พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๒๒ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 687

วรรคที่ ๒๒

ปรินิพพานกถา

[๑๘๕๕] สกวาที การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์บางอย่าง แล้วปรินิพพาน มีอยู่หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ยังไม่ละ อโนตตัปปะบางอย่างแล้วปรินิพพาน มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๖] ส. การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้ว ปรินิพพาน มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ ฯลฯ ยังมีกิเลสอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์หมดราคะแล้ว ฯลฯ หมดกิเลสแล้ว มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์หมดราคะแล้ว ฯลฯ หมดกิเลส แล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้ว ปรินิพพานมีอยู่.

[๑๘๕๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์ บางอย่าง แล้วปรินิพพานมีอยู่ หรือ?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 688

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยทั้งปวง หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์ บางอย่าง แล้วปรินิพพานก็มีอยู่ น่ะสิ.

ปรินิพพานกถา จบ

อรรถกถาปรินิพพานกถา

ว่าด้วย ปรินิพพาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปรินิพพาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระอรหันต์ มีสัญโญชน์ที่ยัง ไม่ละในวิสัยของพระสัพพญญูพุทธะย่อมปรินิพพานฉะนั้นการปรินิพพาน โดยไม่ละซึ่งสัญโญชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจึงมีอยู่ ดังนี้ คำถามของสกวาที มุ่งถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ มีนัยดัง ที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาปรินิพพานกถา จบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 689

กุสลจิตตกถา

[๑๘๕๘] สกวาที พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์สร้างสมอยู่ซึ่งบุญญาภิสังขาร สร้างสม อยู่ซึ่งอเนญชาภิสังขาร ทำอยู่ซึ่งกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ เพื่อภพ เพื่อความ เป็นใหญ่ เพื่อความเป็นอธิบดี เพื่อสมบัติใหญ่ เพื่อบริวารมาก เพื่อความ งามในเทพ เพื่อความงามในมนุษย์ ปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๙] ส. พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ เลิกสะสมอยู่ ละขาดอยู่ ถือมั่น อยู่ ชำระล้างอยู่ หมักหมมอยู่ กำจัดอยู่ ฯลฯ อบอวลอยู่ ปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์สะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสะสมอยู่ก็มิใช่ แต่ เป็นผู้เลิกสะสมแล้วดำรงอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์สะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสะสมอยู่ ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ มีจิตเป็นกุศล ปรินิพพาน.

ส. พระอรหันต์ละขาดอยู่ก็ไม่ใช่ ถือมั่นอยู่ก็ไม่ใช่ แต่ เป็นผู้ละขาดแล้วดำรงอยู่ ชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ หมักหมมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่ เป็นผู้ชำระล้างแล้วดำรงอยู่ กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 690

ผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็ ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มีจิต เป็นกุศลปรินิพพาน.

[๑๘๖๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะ ปรินิพพาน มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะ ปรินิพพานด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศล ปรินิพพาน.

กุศลจิตตกถา จบ

อรรถกถากุสลจิตตกถา

ว่าด้วย จิตเป็นกุศล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องจิตเป็นกุศล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสติไพบูลย์ แม้แต่เมื่อปรินิพพานก็มีสติสัมปชัญญะเทียว ย่อมปรินิพพาน เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงมีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 691

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว คำว่า พระอรหันต์สร้างสมอยู่ซึ่งปุญญาภิสังขาร เป็นต้น เพื่อท้วงด้วย อรรถว่า ชื่อว่า กุสลจิต ย่อมมีด้วยอำนาจการสร้างสมปุญญาภิสังขาร เป็นต้นนั้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นพึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.

คำว่า พระอรหันต์ ... มีสติสัมปชัญญะ นี้ ปรวาทีกล่าว เพื่อ แสดงการมรณะของผู้ไม่หลงลืมด้วยสามารถแห่งสติสัมปชัญญะอันเป็น กิริยา ในขณะแห่งชวนะไม่ใช่แสดงว่า พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลในขณะ ที่ปรินิพพาน เพราะฉะนั้น คำนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่าพระอรหันต์มีจิตเป็น กุศลปรินิพพาน ดังนี้แล.

