วรรคที่ ๔ กถาวัตถุ มหาปัณณาสก์
[เล่มที่ 80] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๑
มหาปัณณาสก์
วรรคที่ ๔
คิหิสส อรหาติกถาและอรรถกถา 867/676
อุเบกขาสมันนาคตกถาและอรรถกถา 933/711
โพธิยา พุทโธติกถา และอรรถกถา 937/713
นิยาโมกกันติกถาและอรรถกถา 969/730
สัพพสัญโญชนปหานกถาและอรรถกถา 1018/754
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 80]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 676
วรรคที่ ๔
คิหิสส อรหาติกถา
[๘๖๗] สกวาที คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. คิหิสัญโญชน์ของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. คิหิสัญโญชน์ของพระอรหันต์ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คิหิสัญโญชน์ของพระอรหันต์ไม่มี ก็ ต้องไม่กล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้.
[๘๖๘] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คิหิสัญโญชน์อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คิหิสัญโญชน์อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า คฤหัสถ์ พึงเป็นพระอรหันต์ได้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 677
[๘๖๙] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คฤหัสถ์ไร ฯ ที่ยังมิได้ละคิหิสัญโญชน์แล้วเป็น ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียวมีอยู่
ป. ไม่มี.
ส. หากว่า คฤหัสถ์ไรๆ ที่ยังมิได้ละคิหิสัญโญชน์ แล้วเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันเทียวไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ดังนี้.
[๘๗๐] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปริพาชก ผู้วัจฉโคตร ได้กราบทูลพระผู้มี- พระภาคเจ้าว่าดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คฤหัสถ์ไรๆ ที่ยัง มิได้ละคิหิสูญโญชน์แล้วเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะ กายแตกมีอยู่หรือหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อน วัจฉะ ไม่มีคฤหัสถ์ไรๆ ที่ยังมิได้ละได้หิสัญโญชน์แล้วเป็นผู้ กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะกายแตก ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. ม.ม. ๑๓/๒๔๓
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 678
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็น พระอรหันต์ได้ดังนี้.
[๘๗๑] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ทรงเสพเมถุนธรรม พึงยังเมถุน- ธรรมให้เกิดขึ้น พึงนอนที่นอนอันคับแคบด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิกและ จุรณจันทน์ พึงทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีเงินทอง พึงรับแพะ แกะ ไก่ สุกร พึงรับช้าง วัว ม้า ลา พึงรับนกกระทา นกคุ่ม และหางนกยูง พึงทรงเกี้ยว คือ เครื่องประดับมวยผม มีขั้ว อันเหลือง พึงทรงผ้าขาวมีชายยาว พึงเป็นผู้ครองเรือนตลอดชีวิต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ยสกุลบุตร อุตติยคฤหบดี เสตุมาณพ ได้บรรลุ พระอรหัตทั้งเพศคฤหัสถ์ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ยสกุลบุตร อุตติยคฤหบดี เสตุมาณพ ได้บรรลุพระอรหัตทั้งเพศคฤหัสถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้. คิหิสส อรหาติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 679
อรรถกถาคิหิสส (๑) อรหาติกถา
ว่าด้วยคฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องคฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งพระอรหันต์ ของชนทั้งหลายมีพระยส กุลบุตร เป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ในเพศของ คฤหัสถ์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า คิหิสฺส อธิบายว่า ผู้ใดชื่อว่า คฤหัสถ์ เพราะประกอบ พร้อมแล้วด้วยสัญโญชน์ของคฤหัสถ์ ผู้นั้น พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ? ส่วนปรวาทีไม่รู้ความประสงค์ เมื่อเห็นอยู่ซึ่งสักว่าเพศคฤหัสถ์ เท่านั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. บัดนี้สกวาทีจึงเริ่มคำว่า คิหิสัญโญชน์ ของพระอรหันต์ยังมีอยู่หรือ เป็นต้น เพื่อแสดงนัยนี้ว่า ชื่อว่าพึง เป็นคฤหัสถ์ ย่อมเป็นด้วยสัญโญชน์ของคฤหัสถ์ มิใช่เป็นคฤหัสถ์ด้วย สักแต่เพศ เหมือนคำทีพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
แม้หากว่า ผู้ใดมีธรรมอันประดับแล้ว สงบแล้ว มีตนฝึกแล้ว เป็นผู้เที่ยง เป็น พรหมจารี ละอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว พึง
(๑) ข้อนี้แยกบทว่า คิหิ อสฺส อรหา แปลว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า พระอรหันต์พึงเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ได้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 680
ประพฤติธรรมเสมอ เรากล่าวว่า ผู้นั้น เป็น พราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ ดังนี้.
คำนั้นทั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.
อรรถกถาคิหิสส อรหาติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 681
อุปปัตติกถา
[๘๗๓] สกวาที เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการผุดเกิดก็ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๔] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการผุดก็เกิดได้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๕] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการผุดเกิดก็ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๖] ส. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการผุดเกิดไม่ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการผุดเกิด ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม กับการผุดเกิดได้
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 682
[๘๗๗] ส. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการผุดเกิดไม่ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการผุดเกิด ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม กับการผุดเกิดได้.
[๘๗๘] ส. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการผุดเกิดไม่ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการผุดเกิด ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม กับการผุดเกิดได้
[๘๗๙] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสารีบุตรเถระ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับ การผุดเกิด หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสป- เถระ ฯลฯ พระมหากัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิตเถระ ฯลฯ พระมหาปัณฐกเถระ เป็นพระอรหันต์ พร้อมกับการผุดเกิด หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 683
[๘๘๐] ส. พระสารีบุตรเถระ มิได้เป็นพระอรหันต์พร้อม กับการผุดเกิด หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระสารีบุตรเถระ มิได้เป็นพระอรหันต์ พร้อมกับการผุดเกิด ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการ ผุดเกิดได้
[๘๘๑] ส. พระมหาโมคคัคลานเถระ ฯลฯ พระมหา- กัสสปเถระ พระมหากัจจายนเถระ พระมหา- โกฏฐิตเถระ ฯลฯ
[๘๘๒] ส. พระมหาปัณฐกเถระ มิได้เป็นพระอรหันต์ พร้อมกับการผุดเกิด หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระมหาปัณฐกเถระ มิได้เป็น พระอรหันต์พร้อมกับผุดเกิด ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม กับการผุดเกิดได้.
[๘๘๓] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตได้ด้วยจิตดวงแสวงหาการ ผุดเกิด๑ อันเป็นโลกิยะ มีอาสวะ ฯลฯ ประกอบด้วยสังกิเลส หรือ?
