วรรคที่ ๑๖ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์
วรรคที่ ๑๖
สุขานุปปทานกถาและอรรถกถา 1654/483
อธิคัยหมนสิการกถาและอรรถกถา 1657/486
รูปังเหตูติกถาและอรรถกถา 1659/493
รูปังสเหตุกันติกถาและอรรถกถา 1663/496
รูปังกุสลากุสลันติกถาและอรรถกถา 1668/499
รูปังวิปาโกติกถาและอรรถกถา 1675/503
รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถาและอรรถกถา 1679/506
รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถาและอรรถกถา 1682/509
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 476
วรรคที่ ๑๖
นิคคหกาถา
[๑๖๓๙] สกวาที บุคคลอื่น ข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า จิตของบุคคลอื่นอย่ากำหนัด อย่า ประทุษร้าย อย่าหลง อย่าเศร้าหมอง ดังนี้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สัญญา ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้นแล้ว จิตที่เกิดขึ้นแล้ว ศรัทธาที่เกิดแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้นแล้ว สติที่เกิดขึ้นแล้ว สมาธิที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิด ขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๐] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นละราคะ ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะ เพื่อ ประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 477
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๑] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นเจริญมรรค เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๒] ส. บุคคลอื่นย่อมข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ยังมรรคให้เกิดเพื่อประโยชน์ แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๓] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแก่บุคคลอื่น สุขและทุกข์คนอื่น ทำให้ คนหนึ่งทำอีกคนหนึ่งเสวยผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๔] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลทำบาปด้วย ตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเทียว ไม่ทำบาปด้วยตน ย่อมหมดจดด้วย ตนเทียว ความหมดจด ความไม่หมดจดเป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะยัง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 478
คนอื่นให้หมดจดไม่ได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิตเพื่อบุคคล อื่นได้ดังนี้.
[๑๖๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็นผู้มีความ ชำนาญมีอยู่ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็น มีความชำนาญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิต ของบุคคลอื่นได้.
นิคคหกถา จบ
อรรถกถานิคคหกถา
ว่าด้วย การข่ม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการข่ม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ผู้ใดมีกำลัง มีอำนาจในโลก ถ้าว่า เขาไม่พึงอาจเพื่อข่มจิตของผู้อื่นได้ไซร้ ความมีกำลัง หรือความมีอำนาจ จะมีประโยชน์อะไรแก่ชนเหล่านั้น ก็เพราะความเป็นผู้มีกำลังและมีอำนาจ
๑. ขุ.ธ. ๒๕/๒๒.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 479
บุคคลเหล่านั้น จึงข่มจิตของบุคคลเหล่าอื่นได้ ดังนี้ คำถามของสกวาที ว่า บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่น เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ข่ม ได้แก่ การห้ามจิตมิให้ตกไปสู่สังกิเล
ส. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี นั่นแล.
อรรถกถานิคคหกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 480
ปัคคหกถา
[๑๖๔๖] สกวาที บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นประคองได้ว่า จิตของบุคคลอื่นอย่ากำหนัด อย่าประทุษร้าย อย่าหลง อย่าเศร้าหมอง ดังนี้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๗] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นยังกุศลมูลคืออโลภะให้เกิด ยังกุศลมูลคือ อโทสะให้เกิด ยังกุศลมูลคืออโมหะให้เกิด ยังศรัทธาให้เกิด ยังวิริยะให้ เกิด ยังสติให้เกิด ยังสมาธิให้เกิด ยังปัญญาให้เกิด แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๘] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นประคองไว้ได้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วแก่ บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นประคองไว้ได้ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว แก่บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๙] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 481
ส. บุคคลอื่นละราคะ ละโทสะ ละโมหะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕๐] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นเจริญมรรค เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕๑] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่น ได้หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดเพื่อ ประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕๒] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแก่บุคคลอื่น สุขและทุกข์คนอื่น ทำให้ คนหนึ่งทำคนหนึ่งเสวยผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลทำบาปด้วย ตน ฯลฯ คนอื่นยังคนอื่นให้หมดจดไม่ได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 482
ป. ถูกแล้ว
ส. ถ้าอย่างนั้นก็พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นประคองจิต ของบุคคลอื่นได้.
