วรรคที่ ๑๕ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์
วรรคที่ ๑๕
อัญญมัญญปัจจยกถาและอรรถกถา 1611/441
ขณลยมุหุตตกถาและอรรถกถา 1617/449
สัญญาเวทยิตกถาและอรรถกถา 1622/456
สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๒ และอรรถกถา 1623/457
สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๓ และอรรถกถา 1625/459
อสัญญสัตตูปิกากถาและอรรถกถา 1630/464
กัมมูปจยกถาและอรรถกถา 1634/468
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 436
วรรคที่ ๑๕
ปัจจยตากถา
[๑๕๙๖] สกวาที ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย ด้วยเหตุ นั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย และ เป็นปัจจัย โดยอธิปติปัจจัย
[๑๕๙๗] ส. ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
[๑๕๙๘] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.
ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็น อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 437
ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอินทรีย์ปัจจัย.
[๑๕๙๙] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นองค์ แห่งมรรคด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น องค์แห่งมรรคด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัย โดยมรรคปัจจัย.
[๑๖๐๐] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.
[๑๖๐๑] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น อาหารด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ เป็นอาหารด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติ- ปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย.
[๑๖๐๒] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 438
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย.
[๑๖๐๓] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
[๑๖๐๔] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย.
[๑๖๐๕] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น องค์แห่งมรรคด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ เป็นองค์แห่งมรรคด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัย โดยอธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย.
[๑๖๐๖] ส. ปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้นและ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 439
ทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่าปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้น และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า (อริยธรรม) เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย.
[๑๖๐๗] ส. กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง กุศลธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร- ปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดย อาเสวนปัจจัย.
[๑๖๐๘] ส. อกุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง อกุศลธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อกุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร- ปัจจัย แห่งอกุศลธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดย อาเสวนปัจจัย.
[๑๖๐๙] ส. กิริยาพยากตธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร- ปัจจัย แห่งกิริยาพยากตธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 440
ส. หากว่า กิริยาพยากตธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดย อนันตรปัจจัย แห่งกิริยาพยากตธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็น ปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย.
[๑๖๑๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมณปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย ก็ได้ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นปัจจัยท่านก็จำกัดไว้ น่ะสิ.
ปัจจยตากถา จบ
อรรถกถาปัจจยตากถา
ว่าด้วย ความเป็นปัจจัย
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความเป็นปัจจัย. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ธรรมใดเป็นปัจจัยด้วย เหตุปัจจัยแล้ว ธรรมนั้นก็เป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดเหล่านั้น เท่านั้น ย่อมไม่เป็นปัจจัยด้วยอารัมมณะ อนันตระ สมนันตรปัจจัย หรือ ว่าธรรมใดเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดด้วยอารัมมณปัจจัยแล้ว ธรรมนั้น ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละด้วย อนันตระและสมนันตรปัจจัย เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความเป็นปัจจัยท่านจำกัดไว้แล้ว ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาปัจจยตากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 441
อัญญมัญญปัจจยกถา
[๑๖๑๑] สกวาที สังขารเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่ พึงกล่าวว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า แม้เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยก็เกิดสังขารได้ แม้เพราะ สังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้.
[๑๖๑๒] ส. อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่พึง กล่าวว่า แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยก็เกิดตัณหาได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงต้องกล่าวว่า แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัยก็เกิดอุปาทานได้ แม้เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัยก็เกิดตัณหาได้.
[๑๖๑๓] ป. คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชราและมรณะเป็น ปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?
ส. ไม่มี.
ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารก็เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 442
เท่านั้น ไม่พึงกล่าวว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้ อุปาทาน เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่พึงกล่าวว่า แม้เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัยก็เกิดตัณหาได้.
[๑๖๑๔] ส. คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดเป็นนามรูป แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็เกิดวิญญาณได้ ดังนี้ เป็นสูตร มีอยู่จริง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น สังขารก็เกิดแม้เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาก็เกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อุปาทานก็เกิดแม้เพราะตัณหา เป็นปัจจัย ตัณหาก็เกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย น่ะสิ.
