พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๑๔ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 396

วรรคที่ ๑๔

กุสลากุสลปฏิสันทหนากถา

[๑๕๕๐] สกวาที กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใดเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง อกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ตั้งใจอยู่ ก็ ต้องไม่กล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูล.

[๑๕๕๑] ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 397

หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กุศลย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ ดังนี้.

[๑๕๕๒] ส. กุศลมูลย่อมสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งกามสัญญา อัพยาปาทสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา เกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งวิหิงสาสัญญา เมตตาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง พยาบาท กรุณาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งวิหิงสา มุทิตาเกิดขึ้นได้ในลำดับ แห่งอรติ อุเบกขาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งปฏิฆะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๓] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง กุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลมูล หรือ?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 398

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ อันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศลมูลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ไม่ ตั้งใจอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่าอกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้.

[๑๕๕๔] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อกุศลเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 399

ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่ แยบคาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า อกุศลมูล ย่อมสืบต่อกุศลมูลได้ ดังนี้.

[๑๕๕๕] ส. อกุศลมูล สืบต่อกุศลมูลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. กามสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งเนกขัมมสัญญา พยาปาทสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอัพยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอวิหิงสาสัญญา พยาบาทเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง เมตตา วิหิงสาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งกรุณา อรติเกิดขึ้นได้ในลำดับ แห่งมุทิตา ปฏิฆะเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอุเบกขา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูล สืบต่อกุศลมูลได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. จิตกำหนัดในวัตถุนั้นเทียว ก็คลายกำหนัดในวัตถุ นั้นเทียว คลายกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็กำหนัดในวัตถุนั้นเทียว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า จิตกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็คลายกำหนัด ในวัตถุนั้นเทียว คลายกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็กำหนัดในวัตถุนั้นเทียว ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูล สืบต่อกุศลมูลได้. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 400

อรรถกถากุสลากุสลปฏิสันทหนกถา

ว่าด้วย การสืบต่อของกุศลและอกุศล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการสืบต่อกุศลและอกุศล. ในเรื่องนั้น กุศลชื่อว่า เกิดขึ้นในลำดับแห่งอกุศล หรือว่าอกุศลชื่อว่าเกิดขึ้นในลำดับแห่งกุศล ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น การสืบต่อของกุศลและอกุศลเหล่านั้นจึงไม่ ประกอบซึ่งกันและกัน คือไม่ปนกัน.

อนึ่ง ชนเหล่าใดถือลัทธิดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ความ กำหนัดและความคลายกำหนัดมีในวัตถุเดียวกันนั่นแหละ เหตุใด เพราะ เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่าสืบต่อซึ่งกันและกัน ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำทั้ง ๒ คือ อาวชฺชนา คือความนึก ปณิธิ คือความตั้งใจ เป็น ชื่อของอาวัชชนจิตนั่นแหละ. จริงอยู่ ชื่อว่า อาวัชชา เพราะอรรถว่า ยังภวังคจิตนั้นให้เคลื่อนไ

ป. ชื่อว่า ปณิธิ เพราะอรรถว่า ย่อมดำรง คือ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของภวังค์. คำว่า กุศลเกิดขึ้น ได้แก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ความว่า สกวาทีย่อมถามด้วยคำว่า กุศลที่เกิดสืบต่อ ในลำดับแห่งอกุศลนั้นใด กุศลนั้นย่อมเกิดแก่ผู้ไม่นึกหรือ ฝ่ายปรวาที เมื่อไม่เห็นความเกิดขึ้นแห่งกุศลโดยเว้นจากการนึก จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า กุศลเกิดขึ้นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายหรือ ดังนี้ ท่าน กล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า กุศลพึงเกิดในลำดับแห่งอกุศลไซร้ กุศลนั้นก็พึง เกิดเพราะมนสิการโดยอุบายอันไม่แยบคายด้วยอาวัชชนะของอกุศล ทีเดียว ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ. คำว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 401

ความกำหนัดในวัตถุใด ความคลายกำหนัดในวัตถุนั้น เป็นต้นนั้น ย่อม แสดงซึ่งความเกิดขึ้นแห่งจิตมีราคะ และจิตที่ปราศจากราคะในอารมณ์ อันเดียวกัน มิใช่แสดงซึ่งความที่กุศลและอกุศลมีในลำดับซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น คำนี้ จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่ากุศลมีในลำดับอกุศล หรือว่าอกุศล มีในลำดับกุศล ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถากุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 402