๑. คำบาลีว่า อุปปตฺเตสิเยน จิตฺเตน, นี้หมายถึง ปฏิสนธิจิต
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 684
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๔] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด เป็นเหตุนำออกจาก สังขารวัฏให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๕] ส. จิตดวงแสวงหากการผุดเกิด ไม่เป็นเหตุนำออก จากสังสารวัฏฏ์ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความ ตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็น อารมณ์ของสังกิเลส มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด ไม่เป็นเหตุ นำออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อมกับ การผุดเกิดได้.
[๘๘๖] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ละราคะได้ ละโทสะได้ ละโมหะได้ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้ด้วยจิตดวงแสวงหาการผุดเกิด หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 685
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๗] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด เป็นมรรค ฯลฯ เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็น พละ ฯลฯ เป็นโพชณงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๘] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมการผุดเกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยจิตดวงแสวงหาการผุดเกิด หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๙] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จุติจิตเป็นมรรคจิต จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด เป็นผลจิต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ อุปปัตติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 686
อรรถกถาอุปปัตติกถา
ว่าด้วยการผุดเกิด
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการเกิด. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความ เห็นผิดว่า พระอนาคามี อุบัติในสุทธาวาส ย่อมเป็นพระอรหันต์พร้อม กับการอุบัติ เพราะถือเอาพระบาลีทั้งหลาย โดยไม่พิจารณาซึ่งมีคำว่า เป็นอุปปาติกกำเนิด คือเกิดผุดขึ้นในเทวโลกนั้น ปรินิพพาน แล้วในเทวโลกนั้น ดังนี้เป็นต้น หรือว่า ชนเหล่าใดผู้ศึกษา พระพุทธพจน์อยู่ มีความเห็นว่า พระอนาคามีเป็นพระอรหันต์ พร้อมกับการอุบัติขึ้น ดังนี้ เพราะเปลี่ยนแปลงบทว่า อุปหัจจปรินิพพายี ซึ่งเป็นชื่อของพระอนาคามีจำพวกหนึ่งใน ๔๘ จำพวก พระอนาคามีชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี นี้ ท่านมีอายุก้าวล่วงกึ่งหนึ่งแห่งอายุ ล่วงไปแล้ว อันเป็นเวลาใกล้จะปรินิพพาน ท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วจึงปรินิพพาน พวกเห็นผิดเหล่านั้น ได้เปลี่ยนชื่อจาก คำว่า อุปหัจจปรินิพพายี มาเป็น อุปปัชชปรินิพพายี ซึ่งมีความหมายว่า พอเกิดขึ้นก็ปรินิพพาน ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย ในขณะนี้ คำถามของสกวาที หมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที. ในปัญหานั้น ชื่อว่า จิตต์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นโลกียจิต ทั้งบุคคลทั้งหลาย เป็นพระโสดาบันเป็นต้นด้วยโลกียจิตต์นั้น ก็ไม่มีเลย จะป่วยกล่าวไปใยถึงความเป็นพระอรหันต์เล่า เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดง นัยนี้แก่ปรวาทีนั้น สกวาทีจึงเริ่มคำเป็นต้นว่า เป็นพระโสดาบัน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 687
พร้อมกับการผุดเกิดก็ได้หรือ. สกวาทีกล่าวคำว่า พระสารีบุตร เป็นต้น เพื่อท้วงว่า บรรดาพระมหาเถระเหล่านี้ แม้องค์หนึ่ง ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดมีหรือ. คำว่า จิตดวงแสวงหาการ ผุดเกิด ได้แก่ ปฏิสนธิจิต จริงอยู่ ปฏิสนธิจิตนี้ ย่อมแสวงหา การเกิด คือ สืบต่ออยู่ เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกปฏิสนธิจิตนี้ว่า จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด. คำที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.
อรรถกถาอุปปัตติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 688
อนาสวกถา
[๘๙๐] สกวาที ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตตมรรค เป็นอรหัตตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็น พละ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๑] ส. ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จักษุของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 689
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา- ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพช- ฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตะของพระอรหันต์ ฯลฯ ฆานะของพระ- อรหันต์ ฯลฯ ชิวหาของพระอรหันต์ ฯลฯ กายของพระอรหันต์ ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๒] ส. กายของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา- ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๓] ส. กายของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กายของพระอรหันต์ ยังเข้าถึงการยกย่องและ การข่มขี่ ยังเข้าถึงการตัดและการทำลาย ยังทั่วไปแก่ฝูงกา ฝูงแร้ง ฝูงเหยี่ยว หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 690
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังเข้าถึง การยกย่องและการข่มขี่ ยังเข้าถึงการตัดและการทำลาย ยังทั่วไปแก่ ฝูงกา ฝูงแร้ง ฝูงเหยี่ยว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๔] ส. พิษพึงเข้าไป ศัสตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน กายของพระอรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พิษพึงเข้าไป ศัสตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ในธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๕] ส. กายของพระอรหันต์ ยังจะจองจำ ด้วยเครื่อง จองจำคือขื่อ ด้วยเครื่องจองจำคือเชือก ด้วยเครื่องจองจำคือตรวน ด้วย เครื่องจองจำคือบ้าน ด้วยเครื่องจองจำคือนิคม ด้วยเครื่องจองจำคือ เมือง ด้วยเครื่องจองจำคือชนบท ด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังจะจองจำ ด้วยเครื่องจองจำคือขื่อ ด้วยเครื่องจองจำคือเชือก ด้วยเครื่องจองจำ คือตรวน ด้วยเครื่องจองจำคือบ้าน ด้วยเครื่องจองจำคือนิคม ด้วย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 691
เครื่องจองจำคือเมือง ด้วยเครื่องจองจำคือชนบท ด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๖] ส. ผิวา พระอรหันต์ให้จีวรแก่ปุถุชน จีวรนั้นเป็น อารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะก็นั้นแหละ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วเป็นอารมณ์ ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 692
พละ โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๗] ส. ผิว่า พระอรหันต์ ให้บิณฑบาต ให้เสนาสนะ ให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร แก่ปุถุชน คิลานปัจจยเภสัชชบริขารนั้น ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารนั้น ไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของเป็น อารมณ์ที่ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วเป็นอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 693
พละ โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๘] ส. ผิว่า ปุถุชน ถวายจีวรแก่พระอรหันต์ จีวร นั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๙] ส. จีวรนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว ไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอารมณ์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 694
ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๐] ส. ผิว่า ปุถุชน ถวายบิณฑบาต ถวายเสนาสนะ ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขารแก่พระอรหันต์ คิลานปัจจยเภสัชชบริ- ขารนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๐] ส. ผิว่า ปุถุชน ถวายบิณฑบาต ถวายเสนาสนะ ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขารแก่พระอรหันต์ คิลานปัจจยเภสัชชบริ- ขารนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๑] ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารนั้น เป็นอารมณ์ของ อาสวะ แล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 695
ส. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็น อารมณ์ของอาสวะแล้ว ไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ด้วย เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ ดังนี้. อนาสวกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 696
อรรถกถาอนาสวกถา
ว่าด้วยอนาสวะ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องอนาสวะ คือ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ๑. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ ทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า ธรรมเหล่าใด ของพระอรหันต์ผู้ไม่มีอาสวะ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชน เหล่านั้น จึงถามว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ เป็นต้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงว่า ธรรมทั้งหลาย มีมรรคเป็นต้น ชื่อว่าไม่มีอาสวะ มีอยู่ ธรรมเหล่านั้นเท่านั้น ย่อม เกิดแก่พระอรหันต์หรือ? จึงเริ่มคำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นมรรค เป็น ผล เป็นต้น. ถูกสกวาทีถามว่า จักขุของพระอรหันต์ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรองว่า จักขุ ของพระอรหันต์ไม่เป็นอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
ในปัญหาว่าด้วย การให้จีวร ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิด จากลักษณะแห่งปัญหานี้ว่า ธรรมอย่างหนึ่งเที่ยวไม่เป็นอาสวะ แต่
๑. คำว่า "อาสวะ" คือ กิเลสเป็นเครื่องมักดองอยู่ในสันดานของสัตว์ มี ๔ คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ.
