พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๖ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๒

ทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ ๖

นิยามกถา

[๑๐๗๗] สกวาที นิยาม คือ ทางอันแน่นอน เป็นสังขตะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๗๘] ส. นิยามเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็ เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 2

ก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีความสูงและต่ำ มีความเลวและประณีต มีความอุกฤษฏ์ และทราม มีเขตแดน หรือความแตกต่าง หรือร่อง หรือระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๗๙] ส. นิยามเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีบุคคลบางพวกก้าวลงสู่นิยาม ได้นิยาม ยังนิยามให้ เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีบุคคลบางพวก ก้าวลงสู่อสังขตะ ได้อสังขตะ ยังอสังขตะ ให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๐] ส. นิยามเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 3

ส. มรรคเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิยามเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตตินิยาม เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติมรรค เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตตินิยาม เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สกทาคามินิยาม ฯลฯ อนาคามินิยาม ฯลฯ อรหัตนิยาม เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. อรหัตตมรรคเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหัตตมรรค เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรหัตตนิยาม เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๑] ส. โสดาปัตตินิยาม เป็นอสังขตะ ฯลฯ อรหัตนิยาม เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 4

อสังขตะ นิพพาน เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๕ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๕ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานก็เป็น ๕ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๕ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๒] ส. นิยาม เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มิจฉัตตนิยาม คือทางอันแน่นอนข้างผิด เป็นอสังขตะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัจฉัตตนิยามเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัตตนิยาม คือ ทางอันแน่นอนข้างถูก เป็นสังขตะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่านิยามเป็นอสังขตะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลยังเป็นผู้ไม่แน่นอน อยู่หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 5

ป. ถ้าอย่างนั้น นิยามก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.

ส. เมื่อมิจฉัตตนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลเป็นไม่แน่นอน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น มิจฉัตตนิยาม ก็จะเป็นอสังขตะไปน่ะสิ.

นิยามกถา จบ

อรรถกถานิยามกถา

ว่าด้วย นิยาม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยาม นิยามเป็นอสังขตะ. ในปัญหานั้น ท่านเรียก อริยมรรคว่า นิยาม เพราะพระบาลีว่า บุคคลผู้สามารถเพื่อก้าวลงสู่นิยาม อันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลายดังนี้. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ นิกายอันธกะทั้งหลายว่า เมื่อนิยามนั้นเกิดขึ้นและดับไปแล้วก็ดี บุคคลนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นไม่เที่ยงก็หาไม่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น นิยามที่เกิดขึ้นแก่บุคคล นั้น จึงชื่อว่าเป็นอสังขตะ คือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะอรรถว่าเป็นของเที่ยง ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ต่อจากนั้นเมื่อสกวาที่จะแสดงว่า ผิว่า นิยามนั้นเป็นอสังขตะไซร้ นิยามนั้น ก็พึงมีอย่างนี้ จึงกล่าวคำว่า เป็นนิพพาน เป็นต้น. คำถามเปรียบเทียบมี อรรถง่ายทั้งนั้น. คำว่า บุคคลบางพวกก้าวล่วงสู่นิยาม เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อแสดงความเป็นสังขตะของนิยามฯ ในปัญหาว่า มรรคป็นอสังขตะหรือ เป็นต้น ปรวาทีย่อมปฏิเสธ เพราะมรรคนั้นยังมีการเกิดและการดับ. ในปัญหา ว่า นิยามเป็นสังขตะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอานิยามในมรรคแม้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 6

ดับไปแล้วก็เป็นของมีอยู่. ในคำทั้งหลายมีคำว่า โสดาปัตตินิยาม เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอนุโลมและปฏิโลมโดยนัยนั้น.

