พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๑๘ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 556

วรรคที่ ๑๘

มนุสสโลกกถา

[๑๗๓๓] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่ แล้วในมนุษยโลก หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อาราม วิหาร คาม นิคม นคร รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้า เคยประทับอยู่ อันเป็นเจดีย์ มีอยู่มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อาราม วิหาร คาม นิคม นคร รัฐ ชนบท ที่พระพุทธเจ้า เคยประทับอยู่ อันเป็นเจดีย์มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เคยดำรงอยู่ในมนุษยโลก.

[๑๗๓๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยดำรงอยู่ใน มนุษยโลก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าประสูตทีป่าลุมพินี ตรัสรู้ที่ ควงไม้โพธิ ประกาศธรรมจักรที่เมืองพาราณสี ปลงอายุสังขารที่ ปาวาลเจดีย์ ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติที่ป่าลุมพินี ฯลฯ ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าได้ดำรงอยู่แล้วในมนุษยโลก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 557

[๑๗๓๕] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่แล้ว ในมนุษยโลก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่งเราพักอยู่ ณ ควงไม้สาละใหญ่ ในสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราแรกได้ตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้อชปาลนิโครธ ตำบลอุรุเวลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้นครราชคฤห์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ เชตวันอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้นครสาวัตถี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ดำรงอยู่แล้วใน มนุษยโลก น่ะสิ.

[๑๗๓๖] ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่แล้วในมนุษยโลก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญใน โลก แต่ทรงเป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ครอบงำโลกเสด็จอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำเนิดในโลก ทรง เจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ครอบงำโลกเสด็จอยู่ ก็ ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่แล้ว ในมนุษยโลก. มนุสสโลกกถา จบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 558

อรรถกถามนุสสโลกกถา

ว่าด้วย มนุสสโลก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมนุสสโลก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ดุจลัทธินิกายเวตุลลกะทั้งหลายนั่นแหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต และอยู่ในดุสิตเทวโลกนั้นนั่นแหละย่อมไม่เสด็จ มาสู่มนุสสโลก แต่ทรงแสดงรูปนิมิตไว้ในมนุสสโลกนี้ เพราะไม่พิจารณา ถือเอาพระสูตรที่กล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบังเกิดในโลก ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ทรงครอบงำโลก เสด็จอยู่ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะให้ปรวาทีนั้นรับด้วยโอกาสที่ถาม และทั้งด้วยการพิสูจน์ด้วย จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อาราม วิหาร ... มีอยู่ มิใช่หรือ.

คำว่า "ทรงบังเกิดในโลก" ปรวาทีกล่าวหมายเอาสวรรค์ชั้นดุสิต. แต่คำนี้พระศาสดาทรงตรัสหมายเอามนุสสโลกนี้เท่านั้น. คำว่า ทรง ครอบงำโลก ปรวาทีกล่าวเพราะความเห็นว่า ทรงครอบงำแล้วซึ่ง มนุสสโลก แต่ในคำนี้พระคาสดาทรงครอบงำโลก คือ อารมณ์. คำว่า เป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ปรวาทีกล่าวหมายเอาความไม่แปดเปื้อน ด้วยมนุสสโลก อันที่จริงพระศาสดาไม่ทรงแปดเปื้อนกิเลสทั้งหลายใน โลกธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นในดุสิตเทวโลกนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถามนุสสโลกกถา จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 559

ธัมมเทสนากถา

[๑๗๓๗] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อันใครแสดงไว้.

ป. อันพระพุทธนฤมิตรแสดงไว้.

ส. พระพุทธนฤมิตร เป็นพระชินะเป็นพระศาสดา เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็น พระธัมมสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันใครแสดงไว้.

ป. อันท่านพระอานนท์แสดงไว้.

ส. ท่านพระอานนท์ เป็นพระชิน เป็นพระศาสดา เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็น พระธัมมสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๓๘] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 560

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราพึงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร บ้าง พระผู้รู้ทั่วถึง หาได้ยาก ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้วน่ะสิ.

[๑๗๓๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรม เพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรม เป็นไปกับด้วยเหตุ ไม่แสดงไร้เหตุ เราแสดงธรรมเป็นไปกับด้วย ปาฏิหาริย์ ไม่แสดงไร้ปาฏิหาริย์ และโดยที่เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรมมีเหตุ ไม่แสดงธรรมไร้เหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่แสดงไร้ปาฏิหาริย์ โอวาทานุศาสนีของเรา จึงควรทำตาม ก็และพวกเธอควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะ โสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ก็แหละเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณพจน์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว แล้ว ดังนี้๒เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?


