พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๒๓ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 711

วรรคที่ ๒๓

เอกาธิปปายกถา

[๑๘๘๒] สกวาที บุคคลพึงเสพเมถุนธรรมด้วยความประสงค์อย่างเดียวกันหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พึงเป็นผู้มิใช่สมณะ พึงเป็นผู้มิใช่ภิกษุ พึงเป็นผู้มีรากอันขาดแล้ว พึงเป็นปาราชิก ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๘๓] ส. บุคคลพึงเสพเมถุนธรรมด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ พึงพูดเท็จ พึงพูดส่อเสียดพึงพูดคำหยาบ พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดที่ต่อ พึงปล้นใหญ่ พึงปล้นเฉพาะเรือนหลังหนึ่ง พึงดักที่ทางเปลี่ยว พึงผิดเมียท่าน พึงทำการฆ่าชาวบ้านพึงทำการฆ่าชาวนิคม ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกาธิปปายกถา จบ

อรรถกถาเอกาธิปปายกถา

ว่าด้วย ความประสงค์อย่างเดียวกัน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความประสงค์อย่างเดียวกัน. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นดุจลัทธิของนิกายอันธกะและเวตุลละทั้งหลายว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 712

ความประสงค์อย่างหนึ่งของบุคคลมีอยู่ เพราะทำกิจทั้งหลายมีการบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น พร้อมกับหญิง ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาว่าขอความประสงค์อย่างเดียวกันจงมีด้วยความกรุณา หรือด้วยความปรารถนาอย่างเดียวกัน หรือพวกเราจักร่วมกันในสังสารวัฏฏ์ ดังนี้ ชื่อว่ามีความประสงค์อย่างเดียวกัน เมถุนธรรมอันความประสงค์อย่างเดียวกันเห็นปานนี้ ชนทั้ง ๒ นั้น พึงเสพ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงพิจารณาดูในบาลีนั้น แล.

อรรถกถาเอกาธิปปายกถา จบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 713

อรหันตวัณณกถา

[๑๘๘๔] สกวาที อมนุษย์ทั้งหลาย เสพเมถุนธรรมโดยเพศแห่งพระอรหันต์ทั้งหลายได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อมนุษย์ทั้งหลาย ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ลักทรัพย์ พูดเท็จพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นใหญ่ ปล้นเฉพาะเรือนหลังหนึ่ง ดักทางเปลี่ยว ผิดเมียท่าน ทำการฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ทำการฆ่าชาวนิคม โดยเพศแห่งพระอรหันต์ได้ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรหันตวัณณกถา จบ

อรรถกถาอรหันตวัณณกถา

ว่าด้วย เพศของพระอรหันต์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเพศของพระอรหันต์ คือ การเสพเมถุนโดยเพศของพระอรหันต์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า อมนุษย์ทั้งหลายเสพเมถุนธรรมด้วยเพศของพระอรหันต์ เพราะเห็นภิกษุผู้ลามก ผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ ผู้สมบูรณ์ด้วยกิริยา ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถา อรหันตวัณณกถา จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 714

อิสสริยกามการิกากถา

[๑๘๘๕] สกวาที พระโพธิสัตว์ ไปสู่วินิบาต เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ ไปสู่นรก คือ ไปสู่สัญชีวนรก ไปสู่กาลสุตตนรก ไปสู่ตาปนนรก ไปสู่มหาตาปนนรก ไปสู่สังฆาฏกนรก ไปสู่โรรุวนรก ฯลฯ ไปสู่อวีจินรก เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๘๖] ส. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาตเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต กระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ ไม่เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่าพระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่.

[๑๘๘๗] ส. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ พึงเข้าถึงนรก พึงเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 715

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๘๘] ส. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์มีฤทธิ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโพธิสัตว์มีฤทธิ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ได้อบรมอิทธิบาทคือฉันทะหรือ ฯลฯ ได้อบรมอิทธิบาทคือวิริยะ ฯลฯ อิทธิบาทคือจิตตะ ฯลฯ อิทธิบาทคือวิมังสา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโพธิสัตว์ หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ในครรภ์ เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ ไม่เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 716

[๑๘๘๙] ส. พระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?.

