยังความรักให้เกิดขึ้น.
วาจาใด ย่อมไปสู่หทัย ไม่มีอะไรๆ กระทบกระเทือน เข้าไปสู่จิต โดยสบาย เพราะฉะนั้นวาจานั้นจึงชื่อว่า หทยงฺคมา แปลว่า วาจาจับใจ.
วาจาใด เป็นของมีอยู่ในเมือง เพราะเป็นวาจาที่สมบูรณ์ด้วยคุณ เพราะฉะนั้นวาจานั้นจึงชื่อว่า โปรี แปลว่า วาจาชาวเมือง. วาจาใดที่กล่าว เรียกว่า ดูก่อนกุมารผู้ดี ดุจนารีผู้มีวัฒนธรรมอันดี วาจาแม้นั้นก็เรียกว่า โปรี. วาจานี้ใดเป็นของมีอยู่แก่ชาวเมือง แม้วาจานั้น ก็ชื่อว่า โปรี. อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวนคร. จริงอยู่ชาวนครทั้งหลายมีถ้อยคำอันควร คือ เหมาะสม ย่อมกล่าวเรียกบุคคลผู้สมควรเป็นพ่อว่า พ่อ เรียกผู้สมควรเป็นแม่ว่า แม่ และกล่าวเรียกผู้สมควรเป็นพี่ชายน้องชายว่า พี่ชาย น้องชาย ดังนี้.
ถ้อยคำใด (ที่กล่าวมาแล้ว) เห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักใคร่ชอบใจ แก่ชนเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น วาจานั้นจึงชื่อว่า พหุชนกนฺตา แปลว่า วาจาเป็นที่ชอบใจของคนเป็นจำนวนมาก.
วาจาใดเป็นที่ยังใจให้ชุ่มชื่น คือ กระทำความเจริญแก่จิตของชนเป็น จำนวนมากโดยความเป็นวาจาอันชอบใจนั่นแหละ เพราะฉะนั้น วาจานั้นจึง ชื่อว่า พหุชนมนาปา แปลว่า วาจาเป็นที่ชอบใจแก่ชนเป็นจำนวนมาก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 290
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า มธุภาณี แปลว่า ผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง. บาลีว่า "มุทุภาณี" แปลว่า มีวาจาอ่อนโยน" ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า เป็นวาจาไพเราะแม้ทั้ง ๒ อย่าง เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่า จตุมธุรส คือ รส ๔ อย่าง มีน้ำมันเนย น้ำมันงา น้ำผึ้ง น้ำตาลโตนด เมื่อระคนปนกันแล้ว เป็นของประณีต ฉันใด ถ้อยคำของบุคคลผู้นี้ ก็เป็นของไพเราะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๘๙] ๑. อรุกูปมจิตตบุคคล บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเรื้อรัง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคั่งแค้น ถูก เขาว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมต้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปรกติ ย่อม กระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้าย อาการไม่ชอบใจ ให้ ปรากฏ เหมือนแผลเรื้อรังถูกท่อนไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีน้ำเลือดน้ำ หนองออกมากมาย ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มาก ไปด้วยความคั่งแค้น ถูกเขาว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดง อาการผิดปรกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้าย และอาการไม่ชอบใจ ให้ปรากฏก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนแผล เรื้อรัง.
๒. วิชชูปมจิตตบุคคล บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 291
จริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับทุกข์ เหมือนบุรุษมีจักษุ พึงเห็นรูปทั้งหลายในระหว่างที่ฟ้าแลบในเวลา มืดกลางคืน ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ว่านี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ ถึงความดับทุกข์ ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ.
๓. วชิรูปมจิตตบุคคล
บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้า ถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม เหมือนแก้วมณีหรือ แผ่นหิน อะไรชื่อว่าไม่แตกย่อมไม่มีเมื่อฟ้าผ่าลงไป ชื่อแม้ฉันใด บุคคล บางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือน ฟ้าผ่า.
อรรถกถาอรุกูปมาจิตตบุคคลเป็นต้น.
บทว่า "อภิสชฺชติ" ได้แก่ ย่อมข้อง.
บทว่า "กุปฺปติ" ได้แก่ ย่อมกำเริบ ด้วยอำนาจความโกรธ.
บทว่า "พฺยาปชฺชติ" ได้แก่ ย่อมละปกติภาวะ จึงชื่อว่า เป็น ผู้เน่า.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 292
บทว่า "ปติตฺถิยติ" ได้แก่ ย่อมถึงความเป็นผู้กระด้าง และความ เป็นผู้หยาบช้า.
บทว่า "โกปํ" ได้แก่ ความโกรธที่มีกำลังอ่อน.
บทว่า "โทสํ" ได้แก่ โทสะที่มีกำลังมากกว่า กว่าความโกรธนั้น ด้วยอำนาจการประทุษร้าย.
บทว่า "อปฺปจฺจยํ" ได้แก่ โทมนัส คือ ความเสียใจที่มีอาการ้อน ไม่ยินดี.
บทว่า "ทุฏฺารุโก" ได้แก่ แผลเรื้อรัง.
บทว่า "กฏฺเน" ได้แก่ ด้วยปลายท่อนไม้.
บทว่า "กถลาย" ได้แก่ ด้วยกระเบื้อง.
บทว่า "อาสวํ เทติ" ได้แก่ ย่อมไหลออกมากมาย. ก็ตามธรรมดา แผลเรื้อรังนั้น ย่อมไหลออกซึ่งสิ่งปฏิกูล ๓ อย่าง คือ ปุพฺพํ น้ำหนอง โลหิตํ น้ำเลือด ยูสํ น้ำเหลือง ก็แผลนั้น อะไรๆ กระทบแล้ว สิ่งปฏิกูล เหล่านั้น ย่อมไหลออกมามากมาย.
คำว่า "เอวเนว โข" นี้มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมา ดังต่อไปนี้.
ก็บุคคลผู้มักโกรธ ท่านเปรียบเหมือนแผลเรื้อรัง (แผลเน่า) ความ ประพฤติแม้ของผู้มักโกรธ เปรียบเหมือนการไหลออกของสิ่งปฏิกูล ๓ อย่าง มี น้ำหนองเป็นต้นตามธรรมดาของตน ความประพฤติดุร้าย เปรียบเหมือนซาก ศพที่บวมพองขึ้นตามธรรมดาของตน ถ้อยคำของผู้มักโกรธนั้น แม้มีประมาณ เล็กน้อย ท่านก็เปรียบเหมือนการกระทบกระทั่งด้วยท่อนไม้ หรือกระเบื้อง บัณฑิตพึงเห็นภาวะ คือ การพองขึ้นโดยประมาณมากมายของผู้มักโกรธนั้น ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า "บุคคลนี้ พูดอย่างนี้ ชื่อผู้เช่นกับเรา" ท่านเปรียบ เหมือนการไหลออกมากมายแห่งปฏิกูลทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 293
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า อรุกูปมจิตฺโต แปลว่า ผู้มีจิตเปรียบด้วยแผลเรื้อรัง อธิบายว่า ผู้ มีจิตเช่นกับแผลเก่า (แผลเน่า)
บทว่า "รตฺตนฺธการติมิสาย" ความว่า ในความมืดทึบอันกระทำ ความมืดโดยห้ามการเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณในเวลากลางคืน.
บทว่า "วิชชนฺตริกาย" ได้แก่ ในขณะแห่งฟ้าแลบเป็นไป. แม้ ในคำว่า วิชฺชนฺตริกาย นี้ พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยอุปมา ดังต่อไปนี้.
พระโยคาวจร คือ ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร บัณฑิตพึงเห็นเหมือนบุรุษ ผู้มีจักษุดี กิเลสทั้งหลายที่พระโสดาปัตติมรรคพึงประหาน เปรียบเหมือนความ มืด การเกิดขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรคญาณ เปรียบเหมือนฟ้าแลบ การเห็น พระนิพพานในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนการเห็นรูปโดยรอบ ของบุรุษผู้มีจักษุในระหว่างฟ้าแลบ. กิเลสทั้งหลายที่พระสกทาคามิมรรคพึง ประหาน เปรียบเหมือนการท่วมท้น คือ การปกคลุมแห่งความมืดอีก, ความ เกิดขึ้นแห่งสกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนฟ้าแลบเป็นไปอีก, การเห็นพระนิพพานในขณะแห่งสกทาคานิมรรค เปรียบเหมือนการเห็นรูปโดยรอบของ บุรุษผู้มีจักษุในระหว่างฟ้าแลบ. กิเลสทั้งหลายที่พระอนาคามิมรรคพึงประหาน เปรียบเหมือนกับการท่วมท้น คือ การปกคลุมด้วยความมืดอีก, ความเกิดขึ้น แห่งอนาคามิมรรคญาณ เปรียบเหมือนฟ้าแลบเป็นไปอีก, การเห็นพระนิพพานในขณะแห่งอนาคามิมรรคเปรียบเหมือนการเห็นรูปโดยรอบของบุรุษผู้มี จักษุในระหว่างฟ้าแลบ.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า วิชฺชูปมจิตฺโต แปลว่า ผู้มีจิตเปรียบด้วยฟ้าแลบ. อธิบายว่า ผู้มีจิตเช่นกับฟ้าแลบเพราะความสว่างในเวลาที่ประหานมีเล็กน้อย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 294
ในความที่บุคคลมีจิตเปรียบด้วยฟ้าผ่า มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมา ดังต่อไปนี้
ก็บัณฑิตพึงเห็นญาณในอรหัตตมรรค เปรียบเหมือนฟ้าผ่า, กิเลส ทั้งหลายที่อรหัตตมรรคพึงประหาน เปรียบเหมือนปุ่มแก้วมณีหรือปุ่มก้อนหิน,0 บัณฑิตพึงเห็นความที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไปด้วยอรหัตตมรรคญาณ เปรียบ เหมือนการไม่มีแห่งภาวะที่ปุ่มแก้วมณีหรือปุ่มก้อนหินที่ถูกฟ้าผ่าเจาะทำลายตัด ขาดแล้วไม่เจริญขึ้น, บัณฑิตพึงเห็นความที่กิเลสทั้งหลายถูกอรหัตตมรรคตัด ขาดแล้วไม่เกิดขึ้นอีก เปรียบเหมือนปุ่มแก้วมณีหรือปุ่มก้อนหินที่ถูกฟ้าผ่าเจาะ ทำลายขาดไปแล้วไม่บริบูรณ์ได้อีก.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า วชิรูปมจิตฺโต แปลว่า ผู้มีจิตอุปมาด้วยฟ้าผ่า อธิบายว่า ผู้มีจิตเช่น กับด้วยฟ้าผ่า เพราะความเป็นผู้สามารถเพื่อการกระทำการเพิกถอนขึ้นซึ่งกิเลส ทั้งหลาย.
[๙๐] ๑. อันธบุคคล บุคคลผู้บอด เป็นไฉน?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้ว ให้เจริญด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคลพึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่ ไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบ โดยเป็น ธรรมดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้บอด.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 295
๒. เอกจักขุบุคคล บุคคลผู้มีตาข้างเดียว เป็นไฉน?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้ เจริญ ด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้นย่อมมีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคล พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบโดยเป็นธรรม ดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้น ก็ย่อมไม่มีแก่บุคคลเช่น นั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีตาข้างเดียว.
๓. ทวิจักขุบุคคล บุคคลผู้มีตาสองข้าง เป็นไฉน?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้ เจริญ ด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้น ย่อมมีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคล พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบโดยเป็นธรรมดำ และธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้นก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้น บุคคลนี้ เรียกว่า คนมีตาสองข้าง.
อรรถกถาอันธบุคคลคือบุคคลผู้บอดเป็นต้น
ข้อว่า "ตถารูปํ จกฺขุํ น โหติ" ความว่า จักษุ คือ ปัญญาที่มี ชาติอย่างนั้น มีสภาวะอย่างนั้น ย่อมไม่มีแก่เขา.
สองบทว่า "ผาตึ กเรยฺย" ได้แก่ พึงกระทำการเผยแผ่ คือ ทำให้ เจริญ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 296
บทว่า "สาวชฺชานวชฺเช" ได้แก่ ธรรมที่มีโทษ และหาโทษ มิได้.
บทว่า "หีนปณีเต" ได้แก่ ไม่ยิ่ง และไม่สูงสุด.
บทว่า "กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาเค" ความว่า ธรรมทั้งฝ่ายดำทั้งฝ่าย ขาวนั่นแหละท่านเรียกว่า สัปปฏิภาค แปลว่า มีส่วนเปรียบ ด้วยสามารถ แห่งอันปฏิปักษ์ เพราะมีการห้ามซึ่งกันและกัน. ก็ในที่นี้มีข้อสังเขปดังนี้ว่า บุคคลควรรู้กุศลธรรมทั้งหลายว่าเป็นกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นต้น ด้วยปัญญา จักษุใด, ควรรู้อกุศลธรรมทั้งหลายว่า เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นต้น ด้วย ปัญญาจักษุนั้น แม้ในธรรมที่มีโทษ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ก็บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแม้ในภาวะที่เหลือโดยนัยนี้ว่า บุคคลพึง ทราบด้วยปัญญาจักษุใดว่า "บรรดาธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและ ธรรมฝ่ายขาว สำหรับธรรมฝ่ายดำมีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายขาว สำหรับ ธรรมฝ่ายขาวก็มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำ" ดังนี้ จักษุ คือ ปัญญา แม้ เห็นปานนี้ย่อมไม่มีแก่เขา.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ท่าน เรียกว่า อนฺโธ แปลว่า ผู้บอด เพราะไม่มีปัญญาจักษุอันเป็นเครื่องรวบรวม โภคทรัพย์อันเป็นไปในทิฏฐธัมมิกภพ คือ ภพนี้ และไม่มีปัญญาจักษุอันเป็น เครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จในสัมปรายิกภพ คือ ภพหน้า. บุคคลจำพวกที่ ๒ ท่านเรียกว่า เอกจกฺขุ แปลว่า ผู้มีตาข้างเดียว เพราะมีปัญญาจักษุอันเป็น เครื่องรวบรวมหาโภคทรัพย์ได้ในภพนี้ แต่ไม่มีปัญญาจักษุอันเป็นเครื่องยัง ประโยชน์ให้สำเร็จในภพหน้า. บุคคลจำพวกที่ ๓ ท่านเรียกว่า ทฺวิจฺกขุ แปลว่า ผู้มีตาทั้ง ๒ ข้าง เพราะมีปัญญาจักษุอันเป็นเครื่องยังประโยชน์ให้ สำเร็จในภพเบื้องหน้า.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 297
[๙๑] ๑. อวกุชปัญญบุคคล บุคคลผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนโนโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้ง หลายเนืองๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะแก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นพึงนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อม ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้นเลย ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ใจถึงที่สุด แม้ลุก ออกจากอาสนะแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ใส่ใจถึงที่ สุดแห่งกถานั้นเลย เหมือนน้ำที่เขาเทใส่หม้อที่คว่ำไว้ ย่อมไหลไป ย่อมไม่ ขังอยู่ ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนัก ของภิกษุทั้งหลายเนืองๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทังพยัญชนะแก่บุคคลนั้น ย่อม ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อม ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้น เลย แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้นเลย ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า มีปัญญาดังหม้อคว่ำ
๒. อุจจังคปัญญบุคคล บุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุ ทั้งหลายเนืองๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะแก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจ ถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง แต่ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ไม่ใส่ใจถึง
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 298
เบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้นเลย เหมือนของ เคี้ยวนานาชนิด เช่น งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทรา วางเรียงรายอยู่แล้ว แม้ บนตักของบุรุษ เมื่อเขาเผลอตัวลุกจากอาสนะ พึงกระจัดกระจายไป ชื่อแม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้ง หลายเนืองๆ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจ ถึงเบื้องต้นบ้าง ฯลฯ ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง แห่งกถานั้น แต่ลุกออกจาก อาสนะนั้นแล้ว ย่อมไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้นเลย ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า มีปัญญาดังหน้าตัก.
๓. ปุถุปัญญบุคคล บุคคลผู้มีปัญญามาก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้ง หลายเนืองๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจ ถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง แม้ลุกออก จากอาสนะนั้นแล้ว ก็ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้น เหมือนน้ำที่เขาเทใส่หม้อที่หงายไว้ ย่อมขังอยู่ ย่อมไม่ไหลไป ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรม ในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนืองๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่บุคคลนั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 299
ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เขานั่งที่อาสนะนั้นแล้ว ย่อม ใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้น แม้ลุกออกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่าม กลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้างแห่งกถานั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีปัญญามาก.
อรรถกถาบุคคลผู้มีปัญญาเพียงดังหม้อคว่ำ เป็นต้น
สองบทว่า "ธมฺมํ เทเสนฺติ" ความว่า ภิกษุทั้งหลายละการงาน ของตนแล้วแสดงธรรมด้วยการคิดว่า "อุบาสกมาเพื่อต้องการฟังธรรม"
บทว่า "อาทิกลฺยาณํ" ความว่า ย่อมแสดงธรรมให้งาม ให้เจริญ คือ ให้ไม่มีโทษ คือ ปราศจากโทษในเบื้องต้น แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. ก็ในคำว่า "อาทิ" นี้ได้แก่เป็นคำเริ่มต้นครั้งแรก.
บทว่า "มชฺฌํ" ได้แก่ เป็นการกล่าวในท่ามกลาง.
บทว่า "ปริโยสานํ" ได้แก่ เป็นคำสุดท้าย. ภิกษุทั้งหลายเมื่อ แสดงธรรมแก่เรา ย่อมแสดงธรรมให้งาม ให้เจริญ ให้ไม่มีโทษนั่นเทียว ทั้งในคำที่เริ่มต้นครั้งแรก ทั้งในคำที่มีในท่ามกลาง ทั้งในคำที่กล่าวไว้ในที่สุด อนึ่ง ในที่นี้ ความงามแห่งพระธรรมเทศนา อันเป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุดมีอยู่ และความงามทั้ง ๓ อย่างนั้นแห่งศาสนาก็มีอยู่. ในบรรดาความงาม แห่งเทศนา และความงามแห่งพระศาสนานั้น พึงทราบความงามแห่งเทศนา ก่อน คือ
พระคาถา ๔ บทแห่งเทศนา บทแรกเรียกว่า เป็นความงามใน เบื้องต้น สองบทต่อมาเรียกว่า เป็นความงามในท่ามกลาง บทสุดท้ายเรียกว่า เป็นความงามในที่สุด. สำหรับพระสูตรที่มีเรื่องเดียว นิทานเป็นความงามใน เบื้องต้น อนุสนธิ คือ การสืบต่อ เป็นความงามในท่ามกลาง วาจาที่กล่าว
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 300
สุดท้ายว่า "อิทมโวจ" เป็นความงามในที่สุด. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ มาก คือมีเรื่องมาก (อเนกานุสนธิ) อนุสนธิแรกเป็นความงามในเบื้องต้น ต่อจากนั้นอนุสนธิหนึ่งก็ดี หลายๆ อนุสนธิก็ดี. เป็นความงามในท่ามกลาง อนุสนธิสุดท้ายเป็นความงามในที่สุด. พึงทราบนัยแห่งพระธรรมเทศนาเพียง เท่านี้ก่อน.
ก็สำหรับนัยแห่งพระศาสนา ศีลจัดเป็นความงามในเบื้องต้น สมาธิจัดเป็นความงามในท่ามกลาง วิปัสสนาจัดเป็นความงามในที่สุด. อีก อย่างหนึ่ง สมาธิเป็นความงามในเบื้องต้น วิปัสสนาเป็นความงามในท่ามกลาง มรรคเป็นความงามในที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาเป็นความงามในเบื้อง ต้น มรรคเป็นความงามในท่ามกลาง ผลเป็นความงามในที่สุด. อีกอย่าง หนึ่ง มรรคเป็นความงามในเบื้องต้น ผลเป็นความงามในท่ามกลาง นิพพาน เป็นความงามในที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง (ท่านจัดเป็นคู่) คือ ศีลกับสมาธิจัด เป็นความงามในเบื้องต้น วิปัสสนากับมรรคจัดเป็นความงามในท่ามกลาง ผล กับพระนิพพานจัดเป็นความงามในที่สุด.
บทว่า "สาตฺถํ" ได้แก่ แสดงธรรมให้เป็นไปกับด้วยประโยชน์.
บทว่า "สพฺยญฺชนํ" ได้แก่ แสดงธรรมให้มีอักขระบริบูรณ์.
บทว่า "เกวลปริปุณฺณํ" ได้แก่ แสดงธรรมการทำให้บริบูรณ์โดย สิ้นเชิง คือไม่ให้บกพร่อง.
บทว่า "ปริสุทฺธํ" ได้แก่ แสดงธรรมให้บริสุทธิ์ ให้หายรกชัฏ คือ ให้หายความฟั่นเฝือ.
สองบทว่า "พฺรหฺมจริยํ ปกาเสนฺติ" ความว่า ก็เมื่อแสดงธรรม อยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ย่อมประกาศอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ อันสงเคราะห์ด้วย ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันท่านผู้ประเสริฐประพฤติแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 301
ข้อว่า "เนว อาทึ มนสิกโรติ" ได้แก่ ไม่มนสิการถ้อยคำที่ตั้ง ไว้ในเบื้องต้น.
บทว่า "กุมฺโภ" ได้แก่ หม้อ.
บทว่า "นิกุชฺชิโต" ได้แก่ หม้อที่เขาตั้งคว่ำปากไว้. ในคำนี้ว่า "เอวเมว" ความว่า บัณฑิต พึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาที่เปรียบด้วยหม้อ คว่ำ ก็เหมือนกันหม้อที่เขาคว่ำปากไว้. บัณฑิตพึงเห็นเวลาที่เขาได้ฟังพระธรรมเทศนา เปรียบเหมือนเวลาที่รดด้วยน้ำ. พึงเห็นเวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะ นั้นแล้วไม่สามารถเพื่อเรียนธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไปจาก หม้อ. พึงทราบว่าเวลาที่เขาสุกขึ้นจากอาสนะแล้วกำหนดธรรมไม่ได้ เปรียบ เหมือนเวลาที่น้ำไม่ขังอยู่ในหม้อ.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า อวกุชฺชปญฺโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ. อธิบายว่า มีปัญญาเหมือนหม้อน้ำที่เขาตั้งคว่ำปากไว้.
บทว่า "อากิณฺณานิ" ได้แก่ ใส่เข้าแล้ว.
สองบทว่า "สติสมฺโมสา ปกิเรยฺย" ความว่า เพราะเผลอสติ สิ่ง ของทั้งหลายจึงกระจัดกระจายไป. บัณฑิตพึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก (ชายพก) ก็เหมือนกับหน้าตักที่ท่านตรัสไว้ในคำว่า "เอวเมว" นี้. บัณฑิตพึง เห็นพุทธพจน์มีประการต่างๆ เหมือนอาหารที่เคี้ยวกินนานาชนิด. พึงทราบว่า เวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะนั้นแล้วเรียนพุทธพจน์ เหมือนเวลาที่เขานั่งเคี้ยวกิน ของที่ควรเคี้ยวกินต่างๆ ชนิดอยู่บนหน้าตัก. พึงทราบว่า เวลาที่เขาลุกจาก อาสนะนั้นแล้วเดินไปไม่สามารถกำหนดธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่เขา เผลอลืมสติลุกขึ้นทำให้ของเคี้ยวกินกระเด็นกระจัดกระจายไป.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 302
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า อุจฺฉงฺคปญฺโ แปลว่า มีปัญญาเพียงดังหน้าตัก. อธิบายว่า มี ปัญญาเช่นกับหน้าตัก.
บทว่า "อุกฺกุชฺโช" ได้แก่ หม้อที่เขาตั้งหงายปากขึ้นเบื้องบน.
บทว่า "สณฺาติ" ได้แก่ น้ำที่ขังอยู่. ในคำว่า "เอวเมว โข" นี้บัณฑิตพึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญามาก เหมือนหม้อที่เขาตั้งหงายปากขึ้นเบื้องบน พึงทราบว่า เวลาที่เขาได้ฟังธรรมเทศนาแล้ว เหมือนเวลาที่เขารดน้ำ (เทน้ำ ใส่หม้อ). พึงทราบว่า เวลาที่เขานั่งเรียนพุทธพจน์ในที่นั้น เปรียบเหมือน เวลาที่น้ำขังอยู่ พึงทราบว่า เวลาที่ลุกขึ้นจากอาสนะเดินไปยังสามารถกำหนด พุทธพจน์ได้ เปรียบเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไป.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้เรียกว่า ปุถุปญฺโ แปลว่าผู้มีปัญญามาก. อธิบายว่า มีปัญญากว้างขวาง.
[๙๒] ๑. บุคคล ผู้มีราคะยังไม่ไปปราศในกามและภพ เป็น ไฉน?
พระโสดาบัน และพระสกทาคามีบุคคล เหล่านี้ เรียกว่า บุคคล มีราคะยังไม่ไปปราศในกามและภพ.
๒. บุคคล มีราคะไปปราศแล้วในกาม แต่มีราคะ ยังไม่ไปปราศแล้วในภพ เป็นไฉน?
พระอนาคามีบุคคล เรียกว่า บุคคลมีราคะไปปราศแล้วในกาม แต่มีราคะยังไม่ไปปราศแล้วในภพ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 303
๓. บุคคล ผู้มีราคะไปปราศแล้ว ในกามและในภพ เป็นไฉน?
พระอรหันต์ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีราคะไปปราศแล้ว ในกาม และภพ.
อรรถกถาบุคคลผู้มีราคะยังไม่ไปปราศเป็นต้น
พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ยังไม่ปราศจากราคะในกามคุณทั้ง ๕ และภพทั้ง ๓ ฉันใด แม้ปุถุชนก็ฉันนั้น. แต่สำหรับปุถุชนนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาเพราะไม่เป็นทัพพบุคคล. เหมือนอย่างว่า นายช่างไม้ ผู้ชาญฉลาด เข้าไปสู่ป่าเพื่อต้องการทัพพสัมภาระ เขาย่อมไม่ตัดต้นไม้ที่มา พบแล้วและพบแล้วจำเดิมแต่ต้น แต่ว่าไม้เหล่าใดที่เข้าถึงความเป็นทัพพสัมภาระได้ เขาย่อมตัดต้นไม้เหล่านั้นนั่นแหละฉันใด พระอริยสาวกทั้งหลาย ผู้มีทัพพชาติเหล่านั้น (ผู้มีชาติแห่งความสามารถ) พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง ถือเอาแล้วแม้ในที่นี้ ฉันนั้น ส่วนปุถุชน บัณฑิตพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอาเพราะความไม่มีทัพพชาติ คือ ผู้ไม่มีความสามารถเพื่อจะ ตรัสรู้ธรรม. (คำว่า "ทพฺพ" ศัพท์นี้ แปลได้หลายอย่าง เช่น ควร, สมควร, สามารถ, ปัญญา, ทรัพย์สมบัติ สิ่งที่มีค่า)
สองบทว่า "กาเมสุ วีตราโค" ได้แก่ ผู้ปราศจากราคะในเบญจ- กามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารักใคร่ น่าปรารถนา.
สองบทว่า "ภเวสุ อวีตราโค" ได้แก่ ผู้ยังไม่ปราศจากราคะ คือ ผู้ยินดีในรูปภพและอรูปภพ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 304
[๙๓] ๑. ปาสาณเลขูปมบุคคล บุคคลผู้เหมือนรอยขีดในหิน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมโกรธอยู่เนืองๆ และความโกรธของเขานั้น แล ย่อมเนื่องอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน เหมือนรอยขีดในหิน ย่อมไม่เลือน ไปได้ง่าย เพราะลมหรือเพราะน้ำ ย่อมเป็นของตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธอยู่เนืองๆ และความโกรธของเขานั้นแล ย่อมนอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้เหมือนรอย ขีดในหิน.
๒. ปฐวีเลขูปมบุคคล บุคคลผู้เหมือนรอยขีดใน แผ่นดิน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้น ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน เหมือนรอยขีดในแผ่นดิน ย่อมลบเลือนไปได้ง่าย เพราะลมหรือเพราะน้ำ ไม่ตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้ฉันใด บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้น ย่อมไม่นอน เนื่องอยู่สิ้นกาลยาวนาน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้เหมือนรอยขีดใน แผ่นดิน.
๓. อุทกเลขูปมผู้บุคคล ผู้เหมือนรอยขีดใน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกบุคคลว่ากล่าวแม้ด้วยถ้อยคำกระด้าง แม้ ด้วยถ้อยคำหยาบคาย แม้ด้วยถ้อยคำไม่เป็นที่พอใจ ยังคงสนิทกัน คงยังติด ต่อกัน เหมือนรอยขีดในน้ำย่อมลบเลือนไปได้ง่าย ไม่ตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกบุคคลว่ากล่าว แม้ด้วยถ้อยคำกระด้าง แม้ ด้วยถ้อยคำหยาบ แม้ด้วยถ้อยคำไม่เป็นที่พอใจ ยังคงสนิทกัน ยังคงติดต่อกัน ยังคงชอบกัน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้เหมือนรอยขีดในน้ำ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 305
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดในหินเป็นต้น
บทว่า "อนุเสติ" ได้แก่ ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องอยู่ เพราะยัง ละอนุสัยไม่ได้.
ข้อว่า "น ขิปฺปํ ลุชฺชติ" ได้แก่ ความโกรธนั้นย่อมไม่สูญหายไป ในระหว่าง คือว่า โดยเวลาเกิดขึ้นมาตลอดกัปก็ไม่สูญหาย.
ข้อว่า "เอวเมว" ความว่า ความโกรธของบุคคลแม้นั้น ย่อมไม่ ดับไปในระหว่าง คือ ในวันรุ่งขึ้น หรือในวันต่อๆ ไปก็ไม่ดับ (คงหมายถึง การดับไม่เกิดอีก) ฉันนั้น อธิบายว่า ก็ความโกรธนั้นย่อมมีอยู่เป็นเวลายาว นาน แต่ย่อมดับไปเพราะการมรณะ๑ นั่นเทียว.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า ปาสาณเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดเขียนที่หิน อันเป็น รอยติดอยู่ตลอดกาลนาน โดยความเป็นดุจการโกรธ เหมือนรอยขีดเขียน ที่หิน.
ข้อว่า "โส จ ขฺวสฺส โกโธ" ความว่า ความโกรธของผู้มักโกรธ นั้น มีความโกรธเร็ว แม้เหตุเล็กน้อย.
ข้อว่า "น จิรํ" ความว่า ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องไม่นาน เพราะ เขายังละความโกรธไม่ได้. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า รอยขีดที่บุคคลทำการ ขีดที่แผ่นดินย่อมลบเลือนไปด้วยลมเป็นต้นโดยเร็ว ฉันใด ความโกรธของเขา แม้เกิดขึ้นแล้วเร็ว ก็ย่อมดับไปโดยเร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
๑. คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี สัจจวิภังคนิทเทส อธิบายคำว่า มรณะ นี้ไว้ ๓ อย่างคือ. ๑. ขณิกมรณะ แปลว่าตายทุกขณะ ก็คือ ภังคขณะของรูปและนาม
๒. สมฺมติมรณะ แปลว่า ตาย โดยสมมติ ได้แก่คนตาย สัตว์ตาย
๓. สมุจเฉทมรณะ ตายไม่เกิด ได้แก่พระอรหันต์ ปรินิพพาน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 306
สองบทว่า "อยํ วุจฺจคติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า ปฐวีเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดเขียนที่แผ่นดิน ซึ่งตั้ง อยู่ไม่นานโดยภาวะคือความโกรธ เหมือนรอยขีดเขียนที่แผ่นดิน
บทว่า "อาคาฬฺเหน" ได้แก่ ถ้อยคำอันหยาบช้า คือ ได้แก่ถ้อยคำ อันแข็งกระด้าง อันเชือดเฉือนหทัย.
บทว่า "ผรุเสน" ได้แก่ ถ้อยคำอันไม่สบายหู.
บทว่า "อมนาเปน" ได้แก่ ถ้อยคำอันไม่สบายจิต.
บทว่า "สํสนฺทติ" ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน.
บทว่า "สนฺธิยติ" ได้แก่ การสืบต่อ.
บทว่า "สมฺโมทติ" ได้แก่ ไม่มีระหว่างคั่น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า "สํสนิทติ" อธิบายว่า ย่อมถึงการประชุมลง ในการกระทำของจิตด้วยจิติ คือว่า ย่อมเข้าถึงเอกีภาวะ คือความเป็นอันเดียว กัน ดุจขีโรทกคือน้ำกับนม.
บทว่า "สนฺธิยติ" อธิบายว่า ย่อมถึงการประชุมลงในการกระทำทาง กายด้วยกายเป็นต้น ซึ่งมีการยืนและการเดินเป็นต้น คือว่า ย่อมเข้าถึงความ เป็นของปะปนกันดุจงากับข้าวสาร (ที่ใส่รวมกันอยู่.)
บทว่า "สมฺโมทติ" อธิบายว่า ย่อมถึงการประชุมลงในการกระทำ ทางวาจาด้วยวาจามีการสอบถามอุทเทสเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมเข้าถึงความเป็น ที่รักยิ่ง เหมือนสหายที่รักผู้มาจากสถานที่ต่างๆ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เมื่อเข้าถึงความเป็นผู้กระทำโดยความเป็นอันเดียวกันแต่ต้นกับด้วยสหายเหล่า นั้นในกิจที่ควรทำทั้งหลาย จึงชื่อว่า สนิทสนมกัน. บัณฑิตพึงทราบว่า การ สนิทสนมกันนั้นว่า ยังคงสืบต่อเป็นไปอยู่ตั้งแต่ต้นจนถึงท่ามกลางและไม่มีการ เปลี่ยนแปลงจนถึงที่สุด ดังนี้บ้าง.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 307
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า อุทกเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดในน้ำ เพราะสนิทกัน เร็ว ดุจรอยขีดในน้ำ.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้เปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จำพวก เป็นไฉน?
[๙๔] ผ้าป่าน ๓ ชนิด คือ
๑. ผ้า แม้ยังใหม่ ที่มีสีไม่ดี นุ่งห่มก็ไม่สบาย และมีราคาน้อย
๒. ผ้า แม้กลางใหม่กลางเก่า ที่มีสีไม่ดี นุ่งห่มก็ไม่สบาย และมี ราคาน้อยมาก
๓. ผ้า แม้เก่า ที่มีสีไม่ดี นุ่งห่มก็ไม่สบาย และมีราคาน้อย คน ทั้งหลายย่อมเอาผ้าผืนเก่าๆ ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวบ้าง เอาผ้าเก่านั้นไปทิ้ง เสียที่กองหยากเยื่อบ้าง.
[๙๕] บุคคลเปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏ อยู่ในภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุคคล เปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จำพวก เป็นไฉน?
๑. แม้หากว่า ภิกษุใหม่ผู้ทุศีลมีธรรมอันลามกเหมือนผ้าที่มีสีไม่ดีนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะว่า บุคคลนี้มีวรรณะชั่ว ส่วนคน เหล่าใด ย่อมสมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การเสพ นั้นย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน ผ้าที่นุ่งห่มไม่สบายนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะว่าบุคคลนี้มีสัมผัสเป็นทุกข์ ก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 308
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของคนเหล่าใดแล ทานของคนเหล่านั้นย่อมไม่มี ผลมากย่อมไม่มีอานิสงส์มาก ผ้าที่มีราคาน้อยนั้น แม้ฉันใดบุคคลนี้ก็อุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีราคาน้อย.
๒. แม้หากว่า ภิกษุชั้นมัชฌิมะ ฯลฯ
๓. แม้หากว่าภิกษุชั้นพระเถระ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก เหมือน ผ้าที่มีสีไม่ดีนั้นแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะชั่ว ส่วนคนเหล่าใดย่อมสมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การ สมาคมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แห่ง ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน ผ้าที่นุ่งห่มไม่สบายแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะว่าบุคคลนี้มีสัมผัสเป็นทุกข์ ก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของคนเหล่าใด ทานของคนเหล่านั้น ย่อมไม่มีผลมาก ย่อมไม่มีอานิสงส์มาก ผ้าที่มีราคาน้อย แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีราคาน้อย หากว่าพระเถระเห็นปานนี้จะ ว่ากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะกล่าวกับพระเถระผู้นั้นนั่นอย่างนี้ ว่า ประโยชน์อะไรด้วยคำกล่าวของท่านผู้โง่เขลาเบาปัญญา ถึงแม้ท่านจะ สำคัญว่าควรกล่าวก็ดี พระเถระนั้นโกรธไม่พอใจก็จะเปล่งวาจาชนิดที่จะเป็น เหตุให้สงฆ์ยกวัตร ดุจคนเอาผ้าไปโยนทิ้งเสียที่กองหยากเยื่อฉะนั้น บุคคลผู้ เปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย.