อรรถกถากุสลสจิตตกถา จบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 692

อาเนญชกถา

[๑๘๖๑] สกวาที พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีจิต เป็นปกติ ปรินิพพาน มิใช่หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีจิตเป็นปกติ ปริ- นิพพาน มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีจิตเป็น ปกติปรินิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่ หวั่นไหวปรินิพพาน.

[๑๘๖๒] ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวปรินิพพาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในกิริยมยจิต ได้แก่ จิตคือกิริยา ปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในวิปากจิตปรินิพพาน มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในวิปากจิตปรินิพพาน ก็ ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นไม่หวั่นไหวปรินิพพาน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 693

[๑๘๖๓] ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวปรินิพพาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในจิตที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา ปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในจิตที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก ปรินิพพาน มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในจิตที่เป็นอัพยากฤตฝ่าย วิบาก ปรินิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่ หวั่นไหวปรินิพพาน.

[๑๘๖๔] ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นไม่หวั่นไหวปรินิพพาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้วจึงปริ- นิพพาน ในลำดับอันกระชั้นชิด มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้ว จึงปรินิพพาน ในลำดับอันกระชั้นชิด ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ ในความเป็นไม่หวั่นไหวปรินิพพาน. อาเนญชกถา จบ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 694

อรรถกถาอาเนญชกถา

ว่าด้วย อาเนญชะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอาเนญชะ คือความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในอาเนญชะแล้วจึงปรินิพพาน เพราะกำหนดเอา พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรงอยู่ในจตุตถฌานแล้วจึงปรินิพพาน ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที.

คำว่า ในความเป็นผู้มีจิตเป็นปกติ คือปกติจิต ได้แก่ ภวังคจิต. อธิบายว่า สัตว์ทั้งปวงผู้มีสัญญา ดำรงอยู่ในภวังคจิตแล้วย่อมทำกาละ ด้วยจุติจิตอันมีภวังค์เป็นที่สุด. สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นอย่างนี้ เพื่อจะท้วงด้วยอรรถนี้ด้วยประการฉะนี้. ในปัญหานั้น แม้ปกติจิตอัน ไม่หวั่นไหวของพระอรหันต์ในจตุโวการภพมีอยู่แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ปัญหานี้ท่านก็ยกขึ้นแสดงแล้วด้วยปัญจโวการภพ เพราะฉะนั้น สกวาที จึงกล่าวคำว่า ... ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้น ทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอาเนญชกถา จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 695

ธัมมาภิสมยกถา

[๑๘๖๕] สกวาที การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การแสดงธรรม การฟังธรรม การสนทนาธรรม การสอบถาม การสมาทานศีล ความสังวรระวังในอินทรีย์ทั้งหลาย ความ รู้จักประมาณในโภชนะ การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ในปฐมยาม และปัจฉิมยามแห่งราตรี มีแก่สัตว์อยู่ในครรภ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การแสดงธรรม ฯลฯ การประกอบความเพียรเครื่อง ตื่นอยู่ในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรี ไม่มีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรี ไม่มีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้ อยู่ในครรภ์

[๑๘๖๖] ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจัยเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง คือ เสียงจากผู้อื่น และโยนิโสมนสิการ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 696

อย่าง คือ เสียงจากผู้อื่นและโยนิโสมนสิการ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การตรัสรู้ ธรรม มีแก่สัตว์อยู่ในครรภ์.