คำว่า "ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ" ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 697
เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรองว่า จีวร ของพระอรหันต์ไม่เป็นอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แม้ใน ๒ ปัญหาว่า ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ก็นัยนี้นั่น แหละ. แต่สกวาทีย่อมท้วงเพราะการรับรองของปรวาทีในคำว่า ของ ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า มรรคไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะหรือ. พึง ทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้แล.
อรรถกถาอนาสวะกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 698
สมันนาคตกถา
[๙๐๓] สกวาที พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๔ ด้วยเวทนา ๔ ด้วยปัญญา ๔ ด้วยเจตนา ๔ ด้วยจิต ๔ ด้วยศรัทธา ๔ ด้วยวิริยะ ๔ ด้วยสติ ๔ ด้วยสมาธิ ๔ ด้วยปัญญา ๔ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๔] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยผล ๓ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีประกอบด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ ด้วย ปัญญา ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๕] ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยผล ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ ด้วย ปัญญา ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๖] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 699
ส. พระอรหันต์เป็นพระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เป็นพระสกทาคามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เป็นพระอนาคามีผู้อันดราปรินิพ พายี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ผู้อสังขารปรินิพพายี ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๗] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัต ขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ
ส. พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 700
ส. พระอนาคามีเป็นพระสกทาคามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๘] ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๙] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงกล่าวว่า โสดาบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์องค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้น แหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๐] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงกล่าวว่า สก- ทาคามิ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 701
ส. พระอรหันต์องค์นั้น พระสกทาคามีก็องค์นั้น แหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๑] ส. ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล พึงกล่าวว่า อนาคามี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์องค์นั้น พระอนาคามีองค์นั้น แหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๒] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงกล่าวว่าโสดาบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีองค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้น แหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๓] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงกล่าวว่า สก- ทาคามี หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 702
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีองค์นั้น พระสกทาคามีก็องค์นั้น แหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๔] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผลพึงกล่าวว่า โสดาบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีองค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้น แหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๕] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์เลยโสดาปัตติต่อไปแล้ว ก็ ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 703
[๙๑๖] ส. พระอรหันต์เลยโสดาปัตติผลเลย ยังชื่อว่าประ- กอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลย สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะที่เป็นอปายคามี โทสะ ที่เป็นอปายคามี โมหะที่เป็นอปายคามี ไปแล้ว ยังชื่อว่าประกอบด้วย โมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๗] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เลยสกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์เลยสกทาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล.
[๙๑๘] ส. พระอรหันต์เลยสกทาคามิผลไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบด้วยสกทาคามิผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว เลย กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบด้วย พยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 704
[๙๑๙] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เลยอนาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์เลยอนาคามิผลไปแล้ว ก็ ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล.
[๙๒๐] ส. พระอรหันต์เลยอนาคามิผลไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบด้วยอนาคามิผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พรอรหันต์เลยอนาคามิมรรคไปแล้ว เลยกาม- ราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบ ด้วยพยาบาทอย่างละเอียดนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๒๑] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอนาคามีเลยโสดาปัตติผลแล้ว ก็ ต้องไม่กล่าวว่า พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
[๙๒๒] ส. พระอนาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 705
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลย สักกายทิฏฐิ ฯลฯ โมหะที่เป็นอปายคามีไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบ ด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๒๓] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีเลยสกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอนาคามีเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล.
[๙๒๔] ส. พระอนาคามีเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบด้วยสกทาคามิผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว เลย กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบไปแล้ว ยังชื่อว่าประกอบด้วย พยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๒๕] ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 706
ส. พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
[๙๒๖] ส. พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลย สักกายทิฏฐิ ฯลฯ โมหะที่เป็นอปายคามีไปแล้ว ยังชื่อว่าประกอบด้วย โมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๒๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์ได้ผล ๔ และไม่เสื่อมจาก ผล ๔ นั้นด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วย ผล ๔
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 707
[๙๒๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอนาคามีประกอบด้วยผล ๓ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจาก ผล ๓ นั้น มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอนาคามีได้ผล ๓ และไม่เสื่อมจาก ผล ๓ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอนาคามีประกอบ ด้วยผล ๓
[๙๒๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระสกทาคามีประกอบด้วยผล ๒ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระสกทาคามี ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจาก ผล ๒ นั้น มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระสกทาคามี ได้ผล ๒ แล้ว และ ไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสกทาคามี ประกอบด้วยผล ๒.
[๙๓๐] ส. พระอรหันต์ ได้ผล ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจาก ผล ๔ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ประกอบด้วยผล ๔ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 708
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้วไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ประกอบด้วยมรรค ๔ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓๑] ส. พระอนาคามี ได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจาก ผล ๓ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอนาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วยผล ๓ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจาก มรรค ๓ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอนาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วย มรรค ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓๒] ส. พระสกทาคามี ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม จากผล ๒ นั้น เพราะเหตุนั้น พระสกทาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วย ผล ๒ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อม จากมรรค ๒ นั้น เพราะเหตุนั้น พระสกทาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วย มรรค ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สมันนาคตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 709
อรรถกถาสมันนาคตกถา (๑)
ว่าด้วยผู้ประกอบ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผู้ประกอบ. ในเรื่องนั้น การประกอบมี ๒ อย่าง. คือ.- การประกอบในความเป็นผู้พร้อมเพรียงกันในขณะ แห่งปัจจุบัน ๑. การประกอบคือการได้เฉพาะโดยบรรลุภูมิใดภูมิหนึ่ง มีรูปาวจรเป็นต้น ๑. การประกอบคือการบรรลุภูมิใดภูมิหนึ่งนั้นยังไม่ เสื่อมจากคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้วเพียงใด ก็ชื่อว่า เป็นผู้ได้คุณวิเศษ อยู่เพียงนั้นนั่นแหละ.