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่า โลกเที่ยง กลับมาสู่ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง ว่าโลกมีที่สุด ฯลฯ ว่าโลกไม่มีที่สุด ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะย่อมเกิดอีก ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะย่อมไม่เกิดอีก ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ฯลฯ ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๙๐] ส. พระโพธิสัตว์ ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์ ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์ ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ไม่เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่าพระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่.

[๑๘๙๑] ส. พระโพธิสัตว์ได้ความเพียรอย่างอื่นอีก อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 717

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่า โลกเที่ยง ฯลฯ ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโพธิสัตว์ อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ ไม่เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่.

อิสสริยกามการิกากถา จบ

อรรถกถา อิสสริยกามการิกากถา

ว่าด้วย เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่. ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระโพธิสัตว์ย่อมไปสู่วินิบาต พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ พระ-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 718

โพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา พระโพธิสัตว์ได้ทำความเพียรอย่างอื่นอีกพระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่โดยหมายเอาฉัททันตชาดกเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในกถาแรกมีอรรถตื้นทั้งนั้น.

ในกถาที่ ๒ ว่า พระโพธิสัตว์มีฤทธิ์หรือ สกวาทีถามเพื่อท้วงว่า ผิว่า พระโพธิสัตว์ พึงบรรลุเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ไซร้ ก็พึงบรรลุด้วยฤทธิ์มิใช่ด้วยอำนาจกรรม ดังนี้ ก็ในปัญหาแรกปรวาทีหมายเอาฤทธิ์อันสำเร็จด้วยภาวนา คืออิทธิบาท จึงตอบปฏิเสธในปัญหาที่ ๒ หมายเอาบุญฤทธิ์ จึงตอบรับรอง. ในกถาที่ ๓ สกวาทีกล่าวคำว่า โลกเที่ยง เป็นต้น เพื่อท้วงว่าผิว่า ชื่อว่า เหตุที่ทำความใคร่ในความเป็นใหญ่คือการกระทำทุกกรกิริยาพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทำด้วยมิจฉาทิฏฐิไซร้ พระองค์ก็พึงทำทุกกร-กิริยานั้นอย่างเดียว พึงถือเอาซึ่งทิฏฐิทั้งหลายมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น. แม้ในกถาที่ ๔ ก็นัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอิสสริยกามการิกากถา จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 719

ราคปฏิรูปกาทิกถา

[๑๘๙๒] สกวาที ธรรมมิใช่ราคะ แต่เทียบด้วยราคะ มีอยู่หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมมิใช่ผัสสะ แต่เทียบด้วยผัสสะ มีอยู่หรือ ธรรมมิใช่เวทนา แต่เทียบด้วยเวทนา มีอยู่หรือ ธรรมมิใช่สัญญา แต่เทียบด้วยสัญญามีอยู่หรือ ธรรมมิใช่เจตนา แต่เทียบด้วยเจตนามีอยู่หรือ ธรรมมิใช่จิต แต่เทียบด้วยจิตมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่ศรัทธา แต่เทียบด้วยศรัทธามีอยู่หรือ ธรรมมิใช่วิริยะ แต่เทียบด้วยวิริยะมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่สติแต่เทียบด้วยสติมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่สมาธิ แต่เทียบด้วยสมาธิมีอยู่หรือธรรมมิใช่ปัญญา แต่เทียบด้วยปัญญา มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมมิใช่โทสะแต่เทียบด้วยโทสะมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่โมหะเทียบด้วยโมหะมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่กิเลส แต่เทียบด้วยกิเลสมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมมิใช่ผัสสะ แต่เทียบด้วยผัสสะ มีอยู่หรือ ฯลฯ ธรรมมิใช่ปัญญา แต่เทียบด้วยปัญญา มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ราคปฏิรูปกาทิกถา จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 720