๑. องฺ ติก. ๒๐/๔๗๒.

๒. องฺ ติก. ๒๐/๕๖๕.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 561

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงแล้ว น่ะสิ.

ธัมมเทสนากถา จบ

อรรถกถาธัมมเทสนากถา

ว่าด้วย พระธรรมเทศนา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องพระธรรมเทศนา คือการแสดงธรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะนั่นแหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต และทรงส่งรูปนิมิตไปเพื่อ ต้องการแสดงธรรม ทั้งรูปนิมิต และทั้งท่านพระอานนท์รับพระธรรม เทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วจึงแสดง มิใช่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงแสดง ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงด้วยคำว่า ผิว่า รูปนิมิตนั้น แสดงธรรม รูปนิมิตนั้นก็พึงเป็นพระศาสดา ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระพุทธนฤมิตเป็นพระชินะ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่ยอมรับเช่นนั้น จึงตอบ ปฏิเสธ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นดังนี้แล.

อรรถกถาธัมมเทศนากถา จบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 562

กรุณากถา

[๑๗๔๐] สกวาที กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๔๑] ส. เมตตา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๔๒] ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่ประกอบด้วยพระกรุณา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 563

หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงเกื้อกูลโลก ทรงอนุเคราะห์โลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่โลก มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพระ- กรุณา ทรงเกื้อกูลโลก ทรงอนุเคราะห์โลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่ โลก ก็ต้องไม่กล่าวว่า กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี.

[๑๗๔๓] ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติแล้ว มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ แล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี.

[๑๗๔๔] ป. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีราคะ. หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่มี น่ะสิ. กรุณากถา จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 564

อรรถกถากรุณากถา

ว่าด้วย ความกรุณา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความกรุณา. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า ธรรมดาว่าความกรุณาก็คือ ราคะนั่นแหละ ราคะนั้นย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น ความกรุณาของพระพุทธเจ้าไม่มี เพราะเห็นความเป็นไปแห่งธรรมมี ราคะทั้งหลายซึ่งเป็นกรุณาปฏิรูป ด้วยอำนาจแห่งความยินดีอันเป็นพืช แห่งวัตถุทั้งหลายอันน่ารักใคร่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เมตตา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ความกรุณา นั้นมีชาติเสมอกับธรรมทั้งหลายมีเมตตาเป็นต้น เพราะความเป็นธรรม มิใช่กิเลส เพราะความมีสัตว์เป็นอารมณ์ เพราะความเป็นเจโตวิมุติและ เพราะความเป็นธรรมมีอานิสงส์ ๑๑ ประการ เพราะฉะนั้น ถ้าความ กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีเมตตาเป็นต้น ก็ไม่พึงมีแก่พระพุทธเจ้า ดังนี้. ในปัญหาว่า กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นโวหารเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือ ในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถากรุณากถา จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 565

คันธชาติกถา

[๑๗๔๕] สกวาที อุจจาระปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้า หอม เกินคันธชาติอื่นๆ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคของหอม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบริโภคข้าวสุกและขนม กุมมาส มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคข้าวสุกและ ขนมกุมมาส ก็ต้องไม่กล่าวว่า อุจจาระปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้า หอมเกินคันธชาติอื่นๆ.

[๑๗๔๖] ส. อุจจาระปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้า หอมเกิน คันธชาติอื่นๆ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คนบางพวกที่อาบ ทา เจิม อุจจาระปัสสาวะของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เก็บไว้ในลุ้ง๑ บรรจุไว้ในขวด แผ่ขายที่ตลาด กระทำ กิจด้วยของหอม ด้วยกลิ่นนั้น มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คันธชาติกถา จบ


๑. ลุ้ง-ภาชนะสำหรับใส่ของ, ดูนิยามคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 566

อรรถกถาคันธชาติกถา

ว่าด้วย คันธชาติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องคันธชาติ คือของหอม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกว่า อุจจาระ ปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีกลิ่นหอมยิ่งกว่าคันธชาติอื่นๆ ด้วย อำนาจความรักในพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่พิจารณา ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละจึงว่า คันธชาติอันหอมยิ่งกว่าอุจจาระปัสสาวะของ พระพุทธเจ้าไม่มี ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้ แล.

อรรถกถาคันธชาติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 567

เอกมัคคกถา

[๑๗๔๗] สกวาที สามัญญผล ๔ ทำให้แจ้งได้ด้วยอริยมรรคอัน เดียว หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๔ ฯลฯ แห่งปัญญา ๔ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สามัญญผล ๔ ทำให้แจ้งได้ด้วยอริยมรรคอันเดียว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยมรรคไหน?

ป. ด้วยอรหัตตมรรค.

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ด้วย อรหัตตมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วย อรหัตตมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 568

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสัญโญชน์ ๓ ว่า โสดาปัตติผล มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสัญโญชน์ ๓ ว่า โสดาปัตติผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต- ปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรค.

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วย อรหัตตมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วย อรหัตตมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบางแห่งกามราคะ และพยาบาทว่า สกทาคามิผล มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบางแห่ง กามราคะและพยาบาทว่า สกทาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกามราคะ อย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรค.

ส. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 569

ด้วยอรหัตตมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละกามราคะและพยาบาท โดยไม่มีส่วนเหลือว่า อนาคามิผล มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละกามราคะ พยาบาทโดยไม่มีส่วนเหลือว่า อนาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกามราคะ อย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตตมรรค.

[๑๗๔๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สามัญญผล ๔ ทำให้แจ้งได้ด้วยอริย- มรรคอันเดียว หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. โสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดแล้ว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโสดาบัน หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. สกทาคามิมรรค ฯล อนาคามิมรรค พระผู้มีพระ- ภาคเจ้าทรงให้เกิดแล้ว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอนาคามี หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๔๙] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้แจ้งซึ่งสามัญญผล ๔

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 570

ด้วยอริยมรรคอันเดียว แต่พระสาวกทั้งหลายทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ด้วยอริยมรรค ๔ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวกเห็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เห็น บรรลุธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้บรรลุ ทำให้แจ้งธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทำให้แจ้ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกมัคคกถา จบ

อรรถกถาเอกมัคคกถา

ว่าด้วย อริยมรรคอันเดียว

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอริยมรรคอันเดียว. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมี ความเห็นผิดดุจสัทธินิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกเหล่านั้น นั่นแหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามีและทำให้แจ้งซึ่งพระอรหันต์ แล้วก็ทำให้แจ้งซึ่งผล ๔ ด้วยอริยมรรคเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจความรักในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่พิจารณา ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว คำว่า เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๔ เป็นต้นเพื่อท้วงด้วยความสามารถ แห่งธรรมทั้งหลายอย่างละ ๔ มีผัสสะ ๔ เป็นต้นที่เกิดขึ้นกับผลทั้ง ๔ โดยรวมเป็นอันเดียวกัน.

คำว่า ด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อถามว่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 571

ย่อมทำให้แจ้ง ด้วยมรรคไหน? ครั้นปรวาทีตอบว่า ด้วยอรหัตตมรรค< /b> สกวาทีจึงท้วงด้วยอำนาจภาวะแห่งการละกิเลสทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิ เป็นต้น.

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโสดาบันหรือ สกวาทีตอบ ปฏิเสธเพราะว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงพระโสดาบันย่อมไม่มี. แม้ใน ๒ ปัญหาข้างหน้าก็นัยนี้ คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาเอกมัคคกถา จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 572

ฌานสังกันติกถา

[๑๗๕๐] สกวาที โยคีบุคคลเลื่อนสู่ฌานหนึ่ง จากฌานหนึ่ง หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เลื่อนสู่ตติยฌาน จากปฐมฌานได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ฌานหนึ่ง จากฌานหนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เลื่อนสู่จตุตถฌาน จากทุติยฌานได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๑] ส. เลื่อนสู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ อันใด เพื่อความเกิดขึ้น แห่งปฐมฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ทุติยฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเคลื่อนทุติยฌาน จากปฐมฌานแล แต่ ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ปฐมฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ทุติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌาน เกิดขึ้นได้แก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ?

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 573

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึก ฯลฯ ย่อม เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผูตั้งใจ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทุติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โยคีบุคคลเลื่อน สู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน.

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคล ผู้กระทำไว้ในใจ ซึ่งกามทั้งหลายโดยความเป็นของมีโทษ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌาน ก็เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ทำไว้ในใจซึ่งกาม ทั้งหลาย โดยความเป็นของมีโทษ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌานก็มีวิตก มีวิจาร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฐมฌานอันนั้น ทุติยฌานก็อันนั้นแล หรือ?

