วรรคที่ ๙ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์
วรรคที่ ๙
อานิสังสกถาและอรรถกถา 1306/185
อมตารัมมณกถาและอรรถกถา 1308/190
รูปังสารัมมณันติกถาและอรรถกถา 1321/196
อนุสยาอนารัมมณาติกถาและอรรถกถา 1327/199
ญานังอนารัมมณันติกถาและอรรถกถา 1338/209
อตีตารัมมณกถาและอรรถกถา 1343/213
อนาคตารัมมณกถาและอรรถกถา 1345/214
วิตักกานุปติตกถาและอรรถกถา 1352/217
วิตักกวิปผารสัททกถาและอรรถกถา 1356/219
นยถาจิตตัสสวาจาติกถาและอรรถกถา 1358/221
นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถาและอรรถกถา 1363/225
อตีตานาคตปัจจุปปันนกถาและอรรถกถา 1368/229
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 185
วรรคที่ ๙
อานิสังสกถา
[๑๓๐๖] สกวาที ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ละสัญโญชน์ได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็น ของไม่เที่ยง ละสัญโญชน์ได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดย ความเป็นของไม่เที่ยง ละสัญโญชน์ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ละสัญโญชน์ได้ ฯลฯ บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค โดยความเป็นหัวฝี โดย ความเป็นลูกศร โดยความเป็นของลำเค็ญ โดยความเป็นอาพาธ โดย ความเป็นดังคนอื่น โดยความเป็นของหลอกลวง โดยความเป็น เสนียด โดยความเป็นเครื่องเบียดเบียน โดยความเป็นภัย โดยความ เป็นอุปสรรค โดยความเป็นของหวั่นไหว โดยความเป็นของเปื่อยพัง โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน โดยความไม่เป็นที่ต้านทาน โดยความไม่ เป็นที่หลีกเร้น โดยความไม่เป็นที่พึ่ง โดยความไม่เป็นที่ขจัดภัย โดย ความเป็นของว่าง โดยความเป็นของเปล่า โดยความเป็นของสูญ โดย ความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโทษ ฯลฯ โดยความเป็นของมีความ แปรไปเป็นธรรมดา ละสัญโญชน์ได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 186
ส. หากว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดย ความเป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา ละสัญโญชน์ได้ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ละสัญโญชน์ได้.
ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็น ของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็น ของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ ดวง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็น ทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ โดยความเป็นของมีความแปรไปเป็น ธรรมดาด้วยเห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็น ของแปรไปเป็นธรรมดาด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ ดวง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 187
[๑๓๐๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน และ สัญโญชน์ได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข หมายรู้ว่าเป็นสุข มี ความรู้สึกว่าเป็นสุข น้อมใจไปเนืองนิตย์สม่ำเสมอ ไม่สับสน หยั่ง ปัญญาลงในพระนิพพานอยู่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ก็ละสัญโญชน์ ได้ น่ะสิ.
อานิสังสกถา จบ
อรรถกถาอานิสังสกถา
ว่าด้วย อานิสงส์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอานิสงส์. ในเรื่องนั้น การแก้ปัญหา คือการ ชี้ขาด ในลัทธิของสกวาทีว่า การละสังโยชน์ย่อมมีแก่ผู้เห็นสังขาร ทั้งหลายโดยความเป็นโทษ และเห็นพระนิพพานโดยความเป็นอานิสงส์ ดังนี้ ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า การละสังโยชน์ย่อมมีแก่ผู้เห็นพระนิพพาน โดยความเป็นอานิสงส์ เท่านั้น เพราะถือเอาวาทะของสกวาทีเพียงข้อเดียวในวาทะ ๒ ข้อนั้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 188
ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย เป็นต้น แก่ปรวาทีนั้นเพื่อแสดงการจำแนกว่า วาทะของสกวาทีนั้น ท่านถือเอาแล้ว แม้ความเป็นโทษในสังขารทั้งหลาย ท่านก็พึงเห็นด้วย ทีเดียว.
ในปัญหาว่า บุคคลมนสิการซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็น ของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในพระนิพพานด้วย พึงทราบ อธิบายดังต่อไปนี้ว่า ลัทธิของปรวาทีเหล่านั้นว่า การละสังโยชน์ย่อม มีแก่ผู้เห็นอานิสงส์ในพระนิพพาน ดังนี้ จึงถูกสกวาทีถามว่า บุคคล มนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสัญโญชน์ ได้มิใช่หรือ ปรวาทีตอบรับรองว่าใช่ ด้วยคำนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย ดังนี้ คำนี้ท่านรับรองหรือ ลำดับนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาเพียงขณะจิตเดียว ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตต่างๆ. ก็สกวาทีย่ำยีความ ประสงค์ของปรวาทีนั้นแล้ว จึงถามว่า เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ อย่างหรือ เพราะความที่บุคคลผู้มนสิการสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นผู้มีปกติเห็นอานิสงส์พระนิพพานด้วย เพราะความที่ปรวาทีตอบรับรองโดยความรวมเป็นอันเดียวกันด้วย ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่างเป็นต้น จึงตอบ ปฏิเสธ. แม้ในปัญหามีคำว่า โดยความเป็นทุกข์ เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ.
