พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฏิจจวาระ (๑. กุสลติกะ) - อนุโลมติกปัฏฐาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ก.พ. 2565
หมายเลข  42123
อ่าน  1,246

[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๑

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑. กุสลติกะ

๑. ปฏิจจวาระ

ปฏิจจวารอุทเทส

กุศลบท ๒๖/๑๒๖

อกุศลบท ๒๗/๑๒๗

อัพยากตบท ๒๘/๑๒๗

กุสลาพยากตบท ๒๙/๑๒๘

อกุสลาพยากตบท ๓๐/๑๒๙

กุสลากุสลบท ๓๑/๑๓๐

กุสลากุสลาพยากตบท ๓๒/๑๓๐

ปัจจนียนัย ๔๕/๑๓๕

อนุโลมปัจจนียนัย ๔๘/๑๓๖

ปัจจนียานุโลมนัย ๕๒/๑๓๘

อรรถกถาปัณณัตติวาระ ๑๔๐

ปฏิจจวารนิทเทส

ปัจจยานุโลม ๕๖/๑๖๖

การนับจํานวนวาระในอนุโลมนัย ๑๘๒

วรรณนาความแห่งปฏิจจวาระอรรถกถาปัจจยานุโลมนัย ๑๘๘

ปัจจยปัจจนียนัย ๘๗/๒๐๓

อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย ๒๒๖

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

การนับจํานวนวาระในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย ๑๓๓/๒๓๐

อรรถกถาปัจจยานุโลมปัจจนียนัย ๒๕๐

ปัจจยปัจจนียานุโลมนัย

การนับจํานวนวาระในปัจจยปัจจนียานุโลมนัย ๑๙๒/๒๕๑

อรรถกถาปัจจยปัจจนียานุโลมนัย ๒๖๙


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ ๘๕]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 126

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑. กุสลติกะ

๑. ปฏิจจวาระ

ปฏิจจวารอุทเทส

(ปัณณัตติวาระ) (๑)

กุศลบท

[๒๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้อย่างไร?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้อย่างไร?

๔. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๕. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๖. กุศลธรรมและอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?


(๑) เรียกปุจฉาวาระก็ได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 127

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

อกุศลบท

[๒๗] ๑. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้อย่างไร?

๒. กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้อย่างไร?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

อัพยากตบท

[๒๘] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 128

๒. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร?

๓. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้อย่างไร?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

กุสลาพยากตบท

[๒๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และ อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 129

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และ อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

อกุสลาพยากตบท

[๓๐] ๑. กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 130

กุสลากุศลบท

[๓๑] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

กุสลากุสลาพยากตบท

[๓๒] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 131

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร?

[๓๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ได้อย่างไร?

เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างไร แม้อารัมมณปัจจัยก็พึงจำแนกให้พิสดารอย่างนั้น โดยแนวแห่งการสอน.

[๓๔] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย ได้อย่างไร ฯลฯ เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ เพราะอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ เพราะ นิสสยปัจจัย ฯลฯ เพราะอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เพราะปุเรชาตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 132

ฯลฯ เพราะปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ เพราะอาเสวนปัจจัย ฯลฯ เพราะ กัมมปัจจัย ฯลฯ เพราะวิปากปัจจัย ฯลฯ เพราะอาหารปัจจัย ฯลฯ เพราะอินทริยปัจจัย ฯลฯ เพราะฌานปัจจัย ฯลฯ เพราะมัคคปัจจัย ฯลฯ เพราะสัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ เพราะวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ เพราะ อัตถิปัจจัย ฯลฯ เพราะนัตถิปัจจัย ฯลฯ เพราะวิคตปัจจัยได้ อย่างไร?

[๓๕] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย ได้อย่างไร?

อาศัยอกุศลธรรม, อาศัยอัพยากตธรรม, อาศัยกุศลธรรม และ อัพยากตธรรม, อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม, อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม, กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยกตธรรม เกิดขึ้น. อกุศลธรรม อาศัย, อัพยากตธรรม อาศัย, กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัย, อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัย, กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัย, กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างไร แม้อวิคตปัจจัย ก็พึงจำแนกให้พิสดารเหมือนอย่างนั้น โดยแนวแห่งการสอน.

เอกมูลปัจจัย จบ

[๓๖] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร? ฯลฯ กุศลธรรม อกุศลธรรม และ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 133

อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร?

[๓๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร? ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย, เพราะเหตุปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ อวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

ทุกมูลกปัจจัย จบ

[๓๘] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ อารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร? เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

ติมูลกปัจจัย จบ

[๓๙] กุศลธรรม อาศัยอกุศลกรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัยได้อย่างไร? ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ อวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

จตุมูลกปัจจัย จบ

[๔๐] ในวาระที่มีปัจจัยห้าเป็นมูล เป็นต้น ท่านย่อเอาไว้ เอกมูลกะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 134

ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ ปัญจมูลกะ สัพพมูลกปัจจัย ผู้มีปัญญาพึง จำแนกให้พิสดาร.

เหตุมูลกปัจจัย จบ

[๔๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร? เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัยได้อย่างไร? เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ อวิคตปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย, เพราะอวิคตปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย, ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

[๔๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร? เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย, ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้อ้ย่างไร?

[๔๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร? เพราะ อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ... เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 135

[๔๔] เอกมูลกะ ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ ปัญจมูลกะ สัพพมูลกปัจจัยแห่งบทหนึ่งๆ ผู้มีปัญญาพึงจำแนกให้พิสดาร.

ในอนุโลม มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ

คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติกปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และทุกัททุกปัฏฐาน.

ปัจจนียนัย

[๔๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัยได้ อย่างไร?

เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วในอนุโลมนัยอย่างใด นเหตุปัจจัย แม้ในปัจจนียนัย ก็พึงจำแนกให้พิสดารอย่างนั้น.

[๔๖] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย ได้อย่างไร? เพราะนอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสัมนันตรปัจจัย เพราะนสหชาตปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะนนิสสยปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย เพราะนกัมมปัจจัย เพราะนวิปากปัจจัย เพราะนอาหารปัจจัย เพราะนอินทริยปัจจัย เพราะนฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 136

[๔๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร?

ในอนุโลมนัย เอกมูลกะ ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ จนถึงเตวีสติมูลกปัจจัย แห่งบทหนึ่งๆ ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างใด แม้ในปัจจนียนัยก็พึงจำแนกพิสดารอย่างนั้น.

ในปัจจนียะ มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ

คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติกปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และทุกัททุกปัฏฐาน.

อนุโลมปัจจนียนัย

[๔๘] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร?

อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร?

ในอนุโลม เหตุปัจจัย ท่านจำแนกได้พิสดารแล้วอย่างใด แม้ในอนุโลมปัจจนียนัย ก็พึงจำแนกให้พิสดารอย่างนั้น.

[๔๙] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ นอธิปติปัจจัยได้อย่างไร? เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 137

[๕๐] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัยได้อย่างไร?

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย.

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย.

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะนสัมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย.

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย เพราะปัจฉาชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย เพราะอาหารปัญจจัย เพราะอินทริยปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย ได้อย่างไร?

[๕๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 138

นเหตุปัจจัยได้อย่างไร? ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ นอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ อธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ เพราะโนวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

ในอนุโลมปัจจนียะ มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ

คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติกปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และทุกัททุกปัฏฐาน.

ปัจจนียานุโลมนัย

[๕๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ อารัมมณปัจจัย ได้อย่างไร?

กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 139

[๕๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลกรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ นอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย. เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย ... เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

[๕๔] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร?

[๕๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย ฯลฯ.

เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย, เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย.

เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย.

เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 140

ในปัจจนียานุโลม มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ

คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติกปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐานและทุกัททุกปัฏฐาน.

ปัณณัตติวาระ (๑) จบ

อรรถกถาปัณณัตติวาระ

(ว่าด้วยการตั้งชื่อ)

(บาลีอรรถกถาหน้า ๕๒๙ - ๕๕๒)

คำว่า ติกปัฏฐาน ทุกปัฏฐาน ฯลฯ ทุกทุกปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปัฏฐานมหาปกรณ์ อันเป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔ ด้วยอำนาจติกปัฏฐานเป็นต้น ในบรรดาปัฏฐานทั้งหลาย มีอนุโลมปัฏฐานเป็นต้น ดังกล่าวมาแล้ว โดยทรงอาศัยติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่าใด ขยายความติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านั้น ทรงจำแนกปัฏฐานเหล่านั้นมีติกปัฏฐานเป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยเหล่าใด ครั้นทรงแสดงเฉพาะปัจจัยเหล่านั้น ไม่พาดพิงถึงติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านั้น ทั้งโดย อุทเทสและนิทเทสด้วยวาระ กล่าวคือการจำแนกปัจจัยโดยการตั้งหัวข้อนี้ ก่อนแล้ว เพราะพระองค์ทรงอาศัยติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่าใด จึงตรัสคำว่า ติกปัฏฐาน ทุกปัฏฐาน ฯลฯ ทุกทุกปัฏฐาน บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง


(๑) คือปฏิจจวารอุทเทส.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 141

ติกปัฏฐาน เป็นต้นเหล่านั้น ให้พิสดารด้วยอำนาจปัจจัยเหล่านั้น จึงทรงอาศัยติกะและทุกะหนึ่งๆ แต่งเทศนาด้วยวาระใหญ่ ๗. ชื่อแห่งวาระ ใหญ่ ๗ เหล่านั้นคือ ปฏิจจวาระ สหชาตวาระ ปัจจยวาระ นิสสยวาระ สังสัฏฐวาระ สัมปยุตตวาระ ปัญหาวาระ.

บรรดาวาระ ๗ เหล่านั้น วาระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยพระดำรัสว่า ปฏิจฺจ (อาศัย) อย่างนี้ว่า กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ปฏิจจวาระ.

ที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สหชาโต อย่างนี้ว่า กุสลํ ธมฺมํ สหชาโต กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า สหชาตวาระ. สหชาตวาระนั้นว่าโดยเนื้อความแล้ว ไม่ต่างจากปฏิจจวาระที่กล่าวมาก่อน. แต่วาระที่หนึ่ง ตรัสด้วยอำนาจ เวไนยสัตว์ ที่จะตรัสรู้ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า ปฏิจจะ. วาระที่สองตรัสด้วยอำนาจเวไนยสัตว์ ผู้จะตรัสรู้ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สหชาตะ. ก็ในวาระทั้งสองนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยทั้งหลายโดยเฉพาะ และปัจจยุบบันธรรมด้วยอำนาจรูปธรรมและอรูปธรรม. ก็แลปัจจัยและปัจจยุบบันธรรมเหล่านั้น ได้เฉพาะที่เกิดพร้อมกันเท่านั้น ที่เกิดก่อน หรือเกิดภายหลังย่อมไม่ได้.

วาระที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า ปจฺจยา อย่างนี้ว่า กุสลํ ธมฺมํ ปจฺจยา กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ปัจจยวาระ แม้ปัจจยวาระนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบด้วยอำนาจแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม เหมือนสองวาระก่อน. อนึ่ง แม้ปุเรชาตปัจจัยก็ย่อมได้ในอธิการนี้. นี้เป็นความแปลกกันแห่งปัจจยวาระกับสองวาระก่อน.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 142

วาระต่อจากนั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจพระดำรัส ว่า นิสฺสาย อย่างนี้ว่า กุสลํ ธมฺมํ นิสฺสาย กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า นิสสยวาระ. นิสสยวาระนั้นโดยใจความไม่ต่างจากปัจจยวาระที่กล่าวมาก่อน แต่ว่าวาระที่หนึ่งตรัสด้วยอำนาจสัตว์ ผู้จะตรัสรู้ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า ปัจจยะ ที่สองตรัสด้วยอำนาจสัตว์ผู้จะตรัสรู้ ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า นิสสยะ.

ต่อจากนั้น ที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สํสฏฺโ อย่างนี้ว่า กุสลํ ธมฺมํ สํสฏโ กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า สังสัฏฐวาระ.

วาระที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สมฺปยุตฺโต อย่างนี้ว่า กุสลํ ธมฺมํ สมฺปยุตฺโต กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า สัมปยุตตวาระ. สัมปยุตตวาระนั้น โดยเนื้อความไม่ต่างจากสังสัฏฐวาระ วาระที่หนึ่ง ตรัสด้วยอำนาจเวไนยสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สังสัฏฐะ วาระที่สองตรัส ด้วยพระดำรัสว่า สัมปยุตตะ. ก็ในสองวาระนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยและปัจจยุบบันธรรม ด้วยอำนาจแห่งอรูปธรรมเท่านั้น.

ส่วนใน วาระที่ ๗ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปัญหานั้นขึ้น โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยเหตุปัจจัย แล้วทรงจำแนกปัญหาเหล่านั้นทั้งหมดไม่ให้สับสน ไม่ให้คลุมเครืออีกโดยนัย เป็นต้นว่า กุศลเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุปัจจัย ฉะนั้น วาระนั้นจึงชื่อว่า ปัญหาวาระ เพราะทรงจำแนกปัญหาทั้งหลายไว้ดีแล้ว. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบปัจจัยและปัจจยุบบัน ด้วยอำนาจแห่งรูปธรรม และอรูปธรรม.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 143

บรรดาวาระเหล่านั้น วาระที่หนึ่งที่ชื่อว่า ปฏิจจวาระนั้นใด วาระ นั้นก็มีสองอย่างคือ โดยอุทเทสและนิทเทส. ในสองอย่างนั้น อุทเทสวาระ ที่หนึ่งเรียกว่า ปุจฉาวาระ บ้าง.

แม้คำว่าปัณณัตติวาระก็เป็นชื่อแห่งอุทเทสวาระนั้นเอง. จริงอยู่ วาระนั้นชื่อว่า อุทเทสวาระ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยกุศล เป็นต้น แล้วยกกุศลเป็นต้นนั้นแสดงด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น. ชื่อว่า ปุจฉาวาระ เพราะทรงอาศัยกุศลเป็นต้น ตรัสถามถึงการเกิดขึ้น แห่งกุศลเป็นต้น ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยเป็นต้น. แม้วาระนั้น ก็ตรัสว่า ปัณณัตติวาระ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยกุศลเป็นต้น แล้วให้ทราบถึงการเกิดขึ้นแห่งกุศลเป็นต้น ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยเป็นต้น. ในข้อนั้นมีปริกัปปปุจฉาว่า กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยหรือ?

ก็ในปริกัปปปุจฉานี้ มีใจความดังนี้ กุศลธรรมใดพึงเกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย กุศลธรรมนั้นต้องอาศัยกุศลธรรมหรือ. อีกอย่างหนึ่งในอธิการนี้มีใจความดังนี้ว่า กุศลธรรมใด พึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น กุศลธรรมนั้นพึงมีเพราะเหตุปัจจัยหรือ?

ศัพท์ว่า ปฏิ ในคำว่า ปฏิจฺจ เป็นไปในอรรถว่า เหมือนกัน เช่น บุคคลเหมือนกัน เรียกว่าปฏิบุคคล ส่วนเท่ากัน เรียกว่า ปฏิภาค. คำว่า อิจฺจ นั่นกล่าวถึงความขวนขวายในการไป. ครั้นพูดรวมกันทั้งสองศัพท์ จึงมีอธิบายว่า บทว่า ปฏิจฺจ ความว่า เป็นไปเท่าเทียมกัน คือดำเนินไปโดยความเป็นธรรมที่ทัดเทียมกัน กล่าวคือ เกิดขึ้นพร้อมกัน อธิบายว่า เข้าถึงภาวะ คือการเกิดขึ้นพร้อมกับปัจจัยนั้น. สองบทว่า กุสโล ธมฺโม

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 144

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสถามว่า กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยโดยภาวะคือ การเกิดขึ้นพร้อมกัน อย่างนั้นหรือ.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปฏิจฺจ ความว่า ทำให้เป็นปัจจัย. ก็การทำให้ เป็นปัจจัยนั้น ย่อมได้ทั้งในปุเรชาตปัจจัยและสหชาตปัจจัย ในที่นี้ ประสงค์เอาสหชาตปัจจัย. แม้ในคำว่า สิยา กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ อกุศสโล ธมฺโม เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในคำว่า สิยา กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ อกุสโล ธมฺโม เป็นต้นนั้น อกุศลธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยไม่มีก็จริง. แต่ปัจจัยใดที่พระองค์วิสัชนาอยู่ ย่อมได้โดยเนื้อความและไม่ได้โดยเนื้อความในปุจฉาวาระนี้ ปัจจัยนั้นทั้งหมด พระองค์ทรงยกขึ้นด้วยอำนาจปุจฉา. ส่วนในการวิสัชนาข้างหน้า ปัจจัยใดที่ไม่ได้วิสัชนา ทรงละปัจจัยนั้นเสีย ปัจจัยใดได้วิสัชนา ทรงวิสัชนาเฉพาะปัจจัยนั้นเท่านั้น. ผู้ศึกษาครั้นทราบอรรถแห่งปุจฉาและแนวทางแห่งปุจฉาในอธิการนี้ ดังกล่าวมาแล้ว บัดนี้พึงทราบการกำหนดปุจฉา ด้วยอำนาจการคำนวณต่อไป.

