วรรคที่ ๑๗ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์
วรรคที่ ๑๗
อัตถิอรหโต ปุญญปจโยติกถาและอรรถกถา 1689/515
นัตถิอรหโต อกาลมัจจูติกถาและอรรถกถา 1695/517
สัพพมิทังกัมมโตติกถาและอรรถกถา 1699/523
อินทริยพัทธกถาและอรรถกถา 1701/528
ฐเปตวาอริยมัคคันติกถาและอรรถกถา 1705/533
นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถาและอรรถกถา 1708/536
นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณังวิโสเธตีติกถาและอรรถกถา 1713/539
นวัตตัพพัง สังโฆ ภุญชตีติกถาและอรรถกถา 1718/542
นวัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถาและอรรถกถา 1722/545
นวัตตัพพัง พุทธัสส ทินนัง มหัปผลันติกถาและอรรถกถา 1726/548
ทักขิณาวิสุทธิกถาและอรรถกถา 1729/551
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 515
วรรคที่ ๑๗
อัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา
[๑๖๘๙] สกวาที พระอรหันต์มีการสะสมบุญ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์มีการสะสมบาป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์ไม่มีการสะสมบาป หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ไม่มีการสะสมบุญ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๙๐] ส. พระอรหันต์มีการสะสมบุญ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังสร้างสมบุญญาภิสังขาร ยังสร้างสม อาเนญชาภิสังขาร ยังทำกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ เพื่อภพ เพื่อความเป็นใหญ่ เพื่อความเป็นอธิบดี เพื่อสมบัติใหญ่ เพื่อบริวารมาก เพื่อความงามในเทพ เพื่อความงามในมนุษย์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๙๑] ส. พระอรหันต์มีการสะสมบุญ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 516
ส. พระอรหันต์เลิกสะสมอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์ละขาดอยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์ยังถือมั่น อยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์ชำระล้างอยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์หมักหมม อยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์กำจัดอยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์อบอวลอยู่หรือ ฯลฯ
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสั่งสมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้ว ดำรงอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสั่งสมอยู่ก็ ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มี การสะสมบุญ.
[๑๖๙๒] ส. พระอรหันต์ละขาดอยู่ก็ไม่ใช่ ถือมั่นอยู่ก็ไม่ใช่ แต่ เป็นผู้ละขาดแล้วดำรงอยู่ ชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ หมักหมมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่ เป็นผู้ชำระล้างแล้วดำรงอยู่ กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็น ผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์ กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็ ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มีการ สะสมบุญ.
[๑๖๙๓] ป. พระอรหันต์มีมีการสะสมบุญ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 517
ป. พระอรหันต์พึงให้ทาน หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระอรหันต์พึงให้ทาน ก็ต้องไม่กล่าวว่าพระอรหันต์ ไม่มีการสะสมบุญ.
[๑๖๔๔] ป. พระอรหันต์ให้จีวร ฯลฯ พึงให้บิณฑบาต พึงให้ เสนาสนะ พึงให้คิลานปัจจยเภสัชบริขาร พึงให้ของเคี้ยว พึงให้ของ บริโภค พึงให้น้ำดื่ม พึงไหว้พระเจดีย์ พึงยกขึ้นซึ่งมาลา พึงยกขึ้นซึ่ง ของหอม พึงยกขึ้นซึ่งเครื่องลูบไล้ ที่พระเจดีย์ พึงทำประทักษิณพระเจดีย์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์พึงทำประทักษิณพระเจดีย์ ก็ ต้องไม่กล่าวว่าพระอรหันต์ไม่มีการสะสมบุญ.
อัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา จบ
อรรถกถาอัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา
ว่าด้วย พระอรหันต์มีการสะสมบุญ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระอรหันต์มีการสะสมบุญ. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า การสะสม บุญของพระอรหันต์มีอยู่ เพราะอาศัยกรรมมีการแจกจ่ายทานและ การไหว้พระเจดีย์เป็นต้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงว่า ชื่อว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีบุญอันละบาปอันได้แล้ว ถ้าว่า พระอรหันต์พึง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 518
ทำบุญบ้าง พึงทำบาปบ้างไซร้ ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า พระอรหันต์มีการ สะสมบาปหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ. ในคำว่า พระอรหันต์ยังสร้างสมปุญญาภิสังขาร เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกรรมอันเป็นเหตุนำไปสู่ภพของพระอรหันต์ ไม่มี.
ในคำว่า พระอรหันต์พึงให้ทาน เป็นต้น สกวาทีตอบรับรอง เพราะสภาพความเป็นไปแห่งทานเป็นต้นของพระอรหันต์มีอยู่ด้วยกิริยาจิต แต่ปรวาทีไม่ถือเอาจิตจึงให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ด้วยการแสดงสักว่าเป็น เรื่องของการกระทำ. ถึงอย่างนั้น ลัทธินั้นก็ตั้งอยู่ไม่ได้เพราะตั้งไว้โดย อุบายอันไม่แยบคาย ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาอัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 519
นัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา
[๑๖๙๕] สกวาที พระอรหันต์ ไม่มีอกาลมรณะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อรหันตฆาตไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อรหันตฆาตมีหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์มีอกาลมรณะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
[๑๖๙๖] ส. ผู้ที่ปลงชีวิตพระอรหันต์นั้น ปลงในเมื่อมีชีวิตคือ ชีวิต ส่วนที่เหลือยังมีอยู่ หรือว่า ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือไม่มีอยู่.