อนึ่ง ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ ทั้งหลายในขณะนี้ว่า ยกเว้นการประกอบ ๒ อย่างนี้แล้ว ชื่อว่าการ ประกอบอย่างอื่นอันหนึ่งมีอยู่ด้วยสามารถแห่งปัตติธรรม คือ ธรรมที่ บรรลุ ดังนี้ เพื่อให้ชนเหล่านั้นเข้าใจตามว่า ชื่อว่าปัตติธรรม คือธรรมเป็นเครื่องบรรลุของพระอรหันต์ อะไรๆ มีอยู่ ปัตติธรรม อะไรๆ ไม่มีอยู่ จึงถามว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔ หรือ คำตอบรับรองหมายเอาการบรรลุผลเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที จึงเริ่มคำเป็นต้นว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๔๒ หรือ เพื่อท้วงว่า ถ้าพระอรหันต์ประกอบด้วยผลทั้ง ๔ ดุจถึงพร้อมด้วยนาม ขันธ์ ๔ ไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ธรรมทั้งหลายเหล่าใด
๑. คำว่า "สมนฺนาคตกถา" แปลว่า เรื่องผู้ประกอบ หรือ เรื่องผู้ถึงพร้อมแล้ว
๒. คำว่า ผัสสะ ๔ คือ ผัสสเจตสิกที่เกิดกับโสดาปัตติผลจิต สกทาคามิผลจิต อนาคามิผลจิต และ อรหัตตผลจิต.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 710
อย่างละ ๔ ในผลทั้ง ๔ เป็นต้น ธรรมเหล่านั้นก็ย่อมถึงพร้อมแก่ พระอรหันต์เพราะการประกอบแล้วด้วยธรรมอย่างละ ๔ นั้น ดังนี้. คำทั้งปวงนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธแล้วเพราะความไม่มีผัสสะ เป็นต้น อย่างละ ๔ ในขณะเดียวกัน. แม้ในปัญหาว่าด้วย พระอนาคามี ก็ นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า พระอรหันต์เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ อธิบายว่า ก็สกวาทีย่อมถามว่า พระอรหันต์เลย เพราะ การไม่เกิดขึ้นอีกไม่เหมือนทุติยฌานลาภีบุคคลผู้ผ่านเลยปฐมฌานไป แล้ว. คำว่า โสดาปัตติมรรค เป็นต้นที่สกวาทีปรารภแล้ว ก็เพื่อ แสดงถึงความไม่เกิดขึ้นอีกของมรรคนั้น เพราะปฏิบัติผ่านเลยไปแล้ว.
ในปัญหาว่า ไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ความว่า ธรรม คือโลกียฌานทั้งหลายย่อมเสื่อมด้วยธรรมอันเป็นข้าศึก ฉันใด โลกุตตรธรรมจะเป็นฉันนั้นก็หาไม่. จริงอยู่กิเลสเหล่าใดที่มรรคละอยู่ กิเลส เหล่านั้นย่อมสงบระงับไปด้วยผล ทั้งกิเลสเหล่านั้นท่านก็ละแล้ว เป็น ธรรมชาติสงบระงับไปแล้ว เหตุใดเพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงตอบรับรอง ว่า ใช่. เนื้อความนี้นั้นแหละ ท่านอธิบายไว้แล้วในคำทั้งหลายข้างหน้า ซึ่งมีคำว่า พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น เป็นต้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.
อรรถกถาสมันนาคตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 711
อุเบกขาสมันนาคตกถา
[๙๓๓] สกวาที พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๖ ด้วยเวทนา ๖ ด้วยสัญญา ๖ ฯลฯ ด้วยปัญญา ๖ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓๔] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยจักษุอยู่ ยังฟังเสียง ด้วยโสตได้ ยังสูดกลิ่นด้วยฆานะได้ ยังลิ้มรสด้วยชิวหาได้ ยังถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายได้ยังรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจได้ ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วย ใจอยู่ ยังเห็นรูปด้วยจักษุได้ ยังฟังเสียงด้วยโสตได้ ยังสูดกลิ่นด้วย ฆานะได้ ยังลิ้มรสด้วยชิวหาได้ ยังถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓๕] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ประกอบ ตั้งมั่นด้วยอุเบกขา ๖ อุเบกขา ๖ ปรากฏเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคนกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 712
[๙๓๖] ป. ไม่พึงกล่าว พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖. อุเบกขาสมันนาคกถา จบ
อรรถกถาอุเบกขาสมันนาคตกถา
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยอุเบกขา
แม้ในเรื่องว่า "พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖" บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ คือนัยที่กล่าวมาแล้ว. จริงอยู่ พระ- อรหันต์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยอุเบกขา เกิดแก่ท่าน แต่อุเบกขาทั้ง ๖ ทวารนั้นมิได้เกิดขึ้นแก่ท่านในขณะเดียว กันเท่านั้น. อรรถกถาอุเบกขาสมันนาคตกถา จบพระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 713
โพธิยา พุทโธติกถา
[๙๓๗] ส. สกวาที ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไปแล้ว ปราศจาก ไปแล้วระงับไปแล้ว ก็กลับเป็นผู้มิใช่พุทธะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓๘] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอดีต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓๙] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอดีต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 714
[๙๔๐] ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๑] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอนาคต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๒] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอนาคต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๓] ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 715
ส. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วย ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๔] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอดีต กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๕] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้ง นิโรธ ยังมรรคให้ เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๖] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 716
เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอนาคต กระทำกิจที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วย ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๗] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๘] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอดีต แต่กระทำกิจที่พึงทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน แต่กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 717
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔๙] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอดีต แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๐] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอนาคต แต่กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน แต่กระทำกิจที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๑] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอนาคต แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 718
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๒] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่ เป็นอดีต ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๓] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ประกอบ ตั้งมั่น ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้ง ๓ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้ง ๓ ปรากฏเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคน กัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 719
ป. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้.