อรรถกถาบุคคล ๓ จำพวกที่อุปมาด้วยผ้าป่าน
บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้นท่านเรียกว่า โปตฺถกูปมา แปลว่า ผู้เปรียบ ด้วยผ้าป่าน ด้วยอุปมาใด เพื่อจะแสดงคำอุปมานั้นก่อน ท่านจึงกล่าวคำว่า " ตโย โปตฺถกา" เป็นต้น. บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า "นโว" ได้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 309
แก่ ผ้าที่ทอใหม่. บทว่า "โปตฺถโก" ได้แก่ ผ้าที่ทอดด้วยเปลือกป่าน. บทว่า "ทุพฺพณฺโณ" ได้แก่ ผ้าที่มีสีทราม. บทว่า "ทุกฺขสมฺผสฺโส" ได้แก่ ผ้า ที่มีสัมผัสกระด้าง. บทว่า "อปฺปคฺโฆ" ได้แก่ผ้าที่มีราคาไม่แพง คือมีราคา ประมาณหนึ่งกหปาปณะ (หนึ่งกหาปณะ=๔ บาท) บทว่า "มชฺฌิโม" ได้ แก่ ผ้ากลางเก่ากลางใหม่ อธิบายว่า ผ้านั้นล่วงเลยความเป็นของใหม่แต่ยังไม่ ถึงความเป็นของเก่าคร่ำคร่า แม้ในเวลาใช้สอยก็มีสีไม่สวยมีสัมผัสไม่สบายมี ค่าน้อย เมื่อตีราคาขายแพงก็ได้ราคาเพียงครึ่งหนึ่ง แต่ในเวลาที่ผ้านั้นเก่า แล้ว ก็มีราคาเพียงหนึ่งมาสก (๑๐ สตางค์) หรือเพียง ๑ กากณิก (กากณิกา= ราคาเนื้อที่กากลืนกินครั้งหนึ่งเป็นราคาที่ต่ำที่สุดในสมัยนั้น) บทว่า "อุกฺขลิ- ปริมชฺชนํ" ได้แก่ ผ้าเช็ดหม้อข้าว. บทว่า "นโว" ความว่า ว่าโดยการ อุปสมบท นับแต่ ๕ พรรษาลงมาภิกษุนั้นแม้มีอายุ ๖๐ ปี ก็ชื่อว่า นวะ คือ ผู้ใหม่ทั้งนั้น. บทว่า "ทุพฺพณฺณตาย" ความว่า เพราะมีวรรณะไม่งาม ด้วยวรรณะแห่งสรีระบ้าง ด้วยวรรณะแห่งคุณงามความดีบ้าง. ก็วรรณะแห่ง สรีระของผู้ทุศีลผู้นั่งในท่ามกลางบริษัทย่อมไม่รุ่งเรือง เพราะความที่ตนไม่มี อำนาจ สำหรับในวรรณะคือคุณงามความดีของผู้ทุศีลนั้น ก็ไม่จำเป็นต้อง กล่าวถึงเลย. ข้อว่า "เย โข ปนสฺส" ความว่า ก็ชนเหล่าใดแล เป็นผู้ อุปัฏฐาก หรือเป็นญาติ และเป็นมิตร เป็นต้นของผู้ทุศีลนั้น เขาย่อมเสพ บุคคลคนหนึ่ง. บทว่า "เตสนฺตํ" ความว่า การเสพนั้นแห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน เหมือนพวกมิจฉาทิฏฐิผู้เสพครูทั้ง ๖ หรือเหมือนโกกาลิกภิกษุเป็นต้นผู้เสพ พระเทวทัต ฉันนั้น. บทว่า "มชฺฌิโม" ความว่า ว่าโดยการอุปสมบท นับตั้งแต่ ๕ พรรษาจนถึง ๙๑ พรรษา ชื่อว่า มัชฌิมภิกษุ. บทว่า "เถโร"
๑. ในที่อื่นตั้งแต่ ๕ - ๑๐ พรรษา.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 310
ความว่า ตั้งแต่ ๑๐ พรรษาไปชื่อว่า พระเถระ. บทว่า "เอวมาหํสุ" ได้ แก่ ย่อมกล่าวอย่างนี้ ข้อว่า "กินฺนุ โข ตุยฺหํ" ความว่า มีคำที่ท่านอธิบาย ไว้ว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยคำกล่าวของคนพาล. บทว่า "ตถารูปํ" ได้แก่ อันเป็นเหตุอุกเขปนียกรรม ที่มีชาติอย่างนั้น มีสภาวะอย่างนั้น. บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก เป็นไฉน?
[๙๖] ผ้าแคว้นกาสี ๓ ชนิด คือ
๑. ผ้ากาสีแม้อย่างใหม่ก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก
๒. ผ้ากาสีแม้กลางเก่ากลางใหม่ก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก
๓. ผ้ากาสีแม้อย่างเก่าก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก คน
ทั้งหลายย่อมเอาผ้ากาสีแม้เก่าแล้ว ไปใช้สำหรับห่อรัตนะบ้าง หรือเก็บผ้ากาสี นั้นไว้ในโถหอมบ้าง.
[๙๗] บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก เหล่านี้ มี ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคล ๓ จำพวก เป็นไฉน?
๑. แม้หากว่าภิกษุใหม่มีศีล มีธรรมอันงาม แม้ฉันใด บุคคลเหล่า นี้ ก็อุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะงาม ส่วนคนเหล่าใด ย่อม สมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การเสพนั้นย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน ผ้ากาสีนั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 311
นุ่งห่มสบาย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีสัมผัสสบาย ก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของคนเหล่าใด ทานของคนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก ย่อมมีอานิสงส์มาก ผ้า กาสีนั้น ย่อมมีราคามาก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะ บุคคลนี้มีราคามาก
๒. แม้หากว่าภิกษุชั้นมัชฌิมะ ฯลฯ
๓. แม้หากว่าภิกษุชั้นพระเถระ มีศีล มีธรรมอันงาม ผ้ากาสีนั้น สีงาม แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะงาม ส่วนคนเหล่าใด ย่อมสมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การเสพนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่คนเหล่านั้นตลอด กาลนาน ผ้ากาสีนั้นมีสัมผัสสบาย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น นี้ก็ เพราะบุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของ คนเหล่าใด ทานของคนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ผ้ากาสีนั้น มีราคามาก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีค่ามาก หากว่าพระเถระเห็นปานนี้จะว่ากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะกล่าว กับพระเถระผู้นั้นอย่างนี้ว่า ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงเงียบเสียง พระเถระกล่าว ธรรมและวินัย ถ้อยคำของพระเถระนั้น ย่อมถึงซึ่งความเป็นของควรเก็บไว้ใน หทัย ดุจผ้ากาสีนั้น อันบุคคลควรเก็บไว้ในโถของหอมฉะนั้น บุคคลเปรียบ ด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย.
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก
ผ้าเนื้อละเอียดที่เขาทอด้วยด้ายที่เขาถือเอาฝ้าย ๓ ชนิด แล้วกรอเข้า ด้วยกันว่า ผ้าแคว้นกาสี. ผ้านั้นที่ทอใหม่นับค่ามิได้ ที่ใช้สอยกลางเก่ากลาง
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 312
ใหม่มีราคาพันบ้าง ๓๐ พันบ้าง แต่ในเวลาที่เก่าแล้วยังมีราคาถึง ๘ พันก็มี ๑๐ พันก็มี.
สองบทว่า "เตสนฺตํ โหติ" ความว่า การเสพนั้นของบุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน เหมือนบุคคล ทั้งหลายผู้เสพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายผู้อาศัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว แล้วหลุดพ้นจากอาสวกิเลสจนถึงสมัยทุก วันนี้นับประมาณมิได้ สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานเถระและพระอสีติมหาสาวก แล้วไปสู่สวรรค์ก็หาประมาณมิได้เหมือนกัน แม้ สัตว์ผู้ดำเนินไปตามทิฏฐานุคติ คือ ตามเยี่ยงอย่างของพระอริยะเหล่านั้นจนถึง สมัยทุกวันนี้ก็หาประมาณมิได้เหมือนกัน.
สองบทว่า "อาเธยฺยํ คจฺฉติ" ความว่า คำของพระเถระนั้นอาศัย อรรถย่อมถึงซึ่งความเป็นของอันบุคคลพึงเก็บรักษาไว้ คือ วางไว้บนศีรษะอัน เป็นอวัยวะอันสูงสุด และในหัวใจ เหมือนกันกับผ้าแคว้นกาสี อันนับค่ามิได้ ย่อมถึงซึ่งความเป็นของบุคคลพึงเก็บรักษาไว้ คือวางไว้ในโถสำหรับใส่ของ หอม ฉะนั้น.
คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วใน หนหลังนั่นแหละ.
[๙๘] ๑. สุปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้มีมานะฟูขึ้นดุจไม้อ้อ เป็นผู้กลับกลอก เป็นผู้ปากกล้า เป็นผู้มีวาจาเกลื่อนกล่น มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์เปิดเผย นี้เรียกว่า บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 313
๒. ทุปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณได้ยาก เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่มีมานะฟูขึ้นดุจไม้ อ้อ ไม่เป็นผู้กลับกลอก ไม้เป็นผู้ปากกล้า ไม่เป็นผู้มีวาจาเกลื่อนกล่น มีสติ ตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตเป็นสมาธิ มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลผู้ประมาณได้ยาก.
๓. อัปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณไม่ได้ เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึง แล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม นี้เรียกว่า บุคคลผู้ ประมาณไม่ได้.
อรรถกถาบุคคลผู้ประมาณได้ง่าย เป็นต้น
ผู้ใด อันเขาพึงประมาณได้โดยง่าย เพราะเหตุนั้นผู้นั้นจึงชื่อว่า สุปฺปเมยฺโย แปลว่า ผู้ประมาณได้โดยง่าย.
บทว่า "อิธ" ได้แก่ ในสัตว์โลกนี้.
บทว่า "อุทฺธโต" ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
บทว่า "อุนฺนโฬ" ได้แก่ ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันบุคคลยกขึ้น แล้ว อธิบายว่า ผู้ยกมานะอันเปล่าแล้วดำรงอยู่.
บทว่า "จปโล" ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความหวั่นไหว มีการประดับ บาตรเป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 314
บทว่า "มุขโร" ได้แก่ ผู้มีปากกล้า.
บทว่า "วิกิณฺณวาโจ" ได้แก่ ผู้มีวาจาอันบุคคลอื่นสังเกตไม่ได้.
บทว่า "อุสมาหิโต" ได้แก่ ผู้เว้นจากความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น.
บทว่า "วิพฺภนฺตจิตฺโต" ได้แก่ ผู้มีจิตอันหมุนไป คือว่า ผู้มีส่วน เปรียบด้วยแม่โคที่หมุนไป และแม่เนื้อที่หมุนไป.
บทว่า "ปากฏินฺทฺริโย" ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์อันเปิดเผย.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า สุปฺปเมยฺโย เหมือนอย่างว่า ใครๆ ย่อมถือประมาณแห่งน้ำ มีจำนวนเล็กน้อยได้ ฉันใด ใครๆ ก็ย่อมถือประมาณบุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ ที่มิใช่คุณได้โดยง่ายฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นบุคคลนี้ท่านจึงเรียกว่า สุปฺปเมยฺโย ผู้ประมาณได้โดยง่าย.
บุคคลใด อันเขาพึงประมาณได้โดยยากเหตุนั้นบุคคลนั้นจึงเรียกว่า ทุปฺปเมยฺโย แปลว่า ผู้ประมาณได้โดยยาก. การงานที่มีจิตฟุ้งซ่านเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งนัยอันตรงกันข้ามจากคำที่กล่าวแล้ว.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า ทุปฺปเมยฺโย. เหมือนอย่างว่า ใครๆ ย่อมประมาณน้ำในมหาสมุทรได้โดยยาก ฉันใด ใครๆ ก็ย่อมถือประมาณแห่งบุคคลผู้ประกอบด้วย องค์แห่งคุณเหล่านี้ได้โดยยาก ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ย่อมถึงซึ่งภาวะอันใครๆ พึงกล่าวว่า "ผู้นี้เป็นพระอนาคามี หรือว่าเป็นพระขีณาสพหนอ" เพราะฉะนั้น บุคคลนี้ท่านจึงเรียกว่า ทุปฺปเมยฺโย ผู้ประมาณได้ยาก.
ข้อว่า "น สกฺกา ปเมตุํ" ความว่า บุคคลใดอันใครๆ ไม่อาจ เพื่อประมาณได้ เหมือนอย่างว่าใครๆ ไม่อาจเพื่อประมาณอากาศได้ ฉันใด
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 315
ใครๆ ก็ไม่อาจเพื่อถือประมาณแห่งพระขีณาสพได้ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อปฺปเมยฺโย ผู้อันใครๆ ประมาณไม่ได้.
[๙๙] ๑. บุคคล ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสื่อมจากศีล จากสมาธิ จากปัญญา
บุคคลเห็นปานนี้ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ควรเว้นจากความ เอ็นดู เว้นจากความอนุเคราะห์
๒. บุคคล ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอกันด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา บุคคล เห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่า ศีลกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล จักมี แก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้น จักเป็นความผาสุกแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่เดือด ร้อน) สมาธิกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลายผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยสมาธิ จักมี แก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้นจักเป็นความผาสุกแก่เราทั้งหลาย และกถานั้นจัก เป็นไปแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่เดือดร้อน) ปัญญากถาของสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้นจักเป็น ความผาสุกแก่เราทั้งหลาย และกถานั้นจักเป็นไปแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่ เดือดร้อน) เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 316
๓. บุคคล ที่ควรสักการะ เคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเห็น ปานนี้ควรสักการะ เคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าเราจักได้บำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเรา จักได้ถือเอาตามซึ่งศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เราจักได้บำเพ็ญ สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราจักได้ถือเอาตามซึ่งสมาธิขันธ์ที่ บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เราจักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริ- บูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้ ควรสักการะ เคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้.
อรรถกถาบุคคลผู้ไม่ควรซ่องเสพเป็นต้น
บทว่า "น เสวิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใครๆ ไม่ควรเข้าไปหา.
บทว่า "น ภชิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใครๆ ไม่พึงติดต่อ.
บทว่า "น ปยิรุปาสิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใครๆ ไม่ควรเข้าไป นั่งใกล้บ่อยๆ ด้วยสามารถเข้าไปนั่งในสำนัก. บัณฑิตพึงทราบความเป็นคน เลวด้วยการถือเอาการเปรียบเทียบในคำเป็นต้นว่า "หีโน โหติ สีเลน". ก็บุคคลใดรักษาศีล ๕ เขาผู้นั้นอันบุคคลผู้รักษาศีล ๑๐ ไม่พึงเสพ ส่วนบุคคล ใดรักษาศีล ๑๐ เขาผู้นั้นอันบุคคลผู้รักษาจตุปาริสุทธิศีลไม่พึงเสพ.
ข้อว่า "อญฺตฺร อนุทยา อญฺตฺร อนุกมฺปา" ความว่า เว้นจาก ความเอ็นดูและความอนุเคราะห์ อธิบายว่า ก็บุคคลผู้เห็นปานนี้ อันใครๆ ไม่ควรช่องเสพเพื่อประโยชน์ของตนเอง แต่ว่าการเข้าไปหาเขาด้วยสามารถ แห่งความเอ็นดูและความอนุเคราะห์ก็สมควร.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 317
ข้อว่า "สทิโส โหติ" ได้แก่ เป็นผู้เสมอกัน.
ข้อว่า "สีลสามญฺคตานํ สตํ" ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายถึง ความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล.
ข้อว่า "สีลกถา จ โน ภวิสฺสติ" ความว่า ถ้อยคำที่ปรารภศีลนั้น จักมีแก่พวกเราผู้มีศีลเสมอกันอย่างนี้.
ข้อว่า "สา จ โน ผาสุ ภวิสฺสติ" ความว่า ก็ศีลกถานั้น (การพูด ถึงศีล) จักเป็นการอยู่ผาสุก จักเป็นการอยู่อย่างสบายแก่พวกเรา.
ข้อว่า "สา จ โน ปวตฺตินี ภวิสฺสติ" ความว่า ถ้อยคำ ของ พวกเราผู้กล่าวอยู่จักเป็นไปแม้ตลอดวันตลอดคืนก็จะไม่ทำให้สะเทือนใจ จริง อยู่เมื่อบุคคลทั้งสองมีศีลเสมอกัน เมื่อคนหนึ่งกล่าวพรรณนาถึงศีล อีกคน หนึ่งย่อมยินดี เพราะเหตุนั้นถ้อยคำของเขาเหล่านั้นย่อมจะมีความผาสุกและ เป็นไปตลอด ไม่ขัดกัน. ก็เมื่อมีผู้ทุศีลอยู่ ถ้อยคำที่กล่าวพูดถึงศีลกับบุคคลผู้ ทุศีล ย่อมเป็นถ้อยคำที่กล่าวยาก เพราะฉะนั้นศีลกถาก็ย่อมมีไม่ได้ ความ ผาสุกก็มีไม่ได้ ความเป็นไปไม่ได้ตลอด. แม้ถ้อยคำที่กล่าวถึงสมาธิและปัญญา ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ภิกษุ ๒ รูป ผู้ได้สมาธิย่อมกล่าวพรรณนาคุณของสมาธิ ผู้มีปัญญาก็ย่อมกล่าวพรรณนาคุณแห่งปัญญา เขาทั้งสองเหล่านั้นย่อมไม่รู้สึก ถึงการก้าวล่วงตลอดราตรีหรือตลอดวัน.
ข้อว่า "สกฺกตฺวา ครุํ กตฺวา" ได้แก่ กระทำสักการะ หรือทำ ความเคารพ.
สองบทว่า "อธิโก โหติ" ได้แก่ เป็นผู้ยิ่ง.
บทว่า "สีลกฺขนฺธํ" ได้แก่ กองแห่งศีล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 318
บทว่า "ปริปูเรสฺสามิ" ความว่า เราอาศัยบุคคลผู้มีศีลอันยิ่งนั้น แล้วจักกระทำศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์.
ในคำว่า "ตตฺถ ตตฺถ ปญฺาย อนุคฺคเหสฺสามิ" นี้ พึงทราบ เนื้อความว่า บุคคลเว้นธรรมอันไม่เป็นอุปการะ อันไม่เป็นสัปปายะแก่ศีลแล้ว จึงเสพธรรมอันมีอุปการะอันมีสัปปายะแก่ศีล ชื่อว่า ย่อมถือเอาศีลขันธ์ในที่นี้ ด้วยปัญญา. แม้ในสมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.
[๑๐๐] ๑. บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ผู้ประกอบด้วย กายกรรมเป็นต้น อันไม่สะอาด และมีสมาจารอันผู้อื่นหรือตนพึงระลึกได้ด้วย ความระแวง ผู้มีการงานอันปกปิด ผู้มีใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าตนเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าคนประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ผู้ อันราคะชุ่มแล้ว ผู้รุงรัง บุคคลเห็นปานนี้ ควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่า ถึงแม้บุคคลผู้คบ จะไม่เอาอย่างบุคคลนี้ แต่กิตติศัพท์อันลามก ก็ย่อมฟุ้งขจรไปสู่บุคคลผู้คบ นั้นว่า บุรุษบุคคล ผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ งูที่เปื้อน. คูถแม้จะไม่กัดคนก็จริง ถึงอย่างนั้น ย่อมเปื้อนบุคคลผู้นั้น ชื่อแม้ฉันใด ถึง บุคคลผู้คบนั้นจะไม่เอาอย่างบุคคลเช่นนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น กิตติศัพท์อันลามก ย่อมฟุ้งไปแก่บุคคลนั้นว่า บุรุษบุคคล ผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ควร คบ ไม่ควรเข้าใกล้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 319
๒. บุคคล ที่ควรเฉยๆ เสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควร คบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูก เขาว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อม กระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจ ให้ ปรากฏเหมือนแผลเรื้อรัง ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีน้ำเลือดน้ำหนอง ไหลออกมากมาย ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไป ด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่า แม้เพียงเล็กน้อยก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อม แสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษ- ร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น ใบมะพลับแห้งถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบแล้ว ย่อมมีเสียงดังจิจิฏะ จิฏะจิฏะเกินประมาณ ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่า แม้เพียงเล็กน้อย ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉัน นั้น หลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีกลิ่นเหม็นเกินประมาณ ชื่อ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ควรโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ ปรากฏ ก็ฉันนั้น บุคคลเห็นปานนี้ ควรวางเฉยเสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควร คบ ไม่ควรเข้าใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะว่า เขาจะพึงด่าเราบ้าง พึงว่าเราบ้าง พึงกระทำความฉิบหายแก่เราบ้าง เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้ จึงควรไม่วางเฉยเสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 320
๓. บุคคล ที่ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะว่า ถึง แม้ว่าบุคคลผู้คบไม่เอาอย่างบุคคลเห็นปานนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามก็ย่อมฟุ้งขจร ไปสู่บุคคลผู้คบนั้นว่า บุรุษบุคคล มีมิตรดี มีสหายดี คบคนดี ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้.
อรรถกถาบุคคลที่ควรรังเกียจเป็นต้น
บทว่า "ชิคุจฺฉิตพฺโพ" ได้แก่ บุคคลที่เขารังเกียจเหมือนกับคูถ.
ข้อว่า "อถ โข นํ " แก้เป็น อถ โข อสฺส แปลว่า ครั้งนั้นแล กิตติศัพท์ก็ย่อมมี.
บทว่า "กิตฺติสทฺโท" ได้แก่ เสียงที่พูดกัน. บัณฑิตพึงเห็นผู้ทุศีล เหมือนหลุมคูถ ในข้อว่า "เอวเมวํ" นี้. พึงเห็นบุคคลผู้ทุศีล เหมือนกับงู ที่น่ารังเกียจที่ตกไปในหลุมคูถ. พึงเห็นภาวะ คือ การไม่ทำตามกิริยาของบุคคล ผู้เสพซึ่งบุคคลผู้ทุศีลนั้นเหมือนกับงูที่บุคคลยกขึ้นจากหลุมคูถ แม้เขายกขึ้นสู่ สรีระแห่งบุรุษแต่ยังไม่กัด. พึงทราบการฟุ้งขจรไปแห่งกิตติศัพท์อันลามกของ บุคคลผู้เสพผู้ทุศีล เหมือนกับงูที่มีสรีระเปื้อนคูถแล้วก็ไป
บทว่า "ตินฺทุกาลาตํ" ได้แก่ ใบแห้งของต้นมะพลับ.
ข้อว่า "ภิยฺโยโส มตฺตาย จิจฺจิฏายติ" ความว่า ก็ใบแห่งต้น มะพลับนั้นเมื่อถูกเผาอยู่แม้ตามธรรมดาย่อมมีเสียงสะเก็ดระเบิดดัง จิฏิจิฏะ อธิบายว่า เมื่อมีอะไรๆ มากระทบแล้วย่อมมีเสียงดังมาก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 321
ข้อว่า "เอวเมว" ความว่า บุคคลผู้มักโกรธแม้ตามธรรมดาของ ตนก็เป็นผู้ดุร้าย เพราะเขามีจิตฟุ้งซ่าน และย่อมประพฤติฉันที่นั้นนั่นแหละ. อนึ่งเมื่อผู้อื่นกล่าวคำเล็กน้อย คนผู้มักโกรธนั้นก็กระทำความดุร้ายเพราะตน เป็นผู้มีความฟุ้งซ่านหนักขึ้นว่า "บุคคลนี้ ย่อมกล่าวอย่างนี้กะบุคคลชื่อผู้เช่น กันด้วยเรา".
บทว่า "คูถกูโป" ได้แก่ หลุมอันเต็มไปด้วยคูถ อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ กองแห่งคูถนั่นเอง. ก็บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบด้วยความอุปมา ในคำว่า "คูถกูโป" นี้ โดยนัยก่อนนั่นแหละ เพราะฉะนั้นบุคคลผู้เห็นปาน นี้อันบุคคลพึงวางเฉย ไม่ควรซ่องเสพ บุคคลผู้มักโกรธนั้น เมื่อผู้อื่นเสพ มากเกินไปบ้าง เข้าไปหามากเกินไปบ้าง ย่อมโกรธทั้งนั้น แม้เมื่อผู้อื่นหลีก ไปก็โกรธอีกนั่นแหละว่า "ประโยชน์อะไร กับบุคคลผู้นี้เล่า" ฉะนั้น เขา (ผู้มักโกรธนั้น) บุคคลพึงวางเฉยเสีย ไม่ควรซ่องเสพ เหมือนไฟไหม้ฟาง. ข้อนี้มีคำอธิบายไว้อย่างไร? มีคำอธิบายว่า ผู้ใดเข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางมาก เกินไปย่อมเร่าร้อน สรีระของตนก็ย่อมจะถูกไฟไหม้ ผู้ใดไม่ถอยห่างออกมา ก็ย่อมเร่าร้อน ความเย็นย่อมไม่เกิดแก่เขา เมื่อผู้นั้นไม่เข้าไปใกล้ไม่หลีกไป เพ่งอยู่ด้วยความวางเฉย ความเย็นของผู้นั้นย่อมมี แม้กายเขาก็ไม่ถูกไหม้ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มักโกรธนั้น อันบุคคลพึงวางเฉย ไม่ควรซ่องเสพ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ดุจไฟไหม้ฟาง ฉะนั้นแล.
บทว่า "กลฺยาณมิตฺโต" ได้แก่ มีมิตรสะอาด.
บทว่า "กลฺยาณสหาโย" ได้แก่ มีสหายสะอาด
บทว่า "สหาโย" ได้แก่ ผู้ไปพร้อมกัน คือ เที่ยวไปด้วยกัน.
บทว่า "กลฺยาณสมฺปวงฺโก" ได้แก่ ผู้ร่วมวง ในบุคคลผู้สะอาด ผู้มีธรรมเจริญ. อธิบายว่า ผู้มีใจน้อมไป คือ ยินดี พอใจในมิตรผู้มีกัลยาณธรรมนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 322
[๑๐๑] ๑. บุคคล ผู้มีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีปกติ กระทำแต่พอประมาณในสมาธิ มีปกติกระทำแต่พอประมาณใน ปัญญา เป็นไฉน?
พระโสดาบัน พระสกทาคามี เหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกระทำให้ บริบูรณ์ในศีล มีปกติกระทำแต่พอประมาณในสมาธิ มีปกติกระทำแต่พอ ประมาณในปัญญา.
๒. บุคคล ผู้มีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล และมี ปกติกระทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ มีปกติกระทำแต่พอประมาณใน ปัญญา เป็นไฉน?
พระอนาคามีนี้เรียกว่า บุคคลมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล และมีปกติ ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ มีปกติทำแต่พอประมาณในปัญญา.
๓. บุคคลผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิและ ในปัญญา เป็นไฉน?
พระอรหันต์ นี้เรียกว่า บุคคลมีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล สมาธิ และปัญญา.
อรรถกถาบุคคลผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นต้น
ข้อว่า "สีเลสุ ปริปูริการิโน" ความว่า พระอริยสาวกทั้งหลาย เหล่านี้ เพราะความที่ท่านไม่ก้าวล่วงมหาศีลสิกขาบท คือ อาบัติปาราชิก อันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ คือ อันเป็นอาทิพรหมจรรย์ และเพราะ เหตุที่ท่านออกจากอาบัติเล็กๆ น้อยๆ ที่ท่านต้อง พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อม
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 323
กระทำสิกขาบทที่ตนควรการทำให้บริบูรณ์ คือให้สมบูรณ์ ในศีลทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระอริยสาวกเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมเรียกว่า "สีเลสุ ปริปูริ- การิโน" ซึ่งแปลว่า ผู้มีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. ก็เพราะเหตุ ที่ท่านยังถอนกามราคะและพยาบาททั้งหลาย อันเป็นข้าศึกต่อสมาธิและโมหะ อันปกปิดซึ่งสัจธรรม อันเป็นข้าศึกต่อปัญญาไม่ได้ ท่านเหล่านั้นแม้เจริญอยู่ ซึ่งสมาธิและปัญญา ย่อมกระทำกิจอันบุคคลพึงกระทำพอประมาณพอสมควร ได้เพียงบางส่วนในสมาธิและปัญญาทั้งหลายเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระอริยสาวกเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า "สมาธิสฺมึ ปญฺาย จ มตฺตโส การิโน" ซึ่งแปลความว่า ผู้กระทำพอประมาณในสมาธิและปัญญา. บัณฑิตพึงทราบ เนื้อความในนัยทั้งสอง แม้นอกจากนี้โดยอุบายนี้.
แม้ในนัยทั้งสองนั้น นัยแห่งพระสูตรอื่นอีก คือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เป็นผู้กระทำพอประมาณในสมาธิ เป็น ผู้กระทำแต่พอประมาณในปัญญา เธอนั้นย่อมต้องอาบัติบ้าง ย่อมออกจาก อาบัติอันเป็นสิกขาบทน้อยใหญ่บ้าง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร? ก็เพราะ ว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นไปไม่ได้ เราได้กล่าวไว้แล้ว แต่ก็สิกขาบทเหล่า ใดแล อันเป็นอาทิพรหมจรรย์ อันสมควรแก่พรหมจรรย์ บรรดาสิกขาบท อันเป็นผู้มีปกติมั่นคง มีปกติตั้งมั่น สมาทานแล้วย่อมศึกษาในสิกขาบททั้ง หลาย เธอนั้นชื่อว่า พระโสดาบัน เพราะการสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ เป็นผู้ไม่ตกไปสู่อบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้มีการจะตรัสรู้พร้อมใน ภายหน้า.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 324
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เธอนั้นชื่อว่า พระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสังโยชน์ ๓ และเพราะการกระทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง เธอมา สู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติกระทำให้ บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย กระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ แต่กระทำพอประมาณใน ปัญญา เธอยังศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอนั้นชื่อว่า พระอนาคามี เพราะการสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ เป็นผู้ไม่กลับมาจากเทวโลก นั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ใน ศีลทั้งหลาย เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมศึกษาสิกขาบทนี้อยู่ใหญ่ ฯลฯ ย่อมศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเธอนั้นชื่อ ว่า ผู้เข้าถึงอยู่ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวกิเลสทั้งหลายดังนี้ (พระอรหันต์).
[๑๐๒] ในศาสดาเหล่านั้น ศาสดา ๓ จำพวก เป็นไฉน?
๑. ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติการละกาม แต่ไม่บัญญัติการ ละรูป ไม่บัญญัติการละเวทนา
๒. ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติการละกามด้วย ย่อมบัญญัติ การละรูปด้วย แต่ไม่บัญญัติการละเวทนา
๓. ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติการละกามด้วย ย่อมบัญญัติ การละรูปด้วย ย่อมบัญญัติการละเวทนาด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 325
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดานี้ใด บัญญัติการละกาม แต่ไม่ บัญญัติการละรูป ไม่บัญญัติการละเวทนา พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้ ได้รูปาวจรสมาบัติ โดยการบัญญัตินั้น (จำพวกที่ ๑)
ศาสดานี้ใด บัญญัติการละกามด้วย บัญญัติการละรูปด้วย แต่ไม่ บัญญัติการละเวทนา พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้ได้อรูปาวจรสมาบัติ โดยการบัญญัตินั้น (จำพวกที่ ๒)
ศาสดานี้ใด บัญญัติการละกามด้วย บัญญัติการละอรูปด้วย บัญญัติ การละเวทนาด้วย พึงเห็นว่าศาสดานั้นเป็นศาสดาผู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการบัญญัตินั้น (จำพวกที่ ๓)
เหล่านี้เรียกว่า ศาสดา ๓ จำพวก.
[๑๓] บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดา ๓ จำพวก แม้อื่นอีก เป็นไฉน?
๑. ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติในในทิฏฐธรรม (คืออัตภาพ นี้) โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และย่อมบัญญัติตน ในอภิสัมปรายธรรม (คืออัตภาพอื่น) โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็น ของยั่งยืน พวกที่ ๑.
๒. ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมบัญญัติตนในทิฏฐธรรม โดยความ เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติตนในภายหน้า โดย ความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พวกที่ ๒.
๓. ศาสดาบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่บัญญัติในในทิฏฐธรรม โดยความ เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และย่อมไม่บัญญัติคนในภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พวกที่ ๓.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 326
ศาสดาอีก ๓ จำพวก
๑. บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดานี้ใด ย่อมปฏิบัติตนในทิฏฐธรรม โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติตนในภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่า ศาสดานั้นเป็น ศาสดาผู้มีวาทะว่าเที่ยง โดยการบัญญัตินั้น
๒. ศาสดานี้ใด ย่อมบัญญัติตนในทิฏฐธรรม และย่อมไม่บัญญัติตน ภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่า ศาสดา นั้นเป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าขาดสูญ โดยการบัญญัตินั้น
๓. ศาสดานี้ใด ย่อมไม่บัญญัติตนในทิฏฐธรรม โดยความเป็นของมี จริง โดยความเป็นของยั่งยืน และย่อมไม่บัญญัติตนในภายหน้า โดยความเป็น ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่าศาสดานั้น เป็นศาสดาผู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการบัญญัตินั้น
เหล่านี้เรียกว่าศาสดา ๓ จำพวก แม้อื่นอีก.
จบติกนิทเทส
อรรถกถาศาสดา ๓ จำพวก
สองบทว่า "ปริญฺํ ปญฺเปติ" ได้แก่ ย่อมบัญญัติการละ คือ การก้าวล่วง.
ข้อว่า "ตตฺร" ได้แก่ ในศาสดา ๓ จำพวกนั้น.
สองบทว่า "เตน ทฏฺพฺโพ" ความว่า ศาสดานั้น บัณฑิตพึง เห็นว่า เป็นผู้มีปกติได้รูปาวจรสมาบัติด้วยบัญญัตินั้น. แม้ในวาระที่ ๒ ก็ นัยนี้เหมือนกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 327
ข้อว่า " สมฺมาสมฺพุทฺโธ สตฺถา เตน ทฏฺพฺโพ" ความว่า พระศาสดาองค์ที่ ๓ ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ บัณฑิตพึงเห็นด้วยการ บัญญัติ อันไม่สาธารณะกับเดียรถีย์นั้น. จริงอยู่ พวกเดียรถีย์เมื่อบัญญัติการ ละกามทั้งหลาย ย่อมกล่าวอ้างถึงรูปภพ เมื่อบัญญัติการละรูปทั้งหลาย ย่อม กล่าวอ้างถึงอรูปภพ เมื่อบัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย ย่อมกล่าวอ้างถึง อสัญญภพ เมื่อเขาจะบัญญัติโดยชอบพึงบัญญัติอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่สามารถ เพื่อบัญญัติได้โดยชอบ. ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมบัญญัติการละ (ปหานปริญญา) กามทั้งหลายด้วยอนาคามิมรรค ย่อมบัญญัติการละรูปและเวทนา ทั้งหลายด้วยอรหัตตมรรค.
ข้อว่า "อิเม ตโย สตฺถาโร" ความว่า ชนทั้ง ๒ จำพวกนี้ เป็น ศาสดาภายนอกพระพุทธศาสนา กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ จำพวก ฉะนั้น ในโลกนี้ จึงมีศาสดา ๓ จำพวก.
ในนิทเทสแห่งศาสดาพวกที่ ๒
สองบทว่า "ทิฏเว ธมฺเม" ได้แก่ ในอัตภาพนี้เท่านั้น. ข้อว่า "อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺเปติ" ความว่า ย่อม บัญญัติ โดยความมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืนว่า ชื่อว่า อัตตาอันหนึ่ง เป็นของเที่ยง เป็นของยั่งยืน เป็นของแน่นอน มีอยู่.
บทว่า "อภิสมฺปรายญฺเจ" ได้แก่ ย่อมบัญญัติในอัตภาพแม้อื่นอีก เหมือนกันนั่นแหละ.
คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยแห่งคำที่กล่าวไว้แล้วเทียว ดังนี้แล.
จบอรรถกถาติกนิทเทส ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก เพียงนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 328
จตุกกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๐๔] ๑. อสัปปุริสบุคคล บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษเป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น อสัตบุรุษ
๒. อสัปปุริเสนอสัปปุริสตรบุคคล บุคคลผู้เป็น อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ประพฤติผิดใน กามด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามด้วย พูดเท็จด้วยตน เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จด้วย ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาทด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาทด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป้นอสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.
๓. สัปปุริสบุคคล บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัตบุรุษ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 329
๔. สัปปุริเสนสัปปุริสตรบุคคล บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยเว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการลักทรัพย์ด้วย เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วย เว้น ขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วย เว้นขาดจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วยตนเองโดย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.
อรรถกถาจตุกกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๔ จำพวก
อรรถกถาบุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษเป็นต้น
บทว่า "อสปฺปุริโส" ได้แก่ บุรุษผู้ลามก คือ บุรุษผู้ไม่มีธรรม. พึงทราบวิเคราะห์ต่างๆ ดังต่อไปนี้.
บุคคลใด ย่อมยังสัตว์มีปราณ คือ ชีวิตให้ตกล่วงไป เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปาณาติปาตี ผู้ยังสัตว์มีปราณคือชีวิตให้ตกล่วงไป.
บุคคลใด ย่อมถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ เพราะเหตุนั้น บุคคล นั้นชื่อว่า อทินฺนาทายี ผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้.
บุคคลใด ย่อมประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจารี ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 330
บุคคลใด ย่อมกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่ามุสาวาท ผู้กล่าวคำเท็จ.
บุคคลใด ย่อมตั้งอยู่ในความประมาทด้วยการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และ เมรัย เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺายี ผู้ตั้งอยู่ ในความประมาทด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย.
ข้อว่า "ปาณาติปาเต สมาทเปติ" ความว่า คนเองย่อมยังสัตว์มี ชีวิตให้ตกล่วงไปโดยประการใด ย่อมยังผู้อื่นให้ยึดถือเอาการยังสัตว์ที่มีชีวิตให้ ตกล่วงไปนั้น โดยประการนั้น. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า อสปฺปุริเสน อสปฺปุริสตโร ซึ่งแปลว่า ผู้เป็นอสัตบุรุษยิ่งกว่า อสัตบุรุษ เพราะเหตุที่ตนประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลอันตนกระทำเองด้วย และตนก็เป็นทายาทแห่งกรรมกึ่งหนึ่งจากกรรมที่ตนชักชวนให้ผู้อื่นกระทำด้วย.
บทว่า "สปฺปุรโส" ได้แก่ อุดมบุรุษคือบุรุษผู้สูงที่สุด.
สองบทว่า "สฺปฺปุริเสน สปฺปุริสตโร" ความว่า ผู้ประกอบพร้อม ด้วยความเป็นผู้มีศีลดีที่ตนแองกระทำแล้วนั่นแหละด้วย และเพราะเหตุที่ตน เป็นทายาทแห่งกรรมกึ่งหนึ่งจากกรรมที่ตนชักชวนให้ผู้อื่นกระทำด้วย จึงชื่อ ว่า อุตฺตมปฺปุริเสน อุตฺตมปฺปุริสตโร ซึ่งแปลว่า ผู้เป็นอุดมบุรุษยิ่ง กว่าอุดมบุรุษ.
[๑๐๕] ๑. ปาปบุคคล บุคคลผู้ลามก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา พยาบาท ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ลามก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 331
๒. ปาเปนปาปตรบุคคล บุคคลผู้ลามกยิ่งกว่าลามก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่า สัตว์ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ประพฤติผิด ในกามด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามด้วย พูดเท็จด้วย เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จด้วย พูดส่อเสียดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่น ให้พูดส่อเสียดด้วย พูดคำหยาบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ด้วย พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อด้วย โลภอยาก ได้ของเขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้โลภอยากได้ของเขาด้วย พยาบาท ปองร้ายเขาด้วยคนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พยาบาทปองร้ายเขาด้วย เห็นผิด จากคลองธรรมด้วยคนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นผิดจากคลองธรรมด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ลามกยิ่งกว่าลามก.
๓. กัลยาณบุคคล บุคคลผู้เป็นคนดี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลัก ทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จาก การพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาท ปองร้ายเขา เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดี.
๔. กัลยาเณนกัลยาณตรบุคคล บุคคลผู้เป็นคนดียิ่ง กว่าคนดี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 332
ตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการลักทรัพย์ด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการประพฤติผิดใน กามด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยคนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจาก การพูดเท็จด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่น ให้เว้นจากการพูดส่อเสียดด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดคำหยาบด้วย เป็นผู้เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากพูดเพ้อเจ้อด้วย เป็นผู้ไม่โลภอยากได้ ของเขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นไม่ให้โลภอยากได้ของเขาด้วย ไม่พยาบาท ปองร้ายเขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นไม่ให้พยาบาทปองร้ายเขาด้วย เป็น ผู้เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นชอบตาม ทำนองคลองธรรมด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดียิ่งกว่าคนดี.