สฬายตนุปปัตติกถา

[๑๕๕๗] สกวาที อายตนะ ๖ เกิดขึ้นในครรภ์มารดา ไม่ก่อน ไม่หลังกัน หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบครัน มีอินทรีย์อัน ไม่พร่อง หยั่งลงในครรภ์มารดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๘] ส. จักขายตนะเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวงแสวงหาอุบัติ คือปฏิสนธิจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มือ เท้า ศีรษะ หู จมูก ปาก ฟัน ก็เกิดขึ้นพร้อมกับ จิตดวงแสวงหาอุบัติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ เกิด ขึ้นพร้อมกับจิตดวงแสวงหาอุบัติ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มือ เท้า ศีรษะ หู จมูก ปาก ฟัน ก็ตั้งขึ้นพร้อมกับ จิตดวงแสวงหาอุบัติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๙] ป. จักขายตนะเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาใน ภายหลังหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 403

ป. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา กระทำกรรมเพื่อได้จักษุ ในท้องมารดา หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ เกิด แก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลัง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น กระทำกรรมเพื่อได้ ชิวหาในครรภ์มารดา หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก เกิดแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ มารดาในภายหลัง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา กระทำกรรมเพื่อได้กระดูก ในครรภ์มารดา หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๐] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก เกิดแก่สัตว์ ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลัง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ เกิดเป็นกลละขึ้นก่อน จากกลละเกิด เป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะ เกิดเป็น เปสิ จากเปสิ เกิดเป็นฆนะ จากฆนะ เกิดเป็นปัญจสาขา ผม ขน และ เล็บ ก็มารดาบริโภคสิ่งใด คือ ข้าว น้ำ และ โภชนะ และทารกผู้อยู่ใน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 404

ครรภ์มารดานั้น เติบโตขึ้นในครรภ์มารดานั้น ด้วยอาหาร คือ ข้าว น้ำ และโภชนะ ที่มารดาของตนบริโภค ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก ก็เกิดแก่สัตว์ ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ในภายหลังน่ะสิ.

สฬายตนุปปัตติกถา จบ

อรรถกถาสฬายตนุปปัตติกถา

ว่าด้วย ความเกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความเกิดขึ้นสฬายตนะ คืออายตนะภายใน ๖. ในเรื่องนั้น อายตนะภายใน ๖ ของโอปปาติกะกำเนิดทั้งหลายย่อม เกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิตดวงที่แสวงหาการเกิดนั่นแหละ. ในบรรดา อายตนะภายในทั้ง ๖ สำหรับของคัพภเสยยกะทั้งหลาย มีมนายตนะกับ กายายตนะเท่านั้นเกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิต ส่วนอายตนะ ๔ ที่เหลือ ย่อมเกิดขึ้นในราตรี ๗ และ ๗ หมายความว่าทุกๆ หนึ่งสัปดาห์. ลัทธิ ของสกวาทีว่า อายตนะเหล่านั้นแลถือกำเนิดใหม่ด้วยกรรมอันใดเพราะ ความที่กรรมอันนั้นนั่นแหละ หรือว่ากรรมอันอื่นเป็นกรรมอันตนทำแล้ว ดังนี้.

อนึ่ง ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ และ อปรเสลิยะทั้งหลายว่า อายตนะภายใน ๖ อันเป็นพืช ย่อมเกิดในท้อง ของมารดาในขณะแห่งปฏิสนธินั่นแหละ เพราะความเกิดจากรรมอัน


๑. สํ.

ส. ๑๕/๘๐๓.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 405

เดียวกัน ดุจหน่อแห่งต้นไม้เป็นต้นที่มีกิ่งก้านคาคบอันสมบูรณ์แล้ว ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อายตนะ ๖ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบครัน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า เมื่อสฬายตนะมีอยู่ สัตว์ผู้จะเกิด ในครรภ์ก็พึงเป็นเช่นนี้ๆ แล้วจึงก้าวลงสู่ท้องมารดา. คำถามว่า จักขายตนะเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลัง เป็นของ ปรวาที. คำถามข้างหน้าว่า ไม่พึงกล่าววา ผม ขนเป็นต้นเกิดแก่สัตว์ ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลังหรือ เป็นของปรวาที คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาสฬายตนุปปัตติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 406

อนันตรปัจจยกถา

[๑๕๖๑] สกวาที โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง จักขุวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง โสตวิญญาณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะโสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ ในลำดับแห่งจักขุ- วิญญาณ ฉะนั้นจึงไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ไม่ตั้งใจ อยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ แก่ผู้ ตั้งใจอยู่ มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าโสตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ.