ป. ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือไม่มีอยู่.
ส. หากว่า ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือยังมีก็ต้อง ไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ไม่มีกาลมรณะ.
ป. ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือยังมีอยู่.
ส. อรหันตฆาตไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๙๖] ส. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยาพิษ ศาสตรา ไฟ ไม่พึงเข้าไปในกายของพระ-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 520
อรหันต์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ยาพิษ ศาสตรา ไฟ พึงเข้าไปในกายของพระอรหันต์ ได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงเข้าไปในกายของ พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ.
[๑๖๙๗] ส. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงเข้าไปในกายของพระ- อรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อรหันตฆาตไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๙๘] ป. พระอรหันต์มีอกาลมรณะ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวความที่กรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนา ที่บุคคลทำแล้ว สะสม แล้วจะสิ้นสุดไป เพราะมิได้เสวยผล แต่กรรมนั้นแล จะให้ผลในทิฏฐธรรม เทียว หรือในภพถัดไป หรือในภพอื่นสืบๆ ไป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น พระอรหันต์ก็ไม่มีอกาลมรณะน่ะสิ. นัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 521
อรรถกถานัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา
ว่าด้วย พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ คือการตายใน เวลาอันไม่สมควรของพระอรหันต์ไม่มี. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะและสมิติยะทั้งหลายว่า ชื่อว่า พระอรหันต์ต้องเสวยกัมมวิบากทั้งปวงแล้วจึงจะปรินิพพาน ดังนี้ เพราะถือเอาเนื้อความแห่งพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว ความที่กรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาที่บุคคลทำแล้วสะสมแล้วจะสิ้นสุด ไป เพราะมิได้เสวยผล แต่กรรมนั้นจะให้ผลในทิฏฐธรรมเทียว หรือ ในภพที่ถัดไป หรือในภพอื่นสืบๆ ไป ดังนี้ โดยไม่พิจารณา คำถาม ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงว่า ผิว่า อกาลมรณะของพระอรหันต์ไม่มีไซร้ชื่อว่า ผู้ฆ่าพระอรหันต์ก็ไม่พึงมี ดังนี้ จึงกล่าวว่า อรหันตฆาต คือผู้ฆ่า พระอรหันต์ ไม่มีหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความที่อนันตริยกรรม และบุคคลผู้เป็นเช่นนั้นนั่นแหละมีอยู่พร้อม. ในปัญหาว่า ยาพิษ ... ไม่ พึงเข้าไปในกาย ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะลัทธิว่า กรรมที่ท่านทำไว้ ในกาลก่อนยังไม่สิ้นไปตราบใดยาพิษก็ไม่ทำอันตรายตราบนั้น ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ.
พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว เป็นต้น ที่ปรวาที กล่าวแล้วหมายเนื้อความนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่กล่าว ความที่กรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาที่บุคคลทำแล้วสะสมแล้วจะสิ้นสุด ไป เพราะมิได้รับมิได้ประสบมิได้เสวยผล คือหมายความว่า ไม่ทรง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 522
กล่าวซึ่งความที่กรรมเหล่านั้นเป็นของสิ้นสุดโดยวิถีทั้งหมด ก็แลเมื่อ กรรมที่ให้ผลในทิฏฐธรรมมีอยู่กรรมนั้นนั่นแหละพึงให้ผลในทิฏฐธรรม มิใช่ให้ผลในภพอื่นๆ เมื่อกรรมทีให้ผลในภพหน้า คือภพที่ ๒ มีอยู่ กรรมนั้นย่อมให้ผลในภพนั้นไม่ให้ผลในภพอื่น เมื่อกรรมที่จะให้ผลในภพ อื่นๆ มีอยู่ในกาลใด กรรมนั้นได้ให้โอกาสให้ผลในกาลนั้นย่อมให้ผล ด้วย ประการฉะนี้. อีกนัยหนึ่ง ในปริยายอื่นอีกที่มีสภาพอย่างนี้ มีอธิบายว่า ครั้นเมื่อความเป็นไปแห่งสังขาร คือการท่องเที่ยวไป แม้ในที่ทั้งปวง มีอยู่ ประเทศของโลกนั้นย่อมไม่เว้นจากวาระของการให้ผลของกรรม ด้วยประการฉะนี้ บุคคลอยู่ในที่ใดๆ จึงไม่พ้นจากบาปกรรม ครั้น เมื่อความเป็นเช่นนี้มีอยู่ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยังเหลืออยู่แม้อย่างหนึ่ง ยังไม่มีโอกาสให้ผลในกาลก่อน พระอรหันต์ก็พึงเสวยผลแห่งกรรมนั้น เพราะฉะนั้น ว่าโดยกาลเหมาะสมแล้ว การตั้งลัทธิว่า พระอรหันต์ไม่มี อกาลมรณะ ดังนี้ ที่ปรวาทีทำแล้ว จึงชื่อว่าทำไว้ไม่ดี ด้วยประการ ฉะนี้แล.
อรรถกถานัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 523
สัพพมิทัง กัมมโตติกถา
[๑๖๙๙] สกวาที สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. แม้กรรมก็เป็นเพราะกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สิ่งทั้งปวงเป็นเพราะกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะวิบากแห่งกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะวิบากแห่งกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลพึงฆ่าสัตว์ เพราะวิบากแห่งกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปาณาติบาตมีผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิบากแห่งกรรมมีผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิบากแห่งกรรมไม่มีผล หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 524
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปาณาติบาตไม่มีผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลพึงลักทรัพย์ ฯลฯ พึงกล่าวเท็จ พึงกล่าวคำ ส่อเสียด พึงกล่าวคำหยาบ พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดช่องย่องเบา พึงปล้นใหญ่ พึงปล้นเฉพาะหลังคาเรือน พึงดักที่ทางเปลี่ยว พึงผิดเมียท่าน พึงฆ่า ชาวบ้าน พึงฆ่าชาวนิคม เพราะกรรมวิบาก หรือ? พึงให้ทาน พึงให้จีวร พึงให้บิณฑบาต พึงให้เสนาสนะ พึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เพราะกรรมวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารมีผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมวิบากมีผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กรรมวิบากไม่มีผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารไม่มีผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๐๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า โลกเป็นไปเพราะ กรรม หมู่สัตว์เป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกระชับ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 525
เหมือนลิ่มสลักแห่งรถ ที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น๑ บุคคลได้เกียรติ ความ สรรเสริญ เพราะกรรม และได้ความเสื่อม การถูกฆ่า การถูกจองจำก็ เพราะกรรม บุคคลรู้ชัดซึ่งกรรมนั้นว่า เป็นเครื่องทำให้ต่างกันฉะนี้แล้ว ไฉนจะพึงกล่าวว่า กรรมไม่มีในโลกเล่า ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สิ่งทั้งปวงนี้ ก็เป็นเพราะกรรม น่ะสิ.
สัพพมิทัง กัมมโตติกถา จบ
อรรถกถาสัพพมิทัง กัมมโตติกถา
ว่าด้วย สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสิ่งทั้งปวงนี้เป็น คือเกิด เพราะกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายราชคิริกะและสิทธัตถิกะทั้งหลาย ว่า สิ่งทั้งปวงนี้กล่าวคือ กัมมวัฏฏะ กิเลสวัฏฏ์ฏะ วิปากวัฏฏ์ฏะเกิดมา เพราะกรรมเทียว เพราะอาศัยพระสูตรว่า โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า สิ่งทั้งปวง เป็นต้นหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ แม้กรรมก็ย่อมเกิดแต่กรรม ดังนี้ จึง กล่าวว่า แม้กรรมก็เป็น คือเกิด เพราะกรรมหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ ด้วยคำว่า ผิว่า แม้กรรมชื่อว่าเกิดแต่กรรมจริงไซร้ กรรมนั้นก็พึงเป็น วิบากเท่านั้น ดังนี้. คำว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะเหตุที่ทำไว้ในกาล
๑. ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๒.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 526
ก่อนหรือ สกวาทีถามเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า สิ่งทั้งปวงเกิดแต่กรรม สิ่งนั้น ก็พึงมีเหตุที่ทำไว้แล้วในกาลก่อน. ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวเป็น ลัทธิปุพเพกตเหตุวาทะ. คำว่า เป็นพระวิบากแห่งกรรมหรือ สกวาที ถามเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า สิ่งทั้งปวงย่อมเกิดเพราะกรรม กรรมใดที่เป็นเหตุ แห่งความเป็นไปในอดีตภพ กรรมแม้นั้นก็เกิดจากกรรมในภพก่อน เพราะฉะนั้น กัมมวิบากย่อมสำเร็จ ด้วยเหตุนั้น สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏ เพราะกัมมวิบากตามลัทธิของท่านด้วยเหตุนั้นหรือ ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาความเกิดแต่กรรมของความเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น เหมือนหน่อแห่งพืชย่อมเกิดมาจากพืช. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านก็ตอบรับรอง เพราะความที่กรรมแม้นั้นเป็นไป เพราะกรรมในก่อนเหมือนหน่อแห่งพืช ย่อมเกิดจากพืชต้นก่อน. คำว่า บุคคลพึงฆ่าสัตว์ เป็นต้น สกวาที กล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า สิ่งทั้งปวงเกิดแต่กัมมวิบากไซร้ บุคคลก็พึงทำ ปาณาติบาตเป็นต้นด้วยกัมมวิบากนั้นนั่นแหละ. ปรวาทีตอบรับรองตาม ลัทธิว่า แม้เจตนาในความเป็นผู้ทุศีลที่เกิดขึ้นในกรรมก่อนก็เป็นวิบาก โดยปริยายหนึ่งทีเดียว. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า ปาณาติบาตมี ผลหรือ เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ปาณาติบาตย่อมสำเร็จจากกัมมวิบากตาม ลัทธิของท่านไซร้ แม้วิบากก็มีผลปรากฏเหมือนปาณาติบาต ดังนี้ ปรวาที เมื่อเห็นซึ่งความที่ปาณาติบาตมีผล เพราะความเป็นผลให้เกิดในนรก เป็นต้น จึงตอบรับรอง. แต่เมื่อไม่เห็นฐานะที่สกวาทีกล่าวว่า สิ่งชื่อนี้ เป็นผลของกัมมวิบาก จึงตอบปฏิเสธ. แม้ใน อทินนาทาน เป็นต้น ก็นัยนี้.