ถูกสกวาทีถามว่า อสังขตะเป็น ๕ อย่างหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็น สถานที่มาของอสังขตะ ๕ อย่าง จึงปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง เพราะคำว่า นิยามแห่งสัมมัตตนิยาม ๔ อย่าง และเพราะความเป็นอสังขตะ ของพระนิพพาน ๑. ปัญหาว่าด้วย มิจฉัตตนิยาม สกวาทีกล่าวแล้ว เพื่อแสดง ความไม่ถูกต้องแห่งความเป็นอสังขตะ ด้วยเหตุสักแต่คำว่านิยามนั้นนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถานิยามกถา จบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 7

ปฏิจจสมุปปาทกถา

[๑๐๘๔] สกวาที ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่างหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานก็เป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็ เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะ ก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพานก็เป็น ๒ อย่างหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีความสูงและต่ำ มีความเลวและความประณีต มีความ อุกฤษฏ์และทราม มีเขตแดน หรือความแตกต่าง หรือร่อง หรือระหว่างขั้น แห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 8

[๑๐๘๕] ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชาก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชาเป็นสังขตะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย

ส. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นสังขตะหรือ?

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 9

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นสังขตะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชราและมรณะที่มีเพราะชาติเป็นปัจจัยก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชราและมรณะที่มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ก็เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 10

[๑๐๘๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ชรา มรณะ มีเพราะชาติเป็นปัจจัย โดยพระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติ ขึ้นหรือมิอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วเทียว เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรม นิยาม คือความที่ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย พระตถาคตตรัสรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ค้นพบด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธาตุนั้น ครั้นตรัสรู้ด้วยปัญญา อันยิ่งแล้ว ครั้นค้นพบด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว จึงบอก แสดง ประกาศ เผย แพร่ ขยาย ทำให้ง่าย และได้ชี้แจงว่า ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ มีสังขารมีเพราะอวิชชา เป็นปัจจัย โดยตถาคตทั้งหลายจะอุบัติขึ้น หรือมิอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นได้ ตั้งอยู่แล้วเทียว ฯลฯ และได้ชี้แจงว่าสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ภิกษุ ทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นโดยประการอื่น คือความที่ธรรมเกิดขึ้นเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย สภาวธรรมนั้น ดังกล่าวนี้ อันใด นี้เรากล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาท ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.

[๑๐๘๗] ส. ปัจจยาการบท ๑ ว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใดเป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้น เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?


๑. สํ. นิ. ๑๖/๖๑.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 11

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๒ อย่าง ฯลฯ หรือมีระหว่างขึ้นแห่ง นิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๘] ส. ปัจจยาการบท ๑ ว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใดเป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้น เป็นอสังขตะ ปัจจยาการอีกบท ๑ ว่า วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใดเป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้น ก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๓ อย่างหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๓ อย่างหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๓ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๓ อย่างนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๙] ส. ปัจจยาการบท ๑ ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 12

เป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ ปัจจยาการอีกบท ๑ ว่า วิญญาณมีเพราะสังขาร เป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้นก็เป็นอสังขตะ ฯลฯ ปัจจยาการอีกบท ๑ ว่า ชรามรณะมีเพราะ ชาติเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการ นั้น สภาวะนั้นก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๑๒ อย่างหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๑๒ อย่างหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๑๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๑๒ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 13

อรรถาปฏิจจสมุปปาทกถา

ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาท. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และมหิสาสกะทั้งหลายว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นอสังขตะ เพราะพระบาลีในนิทานวรรคว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคต เจ้าก็ดี การไม่อุบัติก็ดี ชื่อว่าธัมมัฏฐิตตา คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรม มีอยู่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ปัญหา ว่า อวิชชาเป็นสังขตะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงสภาวะปฏิจจสมุปบาท แห่งธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นนั่นแหละ. ก็องค์หนึ่งๆ ในธรรมเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทมีอยู่ด้วยอรรถอันใด อรรถอันนั้นนั่นแหละท่าน ได้กล่าวไว้แล้วในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์.

คำว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใดเป็นธัมมฐิติ เป็นอาทิ สกวาทีกล่าวเพื่อทำลายอรรถแห่งลัทธิที่ปรวาทีนำมาตั้งไว้แล้ว ด้วยพระสูตรนั้นนั่นแหละ.