ก็ในคำว่า กสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ นี้ ปุจฉามี ๓ คือ ที่มีกุศลบท เป็นบทต้น มีกุศล อกุศลและอัพยากตะเป็นอวสานบท ปุจฉาอีก ๓ คือ มีกุศลบทนั้นแหละเป็นบทต้น มีการจำแนกโดยทุกะ ด้วยสามารถแห่งกุศลและอัพยากตะเป็นต้น เป็นอวสานบท ปุจฉาอีก ๑ คือ มีกุศลบท นั้นนั่นแหละเป็นบทต้น มีติกะเป็นอวสานบท. ปุจฉา ๗ ที่มีกุศลบทเป็นบทต้น ในคำว่า กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ ดังนี้ ย่อมมีโดยประการอย่างนี้. ปุจฉาที่มีอกุศลบทเป็นบทต้น มีอัพยากตบทเป็นบทต้น มีกุสลาพยากตบทเป็นบทต้น มีอกุสลาพยากตบทเป็นบทต้น มีกุสลากุศลบทเป็นบทต้น

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 145

มีกุสลากุสลาพยากตะเป็นบทต้น ก็เหมือนกัน. ปุจฉาแม้ทั้งหมดในเหตุ ปัจจัยมี ๔๙ ข้อ อาศัยกุศลติกะ ด้วยอำนาจบทต้น (คือกุศลบทเป็นต้น) ๗ บทๆ ละ ๗ ปุจฉา ในอธิการนี้พึงทราบปุจฉาเหล่านั้น แม้ด้วยสามารถแห่งมูลและอวสานอย่างนี้

คือ ปุจฉา ๙ มีมูลบท ๑. มีอวสานบท ๑. ปุจฉา ๙ มีมูลบท ๑ มีอวสานบท ๒. ปุจฉา ๓ มีมูลบท ๑ มีอวสานบท ๓, ปุจฉา ๙ มีมูลบท ๒ มีอวสานบท ๑, ปุจฉา ๙ มีมูลบท ๒ มีอวสานบท ๒, ปุจฉา ๓ มีมูลบท ๒ มีอวสานบท ๓, ปุจฉา ๓ มีมูลบท ๓ มีอวสานบท ๑, ปุจฉา ๓ มีมูลบท ๓ มีอวสานบท ๒, ปุจฉา ๑ มีมูลบท ๓ มีอวสานบท ๓. แม้ในอารัมมณปัจจัย เป็นต้น ก็มี ปุจฉา ๔๙ ข้อ เหมือนในเหตุปัจจัยนั้นนั่นแหละ. ในปัจจัย ๒๔ ปัจจัย แม้ทั้งหมด.

ในนัยที่มีมูลบท ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ประมวลปุจฉาไว้รวม ๑,๑๓๖ ข้อ

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม นัยที่มีมูลสอง ว่า เหตุ- ปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา เป็นต้น. ในนัยที่มีมูลสองนั้น มีทุกะ ๒๓ ทุกะ พร้อมกับเหตุปัจจัย

คือ เหตารัมมณทุกะ ฯลฯ เหตาวิคตทุกะ. แม้ ในเหตารัมมณทุกะ ก็มีปุจฉา ๔๙ ข้อ เหมือนเหตุปัจจัย. บรรดาปุจฉา เหล่านั้นทรงแสดงไว้ในบาลีสองข้อเท่านั้น. แม้ในเหตาธิปติทุกะ เป็นต้น ก็มีปุจฉา ๔๙ ข้อ เหมือนในเหตารัมมณทุกะ. บรรดาทุกะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทุกะ ๓ ทุกะตามลำดับ

คือ เหตาธิปติทุกะ เหตานันตรทุกะ เหตุสมนันตรทุกะ ด้วยอำนาจแห่งปุจฉาที่หนึ่ง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 146

แล้ว ทรงแสดงเหตาวิคตทุกะเป็นที่สุด คำที่เหลือทรงย่อไว้. ก็ผู้ศึกษาพึงทราบการกำหนดปุจฉาในอธิการนี้อย่างนี้ คือ

ในทุกมูลกนัย ในเพราะทุกะ ๒๓ ทุกะ จึงมีปุจฉา ๑,๑๒๗ ข้อ

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม ติมูลกนัย ว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา อธิปติปจฺจยา เป็นต้น. ในติมูลกนัยนั้น มีติกะ ๒๒ ติกะ ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในปัจจัย ๒๒ มีอธิปติปัจจัย เป็นต้น กับเหตารัมมณทุกะ. บรรดาติกะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงติกะที่ ๑ และติกะที่ ๒ ด้วยอำนาจแห่งปุจฉาที่หนึ่งแล้ว จึงทรงแสดงติกะในที่สุด. คำที่เหลือทรงย่อไว้ในทุกะ ฉันใด แม้ในติกะ ก็ฉันนั้น ทรงจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในติกะหนึ่งๆ.

ในติมูลกนัย ในติกะ ๒๒ ทั้งหมด จึงมีปุจฉา ๑,๐๗๘ ข้อ โดยจำนวน.

ต่อจากนั้นทรงเริ่ม นัยที่มีมูล ๔ ว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา อธิปติปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา เป็นต้น ในนัยที่มีมูล ๔ นั้น มีจตุกกะ ๒๑ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัย ๑ กับปัจจัย ๑ ใน บรรดาปัจจัย ๒๑ มีอนันตรปัจจัยเป็นต้น กับติกะที่หนึ่ง. บรรดาจตุกกะ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ๒ จตุกกะแล้ว ย่อจตุกกะที่เหลือไว้. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในจตุกกะหนึ่งๆ แม้ในอธิการนี้.

ในจตุมูลกนัย ในจตุกกะ ๒๑ ทั้งหมด จึงมี ปุจฉา ๑,๐๒๙ ข้อ โดยการคำนวณ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 147

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาเริ่มแต่ ปัญจมูลกนัย เป็นต้น จนถึง สัพพมูลกนัย. นัยที่ทรงย่อไว้ที่ตรัสแล้วในหนหลัง และจะพึงตรัสต่อไปข้างหน้าทั้งหมดนั้น ทรงกระทำให้เป็นแบบเดียวกัน แล้วแสดงไว้ในบาลีว่า เอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย ปัญจมูลกนัย สัพพมูลกนัย อันผู้ไม่งมงาย พึงให้พิสดาร. ในเอกมูลกนัย เป็นต้นนั้น คำที่ควรกล่าวข้าพเจ้าได้กล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว. ส่วนใน ปัญจมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๕ รวมปัญจกะ ๒๐ หมวดถ้วน ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในปัจจัย ๒๐ ถ้วน มีสมนันตรปัจจัยเป็นต้น กับจตุกกะก่อน (คือที่กล่าวมาก่อน ๔ ปัจจัยในจตุมูลกนัย) เพราะจัด ปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในปัญจกะหนึ่งๆ ในปัญจกะเหล่านั้น

ในปัญจมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๘๙๐ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน ฉมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๖ รวม ๑๙ หมวด ด้วยอำนาจ การเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๙ มีสหชาตปัจจัย เป็นต้น กับปัญจกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในปัจจัยหนึ่งๆ ในฉักกะ เหล่านั้น

ในฉมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๙๓๑ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน สัตตมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๗ รวม ๑๘ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๘ มีอัญญมัญญปัจจัย เป็นต้น กับฉักกะก่อน เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในสัตตกะหนึ่งๆ ในบรรดา สัตตกะเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 148

ในสัตตมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๘๘๒ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน อัฏฐมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๘ รวม ๑๗ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๗ มีนิสสยปัจจัย เป็นต้น กับสัตตกะก่อน เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในอัฏฐกะหนึ่งๆ ในบรรดา อัฏฐกะเหล่านั้น

ในอัฏฐมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๘๓๓ ข้อ โดยการ คํานวณ.

ใน นวมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๙ รวม ๑๖ หมวด ด้วยอำนาจ การเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๖ มีอุปนิสสยปัจจัย เป็นต้น กับอัฏฐกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในนวกะหนึ่งๆ ในบรรดา นวกะเหล่านั้น

ในนวมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๗๘๔ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน ทสมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๑๐ รวม ๑๕ หมวด ด้วยอำนาจ การเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๕ มีปุเรชาตปัจจัย เป็นต้น กับนวกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในทสกะหนึ่งๆ ในบรรดา ทสกะนั้นๆ

ในทสมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๗๓๕ ข้อ โดยการ คํานวณ.

ใน เอกาทสมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๑๑ รวม ๑๔ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๔ มีปัจฉาชาตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 149

เป็นต้น กับทสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาเอกาทสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๑ จึงมีปุจฉา ๖๘๖ ข้อ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๒ มีปัจจัยหมวดละ ๑๒ รวม ๑๓ หมวด ด้วย อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๓ มีอาเสวนปัจจัย เป็นต้น กับเอกาทสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ใน บรรดาทวาทสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๒ จึงมีปุจฉา ๖๓๗ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๓ มีปัจจัยหมวดละ ๑๓ รวม ๑๒ หมวด ด้วย อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๒ มีกัมมปัจจัย เป็นต้น กับบทวาทสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาเตรสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๓ จึงมีปุจฉา ๕๘๘ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๔ มีปัจจัยหมวดละ ๑๔ รวม ๑๑ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๑ มีวิปากปัจจัย เป็นต้น กับเตรสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาจุททสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๔ จึงมีปุจฉา ๕๓๙ ข้อ โดยการ คำนวณ.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 150

ใน นัยที่มีมูล ๑๕ มีปัจจัยหมวดละ ๑๕ รวม ๑๐ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๐ มีอาหารปัจจัย เป็นต้น กับจุททสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ใน บรรดาปัจจัยหมวด ๑๕ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๕ จึงมีปุจฉา ๔๙๐ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๖ มีปัจจัยหมวดละ ๑๖ รวม ๙ หมวด ด้วยอำนาจ การเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๙ มีอินทริยปัจจัย เป็นต้น กับ หมวด ๑๕ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัยหมวด ๑๖ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๖ จึงมีปุจฉา ๔๔๑ ข้อโดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๗ มีปัจจัยหมวดละ ๑๗ รวม ๘ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๘ มีฌานปัจจัย เป็นต้น กับหมวด ๑๖ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ใน บรรดาปัจจัยหมวด ๑๗ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๗ จึงมีปุจฉา ๓๙๒ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๘ มีปัจจัยหมวดละ ๑๘ รวม ๗ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๗ มีมัคคปัจจัย เป็นต้น กับปัจจัยหมวด ๑๗ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัยหมวด ๑๘ เหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 151

ในนัยที่มีมูล ๑๘ จึงมีปุจฉา ๓๔๓ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๙ มีปัจจัยหมวดละ ๑๙ รวม ๖ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๖ มีสัมปยุตตปัจจัย เป็นต้น กับปัจจัยหมวด ๑๘ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัยหมวด ๑๙ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๙ จึงมีปุจฉา ๒๙๔ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๐ มีปัจจัยหมวดละ ๒๐ รวม ๕ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๕ มีวิปปยุตตปัจจัย เป็นต้น กับปัจจัยหมวด ๑๙ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๑๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัยหมวด ๒๐ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๐ จึงมีปุจฉา ๒๔๕ ข้อ โดยการ คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๑ มีปัจจัยหมวดละ ๒๑ รวม ๔ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย มีอัตถิปัจจัย เป็นต้น กับหมวด ๒๐ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ใน บรรดาปัจจัยหมวด ๒๑ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๑ ผู้รู้ลักษณะ จึงนับประมวล ปุจฉาได้ ๑๙๖ ข้อ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๒ มีปัจจัยหมวดละ ๒๒ รวม ๓ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ บรรดาปัจจัย ๓ มีนัตถิปัจจัย เป็นต้น กับ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 152

หมวด ๒๑ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ใน บรรดาหมวด ๒๒ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๒ จึงมีปุจฉา ๑๔๗ ข้อ โดยการ คํานวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๓ มีปัจจัยหมวดที่ ๒๓ รวม ๒ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ บรรดาวิคตาวิคตปัจจัยทั้งสอง กับหมวด ๒๒ ก่อน บรรดาวิคตปัจจัยและอวิคตปัจจัยทั้งสอง กับหมวด ๒๒ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัยหมวด ๒๓ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๓ อันเป็นคำรบที่ ๒๓ นี้ จึงมี ปุจฉา ๙๘ ข้อ โดยการคำนวณ.

ส่วน นัยที่มีมูล ๒๔ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจการประชุมแห่งปัจจัยทั้งหมด เพราะเหตุนั้นแหละพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีปัจจัย ทั้งหมดเป็นมูล. ในนัยที่มีมูล ๒๔ นั้น มีปุจฉา ๔๙ ข้อเท่านั้น ฉะนี้. ปุจฉานั้นทั้งหมด พระศาสดาทรงถือเอาเฉพาะบทว่า เหตุปัจจัยเท่านั้น จำแนกโดยพิสดารยิ่งในเทพบริษัท ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มีมูลหนึ่ง เป็นต้น จบลงด้วยนัยที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูล. ในอธิการนี้ทรงแสดงปุจฉาไว้โดยย่อ. ก็ประมวลการนับปุจฉาเหล่านั้นทั้งหมด ดังนี้.

จริงอยู่ ในนัยที่มีมูลหนึ่ง ปุจฉามาแล้ว ๑,๑๗๖ ข้อ บรรดา ปุจฉาเหล่านั้น ในนัยแห่งเหตุปัจจัย ผู้ศึกษาพึงแต่งปุจฉา ๔๙ ข้อ กับ ด้วยปัจจัยที่เป็นมูลนั่นเอง แล้วพึงถือเอาในนัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูลนี้. ปุจฉาที่เหลือผู้ศึกษาพึงใส่ในนัยที่มีปัจจัยที่เหลือเป็นมูล. ในนัยที่มีมูลสอง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 153

มีปุจฉา ๑,๑๒๗ ข้อ ที่มีมูล ๓ มี ๑,๐๗๘ ข้อ ที่มีมูล ๔ มี ๑,๐๒๙ ข้อ ที่มีมูล ๕ มี ๙๘๐ ข้อ ที่มีมูล ๖ มี ๙๓๑ ข้อ ที่มีมูล ๗ มี ๘๘๒ ข้อ ที่มีมูล ๘ มี ๘๓๓ ข้อ ที่มีมูล ๙ มี ๗๘๔ ข้อ ที่มีมูล ๑๐ มี ๗๓๕ ข้อ ที่มีมูล ๑๑ มี ๖๘๖ ข้อ ที่มี่มูล ๑๒ มี ๖๓๗ ข้อ ที่มีมูล ๑๓ มี ๕๘๘ ข้อ ที่มีมูล ๑๔ มี ๕๓๙ ข้อ ที่มีมูล ๑๕ มี ๔๙๐ ข้อ ที่มีมูล ๑๖ มี ๔๔๑ ข้อ ที่มีมูล ๑๗ มี ๓๙๒ ข้อ ที่มีมูล ๑๘ มี ๓๔๓ ข้อ ที่มีมูล ๑๙ มี ๒๙๔ ข้อ ที่มีมูล ๒๐ มี ๒๔๕ ข้อ ที่มีมูล ๒๑ มี ๑๙๖ ข้อ ที่มีมูล ๒๒ มี ๑๔๗ ข้อ ที่มี ๒๓ มี ๙๘ ข้อ ที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูลมี ๔๙ ข้อ ในนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น ซึ่งจำแนกออกไปโดยยกเหตุบทขึ้นต้น ดังกล่าวมาแล้ว.