[๑๕๖๒] ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 407

หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิต คือรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตคือ รูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๓] ส. จักขุวิญญาณ มีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มี อย่างอื่นเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่น เป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่าโสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 408

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ และรูป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุและรู

ป.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณอันนั้น โสตวิญญาณก็อันนั้นแหล่ะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๔] ส. ฆานวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ เกิดขึ้นลำดับแห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ

[๑๕๖๕] ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ชิวหาวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้น แห่งกายวิญญาณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับ แห่งชิวหา-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 409

วิญญาณ ฉะนั้นจึงไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกายวิญญาณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง ชิวหาวิญญาณ.

[๑๕๖๖] ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชิวหาวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจซึ่ง นิมิตคือรส หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจ ซึ่งนิมิต คือรส หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 410

ส. ชิวหาวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์อย่างเดียว มิได้มี อย่างอื่นเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์อย่างเดียว มิได้มี อย่างอื่นเป็นอารมณ์ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่ากายวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและ รส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้น และรส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยลิ้นและร

ส.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 411

หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชิวหาวิญญาณอันนั้น กายวิญญาณก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นในลำดับแห่งกัน และกัน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคน ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรีเห็นรูป ด้วย ฟังเสียงด้วย สูดกลิ่นด้วย ลิ้มรสด้วย ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย ใน ขณะเดียวกัน มีอยู่ มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคน ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี เห็นรูปด้วย ฟังเสียงด้วย กลิ่นด้วย ลิ้มรสด้วย ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย ในขณะเดียวกัน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นในลำดับแห่งกันและกันแล.

อนันตรปัจจยกถา จบ

อรรถกถาอนันตรปัจจยกถา

ว่าด้วย อนันตรปัจจัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนันตรปัจจัย. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า วิญญาณเหล่านี้เกิด ติดต่อกันและกันไม่มีอะไรคั่น เพราะเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยรวดเร็ว ในการเห็นรูป และการฟังเสียงเป็นต้น ในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 412

คำถามของสกวาทีว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ หรือ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

สกวาทีกล่าวคำว่า โสตวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว (อันที่จริงโสตวิญญาณนั้นมีเสียงเป็นอารมณ์) เพื่อท้วงด้วยคำว่า ผิว่า โสตวิญญาณพึงเกิดในลำดับแห่งจักขุวิญญาณไซร้ โสตวิญญาณนั้นก็ พึงมีรูปเป็นอารมณ์เหมือนวิปากมโนธาตุ คือสัมปฏิจฉนจิตที่เกิดในลำดับ แห่งจักขุวิญญาณ. ในปัญหาทั้งหลายว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ อาศัยจักขุและรูปหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะไม่มีในพระสูตร แต่ เมื่อปรวาทีนั้นกำหนดถึงความเกิดขึ้นแห่งอนันตรปัจจัย จึงตอบรับรอง ด้วยสามารถแห่งลัทธิ.

ข้อว่า จักขุวิญญาณอันนั้น โสตวิญญาณก็อันนั้นแหละหรือ ความว่า สกวาทีย่อมถามเปรียบเทียบการเกิดติดต่อกันของปฐมชวนะ กับทุติยชวนะนั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นไปเพราะเป็นมโนวิญญาณฉันใด จักขุวิญญาณนั้นนั่นแหละเกิดติดต่อกับโสตวิญญาณ ฉันนั้นหรือ. พึงทราบ เนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้.

คำว่า บุคคลบางคนฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น ย่อมแสดงถึงความ เกิดสับสนกันแห่งวิญญาณ เพราะความเปลี่ยนไปโดยรวดเร็วในเพราะ การประชุมแห่งอารมณ์ แต่มิใช่แสดงถึงความที่วิญญาณเหล่านั้นเป็น อนันตรปัจจัย คือเกิดติดต่อกัน หรือเกิดในลำดับซึ่งกันและกัน เพราะ ฉะนั้น ปัญหานี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ถึงความที่จักขุวิญญาณเป็นอนันตรปัจจัย กับโสตวิญญาณ ดังนี้แล.