ก็ในข้อนี้มีการสันนิษฐานอย่างไร? คือย่อมละสังโยชน์ทั้งหลาย เพราะมนสิการสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 189
ย่อมละสังโยชน์ของผู้เห็นพระนิพพาน หรือย่อมละสังโยชน์ของผู้ทำ แม้ทั้ง ๒ รวมกัน. ผิว่า การละสังโยชน์เพราะมนสิการสังขารโดยความ เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อนไซร้ การละนี้ก็พึงมีด้วยวิปัสสนาจิตเท่านั้น ถ้าการละสังโยชน์ด้วยสามารถแห่งการตามระลึกของผู้มีปกติเห็น อานิสงส์ไซร้ การละนั้นก็พึงมีด้วยวิปัสสนาจิตของผู้เห็นอยู่ซึ่งอานิสงส์ ในพระนิพพานนั่นแหละ ก็ถ้าว่าการละสังโยชน์พึงมีแก่ผู้ทำแม้ทั้ง ๒ รวมกันไซร้ การประชุมแห่งผัสสะ ๒ ดวงเป็นต้น ก็พึงมี ถึงอย่างไรก็ดี กิจของผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมถึง ความสำเร็จในขณะแห่งมรรค เพราะสกวาทีย่อมต้องการเห็นอานิสงส์ ในพระนิพพานโดยสภาพแห่งธรรมที่เกิดขึ้นของผู้ยึดถือสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้นโดยประจักษ์นั่นแหละอีก เหตุใด เพราะ เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า การละสังโยชน์ทั้งหลายของผู้เห็นอานิสงส์ ในพระนิพพานด้วยสามารถแห่งการให้สำเร็จกิจในอริยมรรคด้วย ด้วย สามารถแห่งความเป็นไปเพราะทำให้เป็นอารมณ์โดยมนสิการสังขาร ทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย. พระสูตรว่า เป็นผู้ พิจารณาจึงว่าเป็นสุข ... ในพระนิพพานอยู่่ ดังนี้ เป็นต้น ย่อมให้สำเร็จ ในสภาพแห่งธรรมมีการตามเห็นซึ่งความสุขในพระนิพพานมิใช่ให้ สำเร็จกิจในการละสังโยชน์ทั้งหลายโดยสักว่า การเห็นอานิสงส์ใน พระนิพพานเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ แม้ปรวาทีนำมาอ้างแล้ว ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนี้แล.
อรรถกถาอานิสังสกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 190
อมตารัมมณกถา
[๑๓๐๘] สกวาที สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของ คันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ ของสังกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์.
[๑๓๐๙] ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตพึงยินดี พึงใคร่ พึง มัวเมา พึงผูกพัน พึงสยบอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ไม่พึง ใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึงสยบอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 191
ยินดี ไม่พึงใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึงสยบอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้.
[๑๓๑๐] ส. โทสะปรารภอมตะ เกิดขึ้นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ โกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน ก็ต้องไม่กล่าวว่า โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้.
[๑๓๑๑] ส. โมหะ ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ทำความไม่ เห็น เกื้อกูลแก่ความดับสูญแห่งปัญญา เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำความไม่รู้ เกื้อกูลแก่ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา เป็น ไปเพื่อนิพพาน มิใช่หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 192
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำความ ไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า โมหะปรารภอมตะ เกิด ขึ้นได้.
[๑๓๑๒] ส. สัญโญชน์ ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นอารมณ์ ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัญโญชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็น อารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ กิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑๓] ส. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ รูปเป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตพึงยินดี พึงใคร่ พึงมัวเมา พึงผูกพัน พึงสยบอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้ง แห่งราคะ อันจิตพึงยินดี ฯลฯ พึงสยบอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑๔] ส. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้งแห่ง โทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 193
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑๕] ส. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ กระทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้งแห่ง โมหะ กระทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑๖] ส. สัญโญชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็น อารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของ ปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเสส หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัญโญชน์ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นอารมณ์ ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑๗] ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็นที่ตั้ง แห่งราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ไม่พึงใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึง สยบอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ฯลฯ ไม่พึงสยบอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 194
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑๘] ส. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะไม่เป็นที่ตั้ง แห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โทสะ ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่ง โทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑๙] ส. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็นที่ตั้ง แห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปุถุชน... หมายรู้ นิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็น นิพพานแล้ว ย่อมสำคัญนิพพาน ย่อมสำคัญในนิพพาน ย่อมสำคัญโดย ความเป็นนิพพาน ย่อมสำคัญนิพพานว่าของเรา ย่อมชื่นชมนิพพาน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 195
ดังนี้ (๑) เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สัญโญชน์ก็มีอมตะเป็นอารมณ์ น่ะสิ
อมตารัมมณกถา จบ
อรรถกถาอมตารัมมณกถา
ว่าด้วย สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ ได้แก่ อมตะคือพระนิพพาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ ทั้งหลายว่า สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ เพราะถือเอาอรรถโดยไม่ใคร่ครวญ แห่งบททั้งหลายว่า ปุถุชนรู้พระนิพพาน เป็นต้น คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึง กล่าวกะปรวาทีว่า อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่าสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ได้ไซร้ อมตะก็ต้องปรากฏว่าเป็น อารมณ์ของสังโยชน์ได้ ปรวาทีปฏิเสธคำทั้งปวงเพราะกลัวผิดจาก พระสูตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็พระสูตร ที่ปรวาทียกมาว่า ปุถุชน ... หมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ นิพพาน นี้ ท่านกล่าวหมายเอานิพพานในทิฏฐธรรม คือในภพนี้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาอมตารัมมณากถา จบ
๑. ม.มู. ๑๓/๒.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 196
รูปังสารัมมณันติกถา
[๑๓๒๑] สกวาที รูปเป็นธรรมมีอารมณ์หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ. ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของ รูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์.