เฉพาะเหตุบทเท่านั้น ว่าโดยประเภทแห่งมูลหนึ่งเป็นต้น จึงมีปุจฉา ๑๔,๗๐๐ ข้อ แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประเภทแห่งปุจฉาตั้งแต่นัยที่มี มูลหนึ่ง จนถึงนัยที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูล โดยกเหตุปัจจัยขึ้นต้นดังกล่าวมาแล้ว บัดนี้ เพื่อจะยกอารัมมณปัจจัยขึ้นแสดงเป็นต้น จึงตรัสคำว่า กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยหรือ? เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนัยที่มีมูลหนึ่ง ซึ่งมีอารัมมณปัจจัย เป็นต้น มีเหตุปัจจัยเป็นที่สุด ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุปจฺจยา. ต่อจากนั้น ทรงเริ่มนัยที่มีมูลสองว่า อารมฺมณปจฺจยา อธิปติปจฺจยา ดังนี้. ในนัยที่มีมูลสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทุกะที่หนึ่งนี้ และอารัมมณาวิคตทุกะแล้ว ทรง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 154

ย่อคำที่เหลือไว้. ทุกะที่สุดท้ายนี้ว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุปจฺจยา ดังนี้ ไม่ทรงแสดง. ก็ถ้าทุกะที่สุดนั้น ปรากฏในตอนไหน ผู้ศึกษาพึงถือเอา ตอนนั้นเอง. ต่อจากนั้น เพื่อจะไม่แสดงติมูลกนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย แล้วแสดงปัจจัยหนึ่งๆ เป็นต้น โดยยกอธิปติปัจจัย เป็นต้น จึงตรัสคำมีประมาณเท่านี้ว่า อธิปติปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา สมนนฺตรปจฺจยา สหชาตปจฺจยา อญฺมญฺปจฺจยา. คำนั้นผู้ศึกษา พึงทราบด้วยอำนาจนัยที่มีมูลหนึ่ง หรือที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูล.

ต่อจากนั้น เพื่อจะทรงแสดงเฉพาะทุมูลนัยเท่านั้น โดยยกอวิคตปัจจัยขึ้นต้น จึงเริ่มคำว่า อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา เป็นต้น. ใน ทุมูลกนัยนั้น ครั้นตรัสทุกะ ๓ ตามลำดับ

คือ อวิคตเหตุทุกะ อวิคตารัมมณทุกะ. อวิคตาธิปติทุกะ แล้วจึงทรงแสดงทุกะหนึ่งคือ อวิคตวิคตทุกะ ในที่สุด.

ลำดับนั้น เพื่อจะทรงแสดงนัยที่มีมูล ๓ ด้วยอำนาจอวิคตปัจจัย ครั้นตรัสติกะ ๓ ตามลำดับอย่างนี้

คือ อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา อธิปติปจฺจยา, อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา แล้วจึงตรัสติกะสุดท้ายว่า อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา วิคตปจฺจยา.

ลำดับนั้น เพื่อจะทรงแสดงนัยที่มีมูล ๔ ด้วยอำนาจอวิคตปัจจัยนั้น เอง ครั้นตรัสหมวด ๔ สองหมวด

คือ อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา อธิปติปจฺจยา, อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา แล้วทรงยกบทว่า วิคตปจฺจยา มาตั้งไว้. คำที่เหลือทั้งปวงทรงย่อไว้. เพื่อจะทรงแสดงว่าคำทั้งหมดนั้นทรงย่อไว้

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 155

จึงตรัสว่า เอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย สัพพมูลกนัย แห่งบทหนึ่งๆ อันผู้ศึกษาที่ไม่งมงายพึ่งขยายให้พิสดาร.

เพราะฉะนั้น ในเอกมูลกนัย มีปุจฉา ๑,๑๗๖ ข้อ ฯลฯ ใน สัพพมูลกนัยมีปุจฉา ๔๙ ข้อ ด้วยอำนาจแห่งบทว่า เหตุ เป็นต้น โดยยกเหตุปัจจัยขึ้นต้น ฉันใด ในเอกมูลกนัยแห่งบทหนึ่งๆ ก็มีปุจฉา ๑,๑๗๖ ข้อ ในสัพพมูลกนัยมีปุจฉา ๔๙ ข้อ ด้วยอำนาจแห่งบทว่า อารมณ์ เป็นต้น โดยยกปัจจัยหนึ่งๆ มีอารัมมณปัจจัยเป็นต้นขึ้นต้น ฉันนั้น ในการจำแนกที่หนึ่งๆ โดยเอกมูลกนัยเป็นต้น จึงมีปุจฉา ๑๔,๗๐๐ ข้อ ดังกล่าวมาแล้ว. การกำหนดการคำนวณปุจฉาเหล่านั้น ในปัจจัย ๒๔ ทั้งหมดมีดังนี้ คือ

ในอนุโลมนัย ทรงจำแนกปุจฉาแห่งกุศลติกะไว้ ๓๕๒,๘๐๐ ข้อ

กุศลติกะ ฉันใด เวทนาติกะเป็นต้น ก็ฉันนั้น. ในติกะ ๒๒ ติกะ ทั้งหมด ว่า โดยการจำแนกประเภทแห่งติกะแล้ว มีปุจฉา ๗,๗๖๑,๖๐๐ ข้อ ท้องเรื่อง (พลความ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้.

ในบรรดาทุกะทั้งหลาย พระบาลีว่า "สิยา เหตุํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ เหตุํ ธมฺโม อุปฺปชฺเชยฺย เหตุปจฺจยา=ธรรมที่เป็นเหตุพึงอาศัยธรรม ที่เป็นเหตุเกิดขึ้นหรือ " ดังนี้ ย่อมได้ปุจฉา ๙ ข้อ ในปัจจัยหนึ่งๆ มี เหตุปัจจัยเป็นต้น ในทุกะหนึ่งๆ อย่างนี้

คือ เหตุอาศัยเหตุ, นเหตุอาศัยเหตุ, เหตุและนเหตุอาศัยเหตุ. นเหตุอาศัยนเหตุ, เหตุอาศัยนเหตุ, เหตุและนเหตุอาศัยนเหตุ. เหตุอาศัยเหตุและนเหตุ นเหตุอาศัยเหตุ และนเหตุ, เหตุและนเหตุอาศัยเหตุและนเหตุ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 156

บรรดาปุจฉาเหล่านั้น ใน เอกมูลกนัย ยกเหตุปัจจัยขึ้นต้น มี ปุจฉา ๒๑๖ ข้อ. บรรดาปุจฉา ๒๑๖ ข้อเหล่านั้น สำหรับเหตุปัจจัยอย่างเดียว ผู้ศึกษาพึงถือเอาปุจฉา ๙ ข้อ ที่ไม่ปนกับปัจจัยอื่น. ที่เหลือท่านถือเอาโดยวาระแห่งอธิบายปุจฉาเหล่านั้น.

มีกำหนดการคำนวณในวาระ ๒๓ มีทุมูลเป็นต้น จนถึงที่มีมูล เป็นต้นทั้งหมด โดยนำนวกะหนึ่งๆ ออกเสีย ดังนี้.

ใน ทุมูลกนัย บรรดาปุจฉา ๒๑๖ ข้อ ที่แสดงไว้ใน เอกมูลกนัย นำปุจฉาออกเสีย ๙ ข้อ จึงมีปุจฉา ๒๐๗ ข้อ. ต่อจากนั้นใน ติมูลกนัย เอาออกอีก ๙ ข้อ คงเหลือ ๑๙๘ ข้อ เอาปุจฉาออกจากมูล ข้างต้นทีละ ๙ ข้อ ดังกล่าวมาแล้ว. ใน จตุมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๑๘๙ ข้อ. ใน ปัญจมูลกนัย มี ๑๘๐ ข้อ. ใน ฉมูลกนัย มี ๑๗๑ ข้อ. ใน สัตตมูลกนัย มี ๑๖๒ ข้อ. ใน อัฏฐมูลกนัย มี ๑๕๓ ข้อ. ใน นวมูลกนัย มี ๑๔๔ ข้อ. ใน ทสมูลกนัย มี ๑๓๕ ข้อ. ใน เอกาทสมูลกนัย มี ๑๒๖ ข้อ. ใน ทวาทสมูลกนัย มี ๑๑๗ ข้อ. ใน เตรสมูลกนัย มี ๑๐๘ ข้อ. ใน จุททสมูลกนัย มี ๙๙ ข้อ. ใน ปัณณรสมูลกนัย มี ๙๐ ข้อ. ใน โสฬสมูลกนัย มี ๘๑ ข้อ. ใน สัตตรสมูลกนัย มี ๗๒ ข้อ. ใน อัฏฐารสมูลกนัย มี ๖๓ ข้อ. ใน เอกูนวีสติมูลกนัย มี ๕๔ ข้อ. ใน วีสมูลกนัย มี ๔๕ ข้อ. ใน เอกวีสติมูลกนัย มี ๓๖ ข้อ. ใน พาวีสติมูลกนัย มี ๒๗ ข้อ. ใน เตวีสติมูลกนัย มี ๑๘ ข้อ และใน สัพพมูลกนัย มี ๙ ข้อ.

เหมือนอย่างว่า ใน เอกมูลกนัย มีปุจฉา ๒๑๖ ข้อ ฯลฯ ใน สัพพมูลกนัย มีปุจฉา ๙ ข้อเหล่านี้ ด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัย ฉันใด ว่าด้วยอำนาจแห่งบทมีอารมณ์เป็นต้น กระทำซึ่งปัจจัยหนึ่งๆ มีอารัมมณ-

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 157

ปัจจัยเป็นต้นขึ้นต้น ในเอกมูลกนัยแห่งบทหนึ่งๆ ก็มีปุจฉา ๒๑๖ ข้อ ฯลฯ ในสัพพมูลกนัยมี ๙ ข้อ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในการจำแนกบทหนึ่งๆ โดยเอกมูลกนัยเป็นต้น จึงมีปุจฉา ๒,๗๐๐ ข้อ มี การกำหนดคำนวณปุจฉาเหล่านั้น ในปัจจัย ๒๔ ทั้งหมดดังนี้ ใน อนุโลมนัยแห่งเหตุทุกะ มีปุจฉา ๖๔,๘๐๐ ข้อ. แม้ในสเหตุทุกะ เป็นต้น ก็เหมือนกับเหตุทุกะ.

แม้ใน ๑๐๐ ทุกะทั้งหมด ท่านผู้รู้กล่าวปุจฉาไว้ ในทุกะ ๑๐๐ ทุกะ ๖,๔๘๐,๐๐๐ ข้อ.

นี่เป็นการกำหนดจำนวนปุจฉาใน ติกปัฏฐาน และ ทุกปัฏฐาน ล้วนๆ ก่อน.

ส่วนที่ชื่อว่า ทุกติกปัฏฐาน ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ เอาติกะ ๒๒ ผนวกเข้าในทุกะ ๑๐๐ ทุกะ แสดงไว้ต่อจากนั้น ในทุกติกปัฏฐานแม้นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบกำหนดจำนวนปุจฉาที่พึงแสดงประกอบ ติกะหนึ่งๆ ในบรรดาติกะ ๒๒ เข้ากับทุกะ ๑๐๐ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้นทั้งหมด ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลัง อย่างนี้ว่า " กุศลธรรมที่เป็นเหตุ พึงอาศัยกุศลธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยหรือ? "

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาทุกะ ๑๐๐ ผนวกเข้าใน ติกะ ๒๒ แล้ว แสดงปัฏฐานชื่อว่า ติกทุกปัฏฐาน ใดไว้ แม้ในติกทุกปัฏฐานนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบกำหนดจำนวนปุจฉาที่พึงแสดงประกอบ ทุกะหนึ่งๆ ใน ๑๐๐ ทุกะ เข้ากับติกะ ๒๒ ด้วยอำนาจนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้นทั้งหมด ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลัง อย่างนี้

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 158

ว่า "ธรรมที่เป็นเหตุอันเป็นกุศล พึงอาศัยธรรมที่เป็นเหตุอันเป็นกุศล เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยหรือ?"

ต่อจากนั้น ทรงผนวกติกะทั้งหลายเข้าในติกะนั่นเอง แล้วแสดง ปัฏฐานชื่อว่า ติกติกปัฏฐาน อันใดไว้ ในติกติกปัฏฐานแม้นั้น ผู้ศึกษา พึงทราบการกำหนดนั้น ปุจฉาที่พึงแสดงประกอบติกะหนึ่งๆ บรรดา ๒๒ ติกะ. เข้ากับติกะ ๒๑ ที่เหลือ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น ทั้งหมด ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลัง อย่างนี้ว่า " ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาซึ่งเป็นกุศล พึงอาศัยธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาซึ่งเป็นกุศลเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยหรือ?"

ต่อจากนั้น ทรงผนวกทุกะเข้าในทุกะนั้นเอง แล้วแสดงปัฏฐาน ที่ชื่อว่า ทุกทุกปัฏฐาน อันใดไว้ ในทุกทุกปัฏฐานแม้นั้น ผู้ศึกษา พึงทราบการกำหนดการนับปุจฉาที่พึงแสดงประกอบทุกะหนึ่งๆ ใน ๑๐๐ ทุกะ กับทุกะ ๙๙ ที่เหลือ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น ตามนัย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลังอย่างนี้ว่า " ธรรมที่เป็นเหตุ (และ) เป็นเหตุ พึงอาศัยธรรมที่เป็นเหตุ (และ) มีเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุ ปัจจัยหรือ? "

จริงอยู่ พระตถาคตครั้นทรงแสดงประเภทนั้นทั้งหมดแล้ว จึงทรงแสดงธรรมในเทพบริษัท. แต่พระธรรมเป็นเสนาบดีรวบรวมย่อไว้ว่า ธรรม นี้ๆ พระองค์ทรงแสดงในวันนี้ แล้วกล่าวในเทศนาโดยเพียงแสดงนัยนั้น เท่านั้น. พลความที่กล่าวย่อไว้ พระเถระย่อให้เป็นไปแล้ว. พลความ นั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคหะในสังคีติกาล ตามนัยที่พระ-

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 159

เถระให้เป็นไปแล้วนั่นแหละ. ก็เพื่อจะแสดงสังเขปนัยแห่งพลความนั้น ข้าพเจ้าจึงตั้งคาถานี้ไว้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ เป็นต้น.

คาถานั้นมีใจความว่า คำว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ แปลว่า ติกปัฏฐานอันประเสริฐ คืออันบวร. บทว่า ทุกุตฺตมํ แปลว่า ทุกปัฏฐานอันสูงสุด คืออันประเสริฐสุด. บทว่า ทุกตฺติกกญฺเจว

คือ ทุกติกปฏิฐาน. บทว่า ติกทุกญฺจ

คือ ติกทุกปัฏฐาน. บทว่า ติกติกกญฺเจว

คือ ติกติกปัฏฐาน. บทว่า ทุกทฺทุกญฺจ

คือ ทุกทุกปัฏฐาน. คำว่า ฉ อนุโลมฺมหิ นยา สุคมฺภีรา ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบนัย ๖ อันลึกซึ้ง ด้วยดี มีติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านี้ ในอนุโลม.

บรรดานัยเหล่านั้น อนุโลมมี ๒

คือ ธัมมานุโลม และ ปัจจยานุโลม ในอนุโลมสองนี้ ปัฏฐานที่พระองค์ให้เป็นไปด้วยอำนาจเทศนา ที่เป็นอนุโลมแก่ธรรมที่ท่านรวบรวม ด้วยบทอภิธรรมมาติกาอย่างนี้ว่า กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรม ชื่อว่า ธัมมานุโลม ปัฏฐานที่พระองค์ให้เป็นไปด้วยอำนาจเทศนาที่เป็นอันโลมแก่ปัจจัย ๒๔ อย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา ชื่อว่า ปัจจยานุโลม.

บรรดาคำที่เป็นคาถาเหล่านั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ ฯเปฯ ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาหนหลัง หมายถึง ธัมมานุโลม. แต่ในอธิการนี้ คาถานี้ท่านกล่าวหมายถึง ปัจจยานุโลม ในธัมมมานุโลมนั้น. เพราะฉะนั้น คำว่า ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในอรรถกถาอย่างนี้ว่า นัย ๖ มี ติกปัฏฐานเป็นต้น ในธัมมานุโลมลึกซึ้งยิ่ง. แต่ในโอกาสนี้ ผู้ศึกษา พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มี ติกปัฏฐาน เป็นต้น เฉพาะใน

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 160

ธัมมานุโลมในปัจจยานุโลมที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา ลึกซึ้งยิ่ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่งปุจฉานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อแสดงในปัณณัตติวาระนี้ แห่งปฏิจจวาระด้วยอำนาจ กุศลติกะเท่านั้น ในติกะปัฏฐานที่เป็นอนุโลม. ส่วนในติกะ และทุกะ ที่เหลือ และในปัฏฐานที่เหลือไม่มีปุจฉาเลยแม้แต่ข้อเดียว.