อัญญมัญญปัจจยกถา จบ
อรรถกถาอัญญมัญญปัจจยกถา
ว่าด้วย อัญญมัญญปัจจัย
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอัญญมัญญปัจจัย. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายย่อมเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย นี้เท่านั้นเป็นแบบแผน คำว่าอวิชชาย่อมเกิดแม้ เพราะสังขารเป็นปัจจัยไม่มีในลัทธิ เพราะฉะนั้น อวิชชาเท่านั้นจึงเป็น ปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย แต่สังขารทั้งหลายหาได้เป็นปัจจัยแก่อวิชชาไม่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น เพื่อแสดงเนื้อความว่า แม้ ความเป็นปัจจัยแก่กันและกันของปัจจัยทั้งหลายมีอวิชชาและสังขาร เป็นต้นมีอยู่ ดังนี้ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในคำว่า อวิชชาเกิด
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 443
พร้อมกับสังขารมิใช่หรือ นี้ท่านถือเอาอปุญญาภิสังขารอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ในคำว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้ นี้ บัณฑิตพึงทราบความเป็นปัจจัยด้วยอำนาจสหชาตะ อัญญมัญญะ อัตถิ อวิคตะสัมปยุตตปัจจัย.
ในคำว่า แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยก็เกิดตัณหา นี้ อธิบายว่า ยกเว้นกามุปาทานเสียแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า อุปาทานที่เหลือ ๓ ย่อม เป็นปัจจัยแก่ตัณหา ดุจสังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่อวิชชา. คำที่เหลือ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ. คำถามว่า เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย เป็นต้น เป็นของปรวาที. คำถามว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิด นามรูป เป็นต้น เป็นของสกวาที ดังนี้แล.
อรรถกถาอัญญมัญญปัจจยกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 444
อัทธากถา
[๑๖๑๕] สกวาที อัทธา คือ ระยะกาล เป็นปรินิปผันนะ ได้แก่ สภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อัทธาส่วนอดีต เป็นปรินิปผันนะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นไป หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อัทธาส่วนอนาคต เป็นปรินิปผันนะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นไป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 445
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อัทธาส่วนปัจจุบัน เป็นปรินิปผันนะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีต เป็นอัทธาส่วนอดีต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธาส่วนอดีต เป็น ๕ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอนาคต เป็นอัทธาส่วนอนาคต หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. อัทธาส่วนอนาคต เป็น ๕ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธาส่วนปัจจุบัน เป็น ๕ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 446
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นอัทธาส่วนอดีต ขันธ์ ๕ ที่ เป็นอนาคต เป็นอัทธาส่วนอนาคต ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอัทธาส่วน ปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธา เป็น ๑๕ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบันเป็น อัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธา เป็น ๓๖ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต ธาตุ ๑๘ ที่ เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบันเป็นอัทธาส่วน ปัจุจบัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธา เป็น ๕๔ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบันเป็น อัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 447
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธาเป็น ๖๖ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๑๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อัทธา เป็นปรินิปผันนะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุมี ๓ อย่าง. ๓ อย่างเป็นไฉน? บุคคลพึงกล่าวกถาปรารภระยะ กาลส่วนอดีตว่า ระยะกาลที่ล่วงแล้วได้เป็นแล้วอย่างนี้ ดังนี้บ้าง พึง กล่าวกถาปรารภระยะกาลส่วนอนาคตว่า ระยะกาลส่วนอนาคตจักเป็น อย่างนี้ ดังนี้บ้าง พึงกล่าวกถาปรารภระยะกาลส่วนปัจจุบัน ณ บัดนี้ว่า ปัจจุบันเป็นอยู่ในบัดนี้อย่างนี้ ดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ มี ๓ อย่าง ฉะนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น อัทธาก็เป็นปรินิปผันนะ น่ะสิ.
อัทธากถา จบ
อรรถกถาอัทธากถา
ว่าด้วย ระยะกาล
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องระยะกาล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดว่า ชื่อว่า กาลกล่าวคือ เวลาเป็นสภาพสำเร็จแล้วมีอยู่ เพราะอาศัย
๑. องฺ. ติก. ๒๐/๕๐๗.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 448
พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุเหล่านี้มี ๓ คือเรื่องที่กล่าว ปรารภอดีต อนาคต และปัจจุบัน ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อัทธา คือ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดง วิภาค คือการจำแนก แก่ชนเหล่านั้นว่า ชื่อว่ากาลอะไรๆ เป็นสภาวะ สำเร็จแล้วไม่มี แต่ขันธ์ทั้งหลายขันธ์ใดขันธ์หนึ่งมีรูปเป็นต้นที่สักว่า บัญญัติไว้เพราะกาล เป็นของสำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว มีอยู่ ดังนี้ คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจงกล่าวคำว่า เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า กาลนั้นเป็นของสำเร็จแล้วมีอยู่ไซร้ กาลนั้นก็พึงเป็น เช่นขันธ์ใดขันธ์หนึ่งมีรูปขันธ์เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาอัทธากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 449
ขณลยมุหุตตกถา
[๑๖๑๗] สกวาที ขณะเป็นปรินิปผันนะ ลยะ๑ เป็นปรินิปผันนะ มุหุตตะ เป็นปรินิปผันนะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นไป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น?
ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๑๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า มุหุตตะเป็นปรินิปผันนะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน? บุคคลพึงกล่าวกถาปรารภ ระยะกาลส่วนอดีตว่า ระยะที่ล่วงแล้วได้เป็นแล้วอย่างนี้ ดังนี้บ้าง พึงกล่าวกถาปรารภระยะกาลส่วนอนาคตว่า ระยะกาลส่วนอนาคตจักเป็น อย่างนี้ ดังนี้บ้าง พึงกล่าวกถาปรารภระยะกาลปัจจุบัน ณ บัดนี้ว่า ปัจจุบันมีอยู่ ณ บัดนี้ อย่างนี้ ดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น มุหุตตะ ก็เป็นปรินิปผันนะ น่ะสิ. ขณลยมุหุตตกถา จบ
๑. ระยะเวลา ๑๐ นิ้วเป็นขณะหนึ่ง, ๑๐ ขณะเป็นลยะหนึ่ง, ๑๐ ลยะเป็นขณลยะหนึ่ง, ๑๐ ขณลยะเป็น มุหุตตะหนึ่ง, ๑๐ มุหุตตะเป็นขณมุหุตตะหนึ่ง. อภิธานัปปทีปิกา.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 450
อรรถกถาขณลยมุหุตตกถา
ว่าด้วย ขณะ ลยะ มุหุตตะ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องขณะ คือครั้งหนึ่ง หรือคราวหนึ่ง ลยะ คือ ประเดี๋ยวหนึ่ง มุหุตตะ คือ ครู่หนึ่ง. แม้ในเรื่อง ขณะลยะและมุหุตตะก็ นัยนี้นั่นแหละ คือนัยเดียวกับอัทธา เพราะขณะลยะมุหุตตะเหล่านี้แม้ ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของเวลานั่นแหละ.
อรรถกถาขณลยมุหุตตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 451
อาสวกถา
[๑๖๑๙] สกวาที อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวว่า อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อาสวะเหล่านั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอาสวะ เหล่าใด อาสวะเหล่านั้น มีอยู่พวกหนึ่ง หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อาสวะ ๔ ก็ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ น่ะสิ.
อาสวกถา จบ
อรรถกถาอาสวกถา
ว่าด้วย อาสวะ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอาสวะ ๔. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาทว่า ชื่อว่า อาสวะอื่นยิ่งกว่าอาสวะ ๔ ไม่มี อาสวะ ๔ จะพึงเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ด้วยอาสวะใดเล่า เพราะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 452
อาสวะ ๔ เหล่านั้นไม่เป็นอาสวะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็นมรรค เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า อาสวะเหล่านั้นไม่เป็น อาสวะไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ อาสวะเหล่านั้นก็พึงบรรลุ เป็นภาวะแห่งมรรคเป็นต้น. คำที่เหลือในทีนี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอาสวกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 453
ชรามรณกถา
[๑๖๒๐] สกวาที ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคก็เป็นโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคก็เป็นโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติผลก็เป็นโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชรามรณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ แห่งสกทาคามิผล ฯลฯ แห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ แห่งอนาคามิผล ฯลฯ แห่งอรหัตตมรรคก็ เป็นอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชรามรณะแห่งอรหัตตมรรคก็เป็นอรหัตตมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชรามรณะแห่งอรหัตตผลก็เป็นอรหัตตผล หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 454
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชรามรณะแห่งสติปัฏฐาน แห่งสัมมัปปธาน แห่ง อิทธิบาท แห่งอินทรีย์ แห่งพละ ฯลฯ ชรามรณะแห่งโพชฌงค์ ก็เป็น โพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมก็เป็น โลกุตตระ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นโลกิยะ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้นก็เป็นโลกุตตระ น่ะสิ.