อรรถกถาบุคคลผู้ลามกเป็นต้น
บทว่า "ปาโป" ความว่า ผู้ประกอบด้าวบาป ๑ ประการ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ประการ.
บทว่า "กลฺยาโณ" ความว่า ผู้ประกอบด้วยกัลยาณธรรม กล่าว คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้เจริญ. คำที่เหลือใน ที่นี้มีอรรถอันตื้น เพราะเหตุว่ามีนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหนหลังนั่นเทียว.
[๑๐๖] ๑. ปาปธัมมบุคคคล บุคคลผู้มีธรรมลามก เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เห็นผิดจาก ทำนองคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมลามก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 333
๒. ปาปธัมเมนปาปธัมมตรบุคคล บุคคลผู้มีธรรม ลามกยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมลามก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ฯลฯ เห็นผิดจาก ทำนองคลองธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรมด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมลามกยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมลามก.
๓. กัลยาณธัมมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมงาม เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ ฯลฯ มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมงาม.
๔. กัลยาณธัมเมนกัลยาณธัมมตรบุคคล บุคคลผู้มี ธรรมงามยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมงาม เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วย ฯลฯ เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมงามยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมงาม.
อรรถกถาบุคคลผู้มีธรรมลามกเป็นต้น
ธรรมอันลามกของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปาปธมฺโม แปลว่า ผู้มีธรรมอันลามก. ธรรมอันงามของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า กลฺยาณธมฺโม แปลว่า ผู้มีธรรมอันงาม. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 334
[๑๐๗] ๑. สาวัชชบุคคล บุคคลผู้มีโทษ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษ.
๒. วัชชพหุลบุคคล บุคคลผู้มีโทษมาก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษมาก ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษมาก ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษมาก ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษมาก.
๓. อัปปสาวัชชบุคคล บุคคลผู้มีโทษน้อย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษมาก ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษมาก ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษมาก ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษน้อย.
๔. อนวัชชบุคคล บุคคลผู้ไม่มีโทษ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมที่หาโทษมิได้ ประกอบ ด้วยวจีกรรมที่หาโทษมิได้ ประกอบด้วยมโนกรรมที่หาโทษมิได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ไม่มีโทษ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 335
อรรถกถาบุคคลผู้มีโทษ เป็นต้น
บทว่า "สาวชฺโช" ได้แก่ มีโทษ. สองบทว่า "สาวชฺเชน กายกมฺเมน" ได้แก่ ด้วยกายกรรม อันมีโทษ มีปาณาติบาตเป็นต้น. แม้ใน บททั้งหลายนอกจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า สาวชฺโช แปลว่า ผู้มีโทษ เพราะความที่กรรมอันประกอบด้วยไตรทวาร เป็นของมีโทษ ดุจประเทศที่เต็มไปด้วยของปฏิกูล มีคูถและซากศพเป็นต้น.
สองบทว่า "สาวชิเชน พหุลํ" ความว่า กายกรรมของบุคคลใด มีโทษเท่านั้นมาก ที่ไม่มีโทษมีน้อย บุคคลผู้นั้นชื่อว่าประกอบด้วยกายกรรมมี โทษมีมาก ที่ไม่มีโทษมีน้อย ท่านจึงเรียกว่า อปฺปํ อนวชฺเชน แปลว่า กายกรรมที่ไม่มีโทษมีน้อย. ในคำทั้งหลาย นอกจากนี้ ก็มีนัยนี้นั่นแหละ.
ถามว่า ก็ใครเล่าที่เห็นปานนี้?
ตอบว่า ผู้ใด ย่อมสมาทานอุโบสถศีล ย่อมบำเพ็ญศีลในกาลบาง ครั้งบางคราว ตามธรรมดาของชาวบ้าน หรือตามธรรมดาของชาวนิคม ผู้นั้น นั่นแหละ ชื่อว่า ประกอบด้วยกรรมอันมีโทษเป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษเป็น ส่วนน้อย.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน เรียกว่า วชฺชพหุโล แปลว่า ผู้มากด้วยโทษ เพราะเหตุที่โทษนั่นแหละเป็น ของมีมาก เพราะเป็นกรรมอันประกอบไว้ด้วยไตรทวาร.
เหมือนอย่างว่า ดอกไม้ทั้งหลาย มีสีไม่สวย ทั้งมีกลิ่นเหม็น บุคคล กระทำไว้ไห้เป็นกองมีอยู่ในประเทศแห่งหนึ่ง วัตถุทั้งหลายมีแผ่นผ้าเป็นต้นที่ เขาโยนไป พึงตกไปบนกองดอกไม้อันมีกลิ่นเหม็นนั้นในที่นั้นๆ ทำให้มีกลิ่น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 336
เหม็นฉันใด บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น (หรือ) เหมือน อย่างว่า วัตถุทั้งหลายมีแผ่นผ้าเป็นต้น ที่เขากระทำให้เป็นกอง พึงมีใน ประเทศแห่งหนึ่ง ดอกไม้ทั้งหลายมีดอกพุทราเป็นต้นที่มีสีไม่งาม มีกลิ่นเหม็น พึงตกไปบนกองแห่งผ้านั้นในที่นั้นๆ ฉันใด บุคคลที่ ๓ นี้ คือ ผู้เห็นปาน นี้ บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น. แต่ว่าบุคคลที่ ๔ บัณฑิตพึงเห็นดุจถาดทองคำ อันเต็มแล้วด้วยมธุรสทั้ง ๔ เพราะความที่กรรมอันประกอบด้วยไตรทวารเป็น ของหาโทษมิได้.
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น คือ สาวชฺโช ผู้มีโทษ ๑ วชฺชพหุโล ผู้มีโทษมาก ๑ อปฺปสาวชฺโช ผู้มีโทษน้อย ๑ อนวชฺโช ผู้ไม่มีโทษ ๑. บุคคลพวกที่ ๑ จัดเป็นอันธพาลปุถุชน คือ ปุถุชนผู้ทั้ง บอดทั้งโง่. พวกที่ ๒ จัดเป็นโลกิยปุถุชน ผู้กระทำกุศลในระหว่างๆ. พวกที่ ๓ ได้แก่ พระโสดาบัน แม้พระสกทาคารี พระอนาคามี ก็สงเคราะห์ด้วยบุคคล จำพวกที่ ๓. พวกที่ ๔ ได้แก่ พระขีณาสพ.
จริงอยู่พระขีณาสพนั้น ชื่อว่า อนวชฺโช แปลว่า ผู้ไม่มีโทษเลย ข้อนี้เป็นนัยแห่งอรรถกถาอังคุตตรนิกาย.
[๑๐๘] ๑. บุคคลผู้อุคฆฏิตัญญู เป็นไฉน?
การบรรลุมรรคและผล ย่อมมีแก่บุคคลใด พร้อมกับเวลาที่ท่านยก หัวข้อขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้อุตฆฏิตัญูญู.
๒. บุคคลผู้วิปัญจิตัญญู เป็นไฉน?
การบรรลุมรรคและผล ย่อมมีแก่บุคคลใด ในเมื่อท่านจำแนกเนื้อ ความแห่งภาษิตโดยย่อ ให้พิศดาร บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้วิปัญจิตตัญญู.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 337
๓. บุคคลผู้เนยยะ เป็นไฉน?
การบรรลุมรรคและผลเป็นชั้นๆ ไป ย่อมมีแก่บุคคลใด โดยเหตุ อย่างนี้ คือ โดยอุเทศ โดยไต่ถาม โดยทำไว้ในใจโดยแยบตาย โดยสมาคม โดยคบหา โดยสนิทสนมกันกับกัลยาณมิตร บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้เนยยะ.
๔. บุคคลผู้ปทปรมะ เป็นไฉน?
บุคคลใด ฟังพุทธพจน์ก็มาก กล่าวก็มาก จำทรงไว้ก็มาก บอกสอน ก็มาก แต่ไม่มีการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้ปทปรมะ.
อรรถกถาบุคคล ผู้อุคฆฏิตัญญู เป็นต้น
การยกญาณ คือปัญญาขึ้น ชื่อว่า อุคฺฆฏิตํ ซึ่งแปลว่า มีปัญญาอัน เฉียบแหลม ในคำว่า อุคฺฆฏิตญฺญู นี้. อธิบายว่า ย่อมรู้ธรรมเพียงสักว่า อัน ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดงเท่านั้นด้วยญาณ.
ข้อว่า "สห อุทาหฏเวลาย" ได้แก่ ในการนำหัวข้อมาตั้งไว้ คือ ในขณะสักว่า นำอุเทศนาตั้งไว้เท่านั้น.
บทว่า "ธมฺมาภิสมโย" ได้แก่ การตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔ พร้อม ด้วยญาณ คือ ปัญญา.
ลองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ เป็นผู้สามารถส่งญาณ คือ ปัญญาไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ตามที่ท่านตั้งบทมาติกาโดยย่อ มีนัยเป็นต้นว่า "จตฺตาโร สติปฏฺานา" แล้วจึงถือเอาพระอรหัตได้ ท่าน จึงเรียกผู้นี้ว่า อุคฆฏิตัญญู ซึ่งแปลว่า ผู้เฉียบแหลม เพียงยกหัวข้อธรรม ขึ้นแสดงเท่านั้นก็รู้ทันที.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 338
บุคคลใดย่อมรู้อรรถ ที่ท่านอธิบายทำให้พิศดารนั่นแหละ เพราะเหตุ นั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า วิปัญจิตัญญู แปลว่า ผู้รู้อรรถอันท่านอธิบายแล้ว
สองบทว่า "อยํ วุจิจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้มีความสามารถ เพื่อบรรลุพระอรหัต ในเมื่อมีผู้อื่นตั้งบทมาติกาไว้โดยย่อแล้วจำแนกเนื้อ ความโดยพิศดาร ท่านจึงเรียกว่า วิปัญจิตตัญญู.
วิเคราะห์ศัพท์ เนยยบุคคล
อุทฺเทสาทีหิ เนตพฺโพติ เนยฺโย บุคคลใด อันผู้อื่นพึงแนะนำ ด้วยบททั้งหลายมีอุเทศเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า เนยฺโย ผู้อันบุคคลพึงแนะนำไป.
สองบทว่า "อนุปุพฺเพน ธมฺมาภิสมโย" ได้แก่ การบรรลุพระอรหัตตามลำดับ.
วิเคราะห์ศัพท์ ปทปรมบุคคล
พฺยญฺชนปทเมว ปรมํ อสฺสาติ ปทปรโม บทแห่งพยัญชนะนั่น เทียว เป็นอย่างยิ่งของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปทปรโม ผู้มีบทอย่างยิ่ง.
ข้อว่า "น ตาย ชาติยา ธมฺมาภิสมโย โหติ" อธิบายว่า ปทปรมบุคคลนั้น ไม่สามารถเพื่อจะทำฌาน วิปัสสนา มรรค ผล ให้เกิดขึ้นได้ด้วย อัตภาพนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 339
[๑๐๙] ๑. บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ได้ถูกต้องแต่ไม่ ว่องไว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว
๒. บุคคลผู้โต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหาย่อมแก้ได้ว่องไว แต่แก้ไม่ ถูกต้อง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง
๓. บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ได้ถูกต้องและแก้ ได้ว่องไว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว.
๔. บุคคลผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและไม่ว่องไว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ไม่ถูกต้องและไม่ ว่องไว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและไม่ว่องไว.
อรรถกถาบุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว เป็นต้น
ญาณ คือปัญญาก็ดี ถ้อยคำที่ตั้งขึ้นเพราะญาณก็ดี เรียกว่า ปฏิภาณ คือ ความเฉียบแหลมในการโต้ตอบ. ปฏิภาณนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ ประสงค์เอาในคำว่า ยุตฺตปฏิภาโณ นี้.
ปฏิภาณ อันสมควรแก่เหตุและสมควรแก่ผล ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ยุตฺตปฏิภาโณ ผู้มีปฏิภาณอันถูกต้อง. ปฏิภาณอันไม่ว่องไวของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 340
จะโต้ตอบปัญหาได้โดยรวดเร็ว ในขณะที่เขาถามปัญหานั่นแหละ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า โนมุตฺตปฏิภาโณ แปลว่า ผู้มีปฏิภาณอันไม่ว่องไว. บุคคล ที่เหลือบัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้.
ก็ในบุคคลเหล่านี้ บุคคลจำพวกที่ ๑ พิจารณาปัญหาสิ้นเวลาเพียง เล็กน้อยแล้วจึงเพ่งปัญหาได้ถูกต้องนั่นเทียว เหมือนพระจูพนาคเถระผู้ทรง พระไตรปิฎก ได้ยินว่า พระเถระนั้นถูกเขาถามปัญหา ท่านกำหนดปัญหา ได้ถูกต้องและเหมาะสมทีเดียว.
บุคคลจำพวกที่ ๒ ย่อมห้ามปัญหาในระหว่างที่เขาถามนั่นแหละ ด้วยถ้อยคำอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ท่านพิจารณาปัญหาแล้วก็ยังตีความหมาย ปัญหาได้ไม่เหมาะสม เหมือนพระติสสเถระ ผู้ฉลาดเพียงนิกาย ๔ นัยว่า พระเถระนั้น ถูกเขาถามปัญหาแล้ว ท่านรอคอยแม้การสิ้นสุดลงแห่งปัญหา แล้วท่านก็ตอบส่งๆ ไป ก็เนื้อความแห่งถ้อยคำที่ท่านพิจารณาอยู่ย่อมไม่สอด คล้องในที่ไหนๆ.
บุคคลจำพวกที่ ๓ ท่านเพ่งเนื้อความอันสมควรแก่เวลาแห่งปัญหา นั่นแหละ ย่อมตอบค่ำถามใน ณ นั้นนั่นแหละ เหมือนพระจูฬาภัยเถระ ผู้ ทรงพระไตรปิฎก ได้ยินว่า พระเถระนั้น ถูกเขาถามปัญหาแล้วย่อมตอบได้ โดยรวดเร็ว มีเหตุผลอันถูกต้องและเหมาะสมด้วย.
บุคคลจำพวกที่ ๔ ถูกเขาถามปัญหาแล้วย่อมไม่เพ่งปัญหาให้ถูก ต้องได้ ทั้งยังไม่อาจเพื่อจะห้ามด้วยถ้อยคำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นดุจบุคคล ผู้จมลงในความมืดทึบอันยิ่งเหมือนพระโลลุทายี.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 341
[๑๑๐] บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก เป็นไฉน?
๑. ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวน้อยและกล่าวคำไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็ไม่รู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าธรรมกถึกของบริษัทเห็น ปานนี้เท่านั้น
๒. ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวน้อยและกล่าวคำที่ประกอบ ด้วยประโยชน์ และบริษัทรู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าเป็นธรรมกถึกของบริษัท เห็นปานนี้เท่านั้น
๓. ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวมากและกล่าวคำไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็ไม่รู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าธรรมกถึก ของ บริษัทเห็นปานนี้เท่านั้น
๔. ส่วนธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวมาก และกล่าวคำที่ ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็รู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าธรรมกถึก ของบริษัทเห็นปานนี้เท่านั้น
เหล่านี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก.
อรรถกถาบุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก
สองบทว่า "อปฺปญฺจ ภาสติ" ความว่า ย่อมกล่าวเพียงเล็กน้อย แก่บริษัทผู้มาถึงแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 342
บทว่า "อสหิตญฺจ" ความว่า ก็แลเมื่อกล่าว ก็ย่อมไม่กล่าวให้ เหมาะสมแก่เหตุผล.
ข้อว่า "ปริสา จสฺส อกุสลา โหติ" อธิบายว่า ก็บริษัทผู้นั่ง ประชุมกันเพื่อจะฟังธรรมมีอยู่ ภิกษุผู้ธรรมกถึกนั้น ย่อมไม่รู้ถ้อยคำที่ควร และไม่ควร มีเหตุหรือไม่มีเหตุ สละสลวยหรือไม่สละสลวย.
บทว่า "เอวรูโป" ความว่า ผู้นี้ คือ พระธรรมกถึกผู้โง่ ผู้มีชาติ อย่างนั้นย่อมได้ชื่อว่า ธรรมกถึกของบริษัทผู้โง่เขลา ผู้มีชาติอย่างนั้นนั่น เทียว. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในทุกๆ บทโดยนัยนี้. ก็ในพระธรรมกถึก เหล่านี้. พระธรรมกถึก ๒ พวกเท่านั้น ชื่อว่า เป็นพระธรรมกถึกโดยสภาวะ ส่วนพระธรรมกถึกนอกจากนี้ ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น เพราะอยู่ในระหว่างแห่ง พระธรรมกถึกทั้งหลาย.
บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ อย่าง เป็นไฉน?
[๑๑๑] วลาหก ๔ อย่าง
ฟ้าร้อง ฝนไม่ตก ๑
ฝนตก ฟ้าไม่ร้อง ๑
ฟ้าร้อง ฝนตก ๑
ฟ้าไม่ร้อง ฝนไม่ตก ๑
[๑๑๒] บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ อย่างนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 343
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน?
บุคคลเหมือนฟ้าร้อง ฝนไม่ตก ๑
บุคคลเหมือนฝนตก ฟ้าไม่ร้อง ๑
บุคคลเหมือนฟ้าร้อง ฝนตก ๑
บุคคลเหมือนฟ้าไม่ร้อง ฝนไม่ตก ๑
๑. บุคคลเหมือนฟ้าร้อง ฝนไม่ตก เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูด แต่ไม่ทำ อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้า ร้องฝนไม่ตก ฟ้านั้นร้องแต่ฝนไม่ตก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
๒. บุคคลเหมือนฝนตก ฟ้าไม่ร้อง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทำ แต่ไม่พูด อย่างนี้เป็นคนเหมือน ฝนตกฟ้าไม่ร้อง ฝนตกฟ้าไม่ร้อง แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
๓. บุคคลเหมือนฟ้าร้อง ฝนตก เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดด้วย ทำด้วย อย่างนี้เป็นคนเหมือน ฟ้าร้องฝนตก ฟ้าร้องฝนตก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
๔. บุคคลเหมือนฟ้าไม่ร้อง ฝนไม่ตก เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พูด ไม่ทำ อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้าไม่ร้อง ฝนไม่ตก ฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตก แม้ฉันใด บุคคลผู้นี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ อย่างเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 344
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบเทียบด้วยลวาหก ๔ อย่าง
บทว่า "วลาหกา" แปลว่า ก้อนเมฆ.
บทว่า "คชฺชิตา" แปลว่า ฟ้าคำรามแล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย ในข้อนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าฟ้าคำรามแล้วฝนไม่ตกย่อมเป็นบาป เพราะว่ามนุษย์ทั้ง หลายคิดว่า เมื่อใดฟ้าร้องแล้ว ฝนก็จักงาม จึงพากันนำพืชออกหว่าน ครั้น เมื่อฝนไม่ตก พืชที่มีอยู่ในนานก็ฉิบหายไปในนานั่นแหละ พืชที่มีอยู่ในบ้านก็ ฉิบหายไปในบ้านนั่นแหละ เพราะฉะนั้นคราวนั้นนั้นแหละทุพภิกขภัยย่อมมี จึงชื่อว่าเป็นบาป.
แม้ภาวะที่ฟ้าไม่ร้อง แต่ฝนตกก็เป็นบาปนั่นแหละ เพราะว่ามนุษย์ ทั้งหลายย่อมกระทำการหว่านพืชในนาลุ่มนั่นเทียวด้วยคิดว่า เวลานี้ฝนจักแล้ง ทีนั้นฝนก็เกิดตกขึ้น ได้ยังพืชทั้งหลายให้ถึงมหาสมุทร ในกาลนี้ทุพภิกขภัย นั่นแหละย่อมมี. แต่ว่าภาวะที่ฟ้าร้องแล้วฝนตก นับว่าเป็นความเจริญ เพราะ ว่าเวลานั้น เป็นเวลาที่มีภิกษาหาได้ง่าย. ภาวชะที่ฟ้าไม่ร้อง ฝนก็ไม่ตก ชื่อว่า เป็นบาปหนักทีเดียว.
ข้อว่า "ภาสิตา โหติ โน กตฺตา" ความว่า บุคคลกล่าวว่า "บัดนี้ ข้าพเจ้าจักบำเพ็ญคันถธุระ หรือจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ นั่นแหละ แต่ว่าไม่ ถือเอาอุเทศและไม่เจริญกรรมฐาน.
ข้อว่า "กตฺตา โหติ โน ภาสิตา" ความว่า บุคคลไม่กล่าวว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจักบำเพ็ญคันถธุระ หรือจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ แต่เมื่อถึงเวลา แล้ว เขาย่อมยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จ. บัณฑิตพึงทราบบุคคลนอกจากนี้ โดยนัยนี้ ก็คำนั้นแม้ทั้งหมดท่านกล่าวไว้สำหรับบุคคลผู้ถวายปัจจัยเท่านั้น จริงอยู่ทายกคนหนึ่ง นิมนต์พระสงฆ์ด้วยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจักถวายทานใน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 345
วันโน้น" ครั้นถึงเวลาแล้วก็ไม่กระทำ ผู้นี้ย่อมเสื่อมจากบุญ แม้ภิกษุสงฆ์ก็ ย่อมเสื่อมจากลาภ (เปรียบได้กับฟ้าร้องฝนไม่ตก) ทายกอีกคนหนึ่ง ไม่นิมนต์ พระสงฆ์เลยคิดว่า "เราจักทำสักการะ แล้วจักนำพระมา" เขาย่อมไม่ได้ พระสงฆ์ เพราะพระสงฆ์ทั้งหมดถูกผู้อื่นนิมนต์ไปในที่อื่นเสียแล้ว บุคคลนี้ ย่อมเสื่อมจากบุญ แม้สงฆ์ก็เสื่อมจากลาภนั้น (เปรียบได้กับฝนตกฟ้าไม่ร้อง) ฝ่ายทายกอีกพวกหนึ่ง นิมนต์สงฆ์ก่อนแล้วจัดแจงสักการะในภายหลังแล้วจึง ถวายทาน ผู้นี้ชื่อว่า ย่อมทำกิจที่ถูกต้อง (เปรียบได้กับฟ้าร้องฝนตก) อีก พวกหนึ่ง สงฆ์ก็ไม่นิมนต์ ทานก็ไม่ถวาย ผู้นี้บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นบาปบุคคล (เปรียบได้กับฟ้าไม่รู้องฝนไม่ตก)
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก เป็น ไฉน?
[๑๑๓] หนู ๔ จำพวก.
หนูที่ขุดรูไว้ แต่ไม่อยู่ ๑
หนูที่อยู่ แต่มิได้ขุดรู ๑
หนูที่ขุดรูด้วย อยู่ด้วย ๑
หนูที่ทั้งไม่ขุดรู ทั้งไม่อยู่ ๑
[๑๑๔] บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏอยู่ ในโลก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 346
บุคคล เปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกเป็นไฉน?
บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่ ๑
บุคคลเป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำที่อยู่ ๑
บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ และอยู่ด้วย ๑
บุคคลทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่อยู่ด้วย ๑
๑. บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้นไม่รู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ทำที่อยู่แต่ไม่อยู่ หนูนั้นทำรังไว้แต่ไม่อยู่ ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
๒. บุคคลเป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำที่อยู่ เป็นไฉน?
บุคคลบางในโลกนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทา อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลรู้อยู่ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้อยู่แต่ไม่ทำที่อยู่ หนูที่เป็นผู้อยู่แต่ไม่ทำรัง นั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น.
๓. บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ และอยู่ด้วย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนโนโลกนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้นย่อม
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 347
รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ทำที่อยู่และอยู่ด้วย หนูที่ทำรังอยู่ และอยู่ ด้วยนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
๔. บุคคลผู้ทั้งไม่ทำที่อยู่ทั้งไม่อยู่ด้วย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้น ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่อยู่ด้วย หนูที่ทั้งไม่ทำรัง ทั้งไม่อยู่ด้วยนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก
ข้อว่า "คาธํ กตฺตา โน วสิตา" ความว่า หนูจำพวกที่ ๑ ย่อม ขุดรูให้เป็นที่อยู่อาศัยของตน แต่ไม่อยู่ในรูนั้น ไปอยู่เสียในที่แห่งหนึ่งนั้น เทียว เมื่อเป็นเช่นนี้ มันย่อมไปสู่อำนาจของอมิตร มีแมวเป็นต้น. บาลีว่า "ขตฺตา แปลว่า ขุด" ดังนี้บ้าง.
ข้อว่า "วสิตา โน คาธํ กตฺตา" ความว่า หนูพวกที่ ๒ ไม่ขุด รูอยู่เอง แต่อาศัยรูที่ผู้อื่นขุดไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ยังชื่อว่ารักษาชีวิตไว้ได้. หนู จำพวกที่ ๓ กระทำกิจแม้ทั้ง ๒ อย่าง ย่อมรักษาชีวิตไว้ได้. หนูจำพวกที่ ๔ ไม่ทำกิจทั้ง ๒ อย่าง มันย่อมถึงอำนาจของอมิตร.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 348
ก็บรรดาบุคคลทั้งหลายที่ท่านอุปมาแล้วด้วยการเปรียบเทียบนี้ บุคคล พวกที่ ๑ เรียนคำสั่งสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ เหมือนกับหนูที่ขุดรูสำหรับ อยู่ลึก คือ เหมือนหนูนั้นไม่อยู่ในรูลึกที่ตนขุดเอาไว้ แต่ไปอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง นั้นแหละ ย่อมไปสู่อำนาจของอมิตร ฉันใด บุคคลแม้นี้ส่งญาณไปด้วยสามารถ แห่งการศึกษาเล่าเรียน แต่มิได้แทงตลอดสัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อประพฤติอยู่ เช่นนี้ในที่โลกามิสทั้งหลาย เขาย่อมไปสู่อำนาจของอมิตรทั้งหลาย กล่าวคือ มัจจุมาร กิเลสมาร และเทวปุตตมาร ฉันนั้น.
บุคคลจำพวกที่ ๒ ไม่เรียนคำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ (คือ ๑. สุตตะ, ๒. เคยยะ, ๓. เวยยากรณะ, ๔. คาถา, ๕. อุทาน, ๖. อิติวุตตกะ, ๗. ชาดก, ๘. อัพภูตธรรม ๙. เวทัลละ) เปรียบเหมือนหนูนั้นไม่ขุดรูอยู่ คือ เหมือนอย่างว่า หนูนั้นอาศัยอยู่ในรูที่หนูอื่นขุดแล้ว มันย่อมรักษาชีวิต ไว้ได้ ฉันใด ภิกษุผู้นี้ฟังธรรมกถาของผู้อื่น แล้วก็แทงตลอดสัจธรรมทั้ง ๔ ก้าวล่วงอำนาจของมารทั้ง ๓ ได้ ฉันนั้น. บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบ อุปมาแม้ในบุคคลที่ ๓ ที่ ๔ โดยนัยนี้
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้เปรียบด้วยมะม่วง ๔ ชนิด เป็นไฉน?
[๑๑๕] มะม่วง ๔ ชนิด
มะม่วงดิบ แต่สีเป็นมะม่วงสุก ๑
มะม่วงสุก แต่สีเป็นมะม่วงดิบ ๑
มะม่วงดิบ สีก็เป็นมะม่วงดิบ ๑
มะม่วงสุก สีก็เป็นมะม่วงสุก ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 349
[๑๑๖] บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ ชนิด มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน?
บุคคลเช่นมะม่วงดิบ แต่มีสีเป็นมะม่วงสุก ๑
บุคคลเช่นมะม่วงสุก แต่มีสีเป็นมะม่วงดิบ ๑
บุคคลเช่นมะม่วงดิบ มีสีก็เป็นมะม่วงดิบ ๑
บุคคลเช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็นมะม่วงสุก ๑
๑. บุคคล ผู้เป็นเช่นมะม่วงดิบ แต่มีสีเป็นมะม่วงสุก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเสื่อมใส บุคคล นั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงดิบ แต่มีสีเป็นมะม่วงสุก มะม่วงดิบแต่มีสีเป็นมะม่วงสุกนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๒. บุคคลผู้เป็นเช่นมะม่วงสุก แต่มีสีเป็นมะม่วงดิบ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเสื่อมใส บุคคล นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงสุก แต่มีสีเป็นมะม่วงดิบ มะม่วงสุกแต่มีสีเป็นมะม่วงดิบนั้น ฉันใด. บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 350
๓. บุคคลผู้เช่นมะม่วงดิบ มีสีเป็นมะม่วงดิบ เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล นั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงดิบ มีสี ก็เป็นมะม่วงดิบ มะม่วงดิบมีสีก็เป็นมะม่วงดิบนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมย ฉันนั้น.
๔. บุคคลผู้เช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็นมะม่วงสุก เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็น มะม่วงสุก มะม่วงสุกมีสีก็เป็นมะม่วงสุกนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉัน นั้น
บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก.
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยมะม่วง ๔ ชนิด
สองบทว่า "อามํ ปกฺกวณฺณี" ได้แก่ ผลมะม่วงที่ดิบในภายใน แต่ภายนอกเหมือนมะม่วงสุก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 351
สองบทว่า "ปกฺกํ อามวณฺณี" ได้แก่ ภายในสุก แต่ภายนอก เหมือนมะม่วงดิบ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในคำเปรียบ เทียบด้วยผลมะม่วงนั้นคือ ภาวะที่มะม่วงไม่สุก คือเป็นของดิบย่อมมีฉันใด แม้ในบุคคล ความเป็นปุถุชนเป็นเช่นมะม่วงดิบ ความเป็นพระอริยะก็เป็นเช่น กับมะม่วงสุกฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบด้วยการอุปมาในบุคคลที่ ท่านอุปมาแล้ว โดยนัยนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ความที่มะม่วงมีสีอันสุก เช่นกับ มะม่วงสุก ในมะม่วงทั้งหลายเหล่านั้น ฉันใด แม้ในบุคคล ความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีวรรณะอันสุก คือ ความงาม เช่นกับด้วยความงามของอิริยาบถ ทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ก็ฉันนั้น.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ ชนิด เป็น ไฉน?
[๑๑๗] หม้อ ๔ ชนิด
หม้อเปล่าปิด ๑ หม้อเต็มเปิด ๑
หม้อเปล่าเปิด ๑ หม้อเต็มปิด ๑
[๑๑๘] บุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ ชนิด เหล่านี้ มีปรากฏอยู่ ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน?
คนเปล่าปิด ๑ คนเต็มเปิด ๑
คนเปล่าเปิด ๑ คนเต็มปิด ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 352
๑. บุคคล ที่เป็นคนเปล่าปิด เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล นั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเปล่าปิด หม้อเปล่าปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๒. บุคคลที่เป็นคนเต็มเปิด เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลงแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล อย่างนี้เรียกว่า เป็นคนเต็มเปิด หม้อเต็มเปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี อุปไมยฉันนั้น.
๓. บุคคลที่เป็นคนเปล่าเปิด เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคลนั้น ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเปล่าเปิด หม้อเปล่าเปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคล นี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๔. บุคคลที่เป็นคนเต็มปิด เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 353
นั้น รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเต็มปิด หม้อเต็มปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
บุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยหม้อ ๔ ชนิด
บทว่า "กุมฺโภ" แปลว่า หม้อ.
บทว่า "ตุจฺโฉ" ได้แก่ ภายในว่าง.
บทว่า "ปีหิโต" ได้แก่ หม้อที่เขาปิดปากตั้งไว้.
บทว่า "ปูโร" ได้แก่ ภายในเต็ม.
บทว่า "วิวโฏ" ได้แก่ หม้อที่เขาเปิดปากตั้งไว้. ก็ในบรรดาบุคคล ที่ท่านอุปมาแล้วในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นบุคคลผู้เปล่า เพราะ เว้นจากสาระ คือคุณความดีอันมีในภายใน และชื่อว่า เป็นผู้ปิด เพราะความ เป็นผู้งามในภายนอก. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ ชนิด เป็นไฉน?
[๑๑๙] ห้วงน้ำ ๔ ชนิด
ห้วงน้ำตื้น เงาลึก ๑
ห้วงน้ำลึก เงาตื้น ๑
ห้วงน้ำตื้น เงาตื้น ๑
ห้วงน้ำลึก เงาลึก ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 354
[๑๒๐] บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ ชนิด มีปรากฏอยู่ในโลก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลมี ๔ จำพวก เป็นไฉน?
คนตื้น เงาลึก ๑
คนลึก เงาตื้น ๑
คนตื้น เงาตื้น ๑
คนลึก เงาลึก ๑
๑. คนตื้น เงาลึก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลัง แลตรง เหลียวซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคลนั้น ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า คนตื้น เงาลึก ห้วงน้ำตื้นเงาลึกนั้น แม้ฉันใด บุคคล นี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๒. คนลึก เงาตื้น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลัง แลตรง เหลียวซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ไม่น่าเสื่อมใส บุคคลนั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า คนลึก เงาตื้น ห้วงน้ำลึกเงาตื้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี อุปไมย ฉันนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 355
๓. คนตื้น เงาตื้น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลัง แลตรง เหลียวซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคลนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า คนตื้น เงาตื้น ห้วงน้ำตื้นเงาตื้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๔. คนลึก เงาลึก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลัง แลตรง เหลียวซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคลนั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า คนลึก เงาลึก ห้วงน้ำลึกเงาลึกนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี อุปไมย ฉันนั้น.
บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ ชนิด
ก็เมื่อน้ำลึกมีประมาณแต่เข่า แต่ห้วงน้ำมีพื้นน้ำไม่ปรากฏ เพราะมีสี น้ำอันเจือกัน หรือเพราะเป็นน้ำขุ่น ชื่อว่า เป็นน้ำตื้น มีเงาอันลึก. ก็แม้น้ำ ลึกประมาณ ๓ หรือ ๔ บุรุษ ห้วงน้ำมีพื้นน้ำปรากฏ เพราะเป็นน้ำใส จึงชื่อ ว่า เป็นน้ำลึก มีเงาอันตื้น. ก็บัณฑิตพึงทราบห้วงน้ำทั้งสองนอกนี้ เพราะมี เหตุเป็นแดนเกิดพร้อมทั้ง ๒ เหตุ. แม้บุคคลผู้ประกอบด้วยอิริยาบถทั้งหลายมี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 356
การก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นอันเป็นเช่นกับด้วยความลึกซึ้งแห่งคุณธรรมทั้งหลาย แต่เพราะความมีกิเลสหนา และเพราะความไม่มีแห่งคุณธรรมอันลึกซึ้ง จึง ชื่อว่า เป็นเหมือนกับน้ำตื้น แต่มีเงาอันลึก (อุตฺตาโน คมฺภีโรภาโส นาม). บุคคลที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยโคถึก ๔ จำพวก เป็นไฉน?
[๑๒๑] โคถึก ๔ จำพวก
โคดุพวกของตน ไม่ดุพวกอื่น ๑.
โคดุพวกอื่น ไม่ดุพวกของตน ๑.
โคดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวกอื่น ๑.
โคไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น ๑.
[๑๒๒] บุคคลเปรียบด้วยโคถึก ๔ จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏ อยู่ในโลกฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน?
คนดุพวกของตน แต่ไม่ดุพวกอื่น ๑.
คนดุพวกอื่น แต่ไม่ดุพวกของตน ๑.
คนดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวกอื่น ๑.
คนไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น ๑.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 357
๑. บุคคล ดุพวกของตน ไม่ดุพวกอื่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบเบียดเบียนบริษัทของตน แต่ไม่เบียดเบียนบริษัทของผู้อื่น บริษัทอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ดุแต่ในพวกของ ตน ไม่ดุพวกอื่น โคถึกที่ดุพวกของตน ไม่ดุพวกอื่น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๒. บุคคล ดุพวกอื่น ไม่ดุพวกของตน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบเบียดเบียนบริษัทของผู้อื่น แต่ไม่เบียดเบียนบริษัทของตน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ดุพวกอื่นแต่ไม่ดุ พวกของตน โคถึกที่ดุพวกอื่น แต่ไม่ดุพวกของตน แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี อุปไมย ฉันนั้น.
๓. บุคคล ดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวกอื่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เบียดเบียนทั้งบริษัทของตน เบียดเบียนทั้ง บริษัทของผู้อื่น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวก อื่น โคถึกที่ดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวกอื่น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
๔. บุคคล ไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เบียดเบียนทั้งบริษัทของตน ไม่เบียดเบียน ทั้งบริษัทของคนอื่น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ไม่ดุทั้งพวกของตน และพวกอื่น โคถึกที่ไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น แม้ฉันใด บุคคล นี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 358
บุคคลเปรียบด้วยโคถึก ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบเทียบด้วยโคถึก ๔ จำพวก
พึงทราบโคถึกก่อน โคตัวใด ย่อมรบกวน คือย่อมทำฝูงโคพวกตน ให้กลัว แต่สงบเสงี่ยม มีปกติเป็นสุขในฝูงโคหมู่อื่น โคตัวนี้ ชื่อว่าเป็นโค ดุร้ายในพวกของตนแต่ไม่ดุร้ายในโคพวกอื่น แม้บุคคลก็เช่นกัน เบียดเบียน ทิ่มแทงบริษัทของตน มีการร้องเรียกด้วยถ้อยคำหยาบคาย แต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม ประพฤติถ่อมตนในบริษัทผู้อื่น ชื่อว่าเป็นเหมือนโคที่ดุร้ายในฝูงตน แต่ไม่ ดุร้ายในโคฝูงอื่นๆ บุคคลแม้ที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้. ก็ในนิทเทสวาระในคำว่า "อุพฺเพชิตา โหติ" นี้ ได้แก่ การกระทบกระทั่ง การเสียด แทง คือการทำอาการให้ตกใจกลัวนั่นแหละ.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวก เป็นไฉน?
[๑๒๓] อสรพิษ ๔ จำพวก
อสรพิษมีพิษแล่นเร็ว แต่มีพิษไม่ร้าย ๑.
อสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่นเร็ว ๑.
อสรพิษมีพิษแล่นเร็วด้วย มีพิษร้ายด้วย ๑.
อสรพิษมีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย ๑.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 359
[๑๒๔] บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวก เหล่านี้มีปรากฏ อยู่ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน?
บุคคลมีพิษแล่นเร็ว แต่มีพิษไม่ร้าย ๑.
บุคคลมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่นเร็ว ๑.
บุคคลมีพิษแล่นเร็วด้วย มีพิษร้ายด้วย ๑.
บุคคลมีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย ๑.
