พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๒๑ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 662

วรรคที่ ๒๑

สาสนกถา

[๑๘๓๓] สกวาที ศาสนาได้แปลงใหม่ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานได้แปลงใหม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาได้แปลงใหม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ ได้แปลงใหม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาเป็นอกุศลในกาลก่อน ได้แปลงให้เป็นกุศล ในภายหลังหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาเป็นสาสวะ ฯลฯ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็น อุปาทานิยะ ฯลฯ เป็นสังกิเลสิกะในกาลก่อน ได้แปลงให้เป็นอสังกิเลสิกะ ในภายหลัง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๔] ส. บุคคลไร ที่แปลงศาสนาของพระตถาคตใหม่ได้ มี อยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 663

ส. บุคคลไร ที่แปลงสติปัฏฐานใหม่ได้มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลไร ที่แปลงสัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ใหม่ได้มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลไร ที่แปลงคาสนาอันเป็นอกุศลในกาลก่อน ให้เป็นกุศลในภายหลังได้มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลไร ที่แปลงศาสนาอันเป็นสาสวะ ฯลฯ อันเป็น สังกิเลสิกะในกาลก่อน ให้เป็นอสังกิเลสิกะในภายหลังได้ มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๕] ส. ศาสนาของพระตถาคตจะแปลงใหม่อีกได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานจะแปลงใหม่อีกได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ จะแปลงใหม่อีกได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

ส. ศาสนาอันเป็นอกุศลในกาลก่อน จะแปลงให้เป็นกุศล ในภายหลังได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาอันเป็นสาวะ ฯลฯ อันเป็นสังกิเลสิกะใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 664

กาลก่อน จะแปลงให้เป็นอสังกิเลสิกะในภายหลังได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สาสนากถา จบ

อรรถกถาสาสนกถา

ว่าด้วย ศาสนา

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องศาสนา คือคำสั่งสอน หรือพระธรรมวินัย. ชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า ศาสนา แต่งขึ้นใหม่ด้วย ว่าบุคคลบางคนย่อมแปลงศาสนาของพระตถาคตขึ้นใหม่ ด้วย ว่า ศาสนาของพระตถาคตบุคคลสามารถแต่งใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้ โดย หมายเอาการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ดังนี้ คำถามของสกวาทีในกถาแม้ทั้ง ๓ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า สติปัฏฐานได้แปลงใหม่หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ ติเตียนปัญหาแม้ทั้ง ๓ ด้วยคำว่า อริยธรรมทั้งหลายมีสติปัฏฐานเป็นต้น ก็ดี เทศนาแห่งกุศลธรรมเป็นต้นก็ดี ชื่อว่าศาสนา ในศาสนานั้น เว้น ธรรมทั้งหลายมีสติปัฏฐานเป็นต้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ชน เหล่าใดแล้ว ศาสนาชื่อว่าอันบุคคลนั้นทำขึ้นใหม่โดยการกระทำธรรม เหล่าอื่นให้เป็นสติปัฏฐานเป็นต้น หรือกระทำอกุศลธรรมเป็นต้นให้เป็น กุศลธรรมเป็นต้น หรือว่าศาสนาอันใครๆ กระทำแล้วอย่างนั้นมีอยู่ หรือพึงอาจเพื่อทำอย่างนั้นได้มีอยู่หรือ ดังนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงพึงทราบ ตามพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถาสาสนกถา จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 665

อวิวิตตกถา

[๑๘๓๖] สกวาที ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากผัสสะมีธาตุ ๓ ฯลฯ จากเวทนา จากสัญญา จากเจตนา จากจิต จากศรัทธา จากวิริยะ จากสติ จากสมาธิ จากปัญญา มีธาตุ ๓ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในขณะใดปุถุชนใดจีวร ในขณะนั้นก็เข้าถึงปฐมฌาน อยู่ ฯลฯ เข้าถึงอากาสานัญจายตนสมาบัติอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในขณะใดปุถุชนให้บิณฑบาต ฯลฯ ให้เสนาสนะ ฯลฯ ให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ในขณะนั้นก็เข้าถึงจตุตถฌานอยู่ ก็เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กรรมอันจะให้เข้าถึงรูปธาตุ และอรูปธาตุ อันปุถุชน กำหนดรู้แล้ว หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 666

ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็ไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓ น่ะสิ.