ก็ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความว่า ธาตุใดเป็นสภาวะตั้งอยู่แล้วในก่อน ธาตุนั้นเทียว ท่านเรียกว่าเป็นธัมมฐิติ ธัมมนิยาม ธาตุนั้นเว้นจากอวิชชา เป็นตนมีอยู่ส่วนหนึ่งก็หาไม่ และคำว่า ธัมมฐิติ และธัมมนิยามนี้เป็นชื่อแห่ง ปัจจัยทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นนั่นแหละ. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติ แล้วก็ดี ยังมิได้ทรงอุบัติก็ดี สังขารทั้งหลายก็ย่อมเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ทั้งธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้นย่อมเกิดแต่ธรรมทั้งหลายมีสังขารเป็นต้น เพราะฉะนั้น ความตั้งอยู่อันใดเพราะอรรถว่าเป็นเหตุแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 14

ในบทนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า ธัมมฐิติ อนึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นนิยามเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ฉะนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า ธัมมนิยาม เพราะฉะนั้นธัมมฐิติก็ดี ธัมมนิยาม ก็ดี ท่านจึงเรียกว่าอวิชชา สกวาทีถามว่า สภาวะนั้น คืออวิชชา เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นสังขตะหรือ? ปรวาทีตอบรับรองด้วยความสามารถแห่งลัทธิ ถูกถามอีกว่า อสังขตะเป็น ๒ อย่างหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะไม่มี ในพระสูตร แต่ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิ. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. อนึ่ง ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบเช่นกับคำที่กล่าวไว้แล้วใน หนหลังโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 15

สัจจกถา

[๑๐๙๐] สกวาที สัจจะ ๔ เป็นอสังขตะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานก็เป็น ๔ ที่เร้นก็เป็น ๔ ที่พึ่งเป็น ๔ ที่หมาย ก็เป็น ๔ ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๔ อมตะก็เป็น ๔ นิพพานก็เป็น ๔ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพาน ก็เป็น ๔ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีความสูงและต่ำ มีความเลวและประณีต มีความ อุกฤษฏ์และทราม มีเขตแดน หรือความแตกต่าง หรือร่อง หรือระหว่าง ขั้นแห่งนิพพาน ๔ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๑] ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 16

ส. สมุทยสัจเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทัยเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมุทยสัจเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวณหา เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๒] ส. ทุกข์เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกขสัจเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นสังขตะ หรือ?

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 17

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกขสัจเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมุทัยเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทยสัจเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทยสัจเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคสัจเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคสัจเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๓] ส. นิโรธสัจเป็นสังขตะ นิโรธเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ หรือ?

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 18

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทยสัจเป็นอสังขตะ สมุทัยเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ มรรคเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๔] ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ ทุกข์เป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมุทยสัจเป็นอสังขตะ สมุทัยเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ มรรคเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิโรธสัจเป็นสังขตะ นิโรธเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัจจะ ๔ เป็นอสังขตะ หรือ?

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 19

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ อย่างนี้ แท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ๔ อย่าง เป็นไฉน คำว่า นี้ทุกข์ นี้แท้ นี้ไม่ผิด นี้ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ คำว่า นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ คำว่า นี้ทุกขนิโรธ ฯลฯ คำว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้แท้ นี้ไม่ผิด นี้ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ อย่างนี้แล แท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้๑ เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สัจจะ ๔ ก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

สัจจกถา จบ

อรรถกถาสัจจกถา

ว่าด้วย สัจจะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัจจะ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ ลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า สัจจะทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจจะ สมุทย สัจจะ นิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะ เป็นอสังขตะ เพราะอาศัยพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่างนี้แท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น เป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ก็พึงทราบคำอธิบายปัญหานั้นว่า บรรดาทุกข์ สมุทัย และมรรคทั้งหลาย ชื่อว่าวัตถุสัจจะ เป็นสังขตะ ลักขณสัจจะ คือนิพพาน เป็นอสังขตะ ชื่อว่า วัตถุสัจจะย่อมไม่มีในนิโรธ นิโรธนั้นเป็นอสังขตะอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น


๑. ขุ.