ก็ใน สหชาตวาระ เป็นต้นต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ยก ปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุศลติกะ ทรงแสดงเฉพาะวิสัชนาด้วยอำนาจวาระที่มี ได้เท่านั้น. ก็เพราะพระบาลีว่า ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา. ผู้ศึกษาพึงยกปัฏฐานนัยทั้ง ๖ เหล่านี้ ขึ้นแสดงในปัจจยานุโลมนี้ ด้วยอำนาจ แห่งปุจฉาทั้งหลาย เพราะว่านั้นเป็นภาระแห่งอาจารย์ผู้อธิบายปัฏฐาน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดง ปัจจนียปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม คำว่า กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัยหรือ? ในปัจจนียปัฏฐานนั้น มีการกำหนดปุจฉา เท่ากับอนุโลมปุจฉา เพราะเหตุนั้นในปัจจนียปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ศึกษาพึง อธิบายเหตุปัจจัยแม้ในปัจจนียปัฏฐาน เหมือนอธิบายเหตุปัจจัยในอนุโลมปัฏฐาน แล้วตรัสไว้ในที่สุดอีกว่า พึงอธิบายเอกมูลกะจนถึงเตวีสติมูลกะ แห่งบทหนึ่งๆ ในปัจจนียปัฏฐาน เหมือนในอนุโลมปัฏฐาน.

ก็คำนี้ว่า เตวีสติมูลกํ ในอธิการนี้ ตรัสหมายถึงทุมูลกปัฏฐาน เท่านั้น ส่วนสัพพมูลกนัยในที่สุด ได้แก่จตุวีสติมูลกนัยนั่นเอง. นัยนั้น ทั้งหมดทรงย่อไว้แล.

พระบาลีนี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ดังนี้ได้แก่ปัจจนียะ ๒ อย่าง

คือ ธัมมปัจจนียะ และ ปัจจย-

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 161

ปัจจนียะ. ใน ๒ อย่างนั้น นัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้วด้วยอำนาจการแสดงธรรมที่สงเคราะห์ ด้วยบทอภิธรรมมาติกาอย่างนี้ว่า กุสลา ธมฺมา โดยแสดงเป็น ปัจจนียะ ว่า นกุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ นกุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ธัมมปัจจนียะ นัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงปัจจัย ๒๔ ด้วยอำนาจเป็นปัจจัยอย่างนี้ว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา ชื่อว่า ปัจจยปัจจนียะ. ใน ๒ อย่าง นั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ในอรรถกถาในหนหลัง ท่านกล่าวหมายถึง ธัมมปัจจนียะ แต่ในอธิการนี้ คาถานี้ท่านกล่าวหมายถึง ปัจจยปัจจนียะ ในธัมมานุโลม เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ในคาถาแห่งอรรถกถาว่า "ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา" ผู้ศึกษาพึงทราบใจความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มี ติกปัฏฐาน เป็นต้นในธัมมปัจจนียะลึกซึ้งยิ่ง. แต่ในปัจจนียะที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า นเหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา ในโอกาสนี้ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความ อย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกะปัฏฐานเป็นต้น เฉพาะในธัมมานุโลมเท่านั้น ลึกซึ้ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่งปุจฉานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงย่อแสดงในปัณณัตติวาระนี้แห่งปฏิจจวาระ ด้วยอำนาจธรรมเพียง กุสลติกะ ในอนุโลมติกปัฏฐานเท่านั้น แม้ในติกะและทุกะที่เหลือ และในปัฏฐานที่เหลือก็ไม่มีปุจฉาแม้แต่ข้อเดียว. ก็ในสหชาตวาระเป็นต้น ต่อจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยกปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุสลติกะ ทรงแสดงเฉพาะวิสัชนาด้วยอำนาจวาระที่ได้อยู่เท่านั้น. ก็เพราะพระบาลีว่า ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา พึงยกปัฏฐานนัย ๖ เหล่านี้ขึ้นแสดงใน

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 162

ปัจจยปัจจนียะนี้ ด้วยอำนาจแห่งปุจฉา เพราะว่านั่นเป็นภาระแห่งอาจารย์ ผู้อธิบายปัฏฐาน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดง อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มคำว่า " กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยนอารัมมณปัจจัยหรือ? " ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐานนั้น ในมูลที่มีมูละหนึ่ง มีเหตุบทเป็นต้น มีอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ๒๓ ด้วยอำนาจการเชื่อมเหตุบทกับปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๒๓ ที่เหลือว่า

เหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา ฯลฯ เหตุปจฺจยา โนอวิคตปจฺจยา ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐานนั้นมีปุจฉา ๑,๑๒๗ ข้อ เพราะแต่ละบทแบ่งออกได้ ๔๙ ข้อ. ส่วนในทุมูลกนัย ผู้ศึกษาพึงทราบการคำนวณปุจฉา ด้วยอำนาจบทที่เหลือ โดยลดบทหนึ่งๆ ในเอกมูลกนัยเป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวไว้ในอนุโลมอย่างนี้ว่า อนุโลมปัจจนียปัฏฐานมี ๒๒ ด้วยอำนาจการเชื่อม เหตารัมมณบท กับปัจจัยหนึ่งๆ กับบรรดาปัจจัย ๒๒ ที่เหลือ.

อนึ่ง ในเอกมูลกนัยเป็นต้น ในอธิการนี้ปุจฉาใดมาแล้ว และอันใด ไม่ได้มาในพระบาลี ปุจฉานั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งนัย ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.

ก็ในคำนี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ ฯเปฯ ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา มีอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ๒ อย่าง

คือ ธัมมานุโลมปัจจนียะ และปัจจยานุโลมปัจจนียะ ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง. ใน ๒ อย่างนั้น ปัฏฐานที่พระองค์ทรงให้เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงธรรม ที่สงเคราะห์ไว้ด้วยบทอภิธรรมมาติกา อย่างนี้ว่า กุสโล ธมฺโม โดย

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 163

อนุโลมปัจจนียนัยว่า กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ นกุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ธัมมานุโลมปัจจนียปัฏฐาน. ปัฏฐานที่พระพุทธองค์ทรงให้เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงบทที่ได้ในปัจจัย ๒๔ อย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา โดย อนุโลมปัจจนียนัย ชื่อว่า ปัจจยานุโลมปัจจนียปัฏฐาน. ใน ๒ อย่างนั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ ฯเปฯ ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ในอรรถกถาในหนหลัง ท่านกล่าวหมายถึงธัมมานุโลมปัจจนียปัฏฐาน เฉพาะในธัมมานุโลมเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในคาถา แห่งอรรถกถาว่า ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกะปัฏฐานเป็นต้น ในธัมมานุโลมปัจจนียนัย ลึกซึ้งยิ่ง.

ส่วนใน ปัจจยานุโลมปัจจนียปัฏฐาน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา ในโอกาสนี้ผู้ศึกษา พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านี้ เฉพาะใน ธัมมานุโลมเท่านั้นลึกซึ้งยิ่ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่งปุจฉานี้ พระองค์ทรงย่อไว้ในปัณณัตติวาระนี้แห่งปฏิจจวาระ ด้วยอำนาจแห่งธรรมเพียงกุสลติกะเฉพาะในอนุโลมติกปัฏฐานเท่านั้น ส่วนในติกะและทุกะที่เหลือแลในปัฏฐานที่เหลือ ไม่ได้แสดงปุจฉาไว้แม้เพียงข้อเดียว. ก็ในสหชาตวาระเป็นต้น ต่อจากนั้น ไม่ทรงยกปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุสลติกะ ทรงแสดงเฉพาะวิสัชนา ด้วยอำนาจวาระที่ได้อยู่. ก็เพราะพระบาลี ว่า ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา พึงยกปัฏฐานนัย ๖ เหล่านี้ ขึ้นแสดงด้วยอำนาจปุจฉา ในปัจจยานุโลมปัจจนียปัฏฐานนี้ เพราะว่านั่น เป็นภาระแห่งอาจารย์ผู้อธิบายปัฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 164

บัดนี้ เพื่อจะแสดง ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า " กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ นเหตุปัจจัยอารัมมณปัจจัยหรือ?" ในปัจจนียานุโลมปัฏฐานนั้น มีกำหนดปุจฉาเท่ากับอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน. ก็ในนัยที่มีมูละหนึ่งเป็นต้น ในอธิการนี้ ปุจฉาใดที่มาแล้วและอันใดที่ไม่ได้มาในพระบาลี ปุจฉานั้นทั้งหมดผู้ศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.

แม้ในคำน ว่า ติกญฺจ ปฏิานวรํ ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจนียานุโลม ๒ อย่าง

คือ ธัมมปัจจนียานุโลม และ ปัจจยปัจจนียานุโลม ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน หนหลัง ใน ๒ อย่างนั้น ปัฏฐานที่พระองค์ให้เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงธรรมที่สงเคราะห์ด้วยบทอภิธรรมมาติกา อย่างนี้ว่า กุสโล ธมฺโม ด้วยปัจจนียานุโลมว่า นกุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ธัมมปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ปัฏฐานที่ให้เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงบท ที่ได้อยู่ในปัจจัย ๒ อย่างนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา ด้วย ปัจจยปัจจนียานุโลม ชื่อว่า ปัจจยปัจจนียานุโลมปัฏฐาน. ใน ๒ อย่างนั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวรํ ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ในอรรถกถาในหนหลังท่านกล่าวหมายถึง ธัมมปัจจนียานุโลมปัฏฐาน. แต่ในอธิการนี้ คาถานี้ท่านกล่าวหมายถึง ปัจจยปัจจนียานุโลมปัฏฐาน เฉพาะในธัมมานุโลมเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในคาถา แห่งอรรถกถาว่า ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา. ผู้ศึกษาพึง ทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกปัฏฐานเป็นต้น ในธัมมปัจจนียานุโลมลึกซึ้งยิ่ง. ส่วนใน ปัจจยปัจจนียานุโลม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 165

เป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา ในโอกาสนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านี้ เฉพาะในธัมมานุโลมนั้นลึกซึ้งยิ่ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่ง ปุจฉานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อแสดงไว้ในปัณณัตติวาระนี้แห่งปฏิจจวาระ ด้วยอำนาจธรรมเพียงกุสลติกะ เฉพาะในอนุโลมปัฏฐานเท่านั้น แต่ในติกะและทุกะที่เหลือ และในปัฏฐานที่เหลือไม่ได้ทรงแสดงปุจฉาไว้ แม้แต่วาระเดียว. ก็ใน สหชาตวาระ เป็นต้น ต่อจากนั้น ไม่ทรงยก ปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุสลติกะ ทรงแสดงเฉพาะวิสัชนาด้วยอำนาจวาระ ที่ได้อยู่ก็เพราะพระบาลีว่า ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา พึงยกปัฏฐานนัยทั้ง ๖ เหล่านี้ ขึ้นแสดงด้วยอำนาจปุจฉาในปัจจยปัจจนียานุโลมปัฏฐานนี้ เพราะว่านั่นเป็นภาระของอาจารย์ผู้อธิบายปัฏฐานแล.

จบอรรถกถาปัณณัตติวาระ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 166

ปฏิจจวารนิทเทส

ปัจจยานุโลม

[๕๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรม และอัพยกตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 167

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ และมหาภูตรูปเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ และมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 168

[๕๗] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิด ขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

[๕๘] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 169

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุกฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 170

๘. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๕๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ. อนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย (แสดงได้ ๓ วาระ) เหมือนกับอารัมมณปัจจัย.

[๖๐] ๑. กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 171

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 172

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทยวัตถุอาศัยขันธ์ ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๓ อาศัยพาหิรมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภุตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 173

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลทั้งหลาย และมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

[๖๑] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 174

ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุอาศัยขันธ์ ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, พาหิรรูป ... อาหารสมุฏฐานรูป ... อุตุสมุฏฐานรูป

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น.

[๖๒] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนิสสยปัจจัย

คือ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ... ฯลฯ ... นิสสยปัจจัย (แสดงได้ ๙ วาระ) เหมือนกับ สหชาตปัจจัย.

[๖๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอุปนิสสยปัจจัย

คือ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ.

อุปนิสสยปัจจัย (แสดงได้ ๓ วาระ) เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย.

[๖๔] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 175

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

[๖๕] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๖๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 176

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... ฯลฯ ... มี ๓ วาระ (๑)

อาศัยอกุศลธรรม ฯลฯ มี ๓ วาระ.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เกิดขึ้น, ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.


(๑) คือ กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, อัพยากตธรรมอาศัยกุศล ๑, กุศลธรรมและอัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, รวมเป็น ๓ วาระที่อาศัยกุศลธรรม แม้ที่อาศัยอกุศลธรรมก็มีนัยเช่นเดียวกับอาศัยกุศลธรรม.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 177

[๖๗] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ วิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๖๘] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ฯลฯ มี ๓ วาระ

อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ฯลฯ มี ๓ วาระ

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย


(๑) คือ กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, อัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑. กุศลธรรมและ พยากตธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, แม้ที่อาศัยอกุศลธรรมก็มีนัยเดียวกันกับที่อาศัยกุศลธรรม พึงทราบการแสดงวาระโดยย่อ ในที่อื่นโดยแนวนี้.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 178

คือ อัพยากตธรรม อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอาหารเป็น สมุฏฐานเกิดขึ้น อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ .

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๖๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอินทริยปัจจัย

คือ อาศัยกุศลขันธ์ ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ มี ๓ วาระ (รวมทั้งข้อ ๑).

อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ มี ๓ วาระ

อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ.

อินทริยปัจจัย (แสดงได้ ๙ วาระ) เหมือนกับ กัมมปัจจัย.

[๗๐] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะฌานปัจจัย ฯลฯ เพราะมัคคปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 179

ฌานปัจจัยก็ดี มัคคปัจจัยก็ดี แสดงได้ ๙ วาระ เหมือนกับ เหตุปัจจัย.

[๗๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสัมปยุตตปัจจัย

คือ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ.

สัมปยุตตปัจจัย แสดงได้ ๓ วาระ เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย.

[๗๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทิ้งหลายอาศัยหทยวัตถุ เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 180

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ วิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 181

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐาน อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัย หทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป ปัจจัย.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ วิปปยุตตปัจจัย.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 182

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

[๗๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัตถิปปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลขันธ์เกิดขึ้น ฯลฯ. อัตถิปัจจัย แสดงได้ ๙ วาระ เหมือนกับ สหชาตปัจจัย.

[๗๔] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนัตถิปัจจัย ฯลฯ เพราะวิคตปัจจัย

นัตถิปัจจัย ก็ดี วิคตปัจจัย ก็ดี แสดงได้ ๓ วาระ เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย.

[๗๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลขันธ์เกิดขึ้น ฯลฯ.

อวิคตปัจจัย แสดงได้ ๙ วาระ เหมือนกับ สหชาตปัจจัย.

ปัจจัยทั้ง ๒๓ เหล่านี้ ผู้สาธยายพึงจำแนกให้พิสดาร.

การนับจำนวนวาระในอนุโลมนัย

[๗๖] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ใน อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ. ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 183

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๗] เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ใน อินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๘] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน นิสสยปัจจัย

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 184

มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๙] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๐] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 185

[๘๑] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๒] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

การนับจำนวนปัจจัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล จบ

ปัจจัยทั้งปวงมี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล มี ๓ วาระเท่านั้น.

[๘๓] เพราะอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 186

เพราะสหชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ.

เพราะอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ.

เพราะนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ.

เพราะอุปนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ.

เพราะปุเรชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ.

[๘๔] เพราะอาสเสวนปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ใน อาเสวนมูลกนัย ไม่มีวิปากปัจจัย.

เพราะกัมมปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๘๕] เพราะวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 187

วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะวิปากปัจจัย เป็นมูล ไม่มีอาเสวนปัจจัย.

เพราะอาหารปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ

เพราะอินทริยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ

เพราะฌานปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ

เพราะมัคคปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ

เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ

เพราะวิปปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ

เพราะอัตถิปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ

เพราะนัตถิปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ

เพราะวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ

[๘๖] เพราะอวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 188

พึงกระทำปัจจัยหนึ่งๆ ให้เป็นมูล แล้วนับจำนวนปัจจัยโดยนัย แห่งการสาธยาย ฉะนี้แล.