[๑๖๕๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็นผู้มีความ ชำนาญมีอยู่ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่ง เป็นผู้มีความชำนาญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่าบุคคลอื่น ประคองจิตของบุคคลอื่นได้. ปัคคหกถา จบ
อรรถกถาปัคคหกถา
แม้ในกถาว่าด้วย การประคองจิต ก็นัยนี้นั่นแหละพระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 483
สุขานุปปทานกถา
[๑๖๕๔] สกวาที บุคคลอื่นส่งความสุขให้บุคคลอื่นได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นส่งความทุกข์ให้แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นส่งความสุขของตนให้แก่บุคคลอื่นหรือ ส่ง ความสุขของคนอื่นๆ หรือ ส่งความสุขของบุคคลผู้รับนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นส่งความสุขของตนให้แก่บุคคลอื่นก็ไม่ใช่ ส่งความสุขของคนอื่นๆ ก็ไม่ใช่ ส่งความสุขของบุคคลผู้รับนั้นก็ไม่ใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลอื่นส่งความสุขของตนให้บุคคลอื่นก็ ไม่ใช่ ส่งความสุขของคนอื่นๆ ก็ไม่ใช่ ส่งความสุขของบุคคลผู้รับนั้นก็ ไม่ใช่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นได้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 484
[๑๖๕๕] ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแก่บุคคลอื่น สุขและทุกข์คนอื่นทำ ให้คนหนึ่งทำ อีกคนหนึ่งเสวยผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕๖] ส. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่คนอื่นได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระอุทายีได้กล่าวคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทรงขจัดทุกขธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทรงประทานสุขธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ พระผู้มี- พระภาคเจ้าของเรา ทรงขจัดอกุศลธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงประทานกุศลธรรม ทั้งหลายแก่ชนเป็น อันมากหนอ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ถ้าอย่างนั้น บุคคลอื่นก็ส่งความสุขแก่บุคคลอื่นได้ น่ะสิ. สุขานุปปทานกถา จบ
๑. ม.ม. ๑๓/๑๗๖.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 485
อรรถกถาสุขานุปปทานกถา
ว่าด้วย การส่งความสุข
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการส่งความสุข. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาทว่า บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคล อื่นได้ เพราะอาศัยพระสูตรที่พระอุทายีเถระกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทรงประทานสุขธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ เป็นต้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูกสกวาทีถามว่า บุคคลอื่นส่งความทุกข์ให้แก่บุคคลอื่นได้หรือ ปรวาที เมื่อไม่เห็นบทพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาว่า บุคคลอื่น ส่งความสุขของตน เป็นต้น ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธ ด้วยถ้อยคำ ว่า ใครๆ ไม่อาจมอบความสุขของตนหรือของผู้อื่นให้แก่ใครๆ ได้ ก็ ชื่อว่าการส่งความสุขในที่นี้จะพึงมีได้อย่างไร. ส่วนในปัญหาว่า บุคคล อื่นส่งความสุขของตนให้แก่บุคคลอื่น ก็ไม่ใช่ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรอง ตามลัทธิว่า ขึ้นชื่อว่าการส่งความสุขเช่นนี้ไม่อาจมีได้. คำว่า ก็ไม่ต้อง กล่าว สกวาทีกล่าวแล้วเพราะไม่มีความสุขเช่นนั้น. พระบาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงประทานสุขธรรมทั้งหลายให้ เป็นต้น ย่อม แสดงซึ่งความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นปัจจัยเพื่อให้เกิดความสุข แก่ชนทั้งหลาย ไม่ใช่แสดงการส่งความสุขให้แก่ชนทั้งหลายเหมือนการ ให้พัสดุต่างๆ มีอาหารเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้าง ดังที่ยกมานั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาสุขานุปปทานกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 486
อธิคคัยหมนสิการกถา
[๑๖๕๗] สกวาที มนสิการรวบยอดได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น ฯลฯ ด้วยเวทนานั้น ฯลฯ ด้วยสัญญานั้น ฯลฯ ด้วยเจตนานั้น ฯลฯ ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ด้วยวิตกนั้น ฯลฯ ด้วยวิจารนั้น ฯลฯ ด้วยปีตินั้น ฯลฯ ด้วยสติ ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้น ด้วยปัญญานั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต ว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 487
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต ว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบัน ว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีต ว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบัน ว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีต ว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต ว่า อนาคตดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต ว่าอนาคต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 488
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ ปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ ปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบันดังนี้ได้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 489
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบันดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 490
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตได้ อนาคต ดังนี้ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่ามนสิการรวบยอดได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดเห็นด้วย ปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทาง แห่งวิสุทธิ เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. ถ้าอย่างนั้นก็มนสิการรวบยอดได้น่ะสิ.