ป. ๓๑/๕๔๕.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 20

ปรวาทีจึงตอบรับรองว่าใช่ แต่การตอบรับรองนั้นสักแต่ว่าเป็นลัทธิของ ท่านเท่านั้น. จริงอยู่ ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาทุกข์ว่าเป็นวัตถุสัจจะ ทั้ง ปรารถนาสมุทัยและมรรคก็เช่นนั้น. ส่วนธรรมเหล่าใดมีการนำออกจาก ทุกข์อันเป็นเครื่องเบียดเบียน และเหตุให้เกิดทุกข์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็น ลักษณะ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ลักขณสัจจะ. อนึ่งชื่อว่าธรรมมีทุกข์ เป็นต้น เว้นจากพาธนลักษณะ เป็นต้น ย่อมไม่มี. บรรดาคำทั้งหลายว่า ตาณะ คือที่ต้านทาน เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบอธิบายโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ในปัญหาว่า ทุกขสัจจะ ปรวาทีตอบรับรอง เพราะหมายเอา ลักขณสัจจะ ด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ในปัญหาว่า ทุกข์ ปรวาทีตอบ ปฏิเสธ หมายเอาวัตถุสัจจะ. เบื้องหน้าแต่นี้สุทธิกปัญหาก็ดี ปัญหาว่าด้วย การเปรียบเทียบก็ดีทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองแห่งพระบาลี นั่นแหละ. ในอวสาน พระสูตรที่ปรวาทีนำมา เพื่อตั้งไว้เป็นลัทธิ พระสูตร นั้นไม่เป็นเช่นกับที่นำมานั่นแหละ เพราะความที่อรรถนั้นท่านถือเอาผิด ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาสัจจกถา จบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 21

อารุปปกถา

[๑๐๙๖] สกวาที อากาสานัญจายตนะเป็นอสังขตะหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อากาสานัญจายตนะเป็นอสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน เป็น ๒ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อากาสานัญจายตนะเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อากาสานัญจายตนะเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 22

เป็นกำเนิด เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอสังขตะ มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงอสังขตะ มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๗] ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิด แก่ ตาย จุติ อุบัติ ในอากาสานัญจายตนะ ได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิด แก่ ตาย จุติ อุบัติ ในอสังขตะ ได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๘] ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอากาสานัญจายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อากาสานัญจายตนะ เป็นจตุโวการภพ หรือ?

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 23

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็นจตุโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อรูป ๔ เป็นอสังขตะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อรูป ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นสภาพไม่ หวั่นไหว มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอรูป ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นสภาพ ไม่หวั่นไหว ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อรูป ๔ เป็นอสังขตะ

อรุปปกถา จบ

อรรถกถาอรุปปกถา

ว่าด้วย ภพไม่มีรูป

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง อารุปปะ คือภพไม่มีรูป ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดว่า ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งปวง เป็นอสังขตะ เพราะอาศัย พระบาลีว่า ภพไม่มีรูปทั้ง ๔ เป็นสภาพไม่หวั่นไหว ดังนี้ คำถามของ สกวาทีว่า อากาสานัญจายตนะ เป็นต้นโดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น. แม้พระสูตร ที่สาธกนั้น ก็ไม่เป็นเช่นกับที่นำมานั่นแหละ เพราะไม่รู้อรรถแล้วนำมา ดังนี้แล.