อรรถกถาอนันตรปัจจยกถา จบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 413

อริยรูปกถา

[๑๕๖๘] สกวาที อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อริยรูปเป็นกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มหาภูตรูปเป็นกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มหาภูตรูปเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยรูปเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยรูปเป็นอนาสวะ๑ เป็นอสัญโญชนียะ เป็น อคันถนียะ เป็นอโนฆนียะ เป็นอโยคนียะ เป็นอนีวรณียะ เป็นอปรามัฏฐะ เป็นอนุปาทานิยะ เป็นอสังกิเลสิกะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มหาภูตรูป เป็นอนาสวะ ฯลฯ เป็นอสังกิเลสสิกะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


๑. อนาสวะ แปลว่า ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แม้คำต่อๆ ไปก็แปลอย่างเดียวกัน เช่น อสัญโญชนียะ แปลว่า ไม่มีอารมณ์ของสังโยชน์ ดูนิทเทสในธรรมสังคณีปกรณ์.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 414

ส. มหาภูตรูป เป็นสาสวะ๑ เป็นสัญโญชนียะ ฯลฯ เป็น สังกิเลสิกะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยรูป เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนียะ ฯลฯ เป็น สังกิเลสิกะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น อริยรูปก็อาศัยมหาภูตรูป น่ะสิ.

อริยรูปกถา จบ

อรรถกถาอริยรูปกถา

ว่าด้วย อริยรูป

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอริยรูป คือรูปของพระอริยะ หรือรูปเป็นอริย. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย ว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเป็นอุปาทารูป คือรูปอาศัย เพราะ พระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือมหาภูตรูป ๔


๑. สาสวะ แปลว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะ แม้คำต่อๆ ไป ก็แปลโดยนัยเดียวกัน เช่น สัญโญชนียะ แปลว่า เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ดูนิทเทสในธรรมสังคณีปกรณ์.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 415

และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ คืออุปาทารูป ๒๔ ดังนี้ คำถามของสกวาที ว่า อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป ดังนี้ หมายถึงชนเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบ วิเคราะห์คำว่า อริยรูป ในปัญหานั้น ดังนี้ว่า รูปแห่งพระอริยะทั้งหลาย ชื่อว่า อริยรูป หรือว่า รูป คือ อริยะ ชื่อว่า อริยรู

ป. ในปัญหานั้น ปรวาที ตอบรับรองว่า ใช่ เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. ถูกถามว่า อริยรูปเป็นกุศลหรือ ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธินั่นเหละ. แม้ในคำถามว่า อริยรูป เป็นอนาสวะ เป็นอาสวะ เป็นต้น ก็นัยนี้.

พระสูตรว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น อธิบายว่า ยกเว้น มหาภูตรูปเสียแล้ว ย่อมแสดงถึงความที่รูปทั้งหลายที่เหลือเป็นอุปาทารูป มิใช่แสดงถึงความที่สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเหล่านั้นเป็นรูป จริงอยู่ ความที่สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเหล่านั้นไม่สำเร็จเป็นไปสักอย่าง ความเป็นอุปาทารูปของสัมมาวาจาเป็นต้นนั้นจะมีมาแต่ที่ไหน เพราะ ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จดังคำที่อ้างนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาอริยรูปกถา จบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 416

อัญโญ อนุสโยติกถา

[๑๕๗๐] สกวาที กามราคานุสัยอย่างหนึ่ง กามราคปริยุฏฐาน ก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. กามราคะอย่างหนึ่ง กามราคปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะอันนั้น กามราคปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัยอันนั้น กามราคปริยุฏฐานก็อันนั้น แหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๑] ส. ปฏิฆานุสัยอย่างหนึ่ง ปฏิฆปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิฆะอย่างหนึ่ง ปฏิฆปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิฆะอันนั้น ปฏิฆปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิฆานุสัยอันนั้น ปฏิฆปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๒] ส. มานานุสัยอย่างหนึ่ง มานปริยุฏฐาน ก็อย่างหนึ่ง หรือ?