๑. บุคคล มีพิษแล่นเร็ว แต่พิษไม่ร้าย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้น แล ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้มีพิษแล่น เร็วแต่พิษไม่ร้าย อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายนั้น แม้ฉันใด บุคคล นี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๒. บุคคล มีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่นเร็ว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่โกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขา นั้นแล ย่อมนอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า มีพิษร้าย แต่มีพิษไม่แล่นเร็ว อสรพิษที่มีพิษร้ายแต่มีพิษไม่แล่นเร็ว แม้ฉันใด บุคคล นี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๓. บุคคล มีพิษแล่นเร็วด้วย มีพิษร้ายด้วยเป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ และความโกรธของเขานั้น แล ย่อมนอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลเหล่านี้ชื่อว่า มีพิษแล่นเร็ว
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 360
ด้วยมีพิษร้ายด้วย อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วด้วยมีพิษร้ายด้วย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
๔. บุคคล มีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้น ไม่นอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า มีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย อสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวก
พึงทราบ อสรพิษก่อน. พิษของงูใด ย่อมแล่นมาโดยเร็ว คือ แผ่ ซ่านไปโดยเร็ว แต่มีพิษไม่ร้ายทั้งไม่เบียดเบียนอยู่นาน พิษของงูนี้ ชื่อว่า มาแล้วเร็วแต่มีพิษไม่ร้าย. ในบทที่เหลือทั้งปวง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน และ การจำแนกบุคคลก็มีเนื้อความอันง่ายทั้งนั้น.
[๑๒๕] ๑. บุคคล ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ไม่ควรสรรเสริญ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ พูดสรรเสริญพวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ผู้ปฏิบัติชั่วปฏิบัติผิด ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีบ้าง เป็นผู้ปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่าง นี้ชื่อว่า ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ไม่ควรสรรเสริญ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 361
๒. บุคคล ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียน คนที่ควรสรรเสริญ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ พูดติเตียนพระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชั่วบ้าง เป็นผู้ปฏิบัติผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ.
๓. บุคคล ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว มีความ เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติชั่ว ปฏิบัติผิด ว่าเป็นข้อปฏิบัติดีบ้าง เป็นข้อปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว มีความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส.
๔. บุคคล ไม่ใคร่ครวญแล้ว ไม่ไตร่ตรองแล้ว ไม่ เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้นในข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ว่าเป็นข้อปฏิบัติชั่วบ้าง เป็นข้อปฏิบัติผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส.
[๑๒๖] ๑. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคน ที่ควรติเตียน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพูดติเตียนพวกเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ผู้ปฏิบัติชั่ว ปฏิบัติผิด ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชั่วบ้าง ว่าเป็นผู้ปฏิบัติผิดบ้าง บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 362
๒. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญ คุณของคนที่ควรสรรเสริญ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระสาวกของ พระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดีประพฤติชอบ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคุณของคนที่ควร สรรเสริญ.
๓. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสใน ฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติ ชั่ว ในข้อปฏิบัติผิด ว่าข้อปฏิบัตินี้ชั่วบ้าง ข้อปฏิบัตินี้ผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส.
๔. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว เลื่อมใสใน ฐานะที่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ว่านี้เป็นข้อปฏิบัติดีบ้าง นี้เป็นข้อปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส.
[๑๒๗] ๑. บุคคล พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน จริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในคน ๒ คนนั้นผู้ใดควรติเตียน ย่อมติเตียนผู้นั้น จริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 363
ย่อมไม่พูดสรรเสริญผู้นั้น จริงแท้ตามกาล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูดติเตียน คนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ จริงแท้ ตามกาล.
๒. บุคคล สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ จริงแท้ตาม กาล แต่ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน ๒ คน นั้น ผู้ใดควรสรรเสริญ ย่อมพูดสรรเสริญผู้นั้น จริงแท้ตามกาล ผู้ใดควร ติเตียน ย่อมไม่พูดติเตียนผู้นั้น จริงแท้ตามกาล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูด สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน จริงแท้ตามกาล.
๓. บุคคล พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน จริงแท้ตามกาล และพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน ๒ คน นั้น ผู้ใดควรติเตียน ย่อมพูดติเตียนผู้นั้นจริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ ย่อมพูดสรรเสริญบุคคลผืนนั้นจริงแท้ตามกาล เป็นผู้รู้กาลเพื่อจะแก้ปัญหานั้น ในที่นั้น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล และ พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล.
๔. บุคคล ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน จริงแท้ตาม กาล ทั้งไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 364
บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน ๒ คน นั้น ผู้ใดควรติเตียน ย่อมไม่พูดติเตียนผู้นั้นจริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ ย่อมไม่พูดสรรเสริญผู้นั้นจริงแท้ตามกาล เป็นผู้วางเฉย มีสติ มีสัมปชัญญะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล ทั้ง ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล.
อรรถกถาบุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้
ตามกาล ฯลฯ เป็นต้น
บทว่า "อนนุวิจฺจ" ได้แก่ ไม่พิจารณา คือ ไม่สำรวจ.
บทว่า "อปริโยคาเหตฺวา" ได้แก่ ไม่ให้ถือเอาซึ่งคุณทั้งหลายด้วย ปัญญา.
สองบทว่า "ภูตํ ตจฺฉ" ได้แก่ ที่ชื่อว่าเป็นจริง เพราะเป็นของมี อยู่ ชื่อว่า เป็นของแท้ เพราะเป็นของไม่วิปริต.
บทว่า "กาเลน" ได้แก่ ตามกาลอันควรและเหมาะสม.
ข้อว่า "ตตฺร กาลญฺญู โหติ" ความว่า คำนี้ใด ท่านกล่าวไว้ว่า "กาเลน" ก็บุคคลใดเป็นกาลัญญู คือเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อประโยชน์แก่การ พยากรณ์ปัญหานั้นว่า กาลนี้เมื่อข้าพเจ้าถูกเขาถามปัญหาไม่ควรกล่าว ในกาลนี้ ควรกล่าว" เพราะเหตุนี้ผู้นี้ จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวตามกาล.
สองบทว่า "อุเปกฺโข วิหรติ" ได้แก่ เป็นผู้ตั้งอยู่ในอุเบกขาอัน มีความเป็นกลาง. ในคำทุกๆ บทที่เหลือมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 365
[๑๒๘] ๑. บุคคล ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยแห่งความหมั่น
มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ เป็นไฉน?
อาชีพของบุคคลใด ย่อมเจริญรุ่งเรืองเพราะความหมั่น ความขยัน ความเพียรพยายาม มิได้บังเกิดแต่บุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผล แห่งความหมั่น มิใช่ดำรงอยู่ด้วยผลแห่งบุญ.
๒. บุคคลผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น เป็นไฉน?
เทวดาชั้นสูงๆ ขึ้นไป ตลอดถึงเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี ชื่อว่าผู้ ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ มิใช่ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น.
๓. บุคคล ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วยดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย เป็นไฉน?
อาชีพของบุคคลใด ย่อมเจริญรุ่งเรืองเพราะความหมั่น ความขยัน ความเพียร ความพยายามด้วย เพราะบุญด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพอยู่ ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วย ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย.
๔. บุคคล ผู้มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วย มิใช่ดำรง พอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย เป็นไฉน?
สัตว์นรกทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีใช่ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ด้วย มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 366
อรรถกถาบุคคลผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ฯลฯ เป็นต้น
ผู้ใด ให้เวลาล่วงไปตลอดวันด้วยความหมั่น คือ ความเพียรนั่นแหละ ได้วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งอันสักว่าเป็นผลอันไหลออกของความหมั่นนั้นแล้วสำเร็จ การเลี้ยงชีพอยู่ ก็บุคคลอาศัยความหมั่นนั้นแล้วไม่ได้ผลแห่งบุญอย่างใดเอย่าง หนึ่งตามที่ท่านหมายเอาบุคคลผู้นั้น แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า "ยสฺส ปุคฺคลสฺส อุฏฺหโต" ดังนี้.
บทว่า "ตตูปรเทว" ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย ในเบื้องบนจากนั้น มีพวกพรหมเป็นต้น จริงอยู่ ชื่อว่า กิจ คือการงาน ด้วยความขยันหมั่นเพียร ย่อมไม่มีแก่เทพเหล่านั้น พวกเทพเหล่านั้นอาศัยผลบุญเท่านั้นเป็นอยู่.
คำว่า "ปุญฺโต" นี้กล่าวหมายถึงชนทั้งหลายผู้มีบุญ มีกษัตริย์ มหาศาล พราหมณมหาศาล และเทวดาทั้งหลาย ตั้งแต่ภุมมเทวดาจนถึงเทวดา ชั้นนิมมานรดีเป็นที่สุด เพราะว่าเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นแม้ทั้งปวง ย่อม เสวยผลแห่งความเพียร และผลแห่งบุญ ส่วนสัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมไม่อาจ เพื่อทำอาชีพให้เกิดขึ้นด้วยความเพียรได้เลย ทั้งอาชีพอะไรๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่ สัตว์นรกเหล่านั้น ด้วยผลแห่งบุญก็ไม่มี.
[๑๒๙] ๑. ตโมตมปรายนบุคคล บุคคล บุคคลผู้มืดมา มืดไป เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมา ในตระกูลต่ำ คือตระกูล คนจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างหนัง ตระกูลคน เทดอกไม้ ซึ่งขัดสนมีข้าวน้ำโภชนะน้อยมีความเป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารที่จะ พึงกิน มีผ้านุ่งห่มหาได้ยาก และบุคคลนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว ไม่น่าดูเป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 367
คนเตี้ย มีอาพาธมาก เป็นคนบอด คนมือเท้ากุด คนกระจอก หรือเป็นคนง่อย มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุเป็นอุปกรณ์แห่งประทีป เขาย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทาง วาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะความแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้มืดมา มืดไป.
๒. ตโมโชติปรายบุคคล บุคคลผู้มืดมา สว่างไป เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมา ในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างหนัง ตระกูลคนเท ดอกไม้ ซึ่งขัดสน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหาร ที่จะพึงกิน มีผ้านุ่งห่มหาได้ยาก และบุคคลนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว ไม่น่าดู เป็นคนเตี้ย มีอาพาธมาก เป็นคนบอด คนมือเทากุด คนกระจอก หรือเป็นคนง่อย มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ประทีบ เขาย่อมประพฤติสุจริตทางกาย ประพฤติสุจริตทางวาจา ประพฤติสุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะความแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้มืดมา สว่างไป.
๓. โชติตมปรายนบุคคล บุคคลผู้สว่างมา มืดไป เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมาแล้ว ในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล ตระกูลคหบดีมหาศาล ซึ่งมี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 368
อำนาจวาสนามาก มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินเพียงพอ มีอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจเพียงพอ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเพียงพอ และบุคคลนั้น เป็นผู้มีรูปงามน่าดู น่าชม น่าเลื่อมใสประกอบด้วยเป็นผู้มีสรีระมีสีราวกับทอง มีปกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยานดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริต ทาง วาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะความแตกแห่งร่างกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้สว่างมา มืดไป.
๔. โชติโชติปรายนบุคคล บุคคลผู้สว่างมา สว่างไป เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมาแล้วในตระกูลสูง คือตระกูล ขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล ซึ่ง มีอำนาจวาสนา มีโภคะมาก มีทองและเงินเพียงพอ มีทรัพย์และข้าวเปลือก เพียงพอ และบุคคลนั้นเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ประกอบด้วย ความเป็นผู้มีสรีระราวกับทอง มีปกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมประพฤติ สุจริตทางกาย ประพฤติสุจริตทางวาจา ประพฤติสุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติ สุจริตทางกาย วาจา ใจ แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะความแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้สว่างมา สว่างไป.
[๑๓๐] ๑. โอณโตณตบุคคล บุคคลผู้ต่ำมา ต่ำไปเป็นไฉน?
ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ต่ำมา ต่ำไป (เหมือนบุคคลพวกที่ ๑ ข้อ ๑๒๙)
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 369
๒. โอณตุณณตบุคคล บุคคลผู้ต่ำมา สูงไปเป็นไฉน?
ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ต่ำมา สูงไป (เหมือนบุคคลพวกที่ ๒ ข้อ ๑๒๙)
๓. อุณณโตณตบุคคล บุคคลผู้สูงมาต่ำไป เป็นไฉน?
ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้สูงมาต่ำไป (เหมือนบุคคลพวกที่ ๓ ข้อ ๑๒๙)
๔. อุณณตุณณตบุคคล บุคคลผู้สูงมาสูงไป เป็นไฉน?
ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้สูงมา สูงไป (เหมือนบุคคลพวกที่ ๔ ข้อ ๑๒๙)
อรรถกถาบุคคลผู้มืดมามืดไปเป็นต้น
บุคคลใด ประกอบด้วยความมืด เป็นต้นว่า เกิดมาในตระกูลต่ำ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า ตโม แปลว่า ผู้มืด. บุคคลชื่อว่า ตมปรายโน คือ ผู้มีความมืดเป็นไปในเบื้องหน้า เพราะการเข้าถึงความ มืดในนรกอีก ด้วยทุจริตทั้งหลาย มีกายทุจริตเป็นต้น.
บทว่า "เนสาทกุเล" ได้แก่ ตระกูลนายพรานเนื้อเป็นต้น. คำว่า "เวนกุเล" ได้แก่ ตระกูลช่างจักสาน. คำว่า "ปุกฺกกกุสกุเล" ได้แก่ ตระกูล บุคคลผู้ทิ้งดอกไม้. คำว่า "กสิรวุตฺติเก" แปลว่า มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง. บทว่า "ทุพฺพณฺโณ" ได้แก่ ผู้มีผิวพรรณดุจตอไม้ที่ถูกไฟไหม้ เหมือน ปีศาจคลุกฝุ่น เล่นฝุ่น. บทว่า "ทุทฺทสฺสิโก" ได้แก่ใครๆ เห็นไม่เป็นที่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 370
ชอบใจแม้แต่มารดาผู้บังเกิดกล้าของตน. คำว่า "โอโฏฏิมโก" แปลว่า เป็น คนเตี้ย. บทว่า "กาโณ" ได้แก่ มีตาบอดข้างหนึ่ง หรือสองข้าง. บทว่า "กุณี" ได้แก่ มีมือง่ายข้างหนึ่ง หรือสองข้าง. บทว่า "ขญฺโช" ดังที่ เท้าเขยกข้างหนึ่ง หรือสองข้าง. บทว่า "ปกฺขหโต" ได้แก่ ผู้ถูกโรค กำจัดไปแถบหนึ่ง คือ เป็นผู้ง่อยเปลี้ย. บทว่า "ปทีเปยฺยสฺส" ได้แก่ อุปกรณ์แห่งประทีป มีน้ำมันและตะเกียงเป็นต้น.
ในคำว่า "เอวํ ปุคฺคโล ตโม โหติ ตมปรายโน" นี้ท่านอธิบาย ไว้ว่า บุคคลพวกหนึ่งไม่เห็นแสงสว่างในภายนอก ทำกาละ คือ ตายในท้อง มารดานั่นแหละแล้วเกิดในอบายทั้งหลาย เขาย่อมท่องเที่ยวไปตลอดกัปทั้งสิ้น ชื่อว่า ตโม ตมปรายโน คือ ผู้มืดมามืดไปนั่นเทียว และเขาผู้นั้นพึงเป็น กุหกบุคคล คือ บุคคลผู้หลอกลวง ก็การบังเกิดของกุหกบุคคลนั้น มีสภาวะ เห็นปานนี้ อนึ่งในอธิการนี้ ท่านแสดงการวิบัติแห่งการมา และความวิบัติ แห่งปัจจัยที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นของเขา ด้วยคำว่า "นีเจ กุเล ปจฺจาชาโต โหติ จณฺฑาลกุเล วา" ดังนี้เป็นต้น ซึ่งแปลความว่า ผู้เกิดมาแล้วในตระกูลต่ำ หรือตระกูลจัณฑาล. ท่านแสดงความวิบัติแห่งปัจจัยของกุหกบุคคลนั้น ด้วย คำเป็นต้นว่า "ทลิทฺเท" แปลว่า ขัดสน. ท่านแสดงความวิบัติแห่งอุบายเป็น เครื่องเลี้ยงชีพของเขา ด้วยตาเป็นต้นว่า "กสิรวุตฺติเก" แปลว่า ผู้เป็นอยู่ ลำบาก. ท่านแสดงความวิบัติแห่งรูปของเขา ด้วยคำเป็นต้นว่า "ทุพฺพณฺโณ" แปลว่า มีวรรณะทราม. ท่านแสดงความประกอบพร้อมด้วยเหตุแห่งทุกข์ของ เขาด้วยคำเป็นต้นว่า "พหฺวาพาโธ" แปลว่า มีอาพาธมาก. ท่านแสดงความ วิบัติด้วยเหตุแห่งความสุข และความวิบัติแห่งเครื่องอุปโภค ด้วยคำเป็นต้นว่า "น ลาภี" แปลว่าไม่มีลาภ. ท่านแสดงความประกอบเหตุแห่งความมีความมืด
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 371
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยคำเป็นต้นว่า "กาเยน ทุจฺจริตํ" แปลว่า มีกาย ทุจริตเป็นต้น. ท่านแสดงความเข้าถึงความมืดในภพเบื้องหน้า ด้วยคำเป็นต้น ว่า "กายสฺส เภทา" แปลว่า เพราะกายแตกทำลาย. บัณฑิตพึงทราบ ธรรมฝ่ายขาว โดยนัยตรงข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ในอธิการนี้ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า บุคคลประกอบด้วยความรุ่งเรืองมีการเกิดในภายหลัง เพราะความถึงพร้อมด้วยตระกูล ๓ อย่าง คือ กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล และ คหบดีมหาศาล ชื่อว่า โชติ ผู้รุ่งเรือง คือผู้สว่างมา และชื่อว่า โชติปรายโน แปลว่า ผู้สว่างไป ข้างหน้า เพราะความเข้าถึงความเป็นผู้สว่าง คือ การอุบัติขึ้นในภพสวรรค์ ด้วยสุจริตทั้งหลายมีกายสุจริตเป็นต้น.
บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "ขตฺติยมหาสาลกุเล วา" เป็น ต้น บทว่า "ขตฺติยมหาสาลา" ได้แก่กษัตริย์ผู้มีทรัพย์อันเป็นสาระมาก คือ ว่า กษัตริย์ผู้ถึงพร้อมด้วยสาระแห่งสมบัติมาก. ก็กษัตริย์เหล่าใด มีพระราชทรัพย์อย่างต่ำประมาณร้อยโกฏิอันเป็นทุนนอน และได้ตั้งขุมทรัพย์ไว้ ๓ หม้อ กระทำให้เป็นกองในท่ามกลางเรือนเพื่อประโยชน์แก่การใช้สอย กษัตริย์ เหล่านั้นชื่อว่า ขัตติยมหาศาล. พราหมณ์เหล่าใดมีทุนทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ตั้งขุมทรัพย์ไว้หม้อครึ่งสำหรับใช้สอยในบ้าน พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า พราหมณมหาศาล. คหบดีเหล่าใด มีทุนทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ตั้งขุมทรัพย์ไว้ หนึ่งหม้อ กระทำให้เป็นกองในท่ามกลางเรือนเพื่อต้องการใช้สอยในบ้าน คหบดีเหล่านั้น ชื่อว่า คหบดีมหาศาล. อธิบายว่าบุคคลผู้รุ่งเรืองคือผู้สว่าง มานั้น เกิดในตระกูลแห่งชนเหล่านั้น.
บทว่า "อฑฺเฒ" ได้แก่ ความเป็นอิสระ ชื่อว่ามีทรัพย์มาก เพราะ มีทรัพย์อันเป็นทุนนอนมาก. ชื่อว่ามีโภคะมาก เพราะมีเครื่องอุปโภค มี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 372
ภาชนะเงินเป็นต้นมาก. ชื่อว่า มีทองเงินมาก เพราะมีทองและเงินอันเป็น ต้นทุนเก็บไว้มากๆ ชื่อว่า มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจ คือมีเหตุแห่ง ความยินดีมาก. ชื่อว่า มีทรัพย์ และธัญญาหารมาก เพราะมีวัตถุทั้งหลาย มีโคและทรัพย์เป็นต้นด้วย มีธัญญาหาร ๗ ชนิดด้วย มาก.
คำว่า "อภิรูโป" แปลว่า มีรูปงาม.
คำว่า "ทสฺสนีโย" แปลว่า น่าทัศนา คือ สมควรแล้วแก่อันใครๆ จะละการงานอย่างอื่นแล้วมองดูแม้ตลอดวัน.
คำว่า "ปาสาทิโก" แปลว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใสแห่งจิต ด้วย การเห็นนั่น แหละ.
คำว่า "ปรมาย" แปลว่า สูงที่สุด.
บทว่า "วณฺณโปกฺขรตาย" ได้แก่ วรรณะแห่งสรีระ สรีระท่าน เรียกว่า โปกฺขรํ อธิบายว่า เพราะความถึงพร้อมด้วยวรรณะแห่งสรีระนั้น. บทว่า "สมนฺนาคโต" ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย ในคำ "โอณโตณตา" เป็นต้น ชื่อว่า ผู้ต่ำ เพราะเว้นจากสมบัติในทิฏฐธรรมิกภพหรือในสัมปรายิกภพ อธิบายว่า เป็นผู้ต่ำ คือเป็นผู้ลามก. ชื่อว่า ผู้สูง เพราะความเป็นสภาพตรงกันข้ามกับคนต่ำนั้น อธิบายว่า ผู้สูง คือ เป็นผู้เลิศ. คำที่เหลือในที่นี้บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในคำว่า ผู้มืด เป็นต้น. อีก อย่างหนึ่ง บทว่า "โอณโตณโต" ความว่า บัดนี้ คือชาตินี้เป็นผู้ต่ำ แม้ต่อไป คือชาติต่อไป ก็จะเป็นผู้ต่ำนั่นแหละ. บทว่า "โอณตุณฺณโต" ความว่า ชาติ นี้เป็นผู้ต่ำ แต่ชาติต่อไปจักเป็นผู้สูง. บทว่า "อุณฺณโตณโต" ความว่า ชาติ นี้เป็นผู้สูง แต่ชาติต่อไปจักเป็นผู้ต่ำ. บทว่า "อุณฺณโตณฺณโต" ความว่า ชาตินี้เป็นผู้สูง แม้ชาติต่อไปก็จักเป็นผู้สูง.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 373
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ ชนิด เป็น ไฉน?
[๑๓๑] ต้นไม้ ๔ ชนิด คือ
ไม้มีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น ๑
ไม้มีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ ๑
ไม้มีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ ๑
ไม้มีแก่น บริวารก็มีแก่น ๑
[๑๓๒] บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏ อยู่ในโลก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน?
บุคคลมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น ๑
บุคคลมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ ๑
บุคคลมีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ ๑
บุคคลมีแก่น บริวารก็มีแก่น ๑
๑. บุคคลมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมอันลามก แต่บริษัทของ บุคคลนั้น เป็นคนมีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น ต้นไม้นั้นมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมย ฉันนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 374
๒. บุคคลมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ส่วนบริษัทของ บุคคลนั้นเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น แต่ บริวารมีกระพี้ ต้นไม้นั้นมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมย ฉันนั้น.
๓. บุคคลมีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก แม้บริษัทของ บุคคลนั้นก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ ต้นไม้มีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้นั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมย ฉันนั้น.
๔. บุคคลมีแก่น บริวารก็มีแก่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ฝ่ายบริษัทของ บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น บริวาร ก็มีแก่น ต้นไม้มีแก่น บริวารก็มีแก่นนั้น ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมย ฉันนั้น
บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก.
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวก
พึงทราบต้นไม้มีกระพี้ บริวารมีแก่นก่อน. ต้นไม้เจริญที่สุดใน ป่าตัวเองมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยนี้ ก็ใน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 375
บุคคลทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบความที่บุคคลผู้เป็นเช่นกับต้นไม้มีกระพี้ เพราะเว้นจากสาระคือศีล และพึงทราบความที่บุคคลผู้เปรียบด้วยต้นไม้มีแก่น เพราะประกอบด้วยสาระคือศีล.
[๑๓๓] ๑. รุปัปปมาโณรูปัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือรูปเป็น ประมาณ เลื่อมใสในรูปเป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปที่สูง รูปที่ไม่อ้วนไม่ผอม รูปที่มีอวัยวะ สมส่วนหรือรูปที่งามพร้อมไม่มีที่ติ ถือเอาเป็นประมาณในรูปนั้น แล้วจึงยัง ความเลื่อมใสให้เกิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป.
๒. โฆสัปปมาโณโฆสัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือ เสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียงเป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือเอาประมาณในเสียงนั้น โดยการสรรเสริญ คุณที่คนอื่นพูดในที่ลับหลัง โดยการชมเชยที่คนอื่นนิพนธ์ขึ้น โดยการยกย่อง ที่คนอื่นพูดต่อหน้า โดยการสรรเสริญที่ผู้อื่นนำไปพรรณนาต่างๆ กันไป แล้ว จึงยังความเลื่อมใสให้เกิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน เสียง.
๓. ลูขัปปมาโณลูขัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือความ เศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นความเศร้าหมองแห่งจีวร เห็นความเศร้า หมองแห่งบาตร เห็นความเศร้าหมองแห่งเสนาสนะ หรือเห็นการทำทุกรกิริยา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 376
มีอย่างต่างๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงยังความเลื่อมใส ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสใน ความเศร้าหมอง.
๔. ธัมมัปปมาโณธัมมัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือ ธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นศีล เห็นสมาธิ เห็นปัญญา ถือเอาธรรมนั้น เป็นประมาณแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือธรรมเป็น ประมาณ เลื่อมใสในธรรม.
อรรถกถาบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป เป็นต้น
บุคคลใด ย่อมกระทำรูปอันสมควรแก่สมบัติให้เป็นประมาณ เพราะ เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า รูปปฺปมาโณ แปลว่า ผู้กระทำรูปให้เป็นประมาณ. บุคคลใด ย่อมยังความเลื่อมใสให้เกิดในรูปอันควรแก่สมบัตินั้น เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า รูปปฺปสนฺโน แปลว่า ผู้เลื่อมใสในรูป.
บุคคลใดย่อมกระทำเสียงอันเป็นกิตติศัพท์ให้เป็นประมาณ เพราะเหตุ นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า โฆสปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ.
วินิจฉัยในคำว่า "อาโรหํ ว" เป็นต้น ก็คำว่า "อาโรหํ" ได้แก่ สูงขึ้นไป. คำว่า "ปริณาหํ" ได้แก่ มีรูปสมบัติอันสมบูรณ์โดยรอบ ปราศ- จากความผอมและอ้วน. บทว่า "สณฺานํ" ได้แก่ ความเป็นของคงที่แห่ง อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลาย ในที่ที่ควรแล้ว มีความยาว สั้น และกลมเป็นต้น. บทว่า "ปริปูรึ" ได้แก่ ความไม่บกพร่องของอวัยวะทั้งหลายมีประการตาม
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 377
ที่กล่าวแล้ว หรือความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยลักษณะ. บทว่า "ปรวณฺณนาย" ได้แก่ เพราะการพรรณนาคุณ อันผู้อื่นเปล่งออกแล้วในที่ลับหลัง. บทว่า "ปรโถมนาย" ได้แก่ การสดุดี (การยกย่อง) ที่ผู้อื่นกล่าวได้ด้วยสามารถ แห่งการชมเชย มีการนิพนธ์ผูกเป็นคาถาไว้ เป็นต้น. บทว่า "ปรปสํสนาย" ได้แก่ การสรรเสริญคุณที่ผู้อื่นกล่าวเฉพาะหน้า. บทว่า "ปรวณฺณหาริกาย" ได้แก่ การนำการสรรเสริญคุณ ที่ผู้อื่นให้เป็นไปด้วยอำนาจการชมเชยต่อๆ กันไป. บทว่า "จีวรลูขํ" ได้แก่ ความที่จีวรเป็นของเศร้าหมอง โดยภาวะมี สีไม่ดีเป็นต้น. บทว่า "ปตฺตลูขํ" ได้แก่ ความที่ภาชนะเป็นของเศร้าหมอง ด้วยสี สัณฐาน และพัสดุ. บทว่า "เสนาสนลูขํ" ได้แก่ ความที่เสนาสนะเป็นของเศร้าหมอง เพราะเว้นจากสมบัติของนักฟ้อนรำเป็นต้น. บทว่า "วิวิธํ" ได้แก่ มีประการต่างๆ โดยความเป็นของอเจลก (ชีเปลือย) เป็น ต้น. บทว่า "ทุกฺกรการกํ" ได้แก่ การกระทำสรีระของตนให้เร่าร้อน.
อปโร นโย อีกนัยหนึ่ง ก็บุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ถือประมาณ ในรูปแล้วเลื่อมใส ชื่อว่า รูปปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือรูปเป็นประมาณ. บทว่า "รูปปฺปสนฺโน" แปลว่า ผู้เลื่อมใสในรูป ได้แก่ เป็นการกล่าวถึงเนื้อความ ของบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณนั้นนั่นแหละ. บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ แล้วเลื่อมใส ชื่อว่า โฆสปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ. บุคคลผู้ถือประมาณในจีวรที่เศร้าหมอง และบาตรที่เศร้าหมองแล้วเลื่อมใส ชื่อว่า ลูขปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ. บุคคลผู้ ถือธรรมเป็นประมาณแล้วก็เลื่อมใส ชื่อว่า ธมฺมปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือ ธรรมเป็นประมาณ. คำนอกจากนี้ เป็นการกล่าวถึงเนื้อความของบุคคล จำพวกเหล่านั้นนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 378
ก็สัตว์โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ที่ถือรูปเป็นประมาณมี ๒ ส่วน ที่ไม่ถือมี ๑ ส่วน. สัตว์โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ที่ถือเสียง เป็นประมาณมี ๔ ส่วน ที่ไม่ถือมี ๑ ส่วน. สัตวโลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๑๐ ส่วน ที่ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณมี ๙ ส่วน ที่ไม่ถือมี ๑ ส่วน. สัตว์ โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็นแสนส่วน ส่วนเดียวเท่านั้น ถือธรรมเป็นประมาณ ส่วนที่เหลือไม่ถือธรรมเป็นประมาณ โลกสันนิวาสนี้ถือประมาณ ๔ อย่าง อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในโลกสันนิวาสมีประมาณ ๔ อย่างนี้ ผู้ที่ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ทั้งหลายมีประมาณน้อย ที่เลื่อมใสมีมาก เพราะว่าบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ ชื่อว่า รูปอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส ยิ่งกว่ารูปของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือเสียงเป็นประมาณ ชื่อว่า เสียงอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสยิ่งกว่า เสียงประกาศเกียรติคุณของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชื่อว่า ความเศร้าหมองอื่นอันนำ ความเลื่อมใสมา ที่ยิ่งกว่าความเศร้าหมองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ละผ้าทั้งหลายที่เขาทอในแคว้นกาสี ละภาชนะทองคำอันมีค่ามาก และละปราสาทอันประกอบด้วยสมบัติทั้งปวงอันสมควรแก่ฤดูกาลทั้ง ๓ แล้ว เสพผ้าบังสุกุลจีวร บาตรอันสำเร็จด้วยศิลา และเสนาสนะมีโคนไม้เป็นต้น ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือธรรมเป็นประมาณ ชื่อว่า คุณมี ศีลเป็นต้นอื่น อันนำมาซึ่ง ความเลื่อมใส อันยิ่งกว่าคุณมีศีลเป็นต้น ของพระตถาคต ผู้มีศีลาที่คุณอันไม่ทั่ว ไปในโลกนี้ตลอดเทวโลก ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรง อยู่ เป็นเสมือนหนึ่งถือเอาโลกสันนิวาสมีประมาณ ๔ นี้ ด้วยกำมือฉะนี้แล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 379
[๑๓๔] ๑. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ไม่ ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ไม่ ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่ ไม่ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่าง นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น.
๒. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น แต่ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ชักชวน ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ชักชวนคน อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่ชักชวนคน อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง แต่ชักชวนคนอื่น ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง แต่ ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์คนอื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน.
๓. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์คนอื่นด้วย เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 380
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเองด้วย ชักชวน ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเองด้วย ชักชวนคนอื่นให้ ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเองด้วย ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตน เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ- ญาณทัสสนะด้วยตนเองด้วยชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย.
๔. บุคคล ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวน ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีลไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง ไม่ ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น.
อรรถกถาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเป็นต้น
วินิจฉัยในดีว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นต้น. บทว่า "สีลสมฺปนฺโน" ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมแล้ว คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล. ในบุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในคำว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 381
ศีลเป็นต้นนั้น ศีล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้งโลกียศีล และ โลกุตตรศีล. สมาธิและปัญญา ก็เหมือนกัน. วิมุตติ ได้แก่ วิมุตติแห่งอรหัตตผล. วิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ มี ๑๙ อย่าง.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "โน ปรํ" เป็นต้น ก็บุคคลกล่าวกับผู้อื่น ว่า แม้ท่านก็สมควรถึงพร้อมด้วยศีล แต่ตนเองสมาทานศีลโดยวิธีใด ย่อม ไม่ชักชวน ไม่ยังบุคคลอื่นให้ถือเอาโดยวิธีนั้น, ในทุกๆ บท ก็มีนัยนี้เหมือน กัน. ก็บรรดาบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า บุคคลพวกที่ ๑ ย่อมเป็นเช่นกันพระเถระ ชื่อว่า พกุละ. พวกที่ ๒ เป็นเช่นกับ พระอุปนันทศากยบุตร พวกที่ ๓ เป็นเช่นกับ พระสารีบุตรเถระ และ พระโมคคัลลานเถระ. พวกที่ ๔ เป็นเช่นกับ พระเทวทัต.
[๑๓๕] ๑. บุคคล ทำตนให้เดือดร้อน ขวนขวายประกอบ สิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ไม่มีอาจาระ บริโภคอุจจาระซึ่ง ติดที่มือ คนเรียกให้มารับภิกษาไม่มา คนบอกให้หยุดไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขา รับก่อนแล้วนำมา ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำอุทิศเพื่อตน ไม่รับนิมนต์เขา ไม่รับ ภิกษาที่เขาคดจากหม้อแล้วก็ให้ ไม่รับจากหม้อข้าวหรือกระเช้า ไม่รับภิกษาที่มี ธรณีประตูเป็นระหว่างคั่น ไม่รับภิกษาที่มีท่อนไม้เป็นระหว่างคั่น ไม่รับภิกษา ที่มีสากเป็นระหว่างคั้น ไม่รับภิกษาของตนทั้ง ๒ ซึ่งกำลังบริโภคอยู่ ไม่รับ ภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มน้ำนมอยู่ ไม่รับ ภิกษาของหญิงผู้อยู่ในระหว่างบุรุษ ไม่รับภิกษาในภัตที่เขาทำรวมกันไว้ ไม่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 382
รับภิกษาในที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันอยู่เป็นหมู่ๆ ไม่รับปลา เนื้อ ไม่ดื่มสุราเมรัย น้ำส่าหมัก บุคคลผู้นั้นเป็นผู้รับภิกษาในเรือนหลังเดียว ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเพียงคำเดียวบ้าง เป็นผู้รับภิกษาในเรือนสองหลัง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวสองคำบ้าง ฯลฯ เป็นผู้รับภิกษาในเรือนเจ็ดหลัง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเจ็ดคำบ้าง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยภิกษาอันเขา จัดให้เป็นไปด้วยภิกษาอันเขาจัดไว้ให้ ๒ ที่บ้าง ฯลฯ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย ภิกษาอันเขาจัดไว้ให้ ๗ ที่บ้าง ย่อมบริโภคอาหารวันละ ๑ ครั้งบ้าง. ย่อมบริ- โภคอาหารสองวันต่อครั้งบ้าง ฯลฯ ย่อมบริโภคอาหารเจ็ดวันต่อครั้งบ้าง เป็น ผู้ขวนขวายประกอบในการบริโภคอาหารโดยปริยาย กึ่งเดือนต่อครั้งบ้าง เห็น ปานนี้อยู่ด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีผักเป็นภักษาบ้างเป็นผู้มีข้าวฟ่าง เป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีเศษหนังเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มียางไม้เป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีปลายข้าวเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีข้าวตัง เป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีน้ำข้าวเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง เป็น ผู้มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยมูลผลาหารในป่า มีปกติบริโภค ผลไม้ที่หล่นแล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมครองผ้าป่านบ้าง ย่อมครองผ้าเจือป่านบ้าง ย่อมครองผ้าที่เขาทิ้งจากซากศพบ้าง ย่อมครองผ้าบังสุกุลบ้าง ย่อมครองผ้า เปลือกไม้บ้าง ย่อมครองผ้าหนังเสือบ้าง ย่อมครองผ้าหนังเสือผ่ากลางบ้าง ย่อมครองผ้าคากรองบ้าง ย่อมครองผ้าเปลือกไม้กรองบ้าง ย่อมครองผ้าผลไม้ กรองบ้าง ย่อมครองผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์บ้าง ย่อมครองผ้ากัมพลที่ทำ ด้วยหนังสัตว์ร้ายบ้าง ย่อมครองผ้าที่ทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและ หนวด ขวนขวายประกอบในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืนอยู่โดยไม่ ต้องการที่นั่งบ้าง เป็นผู้นั่งกระโหย่งประกอบความเพียรในการนั่งกระโหย่งบ้าง
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 383
เป็นผู้ทำการยืนและจงกรมเป็นต้นบนเหล็กแหลม สำเร็จการนอนบนเหล็กแหลม นั้นบ้าง เป็นผู้ขวนขวายประกอบความเพียรในการลงน้ำลอยบาป มีเวลาเย็น เป็นครั้งที่ ๓ อยู่บ้าง เป็นผู้ขวนขวายประกอบในการยังกายให้ร้อนทั่วและให้ ร้อนรอบ มีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ด้วยประการฉะนี้อยู่ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ทำคนให้เดือดร้อนและขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน.