[๙๕๕] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า โพธิ คือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ก็เพราะ การได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ โพธิยา พุทโธติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 720
อรรถโพธิยา พุทโธติกถา
ว่าด้วยคำว่า ชื่อว่าพุทธะเพราะโพธิ๑
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องชื่อว่าพุทธะเพราะโพธิ คือปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้. ในเรื่องนั้น คำว่า " โพธิ " เป็นชื่อของมัคคญาณ ๔ บ้าง เป็นชื่อของสัพพัญญุตญาณบ้าง. เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย นั่นแหละในขณะนี้ว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิ เหมือนคำว่า ชื่อว่าคนขาวเพราะผิวขาว ชื่อว่าคนดำเพราะผิวดำ ฉะนั้น ดังนี้ คำถามก็ดี คำซักถามก็ดีของ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองก็ดี. คำปฏิเสธก็ดี เป็นของ ปรวาที. ในปัญหาว่า เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต เป็น ต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะขณะนั้นไม่มี. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านตอบ รับรองหมายเอาการได้โดยเฉพาะ. ถูกถามด้วยด้วยสามารถแห่งกิจอีก
๑. คำว่า โพธิ แปลว่าปัญญาเครื่องตรัสรู้ ในที่นี้ ท่านหมายเอามัคคญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ท่านผู้รู้ได้กล่าวคำว่า " โพธิ " ไว้ ๕ นัย คือ.-
๑. ต้น โพธิที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อุทาหรณ์ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปมาภิสมฺพุทฺโธ. แปลว่า เป็นพระอภิสัมพุทธะครั้งแรกที่ควงไม้โพธิ์
๒. มัคคจิต อุทาหรณ์ว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ าณํ. แปลว่า ญาณในมรรค ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า โพธิ
๓. สัพพัญญุตญาณ อุทาหรณ์ว่า ปปฺโปตี โพธิ วรภูริ เมธโ
ส. แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิ คือสัพพัญญุตญาณ ด้วยภูมิปัญญาอันยอดเยี่ยม
๔. พระนิพพานอุทาหรณ์ว่า ปตฺวาน โพธิ อมตํ อสงฺขตํ. แปลว่า ทรงบรรลุแล้วซึ่งโพธิ คือพระนิพพาน อันเป็นอมตะอัน ปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
๕. เป็นชื่อเฉพาะ อุทาหรณ์ว่า โพธิ ภนฺเต ราชกุมาโร. แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมาร ชื่อว่า โพธิ.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 721
ท่านตอบปฏิเสธเพราะไม่มีกิจที่พึงทำ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านตอบรับรอง ซึ่งความที่กิจอันใดที่ปัญญานั้นทำแล้วเป็นผู้ไม่หลงลืมในกิจนั้น. ก็แล สกวาทีไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยจึงถามโดยนัยว่า ยังกำหนดรู้ทุกข์ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีกิจนั้น. ในปัญหาว่าด้วย อนาคต ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะไม่มีมรรคญาณในขณะนั้น. ถูกถาม ครั้งที่ ๒ ปรวาทีผู้สำคัญอยู่ซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า เพราะโพธิอัน เป็นอนาคตด้วยบาลีว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จถึงเมืองราชคฤห์แล้ว เป็นต้น จึงตอบรับรอง. ถูกถามว่า กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีกิจในขณะนั้น. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านตอบรับรองด้วยคำว่า ชื่อว่ากำลังทำอยู่นั่นแหละ เพราะใครๆ ไม่พึงกล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่พึงทำกรณียกิจควรกล่าวได้ว่า จักทำแน่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากระทำอยู่นั่นแหละ. ถูกสกวาทีถาม แล้วโดยไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยอีก ก็ตอบปฏิเสธ. ปัญหาว่าด้วยปัจจุ- บันพร้อมทั้งการเปรียบเทียบมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
ถูกถาม รวมโพธิ ๓ คือที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน เป็นอย่างเดียวกัน ท่านหมายเอาสัพพัญญุตญาณจึงตอบรับรอง เพราะ ภาวะอันบุคคลพึงกล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยโพธิทั้ง ๓. ถูกถามรวม โพธิทั้ง ๓ อีก ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะญาณทั้ง ๓ นั้น ไม่มีในขณะ เดียวกัน. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งสัพพัญญุตญาณที่เป็นทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน. สกวาที่ไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัย แก่ปรวาทีอีก จึงถามว่า ประกอบตั้งมั่น เป็นต้น ท่านตอบปฏิเสธ.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 722
คำถามว่า ไม่พึงกล่าวว่า ชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ เป็นของปรวาที. คำรับรองเป็นของสกวาที เพราะไม่บรรลุ ความเป็นพระพุทธเจ้าในขณะแห่งโพธิหามีไม่. อนึ่งในปัญหาว่า เพราะ การได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้มิใช่หรือ สกวาทีนั้นนั่นแหละ ตอบรับรองว่า ใช่ เพราะสภาพแห่งสมมติว่า มัคคญาณอันบัณฑิตเรียก ว่าโพธิเกิดขึ้นแล้วในสันดานใด ในสันดานนั้นชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า. เพราะไม่ทราบถึงคำอธิบายของสกวาที ปรวาทีจึงตั้งลัทธิไว้ด้วยคำว่า ว่า หากว่าชื่อว่าพุทธะเพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่าชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้ บัดนี้เป็นคำถามของสกวาทีว่า ชื่อพุทธะเพราะการได้ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พุทธะเพราะปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้หรือ เพื่อทำเนื้อความที่ปรวาทีนั้นไม่กำหนดไว้ให้ ปรากฏ. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าเพราะการได้เฉพาะซึ่งโพธิตามลัทธิของท่าน เหตุใดเพราะเหตุ นั้นจึงชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิหรือ. เมื่อปรวาทีไม่กำหนด การวิภาคนี้ว่า ครั้นเมื่อโพธิเกิดขึ้นแม้ดับไปแล้วภาวะที่เกิดขึ้นแล้วใน สันดานนั่นแหละ ชื่อว่าการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ญาณในขณะ แห่งมรรค ชื่อว่าโพธิ ดังนี้ จึงตอบรับรองอีก. ที่นั้นจึงถูกถามว่า ชื่อว่าโพธิก็เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้หรือ เมื่อไม่ได้ โอกาสที่จะกล่าวอะไรได้ ท่านจึงตอบปฏิเสธ ดังนี้แล.
อรรถกถาโพธิยาพุทโธติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 723
เรื่องทั้ง ๓ ดังพรรณนามานี้เป็นของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย นั้นแล.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 724
ลักขณกถา
[๙๕๖] สกวาที ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะบางส่วน เป็นพระโพธิสัตว์ บางส่วน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๗] ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะ ๑ ใน ๓ ส่วน เป็น พระโพธิสัตว์ ๑ ใน ๓ ส่วน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๘] ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะกึ่งหนึ่ง เป็นพระโพธิ- สัตว์กึ่งหนึ่ง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๕๙] ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 725
ส. จักกวัตตสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ จักก- วัตติสัตว์ก็เป็นพระโพธิสัตว์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๐] ส. จักกวัตติสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ จักก- วัตติสัตว์ก็เป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การ แสดงธรรมของพระโพธิสัตว์ เป็นเช่นใด บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรม ของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็เป็นเช่นนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๑] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับภายหลัง ฉันใด เมื่อจักกวัตติสัตว์ประสูติ พวกเทวดา รับก่อน พวกมนุษย์รับภายหลัง ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๒] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ เทวบุตร ๔ องค์รับ แล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา ทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ทรงดีพระทัย เถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์บังเกิดแล้วฉันใด เมื่อจักกวัตติ- สัตว์ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์รับแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา ทูลว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 726
ข้าแต่พระเทวี ทรงดีพระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ บังเกิดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๓] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็น ๑ ธารน้ำร้อน ๑ ปรากฏจากอากาศ สำหรับเป็นน้ำสรง ของพระโพธิสัตว์และพระมารดา ฉันใด เมื่อจักกวัตติประสูติ ธารน้ำ ทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็น ๑ ธารน้ำร้อน ๑ ก็ปรากฏจากอากาศ สำหรับ เป็นน้ำสรงของจักกวัตติสัตว์และพระมารดา ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๔] ส. พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ก็ทรงยืน ได้ด้วยพระบาททั้ง ๒ อันเสมอกัน ผันพระพักตร์ทางทิศอุดร ทรงดำ- เนินได้ ๗ ก้าว มีพระกรดขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศทั้งปวง และทรง เปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ ภพใหม่ เป็นไม่มีอีกละ ดังนี้ ฉันใด จักกวัตติสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ก็ยินได้ด้วยพระบาททั้ง ๒ อันเสมอ ผันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร ทรง ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีพระกรดขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศทั้งปวง และทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ใหญ่ แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ ภพใหม่เป็นไม่มีละ ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 727
[๙๖๕] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ย่อมปรากฏแสงสว่าง ใหญ่ โอภาสใหญ่ แผ่นดินไหวใหญ่ ฉันใด เมื่อจักกวัตติสัตว์ประสูติ ก็ย่อมปรากฏแสงสว่างใหญ่ โอภาสใหญ่ แผ่นดินไหวใหญ่ ฉันนั้น เหมือนกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๖] ส. พระกายตามปกติของพระโพธิสัตว์ ฉายพระ- รัศมีออกไปวา ๑ โดยรอบ ฉันใด พระกายตามปกติของจักกวัตติสัตว์ ก็ฉายพระรัศมีออกไปวา ๑ โดยรอบ ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๗] ส. พระโพธิสัตว์ ทรงเห็นมหาสุบิน ฉันใด จักก- วัตตสัตว์ ก็ทรงเห็นมหาสุบิน ฉันนั้นเหมือน กัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๖๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะ เป็น พระโพธิสัตว์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ ประการนี้ ที่ พระมหาบุรุษผู้ประกอบมีคติเป็น ๒ เท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 728
ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรม ราชา ทรงพิชิตตลอดปฐพี มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นที่สุด ทรง เจนจบรัฐประศาสโนบายเป็นเหตุมั่นคงแห่งชนบท ทรงประกอบ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เพราะรัตนะ ๗ ประการนี้ ย่อมบังเกิดแก่ ท้าวเธอ คือจักกรัตนะ ได้แก่จักรแก้ว หัตถิรัตนะ ได้แก่ช้าง แก้ว อัสสรัตนะ ได้แก่ม้าแก้ว มณีรัตนะ ได้แก่ดวงมณีแก้ว อิตถีรัตนะ ได้แก่นางแก้ว คหปติรัตนะ ได้แก่ขุนคลังแก้ว ปริณายกรัตนะ ได้แก่ขุนพลแก้ว เป็นที่ ๗ และท้าวเธอมีพระ- ราชบุตรจำนวนพันปลาย ล้วนแกล้วกล้าองอาจ สามารถย่ำยี กองทัพฝ่ายปรปักษ์ ทรงพิชิตยิ่งแล้ว ครอบครองแผ่นดินนี้ อัน มีสาครเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาญา โดยไม่ ต้องใช้ศัสตรา แต่ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริยะ จะเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้นี้หลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วใน โลก ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้ประกอบด้วยลักษณะ ก็เป็น พระโพธิสัตว์น่ะสิ. ลักขณกถา จบ
๑. ที. ปา. ๑๑/๑๓๐
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 729
อรรถกถาลักขณกถา
ว่าด้วยลักษณะ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องลักษณะ. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด มี ความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า พระโพธิสัตว์เท่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยลักษณะ เพราะไม่พิจารณาถือเอา พระสูตรนี้ว่า มีคติเป็น ๒ เท่านั้น คือ.- ถ้าครองเรือนจะได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ฯลฯ แต่ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริยะ จะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมมีแก่พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยลักษณะดังนี้ ปัญหาของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า จักภวัตติสัตว์ ความว่า สัตว์ผู้จักรพรรดิ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ก็ดี ผู้มิใช่โพธิสัตว์ก็ดี มีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีหมายเอาจักรพรรดิผู้มิใช่พระโพธิสัตว์จึงตอบปฏิเสธ. ย่อมตอบรับรอง เพราะหมายเอาพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นพระโพธิสัตว์. พระสูตรที่ปรวาทีกล่าวแล้วว่า มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ หมายเอาพระโพธิสัตว์ เพราะว่าในภพ สุดท้ายพระโพธิสัตว์นั้นย่อมเป็นพระพุทธเจ้า ในชนทั้งหลายนอกจาก นี้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ไม่เป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น พระสูตรที่ปรวาทีนำมาอ้างแล้ว เช่นกับไม่นำมานั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาลักขณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 730
นิยาโมกกันติกถา
[๙๖๙] สกวาที พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน คืออริยมรรค มีพรหมจรรย์อันประพฤติ แล้ว ในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากัสสปะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗๐] ส. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นสาวกแล้ว จึงเป็นพระพุทธเจ้า หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗๑] ส. เป็นสาวกแล้ว จึงเป็นพระพุทธเจ้า หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 731
[๙๗๒] ส. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู ก็ต้องไม่ กล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม.
[๙๗๓] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม ว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผลอีก ๓ เท่านั้น ณ ควงไม้โพธิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗๔] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผลทั้ง ๔ ณ ควงไม้โพธิ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผล ทั้ง ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทาง อันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มี พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 732
[๙๗๕] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม ว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์ได้กระทำทุกกรกิริยา หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ พึงกระทำทุกกร- กิริยา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗๖] ส. พระโพธิสัตว์ ได้กระทำความเพียรอย่างอื่นได้ นับถือศาสดาอื่น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้เข้าถึงพร้อมด้วยทัสสนะ พึงนับถือ ศาสดาอื่น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗๗] ส. ท่านพระอานนท์ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน พระอานนท์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 733
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม ว่า กัสสปะ พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗๘] ส. ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ- นามว่า กัสสปะ พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ- นามว่า กัสสปะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗๙] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ- นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระอานนท์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 734
ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘๐] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ- นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เจตนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘๑] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ- นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นสาวก ครั้นล่วงชาติ ๑ ไปแล้ว กลับเป็น ผู้มีใช่สาวก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทางอัน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 735
แน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาค- เจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ต่อไป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่ จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ ก็ได้หยั่งลงสู่ทาง อันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มี พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ น่ะสิ.