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 574

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๒] ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ อันใด เพื่อความเกิดขึ้น แห่งทุติยฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ตติยฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌานแล แต่ไม่ พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ทุติยฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ตติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแกโยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ตติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ตติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึง อยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โยคีบุคคล เลื่อนสู่ตติยฌาน จากทุติยฌาน.

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌาน หรือ?

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 575

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ ซึ่งวิตก และวิจารโดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ ซึ่งวิตก และวิจารโดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุติยฌาน ยังมีปีติ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ก็ยังมีปีติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌานอันนั้น ตติยฌานก็อันนั้นแล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๓] ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ อันใด เพื่อความเกิดขึ้น แห่งตติยฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง จตุตถฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌานแล แต่ไม่

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 576

พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จตุตถฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จตุตถฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จตุตถฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึง อยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โยคีบุคคล เลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน.

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ ซึ่งปีติ โดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จตุตถฌาน ก็เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ ซึ่งปีติโดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ตติยฌาน สหรคตด้วยสุข หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 577

ส. จตุตถฌาน ก็สหรคตด้วยสุข หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌานอันนั้น จตุตถฌานก็อันนั้นแล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า โยคีบุคคลเลื่อนสู่ฌานอันหนึ่งจาก ฌานอันหนึ่ง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามเทียว ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น โยคีบุคคลก็เลื่อนสู่ฌานหนึ่งจากฌาน หนึ่ง น่ะสิ.

ฌานสังกันติกถา จบ

อรรถกถาฌานสังกันติกถา

ว่าด้วย การเลื่อนฌาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการเลื่อนฌาน คือการเปลี่ยนจากฌานหนึ่งไปสู่ ฌานหนึ่ง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจจลัทธินิกายมหิสสาสกะ และนิกายอันธกะบางพวกว่า โยคีบุคคลย่อมเลื่อนจากฌานมาสู่ฌาน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 578

โดยเว้นจากความเป็นไปแห่งอุปจาระของฌานนั้นๆ เพราะอาศัยการ แสดงฌานโดยลำดับว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด แล้วจากกามทั้งหลายเทียว ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบ ฯลฯ เข้าถึงทุติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงตติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌาน อยู่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เลื่อนสู่ตติยฌานจากปฐมฌาน เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า บุคคลไม่บรรลุอุปจาระแห่งทุติยฌานย่อม เลื่อนจากปฐมฌานเข้าสู่ทุติยฌานโดยผิดระเบียบไซร้ บุคคลก็พึง เลื่อนจากปฐมฌานเข้าตติยฌาน จากทุติยฌานเข้าแม้จตุตถฌานได้ ดังนี้.

คำว่า ความนึก ... ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌาน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า บุคคลย่อมเข้าทุติยฌานถัดจาก ปฐมฌาน หรือเข้าตติยฌานเป็นต้นซึ่งต่อจากทุติยฌานเป็นต้นได้ไซร้ บุคคลก็พึงเข้าฌานได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว คือหมายความว่า ความนึก ครั้งเดียวเข้าฌานได้ทุกฌาน ได้. คำว่า ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งกามทั้งหลาย โดยความเป็นของมีโทษ อธิบายว่า เมื่อพระโยคีมนสิการกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษอยู่ ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในภายหลัง แต่ในขณะแห่ง ฌาน นิมิตนั้นนั่นแหละย่อมเป็นการกระทำไว้ในใจ.

คำว่า ปฐมฌานอันนั้น เป็นต้น สกวาทีย่อมถามเพื่อท้วงด้วย คำว่า ถ้าว่าฌานนั้นนั่นแหละเว้นเบื้องต้นและเบื้องปลายพึงมีได้โดย ลักษณะไซร้ ฌานนั้น ก็พึงเกิดได้ตามลำดับ ดุจชวนจิตดวงสุดท้ายเกิด เพราะอาศัยชวนจิตดวงก่อน. พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 579

พระสูตรนี้ย่อมแสดงความที่ฌานทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ไว้โดยลำดับด้วยคำว่า สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียว เป็นต้น มิใช่ แสดงถึงความเกิดขึ้นแห่งฌานอันติดต่อกันไป โดยเว้นมนสิการ เพราะ ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่าอุปจารฌานไม่มี ดังนี้แล.

อรรถกถาฌานสังกันติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 580

ฌานันตริกกถา

[๑๗๕๕] สกวาที ฌานคั่นมีอยู่ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะคั่นมีอยู่ หรือ ฯลฯ ปัญญาคั่นมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๖] ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน ก็ต้องไม่กล่าวว่าฌานคั่นมีอยู่.

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ฌานคั่นไม่ มีในระหว่างตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า ฌานคั่นมีอยู่.

[๑๗๕๗] ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ?

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 581

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานสละตติยฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๘] ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างตติยฌานละจตุตถฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๙] ส. สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิมีวิตกมีวิจารเป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจารเป็นฌานคั่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารเป็นฌานคั่น หรือ?

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 582

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๖๐] ส. สมาธิที่มีวิตกมีวิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๖๑] ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารมีในระหว่างฌานทั้งสอง ที่บังเกิดเป็นแผ่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌาน ดับไปแล้ว ทุติยฌานก็ยังไม่บังเกิดขึ้น มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เมื่อสมาธิทีไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌาน ปฐมฌานดับไปแล้ว ทุติยฌานก็ยังไม่บังเกิดขึ้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า สมาธิ ที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น มีอยู่ในระหว่านฌานทั้งสองที่บังเกิด เป็นแผ่น.

[๑๗๖๒] ป. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นปฐมฌาน ฯลฯ เป็น

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 583

ทุติยฌาน ฯลฯ เป็นตติยฌาน ฯลฯ เป็นจตุตถฌาน หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ก็เป็นฌานคั่น น่ะสิ.

[๑๗๖๓] ส. สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิไว้ ๓ อย่าง คือ สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร, สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร, สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มี วิจาร มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิไว้ ๓ อย่าง คือสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ก็ต้องไม่กล่าวว่า สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น.

ฌานันตริกกถา จบ

อรรถกถาฌานันตริกกถา

ว่าด้วย ฌานคั่น

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องฌานคั่น. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธินิกายสมิติยะและอันธกะทั้งหลายบางพวกว่า ผู้ไม่รู้โอกาส คือ การปรากฏ แห่งสมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารในลัทธิปัญจกนัยที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกฌาน ๕ อย่าง สมาธิทั้งสิ้นทรงยกขึ้นแสดงไว้ ๓ อย่าง ข้อนี้ชื่อว่าฌานคั่นในระหว่างฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 584

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า ผัสสะคั่นมีอยู่หรือ เป็นต้น เพื่อท้วง ด้วยคำว่า ฌานก็ดี เจตสิกธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นก็ดีมีอยู่ เพราะ ฉะนั้นถ้าว่าฌานคั่นพึงมีไซร้ ผัสสะคั่นเป็นต้นก็ต้องมี ดังนี้.

ข้อว่า ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน สกวาที กล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ฌานคั่นพึงมีไซร้ ฌานทั้งหลายมีทุติยฌานและ ตติยฌานเป็นต้นนั่นแหละมีอยู่ อันฌานคั่นแห่งฌานเหล่านั้นก็พึงมีด้วย. ปรวาที ตอบปฏิเสธด้วย ตอบรับรองด้วย เพราะความไม่มีในลัทธิทั้งหมด. ถูกถามว่า ฌานคั่นในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน ปรวาทีตอบ รับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิ. คำว่า วิตกวิจาร เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อท้วงด้วยคำว่า เมื่อความเป็นสมาธิแห่งสมาธิแม้ทั้ง ๓ มีอยู่ สมาธิ ที่ไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจารเท่านั้นเป็นฌานคั่น สมาธินอกจากนี้ไม่ใช่ไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรเป็นเหตุแปลกกันในที่นี้. คำว่า ในระหว่างฌาน ทั้ง ๒ เกิดคล่องแคล่ว สกวาทีถามหมายถึงปฐมฌานและทุติยฌาน. ปรวาที ตอบรับรองด้วยลัทธิว่า สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารในระหว่างแห่งฌาน ทั้ง ๒ เกิดคล่องแคล่วเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นฌานคั่น.

ถูกถามว่า ปฐมฌานดับแล้ว ทุติยฌานก็ยังไม่เกิดขึ้น ปรวาที ตอบรับรอง เพราะความเป็นไปในขณะหนึ่งแห่งฌานทั้ง ๓ ไม่ประกอบ กัน.