[๑๘๖๗] ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การตรัสรู้ธรรม มีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว ผู้ประมาท แล้ว มีสติหลง ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ธัมมาภิสมยกถา จบ

อรรถกถาธัมมาภิสมยกถา

ว่าด้วย ธัมมาภิสมัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธัมมาภิสมัย คือ การตรัสรู้ธรรม. ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า การตรัสรู้ ธรรมของสัตว์ผู้นอนอยู่ในครรภ์มีอยู่ เพราะถือเอาพระโสดาบันในภพ อดีต ผู้อยู่ในท้องมารดาแล้วออกจากครรภ์ ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที จึงกล่าวคำว่า การแสดงธรรมเป็นต้น มีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์หรือ เพื่อท้วงว่า ผิว่า การตรัสรู้ธรรมมีอยู่ในที่นั้นไซร้ เหตุแห่งการตรัสรู้ ธรรมทั้งหลาย มีการแสดงธรรมเป็นต้น ก็พึงมีในที่นั้นได้ ดังนี้.

คำว่า การตรัสรู้ธรรมมีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว เป็นต้น สกวาที กล่าวหมายเอาภวังควาระ. จริงอยู่ ภวังค์ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ย่อมเป็น ไปมากมาย. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์นั้น ชื่อว่าหลับแล้ว

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 697

เพราะความไม่มีความเป็นไปแห่งเวลาที่จะพึงกระทำกิจ ชื่อว่าประมาท แล้ว เพราะความไม่มีภาวนานุโยค ชื่อว่าผู้หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ เพราะความไม่มีสติสัมปัญญะของกำหนดกรรมฐาน เมื่อเป็นเช่นนี้ การตรัสรู้ธรรมของสัตว์ผู้เห็นปานนั้นจักมีแต่ที่ไหน.

อรรถกถาธัมมาภิสมยกถา จบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 698

กถาทั้ง ๓

[๑๘๖๘] สกวาที การบรรลุอรหัตตผลมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การบรรลุอรหัตตผล มีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว ผู้ประมาท ผู้มีสติหลง ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่บุคคลผู้ฝัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว ผู้ประมาทแล้ว ผู้มีสติหลง ผู้ไม่มีสัมปัญญะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การบรรลุอรหัตตผลมีแก่บุคคลผู้ฝัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การบรรลุอรหัตตผล มีแก่บุคคลหลับแล้ว ผู้ประมาท แล้ว ผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กถาทั้ง ๓ จบ

อรรถกถาติสสันนัมปิ กถานัง

ว่าด้วย กถาทั้ง ๓

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกถาทั้ง ๓. กถาทั้ง ๓ คือ ธัมมาภิสมัย ที่ไม่มีแก่ บุคคล ๓ ประเภท คือ แก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ แก่บุคคลผู้หลับแล้วเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 699

แก่บุคคลผู้ฝัน. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกาย อุตตราปถกะบางพวกเหล่านั้นนั่นแหละ แม้ในที่นี้ว่า การบรรลุพระอรหันต์มีอยู่แก่สัตว์อยู่ในครรภ์ เพราะยึดถือเอาการบรรลุพระอรหันต์ ของพระโสดาบันเกิดแล้วไม่นาน และเห็นครรภ์ตั้งอยู่ ๗ ปี ของนาง สุปปวาสา อุบาสิกา ดังนี้ด้วย ว่า ธัมมาภิสมัยมีอยู่ เพราะถือเอาความฝัน อันเป็นที่ไปสู่ความว่างเป็นต้น ดังนี้ด้วย ว่า การบรรลุพระอรหันต์มีอยู่ ในที่นั้น ดังนี้ด้วย คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้เช่นกับเรื่องก่อนนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาติสสันนัมปิกถานัง จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 700

อัพยากตกถา

[๑๘๖๙] สกวาที จิตของบุคคลผู้ฝันทุกอย่างเป็นอัพยากฤต หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงฝันฆ่าสัตว์ได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลพึงฝันฆ่าสัตว์ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่าจิต ของบุคคลผู้ฝันทุกอย่างเป็นอัพยากฤต.