อวิวิตตกถา จบ

อรรถกถาอวิวิตตกถา

ว่าด้วย ปุถุชนผู้ไม่สงัด

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปุถุชนผู้ไม่สงัด ในเรื่องนั้น การสันนิษฐาน ใน ลัทธิของสกวาทีนี้ว่า ธรรมใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือเป็นปัจจุบัน ด้วย บุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่าไม่สงัดจากธรรมนั้น ดังนี้. ก็ชนเหล่าใดมี ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะบางพวกนั้นนั่นแหละว่า ปุถุชน ไม่กำหนดรู้ธรรมอันประกอบด้วยธาตุ ๓๑ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ในขณะ เดียวกันนั่นแหละเขาย่อมไม่สงัดจากธรรมอันประกอบด้วยธาตุ ๓ แม้ ทั้งปวง ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที.

คำว่า ไม่สงัดจากผัสสะ ๓ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโทษ อันเป็นไปในขณะหนึ่งแห่งธรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอวิวิตตกถา จบ


๑. ธาตุ ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 667

สัญโญชนกถา

[๑๘๓๘] สกวาที การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บางอย่าง แล้ว บรรลุอรหัตตผล มีอยู่หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การที่พระโยคียังไม่ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ยังไม่ละ วิจิกิจฉา ฯลฯ ยังไม่ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ยังไม่ละราคะ ยังไม่ละโทสะ ยังไม่ละโมหะ ฯลฯ ยังไม่ละอโนตตัปปะบางอย่าง แล้วบรรลุอรหัตตผล มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๙] ส. การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้วบรรลุ อรหัตตผล มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมี มานะ ยังมีมักขะ ยังมีอุปายาส ยังมีกิเลส หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ หมดราคะแล้ว หมดโทสะแล้ว หมดโมหะ แล้ว หมดมานะแล้ว หมดมักขะแล้ว หมดปฬาสะแล้ว หมดอุปายาสแล้ว หมดกิเลสแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์หมดราคะแล้ว ฯลฯ หมดกิเลส แล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้ว บรรลุอรหัตตผล มีอยู่.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 668

[๑๘๔๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์ บางอย่างแล้วบรรลุอรหัตตผล มีอยู่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยทั้งปวง หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บาง อย่างแล้วบรรลุอรหัตตผล ก็มีอยู่ น่ะสิ.

สัญโญชนกถา จบ

อรรถกถาสัญโญชนกถา

ว่าด้วย สัญโญชน์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัญโญชน์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า การบรรลุพระอรหันต์ไม่ละ สัญโญชน์บางอย่างมีอยู่ โดยมีความสำคัญว่า พระอรหันต์ย่อมไม่รู้ พุทธวิสัยทั้งปวง เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงว่าพระอรหันต์ละอวิชชาและ วิจิกิจฉาไม่ได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า การที่พระโยคียังไม่ละสักกายทิฏฐิ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อแสดงว่าพระอรหันต์ต้องละสัญโญชน์ได้ทั้งหมด.

ใน ๒ ปัญหาว่า พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยทั้งปวงหรือ สกวาที ทำการปฏิเสธ เพราะพระอรหันต์ไม่มีสัพพัญญุตญาณ แต่ไม่ปฏิเสธว่า พระอรหันต์ไม่ละวิชชาสละวิจิกิจฉา. แต่ปรวาทีหมายเอาความที่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 669

พระอรหันต์ไม่รู้พุทธวิสัยว่าเป็นการไม่ละอวิชชาและวิจิกิจจาทั้งหลาย จึงได้ให้ลัทธิตั้งไว้ด้วยคำว่า ถ้าอย่างนั้น การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์ บางอย่างแล้วบรรลุอรหัตตผลก็มีอยู่นะสิ ดังนี้ แต่ว่า ลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่ ไม่ได้เลยเพราะตั้งอยู่โดยไม่แยบคาย ดังนี้แล.