อรรถกถาราคปฏิรูปกาทิกถา

ว่าด้วย ราคปฏิรูปกะเป็นต้น

    บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องราคปฏิรูปกะ คือธรรมที่เทียบด้วยราคะเป็นต้น. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่าธรรมที่มิใช่ราคะเป็นราคะเทียมมีอยู่ เพราะหมายเอาเมตตา กรุณาและมุทิตาธรรมเป็นต้น ดังนี้ด้วยว่า ธรรมที่มิใช่โทสะเป็นโทสะเทียมมีอยู่ เพราะหมายเอาอิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ ดังนี้ด้วย ว่า ธรรมที่มิใช่โมหะเป็นโมหะเทียมมีอยู่ เพราะหมายเอาหสิตุปปาทะดังนี้ด้วยว่า ธรรมที่มิใช่กิเลสเป็นกิเลสเทียมมีอยู่ เพราะหมายเอาวาทะอันกระด้างที่ตำหนิบุคคลผู้เก้ออยากทั้งหลาย และอนุเคราะห์ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย อันเป็นถ้อยคำที่ตำหนิบาป สรรเสริญความดี ของท่านพระ-ปิลินทวัจฉะ และถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า โมฆบุรุษ อันเป็นถ้อยคำเช่นกับเขฬะ ดังนี้ด้วย คำถามในกถาทั้งปวงของสกวาที หมายถึงชนผู้เห็นผิดเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า ธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะ แต่เทียบด้วยผัสสะมีอยู่หรือ เป็นต้นกะปรวาทีนั้น เพื่อท้วงว่า ชื่อว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ของธรรมเทียมมีผัสสะเป็นต้น ย่อมไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้ราคะธรรมเป็นต้นของธรรมเทียมมีราคะเป็นต้นก็ย่อมไม่มี ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีแห่งสภาพธรรมเหล่านั้น. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาราคปฏิรูปกาทิกถา จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 721

อปรินิปผันนกถา

[๑๘๙๓] สกวาที รูปเป็นอปรินิปผันนะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปมิใช่ของไม่เที่ยง มิใช่สังขตะ มิใช่ธรรมชาติที่อิงอาศัยเกิดขึ้น มิใช่ธรรมชาติมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มิใช่ธรรมชาติที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มิใช่ธรรมชาติที่มีความคลายไปเป็นธรรมดา มิใช่ธรรมชาติที่มีความดับไปเป็นธรรมดา มิใช่ธรรมชาติที่มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อิงอาศัยเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ มีความแปรไปเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ดังนี้.

[๑๘๙๔] ส. ทุกข์เท่านั้น เป็นปรินิปผันนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ และ รูปก็ไม่เที่ยง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 722

ตรัสว่าเป็นทุกข์ และ รูปก็ไม่เที่ยง ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ.

[๑๘๙๕] ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯจักขายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ ฯลฯ จักขุธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ ฯลฯจักขุนทรีย์ ฯลฯ.

[๑๘๙๖] ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอปรินิปผันนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัญญาตาวินทรีย์ มิใช่ธรรมชาติที่ไม่เที่ยง ฯลฯ มิใช่ธรรมชาติที่มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง เป็นสังขตะฯลฯ มีความแปรไปเป็นธรรมดา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นธรรมชาติไม่เที่ยงเป็นสังขตะอิงอาศัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดามีความแปรไปเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอปรินิปผันนะ.

[๑๘๙๗] ส. ทุกข์เท่านั้น เป็นปรินิปผันนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ และ อัญญาตาวินทรีย์ก็ไม่เที่ยง มิใช่หรือ?

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 723

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ และ อัญญาตาวินทรีย์ก็ไม่เที่ยง ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ.

อปรินิปผันนกถา จบ

อรรถกถาอปรินิปผันนกถา

ว่าด้วย อปรินิปผันนะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง อปรินิปผันนะ คือธรรมที่ไม่สำเร็จแล้ว หมายถึงธรรมที่ไม่เกิดขึ้นมาเพราะปัจจัยปรุงแต่ง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายบางพวก และเหตุวาทะว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ คือเป็นธรรมที่สำเร็จแล้วหรือเกิดขึ้นแล้ว ส่วนธรรมที่เหลือ คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ เป็นอปรินิปผันนะคือไม่สำเร็จแล้ว ไม่เกิดขึ้นแล้ว โดยอาศัยพระพุทธพจน์ว่า ก็ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมดับไปด้วย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่ารูปเป็นอปรินิปผันนะหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า รูปมิใช่ของไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้ารูปเป็นอปรินิปผันนะไซร้ รูปนั้นก็พึงมิใช่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ปรวาที เมื่อไม่เห็นรูปเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 724