[๑๘๗๐] ส. บุคคลพึงฝันลักทรัพย์ ฯลฯ พึงฝันพูดเท็จ พึงฝันพูด ส่อเสียด พึงฝันพูดคำหยาบ พึงฝันพูดเพ้อเจ้อ พึงฝันตัดที่ต่อ พึงฝัน ปล้นใหญ่ พึงฝันปล้นเฉพาะเรือนหลังหนึ่ง พึงฝันดักที่ทางเปลี่ยว พึงฝัน ผิดเมียท่าน พึงฝันทำการฆ่าชาวบ้าน พึงฝันทำการฆ่าชาวนิคม พึงฝัน เสพเมถุนธรรม อสุจิของบุคคลผู้ฝันพึงเคลื่อนได้ บุคคลพึงฝันให้ทาน พึงฝันให้จีวร พึงฝันให้บิณฑบาต พึงฝันให้เสนาสนะ พึงฝันให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร พึงฝันให้ของเคี้ยว พึงฝันให้ของกิน พึงฝันให้น้ำดื่ม พึงฝันไหว้พระเจดีย์ พึงฝันยกขึ้นซึ่งมาลา พึงฝันยกขึ้นซึ่งของหอม พึงฝัน ยกขึ้นซึ่งเครื่องลูบไล้ ที่พระเจดีย์ ฯลฯ พึงฝันทำประทักษิณพระเจดีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลพึงฝันทำประทักษิณพระเจดีย์ ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า จิตของบุคคลผู้ฝันทุกอย่าง เป็นอัพยากฤต.

[๑๘๗๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตของบุคคลผู้ฝันทุกอย่างเป็น อัพยากฤต หรือ?

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 701

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจิตของบุคคลผู้ฝันว่า เป็น อัพโพหาริก มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจิตของบุคคลผู้ฝันว่า เป็นอัพโพหาริก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า จิตของบุคคลผู้ฝัน ทุกอย่าง เป็นอัพยากฤต.

อัพยากตกถา จบ

อรรถกถาอัพยากตกถา

ว่าด้วย เรื่องเป็นอัพยากฤต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเป็นอัพยากฤต. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะบางพวกนั่นแหละว่า จิตของบุคคล ผู้ฝันทั้งปวงเป็นอัพยากฤต เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนาของ ผู้ฝันนั้นมีอยู่แต่เจตนานั้นแล เป็นอัพโพหาริก (อัพโพหาริก แปลว่า ไม่มีโวหาร คือหมายความว่า ไม่มีคำบัญญัติที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ในพระวินัยว่าจะต้องเป็นอาบัติอย่างไร) ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ ตามบาลีนั่นแล.

คำว่า จิตของบุคคลผู้ฝันว่า เป็นอัพโพหาริก นี้ สกวาทีกล่าว หมายถึงอาบัติ คือ การต้องโทษทางวินัย. จริงอยู่ อกุศลจิตของผู้ฝัน ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปาณาติบาตเป็นต้นแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น การ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 702

ทำร้ายด้วยวัตถุหามีไม่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่อาจเพื่อ บัญญัติอาบัติในที่นั้นได้. ด้วยเหตุนี้ จิตที่เป็นอัพโพหาริกนั้น จึงไม่ใช่ อัพยากฤต ดังนี้แล.

อรรถกถาอัพยากตกถา จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 703

อาเสวนปัจจยตากถา

[๑๘๗๒] สกวาที ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไรๆ ไม่มีหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต อันบุคคลซ่องเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปพร้อมเพื่อนรก เป็นไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อ วิสัยแห่งเปรต วิบากของปาณาติบาตอย่างเบาที่สุดก็เป็นไปพร้อมเพื่อ ความเป็นผู้มีอายุน้อยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มี อยู่น่ะสิ.

[๑๘๗๓] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไรๆ ไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อทินนานทาน อันบุคคลซ่องเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปพร้อมเพื่อนรก เป็นไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อ วิสัยแห่งเปรต วิบากของอทินนาทานอย่างเบาที่สุดก็เป็นไปพร้อมเพื่อ ความฉิบหายแห่งโภคะเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากของกาเมสุมิจฉาจาร อย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีศัตรู มีเวรเมื่อเกิดเป็น มนุษย์ ฯลฯ วิบากของมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความ


๑. องฺ. อฏก. ๒๓/๑๓๐.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 704

กล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งวาจาส่อเสียด อย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความแตกจากมิตร เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งวาจาหยาบอย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อเสียงอัน ไม่เป็นที่พอใจ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งการพูดเพ้อเจ้ออย่าง เบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีวาจาอันไม่น่าเชื่อถือเมื่อเกิด เป็นมนุษย์ ฯลฯ การดื่มสุราเมรัย อันบุคคลเสพแล้ว ฯลฯ วิบากแห่งการ ดื่มสุราเมรัยอย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นคนบ้าเมื่อเกิด เป็นมนุษย์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างก็มีอยู่ น่ะสิ.