อรรถกถาสัญโญชนกถา จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 670

อิทธิกถา

[๑๘๔๑] สกวาที ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้า หรือของพระสาวก มีอยู่หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า ต้นไม้จงมีใบ เป็นนิตย์ ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า ต้นไม้จงมีดอก เป็นนิตย์ ฯลฯ ต้นไม้จงมีผลเป็นนิตย์ สถานที่นี้จงมีความสว่างเป็นนิตย์ จงมีความปลอดโปร่งเป็นนิตย์ จงมีภิกษาหาได้ง่ายเป็นนิตย์ จงมีฝน งามเป็นนิตย์ ดังนี้ ของพรพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้า หรือของพระสาวก มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า ผัสสะเกิดขึ้น แล้วอย่าดับไป ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 671

[๑๘๔๒] ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ ของพระพุทธเจ้า หรือของพระสาวกอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า รูปจงเป็นของ เที่ยง เวทนา สัญญา สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของเที่ยง ดังนี้ ของ พระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๔๓] ส. ฤทธิเป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้า หรือของพระสาวกมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าเกิดเลย ดังนี้ ฯลฯ ว่าสัตว์ทั้งหลายซึ่งมี ความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย ดังนี้ ฯลฯ ว่าสัตว์ทั้งหลายซึ่งมีความ เจ็บเป็นธรรมดา อย่าเจ็บเลย ดังนี้ ฯลฯ ว่าสัตว์ทั้งหลายซึ่งมีความตาย เป็นธรรมดา อย่าตายเลย ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๔๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระ- เจ้าแผ่นดินมคธ ผู้จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสาร ว่าจงเป็นทอง ดังนี้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 672

และปราสาทนั้นก็ได้เป็นทองไปจริงมิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะ ได้อธิษฐานปราสาท ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสาร ว่าจงเป็นทอง ดังนี้ และปราสาทนั้นก็ได้เป็นทองไปจริงๆ ด้วยเหตุนั้นและท่านจึงต้อง กล่าวว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของ พระสาวก มีอยู่.

อิทธิกถา จบ

อรรถกถาอิทธิกถา

ว่าด้วย ฤทธิ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องฤทธิ์. ในเรื่องนั้น ชื่อว่าฤทธิ์นี้ย่อมให้สำเร็จใน บางอย่าง ย่อมไม่ให้สำเร็จในบางอย่าง. การสันนิษฐานในลัทธิของ สกวาทีว่า ฤทธิ์ย่อมไม่สำเร็จในการทำซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ให้เป็นของเที่ยงเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้น ก็แต่ว่าฤทธิ์นั้นบุคคลย่อมทำ เพื่อประโยชน์แก่ชนเหล่าใด โดยเปลี่ยนแปลงความสืบต่อคืออายุที่เสมอกัน ทำให้ไม่เสมอกัน หรือทำให้ความเป็นไปได้นานกว่ากัน ด้วยสามารถ แห่งความสืบต่ออายุที่มีส่วนเสมอกันได้ และย่อมให้สำเร็จได้บางอย่าง เพราะอาศัยเหตุทั้งหลายมีบุญเป็นต้นของบุคคลเหล่านั้น ดุจการทำน้ำ ที่ควรดื่มให้เป็นเนยใสเป็นน้ำนมเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย และดุจในการสืบต่อตั้งอยู่สิ้นกาลนานของประทีปเป็นต้น ณ ที่เป็นที่ ฝังไว้ซึ่งมหาธาตุด้วย ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 673

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ฤทธิ์ ให้ความสำเร็จตามความประสงค์ หมายความว่าสำเร็จทุกอย่าง เพราะ อาศัยพระสูตรที่กล่าวไว้ว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาท ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ... จงเป็นปราสาททอง ดังนี้ คำถามของสกวาที ว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ ... มีอยู่หรือ หมายถึงชนเหล่านั้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ ได้แก่ ฤทธิ์ที่ ทำให้สมความปรารถนา หมายความว่าให้สำเร็จตามที่ต้องการ. คำว่า อามันตา เป็นคำปฏิญญาของปรวาทีเพื่อตั้งลัทธิไว้. ลำดับนั้น สกวาที จึงกล่าวคำว่า ต้นไม้จงมีใบเป็นนิตย์ เพื่อประกอบความที่ธรรม ทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นว่าเป็นของเที่ยงเป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

แม้ในการให้ลัทธิตั้งไว้ด้วยพระสูตรว่า ปราสาทนั้นก็ได้เป็นทอง แล้ว ดังนี้ อธิบายว่า ปราสาทนั้นได้เป็นทองด้วยอุปนิสัยแห่งบุญของ พระราชา มิใช่ด้วยความปรารถนาของพระเถระอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อนำมาพิสูจน์ว่า ฤทธิ์ให้ความสำเร็จได้ ทั้งหมด ดังนี้แล.