[๑๓๒๒] ส. ผัสสะเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๓] ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา จิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความ ตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 197
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๔] ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่ความนึก ความ ใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๕] ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนา สัญญา ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. รูปเป็นธรรมมีปัจจัย มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า รูปเป็นธรรมมีปัจจัย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึง ต้องกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์. รูปังสารัมมณันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 198
อรรถกถารูปังสารัมมณันติกถา
ว่าด้วย รูปเป็นธรรมมีอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง รูปเป็นธรรมมีอารมณ์. ในเรื่องนั้น ว่าโดย อำนาจอารัมมณปัจจัยว่า รูป ชื่อว่ามีอารมณ์ เพราะอรรถว่ามีปัจจัย แต่รูปนั้นกระทำธรรมอื่นให้เป็นอารมณ์ไม่ได้ คือหมายความว่ารู้อารมณ์ ไม่ได้. ก็ลัทธิแห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า รูปมีอารมณ์ได้โดยไม่แปลกกัน ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน เหล่านั้น เพื่อแสดงวิภาคอารมณ์ ๒ อย่าง คือ โอลุพฺภารมฺมณํ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และ ปจฺจยารมฺมณํ ได้แก่ อารมณ์คือเป็น ปัจจัย คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบ โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ.
ในปัญหาว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของสกวาที หมายเอาโอลุพภารมณ์ คือ อารมณ์ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว. แม้ในปัญหา ที่ ๒ สกวาทีนั้นนั่นแหละตอบรับรองหมายเอาอารมณ์คือเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ความที่รูปนั้นเป็นธรรมชาติมีอารมณ์สำเร็จแล้ว เพราะอรรถว่ามีปัจจัยเท่านั้น มิใช่มีอารมณ์อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ด้วย ประการฉะนี้แล.
อรรถกถารูปังสารัมมณันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 199
อนุสยา อนารัมมณาติกถา
[๑๓๒๗] สกวาที อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ปรวาวี ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น โผฏฐัพพายตนะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๘] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๙] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน?
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 200
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๐] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี อารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็น สารัมมณะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๑] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ส่วนกามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี อารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 201
หนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๒] ส. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชา- ปริยุฏฐาน อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๓] ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 202
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๔] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี อารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรม มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๕] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ส่วนอวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 203
หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารส่วนหนึ่งเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็น ธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่ พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้มีอนุสัย หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อารมณ์ของอนุสัยเหล่านั้น มีอยู่หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.
[๑๓๓๗] ส. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่ พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 204
ส. อารมณ์ของราคะนั้นมีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.
อนุสยา อนารัมมณาติกถา จบ
อรรถกถาอนุสยา อนารัมมณาติกถา
ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ นิกายเอกัจจะ และนิกาย อุตตราปถกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า อนุสัยทั้งหลาย คือกิเลสที่นอนเนื่อง อยู่ในสันดาน ไม่ประกอบกับจิตเป็นอเหตุกะ เป็นอัพยากตะ ด้วยเหตุ นั้นแหละ คือด้วยเหตุที่ไม่ประกอบกับจิตเป็นต้น จึงเป็นอนารัมมณะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อนุสัย เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า อนุสัย เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ธรรมดาอนุสัยไม่มีอารมณ์ อนุสัย นั้นก็จะพึงเป็นอย่างนี้ คือพึงเป็นอย่างรูปเป็นต้น. คำว่า กามราคะ เป็นต้น ท่านแสดงโดยความเป็นกาม ราคานุสัยมิใช่เป็นอย่างอื่น. ใน ปัญหาว่า สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาสังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต ย่อมตอบรับรองหมายเอา อนุสัย ชีวิตินทรีย์ และรูปมีกายกรรมเป็นต้น ว่าเป็นธรรมนับเนื่องด้วย สังขารขันธ์. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้แล.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 205
อนึ่ง ในปัญหาว่า เป็นผู้มีอนุสัยหรือ อธิบายว่า ปุถุชนชื่อว่า ยังเป็นผู้มีอนุสัย เพราะความที่เขายังมิได้ละ แต่สภาพความเป็นไปของ อนุสัยทั้งหลาย คือความเกิดดับ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้ จริงอยู่ อนุสัยใดอันบุคคลใดยังละไม่ได้ อนุสัยนั้นไม่นับว่าเป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ก็แต่ว่าอนุสัยนั้นชื่อว่าเป็นกิเลสที่พึงละด้วยมรรค เพราะความเป็นผู้ยังละไม่ได้นั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่าเป็นของมีอยู่ ดังนี้. อนึ่ง ใครๆ ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมชื่อนี้เป็นอารมณ์ของอนุสัยเห็นปานนี้ คือท่านหมายเอาเฉพาะขณะจิตที่เป็นกุศลหรืออัพยากตะซึ่งอนุสัยมิได้เกิด สัมปยุตด้วย เพราะฉะนั้น อารมณ์ของอนุสัยนั้นท่านจึงปฏิเสธแล้ว. อันที่จริง อารมณ์นั้นๆ ย่อมไม่มีแก่อนุสัยอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ อารมณ์นั้นๆ ย่อมไม่มีแก่กิเลสทั้งหลายแม้มีราคะเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน ตรงนี้ท่านหมายเอาขณะที่กิเลสเหล่านั้นยังไม่เกิดสัมปยุตกับจิต เพราะ ฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จซึ่งความที่อนุสัยทั้งหลายเป็นสภาพมีอารมณ์ ดังนี้แล.