ชรามรณกถา จบ
อรรถกาชรามรณกถา
ว่าด้วย ชราและมรณะ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องชราและมรณะ. ในเรื่องนั้น ธรรมดาว่า ชรา และมรณะไม่ควรกล่าวว่าเป็นโลกีย์หรือโลกุตตระ เพราะมิใช่เป็นสภาวะ ที่สำเร็จแล้ว คือมิใช่เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเหมือนธรรมทั้งหลายมีรูป เป็นต้น. จริงอยู่ในทุกมาติกาว่า โลกิยา ธมฺมา โลกุตฺตรา ธมฺมา ดังนี้ ชราและมรณะไม่สำเร็จในโลกิยบท ได้แก่ จิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ และโลกุตตรบท ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน. ในปัญหานั้น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 455
ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ชรา และมรณะของโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระ เพราะไม่ถือเอาสภาวะนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.
อรรถกถาชรามรณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 456
สัญญาเวทยิตกถา
[๑๖๒๒] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็น โลกุตตระ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นโลกิยะ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าเช่นนั้นก็เป็นโลกุตตระ น่ะสิ.
สัญญาเวทยิตกถา จบ
อรรถกถาสัญญาเวทยิตถา
ว่าด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ คือสมาบัติที่ดับ สัญญาเวทนา. ในเรื่องนั้น ธรรมอะไรๆ ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หามีไม่ มีแต่ความดับขันธ์ทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ นั้น จึงไม่ใช่โลกีย์ ไม่ใช่โลกุตตระ ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ นิกายเหตุวาทนั่นแหละว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่เป็นโลกีย์ เพราะเป็นโลกุตตระ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือเช่นกับเรื่องก่อนนั่นแหละ.
อรรถกถาสัญญาเวทยิตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 457
สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๒
[๑๖๒๓] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นกามาวจร หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นรูปาวจร หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นอรูปาวจร หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๒๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นโลกุตตระ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นโลกิยะ น่ะสิ. สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๒ จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 458
อรรถกถาทุติยสัญญาเวทยิตกถา
ว่าด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธที่ ๒
บัดนี้ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่เป็นโลกุตตระ เพราะเป็นโลกียะ ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายเหตุวาทะ ทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที คำที่เหลือเช่นกับเรื่องก่อนนั่นแล.
อรรถกถาทุติยสัญญาเวทยิตนิโรธกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 459
สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๓
[๑๖๒๕] สกวาที บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงกระทำกาละ คือตาย หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด เวทนาอัน เกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด สัญญาอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด เจตนาอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด จิตอันเกิดในสมัยมีความตาย เป็นที่สุดของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อันเกิดในสมัยมี ความตายเป็นที่สุด ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ผัสสะ สัญญา เจตนา จิตอันเกิดในสมัยมี ความตายเป็นที่สุด ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มี ก็ต้องไม่ กล่าวว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ ดังนี้.
[๑๖๒๖] ส. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 460
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ มีการทำกาละ บุคคลไม่มีเวทนา มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้ไม่มีจิต มีการทำกาละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้มีผัสสะ มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้มีจิต มีการทำกาละ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีผัสสะ มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้ มีจิต มีการทำกาละ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ ดังนี้.
[๑๖๒๗] ส. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศาตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน กายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ยาพิษไม่พึงเข้าไป ศาตราไม่พึงเข้าไป ไฟไม่พึง เข้าไป ในกายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ยาพิษไม่พึงเข้าไป ศาตราไม่พึงเข้าไป ไฟ ไม่พึงเข้าไป ในกายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ.
[๑๖๒๘] ส. บุคคลเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 461
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศาตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน กายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มิได้เข้านิโรธ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. บุคคลเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละ หรือ?
ส. ไม่มี.
ป. หากว่า นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลเข้าสัญญา- เวทยิตนิโรธไม่พึงทำกาละ ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเข้าสัญญาเวท- ยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละ.
[๑๖๒๙] ส. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ไม่พึงทำกาละ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุ- วิญญาณ ไม่พึงทำกาละ มีอยู่หรือ?
ป. ไม่มี.
ส. หากว่า นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม ด้วยจักขุวิญญาณไม่พึงทำกาละ ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 462
ด้วยจักขุวิญญาณ ไม่พึงทำกาละ.
สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๓ จบ
อรรถกถาตติยสัญญาเวทยิตกถา
ว่าด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธที่ ๓
บัดนี้ ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายราชคิริกะทั้งหลาย ว่า แม้ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติพึงทำกาละได้ โดยถือหลักว่า ชื่อว่าความแน่นอนไม่มีเพราะความที่สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นธรรมดา ดังเช่นคำว่า ผู้โน้นตาย ผู้โน้นยังไม่ตาย ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อ แสดงถึงเวลาตายและมิใช่เวลาตาย เพราะความที่บุคคลแม้เข้าสมาบัติ ก็มีความตายเป็นธรรมดา คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ผัสสะอันเกิดในสมัยมีความตายเป็น ที่สุด เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยอาการที่ว่าผัสสะอันเกิดในเวลาที่มีความตาย เป็นธรรมดา ชื่อว่าพึงมีแก่ผู้กระทำกาละโดยอาการนั้นหรือ.
ถูกถามว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการกระทำกาละ เป็นต้น ปรวาที ตอบปฏิเสธโดยหมายเอาสัตว์ที่เหลือ คือนอกจากผู้เข้าสมาบัตินั้น.
ถูกถามคำว่า ยาพิษพึงเข้าไป เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธโดยหมาย เอาอานุภาพแห่งสมาบัติ. แต่ตอบรับรองในครั้งที่ ๒ โดยหมายเอาสรีระ ปกติ. ก็ถ้าเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ ชื่อว่าอานุภาพแห่งสมาบัติก็ไม่มี ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงซักปรวาทีว่า มิได้เข้านิโรธหรือ.
คำถามว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละหรือ เป็นของปรวาที. ในปัญหาของปรวาทีว่า นิยามอันเป็นเหตุกำหนด
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 463
โดยแน่นอนมีอยู่ แต่ชื่อว่า นิยามอย่างนี้ไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงตอบปฏิเสธ. คำว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ เป็นต้น ที่สกวาทีกล่าวก็เพื่อแสดงว่า ครั้นเมื่อนิยามเช่นนี้แม้ไม่มีอยู่ สัตว์ก็ต้อง ตายตามเวลาเท่านั้น ย่อมไม่ตายโดยมิใช่เวลา ดังนี้.
ในปัญหานั้น มีคำอธิบายว่า ถ้าว่า การทำกาละพึงมีเพราะความ ไม่มีนิยามไซร้ การทำกาละนั้นก็จะพึงมีแม้แก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ เพราะสัตว์ย่อมไม่ตายย่อมไม่เกิดด้วยวิญญาณ ๕ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ความผิดพลาดในพระสูตรพึงมี เหมือนการทำกาละย่อมไม่มีแก่ผู้พรั่งพร้อม ด้วยจักขุวิญญาณ ฉันใด การทำกาละก็ย่อมไม่มีแม้แก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาตติยสัญญาเวทยิตนิโรธ จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 464
อสัญญสัตตูปิกากถา
[๑๖๓๐] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพ แห่งอสัญญสัตว์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูลคือ อโมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ ฯลฯ ปัญญาของ บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูล คือ โมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้ เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.
[๑๖๓๑] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพ แห่งอสัญญสัตว์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 465
สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะก็มีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคล ผู้ไม่มีจิตก็มีการเจริญมรรคได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคลผู้มี จิตมีการเจริญมรรคได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคลผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ- สมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.
[๑๖๓๒] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง อสัญญสัตว์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ชน เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๓๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุ ให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้ในภพ แห่งอสัญญสัตว์นั้น ผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา มิใช่หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 466
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้ ในแห่งอสัญญสัตว์นั้นผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.