อธิคคัยหมนสิการกถา จบ
อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา
ว่าด้วย มนสิการรวบยอด
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมนสิการรวบยอด คือ การรวบรวมสังขารมา พิจารณา. ในเรื่องนั้น มนสิการ มี ๒ คือ นยโตมนสิการ และ อารัมมณโต-
๑. ขุ.ธ. ๒๕/๓๐.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 491
มนสิการ. ในมนสิการ ๒ นั้น เมื่อบุคคลเห็นแม้สังขารอันหนึ่งโดยความ เป็นของไม่เที่ยงแล้ว เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามนสิการในสังขารทั้งหลายที่เหลือ ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า นยโตมนสิการ ก็เมื่อผู้ใดมนสิการ สังขารทั้งหลายอันเป็นอดีต เขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการสังขารทั้งหลาย อันเป็นอนาคตได้ เพราะมนสิการสังขารอย่างใดอย่างหนึ่งในสังขารที่ เป็นอดีตเป็นต้น จึงชื่อว่า อารัมมณโตมนสิการ. บรรดามนสิการเหล่านั้น เมื่อบุคคลมนสิการในปัจจุบัน ย่อมมนสิการสังขารทั้งหลายด้วยจิตใด แต่จิตนั้นย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการในปัจจุบันขณะได้.
ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ ทั้งหลายว่า บุคคลชื่อว่ามนสิการสังขารทั้งหลาย โดยการยึดถือเอา รวบยอด คือรวบรวมแล้วจึงมนสิการสังขารทั้งปวงโดยเป็นอันเดียวกัน ดังนี้ เพราะอาศัยคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นต้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงโดยความที่บุคคลย่อมมนสิการสังขาร ทั้งปวงเหล่านั้น โดยมนสิการรวมกันด้วยจิตใจ พึงมนสิการซึ่งจิตนั้นด้วย มนสิการนั้นหรือ? จึงกล่าวคำว่า รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นได้หรือ เป็นต้น. คำตอบปฏิเสธโดยหมายเอาว่า ใครๆ ไม่อาจเพื่อรู้เพราะ กระทำให้เป็นอารมณ์. แต่ตอบรับรองโดยหมายเอาว่า จิตแม้นั้น ย่อมรู้ นั่นแหละเพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติรู้ว่า จิตมีลักษณะอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธด้วยคำว่า จิตนั้นนั่นแหละ ไม่เป็นอารมณ์ของจิตนั้น แต่ย่อมตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิที่เกิด ขึ้นแล้ว เพราะอาศัยพระบาลีว่า เมื่อใดย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 492
ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น. แม้อีก ๒ ปัญหาที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนในคำ ทั้งหลายว่า ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็น พระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในปัญหาทั้งหลาย มีอดีตกาลเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบการปฏิเสธ และคำตอบรับรองโดยนัย ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. คำที่เหลือพึงทราบตามบาลีนั่นแหละ. พระบาลี ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น ท่านกล่าวไว้โดยหมายถึง การเห็นโดยนัย มิใช่การเห็นโดยอารมณ์ในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น คำนั้น จึงมิใช่ข้ออ้างที่ยกมาพิสูจน์ว่า เป็นการมนสิการโดยอารมณ์ ดังนี้.
อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 493
รูปังเหตูติกา
[๑๖๕๙] สกวาที รูปเป็นเหตุ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นเหตุ คือ อโลภะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นเหตุ คือ อโทสะ ฯลฯ เป็นเหตุ คือ อโมหะ เป็น เหตุ คือ โลภะ เป็นเหตุ คือ โทสะ เป็นเหตุ คือ โมหะ หรือ? ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นเหตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้นมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นเหตุ.
[๑๖๖๐] ป. อโลภะเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. รูปเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 494
ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโทสะเป็นเหตุ อโมหะเป็นเหตุ โลภะเป็นเหตุ โทสะ เป็นเหตุ โมหะเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งโมหะนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจแห่งรูป นั้นมีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๖๑] ส. รูปเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโลภะเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโทสะเป็นเหตุ อโมหะเป็นเหตุ โลภะเป็นเหตุ โทสะ เป็นเหตุ โมหะเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจแห่งโมหะนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 495
[๑๖๖๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นเหตุ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นเหตุ โดยเป็นที่อาศัยแห่ง อุปาทายรูปทั้งหลาย มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า มหาภูตเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูป ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นเหตุ.
รูปังเหตูติกถา จบ
อรรถกถารูปัง เหตูติกถา
ว่าด้วย รูปเป็นเหตุ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นเหตุ. ในเรื่องนั้น คำว่า เหตุ ได้แก่ เหตุที่เป็นชื่อของเหตุมีกุสลมูลเป็นต้นบ้าง ที่เป็นชื่อของปัจจัยอย่างใด อย่างหนึ่งบ้าง. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะ ทั้งหลายว่า รูปเป็นเหตุโดยไม่แปลกกันเลย โดยอาศัยพระบาลีว่า มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุของอุปาทารูป ดังนี้ เพราะไม่แยกเนื้อความอย่างนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า เป็นเหตุคือโลภะ ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า รูปเป็นอโลภเหตุ หรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ. แม้ในปัญหาที่เหลือก็นัยนี้.
ในคำว่า มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทารูป ทั้งหลาย นี้ ท่านกล่าวถึงความเป็นเหตุเพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย มิได้ กล่าวความเป็นเหตุเพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะฉะนั้น พระบาลีนั้น จึง มิใช่ข้อพิสูจน์รับรองในปัญหาข้อนี้ ดังนี้แล.
อรรถกถารูปังเหตูติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 496
รูปังสเหตุกันติกถา
[๑๖๖๓] สกวาที รูปเป็นธรรมที่มีเหตุหรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ โดยเหตุคืออโลภะหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ โดยเหตุคืออโทสะ ฯลฯ โดยเหตุ คืออโมหะ ฯลฯ โดยเหตุคือโลภะ ฯลฯ โดยเหตุคือโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคือ โมหะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๖๔] ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่ง รูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้นไม่มี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุ.
[๑๖๖๕] ส. อโลภะเป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 497
ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโทสะเป็นธรรมมีเหตุ ฯลฯ อโมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๖๖] ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโลภะเป็นธรรมมีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโทสะเป็นธรรมมีเหตุ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นธรรม มีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 498
นั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุหรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. รูปเป็นธรรมมีปัจจัย มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า รูปเป็นธรรมมีปัจจัย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุ.
รูปังสเหตุกันติกถา จบ
อรรถกถารูปังสเหตุกันติกถา
ในการพรรณนากถาว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุ บัณฑิตพึงทราบเนื้อ ความโดยนัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถารูปังสเหตุกันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 499
รูปังกุสลากุสลันติกถา
[๑๖๖๘] สกวาที รูปเป็นกุศล หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นกุศล.
[๑๖๖๙] ส. อโลภะเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะเป็นกุศล ฯลฯ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้นมีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๗๐] ส. รูปเป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 500
ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโลภะเป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้นไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล แต่เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้นไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๗๑] ส. รูปเป็นอกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้นมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้นไม่มี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นอกุศล ฯลฯ
[๑๖๗๒] ส. โลภะเป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 501
ความตั้งใจแห่งโลภะนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้นมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศลเป็น ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๗๓] ส. รูปเป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะเป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งโลภะนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล แต่ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะนั้น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 502
ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้างหรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า กายกรรม วจีกรรม เป็นกุคลบ้าง เป็นอกุศล บ้าง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง.