อรรถกถาอนุสยาอนารัมมณาติกถา จบ
หมายเหตุ
การวินิจฉัยอนุสัยกถาในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ ท่านหมายเอากิเลส ๗ อย่าง มีกามราคานุสัยเป็นต้นที่ยังมิได้ละด้วยอริยมรรค อนุสัยกิเลส นี้แหละขณะที่จิตเป็นกุศลก็ดี เป็นอัพยากตะก็ดี ท่านเรียกว่าเป็นจิตตวิปปยุต เพราะไม่ประกอบจิตในขณะนั้น เรียกว่าอเหตุกะเพราะไม่มีเหตุประกอบ ในขณะนั้น เรียกว่าเป็นอัพยากตะเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 206
พยากรณ์ว่าเป็นบุญหรือเป็นบาปในขณะนั้น ด้วยเหตุทั้ง ๓ นี้แหละ ท่านจึงว่าเป็นอนารัมมณะ คือเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ดังนี้.
ส่วนนัยแห่งอรรถกถาอนุสัยยมก หน้า ... ... ... ท่านแสดง ดังนี้ :-
อนุสยาติ เกนฏฺเน อนุสยาฯ อนุสยนฏฺเน ฯลฯ
ถามว่า อนุสัยทั้งหลายชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่ากระไร?
ตอบว่า เพราะอรรถว่านอนเนื่อง.
ถามว่า ชื่อว่า อรรถว่าการนอนเนื่องนี้เป็นอย่างไร?
ตอบว่า ชื่อว่า อรรถว่าการนอนเนื่องนี้มีการละไม่ได้เป็นอรรถ อธิบายว่า อนุสัยเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมนอนเนื่องในสันดานแห่งสัตว์ เพราะ อรรถว่ายังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อนุสัย.
คำว่า ย่อมนอนเนื่อง อธิบายว่า อนุสัยเหล่านั้นได้เหตุอันสมควร แล้วจึงเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า ถ้าว่า อาการคือการละยังไม่ได้ พึงชื่อว่าเป็นอรรถแห่งการนอนเนื่องไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า อาการคือ การละไม่ได้ย่อมเกิดขึ้น เพราะอนุสัยทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. ใน ที่นี้ท่านรับรองว่า อนุสัย คืออาการที่ละไม่ได้. อนึ่ง คำว่า อนุสัย ท่าน เรียกกิเลสที่มีกำลังเพราะอรรถว่าละไม่ได้. อธิบายว่า อนุสัยนั้นเป็น จิตตสัมปยุต เป็นสารัมมณะ เป็นสเหตุกะเพราะอรรถว่ามีปัจจัยเป็น อกุศลอย่างเดียว ทั้งเป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง เพราะ ฉะนั้น การกล่าวว่าอนุสัยย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ ย่อมควร. ในที่นี้ ท่านถือเอา คำที่กล่าวมานี้เป็นประมาณ. ในคัมภีร์ยมกนี้มีการท้าวความถึงคัมภีร์ กถาวัตถุและคัมภีร์อื่นๆ ด้วย เช่นกล่าวว่า :-
ในอภิธรรมกถาวัตถุก่อน ท่านปฏิเสธวาทะทั้งปวงว่า อนุสัย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 207
ทั้งหลายเป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต หมายถึง ขณะนั้นจิตกำลังเป็นกุศลหรืออัพยากตะ.
ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านทำคำถามว่า บุคคลย่อมละกิเลสทั้งหลาย แม้อันเป็นปัจจุบันหรือ ดังนี้ แล้วตอบว่า บุคคลชื่อว่าย่อมละอนุสัยอันมี กำลังเพราะความที่อนุสัยทั้งหลายเป็นสภาพมีอยู่แก่ความเป็นปัจจุบัน.
ในธรรมสังคหะ ในการจำแนกบทโมหะ ท่านกล่าวความเกิดขึ้น แห่งอวิชชานุสัยกับอกสลจิตว่า อวิชชานุสัย ได้แก่ อนุสัยคืออวิชชา อวิชชาปริยุฏฐาน ได้แก่ ปริยุฏฐานคืออวิชชา อวิชชาลังคิ ได้แก่ ลิ่มคืออวิชชา อกุสลมูล คือโมหะนี้มี ณ สมัยใด สมัยนั้น โมหะย่อมมี ดังนี้.