[๑๘๗๔] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดอันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อนรกเป็นที่ไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อวิสัยแห่ง เปรต ดังนี้๒ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่ น่ะสิ.

[๑๘๗๕] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไรๆ ไม่มีหรือ?


๑,๒.องฺ. อฏฺก. ๒๓/๑๓๐.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 705

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิด ฯลฯ ความตั้งมั่นผิด อันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้ มากแล้ว ฯลฯ เป็นไปพร้อมเพื่อวิสัยแห่งเปรต ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่ น่ะสิ.

[๑๘๗๖] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไรๆ ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบอันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ดังนี้ เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าเช่นนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่ น่ะสิ.

[๑๘๗๗] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไรๆ ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


๑. องฺอฏฺก. ๒๓/๑๓๐.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 706

ความดำริชอบอันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ความ ตั้งมั่นชอบ อันบุคคลเสพแล้วโดยมาก อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะที่เป็นไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่ น่ะสิ.

อาเสวนปัจจยตากถา จบ

อรรถกถาอาเสวนปัจจยตากถา

ว่าด้วย ความเป็นอาเสวนปัจจัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความเป็นอาเสวนปัจจัย คือ ความเป็นปัจจัย เพราะการซ่องเสพ. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของ นิกายอุตตราปถกะบางพวกนั้นนั่นแหละว่า ธรรมทั้งปวงเป็นชั่วขณะ ธรรมอะไรๆ ตั้งอยู่แม้ครู่หนึ่งแล้ว ชื่อว่า ซ่องเสพซึ่งอาเสวนปัจจัย หามีไม่ เพราะฉะนั้นความเป็นอาเสวนปัจจัยไม่มีอยู่โดยแท้ อนึ่ง ธรรม อะไรๆ ที่เกิดขึ้นแล้วหาความเป็นอาเสวนปัจจัย ก็ไม่ได้ ดังนี้ คำถาม ของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะให้ปรวาทีนั้นรู้ด้วยพระสูตรนั่นแหละ จึงนำพระสูตรมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคล ซ่องเสพแล้ว ดังนี้เป็นต้น มิใช่หรือ? พระสูตรทั้งปวงนั้น มีอรรถตื้น ทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอาเสวนปัจจยตากถา จบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 707

ขณิกกถา

[๑๘๗๘] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะจิตหนึ่ง หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มหาปฐพี มหาสมุทร ขุนเขาสิเนรุ น้ำ ไฟ ลม หญ้า ไม้ และไม้เจ้าป่า ล้วนดำรงอยู่ในจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๗๙] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะแห่งจิตหนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า อาวุโส จักขุ อันเป็นธรรมภายใน ยังมิได้แตกไป แต่รูปอันเป็นธรรมภายนอกยังมิได้ มาสู่คลอง และการประมวลที่สมกันก็ยังไม่มี ความปรากฏแห่งความ เป็นวิญญาณที่สมกันก็ยังไม่มีก่อน จักขุอันเป็นธรรมภายในยังมิได้แตก ไปด้วย รูปอันเป็นธรรมภายนอกมาสู่คลองด้วย แต่การประมวลที่สมกัน ยังไม่มี ความปรากฏแห่งความเป็นวิญญาณที่สมกันก็ยังไม่มีก่อน ก็ใน กาลใดแล จักขุอันเป็นธรรมภายในยังมิได้แตกไปด้วย รูปอันเป็นธรรม ภายนอกก็มาสู่คลองด้วย การประมวลที่สมกันก็มีด้วย อย่างนี้ความ ปรากฏแห่งความเป็นวิญญาณที่สมกันจึงมี ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง


๑. ม.มู.๑๒/๓๔๖.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 708

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จักขายตนะเกิดพร้อม กับจักขุวิญญาณ.