อนุโลมนัย จบ

วรรณนาเนื้อความแห่งปฏิจจวาระ

อรรถกถาปัจจยานุโลมนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงละทิ้งปัญหาที่วิสัชนาไม่ได้ อย่างนี้ว่า " อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย (ไม่ได้) " เพราะกุศลธรรมกับอกุศลธรรมเป็นต้น เกิดพร้อมกันไม่ได้ แล้วแก้เฉพาะปัญหาที่วิสัชนาได้ในปัญหาทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยกุศลติกะในปัณณัตติวาระ เมื่อทรงแสดงเพียงนัยได้ทรงแสดงไว้หาประมาณมิได้ เริ่มแต่ปัญหา ๔๙ ข้อ ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยเป็นต้น จึงทรงเริ่มนิทเทสวาระแห่งปฏิจจวาระโดยนัยมีอาทิว่า " กุศลธรรม อาศัย กุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย. "

ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ปัญหา ๔๙ ข้อ ผิว่า เหตุปจฺจยา เป็น อาทินี้ย่อมวิสัชนาไม่ได้ทั้งหมด แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ทำไม พระองค์ควรแสดงเฉพาะปัญหาที่วิสัชนาได้เท่านั้นมิใช่หรือ? ตอบว่า ใช่ ควรแสดงอย่างนั้น แต่เมื่อแสดงอย่างนั้น ก็จำเป็นต้องแสดงไม่ให้รวบรัด ในติกะ ทุกะ ติกทุกะ ติกติกะ และทุกทุกะหนึ่งๆ ในปัฏฐานทั้งหมด มีติกทุกปัฏฐาน เป็นต้น. เพราะเหตุไร? เพราะปัญหาที่มีอยู่ในกุศล-

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 189

ติกะไม่มีเวทนาติกะเป็นต้นเลย อนึ่ง ตอนวิสัชนาวิตักกติกะและปีติติกะ ในติกปัฏฐาน อันว่าด้วยธัมมานุโลมปัจจนียะ ปัญหาเหล่านี้ย่อมได้รับวิสัชนาทั้งหมดด้วย ฉะนั้น โดยการกำหนดอย่างละเอียด ปัญหาที่มีอยู่ใน ติกะหนึ่งๆ ทั้งหมดพระองค์ทรงแสดงไว้แล้วในกุศลติกะ. จริงอยู่ เมื่อพระองค์ทรงแสดงปัญหาไว้อย่างนี้ ปัญหาที่วิสัชนาได้ อันพระองค์ทรงละทิ้งปัญหาที่แก้ไม่ได้ในกุศลติกะนั้นแล้วทรงกล่าวไว้. กุลบุตรก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้กุลบุตรเข้าใจได้ง่ายขึ้น พระองค์จึงทรงแสดงปัญหาแม้ทั้งหมด (รวม ๔๙ ข้อ) ไว้ในกุศลติกะ. บัณฑิตพึง ทราบว่า ก็ปัญหาใดไม่ได้วิสัชนาในกุศลติกะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละทิ้งปัญหานั้นแล้ววิสัชนาเฉพาะปัญหาที่แก้ได้เท่านั้น.

พึงทราบเนื้อความในคำเหล่านั้นต่อไป คำว่า กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ ความว่า อาศัย

คือ พึ่งพิง ซึ่งธรรมอันหนึ่งอันต่างโดยขันธ์ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ในบรรดากุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือถึงโดยความเป็นไปเช่นเดียวกัน อธิบายว่า เข้าถึงความเกิดขึ้นร่วมกันธรรมนั้น.

สองบทว่า กุสโล ธมฺโม

คือ ธรรมอันหนึ่งซึ่งต่างโดยสัญญาขันธ์ เป็นต้น ในบรรดาธรรมอันเป็นไปในภูมิ เช่นเดียวกัน.

บทว่า อุปฺปชฺชตฺ ความว่า ถึงเบื้องบนตั้งแต่อุปาทขณะจนถึง นิโรธขณะ คือย่อมบังเกิด. อธิบายว่า ย่อมได้ซึ่งความติดต่อกัน

คือ เข้าถึงขณะทั้งสามมีอุปาทขณะเป็นต้น. บทว่า เหตุปจฺจยา

คือ เพราะกุศลเหตุที่ให้สำเร็จความเป็นเหตุปัจจัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิสัชนาว่า อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ในปุจฉาว่า พึงเกิดขึ้นดังพรรณนามาแล้ว บัดนี้

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 190

เพื่อจะแสดงซึ่ง ธรรมเป็นที่อิงอาศัย (ปัจจัย) และธรรมที่เข้าไปอาศัย เกิดขึ้น (ปัจจยุบบัน) ด้วยอำนาจแห่งขันธ์จึงตรัสคำมีอาทิว่า กุสลํ เอกํ ขนฺธํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกํ

คือ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในบรรดา ขันธ์สี่ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น. สองบทว่า ตโย ขนฺธา

คือ สามขันธ์ ที่เหลือเว้นขันธ์ที่ท่านจัดเป็นปัจจัย. คำว่า ตโย ขนฺเธ

คือ ซึ่งขันธ์สาม ที่เหลือในบรรดาขันธ์ มีเวทนาเป็นต้น เว้นขันธ์อันหนึ่งที่ท่านจัดว่า กำลังเกิด (เพราะเหตุปัจจัย). คำว่า เทฺว ขนฺเธ ความว่า อาศัยขันธ์สอง ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในทุกะ ๖ มีเวทนา ทุกะและสัญญาทุกะเป็นต้น. สองบทว่า เทฺว ขนฺธา ความว่า ขันธ์ทั้งหลายสองที่เหลือเว้นขันธ์ที่ท่านจัดว่าเป็นปัจจัยเสีย ย่อมเกิดขึ้นเพราะกุศลเหตุที่ให้สำเร็จความเป็นเหตุปัจจัย. ก็เพราะขันธ์หนึ่งจะเป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์หนึ่งหรือขันธ์สองไม่ได้ หรือขันธ์สองว่าเป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า เอกํ ขนฺธํ ปฏิจฺจ เอโก ขนฺโธ, เอกํ ขนฺธํ ปฏิจฺจ เทฺว ขนฺธา, เทฺว ขนฺเธ ปฏิจฺจ เอโก ขนฺโธ เป็นต้น. แม้ใน คำมีอาทิว่า อัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น แหละ.

คำนี้ว่า จิตฺตสมุฏฺานํ รูปํ นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงซึ่งรูป ที่ได้สหชาตปัจจัยและเหตุปัจจัยกับกุศล เพราะอรรถแห่งคำว่า ปฏิจฺจ มีความหมายว่า สหชาตะ (เพราะคำว่าอิงอาศัยมีอรรถว่าเกิดร่วม) แม้ในที่ต่อจากนี้ในฐานะเช่นนี้พึงทราบนัยนี้เหมือนกัน. ในคำนี้ว่า วิปากา-

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 191

พฺยากตํ กิริยาพฺยากตํ จะเอาอเหตุกจิตเข้ามาร่วมด้วยไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุปัจจัย และไม่หมายถึงอรูปวิบากด้วย เพราะไม่เกิดพร้อมกับรูป

บทว่า ปฏิสนฺธิกฺขเณ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า อัพยากตธรรม คือกัมมชรูป อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น, บทว่า วิปากาพฺยากตํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจ อัพยากตธรรม ที่มีอยู่ในขณะนั้น. คำว่า ขนฺเธ ปฏิจฺจ วตฺถุํ นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า แม้เมื่อวัตถุรูป (หทัยวัตถุ) อันท่าน ถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า กฏัตตารูป ก็ยังต้องอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิด คำว่า วตฺถุํ ปฏิจฺจ ขนฺธา ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุเกิด คำว่า เอกํ มหาภูตํ เป็นต้น ก็ในกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า อัพยากตธรรม คือรูปอาศัยอัพยากตธรรมฝ่ายรูปเกิด ก็ในคำเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบ อรรถโยชนา (การอธิบายความ) ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในคำว่า เอกํ ขนฺธํ เป็นต้น.

ในอัพยากตธรรมฝ่ายรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง มหาภูตรูป อาศัยมหาภูตรูปเกิด อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปเกิด จึงตรัสคำว่า มหาภูเต ปฏิจฺจ จิตฺตสมุฏฺานํ เป็นต้น มีคำถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ควรจะเรียกเสียอย่างนี้ว่า อุปาทารูป แต่เรียกสองอย่างให้ต่างกันทำไม? แก้ว่า เพื่อแสดงถึงรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิด คำว่า มหาภูตํ อุปาทารูปํ นี้บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้เพื่อแสดงว่า รูปใดที่แสดงไว้ในหนหลังว่า เกิดจากจิตและเกิดจากกรรม รูปนั้นไม่ได้อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดอย่างเดียว หากแต่อาศัยมหาภูตรูปเกิดด้วย. บรรดารูปทั้งสองนั้น รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดในปวัตติกาลเท่านั้น รูปเกิดจากกรรมย่อมเกิดแม้ขณะปฏิสนธิกาลด้วย. บทว่า อุปาทารูปํ เป็น

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 192

วิเสสนะของสองบทนั้นนั่นแล. ในคำนี้ว่า กุสเล ขนฺเธ จ มหาภูเต จ ปฏิจฺจ (อาศัยกุศลขันธ์และมหาภูตรูป) หมายเอามหาภูตรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น. ส่วนในคำนี้ว่า จิตฺตสมุฏฺานํ รูปํ หมายเอาทั้งมหาภูตรูป และอุปาทารูป จริงอยู่ แม้มหาภูตรูป ก็อาศัยขันธ์ทั้งหลาย และ มหาภูตรูปด้วยกันเกิด โดยนัยเป็นต้นว่า เอกํ มหาภูตํ ปฏิจฺจ ตโย มหาภูตา ถึงอุปาทารูป ก็อาศัยขันธ์และมหาภูตรูปเกิด โดยนัยที่ท่าน กล่าวไว้ว่า มหาภูเต ปฏิจฺจ อุปาทารูปํ. แม้ในการวิสัชนาปัญหาว่า อกุสลญฺจ อพฺยากตญฺจ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ปุจฉา ๙ ข้อในเหตุปัจจัยเป็นอันได้รับวิสัชนาแล้วด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ปัญหาเหล่านี้เท่านั้น ที่ใช้ได้ในเหตุปัจจัยนี้ ปัญหาที่เหลือ ๔๐ ข้อ เป็นโมฆปัญหา เพราะ เหตุนั้นจึงไม่ได้รับวิสัชนา. บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งปุจฉาและวิสัชนา แม้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ตามนัยนี้. ส่วนคำที่ควรจะวิจารณ์ไว้ในปัจจัยนั้นๆ ข้าพเจ้าจักวิจารณ์ต่อไป.

พึงทราบวินิจฉัยใน อารัมมณปัจจัย ก่อน บรรดาปุจฉา ๙ ข้อ ท่านวิสัชนาไว้ ๓ ข้อเท่านั้น โดยทิ้งปุจฉาที่เกี่ยวกับรูปเสีย เพราะรูปไม่เกิดด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย. เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุ ไม่ตรัสว่า วัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลาย เพราะว่าวัตถุรูปนั้นไม่เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย.

ใน อธิปติปัจจัย คำว่า วิปากาพฺยากตํ นี้ พระองค์ตรัสหมาย เอาเฉพาะโลกุตตรวิบาก เท่านั้น เพราะฉะนั้น ในปัจจัยนี้ ท่านจึงไม่ได้มุ่งเอาว่า " ในปฏิสนธิขณะ." คำที่เหลือเช่นเดียวกับเหตุปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 193

แม้ใน อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย รูปก็มีไม่ได้ ฉะนั้น จึงมีปุจฉา ๓ ข้อเหมือนในอารัมมณปัจจัย.

ใน สหชาตปัจจัย คำว่า ปฏิสนฺธิกฺขเณ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจปฏิสนธิในปัญจโวการภพ ส่วนในปัจจยวิภังค์ในหนหลัง (ข้างต้น) มาแล้วว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ. แม้คำนั้นกับคำนี้ ว่าโดยเนื้อความแล้วเป็นอันเดียวกัน จริงอยู่สองคำนี้ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า โอกฺกนฺติ นี้เป็นชื่อแห่งปัญจโวการปฏิสนธิ โดยพระบาลีว่า เพราะประชุมพร้อมแห่งองค์สาม สัตว์ย่อมก้าวลงสู่ครรภ์. คำว่า ปฏิสนฺธิ ใช้ทั่วไปแก่ภพทั้งปวง. แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาเฉพาะปัญจโวการปฏิสนธิเท่านั้น เพราะพระบาลีว่า กฏตฺตา จ รูปํ ดังนี้ เป็นต้น. จริงอยู่ คำว่า ปฏิสนธิ นั้น ย่อมประมวลมาซึ่งความเป็นปัจจัย และปัจจยุบบันแห่งรูป และ อรูปเข้าด้วยกัน. เพราะฉะนั้น การวิสัชนาที่บริบูรณ์ท่านจึงถือเอาว่าย่อม มีได้. คำว่า พาหิรํ เอกํ มหาภตํ ท่านกล่าวหมายเอามหาภูตรูปในที่ ทั้งหลาย มีพื้นดิน และแผ่นหินเป็นต้น ซึ่งไม่เนื่องด้วยอินทรีย์. จริงอยู่ ในปัจจยวิภังควาระท่านถือเอารวมกัน ทั้งภายในและภายนอกว่า จตฺตาโร มหาภูตา. เพราะนั้นเป็นการแสดงโดยย่อ. แต่นี้เป็นการแสดงโดยพิสดาร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงจำแนกให้หมดจึงตรัสว่า พาหิรํ เอกํ มหาภูตํ เป็นต้น. คำว่า อสญฺสตฺตานํ เอกํ มหาภูตํ ปฏิจฺจ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจแห่งมหาภูตรูป ที่มีสันตติและสมุฏฐานสอง. ส่วนคำนี้ว่า มหาภูเต ปฏิจฺจ กฏตฺตารูปํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจ รูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน. คำนี้ว่า อุปาทารูปํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจรูปมีอุตุเป็นสมุฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 194

ใน อัญญมัญญปัจจัย ท่านกล่าวว่า ขนฺเธ ปฏิจฺจ วตฺถุ วตฺถุํ ปฏิจฺจ ขนฺธา (วัตถุอาศัยขันธ์ ขันธ์อาศัยวัตถุ) ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า (นาม) ขันธ์แม้ทั้งสี่เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่วัตถุโดยส่วนเดียว.

ใน นิสสยปัจจัย อันอรรถแห่งคำว่า ปฏิจฺจ ใจความเหมือนกับ สหชาตะ เพราะฉะนั้น ความที่จักขายตนะเป็นต้น เป็นนิสสยปัจจัย ซึ่งท่านแสดงไว้แล้วในปัจจยวิภังควาระในหนหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอาด้วย. จริงอยู่ จักขายตนะเป็นต้น เป็นปุเรชาตปัจจัย แต่ในที่นี้เป็นได้เฉพาะสหชาตปัจจัย เพราะเหตุนั้นเอง ท่านจึงกล่าวไว้ว่า นิสสยปัจจัย เช่นเดียวกับสหชาตปัจจัย.

ใน อุปนิสสยปัจจัย ย่อมได้วิสัชนา ๓ วาระเท่านั้น เพราะความที่รูปเป็นอปนิสสยปัจจัยไม่ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเช่นเดียวกับอารัมมณปัจจัย. ในอุปนิสสยปัจจัยนั้น กุศล อกุศลและอัพยากตธรรม ทั้งหมดย่อมไม่ได้อารัมมณูปนิสสยปัจจัย แม้ก็จริง แต่คำนั้นบัณฑิต พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ได้ (อารัมมณูปนิสสยะ) เท่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน ปุเรชาตปัจจัย ต่อไป. สองบทว่า วตฺถุํ ปุเรชาตปจฺจยา ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ คือด้วยวัตถุอันให้สำเร็จความเป็นปุเรชาตปัจจัย. ในคำว่า วิปกาพฺยากตํ เอกํ ขนฺธํ นี้ มีอธิบายว่า ในอธิการนี้ วัตถุรูปใดเป็นสหชาตปัจจัยแก่อัพยากตวิบาก บัณฑิตไม่พึงถือเอาวัตถุรูปนั้น ในปุเรชาตปัจจัยนี้ เพราะจะต้องจำแนกโดยปุเรชาตปัจจัย. แม้ธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น ที่ไม่ได้ปุเรชาตปัจจัยในอรูปภพ ก็ไม่ควรถือเอาในอธิการนี้ เพราะจะต้องจำแนกเป็น

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 195

ปุเรชาตปัจจัยเหมือนกัน. ส่วนอารมณ์ย่อมไม่ได้ความเป็นปุเรชาตปัจจัยโดยแน่นอน. เพราะว่ารูปายตนะเป็นต้น ให้สำเร็จความเป็นปุเรชาตปัจจัย แก่จักขุวิญญาณเป็นต้นเท่านั้น. อารมณ์ทั้งหลายที่เป็นอดีต อนาคตย่อม มีแก่มโนวิญญาณธาตุเท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ถือเอาในที่นี้. เพราะว่านี้เป็นการแสดงด้วยอำนาจแห่งขันธ์ ไม่ใช่ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณธาตุ. อนึ่ง ด้วยเทศนาว่า วิปากาพฺยากตํ เอกํ ขนฺธํ ท่านหมายเอาวิญญาณธาตุทั้งหมด ไม่หมายเฉพาะจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้นเท่านั้น ดังนี้ แล.