ปรวาทีถามด้วยความสามารถแห่งจตุกกนัยว่า สมาธิไม่มี วิตกมีแต่วิจารเป็นปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุติยฌาน ฯลฯ สกวาทีตอบ ปฏิเสธเพราะความไม่มีแห่งฌานนั้น ในนัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 585

ในคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิไว้ ๓ อย่าง มิใช่หรือ อธิบายว่า บรรดาสมาธิ ๓ นั้นๆ สมาธิ ๒ เป็นฌานอย่างเดียวไม่เป็น ฌานคั่นฉันใด อันฌานแม้นี้นั่นแหละก็ไม่พึงเป็นฌานคั่นฉันนั้น ด้วย ประการฉะนี้แล.

อรรถกถาฌานันตริกกถา จบ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 586

สมาปันโน สัททัง สุณาตีติกถา

[๑๗๖๔] สกวาที ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าสมาบัติ เห็นรูปด้วยจักษุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วย โสตะ ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะ ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าสมาบัติ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้.

[๑๗๖๕] ส. สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ผู้ที่ พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฟังเสียงได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฟังเสียงได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 587

ฟังเสียงได้.

ส. สมาธิมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ผู้ที่ พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณฟังเสียงได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึกต่อปฐม- ฌาน มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึก ต่อปฐมฌาน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้.

ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึก ต่อปฐมฌาน ฉะนั้นผู้ที่เข้าสมาบัติจึงฟังเสียงได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิตก วิจารว่า เป็นข้าศึก ต่อทุติยฌาน วิตกวิจารจึงมีอยู่แก่ทุติยฌานนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึก ต่อปฐมฌาน ฉะนั้นผู้ที่เข้าสมาบัติจึงฟังเสียงได้ หรือ?

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 588

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปีติว่าเป็นข้าศึกต่อตติยฌาน ตรัสลมอัสสาสะปัสสาสะว่าเป็นข้าศึกต่อจตุตถฌาน ตรัสรูปสัญญาว่า เป็นข้าศึกต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ตรัสอากาสานัญจายตนสัญญาว่า เป็นข้าศึกต่อผู้ทีเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ตรัสวิญญาณัญจายตนสัญญาว่า เป็นข้าศึกต่อผู้ที่เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ตรัส อากิญจัญญายตนสัญญาว่า เป็นข้าศึกต่อผู้ที่เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ตรัสสัญญาและเวทนาว่าเป็นข้าศึกต่อผู้ที่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สัญญาและเวทนาจึงมีอยู่แก่ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมาปันโน สัททังสุณาตีติกถา จบ

อรรถกถาสมาปันโน สัททังสุณาตีติกถา

ว่าด้วย ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส เสียงว่าเป็นหนาม คือเป็นข้าศึก ต่อปฐมฌาน ก็ถ้าว่า ผู้เข้าฌาน ไม่ได้ยินเสียงไซร้ เสียงนั้นจะพึงเป็นหนาม คือเป็นข้าศึก ได้อย่างไร เหตุใด เพราะเหตุนั้น ผู้เข้าฌานย่อมได้ยินเสียง ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 589

คำว่า ผู้เข้าสมาบัติเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ ท้วงด้วยคำว่า ตราบใดที่บุคคลยังเข้าฌานอยู่ อารมณ์ทางปัญจทวาร ย่อมไม่มี ก็ครั้นเมื่ออารมณ์ทางปัญจทวารนั้นไม่มี ก็ถ้าเขาพึงได้ยินเสียง ไซร้ เขาก็พึงเห็นแม้ซึ่งรูปได้ ดังนี้. คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เสียงว่าเป็นข้าศึก ท่านกล่าวแล้วเพราะความที่เสียงนั้นกระทำความ รบกวน. จริงอยู่๑ ครั้นเมื่อเสียงอันโอฬารกระทบโสตะแล้ว การออก จากฌานย่อมมีได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ เพราะ ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่า ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้ ดังนี้.