อรรถกถาอิทธิกถา จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 674

พุทธกถา

[๑๘๔๕] สกวาที พระพุทธกับพระพุทธด้วยกัน ยังมียิ่งหย่อน กว่ากัน หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. โดยสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โดยสัมมัปปธาน ฯลฯ โดยอิทธิบาท โดยอินทรีย์ โดย พละ โดยโพชฌงค์ โดยความชำนาญ ฯลฯ โดยสัพพัญญุตตญาณทัสสนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พุทธกถา จบ

อรรถกถาพุทธกถา

ว่าด้วย พระพุทธเจ้า

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระพุทธเจ้า. ในเรื่องนั้น ยกเว้นความต่างกัน แห่งสรีระ ความต่างกันแห่งอายุ และความต่างกันแห่งรัศมี ที่มีในกาล นั้นๆ แล้ว ชื่อว่าความหย่อนและความยิ่งของพระพุทธเจ้าทั้งหลายกับ พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยการตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี. แต่ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระพุทธเจ้า ทั้งหลายไม่แปลกกันเลย ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า พระพุทธะกับ พระพุทธะด้วยกันยังมียิ่งหย่อนกว่ากันหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า โดยสติปัฏฐาน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 675

เป็นต้น เพื่อซักถามถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว. ปรวาทีเมื่อไม่เห็น ความที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่เลวไม่ประณีตกว่ากัน ด้วยสามารถ แห่งธรรมที่ท่านตรัสรู้แล้ว จึงตอบปฏิเสธทั้งสิ้นแล.

อรรถกถาพุทธกถา จบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 676

สัพพทิสากถา

[๑๘๔๖] สกวาที พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทิศทั้งปวงหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในปุรัตถิมทิศหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในปุรัตถิมทิศหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่ากระไร ชาติ อะไร โคตรอะไร พระมารดา พระบิดา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น มีนามว่ากระไร คู่แห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนาม ว่ากระไร อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่ากระไร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงจีวรเช่นไร ทรงบาตรเช่นไร เสด็จ อยู่บ้านไหน หรือในนิคมไหน หรือในนครไหน หรือในรัฐไหน หรือใน ชนบทไหน?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทักษิณทิศ ฯลฯ ในปัจฉิมทิศ ฯลฯ ในอุตตรทิศ ฯลฯ ในเหฏฐิมทิศ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในเหฏฐิมทิศ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่ากระไร ฯลฯ เสด็จอยู่ในชนบทไหน?

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 677

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในอุปริมทิศ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในอุปริมทิศ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สถิตอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชหรือ ฯลฯ สถิตอยู่ในชั้น ดาวดึงส์หรือ ฯลฯ สถิตอยู่ในชั้นยามาหรือ สถิตอยู่ในชั้นดุสิตหรือ สถิต อยู่ในชั้นนิมานรดีหรือ สถิตอยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัสดีหรือ ฯลฯ สถิต อยู่ในพรหมโลกหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สัพพทิสากถา จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 678

อรรถกถาสัพพทิสากถา

ว่าด้วย พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทิศทั้งปวง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทิศทั้งปวง. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า โลกธาตุสันนิวาสโดยรอบ คือในทิศทั้ง ๔ ทั้งในทิศเบื้องต่ำ และในทิศ เบื้องบน พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่ในโลกธาตุทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น สำเร็จการศึกษาที่สมควรแก่พระองค์แล้ว ก็ดำรงอยู่ในทิศทั้งปวง ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที.