คำว่า คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร มีผลหรือ ความว่า สกวาที ย่อมถามว่า ผลแห่งการให้ทานมีอยู่ด้วยสามารถแห่งไทยธรรมหรือ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 527
พระสูตรว่า โลกคือสัตว์โลก เป็นไปเพราะกรรม ย่อมแสดงซึ่งความที่ บุคคลนับถือกรรมว่าเป็นของตน ของกัมมวาทีบุคคลว่า กรรมมีอยู่ เพราะปฏิเสธอกัมมวาทีบุคคล ที่กล่าวว่า กรรมไม่มีอยู่ ดังนี้ มิใช่แสดง ซึ่งความที่สิ่งทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะกรรมเลย เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ จึงไม่สำเร็จดังลัทธินั้น ดังนี้แล.
อรรถกถาสัพพมิทัง กัมมโตติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 528
อินทริยพัทธกถา
[๑๗๐๑] ปรวาที สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์ หรือ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความ แปรไปเป็นธรรมดา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไป เป็นธรรมดา มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ก็ไม่เที่ยง เป็น สังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ เท่านั้นเป็นทุกข์.
[๑๗๐๒] ส. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ มีความแปรไปเป็นธรรมดา แต่มันไม่เป็นทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ มี
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 529
ความแปรไปเป็นธรรมดา แต่มันไม่เป็นทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ มี ความแปรไปเป็นธรรมดา และมันเป็นทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ มีความแปรไปเป็นธรรมดา และมันเป็นทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๐๓] ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สิ่งใดที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ก็ไม่เที่ยง ก็ต้องไม่กล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์.
[๑๗๐๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ฉันใด ก็อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกำหนดรู้ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ฉันนั้นหรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 530
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ทุกข์เนื่องด้วยอินทรีย์ อันพระอริยะกำหนดรู้แล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นอีก ฉันใด ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ อันพระอริยะกำหนด รู้แล้ว ก็ไม่เกิดขึ้นอีกฉันนั้น หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ก็สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์ น่ะสิ.
อินทริยพัทธกถา จบ
อรรถกถาอินทริยพัทธกถา
ว่าด้วย สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์. ในปัญหานั้น ทุกข์มี ๒ คือ อินทริยพัทธทุกข์ คือสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์ และ อนินทริยพัทธทุกข์ คือสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์ ก็อินทริยพัทธะ ชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์ อนินทริยพัทธะชื่อว่าเป็น ทุกข์ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไว้ในคำว่า สิ่งใด ไม่เที่ยงสิ่งนั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและความดับ บีบคั้น ดังนี้. ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย เหตุวาทะทั้งหลายว่า การประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกำหนดรู้ทุกข์อันใด ทุกข์อันนั้นเป็นอินทริยพัทธทุกข์นี้ เท่านั้น มิใช่ทุกข์อื่นนอกจากนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า สิ่งที่เนื่อง ด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์หรือ เพื่อแสดงซึ่งความที่อนินทริยพัทธะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 531
คือสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้นอกนี้ก็เป็นทุกข์ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นไม่เที่ยง ดังนี้ เพื่อท้วงด้วยคำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ เหตุใด เพราะเหตุนั้น อินทริยพัทธทุกข์เท่านั้นพึงเป็นสภาพไม่เที่ยงหรือ ดังนี้. คำว่า สิ่งที่ไม่ เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง ... .มิใช่หรือ อธิบายว่า แม้อนินทริยพัทธะ เช่น แผ่นดิน ภูเขา แผ่นหิน เป็นต้น ก็ไม่เที่ยงมิใช่หรือ.
ในปัญหาว่า ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็น ทุกข์หรือ คำตอบรับรองว่า ใช่ เป็นของสกวาที. จริงอยู่ อินทริยพัทธทุกข์ ย่อมเป็นอารมณ์ของทุกขโทมนัสทั้งหลาย. อันที่จริง ไฟในฤดูร้อนก็ดี ลมในฤดูหนาวก็ดีก็เป็นอารมณ์ของทุกข์ ความฉิบหายแห่งโภคะเป็นต้น ก็เป็นอารมณ์ของโทมนัสเสมอไป เพราะฉะนั้น แม้เว้นจากอินทริยพัทธทุกข์ เสียแล้ว ก็พึงกล่าวได้ว่า อนินทริยพัทธะเป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็น สภาพไม่เที่ยง แต่ไม่ควรกล่าวว่า เป็นทุกขอริยสัจ เพราะความเป็นทุกข์ ไม่เกิดจากกรรมและกิเลสทั้งหลาย และเพราะความที่บุคคลไม่พึงกำหนด รู้ได้ด้วยมรรค. อนึ่ง ความดับสลายไปแห่งหญ้าและต้นไม้เป็นต้น หรือ ความดับสลายไปแห่งพืชที่เกิดตามฤดูกาลเป็นต้นย่อมไม่ชื่อว่าเป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เหตุใด เพราะเหตุนั้น อินทริยพัทธะเท่านั้นเป็นทุกข์ ด้วย เป็นอริยสัจจะด้วย แต่อนินทริยพัทธะนี้เป็นแต่เพียงทุกข์เท่านั้นไม่ เป็นอริยสัจ ดังนั้น สกวาทีเพื่อจะแสดงทุกข์ทั้ง ๒ ที่ต่างกันนี้ จึงตอบ รับรองว่า ใช่ พระบาลีว่า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์อันเนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นต้น ย่อมแสดงถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการกำหนดรู้
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 532
อินทริยพัทธทุกข์โดยการทำไม่ให้เกิดขึ้นอีกของผู้ที่กำหนดรู้แล้ว. ด้วย เหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงปฏิเสธในปัญหานั้น. อันที่จริง ใครๆ ไม่อาจ เพื่อปฏิเสธความที่อนินทริยพัทธทุกข์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ ไว้ด้วยคำว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ ดังนี้ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ว่าไม่เป็นทุกข์ ดังนี้แล.
อรรถกถาอินทริยพัทธกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 533
ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา
[๑๗๐๕] สกวาที เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อริยสัจมี ๓ เท่านั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อริยสัจมี ๓ เท่านั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอริยสัจไว้ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็ต้องไม่กล่าวว่า อริยสัจ มี ๓ เท่านั้น
[๑๗๐๖] ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โดยอรรถว่าอย่างไร.
ป. โดยอรรถว่า ไม่เที่ยง.
ส. อริยมรรคไม่เที่ยง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อริยมรรคเป็นทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 534
ส. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่ทุกขสมุทัยนั้นไม่เป็นทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง และทุกขสมุทัยนั้นเป็นทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อริยมรรคไม่เที่ยง และอริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๐๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อริยมรรคนั้น เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า อริยมรรคนั้น เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์.
ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา จบ
อรรถกถาฐเปตวา อริยมัคคันติกถา
ว่าด้วย เว้นอริยมรรค
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเว้นอริยมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะทั้งหลายว่า อริยมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหตุใด เพราะเหตุนั้น ยกเว้น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 535
อริยมรรคสังขารที่เหลือชื่อว่า เป็นทุกข์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีกล่าวว่า แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์หรือ เพื่อท้วงว่า ก็ถ้าว่าครั้นเมื่อความเป็น อย่างนั้นมีอยู่ไซร้ สภาพแม้แห่งสมุทัยก็ต้องเป็นทุกข์. ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาสมุทัยนั้นเป็นเหตุลักขณะ คือ สภาวะเป็นเหตุ เมื่อถูกถามอีก ก็ตอบรับรองหมายเอาสมุทัยนั้นเป็นโลกียธรรมมีความเกิดดับ. ในปัญหา ทั้งหลายว่า อริยสัจมี ๓ เท่านั้นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิด จากพระสูตร ดังนี้แล.
อรรถกถาฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 536
นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา
[๑๗๐๘] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยม ของโลก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.
[๑๗๐๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.
[๑๗๑๐] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คนบางพวกที่ถวายทานแก่พระสงฆ์มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 537
ส. หากว่า คนบางพวกที่ถวายทานแก่พระสงฆ์มีอยู่ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.
ส. คนบางคนที่ถวายจีวร ฯลฯ ที่ถวายบิณฑบาต ที่ถวาย เสนาสนะ ที่ถวายคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่ถวายของขบเคี้ยว ที่ถวาย ของบริโภค ฯลฯ ที่ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คนบางพวก ที่ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.
[๑๗๑๑] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พระสงฆ์ผู้ถึงพร้อม ด้วยสมาธิ ย่อมรับของทำบุญ ดุจไฟรับการบูชา ดุจแผ่นดินรับน้ำฝนจาก มหาเมฆ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น พระสงฆ์ก็รับของทำบุญได้น่ะสิ.
[๑๗๑๒] ป. พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มรรครับได้หรือ ผลรับได้หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 538
อรรถกถานวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา
ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะกล่าวคือมหาปุญญวาที ในขณะนี้ว่า เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้วพระสงฆ์ก็คือมรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าพระสงฆ์อื่นนอกจากมรรคผลย่อมไม่มี ก็มรรค ละผลจะรับอะไรได้ ฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าพระสงฆ์รับทักขิณาทาน คือของทำบุญ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พระสงฆ์เป็น อาหุเนยยบุคคล ผู้ควรของบูชามิใช่หรือ เพื่อท้วงว่า ผิว่า ตามลัทธิของท่าน พระสงฆ์ไม่พึงรับทักขิณาทานไซร้ พระศาสดาก็จะ ไม่พึงยกย่องพระสงฆ์ว่า เป็นผู้ควรแก่บูชา เป็นต้น. ข้อว่า คนบางคนถวายทานแก่พระสงฆ์ สกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วง ว่า บุคคลเหล่าใดย่อมถวายทานแก่พระสงฆ์ ครั้นเมื่อผู้รับทานไม่มี บุคคล เหล่านั้นจะพึงถวายทานแก่ใครเล่า ดังนี้. พระสูตรว่า ดุจไฟรับการบูชา ดังนี้ ท่านนำมาจากลัทธิอื่น. ในคำเหล่านั้นคำว่า มหาเมฆ ท่านกล่าว หมายเอาเมฆคือฝน จริงอยู่แผ่นดินย่อมรองรับน้ำฝนมิใช่รองรับเมฆเลย. คำว่า มรรครับ ทักขิณาทาน ได้หรือ ปรวาทีย่อมกล่าวตามลัทธิว่า มรรคและผลเป็นพระสงฆ์ ดังนี้ อันที่จริงมรรคและผลนั้นมิใช่พระสงฆ์ แต่บุคคล ๘ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะ ท่านอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่บริสุทธิ์โดยความปรากฏเกิดขึ้นแห่งมรรคและผล เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ใช่ข้อพิสูจน์ว่า มรรคผลเป็นพระสงฆ์ ดังนี้แล. อรรถกถานวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคันหาตีติกถา จบพระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 539
นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา
[๑๗๑๓] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ คือให้ผลมาก ได้หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระสงฆ์ เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ยัง ของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้.