[๙๘๓] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ- นามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า:- เราเป็นผู้ครอบงำเสียซึ่งธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งธรรม ทั้งปวง ไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง ละเสียซึ่งโลกิยธรรมทั้งปวง หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไปแห่งตัณหาเรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จะพึงอ้างศาสดาไรเล่า อาจารย์ของเราไม่มี ผู้ที่จะเสมอด้วยเรา
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 736
ก็ไม่มี เราไม่มีบุคคลเปรียบในโลกนี้ กับทั้งเทวโลก เพราะเรา เป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดาที่ไม่มีศาสดาอื่นยิ่งกว่า เราผู้เดียวเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นผู้เย็นแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เราจะไปยังเนื่องแห่งชาวกาสี เพื่อยังธรรมจักรให้เป็นไป เราจัก ได้ตีอมตเภรี ให้บรรลือขึ้นในโลกอันมืดนี้ อุปกาชีวกกล่าวว่า อาวุโสตามที่ท่านปฏิญาณนั้นแล ท่านที่ควรเป็นอนันตชิน พระ- ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนเช่นเรานี่แล ที่ถึงแล้วซึ่งความสิ้น อาสวะ เป็นผู้ชื่อว่า ชินะ ดูก่อนอุปกะ เราชนะบาปธรรมทั้ง หลายแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่า ชินะ ดังนี้๑ เป็นสูตรมี อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้ หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ น่ะสิ
[๙๘๔] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ- นามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. ม.ม. ๑๓/๕๑๓.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 737
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มีได้สดับมาแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกข- อริยสัจ ดังนี้ อนึ่งเล่า จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่มิได้สดับมาแล้วในกาลก่อนว่า ทุกข- อริยสัจนี้นั้น อันเราพึงกำหนดรู้ ดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขอริยสัจนี้นั้น อันเราได้กำหนดรู้แล้ว ดังนั้น ฯลฯ ว่านี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้น อันเราพึงละเสีย ดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้น อันเราละได้แล้ว ดังนี้ ฯลฯ ว่านี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น อันเราพึงทำให้แจ้ง ดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น อัน เราได้ทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ฯลฯ ว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อัน เราพึงให้เกิด ดังนี้ อนึ่งเล่า จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ สดับมาแล้วมนกาลก่อน ว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราให้เกิดแล้ว ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. วิ.มหา. ๔/๑๕., สํ. มหา. ๑๙/๑๖๖๖.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 738
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งละทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ.
นิยาโมกกันติกถา จบ
อรรถกถานิยาโมกกันติกถา๑
ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการหยั่งลงสู่นิยาม การหยั่งลงสู่ทางอันแน่- นอนคืออริยมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิ ของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า พระโพธิสัตว์มีนิยามอันหยั่ง ลงแล้ว มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในพระธรรมวินัยของพระผู้มี พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะหมายเอาการ บรรพชาของโชติปาละในฆฏิการสูตรสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถาม ด้วยคำว่า พระโพธิสัตว์ เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. เนื้อความจากนั้น คำว่า นิยาม คือทางอัน แน่นอนก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค. อนึ่ง ยกเว้นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เสียแล้ว ชื่อว่าการหยั่งลงสู่ นิยามอย่างหนึ่งย่อมไม่มี ถ้าพระโพธิสัตว์พึงเป็นพระโสดาบัน พึงเป็น
๑. คำว่า "นิยาโมกฺกนฺติ" แยกเป็น นิยามํ ได้แก่ อริยมรรค โอกฺกนฺติ ได้แก่ การหยั่งลง.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 739
อริยสาวกไซร้ ข้อนั้นหาเป็นไปได้ไม่. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า เพราะ พระองค์ดำรงอยู่ในญาณอันเป็นกำลังของพระองค์นั่นแหละ เพราะฉะนั้น สกวาทีจึงซักถามด้วยคำว่า พระโพธิสัตว์ อีก. คำตอบ ปฏิเสธเป็นของปรวาที หมายเอาปัจฉิมภพ คือภพสุดท้าย.
ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีนั้นนั่นแหละ ตอบรับรอง หมายเอา เวลาที่พระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเป็นโชติปาละ. แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า เป็นพระสาวก เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. คำว่า การฟังตาม หมายความว่า ผู้มีธรรมอันแทงตลอดแล้วด้วยการฟังสืบๆ กันมา. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาปัจฉิมภพ ย่อมตอบรับรองหมายเอา การฟังต่อๆ กันมาในกาลเป็นโชติปาละ. คำว่า นับถือศาสดาอื่น ที่สกวาทีกล่าวแล้วนั้นหมายเอาอาฬารดาบส และรามบุตรดาบ
ส. คำว่า ท่านพระอานนท์ เป็นต้น ที่สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงว่า ผู้มี นิยามอันหยั่งลงแล้วเท่านั้นเป็นพระสาวก นอกจากนี้ไม่ใช่ แต่ผู้มี นิยามอันหยั่งลงแล้วเช่นนี้มีอยู่ ดังนี้. ข้อว่า เป็นสาวกครั้นล่วง ชาติหนึ่งไปแล้ว ความว่า สกวาทีย่อมถามด้วยคำว่า เป็นพระสาวก ด้วยชาติใดแต่พอล่วงเลยชาตินั้นไปแล้วไม่เป็นสาวกในภพอื่นหรือ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่พระโสดาบันเป็นต้น เป็นพระสาวก. คำที่เหลือในที่นี้เนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.
อรรถกถานิยาโมกกันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 740
สมันนาคตกถา อีกกถาหนึ่ง
[๙๘๕] สกวาที บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นผู้ประกอบด้วยผล ๓ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นผู้ ประกอบด้วย ผัสสะ ๔ เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔ สัทธา ๔ วิริยะ ๔ สติ ๔ สมาธิ ๔ ปัญญา ๔ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘๖] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยผล ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยผัสสะ ๓ เวทนา ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น ผู้ประกอบด้วยผัสสะ ๒ เวทนา ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 741
[๙๘๘] ส. บุคคลปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นผู้ ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น พระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น พระสกทาคามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ผู้อสังขารปริ- นิพพายี ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 742
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น พระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น พระสกทาคามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น พระโสดาบ่น ผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๔] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงเรียกว่า พระ- โสดาบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นผู้
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 743
ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลองค์นั้นพระ- โสดาบันก็องค์นั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๕] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงเรียกว่า พระ- สกทาคามี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลองค์นั้น พระ- สกทาคามีก็องค์นั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๖] ส. ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล พึงเรียกว่า พระ- อนาคามี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 744
ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลองค์นั้น พระ- อนาคามีองค์นั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๗] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงเรียกว่า พระ- โสดาบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลองค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙๘] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงเรียกว่า พระ- สกทาคามี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลองค์นั้น พระสกทาคามีก็องค์นั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 745
[๙๙๙] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงเรียกว่า พระ- โสดาบัน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลองค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นผู้ ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย โสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต- ผล เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้ แจ้งซึ่งอรหัตตผลเป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
[๑๐๐๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย โสดาปัตติผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 746
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย โสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะที่เป็นอปายคามี โทสะที่เป็นอปายคามี โมหะที่เป็นอปายคามีไป แล้ว แต่ยังประกอบด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย สกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต- ผล เลยสกทาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้ แจ้งซึ่งอรหัตตผลเป็นผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล.
[๑๐๐๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย สกทาคามิผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย สกทาคามิมรรคไปแล้ว เลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 747
ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยพยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐๔] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็น ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย อนาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต- ผล เลยอนาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้ แจ้งซึ่งอรหัตตผลเป็นผู้ประกอบด้วยสกทามิผล.
[๑๐๐๕] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย อนาคามิผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยอนาคามิผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เลย อนาคามิมรรคไปแล้ว เลยกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่าง ละเอียดไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยพยาบาทอย่างละเอียดนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐๖] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 748
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย โสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิ- ผล เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
[๑๐๐๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย โสดาปัตติผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย โสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ โมหะที่เป็นอปายคามี ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐๘] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย สกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 749
ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคา- ผล เลยสกทาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้ แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล.
[๑๐๐๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย สกทาคามิผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยสกทาคามิผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย สกทาคามิมรรคไปแล้ว เลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยพยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เป็น ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เลย โสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคา- มิผล เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลปฏิบัติเพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 750
[๑๐๑๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เลย โสดาปัตติผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เลย โสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ โมหะที่เป็นอปายคามี ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำได้แจ้งซึ่ง อรหัตตผลเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๓ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต- ผล ได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นผู้ประกอบ ด้วยผล ๓.
[๑๐๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง อนาคามิผลเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๒ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลได้ผล
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 751
๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคา- มิผล ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นผู้ประกอบ ด้วยผล ๒.
[๑๐๑๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง สกทาคามิผลเป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ได้ โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคา- มิผล ได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
[๑๐๑๕] ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๓ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 752
ได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยมรรค ๔ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑๖] ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนา- คามิผล ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๓ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยมรรค ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑๗] ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิ- ผล ได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยโสดา- ปัตติผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิ- ผล ได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๒ นั้น ฉะนั้น บุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยมรรค ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สมันนาคตกถา อีกกถาหนึ่ง จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 753
อรรถกถาอปราปิสมันนาคตกถา
ว่าด้วยเป็นผู้ประกอบอีกเรื่องหนึ่ง
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเป็นผู้ประกอบอีกเรื่องหนึ่ง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคที่ ๔ เป็นผู้ประกอบ ด้วยผล ๓ ด้วยสามารถแห่งการบรรลุ ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ ทั้งหลายในขณะนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยที่ กล่าวแล้วในเรื่องว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยผล ๔ ในหนหลังนั่นแล.
อรรถกถาอปราปิสมันนาคตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 754
สัพพสัญโญชนปหานกถา
[๑๐๑๘] สกวาที การละสังโยชน์ทั้งปวง ชื่อว่า อรหัตตผล หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑๙] ส. สังโยชน์ทั้งปวง ละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็ละ ได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒๐] ส. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็ละ ได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสังโยชน์ ๓ ว่า โสดาปัตติผล มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสังโยชน์ ๓ ว่า โสดาปัตติผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอร-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 755
หัตมรรค.
ส. สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ก็ละ ได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒๑] ส. กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ก็ละ ได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบางแห่งกาม- ราคะ และพยาบาทว่าสกทาคามิผล มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบาง แห่งกามราคะ และพยาบาท ว่าสกทาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัง- โยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค ดังนี้.
[๑๐๒๒] ส. สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด ก็ละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 756
[๑๐๒๓] ส. กามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด ก็ละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วนเหลือ แห่งกามราคะและพยาบาทว่า อนาคามิผล มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วน เหลือแห่งกามราคะและพยาบาทว่า อนาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัง- โยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค.
[๑๐๒๔] ส. สังโยชน์ทั้งปวง ละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วนเหลือ แห่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาว่า เป็นอรหัตตผล มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วน เหลือแห่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาว่า เป็น อรหัตตผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 757
[๑๐๒๕] ป. ไม่พึงกล่าว การละสังโยชน์ทั้งปวง ชื่อว่า อรหัตตผล หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์มีสังโยชน์ทั้งปวงเสื่อมสิ้นแล้ว มิใช่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์มีสังโยชน์ทั้งปวงเสื่อมสิ้น แล้ว ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า การละสังโยชน์ทั้งปวง ชื่อว่า อรหัตตผล ดังนี้.
สัพพสัญโญชนปหานกถา จบ
อรรถกถาสัพพสัญโญชนัปปหานกถา
ว่าด้วยการละสัญโญชน์ทั้งปวง
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการละสัญโญชน์ทั้งปวง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า ความเป็นพระอรหันต์ละสัญโญชน์ทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำ ถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูก สกวาทีถามด้วยคำว่า สัญโญชน์ทั้งปวง อีก ปรวาทีตอบปฏิเสธหมาย เอาการละกิเลสโดยมรรคทั้ง ๓ ตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. ถูกถามครั้ง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 758
ที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง เพราะไม่มีการละกิเลสด้วยมรรคนั้น. แม้ ในคำว่า สักกายทิฏฐิ เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธ หมายเอาความ เป็นผู้ละกิเลสได้แล้วด้วยปฐมมรรค. ย่อมตอบรับรอง หมายเอาการละ กิเลสไม่เหลือด้วยมรรคที่ ๔. เนื้อความในที่ทั้งปวง ก็นัยนี้นั้นแหละ.
อรรถกถาสัพพสัญโญชนัปปหานกถา จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. คิหิสสอรหาติกถา ๒. อุปปัตติกถา ๓. อนาสวกถา ๔. สมันนาคตกถา ๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา ๖. โพธิยาพุทโธติกถา ๗. ลักขณกถา ๘. นิยาโมกกันติกถา ๙. อปราปิสมันนาคตกถา ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา.
วรรคที่ ๔ จบ