[๑๘๘๐] ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า อาวุโส กายอัน เป็นธรรมภายในยังมิได้แตกไป แต่โผฏฐัพพะอันเป็นธรรมภายนอก ยังไม่มาสู่คลอง และการประมวลที่สมกันก็ยังไม่มี ฯลฯ กายอันเป็นธรรม ภายในยังมิได้แตกไปด้วย โผฏฐัพพะอันเป็นธรรมภายนอกก็มาสู่คลอง ด้วย แต่การประมวลที่สมกันยังไม่มี ฯลฯ ก็ในกาลใดแล กายอันเป็น ธรรมภายในยังมิได้แตกไปด้วย โผฏฐัพพะก็มาสู่คลองด้วย การประมวล ที่สมกันก็มีด้วย อย่างนี้ ความปรากฏแห่งความเป็นวิญญาณที่สมกัน จึงมี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กายายตนะเกิดพร้อม กับกายวิญญาณ.

[๑๘๘๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะจิตหนึ่ง หรือ?

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 709

ส. ถูกแล้ว.

ป. ธรรมทั้งปวง เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน มีอันไม่แปรปรวน ไปเป็นธรรมดา หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ธรรมทั้งปวงก็เป็นไปในขณะจิตหนึ่ง น่ะสิ.

ขณิกกถา จบ

อรรถกถาขณิกกถา

ว่าด้วย ธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะ

บัดนี้ ชื่อว่าธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะ คือหมายถึงขณะจิต. ใน ปัญหานั้น สังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น สังขตธรรม เหล่านั้น จึงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งเท่านั้น. ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ ลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และอปรเสลิยะทั้งหลายว่า ก็เมื่อความไม่เที่ยง มีอยู่ ธรรมอย่างหนึ่งแตกดับไปเร็ว ธรรมอย่างหนึ่งแตกดับไปช้า ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อะไรเล่าเป็นสภาพแตกต่างกันในที่นี้ ดังนี้ คำถามของ สกวาทีว่า ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะแห่งจิตอันหนึ่งหรือ ดังนี้ หมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ในคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า มหาปฐพี ... ..ล้วนดำรงอยู่ในจิตหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการดำรงอยู่แห่งมหาปฐพีเป็นต้นเหล่านั้น ฉะนั้น จึง ตอบปฏิเสธ. คำว่า จักขวายตนะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า ธรรมทั้งปวงพึงมีชั่วขณะจิตเดียวไซร้ อายตนะทั้งหลายมีจักขวายตนะ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 710

เป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ก็พึงดับไปพร้อมกับวิญญาณทั้งหลาย มีจักขุวิญญาณ เป็นต้นได้นะสิ. แต่ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ของสัตว์เกิดในท้องมารดา. ย่อมตอบรับรองหมายเอาความเป็นไป คือ ปวัตติกาล ด้วยสามารถแห่งลัทธินั่นแหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น ทั้งนั้นแล. คำว่า ถ้าอย่างนั้น ธรรมทั้งปวงก็เป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง ดังนี้ อธิบายว่า ปรวาทีย่อมกล่าวการกระทำตามความชอบใจของตนว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นของเที่ยงไม่มี ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงเป็น ไปในขณะแห่งจิตอันหนึ่ง ดังนี้. คำนั้นไม่เป็นเช่นกับคำที่ปรวาทีนั้น กล่าวแล้วแล.

อรรถกถาขณิกกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปรินิพพานกถา ๒. กุสลจิตตกถา ๓. อาเนญชกถา ๔. ธัมมาภิ- สมยกถา ๕. ติสโสปิกถา ๖. อัพยากตกถา ๗. อาเสวนปัจจัยตากถา ๘. ขณิกกถา.

วรรคที่ ๒๒ จบ