๒. บุคคล ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ขวนขวายประกอบ สิ่งที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าเนื้อ ฆ่านก เป็น พราน เป็นชาวประมง เป็นโจร เป็นโจรผู้ฆ่าคน เป็นคนฆ่าโค เป็นผู้ รักษาเรือนจำ ก็หรือว่าบุคคลบางพวกแม้เหล่าอื่นผู้มีการงานอันทารุณ บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
๓. บุคคล ทำตนให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและขวนขวาย ประกอบสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นกษัตริย์ผู้พระราชาได้รับมุรธาภิเษกแล้ว หรือเป็นพราหมณมหาศาล บุคคลนั้นให้สร้างสันถาคารมใหม่สำหรับพระนคร ด้านทิศบูรพา ปลงผมและหนวด นุ่งห่มหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ ทากายด้วย เนยใสและน้ำมัน เกาหลังด้วยเขาเนื้อเข้าไปสู่สันถาคารพร้อมเหสีและ พราหมณ์ปุโรหิต ผู้นั้นย่อมสำเร็จการนอนในที่นั้น บนพื้นปราศจากเครื่องลาด ซึ่งบุคคลเข้าไปฉาบทาด้วยของเขียว พระราชาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 384
น้ำนมในนมเต้าที่หนึ่งของแม่โคนั้นซึ่งมีลูกเช่นกับแม่ (คือแม่ขาวลูกก็ขาวแม่ แดงลูกก็แดง) พระมเหสีย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมในนมเต้าที่สองนั้น พราหมณ์ปุโรหิตย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมในนมเต้าที่สามนั้น ย่อมบูชา ไฟด้วยน้ำนมในนมเต้าที่สี่นั้น ลูกโคย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชานั้นตรัสแล้วอย่างนี้ว่า พวกท่านจงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้เพื่อบูชา ยัญ จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ ตัวเมียประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าแพะประมาณเท่านี้ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าม้าประมาณ เท่านี้เพื่อบูชายัญ จงตัดไม้ประมาณเท่านี้เพื่อปลูกโรงพิธี จงเกี่ยวแฝกประมาณ เท่านี้เพื่อประโยชน์แก่การทำเครื่องแวดล้อม แม้คนเหล่าใดเป็นทาส เป็นคนใช้ หรือเป็นกรรมกรของพระราชานั้น แม้คนเหล่านั้นก็ถูกอาญาคุกคามแล้ว ถูกภัย คุกคามแล้ว มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ ย่อมต้องทำการงานรอบข้างทั้งหลาย บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตน ให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน.
๔. บุคคล ที่ไม่ทำตนให้เดือดร้อน และไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และ ไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน?
บุคคลนั้น ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มี ตัณหา ดับกิเลสได้แล้ว เป็นผู้เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ใน ทิฏฐธรรม พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ พระองค์เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้โลก เป็นสารถี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 385
ฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีโชค พระองค์ทรงทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก สมณพราหมณ์ ประชาชนพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะรู้ยิ่งด้วยพระองค์ เองแล้วทรงประกาศ พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่าม กลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คหบดีหรือบุตรแห่งคหบดี หรือผู้ที่เกิดเฉพาะแล้วในตระกูล ใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ผู้นั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ย่อมได้ความเลื่อม ใสในพระตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งความเลื่อมใสนั้น ย่อม พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชามีโอกาส ดียิ่ง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เช่นกับสังข์ที่ขัดดีแล้วเป็นของทำได้ยาก ถ้ากระไร แล้ว เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ผู้ไม่มีเรือนดังนี้ โดยสมัยอื่นเขาละกองแห่งโภคะน้อยหรือมาก ละเครือญาติ น้อยหรือมาก ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตผู้ไม่มีเรือน ผู้นั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพรอ้มด้วยสิกขาสาชีพของ ภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วาง ศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่ ปวงสัตว์อยู่ ละการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่ เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ มีความประพฤติห่าง ไกลจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจ ของชาวบ้าน ละการพูดเท็จ เว้นจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 386
เป็นนิจ มีถ้อยคำมั่นคง ไม่พูดพล่อย ไม่พูดลวงโลก ละคำพูดส่อเสียด ฟัง ข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังข้างโน้นแล้ว ไม่บอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในความ พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในหมู่คนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คน พร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบเว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษเพราะ หู เป็นที่ตั้งแห่งความรัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนf ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ผู้นั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันใน เวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่นอันเป็น ข้าศึกต่อพระศาสนา เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอก ไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นที่ตั้งแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจาก การนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน สูงและใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้น ขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับ สตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาสา เว้นขาดจากการรับแพะและ แกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง ม้า ลา เว้นขาด จากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้น ขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากโกงด้วยเครื่องตวงเครื่องวัด เว้นขาดจากการคด โกงโดยการรับสินบน โดยการหลอกลวง โดยการทำของเทียมของปลอม เว้น ขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก เธอเป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 387
ผู้ยินดีด้วยจีวรสำหรับบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตสำหรับบริหารท้อง เธอย่อม ถือเอาเพียงบริขาร ๘ เท่านั้น แล้วหลีกไปโดยทิศที่ตนปรารถนาจะไป นกมีซึ่ง. ปีก มีภาระเพียงปีกของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมบินไปตามทิศที่ตนประสงค์ จะไป ชื่อแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยินดีด้วยจีวรสำหรับบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตสำหรับบริหารท้อง ย่อมถือเอาเพียงบริขาร ๘ เท่านั้นแล้วหลีก ไปโดยทิศที่ตนปรารถนาจะไป เธอประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์อันประเสริฐนี้ ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งสุขอันหาโทษมิได้ในภายใน เธอเห็นรูปด้วยตา ไม่เป็นผู้ถือ เอาซึ่งนิมิต ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือจักษุนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์คือจักษุใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ คือจักษุนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์ คือจักษุ ย่อมถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือ จักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่ง นิมิต ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือใจนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ คือใจใด ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ คือใจนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์ คือใจนั้น ย่อมถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือใจนั้น เธอ ประกอบแล้วด้วยอินทรีย์สังวรอันประเสริฐนี้ ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสุขอัน สรรพกิเลสรั่วรดไม่ได้ เธอย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการก้าวไป ในการถอย กลับ ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการแลไปข้างหน้าและเหลียวไปข้างๆ ย่อม ทำความรู้ทั่วพร้อมในการคู้เข้าเหยียดออก ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการทรง สังฆาฏิบาตร และจีวร ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 388
ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมใน การเดินไป ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ใน การนิ่ง เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันประเสริฐนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันประเสริฐนี้ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันประเสริฐนี้ และประกอบด้วย ความสันโดษอันประเสริฐนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในเขา ป่าช้า ป่าดง กลางแจ้ง กองฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตร นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น เธอละอภิชฌาใน โลกเสียได้ มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ยังจิตให้ผ่องใสจากอภิชฌา ละความขัด เคือง คือ พยาบาทแล้วมีจิตไม่เบียดเบียน มีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อยู่ ยังจิตให้ผ่องใสจากความขัดเคือง คือพยาบาท ละถีนมิทธะ เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ มีสัญญาในแสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะ ยังจิตให้ผ่องใสจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านอยู่ ผู้ มีจิตสงบระงับในภายใน ยังจิตให้ผ่องใสจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา มี วิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ไม่มีการกล่าวว่าอย่างไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ยัง จิตให้ผ่องใสจากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ห้าเหล่านั้นได้แล้ว สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะความสงบแห่งวิตกและวิจาร เข้า ทุติยฌานอันยังใจให้ผ่องใส เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายในไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะเบื่อหน่ายปีติ เป็น ผู้มีจิตเป็นอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยกาย เข้าตติยฌาน มีนัยอันพระอริยะทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้มีจิตอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ สำเร็จ อิริยาบถอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัส
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 389
ในก่อนเทียว เข้าจตุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์เกิดแต่อุเบกขา สำเร็จอิริยาบถอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ จากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นแล้วถึงความไม่หวั่น ไหวแล้วดังนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึก ชาติที่เคยเกิดในก่อนได้เป็นอันมาก นี้คืออย่างไร คือ หนึ่งชาติบ้าง สอง ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏะกัปเป็น อันมากบ้างว่า ในภพนั้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีวรรณะอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้น เขาจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นก็มีชื่ออย่างนั้น มี โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุ เพียงเท่านั้น ครั้นเขาจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึง ชาติที่เคยเกิดในก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย ประการฉะนี้ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ- จากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว แล้วอย่างนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอย่อม เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิดอยู่ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุแห่งมนุษย์ ย่อมรู้ ชัดซึ่งหมู่มนุษย์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วย อำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 390
เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็น สัมมาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด เลว ประณีตมีผิวพรรณ ดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่ การงานตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวแล้ว อย่างนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอ รู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ สิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าไม่ทำคนให้เดือดร้อน ไม่ขวนขวายประกอบ สิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และไม่ขวนขวายประกอบสิ่ง ที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน. บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน นั้น เป็นผู้ไม่มีความปรารถนา เป็นผู้มีกิเลสอันดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว ย่อม เป็นผู้เสวยความสุข สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมด้วยคนอันประเสริฐ.
อรรถกถาบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นต้น
บุคคลใด ย่อมทรมานตน คือย่อมทำคนให้ถึงความทุกข์ เพราะ เหตุนั้นบุคคลนั้น จึงชื่อว่า อตฺตนฺตโป แปลว่า ผู้ทำตนให้เร่าร้อน. การ ประกอบตามในการยังตน ให้เร่าร้อน ชื่อว่า อตฺตปริตาปนานุโยคํ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 391
บทว่า "อเจลโก" ได้แก่ ผู้ไม่นุ่งผ้า คือ ผู้เปลือยกาย. บทว่า "มุตฺตาจาโร" แปลว่า ผู้มีอาจาระอันสลัดทิ้งแล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า "อุจจารกรรม" เป็นต้น ได้แก่ บุคคลผู้เว้นจากอาจาระของกุลบุตร ชาวโลกดำรงชีวิตอยู่ ทำการเคี้ยว กิน คือ บริโภคอุจจาระ ปัสสาวะ. บทว่า "หตฺถาวเลขโน" ความว่า เมื่อก้อนอุจจาระติดมือ ก็ใช้ลิ้นเลีย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงไว้ว่า ถ่ายอุจจาระแล้วเป็นผู้มีความสำคัญว่ามีท่อนไม้ ในมือนั่นแหละแล้วก็บริโภคด้วยมือ. ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นย่อมบัญญัติท่อน ไม้ว่า เป็นสัตว์ เพราะฉะนั้น เมื่อเขา (เดียรถีย์) จะบำเพ็ญปฏิปทาของชน เหล่านั้น จึงกระทำอย่างนั้น.
ผู้ใด อันบุคคลอื่นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงมาเพื่อประโยชน์ แก่การรับภิกขา ก็ไม่มา เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า นเอหิภทนฺติโก. ผู้ใด แม้อันผู้อื่นกล่าวว่าผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงยืนอยู่ ก็ไม่ยืนอยู่ เพราะ เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า นติฏฺภทนฺติโก. ก็เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กระทำ ตามคำของบุคคลนั้นทั้ง ๒ อย่างด้วยคิดว่า คำของผู้นั้น จักเป็นกรรมอันเรา กระทำแล้ว. บทว่า "อภิหฏํ" ได้แก่ ภิกษาที่เขาถือเอาก่อน แล้วนำมาให้. บทว่า "อุทฺทิสฺส กตํ" ได้แก่ ภิกษาที่เขาบอกอย่างนี้ว่า ภิกษานี้เขาทำเฉพาะ ท่าน. บทว่า "นิมนฺตนํ" ไค้แก่ ไม่ยินดี และไม่ถือเอา แม้ภิกษาที่เขา นิมนต์อย่างนี้ว่า ท่านจงเข้าไปสู่ตระกูล หรือถนน หรือบ้านชื่อโน้น. บทว่า "น กุมฺภีมุขา" ได้แก่ ไม่รับภิกษาที่บุคคลคดจากหม้อแล้วให้. บทว่า "น กโฬปิมุขา" ความว่า หม้อ หรือกระเช้า ชื่อว่า กโฬปิ แปลว่า ภาชนะ เขาย่อมไม่รับอาหารจากภาชนะนั้น ด้วยการคิดว่า เพราะเหตุไร? จึงเอา ทัพพีกระทบหม้อข้าวและภาชนะ. บทว่า "น เอฬกมนฺตรํ" ได้แก่ ไม่รับ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 392
ภัตที่เขาทำธรณีประตูคั่นแล้วให้ ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เขาคิดว่า บุคคลนี้อาศัยเราแล้วจะได้มีการกระทำที่มีระหว่างคั่น. แม้ในท่อนไม้และสาก ก็มีนัยนี้เหมือนกัน, บทว่า "ทฺวินฺนํ" ได้แก่ เมื่อ ๒ คนกำลังบริโภคอาหาร อยู่ คนหนึ่งลุกขึ้นแล้วให้ภิกษาอยู่ ไม่ยอมรับ. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เขาคิดว่า อันตรายสำหรับก้อนข้าวจะมี.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "น คพฺภินิยา" เป็นต้น ก็ทารกอยู่ในท้อง ของหญิงมีครรภ์ย่อมลำบาก. อันตรายแห่งน้ำนมของทารกผู้ดื่มอยู่ย่อมมี. ไม่ ยอมรับภิกษาด้วยคิดว่า อันตรายแห่งความยินดีย่อมมีแก่หญิงผู้ไปสู่ระหว่าง แห่งบุรุษ. บทว่า "น สงฺกิตฺตีสุ" ได้แก่ ภัตที่ทำรวมกันไว้. ได้ยินว่า ในสมัยที่มีภิกษาหาได้ยาก พวกสาวกของชีเปลือยทั้งหลายพากันรวบรวมข้าว สารเป็นต้นจากที่นั้นๆ เพื่อประโยชน์แก่ชีเปลือยทั้งหลายแล้วจึงหุงข้าว ชีเปลือย ผู้อุกฤษฎ์ไม่ยอมรับภิกษาจากที่นั้น. บทว่า " น ยตฺถ สา " ได้แก่ เขาเลี้ยงสุนัข ไว้ในที่ใด ด้วยตั้งใจว่า เราจักได้การเลี้ยงชีพ ไม่ยอมรับภิกษาที่เขาไม่ให้แก่ สุนัขแล้วนำมาในที่นั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เขาคิดว่า อันตราย แห่งก้อนข้าวของสุนับนั้นจะมี.
บทว่า "สณฺฑสณฺฑจารีนี" ได้แก่ การเที่ยวไปประชุมกันเป็น. หมู่ๆ ก็ถ้าว่าพวกมนุษย์ทั้งหลายเห็นชีเปลือยแล้ว เขาก็เข้าบ้านไปเพื่อต้องการ ภัตด้วยตั้งใจว่า เราจักถวายภิกษาแก่ชีเปลือยนี้ ก็ครั้นเมื่อมนุษย์เหล่านั้นเข้า ไปอยู่ พวกแมลงวันที่แอบจับอยู่ที่ปากกระเช้าเป็นต้นพากันบินขึ้นไป ย่อม เที่ยวไปเป็นหมู่ๆ ย่อมไม่รับภิกษาที่เขานำมาจากกระเช้านั้น ถามว่า เพราะ เหตุไร? แก้ว่า เพราะเขาคิดว่า เพราะอาศัยเรา อันตรายแห่งการโคจรของ แมลงวันทั้งหลายจึงเกิด. บทว่า "ถุโสทกํ" ได้แก่ น้ำส่าหมักที่เขากระทำ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 393
ด้วยเครื่องปรุง ด้วยข้าวกล้าทุกชนิค ก็ในที่นี้ น้ำสุราเท่านั้นจัดว่ามีโทษ แต่ บุคคลนี้มีความสำคัญแม้ในน้ำส่าหมักนั้นว่ามีโทษ. บทว่า "เอกาคาริโก" ได้แก่ ได้ภิกษาในเรือนหลังหนึ่งเท่านั้นแล้วก็กลับไป. บทว่า "เอกาโลปิโก" ได้แก่ เขาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยคำข้าวเพียงคำเดียว. แม้ในคำว่า "ป่า และบ้าน" เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า "เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา" แปลว่า ถาดใบหนึ่ง ถาดใบเล็กๆ ใบหนึ่งชื่อว่า ทตฺติ ก็ชนทั้งหลายบรรจุภิกษาอันเลิศตั้งไว้ในที่ใด. บทว่า "เอกาหิกํ" แปลว่า ภัตที่เขาถวายวันหนึ่ง. บทว่า "อฑฺฒมาสิกํ" แปลว่า ภัตที่เขาถวายมีกำหนดเดือนหนึ่ง. บทว่า "ปริยายภตฺตโภชนํ" ได้แก่ ภัต ที่เขาบริโภคตามวาระ การบริโภคภัตที่เขานำมาโดยวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ ตามวาระหนึ่งวัน สองวัน เจ็ดวัน กึ่งเดือน. บทว่า "สากภกฺโข" ได้แก่ มี ผักสดเป็นอาหาร. บทว่า "สามากภกฺโข" ได้แก่ มีเมล็ดข้าวฟ่างเป็นอาหาร.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นิวารา แปลว่า การห้าม เป็นต้น พึงทราบ ธัญชาติที่เกิดขึ้นเองในป่าก่อน. บทว่า "ททฺทุลํ" ได้แก่ เศษหนังที่ช่าง หนังขูดหนังออกทิ้ง. ยางก็ดี สาหร่ายก็ดี แม้ยางต้นไม้มีต้นกรรณิการ์เป็นต้น เรียกว่า หฏํ. บทว่า "กณํ" แปลว่า รำข้าว. บทว่า "อาจาโม" ได้แก่ ข้าวตัง ที่ติดอยู่ที่หม้อข้าว. เขาถือเอาข้าวตังนั้นในที่ที่คนทิ้งแล้วจึงเคี้ยวกิน. อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า เขาบริโภคน้ำข้าวดังนี้บ้าง. บทว่า ปิญฺชาก เป็นต้นมี ความปรากฏชัดแล้ว. บทว่า "ปวตฺตผลโภชี" แปลว่า ผู้บริโภคผลไม้ที่ หล่นเอง.
บทว่า "มสาถานิ" ได้แก่ ผ้าที่เขาทอปะปนกัน. บทว่า "ฉวทุสฺสานิ" ได้แก่ ผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากซากศพ. อีกอย่างหนึ่ง ผ้าที่เขาถักกระทำด้วยหญ้า
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 394
ตะไคร้น้ำเป็นต้น. บทว่า "ปํสุกุลานิ" ได้แก่ เศษผ้าที่เขาทิ้งที่แผ่นดิน. บทว่า "คิริฏกานิ" ได้แก่ ผ้าที่เขาทอด้วยเปลือกไม้. บทว่า "อชินํ" ได้แก่ หนังเสือ (คือผ้าที่เขาทำด้วยหนังสือ.) บทว่า "อชินกฺขิปํ" ได้แก่ หนังเสือ นั้นนั่นแหละ ที่เขาผ่าตรงกลาง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผ้านุ่งที่เขาทำด้วย หนังเสือพร้อมด้วยเล็บ ดังนี้บ้าง. บทว่า "กุสจีรํ" ได้แก่ ผ้าที่เขาถักกระทำ ด้วยหญ้าคา แม้ในผ้าคากรองที่เขาทอด้วยเปลือกไม้ แผ่นไม้เป็นต้น ก็มีนัย นี้เหมือนกัน. บทว่า "เกสกมฺพลํ" ได้แก่ ผ้ากัมพล ที่เขาทำด้วยผมมนุษย์ คำที่ท่านกล่าวหมายเอาไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผ้าทั้งหลายเหล่านั้น เหล่าใด ที่ เขากรอแล้วถักแล้วมีอยู่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ เรากล่าวว่าเป็นของน่า รังเกียจยิ่งกว่าผ้าเหล่านั้น." บทว่า "วาลกมฺพลํ" ได้แก่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วย หางม้าเป็นต้น. บทว่า "อุลูกปกฺขกํ" ได้แก่ ผ้าที่เขาถักกระทำด้วยปีก นกเค้า.
บทว่า "อุพฺภฏฺโก" แปลว่า ผู้ยืนอยู่ในเบื้องบน. บทว่า "อุกฺกุฏิ- กปฺปธานมนุยุตฺโต" ความว่า ผู้ประกอบความเพียรในการนั่งกระโหย่งเมื่อไปก็เป็นผู้นั่งกระโหย่งเทียวแล้วกระโดดไปๆ. บทว่า "กณฺฏกาปสฺสยิโก" ความว่า ปักเหล็กแหลมหรือหนามแหลมที่แผ่นดินแล้วปูลาดด้วยหนัง บนเหล็กแหลม หรือหนามแหลมนั้น แล้วจึงกระทำการยืน การเดิน เป็นต้น. บทว่า "เสยฺยํ" ได้แก่ แม้เมื่อนอน ก็สำเร็จการนอนบนแผ่นหนังปูลาดนั้น นั่นแหละ. ผู้นั้นประกอบการอาบน้ำเป็นครั้งที่ ๓ ในเวลาเย็น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า สายตติยะ ผู้ประกอบการอาบน้ำเป็นครั้งที่ ๓ ในเวลาเย็น. ผู้ประกอบความเพียรในการลงอาบน้ำด้วยตั้งใจว่า เราจักลอยบาปวันละ ๓ ครั้ง คือ เวลาเช้า ๑ ครั้ง เวลาเที่ยงวัน ๑ ครั้ง และเวลาเย็น ๑ ครั้ง.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 395
บุคคลใด ย่อมยังบุคคลอื่นให้เดือดร้อน เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ปรนฺตโป ผู้ยังบุคคลอื่นให้เดือดร้อน การประกอบความเพียรเพื่อ ยังบุคคลอื่นให้เดือดร้อนชื่อว่า ปรปริตาปนานุโยค.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โอรพฺภิกา (ผู้ฆ่าแพะ) เป็นต้น แพะหรือ แกะท่านเรียกว่า อุรพฺภา บุคคลใดย่อมฆ่าแพะหรือแกะ เพราะเหตุนั้น บุคคล นั้นจึงชื่อว่า โอรพฺภิโก ผู้ฆ่าแพะหรือแกะ. แม้ในคำว่า ผู้ฆ่าช้างเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า "ลุทฺโท" แปลว่า นายพราน ได้แก่ ผู้ทารุณ ผู้ กักขฬะ (ดุร้าย). บทว่า "มจฺฉาฆาฏโก" แปลว่า ชาวประมง ผู้จับปลา. บทว่า "พนฺธนาคาริโก" แปลว่า ผู้รักษาเรือนจำ. บทว่า "กุรูรกมฺมนฺตา" แปลว่า ผู้มีการงานอันหยาบ. บทว่า "มุทฺธาภิสิตฺโต" ได้แก่ ผู้อภิเษกบน ศีรษะโดยการอภิเษกเป็นกษัตริย์. สองบทว่า "ปุรตฺถิเมน นครสฺส" ได้แก่ ในทิศตะวันออกแห่งพระนคร. บทว่า "สนฺถาคารํ" ได้แก่ โรงยัญ.
สองบทว่า "ขุราชินํ นิวาเสตฺวา" ได้แก่ นุ่งห่มหนังเสือพร้อมทั้ง เล็บ. บทว่า "สปฺปิเตเลน" ได้แก่ เนยใส และน้ำมัน ก็ยกเว้นเนยใสเสีย แล้ว ยางเหนียวอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือ ท่านเรียกว่า เตลํ น้ำมัน. บทว่า "กณฺฑุวมาโน" ได้แก่ เพราะตนตัดเล็บเสีย จึงเอายางเหนียวเกาหลังในเวลา ที่ควรเกา. บทว่า "อนนฺตรหิตาย" ได้แก่ เขามิได้ลาดเครื่องลาดไว้. บทว่า "สรูปวจฺฉาย" ได้แก่ ลูกโคที่เหมือนแม่โค. อธิบายว่า ได้แก่ ลูกโคที่มีรูป อย่างนี้ คือ ถ้าแม่โคขาว ลูกโคก็ขาวเทียว ถ้าแม่โคเหลืองหรือแดง แม้ลูกโค ก็เป็นเช่นนั้น. ข้อว่า "โส เอวมาห" ได้แก่ พระราชานั้น ตรัสอย่างนี้. บทว่า "วจฺฉรา" ได้แก่ ลูกโคหนุ่มที่มีกำลังก้าวล่วงความเป็นลูกโคอ่อน. แม้ ในลูกโคตัวเมีย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า "ปริหึสตฺถาย" ได้แก่ เพื่อต้อง
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 396
การแก่การล้อมรั้ว และเพื่อต้องการแก่การปูลาด ณ ที่ยัญญภูมิ. สองบทว่า "ทิฏฺเว ธมฺเม" ได้แก่ ในอัตภาพนี้นั่นแหละ.
ตัณหา ท่านเรียกว่า ฉาตํ แปลว่า ความหิว ความกระหาย ความ อยาก ในคำนี้ว่า นิจฺฉาโต ตัณหา คือความกระหายนั้นของบุคคลใดไม่มี เพราะเหตุนั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า นิจฺฉาโต ผู้ไม่มีตัณหาคือความกระหาย. ชื่อ ว่า ผู้ดับสนิทแล้วเพราะกิเลสทั้งหมดดับไปแล้ว. ผู้ใด เป็นผู้เยือกเย็นเกิดขึ้น เพราะความไม่มีกิเลสเป็นเครื่องให้เร่าร้อนในภายใน เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึง ชื่อว่า สีติภูโต คือ ผู้เย็นแล้ว. ผู้ใดเสวยพร้อมเฉพาะซึ่งความสุขอันเกิดแต่ ฌาน มรรค ผล และพระนิพพาน เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สุขปฏิสํเวที คือ ผู้เสวยพร้อมเฉพาะซึ่งความสุข.
สองบทว่า "พฺรหฺมภูเตน อตฺตนา" แปลว่า มีคนประเสริฐที่สุด. ก็เพื่อจะแสดงบุคคลผู้ประเสริฐที่สุดนี้ จำเดิมแต่กาลอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสคำว่า "อิธ ตถาคโต" เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ตถาคโต" บัณฑิตพึงทำการวินิจฉัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงพระนาม ว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการคือ
(๑) ตถา อาคโตติ ตถาคโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว อย่างนั้นคือ เสด็จมาอย่างพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระ นามว่า ตถาคต.
(๒) ตถา คโตติ ตถาคโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
(๓) ตถลกฺขณํ อาคโตติ ตถาคโต. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ มาสู่ลักษณะอย่างนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 397
(๔) ตถธมฺเม ยาถาวโต อภิสมฺพุทฺโธติ ตถาคโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้สัจธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น พระองค์- จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
(๕) ตถทสฺสิตาย ตถาคโต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีปกติเห็นอย่างนั้น.
(๖) ตถวาทิตาย ตถาคโต พระองค์ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีปกติตรัสอย่างนั้น.
(๗) ตถการิตาย ตถาคโต พระองค์ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีปกติทรงกระทำอย่างนั้น.
(๘) อภิภวนฏเน ตถาคโต พระองค์ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ.
คำว่า "อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ" เป็นต้น ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล. สองบทว่า "ตํ ธมฺมํ" ได้แก่ ย่อมฟังธรรมนั้น อันถึงพร้อมด้วยคำมีประการตามที่กล่าวแล้ว. ข้อว่า "คหปติ ว" ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม กับคหบดีก่อน เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะเขากำจัดมานะได้แล้ว และ เพราะเป็นผู้มีกุศลอันหนาแน่น จริงอยู่ ชน เป็นจำนวนมากที่บวชมาจากขัตติยตระกูล อาศัยเชื้อชาติแล้วถือตัว ที่บวชมา จากตระกูลพราหมณ์ อาศัยมนต์แล้วก็ถือตัว พวกที่มีตระกูลต่ำบวชแล้วก็ไม่ อาจดำรงอยู่ได้ เพราะความที่ตนมีชาติตระกูลต่ำ. ก็ทารกของคหบดีทั้งหลาย ทำงานมีเหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง มีหลังชุ่มอยู่ด้วยน้ำเค็มทำการไถ ภาคพื้น เขาไม่มีมานะ ไม่มีความเย่อหยิ่ง เพราะความไม่มีมานะเย่อหยิ่งเช่น นั้น ลูกคหบดีเหล่านั้นบวชแล้วจึงไม่กระทำมานะ ไม่กระทำความเย่อหยิ่ง เขา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 398
จะเรียนพุทธพจน์ตามกำลัง กระทำการงานอยู่ด้วยวิปัสสนา ย่อมสามารถเพื่อ ดำรงอยู่ในพระอรหัตได้. ก็ชื่อว่าชนผู้ออกจากตระกูลที่นอกจากนี้มาบวชมีไม่ มาก คหบดีเท่านั้นมีมาก ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงธรรมกับ คหบดีก่อน เพราะเขาเป็นผู้ขจัดมานะ คือการถือตัวได้แล้ว และเพราะเขามี กุศลอันสั่งสมมามากด้วย.
คำว่า "อญฺตฺรสฺมึ วา" ได้แก่ ผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แห่งตระกูลทั้งหลายที่นอกจากนี้. ข้อว่า "ตถาคเต สทฺธํ ปฏิลภติ" ความ ว่า ผู้ฟังธรรมอันบริสุทธิ์แล้วได้เฉพาะซึ่งศรัทธา ในพระตถาคต ผู้เป็นธรรม สามี คือ เจ้าของธรรม ว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงเป็น พระสัมมาสัมพุทธะ หนอ" ข้อว่า "อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ" ได้แก่ ย่อมพิจารณาอย่างนี้. สองบทว่า "สมฺพาโธ ฆราวาโส" แปลว่า การอยู่ครองเรือนเป็นของคับ แคบ ความว่า ก็ถ้าสามี และภรรยาทั้ง ๒ คน อยู่ครองเรือนมีประมาณ ๖๐ ศอก หรือตั้งร้อยโยชน์ แม้ถึงอย่างนั้นฆราวาส คือ การอยู่ครองเรือนของ สามีและภรรยานั้น ก็ชื่อว่า คับแคบแท้ เพราะอรรถว่า มีการเป็นไปกับด้วย กิเลสอันเป็นเครื่องเย้ายวน และกิเลสเป็นเครื่องกังวลใจ. คำว่า "รชปโถ" ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า เป็นฐาน คือ เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งธุลี มีราคะเป็น ต้น แต่จะกล่าวว่าเป็นทางมาแห่งธุลี ดังนี้บ้างก็ควร.
บรรพชา ชื่อว่า มีโอกาสอันดี เพราะอรรถว่าไม่ต้อง. จริงอยู่ บุคคลผู้บวชแล้วแม้จะอยู่ในปราสาทแก้ว คือ เรือนยอดก็ดี อยู่ในที่ทั้งหลาย มีวิมานเป็นต้นอันปกปิดดีแล้ว คือ มีประตูหน้าต่างอันปิดสนิทดีแล้วก็ดี เขา ย่อมไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ผูกพัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "อพฺโภ- กาโส ปพฺพชา" แปลว่า การบรรพชา มีโอกาสอันดียิ่ง.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 399
อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาส ชื่อว่า คับแคบ เพราะไม่มีโอกาสในการ สร้างกุศลตามสบาย. การอยู่ครองเรือน ชื่อว่าเป็นทางมาแห่งธุลี เพราะเป็น ที่สันนิบาต คือการประชุมแห่งธุลี คือ กิเลสทั้งหลาย ดุจสถานที่กองหยาก เยื่ออันบุคคลมิได้ปกปิดทิ้งไว้ การบรรพชาจึงชื่อว่า มีโอกาสอันดียิ่ง เพราะ มีโอกาสในการสร้างกุศลได้ตามสบาย.
ในคำว่า "นยิทํ สุกรํ ฯเปฯ ปพฺพเชฺยํ" นี้มีคำกล่าวไว้โดยสังเขป ดังต่อไปนี้ว่า พรหมจรรย์คือ ไตรสิกขานี้ ชื่อว่า บริบูรณ์แล้วโดยสิ้นเชิง เพราะไม่กระทำให้ขาดตลอดวันหนึ่ง แล้วสามารถยังจริมกจิต คือ จิตดวงสุด ท้ายให้ถึงได้. พรหมจรรย์นี้ ชื่อว่า บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง เพราะกระทำไม่ให้ มัวหมอง ด้วยกิเลสมลทินตลอดวันหนึ่งแล้ว ก็สามารถยังจริมกจิตให้ถึงได้. บทว่า "สงฺขลขิตํ" ได้แก่ พึงประพฤติพรหมจรรย์ให้เป็นเช่นกับสังข์ที่ ลิขิตแล้ว คือ ให้มีส่วนเปรียบด้วยสังข์ที่ขัดดีแล้ว การประพฤติพรหมจรรย์ นี้ บุคคลผู้อยู่ครองเรือนกระทำไม่ได้ง่าย การที่บุคคลผู้อยู่ในท่ามกลางเรือน ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยสิ้นเชิงได้ ไฉนหนอ เราพึงปลงผม โกนหนวดนุ่งห่มผ้า ชื่อว่า กาสายะ เพราะความเป็นผ้าสีเหลืองที่ย้อมด้วยน้ำฝาด อันสมควรแก่บรรพชิต ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ผู้ไม่มีเรือน ดังนี้.
ก็ในอธิการนี้ กรรมมี กสิกรรม และพานิชกรรม เป็นต้น อันเป็น ประโยชน์เกื้อกูลแก่การครองเรือน ท่านเรียกว่า "อคาริยํ" แปลว่า ผู้ครอง เรือน ก็กสิกรรมเป็นต้นนั้นไม่มีในบรรพชา เพราะฉะนั้น การบรรพชา บัณฑิต พึงทราบว่าเป็น "อนคาริยํ" แปลว่า ผู้ไม่ครองเรือน. การบวช นั้นจึงเป็น อนาคาริยะ. บทว่า "ปพฺพเชยฺยํ" ได้แก่ พึงปฏิบัติ. บทว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 400
"อปฺปํ วา" ความว่า กองโภคะต่ำกว่าหนึ่งพัน ชื่อว่า มีน้อย ตั้งแต่ หนึ่งพันขึ้นไปชื่อว่า มีมาก. ญาตินั่นแหละ ชื่อว่า เครือญาติ เพราะอรรถ ว่าเกี่ยวเนื่องกัน เครือญาตินั้น ต่ำกว่า ๒๐ ชื่อว่า มีน้อย ตั้งแต่ ๒๐ ขึ้นไป ชื่อว่า มีมาก. สองบทว่า "ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน" ความว่า สิกขา กล่าวคือ อธิศีลสิกขาใดของภิกษุทั้งหลายมีอยู่ ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขา นั้นด้วย ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ร่วมกันคือ เป็นผู้อยู่เป็นอันเดียวกัน เป็น ผู้มีความประพฤติเสมอกัน ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วซึ่งสิกขาสาชีพ กล่าวคือ สิกขาบทอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้วนั้นด้วย ในสิกขาสาชีพใด ด้วย ภาวะ คือ การศึกษาในสิกขาสาชีพนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า "ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน" แปลว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ยังสิกขาให้บริบูรณ์ด้วย ไม่ก้าวล่วงสาชีพด้วย แล้วเข้า ถึงซึ่งสิกขาสาชีพนั้นทั้ง ๒ อย่าง.
กถา คือ ถ้อยคำมี ปาณาติบาต เป็นต้น ในคำทั้งหลายมีคำว่า "ปาณาตปาตํ ปหาย" เป็นต้น ข้าพเจ้าให้พิศดารไว้ในหนหลังนั่นเทียว. บทว่า "ปหาย" ได้แก่ ละความเป็นผู้ทุศีลอันบัณฑิต นับพร้อมแล้วว่าเจตนา เป็นเครื่องยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไปนี้. สองบทว่า "ปฏิวิรโต โหติ" ความ ว่า เป็นผู้เว้นแล้ว คือ เว้นขาดแล้วจากความเป็นผู้ทุศีลนั้น จำเดิมแต่กาลเป็น ที่ละแล้ว. สองบทว่า "นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ" อธิบายว่า ชื่อว่าผู้มี ท่อนไม้และมีศาตราอันวางแล้ว เพราะการไม่ถือท่อนไม้หรือศาสตราเพื่อต้อง การเบียดเบียนสัตว์อื่นให้เป็นไป. ก็ในอธิการนี้ ยกเว้น ทัณฑะคือ ท่อนไม้ เสียแล้ว อุปกรณ์ที่เหลือแม้ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า สตฺถํ คือ ศาสตรา เพราะเป็นเครื่องเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย. ก็ภิกษุถือเอาวัตถุใด คือ จะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 401
เป็นไม้เท้าคนแก่หรือมีดสำหรับเหลาไม้สีฟัน หรือมีดเล็กเที่ยวไป วัตถุนั้นไม่ ชื่อว่า ศาสตรา เพราะไม่เป็นไปเพื่อต้องการเบียดเบียนสัตว์อื่น เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นผู้มีท่อนไม้และศาสตราอันวาง แล้วเทียว.
บทว่า "ลชฺชี" ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความละอาย มีการรังเกียจ บาปเป็นลักษณะ. บทว่า "ทยาปนฺโน" ได้แก่ ผู้ถึงความเอ็นดู คือ ผู้มี จิตอันประกอบด้วยเมตตา. บทว่า "สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปิ" ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวงด้วยประโยชน์เกื้อกูล อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้มีจิตประกอบ ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง เพราะความเป็นผู้ถึงความเอ็นดูนั้น. บทว่า "วิหรติ" ได้ย่อมแก่ ย่อมผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ คือย่อมรักษาอัตภาพ.
ผู้ใด ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาให้เท่านั้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึง ชื่อว่า ทินฺนาทายี แปลว่า ผู้ถือเอาเฉพาะของเขาให้. ผู้ใด หวังสิ่งของ ที่เขาให้แม้ด้วยจิตนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี แปลว่า ผู้หวังสิ่งของที่เขาให้. ผู้ใด ย่อมขโมย เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า เถโน แปลว่า ผู้ขโมย การไม่ขโมยชื่อว่า อเถนะ. ชื่อว่า เป็นผู้สะอาด เพราะความ ไม่เป็นขโมยนั้นแหละ.
บทว่า "อตฺตนา" แปลว่า อัตภาพ มีคำอธิบายไว้ว่า การกระทำ อัตภาพไม่ให้ขโมย คือทำให้สะอาดอยู่. บทว่า "อพฺรหฺมจริยํ" แปลว่า การประพฤติธรรม อันไม่ประเสริฐ. บุคคลใด ย่อมประพฤติอาจาระ คือ จรรยาที่ดีงาม อันประเสริฐที่สุด เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า พฺรหฺมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐที่สุด. บทว่า "อาราจารี" แปลว่า ประพฤติห่างไกลจากพรหมจรรย์.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 402
บทว่า "เมถุนา" ได้แก่ อสัทธรรม อันถึงซึ่งการนับว่าเป็น "เมถุนํ" เพราะภาวะอันบุคคลพึงเสพเฉพาะตามโวหารแห่งชาวโลก ที่ได้ชื่อ ว่า เมถุนกา คือ ผู้เสพเมถุนธรรม เพราะเป็นเช่นกับด้วยอำนาจแห่ง การรบเร้าของราคะอันครอบงำจิต. บทว่า "คามธมฺมา" แปลว่า ธรรม ของชาวบ้าน.