ถูกถามว่า พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในปุรัตถิมทิศหรือ ปรวาทีตอบ ปฏิเสธ เพราะหมายเอาพระสักยมุนี. ถูกถามซ้ำอีกก็ตอบรับรอง เพราะ หมายเอาพระพุทธเจ้าผู้ดำรงอยู่ในโลกธาตุอื่นด้วยสามารถแห่งลัทธิ ของตน. คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่ากระไร เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้ว เพื่อท้วงว่า ผิว่า ท่านไม่ทราบ ท่านก็ไม่ควร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยสามารถแห่งพระนามเป็นต้น. บัณฑิต พึงทราบ เนื้อความในที่ทั้งปวง โดยอุบายนี้.

อรรถกถาสัพพทิสากถา จบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 679

ธรรมกถา

[๑๘๔๗] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิบตะ ได้แก่ แน่นอนโดยความผิด หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ ได้แก่ แน่นอนโดยความถูก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะ คือไม่แน่นอน ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ.

[๑๘๔๘] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกอง ๓ คือ กองอันเป็น มิจฉัตตนิยตะ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ ๑ กองอันเป็นอนิยตะ ๑ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกอง ๓ อย่าง คือ กองอันเป็นมิจฉัตตนิยตะ ๑ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ ๑ กองอันเป็น อนิยตะ ๑ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 680

[๑๘๔๙] ส. รูป เป็นนิยตะ โดยอรรถว่ารูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็น นิยตะ โดยอรรถว่าวิญญาณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นนิยตะโดยอรรถว่ารูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นนิยตะโดยอรรถว่า วิญญาณ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น รูปก็เป็นนิยตะโดยอรรถว่ารูป เวทนา

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 681

ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นนิยตะโดยอรรถว่าวิญญาณ น่ะสิ.

ธรรมกถา จบ

อรรถกถาธัมมกถา

ว่าด้วย ธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกว่า ธรรมทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เป็นนิยตะ คือเป็นสภาพเที่ยง เพราะสภาพแห่งรูปเป็นต้น ย่อมไม่ละซึ่งสภาพนั้น เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นนิยตะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ธรรมทั้งปวง เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็น มิจฉัตตนิยตะ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น เหล่านั้น พึงเป็นสภาพแน่นอน คือพึงเป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือพึงเป็น สัมมัตตนิยตะไซร้ เพราะชื่อว่า นิยามอื่นจากนี้ไม่มี ดังนี้. ในปัญหานั้น คำปฏิเสธและคำรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า รูปเป็นนิยตะโดยอรรถว่าเป็นรูป เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งรูปที่บุคคลกล่าวว่า เป็นนิยตะโดยอรรถ อันใดนั้น ในข้อนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลพึงกล่าวโดยความประสงค์ว่า ก็รูปชื่อว่าเป็นของเที่ยง ด้วยอรรถว่าเป็นรูป เพราะฉะนั้น รูปจึงเป็น รูปเท่านั้น ไม่ใช่เป็นภาวธรรมมีเวทนาเป็นต้น ใครๆ ไม่พึงกล่าวโดย ประการอื่นจากนี้ ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะไม่มีรูปอื่น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 682

นอกจากอรรถว่าเป็นรูป จริงอยู่ สภาพแห่งรูปมีรูปเป็นอรรถด้วย สภาพ แห่งรูปเป็นรูปนั่นแหละด้วย มิใช่เป็นธรรมอื่นนอกจากรูป แต่ว่า โวหาร นี้ย่อมมีเพื่อให้รู้ถึงความต่างกันของรูปกับธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ดังนี้. เพราะฉะนั้น คำว่า รูปเป็นนิยตะ โดยอรรถเป็นรูป ดังนี้ ย่อม เป็นคำอันสกวาทีกล่าวว่า รูปเป็นนิยตะหรือ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นิยตะ พึงเป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือเป็นสัมมัตตนิยตะ เพราะนอกจากนิยตะนี้แล้ว นิยาม คือข้อกำหนดที่แน่นอนอย่างอื่นไม่มี. ถามว่า ครั้นเมื่อเป็น เช่นนั้น เพราะเหตุไร? ท่านจึงตอบรับรอง. ว่า เพราะอำนาจ ความแตกต่างกันแห่งอรรถมีอยู่. จริงอยู่ ในคำว่า รูปเป็นนิยตะ โดย อรรถว่าเป็นรูป นี้ท่านอธิบายว่า รูปก็เป็นรูปเท่านั้น ไม่เป็นสภาพธรรม มีเวทนาเป็นต้น ดังนี้. เพราะฉะนั้นท่านจึงตอบรับรอง.