อสัญญสัตตูปิกากถา จบ
อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา
ว่าด้วย สมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์. ในเรื่องนั้น ภาวนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ เป็นอสัญญาสมาบัติบ้าง เป็นนิโรธสมาบัติบ้าง ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงมี ๒ คือ เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ. บรรดา สมาบัติเหล่านั้น สมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ของปุถุชนเป็น โลกิยะ ที่เป็นของพระอริยะทั้งหลายเป็นโลกุตตระ แต่สมาบัติที่เป็นของ พระอริยะนั้นย่อมไม่เป็นสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์
ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาททั้งหลาย ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติที่ให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์ โดยไม่แปลกกัน เพราะไม่ทำวิภาคอย่างนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วง ด้วยอำนาจแห่งกุสลมูล คืออโลภะ เป็นต้น ว่ามีอยู่แก่ผู้เข้าอสัญญสมาบัติ แต่ไม่มีแก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ จึงกล่าวคำว่า อตฺถิ กุสลมูล ... มีอยู่หรือ เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 467
ในปัญหาว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เพราะการ เข้าสมาบัติในธรรมวินัยนี้ด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ. คำว่า แม้ใน ภพแห่งอสัญญสัตว์นั้น ก็ตรัสด้วยความเป็นอสัญญสัตว์นั่นแหละ เพราะ ฉะนั้น ปรวาทีผู้ถือเอาปฏิญญานี้แล้วจึงให้ลัทธิตั้งไว้ แต่ก็ตั้งไว้โดย อุบายลวง. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตหมายเอานิโรธสมาบัติในพระธรรมวินัยนี้ คำว่า แม้ในภพ อสัญญสัตว์นั้น ได้แก่นิโรธสมาบัติของพระอนาคามีผู้เคลื่อนจากโลกนี้ ทีเดียว แม้เพราะเหตุนั้น ลัทธิที่ปรวาทีปฏิญญาตั้งไว้นี้ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ เลย ดังนี้แล.
อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 468
กัมมูปจยกถา
[๑๖๓๔] สกวาที กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรม ก็ เป็นอย่างหนึ่ง หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งผัสสะก็เป็น อย่างหนึ่ง เวทนาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเวทนาก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง เจตนาเป็น อย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเจตนาก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตเป็นอย่างหนึ่ง ความ สั่งสมแห่งจิตก็เป็นอย่างหนึ่ง ศรัทธาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งศรัทธา ก็เป็นอย่างหนึ่ง วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งวิริยะก็เป็นอย่างหนึ่ง สติเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสติก็เป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง ปัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสม แห่งปัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งราคะก็ เป็นอย่างหนึ่ง ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งอโนตตัปปะ ก็เป็นอย่างหนึ่ง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๓๕] ส. กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็น อย่างหนึ่ง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 469
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม ที่เป็นกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม ที่เป็นกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิด พร้อมกับกรรมที่สัมปุตด้วยสุขเวทนา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ที่ สัมปยุตด้วยอทุกขเวทนา เกิดพร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ กรรมที่เป็นอกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ กรรมที่เป็นอกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 470
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิด พร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เกิดพร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขม- สุขเวทนา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๓๖] ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต และกรรมที่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต และความสั่งสม แห่งกรรมมีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่ความสั่งสม แห่งกรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่กรรมไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๓๗] ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต และเมื่อจิตดับ กรรมก็ทำลาย ไป หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับจิต และเมื่อจิตดับ การสั่งสมแห่งกรรม ก็ทำลายไป หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 471
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๓๘] ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่เมื่อจิตดับ ความสั่งสมแห่งกรรมไม่ทำลายไป หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่เมื่อจิตดับ กรรมไม่ทำลาย ไป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมอันนั้น ความสั่งสมแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อกรรมมี การสั่งสมแห่งกรรมก็มี และวิบากก็เกิด จากความสั่งสมแห่งกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมอันนั้น ความสั่งสมแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ วิบากแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี และวิบากก็ เกิดจากความสั่งสมแห่งกรรม ทั้งวิบากก็มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 472
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิบาก ไม่มีอารมณ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็น อย่างหนึ่ง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนปุณณะ บุคคล บางคนในโลกนี้ สร้างสมกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง สร้างสมวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียน บ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง บุคคลนั้น ครั้นสร้างสมกายสังขารที่มี ความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง สร้างสมวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อม เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะ ทั้งหลาย ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้อง บุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง บุคคลนั้นเป็นผู้อันผัสสะทั้งหลาย ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ เกลือกกลั้วดังที่มีมนุษย์ เทวดา บางจำพวก และวินิปาติกะบางจำพวกเป็นอยู่ ดูก่อนปุณณะ ความเข้าถึง แห่งสัตว์น้อยใหญ่เป็นอย่างนี้แล เขาทำกรรมใด ย่อมเข้าถึงด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงแล้วนี้ ดูก่อนปุณณะ เรากล่าวว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 473
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับมรดกแห่งกรรม แม้ด้วยประการฉะนี้๑ ดังนี้ เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง.