บุคคลใด ย่อมพูดคำอันเป็นจริง เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สจฺจวาที แปลว่า ผู้พูดคำจริง. ผู้ใดติดต่อ คือ ย่อมสืบต่อวาจาสัจ ด้วยวาจาสัจ เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า สจฺจสนฺโธ แปลว่า ผู้สืบต่อสัจจะ เขาเป็นผู้ไว้ใจได้ อธิบาย ว่า ไม่พูดคำเท็จในระหว่าง ก็บุคคลใด บางคราวพูดคำเท็จ บางคราวพูดคำ จริง คำของผู้นั้นไม่เชื่อมต่อความจริงด้วยความจริง เพราะคำของเขาคั่นด้วย ความเท็จ เพราะเหตุนั้นเขาจึงชื่อว่า ผู้ไม่สืบต่อสัจจะ เป็นผู้ไว้ใจไม่ได้. ก็บุคคลผู้นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ เขาไม่ยอมพูดคำเท็จแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ย่อม สืบต่อความจริงด้วยความจริงเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้นี้จึงชื่อว่า สจฺจสนฺโธ.
บทว่า "เถโต" แปลว่า ผู้มั่นคง อธิบายว่า ผู้มีวาจาอันตั้งมั่น. บุคคลคนหนึ่งเป็นผู้มีวาจาอันไม่ตั้งมั่น เปรียบเหมือนกับผ้าที่เขาย้อมด้วยขมิ้น เหมือนตอไม้ที่เขาปักไว้ที่กองแกลบ เหมือนลูกฟักที่เขาวางไว้ที่หลังม้า. บุคคล คนหนึ่งมีวาจามั่นคงเหมือนรอยขีดที่ติดอยู่ ณ แผ่นหิน และเหมือนเสาเขื่อน แม้จะถูกตัดศีรษะด้วยดาบ เขาก็ไม่กล่าวคำเป็นสองภาค ผู้นี้ท่านเรียกว่า เถโต ผู้มีวาจามั่นคง.
บทว่า "ปจฺจยิโก" ได้แก่ ผู้มีวาจาควรเชื่อถือ คือ ได้แก่ผู้ที่ควร เชื่อถือได้. ก็บุคคลบางคนเป็นผู้เชื่อถือไม่ได้ เมื่อใครๆ ถามว่า "คำนี้ใคร พูด ก็กล่าวว่า คนโน้นพูด" เขาย่อมถึงวาทะอันใครๆ พึงกล่าวว่า "อย่า
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 403
เชื่อถือถ้อยคำของเขา. บุคคลคนหนึ่งเป็นผู้มีวาจาเชื่อถือได้ เมื่อใครๆ ถามว่า "คำนี้ใครพูด ก็กล่าวว่า คนโน้นพูด" เขาย่อมถึงวาทะอันใครๆ พึงกล่าวว่า "ผิว่า คำของผู้นั้นกล่าว คำนี้เท่านั้นถือเป็นประมาณได้ บัดนี้การสอบถาม ย่อมไม่มี คำนี้เป็นอย่างนี้เท่านั้น.
สองบทว่า "อวิสํวาทโก โลกสฺส" อธิบายว่า ย่อมไม่ลวงชาวโลก เพราะความที่คนมีปกติกล่าวคำสัจนั้น. สองบทว่า "อิเมสํ เภทาย" ได้แก่ เพื่อการทำลายเหล่าชนที่ตนฟังในสำนักของชนที่เขากล่าวจากข้างนี้. ข้อว่า "ภินฺนานํ วา สนฺธาตา" ได้แก่ การเข้าไปหาทีละฝ่าย ในชนทั้งสองฝ่าย คือ ผู้เป็นมิตร หรือผู้ร่วมอุปัชฌาย์เป็นต้น ที่แตกสามัคคีกันด้วยเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งแล้วกล่าวว่า การวิวาทกันนี้ไม่สมควรแก่ท่านทั้งหลายผู้เกิดในตระกูล เช่นนี้ ผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ แล้วกระทำการสมัครสมานสามัคคีกันให้มั่นคง. บทว่า "อนุปฺปทาตา" ได้แก่ ผู้สนับสนุนความพร้อมเพรียงกัน อธิบายว่า เห็นคนทั้งสองคนผู้มีความสามัคคีกันแล้วกล่าวว่า ข้อนี้เหมาะสมแก่ท่านผู้เกิด ในตระกูลเห็นปานนี้ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้ แล้วกระทำให้เป็น ผู้มั่นคง.
ความยินดีทั่วในชนผู้พร้อมเพรียงกัน ของผู้นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สมคฺคาราโม แปลว่า ผู้มีความยินดีในชนผู้สามัคคีกัน อธิบาย ว่า ชนผู้พร้อมเพรียงกันไม่มีในที่ใด เขาย่อมไม่ยอมไปแม้เพื่อจะอยู่ในที่นั้น. พระบาลีว่า สมคฺคราโม ดังนี้บ้าง คำนี้มีเนื้อความเหมือนกัน. บทว่า "สมคฺครโต" ได้แก่ ผู้ยินดีในชนผู้พร้อมเพรียงกัน อธิบายว่า เขาละชนผู้ พร้อมเพรียงกันนั้นแล้ว เขาก็ไม่ปรารถนาแม้จะไปที่อื่น.
ผู้ใด เห็นก็ดี ฟังก็ดี ซึ่งชนผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สมคฺคนนฺที แปลว่า ผู้เพลิดเพลินในชนผู้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 404
พร้อมเพรียงกัน. ข้อว่า "สมคฺคกรณี วาจํ ลาสิตา" ความว่า วาจาใดย่อม กระทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นผู้พร้อมเพรียงกันเท่านั้น เขาย่อมกล่าววาจานั้น อัน แสดงถึงคุณแห่งความสามัคคีนั่นแหละไม่กล่าววาจานอกจากนี้.
ผู้ใด ย่อมกล่าวในกาลอันสมควร เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า กาลวาที แปลว่า ผู้มีปกติกล่าวในกาล อธิบายว่า เขากำหนดกาลอันสมควรแก่คำอัน ตนพึงกล่าวแล้วจึงกล่าว.
ผู้ใด ย่อมกล่าวคำอันเป็นจริง คือ คำอันเป็นสภาวะเท่านั้น เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า ภูตวาที แปลว่า ผู้มีปกติกล่าวคำอันเป็นจริง.
ผู้ใด ย่อมกล่าวคำอิงอาศัยประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ในภพ หน้าเท่านั้น เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า อตฺถวาที แปลว่า ผู้มีปกติกล่าวคำอัน เป็นประโยชน์.
ผู้ใด ย่อมกล่าวคำอิงอาศัยโลกุตตรธรรม ๙ ประการ เหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า ธมฺมวาที แปลว่า ผู้มีปกติกล่าวธรรม.
ผู้ใด ย่อมกล่าวคำอิงอาศัยสังวรวินัย และปหานวินัย เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า วินยวาที แปลว่า ผู้มีปกติกล่าววินัย.
โอกาสอันเป็นที่ตั้งของวาจานั้น ท่านเรียกว่า นิธานํ. โอกาสอันเป็น ที่ตั้งของวาจานั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น วาจานั้นจึงชื่อว่า นิธานวตี แปลว่า วาจามีหลักฐาน อธิบายว่า กล่าววาจาอันสมควรแก่คำอันบุคคลพึงฝังไว้ใน หทัย.
บทว่า "กาเลน" ความว่า ก็เขาคิดว่า เราจักกล่าววาจาอันมีหลัก. ฐาน แม้เมื่อกล่าววาจาเห็นปานนี้แล้ว เขาย่อมไม่กล่าวโดยกาลอันไม่สมควร หมายความว่าพิจารณาเวลาอันเหมาะสมแล้วจึงกล่าว. บทว่า "สาปเทสํ" ได้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 405
แก่ ถ้อยคำมีอุปมา คือ ได้แก่ ถ้อยคำมีเหตุ. บทว่า "ปริยนฺตวฺตี" ได้แก่ แสดงการกำหนด อธิบายว่า การกำหนดวาจานั้น ย่อมปรากฏโดยวิธีใด ย่อม กำหนดโดยวิธีนั้น. บทว่า "อตฺถสญฺหิตํ" ความว่า ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยประโยชน์อันใครๆ ผู้จำแนกอยู่ โดยนัยแม้มิใช่น้อย ก็ไม่อาจจะกำหนดได้. อีก อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ย่อมกล่าววาจาอันเป็นประโยชน์และประโยชน์เกื้อกูลพร้อม เพราะประกอบไปด้วยประโยชน์อันดี ที่ท่านอัตถเวทีนั้นกล่าวเนื้อความไว้. ท่านอธิบายไว้ว่า ไม่ละทิ้งคำอย่างหนึ่ง กล่าวคำอีกอย่างหนึ่ง.
บทว่า "พีชคามภูตคามสมารมฺภา" ความว่า การพรากพืชคาม ๕ อย่าง คือ มูลพีชํ พืชเกิดจากราก, ขนฺธพีชํ พืชเกิดจากลำต้น, ผลพีชํ พืชเกิดจากผล, อคฺคพีชํ พืชเกิดจากยอด, พีชพีชํ พืชเกิดจากเมล็ดพืช, และการพราก (การทำลาย) ภูตคามมีหญ้าเขียวสด และต้นไม้เป็นต้น อย่างใด อย่างหนึ่ง อธิบายว่า ได้แก่เป็นผู้เว้นขาดจากการทำลายโดยภาวะมีการตัด การต้มเป็นต้น.
บทว่า "เอกภตฺติโก" ความว่า ภัต ๒ อย่าง คือ ภัตสำหรับเวลา เช้า และภัตสำหรับเวลาเย็น ในภัต ๒ อย่างนั้น ภัตที่บริโภคในเวลาเช้า ท่าน กำหนดภายในเวลาเที่ยงวัน ภัตที่บริโภคในเวลาเย็นท่านกำหนดตั้งแต่เที่ยงวัน ไปจนถึงเวลาอรุณยังไม่ขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อภิกษุบริโภคอาหารอยู่สิ้น ๑๐ ครั้ง ภายในเวลาเที่ยงวัน ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า "เอกภตฺติโก" คือ ผู้มีภัตเดียวเทียว. คำว่า "เอกฺภตฺติโก" นี้ท่านกล่าวหมายเอาภัตที่บริโภคในเวลาเช้านั้น. การ บริโภคภัตในเวลากลางคืน ชื่อว่า รตฺติ. ผู้ใดเว้นขาดจากการบริโภคภัตใน เวลากลางคืนนั้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า รตฺตูปรโต แปลว่าผู้เว้นขาด จากการบริโภคภัตในเวลากลางคืน. การบริโภคภัต ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันล่วงไป
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 406
แล้วจนถึงพระอาทิตย์ตก ชื่อว่า วิกาลโภชนํ แปลว่า การบริโภคภัตในเวลา วิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการบริโภคภัตในเวลาวิกาลนั้น.
การดูการเล่นอันเป็นข้าศึก อันเป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ เพราะ เป็นของไม่เหมาะสมกับพระศาสนา ฉะนั้น การดูนั้น จึงชื่อว่า วิสูกทสฺสนํ แปลว่า การดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ (วิสูก ข้าศึก, ทสฺสนํ การดู). การฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี ด้วยสามารถแห่งการ ฟ้อนรำด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นฟ้อนรำเป็นต้นก็ดี การดูการฟ้อนเป็นต้น โดยที่สุด แม้ดูการฟ้อนรำของนกยูงเป็นต้นก็ดี จัดเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น การฟ้อนรำเป็นต้นนั้น จึงชื่อว่า นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา แปลว่า จากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก ต่อพรหมจรรย์. (นจฺจ การฟ้อนรำ คีต การขับร้อง วาทิต การประโคม ดนตรี) ก็การที่จะประกอบการฟ้อนรำเป็นต้นก็ดี ให้ผู้อื่นประกอบก็ดี การดู การเล่นที่เราประกอบแล้วก็ดี ไม่สมควรแก่ภิกษุและภิกษุณีเลย.
พึงทราบ วินิจฉัยในคำว่า "มาลา" เป็นต้น. บทว่า "มาลา" ได้ แก่ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า "คนฺธํ" ได้แก่ คันธชาติอย่างใดอย่าง หนึ่ง. บทว่า "วิเสปนํ" ได้แก่ การย้อมผิว. ในอธิการนี้ บุคคลเมื่อ ประดับตกแต่งอยู่ ชื่อว่า ย่อมทรงไว้ เมื่อบุคคลทำสิ่งที่บกพร่องให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ย่อมประดับ. ผู้ยินดีอยู่ด้วยของหอมก็ดี ด้วยการย้อมผิวก็ดี ชื่อว่า ย่อมตบแต่ง. การกระทำ ท่านเรียกว่า ฐาน อธิบายว่า มหาชน ย่อมกระทำ การทัดทรงดอกไม้เป็นต้นนั้น ด้วยเจตนาเป็นเครื่องทุศีลอันใด ผู้มีศีลย่อม เป็นผู้เว้นขาด จากเจตนาเป็นเครื่องทุศีลนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 407
ที่นอนสูงเกินประมาณ ท่านเรียกว่า อุจฺจาสยนํ แปลว่าที่นอนสูง ที่นอนที่มีเครื่องปูลาดด้วยวัตถุอันไม่สมควร, ท่านเรียกว่า มหาสยนํ แปลว่า ที่นอนใหญ่ ผู้มีศีลเป็นผู้เว้นขาดจากที่นอนนั้น.
ทองคำ ชื่อว่า ชาตรูปํ. กหาปณะ ชื่อว่า รชตํ. กหาปณะเหล่าใด ที่เรียกว่า โลหมาสโก คือ มาสกทำด้วยโลหะ ชตุมาสโก คือ มาสกทำด้วย ยาง ทารุมาสโก คือ มาสกทำด้วยไม้ อธิบายว่า ท่านเป็นผู้เว้นขาดจากการ รับเงินและทองทั้ง ๒ อย่างนั้น คือ ทั้งไม่รับเองและไม่ให้ผู้อื่นรับแทน ทั้งไม่ ยินดีเงินและทอง ที่เขาเก็บไว้เพื่อตน. บทว่า "อามกธญฺปฏิคฺคหณา" ได้แก่ เว้นขาดจากการรับ ธัญชาติดิบ ๗ ชนิด คือ. ๑. สาลิ ข้าวสาสี ๒. วีหิ ข้าวเจ้า ๓. ยวะ ข้าวเหนียว ๔. โคธุมะ ข้าวละมาน ๕. กังคุ ข้าวฟ่าง ๖. วรกะ ลูกเดือย ๗. กุทรูสกะ หญ้ากับแก้. ก็การรับธัญชาติดิบ ๗ ชนิดนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุ ทั้งหลายเท่านั้น ก็หาไม่ แม้การจับต้องสิ่งเหล่านั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน. ก็
ในคำว่า "อามกมํสปฏิคฺคหณา" นี้ การรับเนื้อปลาดิบก็ไม่ควรแก่ภิกษุ ทั้งหลาย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งการ จับต้องเนื้อปลาดิบ ก็ไม่ควร. ในคำว่า "อิตฺถีกุมาริกาปฏิคฺคหณา" นี้ หญิงที่ไปสู่ระหว่างบุรุษ ชื่อว่า อิตถี หญิงนอกจากนี้ ชื้อว่ากุมาริกา (หญิงสาว) การรับไว้ก็ดี การจับ ต้องก็ดีซึ่งหญิงทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นของไม่ควรทั้งสิ้น. ในคำว่า "ทาสีทาสาปฏิคฺคหณา" นี้การรับหญิงและ ชาย เหล่านั้นไว้สำหรับเป็นทาสีเป็น ทาสย่อมไม่เหมาะสม ก็เมื่อใครๆ กล่าวอย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้าขอถวายกัปปิยการก คือ ผู้อุปัฏฐาก ข้าพเจ้าขอถวายอารามิก คือ ผู้รับใช้ในวัด" ดังนี้ จะรับไว้ ก็สมควร. นัยที่ควรและไม่ควร แม้ในสัตว์ทั้งหลายมี แพะ แกะ เป็นต้น ใน สถานที่ทั้งหลาย มีนาสวนเป็นที่สุด บัณฑิตพึงพิจารณาด้วยอำนาจพระวินัย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 408
ในสถานที่เหล่านั้น ที่ใด มีบุพพัณชาติงอกงามที่นั้นชื่อว่า ที่นา ในที่ ใดอปรัณชาติ ย่อมงอกงาม ที่นั้นชื่อว่า ที่สวน. อีกอย่างหนึ่ง บุพพัณชาติ และอปรัณชาติทั้ง ๒ ย่อมงอกงามในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า นา. ภูมิภาคที่เขา กระทำแล้วเพื่อต้องการบุพพัณชาติ. และอปรัณชาติ ชื่อว่า สวน. ก็ในอธิการ นี้ แม้ที่บึง และหนองน้ำเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์เข้าด้วยการถือเอาที่ นา และ ที่สวน เป็นประธาน.
การงานของทูต ท่านเรียกว่า ทูเตยฺยํ อธิบายว่า การถือเอาหนังสือ หรือสาสน์ ของคฤหัสถ์ทั้งหลายแล้วไปในที่นั้นๆ. การรับใช้เล็กๆ น้อยๆ ของผู้ส่งข่าวไปสู่บ้านผู้อื่น ท่านเรียกว่า ปหิณคมนํ แปลว่า การรับใช้ เล็กๆ น้อยๆ (หมายถึงผู้ส่งข่าว) การทำกิจทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า อนุโยโค แปลว่า การตามประกอบ เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำนี้อย่าง นี้ว่า "ทูเตยฺยปหิณคมนานํ อนุโยโค" ซึ่งแปลว่า การประกอบทูตกรรม และการรับใช้.
บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ผู้โกงด้วยตาชั่ง เป็นต้น. บทว่า "กูฏํ" แปลว่า การโกง คือ การหลอกลวง. บรรดาการโกงเหล่านั้น การ โกงด้วยตาชั่งมี ๔ อย่าง คือ. ๑. รูปกูฏํ โกงด้วยรูป ๒. องฺคกูฎํ โกงด้วย อวัยวะ ๓. คหณกูฏํ โกงด้วยการถือเอา ๔. ปฏิจฺฉนฺนกูฏํ โกงด้วยสิ่งที่ ปิดบังไว้. ในการโกงเหล่านั้น บุคคลกระทำเครื่องชั่งทั้ง ๒ ให้มีรูปคล้ายกัน เมื่อจะถือเอาย่อมถือเอาส่วนมาก เมื่อให้ย่อมให้ด้วยส่วนที่น้อย ชื่อว่า รูปกูฏํ โกงด้วยรูป. บุคคลเมื่อจะถือเอาสิ่งของ ย่อมใช้มือข่มตาชั่งไว้ในส่วนเบื้อง หลัง เมื่อจะให้ย่อมใช้มือข่มตาชั่งไว้ในส่วนเบื้องต้น ชื่อว่า องฺคกูฏํ โกง ด้วยอวัยวะ. บุคคลเมื่อจะถือเอา ย่อมถือเอาที่ต้นเชือก. เมื่อจะให้ก็ย่อมจับ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 409
ถือเอาที่ปลายเชือก ชื่อว่า คหณกูฏํ โกงด้วยการจับถือ. บุคคลกระทำตาชั่ง ให้เป็นโพรงแล้วใส่จุณเหล็กไว้ในภายใน เมื่อจะถือเอาสิ่งของ ย่อมทำจุณ เหล็กนั้นไว้ในส่วนเบื้องหลัง เมื่อให้ก็ทำจุณเหล็กนั้นไว้ในส่วนเบื้องปลาย ชื่อว่า ปฏิจฺฉนฺนกูฏํ โกงด้วยสิ่งของที่ปกปิดไว้.
ถาดที่ทำด้วยทองคำ ท่านเรียกว่า กํโส. การลวงด้วยถาดทองคำนั้น ชื่อว่า กํสกูฏํ. ถามว่าทำอย่างไร. แก้ว่า ชนทั้งหลายทำถาดทองคำไว้ใบ หนึ่ง ทำเทียมไว้ ๒ - ๓ ใบ แต่นั้นเขาก็ไปสู่ชนบทเข้าไปสู่ตระกูลมั่งคั่งตระกูล ใดตระกูลหนึ่งแล้วพูดว่า ท่านทั้งหลาย จงซื้อถาดทองคำ เมื่อใครๆ ถามถึง ราคา เขามีความประสงค์ให้ราคาเสมอกัน แต่เวลานั้นเมื่อชนเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าเจ้าพึงทราบความเป็นภาชนะทองคำ ของถาดเหล่านี้ได้อย่างไร? เขาจึง เอาถาดทองคำถูเข้ากับแผ่นหิน กล่าวว่า ท่านทั้งหลายทดลองเสียก่อนแล้วจึง ถือเอา แล้วให้ถาดทั้งหมด คือขายทั้งหมดแล้วก็ไป. มานกูฏํ แปลว่า โกง ด้วยการวัดระยะมี ๓ อย่าง คือ ๑. หทยเภทะ วัดแบ่งด้วยการถ่ายออก ๒. สิขาเภทะ วัดแบ่งด้วยยอด ๓. รัชชุเภทะ วัดแบ่งด้วยเชือก. ในการวัดเหล่า นั้น หทยเภโท ชื่อว่า การวัดแบ่งด้วยการถ่ายออก ย่อมได้ในเวลาที่เขาตวง เนยใส และน้ำมันเป็นต้น ก็บุคคลเมื่อจะถือเอาเนยใสเป็นต้นเอาเสียเอง ก็ พูดว่า ท่านจงเทค่อยๆ เพราะเครื่องวัดเป็นรูทะลุข้างล่าง แล้วก็ให้ไหลออก ไปภายในภาชนะที่รองมากมาย จึงถือเอา เมื่อจะให้ผู้อื่นก็ปิดช่องรูนั้นเสียแล้ว รีบให้เต็มโดยเร็วแล้วก็ให้. สิขาเภโท ชื่อว่าการวัดแบ่งด้วยยอด ย่อมได้ใน กาลตวงงาและข้าวสารเป็นต้น ก็เมื่อจะถือเอาสิ่งของนั้นเสียเอง ก็ให้พูนยอดของ นั้นค่อยๆ สูงขึ้นไป แล้วถือเอา เมื่อจะให้ก็ทำให้เต็มโดยเร็วทำลายยอดเสียแล้ว ย่อมให้. รชฺชุเภโท ชื่อว่าการวัดแบ่งด้วยเชือก ย่อมได้ในเวลาที่วัดนาวัด
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 410
สวน ก็บุคคลทั้งหลาย เมื่อไม่ได้สินบน ย่อมกระทำการวัดนาแม้ไม่กว้างให้ กว้าง.
บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "อุกฺโกฏนํ" เป็นต้น. การกระทำ สิ่งของๆ เจ้าของทั้งหลายมิให้เป็นเจ้าของ แล้วก็ถือเอาสินบน ชื่อว่า อุกโกฏ- นํ แปลว่า การคดโกง. การหลอกลวงผู้อื่นด้วยอุบายนั้นๆ ชื่อว่า วญฺจนํ แปลว่า การหลอกลวง ในเรื่องเหล่านั้น มีเรื่องหนึ่งเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า นายพรานเนื้อคนหนึ่งจับได้เนื้อและลูกเนื้อเดินทางมา นัก เลงการพนันคนหนึ่ง พูดกับนายพรานนั้นว่า แน่ะท่านผู้เจริญ เนื้อกับลูกเนื้อ ราคาเท่าไร? เมื่อนายพรานตอบว่า เนื้อราคา ๒ กหาปาณะ ลูกเนื้อ ๑ กหาปณะ ดังนี้แล้วนายนักเลงการพนันก็ให้เงินหนึ่งกหาปณะแล้วก็จับเอาลูก เนื้อไป ครั้นไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็กลับมา พูดว่า ท่านผู้เจริญ เราไม่ต้อง การลูกเนื้อ ท่านจงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า. นายพรานพูดว่า ถ้าอย่างนั้น จงให้ ข้าพเจ้า ๒ กหาปณะ. นายนักเลงการพนันนั้นพูดว่า ผู้เจริญ ข้าพเจ้าให้หนึ่ง กหาปณะก่อนแล้วมิใช่หรือ เมื่อนายพรานตอบว่า ถูกแล้วท่านให้ข้าพเจ้า หนึ่งกหาปณะ. นายนักเลงจึงพูดว่า ท่านจงจับเอาลูกเนื้อแม้นี้ ก็ครั้น เมื่อ ความเป็นอย่างนั้น กหาปณะนั้นด้วย ลูกเนื้อมีราคาหนึ่งกหาปณะนี้ด้วย ก็รวม เป็น ๒ กหาปณะ. นายพรานนั้น พิจารณาดูว่า นายนักการพนันนี้ย่อมกล่าว ถึงเหตุควร แล้วจึงรับเอาลูกเนื้อ และได้ให้เนื้อแก่นายนักเลงการพนันไป นี้ ก็เรียกว่า วญฺจนํ * การหลอกลวง.
การทำ อปามงฺคํ คือ ซึ่งวัตถุมิใช่สายสังวาลย์ว่าเป็นสังวาลย์ก็ดี ทำ วัตถุมิใช่แก้วมณีให้เป็นเหมือนแก้วมณีก็ดี ทำทองเทียมให้เหมือนทองคำแท้ก็ดี
* ในที่อื่นท่านเรียกว่า อุปายกถา อทินนาทาน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 411
แล้วลวงด้วยของปลอมนั้น ด้วยสามารถ การประกอบ หรือด้วยกลมายา ชื่อว่า นิกติซึ่งแปลว่า การปลอม. ผู้ประกอบในการคดโกง ชื่อว่า สาวิโยคะ๑ ก็คำว่า สาวิโยคะ นี้เป็นชื่อของการโกง ซึ่งมีการรับสินบนเป็นต้นนั่นแหละ เพราะ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบอธิการอย่างนี้ คือ อุกฺโกฏนสาวิโยโค คือ ผู้ประกอบ การโกงด้วยการรับสินบน วญฺจนสาวิโยโค คือ ผู้ประกอบการโกงด้วยการ หลอกลวง นิกติสาวิโยโค คือ ผู้ประกอบการโกงด้วยการปลอมแปลงเกจิอาจารย์ กล่าวว่า การแสดงของอย่างหนึ่งแล้วเปลี่ยนของอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สาวิโยคะ ก็คำว่า สาวิโยคะ นี้ ท่านสงเคราะห์ด้วยการหลอกลวงนั่นแหละ.
พึงทราบคำวินิจฉัยในคำว่า เฉทนํ เป็นต้น. บทว่า "เฉทนํ" แปลว่า การตัดมีการตัดมือเป็นต้น. บทว่า "วโธ" แปลว่า การฆ่าให้ตาย. บทว่า "พนฺโธ" แปลว่า เครื่องจองจำด้วยเชือกเป็นต้น. บทว่า "วิปราโมโส" แปลว่า การตีชิง. การตีชิงมี ๒ อย่าง คือ หิมวิปราโมโส การี ชิงอาศัยหิมะ คุมฺพวิปราโมโส การตีชิงอาศัยพุ่มไม้. จริงอยู่ ในสมัยใดที่ หิมะตก พวกนักเลงทั้งหลาย ปกปิดตนด้วยหิมะที่ตกแล้ว จึงตีชิงผู้เดินทาง ภาวะเช่นนี้ชื่อว่า หิมวิปราโมโส. สมัยใด พวกนักเลงอาศัยกำบังคนด้วย พุ่มไม้ แล้วตีชิงผู้เดินทาง ภาวะเช่นนี้ ชื่อว่า คุมฺพวิปราโมโส. การปล้น สดมภ์ตามบ้าน และหมู่บ้านเป็นต้น ท่านเรียกว่า อาโลโป ซึ่งแปลว่า การ ปล้นสดมภ์. การเข้าไปสู่บ้านผู้อื่นด้วยกิริยาท่าทางที่ดุร้ายแล้วเอาศาสตราจ่อที่ อกมนุษย์ แล้วก็ถือเอาสิ่งของที่ตนปรารถนา ชื่อว่า สหสาราโร แปลว่า การกรรโชก. ผู้มีศีลย่อมเว้นขาดจากการทำความดุร้าย มีการตัดมือเป็นต้นนั้น ด้วยประการฉะนี้.
๑. ม. สาจิโยโคติ กุฏิลโยโค.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 412
ข้อว่า "โส สนฺตุฏฺโ โหติ" ความว่า เธอเป็นผู้ประกอบด้วย ความสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้ ๑๒ อย่างในปัจจัย ๔ อย่าง. บทว่า "กายปริหาริเกน" แปลว่า ด้วยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งที่สักว่าเป็นเครื่องบริหารกาย. บทว่า "กุจฺฉิปริหาริเกน" แปลว่า ด้วยปัจจัย สักว่าเป็นเครื่องบริหารท้อง. สองบทว่า "สมาทาเยว ปกฺกมติ" ความว่า เธอถือเอาบริขาร ๘ ทั้งหมด อันเป็นบริขารสำหรับภิกษุเท่านั้น กระทำให้เนื่องด้วยกายแล้วก็ไป เธอเป็น ผู้ไม่ข้อง ไม่ผูกพันว่า "วิหารของเรา บริเวณของเรา อุปัฏฐากของเรา" เธอใช้สอยเสนาสนะที่เป็นไพรสณฑ์ มีโคนไม้ ทิวป่า เงื้อมเขา ตามที่ ปรารถนา เป็นผู้ยืนคนเดียว นั่งคนเดียว ไม่มีเพื่อนสองในอิริยาบถทั้งปวง เหมือนลูกศรที่พ้นจากสาย เหมือนช้างซับมันหลีกออกจากโขลง ฉะนั้น เธอ ย่อมถึงความเป็นผู้เหมือนนอแรด ที่ท่านพรรณนาคำเป็นคาถาไว้อย่างนี้ว่า
"จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ ว โหติ
สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน
ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป."
แปลความว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่เดือดร้อนเที่ยวไปไนทิศทั้ง ๔ เธอเป็น ผู้สันโดษอยู่ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เป็นผู้อดทนต่ออันตรายทั้งหลาย เป็นผู้ ไม่สะดุ้งหวาดเสียว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บัดนี้ พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงยังเนื้อความนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ด้วยคำอุปมาจึงตรัสคำว่า "เสยฺยถาปิ" เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยใน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 413
คำว่า "เสยฺยถาปิ" เป็นต้นนั้น. สองบทว่า "ปกฺขี สกุโณ" ได้แก่ นก ประกอบด้วยปีก. บทว่า "เฑติ" แปลว่า ย่อมบินไป. ก็ในอธิการนี้มีเนื้อ โดยสังเขป ดังต่อไปนี้
ธรรมดาว่า นกทั้งหลายทราบว่า ต้นไม้ในประเทศโน้นมีผลาสุก ก็ พากันบินมาจากกทิศต่างๆ แล้วพากันจิกเจาะทำลาย และจิกกินผลไม้ทั้งหลาย แห่งต้นไม้นั้น ด้วยเล็บ ปีก และจะงอยปากเป็นต้นเคี้ยวกิน. ก็ความห่วงใย ของนกเหล่านั้นว่า ผลนี้ จักมีประโยชน์แก่พวกเราในวันนี้ ผลนี้ จักมีประโยชน์แก่พวกเราในวันนี้ ผลนี้ จักมีประโยชน์แก่พวกเราในวันพรุ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มี. ก็ครั้นเมื่อผลไม้หมดแล้ว พวกนกก็ไม่ตั้งอารักขาต้นไม้ไว้เลย คือ หมายความว่า พวกนกเหล่านั้นจะไม่เอาปีก หรือเล็บ หรือจะงอยปากแตะ ต้องต้นไม้เพื่อต้องการรักษาไว้ ทีนั้นแล ฝูงนกผู้ไม่ห่วงใยในต้นไม้นั้นก็จะพา กันไป นกตัวใดปรารถนาจะไปสู่ทิศภาคใด นกตัวนั้น ก็มีแต่เพียงปีกเท่านั้น เป็นภาระแล้วก็โผบินไป ฉันใด ภิกษุนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ เป็นผู้ไม่ข้อง ไม่ห่วงใย ถือเอาเพียงบริขาร ๘ เท่านั้นแล้วก็หลีกไปด้วยประการฉะนี้.
บทว่า "อริเยน" แปลว่า ไม่มีโทษ. บทว่า "อชฺฌตฺตํ" แปลว่า ในอัตภาพของตน. บทว่า "อนวชฺชสุขํ" แปลว่า ความสุขที่ปราศจากโทษ. ข้อว่า "โส จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา" อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วย ศีลขันธ์อันไม่มีโทษนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. แม้ในบทที่เหลือ คำใดที่ ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้นทั้งหมดข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. บทว่า "อพฺยาเสกสุขํ" ได้แก่ ความสุขที่กิเลสทั้งหลายไม่รั่วรด. คำนี้ท่านกล่าว ว่า เป็นความสุขอันไม่เกลื่อนกล่น ดังนี้บ้าง. จริงอยู่ ความสุขในอินทรีย์สังวร ชื่อว่าเป็นความสุขอันไม่เกลื่อนกล่นแล้ว เพราะความเป็นไปด้วยเหตุสักว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 414
อารมณ์อันตนเห็นแล้วเป็นต้น ในบรรดาอารมณ์ทั้งหลายที่ตนเห็นแล้ว. ข้อว่า "โส อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต" อธิบายว่า ภิกษุนั้นประกอบด้วยความสำรวม อินทรีย์ทั้งหลาย ซึ่งมีใจเป็นที่หก ย่อมเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะ ด้วยสามารถ แห่งสติสัมปชัญญะในที่ทั้งหลาย ๗ มีการก้าวไปข้างหน้าและถอยหลังกลับ เป็นต้นเหล่านี้. ในบรรดาบทเหล่านั้น คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในฌานวิภังค์แล.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอะไรไว้ ด้วยคำเป็นต้นว่า "โส อิมินา จ" ดังนี้
ตอบว่า พระองค์ทรงแสดงปัจจัยสมบัติ คือ การถึงพร้อมด้วยปัจจัย ของภิกษุผู้อยู่ในป่า ด้วยว่าปัจจัย ๔ คือ ศีลขันธ์ ๑ อินทรีย์สังวร ๑ สติ- สัมปชัญญะ ๑ ความสันโดษ ๑ เหล่านี้ไม่มีแก่ภิกษุใด การอยู่ในป่า ก็ไม่ สำเร็จประโยชน์แก่ภิกษุนั้น หมายความว่า ภิกษุนั้นจะต้องถึงความเป็นผู้อัน ใครๆ พึงตำหนิติเตียน กล่าวเปรียบด้วยสัตว์เดรัจฉาน และนายพรานป่า. เทวดาผู้สิงอยู่ในป่า ย่อมประกาศคำให้ได้ยินเสียงอันน่ากลัวว่า จะมีประโยชน์ อะไร ด้วยการอยู่ป่าของผู้ลามกเห็นปานนี้ พวกมนุษย์ทั้งหลายจะพากันเอามือ ลูบคลำศีรษะกระทำอาการให้เธอหนีไป ความไม่มียศของเธอย่อมฟุ้งไปว่า ภิกษุชื่อโน้นเข้าไปอยู่ป่าแล้วสร้างกรรมอันลามกอย่างนี้ๆ ก็ปัจจัย ๔ เหล่านี้ มีอยู่แก่ภิกษุใด การอยู่ในป่าก็ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ภิกษุนั้น เพราะว่า เมื่อ เธอพิจารณาศีลของตน เมื่อไม่เห็นจุดดำด่างแต่สักอย่างหนึ่ง เธอก็จะยังปีติ ปราโมชให้เกิดขึ้นแล้ว ก็พิจารณาปีตินั้นอยู่ โดยความเสื่อมไปสิ้นไป แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ภูมิแห่งพระอริยะ. เหล่าเทพทั้งหลายที่สถิตอยู่ในป่ามีใจเป็นของตน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 415
มีจิตใจเบิกบาน ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณ ด้วยเหตุนี้ ยศของภิกษุนั้น ย่อมแผ่ กว้างออกไป เหมือนหยาดน้ำมันที่บุคคลใส่เข้าไปในน้ำ ย่อมแผ่ขยายกว้างออก ไป ฉันนั้น.
บทว่า "วิวิตฺตํ" เป็นต้น มีความเหมือนคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหน หลังนั่นแหละ. คำใดที่ควรกล่าวในฐานมีประมาณเท่านี้ว่า "โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต ฯเปฯ ยถากมฺมูปเค สตฺเต ปชานาติ" ดังนี้ คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. บัณฑิตพึงทราบ จตุตถฌานจิต อัน เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ในคำว่า "โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต" แห่งตติยวิชชา คือ วิชชาที่ ๓ ได้แก่ อาสวักขยญาณ. ข้อว่า "อาสวานํ ขยาณาย" ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ พระอรหัตตมรรคญาณ. ก็พระอรหัตตมรรค อันยังอาสวะ กิเลสให้พินาศ ท่านเรียกว่า "อาสวานํ ขโย" แปลว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย. จริงอยู่ ญาณในอรหัตตมรรคญาณนั้น ท่านเรียกว่า "อาสวานํ ขโย" เพราะเป็นธรรมอันนับเนื่องในอรหัตตมรรคนั้น. ข้อว่า "จิตฺตํ อภินินฺนาเมติ" ได้แก่ วิปัสสนาจิตของเขา ย่อมมุ่งไป.
ในคำทั้งหลาย มีคำว่า "โส อิทํ ทุกฺขํ" เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ เนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมรู้ทั่ว คือ ย่อมแทงตลอด ทุกขสัจจะแม้ทั้งปวง ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า "เอตฺตกํ ทุกฺขํ น อิโต ภิยฺโย" แปลว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ก็ภิกษุย่อม รู้ทั่ว คือ ย่อมแทงตลอดตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า "อยํ ทุกฺขสมุทโย" สภาวธรรม นี้เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์. ภิกษุย่อมรู้ทั่ว คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่ถึงความดับคือไม่เป็นไปของธรรมแม้ทั้งสองเหล่านั้นตามความเป็น จริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า "อยํ ทุกฺขนิโรโธ" สภาว-
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 416
ธรรมนี้เป็นที่ดับทุกข์. ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่ว คือ ย่อมแทงตลอดอริยมรรค อัน เป็นสัมปาปกะเหตุแห่งพระนิพพานนั้นตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอด ลักษณะพร้อมทั้งรสว่า "อยํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา" สภาวธรรมนี้ เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะทั้ง หลายโดยสรุปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสัจจะโดยปริยาย ด้วยอำนาจ กิเลส พระองค์จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "อิเม อาสวา."