ในอนุสัยยมกนี้นั่นแหละ ในอุปปัชชวาระ คือวาระว่าด้วยการเกิดขึ้น วาระใดวาระหนึ่งแห่งมหาวาระ ๗ ท่านกล่าวคำเป็นต้นไว้ว่า กามราคานุสัยย่อมเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ดังนี้ เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวแล้วว่า ย่อมนอนเนื่อง คำนั้น อธิบายว่า อนุสัยทั้งหลายเหล่านั้นได้เหตุอันสมควรแล้วย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ บัณฑิต พึงทราบว่า คำนั้นท่านกล่าวดีแล้วโดยแบบแผนนี้เป็นประมาณ. คำแม้ใด ที่ท่านกล่าวไว้เป็นต้นว่า อนุสัยเป็นจิตตสัมปยุต เป็นสารัมมณะ ดังนี้ แม้คำนั้นก็ชื่อว่าท่านกล่าวดีแล้วนั่นแหละ. คำว่า ก็ชื่อว่า อนุสัยเป็น ของสำเร็จแล้ว เป็นจิตตสัมปุต เป็นอกุสลธรรม ดังนี้ พึงถึงความสิ้นสุด กันในที่นี้แล.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำทั้งหลาย มีกามราคานุสัย เป็นต้นว่า
กามราคะนั้นแหละชื่อว่าอนุสัยเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กามราคานุสัย. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้นั่นแหละ. ต่อไป
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 208
ท่านยังได้บ่งชัดลงไปอีกว่า อนุสัยเกิดที่ไหนบ้าง ดังคำว่า.
บัดนี้ เพื่อประการซึ่งที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอนุสัยทั้งหลายนั้น พระ ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ตตฺถ กามราคานุสโย อนุเสติ เป็นต้น แปลว่า กามราคานุสัยย่อมนอนเนื่องในกามธาตุนั้น ขอท่านผู้รู้ค้นคว้า ในอนุสัยยมกนั้นเถิด.
สรุปความว่า คำว่า อนุสัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์กถาวัตถุนั้นมีความ มุ่งหมายเอาอย่างหนึ่ง ที่กล่าวในคัมภีร์อนุสัยยมกนั้นมุ่งหมายเอาอย่างหนึ่ง นัยทั้ง ๒ นี้เมื่อพิจารณาแล้วก็ถูกต้องด้วยกัน.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 209
ญาณัง อนารัมมณันติกถา
[๑๓๓๘] สกวาที ญาณ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นไป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น โผฏฐัพพายตนะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ญาณ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓๙] ส. ญาณเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน?
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 210
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔๐] ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญา นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี อารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔๑] ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ ส่วนปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วน หนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 211
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็น ธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ พึงกล่าว ว่ามีญาณ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อารมณ์ของญาณนั้น มีหรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ญาณก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.
ส. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ พึงกล่าวว่า มีปัญญา หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อารมณ์ของปัญญานั้น มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ. ญาณัง อนารัมมณันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 212
อรรถกถาญานังอนารัมมณันติกถา
ว่าด้วย ญาณไม่มีอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณไม่มีอารมณ์. ในเรื่องนั้น พระอรหันต์ผู้ พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ คือจักขุวิญญาณจิตของท่านกำลังเกิด เขา เรียกว่ามีญาณ คือมีปัญญา แต่อารมณ์ของญาณในขณะที่จักขุวิญญาณจิต กำลังเกิดนั้นไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดดุจลัทธิของ นิกายอันธกะทั้งหลายว่า ญาณ ของพระอรหันต์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องอนุสัยนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาญานังอนารัมมณันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 213
อตีตารัมมณกถา
[๑๓๔๓] สกวาที จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. มีอดีตเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีอดีตเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตที่มี อดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และดังนั้น การกล่าวว่าจิตที่มี อดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ จึงผิด ก็หรือหากว่า จิตเป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า มีอดีตเป็นอารมณ์ และดังนั้น การกล่าวว่า จิตที่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นธรรมมีอดีตเป็นอารมณ์ จึงผิด.
[๑๓๔๔] ส. จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์. อตีตารัมมณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 214
อนาคตารัมมณกถา
[๑๓๔๕]
สกวาที จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว.ส. มีอนาคตเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีอนาคตเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิต ที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และดังนั้น การกล่าวว่า จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ จึงผิด ก็หรือหากว่า จิตเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตมีอนาคตเป็นอารมณ์ และ ดังนั้น การกล่าวว่า จิตที่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นธรรมมีอนาคตป็น อารมณ์จึงผิด.
[๑๓๔๖] ส. จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคต มีอยู่ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์
[๑๓๔๗] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ และ จิตที่มีปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 215
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่ และจิต ที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔๘] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบัน มีอยู่ และ จิตที่ปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคต มีอยู่ และ จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔๙] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่ แต่จิต ที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบัน มีอยู่ แต่ จิตที่มีปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๕๐] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคต มีอยู่ แต่ จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบัน มีอยู่ แต่ จิตที่มีปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๕๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 216
เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อดีตและอนาคตไม่มีอยู่ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า อดีตและอนาคตไม่มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ฯลฯ
อนาคตารัมมณกถา จบ
อรรถกถาอตีตานาคตารัมมณกถา
ว่าด้วย จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องจิตที่มีอดีต และอนาคตเป็นอารมณ์. ในเรื่องนั้น อดีตและอนาคต ชื่อว่าไม่มีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า ตทารัมมณจิตนั้นไม่ พึงมีอารมณ์ เพราะความที่อารมณ์ไม่มี ด้วยเหตุนั้น จึงว่า จิตที่มีอดีต และอนาคตเป็นอารมณ์นั้นว่า เป็นจิตที่ไม่มีอารมณ์ ดังนี้ คำถามของ สกวาทีว่า จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นต้น โดยหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้พึงถือเอาตาม พระบาลีนั่นแหละ.
อรรถกถาอตีตานาคตารัมณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 217
วิตักกานุปติตกถา
[๑๓๕๒] สกวาที จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิจาร เนื่องด้วยปีติ เนื่องด้วยสุข เนื่องด้วยทุกข์ เนื่องด้วยโสมนัส เนื่องด้วยโทมนัส เนื่องด้วยอุเบกขา เนื่อง ด้วยศรัทธา เนื่องด้วยวิริยะ เนื่องด้วยสติ เนื่องด้วยสมาธิ เนื่องด้วยปัญญา เนื่องด้วยราคะ เนื่องด้วยโทสะ ฯลฯ เนื่องด้วยอโนตตัปปะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๕๓] ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร อยู่ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก
[๑๓๕๔] ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก.
[๑๓๕๕] ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 218
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิ ๓ อย่าง คือ สมาธิ มีวิตก มีวิจาร สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิ ๓ อย่าง คือ สมาธิมีวิตกมีวิจาร สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร สมาธิไม่มีวิตกไม่มี วิจาร ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก.
วิตักกานุปติตกถา จบ
อรรกถาวิตักกานุปติตกถา
ว่าด้วย จิตเนื่องด้วยวิตก
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องจิตเนื่องด้วยวิตก คือหมายความว่าจิตตกไปตาม วิตก หรือเรียกว่าเกิดขึ้นตามวิตก. ในเรื่องนั้น ชื่อว่า จิตที่เนื่องด้วยวิตก มี ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์อย่างหนึ่ง โดยสัมปโยคะอย่างหนึ่ง ใน ๒ อย่างนั้น จิตทั้งหมดชื่อว่าเป็นธรรมเนื่องด้วยวิตกพึงมี เพราะความไม่มี การกำหนดแน่ว่า ชื่อว่าจิตดวงโน้น มีอารมณ์เป็นไปกับวิตก ดังนี้ แต่ จิตทั้งปวงนั้น ชื่อว่า ไม่เนื่องด้วยวิตกเพราะสภาพแห่งจิตที่วิปปยุตกับ วิตกมีอยู่ ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย ว่า จิตทั้งปวงเนื่องด้วยวิตก โดยไม่แปลกกันเลย เพราะไม่ทำการวิภาค เนื้อความนี้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ จึงถือเอาตามพระบาลี นั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาวิตักกนุปติตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 219
วิตักกวิปผารสัททกถา
[๑๓๕๖] สกวาที ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตก เกิดเป็นเสียง หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ทุกครั้งที่ถูกต้องอยู่ ความแผ่ไปแห่งผัสสะก็เกิดเป็น เสียง ทุกครั้งที่เสวยอารมณ์อยู่ ทุกครั้งที่จำอารมณ์อยู่ ทุกครั้งที่จงใจอยู่ ทุกครั้งที่คิดอยู่ ทุกครั้งที่ระลึกอยู่ ทุกครั้งที่รู้ชัดอยู่ ความแผ่ไปแห่งเวทนา สัญญา เจตนา จิต สติ ปัญญา ก็เกิดเป็นเสียง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๕๗] ส. ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเกิด เป็นเสียง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความแผ่ไปแห่งวิตก เป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ กระทบที่โสตะ มาสู่คลองแห่งโสตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความแผ่ไปแห่งวิตก ไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วยโสต วิญญาณ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความแผ่ไปแห่งวิตก ไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ได้ ด้วยโสตวิญญาณ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเกิดเป็นเสียง. วิตักกวิปผารสัททกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 220
อรรถกถาวิตักกวิปผารสัททกถา
ว่าด้วย ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า ความแผ่ออกไป แห่งวิตกนั่นแหละเป็นเสียง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิตก วิจารเป็นวจีสังขาร ดังนี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ทุกครั้งเมื่อบุคคลตรึกอยู่ ตรองอยู่ โดยที่สุดแม้ในเวลาเป็นไปแห่งมโนธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาที ว่า ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ เป็นต้น หมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ทุกครั้งที่ถูกต้องอยู่ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ผิว่า เหตุสักว่าการแผ่ออกไปแห่งวิตกเป็นเสียงไซร้ แม้การแผ่ออกไปแห่งผัสสะเป็นต้น ก็พึงเป็นเสียง ดังนี้ ปรวาที เมื่อไม่ เห็นเลศนัยของพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า ความแผ่ออกไป แห่งวิตกเป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ ความว่า สกวาทีทำ ปัญหาถามว่า เหตุสักว่าการแผ่ออกไปแห่งวิตกนั่นแหละเป็นเสียง ไม่ทำ ปัญหาถามถึงเสียงอันเกิดขึ้นเพราะความแผ่ออกไปแห่งวิตกของบุคคล ผู้หลับหรือผู้เผลอสติ ดังนี้ ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ. เพราะลัทธินั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงแสดงคำนี้ว่า ความแผ่ไปแห่งวิตกไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วย โสตวิญญาณ ... มิใช่หรือ ดังนี้ จริงอยู่เขากล่าวซึ่งเหตุสักว่าการแผ่ออก ไปแห่งวิตกเท่านั้น ว่าเป็นเสียง แต่เสียงนั้นบุคคลไม่พึงรู้ได้ด้วยโสต วิญญาณ แต่ปรวาทีกล่าวว่า เสียงนั้นพึงรู้ได้ด้วยโสตวิญญาณนั่นแหละ เพราะพระบาลีว่า บุคคลฟังเสียงอันแผ่ออกไปแห่งวิตกแล้ว เขาย่อม ทายใจ คือย่อมรู้ถึงใจของผู้อื่นได้ ดังนี้.