กัมมูปจยกถา จบ
วรรคที่ ๑๕ จบ
ตติยปัณณาสก์ จบ
อรรถกถากัมมูปจยกถา
ว่าด้วย ความสั่งสมกรรม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความสั่งสมกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า ความสั่งสมกรรม เป็นอย่างหนึ่งนอกจากกรรม ทั้งเป็นจิตตวิปปยุต เป็นอัพยากตะ เป็น อนารัมมณะ. คำถามของสกวาทีว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น โดย หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า ความสั่งสมกรรมนอกไปจากกรรมไซร้ ความสั่งสมผัสสะเป็นต้นก็จะพึงมีนอกจากผัสสะเป็นต้น ดังนี้ จึงกล่าว คำว่า ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความ ไม่มีในลัทธิ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ความสั่งสมกรรมเกิดพร้อมกับกรรม
๑. ม.ม. ๑๓/๘๘.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 474
หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาการไม่ประกอบกับจิต แต่ตอบรับรอง หมายเอาการสัมปยุตกับจิต. ในปัญหาว่า ความสั่งสมแห่งกรรม ... เป็น กุศลหรือ ก็ตอบปฏิเสธหมายเอาวิปปยุต และตอบรับรองหมายเอา สัมปยุต แม้ในปัญหาทั้งหลายว่า ความสั่งสมกรรม ... เป็นอกุศล ข้างหน้า ก็นัยนี้. ถูกถามว่า ความสั่งสมกรรม ... มีอารมณ์หรือ ปรวาทีปรารถนา ความไม่มีอารมณ์โดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ. คำว่า เมื่อจิตดับ ความว่า เมื่อจิตกำลังดับในกาลใด กรรมก็กำลังแตกดับใน กาลนั้น อนึ่ง คำว่า จิตนี้ท่านประกอบปฐมาวิภัติแต่ลงในอรรถแห่ง สัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ครั้นเมื่อจิตกำลังแตกดับ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบพระบาลีนี้เท่านั้น ว่า.-
ความสั่งสมกรรมที่สัมปยุตกับจิตย่อมแตกดับ ที่วิปปยุตย่อมไม่ แตกดับ ในปัญหานั้น เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองด้วย ปฏิเสธ ด้วย. คำว่า เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี ความว่า ครั้นเมื่อ กรรมมีอยู่ ความสั่งสมกรรมก็มีอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ความสั่งสมกรรมตั้งอยู่ เฉพาะในกรรม วิบากย่อมเกิดเพราะความสั่งสมกรรมนั่นแหละ. ลัทธิ ของปรวาทีว่า ก็ครั้นเมื่อกรรมนั้นดับแล้ว ความสั่งสมกรรมย่อมตั้งอยู่ จนถึงการเกิดขึ้นแห่งวิบาก ดุจพืชย่อมตั้งอยู่เพราะการเกิดขึ้นแห่งหน่อ ของพืช เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. คำว่า กรรมอันนั้น ความสั่งสม กรรมก็อันนั้นแหละ วิบากแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ ความว่า ลัทธิของ ปรวาทีนั้นว่า ความสั่งสมกรรมมีอยู่ในกรรม ความสั่งสมกรรมนั้นย่อม ตั้งอยู่เพียงใดแต่การเกิดขึ้นแห่งวิบาก เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึง ถามถึงธรรมแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้นว่าเป็นสภาพเดียวกันหรือ. สกวาทีย่อม
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 475
ถามเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า แม้วิปากธัมมธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุให้วิบาก เกิดขึ้น เป็นธรรมเนื่องด้วยอารมณ์นั่นเทียว เหมือนวิบากในบทว่า ทั้ง วิบากก็มีอารมณ์หรือ. ส่วนปรวาทีตอบรับรองข้อหนึ่ง ปฏิเสธข้อหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งลัทธิ. แม้ในปฏิโลมปัญหาก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือ ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.
อรรถกถากัมมูปจยกถา จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. ปัจจยตากถา ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา ๓. อัทธากถา ๔. ขณลยมุหุตตกถา ๕. อาสวกถา ๖. ชรามรณกถา ๗. สัญญาเวทยิตกถา ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา ๑๐. อสัญญสัตตูปิกกถา ๑๑. กัมมูปจยกถา
วรรคที่ ๑๕ จบ