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 417

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานะอย่างหนึ่ง มานปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มานะอันนั้น มานปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานานุสัยอันนั้น มานปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๓] ส. ทิฏฐานุสัยอย่างหนึ่ง ทิฏฐิปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิอย่างหนึ่ง ทิฏฐิปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิอันนั้น ทิฏฐิปยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐานุสัยอันนั้น ทิฏฐิปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๔] ส. วิจิกิจฉานุสัยอย่างหนึ่ง วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อย่าง หนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉาอย่างหนึ่ง วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอันนั้น วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 418

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉานุสัยอันนั้น วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๕] ส. ภวราคานุสัยอย่างหนึ่ง ภวราคปริยุฏฐานก็อย่าง หนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคะอย่างหนึ่ง ภวราคปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ภวราคะอันนั้น ภวราคปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคานุสัยอันนั้น ภวราคปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๖] ส. อวิชชานุสัยอย่างหนึ่ง อวิชชาปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชาอย่างหนึ่ง อวิชชาปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชาอันนั้น อวิชชาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัยอันนั้น อวิชชาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 419

หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยอย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลหรืออัพยากฤต เป็นไป อยู่ พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พึงกล่าวว่า ผู้มีจิตอันปริยุฏฐานกลุ้มรุม หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็อย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง น่ะสิ.

ส. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลหรืออัพยากฤต เป็นไป อยู่ พึงกล่าวว่า ผู้มีราคะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงกล่าวว่า มีจิตอันปริยุฏฐานกลุ้มรุม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็อย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง น่ะสิ. อัญโญ อนุสโยติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 420

อรรถกถาอัญโญ อนุสโยติกถา

ว่าด้วย อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง คืออย่างอื่นจากปริยุฏฐาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตเป็นกุศล หรืออัพยากตะกำลังเป็นไป พึงกล่าวได้ว่า เขามีอนุสัย แต่ไม่พึงกล่าวว่าเป็นผู้มีปริยุฏฐาน เพราะฉะนั้น อนุสัยก็ เป็นอย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็เป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า กามราคานุสัยอย่างหนึ่ง เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่อง อนุสัยกถา ในหนหลังนั้นนั่นแหละ.

อนึ่ง คำว่า ผู้มีอนุสัย เป็นต้น ท่านย่อมแสดงซึ่งความที่คำอัน บุคคลพึงกล่าวว่า ปุถุชนชื่อว่าเป็นผู้มีอนุสัยเพราะความที่ผู้นั้นยังมิได้ ละอนุสัยในขณะนั้น และย่อมแสดงซึ่งความที่คำอันบุคคลพึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีปริยุฏฐานเพราะกิเลสอนุสัยนั้นยังมิได้เกิดขึ้น มิใช่แสดง ถึงความที่อนุสัยกิเลสเป็นคนละอย่างกับปริยุฏฐานกิเลส เพราะฉะนั้น คำที่ยกมาอ้างนั้น จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่าอนุสัยเป็นคนละอย่างกับปริยุฏฐาน ดังนี้แล.

อรรถกถาอัญโญอนุสโยติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 421

ปริยุฏฐาน จิตตวิปปยุตตันติกถา

[๑๕๗๘] สกวาที ปริยุฏฐานไม่ประกอบกับจิต หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปริยุฏฐาน วิปปยุตจากจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมอง ไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมอง มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิต เป็นอกุศล จิตเศร้าหมอง มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปริยุฏฐานไม่ประกอบ กับจิต ดังนี้. ปริยุฏฐาน จิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 422

อรรถกถาปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา

ว่าด้วย ปริยุฏฐานกิเลสไม่ประกอบจิต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปริยุฏฐานกิเลสไม่ประกอบจิต. ชนเหล่าใดมี ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะ เป็นต้นย่อมเกิดขึ้น แม้มนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังคำที่พระผู้- มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภารทวาชะผู้เจริญในกาลบางคราวแล บุคคล ย่อมมนสิการโดยความเป็นของสวยงามด้วยคิดว่า เราจักมนสิการโดย ความเป็นของไม่งาม ดังนี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปริยุฏฐานกิเลสจึงไม่ ประกอบกับจิต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้นเพราะมีนัย ดังที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 423