อรรถกถาวิตักกวิปผารสัททกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 221
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา
[๑๓๕๘] สกวาที บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มี เจตนา ไม่มีจิต ก็มีวาจาได้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลมีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต จึง มีวาจาได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีวาจาได้ ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้.
[๑๓๕๙] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่นึกอยู่ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ก็มี วาจาได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีวาจาได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ จึงมีวาจาได้ ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร มีวาจาได้.
[๑๓๖๐] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 222
ป. ถูกแล้ว.
ส. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียว กับจิต มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิด ขณะเดียวกับจิต ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้.
[๑๓๖๑] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ปรารถนา จะแสดงก็แสดงได้ ไม่ปรารถนาจะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ปรารถนา จะพูดก็พูดได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนาจะ แสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนาจะ พูดจึงพูดได้ มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนา จะแสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนา จะพูดจึงพูดได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้.
[๑๓๖๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี วาจาได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 223
ป. บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีก อย่างหนึ่ง คิดว่าจะแสดงอย่างหนึ่ง ก็แสดงเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะ ร้องเรียกอย่างหนึ่ง ก็ร้องเรียกเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าว เสียอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี วาจาได้.
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ
อรรถกถานยถาจิตตัสส๑ วาจาติกถา
ว่าด้วย ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้ คือหมายความ ว่า วาจาไม่เป็นไปตามจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของ นิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า บุคคลบางคนคิดว่า เราจักกล่าวอย่างหนึ่ง แต่ย่อมกล่าวอย่างหนึ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาจา จึงชื่อว่าไม่เป็นไป ตามจิต ไม่คล้อยไปตามจิต แม้เว้นจิตเสียแล้ว วาจาก็ย่อมเป็นไปได้ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ เป็นต้น เพื่อท้วง
๑. อีกอย่างหนึ่งแปลว่า เรื่องวาจาไม่เป็นไปตามจิต.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 224
ปรวาทีนั้นว่า ถ้าว่า จิตที่เป็นเหตุให้วาจาเกิดขึ้นไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลาย แม้มีผัสสะเป็นต้นก็ไม่พึงมีขณะนั้น ดังนี้.
ในคำทั้งหลายมีคำว่า บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าว เป็นต้น อธิบายว่า บุคคลคิดว่าเราจะกล่าวคำอย่างหนึ่งแม้กล่าวอยู่ซึ่งคำอีก อย่างหนึ่ง เขาย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาจะกล่าวนั่นแหละ เหตุใด เพราะ เหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. ในคำทั้งหลายมี คำว่า บางคนที่คิดว่าจักกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีกอย่างหนึ่ง ... มี อยู่มิใช่หรือ เป็นต้น อธิบายว่า บุคคลใดปรารถนาจะกล่าวคำใดคำหนึ่ง ในกาลก่อน เขาก็พึงกล่าวคำนั้น คือคำที่คิดไว้แต่เดิมนั้น ในที่นี้ ท่าน หมายเอาจิตของผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวเป็นอย่างหนึ่ง จิตที่เป็นเหตุให้กล่าว ก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต เพราะไม่ เหมือนกับจิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง แต่จิตใดอันมีในกาลก่อนจิตนั้นไม่เป็นเหตุให้คำพูดเกิดขึ้นก็หาไม่ ท่าน ปฏิเสธหมายเอาเนื้อความว่า วาจานั้นไม่เป็นไปตามจิตเพียงเท่านี้. ด้วย อุทาหรณ์นี้ ลัทธิ แม้อันปรวาทีตั้งไว้แล้วว่า ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มี วาจาได้ คือหมายความว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต ดังนี้ ย่อมเป็นลัทธิตั้ง อยู่ไม่ได้เลย ดังนี้แล.
อรรถกถานยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 225
นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา
[๒๓๖๓] สกวาที บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ฯลฯ ผู้ไม่มีจิต ก็มีกายกรรมได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีกายกรรมได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีกายกรรมได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.
[๑๓๖๔] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่นึกอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ก็มีกายกรรมได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้นึกอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีกายกรรมได้ มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้นึกอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีกายกรรมได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.
[๑๓๖๕] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 226
ป. ถูกแล้ว.
ส. กายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดใน ขณะเดียวกับจิต มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดในขณะเดียวกับจิต ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.
[๑๓๖๖] ส. บุคคลไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลไม่ปรารถนาจะก้าวไปข้างหน้า ก็ก้าวไป ข้างหน้าได้ ไม่ปรารถนาจะถอยไปข้างหลัง ก็ถอยไปข้างหลังได้ ไม่ ปรารถนาจะแลดูก็แลดูได้ ไม่ปรารถนาจะเหลียวดูก็เหลียวดูได้ ไม่ ปรารถนาจะคู้แขนก็คู้แขนได้ ไม่ปรารถนาจะเหยียดแขนก็เหยียดแขน ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลปรารถนาจะก้าวไปข้างหน้า จึงก้าวไปข้างหน้า ได้ ปรารถนาจะถอยหลัง จึงถอยไปข้างหลังได้ ปรารถนาจะแลดู จึง แลดูได้ ปรารถนาจะเหลียวดู จึงเหลียวดูได้ ปรารถนาจะคู้แขน จึงคู้แขน ได้ ปรารถนาจะเหยียดแขน จึงเหยียดแขนได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลปรารถนาจะก้าวไปข้างหน้า จึงก้าว ไปข้างหน้าได้ ฯลฯ ปรารถนาจะเหยียดแขน จึงเหยียดแขนได้ ก็ต้อง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 227
ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.