รูปังกุสลากุสลันติกถา จบ
อรรถกถารูปังกุสลากุสลันติกถา
ว่าด้วย รูปเป็นกุศลและอกุศล
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นกุศลและอกุศล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายมหิสาสกะและสมิติยะทั้งหลายว่า กายวิญญัติ และวจีวิญญัติรูป กล่าวคือกายกรรมและวจีกรรมว่าเป็นกุศลบ้างเป็น อกุศลบ้าง โดยหมายเอาพระบาลีว่า กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า รูปเป็นกุศลหรือ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงว่า ผิว่า รูปเป็นกุศลไซร้ รูปนั้นก็จะพึงเป็นสภาพต่างๆ เช่นนี้ จึงกล่าวคำว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ เป็นต้น แม้ในปัญหาว่าด้วย อกุศล ข้างหน้าก็นัยนี้. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถารูปังกุสลากุสลันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 503
รูปังวิปาโกติกถา
[๑๖๗๕] สกวาที รูปเป็นวิบากหรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ ฯลฯ สัมปยุต ด้วยจิต เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ไม่เป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นวิบาก.
[๑๖๗๖] ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็น ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ แห่งผัสสะนั้น มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นวิบาก รูปเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่ง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 504
รูปนั้นมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๗๗] ส. รูปเป็นวิบาก แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ไม่ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นวิบากหรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ธรรมคือจิตและเจตสิก ที่บังเกิดขึ้นเพราะความที่ บุคคลได้ทำกรรมไว้ เป็นวิบาก มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก ที่บังเกิดขึ้นเพราะ บุคคลได้ทำกรรมไว้ เป็นวิบาก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปที่ บังเกิดขึ้นเพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมไว้เป็นวิบาก. รูปังวิปาโกติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 505
อรรถกถารูปัง วิปาโกติกถา
ว่าด้วย รูปเป็นวิบาก
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นวิบาก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า รูปใดที่เกิดขึ้นเพราะ ทำกรรมไว้ แม้รูปนั้นก็เป็นวิบาก ดุจจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะทำ กรรมไว้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า รูปเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า รูปเป็นวิบากไซร้ รูปนั้นก็พึงเป็น สภาพต่างๆ เช่นที่กล่าวนี้. คำที่เหลือในทีนี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.
อรรถกถารูปังวิปาโกติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 506
รูปัง รูปาวจรรูปาวจรันติกถา
[๑๖๗๙] สกวาที รูปเป็นรูปาวจรมีอยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวงหา อุปบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์อัน เดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวง หาอุปบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็นสหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ ก็หามิได้ กับจิต ดวงแสวงหาอุบัติ ก็หามิได้ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หา มิได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็น ธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็น ธรรมสหรคต ฯลฯ มีอารมณ์อันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขใน ทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นรูปาวจรมีอยู่.
[๑๖๘๐] ส. รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 507
ส. รูปเป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวงหา อุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐิธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดขึ้นด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็น อันเดียวกันกับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
ส. รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวง หาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็นธรรมสหรคต ฯลฯ มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็น ธรรมแสวงหาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็น ธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็น อรูปาวจรมีอยู่.
[๑๖๘๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นรูปาวจรมีอยู่ รูปเป็นอรูปาวจร มีอยู่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. รูปที่บังเกิด เพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมส่วน กามาวจรไว้เป็นกามาวจร มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 508
ป. หากว่า รูปที่บังเกิด เพราะความที่บุคคลได้ทำกรรม ส่วนกามาวจรไว้เป็นกามาวจร ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปที่ เกิดขึ้นเพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมส่วนรูปาวจรไว้ เป็นรูปาวจร รูปที่บังเกิดเพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมส่วนอรูปาวจรไว้เป็นอรูปาวจร.
รูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา จบ
อรรถกถารูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา
ว่าด้วย รูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า รูปใดเกิดขึ้น เพราะทำกรรมอันส่วนกามาวจร รูปนั้นเป็นกามาวจร เหตุใด เพราะเหตุนั้น รูปใดที่เกิดขึ้นแม้เพราะทำกรรมอันเป็นส่วนรูปาวจรและ อรูปาวจร รูปนั้นก็พึงเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ดังนี้ คำถามของ สกวาทีว่า รูปเป็นทั้งรูปาวจรและอรูปาวจรอยู่หรือ โดยหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีนัยตามที่กล่าว ในหนหลังนั่นแหละ.
อรรถกถารูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 509
รูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา
[๑๖๘๒] สกวาที ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในรูป เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็น ธรรมแสวงหาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหา อุบัติ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความกำหนัดในรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็นธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความกำหนัดในรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหา สมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน ทิฏฐธรรม จะเป็นธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกันมีอารมณ์ เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ ต้องไม่กล่าวว่า ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ.
[๑๖๘๓] ส. ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในเสียงนับเนื่องในสัททธาตุ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 510
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรส ฯลฯ ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ นับเนื่องในทิฏฐัพพธาตุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๘๔] ส. ความกำหนัดในรูป ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องใน สัททธาตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในรูปธาตุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอยางนั้น ฯลฯ
ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรส ฯลฯ ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในรูปธาตุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๘๕] ส. ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 511
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความกําหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในอรูป เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็น ธรรมแสวงหาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหา อุบัติ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความกำหนัดในรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหา สมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวงอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน ทิฏฐธรรม จะเป็นธรรมสหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวง แสวงหาสมาบัติ ก็หามิได้ กับจิตดวงแสวงหาอุปบัติ ก็หามิได้ กับจิต เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความกำหนัด ในรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ.
[๑๖๘๖] ส. ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 512
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในเสียงนับเนื่องในสัททธาตุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรส ฯลฯ ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ?
ป. ไม่พึงกลาวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๘๗] ส. ความกำหนัดในเสียง ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องใน สัททธาตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในอรูป- ธาตุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรูป ฯลฯ ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในอรูป- ธาตุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๘๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่าความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 513
ส. ถูกแล้ว.
ป. ความกำหนัดในกาม นับเนื่องในกามธาตุ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ความกำหนัดในกาม นับเนื่องในกามธาตุ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงต้องกล่าวว่า ความกำหนัดในรูป นับเนื่องในรูปธาตุ ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ.
รูปราโค รูปธาตุปริยาปันโน อรูปธาตุปริยาปันโนติกถา จบ
อรรถกถารูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา
ว่าด้วย รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุเป็นต้น
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่อง ในอรูปธาตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะ ทั้งหลายว่า กามราคะ ความยินดีในกาม นับเนื่องในกามธาตุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้รูปราคะทั้งหลาย คือความยินดีในรูป ก็พึงนับเนื่อง ในรูปธาตุและอรูปธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหนหลัง นั่นแหละ. ด้วยว่า ในปัญหานี้ บัณฑิตพึงทราบบทที่ต่างกันว่า รูปราคะ ย่อมนอนเนื่องในรูปธาตุ และอรูปราคะย่อมนอนเนื่องในอรูปธาตุอย่าง เดียว. ก็ลัทธินั้นมีอยู่ก็นิกายอันธกะทั้งหลายด้วย แก่นิกายสมิติยะ ทั้งหลายด้วย แต่ปัญหานี้เป็นของนิกายอันธกะทั้งหลายเท่านั้น.
อรรถกถารูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 514
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. นิคคหกถา ๒. ปัคคหกถา ๓. สุขานุปปทานกถา ๔. อธิคคัยหมนสิการกถา ๕. รูปังเหตูติกถา ๖. รูปังเหตุกันติกถา ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา ๘. รูปังวิปาโกติกถา ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา.
วรรคที่ ๑๖ จบ