อรรถกถาอารุปปกถา จบ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 24

นิโรธสมาปัตติกถา

[๑๑๐๐] สกวาที นิโรธสมาบัติ เป็นอสังขตะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่จุติ เป็นอมตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน เป็น ๒ อย่างและมีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีคนบางพวก เข้านิโรธ ได้นิโรธ ยังนิโรธให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นอย่างยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 25

ส. มีคนบางพวก เข้าอสังขตะ ได้อสังขตะ ยังอสังขตะ ให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด ขึ้นอย่างยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธ ปรากฏได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความผ่องแผ้ว ความออกจากอสังขตะ ปรากฏได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เข้านิโรธ มีวจีสังขารดับไปก่อน แต่นั้นกายสังขาร ดับ แต่นั้นจิตตสังขารดับ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าอสังขตะก็มีวจีสังขารดับไปก่อน แต่นั้นกาย สังขารดับ แต่นั้นจิตตสังขารดับ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ออกจากนิโรธมีจิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน แต่นั้นกาย สังขารเกิดขึ้น แต่นั้นวจีสังขารเกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ออกจากอสังขตะ ก็มีจิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน แต่นั้น กายสังขารเกิดขึ้น แต่นั้นวจีสังขารเกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๑] ส. ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิต ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้ว หรือ?

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 26

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิต ผัสสะ ย่อมถูกต้อง ผู้ที่ออกจากอสังขตะแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๒] ส. จิตของผู้ที่ออกจากนิโรธแล้ว เป็นธรรมชาติโน้มไป สู่วิเวก เอียงไปสู่วิเวก น้อมไปสู่วิเวก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตของผู้ที่ออกจากอสังขตะแล้ว ก็เป็นธรรมชาติโน้ม ไปสู่วิเวก เอียงไปสู่วิเวก น้อมไปสู่วิเวก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น นิโรธสมาบัติก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

นิโรธสมาปัตติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 27

อรรถกถานิโรธสมาปัตติกถา

ว่าด้วย นิโรธสมาบัติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิโรธสมาบัติ. ในเรื่องนั้น ความไม่เป็นไปแห่ง นามขันธ์ ๔ ชื่อว่านิโรธสมาบัติ. ก็นิโรธสมาบัตินั้นอันบุคคลเมื่อจะทำ ชื่อว่าย่อมทำได้ คือ เมื่อเข้านิโรธสมาบัติ เขาย่อมเข้าได้ เหตุใด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงเรียกนามขันธ์ ๔ นั้นว่า เป็นสมาบัติที่ดับไปแล้ว. แต่ใครๆ ไม่พึงกล่าวว่าเป็นสังขตธรรม หรือเป็นอสังขตธรรม เพราะไม่มีลักษณะ แห่งสังขตธรรมและอสังขตธรรม.

ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ และอุตตราปถกะทั้งหลายว่า นิโรธสมาบัติไม่เป็นสังขตะ เพราะเป็น อสังขตะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า นิโรธสมาบัติ เป็นต้น โดยหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำเป็นต้นว่า ยังนิโรธให้ เกิดขึ้น สกวาทีกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะซึ่งการเข้าสมาบัติ เท่านั้น. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่าชนทั้งหลายย่อมยังสังขตธรรมทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นให้เกิดขึ้นได้โดยวิธีใด แต่ใครๆ ชื่อว่ายังอสังขตะให้เกิดขึ้น ได้โดยวิธีนั้นหาได้ไม่. คำว่า ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธ บัณฑิต พึงทราบว่าเป็นผลสมาบัติ. แต่ความผ่องแผ้ว ความออกจากอสังขตะนั้น ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ.

คำว่า ถ้าอย่างนั้น ความว่า ลัทธิว่า นิโรธสมาบัติ เมื่อไม่เป็น สังขตะก็ต้องเป็นอสังขตะ ดังนี้ แต่คำนี้ไม่เป็นเหตุในความเป็นอสังขตะ เพราะฉะนั้น แม้ปรวาทีกล่าวแล้ว คำนั้นก็หาเป็นเช่นกับคำที่กล่าวนั้นไม่ ดังนี้แล.

อรรถกถานิโรธสมาปัตติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 28

อากาสกถา

[๑๑๐๔] สกาวาที อากาศเป็นอสังขตะหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๕] ส. อากาศเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน เป็น ๒ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่ง นิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๖] ส. อากาศเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีชนบางพวกทำอนากาศให้เป็นอากาศได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีชนบางพวกทำสังขตะให้เป็นอสังขตะได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 29

[๑๑๐๗] ส. มีชนบางพวก ทำอากาศให้เป็นอนากาศได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีชนบางพวกทำอสังขตะให้เป็นสังขตะได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๘] ส. ในอากาศ นกทั้งหลายบินไปได้ พระจันทร์และพระ อาทิตย์โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์แสดงฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายไกวแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้ แผลงฤทธิ์ไปได้ แผลงศรไปได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ในอสังขตะ นกทั้งหลายก็บินไปได้ พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายก็โคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ก็แสดง ฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายก็ไกวแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้าง ลูกขลุบได้ แผลงฤทธิ์ไปได้ แผลงศรไปได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๙] ส. ชนทั้งหลายล้อมอากาศ ทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็น ฉางได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ชนทั้งหลายล้อมอสังขตะ ทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็น ฉางได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๐] ส. เมื่อขุดบ่ออยู่ อนากาศ คือที่มิใช่อากาศ กลายเป็น อากาศได้หรือ?

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 30

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขตะ ก็กลายเป็นอสังขตะได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๑] ส. เมื่อถมบ่อเปล่าอยู่ ยังฉางเปล่าให้เต็มอยู่ ยังหม้อเปล่า ให้เต็มอยู่ อากาศอันตรธานไปได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ ก็อันตรธานไปได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อากาศเป็นอสังขตะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อากาศเป็นสังขตะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อากาศก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

อากาสกถา จบ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 31

อรรถกถาอากาสกถา

ว่าด้วย อากาศ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศ. ในเรื่องนั้น อากาศมี ๓ อย่าง คือ ปริจเฉ- ทากาส คือช่องว่างอันเป็นที่กำหนด กสิณุคฆาฏิมากาส คือช่องว่างที่ เพิกขึ้นของกสิณ และอชฏากาส คือช่องว่างของท้องฟ้า แม้คำว่า ดุจฉากาส คือช่องว่างอันว่างเปล่า ก็เป็นชื่อของอชฏากาสนั้นนั่นแหละ. บรรดา อากาศเหล่านั้น ปริจเฉทากาส คือของว่างที่คั่นอยู่ระหว่างรูปกับรูป เป็น สังขตะ ส่วนอากาศที่เหลือแม้ทั้ง ๒ นี้สักว่าเป็นบัญญัติ.

ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ และ มหิสาสกะทั้งหลายว่า อากาศแม้ทั้ง ๒ คือกสิณุคฆาฏิมากาส และอชฎากาส ไม่ใช่สังขตะ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของ สกวาทีว่า อากาศ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอากาสกถา จบ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 32

อากาโสสนิทัสสโนติกถา

[๑๑๑๓] สกาวาที อากาศเป็นสนิทัสสนะ คือเห็นได้ด้วยจักษุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองแห่งจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๔] ส. อากาศเป็นสนิทัสสนะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๕] ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้๑

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณ


๑. ม.อุ. ๑๔/๘๑๔.,สํ.นิ.๑๖/๑๖๔.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 33

ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและอากาศ จึง เกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๑๑๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อากาศเป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง ๒ ช่องในระหว่าง เสาทั้ง ๒ ช่องดาล ช่องหน้าต่าง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง ๒ ช่องใน ระหว่างเสาทั้ง ๒ ช่องดาล ช่องหน้าต่าง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่าอากาศเป็นสนิทัสสนะ.

อากาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

อรรถกถาอากาโสสนิทัสสโนติกถา

ว่าด้วย อากาศเป็นของเห็นได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศเป็นของเห็นได้ด้วยจักษุ. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า อชฏากาส ทั้งปวงเป็นของเห็นได้ เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งความรู้ ในที่ทั้งหลาย มีช่องลูกดาลเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อากาศเป็นสนิททัสสนะ คือเห็นได้ด้วยจักษุ หรือ โดยหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงปรวาที นั้นว่า ถ้าอากาศเป็นของเห็นได้ไซร้ อากาศก็พึงเป็นอย่างนี้ๆ. ในปัญหา ทั้งหลายว่า อาศัยจักษุและอากาศ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 34