[๑๗๑๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังทักษิณาให้บริสุทธิ์ได้หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้.
[๑๗๑๕] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 540
ส. คนบางพวกถวายทานแก่พระสงฆ์แล้ว ชื่นชมบุญ มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คนบางพวกที่ถวายทานแก่พระสงฆ์แล้ว ชื่นชมบุญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญ ให้บริสุทธิ์ได้.
[๑๗๑๖] ส. คนบางคนถวายจีวร ฯลฯ ถวายบิณฑบาต ถวาย เสนาสนะ ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ถวายของเคี้ยว ถวายของ บริโภค ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์แล้ว ชื่นชมบุญ มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คนบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์แล้ว ชื่นชมบุญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญ ให้บริสุทธิ์ได้.
[๑๗๑๗] ป. พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มรรคยังของทำบุญให้บริสุทธิ์หรือ ผลยังของทำบุญ ให้บริสุทธิ์ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 541
อรรถกถาวัตตัพพังสังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา
ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่าพระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ไม่พึงกล่าวว่าพระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ คือทำให้มีผลมาก. ในปัญหานั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย เวตุลลกะนั้นนั่นแหละว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่า พระสงฆ์ ก็มรรค และผลเหล่านั้นย่อมไม่อาจเพื่อทำทักษิณาให้บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ ดังนี้ คำถามของ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า เป็นผู้ควรของบูชา เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าว่า พระสงฆ์ไม่อาจเพื่อให้ทักษิณา คือของทำบุญ บริสุทธิ์ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็คงไม่กล่าวยกย่องพระสงฆ์นั้นอย่างนี้. คำว่าให้บริสุทธิ์ ได้แก่ ทำให้มีผลมาก จริงอยู่ ทานมีปริมาณน้อยที่เขาถวายแล้วในสงฆ์ ย่อมเป็นทานมีผลมาก ทานที่มีปริมาณมากที่เขาถวายแล้วในสงฆ์ก็ย่อม มีผลมากกว่า. คำว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ (ทกฺขิเณยฺย) ได้แก่ ผู้ควร แก่ทักษิณา คือสมควรแก่ทานที่เขาให้ด้วยความเคารพ อธิบายว่า ผู้ สามารถเพื่อทำทักษิณานั้นให้บริสุทธิ์. คำว่า ชื่นชมบุญ คือทักษิณา ได้แก่ ให้บุญ คือทักษิณา นั้นถึงพร้อม อธิบายว่า ย่อมให้บรรลุผลอันใหญ่ ด้วยทักษิณาแม้มีปริมาณน้อย. คำที่เหลือในที่นี้มีนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อรรถกถาวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 542
นวัตตัพพังสังโห ภุญชตีติกถา
[๑๗๑๘] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. คนบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคูและปานะ มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คนบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และ ปานะ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้.
[๑๗๑๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคณะโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ ไว้มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคณะโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะไว้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้.
[๑๗๒๐] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปานะ ๘ คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 543
น้ำเง่าบัว น้ำมะปรางไว้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปานะ ๘ คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเง่าบัว น้ำมะปรางไว้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้.
[๑๗๒๑] ป. พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มรรค ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้หรือ ผล ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นวัตตัพพังสังโฆ ภุญชตีติกถา จบ
อรรถกถานวัตตัพพัง สังโฆ ภุญชตีติกถา
ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ฉันอาหาร
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ฉันอาหาร. แม้ในปัญหา นั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเวตุลลกะนั้นนั่นแหละว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่า พระสงฆ์ ก็มรรคและผลเหล่านั้นจะบริโภค อะไรได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ย่อมฉันอาหาร ย่อมดื่ม ย่อมเคี้ยว ย่อมลิ้มรส ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงว่า ผิว่า พระสงฆ์ ไม่พึงฉันอาหารไซร้ การทำสังฆภัตเป็นต้นก็ไม่มีประโยชน์ ดังนี้ จึง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 544
กล่าวคำเป็นต้นว่า คนบางพวกที่ทำสังฆภัต ... มีอยู่มิใช่หรือ.
คำว่า คณโภชนะ เป็นต้น คือการฉันอาหารเป็นหมู่ สกวาที กล่าวแล้วเพื่อท้วงว่า ผิว่า พระสงฆ์ไม่พึงฉันอาหารไซร้ การฉันอาหาร เป็นหมู่คณะจะพึงมีแก่ใครเล่า. คำว่า ปานะ ๘ ได้แก่ อัฏฐปานะ นี้สกวาที กล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า พระสงฆ์ไม่ได้ดื่มน้ำปานะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตน้ำปานะ ๘ อย่างเหล่านั้นเพื่อใคร. แม้คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
อรรถกถานวัตตัพพังสังโฆภุญตีติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 545
นวัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา
[๑๗๒๒] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์ มีผลมาก.
[๑๗๒๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์ มีผลมาก.