สกวาที ปฏิเสธลัทธิหนึ่งของปรวาทีนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า รูปเป็นของไม่เที่ยง...มิใช่หรือ? เมื่อจะถามปัญหาที่ ๒ จึงกล่าวคำว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะหรือ ดังนี้. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะปฏิเสธลัทธิของปรวาทีแม้นั้นอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มี-พระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์...มิใช่หรือ.

ในข้อนั้น มีอธิบายว่า สัจจะที่หนึ่งเท่านั้นเป็นทุกข์อย่างเดียวก็หาไม่ก็ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เที่ยง ธรรมนั้นก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทั้งรูปก็เป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นรูปแม้นั้น จึงเป็นปรินิปผันนะ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะดังนี้. การประกอบแม้ในธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แล. อนึ่งในธัมมายตนะ และธัมมธาตุทั้งหลาย เว้นพระนิพพานแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่าธรรมที่เหลือทั้งหมดเป็นอนิจจัง. อินทรีย์ทั้งหลายก็เป็นอนิจจังทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอปรินิปผันนกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

    ๑. เอกาธิปปายกถา

๒. อรหันตวัณณกถา

๓. อิสสริยกามการิกากถา

๔. ราคปฏิรูปกาทิกถา

๕. อปรินิปผันนกถา.

วรรคที่ ๒๓ จบ

ขุททกปัณณาสก์ จบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 725

อุทาน

    มหา นิยาโม อนุสยา นิคฺคโห ขุทฺทกปญฺจมา ปรปฺปวาทมทฺทนา สุตฺตมูลสมาหิตา อุชโชตนา สตฺถุสมเย กถาวตฺถุปปกรเณ

กถาวัตถุปกรณ์ มี ๕ ปัณณาสก์ คือ :-

    (๑) มหาปัณณาสก์

(๒) นิยามปัณณาสก์

(๓) อนุสยปัณณาสก์

(๔) นิคคหปัณณาสก์

(๕) ขุททกปัณณาสก์

อันพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระทำพระสูตรให้เป็นมูลตั้งไว้ ให้เป็นเครื่องย่ำยีปรับปวาท รุ่งเรืองอยู่ในพระพุทธศาสนา.

กถาวัตถุปกรณ์ ๓๕ ภาณวาร จบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 726

นิคมคาถา

    ก็ด้วยถ้อยคำมีประมาณเท่านี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้รวบรวมกถาทั้งปวง จากปัณณาสก์ทั้ง ๔ และวรรคทั้ง ๓ เท่านั้น แล้วจำแนกเป็นประเภทออกไปได้จำนวน ๓๐๐ หย่อน. (๑)

    พระชินพุทธเจ้าผู้ฉลาดในกถามรรคทั้งหลาย ทรงแสดงแล้วซึ่งกถาวัตถุปกรณ์ใด การพรรณนาเนื้อความแห่งกถาวัตถุปกรณ์นั้นสำเร็จแล้ว.

    ข้าพเจ้าร้อยกรองคัมภีร์นี้ไว้ มีประมาณ ๑๓ ภาณวาร จากจำนวน ๓๕ ภาณวาร เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อเป็นแบบแผน ฉะนี้แล.

    กุศลใด ที่ข้าพเจ้าบรรลุแล้ว ถึงพร้อมแล้วมีอยู่ ด้วยอำนาจแห่งกุศลนั้นขอสัตว์โลก คือ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย จงรับรสแห่งพระสัทธรรมของพระธรรมราชานั้น เทอญ.

    อรรถกถาแห่งกถาวัตถุปกรณ์ จบบริบูรณ์


    ๑. ในโยชนาว่าได้จำนวน ๒๓๐ ประเภท คือในปัณณาสก์ทั้ง ๔ ปัณณาสก์ละ ๕๐ เป็น ๒๐๐ และใน วรรคทั้ง ๓ เป็นกถาอีก ๓๐ รวม ๒๓๐ ประเภท.