ความไม่มีพระสูตรเห็นปานนั้น ย่อมตอบรับรองเพราะอาศัยการเข้าไป เห็นที่ทั้งหลาย มีภายในห้อง มีช่องอันหยาบเป็นต้น. ในข้อว่า ท่านเห็น ช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง ๒ นี้ อธิบายว่า มโนวิญญาณที่เกิดทางมโนทวาร ย่อมเกิดว่านี้ คือ อากาศ มิใช่จักขุวิญญาณเห็น เพราะไม่มีรูปารมณ์ ในระหว่างช่องที่เห็นรูปต้นไม้ด้วยจักษุ. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้ เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ถ้อยคำที่ปรวาทีนำมากล่าวแล้วนั้น จึงไม่สำเร็จ ประโยชน์ ดังนี้แล.

อรรถกถาอากาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 35

ปฐวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา

[๑๑๑๗] สกวาที ปฐวีธาตุเป็นสนิททัสสนะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นไป เป็นรูปายตนะ เป็นไปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองแห่งจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๘] ส. ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและปฐมวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๙] ส. อาศัยจักษุและปฐวีธาตุจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. คำว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หาก คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิด จักขุวิญญาณขึ้น.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 36

[๑๑๒๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า อาโปธาตุ เป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นน้ำ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นน้ำ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อาโปธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 37

ป. หากว่า ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า วาโยธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา จบ

อรรถกถาปฐมวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา

ว่าด้วย ปฐวีธาตุเป็นต้นเป็นสนิทัสสนะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ คือเป็นของเห็นได้ด้วย มังสจักขุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ ทั้งหลายว่า ปฐวีธาตุ เป็นต้น คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เป็นของเห็นได้ด้วยตา เพราะเห็นวัณณายตนะ คือสี แห่งการไหวของ แผ่นหิน น้ำ เปลวไฟ ต้นไม้ นั่นเทียวด้วย คือเรื่องปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งโอกาส อันตั้งอยู่เฉพาะแห่งอินทรีย์ ๕ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ ด้วย คือเรื่องจักขุนทรีย์ ฯลฯ เห็นรูปมีมือและเท้าเป็นต้น ในเวลาเคลื่อนไหว กายด้วย คือเรื่องกายกรรม ฯลฯ บรรดาเรื่องทั้งหมด ทั้ง ๓ เรื่อง คำถาม ต้นของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ ในที่ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองแห่งพระบาลี และพึงทราบโดยนัย ที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. เรื่องสุดท้ายว่า กายกรรมไม่เป็นสนิทัสสนะ คือไม่เป็นของเห็นได้ด้วยตา ท่านทำเรื่อง ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ ไว้เป็นข้อแรก.

อรรถกถาปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา จบ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 38

จักขุนทริยสนิทัสสนันติอาทิกถา

[๑๑๒๑] สกวาที จักขุนทรีย์เป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ฯลฯ มาสู่คลอง แห่งจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๒๒] ส. จักขุนทรีย์เป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๒๓] ส. อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณ ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 39

[๑๑๒๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อินทรีย์ ๕ เป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อินทรีย์ ๕ เป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

จักขุนทริยสนิทัสสนันติอาทิกถา จบ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 40

กายกัมมสนิทัสสนันติกถา

[๑๑๒๕] สกวาที กายกรรมเป็นสนิทัสสนะหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวินัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่ครองแห่งจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรม เป็นสนิทัสสนะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า อาศัยจักขุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 41

เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๑๒๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นอาการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นอาการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กายกรรม เป็นสนิทัสสนะ.

กายกัมมสนิทัสสนันติกถา จบ

ปริโยสานกถาบัณฑิตพึงทราบว่า ตั้งแต่ปฐวีธาตุสนิทัสสนะ จนถึงกาย กัมมสนิทัสสนะ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิยามกถา ๒. ปฏิจจสมุปาทกถา ๓.สัจจกถา ๔. อารุปปกถา ๕. นิโรธสมาปัตติกถา ๖. อากาสกถา ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา ๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา.

วรรคที่ ๖ จบ