[๑๗๒๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนโคตมี ท่าน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 546
จงให้ในพระสงฆ์ เมื่อท่านให้ในพระสงฆ์แล้ว จักได้ชื่อว่า บูชาเราด้วย บูชาพระสงฆ์ด้วย ดังนี้ (๑) เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ทานที่ถวายแก่สงฆ์ ก็มีผลมากน่ะสิ.
[๑๗๒๕] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ได้กราบทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าดังนี้ มนุษย์ทั้งหลาย ผู้จะบูชา เป็นผู้แสวงบุญ เมื่อจะทำบุญส่วนวัฏฏคามี ให้ทานในที่ไหน จึงจะมีผลมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ ในผล ๔ จำพวก นี้ชื่อว่าพระสงฆ์ เป็นผู้ตรง ดำรงอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา มนุษย์ทั้งหลาย ผู้จะบูชา เป็นผู้แสวงบุญ เมื่อจะทำบุญส่วน วัฏฏคามีให้ทานในพระสงฆ์นี้ จึงจะมีผลมาก ดังนี้๑
แท้จริง พระสงฆ์นี้ กว้างขวาง ใหญ่โต หาประมาณมิได้ดุจมหาสมุทร ท่านเหล่านี้ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นวีระ แห่งนระ เป็นผู้ทำแสงสว่าง ประกาศธรรมอยู่ ชนเหล่าใดให้ทานอุทิศ สงฆ์ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ให้ดีแล้ว บูชาดีแล้ว บวงสรวงดีแล้ว ทักษิณา ที่ตั้งไว้แล้วในสงฆ์นั้น มีผลมาก อันพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ชน เหล่าใดตามระลึกถึงการบูชาเช่นนี้ เป็นผู้มีความยินดี เที่ยวไปในโลก กำจัดมลทิน คือความตระหนี่พร้อมทั้งรากเง่าเสียแล้ว เป็นผู้อันบัณฑิต ติเตียนไม่ได้เข้าถึงฐานะ คือ สวรรค์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
๑. ม.อุ.๑๔/๗๗.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 547
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ทานที่ถวายในพระสงฆ์ก็มีผลมากน่ะสิ. นวัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา จบ
อรรถกถานวัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา
ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก. แม้ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะนั้นนั่นแหละ ว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าพระสงฆ์ ก็ใครๆ ไม่อาจให้อะไรๆ แก่ มรรคและผลเหล่านั้นได้ ทั้งมรรคและผลเหล่านั้นก็ไม่อาจรับอะไรๆ ได้ อนึ่ง ความอุปการะอะไรๆ เพราะการให้แก่มรรคและผลเหล่านั้นก็ย่อม ไม่สมปรารถนา ฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มี ผลมาก ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. คำว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรบูชา อาหุเนยฺโย เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าว่า ทานถวายแก่สงฆ์ไม่พึงมีผล มากไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงสรรเสริญพระสงฆ์นั้นเช่นนี้. คำที่เหลือพึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถานวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ
๑. สํ.
ส. ๑๕/๙๒๓ - ๔.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 548
นวัตตัพพัง พุทธังสส ทินนัง มหัปผลันติกถา
[๑๗๒๖] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามี ผลมากหรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นยอดแห่งบรรดาทวิบท มี เทวดาและมนุษย์เป็นต้น เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้บวรแห่งบรรดาทวิบท ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีใคร เปรียบ ไม่มีใครเทียบ ไม่มีใครเทียม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นยอดแห่งบรรดา ทวิบท เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นอุดม เป็นบวรแห่งบรรดา ทวิบท ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเทียบ ไม่มีใครเทียมด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้า มีผลมาก.
[๑๗๒๗] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ใครๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา มีอยู่หรือ?
ป. ไม่มี.
ส. หากว่า ใครๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้า โดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา ไม่มี ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ทานที่
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 549
ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก.
[๑๗๒๘] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในโลกนี้ก็ตาม ในโลกอื่นก็ตาม ไม่มีผู้ที่จะประเสริฐกว่า หรือจะทัดเทียมกับพระพุทธเจ้า ผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นยอดแห่งอาหุเนยยบุคคล ของหมู่ชนผู้มีความต้องการ บุญ ผู้แสวงหาผลไพบูลย์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ทานที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าก็มีผลมาก น่ะสิ.
นวัตตัพพัง พุทธัสส ทินนังมหัปผลันติกถา จบ
อรรถกถานวัตตัพพัง พุทธัสสะ ทินนัง มหัปผลันติกถา
ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า ท่านที่ถวายพระพุทธเจ้ามีผลมาก
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายพระพุทธเจ้ามีผลมาก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะนั้นนั่นแหละ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมไม่บริโภคอะไรๆ แต่ย่อม แสดงพระองค์ดุจบริโภคอยู่เพื่อต้องการคล้อยตามชาวโลก เพราะฉะนั้น จึงไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระพุทธเจ้านั้นมีผลมากเพราะไม่มี อุปการคุณ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. คำว่า พระพุทธเจ้าเป็นยอดแห่งบรรดาทวิบท คือ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 550
เลิศกว่าเทวดาและมนุษย์เป็นต้น เป็นอาทิ สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ทานที่ให้แม้ในมนุษย์ผู้ทุศีล ยังมีคุณถึงพันหนึ่ง จะป่วยกล่าวไปใยถึง ทานที่ถวายในบุคคลผู้เลิศเห็นปานนี้เล่า. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบความ พระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถานวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 551
ทักขิณาวิสุทธิกถา
[๑๗๒๙] สกวาที ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ ได้โดยปฏิคคาหกหรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ปฏิคคาหกบางพวก ที่เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควร ของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญ ชั้นเยี่ยมของโลกมีอยู่ มิใช่หรือ? ป ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปฏิคคาหกบางพวก ที่เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็น เนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ท่านบริสุทธิ์ได้โดย ทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.