ข้อว่า "ตสฺส เอวํ ชานโต เอวํ ปสฺสโต" ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสประโยชน์อันถึงที่สุดพร้อมด้วยวิปัสสนาแก่ภิกษุผู้นั้น ผู้รู้อยู่ อย่างนี้ผู้เห็นอยู่อย่างนี้. บทว่า "กามาสวา" ได้แก่ (ย่อมพ้น) จากกามาสวะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงขณะแห่งมรรค ด้วยบทนี้ว่า "วิมุจฺจติ" ซึ่งแปลว่า กำลังหลุดพ้น. ทรงแสดงขณะแห่งผล ด้วยบทนี้ว่า "วิมุตฺตสฺมึ" แปลว่าหลุดพ้นแล้ว. ก็จิตในขณะแห่งมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้น จิตในขณะ แห่งผลชื่อว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมทรงแสดงญาณในปัจจเวกขณะ ด้วยคำนี้ว่า "วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณํ" เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว ทรงแสดงภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณนั้น ด้วยคำว่า "ชาติ ขีณา" เป็นต้น. ก็พระขีณาสพนั้นเมื่อพิจารณาด้วยญาณนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติของท่านสิ้นแล้ว. บทว่า "วุสิตํ" ได้แก่ อยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว คือกระทำแล้ว ประพฤติเสร็จ กิจแล้ว อธิบายว่า สำเร็จกิจแล้ว. บทว่า "พฺรหฺมจริยํ" ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์.
ก็ พระเสกขบุคคล ๗ จำพวก กับ กัลยาณปุถุชน ชื่อว่า ย่อมอยู่ อยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ พระขีณาสพ ชื่อว่า มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์จบ แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อพระขีณาสพ ท่านพิจารณาการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ของท่าน ท่านย่อมรู้ชัดว่าพรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว. สองบทว่า "กตํ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 417
กรณียํ" อธิบายว่า กิจแม้ ๑๖ อย่างในสัจจะทั้ง ๔ ที่พระขีณาสพทำให้สำเร็จ แล้ว ด้วยสามารถปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจ ด้วย มรรคทั้ง ๔. จริงอยู่ กัลยาณปุถุชนเป็นต้น กำลังทำกิจนั้นอยู่ แต่พระขีณาสพ ทำกิจนั้นสำเร็จแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อพระขีณาสพพิจารณากรณียกิจของตน ท่านย่อมทราบชัดว่า "กตํ กรณียํ" แปลว่า กรณียกิจเรากระทำเสร็จแล้ว. ข้อว่า "นาปรํ อิตฺถตฺตาย" ความว่า พระขีณาสพ ย่อมทราบชัดว่า "บัดนี้ กิจด้วยการเจริญมรรคอื่นอีก ย่อมไม่มี จะด้วยการเจริญกิจในที่นี้ หรือด้วย การเจริญกิจ ๑๖ อย่าง หรือด้วยการสิ้นกิเลสก็ตาม.
[๑๓๖] ๑. สราคบุคคล บุคคลผู้มีราคะ เป็นไฉน?
บุคคลใด ละราคะยังไม่ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีราคะ
๒. สโทสบุคคล บุคคลผู้มีโทสะ เป็นไฉน?
บุคคลใด ละโทสะยังไม่ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีโทสะ
๓. สโมหบุคคล บุคคลผู้มีโมหะ เป็นไฉน?
บุคคลใด ละโมหะยังไม่ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีโมหะ
๔. สมานบุคคล บุคคลผู้มีมานะ เป็นไฉน?
บุคคลใด ละมานะยังได้ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีนานะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 418
อรรถกถาบุคคลผู้มีราคะเป็นต้น
วินิจฉัยในคำทั้งหลาย มีคำว่า "ผู้มีราคะ" เป็นต้น. บทว่า "อปฺปหีโน" ความว่า ผู้ประหานราคะยังไม่ได้ ด้วยวิกขัมภนปหาน หรือ ด้วยตทังคปหาน.
[๑๓๗] ๑. บุคคล ผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญา ที่เห็นแจ้งในธรรมกล่าวคือ อธิปัญญา เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วย อรูป แต่ไม่ได้โลกุตตรมรรค หรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ได้ เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ อธิปัญญา.
๒. บุคคล ผู้ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ อธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรค หรือโลกุตตรผล แต่ ไม่ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วยอรูป บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็น ผู้ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ อธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน.
๓. บุคคล ผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ด้วย ได้ปัญญา ที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญาด้วย เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 419
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือ สหรคต ด้วยอรูป เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ อธิปัญญาด้วย.
๔. บุคคล ผู้ไม่ได้เจโตสมละในภายใน ด้วย ไม่ ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญาด้วย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือ สหรคตด้วยอรูป ไม่เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้ง ในธรรมกล่าวคืออธิปัญญาด้วย.
อรรถกถาบุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ฯลฯ เป็นต้น
วินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีคำว่า "ลาภี โหติ" เป็นต้น. บทว่า "ลาภี" แปลว่า ผู้มีปกติได้ คือ ได้เฉพาะแล้วดำรงอยู่. สองบทว่า "อชฺฌตฺตํ เจโตสมถสฺส" ได้แก่ เจโตสมถะที่บังเกิดขึ้นในจิตของตน กล่าวคือ เป็น ไปในภายในของตนเอง. บทว่า "อธิปญฺาธมฺมวิปสฺสนาย" ความว่า ด้วยวิปัสสนา คือ อธิปัญญา ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งอนิจจลักษณะ เป็นต้น ในธรรมขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า "รูปสหคตานํ" ได้แก่ รูปาวจรสมาบัติ ที่มีรูปนิมิตเป็นอารมณ์. บทว่า "อรูปสหคตานํ" ได้แก่ อรูปสมาบัติซึ่ง ไม่มีรูปนิมิตเป็นอารมณ์. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า บุคคลพวกที่ ๑ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 420
ปุถุชนผู้มีสมาบัติ ๘, บุคคลพวกที่ ๒ ได้แก่ พระอริยสาวกผู้สุกขวิปัสสก บุคคล พวกที่ ๓ ได้แก่ พระอริยสาวกผู้ได้สมาบัติ ๘, บุคคลพวกที่ ๔ ได้แก่ โลกียปุถุชน.
[๑๓๘] ๑. อนุโสตคามีบุคคล บุคคลผู้ไปตามกระแส เป็น ไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเสพกาม ย่อมกระทำกรรมอันลามก นี้ เรียกว่าบุคคลผู้ไปตามกระแส.
๒. ปฏิโสตคามีบุคคล บุคคลผู้ไปทวนกระแส เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เสพกามและไม่กระทำกรรมอันลามก บุคคล นั้น ถึงจะมีทุกข์ มีโทมนัส มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์อยู่ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไปทวนกระแส.
๓. ฐิตัตตบุคคล บุคคลผู้ตั้งตัวได้แล้ว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดผุดขึ้น เพราะความสิ้นไปแห่ง โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ตั้งตัวได้แล้ว.
๔. บุคคล ผู้ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก เป็นพราหมณ์ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะรู้ ยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ข้ามถึงฝั่ง ยืนอยู่บนบก เป็นพราหมณ์.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 421
อรรถกถาบุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นต้น
วินิจฉัย ในคำว่า "อนุโสตคามี" คือ ผู้ไปตามกระแส เป็นต้น. บทว่า "อนุโสตคามี" พึงทราบได้แก่ ปุถุชนผู้ไปตามกระแส คือ วัฏฏะ ผู้จมลงในกระแสคือ วัฏฏะ. บทว่า "ปฏิโสตคามี" คือ ผู้ไปทวนกระแส. คำว่า "ปฏิโสตคามี" นี้เป็นชื่อของท่านผู้ไม่ไปตามกระแส แต่ไปทวนกระแส. ข้อว่า "ปาปญฺจ กมฺมํ น กโรติ" ได้แก่ ผู้ไม่ก้าวล่วงบัญญัติกระทำบาป. ข้อว่า "สหาปิ ทุกฺเขน สหาปิ โทมนสฺเสน" ความว่า ครั้นเมื่อกิเลส อันเป็นปริยุฏฐานยังมีอยู่ ย่อมกระทำกรรมอันลามก แม้กับด้วยทุกขโทมนัส ที่เกิดขึ้น. บทว่า "ปริปุณฺณํ" ได้แก่ บรรดาสิกขาทั้ง ๓ ไม่บกพร่องแม้ สักอย่าง. บทว่า "ปริสุทฺธํ" ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส. บทว่า "พฺรหฺมจริยํ" แปลว่า ประพฤติธรรมอันประเสริฐที่สุด. พระโสดาบัน และพระสกทาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยวาระนี้.
ถามว่า ก็บุคคลเหล่านี้ ร้องไห้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ?
ตอบว่า ถูกแล้ว ท่านเหล่านี้ ชื่อว่าร้องไห้ประพฤติพรหมจรรย์ โดย การร้องไห้ ด้วยอำนาจของกิเลส. แม้ภิกษุผู้ปุถุชนสมบูรณ์ด้วยศีล พระผู้มี พระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในบทว่า "พฺรหฺมจริยํ" นี้เหมือนกัน. บทว่า "ิตตฺโต" ได้แก่ ผู้มีการดำรงตัวอยู่ได้เป็นสภาพ ก็พระอนาคามี ชื่อว่า ดำรง ตัวอยู่ได้เป็นสภาพ เพราะท่านเป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหว ด้วยกามราคะ และ พยาบาท และเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. บทว่า "ติณฺโณ" ได้แก่ ผู้ข้ามกระแสแห่งตัณหา. บทว่า "ปารคโต" ได้แก่ ผู้ถึงฝั่งคือ พระนิพพาน. สองบทว่า "ผเล ติฏฺติ" ได้แก่ ยืนอยู่บนบก คือ อรหัตตผลและ สมาปัตติผล. บทว่า "เจโตวิมุตฺตึ" ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า "ปญฺาวิมุตฺตึ"
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 422
ได้แก่ ผลญาณ. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า พระขีณาสพ ผู้ข้าม กระแสตัณหาไปแล้ว ถึงฝั่ง คือ พระนิพพานแล้ว ยืนอยู่บนบก คือ อรหัตตผล และสมาปัตติผล ท่านเรียกว่าเป็น "พราหมณ์". ก็พระขีณาสพนี้ชื่อว่าเป็น พราหมณ์ เพราะท่านเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว.
[๑๓๙] ๑. บุคคล ผู้มีสุตะน้อย และไม่ได้ประโยชน์เพราะ สุตะ เป็นไฉน?
สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มีน้อย บุคคลนั้นไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรมแห่งสุตะอันน้อยนั้น ไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า ผู้มีสุตะน้อย และไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะนั้น.
๒. บุคคล ผู้มีสุตะน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะ สุตะ เป็นไฉน?
สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลใดในโลกนี้มีน้อย บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรมของสุตะน้อยนั้น เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้มีสุตะน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.
๓. บุคคล ผู้มีสุตะมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะ สุตะ เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 423
สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มีมาก บุคคลนั้นไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรมของสุตะอันมากนั้น ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้มีสุตะมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.
๔. บุคคล ผู้มีสุตะมาก และได้ประโยชน์เพราะ สุตะ เบ็นไฉน?
สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนโลกนี้มาก บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม ของสุตะอันมากนั้น เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้มีสุตะมาก และได้ประโยชน์เพราะสุตะ.
อรรถกถาบุคคลผู้มีสุตะน้อย เป็นต้น
วินิจฉัยในคำว่า "ผู้มีสุตะน้อย" เป็นต้น. ข้อว่า "อปฺปกํ สุตํ โหติ" ความว่า สุตะ คือ การฟัง การเรียน ในนวังคสัตถุศาสน์ มีบางส่วน คือ มีนิดหน่อยเท่านั้น. ข้อว่า "น อตฺถมญฺาย น ธมฺมญฺาย ธมฺมานุ- ธมฺมปฏิปนฺโน โหติ" ความว่า เป็นผู้รู้บาลี อรรถกถา แล้วปฏิบัติธรรม อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันสมควรแก่โลกุตตรธรรม ย่อมไม่มีแก่เขา. ใน บททั้งปวง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 424
[๑๔๐] ๑. สมณมจลบุคคล บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนโลกนี้ ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่ง สัญโญชน์ ๓ มีอันไม่ตกไปในอบายภูมิ เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้จักตรัสรู้ในเบื้อง หน้า บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว.
๒. สมณปทุมบุคคล บุคคลผู้เป็นสมณะบัวหลวง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ชื่อว่า เป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไป แห่งสัญโญชน์ ๓ เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง จะมาสู่โลกนี้อีก เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะ บัวหลวง.
๓. สมณปุณฑรีกบุคคล บุคคลผู้เป็นสมณะบัวขาว เป็นไฉน?
บุคคลบางคนโลกนี้ เป็นผู้เกิดผุดขึ้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ และปรินิพพานในเทวโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะบัวขาว.
๔. สมณสุขุมาลบุคคล บุคคลผู้เป็นสมณะสุขุมาล ในหมู่สมณะ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ ในทิฏฐธรรมเทียว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะสุขุมาล ในหมู่สมณะดังนี้แล.
จบบุคคล ๔ จำพวก
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 425
อรรถกถาบุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว เป็นต้น
วินิจฉัยในคำว่า "สมณมจโล" เป็นต้น. บทว่า "สมณมจโล" แก้เป็น สมณอจโล ซึ่แปลว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว ม อักษรกระทำการ เชื่อมบทไว้ อธิบายว่าบุคคลผู้เป็นสมณะ เป็นผู้ไม่หวั่นไหว คือ ผู้เป็นสมณะ ย่อมเป็นผู้มีจิตมั่นคง. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า พระโสดาบันนี้ ท่านเรียกว่า "สมณมจโล" เพราะท่านเป็นผู้ตั้งมั่นด้วยศรัทธา (อจลศรัทธา) อันเป็นเหตุมั่นคงเกิดแล้วในพระศาสนา. ส่วนพระสกทาคามี พระองค์ตรัสว่า "สมณปทุโม" คือ สมณะบัวหลวง เพราะกิเลสอันเป็นเครื่องยินดียังมีอยู่. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า "ก็ชื่อว่า อรรถแห่ง ปทุม ศัพท์ ในคำว่า สมณปทุโม" นี้ ว่ามีความยินดีเป็นอรรถ (รตฺตตฺโถ). พระอนาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "สมณปุณฺฑรีโก" คือ สมณะบัวขาว เพราะ ท่านไม่มีกิเลสอันเป็นเครื่องยินดี กล่าวคือ กามราคะ ท่านอธิบายว่า "ก็ ชื่อว่า อรรถแห่ง ปุณฑรีกะ ศัพท์ ในคำว่า "สมณปุณฺฑรีโก" นี้ ว่ามี ความสะอาดเป็นอรรถ. ก็พระขีณาสพ พระองค์ตรัสว่า ชื่อว่า สมณสุขุมาล ในสมณะทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ไม่มีกิเลสทั้งหลาย อันกระทำความ กระด้าง. ก็พระขีณาสพนี้ ชื่อว่าเป็นสมณะ ผู้สุขุมาลโดยแท้ เพราะอรรถว่า ท่านเป็นผู้มีทุกข์น้อย ดังนี้แล.
อธิบายบุคคล ๔ จำพวก จบเพียงนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 426
ปัญจกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๕ จำพวก
[๑๔๑] ๑. บรรดาบุคคลที่ได้แสดงไว้แล้วนั้นๆ บุคคลนี้ใด ต้อง อาบัติด้วย เดือดร้อนด้วย ทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ บุคคลเหล่านั้น บุคคลนั้นเป็นผู้อันบุคคลที่ ๕ คือ พระขีณาสพพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายเกิดแต่การต้องอาบัติ ย่อมมีแก่ท่านแล อาสวะทั้ง หลายเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมเจริญยิ่งแก่ท่าน ทางดีที่สุดของท่านผู้มีอายุ จงละอาสวะทั้งหลายที่เกิดแต่การต้องอาบัติ จงบรรเทาอาสวะทั้งหลาย อันเกิด แต่ความเดือดร้อน จงยังจิตและปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจัก เป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ ๕ นี้.
๒. บุคคลนี้ใด ต้องอาบัติ แต่ไม่เดือดร้อน ทั้งไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอกุศล ธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคล ที่ ๕ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายเกิดแต่การต้องอาบัติ ย่อมมีแก่ท่าน แล้ว อาสวะทั้งหลายเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมไม่เจริญยิ่งแก่ท่าน ทางดีที่ สุด ขอท่านผู้มีอายุ จงละอาสวะทั้งหลาย ซึ่งเกิดแต่การต้องอาบัติ จงยังจิต และปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ ๕ นี้.
๓. บุคคลนี้ใด ไม่ต้องอาบัติ แต่มีความเดือดร้อน ทั้งไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง อกุศลธรรมอันลามก ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้น เป็นผู้อันบุคคลที่
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 427
๕ พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายเกิดแต่การต้องอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ท่าน แล อาสวะทั้งหลายเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมไม่เจริญยิ่งแก่ท่าน ทางที่ดีที่ สุด ท่านผู้มีอายุ จงบรรเทาอาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดแต่ความเดือดร้อน จงยังจิต และปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ ๕ นี้.
๔. บุคคลใด ไม่ต้องอาบัติ ไม่มีความเดือดร้อน ทั้งไม่รู้ตามความ เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ซึ่งเกิดแล้วแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้อันบุคคลที่ ๕ พึง กล่าวอย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดแต่ความต้องอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ท่านแล อาสวะซึ่งเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมไม่เจริญยิ่งแก่ท่าน ทางดีที่สุด ขอท่าน ผู้มีอายุ จงยังจิตและปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอ ด้วยบุคคลที่ ๕ นี้.
๕. บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ อันบุคคลที่ ๕ คือ พระขีณาสพนี้ กล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะโดย ลำดับ.
อรรถกถาปัญจกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๕ จำพวก
บทว่า "ตตฺร" ได้แก่ บุคคลที่ท่านยกขึ้นแสดงไว้ในหนหลัง โดย นัยเป็นต้นว่า "อารมฺภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ" เหล่านั้น. บทว่า "ยฺวายํ" ตัดบทเป็น โย อยํ. อารัมภะ ศัพท์ ในคำว่า "อารมฺภติ" นี้ ย่อมเป็นไป ในอรรถว่ากรรม คือการกระทำ ๑ ในกิริยา คือ กิจ ๑ ในหิงสนะ คือ การ เบียดเบียน ๑ ใน อาปัตติวีติกกมะ คือ การล่วงอาบัติ ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 428
จริงอย่างนั้น อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า กรรม ในคำว่า "ยํกิญฺจิ ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา" แปลว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิด ขึ้น ทุกข์ทั้งหมดมีกรรมเป็นปัจจัย.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า กิริยา ในคำว่า "มหายญฺา มหารมฺภา น เต โหนฺติ มหปฺผลา" แปลว่า ยัญใหญ่ เป็น กิริยาที่ใหญ่ แต่ยัญเหล่านั้นไม่มีผลมาก.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า หิงสนะ คือ การเบียดเบียน ในคำนี้ว่า "สมณํ โคตมํ อุทฺทิสฺส ปาณํ อารมฺภติ" แปลว่า ย่อมฆ่าสัตว์ อุทิศ เจาะจงต่อพระสมณโคดม.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า วิริยะ คือ ความเพียร ในคำนี้ว่า "อารมฺภถ นิกฺกมล ยุญฺชถ พุทฺธสาสเน" แปลว่า ท่านทั้งหลาย จง ปรารภความเพียร จงบากบั่น จงประกอบธุระในพระพุทธศาสนา.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า วิโกปนะ คือ การพรากทำลาย ใน คำนี้ว่า "พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต โหติ" แปลว่า ภิกษุ เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า อาปัตติวีติกกมะ คือการล่วงอาบัติ ของภิกษุ ในคำนี้ว่า "อารมฺภติ วิปฺปฏิสารี โหติ" แปลว่า ภิกษุต้อง อาบัติย่อมเป็นผู้เดือดร้อน. เพราะฉะนั้น จึงมีเนื้อความในที่นี้ว่า ภิกษุย่อม ต้องอาบัติ ด้วยสามารถแห่งการล่วงอาบัติด้วย และย่อมเป็นผู้เดือดร้อน เพราะการต้องอาบัตินั้นเป็นปัจจัยด้วย ดังนี้.
บทว่า "เจโตวิมุตฺตึ" ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า "ปญฺาวิมุตฺตึ" ได้แก่ผลญาณ. ข้อว่า "ยถาภูตํ นปฺปชานาติ" ได้แก่ ย่อมไม่รู้ตามความเป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 429
จริง เพราะความที่ตนเป็นผู้ยังไม่บรรลุคุณวิเศษ. บทว่า "ยตฺถสฺส" ตัด บทเป็น ยตฺถ อสฺส แปลว่า ของบุคคลนั้นมีอยู่ ในที่ใด. อธิบายว่า อกุศล ธรรมอันลามก อ้นเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ เพราะถึง ฐานะใด.
ถามว่า ก็อกุศลธรรมเหล่านั้นถึงฐานะอะไรแล้ว จึงดับไปโดยไม่ เหลือ.
ตอบว่า ถึงฐานะคือพระอรหัตตมรรค จึงดับไปโดยไม่เหลือ.
ก็ อกุศลธรรม อันลามกของท่านผู้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ชื่อว่า ดับ ไปแล้วโดยไม่เหลือ แม้เมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ผลจิตเท่านั้น พึงทราบ ว่าท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งมรรคในที่นี้. บทว่า "อารมฺภชา" ได้แก่ เกิดจากการล่วงอาบัติ. บทว่า "วิปฺปฏิสารชา" ได้แก่ เกิดจากความเดือด ร้อน. บทว่า "ปวฑฺฒนฺติ" ได้แก่ อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญด้วยการเกิดขึ้น บ่อยๆ. บทว่า "สาธุ" ได้แก่ ความดีที่เกิดจากการขอร้อง. มีคำอธิบาย ที่ท่าน กล่าวไว้ดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็กรรมอันพลังพลาดมีอยู่เพียงไรหนอ แม้เมื่อ ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านผู้มีอายุ ขอท่านผู้มีอายุ จง ละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติ ด้วยการแสดงอาบัติของภิกษุผู้ควรแสดง ด้วยการออกจากอาบัติของภิกษุผู้ควรออกจากอาบัติ ด้วยการกระทำให้แจ้งซึ่ง อาบัติของภิกษุผู้ควรกระทําให้แจ้ง แล้วบรรเทาซึ่งอาสวะทั้งหลายอันเกิดจาก ความเดือดร้อน ด้วยการพิจารณาถึงภาวะที่ตนตั้งอยู่ในส่วนแห่งความบริสุทธิ์ แล้วจงนำอาสวะทั้งหลายออก แล้วจงยังวิปัสสนาจิต และ วิปัสสนาปัญญา ให้เจริญเถิด.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 430
ข้อว่า "อมุนา ปญฺจเมน ปุคฺคเลน" ได้แก่ บุคคลผู้เป็นพระขีณาสพเป็นที่ ๕ นั้น. สองบทว่า "สมสโม ภวิสฺสติ" อธิบายว่า ผู้อัน พระขีณาสพพึงโอวาทอย่างนี้ว่า "จักเป็นผู้เสมอ ด้วยความเป็นผู้เสมอกันด้วย โลกุตตรคุณ นั่นแหละ". ข้อว่า "อารมฺภติ น วิปฺปฏิสารี โหติ" ได้แก่ ภิกษุผู้ต้องอาบัติ. ก็เพื่อจะแสดงอาบัตินั้นจึงแสวงหาภิกษุผู้ชอบพอกัน เพราะ ฉะนั้นเธอจึงไม่เป็นผู้เดือดร้อน.
ท่านอรรถกถาจารย์ได้กล่าวคำอธิบายไว้ในคัมภีร์อรรถกถาอังคุตตรนิกายว่า "เธอย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อนเพราะออกจากอาบัติได้แล้ว". ข้อว่า "นารมฺภติ วิปฺปฏิสารี โหติ" ได้แก่ ภิกษุผู้ไม่ต้องอาบัติ แต่เพราะเธอ เป็นผู้ไม่ฉลาดในวินัยบัญญัติ เป็นผู้มีความสำคัญอนาบัติ ว่าเป็นอาบัติ จึง มีความวิปปฏิสาร คือ เดือดร้อน. แต่ในอังคุตตรนิกายอรรถกถา อธิบายว่า ภิกษุต้องอาบัติครั้งเดียว ออกจากอาบัตินั้นแล้วภายหลังไม่ต้องอาบัติแม้ไรๆ อีกก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็ไม่อาจเพื่อจะพ้นจากความวิปปฏิสารได้. ข้อว่า "น อารมฺภติ น วิปฺปฏิสารี โหติ" ความว่า ทั้งไม่ต้องอาบัติ ทั้งไม่ เดือดร้อน.
ถามว่า ก็บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ และไม่เดือดร้อนนั้นเป็นไฉน.
ตอบว่า บุคคลผู้มีความเพียรอันสละแล้ว. อธิบายว่า ก็บุคคลผู้มีความ เพียรอันสละแล้วนั้น แม้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติด้วยการ คิดว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยการปรินิพพานในพุทธกาลนี้ เราจักปรินิพพานในสมัยแห่งพระเมตเตยยสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล. แม้เธออัน ใครๆ พึงโอวาทว่า "ผู้มีอายุเป็นผู้ประมาทอยู่เพื่อประโยชน์อะไร ขึ้นชื่อว่า คติของปุถุชนเป็นของไม่แน่นอน ท่านผู้มีอายุ ก็ใครเล่าจะรู้ว่า บุคคลพึงได้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 431
หรือไม่ได้ซึ่งความเป็นผู้มีหน้าเฉพาะต่อพระเมตเตยยสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ ฉะนั้น ท่านจงเจริญวิปัสสนา เพื่อต้องการแก่พระอรหัตเถิด. คำที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในบททั้งปวงนั้นแหละ.
[๑๔๒] ๑. บุคคล ให้แล้วดูหมิ่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชบริขารแก่บุคคลใด แล้วพูดแก่บุคคลนั้นว่า คนนี้ได้แต่รับของที่เขาให้ ดังนี้ ชื่อว่า ให้แล้วดูหมิ่นบุคคลนั้น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ให้แล้วดูหมิ่น.
๒. บุคคล ดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วม เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ คนย่อมอยู่ร่วมกับด้วยบุคคลใด สิ้น ๒ ปี หรือ ๓ ปี ย่อมดูหมิ่นบุคคลนั้นด้วยการอยู่ร่วม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ดูหมิ่น ด้วยการอยู่ร่วม.
๓. บุคคล ผู้เชื่อง่าย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อเขาสรรเสริญ หรือติเตียนผู้อื่น ย่อมเชื่อ ทันที บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้เชื่อง่าย.
๔. บุคคล ผู้โลเล เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาไม่จริงจัง มีความภักดีไม่จริง จัง มีความรักไม่จริงจัง มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โลเล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 432
๕. บุคคล ผู้โง่งมงาย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้กุศลธรรม อกุศลธรรม ย่อมไม่รู้ สาวัชชธรรม อนวัชชธรรม ย่อมไม่รู้หีนธรรม ปณีตธรรม ย่อมไม่รู้ธรรม ที่มีส่วนเปรียบด้วยของคำและของขาว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โง่งมงาย.
อรรถกถาบุคคลให้แล้วดูหมิ่นเป็นต้น
ภิกษุรูปหนึ่งมีบุญมาก ย่อมเป็นผู้มีปกติได้ปัจจัย ๔ เธอได้ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้นแล้วย่อมถามโดยเอื้อเฟื้อกะภิกษุรูปอื่นผู้มีบุญน้อย เธอนั้นเมื่อ ภิกษุผู้มีบุญมากถามอยู่บ่อยๆ จึงรับเอาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นไป ทีนั้น ภิกษุผู้มีบุญมากโกรธภิกษุผู้มีบุญน้อยนั้นหน่อยหนึ่ง ประสงค์จะให้เธอเกิด ความเก้อเขิน จึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ตาม ธรรมดาของตน เพราะอาศัยเราจึงได้. บุคคลนี้จึงชื่อว่า ให้แล้วดูหมิ่น.
ก็บุคคลคนหนึ่งเมื่ออาศัยอยู่กับบุคคลคนหนึ่ง ๒ - ๓ ปี เขากระทำ ความเคารพในบุคคลนั้นอยู่แต่กาลก่อน ต่อมาภายหลังเมื่อเวลาผ่านไปๆ ไม่ กระทำความเคารพยำเกรงคือ ไม่ลุกขึ้นจากอาสนะบ้าง ไม่ไปสู่ที่บำรุงบ้าง บุคคลนี้ชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วม.
บทว่า "อาเธยฺยมุโข" ได้แก่ ผู้เชื่อง่ายแต่ต้น อธิบายว่า ผู้มี ความสำคัญอันตั้งไว้แล้วในคำแรกเท่านั้น. สองบทว่า "อธิมุจฺจิตา โหติ" ได้แก่ ความเป็นผู้มีศรัทธา. ในคำว่า "อธิมุจฺจิตา โหติ" นี้มีนัยดังต่อไปนี้ บุคคลคนหนึ่งกล่าวถึงภิกษุผู้มีสมณสารูปนั่นแหละว่า "ภิกษุนี้ ไม่มีสมณสารูป" ผู้นั้นครั้นฟังคำนั้นแล้ว เชื่ออย่างมั่นคง คือ เชื่อถึงที่สุด แม้ภิกษุผู้ชอบพอ กันรูปอื่นกล่าวว่า "ภิกษุนี้มีสมณสารูป" ก็ไม่เชื่อฟังคำของภิกษุนั้นเลย เขา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 433
กล่าวยืนยันว่าภิกษุรูปโน้นบอกข้าพเจ้าว่า "ภิกษุรูปนี้ ไม่มีสมณสารูป จึงเชื่อ ถ้อยคำของภิกษุรูปก่อนเท่านั้น. แม้บุคคลอื่นอีก ย่อมกล่าวถึงภิกษุผู้มีศีลว่า เป็นผู้ไม่มีศีล เธอเชื่อคำของผู้นั้นแล้ว แม้ภิกษุอื่นอีกกล่าวว่า "ภิกษุนี้ ไม่ มีสมณสารูป ไม่ควรเข้าไปสู่สำนักของท่าน" ดังนี้ เธอไม่เชื่อถือคำของผู้นั้น ย่อมเชื่อฟังถ้อยคำของภิกษุรูปก่อน เท่านั้น. บุคคลอื่นอีก ย่อมยึดถือถ้อยคำ ที่ผู้อื่นกล่าวถึงความดีบ้างความชั่วบ้างนั่นแหละ บุคคลแม้นี้ชื่อว่า ผู้มีความ เชื่อถืออันตั้งไว้ อธิบายว่า ผู้มีความเชื่ออันตั้งไว้นี้ ฟังคำใดๆ ย่อมเป็นผู้มี ความเชื่อถืออันตั้งไว้ในคำนั้นๆ.
บทว่า "โลโล" ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้โลเล คือ ผู้หวั่นไหว เพราะ ความที่ตนเป็นผู้หวั่นไหวด้วยความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น เพราะเหตุที่ ศรัทธาเป็นต้น เป็นธรรมชาติตั้งอยู่ชั่วกาลนิดหน่อย. บทว่า "อิตฺตรสทฺโท" ได้แก่ ผู้มีศรัทธาน้อย คือ มีศรัทธาไม่บริบูรณ์. แม้ในคำที่เหลือ ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. บุคคลผู้มีศรัทธาอันไม่จริงจังนี้ ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งการ คบบ่อยๆ ในอธิการนี้. ชื่อว่าความรัก จะเป็นความรักที่เกิดจากศรัทธาก็ดี จะเป็นความรักอันเกิดจากตัณหาก็ดี ก็ควร. ความเลื่อมใส ก็คือความเลื่อมใส ที่เกิดจากศรัทธานั่นแหละ. ข้อว่า "เอวํ ปุคฺคโล โลโล โหติ" ความว่า บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้โลเล เพราะความที่ตนเป็นผู้มีศรัทธานิดหน่อยเป็นต้น อธิบาย ว่า บุคคลผู้โลเลนี้ เป็นผู้มีฐานะอันไม่ตั้งมั่น ดุจผ้าที่ย้อมด้วยขมิ้น ดุจหลัก ที่ปักไว้ในกองแกลบ ดุจลูกฟักที่เขาวางไว้บนหลังม้า เขาย่อมเลื่อมใสโดย กาลครู่หนึ่ง ย่อมโกรธโดยกาลครู่หนึ่ง หมายคามว่าประเดี๋ยวรักประเดี๋ยวชัง. ข้อว่า "มนฺโท โมมูโห" ความว่าบุคคลชื่อว่า โง่ เพราะไม่มีญาณ (อญาณํ) ชื่อว่า งมงาย เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาด อธิบายว่า ผู้หลงใหลมาก.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 434
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวก เป็นไฉน?
[๑๔๓] นักรบอาชีพ ๕ จำพวก คือ
๑. นักรบบางคนในโลกนี้ พอเห็นปลายธุลีเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อม หยุด ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ นักรบอาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบจำพวกที่ ๑ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
๒. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น ปลายธุลีแล้วยังอดทนได้ แต่ว่าพอเห็นปลายธงเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ นักรบอาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมี ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
๓. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น ปลายธุลียังอดทนได้ เห็นปลายธงยังอดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงพลนิกาย อึกทึกเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ นักรบ อาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
๔. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น ปลายธุลียังอดทนได้ เห็นปลายธงยังอดทนได้ ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ยังอดทนได้ แต่พอถูกอาวุธแม้แต่เล็กน้อย ย่อมเดือดร้อนระส่ำระสาย นักรบ อาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
๕. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น ปลายธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ถูกอาวุธก็อดทนได้ นักรบ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 435
นั้นชนะสงครามนั้นแล้วได้ชื่อว่า ผู้มีสงครามอันชนะวิเศษแล้ว ย่อมครอบครองความเป็นยอดนักรบนั้นนั่นแลไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
[๑๔๔] นักรบอาชีพ ๕ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏ อยู่ในภิกษุฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ๕ จำพวก เป็นไฉน?
๑. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ พอเห็นปลายธุลีเท่านั้น ย่อมจมอยู่ใน มิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมดำรงอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อความ เป็นคนเลว ถามว่า ปลายธุลีของภิกษุนั้นเป็นอย่างไร? คือ ภิกษุในศาสนา นี้ ได้ยินข่าวว่าในบ้านหรือในนิคมชื่อโน้น มีสตรีหรือกุมารีรูปงามน่ารักน่า เลื่อมใส ประกอบพร้อมด้วยผิวพรรณและทรวดทรงอันงามยิ่ง ภิกษุนั้นครั้น ได้ยินข่าวนั้นแล้ว ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้ ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นี้ชื่อว่าปลายธุลีของภิกษุนั้น นักรบอาชีพนั้น พอเห็นปลายธุลีเหล่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อมไม่ตั้ง มั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็อุปไมยฉันนั้น บุคคลบางคน แม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 436
๒. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย ธุลียังอดทนได้ แต่พอเห็นปลายธงเท่านั้น ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้ ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพล ในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ปลาย ธงของภิกษุนั้น เป็นอย่างไร? คือ ภิกษุในศาสนานี้ไม่เพียงแต่ได้ยินข่าวเล่า ลือว่า ในบ้านหรือในนิคมชื่อโน้นมีสตรีหรือกุมารีรูปงามน่าดูน่าเสื่อมใส ประกอบพร้อมด้วยผิวพรรณและทรวดทรงอันงามยิ่งดังนี้ แต่เธอได้เห็นสตรีหรือ กุมารีรูปงาม น่าดูน่าเลื่อมใส ประกอบพร้อมด้วยผิวพรรณและทรวดทรงอัน งามยิ่งด้วยตนเอง ครั้นเธอเห็นเข้าแล้วย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ไม่ ดำรงอยู่ได้ ไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออก ให้ปรากฏ บอกลาสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นี้ชื่อว่าปลายธงของ ภิกษุนั้น นักรบอาชีพนั้น เห็นปลายธุลียังอดทนได้แต่พอเห็นปลายธงเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบได้แม้ฉันใด ภิกษุนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลบางคนเห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลผู้เปรียบ ด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.
๓. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย ธุลีเห็นปลายธง ยังอดกั้นได้ แต่ว่าพอได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึกเท่านั้น ย่อม จมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้ ย่อมไม่อาจเพื่อสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาแล้ว เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว การได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึกของภิกษุนั้น เป็น อย่างไร? คือ มาตุคามในโลกนี้ เข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ในป่า อยู่โคนไม้ หรือ อยู่เรือนว่างเปล่าแล้ว ย่อมยิ้ม ย่อมทักทาย ย่อมซิกซี้ ย่อมยั่วเย้า เธอถูก
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 437
มาตุคามยิ้มยั่ว ทักทาย ซิกซี้ ยั่วเย้าอยู่ ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้ ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพล ในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นี้ชื่อว่า การ ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึกของภิกษุนั้น นักรบอาชีพนั้น เห็นปลายธุลีเห็นปลาย ธง ย่อมอดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงดังเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อม ไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น บุคคล บางคนแม้เห็นปานนี้ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพคนที่ ๓ นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.
๔. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย ธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ย่อมอดกลั้นได้ แต่เมื่อถูกอาวุธ เล็กน้อย ย่อมเดือดร้อน ย่อมกระสับกระส่าย การถูกอาวุธเล็กน้อยของภิกษุ นั้นเป็นอย่างไร? คือ มาตุคามในโลกนี้เข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ในป่า อยู่โคนไม้ อยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งใกล้ชิด ย่อมนอนใกล้ชิด ย่อมกอดรัด ภิกษุนั้น ถูกมาตุคามนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิดกอดรัด ไม่แสดงความเป็นผู้ทุรพลเพื่อลา สิกขา แต่ ย่อมเสพเมถุนธรรม นี้ชื่อว่า การถูกอาวุธเล็กน้อยของภิกษุนั้น นักรบอาชีพนั้น เห็นปลายธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ย่อม อดทนไว้ได้ แต่ว่าย่อมเดือดร้อน ย่อมระส่ำระสายในเมื่อถูกอาวุธเล็กน้อย แม้ฉันใด ภิกษุนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลก บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพคนที่ ๔ นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.