ธรรมที่เกิดขึ้นภายหลัง ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่กุศล และอกุศล เพียงแต่ค้ำจุนอัพยากตธรรมเท่านั้น หาใช่เป็นตัวแต่งให้เกิดไม่ เพราะเหตุนั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า เกิดขึ้นเพราะ ปัจฉาชาตปัจจัยจึงไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ได้ทำการวิสัชนาไว้ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย.

พึงทราบวินิจฉัยใน อาเสวนปัจจัย กิริยาจิตย่อมไม่ได้อาเสวนปัจจัยทั้งหมดก็จริง ถึงอย่างนั้นท่านก็กล่าวว่า กิริยาพฺยากตํ ด้วยอำนาจกิริยา จิตที่ได้ (อาเสวนปัจจัย) เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า อันชวนะกิริยาท่านถือเอาแล้วในอธิการนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัย พึงทราบว่า ในกุศลจิต อกุศลจิต มีกัมมปัจจัยที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน แม้อัพยากตกิริยาก็เหมือนกัน. ส่วนในอัพยากตะฝ่ายวิบาก พึงทราบว่า กัมมปัจจัย ที่เป็นไปต่างขณะกัน. อนึ่ง ในขณะปฏิสนธิ นานักขณิกกมัมปัจจัย พึงทราบว่ามีแก่มหาภูตรูปด้วย. ส่วนรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีเอกขณิกกัมมปัจจัยเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 196

กัมมชรูปและรูปแห่งอสัญญสัตตพรหม มีเฉพาะนานักขณิกกัมมปัจจัยเหมือนกัน. แก่กัมมชรูปในที่นี้ได้แก่ชีวิตินทรีย์. รูปที่เหลือท่านเรียกว่า อุปาทารูป รูปอาศัย เพราะไม่ได้เกิดจากกรรมอย่างเดียว. เมื่อเป็น เช่นนั้นในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะกัมมชรูปเท่านั้น.

กุศล อกุศล และกิริยาย่อมไม่ได้ใน วิปากปัจจัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงแต่งวิสัชนาด้วยอำนาจแห่งอัพยากตะเท่านั้น. บทว่า จิตฺตสมุฏฺานํ มุ่งเฉพาะรูปที่มีวิบากจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น. บทว่า กฏตฺตารูปํ

คือ อินทรีย์รูป และวัตถุรูปตามสมควรแก่ภูมิที่จะมีได้. บทว่า อุปาทารูปํ

คือ อุปาทารูปที่เหลือนอกจากนั้น ซึ่งมีอยู่ในสมัยนั้น.

ใน อาหารปัจจัย พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีกุศล เป็นต้นทั้งหมด แห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน แห่งอรูป และแห่งมหาภูตรูป ในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจแห่งอาหารที่เป็นนาม. บทว่า จิตฺตสมุฏานํ

คือ มีภวังคจิตเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน. บทว่า อาหารสมุฏฺานํ

คือ มี กพฬีการาหารเป็นสมุฏฐาน. บทว่า จิตฺตสมุฏานํ

คือ มีกุศลจิตและอกุศลจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น ว่าโดยลำดับแห่งอาหารในปัจจยวิภังควาระ ท่านแสดงกพฬีการาหารไว้เป็นที่ ๑ แต่ในที่นี้พึงทราบว่าท่านแสดง อาหารที่เป็นนามก่อน ด้วยอำนาจปุจฉาว่า กุสลํ ธมฺมํ เป็นต้น.

แม้ใน อินทริยปัจจัย โดยการจัดลำดับอินทรีย์ในปัจจยวิภังค์ ท่าน แสดงจักขุนทรีย์เป็นอันดับแรก ส่วนในอธิการนี้ท่านแสดงความที่ อรูปอินทรีย์ เป็นปัจจัยก่อน เกี่ยวกับคำถามถึงธรรมที่เป็นกุศลเป็นต้น บรรดา อรูปอินทรีย์เหล่านั้น ควรถือเอาอรูปอินทรีย์เท่าที่จะหาได้ในธรรมทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 197

มีกุศลเป็นต้น. แม้ในภูตรูปทั้งหลาย ที่เกิดแล้วแก่อสัญญสัตตพรหม ทั้งหลายก็ควรถือเอาเฉพาะชีวิตินทรีย์แล.

ใน ฌานปัจจัย และ มัคคปัจจัย มีวิสัชนาเช่นเดียวกับเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอธิการนี้ว่า เช่นเดียวกับเหตุปัจจัย. วิสัชนาใน สัมปยุตตปัจจัย มีคติเหมือนอารัมมณปัจจัย ฉะนั้น ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนอารัมมณปัจจัย.

พึงทราบวินิจฉัยใน วิปปยุตตปัจจัย ต่อไป. สองบทว่า วตฺถุํ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา ความว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะ วิปปยุตตปัจจัย คือเพราะวัตถุที่ให้สำเร็จความเป็นวิปปยุตตปัจจัย. สองบทว่า ขนฺเธ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา ความว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย คือเพราะขันธ์ทั้งหลายที่ให้สำเร็จความเป็นวิปปยุตตปัจจัย. คำว่า ขนฺธา วตฺถุํ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา อธิบายว่า ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย คือเพราะวัตถุที่ให้สำเร็จความ เป็นวิปปยุตตปัจจัย. คำว่า จิตฺตสมุฏฺานํ รูปํ ขนฺเธ วิปฺปยตฺตปจฺจยา ความว่า รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ วิปปยุตตปัจจัย เพราะขันธ์ทั้งหลายให้สำเร็จความเป็นวิปปยุตตปัจจัย แม้ใน วิสัชนาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบความตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า วตฺถุํ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา เป็นต้น. ก็ด้วยศัพท์ว่า วัตถุ ในวิปากาพยากตะนี้ บัณฑิตควรรวมเอาจักขุเป็นต้นมาด้วย. คำว่า เอกํ มหาภูตํ เป็นอาทิ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมฝ่ายรูป. บทว่า จิตฺตสมุฏฺานํ ความว่า ย่อมได้รูปที่มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน และรูปที่มีกุศลและอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 198

ใน อัตถิปัจจัย คำอธิบายทั้งหมดดำเนินตามสหชาตปัจจัย เพราะฉะนั้น ในปัจจัยนี้ท่านกล่าวว่า เหมือนกับสหชาตปัจจัย.

นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย แนวเดียวกับอารัมมณปัจจัย. อวิคตปัจจัย มีคติเหมือนสหชาตปัจจัย เพราะเหตุนั้นในปัจจัยนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมือนสหชาตปัจจัย.

คำว่า อิเม เตวีสติ ปจฺจยา ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจปัจจัย อันท่านย่อแสดงไว้. บทว่า วิตฺถาเรตพฺพา ความว่า ผู้ศึกษาพึงอธิบายให้พิสดารด้วยอำนาจปุจฉาที่วิสัชนาได้ นี้เป็นการพรรณนาเนื้อความในการวิสัชนากุสลติกะแห่ง ปฏิจจวาระ ใน ปัจจยานุโลม ที่มีมูลหนึ่ง เริ่มแต่เหตุปัจจัยเป็นต้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิสัชนาวาระที่ได้ในปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาเหตุ-ปัจจัยเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุยา นว เป็นอาทิ. พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น. สองบทว่า เหตุยา นว ความว่า ในเหตุปัจจัยมีวาระแห่งปุจฉาและวิสัชนา ๙ วาระ คืออย่างไร?

คือ กุศลกับกุศล อัพยากตะกับกุศล กุศลและอัพยากตะกับกุศล อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอกุศล อกุศลและอัพยากตะกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ อัพยากตะกับกุศลและอัพยากตะ อัพยากตะกับอกุศลและอัพยากตะ สองบทว่า อารฺมมเณ ตีณิ

คือ กุศลกับกุศล อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ.

บทว่า อธิปติยา นว เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในเหตุ. ท่านกล่าวไว้ว่า จริงอยู่ ในปัจจัย ๑๒ ท่านจำแนกออกไปปัจจัยละ ๙. ปุจฉาและวิสัชนาในปัจจัยทั้งปวง เช่นเดียวกับเหตุปัจจัยนั่นเอง. แต่ในวิภังค์มี

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 199

แปลกกันออกไป. เพราะว่ารูปก็ยังมีได้ในการวิสัชนาอัพยากตบท ในอัญญมัญญปัจจัย. ในปุรชาตปัจจัยก็เหมือนกัน. ใน อาเสวนปัจจัย ไม่ได้วิบากจิตและวิถีจิต. สองบทว่า วิปาเก เอกํ

คือ อัพยากตะกับอัพยากตะนั่นเอง. เมื่อว่าโดยย่อ ในอธิการนี้มีการกำหนดวาระอย่างเท่านั้น

คือ ๙ - ๓ - ๑ โดยพิสดารดังนี้

คือ หมวดนวกะมี ๑๒ ปัจจัย หมวดติกะมี ๑๐ หมวดเอกะมี ๑. ในปัจจัย ๒๓ ทั้งหมดมี ๑๓๙ วาระ และปุจฉาอีก ๑๓๙ ข้อ. แม้คำว่า เอกูนจตฺตาฬีสาธิกํ ปุจฺฉาวิสชฺชนสตํ ก็ระบุถึงคำว่า เอกูนจตฺตาฬีสาธิกํ วารสตํ นั้นเอง พระอาจารย์ครั้น แสดงการนับในปัจจัยที่มีมูลหนึ่ง มีเหตุปัจจัยเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เพื่อจะถือเอาเฉพาะจำนวนที่ได้อยู่ในเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อวิตถารเทศนาในปัจจัยที่มีมูลสองอื่นจากนี้ แล้วแสดงไว้ในปัจจัยที่มีมูลหนึ่งแล้ว แสดงการกำหนดวาระ จึงกล่าวคำว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมเณ ตีณิ เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นต้น ในปัจจัยที่มีมูลสอง ก่อน.

ในข้อนั้น มีวิธีกำหนดดังนี้ ปัจจัย ที่มีการนับมาก (คือมีวาระมาก) ประกอบกับปัจจัยที่มีการนับไม่มาก ย่อมมีจำนวน (วาระ) เท่ากับจำนวนไม่มากนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมเณ ตีณิ เพราะเหตุปัจจัยในอารัมมณปัจจัยมี ๓ วาระ. อธิบายว่า ในเหตุอารัมมณทุกะได้วิสัชนา ๓ ข้อ ที่กล่าวไว้ในอารมณ์เท่านั้น. ส่วนปัจจัยที่มีวิธีนับเท่ากัน ประกอบกับปัจจัยที่มีวิธีนับเท่ากัน ย่อมมีจำนวนเพิ่มและลดลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหตุปจฺจยา อธิปติยา นว เพราะ

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 200

เหตุปัจจัยในอธิปติปัจจัยมี ๙ วาระ. อธิบายว่า ในเหตุอธิปติทุกะได้ วิสัชนา ๙ ข้อ.

สองบทว่า วิปาเก เอกํ ความว่า ในเหตุวิปากทุกะย่อมได้วิสัชนา ๑ ข้อ ที่กล่าวไว้ในวิบากเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบการกำหนดวาระในปัจจัยที่มีมูล ๒ เท่านี้ก่อนด้วยประการฉะนี้. ในวิสัชนาที่มีมูล ๓ เป็นต้น ก็มีวิธีกำหนดอย่างนี้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา อธิปติยา ตีณิ เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน อธิปติปัจจัยมี ๓ วาระ อธิบายว่า ใน เหตุอารมฺมณอธิปติติกะ ได้วิสัชนา ๓ ที่กล่าวไว้ในอารมณ์เท่านั้น ในวิสัชนาทั้งปวง บัณฑิตพึงขยายนัยออกไปอย่างนี้. ส่วนในวิสัชนาที่มีมูล ๑๒ ย่อมไม่ได้วิปากปัจจัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อาเสวนปจฺจยา กมฺเม ตีณิ เพราะอาเสวนปัจจัย ในกัมมปัจจัยมี ๓ วาระ แล้วกล่าวว่า อาหาเร ตีณิ ในอาหารปัจจัยมี ๓ วาระ เป็นต้น ไม่เท้าความไปถึงวิบากเลย แม้ในวิสัชนาที่มีมูล ๑๓ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน เป็นแต่ว่าในที่นี้ท่านย่อปัจจัยเหล่านั้น แล้วกล่าวถึงปัจจัยที่มีมูล ๒๓.

ปัจจัยมีมูล ๒๓ นั้น ปัจจัยนั้นแยกเป็น ๒ ประเภท คือที่มี อาเสวนะบ้าง มีวิบากบ้าง ใน ๒ อย่างนั้นที่มีอาเสวนะ ท่านแสดงไว้ก่อน ปัจจัยที่มีอาเสวนะนั้นได้วิสัชนา ๓ ข้อเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า อาเสวนปจฺจยา อวิคเต ตีณิ เพราะอาเสวนปัจจัย ในอวิคตปัจจัยมี ๓ วาระ ส่วนปัจจัยที่มีวิบาก (เกิดร่วมกับวิบาก) ย่อมไม่ได้อาเสวนะ. เพราะฉะนั้น เพื่อจะละอาเสวนะแล้วแสดงจำนวนด้วยอำนาจวิบาก ท่านจึงแสดงนัยหนึ่งคั่นไว้ว่า เหตุปจฺจยา ฯเปฯ วิปากปจฺจยา

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 201

อาหาเร เอกํ แล้วแสดงมูล ๒๓ ภายหลัง. ก็บรรดาปัจจัยที่มีมูล ๒๓ สองพวกนี้ วิปากปัจจัยไม่มีในพวกหนึ่ง อาเสวนปัจจัยไม่มีในพวกหนึ่ง ก็จริง แต่ปัจฉาชาตปัจจัยมีได้ทั้งสองพวก. แต่บัณฑิตพึงทราบมูล ๒๓ นี้เท่านั้น โดยศัพท์เกินมา ในปัจจัย ๒ พวกนั้น ฝ่ายมีอาเสวนะได้ วิสัชนา ๓ ด้วยอำนาจอาเสวนะ ฝ่ายมีวิบากได้วิสัชนาหนึ่ง ด้วยอำนาจ วิปากปัจจัยนี้ เป็นการนับในปัจจัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น เริ่มแต่เหตุปัจจัย มาด้วยประการฉะนี้.

ก็คำนี้อันใดท่านกล่าวไว้ว่า อารมฺมเณ ิเตน สพฺพตฺถ ตีเณว ปญฺหา ในลำดับปัจจัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล คำนั้นท่านกล่าวไว้เพื่อแสดง ว่าในอารัมมณบททุกบท ทั้งในฝ่ายปัจจัยที่มีมูล ๑ และมีมูล ๒ เป็นต้น เริ่มแต่อารัมมณปัจจัยไป และในการประกอบอธิบายปัจจัยที่เหลือพร้อมกับอารมณ์ ปัจจัยที่มีปัญหา ๙ ข้อ มีปุจฉา ๓ ข้อเท่านั้น ส่วนในวิปากบท และในการประกอบปัจจัยที่เหลือพร้อมกับวิปากบท มีปัญหาข้อเดียวเท่านั้น คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า ปัจจัยที่มีวิธีการนับมาก รวม กับปัจจัยที่มีวิธีการนับไม่มาก ย่อมมีจำนวนเท่ากันกับปัจจัยที่ไม่มากนั้น ดังนี้ คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ถูกต้องแล้วแล.

บัดนี้ พึงแสดงปัจจัยที่มีมูลเดียวเป็นต้น ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย เป็นอาทิ ในปัจจัยเหล่านั้น ปัจจัยที่มีมูล ๑ ก่อน ท่านไม่ได้แสดงไว้ในปัจจัยสักอย่างหนึ่งว่า เหมือนกับปัจจัยที่มีมูลหนึ่งแห่งเหตุปัจจัยนั่นเอง. ก็เพื่อจะแสดงจำนวนในปัจจัยที่มีมูล ๒ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ท่านจึงกล่าวว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุยา ตีณิ อธิปติยา ตีณิ ฯเปฯ อวิคเต ตีณิ ก็ในอธิการนี้เมื่อท่านควรจะกล่าวว่า อารมฺมณปจฺจยา อธิปติยา

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 202

ตีณิ ฯเปฯ อวิคเต ตีณิ ท่านก็วางเหตุปัจจัยแม้อยู่ข้างหน้าของอารัมมณปัจจัยไว้ข้างหลัง แล้วกล่าวว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุยา ตีณิ เพราะอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัยมี ๓ วาระ เพื่อแสดงปัจจัยที่มีวิธีนับมาก มีเหตุปัจจัยเป็นต้น และวิธีนับที่หาได้ในการเทียบเคียงปัจจัยเหล่านั้น. ปัจจัยที่มีวิธีการนับน้อยกว่าและเท่ากัน. คำนี้ย่อมแจ่มแจ้งด้วยอธิบายนั้น. อารัมมณปัจจัยย่อมถึงความต่างกัน โดยเป็นทุกะและติกะ เพราะวิธีการนับที่มากกว่าหรือเท่ากับปัจจัยใดๆ ในปัจจัยนั้นทั้งหมด พึงทราบว่ามีปัญหาและวิสัชนา ๓ ข้อเท่านั้น. ส่วนในการเทียบเคียงกับวิปากปัจจัย ย่อมได้ ปุจฉาและวิสัชนาข้อเดียวเท่านั้น ข้อนั้นท่านไม่ได้แสดงไว้ในอธิการนี้ว่า จักมีแจ้งในการนับเกี่ยวกับวิปากปัจจัยเป็นต้น และการนับที่ท่านแสดงไว้ ในปัจจัยที่มีมูล ๒ นี้แหละ เป็นวิธีนับในปัจจัยที่มีมูล ๓ เป็นต้นด้วย เพราะฉะนั้น ปัจจัยที่มีมูล ๓ เป็นต้น ท่านจึงไม่อธิบายไว้อย่างพิสดาร ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย.