ปริยาปันนกถา

[๑๕๗๙] สกวาที รูปราคะ นอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องใน รูปธาตุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปราคะ เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวง หาอุปบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็น อันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็น ธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะ สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน จะมีวัตถุเป็น อันเดียวกัน จะมีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ ก็หา มิได้. กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ ก็หามิได้ กับจิตเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กามราคะ ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่ เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯลฯ จะมีอารมณ์อันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปราคะ นอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องอยู่ ในรูปธาตุ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 424

[๑๕๘๐] ส. รูปราคะ นอนเนื่องในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ นับเนื่องในสัทท- ธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปราคะ นอนเนื่องในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอน เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๑] ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสัททธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปราคะ นอนเนื่องในธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับ เนื่องในรูปธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ นอน เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปราคะ นอนเนื่องในรูปธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับ เนื่องในรูปธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 425

[๑๕๘๒] ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรูปราคะ เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวง หาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็น อันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปราคะ จะเป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ จะเป็นธรรม แสวงหาอุบัติ จะเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯลฯ จะมี อารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อรูปราคะ ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่ เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ฯลฯ จะมีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิต เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ.

[๑๕๘๓] ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ นับเนื่องในสัททธาตุ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 426

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอน เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๔] ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสัททธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว. ส .อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอน เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปราคะนอนเนื่องในรูปธาตุ นับเนื่อง ในรูปธาตุ อรูปราคะนอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 427

ส. ถูกแล้ว.

ป. กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ นับเนื่องใน กามธาตุ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปราคะนอนเนื่องในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ

ปริยาปันนกถา จบ

อรรกถาปริยาปันนกถา

ว่าด้วย ธรรมที่นับเนื่องกัน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรมที่นับเนื่องกัน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า กามราคะ คือ ความยินดีในกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นอนเนื่องในกามธาตุ นับ เนื่องในกามธาตุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้รูปราคะ คือความยินดีในรูป ก็ชื่อว่า นอนเนื่องในรูปธาตุและอรูปธาตุ นับเนื่องกันด้วยรูปธาตุและ อรูปธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า รูปราคะ เป็นต้น โดยหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในคำเหล่านั้น คำว่า นอนเนื่อง อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า กามราคะย่อมนอนเนื่องด้วยสามารถแห่ง การเกิดพร้อมกับกามธาตุ กล่าวคือกามวิตก ฉันใด แม้รูปราคะก็เป็น รูปธาตุตามลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ. คำว่า นับเนื่อง อธิบายว่า สกวาที ย่อมถามว่าเหมือนอย่างว่า การนับเนื่องนั้นชื่อว่านับเนื่องกันด้วยกามธาตุ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 428

เพราะนับเนื่องกันด้วยอำนาจกิเลสกามของกามธาตุ ๓ อย่าง ฉันใด แม้ รูปราคะก็เป็นสภาพที่นับเนื่องด้วยรูปธาตุตามลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ ฝ่ายปรวาทีเมื่อไม่กำหนดความประสงค์ของสกวาทีนั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่ ด้วยสามารถแห่งลัทธิอย่างเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว คำว่า เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นต้น เพื่อจะให้ปรวาทีกำหนด เนื้อความนั้น และเพื่อถามเทียบเคียงกับจิตที่แสวงหาสมาบัติอันบัณฑิต นับพร้อมแล้วว่ากุศล วิปากและกิริยาจิต. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ เนื้อความตามพระบาลีนั่นแหละ. แม้คำว่า กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ นับเนื่องด้วยกามธาตุมิใช่หรือ นี้ ย่อมแสดงถึงความที่กามราคะนั่นแหละ เป็นธรรมชาติที่นอนเนื่องในกามธาตุด้วย เป็นสภาพที่นับเนื่องในกามธาตุ ด้วย มิใช่แสดงถึงความที่ธาตุนอกนี้นอนเนื่องและนับเนื่องในธาตุนอกนี้ ดังนี้แล.

อรรถกถวปริยาปันนกถา จบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 429

อัพยากตกถา

[๑๕๘๖] สกวาที ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นวิบากอัพยากฤต เป็นกิริยาอัพยากฤต เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตที่สัมปยุต ด้วยทิฏฐิ เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๗] ส. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา จิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 430

ส. ทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๘] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิไม่มีผล ไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิมีผล มีวิบาก มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทิฏฐิมีผล มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทิฏฐิ เป็นอัพยากฤต.