[๑๗๓๐] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้ โดยปฏิคคาหก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘ ว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ ได้โยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.
[๑๗๓๑] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 552
โดยปฏิคคาหก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนบางพวกให้ทานในพระโสดาบัน แล้วชื่นชมบุญ มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ชนบางพวกให้ทานในพระโสดาบันแล้วชื่นชม บุญมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ ได้โดยปฏิคคาหก.
ส. ชนบางพวกให้ทานแก่พระสกทาคามี ฯลฯ แก่พระ- อนาคามี ฯลฯ แก่พระอรหันต์ แล้วชื่นชมบุญ มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ชนบางพวกให้ทานแก่พระอรหันต์ แล้วชื่นชม บุญมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ ได้โดยปฏิคคาหก
[๑๗๓๒] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ ได้โดยทายกหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้อื่นเป็นผู้ทำแก่ผู้อื่น สุขทุกข์อันคนอื่นทำให้ ผู้หนึ่ง ทำ แต่อีกผู้หนึ่งรับผลหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดย ปฏิคคาหกหรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 553
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาวิสุทธิมี ๔ อย่าง. ๔ อย่าง เป็นไฉน? ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกมีอยู่ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่ ไม่บริสุทธิ์ทางทายก มีอยู่ ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทาง ปฏิคคาหก มีอยู่ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกมีอยู่ ก็ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางทายกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายก ในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคคาหก เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ทักษิณาบริสุทธิ์ทางทายกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหก อย่างนี้แล ก็ ทักษิณาบริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางทายกอย่างไร ทายกใน โลกนี้ เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม แต่ปฏิคคาหกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ทักษิณาบริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางทายก อย่างนี้แล ก็ ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายกในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคคาหก ก็เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ทักษิณา ไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างนี้แล ก็ทักษิณาบริสุทธิ์ ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีลมี กัลยาณธรรม ปฏิคคาหกก็เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ทักษิณาบริสุทธิ์ ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างนี้แล ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาวิสุทธิ มี ๔ อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดย
๑. ม.อุ.๑๔/๗๑๔ - ๘.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 554
ทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.
ทักขิณาวิสุทธิกถา จบ
อรรกถาทักขิณาวิสุทธิกถา
ว่าด้วย ทักขิณาวิสุทธิ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทักขิณา (ทาน) วิสุทธิ คือความบริสุทธิ์แห่ง ทักขิณาคือทาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย อุตตราปถกะทั้งหลายว่า ถ้าว่า ทักขิณาพึงบริสุทธิ์คือพึงมีผลมากเพราะ ปฏิคคาหกไซร้ ทานที่ทายกให้แล้ว ย่อมเป็นวิบากอันสำเร็จแล้วด้วย ปฏิคคาหก ด้วยประการฉะนี้ บุคคลอื่นก็พึงทำบุคคลอื่นได้ คือว่าบุคคล พึงถึงสุขและทุกข์ อันบุคคลอื่นกระทำให้ ผู้ทำคนหนึ่ง ผู้รับผลคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ทานย่อมบริสุทธิ์เพราะทายกเท่านั้นย่อมไม่บริสุทธิ์เพราะ ปฏิคคาหก จิตตวิสุทธิ์ของทายกเหล่านั้นย่อมให้ซึ่งวิบาก ดังนี้ คำถาม ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า ปฏิคคาหกบางพวกที่เป็นผู้ควรบูชา อาหุเนยฺโย เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าทานไม่พึงบริสุทธิ์เพราะปฏิคคาทกไซร้ ความที่พระอริยบุคคลผู้ควรแก่การบูชาเป็นต้นจะพึงทำประโยชน์อะไร. คำว่า ผู้อื่นเป็นผู้ทำแก่ผู้อื่น อธิบายว่า ถ้าว่า ทานเจตนาของทายกที่ ปฏิคคาหกทำเหมาะสมแล้วไซร้ ก็ทานเจตนาอันบริสุทธิ์ของทายกนั้น ก็ต้องอาศัยวัตถุ กล่าวคือปฏิคคาหกแล้วจึงบริสุทธิ์เพราะอรรถว่ามีผล มาก เพราะฉะนั้น ปัญหานั้นจึงไม่มีการท้วงในคำว่า ทานย่อมบริสุทธิ์ คือมีผลมาก เพราะปฏิคคาหก ด้วยประกการฉะนี้.
อรรถกถาทักขิณาวิสุทธิกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 555
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา ๔. อินทริยพัทธกถา ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา ๖. นวัตตัพพังสังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา ๗. นวตตัพพัง สังโฆ ทักขิณวิโสเธตีติกถา ๘. นวัตตัพพัง สังโฆภุญชตีติกถา ๙. นวัตวัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา ๑๐. นวัตตัพพัง พุทธัสสทินนัง มหัปผลันติกถา ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา.
วรรคที่ ๑๗ จบ