บัดนี้ ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อธิปติปจฺจยา เหตุยา นว เพราะ อธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัยมี ๙ วาระ เพื่อจะแสดงวิธีนับ ในปัจจัยที่มีมูล ๒ เป็นต้น ด้วยอำนาจอธิปติปัจจัยเป็นต้น พึงทราบนิท เทสแห่งปัจจัยตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในเหตุปัจจัยนั้นนั่นแล ก็เพราะอธิปติปัจจัย (เป็นมูล) เหตุปัจจัยมีปุจฉาและวิสัชนา ๙ ข้อฉันใด ในปัจจัยที่มีวิธีนับ เท่ากับเหตุปัจจัยที่เหลือก็มี ๙ ข้อฉันนั้น ดังที่ได้อธิบายมาแล้วนี้ ในการ เทียบเคียงปัจจัยที่มีวิธีนับเท่ากับปัจจัยที่มีอยู่ในอันดับแรก การนับย่อม มีด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่อยู่ในอันดับแรก ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ก็ในการเทียบเคียงปัจจัยมีการนับน้อยกว่ากับปัจจัยที่เป็นตัวตั้งนั้น จำนวนย่อมมี

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 203

ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่มีการนับน้อยกว่า บัณฑิตอธิบายปัจจัยที่มีมูล ๓ ให้ พิสดารด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ฉันใด จะอธิบายด้วยอำนาจอธิปติปัจจัยก็ดี อนันตรปัจจัยอื่นจากนั้นก็ดี เหมือนอย่างนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในปัจจัยทั้งหมดควรให้สำเร็จด้วยอำนาจแห่งวิธีนับ อันท่านแสดงไว้แล้ว ในปัจจัยที่มีมูล ๒ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า การทำปัจจัยหนึ่งๆ ให้เป็นมูลแล้วนับตามพลความที่ลำดับไว้.

จบอรรถกถาปัจจยานุโลมนัย

ปัจจยปัจจนียนัย

[๘๗] ๑. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก อัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยรูปขันธ์ ๓ เกิด

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 204

ขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัย ขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาลัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูต รูป ๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

[๘๘] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ นอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและ

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 205

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตทั้งหลาย เกิดขึ้น. ๔. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐาน อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๘๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 206

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติ- ปัจจัย

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 207

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภุตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลาย เกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 208

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๐] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

นอนันตรปัจจัย ก็ดี นสมนันตรปัจจัย ก็ดี แสดงได้ ๕ วาระ เหมือนกับ นอารัมมณปัจจัย.

[๙๑] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอัญญมัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอัญญมัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนอัญญมัญยปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลาย อันมีในภายนอกเกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 209

อันมีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น, อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย อันมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๔. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนอัญญมัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะนอัญญมัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๒] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอุปนิสสยปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

เพราะ นอุปนิสสยปัจจัย แสดงได้ ๕ วาระ เหมือนกัน นอารัมมณปัจจัย.

[๙๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 210

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ นปุเรชาตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัย ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และ อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 211

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัย มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูต รูป ๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

๖. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๔] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ.

[๙๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 212

นปัจฉาชาตปัจจัย ก็ดี นอาเสวนปัจจัย ก็ดี แสดงได้ ๙ วาระ เหมือนกับ นอธิปติปัจจัย.

[๙๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๒. กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ อกุศลเจตนา อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตธรรมเกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่เป็นพาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูปเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๗] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 213

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ.

จิตตสมุฏฐานรูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๘] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ นอาหารปัจจัย

คือ พาหิรรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 214

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๙] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ นอินทริยปัจจัย

คือ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่เป็นพาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูปเกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ รูปชีวิตินทรีย์ อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น.

[๑๐๐] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ นฌานปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ซึ่งสหรคตด้วยปัญจวิญญาณเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๑๐๑] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ นมัคคปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตต-

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 215

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๓ อาศัย มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๑๐๒] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนสัมปยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น. ปัจจัยนี้แสดงได้ ๕ วาระ เหมือนกับ นอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปปยุตตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปปยุตตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 216

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปปยุตตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัย ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๑๐๔] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะโนนัตถิปัจจัย ... เพราะโนวิคตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

สองปัจจัยนี้แสดงได้ ๕ วาระ เหมือนกับ นอารัมมณปัจจัย.

การนับจำนวนปัจจัยในปัจจยปัจจนียนัย

[๑๐๕] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 217

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๐๖] เพราะนเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๗] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 218

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๘] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นเหตุมูลกนัย จบ

[๑๐๙] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 219

[๑๑๐] เพราะนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย ใน อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในโนอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๑๑] เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๑๒] เพราะนอธิปติปัจจัย ในอารัมมณปัจจัยมี ๑ วาระ ... ใน นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 220

[๑๑๓] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ... ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๑๔] เพราะนอนันตรปัจจัย ... เพราะนสมนันตรปัจจัย ... เพราะ นอัญญมัญญปัจจัย ... เพราะนอุปนิสสยปัจจัย ... แสดงเหมือนกันกับนอารัมมณปัจจัย (ดูข้อ ๑๐๙ - ๑๑๐).

[๑๑๕] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ใน นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๑๖] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 221

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ. ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๑๗] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๑๘] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย ... เพราะนอาเสวนปัยจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาร ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 222

[๑๑๙] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมันนตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาร ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๐] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๑] เพราะนกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 223

[๑๒๒] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๓] เพราะนวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๒๔] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 224

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๕] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ... ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๖] เพราะนอาหารปัจจัย ... เพราะนอินทริยปัจจัย ... เพราะนฌานปัจจัย ... เพราะนมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ... ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๗] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย ... ใน โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๒๘] เพราะนวิปปยุตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 225

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๙] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

[๑๓๐] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ... ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๓๑] เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 226

นปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๓๒] เพราะโนวิคตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ... ใน นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจยปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย

ก็เพราะวิสัชนาที่ใน ปัจจยปัจจนียะ (ตรงข้ามกับปัจจัย) ย่อมมีได้ด้วยกุศลบทที่เว้นเหตุปัจจัยแล้ว กุศลธรรมเกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า อกุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นเหตุปจฺจยา เป็นการปฏิเสธเหตุปัจจัย อธิบายว่า เว้นเหตุปัจจัยแล้วก็ยังเกิดเพราะปัจจัยอื่นได้. จริงอยู่ เหตุนั้น

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เป็นเหตุปัจจัยเองแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. แต่เพราะไม่มีเหตุอื่นสัมปยุตด้วย จึงชื่อว่า ไม่เกิด

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 227

เพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เว้นเหตุปัจจัยเสีย โมหมูลจิตก็เกิดได้ เพราะปัจจัยอันเหมาะแก่ตนที่เหลือในธรรมที่ตรงกันข้ามทั้งหมด. บัณฑิต พึงทราบเนื้อความไปตามนัยนี้. คำนี้ว่า อเหตุกํ วิปากาพฺยากตํ พึง ทราบด้วยอำนาจจิตที่ยังรูปให้เกิดขึ้น แม้ในบทอื่นที่เช่นนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ใน นอธิปติปัจจัย แม้อธิบดี จะไม่ได้อธิปติปัจจัย เพราะไม่มีอธิบดีที่สองเกิดร่วมกับตนก็จริง แต่อธิบดีจะไม่มีอธิบดีเหมือนโมหะที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นอเหตุกะหาได้ไม่. ก็ในเวลาที่กุศลธรรมเป็นต้น ไม่ทำฉันทะเป็นต้น ให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น กุศลธรรม เป็นต้นทั้งหมดไม่เป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น เทศนามีอาทิว่า เอกํ ขนฺธํ ปฏิจฺจ ตโย ขนฺธา นี้ พึงทราบว่า พระองค์เทศนาไว้ด้วยอำนาจเทศนา มีการรวบรวมไว้ซึ่งอธิบดีทั้งหมด ไม่ใช่ยกขึ้นเพียงอธิบดีแยกกันไปเหมือนโมหะ. ใน นอนันตรปัจจัย และ นสมนัตรปัจจัย มี รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เหมือนใน นอารัมมณปัจจัย. เพราะเหตุ นั้นท่านจึงกล่าวว่า นอารมฺมณปจฺจยสทิสํ. สหชาตปัจจัยขาดหายไป. นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัยก็ขาดหายไปเหมือนสหชาตปัจจัย. เพราะเหตุไร? เพราะปัจจัยเหล่านี้ไม่มีอะไรเกิดแยกกัน. จริงอยู่ เพราะการบอกปัดเสียซึ่งสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย รูปธรรมและอรูปธรรมแม้สักอย่างหนึ่งก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปัจจัยเหล่านั้นจึงลดไป. ในวิภังค์แห่ง นอัญญมัญญปัจจัย พึงทราบการเว้นหทยวัตถุด้วยคำว่า กฏัตตารูป อาศัยวิปากาพยากตขันธ์เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล. รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบันในวิภังค์แห่ง นอุปนิสสยปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 228

เพราะรูปนั้นไม่ได้อุปนิสสยปัจจัย. ส่วนอรูป (นาม) ไม่ได้อารัมมณูนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัยก็จริง แต่ก็ไม่พ้นอนันตรูปนิสสยปัจจัย ไปได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นอารมฺมณปจฺจยสทิสํ.

ใน นปุเรชาตปัจจัย คำว่า จิตฺตสมุฏานํ รูปํ ท่านกล่าวไว้ด้วย อำนาจปัญจโวการภพ. สหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย ย่อมถึงการรวม ลงในคำนี้ว่า นปจฺฉาชาตปจฺจยา เพราะฉะนั้น บาลีในคำนี้จึงเช่นเดียว กับสหชาตปัจจัย. ก็บาลีนั้นขยายไว้อย่างพิสดาร ใน นอธิปติปัจจัย ฉะนั้น ในที่นี้จึงย่อไว้. นอาเสวนปัจจัย พึงทราบด้วยสามารถแห่งปฐมชวนะ ฝ่ายกุศลและอกุศล. กิริยาพยากตะก็เหมือนกัน. แม้ในอธิการนี้ก็พึงทราบ บาลีด้วยอำนาจแห่งคำที่ท่านให้พิสดารใน นอธิปติปัจจัย เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นปจฺฉชาตปจฺจยมฺปิ นอาเสวนปจฺจยมฺปิ นาธิปติปจฺจยสทิสํ ดังนี้ (บาลีข้อ ๙๕). ใน กัมมปัจจัย ไม่ถือเอา วิบากเจตนาว่าได้นานักขณิกกัมมปัจจัย. ใน นอาหารปัจจัย มีเฉพาะรูปบางรูปเท่านั้น เป็นปัจจยุบบัน ใน นอินทริยปัจจัย ก็เหมือนกัน. ใน นฌานปัจจัย มีปัญจวิญญาณธรรม (ทวิปัญจวิญญาณ) และรูปบางรูปเป็นปัจจยุบบัน. จริงอยู่ ในปัญจวิญญาณ เวทนาและจิตเตกัคคตา ย่อมไม่ถึงลักษณะแห่งการเข้าไปเพ่ง เพราะมีกำลังทราม ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ท่านจึงไม่ถือเอาในฌานปัจจัย. ใน นมัคคปัจจัย มีอเหตุวิบาก และกิริยา และรูปบางรูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน.

รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบันในนสัมปยุตตปัจจัย ในโนนัตถิปัจจัย ใน โนวิคตปัจจัย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นารมฺมณปจฺจยสทิสํ.

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 229

ดำเนินการนับปัจจัยที่มีมูลหนึ่งตามบาลี ด้วยคำว่า นเหตุยา เทฺว ดังนี้ แล.

พึงทราบวินิจฉัยใน ทุมูลกปัจจัย ต่อไป. ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมเณ เอกํ อธิบายว่า ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าในการเทียบปัจจัยที่นับได้น้อยกว่ากับปัจจัยที่นับได้มาก พึงมีปัจจัย ๒ เหมือน ในนเหตุปัจจัยก็จริง ถึงอย่างนั้น คำว่า เอกํ ท่านกล่าวหมายถึงรูปาพยากตะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยากตะ เพราะอรูปธรรมขาดไปด้วยอำนาจ นอารัมมณปัจจัย แม้ในปัจจัยแต่ละปัจจัยในทุกะปัจจัยก็นัยนี้เหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบวาระสองเกี่ยวกับที่ได้ในนเหตุปัจจัย ในที่ซึ่งท่านกล่าว ไว้ว่า "เทฺว." ก็ในปัจจัยทั้งปวงที่มีมูล ๓ เป็นต้น มีวิสัชนาวาระเดียว เท่านั้น เพราะนอารัมมณปัจจัยขาดไป. นี้เป็นการคำนวณในปัจจัยที่มี มูล ๑ เป็นต้น เริ่มแต่เหตุปัจจัยไปในปัจจนียนัย. ส่วนอารัมมณปัจจัย ไม่แสดงไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเช่นเดียวกับนัยก่อนในเอกมูลกะนั้นแหละ เป็นต้น.

คำว่า นารมฺมณปจฺจยา นเหตุยา เอกํ ในทุมูลกนัย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในนเหตุทุกมูลกนัยนั่นเทียว ด้วยสามารถแห่ง อารมัมณปัจจัย. คำว่า นาธิปติยา ปญฺจ พึงทราบด้วยอำนาจการได้ใน นารมัมณปัจจัย.

ในการเปรียบเทียบปัจจัยทั้งหมด พึงทราบจำนวนด้วยอำนาจปัจจัย ที่นับได้น้อยกว่าในปัจจัยที่นอารัมมณปัจจัยเข้าได้ รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน. แม้ในฐานที่นอนันตรปัจจัย นสมนันตระ - นอัญญมัญญะ - นอุปนิสสยะ - นอาหาระ - นอินทริยะ - นสัมปยุตตะ - โนนัตถิ - โนวิคต-

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 230

ปัจจัย เข้าได้ก็นัยนี้เหมือนกัน. นอาหาระ-นอินทริยะ-นฌานะ-นมัคคปัจจัย มีวิสัชนาเหมือนกันทั้งหมด. แม้ในอธิการนี้ปัจจัย ๔ หมวด แห่งปัจจัย มี นสหชาตปัจจัย เป็นต้น ก็ขาดไปเหมือนกัน นี้เป็นวิธีกำหนด ในข้อนี้. ก็ด้วยลักษณะนี้บัณฑิตกำหนดปัจจัยนั้นว่า ปัจจัยที่มีมูล ๒ เป็นต้นทั้งหมด ปัจจัยนี้เป็นมูล ๑ ในปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยนี้มีมูล ๒ นี้มีมูล ๓ นี้มีมูลทั้งหมดดังนี้แล้ว พึงทราบการคำนวณด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่า ดังนี้แล.

อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย จบ

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนปัจจัยในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

[๑๓๓] เพราะนเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 231

[๑๓๔] เพราะนเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๕] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๖] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๗] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๘] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคค-

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 232

ปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๙] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๔๐] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๔๑] เพราะอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๔๒] เพราะอารัมมณปัจจัย เหตุปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 233

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ. วาระที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูล พึงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ ที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๔๓] เพราะอธิปติปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวน ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาร ะ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๔๔] เพราะอธิปติปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ทั้งอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอารัมมณปัจจัย.