[๑๕๘๙] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทษทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างยิ่ง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า โทษทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มี มิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต.

[๑๕๙๐] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวัจฉะ มิจฉา- ทิฏฐิแลเป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิป็นกุศล ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?


๑. ม. ม. ๑๓/๒๕๔.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 431

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต.

[๑๕๙๑] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนปุณณะ เรา กล่าวคตของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ นรก หรือ กำเนิดดิรัจฉาน ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต ดังนี้.

[๑๕๙๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวัจฉะ คำว่า โลกเที่ยงนี้ เรามิได้พยากรณ์ คำว่า โลกขาดสูญนี้ เราก็มิได้พยากรณ์ คำว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ คำว่า โลกไม่มีที่สุด คำว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น คำว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น คำว่า สัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ คำว่า สัตว์เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ คำว่า สัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะ คำว่า สัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่มรณะนี้ เราก็มิได้พยากรณ์ ดังนี้๒ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?


๑. ม. ม. ๑๓/๘๕. ๒. ม.มู. ๑๓/๒๔๗.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 432

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ทิฏฐิก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ.

[๑๕๙๓] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายกรรมใดก็ดี อันบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ฯลฯ วจีกรรมใดก็ดี ฯลฯ มโนกรรมใดก็ดี อันบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ เจตนาใดก็ดี ความปรารถนาใดก็ดี ความ ตั้งใจใดก็ดี สังขารเหล่าใดก็ดี ของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อผลอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า ชอบใจ เพื่อสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ดังนี้ (๑) เป็นสูตรมี อยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตน่ะสิ.

อัพยากตกถา จบ

อรรถกถาอัพยากตกถา

ว่าด้วย อัพยากตะ (๒)

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเป็นอัพยากตะ คือทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงพยากรณ์. ในเรื่องนั้น อัพยากตะมี ๔ คือ วิปาก กิริยา รูป และ


๑. องฺ. เอกก. ๒๐/๑๘๙.

๒. คำว่า อพฺยากตํ แปลว่า ไม่ทรงพยากรณ์.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 433

พระนิพพาน ทิฏฐิท่านเรียกว่า เป็นอัพยากตะ เพราะความเป็นธรรมไม่ ให้ผล คือไม่ให้ประโยชน์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวัจฉะ ทิฏฐิคือความเห็นว่า โลกเที่ยง เป็นต้นนี้แล เราไม่พยากรณ์แล้ว เพราะ ความที่โลกนั้นเป็นของอันเราไม่กล่าวโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น. แต่ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและอุตตราปถกะ ทั้งหลายว่า ทิฏฐิเป็นอัพยกตะ เป็นราวกะอัพยากตะแรก คือวิปากอัพยากตะ เพราะไม่ถือเอาวิภาคนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ทิฏฐิ เป็นอัพยากตะหรือ เป็นต้น ก็เพื่อจะจำแนกเนื้อความนั้นแก่ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้พึงทราบตามพระบาลี นั่นแล.

อรรถกถาอัพยากตกถา จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 434

อปริยาปันนกถา

[๑๕๙๔] สกวาที ทิฏฐิเป็นอปริยาปันนะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตตมรรค เป็นอรหัตตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๙๕] ป. ไม่พึงกล่าว ทิฏฐิเป็นอปริยาปันนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากกำหนัดในกามทั้งหลาย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากทิฏฐิ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ทิฏฐิเป็นอปริยาปันนะ น่ะสิ.

อปริยาปันนกถา จบ

อรรถกถาอปริยาปันนกถา

ว่าด้วย โลกุตตรธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอปริยาปันนะ คือโลกุตตระ. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า ปุถุชนผู้ได้

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 435

ฌานพึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย แต่ไม่ได้ กล่าวว่าเป็นผู้มีทิฏฐิไปปราศแล้ว เหตุใด เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิจึงเป็น อปริยาปันนะ คือ โลกุตตรธรรม ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตาม พระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอปริยาปันนก จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา ๒. สฬายตนุปปัตติกถา ๓. อนันตรปัจจยกถา ๔. อริยรูปกถา ๕. อัญโญอนุสโยติกถา ๖. ปริยุฏฐานัง จิตตวิปปยุตตันติกถา ๗. ปริยาปันนกถา ๘. อัพยากตกถา ๙. อปริยาปันนกถา.

วรรคที่ ๑๔ จบ