อนึ่ง ความที่รูปนั้นเป็นนิยตะคือเที่ยงแท้โดยประการอื่นจาก ประการที่กล่าวมานี้ ย่อมไม่มี ดังนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็น มิจฉัตตนิยตะ เป็นต้น เพื่อจะกล่าวท้วงโดยนัยนั้นแหละ. คำเหล่านั้นทั้งหมด มีอรรถตื้นทั้งนั้น. แม้ลัทธิว่า ถ้าอย่างนั้น รูปก็เป็นนิยตะ ดังนี้ ลัทธินี้ ย่อมตั้งไว้ไม่ได้เลย เพราะตั้งไว้โดยไม่แยบคาย ดังนี้แล.

อรรถกถาธัมมกถา จบ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 683

กรรมกถา

[๑๘๕๑] สกวาที กรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า กรรมทั้งปวง เป็นนิยตะ.

[๑๘๕๒] ส. กรรมทั้งปวงเป็นนิยตะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกอง ๓ คือ กองอันเป็น มิจฉัตตนิยตะ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ กองอันเป็นอนิยตะ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกอง ๓ คือ กองอัน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 684

เป็นมิจฉัตตนิยตะ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ กองอันเป็นอนิยตะ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า กรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ.

[๑๘๕๓] ส. ทิฏฐิธรรมเวทนิยกรรม เป็นนิยตะโดยอรรถว่า ทิฏฐธรรมเวทนิยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อุปปัชชเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนิยกรรม เป็นนิยตะโดยอรรถว่า อปราปริยเวทนิยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม เป็นนิยตะ โดยอรรถว่าทิฏฐธรรมเวทนิยะ อุปปัชชเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวท- นิยกรรม เป็นนิยตะโดยอรรถว่าอปราปริยเวทนิยะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ทิฏฐธรรมเวทนิยกรรมเป็นอุปัชชเวทนิยกรรม เป็น อปราปริยเวทนิยกรรม ฯลฯ อุปปัชชเวทนิยกรรมเป็นทิฏฐิธรรมเวท-

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 685

นิยกรรม เป็นอปรปริยเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนิยกรรม เป็น ทิฏฐิธรรมเวทนิยกรรม เป็นอุปปัชชเวทนิยกรรม หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ทิฏฐธรรมเวทนิยกรรมก็เป็นนิยตะ โดยอรรถว่าทิฏฐธรรมเวทนิยะ อุปปัชชเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนิยกรรมก็เป็นนิยตะ โดยอรรถว่า อปราปริยเวทนิยะ น่ะสิ.

กรรมกถา จบ

อรรถกถากัมมกถา

ว่าด้วย กรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ ลัทธิของนิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกเหล่านั้นนั่นแหละว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐธัมมเวทนียะเป็นต้น เป็นนิยตะ คือเที่ยงแท้แน่นอน โดย อรรถว่าเป็นทิฏฐัมมเวทนียะ เพราะฉะนั้น กรรมทั้งปวง จึงเป็นนิยตะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที.

ในคำว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นนิยตะ เพราะอรรถว่าให้ผล ในภพปัจจุบัน นี้เป็น คำตอบรับรองของสกวาที หมายเอาเนื้อความนี้ว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็เป็นทิฏฐัมมิกเวทนียะ คือ เป็นกรรมที่ให้ผล ในภพปัจจุบันนี้เท่านั้น ถ้าว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้ ย่อมอาจให้ผลใน ภพปัจจุบันได้ก็ย่อมให้ผิด ถ้าไม่อาจไซร้ ย่อมชื่อว่าเป็นอโหสิกรรมไป ดังนี้. อนึ่ง ทิฏฐัมมเวทนียกรรมนี้ ย่อมไม่เป็นนิยตะด้วยสามารถแห่งนิยาม

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 686

มิจฉัตตะเทียว ดังนี้. พึงทราบคำที่เหลือโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง นั้นแล.

อรรถกถากัมมกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สาสกถา ๒. อวิวิตตกถา ๓. สัญโญชนกถา ๔. อิทธิกถา ๕. พุทธกถา ๖. สัพพทิสากถา ๗. กัมมกถา.

วรรคที่ ๒๑ จบ