[๑๓๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี กายกรรมได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บางคนที่คิดว่าจะไปในที่แห่งหนึ่ง ก็ไปเสียในที่อีก แห่งหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะเหยียดแขนข้างหนึ่ง ก็เหยียดอีกเสียข้างหนึ่ง มีอยู่ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บางคนที่คิดว่าจะไปในที่แห่งหนึ่ง ก็ไปเสีย ในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะเหยียดแขนข้างหนึ่ง ก็เหยียดเสียอีกข้างหนึ่ง มีอยู่ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี กายกรรมได้. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 228
อรรถกถานยถาจิตตัสส กายกัมมันติกถา
ว่าด้วย ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีกายกรรมได้
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีกายกรรมได้ คือหมาย ความว่า กายกรรมไม่เป็นไปตามจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็น ผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า คนบางคนที่คิดว่า จักไป ในที่แห่งหนึ่ง แต่ก็ไปในที่แห่งหนึ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึง ไม่เป็นไปตามจิต ไม่อนุรูปแก่จิต ไม่คล้อยตามจิต แม้เว้นจิตเสียก็เป็น ไปได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแล.
อรรถกถานยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 229
อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา
[๑๓๖๘] สกวาที บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอีก หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคต แล้ว สาบสูญไปแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อดีตดับไปแล้วปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยอดีต.
[๑๓๖๙] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอนาคต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่ บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อนาคต ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเป็น ผู้ประกอบด้วยอนาคต.
[๑๓๗๐] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็นอดีต เป็น ผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็น ปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ ๓ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 230
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นผู้ ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็น ปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยขันธ์ ๑๕ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๗๑] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยจักขายตนะที่เป็นอดีต เป็น ผู้ประกอบด้วยจักขายตนะที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยจักขายตนะ ที่เป็นปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยจักขายตนะ ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต เป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ ๑๒ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ ๓๖ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒๗] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็นอดีต เป็น ผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็น ปัจจุบัน หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 231
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุ ๓ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต เป็น ผู้ประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็น ปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยธาตุ ๕๔ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๗๓] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต เป็น ผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่ เป็นปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต เป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์ ๖๖ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลประกอบด้วยอดีตและอนาคต
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 232
หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้มีปกติเพ่งวิโมกข์ ๘ คือสมาบัติ ๘ ผู้ได้ตาม ปรารถนาซึ่งฌาน ๔ ผู้มีปกติได้อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ มีอยู่ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลผู้มีปกติเพ่งวิโมกข์ ๘ ผู้ได้ตามปรารถนา ซึ่งฌาน ๔ ผู้มีปกติได้อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ จึง ต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต.
อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา จบ
อรรถกถาอตตีตานาคเตหิ สมันนาคตกถา (๑)
ว่าด้วย บุคคลผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต. ในเรื่องนั้น บัณฑิตพึงทราบบัญญัติ ๒ อย่าง คือ สมันนาคตบัญญัติ ได้แก่ บัญญัติคำว่า ประกอบ และปฏิลาภบัญญัติ ได้แก่ บัญญัติคำว่า การได้เฉพาะ ในบัญญัติ ๒ อย่างนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยปัจจุบันธรรม ท่านเรียกว่า สมันนาคตะ ส่วน สมาบัติทั้งหลายของผู้ได้ฌาน ๘ ไม่เป็นไปในขณะเดียวกัน คือส่วนหนึ่ง เป็นอดีต ส่วนหนึ่งเป็นอนาคต ส่วนหนึ่งเป็นปัจจุบัน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็เรียก ปฏิลาภะ ผู้มีปกติได้ เพราะความเป็นผู้แทงตลอดแล้ว เป็น สภาพไม่เสื่อมไป.
๑. ในอภิธรรมใช้อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนกถา.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 233
ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด ไม่ถือเอาการวิภาค อย่างนี้ มีความเห็น ผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ฌานทั้งหลายแม้เป็นอดีตและ อนาคตมีอยู่แก่ผู้ได้ฌาน เหตุใด เพราะเหตุนั้น ฌานลาภีบุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยอดีตบ้าง ด้วยอนาคตบ้าง ดังนี้ คำถามของ สกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือใน ที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น. อนึ่ง คำว่า บุคคลผู้มีปกติเพ่งวิโมกข์ ๘ เป็นต้น เป็นข้อพิสูจน์แห่งความเป็นผู้ได้ คือได้สมาบัติ ๘ มิใช่พิสูจน์ความเป็น ผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต ดังนี้แล.
อรรถกถาอตีตานาคเตหิสมันตาคตกถา จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. อานิสังสกถา ๒. อมตารัมมณกถา ๓. รูปังสารัมมตันติกถา ๔. อนุสยาอนารัมมณาติกถา ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา ๖. อตีตารัมมณกถา ๗. อนาคตารัมมณกถา ๘. วิตักกานุปติตกถา ๙. วิตักกวิปผารสัททกถา ๑๐. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา ๑๑. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกกถา ๑๒. อตีตานาคตปัจจุปันนกถา.
วรรคที่ ๙ จบ