[๑๔๕] เพราะสหชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 234

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๔๖] เพราะสหชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๔๗] เพราะสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 235

วาระที่มีสหชาตปัจจัยเป็นมูลมี ๕ วาระ เหมือนกับวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๔๘] เพราะอัญญมัญญปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิตคปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๔๙] เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 236

[๑๕๐] เพราะอัญญมัญญปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน นปัจฉาชาตปัจจัยยมี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ โนนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี อัญญมัญญปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๕๑] เพราะนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

ในวาระที่มี นิสสยปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนอย่างวาระที่มี สหชาตปัจจัยเป็นมูล.

ในวาระที่มี อุปนิสสยปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนอย่างวาระที่มี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล.

[๑๕๒] เพราะปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๕๓] เพราะปุเรชาตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 237

วาระที่มี ปุเรชาตปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่าง วาระที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๕๔] เพราะอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๕๕] เพราะอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี อาเสวนปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี เหตุ- ปัจจัยเป็นมูล.

[๑๕๖] เพราะกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนนัตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 238

ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๕๗] เพราะกัมมปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... โนนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๕๘] เพราะกัมมปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี กัมมปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี เหตุปัจจัย เป็นมูล

[๑๕๙] เพราะวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 239

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ใน นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๖๐] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๖๑] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๖๒] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 240

[๑๖๓] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๖๔] เพราะอาหารปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ โนนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๖๕] เพราะอาหารปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... โนนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 241

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๖๖] เพราะอาหารปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี อาหารปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่าง วาระที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๖๗] เพราะอินทริยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกมัมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 242

[๑๖๘] เพราะอินทริยปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๖๙] เพราะอินทริยปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี อินทริยปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารอย่างวาระที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๗๐] เพราะฌานปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 243

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๗๑] เพราะฌานปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๗๒] เพราะฌานปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี ฌานปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 244

[๑๗๓] เพราะมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๗๔] เพราะมัคคปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๗๕] เพราะมัคคปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 245

วาระที่มี มัคคปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๗๖] เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๗๗] เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ใน นปุเรชาติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี สัมปยุตตปัจจัยเป็นมูล เหมือนกับวาระที่มี เหตุปัจจัย เป็นมูล.

[๑๗๘] วิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน ฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 246

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ

[๑๗๙] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๘๐] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกมัมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

[๑๘๑] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติ- ปัจจัย ในนปัจฉชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๘๒] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาต-

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 247

ปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๘๓] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๘๔] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ปุเราชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๘๕] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๘๖] เพราะอัตถิปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 248

[๑๘๗] เพราะอัตถิปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน สมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๘๘] เพราะอัตถิปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติ- ปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี อัตถิปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๘๙] เพราะนัตถิปัจจัย ... ฯลฯ ... เพราะวิคตปัจจัย ในนเหตุ- ปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 249

นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี นัตถิปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ ที่มี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล.

[๑๙๐] เพราะอวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๙๑] เพราะอวิคตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 250

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

วาระที่มี อวิคตปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

การนับจำนวนหัวข้อปัจจัยในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจยา นอารมฺมเณ ปญฺจ ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแสดงการนับใน อนุโลมปัจจนียปัจจัย. พึง ทราบวินิจฉัยในคำนั้น ปัจจัย ๘ เหล่านี้

คือ ปัจจัย ๔ มีสหชาตะเป็นต้น ที่เข้าได้ทุกที่ และอาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย อีก ๔ ย่อมไม่ได้โดยความเป็นปัจจนียะในเหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย มัคคปัจจัย อันตั้งอยู่โดยความอนุโลม (โดยลำดับ). จริงอยู่ ธรรมเมื่อจะเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัย เป็นต้น ชื่อว่าจะไม่ได้ปัจจัย ๘ เหล่านี้ ย่อมไม่มี. แต่อารัมมณปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย สัมปยุตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยอนุโลมย่อมไม่ได้ปัจจัยที่อุปการะในตำแหน่งแห่งนาม โดยเป็นปัจจนิก. เพราะว่าอนันตรปัจจัยเป็นต้น เมื่อไม่เกิดจากอารัมมณปัจจัย เป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้, ส่วนปัจจัย ๔ ที่อุปการะในฐานะทั้งหมด ย่อมไม่ได้โดยความเป็นปัจจนิกในสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 251

กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นอนุโลมกัน. เพราะว่า ธรรมเมื่อเกิดด้วยอำนาจปัจจัยเหล่านี้ จะไม่ได้ปัจจัยที่อุปการะในฐานะทั้งปวงย่อมไม่มี. ปัจฉาชาตปัจจัย ไม่มีที่ตั้งโดยความเป็นอนุโลม. บัณฑิตกำหนดปัจจัยที่มีได้และไม่ได้ในปัจจัยที่เหลือ ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นอนุโลมกัน แล้วพึงทราบการนับ ด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าในการเปรียบเทียบปัจจัยนั้นๆ ในปัจจัย ที่มีมูล ๒ เป็นต้น แม้ทั้งหมดแล.

อรรถกถาปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนปัจจัยในปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย

[๑๙๒] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 252

[๑๙๓] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๙๔] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

(ในทุกๆ ปัจจัย มี ๑ วาระ).

[๑๙๕] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย ใน ปัจจัยทั้งหมดจนถึงอาเสวนปัจจัยเหมือนกัน แต่เมื่อนับนกัมมปัจจัยเข้า ด้วย มี ๕ วาระ.

เพราะนเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 253

[๑๙๖] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๙๗] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๙๘] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 254

[๑๙๙] เพราะนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

วาระที่มี นอารัมมณปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี นเหตุ- ปัจจัยเป็นมูล.

[๒๐๐] เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ. ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ใน มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต ปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัคถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๐๑] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 255

ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ใน นิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ใน อินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๒๐๒] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน สหชาติปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอธิปติมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๔ ปัจจัย ท่าน ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๐๓] เพราะนอนันตรปัจจัย ... เพราะนสมนัตรปัจจัย ... เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ... เพราะนอุปนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 256

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๐๔] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอุปนิสสยมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเกินกว่า ๒ ปัจจัย ท่านย่อไว้ ไม่แสดง.

[๒๐๕] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ... ใน อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 257

ปัจจัย มี ๕ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๒๐๖] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๒๐๗] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ใน นปุเรชาตมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่าน ย่อไว้ไม่แสดง.

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 258

[๒๐๘] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๐๙] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 259

[๒๑๐] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ใน นปัจฉชาตมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่านย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๑๑] เพราะนอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๑๒] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 260

วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ใน นัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๒๑๓] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอาเสวนมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่าน ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๑๔] เพราะนกัมมปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสย-

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 261

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๒๑๕] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๑๖] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนกัมมมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่านย่อ ไว้ไม่แสดง.

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 262

[๒๑๗] เพราะนวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๑๘] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย ปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 263

[๒๑๙] เพราะวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนวิปากมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่านย่อ ไว้ไม่แสดง.

[๒๒๐] เพราะนอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอาหารมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลคตั้งแต่ ๒ ปัจจัยขึ้นไป ท่าน ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๒๑] เพราะนอินทริยปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอินทริยมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลตั้งแต่ ๒ ปัจจัยขึ้นไป ท่าน ย่อไว้ไม่แสดง.

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 264

[๒๒๒] เพราะฌานปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนฌานมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๑ ปัจจัย ท่านย่อ ไว้ไม่แสดง.

[๒๒๓] เพราะนมัคคปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาร ะ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๒๔] เพราะนมัคคปัจจัย นเหหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 265

มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนมัคคมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่านย่อ ไว้ไม่แสดง.

[๒๒๕] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ใน อวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๒๖] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 266

ในนสัมปยุตตมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๒ ปัจจัย ท่าน ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๒๗] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ... ใน อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๒๒๘] เพราะนวิปปยุตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกมัมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 267

นัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๒๒๙] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนวิปปยุตตปัจจัย ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่าน ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๓๐] เพราะโนนัตถิปัจจัย ... เพราะโนวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๓๑] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 268

๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๓๒] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ.

[๒๓๓] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ... ฯลฯ ... นกัมมปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหาร ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๓๔] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ... ฯลฯ ... นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 269

[๒๓๕] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ

ปฏิจจวาระ จบ

อรรถกถาปัจจยปัจจนียานุโลมนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ เทฺว เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ เป็นต้น เพื่อแสดงการนับใน ปัจจนียานุโลม. ในปัจจนียานุโลมนั้น ปัจจัยที่เหลือเว้นอธิปติปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในเหตุปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยความเป็นปัจจนิก. ส่วนปัจฉาชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัยทั้งหมดนั่นเทียว. ปัจจัย ๙ เหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า อรูปานญฺเว ปัจจัยที่ตั้งอยู่ในฐานแห่งนาม ที่เหลือย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัย ๗ ที่เหลือ เว้นปุเรชาตปัจจัย และอาเสวนปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก. จริงอยู่ธรรมที่ไม่เกิดจาก อารัมมณปัจจัยเป็นต้น ย่อมไม่ได้อนันตรปัจจัย เป็นต้น.

ก็ปฏิสนธิวิบาก และวิบากทั้งหมดจากปุเรชาตปัจจัย แม้จะไม่เกิด จากอาเสวนะกับกิริยามโนธาตุ ก็ย่อมได้อนันตรปัจจัยเป็นต้น. เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 270

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุเรชาตญฺจ อาเสวนญฺจ เปตฺวา ดังนี้ ปัจจัยที่เหลือเว้นอวิคตปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในปุเรชาปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย วิปากปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็น ปัจจนิก. เว้นวิปากปัจจัยเสียที่เหลือย่อมได้โดยอนุโลมในกัมมปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยปัจจนิก. เว้นปัจจัยที่อุปการะในที่ทั้งปวง และอัญญมัญญปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัย ที่เหลือย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในอาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก. ปัจจัยนอกนี้ย่อมได้ด้วยอำนาจที่เหมาะสม เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย อาเสวนปัจจัย และมัคคปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในฌานปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็น ปัจจนิก. ในมัคคปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย และอธิปติปัจจัยโดยเป็นอนุโลม. ในวิปปยุตปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก เว้นปุเรชาตปัจจัยย่อมได้ปัจจัยที่เหลือโดยอนุโลม บัณฑิตครั้นทราบปัจจัยที่ไม่ได้โดยเป็นอนุโลม ในบรรดาปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกอย่างนี้แล้ว พึงทราบด้วยการนับด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าในการเปรียบเทียบ กับปัจจัยนั้น.

ในนาติกาทั้งหลายมีทุกะมาติกาเป็นต้นใดๆ อันท่านแสดงเริ่มแต่ ปัจจัยใดๆ ในนัยทั้งหลายมีทุมูลกนัยเป็นต้น ทุกะมาติกานั้นๆ ท่านแสดงไว้แล้วโดยวิธีใดๆ ด้วยอำนาจปัจจัยที่หาได้และหาไม่ได้ บัณฑิตพึงกำหนดทุกะมาติกาเป็นต้นนั้นให้ดี โดยวิธีนั้นๆ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงนัยมีทุมูลกนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยตรัสว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยาฯ เปฯ นาเสวนปจฺจยา ดังนี้ แล้วตรัสคำใดไว้ คำอธิบายทั้งหมดเช่นเดียวกัน

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 271

จนถึงอาเสวนปัจจัย พึงทราบความเหมือนกันของคำนั้น กับคำว่า นอญฺมญฺปจฺจยา สหชาเต เอกฺ เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใด ที่ท่านเขียนไว้ในภาษาสิงหลว่า พระอาจารย์ย่อมรวมเอาซึ่งปัจจัย ๕ ใน นกัมมปัจจัย ที่คำนวณแล้ว พึงทราบใจความ แห่งคำนั้นดังนี้ ปัจจัย ๕ เริ่มต้นแต่ นเหตุปัจจัย อันท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า บัณฑิตย่อมได้วิสัชนาข้อหนึ่งในสหชาตปัจจัย ที่ต่อกับนกัมมปัจจัยอย่างนี้ว่า นกมฺมปจฺจยา ดังนี้ ย่อมได้โดยอนุโลม ปัจจัยอื่นไม่ได้ ในฐานอื่นที่เป็นแบบนี้ บัณฑิตไม่ควรถือเอาพยัญชนะ ควรถือเอาเฉพาะเนื้อความที่ประสงค์เท่านั้น. จริงอยู่ พยัญชนะเช่นนั้นพระโบราณาจารย์เขียนไว้เป็นภาษาสันสกฤต เพื่อร้อยกรองตามความทรงจำของตน.

อีกอย่างหนึ่ง แม้ในบรรดาปัจจยุบบันธรรมในปัจจนียานุโลมนี้ อัตถิธรรม (อัตถิปัจจัย) ย่อมได้กัมมปัจจัย แต่ไม่ได้อินทริยปัจจัย. อัตถิธรรมนั้นพึงทราบด้วยอำนาจ รูปชีวิตินทรีย์ในอสัญญสัตว์ และในปวัตติกาลในปัญจโวการภพ อัตถิธรรมที่ได้มัคคปัจจัยแต่ไม่ได้เหตุปัจจัย อัตถิธรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจสัมปยุตตจิต อัตถิธรรมที่ได้ฌานปัจจัยแต่ไม่ได้มัคคปัจจัย อัตถิธรรมนั้นพึงทราบด้วยอำนาจมโนธาตุและอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ. บรรดาความใน อัตถิปัจจัยนั้น กัมมชรูปย่อมได้กัมมปัจจัย ด้วยอำนาจนานักขณิกกัมมปัจจัยเท่านั้น. ในปัจจัยเหล่านั้น รูปธรรมย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย. ปัจจัยที่เข้าได้ทุกที่ ไม่มีปัจจนียะ ในอเหตุกจิตไม่มีอธิปติปัจจัยแล. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบวาระแห่งการคำนวณด้วยอำนาจปกิณกะ แม้เหล่านี้โดยไม่งมงาย.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 272

ในข้อนั้นมีนัยดังต่อไปนี้ อเหตุกโมหะ และอเหตุกวิบาก และกิริยาเท่านั้น เป็นปัจจยุบบันธรรมในพระบาลีนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ เทฺว เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ คำว่า มี ๒ วาระ ในอธิการนี้ท่านจึงหมายเอา อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในอาเสวนปัจจัยย่อมไม่ได้วิบาก และกิริยามโนธาตุ เพราะฉะนั้นในที่นี้ คำว่า อพฺยากเตนาพฺพากตํ บัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจอเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยา. สองบทว่า วิปาเก เอกํ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ คืออัพยากตะกับอัพยากตะนั่นเอง. คำว่า มคฺเค เอกํ คืออกุศลกับอกุศล. คำว่า เหตุยา ปญฺจ ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ในอารัมมณมูลกนัย ท่านกล่าวหมายเอารูปเท่านั้น. จริงอยู่ รูปนั้นย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วน ๕

คือ กุศล อกุศล อัพยากตะ กุศลกับอัพยากตะ และอกุศลกับอัพยากตะ. แม้ในปัญจกะทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. สองบทว่า อญฺมญฺเ เอกํ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ท่านกล่าวหมายเอา มหาภูตรูปและวัตถุรูป. จริงอยู่ รูปเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย. แม้ใน ติมูลกนัย ก็มีนัยอย่างนี้ เหมือนกัน.

คำว่า เหตุยา นว ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในนาธิปติมูลกนัย ท่านกล่าวไว้แล้วในเหตุปัจจัยตอนนุโลมนัย. แม้คำว่า ตีณิ=๓ เป็นต้น ก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วในอนุโลมนัยในหนหลัง. ใน ติมูลกนัย คำว่า เทฺว=๒ วาระ เหมือนกับที่กล่าวไว้แล้ว ใน นเหตุปัจจัยมูละ อารัมมณปัจจยมูลี ในหนหลัง. ใน นปุเรชาตมูลกนัย คำว่า เหตุยา สตฺต ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนปุเรชาต-

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 273

ปัจจัยในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า อารุปฺเป กุสลํ เอกํ ขนฺธํ ปฏิจฺจ (ขันธ์ ๓ อาศัยกุศลขันธ์ ๑ ในอรูปภูมิ). แม้ในสัตตกะทั้งปวงก็นัยนี้. ใน นกัมมมูลกนัย คำว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นต้น เจตนาเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เพราะฉะนั้น คำว่า ๓ วาระ ท่านจึงกล่าว หมายเอาการเกิดขึ้นเพราะอาศัย กุศล อกุศล แลอัพยากตะ. โดยนัยนี้บัณฑิตพึงทราบการนับจำนวนวาระในอาคตสถาน (ที่มา) ว่า ๑, ๒, ๓, ๕, ๗, ๙ ส่วนการนับจำนวนอีก ๓ ว่า ๔, ๖, ๘ เหล่านี้ ไม่มีเลย.

อรรถกาถาปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ

วรรณนาเนื้อความแห่งปฏิจจวาระ จบ