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิตกวิจารว่าเป็นข้าศึกต่อทุติยฌาน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อให้รู้ว่าหนาม คือข้าศึก แม้อื่นๆ ไม่มีอยู่ใน ภายในแห่งสมาบัติ ฉันใด แม้การฟังซึ่งเสียงเป็นต้นก็ย่อมไม่มีอยู่ใน สมาบัติฉันนั้น. คำทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาสมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา จบ


๑. คำบาลี โอฬาริเกน หิ สทฺเทน โสเต ฆฏฺฏิเต ปมชฺฌานโต วุฏฺานํ โหติ เตเนตํ วุตฺตํ.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 590

จักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา

[๑๗๖๗] สกวาที บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เห็นรูปด้วยรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เห็นรูปด้วยรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รับรู้ไปด้วยรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รับรู้รูปด้วยรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นมโนวิญญาณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของจักษุมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของจักษุไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของจักษุไม่มี ก็ ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ.

[๑๗๖๘] ส. บุคคลฟังเสียงด้วยโสตะ ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 591

ลิ้มรสด้วยชิวหา หรือ?

[๑๗๖๙] ส. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถูกต้องรูปด้วยรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถูกต้องรูปด้วยรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รับรู้รูปด้วยรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รับรู้รูปด้วยรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นมโนวิญญาณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกาย ไม่มี มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายไม่มี ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ

[๑๗๗๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ ฯลฯ ถูกต้อง

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 592

โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เห็นรูปด้วยจัก ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย น่ะสิ.

จักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา จบ

วรรคที่ ๑๘ จบ

อรรถกถาจักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา

ว่าด้วย เห็นรูปด้วยจักษุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเห็นรูปด้วยจักษุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า จักขุประสาทเท่านั้นย่อม เห็นรูป เพราะอาศัยพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เห็นรูปด้วยรูปหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า บุคคลพึงเห็นรูป ด้วยจักษุไซร้ บุคคลก็พึงเห็นรูปด้วยรูป ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมาย เอารูปายตนะ คือมีรูปเป็นอารมณ์ ถูกถามซ้ำอีกก็ตอบรับรองหมายเอา จักขุนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 593

คำว่า เห็น ในคำว่า รับรู้รูป นี้ อธิบายว่า พวกเราย่อมถาม โดยหมายถึงการรู้เฉพาะ มิใช่ถามซึ่งสักว่าการเข้าไปอาศัยจักษุเห็น เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงถามว่า ผู้มีจักษุย่อมเห็นรูปด้วยรูปตามลัทธิ ของท่านหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วย ตอบรับรองด้วย โดยนัยก่อน นั่นแหละ. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า รูปเป็นมโนวิญญาณหรือ ดังนี้ เพื่อท้วงด้วยคำว่า ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ รูปก็เป็นมโนวิญญาณ เพราะว่า มโนวิญญาณนั้นชื่อว่าย่อมรับ ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่ได้เลสนัย คือข้ออ้างเล็กๆ น้อยๆ จึงตอบปฏิเสธทั้งสิ้น. คำว่า ความนึก ... ของ จักษุมีอยู่หรือ เป็นต้น ความว่า สกวาทีย่อมถามเพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า จักษุย่อมเห็นเพราะอรรถว่าการรู้ไซร้ ความนึก คืออาวัชชนะ ของจักษุนั้นก็พึงเป็นดุจอาวัชชนะของจักษุวิญญาณ ดังนี้. ปรวาทีตอบ ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวเช่นนั้น เพราะว่า จักขวายตนะไม่นับเนื่องด้วย การนึก แต่ว่าย่อมเกิดขึ้นในระหว่างแห่งการนึก. แม้ในคำว่า บุคคล ฟังเสียงด้วยโสตะ เป็นต้น ก็นัยนี้.

พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็น รูปด้วยจักษุ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยนัยแห่งสสัมภารกถา คือโดยนัยแห่งถ้อยคำเป็นเครื่องกำหนด. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า แม้ บุคคลยิงด้วยลูกธนู เขาก็เรียกกันว่า ยิงด้วยธนู ฉันใด บุคคลแม้เมื่อเห็น ด้วยจักขุวิญญาณ เขาก็เรียกว่าเห็นด้วยจักษุ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่าเห็นรูปด้วยตา. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาจักขุนารูปังปัสสตีติกถา จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 594

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. มนุสโลกกถา ๒. ธัมมเทสนากถา ๓. กรุณากถา ๔. คันธชาติกถา ๕. เอกมัคคกถา ๖. ฌานสังกันติกถา ๗. ฌานันตริกกถา ๘. สมาปันโน สัททัง สุณาตีติกถา ๙. จักขุนารูปัง ปัสสตีติกถา.

วรรคที่ ๑๘ จบ