๕. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย ธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ถูกอาวุธเล็กน้อย ย่อมอดทนได้ บุคคลนั้นชนะสงครามนั้นแล้ว ชื่อว่าผู้มีสงครามอันชนะวิเศษแล้ว ย่อมบรรลุ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 438
ความมีชัยในสงครามนั้นนั่นแล การได้ชัยชนะในสงครามของภิกษุนั้น เป็น อย่างไร? คือ มาตุคามนางคนในโลกนี้เข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่ เรือนว่างเปล่า แล้วย่อมนั่งใกล้ชิด ย่อมนอนใกล้ชิด กอดรัด ภิกษุนั้นถูก มาตุคามนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิด กอดรัด ก็ปลดเปลื้องเอาตัวรอดแล้วหลีก ไปตามปรารถนา ภิกษุนั้นย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด เช่นป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าดง กลางแจ้ง กองฟาง เธอไปอยู่ในป่า โคน ต้นไม้ หรือเรือนว่างเปล่า นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา สำเร็จอิริยาบถอยู่ ยังจิตให้ ผ่องใสจากอภิชฌา ละความขัดเคืองคือพยาบาทแล้ว มีจิตไม่เบียดเบียน มี ความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์สำเร็จอิริยาบถอยู่ ยังจิตให้ ผ่องใสจากความขัดเคือง คือพยาบาท ละถีนมิทธะ เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีสัญญาในแสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะ สำเร็จอิริยาบถอยู่ ยังจิตให้ผ่องใส จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเข้าไปสงบระงับใน ภายใน ยังจิตให้ผ่องใสจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามพ้นจาก วิจิกิจฉา ไม่เป็นผู้มีการกล่าวว่าอย่างไรในกุศลธรรมทั้งหลาย ยังจิตให้ผ่องใส จากวิจิกิจฉา ภิกษุนั้นละนิวรณ์เหล่านี้อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจ อันทำปัญญา ให้ทุรพลเสียได้แล้ว สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้า ถึงปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติ และมีสุขเกิดแต่วิเวก สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะความสงบแห่งวิตกวิจารเข้าถึงทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สำเร็จ อิริยาบถอยู่ ภิกษุนั้นครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสดุจเนินปราศ- จากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงานตั้งมั่นแล้ว ถึงความไม่ หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมยังจิตให้น้อมไปในญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 439
ทั้งหลาย เธอย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิด ขึ้นแห่งอาสวะ นี้ความดับไปแห่งอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อ เธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ความรู้ว่า หลุดพนแล้วย่อมมี ย่อม รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี นี้คือการได้ชัยชนะในสงครามของภิกษุนั้น นักรบ อาชีพนั้น เห็นปลายธุลี ปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ถูกอาวุธเล็กน้อย ย่อมอดทนได้ บุคคลนั้นชนะสงครามแล้ว ชื่อว่าผู้มีสงครามอันชนะวิเศษแล้ว ย่อมบรรลุความมีชัยในสงครามนั้นนั่นแล แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลเปรียบด้วยนักรบอาชีพ ที่ ๕ นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏ อยู่ในหมู่ภิกษุ.
อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวก
วินิจฉัย ในบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ. บทว่า "โยธาชีวา" ได้แก่ บุคคลผู้เข้าไปอาศัยการรบเลี้ยงชีพเป็นอยู่. บทว่า "รชคฺคํ" ได้แก่ กองธุลีที่ฟุ้งขึ้นจากแผ่นดิน ที่ช้างม้าเป็นต้นเหยียบย่ำ. บทว่า "น สนฺถมฺภติ" ได้แก่ ครั้นกระด้างแล้วย่อมไม่อาจเพื่อจะตั้งมั่นได้. สองบทว่า "สหติ รชคฺคํ" ความว่า นักรบบางพวกแม้เห็นกองธุลีที่ฟุ้งขึ้นไปจากแผ่นดินที่ ช้างม้าเป็นต้น เหยียบย่ำ ยังอดทนได้. บทว่า "ธชคฺคํ" ได้แก่ ยอดธง
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 440
ทั้งหลายที่เขายกขึ้นบนหลังช้าง ม้า หรือบนรถ. บทว่า "อุสฺสาทนํ" ได้แก่ เสียงสูงเสียงใหญ่ของช้างม้ารถ และพลนิกาย. บทว่า "สมฺปหาเร" ได้แก่ ครั้น เมื่อการประหารแม้มีประมาณน้อยที่มาถึงแล้ว. บทว่า "หญฺติ" ได้แก่ ย่อม เดือดร้อน คือ ถึงความระส่ำระสาย. บทว่า "พฺยาปชฺชติ" ได้แก่ ย่อมถึง ความวิบัติ คือ ย่อมละปกติภาพ. สองบทว่า "สหติ สมฺปหารํ" ความว่า นักรบอาชีพนั้นแม้ถูกประหารสองสามครั้ง ยังอดทน คือยังทนได้. สองบทว่า "ตเมว สงฺคามสีสํ" ได้แก่ ที่นั้นนั่นแหละเป็นที่ตั้งค่ายรบอันมีชัย. บทว่า "อชฺฌาวสติ" ได้แก่ ย่อมอยู่ครอบครองประมาณ ๗ วัน. ถามว่า เพราะ เหตุไร? แก้ว่า เพื่อต้องการรักษาเขตประหารของชนที่ได้ประหารไปแล้ว เพื่อ ทราบความต่างกันของกรรมที่ชนกระทำแล้วจึงให้ฐานันดร และเพื่อต้องการ เสวยความสุข คือ ความเป็นใหญ่. บัดนี้ กิจด้วยความเป็นนักรบอาชีพของ พระศาสดาไม่มี แต่เพื่อจะแสดงบุคคล ๕ จำพวกในพระศาสนานี้ พระองค์ จึงตรัสคำว่า "เอวเมวํ" เป็นต้นมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "สํสีทติ" ได้แก่ จมอยู่ คือ ย่อมตกไป ในมิจฉาวิตก. ข้อว่า "น สกฺโก พฺรหฺมจริยํ สนฺตาเนตุํ" ความว่า ย่อม ไม่อาจเพื่อรักษาการประพฤติพรหมจรรย์ อันไม่ขาดสายได้. สองบทว่า "สิกฺขาทุพฺพลยํ อาวิกตฺวา" ได้แก่ ประกาศความที่สิกขาเป็นสภาพมีกำลัง ทราม. ข้อว่า "กิมสฺส รชคฺคสฺมึ" ความว่า ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าปลายธุลี ของบุคคลนั้น เป็นอย่างไร? บทว่า "อภิรูปา" แปลว่ารูปงาม. บทว่า "ทสฺสนียา" ได้แก่ ควรจะดู. บทว่า "ปาสาทิกา" ได้แก่ นำความ เลื่อมใสมาสู่จิตด้วยการเห็นนั่นแหละ. บทว่า "ปรมาย" ได้แก่ สูงที่สุด. บทว่า "วณฺณโปกฺขรตาย" ได้แก่ ด้วยวรรณแห่งสรีระ และสัณฐานแห่ง
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 441
อวัยวะ. บทว่า "โอสหติ" ได้แก่ ย่อมอดทน. บทว่า "อุลฺลปติ" แปลว่า ย่อมกล่าว. บทว่า "อุชฺขคฺฆติ" ได้แก่ ตบมือแล้วหัวเราะใหญ่. บทว่า "อุปฺผณฺเผติ" ได้แก่ ย่อมกล่าวคำเยาะเย้ย. บทว่า "อภินิสีทติ" ไค้แก่ ผู้ชนะแล้วนั่งในสำนักหรือในอาศรมเดียวกัน. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือน กัน. บทว่า "อชฺโฌตฺถรติ" ได้แก่ ย่อมปูลาด. สองบทว่า "วินิเวเธตฺวา๒ วินิโมเจตฺวา" ได้แก่ เปลี่ยนแปลง ปลดและเปลื้องมือของเขาจากที่อัน มาตุคามจับแล้ว. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
[๑๔๕] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ลือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน?
๑. ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นผู้เขลา เป็นผู้งมงาย.
๒. ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากได้เข้าครอบงำ จึงถือบิณฑบาตเป็นวัตร.
๓. ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า คือ มีจิตฟุ้งซ่าน.
๔. ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะคิดว่าองค์แห่งภิกษุ ผู้ถือ บิณฑบาตเป็นวัตรนี้ เป็นข้อที่พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว.
๕. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัย ความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ อาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติ อันงามนี้อย่างเดียว.
๑. บาลีว่าอูสหติ.
๒. วินิเวเตฺวา
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 442
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัย ความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ อาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติ อันงามนี้อย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ ประเสริฐสุด เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ ในบรรดาภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านั้น. น้ำนมเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากน้ำนม เนยข้นเกิดจาก นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ก้อนเนยใสเกิดจากเนยใสบรรดาเภสัช ๕ นั้น ก้อนเนยใสชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรนี้ ใด เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้อย่างเดียวก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริบสุด เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ ในภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้.
ภิกษุ ๔ จำพวกเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร.
อรรถกถาบุคคลผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก
วินิจฉัย ในภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ผู้ถือการฉันภัตตาหารที่ ได้มาจากการบิณฑบาต. สองบทว่า "มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา" ได้แก่ ย่อม ไม่รู้จักการสมาทาน และไม่รู้จักอานิสงส์. อธิบายว่า ก็ภิกษุผู้ถือบิณฑบาต เป็นวัตรด้วยความไม่รู้นั่นแหละ เพราะความที่เป็นคนโง่งมงาย. สองบทว่า "ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต" ความว่า ชนทั้งหลายจะทำการสักการด้วย ปัจจัย ๔ แก่เราผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ด้วยการคิดว่า "สโต อยํ ปิณฺฑปาติโก" ซึ่งแปลว่า ภิกษุนี้ มีสติ เป็นผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 443
ภิกษุผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยความอยากอันลามกอย่างนี้ว่า ก็ชนทั้งหลายจะยกย่องเรา ด้วยคุณทั้งหลายว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีความละอาย มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น และถูกความปรารถนาอันลามกนั้นครอบงำแล้ว จึงถือบิณฑบาตเป็นวัตร. ก็ ภิกษุนั้น ย่อมเที่ยวไปบิณฑบาตด้วยความเป็นบ้า ชื่อว่า ผู้ถือบิณฑบาตเป็น วัตร เพราะความบ้า คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต. บทว่า "วณฺณิตํ" ความว่า ภิกษุพิจารณาว่า ธรรมดาว่า บิณฑปาติกธุดงค์นี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสาวก ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายพรรณนาคุณ คือ สรรเสริญไว้ แล้วจึงถือการบิณฑ- บาตเป็นวัตร. ในคำว่า "อปฺปิจฺฉํเอว นิสฺสาย" เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดัง ต่อไปนี้ คือ ภิกษุผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า เราจักเป็นผู้มักน้อย เพราะ เหตุนี้ องค์แห่งบิณฑปาติกธุดงค์ของเรานี้ จักเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย เราจักเป็นผู้สันโดษ เพราะเหตุนี้ องค์แห่งบิณฑปาติกธุดงค์ของเรานี้ จักเป็น ไปเพื่อความสันโดษ เราจักเป็นผู้ขัดเกลากิเลสทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ องค์ แห่งบิณฑปาติกธุดงค์ของเรานี้จักเป็นไปเพื่อความขัดเกลากิเลส. บทว่า "อิทมตฺถิตํ" ความว่า อาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้ หรืออาศัย ความต้องการด้วยเหตุสักว่า บิณฑบาตนี้ อธิบายว่า อาศัยภาวะ คือการยังอัตภาพ ให้เป็นไป ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะได้. บทว่า "อคฺโค" ได้แก่ ผู้เจริญที่สุด. คำที่เหลือเป็นไวพจน์ของคำว่า อคฺโค นั้น. บทว่า "ควา ขีรํ" ความว่า ธรรมดาว่า น้ำนมย่อมเกิดจากโค เว้นแม่โคเสียแล้วก็หามีไม่. แม้ ในคำว่า "ขีรมฺหา ทธิ" เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า "เอวเมว" อธิบายว่า เนยใสชนิดใส เป็นเลิศกว่าเบญจโครสเหล่านี้ ฉันใด บรรดา ภิกษุผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้ ภิกษุใดอาศัยความเป็นผู้มัก น้อยเป็นต้นแล้ว ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ภิกษุนี้เป็นเลิศ เป็นเจริญที่สุด เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด และประเสริฐสุดในภิกษุผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร เหล่านั้นฉันนั้นเหมือนกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 444
ก็บรรดาภิกษุผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้ ที่ถือการ บิณฑบาตเป็นวัตรที่แท้จริงมี ๒ จำพวก ที่ไม่ถือมี ๓ จำพวก บัณฑิตพึง ทราบ ชน ๓ จำพวกนี้ว่า เป็นผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตรเพียงแต่ชื่อ.
[๑๔๖] ภิกษุถือการห้ามภัตอันเขานำมาถวายต่อภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือการนั่งฉันบนอาสนะเดียวกันเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือ ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุ ผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือการอยู่ในเสนาสนะที่ท่านจัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุถือการอยู่ ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน?
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน?
๑. ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะความเป็นผู้เขลา เพราะความ เป็นผู้งมงาย.
๒. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถือ การอยู่ป่าช้าเป็นวัตร.
๓. ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน.
๔. ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะคิดว่า การอยู่ป่าช้าเป็นวัตร นี้เป็นข้อที่พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ.
๕. และอีกอย่างหนึ่ง ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพระอาศัยความ ปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัย
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 445
ความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้ อย่างเดียว.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัย ความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ อาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอัน งามนี้อย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐ บรรดาภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้ น้ำนมเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากน้ำนม เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจาก เนยข้น ก้อนเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาเภสัชเหล่านั้น ก้อนเนยใส ชาว โลกกล่าวว่าเลิศ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ใด เป็นผู้ถือ บิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความ สันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความ ต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้อย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนี้เป็นผู้ เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐในภิกษุผู้ถือ บิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้.
ภิกษุ ๕ จำพวกเหล่านี้ ชื่อว่าถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร.
จบบุคคล ๕ จำพวก
อรรถกถาภิกษุผู้ถือการห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง
เป็นวัตรเป็นต้น
แม้ในภิกษุผู้ถือการห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตรเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อธิบายบุคคล ๕ จำพวก จบเพียงเท่านี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 446
ฉักกนิเทส
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๔๗] ๑. บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลนี้ใด ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ด้วยตนเอง ในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่ได้สดับนาแล้วในกาลก่อน ทั้งบรรลุ ความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นด้วย ทั้งถึงความชำนาญในธรรมเป็นกำลัง ทั้งหลายด้วย บุคคลนั้น พึงเห็นว่าเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วย พระสัพพัญญุตญาณนั้น.
๒. บุคคลนี้ใด ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม ทั้งหลายที่ไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นสัพพัญญูใน ธรรมนั้นด้วยทั้งมิได้ถึงความชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลายด้วย บุคคลนั้น พึงเห็นว่าเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น.
๓. บุคคลนี้ใด มิได้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยตนเองใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในทิฏฐ- ธรรมเทียว ทั้งบรรลุสาวกบารมีด้วย บุคคลเหล่านั้น พึงเห็นว่าเป็น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ด้วยสาวกบารมีญาณนั้น
๔. บุคคลนี้ใด มิได้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม ทั้งหลายที่ไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในทิฏฐธรรมเทียว แต่ไม่บรรลุสาวกบารมี บุคคลเหล่านั้น พึงเห็นว่าเป็น พระอรหันต์ที่เหลือ ด้วยการกระทำที่สุดแห่งทุกข์นั้น.
๕. บุคคลนี้ใด มิได้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม ทั้งหลายที่ไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน ทั้งมิได้กระทำที่สุดทุกข์ในทิฏฐธรรม เทียวเป็นพระอนาคามี ไม่มาแล้วสู่ความเป็นอย่างนี้ บุคคลนั้น พึงเห็นว่า เป็น พระอนาคามี ด้วยการไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้นั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 447
๖. บุคคลนี้ใด มิได้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน ทั้งไม่ได้ทำที่สุดทุกข์ในทิฏฐธรรมเทียว ยังมา สู่ความเป็นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น พึงเห็นว่าเป็น พระโสดาบัน พระสกทาคามี ด้วยการมาสู่ความเป็นอย่างนี้นั้น.
จบบุคคล ๖ จำพวก
อรรถกถาฉักกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๖ จำพวก
บทว่า "ตตฺร" ได้แก่ บรรดาบุคคลเหล่านั้น. ข้อว่า "สมฺมาสมฺพุทฺโธ เตน ทฏฺพฺโพ" ความว่า บุคคลเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น อันพระองค์ให้เกิดขึ้น ด้วยพระองค์เองไม่มีใครๆ เป็นอาจารย์นี้ จัดเป็นพวกที่ ๑. แม้ในคำว่า "ปจฺเจกสมฺพุทฺโธ เตน" เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยต่อไป.
บุคคลเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ด้วย ปัจเจกสัมโพธิญาณนั้น นี้จัดเป็นพวกที่ ๒. บุคคลเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็น ว่าเป็นพระอัครสาวก คือ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ด้วยสาวกบารมี ญาณนั้น นี้จัดเป็นพวกที่ ๓. บุคคลเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยการกระทำสิ่งที่สุดแห่งทุกข์นั้น นี้จัดเป็นพวกที่ ๔. บุคคลเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นพระอนาคามี เพราะไม่มาสู่โลกนี้อีก นี้จัดเป็นพวกที่ ๕. บุคคลเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นพระโสดาบันและ พระสกทาคามี เพราะการมาสู่โลกนี้นั้น นี้จัดเป็นพวกที่ ๖. รวมเป็น ๖ จำพวก ดังนี้แล.
อธิบายบุคคล ๖ จำพวก จบเพียงเท่านี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 448
สัตตกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๗ จำพวก
[๑๔๘] ๑. บุคคล ผู้จมแล้วคราวเดียว ย่อมจมอยู่นั่นเอง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยอกุศลธรรมอันดำโดย ส่วนเดียว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้จมแล้วคราวเดียว ย่อมจมอยู่นั่นเอง.
๒. บุคคล ผู้โผล่ขึ้นแล้ว จมลงอีก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ ศรัทธาอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ หิริอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ โอตตัปปะอันดี ย่อมโผล่ขึ้นกุศลธรรม คือ วิริยะอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ ปัญญาอันดี ศรัทธาของบุคคลนั้นย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อม เสื่อมไปถ่ายเดียว หิริของบุคคลนั้นไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อมไป ถ่ายเดียว โอตตัปปะของบุคคลนั้นย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อม ไปถ่ายเดียว ปัญญาของบุคคลนั้นย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ ย่อมไม่เจริญ ย่อมเสื่อมไป ถ่ายเดียว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โผล่ขึ้นแล้ว จมลงอีก.
๓. บุคคล ผู้โผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือศรัทธาอันดี ใน กุศลธรรม คือ หิริอันดี ในกุศลธรรม คือ โอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรม คือ วิริยะอันดี ในกุศลธรรม คือ ปัญญาอันดี ศรัทธาของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 449
ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ หิริของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ โอตตัปปะ ของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ วิริยะของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ ปัญญาของบุคคลนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงตั้งอยู่ บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่.
๔. บุคคล โผล่ขึ้นแล้ว เหลียวมองดู เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ ศรัทธาอันดี ใน กุศลธรรม คือ หิริอันดี ในกุศลธรรม คือ โอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรม คือวิริยะอันดี ในกุศลธรรม คือ ปัญญาอันดี บุคคลนั้น เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกไปในอบายภูมิเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้มีความตรัสรู้ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะสัญโญชน์ ๓ สิ้นไปแล้ว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้ว เหลียวมองดู.
๕. บุคคล โผล่ขึ้นแล้ว ว่ายข้ามไป เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ ศรัทธาอันดี ในกุศลธรรม คือ หิริอันดี ในกุศลธรรม คือ โอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรม คือ วิริยะอันดี ในกุศลธรรม คือ ปัญญาอันดี บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นพระสกทาคามี เพราะสัญโญชน์ ๓ สิ้นไปแล้ว เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบา บางลง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคล อย่างนี้ชื่อว่า ผู้โผล่ขึ้นแล้ว ว่ายข้ามไป.
๖. บุคคล ผู้โผล่ขึ้นแล้ว ว่ายไปถึงที่ตื้นพอหยั่งถึง แล้ว เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 450
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ ศรัทธาอันดี ในกุศลธรรม คือ หิริอันดี ในกุศลธรรม คือ โอตตัปปะอันดี ในกุศลธรรม คือ วิริยะอันดี ในกุศลธรรม คือ ปัญญาอันดี บุคคลนั้นเป็นอุปปาติกะ เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไปแล้ว จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น เป็นผู้มีอัน ไม่กลับมาจากเทวโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โผล่ขึ้นแล้วและ ว่ายไปถึงที่ตื้นพอหยั่งถึงแล้ว.
๗. บุคคล ผู้โผล่ขึ้น ว่ายข้ามไปถึงฝั่งแล้ว เป็น พราหมณ์ยืนอยู่บนบก เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ ศรัทธาอันดี ย่อมโผล่ขึ้น ในกุศลธรรม คือ หิริอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ โอตตัปปะอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ วิริยะอันดี ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม คือ ปัญญาอันดี บุคคลนั้นรู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่ง เจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป แล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมเทียว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โผล่ขึ้นและ ว่ายข้ามไปถึงฝั่งแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนบนบก.
[๑๔๙] ๑. บุคคล ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ และอาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 451
๒. บุคคล ผู้เป็นปัญญาวิมุต เป็นไฉน?
๓. บุคคล ผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน?
๔. บุคคล ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน?
๕. บุคคล ผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นไฉน?
๖. บุคคล ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน?
๗. บุคคล ผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน?
สัทธินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมี ประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้วซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่า สัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต ด้วยประการ ดังนี้แล.
จบบุคคล ๗ จำพวก
อรรถกถาสัตตกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๗ จำพวก
ข้อว่า "สกึ นิมุคฺโค" ความว่า บุคคลบางคน จมลงแล้วสิ้นวาระ หนึ่ง. บทว่า "เอกนฺตกาฬเกหิ" ได้แก่ ด้วยธรรม คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ทั้งหลาย คือ นัตถิกวาทะและอกิริยวาทะ อันดำอย่างเดียวเท่านั้น. ข้อว่า "เอวํ ปุคฺคโล" ความว่า บุคคลจมลงสิ้นวาระหนึ่งด้วยเหตุนี้ คือ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินี้ แล้วก็จมอยู่อย่างนั้น นั่นแหละ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ก็ชื่อว่า การออกจากภพของนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น ย่อมไม่มี" เชื้อไฟ คือ สัตว์นรกทั้ง หลาย มีอยู่ในภายใต้นั่นแหละ เหมือนศาสดาทั้งหลายมีมักขลิโคศาล เป็นต้น. ข้อว่า "สาหุ สทฺธา กุสเลสุ ธมฺเมสุ" ความว่า ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 452
ทั้งหลาย ด้วยการคิดว่า "ชื่อว่าศรัทธา เป็นลัทธิที่ดี" บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมโผล่ขึ้นด้วยกุศลธรรมมีประมาณเท่านั้น นั่นแหละ. แม้ในคำว่า "สาธุ หิริ" แปลว่า ความละอายเป็นลัทธิที่ดีเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า "หายติเมว" ความว่า ผู้นั้นย่อมเสื่อมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนน้ำที่เทลงใน เปือกตม. ข้อว่า "เอวํ ปุคฺคโล" ความว่า ก็นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลนั้น โผล่ขึ้นสิ้นวาระหนึ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านี้ว่า "เอวํ สาหุ สทฺธา" แปลว่า ศรัทธาเป็นความดีอย่างนี้ดังนี้ และก็จมลงเพราะความเสื่อม จากธรรมมีศรัทธาเป็นต้นนั้น นั่นแหละ เหมือนพระเทวทัต เป็นต้น.
ความย่อว่า พระเทวทัตแม้ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว ก็เสื่อมจากคุณวิเศษเหล่านั้น เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธเจ้าอีก จึง กระทำโลหิตุปบาทกรรม และสังฆเภทกรรมครั้นกายแตกทำลาย จึงเกิดใน นรกด้วยวาระจิตที่ ๒. พระโกกาลิกะใส่โทษพระอัครสาวกทั้งสองจึงบังเกิดใน ปทุมนรก.
ข้อว่า "เนว หายติ โน วฑฺฒติ" ความว่า ในเวลาที่ไม่เสื่อมก็ ดี ในเวลาที่เสื่อมก็ดี ศรัทธาก็ไม่ลด และไม่เจริญ. ก็เหตุทั้งสองนั้น บัณฑิต พึงแสดงด้วยอคาริกบุคคล คือ คฤหัสถ์ และอนาคาริกบุคคล คือ บรรพชิต แม้ทั้งสองเป็นอุทาหรณ์. ก็คฤหัสถ์บางคน ในเวลาที่คนไม่เสื่อมจากศรัทธา จึงให้จัดแจงปักขิกภัต หรือสลากภัตหรือผ้าอาบน้ำฝน. คฤหัสถ์นั้น ในกาลที่ เสื่อมจากศรัทธา ในภายหลัง ย่อมยังสักว่าปักขิกภัตเป็นต้นให้เป็นไป ศรัทธา ก็ไม่เจริญ. ฝ่ายบรรพชิต ในเวลาที่ไม่เสื่อม ในเบื้องต้น ย่อมเรียนเอาอุทเทส หรือธุดงค์ แม้เวลาที่เสื่อมจากการถึงพร้อมด้วยปัญญา พละและวิริยะ ก็กระทำ ให้ยิ่งกว่านั้นไม่ได้. ข้อว่า "เอวํ ปุคฺคโล" ความว่า บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เพราะความตั้งอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นต้นนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 453
ข้อว่า "อุมฺมุชฺชิตวา วิปสฺสติ วิโลเกติ" ความว่า พระโสดาบัน ชื่อว่า ย่อมแลดูมรรคอันเป็นที่ไปในเบื้องบน หรือทิศที่ควรจะไปเพราะการ โผล่ขึ้นจากห้วงน้ำ คือ วัฏฏะ. ข้อว่า "อุมฺมุชฺชิตฺวา ปตรติ" ความว่า พระสกทาคามีบุคคล โผล่ขึ้นจากห้วงน้ำ คือ วัฏฏะแล้ว เป็นผู้มุ่งต่อทิศที่จะ พึงไป เพราะความที่ตนมีกิเลสเบาบาง จึงชื่อว่า ย่อมข้ามไปได้. ข้อว่า "ปติคาธิปฺปตฺโต โหติ" ความว่า พระอนาคามีบุคคลโผล่ขึ้นจากห้วงน้ำ คือ วัฏฏะแล้ว เหลียวดูทิศที่จะไป แล้วก็ข้ามไปถึงที่แห่งหนึ่งอันเป็นที่พึ่ง จึงพักอยู่ ย่อมไม่กลับมาอีก. ข้อว่า "ติณฺโณ ปารงฺคโต ถเล ติฏฺติ" ความว่า พระขีณาสพ ท่านข้ามห้วงน้ำ คือกิเลสทั้งหมดแล้ว ถึงฝั่งโน้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อ ว่ายืนอยู่บนบก คือ พระนิพพาน.
ก็บุคคล ๗ จำพวกนี้ ท่านแสดงการอุปมาไว้ด้วยห้วงน้ำเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้
ได้ยินว่า นายชังฆพาณิช คือ พ่อค้าเร่ ๗ คน เดินทางไกลถึงแม่น้ำ เต็มฝั่งในระหว่างหนทาง บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้าคนที่ ๑ เป็นผู้กลัวน้ำหยั่ง ลงก่อนแล้วก็ดำลงจากทำเป็นที่ข้ามนั่นแหละไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นอีก เขาจึง ตกเป็นภักษาหารของปลาและเต่าในแม่น้ำนั้นนั่นหละ. พ่อค้าคนที่ ๒ ดำลง แล้ว ณ ที่เป็นที่ข้าม โผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วก็จมลงอีกไม่อาจเพื่อจะโผล่ขึ้นได้ เขาจึงเป็นภักษาหารของปลาและเต่าในแม่น้ำนั้นเหมือนกัน. พ่อค้าคนที่ ๓ ดำลงแล้ว โผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่ในท่ามกลางแม่น้ำ ไม่อาจเพื่อจะไปฝั่งโน้น ไม่อาจจะมาฝั่งนี้. พ่อค้าคนที่ ๔ ดำลงแล้ว โผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่แลดูท่าเป็น ที่ข้ามไป. พ่อค้าคนที่ ๕ ดำลงแล้ว โผล่ขึ้นแล้ว หยุดแลดูท่าเป็นที่ข้ามแล้ว จึงข้ามไป. พ่อค้าคนที่ ๖ ดำลงแล้วโผล่ขึ้นแล้ว ข้ามไปแล้วถึงฝั่งโน้นแล้ว จึงหยุดอยู่ในที่น้ำแค่สะเอว. พ่อค้าคนที่ ๗ ดำลงแล้ว ฯลฯ ถึงฝั่งโน้นแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 454
อาบน้ำชำระตัวด้วยจุณหอมเป็นต้น นุ่งห่มผ้าอันประเสริฐ ลูบไล้ด้วยของหอม ประดับดอกอุบลเขียวเป็นต้น แล้วประดับด้วยเครื่องอลังการนานาชนิด แล้ว จึงเข้าไปสู่มหานคร ก้าวขึ้นสู่ปราสาทบริโภคโภชนะอันอุดม.
ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบคำอุปมาดังนี้ คือ บุคคล ๗ จำพวกเหล่า นี้เปรียบเหมือนพ่อค้าเร่ ๗ คนนั้น วัฏฏะ เปรียบเหมือน แม่น้ำ, การจม ลงในวัฏฏะของนิยตมิจฉาทิฏฐิ บัณฑิตพึงทราบว่าเหมือนกับการจมลงในท่า เป็นที่ข้ามของพ่อค้าผู้กลัวน้ำคนที่ ๑ บุคคลผู้โผล่ขึ้นด้วยเหตุสักว่าการเกิดขึ้น แห่งศรัทธาเป็นต้นแล้วจมลง เพราะความเสื่อมศรัทธาเป็นต้นนั้น เหมือนกับ พ่อค้าคนที่โผล่ขึ้นครั้งเดียวแล้วก็จมลงไปในแม่น้ำ. พระโสดาบัน แลดูอยู่ ซึ่งทางอันตนพึงไป หรือทิศทางที่ควรจะไป เหมือนกับ พ่อค้าคนที่โผล่ ขึ้นจากน้ำแลดูซึ่งท่าเป็นที่ข้าม. พระสกทาคามี ชื่อว่า กำลังข้ามไป เพราะ ความที่ตนเป็นผู้มีกิเลสเบาบาง เปรียบเหมือนกับ พ่อค้าที่กำลังข้ามไป. พระอนาคามี ชื่อว่า หยุดอยู่ เพราะความเป็นผู้ไม่กลับมาสู่กามโลกนี้ เหมือนกับ พ่อค้าคนที่ข้ามไปแล้วยืนอยู่ที่น้ำแค่สะเอว. พระขีณาสพ ผู้เป็นพราหมณ์ ผู้ ก้าวล่วงโอฆะทั้ง ๔ แล้ว ยืนอยู่บนบก คือ พระนิพพาน บัณฑิตพึงทราบว่า เปรียบเหมือนพ่อค้าคนที่อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดแล้วก็ข้ามขึ้นฝั่งโน้น แล้ว ยืนอยู่บนบก. บัณฑิตพึงทราบว่า การที่พระขีณาสพท่านเข้าผลสมาบัติ ซึ่งมี นิพพานเป็นอารมณ์แล้วให้กาลผ่านไปอยู่ เป็นเหมือนพ่อค้าคนที่ยืนอยู่บนบก แล้วเข้าไปสู่พระนคร ก้าวขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ แล้วก็บริโภคอาหารอัน อุดม. พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีอุภโตภาควิมุตตบุคคลเป็นต้น ข้าพเจ้าชี้แจง ไว้แล้วในหนหลังนั้นแล้ว แล.
อธิบายบุคคล ๗ จำพวก จบเพียงเท่านี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 455
อัฏฐกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๘ จำพวก
[๑๕๐] บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ บุคคลผู้พร้อม เพรียงด้วยผล ๔ เป็นไฉน?
๑. บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน.
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
๓. บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี.
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.
๕. บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี.
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.
๗. บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์.
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์.
บุคคลเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ชื่อว่า ผู้ พร้อมเพรียงด้วยผล ๔.
จบบุคคล ๘ จำพวก๑
๑. ข้อ ๑๕๐ - ๑๕๑ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 456
นวกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก
[๑๕๑] ๑. บุคคล ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม ทั้งหลายที่คนมิได้เคยสดับมาแล้วในกาลก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูใน ธรรมนั้นๆ และบรรลุความเป็นผู้มีความชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
๒. บุคคล ผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม ทั้งหลายที่คนมิได้เคยสดับมาแล้วในกาลก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้มีความชำนาญในธรรมอันเป็นกำลัง ทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า.
๓. บุคคล ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้นก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ เป็นอุภโตภาควิมุต.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 457
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถ อยู่แต่อาสวะของผู้นั้นหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุต.
๕. บุคคล ผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี.
๖. บุคคล ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่งธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดด้วยปัญญา ดำเนินไปด้วยดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่าง ของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น ทิฏฐิปัตตะ.
๗. บุคคล ผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดด้วยปัญญา ดำเนินไปด้วยดีด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของ ผู้นั้นก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธาวิมุต.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 458
๘. บุคคล ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน?
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง บุคคลนั้นย่อมอบรมอริยมรรค อันมีปัญญาเป็นตัวนำ อันมี ปัญญาเป็นประธาน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่า ธัมมานุสารี. บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ.
๙. บุคคล ผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน?
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มี ประมาณยิ่งย่อมอบรมอริยมรรค อันมีศรัทธาเป็นตัวนำ อันมีศรัทธาเป็น ประธาน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดา ปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี. บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต. จบบุคคล ๙ จำพวก
อรรถกถาอัฎฐก - นวกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๘ และ ๙ จำพวก
แม้ในนิทเทสแห่งบุคคล ๘ และบุคคล ๙ จำพวก บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง นั่นแล.
อธิบายบุคคล ๘ และ ๙ จำพวกจบเพียงเท่านี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 459
ทสกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๑๐ จำพวก
[๑๕๒] ความสำเร็จ ในกามาวจรภูมินี้ ของพระอริยบุคคล ๕ เจ้าพวกนี้ เหล่าไหน?
ความสำเร็จในกามาวจรภูมินี้ ของพระอริยบุคคล จำพวก เหล่านี้ คือ.
๑. พระอริยบุคคลประเภท สัตตักขัตตุปรมะ
๒. พระอริยบุคคลประเภท โกลังโกละ
๓. พระอริยบุคคลประเภท เอกพีชี
๔. พระอริยบุคคลประเภท สกทาคามี
๕. ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอัตภาพนี้
ความละอัตภาพในกามาวจรนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จ ของพระ
อริยบุคคล ๕ จำพวก เหล่าไหน?
ความละอัตภาพในกามาวจรนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จของพระอริยบุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ คือ
๑. พระอริยบุคคลประเภท อันตราปรินิพพายี
๒. พระอริยบุคคลประเภท อุปหัจจปรินิพพายี
๓. พระอริยบุคคลประเภท อสังขารปรินิพพายี
๔. พระอริยบุคคลประเภท สสังขารปรินิพพายี
๕. พระอริยบุคคลประเภท อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 460
การบัญญัติจำพวกบุคคลทั้งหลาย ย่อมมีด้วยบัญญัติ เพียงเท่านี้.
จบบุคคล ๑๐ จำพวก
บุคคลบัญญัติปกรณ์ ฉ ภาณวาร จบ
อรรถกถาทสกนิทเทส
อธิบายบุคคล ๑๐ จำพวก
คำว่า "อิธ" ได้แก่ ในกามาวจรภูมิ. ก็พระอริยบุคคลทั้งหลายมี สัตตักขัตตุปรมบุคคลเป็นต้น ที่อยู่ในกามาวจรภูมิ ท่านย่อมสำเร็จในกามาววรภูมินี้นั่นแหละ หมายความว่า การบรรลุพระอรหัตก็ดี การบรรลุ อนุปาทิเสสนิพพานก็ดี ย่อมมีในอัตภาพที่ท่านเกิดอยู่ในกามาวจรภูมินั่นเทียว.
บทว่า "อิธ วิหาย" อธิบายว่า พระอนาคามีบุคคล ท่านละอัตภาพ ในกามาวจรภูมินี้แล้ว จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอัตภาพ ณ ชั้นสุทธาวาสภูมิ. ก็พระอนาคามี ๕ ประเภท มีอันตราปรินิพพายีเป็นต้นท่านบรรลุอนาคามิผล ในกามภูมินี้ ครั้นจุติจากกามภูมิแล้วก็บังเกิดขึ้นในสุทธาวาสภูมิ จึงบรรลุ พระอรหัต และ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "อิเมสํ ปญฺจนฺนํ วิหาย นิฏา" เป็นต้น ซึ่งแปลว่า พระอนาคามี ๕ จำพวกเหล่านี้ ละอัตภาพในกามมาวจรภูมินนี้แล้ว จึงจะสำเร็จพระอรหัต ในสุทธาวาสภูมิ แล.
อธิบายบุคคล ๑๐ จำพวก จบเท่าเพียงนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้า 461
นิคมคาถา
ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระศาสดาผู้หาบุคคล ในโลกเปรียบมิได้ ทรงแสดงแล้วซึ่งคัมภีร์ปุคคลปัญญัติใดแล โดยมิได้ย่อนัก ในที่อยู่แห่งเทวดา ชาวไตรทส.
ข้าพเจ้าถืออรรถกถาแห่งคัมภีร์นั้น ที่ท่านแต่ง ย่อไว้ด้วยภาษาชาวเกาะสิงหล และอรรถกถาอันมีที่มา ทั้งหลายโดยไม่เหลือ. เนื้อความใดๆ ที่ท่านจำแนกไว้ดีแล้วไม่กระจัด กระจายมีอยู่ในคัมภีร์ใดๆ ข้าพเจ้าละข้อความที่พิศดาร เกินไปแล้ว จึงถือเอาเนื้อความนั้น จากคัมภีร์นั้นๆ.
ก็คำใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิสุทธิ- มรรค ข้าพเจ้ามิได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้อีก และได้ แต่งคัมภีร์อรรถกถาปุคคลปัญญัตินี้ไว้ โดยข้อความที่ ไม่ย่อ และไม่พิศดารเกินไป.
ได้แต่งไว้โดยแบบแผนมีประมาณ ๗ ภาณวาร เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรมตลอดกาลนาน.
อนึ่ง กุศลใดที่ข้าพเจ้าบรรลุแล้ว ด้วยเดชะกุศล ผลบุญนั้น ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงแลดู พระสัทธรรม อันสุขุมลึกซึ้ง อันเป็นศิริมงคล ด้วยธรรมจักษุอันบริสุทธิ์เทอญ.
จบ อรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติปกรณ์